โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2561

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

มข.ทุ่มงบ 2 หมื่นล้าน ตั้ง รพ.ขนาดใหญ่สุดในไทยและอาเซียน

Posted: 14 Mar 2018 10:11 AM PDT

มหาวิทยาลัยขอนแก่นทุ่มงบ 2 หมื่นล้าน ตั้ง รพ.ขนาดใหญ่สุดในไทยและอาเซียน ขนาด 5,000 เตียง รองรับสังคมผู้สูงอายุ ตามนโยบายของรัฐ เน้นเพิ่มคุณภาพชีวิต แก้ปัญหาด้านสุขภาพ คาดแล้วเสร็จภายใน 2 ปีครึ่งถึง 3 ปี ก่อนดำเนินการต่อเนื่องครบตามเป้า

 
14 มี.ค.2561 รายงานข่าวแจ้งว่าเมื่อเวลา 14.00 น. ที่โรงแรมอินเเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) จัดแถลงข่าวการจัดตั้งโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขนาด 5,000 เตียงที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและอาเซียน
 
กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อธิการบดีมข. กล่าวว่า มข.เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกที่ตั้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นภูมิภาคที่สำคัญ เนื่องจากมีขนาดและจำนวนประชากรมากที่สุด อีกทั้งตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ในการจัดตั้งมข. เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อขยายโอกาสให้แก่คนในภูมิภาคนี้ มข.ได้ยึดมั่งโดยกำหนดเป็นปณิธาน อุดมการณ์ของมหาวิทยาลัยเพื่อการอุทิศเพื่อสังคม ทำให้การดำเนินการของมหาวิทยาลัยนึกถึงปัญหา และร่วมแก้ปัญหาของคนอีสาน เพื่อความอยู่ดีเป็นสุขของคนอีสาน โดยภาคอีสาน มีปัญหาเรื่องสุขภาพ มข.ได้เปิด6คณะ ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ เภสัชศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์  เทคนิคการแพทย์ และบัณฑิตวิทยาลัย รวมถึงมีการก่อตั้ง รพ.ศรีนครินทร์  มข. เมื่อปี 2548 ซึ่งมี 40 เตียงให้บริการประชาชน การศึกษา วิจัย และพัฒนานวัตกรรมต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพ และสาธารณสุขแก่ประชาชนในพื้นที่ ต่อมาได้ยกระดับเป็นรพ.ลักษณะตติยภูมิ ที่มีความเชี่ยวชาญในการรักษาโรคต่างๆ อาทิ โรคพยาธิใบไม้ตับ และท่อน้ำดี แต่ละปีมีผู้เสียชีวิต 14,000-20,000 คน เนื่องจากผู้ป่วยบริโภคอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ รพ.สามารถคัดกรองผู้ป่วย 8 แสนคน จากนวัตกรรมต่างๆ ทำให้สามารถรักษาผู้ป่วยผ่าตัด 16,000 คน สามารถกลับไปประกอบอาชีพได้
 
"แต่ละปี รพ.ศรีนครินทร์ มข. มีผู้ป่วยจำนวนมาก แบ่งเป็นผู้ป่วยภายนอกประมาณ 1 ล้านคน และผู้ป่วยภายใน 50,000 คนต่อปี จากประชาชนในเขตภาคอีสาน 20 จังหวัด22-23 ล้านคน จึงได้ขยายเตียงเป็น1,100 เตียง แต่ก็ยังไม่เพียงพอ ทำให้รพ.ต้องปฎิเสธผู้ป่วย ดังนั้น เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาสุขภาพ และเป็นที่พึ่งของประชาชน ทางมข.ได้ขยายรพ.รองรับการบริการมากขึ้นเป็น 5,000 เตียง เป็นรพ.ใหญ่และมีจำนวนเตียงมากที่สุดในประเทศไทยและอาซียน โดยใช้งบประมาณ 24,500 ล้านบาท พัฒนาให้เป็นรพ.ที่ทันสมัย มีอุปกรณ์ เครื่องมือทางการแพทย์  และมีบุคลากรทางการแพทย์ที่มีทักษะความรู้ ความสามารถ เชี่ยวชาญในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ และโรคเฉพาะทาง เป็นรพ.ที่รักษาทางกายทางใจแก่ผู้ป่วย ซึ่งจะสามารถรองรับสังคมผู้สูงอายุ ตามนโยบายของรัฐ" กิตติชัย กล่าว 
 
มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการฯ กล่าวว่าพระราชดำริของในหลวงร.9 จัดตั้งมข.ในอีสาน เพราะต้องการให้มข.เป็นมันสมองของคนอีสาน มีการวางกฎ วิธีคิดและความคิดสร้างสรรค์เพื่อคนอีสาน ซึ่งประชากรในภาคอีสา เป็น1ใน3ของประเทศ และการพัฒนาภาคอีสานต้องดำเนินการ 3ด้าน ได้แก่
 
1.การแพทย์และสาธารณสุข 2.การศึกษา และ3.การเกษตร ซึ่งในด้านการแพทย์และสาธารณสุข รพ.ในประเทศจะมีปัญหาเรื่องเตียงไม่พอ โดยสัดส่วนจำนวนเตียงในการให้บริการผู้ป่วยของรพ.ต่อประชากรสูงถึง636คนต่อ 1 เตียงในขณะที่ประเทศพัฒนาแล้ว อย่าง ญี่ปุ่น อยู่ที่ 126 คนต่อ1เตียง และเกาหลีอยู่ที่ 156 คนต่อ 1เตียง ดังนั้น รพ.ศรีนครินทร เป็นการจัดตั้งศูนย์การแพทย์ชั้นเลิศ ที่จะช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนเตียง โดยมีจุดยืนในการดูแลผู้ป่วยทุกระดับ ไม่แสวงหากำไร เน้นรักษาผู้ป่วยคนไทย และคนอีสาน โดยการหางบในการดำเนินการ เป็นการระดมทุน เปิดรับบริจาคจากประชาชน ซึ่งผู้บริจาคจะถือเป็นสมาชิกพิเศษที่เรียกว่า กองทุนอายุวัฒนะ โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ วงเงิน 4 ล้านบาท จำนวน 500 ท่าน และวงเงิน 5 ล้านบาท จำนวน 2,000 ท่าน ซึ่งผู้บริจาค จะได้รับตอบแทน การรักษาฟรีตลอดชีวิตจากคณะแพทย์ มข.,ได้รับสิทธิ์ตามกฎหมายในการลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า  และการบริจาคสามารถแบ่งเป็น 3 งวดเพื่อหักภาษี แต่สิทธิ์พิเศษจะได้รับตั้งแต่ปีแรกที่บริจาค
 
ชาญชัย พานทองวิริยะกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ กล่าวว่า โครงการดังกล่าวจะเริ่มดำเนินการก่อสร้าง แบ่งออกเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรก จำนวน  3,500 เตียง ใช้งบประมาณ 14,000 ล้านบาท โดยคาดว่าจะใช้เวลา 2 ปีครึ่ง ถึง 3 ปี เมื่อดำเนินการระยะแรกเสร็จก็จะดำเนินการระยะที่ 2 ทันที ให้ครบ 5,000 เตียง ใช้งบประมาณ 10,500 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นโรงพยาบาลที่มีอาคารสูงประมาณ 20-39 ชั้น เพื่อรองรับผู้ป่วยที่มาใช้บริการ มีที่จอดรถ 1,600 คัน มีห้องผ่าตัดเพิ่ม 2-3 เท่าจากเดิม มีเตียงสำหรับผู้ป่วยวิกฤตในห้องไอซียูเพิ่มอีก 30% มีเรือนพักญาติ อาคารสนับสนุนบริการ โดยจะให้บริการแบบการบริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One stop service) แก่ผู้ป่วยทุกกลุ่ม เพราะรพ.ดังกล่าวเป็นรพ.ของรัฐ มีจุดมุ่งหมายที่จะดูแลพี่น้องประชาชนทุกระดับ ให้บริการมาตรฐานการแพทย์อย่างเท่าเทียมกัน
 
ทั้งนี้ผู้ต้องการบริจาคสามาถติดต่อได้ที่ โทร.062-229-1555, 062-229-4555 ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เพราะหากต้องรองบจากรัฐบาล หรืองบอื่นๆ คงต้องใช้เวลาอย่างน้อย 20 ปี ถึงจะเห็นรพ.ขนาดใหญ่ดังกล่าวได้ แต่การ แก้ปัญหาสังคม และการดูแลคน ต้องดำเนินการทันที
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประวัติย่นย่อ: พรรคการเมืองชื่อ “ใหม่” ในประเทศที่มีร้านตามสั่ง “เจ้าเก่า”

Posted: 14 Mar 2018 08:05 AM PDT

ประวัติย่นย่อของพรรคการเมืองไทยชื่อลงท้ายว่า "ใหม่" ที่มีทั้งล้มลุกคุกคลานและรุ่งโรจน์ เช่นเดียวกับชะตากรรมของระบอบประชาธิปไตยไทย บางพรรคเคยเป็นที่รวมดาวรุ่งและคนรุ่นใหม่ ที่เมื่อเวลาผ่านไป พวกเขาหลายคนกลายเป็นคนแก่หัวเก่า หรือพรรคที่ตั้งขึ้นใหม่มีวาระทำงานช่วงสั้นๆ ก่อนแยกวง หากไม่รวมตัวกำเนิดใหม่กลายเป็นพรรคระดับชาติก็ถึงกับหายไปจากสารบบการเมืองไทย ฯลฯ

หลังมีข่าวธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และคณะเตรียมยื่นจดทะเบียนชื่อพรรคการเมือง "พรรคอนาคตใหม่" ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งในวันพรุ่งนี้ (15 มี.ค.) ทีมข่าวการเมืองชวนอ่านประวัติศาสตร์ย่นย่อของพรรคการเมืองในประเทศไทยที่ชื่อลงท้ายว่า "ใหม่" ตลอด 86 ปีการเมืองไทยสมัยใหม่ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475

โดยพรรคการเมืองเหล่านี้มีตั้งแต่พรรคขนาดเล็ก อาศัยการออกแบบของรัฐธรรมนูญที่เอื้อให้กับการเลือกตั้ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ โดยพรรคนำมาปรับกลยุทธ์หาเสียงแบบ "น้อยแต่มาก" จนประสบความสำเร็จคว้า 1 ที่นั่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ อย่าง "พรรคประชาธิปไตยใหม่"

มีพรรคการเมืองทั้งประเภทที่สิ้นสุดการดำเนินงานทางการเมืองไปในช่วงเวลาสั้นๆ อย่าง "พรรคสยามใหม่" หรือยืนระยะทางการเมืองกินเวลานับทศวรรษ อย่าง "พรรคความหวังใหม่" ที่มีบทบาทสำคัญในช่วงพฤษภาคม 2535 เคยได้รับความนิยมจนเฉือนชนะพรรคประชาธิปัตย์เมื่อปี 2539 จนหัวหน้าพรรคคือสามารถตั้งรัฐบาลผสมได้เป็นเวลาสั้นๆ ก่อนจะต้องถอยฉากหลังวิกฤตเศรษฐกิจ 2540

หรือ "พรรคพลังใหม่" ที่เมื่อแรกตั้งถูกจับตามองว่าเป็นศูนย์รวมของคนรุ่นใหม่ และมีนโยบายค่อนไปทางซ้าย เคยตกเป็นเป้าหมายลอบวางระเบิดในช่วงหาเสียง รวมทั้งวางระเบิดที่ทำการพรรคโดยกลุ่มพลังอนุรักษ์นิยมในช่วงก่อน 6 ตุลาคม 2519 และเมื่อเกิดรัฐประหารจนพรรคพลังใหม่ต้องปิดฉากลง แต่บุคลากรทางการเมืองจากพรรคพลังใหม่ ยังคงมีบทบาททางการเมืองในสังกัดอื่นๆ มาจนถึงทศวรรษ 2540

รวมทั้งในประวัติศาสตร์ยุคใกล้ ที่มี "พรรคการเมืองใหม่" ซึ่งเคยถูกจับตาว่าจะเป็นพรรคการเมืองของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แต่แล้วก็ไปไม่ถึงเป้าหมายหลังแกนนำพรรค กับแกนนำพันธมิตรฯ แตกคอกันเรื่องจะโหวตโนหรือจะลงเลือกตั้งในปี 2554 และพรรคได้กลายสภาพไปเป็นพรรคการเมืองสาขาของแกนนำสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจในเวลาต่อมา

