โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

พระราชาซาอุฯ เรียกฑูตกลับ ประท้วงซีเรียปราบผู้ชุมนุม

Posted: 08 Aug 2011 02:01 PM PDT

8 ส.ค. 2011 สำนักข่าวเดอะการ์เดียนของอังกฤษรายงานว่า พระราชาอับดุลลาของซาอุดิอารเบียเรียกร้องให้มีการยุติการนองเลือดในซีเรีย และเรียกตัวเอกอัครราชฑูตของตนกลับจากซีเรีย ซึ่งถือเป็นกรณีที่เกิดขึ้นน้อยครั้งมากที่ผู้นำที่มีอำนาจที่สุดในกลุ่มโลกอาหรับจะออกมาแทรกแซงประเทศในกลุ่มโลกอาหรับด้วยกันเอง

"สิ่งที่เกิดขึ้นในซีเรียนั้นเป็นเรื่องที่ซาอุดิอารเบียรับไม่ได้" พระราชาอับดุลลากล่าวในแถลงการณ์ผ่านสถานีโทรทัศน์ อัล อาราบิยา ซึ่งเดอะการ์เดียนเผยว่า เป็นคำวิจารณ์ที่แหลมคมที่สุดของผู้นำประเทศอุตสาหกรรมน้ำมันยักษ์ใหญ่ผู้เคยแบนศัตรูทางการเมืองของตัวเองมาก่อน และเป็นครั้งแรกที่มีการออกมาวิจารณ์ประเทศอาหรับนับตั้งแต่มีการประท้วงลุกฮือต่อเนื่องในหมู่ประเทศตะวันออกกลาง ซึ่งทำให้รัฐบาลเผด็จการของตูนีเซียและอิยิปต์ถูกโค่นล้ม

พระราชาอับดุลลายังกล่าวอีกว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในซีเรียนั้นไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับศาสนา ค่านิยม หรือเชื้อชาติ

การปราบปรามประชาชนผู้ประท้วงของประธานาธิบดี บาชาร์ อัล-อัสซาด กลายเป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงที่สุดเหตุการณ์หนึ่งในหมู่มวลการลุกฮือของกลุ่มประเทศโลกอาหรับ

ฝ่ายนักกิจกรรมกล่าวว่า กองทัพใช้รถถังเข้าโจมตีเมือง ดิแอร์ อัล-ซอร์ ทางภาคตะวันออก ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายสิบคน เมื่อสัปดาห์ก่อนมีประชาชนล้มตายเป็นจำนวนมากจากการล้อมปราบในเมืองฮามา โดยมียอดผู้เสียชีวิตถึงพันคน

ฝ่ายรัฐบาลอัสซาดบอกว่า เป็นการต่อสู้กับกลุ่มอาชญากรและกลุ่มติดอาวุธหัวรุนแรงที่ยั่วยุด้วยการโจมตีฝ่ายทหารก่อน ขณะที่ฝ่ายนักกิจกรรมและประเทศโลกตะวันตกบอกว่า เจ้าหน้าที่ของอัสซาดโจมตีผู้ที่ชุมนุมประท้วงอย่างสงบ

"ซีเรียควรคิดตรึกตรองให้ดีกก่อนที่มันจะสายเกินไป และสั่งให้มีการปฏิรูปที่ไม่ใช่แค่การให้สัญญา แต่เป็นการปฏิรูปจริงๆ" พระราชาของซาอุฯ กล่าว "ควรจะเลือกว่าจะใช้ปัญญาของตนเองหรือจะถูกดึงลงไปสู่ก้นบึ้งของความวุ่นวายและความสูญเสีย"

กลุ่มสันนิบาตชาติอาหรับก็ออกมาเรียกร้องให้ทางการซีเรียหยุดกระทำรุนแรงต่อประชาชน ซึ่งเป็นหนึ่งในน้อยครั้งที่มีการออกมาตอบโต้เช่นนี้ แม้ว่าประเทศอาหรับหลายประเทศจะร่วมกับกลุ่มประเทศตะวันตกในการต่อต้านมุมมาร์ กัดดาฟี่ ของลิเบีย แต่ผู้นำในกลุ่มภูมิภาคนี้ต่างก็ระวังในการวิพากษ์วิจารณ์ผู้นำประเทศอาหรับด้วยกันในช่วงที่มีการประท้วง

ก่อนหน้านี้ในเดือนมีนาคม พระราชาอับดุลลาได้ส่งกองกำลังเข้าไปช่วยประเทศบาห์เรนเพื่อปราบปรามผู้ชุมนุมต้านรัฐบาล และเจ้าหน้าที่ของซาอุฯ ก็ได้วิจารณ์การดำเนินคดีกับอดีตผู้นำฮอสนี มูบารัคของอิยิปต์

ซาอุดิอารเบียยังเคยทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยให้กับประเทศเยเมน และให้การต้อนรับประธานาธิบดี อาลี อับดุลลา ซาเลห์ ของเยเมนผู้ที่เดินทางไปซาอุฯ เพื่อรักษาบาดแผลจากการถูกระเบิดหลังจากที่การประท้วงในเยเมนลุกลามเป็นความขัดแย้งอย่างเปิดเผย

ที่มา
Saudi king recalls ambassador and demands end to Syria bloodshed, The Guardian, 08-08-2011
http://www.guardian.co.uk/world/2011/aug/08/saudi-king-ambassador-syria?CMP=OTCNETTXT8103 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สัมภาษณ์: อ้อมแก้ว เวชยชัย ‘สีไม่ได้แบ่งแยกเรา’

Posted: 08 Aug 2011 01:47 PM PDT

คงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่ลูกสาวของนักการเมืองสักคนจะลุกขึ้นมาจัดกิจกรรมสักอย่าง หากเราไม่พบว่ามีชื่อของ ‘น้องเอม’ จารี ปิ่นทอง บุตรสาวสุดหวงของ ‘เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง’ รวมอยู่ด้วย และยังมีลูกนักการเมือง ไฮโซสกุลดังต่างขั้วร่วมอยู่ในคณะเจ้าภาพด้วย

“หากการเมืองเรื่องของสีเป็นหนึ่งในต้นเหตุที่ก่อให้เกิดการแบ่งแยกแตกขั้วขึ้นในประเทศไทย แล้วทำไมเราไม่มาร่วมใจใช้สีที่เคยแบ่งแยกเยาวชนไทยให้ กลับมาเป็นหนึ่งเดียว และสร้างรอยยิ้มขึ้นอีกครั้ง” นี่คือประโยคใบเปิดงานกิจกรรมทางศิลปะ ‘ร่วมแรง ร่วมใจให้เมืองไทยในฝัน’ ของคณะเจ้าภาพซึ่งล้วนเป็นศิษย์เก่าขององค์กรสหสากลวิทยาลัย (United World College) หรือ UWC ซึ่ง ‘อ้อมแก้ว เวชยชัย’ บุตรสาวคนโตของ‘ภูมิธรรม เวชยชัย’ อดีตรัฐมนตรีคมนาคม นักการเมืองในบ้านเลขที่ 111 ของอดีตพรรคไทยรักไทยเป็นหนึ่งในนั้น

คงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่ลูกสาวของนักการเมืองสักคนจะลุกขึ้นมาจัดกิจกรรมสักอย่างเพื่อแสดงออกซึ่งสถานะทางสังคม หากเราไม่พบว่ามีชื่อของ ‘น้องเอม’ จารี ปิ่นทอง บุตรสาวสุดหวงของ ‘เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง’ ไม้เบื่อไม้เมาของระบอบทักษิณและพวกรวมอยู่ด้วย และยังมีลูกนักการเมือง ไฮโซนามสกุลดังซึ่งที่จุดยืนทางการเมืองตามความรับรู้ของผู้คน (ที่สนใจ) ต่างขั้วต่างความคิดกันร่วมอยู่ในคณะเจ้าภาพด้วย
 
งานจัดขึ้นในวันพุธ ที่ 10 สิงหาคม 25541 นี้ เวลา 16.00-22.00 น. ที่ Re-Café ซอยมหาดเล็กหลวง1 ราชดำริ พร้อมๆ กับคำถามที่เกิดขึ้นมากมายจากคนที่ทราบข่าว
 
อ้อมแก้ว หรือ ‘ฝ้าย’ บุตรสาวคนโตของอดีต ‘สหายใหญ่’ แห่งสำนัก เอ.30 นั่งอยู่ตรงหน้าเพื่อรอตอบคำถามอยู่แล้ว
 
0 0 0
 
งานนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร?
เริ่มจากตัวพวกเรากลุ่มหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่เป็นอดีตนักเรียนทุนของ UWC ซึ่งเป็นทุนที่ทาง ก.พ.จัดสรรให้ เรามีความหลากหลายมาก งานนี้จึงรวมคนหลายคนที่มี ทั้งปรัชญาทางการเมือง ไม่อยากให้เห็นงานเป็นการเคลื่อนไหวทางการเมือง อยากให้งานออกมาในทางศิลปะมากกว่า 
 
จริงๆ แนวความคิดเรื่องการยอมรับความแตกต่างนี้เราได้มาจากโรงเรียน UWC ซึ่งสอนเราดีมากทีเดียว เพราะโรงเรียนแต่ละที่นี้ เป็นการคัดเลือกคนจากหลายประเทศ ประเทศละคนหรือสองคนมาใช้ชีวิตอยู่ในโรงเรียนด้วยกัน และแต่ละคนมีความแตกต่างกันมาก บางคนไม่ชอบอเมริกา มากก็สามารถมานอนอยู่ร่วมห้องกันกับเพื่อนนักเรียนจากอเมริกา มีคนปาเลสไตน์กับคนยิวจากอิสราเอลมาใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันนั่งเรียนในห้องเดียวกัน มีคนอินเดียกับปากีสถาน มาอยู่ร่วมด้วยกัน ซึ่งมันสอนให้เราต้องอยู่รวมกันให้ได้ แม้ว่าจะเกลียดชังกันมาก่อน มีความคิดทางการเมืองที่ไม่เหมือนกัน หรือสภาพสังคมที่แตกต่างกัน
 
การแตกต่างทางความคิดสำหรับฝ้าย เราต้องยอมรับกันและกันให้ได้ ยิ่งพอมันเป็นเรื่องการเมืองไทย สีมันไม่ควรแบ่งแยกเราออกจากกัน ความเป็นมิตร ความเป็นเพื่อนมันยังคงอยู่
 
ส่วนรายละเอียดในงานก็คงให้ทุกคนที่มาร่วมได้แสดงออกในการสร้างงานศิลปะ ศิลปะตามความคิดของเขาเลย เรามีกระดาษ มีเฟรมกับสีให้ ใครอยากทำอะไรก็ทำได้เลย มีอิสระเต็มที่
 
ที่บอกว่า ยอมรับกันได้ เป็นการยอมรับกันได้ในจุดไหน?
ยอมรับในความเป็นมนุษย์ของเขา ยอมรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง การเมืองมันเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก เราเป็นคนรุ่นใหม่ ไม่ได้อยู่ในกลุ่มโครงสร้างอำนาจไหน สิ่งที่เราต้องการคือให้คนเข้าใจว่าการที่คนมีความคิดทางการเมืองที่แตกต่างกัน ไม่ได้หมายความว่าเขาผิดหรือเราถูก แต่ละคนมีสิทธิโดยพื้นฐานที่จะคิด บนฐานอุดมการณ์และความเชื่อของตัวเอง   
อย่างฝ้ายเป็นเพื่อนกับเอม ก็ไม่ได้คิดว่าทำไมเอม (จารี ปิ่นทอง) ถึงคิดไม่เหมือนเรา หรือทำไมเราไม่คิดเหมือนเอม ก็เพราะว่าเราคิดไม่เหมือนกัน แต่เรามีความสัมพันธ์ในเชิงมิตรภาพด้วยกันมาก่อน เราก็ไม่เอาความเห็นทางการเมืองมาตัดสิน
 
ที่บอกว่าไม่อยู่ในกลุ่มอำนาจมันขัดกับข้อเท็จจริงหรือเปล่าว่าเราเป็นลูกนักการเมือง?

ลักษณะที่เราจะทำไม่ได้อยากทำบนพื้นฐานของ การแสดงสถานะทางสังคม แต่เราอยากทำเพื่อให้มันเกิดแรงกระเพื่อมในสังคมบางอย่าง จุดประสงค์เราเพื่อต้องการให้เกิดสิ่งดีๆ กับสังคมนี้ ก่อนหน้านี้ก็เคยจัดกิจกรรมกับศิษย์เก่า UWC แต่เป็นเรื่องของการศึกษา นี่เป็นครั้งแรกที่จัดในเรื่องที่ที่เอาความเห็นทางการเมืองมาแสดงออกในรูปแบบศิลปะกัน
 
การเป็นลูกนักการเมืองก็น่าจะเจอคำถามว่าทำไมไม่หาอะไรอย่างอื่นทำที่มันสบายกว่านี้?
ฝ้ายเป็นลูกนักการเมืองซึ่งครอบครัวนักการเมืองจริงๆ ก็ไม่ได้แตกต่างอะไรจากครอบครัวอื่น ฝ้ายโตขึ้นมาตอนพ่อเป็น NGO ไม่ใช่นักการเมือง แม่เป็นนักสังคมสงเคราะห์วิชาชีพ ยังไม่มีตำแหน่งทางการเมืองใดๆ ทั้งสิ้นเพราะฉะนั้น จึงไม่ได้เกิดมาสบายเลย เราผ่านชีวิตที่เห็นพ่อทำงานกับชาวบ้านคนยากคนจนมา และพ่อก็สอนเราในเรื่องของจิตอาสา จิตสาธารณะ ที่ฝ้ายเป็นนี่จึงเป็นตัวตนของฝ้ายจริงๆ ฝ้ายก็คิดและเชื่ออย่างนั้น เราโตมากับภาพที่พ่อออกไปทำงานกับชาวบ้าน ฝ้ายเองก็โตมากับงานเพื่อสังคม ช่วงหนึ่งไปทำวิจัยที่พะเยากับเด็กกำพร้า เด็กติดเชื้อ เด็กตกเขียว อยู่ระยะนึง เพราะฉะนั้นเราจึงเป็นคนแบบนี้มาแต่ไหนแต่ไร  
 
ทำไมจึงเป็นเรื่องของศิลปะไม่ใช่เวทีอภิปรายทางการเมือง?

เพราะมันได้ผ่านการถกเถียงกันมาพอแล้ว พอมันเป็นศิลปะทำให้เราได้ Creative ได้แสดงออกในสิ่งที่เราคิดโดยไม่ใช่เรื่องผิดหรือถูก เราไม่ได้แสดงตัวตนของเรา เรามีอิสระในการแสดงออกได้เต็มที่ ไม่มีใครมาชี้มาถกเถียงว่ามันผิดหรือถูก แต่ก็มีการเชิญหลายคนมาร่วม แต่ไม่มีเวทีนะ (ยิ้ม) ให้เขามาดูงานและพูดคุยทักทายกันมากกว่า
 
แล้วการเมืองในทัศนะของอ้อมแก้ว เวชยชัยเป็นอย่างไร?
ความเห็นในเรื่องการเมืองไม่ขอตอบได้ไหม(ยิ้ม) แต่ละคนมีความเห็นอยู่แล้ว
 
กับเอม(จารี ปิ่นทอง) ซึ่งคุณพ่อของเธอ(เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง)อยู่ฝั่งตรงข้ามกับคุณพ่อของฝ้าย เราในฐานะลูกๆ เคยคุยเคยสื่อสารกันบ้างไหม?
เราไม่พูดเรื่องการเมืองด้วยกัน แต่เรื่องทั่วไปก็คุย เอมก็เป็นศิษย์เก่าของ UWC แต่เรียนคนละที่กับฝ้ายนะ เราคุยกันได้ปกติ เรื่องการเมืองไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องเลย ซึ่งจริงๆ มันก็ไม่จำเป็นเข้ามาเกี่ยวอยู่แล้ว ในชีวิตประจำวันของเราก็ดำเนินไป ใครจะเอาเรื่องนั้นมาคิดตลอดเวลา (ยิ้ม)
 
หวังผลอะไรจากกิจกรรมนี้?
 Send message across (ส่งสารออกไป) เราไม่ได้เอาการเมืองมาเป็นตัวชี้วัดในความเป็นมิตร ถ้ามองข้ามการเมืองไปเราจะเจอข้อดีของคนที่แตกต่างจากเรามากมาย
 
เตรียมรับมือกับเสียงที่อาจสะท้อนกลับมาในแง่ลบไว้หรือยัง เพราะขณะนี้การแสดงออกในการเรียกร้องความเป็นกลางมักถูกวิจารณ์จากฝั่งใดฝั่งหนึ่ง?
ยัง(หัวเราะ) ไม่รู้สิ...ฝ้ายคิดว่าเราคิดดี เราทำในสิ่งที่มันดี ไม่ได้ทำในสิ่งที่ไปซ้ำเติมใคร จุดเน้นของเราคืออยากให้เราอยู่ร่วมกันได้ในความคิดที่แตกต่าง และเคารพความคิดของกันและกัน ก็คิดว่าน่าจะมีผลที่ดีสะท้อนกลับมา เราหวังดีกับประเทศของเรา อยากให้เดินหน้าต่อไปและพบเจอแต่เรื่องดีๆ ส่วนแง่ลบจะออกมาอย่างไร ฝ้ายก็พร้อมรับฟัง
 
อนาคตอยากเล่นการเมืองไหม?
ตอนนี้ยังไม่คิด(ยิ้ม) ทุกวันนี้สนับสนุนในสิ่งที่คุณพ่อทำ คนรอบตัวทำ แต่โดยส่วนตัวฝ้ายไม่ได้สนใจการเมืองเลยในขณะนี้ อยากทำเรื่องการศึกษามากกว่า เราสนใจด้านนี้เพราะเคยเรียนทางด้านนี้มา
 
ได้ปรึกษาคุณพ่อก่อนมาจัดกิจกรรมนี้หรือเปล่า?
ไม่ได้คุยในรายละเอียด แต่ท่านรับรู้ และสนับสนุนเราด้วยดี คุณพ่อสนับสนุนทุกอย่างในสิ่งที่เราทำ
 

 

 
องค์การสหสากลวิทยาลัย หรือ United World Colleges (UWC) เป็นองค์การนานาชาติอิสระ ไม่ขึ้นกับรัฐบาลใด มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ก่อตั้งขึ้นโดยชาวอังกฤษ โดยมี Lord Mountbatten เป็นประธานคนแรก ส่วนองค์ประธาน UWC ปัจจุบันคือ HM Queen Noor แห่งจอร์แดน มีวิทยาลัยในเครือขององค์การ 12 แห่ง ได้แก่ ประเทศอังกฤษ สิงคโปร์ แคนาดา สวาซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา อิตาลี เวเนซุเอลา จีน (ฮ่องกง) นอร์เวย์ อินเดีย คอสตาริกา และบอสเนีย เฮอร์เซอร์โกวิน่า
 
วัตถุประสงค์ของ UWC ต้องการส่งเสริมสันติภาพและความเข้าใจอันดีระหว่างชาติ โดยมอบทุนแก่นักเรียนจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ไปศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นเวลา 2 ปี ตามหลักสูตร International Baccalaureate หรือ IB ซึ่งเป็นหลักสูตรเตรียมอุดมศึกษา ที่วิทยาลัยในเครือขององค์การ เมื่อสำเร็จการศึกษาสามารถสมัครเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาได้เกือบทุกประเทศ รวมทั้งประเทศไทย
 
องค์การสหสากลวิทยาลัยประจำประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อปี 2519 ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี โดยสำนักงาน ก.พ. ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการ และมี ม.ร.ว. สฤษดิคุณ กิติยากร ดำรงตำแหน่งประธานองค์การสหสากลวิทยาลัยประจำประเทศไทยคนปัจจุบัน มีนักเรียนไทยได้รับทุนจาก UWC ตั้งแต่ปี 2519 รวม 96 คน มีศิษย์เก่าดังๆ เช่น ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผอ.ด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจของ TDRI ประกิต บุณยัษฐิติ ผอ.ฝ่ายกำกับธุรกิจจัดการลงทุน กลต.ฯลฯ ซึ่งฝ้ายเป็นหนึ่งในนั้นสนุกมากค่ะ” เธอบอก
 
“เพราะมันเป็นทุนที่ดี และ Movement ของ UWC น่าสนใจมาก  แต่ตอนเรียนก็ยากมากเพราะเป็นภาษาอังกฤษหมดเลย แม้ว่าเราเคยเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนมาก่อน แต่ UWC มันยากมาก เราคิดว่าเราเก่งแล้ว ได้เกรด 4 ภาษาอังกฤษ แต่เอาเข้าจริงความเก่งในมาตรฐานเราไปเจอแล้วมันยาก แล้วก็ต้องไปอยู่รวมกันในห้องนอนแคบๆ รับผิดชอบตัวเอง คนที่มาบางคนก็มาจากครอบครัวที่กำพร้า ยากจน คนเก่งระดับอัจฉริยะจากบัลแกเรีย ลูกท่านทูตจากภูฎาน มาจากประเทศแปลกๆ จากแอฟริกา ทุกอย่างแตกต่างหมด แต่พอปรับตัวได้ ได้เรียนรู้ในหลักสูตรนอกห้องเรียน มันก็สนุก ทำให้เราได้ประโยชน์ในการทำความเข้าใจเรื่องการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่างของเพื่อนมนุษย์ เรื่องความต่างขั้วทางความคิด เราอยู่ร่วมกันได้หมด” อ้อมแก้ว เวชยชัย ทิ้งท้าย.
 
หาข้อมูลเพิ่มเติม องค์การสหสากลวิทยาลัยได้ที่ www.uwc.org  
 
 
 
   
  
 
 
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คณะปฏิรูปกฎหมายเตรียมเสนอรัฐบาล คว่ำร่าง กม.ชุมนุม

Posted: 08 Aug 2011 01:06 PM PDT

เมื่อวันที่ 8 ส.ค. 54 เวลา 13.00 น. คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายจัดโครงการสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นการปฏิรูปกฎหมายด้านเสรีภาพทางการเมือง หรือกฎหมายชุมนุมสาธารณะ ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กรุงเทพฯ

สุขุมพงศ์ โง่นคำ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย กล่าวถึงความคืบหน้าของร่างกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะว่า ร่างกฎหมายนี้เสนอโดยคณะรัฐมนตรีและพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับหลักการเมื่อ 9 มีนาคม 2554 และมีมติแต่งตั้งคณะกรรมการวิสามัญเมื่อ 10 มีนาคม 54 ล่าสุดร่างกฎหมายผ่านสภาผู้แทนราษฎรแล้วและได้เข้าสู่ที่ประชุมวุฒิสภา แต่เมื่อมีการยุบสภา กฎหมายฉบับนี้ต้องถือว่าตกไปชั่วคราว ซึ่งหากรัฐบาลใหม่แถลงนโยบายแล้ว ถ้ารัฐบาลเห็นว่ามีความจำเป็นต้องพิจารณากฎหมายที่ค้างอยู่ ก็จะนำร่างกฎหมายที่ค้างอยู่มาพิจารณาได้ แต่หากไม่เห็นชอบกฎหมายนี้ก็ตกไป
 
อัครพงษ์ เวชยานนท์ รองผอ.สำนักวิจัยและพัฒนากฎหมาย คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย กล่าวถึงสาระสำคัญในร่างกฎหมายฉบับที่ผ่านคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนฯแล้วว่า สาระสำคัญคือการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่จะชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ แต่ถ้าการชุมนุมนั้นมีลักษณะเป็นการกระทบต่อสาธารณะ ก็จะกำหนดให้มีการแจ้งล่วงหน้า 24 ชม.แต่เนื่องการการชุมนุมเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน กฎหมายฉบับนี้ไม่ใช้หลักอนุญาต แต่ใช้หลักการแจ้ง เมื่อปรากฏว่าการชุมนุมดังกล่าวอาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าพนักงานสามารถยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ผู้ชุมนุมเลิกการชุมนุมได้ และหากศาลตัดสินให้เลิกการชุมนุม ผู้ชุมนุมสามารถยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้
 
นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดหน้าที่ของผู้ชุมนุม ว่าต้องทำหน้าที่เป็นผู้ชมนุมที่ดี ไม่ก่อให้เกิดความไม่สงบต่อประชาชนที่จะใช้พื้นที่สาธารณะ ในส่วนหน้าที่ของรัฐ ก็มีหน้าที่อำนวยความสะดวก เช่นอำนวยความสะดวกทางจราจร เป็นต้น
 
ทั้งนี้ นายอัครพงษ์กล่าวว่า คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายเห็นว่าควรต้องมีกฎหมายฉบับนี้ในประเทศไทย และการจะรอให้การชุมนุมสาธารณะเป็นวิวัฒนาการทางสังคมดังเช่นประเทศต่างๆ มันคงจะช้าเกินไป ขณะเดียวกัน ก็ให้มีการให้ความรู้ประชาชนไปเป็นเรื่องคู่ขนานระหว่างที่กฎหมายนี้ยังไม่บังคับใช้ ซึ่งคณะกรรมการและภาคประชาสังคมต้องให้ความรู้ต่อประชาชนในวงกว้าง
 
ภาคประชาชนค้าน เป็นไปไม่ได้ที่จะแจ้งให้ทราบก่อนชุมนุม
สมชาย หอมลออ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย กล่าวว่า ประเด็นที่กำหนดให้มีการ "แจ้งให้ทราบ" ก่อนการชุมนุม ยังเป็นข้อถกเถียง บางส่วนเห็นว่าจำเป็น บางส่วนเห็นว่าเป็นอุปสรรคขัดขวางการใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชน ในเรื่องนี้ จินตนา แก้วขาว นักเคลื่อนไหวจากประจวบคีรีขันธ์เห็นว่า เวลาชาวบ้านเวลาชุมนุม เขาเป็นคนละฝ่ายกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ การจะให้มาแจ้งก่อนการชุมนุมเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้
 
โยนให้ศาลตัดสิน ขัดหลักแบ่งแยกอำนาจ
ไพโรจน์ พลเพชร คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย กล่าวว่า ในประเทศไทย การชุมนุมนำไปสู่สิทธิ คือถ้าไม่ชุมนุมจะไม่ได้สิทธิ ต้องชุมนุมถึงจะได้สิทธิ ไม่ว่าจะสิทธิที่ทำกิน หรืออื่นๆ การชุมนุมจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะการตอบสนองต่อเรื่องสิทธิของรัฐมันไม่จริงจัง ถ้าไม่ชุมนุมก็ไม่ได้
 
ไพโรจน์เห็นว่า เนื้อหาในกฎหมายไปกำหนดว่าชุมนุมได้ที่ไหน ผู้ชุมนุมทำอะไรได้บ้าง ทำอะไรไม่ได้บ้าง ถ้าทำผิด เจ้าหน้าที่จะไปแทรกแซง หมายความว่า กฎหมายนี้อำนวยความสะดวกให้เจ้าหน้าที่ เอาหลักการไปกำหนดหน้าที่ผู้ชุมนุม แล้วค่อยเปิดให้เจ้าหน้าที่ไปควบคุม นอกจากนี้ ยังมีหลักการที่ให้ศาลไปตัดสินว่าชุมนุมแบบไหนทำได้ ซึ่งหลักการเช่นนี้ถือว่าผิด มันคล้ายว่ากลัวฝ่ายบริหารบริหารไม่ได้ ก็ไปให้ศาลคิด แต่คนบังคับก็คือตำรวจ มันเหมือนกล้าๆ กลัวๆ ซึ่งไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง
 
พรนภา มีชนะ เจ้าหน้าที่จากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเห็นว่า ปัญหาใหญ่ในร่างกฎหมายนี้คือเรื่องการขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ คือการให้อำนาจศาลในการตัดสิน เช่น เรื่องการให้อำนาจศาลแพ่งหรือศาลจังหวัดเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยให้ยุติการชุมนุม ทั้งที่กฎหมายนี้กำหนดเรื่องการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งเป็นการกระทำทางปกครอง แต่เมื่อโยนไปให้ศาลแล้ว หากประชาชนไม่เห็นด้วยก็ไม่รู้จะทำอย่างไรต่อ ถือเป็นเรื่องขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ อันอาจขัดรัฐธรรมนูญด้วย
 
กฎหมายไม่กำหนดหลักปฏิบัติของพนักงานเจ้าหน้าที่
เรืองรวี พิชัยกุล จากมูลนิธิเอเชีย แสดงความเห็นว่า ส่วนที่ขาดหายไปในร่างกฎหมายนี้ คือเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ไม่รู้อยู่ดีว่าต้องทำอะไรบ้าง มันไม่มีคำอธิบายอย่างละเอียด เช่นว่าถ้าให้เลิกการชุมนุมแล้วไม่เลิก ตำรวจต้องทำอย่างไร มันควรมีกติกาออกมาให้รู้ว่าต้องทำอย่างไร และเป็นไปตามกติกาสากล ซึ่งควรกำหนดทางการบริหารลงไปถึงขั้นที่ว่า ใครจะเป็นผู้จัดการการชุมนุม แต่ในร่างนี้ก็ไม่มีรายละเอียดที่กำหนดมาตรการจากเบาไปหาหนัก
 
ใช้อะไรแทนได้ ถ้าไม่มีกฎหมายชุมนุม
นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกล่าวว่า ประเทศไทยมีกฎหมายมากมาย แต่กฎหมายที่ไม่ควรจะออกคือกฎหมายชุมนุมสาธารณะ และนี่เป็นความพยายามจะจัดการทางการเมืองมากกว่า ความรุนแรงทางการเมืองที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากผู้ชุมนุม แต่เกิดจากผู้ที่ต้องการความรุนแรงเพื่อนำไปสู่ชัยชนะ ขณะที่การชุมนุมที่เราพูดกันอยู่มันไม่ใช่การชุมนุมทางการเมือง ชาวบ้านชุมนุมเพราะไม่ได้รับความไม่เป็นธรรม สิ่งที่เราพบในคนตัวเล็กตัวน้อยที่ต้องการความเป็นธรรม เขาถูกทำร้าย เช่นกรณีชาวบ้านที่ภาคเหนือออกมาชุมนุมแล้วถูกผู้ว่าฯไปฟ้องร้องว่าเขาไปปิดถนน ถ้าเราออกพ.รบ.ชุมนุมออกมา เมื่อผู้ชุมนุมเขาเดือดร้อน แต่เมื่อเขามาชุมนุม เขากลับถูกฟ้องร้องอีก และน่าสนใจว่าการละเมิดส่วนใหญ่ 99% มันมาจากการที่หน่วยงานของรัฐและกลุ่มอิทธิพลในพื้นที่ไปสร้างความไม่เป็นธรรมขึ้น
 
หากเราไม่ออกกฎหมาย แต่สร้างแผนงานขึ้น เพื่อคุ้มครองผู้ชุมนุมว่าหน่วยงานของรัฐจะมีแผนงานคุ้มครองผู้ชุมนุมอย่างไร กรณีการเผาศาลากลาง เป็นเพราะตำรวจและผู้ว่าฯในพื้นที่ไม่มีแผนว่าจะทำอย่างไรในการชุมนุม เขาจะมีมาตรการป้องกันความรุยแรงได้อย่างไร ที่จังหวัดแห่งหนึ่ง ตำรวจบอกว่าตำรวจก็มีแผนจากเบาไปหาหนัก จะหาเสื้อเกราะ กระสุนยาง มีเงินแต่ซื้อไม่ได้ ตำรวจก็มีไม่พอก็ต้องไปใช้หน่วยทหารซึ่งมองทุกคนเป็นศัตรู มาตรการทางทหารที่เอามาใช้นั้น คือการใช้คนไม่ถูกกับสถานการณ์ นี่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้น สถานการณ์ทางกาเรมืองที่ลุกลาม มันเกิดเพราะรัฐไม่มีแผนที่จัดการการชุมนุม ไม่มีมาตรการดูแลจากหน่วยงานรัฐ ทั้งที่สามารถดำเนินงานได้
 
ด้านพรนภา เจ้าหน้าที่จากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนกล่าวถึงประเด็นที่ว่า ในบ้านเมืองเราจำเป็นต้องมีกฎหมายชุมนุมไหม การที่เราไม่มีกฎหมายฉบับนี้มันทำให้รัฐเอากฎหมายอะไรก็ได้ที่เกี่ยวข้องมาใช้กับประชาชน เช่นกฎหมายว่าด้วยการรักษาความสะอาด การไม่มีกฎหมายชุมนุมก็ทำให้หยิบกฎหมายเหล่านี้มา ซึ่งในความเป็นจริง ทุกครั้งที่มีการชุมนุม ย่อมมีเรื่องที่ผิดกฎหมายอยู่แล้ว แต่ถามว่าเอากฎหมายเหล่านั้นมาใช้ได้ไหม มันไม่สามารถนำมาใช้ได้ เพราะมันไม่ใช่วัตถุประสงค์ของกฎหมายเหล่านั้น และประชาชนเสียเปรียบแน่นอนเพราะกฎหมายเหล่านี้มีโทษทางอาญา
 
