ประชาไท | Prachatai3.info |
- กสทช.ด้านโทรคมนาคม เปิดภารกิจปี 55
- มาร์ค ซักเกอร์เบิร์ก เจอแฮกรูปโชว์ ผู้แฮกเผยเป็น bug
- รายงาน: ค้นหารากเหง้าของชีวิต…ท่ามกลางรัฐและทุนเข้าโยกคลอนวิถีท้องถิ่น?!
- ก.วัฒนธรรมสั่งทบทวนร่าง พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์
- แสวงหาสันติภาพ : อาเซียนกับกรณีพิพาทชายแดนไทย – กัมพูชา
- เหล่าศิลปินเพลงจัดคอนเสิร์ตหาทุนช่วยกลุ่ม Occupy
- “ขอความเป็นธรรมให้เสียงประชาชน”
- กวีประชาไท:ในห้องนั้น
- “จินตนา แก้วขาว” ปล่อยตัวพรุ่งนี้ – สมัชชาคนจนเตรียมรับขวัญ “แกนนำต้านเขื่อน” พ้นคุก
- คนงานโฮย่าจี้ผู้ว่าลำพูนช่วยเหลือ
- กองทัพรัฐฉาน SSA และพม่ายังปะทะกัน แม้สองฝ่ายลงนามสงบศึก
- ศาลไม่ให้ประกัน ‘อริสมันต์’ หลังเข้ามอบตัว
- น้ำตาสลิ่ม#2: กรุงเทพฯ ไม่ได้มีแต่ชนชั้นกลาง
- สุรพศ ทวีศักดิ์: คำแถลงกรณี 'การถูกคุกคามเสรีภาพทางวิชาการด้วย ม.112'
- สภ.ร้อยเอ็ด ออกหมายเรียก ‘สุรพศ-นักปรัชญาชายขอบ’ เหยื่อ ม.112 คนล่าสุด
กสทช.ด้านโทรคมนาคม เปิดภารกิจปี 55 Posted: 07 Dec 2011 10:52 AM PST กสทช.ด้านโทรคมนาคม แถลงแผนการทำงานปี 2555 เน้นจัดประมูล 3G-ศึกษาผลกระทบและแนวทางการดำเนินการกรณีหมดสัมปทาน เพื่อนำความถี่มาจัดสรรใหม่
(7 ธ.ค.54) สุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม กทค. ครั้งที่ 7/2554 มีมติเห็นชอบกรอบภารกิจการดำเนินงานของ กทค. ในปี 2555 ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ ที่ปรากฏในร่างแผนแม่บทโทรคมนาคม และกรอบอำนาจหน้าที่ของ กสทช. ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ทั้งนี้ได้ยึดแนวทางการเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วน มีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ ผู้บริโภค หน่วยงานของภาครัฐที่เกี่ยวข้อง โดยจะดำเนินการคู่ขนานพร้อมกับการเปิดประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม ในการขับเคลื่อนภารกิจและกิจกรรมของ กสทช. โดย กทค. ซึ่งในปี 2555 นั้นจะมุ่งเน้นการจัดประมูลคลื่นความถี่ เพื่อการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT ย่าน 2.1 GHz ให้เกิดความโปร่งใสและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ ศึกษาผลกระทบและแนวทางการดำเนินการในกรณีสิ้นสุดอายุสัมปทานเพื่อนำความถี่มาจัดสรรใหม่ในกิจการโทรคมนาคม จัดทำแผนปฎิบัติการ USO โดยคำนึงถึงการเข้าถึงกลุ่มผู้ด้อยโอกาส จัดทำหลักเกณฑ์การอนุญาตและกำกับดูแลการประกอบกิจการในธุรกิจดาวเทียม ศึกษาแนวทางการบริหารเลขหมายโทรคมนาคม จัดทำแผนเหตุฉุกเฉินและภัยพิบัติในกิจการโทรคมนาคม ศึกษาและเตรียมการการใช้ความถี่เพื่อรองรับเทคโนโลยีสมัยใหม่ในกิจการโทรคมนาคม นอกจากนี้ภารกิจในปี 2555 จะครอบคลุมถึงการศึกษาแนวทางการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมสำหรับเทคโนโลยีหลอมรวม กำหนดมาตรฐานคุณภาพการให้บริการและจัดทำหลักเกณฑ์ วิธีการและกลไกตรวจสอบคุณภาพการให้บริการ ศึกษาความเหมาะสมของอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและอัตราค่าบริการให้เป็นธรรมต่อผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ ศึกษาการใช้ทรัพยากรโทรคมนาคมร่วมกันเพื่อลดต้นทุนในการลงทุน ภารกิจในปี 2555 ของ กทค.ยังรวมถึงการจัดทำแนวทางความร่วมมือระหว่างประเทศและพันธกรณีด้านกิจการโทรคมนาคมในกรอบภูมิภาคและระดับโลก บูรณาการโดยการพัฒนาและปรับปรุงกฎกติกาเพื่อให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพงานด้านกิจการโทรคมนาคม การจัดทำแผนพัฒนาศักยภาพบุคคลากรด้านกิจการโทรคมนาคม ปรับปรุงและพัฒนากลไกระงับข้อพิพาทด้านกิจการโทรคมนาคมให้มีประสิทธิภาพ สร้างความรู้ทัน ความเท่าทัน ต่อเทคโนโลยีโทรคมนาคมให้กับประชาชนในการใช้ประโยชน์ สนับสนุนงานวิจัยพัฒนาเทคโนโลยี อุตสาหกรรมโทรคมนาคม "การที่ กทค. ได้จัดทำภารกิจและกิจกรรม ในปี 2555 ก็เพื่อเป็นการทำงานในเชิงรุกและเป็นการขับเคลื่อนกิจการโทรคมนาคมให้เดินไปข้างหน้าอย่างเป็นรูปธรรมภายใต้กรอบยุทธศาสตร์และกฎหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการพัฒนากิจการโทรคมนาคม" สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
มาร์ค ซักเกอร์เบิร์ก เจอแฮกรูปโชว์ ผู้แฮกเผยเป็น bug Posted: 07 Dec 2011 10:39 AM PST แฮกเกอร์นำรูปของมาร์ค ซักเกอรเบิร์ก ไปเผยแพร่ พร้อมข้อความเรียกร้องให้มีการแก้ไขข้อผิดพลาดของเฟสบุ๊ค ที่สามารถนำรูปที่มีการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวออกมาเผยแพร่ได้ 7 ธ.ค. 2554 เว็บข่าว BBC รายงานว่า รูปส่วนตัวของมาร์ค ซักเกอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งเฟสบุ๊คถูกเผยแพร่บนเว็บจากฝีมือของแฮกเกอร์ที่ต้องการเผยให้บักส์หรือข้อผิดพลาดของโปรแกรมโซเชียลเน็ตเวิร์กให้เห็น รูปของมาร์คซักเกอร์เบิร์กทั้ง 14 รูปถูกโพสท์ลงในเว้บไซต์รูปภาพ Imgur โดยมีคำบรรยายภาพว่า "ถึงเวลาแล้วที่จะแก้ปัญหาข้อบกพร่องของด้านความปลอดภัยของเฟสบุ๊ค" ข้อผิดพลาดดังกล่าวมีส่วนเกี่ยวข้องกับเครื่องมือที่ให้ผู้ใช้รายงานเกี่ยวกับภาพที่ไม่เหมาะสม เฟสบุ๊คบอกว่าจะหาทางแก้ไขข้อผิดพลาดนี้ ความเป็นส่วนตัว "ช่วงเช้าวันนี้ พวกเราได้ค้นพบข้อผิดพลาดอย่างหนึ่งในเครื่องมือรีพอร์ทซึ่งอนุญาตให้คนรายงานเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมหลายเนื้อหาพร้อมกันได้" เฟสบุ๊คแจ้งในแถลงการณ์ "ข้อผิดพลาดอันนี้ทำให้ใครก็ได้สามารถมองเห็นรูปภาพของผู้ใช้ที่เพิ่งอัพโหลดได้จำนวนหนึ่ง โดยไม่ว่าผู้ใช้นั้นจะตั้งค่าความเป็นส่วนตัวอย่างไรก็ตาม" "นี้เป็นผลพวงมาจากรหัสเขียนโปรแกรมที่เราใส่เข้าไปและส่งผลอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง หลังจากที่เราค้นพบข้อผิดพลาดนี้แล้ว พวกเราก็ทำการระงับระบบนี้โดยทันที และจะกลับมาใช้อีกครั้งเมื่อมีการยืนยันว่าข้อผิดพลาดตัวนี้ได้รับการแก้ไขแล้วเท่านั้น" แถลงการณืระบุ ทาง BBC ยังได้ขออนุญาตเฟสบุ๊คก่อนพิมพ์เผยแพร่รูปภาพของมาร์ค ทางเฟสบุ๊คกล่าวว่าเมื่อรูปภาพนี้กลายเป็นกรรมสิทธิสาธารณะแล้ว พวกเขาก็จะไม่ฟ้องร้องลิขสิทธิ์ใดๆ รอยรั่ว ข้อผิดพลาดตัวนี้ถูกค้นพบโดยสมาชิกของกระดานข่าวคนเพาะกาย ซึ่งมีการโพสท์วิธีการชมภาพที่ตั้งค่าเป็นส่วนตัวไว้แบบขั้นต่อขั้น เมื่อผู้ใช้รายงานภาพโปรไฟล์ของใครก็ตามว่าไม่เหมาะสม เฟสบุ๊คจะเชิญชวนให้ผู้นั้นดูรูปอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกันของบุคคลที่เป็นเป้าหมาย โดยมีรูปขนาดย่อแสดงให้เห็นและสามารถดูรูปในขนาดใหญ่ขึ้นละดาวน์โหลดได้อย่างง่าย แฮกเกอร์ใช้รอยรั่วตรงจุดนี้ในการเข้าไปในหน้าเพจของมาร์ค ซักเกอร์เบิร์ก ซึ่งเป็นผู้ที่มีคนรู้จักเป็นจำนวนมากที่สุดในบรรดาผู้ใช้เฟสบุ๊ค 850 ล้านคน รูปภาพของมาร์คประกอบด้วยช่วงที่เขากำลังทำอาการกับแฟนสาว ภาพที่เขากำลังถือขาไก่ และภาพที่เขาเข้าพบประธานาธิบดีโอบาม่า เหตุการณ์น่าอับอายนี้เกิดขึ้นหนึ่งสัปดาห์หลังจากที่ คณะกรรมาธิการการค้าแห่งชาติของสหรัฐฯ ได้ติติงเรื่องการเปลี่ยนแปลงระบบความเป็นส่วนตัวของเฟสบุ๊คตั้งแต่สองปีที่แล้ว คณะกรรมาธิการฯ กล่าวหาว่าเฟสบุ๊คกระทำการหลอกลวงและเรียกร้องให้องค์กรรับการตรวจสอบบัญชีทั่วไปเป็นเวลา 20 ปี สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
รายงาน: ค้นหารากเหง้าของชีวิต…ท่ามกลางรัฐและทุนเข้าโยกคลอนวิถีท้องถิ่น?! Posted: 07 Dec 2011 09:36 AM PST 1. ผมเกิดและเติบโตในชุมชนเล็กๆ มีลำน้ำแม่ป๋าม ลำห้วยเล็กๆ เป็นอีกหนึ่งต้นธารของแม่น้ำปิง ไหลเลาะช่องเขา ผ่านหุบห้วย ทุ่งราบ ไหลเลียบหว่างตีนดอยกับทุ่งนา ก่อนไหลโค้งอ้อมลงไปสู่แม่น้ำปิงทางตอนท้ายของหมู่บ้าน ว่ากันว่า ชุมชนแห่งนี้เกิดขึ้นในยุคการสัมปทานป่า ครั้งนั้นรัฐไทยได้อนุญาตให้ บริษัทบอมเบย์ค้าไม้ จำกัด เป็นบริษัทคนต่างชาติเข้ามาสัมปทานตัดโค่นไม้สักทองในป่าผืนนี้ โดยมีลูกหลานเชื้อเจ้าเมืองเชียงใหม่ (หลังจากระบบการปกครองของเจ้าล้านนาถูกรัฐสยามเข้ายึดและปกครอง ระบบเจ้าเมืองเชียงใหม่ล่มสลาย)เป็นคนคุมงาน เป็นเช่นนั้น,เมื่อลูกหลานเจ้าเมืองเชียงใหม่ได้กลายเป็นลูกจ้าง คนคุมงานของบริษัทต่างชาติ ภาพอดีตบอกผ่านคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้านว่า เจ้าน้อยชมพู ณ เชียงใหม่ ได้พาคนงานซึ่งมาจากหลายบ้านหลายเมือง เข้ามาปลูกเพิงในป่าลึก ในขณะนั้น ดงสักทองแน่นหนา ถูกตัดโค่น ถูกชักลากออกจากป่า ปล่อยลงแม่น้ำปิง ผูกติดเป็นแพล่องน้ำปิง แพซุงได้ไหลล่องลงไปข้างล่าง ผ่านตัวเมืองเชียงดาว แม่แตง แม่ริม สันทราย เมืองเชียงใหม่ ผ่านลำพูน ฯลฯ ผ่านปากน้ำโพ ไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา...และทะเล จริงสิ, ฟังดูแล้วนึกภาพตาม มันช่างเป็นเรื่องเหลือเชื่อ ที่ต้นไม้หลายๆ ต้น จากเชียงดาวสามารถเดินทางไปไกลถึงครึ่งค่อนโลก...ใช่, ท่อนซุง ต้นสักทองขนาดใหญ่ได้ถูกแปรรูป และเดินทางไกลทางเรือไปโผล่แถวยุโรป คนเฒ่าเล่าว่า เมื่อตัดโค่นต้นสักขนาดใหญ่จนหมดเกลี้ยง บริษัทสัมปทานได้เคลื่อนย้ายไปยังอีกเมืองหนึ่ง อีกผืนป่าหนึ่ง แต่มีคนงานกลุ่มหนึ่งไม่ยอมไป เพราะได้เล็งเห็นว่าสภาพภูมิประเทศบริเวณนี้อุดมสมบูรณ์ มีผืนป่า ที่ราบในหุบเขา และมีลำน้ำไหลผ่าน จึงตัดสินใจ ปักหลักและร่วมกันตั้งถิ่นฐานกันที่นี่ จากคนงานตัดไม้ไม่กี่ครอบครัว ได้พากันมาปลูกกระต๊อบ แล้วช่วยกันลงแรง ทำฝายทดน้ำ ขุดลำเหมือง ขุดนา ปลูกข้าว ปลูกผักปลูกไม้ เลี้ยงสัตว์ อยู่กันสืบมา จนกลายเป็นหมู่บ้านแม่ป๋าม นับแต่นั้นจนถึงบัดนี้ ถ้านับถึง พ.ศ.2553 นี้ อายุของหมู่บ้านเกิดของผม ก็ปาเข้าไปได้เกือบร้อยปีแล้ว และจึงไม่แปลกถ้าผมจะบอกว่าเกิดและเติบโตในชุมชนของคนตัดไม้ ทุกครั้ง ที่ผมเดินเล่นในสวน ผมชอบเดินไปทักทายตอสักขนาดใหญ่ตั้งเด่นอยู่รอบๆ สวน ผมชอบเอามือลูบคลำสีเทาหม่นซีดพร้อมร่องแตกของมัน ก่อนจะเดินกลับนั่งชิงช้าที่ผมทำผูกติดกับกิ่งไม้สักขนาดใหญ่หน้าบ้าน เป็นต้นสักต้นเดียวที่ผมเข้าใจว่าหลงเหลือและมีชีวิตรอดจากการสัมปทานป่าในยุคนั้น เหตุที่มันรอดตาย อาจเป็นเพราะต้นสักต้นนี้พิการ ลำไม่ตรง บิดงอ แตกกิ่งเติบโตออกเป็นพุ่มด้านข้าง จึงทำให้ชีวิตมันรอดพ้นจากเงื้อมมือของระบบทุน ที่ได้เดินทางมาพร้อมแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในยุคสมัยนั้น แน่ละ, ทั้งตอสักเก่าแก่ และต้นสักพิการ ที่ผมเห็นและสัมผัสอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันนี้ จึงเป็นเหมือนชิ้นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์หมู่บ้านที่หลงเหลือ กระนั้น ชุมชนของเราก็เติบโต อยู่ร่วมกันมาอย่างสงบและสันติสุข
