โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

มาตรา 21 แท้ง ผู้ต้องหาชุดแรกถอนตัว

Posted: 14 Dec 2011 10:51 AM PST

4 ผู้ต้องหาคดีความมั่นคงชายแดนใต้ชุดแรก ขอถอนตัวจากมาตรา 21 อบรมแทนถูกขัง ยันขอสู้คดีต่อไป อ้างถูกบังคับ เกรงสังคมมองเป็นโจร เหตุเพราะศาลไม่ได้ตัดสิน

เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 14 ธันวาคม 2554 ศาลจังหวัดนาทวี จังหวัดสงขลา นัดไต่สวนคำร้องตามมาตรา 21 ของพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 (พ.ร.บ.ความมั่นคง) โดยนายมนัสชัย ฉิมมี พนักงานอัยการจังหวัดนาทวี เป็นผู้ยื่นคำร้องขอให้ศาลพิจารณาอนุญาตให้ผู้ต้องหา 4 คน คือนายมะซับรี กะบูติง คดีหมายเลขดำที่ รม. 1/2554 นายซุบิร์ สุหลง คดีหมายเลขดำที่ รม.2/2554 นายสะแปอิง แวและ คดีหมายเลขดำที่ รม. 3/2554 และนายอับริก สหมานกูด คดีหมายเลขดำที่รม. 4 /2554 เข้าอบรมแทนการจำขังตามมาตรา 21 ของพ.ร.บ.ความมั่นคง โดยได้ยื่นคำร้องเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2554

ทั้งนี้ ผู้ต้องหาทั้ง 4 คน จะต้องให้การยืนยันต่อศาลว่าจะเข้าอบรมแทนการจำขัง เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้อนุญาต แต่ปรากฏว่า นายกิจจา อาลีอิสเฮาะ ทนายความจากมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม หนึ่งในทนายของผู้ต้องหาทั้ง 4 คน ได้แถลงต่อศาลด้วยเอกสารว่า ผู้ต้องหาทั้ง 4 คน จะไม่ขอเข้ารับการอบรมแทนการจำขังแล้ว โดยจะขอต่อสู้คดีตามกระบวนการยุติธรรมปกติ

ศาลจึงมีคำสั่งให้เลื่อนการไต่สวนคำร้องดังกล่าวออกไป เป็นวันที่ 19 มกราคม 2555

ระหว่างไต่สวน มีนายกิตติ สุระคำแหง ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานยุติธรรม ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) พร้อมตัวแทนคณะกรรมการรับรายงานตัว คณะกรรมการสอบสวนพิเศษ คณะกรรมการช่วยเหลือด้านคดีและชดเชยค่าเสียหาย คณะกรรมการกลั่นกรองผู้เข้ารับการอบรมแทนการจำขัง ตามกระบวนการของมาตรา 21 เข้าร่วมฟังด้วย

ต่อมาเวลาประมาณ 14.00 น. คณะทนายของผู้ต้องหาทั้ง 4 คน ได้แจ้งต่อศาลว่า ไม่จำเป็นต้องไต่สวนคำร้องดังกล่าวอีกแล้ว เนื่องจากผู้ต้องหาทั้ง 4 คน ได้ยืนยันแล้วว่า จะไม่เข้ากระบวนการตามมาตรา 21 แล้ว จำทำให้หัวหน้าศาลจังหวัดนาทวี เรียกทีมทนายผู้ต้องหามาหารืออีกครั้ง โดยได้ข้อสรุปว่า จะต้องไต่สวนคำร้องอีกครั้ง จึงกำหนดวันนัดพร้อมเพื่อกำหนดวันไต่สวนคำร้องดังกล่าวอีกครั้ง เป็นวันที่ 23 มกราคม 2555

นายกิตติ สุระคำแหง ได้เปิดเผยว่า ผู้ต้องหาทั้ง 4 คน ได้กลับให้คำให้การและขอถอนตัวจากการเข้ากระบวนการตามมาตรา 21 ถือเป็นสิทธิของผู้ต้องหาเอง ทั้งที่ก่อนหน้านี้ผู้ต้องหาทั้ง 4 คน ให้การสารภาพแล้ว ตามเงื่อนไขของมาตรา 21 แต่เนื่องจากช่วงเวลาในการสอบสวนเพื่อเข้ากระบวนการตามมาตรา 21 ค่อนข้างนาน จึงอาจเป็นโอกาสให้มีผู้อื่นเข้ามาพูดเกลี้ยกล่อมให้ออกจากกระบวนการนี้ได้

นายกิจจา เปิดเผยว่า การไต่สวนคำร้องตามมาตรา 21 ครั้งนี้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่มีการประกาศใช้มาตรา 21 ของพ.ร.บ.ความมั่นคง ซึ่งผู้ต้องหาทั้ง 4 คน เป็นผู้ต้องหาชุดแรกที่เข้ากระบวนการนี้

ขณะที่ผู้ต้องหารายหนึ่งระบุว่า เหตุที่เข้ากระบวนการตามมาตรา 21 เพราะถูกบังคับ และในช่วงแรกไม่เข้าใจว่ากระบวนการเป็นอย่างไร เมื่อได้รับการอธิบายจากทนายแล้ว จึงคิดว่า น่าจะต้องถอนตัวออกมา เพราะการเข้ากระบวนการนี้ได้ ต้องรับสารภาพทั้งที่ตนเองไม่ได้กระทำผิด ซึ่งจะทำให้คนในสังคมเข้าใจว่า ตนเป็นคนร้ายจริง รวมทั้งไม่มั่นใจว่า ระหว่างการอบรมจะต้องเจอกับอะไรบ้าง จึงขอสู้คดีในชั้นศาลต่อไปดีกว่า เพื่อให้ศาลตัดสินว่าไม่ได้เป็นผู้ทำผิดจริงหรือไม่

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศอ.บต.ของบเพิ่ม 100 ล้าน จ่ายชดเชยเหยื่อพ.ร.ก.ฉุกเฉิน

Posted: 14 Dec 2011 10:46 AM PST

ศอ.บต.ของบเพิ่ม 100 กว่าล้าน ตั้งศูนย์ช่วยเหลือประชาชน เน้นเยียวยาเหยื่อจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ รวมเหตุตากใบ กรือเซะ ไอร์ปาแย จ่ายชดเชยผู้ถูกคุมตัวตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กฎอัยการศึกวันละ 400 บาท

เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 14 ธันวาคม 2554 ที่ห้องพญาตานี 2 โรงแรมเซาท์เทิร์นวิว อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ (ศอ.บต.) จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ตัวแทนภาคประชาชนด้านอำนวยการความเป็นธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีผู้เข้าร่วมประมาณ 100 คน มีนายสิทธิศักดิ์ โต๊กู ผู้อำนวยการงานยุติธรรม สำนักบริหารยุติธรรมศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ เป็นประธาน

นายสิทธิศักดิ์ เปิดเผยระหว่างการบรรยายเรื่องนโยบายส่งเสริมความร่วมมือและพัฒนาการอำนวยความยุติธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้มีนโยบายจะก่อตั้งศูนย์ช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ งบประมาณ 100,020,000 บาท โดยจะของบประมาณเพิ่มเติมจากสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง

นายสิทธิศักดิ์ เปิดเผยอีกว่า ในงบประมาณจำนวนดังกล่าว แยกเป็นงบช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบที่เกิดกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐโดยให้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์หรือพิธีอุมเราะห์ ณ ประเทศซาอุดีอาระเบีย จำนวน 200 คน ใช้งบประมาณ 15,800,000 บาท

นายสิทธิศักดิ์ เปิดเผยอีกว่า ส่วนอีก 30,000,000 บาท จะใช้ในการช่วยเหลือดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ถูกวิสามัญฆาตกรรมหรือผู้ประสบเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่มีผลกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนอย่างรุนแรง เช่น เหตุการณ์มัสยิดกรือเซะ เหตุการณ์ตากใบ เหตุกราดยิงในมัสยิดอัลฟุรกอน บ้านไอร์ปาแย จังหวัดนราธิวาส และกรณีอื่นๆ ที่เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ

รวมทั้งการช่วยเหลือ ดูแลกลุ่มเด็ก กำพร้า สตรีหม้าย อันเกิดจากเหตุการณ์ไม่สงบอย่างต่อเนื่องทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งมีจำนวนมาก กว่า 500 ราย โดยการดำเนินการเยียวยาโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ร่วมทั้งการสนับสนุนด้าน การศึกษา อาชีพ การเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์หรืออุมเราะห์

นายสิทธิศักดิ์ เปิดเผยอีกว่า ในด้านอำนวยความเป็นธรรม ศูนย์ช่วยเหลือประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี กรณียากจน รายละ 100,000 บาท และจะช่วยเหลือค่าใช้จ่ายการดำรงชีพแก่ครอบครัวผู้ต้องหาและจำเลยระหว่างถูกขัง กรณีไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว 100,000 บาท

นายสิทธิศักดิ์ เปิดเผยด้วยว่า ส่วนกรณีจำเลยที่ศาลพิพากษายกฟ้อง แล้วกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรมไม่จ่ายเงินชดเชยระหว่างถูกขัง หรือกรณีถูกฝากขังในชั้นพนักงานสอบสวนและกรณีถูกควบคุมตัวตามกฎอัยการศึกและพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) ศูนย์ช่วยเหลือประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็จะช่วยเหลือโดยมอบเงินชดเชยเพื่อปลอบขวัญ ตามจำนวนวันที่ถูกคุมขังหรือวันละ 400 บาท

นายสิทธิศักดิ์ เปิดเผยว่า ในการตั้งศูนย์ช่วยเหลือประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะมีการว่าจ่ายทนายและปรึกษากฎหมายมาอยู่ประจำ เพื่อช่วยเหลือผู้มอบตัวต่อสู้ เดือนละ 30,000 บาท

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ชี้แจงสำนักสันติวิธีฯไม่ได้ร่วมจัดเวทีสาธารณะ‘ปัตตานีมหานคร’

Posted: 14 Dec 2011 10:43 AM PST

เครือข่ายเพื่อการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองฯชายแดนภาคใต้ แถลงข่าวชี้แจงสำนักงานสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า ไม่ได้ร่วมจัดงานเวทีสาธารณะ ปัตตานีมหานคร’ เหตุพิมพ์ใบโฆษณาผิดพลาดทางเทคนิค เผยเลิกหนุนมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2554 หวั่นคนเข้าใจผิด 

นายมันโซร์ สาและ ผู้ประสานงานเครือข่ายเพื่อการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการปกครองในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ออกใบแถลงข่าว ชี้แจงกรณีการงานเวทีสาธารณะ ปัตตานีมหานคร :  ประชาชนจะได้อะไร” เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2554 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาว่า สำนักงานสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า ไม่ได้เป็นองค์กรร่วมจัดงานในครั้งนี้แต่อย่างใด การที่ชื่อสถาบันนี้ได้ปรากฏในแผ่นโฆษณาและเอกสารบางส่วนนั้น เนื่องจากเกิดความผิดพลาดทางเทคนิคในการจัดพิมพ์ โดยผู้จัดแก้ไขไม่ทัน

 

นายมันโซร์ ชี้แจงอีกว่า สำนักงานสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า ได้ยุติการสนับสนุนการขับเคลื่อนปัตตานีมหานครนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2554 ส่วนงบประมาณในการจัดงานดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานปฏิรูป เพื่อสังคมไทยที่เป็นธรรม (สปร.) และคณะกรรมการภาคประชาสังคม สภาพัฒนาการเมือง

นายมันโซร์ ชี้แจงด้วยว่า ส่วนกิจกรรมการขอรับบริจาคและการตั้งเป็นกองทุนขับเคลื่อนปัตตานีมหานครนั้น เคยเป็นมติของเครือข่ายเพื่อการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการปกครองในจังหวัดชายแดนภาคใต้ วัตถุประสงค์เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการขับเคลื่อนไม่ว่า จะเป็นการลงลายมือชื่อเพื่อยื่นร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ระเบียบบริหารราชการปัตตานีมหานคร พ.ศ. ..... ต่อสภาผู้แทนราษฎร

นายมันโซร์ เปิดเผยว่า เหตุที่ต้องชี้แจงเนื่องจากเกรงว่าจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดและเกิดความไม่สบายใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง

................................

