ประชาไท | Prachatai3.info |
- TCIJ: ปิดประกาศเขตเหมืองโปแตชอุดร! ชาวบ้านฮึ่มลงชื่อค้าน โวยรายชื่อหายเพียบ
- รุจน์ ธนรักษ์
- น้ำตาสลิ่ม#1: นักวิจัยหมูหลุมเสนอเลิกใช้คำว่า “สลิ่ม”
- นักข่าวพลเมือง: วิกฤติเด็กไทยติดพนันบอล อุบลฯแชมป์ภูมิภาคเล่นพนัน
- ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "112"
- นายกฯ ขออภัยโทษ หลังทีมงานโพสต์เฟซบุ๊กผิดเป็นรูป ร.8
- ขวัญชัยฯ นำเสื้อแดงร่วมเทิดพระเกียรติ 5 ธ.ค. ที่สนามหลวง
- นายกต่อต้านโลกร้อนหยัน ศปภ. แน่จริงอย่ายุบหนีคดีเอาตัวรอด
- สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 26 พ.ย. - 2 ธ.ค. 2554
- สหภาพฯ โฮย่ายื่นหนังสือถึงนายกผ่าน กมธ.แรงงาน
- โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์: 'ไชยันต์ ไชยพร' กับปัญหาประชาธิปไตย
- ในหลวงโปรดเกล้าฯ "ไพโรจน์ วายุภาพ" นั่งประธานศาลฎีกา
- โปรดเกล้าฯ พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษแล้ว
- สหภาพแรงงานแรงงานโฮย่าร้องสำนักงานสวัสดิการฯ ลำพูน
- วิทยุชุมชนเชียงใหม่ยื่นตรวจสอบหน่วยงานความมั่นคง
TCIJ: ปิดประกาศเขตเหมืองโปแตชอุดร! ชาวบ้านฮึ่มลงชื่อค้าน โวยรายชื่อหายเพียบ Posted: 04 Dec 2011 10:06 AM PST ผู้ว่าฯ คนเก่าเซ็นต์ทิ้งทวน ประกาศเขตพื้นที่โครงการเหมืองแร่โปแตชอุดรฯ เพียง 1 วันก่อนย้ายไปชลบุรี ด้านกลุ่มอนุรักษ์ฯ ตั้งโต๊ะล่ารายชื่อ ค้านยกหมู่บ้าน พบปัญหาอื้อรายชื่อหาย-โฉนดไม่ตรง เผย อบต.ในท้องที่ยังไม่ปิดประกาศ วันที่ 3 ธ.ค.54 กรรมการกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี นำโดยนางมณี บุญรอด พร้อมด้วยสมาชิกกว่า 10 คน นำเอกสารการปิดประกาศเขตพื้นที่โครงการเหมืองแร่โปแตช จ.อุดรธานี และแบบฟอร์มการคัดค้านมาตั้งโต๊ะให้ชาวบ้านโนนสมบูรณ์และหมู่บ้านบริเวณใกล้เคียงซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ร่วมลงชื่อคัดค้านการประกาศเขตเหมืองฯ ที่ศาลากลางบ้านโนนสมบูรณ์ หมู่ที่ 12 ต.ห้วยสามพาด อ.ประจักษ์ศิลปาคม จ.อุดรธานี โดยวันแรกมีผู้มาร่วมลงชื่อมากกว่า 400 คน บรรยากาศการตั้งโต๊ะเป็นไปอย่างคึกคัก เริ่มตั้งแต่เวลา 08.00 น. ชาวบ้านได้มารอกันอย่างเนืองแน่นที่ศาลากลางบ้าน เพื่อจะดูเอกสารการปิดประกาศเขตเหมือง พร้อมนำหลักฐาน เอกสาร เช่น บัตรประชาชน โฉนดที่ดิน เพื่อมาตรวจเช็คเปรียบเทียบ และกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มการคัดค้าน แต่ก็เกิดความโกลาหลตามมาเมื่อชาวบ้านหลาย 10 รายได้ทักท้วงว่าชื่อของตนตกหล่น ข้อมูลตรงตามเอกสาร และบางรายก็ถูกรายชื่อคนอื่นซ้อนทับในที่ดินแปลงของตน นางมณี บุญรอด กรรมการกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี ต.ห้วยสามพาด กล่าวว่า กลุ่มอนุรักษ์ฯ พบว่า มีข้อผิดพลาดอยู่หลายประการ ในการปิดประกาศเขตเหมืองแร่โปแตชอุดร ซึ่งกลุ่มฯ ก็กำลังรวบรวมประเด็น เพื่อทำการคัดค้าน โดยจะใช้วิธีการเดินสายให้ข้อมูลกับพี่น้องในพื้นที่ และถ้าหากใครที่เห็นด้วยกับเราก็ให้มาตรวจเช็คดูเอกสารและร่วมลงชื่อคัดค้านได้ “ประกาศนี้ผู้ว่าฯ คนเก่าได้เซ็นต์เอาไว้ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน แล้วก็เผ่นไปเป็นผู้ว่าฯ ชลบุรี ซึ่งได้สร้างภาระ ปัญหาให้กับชาวบ้านในเขตเหมืองบนเนื้อที่กว่า 2.6 หมื่นไร่ ให้ต้องลุกขึ้นมาคัดค้านเอาเอง แต่ทั้งนี้พวกเราก็จะพิสูจน์ให้เห็นว่าคนอุดรฯ ไม่ต้องการเหมือง และจะทำการคัดค้านในทุกขั้นตอนจนถึงที่สุด” นางมณีกล่าว ด้านนายวรากร บำรุงชีพโชต หัวหน้าฝ่ายอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า เอกสารการปิดประกาศเขตเหมืองแร่โปแตชอุดรจากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ได้มาถูกส่งมาถึงสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด เมื่อวันที่ 17 พ.ย. หลังจากนั้นได้ทำการตรวจสอบก่อนจะนำเรียนให้ผู้ว่าราชการ ในฐานะเจ้าพนักงานอุตสาหกรรมแร่ประจำท้องที่ลงนามปิดประกาศ เมื่อผู้ว่าฯ ลงนามแล้วก็เป็นหน้าที่ของตนเองที่จะปิดประกาศและแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป “พื้นที่เหมืองครอบคลุม 5 ตำบล ภายใน 2 อำเภอ คือ อำเภอเมือง และอำเภอประจักษ์ฯ ซึ่งผมก็ได้ส่งเอกสารการปิดประกาศไปให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ในส่วนของกลุ่มอนุรักษ์ฯ ผมได้นำเอกสารไปส่งให้เองกับมือ ทั้งนี้ หากมีการค้านผมก็จะคอยทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลและนำเอกสารส่งกรมฯ ต่อไป โดยหน้าที่ของส่วนราชการก็จะจบเพียงเท่านี้ เพราะถ้ามีการค้าน กระบวนการประทานบัตรก็เดินหน้าไม่ได้ จนกว่าบริษัทกับชาวบ้านเคลียร์จะกันลงตัว” นายวรากรกล่าว ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันเดียวกันนี้ได้มีการปิดประกาศเขตเหมือง ณ ที่ทำการกำนันตำบลห้วยสามพาด และตำบลนาม่วง หลังจากที่มีการปิดประกาศไปแล้ว ณ ที่ว่าการอำเภอประจักษ์ศิลปาคม เมื่อวันที่ 2 ธ.ค.53 เพื่อให้ผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้โต้แย้งภายใน 20 วัน ตามมาตรา 49 ใน พ.ร.บ.แร่ 2510 อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบพบว่ายังไม่มีการปิดประกาศที่ อบต. สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Posted: 04 Dec 2011 09:23 AM PST ผมไม่มีปัญหากับการเป็น Conservative แต่มีปัญหากับการไม่มีคุณภาพทางปัญญา หากใครนึกไม่ออก ขอให้ดูตัวอย่างหัวหอก "คุณภาพ" ฝ่าย Conservative เช่น มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมช พูดอีกครั้งว่าหาก "ฝั่งโน้น" มีคุณภาพมากกว่านี้ เราจะปะทะกันอย่าง "มีอารยะกว่านี้" และประเทศไทยก็จะไม่เดินมาถึงจุดนี้ (สเตตัสเฟซบุ๊กส่วนตัว อนุญาตให้ประชาไทเผยแพร่) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
น้ำตาสลิ่ม#1: นักวิจัยหมูหลุมเสนอเลิกใช้คำว่า “สลิ่ม” Posted: 04 Dec 2011 08:59 AM PST เสวนาเรื่องวาทกรรม “สลิ่ม” ที่ร้าน 9 บรรทัด นักวิจัยหมูหลุมเสนอคนเสื้อแดงเลิกถือตัวเป็นคนจน ไม่เช่นนั้นจะถูกแช่แข็งในวาทกรรมจน-โง่-ซื้อเสียง ชี้วาทกรรม “อยู่ข้างคนจน” เป็นของตกค้างจากวรรณกรรมเดือนตุลาแต่สมัยนี้เริ่มนิยามความจนไม่ได้ เพราะคนมีรายได้เกินเส้นยากจนหมดแล้ว พร้อมเสนอให้เลิกใช้คำว่า “สลิ่ม” เลิกตีขลุม-เหมารวม และอย่าผลักคนกลางๆ ไปเป็นศัตรู บรรยากาศการเสวนาที่ร้าน 9 บรรทัด เมื่อ 2 ธ.ค. ที่ผ่านมา (ที่มา: ประชาไท) เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. ที่ผ่านมา ที่ร้าน 9 บรรทัด จ.เชียงใหม่ มีการจัดเสวนา: น้ำตาสลิ่ม: ชนชั้นกลางเป็นภัยต่อความก้าวหน้าของประชาธิปไตยจริงหรือ? วิทยากรประกอบด้วย เก่งกิจ กิติเรียงลาภ จากกลุ่มประกายไฟ เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร จากกลุ่มทุนนิยาม และวิทยากร บุญเรือง นักวิจัยจากศูนย์วิจัยหมูหลุม (Mooloom Intelligence Unit - MIU) ดำเนินรายการโดย น.ส.ยุภาวดี ทีฆะ กลุ่มนักศึกษาไร้สังกัด โดยเริ่มแรกนักวิจัยจากศูนย์วิจัยหมูหลุม (Mooloom Intelligence Unit - MIU) ได้อภิปรายในหัวข้อ “ทำไม “คนชั้นกลาง-คนกรุงเทพ-สลิ่ม” จึงเป็น “แพะ” อันโอชะ เมนูยอดฮิตแห่งยุคสมัยสำหรับปัญญาชนทวนกระแส” โดยมีรายละเอียดดังนี้ 000 การประณามใครต่อใครที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามว่า "สลิ่ม" ศูนย์วิจัยหมูหลุมขอเสนอให้ยกเลิกคำนี้ไป และมาอธิบายว่าคนที่คุณกำลังเถียงคือใคร คุณกำลังเถียงกับมวลชนพรรคประชาธิปัตย์ ก็ต้องนิยามแบบนั้น คุณกำลังเถียงกับพันธมิตรฯ ก็ต้องเถียงแบบนั้น คุณอย่ามาตีขลุมว่าคนชั้นกลาง คนเล่นอินเตอร์เน็ตเป็นฝ่ายตรงข้ามคุณ ประโยชน์ไม่เกิด … ประโยชน์ที่จะเกิดจริงๆ คือ เราอย่าไปผลักคนที่อยู่กลางๆ คนที่ไม่แสดงทัศนคติทางการเมือง เราอย่าผลักเขาเป็นศัตรู เราทำให้เขามาเป็นพวกก็ได้ วิทยากร บุญเรือง
