โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2561

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

โปรดเกล้าฯ ตั้ง 'พล.อ.อ.สถิตย์พงษ์' เป็นเลขาฯพระราชวัง-ผอ.ทรัพย์สินฯ แทน 'จิรายุ' ที่ไปเป็นองคมนตรี

Posted: 12 Mar 2018 11:58 AM PDT

โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง 'จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา' ให้ดํารงตําแหน่งองคมนตรี และให้ 'พล.อ.อ.สถิตย์พงษ์ สุขวิมล' เป็นเลขาธิการพระราชวังและผู้อํานวยการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ แทน

สถิตย์พงษ์ สุขวิมล และ จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา

12 มี.ค. 2561 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศประกาศแต่งตั้งเลขาธิการพระราชวังและผู้อํานวยการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า

ตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ให้ดํารงตําแหน่งองคมนตรี นั้น ทําให้ตําแหน่งเลขาธิการพระราชวังและผู้อํานวยการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ว่างลง จึงทรงพระราชดําริเห็นเป็นการสมควรแต่งตั้งเลขาธิการพระราชวังและผู้อํานวยการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 15 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 1560 มาตรา 8 ของพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2560 มาตรา 4 และมาตรา 9 ของพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 และมาตรา ๑๕ของพระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง

พลอากาศเอก สถิตย์พงษ์ สุขวิมล เป็นเลขาธิการพระราชวังและผู้อํานวยการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 11 มีนาคม พุทธศักราช 2561 เป็นปีที่ 3 ในรัชกาลปัจจุบัน

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง "จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา" เป็นองคมนตรี

Posted: 12 Mar 2018 11:03 AM PDT

เมื่อวันที่ 12 มีนาคม ในเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศเรื่องแต่งตั้งองคมนตรี ความว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า ตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งองคมนตรี ตามประกาศ ลงวันที่ 8 มิถุนายน พุทธศักราช 2560 แล้วนั้น

บัดนี้ ทรงพระราชดําริเห็นเป็นการสมควรแต่งตั้งองคมนตรีเพิ่มขึ้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 10 และมาตรา 11 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็น องคมนตรี

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ผู้รับสนองพระราชโองการ

พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รำลึก 14 ปี การหายตัวของทนายสมชาย: อย่าให้สิทธิมนุษยชนเป็นเพียงเครื่องมือทางการเมือง

Posted: 12 Mar 2018 08:51 AM PDT

ก่อนทนายสมชายได้หายตัวไป ประมาณสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคม 2547 ทนายสมชายได้มาบรรยายที่ ห้องหอประชุมสำนักงานอธิการบดี ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี ซึ่งการบรรยายครั้งนั้นมีประชาชนและนักศึกษาเข้ามาร่วมรับฟังจำนวนมาก ผมและเพื่อนๆ ที่กำลังศึกษาอยู่ปี 2 และสนใจที่จะทำกิจกรรมก็ได้เข้าร่วมฟังด้วย

ทนายสมชายได้บรรยายถึงสถานการณ์ของการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในคดึความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น การซ้อมทรมานผู้ต้องหาให้รับสารภาพ และกระบวนการยุติธรรมที่ไม่เอื้ออำนวยให้แก่ผู้ที่ตกเป็นผู้ต้องหา ฯลฯ และทนายสมชายได้สรุปว่า ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มันไม่สงบก็เพราะ คนที่นี่ไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยเฉพาะประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน

ข้อเสนอที่ทนายสมชายประกาศกลางเวทีสัมมนาครั้งนั้นคือ การประกาศล่ารายชื่อ 50,000 รายชื่อทั่วประเทศเพื่อยกเลิกกฎอัยการศึกในพื้นที่ ซึ่งวิธีการของทนายสมชายคือ การรวบรวมรายชื่อ 50,000 รายชื่อ ตามรัฐธรรมนูญ 2540 ในมาตรา 170 ว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 50,000 คน เข้าเสนอชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภาพิจารณายกเลิกกฎอัยการศึก

นัยของการให้ยกเลิกกฎอัยการศึก คือ การยกเลิกอำนาจทหาร และดึงให้ทุกอย่างมาอยู่ในสภาพของระบบปกติที่ตรวจสอบได้ ซึ่งขณะนั้นอำนาจของนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ได้รับฉันทามติจากสังคมไทย และนโยบายต่างๆ ก็ถูกหนุนเสริมจากคนในสังคมไทย เช่น การประกาศสงครามยาเสพติด ที่มีผู้เสียชีวิตโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรมกว่า 2,000 คน  และการประกาศสงครามกับพวกโจรกระจอก ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การอุ้มคนหาย รัฐบาลทักษิณเป็นรัฐบาลที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่ทว่าก็ยังมีกลไกต่างๆ ที่พอจะสามารถตรวจสอบ ตามกรอบรัฐธรรมนูญในขณะนั้น

หลังจากทนายสมชายเดินออกจากห้องประชุม ทนายสมชายได้ยื่นเอกสารให้แก่รุ่นพี่และเพื่อนๆ นักศึกษาที่ยื่นรอจะทักทายจับมือและกล่าวสลามต่อกัน หลายคนได้เข้าไปสลามและจับมือร่วมทั้งผมและเพื่อนๆ และทนายสมชายได้ยื่นเอกสารพร้อมกล่าวว่า "พวกคุณช่วยกันหน่อย ช่วยล่ารายชื่อให้เยอะๆ และส่งมาให้ที่ผม" 

ข้อเสนอของรุ่นพี่นักกิจกรรมสายการเมืองคือ พวกเอ็งไปล่ารายชื่อตามร้านน้ำชาและเพื่อนๆ ในสาขาที่เรียน และคุยให้เขาฟังอย่างที่ฟังมาวันนี้ พวกเราก็ไปกัน แต่วิธีการคือลำบากแลดูเหมือนยุ่งยากคือ ต้องให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเซ็นชื่อในท้ายกระดาษและเอาบัตรประชาชนไปถ่ายเอกสาร ให้เซ็นกำกับเพื่อแนบเป็นหลักฐาน ระหว่างรวบรวมรายชื่อและลุ้นดูตัวเลขผู้เข้าลงชื่อก็เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ พบว่าผู้ลงชื่อส่วนใหญ่ก็เป็นวัยรุ่นคนธรรมดาและมีรายชื่อเพื่อนๆ ในมหาวิทยาลัยบ้าง ที่พอให้มีความหวัง

หากทว่าหลังมีข่าวทนายสมชายหายตัวไป หลังวันที่ 12 มีนาคม 2547 ด้วยความกลัวภัยอันตราย พวกเราจึงรีบเอาเอกสารรายชื่อของผู้เข้าร่วมลงทั้งหมด ไปเก็บซ่อนใว้ที่อื่น ไม่เก็บใว้ที่หอพัก เพราะกลัวทหารมาตรวจค้น และอย่างที่คาดไม่นานหลังจากนั้น พวกผมและเพื่อนก็เจอการบุกค้นหอพักด้วยกฎอัยการศึก...

มาวันนี้ ครบรอบ 14 ปี ของการหายไปของทนายสมชาย จากข้อเสนอของเขาให้ประชาชนทั่วประเทศลงชื่อ 50,000 รายชื่อ "ยกเลิกกฎอัยการศึก" ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ กลับมาสู่ให้สังคมไทย ร่วมลงชื่อรื้อคดี "ทนายสมชาย" เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและอิสระ ใครจะคิดว่าจากผู้ที่เรียกร้องให้เกิดความเป็นธรรมแก่คนในสังคมไทย กลับต้องมาเจอชะตากรรมแบบนี้ 

คำถามจึงมีอยู่ว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา สังคมไทยได้เรียนรู้อะไรบ้างในประเด็นสิทธิมนุษยชน การที่เราเรียนรู้ที่จะใช้มันเป็นแค่เครื่องมือทางการเมือง ก็นับว่าเป็นเรื่องดีกว่าที่จะใช้เครื่องมือแบบลักษณะอำนาจนิยม แต่สิ่งที่ควรจะเป็นมากไปกว่านั้นก็คือ เราควรที่จะให้ความหมายและยึดหลักสิทธิมนุษยชนในการเคารพกันและปกป้องเพื่อนมนุษยชาติด้วยกัน เห็นคนเท่ากันในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

บางถ้อยคำถึงนักเขียนหนุ่ม

Posted: 12 Mar 2018 08:20 AM PDT


ที่มาภาพ: เฟสบุ๊ค
Worapoj Panpong

|1|

ถัดจาก 'เสกสรรค์ ประเสริฐกุล' และ 'กนกพงศ์ สงสมพันธุ์' แล้ว 'วรพจน์ พันธุ์พงศ์' คืออีกนามหนึ่งที่ผมไม่อนุญาตให้ตัวเองพลาดผลงานของเขาเป็นอันขาด

จำได้ว่าเมื่อครั้งที่ 'เราต่างมีแสงสว่างในตนเอง' อันเป็นผลงานเล่มแรกของเขา อวดโฉมบนแผงหนังสือเมื่อต้นปี พ.ศ. 2545 นั้น หนังสือเล่มนี้ก็สะดุดตาผมตั้งแต่แรกเห็น ค่าที่บั้นท้ายอันกลมกลึงของนางแบบบนหน้าปกนั้น ช่างเย้ายวนและดึงดูดสายตาเป็นอย่างยิ่ง

แต่ทว่า ผมมิได้ซื้อมันกลับบ้านตั้งแต่ครั้งแรกที่เห็นนั่นหรอก ตรงกันข้ามผมกลับผ่านเลยมันไปครั้งแล้วครั้งเล่า ทั้งที่เข้าร้านหนังสือทีไร เป็นต้องหยิบจับมาพลิกดูทุกที แต่จนแล้วจนรอดผมก็ยังลังเลอยู่นั่นเองว่าจะซื้อมันกลับไปดีหรือไม่ เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า มันไม่ใช่งานวรรณกรรมในแบบที่ผมคุ้นเคย และใน พ.ศ.นั้นหนังสือแนวสารคดีชีวิตทำนองนี้ ก็ออกจะแปลกหน้าสำหรับตัวเองอยู่พอสมควร ลองพลิกดูด้านในและไล่อ่านสารบัญดูแล้ว ก็ไม่แน่ใจว่าจะถูกจริตตัวเองหรือไม่ สุดท้าย ผมจึงวางมันกลับเข้าชั้นดังเดิมทุกทีไป

หลังจากเทียวไล้เทียวขื่ออยู่นาน จนกระทั่งหนึ่งปีผ่านไปแล้วนั่นแหละ ผมถึงได้ตัดสินใจซื้อหนังสือเล่มนี้มาอ่านเสียที ถามว่าชอบไหม ตอบได้เลยว่าชอบ และมันก็ให้รสชาติทางการอ่านที่แปลกใหม่ไม่น้อย หากก็ยังไม่ถึงกับติดอกติดใจอะไรนัก ผมมาหลงใหลตัวหนังสือของวรพจน์เข้าอย่างจัง ก็ต่อเมื่อได้อ่านผลงานเล่มถัดมาของเขา 'ไปตามเส้นทางของเรา' ก่อนจะมาตอกย้ำอีกครั้งให้ลุ่มหลงจนแทบโงหัวไม่ขึ้นในเล่มต่อมากับ 'เศษทรายในกระเป๋า' และหลังจากนั้นเป็นต้นมา ผมก็ละเลียดอ่านงานทุกเล่มของวรพจน์ในอาการของเด็กที่ค่อยๆ ละเลียดกินขนมหวาน ด้วยไม่อยากให้มันจบเล่มโดยไว

ถามว่าชอบอะไรในผลงานของเขา มันแตกต่างจากผลงานของนักเขียนคนอื่นอย่างไร อย่างแรกเลยผมพบว่าเสน่ห์ในงานของวรพจน์อยู่ที่การหยิบจับเรื่องราวใกล้ตัวมาเขียนถึง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของผู้คนที่พบเจอในระหว่างทางของชีวิต เรื่องเล่าถึงมิตรสหายคนนั้นคนนี้ ที่ตัวเองมีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องสัมพันธ์ และแน่นอนบางครั้งเขาก็เล่าถึงคู่รักที่ความสัมพันธ์ของเขาและเธอเดินทางมาถึงทางแยกที่ยากต่อการตัดสินใจ ฯลฯ รวมๆ แล้ว พูดได้ว่าเขาเขียนถึงเรื่องราวสามัญในสถานการณ์ปกติธรรมดา ที่ไม่ต่างไปจากเหตุการณ์ที่ไม่ว่าใคร ก็อาจประสบพบเจอด้วยตัวเองกันได้ทั้งนั้น

แหละนั่นเองที่ทำให้เรารู้สึกใกล้ชิดกับเรื่องเล่าของเขา กระทั่งหลายครั้งก็อดไม่ได้ที่จะรู้สึกว่า เรื่องเล่าเหล่านั้น แทบไม่ต่างอะไรกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นในความสัมพันธ์ของเรากับผู้คนรอบตัวสักกี่มากน้อย ตัวหนังสือของเขาจึงดิ่งลึกเข้าไปในใจเราอย่างง่ายดาย ด้วยว่าหลายครั้ง ที่รู้สึกถึงอะไรบางอย่างแต่ไม่อาจอธิบายมันออกมาได้ แล้วบางประโยคของเขาก็สามารถพูดแทนใจ ราวกับถ้อยคำเหล่านั้น กลั่นออกมาจากใจของเราเอง คงไม่ใช่เรื่องเกินเลยอะไรนัก หากจะบอกว่า หลายครั้งที่อ่านงานของเขา แต่สิ่งที่ได้รับกลับเป็นความเข้าใจในตัวของเราเอง

ยังไม่ต้องเอ่ยถึง ทัศนะมุมมอง ตลอดจนถ้อยคำและน้ำเสียง ซึ่งเมื่อบวกรวมกับจังหวะจะโคนหรือท่วงทำนองในการเล่าเรื่อง ที่แม่นยำพอดิบพอดี ว่าจะย้ำหรือผ่อนในตอนไหน เพื่อให้ถ้อยคำทำงานได้ดีที่สุดด้วยแล้ว เรื่องเล่าของวรพจน์จึงจับใจเราเป็นอย่างยิ่ง


|2|

จุดเปลี่ยนสำคัญในงานของวรพจน์ เป็นไปอย่างแยกไม่ออกกับสถานการณ์อันผันผวนทางการเมือง โดยมีเล่ม 'สถานการณ์ฉุกเฉิน' เป็นหมุดหมายสำคัญ เนื้อหาในเล่มนี้ดูจะแตกต่างไปจากงานเขียนเล่มก่อนหน้าอย่างเห็นได้ชัด หากสำหรับตัวผมเอง ที่ไม่เพียงติดตามผลงานของเขาจากหนังสือเล่ม แต่ยังตามอ่านจากคอลัมน์ในนิตยสารทั้งในจีเอ็มและไรเตอร์ด้วยแล้ว ไม่นับว่าน่าแปลกใจอะไรกับทัศนะท่าที และจุดยืนทางการเมืองของเขาที่แสดงออกมาอย่างชัดเจนในผลงานเล่มนี้--และอีกหลายเล่มถัดมาหลังจากนั้น

อนึ่ง ขออนุญาตกล่าวถึงตัวเองสักนิด ท่ามกลางความแตกแยกแบ่งฝ่ายของความคิดทางการเมือง ที่แบ่งผู้คนออกเป็นฝั่งฝ่าย ตัวผมเองก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น ที่ต้องตกอยู่ในวังวนของความขัดแย้งดังกล่าว ไม่ต่างไปจากใครต่อใครที่สนใจการเมือง

ผิดแต่ว่า ขณะที่เพื่อนสนิทมิตรสหายแทบทุกคนของตัวเอง ต่างเห็นดีเห็นงามกับการแก้ปัญหาการเมืองด้วยวิธีการนอกระบบ ตัวผมเองกลับแทบจะเป็นคนเดียวในหมู่เพื่อนฝูงที่คิดต่างไปอีกทาง ยิ่งสถานการณ์ทางการเมืองร้อนแรงขึ้นเท่าไหร่ ผมก็ยิ่งโดดเดี่ยวไปจากเพื่อนฝูงมากขึ้นเท่านั้น และสุดท้ายก็พบว่าตัวเองแทบจะคุยเรื่องนี้กับใครโดยไม่ทะเลาะถกเถียงกันรุนแรงไม่ได้เลย (อาจไม่ได้รุนแรงด้วยถ้อยคำแต่รุนแรงในความรู้สึก)