2. แต่แล้วในปี พ.ศ.นี้ (2554) หมู่บ้านผมกำลังเจอกับความเปลี่ยนและแปลก จู่ๆ ผมก็ได้ยินข่าวมาว่า พื้นดินผืนป่าต้นน้ำแม่ป๋ามและเป็นแผ่นดินถิ่นเกิดของผมนั้นกำลังจะถูกนโยบายรัฐไทย ดำเนินโครงการขนาดยักษ์ระหว่างประเทศพม่า-ไทย ใช้งบเป็นหมื่นๆ ล้านบาท โดยมีการผันน้ำกกลงแม่น้ำปิง ด้วยการสูบน้ำดันน้ำกกบริเวณตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย ไหลผ่านท่อ คลองซีเมนต์ขนาดใหญ่ ดันจากเขตพื้นที่อำเภอแม่อาย ผ่านอำเภอฝาง ไชยปราการ กระทั่งมาชนกับดอยหัวโท ซึ่งเป็นภูเขาสูงกั้นกลางระหว่างต้นน้ำฝางกับต้นน้ำแม่ป๋าม ต้นน้ำแม่งัด แน่นอน ดอยหัวโทนั้นสูงและปิดกั้นไม่ให้ทางน้ำกกไหลผ่านไปได้ แต่โครงการดังกล่าวไม่ยอมแพ้ ยังจะเดินหน้าต่อด้วยแนวคิดการเจาะอุโมงค์ขนาดยักษ์ขนาดรถสิบล้อสามารถวิ่งผ่านกันได้ พูดง่ายๆ ก็คือเขากำลังคิดจะเจาะอกภูเขา ให้ทะลุโผล่ที่หมู่บ้านป่าตึงงาม ชุมชนปกาเกอะญอ ของอำเภอเชียงดาว ก่อนจะไหลลงมาถึงหมู่บ้านแม่ป๋าม อันเป็นหมู่บ้านเกิดของผมซึ่งอยู่ทางตอนท้ายโครงการ มิหนำซ้ำ ยังจะมีโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าแถมให้อีก 1 โรง เพื่อต้องการกระแสไฟฟ้าไปใช้ในการปั่นไฟสูบน้ำให้กับโครงการนี้ แน่ละ โครงการยักษ์ขนาดนี้ เป็นแนวคิดของรัฐส่วนกลางทั้งสิ้น และกำลังขับเคลื่อนเดินหน้าอยู่ ในขณะที่คนในชุมชน หมู่บ้านที่อยู่ในพื้นที่โครงการนั้น กลับไม่ได้รับรู้ข้อมูลใดๆ เลย และเมื่อหลายคนเริ่มหันมาศึกษาค้นคว้าข้อมูลกลับพบว่า โครงการนี้ไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้กับชาวบ้านชุมชนในเขตพื้นที่นี้เลย แถมยังจะก่อผลกระทบมหาศาล ไม่ว่าในเรื่องทรัพยากรสิ่งแวดล้อมจะถูกทำลาย วิถีชีวิตและสังคมวัฒนธรรมดั้งเดิมที่เคยอยู่ร่วมกันมาอย่างสุข สงบ จะเปลี่ยนไปอีกมากมายเพียงใด? นี่เป็นสิ่งที่ชาวบ้านในพื้นที่กำลังคิดวิตกกังวล และหาทางพูดคุยกันอยู่เงียบๆ
3. “คุณรู้สึกอย่างไรกับการเป็นเจ้าของประเทศคนหนึ่ง” ใครคนหนึ่งเอ่ยถามผม...เป็นคำถามง่ายๆ แต่ดูหนักหน่วง ทำให้ผมต้องครุ่นคิดไปต่างๆ นานา นึกย้อนไปถึงภาพเก่าๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ทีละภาพ ทีละเรื่อง เหมือนภาพขาวดำ นึกถึงภาพชาวบ้านโป่งอาง เชียงดาว มีวิถีชุมชน ชีวิตอยู่กันอย่างมีความสุข กลับต้องลุกออกมาปกป้องแผ่นดินถิ่นเกิดของตน เมื่อรู้ว่ารัฐจะสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำปิงตอนบน ท่วมทับพื้นที่ป่า พื้นที่ทำกินของของพวกเขา นึกถึงภาพพี่น้องชาวบ้านเวียงแหงที่ลุกขึ้นต้านโครงการเหมืองแร่ลิกไนต์ เพราะทุกคนรู้ว่ามันจะก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ทำลายชีวิต จิตใจของคนเวียงแหง นึกถึงภาพของ จินตนา แก้วขาว แกนนำชาวบ้านบ้านกรูด ประจวบคีรีขันธ์ ที่พยายามรักษาชีวิตพี่น้องชาวบ้าน ต้องยอมลงมือทำบางสิ่งเพื่อล้มโครงการขนาดยักษ์ของนายทุนและรัฐที่เอื้อประโยชน์ให้ กระทั่งถูกศาลสั่งจำคุกสี่เดือนโดยไม่รอลงอาญา แล้วอดนึกถึงคำพูดของชาวบ้านในหลายๆ พื้นที่ไม่ได้ “จริงๆ แล้ว เราต้องการอยู่กันอย่างเรียบง่าย สงบ อยู่กับดิน อยู่กับน้ำ อยู่กับป่าอย่างพึ่งพาอาศัยกัน” “แต่ที่ผ่านมา ชุมชนหลายชุมชนเปลี่ยนไปก็เพราะคนนอกทั้งนั้นแหละ” “รัฐและนายทุนนั่นแหละตัวดี ที่ทำให้ชุมชนเราล่มสลาย” “คุณอย่ามาอ้างว่าทำเพื่อส่วนรวม เพื่อประเทศชาติ ลองคุณลองมาเป็นชาวบ้านที่นี่ดูสิ แล้วคุณจะรู้ จะอยู่ได้ไหม” “ยิ่งนโยบายรัฐยังคงเดินหน้าโครงการแบบนี้ ก็ยิ่งทำให้เราต้องคิดและฝันกันให้มากขึ้นแล้วละว่า สักวันหนึ่ง ชุมชนหมู่บ้านของเราจะมีสิทธิ เสรีภาพและสันติสุขอย่างแท้จริง เป็นชุมชนที่ปกครองโดยชุมชน ไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่รัฐและนายทุนที่โลภและเขลาเข้ามาวุ่นวายชุมชนของเรา” ไม่รู้สิ ว่าทำไมชาวบ้านหลายพื้นที่ถึงกำลังตื่นตัว และออกมาปกป้องผืนแผ่นดินเกิดของตนเองอย่างเข้มแข็งเช่นนี้ แต่ก็ทำให้หลายคนเริ่มกระจ่างมากขึ้นแล้วว่า- -ความเป็นประเทศนั้น ไม่ใช่มีเพียงแค่ระบอบการปกครอง สถาบันกษัตริย์ ศาสนา รัฐ กองทัพ รัฐบาล หรือระบบราชการ เพียงเท่านั้น แต่ชาวบ้านเริ่มรู้แล้วว่า ‘คนเล็กๆ’ ในชุมชนแต่ละชุมชนนั้น ก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า “ถ้าไม่มีคน ก็ไม่มีประเทศหรอก”- -ชาวบ้านคิดกันง่ายๆ แบบนี้ นั่นทำให้ผมเชื่อมั่นมากขึ้นแล้วว่า คน ชุมชนสามารถจัดการดูแลกันเองได้ ซึ่งสิ่งที่ชาวบ้านกลุ่มนี้ได้คิดและลงมือทำนั้น เหมือนกับต้องการสื่อและถามกลับไปยังนักปกครองทั้งหลายที่กำลังหลง(และหลอกตัวเอง) คิดว่าเขานั้นคือเจ้าของประเทศ ที่มีอำนาจและสามารถกระทำสิ่งใดก็ได้ว่า... “แล้วคุณรู้จักความเป็นประเทศ ความเป็นรัฐชาติ ความเป็นคนและเผ่าพันธุ์ที่อยู่ร่วมกันบนโลกใบนี้ดีพอแล้วหรือยัง” --------------------- สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
ก.วัฒนธรรมสั่งทบทวนร่าง พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ Posted: 07 Dec 2011 08:38 AM PST รมว.วัฒนธรรมสั่งทบทวนร่าง พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ เตรียมเชิญผู้เกี่ยวข้องประชุม-ประชาพิจารณ์ กรมศิลป์ฯ เดินหน้าจัดเรทติ้งสิ่งพิมพ์ ด้าน 2 สมาคมสื่อฯ จับมือค้าน หวั่นลิดรอนสิทธิ นักวิชาการรัฐศาสตร์ชี้ พ.ร.บ.ที่แก้ใหม่ แย่ไม่แพ้ฉบับเผด็จการ (7 ธ.ค.54) นางสุกุมล คุณปลื้ม รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่า จากกรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 18 ต.ค.ที่ผ่านมา เคยมีมติเห็นชอบร่างแก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 และที่ประชุมครม. เมื่อวันที่ 1 พ.ย. มีมติถอนร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวออกจากครม.และกฤษฎีกา โดยมอบให้ วธ. นำกลับไปพิจารณาอีกครั้ง เพราะเกิดการวิพากษ์วิจารณ์หลายประเด็น รวมถึงกฤษฎีกา ส่งความเห็นกลับมาว่าเนื้อหาบางส่วนใน พ.ร.บ.ดังกล่าวอาจขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 45 เรื่องสิทธิเสรีภาพและแสดงความคิดเห็นของประชาชน อย่างไรก็ตามต้องชี้แจงว่ากฎหมายฉบับดังกล่าว จัดร่างมาตั้งแต่รัฐบาลที่ผ่านมา ดังนั้นมอบหมายให้กรมศิลปากรนำร่างดังกล่าวมาพิจารณาใหม่ โดยเฉพาะประเด็นที่ถกเถียงและถูกวิจารณ์ โดยให้เชิญผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดมาประชุมและทำประชาพิจารณ์ด้วย กรมศิลป์ฯ เดินหน้าจัดเรทติ้งสิ่งพิมพ์ “ขณะเดียวกันกฎกระทรวง 3 ฉบับที่ต้องออกประกอบ พ.ร.บ.ดังกล่าว กรมศิลปากรก็จะดำเนินการต่อไป เพราะไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาและมาตราที่มีวิพากษ์วิจารณ์ โดยเฉพาะการจัดระดับความเหมาะสมของสื่อสิ่งพิมพ์ (เรทติ้ง) ยังคงยึดตามหลักการเดิมที่วางไว้เบื้องต้นว่าแบ่งประเภทของสิ่งพิมพ์เป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1.หนังสือการ์ตูน 2.นิตยสาร และ 3.บันเทิงคดี นิยาย โดยให้แต่ละประเภทแสดงข้อความเพื่อระบุประเภทของสิ่งพิมพ์” รองอธิบดีกรมศิลปากร กล่าว นายการุณ กล่าวต่อไปอีกว่า หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกำหนดประเภทสิ่งพิมพ์ให้เป็นไปตามที่กฎกระทรวงกำหนด ส่วนการพิจารณาคุณภาพเนื้อหาสื่อสิ่งพิมพ์แต่ละประเภทนั้น จะดูเนื้อหาของสิ่งพิมพ์ว่า เหมาะกับผู้อ่านประเภทใด พร้อมทั้งจะมีสัญลักษณ์ประเภทของสิ่งพิมพ์ ซึ่งสำนักพิมพ์ต้องแสดงไว้บนหนังสือให้ผู้อ่านได้เห็นชัดเจน เช่น สัญลักษณ์ ท หมายถึง หนังสือที่เหมาะสมกับผู้อ่านทุกเพศทุกวัย สัญลักษณ์ ว12+ แทนคำว่า วัยรุ่น12+ หมายถึง หนังสือที่เหมาะกับผู้อ่านเห็นได้อย่างชัดเจน หากอายุต่ำกว่า 12 ปี การอ่านควรมีผู้ปกครองให้คำแนะนำ เป็นต้น 2 สมาคมสื่อฯ จับมือค้าน หวั่นลิดรอนสิทธิ ทั้งนี้ตัวแทนองค์กรสื่อทั้งสองและตัวแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้หารือร่วมกันในประเด็นปัญหา การเสนอร่างกฎหมายฉบับนี้ โดยเฉพาะในประเด็นที่จะนำไปสู่ความขัดแย้ง และ การลิดรอนสิทธิเสรีภาพของสื่อและประชาชน โดยตัวแทนของกระทรวงวัฒนธรรมรับว่าจะยังไม่มีการเสนอร่างกฎหมายฉบับนี้ และ จัดให้มีการสอบถามความเห็นสื่อมวลชนอีก นักวิชาการรัฐศาสตร์ชี้ พ.ร.บ.ที่แก้ใหม่ แย่ไม่แพ้ฉบับเผด็จการ "ทั้งนี้ เมื่อวิเคราะห์กันไปมาแล้ว หลายคนพบว่า พ.ร.บ.ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมนี้ดูจะเลวร้ายไม่แพ้ พ.ร.บ.การพิมพ์สมัยอดีตเผด็จการตรงที่ระบุให้มีการต่อใบอนุญาตหรือต่อหนังสือสำคัญแสดงการจดแจ้งการพิมพ์ทุก 5 ปี กอปรกับให้มีการจัดระบบเรทติ้งของสื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งเหมือนกับการนำพาอุตสาหกรรมประเภทนี้ให้กลับไปสู่ภาวะถอยหลังเข้าคลอง โดยอ้างความไม่รู้เท่าทันสื่อของเด็กและเยาวชน อ้างความมั่นคงและสงบเรียบร้อยของชาติ รวมถึงการอ้างสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อลิดรอนสิทธิในการแสดงออกและการรับรู้ข่าวสารของผู้คนในสังคมไทย" พิจิตราระบุพร้อมเสนอให้มีการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลย้อนหลังด้วย "เพื่อมิให้ข้ออ้างของระบอบประชาธิปไตยสองวินาทีในคูหาเลือกตั้งของรัฐบาลชุดนี้ สามารถสร้างความชอบธรรมในการประกอบสร้างระบอบเผด็จการแบบชั่วกัลปาวสาน"
ที่มา: http://www.dailynews.co.th/education/2077 เว็บไซต์เดลินิวส์ และ
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