ชี้การที่เสื้อแดงถือว่าตัวเป็นคนจน จะถูกแช่แข็งในวาทกรรมจน-โง่-ซื้อเสียง สิ่งที่จะนำเสนอนี้เป็นส่วนหนึ่งในงานวิจัยที่ทำอยู่คือ “แผนธุรกิจ: เราจะหากินกับกลุ่มคนที่มีทัศนคติทางการเมืองต่างๆ ในสังคมไทยได้อย่างไร” (อ่านบทสรุปของงานวิจัยได้ที่ล้อมกรอบ) ขอออกตัวก่อนว่าในสังคมไทยมีปัญหาอย่างหนึ่งโดยเฉพาะฝั่งประชาธิปไตย ฝั่งคนเสื้อแดง คือมีคำอธิบายอย่างหนึ่งที่กีดกันคนส่วนหนึ่งออกจากขบวนการ ซึ่งคนกลุ่มนี้เราจะเรียกว่าชนชั้นกลาง ความเป็นคนเสื้อแดง ภาพที่โดนฉาย ภาพติดคือเป็นพวกรากหญ้า เป็นพวกคนจน แต่ผมขออธิบายว่าก็ถูกที่ว่าในขบวนการมีคนจน มีรากหญ้า แต่อยากถามว่ามากกว่านั้นคือคนที่ร่วมขบวนการมีลักษณะทางฐานะที่มากกว่าคนจนไหม ถามเลยว่าที่มาฟังเสวนานี้ส่วนใหญ่น่าจะเป็นคนเสื้อแดง ถามจริงๆ เถอะว่าเป็นคนจน (มีคนตอบ: จนไม่จริง) คือถ้าบอกว่าเราเป็นคนจนปุ๊บ จะเข้าทางคนอีกกลุ่มหนึ่งที่พยายามบอกว่าคนเสื้อแดงเป็นคนจน คนโง่ คนที่ซื้อเสียง คือจะเข้าทางคนที่ Stuff ให้เราเป็นคนจน คนที่อยู่ในเศรษฐกิจพอเพียง แต่สิ่งที่อยู่ในงานวิจัยของผมคือ คนเสื้อแดงไม่ได้เกี่ยวว่าเราจนหรือไม่ แต่มีจุดร่วมกันคือความคิดประชาธิปไตย ซึ่งไม่ใช่เรื่องฐานะทางสังคมแล้ว แต่คนที่ออกมาเคลื่อนในขบวนมีจุดร่วมกันด้านความคิดประชาธิปไตย ซึ่งไม่สามารถอธิบายว่ามีแต่คนจนเท่านั้นที่มีความคิดเรื่องประชาธิปไตย ชนชั้นกลางนะครับ เอารถมาฟังเสวนากันทั้งนั้น
ชี้การนิยามคำว่า “สลิ่ม” มีปัญหา ผลักคนกลางๆ ออกจากกลุ่ม นักวิจัยหมูหลุม อภิปรายที่มาของคำว่า “สลิ่ม” ว่า มีคนส่วนหนึ่งที่มาเห็นใจคนเสื้อแดงหลังการล้อมปราบเดือนพฤษภาคมปี 2553 พวกเราได้แนวร่วมที่มากกว่าคนที่เคยเป็นฐานเสียงไทยรักไทย คนที่ชอบทักษิณมาก่อน คนพวกนี้เมื่อก่อนเขาอาจเป็นเสื้อเหลืองเหลือง บางทีเขาไม่ยอมรับว่าเขาเป็นเหลือง เขายอมรับว่าเขาเป็นกลางหน่อย แต่ตอนนี้เราได้คนแบบนี้มามาก ที่เห็นใจเพราะพวกเสื้อแดงโดนฆ่า เพราะเรื่องมนุษยธรรม พวกนี้จะแบ่งเฉดเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งเขาคิดว่าเป็นปัญญาชน ที่พยายามบอกอะไรกับสังคมว่าคนนั้นคนนี้เป็นอย่างไร และพยายามผลักคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่แสดงทัศนคติออกไป ผู้ร่วมเสวนาเคยได้ยินคำว่า "สลิ่ม" ไหมครับ คำนี้โคตรมีปัญหามากที่สุด ซึ่งผมจะพยายามอธิบายในวันนี้ คือเราได้ยินคำว่าสลิ่ม เราโคตรเกลียดเลยนะ สลิ่มที่ผมจะอธิบายวันนี้ ถูกนิยามแบบ 3 อย่างด้วยกัน หนึ่ง พยายามบอกว่า คนที่ไม่ยอมแสดงทัศนคติทางการเมืองว่าเป็นเหลืองหรือเป็นแดง จะถูกปัญญาชนทวนกระแสประณามว่าเป็นสลิ่ม อีกกลุ่มคือคนที่เกลียดเสื้อแดงจริงๆ ที่แสดงออกมาว่าเกลียดคนเสื้อแดง ก็ถูกถือว่าเป็นสลิ่ม อีกกลุ่มคือคนที่กั๊กๆ เหลืองก็ได้ แดงก็ได้ ก็ถูกหาว่าเป็นสลิ่ม แต่ผมแคร์คนกลุ่มแรกมากที่สุด คือคนที่ไม่ได้แสดงออกทางการเมืองว่าเขาเป็นคนกลุ่มไหน ถ้าเป็นเมืองนอกจะเรียกว่าเป็นกลุ่มสวิงโหวต ที่สามารถไปทางเหลืองก็ได้แดงก็ได้ แต่ต้องทำอะไรสักอย่างให้เขาเป็นพวก จู่ๆ เราไปผลักให้คนพวกนี้ออกไป ก็จะไปเข้าทางสนธิ ลิ้มทองกุล เขาก็ไม่มาร่วมกับเรา กระแสที่มีปัญหาตอนนี้คือเราประณามสลิ่ม และเราละเลยที่จะทำงานการเมือง พวกปัญญาชนทวนกระแสพยายามชูตัวเอง และผลักคนกลุ่มหนึ่งออกไป นี่เป็นปัญหาสำคัญอันหนึ่ง
วาทกรรม “อยู่ข้างคนจน” เป็นของตกค้างจากเดือนตุลา ความคิดที่เกลียดสลิ่ม เกลียดชนชั้นกลาง เป็นสิ่งที่ตกทอดมาจากวรรณกรรมเพื่อชีวิตสมัยเดือนตุลา เมื่อ 30 ปีก่อน ที่มีคำเรียกว่า "แนวร่วมนักศึกษา ชาวนา กรรมกร" พยายามอธิบายว่าตัวเองอยู่ข้างคนจน แต่ในสังคมไทยอีก 30 ปีต่อมา คำว่าคนจน เริ่มนิยามไม่ค่อยได้ว่าคืออะไร ถ้าจะเอามาตรฐานสหประชาชาติคือคนที่มีรายได้ต่ำกว่า 1,200 บาทต่อเดือน ตอนนี้พวกเราที่มาฟังมีใครรายได้ต่ำกว่า 1,200 บาทต่อเดือนไหม ก็ไม่มีนะ ผมอยากอธิบายว่ามีคนกลุ่มหนึ่งที่ผมเรียกว่า ปัญญาชนทวนกระแส เกิดมาจากหลังการล้อมปราบ อยากมาเข้าข้างคนเสื้อแดง แต่อยากมีจุดร่วมอย่างหนึ่งว่าเขารักและเอ็นดูคนจน แต่เขาได้สร้างศัตรูขึ้นมาอีกกลุ่มคือ ชนชั้นกลาง
ยันเหมารวมไม่ได้ว่าคนกรุงเทพฯ ไม่เอาเสื้อแดง อีกการอธิบายหนึ่งที่ว่าคนกรุงเทพฯ แม่งเหี้ย แม่งเลว ไม่ใช่คนเสื้อแดง ซึ่งเอาอะไรมาวัดก็ไม่รู้ก็ แต่มีตัวชี้วัดอย่างหนึ่งว่าในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา เราพยายามประณามว่าคนกรุงเทพฯ ไม่ใช่ฝั่งคนเสื้อแดง อันนี้ผมไม่รู้ว่าถูกหรือผิดนะ แต่มีตัวชี้วัดอย่างหนึ่งว่าตอนที่คนเสื้อแดงรณรงค์ล้อมกรุงเทพฯ (การเคลื่อนเข้ากรุงเทพฯ ของ นปช. เมื่อเดือนมีนาคมปี 2553) ก็คนกรุงเทพฯ ออกมาต้อนรับจำนวนมาก และอีกอันหนึ่งคือ ส.ส. กทม. พรรคเพื่อไทยได้ 10 คนจาก 33 เขต และในแต่ละเขตไม่ได้แพ้การเลือกตั้งขาดแบบภาคใต้ และคะแนนบัญชีรายชื่อใน กทม. ประชาธิปัตย์ 1,277,669 คน เพื่อไทยได้ 1,209,508 คน คือแพ้แค่ 60,000 คะแนน คือเราจะตีขลุมว่าคนกรุงเทพฯ ไม่เข้าใจเรื่องประชาธิปไตยไม่ได้ อีกด้านหนึ่งคือ ประเด็นเรื่องน้ำท่วม ตอนแรกการพูดถึงเรื่องน้ำท่วมคือมีการพยายามบล็อก มีการพยายามบิวด์ที่มาจากฝั่งเสื้อแดงเราไม่ยอมสูญเสียพื้นที่เศรษฐกิจ ซึ่งก็ถูกในเรื่องการจัดการของผู้ว่าฯ กทม. และรัฐบาล แต่เราถามว่า เราจะเอาเรื่องของความเป็นกรุงเทพ กับความเป็นคนกรุงเทพฯ มาชี้วัดตรงนี้ไม่ได้ เราพยายามบอกว่าคนกรุงเทพฯ เห็นแก่ตัว แต่พอน้ำเข้าดอนเมืองปุ๊บ ดอนเมืองกลุ่มฮาร์ดคอร์จะไปรื้อบิ๊กแบ๊ก ดอนเมืองเป็นคนกรุงเทพฯ นะครับ คือเป็นเรื่องปัญหาเฉพาะหน้า เอย่าไปประณามว่าคนกรุงเทพฯ เห็นแก่ตัว มันเป็นเรื่องระบบการเมืองตรงนั้น และเขาไปอยู่ในพื้นที่ๆ มีความสำคัญ จึงไม่ใช่ว่าเสียงส่วนใหญ่ของกรุงเทพฯ จะไม่ทุกข์ร้อนกับน้ำท่วม ถ้าเจอเข้าจริงก็เดือดร้อน พวกเราที่มาฟังเสวนาก็มาเพราะเฟซบุคใช่ไหมครับ ประเด็นที่สามที่ผมจะพูดคือ ความเดือดดาลของปัญญาชนที่เล่นเฟซบุคและสร้างคำว่า "สลิ่ม" ขึ้นมา จะมีปัญหาก็คือ หนึ่ง พวกเราไปเห็นความคิดของคนเล่นเฟซบุคที่เขาอยู่ฝั่งพันธมิตรฯ หรือฝั่งต่อต้านเสื้อแดง แล้วเราไปอธิบายว่านี่คือความเห็นของคนเล่นอินเตอร์เน็ตทั้งหมด ซึ่งใช่ ไม่ใช่ ไม่รู้ แต่ตัวเลขที่ผมนำมาแสดงคือ คนเล่นเฟซบุคชอบประชาธิปัตย์มากกว่าเพื่อไทยจริง แต่จำนวนแพ้กันไม่เยอะ แฟนเพจอภิสิทธิ์มีประมาณ 8 แสนคน ยิ่งลักษณ์ก็มีแฟนเพจ 5 แสนคนทั้งซึ่งเขาเพิ่งมีบทบาทมาไม่ถึงปี ได้ 5 แสนเสียง ขณะที่อภิสิทธิ์กุมมาสองปีก่อนหน้านั้น ในส่วนของแฟนเพจนักกิจกรรม แฟนเพจหนูหริ่ง (สมบัติ บุญงามอนงค์ แกนนอน) อาจน้อยกว่าหมอตุลย์ (นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ กลุ่มเสื้อหลากสี) แต่กิจกรรมที่ทำในทางรูปธรรมก็มีคนมาร่วมมากกว่าหมอตุลย์
เสนอเลิกคำว่า “สลิ่ม” เลิกตีขลุม-เหมารวม ข้อสรุปที่ผมจะเสนอคือ สิ่งหนึ่ง การประณามใครต่อใครที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามว่า "สลิ่ม" ศูนย์วิจัยหมูหลุมขอเสนอให้ยกเลิกคำนี้ไป และมาอธิบายว่าคนที่คุณกำลังเถียงคือใคร คุณกำลังเถียงกับมวลชนพรรคประชาธิปัตย์ ก็ต้องนิยามแบบนั้น คุณกำลังเถียงกับพันธมิตรฯ ก็ต้องเถียงแบบนั้น คุณอย่ามาตีขลุมว่าคนชั้นกลาง คนเล่นอินเตอร์เน็ตเป็นฝ่ายตรงข้ามคุณ ประโยชน์ไม่เกิด ประโยชน์ที่จะเกิดจริงๆ คือ เราอย่าไปผลักคนที่อยู่กลางๆ คนที่ไม่แสดงทัศนคติทางการเมือง เราอย่าผลักเขาเป็นศัตรู เราทำให้เขามาเป็นพวกก็ได้ ในวงการวิชาการ อย่านำเสนอเรื่องที่เป็นเรื่องเชิงประวัติศาสตร์ เชิงโพสต์โมเดิร์น หรือความสัมพันธ์เชิงอำนาจอันซับซ้อน แล้วเอามาอธิบายคนกลุ่มหนึ่ง คือเราต้องทำโพลล์สำรวจที่หลากหลาย เพื่ออธิบายคนกลุ่มหนึ่งๆ เช่น อาจารย์มหาวิทยาลัยจะชอบเสื้อแดงหรือเสื้อเหลือง คนภาคอีสานจะชอบเสื้อแดงหรือเสื้อเหลือง คือต้องมีรายละเอียดปลีกย่อยเยอะมากกว่านี้ มากกว่าที่บอกว่าชนชั้นกลางทั้งหมดเลว คนกรุงเทพฯ เห็นแก่ตัว ในวงการวิชาการน่าจะพอแล้ว และไปลงรายละเอียดมากกว่านี้
000 เอกสารประกอบการนำเสนอโดยศูนย์วิจัยหมูหลุม
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร ทำไม “คนชั้นกลาง-คนกรุงเทพ-สลิ่ม” จึงเป็น “แพะ” อันโอชะ เมนูยอดฮิตแห่งยุคสมัยสำหรับปัญญาชนทวนกระแส หมายเหตุ: บทสรุปสำหรับผู้บริหารประกอบการนำเสนอนี้ตัดทอนและดัดแปลงมาจากส่วนหนึ่งของ “แผนธุรกิจ: เราจะหากินกับกลุ่มคนที่มีทัศนคติทางการเมืองต่างๆ ในสังคมไทยได้อย่างไร” จึงยังไม่ใช่ฉบับที่สมบูรณ์ ศูนย์วิจัยหมูหลุม (Mooloom Intelligence Unit - MIU)
"ว่ากันว่านักเศรษฐศาสตร์รุ่นเดอะคนหนึ่งเคยกล่าวไว้ทำนองว่า “ความรวย (หรือคนรวย) ในประเทศที่ยากจน ยังไงก็เป็นสิ่งที่ผิด” แต่ประเทศไทยแปลกกว่านั้น เพราะดันมาคิดกันว่าการเป็น “ชนชั้นกลาง” เป็นสิ่งที่ผิด" ศูนย์วิจัยหมูหลุม (Mooloom Intelligence Unit - MIU) พฤศจิกายน 2554
