ประชาไท | Prachatai3.info |
- ทีมข่าวการเมือง: ข้อมูลระยะเวลาตั้งรัฐบาล 5 ชุดจากกันยายน 49 ถึงสิงหาคม 54
- สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์
- ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์: อำมาตยานุสติ เกิด แก่ ตาย จาก 79 ปีชาตกาลประเวศ วะสี ถึง กรณีมรณกรรมพุทธทาส ปี 2536
- ยังไม่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า "ยิ่งลักษณ์" เป็นนายกวันนี้ (5 ส.ค.)
- ประธานาธิบดีซีเรียยอมให้ตั้งพรรคการเมืองหลายพรรค-หลังยูเอ็นประณาม
- คนใต้เคลื่อนปฏิบัติการ "เพชรเกษม’41" ขวางเพื่อไทยเดินหน้าเมกะโปรเจ็คต์
- แกนนำต้านถ่านหินสมุทรสาคร ฟ้องศาลปกครองสั่งคุ้มครองทั้งจังหวัด
- "ประเวศ” เสนอปรับค่านิยมใหม่ให้อาชีวะ สำคัญกว่าสายสามัญ
- ศาลรับฟ้อง 'ผู้จัดการ' หมิ่น 'พัชรวาท' กล่าวหานิติกรรมอำพราง
- ชมรมนักพัฒนาอุตสาหกรมไทย: คำชี้แจงข้อเท็จจริงเรื่องหูกระป๋อง
- ภารกิจครั้งแรกในการหาข้อเท็จจริงในประเทศไทยโดยผู้เชี่ยวชาญขององค์การสหประชาชาติ
- สังคมที่ให้ความสำคัญกับ “ความสมบูรณ์แบบ” ของ “ครอบครัว” จนล้นเกิน
- เพ็ญ ภัคตะ: สยามเมืองยิ้ม-สยามเมืองยักษ์
- นักร้องฮิพฮอพชื่อดังถูกห้ามแสดงคอนเสิร์ตหลังเข้าร่วมทางการเมือง
- นักข่าวพลเมือง: รายงานเสวนา “เพิ่มค่าแรง 300 บาท/วัน: ได้-ได้ หรือ ได้-เสีย”
ทีมข่าวการเมือง: ข้อมูลระยะเวลาตั้งรัฐบาล 5 ชุดจากกันยายน 49 ถึงสิงหาคม 54 Posted: 05 Aug 2011 11:39 AM PDT ทีมข่าวการเมืองสำรวจระยะเวลาการตั้งรัฐบาล 5 ชุดย้อนหลังนับแต่รัฐประหาร 19 ก.ย. 49 ถึงปัจจุบัน จากรัฐบาลสุรยุทธ์ จุลานนท์ - สมัคร สุนทรเวช - สมชาย วงศ์สวัสดิ์ - อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ - ถึงยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Posted: 05 Aug 2011 09:54 AM PDT ขณะนี้ยังไม่ได้รับการประสานงานจากทางสำนักพระราชวัง ถึงการเข้ารับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกฯ ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าวันนี้ (5 ส.ค.) อาจจะไม่มีการโปรดเกล้าลงมา ดังนั้นจะรอการแจ้งข่าวจากสำนักพระราชวังอีกครั้งในวันพรุ่งนี้ ประธานสภาผู้แทนราษฎร - วันที่ 5 ส.ค. 2554เวลา 20.45 น. | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Posted: 05 Aug 2011 09:45 AM PDT
อำมาตยานุสติ
การ์ตูนเสียดสี โดย เรณู ปัญญาดี
เมื่อสัก 20-30 ปีมาแล้ว รูปปฏิมาปัญญาชนสาธารณะที่เปี่ยมไปด้วยบารมี คุณธรรม กับภาพลักษณ์ห่วงใยชุมชน และชาวบ้าน ทรงพลังเข้มขลังและมีบทบาทอย่างมากในการผลักดันฟันเฟืองการพัฒนาในสังคมชนบท นอกกระแสอย่างทรงพลัง ในยามที่ระบบราชการยังเทอะทะ การเมืองระดับประเทศยังเตาะแตะ แต่ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ชนบทที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป สร้างความแหลมคมของการต่อสู้ทางการเมือง ได้กระทุ้ง กะเทาะ กระชากหน้ากาก รื้อถอนให้เห็นตัวตนและแก่นแกนความคิดทางการเมืองของกลุ่มบุคคลดังกล่าวได้ เป็นอย่างดีว่า พวกเขาหวงแหนและกุมอำนาจอยู่กับตนและพวกพ้องมากมาย ที่สำคัญที่สุดก็คือ การหลุดลอย ไม่ยึดโยงกับอำนาจกับประชาชนอย่างแท้จริง ทั้งโดยพาซื่อหรือจะโดยความเขี้ยว หรือจะโดยความกลัวก็ตาม คำถามก็คือว่า เหตุไฉนพวกเขาเหล่านั้นจึงมีวิธีคิด และการตัดสินใจทางการเมืองที่ “อประชาธิปไตย” ได้มากขนาดนั้น หรือแท้จริงแล้วความหวังดีทั้งหลายที่ผ่านมาไม่ได้มีฐานที่ผูกแน่นอยู่กับ ระบอบประชาธิปไตยที่ ประชาชนเป็นใหญ่ มาตั้งแต่ต้น หรือแท้จริงแล้วปลายทางของสังคมที่น่าอยู่ของพวกเขา ผูกโยงอยู่กับคุณค่าทางคุณธรรม จริยธรรมแบบจารีตนิยมอนุรักษ์นิยมของบุคคล และชุมชนแบบบุพกาลเพียงเท่านั้น ผู้เขียนเชื่อว่า ลักษณะเช่นนี้ไม่ใช่เกิดขึ้นจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่อยู่เบื้องหลังความ วิปริตทั้งหมด หากเป็นโครงสร้างการเมืองแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการที่โยงใยกันอยู่ อย่างแฝงเร้นและเปิดเผย ประเวศ วะสี เป็นตัวแบบที่บทความนี้จะใช้นำไปอธิบายต่อคำถามตั้งต้นดังกล่าว ด้านหนึ่งจะแสดงให้เห็นถึงความโยงใยของเครือข่ายประเวศจะทำให้เราเห็นถึง อำนาจและสถานะที่สูงส่งของแพทย์ในสังคมไทยที่มีบทบาทสำคัญในการพยุงความเข้ม แข็งการเมืองฝ่ายอนุรักษ์นิยมอย่างมีนัยสำคัญ ในอีกส่วนหนึ่งของบทความนี้จะได้ทำการหยิบปรากฏการณ์มรณกรรมของพุทธทาสภิกขุ ในปี 2536 เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความซับซ้อนของการเมืองเรื่องความตายของพระชื่อดังอัน เป็นเสาหลักของนักคิดฝ่ายอนุรักษ์นิยมหัวก้าวหน้า ในห้วงเวลาที่โครงสร้างทางการเมืองที่กำลังถูกจัดรูปใหม่อีกครั้งหลัง เหตุการณ์นองเลือดพฤษภาคม 2535 ในสถานการณ์เช่นนั้น ประเวศ มีบทบาทที่น่าสนใจนั่นคือ เขาเป็นทั้งผู้เล่นอยู่ในห้วงประวัติศาสตร์เวลานั้น และเขายังเป็นผู้เล่า ผู้เขียนอธิบายความเป็นไปช่วงนั้นด้วยตนเอง
บนเส้นทางชีวิต บันทึกเรื่องราวผ่านปลายปากกา
เกิดหลังปฏิวัติสยาม และเติบโตหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเวศนับเป็นหนึ่งในคนดังที่เกิดในปี 2475 สหชาติร่วมกับ อานันท์ ปันยารชุน, สุลักษณ์ ศิวรักษ์, รงค์ วงษ์สวรรค์ ฯลฯ เขาถือกำเนิดหลังการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน เพียง 2 เดือน นั่นคือวันที่ 5 สิงหาคม 2475 ในวันที่บทความนี้ตีพิมพ์ เขาจะอายุครบ 79 ปี กลางทศวรรษ 2480 เป็นยุคที่คณะราษฎรเจิดจรัสที่สุด กลุ่มคนหนุ่มในคณะราษฎรได้ยึดกุมตำแหน่งสำคัญในรัฐบาลอย่างแท้จริง คณะราษฎรเปี่ยมไปด้วยอุดมการณ์ที่ต้องการจะสร้างประเทศใหม่ ผสานไปกับอารมณ์ความรู้สึกที่ทะเยอทะยาน มั่นใจและใฝ่ฝันที่จะเป็นถึงประเทศมหาอำนาจ ดังเห็นได้จากผลักดันให้เปลี่ยนนามประเทศจาก “สยาม” เป็น “ไทย” ในทางกายภาพ ถนนราชดำเนินถูกเนรมิตให้เปลี่ยนโฉมเป็นชองป์เอลิเซ่ มีการก่อสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ไปพร้อมๆกับตึกแถวอันโอ่อ่าสองฝั่ง ด้วยเงินของสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เด็กชายประเวศจะทันรู้สึกและอินกับ สังคมไทยที่ฮึกเหิมและความเปลี่ยนแปลงในยุคดังกล่าวหรือไม่ก็ไม่ทราบได้ ในเวลานั้นเขายังอายุสิบขวบต้นๆ และอยู่ระหว่างการศึกษาชั้นมัธยมต้นที่โรงเรียนวิสุทธรังษี กาญจนบุรี [2] ประเวศก้าวเข้าสู่ช่วงชีวิตวัยรุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ขณะนั้นกองทัพอักษะญี่ปุ่นเข้ามาตั้งกองบัญชาการที่กาญจนบุรี อันเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่จะเชื่อมต่อเข้าไปยังพม่าตามเป้าหมายของกองทัพ ญี่ปุ่น เส้นทางนี้จึงตกเป็นเป้าโจมตีอย่างหนักจากฝ่ายสัมพันธมิตร ทำให้ประเวศต้องอพยพไปเรียนที่ราชบุรี และนครปฐมตามลำดับ [3] หลังสงครามด้วยความตั้งใจที่จะเรียนแพทย์ทำให้เขามุ่งหน้าเข้าสู่กรุงเพื่อ เล่าเรียนในสถาบันที่มีชื่อเสียงระดับประเทศในช่วงมัธยมปลายที่เตรียมอุดม ศึกษา ในปี 2490 และจบการศึกษาในปี 2492 [4] ในขณะนั้นสังคมไทยได้ถูกเหวี่ยงกลับมาสู่สังคมอำนาจนิยมและชูกระแสนิยมเจ้าอย่างชัดเจน ประเวศก้าวต่อไปในชั้นเตรียมแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศึกษาต่อคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ในปี 2498 เมื่อจบการศึกษาเขาได้รับปริญญาแพทยศาสตร์เกียรตินิยม และได้รับรางวัลเหรียญทองในฐานะที่ได้คะแนนเป็นที่หนึ่งตลอดหลักสูตร [5] ด้วยความสามารถที่โดดเด่นของเขา ทำให้ได้มีโอกาสไปศึกษาต่อด้านระบาดวิทยาที่สหรัฐอเมริกา และด้านพันธุกรรมศาสตร์ที่อังกฤษ โดยได้รับทุนพระราชทานในปี 2500 จากทุนส่วนพระองค์ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ก่อนที่จะมีการจดทะเบียนมูลนิธิอานันทมหิดล ในปี 2502 [6] หลังจากกลับมาจากสหรัฐอเมริกา เขารับตำแหน่ง อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล ในปี 2504 [7] ประเวศนับว่าได้รับความเมตตามาก เนื่องจากในหลวงทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตึกเป็นที่ทำการ คือ ตึกอานันทราช สำหรับโลหิตวิทยาที่โรงพยาบาลศิริราช ประเวศอ้างว่า เพราะตึกหลังนี้จึงทำให้สามารถทำงานทางวิชาการได้รวดเร็วยั่งยืนขึ้น การระดมทุนสร้างตึกดังกล่าวได้รับพระราชูปถัมภ์โดยการพระราชทานภาพยนตร์ส่วน พระองค์ให้ฉายที่ศาลาเฉลิมกรุงเพื่อเป็นนำมาเป็นทุน และยังได้แก้วขวัญ วัชโรทัย จัดมวยการกุศลสมทบทุนเพิ่มเติมอีก [8]
เดินทางทั่วไทยในนามนักวิจัยโรคธาลัสซีเมีย โลหิตจาง ประเวศได้ทำงานวิจัยเกี่ยวกับธาลัสซีเมีย โดยเฉพาะโรคฮีโมโกลบิน เอช (H) เป็นผลงานที่เขาเห็นว่าเป็นผลงานที่ดีที่สุดชิ้นหนึ่ง และได้ตีพิมพ์ในวารสารทางวิทยาศาสตร์ชั้นนำของอังกฤษชื่อ Nature ในปี 2507 [9] ผลงานนี้ของเขาทำให้ได้ไปบรรยายหลายแห่ง เช่นในปี 2511 ที่สหรัฐอเมริกาและแคนาดา [10] และอีกหลายแห่งทั่วโลกในระยะต่อมา นอกจากนั้นเขายังทำการลงพื้นที่ทั่วประเทศไทย เพื่อทำการสำรวจเรื่องเกี่ยวกับเลือด แต่ลักษณะการทำงานนั้นจะร่วมไปกับทีมอื่นๆด้วย เช่น ทีมนักพันธุศาสตร์ ม.มิชิแกน สหรัฐอเมริกา หรือทีมมานุษยวิทยากายภาพที่เน้นการวัดส่วนต่างๆของร่างกายและถ่ายรูปลักษณะ ของใบหน้า [11] การออกสำรวจนี้เองที่เป็นเหตุให้ประเวศขยายความสนใจจากโรงพยาบาลใหญ่ไปสู่ การแพทย์ของชุมชน นั่นคือ ทำให้สนใจเรื่องสาธารณสุขและสังคมมากขึ้น [12]
วารสารสังคมศาสตร์ปริทัศน์
ความเข้าใจที่กลับหัวกลับหาง คือ การมุ่งมั่นปฏิรูปโดยไม่สนใจว่าจะเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ ประเวศกล่าวในบันทึกว่า ได้ยินชื่อสุลักษณ์ ศิวรักษ์ (ส.ศิวรักษ์) ตั้งแต่สมัยที่เรียนอยู่อังกฤษที่มีชื่อเสียงมาจากการจัดทำวารสารที่ชื่อว่า สังคมศาสตร์ปริทัศน์ ครั้นประเวศกลับเมืองไทยเขาเล่าเมื่อได้อ่าน สังคมศาสตร์ปริทัศน์ ทำให้โลกทัศน์ของเขาเปลี่ยนไปอย่างมากขนาดที่เรียกว่าเป็น “จุดเปลี่ยนในชีวิตที่สำคัญจุดหนึ่ง” [13] แม้จะอ้างเช่นนั้น ก็มิได้พบเห็นว่าประเวศหรือเครือข่ายจะปฏิเสธอำนาจนอกระบบอันไม่ชอบธรรม ในบันทึกแทบจะไม่พบการตั้งคำถามอำนาจอันไม่ชอบธรรมที่ได้มาของสฤษดิ์ ธนะรัชต์, ถนอม กิตติขจร, ประภาส จารุเสถียร แต่กลับปรากฏบันทึกที่กล่าวถึงการล็อบบี้ผ่านผู้มีอิทธิพลทางการเมืองที่มี อำนาจอยู่บนยอดปิรามิดทั้งหลายทั้งนั้น ในปี2515 ประเวศได้รับเลือกเป็นคณะอนุกรรมการจัดทำข้อเสนอแนะการวางแผนการแพทย์และสาธารณสุขแห่งชาติ [14] ซึ่งเป็นโอกาสอย่างดีที่จะได้รู้จักเสม พริ้งพวงแก้ว [15] หมอผู้นี้ลาออกจากราชการเมื่ออายุ 51 ปี ในปี 2504 มาเป็นแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปเป็นเวลา 10 ปี (ปี 2506 –2516) [16] อย่างไรก็ตาม คนดีมีความสามารถตามแบบฉบับและคุณสมบัติของสังคมไทยอย่างเสม ก็อยู่ในปริมณฑลส่วนตัวได้ไม่นาน ในช่วง 14 ตุลาคม 2516 เขาได้มีส่วนในด้านการรักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บ โดยเขาอยู่ประจำศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ จนถึงวันที่ 15 ตุลาคม [17] ภายใต้การจัดระเบียบอุดมการณ์ทางการเมืองใหม่ เสมได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2516 ภายใต้นายกรัฐมนตรีนักกฎหมายผู้ทรงศีลธรรมชื่อ สัญญา ธรรมศักดิ์ และโอกาสแห่งอำนาจที่อยู่ในมือนี้เองที่ทำให้เขาสามารถจัดความสัมพันธ์เชิง อำนาจในกระทรวงสาธารณสุขเสียใหม่ คือ ทำให้อำนาจการบริหารทั้งการป้องกันและรักษา มาอยู่ที่สำนักงานปลัดกระทรวง ส่งผลให้สามารถสั่งการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นยังอ้างว่า มีการกระจายอำนาจไปยังหน่วยงานภูมิภาคอย่างทั่วถึงซึ่งหมายถึงให้โรงพยาบาล จังหวัดมีอำนาจมากขึ้น โดยให้กรมต่างๆ ทำหน้าที่วิชาการสนับสนุน ซึ่งการดำเนินงานทั้งหมดนี้สำเร็จลงในปี 2517 [18]
เสม พริ้งพวงแก้ว (2454-2554)
รอบอายุของเสม ยังทันการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ คณะรัฐมนตรี ที่เป็น “คนดีมีความสามารถ” อีกครั้งหลัง 6 ตุลาคม 2519 เขารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในปี 2523 ใต้นายกรัฐมนตรี เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ที่มาจากการรัฐประหารต่อรัฐบาลเผด็จการธานินทร์ กรัยวิเชียร อย่างไรก็ตาม เขารัฐบาลนี้อยู่ได้เพียง 18 วัน เกรียงศักดิ์ ก็ลาออก อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรม ติณสูลานนท์ รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เสมก็กลับมาเป็นรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขอีก ในรัฐบาลเปรม 2 ในปี 2524 อำนาจครั้งนี้ทำให้เขาผลักดันให้ออกระเบียบกระทรวง ให้โรงพยาบาลในสังกัดใช้ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ [19] การอยู่ในแวดวงอำนาจน่าจะมีส่วนทำให้งานด้านสาธารณสุขที่เสมเกาะติดอยู่ ประสบความสำเร็จเป็นระยะ ในปี 2525 พบว่าเสมและเครือข่ายผลักดันให้ประเทศไทย มีอิสระในการบริหารงานงบประมาณจากองค์การอนามัยโลก (WHO) เป็นแห่งแรก [20] เป็นช่วงเวลาระหว่างที่เสมกำลังดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในปี 2524-2526 ทำให้เห็นว่าช่องทางการเดินทางของแหล่งทุนนอกเข้าสู่การทำงานพัฒนาชนบททวี ความสำคัญขึ้นเรื่อยในทศวรรษนี้ ประเด็นนี้ชี้ให้เห็นเส้นทางทางการเมืองของเสมที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาทั้งทาง การแพทย์ การเมือง และการทำงานพัฒนาชนบทของเขา ซึ่งในสังคมประชาธิปไตยแล้ว ถือว่าเป็นช่องทางพิเศษสำหรับคนดีมีความสามารถที่ไม่จำเป็นต้องเปลืองตัวไป ลงสมัครรับเลือกตั้งเสนอตัวให้ประชาชนเลือก ในขณะที่ประเวศเดินเกมได้เหนือชั้นกว่านั้น นั่นคือ ไปอยู่หลังม่าน ไม่จำเป็นต้องลงมาเป็นรัฐมนตรีเสียเอง แต่ก็สามารถรวมศูนย์อำนาจไว้ได้อย่างมั่นคงและเป็นเอกภาพ และมีงบประมาณให้ใช้จ่าย ในอีกหลายปีต่อมา
ชูธงปฏิรูปที่มีชนชั้นสูงและฝ่ายอนุรักษ์นิยมเป็นแบ็ค ความผูกพันระหว่างแพทย์ที่มีสถานะสูงด้วยอำนาจในการรักษาที่อยู่ในมือ ดังที่กล่าวมาแล้วในเบื้องต้น ทำให้แพทย์เป็นวิชาชีพหนึ่งที่มี “อภิสิทธิ์” เป็นอย่างยิ่ง ประเวศได้รับเลือกเป็นกรรมการแพทยสภาจากการเลือกตั้ง ในปี 2512 [21] และในปีเดียวกันนั้นเขาได้เขียนบทความวิจารณ์ศิริราชในบทความชื่อ “ปัญหาศิริราช” [22] ประเวศพบกับปัญหาที่หมักหมมเนื่องจากระบบราชการที่เน่าเฟะ ทำให้พวกเขาเห็นว่าจำเป็นต้องแก้ไขด้วยอำนาจที่เบ็ดเสร็จ ปี 2514 เราพบว่าประเวศและพวกใช้โอกาสที่ใกล้ชิดกับเครือข่ายทหารนักการเมืองผลักดัน ประเด็นที่คิดว่าดีและมีประโยชน์ต่อสังคม นั่นก็คือ ประเวศ จากโรงพยาบาลศิริราช อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ (บิดาของอภิสิทธิ์) จากโรงพยาบาลรามาธิบดีและเพรา นิวาตวงศ์ จากคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เพรา เติบโตมากับอาณาจักรจอมพลสฤษดิ์ ทั้งยังเป็นหมอผ่าตัดที่เก่งมาก ทำให้มีคอนเนคชั่นที่ดีกับนายทหารนักการเมืองที่มาเป็นคนไข้ [23]) หมอทั้งสามได้ลงนามถึงรัฐบาลขอให้ปฏิรูปโรงเรียนการแพทย์ ผ่าน พลเอกแสวง เสนาณรงค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี [24] ซึ่งเป็นคนที่ถนอมไว้ใจเป็นอย่างยิ่ง เขาบันทึกว่าในปีเดียวกันที่เขามีโอกาสถวายการรักษาสมเด็จพระบรม ราชินีนาถฯ ประเวศกราบบังคมทูลแนวคิดในการปรับปรุงแพทย์และสาธารณสุข และได้รับคำแนะนำว่า “เรื่องนี้คุณหมอประเวศจะต้องกราบบังคมทูลพระเจ้าอยู่หัว...พระเจ้าอยู่หัว จะได้รับสั่งกับจอมพลถนอม” [25] ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ ประเด็นนี้แม้จะผ่านมติคณะรัฐมนตรีฉลุย แต่ในระดับปฏิบัติการแล้วงานไม่ไปถึงไหน พออารี วัลยะเสวี ศาสตราจารย์นายแพทย์ คณบดีผู้ก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีเห็นชอบกับนโยบายดังกล่าวจึงใช้โอกาสที่รัฐบาลเผด็จการ เห็นชอบนี้มาผลักดันให้เป็นจริง กลายเป็นว่าหมอโรงพยาบาลรามาธิบดีส่วนใหญ่ไม่พอใจ ฝ่ายคัดค้านได้ลงนามขอให้คณะปฏิวัติระงับเรื่อง แต่คณะปฏิวัติไม่เห็นด้วย [26] ถนอมกับประภาสแม้จะใหญ่เพียงใด แต่พอเจอสารที่ได้มาจากพจน์ สารสิน รองหัวหน้าคณะปฏิวัติที่ได้รับสั่งของในหลวงมาว่า “ได้ยินว่าที่รามาธิบดีเขากำลังทำอะไรแปลก” สองจอมเผด็จการก็มีอันต้อง “ถอยกรูด” อย่างไรก็ตาม อารี ก็ไม่ละความพยายามขอเข้าเฝ้า และชวนประเวศไปด้วยกัน อารีโบ้ยให้ประเวศกราบบังคมทูล เมื่อทรงฟังแล้วรับสั่งว่า [27]
