โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

แต่งตั้งนายทหาร 811 ราย "พล.อ.ทนงศักดิ์" เป็นปลัดกระทรวงกลาโหม

Posted: 19 Sep 2012 03:08 PM PDT

ราชกิจจานุเบกษาลงวันที่ 19 ก.ย. 55 เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งนายทหาร 811 ราย โดยมีนายทหารที่ปฏิบัติหน้าที่ช่วงชุมนุมเดือนเมษายน 2553 ได้เลื่อนตำแหน่งหลายราย

เมื่อวานนี้ (19 ก.ย. 55) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ 811 ราย ประกาศระบุว่า มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้นายทหารรับราชการสนองพระเดชพระคุณ ดังต่อไปนี้

 

1. พล.อ.ชาตรี ทัตติ ตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น จเรทหารทั่วไป

2. พ.อ.อธิวุฒิ เขียนวิจิตร เป็นหัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

3. พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เป็นปลัดกระทรวงกลาโหม

4. พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม เป็นรองปลัดกระทรวงกลาโหม

5. พล.อ.หม่อมหลวงประสบชัย เกษมสันต์ ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นรองปลัดกระทรวงกลาโหม

6. พล.ร.อ.ดำรงศักดิ์ ห้าวเจริญ เสนาธิการทหารเรือ เป็น รองปลัดกระทรวงกลาโหม

7. พล.อ.อ.วินัย เปล่งวิทยา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็น รองปลัดกระทรวงกลาโหม

8. พล.อ.ไพชยนต์ ค้าทันเจริญ ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมเป็น ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม

9. พล.อ.อ.ดิเรก พรหมประยูร ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพอากาศ เป็น ผู้อำนวยการศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร

10. พล.อ.พิณภาษณ์ สริวัฒน์ เจ้ากรมเสมียนตรา เป็น ที่ปรึกษาพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

11. พล.อ.มงคล เผ่าพงษ์คล้าย ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมเป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตราพลเอก)

12. พล.อ.พลางกูร กล้าหาญ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตราพลเอก)

 

นอกจากนี้ยังมีการแต่งตั้งนายทหารที่น่าสนใจเช่น 

323. พล.ท.อุดมเดช สีตบุตร แม่ทัพภาคที่ 1 เป็น เสนาธิการทหารบก

 

347. พล.ต.วลิต โรจนภักดี รองแม่ทัพภาคที่ 1 เป็น ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายส่งกำลังบำรุง

 

410. พล.ต.ศักดา เปรุนาวิน เสนาธิการกองทัพภาคที่ 2 เป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 3

411. พล.ต.อุกฤษณ์ อากาศวิภาต ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกพะเยา เป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 7

423. พล.ต.บุญสันติ แสนสวัสดิ์ เจ้ากรมการสัตว์ทหารบก เป็น ผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า

424. พล.ต.สัมพันธ์ ชนะวรรณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก เป็น ผู้บัญชาการกองบัญชาการช่วยรบที่ 1

425. พล.ต.ชาญวุฒิ อินทุลักษณ์ ผู้บัญชาการกองพลพัฒนาที่ 4 เป็น ผู้บัญชาการกองบัญชาการช่วยรบที่ 4

426. พล.ต. สิงหศักดิ์ อุทัยมงคล เสนาธิการกองทัพน้อยที่ 1 เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 11

427. พล.ต. ถกลเกียรติ นวลยง ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกสระแก้ว เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 12

428. พล.ต. ประพนธ์ ศักดิ์สุภา ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกสระบุรี เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 13

429. พล.ต. ศุภวัฒน์ เชิดธรรม เสนาธิการกองทัพภาคที่ 1 เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 14

430. พล.ต. คนินทร วงศาโรจน์ ผู้บัญชาการกองพลพัฒนาที่ 1 เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 15

431. พล.ต. ไชยพร รัตแพทย์ ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกร้อยเอ็ด เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 23

432. พล.ต. ธันยวัตร ปัญญา ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกเชียงราย เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 31

433. พล.ต. สุมงคล ดิษบรรจง ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกพิษณุโลก เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 32

434. พล.ต. เอนก อินทร์อำนวย ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 32 เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 33

435. พล.ต. พีรพล วิริยากุล ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 15 เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 41

436. พล.ต. เรืองศักดิ์ สุวรรณนาคะ ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกปัตตานี เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 42

437. พล.ต. สู่ชัย บุญรัตน์ ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก เป็น ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกสระบุรี

 

455. พ.อ. คู่ชีพ เลิศหงิม เป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 4

456. พ.อ. ไพโรจน์ ทองมาเอง เป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 9

457. พ.อ. อภิรัชต์ คงสมพงษ์ เป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 11

458. พ.อ. วิวรรธน์ ปฐมภาคย์ เป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 15

459. พ.อ. ศิริชัย เทศนา เป็น ผู้บัญชาการกองพลรบพิเศษที่ 1

460. พ.อ. โชติอนันต์ปรีชา ทรัพย์หิรัญ เป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน

461. พ.อ. ปชัญญ์ ตุลยานนท์ เป็น ผู้บัญชาการศูนย์ป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบก

462. พ.อ. บุญธรรม โอริส เป็น ผู้บัญชาการศูนย์การทหารปืนใหญ่

 

ทั้งนี้ พล.ต.วลิต โรจนภักดี ซึ่งจะไปดำรงตำแหน่งเป็น ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายส่งกำลังบำรุง นั้น ในช่วงสลายการชุมนุม 10 เม.ย. 53 ขณะนั้นมีตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ร.2 รอ.) ปฏิบัติหน้าที่อยู่บริเวณ ถ.ดินสอ และได้รับบาดเจ็บจากสะเก็ดระเบิดในวันดังกล่าว

ส่วน พ.อ. อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ที่จะไปรับตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 11 เดิมเคยดำรงตำแหน่ง เป็นผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 รอ.) ในช่วงที่ผู้ชุมนุม นปช. ไปชุมนุมที่หน้ากรมทหารราบที่ 11 ถ.พหลโยธิน นอกจากนี้ยังคุมกำลังทหารไปปฏิบัติหน้าที่ที่สถานีดาวเทียมไทยคม ลาดหลุมแก้ว เมื่อ 9 เม.ย. 53 ด้วย (เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง)

 

สำหรับรายละเอียดการแต่งตั้งนายทหารทั้ง 811 ราย มีดังนี้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เสื้อแดงกลุ่มย่อยจัด "ชายชุดดำทำรัฐประหาร" ประจาน 6 ปี รัฐประหาร

Posted: 19 Sep 2012 02:28 PM PDT

แดงกลุ่มย่อยชุมนุมในโอกาสครบรอบ 6 ปีรัฐประหาร 19 ก.ย. เปรียบคนสั่งรัฐประหารเป็นมือที่มองไม่เห็น เหมือน "ชายชุดดำ" ที่ไม่รู้ว่าเป็นใคร

เมื่อเวลา 17.00 น. วานนี้ (19 ก.ย. 55) ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน คนเสื้อแดงกลุ่ม Cyber Ranger กลุ่มเสรีราษฎร กลุ่มปฏิญญาหน้าศาล กลุ่มคนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตยและกลุ่มเสื้อแดงบางนา รวมทั้งสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ร่วมจัดกิจกรรม "ชายชุดดำทำรัฐประหาร" ประจานการทำรัฐประหาร เนื่องในวาระครบรอบ 6 ปีการรัฐประหารในวันที่ 19 ก.ย.49 เปรียบคนสังการ เป็น "มือที่มองไม่เห็น" เหมือน "ชายชุดดำ" ในเหตุการณ์ เมษา-พ.ค.53 ที่ไม่ทราบว่าเป็นใคร

โดยมีกิจกรรมปราศรัยในประเด็นเกี่ยวกับการรัฐประหาร การแสดงเชิงสัญญาลักษณ์เพื่อประจารการรัฐประหาร จัดนิทรรศการภาพเหตุการณ์การรัฐประหารและการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐประหาร รวมทั้งการจุดเทียนรำลึกและเขียนข้อความถึงกองทัพไทย ซึ่ง นายซิม ไฮแอท จากกลุ่ม Cyber Ranger ผู้ร่วมจัดกิจกรรม ได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่าข้อความที่ผู้ชุมนุมเขียนนั้นจะมีการนำไปยื่นต่อกองทัพบกในวันที่ 20 ก.ย.55 เวลา 11.00 น. ต่อจากนั้นจะไปยื่นหนังสือต่อสถานีโทรทัศน์ ASTV และพรรคประชาธิปัตย์ ในเวลา 13.00 น.และ 15.00 น.ตามลำดับ โดยอ้างว่า เพื่อเรียกร้องให้ยุติการสนับสนุนการทำรัฐประหาร

นายซิม ไฮแอท กล่าวถึงชื่อกิจกรรม "ชายชุดดำทำรัฐประหาร" โดยให้เหตุผลว่าเหมือนตอนสลายการชุมนุม เมษา - พ.ค. 53 ที่มี "ชายชุดดำ" ซึ่งเป็นใครก็ไม่รู้จับมือมาดมก็ไม่ได้ ซึ่งเหมือนเป็น "มือที่มองไม่เห็น" ที่ออกคำสั่งในการทำรัฐประหาร

นายซิม ไฮแอท ยังกล่าด้วยว่า การรัฐประหารไม่ใช่สิ่งดีที่น่ารำลึก เราต้องการประจานการกระทำการรัฐประหารที่วันนี้เรายังไม่ลืม เวทีนี้เป็นเวทีเปิดที่ไม่ใช่เฉพาะคนเสื้อแดงเท่านั้น ซึ่งใครไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารก็มาร่วมกับเราได้ นายซิม ไฮแอท กล่าวด้วยว่าการรัฐประหารไม่ได้ช่วยแก่ปัญหาอะไร วันนี้มาแสดงพลังเพื่อต้องการให้ผู้ที่ทำรัฐประหารรู้ว่าพวกเรายังไม่ลืม โดยกิจกรรมดังกล่าวยุติลงตามกำหนดในเวลา 21.00 น. ท่ามกลางสายฝนที่ตกตั้งแต่ช่วงต้นของกิจกรรม

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

TK park ยะลา: ต้นแบบห้องสมุดสมานฉันท์ จังหวัดชายแดนใต้

Posted: 19 Sep 2012 01:34 PM PDT

 

ท่ามกลางเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังมีมุมสงบปลอดจากเหตุความรุนแรงและยังเป็นสถานที่ที่ผู้คนทุกเชื้อชาติ ศาสนา ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ สามารถเข้ามาอยู่ร่วมกันได้อย่างสมานฉันท์

ด้านหน้าอุทยานการเรียนรู้ยะลา (TK park ยะลา)

เด็กๆ มาร่วมกิจกรรมใน TK park ยะลา

กิจกรรมพิพิธอาเซียนสัญจร

 

อุทยานการเรียนรู้ยะลา (TK park ยะลา)  ถือเป็นอุทยานการเรียนรู้ส่วนภูมิภาคต้นแบบแห่งแรก เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (สอร.) TK park กับเทศบาลนครยะลา จ.ยะลา  แม้จะตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงท่ามกลางสถานการณ์ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่อุทยานการเรียนรู้ยะลา ก็สามารถฟันฝ่าอุปสรรค จนสามารถเปิดให้บริการมาได้ตั้งแต่ปี 2550 ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการให้อุทยานการเรียนรู้ยะลาเป็นเสมือนแม่ข่ายทางปัญญาที่จะช่วยถ่ายทอดบทเรียนการจัดการเรียนรู้ให้กับพื้นที่ใกล้เคียง ภายใต้บริบทวัฒนธรรม และนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาผสมผสานกับองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้อย่างกลมกลืน รวมทั้งเพื่อให้อุทยานการเรียนรู้ยะลา เป็นเครื่องมือสำคัญต่อการสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในพื้นที่ ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด

 

TK park ยะลา แม่ข่าย "Hub" ห้องสมุดมีชีวิต 3 จังหวัดชายแดนใต้

บนเส้นทางกว่า 5 ปีของการดำเนินงานขยายองค์ความรู้ในการบริหารจัดการห้องสมุดมีชีวิตและการส่งเสริมการอ่านการเรียนรู้ของอุทยานการเรียนรู้ยะลา (TK park ยะลา) ที่นอกจากการแบ่งปันและกระจายโอกาสการเข้าถึงการอ่าน และการเรียนรู้สำหรับเด็กเยาวชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ ยะลา , ปัตตานี และนราธิวาสแล้ว ภารกิจสำคัญอีกประการคือ การดำเนินยุทธศาสตร์ในการเป็นศูนย์กลาง หรือ Hub  เพื่อกระจายองค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการห้องสมุดมีชีวิต และส่งเสริมการอ่านการเรียนรู้ให้กับหน่วยงานต่างๆ ที่สนใจในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง

วัชรี ถ้วนถวิล ผู้จัดการอุทยานการเรียนรู้ยะลา

นางสาววัชรี  ถ้วนถวิล ผู้จัดการอุทยานการเรียนรู้ยะลา  กล่าวว่า  กว่า 5 ปีที่เทศบาลนครยะลา   จ.ยะลา และสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (สอร.) TK park ได้ร่วมกันผลักดันให้เกิดการขยายองค์ความรู้การจัดทำห้องสมุดมีชีวิตเข้าไปในพื้นที่ต่างๆ  แม้สถานการณ์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะยังคงเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบอย่างต่อเนื่อง แต่การดำเนินงานของ TK park ยะลานั้น ยังคงดำเนินต่อไปเพื่อให้บรรลุภารกิจย โดยเฉพาะในฐานะแม่ข่าย หรือ Hub ที่จะต้องกระจายองค์ความรู้และการเข้าถึงการอ่านการเรียนรู้ไปยังพื้นที่อื่นๆ ในภาคใต้ตอนล่างซึ่งเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรมประเพณีอันหลากหลาย จำเป็นต้องให้ความรู้ ความเข้าใจ และการสร้างความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชน เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ได้อย่างแท้จริง

" จากสิ่งที่เราทำมาอย่างต่อเนื่อง วันนี้สามารถตอบโจทย์เรื่องของการขยายผลการส่งเสริมการอ่านการเรียนรู้ นอกจากจะได้รับความสนใจจากบุคลากรที่ทำหน้าที่ส่งเสริมการอ่านและผู้บริหารโรงเรียนในจังหวัดยะลา ตลอดจนเจ้าหน้าที่ห้องสมุดและครูบรรณารักษ์ จำนวนกว่า 100 คน ทั่วทั้งจังหวัดให้ความสนใจเข้าร่วมการอบรมเกี่ยวกับมาตรฐานความเป็นห้องสมุดมีชีวิต , การใช้ฐานข้อมูลของ TK park และระบบการบริหารจัดการห้องสมุดมีชีวิต เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาแล้ว   ยังได้รับความสนใจทั้งจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในหลายพื้นที่เข้ามาเยี่ยมชมและศึกษาดูงานการจัดทำแหล่งเรียนรู้ในรูปแบบห้องสมุดมีชีวิตกันตอย่างต่อเนื่อง

โดยเฉพาะเมื่อประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ทำให้เราต้องเปิดกว้างมากขึ้น และต้องรู้จักเขา รู้จักเรามากขึ้น ไม่ใช่เน้นเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพียงด้านเดียว ปัจจุบันเราจะต้องหันมาให้ความสำคัญและให้คุณค่ากับการพัฒนาทักษะและการส่งเสริมการอ่านการเรียนรู้มากขึ้น " นางสาววัชรี กล่าว

 

ขยายผลสู่ห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียนชุมชน

ผลการดำเนินงานด้านการขยายองค์ความรู้เรื่องการจัดทำห้องสมุดมีชีวิตนั้น  ผู้จัดการ TK park ยะลา กล่าวว่า  กำลังจะมีการจัดตั้งต้นแบบห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียนชุมชนขึ้น 4 มุมเมืองในเขตเทศบาลนครยะลา ซึ่งจะเป็นห้องสมุดที่มีรูปแบบตามสภาพแวดล้อมและบริบทของแต่ละชุมชน เช่น ชุมชนตลาดเก่า ซึ่งยังมีความเป็นธรรมชาติอยู่มาก การจัดห้องสมุดมีชีวิตแห่งนี้จะมีบริบทของชุมชนตลาดเก่า หรือบางชุมชนที่มีลักษณะของการผสมผสานการอยู่ร่วมกันระหว่างชาวไทยพุทธ ชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวไทยมุสลิม รูปแบบของห้องสมุดมีชีวิตก็จะมีเรื่องราวและการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมร่วมกัน

สำหรับต้นแบบห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียนชุมชนทั้ง 4 แห่ง ประกอบด้วย โรงเรียนเทศบาล 4 (ธนวิถี) , โรงเรียนเทศบาล 5 (บ้านตลาดเก่า) ,ชุมชนบ้านร่ม และชุมชนอารีย์บางกอก โดยเฉพาะห้องสมุดมีชีวิตโรงเรียนเทศบาล 4 (ธนวิถี)  คาดว่า จะสามารถนำร่องเปิดให้บริการเพื่อเป็นของขวัญให้กับชาวเมืองยะลาได้ภายในเดือนเมษายน 2556

 

จากต้นแบบ TK park ยะลา ถึงปัตตานี และนราธิวาส

ด้วยรูปแบบของการเป็นพื้นที่ศึกษาตามอัธยาศัยและเปิดกว้างสำหรับทุกคนทุกเชื้อชาติและทุกศาสนา  ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ได้เล็งเห็นประโยชน์จากการส่งเสริมการอ่านการเรียนรู้ในรูปแบบของห้องสมุดมีชีวิต และเพื่อให้เป็นพื้นที่ที่จะช่วยสร้างความสมานฉันท์ และสร้างสันติของคนในพื้นที่  จึงได้ดำเนินการจัดตั้ง "อุทยานการเรียนรู้ TK park ขึ้น ที่จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส"  เพราะเชื่อว่าจะนำมาสู่ความเข้าใจกันมากขึ้น และจะช่วยให้สถานการณ์ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนใต้มีแนวโน้มลดลงได้ โดยมี TK park ยะลาเข้าไปเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาแนะนำระบบการบริหารจัดการห้องสมุดมีชีวิต ขณะนี้อยู่ระหว่างการออกแบบโครงสร้างอาคาร คาดว่า จะสามารถเปิดให้บริการได้ในอีก 2 ปีข้างหน้า

