โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

ตร.สั่งฟ้องคดีหมอฟ้องนักเคลื่อนไหวสิทธิผู้ป่วย ละเมิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์แล้ว

Posted: 19 Aug 2011 09:59 AM PDT

ตร.สุรินทร์สั่งฟ้องแล้ว คดีแพทย์ร้องนักกิจกรรมด้านสิทธิผู้ป่วย นำเข้า "ข้อมูลเท็จ" ตามมาตรา 14(1) พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์แล้ว อัยการนัดฟังคำสั่งฟ้อง-ไม่ฟ้องคดี 3 ต.ค.นี้

สืบเนื่องจากกรณีที่ พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป แห่งประเทศไทย (สพศท.) เป็นโจทก์ฟ้องนางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา นักกิจกรรมด้านสิทธิผู้ป่วย ในข้อกล่าวหานำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหาย ตามมาตรา 14 (1) ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โดยระบุว่ามีการเผยแพร่ข้อมูลว่ามีผู้เสียชีวิตโดยไม่สมควรจากการรับบริการทางการแพทย์ถึงปีละ 65,000 คน รวมถึงภาพกรรไกรในลำคอคน

นางปรียนันท์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 15 ส.ค.ที่ผ่านมา ได้เดินทางจากกรุงเทพฯ ไปยังจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีการแจ้งความ ตามหมายนัดของเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจมีความเห็นสั่งฟ้องคดีดังกล่าว และพนักงานอัยการได้นัดฟังคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องคดี ในวันที่ 3 ต.ค.นี้ ขณะที่ก่อนหน้านี้ได้เดินทางมารายงานตัวตามหมายเรียกครั้งแรกที่ จ.สุรินทร์แล้วครั้งหนึ่ง โดยเบื้องต้นปฏิเสธข้อกล่าวหาและขอให้การในชั้นศาล

สำหรับความช่วยเหลือด้านคดี นางปรียนันท์ ระบุว่า ได้ทำหนังสือขอความช่วยเหลือจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ และล่าสุด คณะกรรมการชุดดังกล่าวมีมติให้ความช่วยเหลือ โดยจะมีการประชุมหารือเร็วๆ นี้

ทั้งนี้ นางปรียนันท์กล่าวว่า การถูกฟ้องด้วยข้อหาเช่นนี้จะไม่ส่งผลต่อการรณรงค์ใดๆ ของตนเอง เพราะมองว่าไม่น่าจะเข้าองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลเท็จนั้นน่าจะเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์มากกว่า นอกจากนี้ ข้อมูลของตนยังมาจากการอนุมานจากสถิติทางการแพทย์ ซึ่งเคยนำเสนอข้อมูลเหล่านี้ในที่ประชุมของวงการแพทย์หลายแห่ง ซึ่งก็ไม่มีผู้ใดโต้แย้ง

นางปรียนันท์ กล่าวว่า หากมีการสั่งฟ้องในคดีนี้ ก็อาจขอให้มีการนำสืบที่กรุงเทพฯ เนื่องจากการต้องเดินทางไปถึงจังหวัดสุรินทร์นั้นเป็นการเดินทางที่เหนื่อยและกังวลว่าอาจมีการกลั่นแกล้ง เพราะที่ผ่านมา มีการข่มขู่คุกคามสารพัด ขณะที่ ด้านคดี มองว่า น่าจะเป็นผลดี เพื่อจะได้พิสูจน์ว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นเท็จหรือไม่ เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะ เพราะที่ผ่านมา ข้อมูลเหล่านี้ถูกปกปิดอยู่เสมอ

สำหรับนางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา เป็นนักกิจกรรมด้านสิทธิผู้ป่วย ทำงานรณรงค์กับเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ เพื่อผลักดันร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักข่าวพลเมือง: ความคืบหน้า "เผาบ้าน-ยุ้งข้าว"ชาวกะเหรี่ยง ก่อน อ.ตก 3 ลำที่แก่งกระจาน

Posted: 19 Aug 2011 09:55 AM PDT

หน่วยงานสิทธิมนุษยชนขานรับเรื่องร้องเรียนเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน  และทหาร เผาบ้าน ยุ้งข้าวชาวกะเหรี่ยงแก่งกระจาน  ตามแผนปฏิบัติการผลักดันชนกลุ่มน้อยออกจากป่าแก่งกระจาน ก่อนเกิดเหตุการณ์ เฮลิคอปเตอร์ตก 3 ลำ

หน่วยงานสิทธิมนุษยชนขานรับเรื่องร้องเรียนเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน  และทหาร เผาบ้าน ยุ้งข้าวชาวกะเหรี่ยงแก่งกระจาน  ตามแผนปฏิบัติการผลักดันชนกลุ่มน้อยออกจากป่าแก่งกระจาน ก่อนเกิดเหตุการณ์ เฮลิคอปเตอร์ตก 3 ลำ  ทำให้มีผู้เสียชีวิตทั้งทหารและช่างภาพสื่อมวลชนรวม 17 นาย  ประธานอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ฯ สภาทนายความจวกยับ  เป็นการกระทำต่อกลุ่มชาติพันธุ์ที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์    เตรียมลงพื้นที่หาหลักฐาน  ขณะที่กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติรับลูก เตรียมเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชุมเพื่อหาทางแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน

จากเหตุการณ์เฮลิคอปเตอร์กองทัพบกตกที่ชายแดนไทย-พม่า 3 ลำ สืบเนื่องมาจากการปฏิบัติการตามแผนผลักดันชนกลุ่มน้อยชาวกะเหรี่ยงที่ลักลอบเข้ามาปลูกพืชไร่หมุนเวียน  เกี่ยวข้องกับยาเสพติดและมีอาวุธสงคราม ตามข่าวที่ปรากฎทางสื่อมวลชน  ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ที่ผ่านมา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันอิสรา มูลนิธิเพื่อพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย  ได้จัดการเสวนาในหัวข้อ " ฮ.ตก กับปัญหาอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน  โดยมีนายชัยวัฒน์  ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน  นายสุรพงษ์ กองจันทึก  ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษากะเหรี่ยงและพัฒนา และนายวุฒิ บุญเลิศ  ประธานประชาคมอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี  ร่วมเสวนา  ในการเสวนามีประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งคือการปฏิบัติการตามแผนของอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เป็นการกระทำต่อชนกลุ่มน้อยที่รุนแรงเกินไปหรือไม่  เนื่องจากมีการแสดงภาพถ่ายเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการใช้ไฟเผาบ้านเรือนของชนกลุ่มน้อย  รวมไปถึงมีการอ้างถึงการเผายุ้งฉางข้าวของคนเหล่านั้นอีกด้วย

หลังการเสวนา  นายวุฒิ บุญเลิศ  ได้ยื่นหนังสือร้องเรียน ผ่านนายสุรพงษ์ กองจันทึก ผอ.ศูนย์ศึกษากะเหรี่ยงเพื่อการพัฒนา  ซึ่งเป็นประธานอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ  แรงงานข้ามชาติ และผู้พลัดถิ่น สภาทนายความ  โดยเนื้อหาการร้องเรียนระบุว่าการกระทำของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานกับหน่วนงานอื่น เป็นการกระทำรุนแรงต่อชาวกะเหรี่ยงซึ่งเป็นกะเหรี่ยงดั้งเดิมในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน  ไม่ใช่ชนกลุ่มน้อยชาวกะหร่างนอกประเทศที่อ้างถึงแต่อย่างใด   โดยการเผาบ้าน เผายุ้งข้าวของชาวกะเหรี่ยงน่าจะเข้าข่ายการกระทำที่ผิดกฎหมาย ขอให้สภาทนายความช่วยเหลือ

นายสุรพงษ์ กองจันทึก  เปิดเผยว่า  หลังจากได้รับหนังสือร้องเรียนแล้ว  ได้นำเรื่องเข้าที่ประชุมของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ และมีมติให้ตนเป็นหัวหน้าคณะทำงานดำเนินการให้ความช่วยเหลือ  โดยจะเรียกประชุมคณะอนุกรรมการทั้งชุดในวันที่ 24 สิงหาคม ที่จะถึงนี้  เพื่อแบ่งงานและมอบหมายงาน  จากนั้นจะลงพื้นที่หาหลักฐานมาประกอบการดำเนินการให้ความช่วยเหลือ

" ตัวแทนชาวกะเหรี่ยงแก่งกระจานได้ร้องเรียนมายังสภาทนายความ  เบื้องต้นเห็นว่า  การที่เจ้าหน้าที่อุทยานฯกับหน่วยงานอื่น  เผาบ้าน เผายุ้งข้าว เพื่อผลักดันชาวกะเหรี่ยงออกไปจากป่าแก่งกระจาน  อาจจะเข้าข่ายกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ฐานบุกรุกเข้าไปในเคหะสถาน  วางเพลิงเผาทรัพย์  ร่วมกันปล้นทรัพย์ตั้งแต่ 3 คนโดยมีอาวุธ นอกจากนี้ยังเข้าข่ายใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่ 3 ทำให้ผู้อื่นเสี่ยมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง"

" ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา ได้มีการผลักดันชาวกะเหรี่ยง โดยการเผาบ้าน เผายุ้งข้าว และสิ่งปลูกสร้างของชาวกะเหรี่ยง  โดยในระหว่างวันที่ 5-9 พ.ค.2544 ยุ้งข้าวของชาวกะเหี่ยงถูกทำลาย 98 หลัง  วันที่ 23-26 มิ.ย.เผาอีก 21 หลังใน 14 จุด ทั้งยังมีการยึดทรัพย์สินต่างๆไปด้วย เช่นมีด ขวาน เคียว สร้อยลูกปัด กำไรข้อมมือ รวมทั้งเครื่องดนตรีของชาวกะเหรี่ยง" ประธานอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ฯสภาทนายความ กล่าว

นายสุรพงษ์  กล่าวด้วยว่า  จากข้อเท็จจริงปรากฏว่านโยบายขับไล่และจับกุมชนกลุ่มน้อย  ซึ่งเป็นชาวกะเหรี่ยงดั้งเดิม  มีหลักฐานว่ามีเหรียญชาวเขายืนยันว่าเป็นชาวกะเหรี่ยงในประเทศไทย  ยังเข้าข่ายการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ว่าด้วยสิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคลอีกด้วย

"ความจริงก็คือชาวกะเหรี่ยงที่ถูกผลักดันเป็นชาวกะเหรี่ยงดั้งเดิมในพื้นที่  อยู่กันมานานหลายร้อยปี  เป็นชนพื้นเมืองที่เกือบทั้งหมดมีทะเบียนสำรวจบัญชีบุคคลในบ้านหรือทะเบียนราษฎรชาวเขา  ไม่ได้อพยพมาจากประเทศอื่น" นายสุรพงษ์กล่าว

มีรายงานเพิ่มเติมว่า  นอกจากสภาทนายความจะดำเนินการให้ความช่วยเหลือชาวกะเหรี่ยงเหล่านั้นแล้ว   กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  นพ.นิรันดร์  พิทักษ์วัชระ ซึ่งรับผิดชอบเป็นประธานคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจด้านที่ดินและป่า ได้รับเรื่องร้องเรียนด้วยเช่นกัน   ซึ่งจะมีการจะเชิญผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  เข้าร่วมประชุมเพื่อรับฟังข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและหาทางแก้ปัญหา ในวันที่ 26 สิงหาคม นี้ ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

สำหรับภาพการเผาบ้าน เผายุ้งข้าวชาวกะเหรี่ยง เป็นภาพถ่ายของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน  ในช่วงปฏิบัติงานตามแผนผลักดันชาวกะเหรี่ยง ซึ่งส่วนหนึ่งได้นำมาแสดงต่อสื่อมวลชน  ในการเสวนา “ฮ.ตกกับปัญหาอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน” เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ที่ผ่านมา และเป็นภาพเหตุการณ์ต่อเนื่องเชื่อมโยงไปจนถึงเหตุการณ์ เฮลิคอปเตอร์ ตก 3 ลำ ตามที่เป็นข่าวใหญ่ไปก่อนหน้านี้
                    

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

Kenichiro Mogi

Posted: 19 Aug 2011 08:29 AM PDT

ชาตินิยมจอมปลอม, ยึดมั่นอยู่กับแต่ความคิดเห็นของตัวเอง, ไม่ยอมเคารพในวัฒนธรรมของผู้อื่น ถ้าไม่กำจัดความคิดแบบนี้ให้หมดไป ญี่ปุ่นก็หมดหวังแน่ ๆ

นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นผู้เชี่ยวชาญด้านการทำงานของสมอง

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "น้ำลดตอผุด"

Posted: 19 Aug 2011 08:24 AM PDT

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "น้ำลดตอผุด"

ศาลรับฟ้องคดี ‘โจ กอร์ดอน’ หมิ่นสถาบัน

Posted: 19 Aug 2011 06:22 AM PDT

ศาลรับฟ้องคดีชาวไทย-อเมริกัน ถูกจับข้อหาหมิ่น (มาตรา112) คำฟ้องระบุเป็นผู้แปล The King Never Smile อันเป็นหนังสือต้องห้าม โพสต์ข้อความไม่เหมาะสม โดนพ่วง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และมาตรา 116

เมื่อวันที่  17 ส.ค.54   ศาลชั้นต้นรับฟ้องคดีที่พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ1 สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นโจทก์ฟ้องนายโจ กอร์ดอน (เลอพงษ์ ขอสงวนนามสกุล) เป็นจำเลย ในคดีหมายเลขดำที่ อ.3328/2554 ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, 116 พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2551 มาตรา 3, 14 และคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 ข้อ 1

โดยคำฟ้องระบุว่า ระหว่างวันที่ 2 พ.ย.50 – 24 พ.ค.54 จำเลยนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ในเว็บบอร์ดคนเหมือนกันและเชื่อมโยงไปสู่บล็อก โดยจำเลยใช้นามแฝงว่า สิน แซ่จิ้ว ซึ่งอ้างตัวเป็นผู้แปลหนังสือต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักรชื่อ The King Never Smile จากฉบับอังกฤษเป็นไทย จำเลยนำข้อความซึ่งเป็นคำแปลดังกล่าวลงเพยแพร่ในเว็บบอร์ดเพื่อเผยแพร่บทความที่มีลักษณะพาดพิง วิพากษ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์ อันเป็นการดูหมิ่น หมิ่นประมาท และแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ จากนั้นยังนำลิงก์ไปเผยแพร่ในเว็บไซต์ชุมชนฟ้าเดียวกัน และเว็บไซต์ชุมชนคนเหมือนกัน เพื่อให้บุคคลเข้าไปอ่านคำแปลดังกล่าว จำเลยให้การปฏิเสธในชั้นสอบสวน

ทั้งนี้ จำเลยเป็นบุคคลสองสัญชาติ ไทย – อเมริกัน ถูกเจ้าหน้าที่ดีเอสไอบุกจับกุมตัวที่บ้านพักจังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 24 พ.ค.ที่ผ่านมาพร้อมยึดคอมพิวเตอร์แล็ปท็อปส่วนตัว และถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ จนถึงปัจจุบัน ได้รับการปฏิเสธการขอประกันตัวหลายครั้ง และมีโรคประจำตัวคือ เกาต์และความดันโลหิตสูง


