โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

นายกรัฐมนตรีมาเลเซียทุ่มงบประมาณปูพรมก่อนเลือกตั้ง

Posted: 28 Sep 2012 02:19 PM PDT

นายกรัฐมนตรีมาเลเซียอภิปรายงบประจำปี 56 ตั้งงบไว้ 2.29 ล้านล้านบาท ขาดดุล 4% พร้อมมาตรการอัดฉีดก่อนศึกเลือกตั้ง ทั้งแจกโบนัส ขรก. เพิ่มเบี้ยเลี้ยงทหาร ลดภาษี แจกเงินครัวเรือน-นักเรียน คืนเงิน 1,800 บาทเมื่อซื้อสมาร์ทโฟน ขณะที่หนี้ภาครัฐแตะ 4.57 ล้านล้านบาท สูงสุดเป็นประวัติการณ์

เย็นวานนี้ (28 ก.ย.) นาจิป ราซัก (Najib Razak) นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ได้แถลงสรุปงบประมาณประจำปี 2013 (พ.ศ. 2556) ที่สภา โดยมีการถ่ายทอดสดไปทั่วประเทศ โดยการอภิปรายดังกล่าวเปรียบเสมือนมาตรวัดความไว้วางใจของรัฐบาล

ทั้งนี้เป็นการแถลงงบประมาณประจำปี ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 13 ที่จะมีการเลือกตั้งภายในเดือนมิถุนายนปีหน้า หากไม่มีการยุบสภาเสียก่อน โดยในปัจจุบัน นาจิปและพรรคร่วมรัฐบาล "แนวร่วมแห่งชาติ" (Barisan Nasional) ซึ่งครอง 140 ที่นั่งในสภาจาก 222 ที่นั่ง กำลังเผชิญความท้าทายจากพรรคฝ่ายค้าน "ภาคีประชาชน" (Pakatan Rakyat) ซึ่งนำโดยอดีตรองนายกรัฐมนตรีอย่างอันวาร์ อิบราฮิม (Anwar Ibrahim) ซึ่งในการเลือกตั้งเมื่อปี 2551 ที่ผ่านมา พรรคฝ่ายค้านสามารถเพิ่มที่นั่งได้มากขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการถึง 82 ที่นั่ง และปกครองรัฐบาลท้องถิ่น 4 รัฐจาก 13 รัฐในมาเลเซีย

 

นายกรัฐมนตรีมาเลย์อ้างประชาชนเลือกมาเป็นรัฐบาล 12 รอบ เป็นตัวชี้วัดว่ารัฐบาลทำถูกต้อง

โดยนายกรัฐมนตรีนาจิป ราซัก เริ่มอภิปรายว่า "55 ปีที่ผ่านมา ประชาชนมาเลเซียให้ความไว้วางใจต่อรัฐบาลเดียวในการพัฒนาประเทศมาโดยตลอด เราขอขอบคุณในความไว้วางใจนี้ เราจะไม่ทรยศประชาชน ขณะเดียวกันก็จะตอบแทนความไว้วางใจที่ได้รับอย่างเพิ่มทวี"

รัฐบาลนี้ไม่เคยสัญญาว่าจะให้พระจันทร์ ดวงดาว หรือแกแลกซี่ เราไม่เคยวาดภาพสวยงามที่อยู่บนพื้นฐานของความคิดปรารถนาดี แต่ในฐานะของรัฐบาลที่มีความรับผิดชอบ เรายังคงพูดแต่ความจริงที่อาจไม่น่าพอใจ

"เราไม่เคยชักนำประชาชนด้วยนิยายเหลือเชื่อ ในทางกลับกันเราหาทางออกและความเป็นผู้นำที่ดีให้กับทุกปัญหาที่ประชาชนเผชิญ"

"การบริหารประเทศที่มีความซับซ้อนหลากหลายทางเชื้อชาติอย่างมาเลเซียไม่ใช่สิ่งง่าย จำเป็นต้องมีความจริงใจและมีปัญญา เพราะคนมาเลเซียมีวิสัยทัศน์มากๆ ในทางข้อเท็จจริง ประชาชนได้ลงมติให้รัฐบาลพรรคเดียวมาเป็นเวลา 12 ครั้งนับตั้งแต่ปี 1959 (พ.ศ. 2502) เป็นตัวชี้วัดว่ารัฐบาลทำในสิ่งที่ถูกต้อง

"ความไว้วางใจที่ดำรงอยู่ระหว่างประชาชนกับรัฐบาลจะไม่หักสลายไม่ว่าความหลอกลวงจะแข็งขันอย่างไร ในความปรารถนาดีนี้ งบประมาณที่ข้าพเจ้าจะแจกแจงนี้จะเป็นเหมือนการตอบแทนสำนึกบุญคุณต่อชาวมาเลเซียทั้งมวลที่ได้มอบความไว้วางใจให้กับพวกเรามาเป็นเวลายาวนาน"

 

ตั้งงบ 2.5 แสนล้านริงกิต ขาดดุลร้อยละ 4 - หนี้ต่อ GDP สูงสุดเป็นประวัติการณ์

โดยนายกรัฐมนตรีมาเลเซียแถลงว่าจะใช้งบประมาณในปีงบประมาณ 2556 ทั้งสิ้น 251,600 ล้านริงกิต (2.29 ล้านล้านบาท) ใช้จ่ายมากกว่าปีงบประมาณ 2012 อยู่ 19,600 ล้านริงกิต (1.78 แสนล้านบาท) สำหรับงบประมาณแบ่งเป็นงบประมาณด้านการดำเนินงาน 201,900 ล้านริงกิต และงบประมาณด้านการพัฒนา 49,700 ล้านริงกิต

โดยในปีงบประมาณ 2556 รัฐบาลมาเลเซียพยายามลดการขาดดุลงบประมาณลง เหลือขาดดุลคิดเป็นร้อยละ 4 ของรายได้ที่จัดเก็บ ซึ่งลดลงร้อยละ 0.5 จากปีนี้ที่ขาดดุลร้อยละ 4.5 และจะพยายามลดไปให้เหลือร้อยละ 3 ในปี 2558

ขณะเดียวกันปีนี้รัฐบาลกลางมาเลเซียมีสัดส่วนหนี้ต่อ GDP สูงสุดนับในช่วงทศวรรษที่ 1990 โดยมีหนี้สาธารณะอยู่ 502,400 ล้านริงกิต (4.57 ล้านล้านบาท) คิดเป็นร้อยละ 53.7% (ดูอินโฟกราฟิกจาก Malaysiakini ที่นี่)

 

อันวาร์ อิบราฮิม จวกนายกรัฐมนตรีไม่แตะเรื่องงบประมาณขาดดุลขยายตัว และธุรกิจผูกขาด

ด้านนายอันวาร์ อิบราฮิม ผู้นำพรรคฝ่ายค้าน อภิปรายในสภาว่า การประกาศงบประมาณดูเหมือนจะเป็นสิ่งน่าดึงดูดใจ แต่ก็แฝงเรื่องการเลือกตั้งอยู่เป็นส่วนผสมเล็กน้อย ปัญหาพื้นฐานของประเทศก็คือ กลุ่มอุปถัมภ์ที่่ร่ำรวยและครอบครัวสะสมกำไรนับพันล้านริงกิต ผ่านวิธีการที่ไม่เหมาะสมและไม่ถูกตรวจสอบ ซึ่งรวมไปถึงการผูกขาดธุรกิจผู้ผลิตพลังงานอิสระ และหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

โดยที่เราได้เห็นการประกาศอย่างหนักแน่นว่าจะประกันผลประโยชน์สาธารณะทั่วไปของมาเลเซีย แต่นาจิปก็ล้มเหลวในเรื่องนี้ เขาไม่กล้าหาญที่จะอภิปรายในเรื่องการผูกขาด

นอกจากนี้อันวาร์ อิบราฮิมยังอภิปรายในเรื่องที่นายรัฐมนตรีไม่ได้พิจารณาในเรื่องสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและงบประมาณขาดดุลที่ขยายตัวมากขึ้นด้วย

 

กางงบประมาณมาเลเซีย 2013 ผุดมาตรการส่งเสริม – อัดฉีด กระตุ้นเศรษฐกิจ

สำหรับงบประมาณประจำปี 2556 ของมาเลเซีย กระทรวงการคลังได้งบประมาณมากที่สุดคือตกราว 4 หมื่นล้านริงกิต รองลงมาคือกระทรวงศึกษาธิการ 3.8 หมื่นล้านริงกิต กระทรวงสาธารณสุข 1.8 หมื่นล้านริงกิต สำนักนายกรัฐมนตรี 1.7 หมื่นล้านริงกิต กระทรวงกลาโหม 1.5 หมื่นล้านริงกิต กระทรวงการศึกษาขั้นสูง 1.3 หมื่นล้านริงกิต กระทรวงมหาดไทย 1 หมื่นล้านริงกิต และกระทรวงอื่นๆ

ในด้านรายละเอียด มีหลายโครงการที่เน้นกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น ตั้งงบประมาณ 1 พันล้านริงกิต  เป็นงบพัฒนากิจการ SME กองทุนสำหรับผู้ค้ารายย่อย และรัฐบาลจะจ่ายเงินอุดหนุนส่วนที่เป็นดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 2 ให้กับผู้ที่กู้เงินจากกองทุนกู้ยืมสำหรับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ที่กู้มาในวงเงินสูงสุดไม่เกิน 100,000 ริงกิต

มาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ตั้งเป้าให้มีจำนวนนักท่องเที่ยว 26.8 ล้านคน โดยจะยกเว้นการเก็บภาษี 3 ปีสำหรับบริษัทนำเที่ยวที่สามารถดึงจำนวนลูกค้าในประเทศ 1,500 คน และมีลูกค้าต่างประเทศ 750 คน

 

จ่ายเบี้ยเลี้ยง 200 ริงกิตต่อเดือนสำหรับชาวประมง ตั้งงบอุดหนุนการเพาะปลูก

ด้านการเกษตร นายกรัฐมนตรีมาเลเซียแถลงว่าเพื่อส่งเสริมความมั่นคงทางอาหาร รัฐบาลจะจ่ายเบี้ยเลี้ยง 200 ริงกิตต่อเดือนสำหรับชาวประมง และใช้งบประมาณ 2.4 พันล้านริงกิต เพื่อช่วยชาวนาลดต้นทุนในการปลูกข้าว โดยจะจ่ายเงินอุดหนุนพื้นที่เพาะปลูก อุดหนุนค่าปุ๋ย อุดหนุนการเพิ่มพื้นที่เพาะปลูก และอุดหนุนราคาข้าว และสนับสนุนเมล็ดพันธุ์คุณภาพสูง

รัฐบาลมาเลเซียจะยังคงจ่ายอุดหนุนราคาน้ำตาล  0.2  ริงกิตต่อกิโลกรัม ทำให้ราคาขายอยู่ที่ กิโลกรัมละ 2.5 ริงกิต ในเขตคาบสมุทรมลายา และกิโลกรัมละ 2.6 ริงกิตในรัฐซาบาห์และรัฐซาราวักที่เกาะบอร์เนียว

 

ตั้งงบปรับปรุงสาธารณูปโภคในโรงเรียน และจ่ายเงินอุดหนุนการปลดระวางรถรับส่งนักเรียนรุ่นเก่า

ด้านการศึกษา ตั้งงบ 1 พันล้านริงกิต เพื่อปรับปรุงสาธารณูปโภคในโรงเรียน งดเว้นภาษี 5 ปี สำหรับผู้ประกอบกิจการโรงเรียนอนุบาล เพิ่มเบี้ยเลี้ยงคิดเป็นงบประมาณทั้งสิ้น 500 ล้านริงกิต เพื่อพัฒนาครูผู้สอนในวิชาหลักได้แก่ภาษามลายู ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์

มีการออกมาตรการปลดระวางรถรับส่งนักเรียนที่มีสภาพเก่า โดยนายกรัฐมนตรีมาเลเซียแถลงว่า เนื่องจากห่วงใยความปลอดภัยของนักเรียนที่โดยสารรถรับส่งนักเรียน ซึ่งรถรับส่งนักเรียนหลายคันอยู่ในสภาพย่ำแย่ ผู้ประกอบการไม่สามารถจ่ายค่าบำรุงรักษาที่เพิ่มขึ้น และรถก็หมดอายุการใช้งานแล้ว รัฐบาลจึงจะจ่ายเงินชดเชย 10,000 ริงกิต และจ่ายอุดหนุนดอกเบี้ยร้อยละ 2 สำหรับการกู้เงินเพื่อซื้อรถโรงเรียนขนาดระหว่าง 12 - 18 ที่นั่ง คันใหม่ เพื่อแทนที่รถโรงเรียนคันเก่าที่มีอายุการใช้งาน 25 ปีขึ้นไป

ในด้านส่งเสริมการวิจัย มีการตั้งงบประมาณ 600 ล้านริงกิต เป็นกองทุนวิจัยและการพัฒนาสำหรับมหาวิทยาลัย 5 แห่งโดยมุ่งเน้นเรื่องนาโนเทคโนโลยี วิศวกรรมยานยนต์ เทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีอวกาศ  และออกมาตรการงดเว้นภาษีให้กับการลงทุนเพื่อการวิจัยและการพัฒนา ตั้งงบอุดหนุน 2 พันล้านริงกิตสำหรับเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

สร้างคลินิกเพิ่ม พัฒนาชนบท ติดตั้งไฟฟ้า ประปาหลายหมื่นครัวเรือน

ด้านการพัฒนาชนบท มีการตั้งงบประมาณ 88 ล้านริงกิตสำหรับการพัฒนาชุมชนชาวโอรัง อัสลี (ชาวซาไก) สร้างแท็งก์น้ำ 40,000 แห่งในรัฐซาบาห์ และรัฐซาราวัก ซึ่งอยู่ห่างไกลบนเกาะบอร์เนียว ติดตั้งไฟฟ้าสำหรับ 19,000 ครัวเรือน และติดตั้งประปา 24,000 ครัวเรือน จะตัดถนนในพื้นที่ชนบทเป็นระยะทางรวม 441 กิโลเมตร

ด้านสาธารณสุข ตั้งงบประมาณ 100 ล้านริงกิต เพื่อปรับปรุงคลินิกของรัฐบาล 350 แห่ง เปิดคลินิก "Klinik 1Malaysia" เพิ่มอีก 70 แห่ง ทำให้มีจำนวนรวมทั่วประเทศเป็น 240 แห่ง

นอกจากนี้จะมีการสร้างศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบรนด์ 100 แห่ง ภายในปี 2558 ใช้งบประมาณ 150 ล้านริงกิต

 

ส่งเสริมแม่เลี้ยงเดี่ยวเป็นผู้ประกอบการ และโครงการสนับสนุนให้ผู้มีรายได้น้อยเพิ่มรายได้

ด้านกิจการส่งเสริมสตรี ครอบครัว และชุมชน นายกรัฐมนตรีมาเลเซียแถลงว่า จะมีโครงการส่งเสริมแม่เลี้ยงเดี่ยว ให้ปรึกษาและอบรมแม่เลี้ยงเดี่ยวเป็นผู้ประกอบการ ตั้งงบประมาณ 50 ล้านริงกิต สำหรับโครงการธุรกิจออนไลน์ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยโดยเฉพาะสตรี เพื่อใช้ธุรกิจออนไลน์เพิ่มยอดขาย โดยจะให้ทุน 1,000 ริงกิต

ตั้งงบประมาณ 1.2 พันล้านริงกิต ในโครงการ "1Malaysia Welfare Programe" ภายใต้กระทรวงการพัฒนาสตรี ครอบครัว และชุมชน เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุ เด็ก และแรงงานพิการ โดยเฉพาะผู้ป่วยเรื้อรัง ตั้งงบประมาณ 400 ล้านริงกิตสำหรับโครงการ "1Azam" เพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยให้สามารถเพิ่มรายได้

นอกจากนี้จะเพิ่มศูนย์ดูแลอีก 6 แห่ง สำหรับผู้สูงอายุ เด็กข้างถนนและผู้ที่ต้องการที่พักชั่วคราว และสร้างโรงพยาบาลที่เมืองอีโปสำหรับผู้ป่วยยากจน

 

สร้างที่อยู่อาศัยชานเมืองกัวลาลัมเปอร์ 1.23 แสนยูนิต

งบประมาณด้านที่อยู่อาศัย จะสร้างที่อยู่อาศัย 123,000 ยูนิต ในพื้นที่ชานเมืองทางตะวันตกและทางใต้ของกัวลาลัมเปอร์ ส่วนโครงการบ้านหลังแรก ผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการต้องมีรายได้ขั้นต่ำระหว่าง 3,000 ถึง 5,000 ริงกิต และสำหรับคู่สมรสจะต้องมีรายได้รวมกันไม่เกิน 10,000 ริงกิต โดยจะสามารถซื้อบ้านที่มีราคาไม่เกิน 400,000 ริงกิต

ส่วนภาษีที่อยู่อาศัย ในสองปีแรกจะเก็บร้อยละ 15 ของมูลค่าและ ที่อยู่อาศัยที่ซื้อมาแล้ว 2-5 ปี จะเก็บภาษีร้อยละ 10 ของมูลค่า และไม่มีการเก็บภาษีที่อยู่อาศัยอีกหลังจากซื้อมาแล้ว 5 ปี

 

ออกซุปเปอร์ประชานิยม แจกเงินช่วยเหลือก่อนเลือกตั้ง

ขณะเดียวกัน  ก็มีมาตรการ "ซุปเปอร์ประชานิยม" ทิ้งทวนก่อนถึงการเลือกตั้งทั่วไปที่มาถึง  สำหรับครอบครัวที่มีรายได้รวมกันไม่เกิน 3,000 ริงกิตต่อเดือน จะได้รับเงินช่วยเหลือ 500 ริงกิต และสำหรับผู้ที่มีอายุ 21 ขึ้นไป ยังไม่ได้แต่งงาน และมีรายได้ไม่ถึง 2,000 ริงกิตต่อเดือน จะได้รับเงินช่วยเหลือ 250 ริงกิต โดยจะจ่ายให้ในต้นปี 2556 โดยมาตรการจ่ายเงินช่วยเหลือแบบให้เปล่านี้ คล้ายกับที่นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ลี เซียน ลุง เน้นย้ำมาตรการช่วยเหลือในถ้อยแถลงเนื่องในวันชาติสิงคโปร์เมื่อ 9 สิงหาคมที่ผ่านมา (ลิ้งที่เกี่ยวข้อง)

