ประชาไท | Prachatai3.info |
- ชวนตีป้อม 'ธนาธร ปิยบุตร' ท้า บก.ลายจุด ดวล RoV
- 'สหพันธ์แรงงานสิ่งทอ' แถลงวันสตรีสากล ย้ำ 'หยุดละเมิดสิทธิสตรี ปีนี้ต้องเลือกตั้ง'
- 'คนต้นไม้ในเมือง' ร้อง ก.ล.ต. สอบ บ.อิตาเลียนไทย หลังตัดต้นไม้โดยไม่รออนุมัติ หน้า ม.เกษตรฯ
- วงถกปม 'แม่ผลักลูก 2 ขวบตกคลองดับ' ชี้สะท้อนสังคมขาดระบบช่วยครอบครัวที่ในภาวะยากลำบาก
- กลุ่มรักษ์อำเภอวานรนิวาส ใช้พิธีกรรมต่อสู้เพื่อต้านเหมืองแร่โปแตช
- ปลัดแรงงานเผย รัฐบาลเล็งให้สัตยาบรรณ ILO และพิจารณากฎหมายแรงงานใหม่
- สุรพศ ทวีศักดิ์: รัฐโลกวิสัยคืออะไร
- การสอบบาลีสนามหลวงบริสุทธิ์ยุติธรรมจริงหรือ?
- นิธิ เอียวศรีวงศ์: สถาบันกษัตริย์ใน The Crown
- 1 ในผู้ต้องหาป่วย ศาลทหารเลื่อนสอบ 19 แกนนำ นปช. คดีเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติ
- วิญญัติ ชาติมนตรี: ย้อนหลัง ลับหลัง ถอยหลัง ขัดหลักความยุติธรรมและนิติธรรมสากล
- ILO เปิดผลศึกษาแรงงานประมง-อาหารทะเลในไทย มีทั้งความก้าวหน้าและการละเมิดที่ยังพบอยู่
- อันธิฌา แสงชัย: สิทธิทางเพศ กับสันติภาพชายแดนใต้ คือเรื่องเดียวกัน
- ศรีลังกาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหลังมีกลุ่มหัวรุนแรงก่อเหตุจู่โจมชุมชนชาวมุสลิม
- แม่น้องอั่งเปาเผยสิทธิบัตรทองช่วยลูกป่วยโรคคาวาซากิ ลดภาระครอบครัวจากค่ารักษาแพง
ชวนตีป้อม 'ธนาธร ปิยบุตร' ท้า บก.ลายจุด ดวล RoV Posted: 07 Mar 2018 11:08 AM PST ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประกาศจับมือ ปิยบุตร ท้า สมบัติ บุญงามอนงค์ แข่งเกม MOBA Mobile สุดฮิตอย่าง RoV ลั่นไม่ได้ล้ำเส้น แต่อย่าเล่นซ้ำ เบื่อข้อหาเดิมๆ 8 มี.ค.2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ เมื่อเวลา 1.25 น. ที่ผ่านมา ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ รองประธานบริหารกลุ่มบริษัทไทยซัมมิท ว่าที่นักการเมืองหน้าใหม่ ที่ีมีกระแสข่าวว่าจะตั้งพรรคการเมืองใหม่ขึ้นมา โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัวในลักษณะสาธารณะระบุว่า ตนเอง กับ ปิยบุตร แสงกนกกุล วิชาการด้านนิติศาสตร์ จากกลุ่มนิติราษฎร์ท้าสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด แข่งเกม ROV กัน โดยให้สมบัติเป็นผู้กำหนดวัน ส่วนตนเป็นผู้กำหนดเวลา พร้อมเงื่อนไขต้อง LIVE ด้วย "ผมไม่ได้ล้ำเส้นนะครับ แต่อย่าเล่นซ้ำ ผม เบื่อข้อหาเดิมๆ ครับ" ธนาธร โพสต์ทิ้งท้ายคำท้า อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังไม่มีสัญญาตอบรับอะไรจากฝ่าย สมบัติ สำหรับ สมบัติ นั้นประกาศจัดตั้งพรรคชื่อว่า พรรคเกรียน ส่วน RoV หรือ Realm of Valor เป็นเกมแนว MOBA Mobile ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เปิดตัวไปเมื่อปลาย ธ.ค. 59
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
'สหพันธ์แรงงานสิ่งทอ' แถลงวันสตรีสากล ย้ำ 'หยุดละเมิดสิทธิสตรี ปีนี้ต้องเลือกตั้ง' Posted: 07 Mar 2018 10:37 AM PST สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ ออกแถลงการณ์วันสตรีสากล ย้ำสตรีต้องการเลือกตั้ง ทำแท้งได้อย่างปลอดภัยเมื่อไม่พร้อมมีบุตร หยุดล่วงละเมิดทางเพศ รัฐต้องรับรองอนุสัญญา ILO ฉ. 87,98 และ 183 รวมทั้งรัฐต้องกำหนดให้วันที่ 8 มี.ค. เป็นวันหยุดทั่วประเทศ แฟ้มภาพ 8 มี.ค.2561 เนื่องในวันสตรีสากล (International Women's Day) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอการตัดเย็บเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์หนังแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์ ภายใต้สโลแกน "หยุดละเมิดสิทธิสตรี ปีนี้ต้องเลือกตั้ง" โดยมีข้อเรียกร้องรณรงค์เนื่องในวันสตรีสากล 5 ข้อ ประกอบด้วย 1. สตรีต้องการเลือกตั้ง 2. ทำแท้งได้อย่างปลอดภัยเมื่อไม่พร้อมมีบุตร 3. หยุด!!!ล่วงละเมิดทางเพศ 4. รัฐต้องรับรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87,98 และ 183 รวมทั้ง 5. รัฐต้องกำหนดให้วันที่ 8 มีนาคม เป็นวันหยุดทั่วประเทศ สำหรับ อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 นั้น เป็นเรื่อง เสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว ขณะที่ ฉบับที่ 98 เป็นประเด็นการรวมตัวและร่วมเจรจาต่อรอง ส่วน ฉบับที่ 183 นั้น เป็นประเด็นว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหญิงเกี่ยวกับสิทธิความเป็นมารดาและการคลอดบุตร แถลงการณ์ของสหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ มีรายละเอ่ียดดังนี้ แถลงการณ์วันสตรีสากล วันอันยิ่งใหญ่ทางประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางชนชั้นกรรมกรหญิงทั่วโลกได้มาบรรจบครบรอบอีกครั้งหนึ่ง นั้นก็คือวันที่ 8 มีนาที่เรียกกันว่าวันสตรีสากล โดยเฉพาะกรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้า ที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ถูกนายจ้างในระบบทุนนิยม กดขี่ขูดรีดทารุณ เห็นกำไรสำคัญกว่าชีวิตของคน กรรมกรหญิงไม่ต่างอะไรกับทาส ทำงานวันละ14-16 ชั่วโมงกับได้ค่าจ้างแรงงานเพียงน้อยนิด สภาพการทำงานในโรงงานเลวร้ายหลายคนเจ็บป่วยล้มตายไร้การเหลียวแลจากนายจ้าง ทำให้กรรมกรหญิงทนไม่ได้กับระบบการกดขี่ขูดรีดจึงเกิดการลุกขึ้นสู้ โดยใช้วิธีการนัดหยุดงานและเดินขบวนในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1907 การต่อสู้ในครั้งนั้นได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางจากกรรมกรหญิงทั่วโลก สร้างความสั่นสะเทือนต่อระบบทุนนิยมทั้งโลก และได้มีการเรียกร้องชั่วโมงการทำงานให้เหลือวันละ 8 ชั่วโมง พร้อมทั้งปรับปรุงสภาพการทำงานและสวัสดิการ รวมถึงสิทธิเสรีภาพประชาธิปไตยในการรวมตัว วันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1910 มีผู้แทนสตรีจาก 18 ประเทศ ได้เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยม สมัยที่ 2 ที่จัดขึ้นที่เมืองโคเปนเฮเกน เสนอให้มีการทำงาน 8 ชั่วโมง ศึกษา 8 ชั่วโมง พักผ่อน 8 ชั่วโมง ที่เรียกว่าระบบสามแปด ค่าจ้างแรงงานระหว่างชายกับหญิงต้องเท่าเทียมกัน มีการคุ้มครองสิทธิกรรมกรหญิงและเด็ก โดยเฉพาะนักต่อสู้สตรีที่สำคัญเธอชื่อ คลาร่า แซทกิน ซึ่งเป็นนักสังคมนิยมชาวเยอรมัน เธอเป็นผู้ยืนหยัดมาตลอดว่าการโค่นล้มทุนนิยมและการสร้างสังคมใหม่คือสังคมนิยม จะเกิดขึ้นไม่ได้หากขาดพลังแรงงานกรรมกรผู้หญิง ถ้าพลังแรงงานกรรมกรหญิงยังถูกกดขี่ ขูดรีดอยู่ และไม่มีสิทธิใดๆ และเธอก็ได้เผยแพร่ความคิดสังคมนิยมไปทุกหนทุกแห่งทั่วโลก วันประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ของการต่อสู้ของกรรมกรหญิง ต้องได้รบการยกย่องจัดงานเฉลิมฉลองชัยชนะ โดยเฉพาะวันที่ 8 มีนาคม ของทุกปีต้องเป็นวันหยุดงานทั่วประเทศ เพื่อกิจกรรมการเดินขบวนรณรงค์ ยกย่องเชิดชูเกียรติประวัติการต่อสู้ของชนชั้นกรรมกรหญิง และเรียกร้องสะสางปัญหาต่างๆที่เผชิญอยู่ในสังคมทุนนิยมปัจจุบัน สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ และองค์กรสมาชิกและพันธมิตร ได้พิจารณาปัญหาต่างๆของผู้ใช้แรงงาน และพวกเราผู้ใช้แรงงานต้องการและรณรงค์เนื่องในวันสตรีสากล ดังนี้
8 มีนาคม 2561 "หยุดละเมิดสิทธิสตรี ปีนี้ต้องเลือกตั้ง" สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอการตัดเย็บเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์หนังแห่งประเทศไทย THE TEXTILE GARMENT AND LEATHER WORKERS FEDERATION OF THAILAND
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
'คนต้นไม้ในเมือง' ร้อง ก.ล.ต. สอบ บ.อิตาเลียนไทย หลังตัดต้นไม้โดยไม่รออนุมัติ หน้า ม.เกษตรฯ Posted: 07 Mar 2018 10:18 AM PST คนเห็นความสาคัญของต้นไม้ในเมือง ร้อง ก.ล.ต. สอบธรรมาภิบาล บ.อิตาเลียนไทย หลังตัดต้นไม้โดยไม่รออนุมัติ หน้า ม.เกษตรฯ พร้อมร้อง ผู้ว่า กทม. ทบทวนมาตรการปฏิบัติต่อต้นไม้ในเมือง ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า ที่มาภาพ เพจ เครือข่ายต้นไม้ในเมือง :: Thailand Urban Tree Network 7 มี.ค.2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ เมื่อเวลา 13.00 น. ที่สำนักงานคณะกรรมการกากับหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์ กลุ่มตัวแทนภาคประชาชนที่เห็ ผู้สื่อข่าวสอบถามไปยัง ขนิษฐา ลาสุด ผู้ประสานงานกลุ่มตัวแทนภาคประชาชนฯ ดังกล่าว เปิดเผยว่า นอกจากยื่นหนังสือกับ ก.ล.ต.แล้ว กลุ่มยังเดินทางไปที่ศาลาว่าการกรุงเทพฯ เพื่อยื่นจดหมายถึงผู้บริหาร กทม. ด้วย เพื่อเรียกร้องให้ทบทวนมาตรการปฏิบัติต่อต้นไม้ในเมือง ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า ผู้ประสานงานกลุ่มตัวแทนภาคประชาชนฯ เปิดเผยด้วยว่า ในวันที่ 12 มี.ค.นี้ เวลา 10.30 น. ทางกลุ่มจะเดินทางเข้ายื่นฟ้องต่อศาลปกครองในกรณีดังกล่าวด้วย สำหรับเหตุที่เดินทางมายื่นหนังสือถึงประธาน ก.ล.ต.นั้น หนังสื่อของกลุ่มนี้ระบุว่า เนื่องจากกลุ่ม รู้สึกไม่สบายใจต่อวิธีการทำงานของบริษัทดังกล่าว ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ นอกจากการส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนทำกำไรเพิ่มมากยิ่งๆ ขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นและเศรษฐกิจของประเทศแล้ว ทั่วโลกยังให้น้ำหนักกับการส่งเสริมธรรมาภิบาลขององค์กรควบคู่ไปด้วย โดยเฉพาะการตรวจสอบการปฏิบัติตนขององค์กร ที่แสดงออกถึงจิตสำนึกที่ดีต่อสาธารณะ ทั้งต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการปฏิบัติตนตามกฎกติกาของสังคม แต่จากเหตุการณ์ในข่าวที่เกิดขึ้นนี้เป็นเหตุให้สงสัยว่า บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเม้นต์ จำกัด (มหาชน) ได้กระทำการที่แสดงว่าเป็นองค์กรที่ไม่มีธรรมาภิบาล ไม่เคารพในกฎกติกาของสังคม ไม่รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และไม่เคารพในทรัพย์สมบัติที่เป็นของสาธารณะ หรือไม่ จึงขอเรียกร้องให้คณะกรรมการ ก.ล.ต.ทำการตรวจสอบกรณีดังกล่าว ว่าเข้าข่ายหรือไม่ และหากเข้าข่ายซึ่งสาธารณชนเห็นพ้องว่าเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม ขอให้ ก.ล.ต.ได้พิจารณาให้เกิดบทลงโทษ อาทิ คำสั่งหยุดการซื้อขาย เป็นต้น พร้อมทั้งชี้แจงแนวทางปฏิบัติในอนาคตที่จะบังคับใช้ให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จะได้รับคุณได้รับโทษอย่างเป็นรูปธรรม ในประเด็นด้านธรรมาภิบาล ที่ทั่วโลกและรัฐบาลไทยกล่าวอ้างถึงอย่างสม่ำเสมอต่อไป ขณะที่จดหมายถึง ผู้ว่าฯ กทม. นั้นมี 7 ข้อเรียกร้อง ดังนี้
