โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

ความสัมพันธ์ระหว่างทักษิณ-เพื่อไทย-เสื้อแดงที่ไม่ต้องดัดจริต!

Posted: 20 Aug 2011 04:50 AM PDT

ความพยายามแยกทักษิณ-เพื่อไทย-เสื้อแดงออกจากกันมีมาโดยตลอด เช่นแยกว่าทักษิณเป็นบุคคลอันตรายต่อชาติและสถาบัน เขาหลอกใช้คนเสื้อแดงเป็นเครื่องมือกลับคืนสู่อำนาจเท่นั้น คนเสื้อแดงที่ออกมาชุมนุมมาเพราะความยากจน มีปัญหาความเหลื่อมล้ำ ไม่ได้รับความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ หรือไม่ก็เสพติดประชานิยม ถ้ารัฐบาลประชาธิปัตย์และฝ่ายอำมาตย์แก้ปัญหาดังกล่าวให้พวกเขาได้ พวกเขาก็จะลืมทักษิณ พรรคเพื่อไทยก็ควรเล่นการเมืองในสภา ไม่ควรเกี่ยวข้องกับคนเสื้อแดง และทักษิณ จนเกิดวาทกรรม “ข้ามพ้นทักษิณ” เป็นต้น

ทว่าตลอดการต่อสู้ที่ผ่านมา จนกระทั่งการเลือกตั้ง 3 ก.ค.54 การจัดตั้ง ครม.การเคลื่อนไหวเดินทางไปประเทศต่างๆ ของทักษิณ ส.ส.เพื่อไทยใช้ตำแหน่งประกันคนเสื้อแดงที่ถูกขังลืมเป็นต้น ยิ่งสะท้อนความเป็นจริงว่า “ทักษิณ-เพื่อไทย-เสื้อแดง” มีความเป็น “เนื้อเดียวกัน” ที่ไม่อาจแยกหรือตัดขาดจากกันได้

แต่ขณะนี้มีความพยายามจะแบ่งแยกอีกครั้ง ด้วยข้ออ้างที่ว่า ทักษิณยังคงเป็นนักโทษหนีคุกไม่มีความชอบธรรมใดๆ จะเคลื่อนไหวสนับสนุนนโยบายรัฐบาลหรือขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลไทยในการเดินทางเข้าประเทศต่างๆ ขณะเดียวกันเสื้อแดงก็ต้องถอยห่างจากทักษิณและเพื่อไทย เพื่อรักษาแนวทางและอุดมการณ์ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ส่วนรัฐบาลเพื่อไทยนั้นหากหวังว่าจะอยู่ให้ครบเทอม ก็ต้องพยายามไม่เกี่ยวข้องกับทักษิณและกระบวนการเสื้อแดง

โดยความพยายามดังกล่าว ทำให้บางครั้งเราได้เห็นการแสดงออกของทักษิณ เพื่อไทย และคนเสื้อแดงทำนองว่าไม่เกี่ยวข้องกัน หรือพยายามรักษาระยะห่างระหว่างกัน ซึ่งจริงๆ แล้วนั่นเป็นเพียง “การดัดจริต” อย่างหนึ่ง

การพยายามดัดจริตว่าไม่เกี่ยวข้องกัน หรือรักษาระยะห่างระหว่างกัน ทั้งที่จริงๆ เป็นเนื้อเดียวกัน เป็นความพยายามที่เสมือนว่า “จำเป็นต้องพยายาม” เพราะสังคมนี้เป็น “สังคมที่บังคับให้ต้องดัดจริต” และเป็นความจริงว่าใครที่ดัดจริตได้เนียนพวกเขามักได้รับการยอมรับนับถือจากชนชั้นกลางที่มีการศึกษาดี สื่อ นักวิชาการ ที่เป็นเสียงส่วนน้อยในสังคมแต่เสียงดังกว่าคนส่วนใหญ่ เพราะมีต้นทุนทางสังคมสูงกว่า มีช่องทางการส่งเสียงมากกว่า

“สังคมที่บังคับให้ต้องดัดจริต” คือสังคมที่ต้องยอมรับการมีกฎหมายปิดปากประชาชนไม่ให้พูดความจริง (ม.8,ม.112) ประณามสาปแช่ง “ล่าแม่มด” หรือคนที่พยายามพูดความจริง ชื่นชมนับถือคนดีมีศีลธรรมประเภทรู้ที่ต่ำที่สูง รู้อะไรควรพูดไม่ควรพูดตามมาตรฐาน “สมบัติผู้ดี” ที่กำหนดโดยฝ่ายอำนาจนิยม

หากความจริงใดเป็นแง่ลบของผู้มีอำนาจ หรือการกระทำใดๆ ที่เป็นการกระทำที่ผิดศีลธรรมและกฎหมายของผู้มีอำนาจ สังคมนี้รับรู้เสมือนว่าความจริงนั้นไม่ใช่ความจริง เสมือนว่าการกระทำนั้นๆ ไม่ใช่การกระทำที่ผิดกฎหมายและศีลธรรม

แต่ทว่าความจริงใด การกระทำใดที่สังคมนี้มองว่า เป็นความจริงและการกระทำของฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์ต่อผู้มีอำนาจ สังคมนี้ก็จะพยายามขยาย ฉายซ้ำความจริงนั้น หรือประณามสาปแช่ง เรียกร้องให้เอาผิดต่อการกระทำนั้นอย่างชนิดที่ว่า ความจริงและการกระทำนั้นเป็นอันตรายต่อแผ่นดินและความมั่นคงของชาติ

การเกาะติดของสื่อต่อข้อเรียกร้องให้เอาผิดกับทักษิณที่เซ็นชื่อให้เมียซื้อที่ดินให้ต้องถูกนำตัวมาติดคุกให้ได้ ในขณะที่ไม่ทวงถาม เรียกร้องให้ “รัฐบาลใหม่” เร่งรัดเอา “ฆาตกร 91 ศพ” มาลงโทษ และคืนความยุติธรรมแก่ประชาชนที่บาดเจ็บล้มตายจากการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย สะท้อนถึง “อาการป่วยหนักของสื่อ” และอาการป่วยหนักดังกล่าวนี้มันสะท้อนสภาพ “ศีลธรรมดัดจริต” ของสังคมนี้อย่างชัดเจน

ถามว่า หากทักษิณ เพื่อไทย เสื้อแดง มุ่งมั่นที่จะสร้างความเป็นประชาธิปไตย ทำไมจำเป็นต้องเต้นตามเกมของพวกศีลธรรมดัดจริตด้วยเล่า หาก “ความเป็นเนื้อเดียวกัน” ตั้งแต่แรกของทักษิณ เพื่อไทย เสื้อแดง หมายถึง “การร่วมกันต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย” ความเป็นเนื้อเดียวกันดังกล่าวนี้ก็ไม่มีเหตุผลที่ต้องแยกจากกัน

กล่าวคือ หากการเดินหน้าต่อไปของทักษิณ เพื่อไทย และเสื้อแดงภายใต้แนวทางใดๆ ก็ตามไม่ออกนอก “เส้นทางประชาธิปไตย” หรือไม่หลุดออกนอกกรอบความเป็นประชาธิปไตย ทักษิณ เพื่อไทย และเสื้อแดงย่อมมีความชอบธรรมที่จะเป็นเนื้อเดียวกันต่อไป

เพราะมีแต่การเป็นเนื้อเดียวกันบนเส้นทางประชาธิปไตยเท่านั้นจึงจะทำให้เกิดพลังเปลี่ยนผ่านสังคมสู่ความเป็นประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขับเคลื่อนความยุติธรรม 91 ศพ การประกันตัวคนเสื้อแดง คนที่ต้องคดีหมิ่นฯ จากการต่อสู้เพื่อเสรีภาพ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ นิรโทษกรรม ปฏิรูปกองทัพ ฯลฯ

การหงอต่ออำมาตย์มากไป จะทำอะไรก็เกรงอำมาตย์จะไม่พอใจ มันเป็นการเดินตาม “เกมศีลธรรมดัดจริต” พวกอำมาตย์ดัดจริตว่าไม่ยุ่งการเมือง แต่ความจริงคือรัฐบาลที่ประชาชนเลือกต้องฟังพวกเขา ไม่ฟังจะอยู่ยาก

สื่อ นักวิชาการเสียงดังก็ดัดจริตยอมรับว่าระบบแบบนี้เป็นระบบของสังคมประชาธิปไตย หากทักษิณ เพื่อไทย เสื้อแดง เดินตามเกมของพวกเขา สู้ไปกราบไป หรือทำให้การประนีประนอมมีความหมายเสมือนเพียง “การสบยอม” นี่ต่างหากคืออันตรายต่อความก้าวหน้าของประชาธิปไตย คือความสูญเปล่าของการต่อสู้กว่า 5 ปี ที่ผ่านมา

เลิกวัฒนธรรมดัดจริตเสียที ทักษิณ เพื่อไทย เสื้อแดง คือเนื้อเดียวกันภายใต้เส้นทางการเปลี่ยนผ่านสังคมให้เป็นประชาธิปไตย บทบาทและความสัมพันธ์ใดๆ ของทักษิณ เพื่อไทย เสื้อแดง หากอธิบายได้ว่าอยู่ในกรอบกฎหมายและวิถีทางประชาธิปไตย ย่อมเป็นบทบาทและความสัมพันธ์ที่มีความชอบธรรม

และต้องผนึกกำลังกันอย่างเหนียวแน่น แสดงออกอย่างตรงไปตรงมาในทุกเรื่องที่เป็นไปตามหลักการ วิถีทางประชาธิปไตย โดยไม่ต้องดัดจริต  ไม่ต้องหงอต่อพวกศีลธรรมดัดจริตที่พยายามเรียกร้องให้ดัดจริตเนียนๆ เหมือนพวกเขา เพราะเส้นทางข้างหน้ายังยาวไกล อุปสรรคยังมีอีกมาก

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เสื้อแดงชุมนุมครบรอบ 15 เดือนสลายชุมนุม ผู้ค้าย่านราชประสงค์ยื่นหนังสือค้าน

Posted: 20 Aug 2011 04:42 AM PDT

เสื้อแดงชุมนุมครบรอบ 15 เดือนสลายชุมนุมที่แยกราชประสงค์ ด้านผู้ค้าย่านราชประสงค์ยื่นหนังสือค้านชุมนุมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ที่มาภาพ: เฟซบุกของสหายสุดเท่ห์ ผู้ชายฮ่างฮ่าง รักแท้ไม่แคร์สื่อ

เมื่อวันที่ 19 ส.ค. 54 บริเวณราชประสงค์ กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. ได้มีการนัดรวมตัวกันเพื่อจัดกิจกรรมรำลึกเหตุการณ์กระชับพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ทหาร ครบรอบ 1 ปี 3 เดือน จนเป็นเหตุให้กลุ่มคนเสื้อแดงเสียชีวิตในช่วงที่ผ่านมา ล่าสุดยังคงมีกลุ่มคนเสื้อแดงทยอยเดินทางมาอย่างเนื่อง แม้จะมีสายฝนโปรยปรายลงมา โดยการนำของ นางพะเยาว์ อัคฮาด มารดาของ น.ส. กมลเกด อัคฮาด หนึ่งในผู้ที่เสียชีวิต พร้อมด้วยบรรดาเครือญาติที่สูญเสียครอบครัวจากเหตุการณ์ดังกล่าว ร่วมกันจัดงานพิธีรำลึก ซึ่งได้มีการนำเอารูปถ่ายของผู้ที่เสียชีวิตมาวางเรียงรายไว้ พร้อมกับให้กลุ่มผู้ชุมนุมได้แสดงความเคารพต่อผู้ที่เสียชีวิต อย่างไรก็ตามทางกลุ่ม นปช. ยังได้มีการนำรถกระบะมาติดตั้งเครื่องขยายเสียง ทำเป็นเวทีชั่วคราว ให้กับบรรดาตัวแทนกลุ่มคนเสื้อแดงขึ้นขึ้นกล่าวปราศรัยบนเวที สลับกับกิจกรรมการร้องเพลงของศิลปิน ทั้งนี้เนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต อีกทั้งยังเรียกร้องให้รัฐบาลชุดใหม่ เร่งเยียวยาผู้ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ชุมนุม

ขณะเดียวกันได้มีกลุ่มพ่อค้าแม้ค้า ได้นำสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงมาจัดจำหน่าย อาทิ เสื้อยืดสีแดงสกรีนข้อความต่าง ๆ อุปกรณ์ตีนหมวก หมวก เป็นต้น แต่สินค้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ ร่มสีแดง เนื่องจากมีสายฝนโปรยปรายอย่างต่อเนื่อง แต่กลุ่มผู้ชุมนุมก็ยังคงเข้าร่วมกิจกรรมกันต่อไป ดังนั้นจึงต้องหาซื้ออุปกรณ์ป้องกันฝน นอกจากนี้ยังมีการนำแผ่นป้ายหรือข้อความต่าง ๆ ร่วมแสดงออกในเชิงสัญลักษณ์

ส่วนมาตรการรักษาความปลอดภัย ได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองบังคับการตำรวจนครบาล 5 และ 6 จำนวน 1 กองร้อย หรือ 150 นาย คอยดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย ซึ่งทางตำรวจได้มีการวางกำลังเป็นแถวเรียงหน้ากระดาน ตรวจตราบุคคลที่อาจสร้างสถานการณ์ความวุ่นวาย และยังได้มีการประเมินสถานการณ์อยู่เป็นระยะ เพื่อไม่ให้การชุมนุมในครั้งนี้ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนทั่วไป อย่างไรก็ตามยังไม่มีการปิดถนนเกิดขึ้น อีกทั้งตลอดทั้งวันตั้งแต่ช่วงเช้าที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ ยังไม่มีเหตุการณ์ความวุ่นวายเกิดขึ้นแต่อย่างใด และยังไม่ปรากฎแกนนำกลุ่มคนเสื้อใดรายใดเดินทางมาร่วมกิจกรรม

นอกจากนี้การจัดกิจกรรมดังกล่าว เบื่้องต้นมีการกำหนดสถานที่ภายในวัดปทุมวราราม แต่เนื่องจากทางวัดไม่อนุญาตให้กลุ่มผู้ชุมนุมเข้ามาจัดกิจกรรม ทำให้กลุ่มคนเสื้อแดงต้องออกมาดำเนินกิจกรรมตรงบริเวณสี่แยกราชประสงค์แทน ทั้งนี้ทางกลุ่มคนเสื้อแดงจะจัดกิจกรรมจนถึงเวลาประมาณ 23.00 น. ก่อนแยกย้ายสลายตัวกันในที่สุด

ด้านนายชาย ศรีวิกรม์ ตัว​แทน​เครือข่ายรณรงค์ประชาธิป​ไตย​ไม่ละ​เมิด พร้อมด้วยตัว​แทน​ผู้ค้าย่านราชประสงค์ พนักงานบริษัท ​และประชาชนกว่า 100 คน ​ได้ถือป้าย​เดินขบวน​เพื่อ​เรียกร้อง​ให้กลุ่ม​ผู้ชุมนุมทุกกลุ่มหยุด​การชุมนุม สร้าง​ความ​เดือดร้อน​ให้กับประชาชน​และกลุ่ม​ผู้ค้า พร้อม​เข้ายื่นหนังสือ​ถึง พล.ต.อ.วิ​เชียร พจน์​โพธิ์ศรี ผบ.ตร. ผ่าน พล.ต.ต.ประวุฒิ ถาวรศิริ ​โฆษกสำนักงานตำรวจ​แห่งชาติ ​เพื่อขอ​ความชัด​เจน​ใน​การดำ​เนิน​การกับกลุ่ม​ผู้ชุมนุม ​และ​เรียกร้อง​ให้ตำรวจจัด​ให้มี​การประชุม 3 ฝ่ายคือ ตำรวจ กลุ่ม​ผู้ค้า ​และกลุ่ม​ผู้ชุมนุม​เพื่อหาข้อสรุป​และ​ความชัด​เจน​ใน​การชุมนุม รวม​ถึง​การสอบถามว่า​เจ้าหน้าที่ตำรวจจะยอม​ให้มี​การจัด​การชุมนุมทุกวันที่ 19 ของ​เดือน​ในย่าน​เศรษฐกิจ​ได้ตลอด​ไป ​หรือที่ผ่านมา​การชุมนุมสร้าง​ความ​เดือดร้อน​ให้​ผู้ค้า ​และประชาชนบริ​เวณราชประสงค์มาอย่างต่อ​เนื่อง ​ถึงตอนนี้หลายคนยังมีหนี้สิน​เป็นจำนวนมาก​ซึ่ง​เป็นปัญหาที่​เขา​ไม่​ได้ก่อขึ้น​เอง ​จึงขอ​เรียกร้อง​ให้หยุด​การชุมนุม ​ให้​เห็น​ใจ ​และ​เข้า​ใจกลุ่ม​ผู้ค้า​และประชาชน​ในย่านนี้บ้างอย่าซ้ำ​เติม​ให้​เดือดร้อนมาก​ไปกว่านี้ ถ้า​เป็น​การมา​แล้ว​เดินขบวนผ่าน​ไปจะ​ไม่ว่า ​แต่อย่ามาชุมนุมสร้าง​ความ​เดือดร้อน​ทั้งกับธุรกิจ​และ​การจราจร​โดยรอบ อยาก​เรียกร้อง​ให้รัฐบาลจัดหาที่ชุมนุมที่​เหมาะสม​และ​เป็นระ​เบียบ​เรียบร้อย

ที่มาข่าวเรียบเรียงจาก: ไทยรัฐออนไลน์, บ้านเมือง

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เครือข่ายลุ่มน้ำเหนือจี้รัฐทบทวนแผนพัฒนา 25 ลุ่มน้ำ หยุดเขื่อนแก่งเสือเต้น

Posted: 20 Aug 2011 03:54 AM PDT

20 ส.ค. 54 - เครือข่ายลุ่มน้ำเหนือจี้รัฐทบทวนแผนพัฒนา 25 ลุ่มน้ำ หยุดเขื่อนแก่งเสือเต้น ชี้รัฐต้องทบทวนแผนการจัดการลุ่มน้ำทั้ง 25 ลุ่มน้ำ และหันมาผลักดันแนวคิดการจัดการน้ำโดยชุมชน ซึ่งจะเป็นทางออกในการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน รวมทั้งสนับสนุนและผลักดันการจัดการน้ำชุมชน

 

 

 

 



 

แถลงการณ์ ลุ่มน้ำภาคเหนือ

ทบทวนแผนพัฒนา 25 ลุ่มน้ำ หยุดเขื่อนแก่งเสือเต้น

สิทธิชุมชน มาตรา 66 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บุคคลซึ่งรวมตัวกันเป็นชุมชน ชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ย่อมมีสิทธิอนุรักษ์ หรือฟื้นฟู จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ และมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน มาตรา 67 สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการอนุรักษ์ บำรุงรักษา และการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ้มครอง ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อการดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติ และต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อม ที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตน ย่อมได้รับความคุ้มครองตามความเหมาะสม 

            พื้นที่ภาคเหนือ เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน และต้นน้ำสาขาแม่น้ำโขง-สาละวิน  แม่น้ำนานาชาติสายสำคัญของโลก มีความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า มีผืนดินที่เป็นที่ราบระหว่างหุบเขา เนินเขา ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ เหมาะสำหรับการทำการเกษตร มีแหล่งน้ำสายหลักและลำน้ำสาขามากมายหลายสาย และพื้นที่ชุ่มน้ำในที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง เราจึงพบเห็นความหลากหลายของพันธุ์ปลา สัตว์น้ำ นกน้ำประจำถิ่นและนกอพยพ ป่าไม้อันหนาแน่น ทั้งป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ก่อให้เกิดความหลากหลายของพรรณพืชและสัตว์ป่า

            การจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำภาคเหนือของประเทศไทย ได้ยึดตามยุทธศาสตร์การจัดการลุ่มน้ำ 25 ลุ่มน้ำ รวมทั้งนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำ โดยมีคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เป็นองค์กรสูงสุดในการบริหารจัดการน้ำของประเทศ ยังคงเน้นหนักการก่อสร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ำ และการผันน้ำระหว่างลุ่มน้ำ  แม้นโยบายดังกล่าวคาดว่าจะเกิดผลดีต่อประชาชนในภาคเกษตร โดยจะให้มีปริมาณน้ำต้นทุนเพิ่มมากขึ้น เพื่อการอุปโภคและบริโภคและเพื่อการเพาะปลูกได้ตลอดปีในหลายล้านไร่ คาดว่าครัวเรือนเกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มขึ้นและมีความเป็นอยู่ดีขึ้น และประเทศจะสามารถแข่งขันในการเป็นแหล่งผลิตอาหารโลกได้ตามนโยบายรัฐบาล แต่ผลกระทบเชิงลบที่คาดว่าน่าจะเกิดขึ้นในหลายประเด็น คือ

หนี้สาธารณะที่เกิดจากการก่อสร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ำ และโครงการผันน้ำระหว่างลุ่มน้ำซึ่งต้องกู้เงินต่างประเทศผลกระทบของการก่อสร้างและการผันน้ำเหล่านั้นต่อระบบนิเวศในระดับท้องถิ่นและระดับภูมิภาคอย่างกว้างขวาง ผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ผลกระทบต่อสิทธิการใช้น้ำของประชาชนและสิทธิการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและกำหนดนโยบายน้ำขององค์กรท้องถิ่น ผลกระทบต่อปริมาณน้ำต้นทุนของแม่น้ำระหว่างประเทศที่เชื่อมโยงถึงกัน นอกจากการก่อสร้างเขื่อนแล้ว คือ การผันน้ำระหว่างลุ่มน้ำภายในและระหว่างประเทศ ซึ่งในภาคเหนือจะมีการจัดทำโครงการเช่น โครงการกก-อิง-น่าน โครงการผันน้ำแม่น้ำเมย-สาละวิน สู่เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก  นอกจากนี้ยังได้มีโครงการจัดทำระบบชลประทานแบบท่อ เครือข่ายส่งน้ำทั่วประเทศ (National Water Grid System) เป็นต้น