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีมาเลเซียยังออกมาตรการลดค่าโดยสารรถไฟชานเมือง (Komuter) ลงครึ่งราคา สำหรับผู้มีรายได้น้อยกว่า 3,000 ริงกิตต่อเดือน และจ่ายเงินคืน 200 ริงกิต ให้ผู้ที่มีอายุระหว่าง 21 ถึง 30 ปีที่ซื้อโทรศัพท์แบบสมาร์ทโฟน และจะตรวจมะเร็งเต้านมฟรีสำหรับสตรีที่อายุ 40 ปีขึ้นไป หรือคิดเป็นมูลค่า 25,000 ริงกิต

 

จ่ายโบนัสเดือนครึ่งให้ข้าราชการ เพิ่มเบี้ยเลี้ยงทหาร 200 ริงกิต

โดนมาเลเซีย ประเทศซึ่งมีข้าราชการ 1.4 ล้านคน อันเป็นสัดส่วนข้าราชการต่อประชากรสูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น นายกรัฐมนตรีมาเลเซียแถลงว่าจะมีการจ่ายโบนัสให้กับข้าราชการ 1 เดือนครึ่ง โดยใช้วิธีทยอยจ่าย 3 งวด ได้แก่สิ้นสุดเดือนรอมฎอนที่ผ่านมา 1 งวด สิ้นเดือนธันวาคม 1 งวด และเดือนมกราคมปีหน้า อีก 1 งวด

สำหรับข้าราชการในกองทัพ จะมีการเพิ่มเบี้ยเลี้ยงพิเศษสำหรับทหารประจำการเป็นคนละ 200 ริงกิตต่อเดือน มีการตั้งเบี้ยเลี้ยงแบบจ่ายงวดเดียว 1 พันริงกิตต่อรายให้กับทหารผ่านศึกจำนวน 224,000 นาย ที่รับราชการมาแล้ว 21 ปี และจะเพิ่มเบี้ยเลี้ยงให้ทหารกองหนุน จากเดิมชั่วโมงละ 4 ริงกิต เป็นชั่วโมงละ 7.8 ริงกิต  นอกจากนี้มีการตั้งงบประมาณตัดเครื่องแบบใหม่ให้กับหน่วยอาสาสมัครพลเรือน (RELA Corp) 300,000 คน

 

ออกมาตรการผ่อนคลายทางภาษี คืนภาษี และลดอัตราภาษีลงร้อยละ 1

สำหรับมาตรการภาษี นายกรัฐมนตรีมาเลเซียแสดงความกังวลต่อค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นและรายการภาษีที่ประชาชนต้องจ่าย จึงมีการออกมาตรการผ่อนคลายภาระทางภาษี 20 รายการ และมาตรการคืนภาษี 2 รายการ ซึ่งจะทำให้มีผู้ที่ถึงเกณฑ์จ่ายภาษีอยู่ที่ 1.7 ล้านคน จากจำนวนประชากรวัยทำงานทั้งประเทศ 12 ล้านคน โดยมาตรการสำคัญคือจะลดอัตราภาษีเงินได้ลงร้อยละ 1 สำหรับผู้ต้องจ่ายภาษีเงินได้ระหว่าง 2,500 ริงกิต ถึง 50,000 ริงกิต และมาตรการลดภาษีสำหรับสหกรณ์ ประมาณจะลดลงอยู่ระหว่างร้อยละ 1 ถึง ร้อยละ 7 โดยนายกรัฐมนตรีมาเลเซียกล่าวว่าจะทำให้สมาชิกสหกรณ์ในประเทศ 7 ล้านคน ได้รับประโยชน์และเป็นส่งเสริมกิจการสหกรณ์

 

เด็กเล็กได้เงินช่วยเหลือ 100 ริงกิต เด็กโตได้คูปองซื้อหนังสือ 250 ริงกิต และส่วนลดเงินกู้เพื่อการศึกษา

ในด้านการลดค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา จะตั้งงบประมาณ 2.6 พันล้านริงกิต เพื่อช่วยเหลือด้านสวัสดิการสำหรับนักเรียน เพื่อเป็นค่าอาหาร ตำราเรียน ค่าธรรมเนียมเบ็ดเตล็ดของนักเรียน และตั้งงบประมาณไว้ 540 ล้านริงกิต เพื่อจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับนักเรียนโรงเรียนประถมและมัธยมทุกคน รายละ 100 ริงกิต หรือจะมีนักเรียน 5.4 ล้านคนทั่วประเทศที่ได้รับประโยชน์จากมาตรการนี้

นอกจากนี้รัฐบาลจะดำเนินนโยบายบัตรกำนัลสำหรับซื้อหนังสือ "1Malaysia Book Voucher" สำหรับนักเรียนที่เรียนในระดับวิทยาลัยและเตรียมอุดมศึกษา โดยจะเพิ่มมูลค่าของบัตรกำนัลจาก 200 ริงกิต เป็น 250 ริงกิต สำหรับนักเรียน 1.3 ล้านคน หรือคิดเป็นงบประมาณทั้งสิ้น 325 ล้านริงกิต

ผู้ที่สามารถชำระเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา จากกองทุนการศึกษาขั้นสูงแห่งชาติ (PTPTN) ได้ทั้งหมดที่กู้ยืมมา จะได้รับส่วนลดร้อยละ 20 ของจำนวนที่ต้องชำระ ทั้งนี้จะต้องชำระคืนระหว่างวันที่ 1 ต.ค. นี้ ถึง 30 ก.ย. 56 ส่วนผู้ที่ชำระเงินกู้ยืมอย่างสม่ำเสมอทุกงวดจะได้รับส่วนลดร้อยละ 10

 

ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก

Dato' Sri Mohd Najib Tun Haji Abdul Razak Perdana Menteri Malaysia, The 2013 Budget Speech, Office of the Prime Minister of Malaysia, 28 September 2012  http://www.pmo.gov.my/?menu=speech&news_id=628&page=1676&speech_cat=2

Anwar: Budget fails to address cronyism, monopolies, 7.59PM Sep 28, 2012, Malaysiakini http://www.malaysiakini.com/news/210235

Budget 2013 at a glace, Azlan Zamhari, Keuk Ser Kuang Keng, Prasadh Michael Rao and Denise Ch'ng, Malaysiakini http://www.malaysiakini.com/news/210177

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พระองค์เจ้าหญิงสิริวัณณวรี ติดอันดับ 7 เจ้าหญิงโดดเด่นที่สุดในโลก

Posted: 28 Sep 2012 07:55 AM PDT

พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ทรงขยับอันดับจากปีแล้วซึ่งอยู่อันดับที่ 9 มาสู่อันดับที่ 7 ในปีนี้จากการสำรวจของ askmen โดยเว็บไซต์ดังกล่าวระบุเหตุผลที่ทรงเป็นเจ้าหญิงมาแรงที่สุดในอันดับ 7 ว่าทรงสำเร็จการศึกษาด้านแฟชั่นและการออกแบบเสื้อผ้าจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ และทรงแสดงพระปรีชาสามารถด้านแฟชั่นผ่านงานแฟชั่นโชว์ที่ปารีส

โดยปีที่ผ่านมา ซึ่งทรงติดอันดับ 9 นั้น askmen ให้เหตุผลว่า   ความทรงเสน่ห์ที่เหนือกว่าการเป็นเจ้าหญิงต่างแดนนั้นก็คือ การที่ทรงเป็นราชวงศ์ที่ครองทรัพย์สินสูงถึง 35,000 ล้านเหรียญสหรัฐ, พระเจ้าหลานเธอ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์ของไทย ทรงเป็นนักออกแบบที่ประสบความสำเร็จและได้แสดงพระปรีชาสามารถในด้านงานออกแบบทั้งที่ปารีสและกรุงเทพ

สำหรับเจ้าหญิงพระองค์อื่นๆ ที่ติดอันดับในปีนี้ได้แก่

อันดับ 10 ซาร่า ฟิลิป แห่งราชวงศ์อังกฤษ

ทรงเป็นพระธิดาองค์โตของเจ้าหญิงแอน และมาร์ก ฟิลิป ทรงอยู่ในลำดับที่ 14 ในการสืบสันตติวงศ์ อภิเษกสมรสกับไมค์ ทินดัล นักกีฬารักบี้ทีมชาติ เมื่อเดือนกรกฎาคม ปีที่แล้ว

อันดับ 9. เจ้าหญิงโซนัม เดเชน วังชุก แห่งภูฏาน

30 ชันษา, ทรงสมบูรณ์พร้อมทั้งสิริโฉมและปรีชาสามารถ สำเร็จการศึกษาด้านการระหว่างประเทศจากสแตนฟอร์ด และปริญญาโทด้านกฎหมายจากฮาวาร์ด ทรงเป็นประธานสถาบันกฎหมายแห่งชาติสังกัดกระทรวงยุติธรรม ราชอาณาจักรภูฏาน พระสวามีคือ ดาชู พับ ดับลิว ดอร์จิ ซึ่งมีความสามารถทัดเทียมกัน ทำงานในกระทรวงการคลัง

อันดับ 8 เจ้าหญิงธีโอโดรา

พระธิดาในอดีตกษัตริย์คอนสแตนตินที่ 2 แห่งกรีซ (King of Greece Constantine II ) และเจ้าหญิง แอนน์-มารี แห่งเดนมาร์ก (Princess Anne-Marie of Denmark) แม้ประเทศกรีซจะยกเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์ไปแล้ว แต่พระองค์ยังคงพระยศเดิมไว้ จุดเด่นที่สำคัญคือ "ความกล้าและความสวย" ซึ่งใครได้พบเห็น ย่อมไม่อาจปฏิเสธ

อันดับ 7 พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์

อันดับ 6. เจ้าหญิงชาร์ลีน แห่งโมนาโค

34 ชันษา,  ได้รับการขนามนามว่าเป็น "เจ้าหญิงอย่างไม่เต็มใจ" เนื่องจากมีข่าวหลายครั้งว่าพยายามหนีกลับประเทศแอฟริกาก่อนการพิธีอภิเษก อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนี้ทรงดำรงตำแหน่ง เจ้าหญิงแห่งโมนาโค พระชายาในเจ้าชายอัลแบร์ที่ 2 แห่งโมนาโค

ก่อนหน้านี้ เจ้าหญิชาร์ลีนเป็นนักกีฬาว่ายน้ำทีมชาติแอฟริกา

อันดับ 5 เจ้าหญิงเลติเซียแห่งสเปน

39 ชันษา, ทรงสามารถทำให้ผู้พบเห็นต้องอ้าปากค้างในสไตล์ที่โดดเด่น ก่อนที่จะอภิเษกกับเจ้าชายฟิลลิปแห่งออสเตรีย ทรงเป็นผู้สื่อข่าว และเคยแต่งงานกับครู ทรงมีธิดา 2 องค์ ไม่เพียงทรงงานอย่างเต็มพระปรีชาสามารถ แต่ทรงเป็นผู้นำด้านแฟชั่นด้วย

อันดับ 4 เจ้าหญิงอเล็กซานเดรียแห่งลักแซมเบิร์ก

21 ชันษา, พระนัดดาแกรนด์ดัชเชสมาเรีย เทเรซา และดยุคแห่งลักแซมเบิร์ก ทรงขยับลำดับสืบสันตติวงศ์จากอันดับ 4 มาเป็นอันดับ 3 หลังจากพระเชษฐาสละสิทธิ์ โปรดเทนนิส สกี ว่ายน้ำ และเต้นรำ

อันดับ 3. เจ้าหญิงแมดเดอลีน แห่งสวีเดน

29 ชันษา, ทรงมีสิริโฉมงดงาม และอยู่ในลำดับ 4 ในการสืบสันตติวงศ์ ทรงหมั้นกับโจนาส เบิร์กสตอร์ม นักกฎหมายอยู่ 7 ปี ก่อนที่จะถอนหมั้นไปเนื่องจากถูกจับได้ว่าทรงนอกใจคู่หมั้น ไปมีใจให้กับเพื่อนนักเรียนด้วยกัน ปัจจุบันนี้ทรงพำนักอยู่ในนิวยอร์ก และมีความสัมพันธ์กับ คริส โอเนียล นักการเงิน

อันดับ 2. เจ้าหญิงฮายา แห่งดูไบและจอร์แดน

37 ชันษา, พระชายาแห่งชีคโมฮัมเหม็ด บิน ราชิด อัล มัคทุม แห่งดูไบ ทรงเป็นธิดาแห่งกษัตริย์ฮุสเซ็นแห่งจอร์แดน ทรงมีพระปรีชาสามารถหลายด้าน ร่วมการแข่งขันกีฬาหลายชนิด ปัจจุบันทรงดำรงตำแหน่งประธานสมาคมกีฬาและวัฒนธรรมนานาชาติแห่งจอร์แดน และประธานสหภาพนักกีฬาขี่ม้านานาชาติ และทรงเข้าร่วมในกิจกรรมด้านมนุษยธรรมบ่อยครั้ง ทรงโดดเด่นด้วยแฟชั่นที่ทันสมัยและน่าจะเป็นผู้ที่นำแฟชั่นที่สุดในลิสต์นี้แม้จะทรงมีพระชนมายุมากที่สุดก็ตาม

อันดับ 1. ชาร์ล็อต คาซีรากี

25 ชันษา, พระธิดาของเจ้าหญิงคาโรลีนแห่งโมนาโค และสเตฟาโน คาซีรากี ด้วยรูปลักษณ์ทีงดงามนั้นทำให้หวนนึกถึงพระอัยกา คือพระราชินีเกรซ เคลลี ทรงเป็นนักเขียนพิเศษ (editor-at-large) ให้กับ Above นิตสารหรูที่ตีพิมพ์ในลอนดอน
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เครือข่ายญาติ 112 ยื่นหนังสืออธิบดีศาลอาญา จี้ปฏิบัติตามข้อเสนอ คอป.

Posted: 28 Sep 2012 06:18 AM PDT

ญาติ 112 ยื่นหนังสืออธิบดีศาลอาญา เรียกร้องให้ดำเนินการให้สิทธิประกันตัวผู้ต้องหา 112 ตามที่ คอป.เสนอ พร้อมชวนประชาชน นักวิชาการร่วมเขียนจดหมายถึงศาล

 

28 ก.ย.55  ที่ศาลอาญา รัชดา นางสุกัญญา พฤกษาเกษมสุข ตัวแทนเครือข่ายญาติและผู้ประสบภัยจากมาตรา 112 เดินทางมายื่นหนังสือถึงอธิบดีศาลอาญา  เรียกร้องให้ให้ศาลยุติธรรมพิจารณาข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) เกี่ยวกับคดีหมิ่นสถาบัน หรือ การใช้มาตรา 112  และเร่งอำนวยความยุติธรรมในเรื่องสิทธิการประกันตัวให้ผู้ต้องขังในคดีนี้ที่ยังอยู่ระหว่างต่อสู้คดี 3 ราย คือ นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข, นายสุรภักดิ์

หนังสือดังกล่าว อ้างถึงข้อเสนอในรายงานของ คอป. ที่ระบุข้อเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติการกล่าวอ้างสถาบันกษัตริย์เพื่อประโยชน์ทางการเมือง ยุติการใช้กฎหมายหมิ่นสถาบันกษัตริย์ รัฐบาลและรัฐสภาควรพิจารณาแก้ไขกฎหมายหมิ่นสถาบันกษัตริย์ ซึ่งมีปัญหาการบังคับใช้ที่มีบทลงโทษสูงเกินสัดส่วนของความผิด รวมทั้งเสนอให้ดำเนินการจริงจังให้สิทธิการประกันตัวผู้ถูกกล่าวหา

นางสุกัญญา กล่าวว่า ต้องการเรียกร้องให้หน่วยปฏิบัติพิจารณาและดำเนินการตามข้อเสนอของ คอป.อย่างจริงจัง รวมทั้งอยากให้ คอป.เอง  นักวิชาการ หรือประชาชนทั่วไป ช่วยกันเรียกร้องไปยังศาล หรือหน่วยงานยุติธรรมต่างๆ ให้นำข้อเสนอคอป.ไปปฏิบัติ โดยอาจจะทำหนังสือ ทำจดหมาย ส่งตรงไปยังศาลอย่างเช่นที่เครือข่ายญาติได้ดำเนินการในครั้งนี้

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หลายฝ่ายห่วงคุณภาพชีวิต นร.ชาวเขา รร.ดอนจั่น หลังหามส่ง รพ.ร่วมร้อย

Posted: 28 Sep 2012 05:02 AM PDT

สืบเนื่องจากกรณีหามเด็กชาวเขา ร.ร.วัดดอนจั่น เชียงใหม่ ส่งรพ.กว่าร้อยคน คาดไข่บริจาคใส่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทำพิษ ครูปกครองบล๊อครถพยาบาล อ้างขอคัดกรองก่อน เกรงเด็กแกล้งป่วย สสจ. ส่งทีมระบาดวิทยา เก็บตัวอย่างอาหารสืบสวนโรค ด้าน ผอ.ร.ร. โยนเด็กกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปโดยไม่ได้นำไปต้ม


เว็บไซต์คมชัดลึกรายงานว่าเมื่อเวลา 09.30 น. ของวันที่ 27 ก.ย. 55  ที่ผ่านมา ศูนย์กู้ชีพเวียงพิงค์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ รับแจ้งครูในโรงเรียนวัดดอนจั่น ต.ท่าศาลา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ว่ามีเด็กท้องเสีย รุนแรงกว่าร้อยราย จึงระดมรถพยาบาลและรถกู้ภัยเข้าช่วยเหลือและนำตัวส่งโรงพยาบาล ขณะที่ ทพ.ดร.สุรสิงห์ วิศรุตรัตน์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมทีมแพทย์ ระบาดวิทยาเข้าตรวจสอบ

ทีมแพทย์ได้ใช้ห้องพยาบาลของโรงเรียนเป็นจุดคัดกรองและพบเด็กนักเรียนชายหญิง ป.1- ม.3 มีอาการท้องเสียรุนแรงและอ่อนแรง เจ้าหน้าที่จึงช่วยกันนำส่งโรงพยาบาลสันกำแพง จำนวน 40 คน โรงพยาบาลนครพิงค์ 16 คน รวมทั้งโรงพยาบาลประจำอำเภอใกล้เคียงอีก 11 คน รวมทั้งหมด 67 คน พร้อมระดมทีมแพทย์ฉุกเฉินเข้าให้การรักษาในโรงพยาบาลต่างๆ ที่นำส่ง