เงื่อนไขการชุมนุม "โดยสงบและปราศจากอาวุธ"
สุนัย ผาสุข จากองค์การฮิวแมนไรท์วอทช์ กล่าวว่า สิ่งที่มักเจอคือคำกล่าวอ้างของผู้บังคับใช้กฎหมายว่า ยังไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นจึงจะใช้อำนาจตามสั่งจากฝ่ายการเมือง หรือไม่ก็เลือกที่จะไม่ทำอะไรเลย เลือกที่จะไม่ทำหน้าที่อะไรเลย เมื่อตำรวจไม่ทำหน้าที่ ภาระก็ถูกยกไปให้เป็นหน่วยงานพิเศษอย่างกองทัพ ซึ่งจะส่งผลเสียมากมายตามมา
 
ร่างกฎหมายฉบับนี้ ส่วนที่น่าสนใจคงเป็นเรื่องการนิยามว่าอะไรคือการชุมนุมสาธารณะ อะไรคือการชุมนุมที่สงบ ปราศจากอาวุธ แม้คำนิยามจะมีประโยชน์ แต่หากคนส่วนใหญ่ (ในที่ประชุม) เห็นว่าร่างควรตกไป แล้วจะทำอย่างไรดี ทางเลือกคือทำให้ร่างนี้ตกไป แล้วร่างกฎหมายขึ้นใหม่โดยภาคประชาชน และกรอบนิยามซึ่งผมเห็นว่าพอใช้ได้ในร่างนี้ ก็น่าจะหยิบไปใช้หากจะมีการร่างกฎหมายต่อไป
 
บรรเจิด สิงคเนติ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายเห็นว่า การพูดเรื่องกฎหมายการชุมนุมขึ้นอยู่กับบริบทในสังคม เช่นหากเรื่องกฎหมายชุมนุมในพม่า แปลว่าเป็นเรื่องการจำกัดสิทธิเสรีภาพ แต่ถ้าเราพูดเรื่องนี้ในยุโรป มันจะเป็นเรื่องการดูแลของรัฐ สำหรับบริบทของไทย อาจมีนัยแบบแรก คือ เชิงจำกัด ทั้งนี้ การชุมนุมทางการเมืองในช่วงสามสี่ปีที่ผ่านมาเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น และมีการกระทบสิทธิคน ซึ่งอาจเป็นสถานการณ์เฉพาะหน้าบางช่วง แต่ในระยะยาวกฎหมายฉบับนี้จะไปกระทบชาวบ้านที่เดือดร้อนเรื่องปากท้อง กฎหมายนี้จึงเป็นอุปสรรคมากสำหรับกระบวนการประชาชน
 
แต่หากมองเชิงกฎหมาย ในแง่เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ การที่รัฐธรรมนูญรับรองเสรีภาพในการชุมนุมก็ไมได้หมายความว่ารับรองโดยปราศจากขอบเขต ขอบวงที่รัฐธรรมนูญรับรองคือ ชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธในที่สาธารณะ กฎหมายนี้จะตกไปหรือไม่ก็ตาม แต่ประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจกันต่อคือ การที่กลุ่มการเมืองต่างอ้างว่าปราศจากอาวุธนั้น ดังนั้น การทำความเข้าใจประเด็นนี้เป็นให้ตรงกันเป็นเรื่องสำคัญ
 
ประสานเสียงค้านกฎหมาย
จินตนา แก้วขาวเห็นว่า กฎหมายนี้ควรตกไปเลย เธอเล่าว่าปัจจุบันโดนกฎหมายอาญามาจัดการการชุมนุมแล้วราว 50 กว่าคดี หลายโครงการขนาดใหญ่ทำให้ชาวบ้านทุกข์ยาก และแทนที่จะออกกฎหมายเช่นนี้ น่าจะมีกฎออกมาแทนว่าเวลาชาวบ้านเดือดร้อนแล้วไปยื่นหนังสือ รัฐมีหน้าที่ต้องรับเรื่องและแก้ปัญหา ถ้ามีลักษณะนี้ ชาวบ้านจะได้ไม่ต้องไปชุมนุมกันเยอะๆ
 
สาวิทย์ แก้วหวาน สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ภาคประชาชนเคยคุยกันว่า ไม่ว่าพรรคไหนมาเป็นรัฐบาลก็น่าจะสนใจผลักดันกฎหมายฉบับนี้ แต่สังคมไทยมีปัญหาเรื่องข้อกฎหมายเยอะทั้งในแง่การบังคับใช้และการตีความ บางครั้งกฎหมายเขียนเพื่อพิทักษ์สิทธิ แต่การบังคับใช้กลับใช้เทคนิคเป็นสำคัญ ในส่วนตัวยังไม่เห็นด้วยที่จะมีกฎหมายฉบับนี้ แต่หากมีความจำเป็นต้องมีกฎหมาย กระบวนการเริ่มต้นควรเริ่มจากฐานราก ถามจากภาคประชาชนว่าปัญหาอุปสรรคมันอยู่ตรงไหน แต่เราก็พิจารณาแต่จากร่างของรัฐบาล ไม่มีร่างประชาชนเลย กฎหมายนี้ ในหลักการก็พูดว่าให้สิทธิเสรีภาพของประชาชน แต่เนื้อหาหลายส่วนก็ไปจำกัดสิทธิเสรีภาพ
 
สมชาย หอมลออ กล่าวสรุปว่า ทีประชุมมีมติร่วมกันว่า ร่างกฎหมายนี้ควรตกไป เพราะเนื้อหาในร่างนอกจากจะไม่สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทยแล้ว ยังจะกลายเป็นเครื่องมือในการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ปิดกั้นไม่ให้ประชาชนเสนอปัญหาของตัวเองต่อสาธารณะได้ นอกจากนี้ กฎหมายนี้ก็จะไม่สามารถจัดการการชุมนุมขนาดใหญ่ได้ อีกทั้งปัจจุบันก็มีกฎหมายต่างๆ หลายฉบับที่สามารถดำเนินการได้อยู่แล้วโดยที่ไม่ต้องมีกฎหมายใหม่ และการดำเนินการนั้นสามารถใช้ได้ทั้งในสถานการณ์ปกติและไม่ปกติ ที่ประชุมยังเห็นว่าแม้ในการใช้กฎหมายธรรมดาก็ยังมีปัญหาที่ใช้กฎหมายละเมิดประชาชน
 
โดยสรุป ข้อเสนอของคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายซึ่งได้จากการประชุมครั้งนี้ คือ กฎหมายนี้ควรต้องตกไป ในฐานะที่อาจจะขัดต่อรับธรรมนูญมาตรา 63 วรรคแรก ว่าด้วยเสรีภาพการชุมนุม มาตรา 29 ซึ่งกฎหมายนี้อาจกระทบกระเทือนต่อสาระสำคัญของิทธิเสรีภาพเกินความจำกัด นอกจากนี้ กฎหมายนี้ยังไม่ครบองค์ประกอบเรื่องการตั้งคณะกรรมการ ที่มีกรรมการเพียง 24 คนจาก 36 คน โดยไม่มีพรรคเพื่อไทยเข้าร่วมด้วย

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

TCIJ: “ปลอดประสพ” ออกหน้าเจรจาขบวนภาคประชาชน รับสานนโยบายต่อ

Posted: 08 Aug 2011 12:29 PM PDT

เครือข่ายประชาชนเหนือ-อีสาน-ใต้ เคลื่อนขบวนร่วมเครือข่ายใน กทม.รุกเสนอ “นโยบายประชาชน” ต่อนายกหญิง ถึงรัฐสภา ดันธนาคารที่ดิน-โฉนดชุมชน-ภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้า ด้าน “ยิ่งลักษณ์” ส่ง “ปลอดประสพ” เจรจา

 
เช้าวานนี้ (8 ส.ค.54) เครือข่ายประชาชนจากภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ และกทม.ราว 1,000 คน รวมตัวกันที่บริเวณหน้าลานพระบรมรูปทรงม้า จากนั้นได้เคลื่อนขบวนไปยังอาคารรัฐสภา เพื่อยื่นนโยบายภาคประชาชนให้กับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อให้บรรจุนโยบายดังกล่าวลงในนโยบายของรัฐบาล โดยมีนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย เดินทางมารับข้อเสนอ
 
นายปลอดประสพ กล่าวว่า ภายหลังจากที่พรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาลอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้วจะหาช่องทางเพื่อหารือกับเครือข่ายฯ อย่างจริงจังและต่อเนื่องเพื่อแก้ไขปัญหา ทั้งนี้ ทางพรรคเพื่อไทยได้ระลึกว่า เพราะทางสมาชิกเครือข่ายฯ สนับสนุน ทำให้พรรคเพื่อไทยได้รับชัยชนะถึง 265 เสียง อย่างไรก็ตามปัญหาที่ได้เสนอมา เฉพาะ ส.ส.ของพรรคเพื่อไทยคงจะทำไม่สำเร็จ ดังนั้นต้องขอความร่วมมือกับเครือข่าย เพื่อแก้ไขปัญหาให้คลี่คลาย
 
“เรื่องที่ประชาชนเสนอนั้น ส่วนหนึ่งเป็นนโยบายที่พรรคเพื่อไทยเตรียมดำเนินการ อย่างไรก็ตามคงต้องมีการคุยในรายละเอียดอีกครั้งเพื่อให้เกิดความชัดเจน ส่วนกรณีที่เครือข่ายฯ เสนอให้นำข้อเรียกร้องไปทำเป็นนโยบายรัฐบาลด้วยนั้น ผมยืนยันว่าจะรับไปดำเนินการอย่างแน่นอน” นายปลอดประสพ กล่าว
 
ด้าน นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า หลังจากนี้จะนัดประชุมเพื่อยืนยันกฎหมายที่ค้างสภาฯ โดยจะรับรองภายใน 60 วันเพื่อไม่ให้กฎหมายตกไป โดยในส่วนของ พ.ร.บ.สัญชาติฯ จะมีการรับรองและผ่านเป็นกฎหมายแน่นอน ส่วนกฎหมายการบริหารจัดการที่ดินของรัฐ ขณะนี้อยู่ในการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญร่วมทั้ง 2 สภา ว่าจะดำเนินการต่อไปหากทางเครือข่ายฯ ต้องการให้กฎหมายมีผลบังคับใช้ให้ส่งสัญญาณมา เพื่อพิจารณากฎหมายฉบับดังกล่าวผ่านการพิจารณาโดยเร็ว
 
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 6 ส.ค.ที่ผ่านมา 145 เครือข่ายประชาชน เสนอ 15 นโยบายด่วน พร้อมเร่งรัดกฎหมาย 9 ฉบับ ในงาน “นโยบายประชาชน: ปฏิรูปโครงสร้างอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน สร้างรัฐสวัสดิการ” ที่ลานธรรม สวนโมกข์กรุงเทพฯ ขณะที่สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย และขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) ได้จัดขบวนรถจักรยานยนต์กว่าร้อยคันมุ่งหน้าสู่ทำเนียบรัฐบาล พร้อมออกแถลงการณ์ระบุถึงการจัดเวที “สัญญาประชาคม ประชาชนพบพรรคการเมือง” เมื่อ 24 มิ.ย.54 ซึ่งตัวแทนพรรคเพื่อไทยให้คำมั่นว่าหากชนะการเลือกตั้งได้เป็นรัฐบาลจะนำเอาปัญหาการกระจายการถือครองที่ดิน ธนาคารที่ดิน โฉนดชุมชน และภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้าไปบรรจุไว้ในนโยบายของรัฐบาล โดยการเคลื่อนขบวนใหญ่ครั้งนี้มาเพื่อทวงถามสัญญาเหล่านั้น
 
ในส่วนภาคอีสาน เมื่อวันที่ 7 ส.ค.54 เครือข่ายเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.) สมัชชาคนจน กรณีกลุ่มผู้เดือดร้อนจากเขื่อนปากมูล กลุ่มผู้เดือดร้อนจากสวนป่าพิบูลมังสาหาร เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.) เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) สลัมสี่ภาค ร่วมกับ ขปส.จัดขบวนรถจักรยานยนต์เข้าสมทบกับเครือข่ายภาคประชาชนจากภาคเหนือ เพื่อเข้าพบว่าที่นายกรัฐมนตรี หวังให้การแก้ไขปัญหาของแต่ละเครือข่ายเดินหน้าต่อไปอย่างเป็นรูปธรรม
 
นอกจากนี้ ในวันเดียวกันเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสานยังได้ ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 1 “สานต่อภารกิจประชาชน ปฏิรูปที่ดินอย่างเป็นธรรม” เรียกร้องให้คณะรัฐบาลชุดใหม่สานต่อแนวทางการปฏิรูปที่ดินโดยประชาชน ให้เป็นนโยบายของรัฐบาล และจัดตั้งกลไกการแก้ไขปัญหาร่วมโดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน พร้อมให้เร่งมีคำสั่งให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยุติการจับกุม ข่มขู่ คุกคาม และดำเนินคดีชาวบ้านในพื้นที่สมาชิกเครือข่ายฯ และให้สามารถทำประโยชน์ในพื้นที่พิพาทไปพลางก่อน เพื่อเข้าสู่กระบวนการแก้ไขปัญหาร่วมกับรัฐบาลต่อไป  
 
ทั้งนี้ ข้อเสนอของ 145 องค์กรเครือข่ายประชาชน มีรายละเอียดดังนี้
 
 
145 องค์กรเครือข่ายประชาชน
เสนอ 3 นโยบายหลัก 15 นโยบายเร่งด่วนต่อรัฐบาล
และให้เร่งรัดพิจารณากฎหมาย 9 ฉบับ
เพื่อปฏิรูปโครงสร้างอำนาจรัฐเพิ่มอำนาจประชาชน สร้างรัฐสวัสดิการ
 
 
บนผืนแผ่นดินไทย คนร่ำรวยที่สุดร้อยละ 20 ของประเทศมีทรัพย์สินรวมกันคิดเป็นร้อยละ 69 ของประเทศ ครอบครองความร่ำรวย เกือบ 3 ใน 4 ขณะที่คนยากจนที่สุดร้อยละ 20 มีทรัพย์สินรวมกันเพียงแค่ร้อยละ 1 เท่านั้น
 
แผ่นดินที่ได้ชื่อว่ามีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก กลับเป็นแผ่นดินที่ความเหลื่อมล้ำสูงสุดติดอันดับโลก
จากความทุกข์ยากอันเกิดจากความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคมที่เห็นดาษดื่นเจนตา ปัญหาความยากจน ทั้งสิทธิและโอกาส ปัญหาการถูกกีดกันเข้าไม่ถึงทรัพยากรอันจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ทั้งที่ดินเพื่อทำกินและที่อยู่อาศัย การเข้าไม่ถึงสวัสดิการสังคม ทั้งหลักประกันการศึกษาและสุขภาพ การถูกกดค่าจ้างแรงงานเพื่อผลประโยชน์ของนายทุน การต้องแบกรับหนี้สินอันเกิดจากระบบเศรษฐกิจที่บิดเบี้ยวและฉ้อฉล ต้องแบกรับกับผลกระทบจากมลภาวะอุตสาหกรรมเพื่อความรุ่งเรืองของประเทศ และท้ายที่สุดคือการต้องถูกเบียดขับจากกระบวนการยุติธรรมและความเป็นธรรม 
 
เครือข่ายองค์กรประชาชนและองค์กรพัฒนาเอกชน จึงรวมตัวกันเพื่อจัดทำนโยบายภาคประชาชนเสนอต่อรัฐบาล เพื่อเป็นนโยบายของประเทศและที่สำคัญยิ่งกว่า คือ เป็นเครื่องมือของประชาชนเองในการติดตามนโยบายสำคัญของรัฐบาล มีดังต่อไปนี้
 
1. นโยบายปฏิรูปโครงสร้างอำนาจรัฐ
1. ยกเลิกองค์กรส่วนภูมิภาค เลือกผู้ว่าราชการจังหวัดตรง ให้มีอิสระในการเก็บภาษีและงบประมาณ
2. ยกเลิกอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัด ให้มีค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทเท่ากันทั้งประเทศและปรับใช้กับการสร้างหลักประกันด้านรายได้ให้กลุ่มอื่นๆ เช่น แรงงานนอกระบบ เกษตรกรในระบบพันธะสัญญา ผู้ผลิตเพื่อขาย หาบเร่ แผงลอย และอาชีพอิสระอื่น 
3. ออกกฎหมายโฉนดชุมชน และออกกฎหมายจำกัดการถือครองที่ดินและจัดเก็บภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้า
4. ทบทวนโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ แหล่งน้ำระหว่างประเทศ และชะลอโครงการผันน้ำขนาดใหญ่ เช่น กรณีโครงการโขง เลย ชี มูล ให้มีการประเมินโครงการเขื่อนที่สร้างไปแล้วทุกเขื่อน เช่น กรณีเขื่อนปากมูล เป็นต้น
5. ยกเลิกคดีพิพาทเรื่องที่ดิน การจัดการทรัพยากรและสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ เนื่องจากคดีคนจนด้านที่ดิน ทรัพยากรและการเรียกร้องสิทธิตามรัฐธรรมนูญ เกิดจากปัญหาโครงสร้างการจัดการที่ดิน และการบริหารจัดการทรัพยากรที่ดินของรัฐที่ไม่เป็นธรรม ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งลุกลามเป็นคดีความขึ้นทั่วประเทศ
 
2. นโยบายเพิ่มอำนาจประชาชน
1. ให้มีกองทุนพัฒนาสตรีเป็นองค์กรอิสระ สนับสนุนการมีส่วนร่วม ส่งเสริมโอกาสของผู้หญิง และขจัดความรุนแรง การค้ามนุษย์ ที่กระทำต่อเด็กและสตรี
2. เร่งให้มีการออกกฎหมายองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระ และการปรับปรุงคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีสัดส่วนผู้บริโภคไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
3. จัดสรรเงินกองทุนสลากกินแบ่งรัฐบาลให้มีสัดส่วนมาสมทบเพิ่มมากขึ้นสำหรับกองทุนดูแลกลุ่มเปราะบาง หมายถึง กลุ่มประชากรที่มีเงื่อนไขหรือปัจจัยบางประการ ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเข้าไม่ถึงโอกาสและทรัพยากรที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การถูกละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐาน การถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ซึ่งรวมถึง เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ คนเร่ร่อน แรงงานข้ามชาติภาคบริการและการก่อสร้าง รวมถึงผู้ที่สังคมเรียกว่าผู้ด้อยโอกาสด้วยเงื่อนไขอื่น
4. หยุดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ถาวร หนุนพลังงานหมุนเวียนทุกตำบล ยกเลิกสัมปทานและให้มีกฎหมายคุ้มครองทรัพยากรแร่ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพของพลเมือง รวมทั้งพัฒนารัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชน และยกเลิกนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจในกิจการสาธารณูปโภค
5. ให้รัฐบาลไทยปฏิบัติและมีมาตรการคุ้มครองสิทธิทางวัฒนธรรมและสิทธิของชนเผ่าพื้น เมืองในประเทศไทย ตามพันธกรณีที่ได้กระทำไว้กับนานาประเทศและองค์ระหว่างประเทศ และออกกฎหมายและมาตรการมารับรองสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยอย่าง โดยรัฐต้องให้การสนับสนุนกิจกรรมและงบประมาณในการทำกิจกรรมรณรงค์อย่างพอเพียง
 
3. นโยบายสร้างรัฐสวัสดิการ
1. ปรับเปลี่ยนจากกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เป็นกองทุนหลักประกันการศึกษาที่ปลอดดอกเบี้ย ให้ทุกคนเข้าถึงกองทุน รวมทั้งมีการออกแบบการใช้ คืนเงินกู้ที่ไม่ใช่การบังคับให้เริ่มใช้คืนในปีที่สองหลังจบการศึกษา แต่ให้ยืดหยุ่นตามสภาพการมีงานทำ การมีรายได้พอจ่ายภาษี จึงเริ่มจ่ายคืนกองทุน
2. รักษาทุกคน รักษาทุกโรค ด้วยมาตรฐานเดียวกัน ใช้ระบบภาษี ไม่เก็บ 30 บาท และให้มีกองทุนเยียวยาความเสียหายจากบริการสาธารณสุข ลดการฟ้องร้องแพทย์และพัฒนาคุณภาพบริการ
3. สานต่อโครงการบ้านมั่นคง เพื่อสร้างหลักประกันที่อยู่อาศัยให้มีนโยบายนำที่ดินรัฐมาจัดสรรเป็นที่อยู่อาศัยสำหรับคนจน เช่น ที่ดินการรถไฟ ที่ดินราชพัสดุ ที่ดินสาธารณะ ที่กรมศาสนา และที่วัด เป็นต้น โดยให้เช่าในอัตราต่ำ ใช้ระบบกรรมสิทธิ์ และการบริหารจัดการร่วมกันโดยชุมชน
4. ตั้งกองทุนบำนาญชราภาพพื้นฐานสำหรับทุกคน 1,500 บาทแทนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จ่ายรายเดือนให้ผู้สูงอายุทุกคน ทั้งนี้เพื่อให้ยังชีพได้ และสามารถมีรายได้เข้าไปสะสมในกองทุนการออมแห่งชาติได้ด้วย
5. ยกเลิกการนำเข้าสารเคมีการเกษตรอันตราย มีระบบประกันรายได้เกษตรกร ประกันภัย ประกันราคาผลผลิต ยกเลิกหนี้สินเกษตรกรในกรณีตาย พิการ สูงอายุ เป็นต้น
 
เร่งรัดกฎหมายและบังคับใช้กฎหมาย 9 ฉบับ
1. ร่าง พ.ร.บ.องค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระ พ.ศ. ....
2. ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....
3. ร่าง พ.ร.บ.การเลือกปฏิบัติว่าด้วยเพศสภาพ พ.ศ. ....
4. จัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตามพ.ร.บ.ความปลอดภัยจากการทำงาน พ.ศ.2554
5. ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. .... (ฉบับผู้ใช้แรงงาน 14,500 รายชื่อ)
6. ร่าง พ.ร.บ.บำนาญประชาชน พ.ศ. ....
7. ร่าง พ.ร.บ.กองทุนผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ….
8. ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาคระหว่างเพศ พ.ศ. ...
9. รัฐบาลต้องทำให้การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับสตรีที่มีอยู่มีประสิทธิภาพในการบังคับใช้มากขึ้น และกฎหมายบางฉบับที่ปิดกั้นสิทธิและเลือกปฏิบัติต่อสตรีต้องมีการแก้ไข : ตัวอย่างกลุ่มกฎหมายที่ยังมีปัญหาในการบังคับใช้และปิดกั้นสิทธิได้แก่
1. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอนามัยเจริญพันธุ์
2. กฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก[1] 
3. พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว
4. พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.คณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535
5. การส่งเสริมสถานภาพทางกฎหมายของ “ภิกษุณี” เพื่อเติมเต็มพุทธบริษัท 4 ในประเทศไทย
 
พร้อมจัดตั้งกระบวนการติดตามนโยบายของรัฐบาลอย่างใกล้ชิด
สภาประชาชน ประเมินและติดตามผลงานรัฐบาลทุก 6 เดือน โดยแต่ละข่ายจะเกาะติดนโยบายกระทรวงที่เกี่ยวข้องทุกกระทรวงอย่างใกล้ชิด
ความร่วมมือระหว่างภาคประชาชนกับสื่อมวลชน ในการติดตามนโยบายรัฐบาล กำหนดตัวผู้ประสานงานหลัก
 
กิจกรรมต่อเนื่อง
- วันที่ 6 ส.ค. ภาคเหนือ เครือข่ายที่ดินและทรัพยากร จะเคลื่อนขบวนมอเตอร์ไซด์จากลานครูบาศรีวิชัยเชียงใหม่ แวะศาลากลางจังหวัดต่างๆ เพื่อยื่นข้อเสนอ แวะพิษณุโลกค้างคืนและรวมขบวนกับเครือข่ายเกษตรกรภาคเหนือล่าง
- วันที่ 7 ส.ค.ภาคอีสาน เครือข่ายที่ดินและทรัพยากร เคลื่อนขบวนด้วยมอเตอร์ไซค์ เช่นกัน นัดเจอกับภาคเหนือที่สระบุรี เพื่อมุ่งหน้าเข้ากรุงเทพฯ หยุดพักที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต 
- วันที่ 8 ส.ค. ออกเดินทางแต่เช้าตรู่ ด้วยขบวนมอเตอร์ไซค์ มุ่งหน้าลานพระบรมรูปทรงม้า เพื่อรวมขบวนกับเครือข่ายประชาชนใน กทม.กว่า 1,000 คน จากนั้นจะเดินทางไปพบ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่รัฐสภา เพื่อเสนอนโยบายและทวงสัญญาประชาคมที่พรรคการเมืองต่างๆลงนามไว้ที่มหาวิทยาลัยรังสิต เมื่อ 24 กรกฎาคม2554
 
145 องค์กรเครือข่ายประชาชน
เป็นการรวมตัวกันของเครือข่ายประชาชน อันได้แก่ เครือข่ายองค์กรประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ, เครือข่ายผู้พิการ, เครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ, เครือข่ายผู้บริโภค, เครือข่ายผู้สูงอายุ, เครือข่ายสลัม 4 ภาคและคนไร้บ้าน, เครือข่ายเกษตร, เครือข่ายองค์กรสตรีฯ, เครือข่ายการศึกษา, เครือข่ายแรงงานนอกระบบ, เครือข่ายแรงงานสมานฉันท์, เครือข่ายเยาวชน และ สภาองค์กรชุมชน
 
ที่มา: เฟซบุ๊ก สุนี ไชยรส
 
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เครือข่ายเตือนภัยสารเคมียันต้องเลิกขึ้นทะเบียนสารพิษเกษตรร้ายแรง 4 ชนิด

Posted: 08 Aug 2011 12:08 PM PDT

เคยูโฮม, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 8 สิงหาคม 2554 เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีการเกษตรซึ่งประกอบไปด้วยแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ และนักวิชาการหลายสาขา องค์กรด้านสิ่งแวดล้อม องค์กรคุ้มครองผู้บริโภค และเครือข่ายเกษตรกร แถลงยืนยันให้กรมวิชาการเกษตรประกาศยกเลิกการขึ้นทะเบียนสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 4 ชนิด ได้แก่ อีพีเอ็น คาร์โบฟูราน เมโทมิล ไดโครโตฟอส ก่อนวันที่ 22 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่ผู้ประกอบการจะต้องเอาสารเคมีการเกษตรมาขึ้นทะเบียนใหม่ตามกฎหมาย

หลังจากมีความเคลื่อนไหวของผู้ประกอบการสารเคมีการเกษตรให้ยืดระยะเวลาการขึ้นทะเบียนสารเคมีการเกษตรออกไปอีก 2 ปี และมีแนวโน้มว่ากรมวิชาการเกษตรซึ่งดูแลวัตถุอันตรายการเกษตรตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตรายเตรียมอนุญาตให้สารเคมีอันตรายหลายชนิดสามารถขึ้นทะเบียนได้นั้น เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีการเกษตรร่วมกันแถลงข้อเรียกร้องต่อกรมวิชาการเกษตร  โดยนายแพทย์ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เรียกร้องให้กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยกเลิกการขึ้นทะเบียนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งมีพิษภัยร้ายแรงมากที่สุด 4 ชนิด ได้แก่ อีพีเอ็น คาร์โบฟูราน เมโทมิล ไดโครโตฟอส เพราะจากผลการศึกษาพบว่าสารเคมีดังกล่าวมีความเป็นพิษสูงมาก สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และหลายประเทศในเอเชียได้ห้ามใช้ไปแล้ว เนื่องจากมีพิษภัยร้ายแรงต่อมนุษย์ สัตว์ เช่นเดียวกับผลการทดลองในประเทศไทยโดย ดร.สุภาพร ใจการุณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ที่พบว่าแม้สารเคมีทั้ง 4 ชนิดจะมีผลในการลดจำนวนแมลงศัตรูพืชแต่ก็จะได้ผลเพียงระยะสั้น เพราะสารพิษดังกล่าวได้ทำลายแมลงตัวห้ำตัวเบียนซึ่งจะเป็นสาเหตุให้เกิดการระบาดของแมลงศัตรูพืชในระยะยาว

ทั้งนี้นายแพทย์ปัตพงษ์ยังได้เรียกร้องให้มีการบังคับใช้ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2551อย่างเคร่งครัด โดยไม่ปล่อยให้มีการยืดเวลาการขึ้นทะเบียนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชออกไปอีก 2ปี ตามข้อเสนอของผู้ประกอบการ

ด้านนางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้เปิดเผยผลการสำรวจของสำนักงานสาธารณสุข จ.เชียงใหม่ที่พบว่าผู้บริโภคกว่า 60% ตรวจพบสารเคมีการเกษตรตกค้างในเลือดในระดับที่ไม่ปลอดภัยซึ่งน่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับอาหารที่บริโภค ดังนั้นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุในการควบคุมการใช้ การนำเข้า การยกเลิกสารเคมีที่เป็นอันตรายควรจะเป็นสิ่งสำคัญสำหรับกระทรวงเกษตร เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคอยากเรียกร้องให้กระทรวงเกษตรปฏิรูประบบการควบคุมการใช้ การนำเข้า การยกเลิกสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่เป็นอันตรายให้เข้มงวด ให้โปร่งใส โดยต้องเปิดเผยข้อมูลการขึ้นทะเบียนสารเคมีของคณะกรรมการวัตถุอันตราย และอนุกรรมการชุดต่างๆ ให้ผู้บริโภคทราบอย่างโปร่งใส ทั้งนี้โดยให้ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี 2552 ที่ระบุว่า “ก่อนการประกาศขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายทางการเกษตรทุกประเภทให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเปิดเผยขั้นตอนการขึ้นทะเบียน และข้อมูลที่ใช้ประกอบการพิจารณาให้ผู้มีส่วนได้เสียทราบก่อนการพิจารณา และให้เปิดเผยคำชี้แจงและเหตุผลประกอบการพิจารณาเพื่อรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติม ก่อนประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วย”  และเรียกร้องไปถึงรัฐบาลให้เร่งผลักดันให้เกิดองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อจะได้ช่วยสนับสนุนในการให้ความเห็นและตรวจสอบกระทรวงเกษตรตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในเรื่องนี้ต่อไป

หากองค์กรผู้บริโภคพบว่าการดำเนินการของหน่วยงานราชการดำเนินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจะพิจารณาฟ้องร้องตามกฎหมายต่อไป

ทางด้านนายนพดล มั่นศักดิ์ ผู้ประสานงาน มูลนิธิการจัดการความรู้และเครือข่ายโรงเรียนชาวนา จ.นครสวรรค์ ได้ให้ข้อมูลภาคสนามโดยยืนยันว่า การยกเลิกการขึ้นทะเบียนสารพิษทั้ง 4 ชนิดจะไม่กระทบต่อเกษตรกรแต่ประการใด เนื่องจากมีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอีกเป็นจำนวนมากที่สามารถใช้แทนสารดังกล่าวได้ และที่สำคัญเครือข่ายโรงเรียนชาวนาในจังหวัดนครสวรรค์สามารถพัฒนาทางเลือกการทำนาที่แทบไม่ต้องใช้สารเคมีกำจัดแมลงเลย โดยการศึกษาความรู้เรื่องแมลงในแปลงนาและจัดระบบการทำนาที่รักษาความหลากหลายทางชีวภาพในไร่นา

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"สันติประชาธรรม" แถลงค้าน รองอธิการ มก.แจ้งจับลูกศิษย์คดีหมิ่นฯ

Posted: 08 Aug 2011 12:04 PM PDT

นักวิชาการ นักศึกษา ประชาชนกว่าสี่ร้อยคนร่วมลงชื่อคัดค้านกรณีรองอธิการฯ ม.เกษตรฯแจ้งความจับลูกศิษย์คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและ พรบ.คอมพิวเตอร์ หากจะเป็น “ครูบาอาจารย์”ก็ควรที่จะถอนแจ้งความลูกศิษย์

