ประชาไท | Prachatai3.info |
- สุริยันต์ ทองหนูเอียด ออกแถลงการณ์ ครป. คัดค้านแก่งเสือเต้น
- ชุมชนมูเซอ จ.ตาก แถลงขอมีส่วนร่วมบริหารจัดการตลาดมูเซอ
- หมอชูชัย ยืนยันไม่เคยร่วมงานกับพรรคการเมืองใด
- องค์การแรงงานเพื่อประชาธิปไตย วอนรัฐบาลช่วยประกันนักโทษการเมือง 112
- ‘เพชรเกษม41’ แถลงนโยบายประชาชน ประกาศปฏิญญาสู้ศึก ‘แผนใต้–ปากบารา’
- ประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์: วุฒิภาวะหนังสือพิมพ์กรณีผลสอบอีเมล์ฉาว
- ศาลให้ประกัน4ผู้ต้องขังแดงขอนแก่นหัวละล้านส่วน9ผู้ต้องขังแดงสารคามลุ้นศุกร์นี้
- เมื่อ 'คำ ผกา' รู้เรื่องมิติทางสังคมของพุทธศาสนาดีกว่าพระ
- เก็บตกการเสวนา “เราไปไกลกว่าสองนคราแล้วหรือยัง?”
- "อภิสิทธิ์" ชี้นโยบาย "เพื่อไทย" ไม่มีภูมิคุ้มกันรับมือวิกฤตเศรษฐกิจโลก
- ผู้บริหารโรงงานปลากระป๋องหนุนนโยบายค่าแรง 300 บาท
- TCIJ: หวั่น “รัฐบาลปู” หนุนเหมืองโปแตช “กลุ่มอนุรักษ์ฯ” เดินเท้าเคาะประตูแจงข้อมูลคนเมืองอุดรฯ
- ศาลปกครองยกฟ้องคดี สรรหา กสทช. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
- 9 เครือข่ายเกษตรกร บุกเพื่อไทย ร้องแก้ความไม่เป็นธรรมระบบเกษตรพันธสัญญา
- เสวนา “จริงหรือประเทศไทย” จริงหรือที่คนต่างจังหวัดเสียงดังไม่เท่าคนกรุงเทพ
สุริยันต์ ทองหนูเอียด ออกแถลงการณ์ ครป. คัดค้านแก่งเสือเต้น Posted: 22 Aug 2011 02:29 PM PDT แถลงการณ์ เรื่อง คัดค้านโครงการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น จ.แพร่ ตามที่ได้มีสถานการณ์น้ำท่วม สร้างผลกระทบต่อพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลางบางจังหวัด จนมีพยายามสร้างกระแสเรียกร้องให้มีการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น กั้นแม่น้ำยม ในเขตพื้นที่ อ.สอง จ.แพร่ โดยการฉวยโอกาสของนักการเมือง ข้าราชการบางคนนั้น คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ซึ่งได้ติดตามสถานการณ์ดังกล่าวมาอย่างใกล้ชิด ขอแถลงท่าทีและข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลนางสาว 1.ครป. เห็นว่า โครงการนี้เป็นความพยายามของนักการเมือง โดยเฉพาะพรรคชาติไทยพัฒนาที่ต้องการประโยชน์จากงบประมาณการก่อสร้างมากกว่าประโยชน์ที่แท้จริงของโครงการ หรือคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นและการมีส่วนร่วมของชุมชนแต่ประการใด ทั้งนี้เพราะนับจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบให้กรมชลประทานเป็นผู้รับผิดชอบโครงการฯ เมื่อปี 2528 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้แต่งตั้งอนุกรรมการดำเนินการแก้ไขผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้านทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่ามีคณะทำงาน 4 ชุด เพื่อสรุปจัดทำแผนในการแก้ไขผลกระทบ โดยในเดือนกันยายน 2537 กรมชลประทาน ก็ได้ส่งรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมพิจารณา ตามขั้นตอน พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 ซึ่งขณะนี้ก็ยังไม่มีผลสรุปที่ชัดเจน แต่พบว่าโครงการนี้มีผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยา ชุมชนและรอยแยกแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง 2.เราเห็นว่า การก่อสร้างโครงการใดๆ โดยเฉพาะโครงการนี้ ซึ่งจะมีผลกระทบกับชุมชนและระบบนิเวศอย่างรุนแรง รัฐจะต้องให้ชุมชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ตั้งแต่การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การรับฟังความคิดเห็น จนถึงการตัดสินใจและการติดตามประเมินผล ซึ่งกำหนดไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญหลายๆ มาตรา โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 67 ซึ่งบัญญัติว่า “สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชน ในการอนุรักษ์บำรุงรักษาและการได้ประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ้มครอง ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่อง ในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตน ย่อมได้รับความคุ้มครองตามความเหมาะสม การดำเนินโครงการหรือกิจกรรม ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบ ต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน” อย่างเคร่งครัดและรัฐบาลจะต้องแถลงเป็นนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภาอย่างชัดเจนด้วย 3.เราขอเรียกร้องต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ได้ประกาศว่าจะบริหารประเทศ เพื่อตอบแทนคุณแผ่นดิน ทำงานอย่างมีเป้าหมายใช้ความเป็นมืออาชีพ “สร้างสุข สลายทุกข์” ให้คนไทยทุกคน ว่าก่อนที่ท่านจะมีการพิจารณาโครงการนี้ รัฐบาลจะต้องดำเนินการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ผลกระทบต่อสุขภาพ มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นผ่านองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเฉพาะกาล ตามที่ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา ท้ายที่สุด ครป.ขอสนับสนุนข้อเรียกร้องของคณะกรรมการกลุ่มราษฎรรักษ์ป่า ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ที่คัดค้านโครงการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น และจะร่วมต่อสู้กับพี่น้องชาวบ้านจนกว่าจะได้รับชัยชนะจนถึงที่สุด ด้วยความเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตยและศรัทธาในพลังของประชาชน แถลงโดย นาย สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ชุมชนมูเซอ จ.ตาก แถลงขอมีส่วนร่วมบริหารจัดการตลาดมูเซอ Posted: 22 Aug 2011 02:18 PM PDT 22 สิงหาคม พ.ศ.2554 เวลา 14.00 น. อนุกรรมการสิทธิฯ เข้าร่วมประชุมกับผู้ว่ 0 0 0
แถลงการณ์ข้อเสนอการบริหารจั จากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่ ทั้งนี้ ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ส่ ตลาดดอยมูเซอ เป็นพื้นที่กลางที่ศูนย์ ด้วยเหตุนี้ ตลาดจึงมีความหมายความสำคั จากมุมมองความคิดเห็นที่ต่างกั กลุ่มพัฒนาตลาดดอยมูเซอจึงมีข้ ๑.ในระหว่างการปรับปรุ ๒.ในการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งดั ๓.ภายหลังการปรับปรุงตลาดดอยมู ๔.ปัญหาความขัดแย้ง ความไม่เข้าใจระหว่างชาวเขามู กลุ่มพัฒนาตลาดดอยมูเซอ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
หมอชูชัย ยืนยันไม่เคยร่วมงานกับพรรคการเมืองใด Posted: 22 Aug 2011 02:04 PM PDT 22 สิงหาคม 2554 นายแพทย์ชูชัย ศุภวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้ชี้แจงว่า สืบเนื่องจากข่าวการตรวจสอบสื่อมวลชนของคณะอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ สภาการหนังสือพิมพ์ แล้วได้พยายามโยงความสัมพันธ์ของตนกับพรรคประชาธิปัตย์ แล้วทำให้สาธารณชนเข้าใจว่าตนมีอคติในการจัดทำร่างรายงานเหตุการณ์การชุมนุมของ นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม ถึง 19 พฤษภาคม 2553 ที่ผ่านมา ตนขอปฏิเสธว่าไม่เคยเข้าร่วมงานหรือกิจกรรมใด ๆ กับพรรคประชาธิปัตย์ตามที่เป็นข่าว แต่ยอมรับว่าในระหว่างที่เป็นข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขเคยได้รับมอบหมายให้ดูแลเรื่องการควบคุมการบริโภคยาสูบจาก นายชวน หลีกภัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในขณะนั้น ขณะเดียวกันตนยังทำหน้าที่เป็นเลขาธิการแพทยสภา ที่ต้องทำงานและเสนอความเห็นต่อนายชวน หลีกภัย ในฐานะ “สภานายกพิเศษ” ของแพทยสภา อาจทำให้ถูกมองว่าเป็นการทำงานให้พรรคประชาธิปัตย์ ทั้งนี้ โดยส่วนตัวตนมีความเคารพนายชวน หลีกภัย และนายชวน หลีกภัย ก็ให้ความเคารพนับถือพ่อของตนเช่นกัน นายแพทย์ชูชัย ยังกล่าวว่า ที่ผ่านมามีเพื่อนจากพรรคการเมืองอื่น ๆ ขอข้อมูลหรือข้อเสนอแนะมาก็จัดส่งให้ทุกพรรค ไม่ใช่เฉพาะพรรคประชาธิปัตย์ ในอดีตเคยมีพรรคการเมือง หลายพรรคชวนลงสนามเลือกตั้งทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น ซึ่งตนได้ปฏิเสธไปทุกครั้งเพราะถนัดแต่การเมืองภาคพลเมืองเท่านั้น นายแพทย์ชูชัย วิเคราะห์ต่อไปว่า หนังสือพิมพ์บางสำนักพยายามทำให้สังคมสับสน โดยโยงความสัมพันธ์ส่วนตัวหรือครอบครัวกับหน้าที่การงาน เป็นการดิสเครดิตตนมาโดยตลอด แต่ไม่ได้ออกมาตอบโต้ใด ๆ หากหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวมีวิธีคิดเช่นนั้น ตนอยากบอกว่าครอบครัวของตนมีความสนิทสนมกับครอบครัวคุณป้าพวงเพ็ญ ชินวัตรมากกว่าครอบครัวหลีกภัย เพราะคุณป้าพวงเพ็ญ ชินวัตรเป็นเพื่อนสนิทที่สุดของแม่ ตนให้ความเคารพคุณป้าพวงเพ็ญเช่นเดียวกับนายชวน หลีกภัย ทุกวันนี้ในยามปัจฉิมวัยคุณป้าพวงเพ็ญกับแม่ยังไปทำบุญด้วยกัน เที่ยวด้วยกันและมานอนค้างที่บ้านเป็นระยะ ๆ สำหรับตนเองเมื่อครั้งไปศึกษาต่อที่มลรัฐแมสซาซูเซสท์ สหรัฐอเมริกา ก็ไปพักอาศัยบ้านของ ดร.วีระเดช ชินวัตร จึงมีความสนิทสนมกันฉันท์พี่น้อง แต่ไม่มีใครนำความสัมพันธ์ส่วนตัวมาปะปนกับการทำงานในหน้าที่แต่อย่างใด สำหรับตัวเองเคยเชื่อเสมอว่า “หากยืนตรงกลางแดด อย่าได้กลัวเงาคด” แต่บัดนี้อำนาจเงินไม่เพียงแต่ทำให้ผีโม่แป้งได้ ยังทำให้คนที่แตะต้องเกิดอาการโรคสายตาเอียงได้อีกด้วย นายแพทย์ชูชัย ศุภวงศ์ กล่าวถึงความคืบหน้าร่างรายงานเหตุการณ์สลายการชุมนุม นปช. ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.) ขณะนี้มีความคืบหน้าไปพอสมควร กสม.ทำงานร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิอีก 10 ท่าน ประชุมกันทุกสัปดาห์ โดยที่ตนได้เรียนให้ ศ.อมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ทราบแล้วว่าไม่ขอเข้าประชุมด้วยเพราะอาจนำไปกล่าวอ้างเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของรายงาน แต่ในวันแถลงข่าวเพื่อเสนอรายงานฉบับนี้ต่อสาธารณชน สำนักงาน กสม. จะชี้แจงกลไกและกระบวนการจัดทำรายงานฉบับนี้ทั้งหมด เพราะที่ปรากฏตามหนังสือพิมพ์บางฉบับก่อนหน้านี้ ล้วนคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงไปมาก 22 สิงหาคม 2554
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