ขณะที่ร้านอาหารตามสั่งในเมืองไทย แม้ว่าจะเพิ่งเปิดร้าน แต่ก็มักลงท้ายว่า "เจ้าเก่า" นัยว่าเพื่อสร้างความมั่นใจในรสมือ แต่สำหรับพรรคการเมืองไม่ว่าจะตั้งขึ้นใหม่ หรือเกิดจากการรวมตัว สลับขั้ว ก็ปรากฏมากมายหลายพรรคเลือกลงท้ายชื่อว่า "ใหม่" และเส้นทางการเมืองของพวกเขาในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยเท่าที่รวบรวมได้โดยสังเขป มีดังนี้

 

พรรคสยามใหม่ (1)

ในการเลือกตั้งทั่วไป 10 กุมภาพันธ์ 2512 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งแบบเขตจังหวัด เรียงเบอร์ เป็นการเลือกตั้งครั้งแรกหลังจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำรัฐประหารเมื่อ 20 ตุลาคม 2501 โดยในครั้งนั้นพรรคการเมืองหนึ่งใช้ชื่อว่า "พรรคสยามใหม่" นำโดย พล.ต. กระแส เสนาพลสิทธิ์ ลงเลือกตั้งด้วย แต่ไม่ประสบความสำเร็จ และสิ้นสุดการดำเนินงานในปี 2514

พรรคสยามใหม่ (2)

หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ต่อมามีการใช้พระราชบัญญัติพรรคการเมือง 2517 ต่อมามีผู้ใช้ชื่อ "พรรคสยามใหม่" ไปแจ้งจดทะเบียนต่อปลัดกระทรวงมหาดไทย ทำหน้าที่นายทะเบียนพรรคการเมืองเมื่อปี 2518 โดยมีหัวหน้าพรรคคือ เปรม มาลากุล ณ อยุธยา โดยพรรคสยามใหม่ คณะนี้ไม่มีความเกี่ยวข้องกับพรคสยามใหม่เมื่อปี 2512

โดยในการเลือกตั้ง 26 มกราคม 2518 พรรคสยามใหม่ได้ ส.ส. เข้าสภาทั้งสิ้น 3 คน รวมทั้งเปรม มาลากุล ที่ชนะเลือกตั้งที่ จ.อุตรดิตถ์ ต่อมาในการเลือกตั้ง 4 เมษายน 2519 พรรคสยามใหม่ได้ ส.ส. เข้าสภาเพียง 1 คน โดยเปรม ยังคงรักษาที่นั่งที่ จ.อุตรดิตถ์ เอาไว้ได้

อย่างไรก็ตามหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 พรรคสยามใหม่และอีกหลายพรรคการเมืองถูกยุบโดยประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน

 

พรรคพลังใหม่

ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 จดทะเบียนพรรคการเมืองตั้งแต่ 21 พฤศจิกายน 2517 มี นพ.กระแส ชนะวงศ์ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค เลขาธิการคือ ปราโมทย์ นาครทรรพ

พรรคพลังใหม่เคยถูกมองว่าเป็นแหล่งรวมของนักการเมืองรุ่นใหม่ และถูกจัดว่าเป็นพรรคแนวสังคมนิยมในรัฐสภาหลัง 14 ตุลาคม 2516 โดยในการเลือกตั้งทั่วไป 26 มกราคม 2518 ผู้สมัครจากพรรคพลังใหม่ชนะเลือกตั้ง ส.ส. 12 ที่นั่ง ในจำนวนนี้มีเลิศ ชินวัตร บิดาของทักษิณ ชินวัตร และปรีดา พัฒนถาบุตร ซึ่งได้ตำแหน่งรัฐมนตรีทบวงมหาวิทยาลัย สมัยรัฐบาล ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช รวมทั้งชัชวาลย์ ชมภูแดง ที่ชนะเลือกตั้งที่ จ.ร้อยเอ็ด

ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งแรก เมื่อ 10 สิงหาคม 2518 พรรคพลังใหม่ก็ได้กระแสตอบรับใน กทม. อย่างมาก โดยในเวลานั้นพรรคพลังใหม่ส่ง อาทิตย์ อุไรรัตน์ ซึ่งเพิ่งจบดุษฎีบัณฑิตสาขารัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยโคโลราโด โบลเดอร์ สหรัฐอเมริกา และเป็นหัวหน้ากองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ลงชิงตำแหน่งกับพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งส่งธรรมนูญ เทียนเงิน เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์

อย่างไรก็ตามผลการเลือกตั้งที่มีผู้มาใช้สิทธิเพียง 13.86% นั้น ธรรมนูญ เทียนเงินชนะเลือกตั้งได้คะแนน 99,247 คะแนน ส่วนอาทิตย์ อุไรรัตน์ ได้คะแนน 91,678 คะแนน แพ้ไป 9 พันคะแนนเท่านั้น

เหตุลอบปาระเบิดที่ทำการพรรคพลังใหม่เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2519 แต่ผู้ก่อเหตุพลาดจนเสียชีวิต 1 ราย และบาดเจ็บ 1 ราย (ที่มา: หนังสือพิมพ์ประชาธิปไตย)

เหตุลอบปาระเบิดที่ทำการพรรคพลังใหม่เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2519 (ที่มา: หนังสือพิมพ์ประชาชาติ)

ข่าวปาระเบิดใส่ที่ปราศรัยของรองหัวหน้าพรรคพลังใหม่ที่ จ.ชัยนาท เมื่อ 24 มีนาคม 2519 จนมีผู้เสียชีวิต 9 ราย (ที่มา: หนังสือพิมพ์ประชาชาติ)

ในช่วงการเลือกตั้งทั่วไป 4 เมษายน 2519 ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงที่มีกระแส "ขวาพิฆาตซ้าย" เกิดการลอบสังหารนักการเมือง และนักศึกษา ชาวนา กรรมกรฝ่ายซ้ายนั้น พรรคพลังใหม่เองก็ตกเป็นเป้าหมายการโจมตีด้วย โดยในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2519 มีสมาชิกกลุ่มกระทิงแดงลอบปาระเบิดที่ทำการพรรคพลังใหม่ในกรุงเทพฯ ย่านถนนอโศก-เพชรบุรี แต่การปาระเบิดผิดพลาด ทำให้พิพัฒน์ กางกั้น เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ และประจักษ์ เทพทอง บาดเจ็บสาหัส อย่างไรก็ตามในเวลานั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ไม่ได้ดำเนินการอย่างไรต่อกลุ่มกระทิงแดง ในทางตรงข้าม พล.ต.ประมาณ อดิเรกสาร รองนายกรัฐมนตรี และแกนนำพรรคชาติไทย ได้แถลงว่าพรรคพลังใหม่จงใจสร้างสถานการณ์เพื่อหาเสียง

และในเดือนถัดมาในคืนวันที่ 24 มีนาคม 2519 มีการลอบปาระเบิดในระหว่างที่สมหวัง ศรีชัย รองหัวหน้าพรรคพลังใหม่ ปราศรัยหาเสียงที่ศาลาการเปรียญหน้าวัดหนองจิก อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท โดยมีผู้เสียชีวิต 9 ราย และบาดเจ็บนับสิบ

อย่างไรก็ตามพรรคพลังใหม่ ได้ที่นั่ง ส.ส. เพียง 3 ที่นั่ง ในการเลือกตั้ง 4 เมษายน 2519 และถูกยุบพรรคหลังการรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ภายหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519

 

จดชื่อ "พลังใหม่" รอบสองก่อนเปลี่ยนชื่อ
เป็น "พลังสังคมประชาธิปไตย" และ "รวมพลังใหม่"

ในปี 2525 มีการจดทะเบียนพรรคพลังใหม่ขึ้นมาอีกครั้งโดยใช้ตราสัญลักษณ์เดิม และในวันที่ 26 มีนาคม 2531 พรรคพลังใหม่ได้ทำการประชุมใหญ่สามัญของพรรคและเปลี่ยนแปลงชื่อพรรคเป็น พรรคพลังสังคมประชาธิปไตย และเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ มีชัชวาลย์ ชมภูแดง เป็นหัวหน้าพรรค

ทั้งนี้ในการเลือกตั้ง 24 กรกฎาคม 2531 หลังยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ พรรคพลังสังคมประชาธิปไตยได้ที่นั่ง ส.ส. มาเพียง 1 ที่นั่งคือเขตที่ชัชวาลย์ลงสมัคร อย่างไรก็ตามในการเลือกตั้งปี 2535 ชัชวาลย์ย้ายไปสังกัดพรรคสามัคคีธรรมที่ต่อมาจะหนุน พล.อ.สุจินดา คราประยูร รองหัวหน้า รสช. มาเป็นนายกรัฐมนตรี โดยเขามีตำแหน่งเป็นอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในรัฐบาล พล.อ.สุจินดาด้วย

หลังจากนั้นเขาย้ายไปสังกัดพรรคชาติไทย และเคยเป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร และในการเลือกตั้งปี 2554 เขาลงสมัคร ส.ส. ที่ จ.ร้อยเอ็ด ในนามพรรคภูมิใจไทย แต่แพ้ให้กับเอมอร สินธุไพร ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย ภรรยาของนิสิต สินธุไพร แกนนำ นปช.

ส่วนพรรคพลังสังคมประชาธิปไตย ในปี 2535 มีการเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น "พรรครวมพลังใหม่" มีหัวหน้าพรรคคือปราโมทย์ นาครทรรพ ก่อนที่พรรคจะหมดบทบาททางการเมืองในเวลาต่อมา

 

อาทิตย์ อุไรรัตน์: ดาวรุ่งจาก "พลังใหม่"
ร่วมมาทุกขั้ว ก่อนมาเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต

อาทิตย์ อุไรรัตน์ (ที่มา: ThaiPublica)

สำหรับดาวรุ่งจากพรรคพลังใหม่อย่าง อาทิตย์ อุไรรัตน์ ต่อมาหลังพรรคพลังใหม่ยุติบทบาท เขาได้ไปเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพอ.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ และเมื่อ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ตั้งพรรคชาติประชาธิปไตย อาทิตย์ก็รับตำแหน่งเลขาธิการพรรค นอกจากนี้ในทศวรรษ 2520-2530 เขายังย้ายไปร่วมงานกับอีกหลายพรรค ได้แก่ พรรคกิจประชาคม พรรคเอกภาพ รวมทั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม

อย่างไรก็ตามหลังเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 อาทิตย์ซึ่งทำหน้าที่ประธานสภาผู้แทนราษฎร และรักษาการประธานรัฐสภา ได้เป็นผู้เสนอชื่ออานันท์ ปันยารชุน ให้มาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัย แทนชื่อของ พล.อ.อ.สมบุญ ระหงษ์ จากพรรคชาติไทย

หลังจากนั้นอาทิตย์ยังมีบทบาทในฐานะแกนนำพรรคเสรีธรรม เคยดำรงตำแหน่ง รมว.สาธารณสุข ในรัฐบาลชวน หลีกภัย 1 ก่อนที่เขาเข้าร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์ และในปี 2546 เคยเป็นหนึ่งในผู้สมัครชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์แต่ได้คะแนนเป็นลำดับที่ 3 รองจากบัญญัติ บรรทัดฐาน และอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

ต่อมาเขาวางมือทางการเมือง โดยปัจจุบันมีบทบาทในฐานะของผู้ก่อตั้ง และอธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต

 

พรรคความหวังใหม่

พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ และแกนนำพรรคความหวังใหม่ (ที่มา: แฟ้มภาพ/ไทยรัฐ)

พรรคความหวังใหม่ ก่อตั้งเมื่อ 11 ตุลาคม 2533 เปิดตัวที่โรงแรมเจบี อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา สัญลักษณ์พรรคคือ ดอกทานตะวัน และมีคำขวัญพรรคว่า ประเทศมั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง

แกนนำพรรคได้แก่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตผู้บัญชาการทหารบกและผู้บัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งรับตำแหน่งหัวหน้าพรรคในปี 2534 ร่วมด้วยนักการเมืองคนสำคัญได้แก่ เสนาะ เทียนทอง, จาตุรนต์ ฉายแสง นอกจากนี้ยังมีแกนนำสำคัญคือ วันมูหะมัดนอร์ มะทา แกนนำกลุ่มวาดะห์ หรือ "เอกภาพ" ที่พานักการเมืองชายแดนใต้รวมทั้ง "เด่น โต๊ะมีนา" ออกจากพรรคประชาธิปัตย์มาเข้าร่วมกับพรรคความหวังใหม่

หลังการรัฐประหารของ รสช. ปี 2534 ต่อมามีการเลือกตั้งทั่วไป 22 มีนาคม 2535 พรรคความหวังใหม่ลงเลือกตั้งครั้งแรกได้ ส.ส. มาเป็นอันดับ 3 คือ 72 คน ในเวลานั้นพรรคความหวังใหม่ เป็น 1 ใน 4 พรรคการเมืองที่คัดค้านการสืบทอดอำนาจของ รสช. หลังจาก 5 พรรครัฐบาลนำโดยพรรคสามัคคีธรรมไปเชิญ พล.อ.สุจินดา คราประยูร รองหัวหน้า รสช. มาเป็นนายกรัฐมนตรี โดยหลังจากนั้นไม่นานเกิดเหตุการณ์ประท้วงขับไล่ พล.อ.สุจินดา ในเดือนพฤษภาคม 2535