บทสรุปผู้บริหาร คำว่า “สลิ่ม” น่าจะเริ่มถูกใช้อย่างจริงจัง มาจากการชุมนุมในเดือน พ.ค. 53 ในความเข้าใจของ MIU น่าจะนำมาอธิบายกลุ่มที่ออกมาแสดงพลังสีขาวหรือแสร้งว่าตนเองเป็นกลางหรือ กลุ่มที่ออกตัวว่าไม่สนใจเรื่องก่อน จากนั้นคำนี้ถูกนำมาใช้อย่างติดปากเรียกฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามเสื้อแดงรวมถึงฝ่ายที่ไม่แสดงตัวว่าสนับสนุนเสื้อแดงเกือบทั้งหมด หมายเหตุ: ส่วนสมัชชาคนจน กลุ่มอนุรักษ์ต่างๆ เป็นข้อยกเว้นในการไม่นำคำว่าสลิ่มมาใช้ทั้งๆ ที่แนวคิดและการแสดงออกทางการเมืองของกลุ่มเหล่านี้อาจเข้าทางกับคำว่า “สลิ่ม” (ในเรื่องของการกั๊ก วางตัวเป็นกลางทางการเมือง) แต่ด้วยมารยาททางสังคมบางประการทำให้ปัญญาชนทวนกระแสไม่สามารถไปกล่าวถึงกลุ่มเหล่านี้ในแง่ลบได้
ทำไมสลิ่ม ชนชั้นกลาง คนกรุงเทพ จึงเป็นเหยื่ออันโอชะของปัญญาชนทวนกระแส คาดว่าเกิดจากอิทธิพลดังนี้ ปัญญาชนทวนกระแสยังติดแนวคิดวรรณกรรมเพื่อชีวิตยุคตุลาที่ปัญญาชนมีหน้าที่โอบอุ้มคนยากจน และผลักชนชั้นกลางออกเป็นฝ่ายตรงข้ามหรือฝ่ายที่ละเลยคนจน สำหรับการประณามคนกรุงเทพนั้น ปัญญาชนทวนกระแสได้ผนวกเอาแนวคิดที่ว่ากรุงเทพเป็นศูนย์กลางที่รุกรานและสูบทรัพยากรจากภูมิภาค (เช่นตัวอย่างเรื่องน้ำท่วม ในระยะแรกมีการประณามคนกรุงว่าเห็นแก่ตัว ไว้ก่อน แต่ในช่วงหลังหันมาพูดเรื่องการบริหารจัดการ) ส่วนในเรื่องการเมืองนั้นก็ผลักให้คนกรุงอันเป็นตัวแทนของคนเมือง อยู่ตรงข้ามกับฝ่ายเสื้อแดงอันเป็นตัวแทนของคนชนบท จุดพีคของการใช้คำว่า “สลิ่ม” ช่วงหลังเลือกตั้ง 2554ปัญหาสาเหตุต่อความเดือดดาลประการสำคัญประการหนึ่งก็คือ การที่ปัญญาชนทวนกระแสไปเจอทัศนะคติที่แย่ๆ ของคนเล่นเฟซบุกจำนวนหนึ่งที่เกลียดคนเสื้อแดง แล้วมีการตีขลุมว่านั่นคือความคิดของชนชั้นกลางทั้งหมด ข้อแนะนำของ MIU สำหรับบุคคลทั่วไปและปัญญาชนทวนกระแส ในการจะประณามใครก็ตามในสังคมไทยในเรื่องการเมือง นิยามกลุ่มทางการเมืองให้เจาะจงลักษณะให้ชัดเจนกว่าเดิม เช่น พวกอนุรักษ์นิยม พวกประชาธิปัตย์ พวกพันธมิตร เป็นต้น คนอ่านหรือคนฟังเราจะได้รู้ว่าเราด่าหรือประณามใครอย่างชัดเจน ในวงการวิชาการ ต้องมีการพยายามหาตัวชี้วัดในมิติต่างๆ ให้มากกว่าเดิม ในการอธิบายเรื่องรสนิยมทางการเมืองของคนกลุ่มต่างๆ ในสังคมไทย พรรคเพื่อไทยและกลุ่มเสื้อแดงต้องนำชนชั้นกลางมาเป็นพวกให้ได้มากที่สุด แล้วแต่วิธีการใดๆ ก็ตาม แต่อย่าผลักชนชั้นกลางไปเป็นฝ่ายตรงข้าม
ข้อมูลเศษเสี้ยวว่าด้วยเรื่องนานาจิตตัง เกี่ยวกับ ชนชั้นกลาง สมรภูมิเฟซบุก
ที่มา: http://www.checkfacebook.com/ (เข้าดูเมื่อ 22 พ.ย. 2554)
ที่มา: http://www.checkfacebook.com/ (เข้าดูเมื่อ 22 พ.ย. 2554) เพจ กลุ่ม และอื่นๆ เกี่ยวกับนักการเมือง, พรรคการเมือง, นักกิจกรรม และกลุ่มกิจกรรมทางการเมืองที่น่าสนใจบนเฟซบุก (จากการเข้าดูเมื่อ 29 พ.ย. 54) คนกรุงเทพฯ กับการเลือกตั้ง คนกรุงเทพฯ เลือกปาร์ตี้ลิสต์พรรคประชาธิปัตย์ 1,277,669 คน เลือกพรรคเพื่อไทย 1,209,508 คน ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 4,260,951 คน *สัดส่วนของผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งที่ต่ำกว่ากรุงเทพฯ ศรีสะเกษ ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 71.62% | บึงกาฬ ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 71.56% | พิจิตร ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 71.29% | บุรีรัมย์ ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 71.23% | สุรินทร์ ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 70.77% | ร้อยเอ็ด ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 70.28% | นครพนม ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 69.86% | สกลนคร ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 69.28% | อุดรธานี ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 69.21% | หนองบัวลำภู ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 69.07% | หนองคาย ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 68.59% ตารางแสดงผลคะแนนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อในพื้นที่กรุงเทพมหานคร วันที่ 3 กรกฎาคม 2554
สถิติอื่นๆ ที่น่าสนใจ สถิติเกี่ยวกับแรงงาน จำนวนผู้ประกันตนภาคบังคับ (มาตรา 33) ปี 2545 – 2554
ที่มา: สำนักงานประกันสังคม ผู้ยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ที่เปิดเผยในปี พ.ศ. 2553 พบว่าจำนวนผู้เสียภาษีของประเทศ โดยเฉพาะภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากที่ประเทศไทยมีประชากร 64 ล้านคน แต่มีผู้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเพียง 9-10 ล้านคน และในจำนวนนี้มีผู้ที่ต้องจ่ายเงินภาษีจริงเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้น (เพราะเมื่อหักค่าลดหย่อนต่างๆ แล้ว ทำให้คนส่วนหนึ่งมีรายได้ไม่เกิน 20,000 บาทต่อปี จึงไม่ต้องมีภาระเสียภาษี)
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กับ กรมสรรพากร จำนวนกรมจำนวนกรมธรรม์ประกันชีวิต
ที่มา: สมาคมประกันชีวิตไทย 000
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
นักข่าวพลเมือง: วิกฤติเด็กไทยติดพนันบอล อุบลฯแชมป์ภูมิภาคเล่นพนัน Posted: 04 Dec 2011 08:05 AM PST เมื่อวันที่ 3-4 ธ.ค. 54 ที่ผ่านมาศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี โครงการ “สื่อสารสาธารณะเพื่อขับเคลื่อนสังคมปลอดพนัน” ภายใต้มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สื่อสร้างสุขอุบลราชธานี มูลนิธิประชาสังคม และมูลนิธิสื่อเพื่อเยาวชน จัดกิจกรรมอบรมผลิตสกู๊ปข่าวให้กับเด็กและเยาวชนในพื้นที่ จ.อุบลฯเพื่อให้ผู้เข้าร่วมฝึกทำสกู๊ปข่าวนำเสนอต่อสาธารณะชนได้ และให้พวกเขาเองได้รับรู้ถึงสถานการณ์ความรุนแรงจากการติดพนันฟุตบอลด้วย คุณชัฏสรวง หลวงพล ผู้จัดการโครงการฯ เปิดเผยว่า ข้อมูลจากการสำรวจของ ดร.วิษณุ วงศ์สินศิริกุล พบว่า การพนันออนไลน์ในปัจจุบันเป็นธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วมาก เฉลี่ยร้อยละ 20 ต่อปี และพบว่า การพนันทางอินเทอร์เน็ตกำลังได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วมาก โดยเฉพาะการพนันฟุตบอลออนไลน์ ซึ่ง จ.อุบลราชธานี กลายเป็นจังหวัดที่มีสถิติการเล่นพนันออนไลน์และการจับกุมการพนันในปริมาณที่สูงกว่าจังหวัดอื่นๆ โดยรอบ ซึ่งหากเข้าสู่ฤดูกาลแข่งขันฟุตบอลนัดสำคัญๆ เช่น ฟุตบอลยูโร ที่กำลังจะมาถึงนี้ จำนวนผู้เล่นจะสูงขึ้น รวมไปถึงปริมาณเงินหมุนเวียนในวงพนันที่จะสูงขึ้นอย่างมหาศาลซึ่งหลังจากจบเวทีในวันนี้ จะได้นำข้อคิดเห็นที่ได้จากผลงานสกู๊ปข่าวของเยาวชน รวมเข้ากับข้อเสนอของสื่อมวลชนที่มาเข้าร่วมงาน แล้วนำเสนอไปยังนายกรัฐมนตรีต่อไป นายพิริยะ ทองสอน จากมูลนิธิสื่อเพื่อเยาวชน กล่าวว่า การปราบปรามบ่อนการพนัน โต๊ะพนันบอล รวมถึงร้านพนันออนไลน์ในปัจจุบันเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะกฎหมายที่ใช้ในการจับกุมเขียนมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2478 ซึ่งการพนันที่ระบุไว้ในกฎหมายนั้นปัจจุบันไม่มีให้เห็นแล้ว แต่การพนันที่เขาเล่นในปัจจุบันกลับไม่ถูกระบุอยู่ในกฎหมาย ทำให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถเอาผิดเจ้าของกิจการเช่น บ่อนออนไลน์ได้ และส่วนหนึ่งเกิดจากการรับส่วยทั้งในวงการตำรวจและผู้บริหารระดับสูงในพื้นที่ จึงมีการปล่อยปละละเลยเรื่อยมา ฉะนั้นทางที่ดีควรมีการผลักดันกฎหมายฉบับใหม่ที่มีความทันสมัย ครอบคลุมการกระทำผิดในรูปแบบใหม่ และต้องบังคับใช้อย่างจริงจังด้วย นายดำ หนึ่งในเยาวชนที่เคยติดพนันบอล กล่าวว่า ตนเองเคยหลงเข้าไปอยู่ในวงการพนันบอลเพราะอยากเป็นเจ้าพ่อ มีเงิน มีอำนาจ แต่กลับพบว่าหลังจากเล่นเสียมากขึ้น มันกลับทำให้ชีวิตแย่ลง กลายเป็นหนี้ตั้งแต่อายุยังน้อย จึงคิดว่าควรจะหยุดซึ่งขณะนี้ได้เลิกเล่นแล้ว และอยากฝากถึงเพื่อนเยาวชนที่ทั้งอยู่ในวงการและกำลังจะเข้าไปให้คิดดีๆก่อน เพื่อคนรอบข้างอันเป็นที่รักจะได้ไม่เสียใจ สำหรับการอบรมใช้เวลาทั้งหมดวันครึ่ง โดยมีการฝึกผู้เข้าร่วมที่มาจากสถาบันการศึกษาต่างๆในจังหวัดอุบลราชธานีราว 18 คน เช่น ม.อุบลราชธานี ม.ราชภัฎอุบลราชธานี และน้องๆระดับมัธยมศึกษาและประถมศึกษาอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งทั้งหมดจะได้เรียนรู้การทำสกู๊ปข่าวแบบปฏิบัติการจริง ลงมือหาข่าวจริง ทำให้ผู้เข้าร่วมเกิดความสนใจเป็นอย่างมาก โดยทุกกลุ่มใช้ความมุ่งมั่นผลิตชิ้นงานบางกลุ่มจนถึงเวลา 3 นาฬิกา เพื่อนำเสนอผลงานในตอนเช้า จากการนำเสนอผลงานของทั้ง 3 กลุ่มแสดงให้เห็นว่า ผู้เข้าร่วมมีความเข้าใจในประเด็นที่ผู้จัดกำหนดไว้ได้เป็นอย่างดี และสามารถเข้าใจต่อสถานการณ์การพนันในพื้นที่ของตัวเองได้อย่างลึกซึ้ง และจะนำข้อมูลรวมถึงประสบการณ์ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยดึงเพื่อนที่รู้จักและกำลังจะเข้าไปอยู่ในวงการพนันให้ห่างออกมา อาจเป็นในรูปแบบนำเสนอผลงานที่ทำแล้วและอยากจะทำผ่านสื่อออนไลน์ไปถึงเพื่อนๆของพวกเขา สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "112" Posted: 04 Dec 2011 06:25 AM PST | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
