ประชาไท | Prachatai3.info |
- ทบทวนแผนพัฒนาภาคใต้ เวทีที่ประชาชน(เกือบ)ไม่มีส่วนร่วม
- แม่วัยรุ่นไทยเยอะติด 1 ใน 5 โลก ‘สสส.’ เร่งพัฒนาคนแก้ปัญหา
- เสวนาแรงงานภาคเหนือ หนุนค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท
- ความเหมือน: เขื่อนแก่งเสือเต้น และถนนบนป่าเขา
- แดเนียล คอฟแมน
- เศรษฐศาสตร์กับ rule of law : ระเบียบในป่า
- สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 21 - 27 ส.ค. 2554
- กรุงเทพโพลล์เผยผลสำรวจเรื่อง “คิดอย่างไรกับการแถลงนโยบายของรัฐบาล”
ทบทวนแผนพัฒนาภาคใต้ เวทีที่ประชาชน(เกือบ)ไม่มีส่วนร่วม Posted: 28 Aug 2011 08:37 AM PDT วันที่ 20 กรกฎาคม 2553 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ “สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” หรือ “สศช.” ที่ผู้คนคุ้นเคยกันในนาม “สภาพัฒน์” ไปดำเนินการตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เรื่องแผนพัฒนาที่ยั่งยืนบนรากฐานการพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม กรณีภาคใต้ โดยให้ทบทวนร่างแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน และแผนพัฒนาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ภาคใต้ทั้งหมด ต่อมา “สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” ได้ว่าจ้าง “บริษัท คอนซัลแทนท์ ออฟเทคโนโลยี จำกัด” ดำเนินโครงการศึกษาและจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ เพื่อศึกษาและจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ในภาพรวม นอกจากนี้ “สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” ยังได้ว่าจ้าง “สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ศึกษาการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้องในการวางแผนการพัฒนาพื้นที่ในแนวสตูล–สงขลา และพื้นที่ต่อเนื่องอีกด้วย “บริษัท คอนซัลแทนท์ ออฟ เทคโนโลยี จำกัด” ได้จัดประชุมกลุ่มย่อยจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้รวม 7 เวที ระหว่างวันที่ 19 – 22 กรกฎาคม 2554 วันที่ 19 กรกฎาคม 2554 จัดที่โรงแรมซากุระแกรนด์วิว อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อระดมความคิดเห็นประชาชน ในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน ประกอบด้วย จังหวัดสงขลา จังหวัดสตูล จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส วันที่ 20 กรกฎาคม 2554 จัดประชุมที่โรงแรมวังโนรา อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง และโรงแรมวัฒนาปาร์ค อำเภอเมือง จังหวัดตรัง วันที่ 21 กรกฎาคม 2554 จัดประชุมที่โรงแรมทักษิณ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช และที่โรงแรมภูงา อำเภอเมือง จังหวัดพังงา วันที่ 22 กรกฎาคม 2554 จัดประชุมที่โรงแรมไดมอนด์ พลาซ่า อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี และที่โรงแรมเฮอริเทจแกรนด์คอนเวนชั่น อำเภอเมือง จังหวัดระนอง ขณะเดียวกัน “สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ก็ได้จัดสัมมนาโครงการศึกษาเพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้องในการวางแผนการพัฒนาพื้นที่ในแนวสตูล–สงขลา และพื้นที่ต่อเนื่อง ภายใต้โครงการการวางแผนพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2554 ที่โรงแรมเอเชี่ยนหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในการประชุมกลุ่มย่อยจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ กลุ่มจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2554 วันที่ 19 กรกฎาคม 2554 “นายกิตติภพ สุทธิสว่าง” คณะทำงานเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น จังหวัดสงขลา ได้ตั้งข้อสงสัยผ่านที่ประชุมว่า เหตุใดจึงไม่มีคนในเครือข่ายสมัชชาสุขภาพแห่งชาติเข้าร่วมประชุม กระบวนการรับฟังความคิดเห็นยังเป็นแบบเดิมๆ เน้นเชิญเฉพาะคนกลุ่มเดิมๆ ที่มุ่งผลักดันโครงการใหญ่ๆ ทำไมไม่เชิญชาวบ้าน และเครือข่ายภาคประชาชนที่ได้รับผลกระทบเข้ามาด้วย “ผมเองก็มาโดยไม่ได้รับเชิญ” “นายกิตติภพ สุทธิสว่าง” ยืนยันต่อที่ประชุม ต่อมา วันที่ 20 กรกฎาคม 2554 การประชุมที่โรงแรมวังโนรา อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ก็เกิดความวุ่นวายไม่น้อย เมื่อ “นางจิระพา หนูชัย” ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรสตรี จังหวัดพัทลุง และเครือข่ายสตรี 14 จังหวัดภาคใต้ ลุกขึ้นถามกลางวงประชุมว่า บริษัทที่ปรึกษาฯ เชิญกลุ่มคนจากภาคส่วนใดมาประชุมระดมความคิดเห็นบ้าง กี่คน “นายศักดิ์ชัย ประโยชน์วนิช” ผู้เชี่ยวชาญการวางผังเมือง ตอบว่า บริษัทที่ปรึกษาทำหนังสือเชิญทั้งหมด 40 คน โดยกระจายหนังสือเชิญไปยังทุกภาคส่วนเท่าที่ทำได้ แต่ได้รับหนังสือตอบรับมาร่วมเวทีแค่ 7 คน “ผมและคณะยึดมั่นอยู่บนวิชาชีพ ทั้งหมดนี้ทำตามหลักวิชาการ” เป็นถ้อยยืนยันจาก นายศักดิ์ชัย ประโยชน์วนิช” จากนั้น “นางจิระพา หนูชัย” ให้คนที่ไม่ได้รับเชิญลุกขึ้น ปรากฏว่ามีคนลุกขึ้นกว่า 40 คน ในจำนวนนี้มาจากเครือข่ายองค์กรสตรีถึง 40 คน “มีความชอบธรรมแค่ไหน ที่เชิญคนแค่ 10 คน มากำหนดอนาคตจังหวัดพัทลุง” เป็นคำถามที่ “นางจิระพา หนูชัย” ถามต่อที่ประชุมในวันนั้น ตามด้วยเหตุการณ์ชาวบ้านกว่า 40 คน ทยอยเดินออกจากที่ประชุม เหลือแค่ 10 คนอยู่ในห้องประชุมกับบริษัทที่ปรึกษาฯ ต่อ “มติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2553 ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดำเนินการตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ทบทวนแผนพัฒนาภาคใต้ โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม ไม่ใช่ให้ไปว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษามาศึกษา” เป็นคำกล่าวต่อที่ประชุมของ “นายไพฑูรย์ ทองสม” อาจารย์มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง เวทีจังหวัดตรัง ซึ่งจัดในวันเดียวกันกับจังหวัดพัทลุง ที่โรงแรมวัฒนาปาร์ค ถึงแม้บรรยากาศการประชุม จะไม่มีลักษณะเผชิญหน้า แต่เสียงสะท้อนที่ได้รับกลับไปก็คือ คนภาคใต้ไม่ต้องการเมกะโปรเจ็กต์ ผู้เข้าร่วมเวทีที่เมืองตรัง ต่างยืนยันแนวทางการพัฒนาที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนใต้ว่า ให้เน้นการพัฒนาทรัพยากรทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมและสุขภาพ สินค้าและบริการให้เชื่อมโยงและเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ระหว่างกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันกับนานาชาติอย่างยั่งยืน การพัฒนาการตลาดการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการ เพื่อรักษาฐานนักท่องเที่ยวเดิม และเพิ่มปริมาณนักท่องเที่ยวคุณภาพบนฐานทรัพยากรท่องเที่ยวที่มีอยู่เดิม และภูมิปัญญาท้องถิ่นของพื้นที่ และการพัฒนากลไกการบริหารจัดการ การตลาด การพัฒนาคุณภาพบุคลากรการท่องเที่ยว และเศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน สำหรับจุดแข็งของจังหวัดตรังคือ มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์สามารถพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านนิเวศน์ได้ ประกอบกับโลกอยู่ในภาวะวิกฤติทางด้านสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ ทำให้เอื้อกับการจัดการการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ ส่วนวันที่ 21 กรกฎาคม 2554 บรรยากาศการประชุมที่ห้องประชุมกรรณิการ์ โรงแรมทักษิณ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ดุเดือดตั้งแต่เริ่มการประชุม เมื่อ “นายประยุทธ์ สุวรรณพรหม” คณะทำงานเครือข่ายผลกระทบนโยบายสาธารณะนครศรีธรรมราช ลุกขึ้นพูดต่อที่ประชุมว่า ทำไมถึงไม่เชิญคณะกรรมการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติมาร่วมเวทีด้วย ในเมื่อมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ดำเนินการตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติบอกให้ทบทวนอย่างบูรณาการโดยการมีส่วนร่วมของคนภาคใต้ ไม่ได้บอกให้สภาพัฒน์ไปจ้างบริษัทที่ปรึกษาฯ มาทบทวน ทำอย่างนี้ขัดกับมติของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ จากนั้น “นายประยุทธ์ สุวรรณพรหม” ได้อ่านแถลงการณ์เครือข่ายผลกระทบนโยบายสาธารณะนครศรีธรรมราช เรื่องความไม่ถูกต้องการดำเนินการทำแผนพัฒนาภาคใต้โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ภายใต้การดำเนินการของบริษัท คอนซัลแทนท์ ออฟ เทคโนโลยี จำกัด เนื้อหาสรุปว่า กระบวนการจัดประชุมระดมความคิดเห็นทบทวนแผนพัฒนาภาคใต้ของบริษัทฯ มีความไม่ชอบธรรม “การดำเนินการของบริษัทและสภาพัฒน์ อยู่นอกเหนือมติคณะรัฐมนตรีที่เห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตามมติของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ กรณีแผนพัฒนาภาคใต้ที่ยั่งยืน ที่ขอให้ทบทวนแผนพัฒนาพื้นที่ภาคใต้โดยรวม ขอให้บริษัทฯ ยุติการดำเนินการ และจะติดตามการดำเนินงานจนกว่าสภาพัฒน์ ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีต่อไป” จากนั้น เวลา 10.20 น. ผู้เข้าร่วมประชุมต่างทยอยออกจากห้อง เหลือผู้อยู่ร่วมประชุมประมาณ 20 คน วันเดียวกัน บรรยากาศการประชุมที่โรงแรมภูงา จังหวัดพังงา ก็มีผู้เข้าร่วมบางตา เมื่อเทียบกับจำนวนเก้าอี้ที่เตรียมไว้ 100 กว่าที่นั่ง ถึงแม้บรรยากาศการประชุมจะมีลักษณะถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน แต่น้ำเสียงของผู้เข้าร่วมประชุมจากภาคประชาชน ต่างแสดงท่าทีไม่เห็นด้วย หากรัฐจะนำอุตสาหกรรมหนักลงมายังภาคใต้ ส่วนเวทีที่สุราษฎร์ธานี “นายประวีณ จุลภักดี” ประธานมูลนิธิป่า–ทะเลเพื่อชีวิต บอกกับที่ประชุมว่า ในฐานะที่เป็นคณะกรรมการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เคยเข้าร่วมประชุมมา 15 ครั้ง แต่น่าแปลกใจที่ไม่ทราบเรื่องการจัดการประชุมคราวนี้อย่างเป็นทางการ แต่ทราบโดยบังเอิญจากการฟอร์เวิร์ดเมล์ต่อๆ กันมา “การทบทวนแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ต้องสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนจริงๆ ไม่ใช่จัดการประชุมหลบๆ ซ่อนๆ เพื่อสร้างความชอบธรรม ผมและเครือข่ายภาคประชาชนเห็นว่าการประชุมในครั้งนี้ไม่ชอบธรรม” ประเด็นที่ทุกฝ่าย ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งคือ วงประชุมที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีวันนั้น ทั้งภาคประชาชนและภาคธุรกิจ ต่างแสดงความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกัน นั่นคือ พื้นที่นี้ไม่ต้องการอุตสาหกรรมหนัก ขณะที่เวทีจังหวัดระนอง ซึ่งจัดขึ้นในวันเดียวกันกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี “นางมณเฑียร ธรรมวัติ” จากเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคใต้ ลุกขึ้นตั้งข้อสังเกตต่อที่ประชุมว่า ผู้เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็น ไม่ครอบคลุมทุกกลุ่ม แถมเพิ่งได้รับเอกสารก่อนเข้าประชุม แน่ใจได้อย่างไรว่า แต่ละคนเข้าใจเนื้อหาของแผนพัฒนาที่กำลังพูดคุยกันอยู่ “ลักษณะการจัดประชุมแบบนี้ ส่อเจตนาไม่บริสุทธิ์ใจ ดิฉันอยากให้ยกเลิกเวทีนี้ และไม่อยากให้ใช้รายชื่อพวกเราไปสร้างความชอบธรรมว่า ได้ถามได้คุยกับชาวบ้านมาแล้ว แล้วนำไปรับรองแผนพัฒนาที่พวกเราไม่บอมรับ เพราะนี่จะกลายเป็นตราบาปของชาวจังหวัดระนอง เรืองแบบนี้มันเคยเกิดกับพวกเรามาแล้ว” เป็นถ้อยเน้นย้ำของ “นางมณเฑียร ธรรมวัติ” ต่อที่ประชุม เป็นผลให้ผู้เข้าประชุมทยอยเดินออกจากที่ประชุมไปจำนวนหนึ่ง ปิดท้ายด้วยเวทีของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่โรงแรมเอเชี่ยนหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2554 เวทีนี้ถูกยึดโดยแขกที่ไม่ได้รับเชิญจากจังหวัดสตูลและชาวจะนะ จังหวัดสงขลา คำถามหลักจากคนกลุ่มนี้ก็คือ ตลอดระเวลาเกือบ 1 ปี ที่นักวิชาการกลุ่มนี้ลงพื้นที่พูดคุยกลุ่มย่อย 25 เวที ทำไมพวกเขาซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรง จากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของภาครัฐ ไม่เคยได้รับเชิญให้ไปแสดงความคิดเห็น เสียงสะท้อนของ “นายเจะปิ อนันทบริพงษ์” ชาวบ้านจากตำบลสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ที่พูดต่อที่ประชุมในวันนั้นว่า ชาวบ้านจะนะ เพิ่งทราบจากพี่น้องจังหวัดสตูลว่า จะมีการจัดเวทีฯ ในวันนี้ ทำไมถึงไม่เชิญพวกผม ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากโครงการรัฐ พอมาถึงที่ประชุมก็ไม่มีการข้อมูลเกี่ยวกับโครงการแผนพัฒนาภาคใต้ โดยเฉพาะโครงการสะพานเศรษฐกิจสงขลา–สตูล ที่พี่น้องต้องเจอโครงการขนาดใหญ่หลายโครงการ จึงเป็นเสียงสะท้อนที่ทำให้กระบวนการรับฟังความคิดเห็นที่ผ่านมาของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไร้ค่าลงในบัดดล ก่อนที่ “นายวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี” คณะทำงานเครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล จะตอกฝาโลง ด้วยการลุดขึ้นมายืนยันว่า การดำเนินการทบทวนโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ของสภาพัฒน์ โดยว่าจ้าง “บริษัท คอนซัลแทนท์ ออฟ เทคโนโลยี จำกัด” และ “สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เป็นการขัดมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2553 และมติของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่ต้องการให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงมาตั้งแต่ต้น “เวทีย่อย 25 ครั้งที่จัดกันมา เคยเชิญพวกผมไปร่วมเวทีบ้างหรือไม่ ทำไมการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม จึงไม่เชิญชุมชนที่ได้รับความเดือดร้อนมาร่วมประชุมแม้สักครั้งเดียว” เป็นคำถามโยนเข้ากลางวงประชุมจาก “นายวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี” เมื่อย้อนรอยถอยกลับไปดูรายละเอียดกระบวนการเชิญผู้เข้าร่วมประชุมระดมความคิดเห็นรวม 7 เวที ภายใต้ความรับผิดชอบของ “บริษัท คอนซัลแทนท์ ออฟ เทคโนโลยี จำกัด” ก็จะพบหนังสือด่วนที่สุดที่ สพท.6383/2554 ของสำนักยุทธศาสตร์และการวางแผนพัฒนาพื้นที่ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เรื่องเชิญร่วมประชุมกลุ่มย่อยเพื่อระดมความคิดเห็นโครงการศึกษาและจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ถึงเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2554 หนังสือฉบับนี้ลงนามโดย “นายสมชาย ศักดาเวคีอิศร” ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน ในฐานะประธานกรรมการกำกับการดำเนินงานโครงการศึกษาและจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เนื้อหาในหนังสือระบุกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมประชุม 400 คน ประกอบด้วย ผู้แทนภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอกชน นักการเมืองท้องถิ่น นักวิชาการ ประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชน จากกลุ่มจังหวัดชายแดนภาคใต้ สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส 150 คน ตรัง 30 คน กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน พังงา กระบี่ และภูเก็ต 80 คน ระนอง 30 คน พัทลุง 30 คน นครศรีธรรมราช 30 คน สุราษฎร์ธานี 30 คน และชุมพร 50 คน เช่นเดียวกัน เมื่อดูจากเอกสารประกอบการประชุม ที่แนบมากับหนังสือเชิญประชุมของ “สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ที่ ศธ 0512.36/582 ลงวันที่ 14 กรกฎาคม 2554 เรื่องขอเชิญเข้าร่วมสัมมนาโครงการศึกษาเพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางแผนพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ ภายใต้โครงการศึกษาวางแผนพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ ลงนามโดย “ผู้ช่วยศาสตราจารย์เภสัชกรหญิงนิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี” ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม ก็พบว่ามีการระบุกลุ่มเป้าหมายที่จะเชิญเข้าร่วมประชุมไว้อย่างชัดเจน กลุ่มเป้าหมายดังกล่าว ประกอบด้วย ประชาชนทั่วไป ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา กลุ่มสตรี นิสิต/นักศึกษา หน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคธุรกิจเอกชน นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน สื่อมวลชน และนักการเมืองท้องถิ่น ประมาณ 100 คน จากจังหวัดสงขลาและสตูล ในที่สุด “นายสมชาย ศักดาเวคีอิศร” ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะประธานกรรมการกำกับการดำเนินงานโครงการศึกษาและจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ก็ต้องออมายอมรับว่า มีความเป็นไปได้ที่บริษัท คอนซัลแทนท์ ออฟ เทคโนโลยี จำกัด และสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เชิญผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มย่อยเพื่อระดมความคิดเห็น จากภาคส่วนต่างๆ ผิดกลุ่ม เข้าไม่ถึงกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจริงๆ แต่ก็เป็นนิมิตหมายที่ดี ที่ผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการเมกะโปรเจ็คต์ทั้งหลาย ได้เข้ามาสะท้อนผ่านเวทีต่างๆ ดูเหมือนกระบวนการเชิญผู้เข้าร่วมประชุมคราวนี้ จะชัดเจนขึ้นจากคำอธิบายของ “นายประพันธ์ มุสิกพันธ์” ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคใต้ “นายประพันธ์ มุสิกพันธ์” บอกว่า กระบวนการเชิญทุกภาคส่วนมาระดมความคิดเห็น ที่นำมาใช้คราวนี้มี 2 วิธี 1. สภาพัฒน์ส่งหนังสือเชิญไปยังสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งขึ้นอยู่กับสมัชชาสุขภาพแห่งชาติจะเชิญใครมา 2. สภาพัฒน์ส่งหนังสือเชิญไปยังทุกภาคส่วนทั้งราชการ นักธุรกิจเอกชน นักพัฒนาภาคเอกชน (NGOs) ฯลฯ “บริษัทที่ปรึกษา และสภาพัฒน์ไม่ได้มีธงอะไร แค่ลงมารับฟังความคิดเห็นว่า คนใต้ต้องการทิศทางการพัฒนาแบบไหน เรามารวบรวมข้อมูลจริงจากพื้นที่ แล้วนำประเด็นที่ได้รับไปพิจารณา ซึ่งจะต้องประเด็นที่เป็นข้อเท็จจริง สามารถนำไปใช้ประกอบการจัดทำจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ได้จริง เราไม่ได้ตั้งธงว่าจะต้องเดินหน้าเมกะโปรเจ็กต์ ถ้ามีโอกาสเราจะลงมาจัดประชุมกลุ่มย่อยทำความเข้าใจและระดมความคิดเห็นคนภาคใต้อีกครั้ง” เป็นความพยายามที่จะอธิบายจากเจ้าของเวทีทบทวนแผนพัฒนาภาคใต้ อันสอดคล้องกับคำชี้แจงของ “นายศักดิ์ชัย ประโยชน์วนิช” จากบริษัทที่ปรึกษาที่ออกมาบอกว่า ทีมงานได้กระจายหนังสือเชิญทุกภาคส่วนเท่าที่ทำได้ ในส่วนของจังหวัดพัทลุง บริษัทที่ปรึกษาได้เชิญผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 40 คน แต่ได้รับการตอบรับว่าจะเข้าร่วมแค่ 7 คน ทางบริษัทคอนซัลแทนท์ ออฟ เทคโนโลยี จำกัด จึงสร้างเฟซบุ๊คชื่อผังพัฒนาภาคใต้ และสร้างอีเมลล์ Urb@cot.co.th ขึ้นมา เพื่อให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้เข้าร่วมนำเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติม “ผมและคณะยึดมั่นอยู่บนวิชาชีพ ทั้งหมดนี้ทำตามหลักวิชาการ” เป็นคำยืนยันของ “นายศักดิ์ชัย ประโยชน์วนิช”
ภาพความวุ่นวายภายในห้องประชุมกลุ่มย่อยจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้โรงแรมทักษิณ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2554 ที่ถูกผู้เข้าร่วมส่วนหนึ่งซึ่งไม่ได้รับหนังสือเชิญขอให้ยุติการรับฟังความเห็นต่อไป เนื่องจากเห็นว่าเป็นการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นที่ไม่มีความชอบธรรม
ห้องประชุมที่โรงแรมวังโนรา อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง โล่งลงทันทีหลังจากเครือข่ายองค์กรสตรี จังหวัดพัทลุง และเครือข่ายสตรี 14 จังหวัดภาคใต้ กว่า 40 คน ลุกออกไป
จำนวนผู้เข้าร่วมเพียงน้อยนิดในการประชุมกลุ่มย่อยของการจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2554 ที่โรงแรมซากุระแกรนด์วิว อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อระดมความคิดเห็นประชาชน ในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน ในช่วงแบ่งกลุ่มรับฟังความเห็นในหัวข้อเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานสำคัญๆ ของภาคใต้
มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 2 แผนพัฒนาที่ยั่งยืนบนฐานการพึ่งพาตนเองด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม กรรีภาคใต้ 1.ขอให้รัฐบาลโดยคณะรัฐมนตรี พิจารณามอบหมายให้คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทบทวนร่างแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืนและพัฒนาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยเป็นแผนบูรณาการและมีหลักการสำคัญ ดังนี้ 1.1 ให้เน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิต และพัฒนาการศึกษาที่สร้างคนให้มีคุณภาพสู่สมดุลทางด้านสุขภาวะ 1.2 ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ ตามความต้องการและความจำเป็นของท้องถิ่น โดยเป็นอุตสาหกรรมที่คำนึงถึงการรักษาฐานทรัพยากรไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต และสุขภาพชุมชนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว 1.3 ให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต วัฒนธรรมท้องถิ่น และการกระจายรายได้ควบคู่ไปกับการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ 1.4 ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ป่าสมุนไพร พื้นที่ชุ่มน้ำ การส่งเสริมการเกษตรยั่งยืน และพัมนาระบบเศรษฐกิจพอเพียง 1.5 ให้ความสำคัญกับฐานความรู้ภูมินิเวศน์ เคารพความหลากหลายทางวัฒนธรรมโดยเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนได้เสนอความต้องการและมีส่วนร่วมในการกำหนดประเด็นในการพัฒนา ทั้งนี้ขอให้รัฐบาลโดยคณะรัฐมนตรีมีมติให้การดำเนินโครงการพัฒนาของภาครัฐและเอกชน คำนึงถึงผลกระทบอย่างรอบด้าน และสร้างกลไกเพื่อพิจารณาข้อเสนอที่จะชะลอแผนงานและโครงการที่สร้างความขัดแย้ง และ/หรือมีผลกระทบต่อสังคมและชุมชนทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพื่อเปิดโอกาสในการสร้างฉันทามติร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย 2. ในการดำเนินการตามข้อ1.ขอให้คณะกรรมการพัฒนาการเศราฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประสานคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง ภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคชุมชน ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบจากการพัฒนา ตั้งคณะกรรมการทบทวนร่างแผนแม่บทพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องโดยใช้เครื่องมือที่หลากหลาย มุ่งเน้นสนับสนุนการตัดสินใจเชิงยุทธศาสตร์ของพื้นที่ การมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายและคำนึงถึงผลกระทบอย่างรอบด้าน 3.ขอให้คณะกรรมการทบทวนร่างแผนแม่บทพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน ที่ได้ผ่านการทบทวนข้อ1.และ 2. เรียบร้อยแล้ว จึงผลักดันให้แผนฯ ได้รับการปฏิบัติอย่างจริงจัง ทั้งในระดับภาคและระดับท้องถิ่น มีกลไกการติดตาม กำกับ ประเมินผล และเปิดเผยข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนทราบอย่างต่อเนื่อง 4.ขอให้รัฐบาลโดยคณะรัฐมนตรี ออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่เศราฐกิจภาคใต้และภาคอื่นๆ อย่างยั่งยืน เพื่อให้การดำเนินการของคณะกรรมการในข้อ 2. เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
แผนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ร่วมกับธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ได้ดำเนินการศึกษาการวางแผนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน (Planning for the Sustainable Development of Southern Thailand) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550 และวันที่ 6 พฤศจิกายน 2550 โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมคิดของภาคประชาชนและภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้องโดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มพื้นที่ ได้แก่ 1) พื้นที่อนุภาคใต้ฝั่งตะวันออก 2) พื้นที่อนุภาคใต้ตอนล่าง และ 3) พื้นที่อนุภาคใต้ฝั่งอันดามัน และผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในภาคใต้ เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการ ซึ่งดำเนินการโดย สศช.ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาประกอบการจัดทำแผนฯ ต่อมา วันที่ 6 ตุลาคม 2551 คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีมติเห็นชอบพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน ซึ่งเสนอให้ดำเนินการศึกษาในขั้นการวางแผนพัฒนาพื้นที่เฉพาะ (Special Area Plan) ใน 3 พื้นที่ ได้แก่ 1) พื้นที่แนวสะพานเศรษฐกิจสตูล-สงขลา 2) พื้นที่เศรษฐกิจฝั่งอ่าวไทย ในแนวสุราษฎร์ธานี-นครศรีธรรมราช และ3) พื้นที่ท่องเที่ยว กลุ่มจังหวัดภูเก็ต กระบี่ พังงา โดยพื้นที่แนวสะพานเศรษฐกิจสตูล–สงขลา เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนการพัฒนา 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