 

มาตรา 112 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี

หมายเหตุ *มาตรา 12 แก้ไขโดยคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519

มาตรา 116 ผู้ใดกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต

 (1) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กำลังข่มขืนใจหรือใช้กำลังประทุษร้าย

 (2) เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือ

 (3) เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี

พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550

มาตรา 14 มาตรา 14 ระบุว่า ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

(1) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน

(2) นำ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นศ.แม่โจ้ประท้วงผู้บริหารหั่นเวลารับน้อง

Posted: 19 Aug 2011 06:08 AM PDT

นศ.ม.แม่โจ้เดือดก่อม็อบชุมนุม-เคลื่อนล้อมตึกอธิการบดี หลังโดนมหาวิทยาลัยหั่นเวลารับน้อง

19 ก.ย. 54 - ASTV ผู้จัดการออนไลน์รายงานว่านักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวนประมาณ 300 คน ชุมนุมกันบริเวณหน้าสำนักงานอธิการบดี เพื่อเรียกร้องให้มหาวิทยาลัยอนุญาตให้มีการจัดกิจกรรมรับน้อง ทั้งนี้นักศึกษากลุ่มดังกล่าวได้ชุมนุมปราศรัยมาตั้งแต่ช่วงเช้าวันนี้ และยังคงมีการชุมนุมอย่างต่อเนื่องโดยในช่วงเวลาประมาณ 17.30 น. กลุ่มนักศึกษาได้เคลื่อนขบวนมาปิดล้อมบริเวณสำนักงานอธิการบดี พร้อมทั้งเรียกร้องให้ ผศ.ดร.จำเนียร ยศราช อธิการบดีออกมาชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
      
ขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยได้มีการออกแถลงการณ์ผ่านทางเว็บไซต์ www.mju.ac.th เรื่อง การชุมนุมประท้วงของนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ฉบับที่ 1 โดยระบุว่า จากการประชุมร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัย คณะพกรรมการบริหารสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ และผู้แทนนักศึกษา มีมติร่วมกันว่า การชุมนุมประท้วงของนักศึกษาซึ่งมีศิษย์เก่าบางส่วนเข้าร่วมด้วยนั้นไม่ได้เป็นไปตามขั้นตอน ไม่มีการแจ้งวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน นอกจากนี้ยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากมหาวิทยาลัย และเป็นการเคลื่อนไหวโดยมีศิษย์เก่าบางส่วนเป็นผู้ยุยงส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจผิด
      
รายงานข่าวแจ้งว่า สาเหตุของการชุมนุมประท้วงในครั้งนี้ เกิดจากการที่นักศึกษาเกิดความไม่พอใจต่อการที่มหาวิทยาลัยจะทำการปรับเปลี่ยนกิจกรรมการรับน้อง จากเดิมที่จะมีการจัดกิจกรรมรับน้องให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ใน 3 ช่วงเวลา แต่ต่อมามหาวิทยาลัยมีนโยบายที่จะลดการจัดกิจกรรมดังกล่าวเหลือเพียง 2 ช่วงเวลา สร้างความไม่พอใจให้กับกลุ่มนักศึกษา
      
ประกอบกับการที่ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) มีมติเห็นชอบให้มีการปรับเปลี่ยนช่วงเวลาในการเปิด-ปิดภาคเรียนของมหาวิทยาลัยเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 โดยจะเปิดภาคเรียนที่ 1 ในเดือนกันยายน-ธันวาคม และภาคเรียนที่ 2 ในเดือนมกราคม-พฤษภาคม ส่งผลให้การจัดกิจกรรมรับน้องไม่สอดคล้องกับวันก่อตั้งมหาวิทยาลัย 7 มิ.ย. ซึ่งถือเป็นวันที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีการจัดพิธีรับน้องใหญ่ในวันดังกล่าวเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาโดยตลอด แม้ที่ผ่านมากลุ่มนักศึกาจะทำหนังสือร้องเรียนในเรื่องดังกล่าวต่อทางมหาวิทยาลัยแล้ว แต่กลับไม่มีการตออบรับหรืออกมาชี้แจง ทำให้กลุ่มนักศึกษาออกมาเคลื่อนไหวชุมนุมดังกล่าว
      
ทั้งนี้รายงานข่าวระบุว่า กลุ่มนักศึกษายังคงยืนยันที่จะชุมนุมประท้วงอย่างต่อเนื่อง โดยเรียกร้องให้อธิการบดีออกมาชี้แจงในกรณีดังกล่าว และหากยังไม่มีการชี้แจง หรือได้รับคำตอบที่ไม่เป็นที่น่าพอใจ คาดว่าการชุมนุมจะยังคงดำเนินต่อไปอย่างไม่มีกำหนด
      
ขณะที่ทางมหาวิทยาลัยนั้น มีรายงานอธิการบดีได้เร่งประสานกับกลุ่มนักศึกษาและศิษย์เก่า เพื่อตั้งคณะกรรมการ 3 ฝ่ายมาพิจารณาหาข้อยุติในเรื่องดังกล่าวแล้ว

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เครือมติชนออกแถลงการณ์ต่อรายงานคณะอนุกรรมการเฉพาะเรื่องตรวจสอบอีเมลของนักการเมืองโยงสื่อ

Posted: 19 Aug 2011 05:05 AM PDT

19 ส.ค. 54 - มติชนออนไลน์เผยแพร่แถลงการณ์เครือมติชน-ข่าวสด ต่อรายงานคณะอนุกรรมการเฉพาะเรื่องตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการส่งอีเมลของนักการเมืองฯ โดยมีรายละเอียดดังนี้

แถลงการณ์เครือมติชน-ข่าวสด

ต่อรายงานคณะอนุกรรมการเฉพาะเรื่องตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการส่งอีเมลของนักการเมือง ระบุการให้เงินและผลประโยชน์แก่ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน

ตามที่ที่ประชุมคณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2554 มีมติให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะเรื่องตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีการส่งอีเมลของนักการเมืองระบุการให้เงิน และผลประโยชน์แก่ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน จากการเสนอข่าวอีเมล 2 ฉบับ ที่ใช้หัวข้อว่า "จดหมายถึงท่านพงษ์ศักดิ์" ส่งเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 และ "ข้อเสนอ วิม"  ส่งเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2554 เผยแพร่ในเว็บไซต์เมเนเจอร์ ออนไลน์ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2554 ซึ่งพาดหัวว่า "กุนซือ ′ปู′ ซื้อสื่อที่ละ 2 หมื่น" โดยเนื้อหาข่าวพาดพิงถึงการทำหน้าที่ของสื่อหนังสือพิมพ์หลายสังกัด ที่เป็นองค์กรสมาชิกสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ โดยมีรายชื่อคณะอนุกรรมการดังต่อไปนี้
   
1.นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน เป็นประธาน 2. นางบัญญัติ ทัศนียะเวช 3. รศ.ดร.ดรุณี หิรัญรักษ์ 4. ศ.พิเศษ สิทธิโชค ศรีเจริญ 5. ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ เป็นเลขานุการ
   
ซึ่งผลการสอบสวนระบุว่า คณะอนุกรรมการฯ เห็นว่า การนำเสนอข่าวสารและบทความในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งของหนังสือพิมพ์ที่ถูกพาดพิงบางฉบับโดยเฉพาะข่าวสด และรองลงมาคือ มติชน น่าจะมีความเอนเอียงในการก่อให้เกิดประโยชน์แก่พรรคเพื่อไทยอย่างเป็นระบบ ทั้งการพาดหัวข่าว การเลือกภาพที่นำมาลง การนำเสนอข่าว คอลัมน์การเมืองและบทสัมภาษณ์ต่างๆ ที่มีเนื้อหาสนับสนุนพรรคเพื่อไทย
    
อย่างไรก็ตาม เห็นว่า บทความของผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ที่ถูกพาดพิงในช่วงที่ศึกษาไม่ได้แสดงความเอนเอียงที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่พรรคเพื่อไทยอย่างแจ้งชัด
    
เครือมติชน-ข่าวสด ในฐานะผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการสอบสวนดังกล่าว ไม่สามารถยอมรับผลการสอบสวนดังกล่าวได้ และมีความเห็นว่าการสอบสวนครั้งนี้ดำเนินไปโดยผิดหลักทั้งด้านกฎหมาย ความมีเหตุผล และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ ดังนี้
    
1.คณะอนุกรรมการดำเนินการสอบสวนนอกเหนือไปจากขอบเขตที่ได้รับมอบหมาย
    
ทั้งที่หัวข้อการสอบสวนของสภาการหนังสือพิมพ์นั้นระบุอย่างชัดเจนว่าเป็นการ "ตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีการส่งอีเมลของนักการเมืองระบุการให้เงิน และผลประโยชน์แก่ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน"
    
แต่แทนที่จะดำเนินการสอบสวนบุคคลที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย ดังชื่อของรายงานการสอบสวนคณะอนุกรรมการกลับตั้งประเด็นการสอบสวนว่า
    
ก.อีเมลที่ปรากฏตามข่าวเป็นของใคร
    
ข.หนังสือพิมพ์ที่ถูดพาดพิงแต่ละฉบับมีการเสนอข่าวอย่างไรในช่วงเวลาการหาเสียงเลือกตั้ง และผู้ประกอบวิชาชีพที่ถูกพาดพิงมีการกระทำตามที่ปรากฎในอีเมลหรือไม่
    
ค.มีการจ่ายสินบนตามข้อกล่าวหาในอีเมลจริงหรือไม่
    
จะเห็นได้ว่า ประเด็น "หนังสือพิมพ์ที่ถูกพาดพิงแต่ละฉบับมีการนำเสนอข่าวอย่างไร ในช่วงเวลาการหาเสียงเลือกตั้ง" ถูกเพิ่มขึ้นมาอีกประเด็นหนึ่ง
    
2.คณะอนุกรรมการกระทำผิดหลักการและมรรยาทของการสอบสวนข้อเท็จจริง
    
ไม่เพียงแต่จะกำหนดหัวข้อการสอบสวนขึ้นมาใหม่เอง แต่คณะอนุกรรมการผู้ดำเนินการสอบสวนที่ขยายขอบเขตของการสอบสวนออกไปโดยมิได้แจ้งให้ผู้ใดทราบ
    
ซ้ำยังไม่ดำเนินการเรียกหรือสอบถามข้อเท็จจริงจากองค์กรที่ตนเองพาดพิงไปถึง เป็นการดำเนินการลับหลังแต่ฝ่ายเดียว ซึ่งทำให้เกิดข้อสมมุติฐานและข้อสรุปที่ผิดพลาด
    
ไม่แต่เพียงเท่านั้น การเปิดเผยผลสอบออกมาก่อนที่จะมีมติของคณะกรรมการสภาหนังสือพิมพ์รับรองการสอบสวนยังเป็นเรื่องที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน นายสุนทร จันทรังสี รองประธานสภาหนังสือพิมพ์เองก็ยังระบุว่า "สภาการหนังสือพิมพ์ยังไม่ได้วินิจฉัยความผิดของผู้ถูกกล่าวหาว่าผิดตามข้อกล่าวหาหรือไม่"
   
การที่คณะอนุกรรมการนำผลการสอบสวนที่ยังไม่ได้รับการรับรองมาเปิดเผยก่อน ขณะเดียวกันก็มีกระบวนการอื่นๆ รับช่วงต่อเนื่องยึดโยงให้เรื่องดังกล่าวเป็นประเด็นทางการเมือง ย่อมส่อเจตนาอันไม่บริสุทธิ์
    
3.คณะอนุกรรมการละเมิดข้อบังคับด้านจริยธรรมของสภาการหนังสือพิมพ์เสียเอง
    
ข้อบังคับด้านจริยธรรมของสภาการหนังสือพิมพ์ หมวด 2 จริยธรรมของหนังสือพิมพ์ข้อ 14 ระบุว่า
    
"หนังสือพิมพ์ต้องปกปิดชื่อและฐานะของบุคคลที่ให้ข่าวไว้เป็นความลับ หากได้ให้คำมั่นแก่แหล่งข่าวนั้นไว้ หนังสือพิมพ์ต้องปกปิดนามปากกาหรือนามแฝงที่ปรากฎในหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นเป็นความลับ"
    
แต่ในรายงานฉบับดังกล่าวของคณะอนุกรรมการกลับเปิดเผยนามปากกาของผู้ถูกสอบสวน โดยที่ผู้ถูกสอบสวนรายนั้นไม่ได้รับรู้และมิได้ให้ความยินยอม
    
4.คณะอนุกรรมการดำเนินการสอบสวนโดยมีเป้าประสงค์ในใจอยู่แล้ว
   
เพราะคณะอนุกรรมการฯ ก็ระบุเอาไว้เองว่า ทีมงานเว็บไซต์เมเนเจอร์ ออนไลน์ซึ่งเป็นผู้นำอีเมล์ที่เป็นปัญหามาเผยแพร่ แทบไม่ได้ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข่าวดังกล่าวเลย
    
เช่น ไม่ได้ตรวจสอบบัญชีอีเมลของผู้รับว่ามีอยู่จริงหรือไม่ เป็นบัญชีของใคร ไม่ได้ตรวจสอบกับผู้ที่ถูกพาดพิงถึงในอีเมล โดยอ้างว่า หากสอบถามไป บุคคลที่ถูกพาดพิงก็อาจจะปฏิเสธได้ เพราะในเนื้อข่าวก็ยังไม่แน่ชัดว่าคนที่ถูกกล่าวถึงถูกพาดพิงถึงนั้นเป็นใคร และไม่ได้ตรวจสอบว่าผู้ที่ส่งข่าวมาให้เป็นใคร เป็นต้น
    
หากต้นตอของเรื่องไม่เป็นที่น่าเชื่อถือ มิได้ผ่านกระบวนการตรวจสอบเหมือนข่าวปกติทั่วไป เหตุใดคณะอนุกรรมการจึงให้น้ำหนักและให้ความสำคัญต่อข่าวดังกล่าว ถึงขั้นขยายการสอบสวนออกไปสู่ประเด็นที่ไม่เกี่ยวข้องด้วยเลยแต่ต้น
    
5.ผลสรุปของคณะกรรมการขัดแย้งกันในประเด็นสำคัญจนไม่น่าเชื่อถือ
    
ในขณะที่คณะอนุกรรมการสรุปว่าผู้ถูกกล่าวหาในเครือมติชน-ข่าวสด 2 ราย ไม่มีพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นว่ามีความเอนเอียงที่จะอำนวยประโยชน์ให้กับพรรคเพื่อไทย ในขณะที่ผู้ถูกกล่าวหาอีก 1 รายมิได้อยู่ในสังกัดที่ถูกระบุถึงด้วยซ้ำ
    
แต่คณะอนุกรรมการกลับระบุว่าหนังสือพิมพ์มติชนและข่าวสด มีความเอนเอียงเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง โดยเลือกใช้ข้อมูลเฉพาะส่วนที่สนับสนุนความคิดของตนเองเท่านั้นเป็นเครื่องตัดสิน
    
6.คณะอนุกรรมการพุ่งเป้าที่จะสร้างความเสียหายให้กับหนังสือพิมพ์บางฉบับเป็นการเฉพาะ
    