พรรคความหวังใหม่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งปี 2539 ได้ที่นั่ง ส.ส. จำนวน 125 ที่นั่ง เฉือนชนะพรรคประชาธิปัตย์ไป 2 ที่นั่ง ส่งผลให้ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ได้เป็นนายกรัฐมนตรี อย่างไรก็ตาม พล.อ.ชวลิต ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 และประกาศลอยตัวค่าเงินบาท เปิดทางให้พรรคประชาธิปัตย์ตั้งรัฐบาล

ต่อมาในการเลือกตั้งทั่วไป 6 มกราคม ปี 2544 พรรคความหวังใหม่ได้ ส.ส. เป็นอันดับ 4 คือ 35 คน ต่อมาเดือนมีนาคมปี 2545 จึงยุบรวมเข้ากับพรรคไทยรักไทย โดยอดีตแกนนำพรรคความหวังใหม่ที่ยังมีบทบาททางการเมืองกับพรรคไทยรักไทย และต่อมาคือพรรคเพื่อไทยคือ จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ ส.ส.หลายสมัยของ จ.ฉะเชิงเทรา

อนึ่งหลังจากพรรคความหวังใหม่ยุบรวมเข้ากับพรรคไทยรักไทย ต่อมา 7 พฤษภาคม 2545 ชิงชัย มงคลธรรมได้จดทะเบียนพรรคความหวังใหม่ขึ้นมาอีกครั้ง และในการเลือกตั้งทั่วไป 3 กรกฎาคม 2554 พล.อ.ชวลิต เข้ามาทำหน้าที่ประธานที่ปรึกษาพรรคความหวังใหม่ด้วย อย่างไรก็ตามพรรคความหวังใหม่ไม่ได้ที่นั่ง ส.ส. เลยในการเลือกตั้งปี 2554

 

พรรคการเมืองใหม่: 
เริ่มต้นเป็นพรรคพันธมิตรฯ สุดท้ายแพแตก

เริ่มแรก "พรรคการเมืองใหม่" ถูกคาดหมายว่าจะเป็นพรรคการเมืองตามแนวทางพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยก่อตั้งในเดือนมิถุนายน 2552 หลังมติของมวลชนพันธมิตรฯ ที่สนามกีฬามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เมื่อ 25 พฤษภาคม 2552 ในโอกาสรำลึก 1 ปี การชุมนุม 193 วันของพันธมิตรฯ ที่นำไปสู่การยุบพรรคพลังประชาชนและเปลี่ยนขั้วรัฐบาล

นายสมศักดิ์ โกศัยสุข (แถวนั่งที่ 4 จากซ้าย) ถ่ายรูปคู่กับว่าที่ ร.ต.อิทธิพล มนะเกษตรธาร ประธานศูนย์ประสานงานพรรคการเมืองใหม่ จ.เชียงใหม่ (แถวนั่งที่ 5 จากซ้าย) พล.อ.กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ กรรมการบริหารพรรคการเมืองใหม่ (แถวนั่งที่ 6 จากซ้าย) และสมาชิกพรรคการเมืองใหม่ ระหว่างเปิดศูนย์ประสานงานพรรคการเมืองใหม่ ประจำ จ.เชียงใหม่ เมื่อ 19 มิถุนายน 2554 (ที่มาของภาพ: ASTVผู้จัดการออนไลน์)

อย่างไรก็ตามในเดือนเมษายน 2554 เกิดความเห็นไม่ลงรอยระหว่างพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกับพรรคการเมืองใหม่เรื่องการเลือกตั้งทั่วไป 3 กรกฎาคม 2554 โดยแกนนำพันธมิตรฯ มีมติให้โหวตโน ขณะที่สมศักดิ์ โกศัยสุข หัวหน้าพรรคการเมืองไม่เห็นด้วย และประกาศถอนตัวจากพันธมิตรฯ ขณะที่แกนนำพันธมิตรฯ นำโดยสนธิ ลิ้มทองกุล ก็โจมตีแนวทางของพรรคการเมืองใหม่อย่างรุนแรง

ต่อมาในวันที่ 4 กรกฎาคม 2556 มีการประชุมใหญ่สามัญพรรค และมีมติเปลี่ยนชื่อพรรคเป็น "พรรคสังคมประชาธิปไตยไทย" รวมทั้งแก้ไขข้อบังคับพรรคใหม่ โดยพรรคสังคมประชาธิปไตย ใช้สัญลักษณ์รูปดอกกุหลาบสีส้มตัดเส้นสีขาวบนพื้นสีน้ำเงิน เป็นสัญลักษณ์ ปัจจุบันสมศักดิ์ โกศัยสุข เป็นหัวหน้าพรรคสังคมประชาธิปไตยไทย แกนนำที่เหลือในพรรคส่วนมากมีพื้นฐานมาจากแกนนำในสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจต่างๆ

 

พรรคประชาธิปไตยใหม่: น้อยแต่มาก

พรรคประชาธิปไตยใหม่ (ตัวย่อ ปธม.) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2554 มีสุรทิน พิจารณ์ เป็นหัวหน้าพรรค โดยในการเลือกตั้งทั่วไป 3 กรกฎาคม 2554 พรรคประชาธิปไตยใหม่ซึ่งส่งผู้สมัคร ส.ส. บัญชีรายชื่อ 5 คน ชูนโยบายกินได้ ทำเป็นด้วย "รัฐสวัสดิการ" พร้อม 6 ข้อเสนอคือ 1. กองทุนบำนาญประชาชน 2. ส่งแรงงานฟรีไม่มีค่าหัว 3. รักษาฟรีทุกโรคทุกที่ ลดหนี้เกษตรกร 4.เรียนฟรีถึงปริญญาตรีโดยสมัครใจ 5.กองทุนเพื่อการประกอบวิชาชีพ 6.จบปริญญาตรี/อาชีวะมีงานทำแน่นอน

ในการเลือกตั้ง 2554 ซึ่งการเลือกตั้งยังเป็นระบบการเลือกตั้งแบบบัตร 2 ใบคือแบ่งเขต และบัญชีรายชื่อ ซึ่งเอื้อต่อพรรคขนาดเล็ก ทำให้ผลการเลือกตั้ง พรรคประชาธิปไตยใหม่ได้คะแนนเสียง 125,784 คะแนน โดยได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 ที่นั่งคือพัชรินทร์ มั่นปาน

 

พรรคพลังธรรมใหม่

แถลงข่าวเปิดตัว "พรรคพลังธรรมใหม่" โดย นพ.ระวี มาศฉมาดล เมื่อ 1 มีนาคม 2561

หลังประกาศใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พรรคพลังธรรมใหม่ (New Palangdhamma Party) หรือ กลุ่มพลังธรรมใหม่ ได้ยื่นจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองเมื่อ 2 มีนาคม 2561 โดยมี นพ.ระวี มาศฉมาดล อดีตเลขาธิการพรรคพลังธรรม เป็นว่าที่หัวหน้าพรรคและว่าที่ ร.ต.นคร ดิวรางกูร เป็นโฆษกพรรค โดยในการแถลงข่าวเมื่อ 1 มีนาคม ที่โรงแรมเอเชีย นพ.ระวีระบุว่า พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพรรคพลังธรรมเดิมจะไม่เข้าร่วมพรรคแล้วเนื่องจากอายุมากแล้ว โดยมอบหมายให้แกนนำของพรรครุ่น 2 ดำเนินการต่อไป

สำหรับ นพ.ระวี ยังเป็นแกนนำกองทัพประชาชนและเครือข่ายปฏิรูปพลังงานไทย (กคป.) ในช่วงการชุมนุมของ กปปส. โดยเขาถูกดำเนินคดีฐานชุมนุมปิดกระทรวงพลังงานและสำนักงาน ปตท. เมื่อเดือนมกราคม 2557 โดยศาลแพ่งสั่งจ่ายค่าเสียหาย 95.9 ล้านบาท ส่วนคดีอาญาข้อหามั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปเพื่อก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง เมื่อ 31 ตุลาคม 2560 ศาลพิพากษาจำคุก 8 เดือน ปรับ 6,000 บาท แต่ให้รอลงอาญา 2 ปี โดยเจ้าตัวพอใจกับคำพิพากษาและไม่อุทธรณ์ต่อ (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

 

3 ยุคพรรคพลังธรรม: จำลอง-ทักษิณ-ไชยวัฒน์

โดยก่อนหน้าการยื่นจดทะเบียน "พรรคพลังธรรมใหม่" ในอดีตเคยมี "พรรคพลังธรรม" ซึ่งตั้งเมื่อ 9 มิถุนายน ปี 2531 โดย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสมณะโพธิรักษ์ จากกลุ่มสันติอโศก พรรคพลังธรรมได้ ส.ส. 15 ที่นั่ง ในการเลือกตั้ง 24 กรกฎาคม 2531 และในการเลือกตั้ง 22 มีนาคม 2535 ได้ ส.ส. 41 ที่นั่ง เป็นพรรคอันดับ 5 ในรัฐสภา โดยในเวลานั้นเกิดกระแสจำลองฟีเวอร์ โดยใน กทม. พรรคพลังธรรมได้ ส.ส. 32 ที่นั่ง จากจำนวน ส.ส. กรุงเทพมหานครทั้งหมด 35 ที่นั่ง

หลังเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ลาออกจากหัวหน้าพรรคพลังธรรม ตามที่ได้ให้คำมั่นในช่วงการชุมนุม ทั้งนี้แม้ว่าในการเลือกตั้ง 13 กันยายน 2535 พรรคพลังธรรมจะได้ ส.ส. 46 ที่นั่ง และยังคงเป็นพรรคอันดับ 5 แต่ที่นั่ง ส.ส. ในกรุงเทพมหานครลดลงเหลือ 23 ที่นั่ง

อดีตแกนนำสำคัญพรรคพลังธรรม (จากซ้ายไปขวา) สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์, ทักษิณ ชินวัตร และ จำลอง ศรีเมือง

ทั้งนี้หลังยุค พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ภายในพรรคพลังธรรมมีการเปลี่ยนหัวหน้าพรรคอีก 2 คน จนกระทั่งในปี 2538 พล.ต.จำลอง ได้เชิญทักษิณ ชินวัตร นักธุรกิจด้านการสื่อสาร เข้ามาดำรงตำแหน่งภายในพรรคพลังธรรม ส่งผลให้ทักษิณ เป็นหัวหน้าพรรคพลังธรรมคนที่ 4

โดยในการเลือกตั้งทั่วไป 2 กรกฎาคม 2538 พรรคพลังธรรมซึ่งนำโดยทักษิณ ได้ ส.ส. ทั่วประเทศ 23 ที่นั่ง และที่นั่งในกรุงเทพมหานครลดลงเหลือ 16 คน โดยครั้งนี้พรรคพลังธรรมเข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคชาติไทยที่นำโดยบรรหาร ศิลปอาชา โดยพรรคพลังธรรมได้โควตารัฐมนตรี 5 ที่นั่งได้แก่ 1. ทักษิณ ชินวัตร รองนายกรัฐมนตรี 2. จรัส พั้วช่วย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 3. สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย 4. พีระพงศ์ ถนอมพงษ์พันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และ 5. ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

ความเสื่อมถอยของพรรคพลังธรรมปรากฏชัดยิ่งขึ้นในการเลือกตั้ง 17 พฤษภาคม 2539 ที่พรรคพลังธรรมได้ ส.ส. เพียง 1 ที่นั่งคือ สุดารัตน์ เกยุราพันธ์ ส่วนหัวหน้าพรรคซึ่งไม่ได้รับเลือกคือทักษิณ ประกาศลาออกจากหัวหน้าพรรค อย่างไรก็ตามทักษิณ ยังคงเป็นรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ

ต่อมามีการประชุมใหญ่พรรคพลังธรรม มีการเสนอชื่อหัวหน้าพรรคคนใหม่ คือ สุดารัตน์ เกยุราพันธ์ และไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ แต่สุดารัตน์ของถอนตัว ทำให้ไชยวัฒน์ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคพลังธรรม

ทั้งนี้ทักษิณได้ออกไปตั้งพรรคใหม่คือ พรรคไทยรักไทย เมื่อปี 2541 และมีสมาชิกพรรคพลังธรรมหลายคนได้แก่ สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์, อริสมันต์ พงศ์เรืองรอง, สุรนันท์ เวชชาชีวะ, นพ.ประจวบ อึ๊งภากรณ์, ศันสนีย์ นาคพงษ์ เป็นต้น ลาออกไปร่วมงานพรรคไทยรักไทย ซึ่งต่อมาพรรคไทยรักไทยจะชนะการเลือกตั้งทั่วไป 6 มกราคม 2544 ได้ ส.ส. 248 ที่นั่ง โดยในจำนวนนี้เป็นอดีต ส.ส. จากการเลือกตั้งปี 2539 เพียง 93 ราย และอีก 155 รายเป็นอดีตผู้สมัคร ส.ส. ที่ไม่ได้รับการเลือกตั้งในปี 2539 และกลุ่มที่สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย เรียกว่า "นกแล" หรือผู้สมัครรุ่นใหม่ของพรรค

สำหรับพรรคพลังธรรม ได้ถูกยุบพรรคเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2550 เนื่องจากไม่ส่งรายงานการดำเนินกิจการพรรคการเมืองตามข้อบังคับของ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ก่อนที่จะมีการยื่นจดทะเบียน "พรรคพลังธรรมใหม่" ดังกล่าว

 

แหล่งอ้างอิง

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518, วิกิพีเดีย

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535, วิกิพีเดีย

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535, วิกิพีเดีย

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538, วิกิพีเดีย

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539, วิกิพีเดีย

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544, วิกิพีเดีย

จำลอง ศรีเมือง, ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า

บันทึก 6 ตุลา: 3.4 ความรุนแรงและการลอบสังหาร, บันทึก 6 ตุลา

พลังธรรม (พ.ศ. 2531), ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า

พรรคพลังธรรม, วิกิพีเดีย

รายชื่อพรรคการเมืองในประเทศไทย, วิกิพีเดีย 

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518, วิกิพีเดีย

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535, วิกิพีเดีย

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535, วิกิพีเดีย

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538, วิกิพีเดีย

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539, วิกิพีเดีย

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544, วิกิพีเดีย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ยื่น 'คู่มือเผือก' ให้ รมว.คมนาคม ใช้อบรม พนง.ขนส่งรับมือเหตุคุกคามทางเพศบนรถสาธารณะ

Posted: 14 Mar 2018 06:37 AM PDT

องค์การแอ็คชั่นเอด ประเทศไทย จับมือภาคีเครือข่ายเมืองปลอดภัยเพื่อผู้หญิงหอบตุ๊กตาเปเปอร์มาเช่สะท้อนเสียงผู้หญิงถูกคุกคามทางเพศบนระบบขนส่งสาธารณะและ "คู่มือเผือก" ให้รมว.คมนาคม ชูคู่มือเป็นต้นแบบใช้อบรมพนักงานขนส่งสาธารณะรับมือเหตุคุกคามทางเพศบนรถสาธารณะ

อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แกะมือที่เป็นสัญลักษณ์ของผู้คุกคามทางเพศบนตุ๊กตาเปเปอร์มาเช่ที่เป็นตัวแทนผู้หญฺงที่ถูกคุกคาม


14 มี.ค.2561 รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้ ที่กระทรวงคมนาคม ภาคีเครือข่ายเมืองปลอดภัยเพื่อผู้หญิง (Safe Cities for Women) นำโดยองค์การแอ็คชั่นเอด ประเทศไทย แผนงานสุขภาวะผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล และเครือข่ายสลัมสี่ภาค ร่วมมอบ "คู่มือเผือก" ซึ่งเป็นคู่มือต้นแบบการอบรมพนักงานขนส่งสาธารณะ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการคุกคามทางเพศ และตุ๊กตาเปเปอร์เมเช่ "พลังเผือก" สัญลักษณ์ของผู้ที่ถูกคุกคามทางเพศบนรถสาธารณะ ต่อ อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หลังจากที่ก่อนหน้านี้เครือข่ายเมืองปลอดภัยเพื่อผู้หญิง ได้จัดกิจกรรมรณรงค์เมืองปลอดภัยเพื่อผู้หญิง เนื่องในวันขจัดความรุนแรงต่อสตรีสากลปี 2560 ภายใต้แคมเปญ "ถึงเวลาเผือก"โดยมีประชาชนจำนวนมากเข้ามามีส่วนร่วมเสนอข้อคิดเห็นและเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาการคุกคามทางเพศและการสร้างเมืองที่ปลอดภัยให้เกิดขึ้นกับผู้หญิงอย่างแท้จริงและเป็นรูปธรรม ด้วยการให้กระทรวงคมนาคมป้องกันและหยุดปัญหาการคุกคามที่เกิดขึ้

วราภรณ์ แช่มสนิท ผู้จัดการแผนงานสุขภาวะผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศ กล่าวว่า เนื่องจากเดือนมีนาคมนี้ถูกจัดให้เป็นวันสตรีสากล จึงเป็นโอกาสอันดีที่เครือข่ายฯ เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อมอบคู่มือเผือกให้ ซึ่งเครือข่ายฯมีความยินดีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมให้ความสำคัญกับการลดปัญหาการคุกคามทางเพศบนระบบขนส่งสาธารณะ ทั้งนี้เครือข่ายฯได้ยื่นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่สำคัญ คือ การจัดอบรมพนักงานผู้ให้บริการขนส่งสาธารณะให้เข้าใจและตระหนักถึงสภาพปัญหา และมีทักษะที่จะช่วยเหลือผู้โดยสารที่ถูกคุกคามทางเพศ ซึ่งถือเป็นมาตรการความปลอดภัยสำหรับผู้โดยสารที่ไม่ควรถูกมองข้าม เพื่อช่วยลดปัญหาการคุกคามทางเพศบนระบบขนส่งสาธารณะอย่างต่อเนื่องและได้ผลต่อไป

"หลังจากเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในวันนี้แล้ว ทางเครือข่ายฯ จะเดินสายขอเข้าพบผู้บริหารของหน่วยงานที่ให้บริการขนส่งสาธารณะหลัก ๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อยื่นข้อเสนอชุดเดียวกันนี้ให้ถึงมือผู้บริหารหน่วยงานต่าง ๆ โดยเครือข่ายฯ ยินดีที่จะพัฒนารายละเอียดเนื้อหาและจัดอบรมพนักงานสำหรับหน่วยงานต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับรูปแบบการให้บริการขนส่งสาธารณะของแต่หน่วยงาน และมีแนวคิดที่จะพัฒนาคู่มือดังกล่าวเป็นระบบ e-learning ให้ผู้สนใจทั่วไปสามารถเข้ามาเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ด้วย" วราภรณ์ กล่าว

รุ่งทิพย์ อิ่มรุ่งเรือง ผู้จัดการฝ่ายโครงการและนโยบาย องค์การแอ็คชั่นเอด ประเทศไทย กล่าวว่า สิ่งที่อยากเห็นมากที่สุด คือ นโยบายที่ชัดเจนในเรื่องของการป้องกัน หรือไม่ให้เกิดการคุกคามทางเพศ บนรถสาธารณะทั้งหมดภายใต้การกำกับของกระทรวงคมนาคม ซึ่งเรื่องนี้จะทำได้ ภาครัฐจะต้องมีมาตรการหลายๆอย่างออกมา โดยที่ผ่านมาเครือข่ายฯได้เสนอให้มีการติดตั้งกล้องวงจรปิดเพราะอย่างน้อยจะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะมอนิเตอร์ ตรวจสอบดูแลว่ามีการคุกคามทางเพศเกิดขึ้นหรือไม่ เพราะมีกรณีที่เหยื่อไปแจ้งเจ้าหน้าที่ซึ่งเจ้าหน้าที่บอกว่าไม่สามารถทำอะไรได้ เนื่องจากไม่มีพยานหลักฐาน ดังนั้นการติดตั้งกล้องวงจรปิดนี้จะสามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานได้ นอกจากนี้ พนักงานที่ทำงานประจำในระบบขนส่งสาธารณะก็มีความสำคัญ เพราะถ้ามีความเข้าใจว่าการคุกคามทางเพศคืออะไร สามารถเข้าไปช่วยเหลือได้ในเวลานั้น ก็จะเป็นช่องทางหนึ่งที่สามารถลดการคุกคามทางเพศได้

"หลายๆคนที่เคยตกเป็นเป้าหมายของการถูกคุกคาม เขาจะไม่รายงานต่อหน่วยงานที่กำกับดูแล เพราะเขามองว่ารายงานไปก็แค่นั้น ระบบกฎหมาย ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่ชัดเจน ในการแก้ไขปัญหา หรือการรับเรื่องร้องเรียน ดังนั้นเมื่อแจ้งไปไม่มีอะไรเกิดขึ้น ทำให้ผู้กระทำผิดลอยนวล และเกิดการทำผิดซ้ำๆ เพราะเขารู้สึกว่าใครก็ทำอะไรเขาไม่ได้ เหตุการณ์จึงวนไปอย่างนี้ ตราบใดไม่มีมาตรการที่ชัดเจน ขณะเดียวกันผู้โดยสารรถสาธารณะทุกคนต้องช่วยกันเผือก ถ้าทุกคนช่วยกัน จะทำให้การคุกคามทางเพศลดลงได้" รุ่งทิพย์กล่าว

ทั้งนี้สำหรับ "คู่มือเผือก :รู้ เข้าใจ ช่วยเหลือได้ เมื่อเกิดภัยคุกคามทางเพศ" มีเนื้อหาที่น่าสนใจ โดยระบุว่า ผู้ตอบแบบสำรวจทุกเพศยอมรับว่าเคยถูกคุกคามทางเพศขณะใช้บริการขนส่งสาธารณะถึงร้อยละ 35 โดยในจำนวนนี้เป็นเพศหญิงร้อยละ 45 ซึ่งพฤติกรรมการคุกคามทางเพศที่พบบ่อย 5 อันดับแรก คือ อันดับ 1.ลวนลามด้วยสายตา ร้อยละ 18.8 อันดับ2. แต๊ะอั๋ง ถูกเนื้อต้องตัว ลูบคลำ ร้อยละ 15.4 อันดับ 3. ผิดปากแซว ร้อยละ 13.9 อันดับ 4. พูดแซว พูดแทะโลม พูดเกี้ยวพาราสี ร้อยละ 13.1 อันดับ 5. พูดลามก เรื่องเพศ หรือ ด่าทอด้วยถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องเพศร้อยละ 11.7 ซึ่งประเภทของการขนส่งสาธารณะที่เกิดเหตุการณ์คุกคามทางเพศบ่อยที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ รถโดยสารประจำทาง ร้อยละ 50รองลงมาคือ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ร้อยละ 11.4 แท็กซี่ ร้อยละ 10.9 รถตู้ ร้อยละ 9.8 และรถไฟฟ้า ร้อยละ 9.6

ส่วนแนวทางการจัดการสถานการณ์การคุกคามทางเพศบนระบบขนส่งสาธารณะนั้น หากพนักงานให้บริการพบเห็นสิ่งผิดปกติ เช่น ผู้โดยสารมีสีหน้าอึดอัด ไม่พอใจ หรือ แสดงท่าทีว่าต้องการความช่วยเหลือ หรือ พบเห็นผู้โดยสารที่มีพฤติกรรมที่อาจเข้าข่ายเป็นการคุกคามทางเพศต่อผู้โดยสารอื่น เช่น จ้องมองอย่างผิดปกติ ยืนเบียดชิดผู้โดยสารอื่นเกินความจำเป็น หรือ ใช้อุปกรณ์สื่อสารส่องไปยังบุคคลอื่น พนักงานควรมีวิธีการในการจัดการกับสถานการณ์นั้นๆ เช่น การมองช้อนใต้กระโปรง อาจส่งเสียงเตือน ในลักษณะที่ไม่ระบุเจาะจงตัวผู้กระทำการคุกคามและเพื่อเตือนให้ผู้ถูกคุกคามระมัดระวังตัว หากยังไม่หยุดพฤติกรรม พนักงานอาจเตือนด้วยเสียงอันดันขึ้น เพื่อให้ผู้ถูกคุกคามเกิดความละอาย และหยุดพฤติกรรม

กรณีการจ้องมองโดยใช้อุปกรณ์บันทึกภาพ พนักงาน เข้าไปแจ้งผู้คุกคามว่าขอนำตัวไปตรวจค้น เนื่องจากต้องสงสัยว่ากระทำการคุกคามทางเพศต่อบุคคลอื่นในสาธารณะ และเข้าไปแจ้งให้ผู้ถูกคุกคามทราบเรื่อง เพื่อกันไว้เป็นพยานหรือเจ้าทุกข์ จากนั้นให้แจ้งเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่สามารถดำเนินการหรือจัดการเรื่องได้ในเบื้องต้น ซึ่งควรจะมีการบันทึกข้อมูลลักษณะของผู้กระทำไว้ด้วย เพื่อแจ้งตำรวจต่อไป

