โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ข้อเท็จจริงที่ต้องรู้ก่อนออกไป “ต่อสู้กับอเมริกาและองค์กรสหประชาชาติ”

Posted: 20 Dec 2011 11:23 AM PST

ผมได้อ่านบทความ “ต้องต่อสู้แม้กับอเมริกาและองค์กรสหประชาชาติ" ที่คุณวสิษฐ เดชกุญชร เขียนลงมติชนออนไลน์ ประจำวันที่ 20 ธันวาคม 2544 และเห็นว่ามีความคลาดเคลื่อนหลายส่วน ทั้งในส่วนของข้อเท็จจริงและประเด็นอื่นๆ ในบทความ จึงขอแลกเปลี่ยนมาเป็นประเด็นเหล่านี้

ประเด็นที่หนึ่ง นางคริสตี้ เคนนีย์ (Kristie Kenney) เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยและนางสาวราวีนา ชัมดาซานี (Ravina Shamdasani) รักษาการโฆษกข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ไม่ได้แสดงความเห็นในกรณีของนายอำพล ตั้งนพคุณ (หรือที่รู้จักกันว่าอากง) ที่ถูกตัดสินจำคุก 20 ปี ตามมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา (กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ) ตามที่คุณวสิษฐเขียนไว้ในบทความ

นางคริสตี้ เคนนีย์ให้ความเห็นใน Twitter เกี่ยวกับกรณีการตัดสินคดีของนายโจ กอร์ดอน ซึ่งเป็นพลเมืองสัญชาติไทย-อเมริกา ส่วนนางสาวราวีนาได้พูดถึงปัญหาของกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในภาพรวม 

การแสดงความคิดเห็นของนางคริสตี้เป็นไปอย่างสั้นๆ ตามข้อจำกัดของ Twitter ที่สามารถพิมพ์ได้แค่ 140 คำ โดยมีข้อความเป็นภาษาอังกฤษโดยสามารถแปลเป็นภาษาไทยคร่าวๆ ได้ว่า “สถานฑูตอเมริกามีความเคารพต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยเป็นอย่างสูงสุด แต่รู้สึกเป็นกังวลต่อการตัดสินที่ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลในด้านเสรีภาพการแสดงความคิดเห็น” และ “กรณีคดีนายโจ กอร์ดอน สหรัฐฯ จะสนับสนุนเขาต่อไป โดยจะไปเยี่ยมและให้ความช่วยเหลือ”

ส่วนการแสดงความคิดเห็นของนาวีย์ พิเลย์ (Navi Pillay) ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ผ่านนางสาวราวีนามีข้อความดังนี้ “บทลงโทษที่ร้ายแรงที่เป็นอยู่ เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นและเกินกว่าเหตุ (neither neccessary nor proportionate) อีกทั้งเป็นการละเมิดละเมิดพันธกรณีทางด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี เราขอเรียกร้องให้ทางการไทยแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และในระหว่างนี้ ควรมีการกำหนดแนวทางการดำเนินการให้แก่ตำรวจและอัยการ เพื่อยุติการจับกุมและดำเนินคดีบุคคลด้วยกฎหมายดังกล่าวที่มีความคลุมเครือ นอกจากนี้เรายังมีความกังวลต่อการลงโทษที่อย่างเกินกว่าเหตุโดยศาล และการคุมขังผู้ต้องหาซึ่งมีระยะเวลานานต่อเนื่องในช่วงก่อนการไต่สวนคดี ด้วย"

ดังนั้นการที่คุณวสิษฐไม่ได้อ่านความคิดเห็นของนางคริสตี้ใน Twitter และใบแถลงข่าว (press briefing) ของสำนักข้าหลวงเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ทำให้เหตุผลของบทความมีความคลาดเคลื่อนไปเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะเหมารวมว่าสถานทูตสหรัฐฯ ได้เรียกร้องให้มีการแก้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ทั้งๆ ที่นางคริสตี้เพียงแต่แสดงความเป็นห่วงต่อการตัดสินคดีนายโจ การ์ดอน

ประเด็นที่สอง คุณวสิษฐอ้างถึงหน้าที่ของประชาชนไทยไปพร้อมกับสิทธิ เช่นเดียวกันประเทศไทยในฐานะเป็นสมาชิกของสหประชาชาติและเป็นสมาชิกของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน (Human Rights Council) ก็มีหน้าที่ในการเคารพและปกป้องสิทธิมนุษยชนเช่นเดียวกัน สมาชิกของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนควรที่จะมี “การส่งเสริมและเคารพสิทธิมนุษยชนในระดับที่สูงที่สุด”

ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights) โดยมีการพูดถึงสิทธิในการ “ปล่อยตัวชั่วคราว” และ “การไม่คุมขังบุคคลระหว่างพิจารณาคดี” (ตามข้อ 9) และ “สิทธิในเสรีภาพแห่งการแสดงออก” (ตามข้อ 19) ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ

ประเด็นที่สาม การตื่นตัวเรื่องการนำกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อประหัตประหารฝ่ายตรงกันข้ามไม่ได้เป็นสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้น

ข้อกังวลกับการบังคับใช้กฎหมายนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่เพียงกับบุคคลสองท่านนี้เท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นทั้งในระดับสากลและในระดับประเทศในหมู่นักวิชาการ นักกฎหมาย และนักสิทธิมนุษยชน

ในการประชุมการตรวจสอบสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทย (Universal Periodic Review) โดยคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ตัวแทนจากรัฐบาลกว่ายี่สิบประเทศ เช่น เยอรมัน ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย และประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางการทูตและมีสถาบันกษัตริย์อย่างมั่นคงและยาวนานอย่าง สหราชอาณาจักร นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ และสวีเดนต่างก็แสดงความกังวลถึงการบังคับใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นอย่างมากและได้เสนอคำแนะนำต่อประเทศไทยให้ปฏิรูปกฎหมายนี้ให้เป็นไปตามกติกาสิทธิมนุษยชนสากลเพื่อไม่ให้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง

ฯพณฯ ทจาโก ทีโอ วาน เดน เฮาท์ (Tjaco Theo van den Hout) เอกอัคราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่มีสถาบันกษัตริย์ก็เคยเขียนบทความในหนังสือพิมพ์ลงบางกอกโพสต์โดยความเห็นส่วนตัวในฐานะผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย โดย ฯพณฯ ได้ให้ความเห็นว่าในกรณีประเทศเนเธอร์แลนด์ นักวิชาการทางกฎหมายได้แลกเปลี่ยนว่าการบังคับใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพจะเป็นผลดีต่อสถาบันหรือไหม โดยในความเห็นของเอกอัครราชทูตฯ การบังคับใช้กฎหมายหมิ่นในประเทศเนเธอร์แลนด์ “อาจจะมีผลลบที่รุนแรงต่อสถาบันที่กฎหมายนั้นต้องการจะปกป้องเอง”

เช่นเดียวกัน ฯพณฯ มิริท เจล บรัดเทสเต็ด (Merete Fjeld Brattested) เอกอัครราชทูตนอร์เวย์ประจำประเทศไทยก็เคยให้ความเห็นใน “การประชุมว่าด้วยประสบการณ์ของสถาบันพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ: กรณีศึกษาในทวีปยุโรปและประเทศญี่ปุ่น” ที่จัดโดยสถาบันยุทธศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี 2552 ว่าในประเทศนอร์เวย์ประชาชน “ไม่สามารถแจ้งความกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพได้เอง” ซึ่งมีความแตกต่างจากกรณีประเทศไทยโดยสิ้นเชิง คือ ใครจะแจ้งความกับตำรวจต่อกับอีกคนหนึ่งก็ได้

องค์กรหลายส่วนไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) และคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ก็ได้ออกมาแสดงความเห็นในการเป็นห่วงการบังคับใช้กฎหมายเช่นเดียวกัน ซึ่งกสม. ได้มีการตั้งคณะทำงานออกมาศึกษาปัญหากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจเนื่องจากคดีที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพได้มีจำนวนสูงขึ้นเป็นจำนวนมากในระดับหลายร้อยคดีในระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะหลังรัฐประหารในปี 2549 ตามข้อมูลของ ดร.เดวิด สเตร็คฟัส (David Streckfuss) นักวิชาการทางไทยศึกษาด้านกฎหมายหมิ่น

ประเด็นที่สี่ การที่บุคคลมีความเห็นว่ากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมีปัญหาในการละเมิดสิทธิแสดงออกและต้องมีการแก้ไข ไม่สามารถใช้ในการตีความแบบกำปั้นทุบดินว่าบุคคลหรือองค์กรเหล่านั้น “พยายามทำลายการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” หรือมีเจตนาเช่นนั้น

แม้แต่บุคคลอย่างอาจารย์สุลักษณ์ ศิวลักษณ์หรืออดีตนายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุนที่มีความเคารพต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอย่างสูงอย่างปฏิเสธไม่ได้ได้แสดงความคิดเห็นถึงปัญหาของตัวบทกฎหมาย โดยกรณีหลังอดีตนายกฯ อานันท์ได้แสดงความเห็นที่สมาคมนักข่าวต่างประเทศในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาว่าเขาเห็นว่าการบังคับใช้กฎหมายมีความรุนแรงเกินไป โดยเฉพาะการฟ้องร้องที่เปิดโอกาสให้ใครกล่าวโทษก็ได้ และเสนอว่าอาจมีการตั้งหน่วยงานในการทำหน้าที่สั่งฟ้องโดยเฉพาะ และพิจารณาลดบทลงโทษให้ผ่านคลายกว่าเดิม

ที่สำคัญ บุคคลและองค์กรเหล่านี้กำลังวิจารณ์ตัวบทกฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมายที่มีความขัดแย้งต่อหลักสิทธิมนุษยชนสากล เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศและหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ที่ผู้ต้องหาคดีควรมีสิทธิในการประกันตัว ควรได้รับโทษที่มีความพอดี สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ประชาชนในสังคมโลกสามารถทำได้

และที่สำคัญที่สุด ในสังคมที่มีความเติบโตทางประชาธิปไตยและยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง เราคงไม่ถึงกับต้องทำการต่อสู้กับบุคคลหรือองค์กรที่เราไม่เห็นด้วยทุกครั้งไปหรอกครับ

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ยิ่งลักษณ์ เข้าพบปะ 'ออง ซาน ซูจี' ที่ย่างกุ้ง

Posted: 20 Dec 2011 11:05 AM PST

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พบปะนางอองซาน ซูจี  ผู้นำฝ่ายค้านของพม่าเมื่อเย็นวันอังคารที่ย่างกุ้ง หลังเสร็จสิ้นการประชุมสุดยอดผู้นำลุ่มแม่น้ำโขง พร้อมกล่าวสนับสนุนการพัฒนาปชต.ในพม่า ในขณะที่ไทยเตรียมเดินหน้าโครงการลงทุนด้านพลังงานขนาดใหญ่ที่เมืองทวาย

เมื่อเวลาราว 17.30 นาฬิกาของประเทศไทย นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยได้เข้าพบปะกับผู้นำฝ่าย ค้านของพม่า นางออง ซาน ซูจี ผู้นำพรรคเอ็นแอลดี (National League of Democracy -NLD) ที่สถานเอกอัคร ราชทูตไทย ณ นครย่างกุ้ง หลังจากเสร็จสิ้นการประชุมสุดยอดกรอบความร่วมมือทางเศษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำ โขง ครั้งที่ 4 ณ กรุงเนปิดอว์ โดยยิ่งลักษณ์นับเป็นนายกฯ ไทยคนแรกที่ได้พบปะกับออง ซาน ซูจี

ไทยหนุนซูจีช่วยพัฒนาประชาธิปไตย

นสพ.เดลินิวส์ รายงานว่า นางฐิติมา ฉายแสง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการพบปะระหว่าง น.ส .ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กับนางอองซาน ซูจี ที่ทำเนียบเอกอัคราชทูตไทยประจำกรุงย่างกุ้ง ว่า  นายกฯ ได้ แสดงความชื่นชมถึงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นอันแรงกล้าของนางออง ซาน ซูจีที่มีต่อการส่งเสริมพัฒนาการ ประชาธิปไตยในพม่า ที่เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ต่อการพัฒนาการทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตัดสินใจของ นางออง ซาน ซูจี และพรรคเอ็นแอลดี ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อมในพม่าที่คาดว่าจะมีขึ้นในเร็วๆนี้ พร้อมเห็นว่านางออง ซาน ซูจียังมีบทบาทอย่างยิ่งต่อด้านการต่างประเทศของพม่าด้วย

นางฐิติมา กล่าวอีกว่า นายกรัฐมนตรีย้ำว่า ไทยเป็นพันธมิตรและประเทศเพื่อนบ้านใกล้ชิดกับพม่า และต้องการเห็น พม่ามีความเจริญก้าวหน้า และพัฒนาในทุกด้านต่อไป เนื่องจากความมั่นคงและมั่งคั่งของพม่าคือความมั่นคงและมั่งคั่ง ของไทยด้วย โดยไทยพร้อมให้ความร่วมมือกับทุกฝ่ายในพม่า เพื่อพัฒนาพม่าให้ก้าวหน้าต่อไป ในโอกาสนี้ นายก รัฐมนตรียังให้ความมั่นใจกับนางออง ซาน ซูจีว่า รัฐบาลและประชาชนชาวไทยจะอยู่เคียงข้าง และขอเป็นกำลังใจให้ นางออง ซาน ซูจี และประชาชนชาวพม่าประสบความสำเร็จในการผลักดันให้พม่าเป็นประชาธิปไตยที่แข็งแกร่ง ยั่งยืน และมีพัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมที่ยังประโยชน์ต่อประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม

การพบปะระหว่างน.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กับนางอองซาน ซูจี มีขึ้นหลังจากการประชุมสุดยอดกรอบความร่วมมือทาง เศษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ครั้งที่ 4 เสร็จสิ้นลง ณ กรุงเนปิดอว์ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-20 ธันวาคม โดยมี สมาชิกร่วมประชุม 6 ประเทศ คือ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน โดยมีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สุรพงษ์  โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ และพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน เป็นตัวแทนจากรัฐบาลไทยเข้าร่วมการประชุม

หารือกับรบ.พม่า- เตรียมเดินหน้าโครงการท่าเรือน้ำลึก

นายกรัฐมนตรีไทย ยังได้หารือกับผู้นำรัฐบาลพม่าและนักลงทุนในการประชุมทวิภาคี โดยเฉพาะเกี่ยวกับการลงทุนและ โครงการพัฒนาด้านพลังงานและการขนส่ง ทั้งนี้ รัฐบาลไทยวางแผนจะก่อสร้างโครงการท่าเรือน้ำลึกขนาดใหญ่และสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายทางด้านตะวันตกของประเทศไทย ซึ่งเมื่อสร้างเสร็จแล้วจะทำหน้าที่ขนส่งแหล่งก๊าซธรรมชาติและเชื่อมต่อการขนส่งระหว่างไทยและพม่า โดยจะมีขนาดใหญ่กว่าเขตอุตสาหกรรมมาบตาพุดถึง 8 เท่า  อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวถูกวิจารณ์โดยนักสิทธิมนุษยชนและนักสิ่งแวดล้อมว่าจะส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่หลายหมื่นคน

อนึ่ง การประชุมสุดยอดกรอบความร่วมมือทางเศษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารเพื่อ การพัฒนาแห่งเอเซีย หรือ ADB ทั้งนี้ ผู้นำ 6 ประเทศสมาชิก ได้ร่วมหารือการนำกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาแผนงาน  GMS ฉบับใหม่ ปี 2012 - 2022 ไปสู่การปฏิบัติ โดยเน้นประเด็นเศรษฐกิจเป็นหัวใจหลัก ซึ่งนายกรัฐมนตรีไทยยืนยันใน  3 ประเด็นหลัก ได้แก่ การเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน ความปลอดภัย และความมั่นคงของประชาชนและทรัพย์สินในอนุภูมิภาค การเกื้อหนุนกับกรอบความร่วมมืออื่นและการสนับสนุนทางการเงินที่มีความเกี่ยวโยงกัน

นักวิเคราะห์จับตาผลประโยชน์ด้านพลังงาน

ทั้งนี้ นสพ.บางกอกโพสต์รายงานว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ได้เดินทางไปเยือนพม่าและพบปะกับประธานาธิบดีเต็ง เส่ง และพลเอกตาน ฉ่วย อดีตผู้นำรัฐบาลทหาร โดยทักษิณกล่าวว่าการพบปะดังกล่าวเป็นไปเพื่อปูทางให้การมาเยือนของยิ่งลักษณ์เป็นไปอย่างราบรื่น ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่า การที่ทักษิณเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเจรจาระหว่างไทย-พม่านี้ อาจเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ทับซ้อนทางธุรกิจโดยเฉพาะด้านพลังงาน

กวี จงกิจถาวร คอลัมนิสต์นสพ.เดอะเนชั่น ให้สัมภาษณ์กับอิระวดีว่า การไปเยือนพม่าของยิ่งลักษณ์ในครั้งนี้ ให้ความสำคัญกับการเจรจาผลประโยชน์ด้านพลังงานเป็นอันดับแรก ส่วนอันดับสอง คือการเพิ่มความชอบธรรมทางการเมืองให้กับตนเองด้วยการพบปะกับออง ซาน ซูจี 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

TDRI: อนาคตสังคมสูงอายุไทยยังน่าห่วง

Posted: 20 Dec 2011 08:51 AM PST

ผลวิจัยระบุไทยยังตื่นตัวช้ารับสังคมสูงอายุ  แนะรัฐยังมีโอกาสรับมือและได้ประโยชน์จากสังคมสูงอายุระยะเริ่มต้น ผลวิจัยพบคนไทยทั้งในเมืองและชนบทมีช่วงอายุพึ่งตนเองได้น้อยลง เตือนวัยแรงงานทำใจยอมรับต้องทำงานยาวนานขึ้นและ เก็บออมพร้อม “แก่”อย่างมีคุณภาพ  ลดภาระลูกหลานที่จะต้องดูแลผู้สูงอายุสัดส่วน 1.6  คนต่อผู้สูงอายุ 1 คน ในอีก 30 ปีข้างหน้า   

อีกเรื่องน่าวิตกสำหรับวัยแรงงานไทยในปัจจุบันที่อยู่ในภาวะทำงานหนัก  ออมต่ำ ไม่มีจะออม และในอีก 10-20-30 ปีข้างหน้าก็จะกลายเป็นผู้สูงอายุ ในสังคมที่มีสัดส่วนประชากรแต่ละวัยไม่แตกต่างกันมาก วัยแรงงานจะแบกภาระหนักดูแลเด็ก คนแก่   แนวโน้มจึงพึ่งได้น้อยลง  การใช้ชีวิตช่วงสูงวัยหลังเกษียณไปจนตลอดชีวิตซึ่งอาจอายุยืนเป็นร้อยปี จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้า

แต่...น่าเสียดายที่ทั้งภาครัฐและตัวแรงงานยังตื่นตัวช้า ทั้งที่มีโอกาสสร้างคุณค่า ตักตวงประโยชน์จากสังคมสูงอายุที่ประเทศไทยเพิ่งเริ่มต้น  จะช่วยลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นได้ เพราะการเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่สามารถทำให้เกิดผลดีได้ ถ้ามีการเตรียมความพร้อมผู้สูงอายุ ด้านการบริโภค การทำงาน รายได้ การออม และการลงทุน

ดร.สราวุธ ไพฑูรย์พงษ์    นักวิชาการอาวุโส ฝ่ายวิจัยทรัพยากรมนุษย์และพัฒนาสังคม สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า  ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมาแล้วตั้งแต่ปี 2553 มีผู้สูงอายุ 8.01 ล้านคนจากประชากร 67.4 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 11.9   มีการเตรียมพร้อมผู้สูงอายุมานาน ทั้งในด้านงานวิจัย การวางแผน การออกกฎหมาย และมาตรการต่าง ๆ แต่ยังไม่ครอบคลุมด้านเศรษฐศาสตร์จึงจะถือว่าครบถ้วน  นักเศรษฐศาสตร์ประชากร กว่า 30 ประเทศทั่วโลก จึงพัฒนาบัญชีรายได้ประชาชาติที่แสดงให้เห็นรายได้ รายจ่ายด้านต่าง ๆ ในช่วงชีวิตของประชากรในระดับประเทศ เรียกว่า “บัญชีเงินโอนประชาชาติ” (National Transfer Accounts: NTA)ที่มีการวัดรายละเอียดด้านประชากรโดยเฉพาะรายได้จากการทำงาน รายจ่ายเพื่อการบริโภค และการโอนเงินระหว่างวัยต่างๆตั้งแต่เด็กจนกระทั่งสูงอายุอย่างเป็นระบบ ทำให้เห็นวงจรชีวิตทางเศรษฐกิจและระบบการถ่ายโอนทรัพยากรเพื่อเกื้อหนุนกันระหว่างวัยต่างๆ  ข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับวางแผนเตรียมความพร้อมบริหารจัดการสังคมผู้สูงอายุ 

สำหรับประเทศไทยมีการพัฒนาและสร้างบัญชีการโอนประชาชาติขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2549 ปัจจุบันทำภายใต้ชื่อโครงการ “Intergenerational Transfers. Population Aging and Social Protection in Asia” โดยมีประเทศเข้าร่วม 5 ชาติ คือ จีน อินเดีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม  จากการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุไทยมีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพสูงกว่าประเทศอื่นในเอเชีย เมื่อเทียบกับสัดส่วนของรายได้จากการทำงาน    และหากค่าใช้จ่ายสุขภาพเท่ากันแต่รายได้ไทยจะต่ำกว่า ก็อาจตีความได้ในลักษณะที่ว่าเป็นการ  “ทำมาหาเลี้ยงหมอกับโรงพยาบาล เพราะเงินที่หาได้จะใช้จ่ายหมดไปกับเรื่องสุขภาพในวัยสูงอายุ”

นอกจากนี้ อีก 10 ปี เราจะมีเด็กกับผู้สูงอายุในสัดส่วนเท่ากันประมาณ 12 ล้านคนและในระยะยาวจำนวนผู้สูงอายุก็จะมากกว่าจำนวนเด็ก  วัยแรงงานเริ่มลดลง เป็นโครงสร้างการเปลี่ยนแปลงอายุประชากรที่จะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า  ประเทศไทยต้องเตรียมการรองรับ รวมทั้งเพิ่มคุณภาพการลงทุนมนุษย์และกระตุ้นการออมของวัยแรงงาน  สร้างหลักประกันยามแก่ และขอย้ำว่าผลการศึกษาของโครงการนี้ โดยทั่วไปชี้ว่าการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ไม่ใช่เรื่องเสียหาย หากมีการเตรียมพร้อมในด้านต่างๆ