นายกฯ ขออภัยโทษ หลังทีมงานโพสต์เฟซบุ๊กผิดเป็นรูป ร.8 Posted: 04 Dec 2011 05:27 AM PST โฆษกรัฐบาลเผยกรณีทีมงานเฟซบุ๊กนายกฯ ผิดพลาด โพสต์ข้อความ 5 ธันวา แต่ภาพประกอบเป็นพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 8 เร่งทำหนังสือกราบบังคมทูลอภัยโทษด่วนแล้ว 4 ธ.ค. 54 - สำนักข่าวไอเอ็นเอ็นรายงานว่านางฐิติมา ฉายแสง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผย สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น.ว่า จากกรณีที่ทีมงานเฟซบุ๊กของนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความว่า 5 ธันวา รวมพลังคนไทย รวมหัวใจถวายพระพรชัยมงคล แต่ภาพประกอบ กลับเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลฯ (รัชกาลที่ 8) ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์นั้น ซึ่งล่าสุดทาง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เร่งทำหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานอภัยโทษแล้ว ทราบว่าทาง นายกรัฐมนตรีจะส่งหนังสือให้กับเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กราบบังคมทูลโดยด่วนแล้ว สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ขวัญชัยฯ นำเสื้อแดงร่วมเทิดพระเกียรติ 5 ธ.ค. ที่สนามหลวง Posted: 04 Dec 2011 04:46 AM PST 'ขวัญชัย' นำแถลงข่าว 'เสื้อแดง' อีสาน 1,800 คน เข้าร่วมงานเทิดพระเกียรติ 5 ธันวาฯ ที่สนามหลวง 4 ธ.ค. 54 - เว็บไซต์คมชัดลึกรายงานว่าเวลา 15.30 น.วันที่ 4 ธ.ค.54 ที่อาณาจักรคนเสื้อแดง สถานีวิทยุชมรมคนรักอุดร 97.5 เมกกะเฮิร์ต บ้านหนองลีหู ต.สามพร้าว อ.เมือง นายขวัญชัย สาราคำ หรือ ไพรพนา ประธานชมรมคนรักภาคอีสาน และ ประธานชมรมคนรักอุดร แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน กรณีจะนำคนเสื้อแดง 20 จังหวัดภาคอีสาน เดินทางไปร่วมพิธีจุดเทียนชัย ถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสวันเฉลิมพระชนม์พรรษา 7 รอบ 84 พรรษา ที่ท้องสนามหลวง ในคืนวันที่ 5 ธันวาคม นายขวัญชัย กล่าวว่า จากเดิมที่ชมรมคนรักอุดร และ ชมรมคนรักภาคอีสาน 20 จังหวัด มีมติร่วมกันเป็น “แดงรักเจ้า” และจะร่วมกันจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยการจัดกิจกรรมแรลลี่ขี่รถจักรยานยนต์ 8,400 คัน ปลูกต้นไม้ ทั่วทั้งจังหวัด เป็นการถวายความจงรักภักดี แต่ต้องเปลี่ยนแปลงการจัดงาน ด้วยการนำคนเสื้อแดงจากภาคอีสานทั้ง 20 จังหวัด 1,800 คน เดินทางเข้าไปร่วมถวายพระพร ร่วมกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ท้องสนามหลวงแทน เนื่องจากมีข่าวว่าจะมีผู้ไม่หวังดีกับคนเสื้อแดงเข้ามาแทรกซึมการจัดกิจกรรมเพื่อทำลายคนเสื้อแดงของพวกเรา นายขวัญชัยฯ กล่าวว่า เขาในนามประธานชมรมคนรักภาคอีสาน 20 จังหวัด ได้นัดกับประธานคนเสื้อแดงทั้งภาคอีสาน ทำการจัดเตรียมรถบัสรวม 30 คัน นำคนเสื้อแดง 1,800 คน ไปที่ท้องสนามหลวง กรุงเทพฯ เพื่อแสดงความจงรักภักดี ทั้งนี้ ที่ผ่านมาเราร่วมกันเรียกร้องประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มาอย่างยากลำบาก จนได้ประชาธิปไตยกลับคืนมาในวันที่ 3 กรกฎาคม ที่มีการจัดการเลือกตั้ง ดังนั้นเมื่อถึงวันที่ 5 ธันวาคม ที่เป็นวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระชนมายุ 84 พรรษา พวกเราจึงต้องออกมาแสดงให้คนทั่วโลกรู้ว่า คนเสื้อแดงมึความจงรักภักดีอยู่ในสายเลือดและจิตวิญญาณ “ที่ผ่านมาเราถูกฝ่ายตรงข้ามกล่าวหาว่า ไม่จงรักภักดี วันนี้ จึงต้องออกมาแสดงให้ประชาชนทั่วประเทศเห็นว่า คนเสื้อแดงไม่เคยที่จะดึงฟ้าต่ำ นี่คือสิ่งที่เราต้องมารวมตัวกันแสดงความจงรักภักดี ไม่ใช่แต่คนเสื้อแดงภาคอีสานเท่านั้น พี่น้องเสื้อแดงจากทุกภาค ก็จะลงมาร่วมแสดงความจงรักภักดีด้วยเช่นกัน "นายชวัญชัยกล่าว ทั้งนี้ ขบวนรถบัสของคนเสื้อแดงแต่จะจังหวัดจะออกเดินทางจากจุดต่างๆ และพบกันที่ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา โดยกิจกรรมในช่วงเวลากลางวัน พร้อมจะแสดงจิตอาสา เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ที่กรุงเทพฯ ก่อนที่เดินทางมาร่วมงานถวายพระพรชัยฯ ที่ท้องสนามหลวงในช่วงเย็น เพื่อร่วมทำพิธี ก่อนจะแยกย้ายกันเดินทางกลับ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
นายกต่อต้านโลกร้อนหยัน ศปภ. แน่จริงอย่ายุบหนีคดีเอาตัวรอด Posted: 04 Dec 2011 02:46 AM PST ศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ระบุแม้จะใช้เล่ห์หนีไปอยู่ในหน่วยงานใดก็จะตามไปฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายให้ชาวบ้านทุกราย ฐานกระทำการในทางละเมิดบริหารจัดการน้ำท่วมผิดพลาดล้มเหลวสร้างความเดือดร้อนเสียหายแก่ประชาชน นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน 4 ธ.ค. 54 - นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน เปิดเผยว่า ปัจจุบันสถานการณ์น้ำท่วมยังไม่คลี่คลาย ชาวบ้านในหลายพื้นที่ยังทนทุกข์ทรมานน้ำท่วมขังอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ท้องทุ่ง ห่างไกลถนน ในชุมชน หมู่บ้านจัดสรร ในจังหวัดอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม ทั้งฝั่งตะวันตก ฝั่งตะวันออก และฝั่งเหนือของกรุงเทพมหานคร แต่ทว่าหลายหน่วยงานในศูนย์อำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) เริ่มทยอยถอนตัวออกจาก ศปภ.แล้ว และมีแนวโน้มที่จะเร่งปิดศูนย์ดังกล่าวให้ได้โดยเร็ว โดยอ้างว่าโดยอ้างว่าสถานการณ์น้ำท่วมคลี่คลายไปแล้ว ในขณะที่ชาวบ้านจำนวนมากยังไม่สามารถเข้าบ้านของตนเองได้ ยังอยู่ในศูนย์อพยพ ยังขาดไร้ซึ่งข้าวปลาอาหาร เครื่องอุปโภค บริโภค และน้ำดื่ม ฯลฯ “การพยายามออกมาสร้างข่าวว่าสถานการณ์น้ำท่วมคลี่คลาย เพื่อต้องการที่จะปิดศูนย์หนีไปโดยเร็วนั้น คงคิดว่าจะได้ไม่ต้องรับผิดชอบต่อความผิดพลาดล้มเหลวในการบริหารจัดการน้ำท่วมที่ผ่านมาของหน่วยงานตน จนชาวบ้านกว่า 58 จังหวัดต้องเดือดร้อนและเสียหาย ตกงาน สิ้นเนื้อประดาตัว หรือสูญเสียทรัพย์สินและค่าใช้จ่ายในการหนีน้ำท่วมกันเป็นจำนวนมากนั้น คงไม่สามารถหนีไปอยู่หน่วยงานไหนให้ไม่พ้นผิดไปได้ เพราะถือว่า “ความผิดสำเร็จแล้ว” ผู้ที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและหรือหน่วยงานทางปกครองที่เกี่ยวข้องทุกคนทุกหน่วยงานต้องรับผิดชอบตามผลของความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำหรือละเว้นการกระทำของตนเอง ตามพรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 และพรบ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 และแม้ ศปภ.จะเร่งปิดศูนย์ไปอย่างไรก็ตาม สมาคมฯก็จะตามไปฟ้องร้องจนถึงที่สุดเป็นรายบุคคลหรือหน่วยงาน ต่อศาลปกครองในเร็ว ๆ นี้อย่างแน่นอน และศปภ.หากแน่จริงเมื่อบริหารจัดการน้ำท่วมผิดพลาด ก็ต้องรออยู่สู้คดีและรับผิดชอบการกระทำของตัวเอง จึงจะถือว่าเป็นลูกผู้ชายจริง” นายศรีสุวรรณ กล่าวในที่สุด สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 26 พ.ย. - 2 ธ.ค. 2554 Posted: 04 Dec 2011 01:08 AM PST ตกงานพุ่งเกือบล้านหนี้ต่อหัวกระฉูด นางสุวรรณี คำมั่น รองเลขาธิการ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) เปิดเผยว่า ภาวะน้ำท่วมจะทำให้การว่างงานในไตรมาส 4/54 อยู่ที่ 1.8-2.3% หรือมีผู้ว่างงานประมาณ 7.3-9.2 แสนคน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากช่วง 9 เดือนแรกปีนี้ ที่อัตราการว่างงานอยู่ที่ 0.7% หรือมีผู้ว่างงาน 2.62 แสนคน แต่การว่างงานดังกล่าวจะเป็นผลกระทบระยะสั้น ในช่วงที่สถานประกอบการถูกภาวะน้ำท่วม และอยู่ในช่วงของการปรับตัวภายหลังจากน้ำลด “ในไตรมาส 4 คาดว่าการว่างงานจะเพิ่มขึ้นถึง 1% หรือ 2% ก็อาจเป็นไปได้ แต่เป็นเรื่องชั่วคราว ไม่ใช่ระยะยาว ในช่วงที่สถานประกอบการกำลังปรับตัวจากเรื่องของอุทกภัย” ไทยยังคงเผชิญอุทกภัยครั้งรุนแรงที่สุดในรอบ 50 ปี โดยภาวะน้ำท่วมเริ่มขึ้นตั้งแต่ ปลายเดือน ก.