กรณีพูดแซว พูดจาแทะโลม หรือ การพูดส่อนัยยะเรื่องเพศ กรณีผู้คุกคามกระทำการเพียงคนเดียว พนักงานอาจจ้องหน้าผู้คุกคามให้รู้ตัวว่ามีคนเห็นเขากำลังทำพฤติกรรมที่ไม่ควรทำ หากยังไม่หยุดพฤติกรรม เข้าไปพูดเตือนด้วยท่าทีสุภาพ และถ้าไม่หยุดอีกให้ส่งเสียงให้ผู้โดยสารคนอื่นได้รับรู้ แต่หากประเมินว่าการเข้าไปแทรกแซงอาจมีความเสี่ยงเกิดขึ้น ให้หาทางแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจที่อยู่ใกล้ที่สุด ในส่วนกรณีผู้คุกคามมาเป็นกลุ่ม และมีท่าทีคึกคะนอง พนักงานต้องประเมินสถานการณ์ และ เลือกวิธีการจัดการที่คำนึงถึงความปลอดภัยของตนเอง และหากเตือนแล้ว แต่กลุ่มผุ้คุกคามยังไม่หยุดพฤติกรรม พนักงานควรแจ้งให้พนักงานขับรถหยุดรถ และเชิญผู้โดยสารกลุ่มนี้ลงจากร

กรณีตั้งใจเบียดชิด ต้อนเข้ามุม ให้พนักงานจ้องหน้าผู้คุกคามให้รู้ตัวว่ามีคนเห็นว่ากำลังทำพฤติกรรมที่ไม่สมควร ถ้าไม่หยุดพฤติกรรม พนักงานอาจทำทีเข้าไปชวนผู้ถูกคุกคามพูดคุยเพื่อเบี่ยงเบนประเด็นความสนใจ และหากผู้คุกคามยังไม่ขยับหนี ให้พนักงานชวนให้ผู้ถูกคุกคามย้ายที่นั่งในกรณีที่นั่งอยู่ หรือ เอาตัวเข้าไปแทรก ขวางในกรณีที่ผู้ถูกคุกคามยืนอยู่

กรณีเปิดคลิปโป๊ หรือ สื่อลามกบนขนส่งสาธารณะ หากเป็นเหตุที่เกิดบนรถเมล์ พนักงาน อาจแจ้งเตือนให้หยุดพฤติกรรม โดยบอกเหตุผลว่าเป็นพื้นที่สาธารณะ การดูสื่อดังกล่าวเป็นการรบกวนและสร้างความอึดอัดให้กับผู้โดยสารคนอื่นๆได้ หากยังไม่หยุดพฤติกรรม พนักงานอาจพูดเตือนด้วยเสียงที่ดังขึ้น โดยให้ผู้โดยสารคนอื่นๆได้รับรู้ เพื่อให้เกิดความละอาย และหยุดพฤติกรรม หากยังไม่หยุด ให้แจ้งพนักงานขับรถเพื่อให้จอดและเชิญผู้กระทำลงจากรถ แต่หากเป็นเหตุที่เกิดขึ้นบนรถไฟฟ้า ให้พนักงานขับรถ ประกาศแจ้งเตือนเป็นระยะ และพนักงานรักษาความปลอดภัยประจำสถานี คอยเดินตรวจตราในแต่ละตู้โดยสารเท่าที่จะสามารถทำได้

กรณีกระทำการอนาจารบนขนส่งสาธารณะ เช่น โชว์อวัยวะเพศ เอาอวัยวะเพศตัวเองไปถูไถคนอื่น หรือ แอบช่วยตัวเอง ซึ่งเป็นกรณีการคุกคามทางเพศที่ค่อนข้างร้ายแรง หากพนักงานพบเห็นการกระทำดังกล่าว ควรใช้วิธีจัดการดังนี้ ให้เข้าไปบอกด้วยท่าทีสุภาพ เพื่อให้ผู้กระทำหยุดพฤติกรรม และ หากยังไม่หยุดพฤติกรรม พนักงานควรเตือนด้วยเสียงที่ดังขึ้น เพื่อให้เกิดความละอาย และหยุดพฤติกรรม ทั้งนี้เนื่องจากเป็นกรณีการคุกคามทางเพศที่ค่อนข้างร้ายแรง พนักงานควรแจ้งให้พนักงานขับรถรับทราบ และหาทางแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจที่อยู่ใกล้ที่สุด ซึ่งอาจเป็นตำรวจจราจรที่กำลังปฏิบัติหน้าที่บนท้องถนนก็ได้

อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวภายหลังจากรับหนังสือคู่มือเผือกจากภาคีเครือข่าย และได้ร่วมแกะมือของผู้คุกคามออกจากตุ๊กตาน้อง NOW ซึ่งเป็นตุ๊กตาเปเปอร์มาเช่ที่เป็นตัวแทนของผู้หญิงที่ถูกคุกคามทางเพศบนระบบขนส่งสาธารณะ ว่ากระทรวงคมนาคมยินดีรับข้อเสนอของทางเครือข่าย และสนับสนุนให้นำคู่มือเผือกไปปรับใช้กับหน่วยงานภายใต้สังกัดของกระทรวง เพราะการดูแลความปลอดภัยของผู้โดยสารเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่ต้องดูแลอยู่แล้ว โดยขอให้เป็นความร่วมมือในการทำงานร่วมกันระหว่างทางเครือข่ายกับหน่วยงานที่ให้บริการขนส่งสาธารณะที่มาร่วมประชุมในวันนี้ ถ้าเราร่วมมือกันทำด้วยความสร้างสรรค์มันก็จะได้ประโยชน์ เกิดการทำงานด้วยกันอย่างมีพลัง

วราภรณ์ กล่าวเพิ่มเติมหลังว่า ทางเครือข่ายพร้อมที่จะทำงานร่วมกับกระทรวงคมนาคมในทุกรูปแบบเช่นกัน และอยากให้กระทรวงในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลการให้บริการขนส่งสาธารณะ มีนโยบายผลักดันให้หน่วยงานต่าง  ๆ มีมาตรการที่ชัดเจน โดยอยากให้หน่วยระบุเรื่องการลดปัญหาการคุกคามทางเพศเป็นตัวชี้วัดด้านปลอดภัยของผู้โดยสารในระบบขนส่งสาธารณะ เหมือนที่หน่วยงานต่างประเทศและหน่วยงานระดับชาติเขาให้ความสำคัญกันในเรื่องนี้ด้วย

การจำลองเหตุการณ์การคุกคามทางเพศบนระบบขนส่งสาธารณะ 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการยื่น "คู่มือเผือก" ครั้งนี้ เครือข่ายฯยังมีการสาธิตการใช้คู่มือต้นแบบในการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ให้สามารถรับมือเป็นเหตุการณ์การคุกคามทางเพศบนระบบขนส่งสาธารณะ โดยพนักงานจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ และยังมีผู้ที่เคยถูกคุกคามทางเพศ ได้บอกเล่าความรู้สึกของการถุูกคุกคามด้วย

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไต่สวนการตาย 'ชัยภูมิ ป่าแส' ไม่พบภาพกล้องวงจรปิดในวันเกิดเหตุ

Posted: 14 Mar 2018 06:17 AM PDT

ทนายญาติผู้ตายระบุ กองพิสูจน์หลักฐานไม่พบภาพวันเกิดเหตุในฮาร์ดดิสก์ ศาลไม่อนุญาตขอภาพกล้องวงจรปิด อ้าง หลักฐานที่มีเพียงพอต่อการนำสืบไต่สวนการตาย ภาพหายไปอย่างปริศนา วอนสังคมเรียกร้องแม่ทัพภาค 3 และ ผบ.ทบ. ให้เปิดภาพที่ตัวเองบอกว่าเคยเห็น ไม่พบลายนิ้วมือบนมีด ดีเอ็นเอบนระเบิดตรงกับชัยภูมิแต่ก็มีของอีกหลายคนปะปน

ภาพชัยภูมิและเจ้าหน้าที่ทหารค้นรถคนเกิดเหตุที่ชัยภูมินั่งมาด้วย

14 มี.ค. ที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่มีการนัดไต่สวนพยานคดีวิสามัญชัยภูมิ ป่าแส นักกิจกรรมชาวลาหู่ ที่ถูกทหารยิงเสียชีวิตที่ด่านบ้านรินหลวงเมื่อ 17 มี.ค. 2560 โดยวันนี้เป็นวันที่สองของการไต่สวนคดีการตายนัดที่สอง โดยมีหมอผู้ชันสูตรศพ เจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐานและเจ้าพนักงานสอบสวนให้การ

สุมิตรชัย หัตถสาร ทนายความจากศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่นและทนายความญาติผู้เสียชีวิต ระบุว่า การไต่สวนคดีการตายในวันนี้พบว่า รายงานที่พนักงานสอบสวนส่งให้อัยการนำมาส่งศาลวันนี้มาจากกองพิสูจน์หลักฐานกลาง กรุงเทพฯ กลุ่มงานอาชญากรรมด้านคอมพิวเตอร์ จากข้อมูลคือ ทหารส่งตัวเครื่องบันทึกภาพและฮาร์ดดิสก์ให้ตำรวจเมื่อ 25 เม.ย. 2560 ตำรวจก็ส่งให้กองพิสูจน์หลักฐานตั้งแต่วันนั้น แล้วก็รายงานผลกลับมา ให้ความเห็นว่า "ไม่พบภาพในวันเกิดเหตุคือวันที่ 17 มี.ค. 2560 ในตัวฮาร์ดดิสก์"

สุมิตรชัยเคยขอให้ศาลออกหมายเรียกขอภาพจากกล้องวงจรปิดไปยังหน่วยที่ตั้งอยู่ที่ด่านรินหลวงอันเป็นที่เกิดเหตุ และทำสำเนาให้กับพลโท วิจักขฐ์ สิริบรรสพ แม่ทัพภาพที่ 3 ที่เคยระบุว่าได้เห็นภาพจากกล้องวงจรปิดแล้วเมื่อต้นปีที่ผ่านมา แต่ศาลไม่อนุญาตให้เรียกมา โดยอ้างว่าข้อเท็จจริงที่นำสืบมีเพียงพอที่จะออกคำสั่งได้แล้ว หมายถึงพยานหลักฐานที่นำสืบนั้นเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้ภาพจากกล้องวงจรปิด เนื่องจากหน้าที่การนำสืบของศาลไม่ใช่การตัดสินว่าใครผิดหรือถูก เพราะเป็นการไต่สวนคดีการตาย โดยหลังจากไต่สวนเสร็จ ศาลจะมีคำสั่งศาลว่าผู้ตายเป็นใคร อะไรเป็นเหตุแก่การตาย แล้วจึงจะส่งสำนวนให้พนักงานสอบสวนกับอัยการพิจารณาสั่งฟ้องต่อไป

"คิดว่าภาพจากกล้องวงจรปิดยังเป็นประเด็น ตอนนี้มีความชัดเจนแล้วว่าภาพหายไปจากเครื่อง ซึ่งทางกองพิสูจน์หลักฐานยืนยันแล้วว่าเครื่องใช้ได้ตามปรกติ ไม่ได้เสีย ภาพหายไปจากฮาร์ดดิสก์อย่างเป็นปริศนาว่าหายไปได้อย่างไร ซึ่งเจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐานไม่ได้บอกว่าหาย เพียงแต่บอกว่าไม่พบ ก็หมายความว่ามันไม่มีอยู่ก่อนที่จะถูกส่งไปให้กองพิสูจน์หลักฐาน แต่เขายืนยันว่าเครื่องบันทึกและฮาร์ดดิสก์ใช้งานได้ปรกติ นี่คือสิ่งที่กองพิสูจน์หลักฐานยืนยัน แต่ศาลก็บันทึกไว้หมดว่ารายงานกองพิสูจน์หลักฐานไว้หมด ก็บันทึกในคดีไว้แล้วว่าไม่มีภาพจากกล้องวงจรปิด" สุมิตรชัยกล่าว

"ทางทีมก็คงคุยกันต่อว่าจะต้องให้ทางหน่วยงานบางหน่วยงานตรวจสอบว่าภาพหายไปได้อย่างไร เพราะแม่ทัพภาคที่ 3 (พล.ท.วิจักขฐ์ ศิริบรรสพ) กับ ผบ.ทบ. (พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท) บอกว่าได้เห็นแล้ว สังคมก็ต้องเรียกร้องให้ท่านเปิดภาพ เพราะฮาร์ดดิสก์ที่หน่วยบ้านรินหลวงไม่มีภาพ แต่ท่านเห็นแล้วท่านก็ต้องบอกได้ว่าภาพที่ดูมาจากไหน และยังอยู่หรือไม่" สุมิตรชัยกล่าวเพิ่มเติม