เมื่อนึกย้อนกลับไปก็พบว่า นอกจากบทความของนักวิชาการฝ่ายประชาธิปไตยบางคนแล้ว งานเขียนของวรพจน์ในช่วงเวลาดังกล่าว ก็น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ความคิดอ่านทางการเมืองของผมลงหลักปักฐานและเอนเอียงมายังทิศทางนี้ ขณะเดียวกันมันก็เป็นเสมือนที่พึ่งพิงทางใจของตัวเอง ในยามที่พูดคุยกับใครไม่ได้ด้วย

อย่างน้อย ในยามรู้สึกโดดเดี่ยวไม่มีใคร ที่สามารถพูดคุยได้อย่างเปิดใจ ตัวหนังสือของเขาก็เป็นดั่งที่หลบภัยที่ช่วยไม่ให้รู้สึกเดียวดายจนเกินไปนัก แม้งานในระยะหลังดูจะห่างไกลจากเรื่องอันรื่นรมย์ และหนักไปทางเรื่องราวอันน่าเศร้า หดหู่ กระทั่งชวนให้รู้สึกคับแค้นใจ แต่การอ่านงานของเขาก็ช่วยตอกย้ำยืนยันให้มั่นใจได้ว่า ตัวเองกำลังเดินอยู่ในร่องในรอย-ของความคิดอ่าน-อันเหมาะควรดีแล้ว แม้จะดูเหมือนว่ายิ่งนานวัน ก็ยิ่งเดินห่างออกจากเพื่อนฝูงมากยิ่งขึ้นทุกทีก็ตาม


|3|

อันที่จริง บอกตรงๆ ว่าผมคิดถึงงานเขียนที่กรุ่นไปด้วยความรู้สึกอันละเมียดละไม อย่างที่ปรากฏในงานยุคก่อนของเขาเอามากๆ และอยากจะอ่านอะไรแบบนั้นอีกเหลือเกิน น่าเสียดายที่ระยะหลังมานี้เขาแทบไม่มีผลงานในท่วงทำนองดังกล่าวออกมาให้อ่านอีกเลย

แต่คิดอีกที ก็ดูจะผิดกาลเทศะและใจร้ายกับนักเขียนเกินไปหน่อย ที่เรียกร้องจะอ่านอะไรแบบนั้นในยามที่บ้านเมืองเป็นแบบนี้ ท่ามกลางความวิปริตผิดเพี้ยนที่เห็นอยู่ตำตา หากหัวใจยังปกติดี คงยากที่ใครจะฝืนใจเขียนอะไรแบบนั้นออกมาได้

ไม่แน่หรอกว่า หากเขามัวแต่เขียนงานแบบนั้นโดยไม่สนใจความเป็นไปของบ้านเมือง ไม่ใส่ใจจะเป็นปากเสียงให้กับผู้ที่ถูกกดขี่ข่มเหงอย่างอยุติธรรม เช่นที่เขาทำในระยะหลังแล้วล่ะก้อ ถึงวันนี้ผมอาจเลิกอ่านงานของเขาไปแล้วก็เป็นได้ โทษฐานที่ไร้หัวใจและไม่รู้สึกรู้สาต่อความวิปริตผิดเพี้ยนที่เห็นอยู่ตำตา--โชคดีที่วรพจน์ไม่ได้เป็นเช่นนั้น ผมจึงยังคงอ่านงานของเขาด้วยความรู้สึกสนิทใจตลอดมา

ท้ายที่สุดนี้ ก็ได้แต่หวัง (ลมๆ แล้งๆ) ว่า สักวันบรรยากาศทางการเมืองจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น เพื่อที่นักเขียนคนโปรดของผมจะกลับมามีอารมณ์อันถึงพร้อม จนสามารถผลิตผลงานในท่วงทำนองแบบที่ผมเคยหลงใหลได้อีกครั้ง--หวังใจว่านี่คงมิใช่ปรารถนาอันล้นเกิน.



หมายเหตุ: เขียนเมื่อ 1 ก.พ. 2560 ปรับปรุงใหม่ : 11 มี.ค. 2561

เผยแพร่ครั้งแรกใน: เฟสบุ๊ค บุรินทร์ ปุรินทราภิบาล

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

บอร์ด สปสช. เคาะงบรักษา อปท.ปี 62 '7.4 พันล้าน' เสนอ มท.เตรียมงบต่อไป

Posted: 12 Mar 2018 06:51 AM PDT

บอร์ด สปสช.เห็นชอบประมาณการงบกองทุนรักษาพยาบาล อปท. ปี 62 จำนวน 7.4 พันล้านบาท ปรับเพิ่มตาม DRG ฉบับที่ 6, อัตราการจ่ายตาม ก.คลัง กำหนด และจำนวนผู้มีสิทธิที่เพิ่มขึ้น พร้อมเสนอ สถ. –สำนักงาน ก.ก.ถ. กระทรวงมหาดไทย พิจารณาจัดเตรียมงบประมาณ

 

12 มี.ค. 2561 รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้ ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นประธานประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ "ข้อเสนองบสวัสดิการรักษาพยาบาลของพนักงานส่วนท้องถิ่น ปี 2562"

จเด็จ ธรรมธัชอารี รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ในการจัดทำ "งบสวัสดิการรักษาพยาบาลของพนักงานส่วนท้องถิ่น ปี 2562" ได้มีการประมาณการและจัดทำข้อเสนอค่ารักษาพยาบาลสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลพนักงานส่วนท้องถิ่น ปีงบประมาณ 2562 ที่จำนวน 7,442,259,119 บาท เป็นงบประมาณที่เพิ่มขึ้นจากปี 2561 ซึ่งจัดสรรที่จำนวณ 6,886,927,926 บาท โดยการประมาณการงบประมาณปี 2562 ที่เพิ่มขึ้น มีปัจจัยจากการใช้หลักเกณฑ์กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมไทย (Diagnosis Related Groups: DRG) ฉบับที่ 6 ที่มีการปรับอัตราการจ่ายชดเชยบริการผู้ป่วยใน และการปรับอัตราการจ่ายกรณีผู้ป่วยสิทธิกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลพนักงานส่วนท้องถิ่น (กองทุนรักษา อปท.) ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอัตราตามที่กระทรวงการคลังกำหนด ซึ่งจะทำให้งบประมาณที่ต้องใช้เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 นอกจากนี้ยังมีจำนวนผู้มีสิทธิที่เพิ่มขึ้น ทั้งพนักงานส่วนท้องถิ่นที่รวมอัตราบรรจุใหม่ 20,000 ตำแหน่ง และบุคคลในครอบครัว  

"การประมาณการงบสวัสดิการรักษาพยาบาลพนักงานส่วนท้องถิ่น ปีงบประมาณ 2562 สปสช.จะมีการแจ้งยอดที่ได้คาดการณ์งบประมาณไปยังกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) และสำนักงานคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (สำนักงาน ก.ก.ถ.) สังกัดกระทรวงมหาดไทย (มท.) เพื่อพิจารณาจัดเตรียมงบประมาณต่อไป" รองเลขาธิการ สปสช.กล่าว

ทั้งนี้ กองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลของพนักงานส่วนท้องถิ่นได้เริ่มจัดตั้งเมื่อปี 2556 และมอบให้ สปสช.ทำหน้าที่บริหารเพื่อให้เกิดระบบคุ้มครองความมั่นคงด้านสิทธิการรักษาพยาบาลสำหรับพนักงานส่วนท้องถิ่นและครอบครัวให้ได้รับบริการที่เสมอภาคกับสิทธิอื่น และลดภาระความเสี่ยงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็ก ซึ่งสิทธิประโยชน์มีความเสมอภาคและทัดเทียมระบบสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

การต่อสู้เพื่อเป็นผู้หญิง เส้นทางผู้ลี้ภัยการเมืองข้ามเพศของ ‘อั้ม เนโกะ’

Posted: 12 Mar 2018 01:18 AM PDT

ในวันที่ได้รับการยอมรับเป็นสตรีเพศตามกฎหมาย 'อั้ม เนโกะ' เล่ามุมมอง ประสบการณ์ชีวิตในฐานะผู้หญิงข้ามเพศ ระบุ ฝรั่งก็เหยียดและคุกคามคนข้ามเพศ การสมยอมจะไม่นำไปสู่การปลดพันธนาการด้านอัตลักษณ์ที่ผูกอยู่กับค่านิยมรักต่างเพศ การทำให้หญิงเอเชียเป็นวัตถุทางเพศ รวมถึงบรรทัดฐานเรื่องชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

เมื่อ 7 มี.ค. ก่อนวันสตรีสากลหนึ่งวัน เป็นวันสำคัญของศรัณย์ ฉุยฉาย หรือ 'อั้ม เนโกะ' หลังจากอาศัยอยู่ที่ปารีสในฐานะผู้ลี้ภัยทางการเมืองเป็นเวลา 4 ปี วันนี้เป็นวันที่การเปลี่ยนเพศของอั้มผ่านการยอมรับตามกฎหมาย วันที่เธอมีคำนำหน้าชื่อว่า "มาดาม" (นาง/นางสาว) การรับรู้ทางกฎหมายไม่เกี่ยวประสบการณ์ความเป็นหญิงสำหรับอั้ม เธอเห็นว่าตัวเองเป็นผู้หญิงมาตลอดชีวิตและเชื่อมั่นใน "สิทธิการกำหนดใจตนเอง " ด้านอัตลักษณ์ทางเพศ โดยประเทศฝรั่งเศสมีกฎหมายว่าด้วยการรับรองอัตลักษณ์ทางเพศ ตั้งแต่ พ.ศ. 2559 ต่างจากประเทศไทยที่บุคคลข้ามเพศไม่สามารถเปลี่ยนเพศสภาพได้  

อั้มทำกิจกรรมแสดงการไม่ต่อต้านรัฐบาลไทยหลายครั้งๆ จากนั้นจึงหลบหนีออกจากประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2557 หลังจากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีคำสั่งให้เธอเข้ารายงานตัว เธอรู้ตัวว่าถ้าเธอไม่หนี เธอจะถูกคุมขังในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในเรือนจำชาย ที่ๆ เธอจะตกอยู่ในอันตรายจากการข่มขืนและความรุนแรงต่างๆ ในฐานะที่เป็นผู้หญิงข้ามเพศ

อั้มเป็นนักกิจกรรมแนวสุดขั้วมาตั้งแต่ พ.ศ. 2555 ที่เธอโพสต์ท่าถ่ายรูปที่ล่อแหลมกับรูปปั้นปรีดี พนมยงค์ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไม่ต้องสงสัยว่าการทำกิจกรรมของเธอทำให้บางคนโกรธเป็นฟืนเป็นไฟ ตัวอย่างกิจกรรมที่เป็นที่จดจำของผู้คนได้แก่การรณรงค์ต่อต้านเครื่องแบบนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2556 เธอลาออกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพราะคณะแห่งหนึ่งบังคับให้เธอสวมเครื่องแบบนักศึกษาชาย อันเป็นการแสดงความไม่ยอมรับอัตลักษณ์ลักษณ์ทางเพศของเธอ เธอถูกบังคับให้ลาออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้วยเช่นกันเมื่อเธอพยายามชักธงดำแทนที่ธงชาติไทยที่อาคารโดมในมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นการประท้วงนายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีในขณะนั้น ซึ่งถูกมองว่าเป็นอธิการบดีที่สนับสนุนขบวนการต่อต้านประชาธิปไตย  

โปสเตอร์รณรงค์ต่อต้านเครื่องแบบนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2556

ต่อคำถามถึงสาเหตุที่อั้มสร้างความตะลึงในสังคมและสื่อไทยอยู่เสมอๆ อั้มคิดว่าเป็นเพราะ "ผู้ชายไม่คาดหวังว่าผู้หญิงข้ามเพศจะมีบทบาททางการเมือง การมีส่วนร่วมทางการเมืองมิใช่สิ่งที่สังคมต้องการจากผู้หญิงข้ามเพศ"

แล้วสังคมต้องการอะไร? อั้มตอบว่า "ต้องการให้ผู้หญิงข้ามเพศที่ 'ดี'" "ต้องสวย เฮฮาและเป็นคนไร้สาระ" อั้มยอมรับว่าเธอเคยทำตัวตามแนวคิดเช่นว่าจริงๆ ก่อนที่จะมีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหว โดยเชื่อว่าคนอื่นจะชอบเธอถ้าเธอทำตัวน่ารักและเป็นผู้หญิงพอ ด้วยความที่อั้มมีสรีระ หน้าตาตรงกับเพศสภาพและเป็นสาวสวย เธอจึงสามารถหลีกพ้นจากการเลือกปฏิบัติที่เพื่อนข้ามเพศคนอื่นๆ ที่มีหน้าตาหรือสรีระไม่สวยพอกับผู้หญิงทั่วๆ ไปต้องเผชิญ "คนที่ไม่เป็นไปตามบรรทัดฐานของเพศต้นแบบต้องเผชิญกับความรุนแรงและการกลั่นแกล้ง อั้มยังโชคดีกว่าคนอื่นๆ แต่อั้มจะไม่ลืมเขาหรือใช้ประโยชน์จากการรักษาที่อั้มได้ [... ] หญิงข้ามเพศไม่ควรจะต้องแต่งหน้าจนสวยสมบูรณ์แบบเพื่อให้สังคมยอมรับ"  

การมีสรีระหน้าตาตรงกับเพศสภาพ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในต่างประเทศ) ไม่ได้เป็นประโยชน์กับอั้มเสมอไป เธอเล่าประสบการณ์การเดทที่ผ่านมาในปารีสว่าเคยเจอผู้ชายที่แสดงอาการขยะแขยงเมื่อเธอเปิดเผยกับคู่เดทว่าเธอเป็นผู้หญิงข้ามเพศ เธอกล่าวว่า ผู้ชายบางคนแสดงท่าที "รังเกียจ" เมื่อทราบถึงเพศวิถีของเธอ ทั้งยังกล่าวหาว่าเธอโกหกและปกปิดความจริง เธออธิบายว่าผู้ชายรู้สึกเจ็บช้ำที่เธอดูไม่เหมือนผู้หญิงข้ามเพศอย่างชัดเจน "ผู้ชายพวกนั้นไม่อยากเชื่อว่าตัวเองจะอยากนัดเดทกับผู้หญิงข้ามเพศ" อั้มกล่าว

อั้มเชื่อว่าผู้ชายมีปฏิกริยารุนแรงเพราะเธอเป็นภัยคุกคามต่อความเป็นชายที่ "เปราะบาง" และเพศวิถีแบบรักต่างเพศ อั้มเชื่อว่าสาเหตุที่ทำให้ผู้ชายมักแสดงอาการรุนแรงเมื่อรู้ว่าผู้หญิงที่เขารู้สึกดึงดูดทางเพศเป็นผู้หญิงข้ามเพศว่าเป็นเพราะ "ผู้ชายพวกนั้นต้องการรักษาระยะห่าง เพื่อปกป้องตัวเองจากสิ่งที่อยู่ภายในตัวเขาเอง ซึ่งดึงดูดให้เขาพึงใจผู้หญิงข้ามเพศ"  

อั้มเล่าว่า ถ้าผู้ชายพวกนั้นไม่ได้แสดงออกด้วยการโต้ตอบอย่างรุนแรงก็จะพยายามหยอกล้อเธอ "ผู้ชายพวกนี้พยายามพิสูจน์ความเป็นชายของตัวเองให้ตัวเองพอใจโดยการล้ออั้มและคนข้ามเพศอื่นๆ เพื่อต้องการแสดงว่าเขาเป็นผู้ชายสมชาย เป็นผู้ชายตามสรีระ จะคบค้าสมาคมกับผู้ชายเท่านั้น เขาก็เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมแบบผู้ชาย"

เรื่องที่น่าแปลกใจคือ บ่อยครั้งคำพูดที่เหยียดหยามคนข้ามเพศอย่างที่สุดกลับมาจากสมาชิกแวดวงนักกิจกรรม อั้มบอกว่าการเคลื่อนไหวในประเทศไทยไม่ได้ "ก้าวหน้า" ขนาดนั้น "นักเคลื่อนไหวไทยส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย และวาทกรรมก็ล้วนแล้วแต่ออกมาจากปากของผู้ชาย"

