ประชาไท | Prachatai3.info |
- Blognone ออกแถลงการณ์คดี 'อากง' เสนอปฏิวัติมาตรฐานคดีไอที
- คำ ผกา: เปลือยกาย เปิดใจ ไม่เกลียดชัง
- คุยกับ ‘อาร์ติเคิล 19’: ทำไมจึงเรียกร้องให้โมฆะ-ปล่อยตัวคดีอากง?
- ‘กาเบรียล การ์เซีย มาเกซ’ ชนะคดีเอาชีวิตคนจริงมาใช้ในงานเขียน
- รัฐบาลพม่าต้องการเปลี่ยนย่างกุ้งเป็นเมืองทันสมัย
- ทำไม ? ภายหลังการเลือกตั้ง กลุ่มชาติพันธุ์สหภาพพม่าจึงยังคงจับอาวุธต่อสู้รัฐบาล (ทหาร) พม่า
- อัยการฯเรียกไกล่เกลี่ยกรณีขอ"พิพิธภัณฑ์"เป็นบ้านพักข้าราชการ
- "สุรพงษ์" เตรียมชงเรื่องคืนหนังสือเดินทาง "ทักษิณ"
- เม้าท์มอย: อากงSMS บักโบ้ไอวอรี่ โคสต์ไปศาลโลกแล้ว และสาวๆ ปชป.
Blognone ออกแถลงการณ์คดี 'อากง' เสนอปฏิวัติมาตรฐานคดีไอที Posted: 02 Dec 2011 07:21 AM PST Blognone เว็บข่าวไอทีชื่อดัง ร่อนจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาล แสดงความเห็นต่อกรณีคดีนายอำพล (ขอสงวนนามสกุล) ระบุแค่หมายเลขประจำเครื่องโทรศัพท์มือถือ (อีมี่) ใช้ระบุมือถือที่ใช้ทำผิดไม่ได้
(2 ธ.ค.54) เว็บไซต์ Blognone เว็บข่าวไอทีชื่อดัง เผยแพร่จดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาล แสดงความเห็นต่อกรณีคดีนายอำพล (ขอสงวนนามสกุล) โดยระบุว่า หมายเลขประจำเครื่องโทรศัพท์มือถือ (IMEI) ไม่เพียงพอต่อการระบุมือถือที่ใช้กระทำความผิด "แม้บันทึกการใช้งาน (log) หมายเลขประจำตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือ (IMEI) จากผู้ให้บริการจะเป็นหลักฐานสำคัญในการนำสืบเพื่อหาตัวคนร้าย แต่ในทางวิชาการคอมพิวเตอร์ หลักฐานนี้ไม่แน่ชัดและไม่เพียงพอในการระบุตัวผู้กระทำความผิดได้จริง เจ้าหน้าที่ควรต้องหาหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อให้ระบุตัวคนร้ายได้อย่างแน่ชัด แต่จากคดีของนายอำพล เจ้าหน้าที่กลับอาศัยหลักฐานเพียง บันทึกการใช้งาน (log) หมายเลขประจำตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือ (IMEI) ของผู้ให้บริการ เพื่อจับกุมและดำเนินคดี" แถลงการณ์ระบุ แถลงการณ์ยังระบุถึงข้อเรียกร้อง คือ 1.คดีที่ยังไม่ฟ้องร้อง ให้หยุดกระบวนการฟ้องร้องจนกว่าเจ้าหน้าที่จะรวบรวมพยานหลักฐานได้เพียงพอที่จะระบุผู้กระทำความผิดได้อย่างชัดเจน 2.คดีที่ฟ้องร้องแล้ว ให้หยุดการคัดค้านประกันตัว พร้อมกับดำเนินการหาหลักฐานเพิ่มเติม หากหาไม่ได้ให้ถอนฟ้อง 3.คดีที่ตัดสินแล้ว ขอให้มีการพิจารณาคดีใหม่ โดยการให้ผู้ต้องหามีโอกาสต่อสู้คดี และเจ้าหน้าที่ควรต้องหาหลักฐานเพิ่มเติม 4.สร้างมาตรฐานการรวบรวมหลักฐานในคดีความผิดทางคอมพิวเตอร์ขึ้นมาให้ชัดเจน เพื่อให้ประชาชนอุ่นใจได้ว่า จะไม่มีใครถูกจับกุมหรือฟ้องร้องด้วยพยานหลักฐานที่ไม่แน่ชัดเช่นนี้อีก 5.เร่งแก้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ อย่างเร่งด่วน 00000
ถึง นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี, และนาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จากเหตุการณ์ซึ่งมีผู้ส่ง SMS ไปที่โทรศัพท์มือถือของนายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข แล้วมีการบุกจับนายอำพล [สงวนนามสกุล] ดำเนินคดี จนกระทั่งศาลอาญามีคำพิพากษาในสัปดาห์ที่ผ่านมา คดีนี้อาศัยหลักฐานสำคัญคือ บันทึกการใช้งาน (log) หมายเลขประจำตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือ (IMEI) จากผู้ให้บริการคือ DTAC และ Truemove เพื่อลงโทษนายอำพล ทีมงาน Blognone เห็นว่า คดีนี้ มีปัญหาว่า พยานหลักฐานดังกล่าว เพียงพอในการพิสูจน์ว่า นายอำพลเป็นผู้ส่ง SMS 4 ข้อความที่ถูกกล่าวหาหรือไม่ เนื่องจากหมายเลขประจำตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือ (IMEI) นั้น น่าจะไม่ใช่หลักฐานที่แน่ชัดในการระบุถึงเครื่องโทรศัพท์มือถือที่ใช้ในการกระทำความผิดหรือระบุถึงตัวผู้กระทำความผิด เพราะหมายเลขประจำตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือ (IMEI) สามารถปลอมแปลงได้โดยง่าย การปลอมแปลงตัวบุคคลเพื่อทำความผิดเป็นเรื่องปกติในวงการอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ตัวอาชญากรมักปลอมแปลงตัวเองเพื่อใช้งานเครือข่ายของเหยื่อ ด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อปกปิดตัวเองก่อนการเข้ากระทำความผิดจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นการแอบเข้าใช้งานคอมพิวเตอร์ผู้อื่นเพื่อโจมตีเครือข่าย หรือคอมพิวเตอร์ปลายทาง การแฮกจำนวนมากก็อาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการรักษาความปลอดภัยหละหลวม บางครั้งอาจจะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ หลายๆ เครื่องเพื่อนัดโจมตีพร้อมกันเพื่อสร้างความเสียหายให้มากขึ้น โดยที่เครื่องของผู้กระทำผิดไม่ได้ส่งข้อมูลโดยตรงไปยังเครื่องที่ถูกโจมตีเลย แม้บันทึกการใช้งาน (log) หมายเลขประจำตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือ (IMEI) จากผู้ให้บริการจะเป็นหลักฐานสำคัญในการนำสืบเพื่อหาตัวคนร้าย แต่ในทางวิชาการคอมพิวเตอร์ หลักฐานนี้ไม่แน่ชัดและไม่เพียงพอในการระบุตัวผู้กระทำความผิดได้จริง เจ้าหน้าที่ควรต้องหาหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อให้ระบุตัวคนร้ายได้อย่างแน่ชัด แต่จากคดีของนายอำพล เจ้าหน้าที่กลับอาศัยหลักฐานเพียงบันทึกการใช้งาน (log) หมายเลขประจำตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือ (IMEI) ของผู้ให้บริการ เพื่อจับกุมและดำเนินคดี หมายเลขประจำตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือ (IMEI) นั้น ไม่อาจป้องกันการปลอมแปลง และมันไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อยืนยันตัวบุคคล เราสามารถหาหมายเลข IMEI จากข้างกล่องโทรศัพท์มือถือที่วางขายตามร้านค้า