ประชาไท | Prachatai3.info |
- เสวนา: รัฐสภาไทยในสถานการณ์เปลี่ยนผ่าน
- หยุดเขื่อนไซยะบุรี! คนแม่น้ำโขงยังรอสัญญาณ รัฐบาลไทยจะ ‘ฟัง’ หรือ ‘เมิน’
- พม่าโยกย้ายนายทหารขึ้นแท่นรัฐมนตรีหลายตำแหน่ง
- ชาวเยเมนบุกสถานทูตสหรัฐฯ ประท้วงภาพยนตร์ล้อศาสนา
- ความเห็นกับการเสวนา 'แก๊สกับน้ำมัน: ทำไมถึงแพง'
- ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "เลือกคนเก่าน้ำไม่ท่วม"
- ความเสื่อมของสื่อมวลชนกระแสหลัก
- เอ็นจีโอขยับ ค้านรัฐอุ้มท่าเรือทวายแทนเอกชน หวั่นสร้างหนี้ กระทบสิทธิ
- สรุปสัมมนา กสม.: 'มาตรฐานการรักษาพยาบาลและการเข้าถึงการรักษาพยาบาล'
- รมช.คมนาคม เตรียมลงพื้นที่แก้ปมไล่รื้อ “รถไฟฟ้าสายสีแดง-ทางด่วนศรีรัช-รถไฟรางคู่”
- 'ความจริงเท่าที่ทราบ' ต่อกรณีภาพยนตร์ฉาว Innocent of Muslim
- 'แอมเนสตี้' ชี้ ไม่มีข้ออ้างใดๆ สำหรับการโจมตีกงสุลสหรัฐในลิเบีย
- ไต่สวนการตาย จนท.เขาดิน นัดแรก พ่อเชื่อฝีมือเจ้าหน้าที่ แต่ไม่เอาความ
- ปลอดประสพมั่วนิ่ม ไม่ดูข้อมูลลุ่มน้ำทั้งระบบ
- ภาคี กสม. อาเซียน มีมติเป็นเอกฉันท์รับพม่าเข้าเป็นสมาชิก
เสวนา: รัฐสภาไทยในสถานการณ์เปลี่ยนผ่าน Posted: 13 Sep 2012 02:02 PM PDT 'ปิยบุตร แสงกนกกุล' ชี้รัฐสภาเป็นสถาบันสำคัญในอดีตที่ยึดอำนาจจากกษัตริย์และเป็นตัวแทนประชาชน แต่ปัจจุบันกลับถูกอุดมการณ์อำนาจเก่าครอบงำอย่างเต็มที่ ในขณะที่ 'ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์' ชี้ทหารก็เคยเป็นส.ส. ในสภา แต่ภาพลักษณ์ที่แย่กลับตกอยู่เฉพาะที่นักการเมือง 13 ก.ย. 55 - คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จัดงานสัมมนาวิชาการในหัวข้อ "รัฐสภาไทยในสถานการณ์ปลี่ยนผ่าน" โดยมีวิทยากรได้แก่ พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ อาจารย์ด้านประวัติศาสตร์-รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์จากคณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ และสมาชิกคณะนิติราษฎร์ ปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์จากคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ และสมาชิกคณะนิติราษฎร์ กล่าวถึงกำเนิดของระบบรัฐสภา หรือ Parliamentarism ว่ามาจากคำฝรั่งเศสที่แปลว่า สถานที่ที่รวมคนที่พูดไว้ด้วยกัน โดยกำเนิดของระบบรัฐสภานี้เริ่มจากที่ประเทศอังกฤษ เกิดการปฏิวัติปีค.ศ. 1688 รัฐสภายึดอำนาจการออกกฎหมายมาจากกษัตริย์ ทั้งนี้ เขาอธิบายว่า สาเหตุที่รัฐสภาของอังกฤษมีเสถียรภาพมาก เกิดมาจากในช่วงนั้น มีการเอากษัตริย์เยอรมันคือพระเจ้าจอร์จ จากราชวงศ์ฮันโนเวอร์มาปกครอง และด้วยความแตกต่างทางด้านภาษา ทำให้กษัตริย์ไม่เข้ามายุ่งกับการปกครองมาก และค่อยๆ ลดบทบาทลงไป ทำให้อำนาจอยู่ที่สภามากขึ้นและตั้งอยู่ได้อย่างมีเสถียรภาพ ส่วนที่ฝรั่งเศส หลังการปฏิวัติปี 1789 เกิดรัฐธรรมนูญฉบับที่หนึ่งปี 1791 ในช่วงนั้น มีการถกเถียงกันได้ระบบการปกครองแบบใด ปีกขวาในสภาร่างรธน. อยากเอาแบบอังกฤษมาใช้ แต่ไม่ได้รับเลือก จึงทำให้ระบอบการปกครองของฝรั่งเศสคล้ายกันกับระบอบประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกามากกว่า โดยมีพระจ้าหลุยส์ เป็นกษัตริย์ที่ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดี และมีสภาทำหน้าที่ออกกฎหมาย มีอำนาจแยกกันเด็ดขาด ต่อมา เมื่อปี 1814 เป็นช่วงที่ฝรั่งเศสเริ่มรับระบบรัฐสภาเข้ามาใช้ ในตอนนั้น พวกกษัตริย์ที่กลับเข้ามามีอำนาจอีกครั้ง เห็นว่ามีระบบที่แบ่งปันอำนาจระหว่างกษัตริย์และประชาชน ต้องการให้อยู่ด้วยกันได้ในระบบการเมือง จึงนำเอาระบบรัฐสภาแบบสองขั้วอำนาจเข้ามาใช้ (Dualism) ภายใต้ระบบนี้ ฝ่ายบริหารต้องบริหารภายใต้ความไว้วางใจและถูกตรวจสอบจาก Head of State และรัฐสภาไปพร้อมๆ กัน แต่ต่อมา ระบบรัฐสภาก็ถูกโค่นล้มไปพร้อมๆ กับการขึ้นมาของนโปเลียน ปิยบุตรกล่าวว่า กว่าระบบรัฐสภาจะลงรากได้มั่นคง ก็เป็นช่วงที่รัฐสภาเป็นแบบขั้วเดียว คือกษัตริย์ถูกดันออกไปจากระบบมากขึ้นเรื่อยๆ และไม่มีอำนาจอีกต่อไป ฉะนั้นฝ่ายบริหารก็รับผิดชอบต่อสภาเท่านั้น แต่อีกซักพักก็เกิดปัญหาคือรัฐสภาไม่ค่อยมีเสถียรภาพเพราะเปลี่ยนบ่อย เนื่องจากเสียงข้างมากของรัฐสภายังไม่ได้มาจากพรรคสองขั้วชัดเจน ส่วนใหญ่จึงเป็นแบบรัฐบาลผสม และนายกฯ ไม่สามารถบริหารประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากนัก ต่อมาจึงมีคนคิดกลไกที่ทำให้รัฐบาลเช้มแข็ง เช่น การห้ามเปิดการอภิปรายไม่ไว้วางใจบ่อยเกินไป การเสนอผู้ชิงตำแหน่งนายกฯ หากจะอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯ การแก้ไขกฎหมายการเลือกตั้งให้เป็นแบบบัญชีรายชื่อ การทำให้เป็นแบบระบบสองพรรคมากขึ้น ระบบนี้ เริ่มพัฒนาขึ้นมาช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในประเทศยุโรป เช่น เยอรมนี ฝรั่งเศส ทั้งนี้ ระบบรัฐสภาแบบคลาสสิกมีจุดอ่อนอยู่สองประการ คือ หนึ่ง เป็นที่กลัวว่าจะนำไปสู่การบริหารประเทศโดยรัฐสภา อย่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย ซึ่งจะกำหนดให้รัฐสภาเป็นใหญ่ เป็นผู้บริหารประเทศ ไม่ใช่รัฐบาล มีการตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อออกนโยบาย และดำเนินภายในนโยบายที่รัฐสภาเป็นคนออก และเกรงว่า คนที่เข้ามาบริหารประเทศจะไม่เป็นอิสระกับความนิยมของคนที่ลงสมัครเลือกตั้ง อย่างที่สอง คือ ไม่ค่อยมีเสถียรภาพ เนื่องจากต้องเอานายกฯ ที่มาจากเสียงข้างมากของสภา แต่หากไม่มี ก็ต้องเป็นรัฐบาลผสม ซึ่งหากคนที่เป็นนายกไม่มีบารมีมากพอ ก็อาจจะทำการบริหารประเทศได้ยาก จึงเกิดระบบ "รัฐสภาแบบมีเหตุมีผล" ขึ้นมา โดยไทยเอาเข้ามาช่วงปี 2538- 2540 และอยู่ในรัฐธรรมนูญปี 2540 เพื่อต้องการทำให้รัฐสภามีเสถียรภาพ มีกลไกต่างๆ เพิ่มขึ้น เช่น การห้ามเปิดการอภิปรายไม่ไว้วางใจบ่อยเกินไป การมีระบบบัญรายชื่อ การมีชื่อนายกฯ เข้าไปแข่งขันถ้าอภิปรายไม่ไว้วางใจนายก และต้องใช้เสียงมากกว่าปกติ แต่ปัญหาคือว่า ตอนที่นักคิดในไทยเอาระบบนี้เข้ามาใช้ เป็นช่วงที่อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตรเข้ามา นักคิดที่นำระบบนี้เข้ามาจึงไม่กล้าดีเฟนด์ระบบ และเกิดความรู้สึกไม่พอใจที่ทักษิณมีนโยบายที่คุกคามชนชั้นนำเก่ามากขึ้น อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาดูกำเนิดของรัฐธรรมนูญปี 2540 จะเห็นว่ามีพัฒนาการที่คล้ายกับสมัยยุโรป แต่บรรดาผู้ที่นำระบบคิดนี้เข้ามาใช้ในไทย กลับพากันงียบหมด เนื่องจากเป็นสมัยของทักษิณ ถึงแม้ในช่วงแรกจะเฉยๆ เนื่องจากเห็นว่าระบบรัฐสภาแบบมีเหตุมีผลใช้งานได้ แต่ช่วงที่สอง เมื่อมีนโยบายคุกคามชนชั้นนำมากขึ้น ก็เริ่มไม่พูดถึงว่า ระบบนี้มีจุดประสงค์อย่างไร ปิยบุตรอธิบายว่า โดยดั้งเดิมแล้ว รัฐสภาเกิดขึ้นเพื่อยึดอำนาจจากกษัตริย์ เพราะจากแต่ก่อน กษัตริย์เป็นองค์อธิปัตย์เป็นผู้ออกกฎหมายแต่เพียงผู้เดียว รัฐสภาจึงต้องดึงอำนาจการออกกฎหมายมาไว้ เมื่อสภาเป็นที่รวมตัวของชนชั้นกลาง มีการเจริญเติบโตมากขึ้น กษัตริย์ก็เป็นแค่หัวหน้าฝ่ายบริหารเท่านั้น หากการเปลี่ยนผ่านจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่ระบบรัฐสภาสามารถประนีประนอมกันได้ ก็จะเกิดระบบอย่างอังกฤษ และสวีเดน แต่ถ้าประนีประนอมกันไม่ได้ ก็จะเป็นแบบอิตาลี และฝรั่งเศส ที่เป็นสาธารณรัฐแทน ระบบรัฐสภาในประเทศไทย มีการพยายามพูดว่า รัฐสภามีมาตั้งแต่ ร.5 ร.6 แล้วในรูปแบบของสภาที่ปรึกษา หรือดุสิตธานี อย่างไรก็ตาม หากตั้งดัชนีชี้วัดอยู่ที่ว่า สถาบันนั้นมีอำนาจในการออกกกฎหมายในนามของตัวเองหรือไม่ หรือสามารถตรากฎหมายอย่างแท้จริงที่ไม่ขึ้นอยู่กับกษัตริย์เพียงใด ถ้าใช้ดัชนีตามนี้ จะชี้ให้เห็นว่าในสมัย ร.5- ร.7 ยังไม่มีรัฐสภา รัฐสภาอันแรกของไทยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ. 2475 มีระบบการบริหารงานแบบรัฐสภาเป็นหลัก โดยมีการตั้งเป็นคณะกรรมการราษฎร จะยุบสภาไม่ได้ เพราะรัฐสภาใหญ่กว่ารัฐบาล อย่างในสมัยพระยามโนปกรณ์ต้องการทำรัฐประหาร ก็ยุบสภาไม่ได้ ต้องปิดสภา ปิยบุตรกล่าวว่า ระบบนี้เหมาะกับประเทศที่เกิดขึ้นใหม่ช่วงเวลาเปลี่ยนผ่าน เช่น ในฝรั่งเศสสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ปี 1792 ในไทยช่วง 27 มิ.ย. 2475 แต่เมื่อมาถึง 10 ธ.ค. 2475 ก็จะกลายเป็นระบบรัฐสภาอย่างแท้จริง คือมีความเชื่อมโยงระหว่างฝ่ายบริหารและรัฐสภาอยู่ ใน 15 ปีแรกหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปัญหาหลักคือตอนนั้นพระปกเกล้าฯ ยังมีอำนาจในการวีโต้กฎหมาย ในช่วงแรกกำหนดเวลาวีโต้ได้ 7 วัน แต่ในภายหลังการใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวร 10 ธ.ค. 2475 ก็ได้แก้เป็น 30+ 7 วัน กรณีดังกล่าว คล้ายกับฝรั่งเศสช่วงค.ศ. 1791 ซึ่งเป็นระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ สภามีหน้าที่ออกกฎหมาย แต่กษัตริย์ก็ยื้ออำนาจด้วยการวีโต้กฎหมายต่างๆ เป็นปี จนนำมาสู่การเปลี่ยนระบบเป็นสาธารณรัฐในที่สุด ตัวอย่างเช่น กฎหมายถอนสัญชาติ และยึดทรัพย์สินของเจ้าฝรั่งเศส แต่กษัตริย์ก็ไม่ยอมเซ็นให้ เช่นเดียวกับร. 7 ที่วีโต้ พรบ. อากรมรดก วีโต้การแก้ไขประมวลอาญาประหาร ซึ่งร. 7 ต้องการให้นักโทษมีสิทธิถวายฎีกาต่อตนเองได้ เพื่อให้กษัตริย์รู้สึกว่าเป็นเจ้าของชีวิตคน เขาชี้ว่า ในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ระบบเก่าและระบบใหม่ มีชุดความคิดไม่เหมือนกัน หากเปรียบเทียบคร่าวๆ อาจกล่าวได้ว่า คณะราษฎร อยากให้อำนาจอยู่ที่รัฐสภาราวร้อยละ 85 แต่ร. 7 อยากให้อำนาจอยู่ที่กษัตริย์ร้อยละ 85 การออกกฎหมายต่างๆ ในสภา จึงเกิดการวีโต้กฎหมายต่างๆ บ่อยครั้ง จะเห็นว่า ความขัดแย้งระหว่างระบบเก่าและใหม่ เริ่มตั้งแต่วันที่ 28 มิ.ย. 2475 ซึ่งเป็นการเปิดสภาครั้งแรก โดยวันนั้นพระยาพหลได้ทำจดหมายถึงร. 7 ต้องการให้พระองค์ไปตักเตือนคนที่ยังคิดร้ายต่อคณะราษฎร ในขณะเดียวกันร. 7 ก็ทรงขอให้คณะราษฎรปล่อยตัวสมาชิกราชวงศ์ที่ยังถูกกักขังอยู่ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม พระยาพหลพลพยุหเสนา ก็ได้ขอให้พระองค์และสมาชิกราชวงศ์คนอื่นๆ สาบานว่าจะไม่ทำร้ายคณะราษฎรไม่ว่าในทางใดๆ ในช่วงแรกของการมีรัฐสภา คณะราษฎรได้ตั้งคณะกรรมาธิการที่ออกกฎหมายมาต่างๆ เพื่อให้ระบบใหม่อยู่ตัว มีการออกฎหมายยกเลิกองค์ประกอบของระบบเก่า เช่น ยกเลิกองคมนตรี ยกเลิกอภิรัฐมนตรีสภา ออกพรบ. ล้างมลทินให้กับคณะรศ. 