โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

นักข่าวพลเมือง: นักศึกษาใต้รวมตัวยื่นหนังสือแก่ผู้ว่านครฯ กรณีผ้าฮีญาบ

Posted: 06 Dec 2011 10:55 AM PST

นักศึกษาใต้รวมตัวกันยื่นหนังสือให้แก่ผู้ว่าฯ พร้อม ประธาน คกก.อิสลาม และชมรมมุสลีมะฮฺ  นครศรีฯ กรณีการเรียกร้องเพื่อให้นักศึกษาหญิงมุสลิมได้ใส่ผ้าฮีญาบในขณะไปฝึกสอน หรือ ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

แต่จากการเรียกร้องต่อผู้มีอำนาจสูงสุดในสถาบันนั้นถือว่า ปีการศึกษา 2555 นี้นักศึกษาทุกคนสามารถใส่ผ้าฮีญาบได้ แต่เหตุ ไฉนในอีกหนทางหนึ่งนักศึกษากลับถูกคุกคาม จึงนำมาสู่การยื่นหนังสือให้แก่ผู้มีอำนาจสูงสุดของจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันศุกร์ ที่ 2 ธ.ค. 2554 ที่ผ่านมา
 
หลังจากการรวมตัวกันของนักศึกษาเพื่อเรียกร้องให้เพื่อนนักศึกษาหญิงมุสลิมในสถาบันแห่งหนึ่งได้ใส่ผ้าคลุมฮีญาบมานานหลายปี แต่กลับไม่มีความคืบหน้าใดๆ  อาจจะเป็นเพราะการรวมตัวที่ไม่เข้มแข็งพอของเหล่านักศึกษาในครั้งที่ผ่านมานั้น  เป็นการรวมตัวเฉพาะนักศึกษาในสถาบันที่ได้รับผลกระทบเพียงสถาบันเดียว จึงอาจจะไม่มีพลังพอในการต่อรองกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นักศึกษาหญิงมุสลิมยังคงต้องถอดผ้าคลุมฮีญาบในขณะฝึกสอนในสถานศึกษาต่างๆตามที่มหาวิทยาลัยได้สรรหาไว้ ด้วยความที่กลัวว่าจะกระทบกับการเรียนของตนเอง ส่งผลให้นักศึกษาหญิงมุสลิมต้องยินยอมแต่โดยดี  

แต่เมื่อถึงปี 2554 ความคืบหน้าในเรื่องดังกล่าวก็ยังคงเฉกเช่นกับปีที่ผ่านๆมา จนมาถึงช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนกระแสการห้ามสวมฮีญาบกลับเล็ดลอดออกมาจากรั่วสถาบันดังกล่าว ส่งผลให้เกิดการรวมตัวกันของนักศึกษาจากหลายๆสถาบันในนาม “เครือข่ายนักศึกษาคัดค้านการห้ามสวมฮีญาบ” โดยมี 24 องค์กรนักศึกษาด้วยกัน

เริ่มจากการพูดคุยกันของนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบโดยตรงเป็นกลุ่มเล็กๆกับอาจารย์ที่เกี่ยวข้องเป็นการส่วนตัว  แต่กลับหาทางออกให้นักศึกษาไม่ได้ จนนำมาสู่การรวมตัวกันของนักศึกษาเป็นกลุ่มก้อนใหญ่ในนามเครือข่ายดังกล่าว และออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1 เพื่อเรียกร้องให้นักศึกษาในสถาบันลุกขึ้นมาเรียกร้องพร้อมๆกัน จนนำมาสู่การตั้งโต๊ะเจรจากับผู้มีอำนาจสูงสุดในสถาบันแห่งนั้น คำตอบที่ได้มาคือ ทางมหาวิทยาลัยได้ประกาศอนุญาตให้นักศึกษาหญิงมุสลิมได้สวมผ้าฮีญาบตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ ปีการศึกษา 2554 แล้ว แต่เหตุไฉนผู้ที่นำประกาศฉบับอนุญาตนั้นกลับไม่มีการประกาศให้นักศึกษาทราบ หรือ เผยแพร่ หรือ นำมาสู่การเป็นบรรทัดฐานในการออกเป็นกฎระเบียบของคณะต่อไป ฉะนั้นจากการตกลงระหว่างเครือข่ายนักศึกษากับผู้มีอำนาจสูงสุดในสถาบันสามารถสรุปได้ดังนี้  
 
“หลังจากวันนี้เป็นต้นไป นักศึกษาหญิงมุสลิมในคณะๆหนึ่ง ที่ต้องออกฝึกสอน สามารถสวมฮีญาบได้...แต่กระนั้นแล้วเอาเข้าจริงตอนนี้นักศึกษาที่ออกโรงเพื่อไปฝึกสอนตามโรงเรียนต่างๆนั้น “จะรู้ถึงการอนุญาตครั้งนี้หรือเปล่า...ไม่รู้ ?  หากการอนุญาตครั้งนี้ไม่ได้มีการประสานงาน หรือแจ้งข่าว และทำความเข้าใจโดยคณะอาจารย์ที่เกี่ยวข้องด้วยความจริงใจอย่างทั่วถึง”
อีกส่วนหนึ่งของช่วงเวลาแห่งการเรียกร้องนั้น กลับถูกตอบโต้กลับมาในรูปแบบต่างๆที่เหมือนกับว่าละครเรื่องนี้คงจะไม่จบกันง่ายๆ เฉกเช่น มีการขมขู่นักศึกษาที่เกี่ยวข้องเพื่อถามถึงผู้ที่จุดกระแสเรื่องฮีญาบนี้ขึ้นมา และถามถึงแกนนำนักศึกษาผู้ที่ออกแถลงการณ์  รวมทั้งได้มีการแบล็คเมล์รูปภาพนักศึกษาที่เรียกร้องในเรื่องดังกล่าวผ่านสื่อออนไลน์ หรือ Facebook  ในทางที่เสื่อมเสีย อย่างใจความว่า“เปิดโปง มาแล้ว เจ้าเด็กบ้า ไปฝึกงานในสถาบันมีชื่อเสียงไม่ได้ เพราะตัวเองเอาแต่หมกมุ่น เรื่อง การยุยง เพื่อสร้างความแตกแยก เลยกุเรื่อง มหาลัยนครฯห้ามสวมฮิญาบ เพื่อหวังหลอกนักศึกษาทั่วประเทศรวมกลุ่มเพื่อไม่ต้องการให้ภาคใต้สงบ โปรดดูโฉมหน้า แล้วประวัติจะลงให้ชมต่อไป ติดตามชม (เด็กบ้าเอ้ย...สนใจเรียนหนังสือมีงานทำดีๆเหอะไป้)”  โพสต์โดย เจ ขุนเณร ยะลา โดยมิทราบว่าบุคคลที่มีนามแฝงผู้นี้ จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับสถาบันแห่งนี้หรือเปล่า แต่ทั้งนี้การถูกคุกคามโดยมือที่สามนั้น ส่งผลให้นักศึกษาเกิดการหวาดผวาที่จะเรียกร้องในเรื่องดังกล่าวต่อไป
จากการถูกคุกคามดังกล่าวส่งผลให้ทาง “เครือข่ายนักศึกษาคัดค้านการห้ามสวมฮีญาบ” รวมตัวกันประมาณ 60 กว่าคน นำโดย นายมูหามะนาซูวันดี สาแม ผู้ประสานงานเครือข่ายฯ เพื่อยื่นหนังสือให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันศุกร์ ที่ 2 ธันวาคม 2554 เวลาประมาณ 14.45 น. การยื่นหนังสือครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อให้ผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมืองรับทราบถึงข้อมูลข้อเท็จจริงที่มาจากนักศึกษาเอง และป้องกันการบิดเบือนจากมือที่มองไม่เห็นอีกทางหนึ่ง จากการสัมภาษณ์หนึ่งในแกนนำเครือข่ายนักศึกษาคัดค้านการห้ามสวมฮีญาบ
 
นายอีสมาแอล ฮายีแวจิ ประธานสภานักศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวว่า  การมายื่นหนังสือให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช  นายกสมาคมชมรมมุสลิม (มุสลีมะฮ์) นครศรีธรรมราช และประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชนั้น ไม่ได้ต้องการเรียกร้องเพื่อให้หน่วยงานเหล่านี้เข้าไปพูดคุยกับผู้หลักผู้ใหญ่ในสถาบันดังกล่าว แต่เพียงต้องการให้หน่วยงานเหล่านี้ได้รับทราบถึงข้อมูลข้อเท็จจริงที่เป็นข้อมูลมาจากนักศึกษาเอง อีกทั้งเพื่อเป็นภูมิคุ้มกันให้แก่พวกเราด้วย หลังจากที่มีการถูกคุกคามจากมือที่ 3
 
และนายมูหามะนาซูวันดี สาแม ผู้ประสานเครือข่ายฯ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า  หลังจากที่ยื่นหนังสือให้หน่วยงานใหญ่ๆต่างๆในตัวเมืองนครศรีธรรมราชนั้น ยังไม่รู้เลยว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นกับตัวผมเอง แต่ที่แน่ๆมหาลัยต้องเรียกผมไปพบแน่ เนื่องจากผมเองก็เรียนในคณะและชั้นปีเดียวกันกับเพื่อนๆนักศึกษาที่ไปฝึกสอน แต่ผมก็พร้อมเสมอ เพราะผมเชื่อว่าสิ่งที่ผมทำนี้มันเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ผมทำเพื่อเพื่อนๆนักศึกษาคนอื่นๆและรุ่นน้องๆต่อไปได้ใส่ผ้าฮีญาบ ผมไม่ได้ทำเพื่อตัวผมเอง
ส่วนนายสือกรี  เตะ  นายกสโมสรนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา  ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ถึงแม้ว่าผมจะเรียนอยู่ต่างสถาบัน แต่หากการละเมิดต่อสิทธินักศึกษาเกิดขึ้น ณ ที่ใดแล้ว พวกเราก็พร้อมจะรวมตัวและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
 
การยื่นหนังสือครั้งนี้ เริ่มยื่นหนังสือให้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ณ ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช  โดยมีนายวุฒิ  ศิลปะไพบูลย์  ปลัดอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช และนายอธิวัฒน์  ยอดหวาน  หัวหน้าศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดและนิติกรสำนักงานจังหวัด  รับหนังสือแทน  ต่อมาเวลา 15.30 น. เครือข่ายนักศึกษาฯ ดังกล่าวได้เดินทางไปยื่นหนังสือให้แก่ นางซาเราะห์ ยิ่งกุลเชา นายกสมาคมสตรีมุสลิม (มุสลีมะฮ์) นครศรีธรรมราช  ต่อด้วยเวลา 16.00 น. เดินทางไปยื่นหนังสือให้แก่ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดถึงบ้านพัก  เนื่องจากวันศุกร์สำนักงานคณะกรรมอิสลามเป็นวันหยุดทำการ

จากการยื่นหนังสือครั้งนี้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังกล่าวก็รับเรื่องเพื่อรับทราบแต่โดยดีและพร้อมที่จะเข้ามาช่วยเหลือหากครั้งหน้าทางเครือข่ายนักศึกษาเข้ามายื่นหนังสือเพื่อร้องเรียนต่อไปดังคำพูดของ  นางซาเราะห์  ยิ่งกุลเชา  นายกสมาคมสตรีมุสลิม (มุสลีมะฮ์) นครศรีธรรมราช กล่าวว่า  " ประเด็นนี้ถือว่าเป็นประเด็นหลักของสมาคมฯที่จะต้องเข้ามาร่วมแก้ไขและทำความเข้าใจในเบื้องต้น หากนักศึกษาเข้ามาขอความช่วยเหลือ ทางเราก็พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือ  ซึ่งแน่นอนว่าหากการเรียกร้องของนักศึกษาครั้งนี้ไม่เป็นไปตามคำพูดหรือการให้คำมั่นสัญญาของผู้มีอำนาจสูงสุดในสถาบัน หรือการถูกคุกคามโดยมือที่มองไม่เห็น การออกโรงครั้งต่อไปคงจะเกิดขึ้นอีกเมื่อเร็ววัน ดังนั้นฝากถึงผู้หลักผู้ใหญ่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้ความตระหนักและให้ความสำคัญในการเรียกร้องของนักศึกษาครั้งนี้ด้วย ตามความเชื่อที่ว่า  กระบอกเสียงนักศึกษา คือ เสียงที่ บริสุทธิ์

 
 
 
 
 
อ้างอิงหนังสือที่ยื่นให้แก่ผู้ว่าฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงาน               เครือข่ายนักศึกษาคัดค้านการห้ามสวมฮีญาบ             
ที่                             พิเศษ ๐๐๒/๒๕๕๔                                             ๒  ธันวาคม  ๒๕๕๔
เรื่อง                        แจ้งเพื่อโปรดทราบ
เรียน                       ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช
สิ่งที่แนบมาด้วย
๑.       รายชื่อองค์กรภาคี เครือข่ายนักศึกษาคัดค้านการห้ามสวมฮีญาบ
๒.     ประกาศคณะครุศาสตร์ : หลักเกณฑ์และกิจกรรมการจัดประสบการณ์วิชาชีพครู
 
ตามที่เครือข่ายนักศึกษาคัดค้านการห้ามสวมฮีญาบ ได้ยืนหนังสือเลขที่ ๐๐๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม  ๒๕๕๔  ซึ่งมีรายละเอียดมูลข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้
เนื่องจากทางหลักสูตรต่างๆในคณะครุศาสตร์ได้กำหนดให้นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช  ชั้นปีที่ ๔ ปฏิบัติการฝึกวิชาชีพประสบการณ์ครูตามสถานศึกษาต่างๆ โดยกำหนดระยะเวลา ๕ สัปดาห์ และนักศึกษา ชั้นปีที่ ๕ ในคณะดังกล่าวปฏิบัติการฝึกวิชาชีพประสบการณ์ครูตามสถานศึกษาต่างๆเช่นเดียวกัน โดยกำหนดระยะเวลา ๑ ปี รวมระยะเวลาทั้งสิ้น ๑ ปี ๑ เดือน ถึงจะจบหลักสูตรการศึกษานั้น 
ต่อมาเมื่อช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน ปีการศึกษา ๒๕๕๔ มีเพื่อนนักศึกษาในคณะดังกล่าวได้แจ้งมายังเพื่อนนักศึกษาในสื่อออนไลน์ต่างๆ อย่างเช่น Facebook โดยมีใจความว่า “วันจันทร์ที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ นักศึกษา ชั้นปีที่ ๔ คณะคุรุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช  ทุกคนต้องปฏิบัติการฝึกวิชาชีพประสบการณ์ครูตามสถานศึกษาต่างๆ ตามที่หลักสูตรได้กำหนดไว้ โดยมีอาจารย์บางท่านได้กล่าวแก่นักศึกษาว่า “นักศึกษาหญิงมุสลิมต้องถอดผ้าคลุมหรือฮีญาบออก หากสถานศึกษาใดไม่อนุญาตให้คลุมฮีญาบ แต่ถ้าหากทางอาจารย์ทราบทีหลังว่า มีนักศึกษาหญิงมุสลิมคนใดฝ่าฝืน หรือดื้อรั้น ทางอาจารย์จะไม่ไปนิเทศเมื่อถึงวันกำหนดไปนิเทศนักศึกษา” นั่นก็หมายความว่า หากนักศึกษาหญิงมุสลิมผู้ใดใส่ผ้าคลุมหรือฮีญาบ ในสถานศึกษาที่ไม่อนุญาตให้คลุมฮีญาบ อาจจะไม่มีสิทธิจบการศึกษา โดยทางอาจารย์อ้างเหตุผลว่า "เพื่อความเท่าเทียม & ความเป็นสากล"ซึ่งจำนวนนักศึกษาหญิงมุสิลิม ชั้นปีที่ ๔        จะเห็นได้ว่าในเวลา ๑ เดือน กับอีก ๑ ปี นักศึกษาหญิงมุสลิมตามคณะและจำนวนดังกล่าวบางส่วน จักต้องยอมเสียเกียรติถอดผ้าคลุมหรือฮีญาบของตนเองออกด้วยความจำใจ  ซึ่งฮิญาบที่หมายความว่า “การปกปิด" เพื่อให้มุสลิมรำลึกถึงอัลลอฮ์ตลอดเวลา ฉะนั้น ระหว่างกฎระเบียบของมนุษย์  กับกฎข้อบังคับของอัลลอฮฺ (ซบ.) สิ่งไหนที่เราควรเลือกมากกว่ากัน ! แต่กระนั้นแล้วดังที่กล่าวไม่ได้หมายความว่านักศึกษามุสลิมในจำนวนดังกล่าวเป็นผู้กระทำผิด หากแต่ว่าทางคณะอาจารย์บางท่านที่ล้าหลังกับความเป็นสากลที่แท้จริงของการเคลื่อนไหวในโลกปัจจุบันตากหากที่เป็นผู้กระทำ....ขอแจ้งข่าวให้พี่น้องในโลกออนไลน์ได้รับทราบกันถ้วนหน้าเพื่อช่วยกันหาวิธีช่วยเหลือพี่น้องเรา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นใช่ว่าทางเราที่เรียนอยู่ในพื้นที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ไม่ได้ทำอะไรเลย แต่เพื่อจะได้ช่วยเรื่องนี้ให้ได้เร็วที่สุดก่อนที่นักศึกษามุสลิมจะต้องเสียเกียรติตนเองมากว่านี้”
จากข้ออ้างโดยคณะอาจารย์ดังกล่าว ความว่า “ต้องการให้เป็นสากล และความเท่าเทียมระหว่างกัน”  นั้นหารู้ไม่ว่ามันขัดกับหลักการศาสนาอิสลามทีได้บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัล-กรุอานอย่างสิ้นเชิง รวมทั้งนโยบายหรือกฎระเบียบเหล่านั้นยังขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๓๗ ความว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการนับถือศาสนา นิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนา และย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนธรรม ศาสนบัญญัติ หรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตน เมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองและไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ในการใช้เสรีภาพดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองมิให้รัฐกระทำการใด ๆ อันเป็นการรอนสิทธิหรือเสียประโยชน์อันควรมีควรได้ เพราะเหตุที่ถือศาสนานิกายของศาสนา ลัทธินิยมในทางศาสนา หรือปฏิบัติตามศาสนธรรม ศาสนบัญญัติ หรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือแตกต่างจากบุคคลอื่น"
ต่อมาจากข่าวสารที่แพร่สะพัดไปทั่วในโลกออนไลน์ ส่งผลให้เกิดการรวมตัวของนักศึกษา        จำนวน ๒๔ องค์กรนักศึกษาด้วยกันในนาม“เครือข่ายนักศึกษาคัดค้านการห้ามสวมฮีญาบ” โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ เรียกร้องให้นักศึกษาหญิงมุสลิม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช สามารถคลุมฮีญาบได้ทุกคน โดยเริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๔ นี้และปีการศึกษาอื่นๆต่อไป รวมทั้งพร้อมที่จะเรียกร้องในเรื่องดังกล่าวหากเกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยอื่นๆต่อไป เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิทางศาสนาและสิทธิเสรีภาพดังที่กฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติไว้
หลังจากนั้นได้มีการพูดคุยระหว่างแกนนำนักศึกษาในองค์กรต่างๆ พอสรุปปัญหา และขอเสนอแนะในเรื่องดังกล่าวได้ดังนี้
1.       ตามที่คณะครุศาสตร์ได้ประกาศเรื่อง การจัดประสบการณ์วิชาชีพครู ภาคการศึกษาที่ ๒/๒๕๕๔ ลงนามเมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ตามเอกสารแนบท้ายข้อที่ ๓ เรื่องการแต่งกาย ความว่า ในระหว่างการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ให้นักศึกษาแต่งกายชุดนักศึกษาเรียบร้อยตามระเบียบมหาวิทยาลัยและตามที่โรงเรียนกำหนด กรณีนักศึกษาหญิงมุสลิม อนุโลมให้แต่งกายชุดนักศึกษาแบบคลุมฮิญาบได้ตามแบบที่คณะครุศาสตร์กำหนด ในสถานศึกษาที่อนุญาติให้แต่งกายชุดมุสลิมได้ฉะนั้นจากการตีความในกฎระเบียบข้อนี้จะเห็นได้ชัดเจนว่า กรณีนักศึกษาหญิงมุสลิมนั้น อนุโลมให้แต่งกายชุดนักศึกษาแบบคลุมฮิญาบได้  แต่ถ้าหากสถานศึกษาไม่ยอมรับก็ให้เปลี่ยนชุดแต่งกายเหมือนไทยพุทธ หรือแบบทั่วไป ตามระเบียบการแต่งกาย” แต่หลังจากนั้นปรากฏว่ามีอาจารย์บางท่าน ได้เอารายชื่อสถานศึกษาที่อนุญาตให้คลุมฮีญาบเก็บไว้ หรือไม่ยอมเปิดเผยให้นักศึกษามุสลิมได้ทราบ ซึ่งทางเราคิดว่าเป็นการกระทำที่มีเจตนาเพื่อจะกลั่นแกล้ง หรือ ละเมิดต่อสิทธิของนักศึกษา ต่อมาหลังจากนั้นมีนักศึกษาส่วนหนึ่งได้เข้าไปพบกับคณะอาจารย์ เพื่อขอความช่วยเหลือพิจารณาในกฎระเบียบดังกล่าว แต่กลับได้คำตอบมาว่า “ทางเราได้มีการช่วยเหลือเต็มที่แล้ว แต่ทางอาจารย์บางท่านไม่ยอมปฏิบัติตาม” ซึ่งทางเราคิดว่าการออกฎระเบียบนี้ น่าจะเป็นเรื่องความรู้สึกอคติส่วนบุคคลของอาจารย์บางท่าน ดังนั้น ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือหน่วยงานที่มีอำนาจสูงกว่าสมควรที่จะติดตามและเคร่งครัดในการออกกฎระเบียบต่างๆนี้ด้วย
2.       จากกฎระเบียบดังกล่าวบางส่วนที่มีใจความว่า อนุโลมให้แต่งกายชุดนักศึกษาแบบคลุมฮิญาบได้ ในสถานศึกษาที่อนุญาตให้แต่งกายชุดมุสลิมได้ เท่านั้น ในข้อความส่วนนี้ทางเราคิดว่า ในฐานะที่หลักสูตรต้องรับผิดชอบในการสรรหาสถานศึกษาเพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูนั้นหลักสูตรสมควรที่จะหาสถานศึกษาอื่นเพิ่มเติมที่อนุญาติให้นักศึกษาหญิงมุสลิมได้คลุมฮีญาบ และไม่สมควรเขียนเป็นกฎระเบียบในลักษณะนี้ ซึ่งแสดงถึงความไม่รับผิดชอบต่อนักศึกษาที่นับถือศาสนาอื่น ซึ่งขัดกับหลักศาสนาอย่างใหญ่หลวง อีกอย่างมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชแห่งนี้ก็มีนักศึกษาที่หลากหลายทั้งทางด้านศาสนา ภาษา และวัฒนธรรม ดังนั้นสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องเปิดโอกาส เคารพในเสรีภาพ ในการปฏิบัติตามศาสนธรรม ศาสนบัญญัติ หรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติไว้
 
