ประชาไท | Prachatai3.info |
- ปิดศูนย์ช่วยเหลือแรงงานโดนน้ำท่วม ชี้น้ำลดแต่ปัญหายังไม่จบ!
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับเสียงหวลไห้ใต้แท่งคอนกรีต
- ผู้หนีภัยสู้รบพม่า-คะฉิ่น อพยพเข้ารัฐฉานนับร้อย
- เกิดเหตุปะทะกันใกล้โครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย
- เชียงใหม่ปล่อยโคม 112 ดวง เรียกร้องปล่อยอากง และเหยื่อ กม.หมิ่น
- บล็อกเกอร์ชาวอียิปต์ถูกสั่งจำคุก 2 ปีข้อหาหมิ่นกองทัพ
- นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นใช้ลิงช่วยวัดค่ากัมมันตรังสีจากโรงงานฟูกุชิมะ
- นิตยสาร ‘ไทม์’ ยก “ผู้ประท้วง” เป็นบุคคลแห่งปี 2011
- เปิดตัวหนังสือ ก้าวข้ามความกลัว” (Thailand’s Fearlessness: Free Akong)
- เผยผลวิจัยตลาดแรงงานปี 54 คนมองหางาน "ไอที บัญชี และการตลาด" มากที่สุด
- พิพากษา ‘ดา ตอร์ปิโด’ 15 ปี จำเลยไม่อุทธรณ์หลังถูกขัง 3 ปีครึ่ง
- 'กต.'แจง การตัดสิน‘อากง’และ‘โจ กอร์ดอน’เป็นไปตามกม.ไทยที่ยุติธรรม
- กองกำลังเมืองลา-ปปส.จีน ผนึกกำลังยึดสารผลิตยาเสพติด 12 ตัน
ปิดศูนย์ช่วยเหลือแรงงานโดนน้ำท่วม ชี้น้ำลดแต่ปัญหายังไม่จบ! Posted: 15 Dec 2011 12:53 PM PST เปิดรับเรื่องร้องเรียน-แก้ปัญหาต่อเนื่อง หลังปิดศูนย์ช่วยเหลือแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วมอ้อมน้อย-อ้ สภาพน้ำท่วมที่ย่านอ้อมน้อย เมื่อวันที่ 11 พ.ย.54 วันที่ 15 ธ.ค.54 ที่สี่แยกอ้อมน้อย มีการปิดศูนย์ช่วยเหลือแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วมอ้อมน้อย-อ้
ชี้ปิดศูนย์ช่วยเหลือ แต่ปัญหาของแรงงานยังไม่จบ สงวน ขุนทรง ผู้ประสานงานกลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย – อ้อมใหญ่ กล่าวว่า การตั้งศูนย์ฯ ที่ผ่านมาถือเป็นการช่วยเหลือแรงงานในพื้นที่ จ.นครปฐม-สมุทรสาคร ในฐานะศูนย์กลางในการให้คำแนะนำปรึกษา ประสานงาน เพื่อรับการช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าเรื่องถุงยังชีพ เนื่องจากแรงงานมักมีปัญหาไม่ได้รับความช่วยเหลือในส่วนนี้ด้วยข้ออ้างว่าไม่ได้เป็นคนในพื้นที่ ส่วนการปิดศูนย์ฯ ในครั้งนี้เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่เริ่มคลี่คลาย แต่ปัญหาหลายอย่างของแรงงานก็ยังคงมีอยู่ สงวน กล่าวถึงสภาพปัญหาของกลุ่มแรงงานในพื้นที่ว่า จากการที่น้ำท่วมค่อยๆ ขยายอาณาเขต ทำให้โรงงานแต่ละแห่งปิดงานไม่เท่ากัน ส่งผลเกิดปัญหา อาทิ ขณะที่โรงงานบางแห่งยังเปิดทำการแต่แรงงานกลับไม่สามารถไปทำงานได้เนื่องจากที่พักถูกน้ำท่วม การเดินทางยากลำบากและมีค่าใช่จ่ายสูง ทำให้ต้องขาดงาน และในขณะนี้ที่โรงงานหลายแห่งเปิดทำการแล้ว แต่แรงงานส่วนหนึ่งยังไม่ได้กลับเข้าทำงาน เนื่องจากห้องที่เคยพักอาศัยยังไม่สามารถเข้าอยู่ได้ ทำให้ต้องถูกให้ออกจากงานเพราะขาดงาน ไม่สามารถเข้าทำงานตามระยะเวลาที่โรงงานกำหนดไว้ได้ โดยหากแรงงานต้องการกลับไปทำงานจะต้องเข้าสู่กระบวนการจ้างงานใหม่ ส่วนโรงงานบางแห่งที่ยังปิดทำการก็ไม่รู้ว่าจะได้เปิดเมื่อใด สงวน กล่าวถึงข้อเรียกร้องว่า อยากให้รัฐบาลสนับสนุนการดูแล เยียวยาแรงงาน ส่วนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอยากให้มาอยู่ร่วมรับรู้ปัญหาและรับเรื่องไปดำเนินการเพื่อให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมาย “ลูกจ้างก็เดือดร้อนอยู่ ทุกคนก็อยากทำงาน จริงๆ ลูกจ้างก็ทำงานให้นายจ้าง อยากให้นายจ้างเห็นใจคนงานด้วย อยากให้ช่วยเหลือกัน” สงวน กล่าว ขณะที่ชนญาดา จันทรแก้ว อาสาสมัครนักกฎหมาย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม เล่าว่า จากการรับเรื่องราวร้องทุกข์ ชนญาดา กล่าวว่า จากการเก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 26 พ.ย.-15 ธ.ค.53 มีคนงานมาร้องเรียนปัญหาจากน้ำท่วม 77 ราย จาก 50 กว่าบริษัท โดยเธอจะประสานงานไปยังสวัสดิ อาสาฯ แรงงานข้ามชาติแฉ ค่านายหน้ากลับเข้าทำงานสูงถึง 8,000 เจามินไน หนึ่งในอาสาสมัครแรงงานข้ามชาติ ซึ่งเดินทางจากเมืองทวาย ประเทศพม่า มาทำงานในเมืองไทยกว่า 10 ปี ให้สัมภาษณ์ว่า เขาเองก็เป็นหนึ่งในแรงงานที่ถู สำหรับปัญหาหลังน้ำลดนั้น เขาเล่าว่า เพื่อนชาวพม่าที่ก่อนหน้านี้เดิ เจ้าของห้องเช่าย้ำสิทธิของความเป็นคน ทุกคนควรได้รับการช่วยเหลือ ทิพวรรณ บุญยืน เจ้าของห้องเช่าคนงานย่านอ้อมน้อยที่คอยให้ความช่วยเหลือคนงานในฐานะคนร่วมบ้านเดียวกันกล่าวถึงหลักคิดของเธอว่า สิทธิของความเป็นคน คนทุกคนน่าจะได้อะไรที่ไม่แตกต่างกัน ในตอนเกิดเหตุการณ์ทุกคนก็โดนเหมือนๆ กัน ดังนั้นจึงควรต้องช่วยเหลือกันไม่ใช่หวังกอบโกยผลประโยชน์จากคนที่ทุกข์ยาก ยิ่งเมื่อเธอเป็นคนทำมาค้าขาย ร้านค้าที่มีก็เพื่อขายของให้กับคนงาน ห้องเช่าก็เปิดให้กับคนงาน ดังนั้นการที่มีคนงานมาเช่านั้นจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว “ห้องเช่าอยู่ได้เพราะมีคนงานเช่า เราแคร์คนงาน รายได้เรามาจากเขา ไม่มีเขาเราก็อยู่ไม่ได้หรอก” ทิพวรรณกล่าว ทิพวรรณ เล่าว่า ในช่วงที่น้ำท่วมห้องเช่าที่มีอยู่ 3 อาคารของเธอและพี่สาว มีคนติดอยู่ราว 70 คน ด้วยความที่อยู่ในซอยลึกความช่วยเหลือจึงเข้ามาไม่ทั่วถึง สามีของเธอและคนงานต้องเดินลุยน้ำสูงระดับอกออกไปรับสิ่งของบริจาคที่จุดแจกของระยะทางเกือบหนึ่งกิโลเมตรแม้จะได้แค่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและอาหารไม่กี่ห่อ แต่สิ่งที่ทำให้เธอรู้สึกแย่คือคำพูดที่ว่าของบริจาคควรให้เฉพาะคนที่มีเลขที่บ้าน ทำให้ต้องตั้งคำถามกลับว่าคนที่อยู่บ้านเช่าไม่ต้องกินข้าวหรืออย่างไร ทิพวรรณ กล่าวด้วยว่า เธอไม่ใช่คนร่ำรวย แต่เธอเคยเป็นลูกจ้างมาก่อนแม้ว่าจะเป็นบริษัทที่มีนายจ้างเป็นชาวต่างชาติแต่ก็เป็นเพียงลูกจ้าง การช่วยเหลือซึ่งกันและกันตรงนี้ถือว่าเป็นการเอาใจเขามาใส่ใจเรา อีกทั้งรายได้คนงาน 15 วัน ได้เพียงแค่ราว 3,000 บาท ถือว่าพวกเขาลำบากมาก คสรท.เตรียมประมวลปัญหาของแรงงานนำเสนอต่อภาครัฐ วาสนา ลำดี เจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เล่าภาพรวมความช่วยเหลือจาก คสรท. ว่า แม้เหตุการณ์น้ำท่วมจะกระทบกับแรงงานตั้งแต่ภาคเหนือ แต่ คสรท.ไม่มีเครือข่ายในภาคเหนือ แต่เมื่อน้ำเข้าในอยุธยา มีนิคมอุตสาหกรรม 5 แห่งได้รับผลกระทบ ผู้นำสหภาพแรงงานได้ปรึกษากับ คสรท.เพื่อตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือแรงงาน โดยได้ตั้งศูนย์ระดมทุน เงิน ข้าวของ จากนั้นมีการตั้งศูนย์ที่รังสิต นวนคร ซึ่งนอกจากความช่วยเหลือเฉพาะหน้า ยังได้ทำแบบสอบถามประมวลปัญหาต่างๆ ของคนงาน จากนั้นเมื่อน้ำท่วมที่นครปฐม-สมุทรสาคร ก็ได้ตั้งศูนย์ขึ้น ซึ่งจะปิดศูนย์ดังกล่าวในวันนี้ วาสนา เล่าว่า ในพื้นที่ย่านอ้อมน้อย มีปัญหาต่างจากที่อื่น เพราะอยู่ในพื้นที่คนงานค่าแรงต่ำ แรงงานข้ามชาติจำนวนมาก โดยที่อื่นให้ความช่วยเหลือเฉพาะหน้า แต่ที่นี่ รับแล้วต้องพาไปร้องทุกข์ด้วย โดยพบปัญหาที่แรงมาก ทั้งไม่ได้ค่าจ้าง ไม่มีอาหารกิน ไม่มีบัตรประจำตัว ถูกนายจ้างยึดบัตร เลิกจ้างหรือไม่ไม่ชัดเจน โดยคนงานไทยส่วนใหญ่โรงงานไม่ได้ปิด ทำให้คนงานไปทำงานลำบาก ถูกคัดชื่อออก ขณะที่อยุธยา ปิดโรงงานไปเลยเนื่องจากโรงงานน้ำท่วม ทั้งนี้ที่อ้อมน้อย แรงงานข้ามชาติจะถูกเลิกจ้างเป็นกลุ่มแรก ส่วนที่อยุธยา คนงานที่ได้รับผลกระทบกลุ่มแรกคือ คนงานเหมาค่าแรง วาสนา กล่าวว่า หลังจากนี้ คสรท.