โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ประมวลภาพ: ปลาน้ำโขงแหวกว่ายกลางกรุงฯ ก่อนพบนายกฯ ทวงถามจะเอาปลาหรือเขื่อน

Posted: 16 Sep 2012 11:55 AM PDT

ชาวบ้าน 7 จังหวัดอีสาน พาปลาน้ำโขงบุกกรุงฯ เดินขบวนสร้างความเข้าใจทำไมชาวบ้านต้องต้านเขื่อน ก่อนเคลื่อนขบวนร้อง 'ยิ่งลักษณ์' หยุดซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนไซยะบุรี พร้อมฝากคำถาม "นายกฯ จะกินไฟฟ้าหรือกินปลา?"

วันนี้ (16 ก.ย.55) นิทรรศการและการรณรงค์ "ปกป้องแม่น้ำโขง หยุดเขื่อนไซยะบุรี" ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เมื่อวันที่ 9 ก.ย.ที่ผ่านมา ต่อเนื่องมาจนถึงช่วงเย็นวันที่ 16 ก.ย.55 ด้วยการเดินรณรงค์พร้อมป้ายผ้าและหุ่นปลาปึกยักษ์เข้ามาแหวกว่ายบนพื้นที่ใจกลางกรุงเทพมหานคร โดยชาวบ้านจากเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบลลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน และองค์กรภาคประชาสังคมด้านสิ่งแวดล้อม

ขบวนรณรงค์เริ่มตั้งแต่บริเวณตั้งแต่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครไปจนถึงย่านการค้าสยามแสควร์ เพื่อให้ข้อมูลและหวังสร้างความเข้าใจกับประชาชนที่สัญจรไปมาเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นที่ริมฝั่งโขงหากมีการก่อสร้าง "เขื่อนไซยะบุรี" ก่อนที่ชาวบ้านจาก 7 จังหวัดลุ่มน้ำโขง จะเดินทางไปยื่นข้อเรียกร้อง รวมทั้ง "โปสการ์ดปลาบึกเพื่อหยุดเขื่อนไซยะบุรี" ซึ่งลงนามโดยประชาชนทั่วไปรวมกว่า 9,055 รายชื่อ ต่อนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ทีทำเนียบรัฐบาล ในช่วงเช้าของวันที่ 17 ก.ย.นี้

"เรามาเรียกร้องสิทธิ ความเป็นธรรม เพื่อความเป็นอยู่ของเรา เรามาต่อสู้เพื่อลูกเพื่อหลาน เพื่ออนาคตข้างหน้า เรามาเองเพื่อมาบอกว่าเราเดือดร้อน" นายอร่าม ชาวบ้านจาก อ.บ้านใหญ่ จ.มุกดาหารกล่าว

ด้านอ้อมบุญ ทิพย์สุนา ตัวแทนเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบลลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน กล่าวในการเสวนาหัวข้อ "ไฟฟ้าของไทย หายนะภัยแม่น้ำโขง" ก่อนการเคลื่อนขบวนว่า อยากทำความเข้าใจว่าพี่น้องชาวบ้านไม่ได้มาประท้วงโดยไม่มีเหตุผล โดยก่อนหน้านี้ก็มีการเคลื่อนไหว ทั้งการยื่นหนังสือถึงนายกผ่านทางผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 7 จังหวัดในภาคอีสาน และทวงภาคเหนือ รวมทั้งส่งหนังสือโดยตรงถึงนายก แต่ดูเหมือนว่าจะไม่ได้รับความสนใจ

อ้อมบุญ กล่าวถึงเหตุผลของการเคลื่อนไหวครั้งนี้ว่า ชาวบ้านอยู่ติดริมน้ำโขงได้สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงและผลกระทบจากเขื่อน 4 แห่งที่กั้นแม่น้ำโขงตอนบนในประเทศจีน ทั้งกรณีการเกิดน้ำท่วมทั้งที่ฝนในพื้นที่ไม่ตก หรือจู่ๆ นำในแม่น้ำโขงในฤดูแล้งก็เพิ่มระดับขึ้นอย่างรวดเร็ว กระทบวิถีชีวิตริมโขง ทั้งการทำประมง เกษตร การค้าขาย และการท่องเที่ยว ดังนั้นหากเกิดเขื่อนไซยะบุรี ซึ่ง ใกล้กับไทยมากขึ้น โดยห่างจาก อ.เชียงคานขึ้นไปเพียง 200 กิโลเมตร ผลกระทบก็จะยิ่งรุนแรงขึ้นกว่าเดิม