เครือข่ายลุ่มน้ำภาคเหนือ ขอเสนอต่อรัฐบาลดังต่อไปนี้

1 รัฐต้องทบทวนแผนการจัดการลุ่มน้ำทั้ง 25 ลุ่มน้ำ และหันมาผลักดันแนวคิดการจัดการน้ำโดยชุมชน ซึ่งจะเป็นทางออกในการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน รวมทั้งสนับสนุนและผลักดันการจัดการน้ำชุมชน โดยใช้แนวคิดภูมิปัญญาชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่นวางแผนการจัดการน้ำชุมชน โดยคนในพื้นที่มีส่วนร่วมทุกขั้นตอน

2 รัฐต้องยุติการผลักดัน พรบ.น้ำ ที่จะเป็นการรวมศูนย์อำนาจการจัดการน้ำไว้ที่รัฐ และเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจในสิทธิของชาวบ้านและชุมชน ในการจัดการน้ำโดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านร่วมกับภูมินิเวศน์ที่เหมาะสมสอดคล้องกับชุมชนท้องถิ่น

3 รัฐต้องกระจายอำนาจและงบประมาณให้กับชุมชนท้องถิ่น ในการวางแผนระบบการจัดการน้ำโดยชุมชน รวมทั้งสนับสนุนงบประมาณในการฟื้นฟูป่าต้นน้ำและระบบการจัดการน้ำของชุมชนท้องถิ่น และให้สิทธิและอำนาจการจัดการน้ำแก่ชุมชนท้องถิ่น โดยมีกฎหมายรองรับ

4 รัฐต้องจัดตั้งกองทุนผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน และผลกระทบจากภัยเขื่อนแตก รวมทั้งภัยที่เกิดจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ เพื่อช่วยเหลือและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากรัฐภัย

5 รัฐต้องยุติการผลักดัน และยกเลิกโครงการเขื่อนขนาดใหญ่ในประเทศไทย เช่น โครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น โครงการเขื่อนแม่น้ำยม โครงการเขื่อนยมบน จ.แพร่, โครงการเขื่อนแม่วงศ์ จ.นครสวรรค์, โครงการเขื่อนโปร่งขุนเพชร จ.ชัยภูมิ, โครงการเขื่อนแม่น้ำสงคราม จ.สกลนคร, โครงการเขื่อนท่าแซะ โครงการเขื่อนรับร่อ จ.ชุมพร, โครงการเขื่อนลำโดมใหญ่ จ.อุบลราชธานี, โครงการเขื่อนเขื่อนคลองกราย จ.นครศรีธรรมราช, โครงการเขื่อนสายบุรี จ.ปัตตานี เป็นต้น

6 รัฐต้องยอมรับและส่งเสริมการจัดการน้ำโดยชุมชน เคารพต่อภูมิปัญญาชาวบ้านแต่ละท้องถิ่น ที่มีความแตกต่างในการจัดการน้ำของแต่ละชุมชนท้องถิ่น อาทิ ระบบเหมืองฝาย ระบบการเกษตรที่สอดคล้องกับน้ำต้นทุนทางธรรมชาติ ซึ่งเป็นวิถีการผลิตที่ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศน์

7 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ตามที่มีรายละเอียดในแผนการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ซึ่งจัดทำโดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย รวมทั้งแผนการพัฒนาลุ่มน้ำของกรมทรัพยากรน้ำเฉพาะการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก แผนดังกล่าวสามารถแก้ปัญหา การขาดแคลนน้ำได้โดย ใช้งบประมาณ เฉลี่ยแล้วหมู่บ้านละประมาณ 3 ล้านบาทเท่านั้น

8 รัฐต้องส่งเสริมให้ชาวบ้านและชุมชนฟื้นฟูสภาพป่าอย่างเร่งด่วน รวมทั้งฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำ ซึ่งจะทำหน้าที่ในการดูดซับและเก็บน้ำไว้ในฤดูน้ำหลาก อีกทั้งต้องยุติการส่งเสริมการเกษตรที่บุกรุกและทำลายป่า ทำลายพื้นที่ชุ่มน้ำ และสนับสนุนให้ชุมชนได้มีสิทธิในการดูแลรักษาป่าชุมชน สนับสนุนให้ชุมชนปลูกต้นไม้เพิ่มตามศักยภาพและความเหมาะสมของแต่ละชุมชน

9 รัฐต้องแสดงความรับผิดชอบ รวมทั้งเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนที่ผ่านมา อาทิ เขื่อนปากมูล จ.อุบลราชธานี, เขื่อนราษีไศล เขื่อนหัวนา จ.ศรีษะเกษ, เป็นต้น รวมทั้งกรมชลประทาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องทบทวนโครงการเขื่อนขนาดใหญ่ และรับผิดชอบ ต่อกรณีที่เป็นผลพวงจากโครงการพัฒนาโครงการเขื่อนขนาดใหญ่ เพราะมีชาวบ้านมากมายที่ต้องโยกย้ายและเกิดปัญหาตามมามากมายกับคนเหล่านั้น อันเนื่องมาจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ไม่ตอบโจทย์ตามคำที่กล่าวอ้างไว้และยังเป็นปัญหาตามมาจนถึงวันนี้

10 โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ใดๆ ที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน และทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า แร่ ฯลฯ ต้องได้รับความเห็นชอบจากชุมชน รวมทั้งต้องมีการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษาผลกระทบด้านสุขภาพ และผ่านกระบวนการประชาวิจารณ์ที่เป็นธรรม

11 รัฐต้องยุติการผลักดันโครงการเขื่อนขนาดใหญ่ในลุ่มน้ำโขงและลุ่มน้ำสาละวิน รวมทั้งหยุดผลัดดันโครงการผันน้ำ กก อิง น่าน โครงการโขง ชี มูน เป็นต้น

            12 รัฐต้องประสานการร่วมมือในการทำงานกับองค์กรพัฒนาเอกชน ผู้นำชาวบ้าน การกำหนดทิศทางการทำงานร่วมกัน โดยตระหนักถึงระบบนิเวศน์ และภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่นเป็นสำคัญ

13 รัฐต้องทบทวนนโยบายการพัฒนาลุ่มน้ำ ที่เน้นการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ โครงการผันน้ำข้ามลุ่มน้ำ เพื่อการจัดหาน้ำหรือการสร้างแหล่งกักเก็บน้ำ ถือเป็นแนวคิดที่หน่วยงานด้านการจัดการน้ำ ยึดเป็นแนวทางหลักของการบริหารจัดการน้ำตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ด้วยการวิเคราะห์ปัญหาการขาดแคลนน้ำและปัญหาน้ำท่วม เป็นผลสืบเนื่องจากการมีแหล่งเก็บกักน้ำที่ไม่เพียงพอสำหรับเก็บน้ำในช่วงหน้าฝน และไว้ใช้ประโยชน์ในช่วงหน้าแล้ง  

14 รัฐต้องทบทวนนโยบายการส่งเสริมปลูกพืชเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในฤดูแล้ง เพื่อลดปริมาณการใช้น้ำ

ขอแสดงความนับถือ

เครือข่ายลุ่มน้ำภาคเหนือ

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ตำรวจลงพิสูจน์ 169 ศพ “หมอพรทิพย์” เผย "ประชา" ให้เตรียมพร้อมแต่ยังไม่ให้ดำเนินการตอนนี้

Posted: 20 Aug 2011 03:29 AM PDT

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ส่งเจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานร่วมตรวจสอบ 169 ศพ ที่พบในจังหวัดระยอง "หมอพรทิพย์” เผยได้รับโทรศัพท์ รมว.ยุติธรรม สั่งเตรียมพร้อมเรื่องการตรวจพิสูจน์ 169 ศพ นิรนาม แต่ยังไม่ให้ดำเนินการตอนนี้

20  ส.ค. 54 - สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ส่งเจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานร่วมตรวจสอบ 169 ศพ ที่พบในจังหวัดระยอง  ขณะที่ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2  ระบุเป็นศพไร้ญาติ มีเอกสารยืนยันได้

พล.ต.ท.ไถง  ปราศจากศัตรู ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2  รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดระยองสถานที่พบ 169 ศพปริศนาและสงสัยอาจมีศพแนวร่วม นปช.ที่สูญหายไปช่วงเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อปี 2553 รวมอยู่ด้วยว่า  ศพทั้งหมดที่แยกฝังไว้ที่วัด 3 แห่ง ในอำเภอแกลง จังหวัดระยองเป็นศพไร้ญาติ  ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์พายุเกย์ พัดถล่มเมื่อปี 2532 ก่อนนำมาฝังได้ถ่ายรูปเพื่อตามหาญาตินานกว่า 5 ปี แต่ไม่มีญาติมาติดต่อจนศพเน่าเหลือแต่โครงกระดูก ทางจังหวัดชุมพรจึงประสานเพื่อขอนำศพมาฝังไว้  ซึ่งมีเอกสารยืนยันได้อย่างชัดเจน  และมั่นใจไม่มีศพมาฝังเพิ่ม เนื่องจากการฝังศพไร้ญาติ จะมีตัวแทนชาวบ้านและผู้ใหญ่บ้าน เข้ามาร่วมตรวจสอบ

ด้าน พล.ต.ต.ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่าผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ สั่งการให้สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ ส่งเจ้าหน้าที่ร่วมตรวจสอบศพที่พบ เพื่อสร้างความชัดเจนให้เกิดขึ้น

ขณะที่ พล.ต.ท.ชัจจ์  กุลดิลก  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม  ชี้แจงเหตุที่เข้าไปร่วมตรวจสอบศพ 169 ศพปริศนา ว่าเคยได้รับร้องเรียนมีการนำศพไปฝังที่จังหวัดระยองแบบไม่ชอบมาพากล   เมื่อพบว่ามีมูลความจริง  จึงลงพื้นที่ตรวจสอบด้วยตัวเอง  ยืนยันการเข้ามาตรวจสอบ 169 ศพ  ไม่กระทบกับการทำงานในกระทรวงคมนาคม.

“หมอพรทิพย์” เผย รมว.ยธ.สั่งเตรียมพร้อมกรณีตรวจ 169 ศพ

ด้าน พญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม เปิดเผยว่า กรณีของศพนิรนาม 169 ศพ ที่จังหวัดระยอง ตนได้รับโทรศัพท์จาก พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม สั่งการให้สถาบันนิติวิทยาศาสตร์เพียงแต่เตรียมพร้อมไว้  แต่ยังไม่ต้องดำเนินการใด ๆ  โดย พล.ต.อ.ประชา  แจ้งว่า เบื้องต้นจากรายงานของตำรวจตรวจสอบแล้วว่าเป็นศพของสมาคมพุทธประทีปหลังสวน  หากมีข้อสงสัยหรือความวุ่นวายเพิ่มเติมก็อาจมีการสั่งการ

อย่างไรก็ตาม ในวันจันทร์ที่ 22 สิงหาคมนี้ เวลา 10.00 น. ตนได้นัดหมายเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เพื่อสรุปภารกิจ ขอบข่ายหน้าที่ของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ต่อ พล.ต.อ.ประชา โดยเฉพาะเรื่องการจัดระบบตรวจสอบศพนิรนาม หรือศูนย์พิสูจน์ศพนิรนามที่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ผลักดันมาตลอด ซึ่งการทำงานของศูนย์ดังกล่าวนี้เรื่องคนหายจะเป็นเรื่องของตำรวจและกระทรวงมหาดไทย  แต่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์จะดูแลเรื่องตรวจศพ ขณะที่ตำรวจจะทำหน้าที่สืบหาสาเหตุการหายไป นอกจากนี้จะรายงานภารกิจในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ด้วย

พญ.คุณหญิงพรทิพย์ กล่าวอีกว่า เข้าใจว่า จะได้หารือ รายงานให้รัฐมนตรีทราบเรื่องการทำงานของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ที่ไม่ได้เป็นการแย่งงานตำรวจทำ แต่จะเข้าไปช่วยเสริมในส่วนการตรวจศพ  เช่น กรณีที่พบศพจำนวนมากแบบนี้ในต่างประเทศ  กระทรวงยุติธรรมจะเข้าไปตรวจสอบ ดูแลว่า ศพนิรนามจะต้องไม่เผาทิ้ง ต้องมีการพิสูจน์ทราบ ประเด็นคือ ถ้าศพที่พบไม่ใช่ศพของกลุ่มคนเสื้อแดง แล้วมาจากไหน  การตรวจดีเอ็นเอต้องดูสภาพศพและสิ่งแวดล้อม แต่ก็ไม่สามารถบอกได้อย่างละเอียด อาจจะรู้ว่าเป็นใคร หรือหากมีร่องรอยมาก ก็อาจรู้สาเหตุการตาย

เจ้าอาวาสวัดสมอโพรง ยืนยันสมาคมพุทธฯ ขอฝังศพไร้ญาติในวัด ชาวบ้านแห่ไปดู

ความคืบหน้ากรณีศพปริศนาทั้ง 165 ศพ ถูกฝังกระจายที่วัด 3 แห่ง ใน จ.ระยอง นั้น ปรากฏว่าในวันนี้ (20 สค.) ชาวบ้านที่รู้ข่าวต่างพากันทยอยเดินทางไปดูบริเวณที่ฝังศพของวัดทั้ง 3 แห่งอย่างต่อเนื่อง
 
ในส่วนของความคืบหน้าด้านคดีนั้น ทางพนักงานสอบสวน สภ.กร่ำ และสภ.แกลง ได้เริ่มออกสอบปากคำผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องแล้ว โดยในวันนี้เป็นวันแรกที่เริ่มออกสอบปากคำผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งเจ้าอาวาสวัดทั้ง 3 แห่ง ที่อนุญาตให้ฝังศพ  และคณะกรรมการสมาคมพุทธศาสตร์สงเคราะห์ อ.แกลง ที่นำศพมาฝากฝังตามวัด
 
พระกิติโสภณ พิพัฒน์ เจ้าอาวาสวัดสมอโพรง ให้ปากคำกับพนักงานสอบสวน สภ.กร่ำ จ.ระยอง ว่า ได้มีเจ้าหน้าที่ของสมาคมพุทธศาสตร์สงเคราะห์ อ.แกลง เป็นผู้ติดต่อเพื่อขอนำศพจำนวน 36 ศพมาฝังไว้ในวัด โดยอ้างว่าเป็นศพที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์สึนามิในภาคใต้ พร้อมทั้งให้การว่า ก่อนที่จะนำศพมาฝัง ยังได้รับนิมนต์จากสมาคมพุทธศาสตร์สงเคราะห์ อ.แกลง ไปสวดบังสุกุลแก่ศพด้วย
 
ในส่วนของ สภ.กร่ำ ซึ่งรับผิดชอบในการสอบสวนคดี 2 วัด คือวัดคลองตากวา และวัดสมอโพรง ขณะนี้พนักงานสอบสวนได้สอบปากคำผู้ที่เกี่ยวข้องไปแล้ว 10  ราย

ที่มาข่าวเรียบเรียงจาก: สำนักข่าวไทย, กรุงเทพธุรกิจ

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"จิตภัสร์" จี้ "อนุดิษฐ์" เร่งปิดเว็บไซต์หมิ่นสถาบันฯ เปิดเมล์รับเบาะแส

Posted: 20 Aug 2011 03:01 AM PDT

"จิตภัสร์ ภิรมย์ภักดี" ว่าที่รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์จี้ "อนุดิษฐ์" เร่งปิดเว็บไซต์หมิ่นสถาบันฯ เปิดเมล์ให้ประชาชนช่วยแจ้งเบาะแส yeswecan5555@gmail.com

20 ส.ค. 54 - สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์รายงานว่านางสาวจิตภัสร์ ภิรมย์ภักดี ว่าที่รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ในฐานะที่เคยทำงานในกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที ขอขอบคุณ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่เดินหน้าปราบปรามเว็บไซต์หมิ่นสถาบันอย่างจริงจัง เนื่องจากปัจจุบันมีเป็นจำนวนมาก และแพร่ขยายอย่างรวดเร็ว จึงทำให้เกิดข้อสงสัยที่มาที่ไปของเงินสนับสนุน ทั้งเว็บไซต์ในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยเฉพาะผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ รายการทางวิทยุและโทรทัศน์ ทั้งนี้ ยืนยันว่า ไม่ได้แทรกการทำงานของกระทรวงไอซีที และขอให้รัฐมนตรีที่รับผิดชอบหนักแน่น และดำเนินการตามที่ประกาศไว้ และขอให้ประชาชนช่วยเป็นหูเป็นตา หากพบเบาะแส โดยสามารถแจ้งผ่านได้ที่ E-mail: yeswecan5555@gmail.com

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 14 - 20 ส.ค. 2554

Posted: 20 Aug 2011 02:42 AM PDT

 

รมว.แรงงานสั่งการสำรวจปรับค่าจ้างขั้นต่ำ-เงินเดือน ป.ตรี

นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้ปลัดกระทรวงแรงงาน เร่งสำรวจตัวเลขผู้ใช้แรงงาน พร้อมรายได้ของกำลังแรงงานอย่างละเอียดทุกจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อนำมาเป็นฐานข้อมูลในการผลักดันนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน และเงินเดือนผู้จบปริญญาตรี 15,000 บาท หลังพบว่า กระทรวงแรงงานไม่ได้จัดทำไว้ เพื่อนำมาใช้เดินหน้าขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวทันที

หลังการแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภา ระหว่างวันที่ 23-24 สิงหาคมนี้ จากนั้นจะเรียกประชุมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง และภาครัฐ เพื่อพูดคุยกันอย่างตรงไปตรงมา ถึงความจำเป็นในการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ รวมถึงปัญหาอุปสรรคของผู้ประกอบการที่ต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือ

พร้อมยืนยันว่าหากยังมีฝ่ายที่ไม่ เห็นด้วย ก็จะไม่ใช้วิธีการบังคับ แต่จะใช้วิธีพูดคุยด้วยเหตุผล สำหรับการเข้าทำงานที่กระทรวงฯ เป็นวันแรก ซึ่งเดิมกำหนดว่าจะเป็นวันที่ 15 สิงหาคมนี้นั้น เนื่องจากขณะนี้ยังอยู่ในช่วงของการจัดทำร่างนโยบายรัฐบาลที่จะแถลงต่อ รัฐสภาให้แล้วเสร็จ จึงเลื่อนการเข้ากระทรวงฯ ออกไป โดยไม่เกี่ยวกับฤกษ์ยาม เพราะตนเองถือฤกษ์สะดวก คาดว่าจะเป็นช่วงหลังการประชุมสภาฯ ในช่วงบ่ายของวันที่ 17 ส.ค.นี้

(กรุงเทพธุรกิจ, 14-8-2554)

ก่อสร้างกระอัก ต้นทุนค่าแรงขึ้น 8% แต่คนงานขาด-ไซส์งานเปิดศึกชิงคน

 นางสาวศุภิชชา ชัยพิพัฒน์ ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ซีคอน จำกัด เปิดเผยว่า สถานการณ์ตลาดรับสร้างบ้านในช่วงครึ่งปีแรกอยู่ในภาวะชะลอตัว ส่วนหนึ่งเกิดจากความไม่เชื่อมั่นของผู้บริโภค เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและอยู่ในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง ทำให้ชะลอการตัดสินใจสร้างบ้านออกไป เพื่อรอความชัดเจนของรัฐบาลใหม่

โดยรายได้ของกลุ่มซีคอน โฮม ซึ่งประกอบด้วย ซีคอน คอมแพค และบัดเจท โฮม ในช่วง7 เดือนที่ผ่านมามีรายได้ 650 ล้านบาท จากเป้าหมายทั้งปี 800 ล้านบาท โดยตลาดรับสร้างบ้านระดับบนแบรนด์ซีคอนยังพอไปได้ เนื่องจากกลุ่มลูกค้าไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ แต่สำหรับบ้านในระดับกลาง คอมแพคนั้นได้รับผลกระทบ เพราะลูกค้าส่วนใหญ่กู้เงินเพื่อสร้างบ้านกว่า 70% ทำให้เกิดความกังวลต่อรายได้ในอนาคต แต่สำหรับบ้านขนาดเล็กแบรนด์ บัดเจท โฮม ที่เปิดตัวในช่วงต้นปีที่ผ่านมามีกระแสตอบรับที่ดี เนื่องจากมีราคาถูก เริ่มต้น 9 แสน - 2 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งเป็นฐานลูกค้ากลุ่มใหญ่ในตลาด

อย่างไรก็ตามเชื่อว่า ในช่วงครึ่งปีหลังสถานการณ์ตลาดรับสร้างบ้านจะปรับตัวดีขึ้นกว่าครึ่งปีแรก ทั้งจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น ความมั่นคงทางการเมือง นอกจากนี้ ยังมีการจัดงาน รับสร้างบ้าน 2011 ” ระหว่างวันที่ 25-28 สิงหาคมนี้ ที่จะสร้างความคึกคักให้แก่ธุรกิจรับสร้างบ้านรวมถึงยอดขายของบริษัทอีกด้วย