สามารถหาได้จากสติกเกอร์ที่แปะอยู่บนกล่องเครื่องโทรศัพท์มือถือ สามารถตรวจสอบจากหมายเลขพิเศษที่ใช้ขอดูหมายเลข IMEI โทรศัพท์จำนวนมากมีหมายเลข IMEI แปะเป็นสติกเกอร์ไว้ในช่องแบตเตอรี่ ผู้ร้ายสามารถหาหมายเลข IMEI ของผู้อื่นในแบบที่เจาะจงหรือไม่เจาะจงเพื่อเปลี่ยนหมายเลขให้ตรงกับเครื่องที่มีการใช้งานจริงได้โดยง่าย หรือแม้กระทั่งเคยมีรายงานว่า ผู้ผลิตที่ไม่ได้มาตรฐานบางรายผลิตเครื่องโทรศัพท์มือถือโดยใส่หมายเลข IMEI ซ้ำซ้อนกัน เพราะความน่าสงสัยมากมายเช่นนี้ เฉพาะหมายเลขประจำตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือ จึงไม่น่าจะเป็นหลักฐานที่แน่ชัดเพียงพอในการพิสูจน์ความผิดผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลยได้ ทีมงาน Blognone มองว่าเจ้าพนักงานสอบสวนไม่ควรใช้แค่ข้อมูลหมายเลขประจำตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือเป็นหลักฐานในการจับกุม, ฟ้องร้อง, ตลอดจนคัดค้านการประกันตัวจนกระทั่งผู้ต้องหาถูกกุมขัง ไม่เช่นนั้นแล้วมาตรฐานเช่นนี้อาจทำให้เกิดการใส่ความไปมาได้เป็นวงกว้าง ทั้งอาจทำให้มีผู้ถูกกุมขังระหว่างการสอบสวนโดยเป็นเหยื่อของผู้ร้ายอีกทีหนึ่ง เราไม่ทราบว่า มีคดีอีกกี่คดีที่อยู่ระหว่างการดำเนินคดี ด้วยหลักฐานที่ไม่แน่ชัดไม่เพียงพอในระดับเดียวกัน และมีผู้ต้องหาและผู้ถูกคุมขังจากคดีดังกล่าวกี่คน ทีมงาน Blognone เสนอให้รัฐบาลเยียวยาผู้ต้องหาและผู้ถูกกุมขังดังกล่าวอย่างเร่งด่วน ด้วยมาตรการต่อไปนี้
การใช้อินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆ เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต รัฐบาลต้องดูแลไม่ให้เกิดความหวาดกลัวในการใช้งาน คุ้มครองความปลอดภัยของประชาชนผู้ใช้งาน ทั้งจากการถูกโจมตี และจากการตกเป็นจำเลยเสียเองโดยไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด วสันต์ ลิ่วลมไพศาล ทีมงานผู้ดูแลเว็บไซต์ Blognone.com สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
คำ ผกา: เปลือยกาย เปิดใจ ไม่เกลียดชัง Posted: 02 Dec 2011 03:18 AM PST ‘คำ ผกา’ เปลือย(หน้า)อก และ(หน้า)ใจ ส่งข้อความเรียกร้องปล่อยตัวอากง ชี้สังคมไทยต้องก้าวข้ามความกลัว ถอดทิ้งอคติ และสำรวจจิตใจตัวเองในฐานะเพื่อนมนุษย์ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา หลายคนอาจได้เห็นแคมเปญ ‘ฝ่ามืออากง’ กันไปบ้างแล้วในเฟซบุ๊ก การรณรงค์ดังกล่าวเริ่มต้นโดยปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักวิจัยจากสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ประเทศสิงคโปร์ เพื่อเรียกร้องอิสรภาพให้แก่นายอำพล (ขอสงวนนามสกุล) ผู้ถูกตัดสินจำคุก 20 ปีด้วยการถูกกล่าวหาว่าส่งข้อความทางโทรศัพท์มือถือที่มีเนื้อหาหมิ่นเบื้องสูงจำนวน 4 ข้อความไปยังเลขาส่วนตัวของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ(ขณะนั้น) แคมเปญดังกล่าวได้รับความสนใจจากผู้ใช้เฟซบุ๊กในไทยและต่างประเทศอย่างรวดเร็ว โดยมีคนส่งภาพตัวเองที่มีข้อความ “อากง” เขียนบนฝ่ามือมาร่วมในการรณรงค์ดังกล่าว 150 คนในเวลาเพียง 2 วัน หนึ่งในนั้น มีรูปหญิงสาวเปลือยพร้อมข้อความ “No Hatre for Naked Heart” หราอยู่บนหน้าอกหน้าใจ พร้อมคำว่า “อากง” บนฝ่ามือ จะเป็นใครไปไม่ได้ นอกจากลักขณา ปันวิชัย หรือนักเขียนชื่อดังในนาม “คำ ผกา”…
เธอเล่าถึง “Art project” ชิ้นนี้ ซึ่งเป็นภาพเปลือยของเธอพร้อมข้อความ “No Hatre for Naked Heart” เขียนด้วยน้ำหมึกดำอยู่บนอกสองข้างของเธอว่า อยากจะสื่อออกไปยังสังคมไทย ให้ถอดอคติส่วนตนออกไปจากจิตใจ และลองเปลือยใจเพื่อสำรวจถึงความมีมนุษยธรรมในฐานะเพื่อนมนุษย์ และตั้งคำถามดูว่าทำไมกรณีของอากงจึงเกิดขึ้นได้ มันเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ไหม และมันมากเกินไปหรือเปล่า “แทนที่จะหลบอยู่หลังตู้เย็น หลบอยู่หลังหน้าจอคอมพ์ อย่างน้อยเราก็ได้ทำอะไรซักอย่าง ที่จะก้าวข้ามความกลัวนั้นไป และส่งข้อความออกไปยังสังคม...ให้สังคมไทยนั้นก้าวพ้นความกลัวไปด้วยกัน” เธอกล่าว ‘คำ ผกา’ กล่าวว่า งานชิ้นนี้ เปรียบเสมือนงานศิลปะชิ้นหนึ่งที่ใช้ร่างกายประท้วงต่อความไม่เป็นธรรมในสังคม ซึ่งการกล้าเปิดกาย-ใจ และการกล้าเปิดเผยตัวตนนี่เอง ที่เป็นการเผชิญหน้าและเอาชนะความกลัวได้อย่างแท้จริง
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
คุยกับ ‘อาร์ติเคิล 19’: ทำไมจึงเรียกร้องให้โมฆะ-ปล่อยตัวคดีอากง? Posted: 02 Dec 2011 02:58 AM PST เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากนายอำพล (ขอสงวนนามสกุล) จำเลยในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพรายล่าสุดถูกตัดสินจำคุก 20 ปี จากการถูกกล่าวหาว่าส่งข้อความทางโทรศัพท์มือถือ 4 ข้อความที่มีข้อความหมิ่นเบื้องสูงไปยังเลขาฯ ของอดีตนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ‘คดีอากง’ ทำให้มีปฏิกิริยาแสดงความกังวลจากกลุ่มและองค์กรในไทยและระหว่างประเทศหลายแห่ง เช่น กลุ่มสันติประชาธรรม, มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน, คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย, องค์กร ‘Article 19’, แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล รวมถึงคณะกรรมาธิการยุโรปประจำประเทศไทย องค์กร ‘Article 19’ ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีจุดประสงค์เพื่อรณรงค์เสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์กรที่ออกแถลงการณ์ประณามคำตัดสินดังกล่าว ได้เรียกร้องให้ทางการไทยโมฆะคดีและปล่อยตัวนายอำพล เหตุใดองค์กรสากลนี้มีข้อเสนอเช่นนี้ และเขามองอย่างไรต่อกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ของไทย 0000
