ประชาไท | Prachatai3.info |
- ศปช.แถลง จี้ รบ. ทบทวนกระบวนการยุติธรรม ยังขังลืมอีก86ราย เสนอปฏิรูป คอป.
- เผย....ทำไมทักษิณต้องไปญี่ปุ่น:จดหมายข่าวการปาฐกถาของทักษิณ ชินวัตร
- 2 พันคนเตรียมยึดถนนลงใต้ ร่วมปฏิบัติการเพชรเกษม 41
- พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์: คนเสื้อแดงกับพรรคเพื่อไทย
- ข้อเสนอนโยบายสิทธิมนุษยชนถึงนายกฯ โดยฮิวแมนไรท์วอทช์
- ผู้ป่วยจะทำอย่างไร เมื่อการบริจาคและการสละการใช้สิทธิ เป็นเงื่อนไขของการรับบริการ
- ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเชียงใหม่มหานคร ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 เมื่อ 17 ส.ค. 54
- สมชาย ปรีชาศิลปกุล: โลกแสนสุขของนักกฎหมายรัฐ
- เมื่อ ว. วชิรเมธี ฝึกเณรให้เป็นชายและให้มีสมบัติผู้ดี
- ภัควดี วีระภาสพงษ์
- คนงานมึน! ถูกเลิกจ้าง-วิ่งฟ้องศาลสระบุรี จนท.เมินไม่รับเรื่อง!ไล่ไปศาลลพบุรี
- ภัควดี วีระภาสพงษ์ วิพากษ์สื่อหลักจากสายตาคนอ่านสื่อ
- หมอตุลย์นำ "เสื้อหลากสี" ประท้วงสถานทูตญี่ปุ่น
- ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์: ห้าเหตุผลที่ยิ่งลักษณ์ควรกำจัดประยุทธ์ จันทร์โอชา
- บ.หนังโป๊ในสหรัฐฯ ฟ้องชายตาบอด ฐานโหลดหนังละเมิดลิขสิทธิ์
ศปช.แถลง จี้ รบ. ทบทวนกระบวนการยุติธรรม ยังขังลืมอีก86ราย เสนอปฏิรูป คอป. Posted: 18 Aug 2011 12:34 PM PDT ชี้ปัญหากระบวนการยุติธรรม ตั้งแต่กระบวนการจับกุมจนถึงศาล จี้ คอป.ต้องมีจุดยืนที่ 18 สิงหาคม 2554 เวลา 13.3o น. ณ ห้องประชุม บุญชู โรจนเสถียร ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษา-พฤษภา 2553 ( ศปช.) และองค์กรเครือข่าย ได้จัดให้มีการแถลงข่าวถึงกรณ๊ผลกระทบจากกระบวนการยุติธรรมในการดำเนินคดี จับกุม คุมขัง จากเหตุการณ์สลายการชุมนุมในเดือนเมษา-พฤษภา 2553 พวงทอง ภวัครพันธ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กรรมการ ศปช. ได้รายงานถึงข้อมูลตัวเลขผู้ต้องขังจาก15เรือนจำทั่วประเทศ ที่ยังไม่ได้รับสิทธิ์ในการประกันตัวว่า ปัจจุบัน (18 สค. 2554) ยังมีผู้ต้องขังที่ยังไม่ได้ประกันตัวไม่ต่ำกว่า 86 คน จากยอดผู้ถูกจับกุมคุมขังทั้งหมดกว่า 700คน โดยผู้ต้องขังทั้งหมดแบ่งเป็นผู้ชายทั้งหมด 79 คน และผู้หญิง 7 คน โดยยังมีชายชาวกัมพูชารวมอยู่ดัวย 1 ราย ส่วนสถานะทางคดีนั้น อยู่ในศาลชั้นต้น 41 ราย ระหว่างอุทธรณ์หรือฎีกา 19 ราย ถูกตัดสินไปแล้ว 26 ราย นอกจากนี้ผู้ต้องขังที่เกี่ยวข้องกั สำหรับภาพรวมปัญหาในกระบวนการยุ การจับกุม/คุมขัง เจ้าหน้าที่ได้มีการจั จับผิดตัว เจ้าหน้าที่สั่งฟ้องโดยอาศัยเพี สร้างภาระหนี้สินให้ครอบครัว จากเหตุการณ์ชุมนุม หลายครอบครัวต้องหาหลักทรัพย์ ชี้ถูกซ้อม ถูกหลอก ให้สารภาพ เนื่องจากคดีฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เป็นคดีที่มีอัตราโทษจำคุกไม่ ตั้งข้อหาร้ายแรงเกินจริง การตั้งข้อหาของชั้นตำรวจหรือดี ไม่ให้ประกันตัว/วงเงินประกันสูง สำหรับในคดีที่ยังไม่เด็ดขาดนั้น จำเลยขอประกันตัวหลายครั้ง แต่ศาลก็ไม่ให้ประกันตัว แม้จำเลยจะได้รับความช่วยเหลื ฟ้องเด็กโทษประหาร กรณีเซ็นทรัลเวอลด์ ดีเอสไอ ได้สั่งฟ้องเยาวชนอายุไม่เกิ การเยียวยา ในส่วนของปัญหาการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบที่ไม่ทั่วถึงนั้น พบว่า ชาวบ้านในต่างจังหวัดไม่รู้ว่ โดยเฉพาะกรณีที่หัวหน้าครอบครั ประสบการณ์จากผู้ต้องขัง ซ้อมโหด หลังถูกจับกุมบริเวณแยกปทุมวัน ตนได้ถูกเจ้าหน้าที่ทหารใช้ความรุนแรง ทั้งตบ เตะ ใช้วาจาข่มขู่ มีการมัดมือมัดเท้า ให้หันหน้าเข้ากำแพงและปิดตา ใส่ผ้าคลุมหน้า แล้วเข้ามาบีบคอ ราดน้ำมันรดตนเเละเพื่อน เตรียมที่จะจุดไฟ โดยอ้างว่าเคยทำแบบนี้ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มาก่อน และก่อนที่สื่อมวลชนมาถึง ก็ยังมีการข่มขู่อีกว่า ไม่ให้เล่าเรื่องในสิ่งที่เกิ เมื่อคดีนี้ถึงตำรวจในเวลาต่ นายกฤษณะเล่าถึงช่วงที่อยู่ในเรือนจำว่าตนได้ยื่นจดหมายร้องเรี หลังจากการบอกเล่าประสบการณ์ของอดีตผู้ต้องขังแล้ว ศปช.และองค์กรร่วมจัดเช่น กลุ่มกองทุนช่วยเหลือครอบครัวผู้ต้องขัง (Red Family Fund) กลุ่มประกายไฟ ฯลฯ ได้ร่วมกันอ่านแถลงการดังมีเนื้อหาดังนี้ <<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
เผย....ทำไมทักษิณต้องไปญี่ปุ่น:จดหมายข่าวการปาฐกถาของทักษิณ ชินวัตร Posted: 18 Aug 2011 09:55 AM PDT ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยมีกำหนดการเดินทางมาเยี่ยมเยือนประเทศญี่ปุ่นในช่วงปลายเดือนสิงหาคมเพื่อแสดงปาฐกถาและชี้แจงจุดยืนของตนเอง ตามคำเชิญของ สถาบันเศรษฐกิจและวัฒนธรรมญี่ปุ่น จีน อาเซียน เป็นที่ทราบกันดีว่านางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้นำพรรคเพื่อไทยและน้องสาวคนสุดท้องของนายทักษิณ ชินวัตรเป็นผู้กำชัยชนะในศึกเลือกตั้งทั่วไปของประเทศไทยเมื่อต้นเดือน กรกฎาคมที่ผ่านมา และจะเป็นผู้นำในการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ของประเทศในไม่ช้านี้ กล่าวกันว่าที่จริงแล้วมีผู้สนับสนุนนายทักษิณอยู่ในพรรคเพื่อไทยเป็นจำนวนมาก ถึงแม้ว่าเขาจะโดนใส่ร้ายในคดีความผิดโทษฐานคอร์รัปชั่นจน ณ บัดนี้ก็ยังกลับประเทศไทยไม่ได้ ต้องลี้ภัยไปพำนักอยู่ที่ประเทศดูไบในเขตตะวันออกกลาง แต่ก็เป็นที่แน่ชัดว่าอิทธิพลของเขาในการเมืองไทยนับต่อจากนี้ไปจะยิ่งชัดเจนขึ้น ด้วยความปรารถนาที่จะได้รับฟังเรื่องราวต่างๆจากนาย ทักษิณ ทางสถาบันของเราจึงพยายามดำเนินเรื่องซึ่งก็ได้รับการตอบรับในการเดินทางมาประเทศญี่ปุ่นเป็นอย่างดีมาโดยตลอด งานปาฐกถามีกำหนดจัดขึ้นในคืนวันที่ 23 สิงหาคม ณ หอประชุมเมืองคันดะจิมโบโฌ จังหวัดโตเกียว จึงใคร่ขอเรียนเชิญทุกท่านที่สนใจในสถานการณ์ปัจจุบันของประเทศไทยและองค์กร การค้าที่ทำธุรกิจกับประเทศไทยเข้าร่วมงานนี้โดยทั่วกัน อนึ่ง ในการโอกาสมาเยือนญี่ปุ่นครั้งนี้ นายทักษิณยังมีกำหนดการไปเยี่ยมเยือนและให้กำลังใจแก่ผู้ประสบภัยพิบัติใน จังหวัดมิยะงิซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายครั้งใหญ่จากภัยสึนามิและ แผ่นดินไหวทางฝั่งตะวันออกของญี่ปุ่นเมื่อไม่นานมานี้ด้วย ในงานปาฐกถานี้ ทางสถาบันของเราจึงใคร่ขอเรียนเชิญผู้สนใจทุกท่านร่วมบริจาคเงินสมทบทุนให้กับผู้ประสบภัยร่วมกัน เดือนสิงหาคม ปี 2011 สถาบันเศรษฐกิจและวัฒนธรรมญี่ปุ่น จีน อาเซียน(องค์กรนิติบุคคล) ประธานสถาบัน นาย มิซึโนะ คิโยะชิ ผู้แทนคณะกรรมการบริหาร นาย ฮิงุราชิ ทะกะโนะริ หมายเหตุ : สถาบันเศรษฐกิจและวัฒนธรรมญี่ปุ่น จีน อาเซียน เป็นกลุ่มของข้าราชการเกษียณและอดีตนักการเมือง นาย มิซึโนะ คิโยะชิ ประธานสถาบัน เป็นนักการเมืองที่ดำรงตำแหน่งสำคัญๆในรัฐบาลมาหลายตำแหน่งรวมทั้งตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ กระทรวง Ministry of Construction สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
2 พันคนเตรียมยึดถนนลงใต้ ร่วมปฏิบัติการเพชรเกษม 41 Posted: 18 Aug 2011 09:29 AM PDT นายทวีวัตร เครือสาย คณะทำงานเครือข่ายความร่วมมือและส่งเสริมสิทธิพลเมืองจังหวัดชุมพร เปิดเผยว่า ในวันที่ 19 สิงหาคม 2524 ตนและชาวบ้านจะไปยื่นหนังสือถึงนางสาวยิ่งลักษณ์ ผ่านนายพินิจ เจริญพานิช ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนนโยบายแผนพัฒนาและแผนพลังงานในภาคใต้ด้วยเช่นกัน นายทวีวัตร เปิดเผยอีกว่า จากนั้นในช่วงบ่ายวันเดียวกัน ชาวบ้านจังหวัดชุมพรในฐานะเจ้าภาพ จะประชุมเตรียมความพร้อมรับชาวบ้านทั่วภาคใต้ ที่จะมาร่วมแผนปฏิบัติการเพชรเกษม 41 ในวันที่ 21 -22 สิงหาคม 2554 ที่แยกปฐมพร ทั้งเรื่องสถานที่ เวลา อาหาร ที่พักและการรักษาความปลอดภัย นายทวีวัตร เปิดเผยอีกว่า ขณะนี้มีการแจ้งจำนวนผู้ที่จะมาร่วมแผนปฏิบัติการเพชรเกษม 41 ประมาณ 700 คนแล้ว โดยมาจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา สตูล ตรัง พัทลุง พังงา ภูเก็ต ระนอง และกระบี่ ส่วนจังหวัดปัตตานีและประจวบคีรีขันธ์ ยืนยันว่าจะเข้าร่วมแต่ยังไม่มีการแจ้งจำนวนที่ชัดเจน นายทวีวัตร เปิดเผยอีกว่า สำหรับเครือข่ายภายในจังหวัดชุมพรที่จะเข้าร่วม ได้แก่ เครือข่ายปะทิวรักษ์ถิ่น เครือข่ายลุ่มน้ำท่าแซะ สภาองค์กรชุมชนจังหวัดชุมพร เครือข่ายรักษ์ละแม เครือข่ายหลักประกันสุขภาพภาคประชาชนจังหวัดชุมพร เครือข่ายชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่จังหวัดชุมพร และเครือข่ายความร่วมมือและส่งเสริมสิทธิพลเมืองจังหวัดชุมพร รวมประมาณ 1,200 คน “ตอนนี้เรากำลังระดมเงินบริจาคทางพี่น้องจังหวัดชุมพร และผู้มีจิตศรัทธา เพื่อทำอาหาร การกิน บริการพี่น้องชาวใต้ และพี่น้องคนไทยทุกคนที่รักษ์ธรรมชาติ และรักษ์ความเป็นธรรม นอกจากนี้ยังมีขายเสื้อปฏิบัติการเพชรเกษม 41 เพื่อเอาเป็นงบในการรองรับทุกคน” นายทวีวัตร กล่าว นายกิตติภพ สุทธิสว่าง คณะทำงานเครือข่ายประชาชนรักษ์สิ่งแวดล้อมจังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2554 ที่ผ่านมา ชาวบ้านหลายเครือข่ายในจังหวัดสงขลา เช่น เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น กลุ่มอนุรักษ์ป่าต้นน้ำบ้านนาปรัง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา เครือข่ายประมงทะเลสาบสงขลาและเครือข่ายมหาวิทยาลัยชาวบ้านลานหอยเสียบ ได้ประชุมหารือเพื่อเตรียมการร่วมปฏิบัติการเพชรเกษม 