นอกจากนี้ยังมีนักเรียนอีกประมาณ 10 คน ที่ทีมแพทย์ให้รอดูอาการที่ห้องพยาบาล โดยให้ดื่มน้ำเกลือแร่ พร้อมจัดรถพยาบาลเตรียมพร้อมที่โรงเรียนเพื่อนำส่งโรงพยาบาล ได้ทันทีหากอาการทรุด ซึ่งพบว่าตลอดทั้งวันมีการทยอยนำส่งโรงพยาบาลต่อเนื่อง

นายแพทย์ธรณี กายี หัวหน้าทีมแพทย์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลนครพิงค์ เผยว่า เด็กนักเรียนส่วนใหญ่มีอาการท้องเสียรุนแรง อาเจียน มีไข้ และชีพจรเต้นเร็วจากการสูญเสียน้ำ ทีมแพทย์ได้ให้ยาฆ่าเชื้อและน้ำเกลือซึ่งในส่วนที่ส่งโรงพยาบาลจะต้องให้การรักษาและรอดูอาการประมาณ 24 ชั่วโมง ส่วนสาเหตุเบื้องต้นคาดว่าจะมาจากอาหารเป็นพิษ     

ทพ.ดร.สุรสิงห์ วิศรุตรัตน์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ทีมแพทย์จะเข้าไปประจำในโรงพยาบาลเพื่อดูแลอาการป่วยของเด็กนักเรียนจนกว่าสถานการณ์ จะเข้าสู่ภาวะปกติ ส่วนสาเหตุคาดว่าจะมาจากอาหารเป็นพิษ ซึ่งทีมแพทย์ระบาดวิทยาได้เก็บตัวอย่างอาหารไปตรวจสอบแล้ว

นายประเวช นะคำ ครูที่นำนักเรียนส่งโรงพยาบาล กล่าวว่า มื้อเย็นวันที่ 26 ก.ย. นักเรียนประจำในโรงเรียนกินผัดผักรวม ส่วนมื้อเช้ากินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปผัดใส่ไข่ ซึ่งไม่ทราบว่าอาหารเป็นพิษมาจากอาหารมื้อไหน แต่เด็กในโรงเรียนเริ่มมีอาการในช่วงเช้ามืดและต่อเนื่องมาจนถึงช่วงเช้า อย่างไรก็ตามไข่ที่ทางโรงเรียนใช้ประกอบอาหารส่วนใหญ่จะเป็นไข่ที่ได้รับบริจาค  

ด้านนายสุขสันต์ จันลาวงศ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดดอนจั่น กล่าวว่า โรงเรียนวัดดอนจั่นสอนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวนนักเรียนทั้ง สิ้น 594 คน ในจำนวนนี้ 544 คน เป็นเด็กชาวเขาด้อยโอกาสจากหลายจังหวัดในภาคเหนือที่เข้ามาเรียนและพักอาศัยอยู่ในหอพักของวัด โดยทางวัดได้อุปการะเลี้ยงดู ทั้งอาหาร เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ตลอดจนอุปกรณ์การเรียน

ส่วนสาเหตุของอาการท้องเสีย นายสุขสันต์ ปฏิเสธว่าไม่ได้มาจากอาหารที่โรงเรียนประกอบเลี้ยง แต่คาดว่าน่าจะมาจากการกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่ได้รับบริจาคมาโดยไม่นำไปต้ม

ครูปกครองบล๊อครถพยาบาล อ้างขอคัดกรองก่อน เกรงเด็กแกล้งป่วย

คมชัดลึกยังรายงานเพิ่มเติมอีกว่า ขณะที่ทางทีมกู้ชีพได้นำเด็กที่มีอาการหนักขึ้นรถ เพื่อนำส่งโรงพยาบาล ได้มีนายจอมศักดิ์ ไทรทอง ครูผู้ปกครองของโรงเรียน ได้นำรถเก๋งจอดขวางประตูโรงเรียนไม่ให้รถพยาบาลออกไป โดยอ้างว่าจะต้องผ่านการคัดกรองของทางโรงเรียนก่อน เนื่องจากที่ผ่านมาเคยเกิดเหตุการณ์ในลักษณเดียวกัน ซึ่งมีการนำเด็กที่ไม่มีอาการป่วยส่งโรงพยาบาลทำให้ทางโรงเรียนต้องเสียค่ารักษากว่าแสนบาท ขณะที่ ทพ.ดร.สุรสิงห์ ได้พยายามเจรจาขอนำเด็กส่งโรงพยาบาล พร้อมรับปากจะนำส่งโรงพยาบาลของรัฐ ซึ่งกว่าจะยอมเปิดทางต้องใช้เวลานานกว่า 10 นาที

สธ.รุดดูอาการเด็ก นร.วัดดอนจั่น-คัดกรองอาการรุนแรงเพิ่มเติม

ด้าน ASTV ผู้จัดการออนไลน์รายงานเมื่อวันที่ 28 ก.ย. 55 ว่าเมื่อเวลา 09.00 น. ทพ.ดร.สุรสิงห์ วิศรุตรัตน์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมคณะเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ และทีมแพทย์ได้เข้ารุดดูอาการของเด็กที่โรงเรียนซึ่งมีที่พักในตัวเพราะเป็นโรงเรียนกินนอน โดยมีนักเรียนบางส่วนที่อาการไม่รุนแรงพักรักษาตัวที่โรงเรียนเพื่อตรวจอาการป่วยของนักเรียน และคัดกรองหากมีอาการป่วยรุนแรงเพิ่มเติมเพื่อส่งรักษาที่โรงพยาบาล
       
สำหรับยอดผู้ป่วยขณะนี้ ศูนย์กู้ชีพเวียงพิงค์แจ้งว่ามียอดเด็กนักเรียนที่ป่วยทั้งสิ้น 105 ราย โดยที่ต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลในพื้นที่หลายแห่งจำนวน 51 ราย เป็นชาย 27 ราย และหญิง 34 ราย โดยมีอาการป่วยเป็นไข้จำนวน 22 ราย ป่วยเพราะอาหารเป็นพิษ 23 ราย และป่วยด้วยอาการอื่นๆอีก 6 ราย
       
ทพ.ดร.สุรสิงห์ วิศรุตรัตน์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ทางสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ได้มาตรวจสอบเพื่อดูอาการของเด็กนักเรียนที่ ป่วยเพิ่มเติม หากยังมีอาการทรุดลงก็จะได้รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที
       
ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก เพราะเด็กที่พักส่วนใหญ่เป็นชาวเขาจากเผ่าต่างๆมาพักอยู่รวมกัน อาจจะมีการดำเนินสุขลักษณะที่ไม่ถูกต้อง สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่เองก็จะมาดูแลสุขลักษณะที่ถูกต้อง โดยเฉพาะเรื่องโภชนาการอาหารเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยต่อเนื่องเช่นนี้อีก


ที่มาเรียบเรียงจาก: คม ชัด ลึก, ASTV ผู้จัดการออนไลน์




 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: บทเรียนทักษิณ ชินวัตรกับปรีดี พนมยงค์

Posted: 28 Sep 2012 04:41 AM PDT

 
กรณีของปัญหาเริ่มจากการที่ นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ได้กล่าวในวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๕ นี้ว่า  เขาได้เขียนบันทึกส่วนตัวถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า ถ้าอยากเป็นรัฐบุรุษ ต้องรู้จักคำว่าเสียสละ แม้ว่าจะไม่กลับประเทศ ก็สามารถเป็นรัฐบุรุษได้เช่นกัน เหมือนนายปรีดี พนมยงค์ ที่ทำงานเพื่อประเทศโดยที่ไม่เคยกลับประเทศ เพียงเพราะอยากให้บ้านเมืองสงบ
 
 ข้อเสนอของนายคณิต ได้รับการวิจารณ์ทันทีว่า เป็นข้อเสนอที่มาจากความรู้ทางประวัติศาสตร์ที่ผิดพลาด และยังไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาที่แท้จริงของสังคมไทย ส่วนหนึ่ง ก็มาจากทัศนะของนายคณิตเอง ที่เห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นต้นเหตุของปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้น แต่นี่เป็นทัศนะแบบด้านเดียว เพราะปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ฝ่ายอำมาตยาธิปไตย และกลุ่มอนุรักษ์นิยมที่สนับสนุนการรัฐประหาร ก็เป็นสาเหตุสำคัญอีกด้านหนึ่งเช่นกัน ยิ่งกว่านั้น ในรายงานของ คอป.เอง ก็ระบุว่า สังคมไทยมีปัญหารากฐานในทางเศรษฐกิจและสังคมจำนวนมาก เช่น ปัญหาช่องว่างระหว่างรายได้ ปัญหาความแตกต่างระหว่างเมืองกับชนบท ปัญหาความไม่เป็นประชาธิปไตยทางการเมือง ฯลฯ กรณีเหล่านี้ คงแก้ไม่ได้ด้วยการเสียสละของ พ.ต.ท.ทักษิณ
 
แต่ที่สำคัญในทางประวัติศาสตร์นั้น นายปรีดี พนมยงค์ ต้องเดินทางออกจากประเทศ เพราะถูกรัฐประหารเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๐ ในครั้งนั้น กำลังของฝ่ายรัฐประหารได้ใช้รถถังบุกทำเนียบท่าช้างอันเป็นที่พำนักของนายปรีดี ทำให้นายปรีดีต้องลี้ภัยออกจากประเทศ หลังจากนั้น นายปรีดีก็ได้พยายามที่จะกลับประเทศหลายครั้ง ครั้งสำคัญ ก็คือ ได้เดินทางกลับมาเพื่อที่จะยึดอำนาจคืนในกรณี "ขบวนการประชาธิปไตย ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๒" แต่ล้มเหลว ถูกปราบปรามอย่างหนัก ซึ่งกรณีนี้จะรู้จักกันนามว่า "กบฏวังหลวง" นายปรีดีต้องหลบซ่อนอยู่ในบ้านแถวฝั่งธนฯ ๖ เดือน แล้วจึงหลบหนีออกไปได้ แล้วจึงไม่ได้กลับมาเมืองไทยได้อีกเลย
 
ประเด็นสำคัญต่อมา ก็คือ นายปรีดีถูกฝ่ายอนุรักษ์นิยมสร้างคดีใส่ร้ายป้ายสีว่า เป็นผู้อยู่เบื้องหลังกรณีสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ ๘ และใช้ศาลเป็นเครื่องมือ ในการตัดสินประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์ ๓ คน คือ นายชิต สิงหเสนี นายบุศย์ ปัทมศริน และ นายเฉลียว ปทุมรส เพื่อเป็นการข่มขู่ไม่ให้นายปรีดีกลับประเทศ
 
ความจริงแล้วเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ในเรื่องของนายปรีดี พนมยงค์ ก็มีบทเรียนอันอุดม จากการที่นายปรีดีนั้นมีพื้นฐานเป็นลูกชาวนา แต่อาศัยความสามารถทางการศึกษาเป็นเครื่องมือสร้างโอกาสจนได้ไปศึกษาต่างประเทศ และกลายเป็นคนแรกของประเทศไทยที่สำเร็จถึงขั้นปริญญาเอกวิชากฎหมายจากประเทศฝรั่งเศส แต่นายปรีดีมิได้มุ่งที่จะนำเอากฎหมายมาใช้เป็นเครื่องมือในการรักษาอำนาจชนชั้นนำสถาบันหลัก และทำร้ายประชาชนเหมือนนักกฎหมายจำนวนมากในยุคปัจจุบัน หากแต่ต้องการที่จะใช้กฎหมายในการสร้างความเป็นธรรมให้กับสังคม และในสมัยที่บ้านเมืองยังไม่เป็นประชาธิปไตย นายปรีดีก็ได้ร่วมก่อตั้งคณะราษฎร ซึ่งกลายเป็นสมาคมที่มีบทบาทนำในการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕
 
หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง นายปรีดี พนมยงค์ ก็ยังเป็นผู้มีบทบาทสำคัญอีกหลายประการในการสร้างระบอบใหม่ ตั้งแต่การมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญที่ใช้กันต่อมา มีส่วนในการปฏิรูปกฎหมายให้ประเทศไทยมีความทันสมัย และมีระบอบนิติรัฐอย่างแท้จริง จากนั้น ก็เป็นผู้ผลักดันหลักการปกครองท้องถิ่นเพื่อการกระจายอำนาจ เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศที่เดินทางไปเจรจาเลิกสัญญาไม่เป็นธรรมกับมหาประเทศ ทำให้ประเทศไทยมีเอกราชสมบูรณ์ เป็นผู้ผลักดันการปฏิรูปปฏิรูปเศรษฐกิจ สร้างเศรษฐกิจชาตินิยม สร้างระบบภาษีใหม่ให้มีความเป็นธรรม และเพิ่มรายได้ให้กับรัฐ เป็นต้น
 
ต่อมา เมื่อเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา นายปรีดี พนมยงค์ ได้รับตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของรัชกาลที่ ๘ และกลายเป็นผู้ก่อตั้งขบวนการเสรีไทย ซึ่งมีส่วนสำคัญที่ทำให้ไทยรอดพ้นจากฐานะที่จะเป็นผู้แพ้ในสงครามโลก เป็นผู้ผลักดันให้การเมืองไทยเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๘ เป็นต้นมา และเมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ เสด็จนิวัติพระนครก็ได้รับตำแหน่งเป็นรัฐบุรุษอาวุโส และเป็นนายกรัฐมนตรี จึงสรุปได้ว่า นายปรีดี พนมยงค์ได้มีบทบาทสำคัญ และสร้างคุณูปการให้กับสังคมไทยเป็นอย่างมาก
 
ความเป็นนักประชาธิปไตยของนายปรีดี พนมยงค์ ยังเห็นได้จากความพยายามในการประนีประนอมกับฝ่ายอนุรักษ์นิยม โดยการนิรโทษกรรมให้นักโทษการเมืองฝ่ายนิยมเจ้าเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๘ และยังเปิดให้กลุ่มอนุรักษ์นิยมออกหนังสือพิมพ์เพื่อเผยแพร่แนวคิดของตน และให้ตั้งพรรคการเมืองลงแข่งขันในการเลือกตั้ง โดยหวังว่าจะใช้กติกาประชาธิปไตยเข้ามาคลี่คลายความขัดแย้งทางการเมือง หมายถึงว่า ถ้าพรรคฝ่ายอนุรักษ์นิยมได้รับความนิยมจากประชาชนด้วยคะแนนเสียงที่มากเพียงพอ ก็สามารถที่จะเข้ามาจัดตั้งรัฐบาลได้เช่นกัน
 
แต่กรณีนี้กลายเป็นความผิดพลาด เพราะกลุ่มอนุรักษ์นิยมนั้น มิได้มีจิตใจเป็นประชาธิปไตย เมื่อเปิดทางให้ฝ่ายนี้มีบทบาททางการเมือง กลุ่มอนุรักษ์นิยมก็ใช้การเมืองแบบใส่ร้ายป้ายสี เพื่อทำลายภาพลักษณ์ของนายปรีดีและรัฐบาลพลเรือน โดยเฉพาะการสร้างกระแสใส่ร้ายเรื่องกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ ๘ จากนั้น ก็ได้สนับสนุนให้ฝ่ายทหารก่อรัฐประหาร เพื่อทำลายคณะราษฎร ฉีกรัฐธรรมนูญ และทำลายประชาธิปไตย และผลจากการรัฐประหารนี้เอง ที่ทำให้ปรีดี พนมยงค์ต้องลี้ภัยต่างประเทศดังที่กล่าวมา
 
ดังนั้น ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะรับบทเรียนจากนายปรีดี พนมยงค์ คงไม่ใช่เรื่องการลี้ภัยต่างประเทศโดยไม่กลับ ตามที่นายคณิต ณ นคร นำเสนอ แต่เป็นเรื่องที่ต้องสรุปว่า พวกอนุรักษ์นิยมอำมาตยาธิปไตยนั้น ไม่มีแนวคิดประชาธิปไตย ชอบสนับสนุนรัฐประหาร เข่นฆ่าประชาชน และไว้ใจไม่ได้ คนเหล่านี้ ชอบอ้างสถาบันหลักเพื่อใส่ร้ายทำลายผู้บริสุทธิ์ ดังนั้น ถ้าหากต้องการปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง จะต้องอาศัยการสนับสนุนจากประชาชนไปดำเนินการ การประนีประนอมอ่อนน้อมต่อฝ่ายกระแสหลักนั้น ไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นแต่อย่างใด
 
บทเรียนในระยะ ๖ ปี สำหรับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เองก็บอกความข้อนี้ เพราะถ้าหากไม่มีการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชนคนเสื้อแดงแล้ว พ.ต.ท.ทักษิณก็คงหมดบทบาทไปแล้ว คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็คงไม่สามารถที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ กลุ่มชนชั้นนำอำมาตยาธิปไตยก็คงมีอำนาจนำได้อย่างสมบูรณ์ การตื่นตัวและการต่อสู้ของประชาชน จึงเป็นเงื่อนไขสำคัญแห่งอนาคต ที่จะทำให้สังคมไทยก้าวหน้าต่อไป
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

"ยงยุทธ" ลาออกจากตำแหน่งรองนายกฯ-รมว.มหาดไทย มีผล 1 ต.ค.นี้

Posted: 28 Sep 2012 04:29 AM PDT


28 ก.ย. 55 - สำนักข่าวไทยรายงานว่านายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เดินทางมาที่วัดสระเกศราชวรวิหาร เพื่อกราบนมัสการสมเด็จพระพุฒาจารย์ หรือสมเด็จเกี่ยว เจ้าอาวาสวัดสระเกศ ท่ามกลางการจับตามองจากหลายฝ่าย หลังมีกระแสข่าวมาตลอดทั้งวันว่าจะประกาศลาออกจากตำแหน่งเพื่อยุติปัญหาเรื่องสถานะการดำรงตำแหน่งทางการเมือง หลังถูกมติ อ.ก.พ. กระทรวงมหาดไทย ให้ออกจากตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทยย้อนหลัง จากกรณีที่ดินสนามกอล์ฟอัลไพน์ และจนถึงขณะนี้ยังไม่ออกมาแถลงข่าว ซึ่งเลยเวลาที่ระบุไว้ในเวลา 15.00 น. ที่ผ่านมา

ขณะที่นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีข่าวว่าจะมารักษาการตำแหน่งรัฐมนตรีแทนนายยงยุทธ มองว่า นายยงยุทธยังเหมาะสมที่จะทำงานในตำแหน่งต่อ เพราะคณะกรรมการกฤษฎีกาก็ยืนยันว่านายยงยุทธสามารถทำงานการเมืองต่อไปได้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

