ประชาไท | Prachatai3.info |
- พรรคการเมืองที่ได้อำนาจจากประชาชน ต้องรอบคอบรัดกุม สุขุม และมีเหตุผล
- คนโป่งอางลงชื่อค้าน-ระดมทุนต้านเขื่อนกั้นแม่น้ำปิงตอนบน
- ตำรวจเบิกความ คดีเผา CTW เผยเห็นภาพไม่ชัด แต่จำได้
- สุรพศ ทวีศักดิ์: พุทธเถรวาทแบบไทยรับใช้อะไร?
- ประชาสังคมไทยไม่ชอบประชาธิปไตยจากการเลือกตั้ง
- ‘ประสงค์’ อยู่ไหน? คดียังไม่จบ รายงานตัวศาลด่วน!
- ซีเรียใช้รถถังยึดพื้นที่ชุมนุมที่เมืองฮามา-ยูเอ็นเร่งหามาตรการจัดการ
- อภิสิทธิ์ส่งมอบงานให้รัฐบาลใหม่ เผยตอนรับตำแหน่งเหมือนไฟไหม้บ้าน-วันนี้ดับไฟได้แล้ว
- "เพื่อไทย" เสนอชื่อ "ยิ่งลักษณ์" ชิงนายกฯ พรุ่งนี้
- สำนักพระราชวังประกาศงดไว้ทุกข์ 12 ส.ค. 1 วัน
- ธปท. ชี้รายได้เฉลี่ยลูกจ้างไทยไม่พอยาไส้ ด้าน 7-11 หนุนค่าแรง 300 บาท
- สื่อเยอรมันชี้ กรณีวอลเตอร์บาวอาจสะเทือนความสัมพันธ์ไทย-เยอรมนี
- TCIJ: ลอบวางเพลิงชุมชนในที่พิพาทสวนปาล์มสุราษฎร์ วอด 3 หลัง
- คนงานไทยร้องเรียน ถูกนายหน้าหลอกทำงานอิสราเอลแต่ไม่ได้ไป
- เคร็ก เจ. เรย์โนลด์ส: อภิปรายเรื่องระบอบอัตตาธิปไตยไทย - เพื่อนบ้าน
พรรคการเมืองที่ได้อำนาจจากประชาชน ต้องรอบคอบรัดกุม สุขุม และมีเหตุผล Posted: 04 Aug 2011 09:04 AM PDT กระบวนการกำเนิดพรรคการเมือง หากย้อนมองไปในอดีตตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เป็นต้นมา มีแต่พรรคการเมืองที่ได้อำนาจมาจากอำนาจพิเศษ ทั้งถูกกำกับและแทรกแซง ภายใต้คำแอบอ้าง “ประชาธิปไตย” ทั้งสิ้น แม้รัฐบาลหลังเหตุการณ์ลุกขึ้นสู้ของนิสิตนักศึกษา 14 ตุลาคม 2516 ที่ได้รัฐบาลพระราชทานนายสัญญา ธรรมศักดิ์ กระทั่งรัฐบาลจากการเลือกตั้งชุดต่อมาคือประชาธิปัตย์ และรัฐบาลหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ก็เป็นรัฐบาลภายใต้การกำกับดูแลจากอำนาจพิเศษ จนถึงรัฐบาล พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ยิ่งเข้าสู่ยุคแห่งการวางรากฐานให้กับความมั่นคงของพรรคการเมืองระบบขุนศึกขุนนางอำมาตย์ กระทั่งเมื่อ พลเอกเปรม ต้องลดละเลิกไปเพราะกระแสแห่งพลังประชาชนเรียกร้องต้องการให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้งสูงยิ่ง อำมาตย์ที่ไม่เห็นด้วยกับกระบวนการเลือกตั้งและดูถูกว่าประชาชนโง่ จำต้องถอยออกไปวางแผนอยู่วงนอก ท่ามกลางการต่อสู้ของประชาชนที่ต้องการประชาธิปไตยแท้จริงสืบเนื่องมาตลอด ประชาชนเรียนรู้และเติบโตขึ้นทุกวัน ต่อสู้ผลักดันจนได้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ซึ่งสาระสำคัญกำหนดให้พรรคการเมืองหลุดพ้นจากกรอบการกำกับดูแลของอำมาตย์มากที่สุดตั้งแต่เคยมีรัฐธรรมนูญมา เป็นต้นว่า สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งทั้งหมดก็ดี ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้ง อันทำให้พรรคการเมืองที่มาจากอำนาจประชาชนแข็งแกร่งขึ้น ต้องพูดว่าพรรคการเมืองพรรคแรกที่ได้อำนาจจากประชาชนอย่างแท้จริง คือ “พรรคไทยรักไทย” เพราะสายธารการต่อสู้ของประชาชนเพื่อประชาธิปไตยต่อเนื่องมาตลอด เรียกร้องการตรวจสอบระบบการเมืองที่เข้มข้นขึ้น จนทำให้ได้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น เป็นครั้งแรกที่อำนาจจากประชาชนเลือกพรรคไทยรักไทยเป็นรัฐบาลได้ครบสี่ปี และพรรคไทยรักไทยก็นำนโยบายที่ได้ประกาศไว้มาทำให้ปรากฏเป็นจริงขึ้นได้ ประชาชนได้ประโยชน์ ประชาชนเริ่มเห็นเป็นรูปธรรมว่า “ประชาธิปไตยกินได้” ตรงนี้เท่ากับไปถ่างช่องว่างอำนาจพิเศษให้ห่างไกลออกไปยิ่งขึ้น ซึ่งอำนาจพิเศษเริ่มดิ้นรนต่อสู้ทุกวิถีทาง ปรับเครือข่าย สร้างกำลัง ปลุกระดมโจมตีตามวิธีการที่ถนัด จากผลงานชัดเจนในสี่ปีที่พรรคไทยรักไทยบริหารชาติบ้านเมือง ทำให้ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนอย่างท่วมท้น เลือกกลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง ด้วยคะแนนเสียงถล่มทลาย กลายเป็นพรรคการเมืองเสียงข้างมากพรรคเดียวจนทำให้อำนาจพิเศษลุกขึ้นมาต่อต้านโดยวาทกรรม “เผด็จการรัฐสภา” และอื่นๆ อีกมากมาย ฯลฯ ที่สุดก็รัฐประหารด้วยกำลังอาวุธโค่นรัฐบาลที่มาจากอำนาจประชาชนและรัฐธรรมนูญ 2540 ลงไป วางโครงสร้างใหม่ สร้างรัฐธรรมนูญปี 2550 ขึ้นมา จากรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 จนถึงปัจจุบัน ประชาชนต่อสู้กับอำมาตยาธิปไตยมาจะห้าปีเต็มในเดือนกันยายน ปี 2554 นี้ สูญเสียเลือดเนื้อ ชีวิต ทรัพย์สิน และทุกสิ่งทุกอย่างมากมายมหาศาล จนที่สุดประชาชนก็สอนบทเรียนขุนศึกขุนนางอำมาตย์อีกครั้ง ด้วยการลงคะแนนเลือกตั้งพรรคเพื่อไทยถล่มทลายเกือบสิบหกล้านคน ได้ ส.ส.เกินกว่าครึ่ง ข้อสรุปก็คือ ต้องทบทวนว่าอำนาจที่พรรคเพื่อไทยได้มานั้น มองย้อนไปตั้งแต่ยังเป็นพรรคไทยรักไทย นับว่า ได้มาจาก ประชาชน อย่างแท้จริง คือมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย ในขณะที่พรรคการเมืองอื่นๆ ส่วนใหญ่ได้มาจากอำนาจพิเศษ หลังสุดนี่ต้องใช้คำว่า “ปาดเลือดเนื้อเหงื่อนอง” ของผองพี่น้องเสื้อแดง ก้าวขึ้นมาเป็นรัฐบาล เ พราะฉะนั้นจะทำอะไรควรไตร่ตรองให้ดี ไม่ใช่วูบวาบหวั่นไหวไปกับความคิดที่จะปรองดองอย่างถลำตัวถลำใจ การคัดสรรบุคคลที่จะเข้ามาทำงานในตำแหน่งบริหารต้องรอบคอบ รัดกุม สุขุม และมีเหตุผล ถึงที่สุดแล้วควรเอาประโยชน์ของประชาชนเป็นตัวตั้ง ไม่ใช่ใส่ใจแต่ความรู้สึกของอำนาจพิเศษ อย่าลืมว่า พรรคการเมืองพรรคนี้เป็นพรรคการเมืองที่ได้อำนาจจากประชาชนอย่างแท้จริง ประชาชนกำลังจับตามองพรรคอยู่ หากพรรคทำเพื่อประชาชน มวลมหาประชาชนก็จะยืนเคียงข้าง เป็นฐานกำลังสำคัญให้กับพรรค เราหวังว่า ในสถานการณ์ที่มีรัฐบาลใหม่ พวกท่านทั้งหลายจะร่วมกับประชาชนเดินหน้าต่อไป ต่อยอดดอกใบประชาธิปไตยให้เต็มต้น เคลื่อนไหวให้มีการแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 2550 เครื่องไม้เครื่องมือและกลไกของระบอบอำมาตย์ อุปสรรคสำคัญในการพัฒนาประชาธิปไตย ภายในเวลาไม่นานนัก ด้วยการเป็นเจ้าภาพเสนอทำประชามติให้เป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรม สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
คนโป่งอางลงชื่อค้าน-ระดมทุนต้านเขื่อนกั้นแม่น้ำปิงตอนบน Posted: 04 Aug 2011 08:55 AM PDT
หลังจากที่ชาวบ้านบ้านโป่งอาง หมู่ที่ 5 ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ทราบข่าวว่าทางกรมชลประทาน มีแผนจะเดินหน้าโครงการอ่างเก็บน้ำแม่น้ำปิงตอนบน หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่าเขื่อน ซึ่งจุดที่จะมีการดำเนินงานนั้นตั้งห่างจากชุมชนเพียง 1 กิโลเมตร จึงทำให้ชาวบ้านบ้านโป่งอางรู้สึกตื่นตระหนกและได้ออกมาคัดค้านกันทั้งหมู่บ้าน นางบัวเขียว ชุมภู ชาวบ้านบ้านโป่งอาง กล่าวว่า หลังจากทราบข่าวก็รู้สึกไม่ค่อยดี ก็มีการพูดกันปากต่อปาก กระจายข่าวให้คนในหมู่บ้านได้รับรู้ว่าจะมีคนข้างนอกเข้ามาสร้างเขื่อนในบ้านเรา พี่น้องชาวบ้านที่ทราบข่าวก็เกิดความตกใจ แต่อย่างไรก็ตามเราก็พยายามบอกให้กับคนอื่นว่าไม่ต้องตกใจ แต่เราต้องใช้สติในการต่อสู้ “ถึงยังไงเราก็ไม่ให้สร้าง เพราะว่าเราอยู่อาศัยกันตั้งแต่ผู้เฒ่าผู้แก่ แต่คนข้างนอกเข้ามาก็จะมาเอาไปสร้างเป็นเขื่อน ทั้งๆที่บ้านเราเองไม่มีความเดือดร้อนอะไรกันแล้ว ฝายเราก็มี เราไม่เดือดร้อนอะไรซักอย่าง การเก็บผัก เก็บหน่อไม้ ก็เป็นรายได้ของชาวบ้าน ไม่ต้องเข้าเวียง เพื่อไปแย่งอาชีพของคนอื่นในเมือง เราอยู่แบบพอมีพอกิน และเรารู้การสร้างเขื่อนนั้นไม่ดี ทางหมู่บ้านของเราเองก็มีสื่อดูผ่านโทรทัศน์ มันจะทำให้พื้นที่ป่า พื้นที่ทำกินถูกน้ำท่วม และมีการอพยพไปอยู่ที่อื่นด้วย” ล่าสุด ชาวบ้านโป่งอาง ได้มีการลงชื่อกันเพื่อคัดค้านโครงการดังกล่าว พร้อมกับมีการเรี่ยไรเงินเพื่อระดมทุนในการเคลื่อนไหวและเป็นใช้จ่ายในการไปยื่นหนังสือคัดค้านในกรุงเทพฯ ต่อไป นางสาวธิวาภรณ์ พะคะ กล่าวว่า ตอนนี้ชาวบ้านได้ลงรายชื่อคัดค้านไม่เอาเขื่อนเสร็จเรียบร้อยแล้ว และได้เรี่ยไรรวบรวมเงินกัน แต่ได้แค่ 3,000 กว่าบาทเท่านั้นเอง เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่ทำงานหาเช้ากินค่ำ มีภาระค่าใช้จ่ายเยอะอยู่ ไหนต้องส่งลูกเรียน และต้่องเลี้ยงปากท้องตัวเองอีก ถ้าเป็นไปได้ ขอฝากข่าวประชาสัมพันธ์ผ่านทางสื่อด้วยว่า ใครที่มีภาระใจอยากจะบริจาคเงินช่วยเหลือพี่น้องชาวบ้านโป่งอางในการคัดค้านการสร้างเขื่อนกั้นน้ำแม่ปิงตอนบน โดยสามารถบริจาคมาได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขาเชียงดาว ประเภทออมทรัพย์ ชื่อบัญชี นางหทัยรัตน์ ศรีใจ, นางขวัญดาว ปุกคำ และนางสาวจันทร์เพ็ญ กุ่ยโพ หมายเลขบัญชี 516-0-30577-7 “อยากขอวิงวอนพี่น้องคนไทยร่วมเงินบริจาคเพื่อเป็นทุนในการดำเนินการปกป้องฐานทรัพยากรอันมีค่าของประเทศนี้ไว้และเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเิดินทางไปยื่นหนังสือให้องค์กรหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในที่ต่าง ๆ ทั้งในตัวจังหวัดและกรุงเทพฯ อยากจะบอกว่าสิ่งเล็ก ๆ ที่ท่านให้กับพี่น้องบ้านโป่งอางในครั้งนี้ ท่านจะได้รับกลับคืนยิ่งกว่าที่ท่านให้เป็นร้อยเท่า พันเท่า เพราะนี่คือผืนป่าต้นน้ำปิง ถ้าชาวบ้านรวบรวมเงินพอกับค่าใช้จ่ายได้แล้ว เราคงจะเดินทางไปยื่นหนังสือกันต่อไป” นางสาวธิวาภรณ์ กล่าวในตอนท้าย
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ตำรวจเบิกความ คดีเผา CTW เผยเห็นภาพไม่ชัด แต่จำได้ Posted: 04 Aug 2011 08:46 AM PDT เมื่อวันที่ 3 ส.ค.54 เวลาประมาณ 9.00 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้ ห้องพิจารณาคดี 501 มีการสืบพยานในคดีเลขดำที่ 2478/2553 มีพนักงานอัยการสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 4 เป็นโจกท์ ฟ้องนายสายชล แพบัวกับพวกรวม 2 คน ในความผิดวางเพลิงเผาทรัพย์ และฝ่าฝืนพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยในวันนี้ (3 ส.ค.) มีการสืบพยานโจทก์คือ นายสถาพร เปาทอง อายุ 43 ปี ผู้จัดการฝ่ายประกันภัย สินไหมทดแทน บริษัท ไทยสิริ เขาให้การว่า บริษัท เซ็นทรัลพัฒนาฯ ได้ทำประกันกับบริษัทตนไว้ เป็นการประกันการก่อการร้ายซึ่งมีวงเงินไม่เกิน 3,500 ล้านบาท เฉพาะสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเมื่อประเมิณในขั้นต้นแล้ว ค่าเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้นเฉพาะโครงสร้างมีมูลค่าประมาณ 5,200 ล้านบาท โดยที่พยานไม่ทราบสาเหตุของเพลิงไหม้แต่อย่างใด ในช่วงบ่าย มีการเบิกตัวพยานอีกคนคือ ร้อยตำรวจเอก พรเลิศ รัตนคาม นายตำรวจประจำสถานีตำรวจชนะสงคราม ร.ต.อ. พรเลิศให้การว่า ภายหลังจากเหตุการณ์ในวันที่19 พฤษภาคม2553 สองอาทิตย์ ตนได้รับหมายจับพร้อมมอบหมายให้ตรวจสอบบุคคลตามภาพ ตนดูภาพและจำได้ว่าเคยเห็นนายสายชลที่สนามหลวงมาก่อน จึงทำการเข้าจับกุม ภายหลังนายสายชลก็รับสารภาพว่าเป็นบุคคลตามรูปจริง ทั้งนี้ตนยอมรับว่า ในหมายจับไม่มีข้อมูลหรือรายละเอียดใดๆเลยเกี่ยวกับผู้ต้องสงสัย มีเพียงรูปถ่ายใบเดียวที่ตนยอมรับว่า มองเห็นใบหน้าแค่ด้านเดียว และเห็นตา จมูก ปาก และหน้าผาก ของบุคคลในรูปไม่ชัดเจน ถ่ายที่ไหนเมื่อไรตนก็ไม่ทราบ ในการจับกุมจำเลยตนอาศัยดูรูปถ่ายเพียงอย่างเดียว แต่ดูโดยภาพรวมแล้ว คล้ายกับจำเลย ซึ่งพอจับกุมแล้ว จำเลยก็รับสารภาพและยอมรับว่าเป็นบุคคลตามหมายจับ ทั้งนี้ จำเลยทั้งสองถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และไม่ได้รับการประกันตัว โดยจะมีการนัดสืบพยานโจทย์อีกในวันที่23-24 สิงหาคม2554 เดอะเนชั่น ฉบับวันที่ 2 ส.ค.54 และในเว็บไซต์* ได้เปิดเผยการสัมภาษณ์นายสายชลด้วยว่า นายสายชลอ้างว่าตนถูกซ้อมทรมาณจากตำรวจเพื่อให้รับสารภาพว่าเป็นบุคคลตามภาพจริง
*( told The Nation yesterday afternoon that he had been forced to admit that he was the man in the photograph because "police threatened to lynch me and send me to the military" - a red-shirt guard - is illiterate. ) http://www.nationmultimedia.com/home/Confusing-testimony-from-security-guard-in-Central-30161805.html
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