"สิ่งที่พี่น้องมาคราวนี้ คือมาทวงถามนายกรัฐมนตรีว่านายกฯ จะกินไฟฟ้าหรือกินปลา?" อ้อมบุญกล่าว

"เขื่อนไซยะบุรีเรียกได้ว่าเป็นเขื่อนของประเทศไทย เพียงแต่ไปใช้พื้นที่ของประเทศลาวสร้างแล้วจ่ายค่าสัมปทาน" มนตรี จันทวงศ์ จากโครงการฟื้นฟูนิเวศในภูมิภาคแม่น้ำโขง (TERRA) กล่าวในเวทีเดียวกัน พร้อมให้เหตุผลว่าเขื่อนดังกล่าวสร้างโดยบริษัทไทย ใช้เงินกู้จากธนาคารไทย และไทยเป็นผู้รับซื้อไฟฟ้าถึง 95%

มนตรี กล่าวด้วยว่า เขื่อนไซยะบุรีจะสร้างผลกระทบต่อชาวบ้านลุ่มน้ำโขงในภาคอีสานของไทยด้วย โดยจะทำให้การไหลของแม่น้ำโขงเปลี่ยนแปลงไป ไม่เป็นไปตามฤดูกาล เช่นอาจจะทำให้น้ำในหน้าแล้งสูงกว่าปกติถึงประมาณ 3 เมตร หรือน้ำลดลงอย่างมากทางตอนล่างของเขื่อน เพราะฉะนั้น การทำประมง เกษตรริมโขง การร่อนทอง หรือการเก็บไก (สาหร่ายในแม่น้ำโขง) ที่ เป็นวิถีชีวิตของชาวบ้านจะต้องได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน


ขณะที่ วิฑูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ จากเครือข่ายพลังงานเพื่อนิเวศวิทยาในลุ่มแม่น้ำโขง (MEE Net) กล่าวถึงคำถามที่ว่า "ถ้าไม่สร้างเขื่อนไซยะบุรี จะเอาไฟฟ้ามาจากไหน?" โดยให้ข้อมูลว่า ไฟฟ้า ที่ผลิตได้จากเขื่อนไซยะบุรีแค่ปีละ 5,000 ล้านหน่วย หรือแค่ 3% ของไฟฟ้าที่เราใช้อยู่ในขณะนี้ เท่านั้น ในขณะที่ประเทศไทยมีไฟฟ้าสำรองอยู่ถึง 20% ซึ่งเท่ากับเขื่อนไซยะบุรี 3 เขื่อน อีกทั้งปัจจุบันมีหลอดผอมที่ใช้กำลังไฟเพียง 28 วัตต์ ซึ่งหากเปลี่ยนไปใช้กันทั้งประเทศจะประหยัดได้ถึง 1,100 เมกะวัตต์ เกือบเท่าไฟฟ้าที่ได้จากเขื่อนไซยะบุรี

วิฑูรย์ กล่าวด้วยว่า หากสามารถจัดการกับช่วงเวลา 3 เดือนที่มีความต้องการไฟฟ้าสูงสุดได้ ด้วยการจัดการกับความต้องการใช้ไฟฟ้า และเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต จะลดการสร้างเขื่อนและโรงไฟฟ้าที่ไม่จำเป็นได้หลายโรง

"เรายังมีไฟฟ้ามากพอ แล้วจำเป็นไหมที่เราต้องสร้างเขื่อนนี้เพื่อแลกกับระบบนิเวศและปลาแม่น้ำโขง เรามีวิธีผลิตไฟฟ้าที่ไม่ทำลายหลายวิธี และมีวิธีการประหยัดพลังงาน เราควรจัดการไฟฟ้าอย่างมี ประสิทธิภาพ  โดยไม่จำเป็นต้องสร้างเขื่อนเลย" วิฑูรย์กล่าว