จะนำปัญหาของแรงงานที่ประมวลแล้วมาเสนอต่อภาครัฐ เพื่อให้มีมาตรการช่วยเหลือแรงงานที่ชัดเจนกว่านี้ เพราะมาตรการช่วยเหลือของรัฐขณะนี้เป็นการช่วยเหลือผ่านสถานประกอบการซึ่งยังไม่มีระบบการตรวจสอบ ไม่ว่าจะเป็นการใช้มาตรา 75 ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยจริงไหม การทำบันทึกความเข้าใจ ให้นายจ้างไม่เลิกจ้าง 3 เดือน ว่าที่ทำไปหลังจาก 3 เดือนมีคนงานถูกเลิกจ้างไหม หรือเคยเลิกจ้างคนงานเหมาค่าแรงหรือไม่ การพัฒนาฝีมือแรงงานจะให้เขาทำอะไร อยู่รอดได้จริงไหม มีเงินทุนให้ไหม หรือเพียงแค่ให้ได้เบี้ยยังชีพ 120 บาทเท่านั้น สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับเสียงหวลไห้ใต้แท่งคอนกรีต Posted: 15 Dec 2011 11:40 AM PST เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาพวกเราได้รับแจ้งข่าวจากในเฟซบุ๊ค เกี่ยวกับประเด็นการก่อสร้างต่อเติมฐานตึกภายในคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเดิมทีเคยเป็นโพรงยกพื้นขนาดใหญ่อยู่ใต้ฐานตึกด้านล่าง และมีสุนัขจรจัดเข้าไปอยู่อาศัยข้างในเป็นจำนวนมาก แต่กลับมีคำสั่งให้โบกปูนปิดช่องทางเข้าออกโพรงใต้ถุนตึกนั้นเป็นแนวยาวรอบตัวตึกทุกๆด้าน โดยที่ยังมีสุนัขและลูกสุนัขจำนวนมายังอาศัยอยู่ภายใน โดยเหลือรูเล็กๆที่สุนัขไม่สามารถเข้าออกได้ไว้ที่ปีกตึกด้านที่ติดกับประตูด้านสยามฯ หลังจากที่พวกเราได้ทราบข่าวจึงติดต่อประสานงานกับพี่ๆที่แจ้งเบาะแสมาจากในพื้นที่ และรุดไปตรวจสอบกันที่คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ โดยทันที เบื้องต้นได้รับแจ้งว่าได้มีความพยายามไปคุยกับทางคณะเอาไว้แล้วว่ามีสุนัขติดอยู่ภายในเป็นจำนวนมากและต้องการจะช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน และทำการรื้อแผ่นเหล็กที่ถูกทางคณะเอามาวางปิดรูทางออกของโพรงนี้(มีก้อนปูนหนักๆทับอยู่อีกหลายก้อน)ซึ่งเสมือนเป็นโพรงปิดตาย และเปิดช่องเอาไว้ให้สุนัขเข้าออกได้ 1 ช่อง จากโพรงฐานตึกทั้งหมด 4 ปีก ...ซึ่งแน่นอนปีกตึกอีก3ด้านย่อมยังมีสุนัขติดอยู่ แต่ด้วยความกว้างของโพรง สุนัขจากปีกตึกด้านอื่นที่ถูกโบกปูนปิดทางเข้าออกโพรง ย่อมเดินมาไม่ถึงช่องทางนี้ได้ในความมืดสนิท ...และหลังจากการโบกปูนผ่านไป 4-5 วัน เสียงสุนัขที่เห่าหอนโหยหวนอยู่ใต้ปีกตึกด้านอื่นๆ ...เริ่มเงียบหายไปแล้ว หลังจากที่พวกเราเข้าไปถึงพื้นที่ ได้ลองเดินสำรวจไปรอบๆตัวตึก พบว่าเป็นตึกที่สร้างยกพื้นใต้ถุน ประมาณ 60เซนติเมตร ทำให้พื้นที่ใต้ฐานตึกทั้งตึกเป็นโพรงขนาดใหญ่ สุนัขจรจัดจำนวนมากจึงเข้ามาอาศัย อยู่ภายในเป็นจำนวนมากและเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว แต่ในวันแรกที่เข้าไปเห็น ขอบฐานตึกเหล่านั้นถูกโบกปูนปิดตายไปเรียบร้อยแล้ว โดยฐานด้านอื่นๆปูนแห้งสนิทแล้ว แต่ฐานตึกด้านฝั่งสยามสแควร์ รปภ.แจ้งว่าเพิ่งทราบว่ามีช่างมาโบกปูนวันนี้เอง และปูนก็ยังไม่ทันแห้งสนิท ภาพที่เห็นช่างเป็นภาพที่น่าเศร้าสลดใจ ...พวกเราได้ยินเสียงสุนัขน้อยใหญ่จำนวนมาก ส่งเสียงเห่าหอน เล็ดลอดพื้นดินออกมาจากใต้พื้นปูนที่กำลังจะแห้งสนิทนั้น ใครจะไปเชื่อ ...พวกเขาโบกปูนขังสุนัขเอาไว้ข้างในนั้น สำหรับคนรักสุนัข ถ้าได้เป็นเห็นสภาพนั้น คงยากที่จะกลั้นน้ำตา พวกเราเข้าไปเดินวนดูโดยรอบ เพื่อหาทางเปิดทางออกให้สุนัขจำนวนมากเหล่านั้นที่ติดอยู่ภายใน เดินไปทางด้านข้างสักเล็กน้อย พบว่ามี”ช่องทางออก”ซึ่งคาดว่ามี”คนใจดี”มาทุบโพรงนี้เอาไว้ให้เป็นทางออกของพวกมัน แต่ก็ยังมี”คนใจร้าย” เอาแผ่นเหล็กมาขนาดใหญ่มาปิดและเอาก้อนปูนขนาดใหญ่มาปิดทับอีก 3-4ก้อน เพื่อปิดช่องทางออกนี้ พวกเราไม่รอช้า ช่วยกันเอาก้อนปูนเหล่านั้นออก แล้วเปิดแผ่นเหล็กนั้นออก ทันทีที่เปิดเข้าไปเราพบสุนัขจำนวนมากที่อยู่ในอาการหวาดกลัว เห่าหอนอยู่ด้านในนั้น มีทั้งสุนัขใหญ่และลูกสุนัขที่ติดอยู่ภายในโพรงเป็นจำนวนมากจึงได้ถ่ายรูป ถ่ายคลิปสภาพภายในโพรงและสภาพด้านนอกแนวปูนที่ถูกโบกปิดเอาไว้รอบตึก เพื่อนำมาเผยแพร่ ตั้งคำถามกับสังคมว่า ณ ที่นี้ ถูกเรียกว่าแหล่งศึกษา”ปัญญาชน” ถูกคาดหวังในเรื่อง”คุณธรรม จริยธรรม” แต่สิ่งที่เห็นในวันนี้“คือการทารุณกรรมสัตว์อย่างไร้มนุษยธรรม”หรือไม่? จากการสอบถามบุคลากรของคณะ(ขอสงวนชื่อ)เขาเล่าให้พวกเราฟังว่า "หมามันมาอยู่เยอะ เวลาที่คนเอาอาหารมาให้ข้างใน มันก็กินกันสกปรก ขี้กันเลอะเทอะ ต้องคอยทำความสะอาดตลอด อาจารย์ในคณะเขาไม่ชอบ ก็เลยสั่งให้ปิดรั้ว ไม่ให้ป้าคนที่เขาคอยเอาอาหารมาให้เข้ามาในคณะ ปกติเขาจะเข้ามาให้ตอนดึกๆ ทีนี้พอปิดไม่ให้เข้า เขาก็เอาเป็นอาหารใส่ถุงโยนเข้ามาให้พวกมัน ก็ยิ่งสกปรกเลอะเทอะกันไปใหญ่ ผมน่ะไม่อะไรหรอก เข้าใจ แต่ว่าถ้าคณะดูสกปรกเลอะเทอะ มันก็ดูไม่ดี พวกผมก็โดนสั่งมาอีกที" "แล้วก็เคยมีกรณีที่หมาพวกนี้มันไปกัดเด็ก กัดคนที่สัญจรผ่านไปผ่านมาในคณะ พอเกิดเรื่องคณะเขาก็ต้องไปเสียค่ารักษา ค่าฉีดยา ค่าทำขวัญอะไรพวกนี้อีก มันก็เลยกลายเป็นปัญหาของทางคณะไป ในคณะเขาจัดพื้นที่จัดบรรยากาศไว้สวยๆ ถ้ามีหมามาเดินเพ่นพ่านแบบนี้มันก็ดูไม่สวยงามใช่มั๊ยล่ะ" ผมยอมรับว่าจากที่ฟังเหตุผลด้านนี้ “เรื่องสุนัขจรจัดในจุฬา” มันเป็นปัญหาจริง ที่เกิดขึ้นมานานแล้ว แต่ทว่า “เราไม่ยอมรับวิธีการกำจัดสุนัขจรจัดด้วยการฝังทั้งเป็น”ด้วยการโบกปูนปิดทับทางเข้าออกโพรงของพวกมัน ฝังพวกมันทั้งเป็นแบบนี้ ถึงจะเป็นสุนัขจรจัด แต่มันก็มีหนึ่งชีวิต เท่าๆกับเรา หากคุณเห็นว่าหนึ่งชีวิตที่น่าสงสารเหล่านั้นไม่มีคุณค่าพอจะได้มีชีวิตอยู่บนโลกนี้ คุณทำวิธีการอื่นกันไม่ได้หรือ จับส่งหน่วยงานรัฐไม่ได้หรือ..?? จับทำหมันไม่ได้หรือ? ส่งให้หน่วยงานเอกชนดูแลพวกมันไม่ได้หรือ? งบประมาณของคณะก็ไม่ใช่น้อย เจียดมาบ้างไม่ได้หรือ? เมื่อตอนเด็กๆผมอยู่ในจุฬาฯขนาดแค่เคยเห็นการวางยาเบื่อสุนัขเป็นสิบๆตัวหน้าโรงเรียนสาธิตฯก็เป็นเรื่องน่าอนาถใจต่อผู้ที่ได้พบเห็น เป็นที่สาปแช่งของชาวบ้านและบรรดาคนรักสุนัขแล้ว มาเจอการฝังทั้งเป็น นี่ยิ่งทรมานกว่าโดนยาเบื่อเสียอีก อีกประเด็นหนึ่งคือ เมื่อมีผู้มาร้องเรียนกับทางคณะแล้ว ทำไมจึงไม่หาทางชลอคำสั่งโบกปูนปิดฐานตึกนี้ ก่อนหน้านี้ผู้ที่แจ้งข่าวกับพวกเราก็บอกว่าเขาพยายามเปิดช่องให้สุนัขข้างในได้หายใจได้ ได้พอเข้าออกได้ ไว้แล้ว พอเราเข้ามาดูอีกที กลับมีคนเอาแผ่นเหล็กกับปูนก้อนใหญ่มาปิดทับไว้เหมือนเดิม และทีมงานเราเข้าไปดูไม่ต่ำกว่าสองครั้ง ก็ยังมีคนคอยมา”ปิดโพรง” อยู่เรื่อยไป เจตนาแบบนี้หมายความว่าอย่างไร? บุคลากรท่านนั้นยังเล่าให้เราฟังอีกว่า จริงๆพวกผมก็สงสารมันนะ ไม่มีใครอยากให้พวกมันตายหรือจะยอมให้มันต้องถูกฝังตายแบบนี้หรอก เขาก็แอบเอาอาหารมาให้พวกมัน แต่กล้องวงจรปิดเห็น อาจารย์ในคณะก็สั่งห้ามเด็ดขาด ปัญหามันเยอะพวกอาจารย์ผู้ใหญ่ในคณะเขาเลยไม่อยากให้มีหมาเยอะมั๊ง เลยห้ามให้อาหาร สั่งก่อปูนปิดฐานตึกทั้งหมด ไม่ให้มันเข้าไปออกลูกแพร่พันธุ์ในนั้น แต่รู้สึกว่าเขาจะทำตะแกรงให้มันออกอยู่นะ แบบที่ออกได้ แล้วกลับเข้าไปไม่ได้ จำนวนมันจะได้ลดลง (พวกเราได้แต่ตั้งคำถามในใจ วิธีอื่นมีเยอะแยะ ทำไมมักง่ายขนาดนี้ แล้วทำตะแหรงแบบออกได้ เข้าไม่ได้ นั่นแปลว่าหมาแม่ลูกอ่อนตัวนึง หากออกมากินอาหารจะกลับเข้าไปในโพรงไม่ได้ ก็จะต้องทิ้งลูกทั้งหมดให้ตายอยู่ในโพรงอย่างงั้นหรือ) เขาเล่าต่ออีกว่า เรื่องนึงที่สำคัญเลย หมาพวกนี้มันเยอะมาก เวลาเจ้าฟ้าหญิงฯท่านเสด็จแต่ละครั้ง หน่วยงานก็ต้องไปไล่วางยานอนหลับตามเส้นทางที่พระองค์เสด็จผ่าน แล้วท่านมาบ่อย เวลาขบวนมาหมามันจะได้ไม่ออกมาเดินเพ่นพ่านเกะกะให้ทัศนียภาพเสียไป หรือไปตัดหน้าขบวนรถได้ ตอนมีขบวนฯมา กับคนน่ะเราควบคุมได้ แต่กับหมามันมีเยอะมาก เราคุมมันไม่อยู่ ก่อนมีงานเสด็จแต่ละทีก็ต้องเอายานอนหลับไปวางพวกมัน ออกฤทธิ์ 3-4 ชั่วโมง เดี๋ยวมันก็ฟื้นนั่นแหล่ะ ...