                ล่าสุดมีการศึกษาบัญชีเงินโอนประชาชาติสำหรับประเทศไทย  เปรียบเทียบระหว่างในเมืองและชนบท โดย ดร.มัทนา พนานิรามัย ซึ่งกล่าวว่า  การสร้าง NTA ในประเทศไทยที่ผ่านมาเป็นการสร้างบัญชีระดับประเทศ แต่เนื่องจากมีความแตกต่างระหว่างสังคมเมืองและชนบทในประเทศไทยค่อนข้างมาก จึงต้องการสร้างบัญชีจำแนกตามประชากรในเขตเมืองและเขตชนบท เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างระดับและแบบแผนของรายได้จากแรงงาน การบริโภค และระบบการเกื้อหนุนของประชากรสองกลุ่มนี้ ในแต่ละช่วงอายุตั้งแต่ 0-24 ปี 25-29 ปี และ 60 ปีขึ้นไป

ผลการศึกษาพบข้อเท็จจริงที่ว่า  ในภาพรวม  คนในเมืองและคนในชนบทมีการบริโภคแตกต่างกัน โดยในเขตเมืองบริโภคเฉลี่ยประมาณ 103,137 บาทต่อคนต่อปี ในเขตชนบทบริโภคเฉลี่ย 67,456 บาทต่อคนต่อปี   คนชนบทใช้จ่ายน้อยกว่าคนเมืองร้อยละ 35 35 มีความแตกต่างมากที่สุดในกลุ่มผู้สูงอายุ ที่ใช้จ่ายต่ำกว่าถึงร้อยละ 42    การลงทุนของรัฐด้านการศึกษาและสุขภาพช่วยลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำคนเมืองและชนบทได้มากพอสมควร แต่ด้านสุขภาพก็ยังน้อยกว่าการศึกษา โดยสามารถลดความแตกต่างของการบริโภคด้านสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุลงเพียงร้อยละ 8 8

เมื่อดูเงินที่นำมาใช้จ่ายพบว่า ประชากรวัย 0-24 ปี ส่วนมากที่สุดได้จากการจุนเจือของผู้อื่นที่ให้ผ่านครอบครัวและผ่านรัฐบาล  บางส่วนได้รับจากการทำงานบ้างแต่ก็น้อยกว่ามาก ผู้ใหญ่มีรายได้จากการทำงานมากกว่าร้อยละ 80 ที่เหลือเป็นรายได้จากสินทรัพย์ ผู้สูงอายุมีรายได้จากหลายแหล่งรวมกัน ผู้สูงอายุในเมือง มีรายได้จากการทำงาน จากสินทรัพย์ และจากการจุนเจือทางครอบครัวใกล้เคียงกัน ผู้สูงอายุในชนบท ต้องพึ่งรายได้จากการทำงานและจากสินทรัพย์มากกว่าจากการจุนเจือจากครอบครัว

รายได้ที่มีถูกใช้ไปอย่างไร ปรากฏว่า คนวัย 25-59 ปี ในเมืองใช้รายได้ร้อยละ 52 เพื่อการบริโภคของตนเอง จุนเจือผู้อื่นผ่านครอบครัวร้อยละ 37 และจุนเจือผู้อื่นผ่านกลไกของรัฐบาลอีกร้อยละ 12  เพราะคนวัยนี้ต้องเสียภาษีมากกว่าบริการที่ได้รับจากรัฐบาล คนชนบทวัยนี้ก็จัดสรรรายได้คล้ายๆ กัน แต่เนื่องจากมีรายได้น้อยกว่า ดังนั้นโดยเฉลี่ยต้องใช้ถึงร้อยละ 77 ของรายได้เพื่อการบริโภคของตนเอง ทำให้เหลือจุนเจือผู้อื่นได้ไม่มากนัก นอกจากคนวัยนี้แล้ว รายได้ของคนกลุ่มอื่นๆ ส่วนมากหมดไปกับการบริโภค มีเพียงคนเริ่มทำงานในเมืองเท่านั้นที่พอจะหาเงินจากการทำงานได้มากพอที่จะสะสมสินทรัพย์เพิ่ม เป็นที่น่าสังเกตคือผู้สูงอายุในเมืองเป็นผู้ให้การจุนเจือสังคมสุทธิผ่านกลไกของรัฐบาล เพราะผู้สูงอายุในเมืองก็ยังเสียภาษีมากกว่าส่วนที่ได้รับจากรัฐบาล

ข้อมูลเหล่านี้แสดงว่าโดยเฉลี่ยแล้วประชากรในชนบททุกกลุ่มอายุมีรายได้จากการจัดสรรสินทรัพย์ โดยแทบไม่มีการออมเพิ่ม แต่ใช้รายได้จากสินทรัพย์เดิม การก่อหนี้หรือลดการถือครองสินทรัพย์เพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่าย ส่วนประชากรในเขตเมือง มีกลุ่มเริ่มทำงานที่สามารถออมสุทธิเพิ่มได้บ้าง แต่ประชากรอีก 2 กลุ่มต้องอาศัยรายได้จากการจัดสรรสินทรัพย์เช่นกัน ดังนั้นความเชื่อที่ว่าผู้สูงอายุในชนบทได้รับการเกื้อหนุนจากครอบครัวเป็นหลักนั้นไม่เป็นจริง ในข้อเท็จจริงยังพบว่าบุตรส่วนมากยังมีการให้การเกื้อหนุนผู้สูงอายุอยู่ แต่อาจด้วยข้อจำกัดของรายได้  เงินที่ให้การเกื้อหนุนจึงค่อนข้างต่ำและไม่เพียงพอ  แต่ที่แปลกใจคือ พบว่าทั้งคนในเมืองและในชนบทมีช่วงวัยที่พึ่งตนเองทางเศรษฐกิจค่อนข้างสั้น คือ คนเมืองระหว่างช่วงอายุ 26-62 ปี  คนชนบทระหว่างช่วงอายุ 31-55 ช่วงก่อนและหลังต้องอาศัยการจุนเจือจากผู้อื่นมาเพิ่มเติม

โดยสรุปจะเห็นว่า  มีความแตกต่างระหว่างการบริโภคและรายได้ระหว่างคนเมืองกับคนชนบท ซึ่งความจริงย่อมเป็นเช่นนั้น แต่มีความมีความแตกต่างมากในกลุ่มผู้สูงอายุ  รายจ่ายภาครัฐด้านการศึกษาและสุขภาพมีส่วนช่วยทำให้ช่องว่างในการลงทุนทรัพยากรมนุษย์ลดลง แต่สิ่งที่พบมากกว่านั้นและเป็นความท้าทายสำหรับรัฐบาลคือ การเกื้อหนุนจากครอบครัวไม่ใช่แหล่งสำคัญที่สุดของผู้สูงอายุอีกต่อไป ผู้สูงอายุทั้งในเมืองและในชนบทต้องพึ่งการทำงานของตัวเองและต้องพึ่งรายได้จากสินทรัพย์ของตัวเองมากขึ้น แต่ปัญหาก็คือคนจำนวนมากในปัจจุบันนั้น “ออมเพิ่มได้ยาก” นี่คือปัญหาที่ท้าทาย   เมื่อในอนาคตอันใกล้สัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นแล้วจะเกื้อหนุนกันอย่างไร

ดร.มัทนา กล่าวว่า ถ้าดูภาระต่อการดูแลผู้สูงอายุ ในปี ค.ศ.2009 มีสัดส่วนวัยแรงงานที่สามารถเกื้อหนุนการดูแลผู้สูงอายุได้โดยเฉลี่ย วัยแรงงาน 4 คนต่อผู้สูงอายุ 1 คน แต่ในอีก 30 ปีข้างหน้าจะเปลี่ยนเป็นวัยแรงงาน 1.6 คนต่อการดูแลผู้สูงอายุ 1 คน คนทำงานในปัจจุบันจึงต้องตระหนักและทำใจยอมรับการทำงานที่ยาวนานขึ้น รวมทั้งต้องเก็บออมให้เพียงพอต่อการใช้ตลอดชีวิตเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ซึ่งรัฐบาลต้องส่งเสริมการออมให้มากขึ้น รัฐบาลควรพัฒนารูปแบบการออมที่เหมาะสมสำหรับสังคมไทย โดยต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ ความยั่งยืน และเพียงพอสำหรับการเป็นหลักประกันยามสูงอายุ

นอกจากนี้เมื่อดูความแตกต่างของรายได้และรายจ่ายระหว่างเพศชายและเพศหญิง ซึ่งศึกษาเปรียบเทียบระหว่างเพศโดย  ดร.นงนุช  สุนทรชวการ  ผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่า เพศหญิงมีค่าใช้จ่ายมากกว่าเพศชาย ทั้งส่วนที่จ่ายเองและรัฐจ่าย ในวัยเด็กไม่มีความแตกต่างกันมากแต่จะแตกต่างกันมากในวัยสูงอายุ โดยเพศหญิงมีค่าใช้จ่ายสุขภาพมากกว่าเพศชายตลอดทุกช่วงอายุ  และเป็นค่าใช้จ่ายแฝง(จ่ายเอง)มากกว่าชายถึง 3 เท่า ขณะที่เพศชายมีรายได้มากกว่าเพศหญิงในช่วงวัยทำงาน

ดร.สราวุธ กล่าวเพิ่มเติมว่า ภาพผู้สูงอายุไทยในปัจจุบันคือ เรามีผู้สูงอายุที่ยังทำงานหลังวัยเกษียณประมาณ 8.1 ล้านคน และเป็นผู้สูงอายุในชนบทมากกว่าในเมือง ผู้สูงอายุไทยร้อยละ 37.8 มีรายได้จากการทำงาน แต่รายได้รวมต่ำกว่ารายจ่ายเพื่อการบริโภค โดยเฉลี่ยผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป)มีรายจ่ายบริโภคสูงกว่ารายได้จากแรงงานประมาณ 30,600 บาทต่อคนต่อปี  และมีการใช้จ่ายด้านสุขภาพในระดับสูงเมื่อเทียบกับประเทศในเอเชีย ผู้สูงอายุไทย 68.7% มีการออมในจำนวนนี้ประมาณครึ่งหนึ่งมีมูลค่าการออมประมาณต่ำกว่า 50,000 บาท

ข้อเสนอแนะด้านเศรษฐศาสตร์ เพื่อชะลอการลดลงของอัตราการเกื้อหนุน และให้สังคมผู้สูงอายุมีผลดีต่อประเทศ จึงควรดำเนินการให้มีการบริโภคอย่างฉลาดและลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ส่งเสริมให้มีรายได้จากการทำงานเพิ่มขึ้น โดยส่งเสริมให้ทำงานในระบบมากขึ้นและได้รับการคุ้มครองแรงงานเพื่อให้ผู้สูงอายุมีงานทำ มีรายได้ และมีการส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งทุนต่าง ๆ เพิ่มขึ้น รวมทั้งส่งเสริมการออมเพื่อชราภาพมากขึ้น โดยให้มีเงินออมเพียงพอต่อการดำรงชีพเมื่อไม่ได้ทำงานหรือทำงานไม่ได้ เป็นต้น

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รักษาโรคร้าย สปส.จ่ายแพงกว่า แนะตั้งราคากลาง 3 กองทุน

Posted: 20 Dec 2011 08:35 AM PST

แนะ สปส. หากโปร่งใส ควรชะลอจ่าย แล้วให้หน่วยงานวิชาการศึกษาราคากลางจ่ายตามกลุ่มโรค ใช้ทั้งข้าราชการ-บัตรทอง-สปสช.เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้ง 65 ล้านคน

20 ธ.ค. 54 นักวิชาการเรียกร้องแรงงาน-สปส.ถ้าโปร่งใส จริงใจ ไม่มีวาระซ่อนเร้น ต้องชะลอจ่ายกลุ่มโรคร้ายแรงก่อน แล้วให้หน่วยงานกลางศึกษาข้อมูลวิชาการเพื่อหาราคากลางสำหรับใช้ทั้ง 3 ระบบ ทั้งข้าราชการ บัตรทอง ประกันสังคม เพื่อให้คนไทย 65 คนได้ใช้ระบบมาตรฐานเดียวกัน ชี้สำคัญเกี่ยวข้องกับงบกว่า 40,000 ล้านบาท ที่ประชาชนต้องจ่ายเพิ่มขึ้นต่อปี ยืนยันพร้อมศึกษาข้อมูลทุกเมื่อ ย้ำทางวิชาการเป็นไปไม่ได้จ่ายสูงกว่าข้าราชการแต่ไม่ได้ใช้ยานอกบัญชียาหลัก ส่งผลรัฐบาลต้องเพิ่มงบบัตรทองและข้าราชการไม่ต่ำกว่าปีละ 3.5 หมื่นล้านบาท เหตุรพ.อาจเลือกปฏิบัติ รักษาที่ได้เงินมากกว่า ชี้สะท้อนภาพรัฐบาลขาดยุทธศาสตร์ ไม่จริงใจพัฒนาหลักประกันสุขภาพ

ดร.นพ.พงศธร พอกเพิ่มดี นักวิชาการเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข กล่าวว่า ประเด็นสำคัญของอัตราจ่ายโรคร้ายแรงของสำนักงานประกันสังคม คือ ไม่ควรสูงกว่าสวัสดิการข้าราชการ อัตรานี้ไม่มีความเป็นไปได้ทางวิชาการ เป็นไปได้อย่างไรที่คนที่ป่วยน้อยกว่า ใช้แค่ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ กลับจ่ายสูงกว่าข้าราชการซึ่งเจ็บป่วยมากกว่าและสามารถใช้ยานอกบัญชียาหลักได้อีกด้วย เป็นเรื่องที่แปลกมาก ที่สำคัญคือเป็นเงินจากผู้ประกันตน และการที่ปลัดแรงงานบอกว่าพร้อมให้ศึกษาข้อมูลนั้น ยินดีและพร้อมเสมอ หลังจากนี้จะประสานไปยังสปส.เพื่อขอข้อมูลที่สปส.ใช้เป็นฐานคิดและวิธีการศึกษาครั้งนี้ เรื่องนี้คล้ายกับเมื่อครั้งที่เปิดเผยผลการศึกษาที่ระบุว่าสิทธิประโยชน์รักษาพยาบาลประกันสังคมด้อยกว่าบัตรทอง ซึ่งปลัดแรงงานก็ออกมายืนยันว่าสิทธิประโยชน์เท่ากัน ไม่ด้อยไปกว่าบัตรทอง แต่หนึ่งปีที่ผ่านมาสปส.ปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์ในจุดที่ด้อยกว่าบัตรทองมาตลอด ซึ่งก็ยังมีหลายประเด็นที่ยังทำไม่สำเร็จ

“ถ้าปลัดแรงงานทำเรื่องอย่างนี้โปร่งใส บริสุทธิ์ใจ และไม่มีวาระซ่อนเร้นใดๆ ผมขอเรียกร้องว่าให้ชะลอเรื่องนี้ไว้ก่อน และให้หน่วยงานทางวิชาการที่เป็นกลางมา เช่น ทีดีอาร์ไอ หรือ สำนักงานสาธารณสุขระหว่างประเทศ (IHPP) ทำข้อมูลวิชาการอย่างโปร่งใส เพื่อใช้โอกาสนี้ในการทำราคากลางสำหรับทั้ง 3 ระบบ ระบบไหนที่เคยจ่ายราคาต่ำกว่าราคากลางก็ปรับเพิ่มขึ้น ทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้คนไทยทั้ง 65 ล้านคนได้ใช้ระบบที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ลดความเหลื่อมล้ำเสียที เรื่องนี้สำคัญ เพราะเกี่ยวข้องกับงบประมาณกว่า 40,000 ล้านบาท ที่ประชาชนผู้เสียภาษีต้องจ่ายเพิ่มขึ้นต่อปี หากทำได้อย่างนี้จะเป็นคุณูปการที่สำคัญของการพัฒนาหลักประกันสุขภาพทั้ง 3 ระบบไปด้วยกัน ดีกว่าต่างคนต่างทำแข่งขันกันเอง ซึ่งท้ายที่สุดเป็นการทำลายระบบใหญ่ของประเทศ ในที่สุด”ดร.นพ.พงศธร กล่าว

ดร.นพ.พงศธร กล่าวต่อว่าสิ่งที่สปส.กำลังทำอยู่นี้จะส่งผลกระทบต่อประชาชนภายใต้บัตรทองและสวัสดิการข้าราชการ อีก 55 ล้านคนทันที คือ บัตรทองจะกลายเป็นผู้ป่วยอนาถาทันที ไม่มีรพ.ไหนทั้งรัฐบาลและเอกชนอยากดูแล เพราะนอกจากจะเป็นกลุ่มที่เจ็บป่วยมาก มีค่าใช้จ่ายสูง รัฐบาลกลับจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้น้อยกว่าสิทธิอื่นๆ รพ.มหาวิทยาลัยและรพ.เอกชนทั้งหลายที่สามารถเลือกได้ก็จะไม่ยอมเข้าร่วมบัตรทอง รอรับดูแลเฉพาะประกันสังคมและข้าราชการดีกว่า จะเพิ่มแรงกดดันให้รัฐบาลต้องเพิ่มงบประมาณเหมาจ่ายรายหัว ที่ อีกอย่างน้อย 30,000 ล้านบาท ต่อปี และยังต้องรวมของข้าราชการที่เพิ่มขึ้นอีก ประมาณ 5,000 ล้านบาท ภาพรวมของระบบสุขภาพจะต้องมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นทันที

“การที่รัฐบาลชุดนี้ประกาศนโยบายว่าจะพัฒนาระบบประกันสุขภาพ โดยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรคนั้น จึงเป็นนโยบายที่ล่องลอย น่าเสียดายที่รมว.แรงงานและสาธารณสุขเป็นคนของพรรคเพื่อไทย แต่ไม่มียุทธศาสตร์การทำงานที่จะพัฒนาและบูรณาการประกันสังคมและบัตรทองให้มีประสิทธิภาพเป็นมาตรฐานเดียวกัน กลับพยายามพัฒนาระบบให้ทำลายกันเอง” ดร.นพ.พงศธร กล่าวว่า เรื่องที่รัฐบาลควรทำ คืออุดหนุนสวัสดิการรักษาพยาบาลให้กับผู้ประกันตน แล้วนำเงินสมทบส่วนนี้ที่มาจากผู้ประกันตนไปเพิ่มสวัสดิการสังคมด้านอื่น รัฐบาลกลับไม่ยอมทำ ทั้งที่จะใช้งบเพิ่มเงินเพียงปีละไม่เกินสองหมื่นล้านบาทเท่านั้น แต่กลับไปทำเรื่องที่ไม่ควรทำ คือ การเพิ่มงบประมาณรักษาพยาบาลให้กับส.ว.-ส.ส ซึ่งไม่เกิดประโยชน์ใดๆต่อสังคมแม้แต่น้อย ทั้งยังสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุอีกด้วย

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

8 ปีไฟใต้ จัดงานใหญ่สมัชชาปฏิรูป เน้นกระจายอำนาจ-แก้ปัญหายุติธรรม

Posted: 20 Dec 2011 08:26 AM PST

ขึ้น 8 ปีไฟใต้ สภาประชาสังคมชายแดนใต้จัดเวทีใหญ่สมัชชาปฏิรูป เน้นกระจายอำอาจ นำเสนอ 4 โมเดลปกครองท้องถิ่นพิเศษ ประเด็นเยียวยาเหยื่อและแก้ปัญหาความยุติธรรม ฟังหมอประเวศ วะสี ปาฐกถาพิเศษ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างวันที่ 4 - 5 มกราคม 2555 สภาประชาสังคมชายแดนใต้ จะจัดเวทีสมัชชาปฏิรูปชายแดนใต้ ครั้งที่ 1 “ชายแดนใต้ไม่ทอดทิ้งกัน”ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เป็นการจัดงานร่วมกับข่ายงานชุมชนท้องถิ่นและประชาสังคมจังหวัดชายแดนใต้ สนับสนุนโดยสำนักงานปฏิรูป (สปร.) เพื่อสังคมไทยที่เป็นธรรม

นายประสิทธิ เมฆสุวรรณ ประธานสภาประชาสังคมจังหวัดชายแดนใต้ เปิดเผยว่า เวทีนี้จัดขึ้นเพื่อรับฟังข้อเสนอจากประชาชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เสนอต่อสมัชชาปฏิรูปเฉพาะประเด็นสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ สปร. ที่มีนายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป เป็นประธานคณะกรรมการจัดงานสมัชชาปฏิรูปเฉพาะประเด็นสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเวทีนี้เน้น 2 ประเด็นหลัก คือ การกระจายอำนาจและกระบวนการยุติธรรม

นายประสิทธิ เปิดเผยด้วยว่า การจัดเวทีสมัชชาปฏิรูปชายแดนใต้ครั้งนี้ ได้ออกแบบให้มีสัดส่วนตัวแทนจากทุกพื้นที่ หลากกลุ่มอาชีพและศาสนาได้เข้าร่วมเวทีให้มากที่สุด เพื่อให้ได้ข้อเสนอจากผู้เข้าร่วมได้อย่างหลากหลาย

นายประสิทธิ เปิดเผยว่า สำหรับประเด็นการกระจายอำนาจ ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตต์ภิรมย์ศรี ตัวแทนสมาคมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ภาคใต้ นำเสนอรูปแบบทางเลือกการปกครองท้องถิ่นพิเศษสำหรับจังหวัดชายแดนภาคใต้ 4 รูปแบบ(โมเดล) ที่ได้รับการศึกษาวิจัยมาแล้วต่อเวทีสมัชชา เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นจากผู้เข้าร่วม เพื่อให้เกิดความต้องการที่ชัดเจนในพื้นที่

นอกจากนี้ เวทีสมัชชาครั้งนี้ ยังเน้นประเด็นการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย

สำหรับกำหนดการ หลักๆ ในวันที่ 4 มกราคม 2555 ได้แก่ เวลา 10.40 น. ปาฐกถาพิเศษ “ชายแดนใต้ไม่ทอดทิ้งกัน” ศ.นายแพทย์ประเวศ วะสี ประธานคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศ เวลา 11.55 น. นำเสนอผลการช่วยเหลือและเยียวยาของภาคประชาสังคม โดยนางสาวลม้าย มานะการ และนายอาดิลัน อาลีอิสเฮาะ เวลา 13.45 น. ประกาศข้อเสนอเชิงนโยบายต่อการช่วยเหลือและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบและข้อเสนอเชิงนโยบายต่อการใช้กฎหมายพิเศษ และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จากสภาประชาสังคมชายแดนใต้ และร่วมอภิปรายโดยนางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ จากมูลนิธิผสานวัฒนธรรม นายอนุกูล อาแวปูเตะ ประธานศูนย์ทนายความมุสลิมจังหวัดปัตตานี และตัวแทนจากกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน(กอ.รมน.) ดำเนินการอภิปรายและสรุปโดย นพ.พลเดช ปิ่นประทีป

วันที่ 5 มกราคม 2555 เวลา 9.00 น.ปาฐกถาพิเศษ “สิทธิ เสรีภาพของประชาชนในทัศนะอิสลาม” โดย ดร.อิสมาแอลลุตฟี จะปะกียา เวลา 9.55 น. นำเสนอรูปแบบทางเลือกการกระจายอำนาจจังหวัดชายแดนใต้ โดย ผศ.ดร.ศรีสมภพ เวลา 10.25 น. การอภิปราย “ทางเลือกการกระจายอำนาจในรูปแบบพิเศษจังหวัดชายแดนใต้: มุมมองที่หลากหลาย” ผู้ร่วมอภิปราย ได้แก่ นายพงศ์พโยม วาศภูติ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย นายสวิง ตันอุด ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการทางสังคม ผศ.ดร.บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ นายกสมาคมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ภาคใต้ พล.ต.ต.จำรูญ เด่นอุดม ตัวแทนภาคประชาสังคมชายแดนใต้ ดำเนินการอภิปรายโดยอาจารย์ฮาฟิส สาและ

 

กำหนดการ

เวทีสมัชชาปฏิรูปชายแดนใต้ ครั้งที่ 1 “ชายแดนใต้ไม่ทอดทิ้งกัน”
4 - 5 มกราคม 2555
ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

จัดโดย สภาประชาสังคมชายแดนใต้ ร่วมขับเคลื่อนโดย ข่ายงานชุมชนท้องถิ่นและประชาสังคมจังหวัดชายแดนใต้ สนับสนุนโดย สำนักงานปฏิรูป (สปร.)