ในกรณีของหนังสือพิมพ์ข่าวสด ซึ่งได้ทำหนังสือชี้แจงว่า ไม่ปรากฏบุคคลที่มีชื่ออยู่ในอีเมล์อันเป็นที่มาของการสอบสวนอยู่ในกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ข่าวสด และข้อมูลที่เผยแพร่เป็นเท็จอย่างสิ้นเชิง อันแสดงให้เห็นว่าหนังสือพิมพ์ข่าวสดมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวมาแต่ต้น
    
แต่คณะอนุกรรมการกลับไปนำข้อมูลอื่น อันเป็นการทำหน้าที่ตามปกติของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนโดยทั่วไปมาผสมรวม แล้วเลือกหยิบประเด็นที่ตนเองปักใจเชื่ออยู่แล้วกล่าวหาว่า การนำเสนอข่าวสารและบทความในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งของหนังสือพิมพ์ที่ถูกพาดพิงบางฉบับโดยเฉพาะข่าวสด และรองลงมาคือ มติชน น่าจะมีความเอนเอียงในการก่อให้เกิดประโยชน์แก่พรรคเพื่อไทยอย่างเป็นระบบ ทั้งการพาดหัวข่าว การเลือกภาพที่นำมาลง การนำเสนอข่าว คอลัมน์การเมืองและบทสัมภาษณ์ต่างๆ ที่มีเนื้อหาสนับสนุนพรรคเพื่อไทย
    
การใช้ข้อมูลชนิดจับแพะชนแกะเพื่อให้ได้ผลสรุปตามที่ตนเองต้องการ โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายของผู้อื่นย่อมมิใช่วิสัยของวิญญูชน และมิใช่วิธีแสวงหาข้อเท็จจริงด้วยความเที่ยงธรรม
     
7.คณะอนุกรรมการมีโมหาคติในการสรุปผลการสอบสวน โดยไม่เข้าใจหลักการจัดทำหนังสือพิมพ์
     
7.1 ระบุว่า ภาพข่าว/การบรรยายประกอบภาพหนังสือพิมพ์ข่าวสด มติชน และไทยรัฐ ค่อนข้างนำเสนอภาพข่าวในทางสนับสนุนพรรคเพื่อไทย และน.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยเฉพาะข่าวสดและมติชน ซึ่งให้พื้นที่ ขนาด เนื้อหาของภาพเชิงบวกต่อน.ส. ยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทยมาก
     
ทั้งที่การเสนอข่าวดังกล่าวเป็นไปตามข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน มิใช่เรื่องที่หนังสือพิมพ์เสกสรรปั้นแต่งขึ้นเองแต่อย่างใด
     
7.2 มีข้อสังเกตว่า ภาพข่าวหลายภาพของไทยรัฐ มติชน และข่าวสด มีความคล้ายกันมาก โดยภาพข่าวในหนังสือพิมพ์สามฉบับนี้ มีลักษณะสื่อสารทางการเมืองมากกว่าภาพข่าวปกติ ซึ่งจะเห็นได้ชัดเมื่อเปรียบเทียบกับภาพข่าวที่ลงในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์และ คมชัดลึก
    
ทั้งที่การเลือกนำเสนอข่าวของแต่ละหนังสือพิมพ์ ย่อมผิดแผกไปตามความสนใจของผู้อ่านของตนเอง ที่แต่ละฉบับต่างมีกลุ่มผู้อ่านแตกต่างกัน
    
7.3 ยังพบว่า ภาพข่าวทั้งหมดของน.ส. ยิ่งลักษณ์ในหนังสือพิมพ์ทุกฉบับเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งหมด คือ เชิงบวกและสร้างภาพลักษณ์ที่ดี น่าเชื่อถือทางการเมือง แตกต่างกับของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะที่มีทั้งภาพข่าวเชิงลบและบวก
    
เช่นเดียวกับข้อ 7.1 ข่าวและภาพในแต่ละวันนั้น ย่อมเป็นไปตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น หนังสือพิมพ์ไม่สามารถปั้นแต่งขึ้นมาเองได้ แต่จะต้องนำเสนออย่างตรงไปตรงมาด้วยความเคารพในความจริง
     
7.4 พาดหัวข่าว/ความนำ การเรียงลำดับประเด็นข่าวเลือกตั้ง: ข่าวสด มติชน และไทยรัฐ แสดงออกผ่านกลวิธีการใช้ภาษาที่ชัดเจนว่า สนับสนุนพรรคเพื่อไทย และน.ส. ยิ่งลักษณ์ หนังสือพิมพ์ทั้ง 3 ฉบับมักใช้การพาดหัวข่าวในการกำหนดประเด็นข่าว ซึ่งอาจชี้นำความคิดผู้อ่านให้เอนเอียงไปในทางที่โจมตีนายอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์ และสนับสนุน น.ส. ยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทย โดยกรณีของข่าวสดนั้นมีความชัดเจนที่สุด
    
หากคณะอนุกรรมการมีความรู้ความเข้าใจในหลักการและหลักปฏิบัติของการทำหนังสือพิมพ์ ก็จะต้องทราบว่าพาดหัวข่าวหรือโปรยข่าวในแต่ละวันนั้น จะต้องสะท้อนข้อเท็จจริงของข่าวเป็นเบื้องต้น  โดยอาจจะสรุปภาพรวมหรือหยิบเอาประเด็นที่น่าสนใจที่สุดในข่าวขึ้นมา แต่ไม่สามารถที่จะพาดหัวหรือโปรยข่าวนอกเหนือไปจากความเป็นจริงในเนื้อข่าวได้
    
7.5 บทสัมภาษณ์พิเศษ/รายงาน สกู๊ปข่าว: ผลการศึกษาพบว่า หนังสือพิมพ์มติชน ให้ความสำคัญกับการสัมภาษณ์ฝ่ายพรรคเพื่อไทยถึง 4 ครั้งคือการสัมภาษณ์ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร, น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร, นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และนายณัฐวุฒิ   ใสยเกื้อ ในขณะที่มีการสัมภาษณ์ฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์เพียง 2 ครั้งคือ การสัมภาษณ์นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ และนายสาธิต ปิตุเตชะ ซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่ได้เป็นที่รู้จักโดยกว้างขวางนักเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ให้สัมภาษณ์ของพรรคเพื่อไทย
     
ในขณะที่ข่าวสดเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับเดียวที่แปลบทสัมภาษณ์ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรที่ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวเอบีซีนิวส์โดยลงเนื้อหาทั้งหมดที่ไม่มีการตัดทอน ส่วนไทยรัฐและเดลินิวส์ไม่มีบทสัมภาษณ์พิเศษของพรรคการเมือง
    
ข้อสรุปนี้แสดงให้เห็นถึงจุดอ่อนสำคัญในการสอบสวน นั่นคือการไม่ตรวจสอบข้อมูลข้อเท็จจริงให้รอบด้าน
    
ในกรณีของหนังสือพิมพ์มติชนนั้น มีการทำจดหมายและติดต่อขอสัมภาษณ์นายอภิสิทธิ์ในช่วงการยุบสภา แต่นายอภิสิทธิ์ติดภารกิจไม่สามารถจัดเวลาให้สัมภาษณ์ได้ การสัมภาษณ์ถูกเลื่อนไปหลายครั้ง ความข้อนี้ทั้งนายอภิสิทธิ์และผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาลย่อมยืนยันข้อเท็จจริงได้
    
ไม่แต่เพียงเท่านั้น หนังสือพิมพ์มติชนยังติดต่อขอสัมภาษณ์นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในฐานะเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อขอทราบและเผยแพร่แนวทาง-นโยบายในการหาเสียง แต่นายสุเทพเป็นฝ่ายบอกปัดปฏิเสธไม่ให้สัมภาษณ์อย่างเปิดเผย ความข้อนี้ก็มีพยานที่สามารถยืนยันได้เป็นจำนวนมาก
    
ในกรณีของหนังสือพิมพ์ข่าวสด การเลือกลงบทสัมภาษณ์ของพ.ต.ท.ทักษิณ ก็ใช้หลักการเช่นเดียวกันกับการเลือกพิจารณาข่าวอื่นๆ นั่นคือดูที่ความน่าสนใจและผลกระทบของเนื้อหาเป็นหลัก และหนังสือพิมพ์ข่าวสดย่อมไม่สามารถไปล่วงรู้ได้ว่า หนังสือพิมพ์ฉบับอื่นจะให้ความสนใจในข่าวเดียวกันมากน้อยเพียงใด หรือจะลงข่าวใดบ้างในหนังสือพิมพ์วันต่อไป
    
7.6 คอลัมน์การเมือง: หนังสือพิมพ์ข่าวสดมีคอลัมน์ทางการเมืองที่มีเนื้อหาโจมตีนายอภิสิทธิ์ ชัดเจนและมากที่สุด เนื้อหาทั้งหมดยังสนับสนุนและสร้างภาพลักษณ์เชิงบวกให้แก่น.ส. ยิ่งลักษณ์ ซึ่งแตกต่างจากฉบับอื่นๆ ที่ค่อนข้างมีความสมดุล ส่วนมติชนก็มีคอลัมน์ที่วิพากษ์วิจารณ์นายอภิสิทธิ์มากเช่นกัน แต่วิธีการสื่อภาษาไม่ชัดเจนเท่ากับหนังสือพิมพ์ข่าวสด
    
ข้อสรุปนี้ยิ่งแสดงให้เห็นถึงอคติในการเลือกใช้ข้อมูล และการไม่ตรวจสอบข้อมูลให้ครบถ้วนของคณะอนุกรรมการ
    
เพราะหากติดตามอ่านหนังสือพิมพ์ข่าวสดมาโดยตลอดก็จะทราบว่า สิ่งที่หนังสือพิมพ์ข่าวสดเรียกร้องต่อนายอภิสิทธิ์ ในฐานะนายกรัฐมนตรี ผู้ต้องรับผิดชอบสูงสุดต่อเหตุการณ์สลายการชุมนุมของประชาชนในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ที่มีผู้เสียชีวิตถึง 91 ราย และได้รับบาดเจ็บกว่า 2,000 ราย ก็คือให้รัฐบาลอำนวยการให้การเปิดเผยความจริงและความยุติธรรมเกิดขึ้นโดยเร็ว รวมทั้งดำเนินการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบทุกฝ่ายให้ทั่วถึงและพอเพียง เพราะกรณีดังกล่าวจะเป็นปัญหาสังคมรุนแรงต่อไปในอนาคตหากขาดการจัดการที่ดี และดำเนินการต่อเนื่องมาโดยตลอด มิได้เกิดขึ้นเฉพาะช่วงการหาเสียงเลือกตั้งตามที่กล่าวอ้าง
     
หากผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ไม่มุ่งมั่นที่จะแสวงหาความจริง และมิได้มีจิตใจเห็นใจผู้ได้รับความทุกข์ยากเดือดร้อน โดยเฉพาะความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัสจากการสูญเสียชีวิตหรือบาดเจ็บพิการ ย่อมไม่สมควรที่จะประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนต่อไป
    
7.7 โฆษณาพรรคการเมืองในหนังสือพิมพ์: พรรคเพื่อไทย ได้ลงพื้นที่โฆษณาผ่านหนังสือพิมพ์ 29 หน้าสี ซึ่งมากกว่าพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งลงโฆษณา 18 หน้าสี นอกจากนี้ มีข้อสังเกตว่า พรรคเพื่อไทยลงโฆษณาเฉพาะในหนังสือพิมพ์ในเครือบริษัทมติชนเท่านั้นคือ หนังสือพิมพ์ข่าวสด มติชน และประชาชาติธุรกิจ ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ลงโฆษณาใน 5 ฉบับคือ ข่าวสด มติชน ประชาชาติธุรกิจ เดลินิวส์ และคมชัดลึก เช่นเดียวกับพรรคการเมืองขนาดกลางอื่นๆ ที่ได้ลงในหนังสือพิมพ์ทั้ง 4-5 ฉบับ ทั้งนี้ ไม่พบโฆษณาพรรคการเมืองในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ในเดือนมิถุนายน 2554
    
แสดงถึงการเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อให้เป็นตามใจตนเองของคณะอนุกรรมการ
    
เพราะการที่ผู้ติดต่อขอลงโฆษณารายใดจะเลือกลงโฆษณาในสื่อหรือหนังสือพิมพ์ใดๆ ย่อมขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ลงโฆษณาเอง ว่าสื่อหรือหนังสือพิมพ์ที่เลือกลงโฆษณานั้นสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้หรือไม่ สื่อหรือหนังสือพิมพ์ไม่สามารถไปกะเกณฑ์หรือตัดสินใจแทนได้
    
ยิ่งไปกว่านั้น การลงโฆษณายังมิได้มีผลอย่างใดการตัดสินใจต่อการนำเสนอข่าวของกองบรรณาธิการ ไม่เช่นนั้นแล้ว หากใช้หลักการของคณะอนุกรรมการมาสรุป หนังสือพิมพ์มติชนและข่าวสดย่อมไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์พรรคการเมืองใดได้เลย ไม่ว่าจะเป็นพรรคประชาธิปัตย์หรือพรรคเพื่อไทย ซึ่งขัดกับข้อเท็จจริงว่าการทำหน้าที่ของกองบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ทั้ง 2 ฉบับก็ยังดำเนินไปอย่างอิสระ
   
ไม่แต่เท่านั้น หากใช้ข้อสรุปแบบด่วนสรุปของคณะอนุกรรมการ โดยการนำเฉพาะตัวเลขหน้าโฆษณามาตัดสินใจอย่างง่ายๆ หนังสือพิมพ์ก็ยิ่งต้องเสนอข่าวในทางบวกให้กับพรรคการเมืองอื่นๆยิ่งกว่าพรรคเพื่อไทย เพราะว่าพรรคเหล่านั้นลงโฆษณามากกว่า ซึ่งในข้อเท็จจริงก็มิใช่เช่นนั้นอีก
    
8.คณะอนุกรรมการด่วนสรุปโดยไม่เป็นธรรม
    
จากข้อสรุปที่ระบุว่า
    
จากผลการศึกษาดังกล่าว เชื่อได้ว่า พรรคเพื่อไทยน่าจะมี "การบริหารจัดการสื่อมวลชน" อย่างเป็นระบบ เช่น มีการเลือกลงโฆษณาเฉพาะในหนังสือพิมพ์บางฉบับ มีการสร้างและประสานประเด็นข่าว ตลอดจนน่าจะมีการจัดส่งภาพของตนไปลงตีพิมพ์เป็นภาพข่าวในหนังสือพิมพ์บางฉบับ นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลด้วยว่า พรรคเพื่อไทยอาจมีการ "ดูแล" ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนที่ทำข่าวของพรรคบางรายด้วย
    
เพราะพรรคเพื่อไทยจะมีการบริหารจัดการสื่อมวลชนอย่างเป็นระบบหรือไม่ ก็เป็นเรื่องภายในของพรรคเพื่อไทยเอง จากข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่แสดงให้เห็นก็ชัดเจนว่า การจัดการภายในของพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งมิได้มีผลต่อการทำงานของกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์แต่อย่างใด
    
พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งอาจจะต้องการสร้างหรือประสานประเด็นข่าวของตนเองขึ้นมา แต่มิได้หมายความว่าหนังสือพิมพ์จะต้องตอบสนองตามความต้องการนั้น
    