สุรพศ ทวีศักดิ์: พุทธเถรวาทแบบไทยรับใช้อะไร? Posted: 04 Aug 2011 08:41 AM PDT “ธรรมก็เช่นเดียวกับสิ่งที่ไม่ใช่ธรรม (จาก “ดวงตะวันในดวงใจฉัน” (the my heart) ของ ติช นัท ฮันห์ ผมคิดว่า ในขณะที่พุทธนิกายเซ็น และวัชรญาณรับใช้ความเป็นมนุษย์และมนุษยชาติ แต่พุทธเถรวาทแบบไทยกลับยังหลับหูหลับตารับใช้ระบบชนชั้น Egoism และทุนนิยมบริโภคผ่านการโปรโมทอุดมการณ์ธรรมราชา แฟชันปฏิบัติธรรมดูจิตดูใจไม่ใส่ใจสังคมและวัฒนธรรมการทำบุญทำทานเพื่อสรรพสมบัติ ไม่สนใจความเป็นธรรมทางสังคม อุดมการณ์ธรรมราชา บ่งบอกความสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนากับรัฐในความหมายว่า รัฐใช้อุดมการณ์ทศพิธราชธรรมของพุทธเป็นอุดมการณ์ปกครองบ้านเมืองเพื่อความเป็นธรรมและผาสุก หรือรัฐใช้อุดุมการณ์นั้นเป็นเครื่องมือสร้างความศักดิ์สิทธิ์แก่อำนาจของตนเอง เกี่ยวกับประเด็นนี้ ดูเหมือนท่านพุทธทาสภิกขุ จะเชื่อว่า เคยมีระบบที่รัฐใช้อุดมการณ์ธรรมราชาเป็นอุดมการณ์ปกครองเพื่อความผาสุกอยู่จริง แต่ถูกยกเลิกไป ดังที่ท่านกล่าวว่า เขาเคยมีอยู่ระบบหนึ่ง เขาเรียกว่าพระราชาที่ประกอบไปด้วยทศพิธราชธรรม ไปศึกษาดูเถอะ เป็นระบบสังคมนิยมแบบพระเจ้า องค์คุณ 10 ประการ ที่ทำให้เป็นพระราชามีทศพิธราชธรรมนั้น เป็นหลักสังคมนิยมแบบพระเจ้าทั้งนั้น โผล่มาก็ ทานํ สีลํ ปริจฺจาคํ อาชฺวํ มทฺทวํ ตปํ อโกธํ อวิหึสํ ขนฺตึ จ อวโรธนํ นี้ มันเป็นธรรมะสูงสุด และแบบสังคมนิยม แต่ถ้าถึงคราวเผด็จการก็ใช้ธรรมะเผด็จการ …ถ้าเผด็จการมันก็เผด็จการโดยธรรมะ อย่างพระเจ้าเผด็จการ หรือพระพุทธเจ้าเผด็จการ นี่นักการเมืองสมัยนี้เขาก็บอกว่าหาไม่ได้ มันก็มีส่วนจริง เพราะว่าโลกได้ทิ้งระบบที่ดีที่สุดอย่างนี้ไปเสียแล้ว เนื่องมาจากทิ้งพระเจ้าก่อน แล้วมันก็ทิ้งระบบที่บุคคลมีคุณธรรม ตามแบบของพระเจ้าเสียหมด[1] แต่ดูเหมือน ส.ศิวรักษ์ จะมองต่างออกไปว่า แต่ตามความเป็นจริงทางการเมืองนั้น คำสอนของพระพุทธเจ้ามีความล้มเหลวมากกว่าความสำเร็จ ผมว่าเราต้องยอมรับความจริงนะครับ พระเจ้าแผ่นดินองค์แรกที่มาถือพุทธ คือ พระเจ้าพิมพิสาร ยกที่ดินถวายเป็นวัดแห่งแรก คือ วัดเวฬุวัน แต่พอมาถือพุทธแล้วแหยเลยครับ ถูกลูกฆ่าตาย ถือพุทธแล้วแหยครับ พระเจ้าอชาตศัตรู ที่แย่งราชสมบัติพ่อได้ เพราะไปเข้ากับเทวทัต ไม่ได้เข้าหาพระพุทธเจ้า พระเจ้าโกศลก็เหมือนกันนะครับ นับถือพระพุทธเจ้าในเรื่องส่วนตัว เช่น ท่านเสวยมากไป พระพุทธเจ้าบอกเสวยให้น้อยลง ก็ดี แต่ท่านก็เป็นคนบ้าสมภารไปตลอดชีวิต พระเจ้าอโศกเองมานับถือพุทธ ทำดีมากเลย แต่พระเจ้าอโศกเองก็ล้มเหลว ถูกแย่งราชสมบัติภายในรัชกาลพระองค์เอง อีกนัยหนึ่ง บทบาทคำสอนศาสนาพุทธในทางการเมืองมีความล้มเหลวมาโดยตลอด หรือผู้มีอำนาจเอาคำสอนของพระพุทธเจ้าไปใช้เพื่อประโยชน์ของตัวเองในทางการเมืองยิ่งกว่าในทางศาสนา[2] แม้แต่เรื่องความสัมพันธ์เชิงรูปธรรมของรัฐกับพุทธศาสนา หรือรัฐกับสถาบันสงฆ์นั้น ก็ดูเหมือนนักวิชาการพระสงฆ์ กับนักวิชาการฆราวาสจะมองต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ เช่น มุมองของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ขณะเป็นพระเทพเวที ที่ว่า ในสังคมไทย บทบาทและหน้าที่ทางการเมืองของพระสงฆ์ได้ดำเนินมาในลักษณะที่เข้ารูปเป็นมาตรฐานพอสมควร พระสงฆ์สั่งสอนหลักธรรมในการปกครองและสอนนักปกครองให้มีธรรม แต่ไม่เข้าไปยุ่มย่ามก้าวก่ายในกิจการเมือง ทางฝ่ายบ้านเมืองก็ยกชูสถาบันสงฆ์ไว้ในฐานะที่ เหนือการเมือง โดยมีประเพณีทางการเมืองที่ปฏิบัติมาเกี่ยวกับวัดและพระสงฆ์ เช่นว่า ผู้ใดหนีเข้าไปในพัทธสีมาของวัดก็เป็นอันพ้นภัยการเมือง เหมือนลี้ภัยออกไปในต่างประเทศ ผู้บวชแล้วเป็นผู้พ้นภัย และเป็นผู้พ้นภัยจากปรปักษ์ทางการเมือง ดังกรณีของข้าราชบริพารของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่พระสงฆ์สมมติพระราชวังเป็นพัทธสีมาแล้วอุปสมบทให้ พาออกจากวังผ่านกองทัพของผู้ยึดอำนาจ ไปสู่วัดได้โดยปลอดภัย และกรณีของขุนหลวงหาวัด (พระเจ้าอุทุมพร) ในรัชการพระเจ้าเอกทัศน์ เป็นต้น[3] ขณะที่ จิตร ภูมิศักดิ์ มองว่า พุทธศาสนาและพระสงฆ์ถูกใช้เป็นเครื่องมือของรัฐ เช่น ศักดินา (กษัตริย์) แบ่งปันที่ดินให้แก่ทางศาสนา แบ่งปันข้าทาสให้แก่วัดวาอาราม ยกย่องพวกนักบวชให้เป็นขุนนาง จะเห็นว่า หากมองในเชิงข้อเท็จจริงเชิงประวัติศาสตร์อุดมการณ์ธรรมราชาไม่ใช่ “สัจธรรมที่เป็นอกาลิโก” หากแต่เป็นขั้นตอนหนึ่งของประวัติศาสตร์สังคมการเมืองในบางนครรัฐของอินเดียโบราณ บางนครรัฐที่นับถือพุทธในแถบเอเชียรวมทั้งสยาม และจะว่าไปแล้วอุดมการณ์ดังกล่าวก็ถูกใช้เพื่อสร้างความศักดิ์สิทธิ์ของอำนาจทางการเมืองมากกว่าจะสร้างความเป็นธรรมและความผาสุกทางสังคมอย่างที่ท่านพุทธทาสมอง ปัจจุบันนี้แม้สังคมไทยจะผ่านการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยตั้งแต่ 24 มิถุนายน 2475 และ “ประกาศคณะราษฎร” ก็ระบุชัดว่า “แผ่นดินนี้เป็นของราษฎรทั้งหลาย” แต่เราก็ยังอยู่ในยุคของการปลูกฝังและโปรโมทความเชื่อเรื่อง “บ้านของพ่อ” พร้อมกับเชิดชูอุดมการณ์ธรรมราชาและสำทับ “ความกตัญญู” ของราษฎรที่ต้องมีต่อผู้ปกครอง ผ่านสื่อของรัฐ ระบบการศึกษาแบบทางการ และหนังสือต่างๆ รวมทั้งผ่าน “การตลาดหนังสือธรรมะ” ด้วย ซึ่งที่จริงแล้วตามหลักการของทศพิธราชธรรม (และจักรวรรดิวัตร) ในพุทธศาสนาแต่ดั้งเดิมไม่มีการสำทับว่าผู้ใต้ปกครองต้องกตัญญูต่อผู้ปกครองแต่อย่างใด มีแต่เน้นว่าผู้ปกครองต้องมีปัญญา มีศีล มีคุณธรรม ความอ่อนน้อม ความซื่อตรง เที่ยงธรรม ดูแลความเป็นอยู่ของราษฎรให้ได้รับความเป็นธรรม ผาสุกทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม และผู้ปกครองควรรับค่าตอบแทนในการทำหน้าที่ตามความจำเป็นเท่านั้น วันก่อนผมบังเอิญเปิดไปเจอรายการ “พื้นที่ชีวิต” ทาง Thai PBS ดำเนินรายการโดย “คุณนิ้วกลม” เขาพาเที่ยววัดแห่งหนึ่ง มีคนจำนวนมากไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ท่องบทสวดไป สลับกับการตะโกนคำว่า “รวยๆ!!” พร้อมกับเอามือตบกระเป๋าตังค์ไปด้วย คำถามคือหากศาสนาหมายถึงศรัทธาหรือความเชื่อในคุณค่าบางอย่าง เช่น เชื่อในคุณค่าของความจริง ความดี ความงามสูงสุดคือพระเจ้า หรือเชื่อในความพ้นทุกข์ เชื่อในคุณค่าของอิสรภาพทางจิตวิญญาณ หรือเชื่อในคุณค่าของความเป็นมนุษย์ อิสรภาพและสันติภาพของมนุษยชาติ แต่ดูเหมือนพุทธศาสนาปัจจุบันจะถูกใช้เป็นเครื่องมือตอบสนองความเชื่อในคุณค่าของเงิน ของวัตถุนิยม ของชนชั้น สังคมไทยมีวัฒนธรรมการทำความดีในนามของการทำบุญทำทานเพื่อให้ได้ “สรรพสมบัติ” เงินทองไหลมาเทมา เจริญรุ่งเรืองด้วยยศถาบรรดาศักดิ์ “การตลาดหนังสือธรรมะ” ที่ตอบสนองความต้องการแบบนี้ รวมทั้งเรื่องอิทธิปาฎิหาริย์ต่างๆ นับวันจะขยายตัวมากขึ้น เช่นเดียวกับ “การตลาดหนังสือธรรมะ” ประเภทดูจิตดูใจตนเอง ไม่สนใจปัญหาสังคม มองปัญหาสังคมเป็นเรื่องกิเลส เรื่องความวุ่นวายทางโลกที่ผู้มุ่งทางธรรมไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้อง ก็กำลังขยายตัวมากขึ้นๆ เช่นกัน เราแทบจะไม่ค่อยเห็นหนังสือธรรมะประเภทที่ช่วยให้เกิดความเข้าใจความหมายและคุณค่าของความเป็นมนุษย์ หรือความเป็นมนุษยชาติ นอกจากจะต้องอ่านหนังสือแบบเซ็น และวัชรญาณซึ่งก้าวหน้าอย่างกลมกลืนกับโลกสมัยใหม่ที่เน้นเรื่องการทำความเข้าใจความหมายของความเป็นมนุษย์ ความเป็นมนุษยชาติที่สอดคล้องกับมิติสิทธิมนุษยชน เสรีภาพ ความเสมอภาค และสันติภาพมากกว่า เช่น Concept ที่ว่า “ทุกสรรพสัตว์คือพุทธะ” เป็น Concept ของ “ความเสมอภาคในความเป็นมนุษย์” ที่สวยงามมาก ขณะที่พุทธเถรวาทแบบไทยแทบจะไม่กล้าเอ่ยประโยคเช่นนี้เลย เพราะไปถือว่าพุทธะเป็นสัพพัญญูเหนือมนุษย์ทั้งปวงในโลกธาตุ หากพุทธเถรวาทแบบไทยยังหลับหูหลับตาถวิลหาอดีต อยู่ในโลกแคบๆ ของตนเอง ไม่สนใจรับใช้ความเป็นมนุษย์และมนุษยชาติ พุทธศาสนาก็จะอยู่ในสภาพเป็นเครื่องมือของระบบชนชั้น ระบบการกดขี่เอาเปรียบ และเป็น “ยากล่อมประสาท” ภายใต้วัฒนธรรมการทำความดีเพื่อสรรพสมบัติและการตลาดธรรมะแบบ “สุขกันเถอะโยม” อย่างฉาบฉวยเช่นนี้ต่อไป และนั่นคือ “ความเสื่อม!”
.................................................... [1] พุทธทาสภิกขุ.ธรรมกับการเมือง ชุดธรรมโฆษ (น.194-195) สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ประชาสังคมไทยไม่ชอบประชาธิปไตยจากการเลือกตั้ง Posted: 04 Aug 2011 08:22 AM PDT ตั้งแต่กลางทศวรรษ 2540 เป็นต้นมา ประชาสังคมไทยทวีความสำคัญขึ้นในฐานะแนวคิดและแนวปฏิบัติในการสร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อหาทางออกจาก “วิกฤติ” ที่เกิดจากระบอบการเมืองการปกครองแบบเสรีประชาธิปไตยและจากระบอบเศรษฐกิจทุนนิยมเสรี ผู้สนับสนุนประชาสังคมมองว่าแท้จริงแล้วระบอบเสรีประชาธิปไตยมีปัญหาเรื่องประสิทธิภาพ ความโปร่งใส และความชอบธรรมของระบบรัฐสภา พรรคการเมือง และนักการเมือง รวมทั้งยังรวมศูนย์อำนาจและไม่เปิดโอกาสให้กับการมีส่วนร่วมจากสมาชิก โดยเฉพาะจากสมาชิกเสียงส่วนน้อย ขณะเดียวกันก็เห็นว่าระบอบเศรษฐกิจทุนนิยมเสรีซึ่งมักได้รับการส่งเสริมโดยรัฐทำให้ความยั่งยืนและความสามารถในการพึ่งตนเองของผู้คนและชุมชนถูกทำลาย ประชาสังคมไทยจึงมุ่งกำกับตรวจสอบการดำเนินงานของทั้งสองส่วนให้เกิดความชอบธรรม รวมทั้งเน้นการลดอำนาจหน้าที่และบทบาทของรัฐต่อสังคมลงและเพิ่มบทบาทของสังคมแทนรัฐ การดำเนินงานของฝ่ายประชาสังคมประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง ประชาสังคมได้เข้ามาแทนที่การทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรพัฒนาเอกชนกับกลุ่มชาวบ้านอันถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญของขบวนการภาคประชาชน กลุ่มชาวบ้านในที่นี้มักก่อตัวขึ้นจากปัญหาผลกระทบจากนโยบาย/โครงการพัฒนาต่างๆ ของรัฐ ในขณะที่ปัจจุบันองค์กรพัฒนาเอกชนก็ประสบกับข้อจำกัดด้านเงินทุนจากต่างประเทศมากขึ้นทุกขณะ ขณะเดียวกันประชาสังคมไทยก็มีอำนาจเพิ่มมากขึ้นในการการต่อรองกับฝ่ายต่างๆ โดยได้มีบทบาทในการเข้าผลักดันนโยบายรัฐในหลายเรื่อง เช่น การร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 การผลักดันแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหลายฉบับ ที่สำคัญได้ผลักดันให้เกิดการก่อตั้ง “องค์กรอิสระ” ซึ่งเป็นหน่วยงานกึ่งรัฐใหม่ๆ หลายองค์กร ที่สำคัญคือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน/พัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตต่างๆ ของสังคม โดยเชื่อกันว่าองค์กรอิสระเหล่านี้มีประสิทธิภาพมากกว่าหน่วยงานในระบบราชการและสามารถสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนได้มากกว่า ในขณะเดียวกันองค์กรอิสระเหล่านี้ก็กลายมาเป็นแหล่งงบประมาณสำคัญที่สนับสนุนการทำงานขององค์กรและเครือข่ายภาคประชาสังคม นอกจากนั้นชนชั้นนำในประชาสังคมไทยยังเข้าไปดำรงตำแหน่งสำคัญในภาครัฐ อาทิ การเป็น ส.ว. แต่งตั้งหรือเป็นรัฐมนตรี อย่างไรก็ดี แม้จะดูเหมือนว่าประชาสังคมไทยจะมีอำนาจต่อรองกับภาครัฐมาก แต่ที่จริงแล้วประชาสังคมไทยมีสถานะเป็นกลไกที่รองรับการปรับตัวของเพื่อธำรงอำนาจต่อไปของรัฐไทยท่ามกลางการเผชิญกับความท้าทายต่างๆ ด้วย อนึ่ง “รัฐไทย” ในที่นี้ไม่ได้หมายความเฉพาะถึงรัฐบาลที่บริหารประเทศและส่วนราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ตามโครงสร้างในระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตยแล้วต้องทำงานสนองนโยบายของรัฐบาลเท่านั้น แต่หมายรวมถึงสถาบันและชนชั้นนำอื่นที่มีอำนาจมากทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการเหนือภาคส่วนอื่นๆ ของรัฐและมีอิทธิพลอำนาจเหนือชีวิตทางสังคมเศรษฐกิจการเมืองของประเทศและของผู้คนจำนวนมหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันทางอำนาจและการเมืองแบบจารีตอย่างกษัตริย์และทหาร ความท้าทายที่สถาบันทางการเมืองและอำนาจแบบจารีตต้องเผชิญมีทั้งความขัดแย้งทางอำนาจและผลประโยชน์ภายใน ความกังวลในการสืบทอดอำนาจของบางสถาบันหลัก กระแสโลกที่เน้นความเป็นประชาธิปไตย การก้าวขึ้นมาสู่อำนาจของรัฐบาลประชานิยม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทำให้ผู้คนได้รับข้อมูลข่าวสารมากขึ้น รวมทั้งกระแสความไม่พอใจที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ของคนธรรมดาสามัญต่อความไม่เท่าเทียมและช่องว่างทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง น่าสนใจว่า ประชาสังคมไทยก่อกำเนิดโดยและมักอยู่ภายใต้การนำของชนชั้นนำ ผู้ซึ่งนอกจากจะเป็นผู้มีการศึกษาสูง เป็นนักวิชาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นผู้ชำนาญการทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ที่พยายามผันตัวเองมาเป็นวิศวกรทางสังคม และผู้ซึ่งได้รับการนับถือยกย่องในสังคมกระแสหลักในฐานะผู้มี “คุณธรรม” สูงแล้วนั้น ชนชั้นนำประชาสังคมมักมีเครือข่ายความสัมพันธ์ทั้งในทางอุดมการณ์และในเชิงอุปถัมภ์กับบุคคล/สถาบันที่อยู่ในศูนย์กลางอำนาจของรัฐไทยไม่ทางใดก็ทางหนึ่งหรือไม่ก็เป็นส่วนหนึ่งของอำนาจสถาปนานั้นเสียเอง ท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองไทยร่วมสมัย