แสวงหาสันติภาพ : อาเซียนกับกรณีพิพาทชายแดนไทย – กัมพูชา Posted: 07 Dec 2011 07:45 AM PST เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (6 ธ.ค. 54) อินเตอร์เนชั่นแนลไครซิสกรุ๊ป (International Crisis Group) ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ทำวิจัยเรื่องสถานการณ์ความขัดแย้งทั่วโลก ได้ออกรายงานฉบับใหม่ "แสวงหาสันติภาพ: อาเซียนกับกรณีพิพาทชายแดนไทย-กัมพูชา" ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็ม (ภาษาอังกฤษ) ไปอ่านได้ตามไฟล์แนบท้ายข่าว 0000 กรณีพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชาซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตหลายสิบคนและอีกหลายพันคนต้องอพยพ ถือเป็นความท้าทาย สำหรับสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ในการพิสูจน์ว่าจะสามารถทำโวหารเรื่องการสร้างสันติภาพและความมั่นคงให้ปรากฎเป็นจริงได้หรือไม่ กัมพูชาดำเนินการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ในช่วงที่ประเทศไทยประสบกับความวุ่นวายทาง การเมืองภายหลังการรัฐประหารเพื่อโค่นล้มนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรในปี 2549 ฝ่ายที่สนับสนุนกลุ่มชนชั้นนำในประเทศไทยใช้ประเด็นนี้ในการจุดกระแสชาตินิยมเพื่อต่อต้านกัมพูชา โดยมีเป้าหมายเพื่อโค่นล้มรัฐบาลที่มีอดีตนายกฯทักษิณให้การสนับสนุน การเคลื่อนไหวอย่างดุเดือดส่งผลให้การเจรจาในเรื่องเขตแดนต้องหยุดชะงัก และความขัดแย้งระหว่างสองประเทศปะทุขึ้น ในช่วงต้นปี 2554 เกิดการสู้รบซึ่งถือว่ารุนแรงที่สุดระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ท้าทายหลักการที่องค์กรยึดมั่นมา ยาวนานในเรื่องการไม่รุกรานซึ่งกันและกัน (non-aggression) ผลักให้อาเซียนต้องเข้าไปมีบทบาท และมีความคาดหวังว่าอาเซียนจะสามารถผลักดันให้เกิดสันติภาพขึ้นได้ แม้ว่าอาเซียนจะมีบทบาทที่ถือได้ว่าเป็นการสร้างบรรทัดฐานใหม่ แต่ยังไม่เกิดผลสัมฤทธิที่มีนัยสำคัญ จำเป็นที่การดำเนินการทางการทูตต้องมีความจริงจังและแสดงภาวะผู้นำที่เข้มแข็งกว่านี้ ความขัดแย้งที่ปะทุขึ้นหลังความสงบดำเนินอย่างต่อเนื่องมาเกือบห้าสิบปี เกี่ยวข้องกับสองเรื่องสำคัญ คือ หนึ่ง ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มเสื้อเหลืองที่สนับสนุนฝ่ายชนชั้นนำกับฝ่ายเสื้อแดงซึ่งสนับสนุนอดีตนายกฯ ทักษิณ ซึ่งถูกโค่นจากตำแหน่งในเหตุการณ์รัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 สอง การที่กัมพูชาตัดสินใจขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งได้รับการอนุมัติจากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ในเดือนกรกฏาคม 2554 การขึ้นทะเบียนมรดกโลกได้สำเร็จนับเป็นวาระแห่งการเฉลิมฉลองและความภาคภูมิใจของชาวกัมพูชา แต่ในประเทศไทยกลุ่มชาตินิยมสุดขั้วอย่างกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) หรือที่เรียกว่ากลุ่มเสื้อเหลืองหยิบยกประเด็นนี้มาโจมตีรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ซึ่งถูกเรียกว่า “หุ่นเชิด” ของอดีตนายกฯ ทักษิณว่าขายชาติ ในมุมมองของกลุ่ม พธม.ความร่วมมือครั้งนี้เป็นการเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจให้กับอดีตนายกฯ ทักษิณ ประเด็นดังกล่าวกลายเป็นอาวุธอันทรงพลังในการเคลื่อนไหวและกดดันให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศต้องตัดสินใจลาออก พร้อมกับเป็นการสั่นคลอนเสถียรภาพของรัฐบาลอย่างรุนแรง ก่อนการเคลื่อนไหวของพธม. การขึ้นทะเบียนมรดกโลกถูกมองว่าเป็นโอกาสในการพัฒนาการท่องเที่ยวร่วมกันที่จะสร้างรายได้มูลค่ามหาศาล หลังจากนั้น เกิดความตึงเครียดเพิ่มขึ้นบริเวณชายแดน มีการเพิ่มกำลังทหารประจำการในพื้นที่ดังกล่าว การสำรวจเพื่อปักปันเขตแดนต้องหยุดชะงักเพราะเหตุผลเรื่องความปลอดภัยในการลงสำรวจพื้นที่ ขณะเดียวกัน ความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทยส่งผลให้มีการเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและข้าราชการระดับสูงหลายครั้ง เกิดการฟ้องร้องดำเนินคดีโดยกลุ่มชาตินิยม คำตัดสินของศาลเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง อีกทั้งบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญบางมาตรากลายเป็นอุปสรรคต่อการเจรจาและส่งผลลบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสอง นายกรัฐมนตรีฮุนเซนแห่งกัมพูชาไม่พอใจอย่างมากต่อความล่าช้าและเพิกเฉยของฝ่ายไทยและได้กล่าววิพากษ์วิจารณ์หลายครั้งในเรื่องนี้ รวมทั้งมีการแต่งตั้งอดีตนายกฯ ทักษิณเป็นที่ปรึกษาส่วนตัว ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าว นับได้ว่าเป็นจุดตกต่ำที่สุดในช่วงที่ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศมีปัญหา แม้จะมีสัญญาณเตือนถึงความสัมพันธ์ที่ไม่ราบรื่นระหว่างไทยกับกัมพูชาตั้งแต่ช่วงปี 2551-2553 แต่อาเซียนกลับมีท่าทีเฉื่อยชาต่อภารกิจในการสร้างสันติภาพ ภายหลังการสู้รบอย่างรุนแรงในปี 2554 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้สร้างบรรทัดฐานใหม่ที่สำคัญคือการมีมติให้อินโดนีเซียในฐานะประธานอาเซียนเข้าดำเนินการในเรื่องนี้ แสดงให้เห็นว่าหากประธานอาเซียนมีภาวะผู้นำและความกระตือรือร้นอย่างเพียงพอก็สามารถมีบทบาทที่ช่วยคลี่คลายสถานการณ์ความขัดแย้งให้ผ่อนคลายลง ซึ่งจะเห็นว่าที่ประชุมอาเซียนประสบความสำเร็จในการผลักดันให้ไทยและกัมพูชาเห็นชอบกับการส่งผู้สังเกตการณ์ชาวอินโดนีเซียไปยังพื้นที่พิพาทเพื่อเฝ้าสังเกตการหยุดยิง อย่างไรก็ตาม แม้ฝ่ายกัมพูชาจะลงนามเห็นชอบกับการส่งผู้สังเกตการณ์ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม แต่อินโดนีเซียจะไม่ส่งทีมดังกล่าวมายังพื้นที่พิพาทจนกว่าจะได้รับความยินยอมจากทั้งสองฝ่าย ส่วนรัฐบาลไทย แม้จะเห็นชอบกับเรื่องดังกล่าวในที่ประชุมอาเซียน แต่กลับนิ่งเฉยในเวลาต่อมาเนื่องจากกองทัพแสดงท่าทีไม่เห็นด้วยโดยอ้างเหตุผลว่าการกระทำดังกล่าวจะส่งผลต่ออธิปไตยไทย สะท้อนให้เห็นว่าการต่อสู้ทางอำนาจระหว่างรัฐบาลพลเรือนกับกองทัพหลังการรัฐประหารยังคงดำเนินอยู่ การเลือกตั้งที่ทำให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเดือนกรกฎาคมสร้างความคาดหวังว่าจะเป็นจุดเปลี่ยน แต่ก็มิได้เป็นเช่นนั้น คำสั่งมาตรการชั่วคราวของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศไม่อาจทลายอุปสรรคทางการเมืองลงได้ ต่อมาในเดือนตุลาคม เกิดปัญหาอุทกภัยอย่างรุนแรงขึ้นในประเทศไทย รัฐบาลต้องทุ่มเทเวลาอย่างมากในการจัดการปัญหาเฉพาะหน้า และเมื่อสถานการณ์เริ่มคลี่คลายลงประเทศไทยและกัมพูชาจำเป็นต้องเร่งดำเนินการตามคำสั่งของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศโดยเร็วที่สุด ตั้งแต่ต้นปี 2554 เป้าหมายหลักของอาเซียนในการเข้ามามีบทบาทในกรณีพิพาทชายแดนไทย-กัมพูชา คือการยุติการสู้รบและเปิดการเจรจาครั้งใหม่ แม้ว่าการปะทะกันของสองฝ่ายจะสงบลงตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา แต่การหยุดยิงยังคงเป็นเพียงสัญญาปากเปล่า ความขัดแย้งนี้ยังคงไม่จบตราบจนกระทั่งทั้งสองประเทศได้ถอนทหารและการเจรจาเริ่มต้นขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ในการยุติข้อพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชา อาเซียนภายใต้การนำของอินโดนีเซียได้วางแนวทางสำหรับการจัดการปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต หากอาเซียนต้องการทำหน้าที่ในการรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคดังที่ได้ตั้งเจตนารมณ์ไว้ เมื่อสัญญาณของความขัดแย้งก่อตัวขึ้นอาเซียนจะต้องใช้กลไกที่มีอยู่ในการดำเนินการอย่างทันท่วงที เมื่อสัญญาณของความขัดแย้งได้ก่อตัวขึ้น และไม่ควรที่จะฝากความหวังไว้ที่ประธานอาเซียนแต่เพียงผู้เดียว ข้อพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชายังคงเป็นความท้าทายที่ยังไม่จบสิ้น อาเซียนจะต้องทำให้พื้นที่ชายแดนที่เคยมีการสู้รบเกิดสันติภาพอย่างยั่งยืน หากอาเซียนต้องการที่จะสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นในภูมิภาคอย่างแท้จริง.
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper This posting includes an audio/video/photo media file: Download Now | ||||
เหล่าศิลปินเพลงจัดคอนเสิร์ตหาทุนช่วยกลุ่ม Occupy Posted: 07 Dec 2011 07:12 AM PST กลุ่มศิลปินเพลงอย่าง Radiohead, Massive Attack และ Unkle จัดแสดงดนตรีที่ชั้นใต้ดิ 7 ธ.ค. 2011 - สำนักข่าวเดอะ การ์เดียน รายงานว่า กลุ่มศิลปินเพลงอย่าง Radiohead, Massive Attack และ Unkle ได้จัดแสดงดนตรีที่ชั้นใต้ดิ การแสดงสดในครั้งนี้มีศิลปินผู้ มีผู้ถูกเชิญมาชมการแสดงสดครั้ ก่อนหน้านี้เมื่อ 3 สัปดาห์ก่อน พื้นที่นี้เคยถูกยึดครองเป็นที่ ทางผู้จัดบอกอีกว่ามีการอั โรนัน แมคเนิน โฆษกกลุ่ม Occupy กล่าวว่า "เหล่าศิลปินจัดการแสดงในครั้ ในขณะที่มีการเปิดเพลงแนวอิเล็ อดัม ฟิซต์เมอไรซ์ ผู้จัดคอนเสิร์ตกล่าวว่าการจั "เมื่อวานผมไปพบกับนักบวช แล้ววันนี้ผมก็มาพบกับร็อคสตาร์ กลุ่มขบวนการ Occupy มีหลากวัฒนธรรมมากและนี่ก็เป็ ในวันนี้กลุ่มธนาคารทางความคิ โดยในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่
ที่มา
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
“ขอความเป็นธรรมให้เสียงประชาชน” Posted: 07 Dec 2011 07:03 AM PST อาจารย์ไชยันต์ ไชยพร เขียนบทความสั้น ๆ เรื่อง “ปัญหาประชาธิปไตย: การใช้เสียงมหาชนแบบไหนที่ทำลายประชาธิปไตย?” เผยแพร่เมื่อเสาร์ที่ 3 ธันวาคม 2554 ที่ผ่านมา สร้างข้อถกเถียงในหมู่ผู้สนใจเรื่องประชาธิปไตย (ทางเน็ท) อยู่มาก หลายท่านเขียนบทความและแสดงความเห็นโต้แย้งอาจารย์ไชยันต์ ในเรื่องเนื้อหา วิธีการ และจุดยืนในการเขียน ข้อแย้งจำนวนมากเขียนได้อย่างน่ารับฟัง อันที่จริงคำถามเรื่องปัญหาประชาธิปไตยตามชื่อบทความของอาจารย์ไชยันต์นั้นเป็นประเด็นสำคัญ นักวิชาการจำนวนมากทำการศึกษาประเด็นนี้ เพื่อหวังว่าการทำความเข้าใจปัญหาดังกล่าวจะนำไปสู่การพัฒนาระบอบประชาธิปไตยให้นำสันติสุขสู่สังคมมากที่สุด บางท่านก็ศึกษาว่าประชาธิปไตยบ่อนทำลายอะไรบ้าง บางท่านก็ศึกษาว่าอะไรบ้างบ่อนทำลายประชาธิปไตย ผลการศึกษาที่ได้แม้จะพบว่าปรากฎการณ์เลวร้ายหลายประการเกิดขึ้นในบริบทประชาธิปไตย แต่ไม่ได้หักล้างหลักการสำคัญของระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะเสียงประชาชน ชื่อบทความของอาจารย์ไชยันต์แสดงเจตนาว่าจะหยิบปัญหาสำคัญต่อความยั่งยืนของประชาธิปไตยมาถกเถียง แต่ในเนื้อหากลับมิได้มุ่งอธิบายประเด็นปัญหาหรือแสดงตัวอย่างที่รอบด้านให้ประจักษ์ว่า ‘เสียงมหาชน’ ทำลายประชาธิปไตยอย่างไร (เพื่อที่พวกเราจะได้ช่วยกันคิดต่อว่า ถ้าจะธำรงจิตวิญญาณของประชาธิปไตยไว้ควรจะต้องทำอย่างไร) ดังนั้น ผู้อ่านที่คาดหวังองค์ความรู้ทางวิชาการจากนักรัฐศาสตร์น่าจะผิดหวัง เมื่อพบว่าบทความดังกล่าวไม่ได้พูดในสิ่งที่แสดงเจตจำนงว่าจะพูด ส่วนเรื่องที่พูดนั้นกลับมีตรรกะและวิธีการที่ไม่รัดกุมเป็นที่โต้แย้งได้โดยง่าย เมื่อพิจารณาประวัติอาจารย์ไชยันต์ “รองศาสตราจารย์ ดร. ไชยันต์ ไชยพร ก็ยากที่จะเชื่อว่าอาจารย์จะเขียนบทความลวกๆ เช่นนี้ ประเด็นอาจอยู่ที่อะไรคือ ‘สาร’ จริงที่อาจารย์ไชยันต์ต้องการจะสื่อ ซึ่งเป็น ‘สาร’ ส่วนที่ไม่ได้เขียนในบทความนี้ ส่วนที่ไม่ได้ถูกแสดงออกมา เป็นส่วนที่อาจารย์ไชยันต์ปิดไว้จากบทความนี้ บทความนี้เป็นเพียงแค่กรอบซึ่งทำให้รูปที่อาจารย์ไชยันต์ต้องการให้สังคมเห็นนั้นปรากฎชัด พูดง่าย ๆ คือ ส่วนที่ไม่ได้เขียน (ณ ที่นี้) สำคัญกว่าส่วนที่เขียน ปัญหาของบทความอาจารย์ไชยันต์ ที่มีการ Oversimplification การเปรียบเทียบเฉพาะประเด็น ยกตัวอย่างไม่รอบด้าน กระทั่งตกหล่นข้อมูลสำคัญ (หรือทำเป็นลืม?) ตามที่มีผู้แสดงความเห็นแย้งนั้น อาจจะเป็นปัญหาต่อความเป็นเหตุเป็นผลของเรื่องราวในบทความนี้ แต่ไม่เป็นปัญหาต่อ ‘สาร’ สำคัญส่วนที่อาจารย์ไชยันต์ไม่ได้เขียน ในทางกลับกัน กลวิธีเช่นนี้ คือวิธีการสำคัญที่จะสื่อ ‘สาร’ ดังกล่าวได้ดี เมื่อใช้ประกอบกับข้อมูลที่อาจารย์ไชยันต์เสนอทิ้งไว้อย่างสม่ำเสมอในที่อื่น ๆ ตามวาระโอกาสต่าง ๆ แล้ว เช่น ในรายการตอบโจทย์ทางสถานีไทยพีบีเอส เมื่อวันอังคาร ที่ 29 พุธ ที่ 30 พ.ย. และพฤหัสฯ ที่ 1 ธ.ค. ที่ผ่านมา ในประเด็นเรื่องรัฐประหาร 19 กันยาฯ อะไรคือ ‘สาร’ จริงที่อาจารย์ไชยันต์ต้องการจะสื่อ? ฮิตเลอร์ +มติมหาชน = อำนาจ