ใบแถลงข่าว

สืบเนื่องจากงานเวทีสาธารณะ หัวข้อ “ปัตตานีมหานคร :  ประชาชนจะได้อะไร” เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2554 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ในนามองค์กรผู้จัดหลักคือ เครือข่ายเพื่อการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการปกครองชายแดนใต้ และได้รับการสนับสนุนจากองค์กรอื่นๆ ตามที่ระบุไว้ในแผ่นโฆษณาและเอกสารบางส่วนนั้น

ขอชี้แจง ณ ตรงนี้ว่า สำนักงานสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า ไม่ได้เป็นองค์กรร่วมจัดงานในครั้งนี้แต่อย่างใด การที่ชื่อสถาบันนี้ได้ปรากฏนั้น มันเป็นความผิดพลาดทางเทคนิคในการจัดพิมพ์ กล่าวคือ ทางผู้จัดไม่ทันที่จะแก้ไขเอกสารนั้นๆ

ขณะเดียวกัน ทางเครือข่ายฯ ขอแจ้งอีกด้วยว่า สำนักงานสันติวิธีและธรรมาภิบาลได้ยุติการสนับสนุนการขับเคลื่อนปัตตานีมหานครนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน ศกนี้ ส่วนงบประมาณในการจัดงานครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานปฏิรูป เพื่อสังคมไทยที่เป็นธรรม (สปร.) และคณะกรรมการภาคประชาสังคม สภาพัฒนาการเมือง

ส่วนกิจกรรมการขอรับบริจาคและการตั้งเป็นกองทุนขับเคลื่อนปัตตานีมหานครนั้น เคยเป็นมติที่มีในเครือข่ายฯ ด้วยเหตุผลที่ว่า การขับเคลื่อนประเด็นปัตตานีมหานครจะต้องจัดตั้งเป็นกองทุนและเปิดช่องทางให้ประชาชนมีส่วนร่วมในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็น ความคิดกำลังกายและกำลังทรัพย์

กองทุนการขับเคลื่อนปัตตานีมหานครมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการขับเคลื่อนไม่ว่า จะเป็นการลงลายมือชื่อเพื่อยื่นร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ระเบียบบริหารราชการปัตตานีมหานคร พ.ศ. ..... ต่อสภาผู้แทนราษฎร และการขับเคลื่อนการเมืองภาคพลเมืองเพื่อสู่การเมืองการปกครองที่เป็นธรรม การต่อต้านคอรัปชั่นและการต่อต้านการเมืองระบบเครือญาติและอุปภัมถ์

ในโอกาสนี้ ทางเครือข่ายฯ ขอถือโอกาสประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

ขอแสดงความนับถือ

มันโซร์ สาและ

ผู้ประสานงานเครือข่ายเพื่อการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการปกครองในจังหวัดชายแดนภาคใต้

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กวีตีนแดง: ในนามของความร้ายรัก

Posted: 14 Dec 2011 09:24 AM PST

 

 

ในนามของความร้ายรัก

เราส่งมอบความอาฆาตมาดร้ายแก่กันด้วยความปรารถนาดี

หยิบยื่นมิตรไมตรีที่ฉาบไว้ด้วยความเสแสร้ง

แล้วพร้อมใจกันก้มกราบบูชาความลวงอันศักดิ์สิทธิ์
...

เช่นนี้เอง...เราต่างก็เป็นเช่นนี้เอง

บทเรียนแห่งกาลสมัยล้วนไม่เคยถูกจารึกจดจำ

เรามอมเมาตัวเองด้วยเทพนิยายที่บรรจงเสกสรรปั้นแต่ง

ซาบซึ้งคุณความดีจากคำโฆษณาสรรเสริญดุจยากล่อมประสาท

เราช่างโชคดี..ที่อยู่ในดินแดนที่เต็มไปด้วยความร้ายรักเช่นนี้
...

เพียงเพื่อความร้ายรักอันยิ่งใหญ่นี้

เราถึงกับยอมศิโรราบให้กับโลกอันเหลื่อมล้ำ

ยินยอมให้ความจริงทั้งหลายถูกบิดเบือนด้วยตรรกะบิดเบี้ยว

เราพร้อมจะตะโกนสาปแช่งก่นด่าผู้คนฝ่ายตรงข้าม

แม้กระทั่ง..ลุกขึ้นเข่นฆ่าใครก็ตามที่คิดต่างออกไป

ทั้งหมดที่เกิดขึ้นนี้..ล้วนทำลงไปด้วยความร้ายรักทั้งสิ้น
...

ดูเถิด...นี่คือหัวใจอันเปล่าเปลือยของฉัน

เธอมองเห็นเสรีภาพถูกกักขังอยู่ข้างในนั้นหรือไม่

ดูสิ..นี่คือดวงตาอันว่างเปล่าของฉัน

เธอมองเห็นความยุติธรรมถูกซุกซ่อนอยู่ข้างในนั้นหรือไม่
...

ดวงตาของเธอถูกทำให้มืดบอดด้วยความร้ายรักไปแล้วหรือยัง?

....

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ความเกลียดชังจากสังคมที่บูชาความรัก

Posted: 14 Dec 2011 09:12 AM PST

 

ไม่ใช่ตรรกะของความรักหรอกที่สังคมของเรากำลังมีปัญหา แต่เป็นคนที่ใช้และได้ใส่ความหมายให้มันต่างหากที่เป็นผู้สร้างความเกลียดชัง

 

เมื่อความรักในสังคมของเราถูกใช้เพื่อกำหนดมาตรฐานทางศีลธรรมเพื่อใช้ในการจำแนก คนดี และ คนเลว ความรักจึงทำให้สังคมไทย ไม่มีที่เหลือสำหรับใครก็ตามในการพูดออกมาว่า “ผมไม่รักพ่อ”  “ผมไม่รักแม่” เพียงเพราะในสังคมนี้ไม่อนุญาตให้ลูกคนใดพูดออกมาแบบนั้น ยกตัวอย่างในกรณีที่เกิดมาเป็นเด็กกำพร้าเพราะพ่อแม่ทิ้งตั้งแต่เกิดจากเหตุผลของพ่อแม่ในปัญหาทางการเงิน เด็กคนนี้จึงเติบโตผ่านสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าและเรียนรู้วิถีชีวิตด้วยตัวเองหรือเพื่อนเป็นส่วนใหญ่ แล้ววันหนึ่งเมื่อบังเอิญได้มาพบพ่อแม่อีกครั้ง ลูกคนนี้ยังจำเป็นจะต้องบอกรักพ่อแม่ของเขาผู้ที่ทิ้งตัวเองไปตั้งแต่เกิดหรือไม่ ? แน่นอน การบอกรักพ่อแม่ ไม่สามารถใช้ได้กับทุกคนหรือทุกกรณี แต่การใช้ความรักตัดสินว่าลูกทุกคนต้องรักพ่อแม่นี่สิที่เป็นปัญหาแก้ไม่ตกของสังคมที่บูชาความรัก (ที่จริงมันทำให้ผมนึกถึงความรักระหว่างมนุษย์กับพระเจ้าในศาสนาคริสต์ด้วยเพราะกรณีมันคล้ายกันมาก)

 
สังคมที่สร้างความเกลียดชังผ่านการบูชาความรักอาจไม่กล้ายอมรับความจริงในประเด็นที่เล็กขนาดนั้น แต่ในกรณีที่ความรักถูกใช้และอ้างถึงในระดับประเทศ ความรักมันก็เริ่มแผลงฤทธิ์อย่างชัดเจน
 
ความรักประเภทที่ว่านี้ถูกใช้ในบริบทของการเมืองไทยติดต่อกันมานานมากกว่าครึ่งศตวรรษและถูกใช้เป็นเครื่องมือในการโจมตีฝ่ายตรงข้ามมาตลอด ความรักชนิดนี้คือ “ความรักในหลวงของคนไทย”
               
ความรักประเภทนี้ถูกถ่ายทอดผ่านสื่อต่างๆมากมายภายในประเทศตั้งแต่ ทีวี, หนังสือ, วันประเพณีต่างๆ, แบบการเรียนการสอนของโรงเรียน-มหาลัย ฯลฯ จนกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ว่า “คนไทยทุกคนต้องรักในหลวง” และเกิดวาทกรรมวิบัติอีกชนิดหนึ่งคือ “ใครไม่รักในหลวงไม่ใช่คนไทย”      
               
ที่ผมบอกว่าความรักชนิดนี้ถูกใช้เป็นเครื่องมือเพราะว่าความรักประเภทนี้ถูกใช้ในการลงโทษคนคิดต่างมากที่สุดในการเมืองไทยมาโดยตลอดผ่านประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่ระบุว่า “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริ์ย พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี” ด้วยมาตราโทษนี้เอง ที่นำไปสู่การปราบปรามผู้ที่มีความคิดเห็นต่างมากมายทั้งใน facebook, งานวิชาการ จนรวมไปถึงการนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศ ที่ล้วนห้ามพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย (แม้กระทั่ง sms ส่วนตัวที่ถูกส่งโดยมือถือของลุงแก่คนหนึ่ง ก็ยังถูกศาลตัดสินถึง20ปี)

มาตราฐานของกระบวนการทางกฎหมายที่ก้าวไม่พ้นการเลิกตัดสินคนผ่านความคิดอันล้าหลังที่เปรียบได้กับความยุติธรรมในยุโรปยุคกลาง กลับยิ่งสร้างความเกลียดชังในสังคมไทย จนยากที่จะหาจุดร่วมกันบนฐานของข้อเท็จจริงได้ เพราะ ความรักที่มีกฎหมายคุ้มครองชนิดนี้ไม่เปิดโอกาสให้คนได้แสดงออกในความคิดเห็นที่แตกต่างออกไปจากจารีตของสังคม