นางมณเฑียร ธรรมวัติ ทำไมเครือข่ายภาคประชาชนในหลายจังหวัด จึงออกมาล้มเวที เราไม่ต้องการให้ใครนำไปใช้แอบอ้างว่า เครือข่ายเราเข้าร่วมเวทีแล้ว แล้วไปจัดทำแผนกันตามใจชอบ กลุ่มคนที่ออกมาคัดค้านเป็นกลุ่มคนที่ติดตามเรื่องนี้มาตลอด ไม่ได้ถูกเชิญมาร่วมแสดงความคิดเห็นจากผู้จัดโดยตรง การลุกขึ้นล้มเวที ด้วยการเดินออกจากห้องประชุม เป็นการส่งสัญญาณต่อผู้จัดว่า เราไม่เห็นด้วยกับการทำแบบนี้ เราต้องการให้ผู้จัดต้องบันทึกในรายงานว่า มีกลุ่มคนไม่เห็นด้วยกับการพัฒนาภาคใตให้เป็นเขตตสาหกรรม เราบอกชัดเจนว่าเวทีนี้ไม่ชอบธรรม เราต้องการบอกกับผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนว่า ควรคิดอย่างไรกับเรื่องเหล่านี้ เพราะบางคนเข้าประชุมโดยไม่รู้เรื่องนี้มาก่อน ขนาดถูกเชิญมา ยังไม่ได้อ่านเอกสารประกอบการประชุมเลยว่า มีเนื้อหาอย่างไร ถ้าไม่มีคนลุกขึ้นพูดว่าเรื่องนี้มีปัญหาอย่างไร พวกเขาก็เป็นแค่ผู้เข้าร่วมประชุมจริงๆ หลังจากพี่ลุกขึ้นพูด มีคนเห็นด้วยและเดินออก มีกลุ่มนักกฏหมายในจังหวัดระนองประมาณสามคน รองนายกสมาคมการท่องเที่ยวจังหวัดระนองที่เดินออกมา เพราะรู้ว่าเวทีนี้ จะส่งผลอะไรต่ออนาคตคนระนอง ทำไมจึงคิดว่าเวทีนี้ไม่ชอบธรรม? มติของสมัชชาสุขภาพที่ให้รัฐบาลทบทวน มาจากประชาชนที่ได้รับผลกระทบ เขาต้องการมาพูดคุยกับวางแผนพัฒนา ผู้จัดเวทีก็ต้องเชิญคนที่ติงมาคุยด้วย แต่นี่กลับไปเชิญกลุ่มที่ไม่ได้ติดตามเรื่องนี้มาตั้งแต่แรกมาคุยด้วย คนเหล่านั้นจะรู้หรือเปล่าว่า เกิดอะไรขึ้นก่อนหน้าที่จะมาจัดเวทีนี้ เราตั้งใจให้มีการบันทึกในรายงานการประชุมว่า มีคนทักท้วงแล้วนะ มีแผนจะทำอย่างไรต่อไปกับเรื่องนี้? หลังจากเวทีนี้แล้ว เราจะส่งสัญญาณอีกครั้งคือ เราจะผนึกเสียงทุกจังหวัดในภาคใต้ มาคุยกันถึงอนาคตของเรา คนใต้ทั้ง 14 จังหวัดจะกำหนดอนาคตเราเอง โดยจะคุยกันในสามหัวข้อหลักคือ เรื่องความมั่นคงด้านอาหาร เรื่องอุตสาหกรรมต่อเนื่องภาคเกษตร และเรื่องพลังงานทางเลือก เราจะจัดการการประชุมวางแผนเรื่องการพัฒนาพื้นที่เรา จะเอายังไงก็ให้ประชาชนที่นี่พูดเอง เราจะให้คนใต้กว่า 70% ได้มีสิทธิแสดงความคิดเห็น เพื่อจัดทำเป็นแผนคู่ขนานที่มาจากเสียงของประชาชนจริงๆ เมื่อได้แผนคู่ขนานแล้ว เราจะนำเสนอต่อรัฐบาล ส่งสัญญาณไปเลยว่า อนาคตของคนใต้ คนใต้จัดการเอง
นายสมชาย ศักดาเวคีอิศร วัตถุประสงค์ในการทบทวนร่างแผนการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน เราต้องการทบทวนผลการศึกษาเกี่ยวกับโครงการพัฒนาในพื้นที่ภาคใต้ ที่มีหลายฉบับ หลายคณะ แต่ละฉบับมีจุดเน้นหนักในการพัฒนาภาคใต้แตกต่างกัน มีทั้งที่เหมือนกันและต่างกันบ้างในบางประเด็น ทำให้ประชาชนสับสน สภาพัฒน์เลยจัดเวทีเพื่อทบทวนผลการศึกษาโครงการต่างๆ กว่า 20–30 ฉบับ ประกอบด้วย ผลการศึกษาของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่จะตั้งนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมมีในภาคใต้ โครงการศึกษาท่าเรือน้ำลึก แลนด์บริดจ์ ของกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม และร่างแผนการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจภาคใต้ มาทบทวน เป็นการทบทวนภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง หัวใจหลักคืออยากรู้ว่าคนใต้ต้องการเห็นบ้านตัวเองพัฒนาไปทิศทางไหน โดยให้บริษัทที่ปรึกษาตั้งประเด็นทิศทางการพัฒนาภาคการเกษตร ประมง อุตสาหกรรมต่อเนื่องจากภาคเกษตร การพัฒนาการศึกษา ทักษะในการประกอบอาชีพการเตรียมการรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปัญหาสิ่งแวดล้อม อาทิ ภัยพิบัติดินถล่ม กัดเซาะชายฝั่ง เป็นต้น ผลการจัดเวทีระดมความคิดเห็นกลุ่มย่อยจะนำไปสู่กระบวนการ หรือขั้นตอนใดต่อไป เราจัดเวทีระดมความคิดเห็นกลุ่มย่อย 7 เวที เพื่อรับฟังความเห็น จากนั้นจะนำผลการศึกษาเสนอกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือบอร์ดสภาพัฒน์ ใช้ประกอบการทำแผนพัฒนา ให้เป็นไปตามที่ประชาชนต้องการ ข้อมูลที่ได้จะนำไปใช้เป็นกรอบใหญ่ในการทำรายละเอียดของแผน จะไม่มีการนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาไปบิดเบือน แต่จะนำไปจัดแผนพัฒนาภาคใต้ให้เป็นไปตามทิศทางที่ประชาชนต้องการ ซึ่งต่างกับแผนพัฒนาฉบับก่อนๆ ที่ไม่ได้รับฟังชาวบ้านเลย มีวิธีการเชิญภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมระดมความคิดเห็นอย่างไร บริษัทที่ปรึกษา พยายามเชิญคนให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม ทั้งข้าราชการ นักลงทุน กลุ่มธุรกิจ ประชาชน นักพัฒนาเอกชน (NGOs) บัญชีรายชื่อบุคคลที่เข้าร่วมหลักๆ ก็จะเป็นเครือข่ายภาคประชาชน และภาคส่วนต่างๆ ที่เคยเข้าร่วมสัมมนาร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับ 11 เราอาศัยรายชื่อเหล่านั้นเป็นฐานในการเชิญเข้ามาประชุม การทบทวนแผนพัฒนาภาคใต้ของสภาพัฒน์ กับนโยบายผลักดันให้เกิดโครงการแลนด์บริดจ์ของพรรคเพื่อไทย มีความขัดแย้งกันหรือไม่ ไม่ขัดแย้ง เพราะในขั้นตอนการปฏิบัติต้องกลับไปถามชาวบ้านอยู่ดีว่า เอาหรือไม่เอา โครงการแลนด์บริดจ์ของพรรคเพื่อไทย จึงไม่ขัดแย้งกับการทบทวนแผนพัฒนาภาคใต้ของสภาพัฒน์ แต่จะหนุนเสริมซึ่งกันและกัน โดยเอาชาวบ้านเป็นตัวตั้งว่า ประชาชนต้องการหรือไม่ ถ้าจะเอาก็ต้องไม่ให้เกิดผลกระทบกับชุมชนกับชาวบ้าน และสิ่งแวดล้อม นิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ขัดกับศักภาพการท่องเที่ยวของภาคใต้หรือไม่ กรณีมาบตาพุดถือเป็นบทเรียน ต่อไปที่อื่นจะเกิดเหตุการณ์แบบมาบตาพุดไม่ได้ จะต้องทำรายงานการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ถ้าต้องการลงทุนก็ต้องไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ต้องเป็นอุตสาหกรรมที่สะอาดอยู่กับชุมชนได้ ปัญหาใหญ่ก็คือของการวางผังเมือง จะต้องจัดโซนนิ่ง แยกชุมชนกับอุตสาหกรรมออกจากกัน ส่วนปิโตรเคมี ถึงแม้ศักยภาพของภาคใต้จะสามารถรองรับแผนพลังงาน และอุตสาหกรรมปิโตรเคมีได้ แต่เมื่อชาวบ้านไม่เอา เราจะให้ปรากฏอยู่ในแผนพัฒนาภาคใต้ไม่ได้
นางสาวพจนี อรรถโรจน์ภิญโญ การศึกษาแผนพัฒนาภาคใต้ของสภาพัฒน์เริ่มมาตั้งแต่เมื่อไหร่ เริ่มมาตั้งแต่ปี 2532 เกี่ยวกับสะพานเศรษฐกิจ (แลนด์บริดจ์) ในโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ (เซาท์เทิร์นซีบอร์ด) พื้นที่ภาคใต้มีศักยภาพในการรองรับยุทธศาสตร์ด้านโลจิสติกส์ และยุทธศาสตร์ด้านพลังงาน จริง แต่ในทางปฏิบัติ ยังไม่สามารถทำได้จริง กระทั่งล่าสุดสภาพัฒน์ได้รับความช่วยเหลือทางวิชาการจากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) เพื่อจัดทำร่างแผนการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน แล้วเสร็จเมื่อเดือนตุลาคม 2551 ต่อมา วันที่ 20 กรกฎาคม 2553 คณะรัฐมนตรีก็มีมติให้ทบทวน ตามมติของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ โครงการพลังงาน ภายใต้ IMT–GT กับยุทธศาสตร์พลังงานเกี่ยวข้องกับสภาพัฒน์อย่างไร ยุทธศาสตร์พลังงานเป็นของกระทรวงพลังงาน ไม่เกี่ยวกับสภาพัฒน์ ส่วน IMT–GT มีโครงการพลังงานคือโรงแยกก๊าซ ที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว เท่าที่ผทราบทางบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บอกว่า ดำเนินการแล้วไม่คุ้มทุน จึงไม่ขยายโรงแยกก๊าซต่อเป็นโรงที่ 2 ทั้งที่ประเทศมาเลเซียต้องการ
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
แม่วัยรุ่นไทยเยอะติด 1 ใน 5 โลก ‘สสส.’ เร่งพัฒนาคนแก้ปัญหา Posted: 28 Aug 2011 08:05 AM PDT
เมื่อวันที่ 27–28 สิงหาคม 2554 ที่ห้องกรุงเทพ โรงแรมบีพี แกรนด์ทาวเวอร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ (สจรส.) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดประชุมปฐมนิเทศและแลกเปลี่ยนผู้รับทุนโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นน่าอยู่ภาคใต้ ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวต่อที่ประชุมว่า จากสถิติล่าสุด ประเทศไทยติดอันดับ 1 ใน 5 อันดับประเทศที่มีแม่วัยรุ่นมากที่สุดในโลก ซึ่งเป็นปัญหาที่คุกคามสังคมไทย และทุกคนต้องร่วมกันแก้ไข โดยชุมชนต้องสร้างกลไกแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเอง สำหรับทิศทางการสนับสนุนของกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ จะมุ่งเน้นการสร้างบุคคลากรให้พร้อมที่จะขับเคลื่อนก่อน เพราะนวัตกรรมต่างๆ สามารถเกิดขึ้นได้หากบุคคลากรพร้อม ผศ.ภก.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ กล่าวปฐมนิเทศว่า แนวคิดที่จะปฏิรูปประเทศไทย เพื่อลดความเลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน ต้องสร้างให้พื้นที่สามารถจัดการตัวเองได้ แต่ต้องพร้อมทั้งผู้นำ ชุมชน และความรู้ สำหรับชุมชนที่จะก้าวถึงขั้นที่สามารถจัดการตนเองได้ ต้องเริ่มจากการจัดการข้อมูล จัดการแผน และการบริหารโครงการ ซึ่งทางสถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ มีหลักสูตรพิเศษให้ชุมชนเข้ามาเรียนรู้ระบบ นำไปพัฒนาการจัดการชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผศ.ภก.พงค์เทพ ยกตัวอย่างโครงการการแยกขยะ ถ้าผ่านการจัดการและความร่วมมือจากหลายส่วนในพื้นที่ นอกจากจะสามารถแก้ปัญหาขยะได้แล้ว ยังสามารถสร้างรายได้ และเกิดผลผลิตใช้ร่วมกันอย่างก๊าซชีวภาพ ซึ่งต้องอาศัยสามปัจจัยที่หนุนเสริมกันคือมีผู้นำพร้อม ชุมชนพร้อม ความรู้พร้อม ผศ.ดร.พงค์เทพ กล่าวต่อที่ประชุม มิติของคำว่า สุขภาพเปลี่ยนไปจากเดิมแล้ว ซึ่งจะหมายรวมถึงกาย ใจ ปัญญา และสิ่งแวดล้อม สาเหตุการเจ็บป่วยของคนในประเทศ จึงไม่ได้หมายถึงความเจ็บป่วยทางกายอย่างเดียว การคิดระบบเพื่อวางแผนจัดการเรื่องสุขภาพ ที่ทางสถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ผลักดัน จะต้องคิดให้กว้างกว่ารูปแบบเดิม จึงจะแก้ปัญหาชุมชนได้ และนำสู่ความสันติสุขในชีวิตอย่างสมบูรณ์ ที่เรียกว่าชุมชนน่าอยู่ “ประชาชนอยู่กับปัญหาเหล่านี้มานาน ต้องแก้ไขโดยลดอำนาจรัฐ เพิ่มประสิทธิภาพประชาชน เพื่อความเป็นธรรม สร้างพื้นที่จัดการตัวเอง เป็นแนวทางที่จะสามารถแก้ปัญหาที่ประชาชนเจอเรื้อรังอย่างแท้จริง” ผศ.ดร.พงค์เทพ กล่าว นางภูษณิศา แก้วเนิน ตัวแทนจากบ้านหัวลำภู หมู่ 4 ตำบลหัวไทร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวต่อที่ประชุมถึงสาเหตุที่ชุมชนบ้านหัวลำภูทำโครงการคลินิกชุมชน คนรักสุขภาพว่า เนื่องจากชาวบ้านในชุมชนเป็นมะเร็งกันมาก จึงศึกษาหาทางออกจากปัญหา ด้วยการจัดการวิถีชีวิตและสร้างค่านิยมบริโภคอาหารปลอดสารเคมี ปัญหาอุปสรรคในการขับเคลื่อนแนวคิดก็คือ ชาวบ้านยังมองว่าผู้บริหารโครงการหาเงินเข้ากระเป๋าตัวเอง จึงต้องอธิบายให้ชาวบ้านเข้าใจว่า ทุกอย่างเป็นของชุมชน ทำเพื่อแก้ปัญหาให้กับชุมชน สำหรับปี 2543 ใน 14 จังหวัดภาคใต้ มีโครงการผ่านการพิจารณา 42 โครงการ จากร้อยกว่าโครงการที่เสนอไปยังสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ส่วนโครงการที่ผ่านการคัดเลือกและดำเนินโครงการไปแล้วหนึ่งปี มีโครงการในจังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง และจังหวัดสงขลา เป็นโครงการดาวเด่น สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