องค์กรผู้บริโภคห่วงร่างกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคเดินหน้าลำบาก

Posted: 28 Sep 2012 04:09 AM PDT

28 ก.ย. 55 - หลังจากที่เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศได้ร่วมกันผลักดันร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. .... แบบมาราธอนมากว่า ๑๔ ปี จนขณะนี้เข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาของกรรมาธิการร่วม ๒ สภา ส่อแววว่าจะเดินหน้าลำบาก เพราะกรรมาธิการร่วมบางส่วนต้องการรื้อกฎหมายทั้งฉบับและอ้างว่า หากไม่แก้ไขตามความเห็นกฎหมายอาจไม่ผ่านความเห็นชอบของสภา

การประชุมกรรมาธิการร่วมเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. .... ครั้งที่ ๒ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา โดยมีนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมาธิการฯ

ที่ประชุมได้อภิปรายเพื่อหาข้อตกลงร่วมกัน เรื่องกรอบการพิจารณาของคณะกรรมาธิการร่วม ที่ควรพิจารณาเฉพาะประเด็นที่มีความเห็นแตกต่างในการแก้ไขกฎหมายที่ผ่านวุฒิสภา เช่น มาตรา ๘ ประเด็นเรื่องงบประมาณในการดำเนินการขององค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่สภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบ ๓ บาท ขณะที่วุฒิสภาได้แก้ไขและเห็นชอบ ๕ บาทต่อหัวประชากร ซึ่งทั้งสองสภาต่างเห็นด้วยในการกำหนดงบประมาณต่อหัวประชากร แต่กลับมีกรรมาธิการบางท่านที่ไม่เห็นด้วยกับการลงมติผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรดังกล่าวมาเสนอให้คณะกรรมาธิการร่วมพิจารณาไม่ให้กำหนดงบประมาณต่อหัวไว้ในกฎหมาย โดยอ้างเหตุผลให้เป็นอำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหารในการสนับสนุนงบประมาณ เช่นเดียวกับที่เคยอภิปรายและแพ้มติในสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว

นอกจากนี้ การอภิปรายของคณะกรรมาธิการร่วมบางท่านที่ต้องการลดบทบาทของคณะกรรมการองค์การอิสระ ทั้งที่มาตรา 19 เรื่องอำนาจหน้าที่คณะกรรมการไม่มีการแก้ไขใดๆ และทั้งสองสภาต่างเห็นชอบแบบเดียวกัน แต่การประชุมวันนี้กลับอ้างอาจเกินรัฐธรรมนูญทั้งที่ประเด็นเหล่านี้ต่างถกเถียงอย่างมากมายกว้างขวางในการพิจารณากฎหมายฉบับนี้ เกือบสองปี หากนับจากการได้รับพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2553 หรือการอภิปรายของคณะกรรมาธิการที่ต้องการตัดบทบาทกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในมาตรา 19(3) ในการดำเนินการและสนับสนุนการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นความจริง หรือแจ้งหรือโฆษณาข่าวสารที่เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือเสื่อมเสียแก่สิทธิผู้บริโภค ในการนี้จะระบุชื่อสินค้าหรือชื่อบริการ หรือชื่อของผู้ประกอบการด้วยก็ได้ เพราะเห็นว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)  จนทำให้ที่ประชุมยังไม่ได้มีการลงมติใด ๆ เพราะมีความพยายามที่จะเสนอให้กรรมาธิการร่วมพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้ให้เกินเลยจากที่มติวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างที่สภาผู้แทนราษฎรมีมติให้ความเห็นชอบ และจะมีการนัดประชุมเพื่อพิจารณากฎหมายฉบับนี้ทุกวันพุธเวลา ๙ โมงเช้า ห้อง ๓๗๐๑

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง หนึ่งในกรรมาธิการที่เป็นผู้แทนผู้เสนอกฎหมาย ชี้แจงว่า กฎหมายฉบับนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้บริโภคมาก ไม่ว่าจะช่วยคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในการได้รับข้อมูลที่เป็นความจริง ให้ผู้บริโภคได้รู้เท่าทันปัญหาผู้บริโภคในด้านต่างๆ เป็นปากเป็นเสียงแทนผู้บริโภค เสนอความเห็นให้มีมาตรการ กติกาต่าง ๆ เป็นประโยชน์กับผู้บริโภคเพิ่มขึ้น และตรวจสอบการทำงานของรัฐให้บังคับใช้กฎหมายได้อย่างเต็มที่ในการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญและมีความแตกต่างจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค องค์กรคุ้มครองผู้บริโภค หรือเอ็นจีโอ

นอกจากนี้ สารี ยังให้ความเห็นต่อเรื่องนี้ว่า คณะกรรมาธิการร่วม ควรพิจารณาเฉพาะประเด็นที่มีความแตกต่างของสองสภา เนื่องจากกฎหมายได้มีการอภิปรายอย่างกว้างขวางและผ่านกระบวนการพิจารณาของทั้งสองสภาแล้ว พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลแสดงความจริงใจในการออกกฎหมายที่เสนอโดยภาคประชาชน เพื่อประโยชน์ต่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่รอคอยมาอย่างยาวนาน พร้อมกันนี้ เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศ จะเฝ้าติดตามผลการประชุมกรรมาธิการอย่างใกล้ชิด และขณะนี้ได้ร่วมกันลงลายมือชื่อเพื่อสนับสนุนให้รัฐบาลเร่งพิจารณากฎหมายดังกล่าว ให้ออกมาบังคับใช้โดยเร็ว

 

รายชื่อกรรมาธิการร่วมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ....

 

ชื่อ-นามสกุล

ตำแหน่ง

1.      นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญากุล                

ประธานคณะกรรมาธิการ

2.      นายสมชาย แสวงการ                         

รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่หนึ่ง

3.      นายชลน่าน ศรีแก้ว                            

รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สอง

4.      นายอรรถพร พลบุตร                        

รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สาม

5.      นายวันชัย สอนศิริ                              

เลขานุการคณะกรรมาธิการ

6.      นายบุญยอด สุขถิ่นไทย                    

ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมาธิการ

7.      นางสาวนริศา อดิเทพวรพันธุ์         

โฆษกคณะกรรมาธิการ

8.      นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน                 

โฆษกคณะกรรมาธิการ

9.      นางสาวมัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช         

โฆษกคณะกรรมาธิการ

10.  นางสาวรสนา โตสิตระกูล                   

โฆษกคณะกรรมาธิการ

11.  นายนิยม เวชกามา                             

กรรมาธิการ

12.  นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์                    

กรรมาธิการ

13.  นายขจิตร ชัยนิคม                             

กรรมาธิการ

14.  นายวัชระ เพชรทอง                           

กรรมาธิการ

15.  ศาสตราจารย์วิรัตน์ พาณิชย์พงษ์

กรรมาธิการ

16.  พลอากาศเอก วีรวิท คงศักดิ์                

กรรมาธิการ

17.  นายวิเชียร คันฉ่อง                            

กรรมาธิการ

18.  นายเจริญ ภักดีวานิช                        

กรรมาธิการ

19.  นายมหรรณพ เดชวิทักษ์                    

กรรมาธิการ

20.  นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง                          

กรรมาธิการ

21.  นายไพโรจน์ พลเพชร                          

กรรมาธิการ

22.  นางสาวสารี อ๋องสมหวัง                      

กรรมาธิการ

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

องค์กรผู้บริโภคห่วงร่างกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคเดินหน้าลำบาก

Posted: 28 Sep 2012 04:09 AM PDT

28 ก.ย. 55 - หลังจากที่เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศได้ร่วมกันผลักดันร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. .... แบบมาราธอนมากว่า ๑๔ ปี จนขณะนี้เข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาของกรรมาธิการร่วม ๒ สภา ส่อแววว่าจะเดินหน้าลำบาก เพราะกรรมาธิการร่วมบางส่วนต้องการรื้อกฎหมายทั้งฉบับและอ้างว่า หากไม่แก้ไขตามความเห็นกฎหมายอาจไม่ผ่านความเห็นชอบของสภา

การประชุมกรรมาธิการร่วมเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. .... ครั้งที่ ๒ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา โดยมีนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมาธิการฯ

ที่ประชุมได้อภิปรายเพื่อหาข้อตกลงร่วมกัน เรื่องกรอบการพิจารณาของคณะกรรมาธิการร่วม ที่ควรพิจารณาเฉพาะประเด็นที่มีความเห็นแตกต่างในการแก้ไขกฎหมายที่ผ่านวุฒิสภา เช่น มาตรา ๘ ประเด็นเรื่องงบประมาณในการดำเนินการขององค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่สภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบ ๓ บาท ขณะที่วุฒิสภาได้แก้ไขและเห็นชอบ ๕ บาทต่อหัวประชากร ซึ่งทั้งสองสภาต่างเห็นด้วยในการกำหนดงบประมาณต่อหัวประชากร แต่กลับมีกรรมาธิการบางท่านที่ไม่เห็นด้วยกับการลงมติผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรดังกล่าวมาเสนอให้คณะกรรมาธิการร่วมพิจารณาไม่ให้กำหนดงบประมาณต่อหัวไว้ในกฎหมาย โดยอ้างเหตุผลให้เป็นอำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหารในการสนับสนุนงบประมาณ เช่นเดียวกับที่เคยอภิปรายและแพ้มติในสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว

นอกจากนี้ การอภิปรายของคณะกรรมาธิการร่วมบางท่านที่ต้องการลดบทบาทของคณะกรรมการองค์การอิสระ ทั้งที่มาตรา 19 เรื่องอำนาจหน้าที่คณะกรรมการไม่มีการแก้ไขใดๆ และทั้งสองสภาต่างเห็นชอบแบบเดียวกัน แต่การประชุมวันนี้กลับอ้างอาจเกินรัฐธรรมนูญทั้งที่ประเด็นเหล่านี้ต่างถกเถียงอย่างมากมายกว้างขวางในการพิจารณากฎหมายฉบับนี้ เกือบสองปี หากนับจากการได้รับพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2553 หรือการอภิปรายของคณะกรรมาธิการที่ต้องการตัดบทบาทกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในมาตรา 19(3) ในการดำเนินการและสนับสนุนการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นความจริง หรือแจ้งหรือโฆษณาข่าวสารที่เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือเสื่อมเสียแก่สิทธิผู้บริโภค ในการนี้จะระบุชื่อสินค้าหรือชื่อบริการ หรือชื่อของผู้ประกอบการด้วยก็ได้ เพราะเห็นว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)  จนทำให้ที่ประชุมยังไม่ได้มีการลงมติใด ๆ เพราะมีความพยายามที่จะเสนอให้กรรมาธิการร่วมพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้ให้เกินเลยจากที่มติวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างที่สภาผู้แทนราษฎรมีมติให้ความเห็นชอบ และจะมีการนัดประชุมเพื่อพิจารณากฎหมายฉบับนี้ทุกวันพุธเวลา ๙ โมงเช้า ห้อง ๓๗๐๑

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง หนึ่งในกรรมาธิการที่เป็นผู้แทนผู้เสนอกฎหมาย ชี้แจงว่า กฎหมายฉบับนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้บริโภคมาก ไม่ว่าจะช่วยคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในการได้รับข้อมูลที่เป็นความจริง ให้ผู้บริโภคได้รู้เท่าทันปัญหาผู้บริโภคในด้านต่างๆ เป็นปากเป็นเสียงแทนผู้บริโภค เสนอความเห็นให้มีมาตรการ กติกาต่าง ๆ เป็นประโยชน์กับผู้บริโภคเพิ่มขึ้น และตรวจสอบการทำงานของรัฐให้บังคับใช้กฎหมายได้อย่างเต็มที่ในการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญและมีความแตกต่างจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค องค์กรคุ้มครองผู้บริโภค หรือเอ็นจีโอ

นอกจากนี้ สารี ยังให้ความเห็นต่อเรื่องนี้ว่า คณะกรรมาธิการร่วม ควรพิจารณาเฉพาะประเด็นที่มีความแตกต่างของสองสภา เนื่องจากกฎหมายได้มีการอภิปรายอย่างกว้างขวางและผ่านกระบวนการพิจารณาของทั้งสองสภาแล้ว พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลแสดงความจริงใจในการออกกฎหมายที่เสนอโดยภาคประชาชน เพื่อประโยชน์ต่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่รอคอยมาอย่างยาวนาน พร้อมกันนี้ เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศ จะเฝ้าติดตามผลการประชุมกรรมาธิการอย่างใกล้ชิด และขณะนี้ได้ร่วมกันลงลายมือชื่อเพื่อสนับสนุนให้รัฐบาลเร่งพิจารณากฎหมายดังกล่าว ให้ออกมาบังคับใช้โดยเร็ว

 

รายชื่อกรรมาธิการร่วมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ....

 

ชื่อ-นามสกุล

ตำแหน่ง

1.      นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญากุล                

ประธานคณะกรรมาธิการ

2.      นายสมชาย แสวงการ                         

รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่หนึ่ง

3.      นายชลน่าน ศรีแก้ว                            

รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สอง

4.      นายอรรถพร พลบุตร                        

รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สาม

5.      นายวันชัย สอนศิริ                              

เลขานุการคณะกรรมาธิการ

6.      นายบุญยอด สุขถิ่นไทย                    

ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมาธิการ

7.      นางสาวนริศา อดิเทพวรพันธุ์         

โฆษกคณะกรรมาธิการ

8.      นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน                 

โฆษกคณะกรรมาธิการ

9.      นางสาวมัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช         

โฆษกคณะกรรมาธิการ

10.  นางสาวรสนา โตสิตระกูล                   

โฆษกคณะกรรมาธิการ

11.  นายนิยม เวชกามา                             

กรรมาธิการ

12.  นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์                    

กรรมาธิการ

13.  นายขจิตร ชัยนิคม                             

กรรมาธิการ

14.  นายวัชระ เพชรทอง                           

กรรมาธิการ

15.  ศาสตราจารย์วิรัตน์ พาณิชย์พงษ์

กรรมาธิการ

16.  พลอากาศเอก วีรวิท คงศักดิ์                

กรรมาธิการ

17.  นายวิเชียร คันฉ่อง                            

กรรมาธิการ

18.  นายเจริญ ภักดีวานิช                        

กรรมาธิการ

19.  นายมหรรณพ เดชวิทักษ์                    

กรรมาธิการ

20.  นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง                          

กรรมาธิการ

21.  นายไพโรจน์ พลเพชร                          

กรรมาธิการ

22.  นางสาวสารี อ๋องสมหวัง                      

กรรมาธิการ

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เด็กไทยเสี่ยงภัยถาวรจากสารพิษในสิ่งแวดล้อม

Posted: 28 Sep 2012 03:59 AM PDT

งานวิจัยยืนยัน สารเคมีจากอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์ปนเปื้อนถ่ายทอดสู่เด็ก ส่งผลต่อพัฒนาการผิดปกติ



28 กันยายน 2555 (กรุงเทพฯ) – ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ภาควิชากุมารแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีพบเด็กที่อาศัยใกล้โรงงานอุตสาหกรรมมีสารตะกั่วในเลือดสูงถึงขั้นอันตราย  และมูลนิธิบูรณะนิเวศนำเสนองานวิจัยยืนยัน สารพิษในสิ่งแวดล้อมส่งผลให้พัฒนาการทางสมองของเด็กผิดปกติอย่างถาวร

สืบเนื่องจากกรณีทารกวัย 8 เดือน ซึ่งเติบโตในโรงงานคัดแยกขยะอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาครถูกส่งตัวมาโรงพยาบาลรามาธิบดีด้วยอาการชักจากพิษสารตะกั่ว โดยมีปริมาณตะกั่วในเลือดสูงกว่าค่ามาตรฐานถึง 17 เท่า ศูนย์วิจัยฯ โรงพยาบาลรามาธิบดีได้ลงพื้นที่ตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารตะกั่วในเลือดของเด็กเล็ก165 คน ที่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงโรงงานดังกล่าว พบเด็กผู้ชาย 1 ใน 2 มีสารตะกั่วในเลือดสูงเกินค่ามาตรฐาน (50 ใน 86 คน หรือ ร้อยละ 58.1) และเด็กผู้หญิง 1 ใน 3 มีสารตะกั่วในเลือดสูงเกินค่ามาตรฐาน (24 ใน 79 คน หรือ ร้อยละ 30.4)ทั้งนี้ ค่ามาตรฐานของตะกั่วในเลือดที่ยอมรับได้ แม้ไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าปลอดภัยแน่นอน คือ10 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dL)

แพทย์สันนิษฐานว่าสารตะกั่วจากโรงงานฟุ้งกระจายตามลม ตกสู่ดินและแหล่งน้ำ จนเข้าสู่ร่างกายเด็กผ่านระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหารโดยเด็กผู้ชายมีสารตะกั่วในเลือดสูงกว่าเด็กผู้หญิงอาจเกิดจากพฤติกรรมการเล่นของเด็กผู้ชายที่สัมผัสกับฝุ่นและดินมากกว่า

"การได้รับสารตะกั่วเกินค่ามาตรฐานจะทำให้ระดับไอคิวในเด็กลดลง และยังทำให้ระบบประสาทผิดปกติ เกิดภาวะสมาธิสั้น ความสามารถในการเรียนรู้ผิดปกติ" รศ.นพ. อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยฯ รพ. รามาธิบดี กล่าว"กรณีสมุทรสาครเป็นตัวอย่างว่าผู้ประกอบการทำไม่ถูก แม้โรงงานจะถูกสั่งปิด แต่เด็กจะโง่ไปอีกนาน ไม่มีการชดเชย และยังมีโรงงานอื่นๆ อีกจำนวนมาก"

"การตรวจคัดกรองปริมาณตะกั่วในเลือดเด็กควรบรรจุในการตรวจสุขภาพประจำ โดยเฉพาะสำหรับเด็กที่อาศัยในพื้นที่อุตสาหกรรม" รศ.นพ. อดิศักดิ์ กล่าวเสริม "อาจตรวจเมื่อเด็กเข้ารับวัคซีนเมื่อครบ 1 ขวบและ 5 ขวบ และควรพิจารณาว่าภาคเอกชนจะร่วมแบกรับภาระค่าใช้จ่ายนี้อย่างไร"

