โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

เกียง โก๊ะ ไล ลิน

Posted: 24 Aug 2011 10:53 AM PDT

เด็กรุ่นใหม่ชอบอ่านจากมือถือ เราจึงทำให้สามารถอ่านเรื่องสั้นผ่านมือถือได้ ตอนนี้พวกเขาไม่ต้องมาห้องสมุด แต่เขาสามารถดาวน์โหลดเรื่องสั้นไปอ่านบนมือถือได้

ผู้อำนวยการโครงการริเริ่มด้านการอ่าน, หอสมุดแห่งชาติสิงคโปร์

คณาจารย์แถลงจี้ยกเลิกระบบประเมินคุณภาพ TQF ด่วน เตรียมบุกยื่นหนังสือนายกฯ

Posted: 24 Aug 2011 09:41 AM PDT

คณาจารย์จากหลายมหาวิทยาลัยทั่วประเทศร่วมหารือปัญหา “TQF” ระบบประเมินคุณภาพการศึกษาใหม่ของ สกอ. เร่งบังคับใช้อย่างครอบคลุมตุลานี้ อาจารย์เดือดสร้างภาระงานโดยไร้ประโยชน์ ชี้ล้าหลัง ซ้ำซ้อน ละเมิดเสรีภาพวิชาการ เตรียมยื่นหนังสือค้านกับนายกฯ ใหม่ - องค์กรที่เกี่ยวข้องเร็วๆ นี้

 
 
 
24 ส.ค.54 ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ มีกาจัดประชุมนานาชาติเรื่องความเป็นเลิศของอุดมศึกษาไทยกับการแข่งขันการจัดอันดับมหาวิทยาลัยตามมาตรฐานนานาชาติ: สิทธิ อำนาจ และความรับผิดชอบต่อสังคม โดยภายในการประชุมมีการยกตัวอย่างการจัดระบบการศึกษาและระบบการประกันคุณภาพการศึกษาจากต่างประเทศ พร้อมวิพากษ์วิจารณ์แนวทางในประเทศไทย โดยเฉพาะเมื่อสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้กำหนดให้ใช้ “กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา” ( มคอ.) หรือ ทีคิวเอฟ (TQF:Thai Qualifications Framework for Higher Education) จนเกิดกระแสคัดค้านในหมู่คณาจารย์อย่างกว้างขวางในปี 2553 ที่ผ่านมา โดยเฉพาะการล่ารายชื่อคณาจารณ์พร้อมออกแถลงการณ์ต่อต้านระบบดังกล่าว
 
ภายหลังการประชุม กฤตยา อาชวนิจกุล อาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหดิล ตัวแทนผู้จัดงาน ได้อ่านแถลงการณ์ร่วมของที่ประชุม ซึ่งระบุว่าจะทำเป็นจดหมายเสนอต่อยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และสำเนาถึง กกอ., สกอ., อธิการบดีทั่วประเทศ,ที่ประชุมอธิการบดี รวมถึงที่ประชุมสภาคณาจารย์ทั่วประเทศ และอาจจะมีการนัดหมายเพื่อขอเข้าพบนายกรัฐมนตรี
 
กฤตยา กล่าวถึงเนื้อหาของแถลงการณ์ว่า ประการแรก เราไม่ได้ปฏิเสธเรื่องการพัฒนาคุณภาพ ความรับผิดชอบต่อสังคม เราย้ำถึงสิ่งเหล่านั้นและยืนยันว่าสิ่งเหล่านั้นต้องมาพร้อมกับเสรีภาพทางปัญญา เราจึงปฏิเสธอำนาจครอบงำจาก สกอ. หรือจากรัฐบาลก็ตามแต่
 
“เราจะทำอะไร เราต้องเสนอ กกอ. ให้เขารับรอง แต่โดยกฎหมาย ถ้าสภามหาลัยอนุมัติแล้วไม่จำเป็นต้องไปขอการรับรองจะ กกอ.” กฤตยา กล่าวและว่า ดังกรณีของสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ลงมติแล้วเมื่อเร็วๆ นี้ว่า จะไม่กรอกแบบฟอร์ม TQF  
 
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังไม่เห็นด้วยมาตรฐานเชิงเดี่ยวในการจัดอันดับ และหลักประกันเชิงปริมาณเพียงอย่างเดียวของ สกอ.
 
ประการที่สอง สกอ.ควรปรับบทบาทการบริหารรวมศูนย์ และการควบคุมบังคับ กระทั่งลงโทษ เช่น หลักสูตรไม่ผ่านการอนุมัติ เปิดสอนไม่ได้ ทั้งที่หากสภามหาวิทยาลัยอนุมัติแล้ว สกอ.จะมาระงับการเปิดสอนไม่ได้ เป็นต้น ให้กลับมาที่การกระจายอำนาจ และควรสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษา สมาคมวิชาการต่างๆ ได้มีอิสระ และมีส่วนในการพัฒนาคุณภาพ โดยเฉพาะต้องส่งเสริมให้กับการพัฒนาคุณภาพทางเลือกแบบอื่นๆ ด้วย ไม่ใช่มีกรอบแบบเดียว หวังว่า สกอ.จะให้ความสำคัญกับความหลากหลายของคุณภาพทางวิชาการ ตลอดจนเป้าหมายที่แตกต่าง
 
ประการที่สาม ขอให้มีการทบทวน ซึ่งมีการสอบถามที่ประชุมในภายหลังและปรับเป็น “การยกเลิก” ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา หรือ TQF  เพราะซ้ำซ้อนกับการประเมินของ สมศ.และการประกันคุณภาพภายในที่มีอยู่แล้ว และขอให้ประมวล รวบรวมปัญหาของระบบประกันคุณภาพของอุดมศึกษาไทย เปิดให้มีการระดมสมองเรื่องการประกันคุณภาพที่มีความแตกต่าง
 
ทั้งนี้ ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี อาจารย์จากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้ข้อมูลว่า งานสัมมนาดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรฐานการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อระบบ TQF บังคับให้คณาจารย์ต้องมีการกรอกแบบฟอร์มต่างๆ ให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคมนี้เพื่อเร่งเข้าสู่ตลาดอาเซียน  ทั้งที่กำหนดบังคับใช้จริงๆ เป็นปีหน้า ทำให้หลักสูตรใหม่ การปรับปรุงหลักสูตรใดๆ ต้องกรอกเอกสารมากมายเป็นร้อยๆ หน้า โดยไม่เห็นประโยชน์อันใด ส่งผลกระทบกับอาจารย์เป็นรายบุคคล ก่อให้เกิดกระแสไม่พอใจขึ้น นอกจากนี้ช่วงปีที่ผ่านมามีการคัดค้านเรื่องนี้กันเยอะ และมีการให้เหตุผลต่างๆ มากมาย ซึ่ง สกอ.ไม่เคยตอบในประเด็นต่างๆ ได้ แต่กลับมีจดหมายออกมาว่า อาจารย์จำนวนมากยังไม่เข้าใจ
 
ส่วนยุกติ มุกดาวิจิตร อาจารย์จากคณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวในวงประชุมถึงปัญหาของ TQF ว่า ปัญหาใหญ่ คือ 1.ใช้มาตรฐานเชิงเดี่ยวโดยไม่เข้าใจความแตกต่างของแต่ละสาขาวิชา หรือจุดเน้นของแต่ละสำนัก ฯ  2.คุกคามเสรีภาพทางวิชาการ เนื่องจากระบุว่าจะติดตามอย่างต่อเนื่อง และการประเมินต้องเป็นไปตามแนวทางของ สกอ. 3.ล้าหลังทางวิชาการ ไม่ได้มาตรฐานสากลเช่น การกำหนดในผลลัพธ์ว่า นศ.มหาวิทยาลัยต้องซาบซึ่งในค่านิยมของไทยและระบบคุณธรรม จริยธรรม ฯ หรือการแยกการสื่อสารออกจากการวัดความรู้ ดังนั้นนักศึกษาตามเกณฑ์ของ TQF จะฉลาด คิดเลขเก่ง แต่เชื่อง ไม่รู้จักความซับซ้อนของโลก ดังนั้น จึงขอเสนอว่าให้แต่ละมหาวิทยาลัยสามารถมีดุลยพินิจในการประเมินแบบอื่น ที่ไม่ต้องเป็นไปตาม แบบกำหนดของ สกอ.เท่านั้น
 
ขณะที่ธงชัย วินิจจะกูล  อาจารย์จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิล-เมดิสัน สหรัฐอเมริกา กล่าวในเวทีภาคภาษาอังกฤษ สรุปได้ว่า โลกาภิวัตน์ทำให้คนชั้นกลางเข้าถึงการศึกษาได้มากขึ้น โดยเฉพาะในระดับปริญญาตรี ประเทศอย่างสหรัฐอเมริกา อุดหนุนเงินแก่มหาวิทยาลัยน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ คือเพียง 20-30% เท่านั้น ที่เหลือมหาวิทยาลัยต้องหาเงินเอง มันจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเป็นธุรกิจ และเกิด Liberization, Privatization, Marketization, Reform of university ซึ่งมหาวิทยาลัยจะมีอำนาจในการบริหารจัดการตนเอง (autonomy) พร้อมกับมี accountability (ความรับผิดชอบ) หากไม่มีอย่างแรกมีแต่อย่างหลังดังที่ปรากฏในระบบการศึกษาไทย มันก็คือ การควบคุม (control) ทั้งนี้เป็นเพราะเรามักลอกเลียนระบบหรือเครื่งอมือมาจากคนอื่นเฉพาะบางส่วน โดยไม่ได้เข้าใจระบบนั้นจริงๆ ทำให้เกิดภาวะสมัยใหม่แต่ไม่พัฒนา (modernization without development)
 
นอกจากนี้ ธงชัย ยังเห็นว่า เราอาจไม่จำเป็นต้องเน้นหรือมุ่งสู่การจัดอันดับสากล เพราะเป็นไปไม่ได้ที่ทุกมหาวิทยาลัยจะไปสู่จุดนั้น แต่ละมหาวิทยาลัยก็มีพันธกิจที่แตกต่างกันไป มหาวิทยาลัยในต่างจังหวัดจำนวนมากก็มีพันธกิจที่จะรับใช้ท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม มาตรฐานเป็นสิ่งที่ต้องมี แต่ที่ทำอยู่ไม่น่าจะเป็นทิศทางที่ถูก เพราะเน้นปริมาณมากกว่าประสิทธิภาพ เน้นการรวมศูนย์ และยังมีความไม่เหมาะกับบริบทไทย โดยเฉพาะกับประเทศที่ใช้ภาษาไทย ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ในแง่หนึ่งอาจเป็นกำแพงเชื่อมต่อกับความคิดภายนอก และเสียเปรียบต่อประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ เราจึงไม่ควรเน้นการแข่งขันเพื่อจัดอันดับสากลจนเกินไป และแทนที่เราจะเน้นการจัดอันดับอาจเปลี่ยนเป็นเน้นความร่วมมือระหว่างกันแทน
 
อย่างไรก็ตาม แม้อาจารย์จะประสบปัญหากับระบบ TQF อย่างมากแต่คาดว่าภายใน 2 ปีก็จะเลียนรู้ที่จะ copy and paste ได้
 
ธงชัยสรุปว่า หน้าที่หลักของ สกอ. ไม่ใช่การเข้าไปควบคุมมหาวิทยาลัย ส่วนการปฏิรูปอุดมศึกษาไทยนั้นเป็นเรื่องใหญ่มาก ระบบการประเมินคุณภาพเป็นเพียงปัจจัยส่วนเดียวเท่านั้น ยังมีเรื่องของการกระตุ้นการวิจัย การสร้างอาจารย์ที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นเรื่องระยะยาว และต้องมีการปรับเปลี่ยนกลไกภายในให้เหมาะสมกับบริบทของเราเอง
 
 
ทั้งนี้ งานดังกล่าวจัดโดย โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา , สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา, สมาคมนักสังคมวิทยาและนักมานุษยวิทยาสยาม, สมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย โดยได้รับความสนใจจากคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยแห่งต่างๆ ทั่วประเทศเข้าร่วมการประชุมกว่าร้อยคน
 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เสวนา: แบ่งปันประสบการณ์ ส่งเสริมการอ่านเพื่อมุ่งสู่อาเซียนหนึ่งเดียว

Posted: 24 Aug 2011 09:14 AM PDT

TK park ระดมมันสมองส่งเสริมการอ่านในอาเซียน หวังการอ่านเปิดทางเชื่อมความเป็นหนึ่งเดียวของอาเซียน, สิงคโปร์ปรับตัวรับมือเทคโนโลยีสื่อสาร ให้ดาวน์โหลดเรื่องสั้นอ่านบนมือถือ ลาวสะท้อนปัญหายังขาดแคลนบุคลากร หนังสือและห้องสมุด

วันที่ 24 ส.ค. 2554 สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (สบร.) และอุทยานการเรียนรู้ หรือ TK park จัดการประชุมวิชาการประจำปี 2554 ในหัวข้อ ‘Thailand Conference on Reading 2011’

โดย ทัศนัย วงศ์พิเศษกุล รองผู้อำนวยการสำนักบริหารและพัฒนาอง์ความรู้ (สบร.) และผู้อำนวยการอุทยานการเรียนรู้ (TK park) กล่าวเปิดงาน เป็นการเปิดประตูสู่โลกแห่งประสบการณ์ด้านการอ่าน โดยวิทยากรชาวไทยและชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะเพื่อนบ้านอาเซียนมาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้

นางทัศนัยกล่าวว่า สำหรับการประชุมวิชาการประจำปีนี้ มีความคาดหวังว่าผู้เข้าร่วมประชุมจะได้นำความรู้ไปขยายองค์ความรู้ด้านการส่งเสริมการอ่าน พัฒนาแหล่งเรียนรู้ทั้งของไทยและเพื่อนบ้าน นำไปต่อยอดและขยายผลเชิงนโยบาย และหวังว่าเนื้อหาสาระของการสัมมนาจะทำให้เข้าใจตนเองและเพื่อนบ้าน และเป็นจุดเริ่มของความร่วมมือในการพัฒนาพลเมืองอาเซียน โดยรากฐานของการอ่าน อันนำไปสู่ความสามารถในการคิด วิเคราะห์เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกได้อย่างยั่งยืน

การอ่านคือหนทางสู่ความเป็นหนึ่งเดียวของอาเซียน
ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี กรรมการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) กล่าวปาฐกถาเรื่อง “คิดสร้างสรรค์ ด้วยการอ่าน” โดยระบุว่า เป้าหมายของการสัมมนาวิชาการครั้งนี้เป็นการอ่านเพื่อให้เกิดความเข้าใจความเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งมีเป้าหมายรวมอาเซียนเป็นหนึ่งเดียวในปี ค.ศ. 2015 ซึ่งสามารถ “อ่าน” ผ่านสื่อต่างๆ ทั้งจากหนังสือหรือแท็บเบล็ต

การพยายามทำความเข้าใจระหว่างกันของอาเซียนขณะนี้เหมือนการย้อนกลับไปสู่อดีตเพื่อไปสู่อนาคต ซึ่งหนังสือที่เป็นคู่มือสำหรับทำความเข้าใจอาเซียนมีอยู่มากมาย เช่น หนังสือวิชาการเรื่องอุษาคเนย์ของ ดี.จี.อี.ฮอลล์ ที่คณะอาจารย์ชาญวิทย์ เกษตรศิริ แปลเป็นภาษาไทย โดยความช่วยเหลือของมูลนิธิโตโยต้า ประวัติศาสตร์ของอาเซียนชี้ให้เห็นว่าประเทศแถบนี้เคยเป็นประชาคมมาก่อน มีการเชื่อมโยงหลายมิติ ทั้งด้าน เศรษฐกิจ ศิลปะ วัฒนธรรม เนื่องจากเป็นดินแดนที่ถูกขนาบระหว่างอินเดีย จีนและอาหรับ เกิดความมั่งคั่ง มั่นคง เป็นที่ตั้งของอาณาจักรฟูนัน อาณาจักรจามปา อาณาจักรศรีวิชัยที่ มัชปาหิต ทวารดี พุกาม อังกอร์ สุโขทัย อยุธยา ซึ่งอาณาจักรเหล่านี้มีความเหมือนกันมาก มีความเป็นพราหมณ์ พุทธ มุสลิมปนกันไปหมด หลายชาติมีรากภาษาเขียนอย่างเดียวกัน คือ สันสกฤต