โชคดีที่แฟนหนุ่มชาวตะวันตกคนปัจจุบันของอั้มที่เธอคบหามาสองปียอมรับอดีตที่เธอเล่าให้ฟังมากขึ้น เมื่ออั้มบอกแฟนว่าอั้มผ่านการเปลี่ยนเพศ แฟนก็ "รู้สึกแปลกใจนิดหน่อย" แต่ในที่สุด เขาตัดสินใจได้ความรู้สึกของเขาที่มีต่ออั้มสำคัญกว่าการที่อั้มเป็นผู้หญิงข้ามเพศมาก แม้ว่าอั้มและแฟนจะไม่เห็นฟ้องต้องกันทุกเรื่อง อั้มเล่าว่าแฟนไม่ได้เห็นด้วยกับจุดยืนทางการเมืองของอั้ม และเขาไม่ได้เป็นซ้ายสุดขั้วเช่นเธอ "เขาทนไม่ได้ถ้าอั้มพูดเรื่องคอมมิวนิสต์" อั้มกล่าวกลั้วเสียงหัวเราะ โดยอั้มได้ศึกษาทฤษฎีการเมืองมากขึ้นตั้งแต่มาอยู่ที่ปารีสและศึกษาสาขาสังคมวิทยาที่ Université Paris Diderot

อั้มมักตอบคำถามส่วนตัวที่ฉันถามด้วยคำตอบตามหลักการและตอบแบบกว้างๆ ฉันคิดว่าอั้มทำแบบนี้เพราะต้องการปกป้องตัวเอง อั้มถูกสื่อมวลชนไทยปีกขวาโจมตีอย่างรุนแรงเมื่อ พ.ศ. 2557 หนังสือพิมพ์เอเอสทีวีได้ตีพิมพ์บทความที่รบกวนจิตใจอย่างยิ่งว่า ถ้าหากอั้มต้องโทษจำคุกเธอจะถูกนักโทษชายในคุกรุมโทรม หลังจากการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ บรรยากาศความเป็นปรปักษ์ต่อการต่อต้านเพิ่มสูงขึ้น แม้กระทั่งคณะกรรมาธิการผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ก็ประณามอั้ม และย้ำว่า UNHCR ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการที่เธอได้รับสถานะผู้ลี้ภัยทางการเมืองในประเทศฝรั่งเศส แต่อั้มก็ไม่ได้ทำอะไรเพื่อลดแรงโจมตี เธอยังคงแสดงความคิดเห็นอย่างสุดขั้วเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชฯ ต่อสาธารณะผ่านทางเฟซบุ๊คไลฟ์เสมอ พล.ต.นพ. เหรียญทอง แน่นหนา กลุ่มศาลเตี้ยที่มีจุดยืนแบบอัลตร้ารอยัลลิสต์ โพสต์ที่อยู่ของผู้ที่เขาเชื่อว่าเป็นคนที่ให้ที่พักอาศัยกับอั้มในปารีสที่หน้าเฟซบุ๊คของตนเอง พร้อมเรียกร้องแกมคุกคามให้ชาวไทยที่อาศัยอยู่ในฝรั่งเศสไปตามที่อยู่นั้นเพื่อระบุว่าอั้มอาศัยอยู่ที่ที่อยู่นั้นจริงหรือไม่  

อั้มร่วมการรณรงค์สนับสนุนประชาธิปไตยที่กรุงปารีส

เป็นเรื่องยากฉันที่จะเชื่อว่า อั้มที่มีภาพลักษณ์ที่แข็งกร้าวและยั่วยุในพื้นที่สาธารณะ จะเป็นคนเดียวกันกับผู้หญิงท่าทางเป็นมิตร ให้สัมภาษณ์กับฉันด้วยเสียงเบาๆ ฉันคิดว่านี่คือการปกป้องตัวเองของอั้มโดยการสร้างภาพลักษณ์นักกิจกรรมที่ปกปิดความเปราะบางหรือความยากลำบากที่เธอเผชิญอยู่และเลือกที่จะมองโลกในแง่ดี ฉันถามว่า อั้มรู้สึกอย่างไรในช่วงระยะเวลาสี่เดือนช่วง พ.ศ. 2557 ที่เธออยู่ในสถานะไม่รู้อนาคตแน่นอนว่าจะได้รับสถานะผู้ลี้ภัยในฝรั่งเศสหรือต้องกลับไปประเทศไทยแล้วติดคุก อั้มตอบว่าเครียดมากแต่ก็ทำให้เธอแข็งแกร่งขึ้น

นอกจากจะต้องรับมือกับการข่มขู่ว่าจะใช้ความรุนแรงและการประณามหยามเหยียดต่างๆ ที่ได้รับในฐานะผู้หญิงข้ามเพศแล้ว เธอยังต้องเผชิญกับการล่วงละเมิดทางเพศอีกด้วย อั้มเล่าว่า เวลาใช้การขนส่งสาธารณะ มีผู้ชายเอาตัวมาเบียดเธอพร้อมกระซิบวาจาที่เป็นการละเมิดทางเพศในพื้นที่สาธารณะ การคุกคามทางเพศในฝรั่งเศสรุนแรงมากขึ้นกว่าในประเทศไทย โดยอั้มเชื่อมโยงการคุกคามทางเพศจากชายตะวันตกว่าเป็นผลมาจากลัทธิคลั่งไคล้ไหลหลงผู้หญิงเอเชีย อั้มเชื่อว่าเราจำเป็นต้อง "ต่อสู้กับความคิดโหลๆ ที่นำเสนอผู้หญิงเอเชียทางเพศ เช่น ผู้หญิงเอเชียต้องการเซ็กส์ตลอดเวลา หรือผู้หญิงเอเชียไร้เดียงสา มีนิสัยอ่อนน้อมยอมตาม"  

อั้มเล่าว่ากระเทยเผชิญแรงกดดันมหาศาลในการทำตัวให้สอดคล้องกับค่านิยมกระแสหลักที่ครอบงำสังคมไทย "ถ้าสตรีข้ามเพศที่เข้าร่วมการชุมนุมกับเสื้อเหลืองประพฤติตนตามคุณค่าหลักที่ประกอบด้วย ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์จะได้รับการยอมรับและยกย่อง" อั้มเชื่อว่าคนข้ามเพศที่ได้รับความความเคารพนับถือมากที่สุดในประเทศไทยเป็นคนที่หัวอ่อนมากที่สุด ก็คือ "คนที่ให้สัมภาษณ์ว่า ผู้มีความหลากหลายทางเพศหรือ LGBT ต้องเคารพ (สภาพสังคมแบบเดิม - status quo) และไม่ควรทำอะไรที่สุดโต่งเกินไป"  

ต่อคำถามเรื่องการจำกัดความอัตลักษณ์ของอั้ม อั้มยังยืนยันว่าชาวตะวันตกพยายามกำหนดบทบาทเธอเป็น "เลดี้บอย" โดยไม่ตระหนักว่าการจัดประเภทดังกล่าวเป็นการลดทอนเพียงใด "ชาวตะวันตกคิดว่าเป็นเรื่องปกติ แต่เป็นคำที่คนตะวันตกยัดเยียดให้พวกเรา เลดี้บอยส่วนใหญ่คิดว่าตัวเองเป็นผู้หญิง"

อั้มอธิบายว่า คำว่าเลดี้บอยเป็นคำที่ "เหยียด" การปักป้ายว่าใครเป็นเลดี้บอยเป็นการกำจัดเสรีภาพในการกำหนดใจตนเอง เพราะคนอื่นๆ คิดเอาเองว่าเลดี้บอยนิยามตัวเองว่าเป็นเลดี้บอย โดยที่ไม่ใส่ใจถามว่าเจ้าตัวคิดเช่นนั้นหรือไม่ เธอเล่าว่าคนตะวันตกคิดว่าเลดี้บอยไทยเป็นคน "ตลก" การเยาะเย้ยเช่นนี้ถือเป็นการตีตรา เธอเชื่อว่าส่วนหนึ่งของปัญหามาจากการที่ผู้หญิงไทยหลายคนยอมรับการเยาะเย้ยทั้งในประเทศไทยและประเทศตะวันตกเพื่อเอาตัวรอด แต่เธอไม่เชื่อว่ามันคือเส้นทางสู่การปลดปล่อย หากชุมชนคนข้ามเพศไทยยังคงศิโรราบต่อคนที่ครอบงำและกดขี่ข่มเหง คนข้ามเพศก็จะยังคงถูกเลือกปฏิบัติตั้งแต่เกิดจนตาย และจะตายไปโดยไร้ซึ่งเกียรติและศักดิ์ศรี เธอกล่าวเพิ่มเติมว่า เราไม่สามารถรอวันที่ผู้กดขี่จะให้สิทธิพวกเรา คนที่มีความหลากหลายทางเพศที่มีมุมมองทางการเมืองแบบดั้งเดิมหรือหัวอนุรักษ์นิยมเองต้องหยุดสนับสนุนกองทัพและระบอบกษัตริย์ และเริ่มสนับสนุนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย  

อั้มได้รับโอกาสให้เป็นตัวแทนขององค์กรด้านความหลากหลายทางเพศไปเข้าร่วมงานประชุม เนื่องจากเธอสามารถสื่อสารได้หลายภาษา

อั้มเคยเป็นกระบอกเสียงในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทยอยู่เป็นนิจ เธอมักพูดถึงความผูกโยงใกล้ชิดระหว่างการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยโดยกับการต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนและสิทธิทางเพศสภาพ อั้มบอกว่าประชาธิปไตยเป็นมากกว่าการเลือกตั้ง นักการเมืองและรัฐประหาร ประชาธิปไตยคือการเป็นปากเป็นเสียงให้ประสบการณ์ของผู้ถูกกดขี่จากสังคมและโครงสร้างทางสังคมมาโดยตลอด

'อั้ม เนโกะ' คือหลักฐานที่ยังมีชีวิตที่สะท้อนว่าเรื่องส่วนตัวกับการเมืองคือเรื่องเดียวกัน ชีวิตของเธอเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงจากการมีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหว เมื่อไม่กี่ปีก่อนอั้มเป็นแค่นักศึกษาธรรมดา ตอนนี้เธอเป็นผู้ลี้ภัยทางการเมืองที่โอกาสกลับบ้านเกิดยังริบหรี่จนกว่าจะมีการแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพซึ่งอาจเป็นเรื่องที่ไม่เกิดขึ้นเลยในอีกหลายชั่วอายุคน เมื่อถามอั้มว่า เคยคิดที่จะละทิ้งการเคลื่อนไหวและใช้ชีวิตตามปกติหรือไม่ อั้มตอบว่า "อั้มอาจไม่จำเป็นต้องพูดถึงประชาธิปไตย แต่อั้มต้องแสดงให้เห็นว่าประชาธิปไตยเป็นส่วนหนึ่งของตัวอั้มและของชีวิตอั้ม ประชาธิปไตยสามารถเปลี่ยนชีวิตอั้มและชีวิตของคนจำนวนมากที่ทุกข์ทนได้"

เผยแพร่ครั้งแรกที่ Prachatai English, Thai trans political refugee Aum Neko and her fight to become a woman

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เปิดตัว ‘เพื่อนธนาธร’: ประเทศไทยในความฝันคนรุ่นใหม่ อนาคตที่ทุกคนเท่ากัน

Posted: 12 Mar 2018 01:14 AM PDT

เมื่อคนรุ่นใหม่พูดถึงการเมือง พูดถึงสังคมที่อยากเห็น คุณลักษณะประการหนึ่งที่พบเห็นได้น้อยในหมู่นักการเมืองเชี่ยวสนามคือความกล้าที่จะฝันให้ใหญ่ พวกเขาไม่แยแสว่าสิ่งที่พวกเขาฝันและจะลงมือทำนั้น ใครจะมองว่าเป็นความเพ้อฝันหรือไร้เดียงสา การไม่ทำอะไรเลยต่างหากที่อาจเป็นความไร้เดียงสาต่อชีวิตและสังคม

ไม่ว่าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. จะยื้อยุดอย่างไร การเลือกตั้งย่อมต้องมีขึ้นในปีหน้า หลังจากไม่มีการเลือกตั้งระดับประเทศเลยมาเกือบ 7 ปี คนรุ่นใหม่ที่อายุประมาณ 24-25 ปีในเวลานี้ ยังไม่เคยได้ใช้สิทธิการกำหนดชีวิตตนเองผ่านการเลือกตั้งกำลังจะได้ใช้สิทธิ

กว่าทศวรรษที่สูญหายไปในหล่มความขัดแย้ง รัฐประหาร ฉีกรัฐธรรมนูญ แล้วร่างมันขึ้นมาใหม่ เป็นวงจรอุบาทว์ที่คนรุ่นใหม่ที่สนใจการเมืองจำนวนหนึ่งครุ่นคิดกับมันและถึงเวลาต้องตัดวงจร พวกเขาไม่รังเกียจการเมือง การเมืองเป็นเรื่องของทุกคน พวกเขาต้องการการเปลี่ยนแปลง

เมื่อคนรุ่นใหม่พูดถึงการเมือง พูดถึงสังคมที่อยากเห็น คุณลักษณะประการหนึ่งที่พบเห็นได้น้อยในหมู่นักการเมืองเชี่ยวสนามคือความกล้าที่จะฝันให้ใหญ่ พวกเขาไม่แยแสว่าสิ่งที่พวกเขาฝันและจะลงมือทำนั้น ใครจะมองว่าเป็นความเพ้อฝันหรือไร้เดียงสา การไม่ทำอะไรเลยต่างหากที่อาจเป็นความไร้เดียงสาต่อชีวิตและสังคม ส่วนที่ว่าพวกเขาจะทำมันได้หรือไม่ ต้องพบแรงเสียดทานหนักหนาอย่างไร เป็นสิ่งที่พวกเขาต้องพิสูจน์ตัวเอง

'ประชาไท' รวบรวมทัศนะคนรุ่นใหม่ผู้สนใจการเมือง ในการเปิดภาพความฝันประเทศไทยที่พวกเขาต้องการสร้างมันขึ้นมาว่า ใหญ่และงดงามเพียงใด โดยกลุ่มคนรุ่นใหม่เหล่านี้เป็นกลุ่มที่ได้ร่วมหารือเรื่องอนาคตสังคมไทยกับธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ รองประธานบริหารกลุ่มบริษัทไทยซัมมิท ที่มีกระแสข่าวว่าจะตั้งพรรคการเมืองใหม่

 

นลัทพร ไกรฤกษ์

'สังคมที่ทุกคนใช้ชีวิตได้อย่างอิสระ'

นลัทพร อายุ 25 ปี เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงตั้งแต่เด็ก และต้องนั่งวีลแชร์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ข่าวคนพิการ Thisable.me กล่าวว่า เธออยากเห็นอนาคตของประเทศไทย ที่สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างอิสระ พึ่งตนเองได้ เธอยกตัวอย่างคนพิการในต่างประเทศที่เห็นในสารคดีว่า เมื่อคนพิการอายุครบ 18 ปี ก็ใช้ชีวิตอย่างผู้ที่บรรลุนิติภาวะที่ไม่พิการ ซึ่งก็คือ สามารถออกจากบ้านไปมีชีวิตของตัวเองได้ แต่ในไทยกลับไม่ค่อยมีคนพิการแบบนั้นให้เห็น แม้คนพิการคนนั้นจะอายุมากถึงสี่สิบห้าสิบปีแล้วก็ตาม "ในประเทศไทย ถ้าคนพิการต้องการคนดูแลเต็มเวลา ก็มักจะเป็นพ่อแม่หรือคนในครอบครัว ซึ่งไม่ถูกมองเป็นอาชีพ จึงไม่ได้เงินเดือน แต่ถูกมองว่าเป็นการเลี้ยงลูกหลาน ซึ่งเป็นระบบอุปถัมภ์ และก็มีการครอบงำคนพิการคนนั้น ทำให้คนพิการเหล่านั้นไม่กล้าที่จะใช้ชีวิตของตัวเอง"

นลัทพรกล่าวว่า ปัญหาที่ทำให้คนพิการในไทยไม่เป็นอิสระมาจากทัศนคติของคนไทยที่ยังไม่เข้าใจเรื่องความหลากหลายและยอมรับในความแตกต่าง เวลามีการออกแบบอาคาร ถนน ฟุตบาท ไปจนถึงระบบการศึกษา หนังสือเรียน จึงทำให้ออกแบบโดยนึกถึงแต่คนที่มีร่างกายแข็งแรงเท่านั้น และคิดออกแบบนโยบายสำหรับคนพิการแบบแยกต่างหาก ซึ่งนลัทพรไม่เห็นด้วยกับวิธีคิดเช่นนี้ และมองว่า สังคมไทยควรเน้นการคิดและทำนโยบายแบบครอบคลุม (inclusivity) ที่จะรวมคนทุกแบบของสังคมไว้ในระบบโครงสร้างทางสังคมเดียวกัน

