โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

เนติบัณฑิตสภาอเมริกาลงใต้ สอบคดีมั่นคงพบถูกซ้อมเพียบ

Posted: 24 Dec 2011 07:22 AM PST

เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 24 ธ.ค. 54 ที่ห้องจะบังติกอ โรงแรม ซีเอส ปัตตานี มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมจัดเสวนานำเสนอผลการศึกษา ข้อมูลสถิติคดีและข้อค้นพบในคดีความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โครงการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของคดีความมั่นคงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (Case Audit) สนับสนุนโดยเนติบัณฑิตสภาแห่งอเมริกา (America Bar Association Rule of Law : ABA ) มีผู้เข้าร่วมประมาณ 50 คน

ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมวิพากษ์ผลการศึกษา เพื่อปรับปรุงเป็นงานวิจัยที่สมบูรณ์ และสามารถนำไปผลักดันในเชิงนโยบายและเผยแพร่ต่อสาธารณะต่อไป

นายอนุกูล อาแวปูเตะ ประธานศูนย์ทนายความมุสลิมจังหวัดปัตตานี นำเสนอผลการศึกษาข้อมูลสถิติคดีและข้อค้นพบในคดีความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า ผลการศึกพบว่า มีการนำตัวบุคคลเข้าสู่กระบวนการซักถามภายใต้กฎอัยการศึกใน 100 คดี มีผู้ถูกทำร้ายร่างกาย 33 คดี เจ้าหน้าที่ใช้วาจาที่ไม่สุภาพระหว่างซักถาม 35 คดี ถูกเจ้าหน้าที่ข่มขู่ 25 คดี

นายอนุกูล นำเสนอต่อไปว่า ส่วนในการควบคุมตัวตามพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) มีผู้ถูกควบคุมตัวถูกทำร้ายร่างกาย 16 กรณี และเจ้าหน้าที่ใช้ถ้อยคำไม่สุภาพระหว่างควบคุมตัวหรือถูกขู่เข็ญ 12 กรณี

นายอนุกูล นำเสนออีกว่า ในการจับกุมผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิอาญา) ปรากฏว่า มีผู้ต้องหาถูกทำร้ายร่างกายด้วยถึง 23 คดี เจ้าหน้าที่ใช้วาจาไม่สุภาพระหว่างถูกจับกุม 12 คดี และถูกขู่เข็ญ 13 คดี

นายอนุกูล กล่าวว่า จากสถิติพบการทำร้ายร่างกายระหว่างการควบคุมตัวภายกฎอัยการศึกมากที่สุด แต่สิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายกังวลอย่างมาก คือการทำร้ายร่างกายระหว่างการสอบปากคำในชั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

นางสาวเยาวลักษ์ อนุพันธ์ ผู้อำนวยการโครงการ เนติบัณฑิตสภาแห่งอเมริกา ประจำประเทศไทย กล่าวว่า หัวใจสำคัญของ โครงการ Case Audit เป็นการตรวจสอบคดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วระหว่างต้นปี 2553 ถึงต้นปี 2554 จำนวน 100 คดี โดยการนำสำนวนคดีมาตรวจสอบ ความชอบธรรมของเจ้าหน้าในการปฏิบัติงานทุกขั้น ตอนตั้งแต่การใช้อำนาจตามกฎอัยการศึก พ.ร.ก.ฉุกเฉินและ ป.วิอาญา มาทำเป็นฐานข้อมูลทางด้านคดีอย่างเป็นระบบ เรียกว่า แบบฟอร์มบันทึกข้อมูลทางคดี หรือ check list

นางสาวเยาวลักษ์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ได้จัดทำแบบฟอร์มบันทึกข้อมูลทางคดีอย่างเป็นระบบและมีฐานข้อมูลแล้ว สามารถที่จะให้นักวิชาการด้านกฎหมายหรือผู้สนใจมาศึกษาในเรื่องกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้เห็นจุดอ่อนและจุดแข็งของกระบวนการยุติธรรม

“สิ่งสำคัญที่สุด คือ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมต้องมาศึกษาดูว่า การดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมที่ผ่านมา มีปัญหาตรงไหน และต้องแก้ไขปรับปรุงต่อไปอย่างไร” นางสาวเยาวลักษ์ กล่าว

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

วีรพัฒน์ ปริยวงศ์: น้ำท่วมถึงดูไบ – ใครฟ้องใครได้?

Posted: 24 Dec 2011 06:37 AM PST

 

สัปดาห์ที่แล้วมีข่าวอยู่ “สองเรื่อง” ที่ดูเหมือนไม่เกี่ยวกัน แต่มีประเด็นทางกฎหมายที่น่าสนใจยิ่งนัก

เรื่องแรก คือ “กรณีการฟ้องคดีน้ำท่วม” ต่อศาลปกครองเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจากรัฐบาล มีสมาคมต่อต้านภาวะโลกร้อนฟ้องแทนประชาชนสามร้อยกว่าคน ตามมาด้วยสภาทนายความที่ฟ้องแทนประชาชนยี่สิบกว่าคน และมีข่าวว่าจะตามมาฟ้องกันอีกร้อยกว่าคน และอีกหลายคนสงสัยว่าจะเรียกค่าเสียหายได้จริงหรือไม่
 
อีกเรื่อง คือ “กรณีการคืน (ออก) หนังสือเดินทาง” ให้คุณทักษิณ ชินวัตร ซึ่งรัฐบาลอธิบายว่าได้ดำเนินการถูกต้องตามระเบียบโดยไม่เลือกปฏิบัติ และหนังสือเดินทางเล่มใหม่ได้ถูกส่งไปที่ดูไบแล้ว ส่วนผู้คัดค้านก็เห็นว่า รัฐบาลกระทำผิดกฎหมาย และเอื้อประโยชน์ให้คุณทักษิณโดยเฉพาะ
 
บทความนี้จะวิเคราะห์ประเด็นทางกฎหมายว่า ประชาชนจะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากรัฐบาลกรณีน้ำท่วมได้หรือไม่ พร้อมวิเคราะห์แทรกว่า หากมีผู้เชื่อว่าการออกหนังสือเดินทางให้คุณทักษิณไม่ชอบด้วยกฎหมาย จะฟ้องศาลปกครองให้เพิกถอนการออกหนังสือเดินทางได้หรือไม่ ?
 
ใครฟ้องใครได้บ้าง ?
 
ผู้เขียนเคยวิเคราะห์ไปแล้ว (http://on.fb.me/uFUm3V) ว่า การแสวงหาความจริงและความเป็นธรรมโดยฟ้องคดีต่อศาลปกครอง เพื่อให้รัฐบาล “ในฐานะฝ่ายปกครอง” รับผิดชอบต่อความเดือดร้อนเสียหายของประชาชนนั้น สามารถทำได้ อีกทั้งเป็นสิ่งที่พึงกระทำในสังคมประชาธิปไตย แต่กรณีการฟ้องตามมาตรา ๙ แห่ง พ.ร.บ. ศาลปกครองฯ นั้นมีหลายแบบ ซึ่งในกรณีนี้อาจกล่าวโดยสังเขปได้ว่ามีสามแบบ คือ
 
- ฟ้องแบบแรก คือ ขอให้ฝ่ายปกครอง (รัฐบาล) หยุดกระทำหรือยกเลิกสิ่งที่ผิด (เช่น เลิกตั้งกระสอบทรายที่ทำให้น้ำขัง หรือเลิกตั้งเครื่องสูบน้ำอย่างเลือกปฏิบัติ ฯลฯ)
 
- ฟ้องแบบที่สอง คือ ขอให้รัฐบาลทำหน้าที่ให้ถูกต้องครบถ้วนและไม่ล่าช้า (เช่น เร่งระบายน้ำให้ผู้เดือดร้อนเสียหายอย่างเท่าเทียมกัน หรือจัดทำและดำเนินการตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ฯลฯ)
 
- ฟ้องแบบที่สาม คือ ขอให้รัฐบาลชดใช้เงินหรือทรัพย์สินในกรณีมีการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่น
 
การฟ้อง “สองแบบแรก” นั้น หาก “การกระทำ” หรือ “งดเว้นการกระทำ” นั้นเป็นกรณีที่รัฐบาลใช้อำนาจทางปกครอง ศาลย่อมสามารถตรวจสอบได้ว่าการนั้นถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ (ซึ่งศาลก็ย่อมมีดุลพินิจที่จะพิจารณาว่ารัฐบาลได้ดำเนินการไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ อย่างสมสัดส่วนหรือไม่) หากรัฐบาลทำไม่ถูก ก็ต้องยกเลิกหรือเพิกถอนแล้วแต่กรณี แต่หากเป็นสิ่งที่ถูก แต่ทำไม่ครบหรือหรือทำช้า ก็ต้องไปทำให้ถูกต้อง
 
แทรกเรื่อง “หนังสือเดินทางคุณทักษิณ”:


- อาศัยหลักการเดียวกับเรื่องน้ำท่วม ศาลปกครองย่อมมีอำนาจตรวจสอบว่า กระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะฝ่ายปกครอง ได้ใช้อำนาจออกหนังสือเดินทางให้คุณทักษิณโดยถูกต้องได้หรือไม่ หากเป็นการใช้อำนาจที่ไม่ชอบ เช่น เลือกปฏิบัติหรือใช้ดุลพินิจโดยมิชอบเพื่อเอื้อประโยชน์คุณทักษิณเป็นการเฉพาะ ศาลย่อมเพิกถอนการออกหนังสือได้


- แต่มีปัญหาอยู่ว่า ศาลปกครองอาจจะไม่รับฟ้องคดีดังกล่าว เพราะผู้ฟ้องอาจไม่ใช่ผู้เสียหายตาม มาตรา ๔๒ แห่ง พ.ร.บ. ศาลปกครองฯ กล่าวคือ กฎหมายกำหนดว่า ผู้ที่จะฟ้องคดีต่อศาลปกครองนั้นจะต้องผู้เดือดร้อนเสียหายจากการที่คุณทักษิณได้รับหนังสือเดินทาง  ซึ่งอาจไม่ชัดเจนเหมือนกรณีน้ำท่วมที่ผู้ฟ้องประสบภัย หรือกรณีกลับกันหากคุณทักษิณจะฟ้องว่าตนถูกกระทรวงการต่างประเทศในอดีตยึดหนังสือเดินทางอย่างเลือกปฏิบัติ ฯลฯ


- กระนั้นก็ดี ก็น่าคิดต่อว่า หากผู้ฟ้องทั่วไปไม่ใช่ ผู้เดือดร้อนเสียหายจากการที่คุณทักษิณได้รับหนังสือเดินทางแล้วไซร้ ถ้อยคำของอีกมาตรา คือ มาตรา ๔๓ แห่ง พ.ร.บ. ศาลปกครองฯ นั้น จะกว้างพอที่จะตีความให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีสิทธิฟ้องแม้จะไม่มีผู้เดือดร้อนเสียหายเหมือนกับกรณีมาตรา ๔๒ ได้หรือไม่?)
 
ส่วนการฟ้องกรณีน้ำท่วม “แบบที่สาม” ที่เรียกค่าเสียหายให้รัฐบาลใช้เป็นตัวเงินนั้น ไม่ใช่ว่าจะฟ้องเรียกและคิดคำนวณตามความเป็นจริงได้ง่ายๆ เพราะผู้ฟ้องอาจต้องเจอกับ “ด่านหิน” อย่างน้อยสองด่านด้วยกัน
 
ด่านแรก รัฐสภาได้ตรากฎหมายที่ออกแบบมาเป็น “เกราะกำบัง”  ให้ฝ่ายรัฐบาลโดยเฉพาะในยามที่เกิดสาธารณภัย กฎหมายที่ว่าก็คือ มาตรา ๔๓  แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งบัญญัติหลักการสำคัญไว้สองประการ คือ
 
- มาตรา ๔๓ วรรคแรก บัญญัติว่า ...หาก [ฝ่ายปกครองที่จัดการปัญหาน้ำท่วม] ได้ดำเนินการไปตามอำนาจหน้าที่ และได้กระทำไปพอสมควรแก่เหตุและมิได้ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ให้ผู้กระทำการนั้นพ้นจากความผิดและความรับผิดทั้งปวง”
 
- มาตรา ๔๓ วรรคสอง บัญญัติว่า “...หากเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของผู้ใดซึ่งมิใช่เป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการบำบัดภยันตรายจากสาธารณภัยนั้น ให้ทางราชการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นให้แก่ผู้นั้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง”
 
จากข้อกฎหมายใน “ด่านแรก” ผู้เขียนมี “ข้อสังเกตในแนวฝ่ายรัฐบาล” ดังนี้
 
ประการแรก รัฐสภาได้ “มอบเกราะหนา” ให้แก่ฝ่ายรัฐบาล  โดยกำหนดในกฎหมายว่า ในยามที่เกิดสาธารณภัย เช่น กรณีน้ำท่วม ซึ่งคงไม่อาจควบคุมดูแลให้สมบูรณ์แบบได้นั้น ฝ่ายรัฐบาลจะต้องรับผิดก็ต่อเมื่อจงใจ หรือ “ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง” เท่านั้น
 