ประชาไท: ในแถลงการณ์ของ ‘อาร์ติเคิล 19’ ได้เรียกร้องให้การตัดสินคดีของนายอำพลเป็นโมฆะ เหตุใดคุณจึงเรียกร้องเช่นนั้น และคิดว่าทางการไทยจะสามารถทำเช่นนั้นได้หรือ เพราะปรกติแล้วคำตัดสินไม่สามารถทำให้เป็นโมฆะได้ง่ายๆ ? Article 19: อย่างแรกเลย เราเชื่อว่า การตัดสินคดีของอำพลต้องถูกทำให้เป็นโมฆะโดยการอุทธรณ์ เนื่องจากมันละเมิดหลักกฎหมายสากลซึ่งคุ้มครองสิทธิของบุคคลในการมีเสรีภาพทางความคิด และเสรีภาพในการแสดงออก ยกเว้นไว้แต่เพียงในสถานการณ์พิเศษเท่านั้น กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นการจำกัดเสรีภาพทางการแสดงออกที่ไร้ซึ่งความชอบธรรม ซึ่งในความเป็นจริงมันสิทธิดังกล่าวถูกคุ้มครองโดยกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายอาญามาตรา 112 ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองโดยผู้มีอำนาจเพื่อปิดปากผู้ที่เห็นต่าง ซึ่งปัญหานี้รัฐบาลไทยก็ได้ยอมรับเองเมื่อเดือนที่ผ่านมา รัฐบาลไทยได้ลงสัตยาบันในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองซึ่งมีพันธะผูกพันที่จะต้องเคารพในหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน รวมถึงเสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิในการเข้าถึงการไต่สวนคดีที่เป็นธรรม การละเมิดสิทธิดังกล่าวถือว่าผิดตามกฎหมาย และการตัดสินคดีที่เป็นการละเมิดเช่นนั้ ก็สมควรต้องถูกทำให้เป็นโมฆะ
ประชาไท: ช่วยอธิบายหน่อยว่าเหตุใดนายอำพลจึงสมควรได้รับการปล่อยตัว Article 19: อำพลสมควรที่จะได้รับการปล่อยตัว เนื่องจากในมุมมองของหลักสิทธิมนุษยชนสากลแล้ว เขาใช้สิทธิตามกฎหมายด้านเสรีภาพในการแสดงออก เขามีสิทธิในการแสดงความคิดเห็น ไม่ว่าจะผ่านทางข้อความในโทรศัพท์มือถือหรือสื่อชนิดอื่นๆ และไม่ควรได้รับการถูกลงโทษจากการใช้สิทธิขั้นพื้นฐานดังกล่าว นอกจากนี้ การตัดสินของคดีอำพลยังขาดซึ่งน้ำหนักที่น่าเชื่อถือ อย่างที่ผู้พิพากษาก็ได้ยอมรับเอง มันไม่มีหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเอสเอ็มเอสดังกล่าวเชื่อมโยงกับนายอำพลตั้งแต่แรกอยู่แล้ว ทางการไทยมีความสามารถและพันธะผูกพันภายใต้รัฐธรรมนูญของไทยที่จะโมฆะคำตัดสินคดีดังกล่าวในฐานะที่มันเป็นการละเมิดสิทธิของนายอำพลในการเข้าถึงการพิจารณาคดีที่ยุติธรรม โดยเฉพาะการขาดหลักฐานในการพิสูจน์ความผิด ทางการไม่อาจอ้างได้ว่าไม่สามารถทำอะไรได้ในเมื่อคนบริสุทธิ์ต้องถูกจำคุกโดยไม่มีเหตุผล อาร์ติเคิล 19 กังวลเป็นอย่างมากถึงการขาดซึ่งหลักฐานที่น่าเชื่อถือในการพิสูจน์ความผิดในคดีนี้ ถึงแม้ว่าผู้พิพากษาจะยอมรับว่าการประเมินในหลักเทคนิคไม่สามารเอาผิดกับอำพลได้อย่างชัดเจน แต่ศาลก็ยังตัดสินให้เขาผิดจริง มันน่าเหลือเชื่อมากว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นได้อย่างไรในประเทศที่ตั้งอยู่บนหลักนิติรัฐ
ประชาไท: เมื่อเร็วๆ นี้ รัฐมนตรีกระทรวงไอซีทีของไทยได้กล่าวว่า การคลิกไลค์เนื้อหาที่หมิ่นเบื้องสูงในเฟซบุ๊กเข้าข่ายการทำผิดกฎหมายอาญามาตรา 112 เนื่องจากเป็นการทำซ้ำเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย คุณมองอย่างไรบ้าง? Article 19: องค์กรอาร์ติเคิล 19 ยังจะคงเรียกร้องรัฐบาลไทยให้มีมาตรการที่เป็นรูปธรรมในการปฏิรูป พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญไทยและกฎหมายระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ข้อกำหนดใน พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์นั้นคลุมเครือเกินไป ซึ่งเปิดโอกาสให้มีการตีความโดยวินิจฉัยส่วนตัวจากเจ้าหน้าที่รัฐตามที่เราได้เห็นมาแล้วหลายครั้ง การใช้ พ.ร.บ. คอมพ์ฯ ควรถูกจำกัดเฉพาะต่ออาชญากรรมที่ส่งผลต่อระบบหรือเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยผิดกฎหมาย หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างภัยต่อเครือข่าย เช่น การปล่อยไวรัส การโจมตีการให้บริการ หรือใช้เพื่อป้องกันการจารกรรมข้อมูล และมาตรา 14 ถึง 16 ใน พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ที่กำหนดโทษของการนำเข้าข้อมูลในคอมพิวเตอร์สาธารณะควรถูกยกเลิก
ประชาไท: แถลงการณ์ของ ‘อาร์ติเคิล 19’ ยังเรียกร้องให้ยกเลิกมาตรา 112 ด้วย เหตุใดคุณจึงเรียกร้องเช่นนั้น เนื่องจากบางส่วนก็โต้แย้งว่ากฎหมายดังกล่าวควรมีไว้เพื่อปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และอธิบายหน่อยว่าควรทำอย่างไรให้กฎหมายดังกล่าวสอดคล้องกับหลักสิทธิสากล? Article 19: ในท้ายที่สุดแล้ว กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพควรถูกยกเลิก เพราะการดำรงอยู่ของตัวกฎหมายเป็นภัยต่อเสรีภาพในการแสดงออกและหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน กฎหมายระหว่างประเทศกำหนดไว้ว่า กฎหมายที่ใช้เพื่อปกป้องชื่อเสียงของปัจเจกไม่ควรเลือกปฏิบัติเฉพาะบุคคล และไม่ควรมีบทลงโทษที่สูงกว่าคนทั่วไปโดยอ้างจากเอกลักษณ์ของบุคคลที่ถูกกล่าวหา การให้การปกป้องที่พิเศษสำหรับราชวงศ์ (ซึ่งทางปฏิบัติแล้วก็คือบุคคลที่มีอำนาจคนหนึ่ง) โดยการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เป็นการละเมิดการรับประกันสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก ทั้งนี้ บุคคลสาธารณะควรต้องอดกลั้นมากกว่าบุคคลทั่วไปต่อการวิพากษ์วิจารณ์ และต้องไม่มีการใช้กฎหมายเพื่อการปิดกั้นการวิจารณ์หน่วยงานและเจ้าหน้าที่สาธารณะด้วย
ประชาไท: เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการเรียกร้องจากพรรคประชาธิปัตย์ให้รัฐบาลบล็อกยูทูบว์และเฟซบุ๊กเพื่อกำจัดเนื้อหาที่มีข้อความหมิ่นเบื้องสูง คุณคิดว่าข้อเสนอดังกล่าวเป็นอย่างไร และคิดว่าจะส่งผลกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงออกในประเทศไทยอย่างไรบ้าง? การปิดกั้นข้อมูลข่าวสารในอินเตอร์เน็ตและรูปแบบการสื่อสารเครือข่ายอื่นๆ ในประเทศไทยเป็นเรื่องที่น่ากังวลมาก รัฐบาลควรยุติการเซ็นเซอร์ในทุกรูปแบบ โดยเฉพาะด้วยการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ การบล็อกเว็บไซต์ในประเทศไทยเป็นไปอย่างกว้างขวางและแพร่หลายมาก เว็บไซต์จำนวนมากถูกบล็อกโดยไม่ได้ขออำนาจศาล และขึ้นอยู่กับการตัดสินใจส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งกระทำการในที่ลับ เพจจำนวนหลายล้านแห่งถูกปิดกั้นอย่างไร้เหตุผล ขอย้ำอีกครั้ง อาร์ติเคิล 19 มองว่า พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์นั้นคลุมเครือ ไม่ชัดเจน และอนุญาตให้มีการตีความแบบปัจเจกจากเจ้าหน้าที่รัฐ อาร์ติเคิล 19 จะยังคงเรียกร้องรัฐบาลไทยให้แก้ไข พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ให้จำกัดการใช้ต่ออาชญากรรมที่จะส่งผลกระทบต่อระบบและเครือข่าย เช่น การโจมตีระบบ หรือการป้องกันการจารกรรมเพียงเท่านั้น สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
‘กาเบรียล การ์เซีย มาเกซ’ ชนะคดีเอาชีวิตคนจริงมาใช้ในงานเขียน Posted: 02 Dec 2011 01:33 AM PST 30 พ.ย.54 ศาลโคลัมเบียตัดสินให้กาเบรียล การ์เซีย มาเกซ นักเขียนแนวสัจนิยมมายาชนะคดี หลังจากที่มีชายผู้หนึ่งฟ้องว่ 'หมายเหตุฆาตกรรม' เป็นเรื่องราวของ บาร์ยาโน ซาน โรมัน ชายชาวโคลัมเบียผู้มั่งคั่ง เขาแต่งงานกับแองเจลา วิคาริโอ หญิงท้องถิ่นผู้งดงาม แต่ก็ส่งตัวเธอกลับคืนให้ ครอบครัวของวิคาริโอรู้สึ ขณะที่เรื่องจริงมีอยู่ว่า คาเยทาโน เจนไทล์ ชิเมนโต นักศึกษาแพทย์ชาวโคลัมเบียถูกสั แต่การที่มาเกซนำเรื่องจริงมาผู แต่ในสัปดาห์นี้เองศาลสูงสุ คดีนี้เกิดขึ้นในปี 1994 เมื่อพาเลนเซียอ้างว่ ขณะที่มาเกซยอมรับว่าหนังสื ในคำตัดสินของศาลวันเมื่อที่ 29 พ.ย. ที่ผ่านมาระบุว่า "มีงานวรรณกรรม งานศิลปะและงานภาพยนตร์ นอกจากนี้ศาลยังได้ยกฟ้องกรณีที่พาเลนเซียต้องการได้รับเครดิ อัลฟองโซ โกเมซ เมนเดซ ทนายของมาเกซ กล่าวให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิ
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
รัฐบาลพม่าต้องการเปลี่ยนย่างกุ้งเป็นเมืองทันสมัย Posted: 02 Dec 2011 12:51 AM PST รัฐบาลใหม่ของพม่าต้องการแก้ นายโซเต็ง รัฐมนตรีอุตสาหกรรมที่ 1 และ 2 ของพม่าประกาศในงานแถลงข่าวที่ “เราจะไม่ใช้เงินของรั นายโซเต็งยังกล่าวเพิ่มเติมว่า ประธานาธิบดีเต็งเส่งเองนั้นต้ ทั้งนี้ รัฐมนตรีคนเดิมยังเปิดเผยว่า รัฐบาลท้องถิ่นในย่างกุ้งเตรี “เราต้องทำงานภายใต้งบประมาณที่
ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก Mizzima 1 ธันวาคม 54 แปลและเรียบเรียงโดย สาละวินโพสต์ "สื่อทางเลือกเพื่อแบ่งปั สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ทำไม ? ภายหลังการเลือกตั้ง กลุ่มชาติพันธุ์สหภาพพม่าจึงยังคงจับอาวุธต่อสู้รัฐบาล (ทหาร) พม่า Posted: 02 Dec 2011 12:04 AM PST ทำไม ? ภายหลังการเลือกตั้ง กลุ่มชาติพันธุ์สหภาพพม่าจึงยังคงจับอาวุธต่อสู้รัฐบาล (ทหาร) พม่า คำตอบก็คือ กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านั้น จำเป็นต้องจับอาวุธขึ้นต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิและเสรีภาพ อันประชาชนชนชาติหนึ่งพึงมีพึงได้ เช่น สิทธิในความเสมอภาคตามกฎหมาย สิทธิเสมอภาคในการรับการศึกษา สิทธิเสมอภาคในการรับบริการสาธารณะ สิทธิในชีวิตและทรัพย์สิน สิทธิได้รับข่าวสารข้อมูล สิทธิทางการเมือง และสิทธิอื่น ๆ ในส่วนของเสรีภาพนั้นพวกเขาอยากจะมีเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย เสรีภาพในเคหสถาน เสรีภาพในการเดินทางและเลือกถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรของตนเองเสรีภาพในการสื่อสารถึงกัน เสรีภาพในการเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ เสรีภาพในการประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพอันชอบด้วยกฎหมาย สิทธิและเสรีภาพเหล่านี้ กลุ่มชาติพันธุ์ในสหภาพพม่า ไม่เคยมีไม่เคยได้รับเหมือนกับประชาชนชนชาติอื่นเพราะว่าถูกทางการพม่ารีดรอน จำกัดและห้าม ไม่ให้มีไม่ให้ใช้สิทธิเสรีภาพเหล่านั้น มาเป็นเวลานานแล้วโดยความเป็นจริงนั้น กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ เขามีภาษาพูด ภาษาเขียนและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง มีบ้านเมืองมีประวัติศาสตร์การก่อตั้งบ้านเมือง และการปกครองบ้านเมือง มาช้านานเป็นเวลานับร้อยนับพันปีและพวกเขาไม่ใช่ชนชาติพม่า เขามีความแตกต่างจากพม่า ทางด้านภาษาและวัฒนธรรมอยากชัดเจนโดยเหตุนี้ พวกเขาจึงอยากจะมีสิทธิและเสรีภาพในการปกครองตนเอง ไม่อยากอยู่ใต้อำนาจการปกครองของชนชาติอื่น(เช่นพม่า) กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ ก็คือ ชาวไทยใหญ่ ชาวกะเหรี่ยง ชาวมอญ ชาวระไข่ ชาวคะยา ชาวคะฉี่นและชาวชิน พวกเขาเหล่านี้ต่างก็เป็นหนึ่งในสมาชิกสหภาพพม่า ไม่ใช่ชนกลุ่มน้อยในประเทศพม่าอย่างที่หลาย ๆท่านเข้าใจ ในนามของสภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน (R.C.S.S.) ต่อไปนี้ จะกล่าวถึงหรือโฟกัส เฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ในรัฐฉานเท่านั้นชาวฉานและรัฐฉานนั้นเป็นชื่อที่พม่าเรียกชาวไทยใหญ่และรัฐไทยใหญ่ (ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่าสยาม) แต่ชาวไทยใหญ่เรียกตัวเองว่า “ไต” (ไท) เรียกประเทศตัวเองว่า “เมืองไต” (เมืองไท) ชนชาติไทยใหญ่มีประวัติศาสตร์การสถาปนาบ้านเมืองและรูปแบบการปกครองบ้านเมือง มาเป็นเวลานานนับพันปี อาณาจักรไทยใหญ่ในอดีต เช่น อาณาจักรเมืองซู่ หรือเมืองเสอ (เสือ) (T’SU, T’SO) อาณาจักรน่านเจ้า (Nan Chao) อาณาจักรเมืองมาว อาณาจักรแสนหวี อาณาจักรอังวะ ตลอดจนเป็นรูปแบบนครรัฐ หรือหัวเมือง เช่น เมืองนาย เมืองมีด เมืองหนอง เมืองปาย เมืองเชียงตุง (สมัยอังกฤษมีสามสิบสี่หัวเมือง) พม่าเริ่มมีสัมพันธ์ไมตรีกับไทยใหญ่ในสมัยพุกาม คือกษัตริย์อโนรธา ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงมอนหล้า ราชธิดาของเจ้าฟ้าเมืองมาว ปี ค.