ค. จากนั้นขยายวงไปหลายจังหวัดรวมถึงกรุงเทพฯ ซึ่งภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบอย่างมากต่อภาคอุตสาหกรรม และทำให้นิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ 7 แห่ง ใน จ.พระนครศรีอยุธยา และ จ.ปทุมธานี ต้องหยุดดำเนินการชั่วคราว นางสุวรรณี กล่าวว่า ภาวะอุทกภัยจะส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานถึงสิ้นปี 54 และในบางพื้นที่อาจต่อเนื่องถึงช่วงต้นในไตรมาสแรกของปี 55 โดยการจ้างงานจะลดลงชั่วคราว ทั้งในภาคการผลิต ภาคบริการ และแรงงานที่ประกอบอาชีพอิสระ ขณะที่การฟื้นฟูโรงงานหรือเครื่องจักรอาจต้องใช้เวลา 1-3 เดือน แต่บางส่วนของอุตสาหกรรมรถยนต์และอิเล็กทรอนิกส์อาจต้องใช้เวลาฟื้นฟูถึง 6 เดือน ส่วนผลกระทบต่อตลาดแรงงานในไตรมาส 1 ของปีหน้าจะขึ้นอยู่กับมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐในการฟื้นฟูภาคธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะในส่วนของภาคบริการและการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก แต่เชื่อว่าเมื่อสถานประกอบการฟื้นตัวการว่างงานที่เกิดขึ้นชั่วคราวก็จะลด ลง อย่างไรก็ตาม ระบุว่า ยังมีประเด็นปัจจัยเสี่ยงที่จะกระทบต่อตลาดแรงงานในระยะต่อไป คือความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจถดถอยในยุโรปและสหรัฐ และผลกระทบในระยะการปรับตัวของการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในปีหน้าต่อความ ต้องการแรงงาน ซึ่งในระยะยาวมีแนวโน้มว่าภาคอุตสาหกรรมจะปรับลดความเข้มข้นของการใช้แรงงาน ลง นอกจากนี้สภาพัฒน์ยังคาดว่าหนี้สินภาคครัวเรือนในช่วงปลายปีนี้ยังมีแนวโน้ม สูงขึ้น เนื่องจากการว่างงานที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้รายได้ของแรงงานลดลง ขณะที่ค่าใช้จ่ายเพื่อการครองชีพเพิ่มขึ้น ทั้งในช่วงน้ำท่วมและในระยะการฟื้นฟูหลังน้ำลด อีกทั้งเงินออมที่มีอยู่ก็จะถูกดึงมาใช้จ่ายในช่วงนี้มากขึ้น โดยหนี้สินครัวเรือนในช่วงครึ่งแรกปี 54 อยู่ที่ 1.37 แสนบาท/ครัวเรือน (บ้านเมือง, 29-11-2554) แรงงานหนีน้ำท่วมแห่ทำโรงงานเย็บผ้าพิจิตร นายชาติชาย เจียมศรีพงษ์ นายก อบจ.พิจิตร ได้นำข้าวสารบรรจุถุงพร้อมต้นกล้าพันธุ์ผักโตเร็ว จำนวนมาก ไปมอบให้กับหนุ่มสาวผู้ใช้แรงงาน หลังจากที่ทราบข่าวความเดือดร้อนของผู้ใช้แรงงานว่า ต้องประสบกับภัยน้ำท่วม แล้วอพยพมาจากนิคมอุตสาหกรรมจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร มาทำงานในโรงงานเย็บผ้าใน จ.พิจิตร มากกว่า 1,500 คน โดยผู้ที่อพยพหนีน้ำท่วมมามีเพียงเสื่อผืนหมอนใบ เหตุเป็นเพราะเก็บของหนี้น้ำไม่ทัน จึงทำให้เดือดร้อน อบจ.พิจิตร จึงได้เข้าไปช่วยเหลือดังกล่าว ทางด้าน นางพลอยนิศา มิตรเอี่ยม ผู้จัดการฝ่ายการผลิตของบริษัทนันยางการ์เม้นท์ จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าเพื่อการส่งออก ได้เปิดเผยว่า ถ้าผู้ใช้แรงงาน ต้องการมาทำงานในต่างจังหวัด ขณะนี้ยังต้องการคนงานอีกมาก และให้ค่าแรงรวมถึงสวัสดิการที่พัก-รถรับส่ง ค่ารักษาพยาบาล และอื่นๆ เทียบเท่ากับโรงงานในกรุงเทพฯ ดังนั้นตอนนี้ยังต้องการคนงานอีก 500 คน ถ้าไม่เลือกงานรับรองได้ว่า ยังมีตำแหน่งงานว่างในฝ่ายผลิต ที่พร้อมจะให้ทำงานได้ สนใจสมัคร โทร 056-611615 , 081-6441646 (ไอเอ็นเอ็น, 29-11-2554) ผู้ประกอบการเตรียมส่งลูกจ้างไปทำงานที่ญี่ปุ่นชั่วคราว สกลนคร 29 พ.ย. - ตัวแทนสถานประกอบการในเขตนิคมอุตสาหกรรมนวนคร ลงพื้นที่ จ.สกลนคร เตรียมช่วยเหลือลูกจ้าง โดยจัดส่งไปปฏิบัติงานที่ประเทศญี่ปุ่นชั่วคราว นางพัชราวัลย์ ว่องชิงชัย ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ทอสเท็มไทย จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทฯ ดำเนินการเกี่ยวกับการทำวงกบอะลูมิเนียม มีเนื้อที่โรงงานมากกว่า 400 ไร่ แต่เนื่องจากบริษัทฯ ประสบปัญหาอุทกภัยมาตั้งแต่เดือน ต.ค.ที่ผ่านมา ระดับน้ำสูงกว่า 2 เมตร ทำให้เครื่องจักรกลหนักได้รับความเสียหาย ส่งผลให้สถานประกอบการไม่สามารถเปิดทำการได้ และทำให้พนักงานส่วนใหญ่ซึ่งมีอยู่มากกว่า 5,000 คน ต้องตกอยู่ในภาวะว่างงาน ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ ดังนั้น ทางบริษัทฯ จึงหามาตรการช่วยเหลือลูกจ้าง โดยจัดส่งไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นการชั่วคราว ตามแนวทางและมาตรการการช่วยเหลือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลญี่ปุ่น ทั้งนี้ ตั้งเป้าช่วยเหลือแรงงานเดินทางไปทำงานที่ญี่ปุ่น รวมทั้งสิ้น 2,000 คน โดยจะเริ่มเดินทางระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2554 ไปจนถึงวันที่ 24 มกราคม 2555 โดยแรงงานจะต้องทำงานที่ญี่ปุ่นนาน 3-6 เดือน. (สำนักข่าวไทย, 29-11-2554) แรงงานชี้น้ำท่วมตกงานไม่ถึงล้านยอดแค่แสนราย นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า รวบรวมข้อมูลตำแหน่งงานว่างไว้ในรูปแบบของเลเบอร์แบงก์เพื่อรองรับแรงงาน ประสบภัยน้ำท่วมที่ถูกเลิกจ้างและแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานนั้น ขณะนี้รวบรวมตำแหน่งงานว่างได้แล้ว 147,365 อัตราแบ่งเป็นตำแหน่งในประเทศ 131,356 อัตรา ซึ่งในจำนวนนี้เป็นตำแหน่งงานที่จ้างงานได้ทันทีใน 4 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา จำนวนทั้งหมด 28,456 อัตรา และตำแหน่งงานในต่างประเทศ 16,000 อัตรา ส่วนการจัดทำเลเบอร์แบงก์นั้น ขณะนี้จัดทำข้อมูลตำแหน่งงานว่างได้แล้ว 56,383 อัตรา ซึ่งก็ได้มีแรงงานประสบภัยน้ำท่วมที่ถูกเลิกจ้าง 8,075 คนจากที่มีอยู่ในเวลานี้ 9,500 คน มายื่นความจำนงขอให้จัดหาตำแหน่งงานรองรับ ซึ่ง กกจ.ได้นำข้อมูลมาจับคู่กับตำแหน่งงานและสถานประกอบการไว้แล้ว คาดว่าจะเข้าทำงานได้หลังเดือน ม.ค.2555 ผมคิดว่ากรณีผลประเมินของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ (สศช.) ที่คาดการณ์ไว้ว่าในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้จะมีอัตราว่างงานอยู่ที่ 7.8-9.2 แสนคนนั้นคงเป็นเพราะ สศช.นำเอาตัวเลขแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วมมารวมกับตัวเลขผู้ว่างงานตามฤดูกาล มารวมกัน ทำให้ตัวเลขผู้ว่างงานสูงมาก กระทรวงแรงงานคาดการณ์ว่าแรงงานประสบภัยน้ำท่วมมีแนวโน้มเสี่ยงถูกเลิกจ้าง ประมาณ 1 แสนคน แต่เวลามีตำแหน่งงานว่างอยู่กว่า 1.4 แสนอัตรา จึงไม่น่าห่วงเรื่องการว่างงาน นายประวิทย์ กล่าว ด้าน นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) กล่าวว่า ขณะนี้สังคมกำลังเข้าใจผิดคิดว่าแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วมกว่า 1 ล้านคนเป็นผู้ที่ตกงาน แต่จริงๆ แล้วแรงงานกลุ่มนี้เพียงแค่หยุดทำงานชั่วคราวเท่านั้น (กรุงเทพธุรกิจ, 30-11-2554) โฮย่าลำพูน ประกาศเลิกจ้างคนงานหลังใช้ ม.75 1 ธ.ค. 54 - สหภาพแรงงานอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าสัมพันธ์ เปิดเผยว่า วันนี้ (1 ธ.ค. 54) บจก.โฮยา กลาสดิสค์ (ประเทศไทย) นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จ.ลำพูน ได้ประกาศว่าจะเลิกจ้างคนงานเกือบ 2,000 คน หลังจากที่ประกาศใช้มาตรา 75 มาตั้งแต่วันที่ 11 พ.ย. 54 โดยได้แจ้งกับสหภาพแรงงานว่าจะเปิดเป็นโครงการเลิกจ้างโดยสมัครใจ จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายและบวกอีก 25% ส่วนเหตุผลในการเลิกจ้างครั้งนี้บริษัทระบุว่าเนื่องจากการขาดทุนมาอย่างต่อ เนื่องตั้งแต่เดือน เม.ย. 54 กอปรกับปัญหาอุทกภัย โดยจะส่งจดหมายเลิกจ้างนี้ไปให้คนงานที่บ้าน แต่ทางสหภาพแรงงานฯ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อปี 2553 บริษัทยังมีกำไรอยู่ และเหตุการณ์น้ำท่วมนั้นก็ท่วมที่โรงงานของโฮย่าใน จ.อยุธยา ทั้งนี้ทางสหภาพแรงงานฯ จะปรึกษาหารือกันก่อนว่าจะดำเนินการอย่างไรกับการเลิกจ้างครั้งนี้ เบื้องต้นในวันพรุ่งนี้ (2 ธ.ค. 54) เวลา 10.00 น. จะเดินทางไปยื่นหนังสือที่แรงงานจังหวัดลำพูนก่อน (ประชาไท, 1-12-2554) ครม.