เสวนาแรงงานภาคเหนือ หนุนค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท Posted: 28 Aug 2011 07:58 AM PDT นโยบายค่าแรงขั้นต่ำเป็นจุดเริ่มต้นในการคืน “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” – “ความยุติธรรม” ให้กับผู้ใช้แรงงาน ด้านนักวิชาการเศรษฐศาสตร์ระบุคนงานไทยต้องได้พักผ่อนและมีโอกาสพัฒนาตนเอง เชียงใหม่ - เมื่อวันที่ 21 ส.ค. 54 ที่ผ่านมา ที่ห้องประชุมอาคารปฏิบัติการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีจัดการเสวนา “ค่าจ้าง 300 บาท” โดยเวทีประชาสังคมกับการผลักดันรัฐสวัสดิการ ร่วมจัดโดยโครงการประชาธิปไตยกับท้องถิ่น, สำนักข่าวประชาธรรม, กลุ่มประชาธิปไตยเพื่อรัฐสวัสดิการ และกลุ่มผู้ใช้แรงงานเพื่อประชาธิปไตยภาคเหนือ ในการอภิปรายหัวข้อ “ค่าจ้างกับการปรับตัวของกลุ่มทุนในยุคโลกาภิวัตน์” นายวิสิษฐ์ ยาสมุทร ประธานสหภาพแรงงานอัญมณีและเครื่องประดับสัมพันธ์ กล่าวว่า ถ้าแรงงานอยู่กันสองคน ทำงานด้วยกัน มีเงินรวมกันไม่เกิน 10,000 บาท เมื่อคิดเรื่องรายจ่าย วันหนึ่งสามมื้อ ค่าเช่าบ้าน ค่าโรงเรียน ค่าเลี้ยงดูบุตร รวมเงินที่ต้องส่งกลับบ้านแล้ว สะท้อนว่าค่าแรงขั้นต่ำวันละ 169 บาทไม่พอ และต้องทำงานหนักถึงสองทุ่ม ต้องทำงานวันละ 12 ชั่วโมง ถ้ารัฐบาลชุดนี้ชูนโยบายค่าแรงขั้นต่ำวันละสามร้อยบาท แล้วแรงงาน จ.ลำพูน มีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ก็จะสนับสนุนเต็มที่ ส่วนนายอัครเดช ชอบดี ประธานสหภาพแรงงานอิเลคทรอนิคส์ และอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์ กล่าวว่า เมื่อเราเอาสลิปรายรับกับรายจ่ายของคนงานมาดูกันทุกคน จะเห็นว่าส่วนใหญ่ติดลบด้านรายจ่าย และจะหันไปประหยัดค่าใช้จ่ายอื่น เช่น ค่ากิน แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าคนงานมีรายจ่ายมาก และแม้จะได้ค่าแรงวันละ 300 บาทก็ยังไม่เพียงพอต่อสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน หากเปรียบเทียบค่าแรงของประเทศต่างๆ เช่น มาเลเซีย ไต้หวัน เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น จะเห็นว่ามีค่าแรงสูงกว่าเรา รศ.ดร. ในการอภิปรายหัวข้อ “ชีวิตคนงานกับการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรม” นาย ด้านนาย ทั้งนี้ แรงงานเหนือร่วมเวทีประชาสังคมผลักดันรัฐสวัสดิการ ยังได้ลงนามท้ายจดหมายโดย นายอนุชา มีทรัพย์ กลุ่มผู้ใช้แรงงานเพื่อประชาธิปไตย ภาคเหนือ นายวิสิษฐ์ ยาสมุทร ประธานสหภาพแรงงานอัญมณีและเครื่องประดับสัมพันธ์ นายอัครเดช ชอบดี ประธานสหภาพแรงงานอิเล็คทรอนิคส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์ ส่งจดหมายถึงนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานฯ ในเรื่องนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทด้วยไปเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ที่ผ่านมา ตอนหนึ่งของจดหมายระบุว่า “นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการคืน “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์”ให้กับผู้ใช้แรงงาน และคืน “ความยุติธรรม” ให้กับผู้ใช้แรงงาน ในฐานะผู้ใช้แรงงานเป็นคนส่วนใหญ่ในสังคม เป็นผู้สร้างสรรค์ผลิตสรรพสิ่งให้กับสังคม ในฐานะผู้ใช้แรงงานมีส่วนสำคัญในการสร้างความเจริญ ความมั่งคั่งให้กับประเทศ” ท้ายจดหมายมีข้อเรียกร้องรัฐบาล 2 ประการได้แก่ “1.รัฐบาลประชาธิปไตยภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทย ผู้ได้รับคะแนนเสียงข้างมากจากประชาชน ต้องไม่ไหวเอนไปตามการคัดค้านของนายทุนและเครือข่ายอำมาตยาธิปไตย ทั้งหลาย และจงมุ่งมั่นทำตามนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ จงเชื่อเถิดว่าผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่สนับสนุนนโยบายที่มีจุดยืนเคียงข้างผู้ใช้แรงงาน เพื่อ คืน “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” และ”ความยุติธรรม”ให้กับผู้ใช้แรงงาน” และ “2. จัดกระบวนการแก้ไขปัญหาด้านแรงงานต่างๆ ของผู้ใช้แรงงาน เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงและมีความยุติธรรมให้กับผู้ใช้แรงงาน เช่น การแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานในปัจจุบันทุกฉบับ การรับรองสัตยาบัน ILO มาตราที่ 87 และ 98 ฯลฯ โดยมีตัวแทนผู้ใช้แรงงานทั้งส่วนภูมิภาคและส่วนกลาง เข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการแก้ไขปัญหาด้วย” สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ความเหมือน: เขื่อนแก่งเสือเต้น และถนนบนป่าเขา Posted: 28 Aug 2011 07:42 AM PDT ความเหมือนของเขื่อนและถนนอยู่ที่การแลกทรัพยากรธรรมชาติเพื่อผลประโยชน์ของคนบางกลุ่ม จริงอยู่ว่าส่วนรวมได้ประโยชน์จากการผลิตกระแสไฟฟ้า การชลประทานและเส้นทางเดินรถที่สะดวกสบาย แต่อีกความเหมือนคือทั้งสองสิ่งไม่ใช่คำตอบเดียวของการแก้ปัญหาด้านการจัดการน้ำ พลังงานและขนส่งมวลชน ...................... เขื่อน สมมติฐานของฝ่าย ‘จะเอาเขื่อน’ ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่า ‘สร้างเขื่อนแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง’ ผลที่เกิดขึ้นคงจะนำมาคำนวนได้ยากหากยังไม่ได้สร้างเขื่อนจนสำเร็จ แต่‘คิดอะไรไม่ออกบอกสร้างเขื่อน’เป็นการสร้างคำพูดสวยหรูให้หลงเชื่อว่าเขื่อนเป็นทางออกเดียวของการจัดการน้ำและพลังงาน การจัดการน้ำแบบบูรณาการนั้นไม่ได้หมายรวมถึงแค่การชลประทานเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงการจัดการอนุรักษ์ป่าไม้ เพราะสาเหตุหนึ่งที่อุทกภัยทวีความรุนแรงขึ้นเพราะไม่มีป่าให้ซับน้ำเหมือนในอดีต ข้ออ้างที่ว่า ‘พื้นที่นั้นไม่ใช่ผืนป่าอุดมสมบูรณ์แต่ถูกรุกล้ำโดยการตัดไม้และมีสักทองเหลืออยู่ไม่ถึง 1,000 ต้น’ไม่ได้ทำให้เราหันมามองเรื่องอนุรักษ์ป่า แต่กลับมองไปว่า การสร้างเขื่อนเป็นการใช้ประโยชน์จากป่าเสื่อมโทรม ทุกวันนี้เจ้าหน้าที่ป่าไม้ (สงวนนามและพื้นที่ปฏิบัติงาน) ต้องเจอตลกร้าย เมื่อได้อนุมัติกระสุนลูกซองที่ใช้การไม่ได้ (กระสุนที่ดีนั้น แม้แช่น้ำนับสิบปีก็ยังใช้การได้ นี่หมดสภาพขนาดไหนลองคิดดู) ประเภทที่ว่า ยิงออกไปแล้วมันร่วงอยู่หน้ากระบอกปืน เจ้าหน้าที่ป่าไม้คนนั้นบอกว่า “พวกที่เข้ามาตัดไม้มี M16 แล้วพวกคุณจะให้พวกผมเอาอะไรไปสู้” เรื่องการตัดไม้ในป่าแก่งเสือเต้นจึงควรถูกยกขึ้นมา ให้เห็นว่า เจ้าหน้าที่ป่าไม้หวานอมขมกลืนเพียงใดเพื่อต่อสู้ให้คงไว้ซึ่งป่าไม้ที่พวกเขาหวงแหน และตามที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับวันที่ 24 สิงหาคม 2551 รายงานเรื่องการตัดไม้พะยูงทางภาคอีสาน มันถึงเวลา (ตั้งนานแล้ว) ที่จะใช้ทั้งปืนและกฎหมายต่อสู้กับขบวนการทำลายป่า ที่ผ่านมาเห็นจะมีก็แต่เพียงกระสุนเพียงนัดเดียวที่ดึงความสนใจของมวลชนไปที่การอนุรักษ์ป่าได้ และกระสุนนัดนั้นก็ได้คร่าชีวิตของ ‘สืบ นาคะเสถียร’ ผู้อุทิศชีวิตให้ป่าห้วยขาแข้ง ในกรณีการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นใช้เหตุผลด้านผลประโยชน์ที่จะได้จากการชลประทานและไฟฟ้าเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการจมป่าที่อ้างว่าเสื่อมโทรม แต่จริงหรือไม่นั้นยังไม่แน่ชัด แต่พื้นที่ป่าไม่ต่ำกว่า 60,000 ไร่ และภาษีประชาชนกว่า 12,000 ล้านบาท จะกลายเป็นเครื่องสังเวยให้กับเหตุผลเหล่านั้น ทั้งที่อีกด้าน ผลการศึกษาหลายสำนักลงความเห็นว่า เขื่อนแก่งเสื้อเต้นไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งได้ และอาจจะไม่คุ้มทุน ธรรมชาติเดินด้วยตัวมันเองอย่างสมดุลอยู่แล้ว มนุษย์ต่างหากเป็นผู้ทำลาย เราสร้างเขื่อนที่กักน้ำมหาศาล ป้องกันน้ำท่วม แต่เมื่อฝนตกหนัก ระดับน้ำเพิ่มขึ้นรวดเร็ว เขื่อนก็ต้องปล่อยน้ำทะลักออกจากอยู่ดี แล้วที่สุดน้ำก็ท่วมไม่ต่างกัน สร้างเขื่อนแก้ปัญหาน้ำแล้ง แต่ยามน้ำแล้ง ต้องกักน้ำไว้ในเขื่อน คนเหนือเขื่อนอาจจะสบาย แต่คนใต้เขื่อนต้องกินน้ำตาต่างข้าว การวางระบบน้ำด้วยการสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดย่อมให้กระจัดกระจาย ให้ทั่วถึง เป็นเรื่องที่อยู่ในแผนการชลประทานมาแล้วทั้งนั้น แต่ไม่เคยหยิบมาใช้อย่างจริงจัง หรือผลสะเทือนย่อมไม่เท่าการสร้างเขื่อนเบ้อเริ่มลูกเดียว ส่วนเรื่องการผลิตกระแสไฟฟ้า คงไม่ต้องย้ำกันถึงความจำเป็นในการหาพลังงานทดแทน เปลี่ยนสายลมและคลื่นทะเลให้เป็นไฟฟ้า พลังงานทดแทนนี้ ถ้ารัฐบาลเพื่อไทยทำได้จริง ย่อมตบหน้าผู้ที่เห็นพลังงานน้ำจากเขื่อนเป็นพระเจ้าได้หลายคน ถนน ความเหมือนของเขื่อนและถนน อยู่ที่การแลกทรัพยากรธรรมชาติเพื่อผลประโยชน์ของคนบางกลุ่ม ส่วนรวมอาจได้ประโยชน์จากการผลิตกระแสไฟฟ้า การชลประทาน และเส้นทางเดินรถที่สะดวกสบาย แต่ทั้งเขื่อนและถนนไม่ใช่คำตอบเดียวของการแก้ปัญหาด้านการจัดการน้ำ พลังงาน และขนส่งมวลชน เพราะทั้งสองสิ่งต้องแลกมาด้วยทรัพยากรป่าไม้ ภูเขา (หินปูนถูกถลุงใช้ทำคอนกรีต) ระบบนิเวศ และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป ด้วยวาทกรรมว่า ชนบทต้องเจริญแบบเมืองกรุง เส้นทางหลวงหมายเลข 1085 จากอำเภอแม่มาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ไปจังหวัดแม่ฮ่องสอน ผ่านอำเภอปาย อำเภอปางมะผ้า ไม่ถึงสิบปีที่แล้ว มันเป็นเส้นทางที่งดงามที่สุดเส้นทางหนึ่ง เพราะถนนสองเลนคดเคี้ยว ลัดเลาะไปตามป่าไม้และภูเขาสูงชัน นำเราไปสู่จังหวัดเล็กๆ ที่สวยงามด้วยธรรมชาติและอารยธรรมแบบพม่าและไทใหญ่ วันนี้ภูเขาตามโค้งหักศอกถูกปาดเพื่ออำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวหลั่งไหลไปอำเภอปาย เมืองเล็กๆ ที่สวยงามด้วยธรรมชาติแม่น้ำปาย น้ำตกหลบซ่อนตามช่องเขา พระธาตุแม่เย็นและจุดชมวิวกองแลน แต่ถูกโฆษณาด้วยอะไรสักอย่างที่ไม่ใช่ปาย ขับรถไกลแสนไกลเพื่อนอนรีสอร์ทที่แออัดเหมือนม่านรูด ตื่นมาไม่มีหมอกให้ยล เพราะปายเป็นเมืองในหุบเขา กลางวันจึงร้อนแม้เป็นฤดูหนาว ไม่นับการนั่งดื่มกาแฟเหมือนนั่งในร้านในกรุงเทพฯ อีกเรื่องที่โด่งดัง คือการขยายถนนขึ้นเขาใหญ่ ต้นไม้อายุหลายร้อยปีถูกโค่นด้วยข้ออ้างว่า รถติดขึ้นเขาใหญ่ (สร้างถนน แก้ปัญหารถติดได้) คนพูดคงจะเคยไปเฉพาะช่วงเทศกาล และคงอยากจะเที่ยวป่าแต่ไม่ขอลำบาก ทำกันขนาดนั้นจะมีอะไรให้ขึ้นไปดู ทุกวันนี้จะเห็นนกเงือกแต่ละตัวแทบต้องนั่งเฝ้าทั้งวัน ไที่หอส่องสัตว์หนองผักชีก็ไม่เห็นตัวอะไร ต้องเดินขาขวิดเข้าน้ำตกผากล้วยไม้ กว่าจะได้เห็นตัวกระสุนพระอินทร์ที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้จัก นี่ก็หวาดเสียวอยู่ว่า ต้นสักริมเส้นทางท่าสองยาง-แม่สะเรียง เลียบอุทยานแม่เงา จะโดนตัดขยายถนนหรือยัง นโยบายที่ดีต้องสนับสนุนให้สร้างเครือข่ายรถไฟความเร็วสูงระบบรางคู่ออกไปต่างจังหวัด เพื่อให้คนเดินทางไปกลับบ้านเกิดได้สะดวก และขนถ่ายสินค้าข้ามจังหวัดได้ง่ายขึ้น พร้อมลดมลภาวะจากท่อไอเสียบนท้องถนน และงบประมาณซ่อมบำรุงทางหลวงที่มักจะทำกันในช่วงฤดูมรสุม ล่าสุดอังกฤษนำหัวรถไฟเก่าอายุร่วมร้อยปีกลับมาใช้ เพราะรถไฟหนึ่งขบวนเทียบเท่ารถบรรทุก 50 คัน เครือข่ายรถไฟยังอำนวยความสะดวกให้คนทุกชนชั้น ทั้งบนดินใต้ดิน เรียกว่าแทบไม่ต้องขวนขวายซื้อรถ (เพราะเมื่อมีรถ ก็มีแต่เสียเงินค่าที่จอดเพื่อจะได้ขับเข้าไปในโซนรถติด) จะได้ไม่ต้องคอยขยายถนนและถล่มภูเขาหินปูนเพื่อเอามาทำถนน สรุปได้ว่า คิดแบบนักเศรษฐศาสตร์ที่ไม่มีประโยชน์ส่วนตัวมาเอี่ยว เขื่อนไม่น่าจะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า และยังมีทางออกอีกมากมายที่จะพัฒนาความเจริญทางวัตถุ เช่น ระบบขนส่งมวลชนโดยไม่ทำลายธรรมชาติ แต่โครงการเหล่านี้คุ้มค่ามหาศาลสำหรับกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการก่อสร้าง ทั้งที่คนทั้งประเทศควรมีสิทธิมีเสียงที่จะจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างไร ไม่ใช่คนบางกลุ่มที่มีเงินจะฟาดหัวเพื่อให้ได้สัมปทานป่าไม้ และระเบิดภูเขาบนธารน้ำตาของคนอีกกลุ่ม เขื่อนอัสวาน (Aswan) ในอียิปต์โด่งดังไปทั่วโลก เพราะต้องย้ายโบราณสถานขึ้นมาเพื่อเลี่ยงการถูกจมอยู่ใต้น้ำ เช่น มหาวิหารอาบู ซิมเบล (Abu Simbel) ของรามเสสที่ 2 (Ramses II) ซึ่งโชคดีถูกย้ายขึ้นมาได้ แต่มีอีกกว่า 17 แห่งต้องจมอยู่ในเขื่อน เมื่อสร้างเสร็จก็มีเสียงวิจารณ์ว่า เขื่อนอัสวานทำให้ตะกอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ลดน้อยลง เนื่องจากวัฏจักรของแม่น้ำไนล์ คือน้ำไหลบ่าท่วมทุกปีแล้วพาตะกอนมาทับถมปากแม่น้ำและริมตลิ่ง ตะกอนพวกนี้คือพื้นที่ที่ชาวอียิปต์โบราณใช้เพาะปลูก และเป็นแหล่งทำกินที่หล่อเลี้ยงอารยธรรมไอยคุปต์ให้ยืนยาวนับพันปี ก็ได้แต่หวัง จะเห็นผลการศึกษาสักฉบับว่า เขื่อนไม่สร้างผลกระทบด้านลบให้คนในพื้นที่และสิ่งแวดล้อม ก็ได้แต่หวังว่า จะเห็นระบบขนส่งมวลชนที่อำนวยความสะดวกให้ทั้งคนกรุงและคนต่างจังหวัดที่เท่าเทียม และไม่ส่งผลกระทบกับธรรมชาติ แต่ก็นั่นล่ะ ความคิดเห็นเดียวของฉันไม่ได้เปลี่ยนแปลงโลก .................. เขาบรรจบ จ.จันทบุรี พ.ศ.2551 ป่าและลำธารเหล่านี้จะหายไป ถ้าเขื่อนกั้นน้ำที่เขาบรรจบเพื่อส่งน้ำผ่านอุโมงค์ทะลุภูเขาไปถึงเขื่อนพลวงที่อยู่ห่างไปอีกสามกิโลเมตรเปิดทำการ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
Posted: 28 Aug 2011 07:27 AM PDT |
เศรษฐศาสตร์กับ rule of law : ระเบียบในป่า Posted: 28 Aug 2011 07:19 AM PDT