สำหรับปัญหาของต้นทุนของธุรกิจก่อ สร้างนั้น มีอยู่อย่างเนื่อง โดยเฉพาะการปรับขึ้นของราคาวัสดุก่อสร้างและต้นทุนพลังงานตั้งแต่ปีที่ผ่าน มา ส่งผลให้ผู้ประกอบการรับสร้างบ้านได้ทยอยปรับขึ้นค่าก่อสร้างไปแล้วในช่วง ต้นปี อย่างไรก็ตามภาวะของต้นทุนก่อสร้างยังคงกดดันธุรกิจอย่างต่อเนื่อง แต่ผู้ประกอบการยังคงสามารถควบคุมได้ แต่เชื่อว่าภาวะต้นทุนจะกดดันต่อธุรกิจมากขึ้นโดยเฉพาะนโยบายปรับขึ้นค่าแรง ขั้นต่ำของรัฐบาล แม้ว่าในภาคการ ก่อสร้างจะมีแรงงานไร้ฝีมือเพียง 20% แต่การปรับขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำจะไปดันให้ค่าแรง ระดับอื่นๆปรับขึ้นไปด้วย ซึ่งโดยรวมแล้วจะทำให้ต้นทุนของการก่อสร้างปรับขึ้นไม่น้อยกว่า 8% ในช่วงไตรมาส 4 หรือต้นปีหน้า

ทั้งนี้ บริษัทได้วางนโยบายรับมือด้วยการขยายพื้นที่โรงงานพรีแฟบเพิ่มในช่วงก่อน หน้านี้ ผลิตชิ้นส่วนสำเร็จรูปมาใช้ในงานก่อสร้างมากขึ้น รวมถึงเครื่องมือในงานก่อสร้าง เช่น เครื่องพ่นฉาบปู เครื่องพ่นสี เป็นต้น โดยปัจจุบันโรงงานพรีแฟบมีกำลังการผลิตที่ 60 หลังต่อเดือน และสามารถขยายได้ถึง 90 หลังต่อเดือน

ที่ผ่านมา แม้ไม่มีปัญหาปรับค่าแรง 300 บาท ธุรกิจก่อสร้างก็ประสบกับปัญหาขาดแคลนแรงงาน ทำให้ไซน์งานก่อสร้างจำนวนมากปรับขึ้นค่าแรงเพื่อดึงดูดแรงงานให้เข้าทำงาน โดยในส่วนของบริษัทได้ปรับขึ้นให้แก่ผู้จ้างเหมาไปแล้ว 10% แต่ยังขาดแคลนแรงงานอยู่ประมาณ 15% หรือ 350 คน ทำให้งานก่อสร้างล่าช้าออกไปบ้าง ปัจจุบันกลุ่มบริษัทใช้แรงงานประมาณ 1,000 คน ซึ่งการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอาจทำให้มีแรงงานเพิ่มขึ้นบ้าง

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 14-8-2554)

สส.เพื่อไทยหนุนประกันสังคมเป็นหน่วยงานอิสระ

เมื่อวันที่ 14 ส.ค. นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย (พท.) และอดีตกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแก้ไขร่าง พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 กล่าวถึงการผลักดันการแก้ไข พ.ร.บ.ประกันสังคมตามข้อเรียกร้องของผู้ใช้แรงงานว่า ขณะนี้ร่างกฎหมายที่ผ่านสภาผู้แทนราษฎรชุดที่แล้ว ได้ค้างอยู่ที่วุฒิสภาหากต้องการให้พิจารณาต่อ รมว.แรงงาน ต้องยืนยันในที่ประชุม ครม. เพื่อให้ทำเรื่องยืนยันต่อสภาภายใน 60 วัน หาก ครม. ไม่ยืนยันก็ตกไป

นพ.ชลน่าน กล่าวต่อว่า เห็นด้วยที่จะให้สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เป็นหน่วยงานอิสระ เพราะ สปส. ดูแลคนเกือบ 10 ล้านคน ทั้งด้านสุขภาพและชราภาพ จึงมีเงินเยอะ ดังนั้นต้องมีความสะดวกในการบริหารจัดการ หากยังอยู่ในภาครัฐ ก็รู้อยู่ว่าเป็นอย่างไร ไม่คล่องตัว การเปลี่ยนเป็นหน่วยงานอิสระจะทำให้การมีส่วนร่วมมากขึ้น และทำให้มีระบบการตรวจสอบเข้มแข็ง โดยตนจะนำเรื่องนี้เสนอต่อนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีต่อไป

ด้าน น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) กล่าวว่า ในร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมที่ค้างอยู่ในวุฒิสภามีหลายประเด็นที่เป็นประโยชน์กับคน งาน เช่น การเพิ่มสิทธิประโยชน์ หรือบัตรเดียวใช้ได้ทุกโรงพยาบาล จึงควรมีการผลักดันต่อไป โดยรัฐบาลควรยืนยันในร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว ขณะเดียวกันเรื่องการให้ สปส.เป็นหน่วยงานอิสระด้านการบริหารนั้นก็เป็นประเด็นสำคัญที่คนงานต้องการ หากมีการแก้ไขได้ก็ควรรีบดำเนินการ

"เรื่องความเป็นอิสระถือว่าเป็นหัวใจ สำคัญในการแก้ไข เราจะร่วมกันผลักดันต่อไป หากรัฐบาลไม่หยิบยกมาพิจารณา แรงงานก็คงต้องหารือกันและเคลื่อนไหวต่อไป ขณะนี้จำนวนผู้ประกันตนเพิ่มขึ้นทุกวัน แต่โรงพยาบาลคู่สัญญา สปส.กลับมีจำนวนจำกัด ทำให้ผู้ประกันตนจำนวนมากเข้าไม่ถึงการรักษาพยาบาล ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องมีการแก้ไขปัญหา" น.ส.วิไลวรรณ กล่าว

(เดลินิวส์, 15-8-2554)

จัดหางานนครปฐมเตือนแรงงานระวังถูกเอาเปรียบเดินทางเก็บผลไม้ป่า ตปท.

นครปฐม - นายสุวรรณ์ ดวงตา จัดหางานจังหวัดนครปฐมเปิดเผยว่า ช่วงเดือน ก.ค.-ก.ย. ของทุกปีเป็นฤดูกาลเก็บผลไม้ป่า (ลูกเบอร์รี่ประเภทต่างๆ) ของประเทศในแถบยุโรปคือประเทศสวีเดนและประเทศฟินแลนด์ ซึ่งแรงงานไทยนิยมเดินทางไปรับจ้างเก็บผลไม้ป่าดังกล่าว เพื่อหวังสร้างรายได้

ดังนั้น กรมการจัดหางานจึงได้กำหนดมาตรการในการเดินทางไปเก็บผลไม้ป่าในประเทศสวีเดน ไว้ 2 ลักษณะ คือการเดินทางโดยนายหน้าจ้างพาลูกจ้างไปทำงานต่างประเทศซึ่งการเดินทางใน ลักษณะนี้คนงานไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ให้กับรัฐบาลสวีเดน และนายจ้างจะต้องกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ17,730 โครนาสวีเดน หรือประมาณ 77,000 บาท ไว้ในสัญญาจ้างงาน ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายของประเทศสวีเดน

อีกลักษณะหนึ่งคือการเดินทางในลักษณะ ผู้เชิญในต่างประเทศติดต่อกับผู้รับเชิญในประเทศไทยโดยคนหางานจะเดินทางไปใน รูปแบบการแจ้งเดินทางไปทำงานด้วยตนเองซึ่งการเดินทางในลักษณะนี้คนงานจะต้อง รับภาระเสียภาษีรายได้ให้กับรัฐบาลสวีเดน จำนวน 25% ของเงินได้ และนายจ้างต้องเสียภาษีประกันสังคม จำนวน 32% ส่วนการเดินทางไปเก็บผลไม้ป่าในประเทศฟินแลนด์จะเป็นการเดินทางไปทำงานต่าง ประเทศด้วยตนเองในลักษณะผู้เชิญติดต่อกับผู้รับเชิญโดยตรง

อย่างไรก็ตาม ต้องขอแจ้งเตือนคนหางานที่ประสงค์จะเดินทางไปเก็บผลไม้ป่าในประเทศดังกล่าว ได้ทราบถึงหลักเกณฑ์และไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนตัดสินใจเดินทางไปทำงาน เพราะทุกปีที่ผ่านมา มักจะมีคนหางานมาร้องทุกข์ว่าถูกกลุ่มบุคคลชักชวนให้เดินทางไปทำงานและเรียก เก็บเงินค่าบริการและค่าใช้จ่ายจากคนหางานเป็นจำนวนค่อนข้างสูง จากนั้นก็ให้คนหางานแจ้งเดินทางไปทำงานด้วยตนเองซึ่งการเดินทางไปทำงานใน ลักษณะนี้คนหางานต้องรับผิดชอบตนเอง

 (แนวหน้า, 15-8-2554)

ธปท.ไม่ห่วงขึ้นค่าแรง 300บ. หวั่นขาดแคลนแรงงานมากกว่า

นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้สำรวจความเห็นของผู้ประกอบการถึงการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท ซึ่งพบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่เป็นห่วงในเรื่องนี้มากนัก โดยเชื่อว่าจะสามารถปรับตัวได้ แต่ประเด็นที่ผู้ประกอบการมีความกังวลมากกว่า คือ ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในขณะนี้

ทั้งนี้ จากการลงพื้นที่เพื่อสำรวจเศรษฐกิจรายจุลภาคใน จ.นครราชสีมา เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีการจ่ายค่าแรงขั้นต่ำที่เกิน 300 บาทต่อวันอยู่แล้ว ขณะเดียวกันผู้ประกอบการเริ่มนำเครื่องจักรมาช่วยในการผลิตเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพกันมากขึ้น จึงเชื่อว่าการปรับตัวของผู้ประกอบการน่าจะทำได้ดี

"แรงกดดันจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นนั้น เท่าที่สำรวจดูพบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังสามารถส่งผ่านต้นทุนเหล่านี้ไป ยังราคาขายได้ดีอยู่ ดังนั้น แรงกดดันส่วนนี้จึงไม่น่าจะมากนัก ส่วนแรงกดดันต่อเงินเฟ้อก็คงต้องติดตามว่าผู้ประกอบการจะมีการส่งผ่านต้นทุน เหล่านี้ไปยังราคาสินค้าอย่างไร หรือมากน้อยแค่ไหน โดยเบื้องต้น ธปท.ได้ศึกษาผลจากค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันที่กระทบต่อเงินเฟ้อไว้แล้ว เพียงแต่อยากรอรัฐบาลแถลงแผนงานก่อนว่า จะเริ่มเมื่อไร หรือมีผลทั่วประเทศหรือไม่" นายเมธี กล่าว

ด้านนายแล ดิลกวิทยรัตน์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า นโยบายด้านแรงงานที่ควรเริ่มดำเนินการทันทีตามสัญญาที่ไว้หาเสียงไว้ คือ เรื่องการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 ต่อวันทั่วประเทศและการปรับเงินเดือนปริญญาตรีเป็น 1.5 หมื่นบาท โดยเฉพาะค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันทั่วประเทศนั้นแรงงานทั่วประเทศต่างจับตาว่ารัฐบาลชุดใหม่จะทำได้ หรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่พิสูจน์รัฐบาลชุดนี้ ถ้าทำให้เป็นรูปธรรมได้ แรงงานก็จะให้การยอมรับรัฐบาลชุดนี้

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 15-8-2554)

กรมการจัดหางานรื้อระบบดูแลแรงงานต่างประเทศ เล็งเพิ่มโทษ บ.จัดหางาน

นางดวงมน บูรณฤกษ์ รองอธิบดีกรมการจัดหางาน(กกจ.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ปัจจุบันพบว่าปัญหาแรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศมีความซับซ้อนและหลากหลาย มากขึ้น ดังนั้น นางสุทัศนี สืบวงศ์แพทย์ อธิบดีกกจ. จึงมอบนโยบายให้กกจ.ไปดำเนินการปรับปรุงมาตรการป้องกันและดูแลแรงงานไทยที่ ไปทำงานต่างประเทศใน 3 ส่วนหลักได้แก่ 1.จะมีการปรับปรุงระเบียบแนวทางการพิจารณาโทษผู้รับใบอนุญาตจัดหางานเพื่อไป ทำงานต่างประเทศ ซึ่งกระทำผิดในลักษณะต่างๆ เช่น กรณีหลอกลวงแรงงานว่าจะส่งไปทำงานต่างประเทศ แต่ไม่ได้ส่งไปจริงให้มีความเข้มข้นมากขึ้น ขณะนี้กกจ.ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาปรับปรุงระเบียบนี้ ซึ่งแนวทางการพิจารณาเพิ่มโทษเช่น โทษทางทะเบียนซึ่งมีการพักใช้ใบอนุญาต เพิกถอนใบอนุญาต การปรับหรือจำคุกนั้นจะดูว่ามีเจตนากระทำผิดหรือไม่ ลักษณะการกระทำผิดว่ามีความรุนแรงแค่ไหน และการลงโทษนั้นจะพิจารณาเป็นรายกรณีไปตามความเหมาะสม

2.การจัดทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อ รวบรวมข้อมูลแรงงานไทยที่ไปทำงานในประเทศต่างๆทั่วโลกเช่น จำนวนแรงงานไทยในแต่ละประเทศ พื้นที่ที่มีแรงงานไทยพักอยู่ในประเทศนั้นๆ ชื่อ นามสกุล ที่ทำงานและพักอาศัยของแรงงานไทยแต่ละคนที่อยู่ในแต่ละประเทศด้วย เพื่อให้สะดวกในการติดต่อประสานงานและช่วยเหลือแรงงานไทยที่ประสบปัญหาใน กรณีต่างๆเช่น ประสบเหตุภัยพิบัติ จลาจล เนื่องจากกกจ.มีบทเรียนจากกรณีภัยพิบัติสึนามิที่ญี่ปุ่นแล้วไม่สามารถ ติดต่อหน่วยงานในญี่ปุ่นเพื่อสอบถามถึงผลกระทบและให้ความช่วยเหลือ แรงงานไทยได้เลย

3.ปรับปรุงคู่มือการไปทำงานต่าง ประเทศซึ่งจะเพิ่มเนื้อหาในเรื่องค่าบริการและค่าใช้จ่ายว่าบริษัทจัดหางาน สามารถเก็บได้ในเรื่องใดบ้าง รวมทั้งการเตรียมตัวก่อนเดินทางไปทำงานต่างประเทศ เช่น เงิน สุขภาพ การทำงาน ภาษา และ4.การเพิ่มวงเงินค้ำประกันแรงงานไทยให้มากกว่าเดิมซึ่งปัจจุบันสูงสุด อยู่ที่ 5 ล้านบาทและเพิ่มวงเงินสงเคราะห์ของกองทุนช่วยเหลือคนหางานซึ่งปัจจุบันอยู่ ที่ 1.5 หมื่นบาทต่อคนโดยตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาทั้งสองเรื่องนี้ ทั้งนี้ ประเด็นเหล่านี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของกกจ. ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป

การไปทำงานต่างประเทศนั้นไม่ใช่ว่า อยากไปก็ไปได้ จะต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนด แต่ทุกวันนี้พอมีคนบอกว่าถึงคุณสมบัติไม่ผ่านก็ช่วยให้ไปได้ แรงงานไทยก็ยอมจ่ายเงินหลักหมื่นหลักแสนบาททั้งที่รู้ว่าเสี่ยงถูกหลอก เนื่องจากอยากไปทำงานต่างประเทศ จึงขอเตือนแรงงานไทยว่า อย่าไว้ใจใครง่ายๆแม้แต่คนใกล้ชิด และเงินในกระเป๋าใครจะมาล้วงไปได้ ถ้าเราไม่ยอมจ่าย ก่อนจะตัดสินใจจ่ายเงินเพื่อไปทำงานต่างประเทศ ขอให้คิดให้ดีพิจารณาถึงความเสี่ยง ความคุ้มค่า ก่อนตัดสินใจต้องดูว่าเรามีคุณสมบัติถูกต้องหรือเปล่า ถ้าคุณสมบัติไม่ถูกต้องยังไงก็ไปไม่ได้ หากมีข้อสงสัยใดๆเกี่ยวกับบริษัทจัดหางานหรือนายหน้าว่าจดทะเบียนถูกต้อง หรือไม่ก็ควรสอบถามข้อมูลจากสำนักงานจัดหางานจังหวัดหรือกกจ.ก่อนจะจ่ายเงิน ไปนางดวงมน กล่าว

(กรุงเทพธุรกิจ, 15-8-2554)

ปลัดคมนาคมพร้อมเจรจาฝ่ายบริหาร รฟท. ชะลอเลิกจ้างแกนนำสหภาพฯ 7 คน

16  ส.ค. -  นายสุพจน์  ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม  กล่าวภายหลังตัวแทนสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ยื่นหนังสือถึงตนในฐานะประธานกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย  (รฟท.) เกี่ยวกับการเลิกจ้างคณะกรรมการบริหารสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ รฟท.

หลังจากที่ก่อนหน้านี้ศาลแรงงานได้มี คำพิพากษาให้ รฟท. เลิกจ้างกรรมการบริหารทั้ง  7  คน  รวมถึงนายสาวิทย์  แก้วหวาน  ประธานสหภาพฯ และชดใช้ค่าเสียหายจำนวน  15  ล้านบาท ว่า สรส.ได้ยื่นหนังสือขอให้คณะกรรมการ รฟท. เจรจากับฝ่ายบริหาร เพื่อให้ชะลอการเลิกจ้างกรรมการบริหารสหภาพฯ รฟท. ทั้ง  7  คน  เพื่อรอให้คดีตามขั้นตอนของศาลแรงงานกลางถึงที่สุด ซึ่งก็พร้อมจะเจรจากับฝ่ายบริหาร  เพื่อชะลอคำสั่งเลิกจ้างจนกว่าศาลแรงงานจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด  ซึ่งที่ผ่านมายอมรับว่าการพัฒนาและแก้ปัญหาของกิจการรถไฟ สหภาพฯ  ให้ความร่วมมือที่ดี และเชื่อว่าในอนาคตฝ่ายบริหารและสหภาพฯ จะทำความเข้าใจร่วมกันถึงประเด็นที่จะไม่ให้เกิดการหยุดเดินรถที่สร้างความ เดือดร้อนให้กับประชาชนอีก

อย่างไรก็ตาม หากในอนาคตศาลแรงงานมีคำพิพากษาออกมาเช่นไร คณะกรรมการและฝ่ายบริหาร รฟท.ก็คงต้องปฏิบัติ

(สำนักข่าวไทย, 16-8-2554)

ครม.ไฟเขียวขึ้นค่าจ้าง 300 บ./วัน เงินเดือน ป.ตรี 15,000 บาท/เดือนแล้ว

16 ส.ค. 54 - นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องเร่งด่วนที่รัฐบาลต้องดำเนินการ และเตรียมที่จะแถลงนโยบายต่อรัฐสภาในวันที่ 24 ส.ค.นี้ โดยในส่วนของกระทรวงแรงงาน มีเรื่องนโยบายปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน และการเพิ่มเงินเดือนป.ตรี 1.5 หมื่นบาท ซึ่งทั้ง 2 เรื่องถูกบรรจุให้เป็นนโยบายเร่งด่วน โดยเฉพาะในส่วนของค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน จะเร่งดำเนินการทันทีในพื้นที่ที่ประเมินแล้วว่าสามารถทำได้ก่อน จะไม่มีการกำหนดเป็นแผนระยะยาว 3 ปี เพราะมองว่านานเกินไป แม้แต่เป็นแผนระยะ 1 ปีก็ยังล่าช้าไป อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 เรื่องนี้ยังจะต้องหารือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนก่อนที่ จะดำเนินการ
      
ตอนนี้ยังไม่ขอพูดในรายละเอียดในเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท และปรับขึ้นเงินเดือนปริญญาตรี 1.5 หมื่นบาท อยากให้การแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภาเสร็จเรียบร้อยก่อน รวมทั้งจะต้องมีการหารือกับสภาการพัฒนาเศรษฐกิจและสัมคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) เพื่อปรับแผนพัฒนาประเทศให้สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลให้เสร็จเรียบร้อยก่อน วันที่ 6 กันยายนนี้ด้วยนายเผดิมชัยกล่าว
      
ทั้งนี้ รมว.แรงงานจะเข้าทำงานที่กระทรวงแรงงานวันแรกในวันที่ 17 ส.ค.นี้ เวลา 08.00 น.

