ประชาไท | Prachatai3.info |
- อำนาจของท้องถิ่นอังกฤษในการบอกกล่าวให้เอกชนปลูกต้นไม้ใหญ่ทดแทน
- อำนาจของท้องถิ่นอังกฤษในการบอกกล่าวให้เอกชนปลูกต้นไม้ใหญ่ทดแทน
- ไต่สวน 6 ศพวัดปทุมฯ พยานชี้ชุดพรางพยายามฆ่ายิงลงมาจากรางรถไฟ
- ศาลปกครองสั่งยกเว้นค่าธรรมเนียมให้กะเหรี่ยงแก่งกระจาน
- กลุ่มสิทธิสตรีในอินเดียร้องปลดผู้พิพากษากล่าว 'เหยียดเพศ'
- ท้วง! รับฟังความเห็นขยายโครงการเหมืองแร่ทองคำ ของ กพร. ขัดเจตนารมณ์ รธน.
- ทีวีดาวเทียม แย้งร่างประกาศ “กสท.” 4 ฉบับ เสนอร่างฯ กิจการดาวเทียมเพิ่ม
- ประชาธิปไตยของนักฟังเพลง?: เหตุที่ยุคอินเทอร์เน็ตไม่ต้องการ “นักวิจารณ์”
- จ่อขึ้นค่าไฟอีกหน่วยละ 18 สต. ก.ย.-ธ.ค.นี้ หลังมีมติเพิ่มเอฟที
- 'มหาดไทย' ห้าม ขรก.เล่นเฟซบุ๊ก ในเวลางาน
- เสวนา: ไทยในสื่อหนังสือพิมพ์กัมพูชา
อำนาจของท้องถิ่นอังกฤษในการบอกกล่าวให้เอกชนปลูกต้นไม้ใหญ่ทดแทน Posted: 07 Sep 2012 09:36 AM PDT จากความเดิมในบทความ “กฎหมายผังเมืองว่าด้วยการคุ้มครองต้นไม้ใหญ่ในชุมชนเมืองของอังกฤษ” ตอนที่แล้ว แม้ว่ากฎหมายผังเมืองของอังกฤษ ได้แก่ กฎหมาย Town and Country Planning (Tree Preservation) (England) Regulations 2012 และกฎหมาย Town and Country Planning Act 1990 ได้ให้อำนาจแก่ท้องถิ่นในการออกคำสั่งอนุรักษ์ต้นไม้ (Tree Preservation Orders – TPOs) เพื่อป้องกันไม่ให้เอกชนห้ามเอกชนจงใจทำลาย จงใจทำให้เสียหาย ตัด โค่นและถอนต้นไม้ขนาดใหญ่ที่สมควรได้รับการอนุรักษ์ไว้ในพื้นที่ทั่วไปในชุมชนเมืองและพื้นที่ในบริเวณชุมชนเมืองที่ถูกประกาศให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แต่กฎหมายผังเมืองของอังกฤษยังได้เปิดช่องให้เอกชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งอนุรักษ์ต้นไม้ของท้องถิ่นสามารถยื่นอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด โดยระบุเหตุแห่งความจำเป็นที่ต้องการตัด โค่น ถอน ทำลายหรือทำให้เสียหายอื่นๆ แก่ต้นไม้ขนาดใหญ่ในชุมชนเมืองที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายผังเมืองของอังกฤษ ทั้งนี้ เมื่อท้องถิ่นได้อนุญาตตามคำอุทธรณ์คำสั่งอนุรักษ์ต้นไม้ของเอกชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ที่ขออนุญาตตัด โค่น ถอน ทำลายหรือทำให้เสียหายอื่นๆ ในกรณีอื่นๆแก่ต้นไม้ขนาดใหญ่ในชุมชนเมืองโดยพิจารณาถึงเหตุแห่งความจำเป็นแล้ว เอกชนจึงจะสามารถตัด โค่น ถอน ทำลายหรือทำให้ต้นไม้เสียหายในกรณีอื่นๆ ในพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตได้ อนึ่ง การให้อนุญาตตามคำอุทธรณ์คำสั่งอนุรักษ์ต้นไม้ของเอกชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ มิได้หมายความว่าท้องถิ่นจะอนุญาตให้เอกชนสามารถตัด โค่น ถอน ทำลายหรือทำให้ต้นไม้ขนาดใหญ่ในชุมชนเมืองเสียหายไป โดยปราศจากมาตรการอื่นๆ ในการเยียวยาพื้นที่สีเขียวใบบริเวณชุมชนเมืองที่สมควรได้รับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหรือรุกขกรรมทิวทัศน์ ด้วยเหตุนี้ กฎหมายผังเมืองของอังกฤษจึงได้กำหนดมาตรการทางกฎหมายผังเมืองที่ให้อำนาจแก่ท้องถิ่นในการกำหนดคำบอกกล่าวให้เอกชนปลูกต้นไม้ทดแทน (Tree Replacement Notices – TRNs) เพื่อเป็นการเยียวยาความเสียหายแก่พื้นที่สีเขียวหรือพื้นที่ที่มีคุณค่าทางรุกขกรรมที่ต้นไม้ขนาดใหญ่ในชุมชนเมืองได้ถูกตัด โค่น ถอน ทำลายหรือทำให้ต้นไม้เสียหายภายหลังจากที่ท้องถิ่นได้อนญาตตามคำอุทธรณ์คำสั่งอนุรักษ์ต้นไม้ที่เอกชนร้องขอแล้ว การใช้อำนาจการทำคำบอกกล่าวให้เอกชนปลูกต้นไม้ทดแทนหรือ TRNs ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอังกฤษ หมายถึง การใช้อำนาจของท้องถิ่นของอังกฤษในการสร้างหลักเกณฑ์ในเอกชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียปลูกต้นไม้ใหญ่ทดแทนจากที่ได้กระทำการตัด โค่น ถอน ทำลายหรือทำให้เสียหายในกรณีอื่นๆ โดยเจ้าหน้าที่ของท้องถิ่นมีอำนาจตามกฎหมายผังเมืองในการออกคำบอกกล่าวให้เอกชนปลูกต้นไม้ทดแทนหรือ TRNs เพื่อให้เอกชนปฏิบัติตาม โดยเอกชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ในฐานะที่เป็นผู้รับคำบอกกล่าว อาจเป็นเอกชนรายหนึ่งรายใดหรือเป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่อาจระบุรายชื่อไว้อย่างชัดเจนในคำบอกกล่าวดังกล่าว ซึ่งคำบอกกล่าว (Notice) ตามกฎหมายผังเมืองของอังกฤษในลักษณะนี้ อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิและหน้าที่ของเอกชนและผู้มีส่วนใดส่วนเสียอื่นๆ เพราะคำบอกกล่าวให้เอกชนปลูกต้นไม้ทดแทนหรือ TRNs มีลักษณะของการกำหนดกฎเกณฑ์และสร้างหน้าที่ให้เอกชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียปลูกต้นไม้ทดแทน คำบอกกล่าวให้เอกชนปลูกต้นไม้ทดแทนหรือ TRNs ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอังกฤษต้องระบุสาระสำคัญ ได้แก่ หน้าที่ของเอกชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ที่จะต้องกระทำตามคำบอกกล่าวให้เอกชนปลูกต้นไม้ทดแทน (Duty to Plant) เพื่อทดแทนต้นไม้ในพื้นที่ชุมชนเมืองที่ถูกทำลายหรือทำให้เสียหาย การกำหนดพื้นที่เพื่อให้เอกชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ สามารถปลูกต้นไม้ทดแทนในบริเวณที่ท้องถิ่นได้กำหนดเอาไว้ (Address of Land) เพื่อให้เอกชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ได้ทราบพื้นที่ในการปฏิบัติตามคำบอกกล่าวของท้องถิ่นดังกล่าว เหตุผลที่เอกชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ต้องปฏิบัติตามคำบอกกล่าวของท้องถิ่น (Reasons for Serving Notice) เงื่อนไขที่ท้องถิ่นได้กำหนดให้เอกชนปฏิบัติ (Requirement) เงื่อนเวลาที่ท้องถิ่นกำหนดให้เอกชนปฏิบัติภายในระยะเวลาที่กำหนด (Date) คำชี้แจงเกี่ยวกับสิทธิในการอุทธรณ์คำบอกกล่าวให้เอกชนปลูกต้นไม้ทดแทนดังกล่าว (Right to Appeal) คำชี้แจงกรณีที่เอกชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ไม่สามารถกระทำตามคำบอกกล่าวให้เอกชนปลูกต้นไม้ทดแทน (Failure to Comply) ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของอังกฤษอาจเข้ามาดำเนินการปลูกต้นไม้ทดแทนเองและเรียกเก็บค่าใช้จ่ายอื่นๆ จากเอกชนในภายหลัง และคำแนะนำอื่นๆ (Advice) ที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับคำบอกกล่าวให้เอกชนปลูกต้นไม้ทดแทนดังกล่าว อนึ่ง การใช้อำนาจท้องถิ่นในการทำคำบอกกล่าวให้เอกชนปลูกต้นไม้ทดแทนหรือ TRNs ย่อมส่งผลดีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพื้นที่รุกขกรรมในชุมชนเมือง เพราะการใช้อำนาจของท้องถิ่นเช่นนี้ย่อมส่งผลให้เกิดการอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวที่ประกอบด้วยต้นไม้ใหญ่ในชุมชนเมืองสามารถดำรงอยู่ได้โดยการปลูกต้นไม้ทดแทนและเพิ่มภูมิทัศน์ที่ดีสำหรับประชาชนที่อยู่อาศัยในชุมชนเมือง ดังนั้น แม้การขยายตัวของชุมชนเมืองและการใช้ประโยชน์ในที่ดินที่เอกชนมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครองครอบจะส่งผลให้ต้นไม้ขนาดใหญ่ในชุมชนเมืองได้ถูกตัด โค่น ถอน ทำลายหรือทำให้เสียหายจากกรณีอื่นๆ แต่การกำหนดอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถออกคำบอกกล่าวให้เอกชนปลูกต้นไม้ทดแทนหรือ TRNs ของประเทศอังกฤษ ย่อมถือเป็นมาตรการทางกฎหมายผังเมืองที่ดีอย่างหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้ธำรงคุณค่าต่างๆ อันเนื่องมาจากการมีอยู่ของต้นไม้ขนาดใหญ่ในชุมชนเมือง เช่น การบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อม การเพิ่มพื้นที่ร่มเงาในชุมชนเมือง การสร้างพื้นที่ไว้ประกอบกิจกรรมกีฬาและนันทนาการ เป็นต้น
