ประชาไท | Prachatai3.info |
- ลอบเผาป้ายค้านโรงงานน้ำตาล-โรงไฟฟ้าชีวมวล หวิดลามพื้นที่วัด
- นักวิชาการหลากสถาบันชี้ หลายหลักเกณฑ์ สกอ. ขัดการพัฒนาอุดมศึกษา
- 'นักนิติศาสตร์สากล' แถลง UN ร้องให้ไทยยุติใช้กฎหมายจำกัดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
- ปักธง 'ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ' ปลุกพระร่วมขับเคลื่อนงานส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค
- สาธารณสุขดันโรงพยาบาลทั่วประเทศเข้าสู่ ระบบ HA หนุนสร้างคุณภาพคู่คุณธรรม
- แก้แล้วแย่กว่าเดิม?: ร่างใหม่พรบ.อุ้มหาย-ซ้อมทรมาน ที่ไม่สอดคล้องหลักสากล
- ‘โทษประหาร’ ของมันต้องมีหรือถึงเวลาต้องยกเลิก?
- 7 ปีฟูกูชิมะ
- จีนโวมีเทคโนโลยีแว่นติดกล้องจดจำใบหน้า-หายนะต่อสิทธิความเป็นส่วนตัว?
- เปิดตัว "พรรคอนาคตใหม่" ชูธงต้านนายกฯ คนนอก-ย้ำทุกพรรคคือคู่แข่ง
- กวีประชาไท: แด่ วีระศักดิ์ ยอดระบำ!
- อ่าน "ประวัติศาสตร์สังคมล้านนา ของอานันท์ กาญจนพันธุ์"
- คุณสมบัตินักการศาสนาในปัจจุบันที่คิดว่าสังคมต้องการ
- ชำนาญ จันทร์เรือง: การกระจายอำนาจคืออนาคตของประเทศไทย
ลอบเผาป้ายค้านโรงงานน้ำตาล-โรงไฟฟ้าชีวมวล หวิดลามพื้นที่วัด Posted: 15 Mar 2018 11:06 AM PDT มือมืดลอบเผาป้ายต่อต้านโรงไฟฟ้า-โรงงานน้ำตาล ของกลุ่มอนุรักษ์ลุ่มน้ำลำเซบายตำบลเชียงเพ็ง จ.ยโสธร หวิดลามพื้นที่วัดป่าสวนธรรมร่วมใจวิเวกการาม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2561 เวลาประมาณ 11.45 น. ป้ายคัดค้านการสร้างโรงงานน้ำตาลขนาด 20,000 ตันอ้อย/วัน และโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาด 61 เมกะวัตต์ของกลุ่มอนุรักษ์ที่ติดไว้บริเวณหน้าวัดสวนธรรมร่วมใจวิเวกการาม อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร จำนวนสองป้าย ถูกมือมืดเผาทำลายไม่เหลือร่องรอยทั้งสองป้าย หวิดลามเข้าพื้นที่บริเวณวัดป่าสวนธรรมร่วมใจวิเวกการาม ขณะที่ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ฯส่วนใหญ่นั้นไม่ทราบเรื่องเพราะตรงกับช่วงประเพณีบุญผะเหวด ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ทั้งนี้มีการลอบทำลายป้ายของกลุ่มอนุรักษ์ลุ่มน้ำลำเซบายตำบลเชียงเพ็งมาแล้วหนึ่งครั้งในวันที่ 8 มิ.ย. 2560 แต่ชาวบ้านยังยืนยันจะต่อต่อสู้คัดค้านด้วยสันติวิธี และขึ้นป้ายเพื่อแสดงเจตนารมย์ พร้อมเผยแพร่แถลงการณ์ประณามการกระทำดังกล่าว ในการคัดค้านการสร้างโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล เหตุการณ์ในวันนี้กว่าชาวบ้านจะรู้ว่าป้ายถูกทำลายก็เป็นเวลาหัวค่ำ เพราะชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ส่วนใหญ่ต่างติดกับงานบุญผะเหวดประจำปี แต่มีชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียงได้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่งานป้องกันภัยเทศบาลตำบลโพธิ์ไทร ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถระงับเหตุได้ทันเพื่อไม่ให้เพลิงลุกไหม้ลามเข้าสู่เขตพื้นที่วัดป่าสวนธรรมฯ ด้านมิต มรรคผล กรรมการกลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบาย ต.เชียงเพ็ง กล่าวว่า ป้ายผ้าพึ่งเอาไปติดเมื่อวันเสาร์ที่ 10 มี.ค. 2561 ที่ผ่านมากับสมาชิกกลุ่มประมาณสิบกว่าคน ทางกลุ่มเราติดป้ายประมาณ 3 จุด ซึ่งจุดที่เกิดเหตุเผาป้ายเป็นจุดแรกที่เรานำป้ายไปติดสองผืนใหญ่อยู่หน้าวัดสวนธรรม อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร มีเนื้อหา "คัดค้านโรงงานน้ำตาล โรงไฟฟ้าชีวมวล และอีกป้าย ร่วมกันปกป้องสิทธิคัดค้านโรงงานน้ำตาล โรงไฟฟ้าชีวมวล" "ป้ายผ้าก็เป็นผ้าที่ได้รับบริจาคจากวัดเพราะเราไม่มีนายทุนอยู่เบื้องหลัง เราทำเพราะเราไม่อยากให้สร้างโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล เนื่องจากเรามีข้อกังวลว่าจะเกิดการแย่งชิงทรัพยากรน้ำจากลำเซบาย ฝุ่นละออง มลพิษที่จะไหลลงน้ำเซบายที่เราต้องใช้ในการประปาและการเกษตร เหตุการณ์เผาป้ายในครั้งนี้เรามองว่าเป็นการกระทำที่ขาดจิตสำนึก บ้านเมืองมีขื่อมีแปไม่น่าจะกระทำต่อการที่เราออกมาปกป้องชุมชนและทรัพยากร แต่ทางกลุ่มจะปรึกษากันอีกครั้งเพื่อวางแผนการรณรงค์ติดป้าย และคงจะติดเพิ่มอีก เพราะเรายังยึดมั่นสันติวิธีที่เราทำมาตลอด แต่ก็ขอร้องคนที่แอบมาเผาป้ายว่าให้เห็นใจกันด้วย กลุ่มก็ไม่มีเงินที่จะซื้อผ้าแต่กลุ่มก็จะขอบริจาคจากวัดเพื่อมาทำป้ายต่อ และติดอีก" มิต กล่าว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
นักวิชาการหลากสถาบันชี้ หลายหลักเกณฑ์ สกอ. ขัดการพัฒนาอุดมศึกษา Posted: 15 Mar 2018 07:01 AM PDT บรรดาคณาจารย์ นักวิชาการหลายสถาบันร่วมอภิปรายปัญหาหลักเกณฑ์ทางวิชาการของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) พบหลักเกณฑ์มุ่งจัดระเบียบมากเกินไป ล่าช้า ยึดติดวุฒิการศึกษา ทำให้ไม่เกิดอิสระและความหลากหลายทางความรู้ ร่วมลงแถลงการณ์ 323 รายชื่อ ทบทวนเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรบัณฑิตศึกษา เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2561 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมสถาบันวิจัยสังคม อาคารวิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ ชั้น 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาโต๊ะกลมในหัวข้อ 'เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษากับอนาคตอุดมศึกษาไทย' โดยกลุ่มคณาจารย์มหาวิทยาลัยต่างๆ พร้อมมีการกล่าวแถลงการณ์ตอนท้าย อนุสรณ์ อุณโณ อนุสรณ์ อุณโณ คณบดีและผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวว่า สถาบันอุดมศึกษาย่อมมีอุดมคติในแง่ของการพัฒนาสังคม แม้จะมีการแทรกแทรงจากสถาบันภายนอกทั้งโดยระเบียบหรือค่านิยมความเชื่อ การให้การศึกษาในพื้นที่อุดมศึกษาดำเนินไปได้จะต้องคำนึงประเด็นหลัก ได้แก่การมีอิสระในการจัดการเรียนการสอน และมีความรู้เท่าทันความเป็นไปในโลกภายนอก รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมือง โดยสองประเด็นที่กล่าวมามีความสำคัญในการอภิปรายต่อปัญหาการจัดการเรื่องเกณฑ์มาตรฐานการจัดระเบียบพื้นที่ทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษาในสังคมไทย อนุสรณ์กล่าวต่อไปว่า จากเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาปี 2558 พบว่ามีอาจารย์พิเศษต้องมีชั่วโมงสอนไม่เกินร้อยละ 50 ของรายวิชา อาจทำให้นักศึกษาไม่ได้รับความรู้ด้านประสบการณ์มากเท่าที่ควร โดยเฉพาะสาขาวิชาที่เป็นวิชาชีพหรือเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้จากประสบการณ์จริงตามแต่ความรู้นั้นได้ ในขณะที่ความรู้โลกภายนอกมีการเคลื่อนไหวอัพเดทอยู่ตลอดเวลา ขณะเดียวกัน การนำบุคคลภายนอกที่ไม่ได้เป็นอาจารย์มีตำแหน่งทางวิชาการแต่ทำงานอยู่ในวิชาชีพนั้นๆ เข้ามาเป็นคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พบว่ามีหลักเกณฑ์ที่สูงเกินไป มีกระบวนการที่ยุ่งยากและล่าช้า ทำให้การประเมินผลงานของนักศึกษาเองขาดการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านนั้นโดยตรงไป ชาตรี ประกิตนนทการ ชาตรี ประกิตนนทการ รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร นำเสนอผลสะท้อนในฐานะผู้รับผิดชอบหลักสูตรและการสอนวิชาทางศิลปะอย่างสถาปัตยกรรมโดยระบุว่า กฏเกณฑ์ที่ออกมาไม่ว่าการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาปริญญาโทต้องมีตำแหน่งทางวิชาการเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์(ผศ.) หรือดอกเตอร์(ดร.) หรืออาจารย์ที่ปรึกษาระดับปริญญาเอกต้องมีตำแหน่ง ผศ. เป็นขั้นต่ำ ทำให้ขาดผู้สอนที่มีความประสบการณ์ตรงจากวิชาชีพ ขณะเดียวกันผู้รับผิดชอบหลักสูตรมักได้จากหลักเกณฑ์ที่อิงกับคุณวุฒิทางวิชาการมากกว่าความสามารถในการจัดการหลักสูตรและการบริหาร ทำให้ผลการจัดการไม่เหมาะสมเท่าที่ควร การเรียกร้องบุคลากรทางวิชาการที่เก่งทุกด้านนั้นเป็นเรื่องที่เกินจากความเป็นไปได้ของคนทั่วไป "เราไม่ได้ต้องการอาจารย์ที่เขียนหนังสือเก่งอย่างเดียวและจะทำให้งานออกแบบทางสถาปัตยกรรมดีได้ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมเป็นสาขาที่ต้องการคนที่ออกแบบทางสถาปัตยกรรมและมีความสามารถทางวิชาชีพด้วย(ในการให้ความรู้แก่นักศึกษา)" ชาตรี กล่าว สุริชัย หวันแก้ว สุริชัย หวันแก้ว ผู้อำนวยการและศาสตราจารย์ ประจำศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาฯ กล่าวว่ามาตรฐานหลักเกณฑ์อุดมศึกษาที่ออกมาถือว่าเป็นโจทย์ร่วมกันของทุกมหาวิทยาลัย เพราะมาตรฐานดังกล่าวมีลักษณะเป็นเชิงเดี่ยว คับแคบ มุ่งการจัดระเบียบมากเกินไปโดยไม่คำนึงถึงความซับซ้อนและหลากหลายทางสังคม ก่อให้เกิดความเลยเถิดแก่การให้อิสระทางความรู้ ซ้ายไปขวา: ฉลอง สุนทรวานิช อรรถจักร สัตยานุรักษ์ ขณะที่ ฉลอง สุนทรวานิช ศาสตราจารย์อาวุโสด้านประวัติศาสตร์ กล่าวถึงประเด็นการนำผู้ทรงคุณวุฒิมาพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการว่าไม่ควรมาจากภายนอก แต่ควรมาจากสาขาวิชาหรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านหนึ่งด้านใดที่เกี่ยวข้องกับผู้ขอรับตำแหน่งโดยตรง ทั้งยังตั้งข้อสังเกตว่ากรณีที่มีการตั้งหลักเกณฑ์ว่างานศึกษาจะต้องมีหน่วยงานสนับสนุนงบประมาณอย่างเป็นทางการจึงจะถือเป็นงานวิจัยได้นั้น เป็นเรื่องที่สมควรหรือไม่ อรรถจักร สัตยานุรักษ์ ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกเหนือจากสายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ยังพบในแพทยศาสตร์ เวชศาสตร์ครอบครัว เวชศาสตร์ชุมชนก็พบปัญหานี้ โดยมองว่าประเด็นปัญหามีที่มาจากกรอบคิดวิทยาศาสตร์ที่ล้าสมัย ขาดการเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่น และ สกอ.จะต้องรับฟังคณาจารย์นักวิชาการในมหาวิทยาลัย โดยการตั้งคณะกรรมมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพื่อหารือในการแก้ไขปัญหาอุดมศึกษาไทยที่กำลังเผชิญอยู่ ในช่วงท้ายของการเสวนา มีการกล่าวแถลงการณ์ โดยมีคณาจารย์และนักวิชาการ รวมทั้งสิ้น 324 คน จาก 48 สถาบัน ร่วมลงนามจากการรวบรวมรายชื่อก่อนหน้า แถลงการณ์ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