กลุ่มนักวิชาการสันติประชาธรรม ออกแถลงการณ์รณรงค์ร่วมลงชื่่อคัดค้านการกระทำของ นายนิพนธ์ ลิ้มแหลมทอง รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิตฯ มหาวิทยาลัยเกษตร แจ้งความดำเนินคดีต่อนายนรเวศย์ ยศปิยะเสถียร นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ข้อหาผิด พรบ.คอมพิวเตอร์ และ หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มาตรา 112 โดยศาลได้อนุมัติหมายจับเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พศ.2553 และต่อมา จนท.ตำรวจ สน.บางเขน ได้เข้าทำการจับกุมนายนรเวศย์ ยศปิยะเสถียร เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2554 ที่ผ่านมา

ในแถลงการณ์ยืนยันว่าการแสดงความคิดเห็นของนายนรเวศย์เป็นไปตามหลักการแห่งสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการแสดงความคิดเห็นในครรลองของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นเป้าหมายประการหนึ่งของสถาบันอุดมศึกษา และเรียกร้องให้  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จะถอนแจ้งความในกรณีนายนรเวศย์ นอกจากนั้นทางกลุ่มสันติประชาธรรมยังคงย้ำว่ามาตรา 112  ซึ่งมีปัญหาอย่างมาก ทั้งในส่วนของโครงสร้างบทบัญญัติ อัตราโทษ วิธีการฟ้องร้องดำเนินคดี รวมไปถึงการพิจารณาการให้ประกันตัว 

 

 

แถลงการณ์คัดค้านการจับกุมนายนรเวศย์ เศรษฐิวงศ์ ด้วยมาตรา 112


           ถึงแม้สถานการณ์การเมืองมีแนวโน้มไปในทิศทางที่ดีขึ้น ทว่าปัญหาการใช้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา112 รวมทั้งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 กลับเลวร้ายลง เพราะไม่เพียงแต่กิจกรรมไล่ล่าผู้แสดงความคิดเห็นต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ในสื่ออินเตอร์เน็ตยังดำเนินต่อไปอย่างไม่ลดละ แม้แต่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยอันเป็นสถาบันที่ควรสนับสนุนสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นกลับเป็นผู้แจ้งความดำเนินคดีกับนิสิตของสถาบันด้วยกฎหมายดังกล่าวเสียเอง พวกเราซึ่งมีรายชื่อต่อท้ายแถลงการณ์ฉบับนี้เห็นว่าพฤติการณ์ของผู้บริหารมหาวิทยาลัยคนดังกล่าวขัดแย้งกับหลักการสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานตามระบอบประชาธิปไตยและไม่เกื้อหนุนต่อการสร้างสังคมแห่งปัญญาให้เกิดขึ้นได้ จึงมีข้อคิดเห็นและข้อเรียกร้องดังนี้     

          1) ขอคัดค้านการกระทำของนายนิพนธ์ ลิ้มแหลมทอง รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการแจ้งความดำเนินคดีนายนรเวศย์ ยศปิยะเสถียร ตั้งแต่ปี 2553 โดยในขณะนั้นนายนรเวศย์ยังมีสถานะเป็นนิสิตชั้นปีที่ 4 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อยู่  การแสดงความคิดเห็นของนายนรเวศย์เป็นไปตามหลักการแห่งสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการแสดงความคิดเห็นในครรลองของระบอบประชาธิปไตย อีกทั้งยังเป็นเป้าหมายประการหนึ่งของสถาบันอุดมศึกษาในการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ กล้าแสดงออก และรับผิดชอบต่อสังคม ฉะนั้น หากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์โดยเฉพาะในส่วนของผู้บริหารมีความประสงค์จะรักษาชื่อเสียงของสถาบันและของตนในฐานะ “ครูบาอาจารย์”ไว้ก็ควรที่จะถอนแจ้งความและเร่งช่วยเหลือนายนรเวศย์ในฐานะบัณฑิตที่ได้ทำหน้าที่ของเขาตามที่ถูกคาดหวังแล้ว  

           2) ขอคัดค้านการฟ้องร้องดำเนินคดีบุคคลใดก็ตามด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112  ซึ่งมีปัญหาอย่างมาก ทั้งในส่วนของโครงสร้างบทบัญญัติ อัตราโทษ วิธีการฟ้องร้องดำเนินคดี รวมไปถึงการพิจารณาการให้ประกันตัว ซึ่งกรณีนายนรเวศย์เป็นอีกตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นถึงปัญหาดังกล่าว  รวมถึงความไร้มาตรฐานในการจับกุมดำเนินคดีเพราะได้มีการแจ้งความไว้ตั้งแต่เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2553 แต่เพิ่งจะมาจับกุมดำเนินคดีเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ที่ผ่านมา โดยไม่มีเหตุผลแน่ชัดว่าเป็นเพราะเหตุใด     
 

เพื่อสันติภาพและความเป็นธรรม
เครือข่ายสันติประชาธรรม

 

1.         อนุสรณ์ อุณโณ                       คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2.         ชลิตา บัณฑุวงศ์                      นักศึกษาปริญญาเอกสาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยฮาวาย
3.         เวียงรัฐ เนติโพธิ์                      คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4.         พวงทอง ภวัครพันธุ์                 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
5.         กนกรัตน์ เลิศชูสกุล                คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
6.         ยุกติ มุกดาวิจิตร                      คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
7.         นิรมล ยุวนบุณย์
8.         นิธินันท์ ยอแสงรัตน์
9.         พรพิศ ผักไหม
10.      พัชรี อังกูรทัศนียรัตน์
11.      ฤทธิรงค์ จุฑาพฤฒิกร             คณะศิลปกรรม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
12.      อัศวิน วงศ์โกมล
13.      นันทา เบญจศิลารักษ์
14.      วิภู ชัยฤทธิ์
15.      ภมร ภูผิวผา
16.      สายชล ปัญญชิต
17.      ธิติพงษ์ ก่อสกุล                       มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
18.      อดิศร เกิดมงคล
19.      วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์
20.      ธีระพล คุ้มทรัพย์
21.      ไม้หนึ่ง ก.กุนที                       กวีราษฎร
22.      สืบสกุล กิจนุกร
23.      สุเจน กรรพฤทธิ์
24.      ณัฐพล พึ่งธรรม
25.      สุเทพ ภิญโญสวัสดิ์สกุล
26.      รางชาง มโนมัย
27.      อาทิตย์ ศรีจันทร์
28.      ฐิติพงศ์ นันธโชคทวีชัย
29.      ปราบ เลาหะโรจนพันธ์        นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี   มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
30.      พุทธิพงศ์ วีระพุฒิกุล

31.      รจเรข วัฒนพาณิชย์
32.      ธีรมล บัวงาม
33.      ภูดิส ทามนตรี                        การปกครอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
34.      วัฒนา สุขวัจน์                        (รุ่งโรจน์ "อริน" วรรณศูทร)  นักเขียนอิสระ
35.      รักษ์ชาติ์ วงศ์อธิชาติ                อุปนายกองค์การนักศึกษา       มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ท่าพระจันทร์)
36.      ดวงหทัย เอี่ยมพันธ์
37.      วีระวัฒน์ ธิปัน
38.      พิพัฒน์ วิมลไชยพร
39.      นุจรินทร์ อินธิยะ                    นักศึกษา คณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
40.      กตัญญู สว่างศรี
41.      พลพงศ์ จันทร์อัมพร
42.      ปัฐนกวินท์ ชูชื่น                     นักศึกษา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง
43.      เอกพล เธียรถาวร
44.      สุชานนท์ สินธิทันยา
45.      ปารัชนันท์ ภาวัตโภควินท์
46.      ศาสวัต บุญศรี                       อาจารย์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
47.      วิภาส เจนไธสง
48.      เศรษฐศิลป พูนบำเพ็ญ
49.      ลักขณา ปันวิชัย                   นักเขียนอิสระ
50.      กิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา
 
51.      เยาวลักษ์ อนุพันธุ์
52.      น้ำเพชร เชื้อชม                     นักออกแบบอิสระและเขียนบท
53.      ศิริภาส ยมจินดา
54.      อังกุศ รุ่งแสงจันทร์
55.      ธิดารัตน์ ชำนาญณรงค์
56.      อติณัฐ เทวาพิทักษ์                  นักศึกษาภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
57.      ชัยศิริ จิวะรังสรรค์
58.      อัญชลี มณีโรจน์
59.      ภาพิตร เพชรรัตน์
60.      จิราพร เหล้าเจริญวงศ์         คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
61.      คุปต์ พันธ์หินกอง               ประชาชน
62.      สมชาย แซ่จิว
63.      วันรัก สุวรรณวัฒนา           คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
64.      ศรายุธ ตั้งประเสริฐ
65.      นีรนุช เนียมทรัพย์
66.      ศักดา สถิรเรืองชัย
67.      หทัยชนก ศรีสุราช              นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
68.      วีรฉัตร แก้วประดิษฐ์
69.      หทัยกานต์ สังขชาติ
70.      ธนู จำปาทอง
71.      ธีรวัฒน์ ทัศนภิรมย์
72.      สุรพงศ์ จินตนาภรณ์
73.      ธณัฐพล ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา
74.      ชญานิน เตียงพิทยากร
75.      ธนพร ศรีสุกใส
76.      อรวรรณ ราตรี
77.      ปรัชญา สุรกำจรโรจน์
78.      กล้า สมุทวณิช
79.      วัชรินทร์ มีอิ่ม
80.      เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร
81.      สารัตน์ วงศาโรจน์
82.      นิติพงศ์ สำราญคง
83.      ศิริเกียรติ ดาวสุโข                     ศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
84.      ณภัค เสรีรักษ์
85.      ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์
86.      นรุตม์ สูทกวาทิน
87.      วิชญา พรหมสวัสดิ์
88.      ซีตีคอรีเย๊าะ อูเซ้ง
89.      จิราภรณ์ หิรัญบูรณะ
90.      อภิรัฐ เจะเหล่า
91.      พีรดา จุ้ยนุช
92.      ยอดพล เทพสิทธา
93.      วิจักขณ์ พานิช
94.      อาทิตย์ เจียมรัตตัญญู
95.      ขวัญชัย เพ็งผอม
96.      วลสุดา โพเย็น
97.      เก่งกิจ กิติเรียงลาภ
98.      เกียรติศักดิ์ ประทานัง
99.      กิตติพงศ์ ทองเกิด
100.  ธนันท์ อุนรัตน์
101.  นก พรรณวดี ทันสุข
102.  จักรพันธ์ บริรักษ์
103.  ก้าวหน้า เสาวกุล
104.  อรรถพงษ์ ศักดิ์สงวนมนูญ
105.  อรญา คงพูลศิลป์
106.  กิตติกร นาคทอง
107.  จีระภา มุลคำมี
108.  ไพโรจน์ พฤกษ์ปาริชาติ
109.  ชุมาพร แต่งเกลี้ยง
110.  สุนทร แสงค้า
111.  มธุรส ภิรมย์รักษ์                   ประชาชน
112.  จุลศักดิ์ แก้วกาญจน์
113.  ปิยบุตร บุรีคำ
114.  ประจักษ์ ก้องกีรติ                 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
115.  ปชาบดี พุ่มพวง
116.  สุพจน์ เสงี่ยมกลาง
117.  กรรัสวฎี กฤตชยา
118.  ปุณยนุช เดี่ยวรัตนกุล
119.  นครินทร์ กาขันธ์
120.  อรรณพ ยศโสภณ
121.  ปิยะพร ฉัตรชัย ณ อยุธยา          คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
122.  ดาราณี ทองศิริ
123.  อนุสรณ์ ติปยานนท์
124.  วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา
125.  อัฐธาดา ชมสุวรรณ
126.  ปิง วิชัยดิษฐ
127.  ชญานี ขุนกัน
128.  ธเนศ พฤกษ์สมบูรณ์
129.  รวี สิริอิสสระนันท์
130.  ฟาริส โยธาสมุทร
131.  ยุทธพงษ์ พงษ์วัน                   นักศึกษา คณะนิติศาสตร์     มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
132.  นายอดิเรก พรมเสน               นักศึกษา คณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
133.  วสวัตติ์ เถื่อนคำ
134.  ประไพ กระจ่างดี
135.  พีระวัจน์ เดือนฉาย                 วิศวกร
136.  พรพิมพ์ แซ่ลิ้ม
137.  อรุณี พูลสวัสดิ์
138.  วันเพ็ญ ก้อนคำ
139.  ชวกร บุญอินทร์
140.  วิระพงศ์ จันทร์สนาม                คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
141.  ภูมิสิทธิ์ วงศ์ทวีศักดิ์                นักศึกษา ประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
142.  อานนท์ รชนีกร
143.  นายพจน์ กริชไกรวรรณ
144.  ชนิดา ห้อยระย้า
145.  กัลยาณี ศรีมงคล
146.  สายชล แมดพิมาย
147.  ภู กระดาษ
148.  กมลวรรณ ชื่นชูใจ                 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
149.  อาภรณ์ สีมาโรจน์
150.  ไกรศร เรืองกูล
151.  อริญชัย วิถีธรรมศักดิ์
152.  อรุณวนา สนิกะวาที
153.  อรัญญา ทิพย์พันธ์
154.  กาญจนา แซ่กัง
155.  ศุภวิศท์ สุขวดี
156.  ภัควดี วีระภาสพงษ์
157.  เชฏฐพงศ์ จงภัทรนิชพันธ์
158.  ปิยะวิทย์ เทพอำนวยสกุล
159.  พิไลวรรณ กิ่งพิลา
160.  นายธนสาร บัวผัน
161.  นางอมร บัวผัน
162.  น.ส สุรีย์พร บัวผัน
163.  พีรพล สุภโตษะ
164.  ภาคิไนย์ ชมสินทรัพย์มั่น      นิสิตปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
165.  อิทธิพล สุภโตษะ
166.  สงวน บัวผัน
167.  ปนัดดา สุภโตษะ
168.  ภาณุ ตรัยเวช
169.  ภัทธา สังขาระ
170.  พงษ์ศักดิ์ ภูพาที
171.  ลือชา กิจบำรุง
172.  พนิดา บุญเทพ
173.  กิรพัฒน์ เขียนทองกุล
174.  ปราบดา หยุ่น
175.  ศรีสมร กิจภู่สวัสดิ์
176.  ปุณณดา สายยศ
177.  วราภรณ์ วรทัพ
178.  อาทิชา ตันธนวิกรัย
179.  อัคคพล เชิญศิริ
180.  พิชนัน มะลิวรรณา
181.  ณภัทร ฐานวาสก์
182.  สานุ อร่ามเอกวนิช
183.  ประสิทธิ์ชัย มากพิณ
184.  ธวัชชัย พัฒนาภรณ์
185.  อุเชนทร์ เชียงเสน                  นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
186.  จินตนา แหนไธสง
187.  เสาวลักษณ์ ป้องกันทรัพย์
188.  กิตติพล สรัคคานนท์
189.  สุริยา จริงสิริ
190.  สุรินทร์ ปัทมาศนุพงศ์
191.  รวิ ลิ้มวิวัฒน                            นักวาดการ์ตูนคอมิคอิสระ
192.  อภิเชษฐ์ ตรงจิตอุทัย
193.  คัทลียา เผ่าศรีเจริญ
194.  สุธิดา วิมุตติโกศล                    คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
195.  ดลภาค สุวรรณปัญญา
196.  ธีร์วนี วงศ์ทองสรรค์
197.  ชัยพงษ์ สำเนียง                      สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
198.  ลิขิต เครือบุญมา                     ศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์
199.  ภาคิน นิมมานนรวงศ์
200.  บดินทร์ เทพรัตน์
201.  จารุวัฒน์ เกยูรวรรณ
202.  สุริยะ ครุฑพันธุ์
203.  เทพวุธ บัวทุม
204.  วันวนัทธ์ วรภู
205.  กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์
206.  โสภัค ไชยชนะ
207.  อชิรวิชญ์ อันธพันธ์
208.  ศุภกร งอนสระน้อย
209.  เกียรติยศ ภู่กาญจน์
210. นายพิเชษฐ์ ปานดำ                            เครือข่ายชุมชนชายฝั่งอ่าวพ​ังง
211.  ณัชชา ภู่กาญจน์
212.  ธนพล ฟักสุมณฑา
213.  มงคล ขุนจินดา
214.  ธัญญ์นรี คชมหิทธิ์
215.  เพ็ญพรรณ สนิทวงศ์
216.  วันวิสา ตรีปริฉัตร
217.  สุรชัย ฉายินทุ
218.  เฉลิมอำพล ฉายินทุ
219.  นิตยา สนิทวงศ์
220.  รุ่งเรือง เฮงฮู้
221.  สุรกัณฐ์ อ่ำกลัด
222.  วีรวุฒิ เอมทอง
223.  จิระศักดิ์ ลิ้มเจริญ
224.  ดาวรุ่ง กลิ่นเกสร
225.  มนูญ บุญทับ
226.  สุวิทย์ มูลืทรงเกียรติ
227.  อดิศร เชยโต
228.  วันเผด็จ สุทธิจำนง
229.  พีรวัส ลี้เกสร
230.  พิสิษฐ์ เจริญสุข
231.  นพพร เจริญวัย
232.  ไวกูล สงสถิตย์
233.  ณัฐพงศ์ ทรงประวัติ
234.  จรัส โฆษณานันท์
235.  ศราวุฒิ วิสาพรม
236.  ปริยา รัตนโยธา
237.  ภูริทัต ทองปรีชา                                     นักเขียนนักแปลอิสระ
238.  พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ
239.  ตฤณ ไอยะรา
240.  ไกรวุฒิ จุลพงศธร
241.  ชีวิน สันธิ                                              นักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
242.  ณิชนันท์ ตัญธนาวิทย์
243.  พิมไพร รัตน์ประสาทพร                          ประชาชน
244.  อิฐ อัศนี
245.  เกษม รัตน์ประสาทพร                            ประชาชน
246.  จิตรา คชเดช                                        ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย
247.  วิภา มัจฉาชาติ                                      กลุ่มคนงาน try arm
248.  สุธีรา ลีประเสริฐสุนทร
249.  นัครินทร์ เพชรสิงห์
250.  ชมพูนุท ชมพูรัตน์
251.  สิริพร บัวสำลี                                        รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
252.  ผศ. ดร.สุดา รังกุพันธุ์                           อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
253.  นายพิชิตพงศ์ เมฆวิบูลย์ชัย                    นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
254.  เพ็ญวดี นพเกตุ มานนท์                         MS Environmental Management, NIDA
255.  นพดล กุลบุตร                                      พนักงานบริษัท
256.  กำพล วงศ์กุหมัด
257.  เชาวลิต ป่งแยง
258.  กฤษตฌา พรหมรักษา
259.  พัชณีย์ คำหนัก                                        นักรณรงค์สิทธิมนุษยชน
260.  ยรรยง เที่ยงทิศ                                       ประชาชน
261.  น.ส.ณัชชๅ เพ็ชรดี
262.  เกียรติยศ ภู่กาญจน์                                นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
263.  พนิดา อนันตนาคม                                 อาจารย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
264.  สุดไผท เมืองไทย
265.  สลินณา ลีประโคน                                 นักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
266.  ลัดดา สงกระสินธ์
267.  นายประทักษ์พล ประจักษ์จิตต์                  ที่ปรึกษาสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย
268.  กฤช เหลือลมัย
269.  นางอารยา ประจักษ์จิตต์                          นิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
270.  นายชาตรี สมนึก
271.  ปรีชา แก้วคำปา                                     ประชาชนพลเมือง
272.  ธนานุช นัยนะแพทย์
273.  ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์                             สถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา สิงคโปร์
274.  อารดา ทางตะคุ                                        นักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
275.  อุทัยทิพย์ สุขเกษม
276.  สรัช สินธุประมา                                     สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
277.  เนตรนภิส วรศิริ
278.  ชาตรี ประกิตนนทการ                            คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
279.  อัญชลี อนันตวัฒน์
280.  เนตรดาว เถาถวิล
281.  ภากร สุดาทิพย์          นิสิตปริญญาโท ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
282.  นิษฐา อยู่พร้อม
283.  วรกร ฤทัยวาณิชกุล
284.  ประภาพร มีแทน
285.  Kasin Srithongsuk                                 School of Architecture and Design Assumption University
286.  ไวยพจน์ ว่องวงศ์ภพ
287.  ยศอารีย์ รวยธนพานิช
288.  ปานอรุณ ฟ้ามหาสมุทร
289.  ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์
290.  สุรพศ ทวีศักดิ์
291.  วนิชา ดิเรกอุดมศักดิ์
292.  การะเกตุ ศรีปริญญาศิลป์
293.  สุชาติ เศรษฐมาลินี
294.  ฌพวัฒน์ ลิขิตวงศ์
295.  ธิติ มีแต้ม
296.  ศกุนตลา ฤาชา
297.  คนึงนิตย์ อุตมา
298.  อาจินต์ ทองอยู่คง
299.  กลุ่มเสรีเกษตรศาสตร์
300.  เอกวิทย์ เตระดิษฐ์
301.  ณัฐกานต์ สกุลดาราชาติ                           มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
302.  Ornsirinthorn Nawawat
303.  ภูริพัศ เมธธนากุล                                   เกษตรศาสตร์
304.  จิฬาชัย พิทยานนท์                                 เกษตรศาสตร์
305.  กุณฑสูติ อรุณสุดา                                  เกษตรศาสตร์
306.  อัมเรศน์ สิงห์ทวีศักดิ์                              เกษตรศาสตร์
307.  รัตนาวลี วัฒนไพโรจน์รัตน์                      ประชาชน
308.  บุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์
309.  สิฐิ์วิภา หาญสิริเพชร                              คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
310.  อริยา พชรวรรณ
311.  สุจิตรา อุ่นเอมใจ
312.  นายคณิต กำลังทวี
313.  พันธกานต์ ตงฉิน
314.  ธนลักษณ์ ทองสันสระ                          
315.  วาทินี ชัยถิรสกุล
316.  ศักดิ์ดา ถวัลย์วรกิจ
317.  เล็ก มานนท์                                            ประชาชนตาสีน้ำตาลปนดำ
318.  พลภัทร เจริญเวียงเวชกิจ
319.  ณัฐพันธุ์ บุญเลิศ
320.  ธนาวิ โชติประดิษฐ
321.  ภาณุพงศ์ กาญจนอุดมชัย
322.  วรวิทย์ ไชยทอง                      นิสิตภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
323.  แก้วตา ธัมอิน
324.  ณัฐพจน์ จัตุรเขษม
325.  เบญจมาศ บุญฤทธิ์
326.  ณัฐพงษ์ ราชมี                     นิสิตหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ม.มหาสารคาม
327.  พัชรสฤษดิ์ กนิษฐเสน            รัฐประศาสนศาสตร์ ราชภัฏลำปาง
328.  ปิยะพร ศรีแปลก
329.  ปรัญวัฒน์ เมืองพูล
330.  ปวรรัตน์ ผลาสินธุ์
331.  เกียรติศักดิ์ คำสี
332.  ธเนศ เพชรเลิศ
333.  บัณฑูร ราชมณี                        คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
334.  ธีระพล อันมัย                         คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
335.  นายสมภพ พุ่มจันทร์               นักศึกษาปริญญาโท คณะวิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์ประยุกต์ 
                                                     สถาบันเทคโนโลยีพระเจ้าเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง
336.  วสมน ชอินทรวงศ์
337.  สุภาวดี กลั่นความดี
338.  อรรณพ นูเด็น                                               คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
339.  ศรวิษฐ์ โตวิวิชญ์
340.  อุ่นฮ้ง ลิ้ม
341.  ดิน บัวแดง                                                   คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
342.  คชภพ รัศมินธาดา
343.  นส.ปิลันกานต์ ฤทธิโต
344.  น.ส. อาศิรา พนาราม
345.  นันทชัย สามะพุทธิ
346.  อุบลกาญจน์ จันทรางกุร
347.  ธงชัย อัครสุทธิกร
348.  สิรนันท์ ห่อหุ้ม
349.  นายประมวล ดวงนิล                              กลุ่มเถียงนาประชาคม มหาสารคาม
350.  ธีระวัฒน์ รุจินธรรม
351.  นริศรา แก้ววิไล
352.  วีร์ ศานติ
353.  พศิน สุนทราธนกุล                                 ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ(ประสานมิตร)
354.  รวินทร์ คำโพธิ์ทอง
355.  บุญครอง พรพนาทรัพย์
356.  ภคพล พงษ์สุระ                                      นายสัตวแพทย์ ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ KU 48
357.  พัชรินทร์ ดินขุนทด
358.  อำนวย ดินขุนทด
359.  พัชรนุช สุทธิราช
360.  นายวิศรุต นุชพงษ์
361.  สุนิสา อิทธิชัยโย
362.  เจษฎา ปัญญาศร
363.  วริศรา ตั้งค้าวานิช
364.  แวววิศาข์ ณ สงขลา                 นักศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร,คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
365.  อัญญนี ทรงเกียรติธนา
366.  ปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม
367.  ศรัณย์ กังวิสวัฒน์
368.  ชัยปภัส ไวรักษ์
369.  ประวิทย์ วงศ์ละ
370.  นายอัศวิน วิบูลย์พงษ์
371.  นายวิริยะ วิบูลย์พงษ์
372.  นายวิกรม วิบูลย์พงษ์
373.  นายณัฐชพล อวมานนท์
374.  นายอธิคม คงคล้าย
375.  รามพล โสใหญ่
376.  ปิยพัฒน์ จันทพันธ์
377.  ศักดิ์สิทธิ์ กัลยาณมิตร
378.  วรรณพร เนียมกล่ำ
379.  ธนเขต สมบูรณ์ทรัพย์
380.  วิลันดา ดิสรเตติวัฒน์
381.  พิเชฐ ยิ่งเกียรติคุณ                                  เครือข่ายพลังลบ
382.  วัฒนชัย แจ้งไพร
383.  อิงค์ ปรนัย
384.  สุกัญญา สายสิงห์                                   เถียงนาประชาคม
385.  ปัญญา สุรกำจรโรจน์
386.  ธนรรถวร จตุรงควาณิช                           คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
387.  ธนกฤต โพธิ์จาด
388.  เขมิกา จันทกลาง
389.  นายสุพล ดีใจ
390.  สวรินทร์ ดีหล้า                       คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
391.  อนุธีร์ เดชเทวพร                    อดีตเลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย พ.ศ.2552-2553,                                                        นักศึกษาปริญญาโท Monash University
392.  ดนุชเดช แก้วมงคล                 นักศึกษาคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
393.  สรธัญ เหมพิพัฒน์                   นักวิชาการอิสระ และ ผู้สื่อข่าวอิสระ
394.  ก้องเกียรติ จันทะวงษ์             นักออกแบบอิสระ Architect Of People
395.  เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล        เยาวชนคนสามัญ
396.  ธนุต มโนรัตน์                        รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
397.  สุประวีณ์ รชตพิสิษฐ์               ประชาชน
398.  นายพิเชษฐ์ ปานดำ                 เครือข่ายชุมชนชายฝั่งอ่าวพังงา
399.  เพียงคำ ประดับความ
400.  นายเดชาวัต ขจรเนติยุทธ
401.  นฤมล อนันตกฤตยาธร
402.  จิรชาติ สันต๊ะยศ                     ประชาชน/ นักเขียน
403.  ปรามธนี วงศ์พรหมเมศร์
404.  กฤษณ์ แป้นพัฒน์
405.  ดาวประกาย ฟิลด์
406.  ธันย์ ฤทธิพันธ์                        นักเขียนอิสระ
407.  จักรกฤษณ์ ทิมไสว                 คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
408.  วจี หน้ากาก
409.  มนสิริ เพ็ชรแก้ว                     ครู ชำนาญการ สังกัดกรุงเทพมหานคร
410.  ถลัชนันท์ เอ่งฉ้วน                  นิสิตคณะรัฐศาสตร์ ภาควิชาการปกครอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
411.  อติภพ ภัทรเดชไพศาล
412.  ขวัญระวี วังอุดม
413.  ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์
414.  มุกหอม วงษ์เทศ
415.  ไอดา อรุณวงศ์ 
416.  อภิชาต สถิตนิรามัย                                 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
417.  จักรกริช สังขมณี                                    คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
418.  เกษม เพ็ญภินันท์                                   ภาควิชาปรัชญา       คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
419.  สิริพรรณ นกสวน สวัสดี                          คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
420.  นายพจน์ กริชไกรวรรณ
421.  กานต์ ทัศนภักดิ์                                      ศิลปินอิสระ
422.  นภัทร สาเศียร                                        นิสิตปริญญาโท จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
423.  ธนาพล อิ๋วสกุล 
424.  สุรัสวดี หุ่นพยนต์                                    มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
425.  ธนศักดิ์ สายจำปา
426.  มงกุฏ รัตน์ดำรงกุล
427.  รักนิรันดร์ วรรณวีรพงษ์                  รัฐศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
428.  พงศ์พล ชื่นเจริญ                         นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
429.  วรงค์ หลูไพบูลย์                           รับจ้างทำเว็บ
430.  สราวุฒิ เคลือแก้ว                          คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
431.  วาสุเทพ เกตุเพ็ชร์
432.  พงษ์เทพ สุทธิอนันต์
433.  สาวิตรี พลอยปัณนาวงค์
434.  รัตนพล แตงใย                              คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
435.  ภีรเดช โกตมวรีสุรนารถ
436.  เมธา เชื้อนาคา                             คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
437.  พิภพ อุดมอิทธิพงศ์                       นักแปล
438.  ประนัย ราตรี
439.  อิสราภรณ์ พิศสะอาด
440.  เยาวมาลย์ พืชสุวรรณ
441.  ดลยา แสงอากาศ
442.   อนุชา แหสมุทร์
443.  อภิเดช จันทรภูมิ                            SEAs คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
444.  วนิดา เจียมรัมย์
445.  เสริม เจียมรัมย์
446.  ดวงใจ พวงแก้ว
447.  ปกรณ์ อารีกุล                                กลุ่มลูกชาวบ้าน มหาวิทยาลัยบูรพา
448.  นายวรวุฒิ เทือกชัยภูมิ                   นิสิตวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
449.  นพพล อาชามาส
450. นางสาวศศิวิมล รัตนวงษ์            นิสิตวิทยาลัยการเมืองการปก​ครอง มหาวิทยาลัยมหาสรคาม
451. สงกรานต์ รัตน์พลที
452. พิสิษฐ์ จตุรภาพพรชัย
453. นายยุทธนา ลุนสำโรง              วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
454. ธิติมา สุวรรณรัตน์
455. กอบชัย กอบสุข
456. เวธัส โพธารามิก                      นักศึกษาปริญญาโท สาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
457. ประเวศ ประภานุกูล                  ทนายความอิสระ
458. อัจฉรา รักยุติธรรม                    อักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
459. เศรษฐบุตร ชมชื่น                    นักศึกษา วิทยาลัยอาชีวะศึกษาแพร่
460. ฉันทลักษณ์ รักษาอยู่                นักกิจกรรมด้านสิทธิความหลากหลายทางเพศ
461. ว่าที่ร.ต.กฤชนนท์ แสดงฤทธิ์ ที่ปรึกษากฎหมาย/นักบริหาร

 


หมายเหตุ:
ผู้ที่ต้องการลงชื่อสนับสนุนแถลงการณ์ฉบับนี้ สามารถเพิ่มชื่อได้ในบอร์ดแสดงความเห็นของประชาไท
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เสวนา ฮ. ตก กับปัญหาอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน

Posted: 08 Aug 2011 11:37 AM PDT

เสวนาวิวาทะระหว่างหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน กับนักสิทธิมนุษยชนผู้เชี่ยวชาญด้านกะเหรี่ยงศึกษา กรณีการจับกุมชาวกะเหรี่ยงในผืนป่าแก่งกระจาน ซึ่งมีความเข้าใจต่อประเด็นปัญหาแตกต่างมาก แต่ทั้งหมดถูกกลบไว้ด้วยเหตุการณ์เฮลิคอปเตอร์ตกจำนวน 3 ลำ และมีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 17 ราย

เมื่อวันที่ 8 ส.ค. 2554 เวลา 10.00 น. สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยบร่วมกับสถาบันอิศรามูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ร่วมจัดราชดำเนินเสวนา เรื่อง “ฮ. ตก กับปัญหาอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน”

 

หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานอ้างผลักดันชนกลุ่มน้อยจากพม่า ห่วงปัญหายาเสพติด

โดยนายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เล่าถึงพื้นที่ป่าแก่งกระจานว่ามีพื้นที่กว้างมากกว่า 1.8 ล้านไร่ ต้องใช้เวลามากกว่า 15 วันจึงจะเดินได้ครึ่งหนึ่งของพื้นที่ ดังนั้นต้องใช้เฮลิคอปเตอร์ในการสำรวจพื้นที่ป่า ซึ่งกรณีของชาวกะเหรี่ยงในพื้นที่ที่ถูกจับกุมนั้น เป็นคนที่อพยพมาจากประเทศพม่า

ทั้งนี้ เมื่อปี 2537 ทางการเคยอพยพชนกลุ่มน้อยจากป่าลึกมายังบ้านบางกลอย จัดสรรพื้นที่ให้ 7-15 ไร่ และจัดพื้นที่อยู่คนละ 3 งาน หลังจากนั้นไม่มีโครงการพระราชดำริและไม่มีหัวหน้าอุทยานแห่งชาติเข้าไปดูแล เมื่ออพยพแล้วบ้านที่มีอยู่ก็เป็นบ้านว่าง ชนกลุ่มน้อยจากพม่าก็เข้ามาอยู่แทน และจากที่ใช้เฮลิคิปเตอร์ของโครงการชั่งหัวมัน ก็พบซึ่งไม่ใช้การบุกรุกเพิ่มเติม แต่เป็นการใช้พื้นที่เดิมในการทำไร่ โดยอยู่อาศัยห่างๆ กัน 1-2 กิโล ซึ่งใช้เวลาเดิน 1-2 วันกว่าจะถึงบ้านแต่ละหลัง

สำหรับโครงการอพยพชนกลุ่มน้อยออกจาพื้นที่ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาตลอดปี 2552-2553 รวมแล้ว 6 ครั้ง โดยเข้าไปเจรจากับชนกลุ่มน้อย 2 ครั้งแต่ไม่ได้ผล จึงเริ่มทำการจับกุมในเดือน พ.ค. และมิ.ย. ที่ผ่านมา โดย 2 ครั้งแรกที่เริ่มการเจรจานั้น ดำเนินการโดยอุทยานฯ จากนั้นครั้งที่ 3-5 เป็นการสนธิกำลังกับทหาร และครั้งที่ 6 เป็นภารกิจของทหาร เนื่องจากเฮลิคอปเตอร์ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบินตามแนวสันแดนไม่ได้ จึงต้องยกภารกิจให้กองทัพเป็นผู้ปฏิบัติการ กระทั่งเกิดเหตุเฮลิคอปเตอร์ตกต่อเนื่องกัน 3 ลำดังที่เป็นข่าว

ส่วนข่าวที่ออกมาว่า เจ้าหน้าที่อุทยานไปทำการเผาบ้านและยุ้งฉางของชาวบ้านนั้น หัวหน้าเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานปฏิเสธว่า เป็นการเผาทำลายซากบ้านเรือนที่ไม่มีคนอยู่อาศัยแล้ว

โดยนายชัยวัฒน์ย้ำว่าสิ่งที่เป็นห่วงคือ ปัญหายาเสพติด ที่พบว่ามีการปลูกกัญชาอยู่หลายแปลง พร้อมกล่าวว่า จากการลงพื้นที่หลายครั้งได้พบกองกำลังติดอาวุธแต่ไม่มีการปะทะกัน

สำหรับจุด ฮ. ตก นั้นเป็นการตกที่ตะเข็บชายแดนจริง

 

ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษากะเหรี่ยงและการพัฒนาระบุ อุทยานฯ ละเมิดมติ ครม. 2553

นายสุรพงษ์ กองจันทึก ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษากะเหรี่ยงและการพัฒนาชี้แจงความหมายของคำว่า กะเหรี่ยงกับกะหร่างว่า เป็นการใช้คำผิดมาตลอด ซึ่งคำว่า “กะหร่าง” มีนัยยะดูถูกเหยียดหยามกลุ่มชาติพันธุ์เหมือนคำว่าเจ๊ก

โดยนายสุรพงษ์กล่าวว่าที่มาที่ไปของคำว่ากระหร่าง คือ คนกระเหรี่ยงในประเทศไทยมีประมาณห้าแสนคนแบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ คือ สะอร์ หรือที่เรียกตัวเองว่าปากะญอ กลุ่มที่สอง คือกระเหรี่ยงโป ที่เรียกตัวเองโพล่ง หรือโผล่ว

กระเหรี่ยงแถวๆ เพชรบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี เป็นกระเหรี่ยงโป ส่วนปากะญอ เป็นกลุ่มน้อย จึงถูกเรียกว่ากระหร่าง ในความหมายที่ว่า ไม่ใช่กระเหรี่ยงแท้ สำหรับ กระเหรี่ยง บริเวณแม่น้ำเพชรบุรีนี้ ทางมูลนิธิไปสำรวจมาตั้งแต่ปี 2526 พบว่ามีชาวบ้านกระเหรี่ยงอยู่มาก่อนแล้ว จนกระทั่งปี พ.ศ. 2530 มีการจัดทะเบียนชาวเขาเป็นความร่วมมือระหว่างกะทรวงมหาดไทย ศูนย์พัฒนาชาวเขา พบว่ากระเหรี่ยงบริเวณต้นน้ำเพชรมีมาสอดคล้องกับที่สำรวจมาก กระเหร่ยงในบริเวณป่าแก่งกระจานมีมาหลายร้อยปีแล้ว มีวิถีชีวิตดั้งเดิมมาก และอยู่อย่างกลมกลืนกับธรรมชาติ ไม่มีหลักฐานว่ากระเหรี่ยงเหล่านี้เข้าประเทศไทยมาตอนไหน นายสุรพงษ์ตั้งคำถามตอปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน 3 ประเด็นคือ

ข้อหาที่ 1 หากชาวกระเหรี่ยงกลุ่มนี้ชาวบ้านเข้าเมืองผิดกฎหมาย คำถามคือพวกเขาเข้าอย่างไร บ้านเก่าที่พม่ามาจากไหนอย่างไร เพราะจากการศึกษาเป็นกระเหรี่ยงที่อยู่ในพื้นที่มานานแล้ว

ข้อหาที่ 2 ทำลายป่า มีหลักฐานอะไรบ้าง

ข้ออหาที่ 3 กองกำลังของกะเหรี่ยงที่จับได้ มีอาวุธอะไรบ้าง เพราะจากหลักฐานของเจ้าหน้าที่พบว่ากะเหรี่ยงกลุ่มดังกล่าวมีเพียงอุปกรณ์ทำการเกษตรเท่านั้น

นายสุรพงษ์ ยังได้อ้างถึงมติครม. 3 สิงหาคม 2553 ที่ให้ยุติการจับกุมและให้ความคุ้มครองกับชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่เป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม โดยให้เรียนรู้อัตลักษณ์วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง โดยมีกระทรวงวัฒนธรรมและกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ และมีมาตรการอื่นๆ ที่รัฐไทยรับรองสิทธิของชนกลุ่มน้อย (อ่านจากเอกสารประกอบ)

อย่างไรก็ตาม หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ โต้แย้งว่า กะเหรี่ยงกับกะหร่างนั้นต่างกัน และมีภาษาต่างกัน มีวัฒนธรรมต่างกัน รวมถึงนับถือศาสนาต่างกัน คือกะเหรี่ยงนับถือคริสต์ แต่กะหร่างนับถือพุทธปนพราหมณ์ พร้อมกล่าวด้วยว่า หลักฐานอาวุธของชนกลุ่มน้อยที่จับได้นั้นมีจำนวนมาก เพียงแต่ไม่ได้ถ่ายภาพไว้เท่านั้น

“ที่จับแค่ปืนแก๊ป แต่ไม่เอาลูกปืนคาร์บินมาถ่าย ผมเข้าใจคำว่าสิทธิและคุณธรรมของคน ฐานปืนค. อยู่ในบ้านเขาตั้งสามสี่ตัว พานท้ายปินอาก้า ไม่รู้กี่สิบ อุปกรณ์เสริมแต่งเต็มไปหมด แต่เราจะทำอย่างนั้นทำไม ผมทำงานตรงนี้ เข้าใจคนกลุ่มนี้ไม่น้อยผมเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนมากกว่าคนที่อยู่ในกรรมการสิทธิด้วยซ้ำ” หัวหน้าอุทยานแห่งชาติโต้

 

แกนนำประชาคมกะเหรี่ยงสวนผึ้งระบุหน่วยงานรัฐขาดความเข้าใจ นำไปสู่การปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง

นายวุฒิ บุญเลิศ ประธานประชาคมอำเภอสวนผึ้ง ซึ่งเป็นชาวกะเหรี่ยงกล่าวอธิบายข้อขัดแย้งเรื่องความหมายของคำว่ากะเหรี่ยงและกะหร่างว่า

คำว่ากะเหรี่ยง ไม่ได้แยก ว่าเป็นพุทธ คริสต์ กลุ่มชาติพันธุ์ ไม่ถูกจำแนกแยกแยะด้วยเสื้อผ่าและศาสนา แต่คำว่ากะหร่างถูกใช่ครั้วงแรกในสมัยรัชการที่ 6 เนื่องจากมีการเข้าไปศึกษาสำรวจกลุมชาติพันธุ์ และใช้คำว่ากะหร่างเพื่อแยกกะเหรี่ยงปากะญอออกจากกะเหรี่ยงกลุ่มอื่นในพื้นที่ทางตะวันตกของประเทศไทย และมีการใช้ต่อๆ กันมา“คำนี้ทำให้ผมวิตกกังวลว่าพี่น้องสื่อไม่เข้าใจความหมายนัยยะเหล่านี้ และถ้าความสับสนนี้ไปเกี่ยวข้อกับนโยบายและแผนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ก็จะทำให้เกิดความผิดพลาด”

นายวุฒิกล่าวต่อไปว่าป่าโป่งลึกบางกลอย แม่น้ำเพชร เป็นพื้นที่คนกะเหรี่ยงอาศัยอยู่มานานแล้ว การสำรวจทำหลักฐานทะเบียน ปี พ.ศ.2512 ช่วงนั้นรัฐบาลมีความวิตกกังวลต่อประเด็นคอมมิวนิสต์ โดยมีการมอบเหรียญปีให้กับชาวกะเหรี่ยง เสมือนกับการให้สิทธิสถานะกับคนเหล่านั้น

“ปัญหาที่เกิดขึ้น เกิดจากสิ่งที่เราสร้างวาทกรรม เช่น คำว่าชนกลุ่มนอย เราไม่รู้เลยว่าเผ่าอะไร ภาพหลอนของชนกลุ่มน้อยที่เรามีก็ทำให้มองเห็นเรื่องคนติดอาวุธ เมื่อมองเช่นนั้น ก็เป็นคนละพวกกับเรา เป็นคนละพวกกับรัฐ ความเป็นชนกลุ่มน้อยซึ่งภาพอธิบายไม่ชัดเจน อาจจะมีความชอบธรรมในการปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น กรณีรัฐบาลขัดแย้งทางความคิดกับคนกลุ่มหนึ่งก็เรียกคนเหล่านั้นว่าผู้ก่อการร้าย เป็นการให้อำนาจหรือลดทอนอำนาจของคน”

“อีกส่วนคือประเด็นยาเสพติด และแหล่งพักพิง เกิดจากหัวหน้าอุทยานไม่เข้าใจเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ ไม่เข้าเข้าใจวิธีคิดภูมิหลังความเชือ่ ไม่เข้าใจบริบททางประวัติศาสตร์ และผมเชื่อว่านี่จะเป็นเวทีแลกเปลี่ยนกันเพื่อนำไปสู่การแกปัญหาชาติบ้านเมือง”

นายวุฒิกล่าว โดยสรุปว่า 1) หากยุทธการตะนาวศรี คือการจัดการกับคนกลุ่มน้อย ที่เรียกว่ากะหร่าง ก็ฟังคล้ายเป็นคนกลุ่มใหม่ เป็นเรื่องที่ไม่สะทกสะท้าน เพราะไม่ใช่กะเหรี่ยง

2) ข้อกล่าวหาที่ว่าชนกลุ่มน้อยเหล่านี้สะสมกำลัง มียาเสพติดและมีแหล่งพักพิงนั้น ถ้ามีอาวุธ หรือหลักฐานอุปกรณ์การผลิตยาเสพติด เจ้าหน้าที่ต้องนำสิ่งเหล่านั้นมาแสดง ถ้านำมาแสดงได้ ก็เป็นความชอบธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ แต่สิ่งเหล่านี้ยังเป็นเครื่องหมายคำถาม

นายวุฒิเสนอทางออกเฉพาะหน้าว่า ท่าทีของเจ้าหน้าที่หรือชุมชนที่จะอยู่ร่วมกันต่อไปก็คือ ควรหันไปมองแนวทางการจัดการป่าของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ซึ่งมีกะเหรี่ยงอาศัยอยู่หกหมู่บ้าน โดยเจ้าหน้าที่พยายามศึกษาประวัติศาสตร์และดูว่า เจ้าหน้าที่อยู่ได้ ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมอยู่ได้ และคนก็อยู่ได้ ซึ่งเป็นแนวทางที่น่าจะเป็นบทสรุปหรือการถอดบทเรียนสำหรับการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่จะทำงานกับชุมชนต่อไป

 

มติคณะรัฐมนตรี ๓ สิงหาคม ๒๕๕๓

16. เรื่อง แนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอดังนี้

  1. เห็นชอบหลักการแนวนโยบายและหลักปฏิบัติในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง
  2. มอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแนวนโยบายและหลักปฏิบัติในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงไปปฏิบัติ ดังนี้

1.1 มาตรการฟื้นฟูระยะสั้น ดำเนินการภายใน 6 – 12 เดือน

ประเด็น ข้อเสนอแนะ หน่วยงานที่รับผิดชอบ
1. อัตลักษณ์ ชาติพันธุ์และวัฒนธรรม 1.1 ส่งเสริมและสนับสนุนชาวกะเหรี่ยงในเรื่องอัตลักษณ์ ชาติพันธุ์ (Ethnic identity) และวัฒนธรรมกะเหรี่ยงว่าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมชาติที่มีความหลากหลาย วธ. กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)
1.2 ส่งเสริมสังคมให้มีความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันแบบพหุวัฒนธรรม โดยให้เรียนรู้อัตลักษณ์วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง วธ. พม.
2. การจัดการทรัพยากร 2.1 ยุติการจับกุมและให้ความคุ้มครองกับชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่เป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมที่อยู่ในพื้นที่ข้อพิพาทเรื่องที่ทำกินในพื้นที่ดั้งเดิม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)
กระทรวงมหาดไทย (มท.)
2.2 จัดตั้งคณะกรรมการ หรือกลไกการทำงานเพื่อกำหนดเขตพื้นที่ในการทำกิน การอยู่อาศัย และการดำเนินวิถีชีวิตตามวัฒนธรรม (Demarcation Committee/Mechanism) เพื่อจัดการข้อพิพาทการใช้ประโยชน์หรือการถือครองพื้นที่ของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงกับหน่วยงานรัฐซึ่งมี องค์ประกอบนอกเหนือจากองค์ประกอบของคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ ที่เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนผู้มีส่วนได้เสีย นักวิชาการ และ ผู้ปฏิบัติงานทางด้านวิถีวัฒนธรรม และสิทธิมนุษยชน ตลอดจนนักมานุษยวิทยาและสังคมวิทยา โดยกำหนดอำนาจหน้าที่มุ่งเน้นการส่งเสริมแนวทางการจัดการความขัดแย้งในเชิงสร้างสรรค์ (Constructive Dialogue) ทส. มท.
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงยุติธรรม (ยธ.)
2.3 ส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพในชุมชนบนพื้นที่สูง เช่น การรักษาความหลากหลายของการสร้างพันธุ์พืช การสร้างความมั่นคงทางอาหาร การสร้างความสมดุลของนิเวศผ่านกระบวนการระบบไร่หมุนเวียน ทส. มท.
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.)
3. สิทธิในสัญชาติ 3.1 มีมติคณะรัฐมนตรีให้ชาวกะเหรี่ยงที่ได้รับบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรประจำตัวบุคคลบนพื้นที่สูงและบัตรสำรวจชุมชนบนพื้นที่สูงเดิม) ที่อพยพเข้าตั้งแต่ วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2528 สามารถขอเป็นคนต่างด้าวมีถิ่นอยู่ถาวรในประเทศไทย และได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ส่วนบุตรที่เกิดในประเทศไทยให้สามารถขอสัญชาติไทยตามกฎหมายสัญชาติ มาตรา 7 ทวิได้ ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายประมาณ 40,000 คน มท. สำนักงานสภาความมั่นคง แห่งชาติ (สมช.)
3.2 เร่งรัดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณาการขอเป็นคนต่างด้าวมีถิ่นที่อยู่ถาวรในประเทศไทยและได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวรวมทั้งบุตรที่เกิดในประเทศไทยขอสัญชาติไทยตามกฎหมายสัญชาติ มาตรา 7 ทวิ ที่ได้ยื่นเรื่องขอเป็นเวลานานแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4. การสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม 4.1 ส่งเสริมศูนย์วัฒนธรรมชุมชน โดยเชื่อมโยงและ สอดคล้องกับวิถีชีวิตกับฐานคิดดั้งเดิม ให้เป็นศูนย์วัฒนธรรมที่มีชีวิต วธ. โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ โดย ศูนย์บูรณาการไทยสายใยชุมชน เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
4.2 สนับสนุนงบประมาณในการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมชุมชน และการทำกิจกรรมของกลุ่มเครือข่ายทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง วธ. พม.
5. การศึกษา 5.1 ให้ชุมชนมีส่วนในการกำหนดหลักสูตรการศึกษาที่ สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรม รวมทั้งสามารถจัดการศึกษาได้ด้วยตนเอง และส่งเสริมการจัดการศึกษาโดยท้องถิ่น เช่น งบประมาณ ศธ.
5.2 พัฒนาศักยภาพผู้บริหารการศึกษา ครู คนในท้องถิ่น เช่น กรรมการโรงเรียนให้สามารถจัดการศึกษาได้ด้วยตนเอง โดยการฝึกฝนอบรมและศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง และปรับระบบการบริหารของโรงเรียนให้เกิดความเหมาะสมกับชุมชน ศธ.
5.3 สนับสนุนทุนการศึกษาในระดับอุดมศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาขาที่จำเป็นในการพัฒนาชุมชน เช่น ด้านสาธารณสุข มท. ศธ.
กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)

1.2 มาตรการฟื้นฟูระยะยาว ดำเนินการภายใน 1 – 3 ปี

ประเด็น ข้อเสนอแนะ หน่วยงานที่รับผิดชอบ
1. การจัดการทรัพยากร 1.1 เพิกถอนพื้นที่ที่รัฐประกาศเป็นพื้นที่ป่าไม้ อนุรักษ์ป่าสงวนซึ่งทับซ้อนกับที่ทำกินและที่อยู่อาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่มีข้อเท็จจริงจากการพิสูจน์อย่างเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าได้อยู่อาศัย ดำเนินชีวิตและใช้ประโยชน์ในที่ดังกล่าวมาเป็นเวลานาน หรือก่อนที่รัฐจะประกาศกฎหมาย หรือนโยบายทับซ้อนพื้นที่ดังกล่าว ทส.
1.2 ส่งเสริมและยอมรับระบบไร่หมุนเวียนซึ่งเป็นวิถี วัฒนธรรมของกะเหรี่ยงที่เอื้อต่อการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนและวิถีชีวิตพอเพียง รวมทั้งผลักดันให้ระบบไร่ หมุนเวียนของชาวกะเหรี่ยงเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ทส. กษ. วธ.
1.3 ส่งเสริมเกษตรพอเพียงหรือเกษตรทางเลือกที่ไม่ใช่เกษตรเชิงเดี่ยวหรือเกษตรเชิงอุตสาหกรรม กษ. ทส. มท.
1.4 ส่งเสริมสนับสนุนและยอมรับการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ และการจัดการของชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม เช่น การออกโฉนดชุมชน มท. ทส.
2. สิทธิสัญชาติ จัดสรรงบประมาณรายหัวตามหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้ชาวกะเหรี่ยงที่ได้จัดทำประวัติและมีสิทธิอาศัยในประเทศไทยเช่นเดียวกับคนไทยทั่วไป สำนักงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแห่งชาติ (สปสช.)
3. การสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม กำหนดพื้นที่เขตวัฒนธรรมพิเศษสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโดยมีพื้นที่นำร่อง เช่น
3.1 บ้านห้วยหินลาดใน ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
3.2 ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
3.3 บ้านหนองมณฑา (มอวาคี) ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
3.4 บ้านเลตองคุ ตำบลแม่จัน อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก
ทส. มท. พม. ศธ. วธ.
4. การศึกษา 4.1 ปรับระบบการสอบบุคลากรครู โดยการส่งเสริมให้ทุนแก่กลุ่มชาติพันธุ์หรือกลุ่มกะเหรี่ยงใหม่มากขึ้น เพื่อให้สามารถกลับไปทำงานยังชุมชนของตนเอง หากเป็นครูกลุ่มชาติพันธุ์อื่นจะต้องสามารถพูดภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ นั้น ๆ ได้ หรือพร้อมที่จะเรียนรู้ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์นั้น ศธ.
4.2 รัฐจะต้องผ่อนปรนเงื่อนไขกำหนดคุณวุฒิด้านการศึกษาเพื่อประโยชน์ในการการสอนและถ่ายทอดวัฒนธรรม ประเพณี ประวัติศาสตร์ และภาษาของท้องถิ่นนั้น โดยเฉพาะครูที่สอนในระดับเด็กเล็กจนถึงชั้นประถมศึกษา ศธ. วธ.
4.3 ส่งเสริมนโยบาย “พหุภาษา” เพื่อให้เกิดการยอมรับและเข้าใจในภาษาพูดและภาษาเขียนของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง เพื่อส่งเสริมความเข้าใจในความแตกต่างทาง ชาติพันธุ์ ศธ. วธ.
4.4 ปรับเปลี่ยนรูปแบบของโรงเรียนให้เกิดความเหมาะสมกับชุมชน เช่น ปรับเป็นโรงเรียนสาขาโดยไม่ยุบโรงเรียน ไม่ว่าชุมชนแห่งนั้นจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ และส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษาท้องถิ่นผ่านการร่วมมือระหว่างโรงเรียน ชุมชน นักวิชาการ องค์กรอิสระ เพื่อพัฒนาหลักสูตรแบบบูรณาการทั้งทางด้านภาษาและวัฒนธรรม ศธ.

 

สาระสำคัญของเรื่อง
กระทรวงวัฒนธรรมรายงานว่า

  1. ปัจจุบันชาวกะเหรี่ยงในพื้นที่ของประเทศไทย ตั้งแต่จังหวัดแม่ฮ่องสอนลงมาถึงจังหวัดราชบุรีต่างได้รับความเดือดร้อนในปัญหาต่าง ๆ ที่สะสมมายาวนานเกี่ยวกับความไม่เข้าใจในวิถีชีวิตแบบกะเหรี่ยงซึ่งครอบคลุมถึงการจัดการทรัพยากรแบบธรรมชาติด้วยการทำไร่หมุนเวียน การผลิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง การให้คุณค่ากับป่าวิธีคิดในเรื่องสิทธิ (ที่มิใช่เป็นกรรมสิทธิ์) และการที่รัฐไทยยังไม่เห็นความสำคัญของวัฒนธรรมและภาษาของชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ (ซึ่งรวมกะเหรี่ยงด้วย) ที่มีอยู่ในประเทศในการจัดการระบบการศึกษาของท้องถิ่นต่าง ๆ รวมทั้งการพัฒนาประเทศในแบบทุนนิยมที่เน้นการเกษตรสมัยใหม่ซึ่งลงทุนสูง และเน้นพืชพาณิชย์เชิงเดี่ยว กีดกันทางเลือกอื่น ๆ เช่น การทำไร่หมุนเวียน ที่ผ่านมากะเหรี่ยงบางส่วนจำต้องยอมรับวิถีชีวิตแบบใหม่และหลายส่วนยังเห็นว่า “อยู่อย่างกะเหรี่ยงมีคุณค่า ต่อชีวิตมากกว่า”
  2. กระทรวงวัฒนธรรมได้ดำเนินการขับเคลื่อนการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงให้ยั่งยืนด้วยการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ชุมชนและรากฐานทางวัฒนธรรมชาวกะเหรี่ยงมีความเข้มแข็งทั้งในการดำรงชีวิตและการรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมเกิดแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการบูรณาการเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธาน ผู้แทนจาก ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ และผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เป็นกรรมการและ เลขานุการ
  3. คณะกรรมการอำนวยการฯ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน จำนวน 2 คณะ ประกอบด้วย
    1. คณะอนุกรรมการฝ่ายการศึกษาและวัฒนธรรมเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง โดยมีนายชูพินิจ เกษมณี เป็นประธานคณะอนุกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แทนจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นอนุกรรมการ และ นางขวัญชีวัน บัวแดง เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ โดยมีอำนาจหน้าที่รวบรวมข้อเท็จจริงเพื่อสรุปปัญหาด้านการศึกษาและวัฒนธรรมของชุมชนกะเหรี่ยงในประเทศไทย จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงเพื่อเสนอต่อ คณะรัฐมนตรี จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และจัดทำแนวทางปฏิบัติสำหรับการดำเนินงานของคณะกรรมการ
    2. คณะอนุกรรมการฝ่ายทรัพยากรและสิทธิเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง โดยมีนายสุรพงษ์ กองจันทึก เป็นประธานคณะอนุกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นอนุกรรมการ และ นางมาลี สิทธิเกรียงไกร เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ โดยมีอำนาจหน้าที่รวบรวมข้อเท็จจริงเพื่อสรุปปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิทธิของชุมชนกะเหรี่ยงในประเทศไทย จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี และจัดทำแนวทางปฏิบัติสำหรับการดำเนินงานของคณะกรรมการ
    3. คณะอนุกรรมการทั้ง 2 คณะ ได้ดำเนินการรวบรวมข้อเท็จจริง ปัญหา และจัดทำ แนวนโยบายและหลักปฏิบัติในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงและได้เสนอมาตรการต่าง ๆ ให้คณะกรรมการอำนวยการฯ เสนอกระทรวง วัฒนธรรมเพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
  4. คณะกรรมการอำนวยการฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2553 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2553 ได้พิจารณา ร่างแนวนโยบายและหลักปฏิบัติในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง ซึ่งคณะกรรมการทั้ง 2 คณะ ได้กำหนดแนวนโยบาย ในการสนับสนุนฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงระยะสั้นและระยะยาวในประเด็นปัญหา 5 ประการ คือ อัตลักษณ์ ชาติพันธุ์ และวัฒนธรรม การจัดการทรัพยากรสิทธิในสัญชาติ การสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมและการศึกษา ซึ่งคณะกรรมการอำนวยการฯ ได้มีมติให้ฝ่ายเลขานุการนำข้อเสนอแนะของที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการฯ ไปปรับปรุง และนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
  5. ศูนย์มานุษยสิรินธร (องค์การมหาชน) ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการอำนวยการบูรณาการเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงได้รับมอบหมายให้นำร่างแนวนโยบายและหลักปฏิบัติในการฟื้นฟูวิถีชีวิตกะเหรี่ยงไปปรับแก้ร่างตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ โดยได้ปรับแก้ไขและจัดทำเอกสารแนวนโยบายและหลักปฏิบัติในการฟื้นฟูวิถีชีวิตกะเหรี่ยงแล้ว และเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเพื่อนำเสนอคณะคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศาลให้ประกันบัณฑิตหนุ่มคดีหมิ่นฯหลักทรัพย์ห้าแสน

Posted: 08 Aug 2011 11:09 AM PDT

ศาลให้ประกันนายนรเวศย์ ยศปิยะเสถียร  ผู้ต้องหากระทำผิดคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มาตรา 112 และ พรบ.คอมฯ กำหนดวงเงินประกันห้าแสน

8 สิงหาคม 2554 เวลา 17.00น. ศาลอาญารัชดามีคำสั่งให้ปล่อยตัวชั่วคราว นายนรเวศย์    ยศปิยะเสถียร  ผู้ต้องหากระทำผิดคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มาตรา112 และ พรบ.คอมพิวเตอร์ ซึ่งได้ถูก เจ้าหน้าที่ตำรวจจาก สน.บางเขน เข้าทำการจับกุมเมื่อวันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม 2554 โดยหมายจับดังกล่าวได้ออกเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2553 หรือเป็นเวลากว่า9เดือนหลังจากวันออกหมายจับ  และคำร้องขอฝากขังระบุว่าเจ้าพนักงานสอบสวนคัดค้านการประกันตัวเนื่องจากเกรงว่าจะหลบหนีไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานหรือก่อเหตุร้ายประการอื่น

พตท.โอภาส ยศปิยะเสถียร  บิดาของ นาย นรเวศย์ ยศปิยะเสถียร ได้ให้ข้อมูลกับประชาไทว่า ทางศาลได้พิจารณาเจตนาของผู้ต้องหาแล้วเห็นว่ามีเจตนาต้องการสู้คดีเพื่อแสดงความบริสุทธิ์และไม่มีเจตนาหลบหนี จึงได้มีคำสั่งให้ปล่อยตัวชั่วคราวนายนรเวศย์ ผู้ต้องหาคดีดังกล่าวโดยกำหนดวงเงินประกันตัว 500,000บาท โดยที่ทางครอบครัวที่ได้เตรียมโฉนดหลักทรัพย์มูลค่า 860,000บาทตนจึงได้นำหลักทรัพย์มูลค่าดังกล่าวใช้ในการประกันตัวผู้ต้องหา

บิดาของผู้ต้องหายังได้กล่าวถึงเหตุการณ์ดังกล่าวว่า ตนเชื่อมั่นว่าศาลจะให้ความเป็นธรรมต่อผู้ต้องหา โดยดูได้จากการที่ศาลให้สิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราวแก่ผู้ต้องหา ทำให้บุตรของตนได้มีโอกาสในการสู้คดี   สำหรับการออกหมายจับและการเข้าจับกุมซึ่งเกิดขึ้นตนก็ไม่ได้รู้สึกติดใจ จนท.ตำรวจที่เข้าทำการจับกุมบุตรชายของตนแต่อย่างใด เนื่องจากการจับกุมดังกล่าวได้เกิดขึ้นหลังจากที่บุตรชายของตนได้จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีเป็นที่เรียบร้อย ทำให้นายวรเวศย์ ได้มีโอกาสสำเร็จการศึกษา 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สุรชา บุญเปี่ยม: ฮ.ตก กับปัญหาอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน

Posted: 08 Aug 2011 09:29 AM PDT

หมายเหตุ: การเน้นเป็นการเน้นโดยประชาไท

ปู่คออี้ กะเหรี่ยงดั้งเดิมแก่งกระจาน พ่อของหน่อแอ ผู้เดินป่าเข้าไปช่วย 4 ตชด.พ้นจากป่านรกบางกลอย เมื่อปี 2535 วันนี้เขาถูกจับกุมฐานบุกรุกป่า เด็กหญิงคือลูกของหน่อแอ หลานปู่คออี้...ขอขอบคุณ หนุ่ม เดลินิวส์ ผู้ถ่ายภาพ

 

"ในป่าสงวนซึ่งทางราชการได้ขีดเส้นไว้ว่าเป็นป่าสงวนหรือป่าจำแนก แต่ว่าเมื่อเราขีดเส้นไว้ประชาชนก็อยู่ในนั้นแล้ว  เขาจะเอากฎหมายป่าสงวนไปบังคับคนที่ยังอยู่ในป่าที่พี่งสงวนทีหลัง โดยขีดเส้นบนแผ่นกระดาษ  ก็ดูชอบกลอยู่  แต่มีปัญหาเกิดขึ้นเมื่อขีดเส้นแล้ว ประชาชนทีอยู่ในนั้นก็กลายเป็นฝ่าฝืนกฎหมายไป ถ้าดูในทางกฎหมายเข้าก็ฝ่าฝืน เพราะตราเป็นกฎหมายอันชอบธรรม แต่ถ้าดูตามธรรมชาติ ใครเป็นผู้ทำผิดกฎหมาย ก็ผู้ที่ขีดเส้นนั่นเอง เพราะว่าบุคคลผู้อยู่ในป่านั้นเขาอยู่ก่อน  เขามีสิทธิในความเป็นมนุษย์หมายความว่า ทางราชการบุกรุกบุคคลไม่ใช่บุคคลรุกบ้านเมือง"

บางตอนจากพระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่คณะกรรมการจัดงานวันรพี ณ พระตำหนักจิตรลดา  เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2516

000

ผมอ่านเอกสารประกอบการเสวนา "ฮ.ตก กับปัญหาอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน" ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเช้าวันนี้ ที่ห้องประชุมอิศรา อมันตกุล ชั้น 3 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  ก่อนจะลงชื่อในเอกสารลงทะเบียนสำหรับสื่อมวลชน  ผมกรอกชื่อ นามสกุล แล้วชะงัดนิดหนึ่งเมื่อเห็นช่องต้องกรอก "ที่ทำงาน" แล้วตัดสินใจเขียนลงไปว่า "ผู้สื่อข่าว..." ตามด้วย e-mail และหมายเลขโทรศัพท์มือถือ ผมไม่มีสังกัดเป็นผู้สื่อข่าวมานานกว่า 1 ปีแล้วจึงไม่มีที่ทำงาน แต่ผมคิดว่าผมไม่ได้หลอกลวงผู้ใดว่าผมเป็นผู้สื่อข่าว เพราะผมมาที่นี่เพื่อทำข่าวและรายงานข่าว

ห้องนี้เคยใช้จัดงานมอบรางวัลแสงชัย สุนทรวัฒน์  อันเป็นรางวัลสำหรับสื่อมวลชนผู้มีผลงานข่าววิทยุและโทรทัศน์ยอดเยี่ยม  เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2548  วันนั้น ผมเดินขึ้นบนเวทีรับรางวัลข่าวสืบสวนสอบสวนยอดเยี่ยมโทรทัศน์จากข่าว "ปล่อยแพะ จอบิ" จาก พล.อ.พิจิตร กุลละวาณิชย์  องคมนตรี ประธานในพิธี  ท่ามกลางเสียงปรบมือกึกก้องและการแสดงความยินดีจากเพื่อนๆร่วมอาชีพสื่อมวลชน

"เชิญคุณลุงนั่งที่โต๊ะผู้สื่อข่าวค่ะ"

หญิงสาววัย 20 ปีเศษ ซึ่งผมเข้าใจว่าเป็นเจ้าหน้าที่สมาคมกล่าวและมองไปที่โต๊ะยาวรูปเกือกม้า  ด้านโค้งในสุดเป็นที่นั่งสำหรับผู้เข้าร่วมเสวนา 3 คนกับผู้ดำเนินรายการอีก 1  ตามแนวยาว 2 ด้านเป็นที่สำหรับผู้สื่อข่าวด้านละประมาณ 10 ที่นั่ง  ในห้องยังมีที่นั่งสำหรับผู้สื่อข่าวอีกหลายแถวประมาณ 20 ที่นั่ง

ผมเลือกที่นั่งไกลสุดด้านขวามือของผู้ร่วมเสวนาซึ่งเป็นเก้าอี้เปล่า ไม่มีโต๊ะเพื่อรองสมุดจดบันทึกการเสวนาที่กำลังจะเริ่มขึ้น  ผมกระดากใจที่จะไปนั่งที่เก้าอี้ซึ่งอยู่ที่โต๊ะรูปเกือกม้า โต๊ะนั้นเหมาะสำหรับสื่อมวลชน "ตัวจริง" มากกว่า  นักข่าวสาวหลายสำนักนั่งอยู่ที่นั่นพร้อมโน้ทบุ้ค  ขณะที่ผมดึงสมุดจดบันทึกข่าวเล่มเก่าจากกระเป๋าสะพาย  เป็นสมุดเล่มเก่าที่ใช้บันทึกข่าวครั้งสุดท้ายเมื่อผมยังทำงานอยู่ในสำนักข่าวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศนี้

"ผู้ร่วมสัมมนาวันนี้คือคุณชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน  คุณสุรพงษ์ กองจันทึก ผู้อำนวยการ ศูนย์ศึกษากะเหรี่ยงเพื่อการพัฒนา และคุณวุฒิ บุญเลิศ  ประธานประชาคมอำเภอสวนผึ้ง"

คุณชุติมา นุ่มมัน ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์มติชน ผู้ดำเนินรายการกล่าวเมื่อผู้ร่วมเสวนา "ฮ.ตก กับปัญหาอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน"

ทั้ง 3 นั่งประจำที่ ช่างภาพข่าวโทรทัศน์ 2 คนต่างสถานีเริ่มบันทึกภาพ

ผู้ดำเนินรายการเริ่มคำถามแรก  ให้หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานกล่าวถึงความเป็นมาของยุทธการผลักดัน ชนกลุ่มน้อยออกจากพื้นที่ป่าแก่งกระจาน  ซึ่งตามมาด้วยเหตุการณ์เฮลิคอปเตอร์ของกองทัพบกตกถึง 3 ลำในเวลาไล่เลี่ยกัน  มีผู้เสียชีวิตเป็นทหาร 16 นาย ช่างภาพโทรทัศน์ 1 คน รวม 17 คน บาดเจ็บสาหัสอีก 1 ซึ่งเป็นข่าวใหญ่ที่รู้กันดีอยู่แล้ว

หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน กล่าวถึงยุทธการผลักดันชนกลุ่มน้อยว่า  เนื่องจากมีชนกลุ่มน้อยจากประเทศเพื่อนบ้านคือชาว "กะหร่าง" เข้ามาทำไร่เลื่อนลอยในเขตอุทยานฯมานานแล้ว  โดยสภาพป่ามีพื้นที่กว้างใหญ่มาก  การเดินป่าเพื่อปฏิบัติงานต้องใช้เวลานานถึง 15 วัน จึงสามารถเดินป่าได้เพียง 1 ใน 4 ของพื้นที่  จึงต้องใช้เฮลิคอปเตอร์ของทหารเข้าร่วมปฏิบัติงาน

"เมื่อปี 2537-2541 เคยมีการอพยพชาวกะหร่างมาจัดสรรที่ทำกินให้  มีโครงการณ์ในพระราชดำริให้ความช่วยเหลือ  หลังจากนั้นไม่มีโครงการณ์อีก  ในปี 2552  เจ้าหน้าที่พบว่ามีการทำไร่เลื่อนลอยจากวงเดิมในผืนป่า จึงจำเป็นต้องผลักดันให้คนเหล่านี้ออกไป"

" ตั้งแต่ปี 2552-2554 อุทยานฯได้ปฏิบัติการตามยุทธการผลักดัน 5 ครั้ง โดยครั้งแรกเข้าไปพูดคุยทำความเข้าใจกับชาวกะหร่างให้เข้าใจว่า  เป็นผู้บุกรุกเข้ามาตัดโค่นต้นไม้ทำให้ป่าเสื่อมโทรม ขอให้ออกไป  คิดว่าคงได้ผลแต่ไปดูอีกทีก็ยังมีการบุกรุกอยู่เหมือนเดิม  เข้าใจว่าคงไม่ไปแน่คงต้องอพยพ  ครั้งที่ 3  ชาวกะหร่างก็ยังอยู่เหมือนเดิมอีก  จึงสั่งการให้รื้อบ้านทิ้ง 5 หลัง ครั้งที่ 4  ได้ไปกับทหาร  ใช้ ฮ.บินเข้าไป  ผมสั่งให้เผาบ้าน 5 หลังนั้นที่รื้อไว้ ส่วนชาวบ้านไม่อยู่  คงอยู่แถวๆนั้น ครั้งที่ 5 พบอีก 22 จุด ที่มีการบุกรุกทำไร่ พบบ้าน 7 หลัง บ้านยังอยู่ คนยังอยู่แต่คงหนีออกจากบ้าน  เข้าใจว่าชาวกะหร่างคงรู้แล้วว่าอยู่ต่อไปในประเทศไทยไม่ได้แล้ว  ที่น่าห่วงก็คือมีการพบแปลงกัญชาบริเวณชายแดนและในพื้นที่ป่าแก่งกระจาน"

ผมนั่งฟัง  ทบทวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จำได้ว่าเมื่อราวต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา มีข่าวในโทรทัศน์ว่าเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานร่วมกับทหารค่ายทัพ พระยาเสือ ปฎิบัติการตามยุทธการอพยพชนกลุ่มน้อยในเทือกเขาตะนาวศรี  โดยนำเฮลิคอปเตอร์ขึ้นบิน  มีการเดินเท้าเข้าไปผลักดันชนกลุ่มน้อย  คงเป็นครั้งนี้เองที่เป็นครั้งที่ 4 ที่มีการเผาบ้านของผู้ที่ถูกเรียกว่า"กะหร่าง"

"พื้นที่ที่ผลักดันคือโซน 1"

หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานอธิบาย  โดยพับกระดาษขนาดเอ 4 เป็น 4 ส่วน  ส่วนบนสุดด้านซ้ายมือคือโซน 1  ผมดูจากแผนที่คือบริเวณพื้นที่ที่เป็นบ้านโป่งลึกและบ้านบางกลอย อำเภอแก่งกระจาน  โซนที่ 3 ใต้โซนที่ 1 คือจุดที่ ฮ.ตกเลยเข้าไปในพม่าไม่มาก

"ตามยุทธการครั้งที่ 3 4 5 ใช้กำลัง 118 นาย ประกอบด้วย ตชด.ตำรวจภาค 7 เจ้าหน้าที่อุทยาน และทหารหน่วยเฉพาะกิจทัพพระยาเสือ ครั้งที่ 6 วันที่ 11-15 กรกฎาคม มีเจ้าหน้าที่อุทยานร่วมด้วย 4 นาย" ครั้งนี้เป็นครั้งที่นำมาซึ่งการนำเฮลิคอปเตอร์ไปปฏิบัติอีกครั้ง  และตามมาด้วยเฮลิคอปเตอร์ตกถึง 3 ลำ

 

000

นายสุรพงษ์  กองจันทึก ผู้อำนวยการศูนย์กะเหรี่ยงศึกษาเพื่อการพัฒนา ผู้ร่วมเสวนาคนที่ 2 เริ่มเสวนาด้วยการชี้ลงไปชัดเจนเลยว่า ชนกลุ่มน้อยหรือชาวกะหร่างที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานอ้างถึงไม่ใช่ ชาวกะหร่างซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ต่างหากแต่อย่างใด   หากแท้จริงแล้วคือชาวกะเหรี่ยงนั่นเอง  และเป็นชาวกะเหรี่ยงดั้งเดิมในพื้นที่ป่าแก่งกระจานนั่นเอง

"ผมขอชี้แจงว่า กะหร่างในประเทศไทยไม่มี!!"

เสียงค่อนข้างดังผ่านไมโครโฟนทำให้ผมต้องเงยหน้าดูสีหน้า ท่าทางของผู้พูด  แต่ไม่มีอะไรผิดปกติ  ผมรู้จัก ผอ.สุรพงษ์ดี  ว่าเป็นคนตรงไปตรงมา  ไม่อ้อมค้อม  นอกจากผมเคยร่วมไปทำข่าวในกิจกรรมของชาวกะเหรี่ยงหลายต่อหลายครั้ง  โดยส่วนตัว  เรารู้จักกันมานานคั้งแต่เป็นนักศึกษา จนถึงวันนี้ก็นานถึง 30 ปีแล้ว

"คนกะเหรี่ยงในประเทศไทยมีประมาณ 5 แสนคน เผ่าใหญ่คือสกอร์หรือปกากะญอ อีกเผ่าคือโพล่ง หรือโผล่ว "

ผู้อำนวยการศูนย์กะเหรี่ยงศึกษาเพื่อการพัฒนา อธิบายต่อไปว่า ตั้งแต่ปี 2539 ได้มีความพยายามของหน่วยงานต่างๆให้เรียกกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทยให้ถูก ต้อง  กลุ่มกะเหรี่ยงก็คือกะเหรี่ยง  ไม่เรียกว่ากะหร่าง

"กะหร่างเป็นคำเรียกเหมือนการดูถูก  กะเหรี่ยงเผ่าโพล่ง ในกาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์  เป็นเผ่าหนึ่งของกะเหรี่ยง  และเรียกกะเหรี่ยงสกอร์ว่ากะหร่างเพราะพูดสำเนียงต่างกัน เช่นเดียวกัน ปกากะญอในจังหวัดภาคเหนือเช่นเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก เรียกกะเหรี่ยงโพล่งว่ากะหร่าง  แท้จริงคือกะเหรี่ยงเหมือนกัน"

"ในพม่าก็ไม่มีกะหร่าง มีแต่กะเหรี่ยง !!"

"มีหลักฐานชัดเจนว่าชาวกะเหรี่ยงในโป่งลึก บางกลอย คือกะเหรี่ยงดั้งเดิมหรือกะเหรี่ยงติดดิน  ปี 2512 และ 2513  ทางการไทยได้สำรวจชาวกะเหรี่ยงและให้เหรียญชาวเขา   นั่นคือการยอมรับว่าทางการต้องการให้กะเหรี่ยงยอมรับว่าตัวเองคือคนของ ประเทศไทย"

ถึงตรงนี้ ภาพในจอโปรเจคเตอร์แสดงรูปเหรียญชาวเขา เป็นเหรียญโลหะสีเงิน  ก่อนหน้านั้นเป็นภาพบ้านกะเหรี่ยงสร้างด้วยไม้ไผ่ มุงหญ้าแฝกถูกทหาร ผูกผ้าพันคอสีฟ้าเผา ภาพของกลางถูกยึดเป็นอุปกรณ์การเกษตรเช่นเคียวเกี่ยวข้าว มีดพร้า

"อย่างนายจอบิ  คนร้ายคดียิงรถนักเรียนที่ราชบุรี ที่เป็นแพะและศาลปล่อยตัวไป  ก็เป็นกะเหรี่ยงในพื้นที่นี้  ปัจจุบันได้บัตรประชาชนเป็นคนไทยไปแล้ว"

คดีคนร้ายยิงรถนักเรียน โรงเรียนบ้านคาวิทยา จังหวัดราชบุรี เมื่อปี 2545  ผมได้ติดตามทำข่าวนี้ยาวนานเกือบ 2 ปี จึงได้รู้ว่านายจอบิ เมื่อจะถูกผลักดันให้ออกนอกประเทศที่จังหวัดกาญจนบุรี  เพราะไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนไทย  นายจอบิไม่รู้ว่าตัวเองเข้ามาทางไหน  เข้ามาในประเทสไทยได้อย่างไร  เกิดมาก็อยู่ในป่าแก่งกระจาน  ไม่เคยทำบัตรประชาชน  การผลักดันนายจอบิออกไปก็เท่ากับว่าผลักดันคนในประเทศไทยไปประเทศอื่น  เพียงเพราะว่าเขาพูดภาษาไทยไม่ได้ พูดได้แต่ภาษากะเหรี่ยง  หน่วยงานของรัฐเลยเหมาไปเลยว่าเป็นคนจากประเทศเพื่อนบ้าน !

"ไม่เคยมีใครบอกได้ว่ากะเหรี่ยงเหล่านี้เข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้านช่องทางไหน เข้ามาเมื่อไหร่ ก็เพราะเขาอยู่กันที่นั่นมานานแล้ว  เป็นร้อยปีขึ้นไป  อย่างน้อยก็ก่อน 2527 ป่าแก่งกระจานคือบ้านของกะเหรี่ยงดั้งเดิม"

" ชาวกะเหรี่ยงคนหนึ่งคือหน่อแอ  ลูกของปู่คออี้ ผู้เฒ่าอายุ 103 ปี  คือผู้ที่ช่วย ตชด.จากป่าบางกลอยให้พ้นจากความตายในป่า  วันนี้  เขาตกเป็นผู้บุกรุกป่าไปแล้ว " เสียงนายสุรพงษ์ดังขึ้น จนผมต้องเงยหน้ามองอีกครั้ง

"ปี 2535 ผมบอกได้เลยว่า ตชด.เข้าไปปฏิบัติงานในป่าแก่งกระจาน ปะทะกับฝ่ายตรงข้าม  เสียชีวิต 4 ศพ ที่เหลืออีก 4 ติดอยู่ในป่าบางกลอย  หน่อแอ ลูกปู่คออี้เป็นชาวกะเหรี่ยงที่เข้าไปช่วยค้นหาและเป็นผู้ช่วยชีวิต ตชด.ที่ติดในป่า 35 วัน ขึ้น ฮ.กลับออกมาได้"

เขาชูหนังสือ 35 วันนรกในป่าบางกลอย ของเริงศักดิ์ กำธร นักเขียนชื่อดังโชว์ต่อสื่อมวลชน

ปู่คออี้ที่อ้างถึงก็คือชาวกะเหรี่ยงในป่าแก่งกระจาน เจ้าของฉายาจอมขมังเวทย์แห่งเทือกเขาตะนาวศรี  ด้วยความเชื่อว่าคนที่เป็น "จอมพราน"นั้น  คือผู้ที่สามารถติดต่อกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในธรรมชาติได้ นอกเหนือไปจากฝีไม้ลายมือ และความรอบรู้ในเรื่องของป่า  ป่าอันเป็นต้นกำเนิดของชาวกะเหรี่ยง  ถ้าเป็นคนไทยที่เชื่อถือในไสยศาสตร์  เรื่องลี้ลับ  สิ่งศักดิ์ศิทธิ์ในธรรมชาติก็คือเจ้าป่า เจ้าเขา นั่นเอง

 

000

บรรยากาศ ในห้องเสวนาดูเหมือนว่าจะร้อนแรงขึ้น ทั้งๆ ที่แอร์เย็นฉำ เมื่อนายวุฒิ บุญเลิศ ประธานประชาคมชาวอำเภอสวนผึ้งถึงคิวพูด เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญวัฒนธรรมและประเพณีกะเหรี่ยง  ผู้ที่ได้รับการยอมรับกว้างขวางในความรอบรู้เรื่องของชาวกะเหรี่ยง คนจำนวนมากเรียกเขาว่า "อาจารย์วุฒิ" แม้ว่าจะมีอาชีพเป็นชาวนาก็ตามที

"ผมเป็นกะเหรี่ยง กะเหรี่ยงโพล่ง"

"มีหลักฐานมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แล้ว  ฝรั่งมาสำรวจป่า  เขียนบันทึกเรื่องชาวกะเหรี่ยง เรื่องสัตว์ป่า  หน่วยงานของรัฐไม่รู้ว่ากะเหรี่ยงคืออะไร กะหร่างคืออะไร"

"ในเรื่องพื้นที่  ชาวกะเหรี่ยงอยู่กันมานานแล้ว ตั้งแต่ปากท่อ หนองหญ้าปล้อง ป่าเด็ง  บางกลอย ป่าละอู  เหรียญชาวเขาปี 2512 ที่ให้กะเหรี่ยงก็บ่งบอกความเป็นไทย  บริเวณใจแผ่นดิน เพชรบุรี คือพื้นที่ดั้งเดิมของกะเหรี่ยงในแก่งกระจาน "

"การใช้คำเรียกที่ไม่ชัดเจนว่าชนกลุ่มน้อยเป็นใคร  เป็นการสร้างวาทะกรรมคลุมเครือ นำไปสู่การปฏิบัติต่อกลุ่มคนส่วนหนึ่ง (ว่าเป็นคนละพวก)  เหมือนกับครั้งหนึ่งที่เคยมีการเรียกคนกลุ่มหนึ่งว่า ผกค. (ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์) เช่นการใช้คำว่ากะหร่าง  ไม่เรียกกะเหรี่ยง  ทำให้มีความชอบธรรมในการทำลายล้าง"

"ส่วนเรื่องการเผายุ้งข้าว  มีการเผาจริงๆ!"

ประธานประชาคนสวนผึ้งเน้นเสียงหนักแน่น  สั่นเครือคล้ายกำลังสะอื้นไห้

ผมยังจำได้ดีว่า  หลังจากได้รู้ข่าวเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานกับทหาร  ขึ้น ฮ.ไปผลักดันชาวกเหรี่ยงในป่าแก่งกระจาน  ผมได้โทรไปหาอาจารย์วุฒิ  สอบถามเรื่องราวที่เกิดขึ้น   แม้ว่าผมจะไม่ได้ทำงานเป็นผู้สื่อข่าวแล้วก็ตาม

"มีเผาบ้าน เผายุ้งฉางข้าว ผมกำลังติดต่อขอความช่วยเหลือไปยังองค์กรคริสต์ นำข้าวไปช่วยชาวบ้าน ตอนนี้คนที่ถูกผลักดันไปอาศัยญาติพี่น้อง  มีปู่ที่ล่าแรดรวมอยู่ด้วย"

อาจารย์วุฒิ  หมายถึงเพื่อนเก่าของพ่ออายุ 103 ปี ต่อมาก็รู้กันทั่วว่าคือปู่คออี้ นั่นเอง

"ชาวบ้านไปขอข้าว  เจ้าหน้าที่ไม่ให้ บอกว่าดัดนิสัย"

หลังจากนั้นไม่นาน  อาจารย์วุฒิได้เดินทางไปแก่งกระจานเพื่อนำข้าวสาน อาหารแห้งไปให้ชาวกะเหรี่ยงที่เดือดร้อน  แต่ไม่ได้นำขึ้นไป คงฝากไว้ที่เจ้าหน้าที่อุทยานแก่งกระจาน

"ฝนตก เข้าไปลำบาก  ฝากข้าวไว้ที่อุทยานฯ"อาจารย์วุฒิบอกผมในเวลาต่อมา

ผมเพิ่งมารู้ในวันนี้เองว่า  ทำไมข้าวที่อาจารย์วุฒิจะนำไปให้ชาวกะเหรี่ยงจึงไปไม่ถึงมือพวกเขาในวันนั้น

"พี่น้องกะเหรี่ยงบอกผมว่า  ข้าวถูกเผา เขามองกะเหรี่ยงไม่ใช่คน !"

ข้าวไปไม่ถึงมือ  ไม่ถึงท้องชาวกะเหรี่ยงที่ถูกบอกว่าเป็นกะหร่างก็เพราะติดอยู่ที่อุทยานฯ  ไม่ได้เกี่ยวกับดินฟ้าอากาศ

"ผู้นำท้องถิ่นบอกผมว่า พระธุดงค์มีเจ้าหน้าที่ไปรื้อเพิงพักที่จัดไว้ให้พระธุดงค์"

"เรื่อง ฮ.ตก นี่ใครก็ไม่อยากให้เกิดขึ้น  พอ ฮ.ตก  ทหารในสวนผึ้งซึ่งเคยไปร่วมงานงานชาวบ้านกะเหรี่ยงก็ไม่ไป"

"พวกกะเหรี่ยงที่ถูกกระทำก็ถือว่าต้องอดทน  อดทนต่อไป  ไม่ตอบโต้ ชาวกะเหรี่ยงเชื่อว่าทุกสิ่งมีชีวิต มีวิญญาณ  คนมีวิชาอาคมเขาจะทำหรือไม่ทำ เขาจะไม่บอก"

อาจารย์วุฒิกล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้เฮลิคอปเตอร์ตกถึง 3 ลำ ที่มีข่าวตามสื่อต่างๆเรื่องอาถรรพณ์ในป่าแก่งกระจาน

"คนกะเหรี่ยงเชื่อเรื่องเลข 7 ซึ่งหมายถึงเรื่องดีและร้ายสุดๆ  พอ ฮ.ตกมีผู้เสียชีวิต 17 คน ผมบอกจบแล้ว

 

000

ในรอบ 2 ของการเสวนา คุณชุติมา นุ่มมัน ผู้ดำเนินรายการ  ให้ผู้ร่วมเสวนาพูดอีกรอบ  ผมมองนาฬืกาข้อมือ  เพิ่งรู้ว่าได้มีการพูดกันกว่า 1 ชั่วโมงแล้ว  ในรอบนี้จึงเป็นการสรุปเรื่องที่พูดในรอบแรกมากกว่า

"ผมยืนยันว่าไม่มีเจ้าหน้าที่เผายุ้งข้าวชาวบ้าน และกระทำตามหลักมนุษยธรรมด้วยซ้ำ"

หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานกล่าวในตอนหนึ่ง

"เราจับกุมยึดปืนได้ มีอาวุธสงครามด้วยแต่เราไม่ยึดไว้  มีฐานปืน ค.ด้วย เรายึดปืนมากระบอกเดียว"

"ผมรู้ว่าอาจารย์วุฒินำข้าวของไปแจก  ผมไม่เห็นด้วย เท่ากับไปส่งเสริมคนพวกนี้"

"มติคณะรัฐมนตรี 3 สิงหาคม 2553 เรื่องนโยบายในการฟื้นฟูชีวิตชาวกะเหรี่ยง ข้อ 2.1 ให้ยุติการจับกุมและให้ความคุ้มครองกับกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่เป็น ชุมชนดั้งเดิมที่อยู่ในพื้นที่ข้อพิพาทเรื่องที่ทำกินในพื้นที่ดั้งเดิม"

"เรื่องการจัดการทรัพยากร มติ ครม.ยังได้ระบุให้ส่งเสริมและยออมรับระบบไร่หมุนเวียนซึ่งเป็นวิถีวัฒนธรรม ของกะเหรี่ยงที่เอื้อต่อการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนและพอเพียง รวมทั้งผลักดันระบบไร่หมุนเวียนของชาวกะเหรี่ยงให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม   มติให้ส่งเสริมไร่หมุนเวียนของชาวกะเหรี่ยงเพื่อผลักดันให้เป็นมรดกโลก  ไม่ใช่ให้ทำลาย"  สุรพงษ์ กองจันทึก  กล่าว

"ความผิดบาปต่อแม่โพสพ การกระทำรุนแรงต่อข้าว บาปสูงเสียดฟ้า หนักกว่าแผ่นดิน การตอบแทนต่อผู้กระทำก็คือการตอบแทนของธรรมชาติ" อาจารย์วุฒิกล่าวถึงความเชื่อของชาวกะเหรี่ยง

เวลา 12 นาฬิกา  ผมเดินออกจากสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  คิดว่าจะนำเสนอข่าวนี้อย่างไร  เวลานั้น  ผมยังไม่ยอมรับความจริงว่าผมไม่ใช่ผู้สื่อข่าวอีกต่อไปแล้ว  เรื่องที่ผมได้ไปฟังมา  นักข่าวรุ่นลูกก็คงกลับสำนักพิมพ์ กลับสถานีโทรทัศน์ เขียนข่าวรายงานกันไปแล้ว ผมนึกถึงโน้ทบุ้คของผู้สื่อข่าวแต่ละคน  บางทีพวกเขาอาจจะเขียนข่าวเสร็จตรงนั้น ส่งจากตรงนั้นไปแล้วก็ได้

ผมนั่งรถเมล์กลับมาบ้าน แล้วเขียนรายงานเรื่องนี้เพื่อให้เพื่อนๆได้อ่านกัน  เพิ่งเขียนเสร็จเมื่อเวลา 21 นาฬิกา 15 นาทีนี่เอง  ถ้ามีใครกด "ถูกใจ"สัก 10 คน  ผมก็พอใจแล้วครับ

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ทหารพม่ารุกล้ำเขตกองกำลังเมืองลา NDAA หวังยึดพื้นที่ - ดึงมวลชน

Posted: 08 Aug 2011 08:50 AM PDT

ทหารพม่าแอบรุกล้ำเข้าเขตเคลื่อนไหวกองกำลังเมืองลา NDAA หวังแทรกซึมยึดพื้นที่ ดึงมวลชน และปกป้องเหมืองแร่ในพื้นที่ ด้าน NDAA ส่งกำลังจับตามความเคลื่อนไหวใกล้ชิด 

แหล่งข่าวผู้ใกล้ชิดเจ้าหน้าที่ระดับสูงกองกำลังเมืองลา NDAA เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 4 - 5 ส.ค. ที่ผ่านมา ทหารพม่ากำลังพลราว 50 นาย สังกัดกองพันทหารราบที่ 279 ประจำเมืองยาง รัฐฉานภาคตะวันออก ได้รุกล้ำเข้าเขตพื้นที่เคลื่อนไหวกองกำลังเมืองลา (National Democratic Alliance Army-NDAA) เข้าไปปักหลักอยู่ที่บ้านห้วยมู เขตรับผิดชอบหน่วย 369 เมืองสะลือ อยู่ทางตอนเหนือของเมืองลา ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้ถอนกำลังกลับออกไปและทางฝ่ายกองกำลังเมืองลา (NDAA) ได้ส่งกำลังไปจับตาความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด

การรุกล้ำเข้าเขตกองกำลังเมืองลา (NDAA) ของทหารพม่านี้เชื่อว่า ทหารพม่าอาจต้องแทรกซึมเพื่อหวังยึดพื้นที่และดึงมวลชนในเขต (NDAA) เนื่องจากทหารพม่าได้มีการเอาใจชาวบ้านโดยเสนอออกบัตรประจำตัวประชาชนให้ นอกจากนี้ ยังมีการมอบเงินให้หมู่บ้านที่อยู่ในพื้นที่นั้น 5 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 5 หมื่นจั๊ต อีกประเด็นคือทหารพม่าอาจต้องการปกป้องเหมืองแร่ เนื่องจากในบริเวณนั้นมีแหล่งเหมืองแร่เงินอยู่

เมื่อวันที่ 27 ก.ค. ที่ผ่านมา ทหารพม่าสังกัดเดียวกันกำลังพลราว 150 นาย ได้รุกล้ำเข้าเขตพื้นที่กองกำลังเมืองลา (NDDA) บริเวณเดียวกันนี้แล้วครั้งหนึ่ง โดยเข้าไปเคลื่อนไหวอยู่ประมาณ 5 วันจากนั้นได้ถอนกำลังออกไป ก่อนที่จะเข้ามาใหม่เมื่อวันที่ 4-5 ส.ค. ที่ผ่านมา

กองกำลังเมืองลา (NDAA) เป็นอดีตแนวร่วมพรรคคอมมิวนิสต์พม่า CPB – Communist Party of Burma ได้เจรจาหยุดยิงกับรัฐบาลทหารพม่าเมื่อปี 2532 มีกองบัญชาการใหญ่อยู่ที่เมืองลา รัฐฉานภาคตะวันออกติดชายแดนจีน โดยตั้งแต่กลางเดือนเมษายน 2552 กำลังเมืองลา (NDAA) ถูกรัฐบาลทหารพม่ากดดันเปลี่ยนสถานภาพกองกำลังเป็นหน่วยพิทักษ์ชายแดน BGF (Border Guard Force) เช่นเดียวกับกลุ่มหยุดยิงอื่นๆ ทำให้ความสัมพันธ์สองฝ่ายเกิดความระส่ำและเกิดการเผชิญหน้าของทหารสองฝ่ายหลายครั้ง

 

ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/


"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวอิสระไทใหญ่ หรือ สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ทงบังชิงกิ เดอะซีรีส์ 6: บทส่งท้ายจุดจบเพื่อเริ่มใหม่

Posted: 08 Aug 2011 08:24 AM PDT

สองอัลบั้มสุดท้ายที่เหล่าเทพทงบังชิงกิทั้งห้ายังร่วมกันทำงานด้วยกันก็คือ Mirotic ของฝั่งเกาหลี และ The Secret Code ของฝั่งญี่ปุ่น

ตามมาด้วยคอนเสิรท์ The 3rd Asia Tour Concert “Mirotic” ที่แสดงในประเทศเกาหลีใต้ ไทย จีน (สามเมืองใหญ่) ในต้นปีถึงปลายปี 2009 ตามมาด้วย 4th Japan Arena Tour 2009 ที่แสดงไปทั่วญี่ปุ่น 21 รอบ โดยสองรอบสุดท้ายที่แสดงคือที่ Tokyo Dome โดมที่ปกติไว้ใช้เล่นเบสบอลกัน แต่เมื่อนำมาเป็นสถานที่เล่นคอนเสิรท์แล้ว สามารถจุผู้เข้าชมได้ถึง 50000 คน เท่ากับว่า สองวันสุดท้ายที่Tokyo Domeนั้น มีผู้ชมถึงหนึ่งแสนคนเข้าดูการแสดงของเหล่าเทพของเรา

ทงบังชิงกิ เดอะซีรีส์ 6: บทส่งท้ายจุดจบเพื่อเริ่มใหม่

ทงบังชิงกิ เดอะซีรีส์ 6: บทส่งท้ายจุดจบเพื่อเริ่มใหม่

นั่น ถือเป็นความยิ่งใหญ่ที่สุดของพวกเขาในชีวิตทีเดียว

และหลังจากนั้น ก็ตามมาด้วยข่าว ที่สมาชิกสามในห้าคน ได้แก่ จุนซู แจจุง และ ยูชอน ประกาศฟ้องร้องต้นสังกัดของตัวเองที่เกาหลี คือ SM Entertainment

เรื่องราวของการฟ้องร้อง เต็มไปด้วย เรื่องของสัญญาทาสที่ผูกมัดพวกเขาให้อยู่กับค่ายเดิมถึง 13 ปี ทั้งๆที่ตามกฏหมายใหม่ของเกาหลีใต้ ศิลปินจะทำสัญญากับค่ายเดิมได้ไม่เกิน 7 ปีเท่านั้น รวมทั้งเรื่องของผลตอบแทนที่เหล่าเทพทั้งห้าควรจะได้รับ

มีเรื่องซุบซิบ มีข่าวเล่าลือมากมาย การหยุดชะงักการเติบโตในก้าวต่อไปของทงบังชิงกิ การกีดกันไม่ให้เหล่าผู้ฟ้องร้องทั้งสามคนได้ไปบอกรายการไหนไหนในเกาหลี และญี่ปุ่น

ข่าวการแตกกันของสมาชิกในวง ทั้งๆที่พวกเขาออกมาบอกว่า ไม่ได้มีการแตกแยกในหมู่สมาชิก แต่เป็นการฟ้องร้องต้นสังกัด

พวกเขาไม่แตกแยก แต่เหล่าแคสสิโอเปียกลับแตกแยกกันเองแทน

สาวกแต่ละคนก็รักสมาชิกทงบังชิงกิแตกต่างกันไป แตกต่างเหตุผลกันไป ตอนพวกเขาสามัคคีกัน แคสสิโอเปียก็สามัคคีกัน พอพวกเขาโดนลือว่าแตก สาวกแตกแรงกว่าอีก หลิ่มหลีได้ยินการทะเลาะเบาะแว้งในแคสฯกันเองบ่อยครั้ง นี่แค่แคสฯไทยนะ แคสฯต่างประเทศยังไม่ได้ไปสนใจ แต่หลิ่มหลีแก่แล้ว ก็ไม่ค่อยได้ไปยุ่งเท่าไร

หลิ่มหลีจำได้ว่า คอนเสิรท์ครั้งสุดท้ายที่หลิ่มหลีไปดูพวกเขาเหล่าเทพคือ Mirotic Tour in Shanghai ที่ประเทศจีนในเดือนตุลาคม 2009 (การประกาศฟ้องร้องต้นสังกัดมีขึ้นในเดือน กรกฏาคม2009) จำได้ว่า การแสดงคอนเสิรท์ที่เซี่ยงไฮ้ เป็นการแสดงในสนามเปิด ทำให้เป็นการแสดงที่ไม่สนุกเท่าที่หลิ่มหลีเคยดูของเมืองไทย ที่เล่นที่เมืองทองธานี ในเดือนมิถุนายนปีเดียวกัน

จำได้ว่า ตัวเองร้องไห้เมื่อเห็นเหล่าเทพออกมา เพื่อนแคสที่ไปด้วยกันถามว่า ร้องทำไม เวอร์ !!!

หลิ่มหลีตอบว่า ร้องไห้ เพราะรู้สึกว่า นี่จะเป็นครั้งสุดท้ายที่จะได้เห็นพวกเขาอยู่ด้วยกัน

ใครจะคิดว่า มันจะจริง

หลิ่มหลีจำได้ว่า หลังจากนั้น การพูดคุยถกเถียงเรื่องทงบังชิงกิกับการฟ้องร้องเป็นท๊อปปิคที่วุ่นวายมาก สุดยอดจะเร่าร้อนฉ่าเลยจริงๆ เทพที่ฟ้องร้องโดนด่าแม้กระทั่งจากแฟนคลับของตัวเอง ว่า หาเรื่อง ฟ้องทำไม ดูสิ ฉันเลยไม่ได้ดูพวกแกเลย

หลิ่มหลีจำได้ว่า หลิ่มหลีตอบน้องๆแคสฯไปว่า พวกเราเป็นแค่แฟนคลับ พออีกหน่อยมีวงใหม่ เราก็เปลี่ยนใจไปชอบวงใหม่ แฟนคลับอย่างเราเรามันไม่จีรังยั่งยืน แต่สิ่งที่พวกเขากล้าลุกขี้นมายืนต่อกรกับต้นสังกัด คือการต่อสู้เพื่ออนาคตของพวกเขาเอง พวกเขาไม่มีสิทธิสู้เพื่อความยุติธรรมที่มีให้กับตัวเองเลยหรือ ไม่มีใครช่วยพวกเขา อีกหน่อยยามเขาแก่เฒ่าไป เราอยู่ดูเขาหรือ เราก็หายไปมีลูกมีผัวกัน ไปชอบวงอื่น พวกเขาก็ต้องช่วยเหลือตัวเอง

เมื่อความยุติธรรมมันไม่มีมาให้พวกเขา พวกเขาก็ต้องแสวงหาความเป็นธรรมด้วยตัวเอง พวกเขาโดนกล่าวหาว่าเป็นผู้ทรยศ

เป็นครั้งสำคัญอีกครั้งที่ศิลปินเพลงฟ้องร้องค่ายต้นสังกัดและคดีการฟ้องก็โด่งดังไปทั่วเอเชียเพราะนี่คือไอดอลแห่งเอเชียฟ้องร้องต้นสังกัด

(คนไทยอาจจะยังไม่ทราบวัฒนธรรมคนเกาหลีและคนญี่ปุ่นในความจงรักภักดีต่อที่ทำงานของตนเอง การย้ายการเปลี่ยนแปลง หรือแม้แต่การฟ้องร้องแบบนี้ ถือเป็นเรื่องใหญ่มากค่ะ)

ผู้ทรยศทั้งสามรวมตัวกันเป็นวงบอยแบนใหม่ในนามว่า JYJ ที่มาจาก Jejung Yuchon Junsu อัลบั้มแรกของพวกเขาคือ The Beginning

ถึงแม้พวกเขาจะออกอัลบั้ม แต่พวกเขาไม่สามารถออกรายการทีวีทำการโปรโมทงานเพลงของเขาได้

เหล่าติ่งหูเกาหลีคงจะทราบดีว่า เวลาศิลปินเพลงเกาหลีจะออกอัลบั้มใหม่ อำลาปิดอัลบั้ม และ Come Backมากับอัลบั้มใหม่อีกครั้งนั้น พวกเขาจะมีรายการเพลงเล่นสดอยู่สามรายการ คือ Inkigayo Music Bank และ Music Core ของค่ายทีวีสามค่ายยักษ์ของเกาหลี

แต่JYJ ผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ทรยศต่อต้นสังกัดนั้นไม่เคยได้ออกรายการดังกล่าวเลย

หลิ่มหลียอมรับว่า หลิ่มหลีลำเอียงที่จะเข้าข้างผู้ทรยศมากกว่า

อาจจะเพราะ ความสงสารที่พวกเขาโดนกีดกันในการได้ออกสื่อต่างๆทางทีวี โอเคล่ะ พวกเขาได้เล่นละครซีรีย์กันบ้าง ได้เล่นละครเพลงกันบ้าง เล่นหนัง เล่นคอนเสิรท์กัน พวกเราก็คงเห็นว่า เหล่าเทพทรยศนั้นยังมีผลงานอยู่

แต่จริงๆแล้ว มันไม่ใช่เลย เพราะรายการทีวี เกมโชว์ ทั้งหลาย ล้วนแล้วแต่เป็นรายการที่ช่วยในการปลุกความโด่งดังและยอดจำหน่ายอัลบั้มใหักับศิลปินทั้งสิ้น ถ้าคุณเคยดูตั้งแต่สมัยก่อน ก็พวก Xmen Love Letter Come to Play จนมาถึง Family Outing Happy Sunday We got Married จนถึงรายการ Strong Heart ในปัจจุบัน

JYJ ไม่เคยได้ไปออกสักรายการนับแต่เกิดเรื่องฟ้องร้องกันเป็นต้นมา

ทงบังชิงกิอีกสองเทพคือ หัวหน้าวง ยูโนว์ ยุนโฮ กับ น้องคนเล็ก ชางมิน ยังอยู่ด้วยกัน อยู่ในค่ายต้นสังกัด ยังได้ไปออกรายการโน้นรายการนี้ มีเกมโชว์ ออกเพลง เล่นซีรีย์ ไปเล่นคอนเสิรท์

หลิ่มหลีขี้สงสารค่ะ ไม่ต่างอะไรกับที่สงสารคนเสื้อแดงที่ไม่มีเวทีจะให้ยืน ต้องไปตะเกียกตะกายหาทางออกกันเอาเอง ทำยังไงได้ ต่อสู้กับใครไม่ต่อสู้ ดันไปต่อสู้กับมาเฟียวงการบันเทิง

ใช่ค่ะ JYJ กำลังต่อสู้อยู่กับมาเฟียวงการบันเทิง เพราะรายการพวกนี้ก็เคยเชิญสมาชิก JYJ ไปออก แต่พอใกล้ถึงวันถ่ายทำรายการ ก็ต้องมายกเลิกกันกระทันหัน เพราะอะไร ก็เพราะโดนกีดกันจาก SM Entertainment

น่าสงสารเนอะ

เฮ้อ หดหู่ มีอารมณ์ เซ็ง

หลิ่มหลีแนะนำซีรีย์เกาหลีที่เหล่าเทพของแคสสิโอเปียทั้งหลายไปเล่นกันดีกว่าค่ะ

ยูโนว์ยุนโฮ เล่นซีรีย์เรื่อง Heading to the Ground และ Musical Play เรื่อง Goong

แจจุง มีหนังใหญ่ที่ร่วมทุนและผู้เขียนเป็นญี่ปุ่น Postman to Heaven และกำลังจะเล่นซีรีย์เกาหลีเรื่อง Protect the Boss ทางค่าย SBS และมีซีรีย์ญี่ปุ่นเรื่อง Sunao ni narenakute (Hard to say I love You)

ยูชอนมีซีรีย์ที่ทำให้ได้รางวัลมากมายรวมทั้งรางวัลดาราหน้าใหม่คือ Sungkyunkwan Scandal ล่าสุด ยูชอนกำลังเล่นเรื่อง Miss Ripleyอยู่ค่ะ เรตติ้งดีทีเดียว

ชางมินมีเรื่องที่เพิ่งจบไป Paradise Ranch

ส่วนจุนซูไปเอาดีทางMusical Play ที่บัตรเปิดขายทีไร หมดภายในสองนาทีทุกที เล่นมาสองเรื่อง คือ Mozart กับ Tear of Heaven เรื่อง Mozart เล่นมาสองปีซ้อนแล้วค่ะ และจุนซูเองก็ได้รางวัลนักร้องละครเวทีหน้าใหม่จากเรื่อง Mozart ไปเมื่อปี 2010 ด้วยค่ะ

ส่วนเรื่องเพลง หลิ่มหลีอัพเดทหน่อยดีกว่า

ทงบังชิงกิสองเทพที่ยังอยู่ด้วยกัน หลังจากออกซิงเกิ้ล Keep Your Head Down เมื่อปีที่แล้ว ตามมาด้วยอัลบั้มเต็มเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ตอนนี้ทงบังชิงกิสองเทพก็ได้เดินสายไปทำงานที่ญี่ปุ่นแล้วด้วย ล่าสุดเพิ่งออกแสดงคอนเสิรท์ SM Town ที่Paris ร่วมกับเพื่อนศิลปินในค่าย

ส่วนฝั่ง JYJ ณ วันที่หลิ่มหลีเขียนต้นฉบับนี้ JYJ เพิ่งเสร็จทัวร์คอนเสิรท์ JYJ World Tour Concert 2011 ที่ไปมาหลายประเทศ เกาหลี จีน ไทย อเมริกา แคนาดา ไต้หวัน และมาจบทัวร์ที่กวางจู เกาหลีใต้เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2011

ทุกคนล้วนแล้วแต่ประสบความสำเร็จ ถึงแม้จะแยกจากกัน

แคสสิโอเปียอย่างหลิ่มหลี ผู้ไม่เคยได้ไปทะเลาะกับใคร อาจจะไม่ได้รักเท่ากันทุกคน แต่รักทุกคนเหมือนกัน และรักทุกคนเวลาเทพทุกคนอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากัน

ยังเฝ้ารอการรวมตัวของพวกเขาอยู่

ถึงแม้ จะไม่มีหวังนั้นอีกเลย

ขอจบ ทงบังชิงกิ เดอะซีรีย์ไว้แค่นี้ค่ะ

ขอบคุณที่ติดตาม

หลิ่มหลี เดอะแคสสิโอเปีย โอไฮโย่

ทงบังชิงกิ เดอะซีรีส์ 6: บทส่งท้ายจุดจบเพื่อเริ่มใหม่

-------------------------------------------------

หมายเหตุจากผู้เขียน

  1. ทุกวันนี้ วงเจวายเจ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่แยกมาจากวงทงบังชิงกิ ก็ยังไม่สามารถที่จะออกรายการทางทีวีหรือคอนเสิรท์รวมศิลปินต่างๆพร้อมกับเป็นวงได้ ล่าสุด วงเจวายเจได้รับเกียรติให้เป็นทูตเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของเกาะเจจู ประเทศเกาหลี โดยจะมีการแสดงคอนเสิรท์ แต่ในสองวันก่อนเริ่มการแสดง ทางคณะผู้จัดก็ได้ส่งจดหมายยกเลิกมิให้วงเจวายเจได้แสดงบนเวทีนั้นๆ
  2. ผู้เขียนมองว่า การที่วงเจวายเจโดยกีดกันจากวงการเพลงไม่ว่าจะเป็นของฝั่งเกาหลีและฝั่งญี่ปุ่นไม่ให้แสดงโชว์ หรือออกรายการต่างๆในประเทศนั้น เป็นการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่ง ซึ่งบอกให้รู้ว่าวงการเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีมาเฟียดูแล โดยวงเจวายเจเป็นเหยื่อ
  3. ผู้เขียนให้ความเห็นส่วนตัวว่า วงเจวายเจ ก็เหมือนกับกลุ่มคนเสื้อแดงในประเทศ แตกต่างกันแค่คนเสื้อแดงเป็นคนกลุ่มใหญ่ในประเทศ แต่กลับโดนกีดกันทางการแสดงออกในสื่อกระแสหลัก เช่น ทางฟรีทีวี หรือการโดนโจมตีกล่าวหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการไม่จงรักภัคดีต่อสถาบัน (เช่นเดียวกับที่วงเจวายเจโดนกล่าวหาว่าไม่จงรักภัคดีต่อค่ายเพลงที่สร้างพวกเขามา) การแสดงออกหรือการชุมนุมหลายๆครั้ง รวมทั้งคดีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับคนเสื้อแดงนั้น เป็นไปอย่างเงียบเชียบและไม่เคยได้สิทธิในตอบโต้อย่างชัดเจนตลอดเวลาที่ผ่านมาภายใต้การปกครองประเทศของรัฐบาลอภิสิทธิ เวชชาชีวะ
  4. ทุกวันนี้ ทั้งวงเจวายเจและเสื้อแดงก็แสดงออกทางในการเข้าหาประชาชนด้วยวิธีเดียวกัน คือเน้นทางด้านการสื่อสารทางอินเตอร์เนต Twitter ต่างๆ หวังว่าพวกเขาจะได้รับความยุติธรรมสักที
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 31 ก.ค. - 6 ส.ค. 2554

Posted: 08 Aug 2011 07:49 AM PDT

 

ไต้หวันร่วมกับไทยส่งแรงงานไทยผิด กม.กลับประเทศ 1,100 คน

ไต้หวัน 31 ก.ค.-ไต้หวันจะร่วมกับไทยเริ่มส่งกลับแรงงานไทยผิดกฎหมาย 1,100 คน ตั้งแต่เดือนกันยายนนี้ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าหัวอยู่ จะทรงมีพระชนมายุครบ 84 พรรษาในปีนี้

เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ไทเป ไทม์ส ของไต้หวันรายงานอ้างคำกล่าวของนายเซี่ย หลี่กง อธิบดีสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองของไต้หวันว่า ทางการไทยจะจัดเที่ยวบินไปรับแรงงานไทยที่พำนักในไต้หวันเกินระยะเวลาตรวจลง ตราหนังสือเดินทาง และไม่ต้องคดีใด ๆ แต่หากจำนวนแรงงานมีมากพอ ก็อาจจะจัดเป็นเที่ยวบินพิเศษเช่าเหมาลำ ไต้หวันหวังว่าความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยให้คนในไต้หวันเข้าใจเรื่องปัญหา การค้ามนุษย์ และการปกป้องสิทธิ์แรงงานต่างชาติได้ดีขึ้น

ด้านสำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทยใน ไทเปเผยว่า รัฐบาลไทยจะช่วยเรื่องเงินทุนที่จำเป็นต้องใช้ และหวังว่าแรงงานไทยผิดกฎหมายที่ถูกกักตัวอยู่ตามศูนย์ต่าง ๆ ทั่วไต้หวัน จะกลับบ้านได้ก่อนวันที่ 5 ธันวาคมปีนี้.

(สำนักข่าวไทย, 31-7-2554)

กพร.เดินหน้าพัฒนาฝีมือแรงงานรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน

นายพานิช จิตร์แจ้ง รองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน (รง.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ได้เรียกประชุมผู้บริหาร กพร.เพื่อวางแผนการฝึกอบรมพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานให้ศักยภาพเหมาะสมกับนโยบาย ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันของรัฐบาลชุดใหม่โดยที่ประชุมได้ข้อสรุปว่า จะต้องมีการเตรียมความพร้อมแรงงานก่อนเข้าทำงาน และแรงงานที่มีอยู่เดิม โดย กพร.จะต้องจัดทำหลักสูตรเฉพาะเพื่อใช้ในการอบรมพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน
      
ทั้งนี้ ปัจจุบัน กพร.มีหน้าที่ดูแลหลักสูตรและการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานของสถาน ประกอบการต่างๆ ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545 ดังนั้น จะนำข้อมูลหลักสูตรฝึกอบรมลูกจ้างของสถานประกอบการในสาขาอาชีพต่างๆ ที่มีอยู่แล้วมาวิเคราะห์ แล้วสรุปออกมาเป็นเมนูหลักสูตรฝึกอบรมพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานในสายอาชีพต่างๆ เช่น ช่างไฟฟ้า ช่างยนต์ เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ เพื่อให้สถานประกอบการสามารถเลือกนำไปใช้ฝึกอบรมแรงงานได้ตามความต้องการ
      
ตอนนี้ยังบอกไม่ได้ว่า เมนูหลักสูตรที่ใช้ฝึกอบรมจะมีทั้งหมดกี่หลักสูตร ขอวิเคราะห์ข้อมูลก่อน อย่างไรก็ตาม คาดว่า จะจัดทำเมนูหลักสูตรอบรมพัฒนาทักษะฝีมือแล้วเสร็จ และบรรจุลงในเว็บไซต์ ของ กพร.ที่ www.dsd.go.th เพื่อเปิดให้สถานประกอบการเข้ามาเลือกนำไปใช้ได้ภายในเดือนกันยายนนี้ รวมทั้ง กพร.จะจัดทีมที่ปรึกษาลงไปสู่สถานประกอบการในพื้นที่ต่างๆ เพื่อให้คำแนะนำในการจัดอบรมและวางแผนลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตด้วย นอกจากนี้ การฝึกอบรมแรงงานนั้นจะต้องมีบุคลากรขององค์กร หรือสมาคมสายอาชีพต่างๆ และ กพร.มาร่วมกันดำเนินการจัดฝึกอบรมเพื่อเป็นหลักประกัน ว่า การฝึกอบรมได้คุณภาพและแรงงานมีทักษะฝีมือเหมาะสมกับการที่จะรับค่าจ้างขั้น ต่ำ 300 บาทต่อวัน นอกจากนี้ สถานประกอบการที่จัดอบรมจะได้รับสิทธิประโยชน์ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานสามารถนำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมมาขอลด หย่อนภาษีได้ 2 เท่ารองอธิบดี กพร.กล่าว

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 1-8-2554)

อดีตคนงานไทยในลิเบีย กว่า 30 คน ร้องขอความช่วยเหลือจาก ก.แรงงาน ติดตามค่าจ้างค้างจ่ายจากนายจ้าง

อดีตคนงานไทยในลิเบีย กว่า 30 คน เข้าร้องขอความช่วยเหลือกับเจ้าหน้าที่กรมการจัดหางาน หลังเดินทางกลับจากประเทศลิเบียนานกว่า 5 เดือน แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีวี่แววว่าจะได้เงินค่าจ้างค้างจ่าย รวมถึงเงินชดเชยที่บริษัทจัดส่งแรงงานรับปากว่าจะได้ โดย นายสมศรี คะแก้ว ชาว จ.นครพนม วัย 41 ปี กล่าวว่า ตนเองเดินทางไปทำงานที่ลิเบียกับบริษัทไทยเอเชี่ยนเซอร์วิส จำกัด ได้สัญญาจ้าง 2 ปี เสียค่าใช้จ่ายให้บริษัทไป 130,000 บาท โดยนำที่ดินไปจำนองไว้กับธนาคาร ก่อนเกิดเหตุความไม่สงบที่ลิเบีย ทำงานได้ประมาณ 1 ปี 3 เดือน นายจ้างค้างจ่ายค่าจ้าง 2 เดือน เป็นเงินกว่า 4 หมื่นบาท เมื่อกลับมาเมืองไทย ตัวแทนบริษัทฯ รับปากว่าจะติดตามทวงถามค่าจ้างค้างจ่าย รวมถึงเงินชดเชยให้ แต่จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีความคืบหน้า เมื่อติดต่อไปที่บริษัทฯ กลับได้รับแจ้งว่าให้รอไปก่อนอย่างไม่มีกำหนด ทำให้เดือนร้อนมาก เพราะต้องหาเงินมาผ่อนธนาคาร และหนี้นอกระบบที่กู้มาเป็นค่าใช้จ่ายระหว่างไปทำงานต่างประเทศ ซึ่งดอกเบี้ยทบต้นรวมแล้วกว่า 2 แสนบาท ซึ่งปัจจุบันตนเองและเพื่อนคนงานส่วนใหญ่ต้องไปเป็นกรรมกรก่อสร้างได้ค่าแรง ขั้นต่ำประทังชีวิต

(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 1-8-2554)

คนงานแห่ร้องทุกข์หลังถูกหลอกไปทำงานอิสราเอล

ก.แรงงาน 1 ส.ค.- คนงานแห่ร้องทุกข์ หลังถูกหลอกจะพาไปทำงานที่ประเทศอิสราเอล เผยถูกหลอกเงินคนละ 75,000-200,000 บาท พร้อมนัดวันบินก่อนปิดบริษัทฯ หนี เผยใช้วิธีส่งไปรษณียบัตรชักชวนไปที่บ้าน หวั่นมีเหยื่อถูกหลอกอีกนับหมื่น

นายสราวุธ คำนวณพิทักษ์ ชาว จ.ขอนแก่น พร้อมด้วยเพื่อนคนงานรวม 4 คน เข้าร้องเรียนกับเจ้าหน้าที่กองตรวจและคุ้มครองคนหางาน กระทรวงแรงงาน หลังถูกกลุ่มมิจฉาชีพ เปิดบริษัทจัดหางานเถื่อน หลอกลวงว่าจะพาไปทำงานที่ประเทศอิสราเอล เก็บค่าใช้จ่ายคนละ 75,000-200,000 บาท พร้อมนัดวันขึ้นเครื่องบิน แต่สุดท้ายกลับปิดบริษัทหอบเงินหนี

นายสราวุธ เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ มีไปรษณียบัตรของบริษัทไทยโอเอ เอ็นเตอร์ไพรส์ ตั้งอยู่ที่ 68/808 หมู่บ้านไพลินปารค์ ซ.รัตนธิเบศร์ 28 ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี มีนายเอกพล รัตนดำรงค์ อายุ 36 ปี เป็นเจ้าของ มาถึงบ้านพักตนที่ จ.ขอนแก่น พร้อมระบุว่ามีตำแหน่งงานในอิสราเอล เสียค่าใช้จ่ายคนละ 25,000 บาท โดยไม่เสียค่านายหน้า ตนสนใจเดินทางมาติดต่อ และพบว่าที่บริษัทมีคนงานสนใจมาติดต่อจำนวนมาก ที่สำคัญยังมีการนำชาวต่างชาติ 2 คน ซึ่งอ้างว่าเป็นนายจ้างมาสัมภาษณ์งานด้วยตนเอง ทำให้หลงเชื่อ นำที่ดินไปจำนองกับธนาคารเป็นเงิน 100,000 บาท เพื่อเสียค่าใช้จ่ายให้บริษัทฯรวม 75,000 บาท โดยมีเพื่อนคนงานรวม 35 คน ถูกนัดให้มาขึ้นเครื่องบินเดินทางพร้อมกัน เมื่อวันที่ 5 ก.ค. และ 13 ก.ค.ที่ผ่านมา

นายสราวุธ กล่าวอีกว่า ก่อนถึงกำหนดนัด วันที่ 4 ก.ค. ตนและเพื่อนคนงานไม่สามารถติดต่อตัวแทนบริษัทฯ ได้ จึงตามไปที่บริษัทฯ และพบว่ามีการปิดบริษัทฯ หนีไปแล้ว จึงไปร้องเรียนที่จัดหางานจังหวัดนนทบุรี และแจ้งความที่ สภ.ลาดโตนด จ.นนทบุรี แต่จนถึงขณะนี้คดียังไม่มีความคืบหน้า ล่าสุดตำรวจเพียงออกหมายเรียก นางวิลาวรรณ จันทวงศ์ เสมียนบริษัทฯ มาสอบสวนเพียง 2 ครั้ง ซึ่งตนกลัวว่าจะมีเพื่อนคนงานหลงเชื่อ ตกเป็นเหยื่อเหมือนตนจำนวนมาก เพราะขณะไปสมัครงานที่บริษัทฯ พบไปรษณียบัตรลักษณะเดียวกับที่ตนเคยได้รับรอการส่งอีกนับหมื่นใบ
 
ทั้งนี้ หลังการร้องเรียนที่กองตรวจฯ เจ้าหน้าที่ได้ทำการสอบสวน จนพบว่า นายเอกพล รัตนดำรงค์ ชื่อเดิมคือ นายอเนก เงินสุวรรณ อายุ 36 ปี เคยถูกพนักงานสอบสวน กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ ออกหมายจับในข้อหาร่วมกันฉ้อโกงประชาชน และร่วมกันจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานยังต่างประเทศ ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา นอกจากนี้ ยังเคยมีหมายจับจากการก่อคดีในลักษณะเดียวกันอีกหลายพื้นที่ เช่นพิษณุโลก เชียงใหม่ กระบี่ ชลบุรี และกรุงเทพฯ รวมเกือบ10 คดี

(สำนักข่าวไทย, 1-8-2554)

12 ส.อุตฯ จ่อยื่น 3 ข้อ รบ.ใหม่ขึ้นค่าจ้าง 300

นายอารักษ์ สุขสวัสดิ์ กลุ่มอุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไทย ในฐานะตัวแทน 12 สมาคมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า หากทางรัฐบาลมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท/วัน จะกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะรายย่อย หรือ SME ทำให้อาจต้องมีการปิดกิจการกว่า 1,000 ราย หรือ กระทบแรงงานในระบบที่อาจจะต้องปลดออกกว่าร้อยละ 30 ของแรงงานทั้งหมด หรือ ประมาณ 3 แสนคน เพื่อความอยู่รอด

อย่างไรก็ตามทางกลุ่มของสมาคมอุตสาหกรรม เตรียมยื่นหนังสือเรียกร้องไปยังรัฐบาลใหม่ ใน 3 ข้อ คือ

1. หากมีการปรับขึ้นค่าแรงอยากให้ทำแบบค่อยเป็นค่อยไป
2.การปรับขึ้นค่าแรงควรพิจารณาผ่านคณะกรรมการไตรภาคี และ
3.หากจะมีการปรับขึ้นค่าแรงรัฐบาลควรใช้มาตรการอื่นๆ แทน ในการช่วยเหลือแรงงาน แทนการปรับขึ้นค่าแรงในครั้งเดียว

ด้านนายอารักษ์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า การปรับขึ้นค่าแรงดังกล่าวนั้น หากกระทำจริงจะกระทบต้นทุนของผู้ประกอบการกว่าร้อยละ 35-40 พร้อมมองว่าการใช้มาตรการในการลดภาษี คงไม่สามารถช่วยผู้ประกอบการได้ เนื่องจากการลดภาษีจะเป็นการให้ความช่วยเหลือในกิจการที่ได้ผลกำไรเท่านั้น

(ไอเอ็นเอ็น, 2-8-2554)

ก.แรงงานเปิดเว็บไซต์รวมงานวิจัยเผยแพร่องค์ความรู้ด้านแรงงาน

โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค 2 ส.ค. - นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงานสัมมนาเครือข่ายวิจัยด้านแรงงานประจำปี 2554 โดยมีข้าราชการจากสำนักงานเศรษฐกิจการแรงงาน นักวิชาการ และนักวิจัยจากสถาบันต่าง ๆ เข้าร่วมว่า ปัจจุบันงานวิจัยนับว่ามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมของประเทศ ตั้งแต่ระดับนโยบายจนถึงระดับปฏิบัติการ แต่ที่ผ่านมาการเผยแพร่งานวิจัยมักอยู่ในวงจำกัด โดยเฉพาะงานวิจัยด้านแรงงานที่อยู่อย่างกระจัดกระจาย ทำให้สืบค้นได้ยาก

ดังนั้น กระทรวงแรงงานจึงมอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการแรงงานรวบรวมงานวิจัยและองค์ ความรู้ที่เกี่ยวข้อง โดยจัดทำระบบฐานข้อมูลงานวิจัยด้านแรงงานลงทางเว็บไซต์ www.mol.go.th หรือ http://research.mol.go.th เพื่อความสะดวกในการสืบค้นข้อมูล ล่าสุดมีการรวบรวมงานวิจัยที่เกี่ยวกับด้านแรงงานแล้วกว่า 2,000 เรื่อง และมีผู้สนใจคลิกเข้าชมแล้วกว่า 200,000 ครั้ง ขณะที่ในอนาคตกระทรวงฯ จะเน้นให้ทุนสนับสนุนงานวิจัยด้านแรงงานให้มากขึ้น เพื่อประโยชน์ในการนำองค์ความรู้มาตัดสินใจในนโยบายที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ ในงานสัมมนายังได้มีการเผยแพร่ตัวอย่างงานวิจัยด้านแรงงานที่เป็นประโยชน์ เช่น โครงการศึกษาเพื่อหารูปแบบการส่งเสริมการมีงานทำแก่ผู้สูงอายุในชนบท และโครงการศึกษากรอบความร่วมมือการพัฒนาศักยภาพกำลังแรงงานไทยใน 32 ตำแหน่งงาน ภายใต้ข้อตกลงอาเซียน

(สำนักข่าวไทย, 2-8-2554)

ธ.กสิกรไทยหนุนขึ้นค่าแรง 300 บาท

นายสมเกียรติ ศิริชาติไชย รองกรรมการผู้จัดการ สายงานทรัพยากรบุคคล ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300บาทต่อวันและขึ้นเงินเดือนปริญญาตรีที่15,000บาท ของรัฐบาลชุดใหม่แม้จะกระทบกับต้นทุนผู้ประกอบการบ้าง แต่การปรับขึ้นค่าแรงครั้งนี้จะช่วยให้ฐานรายได้ของคนไทยสอดรับกับเงินเฟ้อ ที่เพิ่มขึ้นในรอบ10ปีที่ผ่านมา หากเพิ่มค่าแรงเป็น300บาทต่อวัน จะทำให้ฐานรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ9.5. ซึ่งใกล้เคียงกับเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นร้อยละ10.9 อีกทั้งยังช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานภาคการเกษตรได้อีกด้วย แต่รัฐบาลควรปรับค่าแรงขั้นต่ำให้สอดคล้องตามพื้นที่แต่ละจังหวัด และปรับแบบค่อยเป็นค่อยไป รวมทั้งออกมาตรการภาษีเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการด้วย
 
ทั้งนี้หากปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น300บาทต่อวัน จะทำให้ค่าแรงขั้นต่ำรายจังหวัดเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ70 ซึ่งในส่วนของภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอ,ประมง รองเท้าและเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งต้องใช้แรงงานจำนวนมาก จะได้รับผบกระทบมากที่สุด จึงต้องเร่งปรับตัวรับกับค่าแรงที่เพิ่มขึ้น
 
ขณะที่นายปรีดี ดาวฉาย รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่าจากสถานการณ์การเมืองที่ชัดเจนขึ้นจากการเลือกตั้ง ส่งผลต่อความเชื่อมั่นภาคเอกชนให้มีการจับจ่ายเพิ่มขึ้น รวมทั้งภาคการส่งออกที่เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทำให้คาดว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจทั้งปี54จะอยู่ที่ร้อยละ3.5-4.5 เงินเฟ้อทั้งปีจะอยู่ที่ร้อยละ3.8-4.4 ขณะที่อัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในภาวะขาขึ้น โดยคาดว่าในช่วงที่เหลือของปีจะมีการปรับขึ้นอีก2ครั้ง ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ที่ร้อยละ3.5-3.75

(Voice TV, 2-8-2554)

โคนม "วังน้ำเย็น" ขึ้นค่าแรง 300 บ.