ศ.1885 อังกฤษยึดครองประเทศพม่าได้ทั่วหมด โดยไม่รวมกับรัฐฉาน ต่อมาในปี ค.ศ.1887 อังกฤษได้เข้ามายึดครองภาคเหนือและภาคใต้ของรัฐฉาน ในปี ค.ศ.1890อังกฤษยึดได้ภาคตะวันออกของรัฐฉานและเป็นการยึดครองรัฐฉานได้ทั้งหมด สถานภาพรัฐพม่านั้นเป็นอาณานิคมของอังกฤษ (Colony) สถานภาพของรัฐฉานเป็นรัฐใต้อารักขา (Protectorate) รัฐพม่าและรัฐฉานต่างก็อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองในปี ค.ศ.1941ระหว่างสงครามโลกนั้น ได้มีการประกาศกฎบัตรแอตแลนติค (Atlantic Charter) โดยผู้นำชาติมหาอำนาจ คืออเมริกาและ อังกฤษ โดยประกาศว่า ภายหลังสิ้นสุดสงครามแล้ว จะให้รัฐภายใต้อาณานิคมเป็นอิสระพม่าถือโอกาสนี้เรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ อังกฤษตกลงจะให้เอกราชคืนกับพม่าโดยมีเงื่อนไขว่า พม่าจะต้องจัดการเลือกตั้งภายในประเทศพม่าเสียก่อน เมื่อพรรค AFPFL (Anti-Fascist People’s Freedom League) ของอูอ่องซานชนะการเลือกตั้ง ดังนั้น อูอ่องซานจะเป็นตัวแทนไปเจรจาเรื่องเอกราชของพม่ากับอังกฤษ ปลายปี ค.ศ. 1946 ก่อนอูอ่องซานจะไปเจรจากับอังกฤษในปี ค.ศ.1947นั้น อูอ่องซานได้มาเชิญชวนเจ้าฟ้าไทยใหญ่ให้รวมกับพม่าเอาเอกราชโดยให้เจ้าฟ้าลงนามแล้ว อูอ่องซานจะเป็นตัวแทนไปเจรจาเรื่องเอกราชกับอังกฤษให้เองเนื่องจากทางเจ้าฟ้าไทยใหญ่เองก็มีการเตรียมการจะเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษเช่นกัน แต่ไม่มีแผนจะรวมรัฐไทยใหญ่เข้ากับรัฐพม่า ดังนั้นเจ้าฟ้าไทยใหญ่จึงปฏิเสธที่จะลงนามให้กับอูอ่องซานเป็นตัวแทนไปเจรจากับอังกฤษ โดยโทรเลขถึงรัฐบาลอังกฤษว่า อูอ่องซานไม่ใช่ตัวแทนของรัฐฉาน อูอ่องซานเมื่อไม่ได้รับความร่วมมือจากเจ้าฟ้า ก็หันไปชักชวนนักศึกษาไทยใหญ่ที่เคยศึกษาอยู่ในพม่าคือกลุ่ม SPFL (Shan People’s Freedom League) ให้สนับสนุนอูอ่องซาน 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1947 รัฐพม่ากับรัฐฉานรวมทั้งคะฉี่นและชิน ได้ตกลงทำสนธิสัญญากันที่ปางโหลงโดยมีเงื่อนไขว่าจะรวมกันเป็นสหภาพแค่สิบปี เมื่อครบสิบปีแล้วรัฐใดมีความประสงค์จะแยกตัวออกมาเป็นรัฐอิสระก็ย่อมได้ปี ค.ศ. 1948 พม่า ฉาน คะฉี่น ชีน กะเหรี่ยง มอญ ระไข่ และคะยา ได้เอกราชพร้อมกันทั้งหมดภายหลังรวมตัวกันเป็นสหภาพครบสิบปีแล้ว (ค.ศ.1958) ปรากฏว่าไม่มีรัฐใดสามารถแยกตัวออกจากสหภาพพม่าได้ เพราะว่าพม่าเอาทหารของตนเองไปยึดครองดินแดนรัฐเหล่านั้นไว้ กรณีรัฐฉาน พม่าอ้างว่าจะเอาทหารพม่ามาขับไล่กองทัพจีนคณะชาติ (ก๊กหมินตั๋ง) ที่รุกล้ำเข้ามาในรัฐฉาน เมื่อแต่ละรัฐไม่สามารถแยกตัวออกจากสหภาพพม่า มาเป็นรัฐอิสระปกครองตนเอง ประชาชนพลเมือง รัฐเหล่านั้น ก็จำเป็นต้องจับอาวุธลุกขึ้นต่อสู้กับพม่า เพื่อทวงสิทธิของตนเอง เมื่อแต่ละรัฐต่างก็ลุกขึ้นจับอาวุธทวงเอาสิทธิที่จะแยกตัวออกเป็นรัฐอิสระมากขึ้น พม่าก็ทำรัฐประหารตนเอง ในปี ค.ศ. 1958 โดยมอบอำนาจให้กับคณะทหาร จนกระทั่งปี ค.ศ.1960 พม่าได้จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป และอูนุได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง และพยายามที่จะให้มีความปรองดองกันขึ้นในสหภาพแต่ก็ถูกนายพลเนวิน ก่อรัฐประหารยึดอำนาจในปี ค.ศ.1962 รวมทั้งจับกุมเจ้าฟ้าไทยใหญ่และแกนนำในการเคลื่อนไหวหลายท่าน เพื่อที่จะปราบปรามรัฐที่จะแยกตัวออกเป็นรัฐอิสระได้ง่ายขึ้นพม่าได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นระบอบสังคมนิยมแบบพม่า โดยมีพรรคการเมืองพรรคเดียว เรียกว่า พรรคโครงการสังคมนิยมพม่าหรือ BSPP (Burma Socialist Programme Party) ต่อมาได้ถ่ายโอนอำนาจให้กับคณะกรรมการฟื้อฟูความสงบเรียบร้อยแห่งรัฐหรือ SLORC (State Law and Order Restoration Council) เมื่อปี ค.ศ. 1988ในปี ค.ศ.1990 พม่าได้จัดการเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง โดยพรรค NLD (National League for Democracy) ของนางอ่องซานซูจี ชนะอย่างท่วมท้น แต่รัฐบาลทหารพม่าไม่ยอมถ่ายโอนอำนาจให้กับพรรค NLD หลังจากนั้นในปี ค.ศ.1997 รัฐบาลพม่าได้เปลี่ยนชื่อ SLORC เป็นสภาเพื่อสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (State Peace and Development Council) หรือ SPDC SPDC ได้เสนอ โรดแม็พเจ็ดขั้นตอนสู่ประชาธิปไตย (The Seven–Step Roadmap to Democracy) โรดแม็พเจ็ดขั้นตอนสู่ประชาธิปไตยนั้น ได้ถูกปฏิเสธโดยประชาชนชาวพม่าและกลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นสมาชิกสหภาพพม่ามาโดยตลอด ตั้งแต่ขั้นที่หนึ่ง คือประชุมสภาแห่งชาติ (National Conference) และขั้นที่สามเมื่อร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งประชาชนไม่มีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็น ยีงกว่านั้นในขั้นที่สี่ ยังบังคับประชาชนให้ลงประชามติรับเอาร่างรัฐธรรมนูญ ในขั้นที่ห้า ก่อนการเลือกตั้งได้มีพรรคการเมืองขอจดทะเบียน 47 พรรคแต่คณะกรรมการจัดการเลือกตั้งอนุญาต 42 พรรค หลังจากนั้นได้ถอนอีก 5 พรรค คงเหลือ 37 พรรค วันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 2510 พม่าได้จัดการเลือกตั้งทั่วไป ในรอบยี่สิบปี โดยผลการเลือกตั้งมี 23พรรคการเมืองได้ผู้แทนเข้าสู่สภารัฐธรรมนูญพม่ากำหนดให้มีสภาสี่สภา คือ สภาแห่งสหภาพ (Union Parliament) สภาประชาชนหรือสภาราษฎร (People’s Parliament) สภาแห่งชาติ (National Parliament) สภาแห่งภูมิภาคและแห่งรัฐ (Regional and State Parliament) สภานี้เป็นสภาท้องถิ่น