ส่วนหมอคนอื่นที่มาด้วยอย่าง อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับ สันต์ หัตถีรัตน์ เห็นท่าไม่ดีจึงเฉยเสีย และเรื่องปฏิรูปให้มีระบบอาจารย์เต็มเวลาและไม่เต็มเวลาก็ยุติลงด้วยประการ ฉะนี้ และนี่คือภาพตัวอย่างของกระบวนการการตัดสินใจนโยบายสาธารณะในปี 2515 อีกกรณีหนึ่งก็คือ จดหมายลับมากของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ในปี 2518 ที่มีต้นกำเนิดมาจากข้อสงสัยว่าประเวศจะเป็นคอมมิวนิสต์ แม้ก่อนหน้านี้เขาจะเขียนบทความ “สร้างสรรค์สังคมไทยขึ้นใหม่” ในสังคมศาสตร์ปริทัศน์ ปี 2517 ซึ่งหลักคิดก็คือ เน้นเอาศาสนาและพระมหากษัตริย์เป็นธงชัยในการสร้างสรรค์สังคมไทยขึ้นใหม่ ในช่วงหลัง 14 ตุลาคม 2516 [28] แต่แต่เขาก็ถูกร้องเรียนพฤติการณ์ เนื่องจากว่าประเวศเองก็เป็นที่ปรึกษาและพบปะแลกเปลี่ยนของเหล่านักศึกษา ขณะที่การวิพากษ์วิจารณ์สังคมที่ร้อนแรงขึ้นเรื่อยๆ จากคนหนุ่มสาวรุ่นนั้น ประเวศบันทึกว่า เขาถึงกับถูกฟ้องต่อในหลวงว่าเป็น “หัวหน้าคอมมิวนิสต์” ซึ่งในด้านหนึ่งเขาได้รับการการันตีจาก ม.ล.เกษตร สนิทวงศ์ นายแพทย์ผู้เป็นลุงของสมเด็จพระบรมราชินีนาถฯ ซึ่งสนิทและช่วยเหลือประเวศอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด ม.ล.เกษตรถึงกับกล่าวว่า [29]
จากนั้น ม.ล.เกษตร จึงเข้าพบพลเอกสายหยุด เกิดผล เพื่อให้เช็กประวัติและออกใบรับรองความบริสุทธิ์ของประเวศตามจดหมายลับมากดังกล่าว เหตุผลในการรับรองก็คือ ข้อแรก ประเวศเป็นนักศึกษาแพทย์ มีประวัติการศึกษาอยู่ในขั้นดีมาก ชอบทำงานเป็นหมู่คณะ ข้อสอง รับราชการเป็นแพทย์ประจำบ้าน โดยใช้ลักษณะการทำงานแบบรวมหมู่และคณะเช่นเดิม ข้อสาม เนื่องจากเข้ากับนักศึกษาหัวก้าวหน้าจึงอาจถูกเพ่งเล็งจากกลุ่มอาจารย์และ แพทย์รุ่นเก่า ข้อที่สี่ยิ่งน่าตื่นเต้นก็คือว่า เขาเคยได้รับทุนจากมูลนิธิ “อานันทมหิดล” และมีความสัมพันธ์กับสถาบันพระมหากษัตริย์ในระดับหนึ่ง และมีแนวคิดที่เห็นว่า “สิ่งทั้งหลายย่อมมีการเปลี่ยนแปลง แต่มิได้เน้นลักษณะในเรื่องชนชั้น มีแนวการปฏิรูปโดยการใช้การประสานประโยชน์” ข้อสรุปนี้นิยามประเวศอย่างนามธรรมว่ “มีลักษณะเป็นนักปฏิรูปพื้นฐานของมนุษยธรรม” [30] แสดงให้เห็นถึงความอ่อนไหวของชนชั้นปกครองไทยต่อเรื่อง “ชนชั้น” ที่เป็นจุดโจมตีอันแข็งแรงของฝ่ายซ้าย เหตุผลที่น่าสนใจอีกกรณีหนึ่งที่ทำให้เห็นว่าแพทย์มีสถานที่สูงในสังคม แล้ว แต่ยังเห็นว่าในห้วงเวลาดังกล่าว แพทย์ยังเป็นวิชาชีพที่รับใช้การเมืองอย่างยิ่งนั่นก็คือ การโฆษณาที่สำคัญที่สุดของพรรคคอมมิวนิสต์ฯ ที่ใช้ได้ผลดีก็คือการบริการด้านการแพทย์ [31] ดังนั้นการแพทย์ชนบทที่ได้รับการสนับสนุนในเวลาต่อมาอาจเข้ามาอุดช่องโหว่ตรงนี้ของการสาธารณสุขในพื้นที่ชายขอบ นี่คืออีกเส้นทางชีวิตหนึ่งของประเวศในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ หลังเหตุฆาตกรรมหมู่ ปี 2519 การลงพื้นที่ชนบทไม่สามารถจะทำได้อย่างเปิดเผย เมื่อท้องฟ้าแห่งเสรีภาพถูกเหยียบย่ำด้วยท็อปบูธและมือที่เปื้อนเลือด ต้องรอจนกว่าบาดแผลจะแห้งตกสะเก็ดในอีกสี่ห้าปีหลัง การลงพื้นที่ที่ทุรกันดารก็เริ่มกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งหนึ่ง
จากสนามของแพทย์ สู่ สนามของการพัฒนาท้องถิ่น
ประเวศ วะสี
นี่เป็นดังคำประกาศถึงคุณูปการของประเวศ หลังจากที่ได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาภาคบริการรัฐในปี 2524 เขาเปี่ยมไปด้วยผลงานอันโอ่อ่าน่าภาคภูมิอย่างยิ่ง เช่น นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี 2526 บุคคลดีเด่นของชาติ สาขาการแพทย์ ปี 2528 ในระหว่างนั้นเขาก็ได้อยู่ในตำแหน่งสำคัญในมหาวิทยาลัยมหิดล 2 ตำแหน่งนั่นคือ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาและวางแผน มหาวิทยาลัยมหิดล (2522-2526) และหัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (2528-2530) ซึ่งระหว่างนั้นก็ควบกับตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานทางการแพทย์และ สาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข (2527-2530) [33] ช่วงปี 2527-2530 พบว่ารัฐบาลไทยได้ร่วมมือกับองค์กรสนับสนุนความช่วยเหลือระหว่างประเทศของ รัฐบาลแคนาดา (Canadian International Development Agency: CIDA) จัดตั้ง "กองทุนพัฒนาท้องถิ่นไทย-แคนาดา" (Local Development Assistance Program: LDAP) ขึ้น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนองค์กร สถาบัน และกลุ่มต่างๆ ที่ดำเนินการด้านการพัฒนาท้องถิ่น ให้สามารถขยายขีดความสามารถที่เอื้อประโยชน์ต่อชุมชน ทั้งในระดับหมู่บ้าน ท้องถิ่นและประเทศโดยรวม กองทุนดังกล่าวประกอบด้วยบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องได้แก่ เสน่ห์ จามริก, ประเวศ วะสี, ม.ร.ว.อคิน รพีพัฒน์, บำรุง บุญปัญญา เป็นต้น [34] ซึ่ง LDAP นั่นก็ได้สนับสนุนเป็นเงินกว่า 100 ล้านบาท ผ่าน 55 โครงการ นี่เป็นจุดหนึ่งของการเริ่มต้นของคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน และมูลนิธิ /สถาบันพัฒนาชุมชนท้องถิ่นพัฒนา ในเวลาต่อมา ซึ่งกองทุนได้เปลี่ยนเป็นสถาบันนิติบุคคล บุคคล ภายใต้ซื่อว่า "มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา" พร้อมกับก่อตั้ง สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (สทพ.) ไอเดียของการกำเนิดมูลนิธิต่างๆนี้ เชื่อได้ว่ามาจากประสบการณ์ของประเวศที่ได้พบเห็นและร่วมงานกับ มูลนิธิและกองทุนต่างๆ ในต่างประเทศดังที่ เขาได้ยกตัวอย่างการตั้งมูลนิธิของเอกชนที่ทำงานเพื่อพัฒนามนุษย์ สังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ มีเงินประมาณ 3,000 ล้านดอลลาร์ มูลนิธิฟอร์ด มี 4,000 ล้านดอลลาร์ [35] เงินมหาศาลเหล่านี้ประเวศหวังว่านายทุนไทยจะเปลี่ยนไปเป็นทุนทางปัญญาเสียบ้าง ขณะที่ประเวศได้รางวัลแมกไซไซ สาขาบริการภาครัฐ แต่ก็พบว่าเขารู้เช่นเห็นชาติเป็นอย่างดีว่า “โครงสร้างในระบบราชการติดขัดและมีอุปสรรคนานาประการ” กรณีที่น่าสนใจก็คือ การผลักดันให้เกิด สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่งถือกำเนิดขึ้นจาก พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการวิจัย พ.ศ.2535 ในเดือนมีนาคม สกว.ไม่ใช่ระบบราชการ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เกิดขึ้นมาเพื่อสนับสนุนให้เกิดงานวิจัย ขณะที่สภาวิจัยแห่งชาติที่มีกรอบราชการเต็มขั้น ขณะที่ผลักดันกฎหมายจนสำเร็จนั้นเป็นสมัยที่อานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการรัฐประหาร และหลังจากนี้เพียง 2 เดือน ประเทศไทยก็เกิดการนองเลือดจากกระบอกปืนและความรุนแรงโดยทหาร ภายใต้การนำของสุจินดา คราประยูร
ก้าวสู่ปริมณฑลของพุทธธรรม ประเวศบันทึกว่า ตัวเขาเริ่มสนใจศาสนา ตามอวย เกตุสิงห์ ปรมาจารย์ทางการแพทย์ท่านหนึ่งในปี 2507-2508 [36] เริ่มต้นศึกษาที่งานเขียน ทางร่มเย็น ที่รจนาโดย พระมหาบัว วัดป่าบ้านตาด ซึ่งสอนเรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา ต่อมาก็การรับเชิญให้ไปปฏิบัติกรรมฐานที่วัดป่าบ้านตาด [37] ประสบการณ์ในครั้งนั้นทำให้เห็นวัตรปฏิบัติของพระมหาบัว แล้วเห็นว่านั่นคือการ “ทำงานตามความสามารถ กินอยู่ตามความจำเป็น” อย่างแท้จริง ผิดกับคอมมิวนิสต์ที่พยายามจะใช้อุดมการณ์เดียวกันนี้ แต่ไม่สำเร็จเนื่องจากว่า หากเป็นคนธรรมดาที่ยังมีกิเลสแล้วทำได้ยาก [38] ต่อจากพระสายวัดป่า ก็ได้ศึกษาธรรมจากพุทธทาสภิกขุ ตัวกูของกู แล้วขยายไปเล่มอื่นๆอย่าง แก่นพุทธศาสตร์ คู่มือมนุษย์ ตามรอยพระอรหันต์ ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ บรมธรรม อิทัปปัจจยตา ฯลฯ หลักธรรมเหล่านี้นับได้ว่าเป็นที่ถูกจริตอย่างยิ่งเนื่องจากว่าเป็นคำสอนที่ เป็น “ปัญญาล้วนๆแบบวิทยาศาสตร์ไม่มีส่วนที่เป็นพิธีกรรมนิยายปรัมปรา ทำให้เข้าพุทธศาสนาดีขึ้น” คำสอนทั้งหมดยังพุ่งไปสู่ปัญหาที่เกิดจากความเห็นแก่ตัว ถ้าว่างจากความเห็นแก่ตัวก็จะสงบเย็นและไมมีทุกข์ [39] ประเวศยังได้มีโอกาสทำความรู้จักกับคนในวงการนี้อีกหลายคน ไม่ว่าจะเป็นพระขาว อนาลโย พระฝั้น อาจาโร
ตัวกูของกู
พระประยุทธ์ ปยุตฺโต นายแพทย์ตันม่อเซี้ยง เสถียร โพธินันทะ หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ หลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ พระธรรมรักษา ฯลฯ [40] ประเวศชี้ว่า การสนใจศึกษาธรรมะเหมือนก้าวเข้าไปสู่โลกอีกโลกหนึ่ง เป็นวิชาที่แตกต่างจากวิชาอื่นๆ ที่เป็นเรื่องนอกตัว แต่ธรรมะนั้นว่าด้วยธรรมชาติของจิตใจในตัวและมีวิธีฝึกจิต แม้จะมีวัตถุการงานเพียบพร้อมเพียงใด บ่อยครั้งก็หาความสุขไม่ได้ ทางออกของสิ่งเหล่านั้นก็คือ “การศึกษาธรรมะ” ดังที่ประเวศยกตัวอย่าง คนดังที่เข้าหาธรรมะอย่าง พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ผู้จัดการใหญ่ปูนซิเมนต์ไทย(สมัยนั้น) โสภณ สุภาพงษ์ ผู้จัดการโรงน้ำมันบางจาก(สมัยนั้น) [41] ตบท้ายด้วยการวิพากษ์การศึกษาว่า ทุกวันนี้เรียนแต่ภายนอก ไม่ได้ฝึกจิตใจตนเอง
ทำงานด้วยคนดี การเมืองแบบไร้การเมือง ตราบใดที่ประเวศหรือใครๆก็ตาม เคารพนับถือ ปฏิบัติธรรม เลือกที่จะเชื่ออย่างผาดแผลงพิสดารอย่างไร หากแต่อยู่ในปริมณฑลส่วนตัวแล้ว ก็ย่อมมิได้เป็นปัญหาใด สิ่งที่เป็นปัญหานั่นคือ การที่ประยุกต์ความเชื่อดังกล่าวยัดเยียดเข้ากับสังคมการเมืองสาธารณะที่ เต็มไปด้วยความเชื่อที่หลากหลาย ศาสนาอันมากมาย รวมไปถึงคนที่เลือกจะไม่เชื่อศาสนา ดังที่เราจะได้ยินการอ้างอิงเรื่อง ธรรมาธิปไตย กันจนเลี่ยนในช่วงเลือกตั้งที่ผ่านมา ทั้งที่สังคมการเมืองสาธารณะควรเป็นเรื่องของการถกเถียงด้วยเหตุผล เพื่อจัดความสัมพันธ์ระหว่างกันของคนกลุ่มต่างๆ เป็นเรื่องที่ควรเปิดกว้างต่อการตั้งคำถามและเรียนรู้ เพราะการเมืองมิใช่เป็นเรื่องของการสยบยอมและหมอบกราบกรานต่อสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ ที่ผ่านมาไม่ว่าจะรัฐประหารกี่ครั้ง เกิดอุบัติเหตุทางการเมืองมากี่หน ผ้าคลุมอาญาสิทธิ์ที่ชื่อว่า ความดี ศีลธรรมจรรยา จึงสร้างความชอบธรรมทุกครั้งไปให้กับรัฐบาลเผด็จการเรื่อยมาตั้งแต่ทศวรรษ 2490 ในสายตาของพวกอนุรักษ์นิยม และฝ่ายสนับสนุนรัฐประหารต่างเห็นว่า ระบอบการเมืองจะเป็นประชาธิปไตยที่อำนาจสูงสุดเป็นของราษฎรนั้น ไม่ใช่ “สาระ” เลย ขอเพียงแต่คนที่จะเข้ามาบริหารประเทศ เป็นคนที่อย่างน้อยว่ามีภาพว่าไม่ทุจริต วางตัวและภาพลักษณ์ที่ทรงคุณธรรม ไม่เกลื้อกลวกกับนักเลือกตั้ง (และจะให้ดีก็คือ แบ่งผลประโยชน์ให้กับตนได้) ดังที่อภิปรายมาเบื้องต้นแล้ว ประเวศเติบโตมากับสังคมไทยหลังทศวรรษ 2490 ที่เห็นว่ารัฐประหารและการจัดความสัมพันธ์ทางสังคมจากคนเบื้องบนเป็นเรื่อง ปกติ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกว่าไฉนประเวศจึงไม่ปฏิเสธหรือแสดงท่าทีที่เป็นลบต่อทหาร และการรัฐประหารที่ผ่านมาแม้เพียงสักครั้ง สมัยอยู่ใต้รัฐบาลเผด็จการก็วิ่งเต้นเพื่อให้วาระของตนสัมฤทธิ์ผล จะโจมตีก็แต่เพียงระบบราชการที่บิดเบี้ยวไร้ประสิทธิสภาพ ซึ่งปัจจัยหนึ่งก็มาจากโครงสร้างทางการเมืองที่ไม่ได้ยึดโยงอำนาจของปวงชน ด้วยเราจึงเห็นประเวศก็ผุดไอเดียการทำงานแบบไม่พึ่งพารัฐ แสดงให้เห็นว่าพยายามกีดกันนักการเมืองในระบบออกไป และสร้างเครื่องไม้เครื่องมือให้การทำงานการเมือง “ภาคประชาชน” เรื่อยมา ซึ่งปัญหาที่เกิดก็คือ “ภาคประชาชน” ของประเวศนั้นนับวันจะไม่เกี่ยวข้องกับประชาชนราษฎรทั่วไปทุกที อย่างไรก็ตามการเป็นคนดี การนับถือศาสนาอย่างเคร่งครัด หรือการเป็นนักบวชที่บรรลุแล้ว ก็ยังหนีไม่พ้นวัฏฏสงสารแห่งโลก เมื่อมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ปรากฏการณ์ทางสังคมที่เป็นที่สนใจอย่างมากของเมืองไทยหลังเหตุการณ์พฤษภาคม นองเลือดที่มีเป็นประเด็นของ การเมืองของคนดี ที่ประเวศ วะสี มีส่วนร่วมในเหตุการณ์นั้นและได้มีการจดบันทึกไว้เป็นจดหมายเหตุ นั่นก็คือ การเมืองแห่งมรณกรรมของพุทธทาสภิกขุ
กระบวนการสู่ความตายของพุทธทาส พุทธทาสภิกขุ เป็นพระปัญญาชนนามกระเดื่อง เป็นนักคิดนักเขียนที่ถูกกล่าวถึงและถูกอ้างอิงหลักธรรมมาปรับใช้กับการ เมืองบ่อยที่สุดรูปหนึ่งในยุคสมัยของปัจจุบัน ด้วยจริตนิสัยอันแหวกแนวจากสังคมไทยแบบจารีต การตั้งคำถามอย่างตรงไปตรงมา กระทั่งกับข้อความในพระไตรปิฎก การสื่อสารต่อสาธารณะอย่างสม่ำเสมอ ทำให้พุทธทาสยิ่งใหญ่เสมอมาในสายตาของปัญญาชน ในทศวรรษ 2530 เป็นช่วงอัศดงของสังขารร่างกาย เป็นวัยที่พุทธทาสปรารภแล้วว่า “อายุมากกว่าพระพุทธเจ้า” พุทธทาสให้ความสำคัญกับการเตรียมตัวตาย ดังที่แสดงให้เห็นอยู่ว่า “สาวกของพระพุทธเจ้าไม่ควรหอบสังขารหนีความตาย” [42] ในที่นี้ขอใช้บันทึกของประเวศ วะสี เป็นเอกสารหลักที่จะเปิดเผยให้เห็นประวัติศาสตร์ช่วงสุดท้ายของพุทธทาสที่ เชื่อมโยงกับความรู้ และอำนาจในสังคมไทยหลังพฤษภาคม 2535 พุทธทาส ป่วยหนักครั้งแรกตั้งแต่ปี 2518 ต่อมาคือปี 2528, 2534 และครั้งล่าสุดคือ ปี 2535 [43] สิ่งเหล่านี้นอกจากเป็นเครื่องเตือนใจของเจ้าของสังขารร่างกายแล้ว น่าจะเป็นการประกาศให้ลูกศิษย์และคนรอบข้างทราบถึงสัญญาณการนับถอยหลังอีก ด้วย พินัยกรรมที่เขียนขึ้นวันที่ 28 มีนาคม 2536 ก่อนที่จะมรณภาพอีก 4 เดือนถัดมา จึงถูกตระเตรียมไว้เป็นอย่างดี ข้อความหลักของพินัยกรรมนั้นมอบอำนาจให้ พระครูปลัดศีลวัฒน์ (โพธิ์ จันทสโร) เป็นผู้จัดการศพ ละเว้นขอพระราชทานโกศ พิธีการทั้งหมดตั้งอยู่บนความเรียบง่าย เมื่อตายไม่ต้องรดน้ำศพ ไม่ต้องฉีดยาศพ ไม่ต้องสวดศพ ให้เก็บในโลงปิดมิดชิด ละเว้นการเปิดดู และการเผาศพให้ทำในสามเดือน แต่หากจำเป็นก็ไม่ควรเกิน 1 ปี ไม่จัดงานพิธี งานเผาศพให้ทำอย่างง่าย โดยบริเวณเชิงตะกอนให้ปักเสาสี่มุมและดาดผ้าขาวเป็นเพดานเท่านั้น กระดูกก็ให้เทซิเมนต์ทับในศาลาธรรมโฆษณ์ เถ้าให้นำไปโปรยตามที่ต่างๆที่กำหนดไว้ โดยมีพยานคือ จิตติ ติงศภัทิย์ นักกฎหมายและองคมนตรี เสริม พัฒนกำจร นายตำรวจยศ พันตำรวจเอก วิจารณ์ พานิช หลานชายผู้เป็นนายแพทย์ [44] อย่างไรก็ตามพินัยกรรมที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่อยู่ในอำนาจผู้เขียนนั้น สร้างปัญหาอย่างมากให้กับคนที่อยู่เบื้องหลัง เมื่อพุทธทาสเป็นคนสาธารณะที่เกี่ยวโยงกับผู้คนที่มีความคิดแตกต่างหลากหลาย ทั้งระหว่างเจ็บป่วยอาพาธ และหลังลมหายใจสุดท้ายไปแล้ว การเมืองก็ยังทำหน้าที่ของมันอย่างซื่อสัตย์ ดังจะกล่าวต่อไป
พินัยกรรมของพุทธทาสภิกขุ
อย่าหอบสังขารหนีความตาย คำสั่งก่อนเสีย ประเวศได้บันทึกว่า การป่วยหนักของพุทธทาสในปี 2534 ในครั้งนั้นมีข้อเสนอให้เลือกถึง 3 ทางก็คือ เข้ากรุงเทพฯ ไปรักษาที่ศิริราช สอง ไปโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี สาม อยู่ที่สวนโมกข์ พุทธทาสเลือกทางเลือกสุดท้าย และกล่าวสำทับว่า “ขอเถอะ ขอเถอะ อย่าให้หอบสังขารหนีความตายเลย” คราวนั้นหายป่วยภายใน 7-10 วัน [45] จากการเจ็บป่วยครั้งล่าสุดในปี 2535 ครั้งนั้นเป็นอาการของโรคทางสมองถึงขั้นความจำบกพร่องชั่วคราว แสดงให้เห็นว่าระบบของร่างกายนั้นทนทานไม่ไหวลงทุกที จนกระทั่งการป่วยครั้งสุดท้ายปลายเดือนพฤษภาคม 2536 ในครั้งนั้นประเวศพบกับ พระโพธิ์ ซึ่งก็ได้ย้ำปณิธานว่าไม่ต้องการให้รักษาผิดธรรมชาติ [46] อย่างไรก็ตามเมื่ออาการทรุดหนัก ปณิธานดังกล่าวก็ถูกทัดทานด้วยการเมืองของการการแพทย์ ที่มาพร้อมกับชุดความคิดและอำนาจชุดหนึ่ง ความคิดที่ไม่ลงรอยกันจึงเริ่มนับแต่นี้ บันทึกของประเวศ ระบุว่า วันที่ 26 พฤษภาคม 2536 หมอเสนอให้เจาะกะโหลกศีรษะเพื่อลดความดันในกะโหลก แต่ลูกศิษย์พุทธทาสไม่เห็นด้วย ถึงขั้นลงชื่อไม่สมัครใจอยู่และจะพาร่างกลับสวนโมกข์ [47]