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
อำนาจของท้องถิ่นอังกฤษในการบอกกล่าวให้เอกชนปลูกต้นไม้ใหญ่ทดแทน Posted: 07 Sep 2012 09:35 AM PDT จากความเดิมในบทความ “กฎหมายผังเมืองว่าด้วยการคุ้มครองต้นไม้ใหญ่ในชุมชนเมืองของอังกฤษ” ตอนที่แล้ว แม้ว่ากฎหมายผังเมืองของอังกฤษ ได้แก่ กฎหมาย Town and Country Planning (Tree Preservation) (England) Regulations 2012 และกฎหมาย Town and Country Planning Act 1990 ได้ให้อำนาจแก่ท้องถิ่นในการออกคำสั่งอนุรักษ์ต้นไม้ (Tree Preservation Orders – TPOs) เพื่อป้องกันไม่ให้เอกชนห้ามเอกชนจงใจทำลาย จงใจทำให้เสียหาย ตัด โค่นและถอนต้นไม้ขนาดใหญ่ที่สมควรได้รับการอนุรักษ์ไว้ในพื้นที่ทั่วไปในชุมชนเมืองและพื้นที่ในบริเวณชุมชนเมืองที่ถูกประกาศให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แต่กฎหมายผังเมืองของอังกฤษยังได้เปิดช่องให้เอกชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งอนุรักษ์ต้นไม้ของท้องถิ่นสามารถยื่นอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด โดยระบุเหตุแห่งความจำเป็นที่ต้องการตัด โค่น ถอน ทำลายหรือทำให้เสียหายอื่นๆ แก่ต้นไม้ขนาดใหญ่ในชุมชนเมืองที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายผังเมืองของอังกฤษ ทั้งนี้ เมื่อท้องถิ่นได้อนุญาตตามคำอุทธรณ์คำสั่งอนุรักษ์ต้นไม้ของเอกชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ที่ขออนุญาตตัด โค่น ถอน ทำลายหรือทำให้เสียหายอื่นๆ ในกรณีอื่นๆแก่ต้นไม้ขนาดใหญ่ในชุมชนเมืองโดยพิจารณาถึงเหตุแห่งความจำเป็นแล้ว เอกชนจึงจะสามารถตัด โค่น ถอน ทำลายหรือทำให้ต้นไม้เสียหายในกรณีอื่นๆ ในพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตได้ อนึ่ง การให้อนุญาตตามคำอุทธรณ์คำสั่งอนุรักษ์ต้นไม้ของเอกชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ มิได้หมายความว่าท้องถิ่นจะอนุญาตให้เอกชนสามารถตัด โค่น ถอน ทำลายหรือทำให้ต้นไม้ขนาดใหญ่ในชุมชนเมืองเสียหายไป โดยปราศจากมาตรการอื่นๆ ในการเยียวยาพื้นที่สีเขียวใบบริเวณชุมชนเมืองที่สมควรได้รับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหรือรุกขกรรมทิวทัศน์ ด้วยเหตุนี้ กฎหมายผังเมืองของอังกฤษจึงได้กำหนดมาตรการทางกฎหมายผังเมืองที่ให้อำนาจแก่ท้องถิ่นในการกำหนดคำบอกกล่าวให้เอกชนปลูกต้นไม้ทดแทน (Tree Replacement Notices – TRNs) เพื่อเป็นการเยียวยาความเสียหายแก่พื้นที่สีเขียวหรือพื้นที่ที่มีคุณค่าทางรุกขกรรมที่ต้นไม้ขนาดใหญ่ในชุมชนเมืองได้ถูกตัด โค่น ถอน ทำลายหรือทำให้ต้นไม้เสียหายภายหลังจากที่ท้องถิ่นได้อนญาตตามคำอุทธรณ์คำสั่งอนุรักษ์ต้นไม้ที่เอกชนร้องขอแล้ว การใช้อำนาจการทำคำบอกกล่าวให้เอกชนปลูกต้นไม้ทดแทนหรือ TRNs ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอังกฤษ หมายถึง การใช้อำนาจของท้องถิ่นของอังกฤษในการสร้างหลักเกณฑ์ในเอกชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียปลูกต้นไม้ใหญ่ทดแทนจากที่ได้กระทำการตัด โค่น ถอน ทำลายหรือทำให้เสียหายในกรณีอื่นๆ โดยเจ้าหน้าที่ของท้องถิ่นมีอำนาจตามกฎหมายผังเมืองในการออกคำบอกกล่าวให้เอกชนปลูกต้นไม้ทดแทนหรือ TRNs เพื่อให้เอกชนปฏิบัติตาม โดยเอกชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ในฐานะที่เป็นผู้รับคำบอกกล่าว อาจเป็นเอกชนรายหนึ่งรายใดหรือเป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่อาจระบุรายชื่อไว้อย่างชัดเจนในคำบอกกล่าวดังกล่าว ซึ่งคำบอกกล่าว (Notice) ตามกฎหมายผังเมืองของอังกฤษในลักษณะนี้ อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิและหน้าที่ของเอกชนและผู้มีส่วนใดส่วนเสียอื่นๆ เพราะคำบอกกล่าวให้เอกชนปลูกต้นไม้ทดแทนหรือ TRNs มีลักษณะของการกำหนดกฎเกณฑ์และสร้างหน้าที่ให้เอกชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียปลูกต้นไม้ทดแทน คำบอกกล่าวให้เอกชนปลูกต้นไม้ทดแทนหรือ TRNs ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอังกฤษต้องระบุสาระสำคัญ ได้แก่ หน้าที่ของเอกชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ที่จะต้องกระทำตามคำบอกกล่าวให้เอกชนปลูกต้นไม้ทดแทน (Duty to Plant) เพื่อทดแทนต้นไม้ในพื้นที่ชุมชนเมืองที่ถูกทำลายหรือทำให้เสียหาย การกำหนดพื้นที่เพื่อให้เอกชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ สามารถปลูกต้นไม้ทดแทนในบริเวณที่ท้องถิ่นได้กำหนดเอาไว้ (Address of Land) เพื่อให้เอกชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ได้ทราบพื้นที่ในการปฏิบัติตามคำบอกกล่าวของท้องถิ่นดังกล่าว เหตุผลที่เอกชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ต้องปฏิบัติตามคำบอกกล่าวของท้องถิ่น (Reasons for Serving Notice) เงื่อนไขที่ท้องถิ่นได้กำหนดให้เอกชนปฏิบัติ (Requirement) เงื่อนเวลาที่ท้องถิ่นกำหนดให้เอกชนปฏิบัติภายในระยะเวลาที่กำหนด (Date) คำชี้แจงเกี่ยวกับสิทธิในการอุทธรณ์คำบอกกล่าวให้เอกชนปลูกต้นไม้ทดแทนดังกล่าว (Right to Appeal) คำชี้แจงกรณีที่เอกชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ไม่สามารถกระทำตามคำบอกกล่าวให้เอกชนปลูกต้นไม้ทดแทน (Failure to Comply) ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของอังกฤษอาจเข้ามาดำเนินการปลูกต้นไม้ทดแทนเองและเรียกเก็บค่าใช้จ่ายอื่นๆ จากเอกชนในภายหลัง และคำแนะนำอื่นๆ (Advice) ที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับคำบอกกล่าวให้เอกชนปลูกต้นไม้ทดแทนดังกล่าว อนึ่ง การใช้อำนาจท้องถิ่นในการทำคำบอกกล่าวให้เอกชนปลูกต้นไม้ทดแทนหรือ TRNs ย่อมส่งผลดีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพื้นที่รุกขกรรมในชุมชนเมือง เพราะการใช้อำนาจของท้องถิ่นเช่นนี้ย่อมส่งผลให้เกิดการอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวที่ประกอบด้วยต้นไม้ใหญ่ในชุมชนเมืองสามารถดำรงอยู่ได้โดยการปลูกต้นไม้ทดแทนและเพิ่มภูมิทัศน์ที่ดีสำหรับประชาชนที่อยู่อาศัยในชุมชนเมือง ดังนั้น แม้การขยายตัวของชุมชนเมืองและการใช้ประโยชน์ในที่ดินที่เอกชนมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครองครอบจะส่งผลให้ต้นไม้ขนาดใหญ่ในชุมชนเมืองได้ถูกตัด โค่น ถอน ทำลายหรือทำให้เสียหายจากกรณีอื่นๆ แต่การกำหนดอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถออกคำบอกกล่าวให้เอกชนปลูกต้นไม้ทดแทนหรือ TRNs ของประเทศอังกฤษ ย่อมถือเป็นมาตรการทางกฎหมายผังเมืองที่ดีอย่างหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้ธำรงคุณค่าต่างๆ อันเนื่องมาจากการมีอยู่ของต้นไม้ขนาดใหญ่ในชุมชนเมือง เช่น การบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อม การเพิ่มพื้นที่ร่มเงาในชุมชนเมือง การสร้างพื้นที่ไว้ประกอบกิจกรรมกีฬาและนันทนาการ เป็นต้น