ประการที่สอง รัฐสภาได้ “ยึดอาวุธ” จากฝ่ายตุลาการ โดยกำหนดในกฎหมายว่า ในยามที่เกิดสาธารณภัย เช่น กรณีน้ำท่วม ซึ่งรัฐบาลอาจช่วยเหลือไม่ทั่วถึงและย่อมมีผู้เดือดร้อนเสียหายเป็นจำนวนมากนั้น หากฝ่ายรัฐบาลจะต้องรับผิดชดใช้ความเสียหายให้แก่ผู้ที่ไม่ได้รับประโยชน์จากความช่วยเหลือ กฎหมายก็ยึดอำนาจการกำหนดค่าเสียหายไปจากฝ่ายตุลาการ และมอบให้เป็นอำนาจของฝ่ายรัฐบาลที่จะเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์และจำนวนเงินที่จะต้องจ่ายชดเชยให้แก่ประชาชน
 
กล่าวให้เข้าใจโดยง่ายก็คือ หากผู้เหยื่อน้ำท่วมจะฟ้องให้รัฐบาลรับผิดชดใช้ค่าเสียหายนั้น จะฟ้องแค่ว่ารัฐบาล ประมาท หรือไม่ระมัดระวัง หรือทำงานผิดพลาดล่าช้าจนประชาชนเสียหายไม่ได้ แต่ศาลจะต้องพอใจว่าความประมาทผิดพลาดนั้น “ร้ายแรง” ผิดมาตรฐานที่จะยอมรับได้ และสุดท้ายแม้ฟ้องได้สำเร็จว่าประมาทอย่าง “ร้ายแรง”  จริง ศาลก็มิอาจก้าวล่วงเข้าไปกำหนดจำนวนเงินที่รัฐบาลต้องจ่ายให้แก่ผู้ฟ้องคดีตามคำฟ้องได้ ศาลเพียงแต่อาจบังคับให้รัฐบาลชดใช้เงินตามหลักเกณฑ์ที่รัฐบาลเองเป็นผู้กำหนด
 
แม้ข้อกฎหมายที่กล่าวมาจะเป็นอุปสรรคสำหรับผู้ฟ้องคดี แต่ผู้เขียนก็มี “ข้อสังเกตในแนวผู้ฟ้องคดี” ดังนี้
 
ประการแรก ผู้ฟ้องคดีสามารถโต้แย้งได้ว่า มาตรา ๔๓ ดังกล่าวนั้น มิได้เป็นเกราะป้องกันให้ฝ่ายรัฐบาลได้ทุกกรณี เพราะการจัดการปัญหาน้ำท่วมนั้น ย่อมมีการกระทำหรืองดเว้นการกระทำ “บางส่วน” ที่นอกเหนือไปจากการใช้อำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยฯ ซึ่งการเหล่านั้นย่อมอยู่นอกเหนือไปจากเกราะกำบังที่กำหนดไว้เพื่อกรณีตามกฎหมายฉบับดังกล่าวเป็นการเฉพาะเท่านั้น อีกทั้งถ้อยคำในวรรคสองที่ว่า “ผู้ใดซึ่งมิใช่เป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการบำบัดภยันตรายจากสาธารณภัยนั้น” จะต้องตีความอย่างแคบว่าเป็นกรณีของผู้ที่รัฐบาลเลือกให้ไม่ได้รับประโยชน์เท่านั้น มิใช่ใครก็ได้ที่เดือดร้อนเสียหาย ดังนั้น ผลบังคับใช้ของกฎกระทรวงที่ว่าจึงจำกัดเฉพาะมาก
 
ประการที่สอง หากสุดท้ายศาลตีความว่า การกระทำของฝ่ายรัฐบาลได้รับความคุ้มครองจาก “เกราะ” ตามมาตรา ๔๓ ดังกล่าวแล้วไซร้ ผู้ฟ้องคดีก็ยังคงมีช่องทางที่จะโต้แย้ง “อาวุธ” ของฝ่ายรัฐบาล กล่าวคือ ฟ้องเพื่อโต้แย้งกฎกระทรวงที่กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการชดเชยความเสียหายนั้นได้ โดยผู้ฟ้องคดีจะต้องตั้งฟ้องต่อศาลปกครองให้ชัดว่าผู้ฟ้องประสงค์โต้แย้งกฎกระทรวงฉบับใดเพื่อให้ศาลปกครองมีคำสั่งเพิกถอน และกฎกระทรวงนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเหตุใด เช่น เลือกปฏิบัติ หรือสร้างขั้นตอนยุ่งยาก หรือเป็นดุลพินิจที่ไม่ชอบ ซึ่งหากสุดท้ายศาลปกครองไม่ติดใจเรื่องระยะเวลาการฟ้องคดีอีกทั้งเห็นพ้องและเพิกถอนกฎดังกล่าว ฝ่ายรัฐบาลก็ย่อมต้องไปดำเนินการตรากฎกระทรวงให้ถูกต้อง แต่ศาลจะเป็นผู้ใช้ดุลพินิจกำหนดเนื้อหากฎกระทรวงแทนฝ่ายรัฐบาลไม่ได้
 
แทรกเรื่อง “หนังสือเดินทางคุณทักษิณ”:  ฉันใดก็ฉันนั้น แม้ผู้ที่คัดค้านอาจไม่สามารถฟ้องให้ศาลเพิกถอนการออกหนังสือเดินทางได้โดยตรง แต่ก็อาจลองพิจารณาการโต้แย้งความชอบด้วยกฎหมายของระเบียบกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อ ๒๑ ซึ่งให้ดุลพินิจฝ่ายปกครองให้ “สามารถ” กระทำหรือไม่กระทำการได้อย่างกว้างขวางเช่นกัน แต่กระนั้นก็ยังต้องพิจารณาว่าผู้ฟ้องนั้นเดือดร้อนเสียหายจากกฎระเบียบดังกล่าวอย่างไร และมีกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินจะฟ้องแทนได้หรือไม่
 
การฟ้องเรื่องน้ำท่วมที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นนี้ เป็นเพียง “ด่านแรก” ที่มีตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๕๐
 
แต่สมมติว่าผ่านด่านแรกมาได้ ก็ยังมีด่านที่สอง ซึ่งได้แก่  มาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งให้อำนาจศาลว่า หากสุดท้ายฝ่ายรัฐบาลต้องรับผิดชอบจ่ายค่าเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องจริง และหากศาลสามารถกำหนดค่าเสียหายได้เอง กฎหมายก็มิได้บังคับว่าศาลจะต้องกำหนดค่าเสียหายเต็มจำนวนตามความเป็นจริงเท่านั้น แต่ศาลสามารถพิจารณาความเป็นธรรมเฉพาะกรณี อีกทั้งสามารถหักส่วนความผิดออกได้หากเป็นกรณีที่การละเมิดนั้นเกิดจากความบกพร่องของระบบงานส่วนรวม ซึ่งจะไปโทษเพียงใครหรือหน่วยงานใดโดยเฉพาะไม่ได้
 
กล่าวคือ สุดท้ายแล้ว แม้ศาลจะเห็นว่ารัฐบาลผิดจริง ก็ใช่ว่าผู้เสียหายที่ฟ้องคดีจะได้รับการชดเชยเต็มจำนวน หรือเต็มตามที่ขอต่อศาล แต่ศาลย่อมกำหนดให้ตามความเป็นธรรม เพราะสุดท้ายเงินที่ฝ่ายรัฐบาลจะต้องนำมาจ่าย ก็มิได้นำมาจากไหนนอกไปจากภาษีของประชาชนทุกคน
 
บทส่งท้าย: ศาลเท่านั้นหรือ ที่ช่วยเหยื่อน้ำท่วมได้ ?
 
ผู้เขียนขอเป็นกำลังใจให้เจ้าหน้าที่และข้าราชการที่พยายามทำหน้าที่อย่างดีที่สุดตามกำลังความสามารถ และที่สำคัญที่สุด ขอเป็นกำลังใจให้นักกฎหมายที่คอยช่วยเหลือให้ประชาชนผู้เดือดร้อนได้ตื่นตัวและรับทราบช่องทางในการใช้สิทธิทางศาล ให้เกิดพลวัตที่ดีงามตามวิสัยประชาธิปไตย ไม่ว่าจะฟ้องเป็นเรื่องที่กล่าวมา หรือเรื่องอื่นไม่ว่าจะเป็นกรณี “มาตรา ๑๑๒” (http://on.fb.me/tgYHAP)  หรือกรณีกฎหมายอภัยโทษ-นิรโทษกรรม (http://on.fb.me/w0eznn) หรือการพัฒนาข้อเสนอนิติราษฎร์ไปสู่การชำระคราบรัฐประหารออกจากกระบวนการยุติธรรมอย่างเป็นระบบ (http://on.fb.me/nd9GR1 http://youtu.be/4k9LLjhCOHc  และ http://youtu.be/4e0j6bwLV6Y)
 
ผู้เขียนขอให้พวกเราประชาชนพึงระลึกว่า ช่องทางทางศาลซึ่งมีข้อจำกัดทางกฎหมายนั้น ไม่ได้เป็นเพียงช่องทางเดียวที่จะเรียกร้องการชดใช้เยียวยาจากรัฐบาลได้ เราประชาชนยังคงมีช่องทางอื่น คือ ช่องทางทางรัฐสภา โดยการเข้าชื่อเสนอกฎหมายเพื่อให้สภากำหนดมาตรการช่วยเหลือเยียวยาพวกเราอย่างเสมอภาค ถ้วนหน้า อีกทั้งบังคับให้รัฐบาลตัดลดรายจ่ายอย่างเป็นระบบ พร้อมกับการฟื้นฟูและรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของชาติโดยหลีกเลี่ยงการกู้เงินในยามที่เศรษฐกิจโลกมีความไม่แน่นอนสูง โดยคนไทยทุกคน ไม่ว่าที่ประเทศไทย ดูไบ หรือที่ใด ย่อมสามารถร่วมแบ่งเบาภาระในรูปแบบการจ่ายภาษีหรือเงินช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษได้อย่างพร้อมเพียงกัน
 
แนวคิด “ท่วมหมื่นชื่อ” ในการเข้าชื่อเสนอกฎหมายดังกล่าว ผู้เขียนเองได้จัดทำเป็น “ร่างกฎหมาย” พร้อมคำอธิบายเรียบร้อยแล้ว (http://www.facebook.com/10000flood) เหลือแต่เพียงให้ภาคประชาชน หรือแม้แต่ภาคการเมือง ได้นำไปปรับปรุงแก้ไขและเสนอผลักดันตามวิถีประชาธิปไตยต่อไป เพื่อให้พวกเราก้าวข้ามวิกฤตน้ำท่วมไปด้วยกันอย่างแท้จริง

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คกก.ปิดเว็บหมิ่นเผยพบเว็บไซต์ไม่เหมาะสมโดนปิดแล้วเปิดใหม่ ล่าสุดปิดอีก 87 เว็บ

Posted: 24 Dec 2011 03:04 AM PST

เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 54 ที่ผ่านมา สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์รายงานว่า พลตำรวจเอก วรพงษ์ ชิวปรีชา ที่ปรึกษาสัญญาบัตร (สบ.) 10 ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการอำนวยการ กำหนดนโยบายการป้องกัน และปราบปรามการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ผิดกฎหมาย หรือไม่เหมาะสมผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร หรือ เว็บหมิ่นฯ เปิดเผยว่า หลังจากได้ดำเนินการปิดเว็บไซต์ที่เข้าข่ายกระทบความมั่นคงไปแล้ว 329 เว็บไซต์ พบว่า หลังจากนั้น บางเว็บไซต์กลับมาเปิดใหม่ โดยใช้วิธีเปลี่ยนหน้าเว็บ เปลี่ยนชื่อ แต่เนื้อหาสาระยังเป็นเช่นเดิม หากคนใดติดตามเว็บนั้นอยู่ ก็จะรู้ทันทีว่าเป็นเว็บเดิม ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้ก็จะตามปิดต่อ โดยล่าสุด ศาลอนุมัติปิดเว็บไซต์เพิ่มอีก 87 เว็บไซต์

ทั้งนี้ พลตำรวจเอก วรพงษ์ ยอมรับว่า การเผยแพร่ข้อความ หรือ รูปภาพ ในลักษณะหมิ่นสถาบัน บางครั้งถูกเผยแพร่ต่อในวงกว้าง จากลักษณะเฉพาะของบางเว็บ เช่น เว็บไซต์เฟสบุ๊ค ซึ่งหากเจ้าของล็อคอินหนึ่ง แสดงความคิดเห็น ไม่ว่าเห็นด้วย หรือด่าทอ หรือ กดถูกใจ ภาพหรือข้อความที่ไม่เหมาะสมนั้นก็จะมาปรากฎบนหน้ากระดานข้อความ ของผู้ที่แสดงความเห็น ทำให้เพื่อนที่อยู่ในรายชื่อ ของบุคคลนั้นจะเห็นได้ทั้งหมดซึ่งจะยิ่งเป็นการเผยแพร่ไปเรื่อยๆ ฉะนั้น หากพบให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ โดยไม่ต้องแสดงความคิดเห็นใดๆ