ประชาสังคมไทยถูกวิจารณ์อย่างหนักว่าสนับสนุนระบอบการเมืองและสถาบันทางอำนาจแบบจารีต โดยพยายามส่งเสริม “ประชาธิปไตย” เฉพาะบางรูปแบบที่สอดคล้องกับแนวทางของสถาบันทางการเมืองแบบจารีต เนื่องจากประชาสังคมไทยไม่ไว้วางใจและหวาดระแวงต่อระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน (representative democracy) มองว่ามิใช่แนวทางประชาธิปไตยที่แท้จริง ซึ่งควรจะเป็นประชาธิปไตยในความหมายกว้างที่ไม่หมายเฉพาะถึงการเลือกตั้งหรือเสียงส่วนใหญ่ แต่หมายถึงการให้ภาคสังคมชี้นำและกำกับภาครัฐ เป็นที่น่าสังเกตว่าเมื่อรัฐบาลประชานิยมหรือรัฐบาลพรรคเดียวชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น จุดเน้นของแนวคิดและหลักการที่ประชาสังคมไทยนำเสนอต่อสังคมได้เปลี่ยนจากประเด็นคุณธรรมจริยธรรมพลเมือง (civic virtue) และอุดมการณ์ส่วนรวม ดังที่เน้นมากในช่วงปลายทศวรรษที่ 2540 และต้นทศวรรษที่ 2550 มาสู่ประเด็นความสำคัญของประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (participatory democracy) และประชาธิปไตยแบบถกเถียงเรียนรู้/ปรึกษาหารือ (deliberative democracy) ผ่านกิจกรรม “สมัชชา” ที่แพร่หลายตั้งแต่ระดับประเทศจนถึงระดับตำบลหมู่บ้าน โดยมองว่าสมัชชาเหล่านี้ทำให้เกิดการรับ-ให้ข้อมูล การรวบรวมความเห็นที่หลากหลาย และการสร้างความเห็นพ้องต้องกัน ประชาสังคมเน้นการสร้างพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ทางการเมืองที่เพิ่มมากขึ้นของพลเมืองในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะในส่วนที่ไม่สามารถมีสิทธิมีเสียงและไม่สามารถแข่งขันในระบบการเมืองแบบตัวแทนที่มีการใช้เงินซื้อเสียงมากได้ รวมทั้งเน้นย้ำถึงสิทธิของการไม่เชื่อฟังรัฐ(ที่มาจากการเลือกตั้ง) ของพลเมือง (civil disobedience) น่าสนใจว่า ทั้งประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและประชาธิปไตยแบบถกเถียงเรียนรู้/ปรึกษาหารือนี้ถูกหยิบมาใช้โดยประชาสังคมไทยในฐานะคู่ตรงข้ามประชาธิปไตยแบบตัวแทน แทนที่จะมองว่าเป็นส่วนที่จะต้องช่วยหนุนเสริมซึ่งกันและกัน นอกจากนั้นก็ยังถูกตีความไปในทางที่สนับสนุนความสัมพันธ์เชิงอำนาจแบบจารีตที่วางอยู่บนแนวคิดลำดับชั้นของอำนาจทางศีลธรรม (hierarchical order of moral authority) ที่ให้คุณค่ากับศีลธรรมที่เหนือกว่าของชนชั้นนำในภาคประชาสังคม ผู้ซึ่งส่วนใหญ่มีสายสัมพันธ์กับบุคคล/สถาบันที่อยู่ในศูนย์กลางอำนาจแบบจารีตของรัฐไทยหรือเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจสถาปนานั้นเสียเอง ยังมิพักต้องพูดถึงประเด็นที่ว่ายังมีผู้คนและกลุ่มองค์กรอีกเป็นจำนวนมากที่มิเคยได้รับโอกาสในการมีส่วนร่วมในกระบวนการประชาธิปไตยแบบถกเถียงเรียนรู้หรือปรึกษาหารือของประชาสังคมไทยเลย ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใดที่ชนชั้นนำ นักวิชาการ และองค์กรพัฒนาเอกชนในเครือข่ายประชาสังคมวางตัวออกห่างจากการเคลื่อนไหวของประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตยที่วางอยู่บนฐานของการเลือกตั้ง ที่สำคัญวางเฉยต่อการเข่นฆ่าปราบปรามประชาชนผู้เพียงแต่เรียกร้องการยุบสภาและการเลือกตั้งใหม่อย่างโหดเหี้ยมโดยรัฐเมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ที่ผ่านมารวมทั้งยังรับรองความชอบธรรมการสังหารหมู่ในครั้งนี้ด้วยการเข้ารับบทบาทสำคัญในกระบวนการปฏิรูปประเทศไทย ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นเครื่องมือที่รัฐบาลใช้กลบเกลื่อนการฆ่าของตน แต่ยังเป็นกระบวนการที่สอดคล้องกับประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและประชาธิปไตยแบบถกเถียงเรียนรู้/ปรึกษาหารือของประชาสังคมไทยที่ถูกประชาสังคมไทยจัดวางให้อยู่ตรงข้ามกับประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งด้วย หมายเหตุ: บทความตีพิมพ์ในคอลัมน์ “คิดอย่างคน” หนังสือรายสัปดาห์ มหาประชาชน ประจำวันที่ 29 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม 2554
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
‘ประสงค์’ อยู่ไหน? คดียังไม่จบ รายงานตัวศาลด่วน! Posted: 04 Aug 2011 08:21 AM PDT ประสงค์ ปัญญาธรรม เป็นคนเร่ร่อน มีอาชีพเก็บของเก่าขายอยู่ย่านสามเหลี่ยมดินแดง เขาเป็น 1 ในจำเลย 5 คนที่ถูกแจ้งข้อกล่าวหา ครอบครองอาวุธปืน วัตถุระเบิด และฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่เหลืออีก 4 คน คือ คนขับแท็กซี่, เด็กวัด, คนใบ้, ช่างทาสี ทั้งหมดไม่เคยรู้จักกันมาก่อน เพิ่งรู้จักกันตอนอยู่โรงพัก และขึ้นศาล [คำสุข คำโพธิ์ (46 ปี), ปรีชา งามตา (35 ปี), เฉลิมพงษ์ กลิ่นจำปา (43 ปี), สุรชัย บุญเสริมทรัพย์ (46 ปี)] พวกเขาทั้ง 5 ถูกทยอยจับกุมในช่วงบ่ายวันที่ 21 พ.ค.53 บริเวณวัดตะพาน (วัดทัศนารุณสุนทริการาม) ดินแดง หลังจากกมีการสลายการชุมนุมและส่งผู้ชุมนุมกลับบ้านในวันที่ 20 พ.ค.53 วันรุ่งขึ้นทหารยังคงควบคุมและตรวจสอบพื้นที่ ทุกกุฎิ ทุกหลังคาเรือนในบริเวณดังกล่าวถูกรื้อค้น สำหรับคนที่มีครอบครัวติดตามคดีเป็นเรื่องเป็นราวก็จะได้รับการประกันตัวภายหลังถูกคุมขังที่เรือนจำราว 1-2 เดือน ขณะที่คนอย่างประสงค์และเฉลิมพงษ์ (คนใบ้) ติดคุกอยู่นานเกือบปี ได้ประกันตัวราวเดือนมีนาคม 2554 โดยความช่วยเหลือของทนายความจากพรรคเพื่อไทย รายการอาวุธแนบท้ายคำฟ้องของพวกเขายาวเหยียดเกือบ 30 รายการ ทั้งปืนยาว-ปืนสั้นหลายกระบอก ระเบิดปิงปอง ระเบิดเพลิง มีดดาบ บังตอ หนังสติ๊ก กระสุนน๊อต ใส่รวมอยู่ในเข่ง วางเรียงรายอยู่ตรงหน้าพวกเขาระหว่างที่เจ้าหน้าที่ทหารทำการถ่ายรูป ประสงค์ โดดเด่นเป็นพิเศษเพราะเขาสูญเสียดวงตา ต้องใส่ตาปลอมข้างหนึ่ง เนื่องจากอุบัติเหตุทางรถยนต์สมัยยังวัยรุ่น ระหว่างที่ติดคุก เรามีโอกาสเข้าเยี่ยมและพูดคุยกับเขา 2-3 ครั้ง ได้ความว่า เขาออกจากบ้านมาตั้งแต่เด็ก เคยเป็นช่างปั้นอยู่ในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตลดา (น่าจะเป็นโครงการศูนย์ศิลปาชีพ) เขาว่าได้รับการดูแลและทำงานอยู่ที่นั่นหลายปี แต่ตัวเขาค่อนข้างเกเรและไม่มีวินัย จึงถูกส่งให้ไปทำงานในจังหวัดแม่ฮ่องสอนบ้านเกิด แต่เขาก็หนีออกจากที่นั่นอีก และตัดสินใจใช้ชีวิตไม่เป็นหลักแหล่งอยู่ในกรุงเทพฯ ย่านที่อยู่ประจำคือแถววัดตะพานที่เขาโดนจับ “ตอนเมามันเคยเล่าให้ฟังว่า แม่ตายตอนคลอดมัน พ่อก็มาตรอมใจตายทีหลังอีก พวกญาติๆ ก็เลยว่ามันเป็นตัวซวย แถมโตมาก็ไม่ค่อยเต็มเต็ง มันเลยออกจากบ้าน..จริงๆ อายุสมองเขายังเด็กอยู่นะ เพียงแต่ขี้เมาเท่านั้นเอง” ‘นกแดง’ สาวเสื้อแดงที่คอยดูแลบรรดาคนติดคุกที่ไม่มีญาติเล่าให้ฟัง ประสงค์เคยเล่าให้ฟังตอนอยู่ในเรือนจำว่า ถูกจับในวันที่ 21 พ.ค. ตอนนั้นกำลังเดินหาของกิน เพราะร้านรวงแถวนั้นปิดเงียบหมด จนเจอทหารและถูกจับกุมตัว แต่เพื่อนร่วมคดีออกความเห็นว่า สงสัยคงเมาแล้วเดินเพ่นพ่านเสียมากกว่า คำสุข คำโพธิ์ คนขับแท็กซี่จำเลยที่ 3 ของคดีนี้เล่าว่า วันเกิดเหตุมีทหารหลายร้อยนายเข้าตรวจสอบพื้นที่ขณะที่เขานอนพักอยู่ในบ้านเช่า ส่วนรถแท็กซี่จอดไว้ริมกำแพงตามปกติ เมื่อทหารถามหาเจ้าของรถ เขารีบออกไปแสดงตัวพร้อมเปิดให้ตำรวจตรวจค้น ปรากฏว่าท้ายรถพบเหล็กแป๊บหนึ่งอัน “เราก็มีเอาไว้ติดรถอยู่แล้ว ไว้ขันล้อ เปลี่ยนยาง หัวหน้าทหารเขาหยิบมาโยนลงกับพื้น แล้วบอกว่านี่คืออาวุธ จากนั้นเขาก็จับปิดตา มัดมือไขว้หลัง” คำสุขเล่า เขาเล่าต่อว่า เจ้าหน้าที่พาตัวเขาไปอีกที่หนึ่งโดยที่ยังปิดตาเขาไว้ คาดเดาว่าน่าจะเป็นซอยรางน้ำ จากนั้นก็มีของแข็งฟาดเข้ากลางหลังบ้าง หน้าท้องบ้าง ใบหน้าบ้าง และมาเป็นระยะๆ กว่าจะนำตัวไปให้ตำรวจในช่วงค่ำ เขาไม่เห็นสิ่งใด นอกจากเสียง อักๆ โอ๊ยๆ ของคนที่อยู่ข้างๆ มันทำให้เขารู้ว่ามีคนที่โดนจับและอยู่ในสภาพเดียวกับเขาในบริเวณใกล้เคียงด้วยเช่นกัน คนที่โดนหนักสุดเห็นจะเป็นเฉลิมพงษ์ ซึ่งใครๆ ต่างก็เรียกว่า ‘ไอ้ใบ้’ เพื่อนร่วมเหตุการณ์บอกว่าใบ้ถึงกับสลบ ต้องหามขึ้นโรงพักเพราะหมดสติ ‘ใบ้’ รูปร่างผอมเกร็ง เขามีชื่อเล่นอย่างเป็นทางการว่า ‘ผอม’ เป็นใบ้แต่กำเนิด เป็นลูกคนโตในจำนวนลูก 2 คน เขาไม่รู้หนังสือ และไม่รู้ภาษามือด้วยเพราะไม่ได้เล่าเรียนอะไรสักอย่าง ครอบครัวมีฐานะยากจนและอาศัยใช้ภาษากายตามธรรมชาติสื่อสารกับเขาแบบรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง ส่วนใหญ่ใครถามอะไร ใบ้จะพยักหน้ารับร่ำไป สำรวย กลิ่นจำปา แม่ของใบ้ทำงานรับจ้างล้างจานตามร้านอาหาร เธอเป็นคนพาใบ้มาขึ้นศาลตามนัดหมายโดยตลอด เธอเล่าว่า ใบ้เคยทำงานอยู่กับทีมอาสาสมัครพระรามเก้า จากนั้นก็มาช่วยงานที่วัดตะพาน คอยบริการญาติโยมที่มาวัด จัดโต๊ะ ล้างจานตามงานศพที่วัด เป็นคนไม่กินไม่เที่ยว มีเงินไปให้พ่อให้แม่อาทิตย์ละหลายร้อย หลังวันเกิดเหตุ ใบ้ไม่กลับบ้านเป็นอาทิตย์ แม่พยายามตามหาอยู่นาน “โอ๊ย ตอนนั้นใจจะขาด เหมารถตามหาไปทั่วก็ไม่เจอ งานการไม่เป็นอันทำ จนสุดท้ายผ่านไปเดือนกว่าถึงเจอว่าติดคุกอยู่” แม่เล่าและว่าคนในวัดเล่าให้แม่ฟังว่า ใบ้กำลังล้างบาตรให้พระตอนทหารมาจับ เพราะว่าเขามีป้ายประจำตัว นปช. ซึ่งไม่มีใครรู้ว่าได้มาอย่างไร “พอรู้ข่าว พ่อเครียดมาก นอนไม่หลับ บ่นปวดหัว อาหารก็ไม่ยอมกิน เราบอกว่าไม่ต้องไปเครียดหรอก เดี๋ยวลูกก็ได้ออก ก็ไม่เชื่อ แกรักลูกคนนี้มากเพราะมันพิการ แกเลยตรอมใจ” สุดท้ายพ่อของใบ้ ซึ่งเป็นอัมพาตมา 7-8 ปี ก็เสียชีวิตลงเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ก่อนที่ใบ้จะออกมาจากคุก แม่ยังบ่นเสียใจจนทุกวันนี้ว่าลูกชายคนโปรดไม่ทันได้ออกมาเผาศพพ่อด้วยซ้ำ เราพยายามสอบถามใบ้ด้วยท่าทางต่างๆ ว่าเขาโดนทำร้ายร่างกายตรงไหนบ้าง เขาพยักหน้าติดๆ กันหลายครั้ง และชี้ที่ปาก ซึ่งแม่อธิบายประกอบว่าฟันหลุดหายไปสองซี่ เขาชี้ที่หัวและที่หลัง พร้อมกับทำท่าประกอบคล้ายว่า มีบางอย่างพุ่งออกจากปากเขาเป็นจำนวนมากไปกองกับพื้น รวมทั้งทำท่าควักเงินออกจากกระเป๋าส่งมอบให้คนข้างหน้า แม่อธิบายว่า เงินของใบ้เกือบ 4 พันบาทถูกยึดไปด้วย ส่วนปรีชา งามตา หรือ เป็ด เป็นเด็กวัดอยู่ในวัดตะพาน ถูกจับกุมก่อนใครในวันที่ 21 พ.ค. เขาบอกว่าทหาร 200-300 คนเข้าตรวจค้นในวัดและพบว่าภายในกุฏิของหลวงพี่ที่เขาอาศัยอยู่ด้วยนั้น มีเสื้อแดงของเขาแขวนอยู่ “พอเจอเสื้อแดงผม 2 ตัว เขาเตะเข้าคางเลย ถามว่าพวกมึงมีใครบ้าง พอบอกไม่รู้ก็เตะอีก ตอนนั้นหลวงพี่ออกไปข้างนอก พอเขาเตะจนพอใจก็เอาผมมารวมกลุ่มกับคนอื่นที่โดนจับอยู่ก่อนแล้วตรงทางเข้าวัด ตรงนั้นมีอาวุธวางอยู่เต็ม แล้วก็มีช่างภาพของทหารมาคอยถ่ายรูป” “เขาปิดตาแล้วเอาตัวไปแถวซอยรางน้ำเหมือนกัน โดนสารพัด เตะจนกลิ้งไปกับถนน พอจะเอาส่งตำรวจตอนค่ำ เขาก็เอาน้ำมาลูบตามตัว” ปรีชาว่า ส่วนสุรชัย นั้นเป็นคนพื้นที่ บ้านอยู่ข้างวัด และช่วยงานเป็นช่างทาสีอยู่ในวัดตะพาน เขาเล่าว่า วันที่โดนจับ เป็นเวลาประมาณ 14.30 น. ทหารเข้าค้นภายในบ้าน แล้วพบมีดดาบ 1 อัน ซึ่งเป็นมีดส่วนตัวที่เขามีติดบ้านไว้ พร้อมกันนั้นก็เจอผ้าผูกหัวสีแดงชิ้นเล็กๆ อีก 1 ชิ้น ทหารจับเขามัดมือไขว้หลัง ปิดตา และนำมาถ่ายรูปร่วมกับอาวุธที่ทางเข้าวัดเช่นกัน จากนั้นก็คุมตัวไปไว้ในสถานที่แห่งหนึ่ง ปิดตา และถูกกระทำเช่นเดียวกับคนอื่นๆ เขาได้ประกันตัวราวเดือนกันยายน 2553 เมื่อออกจากคุกก็ไปประกอบอาชีพขับมอเตอร์ไซด์รับจ้าง 3 สิงหาคม 2554 เวลาบ่ายโมงกว่า ทุกคนเดินหน้าตาอ่อนระโหยมาที่หน้าห้องพิจารณาคดี 913 รายงานผลว่า พวกเขาวนแท็กซี่ และมอเตอร์ไซค์หาตัวประสงค์นานกว่า 2 ชั่วโมง แต่ไม่มีวี่แวว แม่ของใบ้ที่รออยู่หน้าห้องพิจารณาสีหน้าห่อเหี่ยว เพราะหมายความว่าวันนี้จะยังไม่มีการพิจารณาคดี ต้องเลื่อนไปอีกเนื่องจากจำเลยมาศาลไม่ครบทั้ง 5 คน และหมายความอีกว่า เธอจะสูญเสียค่าแรง 200 บาทไปฟรีๆ ทนายความ ลูกความ ผู้ใกล้ชิดติดตามคดี ตั้งวงหารือกันหน้าตาเคร่งเครียด หาหนทางในการหาตัวประสงค์และกักตัวเขาไว้จนกว่าจะถึงการพิจารณาคดีนัดหน้า ทุกคนยืนยันว่าเมื่อวาน (2 ส.ค.) ที่มีการสืบพยานโจทก์พวกเขาเจอตัวประสงค์และนำมาศาล พร้อมกับแจ้งประสงค์ให้รับรู้แล้วว่าวันนี้จะมีการสืบพยานอีก เขารับปากมั่นเหมาะแต่ก็ไม่มา ทำให้เกือบทั้งหมดแทบจะมีมติเอกฉันท์ว่าหากเจอตัวเมื่อไรจะนำส่งตำรวจเพื่อเอาเข้าคุกไว้ก่อนจนกว่าจะพิจารณาเสร็จ แต่สุดท้ายก็ตกลงว่าจะไม่ทำเช่นนั้น เพราะหากอัยการอุทธรณ์ประสงค์ก็จะติดคุกยาว เหตุการณ์การสลายการชุมนุมจบไปนานแล้ว ผู้คนในสังคมลืมเรื่องราวไปหมดแล้ว แผลฟกช้ำดำเขียวก็หายแล้ว ความยากลำบากในเรือนจำก็ผ่านพ้นไปแล้ว(?) แต่คดีความในโรงในศาลของพวกเขายังไม่จบ ประสงค์อยู่ไหน ... เพื่อนๆ ให้อภัยแล้ว มาศาลด่วน สืบพยานจำเลย 1 ก.ย.นี้ 9.00 น.