41 ได้ข้อสรุปว่า เครือข่ายต่างๆ จะรวมตัวกันเป็นเครือข่ายประชาชนรักษ์สิ่งแวดล้อมจังหวัดสงขลา มีนางสุไรด๊ะ โต๊ะหลี เป็นผู้ประสานงานเครือข่าย นายกิตติภพ เปิดเผยด้วยว่า เครือข่ายประชาชนรักษ์สิ่งแวดล้อมจังหวัดสงขลา มีมติว่าในวันที่ 19 สิงหาคม 2554 จะไปยื่นหนังสือกับนายวิญญู ทองสกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ให้ส่งต่อไปยังนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้ทบทวนโยบายเกี่ยวกับแผนพัฒนาภาคใต้ โดยเฉพาะโครงการสะพานเศรษฐกิจ (แลนด์บริดจ์) สงขลา – สตูล นายกิตติภพ เปิดเผยว่า ส่วนในวันที่ 20 สิงหาคม 2554 ชาวบ้านจะร่วมใจกันติดป้ายผ้าตามสะพานลอยตามทางหลวงหมายเลข 43 จากอำเภอจะนะไปยังอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นถนนที่ต่อเนื่องจากถนนสายเพชรเกษม 41 จากนั้นในวันที่ 21–22 สิงหาคม 2554 ชาวบ้านในเครือข่าวฯ ประมาณ 70 คน จะออกเดินทางไปร่วมปฏิบัติการเพชรเกษม 41 กับเครือข่ายประชาชนทั่วภาคใต้ ที่จังหวัดชุมพร นายอานนท์ มีศรี บรรณาธิการสื่อออนไลน์ในคณะทำงานยุทธศาสตร์สื่อภาคใต้ เปิดเผยว่า ในส่วนของนักข่าวพลเมืองได้ผลิตข่าวเผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส 3 ชิ้นซึ่งเป็นของทีมนักข่าวพลเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช ชุมพร สงขลา จังหวัดละ 1 ชิ้น นายอานนท์ เปิดเผยอีกว่า เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2554 ที่ผ่านมา สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ได้ออกอากาศทีมนักข่าวพลเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช ไปแล้ว โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร และวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวบ้าน โดยการสัมภาษณ์ชาวบ้านกับความกังวลกับโครงการต่างๆที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ นายอานนท์ เปิดเผยอีกว่า วันที่ 18 สิงหาคม 2554 สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ได้นำเสนอข่าวของทีมนักข่าวพลเมืองจังหวัดชุมพร มีเนื้อหาเกี่ยวกับถนนเพชรเกษม 41 ซึ่งเป็นประหนึ่งเส้นเลือดใหญ่ลงมาสู่ภาคใต้ ที่นำพาทั้งความเจริญและหายนะที่แฝงมากับแผนพัฒนาภาคใต้ และแผนพลังงานในภาคใต้ นายอานนท์ เปิดเผยต่อไปว่า นอกจากนี้ยังนำเสนอผลงานข่าวของทีมนักข่าวพลเมืองจังหวัดสงขลา ในประเด็นผลกระทบจากการสร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย – มาเลเซีย และโรงไฟฟ้าจะนะ จังหวัดสงขลา ที่ทำให้น้ำในคลองเน่าเสีย น้ำยางพาราไม่ไหล และไม่สามารถประกอบอาชีพเกี่ยวกับประมงชายฝั่งได้เหมือนในอดีต นายอานนท์ เปิดเผยด้วยว่า ในวันที่ 21 สิงหาคม 2554 ในช่วงกลางคืนจะมีการจัดรายการเวทีสาธารณะของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ถ่ายทอดสดจากจังหวัดชุมพร นอกจากนี้ยังมีรายการเปลี่ยนประเทศไทยด้วยพลังพลเมือง และรายการพลเมืองผู้เปลี่ยนทิศ ของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ลงมาบันทึกรายการตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2554 ที่จังหวัดสตูล และค่อยๆไปเก็บข้อมูลทุกพื้นที่ “นอกจากนี้เรายังติดต่อไปยังสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ อาทิ ช่อง 3 ,7,9,NBT, Sping News, ASTV, Nation Channel หนังสือพิมพ์ อาทิ คมชัดลึก ข่าวสด มติชน ผู้จัดการ และเว็บไซต์ข่าวต่างๆ” นายอานนท์ กล่าว สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์: คนเสื้อแดงกับพรรคเพื่อไทย Posted: 18 Aug 2011 09:21 AM PDT 1. เผด็จการมุ่งตอกลิ่มคนเสื้อแดงกับพรรคเพื่อไทย ฝ่ายเผด็จการตระหนักแล้วว่า แนวร่วมคนเสื้อแดงกับพรรคเพื่อไทยคือปัจจัยชี้ขาดที่ทำให้พรรคเพื่อไทยฆ่าไม่ตาย ทำลายไม่หมด ตราบใดที่แนวร่วมนี้ยังคงอยู่และเข้มแข็ง ฝ่ายเผด็จการจะไม่มีวันได้ชัยชนะในเวทีการเลือกตั้งภายใต้เสื้อคลุมรัฐสภา ฉะนั้น ยุทธศาสตร์ประการหนึ่งของฝ่ายเผด็จการในการทำลายขบวนประชาธิปไตยคือ ต้องทำลายแนวร่วมคนเสื้อแดง-พรรคเพื่อไทย ในระหว่างการคัดสรรบุคคลเข้าสู่ฝ่ายบริหาร ได้มีความสับสนถึงบทบาทของขบวนคนเสื้อแดง แกนนำนปช. กับพรรคเพื่อไทย เกิดการถกเถียงและความเข้าใจผิดในหมู่คนเสื้อแดงและแกนนำนปช.บางคนที่มีต่อพรรคเพื่อไทย เปิดช่องให้ฝ่ายเผด็จการใช้สื่อมวลชนในมือและสายลับบนสื่อออนไลน์ ปล่อยข่าวลือ สร้างข่าวเท็จ ยุแหย่ตอกลิ่มเพื่อให้เกิดความแตกแยกระหว่างคนเสื้อแดงกับพรรคเพื่อไทย ในการนี้ คนเสื้อแดงต้องหนักแน่น มีสติ ยึดภาพรวมทั้งหมดของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยเป็นที่ตั้ง มองทะลุภาพลวงตาของการเลือกตั้งและเสื้อคลุมรัฐสภา ให้เห็นถึงเนื้อในที่ยังเป็นระบอบเผด็จการปัจจุบัน มุ่งหน้าไปให้ถึงเป้าหมายประชาธิปไตยที่แท้จริงในขั้นสุดท้าย จะต้องไม่ตกเป็นเหยื่อการยุแหย่และสงครามจิตวิทยาของฝ่ายเผด็จการอย่างเด็ดขาด คนเสื้อแดงกับพรรคเพื่อไทยนั้นต้องการซึ่งกันและกัน ขาดจากกันมิได้ในการต่อสู้เพื่อไปบรรลุประชาธิปไตย พรรคเพื่อไทยที่ปราศจากคนเสื้อแดงจะแพ้เลือกตั้ง จะถูกกระบวนการตุลาการและอำนาจทหารทำลายได้โดยง่าย ส่วนคนเสื้อแดงที่ปราศจากพรรคเพื่อไทยจะอ่อนแอ ไม่มีที่ยืนในการเมืองระดับชาติและระดับท้องถิ่น ไม่มีกำลังที่จะต่อกรกับเผด็จการในแนวรบรัฐสภาและสนามเลือกตั้ง ไม่มีอาวุธในมือใด ๆ ที่จะสกัดอำนาจในระบบของฝ่ายเผด็จการ ความแตกแยกระหว่างคนเสื้อแดงกับพรรคเพื่อไทยคือความพ่ายแพ้ของขบวนประชาธิปไตย 2. พรรคเพื่อไทย ในแนวรบการเลือกตั้ง หน้าที่ของพรรคเพื่อไทยคือ ต้องชนะเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงมากที่สุด จึงจะสามารถจัดตั้งคณะรัฐบาลได้ ในการนี้ พรรคเพื่อไทยต้องโน้มน้าวจูงใจคนจำนวนมากที่สุดให้หันมาลงคะแนนเสียง ในสภาวะปัจจุบัน คนเสื้อแดงยังไม่ใช่คนส่วนใหญ่ของประเทศ ลำพังแต่คะแนนเสียงของคนเสื้อแดงนั้นไม่พอที่จะทำให้พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งได้ ยังต้องอาศัยคะแนนเสียงของประชาชนจำนวนมากที่มิใช่คนเสื้อแดงแต่มีจิตใจที่เป็นธรรม หรือประชาชนทั่วไปที่เบื่อหน่ายความล้มเหลวในการบริหารงานของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ และคาดหวังการแก้ปัญหาของประเทศจากพรรคเพื่อไทย ฉะนั้น ในการหาเสียงเลือกตั้ง การออกแบบนโยบาย ไปจนถึงการจัดตั้งคณะรัฐบาลและการคัดสรรรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทยจึงต้องคำนึงถึงคะแนนเสียงทั้งหมด มิใช่คะแนนเสียงของคนเสื้อแดงเท่านั้น และรัฐบาลที่จัดตั้งโดยพรรคเพื่อไทยต้องเป็น “รัฐบาลของคนไทยทุกหมู่เหล่า” ที่มุ่งบริหารงานเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนทั้งประเทศ ภารกิจของรัฐบาลพรรคเพื่อไทยจึงเป็นการเดินนโยบายสองขาคือ ด้านหนึ่ง ก็บริหารประเทศ แก้ปัญหาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าของประชาชนอย่างรีบด่วนและได้ผล เพื่อรักษาความเชื่อมั่นและเพิ่มความนิยมในหมู่ประชาชนส่วนข้างมาก ยึดกุมชัยชนะในสนามรบการเลือกตั้งไว้ให้มั่นเพื่อสู้กับฝ่ายเผด็จการในระยะยาวต่อไป ในอีกด้านหนึ่ง ก็ต้องดำเนินการต่อสู้ทางประชาธิปไตย เสริมความเข้มแข็งให้กับขบวนคนเสื้อแดง เพื่อเป็นอาวุธในการรับมือและตอบโต้การรุกทำลายของฝ่ายเผด็จการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ในการนี้ รัฐบาลพรรคเพื่อไทยต้องดำเนินมาตรการรูปธรรมหลายประการ ได้แก่ การปลดปล่อยคนเสื้อแดงหลายร้อยคนที่ถูกคุมขังอยู่ทั่วประเทศ การชดเชยและเยียวยาแก่ประชาชนที่เสียชีวิตและบาดเจ็บในเหตุการณ์เมษายน-พฤษภาคม 2553 ดำเนินการสอบสวนเปิดเผยความจริงทั้งหมดที่เกี่ยวกับการสังหารหมู่ประชาชนในครั้งนั้น นำเอาผู้สั่งการฆ่าประชาชนมาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม และที่สำคัญคือ เริ่มต้นขั้นตอนการปฏิรูปรัฐธรรมนูญ เพื่อขจัดเผด็จการ สร้างประชาธิปไตยที่ “อำนาจสูงสุดเป็นของราษฎรทั้งหลาย” แต่ในการปฏิรูปรัฐธรรมนูญนั้น รัฐบาลพรรคเพื่อไทยมิอาจกระทำได้แต่ลำพัง แม้จะชนะเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ แต่คะแนนเสียงในรัฐสภายังก้ำกึ่ง และรัฐบาลก็มีอำนาจแท้จริงที่จำกัด ต้องบริหารงานอยู่ในกรงเล็บของตุลาการและกองทัพที่ฝ่ายเผด็จการอาจใช้เพื่อโค่นล้มรัฐบาลในโอกาสที่เหมาะสม ขบวนคนเสื้อแดงต้องเรียกร้อง กดดัน และประสานหนุนช่วยรัฐบาลพรรคเพื่อไทยให้ไปดำเนินการต่อสู้ทางประชาธิปไตยอย่างมีจังหวะก้าวและเด็ดเดี่ยว 3. คนเสื้อแดง แกนนำ นปช. ไม่ว่าพรรคเพื่อไทยจะกันแกนนำนปช.ออกไปจากฝ่ายบริหารด้วยเหตุผลใดก็ตาม แต่เมื่อมองจากผลลัพธ์ทางยุทธศาสตร์ของภาพรวมทั้งหมดแล้ว ต้องถือว่า เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง ประการแรก จุดประสงค์ของการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสส.โดยแกนนำนปช.คือ ต้องการ “สิทธิ์คุ้มครองทางสภา” เพื่อรักษาสถานะการนำขบวนคนเสื้อแดงไว้ได้แม้ในยามคับขัน ดังเช่นที่ จตุพร พรหมพันธุ์ ได้แสดงให้เห็นมาแล้ว แต่การได้เป็น สส.แล้วเข้าไปสู่ตำแหน่งทางบริหารอีกนั้นเป็นการขัดต่อจุดประสงค์นี้โดยตรง เพราะแกนนำนปช.ที่มีตำแหน่งบริหารจะไม่อาจเป็นแกนนำนปช.ได้อีกต่อไป ประการที่สอง การนำเอาแกนนำนปช.