อย่างไรก็ตาม ใน คริสศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา เมื่อตะวันตกเริ่มเข้ามามีบทบาทและเริ่มล่าอาณานิคม ทำให้เดินแดนแถบนี้แยกออกจากกัน มีความแตกต่างกันมากขึ้น มาถึงช่วงหลังสงครามเย็นคือ ช่วงเวลาที่ประชาคมอาเซียแสวงหาอิสรภาพอีกครั้ง ประเทศในอาเซียนจึงเริ่มคบหากันโดยอาเซียนถือกำเนิดขึ้นในปีค.ศ. 1967 และเพิ่งเริ่มเป็นประชาคมอย่างสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1999 นี่เอง เมื่อกัมพูชาเข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนเป็นประเทศอันดับสุดท้าย

การอ่าน จะทำให้เราเห็นว่า สิ่งที่อาเซียนพยายามร่วมมือกันมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1967 เป็นแนวทางที่ถูกต้องที่สุด และเป็นโอกาสแห่งการกลับไปสู่ความเป็นประชาคมเดียวกันอีกครั้ง

สิงคโปร์ส่งเสริมการอ่านไฮเทค ให้ดาวน์โหลดเรื่องสั้นและนิยายไว้อ่านในมือถือ

เกียง โก๊ะ ไล ลิน (Mrs. Kiang-Koh Lai Lin) ผู้อำนวยการโครงการริเริ่มด้านการอ่าน (Reading Initiative) จากหอสมุดแห่งชาติสิงคโปร์ (National Library Board of Singapore)ได้เล่าประสบการณ์ของสิงคโปร์ที่มีโครงการส่งเสริมการอ่านจำนวนมาก และตั้งแต่ริเริ่มโครงการ ในปี 2548 มีการจัดกิจกรรมไปแล้วกว่า 1,600 ครั้ง โดยสามารถเข้าถึงนักอ่านกว่า 160,000 คน ที่สำคัญ มีการชักชวนคนจากหลากหลายอาชีพ ไม่ว่าจะเป็น คนขับรถแท็กซี่ ช่างทำผม ครู มาตั้งกลุ่มการอ่าน (Reading Circle) หรือชมรมการอ่าน (Reading Club) ในหมู่คนที่ทำอาชีพเดียวกัน โดยตัวเกียง โก๊ะ ไล ลิน เคยทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานห้องสมุดเด็กและเยาวชน และปัจจุบันเป็นกรรมการของหอสมุดแห่งชาติสิงคโปร์ด้วย
เกียง โก๊ะ ไล ลิน กล่าวว่า ห้องสมุดมีความสำคัญต่อพลเมือง โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนมาก และสิงคโปร์เริ่มมีการวางแผนระบบใหม่ในห้องสมุด มีห้องสมุดเกิดขึ้นหลายแห่งแม้ในห้างสรรพสินค้า และในปี 2010 ก็เริ่มมุ่งเน้นความสำคัญของห้องสมุดดิจิตอล โดยคาดว่าและเมื่อ 2020 ก็คาดว่าจะมีห้องสมุดรูปแบบใหม่ออกมาให้ประชาชนได้ใช้บริการ ในขณะนี้ห้องสมุดในสิงคโปร์มี 22 แห่ง มีคนใช้ราว 27 ล้าน และมีการยืมหนังสือกว่า 33 ล้านเล่ม

ผู้อำนวยการโครงการริเริ่มด้านการอ่าน กล่าวว่าเมื่อเดือนมิ.ย. ที่ผ่านมา หอสมุดสิงคโปร์ได้ริเริ่มโครงการใหม่ คือโครงการที่สนับสนุนการอ่านหนังสือในรูปแบบของดิจิตอล โดยผู้อ่านสามารถดาวน์โหลดเรื่องสั้นหรือนิยายเข้าไปอ่านในโทรศัพท์มือถือได้ จากการดำเนินโครงการ พบว่าได้เสียงตอบรับค่อนข้างดีมาก โดยมีการโหลดหนังสือดิจิตอลไปอ่านแล้วกว่า 45,000 ครั้ง กลุ่มผู้อ่านหลักเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยและผู้ใหญ่อายุน้อย

"เด็กรุ่นใหม่ชอบอ่านจากมือถือ เราจึงทำให้สามารถอ่านเรื่องสั้นผ่านมือถือได้ ตอนนี้พวกเขาไม่ต้องมาห้องสมุด แต่เขาสามารถดาวน์โหลดเรื่องสั้นไปอ่านบนมือถือได้" เกียง โก๊ะ ไล ลิน กล่าว

เธออธิบายถึงเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ในระยะยาวของห้องสมุดแห่งชาติสิงคโปร์ เธอกล่าวว่า มีเป้าประสงค์หลักๆ อยู่สี่อย่าง อย่างแรก คือการส่งเสริมพฤติกรรมการอ่าน ส่งเสริมความสนใจเฉพาะด้าน และความเท่าทันเรื่องข้อมูลข่าวสาร โดยมีโครงการรณรงค์ระดับชาติให้ประชาชนสามารถอ่าน เขียน และถ่ายทอดได้ อย่างที่สอง คือการสร้างห้องสมุดสำหรับยุคสมัยหน้า เป็นการทำให้การอ่านเป็นไลฟ์สไตล์ของผู้คน ซึ่งมีความหลากหลายและตอบสนองความต้องการของผู้อ่านได้มากขึ้น และมุ่งขยายการเข้าถึงห้องสมุดออกสู่ชุมชนต่างๆ ด้วยห้องสมุดเคลื่อนที่ พร้อมทั้งเพิ่มเติมพื้นที่แสดงศิลปะ นิทรรศการ และวัฒนธรรมเข้าไปในห้องสมุดด้วย

อย่างที่สาม คือการสร้างความเป็นเลิศทางเนื้อหาเกี่ยวกับสิงคโปร์และภูมิภาค โดยในปัจจุบันทางห้องสมุดได้ริเริ่มโครงการ “I remember SG” ซึ่งเป็นโครงการที่รวบรวมความทรงจำเกี่ยวกับสิงคโปร์ เพื่อหวังให้ประชาชนรำลึกอดีตและประวัติศาสตร์ที่มีอยู่ร่วมกัน โดยเราหวังว่าจะรวบรวมวัตถุเกี่ยวกับความทรงจำของสิงคโปร์ห้าล้านชิ้น และนำมาจัดแสดงเมื่อถึงปี 2015 ตั้งแต่เริ่มโครงการจนถึงขณะนี้ สามารถรวบรวมได้สามร้อยกว่าชิ้นแล้ว และอย่างสุดท้าย คือโครงการห้องสมุดดิจิตอล ทุกที่ทุกเวลา ซึ่งอำนวยให้คนเข้าถึงข้อมูลให้ง่ายมากขึ้น และช่วยให้คนช่วยรวมตัวกันเป็นชมรมอ่านหนังสือได้มากขึ้นด้วย

สุดท้ายนี้ เกียงโก๊ะไลลินอธิบายถึงแผนระยะสิบปีของการพัฒนาห้องสมุดว่า จะมุ่งให้ห้องสมุดสิงคโปร์มีความยืดหยุ่นและตอบสนองความต้องการสำหรับผู้อ่านกลุ่มต่างๆ ได้มากขึ้น นอกจากนี้ ยังเน้นการเข้าหากลุ่มผู้ด้อยโอกาสในสังคมให้มีโอกาสได้อ่านหนังสือมากขึ้น และมีทิศทางการพัฒนาห้องสมุดไปในทางดิจิตอลมากขึ้น

ลาวเล่าประสบการณ์ ถมช่องว่างและความเท่าเทียมในการเข้าถึงหนังสือ
สมเพ็ด พงพาจัน ผู้อำนวยการโครงการ Room to Read สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ร่วมแลกเปลี่ยนในหัวข้อ ช่องว่างและความเท่าเทียมในการเข้าถึงหนังสือ โดยเล่าถึงโครงการ Room to Read เพื่อส่งเสริมการเข้สถึงหนังสือของเยาวชนลาว ซึ่งเกิดจากผู้บริหารของไมโครซอฟท์ โดยพัฒนาใน 8 ประเทศที่กำลังพัฒนา เช่น กัมพูชา ลาว เวัยดนาม เนปาล เป็นอาทิ โดยความเชื่อมั่นว่าการอ่านจะทำให้คนมีคุณภาพ รวมไปถึงการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม และสร้างชาติบ้านเมืองให้เป็นเอกราชได้

โครงการ Room to ส่งเสริมการเรียนรู้โดยการสร้างโรงเรียน สร้างห้องสมุด หรือทำห้องสมุดเฉพาะ ส่งเสริมการผลิตสื่อการสอน และการจัดทำหนังสือทีเป็นภาษาท้องถิ่น โดยที่ประเทศลาวมีการจัดทำห้องสมุดแล้วเสร็จไปแล้วร้อยกว่าแห่ง จากโรงเรียนที่มีอยู่สี่พันกว่าแห่ง มีการส่งเสริมการศึกษาของเด็กหญิงให้เท่าเทียมกับผู้ชาย ให้เด็กผู้หญิงสามารถเรียนจนจบมัธยมปลาย

อย่างไรก็ตาม ยังคงประสบปัญหามีหนังสือแต่เด็กเข้าไม่ถึง ทำให้เด็กไม่ได้อ่าน หรือมีหนังสือที่เด็กอ่านแล้วไม่เข้าใจ
สมเพ็ดระบุว่า การทำงานยืนอยู่บนพื้นฐานที่เชื่อว่าคนลาวไม่ได้น้อยหน้าคนอื่นในด้านความรู้ความสามารถ และต้องพัฒนาเด็กหญิงให้มีการศึกษาอย่างน้อยที่สุดมัธยม เพื่อให้การพัฒนาการศึกษาของลาวผลิตคนที่มีคุณภาพ ตัดสินใจได้ แยกแยะข้อมูลความจริงได้ ประเทศลาวอาจจะล้าหลังกว่าประเทศเพื่อนบ้าน หนังสือยังน้อย และห้องสมุดยังน้อยเมื่อเทียบกับโรงเรียนที่มีอยู่ในประเทศ แต่ลาวก็มีความตั้งใจและมีความฝันใหญ่ และจะไม่ยอมแพ้

"เราอาจจะเอาประเทศเราไปเทียบกับญี่ปุ่นหรืออเมริกาไม่ได้อย่างแน่นอน แต่เราจะยอมอยู่ที่เดิมหรือ ประเทศเจริญเขามีปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่จะพัฒนาเราก็ต้องทำให้ดีเพราะเราเรียนรู้จากเขา เราได้เปรียบกว่า เราต้องพัฒนาไปพร้อมๆ กับดูแลสิ่งแวดล้อม เราต้องไม่ให้มีปัญหาแบบเขา ในอีก 50 ปีข้างหน้าเราต้องพัฒนาและเรียนรู้จากประเทศที่พัฒนาแล้ว" สมเพ็ดกล่าว

ในตอนท้าย ผู้อำนวยการโครงการ Room to Read จากลาวกล่าวถึงบทบาทของรัฐบาลลาวว่า ปัจจุบันนี้ รัฐบาลลาวส่งสัญญาณไฟเขียวให้กับองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานส่งเสริมการอ่าน โดยองค์กรพัฒนาเอกชนส่วนใหญ่ได้รับทุนจากองค์กรระหว่างประเทศ

ทั้งนี้ เํธอย้ำว่าการอ่านจะทำให้คนเท่าเทียมกันได้ เพระการอ่านจะช่วยระดับชีวิตของคนอ่านหนังสือ

คนไทยไม่อ่านภาษาอังกฤษ ไม่เข้าใจภาษาเพื่อนบ้าน จะร่วมเป็นประชาคมอาเซียนอย่างไร

ดร.ชัยยศ อิ่มสุวรรณ รองเลขาธิการ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย กล่าวว่า เมื่อ 80 ปีที่แล้ว มีการสำรวจสำมะโนประชากรครั้งแรกพบว่า 58 เปอร์เซ็นต์ของคน 16 ล้านคนอ่านหนังสือไม่ออก รัฐบาลก็ทุ่มเทรณรงค์การอ่านหนังสือ ปัจจุบันอัตราการไม่รู้หนังสือก็ยังอยู่คือ 2 เปอร์เซ็นต์ จาก 67 ล้านคน และมีคนไม่รู้หนังสืออายุน้อยลงเรื่อยๆ

องค์กรประเมินคุณภาพการศึกษาของไทยพบว่าเยาวชนไทยเพียงร้อยละ 21 เท่านั้นที่อ่านหนังสือแล้วเข้าใจเนื้อหา สถานการณ์แบบนี้ไม่ได้แปลว่าเกิดช่องว่าวงหรือความเหลื่อมล้ำต่ำสูงอะไรในสังคม แต่สะท้อนให้เห็นอุปสรรคสำคัญ ทั้งๆ ที่ช่องว่างในเรื่องโอกาสเข้าถึงการศึกษาของไทยไม่ได้กว้างมาก และไม่รุนแรงเท่าความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ หรือความเหลื่อมล้ำอื่นๆ แต่มีอุปสรรคที่ทำให้คนไทยอ่านหนังสือไม่ได้มากเท่าทีควร ทั้งนี้เมื่อสำรวจตลาดหนังสือไทยก็จะพบว่าหนังสือที่ขายดีที่สุด คือหนังสือเรื่องย่อละคร หนังสือพิมพ์กีฬา นี่คือปัญหาว่าเยาวชนไทยกำลังอ่านอะไร
ดร. ชัยยศกล่าวว่า ในด้านโครงสร้างพื้นฐานของการอ่านนั้น ประชากรในเมืองแทบจะไม่เป็นปัญหา มีร้านหนังสืออยู่จำนวนมาก ขณะที่ในต่างจังหวัด มีห้องสมุดในหลักพันเท่านั้นจากจำนวนแปดพันตำบล แสดงให้เห็นว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานยังไม่เพียงพอต่อการที่คนจะอ่านได้

ปัญหาโครงสร้างการอ่าน ที่สำคัญคือ หนังสือที่มีในตลาดเป็นหนังสือที่ผลิตตามความต้องการของตลาดอย่างเสรี เป็นการอ่านเพื่อความบันเทิง เพื่อความสนุกสนาน แต่เราไม่เคยมีมุมมองว่าการอ่านจะสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพ โดย ดร.ชัยยศเสนอให้มีองค์การที่จะตรวจสอบคุณภาพหนังสือ ร่วมมือกับนักเขียนให้เขียนหนังสือที่ดีออกมาให้คนไทยอ่าน โดยยกตัวอย่าง ของเกาหลีที่สามารถใช้วัฒนธรรมในการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ

ดร. ชัยยศตั้งข้อสังเกตด้วยว่า นอกจากคนไทยอ่านหนังสือที่เน้นความบันเทิงแล้ว ยังไม่อ่านภาษาอังกฤษ ทั้งที่ การรณรงค์ก่าวไปสู่คงวามเป็นประชาคมอาเซียนใน พ.ศ. 2558 ระบุไว้ว่าจะใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ซึ่งน่าสงสัยว่าคนไทยจะสื่อสารกับประเทศเพื่อนบ้านเราได้หรือไม่ เพราะเพื่อนบ้านเช่น คนลาว หรือกัมพูชา สามารถเข้าใจภาษาไทย แต่คนไทยกลับไม่เข้าใจภาษาเพื่อนบ้าน ทั้งยังไม่เข้าใจภาษาอังกฤษด้วย ซึ่งถือเป็นอุปสรรคอีกประการของการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้เช่นกัน