ผลงานวิจัยด้านประสาทพิษวิทยาที่เพิ่มขึ้นในยุคหลัง ซึ่งรวบรวมไว้ในหนังสือเรื่อง "บนทางแห่งภัย: เมื่อสารพิษคุกคามพัฒนาการเด็ก" จัดแปลเป็นไทยโดยมูลนิธิบูรณะนิเวศ ยังชี้ชัดว่า "ค่ามาตรฐาน" ไม่ปลอดภัยอย่างที่คิด เนื่องจากเด็กและทารกในครรภ์อยู่ระหว่างการสร้างเซลล์สมองและระบบประสาทอันอ่อนไหวต่อสารเคมีหลายชนิด

ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยในสหรัฐฯ หลายฉบับ พบว่าการได้รับสารตะกั่วแม้ในปริมาณน้อย หากเกิดต่อทารกในครรภ์และเด็กเล็ก จะเกิดผลกระทบระยะยาว ซึ่งอาจปรากฏผลภายหลังเมื่อเด็กเติบโตเป็นวัยรุ่น เช่น ภาวะสมาธิสั้น ความสามารถยั้งคิดบกพร่อง หงุดหงิดง่าย และอาจถึงขั้นมีพฤติกรรมก้าวร้าว

"เป็นที่น่าตกใจว่าระดับตะกั่วในเลือดที่จะไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพคือศูนย์นั่นคือต้องไม่มีตะกั่วในเลือดเลยเด็กไทยจึงจะปลอดภัย" ดร. อาภา หวังเกียรติ รองคณบดี วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าว  "ถึงเวลาจริงๆแล้วที่หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องต้องหามาตรการป้องกันอย่างเร่งด่วน ก่อนที่เด็กไทยจะใช้ชีวิตและร่างกายเป็นเครื่องทดสอบสารพิษ จนสังคมไทยเต็มไปด้วยเด็กและผู้ใหญ่ที่มีความบกพร่องของสมองมากเหมือนสหรัฐอเมริกา"

ค่ามาตรฐานความปลอดภัยของสารปรอทลดลงเช่นกันตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา เมื่อปี พ.ศ. 2515 สหรัฐฯ กำหนดค่าความปลอดภัยของการได้รับสารปรอทไว้ที่ 34 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม ต่อวัน (mg/kg/วัน) โดยกำหนดจากปริมาณสารปรอทที่เป็นเหตุให้ทารกปัญญาอ่อนอย่างรุนแรงแต่กำเนิดต่อมา นักวิทยาศาสตร์พบว่าเด็กที่ได้รับสารปรอทในปริมาณต่ำกว่าค่าความปลอดภัยดังกล่าว มีไอคิวต่ำ เริ่มพูดและเริ่มเดินช้ากว่าเด็กทั่วไป
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Silent Spring 50ปี หนังสือเปลี่ยนโลก

Posted: 28 Sep 2012 03:51 AM PDT

 

เพื่อทำความเข้าใจว่าสงครามที่กระทำต่อธรรมชาตินั้นเป็นฝีมือของมนุษย์เราทั้งสิ้น นักชีววิทยานาม ราเชล คาร์สัน (Rachel Carson) จึงพาหัวใจที่กล้าหาญประกาศก้องความจริง

 

เป็นเวลาเกือบ 50 ปีมาแล้ว นับตั้งแต่หนังสือ Silent Spring ได้รับการตีพิมพ์เป็นครั้ง หนังสือเล่มจุดให้เกิดกองเพลิงใหญ่ลุกไหม้ท้าทายให้เกิดการถกเถียงทั้งในสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโทรทัศน์ กว่าหนึ่งปีเต็มที่ทั้งโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์และนิตยสารในสหัฐอเมริกาต่างเต็มไปด้วยการแจ้งข้อหาและการแจ้งข้อหากลับ หนังสือเล่มนี้เป็นประเด็นหน้าหนึ่งในหนังสือพิมพ์และจุดให้เกิดการถกเถียงกันในพื้นที่สาธารณะ ตั้งแต่ห้องนั่งเล่นไปจนถึงห้องประชุมบริษัท และได้กลายมาเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจตรวจสอบตั้งแต่ระดับประธานาธิบดีไปจนถึงระดับสภาผู้แทนราษฏรสหรัฐ

หนังสือ Silent Spring ตีพิมพ์ครั้งแรกที่อังกฤษ และในปีต่อมาก็ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Hamish Harmilton และในที่สุดก็ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆมากกว่า 15 ภาษา จนกลายเป็นปรากฏการณ์ในแวดวงสื่อสิ่งพิมพ์ทั่วโลก ช่วงครึ่งศตวรรษนับแต่การตีพิมพ์ครั้งแรก หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์ออกมาไม่เคยขาด และไม่เคยห่างหายไปจากแวดวงการถกเถียง ที่มีกำเนิดจากเนื้อหาภายในเล่ม เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร

คำตอบอยู่ในลักษณะและความตั้งใจของผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ ราเชล คาร์สันเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีมุมมองกว้างไกลและเป็นเขียนฝีมือฉกาจ ที่สามารถถ่ายทอดให้เห็นภาพนิเวศวิทยาของชีวิตและนำภาพนั้น มารวมกับแนวคิดว่ามนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของระบบในโลกที่มีชีวิต เธอนำสิ่งเหล่านี้เข้าไปประทับในความคิดและจิตใจของผู้อ่านโดยที่ไม่มีใครทำได้มาก่อน ก่อนหน้าที่จะเขียนและตีพิมพ์หนังสือ Silent Spring ราเชลก็เป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียงและผลงานได้รับความนิยม หนังสือที่เธอเขียนเป็นจดหมายรักที่เธอเขียนถึงทะเลที่เคลื่อนไหวเวียนวนเป็นวัฏจักร ในหนังสือชื่อ Under the Sea-Wind (พิมพ์เมื่อปี 1941) เธอเชื้อเชิญให้ผู้อ่านเข้าไปสัมผัสกับการอยู่กับทะเลเยี่ยงปลาและนก ราเชลเขียนว่า "ในคืนที่สี่หลังพายุหิมะพัดกระหน่ำ ดวงจันทร์ส่องแสงแรงกล้ามาที่ผิวน้ำ สายลมพัดแสงนั้นให้เป็นเส้นแสงกระเพื่อม บนอากาศบริเวณเหนืออ่าวมีเส้นแสงกำลังเริงระบำอยู่ไหวๆ คืนนี้ปลาเทร๊าท์มองเห็นปลาอื่นนับหลายร้อยแหวกว่ายลงสู่ห้วงน้ำที่ลึกลงไป มีหญ้าทะเลลอยมา มองดูเป็นเงาสีดำอยู่ใต้ผิวน้ำส่องประกายสีเงิน"

หนังสือ The Sea Around Us (พิมพ์เมื่อปี 1941) เป็นการค้างอ้างแรมเคล้าอารมณ์กวี สู่ลักษณะทางกายภาพของทะเล ในหนังสือเล่มนี้ ราเชลอธิบายว่า "สำหรับทั้งหมดทั้งมวลของโลก มหาสมุทรเป็นเสมือนผู้ตรวจสอบดูแล คอยรักษาระดับอุณหภูมิไม่ให้ผันผวน มีคนกล่าวว่ามหาสมุทรเป็นธนาคารเก็บรักษาพลังงานแสงอาทิตย์ รับฝากสิ่งต่างๆในยามที่มีล้นเกิน และคืนให้ในยามที่ต้องการใช้ "หากปราศจากมหาสมุทร โลกเขาจะต้องเผชิญกับความเลวร้ายของอุณหภูมิที่ผันผวนชนิดที่เราไม่เคยพบเห็นมาก่อน ส่วนน้ำที่ปกคลุมสามส่วนสี่ของพื้นผิวที่เหมือนห่มด้วยเสื้อคลุมของโลก ช่างเป็นสิ่งที่มีคุณค่าสุดอัศจรรย์เหลือเกิน

หนังสือ The Edge of the Sea (1955) ทำให้ผู้อ่านสัมผัสได้ถึงสิ่งมีชีวิตบนชายฝั่ง ราเชลเก็บสิ่งที่สัมผัสได้นี้ได้อย่างรวดเร็ว "ขณะเดินสำรวจชายหาดยามค่ำคืนอยู่นั้น ดิฉันสร้างความประหลาดใจให้กับปูผีตัวเล็กตัวหนึ่งด้วยแสงจากคบไฟ ปูผีตัวนี้นอนอยู่ในรูตื้นๆ เหนือคลื่นที่ซัดฝั่ง ราวกับว่ามันกำลังมองทะเลอย่างเฝ้ารอ สีดำของรัตติกาลปกคลุมผืนน้ำ อากาศและชายหาดจนหมดสิ้น มันคือสีดำของโลกแบบเก่าก่อนมีมนุษย์ ไม่ปรากฏเสียงอื่นใด คล้ายกับสรรพสิ่งมีสิ่งที่ห่มคลุมกายอยู่ทั้งสิ้น มีเพียงเสียงลมโบราณพัดเหนือผืนน้ำและผืนทราย และเสียงของคลื่นกระทบฝั่ง ไม่มีสิ่งมีชีวิตใดๆปรากฏให้เห็น มีเพียงปูตัวเล็กตัวหนึ่งอยู่ที่ชายทะเล ดิฉันเห็นปูผีนับหลายร้อยตัวในที่อื่นๆ แต่ทันใดนั้น ฉันก็เกิดความรู้สึกอย่างประหลาดเป็นครั้งแรกว่า สิ่งมีชีวิตต่างมีโลกเป็นของตนเอง ดิฉันก็เข้าใจอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนถึงแก่นแท้ของชีวิต

ในหนังสือเหล่านี้ของราเชล มีการรวบรวมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ด้วยความรู้สึกที่ลึกล้ำกว่า อุดมด้วยความหมาย ฝังแน่นอยู่ในความรู้นั้น เนื้อหาที่แม้ไม่ได้เขียนแต่ก็รู้สึกได้ว่า เราทุกคนล้วนเป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บนโลก ไม่ว่าจะเป็นปูหรือหอยทาก เป็นนกนางนวลหรือมนุษย์ก็ตาม ความเต็มเปี่ยมของกาลเวลา หลังจากใช้ไปกับการระลึกตรึกตองและอธิบายออมาเป็นองค์รวมของโลกแห่งธรรมชาติ ราเชลตระหนักเสมอว่า การทำร้ายโลกในนามของการควบคุมศัตรูพืชและการเกษตรแบบเข้มข้น แม้เวลาที่ใช้ไปจะไม่มากนัก ราเชลรู้ว่ากำลังเกิดสงครามทำลายธรรมชาติ มันคือสงครามที่ไม่วันชนะ เนื่องจากเป็นสงครามที่ก่อขึ้นด้วยความโง่เขลาไม่รู้จักโครงสร้างและหน้าที่ของธรรมชาติ สำนึกภายในทำให้ราเชลต้องประกาศออกมาว่า เธอจะต้องทำให้เห็นความสูญเสียที่แท้จริงและความล้มเหลวของการใช้สารเคมี ด้วยเหตุนี้จึงเป็นกำเนิดของ Silent Spring

ในหนังสือเล่มนี้ ราเชลเขียนว่า "ภายใต้การทำเกษตรกรรมแบบดั้งเดิม เกษตรกรแทบไม่มีปัญหาเรื่องแมลงศัตรูพืช แต่แมลงระบาดเพราะมีการปลูกพืชเชิงเดียวกันอย่างมหาศาล ระบบการทำเกษตรแบบนี้ก่อให้เกิดการระบาดของแมลง การปลูกพืชเชิงเดี่ยวไม่ได้นำหลักการทำงานของธรรมชาติมาใช้ แต่เป็นการทำเกษตรกรรมแบบวิศวกรรมที่ปรับแต่งอย่างไรก็จะทำ ธรรมชาติได้สร้างสรรค์ผืนดินประเภทต่างๆ แต่มนุษย์มักจะแสดงให้เห็นว่าหลงไหลการทำให้สิ่งต่างๆเหลืออยู่ไม่กี่อย่างและไม่ซับซ้อน ดังนั้นมนุษย์จึงละเลยระบบการตรวจสอบถ่วงดุลย์ ซึ่งธรรมชาติได้โอบอุ้มสรรพชีวิตมากมายเอาไว้

มีสื่อเขียนถึง ถ่ายทอดเป็นรายการและพูดถึงเมื่อหนังสือ Silent Spring เกิดการฟ้องร้องและการฟ้งอกลับ มีข้อมูลจริงและที่รับมาผิด มีทั้งการประณามอย่างรุนแรงและการหลงไหลไร้เหตุผล สรุปว่าหนังสือกล่าวถึงอะไรกันแน่

หนังสือ Silent Spring มุ่งความสนใจไปที่การปนเปื้อนของสารเคมีในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยาฆ่าแมลงและยาปราบวัชพืช หนังสือเล่มนี้บรรยายอย่างชัดเจนให้เห็นรายละเอียดของผลกระทบที่เกิดจากการปล่อยสารพิษเหล่านี้ออกไปสู่ธรรมชาติ ราเชลอธิบายให้เห็นเป็นข้ออย่างละเอียดดังนี้

·         มีคนหลายล้านคนสัมผัสกับสารพิษเหล่านี้โดยไม่รู้ตัวหรือโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

·         สารพิษเหล่านี้ที่แท้คือ สารสังหารชีวิต (biocide) ออกฤทธิ์ฆ่าทุกอย่างกว้างขวางกว่าเป้าหมาย

·         สิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์ถูกฆ่าพร้อมกับสิ่งมีชีวิตที่เป้าหมายของยา

·         น้ำ อากาศ และดินเป็นระบบหนึ่งเดียวที่เชื่อมโยงกัน ผลของสารพิษที่เกิดกับสิ่งมีชีวิตใด สุดท้ายย่อมกระจายตัวอยู่ทั่วทั้งระบบ มนุษย์เองก็อาศัยอยู่ในระบบ จึงกลายเป็นผู้ที่วางยาพิษตัวเอง

·         สารพิษสะสมในห่วงโซ่อาหาร สารพิษเข้มข้นเพียงเล็กน้อยเมื่อปนเปื้อนแหล่งน้ำ ก็จะสะสมมากขึ้น ณ แต่ละจุดของห่วงโซ่ ปริมาณสารพิษก็จะเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ มนุษย์เราอยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร

·         ถ้าหากสิ่งที่ยกมาข้างต้นยังเลวร้ายไม่พอ ยาฆ่าแมลงยังมีผลสะท้อนกลับ สิ่งมีชีวิตที่ต้องการกำจัดจะปรับตัวให้ต่อต้านฤทธิ์ยา เมื่อแมลงระบาดเพราะดื้อยาก็จำเป็นที่จะต้องใช้ยามากขึ้น ด้วยชนิดยาที่ร้ายแรงมากยิ่งขึ้นเพื่อกำจัดแมลงดื้อยาเหล่านั้น

·         มีทางเลือกอื่น เป็นทางเลือกที่เกิดจากความเข้าใจโลกของธรรมชาติ เป็นโลกที่มีสัมพันธภาพ เชื่อมร้อยกันอย่างบรรสารสอดคล้อง คำตอบบอกให้เราทราบว่ามนุษย์คือส่วนหนึ่งของธรรมชาติและผลของการทำสงครามกับธรรมชาติ ก็คือการห้ำหั่นชีวิตตนเอง

 

หนังสือเล่มนี้เกิดจากการกลั่นกรองหลักฐานทางวิทยาศาสตร์จนสามารถอธิบายเรื่องราวได้อย่างแจ่มแจ้ง จากการค้นคว้าข้อมูลอย่างครบถ้วน หนังสือเล่มนี้รวบรวมเนื้อหาจากเอกสารและงานที่นำมาอ้างอิงกว่าห้าสิบหน้า แสดงให้เห็นถึงแก่นแท้ของการมองโลกอย่างเห็นคุณค่าของระบบนิเวศ ด้วยภาษาที่ใครก็อ่านได้ นับเป็นครั้งแรกในโลกปัจจุบันเลยก็ว่าได้ ที่หนังสือเล่มนี้ได้แจกจ่ายไปสู่มือนักอ่านจำนวนมาก จนเกิดเป็นหัวข้อโต้เถียงที่ทรงพลังและสร้างสรรค์ให้เห็นสัมพันธภาพ ระหว่างโลกของธรรมชาติกับสภาวะการพึ่งพาธรรมชาติของมนุษย์เรา เนื้อหาในเล่มครอบคลุมกว้างขวางกว่าแค่จะมุ่งเน้นเรื่องยาฆ่าแมลง ราเชล คาร์สัน แสดงให้เห็นบทเรียนที่ล้ำลึกซึ่งเกิดจากการเฝ้าศึกษาธรรมชาติมาตลอดชีวิต จนได้ข้อคิดว่า โลกไม่ใช่ของเรา เราต่างหากที่เป็นส่วนหนึ่งของโลก ทุกวันนี้ในโลกที่เราจะต้องสู้กับทั้งสิ่งมีชีวิตตัดต่อพันธุกรรม (GMOs) และภูมิอากาศแปรปรวน ราเชลช่างนำเสนอเนื้อหาได้ร่วมสมัย ใช่แล้ว ระดับของการทำลายมันกว้างขึ้นและลงลึกไปเรื่อยๆนับตั้งแต่สมัยที่ราเชลยังอยู่ ใช่แล้ว เราอยู่ในโลกแห่งวิกฤติ แต่ทุกช่วงเวลาที่ผ่านไป มีมนุษย์จำนวนมากขึ้นทั่วโลกต่างเดินทางไปสู่แสงแห่งความเข้าใจ ถ้าเราช่วยกันเราจะทำสำเร็จได้ และเราจะสร้างอนาคตในแบบที่เราจะสามารถกลับมายังที่อาศัยภายในอ้อมกอดอันแสนอบอุ่นของโลกที่มีชีวิต

 

 

ที่มา:นิตยสาร Resurgence ฉบับที่ 271 (มีนาคม – เมษายน 2012)

หมายเหตุ :
1.บทความนี้ตีพิมพ์ลงใน ปาจารยสาร (ปีที่ 36 ฉบับที่ 2 มิถุนายน – สิงหาคม พ.ศ.2555)
2.Silent Spring เคยมีการแปลเป็นไทยแล้ว ในชื่อ "เงามฤตยู" แปลโดย คุณหญิงดิฐการภักดี และ หม่อมวิภา จักรพันธุ์ เมื่อปี 2517 และก็ไม่ได้มีการพิมพ์ซ้ำ หรือ แปลใหม่อีกเลย 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลให้ประกันตัว “เจ๋ง ดอกจิก” วางเงื่อนไขห้ามขึ้นปราศรัยปลุกปั่นประชาชน