นลัทพรกล่าวอีกว่า เธอสนใจเล่นการเมืองและจะแสดงให้สังคมเห็นว่า คนพิการไม่จำเป็นต้องทำแต่ประเด็นของตนเอง "การจะลงเล่นการเมืองสำหรับเราเป็นอะไรที่ดูท้าทายและดูเจ๋งมาก ลองจินตนาการว่า เราจะไปหาเสียงยังไง แค่เดินออกไปนอกบ้านยังไม่ได้เลย ถ้าเราไปหาเสียงคงจะลำบากคนรอบข้างมากๆ แต่มันจะทำให้คนเห็นถึงปัญหาว่าประเทศไทยต้องการ universal design และเป็นข่าว เกิดเป็นกระแส และคนจะเห็นว่า มันต้องมีการแก้ปัญหา และเป็นกระบอกเสียงให้คนที่เผชิญปัญหาเหมือนเรา"

 

ไกลก้อง ไวทยการ

'Open Government ที่ทุกคนมีส่วนร่วม'

ไกลก้อง อายุ 43 ปี จากสถาบันเทคโนโลยีเพื่อสังคม (Social Technology Institute) ผู้มีส่วนผลักดันให้เกิดฐานข้อมูลเปิด หรือ Open Data ในประเทศไทยกล่าวว่า ปัญหาที่เขาอยากจะแก้คือจะทำอย่างไรให้คนมีส่วนร่วมในกระบวนการออกนโยบายรัฐมากขึ้นทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติ อยากให้มีกลไกที่เป็นประชาธิปไตยทางตรงในการจัดการงบประมาณและทรัพยากร เขากล่าวว่า "จริงๆ ทุกวันนี้ ถ้าดูยอดจำนวนประชากรที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ตของเมืองไทยมันปาเข้าไปเจ็ดสิบเปอร์เซ็นต์กว่าๆ แล้ว ถ้าเราสามารถทำให้คนเหล่านี้เข้าถึงข้อมูลของรัฐได้ เสนอความเห็น ความคิดได้ และสะท้อนเชื่อมโยงไปถึงรัฐบาลได้ นโยบายมันก็จะมาจากประชาชนจริงๆ อยากจะเห็นสิ่งที่ต่างประเทศเรียกว่า open government"

ไกลก้องอยากให้ข้อมูลทางราชการไม่ว่าจะเป็นระดับท้องถิ่นหรือส่วนกลางเปิดเป็น Open Data ที่ทำทั้งคนธรรมดา หน่วยงานรัฐ และภาคธุรกิจสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น ข้อมูลงบประมาณหรือข้อมูลการใช้จ่ายในแต่ละเดือน รวมไปถึงเรื่องแผนที่ข้อมูลสถานพยาบาล ข้อมูลนักเรียน และสิทธิการถือครองที่ดินว่าใครถือครองมากแค่ไหนอย่างไร เพื่อการวางแผนพัฒนาในอนาคตอย่างยั่งยืน

เหตุผลที่ไกลก้องคิดว่าคนรุ่นใหม่ ควรจะมีบทบาททางการเมืองคือ "เพราะคนรุ่นเก่าทำไม่สำเร็จ คนรุ่นใหม่มีวิธีคิดที่เปลี่ยนแปลงไป มีการสื่อสารที่ไม่ได้มีลำดับขั้นจากบนลงล่าง ไม่ยึดติดกับกฎระเบียบ มีความฝัน คนรุ่นใหม่คิดว่าวันพรุ่งนี้ต้องดีกว่า ผมว่าหลายๆ ประเทศในโลกได้พิสูจน์ให้เห็นว่าคนรุ่นใหม่สามารถบริหารประเทศได้ เป็นผู้นำได้ เราอาจจะเห็นตัวอย่างอย่างทรูดอร์ของแคนนาดา มาครองของฝรั่งเศส หรือโจชัว หว่องในฮ่องกง เขาก็สามารถเข้าสู่การเมืองได้ แม้จะถูกคุกคาม แต่เขาก็สามารถนำเสนออนาคตประเทศที่เขาอยากให้เป็นได้"

 

เปรมปพัทธ ผลิตผลการพิมพ์

'การพัฒนาของคนรุ่นใหม่ เพื่อคนรุ่นใหม่ โดยคนรุ่นใหม่'

ในวัย 23 ปี เปรมปพัทธเป็นกรรมการและ Director องค์กร NEWGROUND อายุ 23 ประเทศไทยที่เขาอยากเห็นไม่มีอะไรซับซ้อน มันคือการตื่นขึ้นมาและพบว่ามีความหวังที่ชีวิตจะดีขึ้นกว่าเมื่อวาน

"เวลาเราฝันถึงอะไรบางอย่าง สิ่งที่ง่ายที่สุด ง่ายกว่าการเข้าคูหาเลือกตั้ง คือการไปสวดมนต์ขอพรให้เรามีชีวิตที่ดีกว่าอย่างน้อยในชาติหน้า ให้ชาติหน้าเราเกิดมารวย เกิดมาในประเทศที่สนับสนุนประชาชนมากกว่านี้ แต่ผมฝันที่จะอยู่ในประเทศนี้แล้วเห็นชีวิตที่ดีในชาตินี้ ดังนั้น เราควรทำอะไรบางอย่างมากกว่าสวดมนต์ขอพร ถ้าคนตื่นมาแล้วมีความหวังว่าชีวิตต้องดีกว่าเมื่อวาน ไม่ใช่ขอไปดีอีกทีชาติหน้า ผมว่าสังคมแบบนี้ไม่น่าอยู่ อยู่แล้วหมดหวัง ไม่มีทางออก มองไม่เห็นอนาคต มันอาจเป็นโลกที่มีสวัสดิการที่ยืนยันว่าต่อให้ผมตกงาน เจ็บป่วย เป็นอื่น หรือพ่ายแพ้ ผมจะยังเป็นคนของโลกใบนี้อยู่ ไม่ได้ถูกทำให้เป็นสินค้าหรือถูกทำให้เป็นแรงงานที่ไม่มีใครสนใจความรู้สึก"

เมื่อเจาะจงลงไปในเนื้องานเกี่ยวกับคนรุ่นใหม่ที่เปรมปพัทธทำ ความแสดงทัศนะว่า งานพัฒนาคนรุ่นใหม่ทุกวันนี้เป็นงานของคนรุ่นใหม่ เพื่อคนรุ่นใหม่ แต่โดยผู้ใหญ่ เขาลงรายละเอียดถึงงบอุดหนุนรายหัวต่อปีด้านการศึกษาที่แม้จะสูงมาก แต่เด็กและเยาวชนแทบไม่มีส่วนในการตัดสินว่าต้องการใช้ทรัพยากรนี้อย่างไร

"เรามีงบประมาณเด็กเล็กแล้วก็กระโดดมาเป็นของแรงงาน แล้วก็ผู้สูงอายุ แต่คนรุ่นใหม่ประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ เข้าถึงสวัสดิการโดยไม่นับสวัสดิการการศึกษาประมาณ 0.012 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งน้อยกว่าประเทศพัฒนาแล้วประมาณ 250 เท่า มันเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างชัดเจน เขาไม่มีสวัสดิการเลย ถ้าเขาเกิดในประเทศอื่น เขาจะมีงบประมาณส่วนนี้ไปเติมเต็มชีวิตเขา อย่างสิงคโปร์จะมีงบประมาณให้คนไปเพิ่มทักษะ คุณจะไปทำอะไรก็ได้ โดยที่รัฐไม่ตัดสินใจให้ คุณเลือกของคุณเองได้ จึงควรมีงบประมาณให้เยาวชนใช้แก้ปัญหาของตัวเอง"

ในส่วนความคิดต่อการเมือง เปรมปพัทธ กล่าวว่า สังคมไทยเคยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย แต่ไม่เคยมีวัฒนธรรมประชาธิปไตย หากคนรุ่นใหม่รู้สึกว่าการเมืองเป็นเรื่องใกล้ตัว ก็อาจสร้างวัฒนธรรมนี้ขึ้นมาได้

 

อลิสา บินดุส๊ะ

'ทุกคนเท่ากัน'

อลิสา อายุ 23 ปี นอกจากเป็นนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานคริรนทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เธอยังทำงานกับกลุ่มนักกฎหมายอาสา (Law Long Beach) กระบวนกรสิทธิมนุษยชน และทีม BukuFc เธอมีความฝันต่อประเทศไทยที่เรียบง่าย แต่ไม่ง่ายที่จะก่อรูปให้เป็นจริงท่ามกลางสถานการณ์ปัจจุบัน

"ประเทศที่เราอยากจะอยู่ อันแรกเลยคือประเทศที่ไม่กำจัดใครออกไป เปิดรับคนที่มีความหลากหลาย ในตัวคนคนหนึ่งก็มีความหลากหลาย ไม่ว่าเรื่องศาสนา เพศ ความคิดเห็นทางการเมือง แต่ที่ผ่านมาเราไม่ได้รักษาสิ่งเหล่านี้และเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับความหลากหลายเหล่านี้ ที่ผ่านมาเราขัดแย้งเพื่อนำไปสู่ความรุนแรงและการไล่ออกไป ไม่ได้นำไปสู่การเรียนรู้เลย เราจึงอยากการเปิดรับความหลากหลายและเรียนรู้ที่จะอยู่กับมัน

"เรื่องที่ 2 เราเท่ากับทุกคน เห็นคนเท่ากันจริงๆ ทุกคนมีเสียงเท่ากัน อยู่ภายใต้ระบบกฎหมายที่มีประสิทธิภาพเหมือนกัน มันเป็นเรื่องสำคัญมากๆ ตอนนี้ที่เป็นปัญหาเพราะเราไม่เท่ากัน จากงานที่เราทำ เรามีโอกาส เรามีพื้นที่เข้าไปแสดงความคิดเห็นในเวทีของรัฐต่างๆ แต่พอเราเข้าไป เราเห็นว่ามีเยาวชนอยู่น้อยมาก ทั้งที่โครงการนั้นส่งผลต่อชีวิตของเราทุกคน ของเยาวชนด้วย ถึงจะไม่ได้ปิดกั้น แต่ไม่ได้เปิดโอกาสให้เราเข้าไปมีส่วนร่วมจริงๆ ไม่มีการส่งเสริม สนับสนุนให้เราเข้าไป แล้วก็ไม่ได้แยแสกับการที่ไม่มีเราเข้าไปด้วย เราอยากเห็นการมองทุกเสียงในสังคมเท่ากัน มีพื้นที่ให้คนทุกคนได้แสดงความคิดเห็น มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ คือคนทุกคนเป็นนักการเมืองได้ ยุ่งกับการเมืองได้ เพราะมันส่งผลต่อชีวิต

"สุดท้ายคือเงินภาษีของเราทุกคนถูกนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพในเรื่องที่เราต้องการจริงๆ ไม่ว่าจะเรื่องสุขภาพหรือการศึกษา"

 

ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี

'รัฐที่โอบอุ้มดูแลทุกคน'

อาจารย์หนุ่มวัย 33 ปีจากวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้มีความฝันและความเชื่ออย่างมั่นคงว่า เป้าหมายอันดับแรกของรัฐคือการโอบอุ้มดูแลทุกคน นั่นคือการมีสวัสดิการแบบถ้วนหน้าครบวงจร ซึ่งจากการศึกษาวิจัยของพบว่าสามารถเป็นจริงได้

"คนรุ่นใหม่ที่แบกรับความเสี่ยงมาหลายเจเนอเรชั่น แบกรับความสิ้นหวังมาจากคนรุ่นก่อน และทำให้เราคิดถึงได้แต่เพียงแค่เรื่องตัวเอง มันถึงจุดแล้วที่เราต้องคิดว่าจะทำอย่างไร เราจะเปลี่ยนเงื่อนไขความเป็นไปได้นี้ให้เกิดขึ้นในเจเนอเรชั่นของเรา ที่ผมให้ความสำคัญกับรัฐสวัสดิการ มันไม่ใช่แค่ผม ผมคิดว่าคนครึ่งโลกกำลังสู้เพื่อสิ่งนี้ ไม่ว่าเขาจะเรียกมันว่าอะไร สังคมที่เท่าเทียม ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สู้เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น แต่หลักใหญ่ใจความที่รวมทั้งหมดเข้าด้วยกันคือแนวคิดรัฐสวัสดิการ ซึ่งจะทำให้เราเปลี่ยนจากมนุษย์ที่ถูกระบบทุนนิยมทำให้กลายเป็นเครื่องจักรให้กลับมาเป็นมนุษย์มากขึ้น มีศักดิ์ศรีมากขึ้น และมีเสรีภาพในการเลือกมากขึ้น"

ษัษฐรัมย์ กล่าวว่า การสร้างรากฐานความคิดรัฐสวัสดิการนับเป็นเรื่องเร่งด่วน ประชาชนต้องเข้าใจว่ามันคือเป็นสิทธิ ไม่ใช่การสงเคราะห์ เขายกตัวอย่างว่าไม่มีใครรู้ว่าการกำหนดคุณสมบัติขั้นต่ำในการทำงานและรับเงินเดือนโดยใช้ปริญญาตรีเป็นเกณฑ์เกิดขึ้นได้อย่าไร มันเป็นลักษณะที่ค่อนข้างเฉพาะมากในไทยหรือบางประเทศในภูมิภาคนี้ ซึ่งมันสร้างความเชื่อว่าต้องจบปริญาตรีจึงจะมีชีวิตที่ดีได้

"แต่เงื่อนไขการจะจบปริญญาตรี คุณต้องลงทุนเอง ต้องกระเสือกระสนเอง แล้วทำให้กลุ่มทุนต่างๆ ขยายตัวขึ้นจากความไม่เท่าเทียมกันทางการศึกษา ถ้าเราสามารถสร้างภาคีบริษัทต่างๆ ที่เอาคุณสมบัติข้อนี้ออกไป มันจะทำให้คนที่ต้องแบกรับความเสี่ยงจากการไม่เท่าเทียมกันทางการศึกษามีน้อยลง มันทำให้เราพูดกันตรงไปตรงมาได้ว่า ไม่ว่าคุณจะจบปริญญาตรีหรือไม่ คุณก็ควรสามารถมีชีวิตที่ดีได้ ไม่ต้องไปไต่บันไดปริญญา และจะทำให้ความเท่าเทียมอื่นๆ ตามมา"

 

วิภาพรรณ วงษ์สว่าง

'Safety Net ที่รองรับทุกคน'

วิภาพรรณ อายุ 25 ปี เจ้าของเพจ Thai Consent และสมาชิกหลักกลุ่ม New Ground ซึ่งมีอาชีพหลักเป็นนักออกแบบกราฟฟิกและบอร์ดเกม กล่าวว่า อนาคตประเทศไทยที่เธออยากเห็น คือ ประเทศไทยที่มี safety net หรือสวัสดิการให้กับประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง "อยากเห็นประเทศที่เกิดเราซวยขึ้นมา ประสบอุบัติเหตุหรือเป็นโรคร้ายแรง เราจะไม่สูญเสียอย่างหนัก ไม่ต้องเอาเงินเก็บที่หามาตลอดชีวิตมารักษาตัวเอง เราควรจะมีเซฟตี้เนทหรือสวัสดิการที่ทุกคนเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกว่านี้"

วิภาพรรณยังอยากให้อาชีพนักการเมืองเป็นสิ่งที่คนธรรมดา ลูกตาสีตาสีก็เข้าถึงได้ และมีโอกาสเท่าเทียมกับคนที่เกิดมาในตระกูลคนร่ำรวย ตระกูลเก่าแก่หรือตระกูลคนที่มีอำนาจ "ทำไมถ้าเกิดมาโดยมีภูมิหลังธรรมดาๆ เราคงจะฝันอย่างมากว่า อยากจะเป็นหมอหรือข้าราชการ แต่เราจะไม่ฝันเป็นนักการเมือง แล้วคนที่จะฝันเป็นนักการเมืองได้ คือคนที่มีภูมิหลังบางอย่าง เช่น มาจากครอบครัวคนรวยหรือครอบครัวที่อยู่ในอำนาจ เราอยากให้มันเป็นเหมือนอาชีพๆ หนึ่ง ที่ลูกชาวบ้านเข้ามาได้ ไม่อย่างนั้นการเมืองจะอยู่ในวังวนกงสีทางการเมือง"