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ไต่สวน 6 ศพวัดปทุมฯ พยานชี้ชุดพรางพยายามฆ่ายิงลงมาจากรางรถไฟ Posted: 07 Sep 2012 09:23 AM PDT ประจักษ์พยานยัน ผู้ชุมนุมที่มารวมกันอยู่บริเวณวัด ไม่มีใครมีอาวุธหรือต่อสู้ เชื่อชายชุดพรางที่ยิงลงมาจากรางรถไฟฟ้าเป็นเจ้าหน้าที่ และเป็นการพยายามฆ่า ข่าวสดรายวัน รายงานว่า เมื่อวันที่ 6 ก.ย. 55 ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลไต่สวนคำร้องชันสูตรการเสียชีวิต ในคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4 ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนชันสูตรการเสียชีวิตของ นายสุวัน ศรีรักษา อายุ 30 ปี อาชีพเกษตรกร ผู้เสียชีวิตที่ 1, นายอัฐชัย ชุมจันทร์ อายุ 28 ปี บัณฑิตคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ผู้เสียชีวิตที่ 2, นายมงคล เข็มทอง อายุ 36 ปี เจ้าหน้าที่อาสามูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ผู้เสียชีวิตที่ 3, นายรพ สุขสถิต อายุ 66 ปี อาชีพพนักงานขับรถรับจ้างในสนามบิน ผู้เสียชีวิตที่ 4, น.ส.กมนเกด ฮัคอาด อายุ 25 ปี อาชีพพยาบาลอาสา ผู้เสียชีวิตที่ 5, และนายอัครเดช ขันแก้ว อาชีพรับจ้าง ผู้เสียชีวิตที่ 6 โดยทั้ง 6 ศพ ถูกยิงเสียชีวิตภายในวัดปทุมวนาราม เมื่อวันที่ 19 พ.ค.2553 ในเหตุการณ์สลายม็อบเสื้อแดง สมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยพนักงานอัยการนำประจักษ์พยานเข้าเบิกความรวม 2 ปาก คือ นายเพิ่มสุข ใจเย็น เบิกความสรุปว่า เข้าร่วมการชุมนุมกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ในเดือนพ.ค.2553 ที่แยกราชประสงค์ โดยพักอยู่ที่เต็นท์หน้าโรงแรมโฟร์ซีซั่นส์ ในวันที่ 19 พ.ค.2553 ได้ยินเสียงปืนดังมาจากทางสวนลุมพินี ขณะที่แกนนำประกาศยุติการชุมนุม แล้วบอกให้ทุกคนกลับบ้าน โดยใช้เส้นทางแยกเฉลิมเผ่าไปยังสนามกีฬาแห่งชาติ หรือให้ไปหลบภายในวัดปทุมฯ เพราะเป็นเขตอภัยทาน นายเพิ่มสุขเบิกความว่า หลังจากนั้นจึงขับรถมาจอดไว้บริเวณทางเข้าวัดปทุมฯ ตอนนั้นมีมวลชนจำนวนมากเข้ามาหลบในวัด ส่วนตนและมวลชนบางส่วนยืนอยู่หน้าวัด กระทั่งเห็นนายอัฐชัยผู้เสียชีวิตที่ 2 ยืนอยู่บริเวณตอม่อรถไฟฟ้าเตรียมจะวิ่งเข้ามาภายในวัด แต่ขณะนั้นมีเสียงปืนดังขึ้น วิถีกระสุนมาจากที่สูง แต่ไม่เห็นตัวคนยิง จึงตะโกนบอกนายอัฐชัยว่าอย่าเพิ่งวิ่งข้ามมา ไม่นานก็เห็นนายอัฐชัยถูกยิงเข้าที่หน้าอกล้มลง ก่อนจะมีคนเข้าไปช่วยเหลือนำเข้ามาในวัด ขณะนั้นนายอัฐชัยยังไม่เสียชีวิต พยาบาลอาสาปั๊มหัวใจ แต่ก็เสียชีวิตในเวลาต่อมา "ระหว่างนั้นเสียงปืนดังขึ้นต่อเนื่อง ผมหลบอยู่ข้างรถพร้อมกับคนอื่นๆ และได้ยินเสียงตะโกนสั่งว่าให้ออกมา ผมเชื่อว่าเป็นเสียงของเจ้าหน้าที่ เพราะมองขึ้นไปบนรางรถไฟฟ้าจะเห็นคนใส่ชุดลายพรางถือปืนเล็งลงมา ผมกลิ้งตัวหลบกระสุนแต่ก็ถูกยิงบริเวณก้น และโคนขา เช่นกัน จนถึงตอนนี้ผมยังเชื่อว่าการยิงลงมาเป็นการพยายามฆ่า เพราะผมก็ไม่ได้มีอาวุธหรือต่อสู้ ผู้ชุมนุมที่มารวมกันอยู่บริเวณวัด ไม่มีใครมีอาวุธ" พยานคดี 6 ศพวัดปทุมฯ เบิกความ ขณะที่นายจักรพงษ์ พนาสิริวรภัทร์ เบิกความสรุปว่า รู้จักกับนายอัฐชัย ผู้เสียชีวิตที่ 2 เพราะเรียนหนังสือด้วยกันที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง ร่วมชุมนุมมาตั้งแต่เดือนมี.ค.2553 มีหน้าที่เป็นการ์ดนปช. ดูแลบริเวณด้านข้างของเวทีชุมนุม แยกราชประสงค์ ในวันที่ 19 พ.ค.2553 ยังทำหน้าที่การ์ดตามปกติ ช่วงบ่ายเริ่มได้ยินเสียง ปืนมาจากทางสวนลุมฯ จากนั้นไม่นานแกนนำประกาศยุติการชุมนุม ตนกับนายอัฐชัย พร้อมด้วยเพื่อนอีกคน พากันเดินไปทางแยกมาบุญ ครองเพื่อจะกลับบ้าน แต่ได้ยินผู้ชุมนุมคนอื่นบอกว่าเจ้าหน้าที่ไม่ให้ผ่านออกไป จึงพากันกลับมาที่วัดปทุมฯ ขณะนั้นเสียงปืนดังมาจากแยกเฉลิมเผ่า และไม่เห็นว่าใครยิง นายจักรพงษ์เบิกความต่อว่า จากนั้นเวลา 17.00 น. มีคนบอกว่าให้ข้ามไปอยู่ฝั่ง ร.พ.ตำรวจ จะปลอดภัยกว่า พวกเราตัดสินใจจะข้ามไป ปรากฏว่ามีเสียงปืนดังขึ้น จึงหมอบลงกับพื้น ส่วนนายอัฐชัยวิ่งอยู่บนเกาะกลางถนนใต้รางรถไฟฟ้า จังหวะนั้นได้ยินเสียงคนตะโกนว่ามีคนถูกยิง เมื่อหันไปดูพบว่าเป็นนายอัฐชัย ก่อนมีคนช่วยเหลือนำเข้าไปในวัด จนกระทั่งนายอัฐชัยเสียชีวิต จึงโทรศัพท์แจ้งให้พี่สาวนายอัฐชัยทราบ แม้ไม่เห็นว่าใครเป็นคนยิง แต่ระหว่างที่วิ่งหลบกระสุนอยู่ เห็นคนแต่งกายชุดลายพรางอยู่ตรงแยกเฉลิมเผ่า และถึงแม้ว่าพวกเราจะเป็นการ์ดนปช. แต่ทุกคนไม่พกอาวุธ และไม่ได้ต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังการไต่สวนเสร็จสิ้น ศาลนัดอีกครั้งในวันที่ 27 ก.ย. เวลา 09.00 น. เพื่อหารือกับทนายและอัยการ เพื่อพิจารณาร่วมกันว่าจะนำพยานปากไหนเข้าเบิกความ เนื่องจากมีพยานเป็นจำนวนมาก หากพยานปากไหนที่ไม่สำคัญ ก็อาจจะตัดออกไป เพื่อให้การไต่สวนเป็นไปด้วยความรวดเร็ว
เรื่องที่เกี่ยวข้อง : ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ศาลปกครองสั่งยกเว้นค่าธรรมเนียมให้กะเหรี่ยงแก่งกระจาน Posted: 07 Sep 2012 08:28 AM PDT ศาลปกครองมีคำสั่งยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดให้แก่ชาวกะเหรี่ยงแก่งกระจานรวม ๖ คน นำโดยปู่โคอิ มีมิ วัย ๑๐๑ ปี ที่ยื่นฟ้องกรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช หลังจากไต่สวนแล้วพบว่า โจทก์มีฐานะลำบากยากจนจริง ไม่มีเงินมาวางเป็นค่าธรรมเนียมศาลได้ จากกรณีนายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร พร้อมกำลังเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานได้เข้ารื้อทำลาย เผาบ้านเรือนและทรัพย์สินของนายโคอิ มีมิ และชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงบริเวณตำบลห้วยแม่เพรียง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี กว่า ๒๐ ครอบครัว จนได้รับความเสียหายแก่สิทธิ เสรีภาพ ทรัพย์สิน โดยมีบ้านพักอาศัย และยุ้งฉาง ถูกจุดไฟเผาราว ๑๐๐ หลัง จนนำไปสู่การฟ้องศาลปกครองในวันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เพื่อเรียกค่าเสียหายกรณีได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน และขอสิทธิในการกลับไปอยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่บรรพบุรุษป่าแก่งกระจาน ล่าสุดผู้อำนวยการสำนักงานศาลปกครองกลางได้มีหนังสือถึงนายโคอิ มีมิ และทนายความจากสภาทนายความซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากผู้ฟ้องคดีทั้งหก ว่า ศาลได้มีคำสั่งให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดแก่ผู้ฟ้องคดีทั้งหก หลังจากได้มีการไต่สวนผู้ฟ้องคดีทั้งหกแล้วพบว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งหกเป็นชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงอาศัยทำกินอยู่ในพื้นที่แก่งกระจานจริงและมีฐานะยากจน ไม่สามารถหาเงินมาวางเป็นค่าธรรมเนียมศาลได้ ส่วนกรณีที่นายน่อแอะมีมิ ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงบุตรชายนายนายโคอิ มีมิ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติการดังกล่าวเช่นกัน ได้ยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ต่อศาลแพ่ง เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ขอให้ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน ๒.๖๒๒.๕๐๐ บาท โดยศาลได้รับคำฟ้องไว้พิจารณาแล้ว ทั้งมีคำสั่งยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล หลังจากไต่สวนแล้วพบว่า โจทก์มีฐานะยากจน ไม่สามารถนำเงินมาวางเป็นค่าธรรมเนียมศาลได้ และมีกำหนดนัดไกล่เกลี่ยในวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๕ เวลา ๐๙.๐๐ น. ด้านการช่วยเหลือเยียวยาชาวบ้านแก่งกระจาน ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล ประธานกรรมการสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ นำมูลนิธิปิดทองหลังพระและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าช่วยเหลือจัดสรรน้ำและแหล่งน้ำในการทำกินให้แก่ชาวบ้านโป่งลึกบางกลอย อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ให้ชาวบ้านสามารถใช้วิถีชีวิตพึ่งพาตนเองอย่างเพียงพอและยั่งยืน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