คนใหญ่ คนโต และคนดังกับอาการเจ็บป่วยและตาย ข่าวการเจ็บป่วยล่วงรู้ออกไป พร้อมๆกับวันคล้ายวันเกิดวันที่ 27 พฤษภาคม สหายทางธรรมและลูกศิษย์ได้เดินทางมาที่ลำปาง ตั้งแต่พระปัญญานันทะ พระพยอม กัลยาโณ จำลอง ศรีเมือง ฯลฯ คณะแพทย์ทำได้เพียงใส่หลอดเข้าหลอดลมเพื่อช่วยในการหายใจและดูดเสมหะ ระหว่างที่ยังไม่มีข้อยุติว่าจะรักษาพุทธทาสแบบไหน เนื่องจากยังมากความเห็น แม้กระทั่งเสริมทรัพย์ที่เป็นหมอยังพูดด้วยเสียงดังว่า “ทำไมทำกับท่านอย่างนี้” เมื่อเห็นว่าใช้เทคโนโลยีต่างๆช่วย พระสิงห์ทองที่เป็นลูกศิษย์ใกล้ชิด กล่าวกับประเวศว่า “ถ้าทำอย่างนี้กับอาจารย์ วันนี้อาตมาจะเก็บของและไปจากที่นี่ เพราะอยู่ก็ไม่สามารถป้องกันอาจารย์ตามที่สั่งไว้ได้” [48] ก่อนที่จะบานปลายมากไปกว่านี้ ได้มีการประชุมเพื่อหาข้อสรุปร่วม จนออกมาเป็น “บันทึกความเห็นและมติของการประชุมเกี่ยวกับการอาพาธของพระเดชพระคุณพระธรรม โกศาจารย์(พุทธทาสมหาเถระ)” โดยมีใจความว่า พุทธทาสได้สั่งลูกศิษย์ว่าไม่ให้ใช้เทคโนโลยีที่ผิดธรรมชาติ และกำชับว่า เมื่อจะดับขันธ์อย่าให้มีเครื่องช่วยชีวิตใดๆติดตัว ขอให้ดับขันธ์อย่างธรรมชาติตามรอยพระพุทธเจ้า และลูกศิษย์ขอมตินำร่างกลับไปในวันนี้ เวลา 4 โมงเย็น และยิ่งกว่านั้นวันนี้เป็นวันคล้ายวันเกิด มีพระและญาติโยมมากมาประชุมอยู่แล้วน่าจะเป็นโอกาสให้เกิดธรรมสังเวช บันทึกดังกล่าวมีสหายและลูกศิษย์ร่วมลงนามกันอยู่นับสิบคน เช่น พระเทพวิสุทธิ์เมธี พระโรเบิร์ท สันติกโร พระสิงห์ทอง เมตตา พานิช ประเวศ วะสี รัญจวน อินทรกำแหง ฯลฯ [49] ซึ่งตามข้อตกลงนั้นพุทธทาสก็ได้คืนร่างมาสู่สวนโมกข์ ในคืนนั้นประเวศ เดินทางกลับกรุงเทพฯ ด้วยเครื่องบินรอบสองทุ่มครึ่ง เช้าวันรุ่งขึ้นมีข่าววิทยุแจ้งว่า พุทธทาสจากไปแล้ว แต่ปรากฏว่าข่าวคลาดเคลื่อน และยังมีข่าวอีกว่า จะมีการนำพุทธทาสมารักษาที่กรุงเทพฯ ความขัดแย้งและข้อถกเถียงต่างๆได้ถูกทำให้เงียบลงเมื่อเกิดข่าวว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำท่านพุทธทาสมารักษาที่กรุงเทพฯ” สิ่งเหล่านี้เคยเป็นความกังวลมาก่อนแล้วกับพระที่สุราษฎร์ธานีว่า ถ้ามีในหลวงรับสั่งให้ไปรักษาที่กรุงเทพฯ จะว่าอย่างไรกัน นับว่าในที่สุดก็ได้คำตอบแล้ว [50] วิธีรักษาที่ประนีประนอมกับลูกศิษย์ที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกทั้งสองฝ่าย จึงดูพิลึกพิลั่น นั่นคือ มีข้อเสนอว่า นำร่างมาแต่จะไม่มีการผ่าตัดสมองหรือเจาะคอ แต่ช่วยให้หายใจได้เอง แล้วก็จะนำกลับสวนโมกข์ หรือหากว่าไปไม่ไหวก็ให้กลับสวนโมกข์ดับขันธ์ตามความประสงค์ [51] นอกจากนั้นแพทย์ได้บอกกับลูกศิษย์ว่า “มีหวังจะหายกลับไปเทศน์ได้อีก ขอเวลา 7 วันจะนำท่านกลับ จะไม่มีการเจาะคอ ไม่มีการผ่าตัด” [52] พุทธทาสจึงนอนโคม่าแบบไม่รู้ตัวอยู่ต่อไปที่ศิริราชอีก 1 เกือบเดือนเต็ม บนตึกมหิดลวรานุสรณ์
เรื่องสาธารณะในสังคมกึ่งประชาธิปไตย ประเวศในฐานะคนกลางและคนอยู่ในวงในพยายามอธิบายว่า ความแตกต่างระหว่างพระกับแพทย์นั้นมีอยู่ แต่เป็นความแตกต่างในมุมมอง ไม่ใช่เรื่องแตกแยก แต่ความจริงอีกด้านหนึ่งเช่นกันก็คือ ข่าวอาการของพุทธทาสเป็นข่าวที่ขายได้ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ธรรมชาติของการทำข่าวที่ต้องล้วงลึกข้อมูล ภาพถ่ายเหตุการณ์ออกมาให้มากที่สุดซึ่งตรงกันข้ามกับผู้เป็นข่าวที่พยายามจะ ให้เรื่องสาธารณะเป็นเรื่องส่วนตัวมากที่สุด โดยเฉพาะประเด็นคู่ความขัดแย้งที่เป็นหัวใจของการเสนอข่าวแบบปิงปอง คือ หยิบข้อกล่าวหาของฝ่ายหนึ่งไป "พิสูจน์" โดยนำไปถามผู้ถูกกล่าวหา [53] การดำเนินข่าวบนความขัดแย้งจึงทำให้ข่าวที่ขายได้ ทอดระยะเวลาบนแผงไปได้อีกไม่ว่าจะเป็นการให้ข่าวว่า พุทธทาสจะดับขันธ์วันที่ 4 มิถุนายน ที่เป็นวันวิสาขะ ทางฝ่ายแพทย์ก็เสียกำลังใจที่ข่าวออกไป ขณะที่คอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์ก็ด่าศิษย์ว่า เอาพุทธทาสไปเปรียบพระพุทธเจ้า ในอีกด้านหนึ่งลูกศิษย์ลูกหาก็พยายามสร้างความรู้เกี่ยวข้องกับพุทธทาส ด้วยการจัดนิทรรศการ จัดอภิปราย จัดทำหนังสือและภาพธรรม [54] การเดินทางสู่ความตายผ่านสังขารของพุทธทาส ยังพบกรณีที่น่าสนใจก็คือ การใช้อำนาจบังคับควบคุม ดังที่พบว่า รัฐมนตรีทบวงมหาวิทยาลัย ทำจดหมายว่า ใครนำพุทธทาสกลับสวนโมกข์เป็นเรื่อง “ผิดกฎหมาย” ซึ่งก็เป็นปัญหาที่น่าสนใจเช่นกันว่า ในทางโลกแล้วร่างของพุทธทาสอยู่ในกรรมสิทธิ์ของผู้ใด ลูกศิษย์ ญาติ แม้นักกฎหมายก็ตอบไม่ได้ [55] สิ่งเหล่านี้ปัญหาไม่ใช่เพราะเป็นเรื่องของธรรมชั้นสูง โลกุตตระ แต่เป็นเพราะความไม่ชัดเจนของอาณาบริเวณของการนิยามนักบวชในโลกประชาธิปไตย สมัยใหม่ ที่รัฐไทยไม่เคยนิยามให้ชัดเจน เช่นเดียวกันกับการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินของ ศาสนสถานต่างๆ ที่มีตำแหน่งแห่งที่อย่างไรบนพื้นที่เมือง และการบริหารการจัดการเมือง พระโรเบิร์ท สันติกโร ลูกศิษย์ฝรั่งพุทธทาส ที่ปัจจุบันลาสิกขาแล้ว ด้วยความที่เติบโตมากับสังคมตะวันตกที่เคารพและให้คุณค่าในสิทธิ เสรีภาพ และความเป็นมนุษย์ จึงตั้งข้อสังเกตและคำถามกับคณะแพทย์ที่ทำการรักษา จนดูเหมือนว่าเป็นตัวน่ารำคาญดังที่ประเวศระบุไว้ว่า “ด้วยความเป็นฝรั่งช่างซัก ช่างถาม ช่างคิดและช่างบันทึก ท่านบันทึกอาการและการรักษาพยาบาลท่านอาจารย์พุทธทาสอย่างละเอียดทุกวัน ความช่างซักช่างถามของท่านคงจะก่อความปวดหัวให้แพทย์มากที่สุด ที่จริงท่านตั้งคำถามมาก ซึ่งผมจะไม่นำมาเล่าในที่นี้” [56] เราอาจสังเกตข้อความของพระโรเบิร์ทในจดหมายด้านล่าง น่าจะแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของโลกทัศน์ดังกล่าวได้เป็นอย่างดี
วินาทีสุดท้าย สัญญาณมรณะมาถึง ณ เวลา 02.30 ของวันที่ 8 กรกฎาคม 2536 เมื่อความดันเลือดสูงเนื่องจากเชื้อลุกลามในกระแสเลือด แพทย์เห็นว่าจะยื้อต่อไปไม่ไหว จึงแจ้งพระลูกศิษย์ว่าจะส่งกลับสวนโมกข์ตามที่ได้คุยกัน เมื่อทราบข่าว จำลอง ศรีเมือง จักรธรรม ธรรมศักดิ์ (หมอผู้เป็นบุตรสัญญา ธรรมศักดิ์) วิจารณ์ พานิช และอีกหลายคนก็เดินทางมาโรงพยาบาล รุ่งธรรม ลัดพลี (หมอผู้เป็นบุตรพระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์ (วงศ์ ลัดพลี) อดีตประธานศาลฎีกา ซึ่งมีความสนิทสนมกับพุทธทาส) ติดต่อสมุหราชองครักษ์ให้เครื่องบินนำส่ง เครื่องไปถึงที่สุราษฎร์ธานี เวลา 09.55 น. ถึงสวนโมกข์เวลา 10.30 น. (บ้างว่า 11.00 น.) ตอนนั้นยังมีเครื่องช่วยหายใจและสายให้น้ำเกลือ และให้ยาเร่งความดันอยู่ อย่างไรก็ตามความดันเลือดกลับลดต่ำลงเรื่อยๆ จนหัวใจหยุดเต้นเมื่อเวลา 11.20 น. [58] พระลูกศิษย์ได้แฟกซ์พินัยกรรมการทำศพของพุทธทาสไปบุคคลต่างๆและสื่อมวลชน [59] อย่างน้อยก็เพื่อยุติการใช้อำนาจนอกระบบเข้ามาควบคุมการจัดการพิธีศพตามพินัยกรรม
พาดหัวหน้า 1
ประเวศ วะสี ผู้มีอิทธิพลเหนือกลุ่มทุนตระกูล ส.
ประเวศ วะสีราษฎรอาวุโส หลังพฤษาทมิฬ? ประเวศ ได้เขียนเป็นบทความแนะนำการใช้ “วิธีนอกระบบ” ในการแก้ปัญหาที่ไม่สำเร็จด้วย “วิธีที่เป็นทางการ” ซึ่ง “วิธีที่ไม่เป็นทางการ” นั้น หมายถึง การที่บุคคลมาร่วมทำอะไรกันด้วยตนเอง โดยไม่ผ่านความเป็นทางการของระบบ อาจเป็นคนในระบบที่เป็นทางการนั้นเอง แต่มาร่วมกลุ่มกันทำงานกันเองโดยไม่มีใครแต่งตั้งหรือต้องได้รับอนุมัติจาก ใคร ประเวศได้ยกคำว่า [60] “ราษฎรสูงอายุ หรือราษฎรอาวุโส” (Senior citizen) ขึ้นมาชี้ให้เห็นว่า เป็นตัวอย่างกลไกไม่เป็นทางการ...ไม่มีอำนาจอะไร แต่ก็อาจะเป็นประโยชน์ในการเตือนสติ และชี้ทิศทางให้สังคม [61] ที่น่าสังเกตก็คือ ประเวศ อายุครบเกษียณในปี 2535 หลังจากการนองเลือดพฤษภาคม 2535 และการมรณกรรมของพุทธทาส 2536 ประเวศ วะสี ที่อยู่ในวัยเกษียณ ก็เติบใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เขามีบทบาทสำคัญในการผลักดันภาคประชาชนในการร่างรัฐธรรมนูญ 2540 และทวีความสำคัญมาเรื่อยๆ เครือข่ายตระกูล ส. สยายปีก เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง เสริมสุขภาพ (สสส.) ก่อตั้งในปี 2544 มีรายได้มหาศาลจากภาษีสรรพสามิตยาสูบและสุราในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี แม้ปีนี้จะอายุครบ 79 ปี แต่เขายังตรากตรำทำงานอันแสนหนักหนา หมออายุมากคนนี้เคยดำรงตำแหน่งประธานและรองประธานหรือกรรมการขององค์กรต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งมูลนิธิ และสถาบันทางวิชาการอื่นรวมกว่า 60 ชุด [62] เขายังไม่กลัวเปลืองตัวด้วยการรับตำแหน่งประธานคณะสมัชชาปฏิรูปประเทศ หลังจากเหตุการณ์สังหารเสื้อแดง เดือนพฤษภาคม 2553 คู่กับ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศที่มีอานันท์ ปันยารชุนเป็นประธาน ขณะที่อานันท์ชั่วโมงบินสูงกว่าจึงชิ่งลาออกหลังจากรัฐบาลอภิสิทธิ์ยุบสภา ขณะที่ประเวศยังดึงดันที่จะทำงานต่อ [63] การเดินทางทางการเมืองในบั้นปลายของประเวศยังคงมีสีสันไม่ห่างไปจาก พื้นที่สื่อ ล่าสุดก็คือ กรณีค่าแรง 300 บาทที่ประเวศให้ข่าวว่าเป็นไปไม่ได้ ค่าแรงที่ 150 บาทเงินก็ยังเหลือ [64] จนโดนโจมตีจากหลายฝ่าย ต้องมาแก้เกี้ยวในที่สุด นั่นเองประเวศจึงตกเป็นเป้าของการ์ตูนเสียดสีฝีมือ เรณู ปัญญาดี ที่เปิดเรื่องด้วยการถกเถียงเรื่องค่าแรง 300 บาท และตบท้ายด้วยบทบรรยายที่ว่า "(ประเวศ)จึงใส่เสื้อผ้า...แล้วเดินทางไปประชุมกับองค์กรกว่าสิบแห่งในวัน เดียว รับเบี้ยประชุมทั้งหมด 6.7 หมื่นบาท" [65] การด่วนสรุปตัดสินคนด้วยฉันทาคติว่าเป็นคนดีมีศีลธรรมจรรยา และมีความสามารถ แท้จริงแล้วมิใช่เป็นเครื่องการันตีได้ว่า เขาเหล่านั้นเคารพการอยู่ร่วมกันได้ในสังคมประชาธิปไตยที่มีประชาชนเป็นใหญ่ เลย สำหรับผู้เขียนแล้วทุกวันนี้เราไม่ได้ต้องการเครื่องมือทางศีลธรรม เราไม่ต้องการคนดี หรือเทวดาอันเลิศลอยมาควบคุมสังคม แต่เราต้องการการเคารพหลักการอยู่ร่วมกันของประชาชนที่เสมอภาคกัน มีเสรีภาพที่จะคิด มีเสรีภาพที่จะตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์ อยู่ร่วมกันเสมอเพื่อนมนุษย์ เสมอคนธรรมดาที่ไม่ใช่พระอรหันต์ที่มีความสามารถขั้นลดละเลิกกิเลส รัก โลภ โกรธ หลง ได้ทั้งหมด ในพระไตรปิฎกระบุไว้ว่า ในหมู่เทวดาก็ยังมีเทวดาที่เลวทราม มนุษย์ไม่จำเป็นต้องยอมจำนนเสมอไป มนุษย์สามารถด่ากลับและขับไล่เทวดาตนนั้นออกจากบ้านได้โดยไม่ต้องยี่หระ [66]
อ้างอิง:
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ยังไม่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า "ยิ่งลักษณ์" เป็นนายกวันนี้ (5 ส.ค.) Posted: 05 Aug 2011 07:54 AM PDT ประธานสภาผู้แทนราษฎรเผยขณะนี้ยังไม่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกฯ รอการแจ้งข่าวจากสำนักพระราชวังอีกครั้งในวันพรุ่งนี้ (6 ส.ค.) 5 ส.ค. 54 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 20.30 น. บรรดาแกนนำและสส.พรรคเพื่อไทย ที่รอทำพิธีรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ต่างทยอยเดินทางกลับจากพรรคเพื่อไทย หลังได้ตรวจสอบข่าวจากนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาฯ พบว่า จะยังไม่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯในวันนี้ ทั้งที่พรรคได้จัดเตรียมสถานที่เตรียมทำพิธีรับสนองพระบรมราชโองการฯ งานจัดเลี้ยงต่างๆ โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์และแกนนำพรรค ส.ส.พรรค ได้ใส่ชุดขาวเตรียมรอรับเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้นายไพจิต ศรีวรขาน สส.นครพนม พรรคเพื่อไทย กล่าวขณะกำลังเดินทางกลับออกจากพรรคว่า ขณะนี้ ส.ส.ได้ออกจากพรรคเกือบครึ่งแล้ว ทั้งนี้ มี ส.ส.พรรคหลายคนถอดชุดขาวและเดินทางกลับด้วยสีหน้าเคร่งเครียด ด้านนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเนชั่น ว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับการประสานงานจากทางสำนักพระราชวัง ถึงการเข้ารับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกฯ ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าวันนี้ (5 ส.ค.) อาจจะไม่มีการโปรดเกล้าลงมา ดังนั้นตนจะรอการแจ้งข่าวจากสำนักพระราชวังอีกครั้งในวันพรุ่งนี้ (6 ส.ค.) ที่มาข่าวเรียบเรียงจาก: voicetv, โพสต์ทูเดย์ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประธานาธิบดีซีเรียยอมให้ตั้งพรรคการเมืองหลายพรรค-หลังยูเอ็นประณาม Posted: 05 Aug 2011 07:45 AM PDT ประธานาธิบดี บาชาร์ อัล-อัสซาด ของซีเรียออกกฏข้อบังคับในการบริหารด้วยระบบหลายพรรคการเมืองในซีเรีย หลังจากที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติออกแถลงประณามการใช้กำลังต่อผู้ชุมนุม สำนักข่าว SANA ของรัฐบาลซีเรียรายงานว่ามี สำนักข่าว SANA รายงานว่า พรรคการเมืองที่อยู่ภายใต้ นอกจากนี้ยังบอกอีกว่ ซีเรียเป็นประเทศที่มี เมื่อเดือนที่แล้วรัฐบาลซีเรี ทางฝรั่งเศษได้ตอบโต้ "ด้วยท่าทีซึ่งขาดความน่าเชื่ การประณามจากสหประชาชาติ การออกข้อบังคับของรัฐบาลซีเรี ทางคณะมนตรีความมั่นคงยังไม่ รัสเซียและจีนแสดงความไม่เห้นด้ แคโรไลน์ ซิเอด ฑูตจากเลบานอนกล่าวว่าแถลงการณ์ "ไม่ได้มีส่วนในการระบุถึ ตามที่องค์กรเฝ้าระวังด้านสิทธิ มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้ อับดุล-คาริม ริฮาวี ประธานสหพันธ์สิทธิมนุษยชนซีเรี ตั้งแต่วันอาทิตย์ (30 ก.ค.) ที่ผ่านมา ซีเรียได้กระชับวงล้อมในพื้นที่ รามี อับดุล-รามาน ประธานองค์กรเฝ้าระวังด้านสิทธิ ประธาน SOHR กล่าวอีกว่าปฎิบัติการทางทหารยั ที่มา
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คนใต้เคลื่อนปฏิบัติการ "เพชรเกษม’41" ขวางเพื่อไทยเดินหน้าเมกะโปรเจ็คต์ Posted: 05 Aug 2011 07:12 AM PDT คนใต้เคลื่อนพล “ปฏิบัติการเพชรเกษม’41” ยึดถนนเพชรเกษม ต้านนโยบายเพื่อไทย ประกาศไม่เอาทุกเมกะโปรเจ็กต์แผนพัฒนาภาคใต้ ตั้งแต่แลนด์บริดจ์สงขลา–สตูล ท่าเรือปากบารา นิคมฯ ปิโตรเคมี โรงไฟฟ้าถ่านหิน–นิวเคลียร์ เผยภาคประชาชนทั่วประเทศ จี้ “ยิ่งลักษณ์” เลิกโครงการกระทบสิ่งแวดล้อม
โปสเตอร์เพชรเกษม 41 นายสมบูรณ์ คำแหง คณะทำงานเครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล เปิดเผยว่า ในเร็วๆ นี้ เครือข่ายประชาชนภาคใต้จะเปิดปฏิบัติการเพชรเกษม’41 เพื่อบอกกับรัฐบาลเพื่อไทยว่า คนภาคใต้ไม่ต้องการโครงการขนาดใหญ่ หรือเมกะโปรเจ็กต์ ไม่ว่าจะเป็นนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี โรงงานอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ โรงไฟฟ้าถ่านหิน สะพานเศรษฐกิจ (แลนด์บริดจ์) สงขลา–สตูล ท่าเรือน้ำลึกปากบารา โดยมีประชาชนที่จะได้รับผลกระทบจากเครือข่ายต่างๆ ในภาคใต้ และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เข้าร่วมชุมนุม นายสมบูรณ์ เปิดเผยต่อไปว่า สำหรับสถานที่ชุมนุม และรูปแบบของการเคลื่อนไหว จะมีการประชุมหารือกันอีกครั้ง ในวันที่ 6 สิงหาคม 2554 ที่อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ทั้งนี้ เบื้องต้นเครือข่ายภาคใต้ได้หารือกันคร่าวๆ บ้างแล้ว แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปว่า จะจัดชุมนุมที่จังหวัดชุมพร หรือจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมทั้งยังไม่ได้กำหนดวันชุมนุม และกำหนดว่าจะชุมนุมกันกี่วัน จะชุมนุมยืดเยื้อหรือไม่ยืดเยื้อ ในการชุมนุมครั้งนี้ จะมีการอ่านแถลงการณ์คัดค้านโครงการเมกะโปรเจ็กต์ในภาคใต้ “เราตั้งใจจะชุมนุมให้ได้ ก่อนที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา” นายสมบูรณ์ กล่าว นางสุไรด๊ะ โต๊ะหลี ตัวแทนเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น จังหวัดสงขลา อดีตแกนนำโครงการคัดค้านท่อก๊าซและท่อส่งก๊าซไทย–มาเลเซีย กล่าวว่า รู้สึกเป็นกังวลเล็กน้อยว่า การไปประท้วงในเดือนรอมฎอนของพี่น้องมุสลิมภาคใต้ ซึ่งเป็นช่วงถือศีล–อด อาจทำให้ล้าได้ แต่พี่น้องมุสลิมก็พร้อมจะเดินทางไปร่วมชุมนุมคัดค้านกับเครือข่ายจังหวัดสตูลให้ถึงที่สุด “ถ้ารัฐสามารถสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา ที่อำเภอละงู จังหวัดสตูลได้ ก็จะมีการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกสงขลา 2 ที่บ้านสวนกง ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ตามมา อีกทั้งโครงการรถไฟรางคู่ และโครงการแลนด์บริดจ์สงขลา–สตูล ประกอบด้วย ท่อส่งก๊าซ ท่อน้ำมัน เชื่อมระหว่างอำเภอละงู จังหวัดสตูล กับอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา และคลังน้ำมันทั้งสองฝั่ง รวมถึงมีนิคมอุตสาหกรรมทั้งฝั่งสงขลา และฝั่งสตูล ซึ่งจะมีประชาชนในพื้นที่ได้รับผลกระทบจำนวนมาก” นางสุไรด๊ะ กล่าว นายทรงวุฒิ พัฒน์แก้ว คณะทำงานเครือข่ายท่าศาลารักษ์บ้านเกิด จังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า ไม่ว่าพรรคไหนมาเป็นรัฐบาล ก็เดินหน้าแผนพัฒนาภาคใต้อยู่แล้ว แต่ที่เป็นกังวลเมื่อพรรคเพื่อไทยได้จัดตั้งรัฐบาล ก็เพราะพรรคการเมืองนี้มีนโยบายเอาใจกลุ่มทุนชัดเจน ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่ทำให้โครงการต่างๆ เดินหน้าเร็วยิ่งขึ้น นายวิโรจน์ ทองเกษม คณะทำงานเครือข่ายพิทักษ์ลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า ถ้ามีการรวมตัวกันจริงๆ ตนและเครือข่ายฯ พร้อมจะเข้าร่วมชุมนุมด้วย นายวิเวก อมตเวทย์ ผู้ประสานงานเครือข่ายรักษ์ละแม จังหวัดชุมพร เปิดเผยว่า นอกจากจะมีการชุมนุมคัดค้านแผนพัฒนาภาคใต้แล้ว ยังมีการพูดคุยกันระหว่างเครือข่ายภาคประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการแผนพัฒนาของภาครัฐทั้งในภาคใต้ เหนือ อีสาน และตะวันออก เพื่อร่วมกันคัดค้านโครงการเมกะโปรเจ็คต์ต่างๆ ของพรรคเพื่อไทย ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสิทธิชุมชน ต่อวิถีชีวิต วัฒนธรรม โดยเฉพาะโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา ที่จังหวัดสตูล และนโยบายถมทะเลสร้างเมืองใหม่ ที่จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นประเด็นร้อนที่สุด “ถ้าหากภาครัฐเดินหน้าโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา ที่จังหวัดสตูล ตนและเครือข่ายรักษ์ละแม รวมถึงเครือข่ายภาคประชาชนในภาคใต้ และทั่วประเทศไทย จะเข้าร่วมต่อสู้จนถึงที่สุด” นายวิเวก กล่าว นางมณเฑียร ธรรมวัติ เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคใต้ จังหวัดระนอง เปิดเผยว่า คนใต้จะส่งสัญญาณด้วยการผนึกเสียงจากทุกจังหวัดในภาคใต้ บอกความต้องการของคนภาคใต้ในสามหัวข้อหลักคือ เรื่องความมั่นคงด้านอาหาร เรื่องอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากภาคเกษตร และเรื่องพลังงานทางเลือก อนาคตของคนใต้ คนภาคใต้ทั้ง 14 จังหวัดจะกำหนดเอง นางมณเฑียร กล่าวว่า ในส่วนของจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต พัทลุง แม้จะยังไม่เห็นโครงการเมกะโปรเจ็กต์เหมือนจังหวัดอื่นๆ แต่เมื่อเป็นผืนแผ่นดินภาคใต้ด้วยกัน ก็ต้องลุกขึ้นมาต่อสู้ด้วยกัน “เรามีพร้อมทั้งทรัพยากรคน ทรัพยากรธรรมชาติ คนใต้ไม่อยากเป็นแค่ลูกจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม ไปดูในโรงงานซิ มีคนใต้กี่คน” นางมณเฑียร กล่าว