ไฟเขียวร่างแผนยุทธศาสตร์ดูแล'แรงงานนอกระบบ'จูงใจสมัครประกันสังคม นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบร่างแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2555-2559 ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอโดยมีเป้าหมายเพื่อให้แรงงานนอกระบบได้รับการคุ้ม ครองมีหลักประกันทางสังคมนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งประกอบด้วย3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1.ขยายขอบเขตการคุ้มครองและสร้างหลักประกันทางสังคม เช่น ให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) ฉบับที่ 87 และ 98 การเข้าถึงระบบการจัดบริการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน 2.เสริมสร้างองค์ความรู้และพัฒนาสมรรถนะแรงงานนอกระบบเพื่อขยายโอกาสการ มีงาน เช่น การส่งเสริมการมีงาน มีมาตรฐานสมรรถนะสูงขึ้น และ3.เพิ่มสมรรถนะการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ เช่น มีองค์กรหลักในการบริหารจัดการด้านแรงงานนอกระบบ มีระบบข้อมูลและสารสนเทศด้านแรงงานนอกระบบสนับสนุนการทำงาน ทั้งนี้ จะตั้งคณะกรรมการแรงงานนอกระบบแห่งชาติซึ่งมีนายกรัฐมนตรีหรือผู้ที่นายก รัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน รมว.กระทรวงแรงงานเป็นเลขานุการและมีอนุกรรมการด้านต่างๆ เพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้เกิดผลในทางปฏิบัติ "ปัจจุบันมีแรงงานทั้งหมดกว่า 38 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นแรงงานนอกระบบ เช่น ผู้ที่ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง แม่ค้ามีอยู่กว่า 24 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 62 จากแรงงานทั้งหมด อย่างไรก็ตาม มาตรการดูแลแรงงานนอกระบบโดยสนับสนุนให้เข้าสู่ประกันสังคม มาตรา 40 ยังไม่จูงใจแรงงานนอกระบบเท่าที่ควร ดังนั้น ผมจะหารือกับสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ประกันสังคม มาตรา 40 รวมทั้งปรับสัดส่วนการจ่ายเงินสมทบซึ่งปัจจุบันมี2 รูปแบบ คือ จ่ายเดือนละ 100 บาท และเดือนละ 150 บาท โดยเฉลี่ยรัฐจ่ายร้อยละ 30 และแรงงานจ่ายร้อยละ 70 ก็จะหาแนวทางปรับสัดส่วนเป็นร้อยละ 50 ต่อ 50" รมว.กระทรวงแรงงาน กล่าว นายเผดิมชัย กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกัน ครม.ยังได้มีมติเห็นชอบร่างแผนแม่บทความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2555-2559) ซึ่งเป็นร่างแผนที่จัดขึ้นตาม พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 ซึ่งประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ได้แก่ 1.การเสริมสร้างการคุ้มครองแรงงานตามมาตรฐานความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน 2.การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพเครือข่ายด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพ แวดล้อมในการทำงาน 3.การจัดการองค์ความรู้ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน 4.การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม ในการทำงาน และ 5.การพัฒนากลไกการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีประสิทธิภาพ (แนวหน้า, 2-12-2554) สหภาพแรงงานแรงงานโฮย่าร้องสำนักงานสวัสดิการฯ ลำพูน เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 54 ที่ผ่านมา นายอัครเดช ชอบดี ประธานสหภาพแรงงานอิเล็ครอนิคและอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์ ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดลำพูน โดยมีเนื้อหาดังนี้ เนื่องจากบริษัทโฮยากลาสดิสค์ (ประเทศไทย) จำกัด จะมีการเลิกจ้างพนักงานโรงงาน 2 โดยได้ให้เหตุผลตามประกาศว่า บริษัทฯประสบสภาวะขาดทุน และ สถานการณ์น้ำท่วมในประเทศไทย ทำให้บริษัทฯต้องดำเนินการเลิกจ้างดังกล่าว (ประชาไท, 2-12-2554)
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สหภาพฯ โฮย่ายื่นหนังสือถึงนายกผ่าน กมธ.แรงงาน Posted: 04 Dec 2011 12:07 AM PST สหภาพแรงงานอิเลคทรอนิคส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์ยื่นหนังสือถึงนายผ่าน 'สถาพร มณีรัตน์' กรรมาธิการแรงงาน ส.ส.พรรคเพื่อไทย ระบุการเลิกจ้างครั้งนี้ไม่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ไม่สนับสนุนการเลิกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม 4 ธ.ค. 54 - เมื่อเวลา 9.00 น. ที่นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จ.ลำพูน สหภาพแรงงานอิเลคทรอนิคส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์ ได้ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีโดยผ่านนายสถาพร มณีรัตน์ กรรมาธิการแรงงาน ส.ส.พรรคเพื่อไทย เพื่อให้ติดตามและลงมาดูแลเกี่ยวกับกรณีการประกาศเลิกจ้างพนักงานกว่าสองพันคน โดยบริษัทอ้างเรื่องการขาดทุนและเหตุการณ์อุทกภัยในภาคกลาง รายละเอียดของจดหมายถึงนายกรัฐมนตรีมีดังต่อไปนี้ .......... ที่ สออส. 014 / 2554 วันที่ 4 ธันวาคม 2554 เรื่อง การเลิกจ้างพนักงานบริษัท โฮยากลาสดิสค์ อย่างไม่เป็นธรรม เรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สิ่งที่ส่งมาด้วย ประกาศบริษัทฯ สถานการณ์บริษัทฯ และการเลิกจ้างพนักงาน 3 ฉบับ เนื่องจากบริษัทโฮยากลาสดิสค์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้มีการเลิกจ้างพนักงานโรงงาน 2 โดยได้ให้เหตุผลตามประกาศว่า บริษัทฯประสบสภาวะขาดทุนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือน เมษายน 2554 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน และประกอบกับสถานการณ์น้ำท่วมในประเทศไทย ทำให้บริษัทได้รับผลกระทบ จึงจำเป็นต้องเลิกจ้างพนักงานฝ่ายผลิตโรงงาน-2 ทั้งหมด และ พนักงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการผลิตโดยตรงของโรงงาน2 ที่มีอัตรากำลังพลเกินความจำเป็น จากการประกาศเลิกจ้างพนักงานดังกล่าว สหภาพแรงงานอิเลคทรอนิคส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์( สออส.) เห็นว่ามีความไม่เป็นธรรมเกิดขึ้น ดังนี้ 1) เป็นการเลิกจ้างพนักงานจำนวนมาก ประมาณเกือบ 2,000 คน โดยเลือกทำการเลิกจ้างเฉพาะพนักงานโรงงานที่ 2 ซึ่งในโรงงานดังกล่าวมีสมาชิกสหภาพแรงงานอยู่เป็นจำนวนมาก 2) ตัวเลขผลกำไรของบริษัทฯที่ผ่านมาล่าสุดปี 2553 มีกำไรที่ 591 ล้านบาท จากข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ แต่บริษัทฯอ้างว่าดำเนินการขาดทุน นอกจากนี้บริษัทฯยังได้ขยายการดำเนินงานไปยังประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศเวียตนาม 3) บริษัทฯ อ้างถึงสถานการณ์น้ำท่วมในประเทศไทย ส่งผลกระทบทำให้ต้องเลิกจ้างพนักงาน แต่ในขณะที่บริษัทคู่ค้า ที่ประสบภาวะน้ำท่วม อย่างหนักที่จังหวัดอยุธยา ก็ไม่มีการเลิกจ้างพนักงานแต่อย่างใด 4) บริษัทฯอาจใช้สถานการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา เพื่อเปลี่ยนแปลงการผลิตแบบใหม่ โดยใช้เครื่องจักรใหม่มาแทนกำลังคนทั้งนี้เนื่องจากมีการขนย้ายเครื่องจักรเข้าออกโรงงานอย่างต่อเนื่อง 5) อาจเป็นการจงใจทำลายสหภาพแรงงาน เนื่องจากก่อนหน้านี้ได้มีการย้ายกรรมการสหภาพแรงงานไปรวมกันที่โรงงานที่ 2 6) อาจเป็นการหลีกเลี่ยงนโยบายการเพิ่มค่าจ้าง 40% ให้พนักงาน ที่จะมีการปรับในปี 2555 นี้ ทั้งนี้เนื่องจากข้อตกลงสภาพการจ้างเดิม บริษัทฯจะต้องจ่ายค่าจ้างเพิ่มตามส่วนต่างของค่าจ้างขั้นต่ำที่มีการปรับขึ้น 7) การเลิกจ้างครั้งนี้ไม่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ซึ่งไม่สนับสนุนให้มีการเลิกจ้างพนักงานที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วม ดังนั้นสหภาพแรงงานจึงขอให้ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้เข้ามาดำเนินการตรวจสอบ และแก้ไขปัญหา เรื่องนี้อย่างเร่งด่วนและจริงจัง นำไปสู่การระงับการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมของบริษัทโฮยากลาสดิสค์ (ประเทศไทย) จำกัด จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการโดยเร่งด่วน ขอแสดงความนับถืออย่างสูง (นาย อัครเดช ชอบดี) ประธานสหภาพแรงงานอิเลคทรอนิคส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์: 'ไชยันต์ ไชยพร' กับปัญหาประชาธิปไตย Posted: 03 Dec 2011 11:21 PM PST ในบทความเรื่อง “ปัญหาประชาธิปไตย: การใช้เสียงมหาชนแบบไหนที่ทำลายประชาธิปไตย?” ไชยันต์ ไชยพรได้เสนอความคิดว่า การเข้ามาสู่อำนาจของอดอสฟ์ ฮิตเลอร์ ผู้นำเยอรมันในช่วงทศวรรษที่ ๓๐ ไม่ใช่สิ่งถูกต้อง ถึงแม้ว่าจะได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนชาวเยอรมันอย่างท่วมท้น และได้เชื่อมโยงกรณีนี้กับการยุบสภาของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ที่ผ่านมา โดยอ้างว่า ในเมื่อการอ้างเสียงสนับสนุนของมหาชนเป็นจำนวนมากของฮิตเลอร์ไม่ใช่สิ่งถูกต้อง การอ้างเสียสนับสนุนของ พ.