องค์การแรงงานเพื่อประชาธิปไตย วอนรัฐบาลช่วยประกันนักโทษการเมือง 112 Posted: 22 Aug 2011 10:40 AM PDT วันนี้เวลา 10.00 น. กลุ่มคนงาน 30 คน จากองค์การแรงงานเพื่อประชาธิปไตย (อรป.) ได้รวมตัวกันที่หน้าทำเนียบรัฐบาลเพื่อติดตามทวงถามความคืบหน้าการได้รับสิทธิในการประกันตัว กรณี สมยศ พฤกษาเกษมสุข และผู้ถูกกล่าวหาคนอื่น ๆ ทั้งนี้องค์การแรงงานเพื่อประชาธิปไตย ได้เคยยื่นหนังสือถึงรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2554 เพื่อให้รัฐบาลคืนความยุติธรรมแก่ นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข และผู้ถูกกล่าวหาคนอื่น ๆ ที่ถูกจับกุมคุมขังอยู่ในเรือนจำในขณะนี้ ด้วยข้อกล่าวหากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยกรณีสมยศ ก่อนหน้านี้ได้ขอยื่นประกันตัวต่อศาลแล้ว 4 ครั้ง แต่ศาลยังคงยืนการไม่ให้ประกันตัว เขายังคงถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพมานานกว่า 3 เดือนแล้ว องค์การแรงงานเพื่อประชาธิปไตยจึงได้มีหนังสือทวงถามความคืบหน้าต่อรัฐบาลอีกครั้ง และยังคงเรียกร้องให้รัฐบาลใหม่ที่ได้มาจากการเลือกตั้งได้ให้ความยุติธรรมแก่ผู้ถูกกล่าวหาเหล่านั้นได้รับสิทธิในการประกันตัวเพื่อออกมาพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามกระบวนการยุติธรรมต่อไป นอกจากทวงถามความคืบหน้าการได้รับสิทธิในการประกันตัวของผู้ถูกกล่าวหาแล้ว อรป.ยังเรียกร้องต่อรัฐบาลใหม่ให้ปฏิบัติตามนโยบายที่เคยหาเสียงไว้โดยทันที คือประกาศขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท และ 15,000 บาท สำหรับผู้จบปริญญาตรี, เร่งแก้ปัญหาความยากจนของประชาชน, ควบคุมราคาสินค้า, เร่งดำเนินการให้เกิดความยุติธรรมต่อต่อผู้ถูกกล่าวหาที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำให้ได้รับสิทธิในการประกันตัว และเร่งปฏิรูปประมวลกฎหมายอาญาในมาตรา 112 ต่อมาเวลา 11.00 น. กลุ่มองค์การแรงงานเพื่อประชาธิปไตย ได้เดินทางไปชุมนุมหน้าองค์การสหประชาชาติ (UN) เพื่อเรียกร้องให้ เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ออกมาแสดงท่าทีต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลไทย และก่อนจะแยกย้ายกันกลับในเวลา 12.20 น. กลุ่มคนงานได้ส่งเสียงตะโกนพร้อมกันว่า,, “ปล่อยตัวสมยศ และนักโทษการเมืองทุกคน, “Free All Political Prisoners” “Cancel Article 112 ”, “Free SOMYOT From Lese Majesties Law” ที่ อรป. 005/2554 เรื่อง ขอทราบความคืบหน้า การปล่อยตัวสมยศ พฤกษาเกษมสุข และผู้ถูกกล่าวหาคนอื่น ๆ ให้ได้รับสิทธิประกันตัวเพื่อสู้คดีอย่างเป็นธรรม เรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สิ่งที่ส่งมาด้วย สำเนาจดหมายที่ อรป. 001/2554 องค์การแรงงานเพื่อประชาธิปไตย (อรป.) ใคร่ขอแสดงความยินดีมายัง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้นและได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ที่ประวัติศาสตร์การเมืองไทยต้องจารึกไว้ คือนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย นายกรัฐมนตรีที่ทั่วโลกให้ความสนใจและยังเป็นความหวังของประชาชนชาวไทยในการคลี่คลายปัญหาต่าง ๆ ที่สะสมมาช้านาน ที่ผ่านมาองค์การแรงงานเพื่อประชาธิปไตย (อรป.) ได้เคยยื่นหนังสือมายัง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ในสมัยนั้น) ตามเอกสาร ที่ อรป. 001/2554 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2554 เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข และผู้ถูกกล่าวหาคนอื่น ๆ ที่ถูกจับกุมตัวจากความขัดแย้งทางการเมือง ให้ได้รับสิทธิในการประกันตัวเพื่อต่อสู้คดีตามกระบวนการยุติธรรม เป็นเวลานานกว่าแปดสิบวันแล้ว แต่ยังไม่มีการดำเนินการปล่อยตัว หรือให้สิทธิในการประกันตัวผู้ถูกกล่าวหาเหล่านั้นแต่อย่างใด ดังนั้นองค์การแรงงานเพื่อประชาธิปไตย จึงขอเรียกร้องมายัง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรดังนี้
จึงเรียนมาเพื่อโปรดดำเนินการโดยเร่งด่วน และขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้ ขอแสดงความนับถืออย่างสูง สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
‘เพชรเกษม41’ แถลงนโยบายประชาชน ประกาศปฏิญญาสู้ศึก ‘แผนใต้–ปากบารา’ Posted: 22 Aug 2011 10:00 AM PDT เมื่อเวลา 8.00 น. วันที่ 22 สิงหาคม 2554 ที่วนอุทยานเขาพาง (วัดภูพางพัฒนาราม) ตำบลท่าข้าม อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร เครือข่ายประชาชนจาก 14 จังหวัดภาคใต้ จาก 14 จังหวัดภาคใต้ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดเพชรบุรีประมาณ 1 พันคน ที่เข้าร่วมแผนปฏิบัติการเพชรเกษม 41 คนใต้กำหนดอนาคตตัวเองมาตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคม 2554 ได้รวมตัวกันสวมหน้ากากปูสีเขียว จากนั้น เคลื่อนขบวนถือธงสีเขียว ป้ายผ้าคัดค้านเมกะโปรเจ็กต์ต่างๆ ในภาคใต้ นำหน้าด้วยมาสคอตปูทหารยักษ์ปากบารา เคลื่อนขบวนออกปิดถนนเพชรเกษม 4 ทั้ง 2 ช่องทางจราจรประมาณ 15 นาที เพื่อร่วมกันทำกิจกรรมแพลงกิ้ง และโปรยป้ายผ้าที่มีข้อความว่า เพชรเกษม 41 คนท้องถิ่นกำหนดอนาคตตนเอง ไม่เอานโยบายทำลายชีวิต และธรรมชาติภาคใต้ เวลา 09.27 น. ขยับขบวนออกจากถนน เหลือปิดถนนแค่ 1 ช่องทางจราจร มีนายทรงวุฒิ พัฒน์แก้ว คณะทำงานเครือข่ายท่าศาลารักษ์บ้านเกิด จังหวัดนครศรีธรรมราช และนายวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี ขึ้นเวทีประกาศแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีประชาชนภาคใต้ และแถลงนโยบายต่อสภาเพชรเกษม 41 ท่ามกลางตำรวจนับร้อยนาย ที่ถูกระดมมารักษาความสงบเรียบร้อย นายสุพนัด ดวงกมล คณะทำงานเครือข่ายรักษ์ปะทิว จังหวัดชุมพร ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเงา แถลงว่า ภาคใต้ต้องการนโยบายด้านพลังงานที่สอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรม ประเพณีของคนใต้ ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เน้นการใช้พลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ลม น้ำ ก๊าซชีวภาพ พลังงานชีวมวล เป็นต้น ไม่เอานโยบายแลนด์บริดจ์ ถ่านหิน นิวเคลียร์ ฯลฯ นายสุนทร รักรงค์ ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคใต้ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเงา แถลงว่า คนใต้ต้องการการกระจายอำนาจจากส่วนกลาง เพราะต้องการจัดการตัวเอง พร้อมกับเสนอให้ยกเลิกการปกครองส่วนภูมิภาค ให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ รวมทั้งให้มีการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีจากประชาชนโดยตรง นายบุญ แซ่จุ่ง ผู้ประสานงานเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แถลงว่า ต้องการให้มีการกระจายการถือครองที่ดิน ออกกฎหมายจำกัดการถือครองที่ดิน จัดตั้งธนาคารที่ดิน เน้นสิทธิชุมชนด้วยการจัดทำโฉนดที่ดินให้กับชุมชนที่ถูกเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรืออุทยานประกาศทับซ้อน อีกทั้งจัดเก็บภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้า ระหว่างนั้นนายกำพล จิตตะนัง ผู้ประสานงานเครือข่ายท่าศาลารักษ์บ้านเกิด จังหวัดนครศรีธรรมราช ถามผู้ร่วมชุมนุมว่า หากรัฐบาลผลักดันโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา คนใต้จะร่วมปกป้องและต่อสู้กับพี่น้องจังหวัดสตูลหรือไม่ คนใต้จะร่วมต่อสู้ปกป้องกับคนใต้ทุกจังหวัดที่ประสบชะตากรรมจากแผนพัฒนาภาคใต้หรือไม่ ซึ่งได้รับการขานรับจากผู้ชุมนุมว่า จะร่วมต่อสู้ด้วยกัน เวลา 10.10 น. นายวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี คณะทำงานประชาชนติดตามแผนพัฒนาภาคใต้ ประกาศปฏิญญาเพชรเกษม 41 ในนามเครือข่ายประชาชนภาคใต้ ร่วมต่อสู้เพื่อปกป้องภาคใต้ร่วมกัน และจะเข้าร่วมปฏิบัติการเพชรเกษม 41 ในโอกาสต่อไป เวลา 10.30–12.00 น. มีการบันทึกรายการเวทีสาธารณะ “คนภาคใต้กำหนดอนาคตตนเอง” ของสถานีโทรทัศน์สาธารณะ โดยมีนายกาจ ดิษฐาอภิชัย คณะกรรมการส่งเสริมการเมืองภาคพลเมืองประจำภาคใต้ สภาพัฒนาการเมือง จากจังหวัดพัทลุง นายสุนทร รักรงค์ นายวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี นายสมบูรณ์ คำแหง นายบุญ แซ่จุ่ง นายกิตติภพ สุทธิสว่าง ฯลฯ โดยมีนางสาวนาตยา แวววีรคุปต์ เป็นผู้ดำเนินรายการ นายกาจ กล่าวในการบันทึกเทปรายการว่า ปฏิบัติการเพชรเกษม 41 เป็นการเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยของเครือข่ายประชาชนภาคใต้ เพื่อให้รัฐบาลพรรคเพื่อไทยทบทวนนโยบายเมกะโปรเจ็กต์ในภาคใต้ ที่สร้างความเดือดร้อนแก่ชาวบ้าน ที่พรรคเพื่อไทยประกาศป็นนโยบายระหว่างการหาเสียง และการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ซึ่งปรากฏอยู่ในร่างคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี ที่จะแถลงต่อรัฐสภา ในวันอังคารที่ 23 สิงหาคม 2554 “การเข้าร่วมเคลื่อนไหวทางการเมือง ร่วมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย แต่การเข้าร่วมปฏิบัติการเพชรเกษม 41 เพื่อคัดค้านแผนพัฒนาภาคใต้ ซึ่งเป็นปัญหาของคนใต้โดยตรง เป็นการต่อสู้ที่ข้ามพ้นความเป็นเสื้อเหลือง เสื้อแดง ข้ามพ้นความเป็นพรรคการเมือง” นายกาจ กล่าว นายสุนทร กล่าวว่า ปัญหาของภาคประชาชน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่ดินทำกิน ผลกระทบที่จะเกิดจากแผนพัฒนาภาคใต้ เป็นปัญหาก้าวข้ามสีเสื้อ ประชาชนทุกฝ่าย ต้องช่วยกันปลดแอกให้ชาวบ้านพ้นจากความทุกข์เข็ญ เพื่อออกจากภาวะวิกฤติให้ได้ นายกิตติภพ กล่าวว่า โครงการก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาติและโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย–มาเลเซีย ตนและชาวจะนะ จังหวัดสงขลา ผ่านมาหมดแล้ว ไม่ว่ารัฐบาลภายใต้การนำของนายบรรหาร ศิลปอาชา นายชวน หลีกภัย พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ต่างก็ผลักดันโครงการนี้ทุกรัฐบาล “ชาวบ้านไม่ได้มองถึงเรื่องการเมืองภายใต้การนำของพรรคใดพรรคหนึ่ง เพราะเป็นเรื่องของทุนข้ามชาติ แต่เมื่อมีการผลักดันโครงการโดยรัฐบาลไหนๆ ก็ตาม ชาวบ้านย่อมต้องลุกขึ้นมาเรียกร้องต่อสู้ ซึ่งเป็นความเจ็บปวดของชาวบ้าน” นายกิตติภพ กล่าว ต่อมาเวลา 12.30 น.