วิภาพรรณอธิบายการรวมตัวกันของคนรุ่นใหม่ในครั้งนี้ว่า เป็นการเอาจริงเอาจังในแบบสตาร์ทอัพ "เรายังมีสตาร์ทอัพในโลกธุรกิจเลย แล้วทำไมจึงจะใช้ไม่ได้กับโลกการเมือง" เธอกล่าวว่า คนรุ่นเธอนั้นเกิดมาในช่วงที่มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในอัตราเร่งที่สูงมาก ซึ่งต่างไปจากรุ่นพ่อแม่ที่อยู่กับสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ "ตั้งแต่สตีฟ จอบส์ทำไอโฟนขึ้นมา ชีวิตมันเปลี่ยนไปเร็วมาก สตีฟ จอบส์มาบอกตอนเรากำลังจะเรียนจบปริญญาตรีว่า ปริญญาไม่ใช่ทุกอย่าง เราก็สงสัยว่า แล้วที่ผ่านมามันคืออะไร ทำไมเราถึงโตมาแบบที่เข้าใจว่า ไม่มีทางเลือกอื่นที่นอกเหนือจากการต้องมีใบปริญญา ในยุคพ่อแม่เรา การเปลี่ยนแปลงมันมีความเร่งที่ช้า แต่ในยุคเราคือเดือนต่อเดือน เราจึงมองว่าวิธีการรับมือกับอนาคตของคนรุ่นเรานั้นมีรูปแบบที่เฉพาะตัว เราไม่สามารถจะรับมือแบบ passive (ตั้งรับ) ที่จะรอไปเรื่อยๆ โดยหวังว่าวันหนึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ ตอนนี้เรายี่สิบห้าแล้ว จะไม่ให้ทำอะไรตอนนี้มันไม่ได้ อีกห้าปีเราก็สามสิบแล้ว"

 

กฤตนัน ดิษฐบรรจง

'สวัสดิการสุขภาพที่เท่าเทียม'

กฤตนัน อายุ 20 ปี ขณะนี้กำลังศึกษาชั้นปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงและเป็นแกนนำกลุ่มเยาวชนอาสา ทำงานกับกลุ่มวัยรุ่นผู้ติดเชื้อเอชไอวี กล่าวว่า อนาคตประเทศไทยที่เขาอยากเห็นคือ การที่คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงบริการทางสุขภาพได้อย่างเท่าเทียมกัน ทุกคนได้รับสิทธิเท่าเทียมกัน ทั้งสิทธิในการดูแลและการรักษา "ถ้าเราอยากให้ประชากรในสังคมไทยมีคุณภาพ อย่างแรกเลยคือ ทำให้พวกเขาได้เข้าถึงระบบประกันสุขภาพที่ดีตั้งแต่เกิดจนตายอย่างเท่าเทียมกัน ตอนนี้มีบัตรทอง ข้าราชการ และประกันสังคม คนที่มีบัตรทองกับประกันสังคม ก็จะได้ยาคนละตัวกัน คุณภาพไม่เท่ากัน เหมือนเป็นเรื่องชนชั้นทางด้านสุขภาพ"

เขากล่าวว่า คนรุ่นใหม่อย่างพวกเขาพร้อมกระโดดลงมาเล่นการเมือง และไม่มองว่าพวกเขาเด็กเกินไปแต่อย่างใด "คนรุ่นเก่าชอบมองพวกเราคนรุ่นใหม่ว่าเป็นตัวปัญหา เช่น ปัญหาเด็กหนีเรียน เด็กมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร เด็กท้องไม่พร้อม ต่างๆ นานา และจัดการปัญหานั้นมาจากความคิดแบบผู้ใหญ่มองเด็ก ที่มีแต่มองว่าเด็กเป็นตัวปัญหา และใช้วิธีการแบบสั่งสอน ผมว่ามันน่าจะมีวิธีการแก้ปัญหาที่ดีกว่านี้"

 

ฑิตฐิตา ซิ้มเจริญ

'เปลี่ยนแปลงสังคมด้วย Digital Native'

ฑิตฐิตา นักเขียนและนักแปลฟรีแลนซ์ วัย 24 ปี กล่าวว่า เมื่อพูดถึงอนาคตประเทศไทย สิ่งที่เธอเห็นคือความมืดมน "มันเหมือนจะไม่ให้เรากล้าฝันเกินตัวกว่าวันพรุ่งนี้เท่าไหร่ เราไม่เห็นว่ามันจะหลุดออกจากวังวนนี้ไปได้ยังไง เราโตมากับการที่การเมืองไม่ไปไหนสักที เรียกได้ว่าหยุดนิ่งเลย เราโตพอที่จะก้าวต่อไปแล้ว แต่เหมือนประเทศยังไม่ให้เราไปไหน คนรุ่นใหม่มักจะพูดว่าทำงานเก็บเงินไปอยู่เมืองนอกดีกว่าเพราะอยู่ประเทศนี้แล้วรู้สึกสิ้นหวัง"

ฑิตฐิตากล่าวว่าการที่ประเทศติดอยู่กับวังวนดังกล่าว ทำให้ความฝันของคนรุ่นใหม่ถูกจำกัดโดยคนรุ่นเก่า ซึ่งตัวเธอเองก็ประสบปัญหาดังกล่าวเช่นเดียวกัน "เรามาเป็นฟรีแลนซ์ เราจะโดนคนอื่นตอกย้ำตลอดว่าทำไมไม่ไปรับราชการ เพราะเขามองว่าราชการมั่นคง มีฐานเงินเดือนชัดเจน มีสวัสดิการให้พ่อแม่สามารถใช้ได้ มันน่าเศร้านะ ที่ประเทศนี้จะทำให้หนทางเดียวที่จะทำให้ชีวิตนี้มั่นคงคือต้องเป็นข้าราชการ เราไม่อยากเป็นข้าราชการ เราอยากทำอยางอื่น อยากไปทดลองอะไรใหม่ๆ สร้างสรรค์อะไรใหม่ๆ ซึ่งเราไม่เห็นว่าข้าราชการทำอะไรอย่างนั้นได้"

ฑิตฐิตาเชื่อว่าคนรุ่นใหม่จะสามารถต่อสู้กับแนวคิดทางการเมืองแบบเก่าได้ผ่านการสื่อสารบนโลกออนไลน์ และความคุ้นชินกับการใช้เทคโนโลยีทางการสื่อจะทำให้คนกลุ่มนี้สามารถก่อรูปความคิดคนในสังคมตามแบบที่พวกเขาต้องการได้

ตอนนี้เราก็พูดได้ว่าเราอยู่ใต้อำนาจดิบ "เราคิดว่าพลังอำนาจของคนรุ่นใหม่อยู่ที่วัฒนธรรมมและเทคโนโลยี พูดง่ายๆ คืออินเตอร์เน็ตนี่แหละจะเป็นตัวแสดงถึงอำนาจของเราได้ชัดเจนที่สุด การต่อสู้จะย้ายแพลตฟอร์มมาอยู่บนอินเตอร์เน็ตกันมากขึ้น เทคโนโลยีผสานกับวัฒนธรรมมันจะเชปความคิดคนในสังคมได้ และคนรุ่นใหม่ที่เป็น digital native เราจะรู้ว่าต้องใช้เครื่องมือชิ้นไหนเพื่อสร้างการสื่อสารในแบบที่่เราต้องการ ถึงมันไม่เห็นผลในวันนี้ แต่เมื่อมีหลายๆ คนเข้ามาช่วยเชปความคิด เชปสังคมไปพร้อมๆ กับเรา มันก็จะมีพลังมากพอที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมได้"

 

เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร

'รัฐต้องสนับสนุนทุกคนให้ทำตามความฝัน'

เท่าพิภพ อายุ 29 ปี นอกกจากการทำธุรกิจส่วนตัวและมัคคุเทศก์ เขานิยามอาชีพตัวเองอีกอาชีพหนึ่งว่านักปรุงเบียร์ จึงเลี่ยงไม่ได้ที่เขาจะพูดถึงประเด็นนี้ โดยกล่าวว่า ในอดีต ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าคราฟต์เบียร์ เพราะเบียร์ทุกชนิดเป็นคราฟต์ทั้งสิ้น ครั้นเมื่อเบียร์ถูกทำให้เป็นอุตสาหกรรม มันจึงเปลี่ยนไปสู่การผลิตขนาดใหญ่ รัฐไทยที่ลอกเลียนกฎหมายจากต่างประเทศมาคิดไปเองว่า การผลิตเบียร์มีแค่รูปแบบนี้เท่านั้น

"ทั้งที่มันสามารถผลิตแบบขนาดเล็กได้ รัฐควรส่งเสริมความสามารถของปัจเจก เรื่องนี้ถ้าเปลี่ยนได้ มันจะทำให้ศิวิไลซ์หลายอย่าง ทำไมทำไม่ได้ ก็จะมีประเด็นเรื่องคุณภาพ เดี๋ยวคนดื่มเป็นอันตราย แล้วยังมีประเด็นศีลธรรม ศาสนา ซึ่งค่อนข้างเป็นลักษณะเฉพาะของไทย ผมยอมรับประเด็นเมาแล้วขับว่าสร้างผลกระทบ แต่ก็เหมือนเรื่องเพศศึกษา ถ้าเราปิด ปล่อยให้ไปลองเอง มันก็จะยิ่งผิด รัฐไม่ควรมองประชาชนเป็นลูก ตอนนี้ทุกคนมีสิทธิคิดได้ ถ้าปัจเจกทุกคนสามารถดูแลตนเองและคิดได้ รัฐก็จะเสียทรัพยากรน้อยลง เพราะเขาสามารถยืนได้ด้วยตัวเอง ความฝันประเทศไทยผมก็มีตรงนี้อยู่ ถ้าผมเปลี่ยนเรื่องนี้ได้ เรื่องอื่นก็น่าจะเปลี่ยนได้ เพราะเรื่องนี้มันยาก มันมีกลุ่มทุนอยู่เบื้องหลัง มีเรื่องการใช้อำนาจรัฐ

"ผมอยากเห็นอำนาจอยู่กับประชาชน ปัจเจกสามารถทำอะไรได้ด้วยตัวเอง อย่างกรณีผม ผมไม่สามารถทำในสิ่งที่ผมอยากทำได้ ทุกคนมีฝัน รัฐไม่ควรมาห้ามปราม แต่ควรสนับสนุนความฝันของทุกๆ คน ผมไม่สามารถออกแบบความฝันของตัวเอง ผมอยากทำคราฟต์เบียร์ ทำยังไงให้ทุกคนสามารถทำตามฝันของตัวเองได้ มันก็ต้องมีเรื่องการศึกษา คนต้องไม่ใช่เรียนเก่ง แต่ต้องเรียนรู้เก่ง โลกมันไม่ได้มีแค่นี้ ผมคิดว่าทุกอย่างจะดีขึ้น"

การที่เท่าพิภพก้าวออกมาเป็นอีกคนหนึ่งในกระแสคนรุ่นใหม่ที่สนใจการเมืองและต้องการผลักดันความคิด ความฝันของตน เขาให้เหตุผลว่า

"ผมทนไม่ไหวแล้ว ผมเลยต้องออกมาเอง คนรุ่นใหม่อาจจะเป็นใครก็ได้ที่อยากเป็นตัวแทนกลุ่มของเขา อยากเล่นตามกฎ นี่คือคนที่มีแนวคิดทางการเมืองใหม่ จะไม่พึ่งอะไรแบบเดิมๆ แล้ว"

 

ภูวกร ศรีเนียน

'กระจายอำนาจสู่ประชาชน'

ภูวกรนักจัดรายการทีวีและนักรณรงค์การเมือง อายุ 45 ปี กล่าวว่า อนาคตประเทศไทยที่เขาอยากจะเห็นนโยบายกระจายอำนาจการบริหารไปยังส่วนท้องถิ่น เช่นการมี อบจ. อบต. เนื่องจากเขามองว่าเป็นนโยบายที่ช่วยลดช่องว่างทางสังคม ควบคู่ไปกับมาตรการการตรวจสอบที่เข้มข้นมากกว่าเดิมเพื่อปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น "หลักการกระจายอำนาจมันถูกต้องอยู่แล้ว เราควรจะยึดมันเป็นหลัก แต่ฝ่ายอนุรักษ์นิยมชอบดูถูกว่าคนในท้องถิ่นดูแลกันเองไม่ได้ ปล่อยให้มีการทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งมันก็มีอยู่จริง แต่ในอนาคตมันจะมีการตรวจสอบขึ้นมาเอง ถ้าเราไปยุบมันแล้วกลับมาสู่ส่วนกลางมันก็ไม่พัฒนาไปข้างหน้า มันอาจจะมีคอร์รัปชั่นจริง แต่เราก็ต้องสร้างการตรวจสอบ"

ในฐานะที่ตนเป็นคนรุ่นกลางระหว่างคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ ภูวธรมองว่าคนรุ่นใหม่มีวิธีคิดที่จะก้าวไปข้างหน้า คิดที่จะหาทางยุติความขัดแย้งทางความคิดที่มีมายาวนาน ในฐานะที่เคยคลุกลีอยู่ในวงการการเมืองมาก่อน ภูวกร มองว่าคนรุ่นเขามักมั่นใจในความคิดของตัวเอง จนลืมมองหาจุดร่วม และประโยชน์ของสังคม แต่คนรุ่นใหม่เป็นคนที่ปราศจากการครอบงำแบบเก่าๆ เป็นกลุ่มคนทีมีพลังบวกสูงและกล้าได้กล้าเสีย คนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ที่เขารู้จักมีแนวคิดทางการเมืองแบบ "ไม่รู้จักทักษิณ ไม่เห็นประชาธิปัตย์อยู่ในสายตา และรำคาญประยุทธ์" ซึ่งเป็นแรงผลักดันให้พวกเขาอยากเห็นการเมืองแบบใหม่ ทีี่คนเห็นต่างสามารถอยู่ร่วมกันได้ ซึ่งตัวเขาเองรู้สึกว่าการเมืองรูปแบบนี้เริ่มมีความเป็นไปได้เมื่อเราไม่พูดถึงทักษิณ

"ผมรู้สึกเหมือนกับว่าพอเราถอดทักษิณออกไป ระบบความคิดของคนอีกฝั่งเริ่มเข้ารูปเข้ารอยมากขึ้น อย่างเช่นเรื่องนาฬิกาหรูหรือกรณีคุณเปรมชัย มันค่อนข้างจะชัดเจน หลายคนเริ่มไม่ได้คิดว่าทักษิณเป็นปัญหาของการเมืองไทยอีกต่อไป ผมไม่ได้บอกว่าทักษิณไม่ดี แต่ผมคิดว่าพอเราไม่พูดถึงเขาแล้วความคิดคนในสังคมมันเข้ารูปเข้ารอยมากขึ้น"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กก.นักนิติศาสตร์สากล-แอมเนสตี้ฯ ผิดหวัง ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันซ้อมทรมาน-อุ้มหายไทย

Posted: 11 Mar 2018 10:42 PM PDT

คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากลและแอมเนสตี้ฯ ออกจกหมายเปิดผนึก รมว.ยุติธรรม ย้ำ 8 ข้อกังวล ประเด็น ร่าง พ.ร.บ. ป้องกันทรมาน อุ้มหาย ที่ไทยแก้ไขเพิ่มเติม ชี้ น่าผิดหวัง ต่ำกว่ามาตรฐานสากล ขาดหลักประกันทางกฎหมายที่ทำให้การซ้อมทรมาน อุ้มหาย เป็นเรื่องต้องห้ามในไทย

12 มี.ค. 2561 คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (International Commission of Jurists) และแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (Amnesty International) ได้นำส่งจดหมายเปิดผนึกเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายแก่ พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เพื่อย้ำเตือนและผลักดันให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติฯ โดยไม่ล่าช้า เพื่อให้เนื้อหาสอดคล้องกับพันธกรณีของไทยตามกฎหมายระหว่างประเทศ

รายละเอียดของจดหมายเปิดผนึกดังกล่าว :

 

12 มีนาคม 2561

เรียน พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง

ข้อแก้ไขเพิ่มเติมต่อร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ...