จากเรื่องนี้ ผมไม่กล้าตั้งคำถามใดๆต่อ...ในประเด็นจุฬาฯวางยานอนหลับสุนัขตอนเวลามีขบวนเสด็จ รู้แต่เพียงว่าหากสุนัขถูกวางยานอนหลับบ่อยๆเข้า ไม่นานก็คงป่วยตาย และรู้แต่เพียงว่าการกระทำของคณะเภสัชจุฬาฯ ในการ”ฝังทั้งเป็นสุนัขใต้ฐานตึก”สมควรถูกตั้งคำถามจากสังคมและเหล่าคนรักสัตว์ 7 ธันวาคม 2554 "พ่อหนูจี๊ด" 1.ช่องเปิดของโพรงใต้ถุนคณะเภสัชฯจุฬา ที่มีคนเอาอิฐมาถมปิดทางไว้เตรียมโบกปูนทับต่อ เพื่อกันไม่ให้สุนัขเข้าออก 2.เดินมาทางด้านข้างบริเวณคอมเพรสเซอร์แอร์ ซึ่งด้านล่างขอบโพรงตึกเพิ่งถูกโบกปูนเป็นแนวยาวขนานตัวตึก 3.ปูนเพิ่งถูกก่อแล้วฉาบทับเมื่อช่วงกลางวันก่อนที่ทีมงานจะไปถึง สังเกตสีปูนยังแห้งไม่สนิท 4.โพรงที่เป็นทางเข้าออกของสุนัขถูกเอาแผ่นเหล็กมาปิดแล้วเอาอิฐก้อนใหญ่หลายก้อนทับไว้ ไม่ให้สุนัขเข้าออกได้ เราจึงรื้อเปิดแผ่นเหล็กออก 5.สุนัขที่ติดค้างอยู่ข้างในโพรงไม่สามารถออกมาได้ 6.สภาพภายในโพรงลึกเข้าไปไกลสุดลูกหูลูกตา ยังคงมีแววตาสุนัขที่ติดอยู่ข้างในนั้น และอีกหลายชีวิตยังคงติดอยู่ในความมืด หลังจากโพรงทางออกทางเดียวที่เหลือถูกเอาแผ่นเหล็กมาปิดทับลง
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ผู้หนีภัยสู้รบพม่า-คะฉิ่น อพยพเข้ารัฐฉานนับร้อย Posted: 15 Dec 2011 09:21 AM PST ชาวคะฉิ่นและไทยใหญ่ในเมืองม่ แหล่งข่าวชาวเมืองน้ำคำ รัฐฉาน รายหนึ่งเปิดเผยว่า เมื่อช่วงเย็นวันที่ 12 ธ.ค. ที่ผ่านมา ผู้อพยพชาวคะฉิ่นและไทยใหญ่ หญิงผู้อพยพคนหนึ่งเปิดเผยว่า สาเหตุที่อพยพมาเนื่องจากไม่ ด้านผู้อพยพหญิงชราคนหนึ่งกล่ หลังเกิดการสู้รบระหว่ ทั้งนี้ เมื่อวันเสาร์ (10 ธันวาคม) ที่ผ่านมา นายเต็งเส่ง ประธานาธิบดีของพม่าได้เขี
ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
เกิดเหตุปะทะกันใกล้โครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย Posted: 15 Dec 2011 09:15 AM PST สถานการณ์พม่ารอบสัปดาห์ กองกำลังกะเหรี่ยงปะทะพม่าใกล้โครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย - รัฐบาลพลเรือนพม่าอ้างสั่งกองทัพยุติโจมตีรัฐคะฉิ่น - พม่าไฟเขียวให้เอ็นแอลดีจดทะเบี เกิดเหตุปะทะกันใกล้โครงการท่ เกิดเหตุปะทะกันระหว่างทหารพม่ ทั้งนี้ มีรายงานว่า ฝ่ายทหาร KNLA ได้ลอบวางระเบิดใกล้กับฐานทั อย่างไรก็ตาม โฆษกกองพลที่ 4 ของ KNLA เปิดเผยว่า ทางกองทัพพม่าได้บังคับให้ชาวบ้ “ในอดีต ในพื้นทีี่นี้มีกำลังทหารพม่ ทั้งนี้ เขตพื้นที่ควบคุมของกองพลที่ 4 ของ KNLA นั้นอยู่ใกล้กับเมืองทวาย ซึ่งเมืองทวายจะเป็นที่ตั้ ด้านบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) บริษัทไทยที่เข้าไปลงทุ ทั้งนี้ เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ทั้งฝ่ายรัฐบาลพม่าและฝ่าย KNU ได้พบปะกันเพื่อหาแนวทางแก้ ที่มา: แปลจาก DVB 14 ธันวาคม 54
รัฐบาลพลเรือนพม่าอ้างสั่งกองทั มีรายงานว่าเมื่อวันเสาร์(10 ธันวาคม) ที่ผ่านมา นายเต็งเส่ง ประธานาธิบดีของพม่าได้เขี ทั้งนี้ เมื่อวันจันทร์(12 ธันวาคม) ที่ผ่านมา ระหว่างแถลงข่าวเกี่ยวกับรั ในการแถลงข่่าวดังกล่าว มีรายงานว่า รัฐมนตรีพม่าได้ร่วมบริจาคเสื้ “ดูเหมือนพวกเขากำลั ขณะที่มีรายงานว่า เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา กองทัพพม่าได้เพิ่มกำลั “เมื่อหลายวันที่ผ่านมา ทหารพม่ากว่าร้อยคนเข้
พม่าไฟเขียวให้เอ็นแอลดีจดทะเบี สื่อพม่ารายงานว่า รัฐบาลพม่าอนุญาตให้พรรคเอ็นแอลดีสามารถจดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองถูกต้องตามกฎหมาย เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า รัฐบาลพม่าต้องการให้พรรคเอ็นแอลดีที่เคยชนะการเลือกตั้งถล่มทลายในอดีตกลับเข้ามามีส่วนร่วมในทางการเมืองอีกครั้ง ทั้งนี้ หนังสือพิมพ์เดอะนิวไลท์ออฟเมี ขณะที่เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ทางพรรคเอ็นแอลดีได้เปิดตั ขณะที่อีกด้านหนึ่ง นายทุระ ฉ่วยหม่าน โฆษกรัฐสภาล่างของพม่าเปิดเผยว่ ก่อนหน้านี้ รัฐบาลพม่าระบุว่า ไม่มีนักโทษทางการเมืองในพม่า มีแต่นักโทษที่ก่อคดีอาชญากรรม ด้านพรรคฝ่ายค้านกลับเปิดเเผยว่ ที่มา: แปลจาก DVB 13 ธันวาคม 54
แปลและเรียบเรียงโดย สาละวินโพสต์ "สื่อทางเลือกเพื่อแบ่งปั สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
เชียงใหม่ปล่อยโคม 112 ดวง เรียกร้องปล่อยอากง และเหยื่อ กม.หมิ่น Posted: 15 Dec 2011 07:18 AM PST 14 ธันวาคม 2554 เวลา 19.00 น. บริเวณอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ กลุ่มทนายความราษฎรประสงค์ กลุ่มญาติผู้ต้องขังคดีการเมืองจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่ม นปช.แดงเชียงใหม่ กลุ่มนักศึกษา และเครือข่าย ‘เราคืออากง’ ราว 100 คนได้ร่วมกันจัดกิจกรรม “ปล่อยโคม ปล่อยอากง” ทำการปล่อยโคม 112 ดวง เพื่อเรียกร้องให้มีการปล่อยตัว “อากง” และนักโทษในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ทั้งหมด บริเวณกิจกรรมมีการจัดวางบอร์ดนิทรรศการ 8 อัปลักษณะของกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ บอร์ดนิทรรศการเราคืออากง การแจกแผ่นพับให้ความรู้เรื่องมาตรา 112 แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม การเขียนฝ่ามืออากง และการขายที่ระลึกเพื่อช่วยเหลือกลุ่มญาติผู้ต้องขังในจังหวัดเชียงใหม่ กิจกรรมเริ่มต้นด้วยการอ่านบทกวีของเพ็ญ ภัคตะ และกิจกรรมเสวนาเกี่ยวกับ “กฎหมายหมิ่นฯ และนักโทษการเมือง” โดยมีอานนท์ นำภา ทนายความสำนักราษฎรประสงค์, มิตร ใจอินทร์ ศิลปินอิสระ, พิภพ อุดมอิทธิพงศ์ นักแปลอิสระ, ภัควดี ไม่มีนามสกุล นักเขียนอิสระ เป็นผู้ร่วมเสวนา และมีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ดำเนินรายการ