นอกจากนั้น การใช้วิธีการคาดเดาว่า "น่าจะ" มีการส่งภาพข่าวไปลงตีพิมพ์ แล้วด่วนสรุปเอาเองโดยทันที โดยไม่มีการสอบถามหรือตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนรอบด้าน ย่อมแสดงถึงความโน้มเอียงของคณะอนุกรรมการเอง
    
แต่ที่เป็นการกล่าวหากันอย่างร้ายแรงที่สุด ก็คือการใช้ถ้อยคำกำกวมเพื่อให้ผู้ที่ได้อ่านเอกสารดังกล่าวตีความไปในทางลบ เช่น อาจมีการ "ดูแล"  ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนที่ทำข่าวของพรรคเพื่อไทย นอกจากไม่เป็นธรรมต่อผู้ถูกกล่าวหา เพราะเป็นการอ้างข้อมูลที่เลื่อนลอยแล้ว ยังแสดงถึงเจตนาอันไม่บริสุทธิ์ของผู้ดำเนินการสอบสวน ที่มีเป้าประสงค์มากกว่าตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ได้รับมอบหมาย
     
ฉะนั้น จากข้อเท็จจริงที่ได้ชี้แจงมาเบื้องต้นเครือมติชน-ข่าวสดจึงขอกราบเรียนด้วยความเคารพต่อหลักการของสภาการหนังสือพิมพ์ว่า
   
หนังสือพิมพ์มติชน ข่าวสด ประชาชาติธุรกิจ รวมไปถึงสื่ออื่นๆทั้งหมดในเครือ จึงไม่สามารถรับผลการสอบสวนและข้อสรุปที่ปราศจากข้อเท็จจริงและเป็นไปโดยอคติของคณะอนุกรรมการชุดดังกล่าวได้
    
เครือมติชน-ข่าวสดขอยืนยันในความเป็นอิสระ ความสุจริต และความประพฤติที่เป็นไปตามกรอบจรรยาบรรณของบรรพสื่อมวลชน รวมไปถึงข้อบังคับทางจริยธรรมของสภาการหนังสือพิมพ์ โดยเฉพาะในเรื่องของการปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา ปลอดจากอามิสสินบนที่มิชอบในทุกรูปแบบ ซึ่งได้ปฏิบัติมาโดยตลอดตั้งแต่ในอดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน และจะยังยึดถืออย่างแน่วแน่ต่อไปในอนาคต
    
จุดยืนที่ชัดเจน แน่วแน่ และสามารถตรวจสอบได้ของเครือมติชน-ข่าวสด ซึ่งสังคมประจักษ์อยู่แล้วก็คือ การยืนเคียงข้างประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ และเป็นปากเสียงให้กับผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในสังคม โดยมุ่งให้เกิดความสงบสันติ และความสุขสมบูรณ์ของสังคมและเพื่อนร่มชาติเป็นสำคัญ ดังที่เคยแสดงจุดยืนนี้มาแล้วในแถลงการณ์ร่วมของเครือเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2553 ซึ่งเรียกร้องให้รัฐบาลและผู้ชุมนุมลดอุณหภูมิของการเผชิญหน้า และยุติการใช้กำลังในการแก้ไขปัญหาโดยทันที แต่ข้อเสนอเช่นนี้กลับมิได้รับการสนองตอบในทางที่ถูกต้องจากผู้มีอำนาจในฝ่ายบริหาร
    
ต่อการถูกสอบสวนครั้งนี้ บรรณาธิการของทั้งหนังสือพิมพ์มติชนและหนังสือพิมพ์ข่าวสด ก็ให้ความร่วมมือกับคณะอนุกรรมการด้วยการชี้แจงเป็นเอกสาร ซึ่งยืนยันว่ามีการดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงเป็นการภายในมาก่อนแล้ว และไม่พบพฤติกรรมที่ละเมิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพแต่อย่างใด
    
ในข้อเสนอแนะประการที่ 4 จากรายงานของคณะอนุกรรมการดังกล่าวที่ระบุให้ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติควรตักเตือนหนังสือพิมพ์ที่เป็นองค์กรสมาชิก ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข่าวและแหล่งข่าวที่ได้รับมาอย่างรอบคอบรัดกุม ก่อนนำเสนอข่าวที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง และต้องไม่เสนอข่าวโดยเลื่อนลอยปราศจากแหล่งที่มาที่สามารถตรวจสอบได้ นั้น
    
น่าจะเป็นภาพสะท้อนการทำงานของคณะอนุกรรมการผู้จัดทำรายงานดังกล่าวด้วยอคติ ปราศจากการตรวจสอบที่รอบคอบรัดกุม และไม่เปิดเผยโปร่งใสมากกว่า
    
ที่ผ่านมาเครือมติชน-ข่าวสดถูกกล่าวหา ถูกใส่ร้ายป้ายสีมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการยัดเยียดข้อหาล้มเจ้าหรือข้อหาบ่อนทำลายสถาบันยุติธรรม แต่ก็ใช้ความอดทนไม่ตอบโต้ และใช้การกระทำเป็นเครื่องพิสูจน์ความบริสุทธิ์ตนเองมาโดยตลอด จนความเป็นจริงปรากฎชัดเจนว่าข้อกล่าวหาเหล่านั้นเป็นเรื่องเลื่อนลอยไร้มูลความจริงโดยสิ้นเชิง
    
ฉะนั้น เครือมติชน-ข่าวสดจึงขอสงวนสิทธิตามกฎหมายในฐานะพลเมืองไทย ในอันที่จะปกป้องสิทธิและชื่อเสียงของตนเอง หากถูกกล่าวหาโดยเลื่อนลอยและไม่เป็นธรรม ไม่ว่าจะจากองค์กรหรือบุคคลใดก็ตาม
   
ด้วยความมั่นใจในวัตรปฏิบัติและผลงานที่พิสูจน์ตนเองมาเป็นเวลากว่า 30 ปี ว่าอยู่ในกรอบของจริยธรรมแห่งวิชาชีพ และการทำงานของกองบรรณาธิการเป็นอิสระ-มีเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญ 2550 ให้การรับรอง เครือมติชน-ข่าวสดเชื่อมั่นว่าสังคมและผู้อ่านสามารถตรวจสอบความสุจริตและความโปร่งใสในวิชาชีพของหนังสือพิมพ์และสื่ออื่นๆ ในเครือทั้งหมดได้ตลอดเวลา
    
จึงเรียนมาด้วยความเคารพ

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เปิดนโยบาย "ยิ่งลักษณ์" 8 นโยบายหลัก 16 เรื่องด่วน

Posted: 19 Aug 2011 04:29 AM PDT

เปิดคำแถลงนโยบายรัฐบาล "ยิ่งลักษณ์" หนา 59 หน้า 8 นโยบายหลัก 16 เรื่องด่วน เน้นสร้างปรองดอง ปราบยาเสพติด

19 ส.ค. 54 - เว็บไซต์เดลินิวส์รายงานว่าสำหรับคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่จะแถลงต่อรัฐสภาในระหว่างวันที่ 23-24 ส.ค.นี้ เป็นกระดาษ ขนาด เอ 4 มีความหนา 59 หน้า โดยแบ่งเป็นนโยบาย 8 ด้าน คือ 1.นโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปีแรก 2.นโยบายความมั่นคงแห่งรัฐ 3.นโยบายเศรษฐกิจ4.นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต 5.นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 6.นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการวิจัย และนวัตกรรม 7.นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และ8.นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

สำหรับนโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปีแรก มี 16 เรื่อง ดังนี้

1.สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย ได้แก่

 

1.1 เสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของคนในชาติให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและยึดมั่นใจการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

1.2 เยียวยาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องแก่บุคคลทุกฝ่าย เช่น ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ประกอบการภาคเอกชน ที่ได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากความเห็นที่แตกต่างและความรุนแรงที่ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายของการใช้รัฐธรรมนูญปี 2540

1.3 สนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ดำเนินการอย่างเป็นอิสระและได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ในการตรวจสอบและค้นหาความจริงจากกรณีความรุนแรงทางการเมือง การละเมิดสิทธิมนุษยชน การสูญเสียชีวิต บาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจรวมทั้งความเสียหายทางทรัพย์สิน

2.กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็น “วาระแห่งชาติ”

3.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่างจริงจัง

4.ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการและเร่งรัดขยายพื้นที่ชลประทาน

5.เร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

6.เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ

7.แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

8.ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค

9.ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล

10.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน

11.ยกระดับราคาสินค้าเกษตรกรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน

12.เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ โดยจะประกาศให้ปี 2554-55 เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” Miracle Thailand Year

13.สนับสนุนการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการสร้างเอกลักษณ์และการผลิตสินค้าในท้องถิ่น

14.พัฒนาระบบประกันสุขภาพ 15.จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท๊บเล็ตให้แก่โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียนนำร่องสำหรับเด็กระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา พ.ศ.2554 16.เร่งรัดและผลักดันการปฎิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้ประชาชนเห็นชอบผ่านการออกเสียงประชามติ.

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กองทัพพม่า​อ้าง เหตุโจมตีห​มู่บ้านด้ว​ยปืนใหญ่ เป็นฝีมือก​องกำลังไทให​ญ่

Posted: 19 Aug 2011 04:09 AM PDT

กองทัพพม่าอ้างเหตุโจมตีหมู่บ้านไทใหญ่ในรัฐฉานด้วยปืนใหญ่เป็นฝีกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" ด้านโฆษกกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ"โต้ทหารพม่าผู้ก่อเหตุตัวจริง เผยเหตุไม่พอใจถูกทหารไทใหญ่ทำร้าย-ยึดอาวุธปืน

สืบเนื่องจากมีรายงานว่าเมื่อวันที่ 11 ส.ค. เกิดเหตุทหารพม่า ฐานประจำการอยู่ในพื้นที่เมืองไหย๋ รัฐฉานภาคเหนือได้ยิงกระสุนปืนใหญ่เข้าใส่หมู่บ้านจ้าง (บ้านช้าง) หมู่บ้านชาวไทใหญ่จำนวน 24 ลูกเป็นเหตุให้บ้านเรือนชาวบ้านได้รับความเสียหาย มีชาวบ้านทั้งเด็กและผู้ใหญ่ได้รับบาดเจ็บรวม9 คนและมีบ้านผู้นำหมู่บ้านถูกไฟไหม้จากเหตุถูกกระสุนปืนใหญ่เสียหายวอดทั้งหลังนั้น

ล่าสุดเมื่อวันที่17 ส.ค. ที่ผ่านมากองทัพรัฐบาลทหารพม่าได้เปิดเผยถึงกรณีดังกล่าวผ่านหนังสือพิมพ์เมียนมาร์อลินสื่อกระบอกเสียงของรัฐบาลโดยอ้างว่ากลุ่มผู้ก่อเหตุโจมตีหมู่บ้านดังกล่าวเป็นฝีมือกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" SSA/SSPP โดยใช้ปืนใหญ่ขนาด40 mm ยิงเข้าใส่จำนวน 6 ลูกทำให้เกิดเพลิงลุกไหม้บ้านนายจายอุง หัวหน้าหมู่บ้าน และมีเด็ก 2 คน ผู้ใหญ่ 5 คนได้รับบาดเจ็บโดยผู้บาดเจ็บเข้ารักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลเมืองไหย๋และเมืองล่าเสี้ยว

เกี่ยวกับเรื่องนี้พ.ต.จายละ โฆษกกองทัพรัฐฉาน SSA/SSPP ได้ชี้แจงและโต้แย้งว่า ผู้ก่อเหตุคือทหารพม่าสังกัดกองพันทหารราบเบาที่325 ภายใต้บังคับบัญชาของพ.ต.เมียวจอ หม่องซึ่งมีฐานประจำการอยู่ในเขตพื้นที่เมืองไหย๋ รัฐฉานภาคเหนือโดยได้ยิงกระสุนปืนใหญ่เข้าใส่หมู่บ้านจ้าง เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 11 ส.ค. จำนวน  24 ลูก ซึ่งทำให้บ้านเรือนชาวบ้านได้รับความเสียหายหลายหลังและมีชาวบ้านทั้งเด็กและผู้ใหญ่ได้รับบาดเจ็บรวม9 คน

พ.ต.จายละกล่าวว่าสาเหตุที่ทหารพม่าโจมตีหมู่บ้านเนื่องจากไม่พอใจที่ก่อนเกิดเหตุในวันเดียวกันได้มีทหารกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" (SSA/SSPP) 2 นายปลอมตัวเป็นชาวบ้านเข้าไปในหมู่บ้านและได้ใช้มีดฟันทหารพม่าซึ่งประจำอยู่ในบ้านจ้างได้รับบาดเจ็บ1 นาย และยึดอาวุธปืนประจำกายชนิด MA-1 ไปหนึ่งกระบอก

"เราจะทำร้ายประชาชนที่สนับสนุนเราได้อย่างไรหมู่บ้านที่ถูกโจมตีก็เป็นหมู่บ้านที่เราได้สนับสนุนด้านการพัฒนามากว่า 22 ปีทั้งสร้างโรงเรียน โรงพยาบาล สร้างถนนหนทาง สะพาน ขณะที่ พล.ต.ป่างฟ้าผู้นำของเราก็มีคำสั่งย้ำเสมอห้ามไม่ให้กำลังพลทำร้ายประชาชนอย่างเด็ดขาด" พ.ต.จายละ กล่าว

ทั้งนี้เหตุโจมตีหมู่บ้านและการทำร้ายชาวบ้านจากการกระทำของทหารกองทัพพม่าในรัฐต่างๆทางรัฐบาลมักอ้างว่าเป็นฝีมือกลุ่มต่อต้านเป็นประจำ โดยเมื่อเร็วๆ นี้สื่อของรัฐบาลได้กล่าวหากองกำลังไทใหญ่ SSA กลุ่มพล.ท.เจ้ายอดศึกละเมิดสิทธิมนุษยชนในรัฐฉาน โดยการฆ่าและบังคับใช้แรงงานประชาชนรวมถึงวางระเบิดโจมตีชาวบ้านในรัฐฉานตอนใต้ ขณะที่ SSA ปฏิเสธไม่มีนโยบายทำร้ายประชาชนตัวเอง

ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/

"คนเครือไท"เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวอิสระไทใหญ่ หรือ สำนักข่าวฉาน(SHAN– Shan Herald Agency for News)มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.orgและภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ส.ส.เพื่อไทยประกันคดีหมิ่นเบื้องสูง “สมยศ-สุรชัย” ยังแห้ว ด้านแดงภูมิภาครอประกันอีกสัปดาห์หน้า

Posted: 19 Aug 2011 03:54 AM PDT

ส.ส.เพื่อไทยประกันแดงคดีหมิ่นเบื้องสูง “สมยศ-สุรชัย” ยังแห้วประกัน พร้อมส่งศาลอุทรณ์พิจารณาคำสั่งปล่อย 6 นปช. "ธวัชชัย เอี่ยมนาค" ให้ประกันปล่อยตัวชั่วคราว ขณะที่ทนายจะยื่นประกันตัวอีกครั้งในวันที่ 23 ส.ค.นี้ ด้าน 20 นปช.อุบลฯ ยังไม่ประกัน รอศาลตัดสิน 24 ส.ค. นปช.มหาสารคามคาดขอประกันสัปดาห์หน้า ส่วนศาลเลื่อนตัดสินประกันตัวแดงขอนแก่น
 