'นักนิติศาสตร์สากล' แถลง UN ร้องให้ไทยยุติใช้กฎหมายจำกัดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน Posted: 15 Mar 2018 06:50 AM PDT แถลงการณ์คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากลต่อสหประชาชาติ: เรียกร้องให้ประเทศไทยยุติการใช้กฎหมายเพื่อจำกัดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน 15 มี.ค. 2561 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่า วานนี้ (14 มี.ค.61) คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (International Commission of Jurists หรือ ICJ) ได้แถลงการณ์ด้วยวาจาเรียกร้ "เรียน ท่านประธาน ICJ ยังคงกังวลต่อการใช้กฎหมายเพื่ ระบบกฎหมายถูกนำไปใช้ในทางที่ ยกตัวอย่าง แค่ในช่วงปีนี้และแค่ในกรณีที่ ในเดือนกุมภาพันธ์ เจ้าหน้าที่ความมั่นคงก็ดำเนิ ICJ ขอเรียกร้องให้ประเทศไทยยกเลิ ขอขอบคุณ ท่านประธาน" ทั้งนี้ ประเทศไทยได้ใช้สิทธิ สำหรับข้อความต้นฉบับภาษาอั ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ปักธง 'ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ' ปลุกพระร่วมขับเคลื่อนงานส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค Posted: 15 Mar 2018 05:52 AM PDT หากกล่าวถึงงานด้านการส่งเสริมสุ สถาบันสงฆ์เอง ก็เป็นหนึ่งในสถาบันที่มีความผู อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมาเราอาจจะเห็นบทบาทพระส ล่าสุดวันที่ 28 ก.พ.ที่ผ่
พระวิสิทธิ์ ฐิตวิสิทฺโธ พระวิสิทธิ์ ฐิตวิสิทฺโธ กรรมการขับเคลื่อนธ จากนั้นในปี 2560 ทางมหาเถรสมาค พระวิสิทธิ์ ขยายความในแต่ละหมวดว่า ในหมวดที่ 1 นั้นเนื่องจากพระสง นอกจากนี้ การที่พระสงฆ์ดูแลกันเองยังหมาย สำหรับหมวดที่ 2 เป็นเรื่องเกี่ "เห็นไหม พระสงฆ์ก็ต้องดูแลตัวเองตามหลัก ส่วนหมวดที่ 3 พระสงฆ์กลับมาเป็ "เพราะฉะนั้น เรามองว่าธรรมนูญสุขภาพไม่ใช่เป็ พระวิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า เมื่อทำเรื่อง "ขาขึ้น" จนเกิดเป็นธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ อย่างไรก็ดี การขับเคลื่อนงานด้านสุขภาพของพ "เรามีประเด็นการขับเคลื่อน 37 พระครูวิจิตรธรรมสาธก ด้านพระครูวิจิตรธรรมสาธก เจ้าค "ปัจจุบันเราซ่อมสุขภาพมากกว่าส พระฐาปนพงศ์ ฐานิสสฺโร ด้าน พระฐาปนพงศ์ ฐานิสสฺโร รักษาการณ์เจ้าอาวาสวั ขณะที่ ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ ผู้ช่วยเลขาธิการ ทพ.อรรภพร กล่าวอีกว่า สิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนธรรมนู ในทางกลับกัน ปัจจุบันพบว่าพระมีปัญหาสุขภาพจำ 2. ในส่วนของการส่งเสริมและป้องกั "วันนี้เรามาดูการขับเคลื่อนของ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สาธารณสุขดันโรงพยาบาลทั่วประเทศเข้าสู่ ระบบ HA หนุนสร้างคุณภาพคู่คุณธรรม Posted: 15 Mar 2018 04:27 AM PDT คาดเกิดประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วย 'รองปลัดสาธารณสุข' หวังเอกชนเข้าสู่ระบบประเมิ 15 มี.ค.2561 รายงานข่าวแจ้งว่า ที่ศูนย์ประชุม อิมแพค ฟอรั่ม เมืองทองธานี สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล( นพ.มรุต กล่าวว่า สธ.ดูแลประชาชนโดยเน้นในเรื่ นพ.มรุต ระบุว่า โรงพยาบาลแต่ละแห่งที่ได้ขั "ขณะนี้ กระทรวงสาธารณสุข อยากให้ทุกโรงพยาบาลใช้ นพ.มรุต ระบุด้วยว่า การรับรอง HA เมื่อสามปีที่แล้ว กับตอนนี้มันต่างกัน มีการพัฒนาขึ้น กระทรวง สธ.เราเห็นคุณค่า และอยากให้ทุกรพ.ใช้ระบบการรั ขณะที่ พญ.ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ รองผู้อำนวยการ สรพ.กล่าวว่า โรงพยาบาล HA ถือเป็นโรงพยาบาลที่มี5เรื่อง ได้รับการรับรอง คือ1.ให้บริการอย่างมีคุณภาพเน้ "ระบบ HA ถือเป็นคุณภาพที่มีการพั สำหรับ HA หรือ Hospital Accreditation คือกลไกประเมิน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาระบบงานภายในของโรงพยาบาลโดยมีการพัฒนาอย่างเป็นระบบ และพัฒนาทั้งองค์กร ทำให้องค์กรเกิดการเรียนรู้ มีการประเมินและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
แก้แล้วแย่กว่าเดิม?: ร่างใหม่พรบ.อุ้มหาย-ซ้อมทรมาน ที่ไม่สอดคล้องหลักสากล Posted: 15 Mar 2018 04:15 AM PDT นักกฎหมายชี้ ร่าง 'พ.ร.บ. อุ้มหาย' ไม่เป็นไปตามมาตรฐานโลก อ้างสถานการณ์พิเศษกระทำได้ ผู้บังคับบัญชาไม่มีความผิดกรณีการทรมาน หากทหารเป็นผู้กระทำยังต้องขึ้นศาลทหาร การเยียวยาล่าช้า ด้านกระทรวงยุติธรรมให้ความหวังว่ารัฐบาลประกาศผลักดันร่าง พ.ร.บ. แต่ยังไม่รู้กรอบเวลา 12 มีนาคม 2547 คือวันที่ สมชาย นีละไพจิตร ถูกตำรวจห้านายผลักตัวขึ้นรถบนถนนรามคำแหง ขณะที่ตอนนั้นเขาเป็นทนายความให้แก่ผู้ต้องหาห้าคนในคดีก่อความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยผู้ต้องหาทั้งห้าคนอ้างว่าถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจทรมาน 12 มีนาคม 2561 คือวันครบรอบ 14 ปีที่ สมชาย นีละไพจิตร หายตัวไป อังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและภรรยาของสมชาย กล่าวในงาน "14 ปีสมชายหาย สังคมไทยได้อะไร" ที่คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ว่า ตั้งแต่ศาลฎีกามีคำพิพากษายกฟ้องตำรวจห้านาย จากรณีกักขังหน่วงเหนี่ยวนายสมชาย วันที่ 29 ธันวาคม 2558 เธอก็ตั้งใจว่าจะยุติบทบาทการทวงถามความเป็นธรรมจากรัฐ แต่จะเฝ้ามองว่าแล้วรัฐจะดำเนินการอย่างไรในการให้ความยุติธรรมในกรณีเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยเจ้าหน้าที่รัฐ และรู้สึกผิดหวังและเสียใจเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อเกือบหนึ่งปีที่ผ่านมา กรมสืบสวนคดีพิเศษได้มีหนังสือถึงครอบครัว หลังจากที่กรมสืบสวนคดีพิเศษรับคดีนายสมชายเป็นคดีพิเศษยาวนาน เกือบ 12 ปี กรมสืบสวนคดีพิเศษมีมติที่จะงดการสืบสวน โดยแจ้งว่า การสอบสวนคดีสมชายได้เสร็จสิ้นแล้ว เนื่องจากไม่ปรากฎตัวผู้กระทำผิด "วันที่สมชายหายตัว ญาติพี่น้องหาย ทนายที่เป็นเพื่อนหายไปหมด บางคนหลบไปอยู่ประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อนที่เป็นนักการเมืองที่อยู่ฝ่ายรัฐบาลมาที่บ้านบอกว่า ทำอะไรไม่ได้หรอก ตอนนี้เผาทิ้งไปหมดแล้ว ความหวาดกลัวเช่นนี้ทำให้เหยื่อไม่สามารถออกไปพูดอะไรได้เลย รัฐจำเป็นต้องปกป้องเหยื่อไม่ให้เหยื่อเกิดความหวาดกลัว ไม่ให้เจ้าหน้าที่ใช้อำนาจตามอำเภอใจแบบนี้ ผ่านมา 14 ปีเราน่าจะต้องแสดงความจริงใจต่อกัน พูดความจริงต่อกัน ไม่ต้องปิดบังอะไรกันอีก ดิฉันเชื่อมั่นว่าทุกสิ่งที่ได้ทำมา 14 ปีเต็มจะทำให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นความสำคัญและคุณค่าของการปกป้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เชื่อว่าจะมีคนรุ่นใหม่เข้ามาร่วมทำเพื่อบอกกับรัฐว่าจะต้องไม่ใช้อำนาจตามอำเภอใจอีกต่อไป" อังคณากล่าว การบังคับบุคคลให้สูญหายถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความหวาดกลัวต่อสังคมในวงกว้าง การกระทำอันโหดร้ายดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อสร้างบรรยากาศที่ไม่ปลอดภัย เพื่อหยุดยั้งการกระทำต่อทั้งบุคคลที่ถูกบังคับให้สูญหาย ชุมชมและสังคม การบังคับบุคคลให้สูญหายได้กลายเป็นปัญหาสำคัญของโลกในปัจจุบัน ซึ่งเกิดมากขึ้นกับปัญหาภายใน โดยเฉพาะเพื่อกำจัดศัตรูทางการเมือง ซึ่งเป้าหมายที่สำคัญของรัฐในการบังคับบุคคลให้สูญหาย คือนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ญาติของเหยื่อ พยาน และทนายความ และรวมถึงกลุ่มเปราะบางต่างๆ เช่น เด็ก และบุคคลพิการ อีกด้วย แม้ไทยจะเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน (Convention against Torture: CAT) และลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยการบังคับให้สูญหาย (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance: CED) แต่ก็ยังไม่ได้ให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยการบังคับให้สูญหาย เนื่องจากยังอยู่ในกระบวนการรับฟังความคิดเห็นร่าง พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย จึงถือว่ายังไม่มีกฎหมายอย่างเป็นทางการในการบังคับใช้ ลงโทษผู้กระทำผิด ไม่มีกรอบในการทำงานแก่ตำรวจหรือศาล ในช่วง 35 ปีที่ผ่านมา องค์กร Protection International ระบุว่าประเทศไทยมีการบังคับบุคคลให้สูญหาย 90 กรณี มี 81 กรณียังไม่ได้รับการแก้ไข รวมถึงกรณีการอุ้มหายล่าสุดอย่าง พอละจี รักจงเจริญ หรือ "บิลลี่" นักต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชนชาวกะเหรี่ยง ที่หายตัวไปตั้งแต่เดือนเมษายน 2557 และกรณี เด่น คำแหล้ ประฐานโฉนดชุมชนโคกยาวที่ต่อสู้ในประเด็นที่ทำกินและหายตัวไปเมื่อเดือนเมษายน 2559 ที่ผ่านมา ปัญหาเมื่อกฎหมายต่อต้านการทรมานและอุ้มหายยังไม่มีการทรมานและการอุ้มหายยังไม่เป็นความผิดโดยตรง 'อุ้มหาย' ครอบครัวไม่ถือเป็นผู้เสียหาย ฟ้องคดีเองไม่ได้รณกรณ์ บุญมี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อธิบายว่า การอุ้มหายและการทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐไม่มีความผิดตามกฎหมายปัจจุบัน ทำให้ไม่เกิดมาตรการป้องกันและปราบปราม มาตรการเยียวยาผู้เสียหาย รวมถึงไม่สามารถเก็บสถิติเกี่ยวกับการอุ้มหายและการทรมานได้ คดีอุ้มหายถ้าจะฟ้องด้วยกฎหมายปัจจุบันคือการหน่วงเหนี่ยวกักขัง ตามกฎหมายอาญามาตรา 310 "ผู้ใดหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่น หรือกระทำด้วยประการ ใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" อันเป็นความผิดที่ยอมความได้ ซึ่งผู้เสียหายต้องเป็นคนฟ้องด้วยตัวเอง และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 5 กล่าวถึงบุคคลผู้สามารถจัดการแทนผู้เสียหายได้แก่ 1. ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล เฉพาะแต่ในความผิดซึ่งได้กระทําต่อผู้เยาว์หรือผู้ไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในความดูแล 2. ผู้บุพการีผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยาเฉพาะแต่ในความผิดอาญา ซึ่ง ผู้เสียหายถูกทําร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ 3. ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นๆ ของนิติบุคคล เฉพาะความผิดซึ่งกระทําลงแก่นิติบุคคลนั้น "ดังนั้นในกรณีการอุ้มหายทุกคดีก็ไม่สามารถมีผู้เสียหายได้ เพราะการหายไปไม่มีหลักฐานว่าตายหรือบาดบาดเจ็บ ครอบครัวจึงไม่ถือเป็นผู้เสียหาย ไม่สามารถฟ้องคดีได้ ซึ่งเป็นช่องว่างของกฎหมาย" รณกรณ์ตั้งข้อสังเกต ในขณะคดีการทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐนั้น ตามรายงาน 10 ปีกับการซ้อมทรมาน 10 ปีของความยุติธรรมที่หายไป ได้กล่าวว่า แม้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 จะมีมาตรา 32 ที่ห้ามมิให้มีการซ้อมทรมาน หรือการกระทำที่ไร้มนุษยชน ทั้งผู้ที่ถูกกระทำจะต้องได้รับการเยียวยา แต่ไทยก็ไม่เคยมีพระราชบัญญัติ หรือการเขียนไว้ในกฎหมายใดๆ ที่ได้พูดถึงการซ้อมทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐจริงๆ รวมถึงไม่ได้พูดถึงการเยียวยาด้วย กฎหมายที่ใกล้เคียงที่สุด ที่ทนายมักใช้อ้างต่อศาลเมื่อมีการซ้อมทรมาน คือ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 ซึ่งว่าด้วย การคุมขังบุคคลโดยมิชอบ แต่การอ้างมาตรา 90 ก็ไม่สามารถทำให้มีการไต่สวนถึงข้อกล่าวหาการซ้อมทรมานได้ เพราะเมื่อจะมีการไต่สวน เจ้าหน้าที่ก็มักจะปล่อยตัวผู้ถูกคุมขังทันที เมื่อมีการปล่อยตัว ศาลก็จะไม่ไต่สวนต่อ เพราะถือว่า ผู้ถูกคุมขังถูกปล่อยตัวแล้ว ซึ่งก็ไม่สามารถนำไปสู่การสอบสวนโทษผู้กระทำทรมานได้เช่นกัน เมื่อปล่อยแล้วศาลก็จะยกเลิกการไต่สวน เพราะถือว่า การควบคุมตัวโดยมิชอบนั้นได้สิ้นสุดลงแล้ว DSI มีสิทธิจะรับหรือไม่รับคดี แต่ทั้งคดี 'บิลลี่' และ 'เด่น คำแหล้' DSI ไม่รับรณกรณ์อธิบายถึงกระบวนการโดยปกติเมื่อเกิดคดีการทรมานหรืออุ้มหายว่า จะต้องส่งคดีไปที่ตำรวจก่อน กรมสืบสวนคดีพิเศษ (DSI) จะดูเป็นรายคดีว่าจะรับเป็นคดีพิเศษหรือไม่ ซึ่งจะเห็นว่าทั้งคดีของ พอละจี รักจงเจริญ หรือ "บิลลี่" คดีเด่น คำแหล้ นั้น ดีเอสไอไม่รับทั้งคู่ ส่วนคณะกรรมการจัดการการร้องทุกข์เรื่องการซ้อมทรมานและถูกทำให้สูญหายที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งชั่วคราวก็มีหน้าที่เพียงการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจ ดีเอสไอ แต่ไม่มีอำนาจดำเนินการ ไม่มีอำนาจสั่งให้ดีเอสไอรับหรือไม่รับ ไทยมีร่าง 'พ.