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

'เฉลิม' ลั่น 'เพื่อไทย' จะคัดค้านการแก้ ม.112 จนถึงที่สุด

Posted: 24 Dec 2011 02:25 AM PST

ไม่ขัดข้องหากมีการทำประชามติในการแก้ไข รธน. แต่ไม่เห็นด้วยที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญตอนนี้ ยืนยันว่า 'เพื่อไทย' จะไม่แก้ไข ม. 112 และจะคัดค้านจนถึงที่สุด

24 ธ.ค. 54 - สำนักข่าวไทยรายงานว่าร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เห็นด้วยที่ให้มีการทำประชามติในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า ส่วนตัวไม่ขัดข้อง หากจะมีการทำประชามติ ไม่ว่าก่อนหรือหลังการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะในช่วงที่หาเสียงเลือกตั้ง ได้ประกาศอย่างชัดเจนว่าจะแก้ไขรับธรรมนูญปี 2550 มาตรา 291 เพื่อเปิดทางให้มีการตั้ง ส.ส.ร.มาแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จภายใน 240 วัน และหลังจากนั้นจึงค่อยสอบถามความเห็นของประชาชนว่าจะรับร่างฉบับดังกล่าวหรือไม่

“ส่วนตัวเห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะนี้ไม่ใช่ช่วงเวลาที่เหมาะสม จึงอยากให้ทุกฝ่ายใจเย็น ๆ รอก่อน เนื่องจากรัฐบาลเพิ่งมาทำงานได้เพียง 3 เดือน จึงควรที่จะทำงานในการแก้ปัญหาให้กับประชาชน ทั้งในเรื่องของการปราบปรามยาเสพติด ปราบเว็บไซต์หมิ่นสถาบัน และการทุจริต หลังจากนั้นในช่วงเดือนที่ 9 จึงค่อยแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ไม่สาย เพราะว่าเป็นไปตามที่ให้สัญญากับประชาชนไว้ว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญภายใน 1 ปี” ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว

ส่วนการที่มีสมาชิกพรรคเพื่อไทยจะเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญหลังปีใหม่นั้น ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ถือเป็นความเห็นของสมาชิกพรรคที่มีความหลากหลาย แต่ทั้งหมดควรที่จะให้เกิดการตกผลึกในพรรคก่อน และต้องฟังนายกรัฐมนตรีเป็นหลัก ขอยืนยันว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ได้เป็นการทำเพื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี แต่เป็นการแก้ไขหลักการของประเทศ ดังนั้น ผู้ที่ออกมาคัดค้านและผูกโยงการแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้ากับ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นความคิดที่ผิดและทำให้เกิดความสับสน

ส่วนกรณีที่แกนนำคนเสื้อแดงจะรณรงค์ล่ารายชื่อประชาชนให้นำรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ของ นพ.เหวง โตจิราการ กลับมาใช้นั้น ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า เป็นความคิดเห็นที่หลากหลาย และไม่ขอวิพากษ์วิจารณ์เรื่องดังกล่าว ขอยืนยันว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่เกี่ยวกับการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่เกี่ยวข้องกับสถาบัน ขอยืนยันว่าพรรคเพื่อไทยจะไม่มีการเข้าไปแก้ไขในส่วนของมาตรา 112 และจะคัดค้านจนถึงที่สุด หากมีการแก้ไขในมาตราดังกล่าว ดังนั้น ขอให้อย่านำการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาผูกโยงกับประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักข่าวพลเมือง: เก็บตกงานมหกรรมคลินิกโรคจากการประกอบอาชีพ

Posted: 24 Dec 2011 01:56 AM PST

‘สมบุญ สีคำดอกแค’ รายงานบรรยากาศงานและเนื้อหาของงานประชุมสัมมนามหกรรมคลินิกโรคจากการประกอบอาชีพ รองอธิบดีกรมควบคุมโรคชี้ต้องมีบุคลากรที่ดีรวมถึงกองทุนเงินทดแทนควรเข้าไปคุ้มครองบุคลากรด้านการแพทย์ด้วย

 

ดิฉันมีโอกาสได้รับเชิญไปร่วมงาน ประชุมสัมมนามหกรรมคลินิกโรคจากการประกอบอาชีพบรรยากาศในงาน มีการจัดนิทรรศการรายงานผลดำเนินงานของรพ.ต่างๆ มีทั้งแพทย์และพยาบาลอาชีวเวชศาสตร์จำนวนกว่า ๒๐๐ คน มาจากทั่วประเทศ ในจำนวน รพ.๖๐ แห่ง ที่ได้ดำเนินการเปิดคลินิกโรคจากการทำงาน เจ้าภาพหลักที่จัดงานครั้งนี้ ก็คือ สำนักโรคจาการประกอบอาชีพ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข งานประชุมมหกรรมนี้เริ่มจัดงานระหว่างวันที่ ๒๑-๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๔ การจัดงานนี้เท่ากับรายงานผลดำเนินงานและวางแผนดำเนินงานในปีต่อไป
 
มี นพ.นพพร ชื่นกลิ่น รองอธิบดีกรมควบคุมโรคมาเป็นเกียรติกล่าวเปิดการประชุม และมอบโล่ให้กับสถานประกอบการที่ดำเนินโครงการคลินิกโรคจากการทำงานดีเด่น และเป็นหลักในการสนับสนุนให้มีการขยายหน่วยงานไปยังทุก รพ.เพื่อการให้บริการ การวินิจฉัยโรคจากการทำงาน และการส่งเสริมป้องกัน ทั้งตัวคนงานและสถานประกอบการ แต่ติดขัดปัญหาที่สำนักงานกองทุนเงินทดแทนประกันสังคมยังมีข้อสังเกตว่าในจังหวัดเดียวกันนั้นทำไมต้องเปิดคลินิกโรคจากการทำงาน การสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญมาก จะทำให้เป็นข่าวที่จะทำให้ประชาชนคนงานได้ระแวดระวังมีความรู้ และต้องมีบุคลากรที่ดีรวมถึงกองทุนเงินทดแทนควรเข้าไปคุ้มครองบุคลากรด้านการแพทย์ด้วย กรณีติดเชื้อโรคจากคนไข้ แต่ปัจจุบันก็ยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองให้แพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์เลย
 
ที่มาและข้อมูลการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพคลินิกอาชีวเวชศาสตร์ สำหรับการบริการทุติยภูมิในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข(คลินิกโรคจากการทำงาน)

สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานฯได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลในนามสมัชชาคนจนตั้งแต่ปี ๒๕๓๘ ให้มีการผลิตแพทย์อาชีเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อม โดยเสนอให้มีการตั้งกรมทางด้านนี้ด้วย พร้อมกับให้มีการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองสุขภาพความปลอดภัย จนรัฐบาลมีมติ ครม.ดังกล่าว การเรียกร้องทุกปีกับทุกรัฐบาลที่ผ่านมา เพราะปัญหาผู้ป่วยจากการทำงานมีจำนวนมากแต่ขาดแพทย์วินิจฉัย
     
ต่อมาวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๔๘ กระทรวงแรงงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการจัดตั้ง “โครงการศูนย์โรคจากการทำงาน” เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๔๘ ณ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กระทรวงแรงงานลงนามโดยนายสรอรรถ กลิ่นประทุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และกระทรวงสาธารณสุขลงนามโดย นายอนุทิน ชาญวีรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยมีสาระสำคัญของบันทึกข้อตกลง ดังนี้ คือ

๑.จัดให้มีระบบการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบทางสุขภาพจากการประกอบอาชีพรวมทั้งการสร้างระบบป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ

๒.พัฒนามาตรฐานแนวทางการวินิจฉัย การรักษา มีช่องทางการเข้าถึงการวินิจฉัย รักษาและดูแล หลังจากการเกิดโรคและอุบัติเหตุอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นแนวทางการวินิจฉัยที่เป็นมาตรฐานสามารถนำไปใช้ได้ทั่วประเทศอย่างมีคุณภาพ

๓.พัฒนา “โครงการศูนย์โรคจากการทำงาน” เพื่อเป็นรูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบทางสุขภาพจากการประกอบอาชีพ ทั้งทางกายและจิต โดยหวังจะเป็นเครือขายครอบคลุมทั่วประเทศในอนาคต

โครงการศูนย์โรคจากการทำงาน แบ่งเป็น ๓ ระดับ คือ

๑. ระดับปฐมภูมิ(ระดับเริ่มแรก) ดำเนินการจัดให้มีแพทย์ เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และสาธารณสุข ดูแลในระดับโรงงาน หรือสถานประกอบการ เพื่อให้คำแนะนำ ตรวจสอบ และค้นหาในเบื้องต้น

๒.ระดับทุติยภูมิ (ระดับที่สอง)ดำเนินการจัดให้มี “คลินิกโรคจากการทำงาน” ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อจัดระบบการดูแลสุขภาพลูกจ้าง การป้องกัน ส่งเสริมสุขภาพ การตรวจรักษา การวินิจฉัยโรคและการฟื้นฟูสุขภาพลูกจ้างที่ป่วยด้วยโรคและอุบัติเหตูจากการทำงาน
 
๓.ระดับตติยภูมิ(ระดับสูง)ดำเนินการจัดตั้ง “ศูนย์โรคจากการทำงาน” ภายใต้คลินิกอาชีวเวชศาสตร์ของโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่รับผิดชอบด้านอาชีวเวชศาสตร์ระดับสูง การจัดตั้งคลินิกโรคจากการทำงานภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพคลินิกอาชีวเวชศาสตร์สำหรับการบริการทุติยภูมิในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข(คลินิกโรคจากการทำงาน) ปี ๒๕๔๘ – ๒๕๕๔

สำนักงานประกันสังคม โดยคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน ได้สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพคลินิกอาชีวเวชศาสตร์สำหรับการบริการทุติยภูมิในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (คลินิกโรคจากการทำงาน) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการตรวจ รักษา ส่งเสริม ฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานของลูกจ้าง และส่งเสริมหรือป้องกันเกี่ยวกับความปลอดภัย ในการทำงาน ดังนี้

ระยะที่๑ (ปี ๒๕๔๘-๒๕๕๐) ดำเนินโครงการฯนำร่อง ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน ๙ แห่ง คือ โรงพยาบาลสมุทรปราการ, โรงพยาบาลชลบุรี, โรงพยาบาลนครพิงค์เชียงใหม่,โรงพยาบาลลำปาง, โรงพยาบาลขอนแก่น, โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, โรงพยาบาลบุรีรัมย์,โรงพยาบาลปทุมธานีและโรงพยาบาลราชบุรี โดยจัดสรรงบประมาณโรงพยาบาลแห่งละ ๓๐๐,๐๐๐ บาท
 
ระยะที่๒ (ปี ๒๕๕๐ - ๒๕๕๑) ได้ขยายการดำเนินโครงการคลินิกโรคจากการทำงานเพิ่มอีก ๑๕ แห่ง (รวมระยะที่ ๑ - ๒ จำนวน ๒๔ แห่ง) ได้แก่ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์, โรงพยาบาลพุทธชินราช, โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์, โรงพยาบาลระยอง, โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร, โรงพยาบาลสมุทรสาคร, โรงพยาบาลสุรินทร์ , โรงพยาบาลอุดรธานี, โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์, โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า , โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา, โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช, โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต,โรงพยาบาลหาดใหญ่ และโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี โดยจัดสรรงบประมาณแห่งละ ๒๐๐,๐๐๐ บาท รวมถึงโรงพยาบาลเดิม

ระยะที่ ๓ (ปี ๒๕๕๒) มีโรงพยาบาลเข้าร่วมโครงการเพิ่มอีก ๑ แห่ง คือ โรงพยาบาลนครปฐม

รวมระยะที่ ๑ - ๓ จำนวน ๒๕ แห่ง ในระยะนี้ ใช้รูปแบบการจัดสรรงบประมาณตามผลการดำเนินงานของโรงพยาบาล โดยโรงพยาบาล ที่มีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับดี ได้รับงบดำเนินการ ๑๒๐,๐๐๐ บาท ส่วนโรงพยาบาลที่มีผลการดำเนินงานปานกลาง พอใช้ รวมถึงโรงพยาบาลใหม่ที่เข้าร่วมโครงการได้รับงบดำเนินการ๑๐๐,๐๐๐บาท สำนักงานประกันสังคมจัดสรรงบประมาณและโอนโดยตรงไปยังโรงพยาบาลทุกแห่งที่เข้าร่วมโครงการ ทั้งนี้เน้นให้มีการดำเนินงานสร้างเครือข่ายระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานประกันสังคมจังหวัด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด ศูนย์ความปลอดภัยในการทำงาน ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง/ลูกจ้าง ฯลฯ โดยจัดตั้งเป็นคณะทำงานเครือข่ายคลินิกโรคจากการทำงานระดับจังหวัด เพื่อช่วยให้เกิดระบบการดูแล การตรวจวินิจฉัย รักษา การส่งเสริมและป้องกันความปลอดภัยในการทำงานได้อย่างประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และพิจารณาสนับสนุนงบประมาณเฉพาะกิจกรรมนี้เพิ่มเติมอีกโรงพยาบาลละ ๕๐,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมคณะทำงานเครือข่ายคลินิกโรคจากการทำงานระดับจังหวัดและค่าตอบแทนคณะทำงานฯดังกล่าว
 