สาระส่วนที่ไม่ปรากฎแต่มีความหมายสำคัญของอาจารย์ไชยันต์ คือความพยายามที่จะอธิบายว่าการเลือกตั้ง/มติมหาชนในบางครั้งมันกลายเป็น “ปีศาจ” ดังนั้น การ “ประหาร” ปีศาจจึงไม่ผิด ยิ่งไปกว่านั้น นับเป็นความชอบธรรมเสียด้วยซ้ำไป ดังที่อาจารย์ได้เสนอไว้ในหลายวาระว่า รัฐประหาร 19 กันยาฯ “ช่วยหยุดยั้งความรุนแรงทางการเมือง” ด้วยกลวิธีการเขียนบทความนี้ อาจารย์ไชยันต์ได้วาดภาพว่า “ปีศาจ” กำเนิดจากประชาชน ขู่ หรือโน้มน้าวให้ประชาชนหวาดกลัวเสียงประชาชนด้วยกัน ให้ความชอบธรรมกับอภิชนกลุ่มน้อย คณะรัฐประหาร ผู้สนับสนุนรัฐประหาร และวิธีการขึ้นสู่อำนาจของผู้มีอำนาจทางการเมืองช่องทางอื่นนอกเหนือจากการเลือกตั้ง/มติมหาชน โดยตัดทิ้งสภาพการณ์จริงที่ว่า ไม่ว่าระบอบการปกครองไหนก็ให้กำเนิดปีศาจได้ หากระบอบการปกครองนั้นขาดหลักการสำคัญที่ปกป้องสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ซึ่งรวมทั้งการปกป้องเสียงของประชาชนด้วย กล่าวให้ถึงที่สุด การรัฐประหารที่อาจารย์เอ่ยปากรับรองความชอบธรรมของมันต่างหากให้กำเนิดปีศาจสำหรับประชาชนได้ง่ายกว่าระบอบประชาธิปไตย เพราะสามารถขึ้นสู่อำนาจได้โดยไม่ต้องเจรจาต่อรองกับประชาชนส่วนใหญ่ พยายามรักษาอำนาจโดยไม่ฟังเสียงประชาชน ผลัดอำนาจด้วยความรุนแรง หากอ้างว่า รัฐประหารชอบธรรมเพราะเป็นเครื่องมือที่ช่วยกำจัดเผด็จการที่ไม่มีใครโค่นล้มได้ คำถามที่ตามมาคือ หากเป็นเผด็จการที่มาจากรัฐประหาร อาจารย์คิดว่าเครื่องมือชนิดใดจะกำจัดเผด็จการชนิดนี้ได้ รัฐประหารซ้ำ???? ลำพังการให้ความชอบธรรมกับรัฐประหารนับเป็นศีลของผู้มีจุดยืนอยู่ข้างประชาธิปไตยที่ไม่พึงกระทำ ยิ่งไปกว่านั้น ความพยายามลดทอนความชอบธรรมของเสียงประชาชนย่อมถือเป็นการทำลายหลักการสำคัญของประชาธิปไตยโดยตรง แน่นอนว่าระบอบประชาธิปไตยไม่ใช่ยาวิเศษประกันความดีงามของสังคมการเมือง แต่ก็มิได้หมายความว่าหลักการและคุณค่าพื้นฐานบางประการของระบอบนี้สมควรถูกเพิกถอน ทำลายทิ้ง เพียงเพราะมันเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา ... สุดท้ายแล้ว บทความของอาจารย์ไชยันต์ไม่ได้ให้คำตอบเรื่องเสียงมหาชนแบบไหนทำลายประชาธิปไตยมากนัก แต่ได้ให้คำตอบเรื่องวิชาการแบบไหนทำลายประชาธิปไตยพอสมควร สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
Posted: 07 Dec 2011 06:44 AM PST ซะการีย์ยา อมตยา กวีซีไรต์อ่านบทกวีถึงเหยื่อการเมืองที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในสังคมไทยจากกรณีการสั่งจำคุก"อากงsms"เป็นเวลา20ปี ที่ถูกอ่านในงาน"แด่ ประเทศของคนตาเดียว: งานแสดงศิลปะและอ่านบทกวี ๒๐ ปีอากง" เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2554 ณ ร้านตูดยุง เชิงสะพานเฉลิมวันชาติ กรุงเทพมหานคร
ในห้องนั้น ในห้องพิจารณาคดีลับที่ถูกปิดตา ในห้องนั้นกรอบไม้ทาสีแล้วกำลัง ในห้องนั้นแม้แต่ความตายยังอายที่จะตาย ถ้อยคำนั้นตอกตรึงด้วยตะปูดอกทอ ในห้องนั้น ห้องนั้น ห้องที่ถูกปิดตาย!
- ซะการีย์ยา อมตยา
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
“จินตนา แก้วขาว” ปล่อยตัวพรุ่งนี้ – สมัชชาคนจนเตรียมรับขวัญ “แกนนำต้านเขื่อน” พ้นคุก Posted: 07 Dec 2011 05:00 AM PST เครือข่ายชาวบ้านประจวบฯ เตรียมรับ “จินตนา แก้วขาว” หลังถูกขังอยู่ 59 วัน ส่วนกลุ่มสมัชชาคนจนสมัชชาคนจนราษีไศล-หัวนาเตรียมจัดงานรับขวัญ “สมเกียรติ เจือจาน” แกนนำชาวบ้านได้รับอภัยโทษ วันนี้ (7 ธ.ค.54) นายพงษ์ศักดิ์ บุตรรักษ์ ผู้ประสานงานเครือข่าย กลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ให้ข้อมูลว่า นางจินตนา แก้วขาว แกนนำกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด ซึ่งถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในข้อหาบุกรุก จากกรณีการต่อสู้คัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่บ้านกรูดบ่อนอก จะได้รับการปล่อยตัวในวันที่ 8 ธ.ค.นี้ ในเวลา 11.00 น. นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวต่อมาว่า ทางชาวบ้านเพิ่งทราบข่าววันนี้ว่านางจินตนาจะถูกปล่อยตัวออกจากเรือนจำพร้อมกับนักโทษชายหญิงอีกกว่า 330 คนที่ได้รับพระราชทานอภัยโทษ โดยจะมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานการจัดกิจกรรมในวันดังกล่าวด้วย ส่วนชาวบ้านเครือข่ายพันธมิตรเพื่อสิ่งแวดล้อม จ.ประจวบคีรีขันธ์ ได้เตรียมการจัดขบวนกลองยาวเพื่อต้อนรับ และให้กำลังใจนางจินตนาในแบบชาวบ้าน “น่าจะมีคนมารอรับไม่ต่ำกว่า 300 คน เพราะชาวบ้านรอคอยวันนี้มานาน” นายพงษ์ศักดิ์แสดงความเห็น จากนั้น ช่วงเย็นในเวลาประมาณ 17.00 น.จะมีการจัดเวทีที่บริเวณเทศบาลตำบลบ้านกรูด อ.บางสะพาน เพื่อให้ชาวบ้านเครือข่ายต่างๆ ใน จ.ประจวบฯ ได้มาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ และให้นางจินตนาขึ้นพูดคุยกับชาวบ้าน นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ตลอดระยะเวลา 59 วัน ที่นางจินตนาอยู่ในเรือจำ ทางเครือข่ายชาวบ้านมีการจัดเวทีพูดคุยกันทุกวันจันทร์ และมีคนเดินทางมาเยี่ยมในกำลังใจนางจินตนาอย่างต่อเนื่อง คาดว่าหลังจากนี้จะมีการจัดเวทีในประเด็นสิทธิชุมชน กฎหมายสิ่งแวดล้อม ศาลสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงคดีความของชาวบ้านที่ไม่ควรต้องโทษคดีอาญาทั้งที่ทำหน้าที่เป็นผู้ปกป้องสิ่งแวดล้อม โดยในวันที่ 12 ธ.ค.นี้ ชาวบ้านจะเข้าร่วมพูดคุยในเวทีของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ เรื่องการถูกละเมิดสิทธิ์และคดีความซึ่งนางจินตนาน่าจะร่วมเดินทางไปด้วย ทั้งนี้ คดีของนางจินตนา ศาลฎีกาได้มีคำสั่งจำคุกโดยไม่รอลงอาญา เป็นระยะเวลา 4 เดือน ตั้งแต่วันที่ 11 ต.ค.ที่ผ่านมา และการปล่อยตัวมีขึ้นภายหลังมีพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2554 เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธ.ค.54 เตรียมจัดงานรับขวัญ หลังแกนนำชุมนุมต้านเขื่อนราศีไศลได้รับอภัยโทษ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมัชชาคนจนราษีไศล-หัวนา เตรียมจัดงานรับขวัญนักสู้คนจนสันติวิธีเสวนา ที่สนามหน้าศาลากลางศรีสะเกษ เนื่องในโอกาสที่นายสมเกียรติ เจือจาน แกนนำต่อต้านเขื่อนราศีไศล ที่ถูกศาลฎีกาตัดสินเมื่อวันที่ 1 ก.พ.54 ให้จำคุก 1 ปี ไม่รอลงอาญาในข้อหาบุกรุก ทำให้เสียทรัพย์ ความผิดต่อเสรีภาพ จากกรณีสมัชชาคนจนบุกเข้าชุมนุมที่หัวงานเขื่อนราษีไศลเมื่อเดือนพฤษภาคม 2543 จะได้รับการอภัยโทษและปล่อยตัว ในวันที่ 9 ธ.ค.นี้ ทั้งนี้ นายสมเกียรติเป็นชาวบ้านเพียมาต ต.หนองแค อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ ได้รับความเดือดร้อนจากการก่อสร้างเขื่อนราษีไศลและเข้าร่วมต่อสู้เรียกร้องกับสมัชชาคนจนมาตั้งแต่ปี 2542 โดยมีบทบาทเป็นแกนนำคนหนึ่ง และขณะที่ถูกสั่งจำคุกนั้น เขาอยู่ในตำแหน่งประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแค การต่อสู้ยาวนานเพื่อสิทธิชุมชนของชาวบ้านสมัชชาคนจนราษีไศล เกิดขึ้นท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมือง ปัญหาชาวบ้านถูกหยิบยกเป็นเครื่องมือเอาชนะกันของนักการเมืองอยู่บ่อยๆ ยิ่งทำให้ความขัดแย้งบานปลาย เกิดคดีฟ้องร้องขึ้นมากมาย ผู้ตกเป็นผู้ต้องหาประมาณ 30 คน ทั้งชาวบ้าน นักการเมือง นักพัฒนาและนักเคลื่อนไหวทางสังคม แต่คนที่ติดคุกคือนายสมเกียติ โดยเขาถูกจับกุมเมื่อวันที่ 18 มิ.ย.48 ศาลชั้นต้นตัดสินสั่งจำคุก 2 ปี ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น และเมื่อวันที่ 1 ก.พ.54 ศาลฎีกาก็สั่งจำคุกสมเกียรติ 1 ปี ไม่รอลงอาญา สำหรับ เขื่อนราษีไศลในโครงการโขงชีมูลสร้างเสร็จเก็บกักน้ำเมื่อปี 2536 ท่วมพื้นที่บุ่งทาม 93,000 ไร่ ผู้ได้รับผลกระทบ สูญเสียที่ดินทำกินประมาณ 8,000 ครอบครัว โดยที่รัฐไม่มีแผนการชดเชยใดๆ ชาวบ้านผู้เดือดร้อนจึงรวมตัวลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิให้รัฐจ่ายค่าชดเชย ศึกษาผลกระทบ (ย้อนหลัง) และให้มีแผนฟื้นฟูความเสียหาย นับถึงวันนี้เป็นเวลา 18 ปีแล้ว ปัญหายังแก้กันไม่จบสิ้น
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper This posting includes an audio/video/photo media file: Download Now | ||||