นางสาววัชรี กล่าวว่า เพราะอุทยานการเรียนรู้ หรือ TK park จัดเป็นพื้นที่หรือศูนย์กลางที่เปิดกว้างให้ทุกคนและทุกศาสนาสามารถเข้ามาเรียนรู้ และศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมร่วมกันได้ตามอัธยาศัย ไม่ว่าจะเป็นชาวไทยพุทธ ชาวไทยมุสลิม หรือคนไทยเชื้อสายจีน  ดังเช่น TK park ยะลา ที่เปิดให้บริการมากว่า 5 ปี แม้จะตั้งอยู่บนพื้นที่เสี่ยง แต่ก็เป็นพื้นที่ที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน และเป็นพื้นที่ที่มีความปลอดภัยมากที่สุดในเขตเทศบาลนครยะลา เชื่อว่า อุทยานการเรียนรู้ทั้ง 3 จังหวัดชายแดนใต้จะเป็น "ห้องสมุดช่วยดับไฟใต้" ได้ในอนาคต   

ผู้จัดการ TK park ยะลา กล่าวอีกว่า  การที่เราทำตรงนี้ เพื่อให้คนได้เห็นว่า ความสำคัญของกระบวนการส่งเสริมการอ่านการเรียนรู้นั้น มีความสำคัญอย่างมาก และยังเป็นประโยชน์ที่ยั่งยืนต่อประเทศ ซึ่งการจะทำให้คนเข้ามาใช้บริการห้องสมุดมีชีวิตมากขึ้นได้นั้น  เรื่องของการสร้างบรรยากาศ ถือเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเป็นการเปิดโลกกว้างสู่การเรียนรู้แก่เด็กเยาวชนและประชาชนมากขึ้น รวมทั้งการคัดสรรหนังสือใหม่ๆ เข้ามาหมุนเวียนสม่ำเสมอ และการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทท้องถิ่น ซึ่งเป็นรูปแบบที่ให้ความรู้สึกถึงความแตกต่างจากห้องสมุดแบบเดิมๆ

"โดยเฉพาะเด็ก เยาวชนไทยมุสลิมที่นี่ ยอมรับว่า มีความชื่นชอบการทำกิจกรรม ชอบอ่านหนังสือ และชอบที่จะพัฒนาตนเอง จากการทำวิจัยเบื้องต้นของทีมงานฯ เกี่ยวกับความต้องการกิจกรรมการส่งเสริมการอ่านสำหรับเด็กและเยาวชนในพื้นที่พบว่า เปอร์เซ็นต์ของเด็กที่ชอบอ่านหนังสือในเขตเทศบาลนครยะลา เพิ่มขึ้นถึง 80% ถือว่าเราประสบความสำเร็จแล้วจากสิ่งที่ทุ่มเททำมา และรู้สึกดีใจที่ TK park ยะลา มีส่วนทำให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่หันมาสนใจและมีนิสัยรักการอ่านเพิ่มมากขึ้น  ...  นี่คือสิ่งที่ผู้บริหารเทศบาลนครยะลาเล็งเห็นและให้ความสำคัญ จน TK park  ยะลา สามารถเปิดให้บริการมาได้ถึงทุกวันนี้"  

ผลความสำเร็จของอุทยานการเรียนรู้ TK park ในฐานะหน่วยงานที่มีบทบาทในการสนับสนุนส่งเสริมการอ่านการเรียนรู้ และปลูกฝังนิสัยรักการอ่านแก่เด็กและเยาวชน รวมถึงการขยายโอกาสการเข้าถึงองค์ความรู้และสื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัยออกไปยังพื้นที่ห่างไกลทั่วภูมิภาคในรูปแบบของ 'ห้องสมุดมีชีวิต' เพื่อต้องการให้สังคมไทยก้าวไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ซึ่งตัวอย่างจากความสำเร็จของ "อุทยานการเรียนรู้ยะลา" เทศบาลนครยะลา ห้องสมุดมีชีวิตแห่งแรกในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างของประเทศถือเป็นที่ประจักษ์ และยังเป็นต้นแบบสำหรับการจัดตั้งอุทยานการเรียนรู้แห่งอื่นๆ เพื่อนำไปสู่ความรู้ ความเข้าใจ และความสมานฉันท์ ในจังหวัดชายแดนใต้ต่อไป

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คอป. เห็น 'ตุลาการ' ชัดกว่า 'ชายชุดดำ'

Posted: 19 Sep 2012 12:58 PM PDT

รายงานฉบับสมบูรณ์ โดย 'คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ' (คอป.) ได้ กล่าวถึง ประเด็น 'สถาบันตุลาการ' ไว้พอสมควร ซึ่งผู้เขียนจะขอนำเนื้อหาบางส่วนมาชวนสังคมร่วมกันคิดต่อว่า 'ตุลาการ' เป็นส่วนหนึ่งของ 'รากเหง้า' ความขัดแย้งหรือไม่ ? และ 'ตุลาการ' ควรจะปรับตัวเพื่อร่วมสร้างความปรองดองในสังคมไทยอย่างไร ? ดังนี้

 

1. นักการเมืองซุกหุ้น แต่ตุลาการ 'หักดิบ' กฎหมาย

คอป. เล่าถึงบริบทความขัดแย้งตาม 'แบบฉบับมาตรฐาน' โดยนำยุคสมัย 'รัฐบาลไทยรักไทย' มาเป็นจุดเริ่มต้นของลำดับเหตุการณ์  รายงาน คอป. ระบุว่า

"[รัฐบาลไทยรักไทย] ถูกกล่าวหาว่าละเมิดหลักการประชาธิปไตย หลักนิติธรรม คุณธรรมและสิทธิมนุษยชน ใช้อำนาจแสวงหาผลประโยชน์ทางการเมืองและธุรกิจ แต่ระบบตรวจสอบกลับอ่อนแอและขาดประสิทธิภาพและถูกกล่าวหาว่าถูกแทรกแซงโดยฝ่ายบริหาร จนทำให้ผู้นำกองทัพทำรัฐประหารในปี 2549 ซึ่งเป็นการใช้อำนาจนอกระบบในการแก้ปัญหาและเป็นการละเมิดหลักประชาธิปไตยอย่างร้ายแรง แทนที่จะเป็นการแก้ปัญหาทางการเมือง การรัฐประหารกลับกลายเป็นเงื่อนไขที่ทำให้ความขัดแย้งทางการเมืองขยายตัว มีความซับซ้อนและเป็นบาดแผลทางการเมืองที่ร้าวลึกมาจนถึงปัจจุบัน" (หน้า 53-54)

จากนั้น คอป.  จึงวิเคราะห์เชื่อมโยงความเกี่ยวข้องระหว่าง 'ตุลาการ' และความรุนแรงทางการเมือง โดยให้ความสำคัญอย่างมากกับ 'คดีซุกหุ้น' ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยเมื่อปี 2544 ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มิได้กระทำผิดกฎหมาย โดยรายงาน คอป. ระบุว่า

"อำนาจตุลาการซึ่งควรต้องมีบทบาทและหน้าที่ในการผดุงไว้ซึ่งหลักนิติธรรม กลับไม่สามารถทำหน้าที่ในการยุติความขัดแย้งทางการเมืองได้ และยังถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นผู้ละเมิดหลักนิติธรรมเสียเอง" (รายงานหน้า 54, เน้นคำหนาโดย คอป.) และระบุต่อว่า "กรณีจึงกลายเป็นปัญหารากเหง้าและปมปัญหาของความขัดแย้งในระยะต่อมา…"  (หน้า 54, เน้นคำโดยผู้เขียน)

 

ยิ่งไปกว่านั้น คอป. ได้วิเคราะห์ถึงปัญหาทางกฎหมายของคำวินิจฉัยดังกล่าวอย่างเจาะจง และอ้างถึงความคิดเห็นของตุลาการรายบุคคลสองท่าน ก่อนจะติติงอย่างเข้มข้นถึงคำวินิจฉัย 'คดีซุกหุ้น'ดังกล่าวว่า

 

เป็น "การปฏิบัติที่ผิดหลักกฎหมายโดยแท้" และเป็น "ความผิดพลาดของศาลรัฐธรรมนูญ" ซึ่ง "เป็นการบิดเบือนหรือหักดิบกฎหมาย อันเป็นจุดเริ่มต้นที่ทให้สังคมเกิดความเคลือบแคลงในหลักนิติธรรมของประเทศไทย"  (รายงานหน้า 55, เน้นคำโดยผู้เขียน)

 

2. ความขัดแย้งลุกลามบานปลาย เพราะ 'ตุลาการ' ยอมรับ 'รัฐประหาร'

แม้รายงาน คอป. (ส่วนที่ 2) จะสรุปปัญหาความขัดแย้งโดยวิพากษ์ถึง 'ตุลาการ' ในบริบท 'คดีซุกหุ้น' ก่อนการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 อย่างเข้มข้น แต่ คอป. กลับมิได้ต่อยอดหรือเจาะลึกถึงกรณีที่ 'ตุลาการ' ได้สร้างหรือทวีความขัดแย้ง 'ภายหลังการรัฐประหาร' เลย (ซึ่งผู้เขียนก็เห็นใจ หาก คอป. จะวิเคราะห์ ก็อาจจำต้องออกรายงานแยกอีกเล่ม และใช้เวลาอีกปีก็เป็นได้)

ประเด็น 'ตุลาการหลังการรัฐประหาร' ไม่ได้ถูกนำมาวิเคราะห์ในฐานะส่วนหนึ่งของลำดับเหตุการณ์ความรุนแรงในรายงานส่วนที่ 2 แต่ประเด็น 'ตุลาการ' กลับมาปรากฏอีกครั้งในรายงานส่วนที่ 3  ซึ่ง คอป. ได้วิเคราะห์ถึงปัจจัยที่เกี่ยวกับรากเหง้าปัญหาความขัดแย้งในระยะบ่มเพาะ โดย รายงาน คอป. ระบุว่า 

"รากเหง้าของปัญหาด้านกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย โดยกระบวนการยุติธรรมเป็นปัญหาที่เกิดจากความคับข้องใจ เมื่อระบบการเมืองมีปัญหาและมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลหลายชุด รวมทั้งมีการรัฐประหารหลายครั้ง ทำให้เกิดความเคลือบแคลงใจในกระบวนการบังคับใช้กฎหมายที่ยอมรับคำสั่งของคณะปฏิวัติในฐานะผู้ทรงอำนาจรัฐว่าถูกต้อง และบางฝ่ายไม่ยอมรับกติกาสังคมที่มีอยู่ในการจัดการความขัดแย้ง ความขัดแย้งจึงลุกลามบานปลายและเกิดความรุนแรงขึ้น ท้ายที่สุดจึงนำไปสู่กระบวนการตุลาการภิวัฒน์ซึ่งทำให้เป็นที่ถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ในเวลาต่อมา" (หน้า 201)

 

หากกล่าวโดยจับใจความอย่างอ้อม อาจสรุปได้ว่า คอป. มองว่า 'ตุลาการ' ในฐานะผู้บังคับใช้กฎหมายและเป็นกลไกหัวใจของกระบวนการยุติธรรม ก็เป็นส่วนหนึ่งของรากเหง้าปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทย โดยปัญหามิได้มีเฉพาะจากกรณี 'คดีซุกห้น' เท่านั้น แต่ยังเป็นผลโดยรวมจากการ "ยอมรับคำสั่งของคณะปฏิวัติ" ตลอดมาด้วย

น่าสังเกตว่า ในรายงานส่วนนี้ คอป. กลับไม่เจาะจงวิเคราะห์คดีต่างๆ ที่เกิดขึ้นหลังการรัฐประหาร เช่น การรับรองอำนาจของผู้ก่อการรัฐประหาร หรือ องค์กรที่ถูกแต่งตั้งโดยผู้ก่อการรัฐประหารแต่อย่างใด

 

3. 'ตุลาการภิวัฒน์' ยุบพรรค-ห้ามทำกับข้าว

ประเด็น 'ตุลาการหลังการรัฐประหาร' ถูกนำมากล่าวถึงต่อในส่วนที่รายงานถึงบริบทของ "ความขัดแย้งในระดับการช่วงชิงอำนาจ (Power Struggle)"โดย คอป. ได้ใช้ภาษาอย่างกว้างๆ เพื่อกล่าวถึงกรณีที่มีผู้วิจารณ์ประเด็น 'ตุลาการภิวัฒน์'  ซึ่ง คอป. ก็มิได้ให้นิยามไว้ชัด (และผู้เขียนก็ไม่ปรารถนาที่จะใช้คำนี้ เพราะฟังแล้วดูขัดกับความหมาย) โดย รายงาน คอป. ระบุว่า 

"เมื่อโครงสร้างการถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญัญัติเสียดุลไป กล่าวคือ ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติเป็นฝ่ายเดียวกัน เนื่องจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เป็นผู้เลือกนายกรัฐมนตรีและมาจากพรรคเดียวกัน ฝ่ายตุลาการจึงเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการถ่วงดุลอำนาจ ทำให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์ในลักษณะที่ไม่ยอมรับกลไกของกระบวนการยุติธรรม และนำไปสู่การโจมตีบทบาทดังกล่าว ทำให้สังคมมีสภาพที่เสมือนหนึ่งขาดผู้รักษากติกาที่เป็นกลางในสถานการณ์ความขัดแย้งเช่นนี้" (หน้า 212)

 

สังเกตได้ว่า คอป. เลือกใช้ภาษาที่ไม่ผูกมัดตนเอง และไม่ได้เป็นฝ่ายวิจารณ์ 'ตุลาการ' เหมือนกรณีที่ คอป. วิจารณ์ 'คดีซุกหุ้น' ในรายงานหน้า 54-55 ซ้ำยังใช้รูปประโยคที่ฟังประหนึ่ง 'ตุลาการ' เป็นฝ่ายถูกโจมตีบทบาทฝ่ายเดียว

อีกทั้งการใช้ถ้อยคำที่ว่า "เสมือนหนึ่งขาดผู้รักษากติกาที่เป็นกลาง" ฟังขัดแย้งกับข้อวิจารณ์ที่ คอป. มีต่อ 'ตุลาการ' ในหน้า 54-55 และ หน้า 201 เพราะหาก คอป. ยอมรับว่าการยอมรับรัฐประหารคือปัญหาพื้นฐานในทางกระบวนการยุติธรรม คอป. ก็ย่อมชอบที่จะยอมรับสภาวะที่ "ขาดผู้รักษากติกาที่เป็นกลาง" อย่างแท้จริง

ยิ่งไปกว่านั้น คอป. ได้โยงประเด็น "การถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญัญัติเสียดุล" เสมือนเป็นเหตุผลที่ทำให้ 'ตุลาการ' เข้ามามีบทบาทที่ถูกวิจารณ์ ซึ่งผู้เขียนก็ไม่แน่ใจว่า คอป. มีวิธีการวัดการเสียดุลที่ว่าอย่างไร มากไปกว่าการมองว่า ส.ส. เป็นผู้เลือกนายกรัฐมนตรีและมาจากพรรคเดียวกัน

จากนั้น คอป. ก็กล่าวถึง 'ตุลาการหลังการรัฐประหาร' เพียงผ่านๆ โดยในเชิงอรรถที่ 421 คอป. ได้ยกตัวอย่างกรณี  'ตุลาการภิวัฒน์' ได้แก่

- กรณีศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคการเมือง 4 พรรค คือ พรรคไทยรักไทย พรรคแผ่นดินไทย พรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า โดยเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคเป็นเวลา 5 ปีตามคำสั่งผู้ทำรัฐประหาร

- กรณีศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นพิธีกรรายการ ชิมไปบ่นไป และ ยกโขยงหกโมงเช้า เข้าข่ายเป็นลูกจ้างบริษัทเอกชนซึ่งเป็นคุณสมบัติต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ ทำให้นายสมัคร สุนทรเวช พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

- กรณีศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคการเมือง ๓ พรรค ที่ถูกกล่าวหาว่าทุจริตการเลือกตั้ง คือ พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย จึงทำให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รักษาการหัวหน้าพรรคพลังประชาชนพ้นจากตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี

กระนั้นก็ดี สังเกตได้ว่า ในส่วนนี้ คอป. ก็มิได้วิเคราะห์เจาะลงไปในคดีต่างๆ เหล่านี้แต่อย่างใด

 

4. เมื่อ 'ตุลาการ' สรรหา 'องค์กรอิสระ'

นอกจากกรณีที่ 'ตุลาการ' เข้าไปตัดสินคดีแล้ว คอป. ได้กล่าวถึงกรณีที่ 'ตุลาการ' มีบทบาทในการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ จน "ถูกมอง" ว่าเป็นการใช้อำนาจตุลาการเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง โดยรายงาน คอป. ระบุว่า

"การแก้ไขกระบวนการสรรหาโดยให้องค์กรตุลาการมีบทบาทมากขึ้น ประกอบกับการตัดสินคดีหลายคดีของศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครอง ทำให้องค์กรตุลาการถูกมองว่ามีบทบาทมากขึ้นในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง และใช้อำนาจตุลาการเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง อันทำให้เกิดข้อถกเถียงเรื่องตุลาการภิวัฒน์มากยิ่งขึ้น" (หน้า 212 - 213 เชิงอรรถที่ 422)

 

เป็นที่น่าเสียดายว่า คอป. ไม่ได้นำเรื่องโครงสร้างการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมถึงสมาชิกวุฒิสภา มาวิเคราะห์ถึงปัญหาในการตรวจสอบถ่วงดุล 'ตุลาการ' (ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม) อย่างเป็นรูปธรรมแต่อย่างใด

ตรงกันข้าม คอป. กลับเลือกกล่าวถึงเฉพาะปัญหาการแทรกแซงองค์กรอิสระ เช่น กรณีคณะกรรมการการเลือกตั้งถูกศาลตัดสินจำคุก (เชิงอรรถที่ 423) โดยไม่ได้วิเคราะห์ในมุมกลับว่าการที่ 'ตุลาการ' ตัดสินจำคุกคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้น ถูกต้องชอบธรรมและมีนัยเกี่ยวพันกับความขัดแย้งอย่างไร

 

5. ข้อเสนอ คอป. ต่อ 'ตุลาการ'

หลังจากที่ คอป. ได้วิเคราห์ถึงประเด็น 'ตุลาการ' ในบริบทของสถานการณ์และรากเหง้าของความขัดแย้งแล้ว  คอป. ก็ได้สรุปถึงปัญหาหลักนิติธรรมและกระบวนการยุติธรรมในภาพรวม โดย รายงาน คอป. ระบุว่า

"ความเคลือบแคลงในหลักนิติธรรมและกระบวนการยุติธรรมของประเทศเป็นปัจจัยสคัญที่กระตุ้นให้เกิดความไม่ไว้วางใจและความรู้สึกที่เป็นปรปักษ์ต่อกัน การขาดความเชื่อมั่นในหลักนิติธรรมที่เกิดขึ้นมิใช่เป็นเฉพาะความไม่ไว้วางใจต่อองค์กรใดองค์กรหนึ่งในกระบวนการยุติธรรม หรือประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายเท่านั้น แต่เป็นความไม่ไว้วางใจต่อระบบกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมโดยรวมทั้งระบบอันสืบเนื่องมาจากความขัดแย้ง" (หน้า 246)