โดยให้รัฐที่เป็นสมาชิกสหภาพทั้ง 7 รัฐ มีอำนาจเทียบเท่ากับมณฑลหนึ่งของพม่าเท่านั้นเอง จากผลการเลือกตั้ง สภาแห่งสหภาพหรือ ปยีตองซุ ลุตต่อ (Pyidaungsu Hluttaw) มีผู้แทนหรือสมาชิกสภาได้ทั้งหมด 659 ที่นั่ง แต่งตั้งจากนายทหารในกองทัพพม่า 166 นาย พรรคพัฒนาและเอกภาพแห่งสหภาพ (USDP)รือรู้จักกันในนามพรรคเจี้ยงไข่เยได้ไป388 ที่นั่ง และพรรคอื่นๆ รวมกันได้ 105 ที่นั่ง สภาประชาชนหรือ ปยีตุ ลุตต่อ (PyithuHluttaw) มีสมาชิกสภาได้ทั้งหมด 435 ที่นั่ง แต่งตั้งจากนายทหารในกองทัพพม่า 110 ที่นั่ง พรรคพัฒนาและเอกภาพแห่งสภาพ (USDP) ได้ไป 259 ที่นั่ง พรรคที่เหลือได้ 66 ที่นั่ง สภาแห่งชาติหรือ อเมียวตา ลุตต่อ (AmyothaHluttaw) สภานี้กำหนดให้เป็นวุฒิสภา มีสมาชิกสภาได้ทั้งหมด 224 ที่นั่ง แต่งตั้งจากนายทหารในกองทัพพม่า 56 ที่นั่ง พรรคพรรคพัฒนาและเอกภาพแห่งสภาพ (USDP) ได้ไป129 ที่นั่งอีก39 ที่นั่งเป็นของพรรคที่เหลือ สภาแห่งภูมิภาคและแห่งรัฐหรือ ปยีแหน่ ลุตต่อ (PyineHluttaw) มีสมาชิกสภาได้ทั้งหมด 883 ที่นั่ง แต่งตั้งจากนายทหารในกองทัพพม่า 222 ที่นั่งพรรคพัฒนาและเอกภาพแห่งสภาพ (USDP) ได้ไป 494 ที่นั่งพรรคอื่น ๆ รวมกันได้ 167 ที่นั่ง จะสังเกตเห็นได้ว่าแต่ละสภานั้น ส่วนใหญ่เป็นผู้แทนจากกองทัพพม่า และพรรคพัฒนาและเอกภาพแห่งสหภาพ (USDP) ซึ่งทั้งสองรวมกันแล้วมากกว่า 80% ของสมาชิกสภาทั้งหมด ส่วนพรรคที่มาจากรัฐที่เป็นสมาชิกสหภาพทั้ง 7 รัฐ คือ รัฐฉาน รัฐกะหยิ่น (กะเหรี่ยง) รัฐมอญ รัฐยะไข่ (อาระกัน) รัฐชิน รัฐคะยาห์ และรัฐคะฉี่น รวมกันกับพรรคการเมืองของพม่าอีกหลายพรรค ได้ไม่ถึง 19% ของสมาชิกสภาทั้งหมดเกี่ยวกับพรรคพัฒนาและเอกภาพแห่งสหภาพ (USDP) หรือพรรคเจี้ยงไข่เยนี้ เป็นพรรคที่สนับสนุนโดยผู้อาวุโสตานส่วย พรรคการเมืองพรรคนี้ ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1993 ภายใต้ชื่อสมาคมหรือสันนิบาตพัฒนาและเอกภาพแห่งสภาพ (Union Solidarity and Development Association - USDA) กิจกรรมและการดำเนินการของพรรคสันนิบาตนี้ คือเปิดรับสมาชิกทุกชาติพันธุ์ตั้งแต่อายุสิบเอ็ดปีขึ้นไป ส่วนใหญ่พรรคจะเข้าไปจัดกิจกรรมให้กับนักเรียนทั่วประเทศ โดยไม่เลือกพื้นที่และชนเผ่า แม้ว่า พม่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป แบบประชาธิปไตย แต่รัฐธรรมนูญของพม่านั้น ไม่เป็นแบบประชาธิปไตย คือกำหนดให้แต่งตั้งบุคคลในกองทัพ 25%เป็นสมาชิกสภาของทุกสภา ยิ่งกว่านั้นยังกีดกันไม่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็น ในเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ เมื่อเป็นดังนี้ การที่เพื่อนบ้านของพม่าหรือชุมชนโลก อยากจะเห็นความปรองดองเกิดขึ้นในพม่านั้นคงจะเป็นเรื่องยาก โดยเหตุนี้สถานการณ์ในประเทศพม่าภายหลังการเลือกตั้งจึงยังคงมีการจับอาวุธลุกขึ้นสู้กับรัฐบาลพม่าอยู่ทุกวัน เช่นเดียวกันกับสภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน (R.C.S.S.) และกองทัพรัฐฉาน (S.S.A.) รวมทั้งประชาชนในรัฐฉานทั้งหมดก็ยังยืนยันที่จะเรียกร้องเอาสิทธิและเสรีภาพของตนเองจนถึงที่สุด ไม่ว่าจะโดยวิธีการใด ๆ รัฐฉานเป็นหนึ่งในสมาชิกสหภาพพม่า โดยสนธิสัญญาปางโหลง รัฐฉานไม่ใช่อาณาเขตหรือดินแดนส่วนใดส่วนหนึ่งของประเทศพม่ามาก่อน รัฐฉานมีภาษา วัฒนธรรมและดินแดนเป็นของตนเอง และพร้อมที่จะปกครองตนเองเช่นในอดีตที่ผ่านมา การเจรจาใด ๆ ที่ทำให้ประชาชนในรัฐฉานได้มาซึ่งสิทธิเสรีภาพและสันติภาพนั้น สภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉานและกองทัพรัฐฉาน ร่วมกับประชาชนรัฐฉานทั้งหมดยินดีที่จะเจรจากับทุกฝ่ายและทุกเมื่อ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
อัยการฯเรียกไกล่เกลี่ยกรณีขอ"พิพิธภัณฑ์"เป็นบ้านพักข้าราชการ Posted: 01 Dec 2011 10:56 PM PST ขอคืนพื้นที่ “ศูนย์สร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่” เป็นบ้านพัก ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฯ เชียงใหม่ เขต 1 ยังไม่จบ - ล่าสุดอัยการจังหวัดเตรียมเรียกคู่กรณีไกล่เกลี่ย 7 ธ.ค. นี้ ขณะที่เลขาฯ มูลนิธิทำหนังสือชี้แจง-ขอความเป็นธรรมต่อผู้ว่าฯ เชียงใหม่ (2 ธ.ค. 54) ตามที่ประชาไทนำเสนอข่าวเรื่อง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 (สพท.ชม.1) ได้ทำหนังสือขอให้มูลนิธิสถาบันพัฒนาเมือง คืนพื้นที่ “ศูนย์สร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่ แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน” ให้กลับมาเป็นบ้านพักประจำตำแหน่งของนายชุมพล รัตน์เลิศลบ ผู้อำนวยการ สพท.ชม.1 ซึ่งมาดำรงตำแหน่ง ผอ.สพท.ชม.1 แทนนายโกศล ปราคำ ผู้อำนวยการคนเก่าซึ่งเพิ่งเกษียณอายุราชการ โดยในหนังสือระบุว่า “เป็นสิทธิในการเข้าพักอาศัยบ้านพักดังกล่าวเป็นสิทธิตามมาตรา 7 (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1” (ข่าวที่เกี่ยวข้อง) โดยก่อนหน้านี้ สพท.ชม.1 ได้อนุญาตให้มูลนิธิสถาบันพัฒนาเมือง ใช้พื้นที่บ้านพักศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ มุมถนนราชวิถีตัดกับถนนราชภาคินัย ซึ่งไม่ได้มีการใช้งานเป็นเวลานานมาปรับปรุงเป็น “ศูนย์สร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่ แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน” ซึ่งมีรูปแบบเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนแห่งใหม่ และสนับสนุนการศึกษานอกระบบที่เกี่ยวกับวิชาท้องถิ่น เช่น เรื่องผังเมือง สิ่งแวดล้อม ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น การสืบทอดภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น เปิดดำเนินการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2553 (ข่าวที่เกี่ยวข้อง) โดยเมื่อวันที่ 3 ต.ค. มีการหารือกันระหว่างคณะกรรมการของมูลนิธิสถาบันพัฒนาเมือง กับนายชุมพล รัตน์เลิศลบ ผู้อำนวยการ สพท.ชม.1 แต่ยังไม่ได้ข้อยุติ