rule of law กลายเป็นแนวความคิดสำคัญในเศรษฐศาสตร์แต่ก็มีความยากลำบากในตัวของมันเอง “ผมอาจเป็นนักเศรษฐศาสตร์คนเดียวที่รู้สึกผิดเวลาใช้คำว่าrule of law โดยที่ไม่รู้ความหมายที่แท้จริงของมัน” แดนี รอดดิก จากมหาลัยฮาร์วาร์ดกล่าว “ผมคงเป็นคนแรกกระมังที่สารภาพออกมา” ปกติแล้ว rule of law เป็นแนวความคิดทางด้านการเมืองหรือกฎหมาย ประเทศเกิดใหม่อย่างโคโซโวได้กล่าวว่าการพัฒนา rule of law เป็นเรื่องสำคัญอันดับแรกที่ต้องทำเพื่อลดปัญหาคอรัปชั่นและสร้างรัฐขึ้นมา แต่ทว่าสิบปีที่ผ่านมาrule of law ก็มีความสำคัญในเศรษฐศาสตร์เช่นกัน และrule of law ยังเป็นบ่อเกิดและความสำคัญของการเติบโตเศรษฐกิจจนทำให้สิ่งที่รอดดิกสารภาพมานั้นน่าสนใจขึ้น เพราะrule of law ไม่ใช่มีประโยชน์เพียงแค่การสร้างสังคมที่เป็นธรรมแต่ยังช่วยให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย “ไม่เคยมีนโยบายการเมืองใดที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลกเท่านี้เลย” ไบรอัน ทามานาฮา นักวิชาการกฎหมายมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น นิวยอร์คกล่าว แต่ในแง่ความคิดทางเศรษฐศาสตร์ rule of law ก็มีประวัติศาสตร์ที่กระท่อนกระแท่น มันเกิดขึ้นอย่างฉับพลันในช่วงทศวรรษ ๙๐ เนื่องจากการล่มสลายของกระแสการเงินในเอเชียและอดีตสหภาพโซเวียต เพียงแค่ช่วงเวลาสั้นๆ rule of law เหมือนจะให้คำตอบเรื่องปัญหาการพัฒนาจากอาร์เซอร์ไบจันจนกระทั่งถึงซิมบับเว จนกระทั่งมีคนวิพากษ์วิจารณ์แนวความคิดนี้ ตั้งแต่นั้นมาจึงมีการวางแนวความคิดrule of law ใหม่เพื่อเข้าใจว่าทำอย่างไรประเทศจึงจะมีการเจริญเติบโต แต่อย่างไรก็ตาม rule of law ก็ไม่ใช่ยาครอบจักรวาลที่แก้ปัญหาได้หมด เหล่านักเศรษฐศาสตร์ต่างลุ่มหลงใน rule of law ภายหลัง “ฉันทามติวอชิงตัน” ซึ่งเป็นแนวความคิดเศรษฐกิจแบบออโธดอกซ์ในช่วง 1980 โดยชี้ว่าการที่ประเทศเจริญเติบโตได้นั้นต้องรับนโยบายต่างๆที่ถูกต้องเช่น เรื่องงบประมาณและการแลกเปลี่ยนเงินตรา แต่ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจในเอเชียช่วงปี1997– 1998 กลับมาสั่นคลอนความเชื่อมันของนักเศรษฐศาสตร์ว่านโยบายพวกนี้มันถูกต้องจริงหรือ พวกเขามานั่งคิดกันใหม่และได้ข้อสรุปว่าเราควรตั้งสถาบันเพื่อการกำหนดนโยบายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง rule of law โดยให้เหตุผลว่า ถ้ากติกาการเล่นเกมสับสน แม้ว่าจะมีนโยบายเศรษฐกิจมหภาคเท่าไรก็ไม่สามารถได้ผลตามที่หวัง ข้อสรุปนี้ดูน่าเชื่อถือขึ้นจากเหตุการณ์ของอดีตจักรวรรดิโซเวียต ประเทศอดีตสหภาพโซเวียตต่างๆมีนโยบายของตัวเองค่อนข้างรวดเร็วแต่ภายหลังไม่นานสิ่งต่างๆ ก็แสดงให้เห็นว่ามันไม่เพียงพอ “ผมเป็นนักเศรษฐศาสตร์แรงงานและพาณิชย์จนถึงปี1992” แดเนียล คอฟแมน ปัจจุบันดำรงตำแหน่งหัวหน้าสถาบันธรรมาภิบาลโลกในสังกัดธนาคารโลกกล่าว “แต่เมื่อผมไปถึงยูเครนแนวความคิดของผมก็เปลี่ยนไป ปัญหาเรื่องธรรมาภิบาลและrule of law ทำลายความพยายามของเราทั้งหมด” เพียงไม่นาน “ธรรมาภิบาล” หรือความรับผิดชอบทางการเมืองและคุณภาพของระบบราชการเช่นเดียวกับrule of law กลายเป็นเรื่องร้อนแรง นักเศรษฐศาสตร์ต่างมานั่งคำนวณว่าอะไรคือrule of law ประเทศที่ดีนั้นทำอะไรบ้างและอะไรคือความแตกต่างที่เกิดขึ้น คอฟแมนและเพื่อนของเขา อาร์ต แคย์ พบว่า ในระยะยาวประเทศที่พัฒนาธรรมาภิบาลเพิ่มขึ้นเพียงแค่หนึ่งค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน จะมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวเพิ่มขึ้น 300 % ซึ่งหนึ่งค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับความแตกต่างของคะแนนrule of law ของประเทศอินเดียกับประเทศชิลี โดยธนาคารโลกเป็นผู้วัด ชิลีมีอำนาจการซื้อมากกว่าอินเดียถึง 300 % เช่นเดียวกับความแตกต่างระหว่าง ประเทศแอฟริกาใต้กับสเปน โมรอคโคกับโปรตุเกส บอสวานากับไอร์แลนด์ นักเศรษฐศาสตร์ยังพบอีกว่าประเทศที่มีสภาพrule of law ที่ดีกว่าจะมีความมั่งคั่งมากกว่า (แผนภาพข้างล่างแสดงผลการศึกษาสามชิ้น โดยเปรียบเทียบกับผลการศึกษาของคอฟแมน) ประเทศที่ร่ำรวยยกเว้น กรีซและอิตาลี มีคะแนนrule of law ที่ดี แต่หลายๆประเทศที่ยากจนกลับไม่มี มิสเตอร์ รอดดิก ดูผลการเติบโตของธรรมาภิบาล (ซึ่งเขาใช้คำว่าสถาบัน) ภูมิศาสตร์ และการเปิดกว้างทางการค้า เขาสรุปและตีพิมพ์บทความในปี 2002 ภายใต้ชื่อ “กฎสถาบัน” และนักรัฐศาสตร์อย่าง ฟรานซิส ฟูกูชิมา จากมหาวิทยาลัย จอห์น ฮอปกินส์ เชียนสนับสนุนว่า “ ผมเชื่อว่านักสถาบันนิยมชนะอย่างง่ายดายในการถกเถียงครั้งนี้” และเนื่องจากสาเหตุทางเศรษฐกิจ และรัฐต้องการrule of law เพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง รัฐและตัวแทนรัฐต่างๆเริ่มให้เม็ดเงินสนับสนุนเพื่อปฎิรูประบอบrule of law เช่นการผลิตผู้พิพากษา ปฎิรูปสถานกักกันและคุก สำนักงานอัยการ การปฎิรูปเหล่านี้เริ่มขึ้นในละตินอเมริกาช่วงกลางทศวรรษที่ 1980 และปัจจุบันขยายไปทั่วโลก สหภาพยุโรปยืนกรานว่าสมาชิกทุกประเทศต่างพึงพอใจในมาตรฐานของrule of law และการนี้ตัวรัฐจำเป็นต้องยอมรับการปรับเปลี่ยนเพื่อปฏิรูประบอบกฎหมายให้ถึงตามมาตรฐาน โดยจัดการอย่างรวดเร็วให้เหล่านักกฎหมายศึกษาและแนะนำว่าควรทำอย่างไรบ้างเพื่อให้ระบอบกฎหมายไปถึงมาตรฐานนั้น America's Millennium Challenge Corporation ถูกจัดตั้งขึ้นในปี 2004 เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการให้ความช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกา โดยการช่วยเหลือนี้จะให้กับประเทศที่มีมาตรฐานขั้นต่ำของrule of law (หนึ่งในสามของมาตรฐานพื้นฐาน)ภายใน20 ปีที่ผ่านมาประเทศตะวันตกให้ความช่วยเหลือเทเงินกว่าพันล้านเหรียญให้กับโครงการ rule of law และในขณะนี้ธนาคารโลกได้เริ่มโครงการกว่า 450 ล้านเหรียญในโครงการrule of law (ในความหมายแคบๆ) และกว่าครึ่งหนึ่งของเงินให้กู้ยืมซึ่งมีมูลค่ากว่า 24 พันล้านในโครงการที่เกี่ยวข้องกับrule of law (ในความหมายกว้างๆ เช่น คำแนะนำในการแก้ข้อขัดแย้งในโครงการพัฒนาหมู่บ้าน กฎหมายล้มละลายในโปรแกรมการแปรรูปเป็นเอกชน) เพียงแค่หนึ่งทศวรรษ rule of law ได้ก้าวข้ามจากเรื่องการเมืองและกฎหมายไปสู่เรื่องเศรษฐกิจ และเรื่องการช่วยเหลือต่างๆ แต่ในปี 2003 หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญของโลกด้านธรรมาภิบาล โธมัส แครอเทอร์ จาก Carnegie Endowment for International Peace มันสมองของวอชิงตัน ได้เขียนบทความชื่อว่า “การส่งเสริมrule of law ในต่างแดน : ปัญหาเรื่ององค์ความรู้” มิสเตอร์ แครอเทอร์และเช่นเดียวกับ มิสเตอร์ วิลเลียม โกลด์แมนต่างกล่าวว่า “ไม่มีใครรู้ทุกเรื่อง” มิสเตอร์แครอเทอร์วิจารณ์ว่า ปัญหาในการนิยาม rule of law ในตัวของมันบวกกับปัญหาองค์ความรู้กฎหมายในทางปฏิบัติ มันหมายถึงการขยายตัวอย่างรวดเร็วของ rule of law ในองคาพยัพต่างๆ แต่เริ่มจากฐานองค์ความรู้เพียงเล็กน้อยในทุกระดับ “ปัญหาต่างๆเริ่มชัดเจนขึ้น” แครอเทอร์กล่าว “หลายๆองค์กรแต่ไม่ทั้งหมดต่างมุ่งมันกับโครงการต่อไปมากกว่าจะนำประสบการณ์มาเป็นบทเรียน” นักกฎหมายไม่ค่อยสนใจเรื่องการพัฒนา “เอาจริงๆแล้ว เราก็ไม่เข้าใจว่าเรากำลังทำไรอยู่” เป็นคำพูดจากผู้ให้การสนับสนุนrule of law คนหนึ่ง ข้อโต้แย้งของแครอเทอร์นั้นเป็นประโยชน์ และผลที่ตามมาคือมีการศึกษาrule of law อย่างคึกคัก งานวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์เกี่ยว rule of law เริ่มปรากฏ มันแสดงให้เห็นว่าrule of law สามารถถูกพัฒนาได้ คนเริ่มเข้าใจrule of law มากขึ้นเมื่อนักเศรษฐศาสตร์และนักวิชาการอื่นๆพูดถึง มันได้มีการวางแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการปฏิรูป การช่วยเหลือในการฝึกผู้พิพากษา ตำรวจ แต่สิ่งที่ยังไม่สามารถไขข้อสงสัยคือ rule of law เป็นเงื่อนไขของการเติบโตเศรษฐกิจในทุกที่จริงหรือ ซึ่งเรื่องกฎหมายในฐานะวัตถุปัจจัยทางเศรษฐกิจนั้นเพิ่งอยู่ในกระบวนการเริ่มต้น มันเพิ่งเริ่มจากวัยทารกเข้าสู่วัยรุ่นที่เต็มไปด้วยปัญหา
กฎหมายที่ไม่ถูกควบคุม ในหนังสือ “rule of law และการพัฒนา” (โดยเอดเวิร์ด เอลการ์) ไมเคิล เทรบิลคอก จากมหาวิทยาลัยโตรอนโต และ รอน แดเนียล จากมหาวิทยาลัย เพนซิลวาเนีย ตั้งคำถามว่าอะไรที่นักเศรษฐศาสตร์หมายถึงเกี่ยวกับrule of law รายงานจากกลุ่มวิจัย Hague Institute for the Internationalization of Law ก็ทำเช่นเดียวกัน งานตีพิมพ์ทั้งสองวิจารณ์ว่าผู้คนต่างใช้ความหมายแตกต่างเป็นสองกลุ่ม ซึ่งพวกเขาเรียกว่า ความหมายแบบกว้างและแคบ ความหมายแบบกว้างนั้น rule of law เสมือนดั่งใจกลางของสังคมที่เป็นธรรม แนวความคิดนี้เชื่อมกับหลักประชาธิปไตยและเสรีนิยม ซึ่งหมายถึงประเทศที่ปกครองโดยหลักนิติธรรมนั้นอำนาจของรัฐต้องถูกจำกัดและรับรองเสรีภาพขั้นพื้นฐานเช่นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นหรือจัดตั้งสมาคม คำประกาศเดลีซึ่งร่างโดย International Commission of Jurists ในปี 1959 กล่าว่าrule of law “ ควรถูกใช้เพื่อปกป้องและพัฒนาสิทธิการเมืองและพลเมืองของปัจเจกบุคคล” และสร้าง “เงื่อนไขต่างๆที่ถูกต้องตามกฎหมายนั้นๆและศักดิ์ศรีจึงอาจเกิดขึ้นตามมา” ในความหมายของrule of law แบบกว้างในแง่อื่นเช่น เฟดริค ฮาเยค นักเศรษฐศาสตร์ออสเตรีย และ คาส ซันสไตน์ จากมหาวิทยาลัยชิคาโก มองว่าrule of law นั้นรวมถึงคุณธรรมทางการเมืองด้วย ส่วนนิยามแบบแคบมีความเป็นรูปแบบมากกว่า สิ่งสำคัญไม่ใช่ความเป็นประชาธิปไตยหรือคุณธรรมแต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินและประสิทธิภาพของการบริหารจัดการความยุติธรรม กฎหมายต้องมีความมั่นคง มันไม่จำเป็นต้องส่งเสริมคุณธรรมหรือสิทธิของมนุษย์ ซึ่งรัฐทางใต้ของสหรัฐในยุคของ จิม ครอว์ ใช้นิยามแบบแคบในการปกครองโดยมิใช่แบบกว้าง การแข่งขันของนิยามทั้งสองนี้อาจทำลายคุณค่าของrule of law ถ้าคุณกล่าวว่าrule of law มีความสำคัญในการเติบโตเศรษฐกิจแล้ว คุณหมายถึงrule of law แบบไหน? แบบที่ปกป้องสิทธิมนุษยชน หรือ แบบที่ปกป้องสิทธิทรัพย์สินส่วนบุคคล? แต่ทว่านักเศรษฐศาสตร์รักการแข่งขัน ความแตกต่างของสองนิยามสะท้อนถึงการแข่งขันในการอธิบายอะไรเป็นตัวผลักดันเศรษฐกิจ ในด้านหนึ่งของการเติบโต (ซึ่งสัมพันธ์กับดักลาส นอร์แห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตัน เซนต์หลุยส์ มิสซูรี) คือ สถาบันนิยม ซึ่งให้ความสำคัญกับสิทธิในทรัพย์สินส่วนตัว ค่าใช้จ่ายในการโยกย้าย องค์กรทางเศรษฐกิจ พวกนี้จะชอบความเสถียรภาพ กฎหมายที่คาดคะเนได้ที่กระตุ้นการลงทุนและการเติบโต ดังนั้นนิยามแบบแคบจึงเหมาะสม ในอีกด้านหนึ่ง (ซึ่งสัมพันธ์กับ อมาตยา เซนแห่งมหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด) กล่าวว่าถ้าคุณขยาย “ขีดความสามารถ” (ตามแนวความคิดของเซน) แล้วพวกเขาจะสามารถช่วยให้ประเทศร่ำรวยได้ ซึ่งการให้อิสระกับขีดความสามารถของคนก็คือการยกเลิกภาระของรัฐและประกันสิทธิขั้นพื้นฐานบางอย่าง ดังนั้นนิยามแบบกว้างจึงเหมาะสม ความแตกต่างระหว่างrule of law แบบแคบและกว้างซ้อนทับกับความแตกต่างระหว่างประเพณีกฎหมาย เริ่มต้นในปี 1997 นักเศรษฐศาสตร์นำโดย อังเดร ไชลเฟอร์ จากฮาร์วาร์ด และ โรเบิร์ต วิชนี จากชิคาโก เปรียบเทียบประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (เช่อเมริกา และอังกฤษ) กับกลุ่มประเทศระบบซิวิลลอว์ (เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน และสแกนดิเนเวีย) ซึ่งชี้ว่าประเทศที่เป็นระบบคอมมอนลอว์จะมีความปลอดภัยด้านสิทธิทางทรัพย์สิน มีการปกป้องผู้ถือหุ้น ที่ดีกว่า มีความหลากหลายในการเป็นเจ้าของหุ้น และมีกฎหมายเปิดเผยข้อมูลและความน่าเชื่อถือที่เข้มงวดกว่า ซึ่งที่กล่าวมานี้เพื่อประสิทธิภาพของตลาดหุ้น เช่นกันในช่วงเริ่มต้นของการเรียกร้อง rule of law ในนามของระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ก็ถูกวิจารณ์อย่างมากจากนักเศรษฐศาสตร์ยุโรปเป็นส่วนใหญ่ บางคนอ้างว่าความแตกต่างของคอมมอนลอว์และ ซิวิลลอว์มิได้ชัดเจนอย่างที่เห็น และมันมาจากความแตกต่างของการเมือง ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ส่วนคนอื่นๆกลับชี้ว่าจุดกำเนิดของระบบกฎหมายดูเหมือนไม่สามารถอธิบายเกี่ยวกับความยุติธรรมทางเศรษฐกิจหรือrule of law ยกตัวย่างเช่น เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ที่มีต้นกำเนิดกฎหมายเดียวกัน แต่มีแค่นักวิชาการด้าน rule of law เท่านั้นที่ตอบสนองต่อข้อวิพากษ์ดังกล่าวและทำการวิจัย ในงานวิจัยจำนวนมากเขาพบหลักฐานมีน้ำหนักว่าระบบประเทศซิวิลลอว์กระตุ้นให้รัฐเป็นเจ้าของสื่อและธนาคาร มีความยากลำบากมากกว่าในการเข้าสู่ตลาด มีการควบคุมตลาดแรงงานมากกว่า และมีระบบพิจารณาทางศาลที่ยุ่งยากกว่า ซึ่งที่กล่าวมาเป็นการทำลายเศรษฐกิจ บางทีข้อโต้แย้งนี้ยังไม่มีคำตอบ อย่างเช่น เรเนอร์ โกร์ธจากสถาบันแมกซ์ พลังกซ์ เพื่อศึกษากฎหมายมหาชนเปรียบเทียบและกฎหมายระหว่างประเทศแห่งไฮเดลเบิร์กกล่าวว่า “ rule of law เป็นเรื่องแนวความคิดเปิดกว้างที่ต้องมีการอภิปรายตลอดไป” เศรษฐศาสตร์กระแสใหม่เรื่องrule of law นั้นหน้าที่ของมันชัดเจนมากขึ้น แต่ในด้านอื่นๆยังคงต้องมีการก่อร่างสร้างขึ้นมา