 

จากนั้น คอป. ก็มีข้อเสนอแนะอย่างกว้าง แต่ก็เน้นถึง 'ตุลาการ' อย่างชัดเจน โดยระบุว่า

"คอป. ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายให้ความสำคัญกับการกำหนดบทบาทที่เหมาะสมตามแนวทางการปกครองในระบอบประชาธิปไตยภายใต้หลักนิติธรรม โดยเฉพาะอำนาจตุลาการ ซึ่งเป็นอำนาจสูงสุดในการวินิจฉัยข้อพิพาทและข้อขัดแย้งต้องพึงระมัดระวังเป็นพิเศษในการใช้อนาจที่เหมาะสมภายในกรอบกฎหมายและหลักนิติธรรม เพื่อให้การใช้อนาจอธิปไตยของฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการเป็นไปอย่างมีดุลยภาพ" (หน้า 247 , เน้นคำโดยผู้เขียน)

 

ความเห็นเพิ่มเติมต่อ รายงาน คอป. ในส่วนที่เกี่ยวกับ 'ตุลาการ'

 

1. ขอบคุณที่ไม่ลืม 'ตุลาการ' แต่อย่าจำแค่ 'คดีซุกหุ้น'

การพิจารณาคุณค่าของรายงาน คอป. ฉบับนี้ คงมิอาจพิจารณาแยกส่วนเฉพาะในประเด็น 'ตุลาการ' ได้ แต่ผู้เขียนก็ยินดีและขอบคุณที่ คอป. ไม่ละเลยที่จะกล่าวถึง 'ตุลาการ' ไม่ว่าจะในฐานะ 'สาเหตุ' หรือ 'ปัจจัย' ของความขัดแย้ง โดยเฉพาะในยุคสมัยที่ครูบาอาจารย์นิติศาสตร์ไทยดูจะไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวเท่าที่ควร

อย่างไรก็ดี น่าเสียดายที่ คอป. กลับไม่วิเคราะห์เจาะจงถึงการใช้อำนาจ 'ตุลาการ' กรณีอื่น โดยเฉพาะกรณีที่ตามมาหลังจากการรัฐประหาร ซึ่งหากพิจารณาทุกกรณีรวมกัน อาจเห็นได้ว่าได้ 'อำนาจตุลาการ' ได้ถูกนำมาใช้ทำลายกฎหมาย ทำลายหลักนิติรัฐนิติธรรม และเกี่ยวพันกับความขัดแย้งในระดับที่ร้ายแรงไม่น้อยไปกว่า 'คดีซุกหุ้น' แต่อย่างใด

 

2. ปมความขัดแย้ง และปม 'ตุลาการ' มีมานานก่อน 'รัฐบาลไทยรักไทย'

แม้ คอป. จะได้กล่าวถึงปัญหาเรื่องชนชั้นทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงท้ายของรายงาน แต่การทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นในสมัย 'รัฐบาลไทยรักไทย' ซึ่ง คอป. นำมาลำดับในช่วงต้นของรายงานนั้น คงยากจะสมบูรณ์หากไม่ลำดับกลับไปถึงปัญหา 'ลัทธิรัฐประหาร' และ 'ระบอบอำนาจนิยม' ที่ชนชั้นนำ (รวมถึง 'ตุลาการ') ได้สมยอมให้สืบแพร่กันมาก่อนที่ 'ทักษิณ ชินวัตร' หรือ 'พรรคไทยรักไทย' จะกำเนิดขึ้นมาเสียอีก และระบอบลัทธิเหล่านี้เอง ที่ทำให้สิ่งที่ถูกเรียกว่า 'ระบอบทักษิณ' (หากระบอบที่ว่าจะมีจริง) กำเนิดขึ้นตามมาในที่สุด

กล่าวอีกทางก็คือ 'ลัทธิรัฐประหาร' มิได้โค่นล้ม 'ระบอบทักษิณ'  อย่างที่หลายฝ่ายเข้าใจ ตรงกันข้าม 'ระบอบทักษิณ' ต่างหากที่เป็นผลพวงจาก 'ลัทธิรัฐประหาร' และตราบใดที่ 'ลัทธิรัฐประหาร' ซึ่งสืบแพร่กันโดยอาศัย 'ตุลาการ' ไม่สิ้นไป 'ระบอบทักษิณ' (ภายใต้หน้าใหม่ชื่อใหม่) ก็จะเกิดดับสลับกับการรัฐประหารเป็นวงจรอุบาทว์ไม่หมดสิ้น (ผู้เขียนเคยวิเคราะห์เรื่องนี้ไว้ที่ http://bit.ly/VPProcess

 

3. 'ตุลาการ' ต้องถูกวิจารณ์ ในฐานะ 'สถาบัน' อันเป็นความหวังในทางประชาธิปไตย

 'ตุลาการ' เป็นสถาบันสำคัญในการแก้ไขความขัดแย้ง และความเป็น 'สถาบัน' ย่อมหมายถึงการสั่งสมประสบการณ์ที่จะนำมาขัดเกลา เรียนรู้ พัฒนา และคัดเลือกสรรหาตุลาการด้วยกันเอง ดังนั้น การที่ตุลาการ 'ชุดหนึ่งชุดใด' ใน 'ศาลหนึ่งศาลใด' ตัดสินคดีอย่างไร้คุณภาพ ก็ย่อมสะท้อนถึงความไร้คุณภาพของ 'สถาบันตุลาการ' ในภาพรวม

กล่าวให้เข้าใจโดยง่าย หากสังคมเห็นว่ามี 'ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ' ที่ได้รับการคัดเลือกมาจาก 'ที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา' รายใด ใช้อำนาจอย่างผิดพลาดขัดหลักกฎหมาย คำวิจารณ์จะหยุดแต่เพียงที่ตัว 'ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ' รายดังกล่าว หรือเพียงแค่ 'ศาลรัฐธรรมนูญ' ศาลเดียวไม่ได้

 

4. ประเด็น 'ตุลาการ' ไม่ได้เป็นปัญหาในอดีตเท่านั้น แต่ยังคงเป็นปัญหาที่รุมเร้าและเร่งด่วนมาถึงปัจจุบัน

แม้ในขณะที่ คอป. กำลังจะสิ้นสุดการทำหน้าที่ แต่ คอป. ก็ได้บันทึกในรายงานหน้า 27 ว่า คอป. เกิดความกังวลใหม่จากกรณีที่ 'ศาลรัฐธรรมนูญ' ได้รับคำร้องเกี่ยวกับกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ว่าเป็นการดำเนินการที่ขัดกับมาตรา 68 แห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่ง คอป. เอง ก็ได้ออกหนังสือเรียกร้องให้ "องค์กรตุลาการโดยเฉพาะอย่างยิ่งศาลรัฐธรรมนูญต้องรักษาไว้ซึ่งหลักความเป็นอิสระและความเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายตามหลักนิติธรรมอย่างเคร่งครัด เที่ยงธรรม"

 

5. ประเด็น 'ตุลาการ' นี้ ได้ถูกหยิบยกขึ้นเน้นในระดับสากล

เห็นได้จากล่าสุดที่ ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้แสดงความ 'ยินดี' ต่อการเปิดเผยรายงาน โดย คอป.  พร้อมเน้นถึงความสำคัญของการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม และ 'สถาบันตุลาการ' ที่เป็นอิสระ (http://bit.ly/UNwelcomesKorOrPor) ซึ่งผู้เขียนย้ำว่า นอกจาก 'สถาบันตุลาการ' จะต้องเป็นอิสระจากฝ่ายการเมืองแล้ว ย่อมต้องอิสระจากการครอบงำโดยอำนาจของลัทธิรัฐประหารเช่นกัน แต่มิได้หมายความว่าจะเป็นอิสระจากการตรวจสอบใดๆ

6. การปรองดองในชาติ จะเกิดขึ้นไม่ได้ หาก 'ตุลาการ' ไม่ปรองดองด้วย

เมื่อพิจารณาจากรายงานของ คอป. โดยรวมแล้ว อาจกล่าวได้ว่า 'การปรองดองในชาติ' จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หาก 'ตุลาการ' ไม่ยอมปรับตัวให้เข้ากับสังคมประชาธิปไตยภายใต้กฎหมาย การเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้ นอกจากจะต้องเกิดขึ้นในเชิงโครงสร้าง  เช่น โดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนอำนาจหน้าที่และที่มาของศาลต่างๆ แล้ว  ยังจะต้องเกิดขึ้นในระดับวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งเป็นเรื่องภายในของสถาบันตุลาการด้วยเช่นกัน

ผู้เขียนเองจึงขอฝากความหวังและเป็นกำลังใจให้บรรดาตุลาการของประชาชนที่มีใจเป็นธรรม โดยเฉพาะตุลาการรุ่นใหม่ ให้ช่วยพาสังคมไทยให้หลุดพ้นไปจากวงจรอุบาทว์แห่งลัทธิรัฐประหาร-อำนาจนิยม ดังที่เป็นอยู่ทุกวันนี้

 

รายงาน คอป. ฉบับสมบูรณ์ อ่านได้ที่ http://bit.ly/BlackMen

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โฆษก ปชป. ประณาม "คำรณวิทย์" ขนม็อบตำรวจบุกที่ทำการพรรค

Posted: 19 Sep 2012 12:44 PM PDT

แนะ "ยิ่งลักษณ์" นำข้อเสนอ คอป. มาศึกษาจริงจังเพื่อหาทางออกประเทศ และพร้อมร่วมมือรัฐบาลค้นหาความจริง หากไม่ทำเช่นนั้นงาน คอป. จะสูญเปล่า เพราะแกนนำเสื้อแดงกลัวติดคุก

ประณามตำรวจนครบาลข่มขู่ประชาชน กรณีม็อบหน้าที่ทำการพรรค

เว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ รายงานว่า เมื่อวานนี้ (19 ก.ย. 55) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า กรณีที่ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล แจ้งจะเดินทางมายื่นหนังสือที่พรรคประชาธิปัตย์ โดยมีการเกณฑ์ตำรวจมาร่วมด้วยจนกลายเป็นภาพม็อบตำรวจข่มขู่ประชาชน โดยใช้เวลาราชการ ใช้พาหนะของทางราชการซึ่งเป็นภาษีของประชาชนในการเดินทางมาปฏิบัติภารกิจส่วนตัวของ ผบช.น. เป็นภาพที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่เคยเห็นและไม่คิดว่าจะเห็นการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ข่มขู่คุกคามสร้างความรู้สึกไม่ปลอดภัยให้กับประชาชน จนประชาชนต้องลุกขึ้นปกป้องตัวเองจากตำรวจ ทั้งนี้ยืนยันว่าพรรคประชาธิปัตย์ยังเชื่อว่าตำรวจส่วนใหญ่มีจิตสำนึกความเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์และตำรวจที่มาก็ไม่รู้ว่ามาทำอะไรแต่ถูกสั่งโดยผู้บังคับบัญชาที่ต้องการเอาใจ ผบช.น.

อย่างไรก็ตามยังเชื่อตำรวจส่วนใหญ่มีจริยธรรม คุณธรรมที่จะดูแลประชาชน แต่ผู้ที่ต้องถูกประณามคือผู้บังคับบัญชาที่เกณฑ์ตำรวจชั้นผู้น้อยมา ซึ่งพรรคจะตรวจสอบต่อไปว่าผู้ที่สั่งให้มีการนำเวลาราชการมาพรรคประชาธิปัตย์ ใช้รถตำรวจจนตำรวจมาปฏิบัติภารกิจส่วนตัวของ ผบช.น.ใครเป็นผู้ออกคำสั่งและต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ดังกล่าว ทั้งนี้อยากฝากถึงประชาชนว่าไม่ต้องตกใจกับพฤติกรรมข่มขู่คุกคามดังกล่าวและให้มั่นใจว่าตำรวจส่วนใหญ่ยังเป็นตำรวจของประชาชน แต่ต้องแสดงออกให้ตำรวจบางคนที่มีพฤติกรรมเลือกฝ่ายอิงการเมืองทำให้คนเหล่านั้นรูว่าประชาชนพร้อมที่จะปกป้องดูแลตัวเองเมื่อมีความอยุติธรรมเกิดขึ้นจากน้ำมือของตำรวจชั้นผู้ใหญ่

 

ถาม นพ.เหวง สามารถระบุได้หรือไม่ว่าถ้าไม่มีคนชุดดำ แล้วทหารตายได้อย่างไร

โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ยังกล่าวถึงผลสรุปจากรายงานของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ หรือ คอป.ที่ระบุว่ามีชายชุดดำปฏิบัติการสร้างความสูญเสีย ทำให้แกนนำคนเสื้อแดงออกโต้แย้ง ว่า เป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจ แต่ที่ต้องถามคือ นายแพทย์เหวง โตจิราการ แกนนำคนเสื้อแดงที่มีออกมาโจมตี คอป.มีหลักฐานที่ชัดเจนในการหักล้างข้อมูลของ คอป.หรือไม่ และสามารถระบุได้หรือไม่ว่าการเสียชีวิตของทหารเกิดขึ้นได้อย่างไรถ้าไม่มีคนชุดดำแฝงตัวในผู้ชุมนุม ซึ่งในรายงานของ คอป.ระบุชัดว่าได้รับการอำนวยความสะดวกของการ์ด นปช.จึงเป็นไปไม่ได้ที่แกนนำจะไม่รับทราบถึงการมีอยู่ของชายชุดดำ

"นพ.เหวง ต้องเลิกหลอกประชาชนและหลอกตัวเอง เพราะมีประชาชนจำนวนมากไม่เห็นด้วยกับการกระทำของแกนนำคนเสื้อแดงที่เลือกรับแต่เรื่องที่เป็นคุณกับพวกตัวเอง แต่ปฏิเสธความจริง จึงขอเรียกร้องไปยังนายกรัฐมนตรีที่ประกาศในช่วงหาเสียงว่า จะมอบหมายให้ คอป.ดำเนินการค้นหาความจริงนำไปสู่ความปรองดอง ดังนั้นนายกรัฐมนตรีต้องจำคำพูดของตัวเองได้ ซึ่งบนเวทีก็มีนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ อยู่ด้วย วันนี้จะไม่ยอมรับรายงานของ คอป.ไม่ได้ สังคมไทยต้องร่วมกันหาทางออกให้ประเทศ ไม่ใช่หาทางออกให้ตัวเองด้วยการสร้างชุดความคิดใหม่ ซึ่งผมเชื่อว่าไม่มีใครยอม และไม่ทราบว่าสมาชิกพรรคเพื่อไทยที่ฉีกรายงานได้อ่านอย่างครบถ้วนสมบูรณ์แล้วหรือยัง ถ้าไม่ยอมรับรายงานของ คอป. คนบางคนที่รับเงิน 7.75 ล้านจากการอ้าง คอป.จะคืนเงินหรือไม่" นายชวนนท์ กล่าว

 

ฝ่ายค้านยินดีร่วมมือยิ่งลักษณ์ค้นหาความจริง
มิเช่นนั้นงาน คอป.จะสูญเปล่า เพราะแกนนำแดงกลัวติดคุก

โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวด้วยว่า นายกรัฐมนตรีต้องนำรายงานนี้มาศึกษาอย่างจริงจังเพื่อร่วมกันหาแนวทางที่จะนำไปสู่ความปรองดอง แต่ถ้าความจริงสร้างความเจ็บช้ำให้แกนนำคนเสื้อแดงเพราะต้องไปอยู่ในคุก นายกรัฐมนตรีก็ต้องยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้องให้กับประเทศ พรรคฝ่ายค้านยินดีที่จะให้ความร่วมมือจัดตั้งเวทีเพื่อค้นหาความจริงร่วมกันเพื่อเป็นจุดเริ่มต้น มิเช่นนั้นการทำงานของ คอป.จะสูญเปล่าเพราะแกนนำเสื้อแดงกลัวติดคุก จึงขอให้นายกรัฐมนตรีใช้ความกล้าหาญนำประเทศพ้นวิกฤตแต่ถ้าตระบัดสัตย์ตกอยู่ภายใต้การครอบงำของแกนนำเสื้อแดงก็ไม่มีคุณสมบัติเป็นนายกรัฐมนตรี เพราะความปรองดองเป็นแค่ลมปากเท่านั้น

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

“ปิดตา นั่งเงียบ 112 นาที” หน้าศาล ประท้วง "ความยุติธรรม" ร้องปล่อยนักโทษการเมือง

Posted: 19 Sep 2012 11:51 AM PDT


เมื่อวันที่ 19 ก.ย.55 เวลา 10.38 น. ที่บริเวณบาทวิถี หน้าศาลอาญา รัชดา มีผู้ชุมนุมประมาณ 30 คน แสดงออกเชิงสัญลักษณ์ ด้วยการนั่งปิดตาด้วยผ้าดำที่มาข้อความ "ปล่อยนักโทษการเมือง" เป็นเวลา 112 นาที ตั้งแต่เวลา 10.38-12.30 น.