ท้ายที่สุด ดร.ชัยยศกล่าวว่า ต้องทำความเข้าใจกันใหม่ว่าการอ่านไม่ใช่แค่ทักษะเท่านั้น แต่ต้องยกระดับไปสู่วัฒนธรรมแล้ว ต้องปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก ทำให้เคยชิน ต้องปลูกจิตสำนึกใหม่ และต้องเห็นความสำคัญของการอ่าน

การจัดการประชุมวิชาการประจำปี 2554 ในหัวข้อ ‘Thailand Conference on Reading 2011’ มีวิทยากรจากประเทศในกลุ่มอาเซียนเข้าร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การส่งเสริมการอ่าน ได้แก่ วิทยากรจาก ลาว ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และมีวิทยากรจากประเทศเกาหลีใต้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนด้วย การประชุมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-25 ส.ค. ที่ห้องประชุมชั้น 6 โรงแรมอมารี วอเตอร์เกต

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สุรพศ ทวีศักดิ์: เมื่อ ส.ศิวรักษ์ เป่ากระหม่อมให้พระ

Posted: 24 Aug 2011 08:38 AM PDT

ในบรรดาปัญญาชนชาวพุทธในบ้านเรา มีเพียง ส.ศิวรักษ์ เท่านั้นที่ยืนยันมิติทางสังคมของพุทธศาสนาอย่างหนักแน่น

 “พระเสื้อแดงจำนวนมากมาหาผมครับ บอกอาจารย์เป่ากระหม่อมหน่อย เราจะไปสู้กับพวกอำมาตย์ ผมบอกโยมจะไปเป่ากระหม่อมพระได้ไง ท่านบอกไม่เป็นไร ส.ศิวรักษ์เป่า ศักดิ์สิทธิ์ ผมก็เป่ากระหม่อมพระ แต่ขอพระคุณเจ้าอย่าใช้ความรุนแรงนะ ถ้าเผื่อพระเสื้อแดงรวมตัวกันแล้วไม่ใช้ความรุนแรง เรียนจากพระพม่า เรียนจากพระลาว พระธิเบต โอ้โห.. เมืองไทยจะเปลี่ยนเลย นี่คือมิติทางการเมืองจากแต่ละปัจเจกบุคคล ทำความเข้าใจโครงสร้างทางสังคมอันอยุติธรรมและรุนแรง เมื่อมีความเชื่อมั่น มีความกล้าหาญทางจริยธรรม รวมกันเป็นพลัง นั่นจะเป็นการเมือง”

- ส.ศิวรักษ์ http://prachatai.com/journal/2011/01/32502

โปรดเข้าใจว่า “เป่ากระหม่อม” ในที่นี้เป็นคำอุปมาอุปไมย ผมสนใจประเด็นว่า “พระเสื้อแดง” ทำไมเปิดใจรับความคิดของ ส.ศิวรักษ์ ได้ โดยปกติพระสงฆ์ทั่วไป หรือแม้แต่นักวิชาการเปรียญลาพรตบางคนดูจะไม่ค่อยเป็นมิตรกับ “ความคิด” ของ ส.ศิวรักษ์ เท่าใดนัก เนื่องจากวัฒนธรรมพุทธเถรวาทไทยในยุคปัจจุบัน มักปลูกฝังให้มองคนที่วิจารณ์พุทธศาสนา และพระสงฆ์ตรงๆ แบบ ส.ศิวรักษ์ เป็น “มาร” มากกว่าเป็น “มิตร”

แต่เท่าที่ผมรู้ พระเสื้อแดงส่วนใหญ่มักเป็นพระแบบบ้านๆ คือพระที่เข้ากับชาวบ้านได้ดี พูดจาตรงๆ โผงผาง ออกแนวลูกทุ่งๆ อาจดูไม่สำรวม บุคลิกภาพเยี่ยม เปี่ยมสมบัติผู้ดี มีความสง่างามน่าเลื่อมใส สมดังเป็นผู้นำทางปัญญาและจิตวิญญาณเหมือนพระสงฆ์ใน “จินตนาการ” ของคนชั้นกลางในเมือง

โดยปกติพระแบบบ้านๆ จะไม่รังเกียจการถูกวิพากษ์วิจารณ์มากนัก อย่างน้อยก็ไม่ด่วนสรุปว่าคนวิจารณ์ตัวเองคือศัตรู เพราะพระแบบบ้านๆ รู้ตัวว่าตนเองไม่ได้วิเศษไปกว่าญาติโยม สมัยเป็นเณรอยู่ชนบทผมมักจะเห็นพระเกรงใจมรรคทายก พระรู้ตัวเองว่าเป็นลูกชาวบ้าน รู้ว่ามรรคทายกเคยบวชเรียนมาก่อน มีความรู้พุทธศาสนามากกว่า เวลาเทศน์งานบุญพระเวส พระรูปไหนอ่านใบลานตะกุกตะกัก ก็จะโดนโยมปาด้วยข้าวต้มมัด

นอกจากนี้ยังมีข้อมูลเชิงสถิติเล็กๆ จากประสบการณ์ที่เห็นมาคือ ผมบวชเณรอยู่บ้านตัวเอง 1 ปี เห็นชาวบ้านจับเจ้าอาวาสสึก ไป 1 รูป เพราะเมคเลิฟกับสีกา มาอยู่วัดในเมืองขอนแก่น 3 ปี ชาวบ้านจับผู้ช่วยเจ้าอาวาสสึกไปอีก 2 รูป เพราะเรื่องเมคเลิฟกับสีกาอีกนั่นแหละ

แต่เชื่อไหมครับว่า ผมมาอยู่วัดในกรุงเทพฯ ตั้ง 7 ปี ไม่เคยเห็นชาวบ้านจับพระสึกเลย (แต่เสียงซุบซิบเรื่องพระผู้ใหญ่ ผู้น้อยแอบเมคเลิฟกับสีกานี่ หนาหูกว่าต่างจังหวัดมาก) ทั้งที่สังคมเมืองพูดถึงเรื่องโปร่งใสๆ ตรวจสอบๆ มากกว่าสังคมชนบท

ปีที่แล้วตอนเก็บข้อมูลวิจัย มีโอกาสกลับไปที่ขอนแก่น ทราบข่าวเรื่องชาวบ้านล้อมกุฏิพระจับได้คาหนังคาเขากับสีกา ผมยังพูดกับพระที่นั่นว่า “บ้านเรายังรักษามาตรฐานการตรวจสอบพระเอาไว้อย่างมั่นคง”

พระบ้านๆ และชาวบ้านที่ใกล้วัดจะแยกแยะได้ดีว่า อะไรคือพุทธศาสนา อะไรคือพระ พระจะไม่สำคัญผิดว่าตนเป็นพุทธศาสนาเสียเอง จะไม่โวยวายว่าใครมาวิจารณ์ตรวจสอบพระแล้วจะเป็นการทำลายความมั่นคงของพุทธศาสนา ขณะที่ชาวบ้านจะรู้ว่า “พระเสื่อม ไม่ใช่พุทธศาสนาเสื่อม”

จะว่าไปแล้วการอยู่ร่วมกันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย วิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบกันและกัน เป็น “วิถีชาวพุทธ” ที่มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล มีข้อมูลมากมายในพระไตรปิฎกที่บอกว่า ชาวบ้านวิจารณ์พฤติกรรมไม่เหมาะสมของพระ ไปฟ้องเรื่องพฤติกรรมไม่เหมาะสมของพระต่อพระพุทธเจ้า

มีแม้กระทั่งเรื่องราวของพระ (ชาวเมืองโกสัมพี) ทะเลาะกันแบ่งออกเป็น 2 ก๊ก ก๊กละ 500 พระพุทธเจ้ามาไกล่เกลี่ยให้ปรองดองกันถึงสามครั้งสามครา แต่ภิกษุเหล่านั้นไม่เชื่อฟัง แถมยังบอกอีกว่า “พระองค์โปรดอย่ามายุ่ง เรื่องนี้พวกข้าฯ ขอจัดการกันเอง” ทำให้พระพุทธเจ้าต้องปลีกวิเวกไปอยู่ป่าตามลำพัง จนชาวบ้านต้องออกมาแสดงพลังสยบความแตกแยกของพระด้วยมาตรการ “คว่ำบาตร” คือประกาศเลิกใส่บาตรจนกว่าจะปรองดองกัน พระกลัวอดตายก็เลยหันมาปรองดองกัน

เห็นหรือยังครับว่า พลังอำนาจการตรวจสอบของชาวบ้านในบางกรณีมีประสิทธิภาพกว่า “บารมี” ของพระพุทธเจ้าเสียอีก ฉะนั้น พุทธศาสนาจึงเป็นของชาวบ้าน อยู่ภายใต้การกำกับตรวจสอบของชาวบ้านมาแล้วตั้งแต่สมัยพุทธกาล

แต่เมื่อพุทธศาสนาโดยองค์กรสงฆ์สนิทกับ “เจ้า” จนเกิดมีระบบ “พระราชาคณะ” และระบบการจัดการศึกษา การปกครอบแบบรวบอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ตั้งแต่สมัย ร.4 หรือ ร.5 เป็นต้นมานั้นดอก อำนาจการตรวจสอบของชาวบ้านจึงลดความสำคัญลง นึกถึง “ข่าวยันตระ” เมื่อหลายปีที่แล้วไหมครับ เมื่อมีการฟ้องร้อง (เรื่อง “ต้องอาบัติปาราชิก” เพราะมีความสัมพันธ์กับสีกาจนมีลูกโตเป็นเด็กหญิงแล้ว) ตามขั้นตอนของสายการปกครองสงฆ์ จนมาถึงมหาเถรสมาคม ปรากฏว่ามีการใช้เส้นสายช่วยเหลือกันจนทำอะไรไม่ได้

ฉะนั้น หากระบบของพระสงฆ์ไม่เป็นแบบระบบราชการ พระเป็นของประชาชนจริงๆ เหมือนในอดีต พระสงฆ์กับชาวบ้านอาจใกล้ชิดกัน มองกันและกันตามความเป็นจริงมากกว่านี้

การมองกันและกันตามความเป็นจริง จะทำให้มีถ้อยทีถ้อยอาศัยกันทั้งในเรื่องปัจจัยสี่ ความรู้ ภูมิปัญญา เรื่องบางเรื่องชาวบ้านอาศัยความรู้จากพระ บางเรื่องพระอาศัยความรู้จากชาวบ้าน พึ่งปัญญาของชาวบ้าน ดูเหมือน ส.ศิวรักษ์ จะเข้าใจวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวพุทธดังกล่าวนี้ดี เขาจึงทำหน้าที่วิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบพระ ให้คำแนะนำ ให้ความรู้พระในเรื่องต่างๆ มากมาย

โดยเฉพาะเตือนให้พระไม่ลืม “กำพืด” ตนเองว่า มาจากชนชั้นล่างของสังคม ต้องเรียนรู้เข้าใจ “ทุกขสัจจะของสังคม” อันมีสาเหตุมาจากโครงสร้างอันอยุติธรรมทางสังคมที่ทำให้เกิดความเลื่อมล้ำทางอำนาจต่อรองในทางการเมือง และความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจ พระสงฆ์ที่มาจากลูกชาวบ้านควรมองไปที่ชาวบ้าน ร่วมสุขร่วมทุกข์ เป็นที่พึ่งของชาวบ้านมากกว่าที่จะมองขึ้น “เบื้องบน” กระเสือกกระสนเพื่อลาภสักการะและสมณศักดิ์  

ในขณะเดียวกัน ศ.ศิวรักษ์ ก็กระตุ้นเตือนให้พระสงฆ์เปิดใจเรียนรู้พุทธศาสนานิกายอื่น เช่นมหายาน วัชรยาน เซ็น เรียนรู้พุทธศาสนาในประเทศเพื่อนบ้าน เข้าใจมิติทางสังคมของพุทธที่มีมาในประวัติศาสตร์ โดยวิพากษ์ให้เห็นจุดอ่อน จุดแข็ง อย่างตรงไปตรงมา

และในอีกด้าน ถึงแม้เขาจะวิจารณ์พระสงฆ์หรือวงการพุทธแรงอย่างไรก็ตาม แต่เขาก็โปรโมทคำสอนของพุทธศาสนาอย่างยิ่ง ดังที่เขากล่าวว่า

“ศาสนาพุทธ หรือคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น เป็นคำสั่งสอนที่ให้ประโยชน์แก่แต่ละบุคคลด้วย และให้ประโยชน์แก่สังคมด้วย และให้ประโยชน์แก่สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติด้วย ครบทั้งองค์สาม สิกขาบทโดยเฉพาะศีลห้านั้น เป็นการช่วยแต่ละบุคคลให้มีบทบาทในสังคมที่ถูกต้อง ลดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน ไม่ให้มีเอารัดเอาเปรียบกัน และเอื้ออาทรต่อธรรมชาติ”

ไม่ว่าเราจะเห็นด้วยกับมิติทางสังคมของพุทธศาสนาตามทัศนะข้างบนนี้หรือไม่ก็ตาม แต่เป็นความจริงว่า ในบรรดาปัญญาชนชาวพุทธในบ้านเรา มีเพียง ส.ศิวรักษ์ เท่านั้นที่ยืนยันมิติทางสังคมของพุทธศาสนาอย่างอย่างหนักแน่น และพยายามนำเสนอมิติทางสังคมพุทธศาสนาทั้งในรูปของความคิด และผ่านกิจกรรมทางสังคมมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน

ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้พระแบบบ้านๆ คือพระเสื้อแดงบางส่วน ยินดีให้ ส.ศิวรักษ์ “เป่ากระหม่อม” เพื่อเปิดโลกทัศน์ทางปัญญามองเห็นปัญหาความไม่เป็นธรรมทางสังคม และเห็นว่าควรจะนำมิติทางสังคมของพุทธศาสนาส่วนไหนบ้างไปสนับสนุนความคิด และอุดมการณ์ในการต่อสู้เพื่อสังคมที่เป็นธรรม

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นิติราษฏร์ ฉบับ 28 (วรเจตน์ ภาคีรัตน์): การลบล้างคำพิพากษาที่ขัดต่อหลักการพื้นฐานของกฎหมายและความยุติธรรม

Posted: 24 Aug 2011 08:32 AM PDT

เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปเป็นยุติว่าคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดแล้วนั้น เป็นสิ่งที่ชี้ขาดว่าสิทธิหน้าที่ของบุคคลในทางกฎหมายมีอยู่อย่างไร คำพิพากษานั้นจะถูกหรือผิดอย่างไรในทางกฎหมายก็ตาม โดยปกติแล้ว ก็ย่อมมีผลผูกพันบรรดาคู่ความในคดี ข้อพิพาททางกฎหมายย่อมยุติลงตามการชี้ขาดคดีของศาลซึ่งถึงที่สุด และคำพิพากษาดังกล่าวย่อมเป็นฐานแห่งการบังคับคดีตลอดจนการกล่าวอ้างของคู่ความในคดีต่อไปได้  คุณค่าของการต้องยอมรับคำพิพากษาของศาลก็คือ ความมั่นคงแน่นอนแห่งนิติฐานะของบุคคล อันมีผลบั้นปลายในการสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในระบบกฎหมาย
 