 
ความรักในสังคมไทยจึงอยู่บนฐานของการไม่ยอมรับในความแตกต่างและการรับไม่ได้ในความหลากหลายของความคิด ภาพรวมใหญ่ๆของสังคมไทยทั้งหมดจึงเปรียบเสมือนกับข้อสอบปรณัยที่ไม่เปิดโอกาสให้ผู้สอบตอบคำถามได้มากเกินกว่าตัวเลือกที่ข้อสอบกำหนดเอาไว้ ดังนั้น ทางเลือกในการเป็น ทางเลือกในการคิดจึงมีขอบจำกัดที่ผู้คุมสอบหรือรัฐไทยเป็นผู้วางให้ไว้ทั้งหมด
 
ความเกลียดชังกับความรักจึงแทบจะเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกัน เมื่อเกิดความรักย่อมต้องเกิดความเกลียดชัง ทั้งๆที่ความรักในตัวมันเองไม่ใช่สิ่งเสื่อมเสีย แต่เป็นเพียงความรู้สึกที่อ่อนแอเพราะขาดปัจจัยอย่างอื่นที่สมควรจะมีเช่นการยอมรับในความแตกต่าง
               
ผมจึงมองว่าความเกลียดชังที่สังคมได้สร้างขึ้นนั้น มาจากการบูชาความรักที่ขาดแคลนการยอมรับในความคิดเห็นที่แตกต่าง ความเกลียดชังนี้จึงเป็นภาพสะท้อนของสังคมไทยที่ขาดแคลนปัจจัยพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย และความเสมอภาคของเพื่อนมนุษย์อย่างเท่าเทียม
 
ถ้าความรักสามารถทำให้มนุษย์เกลียดชังมนุษย์ด้วยกันมากพอที่จะส่งคนที่ไม่เห็นด้วยไปเข้าคุกแล้ว ผมก็เริ่มสงสัยหนักขึ้นทุกๆวันว่าความรักในสังคมนี้อาจจะไม่จำเป็นเลยก็ได้ เพียงแค่เราสามารถยอมรับมนุษย์คนอื่นๆบนจุดยืนและความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ก็คงไม่ต้องอาศัยการรักใครสักคนอีกต่อไป อาศัยเพียงการยอมรับเท่านั้นก็พอเพียงแล้ว ... 



 
 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ปฏิบัติการ 13ธันวา ชูป้ายค้าน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

Posted: 14 Dec 2011 08:45 AM PST

เคลื่อนต่อเนื่อง! เครือข่ายประชาสังคมคัดค้าน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังคงมีกิจกรรมรณรงค์ออกมาตลอดเพื่อสร้างกระแสกดดันไปยังนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทยเพื่อขอให้ไตร่ตรองการต่ออายุกฎหมายพิเศษ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ ครั้งที่ 26 ในเดือนธันวาคมนี้ ล่าสุดคือ ปฏิบัติการ13 ธันวา Mission 13 December ชูป้ายคัดค้าน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทั่วทุกมุมโลก

13 ธ.ค. 54 ปฏิบัติการชูป้ายคัดค้าน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ของเครือข่ายประชาสังคมคัดค้าน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ได้ออกมาโพสต์ในโลกสังคมออนไลน์ เช่นใน Facebook อย่างต่อเนื่อง โดยการรณรงค์ครั้งนี้ ได้มีการประสานไปยังเครือข่ายนักกิจกรรม นักศึกษาต่างประเทศที่ไม่เห็นด้วยกับการบังคับใช้กฎหมายพิเศษ พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่ให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ความมั่นคง ได้ออกมาเคลื่อนร่วมรณรงค์พร้อมกันในวันที่ 13 ธ.ค. อีกด้วยภายใต้ชื่อ “Mission13 December”

การออกมาชูป้าย พร้อมทั้งยกนิ้วหัวแม่มือคว่ำ แสดงถึงความไม่ชอบ หรือไม่ต้องการ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทั้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เองก็ได้รับความสนใจจากเหล่านักกิจกรรมเพื่อสังคมในพื้นที่ โดยข้อความในป้ายมีข้อความเดียวกันหมดคือ “ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ณ ชายแดนใต้ SAY NO EMERGENCY DECREE @ PATANI SOUTHERN THAILAND”

ทางตัวแทนเครือข่ายเปิดเผยว่า ในวันที่ 15 ธ.ค.54 ทางเครือข่ายประชาสังคมคัดค้าน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จะเดินทางไปพบ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เพื่อทำการยื่นจดหมายเปิดผนึกเพื่อขอให้ ศอ.บต. พิจารณาเพื่อเสนอคัดค้านการต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักวิจัยเมืองผู้ดีเตือนไทยเร่งจัดการวิกฤตโรคอ้วน

Posted: 14 Dec 2011 08:27 AM PST

ชี้ประเทศไทยเสี่ยงจะมีปัญหาโรคอ้วนถ้วนหน้า ทั้งในเมืองและชนบท หากไม่จัดการอย่างจริงจัง

13 ธันวาคม 2554 ที่ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการป้องกันและควบคุมโรคอ้วนและเบาหวาน โดยความร่วมมือระหว่างประเทศอังกฤษและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่โรงแรม ริชมอนด์ นนทบุรี ศาสตราจารย์  Shah  Ebrahim นักวิจัยจาก London School of Hygiene & Tropical Medicine ประเทศอังกฤษ ได้นำเสนอผลการศึกษาข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของอุบัติการณ์โรคอ้วนและโรคเบาหวานที่พบว่าทั้งประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาล้วนแต่มีอุบัติการณ์ในการเกิดโรคอ้วนและเบาหวานที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าวิตก เช่นในสหรัฐอเมริกา มีจำนวนคนที่มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนเพิ่มมากเป็นสองเท่าในเวลาเพียงสามทศวรรษโดยในปัจจุบันประชากรสองในสามของประเทศมีภาวะน้ำหนักเกิน และในขณะเดียวกันปัญหาโรคอ้วนก็ได้ลุกลามไปเกือบทุกประเทศทั่วโลก หรือถือได้ว่าความอ้วนได้กลายเป็นเรื่องปกติของประชากรโลกเสียแล้ว

สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือรูปแบบการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปในสังคมของประเทศกำลังพัฒนา อย่างเช่นในประเทศไทย ซึ่งมีทิศทางที่สนับสนุนให้ประชากรมีความเสี่ยงต่อปัญหาน้ำหนักเกินและโรคอ้วนและโรคเบาหวาน เพิ่มขึ้น ทั้งการบริโภคอาหารพลังงานสูง เครื่องดื่มรสหวาน และการลดการมีกิจกรรมทางกาย  และมีทิศทางจะเดินตามประเทศตะวันตกเข้าสู่วิกฤติปัญหาภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน และแนะนำว่าการจัดการปัญหาจะต้องอาศัยมาตรการที่มีประสิทธิผลหลาย ๆ มาตรการทั้งในระดับบุคคลและการจัดการกับปัจจัยแวดล้อมโดยการจัดการกับปัจจัยต้นตอของปัญหา เช่น ราคาและการเข้าถึงอาหาร โดยต้องอาศัยความจริงจังความต่อเนื่อง และความร่วมมือจากภาคีทุกส่วนในการดำเนินการ

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กิตติรัตน์ดอดคุยเอฟทีเอกับอียู ดองผลฟังคิดเห็นประชาชนตามรอย ปชป.

Posted: 14 Dec 2011 08:25 AM PST

 

14 ธ.ค.54 เอฟทีเอ ว็อทช์ เตือนรัฐบาลเพื่อไทยอย่าเดินรอยตามรัฐบาลประชาธิปัตย์ดองผลการรับฟังความคิดเห็นประชาชน

จากการที่นายคาเรล เดอ กุช (Karel De Gucht) คณะกรรมาธิการยุโรปด้านการค้า (EU Trade Commissioner) ได้แถลง ณ กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยมว่า จะหารือประเด็นการเจรจาเอฟทีเอระหว่างสหภาพยุโรปกับประเทศไทย กับนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพานิชย์ ที่นครเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ในโอกาสการประชุมองค์การการค้าโลกที่จะเริ่มขึ้นในวันพรุ่งนี้ (15 ธ.ค.)

กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch) ออกแถลงการณ์ระบุว่า ในปัจจุบัน รัฐบาลไทยเองยังประสบปัญหาในการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ และกระบวนการต่างๆ ตามมาตรา 190 โดยที่ผลการรับฟังความคิดเห็นประชาชนที่ดำเนินการตามมติ  ครม เมื่อปี พ.ศ. 2553ยังไม่ได้มีการรายงานกลับไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อใช้ประกอบการยกร่างกรอบการเจรจา ซึ่งที่ผ่านมา ผลการรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวยังค้างอยู่ที่กระทรวงพาณิชย์ในสมัยของนางพรทิวา นาคาศัย เป็นรัฐมนตรีว่าการ ขณะเดียวกัน นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยในขณะนั้น กลับนำร่างกรอบเจรจาเข้าสู่ที่ประชุมคณะอนุกรรมการเอฟทีเอโดยยังไม่เคยนำออกไปรับฟังความคิดเห็นประชาชน

“ที่ผ่านมา มีรายงานข่าวว่า ร่างกรอบการเจรจาที่ดำเนินการจัดทำไปเองแล้วโดยกระทรวงพานิชย์มิได้มีการให้ความสำคัญต่อสินค้าที่เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอลซึ่งมีความละเอียดอ่อนและจะส่งผลกระทบด้านสุขภาพและสังคมอย่างกว้างขวางแต่อย่างใด ทั้งนี้เป็นที่ทราบดีว่าสินค้าประเภทนี้จะนำมาซึ่งผลประโยชน์มหาศาลให้กับสหภาพยุโรปหากสามารถขยายการบริโภคในประเทศไทยได้ แต่ผลการรับฟังความคิดเห็นประชาชนจากทุกภูมิภาคกลับระบุชัดว่าจะต้องไม่นำสินค้าประเภทเหล้า สุรา มาเจรจาเปิดเสรี

 นอกจากนี้ ทราบมาว่า ในร่างกรอบฯยังเปิดโอกาสให้สามารถใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศในประเด็นที่เกี่ยวกับการลงทุนสาธารณะ ซึ่งตรงกันข้ามกับผลการรับฟังความคิดเห็น” นายจักรชัย โฉมทองดี ตัวแทนกลุ่มเอฟทีเอ ว็อทช์กล่าว