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ซีเรียใช้รถถังยึดพื้นที่ชุมนุมที่เมืองฮามา-ยูเอ็นเร่งหามาตรการจัดการ Posted: 04 Aug 2011 07:44 AM PDT เหตุการณ์ความวุ่นวายในซีเรียยังคงดำเนินอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นสัปดาหฺ์ ล่าสุด 3 ส.ค. 2011 มีรายงานจากสำนักข่าวต่างประเทศว่า ทางการซีเรียได้นำรถถังเข้ายึดพื้นที่จตุรัสโอรอนเตสกลางเมืองฮามา ซึ่งเป็นจุดประท้วงที่ใหญ่ที่สุดในการประท้วงต่อต้านประธานาธิบดีอัสซาด ผู้อาศัยในเมืองกล่าวว่าสื่ เสียงระเบิดที่ได้ยินในช่วงเช้ รามี อับดุลราห์มาน ประธานหน่วยงานเฝ้าระวังด้านสิ ทางการซีเรียได้ส่งทหารเข้ การประณามจากนานาชาติ การปราบปรามผู้ชุมนุมในซีเรี ฮิลลารี่ คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯ เข้าพบกับนักกิจกรรมเพื่ ทางด้านอิตาลีได้เรียกตัวเอกอั อย่างไรก็ตามทางสำนักข่าวอั ยูเอ็นถกเครียด-ไร้ข้อตกลง คณะมนตรีความมั่ โดยทูตรัสเซียกล่าวกับผู้สื่อข่ ที่มา Syrian tanks 'shell' restive city of Hama, Aljazeera, 03-08-2011 สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
อภิสิทธิ์ส่งมอบงานให้รัฐบาลใหม่ เผยตอนรับตำแหน่งเหมือนไฟไหม้บ้าน-วันนี้ดับไฟได้แล้ว Posted: 04 Aug 2011 07:23 AM PDT นายกรัฐมนตรีชี้แจงการบริหารประเทศในช่วง 2 ปีพร้อมเตรียมส่งมอบงานให้รัฐบาลชุดใหม่สานต่อ ยันประเทศไทยมีความเข้มแข็งทางด้านการเงินและมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่รัฐบาลใหม่สามารถนำไปแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจได้ เผยมีเงินคงคลัง 3 แสนล้าน มากกว่าตอนรับตำแหน่งที่มีเพียง 5 หมื่นล้าน แถมจัดเก็บรายได้เกินเป้า 2 แสนล้าน เว็บไซต์ สำนักโฆษก สำนักนายกรัฐมนตรี รายงานว่า วันนี้ (4 ส.ค.) เวลา 20.30 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงผลการดำเนินงานของรัฐบาลในช่วงที่บริหารประเทศ พร้อมกล่าวขอบคุณประชาชนและข้าราชการทุกคนที่ช่วยให้การบริหารประเทศในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาสามารถฟันฝ่าวิกฤติต่าง ๆ ไปได้ ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ ซึ่งสรุปสาระสำคัญว่า ขณะนี้ได้มีการเปิดสมัยประชุมของสภาผู้แทนราษฎร และได้มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภาผู้แทนราษฎรเรียบร้อยแล้ว และจะมีการประชุมสภาเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่เพื่อจัดตั้งคณะรัฐมนตรี และมีการบริหารราชการแผ่นดินในนามของรัฐบาลใหม่ นายกรัฐมนตรีได้ กล่าวกับพี่น้องประชาชนว่า รัฐบาลปัจจุบันได้พยายามอย่างเต็มความสามารถในการให้การเปลี่ยนผ่านทางการ เมืองให้เป็นไปอย่างราบรื่นที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตลอดจนการรับรองผลการเลือกตั้ง โดยช่วงระยะเวลาของการเปลี่ยนผ่าน ได้มีการเตรียมการในการส่งมอบงานเพื่อให้รัฐบาลชุดใหม่เข้ามาบริหารราชการ แผ่นดินได้อย่างราบรื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเตรียมการในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ซึ่งรัฐบาลได้มีการตั้งคณะกรรมการ และมีการเตรียมงานไว้ชั้นหนึ่งแล้ว และจะให้รัฐบาลชุดใหม่ได้สามารถเข้ามาสานต่อ รวมถึงการแก้ปัญหาภัยพิบัติ อุทกภัยในหลายจังหวัด ซึ่งรัฐบาลได้เตรียมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้มีการติดตามเฝ้าระวังในช่วงของการเปลี่ยนถ่ายรัฐบาล นายกรัฐมนตรีกล่าวมั่นใจว่า การส่งมอบการบริหารราชการแผ่นดินในครั้งนี้ สถานะทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองของประเทศเอื้อต่อการที่จะให้รัฐบาลใหม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี เพราะฐานะของประเทศมีความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้รัฐบาลใหม่มีความยืดหยุ่นในการปรับนโยบายทางด้านการเงินการคลัง โดยเงินสำรองระหว่างประเทศขณะนี้มีสูงถึง 180,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากการรัฐบาลชุดก่อนที่เข้ามาบริหารราชการแผ่นดินถึง 70,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีเงินสำรองอยู่ในลำดับที่ 13 ของโลก ซึ่งเป็นผลจากการส่งออกและการท่องเที่ยวหรือการหารายได้เข้าประเทศมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและแข็งแกร่ง สำหรับฐานะการคลังในประเทศขณะนี้ มีเงินที่จัดเก็บรายได้เพิ่มเกินเป้าหมายงบประมาณถึงเกือบ 2 แสนล้านบาท ซึ่งจะทำให้ฐานะการคลังนั้นมีความมั่นคง และจะทำให้การจัดงบประมาณสำหรับปีงบประมาณต่อ ๆ ไป ทำได้คล่องตัวยิ่งขึ้น นอกจากนั้นเงินคงคลัง ได้เพิ่มสูงขึ้นถึง 3 แสนล้านบาท มากกว่าตอนเข้ามารับตำแหน่ง ซึ่งมีอยู่ประมาณ 5 หมื่นล้านบาทเท่านั้น นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงหนี้สาธารณะของประเทศไทยว่า หากคิดเป็นสัดส่วนกับรายได้ประชาชาติแล้วได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง อยู่ที่ประมาณร้อยละ 40 หรือต่ำกว่า ซึ่งถือว่าเป็นอัตราส่วนที่ต่ำมาก เมื่อเทียบเคียงกับประเทศต่าง ๆ ในโลก ส่วนภาวะเศรษฐกิจทางด้านอื่น ๆ เช่น ภาวะการจ้างงานอยู่ในฐานะที่เข้มแข็งเป็นพิเศษ อัตราการว่างงานต่ำสุดเป็นประวัติกาล ในเรื่องของการมีเครื่องมือกลไกต่าง ๆ ที่จะรองรับกับความผันผวนในเรื่องของราคาน้ำมันกับต้นทุนต่าง ๆ นั้น ปัจจุบันฐานะของกองทุนน้ำมัน ถ้ามีการคงนโยบายในการที่จะตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร จะทำให้มีเงินไหลเข้ากองทุนน้ำมันอย่างต่อเนื่อง และกองทุนน้ำมันนั้นจะอยู่ในภาวะซึ่งไม่ติดลบในระยะเวลาประมาณ 2 เดือนข้างหน้า นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวด้วยว่า ตอนที่เข้ามารับตำแหน่งเหมือนไฟเข้ามาไหม้บ้าน ขณะที่วันนี้ได้ดับไฟเรียบร้อยแล้ว พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงนโยบายที่รัฐบาลได้ดำเนินการว่า หลายเรื่องมีความคืบหน้า อาทิ การจัดระบบสวัสดิการแบบถ้วนหน้า นโยบายเรียนฟรี รักษาพยาบาลฟรี การดูแลคนกลุ่มต่าง ๆ เช่น คนพิการ ผู้สูงอายุ เป็นต้น แต่ยอมรับว่าปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม ซึ่งเป็นปัญหาในเชิงโครงสร้าง ต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหา โดยได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการอิสระหลายคณะกรรมการ ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของหน่วยงานราชการต่าง ๆ รวมไปถึงการมีกฎหมาย หรือมาตรการต่าง ๆ ซึ่งยังค้างอยู่ แต่เชื่อว่ารัฐบาลชุดใหม่จะเข้าไปพิจารณามาตรการ กฎหมาย และข้อเสนอแนะเหล่านี้อย่างจริงจัง เพื่อนำไปสู่การมีสังคมที่มีความเป็นธรรม และมีสวัสดิการสำหรับพี่น้องประชาชนคนไทยทุกคน ด้านการต่างประเทศและความมั่นคง นายกรัฐมนตรีชี้แจงว่า ปัจจุบันฐานะของประเทศไทย หลังจากประสบกับปัญหาวิกฤติมากมาย สังคมโลกมีความมั่นใจในประเทศไทยมากขึ้น และจากการดำเนินการหลาย ๆ อย่าง นำไปสู่การที่ประเทศไทยจะได้รับโอกาสเป็นเจ้าภาพในงานระดับโลก หรืองานระดับระหว่างประเทศ ทั้งเวทีเศรษฐกิจ การกีฬา โดยหวังว่ารัฐบาลชุดใหม่จะได้สานต่อและทำให้ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการ เป็นเจ้าภาพดังกล่าว ด้านความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านนั้น ขณะนี้เป็นไปด้วยความราบรื่นยกเว้นในกรณีที่มีข้อพิพาทกับทางกัมพูชา ส่วนปัญหาภายในประเทศที่กระทบต่อความมั่นคง เช่น ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหายาเสพติด รัฐบาลใหม่คงจะได้มีการสานต่อ และสามารถดำเนินทิศทางของนโยบายนำไปสู่ความสงบสุขต่อไป ตอนท้ายนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า รัฐบาลชุดปัจจุบันได้มีกระบวนการของการค้นหาความจริงจากเหตุการณ์ความขัด แย้งในอดีต โดยมีคณะกรรมการอิสระ และหวังว่ารัฐบาลชุดใหม่จะได้สานต่อในแนวทางนี้เพื่อนำไปสู่ความจริงและยก สถาบันต่าง ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองอยู่เหนือความขัดแย้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันหลักของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และสถาบันอื่น ๆ ซึ่งมีภาระหน้าที่ไม่ว่าจะเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรต่าง ๆ ตามกระบวนการยุติธรรม ถ้าหากทำได้เช่นนี้เชื่อว่าการเปลี่ยนผ่านไปสู่การบริหารงานของรัฐบาลใหม่จะ สามารถนำไปสู่การยุติความขัดแย้งที่เป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขปัญหาของประเทศ จาก นั้นนายกรัฐมนรีได้กล่าวขอบพระคุณพี่น้องประชาชน เจ้าหน้าที่ข้าราชการทุกคนที่ช่วยให้การบริหารราชการแผ่นดินในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา นำพาประเทศชาติฟันฝ่าวิกฤติต่าง ๆ ถึงแม้ว่าจะมีบางปัญหาซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้ หรือไม่สามารถแก้ไขได้อย่างสมบูรณ์ ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า สิ่งที่ทำไว้นั้นจะเป็นฐานในการที่จะให้รัฐบาลชุดใหม่เข้ามาสานต่อ เพื่อประโยชน์สุขของพี่น้องประชาชนทุกคนต่อไป สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
"เพื่อไทย" เสนอชื่อ "ยิ่งลักษณ์" ชิงนายกฯ พรุ่งนี้ Posted: 04 Aug 2011 06:15 AM PDT ด้าน "ภูมิใจไทย" มีมติงดออกเสียง ยืนยันพรุ่งนี้ไม่มีงูเห่า ส่วน "อภิสิทธิ์" ขอว่าที่นายกฯ คนใหม่แก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชน ชี้ประเทศมีเงินคงคลัง 3 แสนล้านบาท เทียบกับ 2-3 ปีที่ผ่านมา ที่มีเพียง 5 หมื่นล้านบาท ถือเป็นสถานะการเงินที่มั่นคงมาก ดังนั้นจึงไม่เห็นด้วยที่รัฐบาลใหม่จะเร่งกู้เงิน 8 แสนล้านบาท วาง "เสนาะ" เสนอชื่อ "ยิ่งลักษณ์" ชิงนายกฯ พรุ่งนี้ ที่ประชุม ส.ส. พรรคเพื่อไทย มีมติเสนอชื่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ส.ส.บัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 พรรคเพื่อไทย เป็นนายกรัฐมนตรี ในการประชุมสภาผู้แทนราษฏรในวันพรุ่งนี้ (5 ส.ค.) โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้กล่าวขอบคุณ หัวหน้าพรรค กรรมการบริหารพรรค และ ส.ส.ทุกคนที่ให้ความไว้วางใจตนเองตั้งแต่แรก ในการให้เป็นผู้สมัครส.ส.ลำดับที่ 1 ประกอบกับขอบคุณประชาชนที่ไว้วางใจเลือกพรรคเพื่อไทยให้เป็นแกนนำจัดตั้ง รัฐบาลด้วย ดังนั้น ยืนยันจะทำหน้าที่อันทรงเกียรตินี้ให้ดีที่สุด โดยในวันพรุ่งนี้ ได้มีการมอบหมายให้นายเสนาะ เทียนทอง เป็นผู้เสนอชื่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในที่ประชุมสภาฯเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีวันพรุ่งนี้
มติ "ภูมิใจไทย" งดออกเสียง ยันพรุ่งนี้ไม่มีงูเห่า นายศุภชัย ใจสมุทร โฆษกพรรคภูมิใจไทย กล่าวภายหลังการประชุม ส.ส. พรรคภูมิใจไทย ว่า ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พรุ่งนี้ (5 ส.ค.54) เพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี ที่ประชุมพรรคมีมติเป็นเอกฉันท์ ว่า ถ้าพรรคเพื่อไทย เสนอ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น ส.ส. ของพรรคภูมิใจไทย จะงดออกเสียง ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าว ส.ส. บางส่วนของพรรคจะสนับสนุน น.ส.ยิ่งลักษณ์ นั้น ยืนยันว่าไม่เป็นความจริง พร้อมมั่นใจไม่มี ส.ส. คนใดกระทำการขัดมติพรรค และคิดว่าจะไม่มีงูเห่าเกิดขึ้นในพรรคอย่างแน่นอน สำหรับในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ ทราบข่าวจากสื่อว่าจะไม่เสนอชื่อใครชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายศุภชัย ยืนยันว่า พรรคภูมิใจไทย จะทำหน้าที่ฝ่ายค้าน และจะทำงานในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติ โดยยึดประชาชนเป็นหลัก โดยพรรคจะเสนอกฎหมายประกบกฎหมายที่รัฐบาลเสนอและจะร่วมลงชื่อเสนอกฎหมายที่ พรรคการเมืองอื่นเสนอด้วย แต่ต้องเป็นมติเห็นชอบจากพรรคเท่านั้น ทั้งนี้จะทำงานในสภาด้านอื่นๆ ในฐานะฝ่ายค้าน อย่างดีที่สุด และมีสติ ทั้งการตรวจสอบรัฐบาล และตั้งกระทู้ถาม โดยพรรคจะไม่เล่นการเมืองในสภาฯ เช่นไม่เสียบบัตรแสดงตนระหว่างเข้าร่วมประชุม แต่หากไม่เห็นด้วย อาจใช้วิธีวอล์คเอาท์แทน
นายกฯ ฝาก "ยิ่งลักษณ์" แก้ปัญหาค่าครองชีพของประชาชน ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ฝากให้ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นว่าที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ เร่งแก้ปัญหาค่าครองชีพให้กับประชาชน และทำให้การเมืองเข้าสู่ภาวะปกติ เพื่อให้ประชาชนมั่นใจในกระบวนการรัฐสภา โดยยืนยันหากรัฐบาลบริหารประเทศได้ดีก็จะไม่คัดค้านการทำงาน แต่หากทำไม่ดีก็จะไม่ให้โอกาส ขณะเดียวกันไม่ขอวิจารณ์การจัดสรรตำแหน่งคณะรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย เพราะเป็นเรื่องกระบวนการภายในพรรคเพื่อไทย โดยไม่ว่าใครจะเป็นรัฐมนตรี คนที่รับผิดชอบคือ นายกรัฐมนตรีเท่านั้น ส่วนฝ่ายค้านจะตั้งคณะรัฐมนตรีเงา เพื่อตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลหรือไม่ อยู่ที่กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ชุดใหม่พิจารณา นายกรัฐมนตรี ยังเปิดเผยถึงการรายงานสถานะเศรษฐกิจและสังคมที่จะมีการส่งมอบงานให้รัฐบาล ชุดใหม่ รวมทั้งประชาชนรับทราบผ่านทางสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ในคืนนี้ เวลา 20.30 น.ว่า รายงานนี้จะเป็นเครื่องมือให้กับรัฐบาลชุดใหม่ในการสานต่อการทำงาน และเพื่อไม่ให้ประชาชนกังวลกับการเปลี่ยนผ่านรัฐบาล โดยขณะนี้ ประเทศไทยมีเงินสำรอง 1.8 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยสองปีที่ผ่านมา เพิ่มจากเดิม 7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ และจัดเก็บภาษีเกินเป้า 2 แสนล้านบาท และมีเงินคงคลัง 3 แสนล้านบาท เทียบกับ 2-3 ปีที่ผ่านมา ที่มีเพียง 5 หมื่นล้านบาท ถือเป็นสถานะการเงินที่มั่นคงมาก ดังนั้นจึงไม่เห็นด้วยที่รัฐบาลใหม่ จะเร่งกู้เงิน 8 แสนล้านบาท เพราะขณะนี้ยังไม่จำเป็นต้องกระตุ้นเศรษฐกิจ
ที่มา: เรียบเรียงจากสำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ [1]. [2]. [3] สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
สำนักพระราชวังประกาศงดไว้ทุกข์ 12 ส.ค. 1 วัน Posted: 04 Aug 2011 05:49 AM PDT ประกาศสำนักพระราชวัง ตามประกาศสำนักพระราชวังลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2554 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าทูลละอองธุลีพระบาทในราชสำนักไว้ทุกข์ถวาย สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี มีกำหนด 100 วัน ตั้งแต่วันสิ้นพระชนม์เป็นต้นไปนั้น เลขาธิการพระราชวัง รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้งดไว้ทุกข์ในราชสำนัก 1 วัน เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคม 2554 สำนักพระราชวัง 4 สิงหาคม พุทธศักราช 2554 สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ธปท. ชี้รายได้เฉลี่ยลูกจ้างไทยไม่พอยาไส้ ด้าน 7-11 หนุนค่าแรง 300 บาท Posted: 04 Aug 2011 05:03 AM PDT ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดข้อมูลค่าจ้างเฉลี่ยลูกจ้างไทยยุคหมู-ไก่-ไข่แพงรายวันไม่พอยาไส้ ด้านบริษัทซีพีออลล์ บริษัทแม่ 7-11 ยันหนุนนโยบายรัฐบาลปรับขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำเป็น 300 บาท พร้อมรับแรงงานปริญญาตรี 15,000 บาท