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
แกนนำต้านถ่านหินสมุทรสาคร ฟ้องศาลปกครองสั่งคุ้มครองทั้งจังหวัด Posted: 05 Aug 2011 05:33 AM PDT อดีตยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัด ยื่นฟ้องผู้ว่าฯ สมุทรสาคร ต่อศาลปกครองกลาง ละเว้นการปฏิบัติหน้า ที่อนุญาตให้มีการขนถ่ายถ่านหินในพื้นที่ ทำให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียในแม่น้ำท่าจีน เมื่อวันที่ 4 ส.ค. 54 ที่ผ่านมาเนชั่นทันข่าวรายงานว่านายสนธิญา สวัสดี อดีตยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัดสมุทรสาคร ยื่นฟ้อง นายจุลภัทร แสงจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ต่อศาลปกครองกลาง ฐานการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่อนุญาตให้มีการขนถ่ายถ่านหินในพื้นที่จ.สมุทรสาคร ทำให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียในแม่น้ำท่าจีน สภาพแวดล้อมถูกทำลาย และไม่ดำเนินการขั้นเด็ดขาดกับเรือบรรทุกถ่านหิน รวมทั้งท่าขนถ่ายถ่านหินที่ไม่ได้รับอนุญาต นายสนธิญาระบุในคำร้องว่า เมื่อวันที่ 1 ก.พ.ที่ผ่านมา ตนได้เข้ายื่นหนังสือถึงผู้ว่าฯ แต่ไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาและไม่ได้รับคำตอบใด ๆ จึงขอใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญมาตรา 60 67 และ 74 ขอให้ศาลมีคำสั่งย้ายผู้ว่าฯจังหวัดสมุทรสาครออกนอกพื้นที่ภายใน 30 วัน และขอให้ผู้ว่าฯออกคำสั่งบังคับห้ามขนถ่ายถ่านหินภายในพื้นที่ และขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จ.สมุทรสาคร ทั้งตำรวจน้ำ กรมเจ้าท่า ห้ามไม่ให้เรือบรรทุกถ่านหินเข้ามาจอดเทียบท่าในแม่น้ำท่าจีน รวมทั้งขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวห้ามการขนถ่ายถ่านหินจากเรือ รถยนต์หรือพาหนะใด ๆ เข้ามาในพื้นที่จนกว่าการพิจารณาของศาลตามคำฟ้องจะแล้วเสร็จ ใน จ.สมุทรสาครมี 3 อำเภอ 40 ตำบล ภายหลังการเสียชีวิตของนายทองนาค เศวตจินดา แกนนำต่อต้านถ่านหินในพื้นที่ ต.ท่าทราย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ทำให้ศาลปกครองมีคำสั่งห้ามขนถ่ายถ่านหินเฉพาะในเขต ต.ท่าทรายเพียงตำบลเดียว ทั้ง ๆ ที่พื้นที่ได้รับผลกระทบมีถึง 34 ตำบล ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตรและประมง ซึ่งได้รับความเดือดร้อนจากการขนถ่ายถ่ายหินของเรือบรรทุกถ่านหินมาโดยตลอด แต่ไม่ได้รับการแก้ไขทั้งจากผู้ประกอบการและผู้ว่าราชการจังหวัด ทั้งนี้ในจ.สมุทรสาครมีโรงงานมากกว่า 5,700 แห่ง ในจำนวนดังกล่าวมีโรงงานอุตสาหกรรมกว่า 10% ที่ใช้พลังงานถ่านหินทดแทนน้ำมันที่มีราคาแพงเพื่อประหยัดต้นทุน นอกจากนี้ยังมีการสร้างท่าเทียบเรือทั้งที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมายเป็นจำนวนมากในเขต ต.บางหญ้าแพรก ต.ท่าฉลอม ต.โกรกกราก ต.ท่าทราย และต.คลองมะเดื่อ “การขนถ่ายถ่านหินได้สร้างผลกระทบกับแม่น้ำ จึงไม่เข้าใจว่าเหตุใดคำสั่งในการแก้ไขปัญหาจึงคุ้มครองเฉพาะ ต.ท่าทรายแห่งเดียว ทั้งที่ความเสียหายเกิดขึ้นครอบคลุมทั้งจังหวัด จึงต้องการให้ศาลมีคำสั่งชั่วคราวยกเลิกการขนถ่ายถ่านหินทั้งจังหวัด”นายสนธิญา กล่าว นายสนธิญา กล่าวอีกว่า หากคดีไม่มีความคืบหน้า ตนจะเข้าพบนายอำพล วงศ์ศิริ เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.)เพื่อร้องเรียนให้เข้าไปตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องในการอนุญาตหรือละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจสอบการเข้าออกของเรือบรรทุกถ่านหิน จนทำให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมต่อไป นายอำพล กล่าวว่า ขณะนี้ป.ป.ท.อยู่ระหว่างติดตามผลการการตรวจสอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่หากประชาชนหรือหน่วยงานเกี่ยวข้องจะเข้าพบเพื่อมาขอความช่วยเหลือป.ป.ท.ก็พร้อมเข้าไปช่วยตรวจสอบ แต่ขณะนี้อยากให้เป็นเรื่องของอุตสาหกรรมจังหวัดที่ต้องไปตรวจสอบเรื่องผลกระทบทางมลภาวะในด้านต่างๆ
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
"ประเวศ” เสนอปรับค่านิยมใหม่ให้อาชีวะ สำคัญกว่าสายสามัญ Posted: 05 Aug 2011 05:15 AM PDT ประธาน คสป. แนะการศึกษาของชุมชนต้องเรียนรู้จากคนพื้นที่ เสนอตั้งสภาเยาวชน-อุดมศึกษาเพื่อท้องถิ่น เปิดโอกาสเด็กเรียนรู้เอง เร่งสร้างสัมมาอาชีวศึกษาสำหรับคนทั้งมวล ให้มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี แก้เด็กตีกัน-แรงงานไร้คุณภาพ วันที่ 5 สิงหาคม กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ จัดงานมหกรรมการจัดการศึกษาท้องถิ่น 2554 “เรียนรู้อย่างมีความสุข สนุกอย่างมีปัญญา” ณ ห้องรอยัลจูบิลี่ อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพค เมืองทองธานี ภายในงานมีปาฐกถาพิเศษเปิดงานโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี ประธานคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป (คสป.) ในหัวข้อ “สร้างคนสร้างชุมชน สร้างชาติ” ศ.นพ.ประเวศ กล่าวตอนหนึ่งว่า การศึกษาของชุมชนท้องถิ่นเริ่มต้นได้โดยการทำฐานข้อมูลอาชีพมนุษย์ทั่วประเทศ เพื่อส่งเสริมคุณค่าความเป็นคน สร้างการเรียนรู้กับปราชญ์ท้องถิ่น ผู้ที่มีความรู้จริงๆ ซึ่งประเทศจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีได้ ต้องเคารพศักดิ์ศรีซึ่งกันและกัน และงดการเรียนในห้องเรียนลง เพิ่มการเรียนในแหล่งเรียนรู้ชุมชนอันหลากหลาย และให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้ เช่น การสร้างห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ ศูนย์ศิลปะ ศูนย์กีฬา หรือศูนย์การเรียนรู้พิเศษเป็นแหล่งเรียนรู้ประจำตำบล เป็นต้น “เด็กและเยาวชนควรจะมีโอกาสได้คิดและจัดการตนเอง เพื่อให้สมองส่วนหน้าเจริญเติบโต มีสติปัญญา วิจารณญาณ ศีลธรรม จึงควรตั้ง สภาเยาวชน ในทุกตำบล ให้เด็กรวมตัวกันคิดว่าอยากทำอะไร เช่น กีฬา ศิลปะ ดูแลสิ่งแวดล้อม และเชื่อมโยงกันระหว่างตำบล จังหวัดเป็นเครือข่าย รวมระหว่างพลังอดีตกับอนาคต คือ พลังของผู้ใหญ่ที่เข้าไปสนับสนุนเด็กๆ ก็จะเป็นพลังมหาศาลของเยาวชนที่จะเติบโตไปเป็นอนาคตของชาติ นี่คือหนึ่งทางที่การศึกษาของชุมชนท้องถิ่นสามารถทำได้” ศ.นพ.ประเวศ กล่าวถึงระบบการศึกษาปัจจุบันบิดเบี้ยว ทั้งๆ ที่สายอาชีวะศึกษาควรจะสำคัญกว่าสายสามัญศึกษา แต่ประเทศไทยกลับเป็นประเทศที่ดูถูกการทำงาน เป็นประเทศของชนชั้น คนชั้นบนดูถูกคนทำงานชั้นล่างว่า เป็นคนชั้นต่ำ ไม่ดี ดังคติที่ว่า รักดีห้ามจั่วรักชั่วหามเสา ขอให้ได้เป็นเจ้าคนนายคน หรือ ขอให้ได้นั่งกินนอนกิน เป็นทัศนคติที่รังเกียจการทำงาน ในขณะที่ประเทศอื่นไม่เป็น จึงควรสร้างสัมมาอาชีวศึกษาสำหรับคนทั้งมวล ให้อาชีวะศึกษามีเกียรติ มีศักดิ์ศรี “หากอาชีวศึกษาถูกมองว่าเป็นเรื่องต่ำต้อย ไม่มีเกียรติ แล้วเด็กอาชีวจะอยู่อย่างไร เมื่อไม่มีเกียรติ ไม่มีศักดิ์ศรี เขาก็พร้อมที่จะทำอะไรก็ได้ในทางลบ อันเป็นที่มาของการตีกัน เราต้องสร้างค่านิยมสัมมาอาชีวะศึกษา ให้เป็นเรื่องดี มีเกียรติ” ศ.นพ.ประเวศ กล่าว และว่า ชุมชนท้องถิ่นต้องสร้างสัมมาอาชีวะศึกษาสำหรับคนทั้งมวล โดยทุกภาคส่วน รวมถึงสถานประกอบการต้องยื่นมือมาทำการศึกษาท้องถิ่น สร้างสัมมาอาชีวะศึกษา เพื่อให้ได้แรงงานที่ทำงานเป็น มีความอดทน รับผิดชอบ อันจะเกิดความสำเร็จทั้งสถานประกอบการและชุมชนท้องถิ่น ประธาน คสป. กล่าวอีกว่า การศึกษาของชุมชนท้องถิ่น สามารถนำระบบสุขภาพชุมชน ที่มีโครงสร้างทั่วถึงมาก มาเป็นส่วนหนึ่งของระบบการศึกษาชุมชนท้องถิ่นและผนวกรวมกับระบบการสื่อสารชุมชนท้องถิ่นได้ โดยสรรหาผู้เชี่ยวชาญเรื่องการสื่อสารในชุมชน เข้ามาคิดอย่างจริงจังว่าจะใช้การสื่อสารทุกชนิดมาทำการศึกษาเพื่อคนในท้องถิ่นอย่างไร “นอกจากนี้ ควรนำวิทยุ โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ และอินเทอร์เน็ตในชุมชน เข้ามาเชื่อมโยงความรู้และเรื่องราวต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แลกเปลี่ยนกับชุมชนอื่น ซึ่งจะเป็นเครื่องมือประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เช่น อาจมีการฝึกทำหนังสือพิมพ์ชุมชน เห็นได้ว่า ทุกวันนี้หนังสือพิมพ์ระดับชาติตกเป็นเครื่องมือของธุรกิจและการเงินมากขึ้นเรื่อยๆ ชุมชนจึงสามารถนำความคิด เรื่องราว ข้อเสนอและนโยบายภายในชุมชนมาทำเป็นช่องทางสื่อสาร เชื่อมโยงกันทั่วประเทศขึ้นมาจากข้างล่าง ลดทอนพลังจากข้างบนลง” ประธาน คสป. กล่าวถึงการจัดอุดมศึกษาเพื่อชุมชนท้องถิ่นด้วยว่า เนื่องจากรัฐบาลได้ประกาศเป็นนโยบายไปแล้ว เรื่อง 1 มหาวิทยาลัย 1 จังหวัด ดังนั้น ในแต่ละจังหวัดจึงควรมี 1 มหาวิทยาลัย เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ที่เป็นอุตรดิตถ์โมเดล ที่ทำงานร่วมกับจังหวัด ส่งเสริมความเข้มแข็งให้ชุมชนท้องถิ่นมากขึ้น รวมทั้งมีสถาบันส่งเสริมการเรียนรู้ของท้องถิ่น รวบรวมการเรียนรู้ใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ เพราะมนุษย์มีศักยภาพในการเรียนรู้มากหากมีกระบวนการเรียนรู้ที่ดี แต่เนื่องจากการเรียนรู้ในระบบการศึกษาไทยปัจจุบันยังไม่ใช่การเรียนรู้ที่ดี ใช้ศักยภาพเพียง 5-10% เท่านั้น มนุษย์มีศักยภาพในการเรียนรู้มากกว่านั้นอีกมาก “ในแต่ละจังหวัดควรจะตั้งเป็นสภาการศึกษาของชุมชน หมู่บ้าน ตำบล นำโดยสภาผู้นำชุมชน เชื่อมโยงสู่ระดับตำบล และในระดับจังหวัด หากมีสภาการศึกษาของจังหวัด ก็ไม่ควรจะเป็นแบบรูปเดิมที่มีแค่นักการศึกษา ครูกับคนที่มาจากกระทรวงศึกษาธิการเท่านั้น แต่ควรจะเป็นภาคีพัฒนาจังหวัดอย่างบูรณาการ เพราะคือการศึกษาที่บูรณาการกับทุกเรื่อง” ศ.นพ.ประเวศ กล่าวด้วยว่า หลักการดังกล่าวแม้เป็นเรื่องยาก แต่หากร่วมกันทำจากข้างล่างขึ้นมา ด้วยหลักการชุมชนท้องถิ่นจัดการตัวเอง ก็จะเกิดการพัฒนาอย่างบูรณาการทั้งประเทศ เกิดเป็นสังคมศานติสุข ซึ่งเชื่อว่า หากคนไทยหยุดทะเลาะกัน และร่วมมือกันทุกระดับอย่างสร้างสรรค์ เชื่อมโยงกันสู่ทิศทางใหม่ที่คนไทยจะอยู่ร่วมกัน ไม่ทอดทิ้งกัน เริ่มต้นด้วยการศึกษาของชุมชนท้องถิ่น ก็จะสร้างประเทศไทยให้เป็นประเทศที่น่าอยู่ที่สุดในโลกได้ ที่มาข่าว: ศูนย์ข้อมูลข่าวสารปฏิรูปประเทศไทย
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ศาลรับฟ้อง 'ผู้จัดการ' หมิ่น 'พัชรวาท' กล่าวหานิติกรรมอำพราง Posted: 05 Aug 2011 05:02 AM PDT ศาลรับฟ้อง "นสพ.ผจก" หมิ่นอดีตผบ.ตร. อำพรางโอนรีสอร์ท 100 ล้านให้ลูก สั่งรวมอีก 2 สำนวน เริ่มสืบพยานโจทก์นัดแรก เม.ย.2555 เมื่อวันที่ 4 ส.ค. 54 ที่ผ่านมา กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ รายงานว่าที่ห้องพิจารณาคดี 803 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก วันนี้(4 ส.ค.) เมื่อเวลา 13.30 น. ศาลอ่านคำสั่งคดีหมายเลขดำ อ.3490/2552 ที่ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร. เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องบริษัทเอเอสทีวีผู้จัดการ จำกัด และนายตุลย์ ศิริกุลพิพัฒน์ บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา นสพ.ผู้จัดการรายวัน เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่,หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 136, 326, 328, 332 สืบเนื่ิองจากกรณีเมื่อระหว่างวันที่ 31 ส.ค.-7 ก.ย.52 จำเลยร่วมกันตีพิมพ์ข่าวกล่าวหาว่าโจทก์ทำนิติกรรมอำพรางทุจริตโดยให้บุตรสาวถือครองรีสอร์ทหรู ราคา 100 ล้านบาทแทน และยังทุจริตงบประมาณเพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยศาลพิเคราะห์คำเบิกความ และพยานหลักฐานในชั้นไต่สวนมูลฟ้องโจทก์แล้วเห็นว่า คดีมีมูล จึงประทับรับฟ้องไว้พิจารณา โดยศาลสอบคำให้การจำเลยแล้วจำเลยให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ขณะเดียวกัน ทนายโจทก์ได้แถลงต่อศาลขอรวมสำนวนเป็นคดีเดียวกับคดีหมายเลขดำ อ.2660/2552 และ อ.2994/2552 ที่โจทก์ ยื่นฟ้องจำเลยบุคคลเดียวกันไว้แล้ว ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า คู่ความเป็นคนๆ เดียวกัน และเพื่อความสะดวกต่อการเดินทางมาเบิกความของพยาน จึงอนุญาตให้รวมสำนวนเข้าไว้ด้วยกัน โดยให้ยึดสำนวนหมายเลขดำ อ.2660/2552 เป็นคดีหลัก ภายหลังศาลรวมสำนวนคดีแล้ว โจทก์ ได้แถลงขอสืบพยานบุคคล 10 ปากใช้เวลาไต่สวน 4 นัด ส่วนจำเลยขอสืบพยานต่อสู้คดีรวม 14 ปาก ใช้เวลา 4 นัด ศาลพิจารณาแล้วอนุญาต โดยเริ่มสืบพยานโจทก์วันที่ 18 เม.ย. 55 เวลา 9.00 น. และสืบพยานติดต่อกันทุกวัน ทั้งนี้ทนายจำเลย ได้ขอให้ศาลสืบพยานลับหลังจำเลยด้วย เนื่องจากจำเลยมีอาชีพสื่อมวลชนต้องเดินทางไปต่างประเทศ ไม่สะดวกในการเดินทางมาฟังการพิจารณาคดีทุกนัด ซึ่งทนายโจทก์ไม่ค้าน ศาลจึงอนุญาตให้สืบพยานลับหลังจำเลยได้ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชมรมนักพัฒนาอุตสาหกรมไทย: คำชี้แจงข้อเท็จจริงเรื่องหูกระป๋อง Posted: 05 Aug 2011 04:19 AM PDT จากการที่มีผู้สอบถามและนำหูกระป๋องและฝาเครื่องดื่มบำรุงร่างกายมามอบให้แก่ชมรมนัก พัฒนาอุตสาหกรรมไทย เพื่อทำชิ้นส่วนของขาเทียมจำนวนมาก ทางชมรมฯ ขอขอบคุณและชื่นชมในความเอื้ออาทรของทุกท่านเป็นอย่างยิ่งและใคร่ขอชี้แจง ข้อเท็จจริงในการนำเศษวัสดุเหลือใช้มาผลิตขาเทียมให้ทุกท่านได้ทราบดังต่อไป นี้ 1.หูกระป๋องหรือฝาเครื่องดื่มเป็นโลหะประเภทอลูมิเนียม ดังนั้นอลูมิเนียมทุกชนิด เช่น กระทะ ขัน กะละมัง ที่เป็นอลูมิเนียมสามารถนำมาใช้ได้ทั้งหมด 2.การรณรงค์นำของเหลือใช้มาทำประโยชน์เป็นสิ่งที่ดี แต่ไม่ควรบริโภคเพื่อหวังจะนำหูกระป๋องมาเพื่อทำขาเทียมช่วยเหลือผู้พิการเพราะหูกระป๋อง 4,200 อัน มีน้ำหนัก 1 กิโลกรัม มีมูลค่าเป็นเศษอลูมิเนียมเพียง 50 บาท จะหลอมได้ชิ้นส่วนเพียง 5 ชิ้น ในขณะที่เราต้องเสียเงินซื้อเครื่องดื่มอย่างน้อยถึง 42,000 บาท 3.เหตุใดถึงเลือกเฉพาะหูกระป๋องหรือหูเครื่องดื่มบำรุงกำลัง ถ้าต้องการอลูมิเนียมเพื่อทำขาเทียมจริง ๆ ก็ควรจะรับบริจาค หม้อ ขัน กระทะ เครื่องต่าง ๆ ที่มีส่วนของอลูมิเนียม จะได้ประมาณมากมาย (ถ้าท่านมีศรัทธาอยากจะช่วยเหลือผู้พิการส่งเงินบริจาคไปยังที่อยู่ของหน่วยงานที่ขอบริจาคจะดีกว่าที่จะรวบรวมหูกระป๋อง เพราะนอกจากไม่คุ้มค่าแล้วยังเสียความรู้สึกที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือให้แก่นักฉวยโอกาสหาผลประโยชน์ให้แก่ตน) 4.