กลุ่มศึกษาเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch) ซึ่งติดตามเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่องเรียกร้องให้รัฐบาลนำผลการรับฟังความคิดเห็นประชาชนมาพิจารณาเพื่อกำหนดแนวทางการยกร่างกรอบการเจรจาอย่างเร่งด่วนที่สุด และเพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 รัฐบาลจะต้องนำร่างกรอบการเจรจามาจัดรับฟังความคิดเห็นประชาชนก่อนการเสนอต่อรัฐสภาต่อไป

สำหรับข้อห่วงใยในเบื้องต้นต่อการเจรจากับสหภาพยุโรปนั้น อาทิ ประเด็นทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับยา และสิ่งมีชีวิต การเปิดเสรีการบริการ การเปิดเสรีสินค้าภาคเกษตร การลดภาษีเหล้า และการคุ้มครองการลงทุนที่จะมีผลกระทบต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะในอนาคต

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

2555 สมัชชาปฏิรูปชายแดนใต้ เดินสายจัด 200 เวทีกระจายอำนาจ

Posted: 14 Dec 2011 08:21 AM PST

ต้นปี 2555 ตรงกับวันที่ 4 มกราคม สมัชชาปฏิรูปเฉพาะปัญหาชายแดนภาคใต้ จะจัดงาน “ชายแดนใต้ไม่ทอดทิ้งกัน” ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา เชิญวิทยากรมาให้ความรู้เรื่องการกระจายอำนาจและกระบวนการยุติธรรม

หลังจากเวทีนี้สิ้นสุดลงแล้ว ก็จะเป็นหน้าที่ของคณะทำงานที่จะต้องจัดเวทีสาธารณะ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนต่อไป

นายมันโซร์ สาและ หนึ่งในคณะทำงานสมัชชาปฏิรูปเฉพาะปัญหาชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า เป็นการให้ความรู้เรื่องการกระจายอำนาจ เพื่อให้ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าใจถึงบริบทการกระจายอำนาจ และโครงสร้างการเมืองการปกครองของประเทศว่าเป็นอย่างไร เพราะประชาชนจำนวนมากไม่เข้าใจเรื่องนี้

ประเด็นต่อมาที่ต้องให้ความรู้คือ เจตนารมย์ของกฎหมายรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยสิทธิและอำนาจของประชาชน ซึ่งเป็นสาระสำคัญในการขับเคลื่อนเวทีสาธารณะ

สำหรับรูปแบบการปกครอง โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐาน เป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจตั้งแต่ตอนแรกๆ

ส่วนกลุ่มเป้าหมาย เน้นคนรุ่นใหม่ที่มีการศึกษา ทั้งเยาวชนและปัญญาชน เพราะกลุ่มคนเหล่านี้ เป็นอนาคตของพื้นที่ชายแดนใต้ ซึ่งต้องเข้าใจและมีความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ใช่เฉพาะประชาชนคนมีการศึกษา แต่หมายรวมถึงข้าราชการระดับ 10 ลงมา เรื่องของสัดส่วนอาชีพนั้นขึ้นอยู่กับความเป็นไปได้

สำหรับวิทยากรผู้ให้ความรู้ใน 200 เวที ไม่จำเป็นต้องเป็นนักวิชาการ ซึ่งในความเป็นจริง คนที่ขับเคลื่อนที่เข้าใจ อาจจะเริ่มต้นจากไม่กี่คน เพราะองค์ความรู้อาจจะอยู่กับเครือข่ายก็จริง แต่ก็ขึ้นอยู่กับความสนใจ การแสวงหาความรู้ และศึกษาข้อมูลของคนแต่ละส่วนด้วย

นอกจากนี้ ความชัดเจนในการนำเสนอ และการใช้เครื่องมือในการนำเสนอก็สำคัญ

นายมันโซร์ สาและ สรุปจากการจัดเวทีให้ความรู้เกี่ยวกับปัตตานีมหานครกว่า 60 เวทีที่ผ่านมา พบว่าไม่ง่ายที่จะจัดหาวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถให้ได้พร้อมกันจำนวนมาก เพื่อรองรับการจัดเวทีถึง 200 เวทีภายในหนึ่งปี

อีกประเด็นสำคัญคือ เรื่องของภาษา เนื่องจากภาษาไทยอาจจะพูดได้ในกลุ่มคนที่มีการศึกษาเท่านั้น แต่ไม่สามารถใช้ภาษาไทยสื่อสารกับประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ทุกกลุ่ม เพราะฉะนั้นวิทยากรจะต้องใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย การใช้ภาษามลายูท้องถิ่นอย่างภาษายาวี ก็มีส่วนสำคัญในการทำให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่นี้

ทั้งหมดเป็นประเด็นที่คณะทำงานขับเคลื่อนต้องคิดให้มาก เพราะการทำ 200 เวที แสดงให้เห็นทั้งปริมาณของเวที และจำนวนคน ซึ่งผู้จัดต้องการทำให้คลอบคลุมที่สุด และลึกที่สุด

หากพิจารณาจากจำนวน 200 เวที ถ้าแต่ละเวทีมีคนเข้าร่วม 30 คน ทั้งหมดก็เท่ากับได้พบปะทำความเข้าใจเรื่องการกระจายอำนาจได้ 6,000 คน ซึ่งเป็นจำนวนคนที่มากแล้ว ยิ่งจำนวนคนมากเท่าไหร่ หมายถึงความรู้ที่จะลงไปถึงชนชั้นรากหญ้าก็มากขึ้นเท่านั้น

นั่นหมายถึงว่า การจัดเวทีทั้ง 200 เวที นับเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนการกระจายอำนาจ และรูปแบบการปกครองปัตตานีมหานคร จะมีมากขึ้น

ถึงแม้จะจัดเวทีทั้ง 200 เวที เฉพาะในสามจังหวัดและสี่อำเภอชายแดนภาคใต้ แต่นายมันโซร์ สาและ บกว่า คณะผู้จัดก็คาดหวังไปถึงนักศึกษาที่ออกไปเรียนนอกพื้นที่ ซึ่งมีส่วนได้เสียจากการกระจายอำนาจ หรือไม่ยอมให้มีการกระจายอำนาจ

เนื่องเพราะคนรุ่นใหม่เหล่านี้คือผู้สืบทอดดูแลผืนแผ่นดินแห่งนี้ จึงต้องทำให้คนกลุ่มนี้ มองอนาคตของพื้นที่นี้ให้ออก

ทั้งหมดที่กล่าวมา เป็นภารกิจของคณะทำงาน ซึ่งเป็นเพียงกลไกหนึ่งในการกระตุ้นและขับเคลื่อน เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ เพื่อทำไปสู่การปฏิบัติ ภายใต้สิทธิที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เป็นคำกล่าวปิดท้ายของนายมันโซร์ สาและ

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รัฐมนตรีกับการประชาสัมพันธ์ยุคใหม่

Posted: 14 Dec 2011 08:18 AM PST

          ได้อ่านข่าวหนังสือพิมพ์ส่วนกลางฉบับหนึ่ง ประจำวันที่  29 พ.ย. 54 หน้าการศึกษา เกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) แล้วน่าสนใจไม่น้อย  เนื้อข่าว มีดังนี้

          “แม้จะมีไอเดียต่างๆ ออกมาเพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่เจอน้องน้ำเล่นงาน แต่ทั่นวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการ ศธ.ก็ยังไม่ถูกอกถูกใจในข่าวสารที่ออกเผยแพร่ตามสื่อต่างๆ เพราะมีน้อยเหลือเกิน แถมลงหน้าหนึ่งก็ไม่ค่อยมี ตามสื่อทีวีก็มีน้อยครั้งที่จะเห็น งานนี้เลยทำเอา “ครูแมว” ลงมาสั่งการเอง ให้ ศธ.เร่งโหมงานประชาสัมพันธ์กันอย่างยกใหญ่ นัยว่า ต้องมีข่าวออกตามสื่อมากกว่าเดิม...” 

          ปรากฎในคอลัมน์ ซึ่งจั่วหัวว่า “ข่าวออกน้อย” เชิงซุบซิบ แซวกันประมาณนั้น แต่ก็เป็นประเด็น และมีแง่มุมให้คิด

          ผู้เขียนขอโอกาสร่วมแจมด้วยข้อคิด ความเห็นบางเหลี่ยมบางมุม ตามประสาคนสนใจพีอาร์ โดยเฉพาะเจ้าของคอลัมน์ฯ ยังแซวเล็กๆ ท่านรัฐมนตรีท้ายข่าวด้วยว่า

          “งานนี้เห็นใจคนทำประชาสัมพันธ์เพราะต้องยอมรับว่า งานการศึกษานั้นโอกาสจะขึ้นหน้าหนึ่ง หรือออกตามสื่อทีวีจะน้อยกว่าข่าวอื่น หากประเด็นไม่เด็ดหรือสำคัญจริงๆ ถ้าจะให้ข่าวออกเยอะๆ เห็นทีทั่นวรวัจน์คงต้องปรับการทำงาน เปิดประเด็นที่น่าสนใจ รับรองงานนี้ข่าวออกตึมแน่ ไม่ต้องให้ออร์แกไนเซอร์มาช่วยทำประชาสัมพันธ์ด้วย ประหยัดงบได้มากโข”

          ผู้เขียนเห็นด้วยอย่างยิ่ง แม้เป็นคำแซว ซุบซิบจากเจ้าของคอลัมน์ฯ แต่ก็เป็นอะไรที่มีคุณค่าและความหมายแก่ผู้ปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ (พีอาร์) ทั่วไป ไม่เฉพาะองค์กร ศธ.เท่านั้น องค์กรรัฐ เอกชนอื่นก็เช่นกัน ทั้งนี้ อยากสะท้อนใน 2 มิติ และควรต้องไปด้วยกัน จึงจะมีข่าวออกตามสื่อมากกว่าเดิม กล่าวคือ 

          1  มิติคนทำประชาสัมพันธ์ ศธ.         

          2 มิติผู้นำ ศธ.