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 16-8-2554)

เตือนแรงงานระวังถูกหลอกไปเก็บผลไม้ป่าที่สวีเดน-ฟินแลนด์

16 ส.ค. 54 - นางดวงมน บูรณฤกษ์ รองอธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในช่วงเดือน ก.ค.-ก.ย.ของทุกปีเป็นฤดูกาลที่ผลไม้ป่าในประเทศสวีเดนและฟินแลนด์ เช่น ผลเบอร์รี่ออกผลทำให้ช่วงนี้ของแต่ละปีมีแรงงานไทยเดินทางไปเก็บผลไม้ป่าใน ทั้งสองประเทศนี้ทั้งผ่านบริษัทจัดหางานและเดินทางไปเองซึ่งหากเดินทางไป เก็บผลไม้ป่าเองในส่วนของประเทศสวีเดน จะต้องเสียภาษีร้อยละ 25 ของรายได้ ขณะที่ประเทศฟินแลนด์ไม่เสียภาษี ทั้งนี้ แรงงานไทยที่เดินทางไปโดยผ่านบริษัทจัดหางานนั้นในปีนี้ประเทศสวีเดนให้จัด สรรโควตาในการเดินทางไปเก็บผลไม้ป่าโดยออกวีซ่ารองรับให้แก่แรงงานไทยจำนวน 2,300 คน และประเทศฟินแลนด์จัดสรรโควตาออกวีซ่าจำนวน 2,800 คน

รองอธิบดี กกจ.กล่าวอีกว่า กกจ.ได้มีมาตรการดูแลแรงงานไทยที่จะเดินทางไปเก็บผลไม้ป่าที่ทั้งสองประเทศ นี้โดยกำหนดเงื่อนไขให้บริษัทจัดหางานของไทยต้องวางเงินประกันแรงงานไทยกับ ประเทศสวีเดนในอัตรา 5 หมื่นบาทต่อคน และมีการทำสัญญาประกันค่าจ้างขั้นต่ำ 7.7 หมื่นบาทต่อเดือน หากไม่ปฏิบัติตามทั้ง 2 เงื่อนไขนี้ ทางสถานทูตของทั้งสองประเทศนี้จะไม่จัดสรรโควตาออกวีซ่าให้แก่บริษัทจัดหา งานที่ยื่นขอโควตา อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ได้มีการจัดสรรโควตาการไปเก็บผลไม้ป่าของทั้งสองประเ ทศไปหมดแล้วและแรงงานไทยได้เดินทางไปแล้ว
      
ขอเตือนแรงงานไทยว่าหากมีบริษัทจัดหางานชวนไปเก็บผลไม้ป่าทั้งสอง ประเทศนี้ก็ไม่ควรเดินทางไปอีกเพราะอาจจะเสี่ยงต่อการถูกหลอกลวง อย่างไรก็ตาม แรงงานไทยที่ต้องการเดินทางไปเก็บผลไม้ป่าทั้งสองประเทศนี้ควรเตรียมตัวเดิน ทางและติดต่อกับบริษัทจัดหางานตั้งแต่ช่วงเดือนมิ.ย.ของทุกปี เนื่องจากในช่วงเดือน ก.ค.-ก.ย.นั้นเข้าสู่ช่วงเก็บผลไม้ป่าแล้ว หากเดินทางไปในช่วงเดือน ส.ค.ก็ไม่มีประโยชน์ใดๆ นอกจากนี้ แรงงานไทยที่จะไปเก็บผลไม้ป่าควรพิจารณาความพร้อมด้วยร่างกายและสุขภาพด้วย เพราะทั้งสองประเทศมีสภาพอากาศหนาวเย็น ทำให้การแต่งกายต้องมิดชิด และการเก็บผลไม้ป่าต้องใช้วิธีก้มเก็บใต้ต้นซึ่งเหมาะกับคนไทยในบางอาชีพ เช่น ชาวนานางดวงมนกล่าว

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 16-8-2554)

ก.แรงงาน จัดงบ 4.5 ล้าน จ้างงานช่วยผู้ประสบอุทกภัย พร้อมรับมอบปูนจากทีพีไอ 300 ตัน

นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน กล่าวภายหลังปฏิบัติภารกิจแรกในการเป็นประธานพิธีรับมอบปูน จำนวน 300 ตัน จากบริษัททีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน)จากนายประทีป เลี่ยวไพรัตน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัททีพีไอฯ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมโดยปูนที่ได้รับมานี้จะมอบให้แก่ศูนย์และ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานที่มีทั่วประเทศ นำไปใช้ฝึกอบรมช่างก่อสร้างและช่วยเหลือจังหวัดที่ประสบอุทกภัย ในการซ่อมแซมบ้านเรือนประชาชน  ถนน และสาธารณประโยชน์ เช่น วัด โรงเรียนหลังจากน้ำลด
 
รมว.แรงงาน กล่าวอีกว่า กระทรวงแรงงานได้จัดสรรงบประมาณ 4.5 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมในจังหวัดต่างๆโดยการจ้างงานเร่ง ด่วนและพัฒนาทักษะฝีมือ ซึ่งในส่วนของการจ้างงานเร่งด่วนจะจ้างให้ทำงานต่างๆที่เกี่ยวกับสาธารณ ประโยชน์หรือจ้างงานตามความเห็นชอบจากคณะกรรมการระดับจังหวัดโดยผู้เข้าร่วม โครงการจะได้รับค่าจ้างวันละ150 บาทต่อคนในระยะเวลาไม่เกิน 120 วัน
 
นอกจากนี้ สำนักงานประกันสังคม (สปส.)ได้จัดโครงการประกันสังคมเคียงข้างผู้ประกันตนต้านอุทกภัยวงเงิน 1หมื่นล้านบาท เพื่อให้ผู้ประกันตนที่มีภูมิลำเนาในจังหวัดที่ประสบภัยน้ำท่วมกู้เงินไป ซ่อมแซมบ้านรายละไม่เกิน5 หมื่นบาทโดยมีอัตราดอกเบี้ยใน 2 ปีแรกคงที่ร้อยละ 2.5 ต่อปีจากธนาคาร 4แห่งได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)  ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารนครหลวง จำกัด(มหาชน) โดยยื่นกู้และทำนิติกรรมภายในวันที่ 31 ตุลาคมนี้

(แนวหน้า, 17-8-2554)

ซีพีสนองนโยบายค่าแรง-เงินเดือน 1.5 หมื่น

17 ส.ค.54 นายสารสิน  วีระผล  รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวตอบคำถามบนเวทีสัมมนาเรื่องทิศทางประเทศไทยในสถานการณ์ด้านความมั่นคงซึ่งจัดโดยสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) ร่วมกับสมาคมรักษาความปลอดภัยแห่งประเทศไทย ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ ถึงการตอบรับนโยบายขึ้นค่าแรง 300บาท/วัน และเงินเดือนปริญญษตรี15,000 บาท/เดือนว่า

ซีพีไมได้บอกว่าเห็นด้วยไม่เห็นด้วย เพียงแต่บอกว่า 300 บาท ไม่น่าจะเป็นตัวเลขที่เป็นไปไม่ได้ แต่มองอีกแง่ในการแข่งขันของประเทศถ้าบอกว่าแรงงานของเราต้องราคาถูกก็ไม่ ใช่การแข่งขัน เพราะเราจะพัฒนาโดยที่แรงงานราคาถูกแล้วจะไปพร้อมกับการแข่งขันไม้ได้ ดังนั้นเราก็ต้องอยู่ตรงนี้ต่อไปไม่ไปไหนเลย

การแข่งขันเราต้องพัฒนาฐานะของตัว เอง เราต้องพัฒนาคุณภาพบุคลากร รวมทั้งชาวนาด้วย เหมือนชาวนาญี่ปุ่นและเกาหลีเขาไปเที่ยวทั่วโลกได้ แล้วทำไมชาวนาไทยถึงไปไม่ได้ ส่วนเงินเดือน 15,000 บาท นั้นถ้าให้แล้วต้องปรับสภาพให้ดีขึ้น เพราะทำงานแล้วคุณภาพงานของคุณดีก็สามารถจ่าย 30,000 บาทได้

ตัวเลขไม่ได้สำคัญ แต่พนักงานที่ใช้แรงงานเขามีส่วนสำคัญในภาคธุรกิจ ผมยืนยันว่าซีพีไม่ได้เป็นผู้เสนอนโยบายนี้ แต่หากเราเป็นผู้สนองเราก็พร้อมเพราะเราคิดว่าเรามีขีดความสามารถเพียง พอนายสารสิน กล่าว

(คม ชัด ลึก, 17-8-2554)

คสรท.วอน ยิ่งลักษณ์ดัน สปส.เป็นองค์กรอิสระ

นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) เปิดเผยถึงผลประชุมคสรท.เมื่อวันที่ 14 ส.ค.ที่ผ่านมาว่าที่ประชุมได้มีการหารือถึงการผลักดันร่างแก้ไข พ.ร.บ.ประกันสังคม โดยมีเป้าหมายให้สำนักงานประกันสังคม (สปส.)เป็นองค์กรอิสระ ซึ่งก่อนหน้านี้ ขบวนการแรงงานได้มีการล่ารายชื่อเพื่อผลักดันให้แก้ไขกฎหมายตามความต้องการ ของผู้ประกันตน โดยมีผู้ร่วมลงชื่อ 1.5 หมื่นรายชื่อ แต่ภายหลังการตรวจสอบของสภาผู้แทนฯพบว่ามีรายชื่อที่สมบูรณ์ 1.4 หมื่นรายชื่อโดยก่อนที่จะมีการยุบสภาของรัฐบาลชุดที่แล้ว นายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ขณะนั้น ได้ลงนามในการนำเสนอร่างฉบับของผู้ใช้แรงงานนี้

นายชาลี กล่าวอีกว่า ก่อนหน้านั้น รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ได้เสนอร่างแก้ไขพ.ร.บ.ประกันสังคม โดยผ่านชั้นสภาผู้แทนราษฎรไปแล้ว เพราะต้องการแก้ไขประเด็นต่างๆ ตามที่รัฐบาลต้องการก่อนยุบสภา ทำให้ร่างกฎหมายดังกล่าวค้างอยู่ในวุฒิสภา แต่ในประเด็นสำคัญที่ลูกจ้างเสนอให้สปส.เป็นองค์กรอิสระนั้น รัฐบาลไม่ได้เสนอแก้ไข อย่างไรก็ตาม ล่าสุด สภาได้ตรวจสอบรายชื่อผู้ใช้แรงงานที่เสนอแก้ไขกฎหมายเรียบร้อยแล้ว
      
ร่างแก้ไขกฎหมายประกันสังคมที่พิจารณาอยู่ในวุฒิสภานั้น ผู้ใช้แรงงานเห็นว่ายังไม่ได้เป็นดังเจตนารมณ์ของผู้ใช้แรงงานทั้งหมด จึงควรยึดถือร่าง พ.ร.บ.ฉบับของผู้ใช้แรงงานเป็นหลักจะดีกว่า และควรถอนร่าง พ.ร.บ.ฉบับที่อยู่ในการพิจารณาของวุฒิสภาออกมา หรือไม่ก็ปล่อยให้ตกไป หากรัฐบาลไม่ยืนยัน ทั้งนี้ ในวันที่ 18 ส.ค.นี้ คสรท.จะเอาร่างฉบับประชาชนไปยื่นกับน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีที่พรรคเพื่อไทย หากมีการตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ขึ้นมาพิจารณา จะทำให้ผู้ใช้แรงงานมีสัดส่วนเป็นกรรมาธิการถึง 13 คน หรือ 1ใน 3 ของจำนวนกมธ.ทั้งคณะ แตกต่างจากครั้งก่อนที่มีผู้แทนของคนงานเข้าไปเป็นกรรมาธิการเพียง 2 คนประธาน คสรท.กล่าว
      
ประธาน คสรท.กล่าวอีกว่า สำหรับร่างแก้ไขกฎหมายประกันสังคมที่พิจารณาอยู่ในวุฒิสภานั้น ผู้ใช้แรงงานเห็นว่ายังไม่ได้เป็นดังเจตนารมณ์ของผู้ใช้แรงงานทั้งหมด ดังนั้น ควรยึดถือร่างฉบับของผู้ใช้แรงงานเป็นหลักจะดีกว่า และควรถอนร่างในวุฒิออก หรือไม่ก็ปล่อยให้ตกไปหากรัฐบาลไม่ยืนยัน ทั้งนี้ ในวันที่ 18 สิงหาคม คสรท.จะเอาร่างฉบับประชาชนไปยื่นกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่พรรคเพื่อไทย
      
นายชาลี กล่าวด้วยว่า สาระสำคัญของร่างแก้ไขกฎหมายประกันสังคมฉบับผู้ใช้แรงงานเสนอไป นั้นคือ ให้ สปส.เป็นองค์กรอิสระขึ้นอยู่กับสำนักนายกรัฐมนตรี เพราะมองว่าการขึ้นอยู่กับกระทรวงแรงงานหรือระบบราชการทุกวันนี้ ทำให้มีปัญหาเรื่องการตรวจสอบ และที่มาของคณะกรรมการไตรภาคี นอกจากนี้ ควรเพิ่มบอร์ดฝ่ายลูกจ้างและนายจ้างจากฝ่ายละ 5 คน เป็น 8 คน เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างกว้างขวางขึ้น ส่วนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิควรมาจากการสรรหา แทนที่จะมาจากการแต่งตั้งของรัฐมนตรีซึ่งกลายเป็นระบบพวกพ้องมากกว่า เช่นเดียวกับคณะกรรมการแพทย์ควรมีภาคแรงงานและนายจ้างเข้าไปนั่งรับรู้ด้วย แทนที่จะมีแพทย์อย่างเดียวเพราะอาจจะมีการแอบแฝงในเรื่องผลประโยชน์ได้
      
อนาคตกองทุนประกันสังคมจะเติบโตมากกว่า 9 แสนล้านบาท หากได้คนดีเข้าไปทำงานจะทำให้มีผลประโยชน์กลับถึงผู้ประกันตนมากขึ้น แทนที่จะให้อยู่ในมือราชการ เพราะกองทุนนี้ไม่ใช่เงินของราชการ สิ่งที่ คสรท.ทำ คือ ต้องการให้ทุกภาคส่วนช่วยกันตรวจสอบดูแล เราไม่รู้ว่าคนมีอำนาจวันนี้จะเอาเงินของเราไปใช้หรือไม่นายชาลี กล่าว

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 17-8-2554)

ส.อ.ท.ขอ 4 ปีขึ้นค่าแรง 300 บ.แบบขั้นบันได เอกชนเตรียมลดคน-เลิกสวัสดิการ

 นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ส.อ.ท.เตรียมข้อมูลเพื่อหารือกับรัฐบาลถึงนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน ที่รัฐบาลเตรียมผลักดันในเร็วๆนี้โดยจะขอให้มีการทยอยปรับขึ้นแบบขั้นบันได ภายใน 3-4 ปี โดยผ่านการพิจารณาจาก คณะกรรมการไตรภาคีทั้งในระดับจังหวัดและส่วนกลาง ปราศจากแรงกดดันหรือการแทรกแซงจากภาคการเมือง นอกจากนี้ควรนำปัจจัยเรื่องค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ เป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาด้วย
      
"ส.อ.ท.จะชี้แจงข้อมูลผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ต่อคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ การพาณิชย์และอุตสาหกรรม วุฒิสภา ในการสัมมนาเรื่องดังกล่าววันที่ 19 สิงหาคมนี้ พร้อมกันนี้ต้องการให้รัฐบาลต้องหาแนวทางช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผล กระทบถึงขั้นอาจปิดกิจการ หรือเลิกจ้างแรงงานที่เป็นรูปธรรม พร้อมทั้งสนับสนุนการพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จริงๆ"นายพยุงศักดิ์กล่าว
      
แหล่งข่าวจากส.อ.ท.กล่าวว่า ส.อ.ท.ได้เตรียมข้อมูลที่จะเสนอต่อรัฐบาลถึงผลกระทบต่อการขึ้นค่าจ้างแรงงาน ขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันทั่วประเทศแล้ว โดยผลสำรวจพบแนวทางของภาคเอกชนที่จะต้องปรับตัวสำคัญคือ การนำเทคโนโลยีเครื่องจักรมาผลิตแทนคนเพิ่มขึ้นกรณีที่มีเงินทุนเพียงพอ การบริหารลดต้นทุนต่างๆ เช่น ต้นทุนวัตถุดิบ ขนส่ง ลดการจ้างงานและพัฒนาผลิตภาพแรงงานที่มีอยู่ให้ทำงานได้หลากหลาย และที่สุดลดกำลังการผลิต และชะลอการลงทุน โดยอาจย้ายไปยังประเทศเพื่อนบ้าน
      
นอกจากนี้ผลกระทบอื่นๆที่ตามได้แก่ ผู้ประกอบการอาจลดหรือยกเลิกสวัสดิการที่เคยให้กับพนักงานอาทิเช่น ค่าครองชีพ ค่าอาหาร ที่พัก รถรับส่ง เงินกู้ ชุดฟอร์ม ทุนการศึกษา เป็นต้น โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและเล็ก(เอสเอ็มอี) ขณะเดียวกันอาจมีการลักลอบการจ้างแรงงานผิดกฏหมายมากขึ้นเพื่อลดต้นทุนส่งผล ต่อความมั่นคงของประเทศ ซึ่งผลกระทบระยะยาวจะทำให้การลงทุนในประเทศลดลง
      
สำหรับอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรง อาทิ อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม อาหาร รองเท้า เฟอร์นิเจอร์ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก(เอสเอ็มอี)ซึ่งใช้แรงงานกล่ว 10 ล้านคน

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 17-8-2554)

นักวิชาการชี้ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำก้าวหน้าทำได้

นายอนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในอัตราก้าวหน้า สามารถทำได้ หากคุมอัตราเงินเฟ้อได้ ซึ่งการขึ้นค่าจ้าง จะช่วยกระตุ้นอำนาจซื้อการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและการลงทุนให้เพิ่มขึ้น และทำให้แรงงานนอกระบบมีรายได้เพิ่มขึ้นด้วย แต่การเพิ่มค่าจ้าง จะต้องพิจารณาในหลายมิติ ทั้งความจำเป็นในการดำรงชีวิต ค่าตอบแทนฝีมือการทำงาน และความสามารถในการจ้างงานของนายจ้าง ทั้งนี้มองว่า การขึ้นค่าจ้างในช่วงนี้มีความเหมาะสม เพราะอยู่ในช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัว และอัตราการว่างงานต่ำ โดยการปรับขึ้นค่าจ้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จะมีผลต่อการว่างงานเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.16

อย่างไรก็ตามมองว่า การปรับขึ้นค่าจ้างจะไม่ส่งผลให้ถึงกับขั้นต้องปิดกิจการ แต่ทำให้ต้นทุนปรับเพิ่มขึ้น ภาครัฐควรมีมาตรการดูแลผู้ที่มีผลกระทบ

(ไอเอ็นเอ็น, 18-8-2554)

ครสท.ยื่นนายกฯ เร่งผ่าน พ.ร.บ.ประกันสังคม

18 ส.ค. 54 - ที่พรรคเพื่อไทย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ยื่นหนังสือถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้มีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่...) พ.ศ.... ซึ่งนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ เลขาธิการพรรคเพื่อไทยเป็นผู้แทนรับมอบหนังสือ ทั้งนี้ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยเห็นว่า หากร่างพระราชบัญญัติที่เสนอโดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งกว่า 14,000 คน ได้บังคับใช้เป็นกฎหมายแล้วจะส่งผลดีต่อประเทศชาติและประชาชนเป็นอย่างมาก
      
โดยสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีการกำหนดให้สำนักงานประกันสังคม มีฐานะนิติบุคคลสังกัดกระทรวงแรงงานเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจ อยู่ในกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี กำหนดให้เลขาธิการสำนักงานมาจากกระบวนการสรรหา มีคุณสมบัติตามที่กำหนด กำหนดให้มีคณะกรรมการการลงทุนชัดเจน โดยมีองค์ประกอบ คุณสมบัติ กระบวนการได้มาเป็นไปตามนโยบายและแผนการลงทุนที่คณะกรรมการประกันสังคมเห็น ชอบอย่างมีประสิทธิภาพ กำหนดให้ผู้ประกันตน นายจ้าง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีสิทธิรับรู้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการประกัน สังคมและส่งเงินสบทบ รวมทั้งแก้ไขหลักเกณฑ์ผู้ประกันตนมีสิทธิรับบริหารทางการแพทย์ทุกกรณีในสถาน พยาบาลทุกแห่งที่มีข้อตกลงกับสำนักงานประกันสังคม เพิ่มเติมประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายให้ รวมถึงค่าใช้จ่ายส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคและการตรวจสุขภาพประจำปี

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 18-8-2554)

ภาคเอกชน พอใจ รัฐบาลปรับขึ้นค่าแรง 4 ปี โดยใช้กลไกคณะกรรมการไตรภาคี

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เพื่อทำความเข้าใจเรื่องปรับขึ้นค่าแรง 300 บาทต่อวัน ตามนโยบายของรัฐบาล
ชุดใหม่ ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี รับฟังข้อเสนอของภาคเอกชน ที่ขอให้มีการปรับขึ้นราคา โดยพิจารณาผ่านกลไกของคณะกรรมการไตรภาคี และเป็นการทยอยปรับ 300 บาทต่อวัน ในระยะเวลา 4 ปี โดยภาคธุรกิจที่มีความพร้อมก็ให้ปรับขึ้นไปก่อน อย่างไรก็ตาม จะต้องมีการหารือร่วมกันอย่างเป็นทางการอีกครั้งภายใน 1 - 2 สัปดาห์นี้

(ไอเอ็นเอ็น, 18-8-2554)

ส.อ.ท.แนะทุ่มงบแจกคูปองแรงงานพื้นที่ค่าจ้างต่ำ

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยในงานสัมมนาเรื่องค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท : เศรษฐกิจไทยล้มครืนหรือยืนได้ว่า ต้องการให้ผู้ประกอบการรายใหญ่บางรายที่สนับสนุนนโยบายการขึ้นค่าจ้างขั้น ต่ำแบบก้าวกระโดดวันละ 300 บาท รวมถึงหน่วยงานราชการ และรัฐวิสาหกิจ นำร่องในการปรับเพิ่มค่าจ้างไปก่อนเนื่องจากมีความสามารถในการบริหารจัดการ ได้ แต่ภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ยังยืนยันที่จะให้รัฐบาลทยอยปรับค่าจ้างทั่วประเทศ ภายใน 3-4 ปี เพื่อให้โอกาสผู้ประกอบการโดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่มีต้นทุนการผลิตสูงได้ปรับตัว

แนวโน้มค่าแรงมีทิศทางที่สูงอยู่ แล้วแต่จะให้ปรับแบบก้าวกระโดดทันทีนั้นผู้ประกอบการส่วนใหญ่คงปรับตัวไม่ ทัน เนื่องจากความสามารถในการจ่ายจะแตกต่างจากภาครัฐที่สามารถนำภาษีมาจ่ายได้ รวมถึงรัฐวิสาหกิจและกิจการขนาดใหญ่ที่ออกมาให้การสนับสนุนการปรับค่าแรงแบบ ก้าวกระโดด ซึ่งกลุ่มนี้ก็มีกำไรในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก จึงไม่มีปัญหา เพราะจ่ายขั้นต่ำเกิน 300 บาทอยู่แล้ว ที่สำคัญยังได้อานิสงส์จากนโยบายลดภาษีนิติบุคคลจาก 30% เหลือ 23% ”