ขีดของความยุติธรรม มีการพัฒนาอย่างมากในการตรวจสอบและวัดความเป็นrule of law ถึงแม้ว่าไม่มีใครรู้ว่าแท้จริงแล้วคืออะไร “สิบห้าปีที่แล้วเราไม่เคยพูดถึงเรื่องนี้เลย” สตีฟ แรดเลต จากศูนย์พัฒนาโลก มันสมองแห่งวอชิงตัน “สิบปีที่แล้วเราไม่มีข้อมูล” แต่ปัจจุบันเรามีโครงการตัวชี้วัดธรรมาภิบาลโลก (ซึ่งกอร์ดอน จอห์นสันเชื่อว่ามันถูกเก็บอย่างลับๆที่ธนาคารโลก) ซึ่งรวบรวมข้อมูลตัวชี้วัดกว่าหกสิบแบบ (เช่นขอบเขตอาชญากรรม คุณภาพของระบบสอบสวน ความอิสระของระบบพิจารณาคดี และอื่นๆ) เพื่อสร้าง rule of law และมาตราการต่างๆทางธรรมาภิบาลในประเทศต่างๆ สิ่งต่างๆเหล่านี้ (ถึงแม้จะมีข้อผิดพลาด)ถึงแม้จะห่างไกลจากความสมบูรณ์ แต่ก็เป็นการประเมินที่ดี มิสเตอร์คอฟแมนกล่าว มาตรการเหล่านี้เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าได้ช่วยหลายๆประเทศพัฒนากรอบกฎหมายภายในเวลาสั้นๆ ปี2000 นายมิคาเอล ซากาชวิลลีรัฐมนตรียุติธรรมแห่งประเทศจอร์เจียในขณะนั้นไล่ผู้พิพากษาออกถึงสองในสามของทั้งหมดซึ่งไม่ผ่านการสอบ สี่ปีต่อมาในฐานะประธานาธิบดีของประเทศเขาไล่ตำรวจจราจรออกทั้งหมด ซึ่งทำให้คะแนน rule of law ของจอร์เจียที่ประเมินโดยธนาคารโลกเพิ่มขึ้นจาก9 เต็ม 100 (10 % จากอันดับท้าย) ในปี2002 เป็น 33 คะแนนในปี 2006 (ถึงจะน้อยแต่ก็มีการพัฒนา) ประเทศในยุโรปกลางและกลุ่มประเทศบอลติคต่างทำได้ดีกว่าโดยการเปลี่ยนกฎหมายอย่างถอนรากเพื่อจะเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปช่วยพัฒนาเศรษฐกิจรวมถึงระบบพิจารณาคดี โดยทั่วไปมาตรการที่ควรจะเป็นคือการปฏิรูปอย่างรุนแรงมากกว่าการค่อยๆ เปลี่ยนแปลงทีละน้อย ในละตินอเมริกาชำระกฎหมายอาญาให้ทันสมัยและสร้างความโปร่งใส ในชิลี ปี 2003 มีการตั้งระบบดำเนินคดีสาธารณะแบบใหม่ แต่เจ้าหน้าที่หลายๆคนไม่มีประสบการณ์ด้านนี้และเผชิญกับการต่อต้านจากตำรวจ ประเทศรัสเซียเริ่มนโยบายปฎิรูปการพิจารณาคดีในทศวรรษ 1990 และใช้จ่ายเงินจำนวนมากกับกระบวนการศาลในปี 2000 แต่คะแนน rule of law กลับลดลงมา 5 คะแนนภายใน 7 ปีที่ผ่านมา ความแตกต่างระหว่างยุโรปกลางกับละตินอเมริกาบางทีอาจเป็นเพราะภูมิหลังทางการเมือง เมส เทรบิลอค และ ดาเนียล แบ่งประเทศต่างๆเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือกลุ่มที่นักการเมือง นักวิชาการกฎหมาย และสาธารณะต่างให้การสนับสนุนปฏิรูป (ประเทศยุโรปกลางภายหลังการล่มสลายของคอมมิวนิสต์ แอฟริกาใต้หลังจากการแบ่งสีผิว) กลุ่มสองเป็นกลุ่มที่นักการเมืองให้การสนับสนุนแต่นักวิชาการกฎหมายและตำรวจไม่ให้ความร่วมมือ (ชิลี กัวเตมาลา) กลุ่มที่สามคือ กลุ่มที่นักวิชาการกฎหมายให้การสนับสนุนแต่นักการเมืองไม่ร่วมมือ (ปากีสถาน) “เพียงแค่กลุ่มแรกเท่านั้นที่ rule of law พัฒนาไปไกล” นักวิชาการระบุ แต่การค้นพบอื่นๆค่อนข้างมืดมน ผลการวิจัยบางชิ้นค้นพบว่ามีความสัมพันธ์เล็กน้อยระหว่างการเติบโตเศรษฐกิจและrule of law ความสัมพันธ์กับความมั่งคั่งนั้นชัดเจน (ดูในแผนภาพอีกครั้ง) แต่ค่อนข้างแตกต่างกัน มันเห็นผลค่อนข้างชัดเจนถ้าใช้เวลาเป็นทศวรรษหรือศตวรรษ แต่ในระยะสั้นมันไม่สามารถบอกได้ชัดเจน ประเทศจีนมีการเติบโตเศรษฐกิจที่ชัดเจนสวนทางกับความเชื่อที่ว่าrule of law จำเป็นต่อการเติบโตเศรษฐกิจ จีนมีการเติบโตเศรษฐกิจที่รวดเร็วและมีการลงทุนต่างชาติมากที่สุดในโลก ถึงแม้มีการคอร์รัปชั่นจำนวนมากและไม่มีอะไรที่ชาวตะวันตกจะสัมผัสได้ถึงประเพณีของ rule of law (การประกันสิทธิในทรัพย์สิน และรัฐบาลมีความสามารถในการออกแบบและดำเนินนโยบายต่างๆ) ในทางตรงข้ามมีความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างการปฏิรูปกฎหมายกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในประเทศยุโรปกลางและบอลติค หรือระหว่างประเทศสเปนภายหลังยุคฟรังโกและการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยาวนาน และมีความสัมพันธ์ระหว่างตัวชี้วัดในที่อื่นๆ มูลค่าที่ดินในชนบทของประเทศ บราซิล อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ และไทยสูงขึ้นเมื่อมีการออกโฉนด เพราะเจ้าของที่มีความมุ่งมันในการลงทุน งานวิจัยอิสระชิ้นหนึ่งของธนาคารโลกเมื่อสิบปีที่แล้วพบความสัมพันธ์อย่างน่าแปลกใจระหว่าง โครงการต่างๆที่ธนาคารสนับสนุนการเงินกับความเป็นเสรีของประชาชน โครงการต่างๆในประเทศที่มีความเสรีจะมีผลตอบแทนสูงกว่าในประเทศที่มีเสรีภาพน้อยกว่า แต่ความสัมพันธ์นี้ไม่สามารถบอกได้ว่าอะไรกันแน่คือสาเหตุ บางทีการเติบโตอาจเป็นตัวช่วยความเป็น rule of law หรือตรงกันข้าม บางทีประเทศต่างๆสามารถสนับสนุน rule of law เมื่อใดก็ตามที่ประเทศร่ำรวยแล้ว การคงอยู่ของขอบเขตยุติธรรมในทศวรรษ 1930 ช่วยสนับสนุนในแนวความคิดนี้ ไม่ใช่มีเพียงแค่มุมมองของ คอฟแมนที่ว่าการพัฒนา rule of law ช่วยในการเติบโตเท่านั้น บางประเทศที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องโดยปราศจากการพัฒนา rule of law และประเทศดังกล่าวที่ว่านี้ในภายหลังกลับมีการถอยหลัง (อาร์เจนตินาเคยเป็นประเทศหนึ่งในสิบที่รวยที่สุดในโลก) ปัญหาที่แท้จริงคือการอธิบายว่าทำไมทุนนิยมถึงรุ่งเรืองในเอเชียและกลุ่มโจรเครมลินในรัสเซีย คำตอบคือ คอฟแมนกล่าวว่า “ปราศจากนิติธรรมแล้ว พวกที่มีสายสัมพันธ์ที่ดีเพื่อการฉ้อฉลสามารถคว้าส่วนแบ่งจากการเติบโตอย่างไม่เป็นธรรมซึ่งรวมถึงกำไรจากน้ำมันดิบและวัตถุดิบต่างๆ” การคงอยู่ของทุนนิยมและหน้าที่ของรัฐในการจับขโมยนั้นเป็นข้อถกเถียงเพื่อคำตอบว่าเราควรเสริมสร้าง rule of law เมื่อใดก็ตามที่เราทำได้ เนื่องจากการเติบโตนั้นไม่สามารถสร้างกฎหมายได้เองโดยอัตโนมัติ และยังมีข้ออภิปรายอื่นๆ เช่น rule of law ในตัวมันเองเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อพัฒนาสิทธิมนุษยชนเพื่อ เพิ่มโอกาสเข้าถึงความยุติธรรมให้ประชาชนทุกคนจากการกดขี่ของรัฐ ดังที่ จอห์น ล็อคเขียนในปี 1690 ว่า “เมื่อใดก็ตามที่กฎหมายถึงจุดจบ ทรราชจะถือกำเนิดขึ้น” ยกตัวอย่างเช่น ประเทศพม่าหรือ ซิมบับเว การละเมิดกฎหมายแลระบบใช้กำลังทหาร เป็นตัวขัดขวางการเจริญเติบโต ซึ่งการปฏิรูปจะช่วยได้ในเงื่อนไขที่ว่าการปฏิรูปนั้นดำเนินอยู่จริง โดยทั่วไปแล้ว ความพยายามในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาได้สร้างความสับสนขึ้น มีคำแนะนำว่า rule of law สามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว อย่างเช่นการปฏิรูป rule of law ในการเมืองในระดับรากฐาน โดยมิใช่การเปลี่ยนแปลงทางเทคนิค และมีความสัมพันธ์ระหว่างการเจริญเติบโตกับ rule of law rule of law กับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์เล็กน้อยในระยะสั้น นักวิชาการที่ทำการศึกษาวิจัยก็ไม่ได้ยืนยันว่า rule of law เป็นเงื่อนไขขั้นต้นที่จำเป็นต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ยิ่งนักเศรษฐศาสตร์ค้นหาสิ่งที่เกี่ยวข้องกับ rule of law มากเท่าไร ก็จะยิ่งมีปัญหาในการสร้าง rule of law ในฐานะเป็นคู่มือเศรษฐกิจสากลมากขึ้น สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 21 - 27 ส.ค. 2554 Posted: 27 Aug 2011 11:30 PM PDT คสรท.จี้นายกฯทบทวนค่าจ้าง 300 บ. นัดถก"เผดิมชัย" 5 ก.ย.นี้ / แรงงานไทย'ใหลตาย'มากขึ้น ยาบ้าระบาดหนัก จัดตั้งวัดไทยแห่งแรกในอิสราเอล / เด็กปั๊มบางจากเฮ! ขึ้นค่าแรงเด็กปั๊มเป็น 300 บ. ต้นปี 55 / อิสราเอลคืนภาษีแรงงานไทย / ดึงซีพีนำร่องขึ้นค่าแรง-ปรับ ป.ตรี "องค์กรนายจ้าง" เห็นควรให้การขึ้นค่าแรง 300 ควรค่อยเป็นค่อยไป นายโสภณ วิจิตรกร ผู้แทนองค์กรนายจ้าง กล่าวเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ถึงกรณีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน ว่า การปรับขึ้นค่าแรงนั้นควรดูตามแนวโน้มในแต่ละอุตสาหกรรม รวมถึงฝีมือแรงงาน แต่ทั้งนี้ การปรับขึ้นค่าแรงก็ควรใช้การพิจารณาโดยคณะกรรมการไตรภาคีในการพิจารณาปรับ ขึ้นตามความเหมาะสม ซึ่งถือว่าการปรับขึ้นค่าแรงในอนาคตอาจกระทำได้ แต่ควรพิจารณาอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้ผู้ประกอบการได้มีโอกาสในการปรับตัว นายโสภณ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า นอกจากการขึ้นค่าแรงแล้ว นโยบายการปรับฐานเงินเดือนของผู้จบปริญญาตรีเป็น 15,000 บาทต่อเดือน ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เนื่องจากผู้ที่จบมาก่อนหน้านี้และทำงานไปแล้ว อาจจะต้องมีการปรับฐานเงินเดือนขึ้นไปเพื่อให้สูงกว่าพนักงานที่เข้าใหม่ (มติชน, 21-8-2554) ผู้แทนองค์กรลูกจ้างห่วงรายได้ไม่ถึง 200 นายพนัส ไทยล้วน ผู้แทนองค์การลูกจ้างสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน นั้นถือเป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องดูว่าปัจจุบันส่วนใหญ่ผู้ใช้แรงงาน มีรายได้เกินกว่า 300 บาทต่อวัน จากการจ่ายเงินส่วนต่างอื่นๆ ในการทำงานจากนายจ้าง อาทิ ค่าโอที เบี้ยขยัน และเงินพิเศษต่างๆ แต่ฐานเงินเดือนของลูกจ้าง ส่วนใหญ่อยู่ในระดับไม่ถึง 5,000 และ 7,000 บาทต่อเดือน แต่หากรวมรายได้ทั้งหมด ก็จะสูงกว่า 9,500 บาท ซึ่งหากการปรับขึ้นนั้น ก็คงต้องมีการปรับขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้นายจ้างได้ปรับตัว เนื่องจากหากมีการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำแล้ว เงินสมทบต่างๆ ที่นายจ้างมีให้ลูกจ้างนั้น ก็เหมือนเป็นภาระที่บวกเพิ่มเข้าไปอีก นายพนัส กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ขณะนี้ความเป็นห่วงในส่วนตัวนั้น เรื่องแรงงานที่มีรายได้ไม่ถึง 200 บาทต่อวัน ในต่างจังหวัด มีความน่าเป็นห่วงมากกว่า ซึ่งในเรื่องนี้คงจะได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน (ไอเอ็นเอ็น, 21-8-2554) ศาลนัดไกล่เกลี่ย บ.จัดหางานต่างประเทศฟ้อง เอ็นบีที 4 ต.ค.นี้ ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลนัดพร้อมคู่ความคดีที่ นายสุรเชษฐ์ หลินไพโรจน์ ทนายความรับมอบอำนาจจากบริษัทจัดหางานเงินและทองพัฒนา จำกัด เป็นโจทก์ฟ้อง น.ส.ศันสนีย์ มีชูสาร ผู้ดำเนินรายการรู้ทันเล่ห์เหลี่ยม ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ หรือ เอ็นบีที กับพวกเป็นจำเลยที่ 1 - 9 ในความผิดฐานหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 140 ล้านบาท กรณีนำคำสัมภาษณ์ของ นายมานะ พึ่งกล่อม และนายอำนวยพร ดาท่าราช สองแรงงานไทยที่เคยทำงานในประเทศลิเบีย จำเลยที่ 6 - 7 คดีนี้ มาออกอากาศ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม และ 8 มิถุนายน 2554 ทำให้โจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียง ทั้งนี้ นายสุรเชษฐ์ ทนายความรับมอบอำนาจจากบริษัทจัดหางานเงินและทองพัฒนา จำกัด กล่าวว่า ในวันนี้ ศาลได้แนะนำให้คู่ความทั้งสองฝ่ายไปตกลงเจรจาไกล่เกลี่ยกันก่อน โดยศาลนัดไกล่เกลี่ยในวันที่ 4 ต.ค.นี้ต่อไป (แนวหน้า, 22-8-2554) แรงงานนอกระบบสมัครเป็นผู้ประกันตนกว่า 4.5 แสนราย นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวภายหลังตรวจนิเทศการดำเนินงานขยายความคุ้มครองประกันสังคมสู่แรงงานนอก ระบบ ตามมาตรา 40 ของพระราชบัญญัติประกันสังคมแก่หัวหน้าหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานใน จ.ชัยนาท เมื่อวันที่ 23 ส.ค. ว่า ณ วันที่ 15 ส.ค.2554 มีจำนวนแรงงานนอกระบบทั่วประเทศที่ยื่นจดทะเบียนสมัครเป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 40 แล้ว รวมทั้งสิ้น 456,606 คน แยกเป็นการขยายความคุ้มครองในทางเลือกที่ 1 เงินสมทบ 100 บาทต่อเดือน รัฐจ่าย 30 บาท ผู้ประกันตนจ่าย 70 บาท มีจำนวนแรงงานนอกระบบที่ยื่นจดทะเบียนแล้ว จำนวน 2,768 คน โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์เงินทดแทนการขาดรายได้ เมื่อป่วยต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล 200 บาทต่อวัน ไม่เกิน 20 วันต่อปี การขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพ และเงินค่าทำศพ (แนวหน้า, 23-8-2554) ดึงซีพีนำร่องขึ้นค่าแรง-ปรับ ป.ตรี ดึงเครือซีพี-บริษัทตลาดทุน นำร่องขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท พร้อมปรับเงินเดือนปริญญาตรีเป็น 1.5 หมื่นบาท กิตติรัตน์ ลั่นเริ่ม 1 ม.ค.ยันมีมาตรการภาษีแลกเปลี่ยน พร้อมผุดแผนช่วยเอสเอ็มอีลดขั้นตอนผลิต-หาเครื่องจักร ด้านนักวิชาการติงอย่าโหมประชานิยมหวั่นระยะยาวพัง ขณะตลาดทองคำขึ้นลงทั้งวันก่อนปิดตัวขยับพุ่ง 400 บาท ส่งผลทองรูปพรรณมีราคาบาทละ 2.7 หมื่นบาท เมื่อวันที่ 22 ส.