ระยะที่ ๔ (ปี ๒๕๕๓) ขยายการดำเนินงานเพิ่มในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขอีกจำนวน ๑๒ แห่ง (รวมระยะที่ ๑ - ๔ จำนวน ๓๗ แห่ง) คือ โรงพยาบาลลำพูน, โรงพยาบาลพะเยา, โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน, โรงพยาบาลอุตรดิตถ์, โรงพยาบาลกำแพงเพชร, โรงพยาบาลเพชรบูรณ์, โรงพยาบาลเมืองฉะเชิงเทรา, โรงพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี, โรงพยาบาลชัยภูมิ, โรงพยาบาลกาฬสินธุ์, โรงพยาบาล พระจอมเกล้าจังหวัดเพชรบุรีและโรงพยาบาลตรัง(งบประมาณโรงพยาบาลเดิม ๒๕ แห่งๆละ ๒๐๐,๐๐๐ บาท โรงพยาบาลใหม่ ๑๒ แห่งๆละ ๑๗๐,๐๐๐ บาท)
 
นอกจากนี้ ในปี ๒๕๕๓ สำนักงานประกันสังคม โดยสำนักงานกองทุนเงินทดแทน ได้พิจารณาสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดตั้งคลินิกโรคจากการทำงานระดับตติยภูมิในโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยที่มี คณะแพทยศาสตร์ จำนวน ๗ แห่ง ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยมหิดล (โรงพยาบาลศิริราช, และโรงพยาบาลรามาธิบดี) , มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยบูรพา, และมหาวิทยาลัยศรีนครนรินทรวิโรฒ

ระยะที่ ๕ (ปี ๒๕๕๔) ขยายการดำเนินงานเพิ่มเติมในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขอีกจำนวน ๒๓ แห่ง (รวมระยะที่ ๑ - ๕ จำนวน ๖๐ แห่งยกเว้นโรงพยาบาลพระพุทธชินราชไม่ได้เข้าร่วมโครงการฯในปีนี้) ประกอบด้วย โรงพยาบาลพิจิตร, โรงพยาบาลน่าน, โรงพยาบาลแม่สอด, โรงพยาบาลอุทัยธานี, โรงพยาบาลพระพุทธบาท, โรงพยาบาลสระบุรี , โรงพยาบาลนครนายก, โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช, โรงพยาบาลสิงห์บุรี, โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร, โรงพยาบาลโพธาราม, โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา, โรงพยาบาลเสนา, โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว, โรงพยาบาลมุกดาหาร, โรงพยาบาลสกลนคร, โรงพยาบาลนครพนม, โรงพยาบาลหนองคาย,โรงพยาบาลเลย, โรงพยาบาลร้อยเอ็ด, โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์, โรงพยาบาลตะกั่วป่า, โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชและโรงพยาบาลสงขลา

ทั้งนี้ โรงพยาบาลฯที่เข้าร่วมโครงการก่อนปี ๒๕๕๔ จะได้รับการสนับสนุนงบประมาณแห่งละ ๒๐๐,๐๐๐ บาทและโรงพยาบาลที่ดำเนินการปี ๒๕๕๔ ได้รับงบประมาณสนับสนุนแห่งละ ๑๗๐,๐๐๐ บาทผ่านสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการประสาน บริหารจัดการและตัดโอนงบประมาณไปยังโรงพยาบาลดังกล่าว
 
ความคาดหวังการให้บริการของคลินิกโรคจากการทำงาน

๑. ตรวจวินิจฉัย รักษาพยาบาล ลูกจ้างในความคุ้มครองของกองทุนเงินทดแทนที่เจ็บป่วยหรือสงสัยว่าเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน

๒.ให้บริการตรวจสุขภาพและจัดบริการเชิงรุกเพื่อส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน

๓.ประสานและสนับสนุนดำเนินการด้านการแพทย์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.เงินทดแทนและพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน

๔.เฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคจากการทำงาน/อุบัติเหตุจากการทำงาน

๕.ให้คำปรึกษาและส่งเสริมงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานแก่สถานประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการ

๑.ลูกจ้างได้รับการตรวจรักษาและวินิจฉัยโรคหรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงานได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งการตรวจสุขภาพตามความเสี่ยงของงาน

๒.นายจ้างได้รับการบริการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและควบคุมโรค จากการทำงานสามารถลดจำนวนการประสบอันตรายจากการทำงานของสถานประกอบการได้

๓.กองทุนเงินทดแทน สามารถส่งต่อลูกจ้างที่เจ็บป่วยหรือสงสัยว่าเจ็บป่วยด้วยโรคจากการทำงานจากสถานพยาบาลอื่น เพื่อตรวจวินิจฉัยหรือเพื่อการรักษาต่อที่เหมาะสม

นอกจากนี้ สำนักงานประกันสังคม ร่วมกับสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมได้คัดเลือกโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูง มีความพร้อม มีบุคลากรและทีมงานเข้มแข็ง มีผลงานดี เป็นรูปธรรมและมีความยินดีในการเป็นโรงพยาบาลแม่ข่ายภาค เพื่อทำหน้าที่ ให้คำปรึกษา แนะนำ และร่วมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานฯโรงพยาบาลเครือข่ายในพื้นที่ ๕ ภาค ดังนี้

รายชื่อโรงพยาบาลแม่ข่ายและโรงพยาบาลเครือข่ายรายภาค ๕ ภาค
   
โรงพยาบาลแม่ข่ายภาคเหนือ             - โรงพยาบาลลำปาง
โรงพยาบาลแม่ข่ายภาคใต้             - โรงพยาบาลหาดใหญ่
โรงพยาบาลแม่ข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ     - โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
โรงพยาบาลแม่ข่ายภาคกลาง             - โรงพยาบาลสมุทรสาคร
โรงพยาบาลแม่ข่ายภาคตะวันออก         - โรงพยาบาลระยอง

นับจากปี 2538 จนถึงปัจจุบันรวมเวลานับ 16 ปี ที่ผ่านมาสถานการณ์ภาพรวมผู้ถูกผลกระทบยังไม่ดีขึ้นมากนักยังถูก บ่ายเบี่ยง โต้แย้ง ทอดทิ้ง และถูกไล่ออกจากการทำงาน เมื่อยื่นเรื่องเพื่อใช้สิทธิ์แม้จะได้รับการวินิจฉัยกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคจากการทำงานชั้นสูงก็ตาม มีคำถามว่ามันมีข้อชำรุด ในกลไก ของกองทุนเงินทดแทน หรือ พรบ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 ที่ทำให้คนงานที่เจ็บป่วยและประสบอันตรายจากการทำงานส่วนมากต้องสูญเสียสิทธิ และต้องนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม หรือว่ากฎหมายเก่าแก่เกินไป
 
มีคำถามว่า จะทำอย่างไรให้พัฒนาการความก้าวหน้าทางด้านการแพทย์และคลินิกโรคจากการทำงาน ที่พัฒนาการไปมากมายอยู่ขณะนี้ สามารถยุติปัญหาดังกล่าวได้ โดยแพทย์กล้าวินิจฉัยโรคจากการทำงาน อย่างจริงจัง ไม่เพียงแค่ทำงานด้านส่งเสริมป้องกันเท่านั้น รวมทั้งมาตรฐานทางการแพทย์ในคลินิกต่างๆ 60 กว่าแห่งเกิดขึ้นในประเทศไทยนี้ จะอยู่ในระดับมาตรฐานเดียวกันแลละขยายไปทั่วทุก รพ. ปัญหาการเข้าถึงการวินิจฉัยและการเข้าถึงสิทธิก็ยังต้องอาศัยการเชื่อมโยง ความเข้าใจกับผู้นำสหภาพแรงงาน สถานประกอบการ และกองทุนเงินทดแทน แม้แต่แพทย์ ที่ยังมีปัญหาเรื่องการวินิจฉัยจากกองทุนเงินทดแทน สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯ ก็ยังมุ่งมั่นผลักดันให้คนงานที่เจ็บป่วยประสบอันตรายจากการทำงาน และชุมชนที่ได้รับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ได้เข้าถึงการบริการด้านอาชีวอนามัยการวินิจฉัยและเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานอันพึงมีพึงได้ตามกฎหมาย ไม่ว่าจะรับเรื่องราวร้องทุกข์ ลงพื้นที่ จัดเวทีให้คำปรึกษาหารือจัดฝึกอบรมสร้างแกนนำขยายเครือข่ายประสานเพื่อผลักดันในระดับนโยบาย แต่ปัญหาการเข้าไม่ถึงสิทธินั้นก็ยังเป็นปัญหาเรื่องเรื้อรังอยู่ เพราะมีปัจจัยข้อจำกัดมากมายที่ยังไม่เอื้อต่อผู้ใช้แรงงานที่เจ็บป่วยและประสบอันตรายจากการทำงาน ได้เข้าถึงสิทธิและเข้าถึงการวินิจฉัย สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯ จึงได้พยายามเรียกร้องผลักดันกับรัฐบาลทุกสมัยในนามสมัชชาคนจน ให้จัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯร่วมกับขบวนผู้ใช้แรงงาน มาอย่างยาวนานจนใกล้จะเป็นจริงเพื่อมีองค์กรมาทำหน้าที่ส่งเสริมป้องกันแก้ไขปัญหาเรื่องสุขภาพความปลอดภัยในการทำงานพัฒนามาตรฐานและบุคลากรทำวิจัยเชิงลึก รับเรื่องราวร้องทุกข์ แต่ประเด็นการจัดตั้งสถาบันฯ ยังมีข้อขัดแย้งกันระหว่างผู้ใช้แรงงานกับรัฐ ว่าจะทำอย่างไรให้สถาบันฯเป็นองค์กรอิสระ มีโครงสร้างกรรมการที่มาจากการสรรหาให้ได้มาซึ่งผู้มีความรู้เชี่ยวชาญและมีประการณ์เรื่องสุขภาพความปลอดภัยฯ ซึ่งสภาเครือข่ายฯได้ขอให้มีการจัดเวทีประชาพิจารณ์รับฟังข้อคิดเห็นสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างทั่วถึง โดยให้สำนักงานปฎิรูปกฏหมายเป็นองค์กรกลางจัด

สำหรับความสำเร็จในเชิงนโยบายในเรื่องการป้องกันปีนี้ ข้อเสนอของสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯได้ถูกบรรจุไว้เป็นหนึ่งในหกระเบียบวาระ ในเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 4 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-4 กุมพาพันธ์ 2555ที่สหประชาชาติ(UN)โดยมีคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญผู้ทรงคุณวุฒิมาจากหลากหลาย ที่ได้รับการแต่งตั้งจากอนุวิชาการจัดงานเวทีสมัชชาสุขภาพครั้งที่ 4 เพื่อร่วมกันพัฒนาร่างเอกสารหลักและร่างมติ ในประเด็นการเข้าถึงบริการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของคนทำงานในภาคอุตสาหกรรมและบริการ โดยสภาเครือข่ายฯเป็นเลขานุการ ของคณะทำงานสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น

(สามารถเปิดดูเอกสารสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (http://www.nationalhealth.or.th/, www.samatcha.org )

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 17 - 23 ธ.ค. 2554

Posted: 24 Dec 2011 12:42 AM PST

“เผดิมชัย” เชื่้อน้ำท่วมลูกจ้างตกงานไม่ถึงล้านคน

 วานนี้ (16 ธ.ค.) นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (รมว.รง.) กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงาน “กระทรวงแรงงานห่วงใย ใส่ใจ ผู้ใช้แรงงาน” บริเวณหน้าห้างบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ว่า รัฐบาลพยายามที่จะให้มีการจ้างงานต่อ โดยนำมาตรการป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้างด้วยการช่วยนายจ้างจ่ายค่าจ้าง 2,000 บาทต่อลูกจ้าง 1 คน ซึ่งมีเงื่อนไขนายจ้างต้องทำข้อตกลงกับกระทรวงแรงงานว่า จะต้องไม่เลิกจ้าง และต้องจ่ายค่าจ้าง ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 ของค่าจ้างเดิม รวมถึงโครงการเพื่อนช่วยเพื่อนให้แรงงานที่ได้รับกระทบน้ำท่วมไปทำงานใน จังหวัดอื่นที่ไม่ประสบน้ำท่วม ซึ่งมีตำแหน่งงานรองรับกว่า 7.7 หมื่นอัตรา
      
“จ.ปทุมธานี ถือว่าเป็นจังหวัดตัวอย่างที่นายจ้างให้ความสำคัญ และร่วมมือกับกระทรวงแรงงานในการบรรเทาการเลิกจ้างกว่าร้อยละ 90 ดังนั้น ผมมั่นใจว่าจะไม่มีผู้ใช้แรงงานตกงานเป็นล้านตามที่หลายฝ่ายกังวล เพราะได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทุกฝ่ายทั้งหน่วยงานของกระทรวงแรงงาน นายจ้างและลูกจ้าง หากแรงงานประสบปัญหาเช่น ถูกเลิกจ้างไม่ได้รับเงินชดเชย ตกงาน ก็ให้ติดต่อขอความช่วยเหลือจากทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน หรือโทร.สายด่วน 1546, 1506 เพื่อให้ได้รับการช่วยเหลือ” รมว.รง.กล่าว
      
นายเผดิมชัย กล่าวอีกว่า ส่วนที่มีแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วมบางส่วนตกสำรวจ และติดต่อนายจ้างไม่ได้ หยุดงานและไม่ได้รับค่าจ้าง ก็ได้กำชับให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน(กสร.) ดูแลกลุ่มนี้ให้เข้มข้นขึ้น เพื่อให้ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย อีกทั้งยังได้ให้ กสร. รวบรวมปัญหาต่างๆ ของแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม
      
“หากพบว่ามีแรงงานได้รับผลกระทบในลักษณะดังกล่าวจำนวนมากก็จะมอบให้ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ไปพิจารณาหามาตรการช่วยเหลือ หรืออาจนำแนวคิดเดิมที่จะมีการนำงบบริหารจัดการของสปส.มาจัดสรรเป็นเงินช่วย เหลือให้กับแรงงานโดยตรงรายละ 3,000 บาท อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการประกันสังคมก่อน” รมว.รง.กล่าว
      
นายดำรงค์ เปรมสวัสดิ์ สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า โดยภาพรวมใน จ.ปทุมธานี มีแรงงานได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมกว่า 4 แสนคน ในสถานประกอบการกว่า 1 หมื่นแห่ง ซึ่งในจำนวนนี้เป็นแรงงานรับเหมาช่วง (ซัปคอนแทรก)กว่า 3 หมื่นคน และกลับเข้าทำงานแล้วกว่า 3 แสนคน แรงงานถูกเลิกจ้าง 6,407 คน ในสถานประกอบการ 14 แห่ง มีการจ่ายเงินชดเชยรวมกว่า 221 ล้านบาท
      
“ได้มีแรงงานที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมมาขอความช่วยเหลือในกรณีต่างๆ เช่น ติดต่อนายจ้างไม่ได้ หยุดงาน และไม่ได้รับค่าจ้าง ซึ่งได้ช่วยเจรจากับนายจ้างเพื่อให้แรงงานเหล่านี้ได้รับค่าจ้างและได้รับ เงินชดเชยตามกฎหมายกรณีถูกเลิกจ้าง ส่วนการป้องกันการเลิกจ้างนั้นได้พยายามเชิญนายจ้างให้เข้าร่วมโครงการ ป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้างของกระทรวงแรงงาน” นายดำรงค์ กล่าว
      
นางสมปอง ศรประยูร วัย 36 ปี พนักงานบริษัท วู๊ดล๊อค จำกัด ผลิตไม้สำเร็จรูป อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี กล่าวว่า โรงงานถูกน้ำท่วมจนต้องหยุดงาน และนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างในช่วงเดือน ต.ค.และ พ.ย.นี้ พร้อมทั้งไม่มีความชัดเจนเรื่องการจ้างงาน จึงได้ไปยื่นคำร้องที่สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.ปทุมธานี เพราะไม่แน่ใจว่านายจ้างจะเลิกจ้างหรือไม่ เนื่องจากช่วงหยุดงานต้องไปกู้เงินนอกระบบกว่า 1 หมื่นบาท เสียดอกเบี้ยร้อยละ 25 มาใช้จ่ายเพื่อดูแลครอบครัว จึงอยากให้กระทรวงแรงงาน หรือรัฐบาล จัดหาเงินมาช่วยเหลือบ้าง ซึ่งอาจจะนำเงินจากกองทุนประกันสังคมมาช่วยเหลือแรงงาน ส่วนนายจ้างหากจะเลิกจ้าง ก็อยากได้ค่าจ้างค้างจ่ายและสิทธิอื่นๆ ตามกฎหมาย
      
น.ส.ปณยา เพิ่มขุนทด วัย 45 ปี พนักงานฝ่ายผลิตบริษัท คาซิโอ้ประเทศไทย จำกัด อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี กล่าวว่า ตนกับเพื่อนพนักงานหลายร้อยคนได้ยื่นหนังสือขอความช่วยเหลือจากกระทรวงแรง งาน เนื่องจากเมื่อวันที่ 15 ธ.ค.ที่ผ่านมา บริษัทประกาศเลิกจ้าง เนื่องจากย้ายกิจการไปเปิดโรงงานแห่งใหม่ที่ จ.นครราชสีมา โดยการเลิกจ้างมีผลในวันที่ 31 มกราคม 2555 ส่งผลให้พนักงานทั้งหมด 1,333 คนตกงาน และนายจ้างระบุว่าจะจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย
      
“บรรดาพนักงานมองว่า บริษัทไม่เป็นธรรม จึงมายื่นข้อเรียกร้องต่อผู้บริหารกระทรวงแรงงาน เพื่อให้นายจ้างจ่ายค่าบอกเลิกจ้างล่วงหน้าให้แก่พนักงาน รวมถึงจ่ายค่าชดเชยเพิ่มขึ้น เนื่องจากพนักงานมีอายุงานตั้งแต่ 6-25 ปี อีกทั้งขอให้กระทรวงแรงงานหางานรองรับพนักงานที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป” น.ส.ปณยา กล่าว
      
นายสมาน ถมยา ผู้จัดการฝ่ายแรงงานสัมพันธ์ บริษัท กู๊ดเยียร์ ( ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ใน จ.ปทุมธานี ซึ่งเป็นตัวแทนบริษัทมารับเกียรติบัตรจาก รมว.แรงงาน กล่าวว่า บริษัทประสบภัยน้ำท่วม แต่ก็ได้เข้าร่วมโครงการป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้างของกระทรวงแรงงาน โดยบริษัทจ่ายค่าจ้างให้แก่พนักงานเต็ม 100% และหากมาช่วยฟื้นฟูบริษัทจะได้รับค่าจ้าง 150% ซึ่งได้จ่ายค่าจ้างตั้งแต่เดือน ต.ค.2554 ไปจนถึงเดือน มี.ค.2555 เนื่องจากต้องการรักษาสภาพการจ้างงานไว้ ซึ่งในเดือน มี.ค.ปีหน้าคาดว่าจะเปิดโรงงานผลิตสินค้าได้
      
ด้านนพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงานในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคม (สปส.) กล่าวว่า ตนจะนำแนวคิดในเรื่องการนำงบบริหารจัดการของสปส.มาจัดสรรเป็นเงินช่วยเหลือ ให้แก่แรงงานโดยตรงรายละ 3,000 บาท ซึ่งเป็นการช่วยเหลือแบบเงินก้อนเดียว เข้าหารือในประชุมบอร์ด สปส.ในวันที่ 27 ธ.ค.นี้ อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของบอร์ด สปส.ว่า จะให้ความเห็นชอบหรือไม่
      
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายในงาน รมว.แรงงาน ได้มอบเกียรติบัตรให้แก่สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการป้องกันและบรรเทา การเลิกจ้าง 27 แห่ง ทั้งนี้ ในส่วนของจ.ปทุมธานีมีสถานประกอบการเข้าร่วมโครงการ 266 แห่ง ลูกจ้าง 110,118 คน นอกจากนี้ ยังมีการจัดหางานในตำแหน่งงานว่างรองรับกว่า 3986 อัตรา ใน 57 ตำแหน่งงาน ของ 50 บริษัท รวมทั้งการสาธิตการประกอบอาชีพอิสระ 10 อาชีพ ขณะเดียวกัน ใน จ.ปทุมธานี มีบริษัทที่ได้รับกระทบจากน้ำท่วมและส่งคนงานไปทำงานกับบริษัทแม่ในต่าง ประเทศแล้ว 1,766 คน และเตรียมที่จะส่งเพิ่มอีก 3,321 คน ใน 23 บริษัท ส่วนใหญ่ไปประเทศญี่ปุ่น จีน มาเลเซีย และ เวียดนาม

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 17-12-2554)

ครม.ให้ลดอัตราเก็บเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเหลือ 0.5% ในปี 55

น.ส.อนุตมา อมรวิวัฒน์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติให้ลดอัตราเงินสมทบที่นายจ้างและผู้ประกันตนต้องออกเพื่อสมทบเข้ากอง ทุนประกันสังคมเหลือร้อยละ 0.5 ของค่าจ้าง โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2555

เนื่องจากกระทรวงแรงงานพิจาราณาเห็นว่าจากสถาการณ์อุทกภัยส่งผลกระทบต่อ ฐานะการเงินของนายจ้างและรายได้ผู้ประกันตน จึงควรมีการบรรเทาภาระของนายจ้างและผู้ประกันตนมในการออกเงินสมทบเข้ากองทุน ประกันสังคมในช่วงเวลานี้

อย่างไรก็ตาม การลดอัตราเงินสมทบจะดำเนินการเพียงปีเดียวเท่านั้น โดยในปี 2556 ก็ให้กลับมาเก็บในอัตราเดิม คือร้อยละ 1.5 ของค่าจ้าง

(สำนักข่าวอินโฟเควสท์, 19-12-2554)

สภาอุตสาหกรรมขู่ฟ้องศาลปกครองระงับค่าจ้าง 300 บาท

นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ รองประธานสายแรงงาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ส.อ.ท.กำลังหาช่องทางในการฟ้องศาลปกครองเพื่อระงับการประกาศขึ้นค่าจ้างขั้น ต่ำ 300 บาทต่อวัน ที่จะมีผลวันที่ 1 เม.ย.2555 ใน 7 จังหวัด คือ ภูเก็ต, กรุงเทพฯ, นนทบุรี, ปทุมธานี สมุทรปราการ, สมุทรสาคร และนครปฐม ของรัฐบาล โดยไม่เป็นธรรม ส่งผลกระทบต่อการลงทุน โดยอาจฟ้องร้องในต้นปีหน้า

“การขึ้นค่าแรงทำได้ แต่ต้องเป็นไปตามกลไก แต่นี่ไม่ได้เป็นไปตามธรรมชาติที่ควรเป็น มีการครอบงำของคณะกรรมการไตรภาคี และเป็นประเด็นการเมืองจากนโยบายหาเสียง โดยการนำร่องใน 7 จังหวัด ขึ้นทีเดียวเฉลี่ย 36-40% ซึ่งสูงเกินไป และยังกำหนดที่จะขึ้นทั่วประเทศให้เป็น 300 บาทต่อวันในวันที่ 1 เม.ย.2556”

ปัจจุบันนโยบายขึ้นค่าจ้างดังกล่าวกำลังส่งผลกระทบต่อการเจรจาสั่งซื้อ และผลิตสินค้าในไทยในปี 2555 ซึ่งต้องเริ่มเจรจารับคำสั่งซื้อล่วงหน้าแล้ว เนื่องจากผู้ผลิตต้องปรับเพิ่มต้นทุน จากผลพวงการขึ้นค่าจ้างไปยังสินค้า  ทำให้สินค้าของไทยเฉลี่ยแพงขึ้น ทำให้ลูกค้าส่วนหนึ่งเปลี่ยนใจหันไปสั่งซื้อที่ประเทศเพื่อนบ้านแทน ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการส่งออกของประเทศไทย ขณะเดียวกัน ยังทำให้ผู้ผลิตสินค้าที่ต้องใช้แรงงานเข้มข้น เช่น สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ อาจย้ายฐานไปยังเพื่อนบ้านแทนในปีหน้า เนื่องจากต้องอาศัยแรงงานเพื่อนบ้านที่ค่าแรงต่ำกว่าไทย โดยพบว่ากัมพูชาค่าแรง 80 บาทต่อวัน เวียดนาม 100 บาทต่อวัน พม่า 40-50 บาทต่อวัน ลาว 80-100 บาทต่อวัน.

