ประชาไท | Prachatai3.info |
- 66 ปีก่อน เมื่อฮิโรชิม่ากลายเป็นนรก
- คปอ. แถลง“สานต่อภารกิจประชาชน ปฏิรูปที่ดินอย่างเป็นธรรม”
- TCIJ: ชุมนุมที่หน้า อ.คอนสาร ร้องชะลอส่งคดีจับ 12 ชาวบ้านบุกรุกป่าให้อัยการ
- เสวนา: “ทางออกกรณีปราสาทพระวิหาร”
- อำนาจที่ได้รับมอบของผู้รายงานพิเศษด้านการค้ามนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งสตรีและเด็ก
- เครือข่ายภาคประชาชนร่วมแถลงข้อเสนอต่อรัฐบาลใหม่
- ศาลปกครองสั่งรับคำฟ้องคนไทยพลัดถิ่นที่ฟ้อง รมว.มหาดไทย
- ยังไม่ได้ประกัน บัณฑิตใหม่นอนคุก หลังโดนรองอธิการฯ แจ้งข้อหาหมิ่นสถาบัน
- กลุ่มเกษตรกรเคลื่อนพลมอเตอร์ไซค์จากเชียงใหม่ หวังพบ "ยิ่งลักษณ์" จันทร์นี้เพื่อเรียกร้องปฏิรูปที่ดิน
- ประธานรัฐสภาเผยโปรดเกล้าฯ นายกรัฐมนตรีวันจันทร์นี้
- "อภิสิทธิ์" ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ "เฉลิมชัย ศรีอ่อน" เป็นเลขาธิการพรรค
66 ปีก่อน เมื่อฮิโรชิม่ากลายเป็นนรก Posted: 06 Aug 2011 11:32 AM PDT รำลึกครบรอบ 66 ปี เหตุการณ์ทิ้งระเบิดฮิโรชิม่าเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เคอิจิโร่ มัตสุชิม่า ผู้อยู่ในเหตุการณ์วันนั้น บอกเล่าเรื่องราวในห้วงเวลาแห่งความพินาศและความตาย ฮิโรชิม่าโดมใรปี ค.ศ. 1945 (ที่มาภาพ: wikipedia.org) 6 ส.ค. 54 - เมื่อ 66 ปีที่แล้ว เมืองฮิโร่ชิม่าหมกไหม้ไปด้วยเพลิงนรกเมื่อสหรัฐฯ ตัดสินใจทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ เคอิจิโร่ มัตสุชิม่า ยังคงอายุ 16 ปี ในช่วงเวลานั้น เมื่อเขาได้เห็นการโจมตีที่ปลิดชีวิตผู้คน 100,000 คนในวันเดียว เคอิจิโร่เล่าย้อนความทรงจำว่าในวันที่ 6 ส.ค. 1945 นั้นเป็นวันที่อากาศสดใส ท้องฟ้าเป็นสีคราม เขาเพิ่งกลับมาเรียนหนังสือเมื่อสัปดาห์ก่อนหลังจากที่เขาและเพื่อนต้องถูกเกณฑ์ให้ไปทำงานหนึ่งปีครึ่งในโรงงานผลิตเครื่องแบบทหาร ในตอนเช้า 8.15 น. ของวันนั้น ชั้นเรียนของเขาเพิ่งเริ่มขึ้น เขากำลังฟังครูอธิบายโจทย์แคลคูลัสเชิงอนุพันธ์และเชิงปฏิพันธ์ "ผมมองออกไปนอกหน้าต่างแล้วเห็นเครื่องบินทิ้งระเบิด B-29 ของอเมริกา 2 ลำ ในใจก็คิดว่า 'เครื่องบินพวกอเมริกันอีกแล้ว' เดาว่าเครื่องบินพวกนั้นคงแค่ออกบินลาดตระเวนตามปกติ" แต่พอเขาหันกลับมาที่ตำราเรียน ก็เกิดระเบิดขึ้น "มีแสงสว่างจ้าและคลื่นความร้อนมหาศาล โลกทั้งใบกลายเป็นสีส้ม ผมรู้สึกเหมือนถูกโยนเข้าไปในเตาอบชั่วขณะหนึ่ง" ต่อมาเขาถึงรู้ว่าอุณหภูมิที่จุดระเบิดตกห่างจากโรงเรียนของเขา 2 กม. นั้นสูงถึงระดับ 3,000 องศาเซนติเกรด 'คุณพระช่วยลูกด้วย' แสงสว่างจ้าตามมาด้วยเสียงปะทุสนั่นหวั่นไหว จนถึงบัดนี้มัตสุชิม่ายังไม่อาจระบุแย่ชัดว่าเสียงที่ได้ยินนั้นเป็นเสียงจากระเบิดหรือเสียงของอาคารที่พังทลาย "ผมปิดหูปิดตาแล้วกระโดดหลบลงไปใต้โต๊ะ" เขากล่าว "ทุกอย่างเป็นสีดำสนิท ผมไม่เห็นอะไร มีเด็กอยู่มากในห้องเรียนแต่ไม่มีใครหวีดร้อง" "ทุกอย่างเงียบสงัด ผมคลานไปมา ในใจร้องว่า 'แม่จ๋าช่วยลูกด้วย คุณพระช่วยลูกด้วย' เป็นครั้งแรกเลยที่ผมสวดภาวนาถึงพระพุทธ" มัตสุชิม่าบอกว่าตัวเองเป็นผู้มีชีวิตรอดที่โชคดีที่สุดคนหนึ่ง เขามีแผลถูกเศษกระจกบาดอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้บาดเจ็บร้ายแรงใดๆ เลย "ผมคิดว่ามันจะเป็นแค่ระเบิดธรรมดาลูกเดียว แต่เมื่อผมออกไปดู ผมก็ตกตะลึงที่ได้เห็นตึกราบ้านช่องถูกทำลาย ผมคิดว่า 'มันแค่เครื่องบินสองลำนี่ พวกมันทำอะไรไว้' " เพื่อนของเขาคนหนึ่งมีแผลเป้นรอยตัดใหญ่ที่ศรีษะ มัตสุชิม่าใช้เศษผ้าช่วยผิดบาดแผลไว้ และคอยพยุงเพื่อนขณะที่พาเขาเดินช้าๆ ไปยังสถานพยาบาลของสภากาชาด 'ขบวนภูติผี' สิ่งก่อสร้างต่างๆ มีเพลิงโหมไหม้ เด็กทั้ง 2 คนพบคนบาดเจ็บจำนวนมากเดินไปตามทางรถราง ห่างจากจุดระเบิดใจกลางเมือง "ผมของพวกเขาลุกตั้งชัน บางคนเสียเส้นผมของพวกเขาไป" มัตสุชิม่าย้อนรำลึก "บางคนมีแผลไหม้เต้มตัวตั้งแต่หัวจรดเท้า มีหนังลอกออกมาจากหัว เสื้อเป็นรอยไหม้ บางคนแทบเปลือย" "ตอนนั้นในใจผมคิดว่า 'ฮิโรชิม่ากำลังจะตาย' " "ผมมองเห็นกล้ามเนื้อสีแดงใต้ผิวหนังของพวกเขา พวกเขายื่นแขนออกมาข้างหน้ากันหมด อาจจะเพราะแผลของพวกเขาก็ได้ พวกเขาเดินช้าๆ เป็นแถวๆ นับร้อยคน ราวขบวนของภูติผี" แต่ก็มีคนอีกจำนวนมากที่เดินไม่ได้อีกต่อไป "ผู้คนพากันคลานไปที่แม่น้ำ ร้องเรียกหาน้ำเพื่อทำให้แผลไหม้ของพวกเขาเย็นลง แต่มีคนจำนวนมากที่เสียชีวิตอยู่ริมตลิ่งหรือไม่ก็จมน้ำ แม่น้ำถึงเต็มไปด้วยซากศพ" มัตสุชิม่าเล่าว่า โรงพยาบาลของของสภากาชาดเองก็ได้รับความเสียหายจากแรงระเบิด มีเพียงแพทย์และพยาบาลเพียงจำนวนเล็กน้อยที่แม้ตัวพวกเขาเองก็ได้รับบาดเจ็บแต่ก็พยายามรักษาผู้ป่วยนับร้อยราย เมื่อรู้ว่าไม่มีใครที่สามารถช่วยพวกเขาได้ มัตสุชิม่าและเพื่อนเขาก็เดินออกไป พวกเขาโชคดีพอที่มีรถกู้ภัยผ่านมารับเพื่อพาไปรักษาที่โรงพยาบาลนอกตัวเมือง ในระยะ 2 กม. ที่จุดระเบิดตก อาคารแทบทั้งหมดไหม้เป็นเถ้าถ่าน และพังราบ เมืองยุทธศาสตร์ ฮิโรชิม่าเป้นเมืองที่มีบทบาทสำคัญในทางยุทธศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ในการเป็นโรงงานผลิตอุปกรณ์ทางการทหารและมีศูนย์บัญชาการกองทัพอยู่จำนวนหนึ่ง มีประชากรอยู่ราว 400,000 คน ในช่วงที่มีการทิ้งระเบิด ผู้อาศัยส่วนใหญ่ถูกใช้ให้ทำงานในโรงงานของทหาร รวมถึงชาวเกาหลีและแรงงานที่ถูกบังคับรายอื่นๆ แรงงานที่ถูกบังคับเหล่านี้รอดพ้นจากการถูกกดขี่ภายใต้สภาวะการทำงานที่โหดร้ายเพียงเพื่อจะมาถูกสังหารด้วยระเบิด แม่ของมัตสุชิม่าอพยพออกจากเมืองเมื่อต้นปีนั้นหลังจากที่สามีเสียชีวิต หอพักที่มัตสุชิม่าพักอยู่ถูกทำลายไป เขาออกจากฮิโรชิม่าด้วยการเดินเท้า และไปขึ้นรถไฟกู้ภัยได้หลายกิโลเมตรห่างจากเมือง เขาเดินทางไปยังบ้านแม่ในชนบท เมื่อแม่ของเขาเห็นควันรูปดอกเห็ดลอยอยู่เหนือเมือง เธอก็คิดไปก่อนแล้วว่าลูกชายของเธอคงเสียชีวิต วันถัดจากนั้น มัตสุชิม่าล้มป่วยอย่างหนัก มีไข้และท้องเสีย แต่ก็อาการดีขึ้นในสัปดาห์ต่อมา เขาคิดว่าเป็นเพราะเขาอยู่ห่างจากเมืองในช่วงที่มีภัยทำให้เขารอดจากการถูกกัมมันตภาพรังสี ขณะที่มีอีกหลายคนที่ยังคงอยู่ในฮิโรชิม่าเพื่อช่วยกู้ภัยหรือไม่ก็ตามหาญาติพี่น้องหรือคนรัก โดยไม่รู้เลยว่าพวกเขากำลังอยู่กับภัยอันตรายอีกอย่างหนึ่ง "ผมล้มป่วยลงอีกหลายครั้ง แต่ก็ต้องขอบคุณพระพุทธเจ้า ที่ผมยังคงมีชีวิตอยู่" มัตสุชิม่ากล่าว บูรณะเมือง การที่ระเบิดนิวเคลียร์ถูกทิ้งในช่วงฤดูร้อนยิ่งทำให้การฟื้นตัวของผู้ป่วยช้าลงไปอีก มีหลายคนที่แผลติดเชื้อ "พวกเขามีหนอนออกมาจากแผล แล้วใช้ตะเกียบคีบมันออก แล้วก็ตายไปทีละคน ทีละคน" มัตสุชิม่าเล่า พลางส่ายหัวไปมาให้กับความทรงจำที่น่าเศร้า 3 วันหลังจากฮิโรชิม่าถูกโจมตี มีระเบิดนิวเคลียร์อีกลูกถูกทิ้งที่นางาซากิ หลังจากที่ญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้สงครามในวันที่ 15 ส.ค.เท่านั้น ชาวญี่ปุ่นถึงได้รู้ว่า สหรัฐฯ ใช้ระเบิดอะไรทิ้งใส่พวกเขา จนถึงปลายปี 1945 มีชาวฮิโรชิม่า 140,000 คนเสียชีวิตโดยเกี่ยวเนื่องกับระเบิด ทั้งผู้ที่ถูกสังหารจากแรงระเบิดและผู้ที่เสียชีวิตในเวลาต่อมาจากการถูกกัมมันตภาพรังสี ขณะที่ในนางาซากิ มีผู้เสียชีวิตมากถึง 80,000 ราย ฮิโรชิม่าในทุกวันนี้กลายเป็นเมืองสมัยใหม่ที่ได้รับการบูรณะ มีประชากรราวหนึ่งล้านคน มีสถานที่เรียกว่า "เอ-บอมบ์โดม" ที่เป็นสถานที่รำลึกถึงเหตุการณ์ทำลายล้างในครั้งนั้น อาคารแห่งนี้เคยถูกใช้เป็นสถานจัดนิทรรศการในช่วงสมัยที่ถูกทิ้งระเบิด มีเพียงโครงสร้างของอาคารที่แข็งแกร่งเท่านั้นที่ยังคงยืนหยัดอยู่หลังจากที่ระเบิดถูกทิ้งลงตรงอาคารที่พอดี แม้ว่าการโจมตีในครั้งนั้นจะสร้างความทุกข์ทรมานให้ แต่มัตสุชิม่าก็ไม่มีความรู้สึกแย่ๆ ต่อชาวอเมริกัน "คนเราทำอะไรบ้าๆ ในสงครามเพียงเพื่อจะกำจัดศัตรู ถ้าหากญี่ปุ่นมีระเบิดนิวเคลียร์ พวกเราก็อาจจะใช้เหมือนกัน การโต้เถียงเรื่องในอดีตนั้นไร้สาระ ในตอนนี้พวกเราควรร่วมมือกันกำจัดระเบิดนิวเคลียร์ให้หมดไป" ที่มา: The day Hiroshima turned into hell, Aljazeera, 06-08-2011 สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||