Posted: 28 Sep 2012 03:44 AM PDT

ศาลอาญามีคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราว "เจ๋ง ดอกจิก" ในวงเงิน 6 แสนบาท กำหนดเงื่อนไขห้ามขึ้นเวทีปราศรัยปลุกปั่นประชาชน กำชับให้ปฏิบัติตามคำมั่นไม่ขึ้นเวทีและไม่แสดงความเห็นการเมือง

28 ก.ย.55 ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลได้มีคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราวนายยศวริศ ชูกล่อมหรือ "เจ๋ง ดอกจิก" อายุ 55 ปี เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จำเลยที่ 7 ในคดีก่อการร้ายที่ถูกศาลสั่งเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราว ด้วยหลักทรัพย์เงินสด 6 แสนบาทซึ่งยื่นต่อศาลเป็นครั้งที่ 2 ไว้ก่อนหน้านี้

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ได้รายงานด้วยว่า ศาลได้วางเงื่อนไข ห้ามนายยศวริศ  ปลุกปั่นประชาชนให้ละเมิดกฎหมายแผ่นดินและยังกำชับให้ ปฏิบัติตามคำมั่นที่เคยให้ไว้ต่อศาลว่าจะไม่ขึ้นเวทีปราศรัย และแสดงความคิดเห็นใดๆทางการเมือง  โดยจะมีการปล่อยตัวที่เรือนจำชั่วคราวหลักสี่ ( โรงเรียนพลตำรวจบางเขน)

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 24 ก.ย.55 ASTV ผู้จัดการออนไลน์ รายงานว่า นางกรุณา มอริส ภรรยานายยศวริศ ได้ยื่นคำร้องประกอบการพิจารณาของนายยศวริศ ที่ระบุว่าได้แสดงความสำนึกผิดกับสิ่งที่กระทำลงไป  ขอให้คำมั่นว่าจะไม่กระทำการใดๆ ที่เป็นการล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่นอีก ทั้งนี้ได้ลงโฆษณาคำขอโทษในการล่วงละเมิดต่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและครอบครัวใน หนังสือพิมพ์รายวันจำนวน 2 ฉบับ เป็นเวลา 3 วัน ตั้งแต่วันที่ 14-16 ก.ย. นอกจากนี้ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย ในฐานะผู้บังคับบัญชา ก็มีหนังสือรับรองความประพฤติของจำเลยด้วย ทั้งนี้ หากศาลให้โอกาสปล่อยชั่วคราว จำเลยก็จะมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติต่อไป

โดยการยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวในครั้งนี้ สำนักข่าวไทย รายงานด้วยว่า นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเคยยื่นคำร้องคัดค้านการขอปล่อยชั่วคราวนายยศวริศกล่าวว่า วันที่ 25 ก.ย. คงจะไม่เดินทางมาเพื่อคัดค้านการประกันตัวของนายยศวริศเหมือนครั้งที่แล้ว เพราะเชื่อว่ายังไม่มีข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งของศาล ดังนั้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาล ว่าจะให้ประกันตัวหรือไม่ ถ้าศาลมีคำสั่งให้ปล่อยตัว ศาลต้องมีเหตุผลที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งนั้นด้วย

"ปกติการที่จะให้ประกันตัว ต้องมีเหตุผลที่จำเป็น เช่น นายเจ๋งอาจจะอยู่ในเรือนจำ แล้วมีปัญหาทางด้านสุขภาพ มีความจำเป็นต้องออกมารักษาข้างนอก ซึ่งศาลอาจจะอนุญาตให้ประกันตัวได้" นายนิพิฏฐ์กล่าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ตำรวจตูนีเซียฟ้องกลับผู้หญิงที่ถูกข่มขืนข้อหา 'กระทำอนาจาร'

Posted: 28 Sep 2012 03:36 AM PDT

กลุ่มประชาสังคมในตูนีเซียไม่พอใจเมื่อศาลเรียกตัวสตรีที่ถูกข่มขืนไปรับฟังข้อกล่าวหา 'กระทำอนาจาร' หลังถูกฝ่ายตำรวจที่ข่มขืนเธอฟ้องกลับ นัดชุมนุมประท้วงหน้าศาลสัปดาห์หน้า ส.ส. พรรคซ้าย-กลางประกาศเลิกสนับสนุนพรรครัฐบาลตูนีเซียเพื่อประท้วงเหตุการณ์นี้

 
27 ก.ย. 2012 - ประชาสังคมตูนีเซียออกมาชุมนุมแสดงการสนับสนุนเยาวชนสตรีนางหนึ่งที่ถูกตำรวจข่มขืนและถูกฝ่ายตำรวจเองฟ้องข้อหากระทำอนาจาร ซึ่งฝ่ายผู้ประท้วงบอก่าเป็นการทำร้ายสิทธิมตรีในวงกว้างจากฝ่ายเคร่งศาสนา
 
มีความไม่พอใจอย่างมากเมื่อเหยื่อที่ถูกข่มขืนอายุ 27 ปี ถูกตุลาการไต่สวนเรียกตัวเมื่อวันที่ 26 ก.ย. ที่ผ่านมาเพื่อรับฟังคำร้องในข้อหา 'กระทำอนาจาร' จากผู้ฟ้องคือชายสองคนที่ถูกกล่าวหาว่าข่มขืนเธอ ซึ่งหลายคนบอกว่าเป็นวิธีการที่ผู้มีอำนาจพยายามข่มขู่เธอ
 
สมาคมสตรีตูนีเซียเพื่อประชาธิปไตย และสหพันธ์สิทธิมนุษยชนตูนีเซีย ซึ่งเป็นกลุ่มสิทธิสตรีและสิทธิมนุษยชนที่มีชื่อในตูนีเซีย รวมถึงกลุ่มประชาสังคมอื่นๆ ได้ รวมตัวตั้งคณะกรรมการเพื่อประสานงานโครงการรณรงค์ช่วยเหลือสตรีดังกล่าว
 
ไฟซา สกันดรานี ประธานองค์กรเสมอภาคและเท่าเทียมกล่าวว่าคดีนี้มีความสำคัญสองอย่าง คือมันเป็นครั้งแรกที่ผู้หญิงที่แจ้งเหตุถูกข่มขืนโดยตำรวจได้รับการนำคดีสู่ชั้นศาล และมันเป็นครั้งแรกที่เจ้าหน้าที่รัฐพยายามทำให้ผู้หญิงได้รับความอับอายต่อศาธารณชนเพื่อให้มีการยกฟ้องคดี
 
"ตุลาการไต่สวนเปลี่ยนเธอจากเหยื่อให้กลายเป็นผู้ต้องหาเพื่อช่วยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจพ้นผิด" ไฟซากล่าว "ฉันเคยได้ยินคดีที่คล้ายกันในปากีสถาน แต่นี่เป็นครั้งแรกในตูนีเซีย ต่อไปพวกเขาจะตั้งข้อหาว่าเธอค้าประเวณี"
 
 
นัดประท้วง
 
นักกิจกรรมวางแผนประท้วงนอกศาลในวันอังคารหน้า (1 ต.ค.) ในตอนที่ตำรวจต้องมารับการไต่สวนข้อหาข่มขืน
 
มีเพจของเฟสบุ๊คที่สนับสนุนการประท้วงครั้งนี้ เรียกร้องให้คู่แต่งงานชาวตูนีเซียออกมารณรงค์ด้วยป้ายที่เขียนไว้ว่า "พวกเรารักกัน ข่มขืนพวกเราสิ" มีประชาชนราว 1,200 คนยืนยันว่าพวกเขาจะเข้าร่วมการประท้วงตามเวลาที่เขียนไว้ นอกจากนี้ยังมีการเรียกร้องให้มีการนัดหยุดงานโดยสตรีในกลุ่มคนทำงานภาครัฐบาลด้วย
 
ชาวตูนีเซียจำนวนมากแสดงความเป็นหนึ่งเดียวผ่านทางอินเตอร์เน็ตด้วยการเขียนว่า "ข่มขืนเธอแล้วก็ตัดสินเธฮ" บนหน้าเฟสบุ๊คของรัฐมนตรี ซึ่งข้อความได้ถูกลบออกไปในเวลาที่เขียน
 
ความไม่พอใจในครั้งนี้ไม่ได้มีต่อรัฐบาลร่วมโดยตรง แต่รัฐมนตรีมหาดไทยของตูนีเซียถูกชาวตูนีเซียโดยมากมองว่าเป็นมรดกสืบทอดจากการปกครองแบบเผด็จการของซีเน อัล อบีดีน เบน อาลี และข้าราชการจำนวนมากจากรัฐบาลเก่าก็ยังคงดำรงอิทธิพลเดิมไว้ได้
 
อัลจาร่ารายงานว่า หลังจากชาวตูนีเซียสามารถโค่นล้มเบน อาลี ลงได้ในเดือน ม.ค. 2011 ก็มีความก้าวหน้าเรื่องการปฏิรูปหน่วยงานรักษาความสงบของรัฐ หรือเรื่องการสืบสวนการละเมิดสิทธิมนุษยชนน้อยมาก มีรายงานเรื่องตำรวจใช้อำนาจในทางที่ผิดกับประชาชนทั่วไปจำนวนมาก รวมถึงการกล่าวหาว่าผู้หญิงค้าบริการเพื่อพยายามรีดไถเงิน
 
คาเลด ทารูช โฆษกมหาดไทยบอกว่ารัฐมนตรีไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการในคดีของสตรีผู้ถูกข่มขืนเลย และย้ำว่าการตัดสินใจเรียกตัวเธอมาจากผู้พอพากษา
 
 
'การต่อสู้ทางวัฒนธรรม'
 
คาริมา ซูอิด ส.ส. จากพรรคซ้าย-กลาง เอ็ดตาคาโตล ประกาศเลิกสนับสนุนรัฐบาลเพื่อประท้วงกระบวนการศาลที่กระทำต่อเหยื่อผู้ถูกข่มขืน
 
นักกิจกรรมมองคดีนี้ว่าเป็นคดีที่สำคัญเพราะว่ามันเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้ทางวัฒนธรรมระหว่างกลุ่มผู้ที่ต้องการให้ตูนีเซียอยู่ในตำแหน่งประเทศที่ก้าวหน้าที่สุดในโลกอาหรับ กับกลุ่มอนุรักษ์นิยมศาสนา
 
เหตุการณ์ข่มขืนเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 ก.ย. ในชานเมืองกรุงตูนิส เมื่อหญิงสาวและคู่หมั้นของเธอถูกตำรวจขอเข้าจับกุม ขณะที่ทั้งคู่อยู่ในรถ
 
ตำรวจเรียกเงินจากฝ่ายชายแล้วจับฝ่ายชายใส่กุญแจมือไว้ จากนั้นนำฝ่ายหญิงไปที่หลังรถแล้วข่มขืนเธอ
 
 
ที่มา
 
Tunisia rape victim accused of 'indecency', Aljazeera, 27-09-2012
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กฤษณะ ฉายากุล: ทรัพย์ของใคร ?

Posted: 28 Sep 2012 03:25 AM PDT

 

การขุดดิน และการถมดินที่มีกฎหมายกำหนดหลักการให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.2543 ซึ่งสามารถออกกฎกระทรวงกำหนดกิจการต่างๆ ในการขุดดินและถมดินเพื่อรักษาประโยชน์ของการผังเมือง การอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม รวมตลอดถึงการป้องกันการพังทลายของดิน และสิ่งปลูกสร้าง เป็นต้น
        
กฎหมายนี้ได้มีการบังคับใช้มากว่าสิบปีแล้ว แต่ความร่วมมือของประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมตลอดถึงรัฐบาลหลายรัฐบาลที่ผ่านมา ยังเห็นความสำคัญของกฎหมายฉบับนี้น้อยมาก ทั้งๆที่เป็นเรื่องสำคัญ เห็นได้จากการออกกฎกระทรวง และการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อกำหนดให้การขุดดินและการถมดินต้องแจ้งขออนุญาตต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อนที่จะมีการขุดดิน และการถมดินตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ตรวจสอบได้เลยว่า มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสักกี่แห่งที่ได้ออกข้อบัญญัติท้องถิ่นตามกฎหมายนี้
        
ปัญหาการพบโบราณวัตถุในหลายท้องที่ กฎหมายฉบับนี้กำหนดไว้ชัดเจนว่า ในการขุดดินนั้น ถ้ามีการพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ซากดึกดำบรรพ์ หรือพบแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยา ให้ผู้ขุดดินหยุดการขุดดินไว้ก่อนแล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่พบ และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้กรมศิลปากร หรือกรมทรัพยากรธรณีแล้วแต่กรณีทราบโดยด่วน และให้ผู้ที่ขุดดินนั้นปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 หรือกฎหมายที่เกี่ยวอื่นอื่นแล้วแต่กรณี
        
ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์ และจัดทำทะเบียนโบราณวัตถุ หรือศิลปวัตถุที่มีอายุตั้งแต่สมัยอยุธยาขึ้นไป กฎหมายได้กำหนดให้อธิบดีกรมศิลปากรมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดเขตท้องที่ใดเป็นเขตสำรวจโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุนั้น โดยให้เจ้าของแจ้งปริมาณ รูปพรรณ และสถานที่เก็บรักษาโบราณวัตถุ หรือศิลปวัตถุนั้นต่ออธิบดีกรมศิลปากรตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดได้
        
การพบโบราณวัตถุ หรือศิลปวัตถุนั้น หากพิจารณาข้อความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1328 ความว่า สังหาริมทรัพย์มีค่าซึ่งซ่อนหรือฝังไว้นั้น ถ้ามีผู้เก็บได้โดยพฤติการณ์ซึ่งไม่มีผู้ใดสามารถอ้างว่าเป็นเจ้าของได้ให้กรรมสิทธิ์ตกเป็นของแผ่นดิน ผู้เก็บได้ต้องส่งมอบทรัพย์นั้นแก่เจ้าพนักงานตำรวจหรือพนักงานเจ้าหน้าที่อื่น แล้วมีสิทธิจะได้รับรางวัลหนึ่งในสามแห่งค่าทรัพย์นั้น
        
การให้ความร่วมมือของประชาชน และความตั้งใจบังคับใช้กฎหมายที่กล่าวมาข้างต้นนี้อย่างเป็นธรรม มีค่าเป็นอย่างยิ่งในการรักษาทรัพยากรของชาติให้เป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ อย่างยั่งยืน..
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

PATANI FORUM; ความสัมพันธ์อันซับซ้อนระหว่างอิสลามนิยมและประชาธิปไตย

Posted: 28 Sep 2012 03:00 AM PDT


 

(มุสลิมชาวปากีสถานยกมือพร้อมกันระหว่างขบวนเคลื่อนไหวทางศาสนาในลาฮอร์)
(ภาพโดย Getty Images)

การสังหารหมู่มุสลิมชีอะห์กว่า 20 คน และการโจมตีของกลุ่มตาลีบันที่ฐานทัพเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เป็นเพียงกรณีล่าสุดของเหตุการณ์ความรุนแรงทางศาสนาที่เกิดขึ้นในปากีสถาน ไม่น่าแปลกใจที่บ่อยครั้งประเทศนี้จะถูกกล่าวถึง ว่าเป็นตัวอย่างอันเลวร้ายที่สุดที่การเมืองอิสลามในบริบทของความรุนแรงจะเกิดขึ้นได้ แต่หากจะสังเกตกันให้ดีจะพบว่า ไม่มีพรรคการเมืองอิสลามในปากีสถานพรรคใดเลยที่มีโอกาสชนะการเลือกตั้งระดับชาติ แท้จริงแล้วความรุนแรงของเหตุการณ์ที่กระทำโดยกลุ่มอิสลามหัวรุนแรงที่เพิ่มขึ้นนั้น ไม่ได้เป็นสัญญาณของชัยชนะทางการเมืองแต่อย่างใด แต่กลับเป็นความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง

กระบวนการประชาธิปไตยที่ขรุขระของปากีสถาน และกลุ่มศาสนาที่แตกแยกเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พรรคการเมืองที่มีความชัดเจนในเรื่องความเป็นกลางทางศาสนาไม่สามารถชนะการเลือกตั้งได้ ทั้งๆที่พรรคดังกล่าวน่าจะเป็นความหวังในการสื่อสารจุดยืนทางศาสนาผ่านกระบวนการที่ชอบธรรมและไร้ความรุนแรง กลับกันความเชื่อเรื่องการแบ่งพรรคแบ่งพวกที่มักจะแข่งขันกันเองและแสดงออกถึงจุดยืนด้วยความรุนแรง ก็ยังคงนำพาประเทศปากีสถานไปสู่สถานการณ์วิกฤตอยู่เรื่อยมา เห็นได้จากการแสดงทัศนคติทางศาสนาอันคับแคบ และแสดงความไม่พอใจต่อความพ่ายแพ้ในเวทีเลือกตั้งของกลุ่มย่อยต่างๆ โดยการโจมตีชนกลุ่มอื่นๆ ใช้อาวุธ และข่มขู่คู่แข่งในการประท้วงตามถนนสายต่างๆ กระทำการท้าทายกฎหมายและอำนาจรัฐแทนที่จะแสดงบทบาทของตนตามกรอบทางการเมืองอย่างที่ควรจะเป็น

ผู้สนับสนุนแนวคิดอิสลามนิยมคนแรกคือ อับดุล เอลา มาอุดูดิ นักหนังสือพิมพ์และนักเผยแพร่ศาสนาที่เกิดในต้นศตวรรษที่ 19 ในแคว้นออรันกาบัด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินเดียหลังยุครวมชาติ ในช่วงการเคลื่อนไหวเพื่อหลวมรวมเป็นรัฐชาตินั้น มาอุดูดิปฏิเสธแนวคิดการรวมชาติปากีสถาน เพราะเขาเห็นว่าแนวคิดดังกล่าวถูกชักนำโดยนักการเมืองที่มีพื้นฐานคิดแบบโลกีนิยมตะวันตกอย่างเช่น โมฮัมเมด อาลี จินนะห์ เขามองว่าชาวมุสลิมควรอยู่ในสังคมที่ปกครองด้วยกฎหมายอิสลามเท่านั้น และมิควรให้องค์ความรู้หรือส่วนประกอบใดๆที่ไม่ใช่อิสลามมาเกี่ยวข้องในการปกครองนั้น ทั้งที่เขาเองก็ไม่เคยยอมรับต่อการรวมชาติ เขาก็ได้ย้ายไปอาศัยอยู่ในปากีสถานเมื่อ ค.ศ. 1947 และใช้ชีวิตที่เหลือของเขาต่อสู้เพื่อรัฐธรรมนูญที่แปลความอย่างเคร่งครัดจากพื้นฐานกฎหมายชารีอะห์ (Shari'a) และปราศจากอิทธิพลของวัตถุนิยมตะวันตก ซึ่งนั่นหมายรวมถึงรัฐธรรมนูญที่ปราศจากเสรีประชาธิปไตยด้วย เขาโต้แย้งว่า กฎของศาสนาย่อมแทนที่การปกครองโดยคำนึงถึงคำสอนทางศาสนา (Theo-democracy) ทั่วไปได้