ร.บ. อุ้มหาย' แล้ว แต่ทำไมยังไม่ผ่านใช้สักทีประชาไทพาย้อนดูไทม์ไลน์ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการกำเนิดร่าง พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหายฉบับนี้ ที่ผ่านการแก้ไขมาหลายรอบ แต่ก็ยังไม่ผ่านเป็นกฎหมายเสียที กระทรวงยุติธรรมชี้แจงว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่านความเห็นชอบและได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลแล้ว ปัจจุบันกำลังอยู่ในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญ แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่า จะผ่านเป็นกฎหมายเมื่อไร 2 ตุลาคม 2550 ไทยเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน (Convention against Torture: CAT) ในยุคของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ รณกรณ์อธิบายว่า รัฐบาลในขณะนั้นไม่ได้มีความจริงใจในการแก้ปัญหา เพราะตอนที่คณะรัฐมนตรีมีมติว่าจะเข้าเป็นภาคีได้กล่าวว่า เพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์ให้แก่ประเทศไทย โดยไม่ต้องมีการแก้ไขกฎหมาย ขณะที่กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ภายใต้กระทรวงยุติธรรม เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ร่างกฎหมายดังกล่าวก็ได้พยายามผลักดัน เริ่มแรกมีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา ให้มีเรื่องการซ้อมทรมานอยู่ด้วย แต่ร่างแก้ไขกฎหมายอาญาดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากผู้ที่ทำงานต่อต้านการทรมานว่ามีช่องโหว่จำนวนมาก เช่น ให้นิยามการซ้อมทรมานไว้แคบมาก จำกัดอยู่แค่การทำร้ายร่างกาย ข่มขืน และล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งในอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน (CAT) บทที่หนึ่งนั้น ได้กำหนดว่า การซ้อมทรมาน ไม่ใช่แค่การกระทำที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดทางร่างกาย แต่รวมถึงจิตใจด้วย ปี 2553 ภาคประชาชนได้เสนอร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยเรื่องซ้อมทรมานโดยเฉพาะ ที่ครอบคลุมความผิดแบบต่างๆ อย่างกว้างขวางขึ้น และรัดกุมขึ้น ภาคประชาชนมองว่า ต้องมีกฎหมายแยกออกมาพิเศษ แค่การแก้กฎหมายอาญากับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้นไม่พอ เพราะเมื่อไหร่ที่มีการประกาศใช้กฎหมายความมั่นคง เช่น กฎอัยการศึก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เป็นต้น ถูกบังคับใช้ ก็จะมีการให้อำนาจพิเศษเพิ่มกับเจ้าหน้าที่ ละเลยสิ่งที่บัญญัติไว้ในกฎหมายอาญาได้ 9 มกราคม 2555 ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไทยลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยการบังคับให้สูญหาย (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance: CED) แต่ยังไม่เป็นผลบังคับใช้ จะมีได้เมื่อมีกฎหมายเกี่ยวกับการทรมานและอุ้มหายในไทย แล้วรัฐจึงสามารถให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาได้ จากการแก้ร่างกฎหมายว่าด้วยการซ้อมทรมานและอุ้มหายมาหลายร่าง ในปี 2559 ร่างกฎหมายฯ โดยนักกฎหมายคือ ณรงค์ ใจหาญ และ ปกป้อง ศรีสนิท ได้รับการผลักดันอีกครั้ง จนได้ยกร่างเป็น พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย และอาจเรียกว่าเป็นร่างที่ตรงตามอนุสัญญาที่สุด และเป็นครั้งแรกของโลกที่นำอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน (CAT) และอนุสัญญาว่าด้วยการบังคับให้สูญหาย (CED) มารวมเป็นกฎหมายฉบับเดียว เนื่องจากมองว่า ผู้ตกเป็นเป้าของการซ้อมทรมานมีความเสี่ยงถูกทำให้สูญหาย เป็นการกระทำต่อเนื่อง แต่ร่างนั้นตกไป โดยรณกรณ์มีความเห็นว่า อาจเพราะร่างนั้นเป็น "เด็กดี" เกินไป แต่หลังจากนั้นไม่ถึงเดือน วันที่ 24 พฤษภาคม 2559 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบกับร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว นำเข้าสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ภายใต้กระทรวงยุติธรรม เพื่อพิจารณาและปรับปรุง แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติ (สนช.) มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาโดย หนึ่ง- ศึกษาว่าจะต้องเข้าเป็นภาคีอนุสัญญานี้หรือไม่ สอง- ร่างกฎหมายที่เสนอไปมีเนื้อหาครอบคลุมและเหมาะสมกับสถานการณ์หรือไม่ 10 มีนาคม 2560 สนช. เห็นชอบเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการบังคับให้สูญหาย แต่จะให้สัตยาบันก็ต่อเมื่อกฎหมายในประเทศไทยมีผลใช้บังคับ แต่ขณะเดียวกัน สนช. ประกาศว่า จะไม่พิจารณาร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ (ซึ่งร่างโดย ณรงค์ ใจหาญ และ ปกป้อง ศรีสนิท ที่ผ่านการแก้ไขแล้วแต่ไม่มากนัก) โดยกล่าวว่าเนื่องจากกฎหมายยังไม่สมบูรณ์ และส่งกลับมาให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) แก้ไข ซึ่งณรงค์ ใจหาญ และ ปกป้อง ศรีสนิทไม่ได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขครั้งนี้ และร่างใหม่ที่ออกมามีหน้าตาที่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง นงภรณ์ รุ่งเพ็ชรวงศ์ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ได้กล่าวว่า กระทรวงยุติธรรม กรมคุ้มครองสิทธิ ได้หารือกับกระทรวงต่างประเทศและหน่วยงานความมั่นคง ตอนนี้ประชุม 4 ครั้งเสร็จ ได้ร่างฉบับปัจจุบันซึ่งปรับปรุงล่าสุด และกำลังอยู่ในขั้นตอนรับฟังความคิดเห็น และนำเข้าเว็บไซต์ 30 วัน จากนั้นจะเสนอเข้าสู่ ครม. อีกครั้ง รัฐบาลเองก็ประกาศว่าจะสนับสนุนร่างนี้ "ระหว่างที่ พ.ร.บ. ยังไม่ผ่าน รัฐบาลได้แก้ปัญหาชั่วคราวโดยการออกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2560 ตั้งคณะกรรมการจัดการการร้องทุกข์เรื่องการซ้อมทรมานและถูกทำให้สูญหายขึ้น มี 13 คน ส่วนใหญ่มาจากหน่วยงานรัฐ โดยให้รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมเป็นประธาน ขณะนี้ได้นำข้อมูลทั้ง 86 กรณีที่สหประชาชาติให้มาตรวจสอบข้อเท็จจริง มีทั้งชื่อซ้ำ มีทั้งที่ติดอยู่ในเรือนจำ มีทั้งเสียชีวิต มีทั้งชื่อที่ยังตรวจสอบไม่ได้ แต่คาดว่าในเร็วๆ นี้จะรายงานความคืบหน้า 86 กรณีนี้แก่สหประชาชาติให้ได้" นงภรณ์กล่าว ข้อดีของร่าง 'พ.ร.บ. อุ้มหาย' ฉบับล่าสุด ครอบครัวถือเป็นผู้เสียหาย DSI ต้องรับผิดชอบคดีกรณีอุ้มหายให้ครอบครัวเป็นผู้เสียหายและสามารถเป็นโจทก์ร่วม แต่งตั้งทนายเพื่อฟ้องคดีได้รณกรณ์อธิบายว่า ในอนุสัญญาบังคับให้สูญหาย (CED) ไม่ได้เขียนกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ แต่เป็นการผลักดันในร่าง พ.ร.บ. ของปกป้อง ศรีสนิท และณรงค์ ใจหาญ ในการอุดช่องว่าง โดยเพิ่มเข้าไปใน ร่าง พ.ร.บ. นี้ มาตรา 10 "ในคดีความผิดฐานกระทำให้บุคคลสูญหายตามมาตรา 6 ให้สามีภริยา ผู้บุพการี และผู้สืบสันดานของผู้ได้รับความเสียหายตามพระราชบัญญัตินี้ เป็นผู้เสียหายตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาด้วยไม่ว่าจะพบศพหรือไม่ บาดเจ็บหรือไม่" ดังนั้นครอบครัวจึงถือว่าเป็นผู้เสียหายและสามารถแต่งตั้งทนาย เข้าเป็นโจทก์ร่วม DSI ไม่มีอำนาจปฏิเสธไม่รับคดี (ยกเว้นเจ้าหน้าที่ของ DSI เป็นผู้ถูกกล่าวหา จะเป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธิจารณาความอาญา)รณกรณ์อธิบายต่อว่า คดีที่เกี่ยวกับการทรมานและบังคับให้สูญหายทั้งหมดจะขึ้นตรงต่อดีเอสไอ ดีเอสไอรับแล้วจะทำหน้าที่สืบสวน แล้วส่งไปที่ ปปช. หรือ ปปท. ซึ่งมีหน้าที่สอบสวน หลังจากนั้นหาก คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) หรือ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ปปท.) รับคดี ทำการสอบสวนแล้วจะส่งต่อไปให้อัยการ ถ้าอัยการฟ้องก็จะไปที่ศาลอาญาทุจริตฯ หากอัยการสั่งไม่ฟ้อง แต่ ปปช. หรือ ปปท. เห็นว่าควรฟ้องสามารถฟ้องเอง หรือจ้างทนายความเอกชนฟ้องได้เลย กรณีกลับกัน หาก ปปช. หรือ ปปท. ไม่รับคดี คดีกลับมาที่ดีเอสไอ ดีเอสไอจะสอบสวนแทน และส่งไปที่อัยการ แต่หากอัยการสั่งไม่ฟ้อง ดีเอสไอไม่สามารถฟ้องเองได้ ศาลคดีอาญาทุจริตฯ ทำหน้าที่ตัดสินคดีรณกรณ์ชี้ว่า การใช้ศาลคดีอาญาทุจริตฯ แทนศาลอาญาปกติว่า ดีกว่าเพราะ หนึ่ง-เป็นศาลที่มีการใช้ระบบไต่สวน โดยศาลสามารถส่งคนไปค้นหาพยานหลักฐานได้เอง ในขณะที่ศาลอื่นใช้ระบบกล่าวหา โดยศาลจะให้ฝ่ายโจทก์กับจำเลยให้การ เสนอพยานหลักฐาน แล้วศาลจะบันทึกไว้เท่านั้น สอง-ผู้พิพากษามีประสบการณ์สูงกว่าศาลชั้นต้นทั่วไป โดยต้องทำงานมาอย่างน้อย 10 ปี สาม-หากจำเลยหลบหนีหยุดนับอายุความ สี่-จำเลยต้องมาปรากฏตัวต่อศาลหากประสงค์จะอุทธรณ์ และ ห้า-จำเลยหลบหนีระหว่างได้ประกันตัวถือเป็นความผิดต่างหากอีกฐาน แต่มีข้อเสียเพียงอย่างเดียวคือศาลนี้มีเพียง 10 ศาลทั่วประเทศ ข้อกังวลต่อร่าง 'พ.ร.บ. อุ้มหาย' ตัดบางส่วนในอนุสัญญาระหว่างประเทศออก คำนิยามไม่ชัดเจนตัดบางส่วนที่อยู่ในอนุสัญญา CAT หรือ CED ออก และหลักการอื่นที่ควรใส่ แต่กลับไม่มีด้านคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (ICJ) และแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้กล่าวว่าการแก้ไขเพิ่มเติมล่าสุดก่อให้เกิดความกังวลเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีการตัดเนื้อหาที่เป็นหลักประกันสำคัญทางกฎหมายที่จำเป็นต่อการทำให้การทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี และการกระทำให้บุคคลสูญหาย เป็นการกระทำที่ต้องห้ามเด็ดขาดในประเทศไทย สัณหวรรณ ศรีสด คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (ICJ) ได้ชี้แจ้งถึงข้อกังวลดังกล่าว ดังนี้ 1. หลักการไม่สามารถผ่อนปรนได้ สัณหวรรณกล่าวว่า หลักการห้ามอ้างสถานการณ์ใดๆ ก็ตามในการทรมานหรืออุ้มหาย เมื่อตัดออกเท่ากับสามารถอ้างสถานการณ์พิเศษในการทรมานหรืออุ้มหายได้ 2. หลักการห้ามผลักดันกลับไปเผชิญอันตราย ในกรณีการส่งบุคคลกลับไปยังสถานที่ซึ่งมีความเสี่ยงว่าบุคคลนั้นจะถูกทรมาน เช่น ส่งอุยกูร์กลับจีน ส่งโรฮินญากลับพม่า เมื่อตัดออกเท่ากับสามารถส่งบุคคลกลับไปในสถานที่ที่เสี่ยงว่าจะถูกทรมานได้ 3. ความรับผิดของผู้บังคับบัญชา สัณหวรรณชี้ว่า ในร่าง พ.