130 และยกเลิกการปรับโทษตามศักดินา นอกจากนี้ ยังได้โอนกรมต่างๆ เช่น กรมตรวจเงินแผ่นดิน กรมร่างกฎหมายให้มาอยู่ใต้สังกัดคณะกรรมการราษฎรด้วย หลังจากที่ฝ่ายคณะราษฎรนำโดยพระยาพหลฯ สามารถยึดอำนาจกลับมาได้ หลังจากที่พระยามโนปกรณ์ฯ ทำการรัฐประหารโดยการปิดสภาในปี 2476 สภาก็ได้ร่างพรบ. ป้องกันรักษารัฐธรรมนูญปี 2476 เพื่อป้องกันการล้มล้างรัฐธรรมนูญอีก จากนั้น ปรีดี พนมยงค์ ก็ได้มีบทบาทผลักดันพรบ. ต่างๆ ที่ส่งเสริมรากฐานของระบอบประขาธิปไตย เช่น พรบ. ระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พรบ. ปรับปรุงกระทวง ทบวง กรม และการสร้างกระทรวงวัง เพื่อให้วังมาอยู่ใต้การดูแลของรัฐบาล นอกจากนี้ ยังมีการออกพรบ. อากรมรดก ที่จัดการกับทรัพย์สินของกษัตริย์ในระบอบเก่า ออกพรบ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ออกประมวลกฎหมายครบทั้ง 6 ฉบับ จะเห็นได้ว่า ผลงานของรัฐสภาในช่วงแรก เป็นการต่อสู้กับระบอบกษัตริย์ และสร้างรากฐานให้ระบอบใหม่อยู่ตัว จะเห็นว่า ในช่วงแรกของการใช้ระบบรัฐสภาปี 2475- 2476 ยังมีการพยายามยื้อรักษาอำนาจโดยฝ่ายระบอบเก่า อาทิ การเติมคำว่า "ชั่วคราว" ท้ายรัฐธรรมนูญฉบับ 27 มิ.ย. 2475, การส่งฝ่ายเจ้าเข้ามาร่วมร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร, การตั้งสมาชิกสภาที่มาจากการแต่งตั้ง, การวีโต้กฎหมายที่คุกคามต่อระบอบเก่า และเมื่อถึงจุดหนึ่ง ร. 7 ก็ทรงสละราชสมบัติในปี 2477 ต่อมาในปี 2480 รัฐสภาก็เริ่มมีอำนาจที่ชัดเจนมากขึ้น ฝ่ายกษัตริย์ก็มีการตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ อย่างไรก็ตาม อุดมการณ์และความทรงจำร่วมของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ในรัฐสภา ได้ถูกทำให้พร่าเลือนนับตั้งแต่การรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ พ.ศ. 2501 เป็นต้นมา เนื่องจากบทบาทของรัฐสภาหมดไป มีอย่างขาดๆ หายๆ องค์ประกอบของรัฐสภาจากนั้นมาจึงถูกครองโดยนักธุรกิจ ทหาร ข้าราชการเสียเป็นส่วนมาก อีกทั้งร. 7 ก็ถูกสถาปนาบทบาทว่าเป็นผู้มอบประชาธิปไตย บทบาทของสภา ถูกลดทอนให้เป็นเพียงกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง ไม่เหลืออุดมการณ์ทางการเมืองที่ชัดเจน หากไปดูลักษณะของรัฐสภาในยุโรป จะเห็นว่ารัฐสภาเป็นฐานอำนาจที่สำคัญในการต่อสู้กับสถาบันกษัตริย์อย่างยาวนาน ในขณะที่ในไทย รัฐสภามีบทบาทนั้นเพียง 15 ปี เขาตั้งข้อสังเกตว่า นับว่าเป็นความชาญฉลาดของชนชั้นนำในระบอบเก่าไทยที่ "ไม่เปิดหน้าสู้" อย่างชัดเจน เนื่องจากได้เรียนรู้บทเรียนจากในอดีตว่า หากเปิดหน้าสู้จะต้องสูญเสียมาก เช่นการสละราชสมบัติของร. 7 เช่นเดียวกับการต่อสู้ของสถาบันกษัตริย์ในยุโรปกับรัฐสภา ที่หากพ่ายแพ้ ก็ต้องยอมสละอำนาจกลายเป็นแบบสาธารณรัฐ "กลับมาครั้งนี้ พวกเจ้าเรียนรู้แล้วว่า กลับมาจะสู้แบบเปิดหน้าแบบเดิมนั้นสู้ไม่ได้ มีแต่พังกับพังอย่างเดียว เพราะฉะนั้นมีวิธีคือส่งตัวแทนของตัวเองเข้าไปอยู่ในระบบแบบใหม่ มีพรรคประชาธิปัตย์เกิดขึ้น มีวุฒิสภาเกิดขึ้น ส่งคนของตัวเองเข้าไปอยู่ในวุฒิสภา แล้วก็วางบทบาทให้พระมหากษัตริย์อยู่ "เหนือการเมือง" คำว่าเหนือในที่นี้ เราฟังดูอาจจะหมายความว่า พ้นไปจากการเมือง ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ไม่กระทำการใดๆ ทางการเมืองเลย แต่ความเป็นจริงในที่นี้กลับไม่ใช่ คำว่าเหนือในที่นี้คือเหนือทุกสถาบันทางการเมืองในประเทศไทย คืออยู่สูงที่สุด และในความคิดของรัอยัลลิสต์บางคนก็คืออยู่เหนือรัฐธรรมนูญขึ้นไปอีก" ปิยบุตรอธิบาย "ในขณะเดียวกันพอพูดคำว่าการเมือง การวิพากษ์วิจารณ์ก็มุ่งเป้าไปที่นักการเมืองอาชีพที่เข้าไปอยู่ในรัฐสภาเป็นรัฐบาล เป็นรัฐมนตรี เป็นนายก ตัวสถาบันกษัตริย์ก็กลายเป็นสิ่งบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ ถามว่าสถาบันกษัตริย์ยังมีบทบาททางการเมืองอยู่ไหม ยังมีอยู่ แต่ใช้วิธีการเข้าแทรกแซงผ่านธรรมเนียมปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ผ่านบารมี ผ่านจารีตประเพณี ผ่านการสร้างเรื่องเล่าว่าสถาบันกษัตริย์ดำรงอยู่อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ผ่านการสร้างทฤษฎีทางวิชาการว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของร่วมกันระหว่างกษัตริย์และประชาชน" "ดังนั้น ในยุคปัจจุบัน ถ้าจะสรุปก็คือ ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข...ระบอบเก่าสู้กับระบอบใหม่แบบตาต่อตา ฟันต่อฟันไม่ได้ ก็ให้อยู่ภายใต้ระบอบปัจจุบัน แต่ทำอย่างไรให้เนียนขึ้น มีจิตวิญญานของระบอบเก่าอยู่ ก็ตัดต่อพันธุกรรมออกมาในชื่อของระบอบประชาธิปไตยทรงมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รัฐสภาในระบอบประชาธิปไตยอันทรงมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข จึงกลายเป็นสถาบันทางการเมืองที่เอาไว้อวดชาวโลกว่าเป็น ประชาธิปไตยเหมือนกัน" หากเทียบรัฐสภาในสมัยนั้น กับปัจจุบันปี 2555 จะเห็นว่ารัฐสภามีบทบาทแตกต่างกันอย่างมาก สมัย 2475 สภาเป็นผู้เห็นชอบฝ่ายบริหารงานทั้งหมด มีอำนาจออกกฎหมาย อีกทั้งอำนาจตุลาการด้านอาญาบางส่วนว่าด้วยของการทำความผิดของกษัตริย์ มีอำนาจตีความรัฐธรรมนูญ ไปจนถึงการให้ความเห็นชอบกษัตริย์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และแก้ไขฎมณเฑียรบาล แต่ใสมัยนี้ ไม่สามารถให้ความเห็นชอบกษัตริย์ ไม่สามารถแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการ แม้แต่แก้รัฐธรรมนูญก็ยังไม่ได้ ปิยบุตร ตั้งข้อสังเกตว่า ตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน รัฐสภาไทยถึงจุดสูงสุดของการถูกครอบงำโดยอุดมการณ์แบบเก่า ทำไม่กล้าแตะต้องเรื่องสถาบันกษัตริย์ในทางใดๆ ไม่กล้าออกกฎหมายอย่างการแก้ไขมาตรา 112 หรือพรบ. สำนักงานทรัพย์สิน ฝ่ายชนชั้นนำเก่า จึงไม่มีความจำเป็นที่จะมาปรากฎกายในสถาบันนี้ เนื่องจากสามารถครอบครองทางอุดมการณ์ไว้ได้หมดแล้ว ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ อาจารย์ด้านประวัติศาสตร์-รัฐศาสตร์ ม.รังสิต ชี้ว่า เดิมที่ จารีตของรัฐธรรมนูญฉบับแรก กำหนดให้ส.ส. จำเป็นต้องถวายสัตย์ด้วยการสาบานตนต่อรัฐธรรมนูญ แต่น่าแปลกใจว่า เหตุใดรัฐสภาขอไทยกลับยอมรับและยอมจำนนอย่างง่ายๆ เมื่อเกิดรัฐประหาร โดยเฉพาะประธานสภา ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับเลือกจากตัวแทนของประชาชน แต่ไม่เคยมีใครตั้งคำถามถึงบทบาทในการต่อสู้กับอำนาจที่ไม่เป็นประชาธิปไตย เขากล่าวว่า ถึงแม้รัฐธรรมนูญ 27 มิ.ย. 2475 จะมีการวางสถาบันสี่สถาบัน คือ กรรมการผู้แทนราษฎร สภาผู้แทนราษฎร ศาล และสถาบันกษัตริย์ให้อยู่ในสถานะที่เท่าเทียมกัน แต่จะเห็นได้ว่า ในช่วงแรกนั้นอำนาจส่วนใหญ่จะอยู่ที่สภา ทำให้เกิดการท้าทายจากกลุ่มอำนาจเก่าเพื่อช่วงชิงอำนาจกลับคืนมา ธำรงศักดิ์กล่าวถึงภาพลักษณ์ของนักการเมือง/ส.ส. ที่อยู่ในสภาว่า มักจะมีภาพลักษณ์ที่แย่ ดูเป็นนักเลง ต่างจากทหารหรือผู้นำกองทัพที่มีมาดนิ่ง สุขุม แต่ความจริงแล้ว ในช่วงก่อน 14 ตุลา จะเห็นว่าทหารได้เข้ามาเกี่ยวพันกับการเมืองมากขึ้น และวิธีหนึ่งที่จะเข้ามาเล่นการเมืองในระบบ คือการตั้งพรรคการเมืองของตนเองและสั่งสมประสบการณ์ทางการเมือง อย่างไรก็ตาม ภาพลักษณ์ที่แย่ๆ ของนักการเมือง เช่น การซื้อเสียง สกปรก ฯลฯ ในทหารไม่เคยได้ถูกบันทึกในสังคม กลับตกอยู่ในบรรดานักการเมืองและส.ส. เท่านั้น เหตุการณ์ 14 ตุลา ถึงแม้ว่าจะดูเหมือนเป็นชัยชนะของประชาธิปไตย แต่ธำรงศักดิ์ชี้ให้เห็นว่า เป็นช่วงที่วุฒิสภาได้ถูกนำกลับมาใช้อีกครั้ง โดยมีวาทกรรมว่าส.ส. ที่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาไม่มีการศึกษา มีความรู้ไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องตั้งผู้เชี่ยวชาญที่มาจากหลายสาขาอาชีพให้คำแนะนำ แต่ต่อมา รัฐธรรมนูญปี 2540 ก็ได้ทำให้สมาชิกสภามาจากการเลือกตั้งทั้งหมด มีการกระจายอำนาจสู้ท้องถิ่น มีการเลือกตั้งในระดับอบจ. อบต. โดยตรง ซึ่งควรเป็นหลักการเดียวกันกับการเลือกตั้งนายกฯ อย่างไรก็ตาม เมื่ออดีตนายกทักษิณ ชินวัตร เข้ามาในการบริหาร บางภาคส่วนจึงเกิดการต่อต้านและทำให้กระบวนการดังกล่าวหยุดชะงักลงไป พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่า สถานการณ์เปลี่ยนผ่านทางการเมือง อาจมองได้หลายแบบ ส่วนตัวเองจะมองจากคำว่า Democratization หรือ "การจรรโลงประชาธิปไตย" เขากล่าวว่า ที่ผ่านมาจะเห็นว่า การโค่นล้มประชาธิปไตย ง่ายกว่าการรักษาประชาธิปไตยมาก นักรัฐศาสตร์จึงพยายามศึกษาหาวิธิทำให้ประชาธิปไตยมีความมั่นคงยั่งยืน โดยการเปลี่ยนผ่านในที่นี้ เขาจึงจะหมายถึงการรักษาประชาธิปไตยให้ยั่งยืนแข็งแรง โดยก่อนหน้านี้ นักรัฐศาสตร์เชื่อว่า การทำประชาธิปไตยให้ยั่งยืน จะต้องทำให้สถาบันและรัฐธรรมนูญมั่นคง อย่างไรก็ตาม นักรัฐศาสตร์รุ่นหลังๆ มองว่า ต้องพัฒนาอย่างอื่นพร้อมกันไปด้วย เช่น วัฒนธรรมและประชาสังคม ซึ่งเป็นเรื่องของการส่งเสริมองค์ประกอบต่างๆ ที่รายล้อมให้สมบูรณ์มากขึ้น พิชญ์กล่าวว่า รัฐสภาไทย เป็นสถาบันทางการเมืองที่ขาดการศึกษาอย่างจริงจัง แทบจะเรียกได้ว่าขาดมากที่สุด ตอนนี้อาจจะกล่าวได้ว่ามีตำราเล่มเดียวที่ศึกษาเรื่องสภาผู้แทนฯ คือ หนังสือของศ.