 

4 มกราคม 2555

9.00 – 10.00 น.                          ลงทะเบียน

10.00 – 10.15 น.                        โหมโรง

10.15 – 10.30 น.                        รำลึก 8 ปีไฟใต้

10.30 – 10.40 น.                        กล่าวรายงานโดย  นายประสิทธิ์ เมฆสุวรรณ ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้

10.40 – 11.10 น.                        เปิดงานและปาฐกถาพิเศษ “ชายแดนใต้ไม่ทอดทิ้งกัน” โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี

11.10 – 11.40 น.                        สะท้อนความรู้สึกจากผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ

                                                      โดยคุณแยน๊ะ สะแลแม และ คุณสม โกไศยกานนท์

11.40 – 11.55 น.                        การแสดงอนาชีด

11.55 – 12.15 น.                        นำเสนอผลการช่วยเหลือและเยียวยาของภาคประชาสังคม

โดย คุณลม้าย มานะการ และคุณอาดิลัน อาลีอิสเฮาะ

12.15 – 13.30 น.                        รับประทานอาหารกลางวัน และละหมาด

13.30 – 13.45 น.                        การแสดงอนาชีด

13.45 – 14.15 น.                        ประกาศข้อเสนอเชิงนโยบายต่อการช่วยเหลือและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ

                                                     และข้อเสนอเชิงนโยบายต่อการใช้กฎหมายพิเศษ และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ

                                                     จากสภาประชาสังคมชายแดนใต้

14.15 – 16.00 น.                        มุมมองข้อคิดเห็นต่อข้อเสนอเชิงนโยบาย ร่วมอภิปรายโดย

                                                     พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

                                                     อนุกูล อาแวปูเตะ ศูนย์ทนายความมุสลิมจังหวัดปัตตานี

                                                     ตัวแทนจาก กอ.รมน. พร้อมแลกเปลี่ยนจากผู้เข้าร่วมประชุม

                                                     ดำเนินการอภิปรายและสรุปโดย นพ.พลเดช ปิ่นประทีป

 

5 มกราคม 2555

9.00 – 9.30 น.                ปาฐกถาพิเศษ “สิทธิ เสรีภาพของประชาชนในทัศนะอิสลาม”

                                        โดย ดร.อิสมาแอลลุตฟี จะปะกียา

9.30 – 9.45 น.                การแสดงอนาชีด กอมปัง

9.45 – 9.55 น.                ฉายวีดีทัศน์ “ทำไมต้องกระจายอำนาจ”

9.55 – 10.25 น.              นำเสนอรูปแบบทางเลือกการกระจายอำนาจจังหวัดชายแดนใต้

                                          โดย ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตต์ภิรมย์ศรี

10.25 – 11.55 น.           การอภิปราย“ทางเลือกการกระจายอำนาจในรูปแบบพิเศษจังหวัดชายแดนใต้:

                                         มุมมองที่หลากหลาย”

                                        ผู้ร่วมอภิปราย:

                                        นายพงศ์พโยม วาศภูติ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย

                                        นายสวิง ตันอุด ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการทางสังคม

                                        ผศ.ดร.บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ นายกสมาคมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ภาคใต้

                                        พล.ต.ต.จำรูญ เด่นอุดม ภาคประชาสังคมชายแดนใต้

                                        ดำเนินการอภิปรายโดย อาจารย์ฮาฟิส สาและ

11.55 – 12.15 น.          แลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วม

12.15 – 12.30 น.          ประกาศเจตนารมณ์ขับเคลื่อนการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ

12.30 น.                        กล่าวปิดงานโดย  นพ.พลเดช ปิ่นประทีป

                                        ประธานกรรมการจัดสมัชชาปฏิรูปเฉพาะประเด็น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

'ประชาธรรม' แถลง หลังหัวหน้าพรรคถูกสังหาร ยืนยันจะสู้ทางการเมืองต่อไป

Posted: 20 Dec 2011 08:20 AM PST

พรรคประชาธรรมแถลงการณ์ กรณีตาร์ กีละ หัวหน้าพรรคถูกยิงเสียชีวิต ชี้เป็นอุปสรรคใหญ่ของพรรคการเมืองคนมลายู ยืนยันจะสู้ทางการเมืองตามแนวทางสันติวิธีต่อไป

เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2554 พรรคประชาธรรมออกแถลงการณ์ กรณีคนร้ายยิงนายมุคตาร์ กีละ หัวหน้าพรรคเสียชีวิตเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2554 ว่า เป็นเหตุฆาตกรรมที่อุกอาจ ไม่เพียงทำให้พรรคประชาธรรมสูญเสียหัวหน้าพรรคที่กล้าหาญไปเท่านั้น แต่ยังอาจทำให้ความมุ่งมั่นของชาวมลายูมุสลิมกลุ่มหนึ่งซึ่งได้รวมตัวกันจัดตั้งพรรคการเมืองเป็นครั้งแรกต้องพบกับอุปสรรคที่ท้าทาย

แถลงการณ์ ระบุอีกว่า ไม่ว่าพรรคจะประสบความยากลำบากอย่างไร พรรคก็ยังเชื่อมั่นในจิตวิญญาณประชาธิปไตยของสมาชิก เชื่อมั่นในความปรารถนาต่อสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคภายใต้รัฐธรรมนูญของประชาชน ทั้งที่ให้การสนับสนุนพรรคและประชาชนผู้รักประชาธิปไตยอื่นๆ ว่าจะยืนหยัดการต่อสู้ทางการเมืองตามแนวทางสันติวิธี ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยตามระบบรัฐสภาต่อไป

 

..........................

แถลงการณ์พรรคประชาธรรม

กรณีการมรณกรรมของนายมุคตาร์ กีละ หัวหน้าพรรค

พรรคขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งมายังครอบครัวและญาติมิตรของท่านหัวหน้า พรรค นายมุคตาร์ กีละ มาในโอกาสนี้ และขอแสดงความเสียใจมายังกรรมการบริหารพรรคและสมาชิกพรรคประชาธรรมทั้งมวล

การฆาตกรรมอย่างอุกอาจต่อหัวหน้าพรรคประชาธรรมเมื่อคืนวันที่ 15 ธันวาคม 2554 ณ.ตำบลเฉลิม อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ที่ผ่านมานั้น พรรคเห็นว่าไม่เพียงทำให้ ครอบครัวญาติมิตรของนายมุคตาร์ กีละต้องสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก และพรรคประชาธรรมสูญเสียหัวหน้าพรรคที่กล้าหาญไปเท่านั้น แต่ยังอาจทำให้ความมุ่งมั่นของชาวมลายูมุสลิมกลุ่มหนึ่งซึ่งได้รวมตัวกันจัด ตั้งพรรคการเมืองที่มีองค์ประกอบของพรรคเป็นประชาชนในพื้นที่ เพื่อดำเนินกิจกรรมทางการเมืองภายใต้ระบอบประชาธิปไตยในระบอบรัฐสภา และผ่านการรณรงค์เลือกตั้งเพียงครั้งแรก ต้องพบกับอุปสรรคที่ท้าทายอย่างสำคัญต่อความพยายามให้ประชาชนเข้าสู่กระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมืองในวิถี การปกครองแบบประชาธิปไตย

ทำให้ความพยายามที่ให้พรรคการเมืองเป็นกลไกสำคัญกลไกหนึ่งได้มีบทบาทใน กระบวนการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยแนวทาง สันติวิธี ต้องได้รับความกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงอย่างยากจะหลีกเลี่ยง อันอาจทำให้พรรคต้องประเมินสถานการณ์เพื่อทบทวนบทบาทและกำหนดจังหวะก้าวใน การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองทั้งในระยะสั้นและระยาว

และไม่ว่าพรรคจะประสบความยากลำบากอย่างไรอันสืบเนื่องจากการที่หัวหน้าพรรค ถึงแก่มรณะกรรมด้วยการถูกฆาตกรรมจนเสียชีวิตอย่างไร แต่พรรคยังเชื่อมั่นในจิตวิญญาณประชาธิปไตยของเหล่าสมาชิกพรรค เชื่อมั่นในความปรารถนาต่อสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคภายใต้รัฐธรรมนูญของประชาชน ทั้งที่ให้การสนับสนุนพรรคและประชาชนผู้รักประชาธิปไตยอื่นๆ ว่าจะยืนหยัดการต่อสู้ทางการเมืองตามแนวทางสันติวิธี ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยตามระบบรัฐสภาต่อไป

พรรคขอขอบคุณบรรดาสมาชิกพรรคและประชาชนที่ให้เกียรติเข้าร่วมพิธีฝังศพของ ท่านหัวหน้าพรรคนายมุคตาร์ กีละ ทั้งที่ติดต่อไต่ถามทางโทรศัพท์อย่างไม่ขาดสายกับผู้บริหารพรรค เพื่อแสดงความเสียใจห่วงใยต่อมรณะกรรมของหัวหน้าพรรคในครั้งนี้

พรรคขอขอบคุณกำลังใจที่บรรดาสมาชิกของพรรคและประชาชนผู้สนับสนุนพรรคที่ ประกาศเข้าร่วมและให้การสนับสนุนกิจกรรมทางการเมืองของพรรคต่อไป

                                                                                          .....ด้วยรักและศรัทธา......
                                                                                               พรรคประชาธรรม
                                                                                     วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ที่มา fatonionline.com

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ผู้บริโภคเตือน ตั้งสติ ก่อนแก้ กม.ทรัพย์สินปัญญาเอาใจสหรัฐฯ

Posted: 20 Dec 2011 08:04 AM PST

เครือข่ายผู้บริโภคจับมือเครือข่ายผู้ป่วย เตือนสติ รัฐมนตรี ‘ลูกยอด’ แนะต้องแก้กฎหมายเพื่อการเข้าถึงความรู้ และเพื่อการเข้าถึงยาของคนไทยเสียก่อน

20 ธ.ค.54 จากการที่ นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รมช.พาณิชย์ กำลังเร่งผลักดันการยกร่างและแก้กฎหมายที่ให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเร่งด่วน จำนวน 3 ฉบับ คือ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับการบันทึกภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์, พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ และกฎหมายเอาผิดกับผู้ให้เช่าสถานที่ เจ้าของอาคาร และเจ้าของศูนย์การค้า ที่ให้ผู้เช่าสถานที่นำพื้นที่เช่าไปค้าขายสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะการผลักดันให้ไทยหลุดพ้นจากบัญชีประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ (PWL)

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า รู้สึกผิดหวังกับท่าทีที่รุกลี้รุกลนในการเอาใจสหรัฐฯ เพื่อให้ปลดไทยออกจากบัญชีประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ (PWL) โดยไม่ศึกษาข้อมูลเลยว่า รัฐบาลที่ผ่านมา นายอลงกรณ์ พลบุตร ได้เสียค่าโง่ไปไม่น้อยกับการเอาใจสหรัฐฯ แต่ไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย ซึ่งการแก้ไขกฎหมายต่างๆ ควรเป็นไปเพื่อประโยชน์ของคนในชาติมากกว่า

“ประเทศไทยติดในบัญชี PWL มา 5 ปี แต่มีงานศึกษาชี้ชัดว่า ไม่ส่งผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจเลย ขณะที่งานวิจัยของเครือข่ายการเข้าถึงความรู้ (A2K Network) ที่ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2553 ซึ่งมูลนิธิฯร่วมวิจัยด้วยพบว่า เนื้อหาของกฎหมายลิขสิทธิ์ใน 34 ประเทศทั่วโลก พบว่า หลายๆประเทศ รวมทั้งประเทศไทยไม่เคยใช้ประโยชน์จาก พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์อย่างเต็มที่ในการทำให้นักเรียน นักศึกษา หรือเยาวชนทั่วไปได้เข้าถึงข้อมูล ความรู้ซึ่งมีอยู่ในงานอันมีลิขสิทธิ์ทั้งหลายเลย ขณะที่ในกรณีของประเทศไทยแย่กว่า ได้แค่เกรด C เมื่อดูกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถรักษาสมดุลระหว่างการรักษาผลประโยชน์ของเจ้าของลิขสิทธิ์และการเข้าถึงข้อมูลความรู้โดยผู้บริโภคได้ดีที่สุด พูดง่ายๆคือ รั้งอันดับที่ 30 (อันดับที่ 5 จากท้าย) ในขณะที่เพื่อนบ้านของเรา ทั้งอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ได้อันดับ 5 13 19 และ 20 ตามลำดับ หากจะมีการแก้ไขกฎหมายอย่างเร่งด่วน ควรแก้เพื่อสร้างความสมดุลเรื่องนี้ด้วยไม่ใช่เพื่อเอาใจสหรัฐอย่างเดียวฯ”

ทางด้านนายอนันต์ เมืองมูลไชย สมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ และรองประธานมูลนิธิเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมาเครือข่ายผู้ป่วยและภาคประชาสังคมพยายามหารือกับกรมทรัพย์สินทางปัญญามาโดยตลอดให้เร่งแก้ปัญหาคำขอรับสิทธิบัตรในลักษณะไม่มีที่สิ้นสุด (evergreening) ที่มีมากถึงร้อยละ96 ของคำขอรับสิทธิบัตรในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาซึ่งหากไม่มีกลไกพิจารณาที่ดีและรัดกุมพอ ประเทศไทยจะเผชิญกับการผูกขาดของอุตสาหกรรมยาข้ามชาติที่หนักหน่วงที่สุด

“เราพยายามขอให้ทางกรมฯรับคู่มือที่นักวิจัยพัฒนาขึ้นไปปฏิบัติเพื่อป้องกันสิทธิบัตรที่ไม่มีที่สิ้นสุด, ในการแก้ พ.ร.บ.จะต้องขยายเวลาการคัดค้านไปเป็น 1 ปีจาก 90 วันแทนกฎหมายเดิม, ต้องมีตัวแทน อย. หรือ สปสช.เข้าไปอยู่ในคณะอนุกรรมการเคมี ในคณะกรรมการสิทธิบัตรเพื่อช่วยพิจารณาการให้สิทธิบัตร,ต้องไม่นำคนที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนเข้ามาเป็นคณะกรรมการสิทธิบัตร และที่สำคัญคือ การพัฒนาฐานข้อมูลสิทธิบัตรเพื่อให้สามารถสืบค้นได้ง่าย แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้รับการตอบรับใดๆเลย กลับมาเจอข่าวว่ารัฐมนตรีช่วยจะแก้กฎหมายเพื่อเอาใจสหรัฐฯ แต่ไม่ยอมเร่งแก้กฎหมาย-กฎระเบียบและกลไกต่างๆเพื่อเพิ่มการเข้าถึงยาให้กับประชาชน ซึ่งรับไม่ได้มากๆ”

ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ กล่าวเพิ่มว่า ขณะนี้มีงานวิชาการยืนยันชัดเจนถึงปัญหาของสิทธิบัตรที่ไม่มีที่สิ้นสุด กรมทรัพย์สินฯต้องตอบให้ได้ว่า คู่มือที่กำลังจะประกาศใช้จะแก้ปัญหา evergreening เช่นนี้อย่างไร มีประสิทธิภาพแค่ไหนโดยเฉพาะคำขอเรื่องการใช้และข้อบ่งใช้ที่ 2, สูตรตำรับและส่วนประกอบ, ตำรับยาสูตรผสม และขนาด/ปริมาณการใช้ หากทางกรมฯให้คำตอบที่ชัดเจนไม่ได้ หรือยังยืนยันจะปล่อยให้เป็นวินิจฉัยของผู้ตรวจสอบเช่นที่ผ่านมา เราคงต้องขอหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นการเร่งด่วน”

ทั้งนี้ ข้อมูลจากงานวิจัยสิทธิบัตรยาที่จัดเป็นสิทธิบัตรไม่มีที่สิ้นสุด ในประเทศไทยและการคาดประมาณผลกระทบที่เกิดขึ้น คณะผู้วิจัยได้ทำการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรที่เกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์ทางยา ในระหว่าง ปี พ.ศ. 2543-2553 จำนวน 2,034 ฉบับ พบว่า มีคำขอรับสิทธิบัตร ร้อยละ 96 ที่มีลักษณะอยู่ในเงื่อนไขที่เป็นevergreening patent โดยพบว่าปัญหาส่วนใหญ่คือ คำขอรับสิทธิบัตร "ข้อบ่งใช้/การใช้" ร้อยละ 73.7 สูตรตำรับและส่วนประกอบ ร้อยละ 36.4 และ Markush Claimร้อยละ 34.7 ซึ่งทางสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขได้ทำหนังสือถึงกรมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อนำเสนอผลการวิจัยในฐานะที่เป็นองค์กรร่วมสนับสนุนการวิจัย และมีข้อเสนอแนะให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาควรจะพิจารณาคู่มือที่คณะผู้วิจัยพัฒนาขึ้นนำไปใช้ในการปรับปรุงระบบการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรซึ่งกรมฯกำลังดำเนินการพัฒนาระบบอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งการพัฒนาแก้ไข พ.ร.บ.สิทธิบัตรให้มีความเป็นธรรมมากขึ้นตามยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

พม่าส่งข้าราชการพลเรือนกลับเข้าทำงานในพื้นที่กองกำลังเมืองลา

Posted: 20 Dec 2011 07:23 AM PST

มีรายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ทางการพม่าได้จัดส่งข้าราชการพลเรือนจากหลายหน่วยงานกลับเข้าไปประจำในเขตพื้นที่ครอบครองกองกำลังเมืองลา NDAA เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามเดิม ตามที่สองฝ่ายได้ตกลงกันไว้ก่อนหน้านี้ 

แหล่งข่าวในพื้นที่เปิดเผยว่า ข้าราชการพม่าที่ถูกส่งเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ครอบครองของ NDAA ครั้งนี้ มาจาก 3 หน่วยงาน ส่งเข้าไปเมื่อวันที่ 16 ธ.ค. ที่ผ่านมา ประกอบด้วย ข้าราชการครู จำนวน 26 คน ข้าราชการสาธารณสุข 19 คน และฝ่ายการสื่อสาร 4 คน ทั้งหมดจะประจำเฉพาะในพื้นที่เมืองลา ส่วนในพื้นที่อื่นของ NDAA เช่นเมืองสือลือ และเมืองน้ำปาน จะมีข้าราชการส่งเข้าไปอีกหลังจากนี้

แหล่งข่าวเผยว่า ก่อนหน้าข้าราชการพลเรือนชุดแรกจะถูกส่งเข้าไปประจำในเมืองลา ทางการพม่าได้ส่งเจ้าหน้าที่ประสานงานเข้าไปก่อนแล้ว 1 คน

การส่งข้าราชการพลเรือนกลับเข้าไปประจำพื้นที่กองกำลังเมืองลา NDAA ของทางการพม่า เป็นไปตามข้อตกลงของสองฝ่ายเมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา ก่อนนั้นในพื้นที่ NDAA มีข้าราชการพลเรือนพม่าประจำอยู่ 10 หน่วยงาน ได้แก่ ฝ่ายการศึกษา, ฝ่ายสาธารณสุข, ฝ่ายสื่อสาร, ฝ่ายประสานงาน, ฝ่ายตรวจคนเข้าเมือง, ปศุสัตว์, เกษตร, ไปรษณีย์, การกีฬา และการคมนาคม โดยทั้งหมดถูกเรียกกลับหลังเกิดความตึงเครียดระหว่างรัฐบาลพม่าและกองกำลังเมืองลา NDAA

อย่างไรก็ตาม หลังความสัมพันธ์สองฝ่ายกลับมาคืนดีและมีการลงนามหยุดยิงกันอีกครั้ง กองกำลังเมืองลา NDAA ได้เสนอให้ทางการพม่าส่งข้าราชการกลับเข้าไปประจำในพื้นที่ของตนก่อน 6 หน่วยงาน จากที่เคยมี 10 หน่วยงาน ได้แก่ 1.ฝ่ายการศึกษา 2. สาธารณสุข 3. ปศุสัตว์ 4. ฝ่ายสื่อสาร 5. ฝ่ายตรวจคนเข้าเมือง และ 6. ฝ่ายพัฒนาชายแดน