อานนท์ นำภา ได้เล่าถึงคดีจากมาตรา 112 ที่มีโอกาสได้เข้าไปเกี่ยวข้อง ทั้งคดีของอากง คดีหนุ่ม เรดนนท์ หรือคดีสุวิชา ท่าค้อ อานนท์เสนอว่า คดีหมิ่นฯตอนนี้มันมีลักษณะเหมือนคำสาป ไม่ใช่กฎหมายเพียงอย่างเดียว ต่อให้คุณจะพูดความจริงทั้งหมด แต่มันมีคนไปแจ้งความจับ ศาลก็อาจตัดสินว่าหมิ่นฯได้ หรือคดีทางสัญลักษณ์ บุคลาธิษฐาน อุปมาอุปมัย อย่างการไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญฯ ก็ยังโดนว่าหมิ่นฯ มันเหมือนกลายเป็นคำสาปอย่างหนึ่ง ต่อให้พิสูจน์ได้ว่าเป็นเรื่องจริง ก็ถูกทำให้พูดไม่ได้ ศาลฏีกาวินิจฉัยเลย ต่อให้เป็นเรื่องจริงก็พูดไม่ได้ มันกลายเป็นคำสาปไป อานนท์กล่าวต่อว่าประเทศเราควรจะเลิกตอแหลกัน อะไรที่สมควรอยู่ก็อยู่ต่อไป แต่อะไรที่ไม่สมควรดำรงอยู่ มันก็ควรจะยกเลิกเพิกถอน ความตอแหลนี้ไม่ได้มีเฉพาะตัวสังคมโดยรวม แม้แต่บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมก็มีความตอแหล อย่างอัยการ ในคำบรรยายฟ้องคดีหนึ่งที่ตนทำคดี อัยการก็ยังแถและตอแหล เพื่อที่จะบิดเบือนข้อเท็จจริงในเนื้อหา เช่น บรรยายว่า บุคคลที่หน้าเหมือนกับพระบรมวงศานุวงศ์ คือจริงไม่จริงไม่รู้ แต่พอบอกว่าหน้าเหมือนนี่จะพิสูจน์ได้อย่างไร หรือในบางคดีก็ยังบรรยายว่าคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นคดีที่ร้ายแรง จำเลยไม่สมควรที่จะได้รับโทษสถานเบา ต้องได้รับโทษสถานหนัก คือเราควรจะเลิกตอแหลกับเรื่องพวกนี้ แล้วลองมองในความเป็นจริงของมัน ยกขึ้นมาพูดในสิ่งที่เป็นจริง แล้วคุณไม่สามารถมาหยุดคนที่เป็นเสรีชนได้ด้วยกฎหมายตัวนี้ พิภพ อุดมอิทธิพงศ์ กล่าวว่าในแง่ของต่างประเทศ กฎหมายหมิ่นฯ เป็นข้อกังวลมาก หลังจากที่มีการตัดสินจำคุก 2 ปีครึ่งในคดีของโจ กอร์ดอน ในข้อหามีการแปลและเผยแพร่หนังสือ ทั้งที่ในคำตัดสินของศาลเท่าที่ตนเข้าใจ ไม่มีการพิสูจน์ว่าข้อความไหน ตรงส่วนไหนของหนังสือเล่มนี้เข้าข่ายการหมิ่นฯ สิ่งที่ต่างชาติกังวลคือ เสรีภาพในการแสดงออก (freedom of expression) ที่เป็นสิทธิพื้นฐานอย่างหนึ่งตามกฎบัตรระหว่างประเทศ อย่างใน ICCPR (ภาคีพิธีสารเลือกรับ) กำหนดไว้ชัดเจนว่า ถึงแม้แต่ในสภาพที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ก็ไม่สามารถยกเว้นเสรีภาพในการแสดงออกได้ ทั้งที่เขาไม่ได้พูดสิ่งที่ผิดกฎหมาย ทำไม่ได้ ทางสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติก็มีการแถลงข่าวระบุว่า ไทยควรมีการแก้ไขกฎหมายหมิ่นฯ คือเขากังวลว่าการใช้กฎหมายแบบนี้ มันไปกระทบกับเสรีภาพในการแสดงออก พิภพยังได้เล่าถึงกฎหมายคุ้มครองการหมิ่นพระมหากษัตริย์ในต่างประเทศ ที่บางประเทศในยุโรปแม้จะมีอยู่ แต่ก็แทบจะไม่มีการใช้กันแล้ว หรืออย่างมากก็ถูกปรับเงินจากการกระทำผิด ขณะเดียวกันในระดับโลกก็มีแนวโน้มที่สถาบันกษัตริย์จะถอยออกจากการเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ การที่ประเทศเรายังคงมาตรา 112 ในข้อหาความมั่นคงของรัฐ ใกล้กับมาตรา 116 ที่เป็นข้อหากบฏ ก็สร้างปัญหาการตีความว่าอันไหนผิดหรือไม่ผิด อันไหนจะดำเนินคดีได้หรือไม่ รวมทั้งอัตราโทษก็สูงมาก การฆ่าคนตายโดยไม่เจตนามีโทษ 3-15 ปี คดีหมิ่นก็ 3-15 ปีเหมือนกัน แต่จะถูกคูณจากหลายกรรม เข้าไปอีกเยอะ ภัควดี ไม่มีนามสกุล กล่าวว่าเรามักบอกว่าสังคมไทยรักกัน สามัคคีกันมาตลอด ซึ่งมันไม่จริง ถ้ามองย้อนกลับไป เพียงแค่มองย้อนกลับไป อย่างในสมัยรัชกาลที่ 5 ก็จะมีคนที่คิดไม่เหมือนคนอื่น คนอย่างนายนรินทร์ ภาษิต, กศร.กุหลาบ ก็วิจารณ์สถาบันกษัตริย์เยอะ วิจารณ์ราชการ เขาก็มีติดคุก ถูกจับ คือสมัยก่อน ถ้าไปทำผิดโดยการหมิ่นต่อสถาบันฯ มันจะมีโทษปรับอยู่ แปลว่าความผิดนี้ในสมัยนั้น แม้แต่สถาบันกษัตริย์เอง ก็ไม่ได้คิดว่าเป็นความผิดอะไรมาก อาจจะแค่ปากเสีย ก็ปรับหรือเอาเข้าคุกก็ไม่กี่เดือน คือถ้าเกิดในสมัยสมบูรณญาสิทธิราชย์ โทษนี้มันยังไม่ได้หนักขนาดนี้ แล้วสมัยนี้ ระบอบนี้ที่เราอยู่จะให้เรียกว่าระบอบอะไร ต้องคิดชื่อขึ้นมาใหม่หรือเปล่า เพราะไม่มีในประเทศไหน กฎหมายหมิ่นฯ แม้จะมีมาแต่ไหนแต่ไร แต่มันมาถูกแก้ทำให้หนักขึ้นหลังจากเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 คือมันมีความสัมพันธ์กันมากกับสงครามเย็นในช่วงนั้น คือใช้กำจัดกวาดล้างคอมมิวนิสต์ หรือคนที่คิดเห็นตรงกันข้าม ผ่านมา 35 ปี โลกไปถึงไหนต่อไหน แต่ชนชั้นนำในไทยก็ยังฝังหัวอยู่กับสงครามเย็น คือประเทศคอมมิวนิสต์สมัยนี้มันแทบนับมือได้ ถ้าจะกลัวคอมมิวนิสต์ก็ไม่มีแล้ว ไม่ทราบว่ายังกลัวอะไร วิธีคิดคือยังติดอยู่ในสงครามเย็น มองประชาชนเป็นศัตรู คนที่มีบทบาทในช่วงสงครามเย็น ก็ยังมีบทบาท มีอำนาจอยู่ แต่แทนที่จะเข้าใจโลก ปรับตัวกับโลกเลย แล้วพูดว่าเราไม่เหมือนใครในโลก เป็นแบบไทยๆ จะเป็น Ulta-royalist ราชานิยมยิ่งกว่าราชา ยิ่งกว่าสมัยสมบูรณญาสิทธิราชย์หรือเปล่า คือถ้าเราจะดำเนินตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เราก็ควรจะรักให้พอเพียง รักอย่างมีสติ และรักอย่างไม่ล้นเกินด้วย มิตร ใจอินทร์ กล่าวว่า ตนเห็นว่าคดีอากง ตัดสินนามธรรมมาก จากเจตนาภายใน โดยไม่มองรูปการภายนอก หรือว่าวัตถุพยานภายนอก เขาวัดจากสำนึกด้วย อากงถูกตัดสินว่าไม่มีสำนึกจงรักภักดี ความรู้สึกหรือสำนึกต่างๆ นี้เป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ ซึ่งวินิจฉัยหรือตัดสินคุณค่ากันไม่ได้ กลายเป็นว่าตั้งแต่ศาล องค์กรต่างๆ และกลไกของอำนาจใช้ฐานความรู้สึกล้วนๆ ในการพิจารณาและลงโทษคน จากนั้นเวลาประมาณ 21.00 น. ได้มีการเรียงโคมลอยเป็นข้อความคำว่า “อากง 112” และการเขียนข้อความเรียกร้องให้ปล่อยอากงและให้มีการแก้ไขปัญหาจากมาตรา 112 บนโคมลอยที่จะปล่อย ก่อนที่ผู้ร่วมกิจกรรมจะทำการปล่อยโคมจำนวน 112 ดวงขึ้นสู่ท้องฟ้า พร้อมมีการเปล่งเสียงตะโกน “ปล่อยอากง” เป็นระยะๆ ระหว่างกิจกรรมการปล่อยโคมลอย ขอบคุณภาพถ่ายจาก แม่อุ๊ ดีดี และ Pipob Udomittipong สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
บล็อกเกอร์ชาวอียิปต์ถูกสั่งจำคุก 2 ปีข้อหาหมิ่นกองทัพ Posted: 15 Dec 2011 06:46 AM PST ไมเคล นาบิล ผู้ที่ถูกรัฐบาลทหารรักษาการกล่าวหาว่าหมิ่นกองทัพถูกลดโทษจากจำคุก 3 ปี เหลือ 2 ปี หลังจากที่เขาอดอาหารประท้วง ซึ่งก่อนหน้านี้นาบิลเคยเขียนในบล็อกของเขากล่าวหาว่าทหารใช้ความรุนแรงกับผุ้ชุมนุม 14 ธ.ค. 2011 - สำนักข่าวอัลจาซีร่ารายงานว่า ศาลทหารของอียิปต์ได้สั่งลงโทษบล็อกเกอร์ผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์กองทัพโดยการจำคุก 2 ปี หลังจากที่เขาอดอาหารประท้วงคำสั่งลงโทษ 3 ปี ก่อนหน้านี้ ศาลทหารอียิปต์กล่าวหลังจากการพิจารณาคดีอีกครั้งในวันพุธ (14) ว่า "ในนามของประชาชน ไมเคล นาบิล ได้ถูกพิพากษาและลงโทษจำคุก 2 ปี และถูกปรับเป็นเงิน 200 ปอนด์อียิปต์ (ราว 1,000 บาท)" นาบิล เป็นชายอายุ 26 ปี ผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลทหารผ่านบล็อกและรณรงค์ต่อต้านการเกณฑ์ทหาร เขาถูกตัดสินจำคุก 3 ปี มาตั้งแต่เดือน เม.ย. ซึ่งคดีนี้เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางมาก คดีนี้เกิดขึ้นหลังจากที่เขาตีพิมพ์บทความที่มีชื่อว่า "ประชาชนและทหารไม่เคยจับมือไปด้วยกัน" (The people and the army were never hand in hand) ลงในบล็อก ในบล็อกของเขา นาบิลบอกว่ากองทัพใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุม เขาอ้างด้วยว่ามีการใช้พิพิธภัณฑ์อียิปต์ในกรุงไคโรเป็นสถานที่ทรมานประชาชน และทางทหารยังได้จับตัวผู้ประท้วงที่เป็นสตรีไปตรวจสอบพรหมจรรย์ เขาถูกตั้งข้อหาว่ามีความผิดฐาน "ดูหมิ่นกองทัพ" และเผยแพร่ข้อความเท็จ นาบิล เป็นรายแรกที่ถูกศาลทหารดำเนินคดีตั้งแต่สภาทหารสูงสุดของอียิปต์ (SCAF) ขึ้นมามีอำนาจควบคุมหลังจากที่ประธานาธิบดี ฮอสนี มูบารัค ลงจากตำแหน่งไปในวันที่ 11 ก.