ดร. กนก วงษ์ตระหง่าน ชื่อ การเมืองในยุคสภาผู้แทนราษฎร นอกจากนั้นแล้ว ไมค่อยมีงานที่ศึกษารัฐสภาในฐานะที่เป็นตัวศึกษา ส่วนใหญ่จะเป็นงานศึกษารัฐธรรมนูญ พรรคการเมืองหรือการเลือกตั้งเป็นหลัก และเอารัฐสภาเป็นตัวแปรตาม เขาตั้งคำถามถึงระบบรัฐสภาว่า แน่นอนว่ารัฐสภาเกี่ยวข้องประชาธิปไตยแบบมีตัวแทน อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ก็มีตัวแทนอื่นๆ เพิ่มขึ้นมาจากรัฐสภามากมาย ทั้งฝ่ายบริหาร องค์กรอิสระ สื่อ กลุ่มผลประโยชน์ ต่างอ้างว่าเป็นตัวแทนของประชาชนทั้งสิ้น ดังนั้น รัฐสภาจึงต้องถามตนเองด้วยว่าความเป็นตัวแทนของประชาชนของตนนั้นอยู่ที่ตรงไหน อย่างไรก็ตาม แม้รัฐสภาจะมีองค์กรคู่แข่งที่อ้างว่าเป็นตัวแทนของประชาชนมาก แต่จะเห็นว่าในทางประวัติศาสตร์ รัฐสภาจำนวนมากในโลกได้เป็นองค์กรที่ต่อรองอำนาจกับองค์อธิปัตย์เดิม หรือสถาบันกษัตริย์ เช่นในกรณีของอังกฤษ เป็นการแย่งชิง Popular Sovereignity (อธิปไตยของประชาชน) ระหว่างรัฐสภาและกษัตริย์ ทั้งนี้ รัฐสภามีความพิเศษต่างไปจากสถาบันอื่นคือ มันถูกระบุไว้ในรธน. มีที่มาจากการเลือกตั้งอย่างชัดเจน ถึงแม้จะมีสมาชิกสภาที่มาจากการแต่งตั้งบ้าง แต่ส่วนใหญ่ก็มาจากการเลือกตั้ง นอกจากนี้ ไม่ว่าจะมีช่องทางในการเสนอกฎหมายกี่ทาง แต่รัฐสภาเป็นสถาบันสุดท้ายที่ทำให้กฎหมายผ่านออกมาได้ ไม่มีอำนาจได้สามารถยับยั้งได้ แม้แต่อำนาจของกษัตริย์ ฉะนั้น จึงจะเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในด้านกฎหมาย มาจากรัฐสภาเป็นส่วนใหญ่ เมื่อปี 2540 มีการเปลี่ยนแปลงทางรัฐธรรมนูญที่สำคัญ มีการนิยามคำใหม่ๆ ขึ้นจากนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ เช่น ชัยอนันต์ สมุทรวานิช คือเกิดคำใหม่ว่า Rational Parliamentary System คือ ระบบรัฐสภาแบบมีเหตุมีผล มีความเชื่อกันว่า ลักษณะของรัฐสภาที่ควรจะเป็น คือต้องทำให้มีเหตุผลมากที่สุด มีการกำหนดวุฒิการศึกษาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่พิชญ์ได้ตั้งคำถามว่า ในปัจจุบัน ก็ยังเป็นที่ถกเถียงว่ายังมีความเหมาะสมและควรจะใช้คำนี้ต่อไปหรือไม่ พิชญ์ทิ้งท้ายด้วยคำถามที่ว่า บุคคลในสภาที่ไม่ได้มาจากประชาธิปไตยทางตรง เช่น การสรรหา การแต่งตั้ง จะสามารถทำหน้าที่เป็นตัวแทนพิทักษ์ประชาธิปไตยและประชาชนได้หรือไม่ และจะทำหน้าที่อะไร แทนที่เราจะมองว่าเป็นทายาทของระบอบเผด็จการ ควรจะลองตั้งคำถามว่าพวกเขาสามารถเป็นประโยชน์ให้แก่ระบบรัฐสภาได้อย่างไรบ้าง จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และอดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พัฒนาของระบอบรัฐสภาไทย เป็นไปอย่างช้ามาก ฉะนั้น ตัวองค์กรรัฐสภาก็จะอยู่ในสภาพที่ไม่เข้มแข็ง ส่วนเรื่องการเปลี่ยนผ่าน หากมองว่าเป้นการเปลี่ยนผ่านจากระบบเผด็จการเป็นประชาธิปไตยนั้น อาจจะบอกไม่ได้ว่าจะเปลี่ยนไปเป็นประชาธิปไตยจริงหรือไม่ เพราะที่ผ่านมา 80 ปีก็มีการรัฐประหารบ่อยครั้ง และถึงแม้จะบอกว่าจะเปลี่ยนไปก้าวหน้า แต่กลับถอยหลังกว่าเดิม ฉะนั้นจะเห็นว่า ไทยปกครองกันเป็นผด็จการเสียส่วนใหญ่ รัฐสภามีอายุสั้น มีนายกจากกองทัพ 50 ปี ถึงแม้มีนายกพลเรือนได้ราว 30 ปี แต่ก็ยังตกอยู่ภายใต้ประชาธิปไตยครึ่งใบ เขากล่าวว่า จากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬปี 2535 มาจนถึงการปฏิรูปการเมืองปี 2540 สังคมไทยก็ผ่านกระบวนการฉันทามติและมีกลไกร่วมกันว่า ต้องการนายกรัฐมนตรีที่มาจากส.ส. มีพรรคการเมืองที่เข้มแข็ง หากแต่การรัฐประหาร ปี 2549 ก็ทำให้กระบวนการดังกล่าวหยุดชะงักลง เกิดการตุลาการภิวัฒน์ที่ทำให้ศาลเข้ามาแทรกแซงทางการเมือง อีกทั้งมีการจัดทำรัฐธรรมนูญที่ไม่ชอบธรรม ทำให้นำมาสู่การเลือกตั้งที่ไม่ชอบธรรม รัฐสภาจึงถูกทำให้อ่อนแอลงอย่างมาก องค์ประกอบของความไม่เป็นประชาธิปไตยและสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับหลักนิติธรรมจึงยังดำรงอยู่ถึงปัจจุบัน เขาจึงชี้ว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับจึงมีความจำเป็น เพื่อทำให้สถาบันต่างๆ มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น สอดคล้องกับหลักนิติธรรม อย่างไรก็ตาม ความพยายามในการแก้ไขกลับเผชิญอุปสรรคจากศาสรัฐธรรมนูญ ที่ซึ่งคำวินิจฉัยเมื่อเร็วๆ นี้ ชี้ให้เห็นว่าศาลได้แทรกแซงอำนาจนิติบัญญัติ ซึ่งนับว่าล้าหลังอย่างมาก "ประเทศไทยควรจะเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยที่มีระบบรัฐสภาทีjให้ประชาชนเลือกผู้แทนมากำหนดรัฐบาล มากำหนดกฎหมาย ประชาชนเลือกผู้แทนของตนเองผ่านการเลือกตั้ง นี่เป็นรัฐศาสตร์ 101 แต่ประเทศไทยก็ยังไม่เป็นอย่างนี้สักที" จาตุรนต์กล่าว
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
หยุดเขื่อนไซยะบุรี! คนแม่น้ำโขงยังรอสัญญาณ รัฐบาลไทยจะ ‘ฟัง’ หรือ ‘เมิน’ Posted: 13 Sep 2012 11:57 AM PDT รณรงค์หยุดเขื่อนไซยะบุรี ชาวบ้านแม่น้ำโขงยังรอสัญญาณเข้าพบนายกยิ่งลักษณ์ ลุ้นรัฐบาลไทยจะฟัง หรือเมิน เสียงคนไทยริมโขงและคนภูมิภาค การเคลื่อนไหวต่อต้านการสร้างเขื่อนไซยะบุรีบนลำน้ำโขงทวีความร้อนแรงขึ้นอีกระลอก ในช่วงหนึ่งอาทิตย์ของนิทรรศการและการรณรงค์ "ปกป้องแม่น้ำโขง หยุดเขื่อนไซยะบุรี" โดยเครือข่ายประชาชนลุ่มแม่น้ำโขงภาคอีสาน 7 จังหวัด ร่วมกับพันธมิตรกลุ่มภาคประชาสังคมต่างๆ ตั้งโต๊ะลงชื่อคัดค้านเขื่อนกับโปสการ์ดปลาบึก ท่ามกลางกิจกรรมที่กำลังดำเนินไป ชาวบ้านและเครือข่ายพันธมิตรกำลังรอคำตอบในการให้เข้าพบของนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หลังการร้องขออย่างเป็นทางการจากตัวแทนเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบลลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน, เลขาธิการคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กปอพช.) และประธานมูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เช่นเดียวกันกับ เครือข่ายแม่น้ำประเทศเวียดนาม (Vietnam Rivers Network [VRN]) เผยแพร่ข้อความเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2555 แสดงความเป็นห่วงในสถานการณ์การสร้างเขื่อนไซยะบุรี โดยระบุว่า "แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำนานาชาติ และมีความสำคัญในระดับนานาชาติ ไม่ควรถูกใช้ให้เป็นพื้นที่ทดลองเทคโนโลยีการสร้างเขื่อน" หมายเหตุ: ดูกำหนดการ (คลิก)
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พม่าโยกย้ายนายทหารขึ้นแท่นรัฐมนตรีหลายตำแหน่ง Posted: 13 Sep 2012 10:11 AM PDT
กองทัพพม่าปรับเปลี่ยนโยกย้ายผู้นำเหล่าทัพหลายตำแหน่งทั้งในรั แหล่งข่าวผู้ใกล้ชิ สำหรับนายทหารที่ถูกโยกย้ายล้ พลจัตวาอ่องโจ ผู้อำนวยการโรงเรี ด้านนายอ่องจ่อซอ นักวิเคราะห์การเมืองในพม่ ทั้งนี้ อ่องจ่อซอ ยังวิเคราะห์ถึงการย้ายพล.ต.อ่
ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่ "คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชาวเยเมนบุกสถานทูตสหรัฐฯ ประท้วงภาพยนตร์ล้อศาสนา Posted: 13 Sep 2012 09:42 AM PDT หลังเกิดเหตุรุนแรงในลิเบีย และการประท้วงจากชาวมุสลืิมในประเทศอื่นๆ ล่าสุดชาวเยเมนก็พากันบุกเข้ 13 ก.ย. 2012 - ผู้ประท้วงชาวเยเมนบุกเข้ ผู้เห็นเหตุการณ์รายงานว่า ผู้ประท้วงได้ถอนป้ายสถานทูตที่ อย่างไรก็ตามผู้ประท้วงไม่ สถานทูตเยเมนประจำกรุงวอชิงตัน ออกมาประนามการจู่โจมในครั้งนี้ ในวันเดียวกันยังมีการประท้ โดยมีชาวอิหร่านราว 500 คนเดินขบวนไปยังสถานทูตสวิ
ที่มา เรียบเรียงจาก Demonstrators chanting 'death to America' storm US embassy in Yemen over Prophet Mohammed film as protests spread, The Independent, 13-09-2012 http://www.independent.co.uk/ Angry protests spread over anti-Islam film, Aljazeera, 13-09-2012 http://www.aljazeera.com/ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ความเห็นกับการเสวนา 'แก๊สกับน้ำมัน: ทำไมถึงแพง' Posted: 13 Sep 2012 08:44 AM PDT การเสวนา "แก๊สกับน้ำมัน: ทำไมถึงแพง" ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม การนำเสนอกลุ่มนี้ได้มีข้อเสนอที่แตกต่างไปจากเดิมที่มุ่งให้นำ ปตท.ออกจากตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงการเคลื่อนไหวที่เรียกร้องให้ตั้งราคาขายปลีกน้ำมันไว้ที่ 19 บาท มาสู่การปรับเชิงโครงสร้างมากขึ้น บางข้อเสนอ เช่น การปรับปรุงการจัดเก็บค่าภาคหลวงและส่วนต่างระหว่างราคาหน้าโรงกลั่นกับราคาตลาดสิงคโปร์ ตรงกับบทความ "น้ำมันไทยโชติช่วงชัชวาล" ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ประชาไท เมื่อ 24 พฤษภาคม ข้อมูลนำเสนอครั้งนี้ยังมีรายละเอียดที่แตกต่างกันที่จะขอร่วมอภิปรายเพื่อนำไปสู่การแสวงหาสารสนเทศที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ควรเปรียบเทียบกับราคาน้ำมันยุโรปด้วย ตารางที่ 1 ราคาน้ำมันในยุโรป
ที่มา drive-alive.co.uk [1] ข้อพิจารณาประการหนึ่งของการกำหนดราคาน้ำมันสูงด้วยการจัดเก็บภาษีสูง ไม่ใช่เรื่องแปลก เนื่องจากรถยนต์ เป็นสินค้าที่ใช้ทรัพยากรสิ้นเปลือง เมื่อมีรถยนต์ ก็ต้องสร้างถนนให้ใช้งาน ดังนั้น การจัดเก็บภาษีน้ำมันสูง จึงไม่ใช่เรื่องแปลก ถึงแม้ว่าจะเป็นการกีดกันการใช้รถยนต์จากสาเหตุราคาน้ำมันแพง ในกรณีของประเทศไทย มีความซับซ้อนมากขึ้นไปอีกด้วยจัดเก็บภาษี (กองทุนน้ำมัน) เพื่อไปอุดหนุนราคาก๊าซแอลพีจี ซึ่งใช้ทั้งภาคครัวเรือน ขนส่ง และอุตสาหกรรม สิ่งที่ควรทำ คือการปรับโครงสร้างราคาพลังงานให้สะท้อนกลไกตลาด เพื่อมิให้ผู้ใช้น้ำมันเบนซินต้องไปอุดหนุนผู้ใช้ก๊าซแอลพีจี การอุดหนุนราคาแอลพีจี ตารางที่ 2 ต้นทุนราคาขายปลีกก๊าซแอลพีจี วันที่ 23 มกราคม 2555