ผู้สื่อข่าวรายงานระหว่างการเปิด โอกาสในการแสดงความคิดเห็นมีผู้ประกอบการได้เสนอให้รัฐบาลควรใช้งบประมาณนำ มาอุดหนุนแก่แรงงานในจังหวัดที่มีรายได้ต่ำ เช่น ให้คูปองค่ารถ ค่าอาหาร และค่าที่พักอาศัย ให้กลุ่มเหล่านี้สามารถลดภาระค่าใช้จ่ายประจำวัน แล้วเปลี่ยนนโยบายขึ้นค่าจ้างแบบกระโดดเป็นทยอยปรับค่าจ้างผ่านคณะกรรมการ ไตรภาคี เพราะหากปรับแบบก้าวกระโดดจะทำให้เศรษฐกิจต้องปั่นป่วนและค่าครองชีพสูงจน แรงงานก็ไม่ได้รับประโยชน์อะไรเลย

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า รัฐบาลพรรคเพื่อไทยต้องรับฟังทุกฝ่ายก่อนที่จะประกาศขึ้นค่าแรง หรือต้องถอยตัวเองออกมา 1 ก้าว เพื่อหาช่วงที่เหมาะสมในการขึ้นค่าแรงไม่ใช่เดินหน้าผลักดันให้ได้ 300 บาท เพราะอาจจะเกิดความขัดแย้งกันระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง และนักการเมือง จนทำให้ประเทศได้รับความเสียหายได้

ทุกฝ่ายต้องร่วมกันหาทางออกให้แก่ รัฐบาลในการหาเวลาที่เหมาะสมที่จะปรับขึ้นค่าจ้าง ขณะเดียวกันนักการเมืองก็ไม่ควรที่จะนำนโยบายลักษณะนี้ที่มีตัวเลขมาแล้ว ต้องทำให้ได้มาหาเสียง เพราะยิ่งทำให้เกิดความขัดแย้งกันมากขึ้น ที่สำคัญแนวโน้มของค่าจ้างในอนาคตก็มีทิศทางที่สูงอยู่แล้ว ซึ่งอาจอยู่ในระดับไม่ต่ำกว่า 400-500 บาทต่อวัน

นายณรงค์ เพชรประเสริฐ อาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เห็นด้วยกับนโยบายปรับขึ้นค่าแรงเพราะจะทำให้ลูกจ้างมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงสามารถที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศได้ โดยในปัจจุบันสัดส่วนของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีพีดี) คาดว่ากว่า 50% มาจากการบริโภคและการบริโภคส่วนใหญ่มาจากลูกค้าของภาครัฐ และภาคเอกชนกว่า 17-18 ล้านคน

ยอมรับว่าค่าจ้างของลูกจ้างไทยยัง ต่ำกว่าหลายๆ ประเทศ โดยสิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลี สูงกว่าไทย 5-8 เท่าตัว ส่วนมาเลเซีย สูงกว่าไทย 2-3 เท่า ขณะที่แรงงานไทยพบว่าจำนวน 60% มีค่าจ้างเฉลี่ยที่ 5,600 บาทต่อเดือน

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของเอสเอ็มอีที่มีปัญหาแน่นอนหากรัฐบาลประกาศปรับขึ้นค่าแรง 300 บาทต่อวันทั่วประเทศ ดังนั้นเอสเอ็มอีอาจใช้วิธีการนำสวัสดิการต่างๆ มารวมกับค่าจ้างก็ได้ เช่นค่าอาหาร ที่พัก ค่ารถ เป็นต้น

นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับผู้บริหารกระทรวงว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้นำร่างนโยบายรัฐบาลในภาคอุตสาหกรรม 10 ข้อ ที่รัฐบาลจะแถลงต่อรัฐสภาในสัปดาห์หน้ามาพิจารณา โดยนโยบายของรัฐบาลใหม่ทุกข้อมีอยู่ในแผนงานของกระทรวงอุตสาหกรรมอยู่แล้ว เช่น การสร้างความเข้มแข็งให้กับเอสเอ็มอี การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้มอบหมายให้แต่ละกรมไปจัดลำดับแผนงานให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล มากขึ้น และถ้างานส่วนใดยังไม่มีก็ให้เพิ่มแผนงานเข้ามาเพื่อเสนอ น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.อุตสาหกรรม ขณะนี้กระทรวงยังไม่แน่ใจว่างบประมาณปี 2555 จะต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลใหม่หรือไม่

(บ้านเมือง, 20-8-2554)

รัฐบาลดีเดย์ ม.ค.55 ขึ้นค่าแรง 300บ. คนจนเฮรถไฟรถเมล์ฟรีถึงสิ้นปี-บีทีเอสใต้ดิน 20 บ.

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ เปิดเผยในงาน มหกรรมครบเครื่องเรื่องธุรกิจ SME ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ถึงเรื่องการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาท/วัน ว่า ขั้นตอนการเพิ่มค่าแรงหลังจากแถลงนโยบายต่อรัฐสภานั้น ขั้นที่ 1 รัฐบาลในฐานะผู้ว่าจ้างรายใหญ่ จะดำเนินการเรื่องนี้ทันที ไม่ว่าจะเป็นองค์กรรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ โดยดำเนินการได้เลยในเดือน ม.ค.ปี"55 ควบคู่ไปกับการลดภาษีนิติบุคคลให้กับภาคธุรกิจ ขั้นที่ 2 ภาคเอกชนในหลายองค์กรหลายบริษัทขนาดใหญ่ ก็รับปากที่จะดำเนินการให้แรงงานมีรายได้ไม่น้อยกว่า 300 บาท/วันเช่นเดียวกัน ไม่ว่าส่วนของไตรภาคีจะดำเนินการหรือไม่ก็ตาม ซึ่งแรงงานที่มีรายได้เพิ่มขึ้นก็จะทำให้มีกำลังซื้อเพิ่มมากขึ้นและส่งผล หมุนเวียนกลับมาที่ระบบเศรษฐกิจ ทำให้องค์กรหรือบริษัทอื่นๆ มีรายได้เพิ่มขึ้นและปรับค่าแรงเพิ่มขึ้นด้วย ไตรภาคีก็จะดำเนินการปรับค่าแรงควบคู่ไปด้วย และเชื่อว่าภายในระยะสั้น ผู้ใช้แรงงานทั้งระบบจะมีรายได้ต่อวันไม่น้อยกว่า 300 บาท ในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบต่ออายุรถเมล์ และรถไฟฟรี ไปจนถึง 31 ธ.ค.54 ในสัปดาห์หน้า หลังจากหมดอายุโครงการไปเมื่อ 30 มิ.ย.54 ส่วนจะใช้เป็นมาตรการถาวรหรือไม่นั้นคงต้องหารือกับกระทรวงคมนาคม โดยขณะนี้มีประชาชนผู้มีรายได้น้อยมาใช้บริการรถเมล์ฟรีประมาณ 4.5 แสนคน/วัน รถไฟฟรี 5 หมื่นคน/วัน คาดว่ากระทรวงการคลังต้องชดเชยค่าใช้จ่ายให้ทั้ง 2 หน่วยงาน ประมาณ 310 ล้านบาท/เดือน

ส่วนโครงการดอกเบี้ย 0% สำหรับบ้านหลังแรก และลดภาษีสรรพสามิต 1 แสนบาทให้กับรถยนต์คันแรกนั้นคงต้องรอให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีตัดสินใจว่าจะทำหรือไม่ และจะดำเนินการอย่างไร

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พลังงาน กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาทำบัตรเครดิตพลังงาน โดยในหลักการบัตรเครดิตพลังงานไม่จำเป็นต้องกู้เงิน หรือใช้วงเงินส่วนอื่นมาช่วยเหลือ แต่เป็นการใช้เครดิตของผู้ประกอบการเหมือนการทำบัตรเครดิตทั่วไป ซึ่งมีการรูดราคาน้ำมันล่วงหน้าแล้วไปจ่ายในทุกๆ สิ้นเดือน ทั้งนี้ เป้าหมายกลุ่มที่จะเข้าไปช่วยเหลือจะเน้นรถสาธารณะ ได้แก่ แท็กซี่ มอเตอร์ไซค์ และรถตู้สาธารณะ ในอนาคตจะครอบคลุมถึงเกษตรกรด้วย

ด้านพล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.คมนาคม กล่าวหลังตรวจเยี่ยมโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและ สถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง หรือแอร์พอร์ตลิงก์ ว่า ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้บริการยังไม่มาก เฉลี่ยวันละประมาณ 4 หมื่นคนต่อวัน ดังนั้น อาจต้องจ้างเอกชนเข้ามาช่วยวางแผนการตลาด ส่วนเรื่องค่าโดยสารรถไฟฟ้า 10 สาย 20 บาทตลอดสายนั้นนอกจากรถไฟฟ้าใต้ดิน และรถไฟฟ้าของบีทีเอสแล้ว จะรวมถึงโครงการแอร์พอร์ตลิงก์ด้วยโดยนแนวทางดำเนินการจะชัดเจนหลังจาก สัปดาห์หน้า

(ข่าวสด, 20-8-2554)

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กวีประชาไท: มึงสร้าง-กูเผา

Posted: 20 Aug 2011 02:11 AM PDT

ถ้ามึงสร้างให้มึงรู้กูจะเผา

เหรินเราบ้านกูแต่ปู่ย่า

หวงแหนทรัพย์บนดินสินในนา

เบิกร้างถางทาแผ่นดินกู

ทั้งเลนาป่าเขาเฝ้ารักษา

วัฒนธรรมสร้างมาบนวิถี

เบิกบานกันมาชั่วตาปี

พวกรัฐชี้แผ่นดินนี้ต้องลงทุน

อุตสาหกรรมขนาดใหญ่จะเข้ามา

แค่หลับตารินร่าก็พร่าไหล

เวลานั้นจะอยู่กันอย่างไร

ทุนชั่วทำลายมันย่ำยี

ลองดูถ้าอยากรู้ก็จงสร้าง

บนที่ทางแผ่นเลือดมึงชดใช้

ไม้หลาวแหลมแทงเหม็ดซาดคนจัญไร

คนปักษ์ไต้ร่วมขับไล่พวกนายทุน

เลือดมันข้นคนเข้มเมืองด้ามขวาน

อย่าหวังได้รุกรานเข่นวิถี

นักเลงใต้อย่าได้หวังมึงลองดี

พวกอัปปรีย์ออกไปจากบ้านกู

มาเถิดมาพวกเราเหล่าคนใต้

ยุคสมัยภัยร้ายตามไล่ล่า

ทุนชั่วอุตสาหกรรมดาหน้ามา

เราจะยืนเราจะท้าให้รู้กัน
 

แด่ปฎิบัติการเพชรเกษม 41
ปราโมทย์  แสนสวาสดิ์

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

องค์กรแรงงาน เสนอ 4 มาตรการ 5 ข้อเสนอ 33 วิสัยทัศน์ นโยบายของผู้ใช้แรงงาน

Posted: 20 Aug 2011 01:40 AM PDT

สภาศูนย์กลางแรงงานฯ และเครือข่าย เสนอ 4 มาตรการ 5 ข้อเสนอ 33 วิสัยทัศน์ นโยบายของผู้ใช้แรงงาน จี้รัฐบาลเพื่อไทย คุ้มครองแรงงาน - เร่งดำเนินการโครงการเม็กกะโปรเจ็ก เช่น ขุดท่าเรือน้ำลึก แลนด์บริดจ์ โครงการผันน้ำโขง ฟื้นฟู 26 ลุ่มน้ำ  รถไฟรางคู่

เมื่อวันที่ 17 ส.ค. 54 ที่ผ่านมา สภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย, สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ, สหพันธ์แรงงานอาหารและเครื่องดื่มแห่งประเทศไทย และสหพันธ์แรงงานกระดาษและการพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้ออกแถลงการณ์ "4 มาตรการ 5 ข้อเสนอ 33 วิสัยทัศน์  นโยบายของผู้ใช้แรงงาน" เรียกร้องให้รัฐบาลพรรคเพื่อไทยดำเนินแนวทางแก้ไขปัญหาผู้ใช้แรงงาน ดังนี้
 

 

4 มาตรการ 5 ข้อเสนอ 33 วิสัยทัศน์  นโยบายของผู้ใช้แรงงาน

1. มาตรการทางกฎหมาย

2. มาตรการทางเศรษฐกิจ

3. มาตรการทางการเมือง

4. มาตรการการจัดการ

1. มาตรการทางกฎหมาย
1.1 ให้ปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานทุกฉบับ

2. มาตรการทางเศรษฐกิจ
    - เร่งจัดเก็บภาษีอากรเพื่อจัดงบประมาณเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ เช่น ภาษีมรดก ภาษีที่ดิน ภาษีสำนักทรัพย์สิน
    - มาตรการทางภาษี ยกเลิกมาตรการภาษีที่ซ้ำซ้อน ลดดอกเบี้ยเงินกู้  ปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ใช้แรงงาน

3. มาตรการทางการเมือง
    - ให้มีการแสดงออกถึงสิทธิ เสรีภาพครบริบูรณ์ เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย ยกเลิกกฎหมายที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพ
     - ให้ยึดหลักประชาธิปไตยอย่างเคร่งครัด เช่น ให้มีการจัดประชุมปรึกษาหารือร่วมทุกฝ่ายและทำข้อตกลงร่วมกัน
    - รัฐต้องไม่แทรกแซงและขัดขวางใด ๆ ทั้งสิ้น เมื่อผู้ใช้แรงงานแสดงออกตามวิถีทางประชาธิปไตย หรือเรียกร้องสิทธิประโยชน์อันพึงมีพึงได้

4. มาตรการจัดการร่วม
    - ให้มีการประชุมปรึกษาหารือร่วมระหว่าง รัฐ กระทรวง นายจ้าง ลูกจ้าง และศาล  เพื่อเป็นมติในการดำเนินการร่วมกัน
    - การจัดประชุม 2 ฝ่าย ระหว่างนายจ้าง และลูกจ้าง
    - จัดประชุม 3 ฝ่าย หรือ 4 ฝ่าย ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

5 ข้อเสนอ 

1. เร่งดำเนินการรัฐสวัสดิการ เช่น การศึกษา การรักษาพยาบาล ที่อยู่อาศัย

2. เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าแพงมีผลกระทบต่อผู้บริโภค ให้จัดหาสินค้าราคาถูกไปจำหน่ายในย่านอุตสาหกรรมเพื่อลดค่าครองชีพ  เพิ่มมาตรการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน  เช่น  ค่าไฟฟ้าฟรี, ค่าน้ำประปาฟรี, ค่ารถไฟฟรี, ค่ารถเมล์ฟรี ฯลฯ ให้ทั่วถึงและเป็นจริง

3. รับรองอนุสัญญา 87,98

4. การเพิ่มค่าจ้าง

5. การพัฒนาฝีมือแรงงานตอบสนองรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆที่กำลังเกิดขึ้น

33 วิสัยทัศน์ นโยบายแรงงาน

1. ต้องสร้างความร่วมมือด้วยกันทุกฝ่าย คือ 1) ภาครัฐ   กระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง   2) ภาคการลงทุนคือผู้ประกอบการ   สถาบันการเงินสมาคมธนาคารไทย  สภาอุตสาหกรรม  สภาหอการค้า  และ 3 ) ภาคการผลิตอุตสาหกรรม คือผู้ใช้แรงงาน สภาองค์การลูกจ้าง สหพันธ์แรงงาน สหภาพแรงงาน 4) ภาคเกษตรกรรม ชาวไร่ ชาวนา พ่อค้าแม่ค้าและประชาชนทั่วไป

2. เร่งจัดตั้งรัฐบาลให้มีเสถียรภาพและเป็นประชาธิปไตย (การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย ยกเลิกกลุ่มหรือคณะบุคคลหรือองค์กรที่ไม่ผ่านการเลือกตั้ง)

3. จัดระบบค่าจ้าง   ความปลอดภัย  สวัสดิการ  สิทธิทางการเมือง ตามที่บัญญัติไว้ในหลักกฎหมายและบัญญัติรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ / กระทรวงแรงงานต้องจัดการกระบวนการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด และจัดระบบคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้ใช้แรงงาน / กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ขยายวงเงินให้กับผู้ถูกเลิกจ้าง ปรับปรุงเงื่อนไขให้เหมาะสมและสอดคล้องในการรับสิทธิประโยชน์ให้ลูกจ้างมี สิทธิ กรณีมีการเลิกจ้างโดยไม่จ่ายเงินค่าชดเชย

4. สิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนต้องได้รับการตอบสนองครบถ้วน การเตรียมการจัดตั้งโรงพยาบาลสำหรับผู้ประกันตน

5. พัฒนาฝีมือแรงงานให้สอดคล้องกับการลงทุน และการผลิต / พัฒนาผีมือแรงงานให้สอดคล้องกับการพัฒนาเทคโนโลยี / จัดทำแผนแม่บทว่าด้วย การทำงานในต่างประเทศ การใช้แรงงานประเภทต่าง ๆ / เสริมทักษะด้านการใช้ภาษาพูดและเขียน

6. ให้ตรากฎหมายจัดตั้งสถาบันความปลอดภัยขึ้น โดยรัฐต้องรับผิดชอบเป็นการสำคัญ

7. ให้มีสถานดูแลเด็กอ่อน  โดยการทำข้อตกลงระหว่างสถานประกอบการกับลูกจ้าง และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรัฐเป็นผู้สนับสนุน

8. ให้ตรากฎหมายแรงงานต่างด้าว / สิทธิประโยชน์ให้ได้รับเท่ากับแรงงานไทยในภาคการผลิตเดียวกัน / จัดตั้งหน่วยงานขึ้นรับผิดชอบอย่างชัดเจน /ควบคุมดูแลไม่ให้เกิดกระทำผิด

9. นำที่ดินที่ถือครองและไม่ทำประโยชน์ มาจัดสรรให้กับผู้มีรายได้น้อย

10. ต้องมีที่อยู่อาศัยลดอัตราดอกเบี้ย เพิ่มสิทธิในการเป็นเจ้าของ / ขยายโครงการรัฐสวัสดิการ

11. กำหนดแผนปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ใช้แรงงานและประชาชน

12. เร่งดำเนินการโครงการเม็กกะโปรเจ็ก เช่น ขุดท่าเรือน้ำลึก แลนด์บริดจ์ โครงการผันน้ำโขง / ฟื้นฟู 26 ลุ่มน้ำ  รถไฟรางคู่

13. ส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์การเกษตร ทำโครงการพลังงานทดแทนทั้งระบบอย่างต่อเนื่อง เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานถ่านหิน / โครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพแทนการใช้ปุ๋ยเคมี เพื่อลดต้นทุนการผลิตภาคเกษตรและรักษาสภาพแวดล้อม

14. สนับสนุนสถาบันวิจัยแห่งชาติร่วมเอกชนพัฒนาสินค้า

15. ให้กระทรวงแรงงานและการท่องเที่ยวร่วมดำเนินการโดยมีคณะกรรมการร่วม / สร้างความเชื่อมั่นต่อต่างชาติ

16. กฎหมายแข่งขันทางการค้า ต้องใช้อย่างเคร่งครัด  กำหนดกระบวนการขึ้น โดยกระทรวงแรงงานและกระทรวงที่เกี่ยวข้อง

17. สร้างวัฒนธรรมแลกเปลี่ยนโดยผ่านนักศึกษา เยาวชน ผู้ใช้แรงงาน และนายจ้าง

18. พัฒนาระบบคมนาคม เชื่อมทางขนส่งไป ลาว เวียดนาม จีน มาเลเซีย สิงคโปร์  เป็นต้น / สร้างท่าเรือน้ำลึก และสายการบินขนส่งสินค้า

19. การค้าเสรีมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยให้มีคณะกรรมการกำกับดูแลชุดพิเศษ

20. จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเกษตรกรรม

21. กำหนดการอุทธรณ์เรื่องภาษีให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 3 เดือน

22. จัดระบบโครงสร้างพื้นฐาน โดยมีแผนแม่บทและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

23. ส่งเสริมพลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่องเป็นจริง

24. กระทรวงแรงงานต้องร่วมมือกับกระทรวง ไอ ซี ที  สำนักนายก รัฐสภา พัฒนาระบบและจัดตั้งโครงข่าวสื่อสารพื้นฐาน / จัดตั้งสถานีโทรทัศน์ โดยกระทรวงแรงงานดำเนินการ

25. กำหนดแผนจัดการด้านมลพิษและสิ่งแวดล้อมในสภาพปัญหาปัจจุบัน / ให้รับสิทธิประโยชน์ตอบแทนตามมติต่างๆ โดยการประสานงานของกระทรวงแรงงาน กระทรวงทรัพยากรฯ รัฐสภา สำนักนายก

26. กำหนดแผนรับผู้ใช้แรงงานที่ผ่านการฝึกฝนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี / โครงสร้างการศึกษาของประเทศต้องกำหนดมาตรฐานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี

27. เร่งรัดการจัดตั้งกองทุนเพื่อสร้างนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

28. ด้านการต่างประเทศดำเนินการตามข้อตกลงอย่างเคร่งครัดและให้มีการประชุมร่วมหลายฝ่ายขึ้น

29. ยกเลิก พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 / รวบรวมจัดทำประมวลกฎหมายแรงงาน โดยจัดตั้งคณะกรรมการร่วม หลายฝ่าย

30. เร่งรัดจัดตั้งองค์กรปฏิรูปกฎหมาย ภายใน 3 เดือนและจัดประชุมหลายฝ่าย

31. ยกเลิกกฎหมาย พรบ. พรก. ที่ปิดกั้นข้อมูล ข่าวสาร / ผู้ใช้แรงงานต้องใช้สื่อของรัฐได้ / รัฐและสถานประกอบการต้องร่วมกันจัดตั้งศูนย์กลางรับข้อมูลข่าวสารทาง อินเตอร์เน็ต