ทั้งนี้ทางองค์กรภาคีเครือข่ายนักศึกษาคัดค้านการห้ามสวมฮีญาบจึงแจ้งเพื่อโปรดทราบ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการพิจารณาจากท่านในครั้งนี้ด้วยดี
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
 
                                                                                                                                             (นายมูหามะนาซูวันดี  สาแม)
                                                                                ผู้ประสานงานเครือข่ายนักศึกษาคัดค้านการห้ามสวมฮีญาบ 
 
องค์กรนักศึกษาภาคี
เครือข่ายนักศึกษาคัดค้านการห้ามสวมฮีญาบ
1.       สมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย (สนมท.)
2.       สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)
3.       สหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สนน.จชต.)
4.       สภานักศึกษา ม.วลัยลักษณ์
5.       ชมรมวิทยุวลัยลักษณ์ ม.วลัยลักษณ์ (Radio)
6.       ชมรมภาษาและวัฒนธรรมมลายู ม.วลัยลักษณ์ (MLCC-WU)
7.       กลุ่มนักกิจกรรมนักศึกษา 3 จังหวัดชายแดนใต้ (PNY) ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช
8.       ชมรมมุสลิมสายสัมพันธ์ ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช
9.       องค์กรนิสิตนักศึกษามลายูมุสลิมสุราษฎร์ธานี (OMIS)
10.    เครือข่ายกิจกรรมนักศึกษาเพื่อฟื้นฟูสังคมและวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้
(เขตภาคใต้ตอนบน) (PAKATAN)
11.    สมาพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดสงขลา (สนส.)
12.    ชมรมมุสลิม ม.ราชภัฏสงขลา
13.    ชมรมมุสลิม ม.ทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
14.    ชมรมสันติศึกษา (STP) ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
15.    ชมรมภาษามลายู ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
16.    กลุ่มกิจกรรมนักศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้
ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (Kawan-Kawan)
17.    สมาพันธ์นักศึกษาจังหวัดปัตตานี (สนป.)
18.    ชมรมสังคมศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาปัตตานี
19.    สมาพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดยะลา (สนย.)
20.    องค์การบริหาร องค์การนักศึกษา ภาคปกติ ม.ราชภัฏยะลา
21.    สโมสรนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร ม.ราชภัฏยะลา
22.    ชมรมสืบสานวัฒนธรรม (จังหวัดชายแดนใต้) สถาบันการพละศึกษา วิทยาเขตยะลา
23.    เครือข่ายนักศึกษาสานสัมพันธ์ (RISTU) จังหวัดยะลา
24.    สมาพันธ์นักศึกษาจังหวัดนราธิวาส (สนน.)
 
 
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คำถามถึงภิญโญ: “คุณเอาเจ้าหรือไม่เอาเจ้า?”

Posted: 06 Dec 2011 10:36 AM PST

หากใครมาถามผมว่า “คุณเอาเจ้าหรือไม่เอาเจ้า” แบบที่คุณภิญโญ ไตรสุริยธรรมามักถามล่ะก็ ผมจะไม่ตอบ เพราะประโยคที่(อ่านดูคล้ายคำถาม)นี้ ไม่ใช่คำถาม เนื่องจากเป็นคำถามที่มีคำตอบเดียว หรือกระทั่งเป็นคำถามที่ไม่สามารถตอบได้ แต่ไม่ใช่เพียงนั้น  เพราะคำถามนี้มีนัยทางการเมืองมากมายในบริบททางการเมืองไทยปัจจุบัน ไม่ว่าคุณภิญโญจะคิดกับการถามคำถามนี้ดีพอหรือไม่ ผมมีข้อสังเกตถึงความหมายเชิงภาษาศาสตร์การเมืองของการถามคำถามนี้ในรายการ "ตอบโจทย์" เท่าที่เคยเห็นคุณภิญโญถามมาดังนี้  

ประการแรก ขอวางกรอบความเข้าใจเบื้องต้นก่อนว่า คุณภิญโญคงเข้าใจดีว่า คำถามใดๆก็ตามไม่ได้มีความหมายตามถ้อยคำนั้นเท่านั้น แต่ยังมีความหมายแฝงหรือความหมายระหว่างบรรทัดทางสังคมและการเมืองด้วย ข้อนี้ไม่ต้องเป็นนักภาษาศาสตร์สังคมหรือนักสังคมวิทยาการสื่อสารที่ฉลาดลึกซึ้งอะไรก็ย่อมเข้าใจได้ เช่น ถ้าถามว่า “คุณชอบกินขนมปังรึเปล่า” เราสามารถตอบได้ทันทีว่าชอบหรือไม่ชอบ คำถามลักษณะนี้ทำให้ดูราวกับว่า คำตอบขึ้นกับเงื่อนไขส่วนบุคคล ขึ้นกับเจตน์จำนงของคนตอบ ใครคิดหรือรู้สึกอย่างไร ก็ตอบมาตามนั้นอย่างตรงไปตรงมาได้ แสดงจุดยืนอย่างตรงไปตรงมาได้ ซึ่งก็อาจจะจริง  

แต่หากเพื่ือนคุณซื้อขนมมาจากร้านดอยคำ แล้วให้คุณกิน พร้อมถามว่า "ขนมร้านดอยคำอร่อยไหม" คุณจะตอบคำถามนี้กับเพื่อนอย่างไร หากใครถามคำถามนี้กับคุณในรายการโทรทัศน์ คุณจะตอบคำถามนี้อย่างไร หากคุณตอบไม่ตรงคำตอบที่ควรตอบ (ไม่ใช่แค่ตอบไม่ตรงคำถาม) คุณจะ "โดน" "อะไร" มากมายอย่างไร (และทำไมผมต้องกลัวนักกับการที่จะพูดถึงเรื่องนี้อย่างตรงไปตรงมาไม่อ้อมน้อยอ้อมใหญ่เพราะน้ำท่วมปากขนาดนี้? วิญญูชนย่อมเข้าใจดี)  

ดังนั้นในโลกนี้มีคำถามมากมายที่ถามแล้วตอบไม่ได้ ถามแล้วคนถามไม่อยากตอบ ถามแล้วจี้ใจดำ หรือกระทั่งถามแล้วไม่ได้เป็นแค่คำถาม แต่เป็นเหมือนคำสบประมาท หรือคำสั่ง คำถาม “คุณเอาเจ้าหรือไม่” ในบริบททางการเมืองไทยปัจจุบันก็เป็นคำถามประเภทที่ บางทีคนถามอาจจะเข้าใจว่าเป็นการเปิดโอกาสให้คนตอบได้แสดงจุดยืน แต่สำหรับคนตอบจำนวนมาก มันเป็นคำถามที่ไม่ใช่เพียง “ตอบยาก” แต่มันเป็นคำถามที่ "ไม่ใช่คำถาม” ฉะนั้นอย่าว่าแต่จะนำไปสู่การแลกเปลี่ยนสนทนาเลย จะตอบยังตอบไม่ได้ คือตอบแบบที่สังคมอยากฟังน่ะตอบได้ แต่ตอบอย่างที่อยากตอบน่ะ หลายคนตอบไม่ได้  

ประการที่สอง คำถามนี้มีบริบททางวัฒนธรรมการเมือง ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในขอบเขตของกฎหมาย การคำถามทางการเมืองจึงไม่่ใช่นึกจะถามอะไรเมื่อใดก็ถามได้ตามใจคนถาม จะถามกับใคร จะถามที่ไหนก็ได้ เพราะสังคมการเมืองไทยไม่ได้ยอมให้ถามคำถามทางการเมืองทุกๆคำถาม แต่ไม่ใช่ว่าเราจะถามคำถามอะไรได้หรือไม่ได้ตลอดไป เพราะเมื่อวัฒนธรรมทางการเมืองเปลี่ยน คำถามทางการเมืองก็เปลี่ยน  

ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา วัฒนธรรมทางการเมืองไทยเปลี่ยนไปอย่างสำคัญ และจึงทำให้คำถามทางการเมืองในสังคมไทยเปลี่ยนไปอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบัน คำถามทางการเมืองประเภท “เอาประชาธิปไตย” หรือ “ไม่เอาประชาธิปไตย” ซึ่งผมคิดว่าคุณภิญโญน่าจะถามคนอย่างอาจารย์ไชยันต์ ไชยพรและคุณคำนูณ สิทธิสมานบ้าง เป็นคำถามที่ก็ยังพอจะถามได้ในประเทศไทย แม้ว่าจะขึ้นอยู่กับคนตอบ สถานการณ์ของการตอบ และช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ของการตอบ เช่น ถามกลุ่มพันธมิตรฯ จนกระทั่งถึงผู้นำการยึดอำนาจ 19 กย. 49 ผมเดาว่าเขาก็จะยังตอบว่า ประเทศไทยต้องเป็นประชาธิปไตย แต่จะมีสร้อยต่อทายว่า “อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข” (นี่เป็นสร้อยอย่างยาวที่เพิ่งมีในประวัติศาสตร์การเมืองไทยเช่นกัน) เพราะคำตอบทางการเมืองในประเทศนี้พัฒนามาถึงจุดที่ว่า เราไม่สามารถย้อนกลับไปสู่เผด็จการทหารเต็มรูปหรือสมบูรณาญาสิทธิราชได้อีกแล้ว  

หรืออย่างคำถาม “นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้งหรือไม่” เป็นประเด็นต่อสู้ในช่วงพฤษภาฯ 35 เพราะสังคมการเมืองไทยไม่ต้องการกลับไปสู่ยุค “น้ำเป็นของปลา ฟ้าเป็นของนก นายกฯเป็นของป๋า” อีกต่อไป แต่ในพ.ศ. 2554 คำถามนี้ไม่ต้องกลับมาถามในการเมืองไทยปัจจุบันอีก เพราะการมีนายกฯจากการเลือกตั้งกลายเป็นวัฒนธรรมทางการเมืองที่ฝังรากลึกในสังคมไทยแล้ว แต่กระนั้น หลังเหตุการณ์พฤษภาฯ 35 ที่เราต่อสู้กันอย่างเอาเป็นเอาตายว่านายกฯต้องมาจากการเลือกตั้ง พอนายอานันท์ ปันยารชุนได้รับการโปรดเกล้าเป็นนายกฯ นายอานันท์ไม่เคยลงสมัครรับเลือกตั้ง (คงไม่เคยคิดด้วยซ้ำ) คนกลับชื่นมื่นดีใจ

ดังนั้นเราก็ยังต้องถามกันต่อว่า เกิดอะไรขึ้นกับกรณีนายอานันท์ หรือรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมไทยจะยังมีบทเฉพาะกาลให้กับนายกฯที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เพราะอย่างนี้หรือเปล่าที่ทำให้คนไทยยังเชื่อว่า นายกฯที่ดีไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้งก็ได้ ฯลฯ ส่วนคำถามที่ว่า “นายกฯต้องมาจากพรรคที่มีเสียงข้างมากในสภาหรือไม่” ยังเป็นคำถามที่ฝ่ายที่ไม่เคยชนะการเลือกตั้งในสภายังพยายามยืนยันอยู่ว่า ไม่จำเป็น ทั้งๆที่วัฒนธรรมการเมืองในปัจจุบันเป็นอย่างนั้นแล้วเช่นกัน  

หากเลยไปจากบริบทในประเทศไทย ในประเทศเผด็จการคอมมิวนิสต์ อย่างจีน เวียดนาม เกาหลีเหนือ คำถามว่า “เอาคอมมิวนิสต์หรือเปล่า” เป็นคำถามที่ถามไม่ได้ แต่ในประเทศประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์เป็นประมุข อย่างในอังกฤษ คุณสามารถตั้งกลุ่มริพับบลิครณรงค์ “ไม่เอาเจ้า” ได้ เช่นการรณรงค์ต่อต้านการแต่งงานของเจ้าชายวิลเลียมส์ในอังกฤษเมื่อต้นปีนี้ ในออสเตรเลีย คุณก็สามารถเป็นพวกรีพับบลิคได้ และประเทศออสเตรเลียก็ยังเคยจัดลงประชามติเลือกระหว่าง “เอาเจ้า” หรือ “ไม่เอาเจ้า” (เมื่อปี 2542) ดังนั้นประชาชนกลุ่มที่ไม่เอาเจ้าในประเทศที่เป็น "ราชอาณาจักร" จึงสามารถแสดงตนได้เฉพาะในสังคมการเมืองที่มีรากฐานทางวัฒนธรรมทางการเมืองที่ยอมรับเพียงพอ และมีกฎหมายเปิดกว้างพอสำหรับพวกเขาเท่านั้น ในบริบทแบบนั้นเท่านั้นที่ประโยค "คุณเอาเจ้าหรือเปล่า" จึงจะเป็นโจทย์ที่น่าตอบ เป็นคำถามทางการเมืองที่มีสาระทางการเมือง  

เราต่างทราบกันดีว่าบริบททางวัฒนธรรมทางการเมืองในประเทศไทยต่อเรื่องนี้เป็นอย่างไร ปัญหากฎหมายอาญามาตรา 112 และพรบ.คอมพิวเตอร์เวลานี้เป็นอย่างไร ปัญหากระบวนการยุติธรรมในเรื่องนี้เป็นอย่างไร (ความจริง "ตอบโจทย์" ควรถามคำถามเหล่านี้บ้าง) ขอบเขตไหนกันที่เราจะสามารถ "ตอบ" คำถามนี้ได้ ในเมื่อไม่สามารถตอบอย่างหลากหลายได้ แล้วจะถามคำถามว่า “คุณเอาเจ้าหรือไม่” ไปทำไมกัน ในเมื่อ(ยัง)ไม่มีใครได้รับอนุญาตให้แม้แต่จะคิดว่าไม่เอาเจ้าในประเทศไทยได้ แล้วคุณภิญโญจะถามคำถามนี้ไปทำไม  

นอกจากนั้น บริบทหลักของวัฒนธรรมทางการเมืองไทยปัจจุบันคือบริบทหลังการต่อสู้ระหว่างฝ่ายนิยมทักษิณกับฝ่ายต่อต้านทักษิณมาอย่างยาวนานเกิน 5 ปี เป็นบริบทที่ประชาธิปไตยแบบนิยมการเลือกตั้งเติบโตอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในสังคมไทย และเกิดการตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนทั่วไปกว้างขวางมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ผ่านมา เป็นบริบทที่ฝ่ายต่อต้านทักษิณนำสถาบันกษัตริย์มาเป็นเครื่องมือในการต่อสู้กับฝ่ายนิยมทักษิณ บริบทนี้ทำให้คำถาม "คุณเอาหรือไม่เอาเจ้า" ไม่ใช่แค่คำถาม แต่กลับเป็น "คำสบประมาท" ที่ฝ่ายต่อต้านทักษิณและฝ่ายต่อต้านประชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง ใช้โจมตีฝ่ายนิยมทักษิณและฝ่ายขบวนการประชาธิปไตยแบบก้าวหน้า  

คำถามที่ว่า “คุณเอาเจ้าหรือไม่” จึงเป็นโจทย์ที่ไม่มีความหมายที่สร้างสรรค์ที่จะต้องตอบในประเทศไทยปัจจุบัน ถามแล้วไร้สาระในบริบทของการเมืองไทยปัจจุบัน ถามแล้วไม่ก่อให้เกิดข้อถกเถียงที่จะเป็นทางเลือกอะไรในสังคมการเมืองไทยปัจจุบัน เป็นคำสบประมาทในรูปคำถามมากกว่า  

ประการที่สาม
ประโยค "คุณเอาเจ้าหรือเปล่า" ไม่เพียงเป็น "คำสบประมาท" แต่มันยังเป็นประโยค "คำสั่ง" มีอำนาจกำหนดความนึกคิดของผู้ตอบ จำกัดคำตอบให้ตายตัว และตอกย้ำวัฒนธรรมการเมืองแบบอำนาจนิยมในสังคมการเมืองไทย  

ที่จริงเราคุ้นเคยกันดีกับประโยคคำถามที่เป็นคำสั่งหรืออย่่างละมุนละม่อมคือเป็นคำขอร้อง เช่น ครูถามนักเรียนว่า "เธอจะช่วยครูทำความสะอาดห้องได้หรือไม่" หรือเมื่อพ่อแม่ถามลูกๆว่า "รักพ่อรักแม่หรือเปล่า" จะตอบอย่่างไรได้หากไม่ตอบว่า "ค่ะ" หรือ "ครับ"  

ในทำนองเดียวกัน หากจะต่อบทสนทนาจากประโยคเสมือนคำถามที่ว่า “เอาหรือไม่เอาเจ้า” คนตอบในบริบทสาธารณะ ในสังคมการเมืองไทยปัจจุบัน จะถูกบังคับให้ต้องตอบคำตอบเดียว ประโยคนี้จึงไม่ก่อให้เกิดบทสนทนาทางการเมืองอะไรขึ้นมา อย่าว่าแต่จะให้ผู้ตอบโจทย์นี้แสดงจุดยืนทางการเมืองต่อคำถามนี้เองเลย จะชวนให้เขาคุยต่อ "เรื่องเจ้า" ยังไปต่อไม่ได้เลย เพราะหากตอบเป็นอย่่งอื่น ปัญหาตามมาคือ คนตอบจะถูกคำพิพากษาจากทั้งสังคมและจาก “ผู้พิพากษา” ว่าเป็นพวกล้มล้างสถาบัน เป็นพวกหมิ่นฯ พวกล้มเจ้า  