ด้าน เมียต เมียน (Meach Mean) จากเครือข่ายสามแม่น้ำกัมพูชา ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ของชาวกัมพูชากับเขื่อนยาลีฟอลล์ ที่สร้างบนแม่น้ำเซซาน ในประเทศเวียดนาม ซึ่งทำให้ชาวกัมพูชาที่อยู่ใต้เขื่อนได้รับความเดือดร้อน และแม้จะมีการร้องเรียนไปยังรัฐบาลกลาง แต่จนตอนนี้ความทุกข์ของประชาชนก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข ดังนั้นในกรณีเขื่อนไซยะบุรี และเขื่อนดอนสะฮองจึงเป็นสิ่งที่ต้องหาทางหยุดมัน

เมียต เมียน กล่าวด้วยว่า ส่วนตัวเขาไม่ได้คาดหวังต่อคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission – MRC) และข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน เพราะดูเหมือนประเทศลาวจะไม่ได้ให้ความสำคัญเลย และความเป็นไปได้ในขณะนี้ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงคือเขื่อนต้องสร้างแต่จะ ลดผลกระทบให้มากที่สุดได้อย่างไร ขณะที่ชาวบ้านของทั้ง 4 ประเทศมีความเห็นต่างจากรัฐบาล คือไม่อยากให้เขื่อนเกิดขึ้น ดังนั้น ตรงนี้น่าจะมีการเคลื่อนไหวร่วมกัน เช่นการร่วมลงชื่อต่อหน่วยงานที่มีอำนาจซึ่งรัฐบาลและบริษัทผู้ดำเนินกิจการ ต้องรับฟัง 


ประมวลภาพขบวนปลา:

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พ้นผิดแต่ถูกตามยิง ศอ.บต.สั่งสอบเหตุฆ่า 3 หนุ่มเครือข่ายยุติธรรม

Posted: 16 Sep 2012 09:47 AM PDT

เครือข่ายคดีความมั่นคง ยื่น 3 ข้อ ให้ศอ.บต.ช่วยดูแความปลอดภัย ให้เงินช่วยเหลือสมาชิก ลบข้อมูลหมายจับออกจากสารบบ เผยเซ็งถูกเรียกค้นบ่อยทั้งที่คดีสิ้นสุดแล้ว จี้สอบสายข่าวในหมู่บ้าน เหตุชี้คนมั่วทำชาวบ้านถูกจับซ้ำซาก 

สมาชิกเครือข่ายคดีความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประมาณ 40 คน นำโดยนายซูกีมัน สูหลง แกนนำเครือข่ายฯ ได้ยื่นข้อเสนอ 3 ข้อในการช่วยเหลือดูแลสมาชิก ต่อศอ.บต.โดยมี พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต.นายประมุข ละมุล รองเลขาธิการ ศอ.บต.และนายกิตติ สุระคำแหง ผู้อำนวยการสำนักบริหารยุติธรรม ศอ.บต.เป็นผู้รับข้อเสนอ เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 15 กันยายน 2555 ที่ห้องประชุมศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) อ.เมือง จ.ยะลา

สำหรับข้อเสนอทั้ง 3 ข้อ ได้แก่ 1.ให้มีมาตรการดูแล คุ้มครองความปลอดภัยแก่สมาชิกในเครือข่ายฯ รวมถึงการให้ความช่วยเหลือเยียวยา 2.ให้ประสานงานกับทุกหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้ลบข้อมูลที่เกี่ยวกับหมายต่างๆ ที่สมาชิกเคยมี ได้แก่ หมายจับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิอาญา) และหมายจับและควบคุมตัวตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน)