ชาวบ้านจากจังหวัดต่างๆ เริ่มทยอยเดินทางกลับบ้าน เหลือเพียงตัวแทนเครือข่ายประชาชนภาคใต้บางส่วน เนื่องจากวันที่ 23 สิงหาคม 2554 จะมีการจัดเวทีแถลงนโยบายเครือข่ายประชาชนภาคใต้ คู่ขนานกับการแถลงนโยบายนางสาวยิ่งลักษณ์ ต่อรัฐสภา ออกอากาศสดทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส สลับกับบรรยากาศการแถลงนโยบายที่รัฐสภา และรายงานสดจากพื้นที่ และความเห็นของเครือข่ายประชาชนภาคใต้ต่อนโยบายของรัฐบาล ต่อมา เวลา 13.30–14.30 น. มีการบันทึกเทปรายการเปลี่ยนประเทศไทย สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และเวลา 14.00 – 15.00 น. มีการประชุมคณะทำงานเครือข่ายประชาชนภาคใต้ ประเมินสถานการณ์ และกำหนดแนวทางการเคลื่อนไหวในระยะต่อไป ปฏิญญาเพชรเกษม 41 ความทุกข์ของคนไทยในท้องถิ่น เกิดจากการพัฒนาที่ละเมิดสิทธิ ประชาชนถูกข่มเหงรังแก จากการจัดสรรทรัพยากรอย่างไม่เป็นธรรม โดยการใช้อำนาจรัฐ อำนาจทุน กลุ่มอิทธิพลผลประโยชน์ ฉกฉวยทรัพยากรจากประชาชน เป็นปรากฏการณ์รุนแรงที่เกิดจากน้ำมือของรัฐและทุนในแทบทุกพื้นที่ มีการปกปิดให้คนในสังคมไม่ได้รับข้อมูลความจริงที่ครบด้าน ปล่อยให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์ ถูกเข่นฆ่า คุกคาม ให้ร้าย ป้ายสี ครั้งแล้วครั้งเล่า จนสังคมชาชิน เพิกเฉย ละเลยต่อความเป็นธรรมในการอยู่ร่วมกัน เหล่านี้เป็นความจริงที่เราเห็นเป็นประจักษ์ร่วมกันตลอดมา เราทราบดีว่าประเทศนี้ มีระเบียบกฎหมายต่างๆที่ให้การยอมรับหลักการมีส่วนร่วม หลักการกระจายอำนาจ หลักความเป็นธรรม หลักการเคารพสิทธิชุมชน สิทธิพลเมือง และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ กล่าวอ้างอย่างชัดเจนว่าประเทศเรามีกลไกที่สามารถให้อำนาจ ให้ความช่วยเหลือ คุ้มครอง เยียวยาได้อย่างเด็ดขาด แต่ในความเป็นจริงได้ปรากฏแล้วว่า ไม่ได้เป็นเช่นนั้นแต่อย่างใด ความจริงที่ชาวบ้านจะนะ ถูกทุบตีอย่างโหดร้ายทารุณ เพื่อคัดค้านการสร้างโรงแยกก๊าซไทย-มาเลเซียที่สงขลา, การสังหารผู้นำต่อต้านโรงงานเหล็กต้นน้ำที่ประจวบคีรีขันธ์, การฉวยโอกาสไล่รื้อแย่งชิงที่ดินของชาวบ้านหลังเหตุสึนามิ, การล้อมปราบชาวบ้านที่ต้องการทวงคืนที่ดินสวนปาล์มจากนายทุนต่างชาติที่กระบี่, เหตุการณ์สารพิษรั่วจากอุตสาหกรรมที่สุราษฎร์, การล่อลวงและไม่ยอมรับชาวไทยพลัดถิ่นและชนกลุ่มน้อยที่ระนองและในหลายจังหวัด , มีการปล่อยให้เจ้าหน้าที่เข้าบุกทำลายต้นยาง ต้นปาล์ม ต้นผลไม้ อันเป็นอาสินของเกษตรกรโดยอ้างเป็นพื้นที่อนุรักษ์ในแทบทุกจังหวัดของภาคใต้ ตัวอย่างเหล่านี้ คือเหตุการณ์ที่ประชาชนคนเล็กคนน้อยผู้มีจำนวนมากถูกบังคับให้เสียสละเพื่อการพัฒนาที่มอบความร่ำรวยแก่นายทุนจำนวนน้อย ประชาชนผู้เสียสละต้องทนทุกข์ทรมานแสนสาหัสจากสารพิษ โรคร้ายอันเกิดจากอุตสาหกรรม หลายชีวิตต้องดับชีพลงอย่างอเนจอนาถเพราะเพ้อฝันคาดหวังความช่วยเหลือจากสิ่งที่คร่าชีวิตของเขาเอง, วันนี้เราได้ประจักษ์แจ้วแล้วว่า หากเรายังพึ่งพากลไกทางสังคมในระบบการรวมศูนย์อำนาจของรัฐ หากเรายังรอพึ่งพาผู้อื่น และ หากเราทั้งหลายต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างสู้ ลูกหลานของเราจะต้องเจอกับเหตุการณ์เหล่านั้นอีกไม่รู้จักจบสิ้น ปฏิบัติการเพชรเกษม 41 ของเครือข่ายประชาชนภาคใต้ เกิดจากมติเอกฉันท์ของคนภาคใต้ที่จะกำหนดอนาคตของตนเอง เราจักร่วมกันดำเนินแผนปฏิบัติการเพชรเกษม 41 อย่างต่อเนื่อง อันเป็นปฏิบัติการที่มีความหมายว่า “นับแต่นี้ไป เส้นทางการพัฒนาในภาคใต้ ประชาชนคนท้องถิ่นต้องร่วมกำหนดขึ้นเอง” เรียนพี่น้องประชาชนไทย และทั่วโลก ผ่านสื่อมวลชนทุกแขนงทั้งในและต่างประเทศ ก่อนหน้า...การจัดตั้งรัฐบาลปัจจุบัน เครือข่ายชุมชนคนภาคใต้หลายจังหวัด ได้ลุกขึ้นปกป้องท้องถิ่นตนเองจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมหนักในอนาคต การถมทะเล การตัดเส้นทางคมนาคม การสร้างท่าเรือ การก่อตั้งนิคมอุตสาหกรรม การสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ โรงงานไฟฟ้าถ่านหิน ภายใต้การวางแผนของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, บริษัทของนักลงทุนข้ามชาติ และพรรคการเมืองต่างๆ ทำให้แทบทุกจังหวัดในภาคใต้ประเทศไทย จะถูกเปลี่ยนโฉมหน้าเพื่อรองรับ “อุตสาหกรรมเต็มรูปแบบ” หรือที่เราเรียกว่า “อุตสาหกรรมเลื่อนลอย” ที่คนกลุ่มน้อยที่ร่ำรวยอยู่แล้วเท่านั้นเป็นผู้ได้รับประโยชน์ ทั้งยังเปลี่ยนพื้นที่เลื่อนลอยไปเรื่อยๆ อย่างไร้ความรับผิดชอบ ดังเช่นกรณีนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุต ในภาคตะวันออก ทุกรัฐบาลที่ผ่านมาต่างละเลยข้อเสนอของเรา ผู้มีอำนาจไม่แยแสต่อเสียงทักท้วง พยายามถ่วงเวลา ไม่มีคำตอบที่ชัดเจนว่าจะดำเนินการอย่างไร บัดนี้ รัฐบาลใหม่ภายใต้การนำของคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จากพรรคเพื่อไทย ยิ่งตอกย้ำชัดเจนว่าจะเดินหน้าแผนพัฒนาภาคใต้ ผ่านนโยบายของพรรค, การปราศรัย, การให้สัมภาษณ์ในโอกาสต่างๆ ทั้งโดยตัวนายกรัฐมนตรีเองและรัฐมนตรีในคณะรัฐบาล ในฐานะพลเมืองดีเราขอบอกกล่าวด้วยความเป็นมิตรว่า ขอให้รัฐบาลทบทวนก่อนการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาในวันพรุ่งนี้ เราจึงกำหนด “ปฏิบัติการเพชรเกษม41” ขึ้น เพื่อทักท้วงรัฐบาลใหม่ว่า “ไม่ควรดำเนินนโยบายแลนบริดจ์พลังงาน ไม่ควรพัฒนาอุตสาหกรรมหนักและพลังงาน หรือดำเนินการใดใดที่เป็นภัยต่อความผาสุขของประชาชนในภาคใต้” และเราจะเปิดโปงข้อมูลแผนพัฒนาทำลายภาคใต้ทั้งหมด เพื่อตอกย้ำว่า เราไม่นิยมยินดีและไม่ต้องการอุตสาหกรรมเลื่อนลอยเหล่านี้ ให้ได้รับทราบโดยทั่วกัน เราขอให้การพัฒนาใดใดตั้งอยู่บนพื้นฐานความต้องการตามศักยภาพของประชาชนในท้องถิ่นภาคใต้ การรักษาอาชีพประมงชายฝั่ง การสร้างพลังงานทดแทนจากวัสดุในท้องถิ่น การเกษตรที่สอดคล้องกับภูมิประเทศ การท่องเที่ยวที่เคารพชุมชนและรักษาสิ่งแวดล้อม ระบบเศรษฐกิจที่ไม่เอาเปรียบคนในชุมชน และการศึกษาที่ทำให้คนท้องถิ่นมีความภาคภูมิใจตนเอง พี่น้องที่เคารพ เราจะทำเท่าที่สิทธิของประชาชนควรกระทำ เราไม่ต้องการก่อปัญหา ไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น เราต้องการเพียงนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลที่มีนโยบายสีเขียวที่ภาคใต้เท่านั้น ด้วยความสมานฉันท์ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์: วุฒิภาวะหนังสือพิมพ์กรณีผลสอบอีเมล์ฉาว Posted: 22 Aug 2011 09:09 AM PDT
1.วันที่ 4 กรกฎาคม 2540เจ้าของหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆได้ร่วมกันแสดงเจตนารมณ์ก่อตั้งสภาการ หนังสือพิมพ์แห่งชาติ เพื่อควบคุมและ ตรวจสอบกันเองในเรื่องปัญหาจริยธรรมแทนที่จะไปอยู่ภายใต้การควบคุมโดยกฎหมายจากรัฐ ท่ามกลางข้อกล่าวหาว่า สื่อมีปัญหาในเรื่องจริยธรรมมากมายทั้งเรื่องการนำเสนอภาพที่ไม่เหมาะสมของผู้หญิงและเด็ก รวมทั้งเรื่องอามิสสินจ้าง เรียกรับผลประโยชน์ของคนวงการสื่อ หรือการแสดงตัวเป็นผู้มีอิทธิพลเสียเองที่หนักหนาสาหัสคือความสัมพันธ์ระหว่างผลประโยชน์ของธุรกิจสื่อและเสรีภาพในการทำหน้าที่ของนักข่าวว่าควรเป็นเช่นไรดังนั้น 10 กว่าปีที่ผ่านมา สภาการหนังสือพิมพ์ฯก็ถูกตั้งคำถามอย่างท้าทายว่าควบคุม หรือตรวจสอบกันเองได้จริงหรือไม่หรือเป็นเพียงข้ออ้างเพื่อหนีการควบคุมโดย กฎหมายหรือองค์กรอื่นในสังคม 2 ด้วยความท้าทายดังกล่าวคนในสภาการ หนังสือพิมพ์ฯพยายามที่จะหาตัวแบบว่าโครงสร้างของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ควรเพิ่มสัดส่วนบุคคลภายนอกให้มากกว่าคนในวงการสื่อ หรือเปิดกว้างให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสังคมเข้ามาเป็นประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติได้ เพื่อการควบคุมและการตรวจสอบจะได้มีความเข็มข้นมากยิ่งขึ้น และเพื่อลบคำครหา เรื่องแมลงวันไม่ตอมแมลงวัน สื่อไม่ตรวจสอบสื่อ 3 ด้วยเหตุนี้ กรณีอี เมลล์ฉาว ของนายวิม รุ่งวัฒนะจินดา รองโฆษกพรรคเพื่อไทย ข้อความที่ปรากฎในอีเมลล์ได้ส่งผลสะเทือนกับความน่าเชื่อถือของสื่อมวลชน อย่างมากมายมหาศาล หากปล่อยให้เกิดความคลุมเครือ คำว่า สื่อซื้อได้และจัดการได้จะเปลี่ยนจากความสงสัยในสังคมมาเป็นความเชื่อทันที สภาการหนังสือพิมพ์ฯก็ถูกท้าทายที่ต้องทำเรื่องนี้ให้กระจ่างโดยเร็ว 4 ถ้าจำไม่ผิด นี้อาจจะเป็นครั้งแรกที่สภาการหนังสือพิมพิ์แห่งชาติ แต่งตั้งคนจากภายนอกมาตรวจสอบกรณีอีเมลล์ฉาวของนายวิม ซึ่งอนุกรรมการซึ่งประกอบด้วย 1.นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน เป็นประธาน 2. นางบัญญัติ ทัศนียะเวช 3. รศ.ดร.ดรุณี หิรัญรักษ์ 4. ศ.พิเศษ สิทธิโชค ศรีเจริญ 5. ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ เป็นเลขานุการ ซึ่งแต่ละคนล้วน เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มีความรู้ มีความคิด มีทุนทางสังคม ที่ใครคนใดคนหนึ่งจะมาครอบงำหรือชี้นำไม่ได้โปรดเข้าใจว่า บุคคลเหล่านี้มาทำหน้าที่ตรวจสอบเพราะถูกเลือกจากกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์ฯ มีการส่งคนไปทาบทามให้มาทำหน้าที่ หลายคนอาจรู้ด้วยซ้ำว่าไม่ว่าผลสอบจะออกมาอย่างไรพวกเขาจะตกเป็นเป้าของการโจมตีอย่างแน่นอน 5 .