4 ส.ค. 54 – ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เปิดเผยข้อมูลค่าจ้างเฉลี่ยของผู้มีงานทำในประเทศไทยที่มีอาชีพลูกจ้างและพนักงาน ทั้งของรัฐบาลและเอกชน ล่าสุด สิ้นเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา โดยมีผู้ที่มีงานทำที่เป็นลูกจ้างทั้งสิ้น 17,310,300 คน แบ่งเป็นลูกจ้างในภาครัฐบาล 3,560,000 คน และเป็นลูกจ้างในภาคเอกชน 13,750,300 คน พบว่า ค่าจ้างเฉลี่ยของลูกจ้างล่าสุด ในเดือน พ.ค. ที่ผ่านมาพบว่า ลูกจ้างไทยมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 9,775.1 บาทเท่านั้น ทั้งนี้ หากแยกเป็นผู้มีงานทำที่เป็นลูกจ้างในภาคเกษตรกรรมพบว่า มีค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนเพียง 4,900.3 บาท ขณะที่ผู้ที่มีงานทำในภาคนอกภาคเกษตรกรรม ซึ่งหมายรวมถึงภาคก่อสร้าง ภาคอุตสาหกรรม ภาคการค้า และภาคบริการ มีรายได้เฉลี่ย 10,501.5 บาทต่อเดือน ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่ต่ำเมื่อเทียบกับค่าครองชีพในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกจ้างในภาคการเกษตร อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ค่าจ้างเฉลี่ยของลูกจ้างโดยรวมปรับตัวดีขึ้น โดยสำหรับค่าจ้างแรงงานโดยรวม ปรับเพิ่มขึ้น 5% ค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยของแรงงานในภาคเกษตรกรรม ปรับเพิ่มขึ้น 11% ค่าจ้างแรงงานในภาคอุตสาหกรรม ก่อสร้าง การค้า และการบริการ ปรับเพิ่มขึ้น 5.6% นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธปท. กล่าวว่า ภาวะตลาดแรงงานยังคงตึงตัว โดยสัดส่วนจำนวนตำแหน่งงานว่างและผู้ว่างงานยังอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มว่าอัตราการว่างงานในช่วงต่อไปจะต่ำลงได้ เนื่องจากดัชนีชี้ความยากง่ายในการทำงาน ระบุว่า การหางานจะทำได้ง่ายขึ้นกว่าในเดือนที่ผ่านมา ด้าน ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานว่า ส่วนตัวมองว่าเป็นเรื่องจำเป็น เพราะในขณะนี้รายได้ของลูกจ้างยังต่ำ จึงควรจะได้ค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจ และไม่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำ จนกระทั่งกลายเป็นการสร้างปัญหาที่นำไปสู่ความขัดแย้งของสังคม อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไม่ควรจะขึ้นค่าจ้างแรงงานอย่างเดียว แต่ควรจะที่เร่งสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และศักยภาพในการผลิต และทักษะแรงงานที่เพิ่มขึ้น เพื่อให้ค่าจ้างแรงงานใหม่ เหมาะสมกับการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่เพิ่มขึ้นด้วย ขณะที่นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวก่อนหน้านี้ว่า การปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานในช่วงที่ผ่านมา ยังไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพที่ปรับสูงขึ้น โดยตั้งแต่ ปี 2540 จนถึงปัจจุบัน พบว่า อัตราการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำหักเงินเฟ้อแล้ว ยังไม่ฟื้นตัว หรือมีระดับต่ำกว่าในช่วงปี 2540 หมายความว่า ผู้ใช้แรงงานยังไม่ได้รับความเป็นธรรมในการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ และเท่าที่มีการประเมินค่าจ้างที่ขึ้น หักเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในระยะที่ผ่านมา ค่าจ้างแรงงานยังมีช่องว่างสามารถให้ปรับขึ้นได้ 10% แต่หากปรับขึ้นครั้งเดียว 300 บาท หรือประมาณ 40% อาจจะส่งผลให้ภาคธุรกิจปรับตัวไม่ทัน นอกจากนี้เมื่อมีการปรับขึ้นค่าแรงแล้วก็ควร เน้นพัฒนาอุตสาหกรรมที่ส่งผลดีต่ออนาคตประเทศควบคู่ไปด้วย ด้านนายทรงธรรม ปิ่นโต ผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธปท. กล่าวถึงการผ่านร่างกฎหมายขยายเพดานหนี้ของสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 3 ส.ค. ว่า เป็นมติที่ตลาดการเงินคาดการณ์ไว้แล้วว่า ในที่สุดสหรัฐฯน่าจะแก้ปัญหาเพดานหนี้ของรัฐบาลได้ อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาดังกล่าวถือเป็นการแก้ปัญหาในระยะสั้นให้ผ่านไปก่อนเท่านั้น แต่ในระยะยาวปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจสหรัฐฯที่อ่อนแอยังคงเป็นปัญหาที่กระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ความอ่อนแอของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่จะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจประเทศที่พึ่งพิงการส่งออกของสหรัฐฯบ้าง ซึ่งสำหรับเศรษฐกิจไทยนั้น การส่งออกในช่วงต่อไปอาจจะได้รับผลกระทบบ้างจากกำลังซื้อจากสหรัฐฯที่ลดลง โดยประเทศไทยมีสัดส่วนที่ส่งออกไปสหรัฐฯ ประมาณ 11% ของการส่งออกรวมของประเทศ อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ ผู้ส่งออกของไทยได้มีการกระจายการส่งออกไปยังภูมิภาคอื่นๆ ในจีน อาเซียน และอื่นๆ มากขึ้น โดย ธปท.คงต้องจับตาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐฯ ต่อประเทศไทยในระยะต่อไป 7-11 หนุนนโยบายรัฐปรับค่าแรง 300 นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) บริษัทแม่ของร้านสะดวกซื้อ 24 ชั่วโมง 7-11 กล่าวในงานเสวนาพิเศษ การปรับตัวของภาคธุรกิจในยุครัฐบาลใหม่ว่า ซีพีออลล์พร้อมปฏิบัติตามนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ของรัฐบาลถึงแม้ว่านโยบายดังกล่าว จะกระทบต่อต้นทุนการผลิต แต่ก็พร้อมปรับตัวด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เพราะการปรับขึ้นค่าแรง ถือเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับลูกจ้าง ขณะเดียวกัน ซีพีออลล์ มีความพร้อมที่จะรับแรงงานปริญญาตรีจบใหม่ 10,000 อัตรา เข้าทำงานในทันที นอกจากนี้ ยังฝากให้รัฐบาลชุดใหม่ ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนภาคบริการ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ไม่ใช่การออกกฎหมายควบคุมธุรกิจค้าปลีก ขณะเดียวกัน ต้องลดแรงงานภาคเกษตรลง
ที่มาข่าวเรียบเรียงจาก: ไทยรัฐ, สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
สื่อเยอรมันชี้ กรณีวอลเตอร์บาวอาจสะเทือนความสัมพันธ์ไทย-เยอรมนี Posted: 04 Aug 2011 05:02 AM PDT เมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2554 นสพ.สปีเกลของเยอรมนีเปิดเผยเบื้องหลังการดำเนินการอายัดเครื่องบิน ระบุหากทางการไทยยังไม่ชำระค่าชดเชยให้วอลเตอร์ บาว รัฐบาลเยอรมนีอาจต้องใช้ไม้แข็งกับไทย โดยลดความสัมพันธ์ทางการค้า และอายัดทรัพย์สินในต่างประเทศ มิเช่นนั้น ทางการเยอรมนีอาจต้องชำระหนี้ให้วอลเตอร์ บาวแทน หนังสือพิมพ์สปีเกล (Spiegel) ของเยอรมนี ได้รายงานความคืบหน้าของกรณีพิพาทระหว่างไทย-เยอรมนี เกี่ยวกับการอายัดเครื่องบินพระราชพาหนะโบอิ้ง 737 โดยอ้างรายงานของศาสตราจารย์คริสตอฟ เพาลัส ประจำมหาวิทยาลัยฮุมโบลด์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายการล้มละลาย ซึ่งมีข้อเสนอแนะว่า รัฐบาลเยอรมนีควรทำทุกวิถีทางในอำนาจ เพื่อบังคับให้ทางการไทยจ่ายค่าชดเชยจำนวนกว่า 30 ล้านยูโร คืนให้บริษัทวอลเตอร์ บาว โดยมาตรการดังกล่าวรวมถึงการลดความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทย-เยอรมนี และการอายัดทรัพย์สินต่างชาติ มิเช่นนั้น รัฐบาลเยอรมนีอาจต้องจ่ายค่าชดเชยดังกล่าวให้กับบริษัทวอลเตอร์ บาวแทน ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 22 ก.ค. ที่ผ่านมา สถานทูตเยอรมนีได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลไทยชำระค่าชดเชยที่ยังคงชำระต่อบริษัทวอลเตอร์ บาว เพื่อรักษาความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ และระบุด้วยว่า ทางผู้ลงทุนจะจับตากรณีดังกล่าวอย่างใกล้ชิด
สปีเกลระบุว่า นายชไนเดอร์ได้รับข้อมูลจากแหล่งข่าวนิรนามจากกรุงเทพฯ ทางแฟกซ์ อันประกอบด้วยข้อมูลเส้นทางการบินของเครื่องบินลำดังกล่าว รวมถึงใบทะเบียน หมายเลขไฟล์ท และชื่อของนักบิน โดยพระราชพาหนะโบอิ้ง 737 มีกำหนดการมาลงจอดที่สนามบินมิวนิควันที่ 21 พ.ค. 54 และจะประจำอยู่จนถึง 8 ส.ค. 54 และมีแผนการบินไปยังหลายแห่ง เช่น สนามบินเมมมิงเงน (Memmingen) (ห่างจากเมืองมิวนิค 100 กิโลเมตร) กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และกรุงลอนดอน นสพ.สปีเกลรายงานว่า นายชไนเดอร์ได้ว่าจ้างนักศึกษาเพื่อให้บันทึกความเคลื่อนไหวของเครื่องบินลำดังกล่าว และปรากฏว่าความเคลื่อนไหวของเครื่องบินเป็นไปตามข้อมูลที่ได้รับทุกประการ ทางผู้พิทักษ์ทรัพย์ของวอลเตอร์ บาว จึงได้ดำเนินการร้องขอคำสั่งจากศาล โดยในครั้งแรกไม่ประสบความสำเร็จ เพราะศาลแขวงมิวนิคพิจารณาว่าไม่มีอำนาจตัดสิน เนื่องจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สวมใส่เครื่องแบบ ทำให้มีภูมิคุ้มกันทางการทูต แต่ประสบความสำเร็จในครั้งต่อมา เมื่อนายชไนเดอร์นำคดีดังกล่าวไปดำเนินการที่ศาลในกรุงเบอร์ลิน อัยการสูงสุดเตรียมเดินทางไปกรุงเบอร์ลิน เพื่อยุติกรณี วอลเตอร์ บาววันนี้ ทั้งนี้ หลังจากที่สำนักงานราชเลขานุการในพระองค์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 1 ก.ค. เรื่อง การอายัดเครื่องบินพระที่นั่งส่วนพระองค์ว่า พระองค์ทรงมีพระราชปณิธานจะใช้ทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อนำไปยุติกรณีพิพาทดังกล่าวจำนวน 20 ล้านยูโร เพื่อถอนอายัดพระราชพาหนะ ทำให้ทางการไทยจัดประชุมคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษเมื่อวันที่ 2 ก.ค. ที่ผ่านมา โดยนายอำพล กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี นัดพิเศษว่า คณะรัฐมนตรีได้รับทราบตามแนวทางและพระราชวินิจฉัย และเห็นชอบอนุมัติเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี เช่น ค่าว่าจ้างทนาย โดยจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทางการสู้คดีทั้งหมด เพื่อไม่ให้เป็นการระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
TCIJ: ลอบวางเพลิงชุมชนในที่พิพาทสวนปาล์มสุราษฎร์ วอด 3 หลัง Posted: 04 Aug 2011 03:06 AM PDT ที่มา: ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ)
วันนี้ (4 ส.ค.53) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลาประมาณ 20.00 น.เกิดเหตุเพลิงไหม้บ้านชาวบ้านในชุมชนคลองไทรพัฒนา หมู่ 2 ต.ไทรทอง อ.ชัยบุรี จ.สุราษฏร์ธานี คาดว่าเป็นฝีมือกลุ่มอิทธิพลที่ได้รับผลประโยชน์จากการซื้อขายที่ดินสวนปาล์มที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการฟ้องร้องดำเนินคดีกับสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) โดยกลุ่มอิทธิพลดังกล่าวเคยเข้ามายิงข่มขู่ในชุมชนเพื่อให้ชาวบ้านย้ายออกจากพื้นที่ก่อนหน้านี้ ชาวบ้านที่อยู่เหตุการณ์เล่าว่าเมื่อเห็นเปลวเพลิงได้พยายามเข้าไปดับไฟ แต่กลับได้ยินเสียงปืนยิงรัวจากบริเวณที่เกิดเหตุทำให้ไม่กล้าเข้าไปใกล้ และได้พยายามโทรแจ้งเหตุกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ชัยบุรี ซึ่งเจ้าหน้าที่รับปากจะเข้ามาตรวจสอบ แต่ก็ไม่พบว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาในพื้นที่ ทำให้ชาวบ้านต้องปล่อยให้เพลิงลุกไหม้และดับมอดไปเอง จนกระทั่งตอนเช้าจึงได้เข้าสำรวจความเสียหาย จากการสำรวจพื้นที่พบว่า บ้าน 3 หลัง ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางชุมชนถูกเพลิงเผาไหม้ทั้งหลัง และยังไม่ทราบความเสียหายต่อทรัพย์สิน อย่างไรก็ตามไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเหตุดังกล่าว เนื่องจากเจ้าของบ้านได้ย้ายออกไปอยู่กับญาติภายนอกชุมชนก่อนหน้านี้ เนื่องจากเกรงกลัวกลุ่มอิทธิพลในพื้นที่ ทั้งนี้ ชุมชนคลองไทรพัฒนา หมู่ 2 ต.ไทรทอง อ.ชัยบุรี จ.สุราษฏร์ธานี เป็นสมาชิกเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการประสานการแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินกับรัฐบาลโดยการจัดทำโฉนดชุมชน โดยเป็น 1 ใน 35 พื้นที่นำร่องจัดทำโฉนดชุมชน ที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน (ปจช.)
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
คนงานไทยร้องเรียน ถูกนายหน้าหลอกทำงานอิสราเอลแต่ไม่ได้ไป Posted: 04 Aug 2011 02:40 AM PDT คนงานไทยร้องเรียน กองตรวจและคุ้มครองคนหางาน-กรมการจัดหางาน ถูกหลอกมีงานให้ทำที่อิสราเอล เผยนายหน้าเรียกเงินคนละ 70,000 - 100,000 แสนบาท ถึงกำหนดบินเลื่อนนัด เผยมีเหยื่อถูกหลอกในหลายจังหวัดกว่า 20 คน 4 ส.ค. 54 - น.ส.สุธาสินี แก้วเหล็กไหล โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย พร้อมด้วยแรงงานไทยจำนวน 5 คนได้มาร้องเรียนว่าถูกนายหน้าจัดหางานไปทำงานเป็นคนงานในสวนดอกไม้ที่ประเทศอิสราเอล โดยเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการส่งไปทำงานคนละ 70,000 - 100,000 แสนบาท ซึ่งมีแรงงานจากจังหวัดต่างๆ เช่น สุโขทัย ตาก พิษณุโลก อุดรธานี ถูกหลอกลวงด้วยรวมประมาณ 20 คน คนงานหญิงอายุ 34 ปี ชาว จ.สุโขทัย กล่าวว่า เมื่อเดือนมิถุนายนปี 2553 ได้มีเพื่อนมาชักชวนให้ไปทำงานเป็นคนงานในสวนดอกไม้ที่ประเทศอิสราเอล โดยมีนายหน้าเรียกเก็บค่าใช้จ่ายคน 70,000 - 100,000 แสนบาท และนัดเดินทางบินไปประเทศอิสราเองในวันที่ 15 เม.ย. ที่ผ่ามา แต่เมื่อถึงกำหนดนัดกลับขอเลื่อนกำหนดเดินทางมาเป็นระยะ ดังนั้น ตนกับเพื่อนๆ จึงมาร้องเรียนต่อกรมการจัดหางาน เพื่อเรียกร้องเงินค่านายหน้าคืนและดำเนินการเอาผิดตามกฎหมายกับนายอิทธิพล ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ได้มีแรงงานจากจังหวัดต่างๆ ที่จ่ายเงินค่านายหน้าให้แก่นายอิทธิพลไปแล้ว 14 คน ได้ไปแจ้งความกับตำรวจไว้แล้ว ทั้งนี้ นางสุทัศนี สืบวงศ์แพทย์ อธิบดีกรมการจัดหางานได้รับเรื่องไว้ และมอบให้นางอาทิตยา เล็กวานิช หัวหน้าฝ่ายวิชาการและแผนงาน กองตรวจและคุ้มครองคนหางาน (กกจ.)ไปดำเนินการต่อ ซึ่งนางอาทิตยาได้ให้แรงงานทุกคนเขียนร้องทุกข์ไว้และตรวจสอบข้อมูลนายหน้าในกรณีนี้ ว่าจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ กกจ.พบว่า ก่อนหน้านี้นายหน้าคนนี้ได้ถูกแรงงานกลุ่มอื่นร้องเรียนกรณีหลอกลวงคนงานไปทำงานที่อิสราเอลมาก่อน และตำรวจกำลังจะออกหมายจับ ทั้งนี้นางอาทิตยา กล่าวว่า ขอให้ แรงงานไทยที่จะไปทำงานต่างประเทศตรวจสอบนายหน้าด้วยว่าจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่หรือถูกใช้ใบอนุญาต โดยดูข้อมูลได้ที่ www.doe.go.th โทร.0-2248-2278 หรือหากถูกหลอกลวง ติดต่อร้องทุกข์โทร. 0-2248-4792 สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
เคร็ก เจ. เรย์โนลด์ส: อภิปรายเรื่องระบอบอัตตาธิปไตยไทย - เพื่อนบ้าน Posted: 03 Aug 2011 07:15 PM PDT หมายเหตุ: เมื่อวันที่ 3 ส.ค. ที่ผ่านมา ที่ห้อง HB7801 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการจัดเสวนารายการ “มองการเมืองไทยผ่านสายตาคนนอก ครั้งที่ 3” โดยมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน และสาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเชิญ ศ.ดร. เคร็ก เจ.เรย์โนลด์ส (CRAIG J.REYNOLDS) นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (Australian National University) อภิปรายหัวข้อ “การปกครองระบอบอัตตาธิปไตยในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน (Autocratic Rule in Thailand and Its Neighbours)” สำหรับคำบรรยายของเคร็ก ซึ่งแปลโดยคุณภัควดี ไม่มีนามสกุล มีรายละเอียดดังนี้ สำหรับวิดีโอการอภิปราย ประชาไทจะทยอยนำเสนอในโอกาสต่อไป 000 เคร็ก เจ.เรย์โนลด์ส (CRAIG J.REYNOLDS) อภิปรายที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เมื่อ 3 ส.ค. ที่ผ่านมา