3.ให้มีการมาตรการคัดกรองข้อมูลการให้ข่าวของสายข่าวในชุมชน เพราะหากเกิดเหตุร้ายในชุมชน มักจะส่งผลให้สมาชิกเครือข่ายฯ ต้องถูกเชิญตัวหรือถูกควบคุมตัวซ้ำซาก

นายซูกีมัน ชี้แจงระหว่างการยื่นข้อเสนอดังกล่าวว่า เครือข่ายคดีความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เกิดจากการรวมตัวกันของผู้ที่ถูกดำเนินคดีความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันโดยบางคนอยู่ระหว่างการปล่อยตัวชั่วคราว บางคนศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง

นายซูกีมัน ชี้แจงอีกว่า สมาชิกส่วนใหญ่เป็นอาสาสมัครยุติธรรมในชุมชนด้วย โดยทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานกับทั้งหน่วยงานของรัฐและองค์กรภาคประชาสังคมในระดับชุมชน เพื่อให้ความช่วยเหลือชาวบ้านในด้านกระบวนการยุติธรรม โดยมีสมาชิกประมาณ 300 คน ครอบคลุมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส

นายซูกีมัน ชีแจงต่อไปว่า สำหรับเหตุผลของข้อเสนอแต่ละข้อ มีดังนี้ 1.ที่ผ่านมา มีสมาชิกในเครือข่ายฯถูกยิงเสียชีวิตมาแล้ว 3 ราย ได้แก่ นายอับดุลเลาะ เจ๊ะตีแม ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที 26 กรกฎาคม 2555 ที่ อ.ยะหา จ.ยะลา นายรอมลี เจ๊ะเลาะห์ ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2555 ที่ อ.ยะหา จ.ยะลา และนายมะสาวี มะสาและ ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2555 ที่ อ.ปานาเระ จ.ปัตตานี ทำให้สมาชิกที่เหลือรู้สึกไม่ปลอดภัย

นายซูกีมัน ชี้แจงว่า เหตุผลข้อที่ 2.เนื่องจากสมาชิกบางคนยังมีข้อมูลหมายจับ ป.วิอาญา และหมายจับและควบคุมตัวตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินปรากฏอยู่ในสารระบบข้อมูลหน่วยงานของรัฐ ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการเดินทางไปมาโดยเฉพาะเมื่อถูกเจ้าหน้าที่ตรวจค้นตามจุดตรวจต่างๆ ทั้งที่คดีสิ้นสุดแล้ว

นายซูกีมัน ชี้แจงด้วยว่า ส่วนเหตุผลข้อที่ 3 ขอให้หน่วยงานของรัฐตรวจสอบสายข่าวของตัวเองด้วยว่า เป็นคนที่มีนัยยะทางการเมืองหรือไม่ เช่น มีศัตรูอยู่ในหมู่บ้าน เพราะเมื่อเกิดเหตุร้ายในหมู่บ้าน จะมีสมาชิกบางคนถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อเหตุทุกครั้ง จนนำมาสู่การควบคุมตัวอย่างซ้ำซาก

พ.ต.อ.ทวี ชี้แจงระหว่างรับข้อเสนอว่า ตนมีคำสั่งให้นายกิตติแต่งตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นมาหนึ่งชุดเพื่อค้นหาความจริงกรณีการเสียชีวิตของสมาชิกในเครือข่ายฯทั้ง 3 คนดังกล่าว ซึ่งประกอบด้วย เจ้าหน้าที่รัฐ ผู้นำศาสนา ภาคประชาสังคม และมีสมาชิกเครือข่ายฯ โดยศอ.บต.รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด

พ.ต.อ.ทวี ชี้แจงอีกว่า ส่วนการช่วยเหลือเยียวยาสมาชิกเครือข่ายนั้น ตามระเบียบของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับความเสียหายและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2554 ระบุว่า ผู้ถูกควบคุมตัวหรือถูกคุมขังหรือถูกดำเนินคดีเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย และถูกควบคุมตัวหรือคุมขัง ตามป.วิอาญาโดยไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ต่อมาปรากฏหลักฐานว่าผู้นั้นมิได้กระทำผิด หรือมีการถอนฟ้อง หรือมีคำพิพากษายกฟ้องและคณะกรรมการพิจารณาว่าต้องได้รับการเยียวยา ก็ต้องได้รับการช่วยเหลือเยียวยาด้วย