กองกำลังเมืองลา NDAA เป็นอดีตแนวร่วมพรรคคอมมิวนิสต์พม่า CPB-Communist Party of Burma เช่นเดียวกับกองกำลังว้า UWSA, กองกำลังเอกราชคะฉิ่น KIA และกองกำลังไทใหญ่ “เหนือ” SSA/SSPP หลังแยกตัวออกจาก CPB ได้ลงนามหยุดยิงกับรัฐบาลทหารพม่าเมื่อปี 2532

อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่กลางปี 2549 กองกำลัง NDAA ได้ถูกรัฐบาลทหารพม่ากดดันเปลี่ยนสถานะเป็นกองกำลังพิทักษ์ชายแดน BGF (Border Guard Force) แต่หลังปฏิเสธก็ถูกกำหนดเป็นกลุ่มนอกกฎหมาย ขณะที่กองกำลังไทใหญ่ “เหนือ” SSA/SSPP และกองกำลังคะฉิ่น KIA ถูกกองทัพพม่าใช้กำลังเข้าโจมตีอย่างหนัก

 

ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/


"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวอิสระไทใหญ่ หรือ สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อนุรักษ์นิยม หรือ เสรีนิยม: ความสัมพันธ์ระหว่างการเมือง สมองและพันธุกรรม

Posted: 20 Dec 2011 07:18 AM PST

แม้งานวิจัยหลายชิ้นจะพบว่าการทำงานในส่วนที่ต่างกันของสมองมีผลต่อทัศนคติทางการเมืองว่าจะเอียงไปในทางอนุรักษ์นิยมหรือเสรีนิยม แต่นักวิจัยก็เตือนว่าผลอาจเป็นไปในทางย้อนกลับคือการมีทัศนคติทางการเมืองไปกระตุ้นการทำงานของสมอง ขณะเดียวกันก็ชี้ว่า การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์มีผลไม่แพ้เรื่องสภาพแวดล้อม สมอง และพันธุกรรม

18 ธ.ค. 2011 - เว็บไซต์ Livescience รายงานว่า ผลสำรวจล่าสุดจากนักจิตวิทยาและนักประสาทวิทยาพบว่าปัจจัยด้านสมองมีส่วนต่อทัศนคติทางการเมืองของคนที่เป็นเสรีนิยมและอนุรักษ์นิยม รวมถึงการเลือกสนับสนุนพรรคการเมืองอย่างเดโมแครทและริพับลิกันในสหรัฐฯ ด้วย

"จากการพิสูจน์แสดงให้เห้นแนวโน้มว่า ส่วนการทำงานของสมองมีความเกี่ยวข้องเชิงชีววิทยาต่อทัศนคติทางการเมือง" ดาเรน ชรีเบอร์ ศาตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียกล่าว

ทีมนักวิจัยบอกว่า อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้คนเราเปลี่ยนแปลงทัศนคติทางการเมืองได้นอกเหนือไปจากส่วนการทำงานของสมองที่มากหรือน้อยแตกต่างกัน เช่น ปัจจัยด้านประสบการณ์ที่มีส่วนอย่างมากในการสร้างอัตลักษณ์ทางการเมือง ซึ่งเป็นสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดชีวิต หรืออาจจะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อผ่านฤดูกาลเลือกตั้งเพียงครั้งเดียว

ขณะเดียวกันก็มีบางคนที่มีทัศนคติทางการเมืองแบบตายตัว การแบ่งขั้วเช่นนี้อาจเป็นการเน้นย้ำถึงความแตกต่างในเชิงชีววิทยาที่มีผลต่อการมองโลก ซึ่งเหตุการณ์และประสบการณ์ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้

"โดยทั่วไปแล้ว คนที่มีความคิดแบบกลางๆ จะสามารถเปลี่ยนข้างไปอยู่ข้างใดข้างหนึ่งได้ แต่ผมไม่เคยเห็นฝ่ายซ้ายสุดขั้วคนไหนกลายเป็นฝ่ายขวา" มาร์โก เอียโคโบนี ศจ. ด้านจิตเวชและชีวพฤติกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียกล่าว

 

ทัศนคติทางการเมืองเชิงปริมาณ

จากผลสำรวจของ Gallup แสดงให้เห็นว่าจำนวนตัวเลขร้อยละของผู้ที่เรียกตัวเองว่าเป็นเสรีนิยม, เป็นกลาง หรือเป็นอนุรักษ์นิยม ยังค่อนข้างคงที่อยู่ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา

โดยกลุ่มประชากรชาวเสรีนิยมยังคงอยู่ที่ร้อยละ 20 กลุ่มที่เป็นกลางร้อยละ 37 ส่วนกลุ่มอนุรักษ์นิยมค่อยเพิ่มขึ้นเป็นราวร้อยละ 40 ตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1990s เป็นต้นมา

หากพิจารณาในกลุ่มที่สุดขั้วแล้ว ผู้ที่บอกว่าตัวเองเป็นฝ่ายซ้ายหัวแข็งผู้สนับสนุนพรรคเดโมแครทมีอยู่ร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับกลุ่มฝ่ายขวาหัวแข็งผู้สนับสนุนพรรคริพับลิกันซึ่งมีอยู่ร้อยละ 21

 

สมองของคุณสีน้ำเงินหรือแดง

นักวิจัยมีข้อสงสัยมานานแล้วว่า คนเราบางคนจะเกิดมาพร้อมกับระบบทางชีวภาพที่ทำให้มีแนวคิดแบบฝ่ายซ้ายสุดขั้วหรือฝ่ายขวาสุดขั้ว โดยไม่อาจเลือกได้จริงหรือไม่ ชรีเบอร์กล่าวว่า มีงานวิจัยศึกษาสมองของผู้ที่บอกว่าตัวเองเป็นเสรีนิยมและอนุรักษ์นิยมอยู่หลายชิ้นซึ่งก้มักให้ผลคล้ายกัน

ผลที่คล้ายกันสองอย่างแรกคือการที่สมองของนักเสรีนิยมจะมีการทำงานในส่วนของสมองที่เรียกว่าอินซูล่า (insula) และสมองส่วนซินกูเลท คอร์เท็กซ์ส่วนหน้า (anterior cingulate cortex) มากกว่า โดยสมองส่วนอินซูล่าใช้จัดการกับความขัดแย้งของกระบวนการคิด ขณะที่ซินกูเลท คอร์เท็กซ์ส่วนหน้าช่วยในการประมวลผลข้อมูลที่มีความขัดแย้ง

ขณะที่กลุ่มนักอนุรักษนิยมจะมีการทำงานในส่วนของอมิกดาลา (Amygdala) หรือที่รู้จักกันดีว่า "ศูนย์รับความกลัว" "หากคุณเห็นงูหรือรูปภาพของงู ส่วนของอมิกดาลาจะทำงาน มันเป็นเครื่องตรวจวัดภยันตราย" เอียโคโบนีกล่าว

การวิจัยของอังกฤษเมื่อต้นปีที่ผ่านมาก็สนับสนุนการศึกษาในอดีตโดยวัดจากภาพโครงสร้างของสมอง ซึ่งเปิดเผยว่าโดยเฉลี่ยแล้ว ชาวอนุรักษ์นิยมจะมีขนาดสมองส่วนอมิกดาลาใหญ่กว่า ซึ่งบ่งบอกถึงการใช้งานจากระบบประสาทในส่วนนี้มากกว่า ขณะที่ชาวเสรีนิยมจะมีส่วนซินกูเลท คอร์เท็กซ์ส่วนหน้าใหญ่กว่า

เมื่อพิจารณางานวิจัยเหล่านี้ร่วมกันแล้ว ทำให้ประเมินได้ว่าชาวเสรีนิยมสามารถทนต่อสภาวะไม่มั่นคงได้ง่ายกว่า ซึ่งสะท้อนออกมาในรูปแบบนโยบายแบบเทาๆ ในสหรัฐฯ กลุ่มคนเหล่านี้มักจะเป็นพวกสนับสนุนให้มีทางเลือกในการทำแท็ง (pro-choice) และมีความโอนอ่อนต่อผู้อพยพเข้าเมืองอย่างผิดกฏหมาย

ขณะที่ฝ่ายอนุรักษ์นิยมก็มีแนวคิดในการมองแบบคู่ตรงข้ามระหว่างสิ่งที่เป็นอันตรายกับสิ่งที่ไม่เป็นอันตราย และจุดยืนพื้นฐานเช่นนี้ก็ขยายไปสู่จุดยืนทางการเมืองเช่น การเป็นฝ่ายต่อต้านการทำแท็ง สนับสนุนให้เด็กเกิดมา (pro-life) และมีความเข้มงวดต่อกรณีผู้อพยพมากกว่า

อย่างไรก็ตามชรีเบอร์เตือนว่า การเน้นย้ำทัศนคติทางการเมืองชนิดใดชนิดหนึ่งอาจทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสมองได้ แทนที่สมองจะเป็นฝ่ายกำหนดทัศนคติ

ชรีเบอร์คิดว่า มันง่ายเกินไปกับการโยงเรื่องทัศนคติทางการเมืองกับรูปแบบและการทำงานของสมอง และมันยังไม่เพียงพอจะพิสูจน์แนวคิดที่ว่าคนเราจะยึดติดกับแนวคิดทางการเมืองอย่างตายตัว

การเมืองที่สืบทอดผ่านพันธุกรรม

มีงานวิจัยที่ศึกษาเรื่องพันธุกรรมและสภาพแวดล้อมหลายชิ้นที่บ่งบอกว่าทัศนคติทางการเมืองถูกสร้างขึ้นมาจากประสบการณ์มากกว่าสร้างมาโดยกำเนิด

ชรีเบอร์เปิดเผยว่า เมื่อนำงานวิจัยจากหลายประเทศมาพิจารณาเชื่อมโยงกันแล้ว พบว่าตัวอย่างร้อยละ 40 มีการถ่ายทอดเรื่องแนวคิดทางการเมืองผ่านทางพันธุกรรม หมายความว่า พ่อและแม่ต่างก็ถ่ายทอดยีนส์มาสู่ลูกได้

แม้ว่าตัวเลขร้อยละ 40 จะถือว่ามีนัยสำคัญ แต่ก็ยังมีอีกมากกว่าครึ่งที่แนวคิดทางการเมืองมาจากอิทธิพลของการใช้ชีวิต และไม่ได้มาจากลักษณะฌแพาะตัวของคนๆ นั้น เช่นความสูงและสีตา

ชรีเบอร์กล่าวสรุปว่า อัตลักษณ์ทางการเมืองไม่ได้เป็นเรื่องของพันธุกรรมหรือสภาพแวดล้อม แต่เป็นเรื่องของปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์

 

การเมืองตั้งแต่ในครรภ์

งานศึกษาเหล่านี้พิสูจน์ได้อย่างมากว่ามนุษย์เป็นสัตว์การเมือง มีการศึกษาเชิงเปรียบเทียบกับเหล่าสัตว์ตระกูลไพรเมท (สัตว์จำพวกลิง) ที่เป็นญาติใกล้เคียงกับมนุษย์พบว่า สิ่งที่เป็นพลังเบื้องหลังวิวัฒนาการทางสมองของพวกเรา คือการขัดเกลาทางสังคม

ลิงส่วนใหญ่อยู่กันเป็นกลุ่มทางสังคม มีการร่วมเป็นพันธมิตรและแตกแยกกันผ่านทางพฤติดรรมที่ซับซ้อนจำพวกการเห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นและการหลอกลวง

"หลักฐานชี้ว่าสาเหตุที่พวกเรามีสมองอย่างมนุษย์ในทุกวันนี้ก้เพื่อแก้ไขปัญหาทางการเมืองพวกนี้" ชรีเบอร์กล่าว "และเมื่อเรามีกลุ่มทางสังคมที่ซับซ้อนขึ้น พวกเราก็ต้องการมวลสมองมากขึ้น มากขึ้นเรื่อยๆ ในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงการรวมกลุ่ม"

การรวมกลุ่มที่ว่านี้หมายรวมถึงพรรคการเมืองใหญ่ด้วย ความภักดีต่อพรรคการเมืองใดหรือการไม่เลือกพรรคใดเลยก็ตาม เป็นสิ่งที่แปรปรวนและเปลี่ยนแปลงเร็วมาก

เมื่อเดือนที่แล้ว Gallup ได้ทำการสำรวจโพลล์พบว่ากลุ่มประชากรที่เรียกตัวเองกว่าเป็นเด โมแครท, ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด และริพับลิกันมีอยู่ร้อยละ 36, 35 และ 27 ตามลำดับ เมือย้อนกลับไปในเดือน ส.ค. ตัวเลขผลสำรวจกลับเป็นร้อยละ 28, 44 และ 26 ตามลำดับ

การไหลเวียนของจำนวนตัวเลขนี้เป็นเรื่องเข้าใจได้ โดยเฉพาะเมื่อเวลานานไปตำแหน่งของพรรคการเมืองและความนิยมของสมาชิกสำคัญในพรรคนั้นๆ ก็เสื่อมลงไปด้วย "การเมืองนั้นเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา" ชรีเบอร์กล่าว

 

ที่มา

Life's Extremes: Democrat vs. Republican, 18-12-2011, Adam Hadhazy, Livescience
http://www.livescience.com/17534-life-extremes-democrat-republican.html

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

จดหมายเปิดผนึกจากชาญวิทย์ เกษตรศิริ ถึง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

Posted: 20 Dec 2011 07:14 AM PST

จดหมายจากอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงนายกรัฐมนตรีเนื่องในวันปีใหม่ และคริสตมาส พร้อมข้อเสนอ 5 ประการ รวมถึงการเกี๊ยเซี๊ยะที่อยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรม นิติรัฐ เสรีภาพ เสมอภาค การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้มีหลักสากล เป็นอารยะ และเป็นประชาธิปไตย และยึดมั่นในเสรีภาพ และความเสมอภาค และการแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 

0000

Open Letter to Premier Ms. Yingluck Shinnawatra and Foreign Minister
จดหมาย (ใหม่) ฉบับที่ 4
(25 ธันวาคม 2554/2011)

เรื่อง ขอเสนอแนะวาระสำคัญ 5 ประการ

เรียน นรม. (หญิง) ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ รมต. กต. (ผ่านมิตร และสื่อมวลชนกระแสหลัก และกระแสรอง)

เนื่องในวารดิถีวันขึ้นปีใหม่ และวันคริสตมาส ขอส่งความปรารถนาดีมายัง ฯพณฯ นรม. (หญิง) ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ รมต. กต. สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล กับคณะ ครม. ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ เพื่อปฏิบัติงานให้กับ “ชาติและราษฎรไทย” ของเรา และขอเสนอแนะวาระสำคัญ 5 ประการ ที่สมควรจะได้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้

(1) ขอให้เพิ่มวันหยุดราชการ เนื่องในโอกาสวันสำคัญทางศาสนาและลัทธิความเชื่อหลัก ของประชาชนของประเทศของเรา คือ วันคริสตมาส วันฮารีรายา วันฮินดู และวันตรุษจีน ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับธรรมเนียมปฏิบัติอันเป็นอารยะในสากลโลก และประเทศอาเซียนของเรา เช่นเดียวกับ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ที่กำหนดให้มีวันหยุดครบทุกศาสนาและความเชื่อหลัก (รวมทั้งวันวิสาขะบูชา)

(2) ขอให้ดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้มีหลักสากล เป็นอารยะ และเป็นประชาธิปไตย และยึดมั่นในเสรีภาพ และความเสมอภาค กับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดำเนินการแก้ไขบทบัญญัติ ที่เกี่ยวกับเรื่องของคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มาตรา 112

(3) ขอให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงชื่อของประเทศ จาก “ราชอาณาจักรไทย” เป็น “ราชอาณาจักรสยาม” (Kingdom of Thailand – Kingdom of Siam) เพื่อให้ “สยาม” นั้นเป็นนามของประเทศหรือดินแดน ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริง และลักษณะของความหลากหลายของประชาชนหรือคน ที่มีชาติพันธุ์ กับภาษาและวัฒนธรรม ที่เป็นทั้ง “ไทย ไท/ไต ลาว เขมร มลายู คนอีสาน คนเมือง พวน ผู้ไท ขึน ยวน ยอง ลื้อ มอญ กูย ลั๊วะ/ละว้า เวียด ฮ่อ จีน แต้จิ๋ว กวางตุ้ง ฮกเกี้ยน ไหหลำ แคะ จาม ชวา ซาไก มอแกน ทมิฬ ปาทาน เปอร์เซีย อาหรับ ม้ง เย้า กะเหรี่ยง ปะหล่อง มูเซอร์ อะข่า กำหมุ มลาบรี ชอง ญากูร์ บรู โอรังลาอุต ฝรั่ง (ชาติต่างๆ) แขก (ชาติต่างๆ) ลูกครึ่ง ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ” กว่า 50 ชนชาติและภาษา

(4) ขอให้ดำเนินนโยบายการต่างประเทศ ที่ให้ความสำคัญต่อประเทศเพื่อนบ้านใกล้ชิด และองค์กรอาเซียน สร้างความสัมพันธ์อันดีเป็นพิเศษกับลาว กัมพูชา พม่า และมาเลเซีย และเน้นวาระทางด้านสังคมและวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญต่อสตรีเพศ (women’s agenda) พร้อมทั้งดำเนินการวิ่งเต้น เพื่อขอพระราชทานอภัยโทษ จากพระมหากษัตริย์กัมพูชา หรือขอนิรโทษกรรมจากรัฐสภากัมพูชา ให้กับนายวีระ สมความคิด และนางสาวราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ ที่ถูกจับกุมคุมขังอยู่ในกรุงพนมเปญมาเกือบจะครบ 1 ปีแล้ว

(5) ขอให้ดำเนินการ “เกี้ยเซี้ย” สมานฉันท์ สามัคคี ปรองดอง ขึ้นในชาติ ระหว่างคนเสื้อสีต่างๆ (เหลือง-ชมพู แดง ฟ้า เขียว หลากสี) โดยคำนึงถึงหลักของความยุติธรรม นิติรัฐ เสรีภาพ เสมอภาค โดยมีกระบวนการที่เป็นสันติวิธี เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง การใช้อาวุธ อันจะนำไปสู่การนองเลือด และ/หรือ “กาลียุค”

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการด้วย จักเป็นพระคุณยิ่ง
นายชาญวิทย์ เกษตรศิริ
ข้าราชการบำนาญ
อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัย (วิชา) ธรรมศาสตร์ (และการเมือง)

หมายเหตุ

ถ้าท่านไม่เป็น ส่วนหนึ่ง ของการแก้ปัญหา

ท่านก็เป็น ส่วนหนึ่ง ของปัญหา

IF YOU ARE NOT PART OF THE SOLUTION

YOU ARE PART OF THE PROBLEM

ถ้าท่านต้องการรักษา สถาบันกษัตริย์ คู่กับประชาธิปไตย และสันติสุข

เพื่อชาติ และราษฏรไทย เจ้าของแผ่นดินนี้

ท่านต้องปฏิรูปกฏหมายหมิ่นฯ มาตรา 112

IF YOU WANT TO PRESERVE THE MONARCHY, DEMOCRACY, AND PEACE

FOR THE NATION AND THE PEOPLES OF THIS LAND

YOU MUST REFORM THE LESE MAJESTE LAW: ARTICLE 112
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เพ็ญ ภัคตะ: คุณเป็นคนไทยหรือเปล่า?

Posted: 20 Dec 2011 05:24 AM PST

พวกเธอเป็นคนไทยใช่หรือเปล่า?
...อันข้าเจ้าชาวเหนือเชื้อเชียงรุ่ง
ลื้อปนเงี้ยวเขินยองล่องเชียงตุง
เกิดแต่กรุงเชียงใหม่กลายเป็นยวน
 
พวกสูเป็นคนไทยใช่หรือเปล่า?
...ข้อยเป็นลาวอีสานแคว้นแดนเชียงม่วน
เชื้อผู้ไทไดเวียดแกวกาวล้วน
หลากไทพวนลาวโซ่งโขงจามปา
 
พวกแกเป็นคนไทยใช่หรือเปล่า?
...ขยมเป็นขะแมร์เคล้าขมุข่า
เป็นลูกส่วยหลานกูยเหลนละว้า
โหลนกุลาร้องไห้ไร้มูนริน
 
พวกเจ้าเป็นคนไทยใช่หรือเปล่า?
...สายเลือดเราศรีวิชัยไทยทักษิณ
แขกลังกามลารัฐปัตตนิน
คนพื้นถิ่นมอร์แกนแดนซาไก
 
พวกเอ็งเป็นคนไทยใช่หรือเปล่า?
...ยังถือใบต่างด้าวเข้าเมืองใหม่
แม่เป็นจีนฮกเกี้ยนชื่อกิมไล้
พ่อกะเหรี่ยงปนไทใหญ่อ้ายโปธา
 
พวกหนูเป็นคนไทยใช่หรือเปล่า?
...หนูเลือดท้าวปนขุนรุ่นขี้ข้า
โคตรปู่ทวดบาทหลวงวิลันดา
โคตรยายย่าอำมาตย์มอญก่อนเสียเมือง
 
คุณท่านเป็นคนไทยไหมขอรับ?
...พาสปอร์ตกลับมะริกัน นั่นปมเขื่อง
เป็นไทยแท้แม้เติบใหญ่ยุโรปเรือง
อย่าแหย่เรื่องสัญชาติเสียว เดี๋ยวเข้าตัว!
 