"...คาบสมุทรอุษาคเนย์คือภูมิภาคของระบอบการเมืองแบบอัตตาธิปไตย ซึ่งการปกครองอยู่ภายใต้อิทธิพลของพรรคการเมืองพรรคเดียว ไม่ว่าจะเป็นพรรคทหาร พรรคสังคมนิยม พรรคคอมมิวนิสต์ พรรคเชื้อชาตินิยม สิงคโปร์และมาเลเซียก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น" "...เมื่อพิจารณาภูมิทัศน์ทางสังคม-การเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากมุมกว้าง ผมไม่คิดว่าลัทธิฟาสซิสต์ช่วยให้เราเข้าใจผู้นำแบบทหารในประเทศไทย อันที่จริงบุคลิกภาพของผู้นำที่ผู้สันทัดกรณีบางคนอยากติดป้ายฉลากว่าเป็นฟาสซิสต์นั้น หากใช้คำนิยามอื่นกลับช่วยให้เข้าใจได้ดีกว่า ในประเทศไทย ผู้นำที่เข้มแข็ง และหากจำเป็นก็ติดอาวุธรถถังกับปืนมาด้วยนั้น ได้รับความนิยมพอๆ กับเป็นที่ชิงชัง นอกจากนี้ความเป็นผู้นำที่เข้มแข็งแบบไทยๆ ยังมีองค์ประกอบความเชื่อแบบพุทธศาสนาที่เห็นได้ชัดด้วย ผู้นำที่เข้มแข็งไม่ว่าจะมีหรือไม่มีภูมิหลังมาจากกองทัพหรือตำรวจ มักมีความประพฤติแบบนักพรต และได้รับชื่นชมจากความมีวินัยและอำนาจในการควบคุมตัวเอง" "...ไม่ว่ามันจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นรูปแบบไหนในยุคสมัยใหม่ การปกครองระบอบอัตตาธิปไตยในประเทศไทยทุกวันนี้มีรากเหง้ามาจากรูปแบบ เศรษฐกิจการเมืองดั้งเดิมของชนชั้นนำ รูปแบบดั้งเดิมนิยมยกย่องคนที่สามารถใจกว้างและใจดำได้พร้อมกัน เขาสามารถให้รางวัลผู้สนับสนุนและลงโทษคู่อริกับคู่แข่งได้อย่าง เด็ดขาด ความนิยมที่มีต่อผู้นำแบบนี้ยังมีอยู่อย่างไม่เสื่อมคลายในภูมิภาคนี้ มันเป็นสิ่งที่เราไม่ควรประเมินต่ำเกินไป มันยังมีอิทธิพลอย่างมากในปัจจุบัน"
000 (หมายเหตุ: ภาพประกอบในบทอภิปรายและตัวเน้น เป็นการเน้นโดยประชาไท) การปกครองระบอบอัตตาธิปไตยในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน Craig J. Reynolds แปลโดย ภัควดี ไม่มีนามสกุล
ก. อารัมภบท ขอบคุณสำหรับคำเชิญให้มาปาฐกถาในหัวข้อ “มองอนาคตการเมืองไทยผ่านสายตาคนนอก” ผมได้รับเชิญให้มาอภิปรายเกี่ยวกับการเมืองไทยในฐานะคนนอก ในฐานะที่ผมเป็นชาวต่างประเทศ นอกจากนี้ผมไม่ใช่เอตทัคคะด้านการเมือง ผมไม่ใช่นักรัฐศาสตร์ ผมเป็นนักประวัติศาสตร์ และผมเน้นการมองอดีต ไม่ใช่อนาคต ดังนั้น มันจึงเป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับผมในการมองอนาคต ในเกือบทุกประเทศ ประชาชนต้องการสิทธิในการเลือกตั้ง ประชาชนต้องการสิทธิในการเลือกผู้นำของตนเอง และประชาชนรวมตัวกันตั้งพรรคการเมืองเพื่อผลักดันผู้แทนของตนให้ลงสมัครชิงตำแหน่งต่างๆ ที่มีการเลือกตั้ง แต่การเลือกตั้งไม่ใช่เครื่องมือที่ไว้ใจได้ที่จะช่วยชี้ให้เราเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าการปกครองเป็นไปอย่างไรจริงๆ และในการพยายามเข้าใจการเมืองไทย ผมคิดว่าการให้ความสนใจการเมืองของการเลือกตั้งมากเกินไปจะทำให้เราเกิดความไขว้เขว กิจกรรมของพรรคการเมืองและการเลือกตั้งกลับกลายเป็นม่านอำพรางกลไกที่แท้จริงของการเมืองไทย ผมขอสารภาพว่าผมไม่ค่อยให้ความสำคัญต่อการเมืองในระบบเลือกตั้งมากนัก เพราะเมื่อครั้งที่ผมเดินทางมาอาศัยอยู่ในประเทศไทยครั้งแรกในฐานะอาสาสมัครหน่วยสันติภาพ (Peace Corps Volunteer) พรรคการเมืองและการเลือกตั้งในประเทศไทยไม่มีความสำคัญเท่าไร ผมยังเชื่อจนถึงเดี๋ยวนี้ว่ามันยังไม่ค่อยสำคัญมากเท่าไร ในสมัยที่มาเป็นอาสาสมัครนั้น ผมมาเมืองไทยในฐานะตัวแทนของจักรวรรดินิยมอเมริกัน ซึ่งเป็นจักรวรรดินิยมแบบ “อ่อน” ที่มาควบคู่กับจักรวรรดินิยมแบบแข็งที่รัฐบาลอเมริกันดำเนินการในระหว่างสงครามเย็น เมื่อผมมาถึงประเทศไทยครั้งแรกในเดือนกันยายน พ.ศ. 2506 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นนายกรัฐมนตรี ในทางเทคนิคนั้น ผมเป็นลูกจ้างของรัฐบาลสฤษดิ์ และหลังจากเขาเสียชีวิตในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2506 ถนอมกับประภาสก็ขึ้นมามีอำนาจแทน ผมก็ยังเป็นลูกจ้างของรัฐบาลเผด็จการทหาร การเลือกตั้งและพรรคการเมืองไม่มีความหมายในตอนนั้น และผมคิดว่ามันก็ไม่มีความหมายมากนักในตอนนี้ ผมมีสองประเด็นในการอภิปรายครั้งนี้ ประการแรก ผมคิดว่าเราต้องเข้าใจรัฐไทยให้ถ่องแท้มากขึ้น ในความคิดเห็นของผม นักวิเคราะห์และนักวิชาการไม่ได้อธิบายรัฐไทยอย่างถูกต้อง [เกร็ดเล็กน้อยเกี่ยวกับตอนที่นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย พอล คีตติ้ง มาเยือนประเทศไทยเมื่อปลายปี พ.ศ. 2537 ตอนนั้นชวน หลีกภัยแห่งพรรคประชาธิปัตย์เป็นนายกรัฐมนตรี] รัฐไม่ใช่สิ่งที่เป็นหน่วยเนื้อเดียวกัน (monolithic) มันมีองค์ประกอบหลายส่วน มีหน่วยที่เป็นเอกเทศมากมาย ซึ่งบางครั้งก็แสดงบทบาททั้งๆ ที่ไม่ได้มีอำนาจหน้าที่อย่างเป็นทางการ เราจึงจำเป็นต้องมีโมเดล/มโนทัศน์/พาราไดม์ที่ดีกว่านี้ในการเข้าใจรัฐไทย รัฐไทยคืออะไร ใครมีบทบาทเป็นตัวแทนรัฐไทย ใครหรืออะไรที่มีบทบาทโดยมีรัฐหนุนหลัง และหน่วยต่างๆ มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันอย่างไร นักรัฐศาสตร์ไทยมักชอบพูดถึง “รัฐ” ว่ามีพลังอำนาจมากแค่ไหน ผมคิดว่านี่เป็นมายาคติอย่างหนึ่ง รัฐไม่ได้มีพลังอำนาจขนาดนั้น ผมจะกลับมาพูดถึงประเด็นนี้ในภายหลัง ประเด็นที่สองเกี่ยวข้องกับประเทศเพื่อนบ้านของไทยในคาบสมุทรอุษาคเนย์ ผมอยากก้าวออกไปจากประเทศไทยสักชั่วขณะหนึ่ง และหันกลับมามองประเทศนี้ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มประเทศที่มีความเชื่อมโยงกันทางประวัติศาสตร์ มีระบบการเมืองที่มีลักษณะร่วมกันหลายอย่าง สยาม/ประเทศไทยไม่ได้ตกเป็นอาณานิคมโดยตรง แต่ไทยหยิบยืมคุณลักษณะหลายๆ ประการของรัฐอาณานิคมมา และใช้ต้นแบบอาณานิคมในการปฏิรูปการปกครองที่เริ่มต้นในคริสตทศวรรษ 1890 (ช่วงพุทธทศวรรษ 2433-2443) ระหว่างการประท้วงและความรุนแรงที่เกิดขึ้นปีที่แล้ว บางครั้งมีการเปรียบเทียบประเทศไทยกับรัฐบาลทหารในประเทศพม่า แต่นอกเหนือจากนี้แล้ว มีการอภิปรายน้อยมากเกี่ยวกับฐานะของประเทศไทยในหมู่ประเทศเพื่อนบ้านบนภาคพื้นคาบสมุทร การโต้เถียงวิวาทะและการแสดงความคิดเห็นทางอินเทอร์เน็ตล้วนแล้วแต่เป็นการมองเข้ามาภายในประเทศทั้งสิ้น (inward-looking) เมื่อคำนึงถึงการประท้วงครั้งใหญ่และการยึดราชประสงค์ มันเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่าทำไมความสนใจของสาธารณชนจึงโฟกัสอยู่ที่การเมืองไทย แต่มันยังมีมุมมองแบบภูมิภาคศึกษาที่จะช่วยอธิบายระบอบประชาธิปไตยที่ลุ่มๆ ดอนๆ มาหลายทศวรรษของประเทศไทยด้วย
ข. นับตั้งแต่ระบบอาณานิคมล่มสลายไปหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ระบอบประชาธิปไตยกลายเป็นปัญหาในคาบสมุทรอุษาคเนย์ คำว่า “คาบสมุทรอุษาคเนย์” (mainland Southeast Asia) นี้ ผมหมายถึงประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด ยกเว้นอินโดนีเซียกับฟิลิปปินส์ รัฐบาลที่ได้รับเลือกตั้งในภูมิภาคนี้มักเป็นรัฐบาลพรรคเดียว รัฐบาลอำนาจนิยมชอบการเลือกตั้ง เพราะผู้นำสามารถบอกกับโลกได้เต็มปากว่าตนขึ้นมามีอำนาจผ่านกระบวนการเลือกตั้ง ความแตกต่างระหว่างการเลือกตั้งกับระบอบประชาธิปไตยมักไม่ถูกชี้ชัดลงไป แท้ที่จริงแล้ว มีความแตกต่างมหาศาลระหว่างการเลือกตั้งกับระบอบประชาธิปไตย การเลือกตั้งไม่ได้ทำให้เรามีระบอบประชาธิปไตยโดยอัตโนมัติ ถ้าการเลือกตั้งไม่เสรีและไม่มีการแข่งขันกันอย่างแท้จริง ระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมก็เกิดขึ้นไม่ได้ การซื้อเสียงกล่าวคือการที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งให้เงินสดและแรงจูงใจอื่นๆ แก่ผู้ลงคะแนนเสียง เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำซาก นำไปสู่ความเชื่อที่แพร่หลายว่า การเลือกตั้งถูกล็อกผลมาแล้ว ยังมีปัญหาอีกประการหนึ่ง นั่นคือ วัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมจำเป็นต้องมีขันติธรรมต่อความไม่เห็นพ้อง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นตรงกันข้ามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็คือ ผู้มีอำนาจในภูมิภาคนี้พยายามจำกัดความไม่เห็นพ้องและบิดเบือนระบอบประชาธิปไตยจนพวกเขาดำรงตำแหน่งได้ยาวนาน บางครั้งพวกเขาพยายามผูกขาดอำนาจการปกครองอย่างถาวรด้วยซ้ำ แน่นอน เรื่องนี้เป็นแรงบันดาลใจให้พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรตอนที่เขาเป็นนายกรัฐมนตรีและบริหารพรรคการเมืองเหมือนกลุ่มธุรกิจผูกขาด (cartel) เขาต้องการอยู่ในอำนาจให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้
ค. เพื่อเข้าใจประเด็นนี้ชัดเจนยิ่งขึ้น เราลองดูประเทศต่างๆ ในพื้นคาบสมุทร ในพม่า กองทัพปกครองมาแล้วเกือบห้าสิบปี นับตั้งแต่ พ.ศ. 2505 หลังจากประกาศเอกราช พม่ามีผู้นำที่เข้มแข็งมากสองคน นั่นคือนายพลเนวินและนายพลตานฉ่วย นายพลตานฉ่วยเป็นที่รู้จักในฉายาของ “ผู้พิทักษ์และผู้สร้างความเป็นปึกแผ่นผู้ยิ่งใหญ่” ทุกวันนี้ดูเหมือนเขาก้าวลงจากการบริหารประเทศรายวันแล้ว ปีที่แล้วมีการเลือกตั้งในพม่าและมีหลักฐานว่าระบอบเผด็จการทหารกำลังผ่อนปรนมากขึ้น อองซานซูจี ได้รับการปล่อยตัวจากการกักบริเวณในบ้าน แต่ขบวนการของเธอถูกบั่นทอนจนอ่อนแรง ตัวเธอเองก็แสดงออกถึงแนวโน้มแบบอัตตาธิปไตยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น การที่เธอไม่ยอมให้พรรคเอ็นแอลดีเข้าร่วมในการเลือกตั้งเมื่อปีที่แล้ว และยืนกรานว่าจะต้องคว่ำบาตรการเลือกตั้งต่อไป ถึงแม้นักวิเคราะห์และนักกิจกรรมหลายคนเชื่อว่าการคว่ำบาตรจะส่งผลเสียยิ่งกว่าช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ถึงแม้กองทัพจะผ่อนคลายการควบคุมลงบ้างเล็กน้อย แต่หากมองในระยะยาวที่สุด การปกครองระบอบทหารรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งน่าจะยังครองความเป็นใหญ่ในประเทศพม่าต่อไป ในกัมพูชา ผู้นำกำปั้นเหล็กยังอยู่ในอำนาจ หลังจากครองอำนาจมาหลายทศวรรษนับตั้งแต่เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีระหว่างที่เวียดนามยึดครองกัมพูชาด้วยกำลังทหาร ฮุนเซนเป็นอดีตสมาชิกเขมรแดง นับตั้งแต่กัมพูชาฟื้นอำนาจอธิปไตยได้ใน พ.ศ. 2536 ฮุนเซนเป็นผู้มีบทบาทนำในกลุ่มแนวร่วมของพรรคประชาชนกัมพูชาและพรรคนิยมกษัตริย์ (พรรคฟุนซินเปก) ซึ่งครองอำนาจทางการเมือง ในกัมพูชามีการเลือกตั้งก็จริง แต่ฮุนเซนเป็นนายกรัฐมนตรีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2528 โดยมีช่วงขัดตาทัพแค่สองสามครั้ง นี่คือรัฐบาลอัตตาธิปไตย ประเทศมีเสถียรภาพก็จริงแต่ไม่มีสัญญาณของการถ่ายโอนอำนาจ ลาวเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมพรรคเดียวมาตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2518 อันที่จริงพรรคการเมืองที่ถูกต้องตามกฎหมายมีเพียงพรรคเดียวคือ พรรคปฏิวัติประชาชนลาวซึ่งเป็นพรรครัฐบาล ผู้บริหารการปกครองประเทศคือคณะกรรมการโปลิตบูโรกลุ่มเล็กๆ และคณะกรรมการกลางที่มีสมาชิก 49 คน มีการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2535 เพื่อเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติขึ้นมาใหม่จำนวน 85 คน และมีการเลือกตั้งอีกครั้งใน พ.ศ. 2549 โดยที่จำนวนสมาชิกขยายเป็น 115 คน สมัชชาแห่งชาติจะเลือกผู้นำใหม่ทุกห้าปี และในเดือนมิถุนายนจะมีการลงคะแนนเสียงเพื่อยืดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของเลขาธิการใหญ่ของพรรคปฏิวัติประชาชนลาว ดังนั้น จึงมีแผนการถ่ายโอนอำนาจในหมู่ผู้นำในรัฐบาล ถึงแม้อาจมีการลงคะแนนให้ดำรงตำแหน่งต่อไปก็ตาม เช่นเดียวกับในกัมพูชา ลาวมีเสถียรภาพ แต่สิ่งที่แตกต่างจากกัมพูชาก็คือ ลาวมีการถ่ายโอนอำนาจอย่างสม่ำเสมอสำหรับตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลที่มาจากพรรคการเมืองพรรคเดียวที่ครองอำนาจ เช่นเดียวกับลาว สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเป็นรัฐที่มีพรรคการเมืองเดียวเช่นกัน ตามรัฐธรรมนูญใหม่ฉบับ พ.ศ. 2535 ซึ่งนำมาใช้แทนฉบับ พ.ศ. 2518 พรรคคอมมิวนิสต์แห่งเวียดนาม (CPV) สถาปนาอำนาจในรัฐบาลและการเมืองอย่างแน่นหนามั่นคง องค์กรการเมืองที่มีความเชื่อมโยงกับพรรค CPV เท่านั้นที่จะได้รับอนุญาตให้ส่งผู้สมัครลงแข่งขันในการเลือกตั้งระดับชาติ สมัชชาแห่งชาติมีสมาชิก 498 คน การเลือกตั้งครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2550 และมีสมาชิกสมัชชาไม่กี่คนที่ไม่สังกัดพรรคใดๆ ในประเทศนี้อีกเช่นกันที่เราได้เห็นการปกครองโดยพรรคการเมืองพรรคเดียว ในมาเลเซีย มีกิจกรรมทางการเมืองแบบหลายพรรคมากกว่าในประเทศอื่นก็จริง แต่พรรคอัมโน ซึ่งเป็นพรรคที่มีบทบาทนำในกลุ่มแนวร่วมทางการเมืองที่ครองอำนาจมาตั้งแต่ได้เอกราช พรรคอัมโนได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญให้ตัวเองได้เปรียบและปรับเปลี่ยนเขตเลือกตั้งเนืองๆ เพื่อรักษาความได้เปรียบในการเลือกตั้งเอาไว้ การประท้วงและความปั่นป่วนในช่วงสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมาเมื่อต้นเดือนกรกฎาคมคือความไม่พอใจที่มีต่อพรรคอัมโนและกลุ่มพันธมิตรทางการเมือง Barisan Nasional ในประเด็นการที่กลุ่มการเมืองนี้ผูกขาดการเมืองมาเลเซียเอาไว้ กลุ่มพันธมิตรในปัจจุบันและกลุ่มเดียวกันก่อนหน้านี้ปกครองมาเลเซียมาตั้งแต่ประกาศเอกราช การกีดกันระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมดูเหมือนเป็นนโยบายหลักของพรรคอัมโนมาตลอด เดือนตุลาคมปีที่แล้ว มหาเธร์ โมฮัมหมัด ซึ่งเคยเป็นนายกรัฐมนตรีมาเลเซียนานถึง 22 ปี แสดงปาฐกถาที่ย้ำว่าระบอบประชาธิปไตยล้มเหลวในหลายประเทศและการปกครองแบบรวบอำนาจต่างหากที่เป็นคำตอบ เขาปฏิบัติตามที่เขาเทศนา มาเลเซียมีการปกครองแบบอัตตาธิปไตยพรรคเดียวมาเกือบครึ่งศตวรรษ เมื่อผมสอนวิชาประวัติศาสตร์เกี่ยวกับคาบสมุทรอุษาคเนย์ ปรกติผมจะไม่รวมสิงคโปร์ แต่ในที่นี้จะพูดรวมไปถึงสิงคโปร์ด้วย เพราะมันเป็นอีกตัวอย่างที่ดีที่ชี้ให้เห็นการปกครองแบบพรรคเดียว เราอาจนิยามระบบการเมืองของสิงคโปร์ว่าเป็นระบบสังคมนิยมที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์ ในสิงคโปร์ พรรคกิจประชาชน (People’s Action Party) ชนะทุกการเลือกตั้งมาตั้งแต่ได้เอกราชใน พ.ศ. 2502 และแน่นอนว่าปกครองสิงคโปร์มาตั้งแต่สมัยนั้น หากมีพรรคการเมืองใดส่งสัญญาณว่าจะเป็นฝ่ายค้านที่เข้มแข็ง พรรค PAP ก็จะหาทางสกัดขัดขวางและรักษาการปกครองแบบพรรคเดียวเอาไว้ สมาชิกรัฐสภาที่เป็นฝ่ายค้านบางคนที่ส่อแววให้เห็นความเป็นผู้นำที่เข้มแข็งและได้รับความนิยมก็ถูกทำลายทางการเงินด้วยการฟ้องร้อง บทเรียนที่น่าสนใจจากกรณีศึกษาเปรียบเทียบกับสิงคโปร์ก็คือ ตระกูลลีมีบทบาทสำคัญในการสืบต่อการปกครองพรรคเดียวของ PAP อนึ่ง ในการเลือกตั้งของประเทศสิงคโปร์เมื่อ พ.ศ. 2549 ผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงที่มีอายุมากและรายได้ต่ำจำนวน 300,000 คน ได้รับเงินประมาณ 500 ดอลลาร์สิงคโปร์เข้าบัญชีธนาคารก่อนการเลือกตั้งไม่นาน และพวกเขาได้รับเงินจำนวนเดียวกันนี้อีกครั้งใน พ.ศ. 2550 ไม่มีเสียงโวยวายว่ามีการซื้อเสียงในประเทศสิงคโปร์ การแจกเงินเช่นนี้ช่วยปูทางให้พรรค PAP และรักษาอำนาจให้พรรคได้เป็นรัฐบาลถาวรต่อไป แต่ไม่มีใครเรียกการแจกเงินนี้ว่า “การซื้อเสียง” ดูเหมือนการซื้อเสียงเกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ดังนั้น เราเห็นอะไรบ้าง? พม่า กัมพูชา ลาว เวียดนามและสิงคโปร์ ล้วนแล้วแต่เป็นรัฐพรรคเดียวและถูกปกครองโดยพรรคการเมืองเดียวนี้มาตั้งแต่สิ้นสุดยุคอาณานิคม ประเทศเหล่านี้มีรัฐบาลที่ค่อนข้างมีเสถียรภาพ ในลาวและเวียดนาม กระบวนการสืบทอดอำนาจอย่างสม่ำเสมอสร้างหลักประกันให้การต่อวาระการดำรงตำแหน่งของผู้นำจากกลุ่มผู้สมัครที่กำกับคัดสรรมาแล้ว ในสิงคโปร์ก็มีลักษณะคล้ายๆ กัน โดยมีลักษณะเฉพาะของการที่ตระกูลลีมีบทบาทสำคัญโดดเด่นและมีอิทธิพลสูง ในพม่าและกัมพูชา เราพอมองเห็นลักษณะการปกครองของผู้นำเดี่ยวที่เข้มแข็งเป็นระยะเวลานาน แล้วความรุนแรงทางการเมืองล่ะ? ถ้าเราจำกัดการเปรียบเทียบไว้แค่เหตุการณ์ประท้วงของมวลชนที่มีการสูญเสียชีวิตจำนวนมาก ก็จะมีแค่เหตุการณ์ในพม่า พ.ศ. 2531 (มีผู้เสียชีวิตประมาณ 3,200 คนในเดือนมีนาคมและสิงหาคม) และ พ.