 


ภาพโดย Prainn Rakthai
 

น.ส.จิตรา คชเดช นักสหภาพแรงงาน ผู้ริเริ่มกิจกรรม กล่าวว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นประชาชนนัดแนะกันผ่านทางเฟซบุ๊ก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนเสื้อแดง โดยมีเป้าหมายเนื่องจากวันนี้มีการขึ้นศาลของนายสุรภักดิ์ (ขอสงวนนามสกุล) ผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และตามกำหนดการเดิม จะมีการอ่านคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ กรณีที่สมยศ พฤกษาเกษมสุข ยื่นตีความว่ามาตรา 112 ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่ทราบข่าวว่ากรณีหลังมีการเลื่อน จึงต้องมาประท้วงการเลื่อนครั้งนี้ เพราะถือเป็นความยุติธรรมที่มาช้า จึงเป็นความไม่ยุติธรรม

นอกจากนี้ น.ส.จิตรา ยังกล่าวด้วยว่า เป็นการประท้วงการไม่ให้สิทธิประกันตัว ของนายสุรภักดิ์และนายสมยศ รวมถึงนักโทษการเมืองคนอื่นๆ ที่ควรได้รับสิทธิการประกันตัว ซึ่งการแสดงออกนี้ไม่ได้มีการยื่นหนังสือต่อศาลแต่ต้องการให้คนที่สัญจรผ่านไปมาบริเวณนี้รับรู้

ทั้งนี้ นายคารม พลพรกลาง ทนายความนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข  ผู้ต้องขังคดี 112 กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ศาลได้โทรแจ้งว่าศาลสั่งเลื่อนนัดที่จะมีในวัน 19 ก.ย. นี้ เนื่องจากยังไม่มีคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญออกมา จากกรณีที่ฝ่ายจำเลยยื่นให้ตีความว่ามาตรา 112  ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ (อ่านเพิ่มเติม) โดยศาลได้นัดฟังคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญอีกครั้งในวันที่ 19 ธ.ค.นี้

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

มหากาพย์เหมืองหินสุวรรณคูหา 'คนดงมะไฟ' เดินหน้าฟ้องศาลถอนใบอนุญาตใช้ที่ป่าทำเหมือง

Posted: 19 Sep 2012 10:52 AM PDT

ชาวดงมะไฟรวมเดินขบวนยื่นฟ้องศาลปกครอง เพิกถอนคำสั่งอนุญาตเอกชนทำเหมืองแร่หินในพื้นที่ป่าสงวนฯ ชี้กระบวนการไม่ถูกต้องขาดการมีส่วนร่วม หลังสู้ค้านเหมืองหินยาวร่วม 13 ปี อายุประทานบัตรหมดจนได้ต่อใบอนุญาตใหม่ แต่ปัญหายังอยู่

 
วันนี้ (19 ก.ย.55) เวลาประมาณ 10.30 น. ณ ศาลปกครองอุดรธานีชาวบ้าน ต.ดงมะไฟ อ.สุวรรณคูหา จ.หนองบัวลำภู จำนวนกว่า 200 คน เดินขบวนเข้ายื่นฟ้องเพิกถอนคำสั่งอนุญาตให้เอกชนทำเหมืองแร่หินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 
 
ตัวแทนชาวบ้านจำนวน 78 คน พร้อมด้วยนายสงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ ตัวแทนสภาทนายความ และโครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม ผู้รับมอบอำนาจให้เป็นผู้แทน ยื่นฟ้องรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำเลยที่ 1 อธิบดีกรมป่าไม้ จำเลยที่ 2 และผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู จำเลยที่ 3 เพื่อขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งของหน่วยงานรัฐดังกล่าวซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งยังทำให้ชาวบ้านได้รับความเสียหายอันไม่อาจประเมินค่า และขอให้ศาลปกครองคุ้มครองการทำเหมืองแร่หิน จนกว่าคดีจะสิ้นสุด 
 
ล่าสุด ศาลปกครองอุดรธานีแผนกคดีสิ่งแวดล้อมประทับรับฟ้องเพื่อพิจารณาไต่สวนแล้ว
 
 
การฟ้องคดีดังกล่าวสืบเนื่องจาก เมื่อปลายปีที่ผ่านมาหน่วยงานรัฐดังกล่าวมีคำสั่งอนุญาตให้บริษัทเอกชนเข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเก่ากลอยและป่านากลาง ในท้องที่ ต.ดงมะไฟ อ.สุวรรณคูหา จ.หนองบัวลำภู เพื่อทำเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูน และอุตสาหกรรมก่อสร้าง เป็นเวลา 10 ปี โดยไม่ผ่านการทำประชาคมหมู่บ้าน
 
สำหรับข้อสังเกตในการฟ้องคดีประกอบด้วย 1.ใบอนุญาตดังกล่าว ขัดกับระเบียบกรมป่าไม้ ว่าด้วยการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2548 เนื่องจากเป็นการอนุญาตทั้งที่ยังมีความขัดแย้งกับประชาชนในพื้นที่และองค์การบริหารส่วนตำบลดงมะไฟไม่ได้ให้ความเห็นชอบ
 
2.ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามออกใบอนุญาตให้เอกชนเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้ฟ้องคดี ประชาชนและชุมชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการกระบวนการต่างๆ เป็นการละเมิดต่อสิทธิในการมีส่วนร่วมของผู้ฟ้องคดีตามที่รัฐธรรมนูญมาตรา 66 และ มาตรา 67 ได้รับรองและคุ้มครองไว้
 
3.การออกใบอนุญาตให้เข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อทำเหมืองแร่หิน ซึ่งมีกำหนดระยะเวลายาวนานกว่า 10 ปี ทั้งที่เป็นพื้นที่ป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางพรรณไม้และพืชสมุนไพร เป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญ และมีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์อันมีคุณค่าทางโบราณคดีนั้น ได้ส่งผลให้ชุมชนไม่อาจเข้าใช้ประโยชน์ ในด้านการเป็นแหล่งอาหาร แหล่งต้นน้ำและแหล่งเรียนรู้ของเยาวชนในพื้นที่เหมือนเช่นในอดีต อันเป็นการทำลายวิถีชีวิตของชุมชนที่สืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ และสร้างความเดือดร้อนเสียหายต่อผู้ฟ้องคดี ประชาชนและชุมชนยิ่งกว่าประโยชน์ที่รัฐได้รับ 
 
ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2542 ชาวบ้าน ต.ดงมะไฟได้ต่อสู้คัดค้านการก่อสร้างเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูน ในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเก่ากลอย-ป่านากลางเรื่อยมา แม้บางคนจะล้มตาย บางคนต้องกลายเป็นจำเลย แต่ชาวบ้านก็ไม่ยอมแพ้ 
 
เมื่อปี 2543 อุตสาหกรรมจังหวัดหนองบัวลำภู ป่าไม้จังหวัดหนองบัวลำภู ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู ประกาศให้เขตพื้นที่ ภูผารวก ผาจันได เขาเหล่าใหญ่ เป็นพื้นที่ที่ได้รับประทานบัตรให้ทำการขุดเจาะเพื่อสร้างโรงโม่หิน โดยตั้งแต่ เดือนก.ย.2543-ก.ย.2553 เป็นระยะเวลา 10 ปี
 
ในปี 2544 ชาวบ้านได้ยื่นฟ้องศาลปกครองขอให้เพิกถอนประทานบัตรการทำเหมืองแร่ของเอกชน แม้สุดท้ายศาลปกครองสูงสุดจะยกฟ้อง แต่อายุประทานบัตรก็หมดอายุลงพอดี เป็นเหตุให้เอกชนต้องเริ่มขอต่อใบอนุญาต รวมถึงการขอใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเพื่อเข้าทำเหมืองแร่ในพื้นที่อีกครั้ง
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รายงานพิเศษ: วาทะรัฐประหาร

Posted: 19 Sep 2012 08:16 AM PDT

ปฏิเสธไม่ได้ว่าในการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองแทบทุกครั้งมักมีปัญญาชนร่วมอยู่ด้วยเสมอ อุเชนทร์ เชียงเสน พาพวกเราย้อนอดีตกลับไป 6 ปี เพื่อดูว่าปัญญาชนเหล่านี้ให้เหตุผลอะไรในการสร้างความชอบธรรมให้กับการ รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 


1. เห็นด้วย, ไม่คัดค้าน เพราะ....

กำจัดทักษิณได้

นายสมพันธ์ เตชะอธิก นักวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, "ทัศนะวิจารณ์ (opinion)" 21 กันยายน 2549)

เห็นด้วยกับการยึดอำนาจของคณะปฏิรูปการปกครอง เพราะถือเป็นการจัดการกับระบอบทักษิณ ซึ่งหลังจากนี้ ต้องการให้ตรวจสอบทางกฎหมายว่า ที่ผ่านมา มีสิ่งใดบ้างที่ไม่เป็นธรรม และเอื้อประโยชน์ให้กับตัวเองและพรรคพวก ทำให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ไปโดยไม่ชอบ ดังนั้น การปฏิรูปการปกครองดังกล่าวเป็นเพียงการแก้ไขเฉพาะหน้า เพื่อกำจัดระบอบทักษิณออกไปก่อน

เป็นสิ่งที่ดีที่จะเข้ามาแก้ปัญหา

ศ.นพ.สุทธินันท์ จิตพิมลมาศ แกนนำกลุ่มวิชาชีพแพทย์สาธารณสุขเพื่อประชาธิปไตย (กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, "ทัศนะวิจารณ์ (opinion)" 21 กันยายน 2549)

ส่วนตัวมองว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ดีที่จะเข้ามาแก้ปัญหาระบอบทักษิณ ที่หยั่งรากฝังลึกและแผ่กว้าง สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนจนยากที่จะแก้ไข จากการติดตามความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ดังกล่าวเชื่อว่า คณะปฏิรูปการปกครองคงมีเหตุผลค่อนข้างดีในการตัดสินใจปฏิบัติการ และประชาชนส่วนใหญ่รู้สึกดีกับเรื่องดังกล่าว

บริสุทธิ์ใจ มิได้มีประโยชน์ตนแอบแฝง

กลุ่มคณาจารย์ผู้ห่วงใยสังคมจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี[1] ("แถลงการณ์คณาจารย์ ม.เทคโนโลยีสุรนารี", http: www.prachathai.com, 21 กันยายน 2540)

เชื่อว่าคณะปฏิรูปฯ กระทำการครั้งนี้เพื่อหาทางออกให้กับประเทศที่กำลังถึงทางตันในวิถีทางประชาธิปไตย โดยบริสุทธิ์ใจ เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ โดยมิได้มีประโยชน์ตนแอบแฝงแต่ประการใด ซึ่งถึงแม้จะเป็นการขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญก็ควรได้รับการอภัยหรืออาจถึงกลับได้รับการสรรเสริญ อุปมาดังการละเมิดกฎหมายที่ห้ามบุกรุกในเคหะสถานของผู้อื่นด้วยการเสี่ยงชีวิตบุกรุกเข้าไปดับเพลิงที่กำลังโหมไหม้บ้านหลังนั้นอยู่

เชื่อว่าการยึดอำนาจครั้งนี้ไม่ใช่การทำลายระบอบประชาธิปไตย แต่เป็นการทำลายระบอบทุนนิยมเผด็จการเบ็ดเสร็จในคราบประชาธิปไตยที่บริหารประเทศโดยไม่ฟังเสียงทัดทานจากวิญญูชน

เชื่อว่าหากคณะปฏิรูปฯ ไม่ก่อการในครั้งนี้รัฐบาลชุดก่อนจะอ้างกติกาประชาธิปไตยที่ได้มาโดยระบบธุรกิจการเมืองเพื่อกุมอำนาจบริหารประเทศต่อไปอีกยาวนาน ซึ่งเชื่อได้ว่าจะนำพาประเทศไทยไปสู่ภยันตรายอันใหญ่หลวงในไม่ช้า"


ยากที่การปฏิวัติจะมีผลในทางร้าย

ร.ศ. ดร.ไพโรจน์ วงศ์วิภานนท์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, "ทัศนะวิจารณ์ (opinion)" 21 กันยายน 2549)

การปฏิวัติครั้งนี้ ทั้งคนต่างชาติและคนไทยรวมทั้งนักธุรกิจจะเข้าใจว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะมีสถานการณ์บีบบังคับเพราะหากไม่มีการปฏิวัติ อาจจะทำให้เกิดการชุมนุมที่มีความรุนแรง จนอาจจะทำให้เกิดเหตุการณ์นองเลือดเกิดขึ้น การปฏิวัติครั้งนี้จึงน่าจะทำให้คนสบายใจกับเหตุการณ์ต่างๆ ในประเทศมากขึ้น อีกทั้งเหตุการณ์ครั้งนี้ยังเป็นการยุติความกังวลของนักวิชาการถึงปัญหาหลังจากการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นก่อนหน้านี้ด้วย

'ต่างชาติส่วนใหญ่เข้าใจไทยดี เค้าสนใจว่ารัฐบาลจะมีเสถียรภาพหรือเปล่ามากกว่า ตอนนี้ระบบราชการไทย รวมทั้งระบบเศรษฐกิจก็มีความเป็นประชาธิปไตยและเสรีพอ จึงยากที่การปฏิวัติจะมีผลในทางร้าย และจริงๆ แล้ว ก็ดีกว่าการมีความไม่แน่นอนเยอะ'

ยังมีสิ่งทีดี

น.ส.กชวรรณ ชัยบุตร อดีตเลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) กรรมการพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (ไทยรัฐ, 21 กันยายน 2549.)

การเปลี่ยนผ่านของระบอบประชาธิปไตยไม่ควรจะเกิดรัฐประหาร และเปลี่ยนผ่านโดยใช้อำนาจนอกระบบเข้ามาจัดการ แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วคณะปฏิรูปฯ ต้องทำให้การทำรัฐประหารในครั้งนี้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนมากที่สุด เพื่อแก้ไขปัญหาสังคมอย่างแท้จริง ไม่ใช่เป็นไปเพื่อการสถาปนาอำนาจของคณะปฏิรูปฯเอง หรือคนใดคนหนึ่ง แต่ยังมีสิ่งดีที่มีการออกแถลงการณ์ให้นิสิตนักศึกษาเข้าไปมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น แต่สิ่งที่อยากฝากถึงคือต้องพยายามให้การปฏิวัติครั้งนี้มีความก้าวหน้าและพัฒนามากกว่าการทำรัฐประหารที่ผ่านมา ต้องให้การศึกษากับประชาชน และวางโครงสร้างสังคมที่จะให้ประชาชนสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง

ไม่สนองต่อเศรษฐกิจพอเพียง

นพ. พงศ์เทพ วงศ์วัชระไพบูลย์ ประธานชมรมแพทย์ชนบท (ผู้จัดการรายวัน, 22 กันยายน 2549,หน้า 6)

 ชมรมแพทย์ชนบทเห็นด้วยกับการดำเนินการ [รัฐประหาร] ดังกล่าว เนื่องจากประเทศไทยมีปัญหาจากผู้นำที่ไม่ชอบธรรม และบริหารประเทศด้วยระบอบเผด็จการประชาธิปไตย กล่าวคือ ใช้กติกาประชาธิปไตยให้เกิดประโยชน์แก่ตน รวมทั้งใช้ระบอบเผด็จการเข้าไปครอบงำสื่อและองค์กรอิสระ .. ไม่สนองพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง

ดีกว่าจมน้ำตาย

อ. สิริพรรณ นกสวน คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (กรุงเทพธุรกิจ, 21 กันยายน 2549, หน้า 18.)

เชื่อว่าเจตนารมณ์แรกของคณะทหารนี้คือ ไม่อยากให้บ้านเมืองแตกแยก แต่ไม่อยากให้ประชาชนดีใจจนเกินไป แม้เหตุที่ทำจะเหมาะสมกับสถานการณ์ก็ตาม

'การเมืองจะถอยหลังเข้าคลองหรือไม่ หากรัฐธรรมนูญล้มไปแล้ว แต่บางครั้งการถอยหลังเข้าคลองก็ดีกว่าการตกคลองแล้วจมน้ำตาย การที่ทหารเดินถอยหลังเข้าคลอง เพื่อทำสะพานข้ามคลองคงจะดีกว่านี้ และหวังว่าเขาคงสร้างความเข้มแข็งของสะพานให้เรามากพอ'

 

น่าประทับใจ

ศ.ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ อธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) (กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, "ทัศนะวิจารณ์ (opinion)" 21 กันยายน 2549)

 เหตุการณ์ในคืนวันที่ 19 กันยายน 2549 แม้หลายฝ่ายไม่อยากให้เกิด แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็มีหลายสิ่งที่น่าประทับใจ คือไม่มีความรุนแรง ไม่เสียเลือดเนื้อ เราในฐานะประชาชนชาวไทยต้องมาหยุดคิด ว่าการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย ดันทุรัง เอาชนะกัน โดยไม่ฟังใครนั้นจะนำไปสู่แนวทางเช่นนี้เสมอ นำไปสู่การปฏิรูป ปฏิวัติ ถือเป็นการตั้งหลักใหม่ให้กับสังคม หลังจากนี้ไป เหตุการณ์ต่างๆ น่าจะสงบลง โดยเฉพาะปัญหาความรุนแรงชายแดนใต้

เลือกตั้งทักษิณจะกลับมาอีก

นายวิทยากร เชียงกูล คณะบดีวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต (ไทยโพสต์, 21 กันยายน 2549, หน้า 12.)

การยึดอำนาครั้งนี้ เป็นการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสังคมที่มีเหตุผล ความชอบธรรม มากกว่าช่วง รสช.ปี 2534 เพราะหนนี้ประชาชนออกมาขับไล่รัฐบาล แต่ต่างชาติมักไม่เข้าใจการยึดอำนาจอยู่แล้ว เพราะมักมองว่าประชาธิปไตย คือ การเลือกตั้ง ทั้งที่วันนี้ประชาธิปไตยในไทยเป็นไปในรูปแบบเผด็จการ

'ครั้งนี้เราไม่มีทางเลือกอื่น ถ้าเลือกตั้งคุณทักษิณ ก็จะกลับมาอีก และก็จะเกิดการประท้วงยืดยื้อ แน่นอนอาจะมีบางฝ่ายกลังรูปแบบการยึดอำนาจ เพราะติดภาพประวัติศาสตร์ แต่วันนี้ประชาชนแยกออก'


จบสิ้นเสียที

นางสุนทรี เซ่งกิ่ง แกนนำเครือข่ายประชาชนขอนแก่นเพื่อประชาธิปไตย (กรุงเทพธุรกิจ, 21 กันยายน 2549, หน้า 18.)

พอใจที่ช่วงเวลาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สิ้นสุดลงแน่นอนแล้ว รู้สึกเห็นใจทหาร และศาลยุติธรรม เพราะที่ผ่านมาพยายามใช้กติกาทางรัฐธรรมนูญเข้ามาแก้ไขปัญหาแล้ว แต่พ.ต.ท. ทักษิณกลับไม่ยินยอม จึงนำมาซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้

ม่ใช้ความรุนแรง

นายเจษฎ์ โทณวนิก  คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม (ผู้จัดการรายวัน, 21 กันยายน 2549,หน้า 3)

เนื่องจากการกระทำของคณะปฏิรูปการปกครองฯ เป็นการยึดอำนาจ [ที่] ไม่ใช้ความรุนแรง รวมถึงมีการนำความขึ้นกราบบังคมทูล ถึงสถานการณ์ของประเทศ อีกทั้งประกาศว่าไม่ประสงค์ที่จะเข้ามาบริหารเอง แต่รีบดำเนินการโดยให้มีรัฐบาลโดยเร็ว จึงขอให้ประชาชนทุกคนอยู่ในความสงบ และสามารถทำงานได้ตามปกติ


นำไปสู่สิ่งที่ดีกว่า

รศ.ดร. ไชยันต์ ไชยพร หัวหน้าภาควิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ("คณะปฏิรูปฯ ต้องคืนอำนาจประชาชนโดยเร็ว" http://www.nationweeken.com วันที่ 22 กันยายน 2549)

'… การรัฐประหารครั้งนี้จึงเป็นการยุติระบอบเดิมที่ไม่มีความชอบธรรมเพื่อให้นำไปสู่ระบอบใหม่ที่ดีกว่า โดยต้นตอของประชาธิปไตยในอังกฤษ ก็มาจากการยึดอำนาจจากกษัตริย์เพื่อนำอำนาจมาให้ประชาชน'

'แม้การรัฐประหารครั้งนี้จะดูเหมือนเป็นการถอยหลังเข้าคลอง แต่ถ้าเป็นการทำเพื่อนำประเทศไปสู่ทิศทางที่ดีขึ้น ก็ถือว่าคุ้มค่า ซึ่งหัวหน้าคณะปฏิรูปฯ ควรทำความเข้าใจกับประชาชนให้เข้าใจถึงเหตุผลมากที่สุด รวมทั้งกำหนดทิศทางการปฏิรูปการเมืองโดยเร็วเพื่อนำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญ'


ดีแต่ไม่ดี

สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) (แถลงการณ์สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย, 22 กันยายน 2549, http: www.prachathai.com, 27 กันยายน 2540.)