ต.ท. ทักษิณในการให้มหาชนตัดสินผ่านการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นหลังการยุบสภา ก็ย่อมไม่ถูกต้องเช่นเดียวกัน เราจะมาพิจารณากันว่า การอ้างเหตุผลและการเปรียบเทียบของไชยันต์นี้ถูกต้องหรือไม่ ประเด็นแรกเป็นเรื่องเกี่ยวกับความถูกต้องชอบธรรมของการขึ้นสู่อำนาจของฮิตเลอร์ ไชยันต์พยายามอ้างเหตุผลให้ผู้อ่านเชื่อว่า การที่ฮิตเลอร์เข้ามาสู่อำนาจได้นั้นเป็นเพราะกระบวนการประชาธิปไตย กล่าวคือไชยันต์พยายามทำให้คนอ่านเห็นว่าประชาธิปไตยไม่ใช่กระบวนการที่ถูกต้องเสมอไป เพราะปล่อยให้คนอย่างฮิตเลอร์ขึ้นมามีอำนาจได้ แต่สิ่งที่ไชยันต์ไม่ได้พูดถึงคือว่า เมื่อฮิตเลอร์ขึ้นมามีอำนาจแล้ว ก็ใช้อำนาจเปลี่ยนรัฐธรรมนูญของเยอรมันด้วยการยุบตำแหน่งประธานาธิบดี และตั้งตำแหน่งใหม่ขึ้นมาให้ตัวเองมีอำนาจสุงสุดแต่เพียงผู้เดียว ไชยันต์ไม่ได้บอกในบทความของเขาว่า การกระทำเช่นนี้เป็นการสวนทางกับกระบวนประชาธิปไตยที่ถูกต้องชอบธรรมเป็นอย่างยิ่ง เพราะประชาธิปไตยที่ถูกต้องนั้นไม่ใช่การปกครองด้วยมติมหาชนแต่เพียงอย่างเดียว แต่ต้องเป็นกระบวนการที่เป็นไปตามกฎหมายด้วย จริงอยู่ฮิตเลอร์ใช้กระบวนการตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญนั้นเอง แต่การทำตามกฎหมายนั้นไม่ได้หมายถึงการทำตามตัวบทของกฎหมายแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังต้องทำให้ถูกต้องตามครรลองคลองธรรม หรือความถูกต้องชอบธรรมอันเป็นสากล ซึ่งอยู่เหนือกว่าบทบัญญัติของกฎหมายด้วย การทำการให้ถูกต้องตามครรลองคลองธรรมนี้เป็นหัวใจของการ “ปกครองด้วยกฎหมาย” หรือ rule of law ในภาษาอังกฤษ ซึ่งหมายถึงการที่ผู้ใช้อำนาจได้รับอำนาจมาอย่างถูกต้อง และใช้อำนาจนั้นโดยเป็นไปตามหลักของความถูกต้องนั้น เหตุผลที่สนับสนุนประเด็นนี้ก็คือว่า เมื่อฮิตเลอร์ขึ้นครองอำนาจแล้ว ก็ใช้อำนาจออกกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมจำนวนมาก เช่นกฎหมายปราบปรามชาวเยอรมันเชื้อสายยิว มีการริดรอนสิทธิ และกดขี่ข่มเหงชาวยิวด้วยวิธีการทารุณต่างๆ กฎหมายเหล่านี้ออกโดยขัดกับหลักการของความยุติธรรม และทำนองคลองธรรมอย่างชัดแจ้ง ดังนั้นแม้ว่าฮิตเลอร์จะใช้กลไกของรัฐสภาและระบบเสียงข้างมากในการออกกฎหมายเหล่านั้น กระบวนการเหล่านี้ก็ไม่ได้มีความหมายแต่ประการใด เพราะทำไปเพียงเพราะโอนอ่อนไปตามอำเภอใจของฮิตเลอร์ในฐานะผู้ใช้อำนาจเผด็จการสูงสุดเท่านั้น ไชยันต์ไม่อาจเรียกกระบวนการนี้ว่า “ประชาธิปไตย” ได้ เพราะประชาธิปไตยต้องประกอบด้วย “การปกครองด้วยกฎหมาย” ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว การที่ไชยันต์ละเลยไม่พูดถึงประเด็นเรื่องการปกครองด้วยกฎหมาย หรือเรื่องความยุติธรรมที่อยู่เหนือขึ้นไปจากตัวบทกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร จึงเป็นการเปิดช่องให้นำไปสู่ข้อสรุปที่พยายามจะให้คนอ่านเชื่อ คือประเด็นว่าประชาธิปไตยไม่ใช่ระบอบที่ถูกต้องเสมอไป อันที่จริงการปกครองตามอำเภอใจโดยรวบอำนาจไว้แต่เพียงผู้เดียว โดยไม่ได้ใช้อำนาจนั้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับกันและเป็นหลักเกณฑ์ที่คงเส้นคงวาต่างหาก ที่ไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง แต่ไชยันต์กลับไม่ได้เน้นเรื่องนี้ เนื่องจากประชาธิปไตยแบบที่สากลโลกยึดถือ จะต้องประกอบไปด้วยการปกครองด้วยกฎหมาย หรือให้ถูกจริงๆต้องบอกว่า การปกครองตามหลักทำนองคลองธรรมที่ถูกต้องเสมอไป การใช้คำว่า “ประชาธิปไตย” ในบทความของไชยันต์จึงต่างออกไป ซึ่งทำให้คนอ่านอาจเห็นคล้อยไปได้ว่าประชาธิปไตยไม่ใช่ระบอบที่ถูกต้องชอบธรรม หากไม่ได้พิจารณาวิธีการอ้างเหตุผลของไชยันต์อย่างละเอียด อีกประเด็นหนึ่งเป็นประเด็นด้านข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ ไชยันต์อ้างว่าฮิตเลอร์มีมติมหาชนสนับสนุน แต่กลับไม่ได้เสนอความจริงอีกด้านหนึ่งว่า “มติมหาชน” ที่ว่านี้ได้มาด้วยการบีบบังคับทั้งทางตรงและทางอ้อม ด้วยกลวิธีอันฉ้อฉลต่างๆกัน พรรคนาซีของฮิตเลอร์นั้นไม่ได้มีแต่นักการเมืองที่ขึ้นปราศรัยบนเวทีเท่านั้น แต่ตั้งแต่ฮิตเลอร์เข้าร่วมพรรคนี้เป็นต้นมา พรรคนี้ก็มีอีกปีกหนึ่งที่เป็นฝ่ายรุนแรง พร้อมที่จะใช้กำลังได้ทุกเมื่อ ตอนที่ฮิตเลอร์ถูกจับขังคุกในราวต้นทศวรรษ ๑๙๒๐ นั้นก็เพราะว่าเขาพยายามใช้กำลังเพื่อเปลี่ยนแปลงทางการเมือง โดยฝ่ายรุนแรงของพรรคนาซี (เรียกว่า “เสื้อน้ำตาล”) ก่อการวุ่นวายโดยมุ่งจะโค่นล้มอำนาจรัฐบาลในขณะนั้น และเมื่อฮิตเลอร์ออกจากคุกมาก็ยังดำเนินการวิธีทางการเมืองที่รวมเอากระบวนการปกติกับกระบวนการรุนแรงทุกรูปแบบ เพื่อข่มขวัญประชาชนเยอรมันให้เชื่อว่า มีแต่พรรคนาซีเท่านั้นที่เป็นทางเลือกเดียวของเยอรมัน เมื่อฮิตเลอร์เริ่มมีอำนาจมากขึ้น กระบวนรุนแรงเหล่านี้ก็ยิ่งรุนแรงมากขึ้น มีการใช้โฆษณาชวนเชื่อในแนวทางต่างๆมากมายพร้อมกับความรุนแรง วิธีการที่เป็นที่รับรู้กันมากที่สุดคือการเผาอาคารรัฐสภา โดยวันหนึ่งเกิดไฟไหม้ขึ้นที่อาคารรัฐสภาของเยอรมัน แทนที่ฮิตเลอร์จะเปิดให้มีการสอบสวน กลับประกาศทันทีว่าเป็นฝีมือของพรรคคอมมิวนิสต์ (ทั้งๆที่นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่าพรรคนาซีของฮิตเลอร์เองเป็นผู้เผา แล้วป้ายความผิดให้พรรคคอมมิวนิสต์) แล้วทันใดนั้นก็ออกจับทุกๆคนที่เชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์และกระบวนการฝ่ายซ็าย การกระทำเช่นนี้รวมกับการโฆษณาชวนเชื่ออย่างปูพรมทุกลมหายใจ ทำให้ประชาชนชาวเยอรมันส่วนหนึ่งเกิดความกลัวไม่กล้าแม้กระทั่งจะเลือกพรรคอื่น โดยคิดว่าถ้าไม่เลือกพรรคนาซีจะเกิดความวุ่นวายในประเทศอย่างไม่สิ้นสุด และข้อเท็จจริงสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ พรรคนาซีไม่เคยได้รับเสียงข้างมากอย่างสมบูรณ์ในการเลือกตั้งเลย ดังนั้นที่ไชยันต์บอกว่าฮิตเลอร์ขึ้นมามีอำนาจเพราะมติมหาชนล้วนๆ จึงเป็นการเดินตามคำโฆษณาชวนเชื่อของพรรคนาซีอย่างไม่รู้ตัว (รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้สามารถดูได้ทางอินเทอร์เน็ตได้ที่นี่ – How Hitler Became a Dictator) ประเด็นต่อไปเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเปรียบเทียบกับประเทศไทย ไชยันต์บอกว่า การยุบสภาของ พ.ต.ท. ทักษิณในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ไม่ถูกต้อง เนื่องจาก พ.ต.ท. ทักษิณต้องการเสียงสนับสนุนของประชาชนในการหลีกหนีกระบวนการตรวจสอบกรณีขายหุ้นบริษัทชินคอร์ป โดยนัยยะก็ได้แก่ประเด็นที่ว่า ลำพังมติมหาชนนั้นไม่เพียงพอที่จะสร้างความชอบธรรมขึ้นมาได้ ดังนั้นถึงแม้ยุบสภาไปแล้วเลือกตั้งกลับมาใหม่พรรคไทยรักไทยชนะอีก ก็ไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลจะมีความชอบธรรม ความจริงถ้าไชยันต์เน้นประเด็นเรื่องความถูกต้องชอบธรรมและการปกครองด้วยกฎหมายในการวิเคราะห์สถานการณ์ในประเทศเยอรมันสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ก็จะทำให้การอ้างเหตุผลของเขามีน้ำหนักขึ้นมามาก แต่เหตุผลของไชยันต์กลับกลายเป็นว่า ฮิตเลอร์อ้างมติมหาชน แต่ฮิตเลอร์ทำผิดมหันต์ ดังนั้นการปกครองโดยอ้างมติมหาชน (ซึ่งไชยันต์เข้าใจไปว่าคือ “ประชาธิปไตย”) จึงเป็นการปกครองที่ไม่ถูกต้องเสมอไป ในทำนองเดียวกัน ทักษิณก็อ้างมติมหาชน แต่ทักษิณทำผิดมหันต์ ดังนั้นการปกครองโดยอ้างมติมหาชน (ในกรณีของประเทศไทย) ก็ไม่ถูกต้องเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม การอ้างเหตุผลนี้มีข้อบกพร่องอยู่หลายจุดดังที่ได้เสนอไว้ข้างต้นแล้ว นอกจากนี้การเปรียบเทียบก็ยังไม่ถูกต้องอีก เนื่องจากเมื่อฮิตเลอร์ก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี และเป็น “ผู้นำ” (Fuehrer) ของประเทศเยอรมนีนั้น แทบจะเรียกได้ว่าไม่มีฝ่ายค้านเหลือในประเทศอีกแล้ว พรรคฝ่ายค้านใหญ่ๆ เช่นพรรคคอมมิวนิสต์ พรรคสังคมประชาธิปไตย (Social