เข้าสู่ฝ่ายบริหารในขณะนี้เป็นการเปิดศึกข้อขัดแย้งที่เผชิญหน้าเร็วเกินไปและโดยไม่จำเป็น คือได้ใจคนเสื้อแดงบางกลุ่มที่ไม่มองภาพใหญ่ แต่เผชิญแรงต่อต้านทั้งจากสื่อมวลชน ชนชั้นกลางในเมืองและฝ่ายเผด็จการทันที คณะรัฐบาลยิ่งลักษณ์ต้องการเวลาในการสร้างความเชื่อมั่นในหมู่ประชาชนและสร้างความมั่นคงเข้มแข็งให้กับตนเอง รวมทั้งต้องการเวลาให้คนเสื้อแดงได้ปรับขบวน เพื่อรับมือกับการรุกกลับของฝ่ายเผด็จการ ประการที่สาม แนวรบนอกสภากับแนวรบในสภานั้น แยกจากกันแต่ก็เดินควบคู่ไปด้วยกัน ขบวนคนเสื้อแดงเป็นกองทัพนอกสภาที่เข้มแข็งและกว้างใหญ่ไพศาล เป็น “ผนังทองแดงกำแพงเหล็ก” ของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตรและของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย สองแนวรบ สองกองทัพ มีหน้าที่ต่างกัน แต่ประสานกันไปสู่จุดหมายปลายทางเดียวกันคือ ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง สำหรับคนเสื้อแดงแล้ว จุดมุ่งหมายของการได้ชัยชนะในการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จไม่ใช่เพื่อให้แกนนำคนเสื้อแดงบางคนได้เป็นรัฐมนตรี แต่เพื่อให้ได้รัฐบาลที่เป็นมิตรกับฝ่ายประชาธิปไตย เปิดช่องให้คนเสื้อแดงได้ปรับขบวน พัฒนาตนเอง ยกระดับความคิดและการจัดตั้ง เสริมความเข้มแข็งและมีความพร้อมยิ่งขึ้น เพื่อเผชิญกับการรุกกลับของฝ่ายเผด็จการที่จะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในอนาคตอันใกล้ แม้รัฐบาลพรรคเพื่อไทยจะมีอำนเจบริหารจำกัด แต่ก็เป็นเงื่อนไขเพียงพอที่ฝ่ายประชาธิปไตยจะได้อาศัยเป็นประโยชน์ ยิ่งฝ่ายประชาธิปไตยขยายตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้น รวมตัวจัดตั้งเป็นระบบมากยิ่งขึ้น ชัยชนะขั้นสุดท้ายของประชาธิปไตยก็ยิ่งใกล้เข้ามา สิ่งที่ขบวนประชาธิปไตยต้องเร่งกระทำโดยเร็วคือ ขยายจำนวนคนที่ “รู้ความจริง” ให้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ขยายการจัดตั้งในระดับรากฐานให้กว้างขวาง เช่น “หมู่บ้านเสื้อแดง” ในภาคอีสาน และ “บ้านธงแดง” ในภาคเหนือ บนพื้นฐานของภาษาวัฒนธรรมและวิถีชีวิตท้องถิ่นพื้นบ้าน ประสานกับกระบวนประชาธิปไตยระดับรากหญ้า ตลอดจนการรวมกลุ่มเสื้อแดงในภาคกลางและเมืองใหญ่ตามสภาพสังคมวัฒนธรรมแต่ละท้องที่ เร่งขยายผลสะเทือนของประชาธิปไตยไปในหมู่ทหาร ตำรวจและข้าราชการให้มากที่สุด ขยายเครือข่ายสังคมออนไลน์เชื่อมกับเครือข่ายบนดินให้ทั่วถึง จัดตั้งวิทยุชุมชนให้เพิ่มขึ้นครบทุกอำเภอและตำบลทั่วประเทศ จัดตั้งสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมเพิ่มขึ้นอีกในประเทศเพื่อนบ้าน ให้ครอบคลุมทุกภูมิภาค ภาษา และวัฒนธรรมทั่วประเทศ ทั้งหมดนี้คือการเตรียมพร้อมกองทัพนอกสภา เพื่อรับมือกับการรุกกลับของฝ่ายเผด็จการจารีตนิยมที่จะกระทำต่อรัฐบาลยิ่งลักษณ์อย่างแน่นอน บัดนี้ ฝ่ายเผด็จการได้ใช้สรรพาวุธที่มีอยู่จนหมดแล้ว พวกเขาไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากจะต้องซ้ำรอยเดิมคือ การใช้อันธพาลการเมืองบนท้องถนน ใช้พรรคประชาธิปัตย์ก่อการภายในสภา ทำให้รัฐบาลไม่อาจบริหารงานได้ แล้วใช้ตุลาการในมือมาทำลายรัฐบาลยิ่งลักษณ์ และในที่สุด ถ้าล้มเหลว หนทางสุดท้ายก็คือ รัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอีกครั้ง
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
ข้อเสนอนโยบายสิทธิมนุษยชนถึงนายกฯ โดยฮิวแมนไรท์วอทช์ Posted: 18 Aug 2011 09:10 AM PDT เมื่อวันที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา ฮิวแมนไรท์วอทช์ได้ส่งข้
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper This posting includes an audio/video/photo media file: Download Now | ||||
ผู้ป่วยจะทำอย่างไร เมื่อการบริจาคและการสละการใช้สิทธิ เป็นเงื่อนไขของการรับบริการ Posted: 18 Aug 2011 09:04 AM PDT ผู้ป่วย หรือผู้บริโภคในระบบสุขภาพต่างก็แสวงหาบริการสุขภาพที่ดีและมีมาตรฐาน โดยหวังว่าเขาจะหายจากความป่วยไข้ ไม่สบาย หรือหากเป็นกลุ่มหญิงมีครรภ์ เขาก็หวังว่าลูกจะเกิดรอดและแม่ปลอดภัย ด้วยเหตุว่าในปัจจุบัน ประชาชนต่างมีสิทธิ สวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลอย่างถ้วนหน้า การรักษาในสถานพยาบาลตามสิทธิประโยชน์ โดยเฉพาะสถานพยาบาลของรัฐ ก็อยู่ภายใต้สิทธิที่จะได้รับบริการโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ผลที่ตามมาคือการลดค่าใช้จ่ายของประชาชนในภาพรวม และความแออัดที่เพิ่มมากขึ้นทั้งในสถานพยาบาลรัฐ เอกชนและแม้แต่คลินิก ในการให้บริการถ้าการชดเชยจากกองทุนต่างๆไม่เพียงพอและ/หรือบางสถานพยาบาลมีปัญหาในการบริหารจัดการ หลายโรงพยาบาลก็มีปัญหาทางการเงินตามมา ในขณะที่ระบบการร่วมจ่ายของสิทธิประโยชน์ต่างๆ อย่างเป็นทางการหรือมีระเบียบรองรับที่ครอบคลุมและเหมาะสมในสถานพยาบาลของรัฐยังไม่เกิดขึ้น การร่วมจ่ายในชีวิตจริงของผู้ป่วยจากการที่เข้าถึงบริการที่พึงประสงค์ในสถานพยาบาลตามสิทธิเป็นไปได้ยากและไม่สะดวก การไปจ่ายเงินเพื่อบริการสุขภาพที่ร้านยา คลินิก หรือโรงพยาบาลเอกชน จึงเป็นวิถีชีวิตปกติของคนไทย ซึ่งนับเป็นการร่วมจ่ายในระบบสุขภาพไทย ที่ประชาชนส่วนหนึ่งต้องจำใจยอมรับ แต่เป็นการจ่ายเพื่อสุขภาพไปยังภาคเอกชน ส่วนหนึ่งก็เกิดความพึงพอใจ แต่ยังมีปัญหาส่วนหนึ่งที่เกิดสืบเนื่องมาจากระบบดังกล่าว คือกรณีที่ต้องมีการรักษาต่อเนื่อง แพทย์ส่วนหนึ่งที่ให้บริการที่คลินิก จำเป็นต้องส่งผู้ป่วยมาให้ตนเองบริการต่อเนื่อง ในโรงพยาบาลรัฐที่ตนเองเป็นแพทย์ประจำ และแพทย์ท่านดังกล่าวเป็นผู้ดูแลต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้ป่วยตั้งครรภ์และต้องมาคลอดที่โรงพยาบาลหรือผู้ป่วยที่ต้องมาทำผ่าตัดหรือหัตถการต่างๆ ซึ่งนับเป็นเรื่องที่ดีในแง่ของการบริการสุขภาพ และเมื่อผู้ป่วยมารับบริการที่โรงพยาบาล ตามสิทธิ ผู้ป่วยก็สามารถเข้ารับบริการโดยไม่ต้องจ่ายค่าบริการได้ตามสิทธิ แต่ผู้ป่วยอาจถูกเรียกเก็บค่าบริการพิเศษในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะค่าหมอพิเศษหรือค่าฝากพิเศษ ซึ่งเป็นเรื่องส่วนตัวระหว่างหมอท่านนั้นๆกับผู้ป่วยและญาติ การร่วมจ่ายแบบจรยุทธนี้จึงเป็นต้นธารของปัญหาและความขัดแย้งหลายประการ เมื่อผู้บริโภคคาดว่าตนเองต้องจ่ายพิเศษ เขาก็คาดหวังว่าเขาจะได้รับบริการพิเศษ หากมีห้องพิเศษเขาก็คาดหวังว่าจะได้ใช้ห้องพิเศษโดยยอมรับการร่วมจ่าย แต่สำหรับค่ารักษาพยาบาลตามสิทธิ เขาก็ยังคงคาดหวังว่าจะได้รับสิทธิต่างๆเหล่านั้น สถานพยาบาลส่วนใหญ่ ให้ผู้ป่วยได้รับสิทธิ สวัสดิการตามที่ติดตัวเขามา โดยค่าบริการพิเศษที่ติดตัวผู้ป่วยมาจากคลินิก เป็นเรื่องระหว่างผู้ป่วยและแพทย์ที่คลินิก แต่เหตุเพราะห้องพิเศษในโรงพยาบาลมักไม่เพียงพอ เหตุเพราะผู้ให้บริการบางท่านให้บริการแก่ผู้ป่วยพิเศษของตนเองต่างจากผู้ป่วยตามระบบปกติหรือผู้ป่วยที่ไม่ได้ฝากพิเศษ และโรงพยาบาล มีภาระในการจัดบริการพิเศษดังกล่าวแต่ไม่ได้กำหนดอัตราค่าบริการพิเศษที่สอดคล้องกับต้นทุนจริงโดยเฉพาะต้นทุนของแพทย์ที่เป็นผู้ประกอบเวชปฏิบัติส่วนตัวในโรงพยาบาลรัฐ หลายโรงพยาบาลจึงกำหนดมาตรการพิเศษต่างๆ เช่นการกำหนดให้ผู้ป่วยสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพ ไม่สามารถเข้ารับการรักษาในห้องพิเศษได้ หากประสงค์จะเข้ารับบริการในห้องพิเศษต้องสละสิทธิหลักประกันสุขภาพ และแม้ว่าจะให้ใช้สิทธิในการรักษาตามสิทธิประโยชน์ได้เมื่อเข้าห้องพิเศษ และร่วมจ่ายเฉพาะค่าบริการพิเศษและค่าห้อง แต่ก็มีการเชิญชวนให้มีการบริจาคเพิ่มให้โรงพยาบาล ซึ่งโดยทั่วไปน่าจะสอดคล้องกับวิถีแบบไทยๆ จากการให้สละสิทธิและการให้ร่วมบริจาค ล่าสุดมีบางโรงพยาบาลได้กำหนดเงื่อนไขการรับบริจาคเป็นเงื่อนไขในการเข้ารับบริการหรือให้บริการ เช่นการให้สิทธิในการเข้ารับบริการในห้องพิเศษ การเชิญชวนดังกล่าวหากผู้ป่วยไม่สามารถบริจาคได้หรือไม่ประสงค์จะบริจาค จะทำได้หรือไม่และจะได้รับบริการอย่างไร? คงเป็นคำถามที่ผู้ป่วยและญาติหลายท่านค้างคาอยู่ในใจ แล้วผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็จะยอมบริจาคหรือยอมเสียสิทธิ เพื่อหลีกเลี่ยงความรู้สึกเสี่ยงในการรับบริการ หากไม่บริจาคหรือไม่ยอมสละสิทธิ หากไม่บริจาคหรือไม่ยอมสละสิทธิทำได้หรือไม่ ? ทำได้และควรทำ เพราะการกำหนดเงื่อนไขการบริจาคก่อนหรือการให้ผู้ป่วยสละสิทธิ เป็นการละเมิดและสุ่มเสี่ยงทั้งทางจริยธรรม ทางกฏหมายและสิทธิมนุษยชน หลายโรงพยาบาลที่กำหนดเกณฑ์เรื่องการสละสิทธิหรือการบริจาคก่อน มักจะยืนยันว่าหากผู้ป่วยไม่บริจาคหรือไม่สละสิทธิ เขาก็ยังได้รับบริการที่มีมาตรฐาน ซึ่งหากย้อนกลับไปถามผู้ป่วยและญาติ การที่โรงพยาบาลกำหนดเงื่อนไขการบริจาคก่อนและการสละสิทธิ และเขายินยอมบริจาคหรือยินยอมสละสิทธิไปแล้ว เพราะเขาคาดหวังในบริการที่ดีกว่าและไม่มั่นใจในมาตรฐานหากใช้บริการตามสิทธิ โดยส่วนตัวของผู้เขียน เห็นว่ามาตรฐานของโรงพยาบาลรัฐได้ล่มสลายไปแล้วตั้งแต่การกำหนดเงื่อนไขการบริจาคก่อนหรือการกำหนดให้ผู้ป่วยที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพต้องสละสิทธิหากเขาประสงค์จะเข้ารับบริการในห้องพิเศษ แม้ว่าผู้เขียนจะเห็นว่าผู้ป่วยและญาตไม่ควรบริจาคก่อนหรือไม่ควรเซนต์ยินยอมสละสิทธิ เพราะการบริจาค ควรเป็นการบริจาคตามศรัทธาและไม่ควรเป็นเงื่อนไขก่อนให้บริการ แต่เชื่อว่าเมื่อสถานพยาบาลกำหนดเกณฑ์ดังกล่าว ผู้ป่วยและญาติที่พอมีกำลังทรัพย์ จะยอมตามเงื่อนไขและข้อเสนอที่โรงพยาบาลกำหนด และนี่จะเป็นที่มาของปัญหาต่อไป เมื่อบริการไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง หรือเมื่อผู้ป่วยมีปัญหาทางการเงิน ปัญหาเหล่านี้ก็นำไปสู่การร้องเรียนและการโต้แย้งสิทธิตามกฏหมายและเป็นเชื้อไฟสำคัญของการฟ้องร้อง ผุ้เขียนไม่เห็นด้วยกับการกำหนดเรื่องการบริจาคและการสละสิทธิเป็นเงื่อนไขก่อนการให้บริการ เพราะจะเกิดปัญหาต่อเนื่องแก่ผู้รับบริการและผู้ให้บริการ สิ่งที่สถานพยาบาลควรร่วมกันผลักดันคือการให้กองทุนต่างๆได้กำหนดอัตราการร่วมจ่ายที่เหมาะสม เพื่อเป็นทางเลือกเพิ่มเติมสำหรับการขอรับบริการที่นอกเหนือจากมาตรฐานที่รัฐได้กำหนดไว้ โดยไม่เกิดภาวะที่ความเจ็บป่วยของประชาชนได้ถูกนำมาเป็นตัวประกันของการจัดบริการสุขภาพ ดังที่เห็นและเป็นอยู่ในปัจจุบัน สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเชียงใหม่มหานคร ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 เมื่อ 17 ส.