ด้วยการเน้นจุดต่างที่ชัดเจนระหว่างอิสลามและระบบไม่นับถือพระเจ้าแบบตะวันตก แนวคิดอิสลามนิยมของมาอุดูอิกลายเป็นต้นแบบความคิดที่นิยมแพร่หลายสำหรับการปฏิวัติที่เกิดขึ้นในรัฐเกิดใหม่หลังยุคอาณานิคม เพราะประชากรมุสลิมส่วนใหญ่ที่นั่น เคยถูกปกครองโดยผู้ปกครองเผด็จการโลกีนิยมที่หนุนหลังโดยตะวันตก มุสลิมในประเทศที่มีประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ศาสนา เช่น อิหร่าน ตุรกี อียิปต์ ต้องยอมรับคำกล่าวอ้างที่ว่า ศาสนาของพวกเขาอยู่ร่วมกับการเมืองสมัยใหม่ไม่ได้ ไม่ว่าเผด็จการหรือประชาธิปไตยก็ตาม

อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1970 กลุ่มชนชั้นนำที่ส่งเสริมแนวคิดโลกียนิยมในรัฐที่มีประชากรมุสลิมเป็นส่วนใหญ่ก็ลดบทบาทลง เมื่อมีการเคลื่อนไหวของประชาชนที่สนับสนุนให้อิสลามเป็นศูนย์กลางของแนวคิดทางการเมืองมากขึ้น อย่างไรก็ตามทั้งการเคลื่อนไหวทางเมืองเพื่อประชาธิปไตยและการปฏิวัติ ไม่มีครั้งใดเลยที่อิสลามนิยมจะเกิดขึ้นในรูปแบบอำนาจบนลงล่างตามที่เข้าใจกัน

ในประเทศตุรกี พรรคอิสลามเพื่อยุติธรรมและการพัฒนา (เอ.เค.พี) ก่อตั้งขึ้นจากกระบวนการปฏิรูปในชนบทของอนาโตเลีย ซึ่งมีความเกี่ยวโยงกับอิทธิพลจากประชาชนรากหญ้าที่เชื่อในคำสอนซูฟิ (Sufi Order) ที่เรียกว่า Naqshbandiyya-Khalidiyya ในประเทศอียิปต์ พรรคภราดรภาพมุสลิม (the Muslim Brotherhood) ได้เรียนรู้และเชื่อว่า การเคลื่อนไหวที่จะประสบความสำเร็จ ต้องพัฒนามาจากกลุ่มผู้ปฏิวัติที่ต่อต้านประชาธิปไตย และให้เขาเหล่านั้นตั้งตนเป็นผู้ดำเนินการทางการเมือง ถึงแม้ว่าพวกเขาจะต่อต้านพหุนิยมหรือระบบหลายพรรค พรรคภราดรภาพมุสลิมก็เริ่มจะหันมายึดถือแนวทางดังกล่าวบ้างแล้ว ทั้งในทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ "อิสลามคือทางออก" ("al-Islam huwa al-Hall") ซึ่งเดิมทีเป็นสโลแกนเพื่อการหาเสียงเลือกตั้งก็กลายเป็นวลีที่ก่อให้เกิดความไม่สงบในอินเดียตะวันตกเรื่อยมา แม้กระทั่งผู้นำการปฏิวัติในประเทศอิหร่านเองก็ใช้ประโยชน์จากพลังสนับสนุนดั้งเดิมในยุค ค.ศ. 1970 ที่มีพื้นฐานจากอำนาจในทางศาสนาเพื่อแผ่ขยายคำสอนของอะยาโตเลาะห์ โคเมนี (Ayatollah Khomeini) การเปลี่ยนแปลงทางสังคมของประเทศเหล่านี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของแนวคิดการเคลื่อนไหวทางการเมืองอิสลามซึ่งได้กดทับพลังแห่งประชาธิปไตยเอาไว้นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ในประเทศปากีสถาน อิสลามนิยมมิได้กลายเป็นรากฐานของสังคม มุสลิมที่นั่นแบ่งเป็นหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มโลกีนิยม กลุ่มภาษา และกลุ่มชาติพันธุ์ ดังนั้น แม้พรรคการเมืองอิสลามต้องต่อสู้กันในทุกสนามการเลือกตั้งดั่งปรากฏให้เห็นในประวัติศาสตร์ของปากีสถานที่ผ่านมา พวกเขาก็ไม่เคยชนะด้วยคะแนนเสียงที่มากพอสักครั้ง เพราะโครงสร้างแห่งอำนาจที่แข็งแรง และแรงจูงใจทางวัตถุที่พรรคโลกีนิยมมักนำเสนอ สามารถเอาชนะความพยายามที่จะบังคับใช้กฎหมายชาเรียได้อยู่ร่ำไป ใน ค.ศ. 2002 ความร่วมมือของพรรคการเมืองอิสลามทำให้พวกเขาสามารถจัดตั้งรัฐปกครองส่วนจังหวัดในจังหวัดชายแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือได้สำเร็จ แต่กระนั้นก็ต้องล้มเหลวเมื่อเวลาผ่านไปเพียงสามปี เพราะว่า ฝ่ายดีโอบันดี บาเรลวี และชีอะห์ ตกลงกันไม่ได้ว่าจะปกครองรัฐอิสลามอย่างไร

เป็นที่น่าสังเกตว่า พรรคการเมืองอิสลามในปากีสถานจะได้รับการสนับสนุนอย่างแพร่หลาย เมื่อใดก็ตามที่พรรคเหล่านั้นเข้าร่วมการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงทศวรรษ 1980 พรรคจามาอัด อิสลามิ (Jamaat-I Islami) ของมาอุดูอิ ได้เข้าร่วมกับเบนาเซีย ภูโต ในการต่อสู้กับเผด็จการ และเมื่อไม่นานมานี้สมาชิกของพรรคก็ได้เข้าร่วมขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อความยุติธรรมของอิมราน คาน (พีทีไอ) ซึ่งพยายามขจัดพฤติกรรมของนักการเมืองฉ้อชลในปากีสถาน การผสมผสานกันของประชานิยมและอิสลามนิยมแสดงให้เห็นแล้วว่า ความรุนแรงไม่ใช่พันธุกรรมแฝงในผู้เชื่อถืออิสลามนิยม หากแต่ว่าความสำเร็จของอิสลามนิยมย่อมต้องอยู่บนพื้นฐานของความสามารถในการจัดการปัญหาของคนหมู่มากโดยเฉพาะคนระดับรากหญ้า มิใช่การบังคับขู่เข็ญแต่อย่างใดคาน ลื่อนไหวเพื่อความยุติธรรมของอิมรานปากีสถานจะได้รับการสนับสนุนอย่างแพร่หลาย เมื่อใดก็ตามที่พรรคเหล่านั้นเข้าร่วมการเคลื่อนไหว

แทนที่เราจะกลัวเกรงกระแสอิสลามนิยม เราควรจะมองให้เป็นวิถีทางแห่งการรักษาและนิยมศาสนาอย่างเป็นระบบ ผลลัพธ์ของประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นอาจไม่เป็นไปอย่างใจของพวกเสรีนิยมเสียทีเดียว เพราะประชาธิปไตยในแบบเฉพาะของตุรกี บังคลาเทศ อินโดนีเซีย และมาเลเซียนั้น เกิดจากอิทธิพลของพรรคการเมืองที่ผสมผสานศาสนาเข้ากับนโยบายของพรรคที่สนับสนุนสิทธิทางเศรษฐกิจเป็นศูนย์กลาง คะแนนนิยมและความสำเร็จในเวทีเลือกตั้งของพรรคเพื่อยุติธรรมและการพัฒนาในตุรกี พรรคชาตินิยมในบังคลาเทศ แนวร่วมโดยการนำของโกลคาร์ในอินโดนีเซีย รวมถึงองค์การสหมาเลย์แห่งชาติในมาเลเซีย ต่างเป็นสิ่งยืนยันของข้อสรุปและแนวโน้มดังกล่าวได้เป็นอย่างดี คะแนนนิยมที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของกลุ่มอนุรักษ์ศาสนา (พีทีไอ) ของอิมราน คาน ชี้ให้เห็นว่าปากีสถานกำลังดำเนินรอยตามวิถีทางที่คล้ายคลึงกัน

(1) แดเนียล จาค็อบเบียส มอร์แกน คือ นักวิจัยแห่งเกตเวย์เฮ้าส์ ประจำสภาเพื่อความสัมพันธ์ระดับโลก (Gateway House: Indian Council on Global Relations) ปัจจุบันเขาทำงานให้กับศูนย์เอเชียใต้ศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด (South Asian Studies at Oxford University)

Source URL:  http://www.newstatesman.com/blogs/religion/2012/08/complex-relationship-between-islamism-and-democracy

 

ที่มา: PATANI FORUM

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

บทสนทนาว่าด้วยอำนาจในพิธีกรรม จากงานศึกษาของ ศาสตราจารย์ ดร. อานันท์ กาญจนพันธุ์

Posted: 28 Sep 2012 02:24 AM PDT

บันทึกจากการเสวนาหัวข้อ "พิธีกรรมและความเชื่อในโลกยุคดิจิตอล"
ในงานประชุมวิชาการ "สะท้อน ย้อนคิด สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา เชียงใหม่"
จัดโดย ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ร่วมกับ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) และ สำนักพิมพ์คบไฟ
วันที่ 21 กันยายน พ.ศ.2555 ณ ห้องประชุมคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 
 
***************************************************************************************
 

ในฐานะที่ไม่เคยศึกษาพิธีกรรมความเชื่อโดยเฉพาะล้านนา และแม้วิทยานิพนธ์ของผมจะพูดถึงพิธีกรรมความเชื่อชาวมลายูและมีนัยทางทฤษฎีอยู่บ้างแต่ก็คิดเป็นสัดส่วนไม่มากเมื่อเทียบกับภาพรวมของวิทยานิพนธ์ ผมจึงออกประหลาดใจไม่ได้ว่าเหตุใดอาจารย์ปิ่นแก้วจึงต้องการให้ผมอ่านงานอาจารย์อานันท์เล่มที่ว่าด้วยพิธีกรรมความเชื่อ (เจ้าที่และผีปู่ย่า: พลวัตของความรู้ชาวบ้าน อำนาจและตัวตนของคนท้องถิ่น) คงได้แต่นึกว่าอาจารย์ปิ่นแก้วคงต้องการให้ผมพูดอะไรบางอย่างเกี่ยวกับเรื่องนี้จากฐานของผมเอง และผมก็คาดว่าเราน่าจะเข้าใจตรงกัน แต่ถึงกระนั้นผมก็ใช้เวลาอยู่หลายวันกว่าจะพบว่าผมจะพาตัวเองเข้าสู่การพูดในหัวข้อนี้โดยไม่ประดักประเดิดได้อย่างไร
 
เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสไปสัมมนาหลักสูตรของคณะที่รีสอร์ตแห่งหนึ่งที่นครนายก และมีประสบการณ์บางอย่างที่คิดว่าน่าจะเป็นแหล่งอ้างอิงให้ผมพาตัวเองเข้ามาสู่หัวข้อนี้ได้ คือ หลังจากมื้อค่ำ ปกติอาจารย์ในคณะโดยเฉพาะที่เป็นอาจารย์ใหม่ มีลักษณะที่เรียกได้ว่าก้าวหน้า ท้าทาย ชอบตั้งคำถาม และมีลักษณะวิพากษ์วิจารณ์แทบจะไปเสียทุกเรื่อง และพวกเราก็สรวลเสเฮฮาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันหลายเรื่อง หลายคนว่าจะกลับไปพักผ่อนแต่ก็ติดใจอยู่ต่อเพราะการสนทนาที่ออกรสชาติ อย่างไรก็ดี พวกเราจำนวนกว่าครึ่งพร้อมใจกันแยกย้ายกันไปพักผ่อนหลังจากที่ผมเริ่มที่จะเล่าถึงประสบการณ์เกี่ยวกับจิตวิญญาณของผมขณะศึกษาภาคสนามที่อำเภอรามัน จังหวัดยะลา และอาจารย์ท่านหนึ่งก็กล่าวว่าวิญญาณของเมาะหรือคุณยายคนนั้นอยู่กับผม คงเหลือพวกเราเพียงไม่กี่คนที่ร่วมสนทนาในหัวข้อนี้ต่อ และจำนวนผู้เข้าร่วมก็ลดลงอีกเมื่อเพื่อนอาจารย์ท่านหนึ่งชวนท่องประสบการณ์ทางจิตวิญญาณกับท่าน บางคนสารภาพอย่างหน้าชื่นตาบานว่าไม่เล่นเพราะกลัว อาจารย์อีกท่านที่อิดออดบอกว่าไม่อยากรบกวนวิญญาณคนอื่น แต่เมื่ออาจารย์ที่เป็นต้นเรื่องบอกว่าไม่ แกก็ตัดสินใจเข้าร่วมด้วยในที่สุด ประเด็นที่ผมอยากจะชี้ตรงนี้ก็คือว่าพิธีกรรมความเชื่อที่อาจารย์อานันท์ว่าไว้ในหนังสือว่ายังเป็นประเด็นชายขอบในแวดวงมานุษยวิทยาไทยแท้จริงแล้วมีความสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นอาณาบริเวณที่สามารถป้องกันตัวเองจากการถูกสำรวจตรวจสอบโดยเฉพาะจากประเพณีการศึกษาทางมานุษยวิทยาที่เน้นสิ่งที่เรียกว่าการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม เป็นอาณาบริเวณที่คนจำนวนมากเลือกที่จะเซ็นเซอร์ตนเองด้วยเหตุผลต่างๆ นานา เพื่อที่ว่าจะได้ไม่ต้องเข้าไปข้องแวะด้วย และเพราะเหตุดังนั้นพิธีกรรมความเชื่อจึงเป็นอาณาบริเวณที่อำนาจปฏิบัติการอย่างเข้มแข็งแยบยล และก็มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างยิ่งอาณาบริเวณหนึ่ง ซึ่งส่วนหนึ่งอาจารย์อานันท์ก็ได้ชี้ให้เห็นในหนังสือเล่มนี้
 
หนังสือเล่มนี้เป็นการพิจารณาพิธีกรรมความเชื่อจากแง่มุมของอำนาจ อาจารย์อานันท์ โดยอาศัยแนวคิดนีโอมาร์กซิสม์ เสนอว่าความเชื่อเป็นอุดมการณ์ที่มีอำนาจและก็สร้างอำนาจผ่านพิธีกรรม เช่น ความเชื่อเรื่องผีเมืองเป็นรากฐานอำนาจให้เจ้าเมืองโดยเฉพาะที่ผ่านพิธีไหว้ผีเมือง (กรุงเทพฯ จึงยกเลิกพิธีนี้และให้จัดพิธีบูชาเสาหลักเมืองที่อิงคติพุทธในฐานะสัญลักษณ์ของอำนาจกรุงเทพฯ แทน) หมอเมืองสร้างอำนาจผ่านทางผี พุทธ และการแพทย์สมัยใหม่ และความเชื่อเรื่องผีปู่ย่าเป็นฐานให้กับการมีอำนาจของร่างทรง เป็นต้น นอกจากนี้ อาจารย์อานันท์เสนอว่าอำนาจเหล่านี้จะมีความชอบธรรมได้ก็ต่อเมื่อเป็นสิ่งนำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์หรือประโยชน์ของชุมชน อำนาจเป็นธรรมแม้จะรุนแรงหากว่าความรุนแรงนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์ของชุมชน ขณะเดียวกันอาจารย์อานันท์อาศัยมโนทัศน์จำพวก Liminality ของ Turner ในการชี้ให้เห็นว่าในช่วงดังกล่าวซึ่งมักเกิดขึ้นขณะประกอบพิธีกรรมอยู่ระหว่างอำนาจการควบคุมทั้งก่อนหน้าและหลัง เป็นสภาวะไร้อำนาจที่เปิดให้สร้างสรรค์ใหม่ได้อย่างอิสระกว่า จึงเปิดโอกาสให้ผู้หญิง (รวมทั้งคนที่เสียเปรียบหรือด้อยโอกาส) ซึ่งในสภาวะปกติมักถูกระเบียบกฎเกณฑ์ควบคุมได้ระบายและได้มาซึ่งอำนาจเช่นโดยการเป็นร่างทรง จึงเป็นการชี้ชวนให้พิจารณาพิธีกรรมความเชื่อที่แตกต่างไปจากที่คนทั่วไปคุ้นเคยกัน
 
อย่างไรก็ดี ผมอยากจะสร้างบทสนทนาต่อจากงานของอาจารย์อานันท์ในประเด็นเกี่ยวกับอำนาจในพิธีกรรมสามประเด็น
 
ประเด็นแรก ผมคิดว่าอาจารย์อานันท์ยังไม่ได้สนทนากับทฤษฎีโดยเฉพาะนีโอมาร์กซิสม์ที่อาจารย์อ้างถึงมากนัก ขณะที่ในส่วนของ Gramsci ที่อาจารย์อานันท์พูดถึงผ่านงานของ Turton ก็ยังถูกนำมาใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่ อาจารย์กล่าวว่าคุณูปการของกรัมชี่ผ่าน Turton อยู่ที่การชี้ให้เห็นการช่วงชิงความหมายเพื่อปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างอุดมการณ์ครอบงำกับอุดมการณ์ต่อต้าน ผ่านคำถามที่ว่าทำไมอุดมการณ์ครอบงำจึงมีขีดจำกัด อย่างไรก็ดี ความเข้าใจของผม Gramsci ต้องการจะไขปริศนาว่าเหตุใดการปฏิวัติชนชั้นจึงไม่เกิดขึ้นเสียทีเสียมากกว่าทั้งที่เงื่อนไขต่างๆ ก็ดูจะสุกงอมแล้ว ทำไมชนชั้นกรรมาชีพจึงปล่อยให้การกดขี่ขูดรีดเกิดขึ้นอยู่ได้ ทำไมจึงไม่ลุกฮือกันขึ้นมาปฏิวัติตามที่ Marx พยากรณ์ไว้เสียที และในที่สุดเขาก็ถึงบางอ้อว่าที่เป็นเช่นนี้เป็นเพราะมีปฏิบัติการในระดับที่เหนือขึ้นไปที่ช่วยให้การกดขี่ขูดรีดดำเนินไปได้ นั่นก็คือ hegemony หรือสภาวะการนำทางการเมืองศีลธรรม และปัญญาเหนือพันธมิตรด้วยการแสดงให้พันธมิตรเชื่อว่าตนเป็นผู้สามารถปกป้องดูแลผลประโยชน์ของพันธมิตรได้ดีที่สุด หรือผลประโยชน์ของตนก็คือผลประโยชน์ของพันธมิตร และด้วยข้อตระหนักนี้ Gramsci ก็เลยแนะนำให้ชนชั้นแรงงานนำมาใช้บ้างหากว่าต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสมบูรณ์
 