ความถอยหลังทางการเมืองหาได้เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อมีการรัฐประหารไม่ แต่เกิดมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่เริ่มมีการแทรกแซงสื่อและองค์กรอิสระในรัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ  ชินวัตร  แต่การแก้ปัญหาข้อติดขัดทางการเมืองไม่ว่าจะน้อยใหญ่เพียงใด สมควรที่จะใช้วิถีทางและช่องทางที่มีอยู่ตามรัฐธรรมนูญ...

ดังนั้น โดยหลักการแล้ว การรัฐประหารถึงแม้จะเป็นไปด้วยความปรารถนาดีกับบ้านเมือง แต่ก็เป็นเพียงการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ส่งผลดีในการคลี่คลายปมปัญหาในระยะสั้น

 

ควรให้โอกาสล้างบ้าน

ศ.ดร. จรัส สุวรรณมาลา คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ผู้จัดการรายวัน, 22 กันยายน 2549,หน้า 11)

 ที่เราได้คุยกันก็มีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่โดยหลักการก็คือว่า  เราควรให้เวลาคณะปฏิรูปฯ  ได้เข้ามาจัดระเบียบล้างบ้าน เราควรจะให้เวลาเขาไหม ซึ่งเราก็ตกลงว่ามีความจำเป็นที่จะให้เวลากับคณะปฏิรูปฯ  ที่ต้องจัดตั้งรัฐบาล มีสภาขึ้นมาบริหารเพื่อที่จะขับเคลื่อนการปฏิรูปทางการเมืองให้ได้   ก็คงต้องให้เวลาเพราะของทั้งหมดไม่ได้มีการเตรียมการกันมาก่อน โดยเขาขอเวลา 2 อาทิตย์ก็ไม่ได้มากมายอะไร ทุกคนก็ยอมรับว่าเวลาแค่นี้ก็เป็นเรื่องที่ดีและยอมรับได้ ซึ่งอีกฝ่ายก็ไม่ได้ต่อต้านอะไร เพียงแต่เห็นว่าการรัฐประหารไม่ควรเกิดขึ้น แต่ก็ยอมรับกันว่าถ้าไม่ใช่ทางออกนี้ก็ยังหาทางออกให้บ้านเมืองไม่ได้    

 

รัฐประหารแห่งรัฐประหาร

รศ.วรศักดิ์ มหัทธโนบล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ผู้จัดการออนไลน์, "รัฐประหารแห่งรัฐประหาร," คอลัมน์ "ฟ้าดินเดียวกัน"  27 กันยายน 2549.)

 บอกกันตรงๆ ก็ได้ว่า ผมไม่เพียงโล่งใจเท่านั้น หากลึกลงไปแล้วผมยังแอบสะใจอีกด้วย ถึงแม้ห้วงหนึ่งของความรู้สึกนั้นจะทำให้ผมมีสติกลับมา แล้วบอกกับตัวเองว่า การรัฐประหารไม่ใช่หนทางที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นหลักการที่ผมยึดถือมาโดยตลอด แต่ในที่สุดผมก็ต้องเตือนสติตัวเองอีกชั้นหนึ่งว่า ผมกำลังดัดจริตเพื่อให้ตัวเองดูดีในฐานะผู้รักประชาธิปไตยอย่างสุดซึ้งคนหนึ่งเท่านั้น จนกระทั่งลืมไปว่า การระงับความรุนแรงที่มีแนวโน้มว่าจะนองเลือดต่างหากที่น่าจะมีค่ามากกว่าการมานั่งยึดหลักการที่ว่า แต่กระนั้นก็ตาม การเตือนสติตัวเองเช่นนั้นก็ยังไม่เพียงพออยู่ดี ถ้าหากเราไม่ดูข้อเท็จจริงที่ดำรงอยู่จากเวลา 5 ปีที่ผ่านมา

สำหรับผมแล้วระบอบทักษิณได้ทำการรัฐประหารก่อนที่ คปค. จะรัฐประหารเสียอีก คุณทักษิณ ไม่ได้ก่อการรัฐประหารในแบบที่การเมืองไทยเคยประสบมา (เช่น อย่างที่ คปค.ทำ) แต่ คุณทักษิณ ทำโดยฉีกรัฐธรรมนูญด้วยวิธีการต่างๆ จนรัฐธรรมนูญที่ดีที่สุดฉบับหนึ่งเท่าที่การเมืองไทยเคยมีมาต้องไร้ความหมายไป….
            เหตุฉะนั้น การรัฐประหารวันที่ 19 กันยาของ คปค. สำหรับผมแล้วจึงคือ รัฐประหารแห่งรัฐประหาร

 

ไม่น่านิยม แต่ยุติปัญหาโดยพลัน

เครือข่ายวิชาการเพื่อประชาธิปไตย, เครือข่ายจุฬาฯ เชิดชูคุณธรรมนำประชาธิปไตย, เครือข่ายอาจารย์ บุคลากร นักศึกษา มศว. เพื่อประชาธิปไตย (คมชัดลึก, 28 กันยายน 2549, หน้า 15)

ตลอด 8 เดือนที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องเผชิญกับมรสุมที่สำคัญ ซึ่งเดิมพันด้วยความอยู่รอดของชาติจากรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ที่สร้างความร้าวฉานบาดลึกและหนทางแก้ไขดูตีบตัน มืดมน จน คปค.ได้เลือกกระทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน แม้ว่าจะเป็นการกระทำที่ไม่น่านิยม แต่การที่ไม่เสียเลือดเนื้อและยุติปัญหาโดยพลัน ย่อมดีกว่าปล่อยให้ประชาธิปไตยเดินไปตามทางและจบลงด้วยเลือดเนื้อของประชาชน

 

ล้วนแต่เป็นคนดี

ดร. เทียนชัย วงศ์ชัยสุวรรณ ("รัฐประหารกับประชาธิปไตย มุมมองทางวัฒนธรรมการเมือง" บทความพิเศษ, ผู้จัดการออนไลน์, 3 ตุลาคม 2549)

ส่วนหนึ่งก็รู้สึก 'โล่งอก' นี่คงไม่ต่างจากความรู้สึกของคนไทยทั่วไปเนื่องจากรัฐประหารครั้งนี้ดำเนินการได้อย่างนิ่มนวล และไม่ใช้ความรุนแรง ถือได้ว่าเป็นรัฐประหารที่เริ่มได้ดี
            รอจนสถานการณ์สุกงอมมาก แล้วจึงดำเนินการ
             อาจจะกล่าวได้ว่า นี่เป็นรัฐประหารของผู้อาวุโส เพราะบรรดาคนที่อยู่เบื้องหลังล้วนแต่เป็นคนที่มีอายุมากแล้วทั้งนั้น ท่านจึงดำเนินการได้อย่างรอบครอบ
            อีกความ'โล่งอก'หนึ่ง คือ รัฐประหารครั้งนี้หมายถึงการสิ้นสุดลงของระบอบทักษิณ ที่มีคุณทักษิณเป็นผู้นำ
             ผมคิดว่า หลังจากนี้ ขบวนการตุลาการภิวัตน์คงเคลื่อนตัวไปอย่างเต็มรูป ใครถูก ใครผิด ใครโกงกินบ้านเมือง จะถูกลงโทษไปตามกฎหมาย ขบวนการนี้คงส่งผลโดยตรงต่อการสกัดกระแสคอรัปชั่นทางการเมืองที่แพร่ระบาดจนกลายเป็นวัฒนธรรมทางการเมืองของนักการเมือง ของข้าราชการได้ในระดับหนึ่ง...

            วันนี้ คงไม่มีใครกล้าบอกว่า รัฐประหารผิด เพราะบรรดาผู้ที่ก่อการล้วนแต่เป็นคนดี ที่รักชาติบ้านเมือง และเป็นห่วงอนาคตของประเทศชาติ


Carnation Revolution, ถอยหลังเข้าคลองธรรม

ดร. เสรี พงศ์พิศ นักวิชาการอิสระ ("Carnation Revolution" เนชั่นสุดสัปดาห์, ปีที่ 15 ฉบับที่ 748, (29 กันยายน 2549), หน้า 14.)

 

สำหรับวันนี้ ต้องยอมรับว่าสังคมไทยเป็นอย่างนี้ ต้องการอย่างนี้ และรู้สึกว่าได้รับการปลดปล่อยจากความกดดันที่สั่งสมมานานหลายเดือน อารมณ์ความรู้สึกโดยทั่วไปเป็นอะไรที่เหมือนคนเพิ่งออกจากห้องผ่าตัด ยังรู้สึกถึงความเจ็บปวด แต่ก็รู้สึกโล่งใจที่ได้ผ่านการรักษาที่เชื่อว่าดี

คิดแบบไทยๆได้แบบนี้ก็ดีแล้ว ดีที่ไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ ถ้าหากมีการปะทะกันระหว่างประชาชนที่ต่อต้านและสนับสนุนคุณทักษิณ ซึ่งอาจจะรุนแรงกว่าเหตุการณ์ใดๆ ในอดีต"

ในยุทธวิธีไม่ว่าการบของทหารหรือหรือการต่อสู้ของปัจเจก การถอยเป็นเรื่องธรรมดา ถอยเพื่อป้องกันตัว ถอยเพื่อตั้งหลัก อาจะมีคนบอกว่า นี่ไม่ใช่การถอยตั้งหลัก แต่เป็นการถอยหลังเข้าคลอง ก็แล้วแต่ใครจะคิด เพราะมีคนอย่างท่านพุทธทาส ที่บอกว่า "ถอยหลังเข้าคลอง" นั้นดีและจำเป็น คือ ต้องเข้า 'คลองธรรม' ทำให้ถูกต้องเสียก็ดี

 

ทำดีแล้ว

นายทวีเกียรติ ประเสริฐเจริญสุข รองคณะบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต (มติชนรายวัน 12 ตุลาคม  2549  หน้า 11.)

 

มีโอกาสได้หารือกับ พล.อ. สนธิ บุญรัตกลิน ประธาน คมช. ก่อนรัฐธรรมนูญชั่วคราวประกาศใช้ ซึ่งผมบอกท่านว่า ทำดีแล้วที่ยึดอำนาจได้ แต่ยังไม่มีใครทำดีได้ถึงตอนจบ เพราะที่ผ่านมาช่วงแรกถูกมองว่าเป็นเรื่องดี แต่ในที่สุดก็กลายเป็นผู้ร้าย ดังนั้นถ้าจะเป็นวีรบุรุษได้จริงต้องทำตามสิ่งที่คณะปฏิรูปการปกครองประกาศไว้

 

เสริมคุณธรรม กู้ชาติ

อ.ธีรยุทธ บุญมี คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มติชนรายวัน 12 ตุลาคม  2549  หน้า 15)

เราอาจจะเถียงกันได้ว่า ปัจจุบันควรหรือได้เกิดกระบวนการอมาตยาภิวัฒน์ขึ้นแล้ว ซึ่งเป็นลักษณะของพัฒนาการไทย ซึ่งต้องมองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นกระบวนการเสริมคุณธรรมสังคมเพื่อกู้ชาติ ไม่ใช่กระบวนการเพื่ออำนาจหรือผลประโยชน์

 

ถูกบังคับให้รัฐประหาร

ศ. ดร. อัมมาร สยามวาลา  ("แนะรัฐเร่งฟื้นฟูนิติรัฐ", กรุงเทพธุรกิจ, 16 ตุลาคม 2549, หน้า 4.)

เมื่อผู้นำประเทศต่อต้านหลักการนิติรัฐ โดยที่ไม่มีอำนาจอื่นใดคอยมาถ่วงดุล ทำให้นิติรัฐเสื่อมถอย ลงเรื่อยๆ พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าหัวอยู่หัว เมื่อ 25 เมษายน 2549 ต่อประธานศาลฎีกาและศาลปกครอง ก็เพื่อที่จะให้สถาบันตุลาการเข้ามามีส่วนช่วยในการแก้ไขวิกฤติของชาติ ให้ rule of law ผงาดขึ้นมาอีกครั้ง ดึงประเทศไทยกลับเข้ามาสู่ระบบนิติรัฐ แต่ถึงที่สุดแล้วปัญหา rule of law deficit ที่เข้าข่ายวิกฤติ สถาบันตุลาการ ก็ไม่สามารถเข้ามาเบรก การใช้อำนาจของ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ จึงเป็นเหตุผลหลักที่สังคมไทยหันกลับมาใช้เส้นทางการรัฐประหาร เพื่อหยุดยั้งอำนาจดังกล่าว

           '...พัฒนาการที่ผ่านมา ดูเหมือนว่า ประเทศถูกบังคับให้ทำการรัฐประหาร เนื่องจากประเทศไม่มีหลักของ rule of law..'

 

เกินคุ้ม

ประสาน มฤคพิทักษ์ ("คืนกลับสู่ความเป็นจริง" มติชนรายวัน, 20 ตุลาคม 2549, หน้า 6.)

 

ต่อการรัฐประหารครั้งนี้ผู้เขียนเห็นว่า

1. มิใช่ความปรารถนาทางอัตวิสัย (ตนเอง) แต่เป็นความจำเป็นทางภววิสัย (สภาพภายนอก) ของการยึดอำนาจ… การรัฐประหารครั้งนี้ พลเอกสนธิ บุญรัตกลิน ไม่ต้องการครองอำนาจ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ไม่ปรารถนาจะเป็นนายกรัฐมนตรี ประชามติและสังคมจึงเปล่งเสียงต้อนรับมากกว่าต่อต้าน

2. ถ้าไม่มีรัฐประหารจะเกิดอะไรขึ้น... เดินขบวนก็แล้ว เปิดโปงก็แล้ว วิพากษ์วิจารณ์อย่างแรงก็แล้ว ขับไล่ต่อสาธารณะก็แล้ว สารพัดวิธีอารยะขัดขืนถูกนำมาใช้จนหมด การรัฐประหาร 19 ก.ย. จึงเป็นทางออกทั้งๆที่คนรักประชาธิปไตยไม่อยากเกิดขึ้นเลย

ใช่หรือไม่ว่า การรักษาประชาธิปไตยไว้ คือ การเปิดทางให้ทักษิณกลับมาแล้วสั่งการให้เกิดการเผชิญหน้ากัน ตามด้วยเลือด น้ำตา และความตายของผู้คนจำนวนมาก แล้วผู้มีอำนาจประกาศกฎอัยการศึก ยึดอำนาจตนเองเพื่อสกัดการยึดอำนาจของฝ่ายตรงกันข้าม กลายมาเป็นเผด็จการเบ็ดเสร็จ อย่างนี้จะดีหรือ

            ผู้เขียนอาจจะวาดภาพเลวร้ายเกินเหตุไปก็ได้ การรัฐประหารจะดีจะร้ายยังต้องเถียงกันต่อไป แต่การตัดวงจรความรุนแรงและขุดรากถอนโคนระบอบทักษิณอันเลวร้าย เพียงแค่นี้ก็เกินคุมแล้ว…

 นี่คือการกลับคืนสู่ความเป็นจริงของสังคมไทย ที่ขัดใจใครบางคน แต่ก็เป็นหนทางอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ปัญหาจึงอยู่ที่จะทำอย่างไรกับประเทศเรานับจากนี้ต่อไป

 

2. ไม่เห็นด้วย  (ในหลักการ) แต่...


ผิดหวังถ้าล้มล้าง ม. 39, 40, 41

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) (แถลงการณ์ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ ฉบับที่ 1 http: www.prachathai.com, 21 กันยายน 2540.)

รู้สึกเสียใจอย่างยิ่งต่อการยึดอำนาจและการล้มล้างรัฐธรรมนูญ แม้การบริหารประเทศซึ่งนำโดยอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นั้นได้ทำลายหลักการประชาธิปไตยและละเมิดสิทธิทางการเมืองและสิทธิของพลเมืองอย่างร้ายแรงตลอด 6 ปีที่ผ่านมา แต่การรัฐประหารนั้นย่อมขัดต่อหลักการประชาธิปไตยเช่นกัน…  คปส. รู้สึกผิดหวังถ้าการรัฐประหารครั้งนี้นำไปสู่การล้มล้างหลักการในรัฐธรรมนูญมาตรา 39 มาตรา 40 และ มาตรา 41 ที่รองรับสิทธิสื่อมวลชน เสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน และหลักการที่ว่าคลื่นความถี่วิทยุ โทรทัศน์ และโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรของสาธารณะ นับเป็นเรื่องเศร้าที่รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน พ.ศ. 2540 ต้องถูกยกเลิกทั้งที่เพิ่งประกาศใช้เพียง 9 ปี

เชื่อว่าเจตนาดี

ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (กรุงเทพธุรกิจ, "นักวิชาการหนุนให้มีส่วนร่วม" 22 กันยายน 2549, หน้า 13.)