เมื่อวันที่ 2 ส.ค. ที่สหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น อ.วังสมบูรณ์ จ.สระแก้ว นายสุรชาติ คหินทพงษ์ ประธานกรรมการสหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น ประกาศขึ้นค่าแรงให้กับพนักงานของสหกรณ์เป็น 300 บาท โดยมีผลตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป การขึ้นค่าแรงในครั้งนี้ไม่มีผลกระทบอะไรกับสหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น แต่จะเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับพนักงาน ซึ่งเป็นกำลังสำคัญของสหกรณ์และยังเป็นการสร้าง คุณภาพ สร้างรอยยิ้มให้กับผลิตภัณฑ์มากกว่า ซึ่งสหกรณ์โคนม วังน้ำเย็น ประกอบธุรกิจอย่างอื่นมากมาย เช่น รับซื้อน้ำนมดิบ ธุรกิจร้านค้าสวัสดิการ ธุรกิจรง.อาหารสัตว์ ธุรกิจโรงงานผลิต ผลิตภัณฑ์นม โรงสีข้าว และยังมีธุรกิจเกิดขึ้นใหม่ที่ทางสหกรณ์ จะดำเนินการเพิ่มได้แก่ ฟาร์มโคนม ซึ่งมีแม่โคนมรีด ประมาณ 500 แม่โค งบประมาณ 50 ล้านบาท เสร็จไปกว่า 40% ปั๊มน้ำมัน ปั๊มแก๊ส LPG ขนาด 24 หัวจ่าย งบประมาณ 50 ล้านบาท

นายสุรชาติ กล่าวต่อว่า คณะกรรมการบริหารสหกรณ์โคนมพิจารณาขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท รวมทั้งหมด 160 คน ซึ่งเดือนหนึ่งเราเพิ่มถึง 350,000 บาท จะเพิ่มขึ้นปี 3 ล้านกว่าบาท เพื่อเป็นกิจกรรมวันแม่ 12 สิงหาพระราชินี เราไม่มีเพิ่มราคาผลิตภัณฑ์

(ข่าวสด, 3-8-2554)

ก.แรงงานร่าง 10 นโยบาย เตรียมเสนอรัฐบาลชุดใหม่

นายสมเกียรติ  ฉายะศรีวงศ์  ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ช่วงการปรับเปลี่ยนการบริหารราชการของประเทศย่อมต้องมีนโยบายที่เกี่ยวโยง ถึงงานด้านแรงงานอย่างแน่นอน ดังนั้นกระทรวงแรงงานจึงจัดเตรียม 10 นโยบายด้านแรงงานเชิงรุก เพื่อเตรียมพร้อมรับการบริหารงานและเสนอรัฐบาลชุดใหม่พิจารณา 

สำหรับนโยบายสำคัญหลักได้แก่ 1.นโยบายเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท โดยจะมุ่งยกระดับรายได้ของแรงงานให้ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน  โดยเน้นเรื่องการพัฒนาฝีมือแรงงานให้สอดคล้องกับค่าจ้าง 300 บาทต่อวัน 2.นโยบายเรื่องการแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานของและอุตสาหกรรมหลัก ซึ่งได้วางยุทธศาสตร์ไว้ 2 ด้าน คือ 1.ยุทธศาสตร์ด้านการเพิ่มกำลังแรงงานในเชิงปริมาณและคุณภาพเข้าสู่ตลาดแรง งาน และ 2.ยุทธศาสตร์ด้านการเพิ่มผลิตภาพแรงงานโดยการเพิ่มทักษะฝีมือและส่งเสริม ทัศนคติและพฤติกรรมที่เหมาะสม

3.นโยบายเเร่งส่งเสริมการฝึกทักษะ พัฒนาอาชีพสำหรับแรงงาน 4.นโยบายด้านการส่งเสริมแรงงานที่มีทักษะฝีมือออกไปสู่ภาคบริการต่างๆภายนอก ประเทศ 5.นโยบายการจัดระบบสวัสดิการสังคม 6.นโยบายการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว 7.นโยบายการจัดระเบียบและขอบเขตเศรษฐกิจพิเศษด้านแรงงาน 8.นโยบายการสร้างความสามัคคีปรองดอง  9.นโยบายปัญหายาเสพติด  และ10.นโยบายด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ 

(แนวหน้า, 3-8-2554)

พนง.หญิงมีบุตรวอน องค์กรควรมีสวัสดิการดี เพื่อเก็บคนคุณภาพไว้

การหาพนักงานให้ตรงกับความต้องการไม่ ใช่เรื่องง่าย แต่การเก็บรักษาพนักงานที่ดีไว้ยิ่งยากกว่า องค์กรต่างๆ ในปัจจุบันจึงต้องพลิกแพลงทุกกลยุทธ์ในการเก็บรักษาคนดีและคนเก่งไว้ให้ได้ และหนึ่งในวิธีการยอดนิยมคือเรื่องของการจัดสรรสวัสดิการต่างๆ ที่สามารถดึงดูดใจและดึงพนักงานดาวเด่นไว้ให้ได้ แต่นอกจากจะจัดสรรสวัสดิการเพื่อพนักงานดาวเด่นทั่วๆ ไป แล้ว

ผลสำรวจล่าสุดของจ็อบสตรีท ดอทคอม ยังชี้ให้เห็นชัดเจนว่า ถึงเวลาที่บริษัทต้องปรับปรุงสวัสดิการ เพื่อพนักงานหากต้องการจะเก็บรักษาคนดีและเก่งไว้กับองค์กร โดยเฉพาะพนักงานหญิง เนื่องจากปัจจุบันแรงงานสตรีมีจำนวนเพิ่มขึ้น ในทุกระดับ โดยจากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่ง ชาติ เมื่อเดือน ม.ค.2549 พบว่า มีแรงงานสตรี ร้อยละ 45.5 ของแรงงานในระบบทั้งหมด โดยเป็นแรงงาน นอกภาคเกษตรกรรม ร้อยละ 47.2 ซึ่งเป็นแรงงานสำคัญในด้านการบริการ (โรงแรม และภัตตาคาร) ร้อยละ 61.8 ด้านการศึกษาร้อยละ 59.3 ด้านการผลิตถึงร้อยละ 54.3 การบริหาร ราชการแผ่นดินและการประกัน สังคมร้อยละ 33.0

ทั้งนี้จากการสำรวจผู้หญิงทำงานจำนวน 695 คน อายุระหว่าง 21 – 40 ปี เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาในหัวข้อ ทัศนคติของผู้หญิงและแม่ในบทบาทของคนทำงาน ทำให้สามารถสะท้อนมุมมองของผู้หญิงและแม่ในฐานะของคนทำงานได้อย่างชัดเจนถึง สิ่งที่ผู้หญิงทำงานให้ความสำคัญและต้องการจากองค์กร

กลุ่มผู้ที่ทำการตอบแบบสอบถามนั้น 66% เป็นโสด 21% เป็นหญิงที่สมรสและมีบุตรแล้ว 6% เป็นหญิงที่สมรสแล้วแต่ยังไม่มีบุตร อีก 6% หย่าร้างและมีบุตร และ 1% เป็นหญิงที่หย่าร้างแล้วแต่ยังไม่บุตร โดย 36% ให้ความเห็นว่าบริษัทไม่ใส่ใจต่อความต้องการของพนักงานที่มีบุตร 27% ระบุว่าบริษัทใส่ใจความต้องการของพนักงานกลุ่มดังกล่าว และอีก 38% ไม่แน่ใจ

64% ของผู้ที่ตอบแบบสอบถามระบุว่าเป้าหมายในการทำงานจะเปลี่ยนแปลงไปแน่นอนเมื่อ มีบุตร โดยในจำนวนนั้นชี้ว่า ภายหลังการมีบุตรสิ่งที่สำคัญในการทำงานคือ เงินเดือนที่สูงขึ้น (35%) ชั่วโมงการทำงาน ที่สั้นลงและมีเวลาที่แน่นอน (31%) ชั่วโมงการทำงานที่ยืดหยุ่นตามความจำเป็น (23%) การเดินทางที่น้อยลง (7%) และอื่นๆ อีก 4% ได้แก่ ความมั่นคงในการทำงาน สวัสดิการที่ดีขึ้น และวันหยุดเสาร์อาทิตย์ เมื่อถามต่อไปถึงการจัดชั่วโมงการทำงานที่ยืดหยุ่นให้พนักงานที่มีบุตรของ บริษัทต่างๆ 54% ระบุว่าไม่มีการยืดหยุ่น มีเพียง 28% ของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุว่าบริษัทมีการจัดสรรเวลาทำงานที่ยืดหยุ่นให้ นอกจากนั้นยังพบว่าคุณแม่จำนวนไม่น้อยที่ถูกเรียกร้องให้ยังต้องทำงานล่วง เวลาและทำงานในวันหยุดด้วย (18%)

สำหรับแผนการประกอบอาชีพภายหลังการ แต่งงานหรือมีบุตร  62% ยืนยันว่าจะทำงานต่อไป มีเพียง 2% เท่านั้นที่ระบุว่าจะเลิกทำงานภายหลังการมีบุตร ทั้งนี้เมื่อถามเฉพาะกลุ่มผู้หญิงทำงานที่มีบุตรแล้วพบว่า 78% ไม่ได้หยุดทำงานเมื่อมีบุตร สำหรับผู้ที่หยุดทำงานนั้น 50% หยุดทำงานเป็นเวลา 1-2 ปี เพื่อเลี้ยงดูบุตร   ก่อนจะกลับไปทำงานอีกครั้ง

สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ผู้หญิงทำงานส่วนใหญ่ไม่สามารถตัดสินใจเลิกทำงานเพื่อดูแลบุตรเพียง อย่างเดียวได้ คือ ความจำเป็นทางเศรษฐกิจของครอบครัว (56%) อีก 24% ระบุว่ายังอยากมีความก้าวหน้าในอาชีพการงาน 11% ยังมีความสุขกับงานที่ทำอยู่ และเหตุผลอื่นๆ อีก 9% เช่น ต้องการมีเงินเก็บเพิ่มเติม ต้องการรักษาคุณค่าของตนเองไว้ด้วยการทำงาน และไม่อยากอยู่บ้านเฉยๆ เพื่อเลี้ยงลูกอย่างเดียว

นางสาวฐนาภรณ์ สถิตพันธุ์เวชา ผู้จัดการสาขาประเทศไทย บริษัท จ็อบสตรีท (ประเทศไทย)จำกัด  กล่าวว่า จากผลสำรวจจะเห็นได้ชัดเจนถึงความต้องการของลูกจ้างหญิงเกี่ยวกับทัศนคติใน การทำงานภายหลังการแต่งงานและมีบุตร ซึ่งองค์กรเองควรตระหนักและเริ่มทบทวนนโยบายในด้านสวัสดิการต่างๆ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับลูกจ้างหญิงให้มากขึ้น เนื่องจากจำนวนของพนักงานหญิงมีแนวโน้มจะสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ดูได้จากสัดส่วนของแรงงานหญิงในระบบที่มีมากพอๆ กับแรงงานชาย ทั้งยังเป็นแรงงานที่เราไม่สามารถจะละเลยหรือลดความสำคัญลงได้เลยและโดย เฉพาะอย่างยิ่ง ควรคำนึงถึงนโยบายการให้สวัสดิการสำหรับคนทำงานที่มีบุตรแล้วด้วย ซึ่งเป็นแผนงานหนึ่งที่สามารถทำให้องค์กรสามารถเก็บรักษาคนดีคนเก่งเอาไว้ ได้

จากการสอบถามตัวแทนนายจ้างจาก 284 บริษัท โดยแบ่งเป็นบริษัทขนาดเล็กมีพนักงานไม่เกิน 50 คน 39% บริษัทขนาดกลาง มีพนักงานตั้งแต่ 50-200 คน 27% และบริษัทขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนพนักงานมากกว่า 200 คน อีก 35%  พบว่า โดยเฉลี่ยมีพนักงานหญิงในองค์กรประมาณ 50-70% แต่ในองค์กรขนาดเล็กจะมีพนักงานหญิงอยู่ระหว่าง 71-90% เมื่อถามถึงการให้ความสำคัญกับสวัสดิการเพื่อพนักงานหญิง 60% ให้ความสำคัญอยู่ที่ระดับปานกลาง โดย 45% ของบริษัทที่ร่วมตอบแบบสอบถามแจ้งว่าไม่มีการจัดสวัสดิการใดเป็นพิเศษสำหรับ พนักงานที่ตั้งครรภ์หรือพนักงานที่มีบุตร ทั้งนี้เมื่อแยกพิจารณาตามขนาดขององค์กรพบว่า 47% ขององค์กรขนาดใหญ่ให้ความสำคัญมากในการจัดสวัสดิการเพื่อพนักงานหญิงที่ตั้ง ครรภ์ และอีก 50% ให้ความสำคัญในระดับปานกลาง

สำหรับสวัสดิการเพื่อพนักงานตั้ง ครรภ์ หรือ พนักงานที่มีบุตรที่องค์กรจัดให้พนักงานนั้น 33% ขององค์กรที่ตอบแบบสอบถามระบุว่ามีการปรับเวลาให้ยืดหยุ่นมากขึ้นสำหรับ พนักงานกลุ่มดังกล่าว เพื่อช่วยเหลือพนักงานที่กำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ระหว่างการเลี้ยงดูบุตรใน ช่วงทารก-ปฐมวัย 4% ขององค์กรที่ตอบแบบสอบถามระบุว่า ได้จัดสวัสดิการห้องปั๊มนมไว้ให้พนักงาน 2% จัดห้องดูแลเด็กไว้ในสถานที่ทำงาน 3% มอบเงินสวัสดิการเพื่อช่วยค่าเลี้ยงดูบุตร และ 14% ให้ ความช่วยเหลือด้านอื่นๆ ได้แก่ การให้เงินช่วยเหลือค่าคลอดบุตร การให้สวัสดิการรักษาพยาบาลบุตร การให้ทุนการศึกษา การให้ของขวัญแรกคลอด และการปรับเปลี่ยนหน้าที่ที่เหมาะสมให้กับหญิงมีครรภ์ เป็นต้น ขณะที่ เมื่อถามถึงแผนการในการเพิ่มสวัสดิการให้กับพนักงานหญิงที่มีบุตร 15% แจ้งว่ามีแผนในระยะ 1-2 ปีข้างหน้า 8% มีแผนการในระยะยาว คือ อีก 5 ปีข้างหน้า ในขณะที่ 77% ยังไม่มีแผนการเลย

นางสาวฐนาภรณ์  กล่าวต่อว่า นอกจากนี้จากการสำรวจพบว่ามีพนักงานหญิงถึง 41% เรียกร้องให้องค์กรอำนวยความสะดวกในการเลี้ยงดูเด็กที่ที่ทำงานด้วย นั่นแสดงได้ชัดเจนว่า คุณแม่ที่ยังต้องทำงานทั้งหลาย ไม่อยากละทิ้งภาระหน้าที่ในการเลี้ยงลูกไป ในขณะเดียวกันก็ไม่อยากสูญเสียความก้าวหน้าในอาชีพด้วย สิ่งที่คุณแม่คนทำงานอยากจะร้องขอต่อนายจ้าง เพื่อช่วยให้เธอยังสามารถทำงานได้อย่างสบายใจคือ เงินช่วยเหลือค่าเลี้ยงดูบุตร (43%) เงินเดือนที่สูงขึ้น (38%) วันหยุดที่เพิ่มขึ้น (34%) ทุนการศึกษาบุตร (33%) ห้องเลี้ยงเด็ก (21%) และอื่นๆ (6%) โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเข้าใจจากนายจ้างในเรื่องของวันลาและความยืดหยุ่นของ เวลาการทำงานเพื่อเปิดโอกาสให้เธอได้ทำหน้าที่แม่ได้สมบูรณ์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความจำเป็นในกรณีที่ลูกป่วย การรับส่งลูก ตลอดจนงานโรงเรียน การประชุมผู้ปกครอง โดย เช่นกรณีที่ลูกป่วย หรือ จำเป็นต้องไปงานโรงเรียนของลูกเป็นต้น

ผู้จัดการสาขาประเทศไทย บริษัท จ็อบสตรีท กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ 46% ของตัวแทนนายจ้างเชื่อมั่นว่าแม้พนักงานจะมีบุตรก็ยังสามารถทุ่มเทให้กับงาน ได้เต็มที่ และ 70% ของตัวแทนฝ่ายนายจ้างระบุว่าในการคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้าทำงานนั้น ไม่ได้สนใจว่าจะมีบุตรแล้วหรือไม่ โดยให้ความเห็นว่าการมีบุตรจะทำให้พนักงานมีความรับผิดชอบและมีความอดทนใน การทำงานมากขึ้น แม้ว่าในช่วงสามปีแรกของการเลี้ยงดูบุตรอาจจะมีเวลาทำงานไม่เต็มที่ ซึ่งเป็นเรื่องที่นายจ้างต้องเข้าใจและปรับในเรื่องของความยืดหยุ่นของเวลา ทำงานให้ลูกจ้างตามสมควร ซึ่ง นายจ้างระบุว่า การปรับเปลี่ยนหรือ โยกย้ายหน้าที่ให้กับพนักงานที่ตั้งครรภ์จะพิจารณาจากลักษณะงานเป็นสำคัญ ในบางตำแหน่งนั้นการมีลูกหรือตั้งครรภ์จะกระทบกับงาน แต่สำหรับพนักงานที่ทำงานประจำสำนักงานจะไม่มีผลกระทบอะไร ซึ่งเรื่องต่างๆ เหล่านี้มีข้อกฏหมายกำหนดไว้ชัดเจนแล้ว เพื่อคุ้มครองสิทธิลูกจ้างหญิง

เป็นที่น่ายินดีว่าแม้ในปัจจุบันแต่ ละองค์กรอาจจะยังไม่ได้ดูแลสวัสดิการให้กับพนักงานที่มีบุตรอย่างจริงจัง แต่ก็พบว่าหลายๆ แห่งไม่ได้ละเลยที่จะพยายามทำความเข้าใจกับบทบาทของคนเป็นแม่ที่ต้องรับภาระ งานนอกบ้านด้วย โดยการยืดหยุ่นกฏระเบียบต่างๆ ตามสมควร และมีแนวโน้มว่าองค์กรต่างๆ จะตื่นตัวในเรื่องนี้กันอย่างชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของการจัดสถานที่สำหรับเลี้ยงดูเด็ก และห้องสำหรับให้คุณแม่เก็บน้ำนม ซึ่งเริ่มมีหลายองค์กรทำแล้ว ซึ่งพนักงานเองก็ต้องเข้าใจข้อจำกัดของนายจ้างด้วยที่อาจจะยังไม่พร้อม เรื่องของสถานที่ บุคลากร และจำนวนพนักงานอาจจะยังไม่มากพอสำหรับการจัดสรรสวัสดิการต่างๆดังกล่าว ซึ่งเราก็หวังว่าคุณแม่คนทำงานทุกคนมีความสุขกับทุกบทบาทที่ได้รับและประสบ ความสำเร็จกับทั้งบทบาทของแม่และคนทำงาน”  นางสาวฐนาภรณ์ กล่าว

(ไทยรัฐ, 3-8-2554)

ธปท.เผยรายได้เฉลี่ยลูกจ้างไทยไม่พอยาไส้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เปิดเผยข้อมูลค่าจ้างเฉลี่ยของผู้มีงานทำในประเทศไทยที่มีอาชีพลูกจ้าง และพนักงาน ทั้งของรัฐบาลและเอกชน ล่าสุด สิ้นเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา โดยมีผู้ที่มีงานทำที่เป็นลูกจ้างทั้งสิ้น 17,310,300 คน แบ่งเป็นลูกจ้างในภาครัฐบาล 3,560,000 คน และเป็นลูกจ้างในภาคเอกชน 13,750,300 คน พบว่า ค่าจ้างเฉลี่ยของลูกจ้างล่าสุด ในเดือน พ.ค. ที่ผ่านมาพบว่า ลูกจ้างไทยมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 9,775.1 บาทเท่านั้น

ทั้งนี้ หากแยกเป็นผู้มีงานทำที่เป็นลูกจ้างในภาคเกษตรกรรมพบว่า มีค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนเพียง 4,900.3 บาท ขณะที่ผู้ที่มีงานทำในภาคนอกภาคเกษตรกรรม ซึ่งหมายรวมถึงภาคก่อสร้าง ภาคอุตสาหกรรม ภาคการค้า และภาคบริการ มีรายได้เฉลี่ย 10,501.5 บาทต่อเดือน ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่ต่ำเมื่อเทียบกับค่าครองชีพในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกจ้างในภาคการเกษตร

อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ค่าจ้างเฉลี่ยของลูกจ้างโดยรวมปรับตัวดีขึ้น โดยสำหรับค่าจ้างแรงงานโดยรวม ปรับเพิ่มขึ้น 5% ค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยของแรงงานในภาคเกษตรกรรม ปรับเพิ่มขึ้น 11% ค่าจ้างแรงงานในภาคอุตสาหกรรม ก่อสร้าง การค้า และการบริการ ปรับเพิ่มขึ้น 5.6%

นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธปท. กล่าวว่า ภาวะตลาดแรงงานยังคงตึงตัว โดยสัดส่วนจำนวนตำแหน่งงานว่างและผู้ว่างงานยังอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มว่าอัตราการว่างงานในช่วงต่อไปจะต่ำลงได้ เนื่องจากดัชนีชี้ความยากง่ายในการทำงาน ระบุว่า การหางานจะทำได้ง่ายขึ้นกว่าในเดือนที่ผ่านมา

ด้าน ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานว่า ส่วนตัวมองว่าเป็นเรื่องจำเป็น เพราะในขณะนี้รายได้ของลูกจ้างยังต่ำ จึงควรจะได้ค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจ และไม่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำ จนกระทั่งกลายเป็นการสร้างปัญหาที่นำไปสู่ความขัดแย้งของสังคม อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไม่ควรจะขึ้นค่าจ้างแรงงานอย่างเดียว แต่ควรจะที่เร่งสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และศักยภาพในการผลิต และทักษะแรงงานที่เพิ่มขึ้น เพื่อให้ค่าจ้างแรงงานใหม่ เหมาะสมกับการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่เพิ่มขึ้นด้วย

ขณะที่นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวก่อนหน้านี้ว่า การปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานในช่วงที่ผ่านมา ยังไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพที่ปรับสูงขึ้น โดยตั้งแต่ ปี 2540 จนถึงปัจจุบัน พบว่า อัตราการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำหักเงินเฟ้อแล้ว ยังไม่ฟื้นตัว หรือมีระดับต่ำกว่าในช่วงปี 2540 หมายความว่า ผู้ใช้แรงงานยังไม่ได้รับความเป็นธรรมในการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ และเท่าที่มีการประเมินค่าจ้างที่ขึ้น หักเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในระยะที่ผ่านมา ค่าจ้างแรงงานยังมีช่องว่างสามารถให้ปรับขึ้นได้ 10% แต่หากปรับขึ้นครั้งเดียว 300 บาท หรือประมาณ 40% อาจจะส่งผลให้ภาคธุรกิจปรับตัวไม่ทัน นอกจากนี้เมื่อมีการปรับขึ้นค่าแรงแล้วก็ควร เน้นพัฒนาอุตสาหกรรมที่ส่งผลดีต่ออนาคตประเทศควบคู่ไปด้วย

ด้านนายทรงธรรม ปิ่นโต ผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธปท. กล่าวถึงการผ่านร่างกฎหมายขยายเพดานหนี้ของสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 3 ส.ค. ว่า เป็นมติที่ตลาดการเงินคาดการณ์ไว้แล้วว่า ในที่สุดสหรัฐฯน่าจะแก้ปัญหาเพดานหนี้ของรัฐบาลได้ อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาดังกล่าวถือเป็นการแก้ปัญหาในระยะสั้นให้ผ่านไปก่อนเท่านั้น แต่ในระยะยาวปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจสหรัฐฯที่อ่อนแอยังคงเป็นปัญหาที่กระทบ ต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก

ความอ่อนแอของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่จะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจประเทศที่พึ่งพิงการส่งออกของสหรัฐฯบ้าง ซึ่งสำหรับเศรษฐกิจไทยนั้น การส่งออกในช่วงต่อไปอาจจะได้รับผลกระทบบ้างจากกำลังซื้อจากสหรัฐฯที่ลดลง โดยประเทศไทยมีสัดส่วนที่ส่งออกไปสหรัฐฯ ประมาณ 11% ของการส่งออกรวมของประเทศ อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ ผู้ส่งออกของไทยได้มีการกระจายการส่งออกไปยังภูมิภาคอื่นๆ ในจีน อาเซียน และอื่นๆ มากขึ้น โดย ธปท.คงต้องจับตาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐฯ ต่อประเทศไทยในระยะต่อไป.

7-11 หนุนนโยบายรัฐปรับค่าแรง 300

นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) กล่าวในงานเสวนาพิเศษ การปรับตัวของภาคธุรกิจในยุครัฐบาลใหม่ว่า ซีพีออลล์พร้อมปฏิบัติตามนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ของรัฐบาลถึงแม้ว่านโยบายดังกล่าว จะกระทบต่อต้นทุนการผลิต แต่ก็พร้อมปรับตัวด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เพราะการปรับขึ้นค่าแรง ถือเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับลูกจ้าง

ขณะเดียวกัน ซีพีออลล์ มีความพร้อมที่จะรับแรงงานปริญญาตรีจบใหม่ 10,000 อัตรา เข้าทำงานในทันที นอกจากนี้ ยังฝากให้รัฐบาลชุดใหม่ ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนภาคบริการ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ไม่ใช่การออกกฎหมายควบคุมธุรกิจค้าปลีก ขณะเดียวกัน ต้องลดแรงงานภาคเกษตรลง

(แนวหน้า, 4-8-2554)

สนองนโยบายหนุนปรับค่าแรงดันทฤษฎี 3 สูงแก้ปัญหายากจน

นายยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัย การพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยในงานเสวนาพิเศษการปรับตัวของภาคธุรกิจในยุครัฐบาลชุดใหม่ที่จัดโดย ปัญญาสมาพันธ์เพื่อการวิจัยความเห็นสาธารณะแห่งประเทศไทย ร่วมกับ ซีพี ออลล์ ว่า ทีดีอาร์ไอเห็นด้วยกับนโยบายการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาทของรัฐบาลชุดใหม่ เพราะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แรงงานไทยถูกกดค่าแรงให้ต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ประเทศไทย (จีดีพี) เห็นได้จาก ค่าจ้างขั้นต่ำปรับขึ้น 2.84% ต่อปี แต่ค่าครองชีพปรับสูงขึ้น 3.25%  ต่อปี แต่ทั้งนี้รัฐบาลควรจะมีวิธีการคำนวณหาค่าแรงที่สูงขึ้นอย่างเหมาะสมที่สุด และต้องปรับขึ้นให้ชดเชยกับค่าแรงงานที่ถูกกดให้ต่ำมาตลอด รวมทั้งต้องมีแผนรับมือช่วยเหลือเอกชนและเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบ มั่นใจว่า การปรับขึ้นค่าแรง จะแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมและยกระดับคุณภาพชีวิตของแรงงานให้สูงขึ้น

สำหรับแนวทางที่ต้องการเสนอให้ภาครัฐ พิจารณาคือ การใช้ทฤษฎี 3 สูงคือ ปรับเพิ่มค่าแรงให้สูงขึ้น ปรับเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าให้สอดคล้องกับค่าแรงที่สูงขึ้น และปรับราคาสินค้าให้สอดคล้องกับค่าแรง ซึ่งหากรัฐบาลใช้ทฤษฎี 3 สูงพร้อมกันแล้ว เชื่อว่าจะเป็นการปรับโครงสร้างของประเทศใหม่ และเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญสุดของประเทศไทย ที่แรงงานของประเทศจะมีประสิทธิภาพการผลิตสินค้าที่สูงขึ้น และทำให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากประเทศด้อยพัฒนาในที่สุด ซึ่งในปัจจุบัน ค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 176.20 บาทต่อวัน หากปรับเป็นค่าแรง 300 บาทต่อวัน  ถือเป็นการปรับเพิ่มขึ้นวันละ 123.80 บาทต่อวัน หรือเพิ่มขึ้น 70% โดยแรงงงานที่ได้รับผลดีจากมาตรการนี้มีจำนวน 4.281 ล้านคนทั่วประเทศ และภาคเอกชนทั่วประเทศต้องจ่ายชดเชยเพิ่มขึ้นวันละ 530 ล้านบาท หรือใช้เพิ่มขึ้นปีละ 165,360 ล้านบาท แต่ทั้งนี้ ภาคครัวเรือนจะมีรายได้เพิ่มขึ้น 21,981 บาทต่อเดือน หรือเพิ่มขึ้น 4.72%
  
นายสมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดี สถาบันจัดการปัญญาภิวัฒน์ กล่าวว่า ต้องการให้รัฐบาลใหม่ปรับขึ้นค่าแรงด้วยการทำเป็นแพ็กเกจ ทั้งวางรูปแบบค่าแรงที่เหมาะสม กระตุ้นให้ภาคเอกชนรับมือกับต้นทุนที่สูงขึ้น และหาทางย้ายฐานผลิตไปในประเทศเพื่อนบ้านที่มีค่าแรงถูกกว่าไทย รวมทั้งต้องผลักดันให้ภาคธุรกิจบริการของไทยและภาคการเกษตรเติบโตสูงต่อ เนื่อง
  
นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารร้านสะดวกซื้อ เซเว่น อีเลฟเว่น กล่าวว่า  ซีพี ออลล์ พร้อมปรับขึ้นค่าแรง 300 บาทตามที่รัฐบาลประกาศไว้ โดยปรับระบบงานภายในไว้รองรับ และยังต้องการแรงงานระดับปริญญาตรีใหม่ประมาณ 10,000 คน เพื่อรองรับการขยายสาขาใหม่ในอนาคต.