กลุ่มสิทธิสตรีในอินเดียร้องปลดผู้พิพากษากล่าว 'เหยียดเพศ' Posted: 07 Sep 2012 07:21 AM PDT กลุ่มนักกิจกรรมสตรีในกรณาฎกะของรัฐอินเดีย เรียกร้องให้มีการปลดผู้พิพากษาที่กล่าวว่า การที่สามีทุบตีภรรยาเป็นเรื่องยอมรับได้หากสามีสามารถดูแลภรรยาของตน ความรุนแรงต่อสตรีในอินเดีย (ที่มาภาพ: BBC) 6 ก.ย. 2012 - สำนักข่าว BBC รายงานว่านักกิจกรรมด้านสิทธิสตรีในรัฐกรณาฎกะ ประเทศอินเดียเรียกร้องให้มีมาตรการตอบโต้ศาลสูงที่กล่าววาจา 'เหยียดเพศ' ผู้พิพากษา เค ภัคตาวัดศาลา ได้กล่าวศาลเมื่อไม่นานมานี้ โดยบอกว่ามันเป้นเรื่องยอมรับได้ในการที่ผู้ชายจะทุบตีภรรยาของตน ตราบใดที่ฝ่ายชายยังสามารถดูแลภรรยาได้ นักกิจกรรมได้ยื่นร้องเรียนไปยังผู้พิพากษาสูงสุดของรัฐ และดำเนินการรณรงค์ทางอินเตอร์เน็ต ผู้พิพากษา ภัคตาวัดศาลา กล่าวว่าคำพูดของเขาคือการกล่าวตามบริบท เขาบอกว่าเขาสนับสนุนการประนีประนอมกันของคู่แต่งงานที่ล้มเหลว และไม่เคยปกป้องการทุบตีทำร้ายสตรี มีการกระทำรุนแรงต่อสตรีแพร่หลายในอินเดีย จากสถิติของรัฐบาล มีสตรีอย่างน้อยร้อยละ 37 ที่ถูกข่มเหงทางร่างกายจากสามีด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง นักกิจกรรมสตรีและนักกฏหมายกล่าวว่า ผู้พิพากษาภัคตาวัดศาลา ให้คำแนะนำต่อสตรีในคดีความของตนโดยขอให้เธอปรับตัวเข้ากับสามีเธอเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของลูกๆ "เขาควรถูกปลดออกจากตำแหน่ง เรารับไม่ได้กับการที่เขาได้เป็นผู้พิพากษาต่อไป" ดอนน่า เฟอร์นานเดส กล่าว เธอมาจากกลุ่มกลุ่มสิทธิสตรี 'วิโมชันนา' "เขากำลังพยายามปกป้องความรุนแรงในครอบครัวอยู่หรือ? เขาต้องการสื่ออะไรในคำกล่าวของเขา? พวกเรากำลังมีแผนการเคลื่อนไหวของประชาชนเพื่อให้เขาออกจากตำแหน่ง" ดอนน่ากล่าว ปรามีลลา เนซาร์กี ทนายอาวุโสของศาลสูงและอดีตส.ส.ของรัฐกรณาฎกะกล่าวว่า เธออยู่ในศาลเมื่อผู้พิพากษา "พูดแสดงความเห็นอย่างไม่รู้ร้อนรู้หนาว" "ผู้พิพากษาสูงสุดควรสั่งย้ายเขา หรือสั่งห้ามไม่ให้เขาเข้ารับฟังการพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับสตรี" ปรามีลลากล่าว นักกิจกรรมสตรีเปิดเผยอีกว่า ในอดีตผู้พิพากษา ภัคตาวัดศาลาก็เคยพูดแสดงความเห็นในเชิงต่อต้านผู้หญิงมาก่อน ที่มา: Indian judge's 'sexist' remarks upset women's groups, BBC, 06-09-2012 http://www.bbc.co.uk/news/world-asia-india-19498937 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ท้วง! รับฟังความเห็นขยายโครงการเหมืองแร่ทองคำ ของ กพร. ขัดเจตนารมณ์ รธน. Posted: 07 Sep 2012 04:54 AM PDT องค์กรพัฒนาเอกชนด้านส่งแวดล้อม ชี้การรับฟังความคิดเห็นโดยคณะกรรมการรับฟังฯ ของ กพร.จัดเวที 9 ก.ย.นี้ ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ รัฐธรรมนูญ 50 มาตรา 67 เปิดโอกาสให้ประชาชนพิจารณาข้อมูลน้อย 6 ก.ย.55 สมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เครือข่ายสิ่งแวดล้อมไทย มูลนิธินโยบายสุขภาวะ โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม และสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ออกใบแถลงข่าว การรับฟังความคิดเห็นโดย คณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย ของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ในวันที่ 9 ก.ย.55 ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 67 จากการที่ คณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นฯ ของ กพร.จะจัดรับฟังความคิดเห็น โครงการขยายโรงประกอบโลหกรรมแร่ทองคำของบริษัท อัคราไมนิ่ง จำกัด ซึ่งเป็นโครงการที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ในวันอาทิตย์ที่ 9 ก.ย.55 ก่อนที่องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (กอสส.) จะให้ความเห็นประกอบภายในวันที่ 20 ก.ย.2555 เอกสารดังกล่าวระบุว่า การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่จะจัดขึ้น จึงตัดโอกาสที่จะรับฟังความคิดเห็นขององค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในเวทีดังกล่าว ยิ่งไปกว่านั้น ประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก็ไม่มีโอกาสที่จะได้ทำความเข้าใจและพิจารณารายงานความเห็นประกอบขององค์การอิสระฯ ก่อนการให้ความคิดเห็นในเวทีดังกล่าว ดังนั้น จึงไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 67 ที่รับรองสิทธิของชุมชนในการมีส่วนร่วมจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม รวมทั้งไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ในการส่งเสริมกระบวนการพิจารณาและตัดสินใจโครงการที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชนรุนแรง ให้มีความครบถ้วนและรอบด้าน ก่อนที่หน่วยงานอนุมัติ/อนุญาต จะตัดสินใจตามอำนาจของตน เอกสารแถลงข่าวระบุด้วยว่า ถึงแม้ว่า คณะกรรมการรับฟังฯ ของ กพร. จะเปิดรับฟังอีก 15 วันหลังจากจัดเวทีไปแล้ว แต่การจัดเวที ซึ่งเป็นกระบวนการสาธารณะที่สำคัญก็ได้จบไปแล้ว รวมทั้งประชาชนก็จะมีเวลาเพียง 4 วันในช่วงวันที่ 21-24 ก.ย.55 ที่จะต้องพิจารณาความเห็นขององค์การอิสระฯ และส่งความคิดเห็นเป็นลายลักษณ์อักษรให้ทันก่อนที่จะปิดรับฟังความคิดเห็น ดังนั้น ทางคณะกรรมการรับฟังฯ ของ กพร. ควรเลื่อนการรับฟังความคิดเห็นออกไป โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนได้พิจารณาความเห็นประกอบขององค์การอิสระฯ ก่อนอย่างน้อย 15-30 วัน แล้วจึงจัดรับฟังความคิดเห็น น่าจะเหมาะสมและสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 67 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ทีวีดาวเทียม แย้งร่างประกาศ “กสท.” 4 ฉบับ เสนอร่างฯ กิจการดาวเทียมเพิ่ม Posted: 07 Sep 2012 03:05 AM PDT สมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม (ประเทศไทย)ยื่นหนังสือ กสทช.ร้องแก้ไขเพิ่มเติม ร่างประกาศ กสทช. 4 ฉบับ พร้อมเสน “ร่างหลักเกณฑ์ วิธีการอนุญาต และการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ดาวเทียมฯ” อีกหนึ่งฉบับ เมื่อวันที่ 6 ก.ย.55 เวลา 10.30 น.ดร.นิพนธ์ นาคสมภพนายกสมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม (ประเทศไทย) พร้อมคณะเข้ายื่นหนังสือแก่ สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อขอให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ทุกฉบับ หนังสือดังกล่าวอ้างถึง ร่างประกาศ กสทช. เกี่ยวกับการอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ 4ฉบับ คือ 1.หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตการให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ 2.หลักเกณฑ์ วิธีการอนุญาต และการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ 3.หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตการให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ 4.หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ผลิต นำเข้า จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่าย หรือรับติดตั้งเครื่องรับ เครื่องมือหรืออุปกรณ์สำหรับใช้รับหรือแปลงสัญญาณในการรับรายการของกิจการกระจายเสียง หรือกิจการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก เรียกร้องให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมประเด็นที่เห็นว่าประกาศน่าจะขัดกับ พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 และกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550เฉพาะประเด็นที่ได้ตรวจพบแล้วขณะยื่นหนังสือดังนี้ 1.ขอให้มีการเพิ่มข้อความในประกาศทุกฉบับที่เกี่ยวข้องกับกิจการโทรทัศน์ดาวเทียมว่า “กิจการโทรทัศน์ดาวเทียม” คือ กิจการโทรทัศน์ซึ่งนอกเหนือไปจากกิจการโทรทัศน์ที่ใช้คลื่นความถี่ ซึ่งต้องขออนุญาต หรือกิจการโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ที่มีการบอกรับสมาชิก 2.การกำหนดเวลาการโฆษณาที่ใช้กับโทรทัศน์ที่ใช้คลื่นความถี่และไม่ใช้คลื่นความถี่ประเภทบอกรับสมาชิก ไม่ให้นำมาใช้กับกิจการโทรทัศน์ดาวเทียม 3.การเก็บเงินเข้ากองทุน ถือเป็นการสร้างภาระให้กับผู้บริโภค และเป็นการกีดกันการเข้าถึงสื่อทางเลือก ขัดขวางการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม จึงควรแก้ไขให้เรียกเก็บตามประเภทของใบอนุญาต ขนาดของธุรกิจและการคำนึงถึงผลกำไร ขาดทุนด้วย 4.คำสั่งไม่อนุญาตให้ออกใบอนุญาต หรือไม่อนุญาตให้นำเข้าอุปกรณ์สื่อสาร หรือเครื่องรับสัญญาณ ถือว่าถึงที่สุดหรือไม่ จะอุทธรณ์คำสั่งไปยังหน่วยงานใด หรือคณะกรรมการคณะใด หรือให้ไปใช้สิทธิทางศาลโดยตรง ซึ่งในประกาศต้องระบุไว้ให้ชัดเจนเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาโต้แย้งในภายหลัง 5.ค่าธรรมเนียมตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการอนุญาตให้ผลิต นำเข้า จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่าย หรือรับติดตั้งเครื่องรับ เครื่องมือ หรืออุปกรณ์สำหรับใช้รับ หรือแปลงสัญญาณในการรับรายการของกิจการกระจายเสียง หรือ กิจการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก ตามข้อ 13 (1) เป็นการซ้ำซ้อนหรือไม่ เพราะเครื่องรับ หรืออุปกรณ์ถูกเก็บภาษีนำเข้าจากศุลกากร, เสียภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีผู้ประกอบการ เป็นการเพิ่มภาระแก่ผู้ประกอบการ ผู้บริโภค จึงควรต้องลดลงเพื่อสร้างความเป็นธรรมเพราะโทรศัพท์เคลื่อนที่เสียค่าธรรมเนียมต่ำกว่า 6.ข้อจำกัดของวิทยุหรือโทรทัศน์ชุมชนนั้น จะนำมาบังคับกับวิทยุหรือโทรทัศน์ที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อการศาสนาไม่ได้ เพราะสังคมหรือชุมชนทางศาสนามีพื้นที่กว้างขวางมากกว่าชุมชนหรือท้องถิ่นในทางการปกครอง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ รวมถึง กสทช.ต้องจัดสรรงบประมาณสนับสนุนด้านงบประมาณให้กับ วิทยุและโทรทัศน์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการศาสนาด้วย 7.เพื่อให้มีหลักเกณฑ์ วิธีการอนุญาต และการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ดาวเทียมที่ไม่ใช้คลื่นความถี่แบบไม่บอกรับสมาชิก จึงเห็นควรเสนอการยกร่างประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการอนุญาต และการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ดาวเทียมที่ไม่ใช้คลื่นความถี่แบบไม่บอกรับสมาชิก อีกหนึ่งฉบับ นอกจากนั้น หนังสือดังกล่าวเสนอให้นำร่างหลักเกณฑ์ วิธีการอนุญาต และการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์มาเป็นแม่แบบในการยกร่างหลักเกณฑ์ วิธีการอนุญาต และการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ดาวเทียมที่ไม่ใช้คลื่นความถี่แบบไม่บอกรับสมาชิก พร้อมเสนอรายละเดียดที่จะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ หนังสือของสมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม (ประเทศไทย)มีรายละเอียด ดังนี้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ประชาธิปไตยของนักฟังเพลง?: เหตุที่ยุคอินเทอร์เน็ตไม่ต้องการ “นักวิจารณ์” Posted: 07 Sep 2012 02:41 AM PDT ไม่นานมานี้ผู้เขียนมีโอกาสได้ติดตามการโต้เถียงในพื้นที่ออนไลน์ต่างๆเกี่ยวกับการเสนอความคิดในทางลบมากๆของนักวิจารณ์ดนตรีชาวไทยที่เคยยิ่งใหญ่มากในอดีตคนหนึ่งเกี่ยวกับบทเพลงต่างประเทศยอดนิยมร่วมสมัยที่กำลังฮิตเปรี้ยงปร้างอยู่เพลงหนึ่ง ความเห็นที่ออกมามีหลายประเภทมากจนผู้เขียนอยากจะลองจัดประเภทของความเห็นดู (แต่คงไม่อาจทำในที่นี้) อย่างไรก็ดีความเห็นที่ผู้เขียนพบว่าน่าสนใจที่สุดก็คือความเห็นในทำนองว่า นักวิจารณ์เป็น “เผด็จการทางรสนิยม” หรือ “นักวิจารณ์ไม่มีสิทธิ์ตัดสินรสนิยมการฟังเพลงของผู้อื่น” เรื่องเหล่านี้เป็นปรากฎการณ์ร่วมสมัยที่น่าสนใจมากจนผู้เขียนเห็นว่าน่าจะลองคิดๆ เขียนๆ เกี่ยวกับมันดู หลายๆ คนอาจไม่รู้สึกว่าเรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่แปลกประหลาดอะไร แต่ในสายตาของผู้เขียน นี่เป็นความตกต่ำอย่างถึงที่สุดของนักวิจารณ์ดนตรีสมัยนิยมทั้งหลายแหล่ไม่ว่าจะแนวไหนๆ ยุคนี้น่าจะเป็นเป็นยุคที่ความเห็นของคนที่ได้ชื่อว่าเป็น “นักวิจารณ์ดนตรี” มีราคาต่ำที่สุดอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนในสายตาของคนในสังคมไทยในวงกว้าง (อย่างน้อยก็เท่าที่ความรู้อันจำกัดจำเขี่ยของผู้เขียนมี) และนี่ก็ไม่ใช่สิ่งที่เกิดจากความห่วยแตกของนักวิจารณ์บางคนหรือนักวิจารณ์เป็นหมู่คณะที่จะทำให้ชื่อของนักวิจารณ์เสื่อมเสียไปจนไม่มีใครอยากรับฟัง หากแต่เกิดจากผลของการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างการบริโภคศิลปวัฒนธรรมที่ส่งผลให้สังคมในยุคอินเทอร์เน็ตในภาพรวมไม่ต้องการนักวิจารณ์ในแบบดั้งเดิมอีกต่อไป ซึ่งนี่จะเป็นประเด็นที่บทความชิ้นนี้ต้องการอภิปราย ความเป็น “นักวิจารณ์ดนตรี” ในยุคที่สังคมยังต้องการนักวิจารณ์ในยุคก่อนที่จะมี MTV หรือกระทั่งอินเทอร์เน็ต สื่อที่ทางอิทธิพลกับการซื้องานดนตรีผู้ฟังมากที่สุดก็คือวิทยุและนิตยสารดนตรี และผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการแนะนำดนตรีใหม่ๆ และประเมินคุณค่าทางดนตรีให้กับผู้คนในสังคมก็คือนักวิจารณ์ในนิตยสารดนตรีนี่เอง (คนอีกกลุ่มที่มีบทบาทก็คือ DJ ของสถานีวิทยุ ซึ่งผู้เขียนก็พบว่ามีความเปลี่ยนแปลงของบทบาทไปมากเช่นกัน แต่นั่นก็ดูจะเป็นประเด็นใหญ่ที่ต่างออกไปเกิดกว่าที่จะนำมาอภิปรายร่วมในที่นี้) ทำไมสังคมในยุคก่อนถึงต้องการนักวิจารณ์? คำตอบแบบบ้านๆ คือ “แผ่นมันแพง” “เทปมันแพง” ผู้ฟังทั่วไปไม่สามารถจะซื้อหามาครอบครองได้มั้งหมด ต้องมีคนบางกลุ่มในสังคมที่จะคอยช่วยบอกว่างานดนตรีชิ้นไหน “ดี” สมควรจะซื้อหามาฟัง งานดนตรีชิ้นไหนเป็น “ขยะ” ไม่ควรค่าแก่การฟัง และผู้ชี้นำในแบบนี้มีความสำคัญอย่างเป็นพิเศษที่จะชี้นำการบริโภคดนตรีแนวดนตรีที่ไม่สามารถหาฟังได้ง่ายๆ จากทางวิทยุ (ไม่ต้องพูดถึงโทรทัศน์) อย่างบทเพลงต่างประเทศต่างๆ ซึ่งการได้มาซึ่งงานดนตรีเหล่านี้จาก “แผงเทป” อาจต้องดั้นด้นและเฟ้นหางานดนตรีจากร้านบางร้านที่มีงานดนตรีหลากหลายเป็นพิเศษ หรือกระทั่งต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ ณ ที่นี้เราจะเห็นว่านักวิจารณ์ต้องมีคุณสมบัติที่จำเป็นอย่างต่ำ 2 ประการ