ร.บ. นี้ ผู้บังคับบัญชาต้องร่วมรับผิดชอบเฉพาะกรณีทำให้บุคคลสูญหาย ตัดการร่วมรับผิดชอบในกรณีการทรมานออก แม้อนุสัญญาต่อต้านการทรมานไม่ได้เขียนถึงเรื่องนี้ แต่อนุสัญญาบังคับให้สูญหายได้เขียนไว้ รณกรณ์ได้แสดงความเห็นเพิ่มเติมว่า เมื่อดูความเป็นจริง หากเราถูกปิดตาแล้วทรมาน เราจะไม่รู้ว่าใครเป็นคนทรมาน ทำให้ไม่สามารถฟ้องคดีอาญาได้ เพราะคดีอาญาจะต้องรู้ตัวผู้กระทำผิดจึงดำเนินคดีได้ ดังนั้นถ้าหากผู้บังคับบัญชาไม่ต้องร่วมรับผิดในกรณีทรมาน กฎหมายนี้จะไม่มีผลบังคับใช้ในความเป็นจริง สัณหวรรณ ชี้แจงว่า ทั้ง 3 ข้อดังกล่าวต่างอยู่ในอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน (CAT) หรืออนุสัญญาว่าด้วยการบังคับให้สูญหาย (CED) ทั้งสิ้น และนอกจากนี้ยังมีหลักการมาตรฐานอื่นที่ควรใส่อีกคือ 4. การนำคำให้การที่ได้มาจากการทรมานมาใช้ โดยร่าง พ.ร.บ. ไม่กำหนดข้อห้ามเฉพาะในการนำคำให้การและข้อมูลใดๆ ที่มาจากการทรมาน ปฏิบัติ หรือลงโทษอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม ย่ำยีศักดิ์ศรี มาเป็นพยานหลักฐาน สัณหวรรณเห็นว่า ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมในร่าง พ.ร.บ. เพื่อห้ามอย่างชัดแจ้งไม่ให้ใช้พยานหลักฐานนั้น 5. หลักประกันเพื่อการป้องกัน ในร่าง พ.ร.บ. ไม่มีข้อบทที่เกี่ยวกับการให้ทนายความและญาติสามารถเข้าเยี่ยมผู้ถูกควบคุมตัวได้ "การต้องชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับชะตากรรมและสถานที่ควบคุมตัวอย่างต่อเนื่องต่อญาติและทนายความ การกำหนดให้ต้องมีทนายความระหว่างการสอบปากคำ และให้มีการบันทึกวีดิโอและ/หรือบันทึกเสียงระหว่างสอบปากคำทุกครั้ง หลักประกันเหล่านี้ควรถูกใส่ในร่าง พ.ร.บ. และควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาให้สอดคล้องกับร่าง พ.ร.บ." สัณหวรรณกล่าว 6. ความรับผิดทางอาญานอกเหนือจากผู้กระทำการโดยตรง สัณหวรรณชี้ว่า ร่าง พ.ร.บ. ขาดความชัดเจนส่วนความรับผิดทางอาญานอกเหนือไปจากผู้กระทำความผิดโดยตรง จึงควรมีการแก้ไขให้ชัดเจนว่าความรับผิดครอบคลุมนอกเหนือผู้กระทำการโดยตรงเพียงใด และกำหนดโทษอย่างเหมาะสมกับผู้ร่วมกระทำความผิดในรูปแบบต่างๆ 7. การปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี - ร่าง พ.ร.บ. ไม่ได้กำหดนการกระทำที่เป็นการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี ซึ่งเป็นการกระทำต้องห้ามอย่างเด็ดขาดเช่นเดียวกับการทรมานและถือเป็นสิทธิที่ไม่สามารถผ่อนปรนได้แม้ในเวลาใดก็ตาม ควรแก้ไขให้มีความผิดทางอาญาเป็นการเฉพาะ คำนิยามไม่ชัดเจนรณกรณ์ กล่าวถึงข้อห่วงกังวลในร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้เกี่ยวกับเรื่องคำนิยามว่า 1. "การทรมาน" จากร่างพ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว เขียนว่า "การทรมาน หมายความว่า การกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่นเกิดความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานอย่างร้ายแรงแก่ร่างกายหรือจิตใจ" คำว่า "อย่างร้ายแรง" เป็นคำไม่ชัดเจนและไม่แน่นอน เพราะกฎหมายโดยปกติใช้คำว่า "สาหัส" ซึ่งหมายความว่า ต้องเข้าโรงพยาบาล 21 วัน ขึ้นไป แต่คำว่า "อย่างร้ายแรง" ไม่อาจรู้ได้ว่าเบาหรือแรงกว่า "สาหัส" รณกรณ์กล่าวเสริมว่า ทั้งนี้หนึ่งในหลักการกฎหมายอาญาคือกฎหมายต้องมีความชัดเจนแน่นอน (Nullum crimen sine lege certa) และหลักการนี้ถูกรับรองโดยกฎหมายรัฐธรรมนูญ "ในต่างประเทศ เช่น ฝรั่งเศส เลือกที่จะบัญญัติความผิดเฉพาะเกี่ยวกับการซ้อมทรมานและบังคับให้สูญหาย แต่ไม่ให้นิยามคำว่า "การทรมาน" เพราะไม่รู้ว่าแบบไหนเรียกว่าทรมาน และแบบไหนไม่ใช่ แต่ให้ศาสตราจารย์ทางกฎหมายเขียนคำนิยามในตำราเอง ส่วนเยอรมันนีและสวิตเซอร์แลนด์เลือกที่จะไม่บัญญัติความผิดเฉพาะ" รณกรณ์ยกตัวอย่าง 2. เมื่อพูดคำว่า "จิตใจ" หมายถึงระบบการทำงานของสมอง ในประมวลกฎหมายอาญาศาลฎีกายืนยันมาตลอดว่าความรู้สึกเจ็บใจ เสียใจ หวาดกลัว ไม่ใช่การกระทำที่กระต่อจิตใจ รณกรณ์ตั้งข้อสังเกตว่า แต่อย่างไรก็ตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน เมื่อพูดถึง "จิตใจ" เขาหมายถึงความรู้สึกหวาดกลัว ความรู้สึกถูกเหยียดหยามด้วย ดังนั้นร่างพ.ร.บ. ฉบับนี้เลือกใช้คำนี้ ไม่แน่ใจว่าจะตีความเหมือนประมวลกฎหมายอาญาหรือจะไปไกลกว่านั้น 3. ร่าง พ.ร.บ. นี้ให้คำนิยาม "เจ้าหน้าที่รัฐ" ต่างจากประมวลกฎหมายอาญาซึ่งนิยามว่า คนที่ทำงานให้รัฐไม่ว่าจะได้ค่าตอบแทนหรือไม่ แต่ ร่าง พ.ร.บ. นี้ "เจ้าหน้าที่รัฐ" หมายถึง "บุคคลซึ่งใช้อำนาจรัฐหรือได้รับมอบอำนาจหรือได้รับแต่งตั้ง อนุญาต การสนับสนุน หรือการยอมรับโดยตรงหรือโดยปริยาย ให้ใช้อำนาจรัฐในการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งตามกฎหมาย" "พูดง่ายๆ คือลอกมาจากอนุสัญญาบังคับให้สูญหาย (CED) แต่ประเด็นคือ ยังมีอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน (CAT) ซึ่งเขียนถึงเจ้าหน้าที่รัฐในความหมายที่กว้างกว่า นั่นคือรวมถึงการที่เจ้าพนักงานเอกชนกระทำการบางอย่างโดยเจ้าหน้าที่รัฐรู้เห็นเป็นใจ หรือเพิกเฉยไม่กระทำการใด" รณกรณ์กล่าว 4. คำว่า "ผู้มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด" รณกรณ์ชี้ว่า คำนี้ไม่ปรากฎในประมวลกฎหมายอาญา มีแต่คำว่า ผู้ใช้ ผู้โฆษณา ตัวการ ผู้สนับสนุน การใช้คำนี้โดยไม่มีการบัญญัตินิยามทำให้เกิดความไม่ชัดเจน รณกรณ์ยังกล่าวต่อถึงกรณีการแปลความที่ผิด โดยการแปลอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน (CAT) มาใส่ในร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้มีจุดที่แปลผิด ในมาตรา 5 ของร่างฯ แปลมาจากคำว่า Such purposes as ซึ่งเป็นการยกตัวอย่าง 4 กรณี แต่ร่างฯ กลับเขียนเป็นการกำหนดเพียงแค่ 4 อย่างนี้เท่านั้น ข้อกังวลในทางปฏิบัติ อาจถูกฟ้องปิดปาก หากทหารเป็นผู้กระทำยังต้องขึ้นศาลทหารสมชาย หอมลออ นักกฎหมายและที่ปรึกษาอาวุโส มูลนิธิผสานวัฒนธรรม กล่าวถึงข้อห่วงกังวลในทางปฏิบัติว่า ผู้ร้องเรียนกรณีตัวเองหรือญาติที่ตกเป็นผู้ถูกทรมานหรืออุ้มหายอาจตกเป็นผู้ต้องหาในคดีฟ้องปิดปาก หรือ 'SLAPP' (Strategic Lawsuit Against Public Participation) โดยเป็นการกลั่นแกล้งดำเนินคดีทั้งในทางแพ่งและอาญาเพื่อที่จะไม่ให้มีการตรวจสอบการกระทำของหน่วยงานรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการทรมานและการอุ้มหาย ยกตัวอย่างเช่นกรณีหนึ่ง ผู้เสียหายร้องเรียนเรื่องที่ตนเองถูกซ้อมทรมาน แต่ที่สุดก็โดนข้อหาแจ้งความเท็จ ให้การเท็จ และตอนนี้ยังอยู่ในเรือนจำ คนที่เป็นโจทก์กลายเป็นจำเลยเสียเอง เป็นอุปสรรคที่ทำให้คนไม่กล้าร้องเรียนเมื่อตนเองหรือญาติตกเป็นเหยื่อการซ้อมทรมาน อุ้มหาย ประเด็นที่สอง เมื่อดีเอสไอส่งเรื่องให้ ปปช. หรือ ปปท. ซึ่งมีกระบวนการไต่สวนเป็นความลับอย่างยิ่งยวด แม้สอบสวนเสร็จแล้วก็ไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดของการไต่สวน หลายคดีไม่สามารถเข้าถึงรายงานการสอบสวนหรือไต่สวนได้ แม้ปปช. หรือ ปปท. จะมีคำวินิจฉัยแล้วว่าไม่เข้าข่าย หรือไม่มีมูลเพียงพอที่จะดำเนินคดีต่อ ทำให้กระบวนการขาดความโปร่งใส ประเด็นต่อมา สมชายตั้งข้อสังเกตว่า การซ้อมทรมานและการอุ้มหายไม่น้อยทั้งในอดีตและปัจจุบันเกิดจากการกระทำของทหาร ซึ่งการดำเนินคดีไม่ได้ตัดอำนาจของศาลทหาร ดังนั้นกรณีทหารเป็นผู้กระทำ ก็ต้องขึ้นศาลทหารอยู่ดี ยกเว้นมีการกล่าวหาว่ากระทำพร้อมกับพลเรือนก็ขึ้นศาลคดีอาญาทุจริตฯ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในหลายคดี เช่น คดีของอิหม่ามยะผา ก็เกิดขึ้นในศาลทหารโดยผู้เสียหายไม่สามารถแต่งตั้งทนายความเข้าไปเป็นโจทก์ร่วมได้ "ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ไม่ได้มีการแก้ไขปัญหาส่วนนี้เลย ทั้งจริงแล้วศาลทหารควรมีอำนาจพิจารณาคดีการกระทำผิดตามกฎหมายอาญาทหารเท่านั้น เช่น ทหารกระทำความผิดต่อผู้บังคับบัญชา แต่ปัจจุบันทหารขับรถชนพลเรือนตายก็ขึ้นศาลทหาร" สมชายกล่าว สมชายยังชี้ให้เห็นถึงอำนาจของ กอ.รมน. ว่า ในสถานการณ์พิเศษที่มีประกาศกฎอัยการศึก หรือพ.ร.บ.ความมั่นคง ซึ่งให้อำนาจ กอ.รมน. อย่างเบ็ดเสร็จ ในการควบคุมหน่วยงานเกี่ยวกับความมั่นคงซึ่งมีความหมายกว้างมาก ดังนั้นการตรวจสอบถ่วงดุลกันระหว่างหน่วยงานของรัฐจะถูกจำกัด "ส่วนในเรื่องการเยียวยา แม้อัยการสามารถขอให้ศาลมีคำสั่งพร้อมกับคำพิพากษาให้ชดเชยค่าเสียหายหรือเยียวยาแก่ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ แต่ถ้าฟ้องคดีเองจำเป็นต้องไปฟ้องคดีแพ่งต่างหากเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย แม้ศาลอาจจะมีการเยียวยาให้ในเบื้องต้น แต่การเยียวยาแก่ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการถูกทรมานหรืออุ้มหายมีความล่าช้าเป็นพิเศษ" สมชายกล่าว และท้ายสุดคือเรื่องคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย มีสัดส่วนมาจากราชการถึง 12 หน่วยราชการ สภาทนายความ 1 คน ผู้ทรงคุณวุฒิเพียง 6 คนเท่านั้น และผู้ทรงคุณวุฒิไม่มีความชัดเจนว่ามีที่มาอย่างไร ดังนั้นบทบาทของคณะกรรมที่จะอุดช่องว่างทางกฎหมายของ พ.ร.บ. ฉบับนี้จะมีบทบาทในการป้องกัน ปราบปรามการทรมานและการอุ้มหายได้มากน้อยเพียงใด ยังเป็นคำถาม ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