 "ณัฐวุฒิ" นำทัพ ส.ส.เพื่อไทยประกันแดงคดีหมิ่นเบื้องสูง
 
19 ส.ค. 54 -  ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษกนางธิดา ถาวรเศรษฐ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ( นปช.) พร้อมด้วยนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ,น.พ.เหวง โตจิราการ , นายก่อแก้ว พิกุลทอง , นายพายัพ ปั้นเกตุ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ และ นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความ เดินทางมายื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์ ขอปล่อยตัวชั่วคราว นายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ หรือแซ่ด่าน และนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข จำเลยคดีหมิ่นเบื้องสูง และจำเลยอีก 7 คน สำนวนคดีหมายเลขดำที่ อ.1678/2554 , อ.2440/2553 , อ.2417/2553 , อ.1610/2553 , อ.1814/2553 และ อ.2274/2553 ข้อหาร่วมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปปลุกปั่นยุงยุงให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยใช้ตำแหน่ง ส.ส. ของพรรคเพื่อไทย 8 คน ประกอบด้วย นายจตุพร พรหมพันธุ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ น.พ.เหวง โตจิราการ นายพายัพ ปั้นเกตุ น.ส.ภูวนิดา คุนผลิน นายสุชาติ ชาดาธำรงเวช นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ ซึ่งเป็น ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ และ น.ส.ลีลาวดี วัชโรบล ส.ส.กทม. พร้อมเงินสดอีกรายละ 500,000 บาท
 
โดยนายวิญญัติ ทนายความ กล่าวว่า สำหรับเหตุผลในการยื่นประกันตัว เนื่องจากเห็นว่าขณะนี้สถานการณ์การเมืองได้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นแล้ว ประกอบกับคดีมีความชัดเจนระดับหนึ่ง ดังนั้นเพื่อความสมานฉันท์ปรองดอง จึงต้องการให้ผู้ต้องหาได้ออกมาต่อสู้คดีตามกระบวนการยุติธรรม ขณะที่วันเดียวกันนี้ทีมทนายความจะยื่นแนวร่วม นปช. อีก 20 คนที่ถูกยื่นฟ้องคดีลักษณะเดียวกันนี้ ประกอบด้วยศาลอาญากรุงเทพใต้ 8 คนซึ่งมีคดีเผาศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ด้วย ศาลจังหวัดพระโขนง 4 คน ศาลจังหวัดมีนบุรี 4 คน ศาลจังหวัดสมุทรปราการ 2 คน และศาลจังหวัดนนทบุรี 2 คน โดยจะใช้ตำแหน่ง ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ และ ส.ส.เขต พรรคเพื่อไทย และเงินสดอีกรายละ 500,000 บาท ในการยื่นขอประกันตัวเช่นกัน
 
ศาลไม่ให้ประกันแนวร่วมเสื้อแดง "สุรชัย-สมยศ"
 
ล่าสุด เมื่อเวลา 15.00 น.ศาลอาญา ถ.รัชดาฯ มีคำสั่งให้ส่งคำร้องขอประกันตัว แนวร่วม นปช. 6 คน ไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาเพื่อมีคำสั่งต่อไป และให้ปล่อยตัวชั่วคราว 1 คน คือ นายธวัชชัย เอี่ยมนาค 37ปี ผู้ต้องหาคดีมีวัตถุระเบิดไว้ในครอบครอง โดยไม่ได้รับอนุญาต และกรณีพกวัตถุระเบิดแสวงเครื่อง เตรียมก่อเหตุบริเวณที่ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2554 โดยตีราคาประกัน 3 แสนบาท
      
ส่วนอีก 2 ราย คือ นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข จำเลยคดีหมิ่นเบื้องสูงนั้น ศาลยกคำร้อง เนื่องจาก เห็นว่าศาลอุทธรณ์เคยมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลย กรณีจึงไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลง ให้ยกคำร้อง สำหรับ นายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ หรือ แซ่ด่าน นั้น ศาลอาญาพิเคราะห์แล้วเห็นว่า จำเลยยังถูกคุมขังในคดีหมิ่นเบื้องสูง และคดีอื่นอีก กรณีจึงไม่มีเหตุให้ปล่อยตัวชั่วคราว
      
เช่นเดียวกับศาลจังหวัดสมุทรปราการ ที่มีคำสั่งให้ส่งคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว แนวร่วมนปช.2 คน ไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาประกันตัว
 
ขณะที่ศาลจังหวัดนนทบุรี มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวชั่วคราว แนวร่วม นปช. 2 คน เนื่องจากพิจารณาแล้วเห็นว่า ก่อนหน้านี้ศาลอุทธรณ์เคยมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวมาแล้ว จึงให้ยกคำร้อง
      
ส่วนศาลจังหวัดมีนบุรี พิจารณาแล้ว มีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวแนวร่วม นปช. 4 คน ซึ่งเป็นผู้ต้องหาคดีมีวัตถุระเบิดและกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยศาลตีราคาประกัน คนละ 2.5 แสนบาท โดยไม่ได้กำหนดเงื่อนไขใดๆ
      
ด้าน นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความ นปช.กล่าวว่า การยื่นประกันตัวที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ รวม 8 คนนั้น อยู่ระหว่างดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาล ขณะที่การยื่นคำร้องขอประกันตัว แนวร่วม นปช.ต่อศาลจังหวัดพระโขนง 4 คนนั้น ไม่มีการยื่นคำร้องในวันนี้เนื่องจากรวบรวมเอกสารไม่แล้วเสร็จ โดยจะยื่นประกันตัวอีกครั้ง ในวันอังคารที่ 23 ส.ค.นี้
 
ยังไม่ยื่นประกันตัว 20 นปช.อุบลฯ รอศาลตัดสิน 24 ส.ค.
 
เมื่อเวลา 10.00 น. วันนี้ (19 ส.ค.) นายวัฒนา จันทศิลป์ ทนายความของกลุ่ม นปช. จังหวัดอุบลราชธานี เดินทางมายังศาลจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมชี้แจงกับญาติของผู้ต้องหาแนวร่วม นปช. กรณี ส.ส.เพื่อไทยเขตอีสานใต้ นัดหมายกันไว้ก่อนหน้านี้จะใช้ตำแหน่ง ส.ส.ประกันตัวผู้ต้องหา 20 คน ที่ถูกควบคุมอยู่ในเรือนจำกลางอุบลราชธานี คดีเหตุการณ์ชุมนุมและเผาสถานที่ราชการเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2553 นั้น
 
กลุ่ม ส.ส.เห็นว่าศาลจังหวัดอุดรธานีจะมีคำพิพากษาในวันที่ 24 ส.ค. นี้ จึงยังไม่ขอยื่นประกันตัวผู้ต้องหาทั้ง 20 คน โดยจะรอฟังคำตัดสินก่อน ซึ่งเป็นการตัดสินของศาลชั้นต้นว่าจะออกมาอย่างไร ทั้งนี้ หลังฟังคำชี้แจงทางญาติของผู้ต้องหาจึงพากันเดินทางกลับ
 
นปช.มหาสารคามคาดสัปดาห์หน้าพร้อมยื่นขอประกันตัว 9 ผู้ต้องหา
 
ด้านนางรังสิมา  เจริญศิริ  ส.ส. มหาสาร คาม แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย พร้อมนายอดิศร  วัฒนบุตร  แกนนำแนวร่วม นปช. และนายคม รม พลพรกลาง ทนายความ เยี่ยมผู้ต้องหา นปช. จำนวน 9 คน ที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำมหาสารคาม
 
โดยนายคารม กล่าวว่า  คดีเหตุการณ์ชุมนุมเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2553 มีแนวร่วมของ นปช. อีก 110 คน ทั่วประเทศ ที่ยังถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำหลายจังหวัด และเมื่อวันที่ 16 ส.ค.ที่ผ่านมา ศาลมีคำสั่งให้ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาที่จังหวัดอุดรธานีแล้วจำนวน 22 คน ซึ่งกลุ่ม นปช. จะดำเนินการยื่นประกันตัวผู้ต้องหากลุ่มแนวร่วมคนเสื้อแดงทุกจังหวัด ในส่วนของจังหวัดมหาสารคามมีผู้ต้องหาแนวร่วม นปช. อยู่จำนวน 9 คน คือ นายคมกฤษ คำวิแสง นายภานุพงษ์ นวลเสน นายสมโภชน์ สีกากุล นายอุทัย คงหา นายไพรัช จอมพรรษา นายมนัส วรรณวงศ์ นายสุชล จันปัญญา นายชรัญ เอกสิริ และ นายเดชอดุลย์ เดชบุรัมย์  ซึ่งทั้งหมดถูกศาลตัดสินเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2553  ข้อหาวางเพลิง-ตระเตรียมการวางเพลิง  ถูกจำคุก 5 ปี 8 เดือน  จากเหตุการณ์เตรียมเผาที่ว่าการอำเภอเมืองมหาสารคาม แต่วันนี้ยังไม่สามารถยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวให้กับผู้ต้องขังทั้ง 9 คนได้  เนื่องจากจังหวัดมหาสารคามมี ส.ส.อยู่ 6 คน ซึ่งจะต้องใช้ ส.ส. ทั้งหมด 9 คน  และเงินประกันอีกคนละ 1 ล้านบาท  โดยได้ประสานกับ ส.ส.ร้อยเอ็ด แล้วอีก 3 คน คาดว่าสัปดาห์หน้าจะสามารถยื่นขอประกันตัวได้
 
ศาลเลื่อนตัดสินประกันตัวแดงขอนแก่น
 
ที่ จ.ขอนแก่น ภายหลังเสร็จสิ้นการไต่สวนพิจารณาคดีแกนนำกลุ่ม นปช. ของศาลจังหวัดขอนแก่น ซึ่งได้ประทับรับคำร้องการยื่นขอประกันตัวและอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว กลุ่มเสื้อแดงทั้ง 4 คน ที่ถูกคุมขังภายในเรือนจำกลางขอนแก่น จากคดีการลอบวางเพลิง เผาศาลากลางจังหวัดขอนแก่น และสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที ซึ่งทนายกลุ่ม นปช. ได้ใช้ตำแหน่ง ส.ส. 6 คน ประกันตัวแกนนำทั้ง 4 คน โดยศาลจังหวัดของแก่น ได้ประทับรับคำร้องและมีการไต่สวน โดยที่อัยการเจ้าของคดี ไม่มีการคัดค้านการประกันตัวดังกล่าว โดยศาลจังหวัดของแก่น จะมีการให้ฟังคำพิพากษา ว่าจะอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวหรือไม่ ในวันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม นายธนิต มาสีพิทักษ์ ส.ส.พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ยังคงมั่นใจว่า ศาลจะใช้ดุลยพินิจ พิจารณาในการปล่อยตัวชั่วคราว ในวันจันทร์นี้
 
เสื้อแดงเชียงใหม่ชุมนุมหน้าคุก ร้องปล่อยตัว “นักโทษแดง”
 
ที่ จ. เชียงใหม่ กลุ่มคนเสื้อแดงจำนวนประมาณ 20 คนเดินทางมายังเรือนจำกลางเชียงใหม่ เพื่อเข้าเยี่ยมคนเสื้อแดงที่ต้องโทษอยู่ในเรือนจำกลาง พร้อมทั้งเรียกร้องให้มีการปล่อยผู้ต้องหาทั้ง 7 คนออกจากเรือนจำ
      
การรวมตัวของกลุ่มคนเสื้อแดงในครั้งนี้นอกจากจะเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์การสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 19 พ.ค.53 แล้ว กลุ่มคนเสื้อแดงยังต้องการแสดงออกเพื่อเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้ง 7 ราย ซึ่งกลุ่มคนเสื้อแดงมองว่าเป็นนักโทษในคดีการเมืองออกจากเรือนจำกลางเชียงใหม่ เนื่องจากคนกลุ่มนี้ไม่ได้รับความยุติธรรมจากการตกเป็นผู้ต้องหาในคดีทางการเมือง รวมทั้งยังไม่ได้รับการประกันตัวเพื่อออกมาต่อสู้คดีในสมัยของรัฐบาลชุดที่ผ่านมาแต่อย่างใด
      
ทั้งนี้ ก่อนการชุมนุม มีรายงานว่าจะมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของ จ.เชียงใหม่บางคนเข้าร่วมในการชุมนุมดังกล่าวด้วย รวมทั้งอาจจะมีการติดต่อเพื่อขอยื่นประกันตัวผู้ต้องหาทั้ง 7 ราย เช่นเดียวกับที่มีการเคลื่อนไหวประกันตัวกลุ่มคนเสื้อแดงที่ต้องโทษของ ส.ส.จากพรรคเพื่อไทยที่ จ.อุบลราชธานีในช่วงที่ผ่านมา
      
อย่างไรก็ตาม เมื่อกลุ่มคนเสื้อแดงเดินทางมาถึงเรือนจำกลางเชียงใหม่ ได้มีการปรับเปลี่ยนกิจกรรมโดยมาชุมนุมกันบริเวณหน้าที่ทำการเรือนจำกลางพร้อมกับชูป้ายข้อความ “ปล่อยตัวนักโทษการเมือง” แทน ส่วนการยื่นขอประกันตัวผู้ต้องหานั้นได้เปลี่ยนเป็นนำเรื่องมอบให้กับตัวแทน ส.ส.ไปดำเนินการต่อ เนื่องจากตามกระบวนการยื่นขอประกันตัวนั้น ผู้ต้องหาต้องเป็นฝ่ายยื่นเรื่องขอให้ ส.ส.ช่วยประกันตัวก่อน จากนั้น ส.ส.จึงจะสามารถดำเนินการใช้ตำแหน่งในการยื่นขอประกันตัวผู้ต้องหาได้ โดย ส.ส. 1 คนสามารถยื่นขอประกันตัวผู้ต้องหาได้ 2 ราย
      
รายงานข่าวแจ้งว่า หลังจากมีตัวแทนของ ส.ส.มารับเรื่องจากกลุ่มคนเสื้อแดงในวันนี้แล้ว คาดว่าจะมีการหารือกันในกลุ่ม ส.ส.เชียงใหม่ต่อไป ก่อนจะสรุปว่า ส.ส.คนใดบ้างที่จะเป็นผู้ยื่นขอประกันตัวให้กับกลุ่มคนเสื้อแดงที่ต้องโทษอยู่ในเรือนจำในขณะนี้
 
ที่มาเรียบเรียงจาก: สำนักข่าวไทย, เนชั่นทันข่าว, ไอเอ็นเอ็น, ASTV ผู้จัดการออนไลน์
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศาลปกครองเลื่อน พิพากษา กสทช.นัดใหม่ 22 ส.ค. ด้าน กมธ.วุฒิสภา มีมติไม่รับเรื่องดีเอสไอสอบ กสทช.

Posted: 19 Aug 2011 03:12 AM PDT

ศาลปกครอง นัดพิพากษา คดีสรรหา กสทช. 22 ส.ค.เวลา 10.00 น. กรณีนายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร (ผู้ฟ้องคดี) กับ คณะกรรมการสรรหา กรรมการ กสทช. ด้าน "สมชาย แสวงการ" เผย กมธ.วุฒิสภา มีมติไม่รับเรื่องดีเอสไอสอบ กสทช.