(ไทยรัฐ, 19-12-2554)

พนักงานบริษัทมาลาพลาสรวมตัวปิดถนนประท้วงเรียกร้องสวัสดิการ

เมื่อเวลา 08.00 น.วันที่ 19 ธันวาคม 2554 ที่หน้าบริษัท มาลาพลาส จำกัด ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 370 ถนนพุทธรักษา ต.ท้ายบ้าน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ พนักงานทั้งชายและหญิงกว่า 500 คนได้ร่วมตัวกันประท้วงเรียกร้อยสวัสดิการค่าแรงงาน และลงมาปิดกั้นการจราจรบนถนนพุทธรักษาจำนวน 2 เลนโดยมีการนำเต้นมาตั้งกันแดด ทำให้รถสามารถสัญจรผ่านไปมาได้เพียงเลนเดียว ทำให้การจราจรภายในถนนพุทธรักษาติดขัดยาวออกมาที่ถนนสุขุมวิท เดือดร้อนเจ้าหน้าที่ตำรวจของ สภ.เมืองสมุทรปราการ จำนวนกว่า 20 นายต้องออกมาระบายการจรารจร และรักษาความสงบภายในการชุมนุมประท้วง

โดยมีนายเชี้ยง กันงาม ประธาน สห.ภาพแรงงานมาลาพลาส ได้กล่าวผ่านเครื่องขยายเสียงเรียกร้องให้ผู้บริหารบริษัทมาลาพลาส ออกมารับข้อเรียกร้องจำนวน 15 ข้อที่ทางพนักงานทั้งหมดได้ช่วยกันร่างหนังสือยืนขอเรียกร้อง โดยข้อที่ -1- ให้บริษัทปรับค่าจ้างที่เป็นรายวันจากเดิมที่ให้วันละ 215 บาท เป็นวันละ 300 บาทเท่ากันทั้งหมด ข้อที่ -2- ให้บริษัทปรับลูกจ้างรายวันที่มีอายุงานเกิน 3 ปีขึ้นไปให้เป็นลูกจ้างรายเดือน ข้อที่-3-ให้มีการปรับเพิ่มวันหยุดพักผ่อนประจำโดยเฉลียมตามอายุงาน ตั้งแต่ 7-15 วัน ต่อปี ข้อที่ -4 – ให้มีการปรับค่าเข้ากะของลูกจ้างเป็นจากเดิม 50 บาทเป็นวันละ 80 บาท ข้อที่ -5-ปรับค่าจ้างวันที่ลูกจ้างทำงานในวันหยุดพิเศษวันละ 3 แรง ข้อที่ -6-ให้ปรับเบี้ยเลี้ยงให้พนักงานที่บริษัทสั่งให้ออกไปทำงานนอกสถานที่ เป็นคนละ 200 บาทต่อวัน ข้อที่ -7- ให้จัดรองเท้าให้กับลูกจ้างทุกคนปีละ 2 คู่ต่อคน ข้อที่ 8 ให้จ่ายค่าจ้างให้กับพนักงานที่ทำงานรายวันเดือนละ 2 ครั้ง ข้อที่ -9- ขอให้คณะกรรมการสหภาพแรงงานมีส่วนร่วมพิจารณาโทษลูกจ้างที่เป็นสมาชิกของ สหภาพแรงงาน ข้อที่ -10-ให้สหภาพมีส่วนร่วมในการจัดงานเลี้ยงสังสรรค์ปีใหม่ ข้อที่ -11-ให้คณะกรรมการสหภาพแรงงานใช้สิทธิในการลาเพื่อเป็นร่วมกิจกรรมสหภาพ โดยไม่ถือว่าเป็นวันขาดงานโดยได้รับค่าจ้าง ข้อที่ -12- ให้จ่ายโบนัสให้ลูกจ้างทุกคนคนละ 3 เดือน ข้อที่ -13-จ่ายเบี้ยขยันให้ลูกจ้างคนละ 800 บาทต่อเดือน ข้อที่ -14- ให้จัดหาที่ทำการให้กับสหภาพแรงงาน และข้อที่ -15- สภาพการจ้างงานที่มิได้มีการเปลี่ยนแปลงไว้คงเดิม

โดยนายเชี้ยง กันงาม ประธาน สห.ภาพแรงงานมาลาพลาส ยังได้กล่าวอีกว่า ในการยืนหนังสือเรียกร้องข้อเสนอทั้ง 15 ข้อของพนักงาน และได้เข้าเจรจากับคณะผู้บริหารมาแล้วถึง 7 ครั้ง ล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ที่ผ่านมา แต่คณะผู้บริหารบริษัทไม่ยอมรับในข้อเสนอ ในวันนี้พนักงานจึงได้นัดกันหยุดงานร่วมตัวกันปักหลักประท้วงอยู่ที่หน้าโรง งาน ซึ่งหากในวันนี้ผลการเจรจาไม่คืบหน้าก็จะเคลื่อนขบวนเดินทางไปเรียกร้องผู้ ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ และชุมนุมกันที่หน้าศาลากลางจังหวัด หากยังไม่เป็นผลก็จะร่วมตัวพากันเดินทางไปประท้วงที่กรมแรงงานต่อไป

สำหรับบริษัท มาลาพลาส จำกัด เป็นโรงงานผลิต จานเมรามีน และเครื่องใช้พลาสติก ที่ส่งขายทั้งในและนอกประเทศ มีคนงานอยู่ทั้งหมด 1,500 คน คนงานที่ร่วมตัวกันชุมนุมประท้วงในครั้งนี้มีทั้งพนักงานที่อยู่ในลายผลิต และพนักงานอ๊อฟฟิต และลายงานอื่น ๆ ที่อยู่ในขบวนการผลิตทั้งสิ้น

(เนชั่นทันข่าว, 19-12-2554)

บอร์ดค่าจ้างเมินสภาอุตฯ ฟ้อง

19 ธ.ค. 54 - นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์  ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้างกลาง (บอร์ดค่าจ้าง) กล่าวถึงกรณีที่ทางสมาชิกสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) อยู่ระหว่างเตรียมยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง เพื่อระงับการประกาศปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน โดยระบุว่าการพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ถูกฝ่ายการเมืองครอบงำ ว่า  คณะกรรมการค่าจ้างแต่ละท่านล้วนเป็นผู้ที่มีความน่าเชื่อถือในวงสังคม ต่างมีเกียรติมีศักดิ์ศรี มีอิสระในการตัดสินใจไม่ได้ถูกอิทธิพลใดๆครอบงำ ทำให้มติบอร์ดค่าจ้างที่ให้ปรับค่าจ้างขึ้น 40% ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ ทำให้ใน 7 จังหวัดมีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปรับขึ้นเป็น 300 บาทต่อวัน โดยเป็นมติที่เป็นเอกฉันท์ ที่ทุกฝ่ายต่างยอมรับทั้งฝ่ายนายจ้าง และลูกจ้างก็ร่วมกันพิจารณาชอบ  และขอยืนยันว่าการดำเนินการของบอร์ดค่าจ้างนั้นเป็นไปตามขั้นตอนและถูกต้อง ตามกฎหมาย แต่จะให้ถูกใจทุกคนคงเป็นไปไม่ได้
                 
“หากฝ่ายใดที่ไม่ถูกใจแล้วจะไปฟ้องร้องต่อศาลปกครอง ก็เป็นสิทธิที่สามารถทำได้ตามกฎหมาย ถ้ามีการฟ้องร้องเกิดขึ้นจริงทางกระทรวงแรงงานก็พร้อมชี้แจงต่อศาล อย่างไรก็ตาม ขณะนี้การปรับขึ้นค่าจ้าง 40% เป็นมติ ครม.ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปเรียบร้อยแล้ว ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ก็ต้องดำเนินการไปตามที่ได้ประกาศไว้ และยังไม่มีการชะลอขึ้นค่าจ้างแต่อย่างใด แต่หากศาลมีคำสั่งใดๆ ออกมาทางบอร์ดก็พร้อมจะปฏิบัติตาม”ประธานบอร์ดค่าจ้าง กล่าว    
                 
ทั้งนี้  บอร์ดค่าจ้างจะมีการประชุมอีกครั้งในวันที่  21 ธ.ค.นี้ ซึ่งเป็นการประชุมตามวาระปกติ คงจะไม่มีการนำเรื่องที่ส.อ.ท.เตรียมยื่นฟ้องศาลปกครองเข้าหารือ เนื่องจากมติการปรับขึ้นค่าจ้างเป็นเรื่องที่ผ่านพ้นการพิจารณาไปแล้ว
      
นพ.สมเกียรติ กล่าวด้วยว่า   หลังจากนี้ คณะกรรมการค่าจ้างจะคอยติดตามผลกระทบที่เกิดจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น วันละ 300 บาท  และหามาตรการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น   รวมทั้งจะเร่งผลักดันปรับอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานในบางสาขาที่มี อัตราค่าจ้างต่ำกว่าวันละ 300 บาท
      
ด้านนายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์ไทย (คสรท.) กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยที่ทาง สอท.จะฟ้อง เนื่องจากเป็นการปรับค่าแรงที่มีการพิจารณาจากคณะกรรมการไตรภาคี รัฐไม่สามารถเข้าไปยุ่งเกี่ยวได้ ซึ่งผลกระทบจากการปรับค่าจ้างอาจเกิดกับสถานประกอบการบางส่วนที่มีเงินทุน น้อย แต่คิดว่าจะเกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมหากเรามองภาพรวมของประเทศ
      
นายชาลี กล่าวอีกว่า ผลด้านบวกในภาพรวมมี 2 เรื่อง คือ 1.เรื่องของขวัญกำลังใจของแรงงานที่ได้รับการปรับขึ้นค่าจ้าง 2.เมื่อลูกจ้างได้ค่าจ้างมากขึ้น ทำให้มีกำลังใช้เงิน ส่งผลให้เศรษฐกิจหมุนเวียนมากขึ้น

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 20-12-2554)

ธปท. เชื่อ ปัญหาว่างงานเป็นเพียงระยะสั้น ส่วนการขึ้นค่าแรง 300 บาทเร็วไป

ธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุ ปัญหาว่างงานเป็นเพียงระยะสั้น ส่วนการขึ้นค่าแรง 300 บาทเร็วไป พร้อมมั่นใจอุตสาหกรรมก่อสร้างปีหน้าฟื้นตัวได้ดี

นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ปัญหาการว่างงานที่เกิดจากผลกระทบน้ำท่วม เป็นเพียงปัญหาชั่วคราวไม่น่าเป็นห่วงแต่อย่างใด เพราะที่ผ่านมาตลาดแรงงานไทยอยู่ในภาวะตึงตัวมาโดยตลอด โดยเฉพาะปัญหาขาดแคลนแรงงานทักษะฝีมือ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเป็นปัญหายืดเยื้อในระยะต่อไป ประกอบกับการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท ในช่วงนี้เร็วเกินไป เพราะเป็นการปรับแบบก้าวกระโดด และหากอีก 2 ปีข้างหน้า นายจ้างจะปรับค่าจ้างขั้นต่ำเท่ากันทุกจังหวัด อาจทำให้แรงงานย้ายกลับบ้านเกิดในต่างจังหวัด ยิ่งสร้างปัญหาให้บริษัทเอกชนในเมือง ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานได้

นายเมธี ยังคาดการภาคธุรกิจที่น่าจะขยายตัวได้ดีในปีหน้า คือ กลุ่มธุรกิจก่อสร้าง เนื่องจากจะเริ่มเห็นการฟื้นฟูโรงงาน บ้านเรือน และกิจการต่างๆ หลังสถานการณ์น้ำท่วมเริ่มคลี่คลาย รวมทั้งภาคบริการต่างๆ และภาคการท่องเที่ยว ส่วนการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาใหม่ เชื่อว่า ผู้ลงทุนจะดูความชัดเจนของภาครัฐบาล ในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ว่าจะออกมาในทิศทางใด จะสร้างความมั่นใจและประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหามากน้อยเพียงใดด้วย

(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 20-12-2554)

'สร.รฟท.'ร้อง'นายกฯปู' สอบเงินสร้างแอร์พอร์ตลิงค์ล่องหน 1.2 พันล.‎

ตัวแทนสมาชิกจากสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย(สร.รฟท.) ยื่นหนังสือถึงปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ผ่านนายสมภาส นิลพันธุ์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการประชาชน เพื่อติดตามการชดใช้เงินหรือทรัพย์สินคืนให้การรถไฟแห่งประเทศไทย จากกรณีที่ ป.ป.ช.ได้พิจารณาไต่สวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินการก่อสร้างโครงการ ระบบขนส่งทางรถไฟ เชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือแอร์พอร์ตลิ้ง ที่พบว่า มีการรับข้อเสนอทางการเงินของเอกชน ที่ต่างไปจากเอกสารประกวนราคา โดยเฉพาะเงื่อนไขให้การรถไฟชำระเงินของโครงการ ที่เดิมมีมูลค่าเงินลงทุนกว่า 25,000 ล้านบาท หลังขยายระยะเวลาการก่อสร้างออกไปอีก 990 วัน ส่งผลให้มูลค่าเงินโครงการเพิ่มขึ้นกว่า 35,000 ล้านบาท ทำให้ค่าทำเนียมทางการเงินจาก 400 ล้านบาท เพิ่มเป็น 1,600 ล้านบาท ขณะที่ธนาคารกสิกรไทย จ่ายให้การรถไฟฯเพียง 400 ล้านบาท ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าเงินค่าทำเนียมอีก 1,200 ล้านบาท จ่ายให้กับผู้ใด เพื่อรักษาผลประโยชน์ของการรถไฟฯ ได้ยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.ให้ตรวจสอบพิจารณาโทษทางวินัยของนายไกรวิชญ์ ศรีมีทรัพย์ เจ้าหน้าที่รัฐที่มีส่วนทุจริต ที่ก่อนหน้านี้ ป.ป.ช.ชี้มูลว่า ผิดวินัยร้ายแรง ได้รับโทษตัดเงินเดือน
ไม่มีการชดเชยค่าเสียหาย จึงยื่นหนังสือให้เร่งรัดติดตามชดใช้เงินคืน ดำเนินการทางแพ่งและอาญา ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี

ในเวลาเดียวกัน ตัวแทนชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทย เดินทางมายื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อติดตามแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของกลุ่มสหกรณ์โคนม เนื่องมาจากเหตุการณ์อุทกภัย ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มายื่นหนังสือและเสนอแนวทางแก้ไขให้รัฐบาล 7 ข้อ แต่ยังไม่ได้รับการแก้ไข หากปัญหาความเดือดร้อนยังไม่มีความคืบหน้า เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมทั่วประเทศ จะพิจารณาแก้ไขปรับปรุง พระราชบัญญัติโคนมและผลิตภัณฑ์นม พ.ศ.2551 เพื่อรวมตัวกันมาชุมนุมหน้าทำเนียบรัฐบาลอีกครั้ง ในวันที่ 27 ธันวาคมนี้

(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 20-12-2554)