ที่มา สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน, Price Structure of Petroleum Products in Bangkok [2] แต่ว่าราคาขายปลีกให้กับรถยนต์ยังอยู่ระหว่างกิโลกรัมละ 12 – 13 บาท ทำให้ข้อมูลการอุดหนุนราคาก๊าซแอลพีจีที่ใช้กับภาคอุตสาหกรรมจึงน่าจะเป็นได้ ในเมื่อมีการประกาศราคาก๊าซของสำนักงานนโยบายพลังงานและแผน แล้ว กองทุนน้ำมันไม่ควรจะต้องจ่ายอุดหนุน ถ้าจะมีการอุดหนุนควรเป็นภาระของผู้จำหน่าย โครงสร้างการกำกับพลังงาน การกำกับรัฐวิสาหกิจของรัฐ ผ่านกระทรวงพลังงาน ทำให้ปลัดกระทรวงและเจ้าหน้าที่ระดับสูงจึงต้องเป็นตัวแทนของคณะกรรมการ ทำให้การกำกับด้านพลังงานโดยรัฐ และรัฐวิสาหกิจผู้ขายพลังงานในเชิงพาณิชย์ ในการอภิปรายครั้งนี้ อิฐบูรณ์ อ้นวงษา มูลนิธิผู้บริโภค เห็นว่าเป็นปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน ส่วนการอภิปรายถึงปัญหาการกำกับราคาพลัง ไม่ได้ให้ข้อมูลที่หนักแน่น เช่น ที่มาของราคาก๊าซ ราคาที่นำเสนอไม่สามารถหาที่มาของข้อมูลได้ ในการประเมินผลความสำเร็จหรือล้มเหลวของการกำกับ ควรอยู่ที่ราคาขายปลีกสินค้า ราคาน้ำมันปลีกเบนซินของไทยกับเพื่อนบ้านอาเซียนมีราคาไม่แตกต่างกันมากนัก ยกเว้น มาเลเซียที่เป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน แพงกว่าสหรัฐ แต่ถูกกว่าราคาขายปลีกในยุโรป ในด้านราคาน้ำมันดีเซลมีราคาเชิงเปรียบเทียบต่ำเท่ากับประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน เช่น รัสเซีย น้ำมันในประเทศไทยมีราคาค่อนข้างแพงเฉพาะน้ำมันเบนซิน เนื่องจากมีภาระภาษีและกองทุนน้ำมันสูงเพื่อนำไปอุดหนุนราคาก๊าซแอลพีจี แต่ราคาน้ำมันดีเซลไม่แพงไปจากตลาดโลกและเป็นแบบนี้มานานมาก มีผลทำให้โครงสร้างการใช้น้ำมันของไทยมีการบิดเบือน ดังนั้น ควรจะต้องแก้ไขปัญหาโครงสร้างราคาน้ำมันและพลังงานไม่ให้บิดเบือนต้นทุน ระดับราคาและเหตุผลในการจัดเก็บภาษีเพิ่มเติมกับน้ำมันบางประเภทมาจากนโยบายด้านของรัฐ การผูกขาดในอุตสาหกรรมโรงกลั่นของ ปตท. ไม่ได้เป็นต้นเหตุทำให้น้ำมันบางประเภทนั้นมีราคาสูง เพียงแต่ราคาหน้าโรงกลั่นยังไม่ใช่ราคาประสิทธิภาพการกลั่น และแสวงผลกำไรเพิ่มเติมจากปกติ ในด้านพลังงานไฟฟ้า ประเทศไทยใช้ก๊าซผลิตไฟฟ้ารวมร้อยละ 75 ราคาก๊าซ ถ้าราคาก๊าซแพงมากยอมมีผลกับต้นทุนราคา เว็บไซต์ Wikipedia [3] ได้รวบรวมข้อเบื้องต้นราคาไฟฟ้า ตามที่ได้นำมาแสดงในตารางที่ 3
ตารางที่ 3 การเปรียบเทียบค่าไฟฟ้า
ที่มา Wikipedia, Electricity Pricing
ทั้งราคาน้ำมันและไฟฟ้าที่ประมวลมาไม่พบว่าได้สร้างภาระให้กับผู้บริโภค ความจำเป็นในการปรับโครงสร้างการกำกับของ อิฐบูรณ์ อาจจะไม่มีความจำเป็น ด้านฐานะของปลัดกระทรวงและข้าราชการกระทรวง ในตำแหน่งกรรมการกำกับและกรรมการรัฐวิสาหกิจ ควรจะพิจารณาให้เหมาะสม มิฉะนั้น กรรมการกำกับด้านพลังงานควรเลือกตัวแทนของมูลนิธิผู้บริโภคมาเป็นกรรมการ เพื่อปกป้องประโยชน์ของผู้บริโภค เหมือนกับ กสทช ที่มีตัวแทนของเอ็นจีโอด้านผู้บริโภคอยู่เดียว ทำให้ กสทช. ไม่มีข้อแย้งกับองค์กรด้านนี้ และยังได้การสนับสนุนในทางสาธารณะอีกด้วย บัตรเครดิตพลังงาน แต่ต้นทุนต่ำที่สุดในโลกอาจจะไม่ใช่เรื่องจริง เมื่อช่วงปี 2540 เมื่อโรคต้นยำกุ้งได้แพร่ไปทั่วเอเชีย ราคาน้ำมันดิบตกลงเหลือประมาณ 10 - 12 เหรียญสหรัฐ สิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยคือ ไทยเชลล์ พยายามสัมปทานการผลิตก๊าซและน้ำมัน ยูโนแคล หรือเชฟรอนในปัจจุบัน สนใจซื้อเฉพาะสัมปทานในทะเล แต่ไทยเชลล์ต้องการขายทั้งบนฝั่งคือแหล่งลานกระบือด้วย ทำให้การตกลงจึงไม่เกิดขึ้น ถ้าต้นทุนการผลิตน้ำมันของไทยต่ำจริง การเสนอขายสัมปทานของไทยเชลล์ไม่ควรเกิดขึ้น เช่น ถ้าต้นทุนต่ำเท่ากับตะวันออกกลาง คือ 2 เหรียญต่อบาร์เรล จากประมูลสัมปทานสำรวจและขุดเจาะในอิรักเมื่อปี 2551 แหล่งลานกระบือ ยังทำกำไรปีละหลายร้อยล้านบาทจากปริมาณการผลิตวันละ 25,000 บาร์เรลต่อวัน ในประเด็นบัตรพลังงาน คุณสมลักษณ์ วิจารณ์บัตรเครดิตพลังงานไว้ว่า "สิ่งที่คิดว่าเป็นความเลวร้ายของสังคมไทยในวันนี้คือบัตรเครดิตพลังงาน ซึ่งแทนที่จะให้ประชาชนไทยทุกคนได้รับความเป็นธรรมอย่างทั่วถึงในการเข้าถึง พลังงานทั้งไฟฟ้าและน้ำมัน กลับกลายเป็นการใช้บัตรเครดิตพลังงาน แล้วสร้างบุญคุณระหว่างรัฐกับผู้รับบัตรเครดิตคือกลุ่มคนขับมอเตอร์ไซค์-แท็กซี่ คือใช้ระบบประชานิยมทั้งที่ๆ ทรัพย์สินเหล่านั้นเป็นของประชาชนอยู่แล้ว" ในด้านการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการกอบโกยผลประโยชน์ของบริษัทพลังงานต่างชาติ คงจะไม่จำกัดเฉพาะรัฐบาลชุดนี้ แต่ย้อนหลังไปถึง พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ผู้ให้สัมปทานการขุดเจาะเกิดขึ้น เป็นต้นมา แต่พอจะอนุโลมให้ พลเอกเปรมได้เพราะอาจจะเกรงว่า ถ้าจัดเก็บผลประโยชน์สูงจะไม่จูงใจให้มีการลงทุน รัฐบาลชุดอื่น อาทิ พลเอกสุรยุทธ์ จุฬานนท์ นายกรัฐมนตรีในยุคน้ำมันแพง และมีการลงทุนด้านพลังงานมากมาย รวมทั้งเป็นรัฐบาลเผด็จการที่ได้ออกกฎหมายหลายร้อยฉบับแต่ไม่แตะต้องเรื่องนี้ สิ่งที่ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับบัตรพลังงาน ประการแรกคือ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง และแท็กซี่ เป็นระบบขนส่งสาธารณะแบบหนึ่ง ดังนั้น การวิจารณ์ว่า บัตรเครดิตพลังงานเป็นเอื้อประโยชน์เฉพาะกลุ่ม และสร้างความไม่เป็นธรรมในการเข้าถึงพลังงาน จึงไม่ถูกต้อง ประการต่อมา นโยบายนี้ของพรรคเพื่อไทยอยู่บนฐานเดียวกับบัตรเครดิตปัจจัยการผลิตของเกษตรกร เพียงแต่มอเตอร์ไซค์-แท็กซี่ ใช้ปัจจัยการผลิตเป็นพลังงาน ในเรื่องนี้จึงเห็นได้ว่าเป็นการมองปัญหาเฉพาะจุด และมองว่าบัตรเครดิตการซื้อเสียง (เชิงนโยบาย) เพื่อปิดบังการแก้ไขกฎหมายด้านพลังงานให้เอื้อประโยชน์กับสาธารณะนั้นไม่มีความเกี่ยวข้องกัน เพียงการสะท้อนว่าความคิดว่า ประชาชน (ฝ่ายเพื่อไทย) โง่ เลว และซื้อได้ ข้อกังวลกับความรู้ด้านพลังงานของหน่วยงานรัฐ "ที่มีการพูดกันว่าประเทศไทยจะใช้ก๊าซธรรมชาติหมดภายในกี่ปี ตรงนี้เป็นเรื่องที่บอกได้ยากมาก เพราะข้อแรกคือก๊าซนั้นอยู่ใต้ผืนแผนดิน เจ้าของก๊าซไม่ใช่คนไทยแต่เป็นบริษัทเชฟรอน ตัวเลขเป็นข้อมูลของบริษัทเอกชน เมื่อเขาบอกมาอย่างไรเราไม่มีทางรู้มากกว่านั้น" ทำให้เกิดความสงสัยว่า การผลิตก๊าซในอ่าวไทยเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2529 ผ่านมากว่า 20 ปี แต่ดูเหมือนว่าประเทศยังไม่มีฐานความรู้ด้านนี้อย่างเพียงพอ ทั้งที่รายงานการผลิตก๊าซธรรมชาติของเชฟรอนมีการส่งให้สม่ำเสมอ ตามรายงานประจำปีของกรมเชื้อเพลิงพลังงาน ควรจะเพียงพอในการสร้างแบบจำลองการวิเคราะห์ปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติได้ แต่ไม่น่าแปลกใจมากนัก เมื่อ ดร.สุภิชัย ตั้งข้อสงสัยกับกรณีการ ปตท.สผ. ซื้อคืนหลุมก๊าซจากเอกชน ว่า "ถ้าหลุมมันดีแล้วเขาจะอยากขายไหม ตรงนี้ต้องพูดอย่างตรงไปตรงมาว่าเราตามเขาทันไหม" ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า ปตท.สผ. กำลังเข้าตลาดหลักทรัพย์ ทำให้มีต้องการสถานะเจ้าของสัมปทานแหล่งบงกช จึงซื้อหุ้นมาจากโทเทล (Total) และยังคงให้โทเทลเป็น operator และ ปตท.สผ., โทเทล และยูโนแคล หรือเชฟรอนในปัจจุบัน ก็ได้จูงมือกันไปพัฒนาแหล่งยานาดาในพม่า เรื่องนี้ไม่มีความลึกลับแม้แต่น้อย ในประเด็นก๊าซหมดเมื่อไร หลุมขุดเจาะที่เกิดขึ้นในอ่าวไทย ตามสัญญายูโนแคล 1, 2 และ 3 ผู้ผลิตได้พยายามขุดเจาะในแหล่งเดิมอย่างเต็มที่ ในปี 2542 เป็นต้นมา มีการขุดเจาะในแหล่งผลิตต่างๆ ลึกลงไปใต้ดินหลายพันฟุต จึงทำให้มีก๊าซส่งมอบให้กับ ปตท. ดังนั้น โอกาสก๊าซหมดไปจากแหล่งผลิตเกิดได้แน่นอน เพียงแต่ว่าเมื่อไร จากการแสดงถึงการไม่มีสารสนเทศที่ดี และขาดความเข้าใจต่อพลวัตรในธุรกิจพลังงานของประเทศ จึงมีความสงสัยเป็นอย่างยิ่งว่าคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน มีความสามารถเพียงพอต่อการกำกับหรือไม่ สิ่งที่ควรทำอย่างยิ่งคือ การปรับโครงสร้างราคาพลังงาน การอุดหนุนราคาพลังงานทำให้มีความสูญเสียทางเศรษฐกิจมากกว่า เช่น การอุดหนุนราคาก๊าซแอลพีจี ทำให้ประเทศสูญเปล่ากับการลักลอบขายก๊าซแอลพีจีไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เหมือนกับคนไทยตามชายแดนไทย-มาเลเซียมักจะข้ามแดนไปเติมน้ำมันในฝั่งมาเลเซีย ในการอุดหนุนก๊าซแอลพีจีได้สร้างความไม่ธรรมกับผู้ใช้น้ำมันเบนซิน เนื่องจาก พวกเขาต้องรับภาระเงินกองทุนน้ำมันเพื่อนำไปชดเชยราคาให้ก๊าซแอลพีจีถูกลง ในขณะที่ การกำกับราคาพลังงานของประเทศที่ผ่านมาไม่ได้สร้างภาระการครองชีพ และภาระต้นทุนการผลิตของภาคการผลิต ประเทศยังมีความสามารถในการแข่งขัน จึงไม่เรื่องเร่งด่วนในการแก้ไข แต่การจัดเก็บค่าภาคหลวงให้เหมาะสมกับราคาและต้นทุนเป็นสิ่งสำคัญและเร่งด่วน เหมือนกับปรับโรงสร้างราคาพลังงาน ในขณะที่ราคาพลังงานค่อนข้างทรงตัวและลดลง เพราะภาวะเศรษฐกิจของประเทศผู้ใช้รายใหญ่คือ ยุโรปและสหรัฐไม่ดี จึงควรใช้โอกาสในปรับโครงสร้างราคาพลังงานให้เหมาะสม
อ้างอิง [2] สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน, Price Structure of Petroleum Products in Bangkok, [http://www.eppo.go.th/petro/price/index.html] [3] Wikipedia, Electricity Pricing, [http://en.wikipedia.org/wiki/Electricity_pricing] [4] energy.eu, [http://www.energy.eu/#domestic] [5] Malaysia, Report Performance, [http://www.st.gov.my/images/stories/upload/st/st_files/public/Report_Performance.pdf] [6] abs-cbnnews.com, Electricity price at spot market hits P12.96/kWh, [http://www.abs-cbnnews.com/business/04/19/10/electricity-price-spot-market-hits-p1296kwh] [7] Russia, [http://www.mosenergosbyt.ru/portal/page/portal/site/personal/tarif/msk] [8] Singapore Power Group, SP Services, [http://www.singaporepower.com.sg/irj/go/km/docs/wpccontent/Sites/SP%20Services/Site%20Content/Tariffs/documents/latest_press_release.pdf] [9] BOI, UTILITY COSTS, [http://www.boi.go.th/index.php?page=utility_costs&language=en] [10] US EIA, Electric Power Monthly, [http://www.eia.gov/electricity/monthly/] [11] Vietnam, Reuters, [http://af.reuters.com/article/commoditiesNews/idAFL3E7NJ28I20111219]
ข่าวและบทความเกี่ยวข้อง [2] น้ำมันไทยโชติช่วงชัชวาล, 24 พฤษภาคม 2555, [http://prachatai.com/node/40640]