หนังสือที่ อส. 0042/(ชม)/14256 เรียน ประธานมูลนิธิสถาบันพัฒนาเมือง (เชียงใหม่) เรื่อง ขอเชิญพบ
หนังสือเรื่อง “ขอความเป็นธรรมในการใช้พื้นที่และบ้านพักศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ (เดิม)” ของมูลนิธิสถาบันพัฒนาเมือง ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
อัยการฯ เชียงใหม่ทำหนังสือเรียกคู่พิพาทไกล่เกลี่ย 7 ธ.ค. ล่าสุดเมื่อ 29 พ.ย. ที่ผ่านมา นางกนกพร สั้นศรี อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่ ปฏิบัติราชการแทนอัยการจังหวัดเชียงใหม่ ได้ทำหนังสือลงเลขที่ อส. 0042 (ชม)/14256 เรียน ประธานมูลนิธิสถาบันพัฒนาเมือง (เชียงใหม่) “เรื่อง ขอเชิญพบ” เนื้อหาระบุว่า “ตามหนังสือที่อ้างถึง มูลนิธิฯ แจ้งเหตุขัดข้องไม่สามารถไปพบพนักงานอัยการเพื่อไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาท กรณีพิพาทระหว่างนายชุมพล รัตน์เลิศลบ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่กับมูลนิธิสถาบันพัฒนาเมือง (เชียงใหม่) เกี่ยวกับบ้านพักซึ่งปลูกอยู่บนที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียน ที่ ชม 6 ถนนราชวิถี ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และขอให้เลื่อนการไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทเป็นวันพุธที่ 7 ธันวาคม 2554 เวลา 09.00 นาฬิกา ณ ศูนย์สร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่ ความละเอียดแจ้งแล้ว นั้น สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่ ได้แจ้งความประสงค์ดังกล่าวให้นายชุมพล รัตน์เลิศลบ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ ผู้ร้อง ทราบแล้ว ซึ่งผู้ร้องแจ้งว่า ไม่ขัดข้องที่จะนัดไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทในวันเวลาดังกล่าว แต่ขอให้ดำเนินการ ณ สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่ อาคารสำนักงานอัยการภาค 5 โดยขอให้เชิญนายโกศล ปราคำ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ และธนารักษ์พื้นที่เชียงใหม่ ไปพบเพื่อให้ข้อเท็จจริงทั้งหมดเกี่ยวกับบ้านพิพาทด้วย สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ จึงขอเชิญท่านและผู้เกี่ยวข้องไปพบนางกนกพร สั้นศรี อัยการจังหวัดฯ ณ สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่ อาคารสำนักงานอัยการภาค 5 ในวันที่ 7 ธันวาคม 2554 เวลา 9.00 น. พร้อมนำเอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทดังกล่าวไปด้วย หากขัดข้องประการใด กรุณาแจ้งให้ทราบล่วงหน้า”
สถาบันพัฒนาเมืองทำหนังสือชี้แจง-ขอความเป็นธรรมผู้ว่าฯ ขณะเดียวกัน เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. นางดวงจันทร์ อาภาวัชรุตม์ เจริญเมือง เลขานุการ มูลนิธิสถาบันพัฒนาเมือง ได้ทำหนังสือถึง ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เรื่อง “ขอความเป็นธรรมในการใช้พื้นที่และบ้านพักศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ (เดิม)” ตอนหนึ่งชี้แจงว่า อาคารบ้านพักศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ (เดิม) ซึ่งเป็นอาคารไม้อายุ 80 ปี หลังดังกล่าว “ในช่วงประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา สถานที่แห่งนี้ไม่ได้ถูกใช้เพื่อการอยู่อาศัย และมีสภาพรกรุงรังไม่น่าดู โดยเฉพาะหลังจากที่มีการแบ่งหน่วยงานใหม่และตำแหน่งศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ถูกยุบไป เดือนมกราคม พ.ศ. 2553 มูลนิธิสถาบันพัฒนาเมืองได้ทำหนังสือขออนุญาตใช้พื้นที่บริเวณบ้านพักศึกษาธิการ (เดิม) เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนแห่งใหม่ ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่เขต 1 ซึ่งมี นายโกศล ปราคำ เป็นผู้อำนวยการในขณะนั้น ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงกับมูลนิธิสถาบันพัฒนาเมือง อนุญาตให้มูลนิธิฯ ใช้พื้นที่และอาคารบ้านพักศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ (เดิม) เพื่อพัฒนาเป็น “ศูนย์สร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่ แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน” มีระยะเวลาการใช้พื้นที่ 10 ปีขึ้นไปตามโครงการที่เสนอขอและแนบท้ายบันทึกข้อตกลง” ต่อกรณีที่ สพท.ชม.1 จะขอคืนพื้นที่นั้น ในหนังสือยังระบุว่า “มูลนิธิฯ เห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมในการขอใช้พื้นที่ในกรณีนี้ จึงขอคัดค้านความพยายามที่จะเอาพื้นที่บ้านพักศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ (หลังเดิม) ซึ่งปัจจุบันเป็นศูนย์สร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่ฯ อันเป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรมของประชาสังคมเมืองเชียงใหม่ จึงร้องเรียนมายังผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ในฐานะผู้รับผิดชอบสูงสุดของจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อสั่งการให้มีการทบทวนการขอคืนพื้นที่ดังกล่าว”