ผมพูดอย่างนี้ก็เพราะว่าในหลายกรณีความเชื่อไม่ว่าจะอยู่ในระดับใดก็สามารถมีสถานะเป็น hegemony ได้ จึงส่งผลให้การละเลยหรือไม่พิจารณามันในลักษณะนี้ก็ทำให้การพูดถึงมันกลายเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการของอำนาจครอบงำโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพูดในภาษาหรือลีลาของหน้าที่นิยมหรือโครงสร้างหน้าที่นิยม เช่น การเสนอว่าการนับถือผีเป็นกุศโลบายของชาวบ้านในการควบคุมทางสังคมอย่างหนึ่ง หรือการเสนอว่าอำนาจแห่งความอุดมสมบูรณ์อยู่เหนือความขัดแย้งใดๆ เพราะการพูดเช่นนี้ทำให้ไม่เห็น power differentials คือไม่เห็นว่าใครควบคุมใคร หรือกลุ่มหรือชนชั้นไหนได้ประโยชน์ กลุ่มหรือชนชั้นใดเสียเปรียบจากการนับถือผีเช่นนี้ การมองการนับถือผีเป็น hegemony จะช่วยให้เห็นปฏิบัติการของอำนาจได้แม้ว่าจะอยู่ในระดับที่พื้นฐานที่สุด เพราะหากเราถือว่าทุกความสัมพันธ์ทางสังคมคือความสัมพันธ์ทางอำนาจ หรืออำนาจปฏิบัติการหรือแทรกซึมไปทุกอณูของสังคมอย่างที่ Foucault ว่า ความเชื่อเรื่องผีของท้องถิ่นก็ไม่เป็นข้อยกเว้นของปฏิบัติการอำนาจเช่นกัน
 
ทั้งนี้ ปฏิบัติการอำนาจโดยเฉพาะที่อยู่ในรูป hegemony จะมีความเข้มข้นหรือเด่นชัดเป็นพิเศษหากพิจารณาในบริบทที่มีรัฐเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ฉะนั้น จึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมากที่รัฐพิธีและราชพิธีถูกกันออกจากงานศึกษาชิ้นนี้ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าเป็นพิธีที่ไม่ได้เกิดขึ้นด้วยความเคารพศรัทธาอย่างแท้จริงเหมือนกรณีพิธีกรรมความเชื่อของชาวบ้านและชุมชน นอกจากนี้ ผมคิดว่าหากอาจารย์อานันท์ต้องการจะดูว่าการศึกษาพิธีกรรมจะช่วยยกระดับหรือขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์เชิงอำนาจให้กับผู้เสียเปรียบหรือด้อยกว่าอย่างไรโดยเฉพาะในบริบทสังคมไทย ผมคิดว่ายิ่งเลี่ยงไม่ได้ใหญ่ที่จะต้องศึกษารัฐพิธีหรือราชพิธีเพราะเป็นอาณาบริเวณที่ปฏิบัติการอำนาจโดยเฉพาะในรูป hegemony เกิดขึ้นอย่างเข้มข้นมาก โดยเฉพาะตั้งแต่ทศวรรษ 2490 เป็นต้นมาที่สถาบันกษัตริย์ได้เข้ามาอยู่ตรงใจกลางของการจัดระเบียบทางการเมืองของสังคมไทย ซึ่งในแง่หนึ่งงานของอาจารย์ชนิดาก็ได้แสดงให้เห็นแล้ว แต่อย่างไรก็ดี ผมอยากจะพูดต่อว่าเราคงจะไม่พอใจเพียงแค่ hegemony ปฏิบัติการอย่างไร แต่เราก็สนใจด้วยว่ามันถูกท้าทาย ต่อต้านขัดขืน หรือต่อรองอย่างไรด้วย เพราะก็เป็นที่อย่าง Scott พยายามจะชี้ให้เห็นโดยเฉพาะในบทสุดท้ายของ Weapons of the Weak ที่ว่า hegemony ไม่ได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด แต่มีรอยปริแยกแตกหักที่เปิดโอกาสผู้อ่อนแอหรือเสียเปรียบสามารถเข้าไปฉวยคว้ามาใช้เพื่อประโยชน์ของตนได้เช่นกัน
 
ประเด็นที่สอง การมองพิธีกรรมที่เน้นสภาวะ liminality แบบ Turner ว่าเป็นสภาวะที่อยู่ระหว่างอำนาจการควบคุมหรือเป็นสภาวะไร้อำนาจอาจจะทำให้มองไม่เห็นหรือชวนให้เข้าใจรูปแบบอำนาจที่ปฏิบัติการอยู่ในห้วงเวลาและอาณาบริเวณดังกล่าวไขว้เขว เพราะจะอธิบายว่าอำนาจของผู้หญิงหรือร่างทรงในพิธีกรรมเกิดขึ้นได้อย่างไรหากพิธีกรรมเป็นสภาวะที่ไร้อำนาจหรือไม่มีอำนาจเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย พิธีกรรมจึงแยกไม่ออกจากอำนาจ สำคัญว่าเป็นอำนาจประเภทไหน หรือว่าเป็นอำนาจประเภทใดที่แตกต่างออกไปจากอำนาจในยามปกติ ซึ่งเมื่อมาถึงประเด็นเกี่ยวกับอำนาจผมคิดว่าเราคงเลี่ยงลำบากที่จะไม่พูดถึงคนอย่าง Foucault โดย Foucault เสนออำนาจ 3 แบบ คำถามจึงเป็นว่าอำนาจในพิธีกรรมควรเป็นอำนาจแบบไหนดี จะเป็นเทคนิคในการปรับเปลี่ยนเรือนร่างให้ว่านอนสอนง่ายและมีผลิตภาพอย่าง Discipline จะเป็นศิลปะการจัดวางสรรพสิ่งเข้าด้วยกันเพื่อบรรลุเป้าหมายบางอย่างอย่าง Governmentality หรือจะเป็นรูปแบบอำนาจโบราณที่แสดงออกผ่านความเจ็บปวดและความทรมานบนเรือนร่างของนักโทษในการลงทัณฑ์ในที่สาธารณะอย่าง Sovereignty ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วผมเห็นว่าน่าจะเข้าข่ายอย่างหลังมากที่สุด
 
อย่างไรก็ดี ผมคิดว่าแม้จะเป็น Sovereignty แต่ก็ดูจะเป็น Sovereignty ในความหมายของ Agamben มากกว่า เพราะการที่กฎระเบียบปกติถูกกลับหัวกลับหางหรือถูกแขวนไว้ชั่วคราวในช่วง Liminality ในแง่หนึ่งคือสภาวะยกเว้นในทัศนะของ Agamben และสำหรับ Agamben แล้วสภาวะยกเว้นไม่ได้เป็นสภาวะไร้อำนาจ หากแต่เป็นสภาวะที่อำนาจ Sovereignty ก่อตัวขึ้น ดังกรณีอำนาจของผีและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในพิธีกรรมที่มีลักษณะเบ็ดเสร็จ ในแง่นี้ การที่เด็กผู้ชายในชนเผ่าถูกพรากทุกอย่างจนไม่มีความต่างระหว่างกันและยอมจำนนต่อผู้อาวุโสในฐานะวิญญาณบรรพบุรุษอย่างเบ็ดเสร็จจึงเทียบเคียงได้กับบรรดาชีวิตที่เปลือยเปล่าขึ้นต่อองค์อธิปัตย์ในสภาวะยกเว้นตามทัศนะของ Agamben
 
แต่ถึงกระนั้น ผมพูดอย่างนี้ไม่ได้เสนอให้เราเป็นแค่ลูกหาบของนักปรัชญาหรือนักทฤษฎี เพราะจะว่าไปแล้ว reception ต่อ Agamben ในแวดวงมานุษยวิทยามีพิสัยค่อนข้างกว้าง คือมีตั้งแต่ที่รับมาปรับใช้หรือว่าพัฒนาขึ้นไปอย่างพวก Hansen กับ Stepputat ที่เสนอแนวคิด de facto sovereignty ที่หมายถึงความสามารถในการสังหาร ลงทัณฑ์ และจัดระเบียบวินัยโดยไม่ต้องรับผิด หรือพวกที่แบ่งรับแบ่งสู้อย่าง Ross ที่เสนอว่านักมานุษยวิทยาประสบความยากลำบากในการปรับใช้แนวคิดของ Agamben เพราะมีที่มาจากปรัชญาและประวัติศาสตร์กฎหมาย ไม่ใช่การศึกษาภาคสนามหรือในชีวิตจริง ไปจนกระทั่งถึงพวกที่วิจารณ์อย่างรุนแรง เช่น Ong โดย Ong เสนอว่าการพูดถึงชีวิตที่เปลือยเปล่าในสภาวะยกเว้นถาวรละเลยความเป็นไปได้ของการต่อรองอันซับซ้อนของกลุ่มคนที่ไม่ถูกนับว่าเป็นพลเมือง นอกจากนี้ อำนาจสูงสุดก็ยังสามารถเป็นช่องทางให้ผู้คนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เสียเปรียบหรืออยู่ในตำแหน่งด้อยอำนาจในสภาวะปกติได้อาศัยในการสร้างตัวตนและแสดงออกซึ่งอำนาจได้ หรือเป็น mediated agency ดังกรณีของร่างทรงผู้หญิงที่ได้อำนาจมาจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ที่เป็นอำนาจเหนือชีวิต หรือกรณีสตรีมุสลิมที่ด้วยการจำนนต่อพระเจ้าในฐานะบุตรสาวของพระองค์ก็ช่วยให้พวกเธอสามารถใช้สิทธิอำนาจในนามของพระเจ้าได้ เช่น การสามารถบอกให้ผู้ชายเลิกประชุมกลางคันด้วยเหตุผลที่ว่าได้เวลาละหมาดแล้ว ไม่ว่าการประชุมจะกำลังเข้มข้นเพียงใดหรือไม่ว่าจะมีผู้ชายคนไหนที่อยากจะข้ามการละหมาดนี้ไปเสีย การมองพิธีกรรมว่าเป็นอาณาบริเวณที่อำนาจประเภทนี้ทำงานเข้มข้นและขณะเดียวกันก็เป็นช่องทางให้ผู้ด้อยกว่าในสภาวะปกติได้แสดงซึ่งอำนาจจะช่วยให้มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างพิธีกรรมกับอำนาจที่ละเอียดอ่อนยิ่งขึ้น
 
ประเด็นที่สาม การมอง agency ผ่านทางการสร้าง subjectivity ในเชิงบวกเช่นนี้ไม่ควรมองในเชิงเครื่องมือ กลไก หรือว่าในลักษณะของ instrumentality คือไม่สามารถมองว่าผู้หญิงต้องการเป็นร่างทรงเพราะต้องการอำนาจ หรือเพราะผู้หญิงต้องการอำนาจจึงมาเป็นร่างทรง และฉะนั้นเราจึงไม่สามารถสรุปหรือทึกทักเอาเองได้ว่าพฤติกรรมของร่างทรงสะท้อนถึงการที่ผู้หญิงพยายามแสดงความเป็นชาย หรือการระบายความคับแค้นทางเพศ เพราะนอกจากเป็นการเข้าใจ agency ในเชิงเครื่องมือ กลไก ยังเป็นการใช้แนวคิดทฤษฎีเช่นจิตวิเคราะห์มาใช้อธิบายพฤติกรรมผู้หญิงแทนที่จะฟังเสียงของผู้หญิงว่าพวกเธอเข้าใจและอธิบายการกระทำของพวกเธออย่างไร ซึ่งออกจะตรงข้ามกับเป้าหมายของหนังสือที่ต้องการศึกษาพิธีกรรมความเชื่อจากทัศนะหรือมุมมองของชาวบ้านหรือท้องถิ่น เพราะว่าสิ่งที่ปรากฏส่วนใหญ่เป็นการวิเคราะห์หรือตีความโดยอาศัยแนวคิดต่างๆ เช่น จิตวิเคราะห์ หน้าที่นิยม หรือโครงสร้างหน้าที่ มากกว่าจะเป็นเสียงของผู้ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะในส่วนของผู้ใช้บริการ คำถามก็คือว่าจะทำอย่างไรจึงจะได้ยินเสียงของผู้คนเหล่านี้แทนที่จะอธิบายมันทิ้งไปเสียด้วยแนวคิดทฤษฎีต่างๆ ซึ่งการพิจารณาพิธีกรรมในลักษณะเช่นนี้เป็นคล้ายๆ กับการศึกษาพิธีกรรมของ Geertz ที่ Rosaldo ได้ตั้งข้อสังเกตและวิพากษ์วิจารณ์ไว้ได้อย่างน่าสนใจ คือ เป็นการศึกษาพิธีกรรมความเชื่อที่ถูกครอบงำด้วยความเป็นเหตุผล ความคิดเชิงปรัชญา หรือว่านามธรรม แต่ละเลยมิติทางอารมณ์ความรู้สึกของผู้ที่เกี่ยวข้อง Rosaldo กล่าวว่าแม้ว่าเขาจะมีแนวคิดและทฤษฎีอะไรมากมาย แต่ก็ไม่ช่วยให้เข้าสามารถเข้าใจได้อย่างแท้จริงว่าเหตุใดความเศร้าโศกจากความสูญเสียจึงก่อให้เกิดความโกรธแค้นภายในจิตใจของชาว Ilongot จนต้องออกไปล่าหัวชนเผ่าอื่นในที่สุด จนกว่าเข้าจะประสบความสูญเสียครั้งใหญ่ด้วยตนเอง นั่นคือ การสูญเสียภรรยา ซึ่งแม้แนวคิดของ Rosaldo จะมีข้อจำกัดอยู่บ้าง แต่มันก็เป็นการชี้ชวนให้เราหันมาให้ความสำคัญกับมิติด้านอารมณ์ของวัฒนธรรมหลังจากที่ถูกครอบงำด้วยแนวคิดของ Geertz มานาน ซึ่งแนวคิดของ Rosaldo นี้ถือว่าเป็นต้นกำเนิดหนึ่งของกระแส Turning-inward trend ในทางมานุษยวิทยาและปัจจุบันก็พัฒนามาเป็น reflexive anthropology ที่แม้บางส่วนจะเลยเถิดไปถึงขั้นเอาแต่จ้องสะดือตนเองแต่ก็เป็นเรื่องที่ต้องดูแลกัน
 
การที่ผมหยิบยกมิติทางด้านอารมณ์โดยเฉพาะของผู้ที่เราศึกษาขึ้นมาเพราะสำคัญเมื่อมาถึงประเด็นชนชั้นกลางซึ่งได้รับการกล่าวถึงเป็นการเฉพาะหลายกรณียิ่งกว่าชาวบ้าน โดยชนชั้นกลางใหม่เหล่านี้ถูกอธิบายว่าด้วยผลพวงของการพัฒนาแบบทุนนิยม คนเหล่านี้กลายเป็นคนเห็นแก่ตัว และจึงมีปัญหาทางจิตใจและอารมณ์ เป็นพวกมีความสับสนทางศีลธรรม ซึ่งผมคิดว่าการกล่าวเช่นนี้เป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังอย่างมาก ไม่สามารถทึกทักหรือเหมารวมได้โดยง่าย ขณะเดียวกันการที่อธิบายว่าการใช้บริการทางจิตวิญญาณของคนเหล่านี้เป็นไปเพื่อแก้ปัญหาส่วนตัวเชิงจิตใจและอารมณ์ก็มีแนวโน้มที่จะติดกับหน้าที่นิยมและโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือพวกกลุ่มทฤษฎีกระบวนการกลายเป็นทางโลก ที่ว่าภายใต้การขยายตัวของรัฐรวมทั้งตลาด ความเชื่อทางศาสนามีแนวโน้มที่จะถอยร่นไปสู่อาณาบริเวณความเชื่อส่วนบุคคล ซึ่งไม่น่าจะใช่ เพราะนอกจากที่คนอย่าง Hefner ชี้ให้เห็นว่าศาสนาหลักอย่างอิสลาม คริสต์ และฮินดู กลับเข้ามามีบทบาทในความสัมพันธ์ทางสังคมของคนปัจจุบันอย่างไรแล้ว กรณีธรรมกาย สันติอโศก หรือแม้แต่พิธีเสด็จพ่อ ร.5 เจ้าแม่กวนอิม และการไหว้ผี ที่หนังสือชี้ให้เห็นต่างก็มีผลต่อการจัดความสัมพันธ์ทางสังคมของผู้คนทั้งสิ้น
 
นอกจากนี้ การที่ชนบทเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากโดยเฉพาะในยุคดิจิตอล ไม่ว่าในแง่ของระบบการผลิต วิธีคิดของผู้คน วิถีชีวิต และแบบแผนการบริโภค ก็ทำให้เส้นแบ่งระหว่างเมืองกับชนบทไม่มีความเบ็ดเสร็จเด็ดขาดพอที่จะใช้เป็นหน่วยในการวิเคราะห์ที่แตกต่างอย่างมากเช่นเดิมอีกต่อไป เราไม่เหลือชาวบ้านหรือชุมชนหรือท้องถิ่นไหนที่จะเป็นข้อยกเว้นในการวิเคราะห์ให้เห็นความแตกต่างในเชิงพิธีกรรมความเชื่อได้เช่นเดิมอีก ข้อท้าทายก็คือว่าเราจะมีแนวคิดและวิธีการศึกษาอะไรที่จะช่วยให้เราสามารถทำความเข้าใจและอธิบายพิธีกรรมความเชื่อได้ในสภาวการณ์ที่หน่วยทางสังคมที่เรามีอยู่แต่เดิมได้พร่าเลือนไปแทบหมดแล้วเช่นนี้



 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น