สำหรับกลุ่มตัวแทนภาคประชาชนที่เห็นความสำคัญของต้นไม้ในเมืองนั้น ประกอบด้วย เครือข่ายต้นไม้ในเมือง (โดย ช่อผกา วิริยานนท์) กลุ่มบิ๊กทรี (โดยอรยา สูตะบุตร) สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน เพจเฮ้ยนี่มันฟุตบาทไทยแลนด์ เดชรัตน์ สุขกำเนิด อาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กลุ่มจตุจักรโมเดล ชมรม อนุรักษ์ทรัพยากรและทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเพจกรุงเทพเดินสบาย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
วงถกปม 'แม่ผลักลูก 2 ขวบตกคลองดับ' ชี้สะท้อนสังคมขาดระบบช่วยครอบครัวที่ในภาวะยากลำบาก Posted: 07 Mar 2018 09:49 AM PST ชำแหละปมโศกนาฏกรรมแม่ฆ่าลูก 2 ขว 7 มี.ค.2561 รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้ เมื่อเวลา 13.00 น. ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ ในเวทีเสวนา "โศกนาฎกรรมแม่ลูก...บทเรี ทิชา ณ นคร ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็ "คำถามคือ สังคมเรียนรู้อะไร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ จิตติมา ภาณุเตชะ นักพัฒนาสังคมอิสระ กล่าวว่า เวลาเกิดเหตุสะเทือนใจลักษณะนี้ "เหตุการณ์ครั้งนี้มัน สะท้อนสังคมไทยว่า ขาดระบบการดูแลช่วยเหลือครอบครั อังคณา อินทสา ฝ่ายส่งเสริ "จะเห็นว่าหน้าที่ผู้หญิงต้ ด้านนางเอ นามสมมุติ แม่เลี้ยงเดี่ยว อายุ 48 ปี กล่าวว่า ตนเองก็เป็นอีกคนที่ต้องแบกรั "ส่วนใหญ่ผู้หญิงเลือกที่ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
กลุ่มรักษ์อำเภอวานรนิวาส ใช้พิธีกรรมต่อสู้เพื่อต้านเหมืองแร่โปแตช Posted: 07 Mar 2018 09:34 AM PST กลุ่มรักษ์อำเภอวานรนิวาส สกลนคร ทำพิธีกรรม บริเวณหลุมขุดเจาะสำรวจแร่โปแตช เพื่อให้สิ่งศักดิ์สิทธิช่วยขับไล่สิ่งชั่วร้ายออกไป ด้านนักวิชาการ ม.ราชภัฏสกลนคร ชี้ช่องทางร้องสิทธิตามกฎหมาย ไม่สามารถที่จะพิทักษ์สิทธิของชุมชนได้ พิธีกรรมจึงเป็นเครื่องมือการต่อสู้ ประชาชนกลุ่มรักษ์อำเภอวานรนิวาส ที่มาร่วมพิธี 7 มี.ค.2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ ชาววังบงน้อย หมู่ที่ 11 ต.วานรนิวาส อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร หนึ่งหมู่บ้านที่เป็นเครือข่ายกลุ่มรักษ์อำเภอวานรนิวาส ซึ่งเป็นกลุ่มที่เคลื่อนไหวคัดค้านการสำรวจและทำเหมืองแร่โปแตชในพื้นที่ อ.วานรนิวาส กว่า 30 คน รวมตัวกันทำพิธีทางศาสนา สวดมนต์ แผ่เมตตา บริเวณหลุมดินที่เจ้าหน้าที่ บริษัท ไชน่า หมิงต๋า โปแตช คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทที่กระทรวงอุตสาหกรรมออกอาชญาบัตรพิเศษให้สิทธิสำรวจแร่โปแตชในพื้นที่ดังกล่าว ขุดเจาะเพื่อสำรวจหาแร่โปแตชใต้ดินในบริเวณหมู่บ้านวังบงน้อย อีกทั้งพิธีกรรมดังกล่าวยังจัดขึ้นเพื่อขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิที่คนชุมชนนับถือช่วยปัดเป่าและขับไล่สิ่งชั่วร้ายที่จะมาทำลายสิ่งแวดล้อม ทำลายชีวิตของคนในพื้นที่ออกไปจากหมู่บ้าน นงค์ชัย พันธ์ดา (คนถือไมค์) ตัวแทนกลุ่มรักษ์อำเภอวานรนิวาส หนึ่งในผู้ร่วมพิธีนี้ นงค์ชัย พันธ์ดา อายุ 45 ปี ตัวแทนกลุ่มรักษ์อำเภอวานรนิวาส หนึ่งในผู้ร่วมพิธีให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับเหตุผลที่มาทำพิธีกรรมครั้งนี้ว่า การมาทำพิธีสวดมนต์ แผ่เมตตา และขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิบริเวณหลุมขุดเจาะสำรวจแร่โปแตชครั้งนี้ เพราะว่าต้องการขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิที่คนในชุมชนนับถือ ช่วยปัดเป่าและขับไล่สิ่งชั่วร้ายที่จะมาทำลายสิ่งแวดล้อม ทำลายชีวิตของคนในพื้นที่ออกไป ตัวแทนกลุ่มรักษ์อำเภอวานรนิวาส กล่าวตัวว่า สิ่งชั่วร้ายในที่นี้ก็คือโครงการทำเหมืองแร่โปแตชที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตในพื้นที่ อ.วานรนิวาส เพราะหากเกิดการทำเหมืองแร่โปแตชในพื้นที่จริง อาจจะเกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่ เป็นการละเมิดสิทธิของประชาชนชาวอำเภอวานรนิวาส โดยเฉพาะการที่หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องและทางบริษัท ไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลที่เป็นด้านลบของโครงการทำเหมืองแร่ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่ "หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องและทางบริษัท มีแต่พูดถึงด้านดีของโครงการทำเหมือง เหมือนการโฆษณาชวนเชื่อให้คนในชุมชนเห็นด้วยกับการทำโครงการ" นงค์ชัย กล่าว ตัวแทนกลุ่มรักษ์อำเภอวานรนิวาส กล่าวอีกว่า โดยเฉพาะในกรณีที่มีทหาร ตำรวจ เจ้าหน้าที่รัฐระดับท้องถิ่นคอยคุ้มกันและเปิดทางให้รถขนอุปกรณ์ขุดเจาะสำรวจแร่โปแทซ เข้ามาทำงานขุดเจาะ เมื่อวันที่ 18 ก.พ. ที่ผ่านมา ถือเป็นการส่อให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่รัฐทำงานร่วมกับนายทุนเหมืองเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ โดยไม่ฟังเสียงคัดค้านจากประชาชนในพื้นที่ "ผมคนหนึ่งที่ภาพในวันนั้นที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหารอำนวยความสะดวกให้กับรถขนอุปกรณ์ขุดเจาะสำรวจของบริษัท ฯ ซึ่งถือเป็นภาพที่ประชาชนคนธรรมดาอย่างผมรู้สึกหดหู่มาก ไม่คิดว่าเจ้าหน้าที่จะอยู่เคียงข้างนายทุนเหมือง โดยไม่สนใจเสียงคัดค้านของประชาชน" นงค์ชัย กล่าว เมื่อถามถึงว่าการเลือกใช้ความเชื่อ สิ่งศักดิ์สิทธิของชุมชนเป็นเครื่องมือในการต่อสู้และคัดค้านโครงการทำเหมืองแร่ เพราะว่าการต่อสู้โดยการไปยื่นหนังสือร้องเรียนกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเช่น อำเภอวานรนิวาส หรือสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสกลครที่ผ่านมาไม่สำเร็จใช่หรือไม่ นงค์ชัย ตอบว่า ไม่ใช่ เพราะว่าการไปยื่นหนังสือร้องเรียนกับหน่วยงานราชการยังคงทำอย่างต่อเนื่อง เหมือนเดิม เพียงแค่พวกเราพยายามใช้วิธีการต่อสู้และคัดค้านโครงการเหมืองแร่ทุกวิถีทาง "การทำพิธีครั้งนี้เหมือนเป็นการแสดงออกว่าพี่น้องชาววานรนิวาส ยังคงไม่เห็นด้วยกับโครงการสำรวจและทำเหมืองแร่โปแทซในพื้นที่อยู่ แต่ครั้งนี้เราใช้การต่อสู้กับโครงการฯ ใช้ความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิของคนในชุมชนในการต่อสู้และคัดค้านโครงการ" นงค์ชัย กล่าว ผู้อาวุโสในหมู่บ้านทำพิธีสวดมนต์บริเวณหลุมขุดเจาะ เพื่อขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้มาช่วยปัดเป่าและขับไล่สิ่งชั่วร้ายที่จะมาทำลายสิ่งแวดล้อม ทำลายชีวิตของคนในพื้นที่ออกไป กิติมา ขุนทอง อาจารย์สาขาวิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร กล่าวถึงรูปแบบการต่อสู้ของประชาชนเพื่อปกป้องชุมชน ปกป้องวิถีชีวิต รวมถึงเรียกร้องสิทธิในการจัดการทรัพยากรในชุมชนของตนเหมือนอย่างในกรณีถือเป็นสิ่งที่น่าสนใจ เนื่องจาก เป็นกาารต่อสู้โดยใช้การปฏิบัติการแบบสันติวิธี "เป็นอาวุธ" เพื่อแสดงการต่อต้าน ไม่ยอมรับ ทั้งอำนาจรัฐที่ทำหน้าที่เอื้ออำนวยให้กับทุน และต่อต้านกับทุนข้ามชาติ กิติมากล่าวว่า หลายคนมองปฏิบัติการดังกล่าวว่าเป็น ปฏิบัติการของผู้อ่อนแอ จึงไม่อยากให้คนมองแบบนั้นเพราะว่า ในมุมมองของประชาชนการต่อสู้ด้วยวิธีการนี้ไม่ได้อ่อนแอ เขาสู้ทุกวิถีทางเท่าที่ทำได้ "การยื่นหนังสือ การแสดงออกทางเวทีวิชาการต่างๆ ประชาชนทำมาแล้วแต่มันก็ดูเหมือนไม่ได้ผล" กิติมา กล่าว อาจารย์สาขาวิชาสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏสกลนคร กล่าวอีกว่า ช่องทางการเรียกร้องสิทธิตามกฎหมาย ไม่สามารถที่จะพิทักษ์สิทธิของชุมชนได้อย่างเต็มที่ ฉะนั้นพิธีกรรมดังกล่าว จึงเป็นรูปแบบหนึ่งของเครื่องมือการต่อสู้ของประชาชน เป็นการชี้ให้เห็นว่า ประชาชนได้เชื่อมโยงกระบวนการต่อสู้เข้ากับระบบคิดเรื่องศีลธรรม คุณธรรมที่สัมพันธ์กับทั้งสิ่งเหนือธรรมชาติและพุทธศาสนา การอัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิมาปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย ที่จะมาคุกคามความอยู่ดีมีสุขของพวกเขา "การใช้พิธีกรรมในการต่อสู้มันสะท้อนว่าประชาชนไร้ที่พึ่ง รัฐที่ควรจะต้องทำหน้าที่พิทักษ์รักษาสิทธิและความอยู่ดีมีสุขของชุมชน ไม่สามารถทำหน้าที่นั้นได้ แต่ยังกลับมาคุกคามประชาชน" กิติมา กล่าว ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า บริษัท ไชน่า หมิงต๋า โปแตช คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับอาชบัตรพิเศษสำรวจแร่โปแตชในเขตอำเภอวานรนิวาส จำนวน 12 แปลง พื้นที่116,875 ไร่ ครอบคลุม 6 ตำบล 82 หมู่บ้าน และเริ่มทำการขุดเจาะสำรวจตั้งแต่กลางปี 2559 แต่ต้องยุติลงหลังทำได้เพียง 2 หลุม เนื่องจากประชาชนในพื้นที่รวมตัวคัดค้าน ด้วยหวั่นเกรงผลกระทบต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม ความมั่นคงทางอาหารและการแย่งชิงน้ำใช้ในพื้นที่ และกลายเป็นกระแสความขัดแย้งมาโดยตลอด เนื่องจากบริษัทไชน่าหมิงต๋าฯ ยังคงพยายามเปิดหลุมเจาะสำรวจใหม่ให้ได้ก่อนหมดอายุอาชบัตรในต้นปี 2563 สำหรับ หลุมขุดเจาะสำรวจบริเวณบ้านวังบงน้อยดังกล่าวถือเป็นหลุมที่ 3 ของ อ.วานรนิวาส ที่เจ้าหน้าที่บริษัทฯ นำรถขนอุปกรณ์ขุดเจาะสำรวจแร่โปแตช เมื่อวันที่ 18 ก.