คปอ. แถลง“สานต่อภารกิจประชาชน ปฏิรูปที่ดินอย่างเป็นธรรม” Posted: 06 Aug 2011 08:39 AM PDT 6 ส.ค. 54 - เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.) ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1 “สานต่อภารกิจประชาชน ปฏิรูปที่ดินอย่างเป็นธรรม” จี้สานต่อแนวทางการปฏิรูปที่ดินโดยประชาชน “สานต่อภารกิจประชาชน ปฏิรูปที่ดินอย่างเป็นธรรม” นับตั้งแต่กำเนิดสังคมขึ้นมา สิ่งหนึ่งที่ดำรงอยู่ร่วมกับมนุษย์มาโดยตลอดคือ กรรมสิทธิ์ในที่ดินและทรัพย์สิน ซึ่งในทุกสังคมย่อมมีระบบกรรมสิทธิ์ที่แน่นอนเป็นของตนเอง เช่นเดียวกับสังคมทุนนิยม ที่มีระบบกรรมสิทธิ์เอกชน เป็นเครื่องมือหลักของการจัดความสัมพันธ์ในการถือครองปัจจัยการผลิต ความสัมพันธ์ดังกล่าว นำมาสู่ความขัดแย้งของผู้คนในสังคม และดำรงอยู่จนกระทั่งปัจจุบัน ทั้งนี้ กลุ่มคนที่ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิในที่ดินส่วนใหญ่คือ เกษตรกร ชาวนาชาวไร่ และคนจนเมือง ในฐานะที่เป็นกลุ่มคนชายขอบของสังคม กรณีปัญหาที่ดินและทรัพยากรของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน ถือเป็นอีกรูปธรรมหนึ่งที่สะท้อนถึงความไม่เป็นธรรมในการถือครองปัจจัยการผลิต อันเนื่องมาจากโครงสร้างอำนาจการจัดสรรที่ดินของสังคม ถูกผูกขาดรวมศูนย์โดยรัฐส่วนกลาง และเอื้อประโยชน์ต่อลุ่มธุรกิจ นายทุน เป็นด้านหลัก ปัจจุบัน ปัญหาของพวกเรายังคงหนักหน่วง และมีแนวโน้มจะขยายความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นในอนาคต เช่น การจับกุมดำเนินคดีในพื้นที่พิพาทที่ดินในเขตป่าเขตอำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ และอำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี มีจำนวนทั้งสิ้นกว่า 165 ราย 32 คดี การข่มขู่คุกคามสมาชิกเครือข่ายในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการถ่วงรั้งกระบวนการแก้ไขปัญหาให้ล่าช้าออกไป ในช่วงที่ผ่านมาของราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เนื่องในโอกาสที่มีรัฐบาลใหม่ ภายใต้การนำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พวกเรามีความคาดหวังอย่างยิ่งว่า ภารกิจในการแก้ไขปัญหา ที่ดินของเครือข่ายฯ และขบวนการประชาชน จะได้รับการสานต่อแนวทางการปฏิรูปที่ดินโดยประชาชน ที่พวกเราร่วมกันผลักดันมาอย่างต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 20 ปี โดยการนำข้อเสนอดังกล่าวเป็นนโยบายของรัฐบาล และจัดตั้งกลไกการแก้ไขปัญหาร่วม โดยมีฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ในการนี้ เราขอเรียกร้องให้ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ดำเนินการเป็นการเร่งด่วนคือ มีคำสั่งทางบริหารให้เจ้าหน้าที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยุติการจับกุม ข่มขู่ คุกคาม และดำเนินคดีชาวบ้านในพื้นที่สมาชิกเครือข่าย และให้สามารถทำประโยชน์ในพื้นที่พิพาทไปพลางก่อน เพื่อเข้าสู่กระบวนการแก้ไขปัญหาร่วมกับรัฐบาล ต่อไป หาไม่แล้ว การแก้ไขปัญหาในอนาคต จะเป็นไปด้วยความยากลำบาก และมีอุปสรรคอย่างยิ่ง ซึ่งไม่เป็นที่ปรารถนาของพวกเราทุกคน จากที่กล่าวแล้วข้างต้น พวกเราจึงมีความจำเป็นต้องเดินทางเพื่อเข้าพบ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในวันที่ 8 สิงหาคม 2554 เพื่อนำเสนอแนวทางนโยบายการแก้ไขปัญหาที่ดินของเครือข่ายฯ ให้รัฐบาลได้บรรจุเป็นนโยบายเพื่อแถลงต่อรัฐสภา ต่อไป เชื่อมั่นในพลังประชาชน เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.) กำหนดการ รณรงค์ข้อเสนอภาคประชาชนสู่นโยบ ายรัฐบาล(สายอิสาน) สายอีสาน (ตอนกลาง) คอนสาร จ.ชัยภูมิ + ขอนแก่น + กาฬสินธุ์+ ร้อยเอ็ด +เพชรบูรณ์) 8.00 น. ขบวนรวมตัวกันที่บ้านบ่อแก้ว อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ / ทำพิธีขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 9.00 น. ขบวนขอนแก่นเข้าสมทบขบวนคอนสาร ที่สามแยกชุมแพ / เดินทางไปยื่นหนังสือถึงนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภา 12.00 น. เดินทางตามเส้นทางชุมแพ – ชัยภูมิ ถึงจังหวัดชัยภูมิเข้าสักการะเจ้าพ่อพระยาแล 14.00 น. ขบวนร้อยเอ็ดสมทบขบวนคอนสารที่สามแยกอำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา และรวมสายอีสานทั้งหมด 17.00 น. ขบวนอีสานเดินทางถึง หนองแซง จังหวัดสระบุรี ชาวบ้านสระบุรีจะรอคอยทำพิธีต้อนรับด้วยความอบอุ่น จากนั้น 18.00 น. เวทีอภิปราย นโยบายภาคประชาชนสู่นโยบายรัฐบาลหัวข้อ “กระบวนการยุติธรรม กระบวนการที่ต้องปฏิรูปเร่งด่วน” วันที่ 8 สิงหาคม 2554 03.30 น. ขบวนอีสานเดินทางออกจากหนองแซงมุ่งหน้าเข้ากรุงเทพ ฯ 5.00 น. ขบวนอีสานเดินทางมาสมทบขบวนเหนือ ที่ธรรมศาสตร์ (รังสิต) 6.00 น. ขบวนเหนือรวมกับขบวนอีสานเคลื่อนขบวนจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รังสิต) มุ่งหน้าไปยังลานพระบรมรูปทรงม้าเพื่อรอพบนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรที่หน้ารัฐสภา ถ้าไม่มาพบจะเคลื่อนขบวนต่อไปยังพรรคเพื่อไทย (ถนนเพชรบุรีตัดใหม่) สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||
TCIJ: ชุมนุมที่หน้า อ.คอนสาร ร้องชะลอส่งคดีจับ 12 ชาวบ้านบุกรุกป่าให้อัยการ Posted: 06 Aug 2011 08:07 AM PDT ชาวบ้านแจงที่ทำกินดั้งเดิม แต่ประกาศเขตรักษาพันธุ์ฯ ทับที่ ชี้ก่อนหน้านี้ชุมนุม สภ.ห้วยยาง แต่เจ้าหน้าที่ไม่สนใจ จึงเปลี่ยนมาร้องนายอำเภอ ด้านนายอำเภอรับจะดูสำนวนเพิ่ม พร้อมขยายเวลายื่นเรื่องอัยการอีก 7 วัน 4 ส.ค.54 ประมาณ 12.30 น.ชาวบ้านทุ่งลุยลาย บ้านโนนศิลา และชุมชนบ้านบ่อแก้ว จำนวนกว่า 120 คน เดินทางไปชุมนุมบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอคอนสาร จ.ชัยภูมิ เรียกร้องขอเข้าพบนายประทีป ศิลปะเทศ นายอำเภอคอนสาร เพื่อให้ชะลอการส่งสำนวนคดีที่ชาวบ้าน 12 คนถูกจับข้อหาบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติต่ออัยการ จากกรณีเมื่อ วันที่ 1 ก.ค.54 นายอำเภอคอนสาร นำกำลังเจ้าหน้าที่ป่าไม้ และ อส.จำนวนกว่า 200 นาย ร่วมกันจับกุมและตรวจยึดพื้นที่ป่าโคกยาว ต.ทุ่งลุยลาย อ.คอนสาร และ ต.ห้วยยาง อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ พร้อมแจ้งข้อกล่าวหาดำเนินคดีกับชาวบ้าน จำนวน 12 คนว่า บุกรุก แผ้วถาง สร้างสิ่งปลูกสร้าง ในบริเวณพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติผาผึ้ง นายเด่น คำแหล่ ชาวบ้าน หมู่ 1 ตำบลทุ่งลุยลาย เล่าว่า ก่อนจะเคลื่อนขบวนของตัวแทนผู้ถูกกล่าวหา และผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน เพื่อมาขอพบนายอำเภอ ชาวบ้านได้ชุมนุมบริเวณหน้า สภ.ห้วยยาง ในช่วงเช้าของวันที่ 3 ส.ค.54 โดยได้เข้าแจ้ง ร.ต.อ.นิติพัฒน์ พิกุล เจ้าพนักงานสอบสวน รวมทั้งเข้าพบ พ.ต.อ.ชัยพร อุ่นรัตน์ ผกก.สภ.ห้วยยาง ถึงการมาเรียกร้องครั้งนี้ โดยขอให้เจ้าหน้าที่ชะลอการดำเนินคดีกับชาวบ้านที่ถูกเจ้าหน้าที่ป่าไม้จับกุมทั้ง 12 คน นายเด่น กล่าวเพิ่มว่า ระหว่างคดีอยู่ในการดำเนินการของ สภ.ห้วยยาง ในขณะนี้ ชาวบ้านไม่ได้รับความเป็นธรรม สืบเนื่องจากหน่วยงานรัฐเข้าไปใช้กำลังขับไล่ออกจากพื้นที่ ถือเป็นการละเมิดสิทธิในที่ดินทำกินเดิมของชาวบ้าน และยังส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ ทำให้คนในชุมชนสูญเสียโอกาส ดังนั้นจึงอยากให้มีการสอบสวน หาข้อมูลเพิ่มเติมด้วยความเป็นธรรม พร้อมทั้งให้มีการขยายเวลาการส่งสำนวนคดีต่ออัยการออกไปก่อน “ผมและตัวแทนพี่น้องที่มาร่วมชุมนุมอยู่หน้า สภ.ห้วยยาง ตั้งแต่เช้ายันเย็น แจ้งบันทึกร้องเรียนก็แล้ว เข้าพบเจรจาผู้กำกับฯ ก็แล้ว กระทั่งพากันหลับนอนค้างคืนด้านหน้าโรงพัก ยังไม่ได้รับคำตอบจากผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้องถึงการที่ช่วยชะลอการส่งสำนวนคดีส่งอัยการ จนช่วงสายวันนี้ (4 ส.ค.54) ได้มีการปรึกษากันว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถพึ่งพาแก้ไขปัญหาการเรียกร้องให้แก่ชาวบ้านได้ จึงเปลี่ยนวิธีการชุมนุมเดินทางจากหน้า สภ.เข้าร้องเรียนต่อนายอำเภอ ในฐานะหัวหน้าเจ้าพนักงานสอบสวน และเป็นผู้ที่นำกำลังเข้าจับกุมชาวบ้าน และเป็นผู้ที่มีอำนาจหน้าที่สามารถชะลอการดำเนินคดีส่งต่ออัยการได้อย่างแท้จริง” นายเด่น กล่าว ด้านนายนิด ต่อทุน ประธานชุมชนบ้านบ่อแก้ว ต.ทุ่งพระ อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ ผู้มาชุมนุม ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ชาวบ้านเข้าทำกินในพื้นที่นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2496 โดยปลูกข้าวโพด ถั่ว มะขามหวาน ลำไย ฯลฯ รวมทั้งบ้านทุ่งลุยลายได้รับการจัดตั้งเป็นหมู่บ้านตามกฎหมายครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2508 กระทั่งวันที่ 28 ต.ค.2543 ได้ถูกประกาศเป็นพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าผาผึ้ง ครอบคลุมพื้นที่ ต.ทุ่งพระ ต.ทุ่งนาเลา และ ต.ห้วยยาง อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ จากการประกาศเขตรักษาพันธุ์ฯ ทำให้ซับซ้อนกันระหว่างพื้นที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยเดิม จึงเป็นที่มาของปัญหาที่ชาวบ้านถูกกระทำโดยไม่ได้รับความเป็นธรรม ทั้งจากการคุกคาม ข่มขู่ และถูกดำเนินคดีในข้อหาบุกรุก ทั้งที่เป็นพื้นที่ทำกินของชาวบ้านมาแต่ครั้งบรรพบุรุษ “ปัจจุบันชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนเพิ่มมากขึ้น ส่วนผู้ถูกดำเนินคดีบุกรุกเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าผาผึ้ง โดยมีสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 7 (นครราชสีมา) พร้อมด้วยอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พร้อมเรียกค่าเสียหายทางเพ่ง ให้ชำระค่าปรับเป็นจำนวนเงินกว่า 1,155,860.97 บาท พวกผมยากจนอย่างนี้ ปลูกพืชไร่ ปลูกผักหาเลี้ยงครอบครัว ในที่ทำดินของตัวเองก็ถูกไล่ออกมา แล้วจะหาเงินเป็นจำนวนมากในข้อกล่าวหาให้มาชำระได้จากที่ไหน” ประธานชุมชนบ้านบ่อแก้วกล่าวด้วยสีหน้าวิงวอน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เวลาประมาณ 14.30 น.