อย่างไรก็ตาม กรณีย่อมเป็นไปได้เสมอที่ในการพิจารณาพิพากษาคดีนั้นอาจเกิดความผิดพลาดขึ้น ความผิดพลาดดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้ทั้งจากความจงใจหรือความประมาทเลินเล่อขององค์กรในกระบวนการยุติธรรม หรือความผิดพลาดนั้น อาจเกิดขึ้นจากเหตุสุดวิสัยก็ได้ ระบบกฎหมายที่ดีย่อมกำหนดกฎเกณฑ์ให้มีการทบทวนคำพิพากษาที่ถึงที่สุดไปแล้วได้ ในทางกฎหมาย เราเรียกกระบวนการทบทวนคำพิพากษาที่ถึงที่สุดไปแล้ว แต่มีความบกพร่อง และหากปล่อยไว้ไม่ให้มีการทบทวน ก็จะไม่ยุติธรรมแก่คู่ความในคดีว่า การรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ ในกรณีที่ปรากฏในกระบวนการรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ว่าคำพิพากษาที่ถึงที่สุดแล้วนั้น เป็นคำพิพากษาที่ผิดพลาด ศาลที่พิจารณาคดีดังกล่าวนั้น ย่อมต้องยกคำพิพากษาเดิมซึ่งเป็นคำพิพากษาที่ผิดพลาดเสีย แล้วพิพากษาคดีดังกล่าวใหม่
 
การรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ จึงเป็นหนทางของการลบล้างคำพิพากษาที่ถึงที่สุดแล้ว แต่เป็นคำพิพากษาที่ผิดพลาด ทั้งนี้ตามกระบวนการ ขั้นตอน และหลักเกณฑ์ที่กำหนดเอาไว้ล่วงหน้าในระบบกฎหมายนั้น โดยองค์กรที่มีอำนาจลบล้างคำพิพากษาที่ผิดพลาดดังกล่าว ก็คือ องค์กรตุลาการหรือศาลนั่นเอง
 
ในทางนิติปรัชญาและในทางทฤษฎีนิติศาสตร์ ยังคงมีปัญหาให้พิเคราะห์ต่อไปอีกว่า ในกรณีที่ศาลหรือผู้พิพากษาอาศัยอำนาจตุลาการพิจารณาพิพากษาคดีไปตามตัวบทกฎหมายซึ่งเห็นได้ชัดว่าไม่สอดคล้องกับความยุติธรรม หรือในกรณีที่ศาลหรือผู้พิพากษาพิจารณาพิพากษาคดีไปโดยไม่เคารพหลักการพื้นฐานของกฎหมาย นำตนเข้าไปรับใช้อำนาจทางการเมืองในห้วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ยอมรับสิ่งซึ่งไม่อาจถือว่าเป็นกฎหมายได้ ให้เป็นกฎหมาย แล้วชี้ขาดคดีออกมาในรูปของคำพิพากษา  ในเวลาต่อมาผู้คนส่วนใหญ่เห็นกันว่าคำพิพากษาดังกล่าวเป็นคำพิพากษาที่ไม่อาจยอมรับนับถือให้มีผลในระบบกฎหมายได้ และเห็นได้ชัดว่าไม่อาจใช้วิธีการรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ลบล้างคำพิพากษานั้นได้เช่นกัน จะมีหนทางใดในการลบล้างคำพิพากษาดังกล่าวนั้น
 
หลักการเบื้องต้นในเรื่องนี้ มีอยู่ว่า กฎเกณฑ์ที่ขัดต่อความยุติธรรมอย่างรุนแรง ไม่ควรจะได้ชื่อว่าเป็นกฎหมายฉันใด คำตัดสินที่ขัดต่อหลักการพื้นฐานทางกฎหมายและความยุติธรรมอย่างชัดแจ้งก็ไม่ควรจะได้ชื่อว่าเป็นคำพิพากษาฉันนั้น
 
ในประเทศเยอรมนี หลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง ความปรากฏชัดว่า ศาลต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งศาลพิเศษที่อดอลฟ์ ฮิตเลอร์จัดตั้งขึ้นเป็นศาลสูงสุดในคดีอาญาทางการเมือง (เรียกกันในภาษาเยอรมันว่า Volksgerichtshof  ซึ่งอาจแปลตามรูปศัพท์ได้ว่า ศาลประชาชนสูงสุด เมื่อแรกตั้งขึ้นนั้น ศาลดังกล่าวนี้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับการทรยศต่อชาติ ต่อมาได้มีการขยายอำนาจออกไปในคดีอาญาอื่นๆด้วย เช่น การวิจารณ์หรือแสดงความสงสัยในชัยชนะในสงครามของรัฐบาลนาซีเยอรมัน ศาลดังกล่าวนี้ก็อาจลงโทษประหารชีวิตผู้วิจารณ์หรือแสดงความสงสัยในชัยชนะนั้นเสียก็ได้) ได้พิพากษาลงโทษบุคคลจำนวนมากโดยขัดต่อหลักการพื้นฐานทางกฎหมายและความยุติธรรม  มีคำพิพากษาจำนวนไม่น้อยที่ศาลได้ใช้วิธีการตีความกฎหมายขยายความออกไปอย่างกว้างขวาง เพื่อลงโทษบุคคล ในหลายกรณีเห็นได้ชัดว่าศาลได้ปักธงในการลงโทษบุคคลไว้ก่อนแล้ว และใช้เทคนิคโวหารในการใช้และการตีความกฎหมายโดยบิดเบือนต่อหลักวิชาการทางนิติศาสตร์เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการลงโทษบุคคลนั้น (เช่น คดี Leo Katzenberger)
 
มีข้อสังเกตว่า การดำเนินคดีในนามของกฎหมายและความยุติธรรมของศาลในระบบนาซีเยอรมัน เกิดจากแรงจูงใจในทางการเมือง เชื้อชาติเผ่าพันธุ์ และศาสนา (อาจเรียกให้สมกับยุคสมัยว่า "ตุลาการนาซีภิวัฒน์") อีกทั้งกระบวนการในการดำเนินคดี ขัดต่อหลักการพื้นฐานหลายประการ เช่น การไม่ยอมมีให้มีการคัดค้านผู้พิพากษาที่เห็นได้ชัดว่ามีส่วนได้เสียหรือมีอคติในการพิจารณาพิพากษาคดี การจำกัดสิทธิในการนำพยานหลักฐานเข้าหักล้างข้อกล่าวหา การกำหนดให้การพิจารณาพิพากษากระทำโดยศาลชั้นเดียว ไม่ยอมให้มีการอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษา การจำกัดระยะเวลาในการต่อสู้คดีของจำเลย เพื่อให้กระบวนพิจารณาจบไปโดยเร็ว มิพักต้องกล่าวถึงบรรยากาศของการโหมโฆษณาชวนเชื่อในทางสาธารณะ และแนวความคิดของผู้พิพากษาตุลาการในคดีว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้ถูกกล่าวหาเพียงใด ที่น่าขบขันและโศกสลดในเวลาเดียวกันก็คือ แม้ว่ากฎหมายที่ใช้บังคับในเวลานั้น จะออกโดยเผด็จการนาซี และศาลในเวลานั้นต้องใช้กฎหมายของเผด็จการนาซีในการพิจารณาพิพากษาคดีก็ตาม แต่ถ้าใช้กฎหมายดังกล่าวอย่างตรงไปตรงมาแล้วไม่สามารถเอาผิดกับผู้ถูกกล่าวหาได้ เช่นนี้ ศาลก็จะตีความกฎหมายจนกระทั่งในที่สุดแล้ว สามารถพิพากษาลงโทษผู้ถูกกล่าวหาจนได้
 
เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงแล้ว มีเสียงเรียกร้องให้ลบล้างหรือยกเลิกคำพิพากษาที่ไม่ถูกต้องชอบธรรมซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างการครองอำนาจของรัฐบาลนาซีเสีย  แม้ว่าทุกฝ่ายจะเห็นตรงกันว่าควรจะต้องลบล้างบรรดาคำพิพากษาดังกล่าวก็ตาม แต่ก็ถกเถียงกันว่าวิธีการในการลบล้างคำพิพากษาเหล่านั้นควรจะเป็นอย่างไร ฝ่ายหนึ่งเห็นว่าควรจะดำเนินการลบล้างคำพิพากษาของศาลนาซีเป็นรายคดีไป เพื่อรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงแน่นอนแห่งนิติฐานะ อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่าควรจะลบล้างคำพิพากษาทั้งหมดเป็นการทั่วไป ในชั้นแรก ในเขตยึดครองของอังกฤษนั้น ได้มีการออกข้อกำหนดลงวันที่ ๓ กรกฎาคม ๑๙๔๗ ให้อำนาจอัยการในการออกคำสั่งลบล้างคำพิพากษาของศาลนาซีหรือให้อัยการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งลบล้างคำพิพากษาของศาลนาซีก็ได้เป็นรายคดีไป การลบล้างคำพิพากษาเป็นรายคดีนี้ได้มีการนำไปใช้ในเวลาต่อมาในหลายมลรัฐ อย่างไรก็ตามวิธีการดังกล่าวมีปัญหาในทางปฏิบัติมาก ทั้งความยุ่งยากในการดำเนินกระบวนการลบล้างคำพิพากษาและการเยียวยาความเสียหาย ปัญหาดังกล่าวนี้ดำรงอยู่เรื่อยมาในเยอรมนีเกือบจะตลอดศตวรรษที่ยี่สิบ
 
ใน ค.ศ. ๑๙๘๕ สภาผู้แทนราษฎรแห่งสหพันธ์ (Bundestag) ได้มีมติเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ประกาศว่า ศาลสูงสุดคดีอาญาทางการเมือง (Volksgerichtshof) เป็นเครื่องมือก่อการร้ายเพื่อทำให้ระบบเผด็จการเบ็ดเสร็จนาซีสำเร็จผลโดยบริบูรณ์ ด้วยเหตุนี้ บรรดาคำพิพากษาทั้งหลายที่เกิดจากการตัดสินของศาลดังกล่าวจึงไม่มีผลใดๆในทางกฎหมาย และในปี ค.ศ.๒๐๐๒ ได้มีการออกรัฐบัญญัติลบล้างคำพิพากษานาซีที่ไม่ถูกต้องเป็นธรรมในคดีอาญา กฎหมายฉบับนี้มีผลลบล้างคำพิพากษาของศาลสูงสุดคดีอาญาทางการเมืองและศาลพิเศษคดีอาญาทุกคำพิพากษา
 
ปัญหาการลบล้างหรือยกเลิกหรือประกาศความเสียเปล่าหรือความเป็นโมฆะของคำพิพากษาเป็นปัญหาที่แทบจะไม่เคยมีการอภิปรายในระบบกฎหมายไทย ทั้งๆที่คำพิพากษาของศาลถือเป็นการแสดงเจตนาในทางมหาชนก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวในสิทธิหน้าที่ของบุคคล ซึ่งหากขัดต่อกฎหมายอย่างรุนแรงแล้ว ก็อาจตกเป็นโมฆะได้ โดยทั่วไปแล้วหากนักกฎหมายไทยต้องการให้คำพิพากษาของศาลไม่สามารถที่จะบังคับการต่อไปได้ในทางกฎหมาย ก็มักจะใช้วิธีการนิรโทษกรรมหรืออภัยโทษเป็นสำคัญ ทั้งนี้โดยไม่กระทบต่อคำพิพากษานั้น ซึ่งหมายความว่าระบบกฎหมายยอมรับคำพิพากษานั้น แต่ด้วยเหตุผลทางการเมืองหรือเหตุผลในทางรัฐประศาสโนบาย จำเป็นที่ต้องระงับโทษหรือยกเว้นความผิดให้แก่บุคคลที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดหรือบุคคลที่ถูกพิพากษาว่าได้กระทำความผิด
 
เป็นที่รับรู้กันทั่วไปว่าศาลและนักกฎหมายไทยส่วนใหญ่ยอมรับว่าบรรดาคำสั่ง ตลอดจนประกาศต่างๆของคณะรัฐประหารมีสถานะเป็นกฎหมาย และความเป็นกฎหมายของคำสั่งตลอดจนประกาศของคณะรัฐประหารในสายตาของศาลและนักกฎหมายไทย ไม่ได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะในห้วงเวลาที่คณะรัฐประหารครองอำนาจเท่านั้น แม้คณะรัฐประหารสิ้นอำนาจลงแล้ว บรรดาคำสั่งตลอดจนประกาศเหล่านั้น ก็มีผลเป็นกฎหมายต่อเนื่องไปด้วย ด้วยวิธีคิดเช่นนี้ ศาลหรือองค์กรที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นคล้ายกับศาลภายหลังการรัฐประหาร เช่น คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญฯ ฉบับชั่วคราว พุทธศักราช ๒๕๔๙ จึงสามารถดำเนินกระบวนการพิจารณาพิพากษาคดีตามคำสั่งหรือประกาศของคณะรัฐประหารได้ เช่น การที่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญนำประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ ๒๗ มาใช้บังคับย้อนหลังเป็นผลร้ายแก่บุคคล และสามารถทำคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยให้มีผลในระบบกฎหมายได้ ทั้งๆที่ขั้นตอนต่างๆที่เกิดขึ้นในกระบวนการ“ยุติธรรม” นั้น ในบางขั้นตอนเป็นขั้นตอนที่ถูกกำกับโดยคำสั่งหรือประกาศของคณะรัฐประหาร ซึ่งเมื่อตรวจวัดกับหลักการพื้นฐานในทางกฎหมายแล้ว ไม่สามารถยอมรับได้ เช่น  การตั้งปรปักษ์ของผู้ถูกกล่าวหา เป็นกรรมการสอบสวนผู้ถูกกล่าวหา เป็นต้น
 
นอกจากนี้ หากพิเคราะห์เฉพาะในแง่มุมของตัวบทกฎหมาย โดยยังไม่พิเคราะห์ถึงบรรยากาศทางสังคม ทัศนะของกลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มพลังต่างๆในทางสังคม เช่น สื่อมวลชน ตลอดจนทัศนะและค่านิยมของผู้พิพากษาตุลาการในดำเนินกระบวนพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับผลได้เสียทางการเมือง การต่อสู้คดีของฝ่ายผู้ถูกกล่าวหายังไม่สามารถกระทำได้อย่างเต็มที่ เพราะถูกจำกัดโดยโครงสร้างของบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายซึ่งเป็นผลพวงโดยตรงหรือโดยอ้อมของการทำรัฐประหารเอง เช่น การบัญญัติรับรองให้บรรดาคำสั่งหรือประกาศต่างๆของคณะรัฐประหารซึ่งรับรองไว้ชั้นหนึ่งแล้วว่าให้ถือว่าชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญโดยรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว (ดู มาตรา ๓๖ ของรัฐธรรมนูญฯ ฉบับชั่วคราว ๒๕๔๙) เป็นคำสั่งหรือประกาศ (รัฐธรรมนูญเรียกว่า “การใดๆ”) ที่ “ถือว่า” ชอบด้วยรัฐธรรมนูญฉบับที่เกิดขึ้นตามมา คือรัฐธรรมนูญฉบับที่ต้องการให้ใช้บังคับถาวร (ดู มาตรา ๓๐๙ ของรัฐธรรมนูญฯ ๒๕๕๐) โครงสร้างของรัฐธรรมนูญดังกล่าวเป็นฐานทางกฎหมายชั้นดีในการให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาไปได้ โดยไม่ต้องตั้งคำถามว่าบรรดาคำสั่งหรือประกาศของคณะรัฐประหารซึ่งในทางรูปแบบเป็นคำสั่งหรือประกาศที่ไม่ถูกต้องเป็นธรรมนั้น ในทางเนื้อหาถูกต้องเป็นธรรมหรือไม่
 
ประเทศไทยผ่านเหตุการณ์การฉีกรัฐธรรมนูญ ล้มองค์กรสูงสุดในทางบริหารและทางนิติบัญญัติอย่างไร้อารยะมาหลายครั้งเต็มที  และเมื่อบ้านเมืองกลับสู่ภาวะที่พอจะได้ชื่อว่าเป็นประชาธิปไตยอยู่บ้าง ก็ไม่เคยมีสักครั้ง ที่องค์กรซึ่งได้รับอาณัติในการปกครองและมีความชอบธรรมสูงสุดในระบอบประชาธิปไตย จะได้กลับไปทบทวนบรรดาคำสั่ง คำวินิจฉัย คำพิพากษาต่างๆที่เป็นผลพวงไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมจากการรัฐประหารว่าสมควรจะทำให้บรรดาคำสั่ง คำวินิจฉัยหรือคำพิพากษาเหล่านั้นสิ้นผลลงในทางกฎหมายหรือทำให้ไม่เคยเกิดผลในทางกฎหมายเลยอย่างไรได้บ้าง
 