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ธงชัย วินิจจะกูล (1): เมื่อความจริง(นิยาย) โดนดำเนินคดีในยุคกษัตริย์นิยมล้นเกิน

Posted: 19 Dec 2011 11:58 PM PST

อภิปรายที่ Book Re:public ธงชัย วินิจจะกูล แนะนำและวิจารณ์ “Truth on Trial” ของเดวิด สเตร็คฟัส พร้อมวิจารณ์แนวคิดในการดำเนินคดีหมิ่นประมาท/หมิ่นพระบรมเดชานุภาพแบบไทยๆ ที่ “สัจจะ” ขึ้นอยู่กับ “ระดับบุญบารมี” 

เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. ที่ผ่านมา ร้าน Book Re:public จ.เชียงใหม่ ได้จัดการเสวนาหัวข้อ “เมื่อความจริง (นิยาย) โดนดำเนินคดีในยุคกษัตริย์นิยมล้นเกิน” โดยมีผู้อภิปรายคือธงชัย วินิจจะกูล ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประวัติศาสตร์ไทย ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน สหรัฐอเมริกา ดำเนินรายการโดย “ภัควดี ไม่มีนามสกุล” นักแปลและคอลัมน์นิสต์ โดยเนื้อหาการอภิปรายกว่า 120 นาที เป็นการแนะนำและวิจารณ์หนังสือ “Truth on Trial” ของเดวิด สเตร็คฟัส แนวคิดเรื่องการดำเนินคดีหมิ่นประมาทและคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และอภิปรายภาวะ Hyper Royalism หรือภาวะกษัตริย์นิยมล้นเกินในประเทศไทย

โดยก่อนอภิปราย ภัควดีได้แนะนำธงชัยให้กับผู้ร่วมเสวนา พร้อมถามว่า “เมื่อความจริง ก็ถูกดำเนินคดี และนิยายก็ถูกดำเนินคดี และประเทศไทยมียุคที่ไม่มีกษัตริย์นิยมด้วยหรือ” โดยต่อไปนี้เป็นคำอภิปรายของธงชัย (หมายเหตุ: ข้อความในวงเล็บและคำเน้นเป็นการเน้นโดยประชาไท)

 

 

ธงชัย วินิจจะกูล (ขวา) และ ภัควดี ไม่มีนามสกุล (ซ้าย) ในงานเสวนา "เมื่อความจริง (นิยาย) โดนดำเนินคดีในยุคกษัตริย์นิยมล้นเกิน” เมื่อ 17 ธ.ค. ที่ร้าน Book Re:public จ.เชียงใหม่

 

ธงชัย วินิจจะกูล

"ภาวะที่ผู้พิพากษาทั้งหลายสามารถยอมรับกฎที่ออกโดยคณะปฏิวัติทุกฉบับว่าเป็นกฎหมายที่เรารับได้ เอากฎและระเบียบหรือคำสั่งภาวะที่เกิดขึ้นในภาวะไม่ปกติให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตปกติ “นิติราษฎร์” ต้องการให้เรากลับไปสู่ภาวะปกติที่ปกติ พูดง่ายๆ คือ “เลิกเพี้ยน” เดวิด (สเตร็คฟัส) บอกว่าสังคมไทยอยู่ในภาวะ “เพี้ยน” แล้วยังไม่รู้ว่า “เพี้ยน” มาประมาณ 50 ปีแล้ว"

 

000

ประเด็นที่ผมจะพูดคือว่า “กษัตริย์นิยม” เป็นเรื่องปกติ “กษัตริย์นิยมล้นเกิน” เป็นภาวะประมาณ 30 กว่าปีที่ผ่านมา ถ้าถามผมว่าประเทศไทยมีภาวะที่ไม่เป็นกษัตริย์นิยมด้วยหรือ ถ้าพูดกันอย่างซีเรียส เข้มงวดหน่อยต้องบอกว่ามี ถ้าพูดอย่างที่เข้าใจทั่วๆ ไปก็ต้องบอกว่า ไม่มี เป็น กษัตริย์นิยมตลอดเวลา ผมจึงได้ใส่คำว่า “ล้นเกิน” เพื่อให้เห็นว่าประเด็นนี้ที่จะพูดคือ 30 กว่าปีมานี้ เราอยู่ในภาวะผิดปกติที่กลายเป็นปกติ

ผมไม่เคยโดนใครทักว่าเป็นคนเศร้าๆ มาคิดอีกทีอาจจะเป็นอย่างนี้ก็ได้ ผมเป็นคนซีเรียสไปหน่อย ดังนั้นพอฟังอาจารย์ชาญวิทย์ (เกษตรศิริ) บน Youtube ที่พูดเมื่อครั้งที่แล้ว (ข่าวที่เกี่ยวข้อง) ผมบอก “โอ ตายแล้ว” ผมสู้อาจารย์ไม่ได้ อาจารย์ชาญวิทย์สนุกมาก

ทีแรกผมตั้งหัวข้อว่าจะคุยสนุกๆ ประมาณเดือนกว่ามาแล้ว สองเดือนด้วยซ้ำไป เหตุการณ์ในสองเดือนที่ผ่านมา ผมก็กลับมาอยู่ในภาวะปกติที่ผมเป็นคือ ผมชักสนุกไม่ออก

อย่างไรก็แล้วแต่ถ้าหลายคนอยากจะให้ผมพูดถึง “เคสเรื่องอากง” เคสถึงเหตุการณ์เฉพาะหน้า ผมตั้งใจแต่แรกแล้วว่า ผมอยากจะดึงพวกเราออกจากสถานการณ์เฉพาะหน้า ออกไปให้เห็นประเด็นทางประวัติศาสตร์ทางความคิด ประเด็นเกี่ยวกับเรื่องวัฒนธรรมไทยซึ่งเป็นเรื่องที่ผมถนัดกว่า เอาเข้าจริงผมไม่ได้พูดแค่เรื่อง 6 ตุลานะ อาชีพที่ผมทำสอนหนังสือประวัติศาสตร์ยุคโบราณก่อนยุคอาณานิคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเรื่องที่ทำวิจัยที่สิงคโปร์ก็เป็นเรื่องประวัติศาสตร์ความคิดของไทยนี่แหละ แต่ว่าเป็นสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ 6 ไม่ใช่ปัจจุบัน แน่นอนความสนใจเรื่อง 6 ตุลาก็ทิ้งไม่ได้ กำลังพยายามทำหนังสือเรื่อง 6 ตุลาออกมาชิ้นหนึ่งให้ได้

เพราะฉะนั้นเรื่องที่ผมถนัดคือผมอยากจะดึงออกจากเรื่องอากง เรื่องเฉพาะหน้า กลับไปดูเรื่องประวัติศาสตร์ความคิดวัฒนธรรมไทย โดยจะอภิปรายคู่กับหนังสือสำคัญสักสองสามเล่ม พูดง่ายๆ ว่า ถ้าหากวันนี้เป็นวิชาการหน่อยก็ถือเสียว่า ผมอยากจะเข้าใจว่านี่เป็นสิ่งที่ Book Re:public ก็ต้องการ แล้วจะวิชาการมากหรือน้อย ตอนแรกที่ผมตั้งใจก็ไม่มาก คุยสนุกๆ ผมสารภาพว่าเตรียมไปเตรียมมาจนถึงเมื่อเช้า ถึงเมื่อกี้ ประมาณ 2 โมงครึ่งมันชักจะหนักขึ้นทุกที คิดไปคิดมา ผมคิดถึงโปรเจกต์ว่าผมเขียนหนังสือได้อีกเล่มด้วยซ้ำไป ซึ่งมันมากไปแล้ว ถ้าอย่างนั้น ผมต้องพยายามทำใจอยู่ว่าทำอย่างไรผมจะไม่อ่าน ถ้าอ่านคงไม่จบแน่

ผมจะโยงให้เห็นเรื่องต่างๆ ที่ผูกโยงกับเรื่อง 112 (ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112) เพราะอยากดึงพวกเราออกจากเรื่องที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่เพราะเรื่องอากงหรือคนที่ติดคุกไม่สำคัญ แต่เพราะสำคัญ ผมถึงคิดว่าเราน่าจะรู้จักและเข้าใจเกินไปกว่าเพียงเคสทั้งหลายที่เจออยู่ทุกวันนี้ ถือเป็นโอกาสที่เราจะทำความเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นในสังคมไทย มากไปกว่าเพียงแค่ เรื่องว่าใครส่ง SMS หรือไม่ เขียนอะไร พูดอะไร ถูกจับแล้วถูกดำเนินคดีอย่างไร อันนั้นเป็นสิ่งที่พวกเรารู้ดี มีข้อมูลดีกว่าผมด้วยซ้ำ และหลายๆ คนคงพูดเรื่องนี้ ผมอยากพูดเรื่องที่ผมคิดว่าหลายคนในสังคมทั่วๆ ไป ในสื่อมวลชนทั้งหลาย ผมคาดไปเองนะว่า อาจจะไม่ได้พูดหรือพูดถึงไม่มากนัก

หัวข้อที่พูดวันนี้สามารถตั้งหัวข้อเปลี่ยนไปได้หลายแบบ แทนที่จะเป็น “ความจริง (นิยาย) ถูกดำเนินคดี” เอาเข้าจริงอันนี้เป็นการแปลไทยที่ไม่ดีเท่าไหร่นะ ผมตั้งหัวข้อที่แรกมาเป็นภาษาอังกฤษมาจากชื่อหนังสือเล่มนี้ครับ “Truth on Trial” มันเป็นเชิงถูกตรวจสอบ ถูกสอบสวน ผมเติมคำว่า “นิยาย” ลงไป เดี๋ยวจะเข้าใจเองว่าทำไม เพราะว่าผมจะอภิปรายในส่วนสังคมไทย Truth ความสัจจะ หรือความจริง หรือนิยาย สุดท้ายแล้วเราไม่รู้ว่าอะไรและและเส้นแบ่งอยู่ตรงไหน มันอาจกลับตาลปัตรก็ได้ และนี่ไม่ได้มาจากความคิดโพสต์โมเดิร์นเลย ไม่ใช่ ผมกำลังจะอภิปรายว่านี่มาจากความคิดพุทธ

เพราะฉะนั้นหัวข้อที่จะพูดในวันนี้สามารถเปลี่ยนได้หลายแบบ ผมไม่สงวนลิขสิทธิ์ เปลี่ยนเป็นอะไรก็ได้ เช่น “Truth on Trail อีกเล่มหนึ่งคือ 1984 กับนิยายประวัติศาสตร์ไทย” ก็ได้ “สัจจะ หรือ Truth ในวัฒนธรรมไทย” ก็ได้ หรือว่า “สังคม 1984 แบบไทยๆ” ก็ได้ แต่ว่าถ้าหากเราตั้งว่า “สังคม 1984 แบบไทยๆ” แบบไทยๆ เรามีคำอธิบายอีกอย่างหนึ่งซึ่งไม่ใช่ผมเป็นคนตั้ง เป็นคำอธิบายที่บรรดาพวกนิยมเจ้าทั้งหลายเขาเป็นคนตั้ง ก็คือ “แบบไทยๆ” แปลว่า แบบที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ใช่ไหมครับ เพราะฉะนั้น title สุดท้ายที่ผมบอก ถ้าจะพูดอีกอย่างก็คือ “1984 อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข”

ประเด็นใหญ่ที่คุยกัน และยิ่งคิดไปถึง 2 โมงครึ่งก็ยิ่งมากขึ้นไปทุกที ผมอ่านให้ฟังก่อนก็แล้วกัน และถ้าผมพูดไม่หมดก็เก็บไว้วันหลัง หรือเก็บไปคิดกันเอาเองนะครับ

 

หนึ่ง ผมจะคุยถึงหนังสือ Truth on Trial ของเดวิด สเตร็คฟัส (David Streckfuss)

สอง ผมจะคิดเลยออกจากหนังสือเรื่องนี้ โดยผูกเข้ากับเรื่อง “Hyper Royalism” ผมแปลเองว่า “กษัตริย์นิยมล้นเกิน” ด้วยเหตุที่ผมจะอธิบายอีกที มันมีคำอื่นที่ง่ายกว่านั้น แต่ผมตั้งใจใช้คำที่มันลิเกหน่อยๆ เพราะคำอื่นๆ ที่ง่ายกว่านั้นฟังแล้วอาจจะช็อกเกินไป ยกตัวอย่างก็ได้ เช่นคำว่า “คลั่งเจ้า”

สาม ผมจะอธิบายสังคมแบบที่เป็น “Thought Control” “การควบคุมความคิด” เป็นคำแปลโดยคุณรัศมี เผ่าเหลืองทอง จากเล่มนี้ (ชูหนังสือ “1984”) หรือถ้าหากพูดภาษาอังกฤษก็คือ A rule by Ideology and Thought Control การปกครองโดยการใช้อุดมการณ์หรือการฝังหัวและการควบคุมทางความคิด

ซึ่งจะนำไปสู่ประเด็นที่ สี่ คือ เราสามารถเข้าใจสังคมไทยได้ในหลายๆ แง่ โดยผ่านหนังสืออีกเล่มหนึ่งก็คือหนังสือ 1984 นี้

ห้า Truth แบบไทยๆ มีผลต่อความรู้ทางประวัติศาสตร์และนิยายทางประวัติศาสตร์ของไทยอย่างไร เอาเข้าจริงสุดท้ายแล้วผมจะพูดเรื่องนิยายน้อยมาก เพราะหลังจากเตรียมไปเตรียมมาผมต้องยอมรับตัวเองว่า ผมเตรียมเรื่องนิยายประวัติศาสตร์ไม่พอ ดังนั้นผมจะแค่ฝากประเด็นทิ้งไว้ในช่วงสุดท้าย แค่นี้ก็มากพอแล้วครับ ไหนจะมีตอบคำถาม คำถาม-คำตอบ และตอนท้ายๆ ผมอาจจะมีอะไรฝากนิดหน่อย

 

000

ประเด็นที่หนึ่ง คือหนังสือ “Truth on Trial” คือหนังสือเล่มนี้ “เมื่อความจริงหรือสัจจะโดนดำเนินคดี” ของเดวิด สเตร็คฟัส [Truth on Trial in Thailand: Defamation, Treason, and Lese-Majeste] ซึ่งเราหลายคนน่าจะเคยได้ยินชื่อ เพราะหลังๆ เขาออกมาพูดเรื่องกฎหมายหมิ่นบ่อยมาก เสียจนทำให้หลายคนคิดว่าหนังสือเล่มนี้มีแต่เรื่องกฎหมายหมิ่น ถ้าใครไม่อ่าน หรือสนใจเรื่องอื่นๆ ในหนังสือเล่มนี้ผมจะเสียหายมากๆ และถ้าหากผมจะอธิบายหนังสือเล่มนี้ให้ฟังนะ หนังสือเล่มนี้จะติดอยู่ในลิสต์ของฟ้าเดียวกัน พูดง่ายๆ ใครจะแปลหรืออย่างน้อยเก็บความอย่างละเอียด จักเป็นพระคุณยิ่ง เอาเก็บความละเอียดนะ ไม่เอาเก็บความแค่ประเด็นใหญ่คืออะไร

ในเล่มนี้มีอีกหลายเรื่องที่คนไม่เคยพูดถึง ผมไม่ทราบว่าเขาไม่ได้อ่าน หรือเอาเข้าจริงเวลาคนเราสื่อสารต้องพูดสรุปให้ชัดแค่ไม่กี่ประเด็น ก็เลยลงที่เรื่องกฎหมายหมิ่นอยู่ตลอดเวลา บวกกับที่เดฟเอง คนเขียนเอง หลังๆ ก็พูดแต่เรื่องนี้ เพราะสังคมไทยใน Public ไม่ใช่ที่สำหรับอธิบาย ความเบื้องหลังการวิเคราะห์กฎหมายหมิ่น ที่ในนี้มี 12 – 13 บท เรื่องกฎหมายหมิ่นฯ จริงๆ แทรกอยู่ในบทต่างๆ หลายแห่ง แต่เฉพาะจริงๆ เพียงแค่ 2-3 บาทเท่านั้น ไม่กี่บท

เดฟเป็นนักเรียนปริญญาเอกกับผมคนแรก พูดง่ายๆ ผมไป เขาเริ่มเรียนแล้ว สุดท้ายคือมีโอกาสได้มานั่งปลุกปล้ำกับวิทยานิพนธ์เขา แล้วเมื่อวิทยานิพนธ์ของเขาเสร็จ ประเด็นเรื่อง Truth ยังไม่ออก ใช้เวลาอีกประมาณ 10 กว่าปี คลำหา Concept วิทยานิพนธ์เสร็จ ใช้ได้ ผ่านได้ แต่จะเป็นหนังสือในกระบวนการของโลกภาษาอังกฤษไม่ใช่แค่พิมพ์วิทยานิพนธ์ ไม่มีใครทำอย่างนั้น คุณต้องพัฒนาอีกขั้นหนึ่ง ของผมเองก็ต้องพัฒนาอีกขั้นหนึ่ง ตัววิทยานิพนธ์แค่นั้นไม่ได้

ของเดฟใช้เวลาประมาณ 10 ปี ต้องขอบอกว่าที่เราเรื่องนี้เพื่อจะมาจุดที่ว่าสุดท้ายเขาตระเวนไปหา Concept เพื่ออธิบายเรื่องกฎหมายหมิ่นประมาท กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และกฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคง นั่นคือวิทยานิพนธ์ของเขา ตระเวนอยู่ประมาณ 10 ปี ไปหาเรื่อง Social Memory ไปหาเรื่อง Identity ไปหาอีกหลายเรื่อง ผมไม่ใช่ผู้รู้ดีนะ เขาเป็นผู้รู้ดีในเรื่องเหล่านี้ แต่ว่าเขาจะปรึกษากันตลอด แทบทุกครั้งผมจะบอกไม่ใช่ ... ไม่ใช่ ... ไม่ใช่ Concept ที่เขาต้องการมาปรับปรุงหนังสือนี้ยังไม่ใช่ จนกระทั่งผมได้อ่านซีรีย์หนังสือ ชุดที่พูดเรื่องการจัดการความจริงในสังคมไทย เคยเห็นไหมฮะ ที่อาจารย์อรรถจักร์ (สัตยานุรักษ์) เขียนเรื่องมือที่สาม ที่อาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์เขียนเรื่องดุซงญอ ชุดเดียวกับที่อาจารย์พวงทอง (ภวัครพันธุ์) เขียนเรื่องกัมพูชา ผมบอกเลยว่าชุดนั้นผมอ่านก็มีชอบ ไม่ชอบเป็นปกติ แต่ Concept โดยรวม ผมคิดว่ามันไปไม่สุด Concept โดยรวมทั้งซีรีย์ไปไม่สุด ผมให้เดฟไปอ่านดู แล้วไปคิดเองว่าจะ Apply อย่างไร ไม่ใช่ว่าผมรู้นะครับ ผมไม่รู้ แต่ผมคิดว่าน่าจะใช่ เขาไปอ่านแล้วก็กลับมาพร้อมกับวิทยานิพนธ์ที่ปรับ Concept ปรับอะไร ผมบอกอย่างเดียวว่า “This is it.” หลังจากนั้นเขาก็ไปเขียน draft ออกมาเป็นหนังสือเล่มนี้ พูดง่ายๆ ว่าประเด็นเหล่านั้นสามารถผนวกกันเข้ามา โดยการกลับไปนั่งมองว่า สังคมไทยจัดการกับ Truth อย่างไร

 

000

หนังสือเล่มนี้พูดถึงอะไรบ้าง ประเด็นที่หนึ่งที่เขาพูดถึงสิ่งที่เรียกว่า Defamation Regime, Defamation แปลว่า หมิ่นประมาท การดูหมิ่น Regime แปลว่า ระบอบ ในที่นี้ไม่จำเป็นต้องเป็นรัฐบาลนะ คำว่า Regime มีความหมายกว้างกว่านั้น บางคนอาจจะได้ยินชื่อของ (Michel) Foucault ใช้คำของ Foucault ในความหมายว่า เป็น Regime ของความรู้

ยกตัวอย่างเช่น ผมใช้ในหนังสือว่าเป็น Geographical Regime นั่นหมายความว่า ความรู้ภูมิศาสตร์มีหลายแบบ ความรู้ทางภูมิศาสตร์แบบที่เราคุ้นกันอยู่ในทุกวันนี้เป็นแบบหนึ่งในโลกมนุษย์ในอารยธรรมของมนุษย์มีแบบอื่นด้วย ของไทยแต่เดิมก็ไม่ใช่แบบนี้ เพราะฉะนั้นที่เราคุ้นนี้เป็น Regime ทางภูมิศาสตร์แบบหนึ่ง

ในกรณีของเดฟที่ใช้คือ มี Regime มีระบอบ หรือกลไกที่จัดการกับความรู้โดยการใช้กฎหมายหรือใช้กลไกที่จัดการ การหมิ่นประมาทในสังคมไทย เพื่อบอกและควบคุมสังคมไทยว่า อะไรจะพูดได้ อะไรพูดไม่ได้ นี่ไม่ใช่แค่กฎหมายหมิ่นนะครับฯ กฎหมายหมิ่นประมาททั่วๆ ไป การฟ้องคดีหมิ่นประมาททั่วๆ ไป เป็นการวางบรรทัดฐานว่าอะไรพูดได้อะไรพูดไม่ได้ ซึ่งลักษณะนี้ในสังคมไทยมีหลายอย่างที่ไม่ต่างกัน แต่มีอะไรบ้างที่ไม่เหมือนกัน

สิ่งที่คนเขียนเจาะจงลงไป คือ สิ่งที่ไม่เหมือนกันมักจะปรากฏอยู่ในเรื่องที่เกี่ยวกับความมั่นคง หมายความว่ากฎหมายหมิ่นประมาทของไทยกับหลายประเทศ ถ้าเป็นเรื่องเอกชนต่อเอกชน เป็นเรื่องทางแพ่ง หลายอย่างจะไม่ต่างกัน ส่วนใหญ่จะไม่ต่างกัน แต่เมื่อประยุกต์ใช้กฎหมายเกี่ยวกับการหมิ่นประมาทไปใช้เกี่ยวกับความมั่นคง ไปใช้กับคนมีอำนาจ ไปใช้กับระบอบอำนาจ และสุดท้ายคือใช้กับสถาบันพระมหากษัตริย์ การประยุกต์ใช้กฎหมายหมิ่นประมาทกลับไม่ได้ประยุกต์ใช้อย่างที่โลกคนอื่นเขาทำกัน การประยุกต์ใช้กลับอยู่ในกรอบของวัฒนธรรม หรือเงื่อนไขของสังคมไทยเอง

เขาสืบสาวราวประวัติความเป็นมาของกฎหมายไทย กฎหมายหมิ่นประมาท และสุดท้ายสืบสาวราวเรื่องเกี่ยวกับกลไกทางกฎหมายทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการหมิ่นและละเมิด ละเมิดบางทีมันไม่เชิงเป็นการหมิ่นประมาทใช่ไหมครับ การให้เกิดความเสียหาย ทำร้ายต่อ Integrity ต่อศักดิ์ศรี ก็เป็นการอาจเรียกได้ว่าหมิ่นประมาทก็ได้ อาจจะหมิ่นประมาท การสืบสาวราวเรื่องการละเมิดรัฐฐะ ละเมิดอำนาจ ละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ ว่าในกรณีเหล่านี้สมมุติฐานคือว่า กฎหมายหมิ่นฯ มีรากหลายทาง รากหนึ่งคืออยู่กับกฎหมายหมิ่นประมาทนั่นแหละซึ่งไม่ใช่เรื่องประหลาดอะไร แต่เมื่อประกอบกับรากอื่นๆ เช่น พุทธศาสนา ประกอบโน่นประกอบนี่ สุดท้ายแล้วรากที่เป็นกฎหมายหมิ่นประมาทธรรมดาเมื่อใช้กับรัฐ ไม่ใช่แค่สถาบันกษัตริย์ด้วยซ้ำไป เกี่ยวกับเรื่องอำนาจรัฐ เกี่ยวกับเรื่องอื่นๆ เราจะมีวัฒนธรรมการจัดการเกี่ยวกับเรื่องการหมิ่นและการละเมิดอีกแบบหนึ่ง ซึ่งไม่มีที่ไหนในโลกเขาทำกัน