          ต้องยอมรับว่า เห็นใจคนทำประชาสัมพันธ์ ศธ.ที่จะผลักดันผลงานพีอาร์ให้ออกมาโดนใจนาย หรือ ผู้นำ ศธ. เป็นไปได้ยาก แม้จะโหมทำอย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุปัจจัยต่อไปนี้

          ประการแรก งานการศึกษา มักเป็นงานนิ่ง รอได้ เช่น ผลงานวิจัย  ฯลฯ คนรู้ข่าววิจัยตอนไหนก็ได้ สื่อก็เลยไม่รีบร้อนนำเสนอ หรือลงพิมพ์ให้ ไม่ลงวันนี้ ลงพรุ่งนี้ก็ยังได้ ไม่เสียหาย หรือจะอีก 2- 3 วันค่อยลงก็ได้อีก

          ทีวี อาจไปออกช่วงดึก หรือไม่ก็ตี 4-5 ใครจะดู อาจเลื่อนไปออกอีก 1-2 วันถ้าจำเป็น

          จนที่สุด เผลอๆ ทั้งหนังสือพิมพ์ ทีวี อาจไม่เผยแพร่ ก็เป็นไปได้ โดยเฉพาะหากมีข่าวสำคัญ ข่าวฮ็อต สื่อย่อมหันไปโฟกัสข่าวนั้นๆ เนื่องจากคุณค่าข่าวมากกว่า

          ครั้นอีก 2-3 วันพอจะลงให้ กลับมีข่าวสำคัญมาเบียดพื้นที่ไปอีกแล้ว อย่าลืมว่า ข่าวเกิดขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะข่าวใหม่ ความเคลื่อนไหวใหม่ๆทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ฯลฯ

          ทำให้ผลในเชิงพีอาร์กระทรวง ไม่โดดเด่นโดนใจ ศธ.1

         ประการที่สอง  ข่าวการศึกษามักถูกจัดไปลงหน้าการศึกษา หรือไม่ก็หน้าอื่นๆ ที่มีพื้นที่ว่างข้างในฉบับ ทำให้ไม่เตะตา

          ทำอย่างไรให้ประเด็นเด็ดหรือสำคัญจริงๆ อย่างที่เจ้าของคอลัมน์ว่า ถึงจะมีโอกาสขึ้นหน้าหนึ่ง    

          ประการที่สาม  เฉพาะอย่างยิ่งข่าวการศึกษา ค่อนข้างเป็นรูทีน ไม่มีอะไรใหม่ ว่ากันเป็นเทอมๆ ไปตามปฏิทิน เช่น ข่าวการรับสมัครเข้าศึกษาต่อหลักสูตรต่างๆ  เป็นต้น ไม่เหมือนข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจที่เคลื่อนไหวรายวัน เร้าความสนใจกว่า ไม่รู้วันนี้ไม่ได้ ตกข่าว เช่น ข่าวปรับ ครม. การอภิปรายไม่ไว้วางใจ น้ำมัน ทองขึ้นราคา ฯลฯ ไม่เว้นกระทั่งรัฐมนตรี ส.ส.ทะเลาะกันยังเป็นข่าว  สื่อเกาะติด เผลอๆลงหน้าหนึ่งอีกต่างหาก ทีวีก็ออกในข่าวภาคค่ำ  

          กระทรวงเศรษฐกิจจึงได้เปรียบกว่ากระทรวงศึกษา แต่ผู้นำกระทรวงยุคใหม่ต้องเก่งบริหาร แก้ปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้องประชาชนได้ผลดีด้วย

           เมื่อเหตุปัจจัย เป็นข้อจำกัดเช่นนี้ ทำอย่างไรให้ข่าวการศึกษา เป็นข่าวสำคัญ มีอะไรที่แปลกใหม่ในสายตาของสื่อ เป็นโอกาสและความท้าทายคนทำประชาสัมพันธ์ ศธ.ยุคใหม่ไม่น้อย 

          ข่าวสำคัญ ย่อมมาจากงานสำคัญ จะเป็นข่าวสำคัญได้ งานต้องสำคัญก่อน เป็นประโยชน์สูงแก่ประชาชน เป็นเรื่องของผู้นำกระทรวง มิใช่คนทำประชาสัมพันธ์ ศธ.เท่านั้น

          มิเพียงให้เร่งโหมงานประชาสัมพันธ์จะช่วยได้  อยู่ที่ผู้นำ ศธ.ยุคใหม่ต้องหันไปสร้างงานที่สำคัญๆ งานใหม่ๆ นโยบายใหม่ๆ ประโยชน์ใหญ่ๆ ตอบโจทย์ความต้องการของสังคมยุคใหม่ด้วย

          ไม่ใช่รูทีนในโจทย์เดิมๆ แต่เป็นโจทย์ใหม่ในบริบทที่เปลี่ยนไป     

          เช่น ในมหาอุทกภัยหรือน้องน้ำที่เป็นโจทย์ใหม่ของประเทศปีนี้ ศธ.น่ามีนโยบายให้มหาวิทยาลัยทุกแห่งที่มีคณะแพทย์ เภสัช สาธารณสุข ออกหน่วยเคลื่อนที่ตรวจรักษา แจกยา เวชภัณฑ์ที่จำเป็น แนะนำสุขภาพ และช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่เจ็บป่วย อัมพฤกอัมพาตทุกข์ทรมานติดอยู่ในบ้าน ออกมาพักรักษาตัวในโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย 

          คณะวิศวะ ระดมนิสิตนักศึกษาต่อเรือ ติดเครื่องยนต์เล็กๆ ให้ประชาชนผู้ประสบภัยใช้สัญจรไปมาในการดำเนินชีวิตระหว่างถูกน้ำท่วม มหาวิทยาลัยละ  100 ลำ งบมาเอาที่ ศธ.

          ถ้าอย่างนี้ ก็ได้ใจประชาชนเต็มๆ

          สื่อรู้วิ่งมาหา อยากได้ข่าว  พีอาร์ก็ง่ายขึ้น คนเห็นผลงาน

          ดังนั้น ผู้กำหนดความสำเร็จของการประชาสัมพันธ์ยุคใหม่ และ ศธ.ตัวจริง คือ ผลงานที่สร้างขึ้น คือผู้นำ ศธ. นั่นเอง คนทำประชาสัมพันธ์ ศธ. เป็นเครื่องมือนำผลงานนั้นมาสื่อสารประชาสัมพันธ์ออกไปให้สื่อ  

          เรือติดเครื่องยนต์ 100 ลำอย่างนี้ สื่อย่อมโฟกัส เพราะสื่อเองก็ต้องแข่งข่าวสารที่ตอบโจทย์ประชาชนในยุคใหม่เช่นกัน

          หนุนส่ง ศธ.โดดเด่นได้ไม่แพ้กระทรวงเศรษฐกิจ
          คุณค่าพีอาร์ อยู่ที่คุณค่าข่าวสาร
          คุณค่าข่าวสาร อยู่ที่คุณค่างาน
          คุณค่างาน ขึ้นกับผู้นำ

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สิ่งที่เป็นความผิดในตัวเอง กับสิ่งที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิด

Posted: 14 Dec 2011 08:12 AM PST

สิ่งที่ถกเถียงกันจนเป็นชนวนของความแตกแยกในสังคมไทยในปัจจุบันนี้ก็คือ ประเด็นของการนิรโทษกรรมกับประเด็นการใช้มาตรการทางกฎหมายไปกลั่นแกล้งกันด้วยการแจ้งความดำเนินคดีอาญาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ในข้อหาที่เรียกกันสั้นๆ ว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (ซึ่งไม่มีในศัพท์ทางกฎหมายอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด)

ตามทฤษฎีกฎหมายแล้ว ความผิดทางอาญามี 2 ประเภทคือ

1) สิ่งที่เป็นความผิดในตัวเอง (mala in se) คือความผิดที่คนทั่วไปเห็นชัดเจนว่าเป็นความผิดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน โดยปรากฏออกมาในรูปแบบของขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี ที่ประพฤติปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอและเป็นเวลานาน และสิ่งที่ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอนั้นได้รับการยอมรับกันในสังคมว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง (opunio juris) ถ้าไม่ปฏิบัติเช่นนั้นก็รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ผิดหรือนัยหนึ่งรู้สึกว่าจำเป็นต้องปฏิบัติเช่นนั้น (opinion necessitates) เช่น การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต การทำร้ายผู้อื่น การลักทรัพย์หรือฉ้อโกงผู้อื่น ฯลฯ ซึ่งไม่ว่าจะอยู่ในสังคมใดใดจะถือว่าเป็นความผิดในตัวเองแทบทั้งสิ้น เว้นเสียว่าจะเอาเหตุผลความจำเป็นอื่นมาอ้างเพื่อเป็นข้อยกเว้น เช่น การป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุ การสู้รบในสงครามซึ่งผมเห็นว่าน่าจะไม่ใช่เหตุผลที่สมควรแต่อย่างใดที่จะเอาชีวิตผู้อื่นโดยเหตุผลทางการเมืองหรือการแสวงหาอำนาจของผู้นำที่คลั่งอำนาจ รวมถึงการสู้รับเพื่อแย่งชิงเขตดินแดนที่สมมุติขึ้นในแผนที่

2) สิ่งที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิด (mala prohibita) คือความผิดที่เกิดจากการที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิด โดยอาจมิได้เกี่ยวกับศีลธรรมเลย เพราะเมื่อสังคมเจริญขึ้น การติดต่อระหว่างคนในสังคมมีมากขึ้นและใกล้ชิดยิ่งขึ้น ซับซ้อนยิ่งขึ้น เครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิตก็มีมากขึ้น ทำให้มีข้อขัดแย้งในสังคมมากขึ้น กฎเกณฑ์ที่เป็นแต่ขนบธรรมเนียมประเพณีไม่เพียงพอ จึงจำต้องมีกฎเกณฑ์ที่บัญญัติขึ้นมาทันทีเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ตัวอย่าง เช่น กฎจราจร หรือ ความผิดตาม พรบ.การพนันฯ ซึ่งการเล่นการพนันบางอย่างในบางแห่งอาจถือเป็นความผิดเพราะสังคมนั้นเชื่อว่าการพนันเป็นบ่อเกิดของอาชญากรรม แต่บางแห่งถือเป็นเรื่องธรรมดาเพราะถือว่าคนเราโตแล้วย่อมมีความรับผิดชอบในชีวิตตัวเอง และในทำนองเดียวกันก็คือ กฎหมายว่าด้วยการค้าประเวณี ซึ่งบางสังคมก็เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายและบางแห่งถือว่าไม่ผิดกฎหมาย ฯลฯ

กฎเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิดนี้เป็นกฎเกณฑ์ที่ตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะเจาะจง ไม่เกี่ยวกับศีลธรรมจรรยาหรือขนบธรรมเนียมประเพณี แต่เป็นเรื่องที่สังคมจะต้องกำหนดกฎเกณฑ์ขึ้นมาทันทีทันใดเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าบางอย่าง ไม่ใช่ว่าขับรถทางซ้ายเป็นคนดี ขับรถทางขวาเป็นคนไม่ดี ไม่ใช่เรื่องดีชั่วในตัวเอง แต่เป็นเรื่องผิดถูกเพราะกฎหมายกำหนดไว้ หากไม่ทำก็ถือว่าผิด

จากที่กล่าวมาข้างต้น เมื่อเราพิจารณาถึงประเด็นที่เป็นข้อถกเถียงในสังคมไทยในปัจจุบัน คือ