พ. จากการที่ถูกประชาชนชุมนุมประท้วงเป็นเวลา 18 วัน นาบิล ได้อดอาหารประท้วงมาตั้งแต่เดือน ส.ค. แล้ว พี่ชายของเขา มาร์ค บอกกับผู้สื่อข่าวว่า "นาบิลจะยกระดับการประท้วงอดอาหาร จากที่เขายังคงดื่มนมและน้ำผลไม้ แต่คราวนี้เขาจะดื่มแต่น้ำ" เสียงวิพากษ์วิจารณ์ กลุ่มสิทธิมนุษยชนกลายกลุ่มได้วิจารณ์คำตัดสินนาบิลในครั้งนี้ โดยบอกว่าการกระทำเช่นนี้เป็นความล้าหลัง ในเวลาที่อียิปต์กำลังพยายามเปลี่ยนผ่านจากช่วงสมัยของมูบารัคที่มีการใช้อำนาจผิดๆ เมื่อเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา ทางการทหารก็กล่าวปฏิเสธว่า นาบิลไม่ได้เป็น "นักโทษทางความคิด" "สิ่งที่นาบิลเขียนไว้ในบล็อกของเขาไม่ได้มีอะไรที่เป็นความคิดเห็น เห็นชัดว่ามันเป็นการล่วงล้ำอาณาเขตของการดูหมิ่นปรามาส และสร้างความเท็จเพื่อต่อต้านกองทัพ" สำนักข่าว MENA ของรัฐบาลอียิปต์กล่าวโดยอ้างคำพูดของเจ้าหน้าที่ทหาร ฝ่ายทหารผู้ฟ้องร้องยังได้สั่งกุมขัง อะลา อับดฺ เอล ฟัตตาห์ นักกิจกรรมและบล็อกเกอร์ผู้มีชื่อเสียงในข้อกล่าวหาว่าเขายุยงให้เกิดการปะทะกันอย่างรุนแรงระหว่างทหารและผู้ประท้วงชาวคริสต์ในเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา เอล ฟัตตาห์ ได้เขียนในบล็อกของตนว่า ผู้นำทหารของอียิปต์เป็นผู้มีส่วนรับผิดชอบต่อการสังหารในครั้งนั้น "แทนที่จะมีการไต่สวนอย่างเป็นไปตามขั้นตอน พวกเขากลับดำเนินคดีกับนักกิจกรรมที่เพียงแค่พูดความจริง บอกว่าทหารได้ก่ออาชญากรรมอย่างเลือดเย็น" เอล ฟัตตาร์ กล่าวเมื่อเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา โมนา ซีฟ พี่สาวของ เอล ฟัตตาร์ ก็ได้เคยให้สัมภาษณ์เมื่อเดือน ต.ค. ที่ผ่านมาโดยกล่าวว่าเขาถูกกองทัพใช้เป็นแพะ "เขาถูกจับเพราะว่ากองทัพต้องการหาตัวใครสักคนมาป้ายความผิดในเหตุสังหารหมู่ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 9 ต.ค." โมนากล่าว
ที่มา
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นใช้ลิงช่วยวัดค่ากัมมันตรังสีจากโรงงานฟูกุชิมะ Posted: 15 Dec 2011 06:39 AM PST นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นหัวใส ใช้เครื่องมือวัดระดับกัมมันตภาพรังสีติดตัวลิงในป่า เพื่อประเมินว่ากัมมันตภาพรังสีที่รั่วไหลออกมาจากเหตุภัยพิบัติโรงไฟฟ้าฟูกุชิมะ จะมีผลต่อมนุษย์ สัตว์ และสภาพแวดล้อมในป่าแถบนั้นมากน้อยเพียงใด 14 ธ.ค. 2011 - สำนักข่าว CNN รายงานว่านักวิทยาศาสตร์ในญี่ปุ่นได้ใช้วิธีการใหม่ล่าสุดในการวัดระดับกัมมันตภาพรังสีที่รั่วไหลออกมาจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะ โดยการใช้ลิงในป่าแถบนั้นเป็นผู้ช่วย ทาคายูกิ ทาคาฮาชิ ศาสตราจารย์ด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์จากมหาวิทยาลัยฟูกุชิมะกล่าวว่า ทีมของเขาได้ใช้ปลอกคอที่มีเครื่องโดซิมิเตอร์หรือเครื่องวัดปริมาณกับมันตรังสีติดกับพวกลิงก่อนที่จะปล่อยตัวพวกมันกลับเข้าไปในป่า เครื่องมือทดลองของพวกเขายังได้ติดระบบ GPS ในการติดตามตัวลิงและเครื่องมือวัดระดับความสูง ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จะนำไปติดกับลิงสามตัวในป่าของเมืองมินามิโซมะ ภายในเดือน ก.พ. และหลังจากที่ลิงติดอุปกรณ์พวกนี้เป็นเวลา 1 เดือน ทางนักวิจัยจะใช้รีโมทคอนโทรลสั่งถอดปลอกคอออกและเก็บข้อมูลที่ได้จากเครื่องมือวัดดังกล่าว ทาคาฮาชิ บอกว่า การทดลองนี้จะช่วยให้นักวิจัยทราบว่า ปริมาณกัมมันตภาพรังสีในป่าแถบนั้นมีจำนวนมากพอจะส่งผลกระทบต่อมนุษย์รวมถึงสัตว์ป่าแถบนั้นหรือไม่ "พวกเราต้องการทราบว่า ระดับกัมมันตภาพรังสีจะส่งผลต่อสภาพธรรมชาติเช่น ป่า แม่น้ำ น้ำบาดาล และ มหาสมุทร อย่างไรบ้าง" ทาคาฮาชิกล่าว "พวกเราจะวาดแผนที่เพื่อแสดงการเคลื่อนตัวของกัมมันตภาพรังสี" ทาคาฮาชิ กล่าวอีกว่า มีคนให้ความสนใจสัตว์ป่าน้อยมาก โดยที่พวกมันก็ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เป็นผลมาจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวร้ายแรงและสึนามิที่เกิดขึ้นเมื่อ 11 มี.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งทำให้เตาแยกปฎิกรณ์ปรมาณูของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะ ไดอิจิ ได้รับความเสียหาย ขณะที่มีนักวิทยาศาสตร์ส่วนหนึ่งคอยวัดระดับกัมมันตภาพรังสีจากในอากาศ การใช้ลิงเป็น "ผู้ช่วย" จะทำให้ได้ทราบข้อมูลสภาพกัมมันตภาพรังสีบนพื้นดินได้ การทดลองในครั้งนี้มีการปรับปรุงปลอกคอที่ใช้สวมใส่ลิงหลังจากที่ความพยายามในการทดลองเมื่อเดือน ต.ค. ที่ผ่านมาล้มเหลว เนื่องจากโดซิมิเตอร์ทำงานผิดพลาด ทำให้ได้รับข้อมูลคลาดเคลื่อน ไอเดียนี้มาจากสัตวแพทย์ โทชิโอะ มิโซกูชิ จากศูนย์ฟื้นฟูสัตว์ป่าในฟูกุชิมะ ผู้ต้องการหาวิธีวัดผลกระทบจากกัมมันตภาพรังสีในเขตฟูกุชิมะ
ที่มา สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
นิตยสาร ‘ไทม์’ ยก “ผู้ประท้วง” เป็นบุคคลแห่งปี 2011 Posted: 15 Dec 2011 03:52 AM PST นิตยสาร ‘ไทม์’ ของสหรัฐยก “ผู้ประท้วง” ในการลุกฮือในหลายทวีปเป็นบุคคลแห่งปี 2011 ตั้งแต่ตูนีเซีย เสปน สหรัฐ จนถึงรัสเซีย พวกเขาต่างเป็น “คนสำคัญ” ของการขับเคลื่อนประวัติศาสตร์อย่างแท้จริง
เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. ที่ผ่านมา นิตยสารระดับโลก ‘ไทม์’ เปิดเผยการจัดลำดับบุคคลสำคัญแห่งปี 2011 โดยยกให้ “ผู้ประท้วง” (The Protester) ทั่วโลกอยู่ในอันดับหนึ่ง โดย ‘ไทม์’ ให้เหตุผลว่าปีนี้การลุกฮือของประชาชนกลับมาสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลกได้อีกครั้ง โดยเฉพาะในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ หลังจากที่การประท้วงทั่วโลกเงียบหายไปช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เคิร์ท แอนเดอร์สัน ผู้เขียนบทความขบวนการประท้วงทั่วโลกของปี 2011 ใน ’ไทม์’ ชี้ว่า ขบวนการประท้วงที่เกิดเป็นลูกโซ่ในหลายทวีป เริ่มต้นจากการชุมนุมในตูนีเซียที่มีโมฮัมเหม็ด บูอาซีซีที่จุดไฟเผาตัวเองเพื่อประท้วงเผด็จการเบน อาลีในช่วงปลายปีที่แล้ว หลังจากนั้นมาการชุมนุมของประชาชนก็ได้ลามไปยังที่อื่นๆ ในโลกอย่างรวดเร็ว ทั้งในอียิปต์ ซีเรีย ลิเบีย ไปจนถึงกรีซ เสปน อังกฤษ สหรัฐ ‘ไทม์’ ชี้ว่าการประท้วงในปี 2011 มีความคล้ายคลึงกับการประท้วงปี 1989 ซึ่งเป็นปีแห่งการล่มสลายของโซเวียตและสงครามเย็น แต่ต่างตรงที่มีความเป็นสากลและเป็นประชาธิปไตยมากกว่า และคล้ายปี 1968 ซึ่งเป็นปีที่มีการต่อต้านสงครามเวียดนามและเป็นยุคสมัยของ “ฮิปปี้” หากต่างกันที่ผู้ประท้วงมิได้จำกัดขบวนการอยู่เพียงการประชันทางวัฒนธรมเท่านั้น หากแต่ส่งพลังและสามารถโค่นล้มระบอบ ซึ่งสามารถเปลี่ยนทางเดินของประวัติศาสตร์ได้ การลุกฮือในทศวรรษนี้ ยังคล้ายคลึงกับปี 1848 ซึ่งเป็นปีแห่งการปฏิวัติในยุโรป เมื่อฝรั่งเศสได้เปลี่ยนจากระบอบกษัตริย์เป็นสาธารณรัฐ ได้ส่งคลื่อนการปฏิวัติไปยังมิวนิค เบอร์ลิน เวียนนา มิลาน และหัวเมืองอื่นๆ ในยุโรปได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น โทรเลข รถไฟ แท่นพิมพ์ เช่นเดียวกับขบวนการยึดครองวอลล์สตรีทที่เริ่มต้นในสวนสาธารณะซุคคอตติในกรุงนิวยอร์กก่อนจะขยายไปยังเมืองและประเทศอื่นๆ ‘ไทม์’ ได้ยกให้เทคโนโลยีการสื่อสารและโลกภิวัฒน์ เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันขบวนการเคลื่อนไหวของประชาชน โดยชี้ว่าก่อนหน้านี้ การคุมอำนาจทางการเมืองตกอยู่ในผู้มีอำนาจไม่กี่กลุ่มเท่านั้น แต่โลกาภิวัฒน์และเทคโนโลยี ได้ช่วยให้ความคิดด้านประชาธิปไตยกระจายออกไปอย่างรวดเร็ว และทำให้การระดมในหมู่ประชาชนเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น ‘ไทม์’ ยังระบุถึงการประท้วงที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ในรัสเซีย ซึ่งเป็นการประท้วงที่ใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่การล่มสลายของโซเวียตว่า เป็นอีกปรากฎการณ์หนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าคนรุ่นหนุ่มสาวและประชาชนยังคงต้องการเรียกร้องเสรีภาพและประชาธิปไตยที่ยังขาดหายไป ไม่ต่างจากที่อื่นๆ ในโลก ทั้งนี้ ในวันที่ 10 ธันวาคมที่ผ่านมา มีรายงานว่าประชาชนหลายหมื่นคนได้ออกมาประท้วงตามท้องถนนในหลายหัวเมืองเพื่อต่อต้านนายกรัฐมนตรีวลาดิเมียร์ ปูติน อดีตประธานาธิบดี และผลการเลือกตั้งที่ไม่โปร่งใส ผู้ที่ติดอันดับบุคคลสำคัญแห่งปี 2011 รองลงมา รวมถึง อ้าย เหว่ยเหว่ย ศิลปินจีนที่ต่อสู้เรื่องสิทธิเสรีภาพ และเคท มิดเดิลตัน เจ้าหญิงแห่งเวลส์ ทั้งนี้ ‘ไทม์’ ได้ยกให้ มาร์ก ซัคเกอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊กเป็นบุคคลแห่งปี 2010, เบน เบอร์นานเก้ นักเศรษฐศาสตร์ชาวสหรัฐในปี 2009 และบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเป็นบุคคลแห่งปี 2008 สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
เปิดตัวหนังสือ ก้าวข้ามความกลัว” (Thailand’s Fearlessness: Free Akong) Posted: 15 Dec 2011 03:11 AM PST นักวิชาการ นักกิจกรรมทางสังคม และประชาชนทั่วไปร่วมกันเปิดตัวหนังสือ “ก้าวข้ามความกลัว” (Thailand’s Fearlessness: Free Akong) และนิทรรศการภาพถ่าย ณ ลานปรีดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
15 ธ.ค. 54 - เวลา 17:30 น. นักวิชาการ นักกิจกรรมทางสังคม และประชาชนทั่วไปร่วมกันเปิดตัวหนังสือ “ก้าวข้ามความกลัว” (Thailand’s Fearlessness: Free Akong) และนิทรรศการภาพถ่าย ณ ลานปรีดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักวิชาการประจำสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มโครงการรณรงค์ทางเฟซบุ๊ก Thailand’s Fearlessness: Free Akong กล่าวถึงที่มาของการจัดพิมพ์หนังสือและการจัดนิทรรศการดังกล่าวว่า การณรงค์นี้ได้รับแรงบันดาลใจจากโครงการ "ความไม่กลัว" ของพม่า ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากนางอองซาน ซูจี เพื่อสนับสนุนความกล้าหาญให้แก่นักโทษทางการเมืองจำนวนมากในพม่า นี่เป็นการรณรงค์อย่างสงบสันติ เราต้องการส่งสาร โดยการเขียนชื่อ "อากง" บนฝ่ามือ เพื่อสนับสนุนและรณรงค์เพื่ออิสรภาพของเขา ปวินได้เริ่มการรณรงค์ Thailand’s Fearlessness: Free Akong ผ่านเฟซบุ๊กของตัวเขาเองในวันที่ 30 พ.ย. ที่ผ่านมา โดยเชิญชวนผู้ที่เห็นปัญหาของมาตรา 112 ร่วมรณรงค์โดยการ ขอให้เขียนชื่ออากงบนฝ่ามือ และถ่ายรูปเต็มตัวให้เห็นหน้า เพื่อเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนายอำพล (ขอสงวนนามสกุล) หรือที่รู้จักกันในชื่อ "อากง" ซึ่งถูกตัดสินจำคุก 20 ปี เมื่อเดือน พฤศจิกายนที่ผ่านมา เนื่องจากถูกกล่าวหาว่า ส่งเอสเอ็มเอส 4 ข้อความ ซึ่งมีเนื้อหาหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี ไปยังโทรศัพท์มือถือของเลขาฯ ส่วนตัวของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ ในขณะนั้น “เรามาจนถึงปลายทางแล้วเมื่อพูดถึงความยุติธรรมในประเทศไทย กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อทำลายฝั่งตรงข้ามมากขึ้น น่าเศร้าที่ตุลาการไม่อยู่ข้างประชาชน แคมเปญนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากโครงการ "ความไม่กลัว" ของพม่า ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากนางอองซาน ซูจี เพื่อสนับสนุนความกล้าหาญให้แก่นักโทษทางการเมืองจำนวนมากในพม่า นี่เป็นการรณรงค์อย่างสงบสันติ เราต้องการส่งสาร โดยการเขียนชื่อ "อากง" บนฝ่ามือ เพื่อสนับสนุนและรณรงค์เพื่ออิสรภาพของเขา” จากนั้น เมื่อมีผู้สนใจร่วมรณรงค์มากขึ้น จึงเป็นที่มาของแนวคิดการจัดพิมพ์หนังสือและจัดนิทรรศการดังกล่าว โดยมีผู้ร่วมรณรงค์จนถึงปัจจุบันกว่าพันคน นอกเหนือจากการเปิดตัวหนังสือ “ก้าวข้ามความกลัว” (Thailand’s Fearlessness: Free Akong) และนิทรรศการภาพถ่าย แล้ว ยังมีการเสวนาว่าด้วยการก้าวข้ามความกลัว โดยมี สาวตรี สุขศรี กลุ่มนิติราษฎร์, วรพจน์ พันธุ์พงศ์ นักเขียนอิสระและวันรัก สุวรรณวัฒนา อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมสนทนา พร้อมทั้งฉายวีดีทัศน์ “อภยยาตรา” รวมไปถึงการร้องเพลง “แดนตาราง” นิธินันธ์ ยอแสงรัตน์ บรรเลงไวโอลีนโดย ฌส นิยมทรัพย์ หนังสือ "ก้าวข้ามความกลัว" (Thailand’s Fearlessness: Free Akong) นั้น เป็นหนังสือที่รวบรวมภาพของผู้เข้าร่วมกิจกรรม Thailand’s Fearlessness: Free Akong ในระหว่างวันที่ 30 พ.ย.- 5 ธ.ค. ที่ผ่านมา จำนวนเกือบ 500 ภาพ และมีเนื้อหาเกี่ยวกับปัญหาการใช้ การตีความ และตัวบทกฎหมาบของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เขียนโดย ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ และเดวิว สเตรคฟัสส และคำนิยมโดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ธงชัย วินิจจะกูล หนังสือ "ก้าวข้ามความกลัว" (Thailand’s Fearlessness: Free Akong) จำพิมพ์จำนวน 1,500 เล่ม จำหน่วยในราคาเล่มละ 112 บาท โดยรายได้จากการจำหน่วยหนังสือเล่มนี้ รายได้จากการขายหนังสือทั้งหมด (หลังหักค่าจัดพิมพ์) มอบให้ครอบครัว “อากง” หนังสือ “ก้าวข้ามความกลัว” โดยปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ คำนิยมโดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ธงชัย วินิจจะกูล, David Streckfuss ราคาเล่มละ 112 บาท สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