32. ยกเลิก กฎหมาย กฎ ระเบียบ ที่ควบคุมสื่อของรัฐให้จำกัดอยู่ในเฉพาะเพื่อความมั่นคง

33. ยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 และนำรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 มาบังคับใช้และปรับปรุงแก้ไข และยกเลิกกฎหมายที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน

สภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย
สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ
สหพันธ์แรงงานอาหารและเครื่องดื่มแห่งประเทศไทย
สหพันธ์แรงงานกระดาษและการพิมพ์แห่งประเทศไทย

17 สิงหาคม 2554

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

โฆษกประชาธิปัตย์แนะเพื่อไทยทำงานสร้างสรรค์

Posted: 20 Aug 2011 12:18 AM PDT

ชี้พรรคเพื่อไทยไม่ได้ทำงานสอดคล้องกับนโยบายหาเสียง และเพิ่มเงื่อนไขในนโยบายเศรษฐกิจจนประชาชนสับสน จึงขอเรียกร้องให้ทำงานสร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ส่วนการพบศพนับร้อยที่ระยอง ส.ส.ในพื้นที่ได้ตรวจสอบพบว่าไม่ได้เพิ่งเสียชีวิต พรรคเพื่อไทยจึงไม่ควรนำมาเป็นประเด็นบิดเบือนทางการเมือง

สำนักข่าวแห่งชาติ รายงานวันนี้ (20 ส.ค.) ว่า นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการทำงานของพรรคเพื่อไทยว่า มีหลายเรื่องสะท้อนให้เห็นว่าไม่ได้ทำงานสอดคล้องกับนโยบายที่หาเสียง ทั้งการดูแลปัญหาน้ำท่วม ราคาสินค้า และเพิ่มค่าแรงวันละ 300 บาท ขึ้นเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท และเพิ่มเงื่อนไขนโยบายเศรษฐกิจจนทำให้ประชาชนเกิดความสับสน จึงขอเรียกร้องให้พรรคเพื่อไทยทำงานอย่างสร้างสรรค์เป็นประโยชน์ต่อประชาชน และพรรคประชาธิปัตย์จะทำหน้าที่ตรวจสอบอย่างสร้างสรรค์เช่นกัน

ส่วนกรณีพบศพ 169 ศพ ที่วัด 3 แห่ง ในอำเภอแกลง จังหวัดระยอง ที่คนเสื้อแดงตั้งข้อสังเกตว่า อาจเป็นศพคนเสื้อแดงที่สูญหายระหว่างการชุมนุม โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง ไม่ได้นิ่งนอนใจ ส่วนที่มีการเชื่อมโยงว่าศพดังกล่าว ถูกเคลื่อนย้ายจากจังหวัดชุมพรไปจังหวัดระยอง ส.ส.ในพื้นที่ ได้ตรวจสอบและนำหลักฐานมาแดงอย่างชัดเจนว่า ศพดังกล่าวไม่ได้เพิ่งเสียชีวิต พรรคเพื่อไทย จึงไม่ควรนำมาเป็นประเด็นบิดเบือนทางการเมือง

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เกี่ยวก้อยปี 2 “ลบเส้นพรมแดนด้วยสื่อภาพยนตร์”

Posted: 20 Aug 2011 12:00 AM PDT

โครงการเกี่ยวก้อยปี 2 โดยมูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน จัดงานการมีส่วนร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “ลบเส้นพรมแดนด้วยสื่อภาพยนตร์” รวมถึงลบอคติระหว่างกลุ่มชน และความตระหนักต่อความยุติธรรมในสังคม

เมื่อวันที่ 8-14 ส.ค.54 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมของธารทอง รีสอร์ท อ.แม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ มีการจัดงานอบรมเชิงปฏิบัติการ “ลบเส้นพรมแดนด้วยสื่อภาพยนตร์” โครงการเกี่ยวก้อย ปี 2 ร่วมเกี่ยวก้อย โดย มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน คณะอนุกรรมการสิทธิพลเมืองและสิทธิการเมือง สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย มูลนิธิหนังไทย หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ไทยพีบีเอส คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ สนับสนุนโดยโครงการสะพานและ USAID

โครงการ “เกี่ยวก้อย” เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ ส่งเสริม และสนับสนุนทั้งด้านข้อมูลและเทคนิค ให้เยาวชนและนักพัฒนาผู้มีความสนใจในการผลิตภาพยนตร์ และคนทำภาพยนตร์อิสระรุ่นใหม่ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ทำสื่อในประเด็นหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วในสังคมไทยอาจจะหลงลืมว่า ผู้ที่แตกต่างด้วยเพศ วัย สภาพร่างกาย ฐานะ สถานะทางกฎหมาย เชื้อชาติ สัญชาติ และความคิดเห็น ก็ล้วนแล้วแต่เป็นมนุษย์ที่ย่อมมีสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพาะว่าสื่อนั้นมีบทบาททั้งทางตรงและอ้อมในการสร้าง "พรมแดน" หรือลด "พรมแดน" อคติระหว่างกลุ่มชน รวมถึงมีอิทธิพลต่อความตระหนักต่อความยุติธรรมในสังคม

โดยเฉพาะสื่อภาพยนตร์และวิดีโอ ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสื่ออันทรงประสิทธิภาพในการสร้างความตระหนัก และทรงอิทธิพลต่อทัศนคติของผู้ชมต่อประเด็นใดหรือกลุ่มชนใดเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น การใช้สื่อภาพยนตร์เพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องสิทธิมนุษยชนถือว่ามีพลังอย่างยิ่ง

ทั้งนี้มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดนจึงได้ริเริ่ม "โครงการเกี่ยวก้อย" ขึ้นในปี 2553 โดยในปีแรกดำเนินการร่วมกับสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่และโครงการปิ๊งส์ (สสส.) และในปี 2554 มูลนิธิฯได้ขยายความร่วมมือไปยังคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ (เชียงใหม่) สื่อมวลชน ศิลปิน และนักสิทธิมนุษยชน เพื่อส่งเสริมบทบาทของคนทำภาพยนตร์รุ่นใหม่ ด้วยการจัดเวทีเรียนรู้ ผลิต และเผยแพร่ผลงานสู่สังคมไทย

อนึ่งการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ ว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน เป็นแนวคิดการพัฒนาโครงการภาพยนตร์ และการเขียนบทภาพยนตร์เบื้องต้น ซึ่งประเด็นสิทธิมนุษย์ชน สำหรับผู้เข้าร่วมอบรมให้เข้าใจใส่ในการเขียนบทภาพยนตร์ ในเรื่องสิทธิมนุษยชน คือ ศักดิ์ศรีของคน เป็นสิทธิ และหน้าที่ของคน ที่ต้องได้รับสิทธิ ที่มีตั้งแต่เกิด ไม่มีใครเอาไปได้ รวมทั้งสิทธิมนุษยชน เป็นเสรีภาพของมนุษย์ตามหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน จากหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยด้วยสิทธิมนุษยชน 1948 ซึ่งอธิบายความว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมามีเสรีและเท่าเทียมกัน เราเท่าเทียมกันในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ นั่นคือ เราล้วนเป็นมนุษย์ที่สามารถคิดผิดชอบชั่วดีและตัดสินใจได้ เราจึงต้องปฏิบัติต่อกันฉันพี่น้อง และเราทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกัน ไม่ว่าเราจะเพศอะไร เผ่าพันธุ์ใด สีผิวใด เกิดที่ไหน ถือสัญชาติใด พูดภาษาอะไร ฐานะทางเศรษฐกิจเป็นอย่างไร สถานะทางกฎหมายเป็นอย่างไร และมีความคิดเห็นทางการเมืองอย่างไร และเราทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตและอยู่อย่างปลอดภัย เป็นต้น



 

เกี่ยวก้อยปี 2 : Holding Hands Project
โครงการส่งเสริมความร่วมมือและบทบาทคนรุ่นใหม่ในการผลิตและเผยแพร่สื่อภาพยนตร์
เพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชนคนชายขอบ

ความเป็นมา
แม้ปัจจุบันคำว่า สิทธิมนุษยชนจะเป็นที่กล่าวถึงโดยทั่วไปในสังคมไทย หากผู้คนจำนวนมากก็ยังมีความเข้าใจต่อคำดังกล่าวไม่ชัดเจน บ้างก็มองว่าสิทธิมนุษยชนเป็นแนวคิดตะวันตกที่แปลกแยก บ้างก็มองว่าสิทธิมนุษยชนคือเสรีภาพอันไร้ความรับผิดชอบ บ้างก็อ้างสิทธิมนุษยชนเมื่อเอ่ยถึงสิทธิของตน ในขณะที่ไม่ยอมรับในสิทธิของบุคคลหรือกลุ่มชนอื่น เป็นต้น

หลักสำคัญประการหนึ่งที่ยังไม่ได้เป็นที่ยอมรับเข้าใจอย่างกว้างขวาง ก็คือสิทธิมนุษยชนทั้งมวลเป็นของบุคคลทุกคน” (All human rights for all) อันมีความหมายว่า มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะมีเชื้อชาติ สัญชาติ เพศ ศาสนา หรือเป็นกลุ่มสังคมใด ก็ล้วนมีสิทธิมนุษยชนหรือสิทธิขั้นพื้นฐานทุก ๆ ประการที่จะทำให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การขาดความเข้าใจในสิทธิมนุษยชนยังส่งผลให้ปัญหาของผู้ที่ถูกผลักให้ไปอยู่ ชายขอบของสังคม เช่น คนยากไร้ ผู้พิการ สตรี ผู้ติดเชื้อเอชไอวี เพศที่สาม กลุ่มชาติพันธุ์ คนไร้สัญชาติ แรงงานอพยพ ผู้ลี้ภัย ฯลฯ มักมิได้รับการพิจารณาว่าเป็นปัญหาด้านสิทธิที่ต้องการการแก้ไขในเชิงโครง สร้าง หากเป็นเพียงเรื่องของชะตากรรมที่สมควรจะได้รับการช่วยเหลือเชิงสงเคราะห์ เท่านั้น

ความเข้าใจในปัญหาและความต้องการของกลุ่มสังคมอันหลากหลายและความเข้าใจใน สิทธิมนุษยชน คือองค์ประกอบสำคัญที่จะนำสังคมไทยไปสู่สังคมประชาธิปไตยที่กลุ่มชนต่าง ๆจะอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ ซึ่งนอกจากการศึกษาทั้งในและนอกระบบแล้ว สังคมยังได้รับรู้เข้าใจตนเองผ่านสื่อเป็นหลัก สื่อทั้งด้านข่าว บันเทิง และศิลปะ ล้วนมีบทบาทในการสร้างความตระหนักหรือไม่ตระหนัก ให้ข้อมูลที่ถูกหรือผิด หรือกระทั่งมีอิทธิพลก่อให้เกิดทัศนคติเชิงบวกหรือลบต่อประเด็นหนึ่ง ๆ ได้ โดยสื่อภาพยนตร์นับว่ามีอิทธิพลต่อการรับรู้ของสังคมไม่น้อย ด้วยสามารถเข้าถึงเยาวชนและบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารจากแหล่ง อื่นมากนัก

อย่างไรก็ดี ผู้ผลิตภาพยนตร์/รายการโทรทัศน์จำนวนหนึ่งก็ยังขาดความตระหนักในบทบาทและ อิทธิพลของตนต่อสิทธิมนุษยชน การนำเสนอของสื่อบางสื่อจึงมีนัยยะที่จะผลักประชากรบางกลุ่มไปอยู่ชายขอบมาก ขึ้น ทั้งนี้ ในขณะที่ผู้ผลิตภาพยนตร์ที่มีความสนใจประเด็นสิทธิมนุษยชนก็ยังขาดโอกาส ผลิตผลงาน หรือยังเข้าใจว่าภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเหล่านี้จะต้องนำเสนอในขนบ ที่ตึงเครียด ไม่สามารถดึงดูดผู้ชมไทยได้

มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดนซึ่งทำงานสื่อสารสาธารณะกับสื่อมวลชน ผลิตสื่อทางเลือก และสร้างศักยภาพสิทธิมนุษยชนและสื่อให้แก่ชุมชนท้องถิ่นด้วยความมุ่งหมายที่ จะส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย เห็นความสำคัญในการสร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาด้านสื่อ สมาคมและองค์กรอิสระด้านสื่อ/สิทธิมนุษยชน และศิลปินหรือบุคคลากรสื่อมืออาชีพ ในการดำเนินโครงการสนับสนุนให้เยาวชนคนรุ่นใหม่และนักพัฒนาที่สนใจงาน ภาพยนตร์ และผู้ผลิตภาพยนตร์อิสระรุ่นใหม่ ได้มีโอกาสเรียนรู้และผลิตสื่อเพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของคนชายขอบ รวมทั้งมีเวทีเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณชนในวงกว้าง เพื่อสร้างความตระหนักให้แก่สังคม และเพื่อส่งเสริมให้มีผู้สนใจใช้ศักยภาพของตนในการผลิตภาพยนตร์เพื่อสังคม สิทธิมนุษยชนที่สันติต่อไป

สรุปย่อโครงการ
ในปี 2553 มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน ได้ร่วมงานกับคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ โครงการปิ๊งส์ภายใต้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และคุณพิมพกา โตวิระ บริษัทExtra Virgin ในการดำเนินโครงการ เกี่ยวก้อยในปีแรก โดยมีเยาวชนเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ 30 คนและผลิตผลงานออกมา 6 โครงการ

โครงการเกี่ยวก้อยในปีที่สอง (2554-2555) คือการขยายความร่วมมือระหว่างกลุ่มประชาสังคม สถาบันการศึกษาด้านสื่อ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) และศิลปินหรือบุคลากรสื่ออาชีพ ในการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ ส่งเสริม และสนับสนุนทั้งด้านข้อมูลและเทคนิค ให้เยาวชนและนักพัฒนาผู้มีความสนใจในการผลิตภาพยนตร์ และคนทำภาพยนตร์อิสระรุ่นใหม่ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ให้มีความรู้ความเข้าใจในสิทธิมนุษยชนรวมทั้งประเด็นปัญหาของคนชายขอบ และผลิตผลงานในรูปแบบภาพยนตร์สั้นที่เป็นเรื่องแต่ง สารคดี กึ่งสารคดี มิวสิกวิดีโอ หรือสป็อตรณรงค์ ในความดูแลของพี่เลี้ยงมืออาชีพ เพื่อสื่อสารความคิดของตนต่อสิทธิมนุษยชน และสร้างความตระหนักหรือส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อประเด็นปัญหาสิทธิมนุษย ชนและคนชายขอบ โดยผลงานเหล่านี้จะได้รับการเผยแพร่ผ่านภาคีเครือข่ายผู้ร่วมดำเนินโครงการ และเทศกาลภาพยนตร์ของมูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน เพื่อสร้างความตระหนักให้แก่ผู้ได้ชม และส่งเสริมให้มีผู้สนใจใช้ศักยภาพของตนในการผลิตภาพยนตร์เพื่อสังคมสิทธิ มนุษยชนที่สันติต่อไป

วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมบทบาทของเยาวชนและนักพัฒนาที่สนในการผลิตภาพยนตร์ และผู้ผลิตภาพยนตร์อิสระรุ่นใหม่ ในการใช้สื่อภาพยนตร์สื่อสารความคิดของตนต่อสิทธิมนุษยชน และสร้างความตระหนักหรือส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อประเด็นปัญหาสิทธิมนุษย ชนและคนชายขอบ
2. เพื่อส่งเสริมบทบาทและความร่วมมือระหว่างกลุ่มประชาสังคม สถาบันการศึกษาด้านสื่อ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) และศิลปินหรือบุคลากรสื่ออาชีพ ในการพัฒนาศักยภาพและเปิดเวทีให้แก่ผู้ผลิตภาพยนตร์รุ่นใหม่และงานภาพยนตร์ ที่ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย

ระยะเวลาโครงการ
17 เมษายน 2554-16 เมษายน 2555

ภาคีร่วมดำเนินโครงการ
1. คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่
2. คณะอนุกรรมการสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
3. สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์แห่งประเทศไทย
4. ไทยพีบีเอส
5. มูลนิธิหนังไทย
6. หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)

ผู้มีส่วนร่วมกับโครงการ
1. ผู้เข้าร่วมอบรมและผลิตภาพยนตร์ 40 คน ซึ่งคัดเลือกจากผู้แสดงความจำนงสมัครร่วมโครงการ
ได้แก่นักเรียน-นักศึกษาผู้สนใจทั่วไป และนักพัฒนา/นักสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้ คณะทำงานจะคัดเลือกผู้เข้าร่วมตามเงื่อนไขที่ตกลงกันระหว่างภาคีร่วมดำเนิน โครงการ โดยตามหลักการเบื้องต้น ผู้สมัครจะต้องเป็นผู้สนใจในตัวโครงการ และการคัดเลือกจะพิจารณาการกระจายโอกาสให้กลุ่มคนที่หลากหลายได้เข้าถึง

2. บุคลากรสื่อและผู้กำกับภาพยนตร์ที่มีส่วนร่วมเป็นวิทยากรและพี่เลี้ยงโครงการของผู้เข้าร่วม 15 คน
3. องค์กรเอกชน/กลุ่มประชาสังคม ที่มีส่วนร่วมเป็นวิทยากรและพาลงศึกษาพื้นที่ 4 องค์กร

คณะกรรมการโครงการเกี่ยวก้อยปี2
1. นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
2. คุณนฤมล วันทนีย์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
3. คุณทวีวัฒน์ วันทา กรรมการสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย
4. คุณชลิดา เอื้อบำรุงจิต มูลนิธิหนังไทย
5. คุณนิติธร ทองธีรกุล เจ้าหน้าที่เครือข่ายทุนทางสังคมอาวุโส ฝ่ายเครือข่ายทุนทางสังคม องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย(Thai PBS)

 

ที่มา: เกี่ยวก้อยปี 2 : Holding Hands Project

 

 

 

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ชำนาญ จันทร์เรือง: ศาลปกครองไม่มีอำนาจออกคำบังคับต่อวุฒิสภา

Posted: 19 Aug 2011 11:26 PM PDT

จากกรณีที่นายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจรได้ยื่ฟ้องคณะกรรมการสรรหากรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.ต่อศาลปกครอง โดยศาลปกครองกลางได้ออกนั่งพิจารณาคดีครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๔ ที่ผ่านมาและศาลได้นัดอ่านคำพิพากษาในวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๔ ซึ่งปรากฏเป็นข่าวตามสื่อสารมวลชนโดยทั่วไปว่าความเห็นของตุลาการผู้แถลงคดีซึ่งเป็นตุลาการนอกองค์คณะว่าการกระกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีน่าจะเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามกระบวนการพิจารณาคดีของศาลปกครองที่ต้องมีการถ่วงดุลระหว่างตุลาการองค์ คณะกับตุลาการนอกองค์คณะที่เข้าร่วมฟังข้อเท็จจริงในคดี  โดยความเห็นดังกล่าวจะไม่ผูกพันองค์คณะผู้พิพากษาที่จะออกคำพิพากษาในวันที่ ๒๒ ส.ค. นี้ แต่ถ้าองค์คณะผู้พิพากษามีความเห็นต่างจากนี้จะต้องมีเหตุผลชี้แจงให้ชัดเจน

ซึ่งในขณะที่เขียนบทความนี้ยังไม่ทราบผลของการอ่านคำพิพากษาแต่อย่างใด

ประเด็นที่ผู้เขียนจะนำเสนอต่อไปนี้มิใช่ประเด็นว่าผลแห่งคำพิพากษาจะเป็นเช่นไร ใครแพ้ใครชนะคดี หรือประเด็นข้อเท็จจริงในคดีเป็นเช่นไร แต่จะเป็นการนำเสนอความเห็นในประเด็นที่ว่าศาลปกครองสามารถออกคำบังคับต่อวุฒิสภาได้หรือไม่

เมื่อเราพิจารณาถึงอำนาจของศาลปกครองแล้วเราจะเห็นได้ว่าศาลปกครองไม่มีอำนาจออกคำบังคับองค์กรอื่นดังเช่นศาลรัฐธรรมนูญที่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐตามมาตรา ๒๑๖ วรรคห้า แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯแต่อย่างใด แต่ศาลปกครองมีอำนาจในการออกคำบังคับตามมาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง แห่ง พรบ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ แล้วจะเห็นได้ว่า ศาลปกครองมีอำนาจออกคำบังคับได้เพียงอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้เท่านั้น คือ

(๑) สั่งให้เพิกถอนกฎหรือคำสั่งหรือสั่งห้ามการกระทำทั้งหมดหรือบางส่วน ในกรณีที่มีการฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑)

(๒) สั่งให้หัวหน้าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามหน้าที่ภายในเวลาที่ศาลปกครองกำหนด ในกรณีที่มีการฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร

(๓) สั่งให้ใช้เงินหรือให้ส่งมอบทรัพย์สินหรือให้กระทำการหรืองดเว้นกระทำการโดยจะกำหนดระยะเวลาและเงื่อนไขอื่น ๆ ไว้ด้วยก็ได้ ในกรณีที่มีการฟ้องเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือการฟ้องเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง

(๔) สั่งให้ถือปฏิบัติต่อสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่มีการฟ้องให้ศาลมีคำพิพากษาแสดงความเป็นอยู่ของสิทธิหรือหน้าที่นั้น

(๕) สั่งให้บุคคลกระทำหรือละเว้นกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย

กอปรกับวุฒิสภาก็มิใช่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐตามนิยามศัพท์ของ พรบ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีทางปกครองฯแต่อย่างใดอีกเช่นกันเพราะ