1) ประเด็นการนิรโทษกรรม สามารถแยกเป็นได้ 2 กรณี คือ

1.1 กรณีคุณทักษิณ ในความเห็นของผมแล้วเห็นว่าเป็นกรณีที่เป็นความผิดเพราะเป็นสิ่งที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิด (mala prohibita) เช่น คดีผิดตามกฎหมาย ปปช.ที่กำหนดขึ้นมาเป็นการเฉพาะและอยู่ในระหว่างการหลบหนีคดี รวมทั้งคดีอื่นๆอีกหลายคดี ซึ่งการนิรโทษกรรมย่อมขึ้นกับผู้มีอำนาจตามกฎหมาย ในที่นี้ย่อมหมายถึงสภานิติบัญญัติหรือรัฐสภาที่อาศัยคะแนนเสียงส่วนใหญ่เป็นผู้พิจารณา ส่วนว่าใครจะชอบใจไม่ชอบใจและผลตามมาจะเลวร้ายเกินกว่าสังคมจะรับได้หรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

1.2 กรณี 91 ศพ ในความเห็นของผมแล้วเห็นว่าเป็นกรณีที่เป็นความผิดเพราะเป็นสิ่งที่เป็นความผิดในตัวเอง (mala in se) เพราะเป็นการฆ่าคนอย่างชัดเจน ส่วนจะอ้างว่าเป็นการกระทำสมควรแก่เหตุหรือไม่นั้นย่อมต้องให้ศาลเป็นผู้พิจารณาพิพากษา และถึงแม้ว่าจะมีการตรากฎหมายนิรโทษกรรมออกมางดโทษก็ตามก็ไม่อาจล่วงพ้นความรับผิดไปได้หากศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court-ICJ)รับไว้พิจารณา ส่วนว่าศาลอาญาระหว่างประเทศจะรับหรือไม่รับไว้พิจารณาเนื่องด้วยประเด็นปัญหาเขตอำนาจศาลนั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

2) ประเด็นประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ในความเห็นของผมแล้วเห็นว่าเป็นกรณีที่เป็นความผิดเพราะเป็นสิ่งที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิด (mala prohibita)อีกเช่นกัน เพราะบางประเทศก็มีสถาบันกษัตริย์และบางประเทศก็ไม่มีสถาบันกษัตริย์ ถึงแม้ว่าในแต่ละประเทศที่มีสถาบันกษัตริย์ก็มีมาตรฐานไม่เหมือนกัน ซึ่งของไทยเรานั้นเปิดโอกาสให้ใครก็ได้สามารถแจ้งความดำเนินคดีได้ จึงเป็นเหตุให้มีการกลั่นแกล้งกัน ทำให้ผู้ที่แสดงความเห็นโดยสุจริตใจได้รับความเดือดร้อนไปด้วย ซึ่งผมเห็นว่าสมควรแก้ไขกฎหมายให้มีคณะกรรมการกลั่นกรองคล้ายกับคณะกรรมการคดีพิเศษ โดยประกอบไปด้วยผู้แทนจากหลายฝ่าย เช่น สำนักราชเลขาธิการ ,คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, สำนักงานอัยการสูงสุด, นักวิชาการ ฯลฯ ซึ่งในระหว่างที่ยังไม่มีการแก้ไขกฎหมายนี้ ผมเห็นว่าผู้ที่เชื่อว่าตนถูกกลั่นแกล้ง ควรที่จะได้ดำเนินการแจ้งความกลับผู้กล่าวหาว่ากระทำความผิดตามมาตรา 112 นี้เช่นกัน เพราะได้ทำการให้ระคายเคืองเบื้องยุคลบาท ย่อมเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพด้วย

กฎหมายเป็นสิ่งที่มนุษย์บัญญัติขึ้น ฉะนั้น มนุษย์ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ สิ่งใดที่ล้าสมัย ใช้ไปแล้วถูกตำหนิติเตียนหรือผู้คนเดือดร้อนเกินกว่าวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่ให้มีการบัญญัติขึ้นมา ย่อมสมควรที่จะมีการแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้ความยุติธรรมและสันติสุขเกิดขึ้นในสังคม หากสังคมใดยังฝืนทวนกระแสโลกก็ย่อมหาความสันติสุขได้ยากและรังแต่จะเป็นที่รังเกียจเดียดฉันท์ต่อเพื่อนร่วมสังคมโลกว่ายังใช้กฎของป่า(Rule of Jungles)อยู่ แทนที่จะใช้หลักนิติธรรม(Rule of Laws)ดังเช่นนานาอารยประเทศทั้งหลาย

 

 

 

หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 14 ธันวาคม 2554

 

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

โฆษกศาลไทยแจง "คดีอากง"-เพจFB สถานทูตสหรัฐถูกถล่มโพสต์ ฐานวิจารณ์ระบบยุติธรรมไทย

Posted: 14 Dec 2011 05:13 AM PST

โฆษกศาลยุติธรรม ตอบ 5 ประเด็น "คดีอากง" ศาลไทยเตรียมทำหนังสือถึงกท.ต่างประเทศอเมริกา-สื่อไทย-เทศ แจงข้อเท็จจริง หลังกระแสพิพากษาคดีหมิ่นฯ


เพจเฟซบุ๊กของสถานทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย วันนี้ (14 ธ.ค.) ถูกผู้ใช้ชาวไทยจำนวนหนึ่งเข้าไปแสดงความไม่เห็นด้วยต่อกรณีที่สหรัฐอเมริกาวิจารณ์การใช้กฎหมายอาญา มาตรา 112 และกระบวนการยุติธรรมของไทย โดยบางส่วนชี้ถึงความแตกต่างของระบอบการปกครองของไทยและสหรัฐฯ และไม่พอใจที่สหรัฐฯ เข้ามาก้าวก่ายเรื่องในประเทศ 

อนึ่ง ก่อนหน้านี้ (6 ธ.ค. 54) โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฝ่ายเอเชียตะวันออก เดอรราจ์ พาราดิโซ ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอพีว่า สหรัฐรู้สึก “หนักใจ” กับการตัดสินของศาลในคดีของนายอำพล หรือ ‘อากง’ ที่ถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 20 ปี ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและละเมิด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ พร้อมระบุด้วยว่า รัฐบาลสหรัฐมีความเคารพยำเกรงต่อสถาบันกษัตริย์ไทยอย่างที่สุด อย่างไรก็ตามเธอกล่าวว่า สหรัฐอเมริการู้สึก “หนักใจ” (troubled) กับการตัดสินคดีของศาลไทยเมื่อเร็วๆ นี้ ในคดีของนายอำพล ซึ่งไม่สอดคล้อง (inconsistent) กับหลักสิทธิมนุษยชนสากลด้านเสรีภาพในการแสดงออก

ขณะที่ คริสตี เคนนีย์ เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย แสดงความเห็นผ่านทวิตเตอร์  (9 ธ.ค.) ว่า สหรัฐอเมริกากังวลใจต่อการตัดสินคดีของ 'โจ กอร์ดอน' ชายไทย-อเมริกันที่ถูกตัดสินจำคุก 2 ปี 6 เดือน ในคดีหมิ่นฯ โดยทางการสหรัฐให้ความเคารพต่อสถาบันกษัตริย์ของไทยอย่างสูงสุด แต่รู้สึกเป็นกังวลต่อการตัดสินที่ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลในด้านเสรีภาพในการแสดงออก


ตัวอย่างความเห็นในแฟนเพจสถานทูตสหรัฐฯ

 



โฆษกศาลยุติธรรม ตอบ 5 ประเด็น "คดีอากง"

วันนี้ (14 ธ.ค.54) นายสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ โฆษกศาลยุติธรรม เขียนบทความเผยแพร่ในเว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ เรื่อง "'อากงปลงไม่ตก'เปิดคำเฉลย!ที่มาแห่งคดีโดยโฆษกศาล" แสดงความเห็นกรณีนายอำพล (สงวนนามสกุล)  หรือที่รู้จักกันว่า "อากง" อายุ 61 ปี จำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่นแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์พระราชินีฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14(2)(3)

"ศาลและกระบวนการยุติธรรมไม่เคยขัดขวางการแสดงความคิดเห็นของบุคคลใดๆ ขอเพียงการแสดงออกตั้งอยู่บนฐานคติที่ปราศจากอคติ ภายใต้หลักวิชาการ หลักกฎหมาย หลักนิติธรรม หลักเหตุผล หรือหลักความเชื่อส่วนตนที่สุจริตมีข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์ แต่ดูเหมือนหลายคนที่วิจารณ์ผลคดีข้างต้นในทางลบยังมิได้รู้เห็นพยานหลักฐานหรือข้อเท็จจริงในสำนวนความอย่างถ่องแท้ ซึ่งการนิ่งเฉยของศาลและกระบวนยุติธรรมมิได้มีค่าเป็นตำลึงทองเสียแล้ว" นายสิทธิศักดิ์ ระบุ พร้อมแสดงความเห็นโต้แย้งใน 5 ประเด็น ดังนี้

1. อากงไม่ได้กระทำความผิด เหตุใดศาลจึงพิพากษาลงโทษจำคุก
นายสิทธิศักดิ์ ระบุว่า คดีนี้ผ่านกระบวนการสอบสวน การกลั่นกรองจากอัยการ แล้วเปิดโอกาสให้จำเลยต่อสู้คดีในชั้นศาลอย่างเต็มที่ อันเป็นหลักการสากลและหลักกฎหมายที่เปิดโอกาสให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อสู้คดีอย่างเสมอภาคเท่าเทียมและเป็นธรรม

ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า อากงหรือจำเลยมีความผิดเพราะศาลชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายแล้วเชื่อว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดตามฟ้องของอัยการโจทก์จริง แต่ถ้าจำเลยไม่เห็นด้วยไม่พอใจในผลคำพิพากษา ก็ยังสามารถใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ตามกฎหมาย

ดังนั้นเมื่อคดียังไม่ถึงที่สุด การจะด่วนสรุปว่าอากงเป็นผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทำผิดโดยเสร็จเด็ดขาดนั้น ก็ยังมิใช่เป็นเรื่องที่แน่แท้เสมอไปดังที่บางคนมีความเชื่อและเข้าใจในทำนองนั้น แท้จริงแล้ว อากงยังถูกสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าคดีจะถึงที่สุด

2. ศาลลงโทษจำคุก 20 ปี เป็นโทษที่หนักเกินไป
สำหรับคดีนี้ มีการใช้ถ้อยคำหยาบคายแสดงความอาฆาตมาดร้าย จาบจ้วงล่วงเกินพระมหากษัตริย์และพระราชินีด้วยถ้อยคำภาษาที่ป่าเถื่อนและต่ำทรามอย่างยิ่ง เกินกว่าวิญญูชนคนทั่วไปจะพึงพูดจาดูหมิ่นเหยียดหยามกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้กระทำต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์พระประมุขของประเทศ อันเป็นที่เคารพยกย่องเทิดทูนของปวงชนชาวไทยและทั่วโลก และในกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 8 ก็บัญญัติว่า "องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้" โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมิใช่คู่กรณีที่มีความขัดแย้งสร้างความเดือดร้อนเสียหายแก่จำเลยแม้แต่น้อยนิด รวมทั้งพระองค์ท่านทรงอยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมืองจากมวลชนทุกหมู่เหล่า จึงไม่มีเหตุผลที่จำเลยหรือบางคนจะพยายามบิดเบือนว่า คดีนี้มาจากมูลฐานทางการเมือง ซึ่งเป็นข้ออ้างที่ไม่เป็นธรรมและห่างไกลจากความเป็นจริง