เศษอลูมิเนียมทุกชนิดต้องนำมาหลอมที่อุณหภูมิ 800 C เพื่อจะแปรรูปเป็นอลูมิเนียมแท่งต้องเสียค่าใช้จ่ายในการหลอมอลูมิเนียมแท่งและค่าจัดส่งมากกว่าค่าวัตถุดิบ ถ้าหน่วยงานใดที่ต้องการชิ้นส่วนขาเทียม ทางชมรมฯ ยินดีจะผลิตให้พอกับความต้องการและไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น 5.ความสามารถในการประกอบขาเทียมจากเศษอลูมิเนียม100 กิโลกรัม เมื่อนำมาทำชิ้นส่วนของขาเทียมจะได้ชิ้นส่วนถึง 500 อัน ผู้ประกอบขาเทียมต้องใช้เวลาประกอบหลายปี ดังนั้นการรณรงค์เพื่อเก็บหูกระป๋องกันอย่างแพร่หลายทั่วประเทศจึงเป็นเรื่องการสร้างภาพของคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น และควรจะให้ประชาชนได้รู้ความจริง 6.การดื่มน้ำกระป๋อง เป็นการสิ้นเปลือง เพราะแผ่นโลหะที่นำมาทำกระป๋องต้องนำเข้า และต้องจ่ายค่ากระป๋องเพิ่มจากน้ำขวดปรกติถึง3 บาท 7.การสร้างศรัทธาและจิตสำนึกเพื่อช่วยเหลือคนพิการเป็นสิ่งที่ดี แต่การโฆษณาเพื่อส่งเสริมการขายและนำสถาบันเบื้องสูงมาอ้างเช่นนี้ทำให้ผู้ที่มีจิตศรัทธาเข้าใจผิดเป็นจำนวนมาก เรื่องอย่างนี้ … ผู้คุ้มครองผู้บริโภคน่าจะดูแลให้ทั่วถึง จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ ชมรมนักพัฒนาอุตสาหกรรมไทย เอกสารเผยแพร่ กรุณาสำเนาแจกจ่ายต่อด้วย สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ภารกิจครั้งแรกในการหาข้อเท็จจริงในประเทศไทยโดยผู้เชี่ยวชาญขององค์การสหประชาชาติ Posted: 05 Aug 2011 04:10 AM PDT ผู้เสนอรายงานพิเศษเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ แห่งสหประชาชาติโดยเฉพาะผู้หญิงและเด็ก เยือนไทย 8-19 ส.ค. ตรวจสอบผลกระทบของมาตรการป้องกันการค้ามนุษย์ เจนีวา/กรุงเทพมหานคร - จอย เนโกซิ อีเซโล่ (Joy Ngozi Ezeilo) ผู้เสนอรายงานพิเศษเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ แห่งสหประชาชาติโดยเฉพาะผู้หญิงและเด็ก จะมาเยือนประเทศไทยระหว่างวันที่ 8-19 สิงหาคมเพื่อตรวจสอบผลกระทบของมาตรการป้องกันการค้ามนุษย์ในประเทศไทย “ในระหว่างภารกิจ ข้าพเจ้าต้องการที่จะเข้าถึง กลุ่มบุคคลหรือหน่วยงานต่างๆและผู้เสียหายจาการค้ามนุษย์ เพื่อได้รับข้อมูลโดยตรงและจะนำไปพิจารณาตามกฎหมายนโยบายและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ในประเทศ”ผู้เสนอรายงานพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนต่อองค์การสหประชาชาติว่าด้วยการค้ามนุษย์กล่าว “ข้าพเจ้าหวังว่าจะมีส่วนร่วมในการเจรจาอย่างสร้างสรรค์กับรัฐบาลเพื่อหารือเกี่ยวกับความคืบหน้าและความท้าทายที่ยังคงเหลืออยู่ในการต่อสู้กับการค้ามนุษย์” ผู้เสนอรายงานพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนต่อองค์การสหประชาชาติว่าด้วยการค้ามนุษย์ กล่าว อีเซโล่เป็นผู้เชี่ยวชาญอิสระตามข้อบังคับของสหประชาชาติสภาสิทธิมนุษยชนเพื่อสนับสนุนการป้องกันการค้ามนุษย์ในทุกรูปแบบและการยอมรับของมาตรการเพื่อส่งเสริมและป้องกันปกป้องสิทธิมนุษยชนของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ ผู้เสนอรายงานฯจะไปเดินทางไปที่จังหวัดกรุงเทพฯ, จังหวัดเชียงใหม่, อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก, จังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดสงขลา เธอจะเข้าพบกับตัวแทนของรัฐบาลและตุลาการ,สมาชิกขององค์การระหว่างประเทศและองค์กรภาคประชาสังคมที่ทำงานเกี่ยวกับการต่อสู้กับการค้ามนุษย์และผู้เสียหายด้วยตัวเอง เมื่อสิ้นภารกิจของ ผู้เสนอรายงานฯจะแถลงข่าวที่กระทรวงการต่างประเทศ ในเวลา 11.00 น. วันที่ 19 สิงหาคม 2554 หมายเหตุ: จอย เนโกซิ อีเซโล่ เริ่มบทบาทของเธอในการรายงานพิเศษเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ผู้เชี่ยวชาญอิสระโดยเฉพาะผู้หญิงและเด็กเริ่มต้น ตั้งแต่ วันที่ 1 สิงหาคม 2551 คุณอีเซโล่เป็นทนายความสิทธิมนุษยชนและอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยของประเทศไนจีเรีย เธอได้ยังทำหน้าที่ต่างๆในภาครัฐ รวมถึงดำรงตำแหน่งคณะกรรมาธิการเกียรติยศของกระทรวงการสตรีและการพัฒนาสังคมในรัฐ Enugu เป็นผู้แทนในการประชุมแห่งชาติว่าด้วยการปฏิรูปทางการเมือง เธอได้ให้คำปรึกษากับองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ และยังมีส่วนร่วมในหลายองค์กรพัฒนาเอกชน โดยเฉพาะงานในสิทธิของผู้หญิง เธอได้มีบทความตีพิมพ์ในหลากหลายหัวข้อซึ่งรวมถึงสิทธิมนุษยชนสิทธิสตรีและกฎหมาย Sharia คุณอีเซโล่ได้รับเกียรติแห่งชาติ (เครื่องราชอิสริยาภรณ์ของไนจีเรีย) ในปี 2549 สำหรับการทำงานด้านปกป้องสิทธิมนุษยชน เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับอาณัติและกิจกรรมผู้เสนอรายงานพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนต่อองค์การสหประชาชาติว่าด้วยการค้ามนุษย์ได้ที่ http://www2.ohchr.org/english/issues/trafficking/index.htm สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมและสื่อมวลชนกรุณาติดต่อ Ms. Junko Tadaki (หมายเลขโทรศัพท์: +66 84722 6156 / jtadaki@ohchr.org) หรือ Mr. Daniel Collinge (หมายเลขโทรศัพท์: +662 288 1178 / collinge@un.org) หรือเขียนถึงsrtrafficking@ohchr.org สิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ, ติดตามบนสื่อสังคม: สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สังคมที่ให้ความสำคัญกับ “ความสมบูรณ์แบบ” ของ “ครอบครัว” จนล้นเกิน Posted: 05 Aug 2011 03:57 AM PDT ปัญหาเรื่องการหย่าร้างได้รับความสนใจจากสังคมในวงกว้าง โดยเฉพาะในปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องจากอัตราการหย่าร้างมีจำนวนเพิ่มขึ้นจนน่าวิตก จนกระทั่งได้มีการก่อตั้งสำนักงานส่งเสริมสถาบันครอบครัวในเดือนตุลาคม พ.ศ.2547 ดังที่ข้อมูลจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยได้แสดงให้เห็นว่าการหย่าร้างมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นทุกปี อาทิเช่น ในปี พ.ศ.2540 มีการหย่าร้างจำนวน 62,379 คู่ ซึ่งเพิ่มเป็น 77,735 คู่ในปี พ.ศ.2545 และเพิ่มเป็นถึง 109,277 คู่ในปี พ.ศ.2552 อย่างไรก็ตาม สังคมไทยดูจะหมกมุ่นวิตกกังวลอยู่กับเรื่องเพียงบางเรื่อง ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาด้านเดียว และส่วนใหญ่ก็เป็นการมองที่ปลายเหตุเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาถึงสาเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดการหย่าร้าง การหาหนทางว่าทำอย่างไรจึงจะสามารถรักษาสถาบันครอบครัวเอาไว้ การพยายามทำความเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของเด็กที่อาศัยอยู่กับพ่อหรือแม่เพียงคนเดียว และการพยายามหาแนวทางที่จะ “รักษา” “เยียวยา” หรือจัดความสัมพันธ์กับเด็กที่มี “ปัญหา” เหล่านี้อย่างไร แน่นอนว่าการหย่าร้างย่อมส่งผลกระทบต่อกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมของเด็กอย่างไม่ต้องสงสัย ซึ่งทำให้เด็กกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะมีปัญหาในการดำรงตนอยู่ในสังคมมากกว่ากว่าเด็กปกติทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสายตาของ “ผู้ใหญ่” ที่ย่อมต้องการให้เด็กๆ มีความคิดและปฏิบัติตนให้อยู่กับร่องกับรอย (น่าสงสัยว่าถ้าหากการหย่าร้างเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แล้ว ในอนาคตเด็กกลุ่มใดกันแน่ที่จะเป็นเด็กส่วนน้อย เด็กที่ไม่ปกติ เด็กที่ต้องได้รับการเยียวยาเป็นพิเศษ) ผู้เขียนชวนให้ตั้งคำถามง่ายๆ ว่า จริงหรือที่ปัญหาต่างๆ ที่เด็กเหล่านี้ได้รับ มีสาเหตุมาจากความไม่สมบูรณ์ของครอบครัวเพียงอย่างเดียว เพราะผู้เขียนเห็นว่าลำพังการหย่าร้าง หรือการอยู่กับ “พ่อ” หรือ “แม่” เพียงคนเดียวไม่น่าจะส่งผลถึงขนาดนั้น แต่กรอบความคิดบางอย่างของสังคมไทยเองต่างหากที่ทำให้ “การหย่าร้าง” หรือ “ความไม่สมบูรณ์” ของครอบครัวกลายเป็นปัญหามากกว่าที่มันควรจะเป็น ดังนั้น หากเรามองในมุมนี้ ประเด็นต่อมาก็คือ “เด็ก” เหล่านี้ (ที่ถูกมองว่าเป็นปัญหา) หรือสังคมไทยกันแน่ ที่ควรจะได้รับการรักษาเยียวยา การให้ความสำคัญกับความผูกพันในครอบครัวอย่างล้นเกิน ในขณะที่หลายๆ สังคมให้ความสำคัญกับการจัดความสัมพันธ์ระหว่างพ่อ-แม่-ลูกภายหลังการหย่าร้างพอๆ กับความพยายามหาทางรักษา “ครอบครัวที่สมบูรณ์” เอาไว้ ดังที่เรามักจะเห็นในหนังฝรั่งหลายๆ เรื่อง ที่ใช้กลไกทางกฎหมายในการจัดความสัมพันธ์ระหว่างพ่อ-แม่-ลูก ภายหลังการหย่าร้าง ว่าลูกควรอยู่กับใคร ใครมีสิทธิพบเจอลูกแค่ไหนและเมื่อไหร่ เป็นต้น แต่สังคมไทยกลับมีอคติที่ไม่ดีกับการหย่าร้างมากเกินไป เราไม่มองว่าการทะเลาะเบาะแว้ง การเข้า-ออกจากสถาบันครอบครัว การแยกทาง การหย่าร้างเป็นปัญหาปกติที่เกิดขึ้นในทุกๆ สังคมมนุษย์ เราพยายามไกล่เกลี่ย รอมชอม กดดันและบีบบังคับ (โดยสังคม) ให้ใครบางคนต้องอดทนกับสภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก หรือกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อรักษาครอบครัวที่สมบูรณ์แบบตามอุดมคติเอาไว้ ซึ่งลักษณะเช่นนี้เองที่ทำให้ผู้หญิงหลายคนที่โดนกดขี่ กลายเป็นผู้แบกรับต้นทุน/ภาระ ในการประคับครองครอบครัวตามอุดมคติแบบไทยเอาไว้บนบ่า การที่เราสร้าง “กรอบมาตรฐาน” บางอย่างขึ้นมานั้น เป็นส่วนสำคัญที่เข้าไปกดดันและทำให้ผู้คนที่ไม่สามารถดำเนินชีวิตตามกรอบมาตรฐานดังกล่าวได้ รู้สึกผิด ย้ำแย่ และทดท้อในชีวิตมากกว่าที่ควรจะเป็น ถ้าจะยกตัวอย่างให้เห็นง่ายๆ ก็ดังเช่น ในปัจจุบันมีการรณรงค์กันอย่างเข้มข้นในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งถ้าหากวาทกรรมดังกล่าวสามารถสถาปนาขึ้นเป็นกรอบมาตรฐานหลักของสังคมไทยได้แล้ว ก็จะทำให้ผู้หญิงหลายคนที่ไม่สามารถเลี้ยงลูก ดูแลลูก หรือให้นมลูกด้วยนมของตนได้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ต้องรู้สึกว่าตนเองได้กลายเป็น “แม่ที่บกพร่อง” ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ ต้องกลายเป็น “แม่” ที่ไม่สมบูรณ์ตามอุดมคติของแม่แบบไทยๆ อีกหนึ่งตัวอย่างที่เราพบเห็นได้ทั่วไปตามป้ายโฆษณาบนท้องถนนในปัจจุบัน คือการผลิตวาทกรรมว่าด้วยการเป็นลูกผู้ชายที่แท้จริงต้องบวชให้ได้อย่างน้อยหนึ่งพรรษา ซึ่งถ้าหากวาทกรรมดังกล่าวถูกผลักดันให้กลายเป็นกรอบมาตรฐานของสังคม ก็จะทำให้ผู้ชายจำนวนนับไม่ถ้วนที่บวชไม่ถึงหนึ่งพรรษา (ดังเช่นตัวผู้เขียนเองเป็นต้น) ต้องรู้สึกว่าตนเองบกพร่อง เป็นปมด้อย และเป็น “ลูก(ผู้)ชาย” ที่ไม่สมบูรณ์ ในกรณีเรื่องการหย่าร้างก็เช่นเดียวกัน การที่เด็กคนหนึ่งไม่กล้าที่จะบอกว่าตนไม่มีพ่อหรือแม่ และรู้สึกว่าตนเองเป็นปัญหา มีปมด้อย ไม่สมบูรณ์ และรู้สึกกลัว ไม่กล้าที่จะเปิดเผยตนเองและปัญหาที่มีต่อสังคม จนต้องกลายเป็นเด็กมีปัญหา ไม่ได้เป็นเพราะพ่อแม่ของเขาแยกทางกัน หรือเพราะเขาขาดความอบอุ่นในครอบครัวเท่านั้น แต่อีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะสังคม ที่ให้ความสำคัญกับความสมบูรณ์แบบของครอบครัวมากเกินไปต่างหาก ที่เข้าไปกดดันพวกเขาเหล่านั้น สังคมที่สถาปนากรอบมาตรฐานของครอบครัวที่สมบูรณ์แบบตามอุดมคติขึ้นมา สังคมที่ไม่มองว่าการหย่าร้างเป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ ได้เบียดขับให้พ่อ แม่ หรือใครก็ตามที่ไม่สามารถประคับประครองครอบครัวของตนให้เป็นไปตามอุดมคติดังกล่าวได้ หรือใครก็ตามที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในครอบครัวแบบอุดมคติดังกล่าว กลายเป็นคนที่ดูจะมีปัญหา ไม่มีความรับผิดชอบ มีความบกพร่อง และไม่สมบูรณ์อย่างรุนแรง ดังนั้น สังคมที่ให้ความสำคัญกับความรัก ความผูกพันในครอบครัวจนล้นเกินต่างหาก ที่กดดันและทำให้พวกเขาเหล่านั้นรู้สึกกลัวที่จะออกไปเผชิญกับโลกภายนอกด้วยสิ่งที่เขาหรือครอบครัวของเขาเป็น จนต้องเก็บกดปิดกั้น และแบกรับปัญหาต่างๆ เอาไว้เพียงคนเดียว จนนำมาซึ่งปัญหาในการจัดความสัมพันธ์ระหว่างตัวเขาเองกับผู้คนในสังคมภายนอก ครอบครัวที่ดีแบบไทยๆ “ครอบครัวที่ดี” แบบไทยๆ ที่ต้องเต็มไปด้วยความรัก ความอบอุ่น ความผูกผัน ความช่วยเหลือเกื้อกูล ความกตัญญู การเคารพเชื่อฟัง ความสามัคคี ไม่แตกแยก และที่สำคัญคือไม่หย่าร้าง ถูกสร้างขึ้นมาพร้อมๆ กับอุดมการณ์ชาตินิยมตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นต้นมา อุดมการณ์ชาตินิยมไทยถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความกลมเกลียว ความสามัคคี ความจงรักภักดี ตลอดจนสร้างความชอบธรรมให้แก่ผู้ปกครอง (ในทุกๆ ระบอบ) อยู่เสมอมา เพราะการสร้างจินตภาพเรื่อง “ชาติไทย” และ “ความเป็นไทย” ให้เกิดขึ้นในสำนึกของคนทั้งปวง จะช่วยในการจัดระเบียบสังคม รวมทั้งยังช่วยลดความแตกต่างและความขัดแย้ง เอื้อให้เกิดสภาวะที่มีเอกภาพ การสมัครสมานภายใน หรือความสามัคคีภายในชาติสามารถเกิดขึ้นได้ [1] ซึ่งลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งของ “ชาติไทย” และ “ความเป็นไทย” ที่ถูกสร้างขึ้นคือ ความพยายามทำให้เราจินตนาการว่าผู้คนภายใน “ชาติ” ก็เปรียบดังญาติพี่น้องที่อยู่ใน “ครอบครัว” เดียวกัน ในสมัยแผนดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเผยแพร่เนื้อหาของจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ ให้ปรากฏแก่มหาชน [2] ซึ่งเนื้อหาของจารึกหลักนี้ได้กลายเป็นพื้นฐานของการอธิบาย “การปกครองแบบไทย” ในสมัยต่อมา ซึ่งถือว่ามีลักษณะพิเศษที่สำคัญคือเป็นการปกครองแบบ “พ่อ” ปกครอง “ลูก” แต่ช่วงที่อุดมการณ์ชาตินิยมไทยลงมามีบทบาทในการจัดการกับความสัมพันธ์ภายในครอบครัวของประชาชนอย่างเด่นชัดนั้น เกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมุงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ผู้ที่พยายามหาทาง “เพาะ” ความรักชาติ ด้วยการ “เพาะ” ความรักใน “คณะ” ย่อยๆ ให้เกิดขึ้นก่อน โดยที่ผู้มีความรักใน “คณะ” ของตนจะต้องตระหนักว่าทุกคณะเป็นส่วนหนึ่งของ “ชาติไทย” ซึ่งเป็นคณะใหญ่ที่สุด [3] พระองค์ทรงสร้างสถาบันหรือชุมชนใหม่ๆ ขึ้นมา เพื่อให้ผู้คนได้เรียนรู้ที่จะรักและเสียสละให้กับชุมชนเหล่านั้น และถ่ายทอดความรักความเสียสละมาสู่ชาติ “คณะ” ที่สำคัญอันหนึ่งได้แก่ “ตระกูล”(ทรงริเริ่มการใช้นามสกุลในประเทศไทย) ซึ่งก็คือ “ครอบครัว” นั่นเอง ฉะนั้น เมื่อ “ชาติ” ของพระองค์คือชาติที่สามัคคี กลมเกลียว รู้ที่ต่ำที่สูง ไม่ขัดแย้ง และทำตามหน้าที่ “ครอบครัว” ตามอุดมคติของพระองค์จึงต้องเป็นครอบครัวที่มีแต่ความรัก ความกตัญญู ความผูกพัน ความสามัคคี ความกลมเกลียว ไม่แตกแยก ไม่หย่าร้างด้วยเช่นกัน ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลได้แทรกแซงความสัมพันธ์ภายในครอบครัวมากขึ้น เพราะการแต่งงาน การมีครอบครัว ย่อมหมายถึงการสร้างพลเมืองรุ่นใหม่ๆ ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อความเจริญมั่นคงของชาติ ในช่วงนี้เองเริ่มมีการส่งเสริมให้ประชาชนได้ทำการแต่งงานสร้างครอบครัว มีการนำเสนอแนวทางการดำเนินชีวิตสมรสและแนวทางในการแก้ปัญหาชีวิตสมรส มีการจัดตั้งองค์กรส่งเสริมการสมรสขึ้นในกระทรวงสาธารณสุขเพื่อความสะดวกในการสมรส อันคำนึงถึงความประหยัด ชี้แนะเกี่ยวกับการตรวจร่างกายก่อนสมรส รวมไปถึงการกำหนดพิธีสมรสมากคู่ในคราวเดียว [4] การเน้นย้ำว่าความสัมพันธ์ของชาติเปรียบดังความสัมพันธ์ของครอบครัวถูกตอกให้ลงลึกในความรู้สึกของผู้คนมากขึ้นในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งใช้ลักษณะการปกครองแบบพ่อปกครองลูกหรือที่นักวิชาการบางท่านเรียกว่าระบบพ่อขุนอุปถัมภ์ โดยมีหลวงวิจิตรวาทการและพระยาอนุมานราชธนเป็นปัญญาชนเบื้องหลังคนสำคัญ นโยบายต่างๆ ของจอมพลสฤษดิ์จึงสะท้อนการเป็นผู้นำแบบ “พ่อขุน” ไม่ว่าจะเป็น การช่วยเหลือ “ลูกๆ” ด้วยความเมตตา การรักษาความเรียบร้อยในครอบครัว และการส่งเสริมสุขภาพและศีลธรรม เป็นต้น [5] ความสัมพันธ์อันสมบูรณ์แบบในครอบครัว ระหว่าง “พ่อ-แม่-ลูก” ได้ถูกเน้นย้ำให้มากยิ่งขึ้นไปอีกในสมัยรัชกาลปัจจุบัน มีการเรียกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกลาปัจจุบันว่า “พ่อหลวงของปวงชนชาวไทย” มีการประดิษฐ์วันพ่อ วันแม่ และวันเด็กขึ้นมา ซึ่งในวันเหล่านี้ก็จะตามมาด้วยนิทรรศการเพื่อเน้นย้ำให้เราตระหนักว่าใครเป็น “พ่อ” ของชาติ ใครเป็น “แม่” ของชาติ และใครเป็น “ลูกๆ” ของชาติ สิ่งเหล่านี้จึงเป็นความพยายามที่จะรักษาและตอกย้ำความสัมพันธ์เชิงอำนาจแบบไทยๆ เอาไว้ นั่นก็คือความสัมพันธ์แบบพ่อปกครองลูกนั่นเอง และเมื่อผู้ปกครองถูกเปรียบเป็น “พ่อ-แม่” พลเมืองหรือผู้ถูกปกครองถูกเปรียบเป็น “ลูก” ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ปกครองและผู้ถูกปกครองจึงต้องเป็นความสัมพันธ์ที่สงบเรียบร้อย รู้หน้าที่ รู้ที่ต่ำสูง กตัญญูรู้คุณ ไม่เบาะแว้ง ไม่แตกแยก และเต็มไปด้วยความรักความสามัคคี การเน้น “ความรัก” ความผูกพัน ความสามัคคี ของผู้คนใน “ชาติ” ที่ถูกเปรียบดัง “ครอบครัว” ได้ทำให้สถาบันครอบครัวไทย ถูกหล่อหลอมไปด้วยทัศนคติแบบชาตินิยมไปด้วย ครอบครัวแบบไทยๆ จึงต้องเป็นความสัมพันธ์ที่รัก-ผูกพัน-สามัคคี แตกแยกไม่ได้ เมื่อเลือกแล้วก็ต้องช่วยกันประคับประคองความสัมพันธ์แบบ “พ่อ-แม่-ลูก” กันต่อไป ส่วนใครก็ตามที่ทำตามกรอบครอบครัวที่สมบูรณ์แบบไทยๆ ไม่ได้ ก็จะต้องกลายเป็นคนที่มีปัญหา ไม่สมบูรณ์ และมีอะไรผิดแปลก และจะถูกจับตามองเป็นพิเศษ เพราะเมื่อคุณไม่สามารถประคับประคองอุดมคติครอบครัวแบบไทยเอาไว้แล้วละก็ คุณย่อมอาจเป็นปัญหา และอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะประคับประคองความสัมพันธ์หรืออุดมคติของการปกครองแบบไทยเอาไว้ไม่ได้เช่นเดียวกัน วาทกรรมเรื่องความรักความผูกพัน ความสามัคคีเช่นนี้เองที่บีบคั้นให้คนที่หย่าร้างกัน คนที่มีครอบครัวไม่สมบูรณ์ รู้สึกบกพร่อง รู้สึกว่าตนไม่สมบูรณ์ จนเกิดความกลัว ความวิตกกังวลที่ล้นเกินมากไป เชิงอรรถ [1] โปรดดูประเด็นนี้ใน สายชล สัตยานุรักษ์, รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการประวัติศาสตร์วิธีคิดเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมไทยของปัญญาชน (พ.ศ.2435-2535), สนับสนุนโดยกองทุนสนับสนุนการวิจัย, พ.ศ.2550, สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เพ็ญ ภัคตะ: สยามเมืองยิ้ม-สยามเมืองยักษ์ Posted: 05 Aug 2011 03:43 AM PDT เยาะหยันเมืองยักษ์ยิ้ม สยามหยอก ประกาศต่อโลกก้อง ยืนกราน ดูถูกชาติอื่นแย้ม ยากเย็น ขอเยาะขอยั่วเย้ย ยิ้มสยาม รอยยิ้มของยักษ์ร้าย เล่นละคร สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