อาจมีผู้เสนอความเห็นว่า สมควรที่จะต้องตรากฎหมายยกเลิกบรรดาคำสั่งหรือประกาศของคณะรัฐประหารเสีย การดำเนินการไปตามความเห็นดังกล่าวเพียงอย่างเดียวอาจมีปัญหาในทางกฎหมายตามมาอีกว่า ต่อให้ตรากฎหมายยกเลิกบรรดาคำสั่งหรือประกาศของคณะรัฐประหารเหล่านั้น บรรดาคำสั่ง คำวินิจฉัยหรือคำพิพากษาที่เกิดขึ้นแล้ว ก็อาจจะไม่ได้ถูกยกเลิกตามไปด้วยโดยอัตโนมัติ หากคำสั่งหรือประกาศของคณะรัฐประหารนั้นไม่ใช่กฎหมายอาญาสารบัญญัติที่กำหนดความผิดและโทษขึ้น แต่เป็นคำสั่งหรือประกาศที่กำหนดกระบวนการในการดำเนินคดีหรือเป็นคำสั่งหรือประกาศแต่งตั้งบุคคลให้เป็นเจ้าหน้าที่หรือกรรมการสอบสวน นอกจากนี้ในทางหลักการ การตรากฎหมายยกเลิกบรรดาคำสั่งหรือประกาศของคณะรัฐประหาร โดยไม่ลบล้างบรรดาคำสั่ง คำวินิจฉัยหรือคำพิพากษาขององค์กรของรัฐไปพร้อมกัน ในทางสัญลักษณ์ยังเท่ากับยอมรับความถูกต้องของคำสั่ง คำวินิจฉัย หรือคำพิพากษาขององค์กรของรัฐเหล่านั้นด้วย
 
การนิรโทษกรรมบรรดาผู้ที่ต้องคำพิพากษาอันเนื่องมาจากการทำรัฐประหารนั้น แม้จะทำให้บุคคลที่ถูกกล่าวหาไม่มีความผิด แต่ก็อาจมีข้อเสียในแง่ที่หากบุคคลเหล่านั้นกระทำความผิดจริง ก็จะทำให้ผู้กระทำความผิดพ้นจากความผิดไป และในทางสัญลักษณ์ก็เท่ากับยอมรับคำพิพากษาของศาลเช่นกัน ทั้งๆที่เป็นไปได้อีกด้วยที่ในทางเนื้อหานั้นคำพิพากษาดังกล่าวเป็นคำพิพากษาที่ไม่ถูกต้อง เช่น ศาลตีความกฎหมายที่มีโทษทางอาญาออกไปกว้างมากจนไม่ใช่แค่การตีความโดยขยายความเท่านั้นแต่กลายเป็นการใช้กฎหมายโดยเทียบเคียง (analogy) เป็นผลร้ายต่อบุคคล ซึ่งต้องห้ามในกฎหมายอาญา
 
สิ่งที่วงการกฎหมายไทย ควรตรึกตรองอย่างมีเหตุผล มีความเป็นธรรม ก็คือ การตรากฎหมายลบล้างคำสั่ง คำวินิจฉัย หรือคำพิพากษาที่เป็นผลพวงไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อมจากการทำรัฐประหาร โดยถือเสมือนว่าไม่เคยเกิดมีคำสั่ง คำวินิจฉัย หรือคำพิพากษาเหล่านั้นขึ้น ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ และหลังจากนั้น ถ้าจะดำเนินคดีกับผู้ใดที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด ก็ให้ดำเนินคดีไปตามความเป็นธรรม ตามกฎหมายที่ถูกต้องชอบธรรมในระบอบประชาธิปไตยโดยองค์กรในกระบวนการยุติธรรมที่ได้รับการปฏิรูปแล้ว แม้จะมีผู้กล่าวว่าในทางความเป็นจริง การกำหนดกฎเกณฑ์ดังกล่าวอาจจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ เช่น การประกาศลบล้างคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญในคดีที่มีการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคการเมืองพรรคหนึ่งเป็นเวลา ๕ ปี จากการบังคับใช้ประกาศ คปค. ฉบับที่ ๒๗ เพราะเมื่อถึงวันนั้น ระยะเวลาในการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งคงจะล่วงพ้นไปแล้ว แต่การประกาศลบล้างคำวินิจฉัยดังกล่าวนอกจากจะมีผลในทางสัญลักษณ์ในการปฏิเสธอำนาจรัฐประหารแล้ว ในทางกฎหมายย่อมจะต้องถือว่าบุคคลเหล่านั้นไม่เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเลยด้วย
 
อย่างไรก็ตาม โดยที่บรรดาคำสั่ง คำวินิจฉัย และคำพิพากษาที่เป็นผลพวงไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อมจากรัฐประหาร เกี่ยวพันกับรัฐธรรมนูญ การตรากฎหมายประกาศลบล้างคำสั่ง คำวินิจฉัย และคำพิพากษาดังกล่าวอาจถูกศาลรัฐธรรมนูญ (ซึ่งเกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญฯ ๒๕๕๐ อันเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ใช้บังคับต่อจากรัฐธรรมนูญฯ ฉบับชั่วคราว ๒๕๔๙ ซึ่งเป็นผลจากการรัฐประหารเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙) วินิจฉัยว่าขัดกับรัฐธรรมนูญเสียก็ได้ อีกทั้งการประกาศความเสียเปล่าของคำสั่ง คำวินิจฉัย ตลอดจนคำพิพากษานั้น บางกรณีก็เป็นคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเสียเองด้วย เพราะฉะนั้น จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องบัญญัติเรื่องดังกล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญ และเพื่อให้การตัดสินใจในกรณีนี้มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตยในระดับสูงสุด กรณีจึงสมควรที่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจรัฐ บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในเรื่องดังกล่าวจึงต้องผ่านการออกเสียงประชามติ
 
หากเป็นเช่นนั้น นี่จะเป็นการให้คำตอบของเจ้าของอำนาจตัวจริงที่ชัดเจนที่สุดต่อระบบแห่งกฎเกณฑ์ที่เกิดจากการทำรัฐประหาร.
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

จำคุก 4 เสื้อแดงอุบล 33 ปี 4 เดือน-ปล่อย 9 ผู้บริสุทธิ์หลังขังฟรีปีกว่า

Posted: 24 Aug 2011 08:28 AM PDT

ศาลอุบลฯ สั่งจำคุกตลอดชีวิต 4 เสื้อแดงฐานก่อการร้าย ร่วมวางเพลิง ฯ ลดเหลือ 33 ปี 4 เดือน อายุน้อยสุด 21 ปี ขณะที่ศาลพิพากษายกฟ้องอีก 9 ราย ทนายเตรียมยื่นประกันพรุ่งนี้

24 ส.ค.2554 ศาลจังหวัดอุบลราชธานี ได้ออกนั่งบัลลังก์แบบองค์คณะโดยมีอธิบดีศาลภาค 3 อ่านคำพิพากษาคดีที่พนักงานสอบสวน สภ.อ.เมือง อุบลราชธานี ได้ยื่นฟ้องกลุ่มคนเสื้อแดง ฐานความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย และความผิดต่อเจ้าพนักงานในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยร่วมกันฝ่าฝืน พ.ร.ก.ในสถานการณ์ฉุกเฉิน บุกรุกสถานที่ราชการ ร่วมกันทำลายทรัพย์สิน และวางเพลิงเผาอาคารศาลากลางจังหวัด เมื่อวันที่ 19 พ.ค.2553 โดยมีผู้ต้องหาถูกส่งฟ้องรวมทั้งสิ้น 21 คน

คดีดังกล่าวเป็นที่สนใจของกลุ่มเสื้อแดงจำนวนกว่า 200 คน ที่เข้าร่วมรับฟังผ่านทีวีวงจรปิดที่ศาลได้ติดตั้งไว้เพื่อถ่ายทอดการอ่านคำพิพากษาบริเวณข้างบันไดทางขึ้นศาล โดยศาลได้อ่านรายละเอียดการเบิกคำให้การของพยานแวดล้อมที่อยู่ในเหตุการณ์ ก่อนมีคำพิพากษาตัดสินลงโทษและยกคำฟ้องจำเลย โดยใช้เวลารวมทั้งสิ้นประมาณ 3 ชั่วโมง

โดยสรุปศาลพิพากษาให้จำคุกจำเลยตลอดชีวิต 4 ราย ประกอบด้วย นายสนอง เกตุสุวรรณ อายุ45ปี นายสมศักดิ์ ประสานทรัพย์ อายุ 45 ปี น.ส.ปัทมา มูลนิล อายุ25ปี นายธีรวัฒน์ สัจจสุวรรณ 21 ปี แต่ทั้งหมดให้การเป็นประโยชน์กับรูปคดี จึงลดโทษเหลือจำคุกหนึ่งในสาม เป็นเวลา 33 ปีกับ 4 เดือน

ส่วนผู้ต้องหาให้จำคุก 3 ปี แต่ลดโทษเหลือ 2 ปี มี 4 ราย ประกอบด้วย นายประดิษฐ์ บุญสุข นายลิขิต สุทธิพันธ์ นายไชยา ดีแสง นายพิสิทธิ์ บุตรอำคา และให้ลงโทษจำคุก 1 ปี แต่ลดเหลือ 8 เดือน มี 3 ราย คือ นายอุบล แสนทวีสุข นายสุพจน์ ดวงงาม และ นางอรอนงค์ บรรพชาติ

สำหรับนายพิเชษฐ์ ทาบุดดา ซึ่งเป็นแกนนำและถูกกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ส่งฟ้องข้อหาเป็นผู้ก่อการร้าย ศาลมีคำพิพากษาว่า พฤติกรรมนายพิเชษฐ์ ไม่เข้าข่ายเป็นผู้ก่อการร้าย แต่กระทำผิดฐานโฆษณาออกอากาศชักชวนให้มีการชุมนุมและการกระทำความผิด แต่ไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่า เป็นผู้ปลุกปั่นให้เกิดการเผาทำลายอาคารศาลากลางจังหวัด จึงพิพากษายกฟ้องข้อหาเป็นผู้ก่อการร้าย และให้ลงโทษฐานฝ่าฝืน พ.ร.ก.ในสถานการณ์ฉุกเฉินจำคุก 1 ปี โดยไม่รอลงอาญา

ส่วนผู้ต้องหาที่เหลืออีก 9 ราย ศาลมีคำพิพากษาให้ยกฟ้อง เพราะหลักฐานของโจทก์มีเพียงภาพถ่ายของผู้ต้องหาขณะเข้าร่วมชุมนุม แต่ไม่มีหลักฐานอื่นที่แสดงว่าโจทก์ได้ร่วมกระทำความผิดอื่นตามฟ้อง

หลังศาลอ่านคำพิพากษา เจ้าหน้าที่เรือนจำได้นำตัวผู้ต้องหาทั้งหมดลงจากบัลลังก์ นำกลับเข้าไปควบคุมไว้ที่เรือนจำกลางอุบลราชธานี โดยผู้ต้องหาที่ถูกปล่อยตัวในค่ำวันเดียวกัน มีทั้งสิ้น 12 ราย เป็นผู้ต้องหาที่ถูกควบคุมตัวจนครบอัตราโทษจำนวน 3 คน และอีก 9 คนเป็นผู้ต้องหาที่ศาลยกฟ้อง สำหรับนายพิเชษฐ์ ทาบุดดา ที่ถูกจำคุก 1 ปี พนักงานสอบสวนในคดีเผาเรือที่ชุมชนราชธานีอโศก ได้ขออายัดตัวไว้ดำเนินคดีต่อไป

นายวัฒนา จันทรสิงห์ ทนายความกล่าวว่า ในวันที่ 25 ส.ค.เวลา 09.00 น. กลุ่ม ส.ส.พรรคเพื่อไทยใน จ.อุบลฯ จะมายื่นประกันตัวผู้ต้องหาที่เหลือในชั้นอุทธรณ์ทั้ง 9 คน ส่วนจะได้รับการประกันตัวหรือไม่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาลอุทธรณ์ต่อไป

ในส่วนของผู้ต้องหาที่ศาลมีคำพิพากษาให้ยกฟ้องนายวัฒนากล่าวว่า หากเจ้าหน้าที่ๆทำการจับกุมตัวมีสำนึกรับผิดชอบควรจะต้องมาติดต่อเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อผู้บริสุทธิ์ที่ถูกพวกเขาใช้อำนาจจับกุมคุมขังโดยไม่ได้รับการประกันตัวกว่า 1 ปี โดยที่ไม่ต้องให้ผู้เสียหายต้องแจ้งความดำเนินคดีก่อน
 

หมายเหตุ: ข้อมูลบางส่วนจาก กรุงเทพธุรกิจ
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คนงานเตรียมขอพบ รมว.แรงงาน หลังนโยบายค่าจ้าง 300 บาทไม่ตรงกับหาเสียง

Posted: 24 Aug 2011 04:50 AM PDT

ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทยเผย สัปดาห์หน้า ตัวแทน 7 สภาองค์การลูกจ้างฯ จะขอพบ รมว.แรงงาน หลังนโยบายค่าจ้าง 300 บาทไม่ตรงกับหาเสียง

24 ส.ค. 54 - สำนักข่าวไทยรายงานว่านายมนัส โกศล  ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย กล่าวว่า นโยบายของรัฐบาลไม่ตรงกับที่ได้หาเสียงไว้ในเรื่องของค่าจ้างขั้นต่ำ เพราะรัฐบาลเปลี่ยนถ้อยคำจากค่าจ้างขั้นต่ำมาเป็นรายได้ไม่น้อยกว่าวันละ  300 บาท ซึ่งความหมายของรายได้ คือ ค่าจ้างบวกกับค่าสวัสดิการและค่าโอที ทำให้แรงงานรู้สึกว่า รัฐบาลบิดพลิ้วนโยบายปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน  ทั้งนี้ หากพูดถึงรายได้ภาพรวมในปัจจุบันทั้งในเรื่องของเงินเดือนและค่าสวัสดิการต่างๆ ลูกจ้างได้มากกว่า 300 บาทต่อวันอยู่แล้ว หากได้ค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ  300 บาท จะทำให้ลูกจ้างมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเพราะไม่ต้องทำงานล่วงเวลา หรือทำน้อยลดลง

อย่างไรก็ตาม สัปดาห์หน้า ตัวแทน 7 สภาองค์การลูกจ้างฯ จะขอเข้าพบนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อทวงถามความชัดเจนในเรื่องนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท เพราะสิ่งที่แรงงานกังวล คือ รายได้ 300 บาทต่อวัน เป็นการขอความร่วมมือจากภาคเอกชน ไม่ได้เกิดผลเช่นเดียวกับค่าจ้างขั้นต่ำ ที่มีกฎหมายบังคับชัดเจนให้นายจ้างจ่าย

สำหรับวิธีการในการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวันนั้น รัฐบาลสามารถทำได้ โดยแก้ไขมาตรา 78 ของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ในเรื่องการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำโดยให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการ หรือกำหนดอัตราค่าจ้างแทนคณะกรรมการไตรภาคี เพราะปัจจุบันราคาสินค้ามีการขยับนำหน้าการปรับค่าจ้างแล้ว

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"สาทิตย์" อัดนโยบายเพื่อไทยไม่ต่างจากรัฐบาลชุดก่อน