(เดลินิวส์, 4-8-2554)

สปสช.แจงปี 55 เพิ่มค่ารักษารายหัว 10%

นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า ตัวเลขที่โรงพยาบาลเอกชนประเมินว่าหากมีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท จะทำให้โรงพยาบาลมีภาระเพิ่มและต้องเก็บเงินจากผู้ป่วยเพิ่ม 5% เป็นตัวเลขที่น่าสนใจ อยากให้โรงพยาบาลเอกชนแสดงตัวเลขต้นทุนและวิธีการคำนวณทั้งหมด เพราะหากสมเหตุสมผลจริงรัฐบาลก็ควรรับผิดชอบภาระเหล่านี้ นพ.วินัย กล่าวว่า กรณีการขอปรับขึ้นค่าเหมาจ่ายรายหัวจากสปสช.เพื่อชดเชยภาระดังกล่าว ยืนยันว่าสปสช.คำนวณด้วยข้อมูลทางวิชาการและงานวิจัยแล้ว โดยค่าเหมาจ่ายรายหัวปี 2554 อยู่ที่ 2,545 บาท ขณะที่ปี 2555 จะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 2,895 บาท ซึ่งถือว่าเพิ่มขึ้นกว่า 10% แล้ว หากตัวเลขของโรงพยาบาลเอกชนบอกว่ามีภาระเพิ่มขึ้น 5% ก็จะได้ปรับลดค่าเหมาจ่ายรายหัวลงมา นพ.วินัย กล่าวว่า คงไม่มีใครกล้าบอกว่าค่าเหมาจ่ายรายหัวสูงกว่ารายจ่ายจริง ทุกโรงพยาบาลต้องบอกว่าน้อยกว่าอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามอยากให้โรงพยาบาลเอกชนชี้แจงตัวเลขให้ชัดเจน โดยเฉพาะการขึ้นค่าแรง 300 บาทนั้น ขึ้นให้แรงงานส่วนใด จำนวนเท่าใด ค่าแรงแฝงที่มากับค่ายาและเวชภัณฑ์เท่าใด ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท คงจะขึ้นให้เฉพาะคนงาน พนักงานทำความสะอาด เจ้าหน้าทีรักษาความปลอดภัย ในส่วนของแพทย์หรือผู้ประกอบวิชาชีพคงไม่ได้ขึ้นอยู่แล้ว ถามว่าเดิมจ่ายค่าแรงอยู่ร้อยกว่าบาท เพิ่มขึ้นอีกร้อยกว่าบาท ถ้าทำให้โรงพยาบาลมีภาระเพิ่มขึ้นอีก 5% ก็น่าสนใจมากนพ.วินัย กล่าว

(กรุงเทพธุรกิจ, 4-8-2554)

คนงานไทยร้องเรียน ถูกนายหน้าหลอกทำงานอิสราเอลแต่ไม่ได้ไป

4 ส.ค. 54 - น.ส.สุธาสินี แก้วเหล็กไหล โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย พร้อมด้วยแรงงานไทยจำนวน 5 คนได้มาร้องเรียนว่าถูกนายหน้าจัดหางานไปทำงานเป็นคนงานในสวนดอกไม้ที่ ประเทศอิสราเอล โดยเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการส่งไปทำงานคนละ 70,000 - 100,000 แสนบาท ซึ่งมีแรงงานจากจังหวัดต่างๆ เช่น สุโขทัย ตาก พิษณุโลก อุดรธานี ถูกหลอกลวงด้วยรวมประมาณ 20 คน
 
คนงานหญิงอายุ 34 ปี ชาว จ.สุโขทัย กล่าวว่า เมื่อเดือนมิถุนายนปี 2553 ได้มีเพื่อนมาชักชวนให้ไปทำงานเป็นคนงานในสวนดอกไม้ที่ประเทศอิสราเอล โดยมีนายหน้าเรียกเก็บค่าใช้จ่ายคน 70,000 - 100,000 แสนบาท และนัดเดินทางบินไปประเทศอิสราเองในวันที่ 15 เม.ย. ที่ผ่ามา แต่เมื่อถึงกำหนดนัดกลับขอเลื่อนกำหนดเดินทางมาเป็นระยะ ดังนั้น ตนกับเพื่อนๆ จึงมาร้องเรียนต่อกรมการจัดหางาน เพื่อเรียกร้องเงินค่านายหน้าคืนและดำเนินการเอาผิดตามกฎหมายกับนายอิทธิพล ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ได้มีแรงงานจากจังหวัดต่างๆ ที่จ่ายเงินค่านายหน้าให้แก่นายอิทธิพลไปแล้ว 14 คน ได้ไปแจ้งความกับตำรวจไว้แล้ว
 
ทั้งนี้ นางสุทัศนี สืบวงศ์แพทย์ อธิบดีกรมการจัดหางานได้รับเรื่องไว้ และมอบให้นางอาทิตยา เล็กวานิช หัวหน้าฝ่ายวิชาการและแผนงาน กองตรวจและคุ้มครองคนหางาน (กกจ.)ไปดำเนินการต่อ ซึ่งนางอาทิตยาได้ให้แรงงานทุกคนเขียนร้องทุกข์ไว้และตรวจสอบข้อมูลนายหน้า ในกรณีนี้ ว่าจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ กกจ.พบว่า ก่อนหน้านี้นายหน้าคนนี้ได้ถูกแรงงานกลุ่มอื่นร้องเรียนกรณีหลอกลวงคนงานไป ทำงานที่อิสราเอลมาก่อน และตำรวจกำลังจะออกหมายจับ

ทั้งนี้นางอาทิตยา กล่าวว่า ขอให้ แรงงานไทยที่จะไปทำงานต่างประเทศตรวจสอบนายหน้าด้วยว่าจดทะเบียนถูกต้องตาม กฎหมายหรือไม่หรือถูกใช้ใบอนุญาต โดยดูข้อมูลได้ที่ www.doe.go.th โทร.0-2248-2278 หรือหากถูกหลอกลวง ติดต่อร้องทุกข์โทร. 0-2248-4792

อุตสาหกรรมภาคใต้ ยันไม่ขยับค่าแรง 300 บาท

นายกฤษณะ เอี่ยมวงศ์นที กรรมการสภาอุตสาหกรรมภาคใต้ และประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า จากผลการประชุมร่วมของสภาอุตสาหกรรม 14 จังหวัดภาคใต้ มีความเห็นตรงกันว่าภาคอุตสาหกรรมในเขต 14 จังหวัดภาคใต้ยังไม่พร้อมปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ตามนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ จึงตอบปฏิเสธที่จะปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามนโยบายรัฐบาลชุดใหม่ เนื่องจากความไม่พร้อมของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม ทั้งยังหวั่นว่านโยบายดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างการจ้างงาน และธุรกิจเอสเอ็มอีที่มีสัดส่วนกว่า 70% อย่างรุนแรง ทั้งยังจะเป็นปัจจัยทำให้ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมไม่สามารถขยายตัวได้ ซึ่งขณะนี้ทางผู้ประกอบการอุตสาหกรรมภาคใต้ได้มอบหมายให้อุตสาหกรรมแห่ง ประเทศไทยนำเรื่องและประเด็นปัญหาดังกล่าวไปร่วมหารือกับรัฐบาลชุดใหม่เพื่อ หาทางออกต่อไป
    
ทั้งนี้ การปรับเพดานค่าแรงขั้นต่ำในทันทีทันใดคาดว่าจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อ ทั้งภาคอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ และการจ้างงาน โดยคาดว่าจะส่งผลกระทบต่ออัตราการจ้างงานในกลุ่มปริญญาตรีลดลง จากปัจจุบันมีสัดส่วนประมาณ 20% ในภาคอุตสาหกรรมซึ่งแรงงานส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานระดับ ปวช.และ ปวส.
    
นายกฤษณะกล่าวอีกว่า ข้อเท็จจริงของเพดานการจ้างงานก็ยังไม่เห็นควรที่จะขยับเพิ่มเป็น 300 บาท โดยในส่วนของ จ.ระนอง ค่าจ้างขั้นต่ำสุดน่าจะอยู่ในระดับ 200 บาทต่อวันสำหรับแรงงานไร้ฝีมือ ส่วนแรงงานประเภทมีฝีมืออัตราค่าจ้างไม่ควรเกิน 250 บาทต่อวัน พิจารณาตามลักษณะข้อเท็จจริงของขนาดเศรษฐกิจของพื้นที่
    
ดังนั้นหากรัฐบาลชุดใหม่ยังยืนยันที่จะเดินหน้านโยบายดังกล่าว ที่ประชุมเห็นว่าแนวทางในการหากองทุนชดเชยส่วนต่างให้แก่ผู้ประกอบการในส่วน ที่เกินเพดานความสามารถในการจ้างงาน ก็น่าจะเป็นอีกทางออกที่อาจจะแก้ปัญหาได้ แต่การขยับค่าจ้างขั้นต่ำนั้นทางออกที่ดีที่สุดคือการเจรจาร่วมของไตรภาคี และควรที่จะดำเนินการแบบขั้นบันไดจะดีกว่าแบบก้าวกระโดด

(คม ชัด ลึก, 5-4-2554)

อุตสาหกรรม ​เตือน รบ. ขึ้นค่า​แรง 300 อย่าง​เป็นระบบ หวั่นกระทบธุรกิจส่งออกรุน​แรงอาจ​เจ๊งนับ 1,000 ราย

​โรง​แรม​โน​โว​เทล สยามส​แควร์ ​ได้มีงาน​แถลงข่าว ผลกระทบ 300 บาท ​เรื่องจริงที่ต้องฟังจัด​โดย 12 สมาคมอุตสาหกรรม รวม 2,273 สมาชิก ประกอบด้วย สมาคมอุตสาหกรรม​เครื่อง​เรือน​ไทย 330 ราย, กลุ่มอุตสาหกรรม​เฟอร์นิ​เจอร์ สภาอุตสาหกรรม​แห่งประ​เทศ​ไทย 130 ราย, สมาคม​เครื่อง​เขียน​และ​เครื่อง​ใช้สำนักงาน​ไทย 400 ราย, สมาคมสินค้าของตก​แต่งบ้าน 445 ราย, สมาพันธ์ผลิตภัณฑ์​ไลฟ์ส​ไตล์​ไทย , สมาคม​ไทยพัฒนา​การปลูกป่า​เศรษฐกิจ​และอุตสาหกรรม​ไม้ 200 ราย, สมาคม​โรง​เลื่อยจักร 60 ราย, สมาคม​การค้า​เครื่อง​ใช้​ในครัว​เรือน​ไทย 116 ราย, สมาคมอุตสาหกรรมของ​เล่น​ไทย 120 ราย, สมาคมของขวัญของชำร่วย​ไทย​และของตก​แต่งบ้าน 300 ราย, สมาคมธุรกิจ​ไม้ 120 ราย, ​และสมาคมอุตสาหกรรม​ไม้ยางพาราภาคตะวันออก 52 ราย

(ThaiPR.net, 5-8-2554)

กมธ.แรงงานแนะรัฐเร่งสานนโยบายค่าแรง 300

พล.ต.ต.ขจร สัยวัตร์ ส.ว.หนองคาย ในฐานะประธานกรรมาธิการแรงงานและสวัสดิการสังคม กล่าวถึงนโยบายด้านสังคมที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต้องดำเนินการโดยเร่งด่วน คือ นโยบายเรื่องค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท เพราะเป็นนโยบายที่ทางพรรคแถลงต่อประชาชนไว้แล้ว และทางกลุ่มผู้ใช้แรงงานเอง ก็หวังว่าอยากให้ดำเนินการนโยบายดังกล่าวทันที หลังจากตั้งรัฐบาลเรียบร้อยแล้ว

ทั้งนี้ พล.ต.ต.ขจร ยังกล่าวถึงนโยบายเรื่องอัตราเงินเดือนของผู้จบการศึกษาใหม่ระดับปริญญาตรี เดือนละ 15,000 บาท ว่าต้องมีการจัดทำโครงสร้างฐานเงินเดือนใหม่ รวมถึงต้องทราบถึงจำนวนผู้จบการศึกษาใหม่ด้วย อย่างไรก็ตาม พล.ต.ต.ขจร ได้แสดงความเห็นว่านโยบายทั้ง 2 เรื่องนั้นต้องมีการศึกษาว่า สามารถกระทำได้จริงหรือไม่ รวมถึงมีผลกระทบในภาพรวมมากน้อยอย่างไร

(โพสต์ทูเดย์, 5-8-2554)

ศาลมะกันยกฟ้อง 2 พี่น้องลวง 44 แรงงานไทย

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานวันที่ 5 ส.ค.ว่า ผู้พิพากษาส่วนกลางของสหรัฐฯ ตัดสินเมื่อวันที่ 4 ส.ค. ตามเวลาท้องถิ่น ยกฟ้องสองพี่น้องตระกูลซู คือ อเล็ค และไมค์ เจ้าของฟาร์มเกษตร อะโลอัน ฟาร์มสในเมืองฮอนโนลูลู รัฐฮาวายของสหรัฐฯแล้ว จากข้อกล่าวหาเกี่ยวเนื่องนำกลุ่มแรงงานไทยเข้ามาบังคับใช้แรงงานในฟาร์ม

โดยสองพี่น้องตระกูลซู ถูกฟ้องข้อหาลักลอบค้ามนุษย์ บังคับใช้แรงงานอย่างไม่เป็นธรรมและอื่นๆ รวม 12 กระทง กรณีล่อลวงแรงงานไทยจำนวน 44 คนมาทำงานแล้วละเมิดสัญญาซึ่งถ้าถูกตัดสินว่าผิดจริง จะถูกจำคุกนาน 20 ปีโดยไม่มีทัณฑ์บน ทั้งคู่ถูกนำตัวขึ้นศาลเมื่อสัปดาห์ก่อน หลังเปลี่ยนใจไม่ยอมรับข้อตกลงทางคดี เมื่อก.ย.ปีที่แล้ว อันจะทำให้รับโทษจำคุกสูงสุดแค่ 5 ปี

การยกฟ้องมีขึ้นเมื่ออัยการกลางร้อง ขอ นางซูซาน โอกิ มอลล์เวย์ หัวหน้าผู้พิพากษาศาลแขวงรัฐฮาวายให้ตัดสินยกฟ้องจำเลย อ้างพบหลักฐานใหม่ในสัปดาห์นี้ แต่ไม่ระบุว่าเป็นหลักฐานอะไรและศาลอนุมัติตามขอ ทั้งนี้ นางมอลล์เวย์ ตัดสินเมื่อวันที่ 2 ส.ค.ว่าอัยการไม่สามารถยืนยันได้ว่าการที่ อเล็คและไมค์ เก็บค่าธรรมเนียมจ้างงานกับคนงานไทย 44 คนนั้น ขัดกฎหมายข้อไหนอย่างไร

ขณะที่นางซูซาน เฟรนช์ หัวหน้าอัยการยอมรับว่าเธอให้ข้อมูลคลาดเคลื่อนต่อคณะลูกขุน ที่ว่ากลุ่มคนงานไทยไม่ควรถูกเก็บค่าธรรมเนียมจ้างงานภายใต้กฎหมายกลางของ สหรัฐฯ ที่มีอยู่ขณะเกิดเหตุ ซึ่งต่อมามีการแก้ไขเมื่อปี 2552 สั่งห้ามเก็บค่าธรรมเนียมจ้างงาน

ด้านคณะลูกขุน กล่าวว่า ระหว่างการไต่สวนคดี อัยการไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่าจำเลยทั้งสองทำผิดตามข้อกล่าวหาลักลอบค้า มนุษย์กับบังคับใช้แรงงานจริง และยังพบด้วยว่าคนงานไทยไปไหนมาไหนโดยสะดวก หนังสือเดินทางหรือพาสปอร์ตยังอยู่กับตัวและได้รับอาหารเลี้ยงดูตามปกติ

เอกสารคำให้การต่อศาลของอัยการก่อน หน้านี้ระบุว่า อเล็คและไมค์ ล่อลวงคนงานไทย 44 คนเข้ามาทำงานที่ฟาร์ม สัญญาให้ค่าจ้างชั่วโมงละ 9.60 ดอลลาร์ (ราว 288 บาท) เป็นเวลา 3 ปี เมื่อปี 2547 จนกลุ่มแรงงานไทยยอมจ่ายค่าธรรมเนียมจ้างงานหัวละ 16,000-20,000 ดอลลาร์ (ราว 480,000-600,000 บาท) แต่เมื่อมาถึงกลับผิดคาด ได้รับค่าจ้างต่ำกว่าสัญญา แถมการเป็นอยู่อัตคัตและได้วีซ่าอายุแค่ 2-3 เดือน คนไหนร้องเรียนจะถูกขู่ส่งกลับบ้านมือเปล่า

ขณะที่แคลร์ ฮานุซ ทนายความ ผู้รับว่าความช่วยแรงงานไทย เผยว่าอัยการไม่ได้ระบุชัดเจนว่าค่าธรรมเนียมจ้างงานที่คนงานไทยจ่าย ถูกนำมาจ่ายค่าเครื่องบินมาฮาวายอันจะทำให้ข้อกล่าวหามีน้ำหนักขึ้น เพราะคนงานไทยถูกว่าจ้างภายใต้โครงการวีซ่าแรงงานชั่วคราวที่นายจ้างต้อง จ่ายค่าเดินทางของแรงงาน ทำให้คดีนี้ตกไป ข่าวระบุด้วยว่าแรงงานไทยหลายคนยังอยู่ในฮาวาย เพื่อดำเนินการฟ้องคดีแพ่งเรียกค่าชดเชยจากสองพี่น้องตระกูลซูต่อไป

(ไทยรัฐ, 5-8-2554)

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เยอรมนีห่วงละเมิดสิทธิ สั่งห้ามเฟซบุ๊กค้นหาใบหน้าในรูปถ่าย

Posted: 07 Aug 2011 11:13 PM PDT

รัฐบาลเยอรมนีประกาศว่า ความสามารถในการจดจำใบหน้าในรูปถ่ายโดยอัตโนมัติของเฟซบุ๊กนั้น ผิดกฎหมายคุ้มครองข้อมูลของทั้งเยอรมนีและสหภาพยุโรป และสั่งให้เฟซบุ๊กยุติการใช้ รวมถึงลบข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดโดยทันที

ด้วยเทคโนโลยีการตรวจวิเคราะห์รูปถ่ายล่าสุด ทำให้เฟซบุ๊กสามารถแนะนำเราได้ว่า ในภาพที่เราเพิ่งอัปโหลดขึ้นไปนั้น มีเพื่อนเราอยู่หรือไม่ เทคโนโลยีดังกล่าวเรียกว่า การรู้จำใบหน้า (face recognition) โดยเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เฟซบุ๊กเปิดใช้งานการแนะนำชื่อเพื่อนในรูปถ่ายโดยอัตโนมัตินี้อย่างเงียบๆ โดยไม่ได้แจ้งให้ผู้ใช้ทราบ สิ่งนี้ทำให้เกิดความวิตกในหมู่ผู้เป็นห่วงเรื่องความเป็นส่วนตัว ว่าเฟซบุ๊กกำลังบันทึกข้อมูลชีวมาตร (biometric) ซึ่งสามารถใช้ระบุตัวตนของคนได้

แม้ผู้ใช้จะสามารถบอกเลิกไม่ใช้บริการดังกล่าวได้ แต่การบอกเลิกดังกล่าวก็เป็นเพียงการบอกให้เฟซบุ๊กเลิกระบุโดยอัตโนมัติว่ามีหน้าของพวกเขาอยู่ในภาพ แต่มันไม่ได้บอกให้เฟซบุ๊กหยุดเก็บข้อมูล

โยฮานเนส คาสพาร์ กรรมการคุ้มครองข้อมูลของฮัมบูร์ก ในเยอรมนี กล่าวเมื่อวันที่ 2 ส.ค. ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดอย่างร้ายแรงต่อสิทธิของผู้ใช้ในการที่จะตัดสินใจว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับข้อมูลบุคคลของพวกเขา โดยละเมิดทั้งกฎหมายของเยอรมนีและของสหภาพยุโรป

“ถ้าข้อมูลดังกล่าวตกไปอยู่ในมือของผู้ไม่ประสงค์ดี ใครก็ตามที่มีรูปถ่ายที่ถูกถ่ายโดยกล้องมือถือก็จะใช้รูปดังกล่าวในการเปรียบเทียบกับรูปต่างๆ และระบุตัวตน”

“สิทธิในการไม่เปิดเผยตัวตนกำลังตกอยู่ในอันตราย”

“ถ้าเฟซบุ๊กยังต้องการเก็บความสามารถนี้ไว้ เฟซบุ๊กจะต้องทำให้แน่ใจได้ว่า จะมีเฉพาะข้อมูลของคนที่ประกาศอย่างชัดเจนว่าอนุญาตให้เก็บข้อมูลชีวมาตรของใบหน้าของพวกเขา”

เขาเสริมว่าหน่วยงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของฮัมบูร์กระบุว่าได้ร้องเรียนไปยังเฟซบุ๊กหลายครั้งแล้วให้ปิดบริการดังกล่าว และหน่วยงานต่างๆ ของเยอรมนีจะดำเนินการทางกฏหมายต่อไปกับเฟซบุ๊ก หากเฟซบุ๊กยังไม่หยุดการกระทำดังกล่าวและลบข้อมูลที่เกี่ยวข้องออกไป

มาตรการทางกฎหมายนี้รวมถึงค่าปรับสูงสุด 300,000 ยูโร (ประมาณ 12.77 ล้านบาท)

อย่างไรก็ตามโฆษกประจำเยอรมนีของเฟซบุ๊กได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมด และกล่าวว่าเฟซบุ๊กไม่ได้ละเมิดกฎของสหภาพยุโรป

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกในเยอรมนี ที่มีข้อเป็นห่วงเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวกับบริการออนไลน์ต่างๆ โดยก่อนหน้านี้รัฐบาลเยอรมนีได้ประกาศว่าบริการ Street View ของกูเกิล ซึ่งบันทึกและแสดงรูปถ่ายตามถนนหนทางต่างๆ รวมไปถึงรถยนต์และผู้คนบนท้องถนน นั้นละเมิดความเป็นส่วนตัวของประชาชน กูเกิลตอบสนองต่อเรื่องนี้โดยทำการยุติการเก็บข้อมูลดังกล่าวในเยอรมนี

ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา หลายชาติในยุโรปได้คัดค้านความสามารถรู้จำใบหน้าของเฟซบุ๊ก โดยเยอรมนีเป็นประเทศแรกที่ประกาศอย่างชัดเจนว่าความสามารถดังกล่าวนั้นผิดกฎหมาย

กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในเยอรมนีและสหภาพยุโรปนั้นถือว่าเข้มงวดมาก เนื่องด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ ที่ภูมิภาคนี้มีประสบการณ์ฝันร้ายจากการที่นาซีและตำรวจสตาซีของเยอรมนีตะวันออกใช้ข้อมูลบุคคลไปในทางที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งรวมถึงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

แนวคิดพื้นฐานของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลของเยอรมนีก็คือ จะไม่มีข้อมูลใดที่ถูกบันทึกหากผู้ใช้ไม่ได้ทำการยินยอมโดยชัดเจนเสียก่อน

ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล



หมายเหตุ: ผู้ใช้เฟซบุ๊กสามารถปิดการแนะนำแท็กใบหน้าของตัวเอง ได้โดยการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวดังนี้ … (ที่มุมขวาบนของจอ คลิก) บัญชีผู้ใช้ -> ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว -> ปรับแต่งการตั้งค่า -> แนะนำรูปภาพของฉันไปยังเพื่อน -> แก้ไขการตั้งค่า -> เลือก “ปิดการใช้งาน” (*เฟซบุ๊กยังเก็บข้อมูลใบหน้าของเราอยู่ แม้จะปิดการแนะนำการแท็กแล้วก็ตาม)

 

ปิดการแนะนำแท็กใบหน้า

 

เรียบเรียงจาก Facebook facial recognition called illegal, The Local, 3 ส.ค. 2554, Germany’s War on Facebook, The Atlantic Wire, 3 ส.ค. 2554, และ Facebook facial recognition tech ‘violates’ German privacy law, The Register, 4 ส.ค. 2554. ผ่าน Slashdot

 

 

-------------------------------------------
“My Computer Law” เป็นโครงการเพื่อการเสนอร่างกฎหมายคอมพิวเตอร์จากภาคประชาชน โดยประกอบไปด้วยกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและกฎหมายคอมพิวเตอร์, การรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหมู่ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง, การร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับประชาชน, การเสนอกฎหมายดังกล่าวเข้าสู่สภา, และการผลักดันร่างดังกล่าวในสภา

เผยแพร่ครั้งแรกที่ http://mycomputerlaw.in.th/2011/08/facebook-face-recognition-illegal-germany/

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สุภัตรา ภูมิประภาส: ผู้หญิงกับการเมือง (2)

Posted: 07 Aug 2011 09:54 PM PDT

 

สุภัตรา ภูมิประภาส นำเสนอบทความซีรีส์ตอน “ผู้หญิงกับการเมือง” ว่าด้วยสตรีในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ที่ก้าวขึ้นมามีบทบาทเป็นผู้นำในเวทีการเมือง สตรีเหล่านั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร มีแรงบันดาลใจอย่างไรที่ผลักดันพวกเธอให้เข้าสู่การเมือง

 

ปักกึนเฮ (เกาหลีใต้)

สุภัตรา ภูมิประภาส: ผู้หญิงกับการเมือง (2)

ปักกึนเฮ กับคอนโดลิซา ไรซ์ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐฯ

ปักกึนเฮ (Park Geun-hye) เป็นนักการเมืองที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งของเกาหลีใต้

เธอเป็นธิดาคนโตของอดีตประธานาธิบดีปักจุงฮี (Park Chung-hee) แห่งเกาหลีใต้ และเธอกำลังได้รับเสียงสนับสนุนอย่างท่วมท้นจากประชาชนให้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งเดียวกับบิดา ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่จะมีขึ้นในอีก 18 เดือนข้างหน้า

ปักกึนเฮ เกิดปี 1952 จบปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าจาก College of Engineering, Sogang University ที่กรุงโซล

ปี พ.ศ.2517 ระหว่างที่เธอกำลังศึกษาต่ออยู่ที่ฝรั่งเศส มารดาของเธอถูกลอบสังหาร ปักกึนเฮต้องทิ้งการเรียนกลางคัน เพื่อกลับมาอยู่เคียงข้างบิดาปฏิบัติหน้าที่สตรีหมายเลขหนึ่งแห่งเกาหลีใต้ แทนมารดา เธออายุเพียง 22 ปีในขณะนั้น

บันทึกของทูตสหรัฐประจำเกาหลีใต้เมื่อปี พ.ศ. 2522 ระบุว่าปักกึนเฮในฐานะสตรีหมายเลขหนึ่งมีความสนใจในประเด็นสิทธิมนุษยชนและสวัสดิการสังคม

เดือนตุลาคม 2522 ปักกึนเฮต้องสูญเสียบิดาไปอีกหนึ่งคน ประธานาธิบดีปักจุงฮีถูกเจ้าหน้าที่คนสนิทลอบสังหาร

หลังอสัญกรรมของบิดา ปักกึนเฮไม่ได้ก้าวเข้าสู่การเมืองโดยทันที เธอเลือกไปทำงานองค์กรสาธารณประโยชน์ต่างๆที่บิดาเป็นผู้ก่อตั้ง ตราบจนเกือบสองทศวรรษต่อมา เธอถึงตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งในนามThe Grand National Party (GNP) เธอบอกว่าแรงจูงใจที่ทำให้เธอก้าวเข้าสู่การเมืองเพราะประเทศได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540

ปักกึนเฮชนะการเลือกตั้งเข้าเป็น ส.ส.สมัยแรกในปี 2541และได้รับเลือกเป็น เป็น ส.ส. ต่อเนื่องกันมาถึงสี่สมัยนับตั้งแต่การลงเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2541 จนถึงปัจจุบัน ระหว่างปี 2547-2549 เธอได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรค GNP ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคฯ ปักกึนเฮนำพรรคชนะการเลือกตั้งจนได้รับฉายาว่า “นางพญาแห่งการเลือกตั้ง”

อย่างไรก็ตาม เธอเคยถูกลอบสังหารในระหว่างการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งในปี 2549

ปี 2550 ปักกึนเฮเคยเป็นคู่แข่งของลี เมียง บัค (Lee Myung-bak ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน) ที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นตัวแทนจากพรรค GNP เข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี เธอชนะโหวตภายในพรรค GNP แต่ต้องพ่ายแพ้คะแนนโหวตในระดับชาติไปอย่างเฉียดฉิว

แต่รายงานผลโพลล์หยั่งเสียงล่าสุดระบุว่าชาวเกาหลี 48.8% ต้องการการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และส่วนใหญ่ต้องการให้ปักกึนเฮเป็นผู้นำแทนประธานาธิบดีคนปัจจุบันซึ่งมาจากพรรคเดียวกัน

ในสายตาของสื่อมวลชนเกาหลี ปักกึนเฮเป็นนักการเมืองที่ต่างจากนักการเมืองคนอื่น เธอไม่พูดมาก แต่ทุกคำพูดของเธอมีความหมาย ปักกึนเฮมีคุณสมบัติในการจัดการความขัดแย้งที่เธอได้พิสูจน์ให้เห็นในช่วงที่พรรค GNP เผชิญปัญหาการแบ่งขั้วการเมืองภายในพรรค สื่อมวลชนวิเคราะห์ว่าหากขึ้นเป็นผู้นำ ปักกึนเฮจะไม่เดินตามรอยเผด็จการแบบบิดา ดูเหมือนว่าเธอมุ่งมั่นกับการที่จะสร้างความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศ และมีแนวโน้มที่จะสร้างความสมานฉันท์กับเกาหลีเหนือ

 

000000

 

Sri Mulyani Indrawati (อินโดนีเซีย)

สุภัตรา ภูมิประภาส: ผู้หญิงกับการเมือง (2)

ศรีบุลยานี อินทราวาตี ผู้นำหญิงที่ชาวอินโดนีเซียรอคอย

ศรีมุลยานี อินทราวาตี (Sri Mulyani Indrawati) เป็นผู้หญิงที่สื่อมวลชนและประชาชนอินโดนีเซียรอคอยการกลับมาสู่เวทีการเมืองของประเทศ

ปี 2551 ศรีมุลยานี ได้รับคัดเลือกจาก Forbes Magazine ให้เป็นสตรีผู้ทรงอิทธิพลอันดับที่ 23 ของโลก และเป็นสตรีที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดของประเทศอินโดนีเซีย

เธอเป็นอดีตรัฐมนตรีคลังของอินโดนีเซีย ระหว่างปี 2548 - 2553 ปัจจุบัน ศรีมุลยานี ดำรงตำแหน่ง Managing Director ของ World Bank ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี

ศรีมุลยานี เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2505 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก Universitas Indonesia ได้รับปริญญาโทและเอกสาขาเศรษฐศาสตร์จาก University of Illinois at Urbana-Champaign เคยทำงานเป็นที่ปรึกษายูเสด (USAID)ในโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้อินโดนีเซียในการปกครองตัวเอง ประจำสำนักงานที่ Atlanta, Georgia นอกจากนั้นยังเป็นนักวิชาการรับเชิญบรรยายพิเศษที่ Andrew Young School of Policy Studies at the Georgia State University และเป็นอดีตผู้อำนวยการบริหารกองทุนการเงินระหว่างประเทศภาคพื้นเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ในระหว่างปี พ.ศ.2545-2547 ก่อนที่จะถูกประธานาธิบดีซูซิโล บัมบัง ยุทโธโยโน (Susilo Bambang Yudhoyono) เชิญมารับตำแหน่งรัฐมนตรีคลัง

บทบาทของศรีมุลยานีในฐานะรัฐมนตรีคลังของอินโดนีเซียได้รับความชื่นชมจากประชาชนทั่วประเทศ เศรษฐกิจอินโดนีเซียในยุคของเธอฟื้นตัวสูงสุดนับจากภายหลังการเกิดวิกฤตการทางการเงินในเอเซียเมื่อปี 2540

ศรีมุลยานีได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีคลังอีกเมื่อประธานาธิบดีซูซิโลได้รับเลือกตั้งกลับเข้ามาบริหารประเทศเป็นสมัยที่สอง
เมื่อศรีมุลยานีตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีคลังเพื่อไปรับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ World Bank Group ในเดือนพฤษภาคม 2553 นั้น ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงกับภาวะความเชื่อมั่นของประชาชนในประเทศต่อเศรษฐกิจของอินโดนีเซียที่จะไม่มีเธอเป็นผู้กุมบังเหียนอีกต่อไป

แต่ทั้งนี้ มีเสียงวิจารณ์กันว่าการตัดสินใจครั้งนี้ของศรีมุลยานีมาจากแรงกดดันทางการเมือง โดยเฉพาะจากนักธุรกิจคนสำคัญและทรงอิทธิพลของประเทศที่สูญเสียผลประโยชน์จากนโยบายทางด้านภาษีของเธอ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติ ศรีมุลยานีไม่ยอมประนีประนอมกับเครือข่ายธุรกิจที่ทรงอิทธิพล ทั้งยังดำเนินการสอบสวนอย่างจริงจังในคดีที่เกี่ยวกับการเลี่ยงภาษีของอาณาจักรธุรกิจของเขาอีกด้วย

นอกจากแรงกดดันจากผู้ทรงอิทธิพลทางธุรกิจของประเทศแล้ว การเดินหน้าจัดการกับปัญหาทุจริตคอรัปชั่นโดยเฉพาะทางด้านภาษีของศรีมุลยานีนั้นยังกระทบผลประโยชน์ของบรรดานักการเมืองจำนวนมาก จนเป็นเหตุให้เธอถูกกดดันจากสภาผู้แทนฯอีกด้วย

แต่สื่อมวลชนและประชาชนอินโดนีเซียต่างชื่นชมยกย่องเธอ และมองเธอเป็นความหวังที่จะเข้ามาเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงการเมืองของประเทศที่อื้อฉาวไปด้วยเรื่องทุจริตคอรัปชั่น

ในการประชุมรัฐมนตรีคลังอาเซียนที่บาหลีเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ศรีมุลยานีเป็นจุดรวมความสนใจของสื่ออินโดนีเซีย ด้วยกระแสความคาดหวังที่จะเห็นเธอได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงตำแหน่ง ประธานาธิบดีของประเทศในการเลือกตั้งที่จะมาถึงในอีกสามปีข้างหน้า
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น