ผมนับถือความกล้าหาญและความเสียสละของอนุกรรมการชุดนี้และเห็นว่า กรรมการสภาการหนังสือพิมพ์ฯก็นักเลงเพียงพอ ใจถึงเพียงพอที่ตั้งบุคคลภายนอกเข้ามาสอบเรื่องอีเมลล์ฉาวเท่าที่ได้พูดคุยกับพี่ๆ เพื่อนๆในสภาการหนังสือพิมพิ์ฯ ก็ได้ทราบเหตุผลว่า เพื่อให้สังคมมั่นใจว่าเรื่องฉาวใหญ่ขนาดนี้คนวงการสื่อก็ พร้อมที่จะทำการตรวจสอบอย่างตรงไปตรงมาและพร้อมที่จะถูกตรวจสอบจากสังคม เพื่อดึงความน่าเชื่อถือของวิชาชีพสื่อกลับมา 6 . ดังนั้น หากเป็นไปได้ ใครก็ตามที่อาจได้รับผลกระทบจากผลสอบ น่าจะเริ่มต้นจากการตรวจสอบกระบวนการ ภายในของสภาการหนังสือพิมพ์ฯว่ามีมติเรื่องนี้ไว้อย่างไร ให้ขอบเขตอำนาจการสอบของอนุกรรมการชุดนี้ไว้อย่างไร ซึ่งน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการวิจารณ์หรือตอบโต้เรื่องนี้ และน่าจะดีกว่าการมุ่งโจมตีตัวอนุกรรมการสอบข้อเท็จจริง 7. เท่าที่พูดคุยก็พบว่า กรรมการสภาหนังสือพิมพิ์ฯ ให้ความอิสระอย่างเต็มที่กับอนุกรรมการสอบข้อเท็จจริงในการวางประเด็นและแนวทางการสอบสวน และให้เวลาสอบเพียง 15 วันเท่านั้นเพื่อให้การสอบเรื่องนี้ให้เกิดความกระจ่างอย่างชัดเจนโดยเร็ว แต่อนุกรรมการสอบก็ขอขยายเวลาออกไปและบอกวันเวลาชัดเจนว่า จะสรุปผลสอบในวัน ที่ 17 สิงหาคมวันนั้นนักข่าวจากทุกสื่อรอบฟังผลสอบอย่างคับคั่ง ข้อเท็จจริงตรงนี้ก็มีความชัดเจนว่า เป็นมติกรรมาสภาการฯให้เปิดผลสอบได้ มิใช่อนุกรรมการเปิดผลสอบตามอำเภอใจตามข้อกล่าวหาแต่อย่างใด 8. เท่าที่ติดตามอนุกรรมการมีข้อจำกัดในการสอบเส้นทางเงินว่า มีการใช้จ่ายกันจริงหรือไม่ แต่เมื่อดูจากผลสอบแล้ว ข้อเท็จจริงที่ได้จากผู้ถูกพาดพิงทุกคนที่ให้ความร่วมมือกับอนุกรรมการแม้ว่าหนังสือพิมพ์ต้นสังกัดได้ตรวจสอบมาแล้วว่าไม่พบว่า มีการให้สินบนแต่อย่างใด แต่บุคคลที่ถูกพาดพิงเหล่านี้ก็ยังมี ความกล้าหาญที่เดินทางมาให้ปากคำ ยกเว้นผู้ถูกพาดพิงจากเครือมติชนที่ชี้แจงเป็นหนังสือเท่านั้น 9. อย่างไรก็ตามหากจะให้วิจารณ์อนุกรรมการ ก็มีประเด็นว่า ทำไมอนุกรรมการ ไม่สอบบุคคลอื่นๆที่ได้รับอีเมลล์ฉบับเดียวกันนี้อีกหลายคน ซึ่งได้เมลล์นี้มาก่อน 2 วันก่อนที่จะมาฉาวในผู้จัดการออนไลน์ หากสอบบุคคลทุกคนที่ได้รับเมลล์อาจได้ข้อมูลที่ลึกซึ้งมากขึ้นเพราะเรื่องนี้มีการพูดกันมากในห้องข่าวพรรคเพื่อไทยทำให้จับอารมณ์ของนายวิมและปัญหาความขัดแย้งในทีมงานด้านสื่อของพรรคเพื่อไทยได้เป็นอย่างดี 10. อย่างไรก็ตามนี้คือความใจกว้างของกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์ฯที่ให้ความอิสระกับอนุกรรมการ ในการตรวจสอบและเปิดเผยผลการตรวจสอบแม้จะรู้ว่าจะเนื้อหาในการตรวจสอบอาจ เกิดผลกระทบหรือสร้างความไม่พอใจกับสื่อหรือหนังสือพิมพ์ที่ถูกพาดพิงซึ่ง ตอนนี้เครือมติชนก็ได้ออกแถลงการณ์ไม่ยอมรับผลการตรวจสอบของอนุกรรมการออกมา แล้ว 11. กระบวนการสอบสวนเรื่องอีเมลล์ฉาวครั้งนี้ของสภาการหนังสือพิมพ์ฯ คือบทพิสูจน์อย่างแท้จริงว่า คนในวงการสื่อพร้อมที่ยอมรับการตรวจ สอบอย่างตรงไปตรงมาได้หรือไม่ แต่เรื่องที่น่าสนใจหลังผลสอบถูกเปิดเผยออกมาแล้วคือ วุฒิภาวะของหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับที่ถูกพาดพิง ได้รับมือกับผลสอบครั้งนี้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ปฏิกิริยาที่พบนั้นคือ จะนิ่งเงียบรับฟังและรีบสำรวมตัวเอง หรือ จะยืนกล้าตอบโต้ในทำนอง “มึงว่ากูเลว มึงนั้นแหละก็เลวด้วย หรือมึงว่ากูผิด มึงนั้นแหละก็ผิดด้วย “ 12. อย่างไรก็ตาม วันนี้สภาการหนังสือพิมพ์ฯเดินมาถึงทางแพร่งที่สำคัญว่าคนวงการสื่อว่า จะร่วมพัฒนาหรือสร้างกลไกการควบคุมกันเองให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นหรือจะหันหลังให้กับหลักการควบคุมกันเอง ตรวจสอบกันเอง ซึ่งทุกคนต้องร่วมหาคำตอบ
ที่มา: เว็บไซต์สำนักข่าวอิศรา
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ศาลให้ประกัน4ผู้ต้องขังแดงขอนแก่นหัวละล้านส่วน9ผู้ต้องขังแดงสารคามลุ้นศุกร์นี้ Posted: 22 Aug 2011 08:42 AM PDT ศาลขอนแก่นให้ประกัน4จำเลยเสื้อแดง หลังขังยาวกว่าปี เหตุผลว่าเป็นการริดรอนเสรีภาพตาม รธน.ฉบับ50 หากไม่ให้ประกัน ศาลขอนแก่น ให้ประกัน4ผุ้ต้องขัง เสื้อแดงขอนแก่น ประกอบด้วย นายอุดม คำมูล นายจิรัฐตระกูล สุมมะหา นายอดิศัย วิบูลย์เสข และนายสุทัศน์ สิงห์บัวขาวโดยต้องใช้หลักทรัพย์ในการประกันตัวรายละ 5 แสนบาท รวมวงเงิน 2 ล้านบาท โดยในการยื่นขอประกันดังกล่าวมีเงื่อนไขให้ต้องมี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใช้ตำแหน่งในการประกันตัวร่วมทั้งสิ้น 4 คน นางประสิทธิพร สุมะหา พี่สาวนาย จิรัฐตระกูล สุมะหา ผู้ต้องขังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ศาลได้มีคำสั่งให้มีการปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องขังทั้งสี่คนได้โดยกำหนดให้วางหลักทรัพย์ในการประกันตัวรายละ5แสนบาท พร้อมกับต้องมี สส.มาเซ็นต์ค้ำประกันที่ศาลอีก 4คน โดยปัจจุบันได้มี สส.ทางพรรคเพื่อไทยยืนยันที่จะมาค้ำประกันพร้อมแล้วทั้ง 4 คนได้แก่ นพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ นางมุกดา พงษ์สมบัติ นายธนิก มาศรีพิทักษ์ และนางเยาวนิต เพียงเกษ นายคารม พลทะกลาง ทนายความได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ศาลสั่งให้มีการปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องขังอันมีเหตุจากการไต่สวนผู้ร้องว่าจะไม่หลบหนี จำเลยเป็นประชาชนธรรมดาไม่ปรากฏว่าไปยุ่งกับหลักฐานได้ พร้อมกับอัยการสูงสุดยังไม่มีคำสั่งว่าจะให้มีการถอนฟ้องในบางคดีตามที่มีการร้องไปหรือไม่ รวมทั้งหลักฐานยังอยู่ที่อัยการสูงสุด ประกอบกับมีการนัดพร้อมหลายครั้งแต่ไม่สามารถพิจารณาคดีได้เนื่องจากโจทก์ขอเลื่อนพิจารณาคดีต่อศาลทำให้ไม่สอดคล้องกับหลักสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ 2550 จึงมีความเห็นให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยทั้ง 4 คน โดยหากมีการหลบหนีให้ปรับเอาจากนายประกันในวงเงิน 1 ล้านบาท โดยให้นายประกันนำหลักทรัพย์มาวางอย่างต่ำคนละห้าแสนและใช้ตำแหน่งในการประกันในอีกส่วนหนึ่ง นางเบญจรัตน์ มีเทียน ทนายความของผู้ต้องขังเสื้อแดง ในคดีเตรียมการวางเพลิงเผาสถานที่ราชการ จ.มหาสารคาม จำนวน 9 คน ซึ่งศาลชั้นต้นได้ตัดสินให้จำคุกโดยไม่รอลงอาญา เป็นเวลา 5ปี 8เดือน -6ปี 8เดือน ได้กล่าวว่าทางคณะทนายและญาติได้ยื่นคำร้องขอประกันตัวไปอีกครั้งหนึ่งแล้ว โดยจะรอคำตัดสินในการขอปล่อยตัวชั่วคราวในวันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม 2554 นี้ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
เมื่อ 'คำ ผกา' รู้เรื่องมิติทางสังคมของพุทธศาสนาดีกว่าพระ Posted: 22 Aug 2011 05:23 AM PDT ผมเห็นวิจารณ์กันในเฟซบุ๊ค ทำนองว่า คำ ผกา ด่าท่าน ว. วชิรเมธี พระไพศาล วิสาโล แล้วลามปามมาถึงท่านพุทธทาสอีก ถามว่าคำ ผกา รู้พุทธศาสนาจริงหรือเปล่า รู้ธรรมะหรือเปล่า ปฏิบัติธรรมหรือเปล่า ไม่รู้จริง ไม่ปฏิบัติ วิจารณ์มั่วๆ ไปเรื่อย อะไรประมาณนี้ คำถามคือ เวลาคุณอ่านพระไตรปิฎกคุณไม่รู้สึกว่าตนเองกำลังถูกพระพุทธเจ้าด่าบ้างหรือครับ คือถ้าคุณโกรธแค่คำวิจารณ์ของคำ ผกา ในพระไตรปิฏกมีข้อความที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่า “บุคคลใด ถ้ายังจิตให้โกรธแม้ต่อโจรที่กำลังใช้อาวุธทำร้ายร่างกายหรือประหารชีวิต บุคคลนั้นย่อมไม่ชื่อว่าปฏิบัติตามคำสอนของตถาคต” ข้อความในพระไตรปิฏกมีคำด่า “คนเห็นต่าง” เยอะแยะไป เช่น ด่าว่าพวกที่ไม่เชื่อคำสอนพุทธเป็นมิจฉาทิฐิ เป็นคนโง่ มีปัญญาทราม ฯลฯ และท่านพุทธทาสเองก็วิจารณ์หรือด่าไว้ครอบจักรวาลเช่นกัน หากจะมีใครวิจารณ์หรือด่าท่านบ้างท่านคงไม่ว่าอะไร เพราะท่านสอนให้ละตัวกู ของกู อยู่แล้วมิใช่หรือ จะว่าไปการด่าในพุทธศาสนานี่ก็มี “สองมาตรฐาน” เหมือนกัน เช่นเมื่อพระพุทธเจ้าอนุญาตให้บวชภิกษุณี อนุญาตด้วยเหตุผล “ความเท่าเทียมในความเป็นคน” เพราะเห็นว่าสตรีก็สามารถบรรลุธรรมได้เหมือนบุรุษจึงอนุญาตให้บวชภิกษุณีได้ แต่เงื่อนไขการบวชที่เรียกว่า “ครุธรรม 8” กลับชี้ชัดถึงความเหลื่อมล้ำและความเป็นสองมาตรฐาน เช่น ภิกษุณีบวชมาแล้ว 100 พรรษา ต้องทำความเคารพภิกษุแม้เพิ่งบวชเพียงวันเดียว ภิกษุสอน ด่า บริภาษภิกษุณีได้ แต่ภิกษุณีทำเช่นนั้นกับภิกษุไม่ได้ เป็นต้น มีผู้สงสัย "ความขัดแย้ง" ระหว่างเหตุผลที่อนุญาตให้บวชกับเงื่อนไขของการบวชภิกษุณีดังกล่าว จึงวิเคราะห์ออกมาในงานวิชาการชื่อ “เหตุเกิด พ.ศ.1” ตั้งข้อสงสัยว่า “ครุธรรม 8 ไม่น่าจะใช่พุทธพจน์” น่าจะเป็นสิ่งที่บัญญัติขึ้นใหม่ในคราวปฐมสังคายนา เนื่องจากประธานสังคายนาคือพระมหากัสสปะและพระอรหันต์เสียงข้างมากที่ประชุมทำสังคายนานั้น ล้วนมีภูมิหลังมาจากวรรณะพราหมณ์ ซึ่งเป็นวรรณะที่ยึดถืออย่างเคร่งครัดว่าสตรีต้องมีสถานะต่ำกว่าบุรุษ ปรากฏว่า เจ้าของงานวิชาการนี้คือ พระมโน เมตฺตานนฺโท (จบปริญญาเอกจากอ๊อกฟอร์ต) ถูกชาวพุทธสายปกป้องพุทธศาสนาไปประท้วงให้เจ้าอาวาสขับออกจากวัด ต่อมาก็ลาสิกขาบทไป ประเด็นคือในทางวิชาการ ไม่มีใครยอมรับว่า ข้อความทุกข้อความในพระไตรปิฎก คือพุทธพจน์ทั้งหมด เรื่องราวในพระไตรปิฎกมีทั้งเรื่อง “ราหูอมจันทร์” หากชาวพุทธยืนยันว่านี่เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าพูดไว้จริง ก็เท่ากับยืนยันว่าพระพุทธเจ้าโกหก เพราะปัจจุบันความรู้ทางวิทยาศาสตร์บอกเราว่า ปรากฏการณ์จันทรุปราคาไม่ได้เกิดจากเทพราหูอมดวงจันทร์ ท่านพุทธทาสถึงขนาดพูดว่าฉีกพระไตรปิฎกทิ้งสัก 70 % เหลือไว้แค่ที่เป็นเหตุเป็นผลสัก 30 % ก็เพียงพอสำหรับศึกษาและปฏิบัติเพื่อดับทุกข์แล้ว ฉะนั้น ความเห็นต่างในการตีความคำสอนพุทธก็ย่อมเกิดขึ้นได้ ขณะเดียวกันพระสงฆ์และชาวพุทธก็ต้องวิพากษ์วิจารณ์ตัวเอง และเปิดใจรับคำวิจารณ์ หรือกระทั่งคำด่าจากคนในวงนอกได้ด้วย แต่ปัญหาที่เป็นจริงอย่างยาวนานคือ พระสงฆ์และชาวพุทธมักมองว่าคนวิจารณ์พุทธไม่รู้พุทธศาสนาจริง หรือมุ่งทำลายพุทธศาสนา จึงเกิดปรากฎการณ์ที่ไม่น่าเกิด เช่น กรณีโยนบก จิตร ภูมิศักดิ์ และจับขังคุกถึง 6 ปี จากงานเขียนวิจารณ์ความเชื่อและพฤติกรรมที่ผิดจากหลักพุทธศาสนาในความเรียงเรื่อง “ผีตองเหลือง” และแม้แต่กรณีสันติอโศก กรณีธรรมกายที่ตีความนิพพานเป็นอัตตา ซึ่งเป็นปัญหาวงในของชาวพุทธด้วยกันเอง ก็ทำให้เกิดความแตกแยก เพราะเถียงกันเรื่องใครสอนผิดสอนถูก ใครรู้จริงใครรู้ไม่จริง ถ้ารู้ไม่จริง สอนผิดก็เป็นมิจฉาทิฐิ เป็นคนบาป เป็นคนทำลายพุทธศาสนา ต้องถูกขจัดออกไปจากความเป็นพระ จากความเป็นชาวพุทธ เป็นต้น ปัญหาดังกล่าวเกิดจากอะไรครับ? เกิดจากการศึกษาของสงฆ์ที่เน้นเฉพาะการเรียนรู้ "หลักธรรมของพุทธศาสนา" ไม่เรียนหรือเรียนรู้น้อยมากเกี่ยวกับ “สังคมวิทยาศาสนา” หลักสูตรการศึกษาสงฆ์ตั้งแต่นักธรรมตรีถึงเปรียญ 9 ไม่มีการเรียนพุทธศาสนาในมิติทางสังคมวิทยาเลย มหาวิทยาลัยสงฆ์ก็ไม่เน้นการสอนให้พระเข้าใจสังคม แม้พระเณรส่วนใหญ่จะมาจากคนชั้นล่างของสังคม แต่ขาดความเข้าใจโครงสร้างอันอยุติธรรมทางสังคม จึงทำให้ตกเป็นเครื่องมือหรือกลไกของโครงสร้างอำนาจอันอยุติธรรมนั้นโดยไม่รู้ตัว (หรือรู้ตัวแต่เสพติดศักดินาพระไปแล้ว) ฉะนั้น สิ่งที่เถียงกัน ทะเลาะกันมากในวงการสงฆ์หรือชาวพุทธคือเรื่องใครสอนผิด สอนถูก ไม่มีการถกเถียงว่าทำอย่างไรพุทธศาสนาจึงจะเกิดประโยชน์แก่ชีวิต ชุมชน สังคม หากพบว่าใครสอนผิดก็ต้องขับออกไปจากความเป็นพระ จากความเป็นชาวพุทธ โดยไม่พิจารณาว่าเขาทำประโยชน์อะไรแก่ชุมชน แก่สังคมบ้าง จะพูดคุยปรับเปลี่ยนเรื่องที่สอนผิดให้ถูกได้อย่างไร โดยยังถือว่าเป็นชาวพุทธเหมือนกัน ต้องทำประโยชน์สังคมในด้านต่างๆ ที่แต่ละคนแต่ละกลุ่มถนัดจะทำ โดยไม่ทะเลาะแตกแยกกัน นี่คือปัญหาของวงการณ์สงฆ์และชาวพุทธบ้านเราที่คิดแค่ว่า รู้พุทธศาสนาหมายถึงแค่รู้ความถูก-ผิดของคำสอนพุทธศาสนาเท่านั้น ไม่สนใจเรื่องสังคมวิทยาศาสนา แต่คำ ผกา ดูเหมือนจะเข้าใจสังคมวิทยาศาสนาดีกว่าพระด้วยซ้ำ และดูเหมือนเธอก็วิจารณ์พระสงฆ์บนพื้นฐานความรู้นี้ นอกเหนือจากการยืนยันเสรีภาพและความเท่าเทียมในความเป็นคน สังเกตได้จากที่เธอเคยให้สัมภาษณ์วิจักข์ พานิช ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจและเคารพความเชื่อ และคุณค่าของศาสนาแบบบ้านๆ พระสงฆ์แบบบ้านๆ ที่ในสายตาของพระเซเลบริตี้หรือชาวพุทธชนชั้นกลางมีการศึกษาดีอาจดูถูกว่า นั่นเป็นความงมงาย ไม่ใช่พุทธแท้ เพราะพุทธแท้ต้องสอนเรื่องสมบัติผู้ดี สอนเณรไม่ให้เป็นกะเทย ฆ่าเวลาบาปไม่น้อยกว่าฆ่าคน เสียงของคนไร้การศึกษาหมื่นคนสู้เสียงของปราชญ์เพียงหนึ่งคนไม่ได้ หรือต้องใช้สโลแกน “วันนี้คุณนิพพานแล้วหรือยัง” แทน “วันนี้คุณดื่มนมแล้วหรือยัง” เป็นต้น ถึงเวลาแล้ว ที่พระสงฆ์และชาวพุทธฝ่ายปกป้องพุทธศาสนาต้องเปิดหูเปิดตา เปิดใจรับฟังเสียงวิพากษ์วิจารณ์ เปลี่ยนเรื่องเถียงกันแค่เรื่องใครสอนผิดสอนถูก มาเป็นเรื่องทำอย่างไรพุทธศาสนาจะเป็นประโยชน์แก่การสร้างสังคมที่มีเสรีภาพ เป็นธรรม และมีสันติภาพ โดยพุทธศาสนาสามารถบูรณาการกับความรู้ร่วมสมัยในฐานะเป็นความรู้ที่เท่าเทียมกัน ไม่ใช่ของวิเศษสูงส่งกว่าภูมิปัญญาใดๆ ในโลก