เผยผลวิจัยตลาดแรงงานปี 54 คนมองหางาน "ไอที บัญชี และการตลาด" มากที่สุด Posted: 15 Dec 2011 12:26 AM PST งานวิจัยของ บ.อเด็คโก้ เผยตลาดงานยังโตต่อเนื่องปี 54-55 ปี 54 คนมองหางาน "ไอที บัญชี และการตลาด" มากที่สุด ส่วนแนวโน้มตลาดแรงงานปี 55 คนมองหางานออกแบบตกแต่ง งานขาย งานบุคคล งานบัญชี ธุรการ ลูกค้าสัมพันธ์ กลุ่มสายอาชีพเทคนิคและสายงานโรงงาน 15 ธ.ค. 54 – ที่ห้องประชุม ชั้น 5 จามจุรีเรซิเดนซ์ กรุงเทพฯ มีการจัดงานเปิดตัว “คู่มือฐานเงินเดือน (Adecco Salary Guide) ประจำปี 2555” และ ผลวิจัย “บริษัทในฝันของคนทำงาน” และ “ลักษณะคนทำงานที่องค์กรต้องการ” โดยกลุ่มบริษัทอเด็คโก้ประเทศไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคลแบบครบวงจร ข้อมูลสรุปสถานการณ์ตลาดแรงงานประจำปี 2554 พบว่าตลาดแรงงานโตขึ้นอย่างน้อย 20% โดยตลาดแรงงานมีความต้องการคนทำงานเพิ่มมากขึ้นเกือบทุกสายอาชีพ และคาดว่าตลาดยังคงมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องในปีหน้า สายงานขาย วิศวกร ไอที ยังครองแชมป์หาคนมากที่สุดในตลาดแรงงาน ส่วนตำแหน่งรองมาจะอยู่ในกลุ่มสายงานบัญชี การเงิน บุคคล และการตลาด ส่วนกลุ่มธุรกิจที่มองหาคนมากที่สุด คือ กลุ่ม Trading กลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มงานบริการ และกลุ่มพลังงาน ฯลฯ ส่วนตำแหน่งที่คนทำงานมองหามากที่สุด คือ ไอที บัญชี และการตลาด ซึ่งในปี 2554ที่ผ่านมามีผู้สมัครงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเกือบทุกสายอาชีพ ยกเว้นบางสายอาชีพที่มีคนหางานลดลง ได้แก่ งานธุรการ บุคคล การเงิน การตลาด การขาย และโลจิสติกส์ อาจเห็นได้ว่าตำแหน่งการตลาดเป็นตำแหน่งที่คนทำงานมองหามากที่สุด แต่ยังมีจำนวนลดลงจากปีที่ผ่านมา อาจเนื่องจากเพราะเป็นตำแหน่งงานยอดนิยมที่คนทำงานมองหา ทำให้เกิดการแข่งขันสูง เป็นผลให้จำนวนผู้สมัครงานลดลง แนวโน้มความต้องการของตลาดแรงงานในปี 2555 คาดว่ายังคงมีอัตราการความต้องการสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในบางสายอาชีพยังคงมองหาผู้สมัครมาเติมเต็มตำแหน่งงานว่างในตลาดอยู่ เช่น งานออกแบบตกแต่ง งานขาย งานบุคคล งานบัญชี ธุรการ ลูกค้าสัมพันธ์ รวมถึงงานในกลุ่มสายอาชีพเทคนิคและสายงานโรงงานด้วย ธิดารัตน์ กาญจนวัฒน์ ผู้จัดการประจำประเทศ กลุ่มบริษัทอเด็คโก้ประเทศไทย กล่าวว่า จากภาพตลาดแรงงานโดยรวมเห็นได้ว่าในปีนี้และปีหน้า คาดว่าตลาดแรงงานจะยังคงมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ด้วยบริษัทอเด็คโก้เป็นตัวกลางระหว่างคนทำงาน และบริษัทผู้จ้างงาน จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของคนทั้งสองกลุ่ม จึงได้จัดทำการสำรวจตลาดในหัวข้อ “บริษัทในฝันของคนทำงาน” และ “ลักษณะคนทำงานที่องค์กรต้องการ” เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจถึงลักษณะและพื้นฐานเบื้องต้นที่แต่ละฝ่ายต้องการ ซึ่งจากงานวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อคนทำงาน คือ ชื่อเสียงขององค์กร ลักษณะงานน่าสนใจ และมีบรรยากาศในการทำงานที่ดี โดยมีความต้องการด้านผลตอบแทนเพิ่มขึ้นหากต้องการเปลี่ยนงานที่ 20% และจะทำงานอยู่กับบริษัทหนึ่งเป็นเวลาเฉลี่ย 3- 5 ปี ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อองค์กรในการรับคนเข้าทำงาน คือ ความรู้/ ความสามารถ ลักษณะของงาน และการสร้างบรรยากาศในการทำงาน โดยมีค่าตอบแทนเฉลี่ยที่สามารถให้เพิ่มขึ้นได้จากงานเดิมคือ 5-10% และคาดว่าพนักงานจะทำงานอยู่กับองค์กรเป็นเวลาเฉลี่ยอย่างน้อย 3 ปี (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากงานวิจัยฉบับเต็ม) พร้อมกันนี้ อเด็คโก้ยังได้เปิดตัว “คู่มือฐานเงินเดือน ประจำปี 2555” เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับคนทำงาน ผู้ที่กำลังมองหางาน หรือองค์กรต่างๆ โดยผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดผลวิจัยทั้ง 2 ฉบับ (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) และคู่มือฐานเงินเดือนได้ฟรี ผ่านทางเวบไซด์ของบริษัทอเด็คโก้ (www.adecco.co.th)
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
พิพากษา ‘ดา ตอร์ปิโด’ 15 ปี จำเลยไม่อุทธรณ์หลังถูกขัง 3 ปีครึ่ง Posted: 14 Dec 2011 11:32 PM PST
15 ธ.ค.54 ที่ศาลอาญา รัชดา ห้องพิจารณาคดี 801 เวลาประมาณ 9.40 น. ผู้พิพากษานั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาคดีของนางสาวดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ ดา ตอร์ปิโด ผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เป็นเวลาราว 40 นาที หลังจากศาลอุทธรณ์สั่งยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและสั่งให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความ ต่อมาเมื่อวันที่ 17 ต.ค.54 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าการพิจารณาลับของศาลชั้นต้นไม่เป็นการขัดรัฐธรรมนูญ และมีการนัดอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาเป็นวันนี้ (15 ธ.ค.) เนื่องจากมีการโยกย้ายองค์คณะผู้พิพากษา นายชนาธิป เหมือนพะวงศ์ นั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาระบุว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้อง เป็นความผิดในมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา จำเลยกระทำผิด 3 กรรม ให้ลงโทษทุกกรรม เป็นโทษจำคุกกระทงละ 5 ปี รวมจำคุก 15 ปี ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า มีผู้สื่อข่าว ผู้สนใจร่วมฟังคดีนี้ประมาณ 20 คน รวมทั้งมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยห้องพิจารณาคดีเข้มงวดกว่าปกติ และมีเจ้าหน้าที่ในชุดปฏิบัติการพิเศษทำการควบคุมตัวจำเลยมายังห้องพิจารณาคดี ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คำพิพากษาของศาลชั้นต้นในครั้งแรกก่อนจะมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้นสั่งลงโทษจำคุกไว้ 18 ปี โดยในคำฟ้องของอัยการระบุว่าจำเลยกระทำผิดโดยกล่าวปราศรัยที่สนามหลวง 3 ครั้งในวันที่ 7 มิ.ย.51, 13 มิ.ย.51 , 18-19 ก.ค.51 ทั้งนี้ เวทีดังกล่าวโดยเป็นการปราศรัยของกลุ่มประชาชนที่ก่อตัวขึ้นก่อนจะเกิด นปก.หรือ นปช. เป็นเวทีขนาดเล็กมีประชาชนร่วมฟังราว 40-50 คน ต่อมาวันที่ 22 ก.ค.51 เจ้าหน้าที่ได้บุกเข้าจับกุมตัวดารณีที่ห้องพัก และควบคุมตัวไว้ที่ทัณฑสถานหญิงกลางจนถึงปัจจุบัน รวมเป็นเวลา 3 ปี 6 เดือน และไม่ได้รับการประกันตัว สำหรับคำบรรยายความผิดที่ผู้พิพากษาอ่านในครั้งนี้ สรุปความได้ว่า โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้กระทำการดูหมิ่น หมิ่นประมาท และแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์และพระราชนี คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำความผิดจริงหรือไม่ ซึ่งจากการเบิกความพยานโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ 3 นายได้ยืนยันตรงกันว่า จำเลยได้ขึ้นกล่าวปราศรัยโดยมีบางตอนที่เข้าข่ายผิดกฎหมายและมีการบันทึกเสียงไว้ พยานโจทก์ทั้ง 3 ทำการหาข่าว ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา ไม่เคยรู้จักกับจำเลยและไม่มีเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อน ประกอบกับแม้จะมีการนำส่งซีดีผิด แต่ในขณะพิจารณาคดีได้มีการนำส่งซีดีใหม่และศาลได้เปิดฟังต่อหน้าจำเลยทั้งหมดแล้วซึ่งตรงกับเอกสาร [เอกสารถอดเทปจากการบันทึกเสียง-ประชาไท] แม้จำเลยจะบ่ายเบี่ยงว่าจำไม่ได้ว่าได้ปราศรัยอะไรไปบ้าง แต่จำเลยไม่ได้ปฏิเสธการขึ้นกล่าวปราศรัย ทั้งยังเบิกความเองว่าหลังการรัฐประหารจำเลยได้ขึ้นกล่าวปราศรัยอยู่โดยตลอด เจือสมกับการสืบพยานโจทก์ ประเด็นพิจารณาต่อมาคือ ข้อความดังกล่าวดูหมิ่น หมิ่นประมาท แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์หรือไม่ ซึ่งพยานโจทก์ทั้ง 4 ซึ่งเป็นตำรวจและประชาชนทั่วไปต่างก็ยืนยันว่าเป็นการกล่าวเปรียบเทียบ เปรียบเปรย จาบจ้วงล่วงเกินพระมหากษัตริย์และพระราชินี ซึ่งพยานทั้งหมดไม่รู้จักและไม่มีเหตุโกรธเคืองกับจำเลย อีกทั้งรัฐธรรมนูญระบุว่าสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้ ดังนั้นประชาชนจะใช้เสรีภาพไปล่วงละเมิดพระมหากษัตริย์และพระราชินีไม่ได้ ทั้งยังมีหน้าที่ต้องรักษาสถาบันไว้คู่ประเทศ การมีผู้ใดกล่าวจาบจ้วงล่วงเกินเป็นสิ่งไม่พึงกระทำ การกล่าวปราศรัยในวันที่ 7 มิ.