ประโยคนี้จึงไม่ใช่ประโยค “คำถาม” แต่เป็น “คำสั่ง” ในรูปคำถาม เป็น “คำบัญชา” ให้ต้องจำนนกับคำตอบ เป็นคำถามที่ในหลักภาษาแล้ว ไม่ได้มีความหมาย “ตาม" ถ้อยคำระบุ เท่านั้น แต่มันยังมีความหมาย “เกินกว่า" ที่ถ้อยคำระบุ ความหมายที่ว่าคือ คุณภิญโญกำลังถามผู้ร่วมรายการว่า "คุณเป็นพวกล้มเจ้าหรือเปล่า" พร้อมๆกับสั่งคนตอบว่า "จงแสดงความจงรักภักดีต่อหน้าสาธารณชนเดี๋ยวนี้" การถามคำถามนี้บ่อยๆ จึงยิ่งเป็นการตอกย้ำความคับแคบของสังคมไทยที่ไม่มีคำตอบที่แท้จริงให้กับคำถามนี้ไปเปล่าๆปลี้ๆ  

ประการที่สี่
แถมซ้ำร้ายกว่านั้น การถามคำถามนี้บ่อยๆยังตอกลิ่มความเกลียดชังต่อขบวนการประชาธิปไตยฝ่ายก้าวหน้าในสังคมไทย ผมสงสัยว่าคำถาม "คุณเอาเจ้าหรือเปล่า" นอกจากจะไม่ได้เปิดโอกาสให้คนถูกถามแสดงจุดยืนทางการเมืองอะไรอย่างแท้จริงได้แล้ว คำถามนี้ของคุณภิญโญยังมีส่วนทำลายขบวนการประชาธิปไตยฝ่ายก้าวหน้า ที่เป็นอย่างนั้นเพราะ  

หนึ่ง คุณภิญโญไม่ได้ถามคำถามนี้กับคนทุกคน คุณภิญโญถามเฉพาะคนที่วิจารณ์บทบาทของสถาบันหลักในสังคมและยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตยอย่างก้าวหน้า (เช่น คุณณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และ อาจารย์วรเจตน์ ภาคีรัตน์ที่ถูกถามคำถามนี้ในรายการตอบโจทย์) ผลก็คือทำให้คำถามนี้มีนัยแฝงของความหมายอีกชั้นหนึ่ง นั่นคือการที่คุณภิญโญกำลังพูดแทนสังคมฝ่ายอนุรักษ์นิยมว่่า "คนพวกนี้ไม่เอาเจ้า คนพวกนี้จะล้มเจ้า" จึงต้องถามคำถามนี้ ซึ่งก็คือบัญชาแทนสังคมฝ่ายอนุรักษ์นิยมว่า "จึงต้องแสดงความจงรักภักดีเดี๋ยวนี้"  

และดังนั้น สอง คุณภิญโญทำให้คนที่เป็นองค์ประธานหลักของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ต้องกลับกลายเป็นพวกจ้องล้มเจ้า และพวกเขาเท่านั้นที่จะต้องมาลุยไฟพิสูจน์ความจงรักภักดี พวกอยู่ตรงข้ามกับประชาธิปไตยหรือพวกแอบอำมาตย์ ไม่จำเป็นต้องตอบคำถามนี้  เพราะพวกเขาดูบริสุทธิ์ใจกับเจ้ามากกว่า แทนที่หรือพร้อมๆกับที่คุณภิญโญจะจ้องตรวจสอบความจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ของผู้ร่วมรายการที่เป็นนักประชาธิปไตย คุณภิญโญน่าจะมุ่งตรวจสอบความจงรักภักดีต่อรัฐธรรมนูญและระบอบประชาธิปไตยของผู้ร่วมรายการที่เป็นนักนิยมกษัตริย์บ้าง  

โดยสรุป ที่กล่าวมาทั้งหมดเพื่อชี้ให้เห็นว่าม ประโยคคำถาม "คุณเอาเจ้าหรือเปล่า" เป็นคำสบประมาททางการเมืองและเป็นคำแสดงจุดยืนที่ขัดขวางขบวนการประชาธิปไตย มากกว่าที่จะเปิดโอกาสให้คนตอบได้แสดงความเห็นทางการเมืองเพื่อสร้างสรรค์สังคมประชาธิปไตย

คำถามนี้ปิดกั้นความคิดทางการเมืองอีกมากมาย หากสังคมยังถามคำถามแบบที่คุณภิญโญถาม กับคนกลุ่มที่คุณภิญโญถาม คำถามใหญ่ๆ อีกมากมายจะยังไม่ถูกถาม เพราะเรายังจ้องจับผิดกันอยู่ว่า "คุณเป็นพวกล้มเจ้าหรือเปล่า"   คำถามที่สังคมไทยทั่วไปพร้อมแล้ว คำถามสอดคล้องกับวัฒนธรรมการเมืองไทยปัจจุบันได้แก่ "ในสังคมไทยที่เป็นประชาธิปไตย คุณอยากให้เจ้าเป็นอย่างไร" "บทบาทสถาบันกษัตริย์ในสังคมประชาธิปไตยไทยต่อไปนี้ควรเป็นอย่างไร" หรือพูดในสำนวนแบบคุณภิญโญ แทนที่จะถามว่า "คุณเอาเจ้าหรือไม่เอาเจ้า" คำถามที่น่าถามกว่าคือ "คุณเอาเจ้าแบบไหนในสังคมประชาธิปไตย" มากกว่า   แต่ปัญหาคือ ผู้ปฏิบัติงานทางวัฒนธรรมการเมืองในสื่อกระแสหลัก (ทั้งที่ "ไม่แอบทำเป็นก้าวหน้า" และที่แอ๊บแบ๊วว่าตนเป็นสื่อทางเลือกอย่าง Thai PBS) และกลุ่มนักวิพากษ์สังคมการเมืองที่มีบทบาทกำหนดประเด็นสาธารณะ พร้อมที่จะถามและตอบคำถามนี้หรือยัง

กรอบของกฎหมายและผู้ทำหน้าที่ดูแลกฎหมายในกระบวนการยุติธรรม ยึดหลักนิติธรรมเพียงพอที่จะให้สังคมถามคำถามนี้หรือยัง

หรือหากจะยังไม่สามารถถามคำถามชุดใหม่นี้ได้ ก็ขออย่าให้ถามคำถาม "คุณเอาเจ้าหรือเปล่า" ให้ระคายเคืองความก้าวหน้าของขบวนการประชาธิปไตยในประเทศนี้อีกต่อไปเลย

  

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

จดหมายจากคน (คุก) รักทักษิณ : สภาพที่ต้อง ‘รับสารภาพ’ (2)

Posted: 06 Dec 2011 10:18 AM PST

หมายเหตุ กองบรรณาธิการได้รับจดหมายชุดนี้มาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2554 เผยแพร่โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่ให้ผู้ต้องขังได้สื่อสารกับสังคม โดยได้คงตัวหนังสือไว้ตามต้นฉบับจริง แต่จัดย่อหน้าใหม่เพื่อความสะดวกในการอ่าน ทั้งนี้ ขอขอบคุณผู้ต้องขังผู้รวบรวมจดหมายซึ่งไม่อาจเปิดเผยชื่อได้ ไว้ ณ ที่นี้ด้วย

นคร สังสุวรรณ์ ถูกจับกุมตัวเมื่อวันที่ 19 พ.ค.53 และศาลอาญากรุงเทพใต้ พิพากษาให้จำเลยมีความผิดตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548  มาตรา 9(2) (4), 10, 11, 18  พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 55, 78 วรรคหนึ่ง พระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 42  พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 มาตรา 6, 22, 23  ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานร่วมกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปชุมนุมหรือมั่วสุมหรือการกระทำการใด อันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยภายในพื้นที่ที่ประกาศกำหนด จำคุก 1 ปี  ฐานร่วมกันใช้เส้นทางคมนาคมหรือยานพาหนะใดๆ เข้าหรือออกในเส้นทางที่กำหนดในพื้นที่ที่มีการชุมนุมที่ผิดกฎหมาย จำคุก 1 ปี  ฐานมีเครื่องวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในความครอบครองโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จำคุก 2 ปี ฐานมียุทธภัณฑ์ไว้ในความครอบครองโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จำคุก 6 เดือน  ฐานมีเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 6 เดือน  ฐานรับของโจร จำคุก 2 ปี  รวมจำคุก 6 ปี 12 เดือน  จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์ แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 3 ปี 6 เดือน  ริบวิทยุคมนาคมของกลางเพื่อให้ไว้ใช้ในราชการของสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กรมไปรษณีย์โทรเลข

0000000

 

เรื่อง ขอความเมตตาในการช่วยเหลือเยียวยาดูแลผู้ถูกจับในเหตุการณ์สลายการชุมนุม เรียน พณฯ ท่านนายก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทราบ

 

ผมนคร สังสุวรรณ์ (เนย) xxxxxxxxxxxxxxxxxx จ.ราชบุรี โดนจับวันที่ 19 พ.ค.53 คดี พรก.ฉุกเฉิน วิทยุสื่อสาร รับของโจร หมายเลขประจำตัวผู้ต้องขัง xxxx/53 แดน 8 อายุ 33 ปี เริ่มแรกผมอยู่ที่ผ่านฟ้าแยกคอกวัว เป็นการ์ด น.ปช. ของ ส.จ.สุทัศน์ แฟนชื่อเปิ้ล เป็นแกนนำ น.ป.น ภาพตะวันตก

ตอนสลายการชุมนุมผ่านฟ้า ผมก็อยู่ในเหตุการ แล้วก็ย้ายมาราชประสงค์ ผมก็มาตั้งเต็นท์ที่หน้าสยามพารากอน ผมก็เป็นการ์ดเฝ้าเต็นท์ ทำครัวเลี้ยงคนที่ผ่านไปมา จนวันที่ 19 พ.ค.53 เวลา 12.00 น. มีการสละ การชุมนุม ผมกับ ส.จ.สุทัศน์หนีไปอยู่ในวัดปทุม แล้วก็ไม่เจอกันเลย ผมอยู่ในวัดปทุมมีบุกคนไม่ทราบนามเข้ามาทำร้ายร่างกายพวกเสื้อแดงที่ใส่ชุด การ์ด หรือมีบัตร น.ป.ช. ผมก็โดนทำร้าย ก็หนีออกมาจากพวกที่ทำร้าย บ้างคนโดนมีดฟัน พวกที่ทำร้ายส่วนมากเป็นคนงานก่อสร้างหลังวัดปทุม คอยทำร้ายร่างกายหรือใช้มีดดาบฟัน ไม่ให้ออกไปทางนั้น หลังวัด บ้างคนโดนทำร้ายและถูกจับตัวส่งให้ทหาร ผมจึงหนีออกทางหน้าวัด เพราะผมโดนพวกไม่ทราบนามทำร้ายร่างกายใช้มีดดาบไล่ฟัน ขืนอยู่ในวัดคงตาย หนีออกจากวัดปทุม เวลา 12.00 น. ผมก็แอบเผาบัตร น.ป.ช. และชุดการ์ด

 

ช่วงที่หนีออกมาเป็นเวลาที่มีพนักงานดับไฟมา ผมจึงเดินไปถาม เขาบอกว่าออกได้ปลอดภัย ผมก็เดินออกไปผ่านสยามพารากอนเกือบถึงแยกมาบุญครอง ทหารที่แอบซุ้มออกมาประ 20 นาย บนสะพาน ผมจึงวิ่งไปแอบในเต็นท์ที่มีสิ่งของวางกระจุยกระจาย ทหารเห็นก็ตรงเข้ามาเอาปืนจี้และทำร้ายร่างกายผม และให้ผมถือถุงสีดำที่ไม่ทราบว่ามีอะไรไปด้วย พอให้ผมถือถุงไปก็ให้ผมเดินนำหน้า ทหารเดินตามหลัง เอาปืนจี้ตามหลังไปจนถึงที่มีทหารตั้งด่านบนสะพาน และส่งตัวผมให้พวกทหารด้วยกันและให้เปิดถุง จึงรู้ว่ามี ระเบิด 2 ลูก วอร์ดำปิดเครื่องไว 1 เครื่อง มือถือ 40 เครื่อง และเลยจากด่านทหารประมาณ 50 เมตร มีเป็นด่านตำรวจ ส.น.ปทุมวัน ทหารนำตัวผมไปส่งตำรวจ พร้อมของกลางและถ่ายรูปไว้

 

พอไปถึงโรงพักเย็นวันที่ 19 พ.ค.53 เวลา 14.00 น. ทางเพื่อไทย ส่งทนายคุณลดาวัลย์มาบอกให้ประติ ปฏิเสธ ทุกข้อกล่าวหา ผมก็ทำตามจนเข้ามาเรือนจำพิเศษกรุงเทพ ผมก็รอและสู้คดีอยู่ประมาณ 6 เดือน ทางเพื่อไทยก็ไม่เคยส่งทนายความมาแนะนำหรือให้คำปลึกศา จนผมขอทนายศาล ช่วงมีเวลานั้นผมป่วยโรคเก่ากับมาเป็นอีก ผมขาดยากิน ยาทีบีที่เคยกินอยู่ข้างนอกก็ไม่ได้กิน อาการจึงทรุดโทรม ผมมีไข้ทุกวัน ไอเป็นเลือด ไปศาลก็ไม่ค่อยไหว เป็นนักเข้าจนที่สุดผมใกล้จะตายจึงยอมรับสรภาพคดีว่าผมแค่ตกงาน ไปอยู่แค่ 2 วัน และของกลางทั้งหมดผมรับว่าไม่ไวครอบคลอง ไม่ใช้ของผมแต่ศาลก็ให้สู้คดีได้ทุกขอกล่าวหา ผมไม่รู่กฎหมาย ไหนจะป่วยหนัก ไหนจะอยู่ในเรือนจำต้องทำงาน มียอดทุกวัน คนป่วยจะตายก็ต้องทำงาน ผมตัดสินทั้งหมด 7 ปี รับสารภาพเหลือ 3 ปี 6 เดือน ตอนนี้ก็ติดมา 1 ปีแล้ว มีผู้ต้องขังที่โดนจับมาประมาณ 60 คน 20 คนโดนทำร้ายร่างกาย หรือโดนยิงด้วยลูกปืนยาง ไม้ตี ดาบฟัน เจ็บร่างกาย ส่วนตัวผมโดนทหารซ่อมก็จุกพอสมควร บ้างคนในนี้หาว่าพวกเสื้อแดงสร้างปันหา ทำให้ไม่ได้อภัยโทษพวกผมโดนทั้งร่างกายและจิตใจ

 

1 ปีแล้วอยากให้พวกผมที่เหลืออยู่ได้รับการเยียวยาจากทางพรรเพื่อไทย ผม น.ป.ช. ทุกคนรู้สึกน้อยใจ ที่มีแต่ข่าวว่าเยี่ยวยาคนเจ็บ คนตาย แต่ข้างนอกออกข่าวช่วยที่คนข้างทุกทุกอาทิตย์ คนที่เจ็บโดนทำลาย โดนยัดข้อกล่าวหา ไม่มีญาติ ไม่รู้จักคนใหญ่คนโต ไม่สนิดกับ ส.ส. หรือแกนนำ นี้หรือที่ว่าเสื้อแดงไม่ทิ้งกัน แต่พวกผมทุกคนก็มีญาติกันทุกคน กระจายก็ทั่วทุก 72 จังหวัด ญาติพี่น้องรู้สึกว่าทางเพื่อไทย แกนนำ ท่านทักษิณ ชินวัตร ควรหันหลังมาดูแลพวกผมบ้าง ผมรอมา 1 ปีแล้วจึงเขียนจดหมายไปขอความเมตตาและความเป็นทำจากไพร่อย่างพวกผม ญาติก็รู้สึกว่าทางแกนนำ พ.ท ท่านทักษิณ ชินวัตร ไม่เคยให้ความสำคัญและความหวังกับพวกผมเลย

 

สิ่งที่พวกผมต้องการ 1 เรื่องงาน 2 สิทธิทางคดี นักโทษการเมืองการเป็นอยู่ของพวกผม 3 การกินอยู่อดๆ ยากๆ หิวโหย ต้องเข้าแถวกินหลวงบ้างวันกินข้าวเปล่า ถ้าไปไม่ทัน เหตุผลยอดงาน ไม่มีเวลาพักเที่ยง ส่วนตัวผมตั้งแต่ตัดสินแล้วก็ไปนอนโรงพยบาล 3 เดือน ขีดยา 60 เข็ม ตอนนี้กินยาอีก 6 เดือนคงจะหาย อยากให้ดูแลทางบ้านผมบ้าง จน 1 ปี พ่อแม่ไม่เคยมาเยี่ยม ไม่มีเงิน อายุมากแล้ว ตอนนี้ผมต้องกินยารักษาตัว อยากให้ช่วยเรื่องงาน เรื่องการกินอยู่ และเรื่องนิรโทษกรรมคดี น.ป.ช ทุกคน

 

ขอให้ท่านดูแลพวกผมบ้าง ไม่ใช้ดูแลแต่คนเจ็บกับคนตายข้างนอก แล้วคนในคุกที่ทั้งเจ็บตัว ติดคุก โดนยัดข้อกล่าวหา ไม่มีทนาย ไม่ได้รับการดูแล พวกผมทุกคนโทษไม่เท่ากัน บางคน 6 เดือน บ้างคน 1 ปี บ้างคน 3 ปี พวกผมรู้สึกน้อยใจที่ขาดการดูแลต้องเพิ่งตัวเอง 

 

รักและเคารพอย่างสูง

ขอแสดงความนับถือ

จาก น.ป.ช. พี่น้องหัวใจแดง ขอความเมตตาช่วยเหลือจากท่าน รอมา 1 ปี แล้ว

นคร สังสุวรรณ์ (เนย) แดน 8

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ปีใหม่ : เทศกาลแห่งการลืม

Posted: 06 Dec 2011 09:17 AM PST

ปีใหม่กำลังใกล้เข้ามาเรื่อยๆ หลายคนคงถือโอกาสนี้ลืมเรื่องเลวร้ายที่ผ่านมา มีการจัดงานเฉลิมฉลอง จุดพลุ นับถอยหลัง ตามด้วยเสียงโห่ร้องดังกึกก้อง ของขวัญนับไม่ถ้วนถูกส่งต่อเปลี่ยนมือ การ์ดอวยพร รวมถึงการส่งข้อความทั้งทางมือถือ และบนอินเตอร์เน็ต ประกาศให้โลกรู้ว่าเรากำลังก้าวผ่านเข้าสู่ปีใหม่ เพื่อเริ่มต้นชีวีตใหม่ในปีหน้าที่กำลังจะมาถึง

เรื่องบางเรื่อง ทำให้เรารู้สึกตื่นเต้น มีชีวิตชีวา สนุกสนาน และอยากมีชีวิตอยู่เพื่อที่จะได้รับรู้เรื่องราวต่างๆเหล่านั้น จนอาจทำให้หลงลืมไปว่า เราได้สูญเสียอะไรไปบ้างเพื่อแลกกับการมีความสุขแบบชั่วครั้งชั่วคราว เราปล่อยให้ตัวเองถูกปิดหู ปิดตา ปิดปาก ต้องอยู่อย่างเงียบๆ ทำได้เพียงแค่ยิ้ม หัวเราะและร้องไห้


กี่ปีมาแล้วที่เราทุกคนพยายามลืมอดีต การทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้กลายเป็นทางออกที่ดูจะเรียบง่าย และสามารถใช้ได้กับเรื่องแทบจะทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นกรณี 91 ศพ เรื่อยมาจนกระทั่งถึงคดีจำคุก “อากง” ที่ในวันนี้ดูเหมือนว่าจะค่อยๆเลือนหายออกไปจากความทรงจำของทุกคนอย่างง่ายดาย


คงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะสามารถลืมเรื่องไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นกับเพื่อนร่วมชาติ ตราบใดที่เพื่อนคนนั้นไม่ได้เป็นคนใกล้ตัว หรือเป็นคนในครอบครัว มันก็ไม่ต่างจากการอ่านข่าวอาชญากรรมอื่นๆที่ปรากฏอยู่บนหน้าหนังสือพิมพ์ทุกเช้า  การที่จะออกมาเรียกร้อง หรือทวงความยุติธรรมให้กับคนแปลกหน้านั้น ดูจะเป็นเรื่องที่ไกลเกินตัวไปหน่อย เพราะแม้แต่การจะหยิบยกเรื่องแบบนี้มาคุยกันในโต๊ะอาหาร ก็ยังทำให้รู้สึกกระอักกระอ่วนใจอยู่ไม่น้อย


วันที่มีการรัฐประหาร 19 กันยายนนั้น มีคนหลายกลุ่มออกมาต่อต้าน เพราะถือเป็นการทำลายประชาธิปไตย ยึดอำนาจประชาชน ในขณะที่คนอีกกลุ่มกลับออกไปมอบดอกไม้ให้กับเหล่าทหาร พร้อมกับถ่ายรูปคู่กับรถถังเป็นที่ระลึกด้วยความภาคภูมิใจ ไม่น่าแปลกใจเท่าไรที่คนกลุ่มนี้ไม่รู้สึกรู้สากับการทำรัฐประหาร นักศึกษาในยุคนี้น้อยคนนักที่จะเข้าใจถึงคำว่าประชาธิปไตยอย่างถ่องแท้ และยิ่งน้อยลงไปอีกที่จะรู้สึกซาบซึ้งถึงเสรีภาพและอิสรภาพของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย


จึงไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร หากชายแก่อายุ 61 ปี จะถูกจำคุกเป็นเวลา 20 ปี ด้วยข้อหาที่ยังไม่แน่ชัดว่าเขาเป็นผู้ก่อขึ้นหรือไม่ เพราะในขณะที่ อากง ต้องสูญเสียอิสรภาพอย่างไม่เป็นธรรม เราก็ยังคงสามารถแชร์รูปอาหารในหน้าเฟสบุค หรือเดินเที่ยวช๊อปปิ้งในพารากอนได้อย่างไม่เดือดร้อน เราอาจรู้สึกอะไรอยู่บ้างในช่วงแรก แต่มันก็เป็นความสงสารเพียงชั่ววูบเท่านั้น แล้วหลังจากวันนั้นก็ไม่มีใครพูดถึงเรื่องนี้อีก ราวกับว่ามันไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน


ในขณะที่เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของเราถูกกระชับวงล้อมเข้ามาเรื่อยๆไม่ต่างจากตอนที่มวลน้ำก้อนใหญ่กำลังปิดล้อมเมืองหลวง ชนชั้นกลางซึ่งอาศัยอยู่กรุงเทพชั้นในกลับยังสามารถนิ่งนอนใจอยู่ได้ นั่นเป็นเพราะพวกเรามั่นใจว่า พื้นที่ของตนเองนั้นเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจซึ่งจะต้องได้รับการปกป้องคุ้มครองให้แคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวง โดยไม่สนใจผลกระทบที่เกิดขึ้นในปริมณฑลรอบข้าง เราไม่แคร์ว่าเขาจะต้องจมอยู่ในน้ำนานแค่ไหน เราก้มหน้าก้มตาแพคถุงยังชีพ โดยหวังว่ามันอาจจะช่วยทำให้เรารู้สึกผิดน้อยลง


ไม่ต่างอะไรกับความคิดของชนชั้นกลางส่วนใหญ่ ที่วนเวียนอยู่กับเรื่องความรักชาติและสามัคคี ความคิดที่คับแคบทำให้เราไม่เคยรู้สึกว่าถูกปิดกั้น ความเข้าใจในความหมายของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ผิวเผินทำให้เราไม่เคยรู้ซึ้งถึงการมีเสรีภาพทางความคิด ระบบการศึกษาที่สอนให้ท่องจำแต่ความหมายของอำนาจอธิปไตย ไม่ได้ทำให้เข้าใจในความสำคัญของการมีอยู่หรือการสูญเสียอำนาจนั้นไป เราจึงหันไปเสียน้ำตาให้กับซากปรักหักพังของห้างสรรพสินค้า มากกว่าจะรู้สึกหดหู่กับการตายของคน 91 ศพ


ขณะที่ประชาธิปไตยในพม่ากำลังคืบหน้าไปเรื่อยๆ รัฐบาลกลับออกแถลงการอย่างภาคภูมิใจในการปิดเวบไซต์กว่าหกหมื่นยูอาร์แอล (http://prachatai.com/journal/2011/12/38121) แข่งขันกันทำผลงานคู่กับรองโฆษกพรรคเก่า(แก่) ที่เสนอให้ปิดเฟสบุคและยูทูป ช่วยกันส่งประเทศไทยให้ถูกลดอันดับลงมาอยู่ในกลุ่มประเทศที่ไม่เสรีในช่วงเวลาอันรวดเร็ว (http://prachatai3.info/journal/2011/05/34348)


อากง จะไม่ใช่กรณีสุดท้ายที่ทำให้เกิดคำถามขึ้นกับกระบวนการยุติธรรมภายใต้ระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย และจนกว่าเหตุการณ์แบบนี้จะเกิดขึ้นกับคนในครอบครัว เราก็คงจะยังไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องของเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และเราจะยังภาคภูมิใจในความเป็นประชาธิปไตยในแบบของเรา


เชื่อว่าทุกคนได้รับรู้เรื่องราวเหล่านี้ และเชื่อว่าหลายคนเลือกที่จะทำเป็นไม่สนใจ และลืมๆมันไป เพียงเพราะคิดว่า สิ่งเลวร้ายต่างๆจะผ่านพ้นไปเมื่อปีใหม่มาถึง



 
 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กวีประชาไท: บริษัทอันดับหนึ่งของประเทศ

Posted: 06 Dec 2011 09:04 AM PST

บทกวีจากอาณัติ แสนโทที่แสดงความคับข้องใจถึงความอยุติธรรมในสังคมไทยจากกรณีการสั้งจำคุก"อากงsms"เป็นเวลา20ปี ที่ถูกอ่านในงาน"แด่ ประเทศของคนตาเดียว: งานแสดงศิลปะและอ่านบทกวี ๒๐ ปีอากง"  เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2554  ณ ร้านตูดยุง เชิงสะพานเฉลิมวันชาติ กรุงเทพมหานคร

ดวงตาของฉันเห็น

บริษัทอันดับหนึ่งของประเทศ

ขายคำชวนเชื่อและความหวาดกลัว

ผูกขาดงบประมาณประเทศ

เฉลิมฉลองเงินจากกระเป๋าเรา

เฉลิมฉลองสุดอลังการแต่ฉันเห็นดวงตาเศร้าโศก

ให้ฉันสดุดีเทิดทูนดุจดังความทรงจำเนิ่นนาน

เซเว่นอีเลฟเว่น ภาษี 7 % ยังอยู่ในกระเป๋า

ดวงตาของฉันเห็น

บริษัทเหนือกฎหมายไม่เคยเสียภาษี

และครอบครองผืนดินมหาศาล

ยายของฉันยังซาบซึ้งไม่รู้หาย

ดวงตาของฉันเห็น

ความมืดมิดและหยาดเลือด

เข็มแหลมได้ทิ่มแทงสู่ดวงตา

เข็มที่สลักคำว่าเทิดทูน

ดวงตาของฉันสูญหาย

ฟันของฉันถูกจับเหมือนเชือก

มัดกันเป็นเงื่อนตาย

รอบตัวของฉันถูกพันธนาการด้วยคำลงนาม

และฉันถูกมัดไว้กับเสากลางเปลวไฟโล่งโจ้ง

ฉันได้ยินเสียงกรีดร้องฉันพยายามมอง

แวบนั้นฉันเห็นกลุ่มคนนัยน์ตาข้างเดียว

สุมเพลิงสีเข้มใส่ผู้คนมากมายตรึงไว้ในเปลวเพลิง

คนแล้วคนเล่าตายจากไป และคนใหม่ๆ ถูกทยอยเข้ามา

ในดวงตาฉันเห็นความเศร้าโศกมากมาย

หล่นลงมาจากฟ้าเบื้องบน

ผินดินพงไพรและสายลมต่างจารึกความหวาดกลัว

อีการ้องเสียงแหบพร่า อยุติธรรม อยุติธรรม กลางศาลาว่าการรกร้าง

สายตาของฉันเห็น

ผู้คนคุดคู้ในซอกมุมฟันถูกมัดเป็นเงื่อนตาย

ดวงตาถูกเข็มแหลมทิ่มแทง

และเมื่อดอกไม้ไฟกระจ่างวาบบนฟากฟ้า

ทำให้ฉันเห็นโครงสร้างบริษัทอันดับหนึ่งของประเทศ

ตระหง่านท่ามกลางหมู่เมฆที่รากฐานสุมเป็นศพซากไร้ชื่อ

เสียงเพลงสดุดีกังวานกึกก้องอวยชัย

สายตาของฉันเห็น, สายตาของฉันเห็น

ถนนราชดำเนินประดับไฟระยิบระยับปานเปลวเพลิง

ลุกไหม้เศษซาก..

กลางเสียงตระโกนกู่ก้องเพรียกร้องงานเฉลิมฉลอง.

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

‘โจ กอร์ดอน’ เชิญ คอป.-กรรมการสิทธิฯ ฟังพิพากษา 8 ธ.ค.

Posted: 06 Dec 2011 08:37 AM PST

6 ธ.ค.54  นายอานนท์ นำภา ทนายของโจ กอร์ดอน หรือ เลอพงษ์ (ขอสงวนนามสกุล) ผู้ต้องหา “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” เนื่องจากแปลและเผยแพร่ หนังสือ " The King never smiles"(TKNS) แจ้งว่า ได้ทำจดหมายถึง นายสมชาย หอมลออ ในฐานะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) และกรรมการปฏิรูปกฎหมาย รวมถึงส่งสำเนาถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน  ตามความประสงค์ของลูกความ เพื่อเชิญให้เข้าร่วมฟังคำพิพากษาที่จะมีขึ้นในวันที่ 8 ธ.ค.นี้ เวลา 9.00 น. ที่ศาลอาญา ถนนรัชดา หลังจำเลยตัดสินใจรับสารภาพไปก่อนหน้านี้

โดยในจดหมายระบุว่า “จำเลยประสงค์ขอให้ผม ในฐานะทนายความส่งหนังสือเชิญตัวแทนจาก คอป. ,  คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย และคณะกรรมการสิทธิฯ ร่วมรับฟังการอ่านคำพิพากษา  ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการศึกษา และรับรู้ถึงปัญหาการบังคับใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในประเทศไทย”

 

รายละเอียดย่อ โดย iLaw

 

 

ชื่อบุคคล / ชื่อสื่อ : Joe G.

เพศ
: ชาย

อายุ
: 54

สถานะของผู้ต้องหา
: อยู่ในเรือนจำ

จำนวนหน้าเว็บที่ถูกบล็อค
: ไม่มีข้อมูล

รูปแบบการละเมิด
: ดำเนินคดีด้วยกฎหมายอาญา

ประเภทสื่อ
: บล็อกส่วนตัว และเว็บบอร์ด

ข้อกล่าวหาตามกฎหมาย
: มาตรา 112, มาตรา 116 ประมวลกฎหมายอาญา และมาตรา 14 ...ว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์

วันที่
: 5/24/2011

จังหวัด
: นครราชสีมา

ข้อกล่าวหาต่อบุคคล กลุ่มบุคคล หรือสื่อ :

โจ จี หรือ เลอพงษ์ ว. (ชื่อไทย) ชายสัญชาติไทย-อเมริกัน อายุ 54 ปี ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2554 ที่บ้านพักในจังหวัดนครราชสีมา โดยตำรวจจากกรมสืบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอ ตามหมายจับเลขที่ 318/2554 ซึ่งออกเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2554 โจถูกจับกุมในข้อหาหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ และกระทำให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ฯ และกระทำผิดพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ข้อมูลทางคดี

ข้อหา : มาตรา 14 ...คอมพิวเตอร์ , มาตรา112, 116 ประมวลกฎหมายอาญา

เลขคดีและวันที่

  • หมายจับ : 318/2554 เมื่อ 25/02/2011

  • หมายฝากขัง : พ. 1413/2554 เมื่อ 26/05/2011

  • เลขคดีดำ : อ. 3328/2554 เมื่อ 17/08/2011

  • เลขคดีแดง : -

สถานะคดี : ศาลชั้นต้น

รายละเอียดคดี

พื้นเพผู้ต้องหา :

โจ จี สัญชาติไทยโดยกำเนิด อาศัยอยู่ที่รัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกาเป็นเวลาเกือบ 30 ปี และได้รับสถานะเป็นพลเมืองอเมริกัน โจเดินทางกลับมาประเทศไทยเมื่อราวสองปีก่อนหน้านี้เพื่อเข้ารับบริการทางการ แพทย์

ผู้กล่าวหา / โจทก์:

คดี นี้ มีผู้กล่าวหาคือ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยพันเอกวิจารณ์ จดแตง เป็นผู้กล่าวหาที่ 1 และกรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยนายเกริกไชย ศรีศุกร์เจริญ เป็นผู้กล่าวหาที่ 2 โดยร้องทุกข์กล่าวหาต่อพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ

ทั้งนี้ กรมสอบสวนคดีพิเศษมีมติการประชุมเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2553 ว่า ให้คดีที่มีกลุ่มบุคคลกระทำการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ฯ เป็นคดีพิเศษตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ โดยคดีโจถือเป็นคดีพิเศษของกรมสอบสวนคดีพิเศษด้วย โดยสำนักงานอัยการสูงสุดมีหนังสือให้พนักงานอัยการ สำนักงานต่างประเทศ ทำการสอบสวนร่วมกับพนักงานสอบสวน ตามหนังสือลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2553

Allegation regarding the alleged perpetrators :

โจ ถูกกล่าวหาว่าเป็นเจ้าของบล็อกที่ชื่อว่า บาทเดียว และเป็นผู้ใช้นามแฝงว่า สิน แซ่จิ้ว โดยในบล็อกของเขาซึ่งใส่ลิงก์ให้ดาวน์โหลดหนังสือThe King Never Smiles และยังมีส่วนเกี่ยวข้องในการแปลหนังสือฉบับดังกล่าวเป็นภาษาไทยด้วย

หนัง สื่อเรื่อง The King Never Smiles เป็นหนังสือที่เขียนเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ไทย เขียนโดย Paul Handley นักข่าวอิสระซึ่งทำงานและอาศัยอยู่ในประเทศไทย หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย Yale เผยแพร่เมื่อปี 2549 ปัจจุบันเป็นหนังสือต้องห้ามในประเทศไทย

ในหมายขอฝากขังผู้ต้องหาระบุว่า "เมื่อระหว่างวันที่ 2 พฤศจิกายน 2550 ถึงวันที่ 22 ตุลาคม 2552 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน นายเลอพงษ์ ว. ได้ใช้นามแฝงว่า นายสิน แซ่จิ้ว เข้าไปประกาศข้อความ (Post) เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2552 บนเว็บบอร์ด sameskyboard.com โดยจัดทำความเชื่อมโยง (link) ระบุข้อความว่า "TKNS อยู่ในนี้ ลิงค์ด้านซ้ายของรูปเปรม" ซึ่ง TKNS เป็นคำย่อหมายถึงหนังสือต้องห้ามนำเข้าสู่ราชอาณาจักรไทยชื่อ เดอะคิงส์เนฟเวอร์สไมล์ (The King Never Smiles) เผยแพร่เพื่อให้ผู้อื่นเข้าไปดูและอ่านหนังสือต้องห้าม The king never smiles ที่ได้แปลเป็นฉบับภาษาไทย เมื่อมีผู้อื่นที่พบและเข้าไปที่ความเชื่อมโยง (link) ตรงข้อความดังกล่าว พบมีความเชื่อมโยงไปยังเว็บบล็อกบาทเดียว[ดอท]บล็อกสปอต[ดอท]คอม ของนายเลอพงษ์ ซึ่งใช้นามแฝงว่า นายสิน แซ่จิ้ว และใช้คำนิยามเกี่ยวกับตัวเองสั้นๆ และอ้างตัวเป็นผู้แปลหนังสือต้องห้ามดังกล่าว..."

Arresting :

โจ เคยให้สัมภาษณ์แก่ผู้สื่อข่าวว่า ในวันที่พนักงานจากกรมสอบสวนคดีพิเศษมาจับกุมที่บ้านพักในจังหวัดนครราชสีมา มีเจ้าหน้าที่ตำรวจราว 20 นายมาที่บ้าน ตอนนั้นเขาเพิ่งออกจากห้องน้ำด้วยผ้าขาวม้าเพียงผืนเดียวเขาบอกเจ้าหน้าที่ ว่าจะขอใส่เสื้อผ้าก่อนได้ไหม แต่เจ้าหน้าที่ปฏิเสธและบอกให้เขานั่งลง จากนั้นก็ยึดเอาเงิน คอมพิวเตอร์ ฮาร์โดรฟ์ และโทรศัพท์ไป

Chronology of case :

นับแต่ถูกจับกุมเมื่อ 24 พฤษภาคม 2554 โจปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาโดยทันที ปัจจุบันเขาถูกควบคุมตัวที่เรือนจำพิเศษ กรุงเทพมหานคร

ทนายของเขายื่นหลักทรัพย์เพื่อขอประกันตัวมูลค่า 1.7 ล้านบาท โดยอ้างสิทธิพื้นฐาน และยังระบุว่าโจมีโรคความดันเลือดและโรคเกาต์ที่ต้องการการรักษา ศาลปฏิเสธโดยให้เหตุผลว่าเป็นข้อหาที่กระทบต่อความมั่นคงและกระทบต่อสถาบัน พระมหากษัตริย์ซึ่งมีโทษสูง และเขาอาจทำลายพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องได้

หลังจากพยายามขอประกันตัวต่อเนื่องเป็นจำนวน 8 ครั้ง ในวันที่ 10 ตุลาคม 2554 ซึ่งเป็นวันแรกของการนัดพิจารณาคดี โจตัดสินใจประกาศว่าเขาไม่ขอต่อสู้คดี ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานคุมประพฤติสืบเสาะพฤติการณ์ของจำเลยแล้วรายงานต่อ ศาลภายใน 20 วัน และกำหนดวันพิพากษาวันที่ 9 พฤศจิกายน 2554 แต่ด้วยเหตุน้ำท่วมกรุงเทพฯ ทำให้วันพิพากษาถูกเลื่อนออกไปเป็นวันที่ 8 ธันวาคม 2554 นับแต่วันจับกุมจนถึงวันพิพากษา โจถูกควบคุมตัวต่อเนื่องมาเป็นเวลา 199 วัน หรือ 6 เดือนกับ 15 วัน

Additional information:

โจ เปิดเผยว่าเขาต้องการความช่วยเหลือจากสถานทูตสหรัฐในการเรียกร้องสิทธิการ ประกันตัวด้วยเหตุผลด้านสุขภาพ อย่างไรก็ดี คดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ส่วนใหญ่ก่อนหน้านี้มักไม่ได้รับสิทธิในการ ประกันตัว และเป็นเรื่องปกติที่ผู้ต้องหาคดีหมิ่นจะถูกคุมตัวไว้เป็นเดือนหรือเป็นปี ก่อนจะถึงเวลาพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น

โจถูกตั้งข้อหาตามมาตรา 112 และ 116 ของประมวลกฎหมายอาญา และมาตรา 14 พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา ระบุว่า ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี

มาตรา 116 ประมวลกฎหมายอาญา ระบุว่า ผู้ใดกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือหรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต

(1) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กำลังข่มขืนใจหรือใช้กำลังประทุษร้าย

(2) เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือ

(3) เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี

มาตรา 14 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ระบุว่า ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

(1) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบาง ส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน

(2) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความ ตื่นตระหนกแก่ประชาชน

(3) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการ ก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา

(4) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้

(5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4)