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
เก็บตกการเสวนา “เราไปไกลกว่าสองนคราแล้วหรือยัง?” Posted: 22 Aug 2011 05:17 AM PDT เมื่อวันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม ผู้เขียนได้มีโอกาสไปฟังการเสวนาร่วม ระหว่างนักวิชาการในหัวข้อ “Beyond สองนคราประชาธิปไตย ? : การเมืองไทยในยุค ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ” ที่จัดขึ้นโดยคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องในโอกาสสัปดาห์ครบรอบสถาปนาคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2554 โครงการสัมมนาทางวิชาการ รัฐศาสตร์ภาคประชาชน ครั้งที่ 3 ซึ่งในวันนั้นได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เจ้าของทฤษฎีสองนคราประชาธิปไตย มารับฟ้งข้ออภิปรายรวมทั้งตอบข้อซักถาม และชี้แจงเป้าหมายของหนังสือเล่มนี้ด้วย สำหรับประเด็นที่ผู้จัดงานตั้งไว้ในการอภิปรายครั้งนี้ เรียกได้ว่าเป็นประเด็นที่นักรัฐศาสตร์และนักเรียนรัฐศาสตร์ไทยไม่มีใครไม่อยากรู้ เพราะเป็นคำถามที่คลาสสิกมากเกี่ยวกับความเป็นประชาธิปไตยในประเทศไทย นั่นคือประเด็นเรื่องความสำเร็จและความล้มเหลวในการสร้างความเป็นประชาธิปไตยในสังคมไทย รวมไปถึงกระบวนการสร้างความเป็นประชาธิปไตยในประเทศไทยจะเกิดขึ้นได้หรือไม่อย่างไร หรือไม่มีวันจะเกิดขึ้นได้หากสังคมไทยยังไม่สามารถก้าวพ้นความเป็น “สองนครา” ระหว่างคนเมืองและคนชนบทไปได้ ปรากฏการณ์เสื้อเหลืองเสื้อแดงที่ผ่านมา รวมไปถึงปรากฏการณ์ยิ่งลักษณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น อธิบายอะไรในสังคมไทยได้บ้าง? ก้าวย่างในการพัฒนาประชาธิปไตยที่ดูเหมือนจะสะดุดลงเป็นระยะๆ จากการรัฐประหารที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นถึงสิ่งใด? หนึ่งในคำตอบสำเร็จรูปที่สามารถชงพร้อมดื่มได้สำหรับผู้ที่ต้องการทราบพัฒนาการด้านประชาธิปไตยในสังคมไทยก็คือคำตอบที่ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเพราะ “ความไม่พร้อมของคนไทย !?!?!” นั่นเอง กล่าวคือ เป็นเพราะคนไทยจำนวนมากยังขาดความรู้ทำให้ถูกซื้อเสียงขายเสียงได้ง่ายและทำให้นักการเมืองที่เลือกเข้ามาไม่มีคุณภาพ ส่งผลต่อวงจรอุบาทว์ทางการเมืองของไทย ... ปฏิเสธไม่ได้ว่า อิทธิพลที่ส่งผลต่อแนวคิดเช่นนี้ ส่วนหนึ่งมาจากอิทธิพลของหนังสือเรื่อง สองนคราประชาธิปไตย ที่สร้างทฤษฎีสุดคลาสสิกเรื่อง “คนชนบทตั้งรัฐบาลแต่คนเมืองล้มรัฐบาล” ขึ้นมา ข้อสังเกตทางทฤษฎีดังกล่าวคลาสสิกมากสำหรับการเมืองไทย เพราะเป็นการตั้งข้อสังเกตต่อรากเหง้าทางวัฒนธรรมที่จะส่งผลต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทย ซึ่งไม่ว่าคุณจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่เอนกเสนอ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือคุณหนีจากข้อเสนอของเอนกไปไม่พ้น เพราะสิ่งที่เอนกเสนอนั้นเป็นคำถามที่ตั้งอยู่บนสมมุติฐานซึ่งคนไทยเคยคิดเคยถามและเชื่อกันมานานแล้วว่า บางทีบางครั้งการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่ยังลุ่มๆ ดอนๆ ของประเทศขณะนี้ เป็นผลมาจากความไม่พร้อมของคนไทยนั้นเอง ดังนั้นคำถามที่เอนกตั้งไว้ในสองนคราจึงถูกจริตคนไทยอย่างยิ่ง ซึ่งอเนกเองยอมรับว่า เขาไม่ได้ตั้งใจที่จะให้งานเขียนชิ้นนี้โด่งดัง มันเป็นเพียงบทความที่เขาเขียนขึ้นเร็วๆ โดยที่ไม่ได้มีการค้นคว้ามากนัก เขากล่าวว่าสิ่งที่ทำให้งานชิ้นนี้ดัง คงเป็นเพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องที่คนไทยขณะนั้นกำลังหาคำตอบอยู่นั่นเอง ผ่านมาเกือบยี่สิบปีนับตั้งแต่ปี 2538 ที่งานชิ้นนี้ปรากฎตัวขึ้นครั้งแรกในวงการวิชาการ จากวันนั้นจนถึงวันนี้งานชิ้นนี้ก็ยังได้รับการพูดถึงและยิ่งได้รับการพูดถึงมากขึ้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองของคนเสื้อเหลืองเสื้อแดง โดยเป้าหมายในการชุมนุมของคนเสื้อเหลืองก็คือ การโค่นล้มรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ขณะที่การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง กลับเป็นการพยายามปกป้องการโค่นล้มรัฐบาลนั้น และดังเป็นที่ทราบกันดีว่ากลุ่มคนเสื้อเหลืองส่วนใหญ่เป็นผู้ที่อยู่ในเมืองเป็นคนชั้นกลางในเมือง ต่างจากกลุ่มคนเสื้อแดงที่ส่วนใหญ่เป็นคนชนบท ทฤษฎีสองนคราจึงถูกหยิบยกมาพูดถึงอีกครั้ง เพื่ออธิบายเหตุการณ์ทางการเมืองของไทยว่า สุดท้ายแล้วประเทศไทยก็ยังหนีไม่พ้นการเมืองแบบสองนคราใช่หรือไม่ การเสวนาในวันนี้ มีนักวิชาการทางด้านรัฐศาสตร์ 5 ท่าน ที่จะมาร่วมตั้งข้อสังเกตกับข้อเสนอที่เอนกเสนอไว้ใน สองนครา ซึ่งสุดท้ายคงเป็นการตอบคำถามสุดคลาสสิกที่ว่า เราไปไกลกว่าสองนคราได้แล้วหรือยัง หรือว่ายังคงต้องวนเวียนอยู่กับข้อเสนอของหนังสือเล่มนี้กันอีกนาน นักวิชาการท่านแรกคือ ศ.ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง (คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่), ท่านที่สองคือ ผศ.พฤกษ์ เถาถวิล (คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี), ท่านที่สามคือ ผศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง (คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย), ท่านที่สี่คือ ผศ.ดร.ชัยยนต์ ประดิษฐ์ศิลป์ (คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี) และ ท่านสุดท้ายคือ ดร.ณรงค์ บุญสวยขวัญ (คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์) สำหรับความเห็นของผู้อภิปรายท่านแรก ศ.ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง กล่าวว่า ในวันนี้มีสิ่งที่ต้องประเมิน 2 เรื่อง เรื่องแรก คือ สถานการณ์ ณ ตอนที่ผู้เขียนเขียนงานชิ้นนี้ขึ้น ตอนนั้นผู้เขียนคิดอย่างไร และมีอะไรต้องปรับปรุงเพิ่มเติมบ้าง เรื่องที่สอง คือ งานตอนนั้นเมื่อนำมาดูตอนนี้แล้วเป็นอย่างไร ... สำหรับคำถามแรกที่ว่าตอนนั้นผู้เขียนคิดว่าไร ธเนศวร์ กล่าวว่า ตนและอเนกคิดตรงกันคือ ทำอย่างไรให้ประเทศนี้เป็นประชาธิปไตยและจะพัฒนาประชาธิปไตยอย่างไร สองนคราก็เขียนขึ้นจากฐานคิดนั้น สำหรับเรื่องสองนคราจริงๆแล้วเขียนในช่วงที่คิดว่า ประชาธิปไตยเกิดแล้วและอยู่ในช่วงที่คิดว่าเราจะเดินอย่างไรกันต่อไป แต่กลายเป็นว่าเรากลับมาเจอปัญหาปฏิวัติเมื่อปี 2549 อีกซึ่งยังไม่มีการรับประกันได้ว่าจะไม่เกิดรัฐประหารอีก การพัฒนาประชาธิปไตยที่ผ่านมาจึงเป็นการบิดเบือนยาวนานและลำบาก หรือเราจะต้องกลับไปดูสิ่งที่อาจารย์ชัยอนันต์เคยเขียนไว้ในเรื่องจะอยู่ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบอย่างไรให้มั่นคงกันดี เพราะที่ผ่านมาเรายังไม่เคยมีการปฏิรูปท้องถิ่นที่สำเร็จเลยสักครั้ง ยังคงทำอย่างครึ่งๆกลางๆ การกระจายอำนาจอย่างเต็มรูปยังไม่เกิดขึ้น ธเนศวร์กล่าวว่าสำหรับสิ่งที่เอนกพูดในสองนครานั้นเป็นการมองสังคมอย่างเป็นสหวิทยาการ สองนคราฯ มองได้หลายมุม แต่สรุปคือสุดท้ายแล้วจะเอาระบอบใด ประชาธิปไตย กึ่งประชาธิปไตย หรืออำมาตยาธิปไตย ด้านผศ.พฤกษ์ เถาถวิล มีมุมมองที่น่าสนใจว่าหลังจากที่ได้สนทนากับหนังสือเล่มนี้แล้ว บอกได้ว่าสองนครามี 2 เมืองที่ซ้อนทับกันอยู่ เมืองแรกเป็นนคราที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ที่เป็นการเอาเนื้อหาของเอนกออกไป แล้วเอามาเฉพาะ “วาทะ” ที่ว่าชนบทตั้งรัฐบาลและเมืองล้มรัฐบาลมาใช้ เอาข้อคิดเห็นเรื่องการซื้อขายเสียงมาใช้ ซึ่งเรื่องเหล่านี้ดูเหมือนจะเป็นข้อกล่าวหาที่มาจากอเนก แต่เอาเข้าจริงๆแล้วหากอ่านดีๆจะได้เนื้อความว่าเอนกไม่ได้บอกว่าการซื้อเสียงเป็นนิสัยแต่เป็นเงื่อนไขมาจากทางเศรษฐกิจบางอย่างแต่มีพลวัตร เปลี่ยนแปลงได้และมีคุณค่า ไม่ใช่แบบการซื้อขายของในตลาด มันมีความสำคัญประการหนึ่งด้วย อีกนคราหนึ่ง ก็คือ การพิจารณาเนื้อหาทั้งหมดที่เอนกเขียน ซึ่งมีหลายเรื่องที่พฤกษ์กล่าวว่าประทับใจเช่น เรื่องการขายเสียงที่มีรายละเอียดมากกว่านั้น เรื่องความล้าหลังทางการเกษตร ที่จะต้องทำให้เกษตรกรเป็นเกษตรกรระดับกลางที่มีอำนาจต่อรองในตลาดขึ้นมาให้ได้ เป็นต้น เอนกตั้งคำถามกับสำนักวัฒนธรรมชุมชนอย่างมาก เช่น เรื่องการชี้ให้เห็นว่าจริงๆ ชนบทไม่ได้อยู่ได้ด้วยตนเองมาตั้งนานแล้ว (อ้างจากโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัฐ ในสองนครา) ซึ่งเป็นการเริ่มต้นการวิจารณ์ที่น่าสนใจ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันแนวคิดวัฒนธรรมชุมชนถูกนำมาตอกย้ำมากเป็นพิเศษ ทั้งที่อันที่จริงๆแล้วชนบทไม่ได้เป็นกลุ่มหรืออยู่ด้วยตนเองได้แบบนั้นเลย “จากประสบการณ์การวิจัย สิ่งหนึ่งที่ได้เรียนรู้คือชนบทเปลี่ยนไปอย่างมหาศาลเปลี่ยนไปอย่างมากจากที่เคยเข้าใจกัน” พฤกษ์กล่าวว่าท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง มีความหลากหลายสูงมาก มิติแรก ชาวบ้านไม่ได้ปลูกพืชชนิดเดียวอีกต่อไป ซึ่งประเภทของพืชที่ปลูกที่แตกต่างกันออกไปนั้น นำไปสู่ความสัมพันธ์กับปัจจัยภายนอกที่แตกต่างกันด้วย ในระดับครัวเรือนก็มีการพึ่งพารายได้จากหลากหลายอาชีพมากไม่ใช่เกษตรกรเพียงอาชีพเดียว เกือบทุกบ้านติดจานดำ รับข่าวสารได้ไม่ต่างจากคนในเมือง พฤกษ์ยังกล่าวว่า สิ่งที่พบอีกอย่างก็คือ สิ่งที่คนชนบทใฝ่ฝันไม่ใช่ความพอเพียง แต่ทุกคนอยากได้รถโฟวีล และ อยากเป็นเสี่ย (ประสบการณ์ภาคใต้) “โชว์รูมรถที่นั่นใหญ่มาก ชาวบ้านซื้อของในบิ๊กซี ... ตอนนี้ชนบทมันไม่ใช่ภาพแบบในทีวีที่เขาอยากให้เราไปเห็นอีกต่อไปแล้ว ...” พฤกษ์ยังกล่าวอีกว่า ทางการเมืองคนอีสาน มีตั้งแต่ชาวบ้านที่เป็นเสื้อแดง ชาวบ้านที่อยู่ในเครือข่ายที่อยู่ในขบวนการ เอ็นจีโอ และขบวนการปฏิรูป แต่สิ่งที่เหมือนกัน คือ พวกเขาตื่นตัวทางการเมือง เขารับเอาการเมืองมาอยู่ในวิถีการดำเนินชีวิตของเขา เขายึดการเมืองแบบของเขาเป็นวิถีแบบที่เขาเข้าถึงแบบที่เขาอยากจะได้ “ในหมู่บ้านเดียวกันก็อาจจะมีทั้งเหลืองและแดง มีหมู่บ้านที่เป็นโครงการพระราชดำริ ทหารเต็มเลยก็มี ถามว่าชาวบ้านจะเอาอะไร เขาเอาทุกอย่าง เพราะชาวบ้านก็เล่นการเมืองเหมือนกัน เพราะมันเป็นประโยชน์กับเขา คำถามคือเราเข้าใจการเมืองของชาวบ้านหรือเปล่าต่างหาก ...” และสิ่งนี้คือสิ่งที่พฤกษ์กล่าวว่าเห็นสอดคล้องกับอเนก มากันที่ผู้อภิปรายคนที่ 3 คือ ผศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง ประเด็นที่น่าสนใจอยู่ที่การจะทำอย่างไรให้คนรู้เรื่อง ตื่นตัว ตื่นรู้ จะทำอย่างไรให้คนเมืองและคนชนบทเป็นทั้งฐานเสียงและฐานนโยบาย ประภาสมองว่าข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เอนกนำมาเสนอนั้นมีไม่มากนักและอ้างงานเก่า ทำให้เกิดคำถามว่า ชนบทเปลี่ยนแปลงไปบ้างหรือไม่ สำหรับประเด็นที่อเนกมองว่าชนบทเป็นปัญหา และเป็นปัญหาที่เกิดจากการตกค้างทางวัฒนธรรมนั้น ตนพยายามศึกษาประเด็นดังกล่าวที่คลองโยง (จ.