นี่คือสิ่งที่เป็นข้อเสนอข้อที่หนึ่ง และผมเรียกว่าเป็น “โครงเรื่องหลัก” ของหนังสือเล่มนี้

เพราะฉะนั้น เป็นการจำกัดเสรีภาพการแสดงความเห็น ไม่ได้บอกว่าเรื่องนั้นไม่สำคัญ แต่เรื่องนั้นเข้าใจไม่ยาก และในกรณีนี้เขาสืบสาวราวเรื่องประวัติความเป็นมา และพยายามผูกโยงให้เห็น ทั้งที่เกี่ยวโยงกับวัฒนธรรมนานาชาติ วัฒนธรรมโลก และวัฒนธรรมของไทยเอง ผมเลยบอกว่าในประเด็นนี้ประเด็นเดียวก็มีเรื่องตั้งเยอะแยะแล้วที่ผมอยากให้คนอ่านและพยายามเข้าใจ และผมคิดว่านี่คือหน้าที่นักวิชาการ หน้าที่นักประวัติศาสตร์ที่เราพยายามจะทำ เพราะสุดท้ายเดฟไม่ใช่นักกฎหมาย เขาสืบสาว ศึกษาประวัติทางกฎหมายเพื่ออธิบายความเปลี่ยนแปลง

สาระสำคัญข้อสอง รากหรือ Concept ที่เป็นส่วนประกอบของกฎหมายหมิ่นประมาทหรือการละเมิดต่อรัฐ อำนาจ และสถาบันกษัตริย์ หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่าส่วนของการหมิ่น และการละเมิด ที่เกี่ยวข้องกับสังคมไทย เดฟเสนอว่ามีสองอย่างที่สำคัญ

สองอย่างนี่แต่ละอย่างก็ว่าไปหลายบทนะ หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่อ่านไม่ง่าย และผม Complain ตั้งแต่ต้นจนจบว่ามันยาวเกินไป จนสุดท้ายเขาบอกเขาจะเอาอย่างนี้ ผมก็เลยเลิกอ่าน

แต่ว่าประเด็นใหญ่ๆ คืออย่างนี้ครับ รากของมันมีอยู่อีกสองอย่าง อย่างที่หนึ่ง รากของ Concept “Defamation Regime” มีสองอย่างสำคัญ อย่างแรกคือสิ่งที่เรียกว่า “สภาวะยกเว้น” สำหรับคนที่สนใจทางทฤษฎี เขายืมมาจาก Carl Schmitt และ Giorgio Agamben สาระสำคัญของสิ่งที่เรียกว่า สภาวะยกเว้น คือ สภาวะไม่ปกติที่กลายเป็นปกติของสังคมหนึ่งๆ ในกรณีของ Schmitt คือสังคมนาซี ในกรณีของ Agamben คือยังพูดสังคม Authoritarian หลายที่ แต่คนเหล่านี้ก็ไม่ได้รู้จักสังคมไทย

อธิบายอย่างง่ายๆ คือ มีสภาวะที่ไม่ปกติบางอย่างซึ่ง Rule of Law ถูก Suspended ถูกยุติ หรือถูกจำกัด ไม่สามารถใช้ได้ตามปกติ และให้อำนาจแก่รัฐ หรือผู้มีอำนาจ ผู้วิเศษ ซุปเปอร์แมนหรือใครก็แล้วแต่ เข้ามาเป็นผู้จัดแจง ตามกฎหมายที่ให้อำนาจพิเศษลงมาล้วงลูกได้

Schmitt กับ Agamben บอกว่า ในหลายๆ ที่การให้อำนาจรัฐบงการกิจกรรม เลยเถิดถึงขนาดลงมาบงการกิจกรรมที่เป็นของปัจเจกบุคคล เป็นเรื่องของปัจเจกชน นึกถึงยุคนาซี สิ่งสำคัญที่พวกเขาพยายามเสนอ คือ ในนามภาวะไม่ปกติ เขาได้ทำให้การใช้อำนาจเช่นนั้นกลายเป็นเรื่องปกติ

เดวิด สเตร็คฟัส บอกว่านั่นคือสังคมไทย ทำให้สิ่งที่ไม่ปกติ หรือไม่ควรจะปกติ กลายเป็นเรื่องปกติ ปกติขนาดไหน อย่างน้อยๆ ที่สุดที่เขาเสนอคือนับตั้งแต่ สฤษดิ์ (จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์) เป็นต้นมา เราอยู่ในภาวะไม่ปกติที่เป็นปกติมาประมาณกี่ปีแล้วล่ะ ห้าสิบปี คือครึ่งศตวรรษไปเรียบร้อยแล้ว คือเราเรียกว่าปกติแล้ว แต่ถ้าเราเอาหลักกฎหมาย หลักหลายอย่าง นี่มันสภาวะผิดปกติ

ถ้าผมจะสรุป อันนี้เดฟไม่ได้เขียนนะ ผมสรุปให้ง่ายไปกว่านั้นอีก ง่ายเสียจนอาจจะผิด แต่ผมคิดว่าจะทำให้เราเข้าใจมากขึ้น นั่นคือภาวะที่ผู้พิพากษาทั้งหลายสามารถยอมรับกฎที่ออกโดยคณะปฏิวัติทุกฉบับว่าเป็นกฎหมายที่เรารับได้ เอากฎและระเบียบหรือคำสั่งภาวะที่เกิดขึ้นในภาวะไม่ปกติให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตปกติ “นิติราษฎร์” ต้องการให้เรากลับไปสู่ภาวะปกติที่ปกติ พูดง่ายๆ คือ “เลิกเพี้ยน” เดวิดบอกว่าสังคมไทยอยู่ในภาวะ “เพี้ยน” แล้วยังไม่รู้ว่า “เพี้ยน” มาประมาณ 50 ปีแล้ว นี่คือสาระสำคัญข้อที่สอง

ประเด็นนี้ผมมีข้อแย้งสำคัญ คือ ผมกลับคิดว่า เราสามารถอ่านและเข้าใจ Schmitt กับ Agamben แล้วทิ้ง Schmitt กับ Agamben ไปก็น่าจะได้ แล้วอธิบายประวัติศาสตร์ไทยเอง แต่นี่เผอิญไม่ใช่คนเขียน เขาใช้ Schmitt ใช้ Agamben ว่าไป พูดง่ายๆ ผมคิดว่าสามารถอธิบายภาวะที่ประหลาดๆ ผมไม่รู้จะเรียกว่าปกติ ไม่ปกติไหม ทั้งหมดเป็นคำของ Schmitt กับ Agamben ที่เดฟเอามาใช้ ผมไม่รู้ด้วยซ้ำว่าควรใช้คำเหล่านั้นหรือไม่ แต่อธิบายภาวะอย่างนี้โดยเอาความคิดของพวกเขามาประยุกต์อีกทีหนึ่งก็น่าได้ แต่นี่ก็ไม่เป็นไร เป็นข้อแย้งของผม 

 

000

สาระสำคัญต่อมา คือ อะไรเป็นรากอันที่สอง ที่บอกว่าเป็นเงื่อนไขของ Defamation Regime ตรงนี้เป็นเรื่องที่ผมอยากฝากว่าน่าอ่านมากมาก เถียงได้เยอะ แต่ผมคิดว่าน่าสนใจมากๆ ที่เขาอธิบายว่าTruth และการจัดการความจริงของสังคมไทยผูกพันกับการเข้าใจเรื่อง Truth ของพุทธเถรวาทไทย

ไม่ใช่แค่เรื่องกฎหมายแล้วนะ ไม่ใช่แค่เรื่องทฤษฎีการเมืองแล้วนะ และตรงนี้ที่ผมคิดว่าเป็นจุดอ่อนคือเดฟรู้จัก Concept ปรัชญาพุทธ อะไรต่ออะไรไม่ดีเท่าไหร่ แต่กลับกลายเป็นว่าเขานำเสนอในประเด็นที่อาจจะไม่ถูกเป๊ะ แต่สามารถอภิปรายและถกเถียงได้

ในความเห็นผมนะ เป๊ะๆ อาจจะไม่ถูกเป๊ะ รับรองถูกพระถูก Scholar ทางพุทธด่าแหลก ผมเองยังแย้งได้เลย แต่ผมกลับคิดว่าเขาเปิดประเด็นหลายอันที่ถ้าเราอย่าไปติดว่าเขาอธิบายถูกทุดคำไหม มีประเด็นให้คิดจมเลย

ผมจะอธิบายต่อไปนี้ไม่ใช่เดฟทั้งหมด แต่บวกกับความเข้าใจของผมด้วย บวกกับความเข้าใจที่ผม Correct เดฟด้วย คือผมแก้ให้เขาด้วย และผมก็ไม่อยากให้เข้าใจผิด ผมเองก็ไม่ใช่ปัญญาชนพุทธ แต่เอาง่ายๆ คือ ในการเข้าใจประวัติศาสตร์ความคิดของไทย หนีไม่พ้นที่จะต้องเข้าใจประวัติศาสตร์ความคิดในทางพุทธศาสนาเกี่ยวกับเรื่องอำนาจ ผมคิดว่าเดวิดอาจจะจับจุดได้ ... ต้องเรียกว่าไม่ผิดนะ แต่ว่าไม่คม ผมอ่านปุ๊บผมปิ๊ง (ดีดนิ้ว) ขึ้นมาทันทีในหลายเรื่องที่ผมไม่เคยคิด ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้วยซ้ำแต่ผมอ่านเรื่องนี้มามากกว่าเดฟ เพราะเป็นไลน์ที่ผมศึกษาวิจัยในขณะที่ไม่ใช่ไลน์เขา แต่เขาอธิบายทำให้ผมปิ๊งหลายเรื่องที่ผมไม่คิดมาก่อน

ประเด็นนี้จึงสำคัญมากและเปิดประตูเบ้อเริ่มให้เราคิดต่อ ผมจะลองอธิบายให้เห็นว่า Truth ในสังคมไทยมีลักษณะที่ไม่เหมือน Concept สมัยใหม่หรือ Truth อย่างที่เราเข้าใจอย่างไร แล้วผมจะเน้นประเด็นที่ใกล้ ม.112 เข้ามาหน่อย

ผมจะอธิบายประเด็นนี้ให้ง่าย ถ้าผมพูดให้ง่ายไม่ใช่ดูถูกผู้ฟัง แต่เพื่อประหยัดเวลาและเพื่อติดประเด็น จุดประเด็นให้พวกเราคิดเอา

ใน Concept อย่างพวกเรา ยิ่งผ่านระบบการศึกษามหาวิทยาลัยระบบตะวันตก เราอยู่ในมหาวิทยาลัยที่มีเชื้อมูลของตะวันตกนี้เยอะ “สัจจะ” หรือ ความจริงขั้นสุดท้ายในทางฟิสิกส์หรือวิทยาศาสตร์เรายังไปไม่ถึง การค้นคว้าวิจัยทำให้เรารู้มากขึ้นเพื่อสักวันเราจะได้รู้ถึงที่สุด นักประวัติศาสตร์บอกว่าอดีตมีมาก มีจิ๊กซอว์อยู่เต็มไปหมด เราต้องรู้จิ๊กซอว์ทีละชิ้นเพื่อที่สักวันเราจะต่อจิ๊กซอว์ครบทั้งอัน

แต่ในแนวคิดพุทธบอกว่า “สัจจะ”ค้นพบแล้ว “อกาลิโก” ไม่ได้แปลว่ายังอยู่ข้างหน้า แต่แปลว่าอยู่โน่นเมื่อ 2,500 ปีก่อน และยัง “อกาลิโก” จนทุกวันนี้ “สัจจะ” เจอแล้วนานแล้ว แต่เราทั้งหลายในปัจจุบันบุญไม่ถึง จึงไม่สามารถบรรลุธรรมได้ “สัจจะ” อยู่โน่นเราทั้งหลายเก่งอย่างไร ในห้องนี้เป็นศาสตราจารย์หมด คุณก็ยังไม่ถึง “Truth” อยู่ดี

ในภาษาอังกฤษที่เรียกว่า “Truth” และ “Reality” เราแปลเป็นไทยว่าสัจจะความเป็นจริง ใน concept พุทธ การแปล “สัจจะ” มีคำที่ใช้มากกว่านั้นคือ “ธรรมะ” ซึ่งคำนี้ไม่สามารถแยก “Truth” ออกจาก “Reality” ได้ แต่ “ธรรมะ” มีเกรด หรือมีขั้นตามแต่ระดับบุญที่เราสามารถจะเข้าถึง ธรรมะมีอันเดียวแต่เราล่วงรู้ธรรมมะได้ในดีกรีที่ต่างกันตามบุญบารมีและความสามารถเราถึงได้บรรลุ ธรรมมีหนึ่งเดียวมีอันเดียว แต่ฝรั่งมี “Truth” กับ “Reality” ที่แยกกันและพยายามจะให้คำจำกัดความ

ผมยกเรื่องนี้เพราะระบบกฎหมายต้องอยู่กับเรื่องความจริง ผมถามว่าระบบกฎหมายไทยจะเอาความจริงอันไหน หมายความว่าระบบกฎหมายไทยเป็นระบบกฎหมายสมัยใหม่ แต่ถามว่าสังคมไทย Concept เรื่องความจริงแบบพุทธ “สัจจะ” หรือ “ธรรมะ”แบบพุทธหายไปหรือยัง ... ยัง ตอบแบบนักประวัติศาสตร์คือไม่มีอะไรในอดีตหายไปอย่างรวดเร็ว บ่อยครั้งมันอยู่กับเราโดยเราไม่รู้ตัว

ถ้าเป็นอย่างนั้น หมายถึงว่าคนที่อยู่ในวงการกฎหมาย กฎหมายหมิ่นประมาท อย่าลืมว่าเรื่องหมิ่นประมาทนั้นเป็นเรื่องพิสูจน์กันยาก หมิ่นประมาทต้องพิสูจน์ด้วยอะไรครับ มีสองอย่างที่ต้องพิสูจน์กัน หนึ่ง พิสูจน์ว่าจริงหรือไม่จริง นี่พูดแบบตามตรรกะนะครับ ถ้าจริงต่อให้คำกล่าวนั้นไม่ก่อให้เกิดความเสียหายคนๆ นั้นก็ไม่ผิด อันที่สอง เสียหายไหม เสียหายมากขนาดไหน เช่น Public Figure เสียหายแค่นี้ไม่เป็นไร ไม่ใช่ Public Figure (บุคคลสาธารณะ) เสียหายแค่นี้ถือว่าผิด เพราะ Public Figure ควรจะต้องเจอความเสียหาย ถูกตรวจสอบมากกว่าคนที่ไม่ใช่ Public Figure

เพราะฉะนั้นมี พิสูจน์ความจริง กับพิสูจน์ระดับความเสียหายนี่เป็นหลักกฎหมายหมิ่นประมาทโดยทั่วไป

ถามว่าเมื่อมาอยู่ในสังคมไทย 2 อย่างนี้พิสูจน์ลำบากแล้วนะ การพิสูจน์ระดับความเสียหาย พิสูจน์อย่างไร ศาลก็ต้องเชิญพยานคนที่หนึ่งมาถามว่า “คุณฟังข้อความนี้แล้ว คุณรู้สึกว่า จำเลยถูกละเมิดหรือไม่” แล้วก็ถามคนที่สอง “คุณฟังข้อความนี้แล้วรู้สึกว่าจำเลยถูกละเมิดหรือไม่” มันไม่มีวิธีพิสูจน์อื่น นี่พูดถึงในระบบสากลนะครับ ไม่มีวิธีพิสูจน์อย่างอื่น ยิ่งระบบลูกขุนยิ่งแล้วใหญ่ เพราะต้องเอาพยานมา ลูกขุนก็นั่งฟังแล้วถามใจตัวเองว่า ตกลงเราฟังแล้วมันละเมิดหรือไม่ละเมิดเพื่อจะตัดสินว่าเกิดการหมิ่นประมาทหรือไม่ แม้ดีกรีที่บอกว่า ถ้าเป็นจริง ก็แปลว่าไม่ผิด

ในโลกนี้หลักพิสูจน์ความจริง กับระดับของการละเมิดนี้ปะปนกันอยู่ตลอดเวลา มีสองเกณฑ์ในการพิจารณากฎหมายหมิ่นประมาท สิ่งที่เดฟเสนอก็คือว่า ในกรณีสังคมไทย ในเมื่อรัฐในไม่ปกติกลายเป็นเรื่องปกติ ผู้มีอำนาจจะกลายเป็น Unquestionable ห้ามโต้แย้ง แปลว่า “ความจริง” ไม่ต้องการการพิสูจน์ เขาพิสูจน์อย่างเดียวว่าละเมิดหรือไม่ กฎหมายหมิ่นเป็นตัวอย่างที่ชัดที่สุด เพราะไม่มีการพิสูจน์ว่าจริงหรือไม่ ไม่มีการพิสูจน์ว่าสิ่งที่พูด สิ่งที่เขียนจริงหรือไม่ พิสูจน์อย่างเดียวคือระดับของการละเมิด แถบระดับพิสูจน์ของการละเมิดโดยที่ตัวผู้ถูกละเมิดไม่สามารถมาบอกเองด้วยซ้ำไป เป็นการเดาว่าผู้ถูกละเมิด ถูกละเมิดขนาดไหน เป็นการเดาว่าประชาชนทั่วไปถูกกระทบความรู้สึก ในคำตัดสินคดีอากงใช่ไหมครับ ต้องประชาชนทั่วไปเลยนะและเดาด้วยนะ เพราะศาลไม่สามารถนำคน 60 กว่าล้านคนมาถามทีละคน อย่างน้อยศาลก็ไม่เคยถามผม ใช่ไหมครับ จะเกิดอะไรขึ้นถ้าศาลเรียกผิดคน หรือถามคนที่บอกว่า “ไม่รู้สึก” ศาลจะเอาโหวตไหม ว่าคนที่เรียกมา 10 คน 9 ชนะ 1, 8 ชนะ 2, 6 ชนะ 4 ... ไม่มีบรรทัดฐานใดๆในเรื่องเช่นนี้ทั้งสิ้น จึงเป็นการใช้เกณฑ์กฎหมายหมิ่นประมาทในภาวะที่ไม่ปกติที่ทำให้กลายเป็นปกติ

ผมกลับมาเรื่อง “พุทธ” ในสังคมเรา มีการใช้ความหมายของคำว่า “จริง” หรือ “ไม่จริง” ปะปนกำกวมกันไปจนน่าปวดหัวโดยที่เราไม่เคยสะสาง แต่ในที่นี้ไม่ได้พูดเพื่อให้สะสาง เพราะผมเชื่อว่าสะสางไม่ได้

สะสางไม่ได้ ทำอย่างได้อย่างเดียวคือกรุณา Aware ตระหนักแล้วอย่าจับใครเข้าคุกง่ายๆ ผมจะยกตัวอย่างให้ฟัง และนี่คือหัวข้อเดิมที่ผมตั้งใจจะพูด แต่ว่าตลกๆ มาอยู่ในนี้ แค่นี้ก็แล้วกัน

คุณว่าพระไทยเล่นกีตาร์ไหม แต่ว่ากองเซ็นเซอร์เขาบอกว่าพระไทยไม่เล่นกีตาร์ รู้ใช่ไหมว่าเคสอะไร

เพราะฉะนั้นเมื่อหนังของคุณอภิชาติพงศ์ (วีระเศรษฐกุล) มีพระเล่นกีตาร์ จึงต้องตัดฉากนั้นออก อะไรคือ Justification ที่ตัดฉากนั้นออก Justification ของกองเซ็นเซอร์ก็คือ เพราะพระไทยไม่เล่นกีตาร์ เมื่อกี้ผมถามว่าพระไทยเล่นกีตาร์ไหม พวกคุณบอกว่า ใช่ คุณคิดว่ากองเซ็นเซอร์ผิดหรือที่บอกว่าพระไทยไม่เล่นกีตาร์

ตัวอย่างที่สอง ในหนังเรื่องเดียวกันมีภาพหมอ รู้ใช่ไหมครับ ขออนุญาต เพื่อไม่ให้ประเจิดประเจ้อ เดี๋ยวจะไม่ได้โดนข้อหาหมิ่น จะโดนข้อหาอนาจาร หมอไทยเกิดความรู้สึก Sex ขึ้นมาเกิด Erection ฉากนั้นถูกตัดออก ผมถามจริงๆ เถอะ หมอไทยไม่มีความรู้สึกทางเพศหรือเปล่าฮะ คุณว่าหมอไทยมีความรู้สึกทางเพศไหม คุณว่าหมอไทยเคยเกิด Erection ไหม แต่กองเซ็นเซอร์เขาบอกว่าหมอเนี่ยไม่ควรมีภาพเกิด Erection คุณคิดว่ากองเซ็นเซอร์เขาผิดหรือ ตกลงเรากำลังพูดเรื่องอะไรอยู่เนี่ย คิดซะ

ผมให้ตัวอย่างที่สาม แล้วเดี๋ยวคุณอาจจะนึกว่าสองตัวอย่างแรก เอาเข้าจริงเขากำลังพูดถึงความเป็นจริงคนละชนิดกัน ผมให้ Hint หน่อยหนึ่ง

เมื่อปี 1995 (2538) 15-16 ปีมาแล้ว อาจารย์ผาสุก พงษ์ไพจิตร กับอาจารย์สังศิต พิริยะรังสรรค์ เคยทำวิจัยร่วมกันชิ้นหนึ่ง เกี่ยวกับเรื่องการคอรัปชั่นของตำรวจ แล้วก็ได้ข้อสรุปว่าคอรัปชั่นเต็มไปหมด ตำรวจประท้วง ไม่ใช่แค่อธิบดีประท้วงอย่างเดียวนะ ตำรวจฮือฮา ผมจำไม่ได้ว่าตำรวจตบเท้าประท้วงไหม คิดว่าไม่ถึง แต่เพียงว่าไม่ใช่เพียงแค่ตำรวจผู้ใหญ่บางคนออกมาให้ความเห็น เกิดกระแสความไม่พอใจในวงการตำรวจ ผมก็ไม่รู้แหละครับว่าพวกเขาเกณฑ์มา รู้สึกจริง นั่นเราไม่เกี่ยว เราเคารพกันว่าลองมีคนประท้วงก็คือมีการประท้วง

ข้อโต้แย้งของตำรวจเหล่านั้นก็คือว่า ตำรวจที่คอรัปชั่นเป็นแค่ไม่กี่คน ตำรวจไทยไม่คอรัปชั่น

ถ้าคุณบอกว่าตำรวจไทยคอรัปชั่นมากมาย เท่ากับว่าคุณกำลังยื่นเรื่องต่อ ปปช. อย่างไม่เป็นทางการว่าให้สอบสวนเขาให้หมด ตำรวจถ้าหัวหมอก็อาจจะบอกว่า “อ่า ถ้ารู้อย่างนั้น ก็ฟ้องให้หมดสิ ก็ถ้าคุณไม่ฟ้อง ฟ้อง ก็แปลว่าตำรวจส่วนใหญ่ไม่คอรัปชั่น มีเฉพาะตำรวจที่ถูกฟ้องเท่านั้นถึงคอรัปชั่น แปลว่าความเป็นจริงก็ประจักษ์พยานชัดอยู่ว่าตำรวจไม่กี่คนคอรัปชั่น ตำรวจส่วนใหญ่ไม่ถูกฟ้องจึงไม่คอรัปชั่น ซ.ต.พ.”