พ. ที่ผ่านมา โดยการขนอุปกรณ์ดังกล่าวมีเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ คอยติดตามคุ้มกันรถขนอุปกรณ์อีกด้วย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ปลัดแรงงานเผย รัฐบาลเล็งให้สัตยาบรรณ ILO และพิจารณากฎหมายแรงงานใหม่ Posted: 07 Mar 2018 09:26 AM PST ปลัดกระทรวงแรงงานเผย ปีนี้รัฐบาลเล็งให้สัตยาบรรณอนุสัญญาแรงงานประมงและแรงงานบังคับพร้อมตรากฎหมายใหม่ แต่กฎหมายต้องพิจารณาตามบริบทไทย วงเสวนางานวิจัยเผย เอกชนจัดให้ข้ามชาติเป็นคณะกรรมการสวัสดิการของไทยแล้ว แต่ไทยยังไม่ให้จัดตั้งสหภาพเองเหมือนมาตรฐาน ILO แรงงานจำนวนมากยังไม่มีเอกสารสัญญาจ้าง เมื่อ 7 มี.ค.2561 โครงการสิทธิเรือสู่ฝั่ง ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสหภาพยุโรป นำเสนอรายงาน "ข้อค้นพบจากงานวิจัยข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับแรงงานประมงและอาหารทะเลในประเทศไทย" ที่โรงแรมสุโกศล กรุงเทพฯ เป็นงานวิจัยฉบับแรกที่ทำขึ้นในประเทศไทยที่ครอบคลุมทั้งภาคประมง ภาคอาหารทะเลและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยในงานได้เชิญอรรถพันธ์ มาศรังสรรค์ เลขาธิการสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไท ธิตาร์ โอ เจ้าหน้าที่ประสานแรงงานข้ามชาติ มูลนิธิรักษ์ไทย และเจสัน จั๊ดด์ เจ้าหน้าที่อาวุโสประสานงานโครงการ องค์การแรงงานระหว่างประเทศหรือ ILO มาเป็นแขกเสวนาเกี่ยวกับข้อค้นพบ รวมทั้งยังเชิญจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงานมากล่าวปาฐกถาพิเศษ จรินทร์ จักกะพาก จรินทร์กล่าวว่า ข้อค้นพบที่จัดทำจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานประมง อุตสาหกรรมอาหารทะเลในไทย เพราะทุกคนมีสิทธิ์เท่าเทียมกันในฐานะพลเมืองของสังคมโลกแม้เขาไม่ใช่คนไทย สอดคล้องกับเป้าหมายที่ 8 ของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ เรื่องการจ้างงานอย่างมีคุณค่า พัฒนาทางเศรษฐกิจโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยภายในปี 2561 รัฐบาลไทยตั้งใจที่จะให้สัตยาบรรณอนุสัญญาฉบับที่ 188 ว่าด้วยการทำงานในภาคประมงและพิธีสารประกอบอนุสัญญาว่าด้วยแรงงานบังคับหรือ P 29 ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรากฎหมายใหม่เพื่อยกระดับมาตรฐานแรงงานให้สอดคล้องกับระดับมาตรฐานสากล การตรากฎหมายได้เชิญภาคประชาสังคมมาสังเกตการณ์ และให้ความเห็นกับการร่างกฎหมาย ทั้งนี้ มาตรฐานระหว่างประเทศจำเป็นต้องถูกปรับให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมที่บังคับใช้กฎหมาย การตรากฎหมายให้ถูกใจทุกคนจึงเป็นเรื่องยาก เรื่องการจ่ายค้าจ้าง กระทรวงแรงงาน กรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน มีมาตรการให้จ่ายค่าจ้างผ่านธนาคาร เพื่อจะได้มีหลักฐานการจ่าย ผลการศึกษาได้แสดงประเด็นที่ได้รับการแก้ไขแล้ว และที่ต้องขับเคลื่อนต่อไป คือเรื่องแรงงานบังคับ โดยทางกระทรวงฯ กำลังพิจารณาออกร่าง พ.ร.บ. การใช้แรงงานบังคับ ตามข้อบ่งชี้เรื่องแรงงานบังคับ ตอนนี้ได้ผ่านการรับฟังความเห็นจากบางส่วนไปบ้างแล้ว จรินทร์กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันงานประเภทที่สกปรก อันตราย ยากลำบากและตรากตรำ หาแรงงานไทยทำได้ยากมาก จึงจำเป็นต้องอาศัยแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน ในปี 2560 อุตสาหกรรมอาหารทะเล และประมง มีการจ้างงานชาวกัมพูชาและชาวพม่ารวมกว่า 302,000 คน ดังนั้นการจ้างงานที่มีคุณค่า เป็นธรรม จึงเป็นปัจจัยของความเจริญที่ยั่งยืน ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน รวมถึงลูกจ้าง ที่ต้องรู้จักสิทธิและกฎหมาย ซึ่งเป็นหน้าที่ของระบบราชการ เอกชน เอ็นจีโอต้องกระจายการรับรู้สู่แรงงานข้ามชาติ ซ้ายไปขวา: อรรถพันธ์ มาศรังสรรค์ เจสัน จั๊ดด์ ธิตาร์ โอ อรรถพันธ์กล่าวว่า ที่ผ่านมาสมาคมฯ ให้ร่วมมือด้านการปฏิบัติใช้แรงงานที่ดี (Good Labour Practice - GLP) กับทางองค์การแรงงานระหว่างประเทศมาสามปีแล้ว สมาชิกทุกคนได้เข้าร่วมและปฏิบัติตามตลอด แต่เนื่องจากไทยยังไม่อนุญาตให้เกิดการมีส่วนร่วมของแรงงานต่างด้าวตามอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 ว่าด้วย เสรีภาพในการสมาคม และฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและเจรจาต่อรองร่วม แต่ภาคอุตสาหกรรรมไทยก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ เปิดโอกาสให้แรงงานต่างด้าวในโรงงานเป็นคณะกรรมการสวัสดิการโรงงานที่เดิมจะมีแต่คนไทย ซึ่งก็เกิดการเลือกตั้ง หาเสียงเอง คณะกรรมการสวัสดิการจึงเป็นช่องทางที่แรงงานต่างด้าวได้ส่งเสียงเรื่องปัญหา ความเป็นอยู่ คณะกรรมการสวัสดิการโดยมีแรงงานข้ามชาติในแต่ละโรงงานของสมาชิกมีแล้ว เจสันกล่าวว่า องค์กรเอกชนและประชาสังคมได้ชูประเด็นขึ้นมาและทำให้ข้อเรียกร้องเรื่องปัญหาแรงงานมาปรับปรุง และทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของอาหารทะเลไม่ใช่แค่เรื่องราคาแต่ยังเป็นเรื่องคุณภาพของแรงงานด้วย ทั้งนี้ จากการสำรวจพบว่า การที่ลูกจ้างถูกระงับสัญญาจ้างงานยังคงเป็นปัญหา ร้อยละ 43 ของกลุ่มสำรวจยังคงโดนระงับสัญญาจ้าง แม้ว่ามีส่วนมากที่ได้รับการเซ็นสัญญาจ้างแล้ว แต่ก็ยังมีแรงงานข้ามชาติจำนวนมากที่ไม่ได้รับเอกสารสัญญา
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สุรพศ ทวีศักดิ์: รัฐโลกวิสัยคืออะไร Posted: 07 Mar 2018 08:57 AM PST ที่มา https://propelsteps.files.wordpress.com/2013/11/secularmap.png แนวคิดโลกวิสัย (secularism) คือแนวคิดที่ว่า "รัฐกับศาสนาต้องแยกเป็นอิสระจากกัน" การแยกเป็นอิสระจากกันก็เพื่อให้หลักประกันว่า กลุ่มหรืองค์กรทางศาสนาต่างๆ จะไม่แทรกแซงกิจการของรัฐ และรัฐก็ต้องไม่แทรกแซงกิจการทางศาสนา หลักการสำคัญของแนวคิดโลกวิสัย คือ 1. ปกป้องทั้งผู้ที่เชื่อและไม่เชื่อ (believers and non-believers) หมายถึง ปกป้องเสรีภาพในเรื่องความเชื่อและการปฏิบัติทางศาสนาของพลเมืองทุกคน นักโลกวิสัยนิยม (Secularists) ต้องการนำเสรีภาพทางความคิดและมโนธรรมมาใช้กับทุกคนทั้งผู้ที่เชื่อและไม่เชื่อในเรื่องศาสนา หรือเรื่องอื่นใด อย่างเท่าเทียม ไม่ใช่ว่าพวกเขาต้องการจำกัดหรือลดทอนเสรีภาพทางศาสนาแต่อย่างใด 2. ปกป้องเสรีภาพทางศาสนา (Religious Freedom) แนวคิดโลกวิสัยปกป้องเสรีภาพทางศาสนาและความเชื่ออื่นๆ อย่างเต็มที่ ปกป้องสิทธิที่จะแสดงออกซึ่งความเชื่อทางศาสนาใดๆ ตราบที่ไม่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ทั้งนี้เพื่อสร้างหลักประกันว่าสิทธิในเสรีภาพทางศาสนาของปัจเจกบุคคลจะต้องสมดุลกับสิทธิที่จะเป็นอิสระจากศาสนาด้วยเสมอไป 3. ปกป้องประชาธิปไตยและความยุติธรรม (democracy and fairness) ในสังคมประชาธิปไตยโลกวิสัย พลเมืองทุกคนย่อมเสมอภาคกันเบื้องหน้ากฎหมายและศาลยุติธรรม ไม่มีกลุ่มทางศาสนาหรือการเมืองที่ได้เปรียบหรือเสียเปรียบกัน ผู้ที่เชื่อและไม่เชื่อในเรื่องศาสนาย่อมมีสิทธิและมีพันธะต่อบุคคลอื่นๆ แบบเดียวกันในฐานะเป็นพลเมืองเหมือนกัน แนวคิดโลกวิสัยให้ความสำคัญสูงสุดกับการปกป้องสิทธิมนุษยชนสากลเหนือข้อเรียกร้องทางศาสนา และยึดถือความเสมอภาคทางกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อปกป้องสตรี, กลุ่มคนหลากหลายทางเพศ (LGBT) และคนกลุ่มน้อยอื่นๆ จากการเลือกปฏิบัติหรืออคติทางศาสนา ดังนั้นการยืนยันความเสมอภาคทางกฎหมาย ก็เพื่อให้หลักประกันว่า บรรดาผู้ที่ไม่มีความเชื่อทางศาสนาต้องมีสิทธิแบบเดียวกันในฐานะเป็นบุคคลผู้ซึ่งมี "ตัวตน" หรืออัตลักษณ์ของตนเองเช่นเดียวกับผู้ที่มีความเชื่อทางศาสนาหรือทางปรัชญาอื่นๆ 4. ปกป้องความเท่าเทียมในการเข้าถึงบริการสาธารณะต่างๆ (Equal access to public services) โอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณะ เช่นโรงพยาบาล โรงเรียน การบริการจากภาครัฐในรูปแบบอื่นๆ จะต้องอยู่บนหลักการแบบโลกวิสัย นั่นคือ ต้องไม่มีการได้เปรียบหรือเสียเปรียบเพราะเหตุแห่งความเชื่อและไม่เชื่อในเรื่องศาสนา โรงเรียนของรัฐต้องเป็นกลางทางศาสนา ไม่สอน หรือปลูกฝัง สนับสนุนความคิด ความเชื่อของศาสนาใดๆ 5. ปกป้องเสรีภาพในการพูดและการแสดงออก (free speech and expression) ผู้นับถือศาสนาใดๆ ย่อมมีสิทธิที่จะแสดงความเชื่อของตนเองอย่างเป็นสาธารณะ แต่พวกเขาก็ต้องยอมรับการคัดค้านหรือการตั้งคำถามต่อความเชื่อนั้นๆ ด้วย ความเชื่อ แนวคิด และองค์กรศาสนาต่างๆ ต้องไม่ได้รับอภิสิทธิ์ในการปกป้องจากสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก เพราะในสังคมประชาธิปไตย แนวคิดและความเชื่อใดๆ ต้องเปิดกว้างต่อการอภิปราย ปัจเจกบุคคลมีสิทธิในการตั้งคำถาม วิจารณ์ ตรวจสอบทุกแนวคิด พูดอีกอย่างคือ ไม่มีแนวคิด ความเชื่อใดๆ ที่มีสิทธิพิเศษเหนือการถูกตั้งคำถาม วิจารณ์ ตรวจสอบ อย่างไรก็ตาม แนวคิดโลกวิสัยไม่ใช่อเทวนิยม (Secularism is not atheism) อเทวนิยมไม่มีความเชื่อในพระเจ้า แน่อนว่าพวกเอธีสต์ (Atheists) สนับสนุนแนวคิดโลกวิสัยอย่างเด่นชัด แต่แนวคิดโลกวิสัยก็ไม่ได้มุ่งท้าทายศาสนาหรือความเชื่อหนึ่งใด ทั้งไม่ได้ยัดเยียดความเชื่อใดๆ แก่ใครๆ แนวคิดโลกวิสัยเพียงแต่จัดเตรียมโครงสร้างสำหรับสังคมประชาธิปไตยที่สามารถให้หลักประกันความเท่าเทียมในพื้นที่ต่างๆ ทางสังคม เช่น ในพื้นที่ทางการเมือง, การศึกษา, กฎหมาย และพื้นที่อื่นๆ สำหรับทั้งผู้ที่มีความเชื่อและไม่เชื่อในเรื่องทางศาสนาและอื่นๆ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน กล่าวอย่างสั้นๆ แนวคิดโลกวิสัยคือแนวคิดที่ยืนยันเสรีภาพ ความยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน (Secularism: freedom, fairness and human rights) เป็นสิ่งสำคัญสูงสุด ดังนั้น แนวคิดโลกวิสัยจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับเราในการสร้างสังคมที่คนทุกศาสนาและคนไม่มีศาสนาสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยุติธรรมและอย่างมีสันติภาพ สำหรับรัฐโลกวิสัย (secular state) ก็คือรัฐที่นำแนวคิดโลกวิสัยมาปรับใช้ โดยมีการแยกศาสนาจากรัฐ และเคารพสิทธิมนุษยชนของพลเมืองทุกคนอย่างเท่าเทียม ไม่มีใครได้เปรียบหรือเสียเปรียบเพราะเหตุแห่งความเชื่อของพวกเขา เราสามารถสรุปลักษณะพื้นฐานของรัฐโลกวิสัยให้เห็นเด่นชัด คือ 1. ไม่สถาปนาศาสนาประจำชาติ 2. ประชาชนทุกคนเสมอภาคกันเบื้องหน้ากฎหมายโดยไม่คำนึงว่าจะนับถือศาสนาหรือมีความเชื่อใดๆ 3. กระบวนการตัดสินของศาลไม่ถูกขัดขวางหรือแทรกแซงโดยหลักเกณฑ์หรือกระบวนการทางศาสนา (เพราะไม่มีการออกกฎหมายหรือการตัดสินคดีที่อิงความเชื่อหรือหลักคำสอนทางศาสนาใดๆ) 4. รัฐไม่ให้งบประมาณ และไม่สนับสนุนกิจการและการปฏิบัติทางศาสนาใดๆ 5. ทุกคนมีเสรีภาพที่จะเชื่อ ไม่เชื่อ และที่จะเลิกนับถือ หรือเปลี่ยนศาสนา 6. นโยบายสาธารณะและบริการสาธารณะใดๆ ต้องไม่เลือกปฏิบัติบนพื้นฐานของศาสนา ความเชื่อ หรือความไม่เชื่อใดๆ 7. ปัจเจกบุคคลและกลุ่มบุคคลใดๆ ต้องไม่มีอภิสิทธิ์หรือเสียเปรียบเพราะเหตุแห่งศาสนาที่เขานับถือ, ความเชื่อ หรือความไม่เชื่อในเรื่องใดๆ จากที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่า รัฐไทยไม่ใช่รัฐโลกวิสัย เพราะไม่ได้แยกศาสนาจากรัฐ ศาสนาเป็นหนึ่งในสถาบันหลักของชาติ รัฐไทยให้ความสำคัญกับพุทธศาสนาเถรวาทไทยมากเป็นพิเศษ มีองค์กรศาสนาของรัฐที่มีอำนาจทางกฎหมายและเป็นกลไกสนับสนุนอุดมการณ์อนุรักษ์นิยม มีการบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้รัฐมีหน้าที่อุปถัมภ์และคุ้มครองพุทธศาสนาเถรวาทและศาสนาอื่นๆ บัญญัติในรัฐธรรมนูญให้พระมหากษัตริย์เป็นพุทธมามกะ รัฐไทยจึงไม่สามารถจะเป็นกลางทางศาสนา ไม่สามารถให้หลักประกันเสรีภาพ และความเสมอภาคทางศาสนาแบบรัฐโลกวิสัยได้ เช่นมีการเลือกปฏิบัติต่อชาวพุทธภายใต้การปกครองมหาเถรสมาคมและนอกการปกครองของมหาเถรสมาคม คือไม่ได้ให้ความอุปถัมภ์แก่ชาวพุทธกลุ่มสันติอโศก และกลุ่มภิกษุณีอย่างเท่าเทียมกับกลุ่มที่อยู่ภายใต้มหาเถรสมาคม เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ รัฐไทยจึงไม่มีความเป็นประชาธิปไตยและให้ความยุติธรรมทางศาสนาได้จริง การแยกศาสนาจากรัฐหรือการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นรัฐโลกวิสัย จึงจำเป็นต้องถูกนำมาถกเถียง ช่วยกันคิด และทำให้กลายเป็นจริงต่อไป
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
การสอบบาลีสนามหลวงบริสุทธิ์ยุติธรรมจริงหรือ? Posted: 07 Mar 2018 08:51 AM PST
|
นิธิ เอียวศรีวงศ์: สถาบันกษัตริย์ใน The Crown Posted: 07 Mar 2018 08:45 AM PST ใครๆ ก็ชวนให้ชมภาพยนตร์ชุด The Crown คุณภิญโญ ไตรสุริยธรรมา เป็นคนแรกที่ชวนผมตั้งกว่า 2 ปีมาแล้ว แต่ผมก็ยังไม่ได้ดูหนังชุดนี้เสียที จนไม่นานมานี้เอง และก็ดูเฉพาะซีซั่นแรกเท่านั้น น่าประหลาดที่ผมไม่ยักรู้สึกตื่นเต้นเหมือนเสียงเชียร์ที่ได้ยินตลอดกว่า 2 ปีที่ผ่านมาเลย จะเป็นเพราะได้ยินเสียงเชียร์มากจนไปคาดหวังจากหนังมากกว่าภาพยนตร์ชุดทางทีวีจะให้ได้กระมัง จะว่าผมรู้เรื่องเกี่ยวกับราชสำนักอังกฤษเสียจนไม่ตื่นเต้นก็ไม่ใช่ ตรงกันข้ามผมไม่เคยรู้รายละเอียดที่หนังนำเสนอเลย แต่ไม่ผิดคาดอะไร นำเรื่องของราชสำนักใดๆ มาเล่า และเล่าอย่างซื่อสัตย์หน่อย ก็จะมีเนื้อหาทำนองนี้แหละครับ ผมไม่ได้หมายถึงความ "อื้อฉาว" ต่างๆ ซึ่งจริงหรือไม่ก็ไม่มีใครทราบ แต่ผมหมายถึงความสัมพันธ์ส่วนตัวของสมาชิกราชวงศ์ ที่ไม่แตกต่างอันใดจากความสัมพันธ์ของตัวละครในหนังเรื่องอื่น ความอิจฉาริษยา, การดูถูกดูแคลนและรังเกียจชาติตระกูล, ความเสียสละ, ความรัก, การให้อภัย, เงื่อนไขที่ผูกมัดชีวิต, ญาติผู้ใหญ่ ฯลฯ ล้วนเป็นท้องเรื่องหลักในชีวิตมนุษย์ ทั้งในและนอกจอทั้งนั้นไม่ใช่หรือครับ สรุปสั้นๆ ก็คือ หนังบอกเราว่า โดยพื้นฐานแล้ว เจ้านายก็เป็นมนุษย์เหมือนเรา แล้วมันน่าแปลกใจตรงไหนหรือครับ มันน่าแปลกใจ หรือน่าตื่นใจ ก็เพราะในยุโรป ชีวิตส่วนตัวของเจ้านายเป็นส่วนหนึ่งของ mystique ซึ่งผมขอแปลว่า ความลี้ลับที่น่าหลงใหลของสถาบันกษัตริย์ ในประเทศประชาธิปไตยของยุโรปตะวันตก (ผมขอเตือนไว้ด้วยความประหลาดใจว่า ไม่มีระบบกษัตริย์เหลืออยู่ในยุโรปอีกแล้ว นอกจากในประเทศประชาธิปไตยของยุโรปตะวันตก ทำไมถึงเป็นอย่างนั้นผมจะไม่พูดล่ะครับ) กษัตริย์ไม่ทรงมีหน้าที่ด้านการเมืองการปกครองอีกแล้ว ยกเว้นแต่งานในเชิงพิธีกรรม เช่น เปิดประชุมสภา หรือตรวจแถวทหารราชองครักษ์ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สถาบันกษัตริย์จะดึงดูดความสนใจของประชาชนได้อย่างไร ด้วยเหตุดังนั้น พระราชดำรัสหรือดำรัสของกษัตริย์ พระราชินี หรือเจ้านายชั้นสูงของยุโรป ต่อสาธารณชน จึงเป็นเรื่อง "ถูก" ในทางการเมืองเสมอ เพราะจะตรัสถึงหลักการพื้นฐานซึ่งเห็นพ้องต้องกันอยู่แล้วเท่านั้น ไม่มีความหมายพิเศษใดๆ ใครๆ ก็สามารถคาดได้ว่าพระราชดำรัสต่อสาธารณะ จะเป็นอย่างไร จึงไม่น่าตื่นเต้นนัก แต่สื่อของโลกปัจจุบัน ทำให้รับสั่งของเจ้านายที่เป็นส่วนตัวอาจไม่"ส่วนตัว"อีกต่อไป เพราะจะถูกพาดหัวข่าวบนหนังสือพิมพ์ประเภทขายข่าวลือในวันรุ่งขึ้น เจ้าชายฟิลิปเป็นเจ้านายพระองค์หนึ่งที่มักจะหยอกล้อติดตลกกับคนที่เข้าเฝ้าเสมอ ทั้งคนอังกฤษและต่างชาติ เพื่อให้เกิดความเป็นกันเอง แต่ตลกหยอกล้อของท่านอาจ "แรง" เกินพอดี จึงมักตกเป็นข่าวและถูกวิพากษ์ในสื่ออยู่บ่อยๆ น่าประหลาดที่บุคลิกภาพส่วนพระองค์ของเจ้านายที่ "หลุด" ออกมาบ้างเช่นนี้ แทนที่จะทำความเสียหายแก่สถาบัน ผมคิดว่าในระยะยาวแล้วกลับเป็นผลดีแก่สถาบันมากกว่า เพราะมันช่วย "แพลม" ความลี้ลับบางอย่างของสถาบันออกมาให้ดูน่าตื่นเต้น น่าสนใจแก่ผู้คนได้ และยังก่อให้เกิดสำนึกในความเป็นมนุษย์ของเจ้านายและสถาบันกษัตริย์ ซึ่งแม้อยู่ห่างไกลในความเป็นจริง แต่ก็ใกล้ชิดในความเป็นมนุษย์เหมือนประชาชน อย่างที่สองก็คือ mystique หรือความลี้ลับอันน่าหลงใหลนี่แหละครับ อะไรที่เป็น "ส่วนพระองค์" นั่นแหละ ที่ดึงดูดความ-สนใจของประชาชน อย่างเดียวกับที่ประชาชนใส่ใจกับเรื่องส่วนตัวของเซเลบนั่นเอง ใครดูเรื่อง The Crown แล้วก็อยากรู้ว่า สมเด็จพระบรมราชินีนาถทอดพระเนตรภาพยนตร์ชุดนี้หรือไม่ โปรดหรือไม่ โปรดตรงไหน โปรดทำไม ฯลฯ คืออยากรู้อยากเห็นความเป็นมนุษย์ของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เหมือนอยากรู้อยากเห็นความเป็นมนุษย์ของเซเลบ ราชสำนักจะ "แพลม" ให้รู้บางอย่าง ที่ไม่ส่วนพระองค์จนเกินไป เมื่อเกิดข่าวลือบางอย่างขึ้นเกี่ยวกับเจ้านายในครอบครัวของพระบรมราชีนีนาถ บางครั้งราชสำนักก็เงียบเฉย บางครั้งก็มีคำแถลงว่าข่าวลือนั้นไม่จริง ดังนั้น แม้ในโลกที่สื่อมวลชนมีตาเป็นสับปะรด ราชสำนักก็ยังสามารถรักษาความลี้ลับอันน่าหลงใหลนี้ไว้ได้ แต่ไม่ใช่ความลี้ลับที่ดำมืด หากเป็นความลี้ลับที่โผล่ให้เห็นเป็นแว็บๆ น่าตื่นเต้นและน่าค้นหา ผมคิดว่าหนังชุด The Crown นำเอาความลี้ลับนี้มาตีแผ่ แต่ก็ตีแผ่ด้วยการตีความให้เป็นคุณแก่สมเด็จพระบรมราชินีนาถด้วย จนกลายเป็นท้องเรื่องหลักของหนัง แน่นอนว่าทั้งหมดนี้คือการตีความ จะตีให้ไม่เป็นคุณก็ได้ แต่หนังเลือกการตีความที่เป็นคุณ การตีความเช่นนี้ตั้งอยู่บนหลักการอันหนึ่ง คือสมเด็จพระบรมราชินีนาถในฐานะสถาบันกษัตริย์ ต้องยึดมั่นในแบบธรรมเนียมซึ่งคือรัฐธรรมนูญอย่างมั่นคง ฟังดูเหมือนง่าย แต่ไม่ง่ายนะครับ เพราะการกระทำเช่นนั้นก่อให้เกิดความบาดหมางกับราชวงศ์, กับนักการเมืองทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน, หรือแม้แต่กับประชาชนทั่วไป และในยามเช่นนี้ จะต้องทรงยืนหยัดในสิ่งที่ "ถูกต้อง" ตามรัฐธรรมนูญเท่านั้น ด้วยความหวังว่าในระยะยาวแล้ว คนที่ไม่ได้ตามต้องการของตนก็จะเข้าใจเอง ผมคิดว่าประเด็นนี้แหละที่ประทับใจเพื่อนฝูงคนไทยที่ชวนให้ชมหนังชุดเรื่องนี้ที่สุด คือบทบาทอันยากลำบากของสถาบันกษัตริย์ในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ว่าต้องใช้สติและความอดทนขนาดไหน จึงจะเป็นที่ยอมรับของประชาชน, นักการเมืองทุกฝ่าย, พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ ไม่เว้นแม้แต่พระราชสวามีและพระขนิษฐา ดูแค่ซีซั่นเดียวก็เห็นแล้วครับ ผมอยากเดาว่าซีซั่นต่อไปก็คงไม่หนีท้องเรื่องหลักอันนี้ไปได้หรอก แต่บทบาทอันยากลำบากนี้ของกษัตริย์อังกฤษ จะเป็นแบบอย่างแก่กษัตริย์ทั้งโลกได้หรือไม่? ผมให้สงสัยอย่างยิ่งว่าไม่ได้ ในบรรดากษัตริย์ยุโรปทั้งหมด มีเฉพาะกษัตริย์อังกฤษเท่านั้นที่มีความอ่อนไหว (sensitivity) เป็นพิเศษต่อปฏิกิริยาของประชาชนชาวบริเตนใหญ่ (ยกเว้นไอริชกระมัง) อาจารย์เบน แอนเดอร์สัน ชี้ให้เห็นสิ่งที่เรามักลืมไปเสมอว่า (ปาฐกถาในการประชุมวิชาการเรื่อง Democracy and Crisis in Thailand) อังกฤษแทบจะไม่เคยมีชาวอังกฤษเป็นกษัตริย์เลย กว่าพันปีที่ผ่านมาอังกฤษอยู่ภายใต้พระราชาซึ่งเป็นนอร์มัน, เวลส์, สก๊อต, ดัตช์ และเยอรมัน