คนงานโฮย่าจี้ผู้ว่าลำพูนช่วยเหลือ Posted: 07 Dec 2011 04:17 AM PST คนงานโฮย่ายื่นหนังสือเรียกร้องให้ผู้ว่าราชการ จ.ลำพูน ช่วยเหลือกรณีเลิกจ้างคนงานเกือบ 2,000 คน ด้านผู้ว่ากำชับให้ “ชุมนุมโดยสันติ” รับปากประสานนายจ้างเจรจาอีกรอบ 9 ธ.ค. นี้ ชี้หากเลิกจ้างจริงให้ทำใจ เพราะรัฐบาลมีโครงการฝึกอาชีพรออยู่ 7 ธ.ค. 54 – สหภาพแรงงานอิเล็คทรอนิคส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์ (พนักงานบริษัทโฮย่า) ได้ยื่นหนังสือถึงนายสุรชัย ขันอาสา ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เพื่อให้มีการช่วยเหลือในกรณีที่บริษัทฯ จะเลิกจ้างลูกจ้างเกือบ 2,000 คน ตั้งแต่วันที่ 21 ม.ค. 2555 ซึ่งสหภาพแรงงานมองว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม เนื่องจากเป็นการเลิกจ้างพนักงานจำนวนมาก ประมาณเกือบ 1,800 - 2,000 คน โดยเลือกทำการเลิกจ้างเฉพาะพนักงานโรงงานที่ 2 ซึ่งในโรงงานดังกล่าวมีสมาชิสหภาพแรงงานอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งที่ผลกำไรของบริษัทฯ ที่ผ่านมาล่าสุดปี 2553 มีกำไรที่ 591 ล้านบาท (จากข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์) แต่บริษัทฯ อ้างว่าดำเนินการขาดทุน นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้ขยายการดำเนินงานไปยังประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศเวียดนาม รวมถึงบริษัทฯ อ้างถึงสถานการณ์น้ำท่วมในประเทศไทย ส่งผลกระทบทำให้ต้องเลิกจ้างพนักงาน แต่ในขณะที่บริษัทคู่ค้า ที่ประสบภาวะน้ำท่วมอย่างหนักที่จังหวัดอยุธยา ก็ไม่มีการเลิกจ้างพนักงานแต่อย่างใด ด้านนายนายสุรชัย ขันอาสา ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน กล่าวกับคนงานและสื่อมวลชนว่า ขอให้พนักงานบริษัทโฮยาฯ ที่มาชุมนุมกรณีเกรงว่าจะถูกเลิกจ้างครั้งนี้ ได้ปฏิบัติตามกฎหมายและชุมนุมอย่างสันติไม่สร้างความเดือดร้อนเพื่อให้ทุกฝ่ายได้มีการเจรจากัน โดยการเจรจานั้นต้องให้ทุกฝ่าย ทั้งนายจ้างและลูกจ้างสามารถเดินไปด้วยกันได้ และตนจะประสานให้ประธานบริษัทโฮย่า มาร่วมเจรจากับแรงงานและสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด ในวันที่ 9 ธ.ค. นี้เพื่อหาทางออกในเรื่องนี้ต่อไป นอกจากนี้นายสุรชัย กล่าวต่อไปว่าตนก็ขอให้พนักงานทุกคนต้องทำใจหากทางบริษัทโฮยา มีการเลิกจ้างพนักงาน 2,000 คนจริง ซึ่งทางกระทรวงแรงงานและรัฐบาลได้มีนโยบายโครงการจ้างแรงงานระยะสั้น ฝึกอบรมอาชีพโดยให้มีรายได้ระหว่างในช่วงที่มีการฝึกอบรม และจังหวัดลำพูนจะลงไปช่วยอย่างเต็มอยู่แล้ว อ่านข่าวเกี่ยวข้อง: โฮย่าเจรจานัดแรก ยังไม่ได้ข้อตกลง สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
กองทัพรัฐฉาน SSA และพม่ายังปะทะกัน แม้สองฝ่ายลงนามสงบศึก Posted: 07 Dec 2011 02:59 AM PST การปะทะระหว่างทหารกองทัพรัฐฉาน SSA หรือ กองกำลังไทใหญ่ "ใต้" และทหารพม่ายังไม่หยุด แม้สองฝ่ายจะลงนามสงบศึกสร้างสั พล.ท.เจ้ายอดศึก ผู้นำกองทัพรัฐฉาน SSA กล่าวว่า ข้อตกลงหยุดยิงระหว่างกองทัพรั ทั้งนี้ พล.ท.เจ้ายอดศึกกล่าวอีกว่า ขณะนี้แม้ว่าทั้งสองฝ่ายได้ "ขณะนี้กองทัพรัฐฉาน SSA เฝ้าติดตามคำสั่งจากกองทัพพม่ ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 19 พ.ย. 54 คณะตัวแทนรัฐบาลพม่าและคณะตั ขณะเดียวกัน มีรายงานว่า ในวันที่ 7 – 8 ธ.ค. นี้ กองทัพรัฐฉาน SSA ได้นัดประชุมเจ้าหน้าที่ทุกหน่
ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
ศาลไม่ให้ประกัน ‘อริสมันต์’ หลังเข้ามอบตัว Posted: 07 Dec 2011 02:31 AM PST
7 ธ.ค.54 เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์รายงานว่า ศาลอาญามีคำสั่งไม่อนุญาตให้นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง ผู้ต้องหาคดีก่อการร้ายตามหมายจับ ได้รับการประกันตัวชั่วคราว หลังพนักงานสอบสวน กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) คุมตัวส่งให้กับพนักงานอัยการในวันนี้และส่งตัวยื่นฟ้องต่อศาลอาญาต่อใน ทันที โดยนายอริสมันต์ได้นำเงินสด จำนวน 1,200,000 บาท ใช้เป็นหลักทรัพย์ในการยื่นขอประกันตัวสู้คดี ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า หากผู้ต้องหาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว เกรงว่าจะหลบหนี หรือไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน อีกทั้งยังมีหมายจับอีกหลายคดีที่เป็นความผิดร้ายแรงมีอัตราโทษสูง ซึ่งต้องพิจารณา ประกอบกับหลบหนีหมายจับกุมไปเป็นเวลานาน จึงไม่อนุญาตตามคำร้องขอให้ปล่อย ตัว ทันทีที่ศาลมีคำสั่งดังกล่าว เจ้าหน้าที่ได้คุมตัวนายอริสมันต์ไปที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ด้านทนายความของนายอริมันต์ เตรียมยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวในวันที่ 8ธ.ค.พร้อมเพิ่มวงเงินหลักทรัพย์เป็นจำนวน2ล้านบาท ขณะที่เดลินิวส์รายงานว่า นายอริสมันต์ กล่าวถึงการกลับมาต่อสู้คดีในประเทศไทยว่า ที่หลบหนีไปต่างประเทศนานร่วมปีนั้น เพราะไม่มั่นใจกระบวนการยุติธรรมในขณะนั้นที่มีการนำกำลังเจ้าหน้าที่บุกไป ที่ห้องพักโรงแรมเอสซี ปาร์ค โดยมีอาวุธต่างๆ ซึ่งเป็นการกระทำเกินกว่าเหตุ อย่างไรก็ตามตนไม่คิดที่จะฟ้องกลับการดำเนินคดีของเจ้าหน้าที่ ซึ่งขณะนี้ตนยึดหลักการให้อภัย ไม่อาฆาต โดยการกลับมาสู้คดีเวลานี้ก็เห็นว่าสถานการณ์คลี่คลาย และรัฐบาลใหม่มีแนวทางปรองดองสมานฉันท์ ทำให้มั่นใจกระบวนการยิ่งขึ้น และการกลับมาครั้งนี้ก็ไม่ได้หวังว่าจะได้เข้าไปดำรงตำแหน่งหรือทำงานทางการ เมือง เพราะคงเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมเวลานี้ หลังจากนี้คงใช้เวลาในการต่อสู้ทางกฎหมายมากกว่า เรื่องอื่นๆคงต้องหยุดไว้ก่อน โดยตนมั่นใจในการเคลื่อนไหวต่างๆ ที่ผ่านมาว่าเป็นการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ไม่ได้คิดร้ายหรือทำให้เกิดมี ความรุนแรง ส่วนที่ปรากฏภาพถือน้ำมันแล้วกล่าวหาตน ก็ยืนยันว่าตนมีคลิปที่จะนำมาใช้แสดงเป็นพยานหลักฐานต่อสู้ในศาล เพราะคลิปต่างๆ ที่ปรากฏออกมาเป็นเพียงบางส่วนไม่ใช่ทั้งหมด ซึ่งตนกระทำเพื่อลักษณะป้องปรามมากกว่า ไม่ใช่ก่อเหตุรุนแรง ด้านนายนายวินัย ดำรงค์มงคลกุล อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ และโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวย้ำว่า การทำสำนวนคดีอัยการ พิจารณาด้วยความเป็นธรรมสำหรับผู้ต้องหาทุกคนอยู่แล้ว ซึ่งผู้ต้องหาที่เกี่ยวข้องที่รอตัวมาพิจารณาสำนวนคดี มีหลายคน อาทิ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ถูกกล่าวหามีพฤติการณ์กระทำนอกราชอาณาจักร อย่างไรก็ตามถ้าหากว่าคดีที่ยื่นฟ้องก่อการร้ายกลุ่ม 19 แกนนำ นปช. และนายนอริสมันต์ จะพิจารณาเสร็จสิ้นและมีคำพิพากษาได้ก่อนที่จะได้ตัว พ.ต.ท.ทักษิณ มาดำเนินคดีในภายหลังก็ไม่มีปัญหา เราก็ทำคดีตามกันพยานหลักฐานที่ปรากฏ ทั้งอัยการก็ไม่ได้คัดค้านการประกันนายอริสมันต์ เนื่องจากนายอริสมันต์เข้ามอบตัวเอง ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาลที่จะพิจารณาให้ปล่อยชั่วคราวหรือไม่ ทั้งนี้ อัยการโจทก์ระบุฟ้องความผิดสรุปว่า เมื่อระหว่างวันที่ 28 ก.พ. – พ.ค. 2553 ต่อเนื่องกัน จำเลยร่วมกับนาย วีระกานต์ มุสิกพงศ์ นาย จตุพร พรหมพันธุ์ นาย ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นพ. เหวง โตจิราการ นาย ก่อแก้ว พิกุลทอง นาย ขวัญชัย สาระคำ หรือไพรพนา นายยศวริศ หรือเจ๋ง ดอกจิก ชูกล่อม นาย นิสิต สินธุไพร นายการุณ หรือเก่ง โหสกุล นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท กับพวกรวม 19 คน ซึ่งเป็นจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.2542/2553 ของศาลนี้ และจำเลยอีก 5 คนในความผิดฐานเดียวกันของศาลนี้ ได้ร่วมกันกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกัน กล่าวคือ จำเลยซึ่งเป็นแกนนำ นปช. หรือกลุ่มคนเสื้อแดง ได้ร่วมกันกับพวก ยุยง ปลุกปั่นประชาชนทั่วราชอาณาจักรไทยให้เข้าร่วมชุมนุมและทำกิจกรรม โดยมีความมุ่งหมายที่จะต่อต้านรัฐบาลและบังคับขู่เข็ญ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีขณะนั้น ให้ประกาศยุบสภาเพื่อให้มีการจัดการเลือกตั้งใหม่ โดยจำเลยกับพวกจัดให้มีการชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดงหลายหมื่นคนที่บริเวณสะพาน ผ่านฟ้าลีลาศ ตามแนวถนนราชดำเนินไปจนถึงสี่แยกคอกวัว และแยกราชประสงค์ มีการเดินขบวนและเคลื่อนย้ายประชาชนไปปิดล้อมสถานที่ต่างๆ เช่น สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย รัฐสภา กรมทหารราบที่ 22 และบ้านพักของนายกรัฐมนตรี และมีการใช้อาวุธเครื่องยิงลูกระเบิดแบบเอ็ม 79 ยิงใส่บ้านพักประชาชน เพื่อสร้างความปั่นป่วนก่อให้เกิดความเสียหายแก่การคมนาคมและทำให้ประชาชน ส่วนใหญ่เดือดร้อนเกรงกลัวอันตรายที่จะก่อให้เกิดขึ้นต่อชีวิตและร่างและ ทรัพย์สิน ขัดขวางการใช้ชีวิตโดยปกติสุขของประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ยังใช้เครื่องยิงจรวดอาร์พีจี ยิงใส่กระทรวงกลาโหม ใช้เครื่องยิงลูกระเบิดแบบเอ็ม. 79 ยิงใส่กระทรวงสาธารณสุขซึ่งเป็นสถานที่จัดประชุมคณะรัฐมนตรี ยิงใส่กองบัญชาการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รมน.) มีทหารได้รับบาดเจ็บ บุกตรวจค้น รพ.จุฬาลงกรณ์ โดยอ้างว่ามีทหารแอบซ่อนอยู่ ทำให้แพทย์ พยาบาลไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่รักษาผู้ป่วยได้ รวมทั้งสถานที่อื่นๆหลายแห่ง ชั้นสอบสวนจำเลยให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ทั้งนี้โจทก์ไม่ขอคัดค้านการประกันตัวเนื่องจากจำเลยเข้ามอบตัวกับเจ้าพนักงานเอง ศาลรับคำฟ้องคดีไว้พิจารณาเป็นคดีดำที่ อ.4958/2554 โดยอ่านและอธิบายคำฟ้องให้จำเลยฟังแล้วสอบถามปรากฏว่านายอริสมันต์ แถลงให้การปฏิเสธ ขอต่อสู้คดี และจัดเตรียมทนายความไว้พร้อมแล้ว ศาลจึงนัดตรวจพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายในวันที่ 6 ก.พ. ศกหน้า เวลา 13.30 น.
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
น้ำตาสลิ่ม#2: กรุงเทพฯ ไม่ได้มีแต่ชนชั้นกลาง Posted: 07 Dec 2011 02:08 AM PST “เก่งกิจ กิติเรียงลาภ” ชี้กรุงเทพฯ ไม่ได้เป็นแค่ที่อยู่ชนชั้นกลางแต่เต็มไปด้วยผู้ใช้แรงงานและคนที่อยู่ล่างสุดของสังคม และคนที่เจอผลกระทบน้ำท่วมก่อนคือคนชั้นล่างในชุมชนนอกคันกั้นน้ำ พร้อมอธิบายสภาพชนชั้นกลางที่ไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจจึงไม่มั่นคงในอุดมการณ์ทางการเมือง อาจเป็นเหลืองหรือแดงก็ได้ ขึ้นอยู่กับการต่อสู้ทางการเมืองว่าฝั่งไหนเข้มข้นกว่ากัน เก่งกิจ กิติเรียงลาภ เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. ที่ผ่านมา ที่ร้าน 9 บรรทัด จ.เชียงใหม่ มีการจัดเสวนา: น้ำตาสลิ่ม: ชนชั้นกลางเป็นภัยต่อความก้าวหน้าของประชาธิปไตยจริงหรือ? โดยประชาไทได้เสนอการอภิปรายของวิทยากร บุญเรือง นักวิจัยศูนย์วิจัยหมูหลุมไปแล้วนั้น (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) ต่อมาเป็นการนำเสนอของ เก่งกิจ กิติเรียงลาภ จากกลุ่มประกายไฟ โดยมีรายละเอียดการอภิปรายต่อไปนี้ (หมายเหตุ: ตัวเน้น เป็นการทำเครื่องหมายโดยประชาไท) 000 “เวลาที่เราพูดถึงกรุงเทพฯ กรุงเทพฯ จึงไม่ได้มีแต่ชนชั้นกลาง ในความหมายแบบแคบ กรุงเทพฯ เต็มไปด้วยผู้ใช้แรงงานและคนที่อยู่ระดับล่างที่สุดในสังคม นี่ไม่ได้เกิดเฉพาะในกรุงเทพฯ แต่เกิดขึ้นในเมืองใหญ่ทุกเมือง” “อย่าพยายามมองว่าคนที่ใช้อินเตอร์เน็ต คนที่ช็อปปิ้ง คนที่ขับรถมา คนที่ใช้แบรนด์เนม เป็นชนชั้นกลาง ชนชั้นล่างก็ใช้แบรนด์เนมได้ เพราะแบรนด์เนมอย่างน้อยก็คุณภาพดี ถ้าพอมีตังค์เราก็อยากจะซื้อใช่ไหมครับ ไอแพด ไอโฟนถ้ามีตังค์ผมก็อยากซื้อ เพราะฉะนั้นเวลาที่เราพูดถึงชนชั้นล่าง ชนชั้นล่างไม่ได้ด้อยในทางเศรษฐกิจ เพียงแต่ชนชั้นล่างไม่สามารถควบคุมการผลิตของสังคมนี้ได้ ถูกกีดกันออกจากการควบคุมการผลิต แต่เขาไม่ได้เป็นคนจน เพราะฉะนั้นการเรียกคนเสื้อแดงเป็นคนจนจึงเป็นมายาคติที่สำคัญมากที่นักวิชาการต้องรื้อมายาคตินี้ทิ้งไป” เก่งกิจ กิติเรียงลาภ