เชื่อว่าคณะปฏิรูปมีเจตนาต้องการแก้วิกฤติที่เกิดขึ้น จากการแถลงการณ์ที่บอกว่าไม่ต้องการเข้ามาบริหารประเทศเอง แต่ต้องการแก้วิกฤติประเทศ ซึ่งต่างจากการปฏิวัติเมื่อ ปี พ.ศ.2534 ที่เป็นการแย่งอำนาจกัน ซึ่งในปี พ.ศ.2534 มีการตั้งพรรคการเมือง และใช้การยึดทรัพย์มาเป็นประเด็นในการต่อรองกัน ถึงได้เกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี 2535 ตามมา

            'ส่วนตัว ผมไม่เห็นด้วยกับการยึดอำนาจ แต่เมื่อทำไปแล้ว จะทำอย่างไรไม่ให้บ้านเมืองเสียหายบอบช้ำให้น้อยที่สุด การปฏิวัติรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญ เหมือนกับการรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีการคีโม มันแรงมาก แม้รักษามะเร็งได้ แต่ร่างการมันตายไปด้วย'


ทักษิณคือ เงื่อนไข

สุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการ ครป. ผู้ประสานงานพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย  ("ครป.แถลงค้านปฏิวัติ แต่เข้าใจ..." , http://www.prachatai.com , 25 กันยายน 2549)

การที่ ครป.เข้าร่วมเคลื่อนไหวต่อสู้กับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อเรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ลาออกหรือเว้นวรรค ด้วยเหตุผลว่าเป็นทางออกเดียวที่จะลดการเผชิญหน้าหรือผ่าทางตันทางการเมืองได้ แต่น่าเสียดายที่ พ.ต.ท.ทักษิณ มุ่งมั่นพิทักษ์รักษาอำนาจของตัวเองและเครือข่ายไว้ จนทำให้วิกฤตการณ์การเมืองตึงเครียดมากขึ้น และสร้างเงื่อนไขให้เกิดอำนาจนอกระบบหรือการปฏิวัติรัฐประหารเกิดขึ้นอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้

แม้ว่าการรัฐประหาร เป็นสิ่งมิชอบตามหลักการประชาธิปไตย แต่กระแสสังคมกลับส่งสัญญาณสนับสนุนอย่างกว้างขวางก็เพราะว่าวิถีทางประชาธิปไตยในกระบวนการปกติไม่สามารถนำพาสังคมไทยให้พ้นวิกฤติได้

ครป.จะจับตาตรวจสอบการโต้กลับของระบอบทักษิณและเครือข่าย ซึ่งยังซุกซ่อนอำนาจในหลายระดับไว้ได้ โดยอาจใช้ "สงครามมวลชน" เข้ามาเผชิญหน้ากับ คปค.เพื่อสร้างสถานการณ์และเบี่ยงเบนเจตนารมณ์ของ คปค. และฝากไปถึงพลังประชาธิปไตยที่บริสุทธิ์ ให้ระมัดระวังว่าจะไม่ตกหลุมพรางและเป็นเครื่องมือของระบอบทักษิณโดยไม่รู้ตัว"


ไม่ใช่ไม่ไว้ใจ ขอตรวจสอบ

นาย สุวิทย์ วัดหนู ที่ปรึกษา ครป.  ("ครป.แถลงค้านปฏิวัติ แต่เข้าใจ..." , http://www.prachatai.com , 25 กันยายน 2549)

ต่อจากนี้ไป ครป.จะทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของ คปค. ไม่ใช่ไม่ไว้ใจแต่เป็นการตรวจสอบประเด็นตามที่ได้มีการแถลงข่าวการยึดอำนาจใน 4 ประเด็น เช่นการใช้อำนาจไม่เป็นธรรม การเข้าไปแทรกแซงองค์กรอิสระ การบริหารงานของพ.ต.ท. ทักษิณ ที่มีการทุจริตคอร์รัปชั่น มีการเอื้อผลประโยชน์ให้พวกพ้อง ว่า คปค.เอาจริงเอาจังกับการจัดการมากขนาดไหน

 

แก้ปัญหา มีทั้งได้และเสีย

รศ.ดร. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ คณะบดีคณะรัฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ("สัมภาษณ์พิเศษ" ล้าหลัง, ฉบับพิเศษ "รัฐประหาร," (กันยายน, 2549) หน้า 2.)

 [รัฐประหารมี 4 แบบ] แบบที่ 4 คือ รัฐประหารที่เกิดจากความวุ่นวายทางสังคม คือ รัฐบาลทะเลาะกับประชาชน หรือไม่ประชาชนทะเลาะก็ฆ่ากันเองบนท้องถนน แล้วฝ่ายรัฐประหารเข้ามาเพื่อแก้ไขปัญหา ผมเข้าใจว่ารัฐประหารครั้งนี้เป็นการรัฐประหารเพื่อแก้ไขปัญหาเพราะว่ารัฐบาลไม่ได้ทะเลาะกับทหาร รัฐบาลทะเลาะกับพันธมิตร รัฐบาลทะเลาะกับประชาชน ความต่างมันอยู่ตรงนี้

ปัญหาเรื่องความถูกผิด ไม่ต้องมาถาม คือปัญหาเรื่องการถูกผิดมันต้องถามว่าคุณใช้เกณฑ์อะไรมาวัด มันเป็นการตัดสินเชิงคุณค่า ซึ่งใช้ความรู้สึก เวลาที่เรามองปัญหาการเมือง คุณต้องมองหลายๆอย่างประกอบกัน คือความถูกผิดมันตัดสินยาก แต่โดยหลักการแล้ว การรัฐประหารนี่เป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่า ในระบบการเมืองประเทศนั้นๆ ไม่สามารถใช้กระบวนการปกติในการแก้ไขปัญหาได้"

 [การรัฐประหารครั้งนี้สังคมได้หรือสูญเสียอะไรบ้าง?] ทั้ง 2 อย่าง ได้บ้างเรื่องก็ต้องเสียบางเรื่อง ผมไม่คิดว่ามีอะไรได้มาอย่างเดียว อย่างน้อยเราก็เห็นบ้านเมืองกลับมาสู่ความสงบ อย่างน้อยก็ไม่เห็นการนองเลือด การปะทะกันบนท้องถนน อย่างน้อยเราก็จะได้เห็นกระบวนการบางอย่างที่เป็นข้อบกพร่องในในสมัยทักษิณจะได้รับการแก้ไข อย่างน้อยก็จะได้เห็นการปฏิรูปการเมืองบางอย่างเกิดขึ้น อันนี้คือสิ่งที่เราจะได้... ไม่มีอะไรได้โดยไม่เสีย ก็มีส่วนได้เยอะพอสมควร แล้วเราก็เสียไปพอสมควร

ไม่มีเจตนา เป็นข้อยกเว้น ผ่านไปแล้ว มีความหวัง

ศ.ดร. สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

(มติชนรายวัน 2 ตุลาคม  2549  หน้า 16.)

จากรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวฉบับนี้ [ที่มีมาตรา 3 'ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในการรัฐประหาร ถือเป็นครั้งแรกที่รองรับสิทธิเสรีภาพของประชาชนไว้'] น่าเชื่อได้ว่า คปค.ไม่มีจุดมุ่งหมายที่จะสืบทอดอำนาจทางการเมือง เพราะไม่มีการให้อำนาจเบ็ดเสร็จกับคณะรัฐประหาร และเป็นรัฐธรรมนูญหรือธรรมนูญฉบับชั่วคราวหลังจากการรัฐประหารที่เป็นเผด็จการน้อยที่สุดฉบับหนึ่ง เท่าที่เคยเห็นเทียบกันมา คาดหวังได้ว่า รัฐธรรมนูญฉบับถาวร จะเป็นรัฐธรรมนูญฉบับทีดี มีความเป็นประชาธิปไตยสูง ไม่ถูกครอบงำ และแก้ปัญหาที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วได้

 

(สัมภาษณ์พิเศษ, "การเมืองใหม่จะปิดโอกาสการรัฐประหาร, กรุงเทพธุรกิจ, 15 ตุลาคม 2549, หน้า 2.)

 'การรับประหารครั้งนี้ ผมว่า ต้องถือว่าเป็นข้อยกเว้น ถ้าไม่มีความรุนแรงของสถานการณ์ทางการเมือง ถ้าไม่มีพฤติกรรมของนักการเมือง ถ้าไม่มีการใช้อำนาจแบบรวมศูนย์อย่างมาก ถ้าไม่มีเงื่อนไขให้เกิด ผมเชื่อว่าแม้กระทั่งคนที่ทำรัฐประหารเองก็ไม่คิดว่าต้องทำรัฐประหาร ผบ.ทบ.ออกมายืนยัน 1 อาทิตย์ก่อนรัฐประหารว่า ไม่มีทางเป็นไปได้ ผมเชื่อว่าเขาพูดจริง แล้วเขาก็บอกว่า เขาคิดทำรัฐประหาร 2 วันก่อนการดำเนินการเท่านั้น เพราะมันมีเหตุการณ์บางอย่างที่ทำให้จำเป็น'


เสียดาย

พิภพ ธงไชย ที่ปรึกษา ครป. 1 ใน 5 แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ("พิภพ ธงไชย 2 เดือน คมช.50-50" แทบลอยด์, 19 พฤศจิกายน 2549.)

'กระบวนการยุติธรรมก็มาจากกฎหมาย ซึ่งกฎหมายก็มีการปรับปรุงอยู่เสมอ เมื่อจัดการบางเรื่องไม่ได้ก็ต้องปรับปรุงกฎหมายให้ทันกับอาชญากรรมที่ก่อขึ้น… ในเมื่อเรารู้ว่าการทุจริตคอรัปชั่นและนโยบายซับซ้อนมากกว่ารัฐบาลอื่น ฉะนั้นรัฐบาลและสภานิติบัญญัติฯ ก็น่าจะร่วมกันคิดว่ากฎหมายที่มีสามารถจัดการได้ไหม'

'ผมเสียดายอำนาจของ  คปค.ใช้อำนาจล้มรัฐธรรมนูญ  ล้มองค์กรอิสระ  และใช้อำนาจตั้งองค์กรอิสระขึ้นมาใหม่ กลับไม่ใช้คำประกาศของ คปค.จัดการเรื่อง [ทุจริตคอรัปชั่น] เหล่านี้  แต่ใช้อย่างเดียวคือการยุบพรรคแล้วให้มีผลต่อการไม่มีสิทธิลงเลือกตั้ง'

 

3. ท่าทีต่อการต้านรัฐประหาร

นอกจากการสนับสนุน ให้ความชอบธรรมกับการรัฐประหาร ข้างต้นแล้ว ท่าทีต่อการรัฐประหารอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญคือ ความเห็นและท่าทีต่อคนหรือกลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวคัดค้าน ในสถานการณ์และเงื่อนไขต่างๆ ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากรวบรวมประเด็นแรกบางส่วน

 

ไม่น่าทำแบบนี้ 

ดร. อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล  คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แกนนำเครือข่ายจุฬาฯ เชิดชูคุณธรรมนำประชาธิปไตย กล่าวถึงกรณีมีการแจกใบปลิวในจุฬาฯ  เพื่อเชิญชวนแต่งชุดดำ และชุมนุมต้านรัฐประหารที่สยามพารากอน (กรุงเทพธุรกิจ, 22 กันยายน 2549, หน้า 15.)

 

เครือข่ายจุฬาฯ ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ซึ่งเมื่อตนได้รับใบปลิวเชิญชวนที่โรงอาหารจุฬาฯ ไม่ทราบว่าเป็นของคนกลุ่มใด แต่ใบปลิวระบุว่า เครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร

            เมื่อผมได้รับใบปลิวแล้วรู้สึกตกใจ ไม่น่าทำแบบนี้  สถานการณ์บ้านเมืองไม่ดีอยู่แล้ว คนแจกใบปลิวใส่หัวเข็มขัดจุฬา แต่ผมไม่ยืนยันว่าเป็นนิสิตจุฬา เพราะใครก็ซื้อมาใส่ได้ แต่ก็ถามคนแจกว่า ทำแบบนี้ทำไม ชอบระบอบทักษิณหรือ เขาตอบเสียงดุดันว่า ไม่ชอบระบอบทักษิณแต่ก็ไม่ชอบรัฐประหารมากกว่า ผมไม่สบายใจเรื่องนี้มาก เพราะขณะนี้คณะปฏิรูปฯ เขาประกาศห้ามชุมนุมเกิน 5 คน ถ้าไปแต่งชุดดำชุมนุมค้านเท่ากับยั่วยุให้คณะปฏิรูป ต้องดำเนินการตามกฎอัยการศึก จะเกิดความรุนแรงตามมาและบายปลายเป็นการรัฐประหารซ้อนรัฐประหาร

 

ขัดคำสั่ง คปค.

รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร หัวหน้าภาควิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  กล่าวถึงการเคลื่อนไหวของ รศ. ด.ร.ใจ อึ๊งภากรณ์ เพื่อนอาจารย์ร่วมคณะ  ที่ออกมารณรงค์เคลื่อนไหว ในเหตุการณ์เดียวกัน (มติชนรายวัน 22  กันยายน 2549, หน้า 14)

เป็นความเห็นของนายใจ ไม่ได้ดำเนินการในนามของคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ นายใจจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง เพราะการเชิญชวนดังกล่าว มีแนวโน้มว่าจะมีมากกว่า 5 คน ซึ่งขัดคำสั่ง คปค. ที่ห้ามชุมนุมเกิน 5 คน

 

เป็นกลุ่มผู้สูญเสียอำนาจ

นายสมพันธ์ เตชะอธิก นักวิชาการจาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น  (ผู้จัดการรายวัน, 22 กันยายน 2549,หน้า 11.)

จากแถลงการณ์ของเครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร ที่นัดแต่งชุดดำ รวมตัวกันที่ลานน้ำพุ สยามพารากอน ในช่วงเย็นวันที่ 22 ก.ย.นี้ โดยตนไม่รู้ว่าเป็นการกระทำของกลุ่มไหน ซึ่งอาจเป็นกลุ่มผู้สูญเสียอำนาจไปก็ได้ที่ออกมาเคลื่อนไหวในครั้งนี้

            'ยอมรับว่าการรัฐประหารครั้งนี้แตกต่างจากทุกคราวที่เกิดขึ้น.. การรัฐประหารครั้งนี้มีเงื่อนไขเฉพาะ.. ซึ่งเท่าที่ดูทั้งประชาชน นักศึกษา และสื่อมวลชน ก็ไม่ได้ถูกอำนาจครอบงำแต่อย่างใด ต่างจากอดีตที่ใช้อำนาจครอบงำทุกประการ'

            แนวโน้มการรัฐประหารครั้งนี้จะเป็นเพียงระยะสั้น ที่ผ่านมา เป็นการแก้วิกฤติทางการเมืองชั่วคราวเท่านั้น ถ้าทำดีกระแสการคัดค้านการรัฐประหารก็ฟังไม่ขึ้น และเชื่อว่าเป็นเพียงคนส่วนน้อยเท่านั้นที่ออกมาคัดคัดค้าน และเครือข่าย 19 กันยายน ต้านรัฐประหารก็เป็นหนึ่งในนั้น ซึ่งตนเองเชื่อว่า น่าจะอยู่นิ่งๆรอดูสถานการณ์ไปก่อน

 

แหวกหญ้าให้งูตื่น

นายสมภพ บุญนาค เครือข่าย 14 ตุลาคม ขอนแก่น กล่าวถึงการเคลื่อนไหวของเครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร  (ผู้จัดการรายวัน, 22 กันยายน 2549,หน้า 11.)

สิ่งแรกเป็นสิทธิของเขา แต่ขณะเดียวกันก็ต้องมาดูสิทธิที่แสดงออกมามันสอดคล้องกับสถานการณ์ภายในประเทศหรือไม่ ซึ่งยอมรับว่า ไม่เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มดังกล่าว แม้ว่าจะเป็นสิทธิของเขาก็ตาม เพราะเกรงว่า เรื่องเล็กจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ส่งผลให้มีเหตุการณ์บานปลายในที่สุด

            จากสถานการณ์ที่ผ่านมา ข้อเท็จจริง 'เราต่อต้านระบอบทักษิณ ซึ่งคนอาจมองว่าเป็นระบอบประชาธิปไตย แต่จริงๆแล้วเป็นการฉวยโอกาสทำลายประชาธิปไตย โดยการใช้อำนาจรัฐแทรกแซงและครอบงำองค์กรต่างๆ ซึ่งหากเอาการเลือกตั้งมาต่อสู้กับระบอบทักษิณจะเหมือนกับเอามือเปล่าไปไปตอสู้กับเผด็จการครบทั้งเงินและอำนาจที่จะลงโทษใครก็ได้'

            …[คณะรัฐประหาร] จึงจำเป็นต้องออกมาป้องกันประเทศ และที่ผ่านมาที่ทำรัฐประหารก็อยู่ในกรอบที่รับได้ คือ ไม่มีการเข่นฆ่า

            'ไม่เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหว (ท่าที่ต่อการต่อต้าน) ในครั้งนี้เพราะเป็นการแหวกหญ้าให้งูตื่น ส่งผลให้คนที่ฉวยโอกาสก่อความไม่สงบได้'

 

ไม่สบายใจ

ดร. ปริญญา เทวนฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงการชุมนุมของนักศึกษาในธรรมศาสตร์ ในวันที่ 25 กันยายน 2549 (กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, 25. กันยายน 2549)

 

ยอมรับว่ารู้สึกไม่สบายใจ ที่เห็นนักศึกษาอกมาเคลื่อนไหวคัดค้านต้านรัฐประหาร แต่ถือว่าเป็นสิทธิ์ที่สามารถแสดงออกได้ ส่วนตัวแล้วไม่เห็นด้วย และพร้อมจะดูแลเป็นอย่างดี และจะพยายามไม่ก่อให้เกิดความรุนแรง

 

มีความรู้แต่ไร้ราก

นายสมศักดิ์ โกศัยสุข รองประธานสมาพันธ์ประชาธิปไตย (สปต.)  1 ใน 5 แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (เดลินิวส์, 28 ตุลาคม 2549)

'คนที่มาคัดค้านตอนนี้บอกได้เลยว่าไม่มองรูปแบบเหตุผลของการดำเนินการ อ่อนด้อยความรู้ระบบประชาธิปไตยที่แท้จริง มีความรู้แต่ไร้ราก ต้องการแค่ให้คนอื่นรู้ว่าตัวเองมีความรู้ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ที่จริงแล้วไม่ใช่ ต้องดูว่ารูปแบบเป็นเผด็จการก็จริงแต่เนื้อหาเป็นประชาธิปไตย มันเร็วเกินไปที่จะไปคัดค้าน เอาเรื่องอนาคตมาเล่น ตอนนี้เราต้องดูไปก่อน แต่ถ้าไม่ทำอย่างที่ประกาศไว้หลังจาก 2 สัปดาห์ หรือยังบ้าติดยึดอำนาจอันนี้แน่นอนเราไม่ยอมแน่จะมีการเคลื่อนไหวกันต่อไป'

 

ให้โอกาสกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว

ดร. อเนก เหล่าธรรมทัศน์ อดีตหัวหน้าพรรคมหาชน ("เอาใจ นคราเมือง ไม่ทิ้งนคราชนบท โจทย์ยากที่สุดของ คปค."เนชั่นสุดสัปดาห์, ปีที่ 15 ฉบับที่ 748, (29 กันยายน 2549), หน้า 14.)