ค. 54 Posted: 18 Aug 2011 08:56 AM PDT หลังจากที่ได้มีการเผยแพร่ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเชียงใหม่มหานคร ฉบับประชาชนไปแล้ว ได้มีผู้เสนอความคิดเห็นในเวทีต่างๆหลายครั้ง จึงนำมาสู่การปรับปรุงให้ตรงกับความต้องการของคนส่วนใหญ่ ซึ่งในการปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้เนื่องจากยังมิใช่ฉบับที่เป็นทางการที่เสนอเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาแล้ว การปรับปรุงร่างจึงมิได้ทำการเปรียบเทียบของเดิมกับของใหม่ในแต่ละมาตราตามแบบวิธีของการร่างกฎหมายทั่วไปของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นการนำเสนอข้อมูลล่าสุดแล้วนำมาแปลงเป็นหมวดและมาตราต่างๆ เมื่อได้ผลสุดท้ายสรุปอย่างไรแล้ว จึงจะถือเป็นที่สิ้นสุดก่อนการนำเสนอต่อรัฐสภาต่อไป ร่างที่ปรับปรุงใหม่ในครั้งนี้ มีข้อแตกต่างจากเดิมที่เห็นได้ชัด คือ 1) การกำหนดสัดส่วนรายได้ระหว่างเชียงใหม่มหานครกับส่วนกลางในอัตราร้อยละ 70 ต่อ 30 ตามมาตรา 98 2) การกำหนดให้กิจการตำรวจขึ้นกับเชียงใหม่มหานคร ตามมาตรา 78(1) 3) การกำหนดให้หมวดที่ว่าด้วยการมีส่วนร่วมของภาคพลเมือง ตามมาตรา 114 ถึง มาตรา 118
ขอน้อมรับความคิดเห็นทุกท่านครับ ชำนาญ จันทร์เรือง
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper This posting includes an audio/video/photo media file: Download Now | ||||
สมชาย ปรีชาศิลปกุล: โลกแสนสุขของนักกฎหมายรัฐ Posted: 18 Aug 2011 08:38 AM PDT ขณะที่ข้าราชการจำนวนมากกำลังตกอยู่ในภาวะรายได้ชักหน้าไม่ถึงหลัง แต่สำหรับบรรดานักกฎหมายในระบบราชการถือได้ว่าเป็นยุคที่อิ่มหนำสำราญมากที่สุด อันมีความหมายว่าค่าตอบแทนโดยรวมของนักกฎหมายอยู่ในระดับที่สูงกว่าข้าราชการประเภทอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักกฎหมายที่ทำหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม ไม่ว่าจะเป็นผู้พิพากษา อัยการ ซึ่งกำลังจะรวมไปถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจ และบรรดาบุคลากรในองค์กรอิสระทุกองค์กรก็ต่างอยู่ในฐานะที่ “ล่ำซำ” ไม่ต่างไปจากกัน โดยค่าตอบแทนของบุคลากรในองค์กรเหล่านี้ แม้ว่าฐานเงินเดือนจะไม่สู้มีความแตกต่างไปจากข้าราชการอื่นทั่วไป แต่จะมีเงินประจำตำแหน่งเป็นพิเศษตั้งแต่ระดับเริ่มต้นในหลักพันไปจนถึงประมาณถึงสี่หมื่นบาท ทำให้เงินเดือนตอบแทนของบุคลากรในระดับกลางอันมีอายุราชการประมาณสิบปีสามารถมีค่าตอบแทนได้ในหลักแสน (ทั้งนี้ไม่รวมถึงค่ารถประจำตำแหน่งอีกประมาณ 40,000 บาท ซึ่งจะจ่ายตอบแทนให้แก่บุคลากรบางตำแหน่งโดยอัตโนมัติ แม้ว่าจะไม่ได้มีหน้าที่ที่จำเป็นต้องเดินทางไปไหนมาไหนก็ตาม แม้ในตำแหน่งซึ่งทำหน้าหลักอยู่ในสำนักงานเป็นส่วนใหญ่ก็ตาม) หากเปรียบเทียบกับหน่วยงานอื่นๆ ในระบบราชการไทย การจะสามารถได้รับค่าตอบแทนในลักษณะนี้จะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อขึ้นดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวง อธิบดีกรมต่างๆ เท่านั้น หรือหากเป็นข้าราชการในหน่วยงานอื่นต่อให้ทำงานจนเกษียณอายุราชการก็ยังไม่สามารถมีรายได้สูงเทียบเท่ากับที่บรรดานักกฎหมายได้รับอยู่ แม้ว่านักกฎหมายเหล่านี้จะมีอายุราชการน้อยกว่ามากก็ตาม มีเหตุผลอะไรที่ทำให้ตำแหน่งนักกฎหมายในระบบราชการสามารถได้รับผลตอบแทนที่แตกต่างไปจากข้าราชการฝ่ายอื่น ในปัจจุบันมีการจ่ายตอบแทนเป็นเงินเพิ่มพิเศษให้แก่ข้าราชการบางตำแหน่ง เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ หรือข้าราชการด้านอื่น ทั้งนี้เหตุผลสำคัญก็คือว่าเป็นตำแหน่งที่ขาดแคลนอันมีความหมายว่าไม่มีคนสนใจที่จะมาทำงาน เนื่องจากภาคเอกชนให้ผลตอบมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด จึงจำเป็นต้องสร้างแรงดึงดูดใจกับบุคลากรในส่วนนี้ แต่เหตุผลดังกล่าวนี้ก็ไม่สามารถใช้กับตำแหน่งทางด้านกฎหมายได้ สถาบันการศึกษาแทบทุกแห่งล้วนมีการเปิดสอนหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ซึ่งสามารถกระทำได้โดยหาอาจารย์ประจำสักสี่ห้าคนส่วนที่เหลือก็เชิญอาจารย์พิเศษมาเป็นผู้ร่วมสอน ผู้จบการศึกษาในแต่ละปีจึงมีเป็นจำนวนมาก ทำให้ในการเปิดสอบบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งต่างๆ ที่ใช้วุฒินิติศาสตร์ก็จะมีผู้สมัครอย่างท่วมท้น พูดได้เต็มปากว่านักกฎหมายเป็นตำแหน่งที่มีผู้ต้องการทำงานอย่างมหาศาล ถ้าเช่นนั้นจะเป็นด้วยเหตุผลใดสำหรับค่าตอบแทนให้กับบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม เหตุผลหนึ่งที่มักกล่าวถึงกันบ่อยครั้งก็คือค่าตอบแทนที่สูงจะเป็นผลให้เกิดการทำงานที่สุจริตมากขึ้น เหตุผลเช่นนี้ก็ไม่ต่างอะไรจากความเชื่อแบบรวยแล้วไม่โกง ซึ่งก็เป็นชัดเจนแล้วมิใช่หรือว่าไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ข้อครหาในช่วงสามสี่ปีที่ผ่านมาต่อกระบวนการยุติธรรมก็ล้วนเกี่ยวพันกับนักกฎหมายในระดับสูงมิใช่หรือ หน่วยงานรัฐบางแห่งที่มีหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่รัฐบาลก็เกาะกระแสความล่ำซำของกระบวนการยุติธรรม ด้วยการผลักดันให้ขึ้นค่าตอบแทนของตนในช่วงเวลาหลังจากการยึดอำนาจโดยคณะรัฐประหารเมื่อ พ.ศ. 2549 นับเป็นสิ่งที่ชวนให้ตั้งคำถามถึงความเหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม ฝ่ายนิติบัญญัติในยุครัฐประหารก็ผ่านกฎหมายให้สมใจหน่วยงานนี้ สถานะอันสุขสบายในบางหน่วยงานของระบบราชการไทยได้ส่งผลอย่างสำคัญต่อบรรดานักกฎหมายในหน่วยงานอื่น สิ่งที่พบเห็นกันจนเป็นปกติและเป็นที่รับรู้กันทั่วไปก็คือ นิติกรประจำหน่วยงานอื่นก็จะทำงานประจำและ “แบ่ง” เวลาบางส่วนในการทำงานเพื่อเตรียมตัวสำหรับการไปสอบเพื่อให้เข้าไปอยู่ในดินแดนอันแสนสุข ก็เห็นกันอยู่ว่าต่อให้ทุ่มเทให้กับหน่วยงานตนเองแค่ไหนก็ไม่มีวันพ้นไปจากความ “ดักดาน” เช่นเดียวกับข้าราชการคนอื่น แน่นอนว่าประสิทธิภาพของการทำงานของบุคคลคนนั้นย่อมไม่เทียบเท่ากับหากว่าได้ทำงานอย่างเต็มที่ถ้าเห็นอนาคตอยู่ในหน่วยงานตนเอง หากมองในแง่ความเป็นธรรมเมื่อเปรียบเทียบกับข้าราชการที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านอื่น ถ้าให้คำอธิบายว่างานทางด้านกฎหมายมีความสำคัญเป็นอย่างมาก คำถามที่ติดตามมาก็คือว่าแล้วงานทางด้านปกครอง งานทางด้านเศรษฐศาสตร์ ครูอัตราจ้าง นักวิทยาศาสตร์ นักการศึกษา นักสังคมสงเคราะห์ งานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ นักประวัติศาสตร์ หรือแม้กระทั่งลูกจ้างของอุทยานแห่งชาติที่ต้องบุกป่าฝ่าฝนเพื่อนำศพของทหารออกมาจากป่าลึก มีความหมายเพียงน้อยนิดเท่านั้นหรือ พวกเขาจึงควรได้รับเงินเดือนประมาณสี่พันกว่าบาท ทั้งหมดนี้ก็ควรถูกประกาศออกมาให้ชัดเจนเลยว่าเป็นงานชั้นสอง ระบบราชการไทยไม่ให้ความสำคัญเทียบเท่ากับบุคคลที่ทำการศึกษาด้านกฎหมาย งานแต่ละด้านล้วนมีความสำคัญในตัวของมันเองโดยที่ยากจะเอามาเปรียบเทียบ ดังนั้น ในแง่ของการบริหารจัดการค่าตอบแทนจึงต้องทำให้เกิดความเป็นธรรมหรือความเท่าเทียมระหว่างสาขาวิชาชีพต่างๆ อย่างสมดุล หากมีจะมีความแตกต่างอยู่บ้างคงต้องสามารถให้เหตุผลได้อย่างชัดเจนไม่ใช่เป็นเรื่องที่มุบมิบหรือแอบกระทำกัน ดังเช่นการให้เงินเพิ่มพิเศษนานาประเภทแก่บุคลากรภายในองค์กรอย่างที่ได้เกิดขึ้น (แว่วๆ มาว่าหน่วยงานบางแห่งซึ่งในรอบหลายปีที่ผ่านมามีเรื่องฉาวโฉ่ถึงความไม่โปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่เกิดขึ้นหลายครั้งต่อสาธารณะ ก็กำลังเตรียมขออนุมัติเพื่อเพิ่มเงินประจำตำแหน่งให้กับบุคลากรในองค์กรของตน) แต่ที่น่าสนใจมากก็คือว่าการให้ค่าตอบแทนเหล่านี้เกิดขึ้นในยุคที่นักกฎหมายรวมทั้งสถาบันทางกฎหมายถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง รวมทั้งความน่าเชื่อถือที่กำลังถูกสั่นคลอนอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของแวดวงนิติศาสตร์ไทย แต่กลับไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อสถานะของนักกฎหมายแม้แต่น้อย สภาวะเช่นนี้จึงไม่อาจเรียกเป็นอื่นใดไปได้นอกจากเป็นโลกอันแสนสุขของโดยแท้ที่ไม่ต้องมีความรับผิดชอบใดต่อสังคมแม้จะกินเงินเดือนจากภาษีประชาชนก็ตาม
.........................................