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "เลือกคนเก่าน้ำไม่ท่วม" Posted: 13 Sep 2012 08:39 AM PDT | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ความเสื่อมของสื่อมวลชนกระแสหลัก Posted: 13 Sep 2012 07:56 AM PDT วิกฤตการเมืองในระยะกว่าหกปีมานี้ สื่อมวลชนกระแสหลักของไทย ทั้งฟรีทีวี วิทยุ และหนังสือพิมพ์ค่ายต่าง ๆ ล้วนเป็นกลุ่มผู้ร่วมสมคบก่อเหตุที่สำคัญที่สุดกลุ่มหนึ่ง จนอาจกล่าวได้ว่า คนพวกนี้ "มือเปื้อนเลือด" ไม่ได้น้อยไปกว่าพวกอันธพาลการเมืองที่เรียกตัวเองว่า พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เบื้องหลังพฤติการณ์ของสื่อมวลชนกระแสหลักเหล่านี้ก็คือ ความคิดที่รับใช้เผด็จการ ผนวกกับผลประโยชน์ทางธุรกิจ ทั้งของนายทุนเจ้าของสื่อและนักสื่อสารมวลชนอาชีพเกือบทุกระดับ สื่อสารมวลชนในยุคปัจจุบันที่เป็นค่ายใหญ่ ๆ เป็นธุรกิจมูลค่านับหมื่นล้านบาท มีเครือข่ายโยงใยผลประโยชน์ไปยังเครือข่ายราชการที่อยู่ในอำนาจรัฐและสายสัมพันธ์กับพรรคการเมืองเก่าแก่บางพรรค อยู่ภายในโครงครอบทางอำนาจและอุดมการณ์จารีตนิยมที่คอยบ่อนทำลายระบบการเมืองแบบเลือกตั้งในประเทศไทยมาทุกยุคสมัย อิงแอบอำนาจและแบ่งปันผลประโยชน์กับพวกเผด็จการแฝงเร้นจนแยกกันไม่ออก การเมืองแบบเลือกตั้งที่ถูกตัดตอนด้วยรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่านั้น เต็มไปด้วยจุดอ่อนมากมาย สื่อมวลชนกระแสหลักจึงรับหน้าที่เป็นแกนหลักในการเผยแพร่และตอกย้ำวาทกรรม "นักการเมืองเลว" มาทุกยุคสมัย ปั่นกระแสในหมู่คนชั้นกลางในเมืองให้เกลียดชังนักการเมือง สร้างเงื่อนไขทางความคิดในหมู่ประชาชน ที่นำไปสู่รัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและฉีกรัฐธรรมนูญทุกครั้งนับตั้งแต่ปี 2519 เป็นต้นมา นักสื่อมวลชน ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง ลงมาถึงบรรณาธิการ คอลัมนิสต์ คนเขียนข่าว จนถึงคนอ่านข่าวหน้าจอทีวีและวิทยุ เป็นกลุ่มวิชาชีพพิเศษเช่นเดียวกับนักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย คือสถาปนาตนเองเป็นฐานันดรที่แยกจากประชาชนทั่วไป ด้วยการสมมติ "จรรยาบรรณและจริยธรรม" ชุดหนึ่งขึ้นมา ให้สาธารณชนเชื่อว่า พวกตนเป็นกลุ่มคนที่มีความสูงส่งทางสติปัญญา สถานะ ความรู้ เต็มไปด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและคุณธรรม คนพวกนี้รวมตัวกันอยู่ในองค์กรอาชีพ เป็นสมาคมสื่อมวลชนประเภทต่าง ๆ มีจุดประสงค์หลักคือ ปกป้องผลประโยชน์และสถานะของคนในอาชีพมิให้ถูกตรวจสอบจากสาธารณชน มีกิจกรรมหลักคือ เชิดชูกันเอง ให้รางวัลกันเองไปมา และคอยข่มขู่ผู้คนที่กล้าวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบพวกเขาว่า "คุกคามสื่อ" มีแต่พวกเขาเท่านั้นที่ดีพอ สูงส่งพอ สะอาดพอที่จะไปตรวจสอบ ชี้นิ้วประณามคนอื่นได้หมด แต่สังคมไม่มีสิทธิ์ตรวจสอบคนพวกนี้ คนพวกนี้สังกัดกลุ่มทุนสื่อมวลชนที่ร่วมผลประโยชน์กับเผด็จการ ถูกบ่มเพาะอุดมการณ์รับใช้เผด็จการมาตั้งแต่เรียนอยู่ในคณะวิชานิเทศศาสตร์และสื่อสารมวลชนตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ต่อเนื่องมาถึงในที่ทำงาน มีสถานะพิเศษในสังคมที่แยกจากประชาชนทั่วไปและไม่ถูกตรวจสอบจากสาธารณชน ทำให้คนพวกนี้เป็นอนุรักษ์นิยมถอยหลังเข้าคลอง อหังการ เป็นอำนาจนิยม มีพฤติกรรม "มือถือสาก ปากถือศีล" สื่อมวลชนกระแสหลักของไทยครองอำนาจทางความคิดมายาวนาน สามารถ "สร้างประเด็น กำหนดวาระทางสังคม" ในแต่ละช่วงเวลาได้ตามสถานการณ์และผลประโยชน์ของพวกเขา คนพวกนี้ทรงอำนาจอิทธิพลอย่างสูงที่แม้แต่กลุ่มอำนาจในระบบราชการ ทหารตำรวจ และนักการเมืองยังต้องเกรงใจ ในช่วงกว่าหกปีมานี้ พวกเขามีบทบาทเป็น "เท้าที่สอง" ของพวกอันธพาลพันธมิตรฯ ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการปั่นกระแสความวุ่นวาย โจมตีใส่ไคล้รัฐบาลพรรคไทยรักไทยที่มาจากการเลือกตั้ง สร้างกระแสและความชอบธรรมที่นำไปสู่รัฐประหาร 2549 โดยตรง แล้วสื่อมวลชนพวกนี้ก็เข้าไปเสวยตำแหน่ง อำนาจ ผลประโยชน์จากรัฐประหาร ทั้งในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาร่างรัฐธรรมนูญ วุฒิสภาสรรหา รวมถึงการได้โครงการสัญญาจ้างในสื่อฟรีทีวีและวิทยุช่องต่าง ๆ แบ่งปันกันอย่างอิ่มหมีพีมัน คนพวกนี้แสดงออกอย่างชัดเจนด้วยการ "เลือกข้าง" สนับสนุนรัฐประหาร สภาและรัฐบาลจากรัฐประหาร สนับสนุนกลุ่มพันธมิตรฯ และพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งตนเป็นศัตรูกับประชาชนเสื้อแดงและพรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตย ใช้สื่อสารมวลชนในมือทุกชนิดโจมตีอย่างต่อเนื่องยาวนาน ในการสังหารหมู่เมษายน-พฤษภาคม 2553 สื่อมวลชนพวกนี้ก็ช่วยกันกระพือกระแสความเกลียดชัง ส่งเสียงเชียร์อย่างกระหายเลือดให้ทหารเข้าเข่นฆ่าคนเสื้อแดงตายเป็นร้อย บาดเจ็บหลายพันคน แล้วเป็นเวลาหลายเดือนหลังจากนั้น ก็ยังตาม "กระทืบซ้ำ" คนตายด้วยการปกปิดบิดเบือนข้อเท็จจริง ขณะที่ทหารฆ่าประชาชนด้วยปืน สื่อมวลชนพวกนี้ช่วยฆ่าซ้ำด้วยปากกา นี่คือบทบาทที่คนพวกนี้ถนัด หลังจากที่กระทำสำเร็จมาแล้วหนหนึ่งเมื่อ 6 ตุลาคม 2519 แต่ฝ่ายประชาธิปไตยก็ยังสามารถชนะเลือกตั้งถึงสองครั้ง นี่จึงเป็นครั้งแรกที่สื่อมวลชนกระแสหลักประสบความพ่ายแพ้ ไม่สามารถ "สร้างประเด็น กำหนดวาระ ปั่นหัวคน" ให้คิดและเชื่อไปตามที่พวกตนต้องการเหมือนที่เคยเป็นมา เงื่อนไขสำคัญที่ทำให้สื่อมวลชนกระแสหลัก "เสื่อม" ในครั้งนี้ก็คือ เทคโนโลยี คนพวกนี้มัวแต่หลงระเริงอยู่กับสถานะอภิสิทธิ์ชนของตน จมอยู่ในผลประโยชน์และกรอบความคิดคับแคบ บนเทคโนโลยียุคอนาล็อกอันล้าหลังที่พวกเขาควบคุมได้เบ็ดเสร็จตลอดมา ซึ่งก็คือสื่อบนกระดาษกับสื่อคลื่นในอากาศ เชื่อว่า พวกตนสามารถควบคุมความคิดของคนไทยไปได้ตลอดกาล จนลืมดูไปว่า พลังโลกาภิวัฒน์นั้นมาพร้อมกับอาวุธที่ทรงพลานุภาพอย่างยิ่งคือ "อินเตอร์เน็ตกับสื่อดิจิตอล" ที่มาถึงโดยไม่รู้ตัว ประชาชนมีทางเลือกในการแสวงหาข่าวสารข้อมูลและความคิดนอกกรอบไม่มีสิ้นสุด สื่อบนอินเตอร์เน็ตนี้เองที่กลายเป็น "กระดูกสันหลัง" ของสื่อสารทางเลือกที่มีลักษณะมวลชนอื่น ๆ คือ วิทยุโทรทัศน์อินเตอร์เน็ต วิทยุชุมชน และสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม ไปจนถึงเคเบิ้ลท้องถิ่น สื่อดิจิตอลและอินเตอร์เน็ตคือ "สื่อประชาธิปไตย" อย่างแท้จริง ที่ไม่มีใครผูกขาดควบคุม กำหนดเนื้อหาได้อีกต่อไป สื่อใหม่แห่งยุคโลกาภิวัฒน์นี้ได้ทำลายการผูกขาดข่าวสารข้อมูลของสื่อมวลชนกระแสหลัก ยิ่งสื่อทางเลือกแผ่ขยายออกไปเท่าไร ฐานะครอบงำของสื่อมวลชนกระแสหลักของไทยก็ยิ่ง "เสื่อมทรุด" ลงไปเท่านั้น จำนวนครัวเรือนที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ตและสื่อทางเลือกกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทุกนาที ทุกหมู่บ้านตั้งแต่ชานเมืองกรุงเทพไปถึงชนบททั่วประเทศ เราจะเห็นแต่จานดาวเทียมบนหลังคาบ้าน จำนวนคนที่ติดตามรายการโทรทัศน์ดาวเทียมผ่านจานดาวเทียม เคเบิลท้องถิ่น และวิทยุชุมชนนั้นมีมากกว่าคนดูฟรีทีวีและวิทยุหลักหลายเท่าตัว ลูกค้าที่ยังเสพย์ฟรีทีวี วิทยุและหนังสือพิมพ์กระแสหลักทุกวันนี้ มีจำนวนแคบลงไปทุกที จนกล่าวได้ว่า ฐานของสื่อกระแสหลักในวันนี้เหลือแต่คนชั้นกลางในกรุงเทพฯและหัวเมืองใหญ่เป็นสำคัญ คนเมืองที่ยังหลงคิดว่า ตัวเองฉลาด มีการศึกษา มีข่าวสารข้อมูลครบถ้วนกว่าคนชนบท แต่กลับจำกัดตัวเองอยู่กับฟรีทีวีเพียงไม่กี่ช่องกับหนังสือพิมพ์หลักไม่กี่ฉบับ และเชื่อทุกอย่างที่ถูกยัดเยียดมาให้ แต่คนประเภทนี้ก็กำลังลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว ทุกวันนี้ ชาวบ้านในชานเมืองและชนบทเขาอ่านหนังสือพิมพ์หลักและดูฟรีทีวีเฉพาะละครน้ำเน่าตอนหัวค่ำ ทอล์คโชว์ กับรายการข่าวประเภท "สัพเพเหระ" เท่านั้น เขาไม่เชื่อข่าวการเมืองจากคนพวกนี้อีกต่อไปแล้ว
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เอ็นจีโอขยับ ค้านรัฐอุ้มท่าเรือทวายแทนเอกชน หวั่นสร้างหนี้ กระทบสิทธิ Posted: 13 Sep 2012 04:33 AM PDT สุลักษณ์ ศิวรักษ์ นำขบวนแถลงค้านรัฐแบกภาระทำโครงการท่าเรือน้ำลึ 18 กันยายน 2555 หนังสือเชิญร่วมงานแถลงข่าว 'หยุดอุ้มโครงการท่าเรือน้ำลึ โดยหนังสือเชิญชวนให้เหตุผลว่า ด้วยปรากฏเป็นที่ชัดเจนว่า โครงการท่าเรือน้ำลึ ขณะนี้รัฐบาลไทยได้วางแผนเข้ เครือข่ายภาคประชาสังคมไทยได้ติ ทั้งนี้ทางเครือข่ายได้จัดให้มีการแถลงข่าว เพื่อสะท้อนข้อคิดเห็นและข้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สรุปสัมมนา กสม.: 'มาตรฐานการรักษาพยาบาลและการเข้าถึงการรักษาพยาบาล' Posted: 13 Sep 2012 04:20 AM PDT
13 กันยายน 2555 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) คณะอนุกรรมการด้านเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน จัดสัมมนาเรื่อง ระบบบริการสาธารณสุข : มาตรฐานการรักษาพยาบาลและการเข้าถึงการรักษาพยาบาล สรุปผลการสัมมนาได้ดังนี้ นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ การสัมมนามีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและความเห็นจากฝ่ายรัฐที่กำหนดนโยบายด้านบริการสาธารณสุข แพทย์ในพื้นที่จังหวัดชายแดน และผู้แทนของผู้รับบริการที่เป็นผู้ด้อยโอกาสกลุ่มต่างๆ เช่น บุคคลไร้รัฐ ชนกลุ่มน้อย กลุ่มชาติพันธุ์ คนชายขอบ แรงงานข้ามชาติ เด็กเร่ร่อน คนไร้ที่พึ่ง ผู้ด้อยโอกาส ฯลฯ เพื่อนำไปสู่การพัฒนางานบริการสาธารณสุขที่สอดคล้องกับความต้องการของทุกฝ่าย โดยเน้นให้บริการสาธารณสุขด้วยหลักมนุษยธรรมโดยเสมอภาคและเท่าเทียม ความเหมาะสมในบริบทสังคมไทย และอยู่บนฐานของหลักการด้านสิทธิมนุษยชน ในการนี้คณะอนุกรรมการฯ มีความมุ่งหวังที่จะประมวลข้อมูล ข้อเท็จจริง ความเห็น ข้อเสนอแนะ เพื่อนำมาประกอบการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในเรื่องนี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและพันธกรณีที่ประเทศไทยเป็นภาคีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนต่อไป นางจันทราภา จินดาทอง อำเภออุ้มผางมีประชากร 84,875 คน คนไข้มารับบริการที่รพ.อุ้มผาง เฉลี่ย 400 คนต่อวัน แต่มีหมอประจำเพียง 2 คน ปัญหาที่พบคือ ผู้รับบริการเป็นผู้ที่มีระบบประกันสุขภาพรองรับเพียง 38 % ที่เหลือเป็นผู้ที่ไร้หลักประกันมากถึง 62 % ซึ่งได้แก่กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เช่น ชาวเขาที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎร/ ผู้อพยพในศูนย์พักพิง/ ชาวพม่าที่เข้ามาทำงานโดยไม่ขออนุญาตเข้าเมือง/คนหมู่บ้านพื้นที่ชายขอบ เป็นต้น มีข้อสังเกตว่าจำนวนผู้ป่วยที่ไร้หลักประกันมีจำนวนสูงขึ้นทุกปี รพ.