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

แท็บเล็ตนี้เพื่อเธอ: หนุ่มจีนประกอบเครื่องโคลน ‘ไอแพด’ ให้แฟนสาว

Posted: 06 Dec 2011 08:07 AM PST

เว็บไซต์ designyoutrust.com รายงานข่าวของเหว่ย ซินหลง นักศึกษาจีนคนหนึ่งที่ต้องการซื้อคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต ‘ไอแพด’ ให้แฟนสาว แต่เขาไม่มีเงินมากพอถึง 499$ (ราว 15,000) บาทที่จะสามารถซื้อไอแพดได้ เขาจึงตัดสินใจประกอบเครื่องโคลนไอแพด โดยสั่งซื้ออุปกรณ์แยกชิ้นจากร้านค้าปลีกออนไลน์มาลงมือประกอบด้วยตนเอง และเพื่อเป็นการแสดงความรักที่มีต่อแฟนของเขา ซินหลงยังได้ประดับกรอบของแท็บเล็ตด้วยเพชรเทียมหลากชิ้น แท็บเล็ตโฮมเมดชิ้นนี้มีระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 7 และทัชสกรีน ซึ่งสนนราคาค่าอุปกรณ์รวม 800 หยวน หรือราว 3,750 บาทเท่านั้น

แท็บเล็ตนี้เพื่อเธอ: หนุ่มจีนประกอบเครื่องโคลน ‘ไอแพด’ ให้แฟนสาว

แท็บเล็ตนี้เพื่อเธอ: หนุ่มจีนประกอบเครื่องโคลน ‘ไอแพด’ ให้แฟนสาว

ที่มา แปลจาก Jack Mayhoffer. Building a tablet from scratch for love. Design You Trust. 1/12/54. เข้าถึงจาก http://designyoutrust.com/2011/12/01/building-a-tablet-from-scratch-for-love/

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เบน บายาริน นักวิเคราะห์ตลาดไอทีคาดการณ์ เฟซบุ๊กเริ่มเสื่อมความนิยม

Posted: 06 Dec 2011 07:54 AM PST

เบน บายาริน ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์และวิจัยผู้บริโภคเทคโนโลยี จากบริษัท Creative Strategies บริษัทวิเคราะห์การตลาดในซิลิคอนวัลเลย์ เขียนบทความวิเคราะห์ว่าเหตุใดเฟซบุ๊กซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมาก น่าจะเริ่มเสื่อมความนิยมลง

เพื่อนของผมจากเว็บ comScore แลกเปลี่ยนข้อมูลกับผมว่า ในสหรัฐฯ เดือน ก.ย. 2554 ผู้ใช้เฟซบุ๊กใช้เวลาอยู่บนหน้าจอเว็บไซต์เฉลี่ยรวมแล้วคนละ 410 นาที ขณะที่ในเดือนเดียวกันของปีที่แล้วเป็นจำนวน 287 นาที ถือว่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญถึงร้อยละ 42 นอกจากนี้แล้วในช่วงเดือน ก.ย. 2554 เฟซบุ๊กยังเป็นเว็บไซต์ที่มีผู้บริโภคอินเทอร์เน็ตในสหรัฐฯ ใช้เวลามากถึงร้อยละ 14.7 ซึ่งถือว่ามากที่สุดเมื่อเทียบกับเว็บอื่น ข้อมูลนี้บ่งชี้ว่าเฟซบุ๊กเป็นเทรนด์ที่กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ แล้วอะไรที่ทำให้ผมบ้าพอจะบอกว่าเฟซบุ๊กกำลังเริ่มเดินทางมาสู่จุดสิ้นสุด มาดูกันดีกว่า

สิ่งหนึ่งที่คุณจะได้เรียนรู้จากการใช้ชีวิตอยู่ที่ซิลิคอนวัลเลย์ (สถานที่ทางตอนใต้ของซานฟรานซิสโก เป็นที่ตั้งของเหล่าบรรษัททางเทคโนโลยีไอทีจำนวนมาก) คือชีวิตทุกส่วนของคุณจะต้องอยู่กับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก บริษัทใหญ่ๆ มาแล้วก็ไปในเวลาที่สั้นมากๆ ยาฮู! เคยเป็นอย่างเดียวกับที่กูเกิลเป็นทุกวันนี้ มายสเปซ (Myspace-เว็บไซต์โซเชียลเน็ตเวิร์กของไมโครซอฟท์) ก็เคยเป็นอย่างเดียวกับที่เฟซบุ๊กเป็นทุกวันนี้ มีนวัตกรรมเกิดขึ้นตลอดเวลาและไม่เคยรั้งรอบริษัทใด

เรื่องนี้อาจจะถูกหรือผิดก็ได้ แต่สิ่งที่ทำให้ผมเริ่มประเมินว่าเฟซบุ๊กได้ถึงจุดสูงสุดของมันแล้วจะเริ่มมีผู้ใช้ลดลงนั้น มาจากตอนที่ผมพบว่าตัวเองใช้เฟซบุ๊กน้อยลงทุกวันๆ บางครั้งก็ไม่ใช้เลยเป็นหลายวันหรือหลายสัปดาห์ ที่น่าสนใจคือผมเองพบว่าผู้คนในเครือข่ายของผมก็โพสต์น้อยลงเรื่อยๆ สิ่งที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นการที่ผู้บริโภคเว็บไซต์กำลังประสบกับความอ่อนล้าของเฟซบุ๊กก็เป็นได้

ไม่นานมานี้ผมได้ทำการสำรวจนักเรียนมัธยมปลายในซาน โฮเซ แล้วก็พบผลลัพธ์ที่น่าแปลกใจคือไม่ใช่ทุกคนที่ใช้เฟซบุ๊ก แต่คิดอีกทีหนึ่งมันก็อาจจะไม่น่าแปลกใจขนาดนั้นก็ได้เพราะแทบทุกคนก็บอกว่าพวกเขาแค่เบื่อเว็บนี้และใช้มันน้อยลง

คุณอาจจะเห็นการลดลงของจำนวนผู้ใช้เฟซบุ๊กเป็นเรื่องน่าแปลกใจหรือไม่น่าแปลกใจก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าคุณใช้อินเทอร์เน็ตมากน้อยเพียงใด ยกตัวอย่างเช่น เยาวชนจำนวนมากที่ผมเข้าไปสำรวจบอกว่าพวกเขาพร้อมแล้วสำหรับสิ่งอื่น จะว่าผมบ้าก็ได้ แต่ผมเชื่อสนิทใจว่าเฟซบุ๊กได้มาถึงจุดสูงสุดหรือไม่ก็ใกล้ถึงจุดสูงสุดของมันแล้ว

ความคิดนี้ของผมเกิดขึ้นในช่วงเดียวกับที่มีข่าวว่าเฟซบุ๊กเตรียมเปิดเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) แต่ขณะเดียวกันก็เป็นช่วงที่เฟซบุ๊กกำลังเผชิญปัญหาการถูกกดดันจากคณะกรรมาธิการการค้าของสหรัฐฯ (FTC) ในเรื่องสิทธิความเป็นส่วนตัว เหตุการณ์ทั้งสองอย่างนี้ตั้งอยู่คนละขั้วและสามารถนำมาใช้ในการถกเถียงได้ไม่ว่าจะจากฝ่ายที่เห็นว่าจะยังคงมีอำนาจอยู่ในระยะยาวหรือจากฝ่ายที่เห็นตรงกันข้าม

ถ้าหากคุณเป็นผู้ใช้เฟซบุ๊กมานานกว่าสองสามปีที่แล้ว ลองคิดย้อนไปว่าคุณเคยใช้เฟซบุ๊กอย่างไรในช่วงแรก คุณก็คงจะจำได้ว่าคุณใช้มันบ่อยมากและใช้มันเป็นเวลานาน ช่วงเวลาที่ใช้ไปนั้นเป็นการใช้พบปะกับเพื่อนฝูง คนในครอบครัว หรือใช้ค้นหาเพื่อนเก่า ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ยอดเยี่ยมของเฟซบุ๊ก แม้กระทั่งกับผู้ใช้หน้าใหม่ก็ยังคงใช้มันในแบบเดียวกันเป็นเวลานาน

แต่พอถึงจุดหนึ่งการใช้เฟซบุ๊กเริ่มกลายเป็นการจัดการโปรไฟล์และเช็คข่าวสารลวกๆ แทนการใช้เป็นเวลานาน แม้ว่ามันไม่ใช่เรื่องแย่ แต่นี่ไม่ใช่สิ่งที่ดีนักสำหรับเฟซบุ๊กที่ต้องการรองรับธุรกิจขนาดใหญ่และมีคุณภาพ

ผมไม่แน่ใจว่าทำไมผู้บริโภคถึงเริ่มใช้เฟซบุ๊กเป็นเวลานาน แล้วก็เริ่มลดจำนวนลง แต่ผมเชื่อว่ามันต้องเกี่ยวกับจำนวนของเพื่อนในเครือข่าย แบรนด์สินค้า สมาชิกในครอบครัว เพื่อนร่วมชั้น เพื่อนร่วมงาน และแบรนด์ของแฟนเพจด้วยแน่ๆ เมื่อสิ่งเหล่านี้มีจำนวนมากขึ้น เฟซบุ๊กเริ่มกลายเป็นแหล่งข้อมูลที่มากจนล้นเกิน และมีข้อมูลที่ไม่ได้น่าสนใจหรือไม่เกี่ยวกับตัวผู้ใช้กองระเกะระกะเต็มไปหมด

ในช่วงที่ผ่านมา การทดสอบโปรแกรมแอพลิเคชั่นที่มีลู่ทางการเข้าถึงเครือข่ายทางสังคมในรูปแบบที่ต่างออกไป ค่อยๆ ทำให้ผมเชื่อว่าเฟซบุ๊กกำลังเจอปัญหาแล้ว หนึ่งในโปรแกรมเหล่านั้นคือ Path ซึ่งเป็นโปรแกรมที่มีให้ใช้มาราวปีหนึ่งแล้ว แต่มันเพิ่งมีการอัพเดทครั้งใหญ่ซึ่งทำให้มันดูน่าใช้มากขึ้น

คอนเซปต์หลักของ Path คือการที่มันจำกัดจำนวนคนที่คุณสามารถเป็นเพื่อนด้วย ซึ่งหมายความว่าคุณจะเชื่อมต่อกับคนที่คุณรู้สึกใกล้ชิดจริงๆ เท่านั้น ซึ่งในความเห็นผมแล้วนี่เป็นสิ่งที่น่าสนใจทีเดียว เพราะมันเป็นสิ่งที่ 'น้อยแต่มาก' (Less being More) โปรแกรมนี้สร้างขึ้นมาเพื่อการแลกเปลี่ยนทางสังคมกับผู้คนที่ใกล้ชิดกับชีวิตคุณมากที่สุด และได้รับการตอบรับตามที่สัญญาเอาไว้

แม้กระทั่ง Xbox Live ซึ่งเป็นโซเชียลเน็ตเวิร์กสำหรับผู้เล่นเกมของ Xbox ก็ให้ภาพของคนที่มีความสนใจร่วมกันได้ใช้เวลาแลกเปลี่ยนสื่อสารกัน

เว็บ Pinterest ก็เป็นอีกเว็บหนึ่งที่ผมได้ยินมาว่าสามารถดึงเวลาของผู้ใช้จากเฟซบุ๊กไปได้เล็กน้อย เว็บนี้กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วมาก มันมีลักษณะเฉพาะในการนำเสนอความสนใจต่างๆ ของบุคคล โดยรวบเอาการพบปะทางสังคมเอาไว้ด้วย

สิ่งที่บริการทั้งหลายเหล่านี้เหมือนกันคือการเน้นไปที่อะไรเฉพาะตัว แทนการพยายามเอาใจทุกๆ คน ซึ่งอาจจะกลายเป็นสิ่งที่สร้างความยุ่งเหยิงให้เฟซบุ๊กเองในที่สุด ความจริงผมก็คิดอยู่เหมือนกันว่าการจัดการกับเพื่อนจำนวนหลายร้อยหลายพันคนก็คงทำให้หลายคนหงุดหงิด ดังนั้นบริการตัวอื่นๆ ที่ผมได้พูดถึงไปนั้นดูน่าใช้และอีกนัยหนึ่งก็ดึงคนออกมาจากเฟซบุ๊กได้

ผมได้ทำการสำรวจปัจจัยแวดล้อมและคอยจับกระแสซึ่งเป็นหนึ่งในงานของผมในฐานะนักวิเคราะห์ตลาด ผมมองเห็นว่าการใช้เฟซบุ๊กน้อยลงนั้นเป็นกระแสที่สำคัญมาก เมื่อนำมาพิจารณาตามบริบทรวมกับเห็นว่ามีบริการใหม่นำเสนอตัวเองอยู่ทุกวันแล้ว คุณก็จะเห็นว่าทำไมผมถึงถามคำถามนี้ เฟซบุ๊กอาจจะถึงเวลาของตัวเองแล้ว

แน่นอนว่าในตอนนี้ยังเร็วเกินไปที่จะพูดถึง และเฟซบุ๊กยังสามารถเสนอนวัตกรรมและทำให้ยุ่งเหยิงในตัวมันเอง แต่โซเชียลเน็ตเวิร์กที่มีการเน้นอะไรเฉพาะตัวมากกว่า อาจจะน่าสนใจกว่าสำหรับผู้บริโภคในอนาคต

ที่มา

The Beginning of the End for Facebook?, Ben Bajarin, 05-12-2011
http://techland.time.com/2011/12/05/the-beginning-of-the-end-for-facebook/

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รัฐบาลสหรัฐ “หนักใจ” กับการตัดสินคดี ‘อากง’

Posted: 06 Dec 2011 04:27 AM PST

Darragh Paradiso โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฝ่ายเอเชียตะวันออก เผย รัฐบาลสหรัฐรู้สึก “หนักใจ” ต่อการตัดสินคดีของ ‘อำพล’ ที่ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชน ในขณะที่องค์กรสิทธิ ‘ฮิวแมนไรท์ วอทช์’ เสนอให้ไทยแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 พร้อมเปิดเผยบุคคลที่ถูกดำเนินคดีหมิ่นฯ- พ.ร.บ. คอมพ์อย่างโปร่งใสต่อสาธารณะ

วันนี้ (6 ธ.ค. 54) โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฝ่ายเอเชียตะวันออก Darragh Paradiso ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอพีว่า สหรัฐรู้สึก “หนักใจ” กับการตัดสินของศาลในคดีของนายอำพล หรือ ‘อากง’ ที่ถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 20 ปี ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและละเมิด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์

พาราดิโซให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอพีว่า รัฐบาลสหรัฐมีความเคารพยำเกรงต่อสถาบันกษัตริย์ไทยอย่างที่สุด อย่างไรก็ตามเธอกล่าวว่า สหรัฐอเมริการู้สึก “หนักใจ” (troubled) กับการตัดสินคดีของศาลไทยเมื่อเร็วๆ นี้ ในคดีของนายอำพล ซึ่งไม่สอดคล้อง (inconsistent) กับหลักสิทธิมนุษยชนสากลด้านเสรีภาพในการแสดงออก

ทั้งนี้ อำพล ชายไทย-จีน อายุ 61 ปี ถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 20 ปี เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายนที่ผ่านมา เนื่องจากศาลตัดสินให้มีความผิดจริงจากการส่งข้อความทางโทรศัพท์มือถือจำนวน 4 ข้อความซึ่งมีเนื้อหาหมิ่นเบื้องสูง ไปยังสมเกียรติ ครองวัฒนสุข เลขาฯ ของอดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะในเดือนพฤษภาคม ปี 2553

ในขณะที่องค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ‘ฮิวแมนไรท์ วอทช์’ ได้ออกแถลงการณ์เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาต่อคดีของนายอำพล โดยเรียกร้องรัฐบาลไทยแก้ไขกฎหมายหมายอาญามาตรา 112 ให้สอดคล้องกับพันธะผูกพันของรัฐบาลไทยด้านสิทธิมนุษยชนที่มีต่อสหประชาชาติ และจำกัดการยื่นฟ้องไม่ให้ใครก็ได้สามารถกล่าวหาได้ เนื่องจากฮิวแมนไรท์ วอทช์มองว่ากฎหมายหมิ่นฯ ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองอย่างแพร่หลาย อีกทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งตำรวจ ศาล และเจ้าหน้าที่เองก็ไม่กล้าปฏิเสธการรับฟ้อง เพราะเกรงว่าจะถูกกล่าวหาว่าไม่จงรักภักดี

นอกจากนี้ ฮิวแมนไรท์ วอทช์ ยังเรียกร้องให้รัฐบาลไทยเปิดเผยรายชื่อบุคคลที่ถูกดำเนินคดีและจับกุมด้วยกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ทั้งหมด รวมถึงเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสถิติการยื่นฟ้องในคดีหมิ่นฯ ทั้งที่ยื่นฟ้องโดยปัจเจกบุคคลและเจ้าหน้ารัฐ เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลที่ชัดเจนต่อสาธารณะเกี่ยวกับคดีดังกล่าว

แบรด อดัมส์ ผู้อำนวยการฮิวแมนไรท์ วอทช์ ฝ่ายเอเชียกล่าวว่า การมัดคอประชาชนด้านเสรีภาพในการแสดงออก ถูกกระทำในนามของการพิทักษ์ไว้ซึ่งสถาบันกษัตริย์

“การบังคับใช้ที่รุนแรงของกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ส่งผลกระทบอย่างเลวร้ายต่อเสรีภาพในการแสดงออกในประเทศไทย” อดัมส์กล่าว “รัฐบาลต้องเปิดการพูดคุยเรื่องนี้อย่างกว้างขวางเพื่อแก้ไขกฎหมายดังกล่าว และทำให้แน่ใจว่ากฎหมายหมิ่นฯ จะสอดคล้องกับพันธะผูกพันของไทยที่มีต่อหลักสิทธิมนุษยชนสากล”
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ประชาชนลุ่มน้ำโขง 8 จังหวัด รวมพลังจี้รัฐฯ เลิกแผนซื้อไฟจาก “เขื่อนไซยะบุรี”

Posted: 06 Dec 2011 01:46 AM PST

ค้านการสร้าง “เขื่อนไซยะบุรี” กั้นแม่น้ำโขง หวั่นกระทบสิ่งแวดล้อม เดือดร้อนทั้งระบบนิเวศน์-สัตว์น้ำ-คน พร้อมยื่นหนังสือผ่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย ส่งถึงรัฐบาลจี้ยกเลิกแผนการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการฯ

 
 
วันนี้ (6 ธ.ค.54) เมื่อเวลาประมาณ 9.30 น.เครือข่ายภาคประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง แถลงข่าว “รวมพลังปกป้องแม่น้ำโขง” ณ บริเวณเชิงสะพานมิตรภาพไทย-ลาว จ.หนองคาย เรียกร้อง ให้รัฐบาลประเทศลุ่มน้ำโขง ทั้งไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม แสดงเจตจำนงต่อพันธกรณีตามกฎหมายตามความตกลงแม่น้ำโขง พ.ศ.2538 ในการแบ่งปันการใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโขงและป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อระบบนิเวศของแม่น้ำ และวิถีชีวิตของประชาชนกว่า 60 ล้านคนในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง ซึ่งได้พึ่งพาอาศัยแม่น้ำโขงทั้งโดยตรง และโดยอ้อมในโอกาสการประชุมคณะมนตรีแม่น้ำโขงครั้งที่ 18 ณ ประเทศกัมพูชา ระหว่างวันที่ 7-9 ธ.ค.นี้
 
พร้อมออกแถลงการณ์ “เครือข่ายภาคประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง ให้ยุติการสร้างเขื่อนไซยะบุรี”เรียกร้องให้ผู้นำรัฐบาลไทย รับฟังเสียงคัดค้านโครงการเขื่อนไซยะบุรี ที่มาจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งจากประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน และทั่วโลกในขณะนี้ โดยยกเลิกแผนการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการเขื่อนไซยะบุรีโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยปกป้องความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังได้ช่วยร่วมปกป้องทรัพยากรลุ่มแม่น้ำโขง และวัฒนธรรมของประชาชนในลุ่มแม่น้ำโขง ให้สามารถดำรงต่อไปได้อย่างยั่งยืน
 