"หน่วยงานทางปกครอง" หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ และให้หมายความรวมถึงหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนินกิจการทางปกครอง

"เจ้าหน้าที่ของรัฐ" หมายความว่า

(๑) ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง คณะบุคคล หรือผู้ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานทางปกครอง

(๒) คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท คณะกรรมการหรือบุคคลซึ่งมีกฎหมายให้อำนาจในการออกกฎ คำสั่ง หรือมติใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อบุคคล และ

(๓) บุคคลที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของหน่วยงานทางปกครอง

ซึ่งจะเห็นได้ว่าวุฒิสภาไม่ได้เป็นหน่วยงานทางปกครองและไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับของศาลปกครองแต่อย่างใด แต่เป็นองค์กรนิติบัญญัติที่ใช้อำนาจอธิปไตยเช่นเดียวกับศาลปกครองนั่นเอง

แล้วจะทำอย่างไร

โดยหลักทั่วไปแล้วศาลจะไม่พิพากษาเกินคำขอ ในเมื่อนายสุรนันท์ มีคำขอท้ายฟ้องแค่ให้ส่งชื่อให้เพิกถอนการดำเนินการที่ทำไปแล้ว และให้ชดใช้ค่าธรรมเนียมศาลเท่านั้น ฉะนั้น จึงไม่กระทบต่อกระบวนการสรรหาทั้งหมดและที่สำคัญก็คือขั้นตอนการสรรหาดังกล่าวนี้อยู่ในขั้นตอนของการใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญของวุฒิสภาแล้ว อย่างมากก็จะสามารถทำได้เพียงส่งชื่อนายสุรนันท์เข้าไปให้วุฒิสภาพิจารณาเท่านั้น ส่วนจะพิจารณารับหรือไม่รับเรื่องนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่สำคัญก็คือผลแห่งคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นจะยังไม่มีผลบังคับในทันทีหากคดียังไม่ถึงที่สุด หรือหากยังไม่พ้น ๓๐ วันถ้า ไม่มีการอุทธรณ์ตามมาตรา ๗๓ แห่ง พรบ.จัดตั้งศาลปกครองฯ

แน่นอนว่าผู้ถูกฟ้องคดีคือคณะกรรมการสรรหาฯซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตาม พรบ.จัดตั้งศาลปกครองฯก็ต้องรับไปเต็มๆ หากแพ้คดีครับ
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักข่าวพลเมือง: สมัชชาคนจนยืนหนังสือถึงนายกผ่านผู้ว่าศรีสะเกษ

Posted: 19 Aug 2011 11:14 PM PDT

เครือข่ายชาวบ้านสมัชชาคนจนทั่วประเทศ ยื่นหนังถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แก้ไขปัญหาของ 7 เครือข่าย เขื่อน ป่าไม้  ที่ดิน ประมงพื้นบ้านภาคใต้ สลัมสี่ภาค เกษตรกรรมทางเลือก และสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากสิ่งแวดล้อมและการทำงานแห่งประเทศไทย โดยผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ

 

 

เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2554 ณ สันเขื่อนราษีไศล เครือข่ายชาวบ้านสมัชชาคนจนทั่วประเทศ ยื่นหนังถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ

วันที่ 18 สิงหาคม 2554 ตัวแทนเครือข่ายสมัชชาคนจนทั่วประเทศจำนวน 300 คน ได้เดินทางมาถึงศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนเครือข่ายทามมูล ต.หนองแค อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ เวลา 10.00 – 16.00 น. เปิดเวทีประชุมใหญ่สรุปบทเรียนเครือข่ายต่อการแก้ไขปัญหาในแต่ละกรณี 7 เครือข่าย เขื่อน ป่าไม้  ที่ดิน ประมงพื้นบ้านภาคใต้ สลัมสี่ภาค เกษตรกรรมทางเลือก สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากสิ่งแวดล้อมและการทำงานแห่งประเทศไทย จากรัฐบาลที่ผ่านมาจนถึงรัฐบาล นายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในปัจจุบันจน โดยที่ประชุมมีข้อสรุปร่วมกันว่าควรมีการพัฒนาองค์กรเครือข่ายให้เข้มแข็ง 3 ระดับ ทั้งระดับนโยบาย ระดับเครือข่าย และระดับพื้นที่ที่ต้องสร้างฐานเศรษฐกิจให้สามารถพึงพาตนเองได้ โดยมีกรณีเขื่อนแก่งเสือเต้นที่เป็นประเด็นปัญหาร้อนที่เป็นเรื่องด่วนที่ทุกเครือข่ายต้องขับเคลื่อนร่วมกันในการแก้ไขปัญหาเพื่อให้สังคมเข้าใจว่า กรณีปัญหาเขื่อนผู้ได้รับผลกระทบยังแก้ไขไม่แล้วเสร็จ เช่น กรณีเขื่อนราษีไศล เขื่อนหัวนา ฉะนั้นรัฐบาลไม่ควรที่จะสร้างเขื่อนที่ก่อปัญหาใหม่ขึ้นมาอีก

เวลา 13.00 น. สมาชิกสมัชชาคนจนเขื่อนราษีไศล-หัวนา จำนวนกว่า 2,000 คน ได้เดินทางเข้าร่วมเคลื่อนขบวนจากศูนย์เรียนรู้ฯทามมูล ไปยังสันเขื่อนราษีไศลท่ามกลางสายฝนโปรยปรายตลอดเวลา ขบวนได้หยุดปราศรัยที่สันเขื่อนนานกว่า 1 ชั่วโมง โดยทุกเครือข่ายได้ร่วมผลัดเปลี่ยนกันขึ้นเวทีปราศรัย ต่อมา  ได้ทำพิธีไหว้พระและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำพื้นที่ที่ปกปักรักษาบริเวณลานเสมาสิทธิชุมชน จนถึงเวลา 14.00 น. ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษได้ส่งหัวหน้าสำนักงานจังหวัด นายประยงค์ ศิริประเสริฐศิลป์ มารับหนังสือแทนโดยไม่มีการแจ้งให้ทรายล่วงหน้า ซึ่งทำให้เครือข่ายชาวบ้านสมัชชาคนจนแสดงความไม่พอใจต่อการที่ผู้ว่าศรีสะเกษไม่ได้ให้ความสำคัญกับเครือชาวบ้านที่เดือดร้อนจากการพัฒนาของรัฐทั่วประเทศ แต่ก็ได้มีการยืนหนังสือผ่านไปถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยให้มีการส่งหนังสือถึงนายกภายในวันที่ 19 สิงหาคม 2554 และเครือข่ายจะรอคำตอบที่ชัดเจนต่อการแก้ไขปัญหาที่ทางเครือข่ายได้ยืนข้อเสนอ  

สมัชชาคนจนซึ่งเป็นเครือข่ายองค์กรชาวบ้านที่รวมกลุ่มกันเนื่องจากได้รับผลกระทบและเดือดร้อนจากนโยบายหรือโครงการพัฒนาของรัฐและธุรกิจอุตสาหกรรม โดยสมัชชาคนจนมีการประชุมเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาของเครือข่ายองค์กรในสมัชชาคนจนร่วมกับรัฐบาลที่แล้ว ตั้งแต่ปี 2552-2553 จำนวน 6 ครั้ง ต่อมาเมื่อมีการยุบสภาในเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๔ การแก้ไขปัญหาหยุดชะงักมานับตั้งแต่บัดนั้น

ดังนั้น สมัชชาคนจนขอเสนอท่านในฐานะนายกรัฐมนตรี (1)สำหรับปัญหารายกรณี ให้เปิดการเจรจาแก้ไขปัญหาต่อจากที่ดำเนินการในรัฐบาลที่แล้ว (2) นำข้อเสนอเชิงนโยบายไปสู่เวทีเจรจาและการปฏิบัติ     

 



 

ข้อเสนอของสมัชชาคนจน

๑.ปัญหารายกรณี ซึ่งได้มีการประชุมเจรจาแก้ไขปัญหามาตั้งแต่รัฐบาลที่แล้ว ขอให้รัฐบาลเปิดการเจรจาแก้ไขปัญหากับสมัชชาคนจนต่อเนื่องจากรัฐบาลที่แล้ว โดยให้เริ่มเปิดการเจรจาภายในเดือนกันยายน ๒๕๕๔

๒.ข้อเสนอเชิงนโยบาย

๒.๑) การจัดการน้ำ

๒.๑.๑) รัฐต้องยุติโครงการก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ เช่น เขื่อนแก่งเสือเต้น เขื่อนโป่งขุนเพชร เขื่อนท่าแซะ และอื่นๆ รวมทั้งยุติโครงการผันน้ำข้ามลุ่มน้ำ

๒.๑.๒) รัฐต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาให้ผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน เช่น เขื่อนราษีไศล เขื่อนหัวนา เขื่อนปากมูล และเขื่อนอื่นๆ

๒.๑.๓) รัฐต้องสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนโดยองค์กรชุมชน

๒.๒)การจัดการป่าไม้

๒.๒.๑)ให้รัฐแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวกับป่าไม้ คือ พรบ.ป่าไม้, พรบ.อุทยานแห่งชาติ, พรบ.ป่าสงวนแห่งชาติ, พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า, พรบ.สวนป่า

๒.๒.๒)ยกเลิกอุทยานแห่งชาติ/เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ที่ประกาศทับที่อยู่อาศัยและที่ทำกินของชุมชน

๒.๒.๓)ให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๑

๒.๒.๔)สร้างกฎหมายและกลไกสนับสนุนการจัดการทรัพยากรป่าไม้โดยองค์กรชุมชน

๒.๓) การปฏิรูปที่ดิน

๒.๓.๑)ให้รัฐยกเลิกประมวลกฎหมายที่ดิน

๒.๓.๒)ให้รัฐยกเลิก พรบ.ที่ราชพัสดุ

๒.๓.๓)ให้รัฐจัดกระบวนการยกร่างกฎหมายเกี่ยวกับที่ดินข้างต้นขึ้นใหม่โดยให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมด้วย

๒.๓.๔)ให้รัฐจัดกระบวนการยกร่างเพื่อออกกฎหมายกระจายการถือครองที่ดิน

๒.๓.๕)ให้รัฐจัดกระบวนการยกร่างเพื่อออกกฎหมายเก็บภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้า

๒.๔) ผู้ใช้แรงงานและผู้เจ็บป่วย

๒.๔.๑)รัฐต้องปรับโครงสร้างอนุกรรมการยกร่างสถาบันส่งเสริมสถาบันความปลอดภัยฯ โดยให้สหภาพแรงงานและสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากสิ่งแวดล้อมและการทำงานแห่งประเทศไทยเข้าไปมีส่วนร่วม

๒.๕) เกษตรกรรม

๒.๕.๑)รัฐต้องปกป้องคุ้มครองเกษตรกรรายย่อย  เพิ่มอำนาจต่อรองให้เกษตรกรรายย่อยโดยการสนับสนุนให้เกษตรกรเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและเทคโนโลยีในระดับที่เกษตรกรควบคุมได้

๒.๕.๒)สนับสนุนการรวมตัวและการมีส่วนร่วมในการจัดการตลาดของเกษตรกรรายย่อย

๒.๕.๓)ให้รัฐรักษาสมดุลของการขยายตัวของพืชเศรษฐกิจพืชพลังงาน เพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศ และปกป้องทรัพยากรอาหารของท้องถิ่น รวมถึงการควบคุมการใช้สารเคมีอันตรายทางการเกษตร เช่น การควบคุมการโฆษณาการส่งเสริมการขาย

๒.๖)ประมง

๒.๖.๑) ให้พิจารณา พรบ.ประมงฉบับภาคประชาชน

 

 

โดยได้มีตัวแทนเครือข่ายเป็นผู้ยืนหนังสือ นายพุฒ บุญเต็ม ตัวแทนเครือข่ายเขื่อน /นายสวาท อุปฮาด ตัวแทนเครือข่ายที่ดิน /นายอดินันท์ จิเหล่า ตัวแทนเครือข่ายประมงพื้นบ้านฯ/ นายประสิทธิ์ จิตราตัวแทนเครือข่ายป่า / นางสมบุญ สีคำดอกแค ตัวแทนสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯ เวลา 15.00 น. สมาชิกเครือสมัชชาคนจนจึงได้เดินทางกลับภูมิลำเนา

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อ่านอีกครั้ง "ดาว์พงษ์" เปิดใจทำไมทหารต้องสลายชุมนุม

Posted: 19 Aug 2011 10:51 PM PDT

หมายเหตุ - พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ เสนาธิการทหารบก (เสธ.ทบ.) ให้สัมภาษณ์ระหว่างนำคณะนายทหารเข้าหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านความมั่นคงกับคณะผู้บริหารในเครือมติชน เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม

เราคาดหวังว่ารัฐบาลใหม่จะทำให้ความแตกแยกที่มีขยับเข้ามาใกล้ขึ้น เราคาดหวังแบบนั้น เพื่อให้คนไทยเป็นสยามเมืองยิ้มเหมือนเดิม ตรงนี้สำคัญ ผมเข้าใจบทบาทของสื่อดีว่าต้องทำหน้าที่อย่างไร แต่คนไทยใช้ความรู้สึกมากกว่าข้อเท็จจริง ดังนั้นการมาวันนี้เพื่อเปิดหน้าให้เข้าใจความรู้สึกของเรา

ปัญหาการควบคุมม็อบ ต้องมองว่าก่อนหน้านี้ยังไม่มี พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 โดยที่นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี มีความพยายามจะใช้ พ.ร.บ.มั่นคงฯอีกครั้ง โดยจะเข้าไปสลายคนเสื้อเหลืองในทำเนียบรัฐบาล แต่ทำไม่ได้ ถ้าทำบาดเจ็บแน่ ซึ่งวันนั้นเป็นวันที่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. เกษียณอายุราชการพอดี ซึ่งท่านสมัครมีสิทธิลงโทษได้เลย แต่ว่าคำสั่งการของนายกฯก็ห้วนๆ ไปนิดหนึ่ง ให้ ผบ.ทบ.รับผิดชอบไปเลย แต่เมื่อถึงนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกฯ พ.ร.บ.มั่นคงฯก็มี แต่ท่านไม่ได้ใช้เรา แต่ให้ พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มาดูแล และสั่งการต่อตำรวจเป็นส่วนใหญ่ มาถึงสมัยนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ท่านหยิบเรามาใช้ตามอำนาจของผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (ผอ.รมน.) ทำให้เราต้องเข้าไป ท่านสมัคร หรือท่านสมชายก็มีสิทธิแต่ไม่ใช้เองครับ

ท่านนายกฯอภิสิทธิ์มีสิทธิที่จะใช้ได้ทั้งทหาร ตำรวจ ซึ่งเท่าที่เห็นก็ใช้ตำรวจก่อน แต่เมื่อกำลังไม่พอ เพราะตำรวจเราไม่ได้ออกแบบเพื่อมารับสถานการณ์ขนาดนี้ ไม่ไหวแน่ ทั้งประเทศไทยมีกองร้อยควบคุมฝูงชนแค่ 2 กองร้อย มีคนอยู่ 300 คน ที่เหลือคือ ตำรวจตามโรงพักที่เกณฑ์มา ดังนั้น ทำให้ต้องเอาทหารเข้ามา ซึ่งนำ พ.ร.บ.มั่นคงฯเอาทหารออกไปใช้การประชุมที่ จ.ภูเก็ต และ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี พอใช้ทหารมาเรื่อยๆ จนคล่อง เพราะทหารมีโครงสร้างผู้บังคับบัญชาที่ดี เป็นธรรมดาที่ผู้บริหารมองว่าใช้ใครทำงานได้

แต่เราระวังตัวมาก เรารู้ว่าคนที่เรากลัวที่สุดคือ ประชาชน ไม่เคยกลัวโจร ไม่เคยกลัวศัตรูที่ไหนเลย ยกกองทัพมาไม่เคยกลัว แต่กลัวประชาชนที่สุด และตำรวจไทยถูกออกแบบให้จับโจร ผู้ร้าย ไม่ได้ถูกออกแบบเจอสถานการณ์อย่างที่เขาเจอ เลยเป็นภาพที่เราเข้าไปร่วมกับรัฐบาลด้วยกฎหมายจริงๆ ถ้าไม่มีกฎหมายตัวนี้เขาก็ไม่มีสิทธิ

@ แนวคิดตั้งทบวงความมั่นคงเป็นอย่างไร

ในการประชุม กอ.รมน. ที่มีนายกฯในฐานะ ผอ.รมน.เป็นประธาน ซึ่งเรามองเห็นว่าความมั่นคงภายในปัจจุบันมีความรวดเร็วมากขึ้น อีกทั้ง กอ.รมน.ถูกระแวงว่าเป็นทหารบก แต่จริงแล้วในโครงสร้าง กอ.รมน.ออกแบบโครงสร้างมาเพื่อพลเรือน ตำรวจ ทหาร ภัยความมั่นคงที่เรามองเห็นขณะนี้ คือ ยาเสพติด แรงงานต่างด้าว การก่อการร้ายสากลข้ามชาติ การบุกรุกทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม จังหวัดชายแดนภาคใต้ โครงการพระราชดำริ ดังนั้น 6 เรื่องที่เราเลือกมาทหารทำส่วนใหญ่ โดยที่ยาเสพติดให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) เป็นหัวหน้าใหญ่ ส่วนแรงงานต่างด้าวให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหัวหน้าใหญ่ การก่อการร้ายอาชญากรรมข้ามชาติให้ผู้การสันติบาลเป็นหัวหน้า แต่ในทางปฏิบัติท่านไม่มาเลย เราจึงเล่นเองตลอด ภาพจึงกลายเป็นกองทัพบก คนก็มาระแวง กอ.รมน.เพราะมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.เป็นรอง ผอ.รมน. มี เสธ.ทบ.เป็นเลขาฯ กอ.รมน.

พล.อ.ประยุทธ์ก็มาคุยกับผมว่า ทำไงเมื่อมีการระแวงกัน แต่วันนี้ภัยความมั่นคงมีมากขึ้น หากเป็นทบวงแบบเมืองนอกจะเป็นอย่างไร เขาจะได้มาดูแลกันเต็มๆ แต่ทั้งหมดเป็นแนวคิดจุดเริ่มเล็กๆ ใช้เวลา 5-10 ปีก็ยังไม่เกิดขึ้น อย่าเพิ่งไปคิดว่าจะไปเร็วขนาดนั้น แต่ กอ.รมน.ถูกระแวงทั้งประชาชน ฝ่ายการเมือง ข้าราชการด้วยกันเอง ว่าจะเข้าไปทุบหม้อข้าวเขา

กฎหมายเขียนไว้ว่า กอ.รมน.มีหน้าที่บูรณาการ เวลาของบประมาณเขาจะอ้างว่าเราไม่ใช่ผู้ปฏิบัติ คุณเป็นผู้บูรณาการ เอาไปแค่ 600 ล้านบาทพอ ดูแลทั้งประเทศ ผมมี 600 ล้านบาทที่จะดูภัยความมั่นคงทั้ง 77 จังหวัด ทั้งนี้ ที่เราได้งบประมาณในปีนี้ 6,000 กว่าล้านบาท แต่เป็นงบประมาณภาคใต้ 5,000 ล้านบาท แบ่งเป็นเบี้ยเลี้ยง 4,000 ล้านบาท ดังนั้น ตัวเลข 30,000 กว่าล้านบาท ที่เหลือเป็นของกระทรวง ทบวง กรมอื่นที่ลงใต้ แต่คนพูดว่า กอ.รมน.เอาไป 30,000 ล้านบาทนั้นคงไม่ตรง

@ ชุดเฉพาะกิจ 315 (ฉก.315) ปราบปรามยาเสพติดจะทำต่อหรือไม่

ลองไปถามประชาชนดู ซึ่งเรื่อง ฉก.315 รัฐบาลที่แล้วมีนโยบายทำเรื่องนี้กับ ป.ป.ส. โดยไปคุยกับ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผบ.ตร. ซึ่งท่านมีตำรวจไม่พอ เพราะเอาตำรวจออกมาทำหน้ารักษาความปลอดภัยที่ทำเนียบรัฐบาล ผมจึงบอกว่าหากจะเอาทหารไปอย่าให้ทหารเป็นหัวหน้า เพราะใกล้เลือกตั้งไม่เช่นนั้นจะระแวงกันตายเลย ดังนั้น ตำรวจจึงเป็นหัวหน้า ฉก.315 ทั้งหมด ทหารเป็นลูกทีมเท่านั้น ขนาดกลัวอยู่แล้วแต่ก็ยังไม่วายโดน โดยที่แผนงานของ ฉก.315 ก็มีการระดมในช่วงนั้น แต่จะเป็นแทคติกของรัฐบาลที่จะระดมก่อนเลือกตั้งก็เป็นเรื่องปกติ ผมก็ไม่ได้ว่าอะไร หากพูดกันตรงๆ

@ หลังการเลือกตั้งกองทัพวิเคราะห์ 2 สีจะจบลงหรือไม่

ผมยังไม่วิเคราะห์เรื่องนี้เลย (หัวเราะ) ที่ปวดหัวและเบาใจลงคือ เรื่องกัมพูชา เพราะมั่นใจว่ารัฐบาลใหม่เขาดีกัน ซึ่งน่าจะเบาลงทำให้ทหารจะมีเวลาดูแลเรื่องภาคใต้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม เราก้าวหน้า 5 ยุทธศาสตร์ แต่เหลือยุทธศาสตร์เดียวที่เราเหนื่อย คือการรักษาความปลอดภัยชีวิตและทรัพย์สิน เขาก็รู้เพราะเขาแพ้ในยุทธศาสตร์ทั้งหมด เขาจึงเหลือยุทธศาสตร์เดียวคือ สร้างความหวาดกลัว ไม่มีทางเลือกอื่น เผอิญเรื่องนี้เป็นอิมแพค (มีผลกระทบ) ข่าวที่ออกไปไม่ครอบคลุม แต่ก็เป็นความบกพร่องของเจ้าหน้าที่ด้วยที่ไม่ให้ข่าวเขาเอง

@ เมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาลทิศทางนโยบายของผู้ปฏิบัติในการแก้ปัญหาภาคใต้จะมีผลกระทบหรือไม่

ผมคิดว่า สิ่งที่รัฐบาลพูดในเขตปกครองพิเศษภาคใต้ เรื่องนี้เราต้องคุยกับรัฐบาลในรายละเอียดอีกที เพราะเรามีข้อมูลสถานการณ์ในพื้นที่เป็นอย่างไร ถ้าเกิดแบ่งออกไปจะเกิดอะไรขึ้น มีความเสี่ยงอะไรบ้าง และรัฐบาลนี้ที่ประกาศนโยบายนี้ออกมาก็ยังไม่มีรายละเอียดในพื้นที่จะลงลึกขนาดไหน เราจะชี้ให้รัฐบาลเห็นว่าความเสี่ยงท่านจะรับได้แค่ไหน ถ้าท่านรับได้ก็เป็นนโยบาย เราคงไม่มีทางเลือกอื่น

@ ความเสี่ยงที่ว่ามีแค่ไหน

ความเสี่ยงของผมจะอย่างหนึ่ง แต่ถ้าถามนักธุรกิจ นักการเมือง หรือประชาชนเขาจะมองความเสี่ยงอีกอย่างหนึ่ง ผมจะมองในมิติของผม เหมือนกับคนไทยขอใช้คำว่าถ้าไม่เห็นโลงศพไม่หลั่งน้ำตา นั้นแปลว่าหลายๆ ภาคส่วนไม่ได้ตระหนักข้อมูลภัยพวกนี้ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีความสำคัญมาก แต่ถ้าไม่มองถึงภัยความมั่นคง คิดถึงแต่เด็กที่จะมาศึกษาอย่างเดียวคงไม่ครบด้าน ผู้ว่าราชการจังหวัดคิดแต่จะให้เป็นที่ท่องเที่ยวแต่ลืมมองเรื่องความมั่นคง ถ้าจังหวัดท่านไม่มีความเรียบร้อยสิ่งที่ท่านคิดคงไปไม่ถึงจุด

สิ่งที่เรามอง เราจะรู้ว่าอะไรก้าวหน้าไม่ก้าวหน้า กราบเรียนต่อหน้าพระก็ได้ เราไม่นั่งเทียนมองว่าก้าวหน้า 6 ยุทธศาสตร์ที่เราทำมีความก้าวหน้าจริง แต่ถามว่าสำเร็จหรือไม่ ผมไม่กล้าใช้คำนั้น แต่ต้องใช้เวลา แน่นอนถ้าให้เขาปกครองตนเองเขาจะหยุดยิงแน่ หรือถอนทหารก็หยุดยิง แต่เมื่อหยุดยิงคงไม่มีใครไปอยู่กับเขา

กอ.รมน.โดยกองทัพบก มองว่าทหารที่มาจาก กทม. อีสาน เหนือ ที่ลงไปใต้ไม่ต่อเนื่อง ดังนั้น เดือนตุลาคมนี้จะปรับเปลี่ยนกำลังทหารได้ 4 กองพัน โดยนำทหารหลักขึ้นมา โดยให้ทหารพรานดูพื้นที่แทน ค่อยๆ ทยอยๆ ไป

7 ปีที่ผ่านมา การทำความเข้าใจใน 2 ปีแรกตั้งแต่ปล้นปืนค่ายกองพันพัฒนาที่ 4 จ.นราธิวาส ข้าราชการทุกส่วนเข้าไปหมู่บ้านไม่ได้เลยหากเขาไม่ให้เข้า แปลว่าเจ้าหน้าที่ไม่เข้าใจเขา และเขาก็ไม่เข้าใจเจ้าหน้าที่ ดังนั้นเราเลยใช้เวลา 2-3 ปีแรก ช่วงพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เป็น ผบ.ทบ. เราสร้างความเข้าใจ จากนั้นสมัย พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา เป็น ผบ.ทบ. เราเริ่มเข้าถึง แต่เขามีความรู้สึกว่าเจ้าหน้าที่คุ้มครองเขาไม่ได้ พล.อ.อนุพงษ์ จึงขยายฐานปฏิบัติการ 7-8 ร้อยฐานเกาะตามหมู่บ้านเพื่อคุ้มครองและเข้าถึง เมื่อเวลา 3 ปีผ่านไปเราคิดว่าทำสำเร็จ รถทหารผ่านเด็กก็เริ่มโบกมือให้ เมื่อมาถึงรอยต่อระหว่าง พล.อ.อนุพงษ์ กับ พล.อ.ประยุทธ์ รัฐบาลก็เอางบฯไทยเข้มแข็งลงเพื่อพัฒนา ดังนั้น หากย้อนไปดู "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" จริงๆ (ยกมือไหว้) ยุทธศาสตร์พัฒนาเป๊ะ

เราจะหยุดความรุนแรงได้เมื่อไร ผมคงตอบไม่ได้จริงๆ แต่จุดศูนย์ดุลหัวใจของเราคือ ประชาชน ทหารใช้คำนี้ และมุ่งไปที่ประชาชนในพื้นที่กว่า 2 ล้านคน ซึ่งผู้ก่อเหตุรุนแรงลดลงเรื่อยๆ

ที่มา: http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1313470141&grpid=01&catid=01

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ประชาไทบันเทิง: The Forgotten “เหยื่ออธรรม” ภาคไทย

Posted: 19 Aug 2011 08:38 PM PDT

นักวิจารณ์หนังชื่อดังส่งข้อความมาแจ้งให้ทราบว่า The Forgotten ฉบับ Uncut สารคดีของวชร กัญหาเป็นผู้กินกับและตัดต่อ ที่หลิ่มหลีเป็นนายทุนและประสานงา เอ้ยประสานงานให้ และ อำนวยการสร้างให้นั้น ได้เข้ารอบเทศกาลหนังสั้นครั้งที่ 15 นี้ ในรางวัล “ดุ๊ก” เป็นหนึ่งในสิบหนังสารคดีที่เข้ารอบชิง

กรี๊ด สิคะ กรี๊ดดดดดด ดีใจเป็นที่สุด

เสียดายประกวดหนังสารคดี ไม่เหมือนประกวดนางงาม จะได้มีเข้ารอบห้าคนสุดท้ายแล้วตั้งคำถามโน่นนี่ ...ให้หลิ่มหลีได้ตอบบ้างอะไรบ้าง อยากแสดงความสวยเอ้ย ความฉลาดกับเขาบ้าง อะไรบ้าง

ย้อนนึกถึงเมื่อต้นปีที่คิดทำสิ่งนี้ ก็ได้น้องๆมาจุดประกายให้เกิดความอยากทำ น้องเอ๋ที่มาบอกถึงเรื่องผู้ต้องขังมากมายหลายคนที่โดนจับกุมโดยไม่ได้รับความช่วยเหลืออย่างแท้จริง หลิ่มหลีก็เดินไปเดินมา ก็สะดุดไปพบญาติลูกเมียคนเหล่านั้น ได้เห็นพวกเขาร้องไห้ ได้คุยได้ฟังพวกเขาคุยกัน จำได้เลยว่าเป็นวันวาเลนไทน์ของปีนี้แหละ ได้เห็นคนหลายคนรับปากว่าจะช่วยเหลือ ดูเหมือนหลิ่มหลีจะเป็นแค่ผู้หญิงสลิ่มนอกกลุ่มที่แปลกแยกแตกต่าง เหมือนจะช่วยเหลืออะไรไม่ได้เท่าไร แต่ก็ทำให้เราค่อยๆคิดตามว่า เราน่าจะพอทำอะไรได้บ้างเล็กๆน้อยๆ

ก็เลยติดต่อเรื่องครอบครัวผู้ที่อยู่ในห้องขัง หลายๆคนก็บอกว่า ก็ออกมาหลายรายการแล้ว ก็ไม่เห็นจะช่วยอะไรกันได้ หลิ่มหลีอยากจะบอกว่า ณ ตอนนั้น แม้แต่ นปช เอง ก็ยังไม่รู้ว่าคนแนวร่วมของตนเองติดคุกอยู่กี่คน นึกแล้วก็สมเพช เชอะ แกนนำหลัก ไม่อยากจะพูด ไม่อยากจะวิพากษ์วิจารณ์อะไรมาก ความใส่ใจที่มีให้กับผู้ต้องขัง หลิ่มหลีมองแล้วก็...บอกกับตัวเองว่า ฉันไปทำของฉันคนเดียวในหนทางของฉันดีกว่า คิดไม่เหมือนกัน มองไม่เหมือนกัน ไปเกี่ยวข้องมาก ก็จะไปป่วนเขาเปล่าๆ หลิ่มหลีก็เดินออกมา แล้วก็ติดต่อหาทางด้วยตัวเองกับพี่ที่รู้จักกันที่จังหวัดเลย

การติดต่อเป็นไปได้ยากเย็นมาก เพราะคนเหล่านั้นระวังตัวสูง พวกเขาเพิ่งโดนกวาดล้าง โดยเก็บ โดนจับ โดนฆ่า มันก็เป็นธรรมดาที่พวกเขาจะระวังตัว ทำตัวให้เงียบๆเข้าไว้ หลิ่มหลีใช้เวลาถึง สามเดือน กว่าจะติดต่อพวกเขา ขอเข้าพื้นที่ได้ หลิ่มหลีพร้อมกับวชร และเอ้ สามคนขับรถเดินทางตรงไปถึงจังหวัดเลย และเข้าจังหวัดอุดรธานี เพื่อไปหาแกนนำของท้องถิ่น พวกเขามีรายชื่อคนของเขาครบ และแกนนำก็พาพวกเราเข้าไปเยี่ยม ทุกอย่างเต็มไปด้วยความหวาดระแวง เหล่าอดีตผู้ต้องขังที่อยู่ในสารคดีทั้งหมด ล้วนแล้วแต่ไม่ไว้ใจหลิ่มหลีและทีมงานเลย

เห็นหน้าเราขาวๆ ก็พูดว่า ไอ่พวกนี้เป็นพวกรัฐบาล (อภิสิทธิ) หรือเปล่า พวกคุณเป็นพวกไหน ถ้าเป็นพวกรัฐ ไม่คุยด้วย เราต้องให้แกนนำท้องถิ่นและพี่ต่อที่จังหวัดเลย อธิบายให้ฟัง ให้ได้ไว้ใจว่า เราไว้ใจได้จริงๆ ไม่ใช่พวกรัฐ ไม่ได้มาหลอกล่อ แต่มาเพื่อทำสารคดี

พอโดนถามต่อว่า จะออกช่องไหน ..ก็ตอบไม่ได้อีก เพราะไม่ได้รู้จักพวกช่องทีวีอะไรเลย แล้วก็ทำ... เพื่อที่จะทำ

คุณลุงคนแรกที่เราเข้าไปพบ ลุงสมาน เป็นเจ้าของไร่ยางพารา รวยเลยล่ะ ถ้าได้ดูในหนังสารคดี ก็คือคุณลุงที่ใส่เสื้อสีม่วง ตอนแรกที่เราถ่ายทำ แกด่าอย่างเดียว ด่าจนเอาไม่อยู่ หลิ่มหลีอยู่ด้านนอก ก็ต้องเดินเข้าไปหาลุงข้างใน ใช้วิธีการตั้งคำถามแทน แกก็ตอบเรื่อยๆ ตอบไปตอบมา แกก็ร้องไห้ออกมา หลิ่มหลีก็ได้แต่สลดในใจ ลับหลังลุงแก เราให้ วชร ไปคุยกับครอบครัวของลุง เมียลูกชายลูกสาวร้องไห้กันใหญ่

น่ารันทดใจมาก

เราถ่ายทำอยู่จนดึก ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีในที่สุด หลิ่มหลีและทีมงานจากมาด้วยการฝากของฝากไว้ให้ ของที่หลิ่มหลีไปเดินซื้อมาเพื่อให้เป็นของกำนัลจากใจจริงๆ ให้เงินแกด้วยแต่แกคืนมา ดีใจที่แกรับของฝากจากหลิ่มหลี ทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำเป็นเงินทองของหลิ่มหลีที่เก็บมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ

ตกดึก เรานอนบ้านแกนนำที่อุดรธานี นอนไม่หลับ ร้อน หลิ่มหลีเคยนอนแต่ห้องแอร์ เจอแบบนี้ แทบแย่ เหมือนกัน น้ำที่อาบ ในน้ำก็มีปลาอยู่ ปลาที่กินพวกลูกน้ำ ปลาซอกเกอร์มั้ง แต่มองไม่ชัด ก็คิดว่าเป็นปลาดุก กรี๊ดสลบ ทุกอย่างมันเป็นอะไรที่ชาวบ้าน แต่เราก็ไม่ได้รังเกียจ หลิ่มหลีแค่ไม่ชิน อันนี้ไม่ได้อวดว่าเก่ง ...แต่มันเป็นโฮมสเตย์แท้ๆ เขาก็อุตส่าห์เลี้ยงอาหารเราด้วย ไข่มดแดง ของแพงหายาก กับน้ำพริกเขมร อร่อยชิบ ..ไม่เคยกิน ก็ได้หัด

วันรุ่งขึ้น เราเดินทางต่อไปหาคุณพี่อีกสองคน ดูเหมือนการติดต่อสื่อสารระหว่างแกนนำกับพรรคพวกจะราบรื่น พี่ๆอีกสองคนต้อนรับเราอย่างดี และให้สัมภาษณ์แบบที่เรียงลำดับเรื่องมาล่วงหน้าแล้ว แตกต่างจากลุงสมานที่ไม่ได้เตรียมคำตอบอะไรไว้ เป็นธรรมชาติมาก แต่พี่อีกสองคนก็เป็นธรรมชาติในการตอบคำถามเช่นกันแต่ก็ระงับความรู้สึกได้ดี เราไม่สามารถดึงอารมณ์ของแกออกมาได้มาก นอกจากอารมณ์เซ็งๆ ก็โอเค เรายอมรับกันได้กับภาพและโทนเสียงที่ได้มา

เราได้เก็บ Footage หลายๆช๊อต หลายๆช๊อตไม่ได้เก็บ เสียดายเหมือนกัน แต่เราก็ตัดสินใจเดินทางเข้า กทม .. ส่วนที่เป็นสารคดีที่ได้เข้าชิงครั้งนี้ เป็นส่วนของ วชร ตัดต่อเองล้วนๆ แต่ส่วนที่พี่หลีขอมา เป็นส่วนที่เป็นการสัมภาษณ์ และมีความรู้สึกว่ามันไม่พร้อม ไม่ครบ ขาดอะไรบางอย่างด้วย

จึงตัดสินใจขอเข้าพบ คุณเยาวลักษณ์ ทนายที่ชำนาญด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งก็ได้มาให้ความรู้ถึงความน่าเศร้าของเหล่าอดีตผู้ต้องขังเหล่านี้ ที่โดนกวาดเข้าไปอยู่ในห้องขังทั้งๆที่ไม่ได้ทำความผิดอะไรเลย และไม่แม้แต่จะเข้าไปชุมนุม พวกเขาเหล่านี้คือคนอีกกลุ่มหนึ่งที่แค่เห็นการเกิดไฟไหม้ เพราะเข้าไปทำธุระในเมือง เดินไปดูว่าเกิดอะไรขึ้น ได้เห็นและ งง งวย กับคนที่กระทำการเผาบ้านเผาเมืองอย่างแท้จริง แต่แล้วกลับโดนจับไปขังแล้วพอถึงเวลาก็โดนปล่อยออกมาแบบ งง งง ทั้งๆที่ก่อนหน้านั้น มีทนายถึงสามคนสับเปลี่ยนกันไปขอประกันตัว

ณ ขณะที่เราสัมภาษณ์อยู่ที่นั่น พวกเขายังต้องไปรายงานตัวทุก 15 วัน ด้วยข้อหาก่อการร้าย ซึ่งอัยการไม่ได้ส่งฟ้องพวกเขาเลย พวกเขาไม่รู้ว่าจะหาทางแก้ไขปัญหาของพวกเขาอย่างไร พวกเขาไม่รู้ว่าจะช่วยเหลือตัวเองอย่างไร ไม่มีความรู้ ไม่มีทางแก้ไข ได้แต่กระทำไปตามคำสั่งของคนที่อยู่ในเครื่องแบบ

สำหรับหลิ่มหลีแล้ว เรื่องน่าเศร้าที่สุด อาจจะเป็นเรื่องที่มีการฆ่ากันกลางเมือง แต่คนตายไปแล้ว ..พวกเขาก็เหมือนพ้นทุกข์ในทางพุทธศาสนา วัฏสงสาร ก็คงทำให้พวกเขาได้ไปสู่สังคมนิพพานที่ไม่ได้อยู่บนผืนแผ่นดินนี้ แต่คนที่ยังมีชีวิตอยู่ ยังไม่ได้รับความยุติธรรม พวกเขาได้ชื่อว่าเป็น “เหยื่ออธรรม” อย่างแท้จริง

สารคดีชิ้นนี้ ไม่ได้ทำเพื่อให้ไปเป็นเครื่องมือทางการเมืองใดๆทั้งสิ้น จึงทำให้หลิ่มหลียังเก็บงานชิ้นนี้ไว้เสมอ เสร็จนานแล้ว แต่ไม่เอาออกมาเผยแพร่ ... ไม่รู้เหมือนกันว่าตัวเองรออะไร

ส่วนหนึ่งเพราะ ความกลัวในเงามืด กลัวว่าพวกคนที่อยู่ในทีวีจะเดือดร้อน ในประเทศที่มีการตายที่ยังหาคนผิดไม่ได้ ในประเทศที่มีการตายที่ทำให้ดูเหมือนเป็นอุบัติเหตุได้ หลิ่มหลีกลัว ... แสนกลัว เหล่ามือที่มองไม่เห็น มือที่ประจบประแจง มือฆาตกรอำมหิต

หลิ่มหลีคิดมากไปหน่อย เพราะเป็นผู้หญิงคิดเยอะ แต่..วชร กัญหา คือมืออาชีพที่นำผลงานตัวเองออกสู่สายตาสาธารณะเสมอๆ และชิ้นนี้ก็เป็นผลงานชิ้นหนึ่งที่เขาทำให้เข้าตากรรมการรอบคัดเลือกในงานหนังสั้นมาราธอน ... และได้เข้าชิงรางวัล

ผลงาน The Forgotten ที่เข้ารอบ เป็นงานตัดต่อในรูปแบบของหนังสั้น (สั่น...ฮ่า อะไรว่ะ แม่ง 9yh’ 123 นาที)จะฉายในวันเสาร์ที่ 27 สิงหาคมนี้ เวลา 11.00 น. ที่หอศิลปกรุงเทพมหานคร บีทีเอสสุดทายสนามกีฬา ...

ดีใจที่เข้ารอบ ...ขอแสดงความยินดีที่เข้ารอบ

และอยากเชิญชวนให้ ทุกคนไปดู หนังเทศกาลหนังสั้นโดยมูลนิธิหนังไทย (Thai Film Foundation) ครั้งที่ 15 กัน มันเป็นอะไรที่สอดแทรกความคิดของคนอีกกลุ่มหนึ่งอย่างแท้จริง

โดยงานจะจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 18 – 28 สิงหาคม ศกนี้ (งดวันจันทร์ที่ 22 ส.ค.)
ณ ห้องออดิทอเรี่ยม ชั้น 5 และ ห้องประชุม ชั้น 4 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (สี่แยกปทุมวัน)
โดยวันธรรมดาฉายตั้งแต่ 17.00 - 20.30 น.
ส่วนวันเสาร์-อาทิตย์ จะฉายตั้งแต่ 11.00 – 20.30 น.
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่มูลนิธิหนังไทย 080-557-9709
หรือ thaishortfilmfestival@gmail.com และ ติดตามตารางฉายหนังได้ที่ http://www.thaifilm.com/ หรือ http://www.facebook.com/thaifilmfoundation

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อเมริกาผิดหวังอัยการไทยฟ้อง โจ กอร์ดอน

Posted: 19 Aug 2011 06:17 PM PDT

เมื่อวันที่ 19 ส.ค. 2554 สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย แถลงผ่านเว็บไซต์ของสถานทูตแสดงความผิดหวังที่อัยการดำเนินการฟ้องพลเมืองสหรัฐอเมริกาในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

แถลงดังกล่าวระบุว่า ทางการสหรัฐผิดหวังต่อกรณีที่อัยการไทยฟ้องพลเมืองสหรัฐอเมริกาในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ทั้งยังระบุด้วยว่าที่ผ่านมา ทางการสหรัฐได้ถกเถียงแลกเปลี่ยนกับเจ้าหน้าที่ทางการของไทยเกี่ยวกับคดีของนายโจ กอร์ดอน โดยย้ำถึงโอกาสของเขาในการใช้สิทธิในฐานะพลเมืองสหรัฐ

"เราขอเรียกร้องให้ทางการไทยให้ความมั่นใจว่าเสรีภาพในการแสดงความเห็นเป็นสิ่งที่ได้รับการเคารพ และนายกอร์ดอน ซึ่งเป็นพลเมืองสหรัฐจะได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม"

สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยระบุในคำแถลง

ขณะเดียวกัน สำนักข่าวเอพีได้รายงานคำพูดของคริสติน นีดเลอร์ โฆษกสถานทูตสหรัฐฯ ด้วยว่า ทางเจ้าหน้าที่สถานทูตมีการติดต่อกับนายโจ กอร์ดอนเป็นประจำ

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น