นอกจากนี้ ผู้กระทำไม่ได้กระทำความผิดแค่ครั้งเดียว แต่มีการกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระ ด้วยถ้อยคำดูหมิ่น หมิ่นประมาท แสดงความอาฆาตมาดร้ายถึง 4 ครั้ง มีถ้อยคำที่แตกต่างกันทุกครั้ง แสดงถึงเจตนาที่จงใจกระทำผิดกฎหมายอย่างท้าทายไม่ยำเกรงอาญาแผ่นดิน ไม่มีจิตสำนึกรู้ผิดชอบชั่วดี

เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธมาตลอดจนถึงในชั้นศาลจึงไม่มีเหตุลดโทษ บรรเทาโทษตามกฎหมาย ซึ่งความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 กฎหมายระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 15 ปี ส่วนความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กฎหมายระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี

การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยในความผิดแต่ละครั้งจำคุกกระทงละ 5 ปี ตามมาตรา 112 ซึ่งเป็นโทษบทหนักนั้น เป็นการลงโทษสูงกว่าโทษขั้นต่ำของกฎหมายเพียง 2 ปี ยังเหลืออัตราโทษอีก 10 ปี ที่ศาลมิได้นำมาใช้ เมื่อนำโทษทั้ง 4 กระทงมารวมกันเป็น 20 ปี คนทั่วไปที่ไม่รู้จึงเข้าใจผิดคิดว่าศาลลงโทษครั้งเดียว 20 ปี เห็นว่าโทษหนักไป แต่ถ้าเทียบกับพฤติการณ์ความร้ายแรงแห่งคดีแล้ว หลายคนที่รู้จริงเห็นตรงข้ามว่าโทษเบาไปหรือเหมาะสมแล้วก็มี

3. อากงอายุมากแล้วควรได้รับการลดโทษ ปล่อยตัวไป หรือได้รับการประกันตัว

แม้สังคมทั่วไปจะเรียกจำเลยว่า “อากง” ฟังดูประหนึ่งว่าจำเลยชราภาพมากแล้ว แต่ตามฟ้องจำเลยอายุ 61 ปี มิได้แก่ชราจนต้องอยู่ในความอนุบาลดูแลของผู้ใดสามารถเข้าใจและใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ แสดงว่าเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์และมิได้แก่เฒ่าคราวปู่ทวด

สำหรับบุคคลที่เจนโลก โชกโชน สันดานเป็นโจรผู้ร้าย มีเจตนาทำร้ายสังคมสถาบันหลักของประเทศชาติและองค์พระประมุข อันเป็นที่เคารพสักการะของคนในชาติให้เกิดความหลงผิดก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวง

ผู้เขียนเชื่อว่า ไม่มีใครอยากให้คนเช่นนี้ลอยนวลอยู่ในสังคมเพื่อสร้างความเสียหายต่อเนื่องหรือแก่ผู้อื่นอีก เพราะสักวันคนใกล้ตัวของคนเหล่านี้อาจตกเป็นเหยื่อด้วยก็ได้ มาตรการที่เหมาะสมจึงควรตัดโอกาสในการกระทำผิด ลงโทษให้หลาบจำสาสมไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้ที่กระทำความผิดคิดวางแผนไตร่ตรองในการกระทำความผิดอย่างแยบยลแนบเนียนด้วยแล้ว ก็ยิ่งสมควรใช้วิธีการที่เหมาะสม ในการคุ้มครองรักษาความสงบสุขของประเทศชาติและประชาชนด้วย จึงไม่แน่แท้เสมอไปว่าชราชน ที่กระทำความผิดจะต้องได้รับการลดโทษ ลงโทษน้อย หรือปล่อยตัวไปเสมอไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับข้อหาความผิด ความเสียหายและพฤติการณ์การกระทำแต่ละคดีที่ต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไป

ส่วนการจะได้รับการประกันตัวหรือไม่ ขึ้นอยู่กับพฤติการณ์ข้อเท็จจริงแห่งคดีเป็นเรื่องๆ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108 ,มาตรา 108/1

4. ศาลไทยไม่มีมาตรฐานสากล ควรรับรองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคล
แม้การแสดงความคิดเห็นถือเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น (International Covenant on Civil and Political Rights: ICCPR) แต่ในขณะเดียวกัน กติการะหว่างประเทศฯ ก็ได้กำหนดไว้ด้วยว่าการใช้สิทธิดังกล่าวต้องทำด้วยความสำนึกรับผิดชอบและไม่ล่วงละเมิดสิทธิของบุคคล เนื่องจากบุคคลทุกคนย่อมมีสิทธิ ในการรักษาชื่อเสียงและเกียรติภูมิของตนและต้องได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีของสนธิสัญญานี้ ซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 45 ที่ว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การพิมพ์และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น แต่เสรีภาพดังกล่าวก็ยังถูกจำกัดได้โดยกฎหมายหากเป็นไปเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิ หรือความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน...”

นอกจากนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 5 บัญญัติว่า ในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดี บุคคลทุกคนต้องกระทำโดยสุจริต และมาตรา 421 ก็บัญญัติว่า การใช้สิทธิ ซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น ท่านว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีมาตรฐานเช่นเดียวกับหลักการสากลข้างต้น อันแสดงว่าประเทศไทยให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชน มีกฎหมาย ที่ความก้าวหน้าทันสมัยทัดเทียมอารยประเทศ เพียงแต่ภายใต้ระบอบการปกครองบ้านเมืองที่แตกต่างกัน ทุกประเทศจึงควรที่จะต้องให้เกียรติเคารพในความต่างที่เป็นจุดแข็งทางวัฒนธรรมและสังคมของแต่ละประเทศ

หากผู้วิจารณ์คนใดยังศึกษาภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ไม่ลึกซึ้งถึงแก่นแท้หรือมีข้อเท็จจริงไม่ครบถ้วนเพียงพอ ไม่เข้าใจในขนบธรรมเนียม ประเพณี สังคมประเทศใดแล้ว การแสดงความเห็นว่าศาลหรือกระบวนการยุติธรรมของประเทศอื่นในทำนองห่วงใยว่าจะไม่มีมาตรฐานสากลนั้น เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ลึกซึ้ง และหมิ่นเหม่ต่อการกล่าวหากันอย่างไม่เป็นธรรม อาจทำให้คิดไปว่าผู้วิพากษ์เจือปนด้วยอคติที่ผิดหลงมีวาระซ่อนเร้น ประเทศไทยมีเอกราชทางการปกครองและการศาลมาช้านาน และประชาชนมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

5. ควรยกเลิกความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และความผิดว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับกฎหมายคอมพิวเตอร์
โฆษกศาลยุติธรรมระบุว่า กฎหมายทุกฉบับออกหรือตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติที่เป็นผู้แทนมาจากปวงชนชาวไทย สามารถแก้ไขปรับปรุงและยกเลิกได้ ถ้าสภาผู้แทนราษฎรเห็นว่าล้าสมัยไม่เหมาะสม ศาลเป็นเพียงผู้ใช้กฎหมายตามเจตนารมณ์ที่สภานิติบัญญัติตราขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้การแก้ไขยกเลิกกฎหมายจะกระทำได้ก็ตาม แต่ต้องคำนึงถึงความรู้สึกของประชาชน ความสงบเรียบร้อยของสังคมและผลกระทบข้างเคียงอื่นที่อาจตามมาด้วย อย่าให้อารมณ์หรือกระแสแห่งการปลุกปั่นยั่วยุชักจูงไปในทางที่เสียหายได้

คดีอากง เป็นแค่ปฐมบทในการพิสูจน์ความผิดหรือความบริสุทธิ์ของจำเลย ตามครรลองแห่งเสรีภาพที่กฎหมายเปิดช่องไว้ตราบใดที่คดียังไม่ถึงที่สุด การด่วนรวบรัดตัดความกล่าวโทษบุคคลหรือองค์กรที่ทำหน้าที่รักษากติกาสังคมอาจยังไม่เป็นธรรมนัก

อย่างไรก็ตาม คนทุกชาติ ทุกภาษา ต่างหวงแหนรักในแผ่นดินเกิดของตนเองเคารพและศรัทธาในศาสดาที่เป็นผู้นำทางศาสนาของตนเอง ความแตกต่างทางความคิดเชื้อชาติศาสนาการปกครองบ้านเมืองศิลปวัฒนธรรม ประเพณี มิใช่สิ่งผิดปกติในสังคมโลก แต่การกล่าวร้ายใส่ความ แสดงความอาฆาตมาดร้ายศาสดาของศาสนาอื่น เป็นพฤติการณ์ที่ผู้เจริญมิสมควรกระทำอย่างยิ่ง เพราะน้ำผึ้งหยดเดียวอาจกลายเป็นความหายนะของชาติได้

ดังนั้น หากท่านผู้อ่านอยากรู้ปัจจุบันและอนาคตของชาติใด ขอจงศึกษาประวัติศาสตร์ของประเทศนั้น สำหรับชาติไทยดำรงคงเอกราชมีเอกลักษณ์ของความเป็นชาติไทย เป็นที่ชื่นชมยกย่องของคนทุกชาติทุกภาษา เพราะผู้คนในสังคมไทยยังมีความรักสามัคคี มีน้ำใจ เอื้ออาทรผ่อนปรนเข้าหากัน ไม่ก้าวร้าวรุนแรงโดยขาดสติไร้เหตุผลรักหวงแหน เทิดทูนในชาติ ศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์จากรุ่นสู่รุ่น และปลูกฝังถ่ายทอดเป็นมรดกสู่ลูกหลานจนถึงปัจจุบัน

หากคนไทยยังรักและภูมิใจในแผ่นดินเกิด ขอได้โปรดช่วยกันรักษาสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ การจะติชมวิพากษ์เป็นเสรีภาพที่กระทำได้ ขอเพียงมีจิตเป็นกลาง ไม่มีอคติ และบนฐานคติที่สร้างสรรค์ พึงอย่าได้ใช้สิทธิส่วนตนเกินส่วนจนเกินขอบเขตก้าวล้ำสิทธิเสรีภาพผู้อื่น

อย่าได้แสดงความพยาบาทอาฆาตมาดร้าย ประหัตประหารด้วยอาวุธลมปากและความเท็จต่อผู้อื่น โดยอ้างเหตุผลทางการเมืองหรือเหตุอื่นมาสร้างความชอบธรรมแก่ตนเอง อย่าให้ลูกหลานในอนาคตเหลือแค่ความทรงจำแห่งความภาคภูมิในอดีตบนซากปรักหักพังของชาติไทย ที่ผองชนรุ่นปัจจุบันได้ทำลายล้างไปอย่างตั้งใจและมิได้ตั้งใจ