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
เมื่อ ว. วชิรเมธี ฝึกเณรให้เป็นชายและให้มีสมบัติผู้ดี Posted: 18 Aug 2011 08:06 AM PDT สมภาร พรมทา เคยกล่าวบนเวทีอภิปรายเดียวกันกับ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) คราวหนึ่งว่า ผมเคยอ่านบทสัมภาษณ์ของพระมหาวุฒิชัยครั้งหนึ่ง เมื่อมีผู้ถามว่าท่านเป็นพระหนุ่มท่านรู้สึกอย่างไรกับความรู้สึกทางกามารมณ์ ดูเหมือนท่านจะตอบว่า “อย่าไปคิดถึงมัน ทุกอย่างก็จบ” ความรู้สึกทางกามารมณ์นั้นชีววิทยาถือว่าเป็นกลไกหนึ่งในการสืบเผ่าพันธุ์ ธรรมชาติสร้างสิ่งนี้ให้เราโดยไม่ได้ขอ นอกจากไม่ได้ขอแล้วยังปฏิเสธไม่ได้ด้วย มันฝังอยู่ในเราทุกคน เวลาที่คนคนนั้นไปสวมจีวรพระ สิ่งนี้ก็ยังฝังอยู่ ผมคิดว่าถ้าเราสนใจชีววิทยา เราจะทราบว่าไม่ง่ายที่จะเอาชนะมัน [1] สัญชาตญาณทางกามารมณ์เป็นปัญหาใหญ่สำหรับพระสงฆ์สายเถรวาท (หรือนักบวชทุกศาสนาที่ห้ามเรื่องเพศสัมพันธ์) ที่มองกามารมณ์ด้วยทัศนะแบบประเมินค่าทางศีลธรรมว่า เป็นกิเลสตัณหา เป็นอกุศลธรรมที่พึงละหรือต้องเอาชนะให้ได้จึงจะเป็นผู้บริสุทธิ์หลุดพ้น กามารมณ์ที่ตรงข้ามกับ “ความบริสุทธิ์” จึงหมายถึง “ของสกปรก” ที่ไม่พึงแม้แต่จะคิดถึงมัน แต่ในทางชีววิทยา สัญชาตญาณทางกามารมณ์ (การมีเซ็กซ์เป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของการแสดงออกของสัญชาตญาณนี้) เป็นข้อเท็จจริงทางธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตที่ถูกโปรแกรมเอาไว้แล้วในยีนหรือดีเอ็นเอของเรา ข้อเท็จจริงทางธรรมชาตินี้ไม่มีค่าเป็นบวกหรือลบ หรือไม่ได้มีความหมายดี-ชั่วทางศีลธรรมในตัวของมันเอง การตอบสนองทางกามารมณ์ก็เป็นไปตามกลไกทางธรรมชาติของร่างกายไม่ต่างอะไรกับการกินอาหาร การกินอาหารจะมีความหมายว่าไม่ดีในทางศีลธรรม ก็ต่อเมื่อคุณไปขโมยเขากิน หรือการกินของคุณไปสร้างความเดือดร้อนแก่คนอื่นเป็นต้น การตอบสนองทางกามารมณ์ก็เช่นกัน มันจะมีความหมายว่าไม่ดีทางศีลธรรม ก็ต่อเมื่อไปล่วงละเมิด หรือก่อปัญหาแก่ผู้อื่น เป็นต้น ไม่ว่าเราจะคิดถึงมันหรือไม่ สัญชาตญาณทางกามารมณ์ในเนื้อตัวของเรามันก็ยังคงทำงานของมันอยู่อย่างเงียบเชียบภายในจิตใต้สำนึกของเรา และมีพลังอำนาจเหนือชีวิตเรา ใครเคยอ่านงานของซิกมันด์ ฟรอยด์ คงจำกันได้ที่เขาบอกว่า ทารกดูดนม ดูดนิ้วมือ หรือเด็กเล่นอวัยวะเพศของตนเองก็เป็นอาการตอบสนองสัญชาตญาณทางเพศ ศิลปินที่สร้างงานศิลปะ หรือนักบวชที่เทศนาอุดมคติอันสูงส่งสวยงามทางศาสนาเป็นต้นนั้น ก็ล้วนแต่ถูกขับเคลื่อนด้วยแรงขับทางเพศทั้งสิ้น ในหนังสือ “ปมเขื่อง” ท่านพุทธทาสก็อธิบายว่าสัญชาตญาณดังกล่าวนี้ฝังลึกอยู่ในสัญชาตญาณพื้นฐานที่สุดของมนุษย์คือ “อหังการ” หรือความรู้สึกว่ามี “ตัวกู” ซึ่งมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมต่างๆ ทั้งด้านบวกหรือลบของมนุษย์อย่างลึกซึ้ง ในทางพุทธเถรวาท มีหลักฐานมากมายในวินัยปิฏกที่แสดงให้เห็นว่า ภิกษุพ่ายแพ้ต่อสัญชาตญาณทางกามารมณ์ เมื่อพระพุทธเจ้าห้ามภิกษุเสพเมถุน ภิกษุบางรูปก็หาทางออกด้วยการจับต้องกายหญิง เมื่อถูกห้ามจับต้องกายหญิง ภิกษุบางรูปก็ให้ภิกษุณีมายืนเปลือยกาย แล้วชักว่าว เมื่อมีวินัยห้ามทำเช่นนั้นอีก ภิกษุบางรูปก็บำบัดความต้องการทางเพศด้วยการข่มขืนศพ เสพเมถุนกับลิงตัวเมีย และยังมีเรื่องราวการบำบัดความต้องการทางกามารมณ์ของภิกษุทั้งทางปาก ทางช่องหู ซอกรักแร้ ทวารหนัก ฯลฯ ถูกบันทึกไว้อย่างวิจิตรพิสดารในอรรกถาวินัยปิฎก ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พลังอำนาจของสัญชาตญาณทางกามารมณ์นั้นเอาชนะได้ยากเย็นแสนเข็ญเพียงใด นอกจากนี้ในวินัยปิฎกยังมีข้อมูลบันทึกว่า “พระอรหันต์ถูกลักหลับ” เรื่องราวมีว่าพระอรหันต์รูปหนึ่งท่านนอนหลับอยู่ในกุฏิโดยเปิดประตูทิ้งไว้ ขณะหลับถูกลมรำเพยองคชาตของท่านจึงตึงตัว เมื่อสตรีสองสามคนเดินผ่านมาเห็นเข้า จึงจัดการลักหลับขึ้นคร่อมจนสำเร็จความใคร่ แถมก่อนจากยังชมว่า “หลวงพี่นี่สุดยอดจริงๆ” (คัมภีร์ว่าไว้ ได้ “ใจความ” ประมาณนี้จริงๆ) ท่านตื่นขึ้นมาเห็นคราบเปรอะอวัยวะเพศจึงไปถามพระพุทธเจ้าว่าต้องอาบัติหรือไม่ ได้รับคำตอบว่าบรรลุอรหันต์แล้วจิตไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ และพระพุทธเจ้าก็เตือนให้ระมัดระวังว่าภิกษุจะนอนต้องปิดประตูลงกลอนให้เรียบร้อย ตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่า แรงขับทางเพศเป็นกลไกตามธรรมชาติทางกายภาพ พระอรหันต์ที่จิตหลุดพ้นจากกิเลสก็มีธรรมชาติทางกายภาพเหมือนคนทั่วไป เช่นเมื่อหิวต้องกินอาหาร เมื่อเจ็บป่วยต้องกินยา พระพุทธเจ้าก็มีโรคประจำตัว คือโรคทางเดินอาหารอันเป็นผลจากการบำเพ็ญทุกกริกิริยามาอย่างหนัก ต้องให้หมอชีวกปรุงโอสถให้อยู่บ่อยๆ และเมื่อร่างกายหมดสภาพที่จะใช้งานได้ต่อไปก็ต้องตาย แต่พระอรหันต์ต่างจากปุถุชนตรงที่จิตท่านไม่ยินดี ยินร้าย ไม่เป็นทุกข์ไปตาม “อาการ” ของทุกข์ตามธรรมชาติทางกายภาพต่างๆ นั้น ส่วนพุทธศาสนานิกายวัชรยาน และนิกายเซ็น มองสัญชาตญาณทางกามารมณ์เป็นเรื่องธรรมชาติไม่ได้มีความหมายดีชั้วในตัวมันเอง ยอมรับว่ามันเป็นกลไกตามธรรมชาติของร่างกาย หากพระอรหันต์จะฝันเปียกก็ถือเป็นเรื่องปกติ ของที่เป็นธรรมชาติทางกายเราต้องเข้าใจมัน อยู่กับมันอย่างเป็นมิตร ในขณะเดียวกันก็เรียนรู้ที่จะแปรเปลี่ยนมันให้เป็นพลังสร้างสรรค์ เช่นเรียนรู้ความรักในสัญชาตญาณทางกามารมณ์ เรียนรู้ธรรมชาติความเป็นหญิงเป็นชาย ความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมผ่านกามารมณ์ แปรเปลี่ยนความรักแบบกามารมณ์ให้ประณีตงดงามเป็นสายใยความผูกพันระหว่างคู่ชีวิต พ่อ แม่ ลูก ขยายออกไปเป็นความรักความเข้าใจในมิติที่ซับซ้อนของความเป็นมนุษย์ และมนุษยชาติ กระทั่งเรียนรู้การบรรลุนิพพานผ่านความเข้าใจกระจ่างแจ้งในสัญชาตญาณทางกามารมณ์จนถึงจุดที่จิตหลุดพ้นจากอำนาจบงการของสัญชาตญาณดังกล่าวนั้น หากมองตามทฤษฎีของฟรอยด์ การเก็บกดแรงขับทางเพศ มันเหมือนกับการบีบลูกโป่งพอเราบีบด้านหนึ่งมันจะโป่งอีกด้านหนึ่ง ส.ศิวรักษ์ เคยตั้งข้อสังเกตว่าพระสงฆ์เถรวาทไทยเก็บกดความต้องการทางเพศเอาไว้จึงทำให้ไปโป่งด้านโลภะ และโทสะ หรือความต้องการอำนาจยศถาบรรดาศักดิ์ ตอนผมเป็นสามเณรผมสงสัยว่าทำไมห้องชั้นบนของกุฏิหลวงพ่อซึ่งเป็นพระผู้ใหญ่จึงอัดแน่นไปด้วยเครื่องสังฆทาน กล่องมาม่า ปลากระป๋อง จีวร บริขารต่างๆ รกรุงรังเต็มไปหมด ทำไมท่านไม่ยอมแจกจ่ายสิ่งของส่วนเกินเหล่านี้แก่พระ เณร ศิษย์วัดที่ขาดแคลน ส่วนเรื่องเจ้ายศเจ้าอย่าง การวิ่งเต้นเรื่องสมณศักดิ์ จัดงานฉลองยศ แฮปปี้เบิร์ธเดย์ของพระผู้ใหญ่เป็นต้น ก็เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย เป็นไปได้ว่าความโป่งทางสัญชาตญาณต้องการอำนาจนี่เองที่เป็นแรงขับในการเผยแพร่ “ศีลธรรมเชิงอำนาจ” คือภาษา วาทกรรมทางศีลธรรมแบบโบยตี ข่มขู่ กด ข่ม เพื่อเรียกร้องความเชื่อฟัง ศรัทธา สยบยอมเพื่อปกป้องความศักดิ์สิทธิ์ ความเป็นสัจธรรมของศาสนา และสถานะอันน่าศรัทธาหรือความเป็นผู้ทรงอำนาจในการตัดสินถูกผิดทางศีลธรรมในนามของปราชญ์หรืออภิมนุษย์ก็ตาม เช่น ศีลธรรมที่ขู่ด้วยบุญ บาป นรก สวรรค์ การอวดศาสนาตนเองว่ามีสัจธรรมสูงส่งเหนือศาสนา และ/หรือองความรู้ ภูมิปัญญาใดๆ ในโลก การเรียกร้องการละกิเลสตรงๆ ทื่อๆ กระทั่งเรียกร้องให้ละตัวกูของกูในการต่อสู้ทางสังคมการเมือง ฉะนั้น ศีลธรรมเชิงอำนาจแบบโปรโมทความสูงส่งพร้อมสำทับด้วยการข่มขู่กลายๆ ไปด้วยเสมอ เช่นนี้จึงเป็นศีลธรรมที่แข็งทื่อ ไร้พลังดึงดูดความเชื่อถือของมนุษย์ในโลกเสรีที่คิดเป็น ต้องการเหตุผล และมีความนับถือตนเองสูง โปรดสังเกตนะครับว่า เมื่อพระพุทธเจ้าพูดถึงเรื่อง “ศีลธรรมทางสังคมการเมือง” ท่านไม่ได้พูดเรื่องการละตัวกู ไม่ว่าจะเป็นทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตร วัชชีธรรม หรืออปริหานิยธรรม ไม่มีข้อใดเรียกร้องให้ละตัวกูของกู มีแต่เรื่องของบทบาทหน้าที่และกติกาในการอยู่ร่วมกัน ทั้งนี้เพราะพระองค์เห็นว่า ธรรมชาติหรือความเป็นจริงของ “ชีวิตทางสังคมการเมือง” เป็นเรื่องของ “สมมติบัญญัติ” หรือเรื่องของข้อตกลงทางสังคมที่สมาชิกของสังคมจำเป็นต้องถูกนับว่ามี “ตัวตน” รองรับการมีสิทธิ อำนาจ บทบาท หน้าที่ ข้อผูกพันต่อกันและกัน และต่อรัฐ ฉะนั้น ข้อเรียกร้องเรื่องการละตัวกู ของกูในทางสังคมการเมืองจึงเป็นเรื่องไร้เหตุผลรองรับ พระพุทธองค์จึงพูดถึงเรื่องการละตัวกูของกูเฉพาะเมื่อพูดถึงเรื่องที่เกี่ยวโดยตรงกับการตรัสรู้ของปัจเจกบุคคล เช่นในอริยสัจสี่เป็นต้น การละตัวกูของกูจึงเป็นจริยธรรมเชิงปัจเจกที่ปัจเจกแต่ละคนเท่านั้นควรจะเรียกร้อง (Requirement) กับตนเอง (หากเขาต้องการพ้นทุกข์ทางจิตใจ) แต่เมื่อเราอ่านงานทางวัชรยานและเซ็นที่แรงขับทางศีลธรรมไม่ได้เกิดจากความเก็บกดสัญชาตญาณทางกามารมณ์ เราจะไม่พบ “ศีลธรรมเชิงอำนาจ” หรือการโอ้อวดตนเอง แต่จะเห็นลักษณะเชิงวิพากษ์อย่างเสรี ทว่าเป็นมิตร เรียนรู้จากภูมิปัญญาที่หลากหลายถึงขนาดกล้าพูดว่า “พุทธธรรมคือทุกสิ่งที่ไม่ใช่พุทธธรรม” ในขณะที่เน้นไปสู่การเกิดปัญญาและกรุณา การตรัสรู้หรือมีสติรู้เท่าทันความจริงของโลกและชีวิตตามที่มันเป็น ฉะนั้น ศีลธรรมบนฐานของความเข้าใจ เป็นมิตร และแปรเลี่ยนพลังสัญชาตญาณทางกามารมณ์อย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์ จึงมีชีวิตชีวามีพลังกระตุ้นความรู้สึก จินตนาการ และการเกิดปัญญาและกรุณาที่หมายถึงความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และความอ่อนโยนต่อความเป็นไปโลกและชีวิต ที่ว่ามาเสียยืดยาวนี้เพื่ออธิบายให้เห็นเหตุผลที่ซับซ้อน ที่ผมต้องการใช้อ้างอิงในการตั้งข้อสังเกตต่อ “แนวคิด” (concept) ของพระมหาวุฒิชัยที่เปิด “หลักสูตรอบรมความเป็นชายแก่สามเณร อายุระหว่าง 11-18 ปี” [2] เพื่อแก้ปัญหาที่ปัจจุบันมีสารเณรเบี่ยงเบนทางเพศเป็นกะเทยมากขึ้น และ “หลักสูตรอบรมสมบัติผู้ดีแก่สามเณร” [3] เพื่อให้สามเณรมีบุคลิกภาพดี มีกิริยามารยาทแบบ “สมบัติผู้ดี” สมกับเป็นผู้นำทางปัญญา ทางจิตใจ อันจะยังความศรัทธาเลื่อมใสแก่คนทั่วไป ที่ไม่เห็นด้วยกับหลักสูตรแรก เพราะเห็นว่าแนวคิดดังกล่าวกำลังเข้าไปรุกล้ำแทรกแซงอำนาจของธรรมชาติทางชีวภาพ เพราะเมื่อสัญชาตญาณทางกามารมณ์มันเป็นข้อเท็จจริงทางชีววิทยาที่ฝังอยู่ในยีนหรือดีเอ็นเอของเรา “ความเป็นเพศ” ตามธรรมชาติทางกายภาพและความสำนึกรู้ของบุคคล ก็เป็นข้อเท็จจริงทางชีวภาพที่เราไม่ได้เลือกเช่นกัน เหมือนเราเกิดมาหน้าตาแบบนี้เราไม่ได้เลือก ธรรมชาติหรือกฎธรรมชาติเลือกให้เรา เพศก็เป็นสิ่งที่ธรรมชาติเลือกให้เรา สิ่งที่เราเลือกไม่ได้มันไม่ได้มีความหมายว่าดีหรือชั่ว ผิดหรือถูกในตัวของมันเอง เราจึงควรยอมรับ มีเสรีที่จะอยู่กับสิ่งที่เราเป็น และใช้สิ่งที่เราเป็นที่ธรรมชาติเลือกให้เราอย่างเต็มตามศักยภาพของสิ่งนั้นอย่างมีศักดิ์ศรี และอย่างเท่าเทียมในฐานะที่เป็นมนุษย์เหมือนกันไม่ว่าเราจะเป็นเพศไหนๆ ก็ตาม ไม่ว่าคุณจะเป็นเพศหญิง ชาย เพศที่สามที่สี่ แต่ตามข้อเท็จจริงทางชีววิทยาเพศที่คุณเป็นก็คือสิ่งที่คุณไม่ได้เลือกเสมอเหมือนกัน ความเป็นมนุษย์ของทุกเพศจึงมีอย่างเท่าเทียมกัน เราจึงควรจะมีสิทธิ เสรีภาพ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ในการมีชีวิตอยู่ในสังคมอย่างเท่าเทียมกัน ฉะนั้น การอบรมความเป็นชายแก่ผู้ที่มีธรรมชาติเป็นเพศที่สามจึงเป็นการใช้ศีลธรรมเชิงอำนาจ (ศีลธรรมที่อิงความเป็นใหญ่ของเพศชาย) เข้าไปแทรกแซงธรรมชาติที่มีอำนาจยิ่งใหญ่กว่ามนุษย์มาก ซึ่งในที่สุดแล้วอาจก่อผลเสียหายต่อสภาพจิตใจและบุคลิกภาพของผู้ที่ถูกอบรมโดยตรงด้วย และไปส่งเสริมค่านิยมผู้ชายเป็นใหญ่ ส่งเสริมความไม่เท่าเทียมทางเพศซึ่งลึกๆ หมายถึงความไม่เท่าเทียมในความเป็นมนุษย์ ส่วนที่ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดในการจัดหลักสูตรที่สอง เพราะฐานคิดเรื่อง “สมบัติผู้ดี” ไม่ใช่ฐานคิดเดียวกับที่พระพุทธเจ้าบัญญัติหลัก “เสขิยวัตร” พระมหาวุฒิชัยอ้างถึงการใช้หลักเสขิยวัตรตามที่พระพุทธเจ้าบัญญัติเป็นองค์ความรู้สำหรับฝึกอบรมกิริยามารยาทของสามเณรนั้นถูกต้อง แต่อย่าลืมว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้กำหนดหลักเสขิยวัตรขึ้นบนฐานคิดเรื่อง “สมบัติผู้ดี” ที่มีความหมายตรงข้ามกับ “สมบัติไพร่” ในวัฒนธรรมอำนาจนิยมของไทยนั้น เรารู้กิริยามารยาทของ “ผู้ดี” ได้เมื่อเปรียบเทียบเทียบกับกิริยาเยี่ยง “ไพร่” และผู้ดีในสังคมไทยนั้นก็ขึ้นกับชาติตระกูล หรือระบบชนชั้นแบบศักดินา ฉะนั้น ฐานคิดเรื่องสมบัติผู้ดีจึงเป็นฐานคิดของ “ศีลธรรมเชิงอำนาจ” ที่ปลูกฝังให้สยบยอมต่อคนชั้นสูง หรือชนชั้นปกครอง แต่ฐานคิดของหลักเสขิยวัตร เป็นเรื่องกิริยามารยาทของสมณสารูปที่สงบเสงี่ยมเรียบร้อย เคารพตนเองและผู้อื่นโดยไม่ถือชั้นวรรณะ เมื่อจะอบรมเสขิยวัตรจึงไม่ควรใช้คำว่า “อบรมสมบัติผู้ดี” หรือสร้างกระบวนการอบรมบนฐานคิดของศีลธรรมเชิงอำนาจแบบ “สมบัติผู้ดี” ผมเองไม่ได้สงสัยใน “เจตนาดี” ของผู้จัดหลักสูตรดังกล่าว แต่พุทธศาสนานั้นสอนเรื่องสัจจะหรือความจริง การดับทุกข์หรือแก้ปัญญาใดๆ จำเป็นต้องรู้ความจริงของทุกข์หรือปัญหานั้นๆ อย่างชัดแจ้ง ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เช่นชีววิทยาเป็นต้น ถือว่าให้ความจริงที่ก้าวหน้าที่ชาวพุทธสามารถนำมาใช้ในการทำความเข้าใจธรรมชาติของชีวิตในมิติต่างๆ ได้ดี เพื่อแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม ในขณะเดียวกันความจริงหรือคุณค่าทางสังคมการเมือง เช่น เสรีภาพ ความเท่าเทียม ความเป็นธรรม ก็เป็นสิ่งที่ชาวพุทธต้องทำความเข้าใจและคำนึงถึงอย่างยิ่งด้วยเช่นกันในการแสดงท่าที ทัศนะ หรือบทบาททางสังคม และกิจกรรมทางศีลธรรมใดๆ ที่เป็นการพัฒนาความเป็นมนุษย์ในบริบทของโลกตามเป็นจริง ฉะนั้น การอบรมสามเณรกะเทยให้เป็นชาย หรืออบรมสารเณรชายให้เป็นชายเพราะเกรงว่าจะเบี่ยงเบนไปเป็นกะเทย และการอบรม “สมบัติผู้ดี” แก่สามเณร (ซึ่งส่วนใหญ่มีรากเหง้ามาจาชนชั้นรากหญ้า รวมทั้งพระมหาวุฒิชัยด้วย) หากไม่คิดละเอียดรอบคอบเพียงพอ อาจเป็นการใช้ ศีลธรรมเชิงอำนาจเข้าไปแทรกแซง/กดทับข้อเท็จจริงทางชีวภาพ และแทรกแซง/กดทับ ความภาคภูมิใจในกำพืดตนเอง ในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่ทุกคนพึงมีอย่างเท่าเทียม ไม่ว่าเขาจะเกิดมาเป็นเพศไหน และ/หรือมีสถานะทางสังคมเช่นไร [1] สมภาร พรมทา.รากเหง้าเราคือทุกข์.สำนักพิมพ์วารสารปัญญา.หน้า 230.(ดาวน์โหลดฟรีในวารสารปัญญา วารสารออนไลน์) [2] ข่าวสดรายวัน 24 กรกฎาคม 2554 ปีที่ 21 ฉบับที่ 7542 หน้า 29 [3] ข่าวสดรายวัน 9 สิงหาคม 2552 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6828 หน้า 29 สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
Posted: 18 Aug 2011 06:26 AM PDT | ||||
คนงานมึน! ถูกเลิกจ้าง-วิ่งฟ้องศาลสระบุรี จนท.เมินไม่รับเรื่อง!ไล่ไปศาลลพบุรี Posted: 18 Aug 2011 06:16 AM PDT คนงานหวังพึ่งศาลขอความเป็นธรรมหลังถูกเลิกจ้าง –ทำคำฟ้องเสร็จยื่นศาลจังหวัดสระบุรีเพื่อส่งสำนวนต่อให้ศาลแรงงานภาค 1 กลับถูกเมิน อ้าง ขัดระเบียบ แม้ อสร.เจรจาก็ยังไร้ผลแถมไล่ส่งไปลพบุรี เว็บไซต์ voicelabour รายงานว่าเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2554 เวลาประมาณ 14.00 น.ลูกจ้างบริษัทผลิตและขนส่งก๊าซอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งในจังหวัดสระบุรี ซึ่งถูกเลิกจ้างจากข้อกล่าวหาหลีกเลี่ยงการเป่าตรวจแอลกอฮอล์ และหวังบารมีศาลเป็นที่พึ่งร้องขอความเป็นธรรม หลังจากอาสาสมัครรับเรื่องร้องทุกข์ (อสร.) ศูนย์ช่วยเหลือและจัดการวิกฤติแรงงานพื้นที่สระบุรี ได้ดำเนินการร่างคำฟ้องให้ จึงได้นำไปยื่นฟ้องที่ศาลจังหวัดสระบุรี เพื่อประสานงานส่งต่อไปยังศาลแรงงานภาค 1 จังหวัดลพบุรีในการประทับรับฟ้อง แต่กลับถูกปฎิเสธจากเจ้าหน้าที่ศาลจังหวัดสระบุรี อ้างว่า ไม่มีหน้าที่รับเรื่องเกี่ยวกับคดีแรงงาน และให้ไปยื่นฟ้องที่ศาลแรงงานภาค 1 แห่งเดียวเท่านั้นจะยื่นที่ศาลจังหวัดไม่ได้ หลังทราบเรื่อง อสร.จึงได้ประสานไปที่เจ้าหน้าที่รับเรื่องของศาลจังหวัดสระบุรี และชี้แจงให้ทราบถึงวิธีปฏิบัติว่า ศาลจังหวัดสระบุรีต้องรับเรื่อง และประสานงานกับศาลแรงงานภาค 1 เพื่อประทับรับฟ้อง แต่ถูกปฏิเสธว่า ศาลจังหวัดสระบุรีไม่มีระเบียบปฏิบัติหรือมีหน้าที่ส่งเรื่องแต่อย่างใด และให้ไปยื่นฟ้องที่ศาลแรงงานภาค 1 ที่จังหวัดลพบุรีเอง นายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย อสร.พื้นที่สระบุรี กล่าวว่า รู้สึกงงมากกับการทำงานของเจ้าหน้าที่ศาลที่ไม่รับเรื่อง โดยปกติการยื่นฟ้องคดีแรงงานนั้น สามารถยื่นได้ที่ศาลยุติธรรมหรือศาลจังหวัดที่ตนเองอยู่หรือมูลคดีเกิด ซึ่งวิธีปฎิบัติของศาลนั้นก็จะต้องประสานไปยังศาลแรงงานเพื่อประทับรับฟ้องและกำหนดนัดวันไกล่เกลี่ย และทุกครั้งที่มีคดีแรงงานในพื้นที่จังหวัดสระบุรีก็จะยื่นฟ้องที่ศาลสระบุรีก็ไม่เคยมีปัญหาใด แต่ครั้งนี้ให้ลูกจ้างไปยื่นฟ้องกลับถูกไล่ให้ไปยื่นฟ้องที่ศาลแรงงานภาค 1 ซึ่งอยู่ไกลถึงจังหวัดลพบุรี ทำให้ไม่มีความสะดวกในการดำเนินคดีเป็นอย่างมาก และคิดว่าจะต้องมีการทำหนังสือถึง ผอ.ศาลสระบุรีเพื่อขอคำชี้แจงต่อไป ที่มาข่าว: http://voicelabour.org/?p=5890
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
ภัควดี วีระภาสพงษ์ วิพากษ์สื่อหลักจากสายตาคนอ่านสื่อ Posted: 17 Aug 2011 10:59 PM PDT ภัควดี วีระภาสพงษ์ นักเขียนนักแปลอิสระ กล่าวในการเสวนา “สื่อพลเมืองความจำเป็นแห่งยุคสมัย” วิพากษ์ข้อจำกัดสื่อหลักคือ การเซ็นเซอร์ตัวเอง ด้วยข้อจำกัดเรื่องทุน สปอนเซอร์ และการเซ็นเซอร์ตัวเอง ขณะที่คำว่า “ความเป็นกลาง” เพิ่งถูกใช้เมื่อข่าวถูกธุรกิจครอบงำโดยภัควดี ตั้งข้อสังเกตว่า แม้คนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าสื่อหลักขายข่าวให้กับคนอ่าน แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่เช่นนั้น "สื่อกระแสหลักไม่ได้ขายข่าวให้ผู้บริโภค แต่ขายผู้บริโภค (คนอ่าน) ให้กับบริษัทธุรกิจเพื่อซื้อโฆษณา” ภัควดีตั้งข้อสังเกตพร้อมกล่าวต่อไปว่า การอยู่รอดของสื่อหลักไม่ได้อยู่ที่ผู้ซื้อข่าว หากแต่อยู่ที่บริษัทที่จะซื้อโฆษณา และนี่เป็นข้อจำกัดข้อแรกของสื่อหลักคือการไม่สามารถปฏิเสธทุนนิยมได้ ข้อจำกัดประการต่อมา คือ พื้นที่สื่อมีจำกัด และตัดสินปัญหาเป็นขาวเป็นดำ การนำเสนอต้องง่าย และหากเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ หรือนิตยสารก็ถูกจำกัดความยาว ถ้าเป็นโทรทัศน์ก็ถูกจำกัดเวลาในการนำเสนอ ซึ่งภัควดีเห็นว่าสื่อนอกกระแส มีโอกาสในเรื่องการนำเสนอมากกว่าในแง่การนำเสนอยาวๆ ปัญหาสื่อกระแสหลักอีกอย่างคือ มีสาระมากไม่ได้ ต้องบันเทิงควบคู่ไป “เราสังเกตได้ว่าทอล์กโชว์ในสื่อกระแสหลักจะจริงจังมากไม่ได้ ต้องมีตลกโปกฮาเข้ามาด้วย รายการถึงจะดังและมีคนดู แม้แต่รายการของสรยุทธ์ (สุทัศนะจินดา)” “ข่าวในบ้านตัวเองนั้นทำข่าวละเอียดมาก เช่นประยุทธ์ (จันทร์โอชา)พูดอะไร เฉลิม (อยู่บำรุง)พูดว่าอะไร แต่เรารู้เรื่องต่างประเทศน้อยมาก และจะรู้เรื่องประเทศเพื่อนบ้านน้อยลงอีก ข่าวที่ทำก็จะเกาะตามซีเอ็นเอ็นไป เรารู้เรื่องเพื่อนบ้านน้อยมากทั้งๆ ที่ความเป็นจริงเป็นสิ่งที่มีผลกระทบต่อเรา และเมื่อเรารู้เกี่ยวกับต่างประเทศน้อย ก็ไม่มีข้อมูลที่จะเปรียบเทียบ ไม่สามารถเข้าใจเรื่องในแง่มุมอื่นๆ เช่น กรณีที่อาจารย์เคร็ก เรย์โนลด์ตั้งคำถามว่า การพูดว่าเมืองไทยซื้อเสียงมาก ขณะที่สิงคโปร์เลือกตั้งเสร็จเอาเงินเข้าบัญชีประชาชนเลย อย่างนี้ซื้อเสียงหรือเปล่า” ข้อสังเกตอีกประการคือ สื่อกระแสหลักสะท้อนทัศนคติของชนชั้นนำ เช่นเรื่อง การค้าเสรี ระบบทุนนิยม การบริโภค เศรษฐกิจพอเพียง กลายเป็นไฟต์บังคับที่ต้องนำเสนอ ขณะที่ประชาชนคิดอย่างไร เห็นด้วยกับเศรษฐกิจพอเพียงไหม ความคิดที่โต้แย้งเหล่านี้ไม่มีพื้นที่ในสื่อกระแสหลัก ประการต่อมา คือการเน้นการกระตุ้นอารมณ์มากกว่าเหตุผล “อะไรที่ดรามา ฟูมฟาย แม้แต่รายการข่าวทีวีไทยนี่ชอบมาก เช่น กรณีน้องเคอิโงะ มันโยงประเด็นไปใหญ่กว่านี้ได้ เช่นเด็กที่ถูกทอดทิ้ง แต่ไปจับประเด็นที่ทำให้น้ำหูน้ำตาไหลไว้ก่อน” อีกประการคือ ไม่มีค่อยมีปฏิสัมพันธ์กับคนอ่าน แม้ว่าหลังๆ จะมีการเปิดพื้นที่ออนไลน์มากขึ้น แต่คนที่ทำได้สำเร็จพอสมควรคือเว็บไซต์เมเนเจอร์ คือการดึงคนเข้ามาทำให้คนได้รู้สึกว่ามีปฏิสัมพันธ์ โดยเฉพาะคอลัมนิสต์อย่างซ้อเจ็ด “ 'ผู้จัดการ' ฉลาดในการใช้ช่องทางพวกนี้ และทำให้คนอ่านที่แม้จะไม่เห็นด้วยก็ต้องการจะตอบโต้ แต่เมื่อก่อนนี้โอกาสที่คนดูจะตอบโต้กับการเสนอข่าวน้อย หรือทำไม่ได้เลย แต่ปัจจุบันทำได้มากขึ้นโดยสื่อสิ่งพิมพ์ทำออนไลน์มากขึ้น หรือกรณีที่รายการโทรทัศน์เปิดให้คนดูแสดงความเห็น เช่น sms แต่ก็ถูกเซ็นเซอร์” ประเด็นต่อมาคือการเซ็นเซอร์ตัวเอง ที่มาจากหลายปัจจัย เช่นกลัวไม่ได้สปอนเซอร์ทั้งจากภาคธุรกิจ จากรัฐบาลที่มีความเป็นเผด็จการ หรือแม้แต่ปัญหาของนักข่าวที่ไม่เป็นกลาง แต่อยากทำตัวให้เหมือนเป็นกลาง แต่ข่าวบางด้านไม่ได้รับการนำเสนอ หรือในบางกรณีที่นักข่าวต้องใช้เส้นสายในการเข้าถึงแหล่งข่าวทำให้เกิดประโยชน์ต่างตอบแทน เขียนข่าวบางอย่างที่แหล่งข่าวอยากให้เขียน หรือไม่เขียนบางอย่างที่แหล่งข่าวไม่อยากให้เขียน เป็นต้น ภัควดี กล่าวว่า แม้สื่อทางเลือก และนักข่าวพลเมืองจะพยายามเข้าไปใช้พื้นที่ของสื่อกระแสหลักในการนำเสนอปัญหาของประชาชน แต่กลับล้มเหลวในการผลักดันประเด็น หรือทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในการแก้ปัญหา เพราะกลไกรัฐไทยมีลักษณะรวมศูนย์อำนาจ ทำให้ข่าวเล็กๆ จากพื้นที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงนโยบายได้ “ปัจจุบันปัญหาก็คือ ทุกอย่างไปขึ้นอยู่กับส่วนกลาง ไปขึ้นอยู่กับที่กรุงเทพฯ แต่ถ้าเปลี่ยน เช่น หากเรานึกถึงญี่ปุ่น คือการตัดสินใจในประเด็นหลายอย่าง เกิดขึ้นที่ศาลากลางจังหวัด การทำข่าวจะมีผลมากต่อความเปลี่ยนแปลง การทำข่าวจะเปลี่ยนโฉมหน้าไปเลย การทำข่าวจะมีอิทธิพลได้ และกำหนดนโยบายได้ทันที และเมื่อทุกอย่างขึ้นกับส่วนกลาง การผลักดันนโยบายก็ทำไม่ได้ เพราะการต่อรองเป็นลำดับชั้นลงมา” ภัควดีกล่าวและย้ำว่า ดังนั้นแล้ว สำหรับสื่อภาคพลเมืองนั้น ต้องทำเรื่องที่ใหญ่กว่าประเด็นในพื้นที่ด้วย สำหรับวิธีเขียนข่าวของสื่อพลเมืองที่อาจกังวลเรื่องความน่าสนใจของเรื่องนั้น ภัควดี กล่าวว่า การเขียนให้น่าสนใจขึ้นกับวัฒนธรรมการอ่านของประเทศ และไม่ใช่ความผิดของใครคนใดคนหนึ่งของประเทศ ที่คนในประเทศไม่ได้ชอบอ่านหนังสือ ภัควดีกล่าวในประเด็นสุดท้ายว่า เรามักได้ยินว่าจรรยาบรรณนักข่าวคือความเป็นกลาง แต่ตั้งคำถามว่า ความเป็นกลางที่ว่านั้นเกิดขึ้นจริงๆ หรือไม่ โดยภัควดีกล่าวว่า อาชีพนักข่าวหรือสื่อมวลชนเพิ่งเกิดขึ้นมาในศตวรรษที่ 18-19 นี่เอง และผู้สื่อข่าวในยุคแรกๆ เช่น จอร์จ ออร์เวล ที่ทำข่าวสงครามกลางเมืองสเปน หรือติโต อาดี สุรโย ในอินโดนีเซีย ไม่เคยมีความเป็นกลาง รายงานข่าวโดยเข้าข้างฝ่ายที่เขาคิดว่าถูกอย่างชัดเจน คือพูดถึงความยุติธรรมและความถูกต้อง “ความเป็นกลางเกิดขึ้นเมื่อธุรกิจครอบงำสื่อหมดแล้ว ต้องการให้นักข่าวเกิดความเป็นกลาง ไม่ยอมให้ตัดสินอะไร ต้องให้นักข่าวรายงานเฉยๆ แต่ในความเป็นจริงเป็นไปไม่ได้ที่คนจะเป็นกลาง ลึกๆ แล้วต้องเข้าข่างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และคำว่าเป็นกลางยังกลายมาเป็นข้ออ้างในการเซ็นเซอร์ประเด็นที่ตัวเองไม่เห็นด้วย” ภัควดีกล่าวว่า สำหรับสื่อท้องถิ่นนั้น ต้องเป็นปากเป็นเสียงให้คนที่ไม่เคยมีเสียง และพยายามชี้ถูกชี้ผิด และบอกชัดเจนเลยว่าเข้าข้างฝ่ายไหน แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่วิพากษ์วิจารณ์ฝ่ายที่ตนเองเข้าข้าง “พูดให้ชัดๆ ไม่มีลักษณะปกปิด แต่เวลาพูดว่าไม่เป็นกลาง ไม่ได้แปลว่าไม่วิพากษ์วิจารณ์นะคะ เช่น เราสนับสนุนการปฏิรูปที่ดิน หรือการใช้โฉนดชุมชน แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่วิจารณ์ข้อเสียของโฉนดชุมชน” ภัควดีกล่าวในทึ่สุด การเสวนา “สื่อพลเมือง ความจำเป็นแห่งยุคสมัย” เป็นส่วนหนึ่งของการอบรมเชิงปฏิบัติการ นักข่าวพลเมือง TCIJ (ภาคเหนือ) ที่โรงแรม สินธนารีสอร์ต เชียงใหม่ โดยศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนสอบสวนแห่งประเทศไทย (TCIJ) ระหว่างวันที่ 18-21 ส.ค.54
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
หมอตุลย์นำ "เสื้อหลากสี" ประท้วงสถานทูตญี่ปุ่น Posted: 17 Aug 2011 09:27 PM PDT "ตุลย์ สิทธิสมวงศ์" นัดกลุ่มเสื้อหลากสีรวมตัวกันที่สถานทูตญี่ปุ่นเพื่อคัดค้านการออกวีซ่าให้กับ "ทักษิณ ชินวัตร" ก่อนไปกระทรวงไอซีทีเพื่อสอบถาม "อนุดิษฐ์ นาครทรรพ" ว่าจะปราบเว็บไซต์หมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ตามที่กล่าวไว้หรือไม่ มติชนออนไลน์ รายงานว่า ในเวลา 10.00 น. วันนี้ (18 ส.ค.) นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ผู้ประสานงานกลุ่มเครือข่ายพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน หรือ กลุ่มเสื้อหลากสี นัดรวมตัวกันที่สถานทูตญี่ปุ่น ถนนวิทยุ เพื่อยื่นหนังสือคัดค้านการออกวีซ่าให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จากนั้นในเวลา 14.00 น. กลุ่มคนเสื้อหลากสีจะเดินทางไปให้กำลังใจ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ที่ประกาศว่า จะปราบปรามเว็บไซต์หมิ่นสถาบัน โดยจะไปสอบถามว่าเรื่องดังกล่าวจะทำจริงหรือไม่ เพราะเท่าที่ผ่านมา นพ.ตุลย์ ยังไม่ได้มีการพูดคุยโดยตรงกับ น.อ.อนุดิษฐ์ แต่อย่างใด สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์: ห้าเหตุผลที่ยิ่งลักษณ์ควรกำจัดประยุทธ์ จันทร์โอชา Posted: 17 Aug 2011 06:47 PM PDT ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ชี้เหตุผลทำไมนายกฯ ยิ่งลักษณ์จึงสมควรไล่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ออกจากการเป็นผบ.ทบ. เพื่อประโยชน์ดีของสังคมไทยในอนาคต ปวิน ชัชวาลย์พงศ์พันธ์ นักวิชาการประจำสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา เขียนบทความ “It’s Time the Army Learned to Stay out of Politics for Good” (ถึงเวลาแล้วที่กองทัพจะต้องเรียนรู้เพื่ออยู่นอกเกมการเมืองตลอดไป) ซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เดอะ เนชั่น เมื่อวันที่ 17 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยปวินอภิปรายเหตุผลห้าประการว่า เหตุใดยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จึงจำเป็นต้องกำจัดพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ออกไปจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก... ปวิน ระบุว่า เป็นความจริงที่ยิ่งลักษณ์พยายามอย่างมากในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับกองทัพ เมื่อพี่ชายของเธอ ผู้ซึ่งพยายามจะเข้าไปแทรกแซงทหาร ถูกทำการโค่นล้ม อย่างไรก็ตาม ปวินมองว่า ในขณะนี้ สถานการณ์ทางการเมืองได้เปลี่ยนไปแล้ว ดังจะเห็นจากความสนับสนุนจากประชาชนอย่างมหาศาลที่มีต่อยิ่งลักษณ์ช่วงหลังการรัฐประหารที่ผ่านมา ซึ่งแสดงถึงความไม่พอใจของสาธารณชนต่อการแทรกแซงทางการเมืองของกองทัพ ยิ่งลักษณ์ จึงจำเป็นต้องสร้างวัฒนธรรมใหม่ ที่รัฐบาลพลเรือนมีอำนาจควบคุมเหนือกองทัพ ในการทำเช่นนั้น ยิ่งลักษณ์คงต้องเจอกับคู่ปรับที่สมน้ำสมเนื้อกับเธออย่างแน่นอน เนื่องจากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ใช่เพียงทหารที่จงรักภักดีทั่วไป และต่อต้านทักษิณ ชินวัตรอย่างเปิดเผยเท่านั้น แต่เขายังมีบทบาทในการแทรกแซงทางการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง ยิ่งลักษณ์อาจจะพบว่า ในการทำงานร่วมมือกับคนเช่นนี้ เป็นเรื่องที่ยากเย็นแสนเข็นพอสมควร คำถามจึงมีอยู่ว่า ถ้าเช่นนั้น ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สมควรไล่ประยุทธ์ออกในฐานะผู้บัญชาการกองทัพบกหรือไม่ ปวินเห็นว่า มีเหตุผลห้าประการที่ยิ่งลักษณ์ควรทำเช่นนั้น ประการแรก พลเอกประยุทธ์ ไม่เป็นกลางทางการเมือง ทั้งๆ ที่ในฐานะผู้บัญชาการทหารบก เขาไม่ควรจะเลือกข้าง เนื่องจากการทำเช่นนั้นจะยิ่งทำให้สังคมไทยแบ่งขั้วมากขึ้นไปอีก ดังจะเห็นที่จากที่ พล.อ. ประยุทธ์ ออกมาประกาศทางโทรทัศน์ต่อประชาชนไทย เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ก่อนการเลือกตั้งว่า ให้เลือก”คนดี” เข้ามาทำงาน การประกาศดังกล่าว ทำให้ทางพรรคเพื่อไทยมองว่าเป็นการโจมตีความนิยมของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งปวินมองว่า ในความเป็นจริงแล้ว พล.อ. ประยุทธ์ไม่ควรจะแสดงความคิดเห็นทางการเมืองใดๆ ออกมาเลยเสียด้วยซ้ำ ประการที่สอง พล.อ. ประยุทธ์ ยังคงดึงสถาบันฯ ให้เข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองอยู่เสมอ ถึงแม้ว่าเขาเองจะเป็นผู้ออกมาเตือนนักการเมืองว่าไม่ให้ทำเช่นนั้น พล.อ.ประยุทธ์อ้างว่า มีความพยายามรณรงค์เรื่องการต่อต้านสถาบันฯ อยู่ในกลุ่มการเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มคนไทยที่อยู่ในต่างประเทศ และยังอ้างด้วยว่า หน่วยงานด้านความมั่นคง ได้พบหลักฐานที่หมิ่นสถาบันฯ อยู่จำนวนมาก ปวินมองว่า กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองมาโดยตลอด เช่นเดียวกับกองทัพ ที่ใช้กฎหมายดังกล่าวเพื่อปกป้องรักษาจุดยืนทางการเมืองของตนเอง และการที่พล.อ. ประยุทธ์ อ้างถึงกฎหมายดังกล่าวอย่างซ้ำแล้วซ้ำอีกเช่นนี้ จะเป็นอุปสรรคต่อความพยายามในการสร้างความปรองดองของรัฐบาล ประการที่สาม ปวินมองว่า ตัว พล.อ. ประยุทธ์นั้นเล่นการเมืองมากเกินไป ทำให้เราไม่สามารถหาความสม่ำเสมอในการกระทำและคำพูดของเขาได้มากเท่าใดนัก ซึ่งในฐานะทหารผู้ที่ออกมาประกาศศัตรูอย่างชัดเจนในทางสาธารณะนั้น เขาสมควรจะต้องรักษาคำพูด โดยในขณะที่เขาออกมาเตือนคนไทยก่อนการเลือกตั้งว่า ไม่ให้เลือกพรรคเพื่อไทย แต่ทันใดที่ผลการเลือกตั้งออกมา พล.อ. ประยุทธ์ก็รีบไปแสดงความยินดีกับยิ่งลักษณ์ทันที เพียงไม่ถึง 24 ชั่วโมงหลังหีบเลือกตั้งปิดลง นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 23 เมษายน พล.อ. ประยุทธ์ยังกล่าวว่า “สิ่งเดียวทีเราขอร้อง คือให้ทุกฝ่ายอย่าหมิ่นสถาบัน หรือดึงสถาบันลงมาเกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง” แต่ดังที่ได้กล่าวไปแล้วก่อนหน้านี้ในบทความว่า พล.อ. ประยุทธ์ต่างหากที่เป็นผู้ดึงสถาบันฯ ลงมาเกี่ยวข้องกับการเมือง และกล่าวหาสมาชิกพรรคเพื่อไทยบางส่วนว่า ไม่จงรักภักดีต่อสถาบัน ประการที่สี่คือ พล.