พ.ต.อ.ทวี ชีแจงต่อไปว่า กรณีนี้จะมีการพิจารณาตามคำสั่งของศาล หากเป็นคดีที่ศาลยกฟ้อง ศอ.บต.จะช่วยเหลือเยียวยาทันที แต่ทั้งนี้หากเป็นคดีที่สิ้นสุดก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2555 จะได้รับเงินเยียวยาด้านจิตใจ 15,000 บาท และค่าชดเชยตามจำนวนวันที่ถูกควบคุมตัวตามกฎหมายพิเศษ ทั้งกฎอัยการศึก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และตามจำนวนวันที่ถูกขังในเรือนจำ วันละ 400 บาท แต่ไม่เกิน 200,000 บาท

พ.ต.อ.ทวี ชี้แจงว่า ส่วนกรณีที่คดีสิ้นสุดหลังจากวันที่ 1 ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป จะได้รับเงินช่วยเหลือเยียวยาด้านจิตใจ 30,000 บาท และค่าชดเชยตามจำนวนวันที่ถูกควบคุมตัวหรือถูกขังวันละ 400 บาท เช่นกัน แต่ไม่จำกัดวงเงิน

พ.ต.อ.ทวี ชี้แจงด้วยว่า ส่วนการลบข้อมูลหมายจับ การควบคุมตัวซ้ำซาก และการตรวจสอบสายข่าวในชุมชนนั้น ตนจะนำเรื่องนี้ไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

บางละเมิด: ละครเวทีฟอร์มเล็ก หัวใจใหญ่

Posted: 16 Sep 2012 07:23 AM PDT

ชวนดูละครเวที "บางละเมิด" การแสดงเดี่ยวของอรอนงค์ ไทยศรีวงศ์ จากกลุ่ม B-floor เรื่องเสรีภาพ จุลภาค มหภาค ตั้งคำถาม แลกเปลี่ยน จี้ใจดำ เรื่องที่ใครๆ ไม่อยากเอ่ยถึง 

'บางละเมิด - เพราะที่นี่มีแต่รอยยิ้ม ฉันจึงเศร้า'

เป็นการแสดงฟอร์มเล็ก ประเด็นใหญ่ ของกลุ่มละครบี-ฟลอร์ (B-floor) 

เป็นการแสดงฟอร์มเล็กจริงๆ เพราะแสดงคนเดียว คือ อรอนงค์ ไทยศรีวงศ์ ในห้องเล็กๆ ภายในสถาบันปรีดีฯ จุคนดูได้ราวสิบยี่สิบคน

แม้จะไม่ได้ใช้เทคนิค แสง สี แบบหวือหวา แต่ทุกอย่างก็ถูกออกแบบมาอย่างพิถีพิถัน เต็มไปด้วยนัยแฝง

การแสดงแบ่งเป็นส่วนๆ เชื่อมโยงกันในประเด็น "เสรีภาพ" สื่อสารทั้งเรื่องเล็ก เรื่องใหญ่ เรื่องขำ เรื่องเศร้า
เปิดให้คนดูร่วมแสดง- ร่วมตีความ- ร่วมรู้สึก ด้วยฝีมือการกำกับ เขียนบท และนำแสดงของผู้หญิงตัวเล็ก ผู้แข็งแรงและกล้าหาญ

ในปีที่ 13 ของบีฟลอร์ ด้วยธีม "สบตาความกลัว" ในฐานะผู้ผลิตงานศิลปะ พวกเขาลุกขึ้นตั้งคำถามกับเพดานของเสรีภาพในพื้นที่ร่วมที่เราเรียกว่า "สังคมไทย" ซึ่งเกี่ยวพันอย่างแยกไม่ออกกับมาตรา 112