นครปฐม เรื่องโฉนดชุมชน: ผู้เขียน) บอกได้ว่า ทำให้เกิดข้อถกเถียงว่า ชนบทเป็นปัญหาจริงหรือไม่ ในส่วนของข้อสังเกตที่เอนกตั้งไว้ว่า ประชาสังคมไม่สามารถเกิดได้ในชนบท แต่เกิดได้ในสังคมแบบเมือง ซึ่งหากชนบทต้องการมีประชาสังคมจะต้องเปลี่ยนผ่านไปสู่ความเป็นเมืองก่อนนั้น แต่กับงานชิ้นหลังๆของเอนก กลับมีมุมมองที่ว่าประชาธิปไตยสามารถสร้างได้และเกิดขึ้นในชนบท เรื่องนี้ทำให้เกิดคำถามว่า สิ่งที่เปลี่ยนไปคือทัศนคติของเอนก หรือว่าเป็นเพราะสังคมเปลี่ยนผ่านมาแล้ว ... แต่สรุปแล้วตอนนี้สิ่งที่เปลี่ยนไปคือ ชนบทก็เริ่มปกป้องรัฐบาลแล้วเช่นกัน คือ “รัฐบาลข้าใครอย่าแตะ” ประเด็นเรื่องนโยบาย และอุดมการณ์ ก็ได้รับการพูดถึงมากขึ้น คำถามคือ ตอนนี้ชนบทมีการปรับเปลี่ยนเรื่องการเป็นฐานนโยบาย อุดมการณ์แล้วหรือยัง ด้าน ผศ.ดร.ชัยยนต์ ประดิษฐ์ศิลป์ กล่าวคล้ายกับสิ่งที่ พฤกษ์ และ ประภาส มอง คือ ชนบทเปลี่ยนไปแล้ว ชัยยนต์ มองว่า พื้นที่การเมืองท้องถิ่นเป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงไปมาก อย่างแรกคือชนบทจะกลายเป็นพื้นที่ปรุงแต่งมากขึ้น และสถานการณ์แบบฮอบส์เซี่ยน (Hobsian) ขึ้น คือ ทรัพยากรที่จำกัดจะทำให้คนชนบทมีส่วนร่วมมากขึ้น สำหรับปัจจัยที่ทำให้ชนบทเปลี่ยนไป ชัยยนต์บอกว่า อย่างแรกคือเครือข่ายอำนาจในชนบทที่ปัจจุบันไม่ใช่แค่ชนชั้นเดียวอีกต่อไป และสองคือชนบทมีการสะสมทุนมากขึ้น สามคือในท้องถิ่นมีการแตกตัวไม่ได้มีเอกภาพ ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้แนวคิดวัฒนธรรมชุมชนแบบเดิมใช้ไม่ได้อีกแล้ว กล่าวโดยสรุป ชัยยนต์ มองว่า สรุปเรื่องประชาธิปไตยไม่มีอยู่แล้ว แต่เป็นการต่อสู้ระหว่างพลังต่างๆ และโครงสร้างท้องถิ่นในปัจจุบันไม่ใช่ฐานเสียงแต่เป็นเครือข่ายอำนาจ ปิดท้ายกันที่ ดร.ณรงค์ บุญสวยขวัญ ที่มานำเสนอผลการศึกษาที่ได้จากพื้นที่ภาคใต้ และอาจจะช่วยไขข้อข้องใจให้แก่ใครในหลายๆ เรื่องที่ว่า ทำไมพรรคเพื่อไทยจึงไม่ได้รับชัยชนะในภาคใต้ สำหรับณรงค์แล้ว สิ่งที่ได้จากการศึกษาสะท้อนให้เห็นไม่ต่างจากนักวิชาการทั้ง 4 ท่านก่อนหน้าว่า ชนบทเปลี่ยนไปแล้ว ณรงค์ชี้ให้เห็นว่า ในเทศบาลเมือง ชาวบ้านกินอาหารหรูๆ กินกาแฟ แก้วละร้อยไม่ต่างจากคนเมือง แต่สิ่งที่ไม่เปลี่ยนก็คือ พื้นที่ชนบทยังคงเป็นฐานเสียงที่สำคัญ อย่างเช่นพื้นที่ชนบทภาคใต้ เป็นฐานเสียงที่สำคัญสำหรับพรรคประชาธิปัตย์ ณรงค์กล่าวว่า พรรคประชาธิปไตยแทบไม่ต้องหานโยบายอะไรมาให้กับคนใต้เลย เพียงแค่ผลิตความเป็นตัวตนของพรรคออกมาเท่านั้นก็ชนะการเลือกตั้งได้ทุกสมัย ในทางกลับกัน หากพรรคประชาธิปัตย์พยายามที่จะเสนอนโยบายใหม่ๆ ให้แก่คนใต้ ยิ่งกลับทำให้ได้คะแนนเสียงน้อยลงไป แต่สิ่งที่น่าแปลกคือ ในยุคที่พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งนี้ ทำให้คนภาคใต้เริ่มขยับมามองนโยบายมากขึ้น มีการเริ่มพูดถึงราคายางพาราและน้ำมันมากขึ้นเป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจ จากเดิมที่คนกลุ่มนี้เคยเป็นฐานเสียงที่สำคัญของพรรคประชาธิปัตย์ ขณะนี้กำลังขยับตนเองมาเป็นฐานนโยบายมากขึ้นเพื่อให้รัฐบาลทบทวนนโยบายที่จะดำเนินการในภาคใต้มากขึ้น แต่สิ่งที่น่าเสียดายคือ ฐานนโยบายตรงนี้ยังเป็นเพียงคนบางกลุ่ม เช่น กลุ่มนักเคลื่อนไหว ชาวบ้านบางกลุ่ม ที่เคลื่อนไหวในเรื่องนี้อยู่เท่านั้น โดยภาพรวมของการอภิปรายในครั้งนี้ กล่าวได้ว่าวิทยากรทั้ง 5 คน มองเหมือนกันว่า ปัจจุบันชุมชนชนบทเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ไม่ได้เป็นชุมชนชนบทในจินตนาการอย่างที่เคยฝังหัวกันมา ชนบทมีความเป็นเมืองมากขึ้น คนชนบทสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้รวดเร็วและต้องการความสะดวกสบายไม่แพ้กับคนในเมือง คนชนบทเองก็มีการจับจ่ายใช้สอยมากไม่ใช่สังคมแบบเกษตรกรรมที่พึ่งพาธรรมชาติหรือมีความพอเพียงแต่อย่างใด นอกจากนั้น คนชนบทกำลังจะกลายเป็นฐานของนโยบายมากขึ้น ไม่ใช่เพียงแค่ฐานเสียงของพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งเท่านั้น พวกเขามีการเรียนรู้และเริ่มที่จะต่อรองมากขึ้น ในขณะเดียวกันคนเมืองเองก็ไม่ได้ตัดขาดจากการเป็นฐานเสียงของพรรคการเมืองเสียทีเดียว ข้อสังเกตเหล่านี้ อาจารย์เอนกผู้เป็นเจ้าของทฤษฎีสองนคราเองก็ไม่ได้กล่าวแย้งว่าอย่างไร แต่ดูเหมือนอาจารย์จะพยายามฝากไว้ว่า ให้อ่านงานที่อาจารย์เขียนให้ละเอียดมากขึ้นกว่านี้ อย่าได้หยิบเพียงวาทะเด็ดมาใช้จนตัดทอนบริบทรอบข้างทิ้งจนเสียความ อาจารย์ฝากไว้ว่า การเขียน สองนครา ขึ้นมานั้น เป้าหมายก็เพราะต้องการให้คนชั้นกลางเข้าใจคนชนบทมากขึ้น และหลายบทหลายตอนเป็นการเขียนเพื่อปกป้อง (defend) คนชนบทด้วย “เรารักคนชนบท และไม่ต้องการให้คนชนบทกลายเป็นชาวเมืองแบบที่เราไม่ชอบ ... แต่กระแสเมืองต้านทานได้ยากมาก ... ตอนนี้ชนชั้นกลางคิดว่าเรารู้ แต่จริงๆ ไม่รู้ ... ยังเข้าใจประชาธิปไตยไม่พอ ดังนั้นการให้การศึกษาเรื่องประชาธิปไตย คงต้องให้แก่คนชั้นกลางด้วย ไม่ใช่แค่คนชนบทเท่านั้น” เป็นสิ่งที่เจ้าของทฤษฎีสองนคราอย่างอาจารย์อเนกฝากไว้ ก็หวังว่านักวิชาการรุ่นใหม่จะเข้าใจสองนคราในมุมมองอื่นๆบ้าง เพราะสำหรับผู้เขียนเองเห็นว่า แม้ทฤษฎีสองนคราจะเกิดมาได้กว่า 17 ปีแล้ว (ตั้งแต่ปี 2537) แต่กับสถานการณ์บ้านเมืองไทยปัจจุบัน คิดว่านักวิชาการด้านรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ก็ยังคงต้องวนเวียนอยู่กับข้อเสนอใน สองนครา นี้ไปอีกนาน
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
"อภิสิทธิ์" ชี้นโยบาย "เพื่อไทย" ไม่มีภูมิคุ้มกันรับมือวิกฤตเศรษฐกิจโลก Posted: 22 Aug 2011 04:54 AM PDT และมีหลายนโยบายไม่เป็นไปตามที่หาเสียงไว้กับประชาชน ชี้นโยบายกองทุนละล้านให้หมู่บ้านเสื้อแดงจะสร้างความรู้สึกแบ่งแยก วอน "เพื่อไทย" ไม่ควรใช้แนวทางนี้เล่นการเมือง-จะเป็นการทำลายประเทศชาติ พร้อมแนะหากรัฐบาลไม่มีส่วนช่วยทักษิณให้เข้าญี่ปุ่น ต้องทำหนังสือประท้วงญี่ปุ่น อภิสิทธิ์ชี้นโยบายที่ "เพื่อไทย" เตรียมแถลงไม่เป็นไปตามที่หาเสียงกับประชาชน ทั้งนี้มองว่า นโยบายในภาพรวมของรัฐบาล ไม่มีภูมิคุ้มกันเพื่อจะรองรับเศรษฐกิจโลก ที่อาจจะเกิดภาวะวิกฤติขึ้นอีกรอบ พร้อมยอมรับว่ามีความกังวล กรณีการให้สัมภาษณ์ของรัฐมนตรีเศรษฐกิจบางคน ที่ระบุว่าไม่กังวลหรือไม่จำเป็นที่จะต้องแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ ซึ่งส่วนตัวมองว่าเป็นการพูดเพื่อปัดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับรัฐบาล ซึ่งจริงๆจะตัดปัญหาเงินเฟ้อไปไม่ได้ เพราะปัญหาเงินเฟ้อจะทำให้สินค้าราคาสูงขึ้น ประชาชนได้รับผลกระทบโดยตรง ขณะที่มองว่าประชาชนหลายกลุ่มจะไม่ได้รับประโยชน์จากนโยบายบางนโยบายของ รัฐบาลโดยตรง แต่ก็ต้องมารับภาระในส่วนนี้ด้วย ซึ่งรัฐบาลควรจะสร้างกรอบนโยบายที่ชัดเจนเพื่อป้องกันปัญหา โดยเฉพาะกรอบนโยบายการคลัง พร้อมระบุด้วยว่า นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นที่จะต้องลงไปทำหรือเชี่ยวชาญในทุกเรื่อง แต่เรื่องหลักๆ โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจ นายกรัฐมนตรีจะต้องสามารถตัดสินใจให้เป็นทิศทางของรัฐบาลในภาพร่วม เพื่อให้สามารถคุยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ขณะที่การพยายามกดดันธนาคารแห่งประเทศไทย ให้หยุดการขึ้นดอกเบี้ยนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า การกดดันธนาคารแห่งประเทศไทย จะส่งผลกระทบให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสูญเสียความเป็นอิสระในการทำงาน ทั้งนี้การแสดงความคิดเห็นต่างๆ ควรกระทำด้วยความระมัดระวัง และรัฐบาลควรจะมีการพูดคุยกันภายใน ไม่ควรจะมาพูดคุยผ่านสื่อมวลชน เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาระหว่างกัน หากมีกองทุนหมู่บ้านละล้านให้คนเสื้อแดงจะสร้างความรู้สึกแบ่งแยก ส่วนที่มีการพูดถึง การมอบเงินกองทุนให้หมู่บ้านคนเสื้อแดง หมู่บ้านละ 1 ล้านบาท นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า หากมีการพูดถึงเรื่องเงินอาจจะเป็นการสร้างความรู้สึกแบ่งแยก และกดดันประชาชน ซึ่งไม่สอดคล้องกับเป้าหมายเรื่องความสามัคคี ความเสมอภาค และการสร้างปรองดอง แต่เป็นการส่งสัญญาน ถึงการจัดสรรงบประมาณ ว่าจะส่งไปยังหมู่บ้านคนเสื้อแดงก่อน ซึ่งจะทำให้เกิดความแตกแยกในสังคม เป็นการสร้างแรงจูงใจที่จะทำให้เกิดหมู่บ้านคนเสื้อแดงมากขึ้น ทั้งนี้เชื่อว่าการกระทำดังกล่าว จะทำให้หมู่บ้านคนเสื้อแดงก่อตั้งขึ้นเพื่อเจตนาอื่น ไม่ใช่การแสดงสัญลักษณ์เหมือนที่ผ่านมา ทั้งนี้มองว่าพรรคเพื่อไทยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสร้างการแบ่งแยกคนไทยในลักษณะนี้ และคนเสื้อแดงก็สามารถที่จะดำเนิน และทำกิจกรรมทางการเมืองได้ ตราบเท่าที่ยังไม่กระทำผิดกฎหมาย นายอภิสิทธิ์ กล่าวฝากไปยังพรรคเพื่อไทยด้วยว่า ไม่ควรใช้แนวทางนี้เล่นการเมือง เพราะที่ผ่านมาได้มีการพยายามที่จะทำให้ประเทศเดินหน้าไปในทิศทางที่ถูกต้อง การเล่นการเมืองแบบนี้จะเป็นการทำลายประเทศชาติ แนะหากรัฐบาลไม่มีส่วนช่วยทักษิณให้เข้าญี่ปุ่น ต้องทำหนังสือประท้วงญี่ปุ่น นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า สิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์กำลังดำเนินการ ไม่ได้เป็นการกลั่นแกล้งพรรคเพื่อไทย แต่ต้องการให้พรรคเพื่อไทยทำเรื่องนี้ให้กระจาง เพื่อไม่ให้เกิดข้อครหาในอนาคต และในฐานะที่เป็นรัฐบาลก็จะต้องยอมรับการตรวจสอบด้วย ส่วนเรื่องระดับความเชื่อมั่นในตัวผู้นำรัฐบาลนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ประชาชนจะเป็นผู้ตัดสิน ที่มา: เรียบเรียงจากสำนักข่าวแห่งชาติ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ผู้บริหารโรงงานปลากระป๋องหนุนนโยบายค่าแรง 300 บาท Posted: 22 Aug 2011 04:22 AM PDT บิ๊ก "ปุ้มปุ้ย" ระบุธุรกิจโรงงานปลากระป๋องยังเติบโตร้อยละ 15 ต่อเนื่องถึงปี 2555 เชื่อนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทส่งผลให้ประชาชนมีกำลังซื้อมากขึ้น สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ รายงานวันนี้ (21 ส.