แถลงการณ์ดังกล่าวระบุข้อค้นพบของการศึกษาต่างๆ ที่สนับสนุนให้ยกเลิกโครงการดังกล่าว โดยเฉพาะรายงานการประเมินผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ ของ คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ซึ่งพบว่าเขื่อนไซยะบุรีจะส่งผลกระทบต่อวงจรชีวิตการอพยพของพันธุ์ปลา และอาจเป็นเหตุให้มีการสูญพันธุ์ของพันธุ์สัตว์น้ำกว่า 41 ชนิดในแม่น้ำโขง โดยรายงานได้เสนอให้ชะลอการตัดสินใจก่อสร้างเขื่อนแม่น้ำโขงสายหลักออกไปเป็นเวลา 10 ปี เนื่องจากไม่มีความรู้เกี่ยวกับแม่น้ำโขงอย่างเพียงพอสำหรับการตัดสินใจสร้างเขื่อนดังกล่าวนี้
 
นอกจากนี้ จากประสบการณ์ตรงของชุมชนริมน้ำโขง หลายปีที่ผ่านได้รับรู้ถึงผลกระทบของการสร้างเขื่อน 4 แห่งในประเทศจีนซึ่งกั้นแม่น้ำโขง ที่แม้จะอยู่ห่างไกลกว่าโครงการเขื่อนไซยะบุรี แต่ได้สร้างผลกระทบต่อคนลุ่มน้ำโขงตอนล่างอย่างชัดเจน
 
“พวกเราคาดหวังว่ารัฐบาลไทย จะไม่คำนึงถึงผลประโยชน์เชิงธุรกิจของคนส่วนน้อย แต่ทำลายวิถีชีวิตของคนลุ่มน้ำโขงหลายล้านคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ควรเคารพภูมินิเวศ-วัฒนธรรมของชุมชน โดยไม่คำนึงถึงพรมแดนเป็นตัวตั้ง เพื่อให้สังคมสุวรรณภูมิอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขต่อไป” ตัวแทนเครือข่ายภาคประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขงกล่าว
 
ขณะที่หนังสือพิมพ์ ข่าวสดออนไลน์ รายงานว่า เวลาประมาณ 11.00 น.วันเดียวกัน (6 ธ.ค.54)ที่ลานน้ำพุพญานาค อ.เมือง จ.หนองคาย กลุ่มเครือข่ายองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน ประมาณ 500 คน ร่วมรณรงค์ปกป้องแม่น้ำโขง ต่อต้านการสร้างเขื่อนไซยะบุรี ที่ประเทศลาว กั้นแม่น้ำโขง โดยยื่นหนังสือข้อกังวลของกลุ่มเครือข่ายผ่านรองผู้ว่าฯ เพื่อส่งต่อให้รัฐบาลพิจารณายกเลิกแผนการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการเขื่อนไซยะบุรี ยกเลิกการก่อสร้างเขื่อน และขอให้ร่วมกันปกป้องแม่น้ำโขง
 
พร้อมมอบอาหารแห้ง ประเภทปลาแม่น้ำโขงปรุงสำเร็จ, กล้วย, สับปะรด และน้ำดื่มบรรจุขวด จำนวนหนึ่งให้กับนายวิเชียร ปิยะวรากร รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย นำส่งต่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในภาคกลาง
 
นายอิทธิพล คำสุข เลขานุการเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน กล่าวว่า เครือข่ายติดตามกรณีการก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรี ที่ประเทศลาว โดยบริษัทก่อสร้างยักษ์ใหญ่ของไทยเป็นผู้ก่อสร้าง มีธนาคารของไทย 4 แห่งให้การสนับสนุนเงินทุน หลังจากนั้นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจะรับซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนแห่งนี้ ซึ่งเครือข่ายฯ มีความวิตกว่าการก่อสร้างเขื่อนดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ในแม่น้ำโขง กระทบต่อพันธุ์ปลา สิ่งแวดล้อมปริมาณน้ำในแม่น้ำโขง และวิถีชีวิตคนลุ่มน้ำในอนาคต จึงอยากให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องพิจารณาผลกระทบดังกล่าว หากเป็นไปได้อยากให้ชะลอการก่อสร้าง หรือยกเลิกโครงการไป
 
นายอิทธิพล กล่าวด้วยว่า หลังจากนี้จะมีการรณรงค์ให้ความรู้กับประชาชนให้มากขึ้น เพื่อให้ทุกฝ่ายช่วยกันรณรงค์ต่อต้านการสร้างเขื่อนให้เป็นผลสำเร็จ
 
 
 
แถลงการณ์
 
เครือข่ายภาคประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง
 
ให้ยุติการสร้างเขื่อนไซยะบุรี
 
ในนามของเครือข่ายประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง อันประกอบด้วยจังหวัดเชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ได้ทำงานติดตามกรณีเขื่อนไซยะบุรี บนแม่น้ำโขง ในพื้นที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชนลาว (สปป.ลาว) มาโดยตลอด ในโอกาสการประชุมคณะมนตรีแม่น้ำโขงครั้งที่ 18 ณ ประเทศกัมพูชา เครือข่ายฯ จึงขอให้ดำเนินการยกเลิกโครงการเขื่อนไซยะบุรี ซึ่งถึงแม้เขื่อนจะตั้งอยู่ใน สปป.ลาว แต่โครงการเขื่อนไซยะบุรีก็เกี่ยวข้องกับประเทศไทยโดยตรง เนื่องจากมีบริษัท ช.การช่างของไทยเป็นผู้พัฒนาโครงการ โดยได้รับการสนับสนุนเงินทุนจาก 4 ธนาคารของไทย ขณะที่ผู้รับซื้อไฟฟ้าคือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เช่นเดียวกัน
 
การประชุมคณะมนตรีคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงครั้งนี้เป็นโอกาสสุดท้ายที่รัฐบาลในลุ่มน้ำโขง ทั้งไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม จะแสดงเจตจำนงต่อพันธกรณีตามกฎหมายตามความตกลงแม่น้ำโขง พ.ศ.2538 ในการแบ่งปันการใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโขงและป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อระบบนิเวศของแม่น้ำ และวิถีชีวิตของประชาชนกว่า 60 ล้านคนในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง ซึ่งได้พึ่งพาอาศัยแม่น้ำโขงทั้งโดยตรง และโดยอ้อม
 
เราขอเรียกร้องให้ผู้นำรัฐบาลไทย ได้รับฟังและพิจารณาถึงเสียงคัดค้านโครงการเขื่อนไซยะบุรี ที่มาจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งจากประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน และทั่วโลกในขณะนี้
 
นับแต่มีการเสนอให้สร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขง พบว่ามีการศึกษาจำนวนมากซึ่งล้วนแต่ให้ข้อมูลว่า เขื่อนไซยะบุรีจะมีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อพันธุ์ปลา การหาปลา ระบบนิเวศ และวิถีชีวิตของประชาชนในลุ่มน้ำโขง โดยยังไม่มีเทคโนโลยีใดๆ ที่พิสูจน์ได้ว่าจะสามารถแก้ไขบรรเทาผลกระทบเหล่านี้ได้จริง
 
ข้อค้นพบของการศึกษาต่างๆ จากนักวิชาการ ยังแสดงให้เห็นความจำเป็นที่จะต้องยกเลิกโครงการนี้ โดยเฉพาะรายงานการประเมินผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ ของ คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง พบว่าเขื่อนไซยะบุรีจะส่งผลกระทบต่อวงจรชีวิตการอพยพของพันธุ์ปลา และอาจเป็นเหตุให้มีการสูญพันธุ์ของพันธุ์สัตว์น้ำกว่า 41 ชนิดในแม่น้ำโขง รวมทั้งปลาบึกด้วย รายงานได้เสนอให้ชะลอการตัดสินใจก่อสร้างเขื่อนแม่น้ำโขงสายหลักออกไปเป็นเวลา 10 ปี เนื่องจากไม่มีความรู้เกี่ยวกับแม่น้ำโขงอย่างเพียงพอสำหรับการตัดสินใจสร้างเขื่อนดังกล่าวนี้
 
นอกจากนี้ จากประสบการณ์ตรงของชุมชนริมน้ำโขง หลายปีที่ผ่านมาพวกเราได้รับรู้ถึงผลกระทบของการสร้างเขื่อน 4 แห่งในประเทศจีนซึ่งกั้นแม่น้ำโขง ที่แม้จะอยู่ห่างไกลกว่าโครงการเขื่อนไซยะบุรี แต่ได้สร้างผลกระทบต่อคนลุ่มน้ำโขงตอนล่างอย่างชัดเจน โดยเฉพาะความเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ ระดับน้ำที่ขึ้นลงผิดธรรมชาติ และความเสียหายต่อพันธุ์ปลาอพยพ การเพาะปลูก และการขนส่ง ซึ่งหมายถึงความเสียหายต่อการหาอยู่หากินของชุมชนตลอดสายน้ำ  และหากมีการสร้างเขื่อนไซยะบุรีสำเร็จ ประชาชนลุ่มน้ำโขงเชื่อว่าจะเกิดผลกระทบกับพี่น้องชาวลาว กัมพูชา เวียดนาม และไทย รวมถึงคนริมฝั่งแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขง อีกจำนวนมากที่ต้องตกอยู่ในสถานการณ์ยากลำบาก
 
องค์ความรู้ที่สะสมมาในช่วงหลายปีนี้ ทั้งการศึกษาของผู้เชี่ยวชาญ และประสบการณ์ของชาวบ้านเอง พิสูจน์จนสิ้นสงสัยแล้วว่า เขื่อนไซยะบุรีจะเป็นภัยคุกคามที่สำคัญต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาคแม่น้ำโขง และจะทำลายความอยู่ดีกินดี ความผาสุกของพี่น้องในลุ่มน้ำโขง
 
ดังนั้น เครือข่ายภาคประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง จึงขอเรียกร้อง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้นำรัฐบาลและผู้กำกับดูแลรัฐมนตรีที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนการสร้างเขื่อนดังกล่าว โดยยกเลิกแผนการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการเขื่อนไซยะบุรี โดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยปกป้องความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังได้ช่วยร่วมปกป้องทรัพยากรลุ่มแม่น้ำโขง และวัฒนธรรมของประชาชนในลุ่มแม่น้ำโขง ให้สามารถดำรงต่อไปได้อย่างยั่งยืน
 
ดังนั้นพวกเราคาดหวังว่ารัฐบาลไทย จะไม่คำนึงถึงผลประโยชน์เชิงธุรกิจของคนส่วนน้อย แต่ทำลายวิถีชีวิตของคนลุ่มน้ำโขงหลายล้านคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ควรเคารพภูมินิเวศ-วัฒนธรรมของชุมชน โดยไม่คำนึงถึงพรมแดนเป็นตัวตั้ง เพื่อให้สังคมสุวรรณภูมิอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขต่อไป
 
 
 
ด้วยความเสมอภาค และภราดรภาพ
 
เครือข่ายภาคประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง
 
วันที่ 6 ธันวาคม 2554
 
 
ภาพจาก: เอกสาร "แม่น้ำโขง สายน้ำแห่งชีวิต แหล่งพึ่งพิงของชุมชน"
จัดพิมพ์โดย: โครงการฟื้นฟูนิเวศในภูมิภาคแม่น้ำโขง (TERRA), มูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ, Oxfam Australia, The Swedish Society for Nature Conservation (SSNC), Inter Church Organisation for Development Cooperation (ICCO); มีนาคม 2554
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อีกครั้งกับ ม.นอกระบบ? ประท้วงแน่ แต่มีข้อเสนอด้วย

Posted: 06 Dec 2011 12:43 AM PST


นศ. ม.ราชภัฏสวนสุนันทา ประท้วง ม.นอกระบบที่หน้ารัฐสภา  31 ส.ค.54
แฟ้มภาพ: ประชาไท

 

ม.นอกระบบ หนังที่ถูกฉายซ้ำแล้วซ้ำเล่า

นับเป็นเวลากว่า 10 ปี ที่ประเด็นการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบอยู่ในกระแสธารแห่งความเปลี่ยนแปลงของระบบการศึกษาไทย วาทกรรม ม.นอกระบบหรือการเปลี่ยนสภาพจากการที่มหาวิทยาลัยอยู่ในสังกัดของรัฐ ไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐ เป็นประเด็นแห่งการวิวาทะทั้งของผู้เห็นด้วย และผู้คัดค้านในหลายๆ เวที และผู้เขียนเชื่อว่าสังคมอาจได้ประจักษ์รับทราบข้อเสนอของทั้งสองฝ่ายมาพอสมควร

ผู้เขียนขอออกตัวเลยว่าตนเองมีความเห็นในการคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบมาตั้งแต่การทำความเข้าใจในคราวเริ่มต้น

เป็นความเห็นคัดค้านทั้งในเชิงกระบวนการในการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบที่ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย เพราะไม่มีการเปิดโอกาสให้ประชาคมทั้งในและนอกมหาวิทยาลัยเข้ามามีส่วนร่วมหรือแสดงความคิดเห็นต่อการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ นับเป็นการฝืนความรู้สึกความเข้าใจที่ว่า “มหาวิทยาลัยเป็นของประชาชน”และทั้งในเชิงหลักการในการผลักภาระค่าใช้จ่าย ภายหลังจากวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 รัฐบาลในขณะนั้นได้ลงนามในสัญญาการกู้เงินจากต่างชาติหลายฉบับ โดยมีเงื่อนไขสำคัญที่รัฐบาลต้องผลักภาระค่าใช้จ่ายที่แบกรับอยู่ในกิจการของรัฐ เช่น รัฐวิสาหกิจต่างๆ มหาวิทยาลัย หรือแม้แต่สวนสัตว์ ไปให้ประชาชนเป็นผู้แบกรับ ซึ่งผู้เขียนมีความเห็นว่ากิจการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน รวมทั้งการศึกษานั้น ควรเป็นรัฐสวัสดิการ เป็นสิ่งที่รัฐควรจัดสรรให้ประชาชนเข้าถึงได้อย่างเสมอภาค เท่าเทียม โดยเฉพาะการศึกษาที่ควรจัดให้เรียนฟรีอย่างน้อยก็ถึงระดับปริญญาตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างเช่นประเทศไทยด้วยแล้ว การพัฒนาคุณภาพของประชาชนโดยการมีระบบการศึกษาที่ฟรีและมีคุณภาพจึงเป็นหน้าที่ของรัฐที่พึงกระทำ

เมื่อผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าเรียนใมหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ออกนอกระบบไปแล้วนั้น ผู้เขียนจึงได้มีโอกาสศึกษาข้อดี-ข้อเสียที่เป็นรูปธรรม ของการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ โดยเฉพาะในส่วนของผลกระทบด้านค่าเล่าเรียนที่มีการออกระเบียบมหาวิทยาลัยในการเก็บค่าเทอมแบบเหมาจ่ายในคณะเภสัชศาสตร์ ซึ่งปรากฏว่าเป็นอัตราค่าเทอมที่แพงกว่ามหาวิทยาลัยรัฐอื่นๆ ถึงสองเท่า

การขึ้นค่าเทอมนับเป็นผลกระทบที่มักตามมาภายหลังจากการออกนอกระบบ

คำถามคือ ค่าเทอม 4 หมื่นบาทต่อเทอม ในคณะเภสัชศาสตร์ ม.บูรพา นั้นเป็นการผลักภาระค่าใช้จ่ายไปให้ผู้เรียน (อันที่จริงเป็นพ่อแม่ของผู้เรียนมากกว่า) ใช่หรือไม่

สำหรับลูกหลานพี่น้องแรงงานที่มีค่าจ้างรายวันไม่ถึง 300 บาทและลูกหรือชนชั้นกลางอื่นๆ ที่มีความใฝ่ฝันอยากเรียนในคณะเภสัชศาสตร์ ม.บูรพา พวกเขาจะมีปัญญาจ่ายค่าเทอมได้อย่างไร

ผู้เขียนเชื่อว่าเพื่อนนิสิตนักศึกษาทุกคนมีความคาดหวังที่จะเล่าเรียนในมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพการศึกษาที่ดี มีความเป็นอิสะทางวิชาการ ซึ่งอาจจะเป็นข้อดีของ ม.นอกระบบ (พอออกไปแล้วดีจริงหรือไม่ อันนี้ยังไม่มีการสรุป) แต่ถ้าสิ่งเหล่านั้นต้องแลกมากับค่าเทอมที่แพงบรรลัย มันก็คงไม่คุ้มค่ากันสักเท่าไร

และอันที่จริงมันไม่ใช่หน้าที่ของประชาชนที่จ่ายเงินเพื่อให้มีการศึกษาที่มีคุณภาพเหมือนใช้เงินซื้อสินค้าอื่นๆ ในระบบทุนนิยม (ยิ่งอยากได้ของดี ยิ่งต้องจ่ายแพง)

มันเป็นหน้าที่ของรัฐบาลต่างหากที่ต้องจัดการศึกษาที่ดีมีคุณภาพและประชาชนถึงได้อย่างเท่าเทียม

ทำให้เมื่อมีความพยายามในการนำมหาวิทยาลัยอื่นๆ ออกนอกระบบภายหลังนั้น ผู้เขียนจึงมีความยินดีที่จะเข้าร่วมการคัดค้านในแทบทุกครั้ง

ในสังคมประชาธิปไตย ประชาชนมีทั้งสิทธิตามกฎหมายและหน้าที่ตามความเป็นพลเมืองในการเสนอหรือวิพากษ์วิจารณ์ การกระทำของรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งอาจเรียกว่าเป็นการประท้วงต่อการกระทำดังกล่าว

 


นศ. ม.ราชภัฏสวนสุนันทา ประท้วง ม.นอกระบบที่หน้ารัฐสภา  31 ส.ค.54
แฟ้มภาพ: ประชาไท


เมื่อผี ม.นอกรระบบ ถูกปลุกขึ้นมาอีกครั้ง

ภายหลังจากการเคลื่อนไหวคัดค้านของเพื่อนนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาในการแสดงความไม่เห็นด้วยต่อความพยายามของสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในการร่าง พ.ร.บ. เพื่อนำ มรภ.สวนสุนันทาออกนอกระบบและมีการเดินขบวนของนักศึกษาเกือบ 2 พันคน ไปยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีเมื่อปลายเดือนสิงหาคมนั้น ก็ได้ปรากฏความเคลื่อนไหวอันเดือดเนื้อร้อนใจของบรรดาหน่วยงานต่างๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง

เป็นความเคลื่อนไหวที่มีจุดยืนในการพยายามที่กระตุ้นไปยังมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ที่มีการร่าง พ.ร.บ. เพื่อเตรียมพร้อมในการออกนอกระบบไว้แล้ว

ให้ยืนยันว่าพร้อมที่จะออกนอกระบบ

แม้ว่านายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศชัดต่อหน้านักศึกษา มรภ.สวนสุนันทานับพันคนที่หน้ารัฐสภาเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2554 ว่า “ตราบใดที่ผมยังเป็นรัฐมนตรีอยู่ จะไม่มีการนำมหาวิทยาลัยใดๆ ออกนอกระบบเป็นอันขาด” ไม่รู้ว่าระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ กับ สกอ. หน่วยงานของรัฐองค์กรใดใหญ่กว่าใคร แต่ภายหลังการลั่นวาจาของรัฐมนตรีวรวัจน์ได้ไม่กี่วัน นายสุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ได้ทำหนังสือไปยัง 9 แห่ง ได้แก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) มหาวิทยาลัยขอนแก่น(มข.)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (มจ.) มหาวิทยาลัยรามคำแหง(มร.) และมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (มสด.) เพื่อขอคำยืนยันว่า จะให้ สกอ.เสนอเรื่องให้นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) พิจารณาเห็นชอบในการเสนอร่าง พ.ร.บ.ขอเปลี่ยนสถานภาพไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐหรือออกนอกระบบหรือไม่ก่อนที่จะเสนอคณะรัฐมนตรี

นอกจากนี้ สกอ.ยังจะทำหนังสือถึงนายวรวัจน์ เพื่อขอทราบนโยบายการออกนอกระบบเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติต่อไปและถ้ามหาวิทยาลัยยืนยันที่จะออกนอกระบบ สกอ.ต้องช่วยดูร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวจะดูประเด็นสำคัญๆ เช่น องค์ประกอบของสภามหาวิทยาลัย การได้มาของเงินรายได้บทเฉพาะกาล เป็นต้น จากนั้นจึงรายงานต่อคณะกรรมการ กกอ. เพื่อรับทราบ และดูว่า กกอ.จะมีข้อเสนอแนะอย่างไร แล้วจึงเสนอรัฐมนตรีว่าการ ศธ.พิจารณาเห็นชอบ