ศ. 2552 (ผู้เสียชีวิตประมาณ 138 คน) มาเลเซียมีเหตุจลาจลด้านเชื้อชาติใน พ.ศ. 2512 (ยอดผู้เสียชีวิตน้อยกว่า 200 คน) กล่าวมาถึงจุดนี้ ข้อสรุปของผมคืออะไร? ผมมองว่าคาบสมุทรอุษาคเนย์คือภูมิภาคของระบอบการเมืองแบบอัตตาธิปไตย ซึ่งการปกครองอยู่ภายใต้อิทธิพลของพรรคการเมืองพรรคเดียว ไม่ว่าจะเป็นพรรคทหาร พรรคสังคมนิยม พรรคคอมมิวนิสต์ พรรคเชื้อชาตินิยม สิงคโปร์และมาเลเซียก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น ภูมิภาคของระบอบการเมืองแบบอัตตาธิปไตยนี้รายล้อมรอบประเทศไทย ซึ่งคาดหวังว่าระบอบประชาธิปไตยจะหยั่งรากและเจริญเติบโต ประเทศไทยจะมีโอกาสแค่ไหนในการหล่อเลี้ยงระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมท่ามกลางเพื่อนบ้านแบบนี้? มันเป็นสภาพแวดล้อมที่หยาบกระด้าง ถึงแม้ไม่มีความรุนแรงทางการเมืองอย่างเปิดเผยมากนัก แต่มันก็เต็มไปด้วยจอมโหด กล่าวคือทหารกับตำรวจถือปืนที่คอยกดขี่ความไม่เห็นพ้อง ผู้บริหารประเทศเคยอยู่ในกองทัพ ทหารถูกฝึกให้เป็นผู้บริหารประเทศไม่ใช่เป็นแค่นักรบ ผมสรุปว่าประเทศไทยก็ไม่ใช่ข้อยกเว้นในภูมิภาคนี้ ประเทศไทยอยู่อย่างกลมกลืนในสภาพแวดล้อมนี้ และประเทศไทยเป็นเพื่อนบ้านแสนดีของประเทศรอบข้าง ระบอบการเมืองของไทยก็เป็นส่วนหนึ่งของสนามการเมืองในภูมิภาคที่มีลักษณะเด่นตรงที่นิยมการปกครองแบบอัตตาธิปไตย คำว่า “การปกครองแบบอัตตาธิปไตย” ผมไม่ได้หมายถึงการปกครองโดยผู้นำที่เด็ดขาดเพียงคนเดียว ถึงแม้ว่านั่นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเรื่อยๆ ก็ตาม การปกครองแบบอัตตาธิปไตยอาจเป็นการปกครองโดยพรรคเดียว (ลาว เวียดนาม กัมพูชา) พรรคเดียวที่ครอบงำโดยตระกูลเดียว (สิงคโปร์) พรรคเดียวที่ครอบงำพันธมิตรทางการเมือง (มาเลเซีย) เราถามได้ว่าทำไม? ทำไมการปกครองระบอบอัตตาธิปไตยจึงหยั่งรากลึกแน่นในคาบสมุทรอุษาคเนย์ตั้งแต่ได้รับเอกราชหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา? ผมคิดได้สองเหตุผล เหตุผลแรกคือ ทุกประเทศในภูมิภาคนี้มีประวัติศาสตร์ก่อนยุคสมัยใหม่ที่อยู่ภายใต้การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และระบอบกษัตริย์ในภูมิภาคนี้ไม่เคยหรือที่จริงคือไม่สามารถมีขันติธรรมต่อการมีฝ่ายค้านที่จงรักภักดี ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การเป็นฝ่ายค้านก็คือการเป็นขบถต่ออำนาจเหนือหัว (อำนาจอธิปไตย/รัฏฐาธิปัตย์) ระบอบอาณานิคมกวาดทำลายระบอบกษัตริย์ โดยเฉพาะระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในเกือบทุกประเทศแถบนี้ก็จริง แต่ในประเทศเหล่านี้ เราก็ยังพบระบอบกษัตริย์ตกค้างในยุคหลังอาณานิคม กัมพูชา มาเลเซียและแน่นอนคือประเทศไทย ระบอบกษัตริย์อาศัยการหนุนหลังของกองทัพและความฉลาดทางการเมืองของกษัตริย์เอง แสดงให้เห็นความยืดหยุ่นและความสามารถในการฟื้นฟูอำนาจตัวเองจากสภาพการณ์ที่หมิ่นเหม่จะล่มสลายในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1930 และอีกครั้งในปลายทศวรรษ 1940 เหตุผลประการที่สองคือ ระบอบอาณานิคมไม่เคยหรือไม่สามารถมีขันติธรรมต่อการมีฝ่ายค้านที่จงรักภักดี การเป็นฝ่ายค้านในยุคอาณานิคมก็คือการขบถต่ออำนาจเหนือหัว (อำนาจอธิปไตย/รัฏฐาธิปัตย์) กล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ การเป็นฝ่ายค้านเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในทางกฎหมายนั่นเอง การคัดค้านต่ออำนาจเหนือหัวคือการกระทำผิดกฎหมาย คือการประกอบอาชญากรรม ด้วยเหตุนี้ เราจึงมีกฎหมายความมั่นคงที่ทำให้การวิจารณ์รัฐบาลและความหัวแข็งทางการเมืองเป็นอาชญากรรม กลุ่มประเทศในคาบสมุทรอุษาคเนย์ล้วนแล้วแต่รับมรดกกฎหมายความมั่นคงภายในประเทศมาจากมหาอำนาจเจ้าอาณานิคมตะวันตก ในกรณีของประเทศไทย ไทยรับมรดกนี้มาจากแนวคิด Pax Americana ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีอิทธิพลตั้งแต่สิ้นสงครามโลกครั้งที่สองจนถึงช่วงต้นทศวรรษ 1970 [1] การปกครองแบบอาณานิคมช่วยตอกย้ำจารีตของระบอบกษัตริย์ นั่นคือใครก็ตามที่ต่อต้านรัฐบาลในขณะนั้นคือกบฏ จนถึงทุกวันนี้ใครก็ตามที่ต่อต้านรัฐบาลที่ครองอำนาจอยู่ก็เป็นกบฏ ในประเทศไทยระหว่างทศวรรษ 1950 ผู้ใดที่ไม่เห็นพ้องทางการเมืองจะถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์หรือหัวเอียงซ้าย และหน่วยสืบสวนของกรมตำรวจที่รับผิดชอบการปราบปรามผู้ไม่เห็นพ้องทางการเมืองก็คือ สันติบาล คำว่าสันติบาลนี้มีความหมายแปลตรงตัวก็คือ “กองกำลังรักษาสันติภาพ”
ง. ถ้าเช่นนั้น ประเทศไทยอยู่ตรงไหน? ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีการปกครองแบบอัตตาธิปไตยหรือเปล่า? เราเพิ่งมีการเลือกตั้งระดับชาติ และตอนนี้เรา (อาจ) มีนายกรัฐมนตรีหญิงจากการเลือกตั้ง ประชาชนส่งเสียงแล้ว! ผมขอแสดงความคิดเห็นสักหนึ่งหรือสองประเด็นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเมืองและวัฒนธรรมการเมืองของประเทศไทยก่อน การผสมพันธุ์ของระบอบอัตตาธิปไตยกับประชาธิปไตย หรือประชาธิปไตยกับอัตตาธิปไตย เป็นสิ่งที่หยั่งรากลึกในจิตสำนึกของชนชั้นนำไทย ไม่กี่วันก่อนการปฏิวัติ 2475 ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ รัชกาลที่ 7 เคยคิดจะประทานรัฐธรรมนูญ แต่เขากลับยึดติดอยู่กับความหวังว่าจะสามารถกระตุ้นชาวไทยให้สนับสนุนระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ รัชกาลที่ 7 กล่าวเช่นนี้ว่า “ประเทศของเราใช้ระบอบการปกครองแบบ ‘เผด็จการ’ แต่ระบอบของเราไม่เหมือนระบอบ ‘เผด็จการ’ อื่น ตรงกันข้าม ระบอบของเรามีลักษณะแบบ ‘ประชาธิปไตย’ หลายอย่าง ดังนั้น มันจึงน่าจะเป็นแบบครึ่งครึ่ง และเรายังไม่ได้ตัดสินใจว่าเราจะใช้ระบอบใด” นับแต่นั้นมา นักรัฐศาสตร์ไทยและตะวันตกก็เขียนกันเยอะแยะเกี่ยวกับ “ประชาธิปไตยครึ่งใบ” ในประเทศไทย อันที่จริง “ประชาธิปไตยครึ่งใบ” คือบทสรุปอย่างดีของสิ่งที่รัชกาลที่ 7 กล่าวไว้ หลังจากเวลาผ่านไปหลายทศวรรษ ไม่มีพัฒนาการที่ดีขึ้นมากนัก จนถึงตอนนี้มันถดถอยจนน่าจะเป็น “ประชาธิปไตยหนึ่งส่วนสี่ใบ” หรือน้อยกว่านั้นอีก ประวัติศาสตร์และเวลาที่ผันผ่านไปแค่ทำให้ทุกอย่างกลับตาลปัตร ราวกับต้องเปลี่ยนคำพูดเสียใหม่ว่า “ประเทศของเราใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย แต่มีลักษณะแบบเผด็จการหลายอย่าง” การมีใบหน้าสองแบบของเผด็จการผู้มีเมตตาหรือทรราชผู้รู้แจ้งยังคงมีอิทธิพลอย่างมากต่อนักคิดด้านการเมืองของไทย เฉกเช่นที่พวกเขาชอบตั้งข้อสงสัยต่อนัยสำคัญที่แท้จริงของการปฏิวัติ 2475 ผมเชื่อว่าเหตุผลหนึ่งที่ “การปฏิวัติ” เมื่อ พ.ศ. 2475 ถูกศึกษาอย่างกระพร่องกระแพร่งและมีการทำความเข้าใจกันน้อยมาก ก็เพราะความนิยมใน “ทรราชผู้รู้แจ้ง” ยังคงมีพลังอยู่ในวัฒนธรรมการเมืองไทยจนทุกวันนี้ คำว่า “เด็ดขาด” เป็นคำสำคัญคำหนึ่งในวัฒนธรรมการเมืองไทย มันสำคัญอย่างยิ่งที่ผู้นำไทยต้องเป็นคน “เด็ดขาด” ประชาชนไทยนิยมผู้นำที่เด็ดขาดเข้มแข็งมาตั้งแต่ทศวรรษ 1930 เมื่อลัทธิฟาสซิสต์กำลังเป็นที่นิยมในโลก ผู้นำไทยนิยมลัทธิฟาสซิสต์ของมุสโสลินีก็เพราะมันมีอุดมการณ์ต่อต้านคอมมิวนิสต์ คำๆ นี้ถูกใช้ในความหมายบวกในหนังสือพิมพ์ที่ออกในกรุงเทพฯ ในช่วงปลายทศวรรษ 1920 และต้นทศวรรษ 1930 ชีวประวัติของมุสโสลินีฉบับภาษาไทยได้รับการตีพิมพ์ใน พ.ศ. 2475 นั่นเอง แต่ไม่ใช่อุดมการณ์ของลัทธิฟาสซิสต์หรอกที่ผู้นำทางการเมืองไทยชื่นชอบจริงๆ สิ่งที่พวกเขาชื่นชอบคือบุคลิกภาพส่วนตัวของบุรุษเหล็กต่างหาก หรือไม่ก็รูปแบบที่เจือจางลงมาหน่อยของวีรบุรุษขี่ม้าขาว นี่คือสิ่งที่ดึงดูดใจผู้นำไทยและนักคิดทางการเมือง ผู้นำระดับโลกอย่าง เอมัน เดฟเลอรา, โจเซฟ สตาลิน, อดอล์ฟ ฮิตเลอร์, มหาตมะ คานธี, เยาวะหราล เนห์รู, เจียงไคเช็ก, เหมาเจ๋อตง และโจวเอินไหล ล้วนแล้วแต่ได้รับความสนใจ ทั้งๆ ที่มันเป็นรายชื่อที่พิลึกพิกลอย่างยิ่ง รวมไว้หมดตั้งแต่นักชาตินิยม นักคอมมิวนิสต์ นักสันติวิธี ไปจนถึงนักฟาสซิสต์ หลวงวิจิตรวาทการเขียนถึงคนเหล่านี้ด้วยความชื่นชมอย่างยิ่ง ในหนังสือชื่อ กุศโลบายสร้างความยิ่งใหญ่ ซึ่งตีพิมพ์ใน พ.ศ. 2495 รายชื่อบุคคลสำคัญที่รวบรวมไว้มีวีรสตรีหลายคน เช่น ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล, ซาร่าห์ เบิร์นฮาร์ท และเฮเลน เคลเลอร์ หลวงวิจิตรวาทการเขียนบทความหลายชิ้นและหนังสือหลายเล่มในแนววรรณกรรมว่าด้วยความสำเร็จ และชี้ให้ผู้อ่านเห็นว่าทำไมคนเหล่านี้จึงควรได้รับการชื่นชมในด้านจิตใจที่แข็งแกร่ง พลังของความมุ่งมั่น ความเชื่อมั่นในตัวเองและเจตจำนงที่เข้มแข็ง ความนิยมชมชอบในบุคคลที่มีเจตจำนงแข็งกล้า ซึ่งสามารถสั่นสะเทือนโลกได้ด้วยคำพูดและการกระทำ เป็นปรากฏการณ์ที่พบเห็นได้ทุกแห่ง ไม่เฉพาะในประเทศไทย เมื่อซิดนีย์ ฮุก สรรเสริญ “ผู้สร้างประวัติศาสตร์” ในหนังสือ The Hero in Historyซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกใน พ.ศ. 2486 เขานิยามอุดมคติของความเป็นผู้นำที่เป็นที่นิยมในหลายๆ ส่วนของโลก รวมทั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อุดมคติของบุคคลที่ยิ่งใหญ่แบบนี้มีอิทธิพลที่ยาวนานมากในประเทศไทย ระหว่างการประท้วงทางการเมืองในเดือนมีนาคม-เมษายน-พฤษภาคม พ.ศ. 2553 นักข่าวคนหนึ่งในเชียงใหม่เห็นรูปภาพของมหาตมะ คานธี, เนลสัน แมนเดลาและเช เกวารา ถัดจากภาพบุคคลเหล่านี้ก็คือภาพพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร! ถึงแม้ว่าบุคคลเหล่านี้ล้วนมีความโดดเด่นเหนือคนธรรมดา แต่การนำภาพผู้นำระดับโลกที่มีชื่อเสียงมาเรียงต่อกัน ชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่บุคคลเหล่านี้ได้รับความชื่นชมคือพลังอำนาจที่ไม่เกี่ยวกับศีลธรรม โดยไม่สนใจว่าพวกเขาเป็นตัวแทนของอุดมการณ์แบบใดบ้าง คนที่มีชื่อเสียงเหล่านี้มีบางสิ่งบางอย่างร่วมกัน นอกจากพลังอำนาจที่ไม่เกี่ยวกับศีลธรรมแล้ว พวกเขายังมีส่วนผสมประหลาดเหนือคำอธิบายที่เราเรียกในภาษาอังกฤษว่า charisma [อย่าแปลว่า “บารมี” ทับศัพท์ภาษาอังกฤษดีกว่า] ซึ่งทำให้คนเหล่านี้กลายเป็นผู้นำตามธรรมชาติ เมื่อพิจารณาภูมิทัศน์ทางสังคม-การเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากมุมกว้าง ผมไม่คิดว่าลัทธิฟาสซิสต์ช่วยให้เราเข้าใจผู้นำแบบทหารในประเทศไทย อันที่จริงบุคลิกภาพของผู้นำที่ผู้สันทัดกรณีบางคนอยากติดป้ายฉลากว่าเป็นฟาสซิสต์นั้น หากใช้คำนิยามอื่นกลับช่วยให้เข้าใจได้ดีกว่า ในประเทศไทย ผู้นำที่เข้มแข็ง และหากจำเป็นก็ติดอาวุธรถถังกับปืนมาด้วยนั้น ได้รับความนิยมพอๆ กับเป็นที่ชิงชัง นอกจากนี้ความเป็นผู้นำที่เข้มแข็งแบบไทยๆ ยังมีองค์ประกอบความเชื่อแบบพุทธศาสนาที่เห็นได้ชัดด้วย ผู้นำที่เข้มแข็งไม่ว่าจะมีหรือไม่มีภูมิหลังมาจากกองทัพหรือตำรวจ มักมีความประพฤติแบบนักพรต และได้รับชื่นชมจากความมีวินัยและอำนาจในการควบคุมตัวเอง นายกรัฐมนตรีหลายคนและอีกหลายคนที่อาจได้เป็นนายกรัฐมนตรีมีบุคลิกที่สอดคล้องกับคำนิยามนี้ คอลัมน์นิสต์ในประเทศไทยคนหนึ่งที่ใช้นามปากกาว่า “ช้างน้อย” นิยามบุคลิกภาพของผู้นำแบบนี้ว่าเป็นส่วนผสมของนักบวชกับเจ้าพ่อ นักพรตกับบุรุษเหล็กในคนคนเดียว ซึ่งแน่นอนว่าต้องเป็นผู้ชาย ประธานองคมนตรีคนปัจจุบัน พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นตัวอย่าง พลตรีจำลอง ศรีเมือง แกนนำเสื้อเหลือง เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง เราจะเข้าใจผู้นำแบบนี้ได้ดีขึ้น ถ้าลองเปรียบเทียบกับแนวคิดของ “ผู้ยิ่งใหญ่” ในส่วนอื่นของโลก รวมทั้งในรัฐชาติต่างๆ แถบมหาสมุทรแปซิฟิก ในวัฒนธรรมการเมืองอุษาคเนย์ “ผู้ยิ่งใหญ่” ถูกเรียกว่า “ผู้มีบุญญาบารมี” (man of prowess) “ผู้ยิ่งใหญ่” ยืนยันสิทธิในอำนาจของตนจากการกระทำ ไม่ใช่จากเชื้อสาย ในอาณาจักรยุคก่อนสมัยใหม่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่มีกฎหมายการสืบทอดอำนาจให้บุตรคนหัวปี การชิงบัลลังก์จึงเกิดขึ้นบ่อย พี่น้องคนละแม่หรือลูกพี่ลูกน้องในสังคมหลายผัวหลายเมียมักชิงดีชิงเด่นกันเพื่ออ้างสิทธิ์ในบัลลังก์ โดยอ้างเรื่องเชื้อสายฝ่ายพ่อหรือฝ่ายแม่มารองรับการอ้างสิทธิ์ของตน ผู้มีบุญญาบารมีจะตกรางวัลให้บริวารของตนด้วยที่ดินหรือศักดินาอำนาจเหนือบ่าวไพร่ เขาใจกว้างในการให้รางวัลและไม่ปรานีผู้ที่ชักช้าในการแสดงความจงรักภักดี เช่นเดียวกับผู้ยิ่งใหญ่ในหมู่เกาะเมลาเนเชีย ผู้ปกครองขยายขอบเขตอำนาจและสร้างเครือข่ายนอกเหนือท้องถิ่นด้วยการแสดงความใจกว้าง โดยคำนวณแล้วว่าจะดึงดูดผู้สนับสนุนให้จงรักภักดีได้ พวกเขาแจกจ่ายลาภที่ได้มาจากการค้าหรือการปล้นให้แก่บริวารหรือผู้ติดตามของตน ในโลกทุกวันนี้แทนที่จะพูดถึงการค้าหรือการปล้น ลองนึกถึง “การตกลงทางธุรกิจ” แทนที่จะพูดถึงบริวารหรือผู้ติดตาม ลองนึกถึง “พรรคการเมือง” จารีตแบบนี้ช่วยอธิบายพฤติกรรมในปัจจุบัน รวมทั้งการสร้างฐานเสียงทางการเมืองด้วยการซื้อเสียงในการเลือกตั้งระดับชาติ ในวิถีทางแบบนี้ ผู้นำสามารถสั่งสมทุนทางสังคมและขยายอิทธิพลของตนเองได้ “การแจกจ่ายลาภ” สามารถนำมาใช้อธิบายนโยบายของรัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร เช่น โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค และกองทุนหมู่บ้านละล้าน กล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคและกองทุนหมู่บ้านละล้าน ไม่ใช่นโยบายของรัฐบาล แต่เป็นการแจกจ่ายรางวัลเพื่อสร้างฐานเสียงทางการเมืองมากกว่า “ผู้ยิ่งใหญ่” อาจครองอำนาจชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่ก็มี “ผู้ยิ่งใหญ่เล็กๆ” อยู่ทั่วไปที่ต้องการเข้ามาชิงอำนาจ “ผู้ยิ่งใหญ่เล็กๆ” เหล่านี้พยายามเพิ่มพูนความเหี้ยมหาญของตนด้วยการแข่งขันกันเอง ในท้ายที่สุด พวกเขาต้องการท้าทาย “ผู้ยิ่งใหญ่” ที่ประสบความสำเร็จแล้ว ในสมัยปลายยุคอาณานิคมในคาบสมุทรอุษาคเนย์ การปฏิวัติมักนำโดย “ผู้ยิ่งใหญ่เล็กๆ” ในประเทศไทย เราเรียกบุคคลเหล่านี้ว่า “ผู้มีบุญ” การกบฏของผู้มีบุญคือรูปแบบดั้งเดิมของลัทธิประชานิยม ซึ่งมีผู้นำเป็นผู้มีบุญญาบารมีที่ถูกผลักไสไปอยู่ชายขอบโดยรัฐเจ้าอาณานิคม ไม่ว่าเจ้าอาณานิคมนั้นจะเป็นตะวันตก (เช่น ในลาว กัมพูชา พม่า) หรือเป็นคนท้องถิ่น (เช่น ประเทศไทย) เวทมนตร์คาถา เครื่องรางของขลังและชื่อเสียงในด้านอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ช่วยดึงดูดและระดมผู้สนับสนุน ในประเทศไทยยุคสมัยใหม่ ผู้มีบุญญาบารมีอาจเป็นนายพลระดับสูงที่ไต่เต้าขึ้นมา ได้เป็นนายกรัฐมนตรีและรับใช้ระบอบกษัตริย์ได้อย่างโดดเด่น หรือเขาอาจเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จสร้างตัวได้จากการขายอุปกรณ์โทรคมนาคมให้หน่วยงานความมั่นคง ไม่ว่ามันจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นรูปแบบไหนในยุคสมัยใหม่ การปกครองระบอบอัตตาธิปไตยในประเทศไทยทุกวันนี้มีรากเหง้ามาจากรูปแบบเศรษฐกิจการเมืองดั้งเดิมของชนชั้นนำ รูปแบบดั้งเดิมนิยมยกย่องคนที่สามารถใจกว้างและใจดำได้พร้อมกัน เขาสามารถให้รางวัลผู้สนับสนุนและลงโทษคู่อริกับคู่แข่งได้อย่าง เด็ดขาด ความนิยมที่มีต่อผู้นำแบบนี้ยังมีอยู่อย่างไม่เสื่อมคลายในภูมิภาคนี้ มันเป็นสิ่งที่เราไม่ควรประเมินต่ำเกินไป มันยังมีอิทธิพลอย่างมากในปัจจุบัน
จ. หากผู้นำแบบข้างต้นเป็นปทัสฐานในภูมิภาคนี้ มันมีผลอย่างไรต่อการทำความเข้าใจรัฐ? ผมอยากย้อนกลับไปที่ประเด็นแรกที่กล่าวถึงเมื่อตอนต้น นั่นคือความจำเป็นในการเข้าใจ “รัฐไทย” รัฐไทยคืออะไร? รัฐไทยเป็นอย่างไรจริงๆ? ถ้าเราจะวาดเป็นภาพให้เห็นหน้าตาของมันจะออกมาแบบไหน? ใครเป็นตัวแทนของรัฐไทย? ใครหรืออะไรที่กระทำโดยมีรัฐคอยหนุนหลัง? หน่วยต่างๆ มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันอย่างไร? นายกรัฐมนตรีเป็นจุดศูนย์กลางหรือเปล่า? กษัตริย์เป็นจุดศูนย์กลางหรือเปล่า ในเมื่อกษัตริย์เป็นประมุขของรัฐ?