ไทยรัฐออนไลน์รายงานว่า เมื่อเวลา 10.30 น.วันที่ 19 ส.ค. ที่ศาลปกครองกลาง นั่งพิจารณาคดีครั้งแรก ในคดีหมายเลขดำที่ 1173/2554 ระหว่าง นายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร (ผู้ฟ้องคดี) กับ คณะกรรมการสรรหากรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. (ผู้ถูกฟ้องคดี) เรื่องคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยผู้ฟ้องคดี กล่าวหาว่า ประธานคณะกรรมการสรรหากรรมการกสทช. กับพวก ดำเนินการสรรหา กสทช. โดยไม่โปร่งใส เนื่องจากไม่เสนอชื่อผู้ฟ้องคดี ซึ่งเป็นผู้ได้คะแนนเป็นอันดับ 5 ในสาขาเศรษฐศาสตร์ เมื่อวันที่  25 เม.ย. ต่อประธานวุฒิสภา แต่กลับมีมติคัดเลือกใหม่ในวันที่ 29 เม.ย. และเสนอชื่อนายยุทธ์ ชัยประวิตร เป็นผู้เข้ารอบแทน

นายกฤตยชญ์ ศิริเขต ตุลาการนอกองค์คณะคดีที่เข้าร่วมรับฟังข้อเท็จจริงทั้งหมด ได้แถลงความเห็นในห้องพิจารณาคดีว่า กรณีพิพาทเป็นกรณีการสรรหา กสทช. ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการวางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับกิจการวิทยุกระจาย เสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของรัฐและผลประโยชน์สาธารณะ เมื่อไม่มีกฎหมายยกเว้นให้ประธานคณะกรรมการสรรหา กสทช. ปฏิบัตินอกเหนือจากระเบียบที่ได้กำหนดไว้ จึงไม่อาจใช้ดุลยพินิจดำเนินการ  ดังนั้นการที่ประธานคณะกรรมการสรรหาสั่งให้มีการลงมติคัดเลือกผู้เข้ารอบเพิ่มเติมขึ้นอีกครั้งในวันที่ 29 เม.ย. 2554 จึง เป็นการกระทำที่ขัดหรือแย้งกับเกณฑ์การคัดเลือกที่กำหนดไว้ และเป็นการใช้ดุลยพินิจไม่ชอบ การคัดเลือกในวันดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

การที่ นายจตุรงค์ ปัญญาดิลก ประธานคณะกรรมการสรรหา ทราบดีว่า นายอรรถชัย บุรกรรมโกวิท มีคุณสมบัติต้องห้ามตาม พ.ร.บ. กสทช. เนื่องจากเป็นกรรมการ อสมท เพราะอยู่ในบอร์ดชุดเดียวกัน แต่ไม่แจ้งให้คณะกรรมการสรรหาทราบ อ้างว่าจะเกิดความไม่เป็นธรรมกับนายอรรถชัยนั้น ศาลพิเคราะห์แล้วพบว่าข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวร้ายแรงจนอาจทำให้กระบวนการคัดเลือกเสียไปได้ ดังนั้น การปกปิดข้อเท็จจริงกล่าวถือเป็นการปกป้องผลประโยชน์ของนายอรรถชัย มากกว่าผู้สมัครคนอื่น นอกจากจะผิดต่อหลักความเป็นกลางแล้ว ยังถือเป็นการยกเว้นการกระทำที่ไม่สุจริต และทำให้การคัดเลือกดังกล่าวขัดต่อ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติทางปกครอง รวมถึงการที่ประธานไม่เปิดเผยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับผู้สมัครให้ กรรมการท่านอื่นทราบเพื่อให้ลงมติว่าส่วนตัวมีสิทธิจะลงคะแนนหรือไม่ จึงเป็นการใช้ดุลยพินิจที่ไม่ชอบ และทำให้กรรมการที่เหลือพิจารณาโดยไม่ได้รับข้อเท็จจริงเพียงพอ กระบวนการดังกล่าวจึงไม่ชอบมาแต่ต้น

เมื่อปรากฏผลการลงคะแนนด้านเศรษฐศาสตร์ โดยผู้ถูกฟ้องคดีได้คะแนนเป็นลำดับที่ 5 และการลงคะแนนในส่วนของนายอรรถชัยในลำดับที่ 4 ต้องเสียไปด้วยเหตุบกพร่องในองค์ประกอบที่เป็นสาระสำคัญ จึงถือว่ามีผู้ฟ้องเป็นผู้ได้คะแนนเป็นลำดับที่ 4 สมบูรณ์ด้วยชอบด้วยกฎหมาย ถือเป็นการคัดเลือกที่มีข้อยุติเด็ดขาดแล้ว ดังนั้น การที่คณะกรรมการสรรหาเสนอรายชื่อต่อประธานวุฒิสภา โดยไม่มีชื่อนายสุรนันท์ จึงเป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี ไม่ชอบด้วยกฎหมาย  เห็นว่าสมควรพิพากษาให้เพิกถอนมติเสนอรายชื่อเพิ่มเติมในวันที่ 29 เม.ย. และให้เสนอบัญชีรายชื่อที่มีชื่อผู้ถูกฟ้องคดี ก่อนที่วุฒิสภาจะลงคะแนนคัดเลือก กสทช.

นายไพโรจน์  มินเด็น โฆษกศาลปกครอง ชี้แจงเรื่องคำแถลงดังกล่าว เป็นคำแถลงของตุลาการนอกองค์คณะ ตามกระบวนการพิจารณาคดีของศาลปกครองที่ต้องมีการถ่วงดุลระหว่างตุลาการองค์ คณะกับตุลาการนอกองค์คณะที่เข้าร่วมฟังข้อเท็จจริงในคดี  โดยความเห็นดังกล่าวจะไม่ผูกพันองค์คณะผู้พิพากษาที่จะออกคำพิพากษาในวันที่ 22 ส.ค. นี้ แต่ถ้าองค์คณะผู้พิพากษามีความเห็นต่างจากนี้จะต้องมีเหตุผลชี้แจงให้ชัดเจน

ส่วนการจะล้มกระบวนการสรรหาทั้งหมดได้หรือไม่ ต้องดู พ.ร.บ.กสทช. ที่ระบุชัด ใน ม.15 ว.6 บอกว่ากระบวนสรรหาจะเดินหน้าต่อไปแม้มีการฟ้องร้อง เว้นแต่ศาลปกครองจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ศาลมีอำนาจที่จะอาศัยข้อยกเว้นนี้ได้ โดยในคำพิพากษาวันที่ 22ส.ค.นี้ อาจจะสั่งการในจุดนี้ด้วยขึ้นอยู่ดุลพินิจของศาลเกี่ยวกับการจะให้ชะรอ หรือระงับการดำเนินการสรรหา แต่หลักคือศาลจะต้องพิพากษาตามคำขอ ซึ่งนายสุรนันท์ มีคำขอท้ายฟ้องแค่ให้ส่งชื่อให้เพิกถอนการดำเนินการที่ทำไปแล้ว และให้ชดใช้ค่าะรรมเนียมศาลจึงไม่กระทบต่อกระบวนการสรรหาทั้งหมด

ส่วนการแถลงพาดพิงว่า ประธานคณะกรรมการสรรหา กระทำผิดอย่างร้ายแรงทั้งที่รู้อยู่แล้วว่า มีบอร์ดอสมท เข้ารอบมาด้วย แต่ไม่แจ้งคนอื่นนั้นองค์คณะที่ทำคำพิพากษาอาจจะเห็นด้วยกับความเห็นนี้ หรือไม่ก็ได้ และคู่กรณีคดีนี้หรือคดีอื่น อาจจะหยิบไปอ้างอิงได้ แต่ไม่ใช่แนวคำพิพากษาที่จะต้องยึดตามและให้น้ำหนักอย่างชัดเจน กระบวนการหลังจากนี้องค์คณะตุลาการในคดีนี้จะประชุมและทำคำพิพากษา

กมธ.วุฒิสภา มีมติไม่รับเรื่องดีเอสไอสอบ กสทช.

ด้านโพสต์ทูเดย์รายงานวันเดียวกันว่า (19 ส.ค. 54) นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา เปิดเผยว่า คณะกรรมาธิการตรวจสอบประวัติกสทช. วุฒิสภา มีมติไม่รับเรื่องดีเอสไอเข้าสู่การพิจารณาในกระบวนการตรวจสอบประวัติ เพราะอำนาจหน้าที่นี้เป็นของวุฒิสภา ขณะที่ประเด็นที่ดีเอสไอ ยื่นมาเป็นเรื่องกระบวนการสรรหา จึงได้ส่งเรื่องไปให้เลขาธิการวุฒิสภา ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการสรรหา

นอกจากนี้ ประเด็นต่าง ๆ ที่ดีเอสไอยื่นมา ล้วนเป็นเรื่องที่มีการยื่นฟ้องต่อศาลแล้วทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นจึงเป็นอำนาจของศาลในการวินิจฉัย คณะกรรมาธิการฯไม่สามารถชี้ขาดได้ และได้ดำเนินการตรวจสอบประวัติต่อไป

ส่วนกรณีที่ตุลาการศาลปกครองได้แถลงสรุปคดีเกี่ยวกับกระบวนการสรรหากสทช.นั้น ต้องรอคำสั่งจากคณะตุลาการศาลปกครองที่จะอ่านคำพิพากษาในวันจันทร์ 22 ส.ค.นี้อีกครั้งหนึ่ง วุฒิสภาฯจึงจะมีการพิจารณาเพื่อดำเนินการตามคำสั่งศาลต่อไป

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สมาคมพุทธประทีปแจงข้อเท็จจริงส่งศพไปฝังที่ระยอง

Posted: 19 Aug 2011 02:39 AM PDT

นายกสมาคมพุทธประทีปหลังสวนแจง 165 ศพ ส่งไปร่วมทำบุญกุศลป่าช้าใน จ.ระยอง ไม่เกี่ยวเหตุการณ์ม็อบแดง และการส่งศพปฏิบัติกันมาตามประเพณีหลายปี มีหลักฐานเก็บไว้ชัดเจน

19 ส.ค. 54 - สำนักข่าวไทยรายงานว่า นายสงวน  นิลรัตโนทัย นายกสมาคมพุทธประทีปหลังสวน อ.หลังสวน จ.ชุมพร ชี้แจงกรณีมีข่าวพบศพนับร้อยที่จังหวัดระยองมาจาก จ.ชุมพรว่า ศพดังกล่าวถูกนำไปฝังไว้เพื่อเตรียมงานพิธีล้างป่าช้าที่จะมีขึ้นปี 2555  ของสมาคมพุทธศาสตร์สงเคราะห์ใน จ.ระยอง ซึ่งเป็นสมาคมเครือข่ายกับสมาคมพุทธประทีปหลังสวน หรือที่รู้กันทั่วไปว่าเป็นสมาคมพี่และสมาคมน้อง ที่ผ่านมามีประเพณีปฏิบัติสืบทอดกัน ถ้าจะจัดการล้างป่าช้า หรือกรณีจำนวนศพที่จะล้างป่าช้าในช่วงปีนั้นมีน้อยก็จะนำศพไร้ญาติจากสมาคมในเครือข่ายไปร่วมพิธีด้วยเพื่อสร้างบุญกุศล  และเมื่อหลายเดือนที่ผ่านมาสมาคมพุทธศาสตร์สงเคราะห์ใน จ.ระยอง ได้ติดต่อมายังสมาคมพุทธประทีปหลังสวนที่จัดตั้งหน่วยกู้ภัยเก็บศพที่เกิดจากเหตุการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งอุบัติภัยธรรมชาติ  โดยมีทั้งศพชาวต่างด้าวและบุคคลไม่ทราบชื่อกลายเป็นศพไร้ญาติจำนวน 165 ศพ ที่เคลื่อนย้ายไปที่ จ.ระยอง

นายสงวน กล่าวว่า ช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา มีศพจำนวนมากเก็บไว้ภายในสุสานของสมาคมพุทธประทีปหลังสวน  เพื่อรอญาติหรือรอการดำเนินคดีกรณีมีญาติมาขอตรวจสอบ และเมื่อไม่มีญาติ พอได้ระยะเวลาจะล้างป่าช้า โดยจะแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ทางราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาเผาศพตามพิธีทางศาสนา แล้วจะเก็บเถ้ากระดูกไว้ รวมถึงบันทึกภาพถ่ายรายละเอียดศพไว้ครบถ้วน อีกทั้งขณะนี้สถานที่เก็บศพของสมาคมพุทธประทีปหลังสวนเริ่มเต็ม จึงนำศพส่วนหนึ่งไปร่วมกับสมาคมพุทธศาสตร์สงเคราะห์ที่ระยอง ซึ่งขนย้ายไปเมื่อหลายเดือนที่ผ่านมา และเป็นข่าวมาแล้วครั้งหนึ่ง โดยได้ชี้แจงกับสื่อจนเป็นที่เข้าใจกันเรียบร้อยแล้ว

นายสงวน กล่าวว่า กรณีที่มีการนำศพไร้ญาติไปร่วมในพิธีล้างป่าช้า ตามคำขอของสมาคมพุทธศาสตร์สงเคราะห์ที่ระยองนั้น สมาคมพุทธประทีปหลังสวนได้ขออนุญาตจากทางราชการ และบันทึกภาพถ่ายของศพไร้ญาติเหล่านั้นไว้ทุกศพ ซึ่งเป็นศพที่มีอายุการเก็บยาวนานมาก บางศพเกือบ 10 ปี เรียกได้ว่าแทบจะเหลือ แต่โครงกระดูกแล้ว เป็นศพที่เก็บได้จากหลายสถานที่ เช่น เสียชีวิตกลางทะเลกรณีเกิดภัยธรรมชาติ แต่ไม่ใช่ช่วงเกิดพายุเกย์ เพราะศพจากพายุเกย์ได้ผ่านการล้างป่าช้าไปหลายปีแล้ว ขอยืนยันว่าเป็นศพไร้ญาติเพื่อรอการล้างป่าช้าในปี 2555 เท่านั้น  ทั้งหมดเป็นข้อเท็จจริงที่มีเอกสารยืนยันได้  ไม่ใช่เป็นศพใหม่ในช่วงเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงของกลุ่มคนเสื้อแดง หรือ  นปช. ทั้งสิ้น

ด้าน พ.ต.อ.สุพจน์ บุญชูดวง ผกก.สภ.สวี อ.สวี จ.ชุมพร  อดีต ผกก.สภ.หลังสวน  กล่าวว่า เดือนสิงหาคม 2553 ช่วงขนย้ายศพไร้ญาตินั้น ทางสมาคมพุทธประทีปหลังสวน ได้มีหนังสือขออนุญาตนำโครงกระดูกของศพไม่มีญาติ ไปบำเพ็ญกุศลที่จังหวัดทางภาคตะวันออก แต่จำไม่ได้ว่ามีจำนวนทั้งหมดกี่ศพ  และได้ตรวจสอบแล้วก็พบว่าเป็นโครงกระดูกจริง และมีหนังสือขออนุญาตถูกต้องตามระเบียบจึงลงนามในหนังสืออนุญาตให้ขนย้ายไปได้