เจ้านายต่างชาติต่างภาษาเหล่านี้ต้องประนีประนอมกับขุนนางและเจ้าที่ดินอังกฤษ เพื่อรักษาพระราชอำนาจและพระราชวงศ์ของพระองค์เอาไว้ และด้วยเหตุดังนั้นจึงมีแนวโน้มจะยอมรับกฎเกณฑ์กติกาและสัญญาต่างๆ ที่ทำขึ้นกับขุนนางและเจ้าที่ดิน-เจ้าครองแคว้น พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือสถาบันกษัตริย์อังกฤษเคยชินที่จะยึดถือ "รัฐธรรมนูญ" เพื่อประกันพระราชอำนาจของพระองค์เองมาแต่โบราณ สภาพเช่นนี้ไม่เกิดแก่กษัตริย์เยอรมัน, รัสเซีย, หรือฝรั่งเศส และนี่อาจเป็นเหตุผลที่ว่า หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 มหาอำนาจยุโรปที่ยังมีสถาบันกษัตริย์ดำรงอยู่ จึงเหลือเพียงประเทศเดียวได้แก่บริเตนใหญ่ จนทำให้บางคนเชื่อว่าสถาบันกษัตริย์ที่มั่นคงสถาพรที่สุดคือสถาบันกษัตริย์อังกฤษ ผมให้สงสัยอีกอย่างหนึ่งด้วยว่า หาก The Crown ไม่เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์อังกฤษ อาจเป็นหนังชุดที่ไม่ดังเท่านี้ เพราะทุกครั้งที่พูดถึงสถาบันกษัตริย์ คนในโลกส่วนใหญ่มักนึกถึงอังกฤษก่อนอื่นเสมอ (ทั้งๆ ที่กษัตริย์อังกฤษมีลักษณะเฉพาะที่ไม่เหมือนใครอื่นดังที่กล่าวแล้ว) หากถือเอาประเทศที่มีสถาบันกษัตริย์ทั้งหมดมารวมกัน (ซึ่งตามปาฐกถาของอาจารย์เบนจะเท่ากับพื้นที่เพียง 2.5 ล้านตารางไมล์ – เล็กกว่าบราซิล – และประชากรเพียง 500 ล้านคน – ไม่ถึงครึ่งของอินเดีย – เท่านั้น) สถาบันกษัตริย์ที่อาจถือได้ว่าเป็น "เมืองหลวง" ของดินแดนนี้คือสถาบันกษัตริย์อังกฤษ ที่เป็นอย่างนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะความรู้สึกของคนทั่วไปที่เห็นอังกฤษมีพลานุภาพทางเศรษฐกิจและการทหารสูงกว่าราชาธิปไตยอื่นๆ แต่เป็นด้วยเหตุซึ่งอาจารย์เบนชี้ให้เห็นว่า นับตั้งแต่สิ้นสงครามนโปเลียนเป็นต้นมา อังกฤษนี่แหละที่เป็นผู้สถาปนาสถาบันกษัตริย์ขึ้นในดินแดนต่างๆ ทั่วโลก เริ่มต้นคือในยุโรป อังกฤษเป็นผู้จัดให้เกิดสถาบันกษัตริย์ขึ้นในเนเธอร์แลนด์ (ซึ่งไม่เคยมีสถาบันกษัตริย์มาก่อน) เมื่อเบลเยียมแยกตัวจากเนเธอร์แลนด์ ก็สถาปนากษัตริย์เบลเยียม แถมยังมีนอร์เวย์อีกประเทศหนึ่ง ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยของราชาธิปไตยอังกฤษเอง คือมีรัฐราชาธิปไตยบนฝั่งทวีปยุโรป กันเกาะอังกฤษไว้จากมหาอำนาจอื่นในยุโรป
นโยบายสร้างสถาบันกษัตริย์ขึ้นของอังกฤษได้นำมาใช้ในดินแดนที่เป็นอาณานิคมหรือกึ่งอาณานิคมด้วย อังกฤษนั้นเป็นประเทศเล็กนิดเดียว จะดูแลผลประโยชน์ตนเองในอาณานิคมหรือกึ่งอาณานิคมที่แผ่ไปทั่วโลกได้อย่างไร อังกฤษเลือกจะตั้งราชาธิปไตยขึ้นในดินแดนต่างๆ หากอังกฤษมั่นใจว่าสถาบันกษัตริย์ที่เกิดขึ้นนั้น จะเชื่อฟังและส่งเสริมผลประโยชน์อังกฤษ จากเอเชียตะวันตกไล่มาจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (เช่น สุลต่านของรัฐมลายูและบรูไน) และจากแอฟริกาตะวันออกไปจนถึงแอฟริกากลางและใต้ ทั้งนี้ ยกเว้นสถาบันกษัตริย์ที่ไม่เป็นมิตรกับอังกฤษเท่านั้น อังกฤษก็หาเหตุยกเลิกไปเลย ซึ่งผมขอยกตัวอย่างพม่าประเทศเดียว ทั้งพระเจ้ามินดงและพระเจ้าสีป้อ กษัตริย์องค์ท้ายสุดของราชวงศ์กอนบอง ต่างพยายามดึงเอามหาอำนาจยุโรปชาติอื่น เข้ามามีผลประโยชน์ในประเทศ เพื่อคานอำนาจกับอังกฤษ และด้วยเหตุดังนั้นอังกฤษจึงหาเหตุทำสงครามกับพม่า จับพระเจ้าแผ่นดินพม่าส่งไปอยู่อินเดีย แม้มีเจ้าชายโอรสของพระเจ้ามินดงอยู่ในอารักขาของตน อังกฤษก็มิได้รื้อฟื้นราชบัลลังก์พม่าขึ้นอีก Britain's Queen Elizabeth II (2R) and Britain's Prince Philip, Duke of Edinburgh (L) accompany Chinese President Xi Jinping (R) and his wife Peng Liyuan as they arrive for a state banquet at Buckingham Palace in London, on October 20, 2015. Chinese President Xi Jinping arrived for a four-day state visit as the government of Prime Minister David Cameron seeks stronger trade ties with the world's second-largest economy. AFP PHOTO / POOL / TOBY MELVILLE นโยบายราชาธิปไตยเพื่อรักษาผลประโยชน์ของจักรวรรดินิยมนี้ ในภายหลังฝรั่งเศสก็พยายามทำตามบ้าง โดยการฟื้นฟูราชสำนักของอันนัมให้มีบทบาททางการเมือง สถาปนาพระเจ้ากรุงหลวงพระบางขึ้นเป็นกษัตริย์ของ "ลาว" ซึ่งไม่เคยมีประเทศนี้มาก่อน แต่ฝรั่งเศสสร้างขึ้นพร้อมกับสถาบันกษัตริย์ "ลาว" กษัตริย์กัมพูชาก็เช่นเดียวกัน (หากทว่าพระเจ้าสีหนุกลับใช้โอกาสที่ฝรั่งเศสมอบให้ไปในทางชาตินิยม แทนการสนับสนุนนโยบายรัฐในเครือสัมพันธรัฐฝรั่งเศส – French Associated States) แต่ก็อย่างที่ทราบกันอยู่แล้วว่า ในที่สุดฝรั่งเศสก็ไม่สามารถรักษาอินโดจีนของตนไว้ได้ อังกฤษจึงเป็นเมืองหลวงของราชาธิปไตยด้วยเหตุนี้ และหนังเรื่อง The Crown จึงมีเสน่ห์ดึงดูดใจผู้ชมที่สนใจสถาบัน-กษัตริย์ทั้งโลกด้วยเหตุเดียวกัน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
1 ในผู้ต้องหาป่วย ศาลทหารเลื่อนสอบ 19 แกนนำ นปช. คดีเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติ Posted: 07 Mar 2018 08:38 AM PST ศาลทหารเลื่อนสอบ 19 แกนนำนปช. คดีเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติ เหตุ 1 ในผู้ต้องหาป่วย-มาไม่ครบ นัดใหม่ 17 ก.ค.นี้ โดย จนท.เบิกตัว จตุพร มาจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มีสีหน้ายิ้มแย้ม ทักทายมวลชน เจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์ ได้เบิกตัว จตุพร มาจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร 7 มี.ค.2561 ข่าวสดออนไลน์ รายงานว่า วันนี้ เมื่อเวลา 09.00 น. ที่ศาลทหารกรุงเทพ ทางอัยการศาลทหาร ได้นัดสอบคำให้การ 19 แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่ถูกดำเนินคดีฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 7/2557 ห้ามมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คนขึ้นไป จากกรณีทั้งหมดร่วมกันแถลงข่าวเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติ ที่อิมพีเรียล ลาดพร้าว เมื่อวันที่ 5 มิ.ย.2559 สำหรับแกนนำนปช. ทั้ง 19 คน ประกอบด้วย จตุพร พรหมพันธุ์ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ธิดา โตจิราการ เหวง โตจิราการ ยงยุทธ ติยะไพรัช ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ สงคราม กิจเลิศไพโรจน์ ก่อแก้ว พิกุลทอง วีระกานต์ มุสิกพงษ์ สมหวัง อัสราษี ธนาวุฒิ วิชัยดิษฐ เกริกมนตรี รุจโสตถิรพัฒน์ อารี ไกรนรา สมชาย ใจมุ่ง พรศักดิ์ ศรีละมุล นิสิต สินธุไพร ยศวริศ ชูกล่อม ศักดิ์ระพี พรหมชาติ และ จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ไชยศีรษะ ข่าวสดออนไลน์ รายงานด้วยว่า ในวันนี้มีแกนนำนปช.มาเพียง 18 คน ขาด ศักดิ์ระพี ที่ป่วยไม่สามารถเดินทางมาศาลได้ โดยได้ส่งทนายความมาขอเลื่อนนัดศาล ขณะที่เจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์ ได้เบิกตัว จตุพร มาจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร โดย จตุพร มีสีหน้ายิ้มแย้ม ทักทายมวลชนที่มาให้กำลังใจประมาณ 15 คน ก่อนจะเข้าไปในศาลทหาร โดยทั้งหมดได้ขึ้นไปชั้น 2 บัลลังก์ 5 เพื่อรอสอบคำให้การ ต่อมาเวลา 11.30 น. ณัฐวุฒิ ให้สัมภาษณ์ว่า วันนี้ ศักดิ์ระพี มีอาการป่วยกระทันหัน เนื่องจากอาหารเป็นพิษ โดยมีใบรับรองแพทย์มาแสดงต่อศาล และศาลได้พิจารณาแล้ว พร้อมทั้งอัยการศาลทหารที่เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องก็ไม่ได้คัดค้าน จึงเลื่อนนัดสอบคำให้การ เป็นวันที่ 17 ก.ค.นี้ ณัฐวุฒิ กล่าวว่า ส่วนกรณี จตุพร ที่อยู่ระหว่างถูกคุมขัง ได้ยื่นแก้คำฟ้องของอัยการศาลทหาร ซึ่งไม่มีอะไรสลับซับซ้อน เป็นไปตามกระบวนการของทนายฝ่ายจำเลย ซึ่งเราต้องต่อสู้ตามกระบวนการของเราต่อไป ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
วิญญัติ ชาติมนตรี: ย้อนหลัง ลับหลัง ถอยหลัง ขัดหลักความยุติธรรมและนิติธรรมสากล Posted: 07 Mar 2018 08:26 AM PST
ตามที่ปรากฏเป็นข่าวที่ศาลฏีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยคำร้องของอัยการสูงสุด (นายเข็มชัย ชุติวงศ์) ได้ยกคดีแปลงค่าสัมปทานกิจการโทรคมนาคมเป็นภาษีสรรพสามิตขึ้นพิจารณาใหม่ ย้อนหลังไปก่อนที่กฎหมายใหม่จะใช้บังคับ โดยไม่ต้องมีตัวจำเลยมาศาลก็ได้ เพื่อให้ศาลมีอำนาจพิจารณาคดีลับหลังจำเลยได้อีกด้วย ผมจึงเข้าใจได้ไม่ยากว่าที่อดีตนายกทักษิณฯ ไม่เห็นด้วยและไม่ยอมรับระบบกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่อาศัยกฎหมายล้าหลังใช้บังคับนี้ เป็นเรื่องที่ขัดต่อหลักนิติธรรมสากลจริงๆ การที่ศาลฎีกาฯออกหมายจับอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ฐานความผิด เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่รับสัมปทานกรณีแปลงค่าสัมปทานกิจการโทรคมนาคมเป็นภาษีสรรพสามิต เพื่อให้ได้ตัวมาเข้าสู่การพิจารณาคดีนั้น ก็ไม่น่าจะใช่เรื่องที่จะวิตกอะไร สบายๆก็ว่าได้ บางคนบอกว่า การลงโทษคนโกงชาติต้องทำได้ แล้วที่ว่าใครเป็นคนโกง ผู้ใดชี้ว่าโกง แล้วแค่ไหนที่จะยอมรับกันว่าโกง บ้านเมืองนี้ขนาดความโกงยังไม่เท่าเทียมกัน แค่บอกยืมมาแล้วคืนไป ยังไม่โกงเลย เพียงแค่นี้ สาระสำคัญที่อ้างมากำจัดการโกงก็ไม่น่าเชื่อถือแล้ว ที่พูดมา ผมก็แสดงออกว่าไม่เห็นด้วยในแง่ของความยุติธรรมที่ควรจะมีในแผ่นดิน ก็คือ โกงกันตั้งแต่ออกกฎหมายไหมล่ะ เช่น กฎหมายใหม่ที่ให้ใช้กับคดีที่ฟ้องมาก่อน เช่น คดีของอดีตนายกฯ การฟ้องคดีอาญาทางการเมืองไม่ต้องมีตัวจำเลยมาปรากฏตัวที่ศาล ศาลก็มีอำนาจพิจารณาคดีลับหลังจำเลยได้ โกงความยุติธรรมไหม? แม้แต่คดีอาญาทั่วไปไม่ว่าจะมีโทษสูงสุดประหารชีวิต หรือจำคุกกี่ปี คดีเหล่านั้นยังให้โอกาสจำเลยต่อสู้คดีอย่างเต็มที่และพิจารณาเปิดเผยต่อหน้าจำเลย แต่คดีอาญาทางการเมืองกลับพิจารณาคดีย้อนหลังได้ วิญญูชนทั่วไปคงเห็นว่าระบบกฎหมายเช่นนี้เสมือนว่าเป็นการมุ่งใช้บังคับเป็นเฉพาะบางคนแต่ไม่ได้บังคับใช้ทั่วไป ประการต่อมา เมื่อเห็นว่าจำเลยไม่มาศาลจึงเชื่อว่าหลบหนีคดี กฎหมายใหม่นี้ก็ยังไม่ให้เอาระยะเวลาที่หลบหนีนำมานับรวมระยะเวลาเป็นอายุความ การหลบหนีจึงไม่เป็นเหตุให้ขาดอายุความตามที่กฎหมายใหม่บัญญัติไว้ อย่างนี้โกงด้วยเวลาที่ควรจะเสมอภาคบังคับใช้ให้เป็นการทั่วไปไหม? ที่ท่านรองนายกฯ ฝ่ายกฎหมาย ให้ความเห็นว่า "ช่วยไม่ได้..." ผมเองก็เห็นชัด นักกฎหมายระดับกูรู เป็นอาจารย์สอนกฎหมาย เคยเป็นไอดอลของผมมาตั้งแต่เด็กๆ ก่อนจะมาเรียนกฎหมายด้วยซ้ำ ท่านไม่ได้ช่วยอะไรต่อการพัฒนาระบบกฎหมายเลยจริงๆ (ผิดหวังนะ) กฎหมายบ้านเราจึงมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากประเทศอื่นๆ จึงไม่น่าแปลกใจว่า ทำไมจึงไม่เป็นที่ยอมรับ รวมความแล้วเห็นว่า กฎหมายที่ออกมาให้ย้อนหลังไปฟ้องคดีก่อนหน้านี้ แล้วสามารถพิจารณาคดีลับหลังได้ จึงเป็นระบบกฎหมายที่ถอยหลังลงคลอง.