Posted: 24 Aug 2011 04:20 AM PDT

ทั้งที่เคยพาดพิงรัฐบาลก่อนว่าเป็น "อำมาตย์" ชี้เป็นเรื่องน่าผิดหวังที่รัฐบาลใหม่ไม่แก้ปัญหาความยากจนเชิงโครงสร้าง ด้าน "จตุพร" ลุกขึ้นโต้ขอโอกาสรัฐบาลทำงานเพราะเพิ่งเริ่มแถลงนโยบาย ด้าน "กรณ์" วอนรัฐบาลทำให้ชัดเจนว่าจะทำได้ตามที่หาเสียงหรือไม่

"สาทิตย์" อัดนโยบายเพื่อไทยไม่ต่างจากนโยบายรัฐบาลชุดก่อน
ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา สมัยสามัญทั่วไป เพื่อพิจารณาเรื่องด่วน การแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา ตามมาตรา 176 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยวันนี้ (24 ส.ค.) ซึ่งดำเนินมาเป็นวันที่ 2 นั้น

ในวันนี้นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.จังหวัดตรัง พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายตั้งคำถามไปถึงรัฐบาล ที่เคยพาดพิงรัฐบาลชุดที่แล้วว่าเป็นรัฐบาลอำมาตย์ แต่เมื่อพิจารณานโยบายรัฐบาลใหม่แล้ว เห็นว่า ไม่มีอะไรแตกต่าง และไม่มีอะไรชัดเจนในการแก้ปัญหาให้ประชาชน ซึ่งเป็นเรื่องน่าผิดหวัง เพราะไม่มีเรื่องการแก้ปัญหาความยากจนเชิงโครงสร้าง เป็นเพียงเทคนิควาทกรรมทางการเมืองให้ความหวังกับประชาชนเท่านั้น พร้อมขอให้รัฐบาลใหม่ อย่าปฏิเสธนโยบายของรัฐบาลชุดที่แล้ว โดยเฉพาะเรื่องโฉนดชุมชน โดยขอให้สานต่อแม้จะมีการเปลี่ยนชื่อเพราะเหตุผลทางการเมือง อย่าเป็นเพียงวาทกรรมเพื่อดึงมวลชนเท่านั้น

ทั้งนี้หลังการอภิปรายของ นายสาทิตย์ เกิดความวุ่นวายขึ้นเล็กน้อยเมื่อ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ลุกขึ้นอภิปรายขอโอกาสรัฐบาลทำงานเพราะเพิ่งเริ่มแถลงนโยบาย แต่ก็เกิดการประท้วงไปมาระหว่าง ส.ส.ฝ่ายค้านและนายจตุพร และขอให้ถอนคำพูดที่กล่าวพาดพิง แต่ที่สุดแล้ว พล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานการประชุม ก็พยายามควบคุมการประชุมให้ดำเนินต่อไปได้

กรณ์วอนรัฐบาลทำให้ชัดเจนว่าจะทำได้ตามที่หาเสียงหรือไม่
ขณะที่คืนก่อนหน้านี้ (23 ส.ค.) นายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อภิปรายถึงนโยบายพักหนี้เกษตรหรือผู้มีรายได้ต่ำ ไม่เกิน 5 แสนบาท ว่า ได้ประสานไปยังธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธกส. ซึ่งเป็นสถาบันการเงินของรัฐ แต่ปัจจุบันมีประชาชนที่เป็นหนี้ 16 ล้านคน ต้องพักหนี้ถึง 300,000 ล้านบาท รวมถึงการดูแลการพักหนี้นอกระบบที่มีประชาชนเป็นหนี้นอกระบบเป็นจำนวนมาก ซึ่งกำลังรอความชัดเจนของรัฐบาลด้วย ขณะที่ค่าจ้างขั้นต่ำกับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ที่พรรคเพื่อไทยหาเสียงไว้มีแนวโน้ม ว่าบางคนจะได้ 300 บาท ส่วนผู้ที่ไม่ได้ 300 บาท เนื่องจากมีเงื่อนไขของประสิทธิภาพการทำงานมาเป็นตัวชี้วัด ด้านนโยบาย 15,000 บาท ก็ยังไม่มีความชัดเจน ว่าสุดท้ายแล้วจะได้หรือไม่ จึงเรียกร้องให้รัฐบาลทำให้เกิดความชัดเจนว่าจะสามารถดำเนินการได้ตามที่หาเสียงไว้หรือไม่


หวั่นนโยบายบ้านหลังแรกเอื้อประโยชน์บริษัทพวกพ้องรัฐบาล

ขณะเดียวกันนโยบายรัฐบาลที่เพิ่มความเหลื่อมล้ำ เช่น การสกัดกั้นไม่ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยดูแลเงินเฟ้อ ลดภาษีน้ำมัน ภาษีรถยนต์ ทำให้ชาวบ้านที่ไม่มีรถต้องเสียภาษีแพง รวมถึงนโยบายลดภาษีนิติบุคคล ทำให้บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ที่ต้องเสียภาษี 1 ใน 3 ของภาษีนิติบุคคลทั้งหมดได้รับประโยชน์ ทั้งที่บริษัทเหล่านี้มีผลกำไรมหาศาล นอกจากนี้ นายกรณ์ ยังตั้งข้อกล่าวหาว่ารัฐบาลดำเนินนโยบายเพื่อช่วยเหลือพวกพ้อง เช่น นโยบาย บ้านหลังแรก โดยลดภาษีนิติบุคคล ภาษีเฉพาะและภาษีค่าโอนให้กับผู้ประกอบการบ้านจัดสรรที่มีกำไรเพิ่มขึ้นในปีล่าสุดร้อยละ 33 และเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีชี้แจงข้อครหาที่ครอบครัวถือหุ้นในบริษัท เอส ซี แอสเซท บริษัทอสังหาริมทรัพย์ ขนาดใหญ่

ซึ่งการอภิปรายของนายกรณ์นั้นทำให้นายกรัฐมนตรี ต้องลุกขึ้นชี้แจงอีกครั้ง โดยยืนยันว่า วัตถุประสงค์ของนโยบายเพื่อต้องการให้ประชาชนตั้งตัวมีบ้านหลังแรกเป็นของตัวเอง โดยลดภาษีให้กับประชาชนโดยตรงไม่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการ หากมีความคิดช่วยเหลือผู้ประกอบการก็มีหลายวิธี ไม่จำเป็นต้องด้านภาษี

ที่มา: เรียบเรียงจาก
สำนักข่าวแห่งชาติ
[1], [2]

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ทหารพม่าเผาทำลายหมู่บ้านเขตพื้นที่สู้รบในรัฐฉาน

Posted: 24 Aug 2011 03:49 AM PDT

ทหารพม่าบุกเผาทำลายหมู่บ้านในเขตพื้นที่สู้รบในรัฐฉาน สงสัยชาวบ้านสนับสนุนกองทัพรัฐฉาน SSA/SSPP เหตุเกิดขณะทูตพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติเยือนพม่า

แหล่งข่าวจากเมืองเกซี รัฐฉานภาคกลาง รายงานว่า เมื่อวานนี้ (23 ส.ค.) ทหารกองทัพพม่า จากฐานประจำการบ้านหนองเขียว เขตเมืองเกซี ได้บุกเข้าไปเผาทำลายบ้านเรือนชาวบ้านในหมู่บ้านนาปืน ตำบลบ้านพุย อยู่ห่างจากเมืองเกซีไปทางทิศตะวันออกประมาณ 7 ไมล์ ส่งผลให้บ้านเรือนชาวบ้านเสียหายวอด 6 หลัง และมียุ้งข้าวและคอกสัตว์เลี้ยงในหมู่บ้านถูกเผาเสียหายทั้งหมด

แหล่งข่าวเผยว่า บ้านนาปืนเป็นหมู่บ้านเล็กๆ มีหลังคาเรือนประมาณ 6-7 หลัง และมีชาวบ้านอาศัยอยู่ประมาณ 30 กว่าคน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำไร่ทำนา โดยเมื่อช่วงเช้าเวลาประมาณ 9.00 น. (23 ส.ค.) ทหารพม่าซึ่งไม่ทราบจำนวน จากสังกัดกองพันทหารราบเบาที่ 114 ได้บุกเข้าไปเผาทำลายบ้านเรือนชาวบ้านเสียหายทั้งหมดโดยไม่ทราบสาเหตุ

ขณะที่ชาวบ้านที่เกิดเปิดเผยว่า การบุกเผาหมู่บ้านของทหารพม่าครั้งนี้ อาจมีสาเหตุมาจากทหารพม่าสงสัยชาวบ้านให้การสนับสนุนกองกำลังไทใหญ่ และอาจไม่พอใจที่ผู้บังคับบัญชาเสียชีวิตจากการสู้รบกับทหารกองกำลังไทใหญ่ SSA/SSPP เมื่อช่วงกลางเดือน ซึ่งจุดสู้รบอยู่ไม่ไกลจากหมู่บ้าน โดยระหว่างที่ทหารพม่ากำลังเผาทำลายบ้านเรือนชาวบ้านอยู่นั้น มีทหารบางคนพูดเสียงดังว่า ชาวบ้านสนับสนุนกองกำลังไทใหญ่ SSA/SSPP และขู่ว่าจะฆ่าตายหากรู้ว่าใครสนับสนุนกองกำลังไทใหญ่

ทั้งนี้ การเผาทำลายหมู่บ้านจากการกระทำของทหารกองทัพพม่าครั้งนี้ เกิดขึ้นขณะที่นายโทมัส โอเจีย ควินทานา ทูตพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ อยู่ระหว่างเดินทางเยือนพม่า เพื่อประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในพม่า โดยนายควินทานา มีกำหนดจะพบปะกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของพม่าที่กรุงเนปิดอว์ ซึ่งรวมถึงรัฐมนตรีต่างประเทศ รัฐมนตรีมหาดไทย และผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจของพม่าด้วย

 

ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/


"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวอิสระไทใหญ่ หรือ สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักข่าวพลเมือง: หมอตุลย์ยื่นหนังสือค้านแก้112-พบรถจี๊ปคล้ายของทหารจอดเทียบตำรวจเฉย

Posted: 24 Aug 2011 01:11 AM PDT


23 สิงหาคม 2554 เวลา 10.00น. กลุ่มเสื้อหลากสี หรือกลุ่มคนไทยหัวใจรักชาติ ประมาณ 20 คน ได้เดินทางมายื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี ที่ด้านข้างรัฐสภา บริเวณแยกคนละฟากฝั่งถนนและอู่ทองใน เจ้าหน้าที่ตำรวจคุมเข้าเนื่องจากเกรงม๊อบชนม๊อบ ในส่วนกลุ่มคนเสื้อแดงยืนอยู่คนละฟากถนน แต่ไม่มีการปะทะกันแต่อย่างใด นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำกลุ่มเสื้อหลากสี กล่าวว่า ที่มากันในวันนี้เพราะไม่พอใจแถลงการณ์ของรัฐบาลไม่ตรงกับนโยบายที่หาเสียง เช่นเรื่องการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ300 บาท ส่งผลกระทบต่อเจ้าของกิจการที่อาจทำให้เกิดปัญหาการเลิกจ้าง ทำให้คนไทยขาดรายได้ และในกรณีของกลุ่มคนเสื้อแดงที่เป็นฐานเสียงของพรรคเพื่อไทยได้เสนอให้รัฐบาลยกเลิกมาตรา112 โดย นพ.ตุลย์ แถลงยืนยันว่าห้ามไม่ให้มีการแก้ในมาตราดังกล่าว

ทั้งนี้ นพ.ตุลย์ยังได้กล่าวปราศรัยโดยใชโทรโข่ง แสดงความเป็นห่วงต่อการใช้งบประมาณของการคลังในการทำตามนโยบายที่พรรคเพื่อไทยใช้หาเสียง เนื่องจากแต่ละโครงการล้วนใช้งบประมาณอย่างมากจึงเป็นห่วงว่าจะเกิดปัญหาวินัยทางการเงิน

นพ.ตุลย์ ยังกล่าวอีกด้วยว่า นโยบายอีกข้อของรัฐบาล คือ การฟื้นความสัมพันธ์กับนานาประเทศ แต่ที่เป็นห่วงที่สุดคือการฟื้นฟูความสัมพันธ์กับกัมพูชา เพราะว่ายังไม่ทันที่รบ.จะแต่งตั้ง ทางกัมพูชาก็ออกมาบอกว่ารอที่จะทำงานกับรบ.พรรคเพื่อไทย ทั้งนี้อดีตที่สมัยพรรคพลังประชาชนเป็นรบ.ได้เคยร่วมมือกับกัมพูชานำประสาทเขาพระวิหารขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก หากไม่เกิดรัฐประหารขึ้นเสียก่อน เราคงสูญเสียดินแดนไปแล้ว ดังนั้นการฟื้นฟูความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านเป็นสิ่งที่ดีแต่ไม่ควรอยู่บนพื้นฐานการทำให้เสียดินแดนและผลประโยชน์

  

ในบริเวณหน้ารัฐสภาที่รถเครื่องเสียงของกลุ่มคนไทยหัวใจรักชาติมาจอดยังได้มีรถจี๊ปลักษณะคล้ายรถทหารมาจอดอยู่ด้วยหนึ่งคัน รถคันดังกล่าวไม่ติดป้ายทะเบียน แต่มีข้อความ อาทิ "ผู้การกบ" ,รบพิเศษ ฉก.51, ‎If I tell you, I have to kill you และยังมีเสี้อชุดปฏิบัติการพิเศษ รือเซาะ51 พาดอยู่ที่พนักพิงด้านข้างผู้ขับ

 

ในเหตุการณ์ทั้งหมดบริเวณหน้ารัฐสภาได้มี พล.ต.ต" วิชัย สังข์ประไพ ผบ.ตำรวจนครบาล1 มาควบคุมสถานการณ์ โดยที่ไม่ได้เข้าแสดงตัวและทำการตรวจสอบรถต้องสงสัยที่ไม่ได้มีป้ายทะเบียนดังกล่าวแต่อย่างใด และในขณะที่ผู้ขับรถคันดังกล่าวจะเคลื่อนรถแต่สตาร์ทไม่ติดยังได้มี จนท.ตำรวจ จากรัฐสภา มาช่วยเข็นเข้าบริเวณข้างทางด้วย

นพ.ตุลย์ กล่าวในกรณีรถปริศนาคันดังกล่าวว่า เมื่อรถขบวนของกลุ่มมาถึงก็ได้พบว่ารถคันดังกล่าวจอดอยู่แล้วไม่ได้มาพร้อมกับกลุ่มตน คาดว่าเป็นรถของทางเจ้าหน้าที่มาดูแลความปลอดภัยไม่ให้มีการกระทบกระทั่งกันระหว่างกลุ่มของตนกับคนเสื้อแดง

11.30 น. นพ.ตุลย์ ซึ่งเป็นตัวแทนกลุ่มเข้ายื่นหนังสือคัดค้านที่อาคาร1ชั้น2 โดยเข้าประตูด้านข้างอาคาร เพื่อหลบเลี่ยงการปะทะกันระหว่างกลุ่มคนเสื้อหลากสีกับกลุ่มคนเสื้อแดง


โดยมีกลุ่มคนเสื้อแดงรวมตัวกันที่ทางเท้าบริเวณกำแพงสวนสัตว์ดุสิต เพื่อแสดงจุดไม่เห็นด้วยที่กลุ่มเสื้อหลากสีจะมาชุมนุมกดดันรัฐบาล ได้มีรถของกรมทหารขับผ่านกลุ่มคนเสื้อแดงได้โห่ร้องขับไล่ พร้อมกันนี้ยังได้ถือป้ายผ้าที่มีข้อความว่า "ปล่อยนักโทษการเมือง นักโทษ 112" และในที่ชุมนุมฝั่งคนเสื้้อแดงก็ยังมีกลุ่มมผู้คัดค้านการกินเนื้อสุนัขมารวมตัวกันเพื่อเรียกร้องให้รบ.สนับสนุนพรบ.ป้องกันการทารุณสัตว์

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รายงาน ศปช.:เหยื่ออธรรม(1) 21ชีวิตผู้ต้องขัง อุบลฯ