เข้าทำนอง ถ้าเขาพร้อมจะออกจะไม่ให้ออกได้อย่างไร

ล่าสุด รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา(กกอ.) ได้ออกมา แถลงว่า “ม.ขอนแก่น ม.เกษตร ม.ศิลปากร และมรภ.สวนดุสิตยังยืนยันว่ามีความพร้อม ที่จะออกนอกระบบ”


ประท้วงแน่แต่มีข้อเสนอด้วย

ผู้เขียนยืนอยู่บนหลักการที่ว่า ตนเองเป็นประชาชนคนหนึ่งในรัฐไทย ถึงแม้จะอยากใช้สิทธิในการคัดค้านหรือประท้วงเสียเต็มประดา แต่เพื่อป้องกันไม่ให้พี่น้องประชาชนร่วมชาติท่านอื่นๆ เกิดความรู้สึกว่า“เอะอะ อะไรพวกมึงก็ประท้วง”

ผู้เขียนจึงขอยืนยันว่าจะประท้วงการนำมาวิทยาลัยออกนอกระบบ แต่เป็นการประท้วงแบบมีข้อเสนอ ดังต่อไปนี้

  1. เสนอให้รัฐบาลยุติความพยายามในการนำมหาวิทยาลัยทุกแห่งที่กำลังอยู่ในระหว่างกระบวนการการออกนอกระบบ จนกว่าจะมีการสรุปบทเรียนข้อดี-ข้อเสีย ในประเด็นคุณภาพการศึกษา ความเป็นอิสระทางวิชาการ ความคล่องตัวในการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยที่ออกนอกระบบไปแล้ว เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ม.บูรพา เป็นต้น โดยให้กระทรวงศึกษาธิการ แต่งตั้งคณะกรรมการอิสระที่ต้องประกอบตัวด้วยผู้แทนจากทุกฝ่ายขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อทำการประเมิน สรุปบทเรียนดังกล่าว และเปิดเผยผลการประเมินให้เป็นที่รับรู้ต่อสังคม หลังจากนั้นให้มีการทำประชามติโดยเปิดให้มีการมีส่วนร่วมจากประชาชนอย่างทั่วถึง
  2. เสนอให้ยกเลิกการผลักภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาไปที่ผู้เรียน ยกเลิกค่าเทอมเหมาจ่าย ทั้งในมหาวิทยาลัยที่ออกนอกระบบไปแล้วและมหาวิทยาลัยที่ยังไม่ออกนอกระบบ และให้มีการเพิ่มเติมหลักการในประเด็นที่ “ให้การศึกษาเป็นรัฐสวัสดิการ รัฐต้องจัดการศึกที่มีคุณภาพในทุกระดับ และให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาตั้งแต่อนุบาลถึงปริญญาตรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย” ในรัฐธรรมนูญมาตรา 80 วงเล็บ 3 ในหมวดแนวโยบบายพื้นฐานแห่งรัฐ จะทำให้ทุกรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศต้องปฏิบัติตาม
  3. เสนอให้รัฐบาลสนับสนุนการศึกษาทางเลือก และมีฐานะวุฒิบัตรทางการศึกษา แก่ผู้ที่ไม่ประสงค์จะเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นการลดความเหลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงการศึกษา และเพื่อสร้างทางเลือกที่หลากหลายให้แก่ประชาชน


บทสรุป

หลักการสำคัญของความเห็นในการคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบของผู้เขียนนั่นคือ การคัดค้านแนวคิดการผลักภาระค่าใช้จ่าย หรือการให้ประชาชน(ผู้เรียน)เป็นผู้ออกงบประมาณในการเรียน เท่ากับว่ารัฐไม่ได้มีแนวคิดที่จะสร้างระบบการศึกษาที่ให้ประชานทุกชนชั้นเข้าถึงอย่างเท่าเทียม

ระบบการศึกษาไทยกำลังก้าวเดินมาถึงทางแยกที่สำคัญระหว่างการปล่อยให้ระบบการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในกลไกทุนนิยมเสรีโดยให้อัตราการค่าเทอมเป็นไปตามกลไกตลาด กับการเร่งปฏิรูประบบการศึกษาทั้งระบบให้เป็นสวัสดิการที่รัฐควรจัดให้แก่ประชาชน

หากสังคมไทยยังคงตระหนักว่าเยาวชนคืออนาคตของชาติ สังคมไทยก็ควรตระหนักถึงการมีระบบการศึกษาที่มีคุณภาพและฟรี

ดังนั้นการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบเพื่อนำไปสู่การจัดการศึกษาที่เป็นรัฐสวัสดิการ จึงเป็นประเด็นที่สังคมไทยควรกดดันให้ผู้มีอำนาจดำเนินการโดยเร็วที่สุด
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

การทวีตตามสิทธิในรัฐธรรมนูญของเอมมา ซัลลิแวน

Posted: 05 Dec 2011 09:35 PM PST

นับว่าเป็นเรื่องดีสำหรับ ‘เอมมา ซัลลิแวน’ ผู้ซึ่งทวีตข้อความกึ่งด่ากึ่งเสียดสีไปยังนักการเมืองสหรัฐ ที่ได้อาศัยอยู่และเป็นพลเมืองของรัฐแคนซัส (Kansas) สหรัฐอเมริกา ไม่ใช่ประเทศไทย เพราะถ้าเธอทวีตข้อความที่ว่าในกรุงเทพฯ เธออาจจะถูกเจ้าหน้าที่รัฐสุดพารานอยจับเข้าคุก จากการทำงานอย่างเอาจริงเอาจังในการลงโทษผู้ที่กล่าวข้อความซึ่งหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมาชิกในราชวงศ์ หรือสถาบันกษัตริย์ของไทย

ข้อความที่ซัลลิแวนทวีตต่อไปยังฟอลโลเวอร์กลุ่มเล็กๆ ของเธอนั้น เกิดขึ้นหลังจากทริปภาคสนามของโรงเรียนที่ได้ไปพบปะกับแซม บราวน์แบ็ก ผู้ว่าการรัฐแคนซัส ทวิตดังกล่าวมีข้อความที่ค่อนข้างไร้สาระว่า “เพิ่งแอบด่าผู้ว่าฯ บราวน์แบ็กไป และได้บอกเขาด้วยว่าเขาโคตรห่วยแตก #heblowsalot” อย่างไรก็ตาม เธอไม่ได้ทำเช่นนั้นจริงๆ มันเป็นเพียงแค่มุขตลกแผลงๆ กับเพื่อนเท่านั้น สิ่งที่เธอแสดงออกก็เป็นความคิดแบบที่วัยรุ่น และรุ่นพ่อรุ่นแม่ ร่วมถึงรุ่นปู่ย่าของเธอมีต่อนักการเมืองทุกวันนี้โดยทั่วไป

หากแต่ถ้าทวีตของเธอไม่เป็นผู้ใหญ่เท่าไหร่ ปฏิกิริยาที่ตอบกลับมานั้นก็นับว่าเป็นเรื่องเด็กๆ ทีเดียว ผู้ช่วยของผู้ว่าฯ ซึ่งมีหน้าที่สอดส่องข้อความที่เกี่ยวกับบราวน์แบ็กในอินเทอร์เน็ต ได้ติดต่อไปทางผู้จัดงาน ซึ่งได้ติดต่อไปยังครูใหญ่ของโรงเรียน และตามตัวซัลลิแวนมาต่อว่าว่าเธอทำเกินไป และยืนยันให้เธอกล่าวขอโทษต่อผู้ว่าฯ ซึ่งซัลลิแวนปฏิเสธที่จะทำเช่นนั้น

เรื่องของเหตุการณ์ดังกล่าวแพร่กระจายไปทั่วอินเทอร์เน็ตอย่างรวดเร็ว และนำมาซึ่งการต่อว่าต่อขานผู้ว่าฯ ผู้ช่วยผู้ว่า และครูใหญ่ของโรงเรียนอย่างสนุกปาก ผมเป็นหนึ่งในหลายคนที่คิดว่าผู้ว่าฯ ต่างหากที่ควรจะออกมาขอโทษ ไม่ใช่ซัลลิแวน เพราะการกระทำของผู้ช่วยของเขาได้แสดงถึงความไม่เข้าใจเรื่องเสรีภาพในการแสดงออกแต่อย่างใด

และเพื่อกอบกู้หน้า บราวแบ็กก็ได้ทำเช่นนั้นจริงๆ เขาออกมากล่าวว่า การกระทำของสต๊าฟของเขานั้น “มากเกินไป” และชี้ว่า เสรีภาพในการแสดงออก (Free speech) เป็น “เสรีภาพหนึ่งที่ควรเชิดชูมากที่สุด” เขายังกล่าวถึง “คุณค่าของความศิวิไลซ์และความสง่างาม” ซึ่งจงใจพูดถึงซัลลิแวน และทวีตของเธอที่ควรจะสุภาพมากกว่านี้ เรื่องราวดังกล่าว ได้แสดงให้เราเห็นถึงความเป็นจริงของอินเทอร์เน็ตหลายต่อหลายอย่าง เช่น อินเทอร์เน็ตและความสามารถของมันในการทำให้เจ้าหน้าที่รัฐต้องอับอายขายหน้า และความสามารถของเจ้าหน้าที่รัฐที่มุ่งจองล้างจองผลาญความคิดที่เห็นต่างในระบอบการเมืองที่ปิดกั้น

นักเรียน ม.ปลายคนนี้ (ซึ่งตอนนี้มีฟอลโลเวอร์มากกว่า 15,000 คนแล้ว) อาจจะฉลาดขึ้นบ้าง ถ้าฉุกคิดได้ว่าเธอโชคดีแค่ไหนที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในประเทศไทย ที่ซึ่งฟรีสปีชเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์จะนำไปสู่สิ่งที่เลวร้ายกว่าการสั่งสอนจากผู้ใหญ่หลายเท่าตัวนัก ในประเทศไทย มันจะนำไปสู่การจำคุกโดยทันใด และรัฐบาลก็ได้บังคับใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างแข็งขัน

ในยุคสมัยของโลกอินเทอร์เน็ต การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวเป็นเรื่องที่น่าเหลือเชื่อมาก ชายอายุ 61 ปีถูกตัดสินจำคุก 20 ปีสำหรับการส่งข้อความทางโทรศัพท์มือถือที่อาจเป็นการดูหมิ่นพระราชินี และเมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลได้กล่าวว่า การคลิก ‘ไลค์’ ข้อความที่ผิดกฎหมายในเฟซบุ๊กอาจจะนำความเคราะห์ร้ายมาสู่ตัว

ผมเองไม่มีความคิดเห็นใดๆ ต่อราชวงศ์ของประเทศไทย บางที พวกท่านอาจจะดี แปลก หรือน่าขบขัน เช่นเดียวกับราชวงศ์ของสถาบันในประเทศอื่นๆ แต่ผมมั่นใจว่า พวกเขาน่าจะมีความอดกลั้นต่อคำดูหมิ่นได้มากกว่าที่เจ้าหน้าที่รัฐคิดไว้

เหล่าผู้ปกครองของประเทศไทยเชื่อว่า ผลประโยชน์ภายในประเทศที่ได้จากการบังคับใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้นมีมากกว่าความเสียหายที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศ บางทีพวกเขาอาจจะคิดถูก แต่ในเส้นทางของประวัติศาสตร์มันเป็นเรื่องผิดแน่ คำวิพากษ์วิจารณ์ของประชาชนที่มีต่อชนชั้นปกครองเป็นสิ่งพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออก และชาติใดที่ไม่อาจอดกลั้นต่อการดำรงอยู่ของฟรีสปีช ก็กำลังบอกกล่าวไปยังโลกภายนอกว่ามันมีความสั่นคลอนดำรงอยู่ภายในอย่างสูง

นักการเมืองของประเทศไทย ควรจะเรียนรู้จากบทเรียนของผู้ว่าฯ บราวน์แบ็ก และก่อนจะถึงวันนั้น หากพวกเขาต้องการจะเข้มงวดในโซเชียลมีเดียมากขึ้น เขารู้ว่าต้องตรวจตราที่ไหน ก็ในออฟฟิศของเหล่านักการเมืองเองไง

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

TCIJ: เตรียมรับมือ 'ภัยพิบัติ-ปัญหาที่ดิน' ภารกิจภาคประชาชนกระบี่

Posted: 05 Dec 2011 09:34 PM PST

 
 
ภาพกรวด หิน ดิน ทราย คละเคล้าผสมปนเป บนพื้นที่ประมาณ 2 พันไร่ บริเวณตำบลหน้าเขา ตำบลเขาพนม อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ขณะที่บ้านชาวบ้านอีกหลายสิบหลังยังสร้างไม่เสร็จ ทว่าในกลางเดือนพฤศจิกายน 2554 ฝนตกหนัก น้ำในลำคลองเอ่อล้น มีสีขุ่นเหมือนสีดินภูเขาอีกครั้ง
 
ครั้นเมื่อข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์เงียบหาย ชาวบ้านที่ประสบอุทกภัยและดินโคลนถล่มเมื่อปลายเดือนมีนาคม 2554 ยังประสบชะตากรรมปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย อีกทั้งยังกังวลว่าจะประสบปัญหาเรื่องที่ดินทำกิน จากการที่ทางจังหวัดกระบี่ประกาศโครงการจัดทำแนวเขตเพื่อป้องกันการบุกรุกป่าราชินี
 

ภัยพิบัติกับปัญหาที่ชาวบ้านต้องเผชิญ
 
นายเอกนัฐ บุญยัง คณะทำงานเครือข่ายเฝ้าระวังภัยพิบัติจังหวัดกระบี่ บอกว่า ตนเองกำลังวิ่งหาแหล่งทุนเพื่อกู้เงิน 1 ล้านบาท เพื่อนำมาสร้างบ้านที่ยังค้างคาอีกหลายสิบหลัง ที่ยังสร้างไม่เสร็จ แม้ว่าองค์กรสื่อมวลชน และหน่วยงานต่างๆ เข้ามาช่วยเหลือก็ตามที
 
“แทบทุกพื้นที่หลังจากเกิดภัยพิบัติจะตามมาด้วยปัญหาที่ดินทำกินเสมอ ชาวบ้านจึงได้มีกระบวนการทำแผนที่ทำมือโดยชุมชน มีการทำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (แผนที่GIS) เพื่อป้องกันปัญหาพิพาทกับรัฐเรื่องที่ดินทำกินในอนาคต หลังจากทางจังหวัดจะจัดทำแนวเขตสวนป่าราชินีขึ้น” นายเอกนัฐ เล่าถึงความกังวลและแนวทางของชาวบ้าน
 
นายเอกนัฐ บอกถึงกระบวนการตื่นตัวของชาวบ้านหลังจากเกิดเหตุการณ์ในพื้นที่ว่า ได้มีฝึกอบรมอาสาสมัครเฝ้าระวังภัยพิบัติด้วยอบรมการใช้วิทยุ อบรมการกู้ภัย มีการเก็บข้อมูลเบื้องต้นของชุมชน มีการสำรวจพื้นที่เสี่ยงภัย พื้นที่ปลอดภัยเพื่อใช้ในการอพยพหนีภัย และกำหนดให้บ้านชั่วคราวที่เพิ่งสร้างเสร็จเป็นศูนย์อพยพ มีการเตรียมอาหาร เครื่องดื่ม มีการจัดชาวบ้านเฝ้าระวังเป็นจุดๆ ใช้วิทยุสื่อสารเพื่อเฝ้าระวังการเกิดภัยพิบัติ โดยประสานงานกับศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ที่ส่งข้อมูลการเตือนภัยมาให้หากมีแนวโน้มว่าจะเกิดภัย
 
แม้มีชาวบ้านผ่านการฝึกอบรม แต่ก็จะมีทีมที่คอยวิเคราะห์และประมวลสถานการณ์ว่าเห็นควรจะอพยพหรือไม่ อย่างไร ตอนไหน ซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์และต้องอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่นในการสังเกตุการเตือนภัยมีทีมเฝ้าระวัง
 
“เอาเข้าจริงไม่รู้ว่าเป็นการเฝ้าระวังหรือเปล่า เพราะแค่ฝนตกไม่หนักมาก ชาวบ้านก็อพยพออกจากพื้นที่แล้ว เนื่องจากความหวาดระแวงจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น” นายเอกนัฐ เล่าถึงปฏิกิริยาของชาวบ้าน
 
ส่วนกระบวนการเชื่อมต่อกับชุมชนอื่น นายเอกนัฐกล่าวว่า ชุมชนในตำบลหน้าเขา และตำบลเขาพนม มีการเชื่อมต่อความสัมพันธ์ของชุมชนต่างๆ ตามระบบลุ่มน้ำ สร้างเครือข่ายต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ อาทิ ตำบลคลองประสงค์ อ.เมือง จ.กระบี่ ที่เคยประสบภัยพิบัติสึนามิ
 
คลองประสงค์เป็นพื้นที่ที่มูลนิธิรักษ์ไทยเข้าไปให้การสนับสนุนชุมชน มีแผนเตรียมความพร้อม มีกระบวนการตื่นตัวและการมีส่วนร่วมของชาวบ้านในชุมชน  มีการจัดทำข้อมูล ทำแผนเตรียมพร้อมสำหรับภัยพิบัติ มีการใช้กำแพงไม้ไผ่กันไว้ริมชายหาดที่ชาวบ้านอาศัย มีแผนในการปลูกป่าชายเลนกันคลื่นสึนามิ มีการสร้างคันเขื่อนกัดเซาะ ฯลฯ
 
“แม้ว่าในระดับจังหวัดกระบี่ เราไม่สามารถเชื่อมต่อได้อย่างเป็นเรื่องเป็นราว แต่เรามีการคุยกับมูลนิธิรักษ์ไทยว่าจะมีการเชื่อมต่อให้เกิดรูปธรรมได้อย่างไร โดยจะตั้งเป็นเครือข่ายเฝ้าระวังภัยพิบัติ มีการคุยกับสภาองค์กรชุมชน ทีมกองทุนสวัสดิการ ทีมแก้ปัญหาเรื่องที่ดิน ที่ทำงานอยู่ในพื้นที่ มานั่งคุยกันอย่างเป็นจริงเป็นจัง”
 
“มีการวางระบบ เชื่อมพื้นที่เกาะลันตา คลองประสงค์ เขาพนม เขาดิน หน้าเขา มีการเชื่อมเครือข่ายผู้ประสบภัย มีตัวแทนของแต่ละพื้นที่มาร่วมประสานงานกันในระดับจังหวัดกระบี่มีกระบวนการพัฒนาด้านระบบการเตือนภัยของอาจารย์สมพร ช่วยอารีย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี” นายเอกนัฐ บอกถึงการพยายามเชื่อมต่อเครือข่าย
 
ชี้ราชการไม่ได้มองชุมชนเป็นจุดเริ่มต้น ร่วมแก้ปัญหาภัยพิบัติ
 
ด้านความพยายามในการร่วมมือกับส่วนราชการ นายเอกนัฐกล่าวว่า เคยมีชาวบ้านไปที่ที่ว่าการอำเภอเขาพนม เพื่อจะคุยกับทางอำเภอเกี่ยวกับการเตรียมรับมือภัยพิบัติร่วมกัน แต่ทางอำเภอไล่ชาวบ้านกลับบ้าน อำเภอไม่ได้มองว่าชุมชนเป็นจุดเริ่มต้น 
 
“ชาวบ้านกับหน่วยงานราชการ ยังคุยกันไม่เข้าใจในเรื่องของความร่วมมือ เนื่องจากมีวิธีคิดที่ต่างกัน ส่วนราชการบอกว่าการช่วยเหลือหรือดำเนินการใดๆ เป็นหน้าที่ของทางราชการเท่านั้น ให้ชาวบ้านอยู่เฉยๆ ถ้าเกิดเหตุการณ์จะเป็นคนช่วยไม่ต้องให้ชาวบ้านมาทำ”
 
เอกนัฐกล่าวว่า ตรงนี้เป็นผลให้ชาวบ้านตกลงกันว่าจะทำฐานข้อมูล ฐานชุมชนให้ชัดเจนกว่านี้ ชาวบ้านต้องแสดงศักยภาพ ให้ส่วนราชการเห็นว่าชาวบ้านสามารถทำอะไรได้บ้าง 
 