จะสังเกตได้ว่านักวิจารณ์จำเป็นต้องมีความสามารถในการตัดสินให้ได้ว่างานดนตรีชิ้นไหนดีหรือเลวอยู่แล้วเพราะนี่เป็นหน้าที่ของนักวิจารณ์ที่ทำให้นักวิจารณ์ยังมีความจำเป็นอยู่ อย่างน้อยที่สุดแล้วนักวิจารณ์ต้องสามารถตัดสินได้ว่าดนตรีในแนวทางเดียวกันชิ้นไหนเป็นงานที่ดีและเลว จะบอกว่า ‘งานทุกชิ้นมีความดีงามของมันอยู่หมด งานแต่ละชิ้นเทียบกันไม่ได้ จะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับ “รสนิยม” ’ นั้นล้วนไม่ใช่สิ่งที่นักวิจารณ์ทำได้หรือสมควรจะทำ อย่างน้อยๆ ระบบการ “ให้ดาว” ของนิตยสารดนตรีมันก็บีบให้นักวิจารณ์นำงานดนตรีที่มีความต่างกันเชิงคุณภาพมาอยู่ในระนาบของความแตกต่างเชิงปริมาณเดียวกันโดยอัตโนมัติในการ “ให้ดาว” อยู่แล้ว การตัดสินความดีงามของดนตรีจึงเป็นเรื่องของ “หน้าที่” ของนักวิจารณ์ ดังนั้นหากจะบอกว่าการกระทำเช่นนี้เป็น “เผด็จการทางรสนิยม” มันก็คงจะเป็นการกระทำเยี่ยงเผด็จการไปตามหน้าที่ จริงๆ บทบาทที่ว่าของ “นักวิจารณ์ดนตรี” นั้นปรากฏไปในทุกอาณาบริเวณของโลกสมัยใหม่ที่คนสามารถเลือกได้อย่างจำกัด กล่าวคือ “นักวิจารณ์” สิ่งอื่นๆ ก็มีบทบาทแบบนักวิจารณ์ดนตรีในพื้นที่ของตนเอง นักวิจารณ์ภาพยนตร์ก็ทำหน้าที่แบบเดียวกันในการช่วยให้คนเลือกดูภาพยนตร์ที่ดีคุ้มค่าเงิน นักวิจารณ์เกมก็ทำหน้าที่แบบเดียวกันในการช่วงให้คนเลือกซื้อเกมที่ดีคุ้มค่าเงิน หรือกระทั่งนักวิจารณ์การเมืองก็ช่วยให้คนเลือกนักการเมือง พรรคการเมือง หรือกระทั่งระบบการเมืองที่ดีที่สุดที่คุ้มค่ากับการใช้สิทธิไปจนถึงการลงทุนลงแรงของตน [1] อย่างไรก็ดี สิ่งที่น่าสนใจเป็นพิเศษจารีตของการวิจารณ์ดนตรีสมัยนิยมก็คือ มันเป็นจารีตการวิจารณ์ที่อนุญาตให้ใช้อคติในการประเมินคุณค่าที่สุดโดยไม่ต้องมีหลักการหรือเหตุผลที่เป็นระบบใดๆ รองรับทั้งสิ้น หากลองเปรียบเทียบดู เราจะพบว่าหลักการหรือทฤษฎี (ไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีดนตรีหรือทฤษฎีสังคม) เป็นสิ่งที่ปรากฏน้อยมากในการวิจารณ์ดนตรีสมัยนิยมไม่ว่าจะเป็นคำวิจารณ์ของนักวิจารณ์จากฝั่งใดของโลก ถ้าลองเปรียบเทียบกับโลกของการวิจารณ์ภาพยนตร์ที่จัดว่าเป็นศิลปวัฒนธรรมของมวลชนในวงกว้างในระดับเดียวกันแล้ว เราก็แทบจะพบความแตกต่างแบบคนละโลกเลย เพราะถึงแม้บทวิจารณ์ภาพยนตร์แบบที่ไม่มีหลักการและทฤษฎีจะมีปรากฏอยู่มากมาย แต่การวิจารณ์ภาพยนตร์โดยใช้ทฤษฎีสารพัดจากทั่วทุกหัวระแหงไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีภาพยนตร์ไปจนถึงทฤษฎีสังคมก็ปรากฏอยู่ดาษดื่นเช่นกัน และนี่ก็คงจะไม่ต้องไปเทียบกับโลกทางการวิจารณ์ของงานทางทัศนศิลป์ งานวรรณกรรม หรือกระทั่งงานดนตรีคลาสสิคที่การวิจารณ์ส่วนใหญ่ดูจะเป็นการวิจารณ์ผ่านหลักการที่แน่นหนาทั้งสิ้น และการวิจารณ์แบบบ้านๆ ไม่มีหลักการหรือทฤษฎีรองรับเป็นสิ่งที่แทบไม่ปรากฏหรือปรากฎน้อย เพราะนี่เป็นสิ่งที่ดูยากจะยอมรับได้ในแวดวงเหล่านั้น [2] ในทางกลับกัน ก็ไม่มีใครจะคาดหวังการให้เหตุผลและทฤษฎีที่แน่นหนาในบทวิจารณ์นักวิจารณ์ดนตรีสมัยนิยม ผู้อ่านคาดหวังบทวิจารณ์ที่มีลักษณะก่นด่าหรือไม่ก็สรรเสริญพร้อมการ “ให้ดาว” หรือการให้คะแนนงานดนตรีว่าได้เท่าไรจากคะแนนเต็ม (ปกติมักจะเต็ม 5) จากผู้ที่มีความจำนาญการในแนวทางดนตรีนั้นๆ ผู้เชี่ยวชาญอาจมีความสามารถในการให้เหตุผลทางทฤษฎีดนตรีหรือทฤษฎีสังคมว่าทำไมงานดนตรีชิ้นนั้นๆ ถึงดีงามหรือต่ำทราม แต่นั่นก็ไม่ใช่สิ่งที่ผู้อ่านทั่วไปต้องการจะอ่าน ซึ่งการที่กลุ่มผู้อ่านนิตยสารดนตรียังเป็น “ตลาด” ของบทวิจารณ์นั้นไม่ต้องการการใช้เหตุผลในบทวิจารณ์ ก็น่าจะทำให้นักวิจารณ์เหล่านั้นก็มักจะหลีกเลี่ยงในการให้เหตุผลจนเคยชิน (ซึ่งผลข้างเคียงที่จะตามมาคือสมรรถภาพในการให้เหตุผลรองรับการตัดสินของตัวเองอาจขึ้นสนิม) ถ้านักวิจารณ์ดนตรีไม่จำเป็นต้องมีเหตุผลหรือคำอธิบาย แล้วอะไรเป็นตัวตัดสินคุณภาพของงานวิจารณ์หนึ่งๆ? คำตอบเบื้องต้นก็คือสเน่ห์มนตรา (charisma) ของนักวิจารณ์คนนั้นๆ ที่จะสามารถเก็บสะสมได้จากประสบการณ์ฟังเพลงและลีลาการใช้ภาษา กล่าวคือยิ่งฟังเพลงเยอะก็ยิ่งดูเป็นนักวิจารณ์ที่ดีได้ การ “โปรยชื่อ” (name dropping) ในบทวิจารณ์เป็นสิ่งที่ผู้อ่านคาดหวังเพราะมันเป็นการบ่งชี้ภูมิหลังการฟังเพลงของนักวิจารณ์ว่ามีมากพอจะตัดสินงานนั้นๆ หรือไม่ และกระบวนการพิสูจน์ความรู้ของตัวนักวิจารณ์ซึ่งนำมาสู่การยอมรับบทวิจารณ์ที่ไม่มีเหตุผลประกอบของนักวิจารณ์ดนตรีก็มีลักษณะดังนี้เอง เมื่ออินเทอร์เน็ตทำให้ทุกคนเป็นนักวิจารณ์ณ ปัจจุบันในปี 2012 เราคงไม่ต้องถกเถียงกันมากมายอีกแล้วว่าในช่วงทศวรรษแรกหลังปี 2000 โลกทางดนตรีของมนุษย์เปลี่ยนไปอย่างมหาศาล มนุษย์ลดการบริโภคงานดนตรีที่จับต้องได้ลงอย่างมหาศาล และก็เปลี่ยนรูปแบบและโครงสร้างการบริโภคและการผลิตดนตรีสารพัด เรื่องเหล่านี้คงจะต้องคุยกันยาวถึงจะเหมาะสม หากแต่ในที่นี้ผู้เขียนจะเน้นการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลโดยตรงกับบทบาทของนักวิจารณ์ดนตรีในสังคมยุคปัจจุบัน ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดก็คือการขยายตัวของอินเทอร์เน็ตทำให้ทุกๆ คนสามารถมีคุณสมบัติแบบเดียวกับที่นักวิจารณ์ดนตรีในยุคก่อนมี หากเขาต้องการ มันทำให้คนที่ต้องการจะมีประสบการณ์ฟังบทเพลงจำนวนมากสามารถมีประสบการณ์ฟังเพลงจำนวนมากได้ในต้นทุนที่ต่ำกว่าสมัยก่อนมากทั้งต้นทุนด้านตัวเงินและเวลาการค้นหาบทเพลง นักฟังเพลงยุคปัจจุบันมีทางเลือกจำนวนมากทั้งที่ถูกต้องตามกฏหมายและไม่ใคร่จะถูกกฎหมายนักในการสืบค้นหาบทเพลงทั้งเก่าและใหม่มาฟังจากอินเทอร์เน็ต บทเพลงจำนวนมากอยู่เพียงแค่ปลายนิ้วของผู้ที่มีคอมพิวเตอร์ติดอินเทอร์เน็ตไม่ว่าจะเป็นจากบรรดาเว็บสตรีมเพลงถูกกฎหมายต่างๆ จากเว็บวีดีโอชื่อก้องอย่าง YouTube หรือจากเว็บบิตทอร์เรนต์ผู้ยิ่งใหญ่ที่ยืนหยัดสู้กับอำนาจรัฐนานาชาติอย่าง Pirate Bay ผลที่เกิดขึ้นก็คือ มีนักฟังเพลงที่มีประสบการณ์การฟังเพลงในระดับเดียวกับนักวิจารณ์ในยุคก่อนมากมายด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าและเวลาที่รวดเร็วกว่า นักฟังเพลงยุคใหม่ได้เปรียบนักวิจารณ์ดนตรีในยุคก่อนเพียงไรในแง่ของการเข้าถึงงานดนตรี? หากลองคำนวณง่ายๆ สมัยก่อนราคาแผ่น CD นำเข้าราคาแผ่นละ 1000 บาท [3] นักวิจารณ์นำเข้าแผ่นพวกนี้เดือนละ 10 แผ่นมาฟังก็ต้องใช้ต้นทุนเดือนละ 10,000 ทุกเดือนในการสร้างเสริมประสบการณ์ตนเองซึ่งเงินปริมาณขนาดนี้ก็ไม่ใช่เงินน้อยๆ เลยในสมัยก่อน (และสำหรับหลายๆ คนในสมัยนี้ก็ยังไม่ใช่เงินน้อยๆ) ในขณะที่ ณ ตอนนี้การฟังเพลงต่างประเทศที่ไม่มี CD ขายอยู่ในไทย 10 อัลบั้มนั้นสามารถทำได้ง่ายๆ บนอินเทอร์เน็ตโดยไม่ต้องเสียเงินเลยแม้แต่นิด ไม่ว่าจะเป็นการฟังสตรีมตามเว็บสตรีมหรือการดาวน์โหลดมาเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองดังที่ได้กล่าวไปแล้ว