Democrat) ล้วนถูกกวาดไปอยู่ในค่ายกักกันจนหมดสิ้น และเมื่อประธานาธิบดีฮินเดนบูร์กถึงแก้อสัญญกรรม หลังจากที่ฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีได้เพียงปีกว่า ฮิตเลอร์ก็รวบตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดีเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ไม่สามารถมีการใช้สองตำแหน่งนี้คานกันได้อีกต่อไป รัฐสภา Reichstag ก็ไม่มีพรรคฝ่ายค้านเหลือ กลายเป็นว่าสมาชิกรัฐสภามีแต่สมาชิกพรรคนาซีเท่านั้น แต่สถานการณ์ในประเทศไทยช่วงปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย ถึงแม้ว่าจะมองกันว่าพรรคไทยรักไทยมีอำนาจมากแค่ไหนก็ตาม แต่ก็ยังมีพรรคประชาธิปัตย์ที่มีเสียงในสภากว่าร้อยเสียงในขณะนั้น และนอกจากนั้นก็ยังมีเสียงนอกสภา เช่นพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นำโดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล กับเสียงของข้าราชการประจำต่างๆ นำโดยกองทัพบก ฝ่ายค้านเหล่านี้ทำให้การเปรียบเทียบทักษิณกับฮิตเลอร์ของไชยันต์ไม่สามารถจินตนาการออกไปได้ไม่ว่าจะทำอย่างไร จุดใหญ่ที่ไชยันต์ต้องการเสนอ คือทำให้ประชาชนคนไทยหมดความเชื่อถือในระบอบประชาธิปไตย คิดว่าอาจมีทางเลือกอื่นนอกจากประชาธิปไตยก็ได้ แต่ไชยันต์ทำให้ประชาชนเข้าใจประชาธิปไตยผิดไป ประชาธิปไตยต้องประกอบด้วยการปกครองด้วยกฎหมายอันเป็นไปตามทำนองคลองธรรมที่ถูกต้องเสมอ และเนื่องจากการอ้างเหตุผลขอไชยันต์มีข้อบกพร่องมากมาย ความพยายามในการบิดเบือนประชาธิปไตยของเขาจึงไม่ประสบความสำเร็จ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ในหลวงโปรดเกล้าฯ "ไพโรจน์ วายุภาพ" นั่งประธานศาลฎีกา Posted: 03 Dec 2011 11:01 PM PST 4 ธ.ค. 54 - พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมได้ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้ง นายไพโรจน์ วายุภาพ ข้าราชการตุลาการ ตำแหน่งรองประธานศาลฎีกา ให้ดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกา แล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นายไพโรจน์ วายุภาพ ให้ดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกา ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2554 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 3 ธันวาคม พุทธศักราช 2554 เป็นปีที่ 66 ในรัชกาลปัจจุบัน ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
โปรดเกล้าฯ พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษแล้ว Posted: 03 Dec 2011 07:17 PM PST ในหลวงทรงโปรดเกล้าฯ พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2554 แล้ว ชี้ชัดผู้ได้สิทธิต้องถูกคุมขังเท่านั้น 4 ธ.ค. 54 - มติชนออนไลน์รายงานว่าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ลงวันที่ 3 ธ.ค. 2554 ให้ประกาศว่า โดยที่ทรงพระราชดำริเห็นว่า เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 นับเป็นอภิลักขิตกาลสำคัญ สมควรพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องราชทัณฑ์ เพื่อให้โอกาสแก่บุคคลเหล่านั้นกลับประพฤติตนเป็นพลเมืองดี อันจะเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติสืบไป ทั้งนี้้ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 187 และมาตรา 191 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กับมาตรา 261 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2517 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับ มาตรา 32 มาตรา 33 - 36 มาตรา 41 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ อย่างไรก็ตาม ในมาตรา 4 ได้กำหนดชัดเจนว่า ผู้ซึ่งจะได้รับพระราชทานอภัยโทษตามพระราชกฤษฎีกานี้ ต้องมีตัวอยู่ในความควบคุมของทางราชการ หรือถูกกักขังไว้ในสถานที่หรือที่อาศัยที่ศาลหรือทางราชการกำหนดในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ติดต่อกันไปจนถึงวันที่ศาลออกหมายสั่งปล่อยหรือลดโทษ หรือนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งปล่อยหรือลดโทษตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ เว้นแต่ผู้ทำงานบริการสังคมหรือทำ งานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ และผู้ได้รับการปล่อยตัวคุมประพฤติ กรณีผู้ต้องกักขังตามวรรคหนึ่ง (1) ซึ่งเป็นนักโทษเด็ดขาด และยังไม่ได้รับโทษกักขังแทนโทษจำคุก หรือยังไม่ได้ถูกกักขังแทนค่าปรับ ให้ผู้ต้องกักขังนั้นได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวไปในส่วนของโทษกักขังแทนโทษจำคุกหรือในส่วนของการกักขังแทนค่าปรับ แล้วแต่กรณี สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สหภาพแรงงานแรงงานโฮย่าร้องสำนักงานสวัสดิการฯ ลำพูน Posted: 03 Dec 2011 06:00 PM PST สหภาพแรงงานอิเล็ครอนิคและอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์ (คนงาน บ.โฮย่า) ยื่นหนังสือสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดลำพูน เข้ามาดูแล หวั่นถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 54 ที่ผ่านมา นายอัครเดช ชอบดี ประธานสหภาพแรงงานอิเล็ครอนิคและอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์ ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดลำพูน โดยมีเนื้อหาดังนี้ เนื่องจากบริษัทโฮยากลาสดิสค์ (ประเทศไทย) จำกัด จะมีการเลิกจ้างพนักงานโรงงาน 2 โดยได้ให้เหตุผลตามประกาศว่า บริษัทฯประสบสภาวะขาดทุน และ สถานการณ์น้ำท่วมในประเทศไทย ทำให้บริษัทฯต้องดำเนินการเลิกจ้างดังกล่าว จากการประกาศเลิกจ้างดังกล่าว สหภาพแรงงานฯ เห็นว่าอาจมีความไม่เป็นธรรมเกิดขึ้น โดยมีข้อสังเกตดังนี้ 1.เป็นการเลิกจ้างพนักงานจำนวนมาก ประมาณ 1,500 คน ขึ้นไป โดยเลือกทำการเลิกจ้างเฉพาะพนักงานโรงงานสอง ซึ่งในโรงงานดังกล่าวมีสมาชิกสหภาพแรงงานอยู่เป็นจำนวนมาก 2.ตัวเลขผลกำไรของบริษัทฯ ที่ผ่านมาล่าสุดปี 2553 มีกำไรที่ 591 ล้านบาท จากข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ แต่บริษัทฯ อ้างว่าดำเนินการขาดทุน 3.กล่าวอ้างถึงสถานการณ์น้ำท่วมในประเทศไทย ในขณะที่บริษัทคู่ค้า ที่ประสบภาวะน้ำท่วม อย่างหนักที่จังหวัดอยุธยา ก็ไม่มีการเลิกจ้างพนักงานจำนวนมากเช่นนี้เกิดขึ้น 4.บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงการผลิตแบบใหม่ โดยใช้เครื่องจักรใหม่มาแทนกำลังคนทั้งนี้เนื่องจากมีการขนย้ายเครื่องจักรเข้าออกโรงงานอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงขอให้สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดลำพูน เข้ามาดูแลจัดการเรื่องนี้อย่างเร่งด่วนและจริงจัง เนื่องจากสหภาพแรงงาน เป็นห่วงว่าจะเกิดการกระทำที่ ไม่เป็นธรรมเกิดขึ้น สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วิทยุชุมชนเชียงใหม่ยื่นตรวจสอบหน่วยงานความมั่นคง Posted: 03 Dec 2011 05:32 PM PST ตัวแทนกลุ่มวิทยุชุมชนสร้างสรรค์สังคมเชียงใหม่ ยื่นหนังสือตรวจสอบหน่วยงาน "ศูนย์ติดตามสถานการณ์ความมั่นคงภายในภาคเหนือ" และ "นายอารยะ วิริยะรุ่งเรือง" ว่ามีตัวตนจริงหรือใหม่ หลังออกจดหมายคุกคาม เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 54 ที่ผ่านมา นายจักรพันธ์ บริรักษ์ หรือดีเจหนึ่ง ได้เดินทางไปยังศาลากลาง จ. เชียงใหม่ เพื่อยื่นหนังสือขอความกรุณาตรวจสอบชื่อหน่วยงาน "ศูนย์ติดตามสถานการณ์ความมั่นคงภายในภาคเหนือ" และตัวตนของ "นายอารยะ วิริยะรุ่งเรือง" ที่อ้างว่าเป็นผู้อำนวยการศูนย์แห่งนี้ รวมถึงหน่วยงานด้านความมั่นคงของ จ.เชียงใหม่มีนโยบายส่งจดหมายในลักษณะนี้ไปหาบุคคลใดๆ หรือไม่ หลังจากที่ตนและผู้เกี่ยวข้องถูกจดหมายคุกคามมาก่อนหน้านี้ (อ่านเพิ่มเติม: ‘แผนผังล้มเจ้า’ ยังตามหลอนวิทยุชุมชน ‘ดีเจหนึ่ง’ ถูกคุกคามต่อเนื่อง) โดยในเบื้องต้นเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองของ จ.เชียงใหม่ ได้ส่งตัวแทนมารับเรื่อง และระบุว่าหน่วยงานฝ่ายปกครองของ จ.เชียงใหม่ ไม่มีชื่อหน่วยงานและบุคคลนี้ โดยจะทำการนำหนังสือร้องเรียนไปให้ผู้ว่าราชการ จ.เชียงใหม่ และทำการตอบข้อร้องเรียนนี้อย่างเป็นทางการในลำดับต่อไป ทั้งนี้นายจักรพันธ์ระบุว่าหากภายในสัปดาห์หน้ายังไม่ได้รับการตอบกลับอย่างเป็นทางการ ตนจะเดินทางมาสอบถามความคืบหน้าอีกครั้ง
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น