นักร้องฮิพฮอพชื่อดังถูกห้ามแสดงคอนเสิร์ตหลังเข้าร่วมทางการเมือง Posted: 05 Aug 2011 03:26 AM PDT นายเซยา ตอว์ นักร้องฮิพฮอพชื่อดังของพม่าถูกห้ามแสดงคอนเสิร์ตการกุศลที่จะจัดขึ้นที่ ทะเลสาบกั่นดอว์จี กรุงย่างกุ้งในวันเสาร์ที่ 6สิงหาคมที่จะถึงนี้ ขณะที่เขาเพิ่งได้รับการปล่อยตัวเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา หลังถูกจำคุกเป็นเวลา 3 ปีครึ่งในข้อหามีส่วนร่วมทางการเมืองต่อต้านรัฐบาลพม่า ทั้งนี้ เซยาตอว์ได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวอิรวดีว่า ทางเจ้าหน้าที่ได้กดดันไปยังผู้จัดงานว่าห้ามเซยา ตอว์ขึ้นร่วมแสดงคอนเสิร์ตที่จะมีขึ้นและหากทางผู้จัดงานไม่ปฏิบัติตาม ทางเจ้าหน้าที่ก็จะไม่อนุญาตให้จัดคอนเสิร์ต ขณะที่การจัดคอนเสิร์ตดังกล่าวขึ้นนั้นก็เพื่อหาเงินช่วยเหลือแก่บ้านพักคน ชราในเมืองดาโก่ง เมียวทิต ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของกรุงย่างกุ้ง ซึ่งจะมีศิลปินนักร้องชื่อดังของพม่าหลายคนเข้าร่วมงานดังกล่าว ด้านเซยาตอว์กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ไม่มีเหตุผลที่รัฐบาลห้ามเขาเล่นคอนเสิร์ตเพียงเพราะว่าเขามี ความเห็นทางการเมืองที่แตกต่าง และที่ผ่านมา เขาเองก็ไม่ได้รับแจ้งจากรัฐบาลพม่าว่า เขาไม่สามารถเล่นคอนเสิร์ตได้ "หากรัฐบาลชุดปัจจุบันเป็นประชาธิปไตยจริงๆ พวกเขาก็ควรยอมรับในความหลากหลาย และถึงแม้ว่าเราจะมีความเชื่อที่แตกต่างไปจากรัฐบาลปัจจุบัน แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่าเราเป็นพวกอยู่นอกกฎหมาย" เซยา ตอว์กล่าว ทั้งนี้ เซยาตอว์ เป็นที่รู้จักดีในพม่าในฐานะหนึ่งในนักร้องวง Acid ซึ่งเป็นศิลปินกลุ่มแรกๆที่นำแนวเพลงฮิพฮอพมาเผยแพร่ในพม่าเมื่อปี 2543 โดยเขายังเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งกลุ่ม Generation Wave หลังการประท้วงใหญ่ในปี 2550 ซึ่ง Generation Wave เป็นกลุ่มที่สนับสนุนประชาธิปไตยและออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลพม่า เช่นการแต่งเพลงหรือแจกใบปลิวโจมตีรัฐบาลพม่าเป็นต้น ซึ่งสมาชิกของกลุ่มส่วนใหญ่เคลื่อนไหวอยู่ในพม่า อย่างไรก็ตาม เซยาตอว์ถูกจับในปี 2551 และถูกสั่งจำคุกเป็นเวลา 5ปี ก่อนที่ทางการจะลดโทษและได้รับการปล่อยตัวเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา หลังใช้ชีวิตอยู่ในคุกเป็นเวลา 3 ปีครึ่ง แปลและเรียบเรียงโดยสาละวินโพสต์ "สื่อทางเลือกเพื่อแบ่งปันความเข้าใจสู่เพื่อนบ้าน"อ่านข่าวและบท ความอื่นๆอีกมากมายได้ที่เว็บไซต์ www.salweennews.orgเฟซบุ๊คhttp://www.facebook.com/Salweenpostทวิตเตอร์http://twitter.com/salweenpost
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
นักข่าวพลเมือง: รายงานเสวนา “เพิ่มค่าแรง 300 บาท/วัน: ได้-ได้ หรือ ได้-เสีย” Posted: 05 Aug 2011 03:07 AM PDT
เมื่อวันที่ 30 ก.ค. ที่ห้อง 500 ชั้น 5 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ท่าพระจันทร์ IBMP CLUB หรือกลุ่มกิจกรรมนักศึกษาหลักสูตรควบตรี-โท ด้านบัญชีและบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มธ. จัดเสวนาในหัวข้อ “เพิ่มค่าแรง 300 บาท/วัน: ได้-ได้ หรือ ได้-เสีย” เพื่อเปิดเวทีให้กลุ่มผู้ใช้แรงงานได้มีพื้นที่ในสังคมในการแสดงความคิดเห็น และบทวิเคราะห์จากภาคแรงงานสู่สาธารณะ เพื่อผลักดันประเด็นในการถกเถียงให้กว้างขึ้น โดยมี จิตรา คชเดช อดีตประธานสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย, พรมมา ภูมิพันธ์ ประธานกลุ่มสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมเบอร์ล่า (LUGB) , เทวฤทธิ์ มณีฉาย นักกิจกรรมจากกลุ่มประกายไฟ, จิรัฐสรรพ์ ประมวลศิลป์ นักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ หลักสูตรภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากกลุ่มประกายทุน และ อัญธนา สันกว๊าน นักศึกษาหลักสูตรควบตรี-โท ทางด้านการบัญชีและบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มธ. ร่วมเสวนา
จิตรา คชเดช เจ้าหน้าที่สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย เล่าถึงสภาพการทำงานในโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าว่า ส่วนมากเข้างาน 8.00น. เลิกงาน 17.00น. แต่พอเลิกงาน จะไม่เห็นคนงานกลับบ้าน เพราะส่วนใหญ่ทำงานล่วงเวลา (OT) และเราจะเห็นว่าวันอาทิตย์ก็ยังมีรถรับส่งคนงาน ทั้งๆ ที่เป็นวันหยุด เพราะคนงานก็ทำงานในวันหยุดด้วย สภาพการทำงานส่วนมากจะถูกตั้งเป้าการผลิต เช่น โครงงานตัดเย็บเสื้อผ้าจะมีการคำนวณเป็นนาทีต่อนาที โดยใช้วิศวกรรมทางการผลิต มีการจับเวลา อย่างกรณีโรงงานไทรอัมพ์ฯจะมีหน่วยคำนวณอยู่ที่ออสเตรีย ไม่ว่าจะลุก ยืน เดิน เข้าห้องน้ำ เขาคำนวณหมด เพราะฉะนั้นนายจ้างจะรู้เลยว่างาน 1,000 ชิ้นที่เขารับมาจะต้องใช้กี่คน กี่วันในการผลิต ดังนั้นเมื่อคำนวณแบบนี้นายจ้างไม่มีขาดทุน ถ้าคนงานทำไม่ได้นายจ้างก็จะใช้วิธีการเตือนคนงานว่าด้วยประสิทธิภาพในการทำงาน โดยจะมีตัวอย่างให้ดูเปรียบเทียบจากคนงานที่ทำได้ตามเป้าหมายนายจ้างก็จะถ่ายวิดีโอเก็บไว้ เพราะฉะนั้นวงจรแบบนี้มันจะควบคุมหมด ว่างานเท่านี้ คน 50 คนจะต้องทำงานกี่วัน และถ้าคนขาดไป 1 คนก็จะมีการเร่งเป้าเพื่อให้ได้ตามเวลาที่ต้องการ โดยหัวหน้างานก็จะควบคุมเช่น ห้ามลางาน เพราะจะทำให้นายจ้างเสียหาย อาจจะถูกใบเตือน ถูกเลิกจ้างได้ นอกจากบังคับด้วยระเบียบบริษัทแล้ว ยังมีการใช้วิธีแรงจูงใจ คือถ้าคนงานทำได้มากกว่าเป้าที่กำหนดก็จะได้เงินเพิ่มขึ้นนิดหน่อย แต่เป็นแรงจูงใจมหาศาลที่คนงานจะต้องทำงานให้ได้ การเร่งเป้าการผลิตทำให้คนงานไม่กินน้ำมาก เพราะจะทำให้ปวดฉี่บ่อยทำให้เสียเวลาไปเข้าห้องน้ำ แต่สิ่งที่ตามมาคือโรคไต กรวยไตอักเสบ นั่งนานๆ ก็จะเป็นโรคกระดูกทับเส้นประสาท เวลาเป็นโรคนี้มันจะร้อนหลังวูบๆ คนก็เชื่อว่าโดนของ โดยไสยศาสตร์ ไปหาหมอรดน้ำมนต์ก่อนอันดับแรก กว่าจะรู้ว่าตัวเองป่วยเป็นโรค ก็เสียหายไปเยอะแล้ว จิตราตั้งคำถามว่า 8 ชั่วโมงของการทำงานกับการที่คนงานต้องเสี่ยงกับค่าจ้างขั้นต่ำที่เขาได้นั้นคุ้มกันหรือไม่ เวลามองความคุ้มกับการทำงานในโรงงานเขามองแค่พอกินพอใช้หรือไม่ เขาไม่ได้มองความเสื่อมสภาพของร่างกาย ซึ่งพอคนงานอายุมากขึ้นจะต้องเผชิญกับอะไรบ้างจากความเสื่อมตรงนี้ แต่กลับมองเพียงว่าค่าจ้างพอกับค่าครองชีพหรือไม่ บางโรงงานในอุตสาหกรรมอิเล็กโทรนิคจะต้องเสี่ยงกับพิษสารตะกั่วซึ่งสะสมในร่างกายนำไปสู่โรคหลายโรค เช่น มะเร็ง แต่ที่เห็นบ่อยคือสมองเสื่อมหรือถูกทำลายนำไปสู่อาการเพ้อเจ้อ คนก็เชื่อว่าถูกผีเข้า และออกจากงานไปโดยความเชื่อนั้น ซึ่งกว่าที่จะรู้ว่าป่วยจากการทำงานก็หมดสภาพการเป็นคนงานไปแล้ว ทำให้ไม่มีอะไรคุ้มครอง ต่อเรื่องขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทนั้น จิตราเปรียบเทียบว่า ถ้าผลิตธรรมดาจ่าย 250 บาท ได้งาน 10 ตัว แต่พอเร่งเป้าการผลิตจากเพิ่มอีกนิดเป็น 350 บาท ได้งานถึง 30 ตัว ทั้งที่หากคิดตามสัดส่วนควรจะได้ 630 บาท ดังนั้นการปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาทนั้นนายจ้างก็รู้อยู่แล้ว เมื่อมีปรับขึ้นค่าจ้างนายจ้างก็เร่งเป้าการผลิตให้เหมาะสมกับรายได้ของนายจ้าง ดังนั้นนายจ้างก็จะไม่ขาดทุน ถึงขาดทุนกำไรก็ไม่ขาดทุนอยู่แล้ว ประกาศคณะกรรมการค่าจ้างเรื่องอัตราค่าจ้าตามมาตรฐานฝีมือ เมื่อ 29 เม.ย. 54 เขาบอกว่า 29 ก.ค.ที่ผ่านมานี้ ประกาศฉบับนี้ได้ถูกใช้แล้ว 22 อาชีพ ซึ่งมีช่างเย็บรวมอยู่ด้วยนั้น อาชีพนี้จะต้องจ่ายค่าตอบแทนไม่น้อยกว่า 250 บาท ในระดับ 1 จากการเช็คฝีมือ ระดับ 2 ไม่น้อยกว่า 340 บาท ระดับ 3 จ่ายไม่น้อยกว่า 430 บาท การเช็คฝีมือต้องไปเช็คกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ไม่รู้เป็นเพราะอะไรกลับไม่ได้รับการโฆษณาอย่างกว้างขวาง แต่การให้กรมฯเป็นผู้เช็คนั้นอาจมีปัญหา เช่น คนทำงานมากว่า 20 ปีเมื่อไปเช็คอาจได้เพียงแค่ระดับ 1 จริงๆ แล้วประกาศนี้ควรจะบอกว่าอายุงาน 3 ปีนี่ควรได้ระดับ 3 แล้ว ไม่ใช่ว่าให้ไปทดสอบอีก เพราะขนาดเรียนมหาวิทยาลัย 3-4 ปีก็จบปริญญาแล้ว แต่นี่ทำงานในโรงงานมา 20-30 ปีแล้วก็ยังกินค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ สิ่งที่นายทุนจะได้จากการปรับค่าจ้าง 1.จะได้ที่การเร่งเป้าการผลิต 2.จากที่สภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้ายื่นหนังสือว่าถ้ามีการปรับค่าจ้างเป็น 300 บาท ที่บอกว่ารัฐบาลจะต้องช่วยเหลือค่าใช้จ่ายที่เป็นส่วนต่างจากค่าจ้างที่ปรับขึ้น โดยให้คูปองในสัดส่วน 70-80% เพื่อผู้ประกอบการนำคูปองเหล่านี้ไปใช้จ่ายค่าสาธารณูปโภคต่างๆ หรือเงินที่จะจ่ายสมทบกองทุนประกันสังคม หากไม่มีมาตรการรองรับก็จะอยู่ไม่ได้ ทุกวันนี้นายทุนข้ามชาติหิ้วกระเป๋าเข้ามาลงทุนในประเทศ BOI ก็มีการโฆษณาว่าถ้ามาลงทุนในเมืองไทยจะได้รับอะไรบ้าง เช่น มีคนงานที่มีประสิทธิภาพและราคาถูก เขาเอาคนไปขายขนาดนี้เลย รวมถึงได้รับการส่งเสริมการลงทุน ลดภาษี จะเห็นว่า BOI มุ่งเน้นที่จะส่งเสริมการลงทุนของนายทุนข้ามชาติอย่างมาก บริษัทไหนทำกิจการใกล้จะเจ๊งรัฐก็จะรีบเข้าไปช่วยเหลือเพราะเขากลัวคนงานได้รับผลกระทบหากมีการปิดกิจการ พอรัฐมีแนวทางแบบนี้ นายทุนก็อาศัยช่องว่างสร้างบริษัทแม่-ลูกขึ้นมา โดยบริษัทลูกจะเป็นบริษัทที่ใกล้จะเจ๊งตลอดเวลาทำธุรกิจไม่เคยมีกำไรเลย โดยวิธีค้าขายของเขาบริษัทลูกก็จะขายสินค้าให้กับบริษัทแม่โดยเอากำไรน้อยมาก โดยที่คนส่วนใหญ่ฝ่ายผลิตจะอยู่บริษัทลูกแต่คนส่วนน้อยอยู่กับบริษัทแม่ การบริหารใกล้จะขาดทุนตลอดเวลาก็อาจเสียภาษีบ้างไม่เสียบ้าง หรือสหภาพแรงงานยื่นข้อเรียกร้องขอปรับสภาพการจ้างนายจ้างก็อ้างตลอดว่าบริษัทขาดทุน บางบริษัทก็เป็นหนี้บริษัทแม่อีก ประเด็นนี้รัฐเองก็ไม่พูดถึง อ้างแต่ว่าคนละนิติบุคคล ส่วนใหญ่คนงานเป็นคนงานอพยพ สิ่งแรกที่ต้องมองหาคือบ้านเช่าโดยราคาค่าเช่าคิดเป็นสัดส่วนเมื่อเทียบกับค่าแรงขั้นต่ำตกอยู่ที่ 40-50% และค่าจ้างขั้นต่ำที่ได้ก็ไม่ถึง 30 วันต่อเดือนเพราะไม่รวมวันหยุด ดังนั้นเอาเข้าจริงค่าจ้างขั้นต่ำต่อวันที่คนงานใช้ชีวิตจึงต่ำกว่าค่าจ้างที่กำหนด ค่าอาหารอีกเฉลี่ยวันละ 100 บาท ซึ่งเป็นสภาพที่ยากลำบากมากในความเป็นจริง นอกจากนี้ ยังมีค่ารถ เช่น ถ้าอยู่ในซอยก็ต้องใช้บริการมอเตอร์ไซต์รับจ้างที่รัฐไม่ได้ควบคุมราคาค่าบริการ ค่าน้ำ-ไฟ คนที่ได้ความช่วยเหลือจากรัฐก็เป็นคนที่มีมอเตอร์เป็นของตัวเอง แต่คนงานที่อยู่บ้านเช่า ไม่มีมอเตอร์ของตนเอง ดังนั้นจึงต้องเป็นไปตามอำเภอใจเจ้าของห้องเช่า ดังนั้นค่าน้ำไฟก็เป็นปัญหาที่รัฐอาจไม่ได้ช่วยเหลือจริง คนงานคนหนึ่งไม่ได้อยู่แค่ในสังคมโดดๆ ยังมีครอบครัว และหนี้ของพ่อแม่จากภาคเกษตรที่ต้องแบกรับภาระ โดยเฉพาะหนี้ ธกส. หรือเดือนไหนที่เงินเดือนช็อตก็ต้องกู้หนี้นอกระบบซึ่งดอกเบี้ยแพงมาก บางคนหาทางออกโดยการเล่นหวย ที่สะท้อนว่าเราไม่มีทางออกไม่มีทางเลือกจริงๆ หรือถ้าเครียดมากก็หาทางออกเช่น ดื่มเหล้าขาว ให้เมาเพื่อลืมปัญหา เพราะฉะนั้นการปรับค่าจ้าง 300 บาทมันไม่ได้ทำให้คุณภาพชีวิตคนงานดีขึ้นเลิศเลออะไร เพียงแต่บรรเทาให้คุณภาพชีวิตเขาดีขึ้นบ้างเล็กน้อย ถ้ารัฐจะต้องการส่งเสริมให้คนงานมีคุณภาพชีวิตที่ดี การที่พรรคเพื่อไทยพูดเรื่องนโยบายปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศหรือปริญญาตรี 15,000 บาทต่อเดือน มันไม่ใช่ประชานิยม แต่มันทำให้คุณภาพชีวิตคนดีขึ้น แต่เน้นว่าอย่าละเลยสิทธิการรวมตัวให้มีสหภาพแรงงาน นั่นหมายถึงความมั่นคงต่อไป “ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท นั้นหมดเวลาแล้วที่จะพูดว่าควรหรือไม่ควรทำ มันคือต้องทำ..มันเป็นฉันทมติของคนในสังคมไปแล้ว ดังนั้นมันควรจะขึ้นเพื่อรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงของระบบการเมืองแบบตัวแทน .. 300 บาท คนงานขาดทุนด้วยซ้ำไป ..บอกว่าขึ้นค่าแรงต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ต้องเพิ่มทักษะในการทำงานของคนงาน..เหมือนกับว่าที่ผ่านมาการที่คนงานได้ค่าแรงขั้นต่ำเป็นเพราะว่าทักษะของคนงานที่ผ่านมามันไม่ได้เรื่อง” เทวฤทธิ์ มณีฉาย นักกิจกรรมจากกลุ่มประกายไฟ กล่าวว่า ขณะที่ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้คุณภาพชีวิตของคนดีขึ้น ผลิตภาพการผลิตสูงขึ้น เห็นได้จากสัดส่วนของการเกิดและอยู่รอดของทารกเทียบกับในอดีต รายได้ประชาชนสูงขึ้น แต่ช่องว่างระหว่างรายได้กลับสูงขึ้นด้วย โดยเฉพาะในสังคมไทย จากงานสำรวจของดิอิโคโนมิสต์ ประเทศไทยมีช่องว่างอยู่อันดับต้นๆ ของโลกเมื่อเทียบกับประเทศอื่น โดยมีสัดส่วนระหว่างกลุ่มคนรวยสุดกับกลุ่มคนจนสุดห่างกันถึง 15 เท่า และถ้าดูที่รายได้ครัวเรือนปี 49-50 ที่สำนักงานสถิติแห่งชาติสำรวจมานั้น แบ่งเป็น 5 กลุ่มๆ ละ 20% จะพบว่ากลุ่มรวยสุด 20% มีรายได้เกือบ 50% ของรายได้รวมทั้งสังคมในขณะที่ 20% ที่จนสุดกลับมีรายได้เพียง 5.7% ขณะที่ค่าจ้างในภูมิภาคเอเชียสำหรับประเทศกำลังพัฒนา แม้ว่าไทยจะมากกว่าลาว กัมพูชา หรือเวียดนาม แต่เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาร่วมกันมาอย่างมาเลเซีย พบว่าค่าแรงขั้นต่ำต่างกันกว่าเท่าตัว จากการสำรวจของ IMF ประเทศมาเลเซียอยู่ที่ 14,400 บาท ในขณะที่ประเทศไทยค่าจ้างขั้นต่ำเฉลี่ยอยู่ที่ 6,070 บาท มีการสำรวจต้นทุนเรื่องค่าจ้างที่สำรวจโดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และมีการเปิดเผยเมื่อวันที่ 25 ก.ค.