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ILO เปิดผลศึกษาแรงงานประมง-อาหารทะเลในไทย มีทั้งความก้าวหน้าและการละเมิดที่ยังพบอยู่ Posted: 07 Mar 2018 04:01 AM PST รายงานฉบับใหม่ iLO เรื่องสภาพการทำงานในไทยของแรงงานประมงและอาหารทะเลสะท้อนภาพรวมของความก้าวหน้า การละเมิดแรงงานที่ยังพบอยู่อย่างต่อเนื่อง และข้อท้าทายที่ยังต้องเผชิญอยู่ ที่มาภาพประกอบ เว็บไซต์ https://shiptoshorerights.org/ 7 มี.ค.2561 เว็บไซต์องค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ILO รายงานว่า โครงการสิทธิเรือสู่ฝั่ง ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสหภาพยุโรปได้ประเมินสภาพการทำงานในอุตสาหกรรมประมงและอาหารทะเลไทยที่ถูกตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างเข้มข้นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ผลการศึกษาวิจัยข้อมูลพื้นฐานเรื่องแรงงานประมงและอาหารทะเลในประเทศไทย เป็นงานวิจัยฉบับแรกที่ทำขึ้นในประเทศไทยที่ครอบคลุมทั้งภาคประมง ภาคอาหารทะเลและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ รายงานข่าวระบุต่อว่า การวิจัยได้รวมผลจากการสัมภาษณ์แรงงานในภาคประมงและอาหารทะเล จำนวน 434 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานข้ามชาติที่ทำงานให้ผู้ประกอบการรายใหญ่และรายเล็กใน 11 จังหวัด ในปี 2560 โดยได้ทำการสำรวจเกี่ยวกับการจัดหางาน ค่าจ้าง ชั่วโมงการทำงาน ความปลอดภัยและสุขภาพ บริการ กลไกร้องเรียน และสภาพความเป็นอยู่ ตลอดจนตัวชี้วัดของการบังคับใช้แรงงานและการดำเนินการตามกฎหมาย ถึงแม้การศึกษาวิจัยนี้ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ครอบคลุมในทุกเรื่องทั้งหมด ผลการศึกษาสะท้อนทั้งความคืบหน้าและปัญหาที่แรงงานที่สัมภาษณ์ยังคงเผชิญอยู่ รายงานมีข้อเสนอแนะให้มีการบังคับใช้กฎหมายไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อป้องกันและยุติการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ ผลการวิจัยที่สำคัญหลักฐานแห่งความก้าวหน้า
การละเมิดแรงงานที่ยังพบอยู่อย่างต่อเนื่อง
รายงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศมีข้อเสนอแนะให้รัฐบาลไทย องค์การนายจ้าง สหภาพแรงงาน ภาคประชาสังคมและผู้ซื้ออาหารทะเลทั่วโลกร่วมมือกันผลักดันให้มีการบังคับใช้กฏหมายไทยให้มีประสิทธิภาพและให้เป็นอุตสาหกรรมที่นำไปสู่งานที่ดีมีคุณค่า จรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า "งานวิจัยข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับแรงงานประมงและอาหารทะเลได้แสดงถึงความมุ่งมั่นร่วมกันของทุกหุ้นส่วนภาคีในสังคม ที่จะขับเคลื่อนและประเมินความก้าวหน้าในการดำเนินงานยกระดับคุณภาพชีวิตและมาตรฐานแรงงานในภาคประมงและอาหารทะเลให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และการบรรลุเป้าหมายที่ 8 การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ ตามกรอบการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development) โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (No one left behind) รวมถึงการให้ความสำคัญต่อการเป็นห่วงโซ่อุปทานของโลก (Global Supply Chain) ที่ดำเนินงานอย่างมีจริยธรรม มีความยุติธรรม และมีการจ้างงานที่มีคุณค่า อันเป็นหัวใจสำคัญของความยั่งยืน และเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลไทย" ลุยซา แร็กเฮอร์ อุปทูตของคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยกล่าวว่าสหภาพยุโรปยึดมั่นในการส่งเสริมงานที่มีคุณค่าที่ครอบคลุมทั้งการสร้างงาน การประกันสิทธิประโยชน์ของผู้ใช้แรงงาน สิทธิการประกันสังคมและการเสวนาทางสังคมที่มีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน สหภาพยุโรปยินดีและชื่นชมกับรัฐบาลไทยสำหรับความก้าวหน้าในความสำเร็จที่รวดเร็วเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการสร้างกรอบกฎหมายและระเบียบเพื่อพัฒนาคุณภาพการทำงานในภาคประมงและอาหารทะเลทั้งของแรงงานข้ามชาติและแรงงานไทย ทั้งนี้ สหภาพยุโรปตระหนักดีถึงข้อท้าทายและปัญหาอื่นๆ ที่ยังมีอยู่ ซึ่งทางสหภาพยุโรปพร้อมที่จะสนับสนุนและช่วยเหลือรัฐบาลไทยเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
อันธิฌา แสงชัย: สิทธิทางเพศ กับสันติภาพชายแดนใต้ คือเรื่องเดียวกัน Posted: 07 Mar 2018 03:26 AM PST 8 ปีที่แล้วเธอผู้เป็นเจ้าของร้านหนังสือบูคู ปัตตานี ตัดสินใจบอกความจริงกับสามี ครอบครัวและสังคมว่าเธอชอบผู้หญิงแล้วย้ายมาอยู่กับแฟนที่ปัตตานี ฟังคำบอกเล่าของ อันธิฌา ถึงประสบการณ์ตอนเผยตัวตน และสถานการณ์ด้านสิทธิทางเพศใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ 8 ปีที่แล้วอันธิฌา แสงชัย ตัดสินใจบอกความจริงกับสามี ครอบครัว และสังคมว่าเธอชอบผู้หญิง แล้วย้ายมาอยู่กับแฟนที่ปัตตานีในเวลาที่สังคมยังไม่เปิดกว้างอย่างในปัจจุบัน จนเธอต้องเผชิญแรงกดดันมากพอสมควร ปัจจุบัน อันธิฌา เป็นอาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี นักกิจกรรมเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสิทธิทางเพศ และร่วมกับแฟนเปิดร้านหนังสือบูคู ปัตตานี รวมทั้งทีมฟุตบอลบูคู เอฟซี ที่มีทั้งหญิง ชาย และกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ จุดประสงค์เพื่อให้ฟุตบอลเป็นพื้นที่เรียนรู้เรื่องความเท่าเทียมทางเพศ และล่าสุดทีมฟุตบอลบูคู เอฟซีกำลังจะได้รางวัลเชิดชูเกียรติผู้หญิงนักปกป้องสิทธิ จากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน เนื่องในวันสตรีสากล (8 มีนาคม) ประชาไทสัมภาษณ์ อันธิฌา แสงชัย ถึงประสบการณ์ตอนเผยตัวตนเมื่อ 8 ปีที่แล้ว วันที่สังคมอาจไม่เข้าใจ แต่ 'ไม่ใช่ความผิดไม่ว่าเราเป็นเพศไหน' ชวนคุยเรื่องความสำคัญของการต่อสู้เรื่องสิทธิทางเพศ และสถานการณ์ด้านสิทธิทางเพศใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ รวมถึงอัพเดตแผนที่ของทีมฟุตบอลบูคู เอฟซี ที่เธอหวังว่าจะได้ก้าวไปแข่งในทัวร์นาเมนต์ที่เป็นทางการมากขึ้น
ความรู้สึกตอนเปิดเผยตัวเองเราคิดหนักเหมือนกัน เพราะสถานะของเราค่อนข้างซับซ้อน เราแต่งงานแล้ว มีลูกแล้ว ถ้าเรายังโสด คิดว่าคงเป็นเรื่องง่ายกว่านี้มากที่จะตัดสินใจว่าเราจะมีวิถีทางเพศแบบไหน เป็นเรื่องยากที่จะนิยามตัวเองให้คนอื่นรู้ สิ่งที่ซับซ้อนที่สุดของเรา คือในสถานะที่เราเป็นแม่ เราค้นพบว่า สิ่งที่ทำให้เราเป็นกังวลเป็นเพราะเราโดนสอนมาอีกแบบ และสังคมไม่เข้าใจ แต่สุดท้ายเราก็ชัดเจนว่า มันไม่ใช่ความผิดไม่ว่าเราเป็นเพศไหน แต่เป็นเพราะสังคมมีวิธีการบางอย่างที่ตัดสินอย่างคับแคบ ดังนั้นเราไม่มีเหตุผลที่จะต้องรู้สึกแย่กับตัวเอง และเวลาที่สังคมมีปัญหากับเรา เราก็ควรที่จะพูดว่า มันไม่โอเคยังไง เราต้องออกมายืนยันในสิ่งที่เราเป็น ชีวิตที่เราเลือกที่จะเดิน ตอนย้ายมาอยู่ที่ปัตตานี ครอบครัวก็ไม่ยอมรับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือแม่ เราเป็นลูกคนสุดท้อง ในบ้านไม่มีลูกคนไหนที่รักเพศเดียวกัน แม่ไม่ได้คุ้นเคยกับเรื่องพวกนี้ จึงคิดว่ามีผลกระทบกับแม่มากที่สุด เขาคงจะกลัวสิ่งที่เราต้องเผชิญต่อไปในชีวิต เขาคงเป็นห่วง เขามองความสุขในชีวิตว่า มันควรจะเป็นแบบหนึ่ง คือแต่งงานมีสามี มีลูก เป็นครอบครัวอบอุ่น แต่เขานึกไม่ออกว่า ถ้าเรามีแฟนเป็นผู้หญิงเราจะมีชีวิตที่ดีได้อย่างไร เราก็แก้ปัญหาเรื่องนี้ได้โดยการใช้เวลาหลายปีเพื่อทำให้แม่เห็นว่า แม้เรามีแฟนเป็นผู้หญิง เราก็มีความสุขมาก เลือกชีวิตที่อยากเป็นและมีชีวิตที่ดีได้ และดีขึ้นด้วยเพราะการยอมรับตัวเอง มันทำให้เรามีความสุขอย่างลึกซึ้งจากข้างใน โดยไม่ต้องรอให้ใครมากำกับว่าเราควรมีความสุขกับอะไร มีความทุกข์กับอะไร พอแม่เห็นว่าชีวิตเราไม่ได้เป็นแบบที่เขากังวล หรืออย่างที่คนอื่นบอกเขามาตลอด มันก็ค่อยๆ เกิดการยอมรับ เกิดความเข้าใจแบบที่เราไม่ต้องอธิบาย เขาอาจจะพูดเป็นคำออกมาได้ไม่ชัดหรอก เขาแค่รู้สึกลึกๆ ข้างในว่า ก็ไม่เห็นเป็นไร มันก็โอเคดี ถึงจุดหนึ่งมันก็โอเคมาก และเรื่องวิถีทางเพศของเราก็ไม่ได้เป็นปัญหากับความสัมพันธ์ของเขา ที่สำคัญสังคมเปลี่ยนเร็วมากในช่วง 7-8 ปีที่ผ่านมา โซเชียลมีเดียมีผลมาก มันสามารถสร้างพื้นที่ให้กลุ่มคนเหล่านี้สื่อสารกันได้มากขึ้น ให้เขามารวมตััวกันได้ ทำให้เราแสดงอัตลักษณ์เรื่องเพศ รสนิยมทางเพศออกมาได้ง่ายขึ้นผ่านโซเชียลมีเดีย และจริงๆ เราก็เจอแฟนในเฟซบุ๊ก เด็กในวัยนี้ที่โตมากับโซเชียลมีเดีย ทำให้เขาได้รู้ได้เห็นอะไรอย่างกว้างขวาง แล้วก็กลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาของเขา คนเจนเนอเรชั่นก่อนที่ไม่คุ้นเคยกับโซเชียลมีเดียก็อาจจะตามไม่ทัน
กังวลว่าลูกจะเข้าใจไหม?ไม่กังวลเลย ถ้าถามเมื่อสัก 8 ปีก่อนเราคงกังวล ตอนนั้นลูกเราประมาณ 2 ขวบ ก็คิดว่า ตายแล้ว ลูกเราต้องโตมาต้องเผชิญหน้ากับอะไรวะเนี่ย ไปบอกใครว่า แม่มีแฟนเป็นผู้หญิงจะมีปมด้อยไหม แต่ตอนนี้เรารู้สึก โอ้โห ข้อมูลมีเยอะแยะเลย แล้วข้อมูลที่ดีที่สุดสำหรับเขาไม่ใช่ข้อมูลจากโลกอินเทอร์เน็ตด้วย มันคือตัวเรานี่แหละที่ทำให้เขาเห็นว่า เราก็เป็นมนุษย์ปุถุชนไม่แตกต่างจากคนอื่น แล้วเราก็มีความรักให้เขาไม่ว่าตัวเราจะเป็นใคร หรือมีวิถีทางเพศแบบไหน ไม่ได้ทำให้ความรักที่เรามีต่อเขามันผิดเพี้ยน แตกต่าง เรารู้สึกว่าเรื่องนี้เขาเข้าใจได้ โดยเฉพาะเขาเป็นเด็กที่กำลังโตมาในช่วงทีสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลง เขาก็จะเห็นความหลากหลายเหล่านี้เอง