Posted: 23 Aug 2011 04:11 PM PDT

24 สิงหาคม 2554 นี้  ศาลจังหวัดอุบลราชธานีจะออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาในคดีที่สังคมเฝ้าจับตามองอย่างมากคดีหนึ่ง เพราะมีอัตราโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต นั่นคือ คดีเผาศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี นับเป็นการตัดสินคดีเผาศาลากลางต่างจังหวัดคดีแรกใน 4 จังหวัดภาคอีสานที่มีเหตุการณ์เผาศาลากลางเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 อันเป็นวันเดียวกับที่รัฐบาลเข้าสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดงที่ราชประสงค์

การตัดสินเลื่อนเข้ามาจากที่ศาลนัดไว้เดิมในวันที่ 5 กันยายน 2554 ในขณะที่ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษา-พฤษภา 2553 ( ศปช.) และองค์กรเครือข่าย ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลถึงมาตรการฟื้นฟูความยุติธรรมให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการปราบปรามประชาชน ซึ่งหนึ่งในข้อเรียกร้องนั้นคือ ให้ชะลอการตัดสินคดีที่มีโทษร้ายแรงเกินกว่าเหตุ และทบทวนคดีการจับกุมที่เกี่ยวข้องกับการเมือง

ไม่ว่าคำพิพากษาจะออกมาอย่างไร  ถึงแม้บริบทต่างๆ ที่นำไปสู่ความรุนแรง และปากคำจำเลย อาจดูไม่มีน้ำหนักนักต่อการใช้ดุลพินิจของศาล แต่รายงานชิ้นนี้ขอทำหน้าที่บันทึกไว้ เพื่อเป็นประโยชน์หากวันใดรัฐบาลจะหยิบเอาข้อเรียกร้องของ ศปช.มาพิจารณา

ย้อนกลับไปดูเหตุการณ์ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 สื่อต่างๆ แพร่ภาพผู้ชุมนุมในกรุงเทพฯ ถูกยิงบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนไม่น้อย จนกระทั่งแกนนำประกาศยุติการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ เมื่อเวลาประมาณ 13.00 น. จากนั้น ประมาณ 14.00 น. ที่ศาลากลางจังหวัดอุบล กลุ่มคนเสื้อแดง ประมาณ 600 คน รวมตัวกันบริเวณประตูทางเข้าศาลากลางทั้ง 4 ประตู  มีการนำยางรถยนต์มาจุดไฟเผาจนลุกไหม้ ที่ประตูด้านหน้ามีการปราศรัยของแกนนำบนหลังคารถ ประณามการกระทำอันโหดร้ายของรัฐอย่างดุเดือด

ขณะที่ด้านในรั้วศาลากลาง กำลังทหาร ตำรวจ และอป.พร.ประมาณ 200 นาย ประจำการอยู่ เหตุการณ์เริ่มรุนแรงเมื่อทหารด้านใน ยื่นกระบองออกมาตีคนแก่คนหนึ่ง ทำให้คนเสื้อแดงบางส่วนไม่พอใจ และเขย่ารั้วศาลากลางด้านทิศเหนือจนพัง เมื่อรั้วหักลง กลุ่มผู้ชุมนุมจึงพากันเดินเข้าไปบริเวณสนามหญ้า บางคนขว้างก้อนหินใส่ทหาร ขณะนั้นเองก็มีเสียงปืนดังขึ้นหลายนัด มีผู้ชุมนุมล้มลงบาดเจ็บ คนที่บุกเข้าไปเริ่มถอยออกมาด้วยความหวาดกลัว พร้อมทั้งนำคนเจ็บส่งโรงพยาบาลรวม 6 คน

เวลาประมาณ 15.00 น. กลุ่มผู้ชุมนุมซึ่งคาดว่าผู้ถูกยิงเสียชีวิตแล้ว ทำให้เกิดความเกิดแค้น และพยายามจะบุกเข้าไปยังศาลากลางอีกครั้ง  ขณะนั้นก็เกิดเพลิงลุกไหม้บริเวณอาคารสื่อสารด้านทิศเหนือของอาคารศาลากลาง จากนั้น มีควันไฟพวยพุ่งมาจากบริเวณชั้น 2 ของศาลากลางจังหวัด ซึ่งเป็นห้องทำงานของผู้ว่าฯ และรองผู้ว่าฯ เจ้าหน้าที่หลายคนพยายามนำถังดับเพลิงมาช่วยกันดับไฟ แต่ทหารกลับถอนกำลังออกไป และรถดับเพลิงที่จอดอยู่ 2 คัน อยู่ในสภาพที่ไม่มีน้ำ

หลังเหตุการณ์สงบลง จังหวัดอุบลฯ ประเมินมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นกว่า 93 ล้านบาท มีการออกหมายจับรวมทั้งสิ้น 242 ราย มีผู้ถูกจับกุม 67 คน อัยการสั่งฟ้องเป็น 16 คดี เฉพาะในคดีที่เกี่ยวข้องกับศาลากลาง มีผู้ถูกจับกุมและตกเป็นจำเลย 32 ราย แบ่งเป็นคดีบุกรุก 9 ราย คดีเผา 21 ราย และเยาวชนถูกฟ้องในคดีเผาเช่นเดียวกันอีก 2 ราย

คดีบุกรุก ซึ่งมีผู้ถูกยิงบาดเจ็บในเหตุการณ์เป็นจำเลยด้วย 5 คน ศาลพิพากษาให้จำคุก 3 ปี 9 เดือน ปรับ 15,000 บาท โทษจำคุกรอลงอาญา 4 ปี ส่วนคดีเยาวชน ศาลพิพากษาให้ส่งฝึกสถานพินิจ 1 ปี และตำรวจได้นำมาเป็นพยานโจทก์ในคดีเผาศาลากลางที่มีจำเลย 21 รายนี้ด้วย

จำเลยคดีเผาศาลากลางทั้ง 21 ถูกฟ้องในข้อหาร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ บุกรุกสถานที่ราชการ ฝ่าฝืน พรก. และขัดขวางเจ้าพนักงาน โดยมี 2 คน ถูกพ่วงด้วยข้อหายุยงปลุกปั่น และ 1 ในนั้นโดนข้อหาก่อการร้ายด้วย

จำเลยส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างและเป็นเกษตรกร,  14 คน มีอายุมากกว่า 40 ปี, ทุกคนไม่ได้ถูกจับกุมในที่เกิดเหตุ หลังการออกหมายจับ มี 2 คน เข้ามอบตัว ส่วนที่เหลือถูกจับกุม โดยส่วนใหญ่ไม่มีการแสดงหมายจับ จำเลยส่วนใหญ่รับสารภาพในข้อหาร่วมชุมนุมหรือ ฝ่าฝืน พ.ร.ก. แต่ทุกคนปฏิเสธข้อหาวางเพลิงเผาศาลากลาง

นอกจากนั้น ในการเบิกความในชั้นศาล ไม่มีหลักฐานหรือพยานคนใดชี้ชัดว่า ใครหรือจำเลยคนใดเป็นผู้จุดไฟเผาศาลากลาง

นี่คือปากคำของจำเลยทั้ง 21 ที่บอกเล่าผ่านลูกกรงต่อผู้คนที่เข้าไปเยี่ยมเยียน รวมถึงให้การต่อพนักงานสอบสวนและศาล ซึ่งอาจทำให้เรามองเห็นภาพปัญหาบางอย่างในกระบวนการยุติธรรมได้

1. นายไชยา ดีแสง ถูกจับที่ร้านเย็บผ้าของเขา โดยตำรวจนอกเครื่องแบบไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหา แต่บอกว่า มีคนมาแจ้งความว่า ผ้าหายให้มาให้การที่สถานีตำรวจ เมื่อเขาไปให้การก็ถูกจับกุม ไชยาให้การกับ จนท.กรมคุ้มครองสิทธิว่า วันเกิดเหตุเขาทำงานเย็บผ้าอยู่บ้านเช่าหลังศาลากลางจังหวัดอุบลฯ เห็นควันไฟเต็มท้องฟ้า และได้ยินว่าทหารยิงปืนใส่ประชาชนที่มาชุมนุมบาดเจ็บหลายคน จึงเกิดบันดาลโทสะ หยิบก้อนหินขว้างใส่ป้อมยามหน้าศาลากลาง จึงถูกถ่ายภาพไว้ และนำมาเป็นหลักฐานว่าเขาร่วมเผาศาลากลาง

2. นายพงษ์ศักดิ์ อรอินทร์ วันที่เขาถูกจับกุม ตำรวจที่รู้จักกันมานานไปที่บ้านซึ่งเปิดเป็นร้านซ่อมมอเตอร์ไซด์ โดยนำภาพประกาศจับไปแสดง เขายืนยันว่า ไม่ใช่รูปของเขา ตำรวจเชิญไปให้ปากคำที่โรงพัก และเขาก็หมดอิสรภาพนับแต่นั้นมา พงษ์ศักดิ์อ้างว่า เขาไปที่ศาลากลางเพื่อห้ามปรามผู้ชุมนุมหลังจากที่มีการเผาศาลากลางแล้ว  

3. น.ส.ปัทมา มูลมิล ถูกจับกุมที่สถานีขนส่ง จ.สุรินทร์ โดยก่อนหน้านั้นตำรวจได้ควบคุมตัวเพื่อนของปัทมาซึ่งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์เผาไปที่โรงพัก จ.สุรินทร์ ข่มขู่ จนถึงตบหน้าเพื่อให้บอกว่าปัทมาอยู่ที่ใด ตัวปัทมาเอง ขณะเข้าจับกุมตำรวจได้จับเธอกดคอลงกับพื้น เมื่อเธอเงยหน้าขึ้นก็เห็นปืนกำลังจ่อหัว เมื่อไปถึงโรงพัก เธอถูกข่มขู่ว่า หากไม่รับสารภาพจะแจ้งข้อหากับเพื่อนของเธอว่า ให้ที่พักพิงผู้ต้องหา ปัทมาจึงจำต้องรับสารภาพ   หลังจากนั้น เธอก็ถูกบังคับให้แถลงข่าวว่าเป็นคนเผาศาลากลาง แต่เธอเลือกนั่งนิ่งแทน

4. นายถาวร แสนทวีสุข 19 พฤษภาคม 2553 เขาขับรถตุ๊กๆ รับจ้าง มารับนักเรียนที่ถนนนอกรั้วศาลากลางจังหวัดด้านทิศใต้ แต่เข้าไปไม่ได้จึงโทรให้แม่เด็กมารับเอง ถาวรยืนดูเหตุการณ์ประมาณ 10-20 นาที จึงกลับบ้าน แต่ถูกถ่ายภาพเป็นหลักฐาน เขาเข้ามอบตัวหลังจากรู้ว่ามีหมายจับ เนื่องจากคิดว่าตนเองบริสุทธิ์ แต่ถูกตั้งข้อหาอุกฉกรรจ์ โทษประหารชีวิต  

5. นายสีทน ทองมา ตำรวจไปที่บ้านสีทนเวลา 20.00 น. โดยไม่มีหมายจับและไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหา บอกแต่ว่าไปให้การที่โรงพักแล้วจะปล่อยตัวกลับบ้าน เขายอมรับกับตำรวจว่าไปร่วมชุมนุมจริง แต่ไม่ได้เข้าไปในศาลากลาง ภาพถ่ายชายใส่ชุดลายพรางที่ตำรวจนำมาเป็นหลักฐานก็ไม่ใช่ตัวเขา แต่ตำรวจก็จับเขาเข้าห้องขัง และไม่มีสิทธิได้ประกันตัวจนถึงวันนี้  

6. นายคำพลอย นะมี  ตำรวจมาจับที่บ้านด้วยหลักฐานภาพถ่ายขณะเดินอยู่ถนนนอกรั้วศาลากลางด้านทิศใต้ ลุงคำพลอยให้การว่าวันเกิดเหตุเขาเข้ามาทำธุระที่ตลาด เห็นการชุมนุมเสื้อแดงจึงแวะเข้ามาดูเหตุการณ์อยู่ภายนอกเท่านั้น และในภาพถ่ายลุงกำลังใช้มือเกาหู แต่ตำรวจบอกว่าลุงกำลังโทรศัพท์สั่งการ  

7. นายชัชวาล ศรีจันดา ตำรวจใช้ภาพขาวดำที่เขาร่วมฟังปราศรัยที่ลานโสเหล่ทุ่งศรีเมือง เมื่อปี 2551 เป็นหลักฐานในการจับกุม  ส่วนดีเอสไอเอาภาพคนสวมชุดไอ้โม่งมากล่าวหาว่าเป็นเขา ชัชวาลเคยผ่าตัดสมองเพราะถูกรถชนเมื่อสิบกว่าปีมาแล้ว และต้องกินยาประจำ เพื่อไม่ให้เป็น “ลมชัก” หัวเข่าด้านซ้ายมีเหล็กดาม เขาให้ข้อมูลกับกรรมการสิทธิว่าขณะเกิดเหตุ เขาพักผ่อนอยู่เนื่องจากสภาพร่างกายที่ไม่ดี  

8. นายบุญเหรียญ ลิลา  สมาชิกกลุ่มชักธงรบ ถูกจับเพราะมีภาพเขาโบกรถให้ทางกับผู้สัญจรไปมา ในวันที่มีการเผาศาลากลาง แต่ที่จริงเขาอยู่ที่ศาลากลางจนถึงเที่ยง จากนั้นก็เดินทางไปโรงพยาบาลวารินชำราบ เนื่องจากแฟนโทรมาบอกว่าลูกสาวเข้าโรงพยาบาล เขาไม่ได้เดินทางกลับเข้ามาในพื้นที่ชุมนุมอีก  

9. นายประดิษฐ์ บุญสุข ก่อนถูกจับลุงประดิษฐ์ได้รับโทรศัพท์จากตำรวจว่าให้ไปจัดสวนที่โรงพัก จากนั้นลุงก็ถูกจับกุมพร้อมถูกตั้งข้อหาหนัก 6 ข้อ ลุงรับว่าเข้าร่วมชุมนุมจริง แต่ยืนยันว่าไม่มีส่วนเผาศาลากลางจังหวัดแต่อย่างใด  

10. นายพิเชษฐ์ ทาบุดดา (อาจารย์ต้อย) ถูกจับกุมหลังศาลากลางถูกเผา 1 วัน โดยตำรวจ 1 กองร้อยและทหาร 2 กองร้อยบุกเข้าจับกุมที่บ้านพัก  เพราะเชื่อว่าเขาเป็นผู้ยุยงให้คนเผาศาลากลาง  เขาถูกตั้งข้อหาก่อการร้าย ทั้งที่ในวันนั้นเขาไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุ และไม่ได้จัดรายการวิทยุ เนื่องจากไม่สบาย จนกระทั่งมีข่าวว่าศาลากลางถูกเผาจึงออกมาจัดรายการโดยให้คนที่อยู่ใกล้ศาลากลางไปดูเหตุการณ์แล้วรายงานข้อเท็จจริงเข้ามายังสถานี  

11. นายสุพจน์ ดวงงาม เข้ามอบตัวหลังจากรู้ว่ามีหมายจับ เพราะมั่นใจว่าตนเองบริสุทธิ์ แต่ตำรวจกลับสร้างสถานการณ์ว่าตามจับกุมเขาได้ที่บ้านขณะกำลังจะหลบหนี  ก่อนถูกตั้งข้อหาร่วมวางเพลิง โดยมีหลักฐานเป็นภาพถ่ายขณะลุงนั่งอยู่บนมอเตอร์ไซค์อยู่ข้างกองยางที่กำลังลุกไหม้ ลุงสุพจน์มักไปหาเก็บขยะตามที่คนเสื้อแดงชุมนุมเสมอๆ วันเกิดเหตุ 19 พ.ค. 53 เวลาบ่าย ลุงไปที่ศาลากลาง เห็นรถมอเตอร์ไซค์จอดอยู่ข้างกองยางที่ลุกติดไฟบริเวณประตูทางเข้าศาลากลางด้านทิศใต้ จึงเดินเขยกๆ เข้าไปเข็นออกมา จากนั้น อยู่ดูเหตุการณ์อีกไม่นานก็ขึ้นรถสองแถวกลับบ้าน   