เวลาคุณเจออย่างนี้ คุณจะบอกว่าอย่างไร งานวิจัยที่บอกว่าตำรวจคอรัปชั่น หรือ Statement ที่บอกว่าตำรวจไทยไม่คอรัปชั่น อันไหนคือความจริง หรือคุณจะบอกอันหลังว่าไม่จริงเลย โกหกทั้งเพ

ตัวอย่างสุดท้าย คุณอานันท์ ปันยารชุน พูดตลอดเวลาในเวทีสากล ในเวทีประเทศไทยว่าสถาบันกษัตริย์ไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับการเมือง

คุณนึกออกหรือยังฮะ

 

พระไทยไม่เล่นกีตาร์ ... พระไทยเล่นกีตาร์

หมอไทยไม่มีพฤติกรรมทาง Sex ที่น่าเกลียดอย่างนั้น ... หมอไทยก็มนุษย์คนหนึ่ง เกิด Erection ได้

ตำรวจไทยไม่คอรัปชั่น ... คอรัปชั่นเต็มไปหมด

พระมหากษัตริย์ไม่ยุ่งการเมือง

 

เรากำลังพูดถึงความจริงคนละภาษากัน และนี่คือวิธีที่คุณอานันท์ใช้ตลอดเวลา ถามผมว่าตำรวจไทยไม่คอรัปชั่น พระมหากษัตริย์ไทยไม่ยุ่งการเมือง มีค่าเท่ากับอะไร ในความเห็นผมนะ มีค่าเท่ากับ “เมืองไทยเรานี้ แสนดีหนักนา ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” คุณจะบอกหรือว่าคำกล่าวเหล่านี้เพ้อเจ้อ ไร้เดียงสา มันสะท้อนความรู้สึกของหลายคนนะ เขาถึงอยากอยู่เมืองไทยไง แต่ในทางกลับกัน ความรู้สึกของหลายคนที่เดินอยู่ในประเทศไทยทุกวันก็บ่นเช้าบ่นเย็น

ถามว่าตกลงที่เมืองไทย เป็นเมืองที่ยังน่าอยู่ เรายังอยากอยู่เมืองไทย กับเมืองไทยที่แย่ฉิบหายเลยบ่นเช้าบ่นเย็น อันไหนคือความจริง อันไหนคือความไม่จริง คำตอบก็คือ เผลอๆ มันไม่ใช่อันหนึ่งจริงและไม่จริง แต่เรากำลังพูดถึงความจริงคนละเรื่อง เรากำลังพูดถึงความจริงคนละระนาบ

 

000

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเราใช้ความจริงคนละระนาบ เอาไปตัดสินคดีหมิ่นประมาท

คดีหมิ่นประมาท คดีอาชญากรรม เขาไม่ได้มีไว้ให้กับความจริงที่บอกว่าตำรวจไทยไม่คอรัปชั่น พระไทยไม่เล่นกีตาร์ หรือพระมหากษัตริย์ไม่ยุ่งการเมือง เอาไปตัดสิน พูดถึงระบบกฎหมายทั่วไปที่ใช้กันทั่วโลกนะเขาเอาความจริงอีกข้างหนึ่ง

แต่ที่ศาลตัดสินคดีอากง ศาลต้อง Assume ก่อนว่าความจริงคือ คนไทยทั่วไปมีความรู้สึกอย่างนี้ จึงถูกกระทบกระเทือนจากข้อความที่ส่ง SMS ถูกไหมครับ ความจริงที่ศาล Assume ไม่ใช่ความจริงที่จำเป็นต้องมาถามคน 60 ล้านคนหรือแค่สิบคนอย่างที่ยกตัวอย่าง ไมใช่ ไม่จำเป็น เป็นความจริงที่ Assume เหมือนความจริงที่บอกว่าตำรวจไทยไม่คอรัปชั่น เหมือนความจริงที่บอกว่าหมอไทยไม่เคยมีความรู้สึกทางเพศ เหมือนความจริงที่บอกว่าพระไทยไม่เคยเล่นกีตาร์ พระไทยดีหมดเลย หรือความจริงที่บอกว่าสถาบันกษัตริย์ไม่ยุ่งกับการเมือง

การตัดสินคดีที่เกี่ยวกับความมั่นคง ตัดสินคดีหมิ่นหลายอัน Assume ความจริงชนิดหนึ่งที่ไม่ต้องการการพิสูจน์ เป็นความจริงชนิดนั้นเป็นความจริงที่ไม่ต้องการค้นพบหรือวิจัย เป็นความจริงที่รู้ได้ด้วยเจตสิทธิ ด้วยเจตจำนงภายในของเรา และทุกคนที่เกิดเป็นคนไทยควรจะรู้อยู่ จนกระทั่งคนบุญน้อยและเจตสิทธิ เจตจำนงภายในแย่ จึงต้องถูกตรวจสอบว่าละเมิดหรือไม่

ความจริงชนิดนี้ไม่ต้องการการพิสูจน์ ความจริงชนิดนี้มีไว้สำหรับยึดถือว่ามันเป็นอย่างนั้นโดยที่ไม่ต้องมีการพิสูจน์

Defamation Regime ของไทย อยู่กับความคิดเรื่องความจริงของพุทธนี้แบบสับสนปนเปกันไปหมด มากไปกว่านั้น คิดแบบพุทธคุณพอรู้ใช่ไหม สังคมพุทธไม่ได้เป็นแบบนี้หมด แต่ Hierarchy ในสังคมไทยมีรากฐานจากความคิดเรื่องบุญบารมีในแบบพุทธของไทย คือ พุทธไม่ต้องออกผลมาเป็นแบบสังคมไทยหมด

ในสังคมไทย ความคิดเรื่อง “สัจจะ” ยังขึ้นอยู่กับระดับบุญบารมี หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือระดับบุญบารมีแสดงออกในสถานะทางสังคม หมายความว่า คนอย่างอากง ไม่ได้มีทางที่จะล่วงรู้ถึงเจตนาภายในของผู้พิพากษา แต่ผู้พิพากษานั้นมีความสามารถที่จะล่วงรู้เจตนาภายในของอากง เพราะผู้พิพากษาท่านบอกไว้อย่างนั้น ท่านสืบเข้าไปหาเจตนาภายในของอากง เพราะท่านอยู่ในสถานะเป็นคนที่สูงกว่า มีบารมีพอที่จะสืบไปหาเจตนาภายใน นี่ไม่ได้พูดเล่น นี่เป็น Concept พุทธ แต่ผมพยายามอธิบายพุทธไทยให้ง่าย

ระดับของการบรรลุธรรม ระดับของความเข้าใจสิ่งที่อยู่ข้างใน เข้าใจเจตนา ผูกกับเรื่องความสามารถของคน ความสามารถที่จะเข้าใจนี้ผูกกับเรื่องสถานะ เพราะมันเกี่ยวโยงทั้งหมดว่าระดับของบุญบารมีที่ไม่เท่ากัน

คุณจะกล้าบอกหรือว่า ผมมีบุญบารมีมากกว่าท่านผู้พิพากษา ผมก็ไม่กล้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้พิพากษาทุกรายได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้ง นั่นหมายความว่า ได้รับการให้เป็นตัวแทนเพื่อทำหน้าที่ดำรงความยุติธรรม ใช่ไหมครับ เขาถึงภูมิใจหนักหนา บรรดาศาลทั้งหลาย ในกรณีแบบนี้ต่อให้อาจารย์ชัชวาล (หันไปทาง อาจารย์ชัชวาล ปุญปัน) อาจารย์อาจจะอายุมากกว่าผู้พิพากษา แต่ไม่มีสิทธินะครับ ในกรณีนี้วัยวุฒิถูก Override (ยกเลิก) โดย Another Source of Power แหล่งบารมีอันหนึ่งซึ่งสูงกว่า แหล่งบารมีก็มีชั้นนะ อาจารย์ชัชวาลสั่งให้พวกคุณทำงาน เกิดมีบางคนที่ได้รับมอบหมายจากแห่งบุญบารมีที่สูงกว่านั้น สั่งให้คุณทำงานอีกงานหนึ่ง คุณจะเชื่อใคร มันก็เป็น Hierarchy ตามกันอย่างนี้

ในแง่นี้เท่ากับว่าใครที่สามารถเข้าถึงสัจจะและความจริงยังมีดีกรีหรือระดับที่ต่างกันด้วยซ้ำไป คุณลองนึกภาพดูว่า เมื่อความเข้าใจเรื่องความสามารรถในการเข้าถึงเจตนา เข้าถึงความจริง รู้จักความจริง ผูกกับ Concept บุญบารมีที่มีมาแต่โบราณ แล้วเอามาเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางกฎหมายจะเกิดอะไรขึ้น

อีกประเด็นที่เดวิดเขียนไว้ไม่ยาว แต่เปิดประตูเบอเริ่มโดยที่เขาไม่รู้ตัว คือ ความสำคัญของเจตนา

สังคมไทย ผมมีข้อสังเกตอันหนึ่ง เรื่องนี้ผมคิดมาหลายปีแล้วนะ แต่คิดเป็นงานอดิเรกไม่คิดจะเขียนบทความ คุณลองกลับไปดูข่าววันหนึ่ง มีคนเรียกหาความจริงใจกี่ครั้ง นักการเมืองไม่จริงใจ ถ้าคุณจริงใจก็แก้ปัญหาได้ คนนั้นไม่จริงใจ ไม่จริงใจ ... ทุกคน พวกเราด้วย พวกเราชอบพูดกันว่าไม่จริงใจ ผมว่าถ้าจริงใจแล้วจะช่วยอะไรได้

หรือว่าเพราะ Concept แบบพุทธที่ว่า “ความจริงใจ” หรือ “เจตนา” ในที่นี้ เรามักจะแปลว่า Intention ซึ่งในทางพุทธ เจตนาในที่นี่ถ้าหากผมจะลองแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาอังกฤษสองตัว ซึ่งมันบอกถึงเจตนาคนละชนิด แต่ว่าพุทธนั้นพูดถึงเจตนาทั้งสองชนิดโดยไม่แยกแต่เป็นเจตนาที่อยู่ในระดับต่างกันตามระดับของบุญบารมี อย่างที่หนึ่งคือ Intention อย่างที่สองคือ Conscious และสิ่งที่เป็น Conscious ต้องเป็น Positive Moral ในกรณีของเรา “เจตนา” ลึกๆ เป็น “กุศล” หรือ “อกุศล” ได้

พูดอีกอย่างก็คือว่า Intention มีลักษณะอย่างเราคิดและพยายามจะทำ Conscious เป็นสิ่งที่อยู่ข้างใน ซึ่งบางทีเราไม่ได้คิดแต่มันเป็นสำนึกที่อยู่ลึกๆ ในกรณีของฝรั่ง Conscious จึงเป็น Moral คือเป็นเรื่องดี ในกรณีของพุทธสิ่งที่อยู่ลึกๆ ไม่จำเป็นกุศล เป็นอกุศลก็ได้ เรามักจะเข้าใจว่า กุศล และ อกุศล เกิดจากการกระทำของเรา ... ถูกต้องครับ แต่ก่อนที่จะเกิดการกระทำคือสิ่งที่มีอยู่แล้วเบื้องต้น ถ้ามีบุญบารมีน้อยก็มีอกุศลเจตนาอยู่เยอะ มีกุศลน้อยหน่อย แต่ถ้าคุณมีบุญบารมีมากหน่อย หรือจนถึงมากที่สุด สิ่งที่อยู่ข้างใน Conscious ของคุณก็จะเป็นกุศลเจตนาหมด มีอกุศลน้อยมาก เพราะบุญบารมีได้ชำระสิ่งที่อยู่ข้างในเรียบร้อยแล้ว

นั่นหมายถึงว่า ถ้าหากคุณฆ่าภรรยาคุณ เพราะโดยที่คุณเป็นอาจารย์ เราสามารถสืบได้ว่าคุณต้องมีกุศลเจตนามากกว่าคนอื่นหน่อย

ในขณะที่กรณีอากงมองปราดเดียวก็รู้ว่าเต็มไปด้วยอกุศล เพราะมันถูกกำหนดด้วยสถานะของเขา ถ้าเขาเป็นคนใหญ่คนโตแล้วส่ง SMS อย่างนั้นหรือ เลขาฯ คุณอภิสิทธิ์อาจจะต้องโทรไปถามว่า “มาจากท่านจริงหรือเปล่าครับ” เลขาฯ คุณอภิสิทธิ์จะไม่ฟ้องตำรวจ เลขาฯ คุณอภิสิทธิ์จะถาม “มาจากท่านจริงหรือ ผมว่าเป็นไปไม่ได้นะ เพราะผมรู้จักท่านดีว่าท่านไม่ใช่คนอย่างนั้น”

ใช่ไหมครับ สังคมไทยเป็นแบบนี้ ไม่ใช่เป็นแค่ “เส้น” ในความหมายว่ารู้จักกันเฉยๆ ในกรณีนี้อาจจะไม่รู้จักกันเป็นส่วนตัว แต่สามารถ Assume ได้ว่าคนนั้นมีกุศลและอกุศลในใจมากขนาดไหน อยู่ใน Conscious มากขนาดไหน โดยดูจากสถานะทางสังคม

ผมมีอีกตัวอย่างหนึ่งเพื่อให้เห็นถึงการมองกุศลและอกุศลในเบื้องลึกจิตใจโดยที่เราไม่จำเป็นต้องรู้จักกันมากเท่าไหร่

ตอนคุณชาติชาย (ชุณหะวัณ) เป็นนายก รัฐมนตรีคนหนึ่งในรัฐบาลชาติชายชื่อบรรหาร (ศิลปอาชา) ตอนนั้นคนด่ากันมาก เป็นตู้ ATM อะไรต่ออะไร เวลาทำอะไรผิดขึ้นมา ก็จะมีคนบอกว่า “ท่านนายกฯ ไม่ใช่คนแย่นา คนรอบข้างต่างหากที่แย่” พอคุณบรรหารเป็นนายกฯ “คุณบรรหาร ท่านนายกฯ ก็ไม่ได้เป็นคนแย่คนรอบข้างท่านต่างหากที่แย่” หรือพอชวลิต (ยงใจยุทธ) เป็นนายกฯ ก็บอกว่า “ท่านชวลิตไม่ได้เป็นคนที่แย่ คนรอบข้างต่างหากที่แย่”

คำพูดเหล่านี้เกิดจากการที่เราไม่รู้จักคนเหล่านั้นสักคนหนึ่ง แต่เกิดจากการ Assume ว่าใครอยู่ใน Position ไหน และคนที่อยู่ใน Positionสูง เราก็ Assume ว่าเขาไม่แย่ คนที่อยู่ใน Position ที่ต่ำลงมา เราก็ Assume ว่าเขาแย่กว่า คนอยู่ใน Position ที่ห่างไกลจากแวดวงอำนาจและบารมี เราก็ Assume ว่าเขาเต็มไปด้วยอกุศล

ถ้าลองเรายังมีวัฒนธรรมแบบนี้แล้วเอาเข้าไปสู่กระบวนการยุติธรรมในกรณีหมิ่นประมาท กรณีหมิ่น ละเมิดอำนาจของรัฐ จะเกิดอะไรขึ้น

“ศาลจึงสามารถพูดเรื่องล่วงรู้เจตนาภายใน” พอผมอ่านตรงนี้ปุ๊บ ผมไม่ได้คิดถึงคำว่า “Intention” เลย ผมคิดกลับไปหาพุทธทันที นี่เป็นธรรมเนียมเดิม จารีตเดิม ที่พูดกันว่า “บริสุทธิ์ก่อนจะรู้ว่าผิด” เป็นธรรมเนียมสมัยใหม่ ธรรมเนียมแต่เดิมคือ “คุณผิดก่อนที่จะพิสูจน์ว่าตัวเองบริสุทธิ์” นี่ผมไม่ได้พูดเล่นนะ จะพูดให้ชัดและตรงเป๊ะคุณจะถูก Assume ว่าผิดหรือบริสุทธิ์ก่อนขึ้นอยู่กับบุญบารมีของคุณ Assumption ไม่ได้ Apply เท่ากัน ภาษาปัจจุบันเขาว่าสองมาตรฐาน พวกนี้คนสมัยใหม่ คนสมัยเก่าเขาไม่เรียกสองมาตรฐานเขาถือว่าขึ้นอยู่กับระดับชั้นของบุญบารมี ไม่ใช่สองมาตรฐาน สองมาตรฐานคือสมัยใหม่ที่คิดว่าต้องมีมาตรฐานเดียว สมัยก่อนไม่ใช่สองแต่ไม่รู้กี่มาตรฐานตามระดับชั้นของบุญบารมี ปัญหาเกิดขึ้นเราอยู่ในโลกสมัยนี้ แล้วยังมีมรดกตกทอดของโลกสมัยเก่าหลงเหลืออยู่ในสมองและจิตสำนึกเราเต็มไปหมด

 

(หมายเหตุ: ประชาไทจะนำเสนอการอภิปรายของธงชัย วินิจจะกุล ตอนที่สองในเร็วๆ นี้)

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คณิต ณ นคร ให้สัมภาษณ์มติชน เผยที่มา “คุกการเมือง”

Posted: 19 Dec 2011 09:20 PM PST

ข้อเสนอของ คอป. เรื่องการจัดการสถานที่ควบคุมผู้ต้องหา/จำเลยในคดีการเมืองถูกวิจารณ์มาก หลังรัฐบาลขานรับและเตรียมจัดที่ให้ใหม่ หนังสือพิมพ์มติชนรายวันสัมภาษณ์ ประธาน คอป. เพื่อลงลึกถึงบางส่วนของเบื้องหลังแนวคิดดังกล่าว ‘ประชาไท’ เห็นว่าเป็นบทสัมภาษณ์ที่น่าสนใจจึงนำเนื้อหามาเผยแพร่ต่อ

 

"พวกนี้มันไม่ใช่ผู้ร้ายสำคัญ มี Motive (แรงจูงใจ) ทางการเมือง

ทุกอย่างมันต้องมีการแยกแยะ แต่แยกแยะแล้วต้องทำให้ประชาชนเข้าใจด้วย"

"สมควรจัดหาสถานที่ใน การควบคุมที่เหมาะสมที่มิใช่เรือนจำปกติ เป็นสถานที่ควบคุมผู้ต้องหา/จำเลย ดังเช่นที่เคยใช้กับนักโทษทางการเมืองในอดีต"

ถ้อยคำเพียงประโยค เดียว ที่กรมราชทัณฑ์นำไปเป็นข้ออ้างในการย้ายผู้ต้องหา 21 คนไปคุมขังที่เรือนจำชั่วคราวหลักสี่ ในวันที่ 22 ธันวาคมนี้

ได้ กลายเป็นประเด็นร้อน ที่ทำให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ถูกโจมตีว่าแอบชงข้อเสนอช่วยคนบางกลุ่ม ด้วยการปลุกผี "นักโทษการเมือง" ขึ้นมาใหม่

"มติชน" จึงต้องขอให้ คณิต ณ นคร ประธาน คอป. มาอรรถาธิบายถึงแนวคิดเบื้องหลังข้อเสนอดังกล่าว โดยหวังว่ากลุ่มคนที่ตั้งป้อมโจมตี คอป.อยู่ในเวลานี้ จะหัดเปิดใจ ใช้สติ และรับฟังเหตุผลของคนอื่นบ้าง...