พวกเขายอมรับว่า เมื่อก้าวมาในปริมณฑลเรื่องนี้แล้ว ทำให้พวกเขาต้อง "เซ็นเซอร์ตัวเอง" อย่างช่วยไม่ได้ เช่น ฉากเพลงสรรเสริญพระบารมี

คงไม่ผิดที่ว่า คนทำงานศิลปะนั้น 'เซ้นสิทีฟ' กับเสรีภาพและการเซ็นเซอร์ตัวเองเป็นพิเศษ

เพราะทุกอณูของงานคือตัวตน ความคิด ของศิลปินที่ต้องการจะสื่อสารออกมา ถ้าสื่อสารออกมาไม่ได้ทั้งหมดอย่างที่เป็น ก็ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นงานของเขา -- ดุจดาว วัฒนปกรณ์ บุญใหญ่" โปรดิวเซอร์ของงาน

แม้หากต้องเผชิญกับบางอย่างที่ไม่แน่ใจและเป็นผลให้ต้องเซ็นเซอร์ตัวเอง พวกเขาก็ต้องพยายามดิ้นรนนำเสนอมันออกมาไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง อย่างน้อยเพื่อให้ตอบคำถามกับสำนึกของตัวเองได้ -- อรอนงค์ ไทยศรีวงศ์

น่าแปลกก็แต่ มีศิลปินไม่มากนัก ที่ลุกขึ้นมายุ่มย่ามกับประเด็นอันสุ่มเสี่ยงและแสนดึงดูดนี้

ไม่มีคำตอบสำเร็จรูปในการตีความสำหรับคนดู

เช่นเดียวกับผู้แสดง พวกเขาก็ไม่ต้องการยัดเยียดแนวคิดใดให้ผู้ชม เพียงต้องการสื่อสาร ตั้งคำถาม และแลกเปลี่ยน

ไม่ใช่เพียงพวกเราที่ต้องจับตาการแสดงของเขา พวกเขาก็เช่นกันที่จับตาทุกปฏิกิริยาตอบสนองและทุกความคิดเห็นของเรา

เพื่อทำความเข้าใจ "ความคิด" และที่สำคัญคือ "ความรู้สึก" ในประเด็นนี้ร่วมกัน

มันเป็นละครเวทีที่ต่างฝ่ายต่างแสดงออก และต่างฝ่ายต่างจับจ้องกันและกัน

คงสรุปได้เพียงว่า นี่เป็นละครเวทีฟอร์มเล็กจัดที่เล่นกับประเด็นใหญ่จัด และต้องการหัวใจที่ใหญ่ยิ่งขึ้นไปอีกในการรับชม

ควรค่าแก่การฝ่าสายฝนและรถติดไปดู ไม่ว่าจะมีจุดยืนแบบไหน ยืนอยู่มุมไหนในสังคมนี้

มีคำเตือนเพียงเล็กน้อยเท่านั้นสำหรับผู้เป็นโรคหัวใจ (เปราะบาง) ว่าเตรียมทิชชู่ไปด้วยก็ดี สำหรับซับน้ำลายยามหัวร่อ และซับน้ำตาที่จู่ๆ อาจไหลไม่ทันตั้งตัว

350 บาททุกที่นั่ง (ซึ่งอย่าหวังว่าจะนั่งอย่างสบาย) เหลือรอบแสดงในวันที่  17, 20-24 ก.ย.นี้
แสดงวันละรอบ เวลา 19.30 น. สถาบันปรีดี พนมยงค์ ซอยทองหล่อ



===================
จองบัตรได้ที่
https://www.facebook.com/events/263829820400340/
โทร 089-167-4039, 084-713-5075
อีเมล์ bfloortheatre@gmail.com

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

Posted: 16 Sep 2012 06:49 AM PDT

คนดีจะมีพื้นที่ยืนมาก คนไม่ดีก็มีพื้นที่ยืนเช่นกัน ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของเราทุกคนที่จะสร้างคนดีให้ยืนอยู่บนสังคมไทยอย่างหนาแน่นเต็มบ้าน เต็มเมือง เพื่อเบียดคนไม่ดีให้ไม่มีพื้นที่ยืนอีกต่อไป

16 กันยายน 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น