ยก 9 เหตุผลใช้สถานที่เพื่อการเรียนรู้ของสังคม - การขอคืนพื้นที่ไม่เป็นธรรม โดยหนังสือชี้แจงของมูลนิธิให้เหตุผลดังนี้ “หนึ่ง มูลนิธิฯ ได้จัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้และสร้างสรรค์ของเยาวชนและบุคคลทั่วไป เพื่อพัฒนาเมือง ชุมชน และสังคมให้เป็นเมืองสีเขียว มีการเก็บรักษามรดกทางวัฒนธรรม มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีความน่าอยู่ ณ สถานที่นี้ตามที่ได้รับอนุญาต ตลอดระยะเวลาที่มูลนิธิฯ ได้เข้ามาดำเนินการมีสถานศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับอุดมศึกษาของคนไทยและชาวต่างประเทศเข้ามาใช้บริการ สอง มูลนิธิฯ ได้ใช้ทรัพยากรบุคคลและงบประมาณในการปรับปรุงอาคารสถานที่จนอยู่ในสภาพที่สวยงามในปัจจุบันเป็นเงินจำนวนหลายล้านบาท เพราะเชื่อมั่นตามบันทึกข้อตกลงว่าสามารถใช้พื้นที่เกิน 10 ปีขึ้นไป สาม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้เห็นความสำคัญของแหล่งเรียนรู้แห่งนี้ จึงได้มอบงบประมาณให้สร้างบ้านดินจากวัสดุเหลือใช้ที่เคยถูกเผา กลายเป็นบ้านดินจากขยะหลังเดียวที่มีคนจากทั่วประเทศและต่างประเทศมาศึกษาดูงาน ซึ่งได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของเมืองเชียงใหม่ สี่ อาคารไม้ซึ่งเคยเป็นบ้านพักปัจจุบันได้ถูกดัดแปลงให้เป็นอาคารสำหรับการจัดนิทรรศการ และห้องแสดงต่างๆ ตลอดจนห้องและลานกิจกรรมเพื่อการศึกษา เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน ห้องน้ำชั้นบนที่เคยถูกต่อเติมอย่างผิดแบบ และละเมิดคติความเชื่อของชาวล้านนาในเรื่อง “ขึด” ได้ถูกรื้อออกไป ปัจจุบันอาคารไม่เหมาะที่จะพักอาศัยอีกต่อไป ห้า ในช่วงเวลาปีเศษที่ผ่านมา “ศูนย์สร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่ แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน” ได้ทำหน้าที่เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สถาบันการศึกษาต่างๆ จัดส่งนักเรียนนักศึกษามาเรียนรู้ ทำกิจกรรม และฝึกงานอย่างต่อเนื่อง ทั้งในช่วงเวลาราชการและวันหยุดสุดสัปดาห์ จนเป็นที่รู้จักคุ้นเคยและสร้างชื่อเสียงให้แก่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 ที่สนับสนุนกิจกรรมการศึกษาแก่ส่วนรวม หก การก่อตั้งศูนย์เรียนรู้แห่งนี้เป็นภาระหน้าที่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา ข้อ๑ (๔)ด้านบริหารทั่วไป (ต) การส่งเสริม สนับสนุน และประสานการจัดการศึกษาของบุคคล ชุมชน องค์กร หน่วยงาน และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษา หากศูนย์สร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่ต้องคืนพื้นที่นี้ เท่ากับว่าสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 ละเมิดกฎกระทรวงฉบับนี้ เจ็ด บันทึกข้อตกลงมีผลบังคับต่อเนื่องตามกฎหมาย แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนชื่อหน่วยงาน การทวงคืนพื้นที่จึงทำให้มูลนิธิ ฯ ไม่ได้รับความเป็นธรรม แปด จากการทำแบบสอบถามความเห็นของประชาชนที่อาศัยอยู่รอบข้าง และประชาชนทั่วไปที่ทราบข่าว ต่างสนับสนุนให้มูลนิธิ ฯ ดำเนินงานเพื่อสังคมต่อไปในสถานที่แห่งนี้ และคัดค้านที่จะให้พื้นที่ศูนย์สร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่ ฯ กลับเป็นบ้านพักอาศัยของคนๆเดียวหรือครอบครัวเดียว เก้า มูลนิธิฯ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณและสิ่งของมาปรับปรุงศูนย์สร้างสรรค์ฯ เนื่องจากแหล่งทุนเห็นว่าสามารถใช้พื้นที่ในระยะยาวอย่างน้อย 10 ปีขึ้นไป” “การยุติการใช้พื้นที่และอาคารแห่งนี้ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ฯ จะทำให้เมืองเชียงใหม่สูญเสียแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไป การตัดสินใจเช่นนี้ย่อมก่อให้เกิดคำถามมากมายจากประชาชน รวมทั้งนักการทูตหลายประเทศที่เคยมาร่วมกิจกรรมกับเรา อันจะทำให้ชื่อเสียงของเมืองเชียงใหม่ และประเทศไทยพลอยมัวหมองไปด้วย” หนังสือของมูลนิธิระบุ โดยท้ายหนังสือทางมูลนิธิได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ได้แก่ “สืบหาข้อเท็จจริง และประสานไปยังสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ออกเอกสารที่มีความชัดเจนเพื่อยุติการทวงคืนพื้นที่อนุญาตให้มูลนิธิฯ ได้ใช้พื้นที่และอาคารแห่งนี้เพื่อดำเนินการเป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน ตามบันทึกข้อตกลง มิใช่เพื่อประโยชน์แก่คนใดคนหนึ่ง แต่เพื่อประโยชน์แก่สังคมเมืองเชียงใหม่ และสังคมไทยโดยรวม” สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
"สุรพงษ์" เตรียมชงเรื่องคืนหนังสือเดินทาง "ทักษิณ" Posted: 01 Dec 2011 08:40 PM PST เพื่อให้เป็นของขวัญปีใหม่ให้ทักษิณด้วย ยันทำตามระเบียบกระทรวงทุกอย่าง ไม่ได้ทำผิดข้อกฎหมาย มติชนออนไลน์ รายงานวันนี้ (2 ธ.ค.) ว่านายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ว่า ได้เตรียมทำเรื่องคืนหนังสือเดินทางหรือพาสปอร์ตให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยในเบื้องต้นจะเป็นพาสปอร์ตธรรมดาก่อน อย่างไรก็ตามกรณีดังกล่าวจะมีกลุ่มมวลชนออกมาขัดขวาง แต่เนื่องจากไม่ได้ทำผิดข้อกฎหมาย ทำตามระเบียบของกฎกระทรวงทุกอย่าง และจะเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ด้วย ทั้งนี้ นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ไม่รู้สึกหวั่นไหวหากมีการปรับคณะรัฐมนตรี เพราะตลอดระยะเวลามีผลงานในหลายเรื่อง อีกทั้งตนเป็นคนไม่ยึดติดกับตำแหน่ง สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
เม้าท์มอย: อากงSMS บักโบ้ไอวอรี่ โคสต์ไปศาลโลกแล้ว และสาวๆ ปชป. Posted: 01 Dec 2011 07:35 PM PST เม้าท์มอย สัปดาห์แรกของเดือนส่งท้ายปี พบกับหลิ่มหลีและชามดองเช่นเคย สัปดาห์นี้เม้าท์กันเรื่องของอากง sms ต่อกันด้วยเรื่องของ โลรองต์ บากโบ อดีตผู้นำไอวอรีโคสต์ ถูกส่งตัวดำเนินคดีสังหารหมู่ประชาชนที่ศาลอาญาระหว่างประเทศได้โดยยังไม่ลงสัตยาบัน และปิดท้ายด้วยข่าวเม้าท์มันส์ๆ ถึงสาวๆ ประชาธิปัตย์ เกี่ยวกับข้อเสนอปิดเฟซบุ๊คและยูทูบ วิเคราะห์วาทะเด็ดของ Philosopher ที่ว่าคนทั่วโลกรู้จักอะไรมากกว่ากันระหว่าง Bastille day, Hermes และ Chanel ช่วงที่ 1 ช่วงที่ 2 ช่วงที่ 3 สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น