การต่อสู้ทางเพศสำคัญอย่างไร?ความเป็นเพศเป็นอัตลักษณ์ที่กำหนดมนุษย์เราในทุกมิติของชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย เราถูกสอนให้ทำอะไรเพราะเราเป็นเพศนั้นเพศนี้ เราถูกบอกว่า เรามีคุณค่ามากน้อยแค่ไหนเพราะเราถูกกำกับด้วยเพศ เราถูกบอกแม้กระทั่งว่า เราควรมีความสุขกับเรื่องไหน หรือไม่ควรมีความสุขกับเรื่องไหนเพราะเรื่องเพศ ในที่สุดมันเกี่ยวกับชีวิตเรา ดังนั้นปัญหาเรื่องนี้จะเกิดขึ้นเมื่อเราไม่เป็นไปตามคุณค่า ค่านิยม บรรทัดฐานที่เป็นกระแสหลัก มันจะมีผลกระทบต่อชีวิตเราทันที เราอาจถูกเลือกปฏิบัติ ถูกใช้ความรุนแรง ถูกมองไม่เห็นตัวตน ไม่ได้รับความเป็นธรรม เข้าไม่ถึงโอกาส ฯลฯ ซึ่งมาจากปัจจัยเรื่องเพศ ในระบบวิธีคิดแบบนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้ชาย ผู้หญิง หรือกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศก็ได้รับผลกระทบได้ทั้งนั้น ผลกระทบที่เกิดกับผู้ชายหรือผู้หญิงก็ไม่เหมือนกัน บางอย่างผู้ชายก็เจอความรุนแรงมากกว่า บางอย่างผู้หญิงก็เจอความรุนแรงมากกว่า เช่น เกิดเหตุการณ์ความรุนแรง เมียตาย ผัวอยู่ เขาก็อาจจะแต่งงานใหม่ หาคนมาดูแลลูกได้ แต่ถ้าผัวตาย เมียอยู่จะต่างกัน แต่งงานใหม่ได้ แต่ก็จะมีเงื่อนไขทางสังคมที่ทำให้เขาไม่ได้มีคุณค่าหรือศักดิ์ศรีเท่ากับที่ผู้ชายแต่งงานใหม่ ถ้าผู้หญิงซึ่งเป็นแม่ม่าย ส่วนใหญ่ก็จะไม่ได้แต่งงานกับผู้ชายที่โสด อาจจะแต่งงานกับผู้ชายที่มีภรรยาอยู่แล้ว สถานะก็จะต่างกัน หรือผู้หญิงบางคนไม่อยากแต่งงานใหม่ สังคมก็ไม่เชื่อว่าผู้หญิงจะสามารถเลี้ยงดูตัวเอง หรือจัดการทรัพย์สินที่มีอยู่ได้ ก็ถูกบังคับให้แต่งงานใหม่ เพื่อไปหาผู้ปกครองหรือผู้ดูแลคนใหม่ ทั้งๆ ที่ผู้หญิงบางคนอาจจะพบใจกับชีวิตที่เป็นอยู่ หรือดูแลตัวเองได้ เรื่องเพศยังเชื่อมโยงกับเรื่องทรัพยากร ความรุนแรง แม้กระทั่งเรื่องสันติภาพก็เกี่ยวโยงกับเรื่องเพศ ขบวนการของผู้หญิงเกิดขึ้นเพราะสถานการณ์รุนแรง ผู้หญิงเป็นคนได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม มีผู้หญิงกลุ่มหนึ่งที่ทำงานในภาคประชาสังคม เช่น ประเด็นสิ่งแวดล้อม ประเด็นสุขภาพ ประเด็นอาชีพ คนเหล่านี้สนใจสังคมอยู่แล้ว เมื่อเกิดเหตุการณ์ความรุนแรง คนเหล่านี้ก็ขยับมาทำประเด็นความรุนแรงมากขึ้นด้วย รวมถึงคนที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงก็ขยับตัวมาทำงานเพื่อสังคม เช่น เคยเป็นคนที่ถูกเยียวยา ก็ลุกขึ้นมาเยียวยาคนอื่น หรือครอบครัวตัวเองเคยถูกฟ้องจากคดีความมั่นคง ก็ลุกขึ้นมาเป็นคนช่วยเหลือด้านกฎหมาย
ดังนั้นใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ การต่อสู้เกี่ยวกับสิทธิทางเพศจึงน่าจะทำไปพร้อมกับประเด็นเรื่องสันติภาพได้?จริงๆ มีกลุ่มที่ทำงานด้านนี้โดยตรงเป็นเครือข่ายใหญ่ ทำงานในวาระผู้หญิงชายแดนใต้ ประกอบไปด้วยผู้หญิงในองค์กร กลุ่มต่างๆ รวมตัวกันประมาณ 23 กลุ่มองค์กรเป็นคณะทำงานชุดหนึ่ง ทำงานขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นความรุนแรงใน 3 จังหวัดโดยตรง มีข้อเสนอไปแล้วหลายฉบับ เช่น เรื่องพื้นที่สาธารณะปลอดภัย ตอนนี้ก็ยังทำงานกันอยู่ เครือข่ายก็มีความเข้มแข็งมากขึ้นเรื่อยๆ
การเคลื่อนไหวเรื่องสิทธิใน 3 จังหวัดชายแดนใต้พูดเรื่องสิทธิทางเพศมากขึ้น?คิดว่ามันถูกพูดถึงมากขึ้น ตื่นตัวกันมากขึ้น อันที่จริงการที่ผู้หญิงเริ่มเข้ามาเคลื่อนไหวเรื่องประเด็นสันติภาพ หลายๆ ครั้งมันไม่ได้เริ่มมาจากการมองเห็นปัญหาในเชิง Gender เพียงแต่เขาเห็นปัญหาเรื่องอื่น เช่น สิ่งแวดล้อม ปากท้อง แล้วเข้ามาสู่การมีมุมมองเรื่อง Gender กันที่หลัง แต่ขณะเดียวกัน ก็มีผู้หญิงบางคนที่เห็นเรื่อง Gender ตั้งแต่ต้นเลย ซึ่งอาจเกิดจากค่านิยมของชุมชน
สิทธิผู้หญิงกับสิทธิของ LGBT ต้องเคลื่อนไปพร้อมกันไหม?เรามองว่ามันต้องเคลื่อนไปพร้อมกัน แม้ว่าสิทธิสตรีอาจจะเริ่มก่อน แต่จริงๆ แล้วมันกำลังพูดเรื่องเดียวกัน คือความเท่าเทียมทางเพศของทุกเพศ เพราะอย่างเรา เรามองว่าอัตลักษณ์เราคือผู้หญิง แต่รสนิยมทางเพศเราชอบได้ทั้งชายและหญิง เราก็เป็นผู้หญิงที่อยู่ในกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ ดังนั้นการเคลื่อนไหวของสิทธิสตรีจึงต้องเคลื่อนไปพร้อมกับสิทธิของ LGBT
ภาครัฐกับขบวนการแบ่งแยกดินแดนให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิสตรีและ LGBT ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ไหม?ไม่เลย ทั้งภาครัฐ ขบวนการแบ่งแยกดินแดน ไม่เคยพูดถึงเรื่องนี้ คนที่พูดจะเป็นภาคประชาสังคม ช่วง 5-6 ปีที่แล้ว เริ่มมีขบวนการผู้หญิงที่เข้มแข็งมากขึ้น แต่แน่นอนว่าไม่มีในพื้นที่ทางการหรือบทบาทเชิงนโนยาย เช่น เวทีเจรจา ไม่มีผู้หญิงในนั้นเลย แต่ผู้หญิงจะอยู่ในลักษณะภาคประชาสังคมที่สร้างข้อเรียกร้องต่างๆ เข้าไป แน่นอนผู้หญิงพยายามเรียกร้องให้ยุติความรุนแรง สร้างความเป็นธรรมในสังคม แต่ผู้หญิงจะอยู่ในพื้นที่ของงานด้านการเยียวยาเยอะ ซึ่งเรามองว่า ในมิติต่างๆ มันก็เกี่ยวกับสันติภาพไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม แม้งานด้านอาชีพ ปากท้อง ก็คือการทำงานให้สังคมมีต้นทุนที่ดีขึ้น
กิจกรรมหลักๆ ที่ทำเกี่ยวกับเรื่องสิทธิทางเพศคืออะไรบ้าง?โดยหลักๆ แล้วก็ทำเรื่องของสิทธิทางเพศ สิทธิมนุษยชน แต่พอมาดูในเนื้องานเราไม่ค่อยได้ทำในเชิงเรียกร้องความเท่าเทียมทางนโยบาย เราทำในเชิงเสริมศักยภาพผู้หญิง กลุ่มคนหลากหลายทางเพศ เยาวชน ทำกลุ่มคุย หรือทำพื้นที่เล็กๆ หรือกิจกรรมต่างๆ ให้เขามาเรียนรู้บางเรื่อง ให้เขาเห็นคุณค่า มั่นใจในตัวเอง เช่น ทีมฟุตบอลบูคู ก็เป็นหนึ่งในนั้น
การเป็นคนนอกของเราเป็นอุปสรรคไหม?หลักๆ เลยคิดว่า มันง่ายที่จะถูกตีตรา เราเป็นคนนอก นี่เป็นความคิดความเชื่อข้างนอก หรือเราเป็นคนนอกเราไม่เข้าใจความซับซ้อน จารีต ประเพณี วัฒนธรรมของที่นี่หรอก เราเลยมองว่า บางเรื่องเป็นปัญหา เราจะถูกตัดสิน แต่ขณะเดียวกัน พอเราเป็นคนนอก เราก็มีพื้นที่ทำงาน เขาจะไม่ค่อยเข้ามายุ่งอะไรกับเราเท่าไหร่ เขาจะมองว่าเราจะทำอะไรก็ทำไป ไม่ใช่คนที่เขาจะมาควบคุมจัดการ เราทำงานกับคนในพื้นที่ได้ แล้วแต่ประเด็น ถ้าเรื่องทั่วไป เช่น ความเท่าเทียมทางเพศ ให้ผู้หญิงมีบทบาทมากขึ้น ก็จะไม่ใช่เรื่องที่เราจะโดนโจมตี เพราะเป็นสิ่งที่ในสังคมเข้าใจได้ บางประเด็นเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เขาอาจจะเข้าใจว่าเรากำลังชักจูงคนในพื้นที่ไปในแนวทางที่ผิดจารีต ผิดหลักศาสนา ก็เป็นเรื่องที่เราต้องระวัง ต้องอาศัยช่องทางในการสื่อสาร พยายามสื่อสารมากขึ้น ทำงานในลักษณะที่เป็นกลุ่มเล็กลงหรือกลุ่มปิดมากขึ้น หรือกลุ่มที่เข้าใจตรงกันก่อน อย่างเวลาเราพูดถึงสิทธิทางเพศนั้นมีหลายเรื่อง เช่น สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ ความรุนแรงในครอบครัว การถูกล่วงละเมิดทางเพศ การยุติการตั้งครรภ์ บางเรื่องไม่ใช่เรื่องที่เราจะลงไปทำงานได้แบบง่ายๆ ตรงไปตรงมา เช่น ตอนทำงานกับผู้หญิงที่เป็นวัยผู้ใหญ่ เราทำวงคุย วงที่ให้เขารู้สึกปลอดภัย คุยกันได้อย่างสบายใจ เรื่องความสุขทางเพศ เรื่องความรู้ทั่วๆ ไปเกี่ยวกับ Gender เขาก็จะมีคำถามที่เขาไม่รู้จะไปถามใคร เช่น ช่วยตัวเองผิดไหม เป็นต้น
ผู้ใหญ่มีแนวโน้มจะยอมรับได้มากขึ้นไหม?ถ้าพูดในแง่ครอบครัว ชุมชน คิดว่าเรื่องนี้มีแนวโน้มที่ต่อรองกันได้ เพราะเขาเห็นเด็กคนนี้ตั้งแต่เล็กๆ ตั้งแต่บุคลิกภาพทางเพศเขายังไม่ชัดเจน เขาก็มีความรักความผูกพัน แต่ก็แล้วแต่ปัจจัยเงื่อนไข แล้วแต่ว่าครอบครัวเป็นแบบไหน ชุมชนเป็นยังไง ถ้ามีลักษณะการควบคุมแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดมากๆ ประนีประนอมต่อรองไม่ได้ ก็อาจเผชิญหน้ากับความกดดันกันทุกฝ่าย และแน่นอนว่าไม่ใช่แค่เรื่องเพศ แต่เด็กที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานทางสังคมก็มีสิทธิที่จะโดนบีบบังคับได้เช่นกัน เช่น เด็กติดยาเสพติด เด็กที่ท้องไม่พร้อม เปรียบเทียบระหว่างผู้ใหญ่กับวัยรุ่นใน 3 จังหวัด เราคิดว่าวัยรุ่นรู้อะไรกว่าที่ผู้ใหญ่คิดเยอะ เพราะเขาเข้าถึงอินเทอร์เน็ต เขาอาจจะรู้ถูกๆ ผิดๆ บ้าง แต่เขาก็ยังรู้แล้วเอามาถาม อย่างประเด็นเรื่องความหลากหลายทางเพศ ถ้าพูดกับผู้ใหญ่เขาจะไม่มีชุดข้อมูล เขาไม่เห็นตัวอย่าง แต่เราคิดว่าเด็กๆ เห็นตัวอย่างจากในโลกโซเชียล เด็กเข้าใจได้มากกว่าผู้ใหญ่ ต่อให้เป็นโรงเรียนปอเนาะ (โรงเรียนศาสนาอิสลาม) หรือแม้กระทั่งในชุมชน เราคิดว่าเด็กยอมรับกันเองได้มากกว่าที่ผู้ใหญ่เข้าใจ เขามีเพื่อนที่มีความหลากหลายทางเพศ เขาเข้าใจเพื่อนในระดับที่ดี แต่ขณะเดียวกันก็ยังเกิดการล้อกัน การแกล้งกัน ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องเพศ เช่น เรื่องฐานะ รูปร่างหน้าตา สำเนียงภาษา