ชาวบ้านส่งตัวแทน คือนายเหลือ ซึมดอน นายสา สมบัติมาก และนายประชัน ชำนาญวาส เข้ายื่นหนังสือข้อเรียกร้องและขอเข้าพบนายอำเภอเพื่อให้มารับฟังปัญหาความเดือดร้อน และการช่วยเหลือด้านคดีเพื่อให้ขยายเวลาการส่งสำนวนต่ออัยการ อยากไรก็ตาม นายชนะโชติ ศรีกุล ปลัดอำเภออาวุโส ได้ออกมารับหนังสือแทน โดยอ้างว่านายอำเภอติดธุระไม่สามารถออกมาพบได้ ชาวบ้านจึงลุกฮือพยายามขึ้นไปพบที่ห้องทำงาน บนชั้น 2 ของอาคาร เพราะไม่เชื่อคำพูดของปลัดอำเภออาวุโส และไม่เชื่อใจในตัวนายอำเภอ เนื่องจากที่ผ่านมาเคยบ่ายเบี่ยงเพื่อหลีกเลี่ยงการพบกับชาวบ้านมาแล้วหลายครั้ง กระทั่ง เวลา 15.00 น. นายอำเภอ ลงมาพบพูดคุยกับกลุ่มผู้มาเรียกร้อง เป็นเวลานานกว่าชั่วโมง พร้อมให้คำมั่นว่าจะขอดูสำนวนการสอบสวนเพิ่มเติม รวมทั้งจะขยายเวลายื่นต่อไปยังอัยการ อีก 7 วัน ชาวบ้านยอมรับข้อเสนอและเดินทางกลับยังที่พัก พร้อมแสดงเจตจำนงต่อหน้านายอำเภอว่าเมื่อครบกำหนดชาวบ้านจะมาทวงสัญญาการแก้ไขปัญหา เรื่องและภาพโดย: ศรายุทธ ฤ.
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||
เสวนา: “ทางออกกรณีปราสาทพระวิหาร” Posted: 06 Aug 2011 07:03 AM PDT 5 ส.ค. 2554 – เมื่อเวลา 13.00 น. ณ อาคารเทพทวารวดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย จัดการอภิปรายทางวิชาการ “ทางออกกรณีพิพาทปราสาทพระวิหาร” โดยมิผู้ร่วมอภิปราย ได้แก่ นพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ อดีตนักกฎหมายในคดีศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ศ.กิตติคุณ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า และศ.ดร.ชุมพร ปัจจุสานนท์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการวิชาการและวิจัย คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คำสั่งศาลโลก ไทยได้เปรียบหรือเสียเปรียบ? ชุมพร ปัจจุสานนท์ นักวิชาการทางด้านกฎหมายระหว่างประเทศ กล่าวว่า การที่ศาลโลกออกคำสั่งให้มีมาตรการคุ้มครองชั่วคราวบริเวณปราสาทพระวิหาร ไม่ควรมองว่าจะได้เปรียบหรือเสียเปรียบ เนื่องจากศาลโลกเป็นองค์กรสากลที่ตัดสินจากความเป็นกลาง และมุ่งหวังผลทางมนุษยธรรม เช่น การให้ถอนทหารออกจากพื้นที่ดังกล่าวทั้งสองฝ่ายเพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะ หรือ การอนุญาตให้ฝ่ายกัมพูชาสามารถขนสงเสบียงสิ้นเปลืองให้แก่ประชาชนในพื้นที่ รวมถึงการคุ้มครองความเสียหายที่ไม่อาจแก้ไขได้ ตามคำร้องของกัมพูชา ชุมพลให้ความเห็นว่า คำสั่งของศาลโลก ที่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายให้รัฐทั้งสองจำเป็นต้องปฏิบัติตาม พร้อมทั้งให้รายงานผลการปฏิบัติกลับไปยังศาลโลก และให้มีผู้สังเกตการณ์จากอาเซียนเข้ามาในเขตปลอดทหาร ล้วนเป็นกลไกที่ศาลโลกเห็นว่าจำเป็นและสามารถหนุนเสริมการสร้างสันติภาพในความขัดแย้งดังกล่าวได้ จึงไม่ควรถูกมองว่าเป็นการแทรกแซง หรือเป็นเรื่องที่ไทยต้องเสียเปรียบ ด้านวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ เห็นคล้ายกันว่า คำสั่งชั่วคราวของศาลโลกที่ตัดสินเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เป็นคำตัดสินชั่วคราวที่มีความจำเป็น เนื่องมาจากเหตุความเสียหายที่ไม่อาจแก้ไขได้ และกลไกระหว่างประเทศอื่นๆ ก่อนหน้านี้ ต่างก็ใช้ไม่ได้ผล ไม่ว่าจะเป็น คำร้องขอของสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในปี 2552 ที่เรียกร้องให้กัมพูชาและไทยหยุดยิง หรือการพยายามเสนอตัวไกล่เกลี่ยของรัฐบาลอินโดนีเซียก่อนหน้านี้ ในฐานะประธานอาเซียน ทำให้ศาลโลกจำเป็นต้องมีคำสั่งดังกล่าวเป็นมาตรการบังคับออกมา อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวก็ไม่ควรนับเป็นการแทรกแซง เนื่องจากในการปฏิบัติตามคำสั่งของศาลโลก จำเป็นต้องมีการตีความคำสั่งให้ครบถ้วนและให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของคำสั่ง ซึ่งในที่สุดต้องนำไปผ่านกฤษฎีกาเพื่อตีความ เพื่อให้มีความเกี่ยวโยงกับรัฐธรรมนูญของไทย นอกจากนี้ การเข้ามาของผู้สังเกตการณ์อาเซียน ก็จำเป็นต้องขออนุญาตจากทั้งสองประเทศก่อนที่จะเข้ามาได้ และให้ทำงานกันในลักษณะให้ความร่วมมือจากทั้งสองฝ่าย จึงไม่ควรนับเป็นการแทรกแซงอำนาจอธิปไตยของไทย แต่เป็นไปเพื่อเอื้ออำนวยให้กลไกดังกล่าวทำงานได้ดีที่สุดเท่านั้น นพดล ปัทมะ แจง “ขายชาติ” เป็นเพียง “วาทกรรม” ที่ไม่เป็นจริง นพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ลงนามกับกัมพูชาในข้อตกลง MOU ปี 2551 ชี้แจงว่า คำว่า “ขายชาติ” ที่ตนถูกกล่าวหา เป็นเพียงวาทกรรมเท่านั้น เนื่องจากในสมัยของรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ถูกกล่าวหาว่าขายชาติ หากแต่ในความเป็นจริงนั้น ศาลโลกเป็นผู้ตัดสินตั้งแต่ปีพ.ศ. 2505 แล้วว่าปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา และสิ่งที่เป็นข้อพิพาทแท้จริงคือพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร โดยในปี 2548 กัมพูชานำปราสาทและพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม. ไปยื่นจดทะเบียนมรดกโลกกับยูเนสโก แต่ก็ได้รับการประท้วงจากฝ่ายไทย เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับการเอาพื้นที่ทับซ้อนไปขึ้นทะเบียนมรดกโลก ทำให้การประชุมที่ไครส์เชิร์ชในปี 2551 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ตนจึงไปเจรจาให้กัมพูชาเอาพื้นที่ทับซ้อนออกจากแผนการขึ้นทะเบียนมรดกโลก ซึ่งออกมาเป็นแถลงการณ์ร่วม (Joint Communiqué) ในปี 2551 สนับสนุนให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนเฉพาะปราสาทพระวิหาร อย่างไรก็ตาม ก็ถูกศาลปกครองวินิจฉัยให้เป็นโมฆะเนื่องจากมองว่าเป็นหนังสือสัญญา ซึ่งจำเป็นต้องผ่านกระบวนการพิจารณาของรัฐสภาก่อนตามมาตรา 190 นพดลอธิบายต่อว่า เหตุที่ไม่ได้นำวาระดังกล่าวผ่านสู่สภาเป็นเพราะว่า แถลงการณ์ร่วม ไม่นับเป็นหนังสือสัญญา หากเป็นเพียงบันทึกการประชุมเท่านั้น ซึ่งไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอาณาเขต หรือส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ แต่มีเพียงเจตนาในการปกป้องดินแดน โดยกระบวนการดังกล่าว ต่างเป็นไปตามข้อกำหนดและคำแนะนำของกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ตามมาตรา 190 และยังได้นำวาระดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้บัญชาการทหารบก หรือคณะรัฐมนตรี “ณ วันนี้ไทยยังไม่ได้เสียดินแดนใดๆ พื้นที่ทับซ้อนก็เป็นพื้นที่ทับซ้อน ที่จริงเป็นเพราะรัฐบาลสมัคร (สุนทรเวช) กัมพูชาจึงขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทพระวิหาร ในการประชุมการขึ้นทะเบียนมรดกโลกที่เมืองควิเบก ในปี 2551 โดยแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวมีข้อเสนอว่า ในระหว่างที่ยังไม่ได้ปักปันดินแดนในพื้นที่พิพาทระหว่างไทย-กัมพูชา ควรมีโมเดลการจัดการพื้นที่ร่วมกัน ก่อนที่จะมีการปักปันเขตแดนถาวร นี่คือคำในแถลงการณ์ร่วม” อดีต รมต. ว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าว “ในขณะนี้ ศาลโลกรับคดีไว้แล้ว และจะตัดสินในอีกปีสองปีข้างหน้าว่า พื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม. เป็นของไทยทั้งหมด หรือเป็นของกัมพูชาทั้งหมด นอกจากนี้ก็มีแนวทางใหม่คือ พื้นที่พิพาท 4.6 ตร.