ที่ผ่านมา สัดส่วนในการจ่ายค่าจ้างแน่นอนในธุรกิจ SMEs มีสัดส่วนตรงนี้ต่อต้นทุนทั้งหมดมากแต่ก็ไม่มากไปกว่า 10% ของต้นทุนทั้งหมด แต่ยิ่งธุรกิจยิ่งใหญ่ขึ้นเท่าใดต้นทุนในเรื่องค่าจ้างต่อต้นทุนทั้งหมดยิ่งถูกลงอาจเหลือเพียง 1-3% ซึ่งเมื่อเราขึ้นค่าแรง 300 บาทจาก 215 บาท เท่ากับ 39% เมื่อเทียบกับต้นทุนทั้งหมดของธุรกิจขนาดย่อมอาจอยู่ที่ 3% ที่เพิ่มขึ้น แต่หากเป็นธุรกิจขนาดใหญ่อาจอยู่ที่ 1% ถ้ากระทบจริง ทั้งนี้ ในความเป็นจริงธุรกิจประเภทนี้แม้จะเป็นธุรกิจแรงงานเข้มข้นอย่างในอุตสาหกรรมอาหารบางแห่งก็มีจ่ายค่าแรงมากกว่า 300 บาทอยู่แล้วในอัตราแรกเข้า ซึ่งบางแห่งยังรวมถึงแรงงานข้ามชาติด้วย จากการสำรวจของมหาวิทยาลัยศรีปทุมในรายงานผลการสำรวจค่าจ้างและสวัสดิการปี 2552/2553 สัดส่วนค่าแรงของผู้บริหารกับพนักงานที่ปฏิบัติงานห่างกันถึง 8.5-10 เท่า โดยผู้บริหารระดับสูงเฉลี่ยที่รายละ 80,034 บาทต่อเดือน สูงกว่าตำแหน่งพนักงานปฎิบัติการที่เฉลี่ย 9,457 บาท ถึง 70,577 บาท นี่เป็นค่าเฉลี่ยทั่วไปจากการสำรวจ แต่ความจริงบางบริษัทห่างกันกว่า 20-30 เท่า ถามว่าเหตุใดสัดส่วนถึงได้ห่างกันขนาดนี้ นี่สะท้อนว่าในขณะที่เรามีความก้านหน้าของเทคโนโลยีและผลิตภาพในการผลิต แต่ช่องว่างกลับเพิ่มขึ้น ระบบการเมืองแบบตัวแทนมันคือระบบที่เปิดโอกาสให้คนในสังคม โดยเฉพาะประชาชนส่วนใหญ่สามารถที่จะลงมติ สามารถที่จะกำหนดชะตาชีวิตหรือความเป็นไปของคนในสังคมได้ ดังนั้นเราควรที่จะคงไว้ซึ่งหลักการหรือความชอบธรรมตรงนี้ จริงๆ แล้วต่อให้ค่าแรง 300 บาทต่อวัน เราไปดูตามร้านอาหารทั่วไปขั้นต่ำ 30 บาทต่อจานแล้ว เท่ากับ 10% ของค่าแรงต่อวัน ถ้าหากวันหนึ่งต้องกิน 3 มื้อ ก็เท่ากับ 30% แล้ว ไม่ต้องพูดถึงผลไม้ ทำให้ไม่ต้องพูดถึงการรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ นี่คือชีวิตขั้นต่ำที่คนในสังคมจะอยู่ได้ แต่ถ้าไปดูค่าตอบแทนที่ควรจะเป็นในระดับสากลขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ(ILO) ไม่ใช่แค่เลี้ยงคน 1 คน แต่ต้องเลี้ยงครอบครัว คู่สมรสและบุตรด้วย 300 บาทแค่ตัวเองยังเอาไม่รอด ดังนั้น 300 บาทมันน้อยไปเสียด้วยซ้ำ จริงๆ ถ้าอิงตามข้อเรียกร้องของคนงานเมื่อปีที่ผ่านมาเขาขอ 400 กว่าบาท ดังนั้น 300 บาท คนงานขาดทุดด้วยซ้ำไป ค่าแรงในโลกเมื่อเปรียบเทียบกับการเติบโตของเศรษฐกิจพบว่าลดลงทั่วโลก จากที่ อ.ผาสุก พงษ์ไพจิตร ซึ่งได้กล่าวไว้ในงานปาฐกถาหัวข้อเศรษฐศาสตร์ของการเมืองไทย ที่ มธ. เมื่อวันที่ 7 พ.ค.ที่ผ่านมา โดย อ.ผาสุก ได้อ้างบทความของ “ดิอิโคโนมิสท์” ว่ามีแนวโน้มรายได้ของคนงานที่ลดลง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการให้ความสำคัญของเครื่องจักร การที่เครื่องจักรเข้ามาแทนที่คนงาน บางโรงงานแทบไม่มีคนงานด้วยซ้ำไป ดังนั้นอำนาจการต่อรองของคนงานจึงลดลง คนงานในหลายประเทศเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานลดลง นี่คือสาเหตุสำคัญ สัดส่วนของการจัดตั้งสหภาพแรงงานในประเทศไทยอยู่ที่ 1% ของกำลังแรงงานทั้งหมดคือ 3 แสนกว่าคนจากกำลังแรงงาน 37 ล้านคน เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่มีสวัสดิการก้าวหน้า ความเหลื่อมล้ำในเรื่องของรายได้น้อยอย่างในสแกนดิเนเวียมีอัตราการจัดตั้งสหภาพอยู่ที่ 80% ของแรงงาน ดังนั้นเรื่องของค่าแรงมันไม่ใช่เรื่องเชิงเทคนิคทางเศรษฐกิจอย่างเดียว แต่มันเป็นเรื่องเชิงการเมือง โดยเฉพาะการเมืองในการกำหนดความสัมพันธ์ในการผลิตด้วย ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบค่าจ้างขั้นต่ำของคนงานไทยกับอัตราเงินเฟ้อหรือความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ พบว่าไม่ได้ไปด้วยกัน หากอยากรู้ว่าผลพลอยได้จากการเติบโตหรือเงินส่วนหนึ่งไปอยู่ที่ไหนก็ย้อนกลับไปดูช่องว่างระหว่างรายได้ของคนในสังคมไทยที่ยิ่งพัฒนาก็ยิ่งห่างกันมากขึ้น สะท้อนให้เห็นว่ามูลค่าเพิ่มที่คนในสังคมผลิตผลตอบแทนมันไปอยู่ในกระเป๋าของใคร นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทนอกจากจะเป็นฉันทามติของคนในสังคม ยังสะท้อนความก้าวหน้าของระบอบประชาธิปไตยในสังคมไทยด้วย เพราะทำให้คนในสังคมสามารถกำหนดหรือให้ความสามารถของคนในสังคมที่จะกำหนดทิศทางของสังคมไทย ที่ผ่านมาค่าแรงขั้นต่ำหรือผลตอบแทนของคนงานสอดคล้องกับกลไกที่ไม่เป็นประชาธิปไตย เช่น การรัฐประหาร มีการลดทอนค่าจ้างและเงื่อนไขหรือความสามารถในการต่อรองของคนงาน อย่างก่อน พ.ค.35 มีการแยกคนงานรัฐวิสาหกิจออกจากคนงานในภาคเอกชน ทำให้ความสามารถในการต่อรองของคนงานลดลง รวมถึงการขึ้นค่าแรงก็น้อยกว่าเมื่อเทียบกับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง รวมไปถึงคนที่มาจากกลไกการแต่งตั้งที่อ้างศัพท์ในเชิงเทคนิคมากกว่าความสอดคล้องในความต้องการของประชาชน และในความเป็นจริงการประเมินนโยบายเราไม่ได้ประเมินในเชิงตัวเงินอย่างเดียว เวลาวิเคราะห์นโยบาย แต่เรายังประเมินในเรื่องสังคมด้วย คนงานในโรงงานเวลามีลูก การได้ค่าแรงขั้นต่ำมันบังคับให้เขาต้องทำ OT โดยอัตโนมัติ ทำให้เวลาที่อยู่กับลูกหรือครอบครัวลดลง พร้อมกับค่าตอบแทนที่ไม่สามารถเลี้ยงดูบุตร สวัสดิการของรัฐก็ไม่สามารถรองรับ ก็ต้องส่งลูกตัวเองไปอยู่กับพ่อแม่ที่ต่างจังหวัดเพื่อลดต้นทุนทั้งเงินและเวลาในการเลี้ยงดู ทำให้ไม่สามารถเลี้ยงดูได้เต็มที่ พออยู่กับพ่อแม่ที่ต่างจังหวัดก็ตามไม่ทันหลาน ส่วนมากครอบครัวคนงานจะแตกแยก อัตราการหย่าสูง ดังนั้นเวลาประเมินนโยบายควรดูตรงนี้ด้วย ส่วน SMEs ที่จะได้รับผลกระทบนั้นรัฐบาลควรออกมาตรการให้ธุรกิจเหล่านั้นเผยแพร่ข้อมูลที่ชัดเจนเลยว่าหลังจากที่ขึ้นค่าแรงแล้วได้รับผลกระทบเท่าไหร่ต่อสาธารณชน เพื่อที่จะให้รัฐเข้าไปหนุนช่วย ประเทศไทย GDP พึ่งพาต่างประเทศถึง 72% สร้างความไม่มั่นคงต่อระบบเศรษฐกิจของเรามากเพราะขาข้างหนึ่งเราเหยียบเข้าไป 72% แล้วซึ่งเป็นความเสี่ยงโดยเฉพาะระบบเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าอาจมีปัญหา และเมื่อพิจารณาดูดีๆ ทุนข้ามชาติอย่างในอุตสาหกรรมอิเล็กโทรนิคหรือยานยนต์กลุ่มเหล่านี้ก็ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและยกเว้นภาษี สิ่งที่ได้รับในระบบเศรษฐกิจเราจริงๆ คือแค่ค่าแรงขั้นต่ำที่คนงานได้เท่านั้น แม้มูลค่าการส่งออกเราจะเพิ่มแต่มันเกิด Multiplier effect หรือการหมุนของเงินในระบบเศรษฐกิจไม่มากเพราะจากการผลิตสร้างมูลค่าเพิ่มตรงนั้นคนในระบบเศรษฐกิจได้รับเพียงค่าแรงขั้นต่ำ ดังนั้นสิ่งที่สำคัญการขึ้นค่าแรงจึงเป็นการกระตุ้นกำลังซื้อภายใน แน่นอน SMEs ในระยะแรกการขึ้นค่าแรงโดยเฉพาะในต่างจังหวัดมันได้รับผลกระทบแน่นอน แต่ในระยะยาวต้นทุนในการกระจายสินค้าอาจไม่ต้องกระจายไกล คนในท้องถิ่นก็สามารถที่จะบริโภคสินค้าที่ผลิตได้ นำไปสู่การเติบโตในระบบเศรษฐกิจในท้องถิ่นต่างๆ ประเด็นที่สำคัญที่สุดเหมือนเรากำลังบอกว่าขึ้นค่าแรงต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ต้องเพิ่มทักษะในการทำงานของคนงานด้วย เหมือนกับว่าที่ผ่านมาการที่คนงานได้ค่าแรงขั้นต่ำเป็นเพราะว่าทักษะของคนงานที่ผ่านมาไม่ได้เรื่อง แม้ปัจจุบันอัตราการเพิ่มทักษะของไทยเมื่อเทียบกับเวียดนามหรือจีนเราสู้ไม่ได้ก็จริง แต่เราไม่ได้ดูว่าที่ผ่านมาเราเพิ่มทักษะสะสมมานาน เราพัฒนามาคู่ขนานกับมาเลเซีย ในขณะที่มาเลเซียมีค่าแรงขั้นต่ำสูงกว่าไทยกว่าเท่าตัว แต่ค่าครองชีพเขากลับถูกกว่า แสดงว่าปัญหาค่าแรงขั้นต่ำมันไม่ใช่มาจากความด้อยทักษะของแรงงาน แต่เป็นเรื่องของการเมืองว่าด้วยการจัดความสัมพันธ์ในการผลิตว่าผลตอบแทนที่ควรจะได้จะได้กันเท่าไหร่ อำนาจต่อรองมากน้อยเพียงใด ระหว่างนายทุน ผู้บริหาร คนงาน เราบอกว่าแรงงานไทยมีปัญหาเรื่องทักษะการทำงานหรือผลิตภาพในการผลิต ในขณะที่นายทุนไทยไม่ว่าจะนายทุนเฉพาะบางกลุ่มที่ถูกจัดไว้ในอันดับหนึ่งของโลก นายทุนธรรมดาของไทยจากการจัดอันดับของนิตยสารของฟอร์บก็ติดอันดับต้นๆ ไม่แพ้ชาติใดในโลก แต่ค่าแรงขั้นต่ำเรากับแพ้ชาติอื่นๆ ในโลก สรุปแล้ว 300 บาท คนงานเสียมาตั้งแต่ต้นแล้ว ตั้งแต่การจัดรูปแบบความสัมพันธ์การผลิตที่ให้ค่าตอบแทนจากมูลค่าเพิ่มในการผลิตแก่ฝ่ายนายทุน หรือที่เรียกว่าค่าจูงใจมากเกิน จนสะท้อนให้เห็นถึงช่องว่างของรายได้ที่ห่างกันมากไม่แพ้ชาติใดในโลกในสังคมไทย
จิรัฐสรรพ์ ประมวลศิลป์ นักศึกษากลุ่มประกายทุน กล่าวว่า ในทัศนะของนักเศรษฐศาสตร์ การกำหนดค่าแรงขั้นต่ำเป็นการบิดเบือนกลไกตลาด เพราะในกลไกตลาด ค่าแรงมันทำงานเอง ค่าแรงขั้นต่ำเป็นราคาค่าแรงที่ต่ำที่สุดที่สามารถจ่ายได้ในตลาดแรงงาน ดังนั้น ค่าแรงขั้นต่ำจึงเป็นค่าแรงของแรงงานที่มีประสิทธิภาพในการผลิตต่ำที่สุดในตลาดแรงงาน หากค่าแรงขั้นต่ำถูกกำหนดไว้สูงกว่ามูลค่าการผลิตของแรงงาน กลไกตลาดจะไม่สามารถตอบสนองอุปทานแรงงานส่วนนั้นได้ นำมาซึ่งการว่างงาน นอกจากนี้ หากค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้น ในขณะที่ประสิทธิภาพการผลิตจริงไม่เพิ่ม ราคาสินค้าจะสูงขึ้นเพื่อชดเชยค่าแรงที่เพิ่มขึ้น แรงงานต้องได้อย่างเสียอย่างระหว่างเวลาพักผ่อนซึ่งเป็นอรรถประโยชน์ที่ตนเองได้รับกับการทำงานเพื่อได้เงินมา ถ้าค่าแรงสูง แรงงานก็จะรู้สึกว่าค่าเสียโอกาสจากการพักผ่อนสูงขึ้นก็จะทำงานมากขึ้น ดังนั้นหากค่าแรงขั้นต่ำสูงกว่าราคาดุลยภาพ ผลที่ตามมาคือจะมีปริมาณอุปทานมากกว่าอุปสงค์ ก็จะมีคนตกงานตามมา ส่วนการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในระดับมหาภาคในขณะที่ประสิทธิภาพในการผลิตไม่เพิ่มเท่ากับค่าแรงที่เป็นตัวเงินเพิ่มอย่างเดียว ของมีปริมาณเท่าเดิม ราคาสินค้าก็จะสูงขึ้นเพื่อชดเชยค่าแรงที่เพิ่ม นี่คือมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์สายคลาสสิค แต่ถ้าสายเคนส์ก็จะมองว่า ถ้าค่าแรงเพิ่มขึ้น แรงงานก็จะบริโภคมากขึ้น เศรษฐกิจก็อาจจะโตได้สักพัก ตามทฤษฎีคลาสสิค ราคาสินค้าเพิ่มจะทำให้กำลังซื้อของค่าแรงขั้นต่ำกลับมาเท่ากับก่อนการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ แรงงานจึงไม่ได้อะไรจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ส่วนใหญ่เราจะคิดว่านายจ้างเป็นผู้มีอำนาจในการต่อรองสูง สามารถที่จะกดค่าแรงให้ต่ำเพื่อให้ได้กำไรสูงได้ แต่นายจ้างก็ต้องแข่งขันเช่นกันเพื่อให้ได้แรงงานมา เช่น การรับสมัครงาน การเพิ่มค่าแรง ก็เป็นการแข่งขันของนายจ้าง ส่วนลูกจ้างก็แข่งขัน โดยกดค่าแรงตัวเองให้ต่ำที่สุดเพื่อให้ได้รับงาน การขึ้นค่าแรงทำให้เกิดภาวะที่ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นเรียกว่า เงินเฟ้อ ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อผู้มีเงินออม และธุรกิจต่างๆ ที่ต้องการวางแผนกิจการในระยะยาว เป็นการไม่กระตุ้นให้ธุรกิจต่างๆ เติบโต การจ้างงานจะเกิดขึ้นช้าลง ในตลาดแรงงานเราต้องยอมรับว่าไม่เป็นตลาดแข่งขันสมบูรณ์เสียทีเดียว แรงงานมีต้นทุนการเข้า-ออกโรงงาน แรงงานไม่สามารถเปลี่ยนงานได้บ่อยเหมือนเปลี่ยนยี่ห้อสินค้า เช่นเดียวกับนายจ้างก็ไม่สามารถเลิกจ้างได้โดยง่าย เพื่อรักษาความน่าเชื่อถือต่อลูกจ้าง ทำให้คนงานอื่นไม่กล้าเข้ามาทำงาน การพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน หัวใจอยู่ที่การพัฒนาศักยภาพแรงงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต เพราะจะทำให้เราผลิตสินค้าได้มากขึ้น ข้อเท็จจริงในเศรษฐกิจไทย ที่ผ่านมาเราจะถูกนักวิชาการสายอำมาตย์วิจารย์นโยบายค่าแรงขั้นต่ำของพรรคเพื่อไทยจะทำเกิดวิกฤติต่อระบบเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นการพูดภายใต้สมมติฐานบนหนังสือเรียน ซึ่งไม่เหมือนกับความเป็นจริงของสังคมไทย เนื่องจากในวันนี้ค่าแรงขั้นต่ำเป็นการส่งสัญญาณราคาที่ผิดพลาด นายจ้างคิดว่าค่าแรงตรงนี้เป็นค่าแรงที่เหมาะสมสำหรับการจ้างงาน ผลที่ได้คือเมื่อเศรษฐกิจเติบโต มีความต้องการซื้อสินค้าในประเทศไทยมากขึ้น แต่เป็นความต้องการซื้อที่ไม่ตอบกับแรงงานในระบบเศรษฐกิจไทย เพราะพอความต้องการซื้อตรงนี้เพิ่ม จุดดุลยภาพของราคาค่าแรงอาจเพิ่มก็ได้ ซึ่งในความเป็นจริงเราจะสังเกตเห็นว่านายจ้างเริ่มขึ้นค่าแรงมากกว่าค่าจ้างขั้นต่ำแล้ว เพราะเขาเห็นว่าค่าแรงขั้นต่ำไม่สามารถจ้างงานได้จริง มีการขาดแคลนแรงงาน สังเกตอัตราการว่างานตอนนี้อยู่ที่ 0.4% นับว่าต่ำเกินไป ซึ่งมันไม่สอดคล้องกับอัตราปกติ เพราะในระบบเศรษฐกิจ ปกติ ควรมีอัตราคนตกงานและกำลังหางานใหม่อยู่ที่ 2-4% ค่าแรงขั้นต่ำในปัจจุบันจึงเป็นอัตราที่ต่ำกว่าดุลยภาพ และค่าแรงขั้นต่ำควรเพิ่มขึ้นเพื่อกำจัดอุปสงค์ส่วนเกิน แรงงานที่ทำงานประจำกับองค์กรขนาดใหญ่ และไม่ต้องการเปลี่ยนงานอันเนื่องมาจากต้นทุนธุรกรรมต่างๆ เป็นผู้เสียประโยชน์มากที่สุดจากค่าแรงขั้นต่ำในปัจจุบัน ดังนั้น ผู้บริหารขององค์กรขนาดใหญ่ที่สามารถใช้แรงงานในราคาที่ต่ำกว่าดุลยภาพได้ จึงแสดงความไม่เห็นด้วยกับการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เพื่อรักษาความได้เปรียบในการเอาเปรียบแรงงานไว้ ปัจจุบัน ค่าแรงแรงงานไร้ฝีมือในตลาดเริ่มปรับตัวสูงขึ้นกว่าค่าแรงขั้นต่ำ แรงงานอยู่ในภาวะขาดแคลนอย่างมาก องค์กรขนาดใหญ่ในอุตสาหกรรมที่มีกำไรสูง (เช่น ยานยนต์) เสนอค่าแรงที่สูงขึ้น ดึงดูดแรงงานออกจากอุตสาหกรรมอื่น ค่าแรงที่เสนอให้แรงงานไร้ฝีมือ เริ่มสูงขึ้นถึง 250 บาท ต่อวัน ทั้งที่รัฐบาลใหม่ยังไม่เริ่มดำเนินงาน และยังไม่มีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ และสร้างแรงจูงใจในการขึ้นค่าแรงให้ผู้ประกอบการ หากผู้ประกอบการบางรายไม่สามารถทำได้ ทั้งที่รัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือ ถือเป็นกิจการที่ไม่มีประสิทธิภาพพอที่จะดำเนินการ ควรปิดกิจการไป เพื่อให้การจัดสรรทรัพยากรมีประสิทธิภาพยิ่งขั้น การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นประเด็นที่มีความเป็นการเมืองสูง และได้ถูกคู่แข่งทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยนำมาใช้เป็นข้อโจมตีว่าที่รัฐบาลใหม่ ข้อเรียกร้องจากเอกชนส่วนใหญ่จึงมักออกมาจากบุคคลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและเลือกข้างอย่างชัดเจน มีการโจมตีโดยใช้ชุดความคิดในแบบเรียนเศรษฐศาสตร์ที่อาจมีสมมติฐานไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง ที่ผ่านมา การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการเอารัดเอาเปรียบแรงงาน เพราะค่าแรงขั้นต่ำขึ้นน้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อเกือบทุกปี หากผู้ประกอบการอ้างว่าเงินเฟ้อทำให้ต้นทุนด้านอื่นนอกจากค่าแรงเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ต้องกดค่าแรงเอาไว้ เราก็ควรตั้งคำถามว่า รายได้จากการขายสินค้าในราคาสูงขึ้นและรายได้ที่เกิดจากการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) นั้นไปตกอยู่ในมือใคร ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ทำได้จริง เพื่อชดเชยค่าแรงขั้นต่ำแท้จริงที่หายไป เนื่องจากเงินเฟ้อที่ขึ้นสูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำเพื่อรักษาอำนาจซื้อของแรงงานค่าแรงขั้นต่ำให้เท่ากับปี 2539 ค่าแรงขั้นต่ำควรอยู่ที่ 255 บาท โดยไม่คำนึงถึงสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ที่ดีกว่าในช่วงปี 2539 ภาวะขาดแคลนแรงงานในปัจจุบัน ยิ่งเพิ่มความเหมาะสมและเป็นไปได้ในการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในปริมาณมาก โดยกระทบต่อผู้ประกอบการน้อยกว่าช่วงเวลาอื่น การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในครั้งนี้ ยังทำให้อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น กลับมาอยู่ที่อัตราการว่างงานปกติ กล่าวคือ ตลาดแรงงานกลับไปอยู่ที่ดุลยภาพ อย่างไรก็ตาม การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำในปริมาณมากอย่างฉับพลัน ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ ซึ่งอาจปรับตัวไม่ทันและต้องปิดกิจการไป รัฐบาลจึงต้องดำเนินมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ และการเพิ่มศักยภาพแรงงาน เพื่อให้ประสิทธิภาพแรงงานเพิ่มขึ้นคุ้มกับค่าแรง การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำให้เป็นอัตราเดียวกันทั่วประเทศเป็นสิ่งจำเป็น ค่าครองชีพในแต่ละจังหวัดไม่ได้ต่างกันมากนัก เป็นการเพิ่มแรงจูงใจให้คนทำงานในท้องถิ่นมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้การเติบโตทางเศรษฐกิจไม่กระจุกตัวด้วย อย่างไรก็ตาม การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ ควรเริ่มในพื้นที่ที่มีค่าแรงสูง เพราะผู้ประกอบการมีความสามารถในการปรับตัวมากกว่า แล้วค่อยเพิ่มค่าแรงในพื้นที่อื่นตามกันไป รัฐบาลพรรคเพื่อไทย จะเริ่มเพิ่มเงินเดือนข้าราชการให้เริ่มต้นที่ 15,000 บาท ภายในสิ้นปี 2554 การเพิ่มเงินเดือนค่าราชการ จะดึงดูดแรงงานให้มาทำงานภาครัฐ และเร่งให้เอกชนต้องเพิ่มเงินเดือนตามกัน เพื่อดึงดูดให้คนทำงานในภาคเอกชน