12. นางสุมาลี ศรีจินดา ถูกจับหลังจากตำรวจมาที่บ้านและเชิญเธอไปให้ปากคำ เนื่องจากมีภาพของเธออยู่ในเหตุการณ์ เธอให้การว่าวันเกิดเหตุได้ไปที่ศาลากลางจริงและได้เข้าไปพูดคุยกับทหารที่รู้จักกันหลายนาย ขอร้องว่า “อย่ายิงผู้ชุมนุมเลย พวกเขาไม่มีอาวุธสงสารพวกเขา” แต่แล้วก็มีผู้ชุมนุมที่เดินเข้ามาที่สนามหญ้าหน้าศาลากลางถูกยิง เธอจึงเกิดความกลัว และกลับออกมา ขับรถกลับบ้านขณะที่ศาลากลางยังไม่ถูกไฟไหม้  

13. นายอุบล แสนทวีสุข ถูกจับโดยที่ตำรวจมีหลักฐานเป็นภาพถ่ายขณะเขานั่งอยู่บนซาเล้ง และกล่าวหาว่าเขาใช้ซาเล้งบรรทุกน้ำมันมาเผาศาลากลาง อุบลให้การว่า วันเกิดเหตุเขาได้ขี่รถซาเล้งนำน้ำผลไม้ไปขายในที่ชุมนุมตามปกติ เหมือนทุกวัน ไม่ได้ทำอะไร  

14. นายลิขิต สุทธิพันธ์  ถูกจับกุมในข้อหาหนัก  หลังตำรวจขอเชิญตัวไปโรงพักและหลอกว่า สอบสวนแล้วจะปล่อยตัวกลับ  ในวันเกิดเหตุ ลิขิตเล่าว่าเขาอยู่ในฐานะมวลชนในเหตุการณ์เท่านั้น เมื่อเกิดเหตุการณ์รุนแรง มีคนถูกยิง เขารู้สึกไม่พอใจ จึงหยิบอิฐตัวหนอนริมฟุตบาทขว้างเข้าไปด้านในเขตริวรั้วของศาลากลาง จึงเป็นเหตุให้ตกเป็นผู้ต้องหาจากภาพถ่าย ข้อเท็จจริงอีกอย่างคือ เขามีปอดเพียงข้างเดียวไม่มีเรี่ยวแรงวิ่ง ออกแรงหรือใช้กำลังเผาศาลากลางได้อย่างที่ถูกกล่าวหา  

15. นายสนอง เกตุสุวรรณ์ ถูกจับระหว่างทำหน้าที่แทนนายท่ารถที่ตลาดเทศบาลเมืองวารินชำราบ ตำรวจนอกเครื่องแบบจับเขาใส่กุญแจมือไขว้หลังโดยไม่มีหมายจับแต่อย่างใด เมื่อไปถึง สภ.เมืองอุบลฯ ตำรวจข่มขู่ให้เขายอมรับว่าเป็นคนเผาศาลากลาง   สนองให้การว่า เขาถูกตำรวจและทหารการข่าวขอร้องให้เข้าไปห้ามปรามไม่ให้ผู้ชุมนุมเข้าไปทำลายทรัพย์สินของทางราชการ เขาห้ามผู้ชุมนุมและช่วยดับไฟที่อาคารธนารักษ์สำเร็จ แต่กลับถูกถ่ายภาพ และใช้เป็นหลักฐานกล่าวหาว่าเขาร่วมเผา ซ้ำร้ายตำรวจยังบันทึกคำให้การของเขาเพี้ยนจาก  “อย่าเผาอาคารธนารักษ์ เผายงเผายางอะไรก็เผาไป” กลายเป็น “ไปเผาศาลากลางเลย”  

16. จ.ส.อ.สมจิตร สุทธิพันธ์  ถูกจับระหว่างไปเยี่ยมนายพิเชษฐ์ ทาบุดดาที่บ้านโดยไม่ได้รับแจ้งข้อหา ภายหลังพบว่า ตำรวจใช้ภาพถ่ายรถของเขาที่อยู่ในเหตุการณ์เป็นหลักฐาน   เขาให้การปฏิเสธว่า ในวันเกิดเหตุไม่ได้กระทำการใด ๆ เขาขับรถมาที่ศาลากลางเพราะได้ยินข่าวว่าถูกเผาและได้แต่ดูเหตุการณ์อยู่ในรถเท่านั้น  

17. นายธนูศิลป์ ธนูทอง ถูกจับกุมหลังเหตุการณ์กว่า 20 วัน ตำรวจ 5 นาย พร้อมอาวุธมาหาเขาที่ไร่ พร้อมกับเชิญตัวไปที่ สภ.พิบูลมังสาหาร จากนั้น ตำรวจให้เขารับทราบข้อกล่าวหาความยาว 3 หน้า ธนูศิลป์ให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา และยืนยันว่า วันที่ 19 พฤษภาคม 2553 เขาปลูกมันสำปะหลังอยู่กับภรรยา ห่างจากศาลากลางจังหวัด 100 กิโลเมตร พร้อมปฏิเสธว่า ภาพถ่ายที่ตำรวจใช้เป็นหลักฐานกล่าวหาเขานั้น ไม่ใช่ภาพเขา ดีเอสไอตรวจหลักฐานแล้วบอกไม่ใช่คนเดียวกับในภาพถ่าย แต่ตำรวจท้องที่กลับยืนกรานให้อายัดตัวไว้ก่อน  ภายหลัง รอง ผบก.ตำรวจภูธร จ.อุบลราชธานี ยืนยันกับอนุกรรมการ คอป. ว่า กรณีธนูศิลป์ เป็นการ “จับผิดตัว” จริง  

18. นายธีรวัฒน์ สัจสุวรรณ ถูกจับกุมในเวลาประมาณ 06.00 น. ขณะนอนหลับอยู่ที่บ้าน ตอนแรกตำรวจแจ้งว่าต้องการให้ธีระวัฒน์มาเป็นพยานในคดีเสื้อแดง แต่เมื่อไปถึงสถานีตำรวจ เขาก็ถูกนำตัวไปกักขัง จากนั้น ตำรวจก็ข่มขู่ ตลอดจนใช้แฟ้มตีศีรษะ เพื่อให้เขารับสารภาพ และเซ็นรับว่าชายชุดดำปิดหน้าในภาพถ่ายเป็นตัวเขา แต่เขาไม่ยอม เพราะไม่ใช่เขาจริงๆ เขายอมรับว่าเขาไปที่ศาลากลาง แต่ไม่ได้แต่งตัวแบบนั้น และได้แต่ยืนดูเหตุการณ์อยู่รอบๆ  ในที่สุด ตำรวจเกลี้ยกล่อมว่าจะกันตัวไว้เป็นพยานแล้วจะปล่อยกลับบ้าน เขาจึงยอมเซ็น แต่แล้วก็โดนตั้งข้อหาร้ายแรง  

19. นายสมศักดิ์ ประสานทรัพย์ ตำรวจมาที่บ้านพ่อของเขา และเชิญตัวไปให้การที่โรงพักโดยไม่มีหมายศาล สมศักดิ์ให้การต่อศาลว่า เขาเป็นอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อป.พร.) และเป็นเหยี่ยวข่าวอาชญากรรมให้กับ สภ.วารินชำราบ ในวันเกิดเหตุ เขาได้รับแจ้งทางวิทยุสื่อสารจากประธาน อป.พร. ให้ไปช่วยรักษาความสงบเรียบร้อยที่ศาลากลาง เขาไปถึงศาลากลางตอนเที่ยง ต่อมา ในช่วงบ่าย เมื่อผู้ชุมนุมพังรั้วศาลากลางเข้าไป เขาได้ยินเสียงปืน และผู้ชุมนุม 2 คนล้มลงห่างจากเขาเพียง 30 เมตร จึงวิ่งเข้าไปช่วย และนำขึ้นรถเพื่อส่งโรงพยาบาล จากนั้น เขาก็ยังเฝ้าดูเหตุการณ์อยู่อีกจนกระทั่งศาลากลางไฟไหม้  

20. นางสาวอรอนงค์ บรรพชาติ  ถูกจับกุมหลังไฟไหม้ศาลากลางได้ 3 วัน  โดยตำรวจนอกเครื่องแบบ 10 นายไปที่บ้านพร้อมหมายจับ อรอนงค์ให้การต่อศาลว่า ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 นั้น เธอกับเพื่อนบ้านรวม 5 คน ได้เดินทางเข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มคนเสื้อแดงทั้งที่หน้าบ้านของนายวิฑูรย์ นามบุตร ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์และหน้าศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี เธอได้ขอขึ้นปราศรัยบนเวทีชั่วคราวรถบรรทุก โดยขอร้องผู้ร่วมชุมนุมอย่าได้ทำลายทรัพย์สินของทางราชการ เมื่อเหตุการณ์รุนแรง และมีเสียงปืน เธอจึงลงจากรถ และกลับบ้านพร้อมเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ ภาพที่ตำรวจใช้เป็นหลักฐานคือภาพที่เธออยู่บนเวทีรถบรรทุกนั่นเอง

21. นายพิสิทธิ์ บุตรอำคา ถูกจับกุมโดยตำรวจนอกเครื่องแบบ พิสิทธิ์รับว่าเขาได้ไปร่วมชุมนุมที่ศาลากลาง แต่ไม่มีส่วนร่วมในการวางเพลิง   หลังศาลอ่านคำพิพากษา อาจมีบางคนได้รับอิสรภาพกลับสู่อ้อมอกครอบครัวที่รอคอยมานานกว่า 1 ปี  อาจมีบางคนต้องถูกจองจำต่อ และร้องหาความยุติธรรมด้วยการยื่นอุทธรณ์ต่อไป รายงานชิ้นนี้ ก็ทำหน้าที่ได้เพียงบันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นเท่านั้น   ขอขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษา-พฤษภา 2553 ( ศปช.) กลุ่มช่วยเหลือครอบครัวผู้ต้องขังคดีการเมืองเชียงใหม่-อุบลฯ (Red Fam Fun)      

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สี่เสาแห่งการพัฒนา ของ 'ทักษิณ ชินวัตร' ประชาธิปไตย-นิติธรรม-เสรีภาพในการแสดงออก-เศรษฐกิจที่ดี

Posted: 23 Aug 2011 03:07 PM PDT

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เปิดปาฐกถาพิเศษที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศญี่ปุ่น กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเช้าวันนี้ โดยเริ่มต้นด้วยการกล่าวแสดงความเสียใจกับญี่ปุ่น กรณีแผ่นดินไหวและสึนามิ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นทางภาคใต้ของประเทศไทย

จากนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ จึงเริ่มปาฐกถาเกี่ยวกับการเมืองในประเทศไทย โดยเปรียบเทียบว่าประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นมีความใกล้เคียงกัน คือภายหลังจากสมัยของ พ.ต.ท.ทักษิณ และนายจุนอิจิโร โคอิซุมิ ซึ่งดำรงตำแหน่งพร้อมๆ กันนั้น ทั้งสองประเทศก็มีนายกรัฐมนตรีต่อมาอีก 5 คนเท่าๆ กัน เพียงแต่การเปลี่ยนถ่ายอำนาจของญี่ปุ่นเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย ในขณะที่การเปลี่ยนถ่ายอำนาจของไทยไม่ได้เป็นประชาธิปไตยไปทุกครั้ง

จะเห็นได้ว่าการเลือกตั้งในประเทศไทยที่ผ่านมา 5 ครั้ง พรรคพลังประชาชนและพรรคเพื่อไทยเป็นฝ่ายชนะมาโดยตลอด แต่มีนายกรัฐมนตรีเพียง 4 คนเท่านั้น ที่มาจากพรรคที่ชนะการเลือกตั้ง นอกจากนั้นอีก 2 คนมาจากทหาร คือ หนึ่งคนมาจากการรัฐประหาร และอีกหนึ่งคนมาจากการผลักดันของทหาร

ส่วนการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา พรรคเพื่อไทยก็เป็นฝ่ายได้ชัยชนะอีกครั้ง โดยครั้งนี้ สิ่งที่รัฐบาลจะต้องผลักดันเป็นเรื่องแรก  คือให้ทุกฝ่ายเข้าหากันเพื่อให้เกิดการปรองดอง และเพื่อให้ประเทศมีความมั่นคงและความมั่งคั่งต่อไป

อย่างไรก็ตาม การปรองดองจะเกิดขึ้นเพียงอย่างเดียวไม่ได้ หากแต่ต้องมีกระบวนการค้นหาความจริงควบคู่กันไปด้วย  โดยรัฐบาลชุดนี้ก็สนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความ จริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ซึ่งแต่งตั้งโดยรัฐบาลที่แล้ว ให้ทำงานต่อไป โดยในขณะนี้ คอป. ได้ประสานงานกับต่างประเทศ เพื่อเรียนรู้ประสบการณ์จากประเทศที่เคยผ่านกระบวนการปรองดองมาแล้ว เป็นทิศทางในการขับเคลื่อนต่อไป

ส่วนทางด้านเศรษฐกิจ พ.ต.ท.ทักษิณมองว่า เศรษฐกิจจะดีได้ การเมืองจะต้องดีด้วย นั่นคือ ประเทศไทยต้องปกครองด้วยระบบนิติธรรม หรือ Rule of Law ซึ่งไม่ใช่การปกครองด้วยกฎหมาย หรือ Rule by Law เพราะหากใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการปกครองเพียงอย่างเดียว กฎหมายก็จะกลายเป็นเครื่องมือของเผด็จการได้

ดังนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ สรุปว่า นิติธรรมคือการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย แต่การปกครองด้วยกฎหมายคือการปกครองตามระบอบเผด็จการ ซึ่งหากใช้กฎหมายแบบไม่มีนิติธรรม ก็มีแต่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งในประเทศมากยิ่งขึ้น

โดย พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เสนอ 4 เสาหลักในการพัฒนาประเทศไทยไปสู่ความเป็นสมัยใหม่ นั่นก็คือ ประเทศไทยต้องมีประชาธิปไตย มีนิติธรรม เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และมีคุณภาพทางเศรษฐกิจ

ส่วนนอกจากนี้ รัฐบาลชุดปัจจุบัน ก็ต้องเร่งผลักดันให้โครงการที่รณรงค์หาเสียงเอาไว้เป็นจริงให้ได้ อย่างเช่นนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท  โดยพ.ต.ท.ทักษิณ ยืนยันว่า ต้องผลักดันให้มีการขึ้นค่าแรง เพราะต้องการให้คนไทยที่มีฐานะยากจน จะได้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แม้ว่าจะก่อให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อตามมาก็ตาม ซึ่งการขึ้นค่าแรงก็จะช่วยให้ประสิทธิภาพ และขวัญกำลังใจในการทำงานของแรงงานเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผลิตภาพในการผลิตเพิ่มขึ้นด้วย โดยทางรัฐบาลก็มีนโยบายลดภาษีให้กับธุรกิจ เพื่อลดภาระแบกรับของธุรกิจในการขึ้นค่าแรงให้กับแรงงานเช่นกัน

นอกจากนั้นจากรายงานของรอยเตอร์ ทักษิณยังเข้ารับตำแหน่งศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยทากุโชกุ โดยกล่าวว่า “ผมไม่อยากให้ความรู้และประสบการณ์ตายไปพร้อมกับผม ผมต้องการจะถ่ายทอดและแบ่งปันให้กับคนรุ่นต่อไป ผมอยากใช้ช่วงเวลาที่เหลือของชีวิตเพื่อที่จะสอนหนังสือเพื่ออุทิศตนเป็นสาธารณประโยชน์”

 

ข่าวจาก VoiceTV, Reuters

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น