กม. ควรเป็นพื้นที่ที่จะได้บริหารจัดการร่วมกัน และให้ศาลโลกตัดสิน จริงๆ ก็มีคนเสนอมาเหมือนกันว่า เราอาจมีความเสี่ยงในการแพ้คดีดังกล่าว เราจึงควรเสนอให้มีการจัดการร่วมกัน เพื่อให้ได้ประโยชน์ระหว่างไทยและกัมพูชาเท่าๆ กัน คนละครึ่ง” นักวิชาการเสนอทางออก ต้องจัดการให้สมประโยชน์ทั้งสองฝ่าย เฉกเช่นวิถีของผู้มีอารยะ ชุมพร ปัจจุสานนท์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า พื้นที่ทับซ้อน (ในภาษาอังกฤษคือ Overlapping Claim Area –OCA) แท้จริงแล้วไม่ได้มีแต่ในเฉพาะกรณีของไทยเท่านั้น หากแต่มีมาแล้วในหลายประเทศ มีทั้งทางบก และทางน้ำ โดยวิธีในการแก้ไขจัดการปัญหาดังกล่าว จำเป็นต้องมีวิธีที่สามารถรักษาผลประโยชน์ได้อย่างชนะทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่จะเอาแต่ปืนมายิงใส่กัน ทั้งนี้ ประเทศไทยเองยังเคยจัดการปัญหาพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทยและมาเลเซียเกี่ยวกับพื้นที่ทางทะเลได้โดยไม่มีปัญหาอะไร ซึ่งจะเห็นว่าเป็นเรื่องที่เจรจากันได้ ทั้งนี้ บรรยากาศทางการเมืองต้องดี และคนในประเทศก็จำเป็นต้องเห็นใจด้วยกันทั้งสองฝ่าย “เรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร ยูเนสโก้เองเขาก็มีกรอบในการปฏิบัติ และมีหน้าที่ปกป้องคุ้มครองมรดกของโลก คุณสุวิทย์ คุณกิตติ เขาไปเถียงอะไรในที่ประชุม ยูเนสโก้เขาไม่บันทึกไว้หรอก เนืองจากการพิจารณามรดกโลก ไม่เกี่ยวกับปัญหาเรื่องการตัดสินเส้นเขตแดน แทนที่เราจะเดินออกมาจากที่ประชุม เราต้องใช้วิธีการคัดค้านให้เป็นประโยชน์ เพราะไม่รู้ว่าออกมาแล้วได้อะไร นี่เป็นข้อสังเกตเบื้องต้น เพราะตอนนี้ก็ยังไม่มีผลทางกฎหมาย ต้องมีกระบวนการประกอบ ดังนั้นเป็นเรื่องทีรัฐบาลใหม่ต้องมาทบทวนว่าจะออกจากคณะกรรมการมรดกโลกหรือไม่” ชุมพรอธิบาย “ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่า เรื่องของอธิปไตยของประเทศเป็นเรื่องที่จำเป็น และน่าสมควรเป็นเรื่องที่หวงแหน เราต้องปกป้องก็จริง แต่การใช้อำนาจอธิปไตย มันเป็นเชิง Relative (สัมพัทธ์) ตามกฎเกณฑ์กติกาต่างๆ ที่อยู่ในโลกมากมายหลายประการ การใช้อำนาจที่สามารถทำให้เราต้องอยู่ในโลกได้ มันต้องใช้ต้องร่วมกับคนอื่น มีความสัมพัทธ์กับคนอื่น ต้องร่วมมือกันเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน” นักวิชาการด้านกฎหมายระหว่างประเทศกล่าว จะแก้ปัญหาได้ สุดท้ายต้องกลับไปสู่กระบวนการทางการทูต ด้านวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักวิชาการอิสระด้านกฎหมายระหว่างประเทศ เสนอทางออกสามประการที่อาจเป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทปราสาทพระวิหาร กล่าวคือ ทางแรก กัมพูชาน่าจะต้องถอนคดีออกมาจากศาลโลก เพื่อยุติข้อพิพาทระหว่างทั้งสองฝ่ายตั้งแต่ต้น แต่ท้ายที่สุดแล้ว เราจำเป็นจะต้องกลับไปสู่กระบวนการของนักการทูต เพื่อยุติข้อพิพาท และหาวิธีที่จะพัฒนาพื้นที่และผลประโยชน์ดังกล่าวร่วมกัน “แน่นอนว่า การจะให้กัมพูชาถอนคำร้องเรื่องคดีออกจากศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเป็นเรื่องยาก แต่เราอาจต้องมาคิดว่ามีอะไรบ้างที่เราอาจจะเสนอให้เขาได้เพื่อเป็นการจูงใจและแลกเปลี่ยน เช่น การเสนอเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจากรัฐบาลไทย เพื่อให้กัมพูชานำไปพัฒนาประเทศ หรือกำหนดให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่พัฒนาร่วมกัน ดังที่ไทยเคยบริการจัดการกับมาเลเซียในพื้นที่ทางทะเลทับซ้อน ซึ่งอาจทำได้โดยให้เป็นเขตท่องเที่ยวพิเศษที่ร่วมมือกันบริหารจัดการ” วีรพัฒน์ระบุ ทางที่สองคือ ไทยอาจต่อสู้คดีดังกล่าวต่อไป ในเรื่องบริเวณของปราสาทพระวิหารดั้งเดิมว่ามีเขตแดนอย่างไร ซึ่งอาจย้อนไปถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ 14 เนื่องจากประเด็นปัญหาข้อพิพาทในตอนนี้ คือคำตัดสินของศาลเรื่อง “บริเวณโดยรอบ” (its vicinity) ของปราสาทพระวิหาร ซึ่งยังมีความคลุมเครือไม่ชัดเจน และทางที่สาม เป็นหน้าที่ของรัฐบาลใหม่ที่จะต้องถามตัวเองว่าจะจัดการความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชาว่าจะเป็นไปในทิศทางใด ว่าจะสู้ให้สุดตัว หรือจะหาทางออกที่ยอมรับได้ร่วมกัน ทั้งนี้ คงไม่ใช่เป็นแค่หน้าที่ของรัฐบาลที่ไปเจรจาแต่เพียงผู้เดียว เนื่องจากมีผู้เล่นในปัญหานี้หลายส่วน จึงเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการจากทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือนักวิชาการต่างๆ ที่มองข้อเท็จจริง แต่กลับถูกเรียกว่า “คลั่งชาติ” หรือ “ขายชาติ” บ้าง ให้เข้ามาทำงานร่วมกับรัฐบาลชุดใหม่ ต่อแนวทางการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทและการบริหารจัดการปราสาทพระวิหาร ทั้งนี้ ต้องเข้าใจว่า กัมพูชาเองไม่ได้อยากต่อสู้กับเราเรื่องชัยชนะด้านการทหารหรือความมั่นคง แต่เขาต่อสู้ตรงนี้ เนื่องจากต้องการเม็ดเงินและการลงทุนทางเศรษฐกิจ เปิดการท่องเที่ยว เพื่อนำเงินดังกล่าวไปพัฒนาประเทศ จึงควรต้องเห็นใจและหาวิธีที่จะอยู่ด้วยกันได้อย่างสมประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ‘นพดล’ เสนอ เปลี่ยน “พื้นที่ทับซ้อน” ให้เป็น “พื้นที่พัฒนาร่วมกัน” ด้าน นพดล ปัทมะ เห็นว่า ต่อประเด็นข้อเสนอให้กัมพูชาถอนฟ้องคดีในศาลโลก ตอนนี้อาจจะเกินมาไกลพอสมควร เกินกว่าจะถอยกลับได้ และจากการที่กัมพูชาให้ศาลตีความการตัดสินการพิจารณาคดีปี 2505 หากดูเราดูคะแนนการตัดสินของคณะผู้พิพากษาศาลโลกเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคมที่ผ่านมาแล้ว ก็สามารถเห็นแนวโน้มแล้วว่า ใครมีแนวโน้มที่จะแพ้มากกว่ากัน จากแนวโน้มดังกล่าว ตนจึงเห็นว่า ที่ผ่านมาทางการไทยพยายามประคับประคองเรื่องดังกล่าวให้เป็นปัญหาทวิภาคีมาตลอด โดยป้องกันไม่ให้เป็นปัญหาไตรภาคี หรือมีส่วนอื่นมาเกี่ยวข้อง เนื่องจากเห็นแล้วว่าผลที่ออกมาไม่น่าจะเป็นผลดีต่อฝ่ายไทยนัก ทั้งนี้ ตนจึงเสนอทางออกคือ ให้ทั้งสองประเทศพัฒนาผลประโยชน์ร่วมกัน จากพื้นทีทับซ้อน (Overlapping Claim Area) ให้กลายเป็นพื้นที่พัฒนาร่วมกัน (Joint Development Area) และในฐานะนักการเมือง ได้เสนอด้วยว่า ควรให้มีการทำประชามติไปเลยเพื่อชี้ให้เห็นว่า ประชาชนเห็นว่าเรื่องนี้ควรจะจัดการอย่างไร ควรนำคดีไปสู้ต่อที่กรุงเฮกหรือไม่ หรือจะปล่อยให้เป็นไปเช่นนี้ นอกจากนี้ นพดลยังเห็นว่า เรื่องพิพาทปราสาทเขาพระวิหาร เป็นเรื่องที่ใหญ่เกินกว่าพรรคใดพรรคหนึ่งจะทำงานเองได้ จึงเสนอให้เชิญทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาเป็นคณะกรรมการร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มทางการเมืองต่างๆ พรรคการเมืองต่างๆ นักวิชาการ และสื่อมวลชน เพื่อให้มีการหารือและตัดสินใจร่วมกันที่ยอมรับได้เป็นส่วนใหญ่ของสังคม 'บวรศักดิ์' แนะ ไทยต้องแสดงความเป็นอารยะต่อสังคมนานาชาติ เช่นเดียวกับ บวรศักดิ์ อุวรรณโณที่เห็นว่า ถ้ากัมพูชายังให้ศาลตีความคำพิพากษาเมื่อปี 2505 ไทยน่าจะมีความเสี่ยงในการแพ้ จึงควรจะให้มีการถอนคำร้องของกัมพูชาออกจากศาลโลก แต่คำถามคือ จะทำอย่างไรให้กัมพูชายอมถอนการตีความดังกล่าวออก เพราะความต้องการของกัมพูชา ไม่ใช่เป็นเพราะคำพิพากษาเหนือดินแดนเท่านั้น ซึ่งอาจส่งผลให้เขาได้ดินแดนเพิ่มมาเพียงหนึ่งตารางกิโลเมตรหรืออะไรก็ตามแต่ แต่การได้ชัยชนะของคำพิพากษาของศาลโลก ยังส่งผลให้รัฐบาลฮุนเซน ได้อำนาจการเมืองเบ็ดเสร็จในสภา ดังนั้น คงเป็นไปไม่ได้ที่จะให้กัมพูชาถอนคดีออก คำถามคือว่า เราควรต้องทำอย่างไรให้เราอยู่ในสถานะที่ดีที่สุด บวรศักดิ์ เสนอว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องทำให้คนในสังคมโลกและประชาคมนานาชาติเห็นว่าเราเป็นสังคมที่มีอารยะ และเคารพกฎหมายระหว่งประเทศ หากไทยยังคงยืนยันที่จะปฏิเสธกลไกระหว่างประเทศต่างๆ คงจะเป็นผลร้ายต่อประเทศมากกว่าผลดี อาการอย่างนี้ต้องเลิกเสีย เพราะแสดงถึงความไม่แยแสต่อสันติวิธี ไม่แยแสต่อความเคารพกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่แยแสต่อประชาคมโลก การกระทำดังกล่าวนี้ ไม่ใช่วิสัยของชาติที่จะได้การยอมรับและการสนับสนุนจากนานาชาติ ดังนั้น หากไทยไม่อยากให้เกิดความเสียหายในทางระหว่างประเทศ แนวทางการดำเนินการแก้ไขจัดการข้อพิพาท จึงต้องระวังความรู้สึกระหว่างประเทศให้มากขึ้น สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||
อำนาจที่ได้รับมอบของผู้รายงานพิเศษด้านการค้ามนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งสตรีและเด็ก Posted: 06 Aug 2011 06:17 AM PDT 6 ส.ค. 54 - ในการประชุมสมัยที่ 60 คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้มีมติเห็นชอบในการตัดสินใจ 2004/110 ซึ่งได้ตกลงแต่งตั้งผู้รายงานพิเศษ (Special Rapporteur) ด้านการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสตรีและเด็ก โดยเน้นมิติสิทธิมนุษยชนของผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ โดยมอบให้มีอำนาจเป็นเวลา 3 ปี ในการตัดสินใจดังกล่าว คณะกรรมาธิการฯ ได้ขอให้ผู้รายงานพิเศษด้านการค้ามนุษย์ฯ จัดทำรายงานประจำปี พร้อมด้วยข้อเสนอแนะในเรื่องมาตรการที่จำเป็นในการพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้เสียหายเพื่อเสนอต่อคณะกรรมาธิการฯ คณะกรรมาธิการฯ ได้ขอให้ผู้รายงานพิเศษด้านการค้ามนุษย์ฯ ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพต่อข้อมูลข่าวสารที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่อาจจะเกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้เสียหายและผู้เสี่ยงที่จะตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ และดำเนินการร่วมมืออย่างเต็มที่กับผู้รายงานพิเศษด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้รายงานพิเศษด้านความรุนแรงต่อสตรี ตลอดจนให้ความสำคัญอย่างเต็มที่ต่อการมีส่วนร่วมของผู้รายงานพิเศษด้านอื่น ๆ ในการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ นอกจากนี้คณะกรรมาธิการฯยังได้ขอให้ผู้รายงานพิเศษด้านการค้ามนุษย์ทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้องค์การสหประชาชาติ องค์การระดับภูมิภาคที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้เสียหายและตัวแทนของผู้เสียหายอีกด้วย ในวันที่ 18 มิถุนายน 2551 คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนได้มีข้อมติ 8/12 ให้ขยายระยะเวลาที่ผู้รายงานพิเศษด้านการค้ามนุษย์ได้รับมอบอำนาจออกไปอีก 3 ปี ต่อมาในวันที่ 16 มิถุนายน 2554 ข้อมติ 17/1 ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนได้ขยายระยะเวลาดังกล่าวออกไปอีก 3 ปี ผู้รายงานพิเศษด้านการค้ามนุษย์มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้:- ก) ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ถูกค้า และต่อสถานการณ์ที่สิทธิมนุษยชนของผู้ถูกค้าไม่ได้รับการคุ้มครอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยการสื่อสารไปยังรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ หรือการออกแถลงการณ์และส่งข่าวแจกไปยังสื่อมวลชน ข) เดินทางไปเยือนประเทศที่มีการค้ามนุษย์ เพื่อศึกษาสถานการณ์ ณ จุดเริ่ม และคิดค้นข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันและ/หรือปราบปรามการค้ามนุษย์ และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้เสียหายในประเทศและ/หรือภูมิภาคใดโดยเฉพาะ ค) จัดทำและเสนอรายงานประจำปีเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการในระหว่างการรับมอบอำนาจ ชีวประวัติของผู้รายงานพิเศษด้านการค้ามนุษย์คนปัจจุบัน Ms. Joy Ngozi Ezeilo (ปี 2551 ถึงปัจจุบัน) เป็นชาวไนจีเรีย ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้รายงานพิเศษด้านการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสตรีและเด็ก มาตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2551 ปัจจุบันเป็นทนายความด้านสิทธิมนุษยชน และเป็นศาสตราจารย์ที่ University of Nigeria มีประสบการณ์ทำงานให้แก่รัฐบาลในตำแหน่งต่าง ๆ เช่น เป็นข้าหลวงผู้ทรงเกียรติประจำกระทรวงกิจการสตรีและพัฒนาสังคมของรัฐเอนูกู และเป็นผู้แทนในการประชุมระดับชาติเรื่องการปฏิรูปการเมือง นอกจากนี้ยังมีประสบการณ์เป็นที่ปรึกษาให้แก่องค์กรระหว่างประเทศหลายองค์กร และมีบทบาทในองค์กรนอกภาครัฐ (NGO) หลายองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่ทำงานด้านสิทธิสตรี มีผลงานทางวิชาการหลากหลายด้าน และได้รับการพิมพ์เผยแพร่อย่างกว้างขวาง เช่น ด้านสิทธิมนุษยชน สิทธิสตรี และกฎหมายอิสลาม (Sharia) ในปี 2549 ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งชาติชั้น Officer of the Order of Nigeria เนื่องจากการทำงานในฐานะผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน ผู้ดำรงตำแหน่งผู้รายงานพิเศษฯ คนก่อนหน้านี้คือ Ms. Sigma Huda (ชาวบังคลาเทศ) (ปี 2547 – 2551) ขอบเขตของอำนาจที่ได้รับมอบ ดังที่ผู้รายงานพิเศษด้านการค้ามนุษย์ได้ระบุในรายงานฉบับแรกที่เสนอต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน ขอบเขตของอำนาจที่ผู้รายงานพิเศษฯ ได้รับมอบนั้น ครอบคลุมทุกรูปแบบและทุกปรากฏการณ์ของการค้ามนุษย์ อันได้แก่ :- (1) การค้าเด็ก ในปัจจุบันเด็กถูกค้าเพื่อจุดประสงค์ทางเพศ เพื่อการรับเป็นบุตรบุญธรรม เพื่อ เป็นแรงงาน (เช่น ทำงานบ้าน , ดูแลเด็กขณะพ่อแม่ไม่อยู่/เป็นพี่เลี้ยงเด็ก , เป็นขอทาน , กระทำอาชญากรรม เช่น ขายยาเสพติด ฯลฯ) เพื่อเข้าร่วมในกรณีพิพาทที่ใช้อาวุธ คือ เป็นทหารรับจ้าง/ทหารเด็ก และเพื่อเป็นทาสทางเพศ ความเชื่อเดิมๆ ที่ว่ามีแต่เด็กผู้หญิงเท่านั้นที่ถูกค้าเพื่อจุดประสงค์ทางเพศ ไม่จริงเสียแล้วในปัจจุบัน เพราะปรากฏการณ์ที่เด็กผู้ชายอายุน้อยถูกค้า และถูกแสวงหาประโยชน์ทางเพศในกิจกรรมที่ไม่น่าสงสัย อย่างเช่น กีฬา เกิดบ่อยขึ้นเรื่อย ๆ (2) การค้าผู้ชายเพื่อเป็นแรงงานที่ถูกบังคับและเพื่อการแสวงหาผลประโยชน์ในลักษณะอื่น ๆ รูปแบบการค้ามนุษย์ลักษณะนี้ยังไม่เป็นที่สนใจมากนัก แต่ความจริงก็คือปรากฏการณ์นี้กำลังลุกลามกว้างขึ้น ผู้ชายและโดยเฉพาะเด็กผู้ชายถูกค้าเพื่อการเอารัดเอาเปรียบแรงงานในงานก่อสร้าง การเกษตร รวมทั้งการประมงและการทำเหมืองแร่ (3) การค้าผู้หญิงและเด็กผู้หญิงเพื่อบังคับให้แต่งงาน บังคับให้ค้าประเวณี เพื่อการแสวงหา ประโยชน์ทางเพศ และเพื่อเป็นแรงงานที่ถูกบังคับ (เช่น ทำงานบ้าน , ทำงานในโรงงาน และเหมืองแร่ รวมทั้งเป็นแรงงานในรูปแบบอื่น) เป็นเรื่องเข้าใจได้ว่าปัญหาการค้ามนุษย์เพื่อจุดประสงค์ทางเพศเป็นที่สนใจกันมาก อีกทั้งข้อมูลเรื่องการค้ามนุษย์ที่มีให้ใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน ก็มุ่งไปที่ปัญหานี้เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นผู้รายงานพิเศษฯ จะสำรวจตรวจสอบปัญหาการค้าผู้หญิงเพื่อการเอารัดเอาเปรียบแรงงานให้ละเอียดยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการใช้แรงงานในครัวเรือนและภาคอื่น ๆ (4) การค้ามนุษย์เพื่อให้ได้อวัยวะ ส่วนของร่างกาย และเนื้อเยื่อของมนุษย์ การแสวงหาข้อเท็จจริงและ สถิติเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ในรูปแบบนี้เป็นงานที่ท้าทายมาก แต่ปัญหานี้มีแนวโน้มขยายตัวยิ่งขึ้นท่ามกลางความพร้อมของตลาดสำหรับสินค้าประเภทนี้ ดังนั้นจึงต้องมีการศึกษาปัญหานี้โดยละเอียด เพื่อวางกรอบของการแทรกแซงที่เหมาะสม (5) หลักฐานเดี่ยวกับการค้ามนุษย์ในรูปแบบอื่นนอกจากที่กล่าวมา พบว่ามีอยู่กระจัดกระจาย เช่น การค้ามนุษย์เพื่อการประกอบพิธีกรรม และการค้านักโทษ [1] ภาพรวมโดยสังเขปของมาตรฐานระหว่างประเทศ พิธีสารเพื่อป้องกัน ปราบปราม และลงโทษการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสตรีและเด็ก อันเป็นส่วน พิธีสารฉบับนี้เป็นตราสารทางกฏหมายในระดับระหว่างประเทศ ที่เป็นหลักอ้างอิงสำคัญในการปฏิบัติงานของผู้รายงานพิเศษฯ ทั้งยังเป็นกรอบทางกฎหมายที่สำคัญในการแก้ปัญหาการค้าเด็ก ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2554 ประเทศที่เป็นภาคีภายใต้พิธีสารฉบับนี้มีจำนวน 146 ประเทศ นอกจากนี้ผู้รายงานพิเศษฯ จะต้องปฏิบัติงานโดยอิงอยู่กับข้อเสนอแนะเรื่องหลักการและแนวทางว่าสิทธิมนุษยชนและการค้ามนุษย์ (Recommended Principles and Guidelines on Human Rights and Human Trafficking) และเอกสารที่ใช้คู่กันคือ คำอธิบายข้อเสนอแนะเรื่องหลักการและแนวทางว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและการค้ามนุษย์ (Commentary on the Recommended Principles and Guidelines on Human Rights and Human Trafficking) ที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชน (Office of the High Commissioner for Human Rights) ได้จัดทำขึ้นเพื่อเสนอแนวทางเชิงนโยบายในวิธีปฏิบัติบนพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนเพื่อป้องกันการค้ามนุษย์ และคุ้มครองผู้ถูกค้า ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนให้มีการบูรณาการมิติของสิทธิมนุษยชนเข้ากับกฏหมาย นโยบาย และการแทกแซงในเรื่องการต่อต้านการค้ามนุษย์ในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับสากล เนื่องจากการค้ามนุษย์อาจจะเกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในขอบเขตที่กว้างขวางมาก ดังนั้นผู้รายงานพิเศษฯ จึงต้องคิดค้นข้อเสนอแนะของตน โดยอ้างอิงถึงสนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนฉบับสำคัญ ๆ รวมทั้งสนธิสัญญาระดับภูมิภาคเกี่ยวกับการต่อต้านการค้ามนุษย์ที่ใช้บังคับในปัจจุบันด้วยเช่นกัน รายงานประจำปี รายงานประจำปีฉบับล่าสุดที่ผู้รายงานพิเศษฯ เสนอต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน (A/HRC/17/35 เสนอเมื่อเดือนมิถุนายน 2554) มีการวิเคราะห์ถึงสิทธิของผู้ถูกค้าที่จะได้รับการเยียวยาที่มีประสิทธิผล ส่วนรายงานฉบับก่อนหน้านั้น (A/HRC/14/32) เสนอเมื่อเดือนมิถุนายน 2553) ได้เน้นถึงความร่วมมือระดับภูมิภาค และระดับอนุภูมิภาคในการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ ผู้รายงานพิเศษฯ ได้เสนอรายงานประจำปีต่อสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเมื่อเดือนตุลาคม 2553 (A/65/288) มีเนื้อหาว่าด้วยการป้องกันการค้ามนุษย์ รายงานประจำปีฉบับต่อไปที่จะเสนอต่อสมัชชาใหญ่ในเดือนตุลาคม 2554 จะเน้นย้ำอีกครั้งถึงสิทธิของผู้ถูกค้าที่จะได้รับการเยียวยาที่มีประสิทธิผล ผู้สนใจสามารถอ่านรายงานประจำปีของผู้รายงานพิเศษฯ ที่เสนอต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน และสมัชชาใหญ่ได้ที่ http://www2.ohchr.org/english/issues/trafficking/annual.htm ประเทศที่ไปเยือนแล้ว