ย.51 มีการกล่าวถึงปลอกคอสีเหลือง สีน้ำเงิน และน้ำดื่มจิตรลดา ซึ่งแม้มิได้ระบุชื่อชัดแจ้ง แต่พฤติการณ์ที่กล่าวถ้อยคำเป็นสัญลักษณ์แสดงให้เห็นว่าต้องการสื่อว่าทั้งสองพระองค์สนับสนุนกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งเป็นการกล่าวจาบจ้วงล่วงเกินพระมหากษัตริย์และพระราชินี ส่วนในการกล่าวปราศรัยวันที่ 13 มิ.ย.จำเลยปราศรัยถึง “มือที่มองไม่เห็น” เชื่อมโยงกับกระบวนการยุติธรรมที่ถูกบิดเบือน รวมทั้งระบุว่าประเทศไทยมีสภาพเหมือนก่อนปี 2475 จำเลยจบการศึกษาระดับปริญญาโท และเป็นสื่อมวลชน ย่อมต้องทราบดีว่าการปกครองก่อนปี 2475 เป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คำปราศรัยดังกล่าวสื่อว่าปัจจุบันประเทศไทยยังเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่พระมหากษัตริย์มีอำนาจสิทธิขาด อีกทั้งจำเลยเป็นสื่อมวลชนย่อมต้องทราบว่าการเข้าถวายสัตย์ปฏิญาณของคณะผู้พิพากษาเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงบุคคลที่บ้านสี่เสาเทเวศที่เกี่ยวพันกับการรัฐประหาร ซึ่งแม้ไม่ได้ระบุชื่อจริงแต่จำเลยเป็นสื่อมวลชนย่อมต้องรู้ข้อเท็จจริงว่า พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ อาศัยที่บ้านสี่เสาเทเวศ และพยานโจทก์ได้เบิกความว่า พล.อ.เปรม ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานองคมนตรี ดังนั้น คำว่า “มือที่มองไม่เห็น” จึงไม่ได้หมายถึง พล.อ.เปรมอย่างที่จำเลยกล่าวอ้าง และแม้เป็นการเปรียบเปรยแต่ก็ทำให้ผู้ได้ยินรู้ว่าหมายถึงใคร นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงราชวงศ์ของญี่ปุ่น รัสเซีย และฝรั่งเศส โดยจำเลยใช้คำว่า “ชนชั้นปกครอง” ซึ่งสื่อความหมายถึงสถาบันกษัตริย์ ผู้พิพากษาระบุอีกว่า แม้จำเลยจะเบิกความว่าไม่เจตนาจาบจ้วงล่วงเกินพระมหากษัตริย์ เพราะประเทศไทยอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีพระมหากษัตริย์ และต้องการปกป้องสถาบัน ไม่ให้ใครดึงมาเกี่ยวข้องกับการเมือง แต่จากการพิจารณาจากเนื้อหาการปราศัยทั้งหมด มิใช่แค่ส่วนใดส่วนหนึ่ง จะเห็นว่าจำเลยกล่าวซ้ำหลายครั้ง แสดงให้เห็นว่าจำเลยกระทำด้วยเจตนา ไม่ใช่พลั้งเผลอ จำเลยจึงกระทำผิดตามฟ้อง ภายหลังการพิจารณาคดี ดารณี ให้สัมภาษณ์จากห้องขังของศาลอาญาว่าจะไม่อุทธรณ์คดี เนื่องจากประสบการณ์จากหลายๆ คดีทั้งคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และคดียาเสพติดทั่วไปที่ได้เห็นจากในเรือนจำนั้น การต่อสู้เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ใช้เวลายาวนานมาก หลายกรณีใช้เวลาเป็นสิบปี จึงตัดสินใจให้คดีสิ้นสุด เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่าจะขอพระราชทานอภัยโทษหรือไม่ ดารณีพยักหน้า ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ดารณีเพิ่งถูกย้ายกลับมายังทัณฑสถานหญิงกลางเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (12 ธ.ค.) หลังจากถูกย้ายไปยังเรือนจำคลองไผ่จังหวัดนครราชสีมาในช่วงเกิดสถานการณ์น้ำท่วมเรือนจำ ซึ่งดารณีระบุว่า เรือนจำคลองไผ่ให้การดูแลผู้ต้องดีกว่าเรือนจำในกรุงเทพฯ ทั้งอาหารการกินและการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง แม้อากาศจะหนาวมาก แต่ก็มีการประสานกับกาชาดสากลเพื่อจัดหาผ้าห่มให้อย่างเพียงพอ แต่ยังขาดแคลนเรื่องยารักษาโรค โดยดารณีไม่ได้รับยาแก้ปวดรักษาอาการขากรรไกรยึดติดตลอดสองสัปดาห์
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
'กต.'แจง การตัดสิน‘อากง’และ‘โจ กอร์ดอน’เป็นไปตามกม.ไทยที่ยุติธรรม Posted: 14 Dec 2011 10:57 PM PST กระทรวงต่างประเทศ. ออกแถลงการณ์ชี้แจงกรณีการตัดสินคดีหมิ่นฯ ของไทย ชี้มาตรา 112 มีไว้เพื่อปกป้องสถาบันฯ ไม่ได้ใช้เพื่อจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน หากแต่บุคคลที่ใช้คำพูดเพื่อยุยงสร้างความเกลียดชัง สมควรถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย เมื่อวันที่ 14 ธันวาคมที่ผ่านมา เว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศ ได้เผยแพร่แถลงการณ์ชี้แจงกรณีการตัดสินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของไทย เนื่องจากมีสื่อมวลชนทั้งไทยและเทศได้สอบถามกรณีดังกล่าว โดยนายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงต่างประเทศ ระบุว่าการตัดสินคดีของนายอำพล (สงวนนามสกุล) หรือ “อากง” และนายเลอพงศ์ (โจ กอร์ดอน) เป็นไปตามกระบวนการทางกฎหมายของไทย และยืนยันว่าทั้งสองคนได้รับสิทธิในการพิจารณาคดีอย่างยุติธรรมทุกประการ แถลงการณ์ระบุว่า กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เป็นส่วนหนึ่งของประมวลกฎหมายอาญาของไทย ซึ่งมีไว้เพื่อปกป้องและรักษาพระเกียรติของพระมหาษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เช่นเดียวกับที่กฎหมายหมิ่นประมาทมีไว้เพื่อปกป้องชื่อเสียงของบุคคลธรรมดาทั่วไป และยังชี้ว่า กฎหมายดังกล่าว มิได้มีไว้เพื่อจำกัดสิทธิในการแสดงออกของประชาชนหรือเสรีภาพทางวิชาการที่จะพูดคุยเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์แต่อย่างใด “เช่นเดียวกับสังคมประชาธิปไตยอื่นๆ ประชาชนไทยสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญได้ รวมถึงเสรีภาพในการแสดงออกด้วย ในสื่อมวลชนก็มีการออกอากาศความคิดเห็นที่แตกต่าง และมีการถกเถียงกันในเรื่องที่หลากหลาย อย่างไรก็ตาม บุคคลที่ใช้สิทธิในทางที่ผิด เช่น การใช้คำพูดเพื่อสร้างความเกลียดชัง หรือบิดเบือนข้อมูลเพื่อให้เกิดความรุนแรงและความเกลียดชังต่อประชาชนไทยและต่อสถาบันกษัตริย์ ไม่ว่าจะในทางอินเทอร์เน็ต โซเชียลมีเดีย หรืออุปกรณ์สื่อสารต่างๆ จะต้องถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย” แถลงการณ์ดังกล่าวระบุ กระทรวงต่างประเทศ ชี้แจงว่า คดีของนายอำพล และนายเลอพงศ์ ถูกดำเนินคดีตามกฎหมายไทย และจำเลยได้รับสิทธิในการพิจารณาคดีอย่างยุติธรรม เช่น สิทธิในการประท้วงข้อกล่าวหา การได้รับความช่วยเหลือจากทนาย และสิทธิในการยื่นอุทธรณ์
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
กองกำลังเมืองลา-ปปส.จีน ผนึกกำลังยึดสารผลิตยาเสพติด 12 ตัน Posted: 14 Dec 2011 04:41 PM PST กองกำลังเมืองลา NDAA ร่วมหน่วยปปส.จีน ตรวจยึดสารผลิตยาเสพติดล็อตใหญ่ แหล่งข่าวชายแดนจีน-พม่า(รั ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. ASTVผู้จัดการออนไลน์ รายงานว่า ตำรวจปราบปรามยาเสพติดจี เกี่ยวกับเรื่องนี้ แหล่งข่าวใกล้ชิดเจ้าหน้าที่ จากการตรวจค้นภายในเรือพบสิ่งผิ สำหรับเหตุการณ์ตรวจยึดสารผลิ
"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น