และรักษากำลังแรงงานเดิมไว้ เมื่อเงินเดือนแรงงานระดับปริญญาตรี และแรงงานมีฝีมือเพิ่มขึ้น ค่าแรงแรงงานไร้ฝีมือมักจะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ค่าแรงขั้นต่ำต้องมาเป็นนโยบายแพ็คเกจ เช่นมีโครงการอบรมเพิ่มศักยภาพแรงงาน เพื่อให้ประสิทธิภาพในการผลิตของแรงงานเพิ่มขึ้นมากกว่าค่าแรงขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้น การลดภาษีเงินได้นิติบุคคล จาก 30% เหลือ 20% เพื่อเพิ่มศักยภาพธุรกิจ และนำเงินส่วนที่ประหยัดได้ไปจ่ายค่าแรง การให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (Soft loan) เพื่อช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการปรับตัว การเพิ่มเงินเดือนปริญญาตรี เดือนละ 15,000 บาท เป็นนโยบายที่ควรเกิดขึ้นพร้อมกับการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท การควบคุมราคาสินค้าให้อยู่ในระดับเหมาะสม ไม่เพิ่มขึ้นเร็วเกินไป ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะเกิดขึ้นในปี 2558 การปรับตัวของวิสาหกิจไทยเป็นสิ่งจำเป็น ธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อให้แข่งขันได้ในตลาดร่วม ที่สินค้า บริการ และแรงงานสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ต้องได้รับการส่งเสริมให้เข้ามาอยู่ในระบบ เป็นนิติบุคคลแบบบริษัท และชำระภาษีตามจริง การลดภาษีเงินได้นิติบุคคล และลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้สอดคล้องกัน เป็นแรงจูงใจให้ธุรกิจและแรงงานเข้าระบบมากขึ้น ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ถือเป็นการได้กับได้ แรงงานได้ค่าแรงที่เพิ่มขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แรงงานมีประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มขึ้น มีโอกาสในการหางานทำที่ดีกว่าเดิม ส่วนผู้ประกอบการได้ประโยชน์จากประสิทธิภาพการผลิตที่เพิ่มขึ้น การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ แลกกับการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลและประสิทธิภาพในการผลิตที่เพิ่มขึ้น เป็นการย้ายเงินเข้ากระเป๋าผู้มีรายได้น้อย ซึ่งมักใช้เงินที่ได้เพิ่มขึ้นเพื่อการบริโภคอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ส่งผลให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างรวดเร็ว รัฐบาลดำเนินนโยบายควบคุมราคาสินค้า ให้เป็นไปตามกลไกตลาด ไม่ถูกผูกขาดโดยผู้ประกอบการบางรายเหมือนที่ผ่านมา เงินไม่เฟ้อมากจนเกินไป ประชาชนมีกำลังซื้อ มีการบริโภคและการผลิตเพิ่มขึ้น เป็นนโยบายด้านอุปสงค์ ภาษีซึ่งเป็นต้นทุนในการประกอบการลดลง แรงงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เป็นนโยบายด้านอุปทาน ทำให้ผู้ประกอบการผลิตมากขึ้น มีรายได้เพิ่มขึ้น ขณะที่ผู้บริโภคก็บริโภคเพิ่มขึ้น และรัฐบาลจะได้ประโยชน์จากภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการบริโภคของประชาชนเพิ่มขึ้น “สำหรับผมทำงานอยู่ต่างจังหวัดก็จริงแต่ค่าอาหารก็ไม่ต่างจากกรุงเทพฯ บางอย่างแพงกว่ากรุงเทพฯด้วยซ้ำ เช่น น้ำมัน ซึ่งเป็นค่าขนส่งที่กระทบต่อราคาสินค้าอื่นๆ ด้วย จึงควรที่จะขึ้นค่าแรงเท่ากันทั่วประเทศ พรมมา ภูมิพันธ์ ประธานกลุ่มสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมเบอร์ล่า (LUGB) กล่าวว่า เรื่องนี้เราได้มีการคุยก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 1 พ.ค.ที่ผ่านมา ทางเลขาธิการพรรคเพื่อไทยได้มาพูดคุยแล้วกล่าวกับพวกตนว่าพรรคเพื่อไทยต้องการที่จะนำของขวัญมาให้กับผู้ใช้แรงงานก็คือค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยเมื่อปี 2553 พบว่าการที่คนงานจะดำรงชีพได้ต้อง 441 บาท ทำไมเราจึงสนับสนุนพรรคเพื่อไทยเกี่ยวกับนโยบายนี้ เมื่อขึ้นค่าแรง 300 บาทมันจะเชื่อมโยงไปกับประชาชนทั่วประเทศ แม้ 300 บาทจะไม่ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น แต่ก็ยังทำให้ลืมตาอ้าปากได้บ้าง เพราะปัจจุบันนี้หลายบริษัทค่าจ้างก็เกิน 300 บาทแล้ว ก่อนหน้านั้น อ.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐบอกว่า “อนาคตเรามีปัญหาแน่ หากปล่อยให้พรรคการเมืองนำนโยบายฉาบฉวย อย่างการขึ้นค่าแรง หรือการเอาใจคนด้วยการเพิ่มเงินเดือน” ไม่แน่ใจว่า อ.ณรงค์ คิดอะไร แต่เมื่อวันที่ 25 ก.ค.ที่ผ่านมากลับบอกว่า เห็นด้วยกับการขึ้นค่าแรง อีกคนที่น่าสนใจที่พูดว่า “คนไทยตามบ้านนอก มีคนเอาของไปล่อ ก็เกิดความอยากได้ กลายเป็นคนหิวกระหาย และนิสัยเสียไปหมด” ซึ่งเป็นคำพูดของคุณสุเมธ ตันติเวชกุล คนเหล่านี้ออกมาพูดเหมือนเป็นการต่อต้าน รวมไปทั้งราษฎรอาวุโส ที่ออกมาบอกว่า "ค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท ว่ารับรองว่าทำไม่ได้ ถ้าค่าแรงอยู่ที่วันละ 150 บาท กินเป็นแบบเศรษฐกิจพอเพียง จะสามารถอยู่ได้" แต่ในความเป็นจริงทุวันนี้มันไม่มีจะกิน มันจะพอเพียงตรงไหน ทำให้ตนสงสัยว่าคนเหล่านี้ทำไมออกมาต่อต้านเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท อีกคนบอกว่า “ค่าจ้างแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท เป็นสิ่งที่เป็นไม่ได้เลย” เป็นคำพูดของคุณบุญชัย โชควัฒนา ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) ซึ่งบริษัทนี้ไม่มีสหภาพแรงงาน เหล่านี้เป็นตัวอย่างนักวิชาการและนายทุนที่ออกมาพูด เช่นเดียวกับสมาคมอุตสาหกรรมหรือหอการค้าที่ออกมาต่อต้าน นี่เป็นสิ่งที่ตนในฐานะผู้ใช้แรงงานรู้สึกเจ็บปวดในขณะที่นายทุนขูดรีดเรามาโดยตลอด อีกเหตุผลที่สนับสนุนนโยบายของพรรคเพื่อไทยนั้น เพราะคิดว่าเขาน่าจะทำได้ เพราะที่ผ่านมานโยบายเขาสามารถทำเป็นผลงานที่ประชาชนติดใจได้ เช่น ประชาชนที่อยู่ตามชนบทการป่วยเป็นโรคมะเร็งไม่สามารถที่จะรักษาได้เลยแต่พอมี 30 บาทรักษาทุกโรค ประชาชนไม่ค่อยเจ็บป่วยมากนักเพราะได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทั่วถึง สมัยคุณทักษิณเป็นนายก พี่ป้าน้าอาตามชนบทจะไม่สามารถติดต่อลูกหลานที่มาทำงานในกรุงเทพฯได้ เมื่อสามารถกู้เงินกองทุนในหมู่บ้านนั้นได้ก็สามารถซื้อโทรศัพท์สำหรับติดต่อสื่อสารกับลูกได้ พ่อแม่ที่อยู่กรุงเทพฯก็สามารถพูดคุยกับลูกที่อยู่ต่างจังหวัด แต่ทั้งนี้การที่พรรคเพื่อไทยจะสามารถทำนโยบายได้ก็ขึ้นอยู่กับทุกภาคส่วนที่จะสนับสนุน แต่ที่ผ่านมาส่วนใหญ่ออกมาต่อต้าน จึงเป็นห่วงว่ารัฐบาลนี้จะบริหารประเทศได้ไม่นานเพราะไปกระทบกับนายทุน ถ้านายทุนที่เราสามารถจับต้องได้ก็เรื่องหนึ่ง แต่นายทุนที่แอบแฝงแบบไม่เปิดเผยตัวเองเป็นสิ่งที่อันตราย ทั้งนี้ ยังไม่เชื่อมั่นว่าพรรคเพื่อไทยจะทำนโยบาย 300 บาทได้หรือไม่ อาจเป็นการเมืองก็ได้ อย่างซีพีออกมาขานรับว่าเราสนับสนุน แต่ในข้อเท็จจริงลูกจ้างเขา 80% เป็นคนงานเหมาค่าแรง เป็นลูกจ้างรายวันทั้งนั้น ค่าแรงขั้นต่ำ 193 บาท อีกกลุ่มทุนที่สนับสนุนคือเครือซีเมนต์ไทย ซึ่งในความเป็นจริงลูกจ้างประจำก็เกินอยู่แล้ว 300 บาท แต่สหภาพแรงงานได้ล้มไปแล้วทำให้สวัสดิการหลายอย่างหายไป ในข้อเท็จจริงคนงานเหมาค่าแรงทั้งหมดได้ไม่ถึงหรือว่าได้ก็มีส่วนหนึ่งที่คนงานเหล่านั้นถูกกระทำจากผู้รับเหมา เช่นคนงานในแผนกไฟฟ้ากับตนก่อนหน้าที่มาทำงานต้องการค่าแรง 280 บาท แต่นายจ้างเหมาค่าแรงหักหัวคิวอีก 30 บาท เหลือ 250 บาท ซึ่งปรกติบริษัทเหมาค่าแรงจะได้ต้นทุนค่าบริหารจัดการไปแล้ว 7% แต่ก็ยังมีการหักค่าหัวคิวอีก การขึ้น 300 บาทมันจะเชื่อมโยงกับประกันสังคมที่มีการหักจากลูกจ้าง 5% และคิดว่าในอนาคตควรจะมีการหักในอัตราก้าวหน้าด้วย เมื่อพรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาลก็ไปลดภาษีให้นายทุน ปีแรก 23% จาก 30% ซึ่งไม่น้อยเลยทีเดียว แต่ปัจจุบันก็มีการเลี่ยงภาษีอยู่ ดังนั้นเมื่อมีการลดภาษี รัฐควรจัดเก็บภาษีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับผมทำงานอยู่ต่างจังหวัดก็จริงแต่ค่าอาหารก็ไม่ต่างจากกรุงเทพฯ ก๋วยเตี๋ยวชามละ 20-30 บาทเหมือนกัน บางอย่างแพงกว่ากรุงเทพฯด้วยซ้ำ เช่น น้ำมันต่างจังหวัดที่ผมอยู่ลิตรละ 40 กว่าบาท ซึ่งเป็นค่าขนส่งที่กระทบต่อราคาสินค้าอื่นๆ ด้วย จึงควรที่จะขึ้นค่าแรงเท่ากันทั่วประเทศ ขณะนี้เหมือนพรรคเพื่อไทยกำลังจะอ่อนล้า คนที่ออกมาต่อต้านเป็นกลุ่มนายทุนใหญ่ ถ้าเราไม่มีการเคลื่อนไหวในขบวนการแรงงาน เชื่อว่าพรรคเพื่อไทยก็ต้องแผ่ว จึงเป็นสิ่งที่ทุกภาคส่วนควรจะช่วยกันผลักดันตรงนี้ ส่วนใหญ่การลงทุนการผลิตค่าจ้างคิดเป็นประมาณ 5-6% ของงบการลงทุนทั้งหมด ถือว่าน้อยมาก ส่วน SMEs ที่ใช้แรงงานเข้มข้นต้นทุนประมาณ 15% ซึ่งรัฐก็ต้องหามาตรการเสริมเพื่อให้ธุรกิจเหล่านั้นอยู่ได้ด้วย ตอนนี้เกิดการขาดแคลนแรงงานด้วยซ้ำไป ปัจจุบันรับจ้างเกี่ยวข้าวดำนาในต่างจังหวัด 250 บาท หาคนไม่ได้แล้ว บางที่ต้องทำอาหารให้คนงานเหล่านั้นกินด้วย แม้แต่คนขายก๋วยเตี๋ยวตามห้างร้านยังมีการจ้าง 200 บาทกว่าแล้ว เพราะถ้าไม่จ้างขนาดนั้นจะไม่มีคนทำงานให้คุณ นี่คือข้อเท็จจริง จึงอยากขอวิงวอนให้สภานายจ้าง สภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้าหรือนายทุนต่างๆ อย่าออกมาต่อต้าน เพื่อที่ลูกจ้างจะลืมตาอ้าปากได้เล็กน้อย ซึ่งก็ไม่ได้ทำให้ลูกจ้างยืดได้เต็มตัวได้ รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ขึ้นค่าจ้างข้าราชการครู 8% สินค้าต่างๆ ขึ้นตามมาหมด เช่นกันคนงานที่จะได้ค่าแรงขึ้น 300 บาท สินค้าก็เตรียมที่จะขึ้น ซึ่งมันก็อาจจะกลับมาสู่จุดเดิม แต่มันดูดีหน่อยที่ได้ค่าจ้าง 300 บาท แต่ข้อเท็จจริงเงินที่เหลือในกระเป๋าก็เท่าเดิม เขาเสนอว่า ดังนั้น คนงานไม่ควรหยุดเพียงเท่านี้ อยากเสนอข้อเสนอเข้าไปให้พรรคเพื่อไทยเพิ่มเช่น การเรียนฟรีที่แท้จริง ไม่ใช่เพียงค่าเทอม แต่ต้องรวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย การดูแลผู้สูงอายุ ค่าเช่าบ้าน ซึ่งในอนาคตไม่อยากเห็นพรรคเพื่อไทยทำแค่ประชานิยมธรรมดาเท่านั้น อยากเห็นเลยไปถึงรัฐสวัสดิการ ซึ่งพรรคการเมืองที่ผ่านมาไม่สามารถทำได้ การที่พรรคเพื่อไทยสามารถทำได้จริง ประชานิยมจะเป็นการปูพื้นฐานไปสู่รัฐสวัสดิการ
“เป้าหมายของการมุ่งหากำไรสูงสุดแนวคิดนี้ค่อยๆ ถูกลบเลือนไปแล้ว เปลี่ยนมาเป็นการมุ่งแสวงหากำไรที่ยั่งยืนแทน”
อัญธนา สันกว๊าน นักศึกษาหลักสูตรควบตรี-โท ทางด้านการบัญชีและบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มธ. กล่าวว่า จากที่ได้ไปพบปะพูดคุยกับผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่-เล็ก พบว่าปัจจุบันโลกธุรกิจได้เปลี่ยนไป เป้าหมายของการมุ่งหากำไรสูงสุดแนวคิดนี้ค่อยๆ ถูกลบเลือนไปแล้ว เปลี่ยนมาเป็นการมุ่งแสวงหากำไรที่ยั่งยืนแทน ซึ่งมาจากการคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้-เสียทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับองค์กรไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ นายทุน ลูกน้องแรงงาน แม้กระทั่งสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งนั่นก็เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ผลักให้ตัวผู้ประกอบการเองต้องหันมาให้ความสำคัญกับการจ่ายค่าจ้างที่เป็นธรรม และทำให้ลูกจ้างสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณค่า ด้วยกระแสสังคมที่ถูกบีบนี้ จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้องค์กรธุรกิจที่กดขี่ค่าแรงไม่สามารถดำรงอยู่หรือสามารถแข่งขันได้ในโลกธุรกิจต่อไป จากการไปดูงานของโรงงานหนึ่งซึ่งมีการส่งออกอาหารไปทั่วโลก ทางเขาบอกว่าปัจจุบันการแข่งขันในตลาดโลกไม่ได้ง่าย เราส่งออกอาหารไปที่ต่างๆ ไม่ใช่แค่ส่ง แต่ผู้ประกอบการจากต่างประเทศก็มาดูงานที่โรงงานด้วย โดยมีการตรวจสอบแม้กระทั่งว่ามีการดูแลพนักงาน จ่ายค่าแรงอย่างไร โดยเฉพาะประเทศทางฝั่งสหภาพยุโรปจะเข้มงวดกับสิ่งเหล่านี้มาก ซึ่งถ้ามีปัญหาตรงนี้เขาก็จะไม่ทำธุรกิจร่วมกัน ซึ่งสิ่งนี้เป็นตัวบีบหนึ่งให้บริษัทต้องดูแลแรงงาน ด้วยกลไกตลาดลักษณะการแข่งขันของโลกใบนี้ที่เปลี่ยนแปลงไป ที่มีการให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้-เสียของธุรกิจมากขึ้น จะทำให้นโยบายการปรับค่าแรงของแรงงานดีขึ้นอยู่แล้ว ไม่ว่ารัฐบาลใดหรือนักการเมืองพรรคใดจะขึ้นมาเป็นผู้นำรัฐบาลก็ตาม เพราะประเทศเราพึ่งพิงการส่งออกเป็นหลัก เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่สามารถปฏิบัติตามกฎของประเทศคู่ค้าได้นั้นเราก็อยู่ไม่ได้เหมือนกัน ทำไมนโยบาย 300 บาทภาคธุรกิจถึงได้ออกมาโวยวาย ค่าแรงขั้นต่ำเฉลี่ยอยู่ที่ 178.5 บาท ซึ่งอยู่ในช่วง 159-221 บาท ถ้าขึ้นค่าแรง 300 บาท จะเพิ่มขึ้นถึง 35-75% ซึ่งก็จะทำให้ต้นทุนโดยรวมเพิ่มขึ้น 6-13% ถ้าเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ต้นทุนขนาดนี้อาจไม่มีผลกระทบต่อเขามากนัก ประกอบกับหลายบริษัทก็มีการให้เงินที่มากกว่า 300 บาทอยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นธุรกิจที่เน้นแรงงานเข้มข้นและ SMEs ต้นทุนขึ้นมาค่อนข้างสูง แล้วจะแบกรับภาระไหวหรือไม่ เฉพาะกรุงเทพฯ ค่าแรงจาก 215 เป็น 300 บาท คิดเป็น 39.5% ผู้ประกอบการตกใจแน่นอน ยิ่งถ้ามาดูขอนแก่นกับร้อยเอ็ด ซึ่งค่าแรงจะขึ้นถึง 80% เมื่อขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ พนักงานในส่วนของสำนักงานหรือส่วนอื่นๆ เรียกร้องตามมาแน่นอน ดังนั้นต้นทุนที่ผู้ประกอบการจะต้องแบกรับคงไม่ใช่เพียงเท่านี้ และการที่พรรคเพื่อไทยบอกว่าจะลดภาษีให้เหลือ 23% คือหายไป 7% แต่ต้นทุนเขาเพิ่มขึ้นมา 6-13% ซึ่งภาคที่จะกระทบหนักคือภาคการผลิต ภาคการบริการ จึงนำมาสู่กระแสต่อต้านตามมา อีกภาคที่จะมีผลกระทบมากคือภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่ปัจจุบันค่าแรงคิดเป็นสัดส่วน 20-30% ของต้นทุนก่อสร้างบ้าน 1 หลัง ไม่ใช่เพียงค่ารับเหมาที่เพิ่มขึ้นจากค่าแรงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงราคาวัสดุก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นจากค่าแรงงานตามมาด้วย ทำให้ต้นทุนอสังหาริมทรัพย์ เพิ่มขึ้นกว่า 10% แล้วจะส่งผลกระทบต่อราคาอสังหาฯจะปรับขึ้นประมาณ 2-3% การขึ้นค่าแรง จังหวัดที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือกรุงเทพมหานคร เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีการจ้างงานรวมสูงสุด ถึง 3.3 ล้านคน สำหรับผู้ประกอบการรายใหญ่อาจไม่กระทบอะไรมาก แต่สำหรับ SMEs ซึ่งมี 2.9 ล้านราย คิดเป็นจำนวนแรงงานในภาคนี้ถึง 10.5 ล้านคน ซึ่งผู้ประกอบการในภาคนี้มีกำไรน้อยอยู่แล้วยังต้องมาขึ้นค่าแรงถึง 300 บาท ทางออกที่ง่ายที่สุดของธุรกิจเหล่านี้อาจหมายถึงการปลดพนักงานออก ทำให้อัตราการว่างงานเพิ่มสูงขึ้น ปัญหาในเชิงโครงสร้างของสังคมก็จะตามมา อย่างกรณีบริษัทที่เคยไปศึกษามาให้ค่าแรงเกินกว่า 300 บาทอยู่แล้ว แต่พอพรรคเพื่อไทยขอขึ้นค่าแรงเป็น 300 บาท ส่งผลกระทบให้พนักงานในโรงงานของเขาขอขึ้นค่าแรงจากที่มีอยู่ ผู้ประกอบการก็มองว่าการคุมคนมันยุ่งยาก ทำให้ทางแก้ของผู้ประกอบการอาจหันมาลงทุนในเครื่องจักรเพิ่มหรือไม่ก็ Outsource นำไปสู่การปลดพนักงานออกอยู่ดี อัญธนา กล่าวว่า ไม่ได้ต่อต้านนโยบายค่าแรง 300 บาท เพราะควรขึ้นเพื่อให้แรงงานสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณค่าจริงๆ แต่ประเด็นคือเราจะขึ้นอย่างไรเพื่อไม่ให้ช็อคตลาด ค่อยๆ ปรับขึ้นดีหรือไม่ มาคุยกัน 3 ฝ่าย ทั้งนายจ้าง ลูกจ้างและรัฐ ว่าจะมีวิธีการปรับขึ้นอย่างไร เพราะที่เป็นอยู่เมื่อเราบอกว่าจะปรับขึ้น 300 บาท นักลงทุนต่างชาติหลายบริษัทก็เริ่มที่จะส่งสัญญาณว่าจะถอนฐานการผลิต อย่างล่าสุด บริษัททีแอลกรุ๊ป ก็ได้ประกาศแล้วว่าจะปลดคนงาน 700 คนแล้วย้ายฐานการผลิตไปที่เวียดนาม ปัจจุบันผลิตภาพการผลิตของคนงานไทยเติบโตเพียงแค่ 3% ต่อปี ในขณะที่จีนเติบโตที่ 9.5% และเวียดนาม 5.3% เมื่อนักลงทุนจะลงทุนในประเทศใดตัวเลขเหล่านี้ก็สำคัญ ค่าแรงเราสูงกว่าเวียดนามในขณะที่ผลิตภาพในการผลิตของเราเติบโตได้น้อยกว่าเวียดนาม และอีก 5 ปี AEC หรือประชาคมอาเซียนจะเกิดขึ้น ค่าแรงในไทยเราสูงกว่าในขณะที่เราไม่มีการพัฒนาคุณภาพฝีมือแรงงานเพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ เราอาจเสียเปรียบในเชิงการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านเราได้
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น