อ่านรายงานการเยือนประเทศต่างๆในตารางได้ที่http://www2.ohchr.org/english/issues/trafficking/visits.htm ประเทศที่ได้รับเชิญให้ไปเยือน • มอลโดวา (2554) ประเทศที่จะไปเยือนเร็ว ๆ นี้ • ไทย (8-19 สิงหาคม 2554) การร้องทุกข์รายกรณี ผู้รายงานพิเศษฯ มีหน้าที่ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ถูกค้า และต่อสถานการณ์ที่สิทธิมนุษยชนของผู้ถูกค้าไม่ได้รับการคุ้มครอง รวมถึงการดำเนินการให้มีการชดใช้อย่างพอเพียงสำหรับการละเมิดที่เกิดขึ้น และดำเนินการเยียวยาด้วยการให้ความช่วยเหลือที่เพียงพอด้านการรักษาพยาบาล ด้านจิตวิทยา สังคม และด้านอื่น ๆ ที่จำเป็น นอกจากนี้ผู้รายงานพิเศษฯ จะต้องดำเนินการทั้งในกรณีที่มีความเป็นไปได้ที่กฏหมายและ/หรือนโยบายใดอาจจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อสิทธิมนุษยชนของผู้ถูกค้าทั้งในประเทศต้นทาง ประเทศส่งผ่าน และประเทศปลายทาง และในกรณีที่ความพยายามที่จะปราบปรามหรือป้องกันการค้ามนุษย์อาจจะมีผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้ย้ายถิ่น ผู้ขอลี้ภัย หรือพลเมืองทั้งหมดของประเทศที่เกี่ยวข้อง อีกประการหนึ่ง ผู้รายงานพิเศษฯ จะต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อคดีการค้ามนุษย์ที่เกิดขึ้นภายในประเทศหนึ่ง ๆ (การค้ามนุษย์ในประเทศ) เช่นเดียวกัน ผู้รายงานพิเศษฯ มีหน้าที่ส่งคำร้องเรียนด่วนทันทีที่ได้รับข้อมูลข่าวสารบ่งชี้ว่าในบริบทของการค้ามนุษย์ที่เกิดขึ้น บุคคลหรือกลุ่มบุคคลกำลังใกล้จะถูกละเมืดสิทธิมนุษยชน หรือกำลังถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง คำร้องเรียนด่วนดังกล่าวจะต้องเป็นไปเพื่อมนุษยธรรม ในคำร้องเรียนผู้รายงานพิเศษฯ ต้องเตือนให้รัฐบาลที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงความเร่งด่วนเกี่ยวกับสถานการณ์เฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้น และขอร้องให้รัฐบาลแจ้งแก่ผู้รายงานพิเศษฯ ได้ทราบถึงมาตรการที่รัฐบาลได้ดำเนินการเพื่อรับรองว่าสิทธิมนุษยชนของบุคคลที่เกี่ยวข้องได้รับการเคารพโดยสมบูรณ์ ในกรณีที่ผู้รายงานพิเศษฯได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในบริบทของการค้ามนุษย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ผู้รายงานพิเศษฯ ต้องส่งหนังสือที่เรียกว่าหนังสือกล่าวหาที่แสดงความกังวล และนำเสนอข้อมูลข่าวสารดังกล่าวโดยสรุปไปยังรัฐบาลที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความกระจ่างต่อเรื่องนั้น ๆผู้รายงานพิเศษฯ จะต้องสนับสนุนให้ผู้กระทำการและบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายและทุกคนส่งข้อมูลข่าวสารใด ๆ ที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับสถานการณ์ของการค้ามนุษย์และการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องมาให้แก่ผู้รายงานพิเศษฯ ข้อมูลสำหรับการติดต่อ อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้รายงานพิเศษด้านการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสตรีและเด็กได้ที่เวบไซต์ของผู้รายงานพิเศษฯ http://www2.ohchr.org/english/issues/trafficking/index.htm ส่งอีเมล์แจ้งข้อมูลข่าวสารสำหรับคำร้องเรียนด่วน และหนังสือกล่าวหาไปได้ที่ urgent-action@ohchr.org …….. สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||
เครือข่ายภาคประชาชนร่วมแถลงข้อเสนอต่อรัฐบาลใหม่ Posted: 06 Aug 2011 05:17 AM PDT เครือข่ายองค์กรภาคประชาชน ร่วมแถลงข้อเรียกร้องรัฐบาลใหม่ให้ความสำคัญกับประชาชนอย่างทั่วถึงเท่าเทียม โดยคนพิการขอให้ได้เข้าถึงสิทธิประโยชน์ด้านยา ขณะที่ผู้สูงอายุขอเพิ่มเบี้ยเป็น 1,500 บาท/เดือน
6 ส.ค. 54 - สำนักข่าวไทยรายงานว่า ที่สวนโมกข์กรุงเทพฯ เครือข่ายองค์กรภาคประชาชน ร่วมแถลงข้อเรียกร้องรัฐบาลใหม่ให้ความสำคัญกับประชาชนอย่างทั่วถึงเท่าเทียม โดยคนพิการขอให้ได้เข้าถึงสิทธิประโยชน์ด้านยา ขณะที่ผู้สูงอายุขอเพิ่มเบี้ยเป็น 1,500 บาท/เดือน ตัวแทนเครือข่ายองค์กรภาคประชาชน 14 องค์กร จัดกิจกรรม “นโยบายประชาชนปฏิรูปโครงสร้างอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน สร้างรัฐสวัสดิการ” ที่ลานธรรม สวนโมกข์กรุงเทพฯ พร้อมร่วมแถลงข้อเสนอต่อรัฐบาลใหม่ให้ความสำคัญกับภาคประชาชนอย่างทั่วถึงเท่าเทียม นายชูเกียรติ สิงห์สูง ประธานฝ่ายการแพทย์ สภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย เป็นตัวแทนเครือข่ายคนพิการ กล่าวว่า เครือข่ายฯ ขอเรียกร้องต่อรัฐบาลใหม่ใน 2 ประเด็นหลัก คือ 1.ขอให้รัฐบาลบรรจุนโยบายด้านคนพิการเกี่ยวกับการนำกองทุนด้านสุขภาพแห่งชาติทั้ง 3 กองทุน คือ สำนักงานประกันสังคม สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และของข้าราชการ มารวมเป็นกองทุนเดียวกัน เพื่อให้ครอบคลุมทุกด้าน 2.ขอให้คนพิการได้เข้าถึงสิทธิประโยชน์ด้านยา เพราะมียาบางประเภทที่ยังเบิกไม่ได้ รวมถึงการได้รับบริการที่ดีเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกด้านต่าง ๆ แก่คนพิการ นางเยื้อน คชาวงษ์ อายุ 83 ปี ตัวแทนเครือข่ายผู้สูงอายุ กล่าวว่า อยากเรียกร้องให้รัฐบาลใหม่เพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุจากเดือนละ 500 บาท เป็น 1,500 บาท เพื่อให้เหมาะสมกับค่าครองชีพและสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ตลอดจนเรียกร้องให้จัดสถานที่ออกกำลังกายแก่ผู้สูงอายุในแต่ละชุมชน ซึ่งปัจจุบันผู้สูงอายุเริ่มเพิ่มมากขึ้น ควรให้ความสำคัญกับสังคมด้านนี้ด้วย น.ส.ลำยอง เตียสกุล ตัวแทนเครือข่ายการศึกษา กล่าวว่า ขอเสนอให้รัฐบาลใหม่ให้การศึกษากับทุกคนอย่างเท่าเทียมเสมอภาค ได้รับการศึกษาที่หลากหลาย ทุกคนสามารถเข้าถึงกองทุนหลักประกันการศึกษาที่ปลอดดอกเบี้ย และเริ่มใช้คืนได้เมื่อมีงานแล้วเท่านั้น นอกจากนี้ ภายในงานได้เปิดให้ตัวแทนเครือข่ายภาคประชาชน นักเรียน นักศึกษา ร่วมเขียนข้อความใส่โปสการ์ด ป้ายผ้า ถึงความต้องการที่อยากให้รัฐบาลดำเนินการ และข้อความเกี่ยวกับสังคมที่อยากให้เป็นในอนาคต เป็นต้น
แถลงการณ์ต้อนรับนายกฯคนใหม่ด้วยนโยบายประชาชน เรียนพี่น้องสื่อมวลชน ในวันนี้ ประชาชนคนไทยกำลังจะได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ คือ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เพื่อมาทำหน้าที่สำคัญในการกำหนดนโยบายและบริหารประเทศ ภาคประชาชนเครือข่ายต่างๆจึงขอถือโอกาสสำคัญนี้จัดกิจกรรมนำเสนอนโยบายภาคประชาชนต่อสาธารณะ เพื่อให้รัฐบาลของคุณยิ่งลักษณ์นำนโยบายประชาชนไปเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายรัฐบาล และภาคประชาชนเองก็หวังที่จะใช้นโยบายดังกล่าวในการติดตามตรวจสอบการทำงานรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง โดยในวันเสาร์ที่ 6 สิงหาคมนี้ ณ ลานพุทธธรรม หอจดหมายเหตุพุทธทาส สวนรถไฟ กรุงเทพฯ ตัวแทน 145 องค์กรเครือข่ายประชาชน จาก 11 เครือข่าย อันได้แก่ เครือข่ายองค์กรประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ, เครือข่ายผู้พิการ, เครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ, เครือข่ายผู้บริโภค, เครือข่ายผู้สูงอายุ, เครือข่ายสลัม ๔ ภาคและคนไร้บ้าน, เครือข่ายเกษตร, เครือข่ายองค์กรสตรีฯ, เครือข่ายการศึกษา, เครือข่ายแรงงานนอกระบบ, เครือข่ายแรงงานสมานฉันท์, เครือข่ายเยาวชน และ สภาองค์กรชุมชน กว่า 500 คน จะจัดกิจกรรมนำเสนอ “นโยบายประชาชน: ปฏิรูปโครงสร้างอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน สร้างรัฐสวัสดิการ” จึงเรียนเชิญเพื่อนสื่อมวลชนร่วมติดตามนำเสนอข่าว ทั้งนี้กิจกรรมนำเสนอนโยบายประชาชนในครั้งนี้ เป็นกิจกรรมเริ่มต้นของกิจกรรมประชาชนทั่วประเทศ ดังนี้ วันที่ ๖ ส.ค. ภาคเหนือ เครือข่ายที่ดินและทรัพยากร จะเคลื่อนขบวนมอเตอร์ไซด์จากลานครูบาศรีวิชัยเชียงใหม่ แวะศาลากลางจังหวัดต่างๆ เพื่อยื่นข้อเสนอ แวะพิษณุโลกค้างคืนและรวมขบวนกับเครือข่ายเกษตรกรภาคเหนือล่าง วันที่ ๗ ส.ค.ภาคอีสาน เครือข่ายที่ดินและทรัพยากร เคลื่อนขบวนด้วยมอเตอร์ไซค์ เช่นกัน นัดเจอกับภาคเหนือที่สระบุรี เพื่อมุ่งหน้าเข้ากรุงเทพฯ หยุดพักที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต วันที่ ๘ ส.ค. ออกเดินทางแต่เช้าตรู่ ด้วยขบวนมอเตอร์ไซค์ มุ่งหน้าลานพระบรมรูปทรงม้า เพื่อรวมขบวนกับเครือข่ายประชาชนใน กทม. กว่า 1000 คน จากนั้นจะเดินทางไปพบ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่รัฐสภา เพื่อเจรจานโยบายภาคประชาชน และทวงสัญญาประชาคมที่พรรคการเมืองต่างๆลงนามไว้ที่มหาวิทยาลัยรังสิต เมื่อ ๒๔ กค.๕๔
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||