นักฟังเพลงที่ขยันหน่อยก็น่าจะฟังเพลง 10 อัลบั้มได้ภายในเวลาวันสองวันได้อย่างไม่ยากเย็นนัก กล่าวคือสามารถคิดคร่าวๆ ได้ว่า สิ่งที่นักวิจารณ์ในสมัยสมัยก่อนทำได้โดยใช้งบ 10,000 บาทและเวลา 1 เดือนนั้น นักฟังเพลงสมัยนี้ทำได้ในเวลา 2 วันโดยไม่ใช้งบประมาณใดๆ เลย [4] ความแตกต่างของความเร็วในการสร้างเสริมประสบการณ์นี้ถ้าจะคิดคร่าวๆ เลยก็คือ นักฟังเพลงในยุคนี้เพิ่มประสบการณ์ได้เร็วเป็น 15 เท่าของนักวิจารณ์ดนตรีสมัยก่อน (2 วัน กับ 30 วัน) หรือถ้าคิดอีกแบบก็คือ นักฟังเพลงสมัยนี้ใช้เวลาเพียงแค่ 1 ปีก็จะสามารถมีประสบการณ์เทียบเท่าประสบการณ์ฟังเพลงของนักวิจารณ์สมัยก่อนที่ต้องใช้เวลาสั่งสมมา 15 ปี (อย่างน้อยที่สุดก็ในแง่ความหลากหลายของงานดนตรีที่เคยฟัง) ด้วยความรวดเร็วในการสะสมประสบการณ์นี้เอง นักฟังเพลงรุ่นใหม่จำนวนมากจึงมีประสบการณ์ฟังไม่น้อยกว่านักวิจารณ์รุ่นเก่าอย่างรวดเร็ว นี่เป็นเหตุผลเบื้องต้นที่ทำให้คนฟังเพลงรุ่นใหม่ๆ ไม่ให้ราคากับความเห็นของนักวิจารณ์รุ่นเก่า เหตุผลที่พ่วงกันมาแบบแยกไม่ออกก็คือ แนวทางการวิจารณ์ดนตรีของนักวิจารณ์รุ่นเก่าเป็นแนวทางที่ไม่ใช้หลักการ ทฤษฎีและเหตุผลที่หนักแน่นอยู่แล้วดังที่กล่าวมา ดังนั้นในแง่นี้ใครที่ฟังเพลงมากพอๆ กับนักวิจารณ์รุ่นเก่า ก็จะสามารถแสดงความเห็นให้อย่างชอบธรรมพอๆ กับนักวิจารณ์รุ่นเก่า เพราะทั้งหมดก็ล้วนเป็นการแสดงความเห็นที่ไม่มีอะไรรองรับนอกจาก “อคติ” หรือ “รสนิยม” ของตนทั้งสิ้น กล่าวคือนักวิจารณ์รุ่นเก่าได้สร้างมาตรฐานของบทวิจารณ์ไว้ “ต่ำ” เอง ในแง่ที่ใครๆ ที่ฟังเพลงมามากพอก็เขียนบทวิจารณ์ในแบบเดียวกันได้ เมื่อถึงยุคที่ทุกๆ คนก็ฟังเพลงไม่น้อยไปกว่านักวิจารณ์กันหมด ความเห็นของนักวิจารณ์ก็ไม่ใช่สิ่งวิเศษวิโสที่คนอื่นๆ จะเชื่อฟังอีกต่อไปในภาพรวม ความเสื่อมของนักวิจารณ์เป็นความเสื่อมเดียวกันกับความเสื่อมของนิตยสารดนตรีต่างประเทศในไทย ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าความยิ่งใหญ่ของนักวิจารณ์แต่ละคนในอดีตเกิดจากบทวิจารณ์ ซึ่งบทวิจารณ์เหล่านี้อยู่ในในนิตยสารดนตรีต่างประเทศแทบทั้งสิ้น ดังนั้นถ้าไม่มีนิตยสารดนตรีต่างประเทศ นักวิจารณ์ก็ไม่สามารถแสดงความยิ่งใหญ่และหาสาวกในแบบเดิมๆ ได้อีก ถ้าเรามองคร่าวๆ เราก็จะพอเห็นได้ว่านิตยสารดนตรีต่างประเทศในไทยค่อยๆ ล้มหายตายจากไปทีละฉบับไม่ว่าจะเป็น Quiet Storm, Generation Terrorist, Crossroads, Music Express, Metal Mag ฯลฯ ผู้เขียนคงไม่อยากอธิบายถึงการเกิดขึ้นและแตกดับของนิตยสารเหล่านี้เนื่องจากไม่มีข้อมูลเพียงพอ แต่ในที่นี้ผู้เขียนจะขอพูดถึง “หน้าที่” ของนิตยสารเหล่านี้ หน้าที่ของนิตยสารดนตรีต่างประเทศนั้นนอกจากจะเป็นพาหนะของบทวิจารณ์ที่ช่วยให้ผู้ฟังตัดสินใจซื้องานดนตรีได้ง่ายแล้ว มันยังเป็นพื้นที่ของข้อมูลข่าวสารโดยทั่วไปของอุตสาหกรรมดนตรีโลกด้วย อย่างไรก็ดีอินเทอร์เน็ตก็ทำให้หน้าที่ที่ว่านี้ล้าสมัยโดยสิ้นเชิง เพราะข่าวสารโดยตรงจากวงดนตรี ค่ายเพลง นิตยสารดนตรีต่างประเทศก็ย่อมรวดเร็วและเที่ยงตรงกว่าที่มันจะผ่านสื่อไทย นอกจากนี้พวกฐานข้อมูลดนตรีบนอินเทอร์เน็ตทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นเรื่องของประวัติวงดนตรีหรือรายชื่อผลงานของวงดนตรีก็ยังมีมากมายในอินเทอร์เน็ต (อย่างน้อยๆ หากนึกอะไรไม่ออกก็เข้า Wikipedia ไปดูประวัติคร่าวๆ ของวงดนตรีและรายชื่องานดนตรีที่วงดนตรีเคยออกมาก็จะได้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือในระดับหนึ่ง) การให้ข้อมูลเหล่านี้ของอินเทอร์เน็ตทำให้นิตยสารดนตรีต่างประเทศในในไทยเป็นสิ่งที่แทบไม่มีประโยชน์ใดๆ โดยสิ้นเชิง อย่างน้อยๆ ก็สำหรับผู้ที่มีความสามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้บนอินเทอร์เน็ตได้ ความสามารถการเข้าถึงแหล่งข้อมูลใหญ่ที่มีประสิทธิภาพแบบนี้ของคนทั่วไปทำให้ความเหนือกว่าทาง “ความรู้” ของนักวิจารณ์รุ่นเก่าได้รับการบ่อนทำลายลงไปอีก ลองคิดง่ายๆ ว่าช่วงก่อนอินเทอร์เน็ต การจะได้มาซึ่งความรู้ว่าวงดนตรีหนึ่งๆ ออกผลงานอะไรมาบ้าง ไปจนถึงความรู้ว่าวงดนตรีไหนกำลังได้รับความนิยมในต่างประเทศนั้นเป็นสิ่งที่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยในหมู่คนทั่วไปในโลกภาษาไทย นักวิจารณ์ดนตรีตามนิตยสารนี่เองเล่นบทบาทของนักข่าวทางดนตรีเป็นผู้ที่มีบทบาทในการถ่ายทอด “ความรู้” เหล่านี้จากนิตยสารและสิ่งพิมพ์ภาษาต่างประเทศมาเป็นภาษาไทย ซึ่งนี่ก็เป็นอีกเหตุผลที่ทำให้พวกเขาได้รับความเคารพ อย่างไรก็ดีในตอนนี้ข้อมูลแบบเดียวกันสามารถเข้าถึงได้โดยง่ายโดยคนทุกคนที่มีอินเทอร์เน็ตแล้วและทุกคนที่สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้ก็ไม่มีใครจะมารอฟังข้อมูลที่ได้รับการคัดกรองมาโดยนักวิชาการชาวไทยอีก เพราะอย่างน้อยที่สุดการเข้าถึงข้อมูลเองโดยตรงก็รวดเร็วและเที่ยงตรงกว่า นี่ก็เป็นอีกเหตุผลที่ผู้คนในยุคปัจจุบัน “ไม่ให้ราคา” กับนักวิจารณ์ดนตรีอีกต่อไปในภาพรวม กล่าวโดยสรุปแล้ว การขยายตัวของอินเทอร์เน็ตทำให้หน้าที่ดั้งเดิมของนักวิจารณ์ดนตรีในฐานะของผู้มีข้อมูลความรู้ด้านดนตรีและประสบการณ์ฟังเพลงที่เป็นผู้ชี้นำความเห็นเรื่องความดีงามของดนตรีจบสิ้นไป เพราะอินเทอร์เน็ตก็ทำให้ใครๆ ก็สามารถมีข้อมูลและประสบการณ์ในระดับที่นักวิจารณ์ในยุคก่อนมีได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส และมาตรฐานการวิจารณ์ที่นักวิจารณ์รุ่นก่อนตั้งไว้ก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไร ทำให้ใครที่มีข้อมูลเพียงพอก็สามารถเล่นบทนักวิจารณ์ได้ ดังนั้นนักวิจารณ์ที่มีคุณภาพในการแสดงความเห็นระดับนักวิจารณ์สมัยก่อนจึงแทบจะเฟ้อล้นตลาด และแน่นอนว่านี่เรายังไม่นับว่ายุคแห่งการ “ปฏิสัมพันธ์” นี้ผู้คนจำนวนมากก็ดูจะชอบแสดง “ความเห็น” เหนือสิ่งอื่นใดโดยไม่จำเป็นต้องมีลักษณะเป็นบทสนทนากับใครทั้งสิ้น และถ้าเรานับทุกการแสดง “ความเห็น” ดนตรีเป็น “บทวิจารณ์” ดนตรีแล้ว แทบทุกคนก็คงจะเป็นนักวิจารณ์กันหมด ซึ่งก็คงจะมีนักวิจารณ์บางท่านพยายามจะแบ่ง “ความเห็น/ความบทวิจารณ์” ที่ “ดี” และที่เป็น “ขยะ” ออกจากกันอยู่ แต่ก็ยากจะมีคนฟังนักวิจารณ์ท่านนั้น เพราะในความวุ่นวายของเสียง “วิจารณ์” เซ็งแซ่นั้น พวกเขาก็ไม่ฟังกันเองด้วยซ้ำ
อ้างอิง:
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