คนงาน'มาลาพลาส' ยื่นรองผู้ว่าฯ ร้องถูกลดสวัสดิการ

เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พนักงานบริษัท มาลาพลาส จำกัด ย่านถนนพุทธรักษา ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ที่ชุมนุมปิดถนนประท้วง เรียกร้องให้นายจ้างเพิ่มค่าแรงและสวัสดิการ หลังผู้บริหารรายใหม่เข้ามาบริหารและลดสวัสดิการลงจนเหลือตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานเมื่อวานนี้ ล่าสุดวันนี้ (20 ธ.ค.2554 ) กลุ่มพนักงานสมาชิกสหภาพแรงงานมาลาพลาส ประมาณ 300-500 คน นำโดยประธานสหภาพแรงงาน เคลื่อนขบวนเดินเท้าไปตามถนนสุขุมวิท เพื่อยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ส่งผลให้การจราจรตลอดเส้นทาง ตั้งแต่ถนนพุทธรักษา ถนนสุขุมวิท เข้าสู่ศาลากลางจังหวัด ติดขัดคับคั่ง เนื่องจากรถสัญจรได้เพียงช่องทางเดียว โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้จัดกำลังอำนวยความสะดวกด้านจราจร และดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับกลุ่มผู้เดินขบวนตลอดเส้นทาง

ทางด้านนายสนั่น ไพศาล ที่ปรึกษาสหภาพแรงงาน กล่าวว่า หลังจากการเจรจาระหว่างตัวแทนนายจ้างและลูกจ้างไม่เป็นผล ในช่วงสายของวันนี้ ทางกลุ่มพนักงานจึงเคลื่อนขบวนมายื่นหนังสือกับผู้ว่าราชการจังหวัด แต่ไม่พบ แต่ได้มีนายชนะ นพสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัด มารับหนังสือแทน โดยรับปากว่า จะเข้าร่วมหารือกับเจ้าหน้าที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด สหภาพแรงงาน และตัวแทนนายจ้าง เพื่อหาข้อยุติ คาดว่า ในช่วงเย็นวันนี้จะทราบผล ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดแนวทางของกลุ่มพนักงานในการดำเนินการต่อไป

(ไทยรัฐ, 20-12-2554)

พนง.บ.ริโก้ฯ ร้อง กสร.ถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

20 ธ.ค. 54 - เวลา 15.00 น.ที่กระทรวงแรงงาน พนักงานบริษัท ริโก้ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ประมาณ 10 คน นำโดย นายอำพล สนมศรี วัย 26 ปี พนักงานฝ่ายผลิต ซึ่งเป็นหนึ่งในแกนนำจัดตั้งสหภาพแรงงาน ได้เข้ายื่นหนังสือต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน เนื่องจากถูกบริษัทเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม หลังจากออกมาเรียกร้องโบนัส จำนวน 2.7 เดือน เงินพิเศษ 20,000 บาทต่อคน และเตรียมจัดตั้งสหภาพแรงงาน โดยขอให้ กสร. เจรจากับทางบริษัท ขอให้รับพนักงานที่ถูกเลิกจ้างทั้งหมด 54 คน กลับเข้าทำงานตามเดิมและสนับสนุนการจัดตั้งสหภาพแรงงาน
      
นายอำพล กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ ช่วงเดือน พ.ย.พวกตนได้ออกมาเรียกร้องเงินโบนัส จำนวน 2.7 เดือน เงินพิเศษ 20,000 บาทต่อคน ให้แก่พนักงานทั้งหมด 724 คน ซึ่งจากการเจรจานายจ้างยินยอมที่จะจ่ายโบนัส 2.7 เดือน ส่วนเงินพิเศษ 20,000 บาท ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะจ่าย หลังจากนั้น ช่วงต้นเดือน ธ.ค.ตนและเพื่อนพนักงานรวม 54 คน ได้ร่วมกันเตรียมการจัดตั้งสหภาพแรงงานขึ้น ต่อมาในวันที่ 6 ธ.ค.ก็ถูกบริษัทประกาศเลิกจ้าง พร้อมระบุจะจ่ายเงินชดเชยให้ตามกฎหมาย โดยทางบริษัทให้เหตุผลว่า พวกตนสร้างความขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ยุยงให้เกิดความแตกแยก ฯลฯ ขณะเดียวกัน บริษัทได้มีแบบสอบถามไปยังเพื่อนพนักงานทั้งหมดในเรื่องการจ่ายเงินโบนัส 2.7 เดือน และเงินพิเศษคนละ 5,000 บาท หากพนักงานคนใดเห็นด้วยก็ให้เซ็นชื่อยอมรับ
      
“จากการพูดคุยกับเพื่อนพนักงาน 724 คน มีพนักงาน 306 คนที่สนับสนุนการจัดตั้งสหภาพครั้งนี้ขึ้น พวกผมจึงเตรียมยื่นเรื่องจัดตั้งสหภาพแรงงาน แต่ก็มาถูกเลิกจ้างก่อน ผมคาดว่า สาเหตุคงเพราะการออกมาเรียกร้องโบนัสและเงินพิเศษ รวมทั้งการเตรียมการจัดตั้งสหภาพ ดังนั้น วันนี้จึงได้มายื่นหนังสือต่อ กสร.เพื่อขอให้เจรจากับนายจ้าง เพื่อให้รับพวกผมทั้ง 54 คน กลับเข้าทำงานและสนับสนุนจัดตั้งสหภาพ” นายอำพล กล่าว

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 20-12-2554)

บอร์ดค่าจ้างยืนยันค่าจ้าง 300 บาท ยังเริ่มบังคับใช้ 1 เม.ย.55

 21 ธ.ค. 54 - นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ในฐานะกรรมการและผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างกลาง (บอร์ดค่าจ้าง) กล่าวว่า ที่ประชุมวันนี้ มีการพิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัด ใน 4 จังหวัด ที่ยังขาดอยู่ประกอบด้วย  จังหวัดกาญจนบุรี นครราชสีมา สุพรรณบุรี และอุทัยธานี  เพื่อให้ทำหน้าที่พิจารณาการปรับขึ้นค่าจ้างตามจังหวัดต่าง ๆ  ขณะเดียวกันยังได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ ในอีก 6 กลุ่มสาขาอาชีพ เพื่อให้มีผลบังคับใช้เพิ่มเติมจาก 22  สาขา ที่มีผลบังคับใช้ไปแล้ว  ประกอบด้วย กลุ่มอาชีพช่างไฟฟ้า กลุ่มอาชีพอุตสาหกรรม  กลุ่มอาชีพเครื่องกล  กลุ่มอาชีพก่อสร้าง  กลุ่มอาชีพบริการ และกลุ่มอาชีพอุตสาหกรรมศิลป์

สำหรับข้อเสนอของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ขอให้เลื่อนการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ซึ่งจะเริ่มบังคับ 7 จังหวัด ใช้ในวันที่  1 เมษายน 2555  หากไม่ดำเนินการจะมีการฟ้องร้องศาลปกครอง ว่าถูกแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองนั้น  ที่ประชุมยังไม่ได้มีการหยิบขึ้นมาพิจารณาทบทวน  แต่ยอมรับว่ามีการพูดคุยกันในที่ประชุม และอาจจะเชิญสภาอุตสาหกรรมฯ มาชี้แจงถึงสาเหตุอีกครั้งในเร็ว ๆ นี้  พร้อมยืนยันว่า บอร์ดค่าจ้างพร้อมรับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย  ขณะที่ค่าจ้าง 300 บาท จะเริ่มบังคับใช้ในวันที่ 1 เมษายนนี้แน่นอน  เพราะได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปแล้ว

(สำนักข่าวไทย, 21-12-2554)

แนะลูกจ้างนอกระบบรับเงินยากไร้ 2 พันจาก พม.แทน

21 ธ.ค. 54 - ที่กระทรวงแรงงาน มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ นำโดยนางสุนทรี เซ่งกิ่ง เข้ายื่นข้อเสนอการฟื้นฟูแรงงานนอกระบบหลังมหาอุทกภัย 2554 แก่ นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (รง.) โดยได้มีการหารือร่วมกันถึงมาตรการช่วยเหลือ ได้แก่ การขยายเวลาการส่งเงินสมทบของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม มาตรา 40 การเข้าถึงเงินกู้ยืมเงินจากกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำงานที่บ้าน และการได้รับเงินช่วยเหลือจาก 2,000 บาท ที่ทางกระทรวง รง.ช่วยนายจ้างจ่ายเงินให้กับลูกจ้าง เพื่อชะลอการเลิกจ้าง เป็นต้น

นายเผดิมชัย กล่าวว่า ในส่วนของผู้ประกันตนของประกันสังคม มาตรา 40 จะช่วยในเรื่องการขยายเวลาการส่งเงินสมทบ โดยจะยกเว้นการส่งเงินสมทบระหว่างเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2554 โดยไม่ถือเป็นการขาดส่งและจะไม่ตัดสิทธิ์ ซึ่งสามารถส่งเงินสมทบภายหลังจากน้ำลด 30 วัน
      
นายเผดิมชัย กล่าวอีกว่า จะมีการปรับลดเงื่อนไขการกู้เงินจากกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำงานที่บ้าน ให้เข้าถึงการกู้ให้มากขึ้น เพื่อนำเงินไปฟื้นฟูบ้านและซ่อมแซมอุปกรณ์สำหรับประกอบอาชีพ เช่น มอเตอร์ไซค์ จักรเย็บผ้า เป็นต้น

“ส่วนเงินช่วยเหลือนายจ้างเพื่อจ่ายเงินให้ลูกจ้าง 2,000 บาท โดยมีเงื่อนไขว่านายจ้างต้องจ่ายเงินให้ลูกจ้างไม่น้อยกว่า 75% และต้องไม่เลิกจ้าง ซึ่งเงินในส่วนนี้เราจะให้กับนายจ้างที่สามารถทำตามเงื่อนไขเหล่านี้ได้ เพราะเราไม่ต้องการให้มีการเลิกจ้างแรงงาน แต่หากแรงงานนอกระบบเรียกร้องว่าเงินส่วนนี้เข้าไม่ถึงพวกเขา ก็ขอให้เขาไปใช้สิทธิ์ขอเงิน 2,000 บาทนี้ กับทางกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในส่วนของเงินสงเคราะห์ผู้ยากไร้” นายเผดิมชัย กล่าว
      
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทางกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ไม่ได้มีเงินช่วยเหลือ 2,000 บาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากน้ำท่วมโดยตรง เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือนี้มีมติจากทางคณะรัฐมนตรีไม่ให้ผ่าน เพราะจะซ้ำซ้อนกับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท ของทางกระทรวงมหาดไทยแต่เงินสงเคราะห์ผู้ยากไร้ทาง พม.ได้มีเงินช่วยเหลืออยู่แล้ว สำหรับผู้ยากจน ซึ่งเป็นงบประมาณของทาง พม.ที่เป็นงบจำนวนไม่มาก
      
ทั้งนี้ แรงงานมีทั้งหมด 38 ล้านคน เป็นแรงงานนอกระบบ 24.1 ล้านคน เป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม มาตรา 40 ประมาณ 5.8 แสนคน

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 21-12-2554)

สหภาพโฮยา ตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ถูกเลิกจ้าง ยืนยันเรียกร้องความเป็นธรรมจนถึงที่สุด

22 ธ.ค. 54 – ความคืบหน้ากรณีบริษัทโฮยากลาสดิสค์ (ประเทศไทย) จำกัด จะมีการเลิกจ้างพนักงานเกือบ 2,000 คนนั้น ล่าสุดเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 54 ที่ผ่านมา ทางสหภาพฯ และกลุ่มผู้ถูกเลิกจ้าง ได้มีการรวมตัวที่หน้าบริษัทโฮยา โรงงานหนึ่ง (เวลา 17.30 -21.00 น.) เพื่อประชาสัมพันธ์ เรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานในการรวมกลุ่มเพื่อคัดค้านการเลิกจ้าง เนื่องจากทางสหภาพฯ เห็นว่าเหตุผลในการเลิกจ้างครั้งนี้ไม่มีความชอบธรรม รวมถึงขอให้พนักงานสมัครสมาชิกสหภาพฯ เพื่อเข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปี รับรองการยื่นข้อเรียกร้องเพื่อมิให้มีการเลิกจ้างและรับรองข้อเรียกร้อง เดิมให้คงสภาพการจ้างต่อไป โดยทางสหภาพฯ ได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะขอคัดค้านการเลิกจ้างครั้งนี้ และจะยืนหยัดต่อเพื่อพนักงานทุกคน

นอกจากนี้สหภาพแรงงานอิเลคทรอนิคส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์ ยังได้จัดตั้งศูนย์ให้การช่วยเหลือผู้ถูกเลิกจ้างจาก บ.โฮยา ที่สำนักงานของสหภาพฯ ต.บ้านกลาง อ.เมือง จ.ลำพูน

(ประชาไท, 22-12-2554)