ค. นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ เปิดเผยการปรับขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำวันละ 300 บาท และปรับเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท ที่จะเริ่มได้ในวันที่ 1 ม.ค. 55 ว่า โดยจะมีภาคเอกชนรายใหญ่เป็นผู้นำในการปรับขึ้นค่าจ้างก่อนซึ่งขณะนี้เท่าที่ รับทราบมีหลายบริษัทในเครือบริษัทซีพี และบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ได้ตื่นตัวต่อนโยบายของรัฐบาลและเตรียมพร้อมรองรับกับการปรับขึ้นค่าจ้าง ใหม่แล้ว สำหรับกลุ่มธุรกิจที่เหลือจะเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการไตรภาคีพิจารณา ซึ่งจะเป็นไปตามกระบวนการกฎหมายปกติของการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งตัวเลขที่ปรับขึ้นจะสอดคล้องกับความพร้อมในหลายด้าน และปรับขึ้นไปเรื่อย ๆ จนทำให้ภาคธุรกิจสามารถปรับขึ้นค่าจ้างตามนโยบายของรัฐบาลได้ “ไม่ต้องการให้ภาคธุรกิจกังวลกับ นโยบายมากไป เพราะหลังจากที่แถลงนโยบายรัฐบาลต่อสภาเสร็จสิ้นภาพทั้งหมดจะชัดเจนทั้งการ ปรับลดภาษีนิติบุคคล และการยกเลิกกองทุนน้ำมัน ซึ่งเป็นแนวทางที่ผู้ประกอบการทุกรายจะได้ประโยชน์จากการเสียภาษีอย่างถูก ต้อง สอดคล้องกับการปรับค่าจ้างขึ้นมา ทั้งนี้แม้การปรับขึ้นค่าจ้างจะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตสูงขึ้น แต่เชื่อว่าการได้รับส่วนลดจากมาตรการภาษี และราคาน้ำมันถูกลงจะช่วยชดเชยต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้อีกทาง ดังนั้นเมื่อปรับขึ้นค่าจ้างแล้วอัตราเงินเฟ้อไม่ได้เพิ่มสูงขึ้น สิ่งที่อยากเห็นต่อมาคือให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ทบทวนนโยบายดอกเบี้ยภายในประเทศไม่ให้สูงขึ้นเกินไป เพื่อไม่ให้กระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้าไม่สูงขึ้นตาม” นายกิตติรัตน์ กล่าว รองนายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า แนวทางการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายปรับขึ้นค่าจ้างนั้น จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือเอสเอ็มอีที่เสียภาษีไหวแต่ไม่ยอมเสียภาษี กลุ่มนี้รัฐบาลจะบังคับให้กลับมาเสียภาษีจากมาตรการที่ออกมาช่วยเหลือ เพราะการเสียภาษีจะช่วยในเรื่องความน่าเชื่อถือของธุรกิจต่อระบบธนาคารดี ขึ้น ส่วนอีกกลุ่มคือเอสเอ็ม อีที่เสียภาษีไม่ไหว จะแบ่งความช่วยเหลือ 3 ด้าน คือ รัฐจะผลักดันให้มีการทบทวนการจ้างแรงงานว่าคุ้มกับประสิทธิภาพการทำงานหรือ ไม่ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ธุรกิจมีอนาคต แต่ที่ผ่านมาการเพิ่มประสิทธิภาพด้านผลผลิตอาจไม่ถูกทาง ดังนั้นต้องเพิ่มขีดความสามารถให้ ต่อมาจะให้ความช่วยเหลือด้านการฝึกอบรม และจัดหาเครื่องจักรให้ ซึ่งกระทรวงการคลังกำลังดำเนินการในส่วนนี้ โดยอาจช่วยเหลือสภาพคล่องให้ธุรกิจเพื่อนำเข้าเครื่องจักรมาผลิต และสุดท้ายกลุ่มที่เพิ่มประสิทธิภาพไม่ได้ อาจต้องยอมรับความจริงที่จะลดกำลังการผลิต หยุดกำลังการผลิต ไปจนถึงเปลี่ยนไปประกอบธุรกิจอื่น ซึ่งกลุ่มนี้ควรต้องทบทวนตัวเองหลังจากที่รัฐบาลเริ่มส่งสัญญาณต่อการปรับ ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยกล่าวว่า การขึ้นค่าแรง 300 บาท รัฐบาลควรมีท่าทีผ่อนปรน ให้บางส่วนที่พร้อมนำร่องไปก่อน ส่วนที่ยังไม่พร้อมก็ให้ทยอยปรับขึ้น ผ่านการพิจารณาของไตรภาคี โดยภาพรวมนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลจำเป็นต้องเดินอย่างระวัง ไม่ควรทำประชาชนนิยมมากไป เพราะอาจก่อให้เกิดความเสียหายในเศรษฐกิจระยะยาวได้ รัฐต้องคำนึงถึงนโยบายการกระตุ้นกำลังซื้อ เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของรายได้ในระยะยาว มีจีดีพีขยายตัวสอดคล้องกับสัดส่วนหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้น ด้านธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ส่งหนังสือชี้แจงเกี่ยวกับการรับมอบทองคำแท่ง ตามโครงการช่วยชาติ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ครั้งที่ 16 เมื่อวันที่ 7 พ.ค. 54 ถึงพระสุดใจ ทันตมโน เจ้าอาวาสวัดป่าบ้านตาด ว่า ธปท. ได้ชั่งน้ำหนักทองคำแท่งเพื่อนำไปวิเคราะห์หาค่าความบริสุทธิ์ ตามมาตรฐานการขึ้นทะเบียนทองคำของ ธปท. แล้วโดยการดำเนินการดังกล่าวได้สูญเสียน้ำหนักทองคำไปบางส่วน คงเหลือน้ำหนักทองคำแท่งเทียบค่าความบริสุทธิ์ที่บริจาคครั้งที่ 16 เมื่อวันที่ 7 พ.ค. เหลือทั้งสิ้น 920 กิโลกรัม นำเข้าคลังหลวงในบัญชีสำรองพิเศษของทุนสำรองเงินตรา ส่งผลให้สินทรัพย์ในบัญชีสำรองพิเศษ มีค่าเพิ่มขึ้นถึง 1,334.203 ล้านบาท สำหรับการบริจาคทองคำเข้าโครงการดังกล่าว รวม 16 ครั้ง มียอดรวมทั้งสิ้น 13,000 กรัม หรือ 13 ตัน (เดลินิวส์, 23-8-2554) ผู้นำแรงงานเรียกร้องรัฐบาลนำร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับผู้ใช้แรงงาน มาใช้ 23 ส.ค. 54 - ในงานสัมมนาภาคีเพื่อรับฟังความคิดเห็นการปฏิรูปกฎหมายด้านแรงงานและ สวัสดิการสังคม จัดโดยคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย มีการแสดงความเห็นถึงร่างกฎหมายด้านแรงงาน 6 ฉบับที่ค้างอยู่ในรัฐสภาชุดที่แล้ว โดยเฉพาะร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ซึ่งผู้ใช้แรงงานกว่า 14,000 คนได้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย โดยมีสาระสำคัญ คือการผลักดันสำนักงานประกันสังคมให้เป็นองค์กรอิสระ โดยนายยงยุทธ เม่นตะเภา ประธานสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย กล่าวเรียกร้องให้รัฐบาลชุดปัจจุบัน ชะลอหรือระงับ ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับที่เสนอโดยกระทรวงแรงงาน ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของวุฒิสภา และให้นำร่าง พ.ร.บ.ฉบับประกันสังคม ฉบับของผู้ใช้แรงงานซึ่งรัฐบาลชุดที่แล้วได้รับหลักการแล้ว เข้าไปแทนที่ เนื่องจากร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับที่เสนอโดยกระทรวงแรงงาน ไม่มีสาระสำคัญของการทำให้สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เป็นองค์กรอิสระ ซึ่งผู้ใช้แรงงานเชื่อว่าจะช่วยลดการแทรกแซงของฝ่ายการเมือง ที่พยายามจะเข้ามาหาผลประโยชน์จากกองทุนประกันสังคม รวมถึงการใช้งบบริหารร้อยละ 10 ของกองทุนอย่างไม่เหมาะสม เช่น การไปดูงานต่างประเทศ นอกจากนี้ การนำร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับประชาชน มาใช้จะทำให้สัดส่วนของผู้ใช้แรงงานที่เป็นตัวแทนในชั้นกรรมาธิการ เพิ่มขึ้น และสามารถเสนอแนะความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้แรงงานได้มากขึ้น (สำนักข่าวไทย, 23-8-2554) "อภิรักษ์"ยกเอกชนโวยขึ้นค่าแรง ทำแรงงานตกงานทันที 3 แสนคน 23 ส.ค. 54 - ในการอภิปรายการแถลงนโยบายของรัฐบาล นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวว่า นโยบายรัฐบาลจะส่งผลกระทบต่อคนทำงานทั้งประเทศ แบ่งเป็นแรงงานในระบบ 14 นอกระบบ 24 ล้านคน ประชาชนคาดหวังนโยบายค่าแรง 300 บาท และเงินเดือน 15,000 บาท ฐานค่าแรงเดิม กทม.อยู่ที่ 215 บาท/วัน ภาคเหนือเฉลี่ย 180 บาท/วัน อีสาน 170-180 บาท/วัน นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้สัมภาษณ์ว่าทำได้ทันที แต่รัฐบาลระบุในนโยบายว่าเริ่มวันที่ 1 มกราคม 2555 และเริ่มทำในบางพื้นที่ นายอภิรักษ์กล่าวว่า ภาคเอกชนมีข้อเรียกร้องชัดเจนว่า นโยบายดังกล่าวอาจส่งผลกระทบให้คนตกงานกว่าร้อยละ 30 หรือราว 3 แสนคน และอยากให้ดำเนินการผ่านกลไกไตรภาคี ส่วนเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท ฐานข้อมูลภาคราชการมี 8 แสนคน รัฐวิสาหกิจ 6 หมื่นคน ตามปกติแล้วต้องใช้ระยะเวลา 5-10 ปี กว่าจะได้ปรับฐานเงินเดือนถึง 15,000 บาทได้ ดังนั้น มาตรการรองรับหากปรับเงินเดือนขึ้นคืออะไร ดังนั้น ฝากรัฐบาลว่าสิ่งที่หาเสียงไว้เป็นสิ่งที่ประชาชนคาดหวัง (มติชน, 23-8-2554) "ยิ่งลักษณ์"ยันขึ้นรายได้ 300 บาทจริง เมื่อเวลา 08.50 น. ที่อาคารรัฐสภา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีนโยบายการเพิ่มรายได้ 300 บาทว่า แท้จริงแล้วเราไปคุยกันเรื่องการตีความตัวอักษรมากกว่า แต่อย่างไรแล้วเราก็ต้องการให้ผู้ใช้รายงานพี่น้องประชาชนมีรายได้ 300 บาท เราอยากให้ดูที่ผลการกระทำจะดีกว่า เพราะบางครั้งเราไปคุยในตัวอักษรอาจจะทำให้ไปเน้นในเรื่องการตีความเกินไป แต่ผลลัพธ์เราต้องการที่จะให้ผู้ใช้รายงานนั้น ได้รับรายได้มากขึ้น ผู้สื่อข่าวถามว่าหวั่นหรือไม่ที่ผู้ ใช้แรงงานจะมีปฏิกิริยาที่ไม่ดีกลับมา น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า เรื่องนี้คงไม่หรอก เพราะเชื่อว่าพี่น้องประชาชนคงจะรับฟัง อีกทั้งตนก็มีความจริงใจในการส่งมอบนโยบายที่มีการหาเสียงที่เตรียมไว้อยู่ แล้ว แต่ในรายละเอียด บางครั้งอาจจะเป็นรายละเอียดที่ต้องลงไปทำงานจริงๆ วันนี้เป็นการร่างนโยบายเพื่อเป็นกรอบรวม แต่เจตนารมณ์ต่างๆที่ได้พรรคเพื่อไทยได้หาเสียงกับพี่น้องไว้ยังเหมือนเดิม ตนก็จะมุ่งมั่นทำหน้าที่ตรงนี้เพื่อที่จะส่งมอบผลลัพธ์สุดท้ายต่อพี่น้อง ประชาชน ส่วนกรณีที่ฝ่ายค้านออกมาระบุว่าราย ได้กับค่าจ้างขั้นต่ำนั้นไม่เหมือนกัน จะชี้แจงอย่างไร น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า เรื่องนี้ไปฟังการชี้แจงในสภาฯดีกว่า ส่วนกรณีที่ฝ่ายค้านออกมาระบุว่านโยบายที่ออกมาเป็นเพียงแค่การหาเสียงเท่า นั้น ตนขอยืนยันว่าไม่เป็นอย่างนั้นแน่นอน เพราะเรามีความตั้งใจที่จะทำอยู่แล้ว (เนชั่นทันข่าว, 24-8-2554) ลูกจ้างเตรียมขอพบ รมว.แรงงาน หลังนโยบายค่าจ้าง 300 บาทไม่ตรงกับหาเสียง 24 ส.ค. 54 - นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย กล่าวว่า นโยบายของรัฐบาลไม่ตรงกับที่ได้หาเสียงไว้ในเรื่องของค่าจ้างขั้นต่ำ เพราะรัฐบาลเปลี่ยนถ้อยคำจากค่าจ้างขั้นต่ำมาเป็นรายได้ไม่น้อยกว่าวันละ 300 บาท ซึ่งความหมายของรายได้ คือ ค่าจ้างบวกกับค่าสวัสดิการและค่าโอที ทำให้แรงงานรู้สึกว่า รัฐบาลบิดพลิ้วนโยบายปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ทั้งนี้ หากพูดถึงรายได้ภาพรวมในปัจจุบันทั้งในเรื่องของเงินเดือนและค่าสวัสดิการ ต่างๆ ลูกจ้างได้มากกว่า 300 บาทต่อวันอยู่แล้ว หากได้ค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท จะทำให้ลูกจ้างมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเพราะไม่ต้องทำงานล่วงเวลา หรือทำน้อยลดลง อย่างไรก็ตาม สัปดาห์หน้า ตัวแทน 7 สภาองค์การลูกจ้างฯ จะขอเข้าพบนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อทวงถามความชัดเจนในเรื่องนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท เพราะสิ่งที่แรงงานกังวล คือ รายได้ 300 บาทต่อวัน เป็นการขอความร่วมมือจากภาคเอกชน ไม่ได้เกิดผลเช่นเดียวกับค่าจ้างขั้นต่ำ ที่มีกฎหมายบังคับชัดเจนให้นายจ้างจ่าย สำหรับวิธีการในการปรับขึ้นค่าจ้าง ขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวันนั้น รัฐบาลสามารถทำได้ โดยแก้ไขมาตรา 78 ของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ในเรื่องการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำโดยให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการ หรือกำหนดอัตราค่าจ้างแทนคณะกรรมการไตรภาคี เพราะปัจจุบันราคาสินค้ามีการขยับนำหน้าการปรับค่าจ้างแล้ว (สำนักข่าวไทย, 24-8-2554) อิสราเอลคืนภาษีแรงงานไทย กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจาก สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเทลอาวีฟ ว่า รัฐบาลอิสราเอลได้ประกาศคืนเงินภาษีให้กับแรงงานที่ได้เดินทางเข้ามาทำงาน เมื่อปี 2546-2548 ในปัจจุบัน สถานเอกอัครราชทูต ได้ตรวจพบรายชื่อแรงงานไทยที่เคยเดินทางมาทำงานในช่วงปี 2546-2548 และมีสิทธิรับคืนภาษีจากรัฐบาลอิสราเอลทั้งสิ้นจำนวน 5,000 คน และแรงงานทั้งหมดได้เดินทางกลับประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เนื่องจากสัญญาว่าจ้างในการทำงานของ อิสราเอล กำหนดระยะเวลาให้พำนักได้สูงสุดเพียง 5 ปี และไม่อนุญาตให้กลับเข้ามาทำงานได้อีกครั้ง โดยปัจจุบัน มีแรงงานไทยกว่า 2,500 คน จากจำนวน 5,000 คนดังกล่าวได้มอบสิทธิกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำกรุงเทลอาวีฟ ติดตามการคืนเงินจากรัฐบาลอิสราเอลและส่งมอบเงินที่ได้รับคืนทั้งหมดกลับ ประเทศไทยต่อไป อย่างไรก็ตาม หากยังมีแรงงานที่ได้เดินทางมาทำงานในอิสราเอลในช่วงปี ดังกล่าว และประสงค์ที่จะตรวจสอบสิทธิการได้รับภาษีคืน สามารถติดต่อสอบถามรายชื่อและสถานะได้ที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ ทางโทรศัพท์หมายเลข + 972 5 4636 8150 หรือที่อีเมล์ attakarw@hotmail.com เพื่อรักษาสิทธิของตนเอง ทั้งนี้ มีแรงงานไทยทำงานอย่างถูกต้องทางกฎหมายในอิสราเอลประมาณ 23,100 คน ส่วนใหญ่ทำงานด้านเกษตร งานก่อสร้างและอุตสาหกรรม ร้านอาหาร และดูแลคนชรา (โพสต์ทูเดย์, 24-8-2554) นักวิชาการหนุนพัฒนาฝีมือแรงงาน วันนี้ (24 ส.