ถ้าปล่อยน้ำท่วมกรุงเทพฯ งานนี้ เกิดจากการที่เราคุยกันในหลังจากที่มีงานเสวนาน้ำท่วม(ปาก) ที่ร้าน Book Re:pulic (ข่าวที่เกี่ยวข้อง [1], [2]) ซึ่งโดยส่วนตัวมีผมคนเดียวที่ไปฟัง และผมเกิดความหงุดหงิดมาก เพราะได้ฟังพี่คำ ผกา ซึ่งพูดประโยคหนึ่งซึ่งทำให้ผมโกรธมากจนเกิดงานวันนี้ ก็คือคำ ผกาพูดว่า ไม่เป๊ะๆ นะครับ แต่ความหมายนี้ คือบอกว่ารัฐบาลชุดนี้ผิดพลาดที่เอาใจคนกรุงเทพฯ มากเกินไป ชนชั้นกลางกรุงเทพฯ มีแค่ 4 ล้านคน แต่คนชนบทมีตั้ง 40 ล้านคน ทำไมไม่ปล่อยให้กรุงเทพฯ น้ำท่วม รัฐบาลชุดนี้สะท้อนองค์ความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาว่าเรามักจะเอาใจคนที่เราไม่ชอบมากกว่าปกติ เพราะฉะนั้นข้อเสนอของคำ ผกา ก็คือปล่อยน้ำท่วมกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นบ้านของชนชั้นกลางสลิ่ม ที่คำผกาเรียก อันนี้ด้วยความเคารพไม่ได้ด่าพี่นะครับ ปล่อยน้ำท่วมบ้านของสลิ่มไป แต่รักษาฐานเสียงพรรคเพื่อไทยที่อยู่ในชนบท 40 ล้านคน อันนี้เป็นที่มาของการเสวนาในวันนี้ ผมรู้สึกว่าเราในฐานะที่มีนักพูดหรือนักเขียนเสื้อแดงหลายๆ คนที่เป็นปัญญาชน สิ่งที่เขาพูดหลายๆ อย่าง รู้สึกมันสามานย์เกินไปในการอธิบายสังคมไทยในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้คำว่าสลิ่มว่าหมายถึงคนกรุงเทพฯ ผมอยากจะตั้งข้อสังเกตนิดหนึ่งก่อนที่จะพูดเชิงทฤษฎีก็คือว่า ถ้าเราดูกรณีข่าวน้ำท่วมกรุงเทพฯ สิ่งที่เราจะเห็นเลยก็คือรัฐบาลและ กทม. จะประกาศตลอดว่า "ให้ระวังชุมชนที่อยู่นอกคันกั้นน้ำ" คนพวกนี้คือไม่ได้รับการป้องกันจากกรุงเทพฯ เวลาที่รัฐบาลประกาศให้ชุมชนที่อยู่นอกคันกันน้ำระวังน้ำ ให้รีบอพยพ เวลาที่เราใช้คำว่าชุมชน เรารู้แล้วว่าคือสลัม อันนี้พูดง่ายๆ ในภาษาชาวบ้าน นั่นหมายความว่า มีคนจำนวนมากในกรุงเทพฯ แต่ไม่ได้มีสถานะทางเศรษฐกิจ หรือไม่ได้อยู่ในสถานที่ โลเคชัน หรือบ้านที่ปลอดภัยจากน้ำท่วมอย่างดีเลิศ อย่างที่คำ ผกา หรือคนอื่นๆ จะพูดถึง เพราะฉะนั้น สิ่งที่เราจะเห็นจากปรากฏการณ์น้ำท่วมคือคนที่จะตายห่าก่อนเมื่อเกิดน้ำท่วมอยุธยาและกรุงเทพฯ ก็คือคนที่เป็นคนงานที่อยู่ตามหอพัก ตามโรงงานอุตสาหกรรม บ้านเช่าต่างๆ นั่นคือคนชั้นล่างที่สุดของสังคม และเป็นผู้ผลิตจริงๆ ของสังคมไทย หรือของสังคมระบบทุนนิยมในประเทศไทย เพราะฉะนั้นการปล่อยให้น้ำท่วมกรุงเทพฯ แล้วมีคนแค่ 4 ล้านคนท่วมนี้ เป็นคำพูดที่สามานย์ที่สุดสำหรับคนเสื้อแดงที่รักประชาธิปไตย
กรุงเทพฯ ที่มีมากกว่าชนชั้นกลาง คราวนี้ผมจะพูดถึงทฤษฎีในทางสังคมศาสตร์ที่อธิบายชนชั้นกลาง ผมจะพูด 3 กรอบแนวคิดในทางสังคมศาสตร์ หนึ่งในฐานะที่ผมเป็นนักรัฐศาสตร์ นักรัฐศาสตร์กระแสหลักโดยทั่วไปมักจะเชื่อว่า ชนชั้นกลางไม่ว่าเขาจะหมายความว่าอะไรก็ตาม ชนชั้นกลางคือคนที่เป็นพลังของประชาธิปไตย คนพวกนี้จะรู้ดีที่สุดว่าประชาธิปไตยคืออะไร ส่วนคนชั้นล่างก็เป็นคนโง่ คนจนก็จะเป็นคนโง่ เพราะฉะนั้นยิ่งเรามีการพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตมากขึ้นเท่าไหร่ มันก็จะเกิดชนชั้นกลางมากขึ้น เมื่อเกิดชนชั้นกลางมากขึ้นก็นำไปสู่การเกิดประชาธิปไตยมากขึ้น การดีเบทในประเด็นนี้ นักรัฐศาสตร์กระแสรองจะโต้นักรัฐศาสตร์กระแสหลัก โดยการพิสูจน์ผิดว่า ชนชั้นกลางไม่ได้เป็นพลังที่นำไปสู่ประชาธิปไตยจริงๆ อันนี้ถ้าเราดูงานคลาสสิกของมาร์กซ์ (Karl Marx) นะครับ มาร์กซ์จะพูดว่าการขยายตัวหรือการพัฒนาของระบบทุนนิยม นอกเหนือจากจะสร้างผู้ประกอบการ หรือชนชั้นกลาง หรือชนชั้นนายทุนน้อย (Petty Bourgeois) แล้ว มันยังนำไปสู่การขยายตัวหรือการเพิ่มจำนวนของคนงาน หรือชนชั้นผู้ใช้แรงงานด้วย ซึ่งชนชั้นนี้จะกลายมาเป็นพลังของการเปลี่ยนแปลงในอนาคตและนี่เป็นประเด็นที่รัฐศาสตร์ไม่ค่อยพูดถึง เพราะฉะนั้นการพัฒนาเศรษฐกิจ (Economic development) หรือพูดอีกอย่างคือการพัฒนาทุนนิยม (Capitalism) จึงไม่ได้นำไปสู่การเกิดขึ้นของผู้ประกอบการหรือเจ้าของกิจการในระบบทุนนิยมอย่างเดียวอย่างที่ อาจารย์เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เสนอ แต่ยังนำไปสู่การขยายตัวของจำนวนผู้ใช้แรงงานในเมือง และในบริเวณต่างๆ ที่การพัฒนาแบบทุนนิยมเข้าไปถึง เพราะฉะนั้น สิ่งที่นักรัฐศาสตร์กระแสรองจำนวนมากที่ด่าชนชั้นกลางไม่ได้พูดถึง ก็คือไม่ได้พูดถึงการเพิ่มจำนวนของผู้ใช้แรงงานในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคนขับแท็กซี่ที่ไม่มีปัจจัยการผลิต คนที่ทำงานในภาคบริการทั้งหลาย แม้กระทั่งการขายบริการทางเพศ หรืออื่นๆ เยอะแยะที่อยู่ในเมือง และเอาเข้าจริงคนจำนวนมากที่ทำงานในภาคบริการ เมื่อทำงานเสร็จก็กลับไปอาศัยในสลัม ในหอพักด้วย นั่นคือสิ่งที่ กทม. เรียกว่าชุมชน จริงๆ ก็คือสลัม ไว้รองรับกรรมกรที่มาจากต่างจังหวัดที่มาอยู่ในเมือง เวลาที่เราพูดถึงกรุงเทพฯ กรุงเทพฯ จึงไม่ได้มีแต่ชนชั้นกลาง ในความหมายแบบแคบ กรุงเทพฯ เต็มไปด้วยผู้ใช้แรงงานและคนที่อยู่ระดับล่างที่สุดในสังคม นี่ไม่ได้เกิดเฉพาะในกรุงเทพฯ แต่เกิดขึ้นในเมืองใหญ่ทุกเมือง เราอาจไม่คิดว่าเชียงใหม่มีขอทาน แต่ผมก็เจอขอทานที่เชียงใหม่ ประเด็นคือเชียงใหม่เป็นเมืองที่เต็มไปด้วยชนชั้นทุกชนชั้นในสังคม คนที่รวยที่สุด จนถึงคนที่จนที่สุด และอยู่ในสลัม (เสียงแทรก: ต่างด้าวด้วย) ใช่ แรงงานต่างด้าวด้วย
ชนชั้นกลางผู้มีความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ ประเด็นต่อไปที่จะพูดถึงคือ การศึกษาชนชั้นกลางจากมุมมองสังคมวิทยา มันจะเริ่มต้นจากสำนักคิดสองสำนักคิดหลักๆ สำนักแรกเป็นสำนักคิดกระแสหลักของแม็กซ์ เวเบอร์ (Max Weber) สำนักคิดที่สองคือ Marxist ไม่ว่าจะเป็นมาร์กซ์ดั้งเดิมหรือรุ่นใหม่ๆ ไม่ว่าสองสำนักนี้จะแตกต่างกันอย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้องค์ความรู้เกี่ยวกับชนชั้นกลางในมุมมองสังคมวิทยาทั้งสองสำนัก มีความใกล้เคียงกัน ในการศึกษาชนชั้นในสังคมทุนนิยม เขายืนยันว่าชนชั้นกลางมีอยู่จริง แต่ชนชั้นกลางไม่ได้มีจำนวนมากอย่างที่คนเชื่อ ชนชั้นกลางไม่ได้มีจำนวนมากมายขนาดนั้น ชนชั้นกลางประกอบด้วยใครบ้าง ชนชั้นกลางประกอบด้วยคนสองกลุ่ม กลุ่มที่หนึ่งเป็นผู้ประกอบการรายย่อยทั้งหลาย อย่างบ้านผมเป็นร้านขายเสื้อผ้า แม่ผมมีลูกจ้าง 1 คน คือมีปัจจัยการผลิตแต่มีปัจจัยการผลิตน้อยมาก จนกระทั่งไม่สามารถไปสะสมทุนได้มาก คนพวกนี้จะมีสถานะทางเศรษฐกิจที่ขึ้นลงตามความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ คนกลุ่มที่สอง คือกลุ่มที่เรียกว่าManagerial Class คนพวกนี้คือคนที่ไม่ได้มีปัจจัยการผลิต เป็นลูกจ้าง แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม เช่น พวกผู้จัดการ คนคุมงานที่รับคำสั่งนายจ้างแล้วมาสั่งงานคนงานในโรงงานอุตสาหกรรม ถ้าเราไปถามคนงาน คนงานก็จะบอกว่าที่เขาเกลียดอาจไม่ใช่นายจ้าง แต่เป็นโฟร์แมนที่คุมงานเขาทุกวัน เราจะเห็นว่า ในระบบทุนนิยม ทุกวันนี้ CEO กับเจ้าของ หรือแม้กระทั่งคนคุมงานกับเจ้าของก็แยกออกจากกัน สิ่งที่คนงานจะเจอในชีวิตประจำวันคือคนคุมงานคือผู้จัดการ เราจะเห็นว่าสถานะของชนชั้นผู้จัดการเริ่มก่อตัวขึ้นเรื่อยๆ มีคนลักษณะนี้มากขึ้น ซึ่งในงานสังคมวิทยาจะพบว่ามันเกิดคนสองกลุ่มนี้ในสังคมทุนนิยมสมัยใหม่ในปัจจุบัน และคนสองกลุ่มนี้มีสถานะไม่มั่นคง ผมยกตัวตัวอย่างง่ายๆ เราบอกว่าคนงานกรรมกรโรงงานชุดชั้นในไทรอัมพ์โดนไล่ออกจากงานพันเก้าร้อยกว่าคน แต่หลังจากที่คนงานโดนไล่ออก ผู้จัดการโรงงานโดนไล่ออกทันที เพราะว่าไม่สามารถควบคุมคนงานไม่ให้ประท้วงได้นั่นหมายความว่าแม้กระทั่งผู้จัดการก็ไม่มีสถานะทางเศรษฐกิจที่มั่นคงในการทำงาน นั่นหมายความว่า ชนชั้นเหล่านี้ทั้งผู้ประกอบการ และ Managerial Class มันมีสถานะที่ไม่มั่นคงในทางเศรษฐกิจ ถ้าสามารถเก็บเงินสะสมทุนได้อาจไปทำธุรกิจเอง คุณก็อาจจะผันตัวไปเป็นนายทุน แต่ถ้าคุณถูกไล่ออกจากงาน หรือธุรกิจเจ๊ง ก็อาจจะผันตัวเป็นกรรมกร หรือส่งลูกไปเป็นกรรมกร ส่งลูกไปทำงานในโรงงาน บริษัทอุตสาหกรรมต่างๆ ในฐานะที่เป็นแรงงานเหมือนแรงงานปกติ นั่นหมายความว่า ในทางทฤษฎีสังคมวิทยา ชนชั้นกลางทั้งสองประเภทนี้มีลักษณะที่สำคัญคือไม่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และเมื่อไม่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจก็จะไม่มีความมั่นคงในแง่อุดมการณ์ทางการเมือง อาจจะเป็นคนที่อนุรักษ์นิยมก็ได้ เหลืองก็ได้พูดง่ายๆ อาจจะเป็นแดงก็ได้ ขึ้นอยู่กับการต่อสู้ทางการเมืองว่าฝั่งไหนเข้มข้นกว่ากัน ถ้าฝั่งแดงเข้มข้นกว่า ชนชั้นกลางอาจจะผันตัวมาเป็นเสื้อแดงก็ได้ ถ้าฝั่งเหลืองเข้มข้นกว่าอาจเป็นเสื้อเหลือง นี่เป็นในทางสังคมวิทยา ในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ขอยกตัวอย่างงานของอาจารย์นิธิ (เอียวศรีวงศ์) ซึ่งอยากให้อ่านดูคือหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า "ลัทธิพิธีเสด็จพ่อ ร.5" นิธิศึกษาเกี่ยวกับลัทธิบูชารัชกาลที่ 5 เคยเห็นไหมครับ ที่คนเข้าทรงรัชกาลที่ 5 แล้วไปถวายดอกไม้ เอาวิสกี้ไปถวายพระบรมรูป ร.5 ทุกวันอังคารตอนกลางคืน นิธิเริ่มต้นโดยการบอกว่า สังคมไทยมันมีชนชั้นที่เราเรียกว่าชนชั้นกลางเกิดขึ้นในเมือง ในเมืองไม่ได้แปลว่ากรุงเทพฯ เท่านั้นนะครับ เชียงใหม่ ภูเก็ตก็เป็นเมือง นั่นหมายความว่ามีชนชั้นเหล่านี้เกิดขึ้นซึ่งไม่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ คนพวกนี้ หนึ่ง ไม่มีรากเหง้าทางประวัติศาสตร์ คนพวกนี้จำนวนหนึ่งเป็นคนจีน และต้องการยึดโยงตัวเอง อัตลักษณ์ตัวเองเข้ากับรากเหง้าทางประวัติศาสตร์ แต่คนเหล่านี้ไม่ได้เกิดในตระกูลล่ำซำ จิราธิวัฒน์ หรือตระกูลใดๆ ก็ตามที่เป็นไฮโซ เพราะฉะนั้นสิ่งเดียวที่คนเหล่านี้จะยึดโยงกับชนชั้นสูงได้ก็คือ "บูชาเสด็จพ่อ ร.5" นิธิเสนอว่าชนชั้นเหล่านี้เป็นปฏิปักษ์กับชนชั้นล่าง เพราะคนเหล่านี้พยายามต่อสู้เพื่อที่จะได้รับสิ่งที่ดีที่สุดจากเลียผู้มีอำนาจรัฐ โดยเฉพาะสถาบันกษัตริย์ และศาสนาที่งมงาย ผมรีวิวให้เห็นว่ามีการศึกษาจากรัฐศาสตร์ การเมืองเปรียบเทียบ สองจากสังคมวิทยา และจากแง่มุมประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม
คนจนในใจกลางระบบทุนนิยม ก่อนที่ผมจะย้ายไปพูดถึงพี่คำ ผกาอีกรอบ ผมอยากจะขอพูดถึงงานเขียนชุดหนึ่งที่ผมอยากให้อ่าน เขาพูดถึงไอเดียอันหนึ่งไม่รู้ว่าภาษาไทยแปลว่าอะไร เขาเรียกว่า "Metropolis" (ในหนังสือชุดไตรภาค คือ Empire, Multitude และ Commonwealth) งานของไมเคิล ฮาร์ท (Michael Hardt) และอันโตนิโอ เนกรี (Antonio Negri) เสนอว่ามันเกิดความเปลี่ยนแปลงของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อโลกเข้าสู่ความเป็นทุนนิยมแบบเสรีนิยมใหม่ เมือง เมื่อก่อนแนวคิดเรื่องเมืองที่เป็นศูนย์กลาง มันจะแยกออกจากบริเวณที่เป็นชายขอบ มันจะพูดถึงเมืองที่ต่างสองประเภทเช่น กรุงเทพฯ กับชนบท อย่างเช่นแนวคิด Classic Marxist จำนวนหนึ่งจะบอกว่า ชนบทเป็นชายขอบ เมืองกรุงเทพฯ คือศูนย์กลาง กรุงเทพฯ จะขูดรีด แย่งชิงทรัพย์กรจากชายขอบ ทฤษฎีพึ่งพิง ทฤษฎี World System ก็จะพูดแบบนี้ แต่งานของ ฮาร์ทกับเนกรี เสนอว่าปัจจุบันนี้ไม่สามารถแยกได้ระหว่างเมือง Metropolis กับชายขอบ Periphery เพราะว่าคนที่จนที่สุด ถูกยัดเข้าไปอยู่ในจุดที่เป็นศูนย์กลางที่สุดของทุนนิยม ซึ่งต้องการแรงงานที่ Flexible หรือยืดหยุ่นที่สุด ซึ่งนั่นคือคนที่จนที่สุดและเป็นแรงงานระดับล่างสุดของสังคม เพราะฉะนั้น คนที่บอกว่า กรุงเทพฯ มีคนแค่ 4 ล้านคน แล้วต่างจังหวัด 40 ล้านคนแล้วปล่อยน้ำท่วมกรุงเทพฯ ได้นี้ คือคำพูดที่ไม่เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของระบบทุนนิยม ก็คือว่ามันมีคนจำนวนมากซึ่งเอาเข้าจริงคนที่อยู่ในกรุงเทพฯ อาจจะประมาณ 10 กว่าล้านคน เพราะฉะนั้นอีก 6 ล้านคนที่ไม่ได้พูด ก็คือคนที่อยู่ในสลัม คนที่เป็นกรรมกร ที่ไม่ได้มีภูมิลำเนาหรือทะเบียนบ้านในกรุงเทพฯ เพราะฉะนั้นนี่คือความเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้น และฮาร์ทกับเนกรีเรียกว่าเป็น Metropolis เพราะฉะนั้น Metropolis คือทุกที่ในโลกมีลักษณะแบบนี้เหมือนกันหมดแล้ว ไม่ว่าคุณจะอยู่สหรัฐอเมริกา หรืออยู่อุดรธานีก็ตาม อุดรธานีผมก็เชื่อว่ามีเสื้อเหลืองเยอะแยะไปหมด ฮาร์ทกับเนกรีเสนอว่า การเกิดขึ้นของ Metropolis หรือการที่คนทุกระดับเข้ามาอยู่ในเมืองใหญ่ ในศูนย์กลาง มันไม่ได้เป็นเรื่องในทางลบอย่างเดียว ระบบทุนนิยมอาจจะเอาเปรียบกรรมกร อาจจะขูดรีดคนที่ถูกดึงเข้ามา ซึ่งเราอาจจะเรียกว่าคนจนหรืออะไรก็ตามในเมือง แต่การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่เสรีนิยมใหม่ หรือการทำให้แรงงานมันยืดหยุ่นมากขึ้น มันยังมีบทบาทสำคัญในการปลดปล่อยคนจำนวนมากออกจากสังคมที่ล้าหลัง อันนี้สอดคล้องกับสิ่งที่มาร์กซ์พูดก็คือว่า ดึงเอาคนที่อยู่ในส่วนที่ล้าหลังที่สุด เข้ามาอยู่ในจุดที่ก้าวหน้าที่สุดของระบบ นั่นคือคนเหล่านี้ที่เข้ามาเป็นคนจนเมืองทั้งหลาย เป็นคนที่มีพลังมาก และเกิดขึ้นพร้อมๆ กับการพัฒนาของระบบทุนนิยม ไม่ได้มีแต่ชนชั้นกลางเท่านั้นที่เกิดขึ้นของระบบทุนนิยม เพราะฉะนั้น ฮาร์ทกับเนกรี รวมถึงมาร์กซ์จึงมองว่านี่เป็นปรากฏการณ์ที่เป็นพลังบวกของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม พลังของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมไม่ได้อยู่ในชนบท ไม่ได้อยู่ในส่วนที่ล้าหลังที่สุด ไม่ได้อยู่ในต่างจังหวัด แต่พลังของการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดคืออยู่ในเมือง และคนเหล่านี้ไม่ว่าคุณจะเรียกว่าอะไรก็ตามคือคนที่ขายแรงงาน ไม่ว่าคุณจะเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย คุณจะทำงานภาคบริการ ขับแท็กซี่ คุณจะร้องเพลงในบาร์ คุณก็คือกรรมกรที่ทำงานแลกเงินเดือนอยู่ในเมือง นั่นคือพลังที่สำคัญที่สุดของระบบทุนนิยมในทัศนะของมาร์กซ์และพวกมาร์กซิสต์ พูดอีกทีหนึ่งก็ไม่ใช่อย่างที่พี่แขกพูดนะครับ ว่าคนพวกนี้อยู่ต่างจังหวัด 40 ล้านคน โอเคอาจารย์อภิชาต สถิตนิรามัย และคณะอาจจะทำวิจัยว่าไปจังหวัดนั้นจังหวัดนี้แล้วพบว่าคนเสื้อแดงคือผู้ประกอบการ ตัดผม เย็บผ้า ขายของชำในหมู่บ้าน แต่ถามจริงๆ ว่า รายได้หลักอยู่ที่ไหน ผมคิดว่ารายได้หลักอยู่ที่ลูกทำงานในเมือง เข้าไปอยู่ Metropolis ส่งเงินกลับไปให้มากกว่า เพราะฉะนั้นจุดศูนย์กลางทางเศรษฐกิจจริงๆ ไม่ได้อยู่ในการตัดผมหรือการขายของชำ แต่อยู่ที่ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการที่ Function อยู่ใน Metropolis หรือเมือง โดยสรุปผมคิดว่าชนชั้นกลางมีอยู่จริง อย่างที่ผมพูด คือพวกผู้ประกอบการ และชนชั้นที่ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการ คนคุมงาน แต่ชนชั้นกลางไม่ได้มีจำนวนมากอย่างที่นักรัฐศาสตร์กระแสหลัก หรือหลายๆ คนเชื่อทั้งเสื้อแดงเสื้อเหลืองเชื่อว่าเขามีมวลชนมหาศาล
ชี้เรียกคนเสื้อแดงเป็นคนจน คือมายาคติต้องรื้อทิ้ง และข้อสรุปอีกอันหนึ่งก็คือว่า การที่เราบอกว่ามีชนชั้นล่าง รวมถึงผู้ใช้แรงงานจำนวนมากซึ่งไม่ใช่ชนชั้นกลางนี้ การพูดว่าเขาเป็นชนชั้นล่างไม่ได้แปลว่าเขาด้อยในทางการเมือง ไม่ได้แปลว่าโง่ ไม่ได้แปลว่าจน ไม่ได้แปลว่าเข้าไม่ถึงเทคโนโลยีอย่างที่นักวิชาการหมูหลุมพูด ก็คือว่านักวิจัยจากหมูหลุมได้เสนอไปแล้วว่า เอาเข้าจริง คนเสื้อแดงจำนวนมาก ผมยกตัวอย่างแบบนี้ก็แล้วกัน ตอนที่มีการต่อสู้ของนิคมอุตสากรรมลำพูน คนงานใช้อินเตอร์เน็ตในการต่อสู้ นี่เป็นตัวอย่างหนึ่ง แล้วคนเสื้อแดงจำนวนมากก็ยึดโยงกันผ่านเฟซบุค หรือ Social Network ต่างๆ เพราะฉะนั้นการพูดว่าคุณเป็นเสื้อแดง และคุณเป็นคนชนบท คุณเป็นชนชั้นล่าง ไม่จำเป็นว่าคุณจะต้องโง่เสมอไป นั่นคือสิ่งที่มาร์กซ์ยืนยันมาตลอดว่า ยิ่งระบบทุนนิยมพัฒนามากเท่าไหร่ คุณจะถูกดึงเข้าไปสู่จุดที่ก้าวหน้าที่สุดของระบบ หรือเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าที่สุด คืออย่าพยายามมองว่าคนที่ใช้อินเตอร์เน็ต คนที่ช็อปปิ้ง คนที่ขับรถมา คนที่ใช้แบรนด์เนม เป็นชนชั้นกลาง ชนชั้นล่างก็ใช้แบรนด์เนมได้ เพราะแบรนด์เนมอย่างน้อยก็คุณภาพดี ถ้าพอมีตังค์เราก็อยากจะซื้อใช่ไหมครับ ไอแพด ไอโฟนถ้ามีตังค์ผมก็อยากซื้อ เพราะฉะนั้นเวลาที่เราพูดถึงชนชั้นล่าง ชนชั้นล่างไม่ได้ด้อยในทางเศรษฐกิจ เพียงแต่ชนชั้นล่างไม่สามารถควบคุมการผลิตของสังคมนี้ได้ ถูกกีดกันออกจากการควบคุมการผลิต แต่เขาไม่ได้เป็นคนจน เพราะฉะนั้นการเรียกคนเสื้อแดงเป็นคนจนจึงเป็นมายาคติที่สำคัญมากที่นักวิชาการต้องรื้อมายาคตินี้ทิ้งไป ผมขอพูดถึงการศึกษาเสื้อแดงของนักวิชาการ 3 กลุ่มสั้นๆ คือเวลาที่เสื้อแดงพูดถึงสลิ่ม เราพูดถึงสลิ่มเพียงเพื่อจะบอกว่าคนพวกนั้นไม่ใช่เสื้อแดง และเพียงเพื่อจะยืนยันว่าคนเสื้อแดงคือใคร กลุ่มแรกคืออาจารย์อรรถจักร์และอภิชาต สถิตนิรามัย บอกว่าคนเสื้อแดงคือชนชั้นกลางระดับล่าง คือผู้ประกอบการ กลุ่มที่สองคือคำ ผกา บอกว่าคนเสื้อแดงคือคนต่างจังหวัด ชนบท 40 ล้านคน กลุ่มที่สามคืออาจารย์ปิ่นแก้ว (เหลืองอร่ามศรี) และอาจารย์ทามาดะ โยชิฟูมิ เสนอว่าคนเสื้อแดงข้ามชนชั้น มีหลายชนชั้น เป็นพหุชนชั้น (โดยสรุปผมจะวิจารณ์วิธีคิดทั้งสามอันนี้โดยสรุปอีกทีหนึ่ง) เวลาที่เราพูดว่าคนจน เราพูดคำว่าชนชั้นกลางระดับล่าง แบบที่อาจารย์อรรถจักร์ และอาจารย์อภิชาตพูดมันอธิบายคนเสื้อแดงได้ไหม อันที่สอง จะพูดถึงงานของอาจารย์ปิ่นแก้ว ซึ่งบอกว่าคนเสื้อแดงเป็นพหุลักษณ์ Plural Identity อะไรก็ตามนี้ เวลาที่เราบอกว่า "คนเสื้อแดงคือทุกๆ คนนี่แหละ" มันมีความหมายไหมครับ คนเสื้อแดงคือใครก็ได้ที่อยากจะเป็นเสื้อแดง ที่มีความเห็นเหมือนเรา มันเป็นคำพูดที่นักวิชาการพูดไม่ได้ เพราะนักวิชาการพูดแบบนี้มันมักง่าย ทำไมถึงบอกว่ามักง่าย คือกูไม่ต้องเป็นนักวิชาการส้นตีนก็ได้ ก็พูดได้ว่าคนเสื้อแดง “หลากหลาย” เพราะทุกคนก็ไม่มีใครหน้าตาเหมือนกันถูกไหมครับ อาชีพประกอบก็ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นเวลาที่เราพูดคำว่าหลากหลาย โดยตัวมันเองในทางวิชาการมันไม่มีความหมาย เราต้องระบุได้ว่า คนที่มาอยู่ในคนกลุ่มไหน Social Class หรือ Social Group อันไหนของสังคม มันถึงจะอธิบายได้ เพราะฉะนั้นการพูดแบบอาจารย์ทามาดะ หรืออาจารย์ปิ่นแก้ว โดยตัวมันเองมันไม่ Make Sense และมีลักษณะตีขลุม ประเด็นสุดท้าย การศึกษาเรื่องคนเสื้อแดงในปัจจุบัน ในทุกๆ กลุ่ม สิ่งที่สำคัญมาก ผมคิดว่าคนเสื้อแดงจำเป็นต้องรู้ว่าพวกเราคือใคร นี่เป็นสิ่งที่น่าสนใจและคิดว่าเรายังต้องทำต่อไป ที่หลายๆ ท่านทำไปแล้วก็มีคุณูปการ ถึงแม้ว่าผมจะไม่เห็นด้วยแต่ก็มีคุณูปการ แต่ผมคิดว่าสิ่งที่ขาดไปที่สุดของการศึกษาเรื่องขบวนการเสื้อแดงก็คือไม่ได้เข้าใจขบวนการเสื้อแดงจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ รวมถึงโครงสร้างทางชนชั้นที่มันกำลังเปลี่ยนไป งานของอาจารย์ปิ่นแก้วปฏิเสธตั้งแต่แรกเลยบอกว่าดิฉันไม่เอาเรื่องเศรษฐกิจเข้ามาเกี่ยว ดิฉันจะเอาเรื่องวัฒนธรรม ซึ่งแล้วคุณจะเอาเรื่องวัฒนธรรมไปวางอยู่บนบริบทของการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย สังคม Southeast Asia สังคมโลกได้อย่างไร ในเมื่อโลกมันกำลังเปลี่ยนแปลง และสิ่งที่มันเปลี่ยนแปลงคือพลังทางเศรษฐกิจ มันไม่ใช่เรื่องวัฒนธรรมอย่างเดียว วัฒนธรรมไม่ได้งอกออกมาจากยานอวกาศมันถึงเกิดขึ้นได้ ผมอยากจะให้ลองดูงานศึกษาทางวัฒนธรรมซึ่งมีคุณค่ามาก นั่นคืองานของอาจารย์นิธิ ผมคิดว่างานของนิธิเรื่อง “ลัทธิพิธีเสด็จพ่อ ร.5” มีความสำคัญมาก คืออาจารย์นิธิตั้งต้นคนละแบบกับอาจารย์ปิ่นแก้ว อาจารย์ปิ่นแก้วตั้งต้นงานวิจัยโดยการไปถามว่าทำไมคนเสื้อแดงถึงมาร่วมม็อบเสื้อแดง ทำไมคนเสื้อแดงมาร่วมเมื่อไหร่ เพราะอะไร แต่งานของอาจารย์นิธิเริ่มต้นโดยการบอกเลยว่า ไอ้คนที่นับถือลัทธิพิธีเสด็จพ่อ ร.5 ก็คือพวกชนชั้นกลาง นายทุนน้อยที่อยู่ในเมือง คนที่ไม่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เพราะฉะนั้นสิ่งที่นิธิเริ่มคือเล่าว่าโครงสร้างทางสังคมและการเมือง ทางเศรษฐกิจ คนพวกนี้คับแค้นใจอย่างไรบ้าง อยู่จุดตรงไหน โดนเอารัดเอาเปรียบ หรือพยายามต่อสู้กับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอะไรบ้าง ซึ่งผมคิดว่าเป็นการเริ่มต้นจากโครงสร้าง ซึ่งผมเห็นด้วย ซึ่งวิธีการวิเคราะห์แบบนี้เป็นการวิเคราะห์ทางวัฒนธรรมก็จริงแต่ไม่ได้ละเลยมิติในเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและโครงสร้างสังคม แบบที่อาจารย์ปิ่นแก้ว และหลายๆ คนในขบวนละเลย ไม่ให้ความสำคัญ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