บทนำ

คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (ICJ) และแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ขอนำส่งจดหมายเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ... (ร่างพระราชบัญญัติฯ) นี้ถึงท่าน โดยจดหมายฉบับนี้มีเนื้อหาเป็นการเพิ่มเติมจากข้อเสนอแนะก่อนหน้านี้ที่ทั้งสององค์กรเสนอต่อปลัดกระทรวงยุติธรรม เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2560 ซึ่งประกอบด้วยความเห็นและข้อเสนอแนะขององค์กรที่มีต่อการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติฯ ตามเนื้อหาในขณะนั้น (โปรดดูเอกสารแนบ)

จดหมายฉบับนี้เขียนขึ้นเพื่อย้ำเตือนและผลักดันให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติฯ โดยไม่ล่าช้า เพื่อให้เนื้อหาสอดคล้องกับพันธกรณีของไทยตามกฎหมายระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ประเทศไทยได้ภาคยานุวัติเข้าเป็นภาคีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights - ICCPR) และอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (UN Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment - UNCAT) และยังได้ลงนามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance - ICPPED) และเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2560 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ยังได้มีมติเห็นชอบให้รัฐบาลไทยภาคยานุวัติเข้าเป็นภาคี ICPPED อย่างไรก็ดี รัฐบาลไทยยังไม่ได้ดำเนินการภาคยานุวัติให้แล้วเสร็จ และไม่ได้กำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจนในการส่งมอบภาคยานุวัติสารให้กับเลขาธิการสหประชาชาติตามข้อกำหนด

ตามที่องค์กรของเราได้รับข้อมูลเพิ่มเติมว่า กระทรวงยุติธรรมมีความเห็นชอบต่อการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติฯ ลงวันวันที่ 6 มีนาคม 2561 และได้เริ่มจัดให้มีกระบวนการรับฟังความเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติฯ ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 แล้วนั้น หากมีการให้ความเห็นชอบต่อร่างพระราชบัญญัติฯ ตามเนื้อหาในปัจจุบัน เรามีความกังวลเป็นอย่างยิ่งว่าเนื้อหาของกฎหมายภายในประเทศจะไม่สอดคล้องกับพันธกรณีของไทยตามกฎหมายระหว่างประเทศ ทั้งนี้ตามหลักที่ได้วางไว้ในข้อ 27 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา (Vienna Convention on the Law of Treaties) นั้น ประเทศไทยไม่สามารถอ้างกฎหมายภายในประเทศเป็นเหตุในการไม่ปฏิบัติตามพันธกรณีที่มีต่อสนธิสัญญาต่าง ๆ รวมทั้ง ICCPR UNCAT และ ICPPED อย่างน้อยเมื่อได้ทำการภาคยานุวัติแล้วได้ ประเทศไทยจึงมีหน้าที่ที่จะต้องปรับปรุงเนื้อหาของกฎหมายภายในให้สอดคล้องกับสนธิสัญญาเหล่านี้อย่างสมบูรณ์ ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เกิดข้อบกพร่องในการปฏิบัติตามพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ

ด้วยเหตุดังกล่าว เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยเร่งดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติฯ ตามข้อเสนอแนะในจดหมายฉบับนี้โดยไม่ล่าช้า

อนึ่ง การแก้ไขเพิ่มเติมล่าสุดก่อให้เกิดความกังวลเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีการตัดเนื้อหาที่เป็นหลักประกันสำคัญทางกฎหมายที่จำเป็นต่อการทำให้การทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี และการกระทำให้บุคคลสูญหาย เป็นการกระทำที่ต้องห้ามเด็ดขาดในประเทศไทย  

นอกจากนั้น ในแถลงการณ์ร่วมวันที่ 9 มีนาคม 2560 แถลงการณ์ร่วมวันที่ 26 มิถุนายน 2560 และจดหมายเปิดผนึกลงวันที่ 30 สิงหาคม 2560 ซึ่งเผยแพร่ร่วมกับองค์กรชั้นนำระหว่างประเทศและระดับประเทศหลายหน่วยงาน องค์กรของเราได้แสดงความกังวลหลายครั้งต่อข้อบกพร่องอื่น ๆ ของร่างพระราชบัญญัติฯ แต่ร่างกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมล่าสุดไม่ได้ถูกแก้ไขตามข้อกังวลเหล่านี้เลย ทั้งยังน่าผิดหวังอย่างยิ่งที่มียังมีการประกันที่ต่ำกว่าข้อกำหนดตามสนธิสัญญาต่าง ๆ ทั้งที่ข้อกำหนดเหล่านั้นจะต้องถูกนำมาบัญญัติไว้ในกฎหมายภายในประเทศ

ข้อกังวลหลักของพวกเราภายหลังการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฯ ฉบับล่าสุดประกอบด้วย

1.      หลักการไม่สามารถผ่อนปรนได้ (Non-derogability) – มาตรา 11 (ในร่างเดิม) ถูกตัดออกไปจากร่างพระราชบัญญัติฯ นับเป็นการตัดหลักประกันที่ห้ามการกระทำที่เป็นการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายโดยเด็ดขาด ซึ่งระบุให้หลักดังกล่าวไม่สามารถผ่อนปรนได้แม้ขณะมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ดังนั้น มาตรา 11 จึงควรถูกบรรจุในร่างพระราชบัญญัติฯอีกครั้ง

2.      หลักการห้ามผลักดันกลับไปเผชิญอันตราย (non refoulement) – มาตรา 12 (ในร่างเดิม) ถูกตัดออกไปจากร่างพระราชบัญญัติฯ ถือเป็นการตัดหลักการพื้นฐานตามกฎหมายระหว่างประเทศ (หลักการห้ามผลักดันกลับไปเผชิญอันตราย) ที่มีข้อห้ามการส่งบุคคลกลับไปยังสถานที่ซึ่งมีความเสี่ยงว่าบุคคลนั้นจะถูกทรมาน ได้รับการประติบัติหรือการลงโทษอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี หรือการกระทำให้บุคคลสูญหาย ดังนั้น มาตรา 12 จึงควรถูกบรรจุในร่างพระราชบัญญัติฯอีกครั้ง

3.      ความรับผิดของผู้บังคับบัญชา (Command responsibility) – การแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 32 (ในร่างเดิม) ซึ่งปรากฏในร่างพระราชบัญญัติฯ เป็นการตัดเนื้อหาที่ยืนยันความรับผิดของผู้บังคับบัญชาในกรณีที่ผู้ใต้บังคับบัญชากระทำการทรมาน ทั้งยังกำหนดกรอบความรับผิดของผู้บังคับบัญชาให้แคบลงแค่กรณีที่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำให้บุคคลสูญหายและเฉพาะกับผู้บังคับบัญชาที่ "มีหน้าที่รับผิดชอบและมีอำนาจควบคุมการกระทำซึ่งเกี่ยวข้องกับความผิดฐานกระทำให้บุคคลสูญหาย" ดังนั้น มาตรา 32 (ในร่างเดิม) จึงควรถูกบรรจุในร่างพระราชบัญญัติ ฯ อีกครั้ง ทั้งยังควรเพิ่มเติมเนื้อหาเพื่อประกันว่าผู้บังคับบัญชาจะต้องรับผิดในกรณีที่ "ทราบหรือควรทราบว่ามีการกระทำหรือจะกระทำการอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติฯ นี้ และไม่ดำเนินมาตรการที่จำเป็นและเหมาะสมเพื่อป้องกันหรือระงับการกระทำความผิดดังกล่าว"

4.      การนำคำให้การที่ได้มาจากการทรมานมาใช้ – เนื้อหาในร่างพระราชบัญญัติฯ ไม่กำหนดข้อห้ามเฉพาะต่อการรับฟังคำให้การและข้อมูลใด ๆ ที่ได้มาจากการทรมานหรือการประติบัติหรือการลงโทษอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี มาเป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดี จึงควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติฯ เพื่อห้ามอย่างชัดแจ้งมิให้มีการใช้พยานหลักฐานเช่นนั้น

5.   หลักประกันเพื่อการป้องกัน – ร่างพระราชบัญญัติฯ ไม่มีข้อบทที่เป็นการประกันเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำให้บุคคลสูญหาย การทรมาน และการประติบัติหรือการลงโทษอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี ได้แก่ การให้ทนายความและญาติสามารถเข้าเยี่ยมผู้ถูกควบคุมตัวได้ การกำหนดให้ต้องชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับชะตากรรมและสถานที่ควบคุมตัวอย่างต่อเนื่องต่อญาติและทนายความ การกำหนดให้ต้องมีทนายความระหว่างการสอบปากคำ และให้มีการบันทึกวีดิโอและ/หรือบันทึกเสียงระหว่างการสอบปากคำทุกครั้ง หลักประกันเหล่านี้ควรต้องถูกบรรจุไว้ในร่างพระราชบัญญัติฯ และควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาให้สอดคล้องกับร่างพระราชบัญญัติฯ

6.      บทนิยาม – องค์ประกอบสำคัญในบทนิยามการกระทำให้บุคคลสูญหายและการทรมานในร่างพระราชบัญญัติฯ ตามที่กำหนดในอนุสัญญา UNCAT และ ICPPED ขาดหายไป ดังนั้น ร่างพระราชบัญญัติฯ จึงควรถูกแก้ไขเพิ่มเติมตามข้อกำหนดเหล่านี้

7.      ความรับผิดทางอาญานอกเหนือจากผู้กระทำการโดยตรง – ร่างพระราชบัญญัติฯ ขาดความชัดเจนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการขยายความรับผิดทางอาญานอกเหนือไปจากผู้กระทำความผิดฐานกระทำให้บุคคลสูญหายและการทรมานโดยตรง ดังนั้นจึงควรมีการแก้ไขให้เกิดความชัดเจนว่าความรับผิดเช่นนี้ครอบคลุมนอกเหนือไปจากผู้กระทำการโดยตรงเพียงใด และกำหนดโทษอย่างเหมาะสมกับผู้ร่วมกระทำความผิดในรูปแบบต่าง ๆ

8.      การประติบัติหรือการลงโทษอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี – ร่างพระราชบัญญัติฯ มิได้กำหนดให้การกระทำที่เป็นการประติบัติหรือการลงโทษอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี เป็นความผิดทางอาญา ดังนั้น ร่างพระราชบัญญัติฯ จึงควรได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมให้การประติบัติหรือการลงโทษอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี มีความผิดทางอาญาเป็นการเฉพาะ ซึ่งการกระทำดังกล่าวนั้นเป็นการกระทำที่ต้องห้ามอย่างเด็ดขาดเช่นเดียวกับการทรมาน ตามข้อ 4 และ 7 ของ ICCPR และถือเป็นสิทธิที่ไม่สามารถผ่อนปรนได้แม้ในเวลาใดก็ตาม

เราขอเน้นย้ำถึงข้อเรียกร้องให้รัฐบาลไทยภาคยานุวัติเข้าเป็นภาคี ICPPED และพิธีสารเลือกรับต่ออนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (OP-CAT)

เรารู้สึกเสียใจอย่างยิ่งต่อการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติฯ ครั้งล่าสุด และการที่ข้อบกพร่องของพระราชบัญญัติฯ นี้ไม่ได้รับการแก้ไข ซึ่งถือเป็นการก้าวถอยหลังของรัฐบาลไทยในการดำเนินการเพื่อทำให้การทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายเป็นความผิดทางอาญาตามที่ตกปากรับคำไว้ ซึ่งเป็นการกระทำเราเคยให้ความชื่นชมและยังคงยินดีต่อความพยายามดังกล่าว

หากการดำเนินการนี้เป็นการปฏิบัติที่สอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศของไทย ย่อมถือเป็นการดำเนินการครั้งประวัติศาสตร์ เพื่อป้องกันการละเมิดอันร้ายแรง และการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหาย

ทั้งนี้ รัฐบาลจำเป็นต้องแก้ไขการลดทอนเนื้อหาครั้งนี้ และดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหาของร่างพระราชบัญญัติฯ ให้สอดคล้องอย่างสมบูรณ์ตามข้อกำหนดของ ICCPR UNCAT และ ICPPED

องค์กรของเรายังคงมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกับรัฐบาลไทยในการดำเนินการเกี่ยวกับร่างพระราช บัญญัติฯ และยินดีอย่างยิ่งที่จะให้ข้อเสนอแนะหรือตอบคำถามใด ๆ เกี่ยวกับเนื้อหาของจดหมายฉบับนี้

เราจะยินดีเป็นอย่างยิ่งถ้าท่านจะให้ความสำคัญอย่างเร่งด่วนในประเด็นนี้

ขอแสดงความนับถือ

 
Ian Seiderman
 
ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายและนโยบาย
 
คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (ICJ)
 
 
Ashfaq Khalfan
 
ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายและนโยบาย
 
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล

 

สำเนาถึง:

นายดอน ปรมัตถ์วินัย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

กระทรวงการต่างประเทศ

443 ถนนศรีอยุธยา

ราชเทวี

กรุงเทพฯ 10400

 

ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ

ปลัดกระทรวงยุติธรรม

กระทรวงยุติธรรม

เลขที่ 120 หมู่ 3

อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่

กรุงเทพฯ 10210

 

นางสาวปิติกาญจน์ สิทธิเดช

อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ

กระทรวงยุติธรรม

เลขที่ 120 หมู่ 3

อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่

กรุงเทพฯ 10210

 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ธงชัย วินิจจะกูล: ข้อสังเกตเกี่ยวกับนิยายประวัติศาสตร์ของไทย

Posted: 11 Mar 2018 10:09 PM PDT

บางตอนจาก: ธงชัย วินิจจะกูล, "งานทางปัญญาในสังคมจนปัญญา", ปาฐกถา "ศิลปะกับสังคม" 2559, ณ สถาบันปรีดีพนมยงค์, 24 กันยายน 2559, ตีพิมพ์ในหนังสือ, ปรีดีศึกษาและปาฐกถาศิลปกับสังคม, กรุงเทพฯ: มูลนิธิปรีดี พนมยงค์ และ สถาบันปรีดี พนมยงค์, 2560.

………


ถ้าหากในทางเศรษฐกิจ ประเทศไทยติดกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ในทางการเมือง ในขณะที่พลเอกประยุทธ์ชอบกล่าวว่า เราติดกับดักประชาธิปไตย หมายถึง มัวแต่คิดถึงประชาธิปไตย ผมกลับเห็นว่า เราติดกับดักกึ่งประชาธิปไตยต่างหาก กล่าวคือ ประมาณ 30-40 ปีที่ผ่านมาเราพยายามไปให้พันภาวะประชาธิปไตยครึ่งใบที่มาในรูปต่างๆ มีทีท่าว่าจะพ้นไปได้เมื่อสถาบันการเมืองประชาธิปไตย เช่น การเลือกตั้ง พรรคการเมือง รัฐธรรมนูญ รัฐสภา ฯลฯ มั่นคงขึ้น แต่สุดท้ายก็ไม่สำเร็จ

ระบอบการเมืองในอนาคตใกล้ๆนี้ คาดได้ไม่ยากว่าจะอยู่ในลักษณะประชาธิปไตยปลอมๆ แน่นอน หมายความว่า 40 ปีที่ผ่านมากับอีก 10-20 ปีข้างหน้าเป็นอย่างน้อย การเมืองไทยติดกับดักกึ่งประชาธิปไตยในรูปต่างๆและไปไม่พ้นภาวะนี้

ผมเห็นว่า ในด้านวัฒนธรรมทางปัญญาความรู้ สังคมไทยเติบโตพัฒนาการด้านนี้มาระดับหนึ่ง แต่ลงท้ายก็ติดกับดักวัฒนธรรมทางปัญญาระดับปานกลางหรือระดับ "พอเพียง" ซึ่งผมขอเรียกว่า "สังคมจนปัญญา" เราไปไม่พ้นภาวะดังกล่าวนี้ ตัวอย่างหลายกรณีที่จะกล่าวถึงในที่นี้น่าจะชี้ให้เห็นภาวะสังคมจนปัญญาในหลายๆ ด้าน 

เรามาเริ่มต้นดูที่กรณีรูปธรรมสำคัญๆ ด้านต่างๆ ที่พอจะเป็นตัวชี้วัดกันก่อนดีกว่า

กรณีที่ 1 นักศึกษาไทยอ่านหนังสือไม่เป็น …

กรณีที่ 2 สื่อมวลชน …

กรณีที่ 3 มหาวิทยาลัย …

กรณีที่ 4 มนุษยศาสตร์ …

กรณีที่ 5 นักแสดงตลกเสียดสี …


กรณีที่ 6 นิยายประวัติศาสตร์

ทำไมนิยายประวัติศาสตร์ดีๆ ไม่มีและเกิดยากในสังคมไทย? ตอบ: เพราะประวัติศาสตร์ไทยศักดิ์สิทธิ์เกินไปตายตัวเกินไป เป็นกรอบและเพดานจำกัดจินตนาการและศิลปะที่อิงกับประวัติศาสตร์ แม้กระทั่งนักวิชาการที่พบความรู้ใหม่ๆ แต่แย้งความรู้มาตรฐานที่รัฐและกรมวิชาการยึดถือ จะเสนอให้เปลี่ยนแปลงก็ยากแสนยาก ถ้าไม่เชื่อลองถามคุณสุจิตต์ วงษ์เทศดู