 

'ที่เขาพูดมา [พวกคัดค้าน] ก็ต้องฟัง เขาไม่เห็นด้วยก็ต้องบอกว่า ขอให้โอกาสกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว และร่วมกับเขาในการตรวจสอบการปฏิรูปว่าดำเนินไปเพื่ออะไรที่ดีขึ้น นี่เป็นการยึดอำนาจเพื่อปฏิรูป เพราะถ้าอธิบายหรือทำให้เขาทบทวนได้ก็คือ การยึดอำนาจต้องไปดูที่สาเหตุ เป้าหมาย จะดูเพียงวิธีการว่าเป็นการยึดอำนาจคงไม่ได้ คนที่เขาอยากปฏิรูป เปลี่ยนแปลงสู้กับอำนาจที่ไม่ชอบธรรม เขาได้ทำทุกอย่างแล้ว และทำสุดความสามารถของเขาแล้ว แล้วดุลอำนาจมันออกมาคุมทักษิณ ทำให้คุณทักษิณพ้นตำแหน่ง ก็เพราะทหารเข้ามาร่วมด้วย ทหารไม่ใช่คนปฏิวัติ ไม่ใช่คนยึดอำนาจหรอก แต่ประชาชนร่วมกับพลังทางสังคมอีกมากมายที่ยึดอำนาจ และไม่ได้ยึดเอาไว้ตลอดกาล ถ้ายึดไว้ตลอดกาลก็ไม่มีใครเห็นด้วย เป็นเพียงแต่ว่าหาข้อยุตติ'

            'ดังนั้นแทนที่จะออกมาเคลื่อนไหว หรือทำให้เกิดแรงกระเพื่อมใดๆ ทางการเมือง ก็ขอให้นับหนึ่งใหม่จากจุดนี้ เพื่อปฏิรูปการเมืองไทยไปพร้อมกัน แล้วเตรียมรับมือกับปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอกประเทศ'

 

ความรู้มีน้อยเกินไป ไม่เคยอ่าน จอห์น ล็อค

รศ. ด.ร.นครินทร์  เมฆไตรรัตน์ คณะบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ("สัมภาษณ์พิเศษ," ล้าหลัง, ฉบับพิเศษ "รัฐประหาร," (กันยายน, 2549) หน้า 2.)

 ผมคิดว่าความรู้ความเข้าใจเรื่องการเมืองการปกครองมันมีน้อยเกินไป สำหรับพวกที่มีแนวคิดเสรีประชาธิปไตย อาจจะมองว่าการรัฐประหารเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน คือ คนพวกนี้ไม่เคยอ่าน จอห์น ล็อค ผมกำลังพูดถึงบิดาของเสรีประชาธิปไตย จอห์น ล็อค บอกว่า รัฐบาลเกิดขึ้นโดยข้อตกลงทางสังคมที่เรียกว่า สัญญาสังคม หรือ Social Contract  รัฐบาลเมื่อได้ขึ้นไปสถาปนาอำนาจต้องเป็นไปตามข้อตกลงทางสังคม หน้าที่ของรัฐบาลคือ ธำรงไว้ซึ่งความสงบสุขของคนส่วนร่วม รักษาไว้ซึ่งเสรีภาพ ทรัพย์สิน อิสรภาพของประชาชน ก็ทำให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข อย่าลืมนะว่านี่คือหน้าที่ของรัฐบาล ถ้ารัฐบาลไม่ทำหน้าที่นี้ ประชาชนสามารถที่จะโค่นรัฐบาลได้ เราเรียกสิทธิตรงนี้ว่า สิทธิในการปฏิวัติ การยึดอำนาจในครั้งนี้ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิวัติ

            ในภาษาของพวกบิดาเสรีประชาธิปไตย เค้าเรียกว่า Right to resistant, Right to Revolution สิทธิในการต่อต้าน สิทธิในการโค่นล้มรัฐบาลที่ไม่เป็นไปตามสัญญาประชาคม [2]


แหม่งๆ ยังไงชอบกล

ร.ศ.  วรศักดิ์ มหัทธโนบล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ("ท่าทีต่อการรัฐประหาร 19 กันยาฯ" , คอลัมน์ "ฟ้าดินเดียวกัน" , ผู้จัดการออนไลน์, 18 ตุลาคม 2549.)

 

ผมก็ไม่เคยพบเห็นการรัฐประหารที่ไหนเหมือนกัน ที่จะมีผู้ออกมาประท้วงกันอย่างออกหน้าออกตามากขนาดนี้ ผู้ประท้วงเหล่านี้มีทั้งที่แสดงออกโดยปัจเจกและโดยในนามขององค์กร

ข้อที่น่าสังเกตของผู้ประท้วงเหล่านี้ก็คือว่า บางคนเคยประท้วงระบอบทักษิณมาเมื่อก่อนหน้านี้ กลุ่มนี้ถือว่าพอเชื่อได้ว่าประท้วงด้วยความจริงใจ แต่กับบางกลุ่มแล้วผมไม่เคยเห็นหน้าเลยตลอดเวลาค่อนปีที่มีการประท้วงระบอบทักษิณ แต่พอเกิดรัฐประหารปั๊บก็ออกมาปุ๊บ กลุ่มหลังนี้ผมว่าแหม่งๆ ยังไงชอบกลอยู่

แต่ทั้งหมดนี้ผมไม่เห็นว่า คณะรัฐประหารจะจัดการอย่างเด็ดขาดอย่างในอดีตแม้แต่กรณีเดียว

 

เรียวแคบ

รศ.สุริชัย หวันแก้ว คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พูดถึงเครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร ที่เรียกร้องให้ลาออกลาออกจาก สนช. ("มองไปข้างหน้า ข้ามพ้นกับดักคำถามที่เรียบแคบ," โพสต์ทูเดย์, 28 ตุลาคม 2549. หน้า A3.)

การเกิดกลุ่ม (19 กันยายน) ที่ยึดมั่นในหลักการอย่างมั่นคงเช่นนี้จึงมีคุณค่าต่อสังคมไทยอย่างไม่ต้องสงสัย

การจะเลือกจุดยืนแบบต้านรัฐประหารมิติเดียว เริ่มต้นพูดคุยด้วยการถามว่า "คุณเห็นด้วยกับการรัฐประหารหรือไม่" คงไม่พอแน่ เพราะคงมีน้อยคนกระมังที่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร... แต่ไม่เห็นด้วยแล้วจะทำอย่างไร ลำพังการบอกว่า ควรบอยคอตการรัฐประหาร ไม่ร่วมมือต่างๆ โดยสิ้นเชิง ไม่น่าจะเพียงพอ

เราควรมาทบทวนว่า ในสถานการณ์ที่การรัฐประหารเกิดขึ้นแล้วเดือนเศษ และกระบวนการต่างๆ กำลังเกิดขึ้นตามมามากมาย หากไม่มีเสียงของประชาชนทัดทานเลย แน่นอนว่า รัฐบาลและสภานิติบัญญัติ ย่อมจะมีโอกาสถูกใช้ไปสร้างอุปสรรคแก่การเติบโตของภาคประชาชน และชักให้ถอยหลังไปสู่ระบอบอำมาตยาธิปไตยหรือเสนาธิปไตยได้  และถ้าไปในทางร้ายที่สุด ก็อาจจะเกิดความขัดแย้งซึ่งแปรเป็นความรุนแรงได้อีกในอนาคต

ดังนั้น เราควรจะหลุดจากกับดักของคำถาม ที่เรียวแคบว่า เห็นด้วยการรัฐประหารหรือไม่ ควรบอยคอตกับการรัฐประหารหรือไม่ มาสู่การตั้งสติว่า เราจะลดทอนความสูญเสียจากการรัฐประหารนี้ได้อย่างไรบ้าง

 

ขอจบท้ายรายงานฉบับนี้ด้วย "เก็บแรง" ใน คอลัมน์ "คันปากอยากเล่า" ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 23 กันยายน 2549 หน้า 3 ซึ่งอาจจะเรียกว่า เป็นการ "รวบยอดความคิด" ที่สำคัญเลยทีเดียว โดยคนเขียนคนหนึ่งในคอลัมน์นี้ มีความใกล้ชิดหรือ"คลุกวงใน" "ภาคประชาชน"และ เคยเขียนวิจารณ์กลุ่มคัดค้าน พันธมิตรฯ มาตรา 7 ด้วยจุดยืนเดียวกับผู้ประสานงานพันธมิตรฯ อย่างคุณสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการ ครป.

 ไม่ผิดหรอกที่คนจำนวนหนึ่งออกมาคัดค้าน ต่อต้าน ทั้งแต่งชุดดำ ทั้งเขียนแถลงการณ์ไว้อาลัยกับการฆาตกรรมประชาธิปไตย เป็นต้น อย่างน้อยก็เป็นการแสดงออกที่สมควรจะให้การยอมรับในเรื่องการยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตย

           แต่ก็อย่างเพียง ต่อต้าน คัดค้านอย่างเดียว ต้องมีข้อเสนอให้สังคมก่อนหน้ายึดอำนาจด้วยว่า "หากทหารไม่รัฐประหาร" แล้วเราจะอยู่อย่างไรกับ "ระบอบทักษิณ" ระบอบที่ทำให้สังคมแตกแยก ปิดหูปิดตาประชาชน ทำลายกลไกการตรวจสอบ ทุจริตคอร์รัปชั่น คุกคามสิทธิเสรีภาพ ไม่ต่างจากเผด็จการ

            ดูประหนึ่งรัฐธรรมนูญถูกฉีกมา 5 ปี แล้วด้วยซ้ำ

เราจะอยู่โดยไม่หวาดระแวง อยู่อย่างสุขสะดวก อยู่อย่างเศรษฐีเสกกระดาษเป็นเงิน อยู่โดยที่พี่น้อง 3 จังหวัดใต้ตายเป็นใบไม้ร่วง กระนั้นหรือ?

 แน่นอนการต่อต้านคัดค้านมันทำได้ในแง่ของการแสดงจุดยืนในทางอุดมคติ แต่ขอ้เท็จจริงมันเกิดขึ้นแล้ว เก็บเรี่ยวเก็บแรงไว้ เอาเวลามาถกเถียงเพื่อหาข้อสรุป-ข้อเสนอ ว่าเราจะไม่ให้บทเรียนแบบที่เกิดขึ้นอีกได้อย่างไร หรือเราจะสร้างสิทธิเสรีภาพในแง่มุมไหน ในรัฐธรรมนูญฉบับที่กำลังจะร่างใหม่ จะดีกว่าไหม?.

 

            หรืออย่างน้อยก็เก็บแรงไว้หน่อย... เผื่อคณะปฏิรูปการปกครองฯ เขาเบี้ยวสัญญากลับเข้ากรมกอง ฮ่าฮ่า...




[1] ประกอบด้วย รศ.ดร. ทวิช จิตรสมบูรณ์, ผศ.ดร.ตริตาภรณ์ ชูศรี, รศ.ดร. กนกอร อินทราพิเชฐ, ผศ.ดร. รังสรรค์ วงศ์สรรค์, รศ.ดร. วิจิตร รัตนพานี, ศ.ดร. ไพศาล เหล่าสุวรรณ, อ.ดร. ธีระสุต สุขกำเนิด, ผศ. สมพันธ์ ชาญศิลป์, อ.ดร. สมร พรชื่นชูวงศ์, อ.ดร. ศุกฤตย์ ไทยอุดม, อ.ดร. โสภณ วงศ์แก้ว,ผศ.ดร. สมประสงค์ สัตยมัลลี, อ.ดร. จรียา ยิ้มรัตนบวร, รศ. ทรงพร ทาเจริญศักดิ์, ผศ.ดร. นิธินาถ ศุภกาญจน์, ผศ.ดร. จันทิมา ดีประเสริฐกุล, ผศ.ดร. กษมา จารุกำจร, ผศ.ดร. กิตติ อัตถกิจมงคล, อ.ดร. ถิรยุทธ ลิมานนท์, อ.ดร. ธีรวัฒน์ สินสิริ, รศ.ดร. อำนาจ อภิชาติวัลลภ, ผศ. พยอม ก้อนในเมือง, อ.ดร. จิตพนัส สุวรรณเทพ, อ.ดร. ราเชนทร์ โกศัลวิตร, อ.ดร.เจษฎา ตัณฑนุช, ผศ.ดร. กุลวดี รังษีวัฒนานนท์, ผศ.ดร. จิรวัฒน์ ยงสวัสดิกุล, ผศ.ดร. วิมลลักษณ์ สุตะพันธ์, ผศ. วิทวัส ยมจินดา, อ.ดร. วารี วิดจายา, รศ.ดร. สำเนา ผาติเสนะ, ผศ.ดร สุนันทา ทองทา, อ.ดร. เผด็จ เผ่าละออ, ผศ.ดร. คะชา ชาญศิลป์, อ. สรชัย กมลลิ้มสกุล, รศ.ดร. สมพงษ์ ธรรมถาวร,  อ.ดร. สุธรรม ศรีหล่มสัก, อ.ดร. สุรินทร บุญอนันธนสาร, ผศ.ดร. เบญจมาศ จิตรสมบูรณ์ , อ.ดร. รจนา โอภาสศิริ, อ.ดร. ณรงค์ อัครพัฒนากูล, อ.ดร.วิไลรัตน์ ลี้อนันต์ศักดิ์ศิริ, อ.ดร. ฐิติพร  มะชิโกวา

 

[2] แม้จะไม่ระบุถึงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง และไม่ได้เป็นคำถามที่ถูกตั้งขึ้นในประเด็นนี้โดยเฉพาะ แต่เป็นเข้าใจได้ว่า เป็นความตั้งใจที่จะหมายถึงกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร (พวกเสรีประชาธิปไตย)

 

ที่มาภาพ:http://chorchangsinging.blogspot.com/2011/09/5-19-49.html

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ร้องกรรมการสิทธิฯ สอบกรมเจรจาฯ เร่งดัน FTA ไทย-EU

Posted: 19 Sep 2012 02:04 AM PDT

กรรมการสิทธิ​ฯ รับเรื่องเครือข่ายประชาชนร้องให้ตรวจสอบกรมเจรจาฯละเมิดสิทธิมนุษยชน จากการเร่งผลักดันการเจรจาเอฟทีเอไทยกับสหภาพยุโรป

(19 ก.ย.55) เมื่อช่วงเที่ยงที่ผ่านมา ตัวแทนเครือข่ายประชาชน 14 องค์กรนำโดย เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย ได้เข้าพบ นพ.แท้จริง ศิริพานิช กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เพื่อ​ขอให้ กสม.ตรวจสอบกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชน จากการเร่งผลักดันการเจรจาเอฟทีเอไทยกับสหภาพยุโรป

หนังสือร้องเรียน กสม.ระบุถึงพฤติกรรมที่ผ่านมาของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศพบว่า พยายามให้ข้อมูลที่บิดเบือนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดจากการยอมรับข้อเรียกร้องของสหภาพยุโรปด้านทรัพย์สินทางปัญญาต่อรัฐบาล ซึ่งอาจมีผลต่อการโน้มน้าวให้การตัดสินใจของรัฐบาลขาดการไตร่ตรองถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เช่น การอ้างว่า  การยอมรับข้อผูกพันที่มากกว่าข้อตกลงว่าด้วยการค้าที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาขององค์การการค้าโลก (หรือ ข้อตกลง TRIPs) จะไม่มีผลกระทบต่อราคายา ทั้งที่จากการศึกษาชี้ให้เห็นว่าค่าใช้จ่ายด้านยาของประเทศจะเพิ่มขึ้นทุกปีจากปกติที่เคยเป็น ในระยะเวลา 5 ปี ประเทศไทยจะต้องสูญเสียงบประมาณเพิ่มขึ้นต่อปีมากกว่า 80,000 ล้านบาท ซึ่ง จะส่งผลให้ประเทศต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายด้านยาเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น และประชาชนจำนวนอาจไม่สามารถเข้าถึงยาจำเป็นได้ เพราะรัฐบาลอาจไม่มีงบประมาณเพียงพอที่จะสนับสนุน และจะส่งผลถึงระบบสาธารณสุขของประเทศโดยรวม เนื่องจากต้องปรับงบประมาณสาธารณสุขด้านอื่นมาเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านยา

กรมเจรจาฯยังมิได้นำผลงานวิจัยเชิงวิเคราะห์เปรียบเทียบถึงผลได้และผลเสีย จากการที่รัฐบาลจะยอมรับข้อเสนอด้านทรัพย์สินทางปัญญาของสหภาพยุโรป ซึ่งได้มีการจัดทำไว้หลายสำนัก ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยของสถาบันการศึกษาต่างๆ กรมทรัพย์สินทางปัญญา และสำนักงานคณะกรรมการองค์การอาหารและยา หรือแม้แต่ที่กรมเจรจาฯให้การสนับสนุน ถือเป็นเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงการนำข้อมูลทางวิชาการที่เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์มาประกอบเป็นข้อมูลนำเสนอต่อรัฐบาล และถือเป็นการหลบเลี่ยงหน้าที่และไม่ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ

"การกระทำดังกล่าว ถือได้ว่ากรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กำลังกระทำการที่เข้าข่ายเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชนทั้งประเทศ โดยเฉพาะสิทธิด้านสุขภาพ  นอกจากนี้ ยังถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 190 และเป็นการกระทำที่ขาดธรรมาภิบาลที่ข้าราชการพึงมี จึงขอให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติดำเนินการตรวจสอบกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนดังกล่าวอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะพฤติกรรมและธรรมาภิบาลของอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศไทยในฐานะเลขานุการการประชุมระดับสูงเพื่อพิจารณาเตรียมเปิดการเจรจาการค้าเสรีของไทย ทั้งนี้เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชน"

ทางด้าน นพ.แท้จริง ศิริพานิช กรรมการสิทธิมนุษยชนกล่าวว่า เรื่องนี้มีความสำคัญมาก ทางกรรมการสิทธิจะเร่งรับพิจารณาอย่างเร่งด่วน โดยจะรีบเรียกผู้เกี่ยวข้องเข้ามาชี้แจง

ทั้งนี้เครือข่ายประชาชนที่ร่วมกันร้องเรียนครั้งนี้ประกอบไปด้วย เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย คณะกรรมการองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ชมรมเพื่อนโรคไต เครือข่ายเพื่อนมะเร็ง มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิเภสัชชนบท กลุ่มศึกษาปัญหายา มูลนิธิชีววิถี มูลนิธิบูรณะนิเวศ มูลนิธิสุขภาพไทย และ กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch)
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทีดีอาร์ไอเสนอ 3 ชุดทางเลือก "สวัสดิการผู้สูงอายุ"

Posted: 19 Sep 2012 01:23 AM PDT

ทีดีอาร์ไอศึกษาประมาณการงบประมาณสำหรับผู้สูงอายุและแหล่งที่มาของเงิน เสนอ 3 ชุดทางเลือกสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุ และประมาณการค่าใช้จ่ายดูแลผู้สูงอายุได้อย่างทั่วถึง ยั่งยืน และไม่ซ้ำซ้อน เน้นสวัสดิการพื้นฐานเพียงพอต่อการดำรงชีพและเพิ่มเติมพิเศษให้กลุ่มยากจนและ/หรืออยู่ในภาวะพึ่งพิง ระบุใช้เงินเพียงร้อยละ 1.6-2.4 ของรายได้ประชาชาติหรือเท่ากับเพิ่มขึ้นจากสวัสดิการที่ให้อยู่ในปัจจุบันเพียงร้อยละ 0.07-0.22 ของรายได้ประชาชาติ โดยเสนอแนวทางการสร้างความยั่งยืนของการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ ด้วยการหาแหล่งเงินเพิ่มเติมจากการปฏิรูประบบภาษี ปรับปรุงการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ และเปิดโอกาสให้ภาคีภายนอกภาครัฐเข้ามามีบทบาทร่วมด้วย