อุ้มผางจึงมีค่าใช้จ่ายด้านสังคมสงเคราะห์เพิ่มขึ้นมาก เฉลี่ย 30 ล้านบาทต่อปี อย่างไรก็ตาม ผอ.รพ. มีนโยบายว่าผู้ป่วยทุกคนต้องสามารถเข้าถึงและได้รับบริการตามความจำเป็นพื้นฐานด้านสุขภาพ เพื่อให้เป็นไปตามหลักมนุษยธรรม และเพื่อป้องกันการระบาดของโรคติดต่อ เช่น โรคหัด วัณโรค ไข้กาฬหลังแอ่น ฯลฯ สำหรับผู้ป่วยกลุ่มชาติพันธุ์ที่ไร้หลักประกันสุขภาพ รพ.ได้จัดทำบัตรขาวให้จำนวนประมาณ 15,000 คน เพื่อให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้เข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาลได้ ที่ผ่านมารพ.มีปัญหาด้านงบประมาณมาก ทางสาธารณสุขจังหวัดตากได้แก้ปัญหาด้วยการเฉลี่ยงบบัตรทองลงมาให้ อีกส่วนได้มาจากการรับบริจาค มีข้อเสนอ คือ 1) ขอสนับสนุนการใช้หลักมนุษยธรรมในการให้บริการสาธารณสุข เพราะคนทุกเชื้อชาติเสมอภาคกัน 2) ควรมีการเฉลี่ยงบประมาณทั้งระบบ เพื่อให้หน่วยบริการในพื้นที่ที่มีภาระด้านการดูแลผู้รับบริการกลุ่มชาติพันธุ์สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นายอดิศร เกิดมงคล ปี 2547 ครม. มีมติผ่อนผันให้มีแรงงานข้ามชาติจากสามประเทศ คือ พม่า ลาว และเขมร โดยแรงงานข้ามชาติต้องจัดทำทะเบียนประวัติและขออนุญาตทำงานกับกรมการจัดหางาน ระบบบริการสุขภาพของแรงงานข้ามชาติปัจุบันต้องซื้อประกันสุขภาพจากรพ. ในพื้นที่ 1,300 บาท/ปี แต่กำลังจะปรับเพิ่มขึ้น เพราะค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้น แต่ปัญหาก็คือแรงงานข้ามชาติจะได้ค่าแรงเพิ่มขึ้นจริงหรือไม่ มติครม. เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2555 กำหนดให้มีการพิสูจน์สัญชาติของแรงงานข้ามชาติให้เสร็จภายในต้นปี 2556 เพื่อให้แรงงานข้ามชาติมีสถานะเข้าเมืองโดยถูกกฎหมาย และมีสิทธิได้รับบริการสุขภาพตามระบบประกันสังคม กลุ่มที่ยังน่าเป็นห่วง คือ กลุ่มรับจ้างทำงานตามแนวชายแดนซึ่งไม่อยู่ในระบบประกันสังคม จึงมีปัญหาด้านการรับบริการสาธารณสุข ในที่สุดภาระจะไปตกที่รพ.จังหวัดชายแดนที่ต้องดูแลสุขภาพของกลุ่มนี้ สถานบริการสุขภาพบางหน่วยงานมีการพัฒนาที่ดี เช่น รพ.สมุทรสาคร มีการจ้างพนักงานสาธารณสุขต่างด้าวไว้ดูแลผู่ป่วยแรงงานข้ามชาติ หรือรพ.ระนอง มีการทำป้ายข้อความใน รพ. เป็นภาษาพม่า เป็นต้น แต่เนื่องจากเป็นการปฏิบัติในระดับพื้นที่ของบางหน่วยบริการเท่านั้น จึงควรกำหนดให้เป็นระดับนโยบายต่อไป ปัญหาอีกด้านคือ รพ.ในเขตเมืองใหญ่มีงบประมาณเหลือมาก เช่น ที่จังหวัดสงขลาเหลือปีละสิบกว่าล้าน แต่ รพ.ในพื้นที่ชายแดนกลับขาดแคลนงบประมาณ จึงควรมีการจัดงบประมาณให้เกิดความสมดุลในแต่ละพื้นที่ คณะกรรมการระดับต่างๆ ที่ดูแลการบริการสาธารณสุขในภาพรวมยังลักลั่นอยู่ จึงควรตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่งดูแลสาธารณสุขทั้งระบบเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันต่อไป ข้อเสนอ คือ 1) ควรมีมาตรฐานการบริการสาธารณสุขของทุกระบบอย่างเท่าเทียมกันโดยให้ผู้รับบริการทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงสิทธิได้เสมอภาคกัน 2) ควรมีกองทุนที่คำนึงถึงผู้รับบริการที่เป็นกลุ่มเปราะบางหรือด้อยโอกาส 3) ระบบประกันสุขภาพต้องคำนึงการย้ายถิ่นของผู้รับบริการที่มีความหลากหลาย ทางชาติพันธุ์ 4) การที่ประเทศไทยเตรียมเข้าสู่ระบบประชาคมอาเซียนทำให้มีการย้ายถิ่นของผู้รับบริการด้านสุขภาพมากขึ้น รัฐจึงควรมียุทธศาสตร์รองรับปัญหานี้ นางอาภา หน่อตา กลุ่มชาติพันธุ์มีความซับซ้อน มีวัฒนธรรมภาษาที่หลากหลาย การทำงานกับกลุ่มเหล่านี้จึงมีความละเอียดอ่อน แต่รัฐใช้วิธีจัดการบริการสาธารณสุขในลักษณะเป็นกลุ่มเดียวกัน ครม. มีมติเมื่อวันที่ 23 มีนา 2553 ให้ตั้งกองทุนการให้สิทธิ (คืนสิทธิ) ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขกับบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ จึงมีกลุ่มชาติพันธุ์ที่ได้สิทธิการรับบริการสาธารณสุขจากกองทุนดังกล่าว 4 แสนกว่าคน แต่ล่าสุดงบประมาณที่เคยให้ผ่านกองทุนถูกตัดไปกว่าครึ่งเพราะเป็นงบประเภทฉุกเฉินจึงถูกนำไปใช้ด้านการแก้ปัญหาอุทกภัย ทำให้กระทบต่อการให้บริการสาธารณสุขแก่กลุ่มชาติพันธุ์ ปัญหาอื่นก็มี เช่น การใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุขต้องเป็นไปตามหลักฐานทะเบียนราษฎรตามถิ่นที่อยู่เดิม แต่ในความเป็นจริงกลุ่มชาติพันธุ์ที่ย้ายถิ่นไปทำงานหรือเรียนที่อื่นไม่มีใครกลับมาเพราะไม่สะดวก ต้องยอมเสียเงินไปรักษาที่คลินิกหรือซื้อยากินเอง นอกจากนี้ยังมีกลุ่มที่ไม่ได้รับสิทธิจากกองทุน เช่น กลุ่มที่รอการขอสัญชาติซึ่งเจ้าหน้าที่มักอ้างว่าให้รอการได้สถานะเป็นคนไทยแล้วค่อยไปใช้บริการในระบบประกันสุขภาพ ซึ่งก็ต้องรอกันไปเรื่อย นอกจากนี้ยังมีปัญหาเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายในพื้นที่เรียกรับเงินในการจดทะเบียนสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ด้วย ข้อเสนอ คือ 1) ควรดูแลผู้รับบริการสาธารณสุขทุกกลุ่มในชุมชน 2) ควรเปิดโอกาสให้มีการขึ้นทะเบียนที่ไหนก็ได้ รักษาที่ไหนก็ได้ ตามพื้นที่ที่ทำงานจริง 3) การรักษาฉุกเฉินที่บริการร่วมกันของทุกกองทุนควรให้กลุ่มชาติพันธุ์มีโอกาสได้รับประโยชน์นี้อย่างเป็นจริงด้วย 4) ควรสร้างกลไกของล่ามสุขภาพชุมชนเพื่อให้การดูแลผู้ป่วยกลุ่มชาติพันธุ์มีประสิทธิภาพ นางสาวนุชนารถ บุญคง เด็กไร้สัญชาติในพื้นที่ตะเข็บชายแดนถูกผลักออกจากครอบครัวมากขึ้นกลายเป็นเด็กเร่ร่อนไม่มีที่อยู่เป็น หลักแหล่ง บางส่วนเข้ามาเร่ร่อนในกรุงเทพหรือพัทยา ต้องเสี่ยงต่อการถูกแสวงหาผลประโยชน์ เช่น การค้ามนุษย์ เด็กเร่ร่อนจะไม่รู้ว่าคุณค่าชีวิตของเขาคืออะไร บางคนไม่เคยเข้าโรงพยาบาลด้วยซ้ำ เด็กบางส่วนเป็นลูกของกรรมกรแรงงานข้ามชาติ เช่น แถวสำโรง จ.สมุทรปราการ ถึงกับมีโซนชุมชนชาวเขมร เด็กเหล่านี้เมื่อเจ็บป่วยไม่ไปรพ. ต้องเสียเงินรักษาที่คลินิกเพราะเข้าเมืองผิดกฎหมาย สุขภาพเด็กจึงแย่ลง บ้านแรกรับขององค์กรพัฒนาเอกชนและของรัฐ (พม.) ก็ยังไม่สามารถดูแลได้อย่างเต็มที่และมักติดขัดในเรื่องสถานะสัญชาติของเด็ก กลุ่มแรงงานเด็กที่เข้าเมืองผิดกม. จะมีปัญหาเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ที่อำเภอเชียงแสนมีจำนวนมากกว่า 50 คน ทิ้งลูกไว้ที่ รพ. และเด็กจำนวนหนึ่งไม่ยอมเรียนต่อเพราะต้องการไปทำงานบ่อนคาสิโนที่ ฝั่งลาว ปัญหายาเสพติดก็มีมากโดยพบว่าเด็กเร่ร่อน 90 % มีปัญหานี้ ข้อเสนอ คือ 1) ต้องแก้การเลือกปฏิบัติกับเด็กไร้สัญชาติ 2) รัฐควรเฝ้าระวังปัญหาวัณโรคและการติดชื้อเอชไอวีที่ระบาดมากในเด็กเร่ร่อน 3) กองทุนคุ้มครองเด็กยังเน้นการคุ้มครองการดูแลสุขภาพของเด็กสัญชาติไทย เด็กเร่ร่อนที่ไม่มีสัญชาติจึงอยู่นอกระบบ นายสุรพงษ์ กองจันทึก ประเทศไทยมีกฎหมายทั้งระดับระหว่างประเทศและภายในประเทศที่รับรองสิทธิการเข้าถึงบริการสาธารณสุขและหน้าที่ของรัฐที่จะต้องจัดบริการเหล่านี้ เช่น ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย นอกจากนี้ยังมีประกาศรับรองสิทธิของผู้ป่วยโดยองค์กรวิชาชีพด้านสุขภาพในประเทศไทย ได้แก่ แพทยสภา สภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา และคณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ แต่ปัจจุบันยังมีประเด็นปัญหาสิทธิด้านบริการสาธารณสุข คือ 1) ระบบการเข้าถึงสาธารณสุข ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความว่าหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะจัดให้เฉพาะผู้ที่มีสัญชาติไทยหรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเท่านั้น ทำให้มีการแก้นโยบายของรัฐจาก "30 บาทรักษาทุกโรค" เป็น "30 บาทช่วยคนไทยห่างไกลโรค" ทำให้กระทบต่อสิทธิการใช้บริการสาธารณสุขของผู้ด้อยโอกาสหรือ กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่ไม่มีหลักฐานยืนยันความเป็นคนไทยทั้งที่บุคคลเหล่านี้ได้อาศัยหรือทำงานในประเทศไทย จึงเป็นเรื่องที่รัฐควรพิจารณาพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขให้ครอบคลุมถึงกลุ่มบุคคลเหล่านี้ต่อไป มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้สิทธิด้านการรับบริการสาธารณสุขของกลุ่มชาติพันธุ์ คือ ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้มีหนังสือสั่งการถึงหน่วยบริการสาธารณสุขว่า 1) การรับแจ้งเกิด ให้หน่วยบริการสาธารณสุขทั้งเอกชนและรัฐถือเป็นหน้าที่ออกหนังสือรับรองการเกิด 2) สำหรับผู้รับบริการที่ไม่มีสัญชาตินั้น ให้หน่วยบริการดูแลการรักษาพยาบาลโดยเสมอภาคเท่าเทียม 0 0 0 ในช่วงท้ายของการสัมมนามีการการระดมความเห็น ซี่งดำเนินการโดย นางสาวจันทิมา ธนาสว่างกุล อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการสูงสุด ผู้เข้าร่วมการสัมมนามีความเห็นร่วมกันว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติควรมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายแก่รัฐบาล ในการจัดบริการด้านการแพทย์และการรักษาพยาบาลที่เหมาะสม ได้มาตรฐาน ไม่เสียค่าใช้จ่ายหรือเสียค่าใช้จ่ายในอัตราไม่สูง ให้แก่บุคคล 5 กลุ่ม คือ 1) บุคคลไร้รัฐ 2) แรงงานข้ามชาติที่ทำงานรับใช้ในบ้านและภาคเกษตรกรรม 3) เด็กเร่ร่อน 4) เด็กของบุคคลไร้รัฐ และ 5) เด็กของแรงงานข้ามชาติ โดยควรมีการปรับปรุงแก้ไขระบบบริการสาธารณสุขอย่างบูรณาการทุกมิติในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านนโยบายของรัฐ ระเบียบกฎหมาย มาตรการปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนกลไกการดำเนินงานด้านบริการสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพต่อไป ด้านนายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ กล่าวในตอนท้ายว่า ความเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมสัมมนาในวันนี้จะเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการนำไปใช้ประกอบการจัดทำข้อเสนอของ กสม. ต่อรัฐบาล เพื่อขยายขอบเขตสิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขให้เป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพตามที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญและสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตาม โดยให้ครอบคลุมถึงกลุ่มด้อยโอกาสที่ไม่ได้อยู่ในระบบบริการสาธารณสุขของรัฐแต่ควรได้รับการดูแลตามความจำเป็นต่อไป