“ทราบจากคณะกรรมการสมาคมพุทธประทีปหลังสวนว่า โครงกระดูกทั้งหมดเป็นศพไม่มีญาติที่ถูกฝังไว้ในป่าช้าจำนวนหลายศพ ตามหาญาติไม่พบจนคดีสิ้นสุดอายุความแล้วบ้าง เป็นศพของแรงงานต่างด้าวบ้าง แต่รายละเอียดคิดว่าคงต้องสอบถามที่สมาคมพุทธประทีปหลังสวน เพราะตอนนี้ผมย้ายมาเป็น ผกก.สวีแล้ว จึงไม่มีรายละเอียดอยู่ในมือ”

สำหรับสุสานสมาคมพุทธประทีปหลังสวน ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองหลังสวน เนื้อที่ราว 15 ไร่  ส่วนหนึ่งเป็นสุสานที่ใช้ฝังศพคนไทยเชื้อสายจีนที่เก็บศพบรรพบุรุษไว้ในฮวงจุ้ย อีกส่วนหนึ่งไว้เก็บศพไร้ญาติที่มาจากพื้นที่ต่าง ๆ

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

“บรรหาร” จี้ รมว.เกษตรฯ ดันสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ด้านชลประทานชี้แก่งเสือเต้นแก้น้ำท่วมไม่ได้

Posted: 19 Aug 2011 02:22 AM PDT

“บรรหาร” เปิดบ้านจรัญสนิทวงศ์รับแขกวันเกิดปี 79 จี้ รมว.เกษตรฯ สร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นกั้นแม่น้ำยมป้องกันน้ำท่วม ด้านอธิบดีกรมชลประทานพร้อมเสนอข้อมูลแก่งเสือเต้นต่อนายกรัฐมนตรี ระบุมีเขื่อนแก้ปัญหาน้ำท่วมไม่ได้แค่ชะลอความเสียหายเท่านั้น

ASTV ผู้จัดการออนไลน์รายงานว่า เช้าวันนี้ (19 ส.ค.) นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา เปิดบ้านพักย่านจรัญสนิทวงศ์ รับแขก และทำบุญเนื่องในโอกาสครบรอบวันคล้ายวันเกิด ปีที่ 79 โดยบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก มีบรรดารัฐมนตรี และ ส.ส.ของพรรค เดินทางเข้ามอบกระเช้าดอกไม้อวยพรในวันคล้ายวันเกิดอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ได้พาสมาชิกพรรครัฐมนตรี และ ส.ส.ของพรรค เช่น นายชุมพล ศิลปอาชา รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ เข้าอวยพรวันเกิดนายบรหาร
      
โดย พล.ต.สนั่นกล่าวขอบคุณนายบรรหารที่ให้การช่วยเหลือดูแล และให้คำแนะนำในด้านต่างๆ กับ ส.ส.และรัฐมนตรีของพรรค ซึ่งตนในฐานะตัวแทนขออวยพรให้นายบรรหารมีสุขภาพ พลานามัย ที่สมบูรณ์ มีสติปัญญาประคับประคองคนในพรรคชาติไทยพัฒนา ให้พ้นจากความทุกข์ยากและสามารถบริหารราชการแผ่นดินร่วมกับพรรคเพื่อไทยได้ตลอดรอดฝั่ง
      
ด้านนายบรรหารได้กล่าวขอบคุณกับสมาชิกพรรค และฝากให้ใช้ความพยายามในการบริหารบ้านเมืองให้มากกว่าเดิมเป็น 2 เท่ารวมถึงต้องทำสิ่งที่เกิดประโยชนส์ต่อส่วนรวมอย่างแท้จริง พร้อมกับฝากไปยัง รมว.เกษตรฯ ให้ดูแลเรื่องปัญหาน้ำท่วมด้วย และเรื่องของเขื่อนโดยเฉพาะในส่วนของแม่น้ำยม (เขื่อนแก่งเสือเต้น) ที่ยังไม่มีเขื่อนรองรับน้ำขอให้นำน้ำในแม่น้ำยมตอนบนและตอนล่างเข้ามารวมไว้ด้วยกัน ส่วนกระทรวงท่องเที่ยวฯ อยากจะให้แก้ไขปัญหาเรื่องของตำรวจตรวจคนเข้าเมืองที่อยู่ในสุวรรณภูมิที่พบปัญหาว่าต้องใช้เวลาตรวจสอบนานถึง 2 ชั่วโมง และที่สนามบินภูเก็ตที่ใช้เวลาเช็คอินนาน
      
สำหรับพรรคร่วมรัฐบาลต่างทยอยเดินทางมาอวยพรเช่นกัน โดย นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง ได้เดินทางมาร่วมอวยพรตั้งแต่ช่วงเช้า นอกจากนี้ยังมีบรรดาข้าราชการจาก จ.สุพรรณบุรี พ่อค้า แม่ค้า และประชาชน เดินทางเข้าร่วมอวยพรอย่างต่อเนื่อง โดยในวันนี้ นายบรรหารมีสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส และได้มอบพระพุทธชินราชให้เป็นของที่ระลึก

ชลประทานชี้แก่งเสือเต้นแก้น้ำท่วมไม่ได้

เมื่อวันที่ 18 ส.ค. 54 - สำนักข่าวไอเอ็นเอ็นรายงานว่านายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยหลังจากลงพื้นที่สำรวจความเสียหายจากสถานการณ์น้ำท่วมใน จ.พิษณุโลก ว่าจากกรณีที่มีกลุ่มประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์น้ำท่วม และมีความเคลื่อนไหวต้องการให้มีการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นนั้น ในส่วนของชลประทาน ได้มีการศึกษาข้อมูลในเรื่องดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมที่จะนำเสนอต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ทันที หากมีการร้องขอ

โดยนายชลิต ได้กล่าวยอมรับว่า การสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น มีความขัดแย้งในกลุ่มประชาชนที่คัดค้าน กับกลุ่มที่ต้องการให้มีการก่อสร้าง ซึ่งทางชลประทานก็ได้มีการศึกษาข้อมูลแบบรอบด้าน ทั้งในส่วนของประชาชน ที่จะได้รับผลกระทบ ได้รับความเสียหาย และส่วนที่จะสามารถก่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนในลุ่มน้ำยม อย่างไรก็ตาม อธิบดีกรมชลประทาน ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า การก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ไม่สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วม หรือภัยแล้ง ในเขตลุ่มแม่น้ำยม ได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ทำได้เพียงบรรเทา หรือชะลอความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้เท่านั้น ซึ่งเชื่อว่าจะมีการก่อสร้างเขื่อนหรือไม่นั้น ประชาชนจะเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจของรัฐบาล

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สถานการณ์ (สร้าง) ความหวาดระแวงยังคงมีอยู่..กับบทเรียนเหตุการณ์จลาจลเรือนจำนราธิวาส

Posted: 19 Aug 2011 02:08 AM PDT

เมื่อวันที่ 11-12 สิงหาคม 2554 ได้เกิดเหตุการณ์จลาจลขึ้นในเรือนจำนราธิวาส วันแรกของการก่อเหตุ ในฐานะที่ผู้เขียนเป็นผู้หนึ่งที่เฝ้าดูสถานการณ์อยู่ไกลๆ มองผ่านจากข้างนอกรั้ว ด้านใน รวมตลอดถึงติดตามข่าวสารจากสื่อ ในความรู้สึกตอนนั้น เข้าใจว่าในไม่ช้าทางเจ้าหน้าที่คงจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ทั้งๆที่ผู้เขียนเองก็ยังไม่รู้สาเหตุที่แน่ชัด และยังไม่ทราบสถานการณ์ทีแท้จริงเป็นเช่นไร ที่เข้าใจได้เป็นเช่นนี้เพราะที่เรือนจำแห่งนี้ เคยมีเรื่องลักษณะเดียวกันนี้เมื่อเดือนมิถุนายน 2554 ที่ผ่านมา สุดท้ายก็จบลงได้ด้วยดี

แต่จะอย่างไรก็ดี ในความรู้สึกลึกๆ เป็นห่วงพี่ น้อง หลายคนที่อยู่ในเรือนจำ โดยเฉพาะพี่น้อง ที่เคยให้ความช่วยเหลือด้านคดี และกำลังว่าความช่วยเหลือคดีอยู่ จะเป็นอยู่อย่างไรเมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ เพราะช่วงนี้อยู่ในเดือนรอมฎอน(เดือนถือศิลอด)

ต่อมาในคืนของวันที่ 11 สิงหาคม 2554 ได้ติดตามดูข่าว ปรากฏว่าสถานการณ์ยังไม่สามารถคลี่คลายได้ จึงเริ่มมีคำถามเข้ามามากมายว่า เกิดอะไรขั้น เพราะอะไร และสาเหตุมาจากอะไร สถานการณ์จึงยังไม่สามารถคลี่คลายได้ และก็เริ่มรู้สึกกังวลมากขึ้น และเริ่มมีผลกระทบด้านคดี เนื่องจากคดีที่จำเลยมีนัดสืบพยานหรือนัดฟังคำพิพากษา ไม่สามารถเบิกตัวมาศาลได้

เช้าวันรุ่งขึ้น มีเสียงโทรศัพท์ เข้ามามากมายให้ผู้เขียนเป็นตัวแทนทนายความเดินทางไปเรือนจำนราธิวาส โดยเป็นการเชิญอย่างไม่เป็นทางการ จากหน่วยงานของภาครัฐ ซึ่งมีจากส่วนกลางได้ลงมาเพื่อต้องการทราบและคลี่คลายสถานการณ์  มี พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง อธิบดีกรมราชทัณฑ์ และผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส

เช้าวันนั้น เริ่มรู้สึกเครียดกับการเดินทางไปนราธิวาส พยายามประสานงาน สอบถามความคืบหน้ากับน้องๆ ผู้ช่วยทนายความ ที่สังเกตการณ์อยู่ในพื้นที่บริเวณเรือนจำเป็นระยะๆ เพื่อต้องการข้อมูล ปรากฏว่าไม่มีใครทราบข้อมูลสถานการณ์ที่แท้จริงได้  เริ่มรู้สึกเครียดจึงได้ติดต่อกับประธานมูลนิธิฯขอความเห็นและขอคำแนะนำ ก็ได้รับคำตอบเช่นกันว่า ให้อยู่ในดุลยพินิจจากสถานการณ์ตามความเหมาะสม

เมื่อไปถึงหน้าเรือนจำ เริ่มรู้สึกเครียด เพราะบรรยากาศ บริเวณหน้าเรือนจำตึงเครียดมาก ได้พบกับรองปลัดกระทรวงยุติธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัด อธิบดีกรมราชทัณฑ์และเจ้าหน้าที่อื่นๆ ทั้งทหาร ตำรวจ แต่ที่น่าแปลกใจ ภายหลังการพูดคุย กับฝ่ายเจ้าหน้าที่ ปรากฏว่าทางเจ้าหน้าที่เองก็ยังไม่ทราบข้อมูลว่า ผู้ต้องขังด้านในต้องการอะไร และกระบวนการหลังจากนี้ไป จะทำอย่างไร รู้สึกกังวลที่สุดตอนนั้น เกรงว่า หากต่างฝ่ายต่างไม่รู้ซึ่งกันและกัน สถานการณ์จะยังตึงเครียด จึงได้พยายามวิธีการติดต่อสื่อสารกับผู้ต้องขังให้ได้ ไม่ว่าโดยวิธีใด เพื่อจะได้ทราบข้อเท็จจริง และจุดประสงค์ที่ต้องการ แค่อีกแง่มุมหนึ่ง ก็กลับมีความคิดว่าหากเราทำเป็นการใดๆลงไป เดี่ยวทางเจ้าหน้าที่มองว่าเราเป็นพวกเดียวกันกับผู้ต้องขังอีก แต่แล้วก็พยายามปลดความรู้สึกนั้นไป มุ่งแต่ต้องการให้สถานการณ์กลับคืนมาโดยเร็ว ส่วนเขาจะมองเช่นไรก็เรื่องของเขาเพราะตอนนั้น ขณะช่วยว่าความให้ ก็ยังถูกกล่าวหา เป็นพวกเดียวกันกับผู้ต้องหาคดีความมั่นคง

และแล้วก็สามารถติดต่อกับผู้ต้องขังข้างในได้ สิ่งที่เราได้รับข้อมูล แทบไม่น่าเชื่อว่าข้อมูลที่ได้กับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ด้านนอก มันช่างแตกต่างกัน จากเดิมที่เราคิดว่า ผู้ต้องขังในเรือนจำมีเงื่อนไข ความต้องการและข้อเสนอเป็นจำนวนมาก แต่กลับหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ และเราพอจะทราบมูลเหตุของปัญหา แท้จริงแล้วไม่ได้เกิดขึ้นจากผู้ต้องหาคดีความมั่นคง แต่ภายนอกกลับบอกว่า ผู้ต้องขังคดีความมั่นคง เป็นผู้ก่อเหตุ เพียงแค่ว่าผู้ต้องขังคดีความมั่นคง พยายามควบคุมสถานการณ์ไม่ให้บานปลายมากไปกว่านี้ สิ่งที่เราได้รับคำตอบคือ ผู้ต้องขังด้านในต้องการกลับคืนสู่สถานภาพเดิมโดยเร็วที่สุด เพราะขณะนั้น ไฟฟ้า ประปา ถูกตัดขาด ผู้ต้องขังไม่มีไฟฟ้าใช้ ไม่มีน้ำใช้ ผู้ต้องหาบางคนอยู่ในห้องเรือนนอน ไม่สามารถลงมาด้านล่างได้ แต่จากห้องได้มีการพังผนังห้องที่ 1 เพื่อออกไปอยู่ด้านนอก เพราะทนความอึดอัดไม่ไหว จึงมีการพังห้องออกไป แต่ก็ไม่กล้าออกไปบริเวณด้านนอกอาคาร เพราะผู้ต้องขังเกรงว่าจะถูกลักลอบทำร้ายจากหน่วยพิเศษที่เล็งอาวุธอยู่หลายล้อมอาคารบริเวณเรือนจำ

เมื่อรู้ข้อเท็จจริงว่าสถานการณ์ด้านในเป็นเช่นไร จึงได้ประสานแจ้งกับรองปลัด,อธิบดี เพื่อคลายความกดดันโดยขอให้ทางเจ้าหน้าที่ ต่อกระแสไฟ และน้ำให้กับผู้ต้องขัง และแจ้งเกี่ยวกับสถานการณ์ของผู้ต้องขัง ว่าไม่มีเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น ผู้ต้องขังเพียงเพื่อต้องการกลับสู่สภาพเดิม และไม่ต้องการให้เจ้าหน้าที่ใช้วิธีการที่รุนแรง

หลังจากนั้นจึงเริ่มกระบวนการขั้นตอนเพื่อนำไปสู่การพูดคุย โดยเวลาประมาณ 12.00 น.ได้มีการต่อกระแสไฟฟ้าให้ผู้ต้องขัง และส่งกุญแจห้องโรงนอนที่ถูกล็อกให้เปิดออก โดยในตอนบ่ายได้มีการต่อท่อน้ำประปาเข้าสู่เรือนจำ และได้รับการติดต่อจากผู้ต้องขัง ขอเวลาในการชำระร่างกายและจะส่งตัวแทนพูดคุยกับทางเจ้าหน้าที่ จึงได้แจ้งให้รองปลัด,อธิบดี ทราบ