ศาลปกครองสั่งรับคำฟ้องคนไทยพลัดถิ่นที่ฟ้อง รมว.มหาดไทย Posted: 06 Aug 2011 04:26 AM PDT ศาลปกครองกลางมีคำสั่งรับคำฟ้องของคนไทยพลัดถิ่น 73 ราย จากอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ที่ยื่นฟ้องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยที่ละเลยปฏิบัติหน้าที่ไม่ยอมดำเนินการเรื่องสัญชาติให้ ทั้งๆ ที่ยื่นเรื่องมากว่า 7 ปี และผ่านกระบวนการสาบานตนแล้ว คนไทยพลัดถิ่นนับพันคนรวมตัวขอความช่วยเหลือจากสภาทนายความในเรื่องการขอสัญชาติไทย ซึ่งได้ยื่นเรื่องที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ต่อมาผ่านกระบวนการตรวจสอบ และเข้าสาบานตนกับเจ้าหน้าที่รัฐเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 แต่ไม่มีการประกาศรายชื่อให้ได้รับสัญชาติไทยในราชกิจจานุเบกษา ทำให้ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนในการเสียสิทธิที่ตนพึงจะได้หากได้รับสัญชาติไทย ไม่ได้รับสิทธิเท่าเทียมกับคนไทยที่มีบัตรประจำตัวประชาชน อาทิ สิทธิการเดินทาง สิทธิการรักษาพยาบาล สิทธิการศึกษา สิทธิในกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเลือกตั้งระดับชาติ และ ระดับท้องถิ่น เป็นต้น คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติและผู้พลัดถิ่น สภาทนายความ ได้รวบรวมพยานหลักฐานที่มีความพร้อมสำหรับการฟ้องครั้งนี้จำนวน 73 ราย และดำเนินการฟ้องร้องที่ศาลปกครองกลางในวันอังคารที่ 27 มิถุนายน 2554 โดยฟ้องร้องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยที่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงตามกฎหมายในการพิจารณาให้สัญชาติ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 30 , พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 5, 10 และ 12 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (2) ในประเด็นเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ทางราชการล่าช้าเกินสมควรในการประกาศรายชื่อผู้ที่ได้สัญชาติไทยในราชกิจจานุเบกษา สาเหตุที่เป็นคนไทยพลัดถิ่น เนื่องจากบรรพบุรุษของคนไทยพลัดถิ่นเหล่านี้ได้อาศัยอยู่ในแผ่นดินไทย โดยมีวิถีวัฒนธรรมเช่นเดียวกับคนไทยทั่วไป คือมีการใช้ภาษาไทย มีขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมแบบไทย มีกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมในลักษณะแบบไทย ต่อมาประเทศไทยเสียดินแดนนี้ไปให้ประเทศอังกฤษที่มายึดครองพม่า คนเหล่านี้ยังให้มีความจงรักภักดีต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและประเทศไทยมาโดยตลอด จึงทยอยอพยพมาสู่ประเทศไทยปัจจุบันและอยู่ร่วมกับญาติพี่น้อง แต่ทางการไทยกลับไม่ให้สัญชาติไทยแก่คนเหล่านี้ทันที ให้เพียงบัตรประจำตัวผู้ไม่มีสัญชาติไทย กลุ่มผู้พลัดถิ่นสัญชาติไทยให้ และต่อมาได้รับการพัฒนาเป็นบัตรประจำตัวคนต่างด้าว มีถิ่นที่อยู่ถาวรในประเทศไทย ซึ่งจะได้สัญชาติไทยด้วยการขอแปลงสัญชาติ แต่เมื่อยื่นขอแปลงสัญชาติกลับพบว่าการดำเนินการเป็นไปอย่างเนิ่นช้ากว่า 7 ปี ปัจจุบัน ยังมีคนไทยพลัดถิ่นที่ได้เข้าปฏิญาณตนและผ่านการพิจารณาแล้วประมาณพันกว่าคน ที่ยังไม่ได้สัญชาติไทย และมีผู้ผ่านการตรวจสอบจากชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆรอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยลงนามให้สัญชาติไทยอีกประมาณกว่าหมื่นคน
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||
ยังไม่ได้ประกัน บัณฑิตใหม่นอนคุก หลังโดนรองอธิการฯ แจ้งข้อหาหมิ่นสถาบัน Posted: 06 Aug 2011 02:11 AM PDT 6 ส.ค.54 รายงานข่าวจากศาลอาญา ถนนรัชดา แจ้งว่า ผู้ต้องหาคดีหมิ่นฯ รายล่าสุด ชื่อนอ (ขออนุญาตปิดชื่อและนามสกุลจริงของผู้ต้องหา) เป็นชายอายุ 23 ปี ถูกนำตัวมายังศาล โดยมีทนายความ ครอบครัว ทำเรื่องยื่นประกันตัว ใช้หลักทรัพย์เป็นเงินสด 400,000 บาท แต่ยื่นเรื่องไม่ทันเวลาทำการครึ่งวันของศาล ทำให้ต้องนำตัวเขาไปฝากขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และทางครอบครัวจะทำเรื่องประกันตัวอีกครั้งในวันจันทร์ (8 ส.ค.) อย่างไรก็ตาม ในคำร้องขอฝากขังผลัดที่1 (6 ส.ค.54-17 ส.ค.54) พนักงานสอบสวนได้คัดค้านการประกันตัวผู้ต้องหาด้วยโดยอ้างว่าเกรงว่าจะหลบหนีหรือไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน ทั้งนี้ นอ ถูกจับกุมเมื่อวานนี้ ( 5 ส.ค.) ตามหมายจับ ลงวันที่ 14 ต.ค.53 และถูกนำตัวไปคุมขังที่ สน.บางเขน โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.บางเขน ได้แจ้งข้อหาความผิดตามมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14(1)(5) พ่อของเขาระบุว่า นอเพิ่งรับปริญญาเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา คดีดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้วขณะที่นอยังเป็นนักศึกษาปีสุดท้ายของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง โดยอาจารย์ซึ่งเป็นรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต เป็นผู้แจ้งความดำเนินคดีกับนอ หลังจากได้รับการร้องเรียนจากนิสิตคณะวิศวะกรรมศาสตร์ สถาบันเดียวกันว่ามีการโพสต์ข้อความไม่เหมาะสมในบล็อกส่วนตัวของนอหลังจากในช่วงต้นปี 2553 นอถูก ‘ล่าแม่มด’ ในเว็บไซต์แห่งหนึ่ง เมื่อได้รับร้องเรียนทางมหาวิทยาลัยมีการเรียกพบผู้ปกครองเมื่อเดือนพ.ค.53 ต่อมามีการแจ้งความดำเนินคดีด้วย โดยรองอธิการบดีชี้แจงว่าเหตุที่ต้องดำเนินคดีเพราะได้รับแรงกดดันจากสภามหาวิทยาลัยและต้องการปกป้องชื่อเสียงสถาบัน สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||
กลุ่มเกษตรกรเคลื่อนพลมอเตอร์ไซค์จากเชียงใหม่ หวังพบ "ยิ่งลักษณ์" จันทร์นี้เพื่อเรียกร้องปฏิรูปที่ดิน Posted: 06 Aug 2011 12:55 AM PDT สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ และเครือข่าย เคลื่อนขบวนมอเตอร์ไซค์ 100 คัน จากเชียงใหม่หวังพบ "ยิ่งลักษณ์" ที่ทำเนียบ วันจันทร์นี้ เพื่อเรียกร้องให้บรรจุนโยบายปฏิรูปที่ดินในนโยบายที่จะแถลงต่อรัฐสภา ที่มาของภาพ: สำันักข่าวประชาธรรม สำนักข่าวประชาธรรม รายงานว่า เช้าวันนี้ (6 ส.ค. 54) สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย และขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) ได้ตั้งขบวนรถจักรยานยนต์กว่าร้อยคัน ที่ลานครูบาศรีวิชัย ถ.ห้วยแก้ว เพื่อมุ่งหน้าสู่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อเข้าพบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าที่นายกรัฐมนตรี เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลบรรจุเรื่องธนาคารที่ดิน และอัตราภาษีก้าวหน้าไว้ในนโยบายที่จะแถลงต่อรัฐสภา ในแถลงการณ์ของกลุ่มให้เหตุผลว่า ในจัดเวทีสัญญาประชาคม ประชาชนพบพรรคการเมือง เมื่อ 24 มิ.ย. 54 ที่มหาวิทยาลัยรังสิต พรรคเพื่อไทยกล่าวว่าหากชนะการเลือกตั้งได้เป็นรัฐบาลจะนำเอาปัญหาการกระจายการถือครองที่ดิน ธนาคารที่ดิน โฉนดชุมชน และภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้าไปบรรจุไว้ในนโยบายของรัฐบาล โดยแถลงการณ์ของทางกลุ่มมีรายละเอียดดังท้ายนี้ 000 แถลงการณ์ สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือและเครือข่ายองค์กรประชาชน เรื่อง ขอให้รัฐบาลบรรจุเรื่อง ธนาคารที่ดิน และภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้า ไว้ในนโยบายที่จะแถลงต่อรัฐสภา จากอดีตจนถึงปัจจุบันปัญหาการถือครองที่ดิน เป็นปัญหาที่สร้างความขัดแย้งและความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยมาอย่างต่อเนื่อง ยาวนาน อันเป็นผลมาจากการกระจายทรัพยากรที่ไม่ทั่วถึงและการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่ เป็นธรรม ส่งผลให้ที่ดินซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตของเกษตรกรรายย่อยกลายเป็นสินค้า และในที่สุดก็ตกไปอยู่ในมือของนายทุนและนักการเมืองเพียงไม่กี่ตระกูล ในขณะที่เกษตรกรและคนยากจนต้องกลายเป็นคนไร้ที่ดินทำกิน และที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก เป็นที่ทราบกันดีว่าในปัจจุบันมีเกษตรกรและคนยากจนจำนวนนับล้านครัวเรือน เป็นผู้ไร้ที่อยู่อาศัย และที่ทำกิน หรือมีที่ดินไม่เพียงพอในการประกอบอาชีพ และยังคงต้องเผชิญกับภาวะความเสี่ยงจากการสูญเสียที่ดินทำกินซึ่งตนเคยถือ ครองทำมาหากินอยู่อย่างต่อเนื่อง สิ่งที่เกิดขึ้นดังกล่าวข้างต้นนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่า ส่วนหนึ่งเกิดมาจากการดำเนินนโยบายของรัฐที่ผิดพลาดและขาดความเป็นธรรมในการ บังคับใช้กฎหมาย เช่น การประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติ เขตอุทยานแห่งชาติ หรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ตลอดจนที่ราชพัสดุ ทับที่ทำกินและที่อยู่อาศัยของชุมชน รวมทั้งปล่อยให้กลุ่มทุนใช้ช่องว่างทางกฎหมายกระทำการทุจริตในการออกเอกสาร สิทธิ์ที่ดิน กว้านซื้อที่ดินเพื่อเก็งกำไรและปล่อยทิ้งร้างไม่ทำประโยชน์เกินกว่ากฎหมาย กำหนด ซึ่งสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือและเครือข่ายองค์กรประชาชนที่ประสบปัญหาที่ดิน ทั่วประเทศได้ร่วมกันเรียกร้องต่อรัฐบาลทุกยุคทุกสมัยมานานกว่าทศวรรษ แต่ก็ยังไม่ปรากฏว่ามีรัฐบาลใดสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างจริงจัง เป็นที่ทราบกันดีว่า การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ที่ผ่านมา พรรคเพื่อไทย ได้รับการไว้วางใจจากประชาชนอย่างท้วมท้นจนได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล และล่าสุด นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้รับการสนับสนุนจากสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 28 ของประเทศไทยแล้ว ในช่วงการรณรงค์หาเสียงก่อนการเลือกตั้งพวกเราในนามสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือได้ ร่วมกับองค์กรประชาชนทั่วประเทศมากกว่า 40 องค์กร ได้ร่วมกันจัดเวทีสัญญาประชาคม ประชาชนพบพรรคการเมืองขึ้น เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2554 ณ มหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อนำเสนอข้อเรียกร้องต่อพรรคการเมืองเพื่อนำไปบรรจุไว้เป็นนโยบายของ รัฐบาล โดยมีพรรคการเมืองหลายพรรค รวมทั้งพรรคเพื่อไทยซึ่งได้ส่ง นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรค มาร่วมรับฟังข้อเสนอจากพวกเราพร้อมทั้งได้ลงนามในสัญญาประชาคม สนับสนุนข้อเสนอของประชาชน และให้คำมั่นว่าหากพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งได้เป็นรัฐบาลจะนำเอา ปัญหาการกระจายการถือครองที่ดิน ธนาคารที่ดิน โฉนดชุมชน และภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้า ไปบรรจุไว้ในนโยบายของรัฐบาล ภายหลังการเลือกตั้งสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ และเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งปรเทศไทย ได้นำการติดตามทวงถามสัญญาประชาคมดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ด้วยการส่งไปรษณียบัตรพร้อมทั้งยื่นจดหมายอย่างเป็นทางการไปถึงนางสาวยิ่ง ลักษณ์ ชินวัตร ว่าที่นายกรัฐมนตรี ผ่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย ผ่านสำนักงานสาขาพรรคเพื่อไทยและยื่นผ่านผู้ว่าราชการจังหวัด ทุกจังหวัด แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีการตอบรับใดๆ จากนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พวกเราในนามของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายการจัดการที่ดินที่ไม่เป็นธรรม จากทั่วประเทศจึงพร้อมกันมุ่งสู่ทำเนียบรัฐบาล ด้วยขบวนรถจักรยานยนต์จำนวน 100 คัน เพื่อเข้าพบและรับฟังคำตอบฯพณฯนายกรัฐมนตรี ท้ายที่สุดนี้เราขอเรียกร้องไปยังนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทยดังต่อไปนี้ 1.ขอให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในฐานะผู้นำรัฐบาลได้ดำเนินการให้เป็นไปตามสัญญาประชาคมที่พรรคเพื่อไทยได้ ให้ไว้ก่อนการเลือกตั้งโดยนำเอาข้อเสนอเรื่องการกระจายการถือครองที่ดิน อย่างเป็นธรรม การรองรับสิทธิ์ในที่ดินแก่เกษตรกรอย่างยั่งยืนในรูปแบบกรรมสิทธิ์ชุมชนสาน ต่อนโยบายโฉนดชุมชนซึ่งเป็นนโยบายของประชาชน จัดตั้งกองทุนธนาคารที่ดิน และจัดเก็บภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้า ไปบรรจุไว้เป็นนโยบายของรัฐบาลที่จะมีการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาฯ 2.ขอให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เปิดโอกาสให้พวกเราแลเครือข่ายภาคประชาชนผู้ได้รับผลกระทบและได้รับความ เดือดร้อนจากปัญหาที่ดินเข้าพบเพื่อรับฟังคำตอบ ในวันที่ 8 สิงหาคม 2554
ด้วยจิตสมานฉันท์และเชื่อมั่นในพลังของคนจน สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ แถลง ณ ลานครูบาศรีวิชัย เชิงดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ 6 สิงหาคม 2554 สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||
ประธานรัฐสภาเผยโปรดเกล้าฯ นายกรัฐมนตรีวันจันทร์นี้ Posted: 06 Aug 2011 12:31 AM PDT "สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์" ให้สัมภาษณ์วิทยุ อสมท. เผยสำนักราชเลขาธิการประสานให้เข้าเฝ้าฯ เพื่อรับพระบรมราชโอการฯ ตั้งนายกรัฐมนตรี 8 ส.ค. นี้ ขณะที่หน้าบ้าน "ยิ่งลักษณ์" มีการเทปูนใหม่เพื่อปรับปรุงที่จอดรถ และจัดห้องทำงานสำหรับนักข่าวด้วย สำนักข่าวไทย รายงานวันนี้ (6 ส.ค. 54) ว่า นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ในรายการ “คนในข่าว” ทาง FM 100.5 ถึงความคืบหน้าการทูลเกล้าฯ ถวายรายชื่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ว่า อยู่ระหว่างขั้นตอนดำเนินการของสำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง และได้รับการประสานเป็นการภายในว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้าเฝ้าฯ เพื่อรับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคมนี้ เวลา 17.30 น. ที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช และเมื่อรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีแล้ว จะมอบหมายให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรไปดำเนินการที่พรรคเพื่อไทยต่อไป นายสมศักดิ์ ยังกล่าวถึงการทำงานในฐานะประธานสภาผู้แทนราษฎรว่า จะแก้ปัญหาเรื่ององค์ประชุมไม่ครบให้ได้ โดยได้ย้ำในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ด้วยการขอความร่วมมือจากสมาชิก และจะให้เกียรติ ส.ส. แต่ก็มีมาตรการในใจที่จะดำเนินการ หาก ส.ส.ขาดประชุม แต่ยังไม่ขอเปิดเผยขณะนี้ พร้อมกันนี้จะเดินหน้าขอความร่วมมือสมาชิกให้ความสำคัญกับสภาฯ ซึ่งได้แจ้งต่อที่ประชุมไปแล้ว และจะยังคงขอให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ มาตอบกระทู้และให้ความร่วมมือกับสภาฯ ด้วย ส่วนตัวจะไม่เข้าร่วมประชุมพรรคเพื่อไทยแล้ว เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นกลาง แต่จะยังไปที่ทำการพรรคเพื่อไทย เพื่อพบปะและรับฟังข้อเสนอแนะต่างๆ ส่วนการจัดสัดส่วนประธานกรรมาธิการสามัญทั้ง 35 คณะของสภาผู้แทนราษฎร ได้มอบให้นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ไปกำหนดหลักเกณฑ์คร่าวๆ และประสานพรรคการเมืองทุกพรรค โดยจะยึดหลักการเดิมที่เคยทำไว้ และจะประชุมร่วมกับทุกพรรค เพื่อจัดสรรตำแหน่งประธานกรรมาธิการต่อไป ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร สำหรับความเคลื่อนไหวของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าที่นายกรัฐมนตรี วันนี้ (6 ส.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เก็บตัวเงียบอยู่ภายในบ้านพัก ซ.โยธินพัฒนา 3 ไม่มีกำหนดการเดินทางไปไหน โดยจะใช้เวลาพักผ่อนอยู่กับครอบครัวตลอดทั้งวัน และจะไม่เดินทางเข้าที่ทำการพรรคเพื่อไทย โดยมีสื่อมวลชนมาเฝ้ารอติดตามทำข่าวจำนวนมาก ขณะเดียวกันได้มีการปรับพื้นที่บริเวณลานจอดรถข้างบ้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ด้วยการเทปูน และปรับพื้นที่จอดรถและห้องทำงานสื่อมวลชนด้วย สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||
"อภิสิทธิ์" ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ "เฉลิมชัย ศรีอ่อน" เป็นเลขาธิการพรรค Posted: 06 Aug 2011 12:01 AM PDT ประชุมใหญ่วิสามัญพรรคประชาธิปัตย์ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรค ส่วนรองหัวหน้าพรรคได้แก่อภิรักษ์ โกษะโยธิน จุติ ไกรฤกษ์ และนายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ ส่วนเฉลิมชัย ศรีอ่อนเป็นเลขาธิการพรรค สำนักข่าวแห่งชาติ รายงานวันนี้ (6 ส.ค.) ว่า ในการประชุมใหญ่วิสามัญพรรคประชาธิปัตย์ ประจำปี 2554 เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริการพรรคใหม่ เพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขประกาศ กกต. หลังนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค ส่งผลให้คณะกรรมการบริหารชุดเดิมต้องพ้นจากตำแหน่งด้วย ซึ่งขั้นตอนการลงคะแนนเป็นแบบลับ มีตัวแทนจากคณะกรรมการการเลือกตั้งมาร่วมสังเกตการณ์ด้วย โดยตำแหน่งหัวหน้าพรรคมีการเสนอ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพียงชื่อเดียว ไม่มีการเสนอชื่อแข่งขัน ทำให้ต้องมีเสียงสนับสนุนจากสมาชิกเกินกึ่งหนึ่ง โดยนายอภิสิทธิ์ ได้รับเสียงสนับสนุนกว่าร้อยละ 96 ให้เป็นหัวหน้าพรรคอีกครั้ง ขณะที่ตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค 3 คน ในโควตาหัวหน้าพรรค นายอภิสิทธิ์ เสนอชื่อ 6 รายชื่อ ประกอบด้วย นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ นายจุติ ไกรฤกษ์ นายวิทูรย์ นามบุตร นายกรณ์ จาติกวณิช และนายธีระ สลักเพชร แต่ 3 คนหลังคือนายวิทูรย์ นายกรณ์ และนายธีระ สลักเพชร ขอถอนตัวไป ขอทำงานด้านอื่นของพรรคแทน ซึ่งจากการลงคะแนนจากสมาชิกทั้งหมด 328 คน ที่ประชุมมีมติเลือกนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ด้วยคะแนน ร้อยละ 95.06 นายจุติ ไกรฤกษ์ ร้อยละ 92.50 และนายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ร้อยละ 91.48 เป็นรองหัวหน้าพรรคตามลำดับจากเสียงสนับสนุนเกินกึ่งหนึ่ง ส่วนตำแหน่งเลขาธิการพรรคเป็นของนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน จากเสียงสนับสนุนร้อยละ 72.18 จากทั้งหมด 328 เสียง สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น