เรารู้จักแต่อดีตหรือประวัติศาสตร์ชนิดที่ถือว่าเป็นความจริงแบบศักดิ์สิทธิ์ ไม่ใช่ประวัติศาสตร์ชนิดที่เป็นผลผลิตของคำถาม ตีความ ให้เหตุผล มุมมอง จินตนาการ มิต้องพูดถึงประวัติศาสตร์ในแง่ที่เป็นเรื่องแต่ง หรือเป็นวรรณกรรมชนิดหนึ่ง เพราะความรู้ประวัติศาสตร์ที่ผลิตขึ้นใน 100 ปีที่ผ่านมามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างชาติ ต่อการดำรงอยู่ของชาติ ต่อสถานะและอำนาจของชนชั้นนำในสังคมไทย

ด้วยเหตุนี้องค์ประกอบสำคัญๆ ของอุดมการณ์ความเชื่อทางประวัติศาสตร์จึงเป็นสิ่งห้ามหักล้างห้ามปฏิเสธ ได้แก่เรื่องเล่าแม่บท โครงเรื่อง มโนทัศน์หลักและกรอบความคิดที่ใช้เข้าใจอดีต เหตุการณ์สำคัญๆ ที่เป็นตัวแทนสร้างความหมายให้แก่อดีตของไทย (อาทิ เช่น เรื่องของพ่อขุนรามคำแหงและจารึกหลักที่ 1 การประกาศอิสรภาพของพระนเรศวรและการชนช้าง เป็นต้น) เพราะอุดมการณ์ราชาชาตินิยมย่อมถูกกระทบกระเทือนสั่นคลอน คุณลักษณะเช่นนี้เองที่ผมเรียกว่าเป็นความรู้ประวัติศาสตร์ชนิดที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์

เราจึงมีนิยายประวัติศาสตร์ที่ใช้ประวัติศาสตร์ในแค่ 2 แบบหลักๆแค่นั้นคือ

แบบที่หนึ่ง ใช้ประวัติศาสตร์เป็นแค่ฉากหลังของเรื่องโรแมนซ์รักริษยาอาฆาต หมายถึงเรื่องโรแมนซ์ที่สามารถใส่ลงไปบนฉากหลังชนิดใดๆ ก็ได้ไม่ว่าปัจจุบันหรืออดีต ไม่ว่าไทย ล้านนา อียิปต์ ออสเตรีย อังกฤษ ฯลฯ เรื่องเหล่านั้นก็ยังสามารถดำเนินไปได้เช่นเดิม ประวัติศาสตร์ไทยที่ตายตัวเป็นฉากหลังของโรมานซ์ที่เป็นสากล นั่นหมายความว่า "นิยายประวัติศาสตร์" ของไทยมี foreground หรือตัวเรื่องที่ไม่เป็นประวัติศาสตร์เลย ตัวเรื่องไม่ต้องเกี่ยวพัน (engage) กับประวัติศาสตร์เลย แต่ background หรือฉากหลังต่างหากที่ต้องพยายามทำให้ถูกต้องตามที่เชื่อกันว่าเป็นความจริงในอดีตมากที่สุด foreground จะเป็นอย่างไรก็ได้ตราบเท่าที่ไม่ไปแตะต้อง ไม่ engage กับประวัติศาสตร์ที่เป็นฉากหลังซึ่งศักดิ์สิทธิ์นอกเหนือการตีความหรือใช้จินตนาการ

แบบที่สอง ใช้กรอบตายตัวของชาตินิยมหรือราชาชาตินิยมผลิตนิยายวีรกรรมปกป้องชาติบ้านเมืองให้พันจากอันตรายด้วยน้ำมือของต่างชาติและของผู้ร้ายภายในชาติ วีรกรรมนี้เกิดในยุคสมัยใดก็ได้แม้แต่ในยุคที่ยังไม่มีชาติก็ตาม จะจินตนาการตัวละครผู้รักชาติอย่างไรก็ได้ตราบเท่าที่อยู่ภายใต้กรอบดังกล่าว นิยายประวัติศาสตร์ทั้งสองแบบจะถูกประเมินตรวจสอบ ชื่นชมหรือตำหนิติเตียนตรงที่ความถูกต้องมากหรือน้อยต่อ "ความจริง" ทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเอาเข้าจริงหมายถึงถูกต้องตรงตามความเชื่อที่มีอยู่ทั่วไปในสังคมไทย ถูกต้องลงรอยกับเรื่องเล่าแม่บท โครงเรื่องและมโนทัศน์หลัก

ดังนั้นนิยายประวัติศาสตร์ไทยจึงห้ามใช้จินตนาการตีความประวัติศาสตร์เกินขอบเขต ไม่ใช้จินตนาการไปยุ่งกับประวัติศาสตร์เลยก็ดี อนุญาตให้ใช้จินตนาการได้กับตัวเรื่องเท่านั้นเพราะไม่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ หรืออนุญาตให้ใช้กับรายละเอียดเพื่อทำให้ "ความจริง" ตามที่เชื่อกันมีชีวิตขึ้นมา ไม่สั่นคลอนไม่ท้าทายต่ออุดมการณ์ทางประวัติศาสตร์ ไม่กระทบกระเทือนเรื่องราวแม่บท ไม่เปลี่ยนโครงเรื่อง ไม่สงสัยตั้งคำถามกับมโนทัศน์และคุณค่าต่างๆ ที่ประวัติศาสตร์เป็นฐานรองรับอยู่

แต่ความรู้ประวัติศาสตร์และนิยายประวัติศาสตร์ในภาษาอื่นๆ มากมายได้พัฒนาการเลยออกไปไกลโขจากความรู้ที่ค้ำจุนชาตินิยมค้ำจุนอำนาจ ความรู้ประวัติศาสตร์ในสังคมที่มีวุฒิภาวะทางปัญญาเป็นความรู้วิพากษ์วิจารณ์ เพื่อสร้างบุคคลที่มีคุณภาพทางปัญญา รู้จักแยกแยะหลักฐานข้อมูล รู้จักฟังหูไว้หูไม่เชื่ออะไรง่ายๆ ไม่ยอมรับความศักดิ์สิทธิ์หรือการอวดอ้างใดๆ ง่ายๆ

ความรู้ประวัติศาสตร์ชนิดนี้เป็นผลผลิตของปัจจุบันที่ตั้งคำถามแล้วหาหลักฐานเพื่ออธิบายความเปลี่ยนแปลงในเรื่องหนึ่งๆ คำถาม มุมมอง มโนทัศน์ โครงเรื่องและการอธิบายจึงเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา จินตนาการกับการตีความแยกกันไม่ออกและจำเป็นอย่างมากต่อการสร้างคำอธิบายทางประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ตามการศึกษาความรู้ทางประวัติศาสตร์ยังต้องอิงอยู่กับหลักฐาน การตีความและจินตนาการจะไปได้ไกลเท่าที่มีหลักฐานประกอบ ความแตกต่างกับนิยายประวัติศาสตร์อยู่ตรงนี้ 

ในขณะที่ประวัติศาสตร์ตามหลักวิชาการมีข้อจำกัดด้วยหลักฐาน ไม่สามารถจินตนาการหรือตีความเกินกว่าที่สนับสนุน ตรงนี้เองคือภารกิจของนิยายประวัติศาสตร์ที่ดี กล่าวคือต้องอาศัยความรู้ประวัติศาสตร์เป็นฐาน เป็นจุดเริ่มต้นที่จะจินตนาการเลยออกไปจากที่หลักฐานอนุญาต เลยออกไปจากเพดานจำกัดของหลักฐาน เพื่อช่วยให้สามารถจินตนาการถึงความน่าจะเป็น สร้างความเข้าใจที่น่าจะเป็นในประวัติศาสตร์โดยไม่จำเป็นที่เราต้องถือว่าเป็นความจริง นิยายประวัติศาสตร์ที่ดีจึงสามารถช่วยให้ผู้อ่านผู้เสพนิยายนั้นเติบโตทางปัญญาขึ้นไปอีก คิดต่ออดีตได้หลากหลายแง่มุมมากขึ้นไปอีก

การวิพากษ์วิจารณ์คุณค่าของนิยายประวัติศาสตร์ที่ดีจึงไม่ได้อยู่ตรงที่ความสามารถของนิยายนั้นที่จะตอกย้ำขนบหรือกรอบความเชื่อเดิมๆ แต่อยู่ที่ความสามารถของนิยายนั้นที่ช่วยให้เราสามารถเห็นอดีตเลยออกไปจากขนบหรือกรอบความเชื่อเดิม ก้าวล่วงเข้าไปสู่ดินแดนที่นักประวัติศาสตร์ไม่สามารถเข้าไปถึงได้


กรณีสุดท้าย การถกเถียงแบบพวกเคร่งศาสนาในหมู่นักต่อสู้ทางการเมือง …

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กวีประชาไท: แด่..ทุกความตายที่เงียบงัน

Posted: 11 Mar 2018 08:53 PM PDT



"มากินข้าวกินปลาสิลูกเอ๋ย
ของโปรดลูกทั้งนั้นเลยแม่หาให้"
ธูปหนึ่งดอก บ่นพึมพำ ซ้ำซ้ำไป
หน้ากรอบรูปของลูกชายที่ลับลา

แค่ชีวิตที่สูญหายของหนุ่มสาว
และเรื่องราวหลายเรื่องราวคนไร้ค่า
อคติความเกลียดชังมาบังตา
ฆาตกรรมกลางแดดจ้า..จึงไม่มี

เมื่อความจริงถูกสร้างใหม่ในแบบอื่น
ทุกนิยามจึงพังครืนอยู่ที่นี่
ยุติธรรมสิ้นสลายในทันที
ประวัติศาสตร์ไม่เหลือที่ให้บางคน

"มากินข้าวกินปลาเสียนะลูก
เกิดชาติหน้ามาพันผูกกันอีกหน"
แม่รำพัน พูดซ้ำซ้ำ กับลูกตน
ในกรอบรูป สีซีดหม่น บนชั้นวาง

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

14 ปี 'ทนายสมชาย นีละไพจิตร' ถูกอุ้มหาย 'อังคณา' แถลง 14 ปี ไร้ซึ่งความยุติธรรม

Posted: 11 Mar 2018 08:42 PM PDT

ภรรยาทนายสมชาย ย้ำ ผ่านมา 14 ปี ได้เรียนรู้ว่า ไม่ว่ารัฐบาลพลเรือน หรือรัฐบาลทหาร รัฐบาลคนดี/คนไม่ดี การอำนวยความยุติธรรมแก่ผู้เสียหายจากอาชญากรรมโดยรัฐไม่เคยเกิดขึ้นจริง และการงดเว้นโทษกรณีที่ผู้กระทำผิดเป็นเจ้าหน้าที่รัฐจะยังคงเกิดขึ้นต่อไป

12 มี.ค.2561 เนื่องในวันครบรอบ 14 ปี ที่ สมชาย นีละไพจิตร อดีตประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม ซึ่งว่าความให้ผู้ต้องหาคดีในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ถูกทำให้เป็นบุคคลสูญหายโดยเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเขาถูกอุ้มหายเมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2547 และไม่มีใครพบร่างของเขาอีกเลยตั้งแต่วันนั้น

วันนี้ (12 มี.ค.61) อังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในฐานะครอบครัวสมชาย ออกแถลงการณ์ 14 ปี ไร้ซึ่งความยุติธรรม โดยระบุว่า หลังศาลฎีกายกฟ้องเจ้าหน้าที่ตำรวจ 5 นายในข้อหากักขังหน่วงเหนี่ยว สมชาย เมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 58 ตนตั้งใจว่าจะเลิกทวงถามการดำเนินการติดตามหาตัวทนายสมชายจากรัฐ แต่ในฐานะพลเมืองที่ถูกละเมิดสิทธิ ตนจะเฝ้ามองการดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจของรัฐในการอำนวยความยุติธรรมให้แก่สมชายและครอบครัว

อังคณา โพสต์ภาพที่ตนเองวางช่อดอกไม้เพื่อรำลึกถึงสมชาย ไว้ข้างถนน พร้อมโพสต์แถลงการณ์ดังกล่าว

อังคณา แถลงว่า ผิดหวังและเสียใจอย่างยิ่งเมื่อปีที่ผ่านมา กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ได้มีหนังสือถึงครอบครัวเพื่อแจ้งงดการสอบสวนคดีสมชาย หลังจากที่กรมสอบสวนคดีพิเศษรับคดีการฆาตกรรมสมชายเป็นคดีพิเศษ และใช้เวลาในการสืบสวนสอบสวนยาวนานถึง 12 ปี โดยหนังสือของกรมสอบสวนคดีพิเศษได้แจ้งครอบครัวให้ทราบด้วยข้อความเพียงสั้นๆเพียงว่า "การสอบสวนคดีสมชายได้เสร็จสิ้นแล้ว โดย กรมสอบสวนคดีพิเศษมีความเห็นควรงดการสอบสวนเนื่องจากไม่ปรากฏตัวผู้กระทำผิด" พูดง่ายๆ คือ เมื่อหาคนผิดไม่ได้ก็จบๆ ไป

นับแต่ DSI รับคดีสมชายเป็นคดีพิเศษ นั้น อังคณา ระบุว่า ตนเชื่อว่ากรมสอบสวนคดีพิเศษไม่เคยมีความเต็มใจในการคลี่คลายคดีสมชาย ซึ่งมีผู้ต้องสงสัยเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ถ้ายังจำกันได้เมื่อปลายปี 2556 อดีตผู้อำนวยการสำนักคดีอาญาพิเศษ ได้ให้ข่าวแก่สาธารณะว่า แฟ้มเอกสารคดีสมชายหายไป แต่ต่อมาอีกไม่ถึงสัปดาห์ กรมสอบสวนคดีพิเศษได้ออกมาให้ข่าวอีกครั้งว่าแฟ้มคดีสมชายไม่ได้หายไปไหน การไม่ให้ความสำคัญว่า การที่คนๆ หนึ่งถูกอุ้มฆ่าโดยเจ้าหน้าที่รัฐเป็นเรื่องร้ายแรงที่รัฐต้องรีบเร่งดำเนินการ ทำให้กรมสอบสวนคดีพิเศษงดการสอบสวนคดีสมชายโดยไม่ใส่ใจความรู้สึกของครอบครัวและสังคม

อังคณา แถลงต่อว่า สิ่งสำคัญที่สุดในการคลี่คลายคดีอาชญากรรมโดยเจ้าหน้าที่รัฐ รัฐบาลจำเป็นต้องให้ความสำคัญ รัฐบาลต้องมีเจตจำนงทางการเมือง (Political Will) ต้องมีเจตนาที่แน่วแน่มั่นคงในการที่จะไม่ปกป้องผู้กระทำผิด สำหรับคดีสมชาย ดังที่ได้กล่าวข้างต้นแล้วว่า ดิฉันเฝ้าติดตามคดีโดยตลอดว่ารัฐจะอำนวยความยุติธรรมให้แก่ครอบครัวอย่างไร

"ผ่านมา 14 ปี ทำให้ดิฉันได้เรียนรู้ว่า ไม่ว่ารัฐบาลพลเรือน หรือรัฐบาลทหาร รัฐบาลคนดี หรือคนไม่ดี การอำนวยความยุติธรรมแก่ผู้เสียหายจากอาชญากรรมโดยรัฐไม่เคยเกิดขึ้นจริง และการงดเว้นโทษกรณีที่ผู้กระทำผิดเป็นเจ้าหน้าที่รัฐจะยังคงเกิดขึ้นต่อไป" อังคณา แถลง

สำหรับการเยียวยาด้วยตัวเงินที่รัฐให้แก่ครอบครัวสมชายนั้น อังคณา ระบุว่า เป็นแค่การสงเคราะห์ มากกว่าการสำนึกผิดในสิ่งที่รัฐได้กระทำไป สำหรับตนแล้ว สิ่งที่เหยื่อและครอบครัวต้องการคือความรับผิดชอบจากรัฐ ความรับผิดชอบหมายถึงการเปิดเผยความจริงถึงที่อยู่และชะตากรรมของผู้สูญหาย การนำคนผิดมาลงโทษตามกฎหมาย และการฟื้นฟูเยียวยาครอบครัว อาชญากรรมที่เกิดจากรัฐ รัฐต้องร่วมรับทุกข์กับเหยื่อ ไม่ใช่ปล่อยให้เหยื่อเผชิญความยากลำบากแต่เพียงลำพัง รัฐต้องไม่มืดบอดในการรับรู้ความทุกข์ยากของประชาชน การให้เงินชดใช้ความเสียหายจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ไม่ได้หมายความว่ารัฐและหน่วยงานความมั่นคงจะหลุดพ้นจากหน้าที่ที่ต้องนำตัวผู้กระทำผิดมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ที่สำคัญ การให้ค่าชดเชยด้วยเงินจำนวนมากก็ไม่อาจรับประกันได้ว่าการละเมิดเช่นนี้จะไม่เกิดขึ้นอีกในอนาคต

ภรรยาทนายสมชาย ระบุอีกว่า 14 ปีการสูญหายทนายสมชาย ได้แสดงให้เห็นถึงการแปรเปลี่ยนจากอาชญากรรมโดยเจ้าหน้าที่รัฐ มาสู่ความความไม่เป็นธรรมจากการละเลยเพิกเฉยในการอำนวยความยุติธรรมของกระบวนการยุติธรรมไทยบนพื้นฐานและการขาดเจตจำนงทางการเมืองเห็นได้จากการที่กรมสอบสวนคดีพิเศษงดการสอบสวนคดีสมชาย และสภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่รับรองพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย พ.ศ....