ค.) ว่า นายสลิล โตทับเที่ยง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) ให้สัมภาษณ์ที่ จ.ตรัง ว่าจากสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ที่มีความผันผวน รวมทั้งราคาสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในหมวดอาหาร ได้แก่ ไก่ หมูและผักสด ส่งผลให้ค่าครองชีพของประชาชนเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย แต่ทั้งนี้ ธุรกิจปลากระป๋องยังสดใส เนื่องจากราคาปลากระป๋องยังคงที่ และมีราคาค่อนข้างถูก เมื่อเทียบกับอาหารชนิดอื่นๆ ส่งผลให้ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ยอดจำหน่ายปลากระป๋องเติบโตขึ้นร้อยละ 10-15 โดยในปี 2554 ยอดขายโตขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 และจะเติบโตต่อเนื่องไปจนถึงปี 2555 โดยมีสัดส่วนของตลาดภายในประเทศร้อยละ 80 ส่วนอีกร้อยละ 20 ส่งไปจำหน่ายในประเทศแถบอาเซียน และยุโรป รวมทั้งอเมริกา, จีน, ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ นายสลิล ยังได้กล่าวถึง ค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ วันละ 300 บาทว่า ตนมองว่านโยบายดังกล่าวของรัฐบาล จะทำให้ประชาชนมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจของประเทศมีการขยายตัวได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม โรงงานยังขาดแคลนแรงงานในการผลิตปลากระป๋องอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งหากปรับค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นจริง ทางโรงงานก็จะใช้วิธีประหยัดในทุกๆ ด้าน สำนักข่าวแห่งชาติ ให้ข้อมูลด้วยว่าบริษัทผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายปลากระป๋องรายใหญ่ของประเทศ มีทุนจดทะเบียน 510 ล้านบาท กำลังผลิตไม่ต่ำกว่า 3 แสนกระป๋องต่อวัน มีการจ้างแรงงานและพนักงานในพื้นที่จังหวัดตรังนับพันคน สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
TCIJ: หวั่น “รัฐบาลปู” หนุนเหมืองโปแตช “กลุ่มอนุรักษ์ฯ” เดินเท้าเคาะประตูแจงข้อมูลคนเมืองอุดรฯ Posted: 22 Aug 2011 03:41 AM PDT เตรียมรับมือรัฐบาลใหม่หนุนโครงการเหมืองโปแตชกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี จัดขบวนเดินเท้าพูดคุยให้ข้อมูลกับประชาชนในเขตตัวเมืองอุดรธานี เผยเตรียมเดินสายต่อในระดับหมู่บ้าน เมื่อวันที่ 21 ส.ค. เวลา 10.00 น. กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี ซึ่งเป็นกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่โครงการเหมืองแร่โปแตช จ.อุดรธานี จำนวนกว่า 100 คน ได้เดินทางจาก อ.ประจักษ์ศิลปาคม เพื่อไปพูดคุยให้ข้อมูลกรณีโครงการเหมืองแร่โปแตชกับประชาชนในเขตตัวเมืองอุดรธานี โดยชาวบ้านได้แบ่งเป็นกลุ่มกระจายกันไปตามจุดสำคัญๆ อาทิ ย่านศูนย์การค้าห้าแยก โรงพยาบาล ตลาดเทศบาล หน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี บริเวณ บขส.และสถานีรถไฟ เป็นต้น จนกระทั่งเวลาประมาณบ่ายโมงจึงเดินทางกลับ ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศว่า กลุ่มชาวบ้านพร้อมใจกันใส่เสื้อเขียวเป็นสัญลักษณ์ และให้ข้อมูลโดยใช้วิธีการเดินเข้าประกบพูดคุยกับชาวบ้านที่สัญจรไปมา และเข้าไปให้ข้อมูลตามบ้านเรือน รวมทั้งห้างร้านต่างๆ พร้อมทั้งแจกใบปลิว “ความจริงในพื้นที่เหมืองแร่โปแตช” ซึ่งพบว่าคนส่วนใหญ่มีความสนใจและให้การตอบรับเป็นอย่างดี เช่น กล่าวให้กำลังใจกับกลุ่มชาวบ้าน ให้ที่อยู่หรือเบอร์โทรศัพท์เพื่อติดต่อ บ้างก็ให้น้ำดื่ม ให้อาหารกินระหว่างทาง อีกทั้งมีผู้บริจาคเงินเพื่อสมทบกองทุนการต่อสู้กับกลุ่มชาวบ้านด้วย ผู้สื่อข่าวรายงานต่อมาว่า การเคลื่อนไหวของกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานีในครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่มีรัฐบาลชุดใหม่ โดยกลุ่มชาวบ้านได้วางแผนร่วมกันที่จะเดินสายเคาะประตูบ้านเพื่อให้ข้อมูลกับชาวบ้านตามหมู่บ้านต่างๆ ต่อไป ทั้งนี้ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์กับรัฐบาลที่มีแนวนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะนโยบายที่เป็นโครงการขนาดใหญ่ ที่ต้องนำเอาทรัพยากรขึ้นมาใช้ แต่ส่งจะผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ดังเช่นโครงการเหมืองแร่โปแตช ทั้งนี้ ในใบปลิว “ความจริงในพื้นที่เหมืองแร่โปแตช” มีเนื้อหาโดยสรุปว่า ขณะนี้บริษัทเอเชีย แปซิฟิค โปแตช คอร์ปอเรชั่น จำกัด (เอพีพีซี) ได้ว่าจ้าง บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียร์ริ่ง แอนด์ แมเนจเมนต์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยเอกชน ให้ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มย่อยกับประชาชน เพื่อนำไปจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (อีเอชไอเอ) พร้อมกันนี้บริษัทฯ ก็พยายามรวบรวมเอารายชื่อของประชาชนที่ได้จากการเก็บข้อมูลไปประกอบและแอบอ้างสนับสนุนโครงการฯ และวิธีการเก็บข้อมูลก็มุ่งเน้นดำเนินการกับกลุ่มคนที่เป็นฝ่ายสนับสนุนโครงการฯ ดังนั้น ผลของการจัดทำรายงานย่อมเอนเอียง และขาดความน่าเชื่อถือ
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ศาลปกครองยกฟ้องคดี สรรหา กสทช. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย Posted: 21 Aug 2011 11:49 PM PDT
มติชนออนไลน์รายงานว่า วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม 2554 เวลา 1๐.๐๐ น. ศาลปกครองกลาง ได้อ่านคำพิพากษาคดี ในคดีหมายเลขดำที่ 11๗3/2554 ระหว่าง นายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร (ผู้ฟ้องคดี) กับ คณะกรรมการสรรหากรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน (ผู้ถูกฟ้องคดี) เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (กรณีขอให้ส่งรายชื่อผู้ฟ้องคดีเข้ารับการสรรหาเป็นคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) คำพิพากษาระบุว่า คดีนี้ผู้ฟ้องคดี (นายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร) ฟ้องว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 (กรรมการสรรหา กสทช.) และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 (เลขาธิการวุฒิสภา) ดำเนินการคัดเลือก ผู้สมควรได้รับเลือกเป็น กสทช. ด้านเศรษฐศาสตร์ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นเหตุให้มติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ที่ได้มีมติให้มีการลงคะแนนใหม่เพื่อทำการคัดเลือกผู้สมควรได้รับเลือกเป็น กสทช. ด้านเศรษฐศาสตร์ แทนนายอรรถชัย บุรกรรมโกวิท ซึ่งเป็นผู้ได้รับคัดเลือก แต่ต่อมาได้ถูกเพิกถอนเนื่องจากเป็นผู้ขาดคุณสมบัติ โดยไม่ได้เลื่อนผู้ฟ้องคดีที่ได้รับคะแนน ในครั้งแรกในลำดับที่ 5 ขึ้นมาแทน และผู้ร้องสอด (นายยุทธ์ ชัยประวิตร) เป็นผู้ได้คัดเลือก โดยไม่มีกฎหมายและระเบียบให้อำนาจกระทำได้ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2554 ว่า การที่ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้ให้ผู้สมัครยื่นใบสมัครเข้ารับการคัดเลือกมากกว่าหนึ่งด้านไม่มีกฎหมายระเบียบจำกัดสิทธิให้สมัครเพียงด้านเดียว และในขณะที่นายอรรถชัยสมัครเข้ารับการคัดเลือกได้ลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) ประธานของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 (นายจตุรงค์ ปัญญาดิลก) ซึ่งเป็นกรรมการบริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) จึงยังไม่มีความสัมพันธ์กับนายอรรถชัยในขณะนั้น ส่วนการแสดงวิสัยทัศน์ด้วยวาจา เป็นส่วนหนึ่งของเอกสารแสดงวิสัยทัศน์ การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีมติไม่ให้มีการซักถามผู้แสดงวิสัยทัศน์กับผู้สมัครทุกคน โดยเท่าเทียมกันจึงไม่ได้เป็นเหตุให้กระบวนการสรรหาเสียไป ส่วนการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีมติให้ทำลายบัตรลงคะแนน แม้ธรรมเนียมในทางปฏิบัติจะต้องเก็บบัตรลงคะแนนเพื่อใช้ในการตรวจสอบในกรณีมีผู้ร้องคัดค้าน แต่ในกรณีนี้ผู้ฟ้องคดีมิได้คัดค้านว่าการลงคะแนนไม่ชอบกับยอมรับผลการลงคะแนนดังกล่าวว่าผู้ฟ้องคดี ได้คะแนนเป็นลำดับที่ 5 จึงไม่เป็นเหตุให้กระบวนการสรรหาเสียไปเช่นเดียวกัน และแม้ข้อเท็จจริงจะปรากฏว่าวันที่ 22 เมษายน 2554 นายอรรถชัยได้รับเลือกให้เป็นกรรมการบริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) ก่อนที่จะมีการลงคะแนนคัดเลือกในครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2554 ซึ่งประธานของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ที่เป็นกรรมการบริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) เช่นเดียวกับนายอรรถชัยและทราบอยู่แล้วในขณะนั้นว่านายอรรถชัยเป็นผู้ขาดคุณสมบัติ แต่ก็ให้มีการลงคะแนนในวันที่ 25 เมษายน 2554 จนมีผู้ได้รับการคัดเลือกครบ 4 คน โดยหนึ่งในสี่ของผู้ได้รับเลือกมีนายอรรถชัยรวมอยู่ด้วย