อ. ประยุทธ์ เป็นหนึ่งในผู้ที่มีบทบาทในการปราบปรามประชาชนในเดือนเมษายนและพฤษภาคมปีที่แล้ว โดยมีรายงานว่า เขาอาจเป็นผู้หนึ่งที่อยู่เบื้องหลังคำสั่งการดังกล่าว และจนปัจจุบัน ยังไม่มีเจ้าหน้าที่ทหารคนใดที่ต้องออกมารับผิดชอบกับอาชญากรรมที่กระทำต่อผู้ชุมนุมมือเปล่า และสารคดีของสำนักข่าวบีบีซีโดยเฟอร์กัล คีน ที่เผยแพร่เมื่อเร็วๆนี้ ก็ยังชี้ว่า ทหารเป็นผู้ที่มีส่วนรับรับผิดชอบกับการเสียชีวิตของผู้ชุมนุมเสื้อแดงอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม กองทัพภายใต้การนำของพล.อ. ประยุทธ์ กลับมองว่า เรื่องที่ต้องทำมากที่สุด คือการกำจัดศัตรูภายในประเทศ หากแต่การสมานแผลในสังคมไทยจะไม่อาจเกิดขึ้นได้ ถ้าหากว่าเหยื่อที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงยังคงไม่ได้รับความยุติธรรม และวิธีคิดดังกล่าวของกองทัพ จะไม่ช่วยทำให้สภาพการณ์ของสังคมไทยที่ปราะบางอยู่แล้วดีขึนแม้แต่น้อย ประการสุดท้าย ปวินชี้ว่า พล.อ. ประยุทธ์ ขาดความคิดที่เหมาะสมทางด้านการทูต จะเห็นจากการที่เขา “ประกาศสงคราม” กับกัมพูชา และนำนโยบายต่างประเทศที่ยึดความมั่นคงเป็นศูนย์กลาง และล้าหลังกลับมาใช้ นอกจากนี้ ทัศนคติที่ก้าวร้าวต่อกัมพูชาของพล.อ. ประยุทธ์ ที่มีส่วนมาจากประเด็นทางการเมืองของกรณีพิพาทปราสาทเขาพระวิหาร จะเป็นอุปสรรคต่อความพยายามของรัฐบาลใหม่ในการฟื้นฟูความสัมพันธ์ที่ดีต่อรัฐบาลกัมพูชา และสร้างสันติภาพและความสงบสุขของประชาชนทั้งสองประเทศที่อยู่บริเวณชายแดน "ถึงเวลาแล้วที่นายกฯ สตรีผู้นี้ จะปฏิบัติตนเฉกเช่นนักรบที่กล้าหาญ และไล่ผู้ที่ทำความเสียหายแก่ผลประโยชน์ของชาติผู้นี้ออกไป" นักวิชาการด้านการระหว่างประเทศระบุในท้ายบทความ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
บ.หนังโป๊ในสหรัฐฯ ฟ้องชายตาบอด ฐานโหลดหนังละเมิดลิขสิทธิ์ Posted: 17 Aug 2011 06:44 PM PDT ชายตาบอดชาวสหรัฐถูกฟ้องดาวน์โหลดหนังโป๊ละเมิดลิขสิทธิ์ ผู้ถูกกล่าวหาให้การปฏิเสธ แจงตาบอดดูหนังไม่ได้ ผู้เชี่ยวชาญตั้งคำถามถึงการใช้หลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น หมายเลขไอพี อาจผิดพลาดได้ อีกทั้งกระบวนการยุติธรรมถูกบิดเบือน การฟ้องร้องผู้ใช้บิตทอร์เรนต์จำนวนมหาศาลในสหรัฐยังคงดำเนินต่อไป ตั้งแต่ปีที่ผ่านมามีผู้ถูกกล่าวหาว่าละเมิดลิขสิทธิ์เกือบสองแสนราย และเป็นที่ชัดเจนแล้วว่ามันสร้างผลกระทบต่อผู้บริสุทธิ์ ประมาณการว่ามีประชาชนเป็นหลักพันคนที่ถูกกล่าวหาอย่างผิดๆ ว่าแบ่งปันสินค้าลิขสิทธิ์ออนไลน์ อย่างไรก็ตามประชาชนเหล่านี้ไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากยอมจ่ายเงินให้แก่ผู้ฟ้องเพื่อให้ยอมความและหยุดการดำเนินคดี ข้อมูลจากมูลนิธิพรมแดนอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Frontier Foundation) หรืออีเอฟเอฟ (EFF) องค์กรรณรงค์ด้านสิทธิดิจิทัลของสหรัฐฯ ระบุว่า ตั้งแต่มกราคม 2553 ที่ผ่านมามีผู้ฟ้องข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์รวมกัน 194,345 ราย จากคดีความ 296 คดี และคดีทั้งหมดฟ้องโดยทนายของบริษัทภาพยนตร์เพียงไม่กี่บริษัท คดีที่น่าสนใจมากอันหนึ่ง เกิดขึ้นกับชายชาวสหรัฐซึ่งไม่สามารถดูหนังที่เขาถูกกล่าวหาว่าเขาดาวน์โหลดได้ เนื่องจากสายตาของเขาแย่กว่าคนปกติทั่วไปราว 100 เท่า ในทางกฎหมาย ถือว่าเขาตาบอด ส่วนในทางกายภาพแล้ว เขาไม่สามารถดูหนังอะไรได้เลย ไม่ว่าจะโป๊หรือไม่ก็ตาม แม้ว่ามีความเป็นไปได้ว่า ผู้ถูกกล่าวหาจำนวนมากจะทำผิดจริง แต่มันก็สร้างผลกระทบต่อผู้ไม่ได้ทำผิดอะไรเลยด้วยเช่นกัน ประการแรกคือ มันยังไม่ชัดเจนว่า เทคนิควิธีที่ผู้ถือครองลิขสิทธิ์ใช้ในการรวบรวมพยานหลักฐานนั้นเที่ยงตรงแม่นยำเพียงใด และแม้ว่าหมายเลขไอพี (IP address เป็นที่อยู่ที่ใช้ระบุเครื่องคอมพิวเตอร์บนอินเทอร์เน็ต) นั้นจะถูกต้อง แต่นั่นไม่ได้หมายความโดยอัตโนมัติว่า ผู้ถือบัญชีที่ตรงกับหมายเลขไอพีนั้น จะต้องเป็นผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ตัวจริง ชายที่ถูกเรียกว่า “จอห์น โด 2,057″* ในคดี “อิมพีเรียลเอ็นเทอไพรซ์ v. โด” (Imperial Enterprises v. Does) อ้างว่าเขาเป็นหนึ่งในคนจำนวนมากที่ถูกกล่าวหาอย่างผิดๆ เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เขาได้รับจดหมายจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต แจ้งว่าบริษัทอิมเพียลเอ็นเทอไพรซ์ได้แจ้งความดำเนินคดีกับตัวเขา โดยกล่าวหาว่าเขาดาวน์โหลดและแชร์หนังโป๊เรื่องหนึ่งที่อิมพีเรียลเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ “ด้วยความสัตย์จริง นี่มันออกจะตลกไปหน่อย ผมไม่มีความสามารถในการดูหนัง ลูกๆ ของผมดูหนัง แต่พวกเขาอายุสี่และหกขวบ ดังนั้นพวกเขาก็ไม่ได้ดูหนังโป๊เช่นกัน อืม หวังว่าพวกเขาจะไม่ดูนะ” โด 2,057 บอกกับวิลเลจวอยซ์มีเดีย สื่อท้องถิ่นในสหรัฐ โด 2,057 ขอให้ไม่เปิดเผยชื่อจริงของเขาในรายงานข่าว เนื่องจากกลัวว่านายจ้างจะทราบเกี่ยวกับคดีที่เกิดขึ้น และอาจทำให้กระทบกับสถานะการทำงานของเขา โดเชื่อว่าเพื่อนบ้านของเขาคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ดาวน์โหลดหนังดังกล่าว โดยใช้อินเทอร์เน็ตไร้สายของบ้านเขาซึ่งไม่ได้ตั้งรหัสผ่านป้องกันเอาไว้ ในช่วงหลายเดือนหลังจากติดตั้งอินเทอร์เน็ตไร้สาย เขาพบว่าอินเทอร์เน็ตที่บ้านนั้นช้ามาก และได้ติดต่อหลายครั้งไปยังคอมคาสต์ซึ่งเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตของเขา เพื่อรายงานเรื่องดังกล่าว “ผมไม่มีเวลาติดตั้งเครือข่ายไร้สายในอพาร์ตเมนต์ของผม” “ก่อนหน้านี้ผมทำงานวันละ 18 ชั่วโมง ผมเลยบอกให้ภรรยาผมไปที่ห้างเบสต์บายและเลือกเราเตอร์มาอันนึง เธอติดตั้งมัน กด next, next, finish และมันก็เสร็จ แค่นั้น เราพักในอาคารที่ค่อนข้างแพง ไม่มีคนแปลกหน้า เราเลยคิดว่ามันไม่น่าจะมีอะไรที่ต้องเป็นห่วง” อิมพีเรียลเอ็นเทอไพรซ์เรียกเงินเพื่อถอนฟ้องในคดีนี้เป็นจำนวนเงินราวสองถึงสามพันเหรียญสหรัฐ โดยในคดีนี้คดีเดียวบริษัทได้ฟ้องผู้ถูกกล่าวหาจำนวน 3,545 คนพร้อมกัน แม้ว่าจะยังไม่แน่นอนว่าศาลจะตัดสินว่าเขาต้องรับผิดตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่ แต่โดเองก็เหมือนกับผู้ถูกกล่าวหาอีกจำนวนมากที่คิดว่า วิธีที่ดีที่สุดที่จะจบเรื่องก็คือ การยอมจ่ายเพื่อยุติคดี เนื่องจากการจ้างทนายจะเสียค่าใช้จ่ายเกือบเท่ากับค่าถอนฟ้อง อีกทั้งถ้าเขาเลือกที่จะสู้คดีในชั้นศาล เขาจะต้องเดินทางไปสู้คดีที่กรุงวอชิงตันดีซี ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของสหรัฐ ในขณะที่ตัวเขาอาศัยอยู่อีกฟากของประเทศ คือแถบชานเมืองซีแอตเทิลในรัฐวอชิงตัน ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐ ห่างออกไปราว 4,350 กิโลเมตร “ที่มันเศร้าสำหรับเรื่องนี้ก็คือ มันจะเสียเงินมากกว่าถ้าคุณตัดสินใจให้เรื่องเข้าสู่ศาล” โดกล่าว “ในที่สุดแล้ว ผมอาจจะยอมจ่าย เพื่อให้เรื่องมันจบๆ ไป” เว็บไซต์ทอร์เรนต์ฟรีกซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่รายงานข่าวสถานการณ์กฎหมายลิขสิทธิ์ กล่าวว่า ผู้ถือครองลิขสิทธิ์และทนายความรู้เป็นอย่างดีถึงสถานการณ์ยากลำบากที่ผู้ถูกกล่าวหาเหล่านี้จะประสบ และรู้ว่าผู้ถูกกล่าวหาจะยอมจ่ายเพื่อให้จบเรื่อง ทอร์เรนต์ฟรีกตั้งคำถามว่า “เราจะยังสามารถเรียกกระบวนการทั้งหมดนี้ว่าความยุติธรรมได้อีกหรือ?” รายงานในซีแอตเทิลวีกลีย์หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของซีแอตเทิลระบุว่า รายการหมายเลขไอพีและกฎหมายลิขสิทธิ์ที่มีบทลงโทษรุนแรงเกินไปถูกใช้เพื่อขู่เอาเงินจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ต และจำนวนคดีความลักษณะนี้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนน่าตกใจ ระหว่างปี 2546 ถึง 2551 สมาคมอุตสาหกรรมบันทึกเสียงแห่งอเมริกา (Recording Industry Association of America) หรืออาร์ไอเอเอ (RIAA) ฟ้องร้องบุคคลทั้งหมด 35,000 คน เทียบกับจำนวน 94,000 คนในเจ็ดเดือนแรกของปี 2554 นี้ ยังไม่มีคดีไหนเลยที่ถูกตัดสินโดยศาล กฎหมายลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญาในสหรัฐและในอีกหลายประเทศทั่วโลก ถูกตั้งคำถามอย่างรุนแรงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ว่าถูกใช้ไปในทางที่เป็นประโยชน์กับบริษัทขนาดใหญ่ โดยไม่คำนึงถึงการละเมิดสิทธิของประชาชนทั่วไป อีกทั้งยังถูกตั้งคำถามในเชิงเจตนารมณ์ของกฎหมายว่า ในที่สุดแล้ว มันส่งผลดีหรือผลร้ายมากกว่ากันต่ออุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์ ลอว์เรนซ์ เลสสิก นักวิชาการกฎหมายจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เป็นหนึ่งในนักวิชาการหลายคนที่วิพากษ์วิจารณ์ความบิดเบี้ยวของระบบทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนัก โดยระบุว่ามันเป็นอันตรายต่ออนาคตของสิทธิเสรีภาพในการสร้างสรรค์และแสดงออกของคนทุกคน “การฟ้องร้องคดีความเหล่านี้ไม่ได้ดำเนินการเพื่อให้มีการไต่สวน” โรเบิร์ต แคชแมน กล่าว แคชแมนเป็นทนายความจากฮูสตันซึ่งทำคดีให้กับจำเลยผู้ถูกกล่าวหาว่าละเมิดลิขสิทธิ์ “มันถูกออกแบบมาเพื่อขู่เอาทรัพย์จำนวนหลายพันเหรียญจากคนแต่ละคนที่ถูกกล่าวหาว่าดาวน์โหลด มันไม่ผิดกฎหมาย มันแค่ไม่ถูกต้อง มันเป็นการใช้กระบวนการกฎหมายไปในทางที่ผิด”
หมายเหตุ: เพื่อปกป้องสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้เสียหาย หลายประเทศมีกฎหมายระบุว่าจะต้องปกปิดชื่อจริงของพวกเขาเหล่านั้นเอกสารคดี และให้ใช้ชื่อปลอมแทน โดยในสหรัฐอเมริกาและแคนาดานิยมใช้ชื่อ “จอห์น โด” (John Doe) สำหรับผู้ชาย และ “เจน โด” (Jane Doe) สำหรับผู้หญิง (คล้ายๆ “สมชาย” และ “สมหญิง” ในภาษาไทย) และเนื่องจากคดี Imperial Enterprises v. Does นี้ เป็นการฟ้องผู้ถูกกล่าวหาสามพันกว่าคนพร้อมกัน จึงใช้หมายเลขต่อท้าย Doe เป็น “Doe 2,057″ เพื่อแยกแยะผู้ถูกกล่าวหาแต่ละคนออกจากกัน
เรียบเรียงจาก Porn, Piracy & BitTorrent, Seattle Weekly, 10 ส.ค. 2554 และ Anti-Piracy Lawyers Accuse Blind Man of Downloading Porn, TorrentFreak, 9 ส.ค. 2554. ผ่าน Slashdot ภาพประกอบโดย Zia deda สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน
เผยแพร่ครั้งแรกที่ http://mycomputerlaw.in.th/2011/08/blind-accused-for-downloading-porn/ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น