สุรพศ ทวีศักดิ์: คำแถลงกรณี 'การถูกคุกคามเสรีภาพทางวิชาการด้วย ม.112' Posted: 07 Dec 2011 12:54 AM PST เมื่อวันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม 2554 เวลา 12.30 น. ได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบมาขอพบผม ณ ที่ทำงาน เพื่อแจ้งหมายเรียกผู้ต้องหาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ออกโดยตำรวจภูธรจังหวัดร้อยเอ็ด ลงวันที่ 22 พ.ย.2554 ในข้อหา “หมิ่นประมาท ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ฯ” โดยให้ผู้ต้องหาไป ณ ที่ตำรวจภูธรจังหวัดร้อยเอ็ด พบ พ.ต.อ. ข้อเท็จจริงคือ ผมเองเขียนบทความลงประชาไทอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงหลังเหตุการณ์ “สงกรานต์เลือด ปี ในกรณีที่ถูกแจ้งความ เท่าที่ผมทราบเบื้องต้นจากทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ข้อความที่ถูกแจ้งหมิ่นฯ คือข้อความที่โพสต์ในชื่อ ‘นักปรัชญาชายขอบ’ ซึ่งโพสต์แสดงความเห็นท้ายบทความชื่อ “จะจัดวางตำแหน่งแห่งที่ของสถาบันกษัตริย์ในสังคม-การเมืองไทยอย่างไร?” ของอาจารย์ แต่อยู่ๆ ก็มาดำเนินคดีกับผมเอาตอนนี้ ตอนที่เราได้รัฐบาลที่ชนะการเลือกตั้งด้วยการต่อสู้ที่ชู “ธงประชาธิปไตย” และ “ธงความยุติธรรม” ซึ่งมีทั้งนักวิชาการและประชาชนจำนวนมากที่เสี่ยงมากบ้างน้อยบ้าง “ร่วมต่อสู้” ตามกำลังของตนเองภายใต้ “ธง” ดังกล่าว และในกรณีของผมเอง ตำรวจจากส่วนกลางมาขอข้อมูลจากทางมหาวิทยาลัย ผมจึงแปลกใจว่า เหตุใดจึงมาดำเนินคดีเอาตอนนี้ ตอนที่เราเชื่อว่าได้ “รัฐบาลประชาธิปไตย” และทำไมไม่ดำเนินคดีที่สวนกลาง แต่กลับโยนเรื่องกลับไปดำเนินคดีที่ร้อยเอ็ด ส่วนข้อความที่ถูกแจ้ง ผมคงพูดในรายรายละเอียดไม่ได้ คงพูดเพียงกว้างๆ ได้ว่า เนื้อหาสำคัญของข้อความนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับประเด็นถกเถียงทางวิชาการที่เป็นสาธารณะอยู่แล้ว แม้สื่อกระแสหลักจะยังไม่ถกเถียงเรื่องนี้แพร่หลาย แต่ก็มีแพร่หลายใน social media อยู่แล้ว ผมมั่นใจว่าข้อความดังกล่าวไม่ได้มีความหมายหรือแสดงถึงเจตนาหมิ่นเบื้องสูงแต่อย่างใด เนื่องจากเป็นข้อเสนอในการแลกเปลี่ยนท้ายบทความเชิงวิชาการว่า “กติกา” เกี่ยวกับสถานะ อำนาจ บทบาทของสถาบันกษัตริย์ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยในอนาคตควรเป็นอย่างไร โดยไม่มีคำกล่าวหา หรือคำไม่สุภาพใดๆ ที่พาดพิงถึงพระมหากษัตริย์ในฐานะ “ตัวบุคคล” ผมขอพูดในเชิงอุปมาอุปไมยว่า สมมติว่าผมรู้ว่าในทางพุทธศาสนามีศีลห้ามพระสงฆ์รับเงิน แม้ผมจะยอมรับได้ว่า การที่พระสงฆ์ต้องรับเงินในสมัยปัจจุบันเพราะมีความจำเป็นเนื่องจากอยู่ในโลกของความเป็นจริงที่ต้องใช้เงิน แต่ด้วยความห่วงใยพุทธศาสนาผมจึงเสนอให้องค์กรปกครองสงฆ์ออกกฎของสงฆ์ “ห้ามพระสงฆ์มีบัญชีเงินฝากส่วนตัว” ต่อมามีผู้ไปแจ้งความว่าผมหมิ่นประมาทพระสงฆ์ว่ามีบัญชีเงินฝากส่วนตัวด้วย “ข้อความอันเป็นเท็จ” และสมมติอีกว่าความผิดตามกฎหมายมาตราที่เขาไปแจ้งความนั้น ห้ามไม่ให้ผู้ต้องหาแสดงข้อเท็จจริงหักล้างว่า ข้อความที่เขากล่าวหาว่าเป็นเท็จนั้น “ไม่เป็นเท็จอย่างไร” ตามตัวอย่างนี้ แค่คิดด้วยสามัญสำนึกธรรมดา เราก็รู้ว่ากฎหมายแบบนี้มันไม่ยุติธรรม หรือไม่แฟร์กับผู้ถูกกล่าวหา ผมคิดว่ากฎหมายหมิ่นฯ ม.112 ที่ไม่อนุญาตให้ผู้ถูกกล่าวหาได้พิสูจน์ว่าข้อความของเขา “ไม่เป็นเท็จอย่างไร” ก็เป็นกฎหมายที่ไม่ให้ความยุติธรรมแก่ผู้ถูกกล่าวหาโดยพื้นฐานอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังกำหนดอัตราโทษไว้สูงเกินไป กรณี “อากง” ที่ส่งข้อความ 4 ข้อความไปที่โทรศัพท์มือถือส่วนตัวของคนอื่นต้องถูกจำคุกถึง 20 ปี ผมคิดว่ามันอธิบายไม่ได้ว่ายุติธรรมอย่างไร อีกอย่างการที่ให้ใครแจ้งความก็ได้ เราก็พบปัญหานี้มาตลอดมาว่า มันมีการกลั่นแล้งกัน มีการใช้ ม.112 ทำลายกันในทางการเมือง และคุกคามเสรีภาพทางวิชาการ โดยส่วนตัว ผมเห็นด้วยกับแนวทางของอาจารย์ แนวทางนี้คือแนวทางปกป้องสถาบันที่ดีที่สุด เพราะเงื่อนไขสำคัญที่สุดของการเปลี่ยนผ่านสังคมเราให้เป็นประชาธิปไตย คือ “ต้องไม่ให้มีการอ้างสถาบันทำรัฐประหาร” ได้อีก ไม่มีการใช้ ม.112 ทำลายกันในทางการเมือง ไล่ล่าคนเห็นต่างในทางการเมือง หรือคุกคามเสรีภาพทางวิชาการได้อีก ผมคิดว่า สิ่งที่ผมโดนตอนนี้คือ “การคุกคามเสรีภาพทางวิชาการ” ในอีกรูปแบบหนึ่ง มันมีคนที่คิดต่างเห็นต่างในเรื่อง “การปกป้องสถาบัน” ไปแจ้งความไว้ที่จังหวัดร้อยเอ็ดเพื่อให้ผมเสียเวลาเดินทาง เสียค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี อันนี้เห็นได้จากที่เขาตามโพสต์ด่าท้ายบทความของผมมาตลอด แล้วก็โพสต์เอกสารแจ้งความขึ้นเว็บประชาไท และเยาะเย้ยทำนองว่า “มึงเตรียมกระเป๋า เตรียมค่ารถเดินทางมาพบตำรวจที่ร้อยเอ็ดหรือยัง” อะไรประมาณนี้ เท่าที่ทราบมา คนเดียวกันนี้ไปแจ้งคดีหมิ่นฯ กับคนอื่นๆ อีกถึง 6 คดี นี่คือปัญหาของ ม.112 ที่ใครจะไปแจ้งความไว้ที่ไหนก็ได้ เขาต้องการให้เรากลัว และหยุดคิด หยุดเขียน หยุดพูด หยุดอภิปรายถกเถียงตามแนวทางที่ผมว่ามา และสำหรับสังคมไทย ก็มักจะมองว่าผู้ต้องหาในคดีหมิ่นฯ ไม่เพียงแต่เป็นผู้ถูกล่าวหาว่าทำผิดกฎหมายเท่านั้น หากแต่เป็น “ความผิดบาป” ที่ทำให้ครอบครัว คนรอบข้าง ญาติมิตรต่างหวาดกลัวและเครียดไปตามๆ กัน ผู้ต้องหาก็อาจถูกเพื่อนร่วมงาน ถูกสังคมที่เขาสังกัดพิพากษาไม่ต่างอะไรกับ “ไอ้ฟัก” ในนวนิยายเรื่อง “คำพิพากษา” ของชาติ กอบจิตติ อันนี้คือข้อเท็จจริงไม่ใช่ “ดราม่า” หรือถ้ามันจะเป็น “ดราม่า” มันก็คือ “ดราม่า” ที่เป็นความจริงเฉพาะของสังคมไทย อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่า สังคมเราจำเป็นต้องเรียนรู้จาก “บทเรียน” ที่ผ่านมาว่า 14 ตุลา 6 ตุลา และ พฤษภา 53 นักศึกษาและประชาชนถูกฆ่าตายมามากเกินไปแล้วด้วย “ข้อกล่าวหาล้มเจ้า” แล้วผลของการต่อสู้นั้น เราก็ได้แกนนำฮีโร่ในยุคต่างๆ ได้การเลือกตั้ง และการเกี้ยเชี้ยของชนชั้นนำเพียงไม่กี่กลุ่ม สุดท้ายก็ไม่มีหลักประกันว่า จะเกิดรัฐประหารและการนองเลือดขึ้นอีกหรือไม่ เพราะเราไปไม่ถึง “การสร้างกติกา” ให้ทุกสถาบันอยู่ภายใต้หลักเสรีภาพและความเสมอภาคตามระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง บางคนบอกว่า ถ้าจะพูดหรือเขียนอะไรในเชิงตั้งคำถามเกี่ยวกับแนวคิด อุดมการณ์ หรือกติกาเกี่ยวกับเรื่องสถาบันต้องดูสถานการณ์ก่อนว่าปลอดภัยหรือไม่ อันนี้ผมเองก็เคารพความรู้สึกของแต่ละคน เพราะระบบกฎหมายและวัฒนธรรมทางความเชื่อเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ของสังคมนี้มันทำให้เราต้องหวาดกลัวที่จะใช้เสรีภาพและเหตุผลอย่างถึงที่สุดในการถกเถียงปัญหาระดับรากฐานของความเป็นประชาธิปไตยจริงๆ แต่อยากให้ช่วยกันมองอีกมุมว่า ถ้ามันปลอดภัยแล้วก็ไม่มีอะไรต้องพูดกันอีก ผมคิดว่าที่ใครๆ เขาเสี่ยงพูดเรื่องสถาบันในเวลานี้เขาเสี่ยงเพื่อให้สังคมนี้มีกติกาที่ประชาชนมีเสรีภาพสามารถพูดถึงสถาบันในเชิงวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบ “บุคคลสาธารณะ” ใน “ระบอบประชาธิปไตย” ได้อย่างปลอดภัย นี่คือสิ่งที่ผมคิดว่ามีความจำเป็น แม้จะต้องเสี่ยง ซึ่งไม่ใช่เพื่อจุดประสงค์อื่นใดนอกจากเพื่อยืนยันความมั่นคงของสถาบันที่ต้องสอดคล้องกับความมั่นคงของประชาธิปไตย ผมคิดว่าเราต้องไม่ปล่อยให้มันสายเกินไป ต้องช่วยกันปลดล็อกเงื่อนของความความรุนแรงนองเลือดที่ไม่มีใครคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้นอีกหรือไม่ ถึงเวลาแล้วที่สังคมเราควรเลิกหลอกตนเอง ยอมรับความจริงเสียทีว่า เวลานี้สังคมเราเดินมาถุงจุดที่ต้องร่วมกันสร้าง “กติกา” ให้ทุกสถาบันอยู่ภายใต้หลักเสรีภาพ หลักความเสมอภาคตามระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง และเป็นกติกาที่สามารถ “หยุดการอ้างสถาบันทำรัฐประหาร” ได้ตลอดไป สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
สภ.ร้อยเอ็ด ออกหมายเรียก ‘สุรพศ-นักปรัชญาชายขอบ’ เหยื่อ ม.112 คนล่าสุด Posted: 07 Dec 2011 12:47 AM PST ตำรวจภูธรจังหวัดร้อยเอ็ดออกหมายเรียกนายสุรพศ ทวีศักดิ์ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์การศึกษาหัวหิน ผู้เขียนบทความประจำเกี่ยวกับพุทธศาสนาในเว็บไซต์ประชาไท และบทความการเมืองโดยใช้นามแฝงว่า “นักปรัชญาชายขอบ” โดยหมายเรียกดังกล่าวลงวันที่ 22 พ.ย.2554 ในข้อหา “หมิ่นประมาท ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2554 ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบได้นำหมายเรียกซึ่งออกโดย ตำรวจภูธรจังหวัดร้อยเอ็ด ให้นายสุรพศ ทวีศักดิ์ ผู้ต้องหาไปพบ พ.ต.อ.ภัทราวุธ เอื้อมศศิธร หัวหน้าพนักงานสอบสวน ในวันที่ 7 ธันวาคม 2554 ในข้อหา “หมิ่นประมาท ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ฯ” ณ สถานีตำรวจภูธรจังหวัดร้อยเอ็ด นายสุรพศ เปิดเผยว่า เบื้องต้นทราบจากทางเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า ข้อความที่ถูกร้องทุกข์กล่าวโทษคือข้อความที่โพสต์ในชื่อ ‘นักปรัชญาชายขอบ’ ซึ่งโพสต์แสดงความเห็นท้ายบทความชื่อ “จะจัดวางตำแหน่งแห่งที่ของสถาบันกษัตริย์ในสังคม-การเมืองไทยอย่างไร?” ของอาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ที่เผยแพร่ในประชาไท เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2553 โดยก่อนหน้านี้ มีเจ้าหน้าที่ตำรวจติดต่อขอข้อมูลมาทางมหาวิทยาลัยตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2553 และได้ทำหนังสือชี้แจงไปแล้วตั้งแต่นั้น แล้วเรื่องก็เงียบไป จนกระทั่งมีหมายเรียกมานี้ อย่างไรก็ตาม นายสุรพศ เปิดเผยถึงการเข้าพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกว่า เนื่องจากได้รับหมายเรียกกระชั้นเกินไป ทำให้ไม่มีเวลาเพียงพอในการเตรียมการ ประกอบกับมีภารกิจจำเป็น จึงได้ขอเลื่อนนัดตามหมายเรียก โดยขอไปพบพนักงานสอบสวนภายในเดือนมกราคม 2555 รายงานข่าวแจ้งว่า การตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาครั้งนี้มาจากการแจ้งความของผู้ใช้นามแฝงว่า ‘ไอแพด’ ซึ่งแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อผู้ถูกกล่าวหาในการแสดงความคิดเห็นท้ายบทความ อย่างไรก็ตามในการแจ้งความ ปรากฏชื่อของนายวิพุธ สุขประเสริฐ เป็นผู้แจ้งความ
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น