การไต่สวนการตายวันนี้ยังมีประเด็นที่น่าสนใจคือเรื่องอาวุธที่พบในเหตุการณ์ ได้แก่มีดและระเบิด ที่ทหารอ้างว่าชัยภูมิใช้ในการขัดขืน ต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ โดยสุมิตรชัยให้ข้อมูลว่า ไม่พบลายนิ้วมือที่มีด ส่วนที่ระเบิดพบว่ามีดีเอ็นเอบางส่วนที่พบบนตัวระเบิดเป็นชนิดเดียวกับดีเอ็นเอของชัยภูมิ ตรงด้ามจับไม่พบ แต่ก็มีดีเอ็นเอของหลายคนปรากฏอยู่บนระเบิด

ทั้งนี้ การไต่สวนคดีการตายครั้งที่ผ่านมาไม่ปรากฏภาพจากกล้องวงจรปิดจากบัญชีพยานฝ่ายอัยการ แม้ที่ผ่านมามีกระแสเรียกร้องให้กองทัพเปิดเผยภาพจากกล้องวงจรปิดที่ด่านตรวจบ้านรินหลวงในวันที่ชัยภูมิเสียชีวิต โดยเชื่อว่าจะเป็นกุญแจสำคัญต่อรูปคดีการตายของชัยภูมิ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ที่ระบุว่าเห็นภาพจากกล้องวงจรปิดแล้วสองคน ได้แก่ พล.ท.วิจักขฐ์ แม่ทัพภาคที่สาม เจ้าของวลี "ถ้าเป็นผมอาจกดออโต้ไปแล้ว" และ พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบกที่กล่าวว่า ได้ดูภาพจากกล้องวงจรปิดแล้วแต่ไม่สามารถตอบโจทย์ทั้งหมดได้ ต้องปล่อยให้กระบวนการยุติธรรมดำเนินการไปเพราะถือว่าเป็นพยานหลักฐานชิ้นหนึ่ง

เกิดเหตุทหารวิสามัญนักกิจกรรมชาวลาหู่อายุ 17 ปี อ้างตรวจพบยาเสพติด-วัตถุระเบิด และขัดขืนการจับกุม

เปิด Timeline จากปากคำชาวกองผักปิ้ง วัน ชัยภูมิ ป่าแส ถูกทหารวิสามัญฯ

'ผบ.ทบ.' เมินกระแสร้องเปิดภาพวงจรปิด ปมวิสามัญฯ ชัยภูมิ เผยดูแล้วแต่ไม่ตอบโจทย์ทั้งหมด

เหตุสืบเนื่องจาก ในวันที่ 17 มีนาคม 2560  เจ้าหน้าที่ทหารได้ใช้อาวุธปืนยิง ชัยภูมิ ป่าแส ชาติพันธุ์ลาหู่  จนเป็นเหตุให้เสียชีวิต โดยอ้างว่าเจ้าหน้าที่ทหารได้ขอเข้าตรวจค้นรถยนต์ ชัยภูมิ และพบยาเสพติดประเภทยาบ้าเป็นจำนวนมากบรรจุซองพลาสติกซุกซ่อนอยู่ภายในบริเวณส่วนกรองอากาศของรถ ต่อมา ชัยภูมิ ได้ทำการขัดขืนต่อสู้เจ้าหน้าที่ พร้อมทั้งจะใช้อาวุธระเบิดที่ ชัยภูมิ มีไว้ในครอบครองขว้างใส่ เจ้าหน้าที่จึงจำเป็นต้องใช้อาวุธปืนยิงสังหาร ชัยภูมิ เหตุเกิด ณ บริเวณจุดตรวจด่านบ้านรินหลวงนั่นเอง

ชัยภูมิ ป่าแส

ชัยภูมิ เป็นเยาวชนนักกิจกรรมทางสังคม และอยู่ระหว่างศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนแห่งหนึ่งใน อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นตัวแทนเครือข่ายเยาวชนต้นกล้า จ.เชียงราย ในฐานะตัวแทนของ 19 ชนเผ่า เข้าร่วมโครงการ "เด็กและเยาวชนส่งเสียงเพื่อสื่อสารสังคม" ซึ่่งจัดโดยมูลนิธิส่งเสริมเพื่อเด็กและเยาวชน สถาบันเด็กและเยาวชน (สสย.) เมื่อวันที่ 15 มี.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งจัดขึ้นที่ โรงแรม ทีเค. พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ โดยชัยภูมิ ได้พูดไว้ตอนหนึ่งในเวทีแสดงความคิดเห็นว่า

"เรื่องสถานะส่วนบุคคล ต้องยอมรับว่ากลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่ชายแดนส่วนใหญ่ไม่ได้รับสถานะส่วนบุคคล ผมเองขณะนี้ก็ยังไม่มีสถานะบุคคล ทั้งที่เกิดในประเทศไทย เมื่อไม่มีสัญชาติทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น การเดินทางออกนอกพื้นที่ก็ต้องทำเรื่องขออนุญาตทางอำเภอ เวลาจะเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลก็ไม่ได้สิทธิเหมือนคนไทย ส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายสูง ส่วนแรงจูงใจในการเรียนสูงๆ ก็ไม่มี เนื่องจากจบมาสูงแค่ไหนก็ไม่สามารถเข้าทำงานในหน่วยงานของราชการได้ จึงอยากให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องช่วยแก้ปัญหาตรงนี้ด้วย" (อ่านต่อที่นี่)

สำหรับผลงานเพลง ชัยภูมิ ได้แต่งเนื้อร้อง และทำนอง เพลงขอโทษ และ เพลงจงภูมิใจ เผยแพร่ผ่านทางยูทูปช่อง Motha Lahu

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รัฐบาลทรัมป์แต่งตั้ง หน.ซีไอเอคนใหม่-อดีตผู้คุมคุกลับในไทย

Posted: 14 Mar 2018 05:48 AM PDT

ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ มีคำสั่งแต่งตั้งผู้อำนวยการของสำนักงานข่าวกรองกลางหรือซีไอเอ คนใหม่ "กินา ฮาสเปล" ผู้เคยมีประวัติคุมคุกลับในประเทศไทย ที่ใช้ทรมานผู้ต้องสงสัยก่อการร้าย รวมถึงยังเคยมีส่วนร่วมในการทำลายวิดีโอหลักฐานการทรมานแบบ "วอเตอร์บอร์ดดิง" ที่ทำให้ผู้ถูกสอบสวนรู้สึกเหมือนถูกจมน้ำ

ภาพจำลองการทรมานด้วยวิธีวอเตอร์บอร์ดดิง (ที่มา: แอมเนสตีี้ อินเตอร์เนชั่นแนล)

14 มี.ค. 2561 หลังการปลดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เร็กซ์ ทิลเลอร์สัน และแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลาง (ซีไอเอ) ไมก์ ปอมเปโอ เข้ารับตำแหน่งแทน ทำให้รองผู้อำนวยการ ซีไอเอคนปัจจุบัน จีน่า แฮสเปล เลื่อนขั้นเป็นผู้อำนวยการ

เทเลกราฟรายงานว่าฮาสเปลเคยเป็นผู้คุมคุกลับที่เคยใช้ทรมานผู้ต้องสงสัยสองรายคือ อาบู ซุบายาดาห์ และอับด์ อัล ราฮิม ด้วยวิธีการวอเตอร์บอร์ดดิงในปี 2545 หลังจากนั้นฮาสเปลก็ปฏิบัติตามคำสั่งในการทำลายหลักฐานวิดีโอการทารุณกรรมดังกล่าวจนทำให้กระทรวงยุติธรรมขของสหรัฐฯ สืบสวนในเรื่องนี้เป็นเวลายาวนานแต่ก็ไม่มีการตั้งข้อกล่าวหาใดๆ

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ เคยกล่าวสนับสนุนการทารุณกรรมด้วยวิธีวอเตอร์บอร์ดดิงผู้ต้องสงสัยมาก่อน โดยผู้ที่เคยเสนอวิธีการทารุณกรรมวิธีนี้คือจอร์จ ดับเบิลยู บุช ประธานาธิบดีในสมัยนั้น แต่ต่อมาก็มีการยกเลิกวิธีการทารุณกรรมแบบนี้ไปแล้ว

อย่างไรก็ตามหลังจากที่ฮาสเปลได้รับแต่งตั้งจาก ส.ว. สหรัฐฯ ให้เป็นรองผู้อำนวยการของซีไอเอเมื่อปี 2560 ก็มีคนคาดเดาว่าจะมีการคาดการณ์ว่าทรัมป์จะนำวิธีวอเตอร์บอร์ดดิงกลับมาใช้หรือไม่

ในเวลาเดียวกันก็มีร่างคำสั่งพิเศษของประธานาธิบดีที่หลุดออกมาแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลทรัมป์อาจจะพิจารณานำคุกลับแบบซีไอเอกลับมาใช้อีกครั้งในต่างประเทศ และจะมีการพิจารณาเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการทารุณกรรมผู้ต้องสงสัย

โฆษกของซีไอเอปฏิเสธว่าการที่ฮาสเปลได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวไม่ได้ส่งสัญญาณเกี่ยวกับการนำการทารุณกรรมแบบเดิมกลับมาใช้อีกครั้งโดยอ้างว่า "เป็นแค่การวางคนในตำแหน่งที่เหมาะสมกับงานมากที่สุด" จอห์น เบรนแนน อดีตผู้อำนวยการซีไอเอกล่าวว่าจริงอยู่ที่ฮาสเปลเคยมีส่วนร่วมกับโครงการที่เกิดข้อโต้แย้งอย่างมากมาก่อน แต่สำหรับเบรนแนนแล้วฮาสเปลเป็น "คนที่มีความซื่อตรง" เป็นคนที่พยายามทำหน้าที่ในฐานะซีไอเอให้ดีที่สุด

ฮาสเปล เข้าร่วมซีไอเอในปี 2528 และเคยเป็นหัวหน้าหน่วยงานบัญชาการนอกประเทศของซีไอเอที่ส่วนใหญ่จะดำเนินการแบบปิดลับ โดยที่คุกลับในไทยเป็นคุกลับแห่งแรกที่ต่างประเทศที่ฮาสเปลเป็นผู้ควบคุมดูแลการทารุณกรรมแบบวอเตอร์บอร์ดดิง โดยมีการใช้วิธีนี้กับอาบู ซุบายาดาห์ ถึง 83 ครั้ง ในปี 2548 ก็มีการทำลายวิดีโอเทปการไต่สวนครั้งนั้นซึ่งมีชื่อของเธออยู่ด้วย

ทรัมป์กล่าวว่าเป็นครั้งแรกที่มีการแต่งตั้งหัวหน้าซีไอเอเป็นผู้หญิง เขาบอกว่ารู้จักฮาสเปลเป็นอย่างดีและเคยทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกัน ส่วนฮาสเปลแถลงในเรื่องนี้ว่าเธอรู้สึกขอบคุณทรัมป์ที่ให้โอกาสและไว้ใจให้เธอทำงาน

แอมเนสตี้ชี้ รมว.ต่างประเทศ และ ผอ.ซีไอเอประวัติย่ำแย่
เรียกร้องวุฒิสภาตรวจสอบละเอียด

มาร์กาเรต หวง ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล สหรัฐฯ แถลงว่าทั้งสองคนปอมเปโอและแฮสเปลต่างมีประวัติด้านสิทธิมนุษยชนที่ย่ำแย่ ซึ่งควรได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียดโดยวุฒิสภาก่อนเข้ารับตำแหน่ง

"ปอมเปโอเคยให้เสียงสนับสนุนการสอบสวนโดยใช้เทคนิคการทรมาน เช่น วอเตอร์บอร์ดดิง (คือ การเทน้ำปริมาณมากลงบนใบหน้าของผู้ถูกสอบสวนเพื่อทำให้รู้สึกเหมือนจมน้ำ) ยังมีรายงานว่าแฮสเปลเคยกำกับดูแลคุกลับของซีไอเอ ในประเทศไทย ซึ่งมีผู้ถูกคุมขังตกเป็นเหยื่อการทรมานและการอุ้มหาย นอกจากนี้ เธอยังถูกต้องสงสัยว่าเป็นคนสั่งให้ทำลายหลักฐานเกี่ยวกับการทรมานที่อาจเข้าข่ายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติภายใต้กฏหมายระหว่างประเทศด้วย"

แอมเนสตี้เรียกร้องให้ผู้ถูกเสนอชื่อเข้ารับตำแหน่งทั้งสองคนต้องแถลงปฏิเสธและยุติการกระทำที่สนับสนุนการทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ตลอดจนเรียกร้องให้วุฒิสภาสหรัฐฯ ตรวจสอบคุณสมบัติของทั้งคู่โดยละเอียดก่อนรับตำแหน่ง เพราะการทรมาน การสอบสวนในคุกลับ และการคุมขังอย่างไม่มีกำหนด เป็นสิ่งที่ไม่สามารถยอมรับได้

 

เรียบเรียงจาก

Gina Haspel: Donald Trump's new CIA director ran torture site in Thailand, The Telegraph, 13-03-2018

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ธนาธร' นัดคุยสื่อ-จ่อยื่นจัดตั้งพรรค พรุ่งนี้ คสช.เตือนตั้งวงถกการเมือง เสี่ยงขัดคำสั่ง คสช.