ค.) รศ.ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวถึงการแถลงนโยบายด้านแรงงานต่อรัฐสภาของรัฐบาลที่จะดำเนินการให้แรงงาน มีรายได้ต่อวันไม่น้อยกว่า 300 บาท และผู้ที่จบปริญญาตรีมีรายได้ไม่น้อยกว่าเดือนละ 1.5 หมื่นบาท อย่างสอดคล้องกับผลิตภาพและประสิทธิภาพของบุคลากร ว่า จากการศึกษาพบว่าพื้นทีที่มีโอกาสได้ปรับขึ้นค่าจ้างตามนโยบายนี้ก่อน คือ กทม.และปริมณฑล และภาคใต้ เนื่องจากพื้นที่เหล่านี้มีธุรกิจขนาดใหญ่กระจายตัวอยู่มาก และมีแรงงานที่มีประสิทธิภาพ และมีศักยภาพสูงสามารถผลิตชิ้นงานได้มาก ขณะที่ภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ จะค่อยๆทยอยปรับค่าจ้าง เนื่องจากพื้นที่เหล่านี้ส่วนใหญ่มีแต่ธุรกิจเอสเอ็มอี ซึ่งมีต้นทุนต่ำ ทำให้ปรับค่าจ้างได้ยาก อีกทั้งแรงงานมีประสิทธิภาพต่ำ (ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 24-8-2554) เด็กปั๊มบางจากเฮ! ขึ้นค่าแรงเด็กปั๊มเป็น 300 บ. ต้นปี 55 ขานรับบัตรเครดิตพลังงาน-ชาวนา นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.บางจากปิโตรเลียม(BCP) กล่าวว่า ในปี 55 บริษัทเตรียมปรับเพิ่มค่าแรวขั้นต่ำให้กับเด็กปั๊มเป็น 300 บาท/วัน จากขณะนี้อยู่ที่ 250 บาท/วัน มองทิศทางธุรกิจจำหน่ายน้ำมันค่าแรงงานถือว่ามีความสำคัญ และพร้อมตอบสนองนโยบายรัฐบาล ซึ่งการปรับค่าแรงจะดำเนินการควบคู่ไปกับประสิทธิภาพการทำงาน เพราะจะทำให้ต้นทุนของบริษัทเพิ่มขึ้น 0.07 บาท/ลิตร ส่วนหนึ่งบริษัทอาจแบกรับต้นทุนเองและอีกส่วนหนึ่งผลักเข้าไปที่ราคา น้ำมัน บริษัทยังพร้อมให้ความร่วมมือโครง การบัตรเครดิตพลังงานและบัตรเครดิตชาวนา ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีสถานีบริการน้ำมันที่ร่วมมือกับสหกรณ์ของเกษตรกร หลายแห่งอยู่แล้ว เพื่อเพิ่มความสะดวกในการเติมน้ำมันของเกษตรกร และสถานีบริการน้ำมันทั่วไปของบางจากก็รับบัตรเครดิตต่าง ๆ อยู่แล้ว ส่วนมาตรการลดภาษีน้ำมันดีเซลที่จะ สิ้นสุดในเดือน ก.ย.นี้นั้น นายอนุสรณ์ กล่าวว่า รัฐบาลน่าจะทยอยปรับขึ้นภาษี และบางช่วงที่ต้องยอมรับให้น้ำมันดีเซลปรับราคาขึ้นเกินกว่า 30 บาท/ลิตรได้ เพราะแนวโน้มราคาน้ำมันในตลาดโลกยังผันผวน ปกติถ้ามีเงินจากกองทุนน้ำมันก็คงจะเข้าชดเชยได้ แต่หากรัฐบาลยกเลิกการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันก็คงต้องปล่อย ให้ราคาเป็นไปตามกลไกบ้าง นายอนุสรณ์ กล่าววา นโยบายลดการเก็บเงินจากเบนซินเข้ากองทุนน้ำมัน จะทำให้ประชาชนเลิกเติมแก๊สโซฮอล์ 91 แล้วหันมาเติมน้ำมันเบนซิน 91 มากขึ้น เพราะส่วนต่างราคาลดลงเหลือ 0.23 บาท/ลิตร จากระดับที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 2.0-2.5 บาท/ลิตร รวมทั้งปริมาณการใช้แก๊สโซฮอล์ต่อกิโลเมตรจะสูงกว่าเบนซิน หากประชาชนหันไปเติมน้ำมันเบนซินมากขึ้นจะทำให้เกิดปัญหาน้ำมันล้น โรงกลั่นเพราะขายไม่ออก ทำให้บริษัทอาจจะต้องหันไปส่งออกน้ำมันมากขึ้น ขณะเดียวกันจะมีปัญหาที่จะต้องเพิ่มหัวจ่ายน้ำมันเบนซินในสถานีบริการ น้ำมัน "หวังว่ารัฐบาลคงจะออกเป็นมาตรการ ระยะสั้นเท่านั้น ขณะเดียวกันรัฐบาลก็ต้องออกมาตรการรณรงค์ให้ประชาชนหันมาใช้แก๊สโซ ฮอล์ด้วย"นายอนุสรณ์ กล่าว อย่างไรก็ตาม มองว่านโยบายดังกล่าวไม่น่ามีผลกระทบต่อรายได้ของบริษัทในช่วงครึ่งปี หลังมากนัก เพราะรายได้ส่วนใหญ๋มาจากธุรกิจโรงกลัน และไตรมาส 4/54 บริษัทจะมีรายได้จากธุรกิจโรงไฟฟาพลังงานแสงอาทิตย์เข้ามาชดเชย และขณะนี้บริษัทยังไม่มีแนวคิดจะเพิ่มหัวจ่ายน้ำมันเบนซิน 91 หากนโยบายดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อยอดขายของบริษัทเกิน 20% นายอนุสรณ์ เชื่อว่า ราคาน้ำมันในปีนี้คงไม่สูงขึ้นมากนัก เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศใหญ่ยังไม่ดีนัก ทั้งปีนี้คาดว่าจะทรงตัวอยูในระดับ 100 เหรียญ/บาร์เรล แม้ขณะนี้สถานการณ์ในลิเบียจะดีขึ้นแล้ว แต่คงยังไม่สามารถส่งออกน้ำมันได้เร็วนัก และมีปัญหาในประเทศไนจีเรียที่เป็นผู้ผลิตน้ำมันกำมะถันต่ำ ทำให้ราคาน้ำมันยังทรงตัว ดังนั้น ในสัปดาห์นี้ราคาน้ำมันในประเทศังยังไม่เปลี่ยนแปลง จากเดิมที่คยคาดว่าจะลดราคาลงมาได้ เพราะราคาน้ำมันในตลาดนิวยอร์กและลอนดอนปรับตัวขึ้นมาแล้ว (สำนักข่าวอินโฟเควสท์, 25-8-2554) แรงงานไทย'ใหลตาย'มากขึ้น ยาบ้าระบาดหนัก จัดตั้งวัดไทยแห่งแรกในอิสราเอล นายอัฐกาญจน์ วงศ์ชนะมาศ Counsellor ที่ปรึกษาสถานทูตไทยประจำอิสราเอล เปิดเผยว่า การเสียชีวิตของแรงงานไทย กำลังเป็นปัญหาหนักเพราะนับวันมีแต่จะเพิ่มขึ้น ในจำนวนแรงงานไทยที่ทำงานอยู่ในอิสราเอลกว่า 2.6 หมื่นคนในขณะนี้ และเสียชีวิตจากอัตราการแจ้งเพื่อออกใบรับรองการมรณบัตร มีความถี่ขึ้นอย่างผิดสังเกต ซึ่งทางด้านการแพทย์ ก็ยังไม่สามารถชี้แจงเหตุผลที่แท้จริงได้ว่า เหตุใด แรงงานไทยจึงหลับและไม่ตื่น เสียชีวิตในระหว่างการนอนหลับได้ ขณะเดียวกัน ในด้านศาสนา สถานทูตไทยในกรุงเทลอาวีฟ ได้ให้การสนับสนุนเพื่อดำเนินการจัดตั้งวัดไทยแห่งแรกในอิสราเอล โดยพระออฟเฟอร์ พระชาวยิวที่บวชเป็นพระในพุทธศาสนา ที่วัดร่ำเปิง จ.เชียงใหม่ โดยคำแนะนำและคำสอนจากพระธรรมมังคลาจารย์ พระอาจารย์ทอง ศิริมังคโล วัดพระธาตุจอมทองวรวิหาร ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ และผู้อำนวยการสำนักวิปัสสนาภาคเหนือแห่งประเทศไทย บริเวณที่จะจัดตั้งเป็นวัดไทยแห่งแรก นี้ ได้รับพระราชทานเสาเสมาธรรมจักร จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยได้รับการบริจาคที่ดินจากครอบครัวนิวมัน เพื่อสร้างเป็นสำนักวิปัสสนากรรมฐาน ที่เมืองยับนิเอล ประเทศอิสราเอล ขณะนี้อยู่ในระหว่างการจัดหาทุนเพื่อสร้างเจดีย์และโบสถ์วัดไทยต่อไป พระอาจารย์ออฟเฟอร์ กล่าวว่า การบวชเป็นพระในพุทธศาสนา เพราะต้องการลด “อัตตา” ทำให้จิตใจสบายขึ้นลดความยึดมั่นถือมั่น จึงคิดตั้งวัดไทยขึ้นในอิสราเอลเป็นวัดแรก เพราะจะได้เป็นที่พึ่งทางจิตใจของชาวไทยและผู้มีศรัทธาในอิสราเอล ขณะนี้สำนักวิปัสสนากรรมฐานแห่งนี้ ได้กลายเป็นที่รองรับการทำพิธีทางศาสนาให้แรงงานไทย และที่หนักใจที่สุดและต้องแก้ไขด่วน ก็คือ การพบว่า แรงงานไทยเสียชีวิตด้วย “โรคใหลตาย” และมาทำพิธีที่นี่ ก่อนส่งกลับประเทศไทยในภายหลัง เพราะที่อิสราเอล ไม่มีวัดไทย และมีที่นี่ที่เดียว ในอิสราเอล มีแรงงานต่างชาติ 243,000 คน เพราะแรงงานท้องถิ่นไม่นิยมงานประเภทไร้ฝีมือหรืองานลำบาก แรงงานไทยคิดเป็นประมาณ 20% ของแรงงานต่างชาติ ปัญหาของแรงงานไทยในอิสราเอลขณะนี้ ที่แพร่หลายมากที่สุดคือ ยาบ้า การใช้ยาเสพติดกระตุ้นการทำงานด้วยยาบ้า กำลังแพร่หลายในหมู่แรงงานไทย สันนิษฐานว่า น่าจะมาจากการเพิ่มชั่วโมงการทำงาของนายจ้างและปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น ทำให้แรงงานไทย ใช้ยาบ้าเพื่อเพิ่มชั่วโมงทำงาน ให้มีแรงทำงานได้ ในกลุ่มแรงงานเรียกว่า “ยาขยัน” ตำรวจอิสราเอลจับได้กว่า 81,000 เม็ด ซุกซ่อนลักลอบเข้ามาในอิสราเอลด้วยการซุกในช้างไม้ และจัดส่งทางพัสดุไปรษณีย์ โดยมีจุดหมายทางตอนใต้ของอิสราเอลที่มีแรงงานไทยอยู่จำนวนมาก หากยังมีการลักลอบมากขึ้น และไม่เร่งแก้ไขปัญหาร่วมกัน อาจจะเป็นข้ออ้างหนึ่งที่ทำให้กีดกันแรงงานไทยในอนาคตได้ ปัญหาแรงงานไทยอีกปัญหาหนึ่งก็คือ การไม่ได้รับความเป็นธรรม ถูกบังคับให้ทำงานเกินจำนวนชั่วโมงทำงานที่กำหนดไว้ ทำงานโดยไม่มีเวลาพักและไม่ได้รับค่าจ้างล่วงเวลา และนายจ้างไม่รับผิดชอบเมื่อประสบอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยจากการทำงาน (ข่าวสด, 25-8-2554) คสรท.จี้นายกฯทบทวนค่าจ้าง 300 บ. นัดถก"เผดิมชัย" 5 ก.ย.นี้ น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) กล่าวว่า ค่าจ้างขั้นต่ำนั้นคือการอยู่ในกรอบของกฏหมายที่กำหนดให้ได้รับค่าจ้างขั้น ต่ำ 300 บาท ตั้งแต่วันแรกที่เข้าทำงาน ส่วนค่าครองชีพ ค่าทำงานล่วงเวลา เบี้ยขยัน โบนัส ค่าอาหาร ค่ารถ ถือเป็นสวัสดิการที่นอกเหนือจากที่กฏหมายกำหนดไว้ จะต้องแยกออกมาจากค่าจ้างขั้นต่ำ ที่ลูกจ้างจะต้องได้ต่างหาก ด้านนายยงยุทธ เม่นตะเภา ประธานสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า จากการแถลงนโยบายของรัฐบาลเรื่องค่าจ้าง 300บาทถือว่าผิดเพี้ยนจากช่วงหาเสียงที่บอกว่าจะปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300บาททันทีทั่วประเทศ มาเป็นรายได้ไม่น้อยกว่าวันละ 300 บาทซึ่งทุกวันนี้หากเอาค่าจ้างรวมกับค่าล่วงเวลาและสวัสดิการต่างๆก็ถือว่า มีรายได้มากกว่า300 บาทอยู่แล้ว ซึ่งเครือข่ายแรงงานจะไม่ยอมถอยในเรื่องนี้และหากรัฐบาลเบี้ยวผู้ใช้แรงงาน ในลักษณะนี้ก็คงต้องมีการเคลื่อนไหวอย่างแน่นอน นายยงยุทธ กล่าวว่า เบื้องต้นทางเครือข่ายคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยจะจัดสัมมนาในวันที่ 5 ก.ย. และนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์รมว.แรงงานได้ตกลงเข้าร่วมงานแล้วดังนั้นจะใช้โอกาสนี้ระดมพี่ น้องแรงงานมาร่วมสัมมนาและซักถามนายเผดิมชัยให้ชัดแจ้งว่ารัฐบาลจะทำอย่างไร กันแน่ ขณะที่นายพรมมา ภูมิพันธุ์โฆษกสหพันธ์แรงงานสิ่งทอการตัดเย็บเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์เครื่อง หนังแห่งประเทศไทยกล่าวว่า รัฐบาลกำลังเลี่ยงบาลีและซื้อเวลาเนื่องจากในช่วงเลือกตั้งเคยคุยกับนายจารุ พงศ์ เรืองสุวรรณเลขาธิการพรรคเพื่อไทย และได้รับการยืนยันว่าจะขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300บาททั่วประเทศ "ถ้าเป็นแบบนี้เราไม่พอใจแน่นอนเพราะค่าจ้างขั้นต่ำกับรายได้เป็นคนละอย่าง กันถ้ารัฐบาลทำแบบนี้เราจะออกมาทวงถามไปยังพรรคเพื่อไทยอีกครั้งว่ามันเกิด อะไรขึ้น"นายพรมมากล่าว ส่วนนางอำนวย เอี่ยมรักษาอดีตประธานสหพันธ์แรงงานกระดาษและการพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าวว่าไม่เห็นด้วยที่จะเอาเรื่องผลิตภาพและทักษะฝีมือมาผูกกับค่าจ้าง เพราะรัฐบาลบอกว่าวันที่1 ม.ค. 2555 จะขึ้นค่าจ้างให้มันทีหลังจากนี้จะเคลื่อนไหวร่วมกับคณะกรรมการสมานฉันท์แรง งานไทยกดดันรัฐบาลต่อไป (กรุงเทพธุรกิจ, 25-8-2554) สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
กรุงเทพโพลล์เผยผลสำรวจเรื่อง “คิดอย่างไรกับการแถลงนโยบายของรัฐบาล” Posted: 27 Aug 2011 10:56 PM PDT กรุงเทพโพลล์เผยประชาชนให้คะแนนแถลงนโยบายของรัฐบาล "ยิ่งลักษณ์" 6.61 คะแนน "อภิสิทธิ์" 6.39 คะแนน 28 ส.ค. 54 - ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เผยผลสำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ และปริมณฑลพบว่า หลังจากที่ได้ฟังการแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อสภาฯ แล้ว พบว่า ร้อยละ 35.6 รู้สึกพอๆ กับที่คาดหวังไว้ก่อนการแถลงผล ดีกว่าที่คาดหวังร้อยละ 19.0 แย่กว่าที่คาดหวังร้อยละ 13.5 และไม่ได้คาดหวัง ร้อยละ 31.9 ประชาชนมีความเห็นว่านโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลที่สามารถทำให้เห็นผลชัดเจนเป็นรูปธรรมได้ในปีแรกมีเพียงนโยบายเดียวคือ นโยบายด้านความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ ส่วนนโยบายที่เห็นว่าสามารถทำให้เห็นผลชัดเจนเป็นรูปธรรมได้แต่ต้องใช้เวลามากกว่า 1 ปี คือ นโยบายด้านความปรองดองและความสมานฉันท์ของคนในชาติ นโยบายด้านการแก้ปัญหายาเสพติด และนโยบายด้านการแก้ปัญหาปากท้องและค่าครองชีพของประชาชน สำหรับนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลที่ประชาชนเห็นว่าไม่สามารถทำได้คือ นโยบายด้านการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ นโยบายด้านการแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น ทั้งนี้ประชาชนให้คะแนนความพึงพอใจในการทำหน้าที่ในสภาฯ ของ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้นำฝ่ายรัฐบาล ได้ 6.61 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านได้ 5.27 คะแนน ฝ่ายรัฐบาลได้ 6.39 คะแนน ฝ่ายค้านได้ 5.16 คะแนน ประธานสภาฯได้ 6.29 คะแนน และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)ได้ 5.88 คะแนน สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น