หลังจากนั้นทางฝ่ายเจ้าหน้าที่เกี่ยวจึงได้มีการกำหนดตัวบุคคลที่จะพูดคุยกับฝ่ายผู้ต้องขัง และจุดที่จะคุย โดยตกลงกันว่า จะพูดคุยที่ประตู 3  หลังจากนั้น เวลาประมาณ 15.40 น.จึงได้มีการพูดคุยกับฝ่ายผู้ต้องขังซึ่งจัดได้ 5 คน มีผู้ต้องขังคดียาเสพติดและคดีความมั่นคง และได้มีการพูดคุยจนเป็นที่เข้าใจในที่สุดว่า ต่างฝ่ายต่างต้องการกลับสู่สภาพเดิม  ฝ่ายผู้ต้องขังก็ต้องการกลับให้เรียบร้อยใช้ชีวิตด้านในเหมือนเช่นปกติ

ฝ่ายเจ้าหน้าที่ก็เช่นกัน ต้องการกลับเข้าสู่การทำงาน และสถานการณ์ให้เป็นปกติ เมื่อมีการพูดคุยก็ปรากฏว่า มีท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส และผม ในนามตัวแทนทนายความได้ยืนพูดคุยกับตัวแทนผู้ต้องขัง ที่ประตู 2 จนสุดท้ายได้ข้อสรุป เป็นที่พอใจ และทางตัวแทนผู้ต้องขังทั้งพุทธและมุสลิม ได้ขอใช้เครื่องกระจายเสียงเพื่อสื่อสารให้ทราบถึงผลการพูดคุยและข้อสรุป พร้อมให้ทุกคนกลับคืนสู่สภาวะปกติ

จากข้อเท็จจริงที่ได้กล่าวสรุปมาทั้งหมดในข้างต้น มูลเหตุของปัญหาใช่เป็นเรื่องของการเรียกร้อง สิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือกำหนดเรื่องไป เพื่อนำไปสู่ความต้องการของแต่ละฝ่ายไม่ หากแต่เป็นขั้นกระบวนการเข้าตรวจค้น ผู้ต้องขังภายในเรือนนอน ซึ่งเป็นกระจกสะท้อนให้ทางฝ่ายเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ควรจะใช้วิธีใด เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ เช่นนี้อีก แต่สิ่งที่กล่าวถึงมากที่สุด และแสดงข้อกังวลว่า เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นกรณีของเรือนจำนราธิวาส ทัศนคติมุมมองของฝ่ายรัฐเอง ทำไมต้องมองที่สาเหตุของปัญหาไปยังผู้ต้องขังคดีความมั่นคง ว่าเป็นผู้ก่อเหตุ และเป็นกระบวนการขั้นตอนของผู้ต้องขังคดีความมั่นคง ทั้งๆที่ทราบสาเหตุของการก่อม็อบจากการตรวจค้นของเจ้าหน้าที่มาจากกลุ่มคดียาเสพติดและผู้ต้องขังคดีอื่นๆไม่ใช่คดีความมั่นคง หรือเพียงเพราะมีเหตุการณ์เกิดขึ้น ผู้ต้องขังคดีความมั่นคง อาจขอเจรจาพูดคุยกับฝ่ายผู้ต้องขังและกับฝ่ายเจ้าหน้าที่ เพื่อให้เหตุการณ์กลับคืนสู่สภาวะปกติ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริง สะท้อนให้เห็นถึงการมีอคติต่อผู้ต้องขังหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคดีความมั่นคง ระหว่างพวกเขากับรัฐ ยังมีช่องว่างและมุมมองทัศนคติ ที่มีต่อกัน ยังต้องใช้ยุทธศาสตร์อื่นๆเพื่อลดช่องว่างดังกล่าว

สวนกลับที่ว่าความหวาดระแวงของทั้งสองฝ่าย จะเห็นได้ว่า ฝ่ายเจ้าหน้าที่เองมองว่าสถานการณ์ภายใน ไม่น่าไว้วางใจ มีวัตถุระเบิดหรืออุปกรณ์อื่นที่ใช้เป็นอาวุธ เพื่อเตรียมก่อเหตุ ส่วนฝ่ายผู้ต้องขังก็มองว่า ฝ่ายเจ้าหน้าที่พยายามสร้างสถานการณ์ให้เห็นว่าผู้ต้องขังเตรียมวางแผนที่จะก่อเหตุ ซึ่งเป็นความหวาดระแวงที่มีอยู่คู่กับปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ หากมองที่ช่องว่าง ระหว่างรัฐกับผู้ต้องขัง แล้วความหวาดระแวงที่เกิดขึ้นที่เรือนจำนราธิวาส ทำให้มองให้ถึงระยะเวลา 7-8 ปีที่ผ่านมากับงบประมาณที่รัฐทุ่มลงไป หลายแสนล้านบาท และชวนให้คิดต่อไปว่าน่าจะลองเปลี่ยนยุทธศาสตร์ใหม่ๆดูบ้างไม่ดีหรือ

นอกเหนือจากการเข้าร่วมโครงการดะวะห์สัญจรกับบุคคลที่ต้องหมายพรก.โดยังไม่ถูกดำเนินคดี จะทำอย่างไรให้รัฐหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมไปพร้อมกับภาคประชาชนหรือกับผู้ต้องขังคดีความมั่นคง เพื่อลดช่องว่างและความหวาดระแวงที่มีอยู่ เพราะอย่าลืมว่าวันสุดท้ายของการต่อสู้คดีตามกระบวนการยุติธรรม ผู้ต้องขังคดีความมั่นคง ส่วนมากศาลพิพากษายกฟ้อง ถูกปล่อยตัวจากถูกคุมขัง และต้องกลับไปใช้ชีวิตเป็นปกติ ต้องเผชิญกับฝ่ายเจ้าหน้าที่ในการใช้ชีวิต ดังนั้น หากช่องว่างและความหวาดระแวง ยังคงมีอยู่ ย่อมยากที่จะแก้ไขปัญหาโดยสันติ หรือทำให้สู่การพูดคุยเพื่อทำความเข้าใจ และตราบใดที่ความหวาดระแวงยังคงมีอยู่ ความรู้สึกว่าความไม่จริงใจก็ยังคงมีอยู่ในจิตใจ ทุ่มงบประมาณอีกหลายหมื่นล้านบาท ก็ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์มากนักกับการที่อยู่ในความรู้สึกหวาดระแวงต่อกัน ดังนั้นรัฐควรจะตีกรอบกลุ่มเป้าหมายให้แคบลง และขจัดความหวาดระแวงให้ตรงจุดกับมูลเหตุของปัญหา การจลาจลที่เรือนจำนราธิวาส เป็นอีกบทพิสูจน์หนึ่งที่สะท้อนให้เห็นสิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ข้างใน ออกสู่ข้างนอกได้ หากทำมาเป็นบทเรียน…

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เต็งเส่งเชิญนักเคลื่อนไหวการเมืองพลัดถิ่นกลับบ้าน

Posted: 19 Aug 2011 02:00 AM PDT

ประธานาธิบดีแต็งเส่งกล่าวระหว่างแถลงข่าวนโยบายเศรษฐกิจต่อสมาคมนักธุรกิจพม่าเชิญนักเคลื่อนไหวการเมืองพลัดถิ่นกลับบ้าน ด้านซูจีเดินทางไปเนปีดอว์ครั้งแรกตามคำเชิญของรัฐบาล

ซูจีเดินทางไปเนปีดอว์ครั้งแรกตามคำเชิญของรัฐบาล

มีรายงานว่า นางอองซาน ซูจีเดินทางออกจากกรุงย่างกุ้งในเช้าวันนี้ เพื่อเดินทางเข้าร่วมการประชุมในหัวข้อเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจตามคำเชิญของรัฐบาล ขณะที่การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นที่กรุงเนปีดอว์ระหว่างวันที่ 19 – 21 สิงหาคม นับเป็นการเดินทางไปกรุงเนปีดอว์ครั้งแรกของนางซูจี

ทั้งนี้ นางซูจีจะเดินทางโดยรถโดยสารพร้อมกับสมาชิกพรรคเอ็นแอลดีบางส่วน และคาดว่าจะเดินทางไปถึงกรุงเนปีดอว์ก่อนที่การประชุมจะเริ่มขึ้นในเวลา 13.00 น.ของวันนี้ “ดอว์ซูจีได้รับจดหมายเชิญจากรัฐบาลเมื่อวันพุธที่ผ่านมา แต่ในจดหมายเชิญไม่ได้ระบุชื่อของซูจีในฐานะเลขาธิการของพรรคเอ็นแอลดี แต่ระบุแค่ชื่อเท่านั้น” นายหน่ายวิน โฆษกของพรรคเอ็นแอลดีกล่าว

อย่างไรก็ตาม ไม่เพียงนางซูจีเท่านั้นที่ได้รับเชิญในครั้งนี้ เพราะยังมีตัวแทนจากพรรคการเมืองอีก 37 พรรค ได้รับเชิญให้เข้าร่วมในการประชุมในครั้งนี้เช่นเดียวกัน ขณะที่มีรายงานว่า นางซูจีมีแผนจะพบปะกับประธานาธิบดีเต็งเส่งในวันนี้ด้วย (Irrawaddy 19 สิงหาคม 54)

เต็งเส่งเชิญนักเคลื่อนไหวการเมืองพลัดถิ่นกลับบ้าน

มีรายงานว่า ประธานาธิบดีแต็งเส่งกล่าวระหว่างแถลงข่าวนโยบายเศรษฐกิจต่อสมาคมนักธุรกิจพม่าที่กรุงเนปีดอว์เมื่อวันพุธ (17 สิงหาคม)ที่ผ่านมาว่า  รัฐบาลใหม่นั้น จะอนุญาตให้องค์กร หรือนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนที่เคยออกมาเคลื่อนไหวทางการมือง เช่นเคยออกมาประท้วง และขณะนี้ลี้ภัยอยู่ในต่างประเทศนับตั้งแต่ปี 2531 สามารถเดินทางกลับประเทศได้ ซึ่งทางรัฐบาลยินดีต้อนรับกลับบ้าน

ประธานาธิบดีเต็งเส่งระบุว่า หากนักเคลื่อนไหวคนไหนต้องการกลับบ้านก็สามารถแจ้งติดต่อมาที่รัฐหรือทางการท้องถิ่ี่นของตัวเอง ซึ่ง  หากนักเคลื่อนไหวไม่ได้กระทำความผิดขั้นรุนแรงก็จะได้รับการผ่อนปรนและเมตตาจากทางการ ประธานาธิบดียังกล่าวต่อหน้านักธุรกิจที่เข้าร่วมงานกว่า 400 คนด้วยว่า จะแก้ไขปฏิรูปเศรษฐกิจและการเมือง และรัฐบาลจะร่วมมือทำงานกับนักเคลื่อนไหวพลัดถิ่นที่เดินทางกลับประเทศ ทั้งนี้ก็เพื่อพัฒนาประเทศให้ดียิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีไม่ได้แสดงความชัดเจนและยืนยันเกี่ยวกับความปลอดภัยของนักเคลื่อนไหว กรณีที่ต้องการเดินทางกลับ ขณะที่เรื่องนี้กำลังสร้างความสงสัยให้กับนักเคลื่อนไหวที่อยู่ในต่างประเทศเป็นจำนวนมากถึงท่าทีของรัฐบาลใหม่ แม้ส่วนหนึ่งจะให้การตอบรับกับสิ่งที่ประธานาธิบดีพูด เพราะเห็นว่า การได้กลับบ้านก็เป็นสิ่งที่นักเคลื่อนไหวพลัดถิ่นทุกคนต้องการ แต่นักเคลื่อนไหวส่วนใหญ่เห็นว่า รัฐบาลควรออกแถลงการณ์อย่างเป็นทางการและมีท่าทีชัดเจนกว่านี้

ขณะที่นักเคลื่อนไหวบางส่วนแสดงความคิดเห็นว่า การออกมาพูดของประธานาธิบดีเต็งเส่งยังดูขัดแย้งกับความเป็นจริง เพราะในขณะที่เต็งเส่งเชิญชวนนักเคลื่อนไหวพลัดถิ่นกลับบ้าน แต่รัฐบาลก็ยังกุมขังนักเคลื่อนไหวและนักโทษทางการเมืองต่อไป ซึ่งหากรัฐบาลนี้มีความจริงใจและทำเพื่อประโยชน์ของประเทศก็ควรปล่อยตัวนักโทษการเมืองสองพันกว่าคนทั้งหมด และใช้แนวทางสันติวิธีเจรจากับชนกลุ่มน้อยและสร้างสงบให้เกิดขึ้นในประเทศ

นักเคลื่อนไหวชาวพม่าที่อยู่ในประเทศไทยบางส่วนยังกล่าวว่า พวกเขาจะเดินทางกลับพม่าก็ต่อเมื่อรัฐบาลสามารถการันตีว่า สิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตยและเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองมีอยู่และสามารถทำได้ในพม่าแล้ว

อย่างไรก็ตาม ในเรื่องนี้ ผู้สังเกตการณ์มองว่า การออกมาเคลื่อนไหวของรัฐบาลครั้งนี้ อาจเชื่อมโยงกับการพิจารณาและการตัดสินใจครั้งสุดท้ายของอาเซียนที่จะมีขึ้นในเดือนหน้านี้ ที่ว่าจะให้พม่าครองเกาอี้ประธานอาเซียนในปี 2557 หรือไม่ และการที่รัฐบาลออกมาประกาศว่ายินดีต้อนรับนักเคลื่อนไหวพลัดถิ่นกลับบ้าน หรือแม้กระทั่งการประชุมร่วมกับนางอองซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านก็อาจเป็นแผนสร้างภาพให้กับรัฐบาล เพื่อให้อาเซียนให้ความเห็นใจก็เป็นได้

ในอีกด้านหนึ่ง มีรายงานด้วยเช่นกันว่า หนังสือพิมพ์ของรัฐบาลThe New Light of Myanmar” และ “The Mirror ยุติตีพิมพ์ข้อความโจมตีสื่อประเทศตะวันตกอย่างสำนักข่าว BBC และ VOA รวมทั้งสื่อพม่านอกประเทศอย่าง DVB และ RFA แล้วเมื่อวันจันทร์ (15 สิงหาคม) ที่ผ่านมา ทั้งที่ก่อนหน้านี้ รัฐบาลพม่ากล่าวหาว่าสื่อเหล่านี้สร้างความเกลียดชัง ความแตกแยกและความรุนแรงในหมู่ประชาชนพม่า (แปลและเรียบเรียงจาก Irrawaddy /Mizzima 17 สิงหาคม 54)

แปลและเรียบเรียงโดย สาละวินโพสต์ "สื่อทางเลือกเพื่อแบ่งปันความเข้าใจสู่เพื่อนบ้าน"อ่านข่าวและบท ความอื่นๆ อีกมากมายได้ที่เว็บไซต์ www.salweennews.org เฟซบุ๊ค http://www.facebook.com/Salweenpost ทวิตเตอร์ http://twitter.com/salweenpost 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น