[หมายเหตุ: ส่วนต่อจากนี้อาจเข้าใจยากหากไม่ได้ฟังคำบรรยาย ภาพสไลด์ประกอบสี่ภาพจะช่วยให้ประเด็นหลักชัดเจนยิ่งขึ้น] (ภาพสไลด์ที่ 1) โครงสร้างของรัฐบาลไทย ลดทอนให้ดูง่ายๆ ลืมเรื่องโครงสร้างของรัฐบาลไปก่อน ลืมเรื่องสภานิติบัญญัติ รัฐสภา นายกรัฐมนตรี ตุลาการไปก่อน ลองนึกภาพรัฐไทยเป็นปมพัวพันยุ่งเหยิงของความสัมพันธ์ ความเป็นพันธมิตรและการต่อสู้แข่งขันระหว่างศูนย์กลางอำนาจหลายศูนย์ ซึ่งมักชิงดีชิงเด่นกันเอง ลองวาดภาพต่อไปถึง jungle gym ที่เคยเห็นในสนามเด็กเล่น (ภาพสไลด์ที่ 2) ซึ่งจุดเชื่อมโยงไม่ได้เกิดจากเชือก แต่เกิดจากสายเคเบิลที่ถักร้อยกันอย่างซับซ้อนและมารวมกันที่จุดเชื่อมต่างๆ (ภาพสไลด์ที่ 3) จุดต่างๆ ที่สายเคเบิลมาเชื่อมกันคือชุมทาง (nodes) ของอำนาจ สถาบันต่างๆ เช่น รัฐสภา กรมตำรวจที่มีหลายก๊กหลายเหล่า กองทัพที่มีหลายก๊กหลายเหล่า สำนักนายกรัฐมนตรี กลุ่มเครือข่ายธุรกิจ หน่วยงานราชการ เช่น กระทรวงมหาดไทยหรือกระทรวงการต่างประเทศ หรือกรมกองแผนกต่างๆ และพระราชวัง (ที่มีหลายวัง) แต่ละจุดเชื่อมโยงหรือชุมทางอำนาจอาจมีอิสระในตัวเองอย่างมาก มันอาจดำเนินการโดยไม่มีใครสั่งหรือขอให้ทำงานวิชาการเกี่ยวกับ “ชุมทางอำนาจการปกครอง” ในแบบต่างๆ ชี้ให้เห็นว่ามโนทัศน์เกี่ยวกับรัฐในลักษณะนี้เป็นสิ่งที่แพร่หลายในโลกปัจจุบัน มีกิจกรรมการปกครองรูปแบบต่างๆ เกิดขึ้นนอกรัฐ รวมทั้งมีลักษณะแบบพหุนิยมและอัตตาณัติที่ไม่ได้วางแผนหรือคาดการณ์ไว้หรือได้รับมอบหมายอำนาจให้กระทำ ทุกคนต่างก็ปรารถนาที่จะเข้าใกล้อำนาจ ไม่ว่าอำนาจนั้นอยู่ที่ไหน รวมทั้งเสาะหาหนทางเข้าถึงผลกำไร กลุ่มคนที่ปรารถนาอำนาจและผลกำไรจำต้องมีความยืดหยุ่นและสามารถหันเหทิศทางได้อย่างรวดเร็วเมื่อเงื่อนไขต่างๆ เปลี่ยนไป นี่คือเหตุผลที่จิตวิญญาณแบบผู้ประกอบการที่กล้าได้กล้าเสียจึงได้รับการยกย่องอย่างสูงในรัฐไทย คนไทยต้องรู้จักปรับตัวอย่างฉับพลันในสภาพการณ์ที่ผันแปร เช่นเดียวกับธุรกิจที่ต้องรู้จักยืดหยุ่นและปรับตัวอย่างรวดเร็วต่อความเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจหรือตลาด อันที่จริงแล้วมีชุมทางอำนาจจำนวนมากที่ทำงานเหมือนองค์กรธุรกิจ เช่น บริษัท ทักษิณ จำกัด, บริษัท กองทัพบก จำกัด, บริษัท พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ จำกัด ฯลฯ ในขณะเดียวกัน ความหวั่นเกรงว่าคนอื่นจะมีปฏิกิริยาอย่างไร ณ จุดเชื่อมโยงอำนาจจุดอื่นๆ คือสิ่งที่สกัดขัดขวางการกระทำที่บุ่มบ่ามและอาจชะลอการตัดสินใจให้ช้าลง ระบบนี้มีลักษณะบางอย่างที่จงใจทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างชะลอลง ความยืดหยุ่นและการปรับตัวมีความสำคัญก็จริง แต่ความระมัดระวัง ความสุขุมรอบคอบและความผ่อนหนักผ่อนเบาก็จำเป็นเท่าๆ กัน เพื่อให้การอุปมานี้เห็นภาพมากขึ้น ลองวาดภาพว่าจุดที่เป็นรอยต่อ/ชุมทางอำนาจเป็นสิ่งมีชีวิต มันสามารถแพร่พันธุ์/ผลิตซ้ำตัวเองได้ ราชวงศ์/สถาบันสูงสุดไม่ใช่ชุมทางอำนาจเดียวที่สามารถสืบทอดลูกหลาน กองทัพ กรมตำรวจ บรรษัทธุรกิจที่มีสายใยเชื่อมโยงกับชุมทางอำนาจก็สามารถสืบทอดลูกหลานของตัวเองได้เช่นกัน ชุมทางหรือจุดเชื่อมโยงเหล่านี้ผูกพันกันอย่างไร? อะไรที่แล่นกลับไปกลับมาไปตามสายเคเบิลที่เชื่อมระหว่างจุดเชื่อมโยงต่างๆ? ต่อไปนี้คือบางตัวอย่างของสิ่งที่เคลื่อนไหวไปตามสายเคเบิลที่เชื่อมชุมทางอำนาจปกครอง -สิ่งของ โดยเฉพาะของมีค่าทางวัตถุ การบริจาคและของขวัญ (จากบนสู่ล่างและจากล่างสู่บน) การแจก การจ่าย ค่าจ้าง เงินสินบน วัตถุที่เป็นแรงจูงใจให้ดำเนินการลุล่วง -ข้อมูลและ “ข่าววงใน” ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจและเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง ความลับ การเปิดโปงอย่างแนบเนียน คำเตือนและการบอกใบ้ บางครั้งก็จริงบางครั้งก็หลอกเกี่ยวกับการพัฒนาที่กำลังจะเกิดขึ้น โอกาสที่กำลังจะมาถึงและไม่ใช่แค่โอกาสทางการค้าเท่านั้น ความรู้ทุกประเภท กล่าวกันว่าข่าวลือคือความรู้ของผู้ไร้อำนาจ แต่ในรัฐไทยข่าวลือมีความสำคัญในการเคลื่อนไหวผลักดันระหว่างชุมทางต่างๆ -คำสั่งและข้อเรียกร้อง คำขอร้องเร่งด่วนที่เรียกร้องการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว การอ้อนวอนขอให้ช่วย หนี้บุญคุณ ข้อผูกมัด ข้อตกลง ความเข้าใจต่อกันทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ สัญญาบางครั้งอาจต้องการลายลักษณ์อักษร แต่บางครั้งเพียงแค่ยกหูโทรศัพท์ไปหาก็พอแล้วต่อการทำให้บางอย่างลุล่วง -ในทางตรงกันข้าม อะไรก็ตามที่เคลื่อนไหวอยู่ระหว่างจุดเชื่อมโยงก็อาจเผชิญแรงต้านทานได้ ทั้งความไม่พอใจ การขัดขืน การขัดขวาง หรือการปฏิเสธตรงๆ ความอิจฉาริษยาและความไม่ไว้วางใจเป็นแรงผลักดันการกระทำ การบิดเบือนข้อมูลและความไม่ลงรอยสามารถรักษาความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นไว้ได้ -ความสัมพันธ์ระหว่างชุมทางอำนาจอาจเป็นสายเลือดหรือการแต่งงาน หรือเส้นสายที่เกิดจากโรงเรียน มหาวิทยาลัย เพื่อนร่วมรุ่นหรืออยู่หน่วยเดียวกันในกองทัพ มิตรภาพ ความเป็นเพื่อนและความภักดีที่เกิดจากวิถีชีวิตและการทำงานร่วมกัน ข้อผูกมัดของการต่างตอบแทนและการช่วยเหลือกันที่เกิดมาจากความเชื่อมโยงเหล่านี้ -การรวมศูนย์อำนาจที่ชุมทางต่างๆ จะแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงประวัติศาสตร์ พลวัตและความเคลื่อนไหว across the CJG ช่วยให้รัฐไทยสามารถแก้ไขตัวเองได้ในยามที่มีความตึงเครียดหรือความขัดแย้งมากเกินไป หรือเมื่ออำนาจถูกรวมศูนย์มากเกินไป ดังเช่นที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2548-2549 จนนำไปสู่การรัฐประหารในเดือนกันยายน 2549 การวิเคราะห์ในที่นี้มีส่วนคล้ายกับทฤษฎีระบบและรูปแบบโครงสร้าง-หน้าที่ ซึ่งนักทฤษฎีรัฐสมัยใหม่ละทิ้งกันไปนานแล้ว แต่ในที่นี้มันมีประโยชน์ที่เราจะนำโมเดลโครงสร้าง-หน้าที่มาใช้อธิบาย การรัฐประหารเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2534 และการรัฐประหาร 2549 สร้างความประหลาดใจแก่ผู้สันทัดกรณีทุกคน ทั้งนักข่าว นักวิชาการ รวมทั้งนักวิชาการชาวไทยเอง และนักวิเคราะห์ด้านความมั่นคง ต่างพากันยอมรับว่าเหมือนถูกปลุกให้ตกใจตื่น ความคาดไม่ถึงนี้มีสาเหตุอยู่ CJG/รัฐไทยเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ด้วยภาษาที่ใช้อธิบายในปัจจุบัน แว่นที่เราใช้มองรัฐไทยต้องเปลี่ยนเลนส์เสียใหม่ ในขณะนี้เรายังไม่ปรับโฟกัสและภาพทุกอย่างยังเบลออยู่ ภาพของรัฐไทยที่วาดให้เห็นนี้นำเสนอความเข้าใจถึงสิ่งที่ดำเนินไปตามความเป็นจริงมากขึ้น เราสามารถพูดถึงไม่เพียงแค่เครือข่ายสถาบันกษัตริย์ แต่สามารถพูดถึงเครือข่ายกรมตำรวจ เครือข่ายกองทัพ เครือข่ายกระทรวงมหาดไทย เครือข่ายนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี เครือข่ายผู้พิพากษา ทำไมปมอันยุ่งเหยิงของชุมทางอำนาจเหล่านี้จึงยังคงมีอำนาจนำอยู่? ก็เพราะมันเป็นระบบที่ผลิตศูนย์กลางการปกครองที่มีหลายศูนย์ แต่ละศูนย์ก็มีอัตตาธิปไตยของตัวเอง ปมอันยุ่งเหยิงนี้ยังมีอำนาจนำ ก็เพราะมันเป็นการคานอำนาจในระบอบอัตตาธิปไตย เราต้องการผู้นำที่เข้มแข็ง แต่เราไม่ต้องการผู้นำที่เข้มแข็ง หากเขา (หรือเธอ หรือเธอที่เป็นตัวแทนของเขา) ควบคุมชุมทางอำนาจมากเกินไป ถ้ามีการควบคุมมากเกินไป ถ้ามีการตัดสินใจอย่างเด็ดขาดมากเกินไป ระบบจะสูญเสียสมดุล คนจำนวนมากจะรู้สึกสั่นคลอนเมื่อมันเกิดขึ้น (ภาพสไลด์ที่ 4 เมื่อทักษิณอยู่ในอำนาจ)
ฉ. ข้อสรุป โดยส่วนตัวแล้วผมเป็นคนมองโลกในแง่ดี ผมมักเชื่อว่าสิ่งต่างๆ จะดีขึ้น ผมตื่นนอนทุกเช้าพร้อมกับความคิดว่าวันนี้ต้องเป็นวันดี ถึงแม้ผมมีเรื่องต้องกังวล เช่น การเขียนร่างคำบรรยายครั้งนี้ วันนี้อากาศน่าจะดีกว่าเมื่อวาน หนังสือเล่มต่อไปที่ผมอ่านน่าจะบอกอะไรบางอย่างที่ผมกำลังพยายามทำความเข้าใจเพื่อใช้ในโครงการวิจัยของผม ในการเลือกตั้งคราวหน้า เราน่าจะมีนายกรัฐมนตรีที่ดีกว่าคนก่อน นายกรัฐมนตรีคนต่อไปก็ต้องดีกว่าเพราะคนก่อนมันแย่มาก อ่อนแอ ไม่กล้าตัดสินใจ ไม่เด็ดขาด แต่สำหรับการเมืองไทย ผมกลับมองโลกในแง่ร้าย ผมไม่มีข้อเสนอแนะสำหรับทางออก (ข้อเสนอทางออกที่เป็นไปได้สำหรับสังคมไทย) อะไรต่ออะไรไม่มีทางดีขึ้นอีกยาวนาน ทั้งนี้เพราะจารีตอัตตาธิปไตยนี้ฝังแน่นอยู่กับเรามานานเหลือเกิน และเพราะศูนย์กลางอำนาจหลายๆ ศูนย์ที่ก่อรูปขึ้นเป็นรัฐไทยนั้น ต่างก็สามารถดำเนินการเป็นเอกเทศของตัวเอง ผมไม่คิดว่าการก้าวไปข้างหน้าจะเกิดขึ้นได้แม้แต่ก้าวเดียวก็เป็นไปไม่ได้ จนกว่าเราจะเข้าใจว่าความเป็นจริงคืออะไรในภูมิภาคที่แวดล้อมประเทศไทย รวมทั้งในประเทศไทยเอง ทุกหนแห่งมีแต่การปกครองแบบอัตตาธิปไตย และประชาชนก็ต้องการมันหรือมีมันอยู่แล้ว หรืออยากมีและไม่ยอมสลัดมันทิ้งไป หมายเหตุ: [1] ผมค้นดูในหนังสือเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของ David Streckfuss, Truth on Trial in Thailand (Routledge 2011) เพื่อดูว่าประเทศไทยสร้างหรือได้รับสืบทอดกฎหมายความมั่นคงภายในมาจากไหน แต่ผมไม่พบข้อสรุปที่ชี้ชัดเจน หลังสงครามโลกครั้งที่สอง กฎหมายความมั่นคงภายในของไทยได้รับแรงบันดาลใจจากกฎหมายต่อต้านคอมมิวนิสต์ ผมค้นดูในหนังสือของ ธานินทร์ กรัยวิเชียร, การใช้กฎหมายป้องกันคอมมิวนิสต์ (1974) แต่ก็ค้นไม่พบเช่นกันว่ากฎหมายนี้มีต้นตอมาจากไหน สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น