‘โทษประหาร’ ของมันต้องมีหรือถึงเวลาต้องยกเลิก? Posted: 15 Mar 2018 01:31 AM PDT สำรวจความเห็นต่อ 'โทษประหารชีวิต' ว่าควรต้องมีหรือถึงเวลาแล้วที่ต้องยกเลิก ผ่านมุมมองของนักศาสนา นักสิทธิมนุษยชน และเหยื่ออาชญากรรม แล้วกลับมาถามตัวเองดูว่าคิดเห็นอย่างไร 'โทษประหารชีวิต' ควรมีอยู่ต่อไปหรือควรยกเลิก เป็นคำถามที่ยังไม่ได้ข้อสรุปในสังคมไทย ข้อมูลจากสมาคมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน พบว่า คนไทยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 70 ยังเห็นด้วยกับการคงโทษประหารไว้ แม้ในระยะหลังตัวเลขผู้ที่เห็นด้วยจะลดลงก็ตาม มองในมิติด้านสิทธิมนุษยชนคำตอบชัดเจนโดยตัวมันเอง เพราะการมีชีวิตเป็นสิทธิของมนุษย์ทุกคนที่ไม่มีใครสามารถล่วงละเมิดได้ คำตอบกลับต่างออกไปเมื่อนำประเด็นนี้โยนลงสู่สังคม เป็นไปได้ว่าคดีสะเทือนขวัญที่เกิดขึ้นเป็นระยะ ความไม่มั่นใจต่อกระบวนการสืบสวนของเจ้าหน้าที่และกระบวนการยุติธรรม คือปัจจัยหนึ่งที่สังคมไทยยังยอมรับได้ยากที่จะยกเลิกโทษประหาร 'ประชาไท' พาไปสำรวจแนวคิดเกี่ยวกับโทษประหารชีวิต ในมิติศาสนา สิทธิมนุษยชน และจากเหยื่อผู้ได้รับผลกระทบจากอาชญากรรมว่ามีมุมมองอย่างไรต่อการยกเลิกโทษประหารชีวิต ศาสนากับโทษประหารชีวิต พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เริ่มต้นด้วยการอธิบายเรื่องชีวิตว่า พุทธศาสนามองว่าชีวิตคือกายกับใจและการได้เกิดเป็นมนุษย์ถือว่าเป็นสิ่งที่ยากมาก การประหารชีวิตจึงเป็นการประหารทั้งกายและใจพร้อมกัน "ถามต่อไปว่าพระพุทธเจ้าวางท่าทีต่อการฆ่าอย่างไร ในพรรษาที่สอง พระองค์ได้แสดงจุดยืนที่เป็นอัตลักษณ์ของพุทธศาสนาผ่านโอวาทปาฏิโมกข์ นิยามผ่านศีลห้าเป็นหลักปฏิบัติของสังคม ข้อแรกคือการไม่ฆ่าสัตว์ ปฏิเสธความรุนแรงทุกรูปแบบโดยเฉพาะการฆ่า โดยเฉพาะการฆ่าชีวิตอื่น การประหารจึงเป็นการลดทอนลมปราณของผู้ทำผิด ผู้ที่ฆ่าผู้อื่นไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต บรรพชิตไม่ได้หมายถึงพระเท่านั้น บรรพชิตแปลว่าผู้เว้นจากบาป การฆ่าทุกชนิดจึงไม่สอดคล้องกับพุทธศาสนาทั้งสิ้น" ในทางกลับกัน พระมหาหรรษากล่าวว่า การลงโทษหรือการฆ่าแบบพุทธนั้นเป็นการฆ่าแบบอริยวินัย เป็นการลงพรหมทัณฑ์ โดยผู้ที่พระพุทธเจ้าสั่งให้ฆ่าเป็นคนแรกคือพระฉันนะ ด้วยการให้พระฉันนะออกนอกพื้นที่สงฆ์ จัดพื้นที่ให้อยู่ เพื่อให้ได้วิเคราะห์ตัวเอง ทบทวนความผิดพลาด ถ้าเทียบกับปัจจุบันคือการติดคุก เมื่อถามว่าพุทธศาสนาเห็นด้วยกับการยกเลิกโทษประหารหรือไม่ พระมหาหรรษาตอบว่า "มาวันนี้ไม่ได้มาเพื่อสนับสนุนหรือไม่สนับสนุน เพียงแต่มาอธิบายและยืนยันหลักการ อุดมการณ์ และวิธีการของพุทธศาสนาว่าให้แนวทางไว้อย่างไร แต่ว่าอะไรอยู่เบื้องหลังพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดการฆ่า ถ้ากิเลสชักนำให้ทำไม่ดี ให้ฆ่า แล้วทำไมไม่สร้างกระบวนการขัดเกลา ประหารกิเลส แทนที่จะคิดฆ่าคน แต่คิดฆ่ากิเลส ดึงเขาเข้ามา อย่าทำให้กลัว ให้โอกาส ให้เวลา แล้วสังคมจะได้ประโยชน์จากคนที่เคยทำผิด" ด้านสันติ เสือสมิง ผู้แทนสำนักจุฬาราชมนตรี กล่าวว่าในศาสนาอิสลามถือว่าชีวิตเป็นกรรมสิทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้า ผู้ใดจะละเมิดมิได้ "อีกประเด็นที่ชาวมุสลิมเชื่อคือวันฟื้นคืนชีพ วันแห่งการพิพากษา สิ่งแรกที่พระเจ้าจะชำระความคือเลือด บุคคลใดละเมิดในเลือดโดยมิชอบ จะถูกชำระความในวันนั้น บุคคลใดสังหารชีวิตหนึ่งหรือสร้างความวิบัติบนหน้าแผ่นดินโลก ก็ประหนึ่งบุคคลคนนั้นได้สังหารทุกชีวิต บุคคลใดไว้ชีวิตหนึ่งก็เท่ากับบุคคลนั้นไว้ชีวิตผู้คนทั้งหลายโดยทั้งหมด มุมมองต่อชีวิต อิสลามมองเช่นนี้
"แต่ขณะเดียวกันในทุกข้อห้ามจะมีข้อยกเว้น ในทุกคำสั่งใช้จะมีบทเฉพาะกาล ในหลักยุติธรรมอิสลาม เมื่อคนมีหลากหลาย อิสลามกำหนดโทษประหารชีวิตไว้ พระเจ้าผู้ทรงสิทธิ์ในชีวิตกำหนดไว้ เมื่อบุคคลใดละเมิดชีวิตผู้อื่น เท่ากับละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานแล้ว แต่อิสลามวางกฎเกณฑ์ว่า การฆ่าที่เกิดขึ้นโดยเจตนา โดยไม่เจตนา หรือกึ่งมีเจตนา ในแต่ละการฆ่าจะมีบทลงโทษ แต่ทุกการฆ่าจะมีข้ออนุโลม ให้สิทธิญาติของผู้ตายว่าจะเลือกให้ดำเนินคดีถึงที่สุด ฆ่าให้ตกตามกันไปหรือไม่ เพราะอิสลามคำนึงถึงความมีจิตใจของปุถุชนธรรมดาที่มีความแค้นอยู่ในใจ จะทำอย่างไรไม่ให้เกิดการตามฆ่าล้างแค้น แต่ผ่านกระบวนการทางกฎหมาย จึงต้องมีกระบวนการ หากคดีใดมีความคลุมเครือ โทษสูงสุดเป็นอันยก" สันติกล่าวชัดเจนว่า อิสลามมองว่าโทษประหารชีวิตจำต้องมี แต่ไม่จำเป็นต้องใช้เสมอไป ถ้าคนมีจริยธรรม ไม่ทำการละเมิดสิ่งใด กฎหมายประหารชีวิตก็เป็นหมัน "สรุปว่าอิสลามเห็นด้วยกับโทษประหารชีวิตหรือไม่ มันไม่ใช่เรื่องเห็นด้วยกับไม่เห็นด้วย มันเป็นเรื่องการคงอยู่ของมาตรการบางอย่างเพื่อรักษาชีวิต การแก้ไขปัญหาซึ่งมีหลากหลาย มีต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ บางปัญหาถ้ามัวแต่หาต้นเหตุ บ้านก็ไหม้ทั้งหลัง เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุเป็นเรื่องระยะยาว ปัญหาเฉพาะหน้าก็ต้องแก้ ระยะกลางก็ต้องแก้ ประเด็นคือต้องมองให้รอบด้าน ผมเห็นด้วยว่าการพัฒนาจิตวิญญาณเป็นเรื่องสำคัญ แต่ ณ เวลานี้ทันหรือไม่ ท่านจะฆ่ากิเลสตอนนี้ทันหรือไม่ มองความเหมาะสม นั่นแหละคือสิ่งที่ดีที่สุด ไม่ใช่ว่าควรหรือไม่ควร "สังคมสมัยนี้อาชญากรรมยิ่งรุนแรงและเป็นเรื่องปกติ เราจะยกเลิกโทษประหารต้องพูดถึงคนที่เป็นญาติด้วย ต้องพูดถึงโอกาสที่ถูกทำลายจากน้ำมือของอาชญากรจริงๆ ไม่ใช่คนที่ถูกใส่ร้าย หลักการของพระเจ้าพระองค์ย่อมรู้ดี" ขณะที่มงซินญอร์ วิษณุ ธัญญอนันต์ รองเลขาธิการสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย แสดงจุดยืนชัดเจนว่าศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก ไม่เห็นด้วยกับโทษประหารและมีการรณรงค์ให้ยกเลิกมานานมากแล้ว ทั้งนี้เป็นเพราะปรัชญาของศาสนาคริสต์มีพระเจ้าเป็นจุดยืน เป็นองค์พระผู้สร้างสรรพสิ่ง จุดสร้างสูงสุดคือชีวิตมนุษย์ จุดศูนย์กลางของเราคือศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ "จุดหลักของศาสนาคริสต์ พระวจนะของพระเจ้าคือต้องเมตตาและให้อภัย ต้องรักศัตรู หลักการของทางศาสนาคริสต์คือเราต้องพัฒนาความเป็นมนุษย์ให้มีวุฒิภาวะ แต่ศัตรูตัวร้ายที่ทำให้มนุษย์ตกต่ำคือบาป ดังนั้น เราไม่อยากแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ประหารชีวิตมันง่าย แต่การพัฒนาบุคคลยากกว่า" สิทธิมนุษยชนกับโทษประหารชีวิต ในด้านนักสิทธิมนุษยชนอย่างจาตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร ประธานสมาคมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน เขาให้ข้อมูลเบื้องต้นว่า ภาพใหญ่ในระดับนานาชาติ มีสถิติจากการสำรวจคนในยุโรปในปี 2016 โดยองค์กรที่ตั้งขึ้นเพื่อต่อต้านโทษประหารชีวิตพบว่า คนช่วงอายุ 60-60ปีขึ้นไป ร้อยละ 64 ไม่เห็นด้วยกับการมีโทษประหารชีวิต ช่วงอายุ 18-34 ปี ร้อยละ 57 ไม่เห็นด้วย และช่วงอายุ 35-59 ปี ร้อยละ 55 ไม่เห็นด้วย เมื่อเฉลี่ยทุกช่วงอายุพบว่า ร้อยละ 58 ไม่เห็นด้วยกับโทษประหาร ส่วนในอาเซียน ปัจจุบัน ประเทศกัมพูชาและฟิลิปปินส์ได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตแล้ว โดยโทษสูงสุดคือจำคุกตลอดชีวิต ประเทศบรูไน เมียนมาร์ ลาว ยกเลิกในทางปฏิบัติ หมายความว่าไม่มีการประหารชีวิตมาเป็นเวลา 10 ปีแล้ว ขณะที่ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม และไทยยังคงโทษประหารชีวิตไว้ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยมีการประหารชีวิตครั้งล่าสุดเมื่อปี 2552 ถ้าอีก 1 ปีกว่านี้ยังไม่มีการประหารชีวิตเกิดขึ้น ก็จะครบ 10 ปี ซึ่งจะถือว่าไทยไม่มีโทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติ "พูดในฐานะนักสิทธิมนุษยชน จุดยืนต้องชัดเจน การประหารเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ผมไม่เห็นด้วยกับโทษประหารชีวิตอยู่แล้ว เราทำวิจัยต่อเนื่อง พบว่าการมีโทษประหารไม่มีความสัมพันธ์กับการลดอาชญากรรม อาชญากรรมยังมีสถิติเพิ่มขึ้น พบอีกว่าอาชญากรที่ทำรุนแรงชนิดฆ่าเหยื่อ เหตุผลหนึ่งคือกลัวถูกจับได้ จะถูกประหาร จึงฆ่าเหยื่อเสียอาจจะมีทางรอด เพราะเหยื่อไม่สามารถให้การได้ ในมุมกลับการคงโทษประหารชีวิตไว้กลับเป็นตัวเร่งให้เกิดความรุนแรง" จาตุรงค์กล่าวอีกว่า จากการสำรวจทัศนคติของประชาชนไทยต่อโทษประหาร พบว่า ร้อยละ 70 ยังเห็นด้วยกับโทษประหาร แต่ในระยะหลังสถิตินี้เริ่มดีขึ้นเมื่อมีการให้ข้อมูลและสร้างความเข้าใจต่อสังคม "เราทำวิจัยเรื่องโทษประหารชีวิตมาอย่างต่อเนื่อง ประเทศฝรั่งเศสยกเลิกโทษประหารชีวิตมา 36 ปีแล้ว ตั้งแต่ 2524 แต่ก็ยังมีกระแสขึ้นๆ ลงๆ ของการแก้กฎหมาย ผมคิดว่าสถานการณ์หลายอย่างคล้ายกับในประเทศไทยที่ว่า ในช่วงที่มีปัญหาอาชญากรรมรุนแรงและเป็นข่าว ถ้าถามความเห็นของคนว่าเห็นด้วยกับการยกเลิกโทษประหารชีวิตหรือไม่ กระแสจะไปในทางไม่เห็นด้วย" จาตุรงค์แสดงทัศนะว่า จากการศึกษาพบว่า คนที่เป็นอาชญากรใช้ความรุนแรงมีพื้นฐานจากความยากจน การศึกษาน้อย จึงจำเป็นต้องทำอะไรบางอย่างเพื่อให้มีชีวิตรอด โทษประหารจึงเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ ต้องกลับมาดูที่ต้นเหตุว่าจะทำให้คนมีคุณภาพได้อย่างไร มีการศึกษา พ้นจากความยากจน และหากจะยกเลิกโทษประหารก็ต้องมีมาตรการอื่นๆ รองรับเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาชญากรรมและความรุนแรงในสังคม
"การที่เราจะทำให้คนเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ต้องให้เขาได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ผมคิดว่ามี 2 ประเด็นที่ต้องทำไปด้วยกันคือเรื่องความยุติธรรมกับความรู้สึกแค้นที่ญาติของผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงมี ถ้าหากกระบวนการยุติธรรมก่อให้เกิดความเชื่อมั่นได้ว่าผู้ที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงจะได้รับความเป็นธรรม ความรู้สึกแค้นมีอยู่แล้ว แต่ถ้ากระบวนการยุติธรรมแข็งแรง ความเคียดแค้นที่มีอยู่ก็จะคลี่คลายไปได้โดยมีกระบวนการยุติธรรมเข้ามารองรับ ตรงนี้เป็นโจทย์ที่เราต้องทำ" Sandrine Ageorges-Skinner ชาวฝรั่งเศส เธอเป็นภรรยาของนักโทษประหารชาวอเมริกันคนหนึ่ง ซึ่งสามีของเธอปฏิเสธข้อกล่าวหาว่าเป็นฆาตกรและต้องโทษมากว่า 20 ปีแล้ว และพยายามต่อสู้เพื่อให้สามีพ้นโทษด้วยการพิสูจน์ดีเอ็นเอ ได้แบ่งปันประสบการณ์ส่วนตัวในฐานะภรรยาของนักโทษประหารและประสบการณ์ในฐานะนักเคลื่อนไหวทางสังคมในประเทศฝรั่งเศส "เริ่มจากประสบการณ์ส่วนตัวก่อน ในทางสังคมจะมีการพูดถึงผู้เสียหายและครอบครัวของผู้เสียหาย แต่ก็ยังมีความเสียหายอีกหลายด้านที่มองไม่เห็นและไม่มีใครพูดถึง สามีของดิฉันถูกตัดสินประหารชีวิตที่มลรัฐเท็กซัสเมื่อเดือนมีนาคมปี 2538 ในคดีฆาตกรรม 3 คน เราต่อสู้เรื่องนี้มา 20 กว่าปีแล้ว ซึ่งกว่าจะได้รับการตรวจดีเอ็นเอก็ใช้เวลา 15 ปี ในคดีของสามีดิฉัน 95 เปอร์เซ็นต์ของหลักฐานไม่ได้รับการตรวจสอบดีเอ็นเอ ในตอนต้นๆ มีการตรวจสอบ แต่เมื่อผลการตรวจสอบไม่พบว่าเกี่ยวข้องกับสามีดิฉัน ทางตำรวจก็ไม่ได้ตรวจสอบต่อเพราะเห็นว่าไม่เป็นประโยชน์ต่อคดี "ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สามีของดิฉันรอดการประหารชีวิตมาแล้ว 3 ครั้ง มีครั้งหนึ่งที่รอดอย่างหวุดหวิดเพียงแค่ 25 นาที โดยมีการแทรกแซงของศาลสูงสุดของสหรัฐฯ แต่หลังจากนั้นก็ใช้เวลาอีก 3 เดือนกว่าศาลสูงสุดจะตัดสินว่าจะรับคดีหรือไม่ สุดท้าย ศาลสูงสุดก็รับคดี ในระหว่างนั้นกฎหมายของมลรัฐเท็กซัสก็เกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้เข้าถึงหลักฐานในคดีได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้พิพากษาของมลรัฐเท็กซัสก็ยังเซ็นคำพิพากษาให้มีวันที่ประหารอีกครั้งหนึ่งเมื่อปี 2554 "ตลอดเวลานี้ดิฉันได้ตั้งข้อสังเกตและเรียนรู้หลายๆ อย่างที่ไม่ค่อยได้รับการพูดถึงในสังคม เช่นผลกระทบที่เกิดกับลูกๆ ของนักโทษประหาร ทุกเวลาเขาจะต้องคิดว่าพ่อจะถูกประหารเมื่อไหร่ จะรอดหรือไม่ และบุคคลที่ได้รับผลกระทบอีกคนหนึ่งก็คือทนายแก้ต่างของจำเลย ซึ่งหลายๆ ครั้งทนายแก้ต่างถูกมองว่าทำตามหน้าที่เพียงเท่านั้น แต่ที่จริงแล้วเขาก็เป็นคนและมีจิตใจที่จะช่วยเหลือจำเลยของเขา เป็นภาระหนักเมื่อมีชีวิตของลูกความอยู่ในกำมือ และสุดท้ายต้องเสียลูกความไปก็มีผลกระทบต่อจิตใจ นอกจากนี้ ยังมีผู้คุมในเรือนจำที่รู้จักนักโทษเหล่านี้เป็นเวลาหลายปี สุดท้าย ผู้คุมเรือนจำก็ต้องมีส่วนร่วมในการประหาร มันมีผลกระทบต่อจิตใจอย่างมาก แต่ไม่มีการเยียวยา ไม่มีช่องทางที่จะได้รับการบำบัด นอกจากนี้ ทางเราก็ทำงานกับครอบครัวของผู้เสียหายด้วย จะเห็นชัดว่าโทษประหารนั้นทิ้งร่องรอยและบาดแผลทางจิตใจไว้ทุกๆ ที่" ในส่วนของประสบการณ์การทำงาน Sandrine Ageorges-Skinner เข้าใจดีว่า การเคลื่อนไหวประเด็นนี้ในระดับนานาชาติเป็นเรื่องยากลำบาก ทุกครั้งที่มีอาชญากรรมร้ายแรงเกิดขึ้น คนในสังคมมักต้องการให้ประหารชีวิตผู้กระทำผิด เนื่องจากมนุษย์นั้นมีความรู้สึกร่วมกับผู้เสียหายและครอบครัวของผู้เสียหาย ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ที่จะมีความรู้สึกเช่นนี้ เธอเองก็ยอมรับว่าหากมีใครมาทำอะไรกับคนในครอบครัวเธอ เธอก็คงรู้สึกแค้นเช่นกัน แต่ที่จริงแล้วกระบวนการยุติธรรมไม่ใช่การแก้แค้น แต่เป็นการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคมและเป็นการลดทอนความรู้สึกแค้นลง "กลยุทธ์ที่จะใช้ในระดับนานาชาติ พวกเราจะต้องคุยกัน ต้องสื่อสารกัน ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีสูตรสำเร็จที่จะผลักดันเรื่องนี้ให้ลุล่วง เพราะฉะนั้นการพูดคุยจึงยังเป็นเรื่องสำคัญที่สุด แนวคิดจากทุกๆ ฝ่ายก็เป็นประโยชน์ แต่ขณะเดียวกันก็เป็นการตัดสินใจในระดับผู้นำประเทศด้วย ซึ่งผู้นำทางการเมืองต้องเป็นผู้นำทาง ในประเทศฝรั่งเศส ผู้นำที่ยกเลิกโทษประหารในสมัยนั้นก็เห็นไม่ตรงกับประชาชนส่วนใหญ่ แต่สุดท้ายก็ได้รับการเลือกตั้งและผลที่เกิดขึ้นในสังคมคืออัตราการเกิดอาชญากรรมร้ายแรงไม่ได้เพิ่มขึ้น แต่ลดลง ถ้าเราจะแก้ความรุนแรงด้วยความรุนแรง มันก็จะเป็นวัฏจักรที่ไม่สิ้นสุด ต้องตัดวงจรนี้" เหยื่ออาชญากรรมกับการยกเลิกโทษประหารชีวิต พิชชาภา คำเพิงใจ แม่ของวริศรา กลิ่นจุ้ย หรือ แอ๋ม เหยื่อในคดีฆ่าหั่นศพที่มีปรียานุช โนนวังชัย หรือเปรี้ยวและพวกตกเป็นจำเลย พิชชาภาสารภาพว่า ถึงเวลานี้ยังทำใจยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้สักเท่าไหร่ แต่ก็เข้มแข็งกว่าช่วงแรกๆ ที่รับรู้เหตุการณ์ "มันแค้น ทุกวันนี้คำว่าแค้นมันยังไม่ลดลง คืออยากให้เขาสำนึกและได้รับบทเรียนกับที่เขาทำกับชีวิตคนคนหนึ่ง อยากให้เขาได้รับในสิ่งที่เขาทำลงไปบ้าง ทุกวันนี้เราคิดว่ามันยังน้อย เขาบอกว่าเขาตกนรก แต่เรายังไม่เห็นเขาตกนรกตรงไหนเลย"
ด้านความเห็นว่าควรยกเลิกโทษประหารชีวิตหรือไม่ พิชชาภายอมรับว่าเธอไม่เห็นด้วยกับการยกเลิกโทษประหารชีวิต "ไม่เห็นด้วยถ้าจะมีการยกเลิกโทษประหารชีวิต ถ้ากฎหมายประเทศไทยไม่มีโทษประหาร ต่อไปอาจจะเพิ่มคนร้ายขึ้นมาอีก จากที่เคยกลัวก็ไม่กลัว เขาอยากจะฆ่าใครก็ไม่กลัวแล้ว แค่ติดคุก ก็ได้ออก อภัยโทษก็ลดลงเรื่อยๆ ห่วงตรงนี้ว่าจะเกิดขึ้นกับใครอีกหรือเปล่าถ้าไม่มีเยี่ยงอย่างให้เห็นว่ายังมีโทษประหารอยู่นะ เขาจะได้กลัวบ้างและเลิกคิดที่จะทำร้ายคนอื่นอีก จากความรู้สึกจริงๆ เลย ถ้าสมมติยกเลิกจริงๆ ก็อาจจะผิดหวัง แต่เราเป็นแค่ประชาชนคนหนึ่ง คนธรรมดาคนหนึ่งที่ไม่มีสิทธิ์มีเสียงที่จะบอกว่าดีหรือไม่ดียังไง แค่เสียความรู้สึกและผิดหวังกับกระบวนการยุติธรรม" จากข้อมูลของนักสิทธิมนุษยชนพบว่า โทษประหารชีวิตไม่มีผลทำให้อาชาญากรรมลดลง พิชชาภาคิดอย่างไรกับข้อมูลนี้ เธอตอบว่า เธอเป็นเพียงคนธรรมดาคนหนึ่งไม่กล้าพูดถึงกฎหมาย แต่เธอยังเชื่อว่าการมีโทษประหารชีวิตอาจจะช่วยทางอ้อม ทำให้มีอาชญากรรมลดน้อยลง อย่างน้อยคนที่เห็นว่ากฎหมายมีความเด็ดขาดและเริ่มนำมาใช้อีกก็อาจจะเกิดความกลัว "ยังมีความเชื่อว่าลดลงแน่นอน อาจจะเป็นทางเลือกอีกทางที่น่าจะเอามาใช้กับสังคมไทยทุกวันนี้ ในใจก็หวังเหมือนกับคนที่หวังเหมือนเราว่าทำไมไม่เอากลับมาใช้ แล้วคนที่คิดจะฆ่าใครต่อใคร มันก็ไม่ทำให้เขากลัว แล้วมันก็เพิ่มความรุนแรงขึ้นมาเรื่อยๆ เราไม่ยากให้ใครตายอีกหรอก แต่อยากให้เป็นเยี่ยงอย่าง อย่าให้มีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีกเลย ทำให้เป็นตัวอย่างสักคดีหนึ่ง ให้เขาเห็นสักคดีหนึ่ง เอาคดีที่รุนแรงที่สุด ร้ายแรงที่สุดสักคดีก็พอ" ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 15 Mar 2018 01:02 AM PDT ลักษณะของอุบัติเหตุนิวเคลียร์ฟูกูชิมะเมื่อปี 2011 นั้น ผู้ติดตามประเด็นพลังงานนิวเคลียร์(ทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายหนุน) ต่างก็รู้อยู่แก่ใจว่า มีการหลอมละลายของแท่งเชื้อเพลิงในเตาปฏิกรณ์หมายเลข 2 ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ร้ายแรงอย่างถึงที่สุดของอุบัติเหตุเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เพราะแท่งเชื้อเพลิงที่หลอมละลายนั้นจะ "หยด" ลงไปที่ฐานเตาปฏิกรณ์และจะหลอมละลายทั้งโลหะและคอนกรีตที่ใช้ก่อสร้างฐานเตาปฏิกรณ์จนทะลุ นั้นหมายถึงเชื่อเพลิงนิวเคลียร์(ยูเรเนียม 235) ที่หลอมละลายจะหลุดลอดหรือรั่วไหลออกสู่สิ่งแวดล้อมโดยตรง แต่ปัญหานี้ทั้งบริษัทเท็ปโกและรัฐบาลญี่ปุ่นไม่เคยยอมรับมาตลอดจนกระทั่งต้นปี 2017 เท็ปโกจึงยอมรับว่าตรวจพบรูขนาดกว่า 2 เมตรที่ฐานเตาปฏิกรณ์หมายเลข 2 การหลอมละลายของแท่งเชื้อเพลิง คือคำตอบของปรากฎการณ์ทุกอย่าง นับตั้งแต่หลังเกิดการระเบิดของอาคารปฏิกรณ์ ที่ต้องมีการใช้เฮลิคอปเตอร์บินไปตักน้ำทะเลมารดใส่อาคารปฏิกรณ์เพื่อระบายความร้อน ต้องมีการฉีดน้ำ(ช่วงแรกใช้น้ำทะเล)เข้าสู่ระบบหล่อเย็นของเตาปฏิกรณ์ แต่ฉีดอย่างไรก็ไม่เต็ม จนกระทั่งขณะนี้ 7 ปีแล้วก็ยังต้องฉีดน้ำเข้าไปอยู่ เพราะถังปฏิกรณ์มันรั่วนั่นเอง และนี่คือที่มาของน้ำปนเปื้อนรังสีที่ใส่ถังเก็บมากมายก่ายกองอยู่ในบริเวณพื้นที่ของโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะไดอิจิ และไม่มีที่เก็บถังน้ำปนเปื้อนเหล่านี้มานานแล้ว จึงต้องมีการปล่อยทิ้งลงสู่มหาสมุทร การปล่อยน้ำปนเปื้อนดังกล่าวนี้ ปล่อยมาเป็นปีที่ 7 แล้ว ! เพราะรูรั่วของเตาปฏิกรณ์ยังไม่สามารถอุดได้ ตามแผนของเท็ปโกที่ผ่านการอนุมัติจากรัฐบาล การอุดรูรั่วของเตาปฏิกรณ์จะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 6 ปี เวลาดังกล่าวนี้คือเวลาที่คาดว่าจะสามารถพัฒนา "หุ่นยนตร์" ที่จะเข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มี "รังสีสังหาร" แทนมนุษย์ได้สำเร็จ แต่ปรากฏว่า เมื่อปีที่แล้วมีข่าวไม่ใหญ่นักว่า หุ่นยนตร์ที่เท็ปโกส่งเข้าไปปฏิบัติงานนั้นขัดข้องเมื่อเผชิญกับระดับรังสีที่รุนแรงมากในบริเวณใกล้เตาปฏิกรณ์... แม้แต่หุ่นยนตร์ยังตาย !! สรุปแล้ว ฟุกูชิมะนั้นร้ายแรงกว่าเชอร์โนบิลหลายเท่านัก เพราะกรณีของเชอร์โนบิล หลังเกิดเหตุเพียงปีเศษก็มีการก่อสร้างโครงครอบคอนกรีตขนาดยักษ์คลุมครอบเตาปฏิกรณ์เชอร์โนบิลหมายเลข 4 ที่ระเบิดเพื่อป้องกันสารกัมมันตรังสีไม่ให้แพร่กระจายออกสู่สิ่งแวดล้อม ปัจจุบันโครงครอบดังกล่าวเสื่อมสภาพไปแล้ว โดยมีการสร้างเกราะเหล็กกล้าปิดทับโครงครอบคอนกรีตอีกชั้นหนึ่งไปเมื่อ 3-4 ปีที่ผ่านมา แต่ในกรณีฟูกูชิมะ เหตุการณ์ผ่านมา 7 ปีแล้วแต่ก็ยังไม่สามารถปิดกั้นสารกัมมันตรังสีไม่ให้แพร่กระจายออกสู่สิ่งแวดล้อม (มหาสมุทร) ได้ กรณีการส่งออกปลาจากทะเลฟูกูชิมะเป็นเพียงส่วนยอดของภูเขาน้ำแข็ง ผลกระทบของอุบัติภัยนิวเคลียร์ฟูกูชิมะ จะทะยอยปรากฏให้เห็นมากขึ้นๆ ต่อไปอีกทั้งต่อมหาสมุทร ภูเขา ป่าไม้ สัตว์ และมนุษย์ โดยเฉพาะเยาวชนรุ่นที่จะถือกำเนิดหลังปี 2011 เป็นต้นไป
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
จีนโวมีเทคโนโลยีแว่นติดกล้องจดจำใบหน้า-หายนะต่อสิทธิความเป็นส่วนตัว? Posted: 15 Mar 2018 12:54 AM PDT เดือนที่แล้วทางการจีนแสดงอานุภาพของการสอดแนมด้วย "แว่นตา" ติดกล้องที่มีระบบจดจำและแยกแยะใบหน้า อ้าง สามารถใช้จับกุมผู้ต้องสงสัยได้จำนวนหนึ่งจากกลุ่มฝูงชนในช่วงเทศกาลตรุษจีนที่ผ่านมา เรื่องนี้จะเป็นเพียงการอวดอ้างในเชิงขู่เฉยๆ หรือคือหายนะของสิทธิความเป็นส่วนตัวของพลเมืองกันแน่ 15 มี.ค. 2561 มีเรื่องน่าเป็นห่วงเกี่ยวกับสิทธิความเป็นส่วนตัว จากเมื่อไม่นานมานี้สื่อเกี่ยวกับเทคโนโลยีเปิดเผยว่าทางการจีนติดเทคโนโลยีสอดแนมใหม่ให้กับตำรวจเป็นแว่นตาที่มาพร้อมกับระบบจดจำใบหน้า โดยเชื่อมต่อเครื่องมือดังกล่าวนี้กับฐานข้อมูลผู้ต้องสงสัย 10,000 คน ที่ถูกประกาศจับ สื่อรัฐบาลจีนพีเพิลเดลีระบุว่าเครื่องมือสอดแนมนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับเจ้าหน้าที่ทางการในช่วงเทศกาลใหญ่ๆ อย่างช่วงตรุษจีน รวมถึงเผยแพร่ภาพตำรวจสวมแว่นระบบจดจำใบหน้าที่มีลักษณะคล้ายแว่นกันแดดพร้อมกับตรวจตราสถานีรถไฟในเมืองเจิ้งโจว สื่อพีเพิลเดลียังคงพยายามโฆษณาอีกว่าแว่นดังกล่าว "มีประสิทธิภาพสูงในการคัดกรอง" ผู้ต้องสงสัยออกจากกลุ่มฝูงชน บริษัท LLVision เป็นผู้อยู่เบื้องหลังเครื่องมือชิ้นนี้ พวกเขาบอกว่าเครื่องมือจะสามารถระบุตัวตนของบุคคลหนึ่งๆ ผ่านการเทียบกับฐานข้อมูลผู้ต้องสงสัย 10,000 คน ภายในเวลาสั้นๆ เพียง 100 มิลลิวินาที ซึ่งเร็วกว่าระบบกล้องแบบติดตั้ง อุปกรณ์นี้สามารถทำให้ตำรวจทางรถไฟเจิ้งโจวจับกุมผู้ต้องสงสัย 7 ราย และบุคคล 26 ราย ที่ถูกกล่าวหาว่าใช้เอกสารระบุตัวตนของคนอื่นในการเดินทาง วิลเลียม นี นักวิจัยจีนจากองค์กรแอมเนสตีอินเตอร์เนชันแนลกล่าวว่าอุปกรณ์สอดแนมตัวนี้จะทำให้ทางการจีนมีศักยภาพในการสะกดรอยผู้ต่อต้านทางการเมืองและสืบประวัติชนกลุ่มน้อยได้ บริษัท LLVision พัฒนาเทคโนโลยีตัวนี้โดยร่วมมือกับตำรวจในหลายมณฑล ตัวของแว่นทำขึ้นโดยอิงหลักการของกล้องวิดีโอแบบสวมใส่ได้ แต่ไม่ได้มีระบบจดจำใบหน้าในตัวมันเอง สนนราคาขายอยู่ที่ 3,999 หยวน (ราวเกือบ 20,000 บาท) และได้วางขายให้นักธุรกิจและบุคคลทั่วไปแล้ว ในส่วนแว่นที่มีระบบสอดส่องหรือที่ทางบริษัทเรียกว่า "เพื่อวัตถุประสงค์ด้านการระบุตัวตน" ไม่มีการระบุราคาเพราะต้องตีราคาตามการออกแบบแต่ก็ไม่ได้ให้ราคาเกี่ยวกับระบบการตรวจจับใบหน้าที่ใส่เข้าไปด้วย ทั้งยังบอกว่าพวกเขาตรวจสอบลูกค้าอย่างเคร่งครัด และจะไม่เปิดขายแบบเต็มตัวจนกว่าจะทราบว่าผลิตภัณฑ์มีผลกับผู้คนอย่างไรบ้าง ทางบริษัทให้ข้อมูลกับสื่อวอลล์สตรีทเจอร์นัลว่า ได้ส่งออกแว่นตาประเภทที่ไม่มีระบบสอดส่องไปยังแอฟริกา สหรัฐฯ ยุโรปและญี่ปุ่นแล้ว นี่เป็นแค่หนึ่งในสิ่งที่สะท้อนโลกอนาคตที่รัฐบาลพยายามสอดแนมประชาชน บางทีเทคโนโลยีเหล่านี้ก็กลับก่อปัญหาให้กับประชาชนด้วยกันเอง เช่น กรณีของกูเกิลกลาสที่เคยทำให้เกิดการทะเลาะวิวาทกันเพราะมีคนๆ หนึ่งสงสัยว่าอีกฝ่ายหนึ่งกำลังบันทึกภาพของเขาด้วยอุปกรณ์ที่ว่านี้อยู่ สหรัฐฯ เองก็มีเทคโนโลยีการสอดแนมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องตรวจจับเสียงปืน เครื่องอ่านทะเบียนรถ การขุดเจาะข้อมูล รวมถึงเทคโนโลยีโดรน เรื่องนี้ชวนให้ตั้งคำถามว่าการกระทำของรัฐบาลจีนเป็นแค่ความต้องการจัดฉากแสดงศักยภาพในการสอดแนมหรือไม่ เช่น กรณีหนึ่งที่มีการใช้เทคโนโลยีการจดจำใบหน้าร่วมกับกล้องวิดีโอวงจรปิดแสดงการจับกุมตัวนักข่าวบีบีซีรายหนึ่งที่ชื่อจอห์น ซัดเวิร์ธ ซึ่งไม่ใช่การจับกุมจริงแต่เป็นแค่การจัดฉากสร้างสถานการณ์ของรัฐบาลจีนเพื่อทำให้คนรับรู้ถึงอำนาจในการสอดแนมของพวกเขา เรียบเรียงจาก Chinese police get facial recognition glasses, Naked Security, Feb., 2018 China's CCTV surveillance network took just 7 minutes to capture BBC reporter, Tech Crunch, Dec. 14, 2017 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เปิดตัว "พรรคอนาคตใหม่" ชูธงต้านนายกฯ คนนอก-ย้ำทุกพรรคคือคู่แข่ง Posted: 15 Mar 2018 12:07 AM PDT แถลงเปิดตัว "พรรรคอนาคตใหม่" ชูคำขวัญ "ก้าวพ้นทศวรรษที่สูญหาย สร้างประเทศไทยที่มีอนาคต "ปิยบุตร" ระบุพรรคขอหลอมรวมคนยุคใหม่ ที่ไม่ยอมจำนนกับสิ่งที่เป็นอยู่ เสนอนโยบายที่ประชาชนมีโอกาสที่เท่าเทียม พัฒนาคุณภาพชีวิต ขณะที่ "ธนาธร" เรียกร้อง คสช. ปลดล็อกเพื่อให้ทุกพรรคดำเนินกิจกรรมทางการเมือง ย้ำไม่เอานายกฯ คนนอก ในสนามเลือกตั้งทุกพรรคคือคู่แข่งไม่ว่าจะเป็น พท. ปชป. หรือพรรคหนุน คสช. คณะผู้ริเริ่มจัดตั้ง "พรรคอนาคตใหม่" เมื่อเวลา 07.30 น. ที่แวร์เฮาส์ ซอยเจริญกรุง 30 ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ รองประธานบริหารเครือบริษัทไทยซัมมิท และปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ และคณะแถลงเปิดตัวพรรคการเมืองใหม่และคณะผู้ก่อตั้งพรรค 26 รายชื่อ โดยจะใช้ชื่อ "พรรคอนาคตใหม่" พร้อมเปิดตัวคำขวัญของพรรคที่ว่า "ก้าวพ้นทศวรรษที่สูญหาย สร้างประเทศไทยที่มีอนาคต" ทั้งนี้ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ แถลงว่าพรรคอนาคตใหม่ มุ่งสร้างการเมืองแบบใหม่ ฟื้นความเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตย ออกแบบนโยบายที่ทำให้ประชาชนมีโอกาสทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียม เข้าถึงทุนและทรัพยากร ทำลายระบบผูกขาด พัฒนาสวัสดิการ เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมทางการเมือง ไม่ผูกขาดโดยคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง มีระบบยุติธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้โดยประชาชน และมีประชาชนเป็นเจ้าของพรรคร่วมกัน ผ่านการระดมสมองและระดมทุน โดยสมาชิกพรรค จะมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเลือกคนลงสมัครรับเลือกตั้ง ไปจนถึงนโยบาย พร้อมย้ำว่าจะระดมทุนจากประชาชน ไม่มีใครคนใดคนหนึ่งหรือนายทุนมาอยู่เหนือสมาชิกพรรค เขาย้ำด้วยว่าทุกพรรคคือคู่แข่ง ไม่ว่าจะเป็นเพื่อไทย ประชาธิปัตย์ หรือพรรคที่สนับสนุน คสช. จุดยืนพรรคไม่เลือกข้างหรือถือหางใครทั้งทักษิณ ชินวัตร พรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ หรือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หากพรรคการเมืองใดล้ำเส้นประชาธิปไตยก็พร้อมวิจารณ์และต่อต้าน ส่วนตัวเขาหากล้ำเส้นก็พร้อมลาออกเช่นกัน ส่วนผู้ที่จะมาเป็นหัวหน้าพรรคต้องรอการประชุมและเลือกตั้งของพรรค ทั้งนี้ยืนยันว่าไม่สนับสนุนนายกรัฐมนตรีคนนอก และเรียกร้องให้ คสช. ปลดล็อกพรรคการเมือง เพื่อให้พรรคการเมืองดำเนินกิจกรรมทางการเมืองได้ และไม่ให้พรรคเล็กเสียเปรียบพรรคใหญ่ ทำให้ทุกพรรคสามารถพบปะประชาชนได้ตามวิถีทางการเมืองปกติ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และ ปิยบุตร แสงกนกกุล ด้านปิยบุตร แสงกนกกุล กล่าวว่า "พรรคอนาคตใหม่มีวิธีการบริหารจัดการแบบใหม่ หลอมรวมเอาคนยุคใหม่ ที่ไม่ยอมจำนนกับสิ่งที่เป็นอยู่ หลอมรวมคนที่มีความสามารถเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อลงมือสร้างการเมืองแบบใหม่และนำเสนอนโยบบายแบบก้าวหน้า นโยบายที่เน้นการกระจายอำนาจ นโยบายที่ทำให้ประชาชนมีโอกาสทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียม พัฒนาคุณภาพชีวิต ประชาชนเข้าถึงทุนและทรัพยากร ทลายการผูกขาดทางธุรกิจ พัฒนาระบบสวัสดิการที่สร้างหลักประกันถ้วนหน้าให้คนทุกคนตั้งแต่เกิด ในยามแก่ ในยามเจ็บ และยามตาย นโยบายที่ส่งเสริมให้ประชาชนในประเทศเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก สร้างกฎหมายให้ทันกับยุคสมัยเพื่อตอบธุรกิจรูปแบบใหม่ ไม่ใช่เป็นอุปสรรคขัดขวาง" อนึ่ง ปิยบุตร ตอบคำถามเรื่องบทบาทที่เขาผลักดันให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ในช่วงที่เขาเป็นนักวิชาการคณะนิติราษฎร์ว่า ที่ผ่านมาผลักดันแก้ไขมาตรา 112 เพราะมีการใช้กฎหมายเพื่อทำลายฝ่ายตรงข้าม ตัวเขาแม้จะเปลี่ยนมาเป็นนักการเมือง แต่ยังคงยืนยันว่าต้องแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เพื่อไม่ให้มีการนำกฎหมายไปกลั่นแกล้งศัตรูฝ่ายตรงข้าม หรือบุคคลที่เห็นต่างกันทางการเมือง แต่เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายและการตัดสินใจของสมาชิกพรรคว่าเห็นสมควรจะขับเคลื่อนเรื่องนี้หรือไม่ เพราะคณะนิติราษฎร์เป็นกลุ่มนักวิชาการไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับพรรคอนาคตใหม่ และพรรคอนาคตใหม่ไม่ใช่ของเขาคนเดียว (จากซ้ายไปขวา) กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ, สุรินทร์ คำสุข และชำนาญ จันทร์เรือง ในเรื่องของนโยบายที่ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคต้องการผลักดันนั้น ชำนาญ จันทร์เรือง นักวิชาการที่มีบทบาทด้านการผลักดันการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น กล่าวด้วยว่า เขาขับเคลื่อนเรื่องการกระจายอำนาจและร่วมผลักดันจังหวัดจัดการตนเอง ที่ผ่านมาไม่เคยมีพรรคการเมืองไหนพูดถึงเรื่องนี้ "เราเคยเสนอร่างพระราชบัญญัติเชียงใหม่มหานคร ซึ่งว่าด้วยการบริหารจัดการตนเอง ซึ่งตามรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 ประชาชนสามารถเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมายได้ ถือเป็นสิทธิเสรีภาพของประชาชน เป็นไปตามแนวนโยบายแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 แต่พอถึงรัฐธรรมนูญ 2560 ได้ตัดโอกาสนี้ออกไป ทำให้ประชาชนไม่มีสิทธิเสนอชื่อ" ดังนั้นเลยคิดว่าช่องทางพรรคการเมืองนี้ จึงเป็นเพียงช่องทางเดียว โดย ส.ส. 20 คนขึ้นไปก็เสนอร่างกฎหมายได้แล้ว ส่วนนโยบายที่สนใจนอกจากนี้เป็นเรื่องของสิ่งแลดล้อม ป่า เรื่องสิทธิชุมชน ซึ่งเขาเองทำงานด้านนี้มานานพอสมควร สุรินทร์ คำสุข ประธานสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์ กล่าวว่า ตัวเขาเสนอผลักดันเรื่องสิทธิแรงงาน กฎหมายแรงงาน การจัดตั้งสหภาพแรงงาน แม้ในกฎหมายจะเขียนไว้ แต่ในทางปฏิบัติยังมีปัญหา ซึ่งสิทธิเหล่านี้ควรจะเปิดกว้างและได้รับการยอมรับมากขึ้น อีกเรื่องคือปัญหาของสิทธิประกันสังคม พนักงานหรือผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่จ่ายประกันสังคมแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือโดนหัก ณ ที่จ่ายอยู่แล้ว แต่คุณภาพการบริการ การรักษาพยาบาล เหมือนผู้ประกันตันได้รับการบริการแบบชั้น 2 ชั้น 3 ถ้าเทียบกับการจ่ายประกันชีวิต จ่ายเบี้ยมาหลายปีขนาดนี้ ก็ควรได้รับการดูแลที่ดีกว่านี้ สุรินทร์ เสนอด้วยว่า นอกจากนี้ต้องลดชั่วโมงการทำงาน บ้านเราทุกวันนี้ถ้าไม่ทำโอที ก็อยู่ไม่ได้ เรื่องสิทธิทางและกฎหมายที่ยังเหลือมล้ำ เหล่านี้ เป็นสิ่งที่เขาอยากเข้ามาผลักดัน กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ นักวิชาการอิสระด้านการศึกษา กล่าวว่าในฐานะคนเป็นครู ไม่ได้อยากเห็นอะไรมากไปกว่าการทำให้นักเรียนมีศักยภาาพ และสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต และเป็นผู้ที่มีความสามารถที่จะอยู่ในอนาคตได้จริง เราต้องสร้างพื้นที่การเรียนรู้ให้มันเกิดขึ้นจริงก่อน เป็นพื้นที่ที่ปราศจากความกลัว เป็นพื้นที่ที่ทุกคนเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง อีกสิ่งที่อยากทำคือ อยากให้นักเรียนไทยได้รู้จักฝันของตัวเองสักที และเมื่อรู้จักแล้วเขามีเครื่องมือที่จะเดินทางไปทำฝันนั้นให้เป็นจริง เขาสามารถมีสังคม และมีระบบการศึกษาที่เกื้อหนุนผลักดันให้ฝันของเขาเป็นจริงได้ นลัทพร ไกรฤกษ์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ข่าวคนพิการ ThisAble.me กล่าวว่า ประเทศไทยยังให้ความสำคัญน้อย ในเรื่องของการยอมรับความแตกต่างและการมองคนให้เป็นคนอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเพศสภาพ อุดมการณ์ ฐานะ หรือความพิการ ที่ผ่านมาคนพิการถูกแยกออกจากสังคม ถูกมองอย่างเป็นภาระและไม่มีศักยภาพ ซึ่งเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้แก้ไขได้ การนับรวมพวกเขาเข้ามาอยู่ในสังคมสามารถเกิดขึ้นได้ ถ้าเรามีการออกนโยบายที่เอื้อต่อพวกเขาตั้งแต่ต้น และนโยบายเหล่านี้จะต้องสนับสนุนคนแต่ละคน ในความแตกต่างของพวกเขา ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
กวีประชาไท: แด่ วีระศักดิ์ ยอดระบำ! Posted: 14 Mar 2018 11:29 PM PDT
พี่ยอดครับหลับให้สบายพี่ แม่น้ำเงากลางหุบเขาโอบล้อม พี่คือคนธรรมดาแสนยิ่งใหญ่ พี่เอาลูกเมียไปอยู่ด้วย ชีวิตพี่กับธรรมชาติรวมเป็นหนึ่ง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
อ่าน "ประวัติศาสตร์สังคมล้านนา ของอานันท์ กาญจนพันธุ์" Posted: 14 Mar 2018 10:45 PM PDT