ศาสนาอิสลามยังมีอิทธิพลที่เข้มงวดกันเรื่องนี้มากกว่าที่อื่น?ศาสนาอิสลามเป็นชุดคำอธิบายถึงแนวทางการปฏิบัติของชีวิตทั้งหมดตั้งแต่เกิดจนตาย ถ้าเป็นมุสลิมก็จะเชื่อมั่นในเรื่องนี้เคร่งครัดกว่าคนพุทธ และยิ่งเป็น 3 จังหวัดชายแดนใต้ก็จะยิ่งเข้มข้นในเรื่องนี้ เพราะความเป็นชุมชนยังเข้มแข็งมาก และยิ่งเมื่อมันผูกพันกับเราตั้งแต่เกิดจนตาย ความเชื่อทางศาสนาเลยมีผลกับชีวิตเขาค่อนข้างเยอะ คนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้บางคนก็ไม่คุ้นเคยกับวัฒนธรรมหรือศาสนาอื่นเลย
แผนก้าวต่อไปของทีมฟุตบอลบูคู?แผนตอนนี้คือรอให้ทีมเข้มแข็ง แล้วอยากให้สมาชิกในทีมกำหนดทิศทางของทีมด้วยตัวเขาเอง เพราะเราเป็นแค่คนริเริ่ม แต่คนที่จะสืบสานต่อไป คือคนรุ่นใหม่ๆ ที่เขาลงเล่นในทีม เขาน่าจะสามารถออกแบบได้ว่า เขาอยากให้ทีมนี้ทำอะไร แล้วเราก็จะช่วยกันดูความเป็นไปได้ต่อไป คร่าวๆ ที่เห็นทิศทาง เราอยากให้ทีมเข้มแข็งขึ้นในลักษณะที่เราสามารถไปแข่งในทัวร์นาเมนต์ที่เป็นทางการกว่านี้ได้ เช่นไปแข่งในทัวนาเมนต์ 14 จังหวัดภาคใต้ อีกส่วนหนึ่งคือเติบโตในลักษณะของการมีโค้ช ผู้ฝึกสอน ทีมเราเกิดมาจากฐานคิดว่า ฟุตบอลเป็นที่ที่เรามาเรียนรู้เรื่องความเท่าเทียมทางเพศ และโค้ชเองก็ต้องเทรนด์คนรุ่นใหม่ๆ ในลักษณะของการเทรนด์แบบมี Gender Lens มีมุมมองในเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ จังหวัดปัตตานีเป็นจังหวัดที่ค่อนข้างพิเศษ กีฬาฟุตบอลฮิตมากจนกระทั่งเขาน่าจะอยากมีลีคที่เป็นฟุตบอลหญิง ถ้าเขามีเมื่อไหร่เราก็คงเป็นทีมหนึ่งที่เข้าไปเล่นด้วย สิ่งที่คนไม่ค่อยรู้คือ มันมีทีมฟุตบอลหญิงในพื้นที่นี้มาตั้งนานแล้วแต่ไม่มีพื้นที่ให้พูดถึง ทีมประจำจังหวัดปัตตานีเองก็มีต้นสังกัดกับการกีฬาแห่งประเทศไทยไปแข่ง 14 จังหวัดภาคใต้ ทีมปัตตานีได้ที่ 2 แต่มันไม่ได้ถูกพูดถึง ไม่ได้เป็นที่ยอมรับ พอบูคูมาทำก็อาจทำให้คนพูดถึงเรื่องนี้มากขึ้น
แม้ว่าศาสนาอิสลามจะมีกฎว่า ผู้หญิงต้องระวังในการเคลื่อนไหวร่างกาย ระวังเรื่องการเคลื่อนไหวสรีระ แต่เขาก็ยังสามารถตั้งทีมฟุตบอลหญิงประจำจังหวัดได้?สิ่งที่เป็นตอนนี้คือ คุณจะเล่น ก็เล่นของคุณไป แต่คุณไม่ต้องออกมาพูด คุณจะเคลื่อนไหวร่างกายคุณก็เคลื่อนไหวไปเงียบๆ แล้วคุณก็ไปแข่งของคุณเงียบๆ แต่ทันทีที่คุณเล่นไปด้วยแล้วตะโกนเสียงดังๆ ไปด้วยว่า ผู้หญิงเคลื่อนไหวร่างกายได้นะ อันนั้นคุณจะมีปัญหาเกิดขึ้นกับกลุ่มคนที่เขาไม่เห็นด้วย
สมาชิกตอนนี้มีกี่คน?สมาชิกในทีมตอนนี้ที่มีเบอร์ติดเสื้อมีอยู่ 23 คน ทีมเรามีทุกเพศ ประมาณครึ่งหนึ่งเป็นผู้หญิง มีผู้ชาย 5 คน แล้วก็มีกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ แต่เวลาแข่งเราแข่งเป็นทีมหญิง เพราะฉะนั้นก็แล้วแต่การตกลงกับอีกทีมตั้งแต่แรก เช่น อาจจะขอให้ผู้ชายเล่นด้วย หรือให้ผู้ชายเป็นประตู หรือผู้ชายก็อาจไม่ได้เล่นเลย แต่ตอนซ้อมในทีม เราซ้อมด้วยกันหมด เราคิดว่ามันมีคุณค่า มีความสำคัญ ที่เราจะมีผู้ชายกลุ่มหนึ่งที่เติบโตมาโดยที่เขามองว่าผู้หญิงเล่นฟุตบอลเป็นเรื่องปกติ การที่ผู้หญิงผู้ชายเตะบอลกันในสนาม มันสามารถอยู่ในเงื่อนไขบางอย่าง เช่น การไม่ใช้ความรุนแรง ไม่ใช้สรีระร่างกายของผู้ชายที่อาจได้เปรียบกว่าในการไปเอาเปรียบคนอื่น มันทำให้เขาได้เรียนรู้มิติพวกนี้ เด็กผู้ชายเหล่านี้เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เขาก็น่าจะเป็นผู้ใหญ่ที่เข้าใจเรื่องความเท่าเทียมทางเพศได้เป็นอย่างดี ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ศรีลังกาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหลังมีกลุ่มหัวรุนแรงก่อเหตุจู่โจมชุมชนชาวมุสลิม Posted: 07 Mar 2018 02:39 AM PST ศรีลังกาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หลังเกิดเหตุกลุ่มคนบุกทำร้ายและเผาบ้านเรือนร้านค้าชาวมุสลิมในเมืองแคนดี ทางการศรีลังกาเชื่อเป็นเพราะมีพระชาวพุทธสุดโต่งไม่กี่คนยุยงปลุกปั่น โดยอาศัยอ้างกรณีความขัดแย้งระหว่างบุคคลที่มีการทำร้ายร่างกายจนเสียชีวิต รัฐบาลศรีลังกาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อวันที่ 6 มี.ค. ที่ผ่านมา หลังมีกลุ่มคนใช้ความรุนแรงต่อประชากรชาวมุสลิมในย่านใจกลางเมืองแคนดี โดยผู้ก่อเหตุส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาวเชื้อสายสิงหลจู่โจมร้านค้าและบ้านเรือนของชาวมุสลิมหลายหลังรวมถึงมัสยิดอย่างน้อยหนึ่งแห่ง มีอย่างน้อย 1 คนเสียชีวิตจากเหตุการณ์โดยพบเป็นศพอยู่ในบ้านที่ถูกเผาทำให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของทางการรวมถึงหน่วยพิเศษออกมาวางกำลังควบคุมสถานการณ์และประกาศบังคับใช้เคอร์ฟิวเพราะกลัวว่าจะเกิดเหตุรุนแรงตอบโต้กัน นิวยอร์กไทม์ระบุว่าความขัดแย้งล่าสุดนี้สะท้อนให้เห็นว่าความเปราะบางของสังคมศรีลังกาที่ยังคงพยายามฟื้นตัวเองจากสงครามกลางเมืองที่เคยเกิดขึ้นมาหลายสิบปีก่อนหน้านี้ เอส บี ดิสซานายาเก รัฐมนตรีประจำรัฐสภาศรีลังกาแถลงว่ารัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นเวลา 10 วัน เนื่องจากมีความสงสัยว่าตำรวจจะทำหน้าทีได้รวดเร็วพอหรือไม่ ทางรัฐสภาจึงมีมติประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อรับมือสถานการณ์ ชนวนเหตุรุนแรงในศรีลังกาครั้งนี้เริ่มต้นมาจากความขัดแย้งส่วนบุคคลระหว่างชาวสิงหลกับชาวมุสลิมที่ทะเลาะกันเรื่องการจราจร มีชายคนขับรถบรรทุกชาวสิงหลถูกกลุ่มชาวมุสลิมรุมทำร้ายจนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตที่โรงพยาบาลในเวลาต่อมาเมื่อวันที่ 2 มี.ค. เจ้าหน้าที่ทางการและผู้อาศัยในแคนดีเปิดเผยว่าหลังจากการเสียชีวิตของคนขับรถบรรทุกก็มีพระชาวพุทธสายสุดโต่งยุยงปลุกปั่นให้เกิดวามรุนแรงระหว่างกลุ่มชุมชน ซึ่งริฉัด บาทิวดีน รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์เรียกร้องให้มีการจับกุมตัวพระสองรูปที่ทำการยุยงปลุกปั่นให้เกิดตวามรุนแรงดังกล่าว แม้ว่าพระสายสุดโต่งจะออกมาแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วก็ตาม บาทิวดีนกล่าวอีกว่าหลังจากที่คนขับรถบรรทุกเสียชีวิตเขาก็เตือนว่าให้คอยระวังการก่อจลาจลจากวามตึงเครียดระหว่างกลุ่มศาสนา โดยขอกำลังเสริมจากเจ้าหน้าที่และขอให้ชาวมุสลิมอยู่แต่ในบ้านและปิดร้านค้าของตัวเองให้ดี แต่ก็ยังมีเหตุเผาบ้านเรือนร้านค้าที่ถูกทิ้งไว้เกิดขึ้น ทำให้บาวทิวดีนแสดงความรู้สึกเสียใจที่เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถช่วยเหลือระงับเหตุรุนแรงที่เกิดขึ้นกับชนกลุ่มน้อยได้ มีผู้รวบรวมสถานการณ์ในเรื่องนี้ระบุว่าเหตุการณ์ทะเลาะกันระหว่างชาวมุสลิมกับคนขับรถชาวสิงหลนั้นไม่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติเลยและมีการจับกุมผู้ก่อเหตุทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเสียชีวิตแล้ว อีกทั้งหลังจากกรณีคนขับรถเสียชีวิตที่โรงพยาบาล ผู้นำชุมชนทั้งชาวพุทธและชาวมุสลิมในพื้นที่ก็ร่วมประชุมกับผู้กำกับการตำรวจเพื่อหารือไม่ให้เรื่องบานปลายกลายเป็นความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติหรือศาสนา นอกจากนี้ยังมีตัวแทนชาวมุสลิมไปเข้าพบตัวแทนชาวพุทธในชุมชนผู้ตาย แสดงการขอขมาต่อครอบครัวของผู้ตายรวมถึงร่วมบริจาคค่าพิธีศพ อีกทั้งยังพูดถึงรายละเอียดว่าทางชุมชนจะร่วมมือกันอย่างไรในการนำตัวผู้กระทำผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม อย่างไรก็ตามกลุ่มพระที่เป็นสายสุดโต่งก็อ้างใช้เหตุการณ์นี้ยุยงให้เกิดความเกลียดชังจนต้องสงสัยว่าพวกเขามีส่วนเกี่ยวข้องทำให้เกิดเหตุรุนแรงต่อกลุ่มชาวมุสลิมตั้งแต่ช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา นิวยอร์กไทม์ระบุว่ามีเหตุรุนแรงต่อชาวมุสลิมเกิดเพิ่มขึ้นในศรีลังกาช่วงในไม่กี่ปีที่ผ่านมา ขณะที่กลุ่มผู้นำของศรีลังกาพยายามยับยั้งความเหิมเกริมแบบชาตินิยมของกลุ่มชาวพุทธเชื้อสายสิงหลซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของศรีลังกา ไมตรีพละ ศิริเสนา ประธานาธิบดีของศรีลังกากล่าวว่าการที่รัฐบาลผสมที่อ่อนแอถูกมองว่าทำให้กลุ่มสุดโต่งเกิดความเหิมเกริมเพราะคนที่ยุยงปลุกปั่นให้เกิดความเกลียดชังถูกปล่อยให้ลอยนวลไม่ต้องรับผิดชอบใด
เรียบเรียงจาก Sri Lanka Declares State of Emergency After Mob Attacks on Muslims, The New York Times, 06-03-2018
ข้อมูลเพิ่มเติมจาก Situation Update on the Violence in Kandy-Sri Lanka, 06-03-2018 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
แม่น้องอั่งเปาเผยสิทธิบัตรทองช่วยลูกป่วยโรคคาวาซากิ ลดภาระครอบครัวจากค่ารักษาแพง Posted: 07 Mar 2018 02:14 AM PST 'แม่น้องอั่งเปา' เผย สิทธิบัตรทองช่วยลูกป่วย 'โรคคาวาซากิ' เข้าถึงการรักษา หลังช็อคค่ายา IVIG ค่ารักษาหลักแสนบาท ทั้งยังใช้สิทธิรักษาผลข้างเคี สาวิตรี เจริญสิทธิ แม่น้องอั่งเปา 7 มี.ค. 2561 รายงานข่าวแจ้งว่า สาวิตรี เจริญสิทธิ แม่น้องอั่งเปา อายุ 1 ปี ป่วยด้วยโรคคาวาซากิ เข้ารับการรักษาด้วยสิทธิหลั เมื่อถึงสถาบันสุขภาพเด็กแห่ "พอฟังค่ายารักษาโรคนี้แล้ว รู้สึกช็อค หน้ามืด น้องแข็งแรงมาตลอด ทำไมต้องป่วยด้วยโรคนี้ ช่วงลูกเกิดยังทำประกันสุขภาพกั สาวิตรี กล่าวว่า ทันทีที่ลูกได้รับยา IVIG ทางหลอดเลือด จากเดิมที่ลูกนอนซมอยู่สามารถลุ "หากถามว่ามองอย่างไรกับระบบหลั นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google, 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น