จัดหางานเผยปี 55 ไทยยังขาดแคลนแรงงานภาคอุตสาหกรรมจำนวนมาก

22 ธ.ค. 54 - นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยถึงสถานการณ์ปัญหาการว่างงานในปี 2555 โดยเฉพาะหลังช่วงวิกฤติน้ำท่วมว่า ที่ผ่านมาหลายจังหวัดจะมีคนตกงานทั่วประเทศสูงถึง 1 ล้านคน แต่ปัจจุบันแรงงานจำนวนกว่า 6 แสนรายได้กลับเข้าทำงานในสถานประกอบการแล้ว เหลือเพียงกว่า 3 แสนรายเท่านั้น ที่ยังไม่ได้เข้าทำงานในพื้นที่ภาคกลาง ซึ่งถูกน้ำท่วม ทั้งนี้ กรมการจัดหางานมีตำแหน่งว่างรองรับอยู่มากกว่า 150,000 อัตรา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานระดับล่าง ทำให้สถานการณ์ในปีหน้า 2555 ประเทศไทย ยังคงขาดแคลนแรงงานระดับล่างอีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมประเภทอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ ซึ่งสาเหตุของการการขาดแคลนแรงงานเกิดจากการย้ายแรงงานจากภาคอุตสาหกรรมสู่ ภาคการเกษตร เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง แรงงานที่มีอยู่ในปัจจุบันมีทักษะและประสบการณ์ไม่ตรงกับความต้องการของตลาด เพราะตลาดแรงงานต้องการแรงงานช่างระดับอาชีวะ แต่ปัจจุบันแรงงานจบใหม่เป็นผู้ที่จบปริญญาตรี ซึ่งส่วนใหญ่จะไปเข้าทำงานในภาคบริการ ทำให้การขาดแคลนแรงงานมากเป็นพิเศษในภาคอุตสาหกรรม

(มติชน, 22-12-2554)

กลุ่มลูกจ้างตกงานนับแสน อ้อนรัฐดูแลค่าชดเชย

23 ธ.ค. 54 -  รศ.ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผอ.วิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมที่ส่งผลให้มีการเลิกจ้างลูกจ้างในโรงงานต่างๆที่ อยู่ในพื้นที่น้ำท่วม ว่า กลุ่มลูกจ้างบริษัทรับเหมาค่าแรง(ซับคอนแทรก) ถือเป็นลูกจ้างกลุ่มแรกที่ตกงาน ซึ่งโรงงานจะบอกเลิกสัญญาบริษัทรับเหมาค่าแรง เนื่องจากโรงานยังไม่สามารถดำเนินการผลิตได้ โดยสถานประกอบการกว่า 50-60%มีการผลิตโดยใช้ลูกจ้างจากบริษัทเหมาค่าแรง บางโรงงานมีลูกจ้างเหมาค่าแรงมากถึง 70-80%
      
ทั้งนี้ ลูกจ้างกลุ่มนี้มักได้ค่าจ้างจากนายจ้างบริษัทรับเหมาค่าแรงในอัตราค่าจ้าง ขั้นต่ำ หรือสูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำไม่มากนัก รวมทั้งยังมีการรวมตัวต่ำ ไม่มีอำนาจต่อรองกับนายจ้าง เมื่อมีการเลิกจ้าง บริษัทเหมาค่าแรงมักไม่ยอมจ่ายค่าชดเชย ซึ่งเมื่อมีปัญหาเรียกร้องนายจ้างซึ่งเป็นเจ้าของสถานประกอบการ มักรับภาระจ่ายค่าชดเชยแทน เพื่อรักษาภาพพจน์องค์กร และเมื่อมีการไล่เบี้ยตามกฎหมาย ทางสถานประกอบการถือเป็นนายจ้างที่ต้องรับผิดชอบร่วมด้วย ดังนั้น หน่วยงานรัฐให้ควรสนใจดูแลลูกจ้างซับคอนแทรก
      
รศ.ดร.ยงยุทธ กล่าวต่อไปว่า ภาพรวมสถานการณ์เลิกจ้าง คาดว่า การเลิกจ้างจะมีตัวเลขที่สูงมากช่วงหนึ่ง ซึ่งกระทรวงแรงงานควรที่จะตั้งคณะทำงาน ในลักษณะวอร์รูม ประกอบด้วย ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อทำหน้าที่ติดตามสถานการณ์เลิกจ้าง ที่คาดกันว่าจะมีคนตกงานเกือบแสนคน เนื่องจากผลกระทบจากน้ำท่วมใหญ่ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องร่วมกันคิดแก้ไข ลดผลกระทบให้ได้มากที่สุด
      
“ตอนนี้มีความกังวลที่จะขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากคนงานที่กลับภูมิลำเนาในต่างจังหวัด ยังไม่อยากกลับเข้าโรงงานเพราะช่วงนี้เป็นช่วงเกี่ยวข้าว การจ้างแรงงานเกี่ยวข้าววันละ 300-350 บาท ซึ่งเป็นค่าจ้างที่สูง อีกทั้งลูกจ้างบางส่วนเมื่อถูกเลิกจ้าง ได้รับเงินค่าชดเชยจากนายจ้าง และสิทธิรับเงินทดแทนประกันการว่างงานร้อยละ 50 ของ 15,000บาท เท่ากับ 7,500 บาท ในระยะเวลา 6 เดือน จึงเป็นรายได้ที่ลูกจ้างพอที่จะอยู่ในภูมิลำเนาได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง” รศ.ดร.ยงยุทธ กล่าว
      
นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ขณะนี้มีแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วมถูกเลิกจ้างกว่า 1.8 หมื่นคน ส่วนแรงงานซับคอนแทรกถูกเลิกจ้างจำนวนน้อยกว่าคาดการณ์ไว้ ส่วนช่วงหลังปีใหม่แรงงานที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมคงจะถูกเลิกจ้างเพิ่ม ขึ้นหลายพันคน แต่คงไม่ถึงหลักแสนคน ซึ่งต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ว่าจะมีแรงงานที่เสี่ยงต่อการถูกเลิกจ้าง ประมาณ 1.3 แสนคน อย่างไรก็ตาม แรงงานที่ถูกเลิกจ้างนั้น มีปัญหาตกงานน้อยมากเพราะทันทีที่ถูกเลิกจ้าง ก็จะมีสถานประกอบการมารับเข้าไปทำงานผ่านโครงการต่างๆของกระทรวงแรงงานเช่น โครงการเพื่อนช่วยเพื่อน
      
ทั้งนี้ จากข้อมูลของ กสร.ณ วันที่ 23 ธ.ค.โดยภาพรวมยังมีสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม 2,658 แห่ง ลูกจ้างได้รับผลกระทบ 341,052 คน และขณะนี้มีสถานประกอบการเปิดกิจการแล้ว 26,021 แห่ง ลูกจ้างได้กลับเข้าทำงานแล้ว 652,892 คน
      
อธิบดี กสร.กล่าวอีกว่า ส่วนการเลิกจ้างมีสถานประกอบการ 76 แห่ง ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง รวม19,665 คน แยกเป็น จ.พระนครศรีอยุธยา 39 แห่ง ลูกจ้าง 10,803 คน จ.ปทุมธานี 23 แห่ง 8,244 คน ฉะเชิงเทรา 2 แห่ง ลูกจ้าง 459 คน จ.สระบุรี 1 แห่ง ลูกจ้าง 31 คน นครปฐม 1 แห่ง ลูกจ้าง 68 คน นนทบุรี 9 แห่ง ลูกจ้าง 29 คน กรุงเทพฯ 1 แห่ง 31 คน
      
ขณะเดียวกัน มีสถานประกอบการเข้าร่วมโครงการป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้างใน 8 จังหวัด จำนวน 784 แห่ง ลูกจ้าง 239,371 คน ซึ่งในจำนวนนี้มีสถานประกอบการได้รับการอนุมัติแล้ว 234 แห่ง ลูกจ้าง 88,706 คน ส่วนโครงการเพื่อนช่วยเพื่อนของกสร.ที่ให้แรงงานที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ไปทำงานที่จังหวัดอื่นชั่วคราว 2-3 เดือน รวมทั้งมีการจ้างงานถาวร ขณะนี้มีสถานประกอบการเข้าร่วมโครงการ 643 แห่ง ใน 48 จังหวัด และมีตำแหน่งงานรองรับ 78,242 อัตรา และมีลูกจ้างเข้าทำงานร่วมโครงการ 13,226 คน ในสถานประกอบการ 108 แห่งโดยดูรายละเอียดได้ที่ www.labour.go.th หรือสอบถามสายด่วน 1546
      
นายอนันตชัย อุทัยพัฒนาชีพ ผอ.สำนักคุ้มครองแรงงานสังกัด กสร. กล่าวว่า กระทรวงแรงงาน มีนโยบายชัดเจนให้มีการคุ้มครองสิทธิลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างให้ได้รับเงินทด แทนเลิกจ้างและค่าบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมาย ไม่เช่นนั้น ลูกจ้างสามารถร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตรวจแรงงาน เพื่อขอให้ออกคำสั่งให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมาย หรือฟ้องต่อศาลแรงงานให้มีคำสั่งบังคับให้นายจ้างจ่าย ทั้งนี้ กฎหมายให้การคุ้มครองลูกจ้างทุกคนอย่างเท่าเทียม ไม่แบ่งแยกเป็นลูกจ้างประจำ ลูกจ้างบริษัทเหมาค่าแรง

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 23-12-2554)

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศาลปกครองไต่สวนคดีบึงทุ่งกะโล่เผยราชการบุกรุกบึงต้นเหตุน้ำท่วมใหญ่ปีนี้

Posted: 23 Dec 2011 10:08 PM PST

เมื่อวันที่ 23 ธ.ค.54 ที่ผ่านมา ที่ศาลปกครองกลาง นายศรีสุวรรณ  จรรยา  นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน เปิดเผยว่าชาวบ้านรอบบึงทุ่งกะโล่ ต.ป่าเส้าและ ต.คุ้งตะเภา อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ กว่า 60 คน เดินทางมาศาลปกครองกลางตามหมายเรียกของศาล เพื่อทำการไต่สวนคำขอการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา กรณีที่ชาวบ้านรอบบึงทุ่งกะโล่ได้ฟ้องปฏิรูปที่ดินจังหวัดอุตรดิตถ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ เลขาธิการ สปก. และรมต.กระทรวงเกษตรฯ ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่โดยไม่สุจริตต่อศาลปกครองกลาง

ในการไต่สวนนั้น ตัวแทนชาวนา ได้เปิดเผยว่าผู้ถูกฟ้องคดีได้ละเมิดสิทธิประชาชนและสิทธิสิ่งแวดล้อม โดยอนุญาตให้หน่วยงานราชการจำนวนมากในจังหวัดอุตรดิตถ์ เข้าไปใช้ประโยชน์และถมที่ดิน ทำคันดินกั้นน้ำในทุ่งบึงกะโล่กว่า 2,000 ไร่ เพื่อสร้างตึก อาคาร สถานที่ จนทำให้สภาพบึงซึ่งเป็นแหล่งรองรับน้ำตามธรรมชาติหรือแก้มลิง ที่มีพื้นที่กว่า 7,500 ไร่เปลี่ยนสภาพไป ได้รับผลกระทบตื่นเขิน และไม่สามารถรองรับน้ำที่ไหลบ่ามาจำนวนมากได้ ทำให้น้ำเอ่อล้นท่วมที่นาของชาวบ้าน ทำให้นาข้าวที่กำลังงอกงามถูกน้ำท่วมขังเสียหายไปนับพันไร่ โดยไม่มีหน่วยงานราชการใดออกมารับผิดชอบ

ทั้งนี้หน่วยงานราชการผู้ถูกฟ้องคดีได้ละเมิดกฎหมายหลายฉบับ อีกทั้งเป็นการฝ่าฝืนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่  3 สิงหาคม 2552 ห้ามหน่วยราชการใดเข้าไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ชุ่มน้ำโดยเด็ดขาด แต่หน่วยงานราชการในจังหวัดอุตรดิตถ์กลับฝ่าฝืน และไม่สนใจมติและข้อห้ามทางกฎหมายต่าง ๆ ยังคงเดินหน้าปล่อยให้หน่วยราชการต่าง ๆ โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์เข้าไปทำคัดดิน ทำถนน และก่อสร้างอาคารในพื้นที่ชุ่มน้ำทุ่งบึงกะโล่ได้อีกในปัจจุบัน

การที่หน่วยงานราชการละเว้นเพิกเฉยต่อการปฏิบัติตามกฎหมาย ละเว้นเพิกเฉยเสียเองนั้น น่าที่จะเป็นต้นเหตุสำคัญของวิกฤตน้ำท่วม 2554 ที่ผ่านมา เพราะแหล่งรองรับน้ำตามธรรมชาติขนาดใหญ่ได้ถูกทับถมเป็นคันดิน ก่อสร้างตึกอาคารแทน ทำให้แก้มลิงตามธรรมชาติหายไป ที่สำคัญบางหน่วยงานราชการได้นำงบประมาณแผ่นดินนับ 100 ล้านไปถมที่ดินและสร้างอาคารเสร็จแล้วแต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ปล่อยให้เป็นที่อยู่อาศัยของนกหนูงูและตัวเงินตัวทอง โดยที่ สปก.อ้างว่าไม่ทราบเรื่องมาก่อน ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องสำคัญที่สมาคมฯและชาวบ้านจะยอมไม่ได้ จะได้รวบรวมข้อมูลร้องต่อ ปปช.เพื่อสอบสวนลงโทษหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป นายศรีสุวรรณกล่าวในที่สุด

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น