จ่อขึ้นค่าไฟอีกหน่วยละ 18 สต. ก.ย.-ธ.ค.นี้ หลังมีมติเพิ่มเอฟที Posted: 07 Sep 2012 02:26 AM PDT กรรมการกำกับกิจการพลังงานมีมติ ขึ้นค่าเอฟทีในงวดเดือน ก.ย.–ธ.ค. 18 สตางค์ต่อหน่วย และให้ กฟผ.รับภาระส่วนต่าง 20.24 สตางค์ต่อหน่วย ไปก่อนชั่วคราว (6 ก.ย.55) นายดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (เรคกูเลเตอร์) เปิดเผยหลังการประชุมพิจารณา การประมาณการค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (เอฟที ) สำหรับการเรียกเก็บในเดือน ก.ย.–ธ.ค.ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบการคำนวณค่าเอฟที ในอัตรา 68.24 สตางค์ต่อหน่วย โดยแยกเป็นค่าเอฟทีในงวดปัจจุบันจัดเก็บที่ 30 สตางค์ต่อหน่วย และงวดเดือน ก.ย.-ธ.ค. ต้องจัดเก็บที่ 38.24 สตางค์ต่อหน่วย รวมเป็น 68.24 สตางค์ต่อหน่วย แต่เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าจะเป็นการผลักภาระรายจ่ายให้ประชาชนมากเกินไป จึงมีมติให้เรียกเก็บค่าเอฟทีงวดเดือน ก.ย.-ธ.ค. เพียง 18 สตางค์ต่อหน่วย และเมื่อนำไปรวมกับเอฟทีงวดปัจจุบันอีก 30 สตางค์ต่อหน่วย ก็เท่ากับว่าค่าเอฟทีงวดเดือน ก.ย.-ธ.ค. จะปรับขึ้นไปอยู่ที่ 48 สตางค์ต่อหน่วย ทั้งนี้ เป็นผลมาจากราคาเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกประเภท อาทิ ก๊าซธรรมชาติ ปรับราคาขึ้นจาก 301.28 บาทต่อล้านบีทียู มาอยู่ที่ 317.50 บาทต่อล้านบีทียู ราคาถ่านหิน ปรับเพิ่มขึ้นจาก 2,926 บาทต่อตัน มาอยู่ที่ 3,227 บาทต่อตัน และราคาน้ำมันเตา ปรับขึ้นจาก 25.87 บาทต่อลิตร มาอยู่ที่ 26.49 บาทต่อลิตร รวมทั้งผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน นายดิเรก กล่าวต่อว่า ค่าเอฟทีส่วนที่เหลืออีก 20.24 สตางค์ต่อเรคกูเลเตอร์ จะขอให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รับภาระแทนประชาชนเป็นการชั่วคราวไปก่อน ซึ่งคิดเป็นวงเงินรวม 10,504 ล้านบาท สำหรับมติดังกล่าว เรคกูเลเตอร์ จะนำรายละเอียดที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เผยแพร่ผ่าน www.erc.or.th เพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตั้งแต่วันที่ 6–12 ก.ย. ก่อนที่จะนำผลการรับฟัง มาพิจารณาและให้ กฟผ. ประกาศเรียกเก็บค่าเอฟทีอย่างเป็นทางการต่อไป ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
'มหาดไทย' ห้าม ขรก.เล่นเฟซบุ๊ก ในเวลางาน Posted: 07 Sep 2012 01:56 AM PDT สำนักปลัดกระทรวงมหาดไทย แจ้งให้งดใช้เว็บไซต์ต่างประเทศจำนวน 10 รายการ รวมถึงเฟซบุ๊ก ระบุไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานราชการ และสิ้นเปลืองแบนด์วิดธ์จำนวนมาก
http://faceblog.in.th เว็บที่นำเสนอข่าวสารเกี่ยวกับเฟซบุ๊ก รายงานว่า ได้รับข้อมูลจากผู้ใช้ทวิตเตอร์ @Paopy2IIAM แจ้งว่ามีหนังสือจากสำนักปลัดกระทรวงมหาดไทย แจ้งให้งดใช้เว็บไซต์ต่างประเทศจำนวน 10 รายการ รวมถึงเฟซบุ๊กด้วย โดยหนังสือดังกล่าวลงวันที่ 6 ก.ย.55 พร้อมมีลายเซ็นโดยปลัดกระทรวงมหาดไทยกำกับ
ที่มา: http://faceblog.in.th/2012/09/moi-no-facebook/ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
เสวนา: ไทยในสื่อหนังสือพิมพ์กัมพูชา Posted: 07 Sep 2012 01:40 AM PDT นักวิชาการอักษรศาสตร์วิเคราะห์การรายข่าวไทยในนสพ.กัมพูชา ชี้มีการใช้นสพ. สงครามสื่อโต้กับไทยสมัยรบ.อภิสิทธิ์ ในขณะที่สื่อไทยยังไม่ใส่ใจกัมพูชาเท่ากับที่กัมพูชาสนใจข่าวสารในประเทศไทย เมื่อวันที่ 7 ก.ย. 55 ราว 10.30 น. สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานเสวนาทางวิชาการเรื่อง "กัมพูชาศึกษา: แง่มุมจากอดีตถึงปัจจุบัน" โดยดร. ใกล้รุ่ง อามระดิษ อาจารย์จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ได้นำเสนองานวิชาการในหัวข้อ "ไทยในสื่อหนังสือพิมพ์กัมพูชา" โดยศึกษาข่าวเกี่ยวกับประเทศไทยในหน้าหนังสือพิมพ์ของกัมพูชาในระยะเวลาราวสิบปีที่ผ่านมา และพบว่านสพ.กัมพูชาส่วนใหญ่จะให้ความสนใจและความสำคัญกับการรายงานข่าวไทยอย่างครอบคลุมและกว้างขวางซึ่งเกี่ยวพันกับคนทุกกลุ่มทุกระดับ ในขณะที่นสพ.ไทยรายงานข่าวกัมพูชาแตกต่างกัน โดยให้ความสนใจประเทศกัมพูชาน้อยกว่าอย่างเห็นได้ชัด เธอชี้ว่า สื่อหนังสือพิมพ์เป็นสื่อที่มีความหลากหลายมากที่สุดในกัมพูชาในแง่อุดมการณ์ทางการเมืองและผู้อ่านที่หลากหลาย ต่างจากวิทยุและโทรทัศน์ที่ส่วนมากเป็นไปในทางเดียวเนื่องจากถูกรัฐควบคุมสื่อ แต่นสพ. ที่มีจุดยืนเห็นต่างจากรัฐบาล ก็มักประสบปัญหาในทางธุรกิจ ซึ่งต่างจากนสพ.ที่สนับสนุนรัฐบาล จะมีรายได้จากการโฆษณาเยอะกว่ามาก ใกล้รุ่ง ระบุว่า ในช่วงที่ไทยและกัมพูชาเกิดข้อพิพาทเรื่องชายแดนและเขาพระวิหารในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปี 2553-2554 หนังสือพิมพ์กัมพูชา จะรายงานข่าวเรื่องดังกล่าวอย่างละเอียดและครอบคลุมมาก ตั้งแต่เรื่องการสู้รบ การเจรจาในระดับรัฐบาล และภาคประชาชน ในขณะที่ในช่วงการชุมนุมของคนเสื้อแดง จะมีการรายงานสถานการณ์และท่าทีของรัฐบาลทั้งสองประเทศอย่างละเอียด โดยเฉพาะข้อมูลข่าวสารด้านลบและมีแนวโน้มในทางดิสเครดิตรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะได้รับความสนใจในนสพ. กัมพูชาเป็นอย่างมาก แต่หากเทียบกับในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตรซึ่งเป็นมิตรกับกัมพูชามากกว่า ข่าวเกี่ยวกับประเทศไทย จะนำเสนอไปในด้านดีมากกว่าและแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือมากกว่าความขัดแย้ง ใกล้รุ่งวิเคราะห์ว่า การนำเสนอข่าวไทยที่เยอะมากในช่วงความขัดแย้ง อาจจะเป็นการยืนยันว่ารัฐบาลกัมพูชาตั้งใจทำสงครามสื่อกับรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งกัมพูชามองว่าเป็นศัตรู เพื่อแสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวหรือความไม่สามารถของรัฐบาล ในขณะที่รัฐบาลปัจจุบัน จะไม่ค่อยมีการรายงานเรื่องความขัดแย้งดังกล่าว ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ละเอียดอ่อนและซับซ้อน ใกล้รุ่ง ยกตัวอย่างให้เห็นว่า ในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ การรายงานข่าวเรื่องการสับเปลี่ยนผบ.ทบ. ของไทยได้รับความสนใจจากสื่อกัมพูชาเป็นอย่างมาก รวมทั้งข่าวในด้านลบเช่น ความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การจับยาบ้า การขนของหนีภาษี ในขณะที่ในสมัยรัฐบาลปัจจุบัน แทบไม่มีการรายงานข่าวเรื่องการสับเปลี่ยนโผทหาร ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องที่ร้อนแรงในปัจจุบัน ส่วนเรื่องความขัดแย้งระหว่างทักษิณและยิ่งลักษณ์เรื่องรัฐมนตรีกระทรวงการคลังเมื่อเร็วๆ นี้ ก็มีการรายงานแต่เพียงเล็กน้อยในหน้าท้ายๆ ของนสพ.เท่านั้น และหากอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่มีความขัดแย้ง สื่อกัมพูชายังสนใจติดตามเรื่องของอาเซียนและเศรษฐกิจ รวมทั้งอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการเตรียมตัวเรื่องการขยายตัวทางเศรษฐกิจและตลาดหลักทรัพย์ของกัมพูชา เช่นเดียวกับการส่งออกสินค้าทางเกษตรกรรม ซึ่งมองไทยในฐานะคู่แข่งและต้นแบบที่พยายามทัดเทียม จากการศึกษางานดังกล่าว ใกล้รุ่งตั้งข้อสังเกตว่า กัมพูชาสนใจรับรู้ข้อมูลข่าวสารในประเทศไทยอย่างครอบคลุมและกว้างขวางมากกว่ามาก ในขณะที่นสพ. ไทย แทบไม่มีการรายงานข่าวเกี่ยวกับกัมพูชาในลักษณะเดียวกัน "ข่าวเกี่ยวกับไทยในนสพ. กัมพูชา สะท้อนความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา ที่ขยายวงกว้างมาก โดยเกี่ยวกับคนทุกระดับ ตั้งแต่ระดับรัฐบาล นักธุรกิจ พนักงานกัมพูชาที่ทำงานในกิจการของไทยในกัมพูชา แรงงานกัมพูชาในโรงงานไทย ประชาชนกัมพูชาที่บริโภคสินค้าไทยอย่างปลา พ่อค้าที่ชายแดน แรงงานกัมพุชาในไทยในอุตสาหกรรมต่างๆ ไปจนถึง ชาวบ้านเล็กๆ น้อยๆ ที่รับตัดไม้เถื่อน" ใกล้รุ่งกล่าว "แต่ในนสพ. ไทย น่าแปลกใจมากที่เรายังไม่เคยอ่านข่าวที่มีความสัมพันธ์ที่ครอบคลุม มีความซับซ้อนและละเอียดขนาดนี้" อาจารย์ด้านวรรณคดีไทย กล่าวสรุปว่า ความแตกต่างระหว่างสื่อการรายงานข่าวของสื่อกัมพูชาและไทย เป็นสิ่งที่ทุกภาคส่วนจำเป็นต้องตระหนักในการมีปฏิสัมพันธ์กับกัมพูชา เพื่อให้ความสัมพันธ์ของสองประเทศเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น