กรณีจึงถือได้ว่านายจตุรงค์ประธานของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีสภาพร้ายแรงทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลางตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แต่ในภายหลังได้มีการดำเนินการแก้ไขความบกพร่องในเรื่องคุณสมบัติของนายอรรถชัยและเหตุที่มีสภาพร้ายแรงอันทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลางของนายจตุรงค์ประธานของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 แล้วโดยได้เพิกถอนสิทธิของนายอรรถชัย และถือว่าในวันนั้น (25 เมษายน 2554) ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีมติเลือกผู้สมควรได้รับเลือกเป็น กสทช. ด้านเศรษฐศาสตร์ เพียง 3 คน เมื่อมีผู้ได้รับคัดเลือกเพียง 3 คน ไม่ครบจำนวน 4 คน ตามที่กฎหมายกำหนด และเมื่อระเบียบของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ไม่ได้กำหนดวิธีการคัดเลือกในกรณีนี้ไว้ จึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ซึ่งข้อ 13 ของระเบียบดังกล่าวกำหนดให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 เป็นผู้วินิจฉัย และเมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้วินิจฉัยโดยมีมติเป็นเอกฉันท์ให้มีการลงคะแนนใหม่ จึงเป็นการใช้อำนาจตามข้อ 13 ของระเบียบผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ที่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ และระเบียบของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ที่มีวัตถุประสงค์ชัดเจนที่จะให้ผู้ได้รับคัดเลือกเป็น กสทช. มาจากการลงคะแนนของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 แล้ว และเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2554 มีผู้ได้รับการคัดเลือก และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ให้การรับรองว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติเพียง 3 คน โดยผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับการเลือก จึงยังไม่อาจถือได้ว่าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีคุณสมบัติที่เลื่อนผู้ฟ้องคดีขึ้นไปแทนนายอรรถชัยได้ และเมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้ทำการลงคะแนนใหม่ปรากฏว่า ผู้ร้องสอดเป็นผู้ได้รับคะแนนสูงสุด ผู้ร้องสอดจึงเป็นผู้ได้รับการคัดเลือกและเป็นผู้ที่ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 รับรองคุณสมบัติแล้ว มติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ที่เลือกผู้ร้องสอดเป็นผู้ที่ได้รับคัดเลือกเป็นผู้สมควรได้รับเลือกเป็น กสทช. ด้านเศรษฐศาสตร์ แทนนายอรรถชัย จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ศาลจึงมีคำพิพากษายกฟ้อง
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
9 เครือข่ายเกษตรกร บุกเพื่อไทย ร้องแก้ความไม่เป็นธรรมระบบเกษตรพันธสัญญา Posted: 21 Aug 2011 10:48 PM PDT เมื่อเวลา 10.30 น. วันนี้ (22ส.ค.54 ) 9 องค์กร เครือข่ายเกษตรกรพันธสัญญา ประกอบด้วย เครือข่ายเกษตรกรในระบบพันธสัญญาภาคเหนือ, เครือข่ายเกษตรกรในระบบพันธสัญญาภาคกลาง, เครือข่ายเกษตรกรในระบบพันธสัญญาภาคอีสาน, ชมรมผู้รับจ้างเลี้ยงสุกรในระบบพันธสัญญาเชียงใหม่-ลำพูน, เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคเหนือ, เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน, สถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน, มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน, แนวร่วมเกษตรกรภาคเหนือ นำโดย นายอุบล อยู่หว้าผู้ประสานงานเครือข่ายได้ เดินทางไปขอพบนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ทำการพรรคเพื่อไทย เพื่อยื่นข้อเสนอการพัฒนาระบบการเกษตร แก่เกษตรกรรายย่อย โดยมีนายจารุพงษ์ เรืองสุวรรณ เลขาธิการพรรคเพื่อไทย เป็นตัวแทนรับหนังสือ โดยเครือข่ายมี ข้อเสนอ ดังนี้
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
เสวนา “จริงหรือประเทศไทย” จริงหรือที่คนต่างจังหวัดเสียงดังไม่เท่าคนกรุงเทพ Posted: 21 Aug 2011 03:19 PM PDT วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม 2554 กลุ่มสุมหัวคิด Thailand Mirror และกลุ่ม 24 มิถุนาฯประชาธิปไตย จัดเสวนา “จริงหรือประเทศไทย” 13.00-17.00 น. อนุสรณ์สถาน14 ตุลา สี่แยกคอกวัว ภายใต้หัวข้อ จริงหรือที่คนต่างจังหวัดเสียงดังไม่เท่าคนเมืองกรุง จริงหรือที่คนไม่ได้รับการศึกษา เสียงดังน้อยกว่าปัญญาชน จริงหรือที่คนเหนือ คนอีสาน เป็นตัวถ่วงความเจริญประเทศไทย ประกอบด้วยวิทยากร 4 ท่าน วิสาระดี เตชะธีราวัฒน์, ประวิตร โรจนพฤกษ์, อรรถชัย อนันตเมฆ, และ วิภูแถลง พัฒนภูมิไทย โดยมี จอม เพชรประดับ เป็นผู้ดำเนินรายการ วิสาระดี เตชะธีรวัฒน์ อดีตรองโฆษกพรรคเพื่อไทย และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงราย อภิปรายเป็นท่านแรก โดยพูดเน้นถึงเรื่องสิทธิเสรีภาพที่พึงมีอย่างเท่าเทียมกันแต่มีความไม่เท่าเทียมกันอยู่ในประเทศ และยังให้ความเห็นว่า คนกรุงเทพจริงๆ แล้วมีอยู่ 4-5 ล้านคนเท่านั้น นอกนั้นเป็นคนต่างจังหวัดคนชนบททั้งนั้น ทั้งนี้คนชนบทมีวิถีชีวิตสัมพันธ์กับการเมือง ของจะขึ้นราคา การเมืองจะเป็นอย่างไร กระทบกับคนชนบททั้งนั้น และต้องยอมรับว่าคนในกรุงเทพ เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ใกล้ชิดกว่าคนต่างจังหวัดก็จริง แต่ตอนนี้มันเปลี่ยนไปแล้ว เรามีมวลชนที่ขับเคลื่อนพร้อมจะต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยได้มากกว่า วิภูแถลง พัฒนภูมิไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ผู้ก่อตั้งและเป็นโฆษกกลุ่มคนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ กล่าวว่า ตนไม่อยากให้เอาความแตกต่างมาเป็นความแตกแยก การจะชอบหรือไม่ชอบใครเป็นสิทธิเสรีภาพที่ต้องเคารพ คนใต้โดยพื้นฐานเป็นคนรักพวก รักความเป็นธรรม แต่เกิดการมุ่งชนะในทางการเมือง เกิดวัฒนธรรมการทำลายล้างคู่แข่งโดยการสร้างความเกลียดชังเพื่อให้ชนะการเลือกตั้ง ทำให้คนใต้ส่วนหนึ่งเกลียดชังพรรคคู่แข่งของพรรคดั้งเดิมของท้องถิ่น เราควรจะมาแข่งขันกันด้วยนโยบายที่ชนะใจมากกว่า การสร้างความเกลียดชัง การเรียกร้องให้ใครรักใครนั้นดัดจริต แต่ขอแค่ไม่ให้เกลียดกัน โดยส่วนตัวมองว่า คนกรุงเทพไม่ได้เข้าถึงข้อมูลได้มากกว่า การเข้าถึงข้อมูล คนต่างจังหวัดเข้าถึงข้อมูลได้มากกว่าคนกรุงเทพ และคนที่ฉลาด หมายถึงคนที่จบจุฬาฯ ธรรมศาสตร์อย่างนั้นหรือ หลายคนจบมหาวิทยาลัยชีวิต เด็กมหาวิทยาลัยจ่ายค่าประสบการณ์ค่าเล่าเรียนเป็นสตางค์ แต่คนเสื้อแดงจ่ายค่าประสบการณ์ค่าเล่าเรียน เป็นชีวิต เป็นแขน เป็นขา เป็นตา ประเทศไทยทุกวันนี้ ปัญหาอยู่ที่รูปการจิตสำนึก ซึ่งเป็นรูปการจิตสำนึกแบบเจ้าขุนมูลนาย ที่ดูคนอื่นเป็นไพร่ แล้วตัวเองเป็นอำมาตย์ รูปการจิตสำนึกแบบเจ้ายศเจ้าอย่าง เราต้องเปลี่ยนความคิดว่า ทุกคนมีความเสมอภาคกัน โซ่ตรวนมันผูกติดอยู่กับจิตวิญญาณ เราต้องมีรูปการจิตสำนึกแห่งเสรีชน วิธีสอนที่ทำให้เด็กพอโตขึ้นแล้วดูถูกเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเป็นสิ่งที่ผิด พ่อแม่ชนชั้นกลางมักจะสอนเด็กว่า “โตขึ้นให้เรียนหนังสือเก่งๆ จะได้ไม่เป็นอย่างคนกวาดถนนนะลูก” ซึ่งเป็นการสอนที่ส่งเสริมและปลูกฝังการดูถูกเพื่อนมนุษย์ให้ลูกตั้งแต่เด็ก ความเสมอภาคมันไม่มีอยู่จริง การปรองดองเกิดขึ้นง่ายอย่างพลิกฝ่ามือ ถ้าเพียงแต่กฎหมายบังคับใช้กับทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน ความเสมอภาคที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ เป็นกระดาษเปื้อนน้ำหมึกเท่านั้นเอง ทั้งนี้ยังกล่าวปิดท้ายว่า แม้แต่ วีระ สมความคิด ก็ควรต้องช่วยออกมา เพราะเป็นคนไทยเหมือนกัน อรรถชัย อนันตเมฆ นักแสดง กล่าวว่า ประเทศเรากำลังเดินผ่านวิวัฒนาการทางสังคม คนหนึ่งคนผมไม่เชื่อว่าเป็นคนดีหรือเลว 100% เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติไม่มีสิ่งใดที่สมบูรณ์แบบ มนุษย์ที่แสวงหาความเพอร์เฟ็กเป็นมนุษย์ที่ไปไม่ถึงจุดหมาย ธรรมชาติเจริญขึ้นมาด้วยความผิดพลาดและการแก้ไข จึงไม่อยากให้มองทั้งหมดว่า คนกรุงเทพฯเป็นแบบไหน คนกลุ่มที่มองคนว่า ฉลาดหรือโง่ชอบดูที่การศึกษา แต่ต้องแยกแยะกันก่อนว่าคนฉลาดคืออะไร โง่คืออะไร ความรู้กับความฉลาดเป็นคนละเรื่องกัน มีความรู้มากอาจจะทำงานไม่เก่ง ความฉลาดความโง่ มันน่าจะดูได้สองแบบ 1. Hardware คือร่างกาย มันสมอง 2.ความรู้ที่ป้อนเข้าไปทางสมองหรือ software ฮาร์ดแวร์คนเราไม่ได้ต่างกันเท่าไร แต่คนจะรู้อะไรได้มากกว่าอยู่ที่ว่าเรารับความรู้อะไรเข้ามา ประวิตร โรจนพฤกษ์ ผู้สื่อข่าวจากเครือเนชั่น กล่าวว่า คนยากจนด้อยโอกาสทางการศึกษาในระบบถูกเอาเปรียบจากผู้มีอำนาจที่อ้างว่ามีคุณธรรมกว่า การได้รับการดูถูกกลับทำให้คนเหล่านี้เข้าใจเรื่องการกดขี่และโฆษณาชวนเชื่อ ในขณะที่ผู้มีการศึกษาหลงใหลไปกับการครอบงำ แล้วก็พูดเรื่องคนเผาเซนทรัลเวิร์ล ภาพที่คนกรุงเทพวาดไว้ว่า คนบ้านนอกถูกหลอกให้ไปเผานั้นก็เป็นความจริงขึ้นมา คนชั้นกลางมีการศึกษา พูดถึงความรุนแรง ได้ตระหนักถึงความรุนแรงแต่ไม่เคยตระหนักถึงความรุนแรงเชิงโครงสร้าง เช่น การได้รับการเสี้ยมสอนให้ดูถูกคนกวาดถนน การแย่งชิงการเข้าถึงทางการศึกษา ความรุนแรงพวกนี้ทำให้คนที่เข้าถึงไม่ได้ก็จมปลักกับความยากจน โอกาสที่ไม่เท่าเทียมกัน โดนยัดเยียดโฆษณาชวนเชื่อว่าให้พอใจและพอเพียง การเอารัดเอาเปรียบรายวัน เช่น ลูกจ้างต้องได้รับการด่าบ่นรายวัน ผู้หญิงต้องมากลายเป็นวัตถุทางเพศให้คนมีเงินเสพ คนขับแท็กซี่ต้องรับฟังอุดมการณ์คนนั่ง การพอเพียงกับสภาพความเป็นอยู่ สิ่งเหล่านี้เราได้เห็นความรุนแรงที่มีหรือไม่ เรื่องสุดท้าย คนที่ดูถูกคนจนเหล่านี้ว่ามีการศึกษาน้อยเป็นการถ่วงความเจริญของสังคมโดยรวมใช่หรือไม่ สังคมไทยจะไปได้ไกลแค่ไหน ถ้าคนส่วนใหญ่ยังกดขี่คนส่วนน้อย ยัดเยียดโฆษณาชวนเชื่อ ส่วนคนส่วนน้อยที่ออกมาพูดในเรื่องที่แตกต่างกลับโดนขังคุก ทั้งหมดนี้ไม่ได้หมายความว่าคนจำนวนมากหรือคนจำนวนน้อยจะถูกต้องเสมอไป แต่เห็นด้วยว่าคนส่วนใหญ่ควรยอมรับว่าคนส่วนน้อยต้องมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่เท่าเทียมกันเพราะคนเพียงจำนวนหยิบมือเดียวไม่สามารถบริหารบ้านเมืองได้ ทุกคนต้องลองผิดลองถูก เหมือนคนชั้นกลางที่ลองผิดลองถูกโดยการสนับสนุนรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่า สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น