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รมช.คมนาคม เตรียมลงพื้นที่แก้ปมไล่รื้อ “รถไฟฟ้าสายสีแดง-ทางด่วนศรีรัช-รถไฟรางคู่” Posted: 13 Sep 2012 04:07 AM PDT 'เครือข่ายสลัม 4 ภาค' ชุมนุมหน้า ก.คมนาคม รอรับฟังผลการเจรจาแก้ปัญหาไล่รื้อชุมชน ในพื้นที่ก่อสร้าง 3 โครงการใหญ่ รถไฟฟ้าสายสีแดง-ทางด่วนศรีรัช-รถไฟรางคู่ ขอนแก่น 'ชัจจ์ กุลดิลก' นั่งประธานคุย รับลงพื้นที่ดูผลกระทบสัปดาห์หน้า วันนี้ (13 มิ.ย.55) สมาชิกเครือข่ายสลัม 4 ภาค ราว 500 คน รวมตัวหน้าหน้ากระทรวงคมนาคมตั้งแต่เมื่อเวลา 09.30 น.เพื่อรอรับฟังผลการประชุมเพื่อแก้ปัญหาของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการไล่รื้อที่ดินของกระทรวงคมนาคม โดยมี พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในที่ประชุม
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
'ความจริงเท่าที่ทราบ' ต่อกรณีภาพยนตร์ฉาว Innocent of Muslim Posted: 13 Sep 2012 04:07 AM PDT อัลจาซีร่ารวบรวมข้อมู จากกรณีกลุ่มติดอาวุธชาวลิเบี อัลจาซีร่ารายงานว่า ยังไม่มีใครพิสูจน์ได้ว่า ตัวตนของคนที่ชื่อ แซม บาไซล์ ที่เป็นผู้ผลิตภาพยนตร์เรื่องนี้มีตัวตนอยู่จริงหรือไม่ มีข้อมูลระบุเพียงว่า เขาเป็ จากการให้สัมภาษณ์ต่อเอพี แต่ผู้ให้สัมภาษณ์ก็บอกตั ทางคณะกรรมการภาพยนตร์รัฐแคลิ อ้างหลอกถ่ายหนัง "นักรบแห่งทะเลทราย" เทรลเลอร์ของภาพยนตร์ซึ่งไม่ได้ ผู้อ้างชื่อบาไซล์บอกว่า เขาสร้ แต่นักแสดงที่ร่วมแสดงบอกว่ และการกล่าวอ้างอิงถึ มีรายงานว่าบาไซล์ตอนนี้กำลั นักแสดงหญิงคนหนึ่งที่ถู สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า กลุ่ การแพร่กระจายในโซเชียลมีเดีย มีคำถามว่า เทรลเลอร์ของภาพยนตร์ มอร์ริส ซาเด็ค ชาวคริสเตียนนิกายคอปต์ที่เกิ ซาเด็ค เป็นประธานของกลุ่มสมัชชานิ บาทหลวง เทอร์รี่ โจน ในรัฐฟลอริด้า ผู้เคยเผาคัมภีร์อัลกุรอานในปี 2011 จนทำให้เกิดการจลาจลในประเทศมุ เทรลเลอร์ของภาพยนตร์ แม็กซ์ บลูเมนธาล ผู้สื่อข่าวอัลจาซีร่ากล่าวว่า "การกระทำเบื้องหลังภาพยนตร์นี้ "พวกเขาต่อต้านการปฏิวัติและเป็ บล็อกคลิปในยุทูบ รัฐบาลอัฟกานิสถานได้บล็อกคลิ ทางยูทูบได้ออกแถลงการณ์เมื่อวั "ซึ่งนี่ถือเป็นความท้าทายอย่ "วีดิโอนี้ ซึ่งแพร่หลายไปทั่วเว็บ อยู่ภายใต้แนวนโยบายของเราอย่ "พวกเราขอแสดงความเสียใจต่ จากการถูกวิพากษ์วิจารณ์ทำให้ปั ที่มา Anti-Islam film: What we know, Aljazeera, 13-09-2012 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
'แอมเนสตี้' ชี้ ไม่มีข้ออ้างใดๆ สำหรับการโจมตีกงสุลสหรัฐในลิเบีย Posted: 13 Sep 2012 04:04 AM PDT องค์กรสิทธิแอมเนสตี้ฯ ประณามการสังหารทูตสหรัฐในลิเบีย และเรียกร้องให้รัฐบาลลิเบียเข้าแทรกแซงจัดการกับติดอาวุธเหนือกฎหมายและไต่สวนผู้ที่กระทำผิดตามกระบวนการยุติธรรม ชี้การหมิ่นศาสนาไม่ใช่ข้ออ้างในการฆ่ากัน 13 ก.ย. 55 - แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล องค์กรสิทธิมนุษยชนที่มีสำนักงานใหญ่ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ออกแถลงการณ์ประณามการโจมตีสถานทูตสหรัฐในเมืองเบงกาซี ประเทศลิเบียเมื่อค่ำวันพุธที่ผ่านมา (12 ก.ย. 55) เป็นเหตุทำให้เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำกรุงเบงกาซี พร้อมเจ้าหน้าที่สถานทูตชาวสหรัฐอีกสามคนเสียชีวิต โดยแอมเนสตี้ฯ ชี้ว่า การหมิ่นศาสนาไม่สามารถเป็นข้ออ้างเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการสังหารที่เกิดขึ้น และเรียกร้องให้รัฐบาลลิเบีย "เข้าแทรกแซงเพื่อควบคุมกลุ่มติดอาวุธและกลุ่มทหารบ้านที่ทำตัวเหนือกฎหมาย" และนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษตามกระบวนการไต่สวนที่ยุติธรรม 0000 การสังหารเจ้าหน้าที่อย่างน้อยสี่คนรวมทั้งนายเจ คริสโตเฟอร์ สตีเฟนส์ (J Christopher Stephens) เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำลิเบีย ที่สำนักงานสถานกงสุลสหรัฐฯ ประจำกรุงเบงกาซี และยังมีผู้บาดเจ็บอีกจำนวนมาก เป็นการกระทำที่ไม่มีข้อแก้ตัวใด ๆ และต้องนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าว ตามข้อมูลของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล การโจมตีสถานกงสุลสหรัฐฯ ที่เบงกาซี เป็นผลงานของกลุ่มชายติดอาวุธ เริ่มตั้งแต่ตอนหัวค่ำของวันที่ 11 กันยายน ใช้เวลาประมาณสองชั่วโมง เชื่อว่ากลุ่มคนร้ายได้ใช้จรวดอาร์พีจีและอาวุธปืนต่อสู้อากาศยานเพื่อยิงโจมตี และมีเป้าหมายอยู่ที่เจ้าหน้าที่สถานกงสุลระหว่างที่พยายามหลบหนีออกจากสถานกงสุล ซึ่งเป็นที่พักอาศัยด้วย การโจมตีเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยสี่คน รวมทั้งเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ซึ่งอยู่ระหว่างการเยือนกรุงเบงกาซีในขณะนั้น มีรายงานข่าวว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยอื่น ๆ ไม่สามารถรับมือกับสถานการณ์ได้ และได้หนีไปจากที่เกิดเหตุ "เราประณามการโจมตีที่มีการวางแผนเป็นอย่างดีในครั้งนี้ต่อพลเรือนที่พยายามหลบหนีออกจากสถานกงสุลสหรัฐฯ ไม่มีความชอบธรรมสำหรับการโจมตีครั้งนี้ และผู้กระทำผิดจะต้องถูกนำตัวมาลงโทษ" ซูซาน นอสเซล (Suzanne Nossel) ผู้อำนวยการบริหารแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล สหรัฐฯ กล่าว กระทรวงมหาดไทยลิเบียประกาศอย่างเป็นทางการว่า การโจมตีครั้งนี้เกี่ยวข้องกับการประท้วง ซึ่งมีสาเหตุมาจากภาพยนตร์ที่ผลิตโดยกลุ่มโฆษณาชวนเชื่อเพื่อต่อต้านศาสนาอิสลามในสหรัฐฯ มีการแปลภาพยนตร์ดังกล่าวเป็นภาษาอาหรับและนำไปเผยแพร่เป็นวีดิโอคลิปในอินเตอร์เน็ต ในวีดิโอคลิปมีภาพของศาสดามะหะหมัดและบุคคลอื่น ๆ ซึ่งเป็นที่เคารพของชาวมุสลิมอยู่ในท่าทางที่ถูกเหยียดหยาม ถือเป็นการจ้วงจาบต่อชาวมุสลิมเป็นอย่างมาก "ไม่ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะจาบจ้วงเพียงใด ก็ไม่อาจใช้เป็นข้อแก้ตัวให้กับการสังหารและการโจมตีอย่างรุนแรง แม้ว่าศาสนาและวัฒนธรรมเป็นองค์ประกอบสำคัญของชีวิตผู้คนจำนวนมาก แต่ก็ไม่อาจใช้เป็นเหตุผลอันชอบธรรมในการละเมิดสิทธิมนุษยชน" ฮัสสิบา ฮัดจ์ ซาห์ราอุย (Hassiba Hadj Sahraoui) รองผู้อำนวยการแผนกตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าว "การโจมตีครั้งนี้เน้นให้เห็นอีกครั้งถึงความจำเป็นที่ทางการลิเบียจะต้องเข้าแทรกแซงเพื่อควบคุมกลุ่มติดอาวุธและกลุ่มทหารบ้านที่ทำตัวเหนือกฎหมาย" ในคำแถลงล่าสุด สภาสูงสุดแห่งชาติ (General National Congress - GNC) แสดงคำมั่นสัญญาที่จะเอาผิดและลงโทษการสังหาร การทรมาน และการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม หนึ่งปีหลังจากกรุงตริโปลีตกอยู่ใต้การปกครองของกลุ่มปฏิวัติ ยังคงมีกลุ่มติดอาวุธที่ก่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่ทั่วไป มีการสังหารอย่างไม่ชอบด้วยกฎหมาย การจับกุมและควบคุมตัวโดยพลการ การทรมาน และการบังคับโยกย้าย โดยที่ผู้กระทำความผิดเหล่านี้ไม่ได้รับการลงโทษ ทางการลิเบียจะต้องสอบสวนกรณีนี้อย่างเต็มที่ เป็นอิสระ และไม่ลำเอียง และให้นำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกระบวนการไต่สวนที่เป็นธรรม โดยไม่ให้มีการใช้โทษประหาร รัฐจะต้องคุ้มครองชีวิตและความปลอดภัยของประชาชนทุกคนที่อยู่ในเขตอำนาจของตน โดยจะปฏิบัติอย่างเคร่งครัดให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากล รวมทั้งการเคารพสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสงบ และการบังคับใช้กฎหมายด้วยสัดส่วนที่เหมาะสมเพียงพอต่อการรักษาความสงบของสาธารณะ "การโจมตีครั้งล่าสุดและการละเมิดสิทธิมนุษยชนซึ่งยังดำเนินต่อไปของกลุ่มติดอาวุธ และการที่รัฐล้มเหลวในการคุ้มครองพลเรือนและบังคับใช้กฎหมายทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ เป็นเงามืดที่ปกคลุมอนาคตของลิเบีย" ฮัสสิบา ฮัดจ์ ซาห์ราอุยกล่าว "มีความเป็นไปได้อย่างมากว่าการละเมิดสิทธิที่เกิดขึ้นในช่วง "การปฏิวัติ 17 กุมภาพันธ์" กำลังเกิดขึ้นอีกครั้งและขยายตัวออกไป"
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ไต่สวนการตาย จนท.เขาดิน นัดแรก พ่อเชื่อฝีมือเจ้าหน้าที่ แต่ไม่เอาความ Posted: 13 Sep 2012 04:00 AM PDT ไต่สวนการตาย 10 เม.ย. "มานะ อาจราญ" นัดแรก เพื่อนร่วมงานเผยผู้ตายได้ตกลงกันว่าจะช่วยกันเฝ้าบ่อเต่ายักษ์จนถึงเช้า แต่มาถูกยิงเสียก่อนช่วงเดินไปตอกบัตร รปภ.เผยก่อนนายมานะถูกยิง มีเสียงตะโกน "มันมาแล้ว" ก่อนที่ทหารทั้งในและนอกสวนสัตว์จะกรูเข้าไปหลบ และทหารมีการยิงสวนไปทางรัฐสภา แต่ไม่แน่ใจว่าใครทำให้นายมานะเสียชีวิต ศาลนัดสืบพยานต่อศุกร์นี้ เวลา 9.30 น. วันนี้ (13 ก.ย.) ที่ห้องพิจารณาคดี 808 ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลเริ่มไต่สวนคำร้องชันสูตรพลิกศพนัดแรก ในคดีเลขที่ อช.1/2555 กรณีการเสียชีวิตของนายมานะ อาจราญ อายุ 24 ปี ลูกจ้างสวนสัตว์ดุสิตที่ถูกยิงเสียชีวิตในคืนเดียวกับที่มีการสลายการชุมนุม คือวันที่ 10 เมษายน 2553 ภายในบริเวณสวนสัตว์ดุสิต ถ.อู่ทองใน กรุงเทพฯ สำหรับคดีดังกล่าวพนักงานอัยการสำนักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายคดีอาญา 7 สำนักงานอัยการสูงสุด ได้นำส่งพยานหลักฐานและพยานบุคคลจำนวนมากถึง 36 ปาก รวมทั้งยังต้องมีการตรวจสอบเพิ่มเติม ศาลจึงได้มีคำสั่งให้มีการไต่สวน 7 นัด คือวันที่ 13, 14, 17 และ 24 ก.ย. 55, 26 พ.ย.55, 17 และ 24 ธ.ค. 55 โดยการไต่สวนในวันนี้ มีการเรียกพยานมาให้ปากคำ 5 ปาก ได้แก่นายมาโนช อาจราญ รปภ.สวนสัตว์ดุสิต และบิดาของผู้เสียชีวิต และเจ้าหน้าที่สวนสัตว์ดุสิตอื่นๆ อีก 4 ปาก