“ตั้งใจจะเชิญส่วนราชการมานั่งคุยร่วมกัน หลังจากมีกระบวนการพูดคุยในส่วนของภาคประชาชนเรียบร้อยแล้ว นำตัวแทนชาวบ้านมาทำความเข้าใจร่วมกับส่วนราชการ และจัดตั้งเป็นเครือข่ายเฝ้าระวังภัยพิบัติของจังหวัดกระบี่ที่มีส่วนร่วมระหว่างชาวบ้านและหน่วยงานรัฐ” นายเอกนัฐ บอกถึงความพยายามในการร่วมมือกับส่วนราชการ
 
ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เผยช่องทางสื่อสารเตือนภัย
 
นายเถลิงศักดิ์ ภูวญาณพงศ์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (สปภ.) จังหวัดกระบี่ กล่าวถึงการเตรียมการรับมือภัยพิบัติว่า สำนักงานฯ มีการติดตามสภาพฝนฟ้าอากาศ เหตุพายุเข้า ปริมาณน้ำฝน แผ่นดินไหวอย่างใกล้ชิด ตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อมีแนวโน้มว่าจะเกิดภัยพิบัติ จังหวัดกระบี่จะได้รับข้อมูลการแจ้งเตือนภัยจากศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติด้วย
 
“จากนั้นจะส่งข้อความทางโทรศัพท์ (SMS) แจ้งเตือนไปยังผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่นในพื้นที่เสี่ยงภัยให้ทราบ เพื่อให้เตรียมอพยพไปยังจุดปลอดภัย” นายเถลิงศักดิ์ บอกถึงกระบวนการแจ้งเตือนเมื่อมีแนวโน้มจะเกิดภัย
 
นายเถลิงศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ในพื้นที่ 37 หมู่บ้านที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยทุกประเภท ไม่ว่า น้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม อุทกภัย หรือสึนามิในจังหวัดกระบี่ ก่อนหน้านี้กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้สำรวจและติดตั้งเครื่องมือเตือนภัยแล้ว ทั้งยังมีหอเตือนภัยสึนามิ ซึ่งสามารถเตือนภัยพิบัติได้ทุกประเภท 32 จุด ติดตั้งใน 5 อำเภอริมชายฝั่งทะเล โดยมีการติดตั้งระบบวิทยุรับสัญญาณที่เชื่อมต่อกับศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เพื่อขยายให้รับรู้กันได้อย่างกว้างขวาง 
 
การติดต่อสื่อสารกับอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ ใช้วิทยุของกรมการปกครองของจังหวัด ประสานงานกับสถานีวิทยุชุมชน 32 สถานี เพื่อการแจ้งเตือนภัย และการให้ข่าวสารในการเตรียมรับมือ และกระบวนการในการช่วยเหลือชาวบ้าน
 
เมืองกระบี่ กับแผนรับมือภัยพิบัติ
 
นายเถลิงศักดิ์ กล่าวว่า จังหวัดกระบี่ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาจากอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม จังหวัดกระบี่ 2554 จัดทำแผนปฏิบัติการฉุกเฉินฯ ในระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับท้องถิ่น ซึ่งปฏิบัติกันอย่างต่อเนื่องมา จากเหตุการณ์น้ำท่วมและดินถล่มเมื่อเดือนมีนาคม – เมษายน 2554
 
ในทุกๆ ปีจังหวัดกระบี่ จะมีการซ้อมแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยประเภทต่างๆร่วมกัน 2 -3 ครั้ง ไม่ว่า ซ้อมแผนเหตุการณ์สึนามิ เหตุอุทกภัย และดินโคลนถล่ม อุบัติเหตุทางทะเลทั้งส่วนราชการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีกรมทรัพยากรธรณี ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ฯลฯ
 
“มีการให้ความรู้แก่ชาวบ้านในการพึ่งพาตนเองเป็นฐาน มีการให้อุปกรณ์กู้ภัย เช่น เชือก และเรือ สำหรับชุมชนที่เสี่ยงภัย มีการอบรมสมาชิกอาสาป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ทีมกู้ชีพกู้ภัยท้องถิ่นละ 10 คน อบรมมิสเตอร์เตือนภัย 91 หมู่บ้านที่เป็นพื้นที่เสี่ยง” นายเถลิงศักดิ์ บอกถึงการเตรียมพร้อมด้วยการให้ความรู้และอบรม
 
ส่วนอุปกรณ์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีเรือท้องแบน 8 ลำ ซึ่งสามารถขอสนับสนุนจากศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 18 ภูเก็ต ได้อีกถึง 200 ลำ หากไม่เพียงพอในการช่วยเหลือชาวบ้าน
 
สำหรับการประสานงานขุดลอกร่องน้ำ นายเถลิงศักดิ์ กล่าวว่า มีการประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอ โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด ในการขุดลอกคู คลอง ท่อระบายน้ำ เพื่อให้น้ำระบายได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งสามารถดำเนินการได้เพียงในระดับหนึ่งตามงบประมาณที่มีของแต่ละหน่วยงาน
 
“พื้นที่ที่เกิดดินถล่ม 2 พันไร่ ที่อำเภอเขาพนมนั้น เราได้มีการขุดลอกคลองเท่าที่ทำได้ในงบประมาณจำกัด ทั้งจังหวัดกระบี่จะมีการปลูกป่าขึ้นในอนาคตเพื่อป้องกันการบุกรุกป่า และป้องกันเหตุการณ์ดินถล่มซ้ำด้วย” นายเถลิงศักดิ์ กล่าวถึงการฟื้นฟูพื้นที่ที่เกิดดินถล่ม
 
ย้อนมองพื้นที่ที่เคยเกิดเหตุอุทกภัย ดินโคลนถล่มเมื่อปลายเดือนมีนาคม 2554 ในอำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ซึ่งมีรอยปริร้าวแล้วใจหาย ดูเหมือนว่าโศกนาฏกรรมพร้อมจะอุบัติซ้ำทุกเมื่อ เวลาพายุฝนกระหน่ำ
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คำถามที่มีเพียงหนึ่งคำตอบ..!

Posted: 05 Dec 2011 09:23 PM PST

 

 
 

 

การที่พวกนิยมเจ้าไทย ชอบตั้ง "คำถาม" ที่มีกฎหมาย และความรุนแรง จ่อหัวบังคับให้ คนอื่น "ตอบไม่ได้-จนในคำตอบ" หรือ "ตอบ" อย่างอื่นไม่ได้ นอกจาก แบบที่ตัวเองพอใจ 

แล้วก็มา ดีอกดีใจกับตัวเองว่า คำถามของตัวเอง "เจ๋ง" เต็มที ทำให้คนอื่น "จนในคำตอบ" ..... สะท้อนอาการทางจิต ที่รู้สึก ขาดความมันใจในตัวเอง (insecure) อย่างหนัก

....................

เมื่อคราวที่ ภิญโญ ทำ "เท่ห์" ยิงคำถามใส่ ดร.วรเจตน์ ว่า "ตกลง นิติราษฎร์ เอาเจ้า หรือไม่" ผมเสียดายอยู่ว่า อ.วรเจตน์ เป็นสุภาพบุรุษไปหน่อย ถ้าเป็นผม ผมจะตอกภิญโญกลับว่า 

"ทำไมคุณชอบถามคำถามปัญญาอ่อนแบบนี้ แล้วดัดจริต ทำขึงขัง ราวกับเป็นคำถามที่น่าสนใจเสียเต็มประดา? คือ ถ้าคุณมีปัญญาสักนิดเดียว ก็ทราบว่า คำถามแบบนี้ ในปริบทประเทศไทย ทั้ง รธน. และ 112 ไม่มีใครตอบเป็นอย่างอื่นได้ อันนี้ ไม่เกียวกับว่า คนนั้น เขาจะ "เอา" หรือ "ไม่เอา" เจ้า คือ ถ้าจริงๆ ต่อให้ผม "เอา" เจ้า ผมก็ไม่ตอบให้เสียเวลา เพราะเป็นการตอบภายใต้กรอบที่ "ตอบเป็นอย่างอื่นไม่ได้" อยู่แล้ว ดังนั้น จึงไม่มีความหมายอะไร ในทางกลับกัน ยิ่งถ้าผม "ไม่เอา" เจ้า ผมก็ยิ่งตอบไม่ได้ใหญ่เลย ....

ทีสำคัญ คนทำงานสื่อ แล้วชอบทำมาดจริงๆจังๆแบบคุณ ควรตระหนักว่า ลำพัง ภาวะที่ คำถามแบบนี้ ไม่มีความหมายอะไร สะท้อนให้เห็นลักษณะ วิปริต ไม่เป็นประชาธิปไตย ของประเทศไทยขนาดไหน ในทุกประเทศที่เป็นประชาธิปไตยจริงๆนั้น เขาถือว่า แต่ละคน เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย เท่าๆกัน ทุกคน มีสิทธิ ทีจะมีความเห็นว่า ต้องการรูปแบบรัฐแบบไหน มีสิทธิ ที่จะนำเสนอ รูปแบบรัฐทีตัวเองเห็นว่าเหมาะสม ต่อสาธารณะ ให้อภิปรายกัน (เช่น กษัตริย์เป็นประมุข, ประธานาธิบดี, ฯลฯ) ..."

(ว่าแต่ว่า, เมื่อไหร่ที่ ภิญโญ หรือ TPBS จะกล้าเชิญผมไป "ตอบโจ่ทย์" เรื่อง สถาบันฯ บ้างครับ? อย่างถ้าเทียบกับ อ.สุลักษณ์ ที่ภิญโญว่า "พูดถึงเรื่องเจ้า ต้องถาม อ.สุลักษณ์" - ยิ่งไม่ต้องพูดถึงกรณีอานันท์ - ผมว่า ผมพูดเรื่องสถาบันฯ มากกว่า สุลักษณ์ ในสิบกว่าปีทีผ่านมาเยอะ - ไมใช่อยากออกทีวี จริงๆ ไม่ชอบเลย ทีวี น่ะ แต่รำคาญฉิบหาย ที่ ภิญโญ กับ TPBS ชอบดัดจริต ราวกับว่า รายการตัวเอง "รอบด้าน" "หลายแง่มุม" จริงๆ)

...........................

เมื่อวานนี้ จินตนาถ ลิ้มทองกุล ทำ "เท่ห์" อีกคน เขียนบทความ ตั้งชื่อขึงขัง "พระองค์ท่านไปทำอะไรให้พวกมึง?"

ผมเห็นเข้า หัวเราะก๊าก ไปหลายสิบนาที

แน่นอน ใครที่อ่านพวก fb หรือออนไลน์ต่างๆ คงรู้ว่า นี่ไมใช่ "คำถาม" ที่จิตตนาถ คิดเอง ความจริง เป็นหนึง ใน "คำถาม" ยอดนิยม ของบรรดาคนนิยมเจ้าบ้านเรา ทีเวลา เจอการวิจารณ์เรื่องสถานะของสถาบันฯ หรือ เรื่อง 112 แล้ว ไมมีปัญญาจะตอบ ก็ใช้วิธี "ยิง" "คำถาม" แบบนี้ 

แล้วก็ รู้สึก "อิ่มอกอิ่มใจ" กับตัวเองว่า "ไอ้พวกล้มเจ้า แม่งตอบคำถามไม่ได้" 

55555555 (อันนี้ ผมหัวเราะพวกนิยมเจ้า)

คือ จะไม่ให้หัวเราะ ได้ไง

มันเหมือนกับว่า เราสมมุติว่ามีมาเฟียใหญ่คนหนึ่ง ที่บังเอิญมีลักษณะอย่างหนึง คือ "หลงตัวเอง" จัด นึกว่า ตัวเอง หล่อเสียเต็มประดา วันดีคืนดี ก็ชอบ บีบคอลูกน้อง หรือชาวบ้าน สักคน เอาปืนจ่อหัว แล้วถามว่า "มึงคิดว่า กูหล่อ มั้ยวะ?" แล้วถ้าใครขืน ตอบ ไม่ถูกใจ ("ผมว่า หน้าตาลูกพี่ ก็งั้นๆนะ ไม่ถึงกับหล่ออะไร")

แน่นอน ลูกน้อง หรือชาวบ้าน ที่ยังสติดีอยู่ ก็ย่อมตอบว่า "โหย หล่อมากลูกพี่ ไม่เคยเห็นเจ้าพ่อที่ไหน หล่อเท่าลูกพี่เลย" อะไรแบบนั้น

แล้วมาเฟียทีว่านี้ ก็มาอิ่มอกอิ่มใจกับตัวเองว่า กูนี้ ช่างหล่อจริงๆ ถามใครๆ ทุกคน ก็พูดเป็นเสียงเดียวกันหมด ....

ตัวอย่าง สมมุติ ทีว่านี้ ความจริง สะท้อนลักษณะอาการทางจิตอย่างหนึงด้วย ที่ภาษาทางจิตวิทยา เขาเรียกว่า insecure คือ ภาวะความรู้สึก ที่ไม่มั่นใจตัวเอง ... ดังนัี้น เวลา "ถาม" อะไร จะต้อง ถาม เฉพาะในสภาพที่ "บังคับ" หรือ "ควบคุม" คำตอบได้ ให้ "คำตอบ" ต้องออกมาอย่างที่ตัวเองพอใจเท่านั้น

คือไม่กล้า (ไม่รู้สึก secure พอ) ที่จะ "เผชิญหน้า" กับการที่ใครอาจจะตอบ แบบอื่น

สิ่งที่ผมว่า น่าสนใจ กับการที่คำถามประเภท "พระองค์ท่านไปทำอะไรให้พวกมึง?" เป็นทีนิยมของพวกนิยมเจ้า ซึงความจริง ส่วนใหญ่ที่ถามแบบนี้ เป็นพวกมีการศึกษาทั้งนั้น (ระดับปริญญาตรี ขึ้นไปด้วยซ้ำ แน่นอน พวก มัธยมนิยมเจ้า "เกรียนๆ" ก็ชอบ "ถาม" แบบนี้กัน)

ก็คือ การที่ จริงๆแล้ว ถ้าใช้สติคิดหน่อย ก็ย่อมรู้ว่า นี่ไมใช่ "คำถาม" จริงๆ แต่เป็นเพียง การ "ถาม" เพื่อ "สร้างความอิ่มอกอิ่มใจกับตัวเอง" ว่า คนถูกถาม "จนในคำตอบ" "ตอบไม่ได้" ...

คือเป็น "คำถาม" ประเภท เพื่อชดเชยกับภาวะทางจิตที่ insecure ของตัวเอง มากกว่า

พวกนิยมเจ้าไทย อย่างจินตนาถ ก็เหมือนกับมาเฟียในตัวอย่างสมมุติข้างต้น คือ จริงๆแล้ว รู้สึก insecure กับความเชื่อนิยมเจ้าของพวกตน ที่ล้วนแต่วางอยู่ฐานของการที่ "ข้อมูล" เกียวกับสถาบันกษัตริย์ เป็น "ข้อมูล" ที่ได้มาจากการโปรแกรมยัดเยียดใส่สมองตั้งแต่อนุบาล โดยไม่อนุญาตให้มีการตั้งคำถาม ประเมิน โต้แย้ง หรือวิพากษ์วิจารณ์ได้

ความเชื่อที่เกิดขึ้นจากฐานที่ไม่เป็นธรรมชาติ ไม่มั่นคงเช่นนี้ ลึกๆ ก็ทำให้เกิดภาวะไม่มั่นคงทางจิตใจขึ้น

พอมีใครมาตั้งคำถาม หรือท้าทาย ความเชื่่อแบบนี้ขึ้นมา ก็เลยต้อง "สร้างความมั่นใจ" ให้กับตัวเอง ด้วยวิธีการ "ตั้งคำถาม" แบบนี้บ่อยๆ

..................

จริงๆแล้ว คำถามประเภท สถาบันกษัตริย์ ได้ "ทำอะไร" มาบ้าง ในอดีต ที่ทำให้คนจำนวนมากขึ้นๆ ทั้งในประเทศและทั่วโลก รู้สึก "มีปัญหา" หรือ ไม่เห็นด้วย นั้น

ไมใช่คำถามที่ยากในการตอบเลย ถ้าเปิดให้สังคมมีเสรีภาพในการตอบโดยแท้จริง

แต่พวกนิยมเจ้าของไทยนั้น รู้สึก insecure เกินกว่า จะยอมให้มีเสรีภาพ ที่จะตอบ หรือมีเสรีภาพที่จะตั้งคำถามกลับ กับ "ข้อมูล" ที่บังคับ โปรแกรมยัดเยียดใส่หัวตั้งแต่อนุบาล

ก็เลยต้องรักษาภาวะที่ ห้ามตั้งคำถาม, ห้ามประเมิน, ห้ามตรวจสอบ, ห้ามวิพากษ์ "ข้อมูล" นิยมเจ้า

อย่างที่บอกว่า พวกนิยมเจ้า อย่างจิตตนาถ นั้น เหมือนกับพวกมาเฟีย ที่ไม่กล้า ไม่มั่นคงทางจิตใจพอ จะปล่อยให้ลูกน้อง หรือชาวบ้าน ประเมินอย่างเสรีจริงๆว่า ตัวเอง "หล่อ" จริง ตามที่ตัวเองเชื่อหรือไม่

ก็เลยต้องคอยใช้วิธีเอาปืนมาจี้หัว แล้วบังคับให้คน "ตอบ" อย่างที่ตัวเองต้องการ หรือ บังคับให้เกิดภาวะที่เหมือนว่า คนอื่น "ตอบไม่ได้" "จนในคำตอบ" แบบนี้ แล้วก็ "อิ่มอกอิ่มใจ" จากสภาวะที่คนอืน "ตอบไม่ได้" แบบนี้

คนที่ insecure ขนาดนี้ ความจริง ต้องนับว่า น่าสงสาร น่าสมเพช มากๆ

[เมื่อตอนต้นปี ผมเขียนบทความหนึ่ง ซึ่งความจริง มีเนื้อหา ที่เป็นการตอบ บทความของจินตนาภ ล่วงหน้า ใครสนใจ ดู "ท้าให้ คน "รักในหลวง" ทุกคน ตอบประเด็นเรื่อง "สถาบันกษัตริย์ดีเยี่ยม - นักการเมืองเลวสุด" นี้ครับ พนันได้เลยว่าตอบไม่ได้"
ที่นี่ (อาจจะต้องใช้ proxy ในการเข้า) http://prachatai.com/journal/2011/04/33847 ]

.......................

ปล. มีประเด็นเชิง "ทฤษฎีสังคม" หนึ่ง ที่ผมคิดมานาน คือ ทำไม อุดมการณ์กษัตริย์นิยม ของไทย จึงได้ขึ้นสู่ภาวะ "สุดยอด" พร้อมๆไปกับการเติบโตทางเศรษฐกิจสังคมของชนชั้นกระฏุมพีไทย นับแต่ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา?

คือ ถ้าเราคิดแบบ "โมเดล" ประวัติศาสตร์ตะวันตก การเติบโตของกระฎุมพี ควรจะมาควบคู่กับการเติบโตของอุดมการณ์ (ideology) อย่าง enlightenment หรือ liberalism ... แต่ทำไม ในกรณีของไทย การเติบโตทางเศรษฐกิจสังคมของกระฎุมพี ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา จึงกลับมาพร้อมกับการเติบโตอย่างล้นเกินของอุมการณ์ (ideology) แบบกษัตริย์นิยม?

คำตอบแบบคร่าวๆของผม (ที่ยังพยายามเรียบเรียงให้เป็นระบบอยู่) คือ กระฎุมพีไทย มีภาวะ "ไม่มั่นคงรวมหมู่" (collective insecurity) เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นนี้กับชนชั้นอื่นๆในสังคม โดยเฉพาะทีอยู่ล่างๆลงไป ......

 

..............................................................

 

 

หมายเหตุ: บทความข้างต้นเผยแพร่ใน สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ทางกองบรรณาธิการเห็นว่าเป็นประเด็นโต้เถียงที่อยู่ในกระแสความสนใจของประชาชนจึงนำมาเผยแร่ใน"ประชาไท"อีกครั้ง

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น