- ข้อเสนอ คอป.เวลาไปปฏิบัติจะยากหรือง่ายแค่ไหน โดยเฉพาะเรื่องนักโทษการเมือง

ต้องเข้าใจก่อนว่า ไม่มีนักโทษการเมืองอยู่ในบ้านเราแล้วนะ แต่คดีที่มีแรงจูงใจทางการเมืองล่ะใช่ คอป.เสนอว่าบุคคลเหล่านี้ควรจะเอามาไว้ในที่อื่น ที่มิใช่เรือนจำปกติ เพราะผู้ต้องขังในราชทัณฑ์เรามันล้น เรือนจำทั่วประเทศดีไซน์ไว้สำหรับ 9 หมื่นคน แต่ผู้ต้องขังขณะนี้มีอยู่เกือบ 2.2 แสนคน โดยในจำนวนนั้นมีผู้ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาคดี คือคดียังไม่ถึงที่สุดในชั้นตำรวจบ้าง ชั้นศาลบ้าง ถึง 37% ก็เป็นที่มาของข้อเสนอว่า เราต้องการปรองดองใช่ไหม ถ้าอย่างนั้นคุณก็เอาพวกนี้ไปไว้ที่อื่น ซึ่งก็คุกเหมือนกัน อาจจะลดความแออัดลงมาหน่อย แต่คนที่สูญเสียเสรีภาพ มันไม่สบายดี ไม่สนุกหรอกนะ

- อธิบดีกรมราชทัณฑ์บอกจะเอาอากง เอสเอ็มเอสและคุณอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง รวมถึงผู้ต้องหาคดีก่อการร้ายและเผาศาลากลางไปอยู่ด้วย

คำพิพากษาคนเหล่านี้ถึงที่สุดหรือยังล่ะ มันก็เป็นหน้าที่ของกรมราชทัณฑ์และรัฐบาลจะไปแยกแยะ เพราะความผิดที่เกี่ยวข้องกับการเมืองที่เห็นคือผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือชุมนุมเกิน 10 คน ซึ่งผมเคยเขียนบทความว่า ถ้าอัยการทำดีๆ จะสั่งไม่ฟ้องได้อีกเยอะ แต่เขาไม่ทำตาม อาจเพราะเขาไม่เข้าใจผม (หัวเราะ) เพราะคนกระทำผิด บางทีไม่ต้องเอาไปฟ้องทุกอย่าง แต่ต้องมีเหตุผลอันสมควร ไม่ใช่ว่าเป็นคนใต้ด้วยกันเลยไม่เอาเข้า

- นั่นคือเจตนารมณ์แต่เวลาเอาไปปฏิบัติมักจะอ้าง คอป.แล้วเอาไปบิด

ก็เป็นหน้าที่ของสื่อจะต้องตรวจสอบ

- เหมือนเขาเอาเครดิตของคณิต ณ นคร หรือ คอป.ไปเป็นตราประทับ
ผมก็เสนอว่าอย่างเนี้ย แล้วเขาไปจัดการเอาเอง ให้ผมไปชี้ว่าคนนั้นคนนี้ มันก็ไม่ใช่ที่ เป็นเรื่องที่เขาจะต้องดูว่าเหมาะสมไหม เหตุผลประการหนึ่งคือคนมันล้นคุก แล้วพวกนี้มันไม่ใช่ผู้ร้ายสำคัญ มี Motive (แรงจูงใจ) ทางการเมือง ทุกอย่างมันต้องมีการแยกแยะ แต่แยกแยะแล้วต้องทำให้ประชาชนเข้าใจด้วย ไม่ใช่อ้างว่าทำตามข้อเสนอของ คอป.โดยไม่พินิจพิจารณาเลย อย่างนี้มันไม่ถูกต้อง

- ปัญหาทุกวันนี้ ไม่มีการบอกความผิดฐานไหนเข้าข่าย พอไม่มีการอธิบาย ก็เลยทำให้งง
ผมว่ามันต้องตอบคำถามได้ ของ คอป.ผมก็ไม่เคยหนีพวกคุณ เราทำอะไรโปร่งใส อย่าลืมว่าเราใช้วิชาการนะ เราไม่ใช้ความรู้สึกชอบ-ไม่ชอบ แล้วสิ่งที่เราพูด คุณก็วิพากษ์ได้อยู่ ถ้าจะบอกว่า คอป.ไม่ได้เรื่อง แล้วนายกรัฐมนตรีเห็นด้วย ผมก็สบาย แล้วไปอยู่บ้าน

- อย่างคุณทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ จะไปอยู่เรือนจำชั่วคราวหลักสี่ได้ไหม

คุณทักษิณเขามีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว เขาจะมาอยู่ตรงนี้ได้ไง ถ้าเขามาอยู่ คุณต้องไปถามว่ามาอยู่ตรงนี้ได้ยังไง ถ้าเขากลับมา เขาต้องเข้าคุกธรรมดา ที่ คอป.เสนอเป็นผู้ที่อยู่ระหว่างการดำเนินคดี เพราะผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณาที่อยู่ในเรือนจำไทยเวลานี้มีถึง 37% ไม่มีประเทศไหนเท่ากับประเทศไทย แล้วสภาพคุกเรา มันคือเรือนจำญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง แล้วเราก็รักษาของเดิมเอาไว้โดยไม่เคยแก้ไขอะไรเลย นี่เพราะกระบวนการยุติธรรมของเราไม่เคยทำอะไรเลย เหมือนเป็นแค่สายพานว่า พอตำรวจสอบสวนเสร็จให้ส่งมาที่อัยการ อัยการทำเสร็จแล้วส่งไปศาล ศาลพิพากษาลงโทษ ก็ไปคุก

- ต้องอยู่ระหว่างพิจารณาคดีและมีแรงจูงใจทางการเมืองถึงจะได้ประโยชน์ต่อข้อเสนอ คอป.

เฉพาะคนที่ยังอยู่ระหว่างพิจารณาคดี คนที่ศาลพิพากษาถึงที่สุด ต้องไปเรือนจำปกติ ถ้าเข้าเงื่อนไขอุทธรณ์หรือฎีกาก็มาได้

- ถ้าสมมุติในการชุมนุมเดียวกัน ระหว่างคนที่อยู่ล่างเวที นั่งดูตาแป๋ว กับคนที่อยู่บนเวที ปลุกระดม Motive เดียวกันไหม
เราไม่ได้แยก อย่าลืมว่าเวลาไปชุมนุมกัน แสดง ออกถึงเสรีภาพทางการเมืองเป็นฐาน

- พวกชุดดำที่ใช้อาวุธหรือฆาตกรรม
อย่างนี้ไม่ใช่ชุมนุมทางการเมือง มันเกิดขึ้นเพราะจะฆ่ากัน

- วางเพลิงไม่เข้าข่ายข้อเสนอ คอป.
วางเพลิงมีหลายพวก พวกผสมโรง เตรียมการมา ไม่ใช่นะ

- คนที่มีแรงจูงใจระหว่างกระโดดขึ้นรถทัวร์กับยัดลูกกระสุนปืนมาจากบ้านคนละอย่างกันแน่นอน
แน่นอน ขณะนี้มีคนที่ถูกตั้งข้อหาก่อการร้ายในต่างจังหวัดเยอะแยะ ผมเคยเขียนบทความเรื่องก่อการร้ายว่าเป็นกฎหมายที่ไม่ถูกต้อง เพราะออกโดย พ.ร.ฎ.แปลว่าออกโดยฝ่ายบริหาร ไม่ใช่ออกโดยรัฐสภา ที่อย่างน้อยจะมีการดีเบต ดังนั้น ที่มามันไม่ถูก ความผิดฐานนี้ถ้าเทียบกับสมัยก่อนก็เหมือนกับก่อตั้งสมาคมอั้งยี่ ซึ่งการก่อตั้งเขาลงโทษแล้ว เพื่อป้องกัน ป้องปราม ไม่ให้สมาชิกไปทำอะไรร้ายแรง ฉะนั้นความผิดฐานอั้งยี่ โทษมันเบา ไม่มาก เพราะมันเป็นเรื่องของการตระเตรียม แต่ของเราถึงประหารชีวิต นี่เพราะกฎหมายเราไม่ดี กฎหมายออกไม่ดี สิ่งที่ไม่ดีทั้งหลายก็ออกมา

- ข้อเสนอ คอป.ทุกข้อเขียนปลายเปิด ให้ฝ่ายปฏิบัติใช้ดุลพินิจได้
ปลายเปิดก็จริง แต่เวลาปฏิบัติต้องตอบคำถามได้ โดยเฉพาะกรมราชทัณฑ์ ทำไมนาย ก. ทำไมนาย ข. ผมเพียงแต่วางหลัก จริงๆ แล้วกระบวนการยุติธรรมต้องทำงานอย่างรอบคอบ อย่างเป็นภววิสัย แต่ของเราบางครั้งไม่ได้รอบคอบเท่าไร อยากให้มันเสร็จๆ ไปผมเคยวิเคราะห์คนในกระบวนการยุติธรรมของเราไว้ 3 ลักษณะ 1.ทำงานไม่ขยัน ไม่ถึงที่สุด ไม่สิ้นกระแสความ 2.กลัวผู้บังคับบัญชา กลัวการเมือง กลัวอะไรต่อมิอะไร แต่ร้ายที่สุด 3.เราทำงานประจบประแจงพอผู้ใหญ่เราก็ประจบผู้ใหญ่

แต่ผมยังมองโลกใน แง่ดี เราต้องอยู่ด้วยความหวัง หวังว่าทุกสิ่งมันจะดีขึ้น ถ้าเราคิดในด้านลบ เฮ้ย มันไม่มีทาง มันไม่ได้ มันต้องมีทาง ทุกอย่างต้องมีทางแก้ไข แล้วเราก็ใช้วิชาการในทางแก้ไข ไม่ใช่ความรู้สึก ความรู้สึกมันพูดกันได้ แต่ถ้าใช้วิชาการก็เถียงกันยากหน่อย

- ในการปลดชนวนความขัดแย้ง ทำสำนวนให้ดี อัยการไม่ฟ้องได้อีกเยอะ แต่ถ้าฟ้องไปแล้ว จะทำอย่างไร
อัยการก็ถอนฟ้องได้ ถ้าอยู่ในศาลก็ยกฟ้องได้ หรือลงโทษเบาได้

- แปลว่าไม่จำเป็นต้องนิรโทษกรรมใคร
ผมยังไม่เห็นว่ามันเข้าเกณฑ์นิรโทษกรรมหรือเปล่า เวลาเราจะทำอะไรต้องศึกษาก่อน ไม่ใช่อยากจะพูด อยากจะเขียนก็ทำ แล้วจะนิรโทษกรรมอะไร เพราะเท่าที่ผมศึกษาการนิรโทษกรรม 2 ครั้งหลังสุด อย่างปี 2499 ก็เรื่องกบฏ หรือหลัง 6 ต.ค.2519 มันมีการปะทะกัน แล้วรัฐบาลก็ออกคำสั่งที่ 66/23 แต่ที่เราพูดกันอยู่ มันไม่มีทิศทาง

- อย่างกลุ่มนิติราษฎร์เสนอให้รีเซตผลของการรัฐประหาร
ถ้าอยากจะทำ มันต้องมีเทศกาลพิเศษๆ แต่ของเราอยากจะพูดมันก็พูดกัน อย่างตอนรัฐบาล พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ มันก็ฆ่ากันเยอะ แต่ไอ้ตอนนี้นี่มันไม่มีอะไรเลย อยากจะพูดก็พูดกัน เราต้องศึกษาว่าการนิรโทษกรรมในอดีตมีกรณีไหนบ้าง แต่เราพูดกันจนเปรอะ มันไม่มีหลัก เราต้องวางหลักเสียก่อน

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ผบ.ทบ.ไล่คนที่ต้องการแก้ ม.112 ไปอยู่ต่างประเทศ

Posted: 19 Dec 2011 09:10 PM PST

หากคิดว่ากฎหมายไทยไม่เท่าเทียม หรือ รุนแรง ก็ให้ไปอยู่ต่างประเทศ แนะคนไทยเลิกทะเลาะกัน ไม่ควรขัดแย้งภายในเพื่อสร้างความเข้มแข็ง

มติชนออนไลน์ รายงานวันนี้ (20 ธ.ค.) ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) กล่าวก่อนเดินทางไปตรวจเยี่ยมพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า ผู้ที่ใช้อาวุธ สร้างความรุนแรงทำร้ายผู้อื่นในภาคใต้ถือว่าเป็นโจร ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็ได้ปฏิบัติงานตามกรอบของกฎหมาย ส่วนช่วงเทศกาลปีใหม่นั้น อย่าเพิ่งพูดถึงเรื่องการวางระเบิดเพื่อสร้างสถานการณ์ เพราะอาจกระทบถึงการท่องเที่ยว โดยขอให้ประชาชนช่วยสอดส่องดูแล ประสานกับเจ้าหน้าที่

ส่วนกรณีที่มีกลุ่มคนออกมาเรียกร้องให้แก้ไขมาตรา 112 นั้น ถ้าเป็นความคิดเห็นส่วนตัว ก็ไม่ควรพูดถึงและไม่อยากให้เลยเถิด หากคิดว่ากฎหมายไทยไม่เท่าเทียม หรือ รุนแรง ก็ให้ไปอยู่ต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ขอให้คนไทยเลิกทะเลาะกัน ไม่ควรขัดแย้งภายในเพื่อสร้างความเข้มแข็ง

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สืบพยานคดี ‘สมยศ’ ที่เพชรบูรณ์ ทนายห่วงหนักไปสงขลาไม่ปลอดภัย

Posted: 19 Dec 2011 08:26 PM PST

สืบพยานปากที่ 2 คดีสมยศ พฤกษาเกษมสุข เป็นอดีตเจ้าหน้าที่ธุรการนิตยสาร,อัยการโกรธพยานปากอื่นที่ยังไม่ได้สืบมานั่งฟังด้วย, ศาลไม่อนุญาตส่งจำเลยกลับกทม.ตามขอ เกรงขัดคำสั่งศาลอาญา เตรียมส่งต่อไปนครสวรรค์ สงขลา ทนายหวั่นไปสงขลาอาจอันตราย พื้นที่เห็นต่างทางการเมือง เตรียมนัดลูกความบอยคอตไม่ร่วมฟัง จะบังคับต้องอุ้มไป

 

 

เมื่อวันที่ 19 ธ.ค.54 ที่ศาลจังหวัดเพชรบูรณ์ มีการสืบพยานในคดีของนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข บรรณาธิการนิตยสาร Voice of Taksin ผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยในวันนี้เป็นการสืบพยานโจทก์ปากที่สอง คือ นางสาวเบญจา หอมหวาน อดีตเจ้าหน้าที่ธุรการของนิตยสาร Voice of Taksin บรรยากาศการพิจารณาคดีมีผู้สนใจติดตามคดีจนเต็มห้องพิจารณาคดี และยังมีจำนวนหนึ่งรออยู่ด้านล่าง โดยมีทั้งส่วนที่เดินทางมาจากรุงเทพฯ และจากเพชรบูรณ์

ทั้งนี้ นายสมยศ ได้เดินทางมาจากเรือนจำจังหวัดสระแก้วที่มีการสืบพยานโจทก์ปากแรก มายังเรือนจำจังหวัดเพชรบูรณ์ตั้งแต่วันที่ 28 พ.ย.54 และมีกำหนดเดินทางต่อไปยังเรือนจำจังหวัดนครสวรรค์เพื่อสืบพยานนัดต่อไปในวันที่ 16 ม.ค.55 ก่อนจะไปยังเรือนจำจังหวัดสงขลา

ผู้สื่อข่าวรางานอีกว่า ทนายจำเลยได้ร้องขอให้ศาลเพชรบูรณ์ส่งตัวนายสมยศไปยังเรือนจำจังหวัดกรุงเทพฯ เนื่องจากพยานปากต่างๆ ที่จะนำสืบนั้นมีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดก็จริง แต่ทำงานและพักอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ แต่ศาลไม่อนุญาตโดยชี้แจงว่าเป็นคำสั่งของศาลอาญา หากสั่งเป็นอย่างอื่นจะเป็นการขัดแย้งกัน

นายสุวิทย์ ทองนวล ทนายจำเลยกล่าวว่า การตระเวนสืบพยานในต่างจังหวัดเสมือนเป็นการกลั่นแกล้งจำเลยให้พบความยากลำบากในการเดินทาง และห่างไกลญาติมิตรรวมทั้งตัดโอกาสในการหารือคดีกับทนายความ ทั้งที่พยานจำนวนมากอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ พยานที่สืบวันนี้ภูมิลำเนาจริงก็อยู่จังหวัดนครสวรรค์ไม่ใช่เพชรบูรณ์ นอกจากนี้ยังจะมีการนำสืบประชาชนทั่วไปที่อ่านหนังสือเล่มนี้ในจังหวัดสงขลา ทำให้กังวลเรื่องความปลอดภัยของจำเลยมาก เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความเห็นทางการเมืองค่อนข้างแตกต่างจากกลุ่มคนเสื้อแดง เกรงว่านายสมยศอาจได้รับอันตรายเมื่อย้ายเข้าไปอยู่ในเรือนจำจังหวัดสงขลา จึงได้หารือกับลูกความว่าจะขอศาลไม่ไปฟังการสืบพยานที่นั่น

“เรียกง่ายๆ ว่าจะบอยคอตเลย ยังไงก็ไม่ไป จะบังคับให้ไป ก็ต้องลาก ต้องอุ้มไป” ทนายจำเลยกล่าว

สำหรับเนื้อหาโดยสรุปของการสืบพยานนั้น พยานโจทก์เบิกความว่า ปัจจุบันเป็นพนักงานบริษัทแห่งหนึ่ง และเคยเป็นเจ้าหน้าที่ของนิตยสารดังกล่าวตั้งแต่ช่วงที่นายประแสง มงคลสิริ เป็นบรรณาธิการบริหารนิตยสารฉบับนี้ และต่อมาได้เปลี่ยนเป็นนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข โดยทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่บอกรับสมาชิกและจัดส่งหนังสือแก่สมาชิกนิตยสารซึ่งมีเกือบ 1 พันราย อีกทั้งยังมีหน้าที่เช็คอีเมล์ และเซฟหรือปริ๊นท์บทความต่างๆ ที่มีคนส่งมาให้นายสมยศ โดยไม่รู้ว่านายสมยศจะได้แก้ไขบทความต่างๆ หรือไม่ และเคยเห็นผู้ส่งที่มีนามว่า จิตร พลจันทร์ ส่งบทความที่เป็นคดีนี้มาตีพิมพ์จริง และได้ยินเพื่อนร่วมงานพูดกันว่าจิตร พลจันทร์ คือนามปากกาของนายจักรภพ เพ็ญแข

พยานโจทก์ตอบทนายจำเลยซักค้านว่า เรื่องนายจักรภพคือจิตร พลจันทร์ ไม่ทราบจริงเท็จแค่ไหน เพราะฟังเพื่อนร่วมงานพูด แต่ไม่เคยรู้จัก ไม่เคยเห็นนายจักรภพมาที่ทำงาน สำหรับทบความของจิตร พลจันทร์ นั้นเคยเห็นลงในนิตยสารหลายครั้ง แต่จะเป็นการลงต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยนายประแสงเป็นบรรณาธิการหรือไม่ ไม่ทราบ และไม่ทราบว่าดีเอสไอเรียกนายประแสงไปสอบด้วยหรือไม่ ส่วนนายสมยศก็เคยเขียนบทความลงนิตยสารเช่นกันแต่จะใช้ชื่อนามสกุลจริง นอกจากนี้ยังยืนยันว่าจำไม่ได้แน่ชัดว่านายสมยศเข้ามาทำหน้าที่บรรณาธิการตั้งแต่ฉบับไหน ซึ่งขัดกับที่ให้การกับดีเอสไอที่มีการระบุฉบับไว้อย่างชัดเจน แต่พยานยืนยันว่าเป็นเพียงการประมาณการเพราะจำไม่ได้ ทั้งนี้ พยานได้รับหมายจากดีเอสไอเนื่องจากมีชื่ออยู่ในหนังสือด้วย และได้ไปให้การไว้สองครั้งในวันที่ 27 ธ.ค.53 และ 27 พ.ค.54

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างพักการสืบพยานในช่วงครึ่งวันแรก ทนายจำเลยได้แจ้งศาลว่าพยานโจทก์อีกปากหนึ่งซึ่งยังไม่ได้นำสืบได้เข้ามาฟังการพิจารณาคดีด้วย ซึ่งเป็นการผิดหลักกระบวนพิจารณา ศาลจึงเรียกพยานคนดังกล่าวมาซักถามได้ความว่านั่งฟังอยู่ราว 30 นาทีแล้ว จากนั้นในช่วงบ่ายอัยการกำหนดให้ทุกคนที่เข้าฟังการพิจารณาคดีต้องแจ้งชื่อกับอัยการเนื่องจากเกรงว่าจะมีพยานรายอื่นเข้ามานั่งฟังการสืบพยานอีก ต่อมาเมื่อการสืบพยานเสร็จสิ้น อัยการได้แถลงว่าเนื่องจากมีคนมานั่งฟังคดีจำนวนมากทำให้ไม่สามารถรู้ได้ว่าใครเป็นใคร อีกทั้งพยานโจทก์ปากต่างๆ อัยการก็ไม่รู้จักหน้าตา เนื่องจากเป็นคดีที่ถูกส่งต่อมาจากส่วนกลาง แต่ทนายจำเลยรู้จักพยานดี ขอให้ศาลบันทึกไว้ด้วย ด้านทนายจำเลยแถลงต่อว่า เพิ่งเห็นพยานโจทก์รายอื่นตอนเดินออกจากห้องพิจารณาคดี ไม่ใช่ว่าเห็นตั้งแต่แรกแล้วไม่แจ้ง นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ดีเอสไอเป็นผู้คุมพยานปากที่นำสืบในวันนี้มายังศาลเอง การมาของพยานปากอื่นไม่เกี่ยวกับจำเลยแต่อย่างใด

นาย Phee Jung-Sun ผู้ประสานงานสหพันธ์แรงงานนานาชาติอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ พลังงาน เหมืองแร่ และคนงานทั่วไป (ICEM) ที่ประเทศสวิซเซอร์แลนด์ ซึ่งเดินทางมารับฟังการสืบพยานด้วย กล่าวว่า เคยทำงานกับสมยศในเรื่องแรงงานมาเกือบ 20 ปี ยืนยันว่าเขาเป็นบุคคลที่ยึดถือหลักการประชาธิปไตยมาก การมาในครั้งนี้เป็นไปเพื่อสังเกตการณ์การพิจารณาคดี เพื่อนำไปเขียนรายงานให้กับเครือข่ายองค์กรแรงงานสากลที่สนใจติดตามเรื่องนี้ ซึ่งไม่เฉพาะกรณีของสมยศ แต่กับทุกกรณีที่เกี่ยวพันกับมาตรา 112 และกำลังหารือกันว่าจะยื่นเรื่องต่อสหประชาชาติถึงการละเมิดหลักเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในประเทศไทย โดยเฉพาะกับสมยศซึ่งเป็นสื่อมวลชนด้วย หลักเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเป็นหลักสากล ทุกคนได้รับอนุญาตให้แสดงความคิดเห็นของตนเองตราบเท่าที่ไม่ก่อให้เกิดความรุนแรง เพื่อนในญี่ปุ่นก็ยังสามารถวิจารณ์จักรพรรดิได้ เพื่อนในมาเลเซียก็สามารถวิจารณ์รัฐบาลและระบบการเมืองได้ น่าเสียดายที่รัฐไทยเลือกใช้วิธีการเช่นนี้กับประชาชน ซึ่งจะส่งผลยิ่งทำให้ประเทศไทยถูกจับตามากขึ้นจากนานาชาติ โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอียูที่ติดตามเรื่องนี้อย่างจริงจัง

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น