นายยศ วัชระคุปต์ นักวิจัยอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เปิดเผยว่า ในปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และมีสัดส่วนจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี 2553 ประเทศไทยมีสัดส่วนผู้สูงอายุ (60 ปีขี้นไป) ร้อยละ 12 และจะเพิ่มถึงร้อยละ 25 ในปี 2573 หรือเท่ากับคนไทยทุก ๆ 4 คน จะมีผู้สูงอายุอยู่ 1 คน ผลของการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจะยิ่งทำให้รัฐต้องจัดหาสวัสดิการเพิ่มเติมทั้งในรูปของปริมาณและคุณภาพเพื่อรองรับจำนวนผู้สูงอายุที่มากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งทำให้รัฐมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นตาม จึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องภาระค่าใช้จ่าย และแหล่งเงินทุนสำหรับการจัดหาสวัสดิการผู้สูงอายุที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ตลอดจนการหาแนวร่วมที่จะเข้ามาช่วยในด้านสวัสดิการผู้สูงอายุ

ทั้งนี้จากการศึกษาเรื่อง การประมาณการงบประมาณสำหรับผู้สูงอายุและแหล่งที่มาของเงิน ซึ่งทีดีอาร์ไอได้รับมอบหมายจากสำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ (สท.) กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ทำการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่อยากอยู่กับครอบครัวจึงควรจัดสวัสดิการที่เอื้อให้อยู่กับครอบครัวได้ โดยรัฐดูแลผู้สูงอายุที่ไม่มีครอบครัว ไม่อยากอยู่หรือครอบครัวไม่พร้อม การจัดสวัสดิการผู้สูงอายุควรมีการดูแลทั้งในด้านจิตใจและร่างกาย  ในภาพรวมแม้สวัสดิการที่ผู้สูงอายุได้รับจะดีขึ้นจากการแจกเบี้ยยังชีพ และการรักษาพยาบาล แต่ยังมีปัญหาความเหลื่อมล้ำซ้ำซ้อนของการได้รับสวัสดิการซึ่งต้องแก้ไขและกระจายให้เกิดความเสมอภาคและขยายประโยชน์เพิ่มเติมให้กับกลุ่มผู้สูงอายุที่ยากจนและ/หรืออยู่ในภาวะพึ่งพิงให้สามารถดำรงชีพขั้นพื้นฐานได้ โดยปัจจุบันมีผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิงราว 1-1.4 แสนคน

การจัดสวัสดิการสังคมจะต้องคำนึงถึงความเพียงพอและความซ้ำซ้อน โดยเป็นระดับสวัสดิการที่เพียงพอต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ ส่วนความซ้ำซ้อนเกิดจากการออกแบบโครงการมากกว่าหนึ่งโครงการ แต่มีกลุ่มเป้าหมายเดียวกันหรือทับซ้อนกัน ทำให้ประชาชนบางกลุ่มสามารถรับสวัสดิการได้มากกว่าหนึ่งโครงการจนเกิดความไม่เท่าเทียมกัน จึงเป็นสิ่งที่ควรป้องกันและแก้ไข

การศึกษาได้เสนอชุดทางเลือกของสวัสดิการผู้สูงอายุ เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการผู้สูงอายุได้มากขึ้น อันได้แก่ ชุดสวัสดิการรูปแบบที่ 1 ตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานประกอบด้วย เบี้ยยังชีพสูงอายุ สวัสดิการหลักประกันสังคม (บำเหน็จ บำนาญปกติ และ กบข. ประกันสังคมกรณีชราภาพ) สถานสงเคราะห์คนชรา เงินสงเคราะห์จัดการศพ กองทุนผู้สูงอายุ และกองทุนการออมแห่งชาติ  ชุดสวัสดิการรูปแบบที่ 2 ปรับเพิ่มจากชุดแรก โดยเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่ยากจน (ให้เท่ากับเส้นความยากจน) และ/หรืออยู่ในภาวะพึ่งพิง (ประมาณเดือนละ 4,085 บาท) ชุดสวัสดิการรูปแบบที่ 3 เพิ่มระบบสวัสดิการที่มีภาคีส่วนร่วมอื่นๆ เช่น กองทุนยุวชนจิตอาสา และการส่งเสริมสังคมสวัสดิการและส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม

เมื่อพิจารณาถึงภาระด้านงบประมาณของแต่ละชุดโครงการนั้น ประมาณการว่าในช่วงปี 2555-2564 ค่าใช้จ่ายของสวัสดิการผู้สูงอายุ สำหรับชุดสวัสดิการรูปแบบที่ 1 มีจำนวน 1.7-4.6 แสนล้านบาท และเพิ่มขึ้นเป็น 1.7-5.0 และ 1.7-5.1 แสนล้านบาท ในรูปแบบที่ 2 และ 3 ตามลำดับ การดำเนินการในระยะเริ่มแรกรัฐควรจัดสรรสวัสดิการในรูปแบบที่ 1 ก่อนเพราะเป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถดำรงชีพได้ในระดับพื้นฐาน และหากรัฐมีรายได้มากเพียงพอจึงค่อยขยับเพิ่มสวัสดิการในรูปแบบที่ 2 และ 3 ในภายหลัง

ทั้งนี้ภาระค่าใช้จ่ายของชุดสวัสดิการผู้สูงอายุเมื่อเทียบกับรายได้ของภาครัฐหรือเทียบกับรายได้ประชาชาติ พบว่า หากเศรษฐกิจไทยสามารถขยายตัวเฉลี่ยถึงร้อยละ 7 ต่อปี (ในรูปตัวเงิน) งบประมาณสวัสดิการผู้สูงอายุจะคิดเป็นร้อยละ 7.9-10.2 ของรายได้ภาครัฐและร้อยละ 1.6-2.4 ของรายได้ประชาชาติ แล้วแต่จะใช้ชุดสวัสดิการรูปแบบที่ 1 หรือ 2 หรือ 3 โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามช่วงเวลา ตามการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนของผู้สูงอายุในโครงสร้างประชากร ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าหากรัฐจัดสรรสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุแบบเต็มรูปแบบแล้ว (รูปแบบที่ 3) รัฐจะมีภาระค่าใช้จ่ายสวัสดิการผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันร้อยละ 0.3-0.9 ของรายได้ภาครัฐและร้อยละ 0.03-0.22 ของรายได้ประชาชาติในช่วงปี 2555-2564

การศึกษายังได้เสนอแนวทางการสร้างความยั่งยืนของการจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุ จากความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจ และนโยบายประชานิยมหรือโครงการเร่งด่วนของรัฐบาล ด้วยมาตรการ 3 แนวทาง คือ 1.มาตรการในการหารายได้มารองรับภาระงบประมาณที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี ผ่านการปฎิรูประบบภาษี ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ภาครัฐแล้ว ยังช่วยสร้างความเป็นธรรมด้านภาษีได้อีกด้วย 2. การปรับปรุงการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และ 3. การสร้างภาคีสังคมนอกเหนือจากภาครัฐให้เข้ามามีบทบาทในการให้สวัสดิการผู้สูงอายุอันเป็นการแบ่งเบาภาระให้กับภาครัฐได้

นักวิจัยอาวุโส ทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า การปฎิรูประบบภาษีนั้นจะช่วยให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการสร้างฐานข้อมูลผู้เสียภาษีเพื่อช่วยตรวจสอบและติดตามการเสียภาษี ซึ่งสามารถดำเนินการร่วมกับฐานข้อมูลบัตรประชาชน และควรมีการสร้างแรงจูงใจและบทลงโทษด้วย (เช่น ผู้ที่ไม่ยอมให้ข้อมูลรายได้อาจพิจารณาในเรื่องการต่ออายุบัตรประจำตัวประชาชน เป็นต้น) การขยายฐานภาษีให้ครอบคลุมผู้ที่สมควรเสียภาษีแต่ยังไม่ได้เสียภาษี โดยมีระบบการประเมินภาษีที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม

นอกจากนี้ควรทบทวนการลดหย่อนและยกเว้นภาษี การเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม และระบบภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ส่วนการบริหารจัดการที่ดีจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการและลดค่าใช้จ่ายได้ ซึ่งประกอบด้วยการบริหารจัดการเพื่อป้องกันความซ้ำซ้อนของสิทธิสวัสดิการ การบริหารจัดการเพื่อเข้าถึงผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมายอย่างเหมาะสม และการบริหารจัดการกองทุนผู้สูงอายุ สำหรับการสร้างภาคีด้านสวัสดิการผู้สูงอายุนั้น สามารถทำผ่านความร่วมมือกับองค์กรอิสระและองค์กรภาครัฐอื่น ๆ

คณะผู้วิจัยได้ประมาณการรายได้ของรัฐที่จะเพิ่มขึ้นจากการปฏิรูประบบภาษีพบว่า การเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มกลับไปสู่อัตราปกติที่ร้อยละ 10 จะส่งผลต่อการเพิ่มของรายได้รัฐมากที่สุด และเพียงแค่รายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มรายการเดียวก็สามารถนำไปจัดสรรให้แก่สวัสดิการผู้สูงอายุได้เกือบทั้งหมด แต่ในทางปฏิบัติคงทำได้ยาก จึงควรเพิ่มเติมด้วยมาตรการอื่นเช่นจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักความเสมอภาคทางภาษีและมาตรการอื่น ๆ รวมทั้งทบทวนการลดหย่อนและยกเว้นภาษีอย่างเป็นระบบซึ่งมองว่าปัจจุบันเป็นการลดหย่อนมากเกินไปและล้วนเป็นการลดขนาดของฐานภาษีทำให้รัฐเก็บภาษีได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะค่าลดหย่อนหลายประการที่เอื้อประโยชน์ต่อผู้มีรายได้สูง เช่น การซื้อกองทุน RMF และ LTF ควรพิจารณาลดผลประโยชน์ส่วนนี้ให้เหลือเท่าที่จำเป็น

นักวิจัยอาวุโส ทีดีอาร์ไอ ย้ำว่า สิ่งที่น่ากังวลสำหรับคนวัยทำงานปัจจุบันซึ่งมีภาวะอยู่ตัวคนเดียวมากขึ้นและในอีก 10-20 ปีข้างหน้าจะกลายเป็นผู้สูงอายุ ควรเตรียมความพร้อมด้วยการเก็บออมเพื่อนำมาใช้จ่ายเพิ่มเติมจากสวัสดิการพื้นฐานจากรัฐให้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเพียงพอตามที่ต้องการในวัยสูงอายุ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คดีหมิ่นประมาทนพดล ปัทมะ ศาลอุทธรณ์ลดโทษจำคุก "สนธิ" เหลือ 3 เดือน

Posted: 18 Sep 2012 10:50 PM PDT

ศาลอุทธรณ์พิพากษาลดโทษจำคุก "สนธิ ลิ้มทองกุล" หมิ่นประมาท "นพดล ปัทมะ" จาก 6 เดือนเป็น 3 เดือน เนื่องจากจำเลยเป็นแกนนำพันธมิตรฯ ขึ้นปราศรัยไม่เคยหวังผลประโยชน์ทางการเมือง ประกอบกับมีอายุมากแล้ว ต้องเลี้ยงดูครอบครัว จึงสมควรลดโทษให้น้อยลง

วันนี้ (19 ก.ย. 55) ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก มีอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ในคดีที่ นายนพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในฐานะผู้ดำเนินรายเมืองไทยรายสัปดาห์ ออกอากาศทางสถานี ASTV บริษัท ไทยเดย์ ด็อทคอม กับพวก เป็นจำเลยที่ 1-8 ในความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา จากกรณีเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2550 จำเลยทั้ง 8 ได้ร่วมกันจัดรายการ "เมืองไทยรายสัปดาห์" กระจายภาพ ผ่านสื่อโทรทัศน์เครือข่ายสัญญาณดาวเทียมเอเอสทีวี และผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยนายสนธิจำเลยที่ 1 กล่าว ในรายการทำนองว่า นายนพดล เป็นคนทรยศต่อทุนหลวง มีจำเลยที่ 2 ถึง 8 บันทึกภาพและเสียงและเผยแพร่ทั่วราชอาณาจักร ซึ่งการกระทำดังกล่าวมีเจตนาใส่ความโจทก์เพื่อให้เสียชื่อเสียง และถูกดูหมิ่นเกลียดชัง

สำหรับคดีนี้ ก่อนหน้านี้ศาลชั้นต้นพิพากษา ให้จำคุกนายสนธิ เป็นเวลา 6 เดือน และปรับจำเลยที่ 2 และ 6 ซึ่งเป็นบริษัทเอกชน คนละ 2 หมื่นบาท และจำเลยที่ 1, 2 และ 6 ให้ลงโฆษณาคำพิพากษาย่อ ลงในหนังสือพิมพ์รายวัน จำนวน 3 ฉบับ เป็นเวลาติดต่อกัน 7 วัน และยกฟ้องจำเลยที่ 3, 4, 5, 7 และ 8

โดยวันนี้ศาลอุทธรณ์มีคำตัดสินว่า การที่นายสนธิ ลิ้มทองุล พูดในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ หาว่าโจทก์ไม่จงรักภักดี เทียบกับสุนัขทองแดงไม่ได้ เป็นการใส่ความให้โจทก์ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง และเป็นข้อความที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ กฎหมายจึงต้องห้ามไม่ให้นำสืบแก้ ส่วนข้อความว่าโจทก์เป็นทนายความ แต่ทำนอกหน้าที่ เป็นคนสนับสนุนทักษิณ ศาลเห็นว่าหากจำเลยเห็นว่าโจทก์กระทำผิดอย่างไร ก็ควรไปดำเนินคดีตามกฎหมาย ที่จำเลยอ้างว่า กระทำไปเพื่อปกป้องสถาบันนั้น ศาลเห็นว่าคนไทยมีหน้าที่ปกป้องสถาบัน แต่การแสดงออกของจำเลยต้องไม่เป็นการล่วงละเมิดสิทธิของคนอื่น ที่จำเลยอุทธรณ์อ้างว่าศาลชั้นต้นให้โฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐและอีกหลายฉบับหลายวันเป็นการสิ้นเปลืองเกินความจำเป็น ศาลเห็นว่า แม้จะหมิ่นประมาทผ่านทางเว็บไซต์และวิทยุทีวี แต่การลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ยังมีความจำเป็น แต่ให้ลดลงจาก 7 วัน เหลือ 3 วัน

ศาลอุทธรณ์เห็นว่า จำเลยที่ 2 และ 6 ที่เป็นนิติบุคคล ที่เผยแพร่ภาพเสียงคำพูดหมิ่นประมาท เป็นนิติบุคคลที่ต้องแสดงเจตนาผ่านผู้แทนนิติบุคคล แต่โจทก์ไม่พิสูจน์ให้เห็นว่าจำเลยที่ 3,4,5,7,8 ที่เป็นผู้แทนฯ มีเจตนาใส่ความโจทก์ด้วย ที่ศาลชั้นต้นลงโทษปรับ ศาลอุทธรณ์ไม่เห็นพ้องด้วย พิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2-8

ส่วนนายสนธิ ขอลดโทษและรอการลงโทษนั้น ศาลอุทธรณ์เห็นว่า แม้การที่โจทก์แสดงออกถึงการปกป้อง พ.ต.ท.ทักษิณ นั้น ประชาชนบางส่วนเห็นด้วย บางส่วนไม่เห็นด้วย แต่การแสดงออกถึงความไม่พอใจต้องอยู่ในกรอบ คำกล่าวหาของจำเลยที่ 1 เป็นการใส่ความผู้อื่นให้ถูกดูหมิ่นเกลียดชังว่าเป็นคนไม่ดี ทำให้โจทก์เสียหายและเป็นการละเมิดสิทธิ์โจทก์ แต่ฟังได้ว่าจำเลยไม่เกิดรู้จักโกรธเคืองกับโจทก์เป็นการส่วนตัวมาก่อน และจำเลยเป็นแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ขึ้นปราศรัยไม่เคยหวังผลประโยชน์ทางการเมือง ประกอบจำเลยมีอายุมากแล้ว มีภาระต้องเลี้ยงดูครอบครัว จึงสมควรลดโทษให้น้อยลง จึงพิพากษาแก้ให้จำคุก 3 เดือน และลงให้โฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ เดลินิวส์ และมติชนรายวัน เป็นเวลา 3 วัน

ทั้งนี้นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความได้ยื่นคำร้องของประกันตัวพร้อมหลักทรัพย์กรมธรรม์ประกันอิสรภาพวงเงิน 1 แสนบาท ขณะเดียวกันได้ยื่นคำร้องฎีกาคดีดังกล่าวด้วย

 
เรียบเรียงจาก ไทยรัฐออนไลน์ และ มติชนออนไลน์
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "19กันยา มาบรรจบ"

Posted: 18 Sep 2012 10:34 PM PDT

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "19กันยา มาบรรจบ"

กวีตีนแดง: รอวันเป็นดั่งฝนดาวตก

Posted: 18 Sep 2012 07:55 PM PDT

 

ลมทะเลอ้างว้างเงียบเหงา

คืนมืดอับไร้แสงเงา

แต่ดาวผีพุ่งใต้แวบสว่าง

จรัสแสงชั่วลมหายใจ

แล้วหายไปในความมืดนั้น

ความตายของลุงเช่นเดียวกัน

สว่างวาบงามดังแสงดาวเหนือ

ลับหายไปในวันของฝันร้าย

 

ฉันไม่อาจรับรู้ในช่วงเวลาที่ควรรู้

แม้เพียงหลักการที่ง่ายที่สุด

ของการเป็นมนุษย์

เสรีภาพและความเท่าเทียม

แสงสว่างจากผีพุ่งใต้

ตกวูบสว่างวาบกลางฟ้า

บอกทิศทางให้ฉันก้าวเดินไป

ท่ามกลางความมืดมิดและแรงแค้น

ความตายของลุงเช่นเดียวกัน

สว่างวาบงามดังแสงดาวเหนือ

ตกวูบสว่างวาบในวันของฝันร้าย

 

ทิศทางนั้นที่ฉันมุ่งไป

ตามเส้นทางดาวผีพุ่งใต้ลับหาย

ดวงแล้วดวงเล่า

รอวันพรูพรั่งเป็นห่าฝน.

 

 

รำลึก 6 ปีรัฐประหาร 6 ปี  วีรกรรม นวมทอง ไพรวัลย์

 

Homo erectus/กลุ่มกวีตีนแดง

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น