บิดาเชื่อทหารทำให้บุตรชายเสียชีวิตเพราะทหารเข้ามาในสวนสัตว์ แต่ไม่ติดใจเอาความ โดยนายมาโนช อาจราญ เบิกความต่อศาลว่าบุตรชายเสียชีวิตเมื่ออายุได้ 24 ปี ในวันที่ 10 เม.ย. 53 โดยในวันเกิดเหตุเขาได้เข้าเวร รปภ.สวนสัตว์ดุสิต ที่ประตูทางออกด้าน ถ.ราชวิถี ส่วนบุตรชายไม่ได้ทำงานบริเวณเดียวกันแต่ทำงานอยู่ที่บ่อเต่ายักษ์อัลดราบา ต่อมาหลังเวลา 23.00 น. เจ้าหน้าที่สวนสัตว์ดุสิตแจ้งว่ามีคนถูกยิงบริเวณลานใกล้อาคารจอดรถจึงเดินไปดู เมื่อไปถึงพบว่าเป็นบุตรชายซึ่งเสียชีวิตแล้วและนอนคว่ำหน้าอยู่ โดยแพทย์ชันสูตรศพระบุว่าเกิดจากกระสุนปืนเอ็ม-16 เข้าด้านหลังบริเวณท้ายทอย และทะลุออกบริเวณหน้าผาก นายมาโนช เบิกความต่อว่า ในสวนสัตว์ดุสิตมีทหารประมาณ 1 กองร้อยเข้ามาอยู่ตั้งแต่ช่วงกลางวันแล้วเพื่อตรึงกำลัง เนื่องจากมีการชุมนุมของคนเสื้อแดง ทั้งนี้ในวันดังกล่าวไม่ทราบว่าข้างนอกเกิดเหตุการณ์อะไร และไม่มีบุคคลภายนอกเข้ามาในสวนสัตว์ โดยเชื่อว่า ความตายของบุตรชายเกิดจากการกระทำของทหาร เนื่องจากในวันดังกล่าวทหารเข้ามาในสวนสัตว์ และถืออาวุธปืนเอ็ม-16 เข้ามาด้วย นายมาโนชกล่าวว่าที่่ผ่านมาได้รับเงินเยียวยาจากรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จำนวน 400,000 บาท กองคลัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม 50,000 บาท ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 30,000 บาท และจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 7.2 ล้านบาท โดยแบ่งจ่ายสองงวด ทั้งนี้นายมาโนชไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มและไม่ติดใจดำเนินคดีต่อ
เพื่อนร่วมงานเผยคืนเกิดเหตุ "มานะ อาจราญ" เข้าเวรดูแลเต่ายักษ์ ต่อมานายบุญมี แก้วไทรท้วม เป็นพยานคนที่ 2 เบิกความต่อศาล กล่าวว่า นายมาโนชมีศักดิ์เป็นหลาน ที่สวนสัตว์ต้องมีเจ้าหน้าที่เฝ้าบ่อเต่ายักษ์อัลดราบาตอนกลางคืน เพื่อป้องกันการโจรกรรม เนื่องจากเต่ายักษ์มีราคาแพง และเดิมเต่ายักษ์ถูกจัดแสดงไว้ที่อาคารสัตว์เลื้อยคลาน แต่อาคารกำลังมีการปรับปรุง จึงมีการย้ายเต่ามาอยู่ที่บ่อเก้งหม้อและใช้เป็นที่จัดแสดงเต่ายักษ์อัลดราบาดังกล่าว โดยสวนสัตว์ได้แบ่งเจ้าหน้าที่เข้าเวรดูแลบ่อเต่าช่วงกลางคืนออกเป็น 2 กะ คือกะแรก 17.00 น. - 23.00 น. และกะที่สอง 23.00 น. - 7.00 น. โดยในวันเกิดเหตุนายมานะ ประจำกะแรก ส่วนนายบุญมีจะอยู่กะที่สอง แต่ได้ตกลงกันว่าจะอยู่ดูแลเต่ายักษ์ด้วยกันทั้ง 2 กะจนเช้า โดยในคืนเกิดเหตุนายมานะออกไปอาบน้ำที่โรงพยาบาลสัตว์ ในสวนสัตว์ดุสิต ตอน 20.00 น. และกลับมาอีกทีในวเลา 21.00 น. ต่อมาในเวลา 23.00 น. เมื่อครบเวลาเข้าเวรกะแรก นายมานะกล่าวว่าจะออกไปตอกบัตรออกเวรที่กองอำนวยการสวนสัตว์ แล้วจะกลับมาเฝ้าบ่อเต่าเป็นเพื่อนต่อ โดยนายมานะได้ออกจากส่วนจัดแสดงเต่ายักษ์และคล้องกุญแจข้างนอกเอาไว้ เวลาผ่านไปประมาณ 2 นาทีนายบุญมี กล่าวว่าได้ยินเสียงปืนดังขึ้น 2-3 นัด จากนั้นพอได้ยินเสียงปืนอีก จึงหาทางออกจากบ่อเต่า แต่เนื่องจากประตูถูกปิดไว้จึงปีนออกมา และพบร่างนายมานะ นอนคว่ำอยู่ โดยกระตุกอยู่ 2-3 ครั้ง ก่อนแน่นิ่งไป โดยพบร่างห่างจากรถมอเตอร์ไซค์ของนายมานะประมาณ 2 เมตร จากนั้นจะวิ่งไปขอความช่วยเหลือ แต่ทหารที่อยู่บริเวณอาคารจอดรถตะโกนสวนมาว่า "หลบไป อยากตายหรือไง" นายบุญมีจึงกลับไปหลบอยู่ที่บ่อเต่าใกล้บริเวณที่ผู้ตายคว่ำหน้าอยู่ นอกจากนี้นายบุญมีพยายามแจ้งศูนย์วิทยุสื่อสารเพื่อขอความช่วยเหลือ แต่ได้คำตอบว่ายังออกมาช่วยไม่ได้ เพราะยังมีการยิงอยู่ ต่อมาเห็นนายสุทัศน์ สุทธิวงศ์ หัวหน้าฝ่ายรักษาความปลอดภัย สวนสัตว์ดุสิต จึงปีนบ่อเต่าออกมา ทั้งนี้ในที่เกิดเหตุพบปลอกกระสุนปืนเอ็ม-16 2 ปลอก โล่เขียนว่า "ตชด." และกระบองสีน้ำตาล นายบุญมีให้การต่อศาลว่าที่ทหารเข้ามาพักในอาคารจอดรถ สวนสัตว์ดุสิต เพราะมี นปช. ชุมนุม โดยช่วงกลางวันเห็นทหารบางนายมีอาวุธประจำกายคือปืนเอ็ม-16 และมีทหารออกมาเดินเล่นในสวนสัตว์ ส่วนถ้าจะมีบุคคลภายนอกเข้ามาต้องปีนกำแพงสวนสัตว์ซึ่งสูง 2 เมตรเข้ามา
หัวหน้า รปภ. ยันคืนเกิดเหตุไม่มีบุคคลภายนอกมีแต่ จนท.สวนสัตว์และทหาร แต่ไม่ทราบว่านายมานะตายเพราะใคร ต่อมานายสุทัศน์ สุทธิวงศ์ ห้วหน้าฝ่ายรักษาความปลอดภัย สวนสัตว์ดุสิต ให้การเป็นพยานปากที่ 3 กล่าวว่าในคืนเกิดเหตุมีรถกระบะขับมาจากด้านลานพระบรมรูปทรงม้า มุ่งหน้ามาทาง ถ.อู่ทองใน ด้านพระที่นั่งอนันตสมาคมก่อนเลี้ยวกลับทางเดิม เมื่อมีรายงานว่ามีคนถูกยิง จึงจะเข้าไปดู แต่ถูกทหารควบคุมตัวไว้เป็นเวลา 20 นาที เมื่อไปถึงที่เกิดเหตุจึงพบว่านายมานะ เสียชีวิตแล้ว เมื่อเห็นนายบุญมีจึงเรียกนายบุญมีมาดู และแจ้งไปยังผู้อำนวยการสวนสัตว์ดุสิตเพื่อประสานขอความช่วยเหลือ ทั้งนี้ในเวลาเกิดเหตุไม่น่าจะมีบุคคลภายนอก นอกจากเจ้าหน้าที่ทหารและ รปภ.สวนสัตว์ ทั้งนี้ได้นำหลักฐานจากกล้องวงจรปิดมอบให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อเป็นหลักฐานด้วย โดยนายสุทัศน์ให้การต่อศาลด้วยว่าทหารมีอาวุธปืนประจำกาย แต่ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ทำให้นายมานะถึงแก่ความตาย
รปภ.ให้การก่อนนาทียิงมีเสียงตะโกน "มันมาแล้ว" แต่ไม่รู้ว่าหมายถึงใคร นายเสรี จัตุรัส พยานปากที่ 4 เบิกความว่า ทำหน้าที่ รปภ.สวนสัตว์ดุสิต วันเกิดเหตุมาเข้าเวรเวลา 8.00 - 16.00 น. แต่หลังเวลา 16.00 น. ไปช่วยทำหน้าที่ดูแลอาคารจอดรถ ที่อยู่ตรงข้ามรัฐสภาต่อเนื่องจากกำลังคนไม่พอ ทั้งนี้ทราบว่าในวันเกิดเหตุมีการสลายการชุมนุมที่สี่แยกคอกวัว และมีเจ้าหน้าที่ทหารเข้ามาพักกำลังพลที่อาคารจอดรถ สวนสัตว์ดุสิต นายเสรีให้การต่อว่าในเวลา 23.00 น. ทหารตะโกนว่า "มันมาแล้ว" ทหารด้านนอกสวนสัตว์ได้วิ่งเข้าไปในสวนสัตว์ เมื่อถามว่า "มันมาแล้ว" หมายถึงอะไร นายเสรีตอบว่า "ไม่ทราบ" โดยนายเสรีให้การว่าได้ยินเสียงเหมือนเสียงปืนมาจากข้างนอก จึงขึ้นไปหลบบนดาดฟ้าของอาคารจอดรถ และต่อมาได้ยินเสียงปืนออกมาจากด้านในอาคารจอดรถ แต่ไม่ทราบว่าเป็นการยิงตอบโต้กับเสียงจากข้างนอกหรือไม่ นายเสรีให้การด้วยว่า รั้วของสวนสัตว์มีความสูง 2 เมตร ก่อนหน้านี้เมื่อ 4-5 ปีก่อนเคยมีคนแอบปีนเข้ามา
พยานคนที่ 5 ระบุเห็นทหารในสวนสัตว์ยิงไปทางรัฐสภา แต่ไม่รู้ว่ายิงอะไร ต่อมานายสำเริง สุขสมจิต รปภ.สวนสัตว์ดุสิต ให้การว่าในวันเกิดเหตุ เข้าเวรระหว่างเวลา 8.00 - 16.00 น. หลังเวลา 16.00 น. เข้าไปช่วยงานที่อาคารจอดรถ โดยเห็นว่ามีทหารเข้ามาพักในสวนสัตว์ จนกระทั่งเวลา 23.00 น. ตรงประตูทางเข้าสวนสัตว์ด้านรัฐสภา มีเสียงตะโกนว่า "มันมาแล้ว" ซึ่งไม่ทราบว่าใครตะโกน จึงเข้าไปหลบในอาคารจอดรถ ส่วนทหารหลบอยู่ในอาคารจอดรถ ที่วิ่งเข้าไปในสวนสัตว์ก็มี และยังมีทหารที่นอนหมอบอยู่ด้วยกัน ได้ยิงปืนประจำกายไปทางรัฐสภา แต่ตนมองไม่เห็นว่ามีอะไรเกิดขึ้นเนื่องจากเสาบัง พอเสียงปืนสงบจึงขึ้นไปหลบบนดาดฟ้า และนายเสรี พยานก่อนหน้านี้ ได้โทรศัพท์มาบอกว่า นายมานะเสียชีวิตแล้ว นายสำเริงกล่าวด้วยว่าในกล้องวงจรปิด มีรถกระบะคันหนึ่งขับมุ่งหน้ามาทางพระที่นั่งอนันตสมาคม แล้วขับกลับไป แต่ไม่สามารถยืนยันว่าคนที่อยู่ในรถมีลักษณะอย่างไร และมีอาวุธหรือไม่ ทั้งนี้ศาลนัดสืบพยานต่อในวันที่ 14 ก.ย. โดยจะเป็นการเรียกเจ้าหน้าที่ตำรวจมาสืบพยาน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ปลอดประสพมั่วนิ่ม ไม่ดูข้อมูลลุ่มน้ำทั้งระบบ Posted: 13 Sep 2012 03:54 AM PDT โชว์ข้อมูลอคติกับโครงการจัดการน้ำขนาดเล็ก ระบุบริเวณที่พนังกั้ เหตุการณ์น้ำท่วมในเขตตัวเมื ที่ผ่านมาหลายหน่วยงานที่เกี่ ลุ่มน้ำยมมีความยาว 735 กิโลเมตร มีสถานีสำรวจปริมาณน้ำท่าทั้งหมด 10 จุด ที่กรมชลประทานและสถาบั จากข้อมูลย้อนหลัง 1 สัปดาห์นับตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน 2555 ทำให้เห็นว่า ระดับน้ำจากลุ่มน้ำยมตอนบน จากสถานีวัดน้ำบ้านห้วยสัก (Y.20) อ.สอง จ.แพร่ ระดับน้ำ อยู่ในเกณฑ์ น้ำน้อยวิกฤต ค่าเฉลี่ยน้ำในลำน้ำ 3.57 เมตร ซึ่งจุดนี้ตลิ่งรับน้ำวิกฤตสู สถานีวัดน้ำสะพานบ้านน้ำโค้ง (Y.1C) อ.เมือง จ.แพร่ สถานีบ้านแก่งหลวง (Y.6) สถานีบ้านดอนระเบียง (Y.14) อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย และสถานีบ้านวังไม้ ส่วนสถานีวัดน้ำบ้านคลองตาล (Y.33) อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย สถานีสะพานตลาดธานี (Y.4) อ.เมือง จ.สุโขทัย สถานีบ้านบางระกำ (Y.16) อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ระดับน้ำอยู่ สถานีวัดน้ำบ้านสามง่าม (Y.17) อ.สามง่าม จ.พิจิตร สถานีหน้าอำเภอโพทะเล (Y.5) อ.โพทะเล จ.พิจิตร ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ และข้อมูลสถิติของลุ่มน้ำใกล้ จากข้อมูลภาพรวมทั้งลุ่มน้ำยม ทำให้เห็นว่า ปริมาณน้ำเหนื บริเวณที่เกิดเหตุการณ์ผนังกั้ เมื่อเห็นข้อมูลปริมาณน้ำทั้งลุ่มน้ำเช่นนี้แล้ว เหตุของการกล่าวอ้างสร้างเขื่ การจัดการลุ่มน้ำยมในหลายสิบที่ ตามที่นายปลอดประสพ สุรัสวดี ประธาน กบอ.และนายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รัฐมนตรีกระทรวงทรั เมื่อเรามีข้อมูลแบบนี้แล้วคงต้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ภาคี กสม. อาเซียน มีมติเป็นเอกฉันท์รับพม่าเข้าเป็นสมาชิก Posted: 13 Sep 2012 03:45 AM PDT การประชุมภาคี เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2555 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ของไทย เป็นประธานการประชุมภาคี ศาสตราจารย์ ดร.อมรา พงศาพิชญ์ ประธาน กสม. เป็นประธานการประชุม โดยที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ ภายหลังจากที่ประชุมได้มีมติเป็ ทั้งนี้ การประชุมภาคี กสม. ภูมิภาค จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-14 กันยายน 2555ที่โรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง เชียงใหม่ โดยได้พิจารณาประเด็นสำคั
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น