ผมอ่านหนังสือเล่มนี้แล้วพบสิ่งที่น่าสนใจ 4-5 ประเด็นทั้งที่ก่อนหน้านี้ก็ไม่ค่อยได้คิดอย่างจริงจังทั้งที่เป็นหนึ่งในคนที่เขียนคำนำ ประการแรก หนังสือเล่มนี้ของ อ.อานันท์ หรือตั้งแต่วิทยานิพนธ์ [The Partial Commercialization of Rice Production in Northern Thailand (1900-1981)(1984)] รวมถึงการศึกษาหลัง ๆ อ.อานันท์ ได้สร้างเวลาของการอธิบายประวัติศาสตร์ใหม่ ทั้งที่เป็นเวลาที่หลุดออกไปจากกรอบโครงสร้างที่เป็นทางการ มาสู่ "เวลาของพื้นที่" ภายใต้เงื่อนไขบริบทของพื้นที่เอง ซึ่งเราจะเห็นว่าการศึกษาประวัติศาสตร์ก่อนหน้านั้นใช้เวลาความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเป็นฐานอ้างอิง แต่งานของอานันท์ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ (เช่น การเข้ามาของข้าวนาปรัง การเข้ามาของพืชไร่ การเข้ามาของพืชพาณิชย์ ฯลฯ) ซึ่งความเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางสังคมในรูปแบบต่าง ๆ การอธิบายเวลาแบบที่อานันท์ใช้ได้ถูกสืบทอดในวิทยานิพนธ์ และการศึกษาของสำนักเชียงใหม่ภายใต้การควบคุมของอานันท์ และคนอื่น ๆ ซึ่งก่อนหน้านี้เราไม่ค่อยเห็นการสร้างหรือใช้เวลาทำนองนี้ แต่อย่างไรก็ตาม การสร้าง/ใช้เวลาข้างต้น มีในการศึกษามานุษยวิทยาทั่วไปที่ต้องกำหนดเงื่อนไข บริบทภายใต้ความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ ซึ่งการนำมาประสานระหว่างมานุษยวิทยากับประวัติศาสตร์ถือเป็นจุดเด่นของหนังสือเล่มนี้ ประการที่สอง การเปลี่ยนแปลงเวลาของการอธิบายไม่ได้หมายถึงแค่การเปลี่ยนความสัมพันธ์ แต่การที่อานันท์ ณ ขณะเขียนงานหลายชิ้นนี้ในเล่มนี้ยังสังกัดความคิดมาร์กซิสต์ ส่งผลให้การอธิบายเวลาแบบใหม่เพื่อหลุดพ้นจากกรอบโครงสร้างที่ครอบงำ ซึ่งในขณะนั้นการศึกษาประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ต่างอิงแอบกับประวัติศาสตร์ชาติอย่างสำคัญ (ดู การอธิบายเวลาของมาร์กซิสต์ในงานของ อ.เก่งกิจ) การเปลี่ยนเวลาจึงหมายถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของอำนาจใหม่ด้วย ประการที่สาม หนังสือเล่มนี้ให้ความสนใจความขัดแย้งที่เกิดในสังคม เพื่ออธิบายเงื่อนไขที่นำมาสู่ปรากฏการณ์นั้น ๆ มากกว่ามุ่งหาภราดรภาพ ความกลมกลืน ซึ่งการศึกษาแบบหลังเป็นกระแสหลักของการศึกษาประวัติศาสตร์ในช่วงเวลานั้น อ.อานันท์ เคยเล่าว่า การเข้าไปอยู่ในหมู่บ้านทำให้เห็นความขัดแย้ง ไม่เท่าเทียม หรือพูดง่าย ๆ ว่าไม่ได้สงบสุขอย่างที่เคยคิด เพราะขณะที่อาจารย์เข้าไปอยู่ในหมู่บ้าน "ระบบทุนนิยม" ได้ลงหลักปักฐานในพื้นที่แล้ว งานของอาจารย์จึงต้องการอธิบายว่าภายใต้ความขัดแย้งนำมาสู่ความเปลี่ยนแปลงในแง่ใดบ้าง อานันท์ได้อธิบายผ่านเรื่องผีกะ การจ้างแรงงาน การทำนาปลัง การจ้างร้อยถอน การเกิดชลประทาน ที่ทำให้เกิดการผลิตแบบเข้มข้นขึ้น นำมาสู่ความเปลี่ยนแปลงของความสัมพันธ์ในชุมชนในหลายระดับ (อ่านรายละเอียดในหนังสือ) ประการที่สี่ หนังสือเล่มนี้ปรับประยุกต์วิธีการอธิบายแนวมาร์กซิสต์กับเลวี-เสตราส์ อธิบายการเปลี่ยนแปลงสังคมชาวนาผ่านพิธีกรรมความเชื่อ(ผีกะ) ที่นำมาสู่การจัดโครงสร้างทางสังคมใหม่ ประการที่ห้า เราอ่านหนังสือเล่มนี้ทั้งในฐานะประวัติศาสตร์สังคมที่ผู้เขียนต้องการให้เป็น หรืออ่านในฐานะประวัติศาสตร์ของวิธีคิด เพราะแม้หนังสือเล่มนี้จะต้องการอธิบาย "ปรากฏการณ์" ของสังคมภาคเหนือ แต่ในขณะเดียวกันก็ได้สร้างมโนทัศน์ (concept) เพื่อเป็นรากฐานในการอธิบายเรื่องอื่น ๆ ด้วย เช่น ความคิดเรื่องเจื๋อง เวลาและวิธีคิดในตำนาน พ่อเลี้ยง ฯลฯ เป็นต้น ท้ายสุด บางคนอาจบอกว่าหนังสือเล่มนี้ไม่มีความเป็นเอกภาพ แต่ในฐานะที่เป็นบรรณาธิการร่วมในเล่มนี้เดาว่า อ.อานันท์ ในฐานะที่เคยเขียนวิธีคิดของฟูโกต์ ก็ไม่เน้นเรื่องเอกภาพเช่นกัน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
คุณสมบัตินักการศาสนาในปัจจุบันที่คิดว่าสังคมต้องการ Posted: 14 Mar 2018 10:15 PM PDT
คําว่า ศึกษามาทางศาสนาอย่างเดียว อาจคํากัดความหมายไปที่การศึกษาแต่ทางพระบาลี นักธรรม หรือศึกษามาทางเทววิทยา และทางคัมภีร์อย่างเดียว โดยขาดการบูรณาการศาสตร์ทางสังคมศาสตร์ประเภท สังคมวิทยา รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์และสิทธิมนุษยชน ผลก็คือ ตลอดในช่วงระยะเวลาที่ประเทศไทยตกอยู่ช่วงวิกฤติความขัดแย้งต่างๆ ทั้งที่เกิดในพื้นที่ใจกลางกรุงเทพมหานคร หรือปัญหาสามจังหวัดชายแดนใต้ ปัญหาที่ประชาชนถูกเอารัดเอาเปรียบ เราเห็นท่าทีของนักการศาสนาที่เย็นชาเกินไปหรือไม่ต่อสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ เราวางเฉย และปล่อยให้เป็นเรื่องกรรมเก่า แต่ชีวิตของผู้บริสุทธิ์กลับถูกทําร้ายทําลายอย่างไม่รู้จักหยุดหย่อน จนคําอธิบายว่า "กรรมเก่า ได้คร่าชีวิตของผู้บริสุทธิ์ไปแล้วนับครั้งมิถ้วน" ยิ่งมีท่าทีเช่นนี้ ปัญหาของมันก็คือยิ่งเราวางเฉย ก็ยิ่งทําให้ปัญหาเกิดขึ้นมากขึ้นนั้นก็เพราะว่านักการศาสนามักไม่มีความตระหนักว่าเราเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคม บทบาทและกิจกรรมทางศาสนาไม่สามารถแยกขาดจากพันธะทางสังคมได้ ดั่งทุกศาสดาทุกศาสนายังต้องพูดคุยกับศาสนิกเพื่อทําความเข้าใจท่าทีปฏิบัติต่อโลกผ่านคําสอนต่างๆ หากเรายังวางเฉยและมีการเรียนศึกษาทางศาสนาอย่างไม่แยแสต่อการศึกษาถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์แล้ว ความรุนแรงที่มาจากศาสนาและความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ศาสนาจะยังคงปรากฏและไม่สามารถใช้คําว่าเขตอภัยทานได้อย่างแท้จริง หากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ หากยังไม่ปรับวิธีการมองโลกของนักการศาสนา พื้นที่ทางศาสนาจะยังคงปราศจากความปลอดภัย ชีวิตและทรัพย์สิน และเสรีภาพที่จะคิดและพูดอย่างปราศจากความรุนแรงได้ พื้นที่ทางศาสนาจึงกลับกลายเป็นพื้นที่ที่สังเวยชีวิตของมนุษย์ไปอย่างน่ากลัวโดยไม่ต้องบอกกล่าวถึงความรับผิดชอบใดๆ เราจะยังคงเป็นนักการศาสนาที่มองข้ามปัญหาเชิงโครงสร้าง ปัญหาเชิงวัฒนธรรม ปัญหาจากความรุนแรงทางตรง และนั้นไม่ใช่สิ่งที่สังคมในปัจจุบันต้องการนักการศาสนาเช่นนี้มากนัก
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ชำนาญ จันทร์เรือง: การกระจายอำนาจคืออนาคตของประเทศไทย Posted: 14 Mar 2018 09:54 PM PDT พลันที่คุณธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ได้ให้สัมภาษณ์ผ่านโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ของตนที่ตั้งใจจะเข้ามาทำการเมืองในการเลือกตั้งที่หากจะมีขึ้นในคราวที่จะถึงนี้ ผลที่ตามมามีทั้งการตอบรับอย่างมากมายและแน่นอนว่าย่อมมีเสียงที่ไม่เห็นด้วยตามมาเช่นกัน แต่ประเด็นที่ผมให้ความสนใจเป็นพิเศษก็คือในเรื่องที่เกี่ยวกับการกระจายอำนาจซึ่งตรงกับแนวทางการขับเคลื่อนของผมและคณะมาโดยตลอด ทำให้เกิดความหวังขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งว่าการกระจายอำนาจจะถูกสานต่อหลังจากที่เรียกได้ว่าถูกทำให้หยุดอยู่กับที่มาเกือบ 4 ปี อันที่จริงแล้วกระแสการขับเคลื่อนของการกระจายอำนาจของไทยมีมาโดยตลอดตั้งแต่อดีต การขับเคลื่อนเพื่อการกระจายอำนาจที่เห็นเป็นรูปธรรมนับตั้งแต่30-40 กว่าปีก่อนที่คุณไกรสร ตันติพงศ์อดีต สส.พรรคประชาธิปัตย์จังหวัดเชียงใหม่ ได้เสนอแนวความคิดที่จะให้เชียงใหม่มีกฎหมายเป็นของตนเอง แต่พอคุณไกรสรได้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและอุตสาหกรรมความคิดดังกล่าวก็เลือนหายไป ตามมาด้วยคุณถวิล ไพรสณฑ์ อดีตสส.พรรคประชาธิปัตย์และอาจารย์ธเนศวร์ เจริญเมืองก็ออกมารณรงค์ให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่ก็ถูกต่อต้านอย่างรุนแรง ที่เกือบจะเป็นมรรคผลก็ตอนที่พรรคพลังธรรมของพลตรีจำลอง ศรีเมือง เสนอต่อพรรคร่วมรัฐบาลที่มีพรรคประชาธิปัตย์โดยมีคุณชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรีให้แถลงนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ แต่ก็ถูกต่อรองจนต้องแก้เป็นว่า "ในจังหวัดที่มีความพร้อม" ซึ่งก็ยังไม่บังเกิดผลอันใดเลยจวบจนปัจจุบันเพราะพวกที่ยังหวงอำนาจต่างก็อ้างว่า "ยังไม่พร้อมๆๆๆ" เว้นแต่กรุงเทพมหานครซึ่งดำเนินการไปก่อนแล้วโดยไม่เกี่ยวกับข้อเสนอที่ว่านี้ จุดเปลี่ยนสำคัญคือปี 2552ได้เกิดวิกฤตทางการเมืองว่าด้วยเหลืองแดงจนเกิดการรวมตัวของเหลืองและแดงขึ้นมาเพื่อแก้ไขวิกฤตของเชียงใหม่ที่เกิดการปะทะกันจนทำให้เศรษฐกิจของเชียงใหม่แทบจะพังพินาศ โดยร่วมกันวิเคราะห์เหตุของปัญหาว่าเกิดจากการรวมศูนย์อำนาจการเมืองการปกครองและการตัดสินใจไว้ที่ส่วนกลาง ทำให้ท้องถิ่นไม่มีอำนาจในการตัดสินใจในแก้ไขปัญหาของตนเอง จึงได้พบปะและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นตามเวทีต่างๆอยู่เสมอ จวบจนเดือนมกราคม 2554 จึงได้มีการยกร่าง พรบ.ระเบียบบริหารราชการเชียงใหม่มหานครฯ ขึ้นมา โดยมีหลักการที่สำคัญ คือ 1) ยกเลิกการบริหารราชการส่วนภูมิภาค เหลือเพียงราชการส่วนกลาง และราชการส่วนท้องถิ่นเต็มพื้นที่ โดยราชการส่วนท้องถิ่นมีอำนาจในการกำหนดแนวนโยบาย ระเบียบ ข้อบัญญัติ การจัดงบประมาณ การคลัง การจัดการบริหารบุคลากร ได้ครอบคลุมทุกเรื่องยกเว้น 4 เรื่องหลัก คือ การทหาร ระบบเงินตรา การศาลและการต่างประเทศ โดยแบ่งการปกครองเป็น 2 ระดับ (two tiers)แบบญี่ปุ่น คือระดับบน (เชียงใหม่มหานคร) และระดับล่าง (เทศบาล) ทำให้สามารถดูแลครอบคลุมเต็มพื้นที่โดยทั้ง 2 ระดับมีการบริหารที่อิสระต่อกันเป็นลักษณะการแบ่งหน้าที่การทำงานให้ชัดเจน 2) ทำให้การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรม จริยธรรม ทำให้ระบบการตรวจสอบ มีความเข้มแข็ง และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการสร้างดุลยภาพ 3 ส่วน คือผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร สภาเชียงใหม่มหานคร และสภาพลเมือง (civil juries หรือ citizen juries) ซึ่งล่าสุดก็ได้มีการประชุมสภาพลเมืองเชียงใหม่เมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ผ่านมาในรูปแบบของการประชุมเมือง (town meeting) ที่ใช้ในแถบNew Englandและในหลายพื้นที่ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งหลักการนี้รวมถึงการสนับสนุนให้ประชาชนสามารถใช้อำนาจโดยตรงในการกำหนดทิศทางการพัฒนา ตรวจสอบการทำงานหน่วยงาน ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ทุกระดับ และเข้าถึงการใช้งบประมาณ ผ่านกระบวนการกลไกต่าง ๆ เช่น สภาพลเมือง การไต่สวนสาธารณะ กรรมาธิการด้านต่าง ๆ เช่น การศึกษา เกษตร ฯลฯ 3) การปรับโครงสร้างด้านภาษี โดยภาษีทุกชนิดที่เก็บได้ในพื้นที่ จะส่งคืนรัฐบาลส่วนกลางร้อยละ 30 และคงไว้ที่จังหวัดร้อยละ 70 กอปรกับการที่คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ (คปร.)ที่มีคุณอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธานได้สรุปไว้เมื่อ 18 เมษายน 2554 ว่าหากจะปฏิรูปประเทศไทยให้สำเร็จต้องยกเลิกราชการส่วนภูมิภาคและปฏิรูปการจัดการเกี่ยวกับที่ดิน กระแสการยกเลิกราชการส่วนภูมิภาคจึงได้รับการตอบรับอย่างกว้างขวาง แต่น่าเสียดายที่กระแสการปฏิรูปที่ดินกลับไม่ได้รับการตอบรับเท่าที่ควร การปฏิรูปโครงสร้างอำนาจในระดับบนมีข้อถกเถียงไม่เป็นข้อยุติ ไม่ว่าจะเป็นสภาเดียวหรือสองสภา มีองค์กรอิสระดีหรือไม่ดี ฯลฯ ยากที่จะเห็นพ้องร่วมกันได้ง่าย แต่เกี่ยวกับการกระจายอำนาจนั้นทุกสีทุกฝ่ายต่างเห็นพ้องต้องกันเพราะเป็นสิทธิพื้นฐานในการจัดการเกี่ยวกับชีวิตของตนเอง (Self Determination Rights) ที่ทั่วโลกและสหประชาชาติให้การรับรอง การกระจายอำนาจจะเป็นคำตอบของการปรองดองและสมานฉันท์ เพราะทุกฝ่ายทุกสีมีผลประโยชน์ร่วมกัน การริเริ่มของกระบวนขับเคลื่อนเชียงใหม่มหานครหรือเชียงใหม่จัดการตนเองจนล่าสุดคือจังหวัดปกครองตนเองนั้นได้เป็นตัวอย่างที่สถาบันการศึกษา สถาบันที่ทำงานเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ฯลฯ ได้นำไปศึกษากันอย่างกว้างขวาง และมี จะช้าหรือเร็ว จะมากหรือน้อยการกระจายอำนาจต้องเกิดขึ้น และหากจะต้องการให้ประเทศไทยมีอนาคตที่ดีขึ้นอย่างแท้จริงจะต้องมีการลดอำนาจส่วนกลางแล้วกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น เพราะไม่มีประเทศใดที่ประชาธิปไตยในระดับชาติเข้มแข็ง โดยปราศจากการปกครองท้องถิ่นที่เข้มแข็ง(no state without city)หรอกครับ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google, 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น