Posted: 14 Mar 2018 01:49 AM PDT

ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ นัดสื่อมวลชนมาร่วม 'กินกาแฟกับธนาธร' พูดคุยเปิดใจกับ 'กลุ่มเพื่อนธนาธร' เตรียมยื่นจัดตั้งพรรคการเมือง พรุ่งนี้ พร้อมแจ้งลาออกจากกรรมการบริษัทมติชนแล้ว พร้อมลุยการเมืองเต็มตัว

14 มี.ค.2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลาประมาณ 12.00 น. ที่ผ่านมา ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ รองประธานบริหารกลุ่มบริษัทไทยซัมมิท ที่มีกระแสข่าวว่าจะตั้งพรรคการเมืองใหม่นั้น โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัวในลักษณะสาธารณะระบุว่า ตนขอเชิญพี่น้องสื่อมวลชนมาร่วม 'กินกาแฟกับธนาธร' ในช่วงเช้า 15 มี.ค.นี้ เพื่อร่วมพูดคุยเปิดใจกับ 'กลุ่มเพื่อนธนาธร' หลังจากนั้น เวลา 10 โมงเช้า จะเดินทางไปยื่นเตรียมการจัดตั้งพรรคการเมืองที่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ

"ส่วนเพื่อนๆ ในเฟซบุ๊กที่ส่งข้อความพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นมาทางหลังไมค์ ผมต้องขออภัยด้วยจริงๆ ที่ยังเปิดอ่านไม่ครบทุกท่าน เพราะมีส่งเข้ามาเป็นพันข้อความ อย่างไรก็ตาม ผมจะพยายามตอบทุกท่านให้ได้" ธนาธร โพสต์ พร้อมขอบคุณคนร่วม #ช่วยธนาธรตั้งชื่อพรรค รวมทั้งชวนติดตามว่าชื่อไหนจะกลายมาเป็นชื่อพรรค

'คสช.' เตือน' ตั้งวงถกการเมือง เสี่ยงขัดคำสั่ง คสช.

มติชนออนไลน์ รายงานด้วยว่า พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีดังกล่าว ว่าการดำเนินการดังกล่าวสุ่มเสี่ยงขัดคำสั่ง คสช. เรื่องการชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน ทั้งนี้ ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่จะใช้การพูดคุย ทำความเข้าใจ และในวันพรุ่งนี้เจ้าหน้าที่คงใช้ดุลพินิจดำเนินการ หากเป็นเพียงการรวมตัวกันเพื่อนัดกันไปจดแจ้งพรรคการเมืองกับ กกต. เจ้าหน้าที่ต้องดูองค์ประกอบนี้ด้วย แต่ถ้าก่อนจะไปจดแจ้งตั้งพรรค หากมีการพูดคุยเรื่องการเมือง เจ้าหน้าที่ที่ลงไปดูแลต้องพิจารณา และถ้าเข้าข่ายต้องดำเนินการ แต่หากเป็นไปตามที่ ธนาธร ระบุในเฟสบุ๊คถือว่าสุ่มเสี่ยงจะทำผิด ซึ่งจะต้องให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบประเมิน

ธนาธร ยันมิได้เป็นการตั้งใจชุมนุมมั่วสุมทางการเมือง

อย่างไรก็ตามต่อมา ธนาธร ชี้แจงเกี่ยวกับการกินกาแฟ ผ่านเฟสบุ๊คด้วยว่า ขอยืนยันตรงนี้อีกครั้งว่าเราจัดงานครั้งนี้ขึ้น เพื่อชี้แจงการนัดหมายการไปจดจัดตั้งพรรคการเมืองกับ กกต., ร่วมพูดคุยถึงอนาคตของประเทศ และตอบคำถามต่อประเด็นที่ผมและเพื่อนถูกสังคมวิจารณ์ มิได้เป็นการตั้งใจชุมนุมมั่วสุมทางการเมือง, หาเสียง หรือประกาศนโยบายพรรคแต่อย่างใด มีพรรคมากกว่า 50 พรรคการเมืองแล้วที่จดแจ้งกับ กกต. ซึ่งหลายพรรคก็มีการรวมตัวกันเกิน 5 คนทั้งสิ้น และหลายพรรคก็มีการแถลงถึงอุดมการณ์, แนวนโยบาย หรือจุดยืนซึ่ง คสช. เองก็มิได้ห้ามปรามอะไร อาจไม่ยุติธรรมกับเราเท่าไหร่หากการกินกาแฟของเราถูกยกเลิก

"ผมขอเรียกร้องให้รัฐบาลและ คสช. สร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมประชาชนได้ออกมาใช้สิทธิเสรีภาพอย่างสร้างสรรค์ ในเมื่อรัฐบาลยืนยันที่จะดำเนินการเลือกตั้งตามปฏิทินที่รัฐบาลกำหนดไว้ เพื่อให้การเลือกตั้งนั้นสง่างาม ผมร้องขอต่อรัฐบาลและ คสช. ให้เปิดโอกาสให้ผมและพรรคการเมืองอื่นใข้เสรีภาพและสิทธิของเราในการทำกิจกรรมการเมืองได้ตามปกติ อันจะนำมาซึ่งการแลกเปลี่ยนถกเถียงถึงอนาคตและแนวนโยบายของแต่ละพรรคที่สร้างสรรค์, การเลือกตั้งที่มีคุณภาพ และประชาชนที่ตื่นตัวทางการเมือง สิ่งเหล่านี้เป็นองค์ประกอบของประชาธิปไตยที่แข็งแรง ควรต้องระลึกไว้ว่า เรายังต้องหาผู้ร่วมอุดมการณ์อีก 500 คนเพื่อการประชุมก่อตั้งพรรค, ผู้สมัครผู้แทนอีก 350 เขต และผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่ออีก 150 คน มิพักยังไม่พูดถึงการหาสมาชิกและการสร้างสำนักงานภูมิภาคให้เป็นตามข้อหนดรัฐธรรมนูญและกฏหมายลูก เราเหลือเวลาอีก 11 เดือนจะถึงการเลือกตั้ง เราถูกทำให้เสียเปรียบเมื่อเทียบกับพรรคใหญ่ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้และกฏหมายลูกอยู่แล้ว อย่าให้เราเสียเปรียบเรื่องเวลาอีกเลย" ธนาธร โพสต์เรียกร้อง

ธนาธร ยังเชิญเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจที่ไปในงานนี้ ร่วมนั่งทานกาแฟ และแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับอนาคตของสังคมด้วย

"ประตูผมเปิดเสมอสำหรับทุกท่านที่พร้อมพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นด้วยความจริงใจ" ธนาธร ระบุ

'ธนาธร' แจ้งลาออกจากกรรมการบริษัทมติชนแล้ว พร้อมลุยการเมืองเต็มตัว

มติชนออนไลน์ ยังรายงานด้วยว่า ฐากูร บุนปาน กรรมการผู้จัดการ ส่งหนังสือแจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่า ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ได้ขอลาออกจากตำแหน่งกรรมการบริษัท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 14 มี.ค. เป็นต้นไป ทั้งนี้ถ้าคณะกรรมการบริษัทได้พิจารณาสรรหาบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสม บริษัทจะแจ้งให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ และนักลงทุนทราบในโอกาสต่อไป
 
ทั้งนี้จดหมายที่ยื่นถึงคณะกรรมการ บริษัท มติชน (มหาชน) จำกัด ขอลาออกจากกรรมการบริษัท พร้อมเปิดใจเหตุผลการลาออก มีรายละเอียดดังนี้
 
มติชนเป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตในชีวิตผมตั้งแต่สมัยเรียนในยุคที่สื่ออิเล็กทรอนิกส์ยังไม่กว้างขวางดังเช่นปัจจุบัน ผมอ่านประเด็นข้อถกเถียงที่สำคัญของสังคมผ่านมติชนหน้า6,คิดตามการวิเคราะห์การเมืองผ่านหน้า3, เรียนรู้เศรษฐกิจกับบทความของสุนันท์ ศรีจันทรา, เปิดผ่านหน้าพระเครื่องอย่างเร็วๆเพื่อติดตามวิจารณ์ภาพยนตร์ด้วยภาษาไทยปนอังกฤษของพรพิมล ลิ่มเจริญ , ตื่นเต้นไปกับเรื่องราวของสมาชิกคณะราษฎรในศิลปะวัฒนธรรม และภูมิใจเล็กๆเมื่อบทความที่ผมเขียนได้ลงพิมพ์ในมติชน
 
ถึงวันหนึ่ง โดยที่ผมไม่รู้ตัว โชคชะตาก็พาให้เส้นทางของเราเดินทางมาพบกันภายใต้สองพลังที่ถาโถมอยู่ในสังคม พลังหนึ่งคือพลังแห่งความขัดแย้งทางการเมืองที่ทำลายประชาธิปไตยไทยลงอย่างย่อยยับ อีกพลังหนึ่งคือพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่ทำลายการทำธุรกิจแบบดังเดิมให้ย่อยยับไม่แพ้กัน มติชนที่ผมร่วมงานด้วยจึงเป็นมติชนที่อยู่ในช่วงปรับตัวและแสวงหาตัวตนใหม่
 
ผมได้เสนอแนะอย่างจริงใจตามที่สติปัญญาพึงมีถึงทิศทางในการตอบสนองสองพลังนั้น ต่อพลังแรก ท่ามกลางข่าวลวงและวาจาที่สร้างความเกลียดชัง ผมเสนอการสร้างเนื้อหาข่าวที่มีคุณภาพ, เป็นเสียงให้กับผู้ไม่มีเสียง และหนักแน่นในจุดยืนเรื่องเสรีภาพ ในทุกช่องทางการสื่อสาร ต่อพลังหลัง ผมเสนอให้มีการลงทุนเชิงยุทธศาสตร์ในเครื่องมือสมัยใหม่และนำมันมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพพร้อมๆกับการให้อำนาจ/ อิสระบุคลากรในการตัดสินใจมากขึ้นและพัฒนาความรู้และทักษะของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง
 
ถึงวันนี้ ผมได้เลือกเส้นทางใหม่ในชีวิตซึ่งเป็นการตัดสินใจที่จะเปลี่ยนชีวิตผมตลอดไป เพื่อไม่ให้เป็นภาระซึ่งกันและกันและเพื่อความสง่างามของมติชน ผมขอลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัท ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป หลังจากนี้ผมจะยังคงอ่านมติชนทุกเช้าดังที่ได้ทำมาตลอด 20 ปี และผมคงมีแต่ความหวังดีที่ให้กับมติชนในการฝ่ามรสุมทั้งสองลูก ขอให้มติชนเป็นเสาหลักของความจริง, สิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตย และเป็นแรงบันดาลใจให้กับสื่ออื่นว่าสื่อที่ยืนยันถึงคุณภาพยังมีที่ทางในโลกใบใหม่
 
หากต่อไปมติชนจะสนับสนุนผม ก็ขอให้การสนับสนุนนั้นเป็นไปด้วยจุดยืนและการกระทำของผม ไม่ใช่เป็นเพราะเราเคยมีความสัมพันธ์กัน ผมหวังว่าเส้นทางของเราจะกลับมาผ่านพบกันอีกในวันที่สังคมไทยได้มาซึ่งประชาธิปไตย ส่วนอนาคตข้างหน้าของเราจะเป็นอย่างไรนั้น โปรดอย่ารอคอย แต่จงติดตามด้วยความระทึกในดวงหทัยพลัน
 
ขอแสดงความนับถือ
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ส่งฟ้อง กปปส. ชุด 2 ข้อหากบฏ 'พุทธะอิสระ' โดนด้วย 'สุเทพ' หวั่นอัยการเหวี่ยงแห

Posted: 13 Mar 2018 11:48 PM PDT

อัยการส่งฟ้องพุทธะอิสระ และแนวร่วม กปปส. รวม 16 คน คดีร่วมกันเป็นกบฏฯ จากการร่วมชุมนุมขับไล่รัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ด้าน 'สุเทพ' หวั่นอัยการเหวี่ยงแห พร้อมถามทำไมไม่อ้างว่าฟ้องไปก็ไม่เป็นประโยชน์ต่อสังคม เหมือนบางกลุ่ม