"ในช่วง 14 ปี ของการต่อสู้เพื่อความยุติธรรม แม้จะขมขื่นและผิดหวังแต่ดิฉันไม่เคยอาฆาตแค้น ไม่เคยมีอคติหรือความเกลียดชัง เวลาที่ผ่านไปทำให้รู้จักอดทน มีเมตตา และยืนหยัดในการต่อสู้เพื่อความยุติธรรมที่ไม่ใช่แค่เพียงตัวเองและครอบครัว แต่หมายถึงการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ทุกคนเสมอภาคกันทางกฎหมาย และผู้กระทำผิดต้องรับโทษตามกระบวนการยุติธรรม" อังคณา แถลง พร้อมระบุว่า สมชาย ไม่ต่างจากผู้สูญหายอีกมากมายที่ไม่มีใครทราบที่อยู่และชะตากรรม ไม่มีหลุมศพให้รำลึกถึง

"วันนี้ ดิฉันจึงขอวางช่อดอกไม้เพื่อรำลึกถึงสมชาย นีละไพจิตร ทนายความสิทธิมนุษยชนไว้ข้างถนนเพื่อให้คนที่ผ่านไปมาที่อาจมีโอกาสได้พบเขา ได้โปรดฝากความรักและความระลึกถึงจากครอบครัวไปยังเขาด้วย" อังคณา ระบุท้ายคำแถลงเนื่องในวันครบรอบ 14 ปี ที่ สมชาย ถูกทำให้เป็นบุคคลสูญหายโดยเจ้าหน้าที่รัฐ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แถลงความ(ไม่)คืบหน้าคดีวิสามัญ 'ชัยภูมิ ป่าแส' ทนายเผย 1 ปียังไร้ภาพจากกล้องวงจรปิด

Posted: 11 Mar 2018 07:50 PM PDT

แถลงข่าวความ(ไม่)คืบหน้าคดีวิสามัญ 'ชัยภูมิ ป่าแส' ยังตามหายุติธรรม ทนายเผยยังไม่มีภาพจากกล้องวงจรปิดให้ศาลเห็น แม้แม่ทัพภาค 3 เคยบอกเห็นแล้วถึงกับลั่นถ้าเป็นตน "กดออโต้ได้"

บรรยากาศกิจกรรม โดย คุณ Parichart แม้ว Pholperm

เมื่อวันที่ 10 มี.ค.ที่ผ่านมา เวลา 15.00 น. ที่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (ชั้น 1) กรุงเทพฯ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน สโมสรพื้นที่นี้…ดีจัง และกลุ่มดินสอสี ร่วมจัดกิจกรรม แถลงข่าวความ(ไม่)คืบหน้าคดี "รำลึก 1 ปี ชัยภูมิ ป่าแส ยังตามหายุติธรรม" โดย รัษฎา มนูรัษฎา อุปนายกสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน หัวหน้าคณะทนายคดีชัยภูมิ ป่าแส อังคณา นีละไพจิตร คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ไมตรี จำเริญสุขสกุล กลุ่มรักษ์ลาหู่ เชียงใหม่ และ ศิริพร พรมวงศ์ กลุ่ม Music Sharing คลองเตยดีจัง ตัวแทนเครือข่ายพื้นที่นี้...ดีจัง วางอ่อเวะ (ดอกเสื้อลาหู่) อ่านคำรำลึกจะอุ๊ ชัยภูมิ พร้อมทั้ง ติดตามศาลจังหวัดเชียงใหม่ สืบคดีและสืบพยาน ไต่สวนการตาย คดีชัยภูมิ ระหว่างวันที่ 13-16 มี.ค. และ 20 มี.ค.นี้ และกิจกรรมคิดถึง จะอุ๊ ในช่วง 2 สัปดาห์นี้

แม่ทัพภาค 3 เคยบอกเห็นภาพจากกล้องวงจรปิด ลั่นถ้าเป็นตน "กดออโต้ได้"

สำหรับ ชัยภูมิ เป็นนักกิจกรรมชาวลาหู่ อายุ 17 ปี ที่ถูกเจ้าหน้าที่ทหารวิสามัญฆาตกรรม ณ ด่านตรวจบ้านรินหลวง ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ในวันที่ 17 มี.ค.60 แต่ปัจจุบันคดีนี้กำลังอยู่ระหว่างไต่สวนการตาย โดยก่อนหน้านี้ สุมิตรชัย หัตถสาร ทนายความศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น และทนายความของครอบครัวชัยภูมิ กล่าวว่า จนถึงตอนนี้ยังไม่เห็นภาพจากกล้องวงจรปิด โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจเคยได้ฮาร์ดดิสก์กล้องวงจรปิดจากทหารแล้วแต่ก็เปิดนำภาพออกมาไม่ได้ และได้พยายามขอให้ทหารส่งมาใหม่ตั้งแต่ก่อนที่เรื่องจะถึงอัยการแล้ว โดยต้นปีนี้สุมิตรชัยจะขอให้ศาลออกหมายขอภาพจากกล้องวงจรปิดไปยังหน่วยที่ตั้งอยู่ ณ ที่เกิดเหตุ และทำสำเนาให้กับ พล.ท.วิจักขฐ์ สิริบรรสพ แม่ทัพภาพที่ 3 คนที่เคยระบุว่าได้เห็นภาพจากกล้องวงจรปิดแล้ว จนกระทั้งบอกว่า  "ถ้าเป็นผม ณ เวลานั้นอาจกดออโต้ได้"

ภาพวางอ่อเวะ (ดอกเสื้อลาหู่) (ที่มภาพ แมน ปกรณ์)

ทนายบอกเกือบครบ 1 ปีแล้ว ยังไม่มีภาพจากกล้องวงจรปิดให้ศาลเห็น

ในการแถลงข่าววันที่ 10 มี.ค.ที่ผ่านมา ข่าวสดออนไลน์ รายงานว่า รัษฎา ทนายความคณะทำงานคดีชัยภูมิ กล่าวว่า การที่มีคนเสียชีวิตจากการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานและทำให้เขาถึงแก่ความตาย กฎหมายกำหนดให้มีการไต่สวน ผู้ตายคือใคร ตายเวลาใด ตายที่ไหน และที่สำคัญคือเหตุและพฤติการณ์ที่ตาย กรณีของชัยภูมิ เจ้าหน้าที่ทหารอ้างว่า ชัยภูมิจะใช้ระเบิดกับเจ้าหน้าที่ทหาร เจ้าหน้าที่ทหารจึงต้องป้องกันตัว เหตุเกิดนี้มีหลักฐานสำคัญคือกล้องวงจรปิด 9 ตัว นายทหารระดับสูงเคยให้สัมภาษณ์ว่าเคยได้ดูภาพจากกล้องวงจรปิด แต่ในชั้นนี้ เกือบครบ 1 ปีแล้ว ยังไม่มีภาพจากกล้องวงจรปิดให้ศาลเห็น มีหมายเรียกจากศาล มีหนังสือแจ้งตอบจากพนักงานสอบสวนว่า ฮาร์ดดิสก์เปิดไม่ได้ แต่ยังไม่เจอหลักฐานชิ้นนี้ หมายความว่าพยานหลักฐานถูกทำให้สูญหายไป เจ้าหน้าที่พนักงานต้องสืบหาความจริง ใครเกี่ยวข้องหรือครอบครองพยานหลักฐาน และใครเป็นคนทำให้พยานหลักฐานเสียหาย นี่คือเรื่องที่เราเรียกร้อง

รัษฎา กล่าวต่อว่า สำหรับคดีของชัยภูมิ มีการอ้างว่ามีระเบิดอยู่กับผู้ตาย ไม่ต่างจากคดีที่เจ้าหน้าที่ทหารใช้เอ็ม 16 ยิง อาเบ แซ่หมู่ เสียชีวิตก่อนหน้าชัยภูมิ 1 เดือน ซึ่งอ้างว่ามีปืนเป็นอาวุธอยู่ในมือ จากการพิสูจน์ลายมือ ไม่ปรากฏลายพิมพ์นิ้วมือแฝงของ อาเบ และทางครอบครัวยืนยันว่าอาเบถนัดซ้าย แต่ปืนอยู่ในมือขวา พฤติการณ์การตายของอาเบไม่ต่างจากพฤติการณ์การตายของชัยภูมิ คดีของอาเบ มีผู้เห็นเหตุการณ์คือคนขี่รถจักรยานยนต์ ที่มารายงานกับพนักงานสอบสวนว่า ไม่มีการพยายามยิงหรือขว้างระเบิดใส่เจ้าหน้าที่ทหารแต่อย่างใด พยานบุคคลที่เป็นชาวบ้านคือคนที่พนักงานสอบสวน อัยการ ต้องให้ความเป็นธรรมกับผู้ตาย แต่อัยการกลับไปให้บุคคลที่อยู่ในที่เกิดเหตุเป็นพยานเบิกความในศาล อันนี้ต้องตั้งคำถามว่า ศาลหรืออัยการได้ทำหน้าที่เพื่อความยุติธรรมแล้วหรือยัง เหล่านี้เป็นข้อเท็จจริงที่ทนายความได้พบเห็นเอง

"ย้อนไปฟังบทสัมภาษณ์ของผู้บัญชาการระดับสูง ที่ให้ความเห็นเรื่องของชัยภูมิ ที่ระบุว่าถ้าเขาอยู่ในเหตุการณ์ เขาจะกดออโต้ หมายความว่ายิงรัว อันนี้สะท้อนให้เห็นอะไร หน้าที่ที่จะต้องเป็นกลาง ไม่เข้าข้างคนผิด ดำรงความยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ทหาร กลับสะท้อนความรุนแรง หลายต่อหลายเหตุการณ์ที่เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ทหาร ขอฝากไปเรียกร้อง กระตุ้นเตือน ว่าเจ้าหน้าที่รัฐและศาลชั้นต้น ต้องอยู่บนหลักยุติธรรม แสวงหาความจริง" รัษฎา กล่าว

อังคณา ไล่ปัญหาตั้งแต่นโยบายสงครามกับยาเสพติดปี 44

อังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า ประวัติศาสตร์ในประเด็นมายาคติ ชาติพันธุ์ ความรุนแรงและสิทธิมนุษยชน ไว้ว่า "ตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา นโยบายประกาศสงครามกับยาเสพติด มีเรื่องร้องเรียนมายังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติหลายกรณี ในกรณีการอุ้มหาย ชาติพันธุ์ลาหู่ โดยคนไทยภาคกลาง หรือคนกรุงเทพเรียกคนลาหู่ว่า "มูเซอดำ" มีความเชื่อว่าคนมูเซอดำค้ายาเสพติดเพราะอยู่ติดชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้คนลาหู่ถูกตรวจค้น ถูกสังหาร ถูกทรมาน หากไปดูในรายงานบังคับสูญหายของสหประชาชาติ 82 กรณี พบว่าเป็นชาติพันธุ์ลาหู่ประมาณ 14-15 กรณี ซึ่งเจ้าหน้าที่ไม่สามารถคลี่คลายคดี ไม่สามารถเปิดเผยความจริงถึงที่อยู่หรือชะตากรรมของพวกเขาได้"

อังคณา กล่าวต่อว่า จากการเข้าพบพูดคุยกับครอบครัวของ ไมตรี จำเริญสุขสกุล กลุ่มรักษ์ลาหู่ และชาวลาหู่ในหมู่บ้าน พบว่าเจ้าหน้าที่ยึดทรัพย์สินหรือนำตัวบุคคลไป สิ่งที่ชาวบ้านเล่าให้ฟังคือความหวาดกลัว มีผู้หญิงคนหนึ่งเคยเล่าให้ฟังว่า อุ้มคนเป็นคนเดียวทำให้กลัวกันทั้งหมู่บ้าน ชัยภูมิเป็นเด็กรุ่นใหม่ ในช่วงสงครามยาเสพติดที่ผ่านมา ตอนนั้นเขาอาจจะยังเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่ได้พบว่าเด็กรุ่นใหม่ของชาติพันธุ์ลาหู่มีการรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมสาธารณะ เพื่อพิสูจน์ให้สังคมเห็นว่า ความเป็นชาติพันธุ์ที่มีวัฒนธรรมประเพณีแตกต่าง ไม่ได้แปลว่าเขาจะเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย หลายคนไม่มีสัญชาติไทย การเรียกร้องรณรงค์ให้ได้สัญชาติไทยก็จะทำให้เด็กๆได้เข้าถึงสิทธิฯ"

"สิ่งที่เขาฝันคือการไม่ถูกเลือกปฏิบัติ สามารถเข้าถึงการศึกษาได้อย่างเท่าเทียม ตอนได้คุยกับครูของชัยภูมิ ครูยืนยันว่าชัยภูมิเป็นเด็กดี รับจ้างเก็บกาแฟ ได้เงินมาก็ฝากสหกรณ์ ช่วยเหลืองานโรงเรียนทุกอย่าง ในความเป็นครู ครูไม่เชื่อว่าเขาจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติด และไม่เชื่อว่าชัยภูมิจะใช้ความรุนแรงต่อเจ้าหน้าที่ ซึ่งเรื่องเล่าแบบนี้ คนข้างนอกอาจจะไม่ทราบ สิ่งที่เป็นปัญหาตอนนี้กับคดีวิสามัญฆาตกรรมคือความคลุมเครือ ทุกฝ่ายก็เรียกร้องให้เผยกล้องวงจรปิดว่าช่วงที่ถูกวิสามัญฯ เกิดอะไรขึ้น ข้อหาที่เกิดขึ้นว่าเขาเกี่ยวข้องกับยาเสพติดมันกระทบกับชุมชนของเขาด้วย ทั้งนี้การกระทำที่เกิดขึ้นโดยรัฐ รัฐต้องคลี่คลายคดี เปิดเผยความจริงอย่างเป็นธรรม ไม่เห็นแก่หน้าใคร ไม่อย่างนั้นแล้ว ความไม่ไว้วางใจก็จะเพิ่มขึ้น" กรรมการสิทธิมนุษยชน กล่าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กวีประชาไท: ถึง.. ' นั ก ท ว ง คุ ณ '

Posted: 11 Mar 2018 05:49 PM PDT

แผ่นดินนี้ พ่อมึงได้อะไรฟรี
แผ่นดินนี้ แม่มึงได้อะไรบ้าง
โดยมิต้องลำบากถากหนทาง
โดยมิสร้าง โดยมิสู้ รู้แต่รับ

ต้องแทนน้ำข้าวขุน แทนคุณใคร
ชีวิตหนึ่ง เหนื่อยเท่าไรทั้งไปกลับ
ที่อด-อิ่ม ยิ้ม-น้ำตา คณานับ
ใครหยิบจับหาให้แดก..ใครแจกมึง ฯ!

 

 

หมายเหตุ: 'บางครั้งการประจญกับสิ่งแย่ๆ ความละเมียดละไมและศิลปะก็เป็นสิ่งที่สูงเกินใช้
ความแย่ที่แย่กว่า หยาบต่ำกว่า ก็ยังมีความจำเป็นเสมอ'..(ทัศนะส่วนตัว)*

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น