ที่มาภาพ เพจ Issaradham

14 มี.ค.2561 รายงานข่าวระบุว่า วันนี้ ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก พนักงานอัยการคดีพิเศษ 4 นำตัวพระสุวิทย์ ทองประเสริฐ หรือพระพุทธะอิสระ วัดอ้อน้อย จ.นครปฐม อดีตแกนนำเวที กปปส. แจ้งวัฒนะ และแนวร่วม กปปส. รวม 16 คน ผู้ต้องหาคดีร่วมกันเป็นกบฏ, กระทำการให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจาหรือวิธีอื่นใดที่มิใช่การกระทำในความมุ่งหมายตามรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือความไม่สงบในราชอาณาจักรฯ, มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คน ขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองฯ และข้อหาอื่นๆ จากการร่วมชุมนุมขับไล่รัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มาส่งฟ้องต่อศาลอาญา หลังกลุ่มผู้ต้องหาเดินทางมาพบพนักงานอัยการเพื่อฟังคำสั่งคดี ภายหลังจากที่ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 23 ม.ค. ที่ผ่านมา อัยการได้ยื่นฟ้อง สุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. พร้อมแกนนำไปแล้ว 9 คน รวม 8 ข้อหา

รายงานข่าวระบุด้วยว่า วันนี้ สุเทพ เดินทางมาศาลเพื่อให้กำลังใจผู้ต้องหาแนวร่วม กปปส. ที่ถูกส่งฟ้องในวันนี้ โดยมีมวลชนหลายสิบคนเดินทางมาให้กำลังใจที่บริเวณหน้าศาลอาญาด้วย

ที่มาภาพ banrasdr photo

สุเทพ กล่าวว่า ผู้ต้องหาที่อัยการนำตัวมาฟ้องในวันนี้เป็นผู้ต้องหาชุดที่ 2 ที่อัยการคดีพิเศษมีความเห็นสั่งฟ้องคดีร่วมกันเป็นกบฏ ผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซ่องโจร บุกรุกสถานที่ราชการ ขัดขวางการเลือกตั้ง ซึ่งก่อนหน้านี้ตนกับแกนนำทั้ง 9 คน ได้มารายงานตัวต่ออัยการและยื่นคำร้องขอให้อัยการดำเนินคดีแกนนำทั้ง 9 ก่อน เนื่องจากเห็นว่าบุคคลที่ถูกนำมาฟ้องชุดที่ 2 เหล่านี้ ที่โดนข้อหาร่วมกับตนและพวกทั้ง 9 ก่อกบฏ จึงเห็นว่าหากอัยการใจกว้างก็ควรจะฟ้องตนกับพวก 9 คนว่ามีความผิดฐานกบฏ ก่อการร้ายจริงหรือไม่ ซึ่งหากจริงก็ยังไม่สายที่จะฟ้องผู้ต้องหาชุดที่ 2 ในภายหลัง กรณีนี้ตนก็ไม่ทราบว่าอัยการใช้ดุลพินิจอย่างไร เพราะจะเห็นว่าผู้ต้องหาบางคนอย่าง แก้วสรร อติโพธิ เป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัย ขึ้นเวทีให้ความรู้ทางวิชาการ ไม่เคยปลุกระดมให้บุกรุกสถานที่ราชการหรือขัดขวางการเลือกตั้ง แต่ก็ต้องถูกลากตัวเข้ามาฟ้องเป็นจำเลยในคดีนี้ ซึ่งคดีเหล่านี้ก็ต้องใช้ระยะเวลา 4-5 ปี กว่าจะเสร็จสิ้น มันก็เป็นการเสียประโยชน์ แทนที่จะได้ไปสอนนักศึกษาก็ต้องมาขึ้นศาล

"ผมขอฝากคำถามไปถึงท่านอัยการสูงสุดและบรรดาอัยการทั้งหลายวันนี้ว่า ท่านเคยใช้สิทธิ์สั่งไม่ฟ้องบุคคลบางกลุ่ม โดยอ้างว่าไม่เป็นประโยชน์ต่อสังคม วันนี้ช่วยตอบผมหน่อยว่าฟ้อง อ.แก้วสรร ฟ้องคุณอัญชะลี คุณรังสิมา หลวงปู่พุทธะอิสระ เป็นประโยชน์อะไรกับสังคม" สุเทพ กล่าว และระบุด้วยว่า นี่จึงเป็นสาเหตุที่มวลมหาประชาชนเรียกร้องให้มีการปฏิรูปประเทศไทย การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมเป็นประเด็นที่ประชาชนเรียกร้อง เราเห็นกันแล้วว่าตำรวจ ดีเอสไอเป็นยังไง และวันนี้เราเห็นแล้วว่าอัยการเป็นยังไง การปฏิรูปจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยน้ำมือประชาชน มิฉะนั้นไม่มีทางที่จะเห็นประเทศนี้ดีขึ้นได้ ประชาชนต้องรวมพลังกันให้มีการปฏิรูปประเทศ

ต่อกรณีที่ผู้สื่อข่าวถามว่าผู้ต้องหาชุดที่ 2 ในวันนี้มารายงานตัวครบตามที่อัยการมีความเห็นควรสั่งฟ้องหรือไม่ นั้น สุเทพ กล่าวว่า ยังมีอีก ซึ่งตนก็ไม่รู้ว่าอัยการเหวี่ยงแหฟ้องทุกคนหรือไม่ มีคนมาชุมนุมเป็นล้านคนจะฟ้องทั้งล้านคนหรือไม่ ถ้าคนล้านคนมาศาลพร้อมกันไม่ได้ คนพวกนี้ก็ต้องมารายงานตัวที่ศาลทุกวัน พระพุทธอิสระไม่ต้องไปเทศนาสั่งสอนคน นายแก้วสรรก็ไม่ต้องไปสอนลูกศิษย์ เรื่องนี้ก็เป็นปัญหา โดยผู้ต้องหาที่ถูกส่งตัวฟ้องวันนี้มี 17 คน ส่วนที่เหลือจะต้องมารายงานตัวส่งฟ้องอีกกี่คน ตนไม่ทราบ ต้องไปถามอัยการ ให้อัยการตอบคำถามมา

เรื่องการประกันตัว สุเทพ กล่าวว่า ไม่หนักใจ ผู้ต้องหาบางคน เพื่อนฝูงก็ต้องไปวิ่งหาเงินมาค้ำประกัน บางคนไม่มีหลักทรัพย์ไปขอกองทุนยุติธรรมก็ไม่ได้ ตนต้องให้บริษัทวิริยะประกันภัยมาประกันให้ โดยเสียเงินจำนวน 7 หมื่นบาทเป็นค่าหลักทรัพย์ในการประกัน ในการฟ้องแกนนำ 9 คนคราวก่อน ศาลตีราคาประกันคนละ 6 แสนบาท

"สู้ตามความเป็นจริง คนเหล่านี้ที่ได้ร่วมต่อสู้เพื่อชาติเพื่อแผ่นดิน ด้วยความรักด้วยความหวังดีกับประเทศไทย ต้องการเห็นประเทศอยู่รอดปลอดภัย เรามีความบริสุทธิ์ใจ เรามีความจริงใจ เราไม่ใช่พวกนอกกฎหมาย เราไม่ได้ทำอะไรผิดกฎหมาย แล้วเอาหลักฐานความเป็นจริงไปสู้คดีภายในศาล และที่สำคัญคือว่ากว่าคดีจะสิ้นสุดมันหลายปี" สุเทพ กล่าว

พระพุทธะอิสระ กล่าวว่า จะเป็นไปได้หรือไม่ หากการสืบสวนสอบสวนที่ไม่เกี่ยวกับจำเลยคนใด แล้วจำเลยคนนั้นไม่ต้องมาศาล ตนอยากจะขอความกรุณาต่อศาลให้มีการแยกสำนวนกับพฤติการณ์ของจำเลย ไม่ใช่เหมากันมานั่งฟังทั้งที่ไม่เกี่ยวข้องกัน มิฉะนั้นจะถือว่าไม่เป็นธรรมต่อผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งตนก็จะปรึกษาทนายว่าจะยื่นคำร้อง ก็ต้องดูว่าศาลจะเมตตาอย่างไร

รายงานข่าวยังระบุด้วยว่า วันนี้ สาธิต ปิตุเดชะ อดีต ส.ส.ระยอง พรรคประชาธิปัตย์ ที่ร่วมเหตุการณ์ชุมนุมฯ ได้เดินทางมาพบอัยการและเดินทางมาศาลด้วย เนื่องจากอัยการสั่งฟ้องในข้อหากระทำการให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจาหรือวิธีอื่นใดที่มิใช่การกระทำในความมุ่งหมายตามรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือความไม่สงบในราชอาณาจักรฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116  และมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คน ขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองฯ  ตามมาตรา 215 นั้น ซึ่งอัยการเตรียมแยกฟ้องเป็นอีกสำนวนเพียงคนเดียว จึงนัดให้มาพร้อมฟ้องคดีต่อศาลอาญาอีกครั้งในวันที่ 19 เม.ย.นี้

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับกรณีที่อัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องคดี เนื่องจากเห็นว่าการฟ้องจะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะ นั้น เมื่อวันที่ 9 มี.ค.ที่ผ่านมา อัยการมีคำสั่งต่อคดีคนอยากเลือกตั้ง หรือ "MBK39" ซึ่งถูกกล่าวหาว่าฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 และชุมนุมในรัศมี 150 เมตร จากเขตพระราชฐาน ตามพ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 จากการชุมนุมที่สกายวอล์คหน้าห้างสรรพสินค้า MBK (มาบุญครอง) เมื่อวันที่ 27 ม.ค.ที่ผ่านมา อย่างไรก็ยังไม่ถือว่าทำให้คดีสิ้นสุด ยังต้องรอความเห็นจากอัยการสูงสุดต่อไป พร้อมได้นัดผู้ต้องหามารายงานตัว และฟังคำสั่งอีกครั้งในวันที่ 19 เม.ย.61 

แต่ในคดีเดียวกัน 8 มี.ค.ที่ผ่านมา ศาลแขวงปทุมวันได้พิพากษาคดีของ MBK39 อีก 2 ราย ได้แก่ นพเก้า คงสุวรรณ และ นพพร นามเชียงใต้ ซึ่งให้การรับสารภาพตั้งแต่ชั้นสอบสวนก่อนหน้านี้ โดยเห็นว่าจำเลยทั้งสองคนกระทำความผิดในทั้งสองข้อหา พิพากษาให้จำคุก 12 วัน ปรับ 6,000 บาท แต่ให้การรับสารภาพ ลดโทษครึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 6 วัน ปรับ 3,000 บาท เนื่องจากจำเลยไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน โทษจำคุกให้รอการลงโทษเป็นเวลา 1 ปี โดยศาลไม่ได้พิจารณาในรายละเอียดพฤติการณ์ต่างๆ แต่อย่างใด

 

ที่มา : Issaradham ไทยโพสต์ และมติชนสุดสัปดาห์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในพื้นที่ อ.เบตง จ.ยะลา

Posted: 13 Mar 2018 01:12 PM PDT

เมื่อวันที่ 13 มี.ค.ที่ผ่านมา เว็บไซต์ราชการกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศเรื่อง ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ลงนามโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี 

ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 และได้ประกาศการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในท้องที่ดังกล่าว มาจนถึงปัจจุบัน เพื่อใช้มาตรการต่าง ๆ ที่บัญญัติไว้ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เข้าดำเนินการในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ การคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ทั้งของรัฐและประชาชน ภายในเขตพื้นที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง นั้น

โดยที่ปรากฏว่า ในปัจจุบันสถานการณ์อันเป็นเหตุให้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา อยู่ในภาวะที่เจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานของรัฐสามารถ ใช้มาตรการต่าง ๆ เข้าควบคุม ระงับยับยั้ง และแก้ไขปัญหาได้ตามปกติแล้ว ดังนั้น อาศัยอำนาจ ตามความในมาตรา 5 วรรคสาม ประกอบกับมาตรา 11 วรรคสาม แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 นายกรัฐมนตรีจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ให้ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป

โดยเมื่อวันที่ 16 ก.พ.ที่ผ่านมา ข่าวสดออนไลน์ ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.วัลลภ รักเสนาะ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ แถลงผลประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหมเป็นประธาน ว่า ที่ประชุมเห็นชอบปรับลดพื้นที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ออกจากพื้นที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงตามพระราชกำหนดฯและให้นำมาตรการตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร 2551 มาบังคับใช้ในพื้นที่แทน ตามที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เสนอ เนื่องจากการทำงานในพื้นที่ดังกล่าวผ่านการประเมินผลตามตัวชี้วัดตามแผนการและขั้นตอนตามโครงการเมืองต้นแบบสามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ยะลา และจังหวัดปัตตานี เว้นอำเภอแม่ลาน ออกไปอีก 3 เดือนตั้งแต่วันที่ 20 มี.ค.- 19 มิ.ย.นี้ โดยจะเสนอให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบต่อไป 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น