////////////////////////////////


ศาลไทยเตรียมทำหนังสือถึงกท.ต่างประเทศอเมริกา-สื่อไทย-เทศ แจงข้อเท็จจริง หลังกระแสพิพากษาคดีหมิ่นฯ

วานนี้ (13 ธ.ค. 54) กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สำนักงานศาลยุติธรรม เผยแพร่จดหมายข่าวระบุ กรณีหนังสือพิมพ์โลกวันนี้ ฉบับวันที่ 8 ธันวาคม 2554 ซึ่งลงข่าวพาดหัวว่า "ศาลไทยไม่มีมาตรฐาน สหรัฐจี้ไทยเปิดเสรีภาพแสดงความเห็น" โดยรายละเอียดเนื้อข่าวเป็นคำสัมภาษณ์นางดารัค พาดิโซ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวถึงการดำเนินคดีและการตัดสินคดีในความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทและผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามประมวลกฎหมายอาญาของไทยว่า ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลว่าด้วยเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยระบุว่าการนำเสนอข่าวดังกล่าวอาจทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนต่อการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรม อันจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาพลักษณ์ของศาลยุติธรรมและความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมในภาพรวม

จากการนำเสนอข่าวดังกล่าว ศาลยุติธรรมเตรียมทำหนังสือชี้แจงหลักกฎหมายและการดำเนินคดีของศาลยุติธรรมต่อกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา และทำหนังสือถึงบรรณาธิการหนังสือพิมพ์โลกวันนี้ และสำนักข่าวอื่นทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งออกมาตรการอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อให้ประชาชนรับทราบถึงข้อเท็จจริงต่อไป

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ปธน.ใหม่ ตูนีเซียกล่าวปฏิญาณ บอกไม่ลืมผู้เสียชีวิตจากการปฏิวัติ

Posted: 14 Dec 2011 03:29 AM PST

มอนเซฟ มาร์ซูวคี ประธานาธิบดีคนใหม่ของตูนีเซียอดีตนักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชน ได้กล่าวให้สัตย์ปฏิญาณว่าจะรักษาผลประโยชน์ของชาติ ปกป้องเป้าหมายการปฏิวัติ พร้อมทั้งแสดงการคารวะต่อเหล่าผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ลุกฮือเพื่อโค่นล้มอดีตปธน. เผด็จการ และบอกว่าจะช่วยเหลือพี่น้องผู้ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในเยเมนและซีเรีย

ประธานาธิบดีคนใหม่ของตูนีเซีย มอนเซฟ มาร์ซูวคี ได้กล่าวให้สัตย์ปฏิญาณต่อหน้าสภารัฐธรรมนูญ ในขณะที่ประเทศตูนีเซียมาถึงช่วงเปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์ใหม่หลังจากที่สามารถลุกฮือโค่นล้มอดีตประธานาธิบดี ซีเน เอล อบีดีน เบน อาลี ได้สำเร็จ จากการปฏิวัติ "อาหรับสปริง"

"ข้าพเจ้าจะเป็นผู้ค้ำประกันผลประโยชน์ของประเทศชาติ ตามหลักกฏหมายและสถาบัน ข้าพเจ้าจะซื่อสัตย์ต่อผู้พลีชีพ และต่อเป้าหมายของการปฏิวัติ" มาร์ซูวคีกล่าวให้สัตย์ปฏิญาณในช่วงเช้าของวันที่ 13 ธ.ค. โดยถือคัมภัร์อัลกุรอานไว้ในมือ

มาร์ซูวคีสวมผ้าคลุมยาวตามประเพณีของชาวอาหรับ ในขณะที่กล่าวให้สัตย์ว่าจะเป็นประธานาธิบดีของชาวตูนีเซียทุกคนและจะทำทุกอย่างเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเหล่าเพื่อนร่วมชาติ

นอกจากนี้เขายังได้ให้การคารวะเหล่าผู้ที่เสียชีวิตจากการลุกฮือเพื่อโค่นล้มอดีตประธานาธิบดีเบน อาลี เมื่อปีที่ผ่านมาด้วย

"หากไม่มีการเสียสละจากพวกเขาแล้ว ข้าพเจ้าก็คงไม่มาอยู่ในที่นี้" มาร์ซูวคี ผู้เป้นอดีตนักกิจกรรมกล่าวโดยมีน้ำตาคลอเบ้า

ผู้สื่อข่าวอัลจาซีร่ารายงานจากเมืองหลวงกรุงตูนิสว่า คำปฏิญาณของเขาเต็มไปด้วยอารมณ์ความรู้สึก

"มันเป็นช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ ที่ชาวตูนีเซียจะจดจำไปอีกหลายรุ่น" เขากล่าว

ผุ้สื่อข่าวรายงานอีกว่า มาร์ซูวคีได้กล่าวถึงแผนโครงสร้างของรัฐบาลและสถาบันทางการเมือง โดยบอกอีกว่า "พวกเราต่างก็มีพันธกิจในทางประชาธิปไตย และพวกเราก็จะให้การช่วยเหลือเพื่อนพี่น้องของเราในซีเรียและเยเมนด้วย"

มาร์ซูวคีได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียง 153 จากทั้งหมด 217 ที่นั่งในสภา โดยมีผู้แทน 3 รายจาก 202 รายให้คะแนนเสียงโหวตคัดค้าน 2 รายงดเว้นไม่ลงคะแนนเสียง และ 44 รายซึ่งเป็นสมาชิกพรรคฝ่ายค้านส่งบัตรลงคะแนนเปล่า

รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของตูนีเซียซึ่งมาจากรัฐบาลผสมจะได้รับการแต่งตั้งโดยพรรคฝ่ายซ้าย ขณะที่พรรคเอนนาห์ดาซึ่งเป็นพรรคอิสลามจะทำหน้าที่ดูแลการต่างประเทศและตำแหน่งรัฐมนตรีมหาดไทย พวกเขาบอกว่าพรรคเอนนาห์ดาและพรรคร่วมขนาดเล็กอีกสองพรรคตกลงกันว่าหน้าที่รัฐมนตรีการคลังควรเป็นของพรรคเอตตาคาตอล ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายซ้าย โดยพวกเขายังไม่ได้ระบุตัวผู้ท้าชิงตำแหน่งนี้

แหล่งข่าวระบุว่า อาลี ลาราเยดห์ เจ้าหน้าที่พรรคเอนนาห์ดาและอดีตนักโทษการเมืองอาจจะได้เป็นรัฐมนตรีมหาดไทย ขณะที่ราฟีค อับเดสเลม นักวิเคราะห์จากอัลจาซีร่าและสมาชิกพรรคเอนนาห์ดาอาจจะได้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ โดยอับเดสเลมยังมีความสัมพันธ์โดยแต่งงานกับลูกสาวคนหนึ่งของราชิด กานนูวชี หัวหน้าพรรคเอนนาห์ดาด้วย

นักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชน

ปธน. มาร์ซูวคี จบแพทย์จากฝรั่งเศส เป็นผู้นำสหพันธ์ปกป้องสิทธิมนุษยชนของตูนีเซีย (LTDH) ตั้งแต่ปี 1989 จนกระทั่งเขาถูกบังคับให้ออกจากประเทศในปี 1994 เขามีวีรบุรุษในดวงใจคือมหาตมะ คานธี ผู้เรียกร้องเอกราชของอินเดีย เขาเคยเดินทางไปอินเดียรวมถึงประเทศแอฟริกาใต้หลังช่วงที่เปลี่ยนผ่านไปเป้นประชาธิปไตยแล้ว

มาร์ซูวคี ยังได้เขียนหลังสือออกมาหลายเล่ม ทั้งในภาษาฝรั่งเศสและภาษาอาหรับ รวมถึงเล่มที่ชื่อว่า "จับตามองเผด็จการ : เส้นทางสู่ประชาธิปไตยของโลกอาหรับ" (Dictators on Watch: A Democratic Path for the Arab World)

ภารกิจแรกของประธานาธิบดีใหม่คือการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี โดยมีตัวเก็งคืออามาดี เจบาลี เบอร์สองของพรรคอิสลามสายกลางเอนนาห์ดา

อย่างไรก็ตาม มีนักวิจารณ์กล่าวหาว่ามาร์ซูวคี เป็นแค่เบี้ยหมากของพรรคเอนนาห์ดา ที่มีคะแนนเป็นอันดับหนึ่งจากการเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 23 ต.ค. ที่ผ่านมา โดยได้ไป 89 ที่นั่ง ขณะที่มาร์ซูวคีนั้นมาจากพรรคสภาเพื่อสาธารณรัฐ (Congress Party for the Republic) ซึ่งได้คะแนนมาเป็นอันดับสอง พรรคนี้มีสัญลักษณ์เป็นแว่นตาสีแดงที่ได้แรงบันดาลใจมาจากแว่นสายตาของเขาเอง

มาร์ซูวคีได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีสองวันหลังจากที่สภาได้มีมติรับรองรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวทำให้ประเทศสามารถเลือกรัฐบาลใหม่ได้ การลงมติเกิดขึ้น 5 วันหลังจากที่มีการโต้เถียงกันอย่างโกลาหลโดยมีประชาชนหลายร้อยคนมาชุมนุมกันหน้าอาคารสภาตะโกนคำขวัญว่า "เสรีภาพและศักดิ์ศรี"
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์: เจ้านิยมแบบพอเพียง (Sufficiency Royalism)

Posted: 13 Dec 2011 08:32 PM PST

หลักปรัญชาเศรษฐกิจแบบพอเพียง (Sufficiency Economy) ได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในทางปฏิบัติ บ้างนำมาใช้เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศให้อยู่รอดในยุคบริโภคนิยม บ้างนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการทำลายล้างศัตรูฝ่ายทุนนิยม (เช่น คุณทักษิณฯ) บ้างนำมาใช้เป็นแนวทางในการเสริมสร้างคลังปัญญาของสถาบันกษัตริย์ 

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทางการเมืองในขณะนี้ โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของคดีที่สืบเนื่องมาจากกฏหมายหมิ่นฯ ชี้ให้เห็นว่า มาตรา 112 ถูกนำมาใช้อย่างพร่ำเพรื่อ และกลายมาเป็นเครื่องมือทางการเมือง มาตรา 112 กลายมาเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาประชาธิปไตย ต่อการคงไว้ซึ่งสิทธิในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง และต่อการคงอยู่ร่วมกับประชาคมโลกในฐานะอารยประเทศ 

กลุ่มคลั่งเจ้าได้ใช้มาตรา 112 ในการทำร้ายผู้ที่มีความคิดเห็นต่างกัน ดังที่ผมได้กล่าวย้ำไว้หลายครั้ง กลุ่มคลั่งเจ้า หรือที่อาจเรียกว่าเป็นกลุ่ม hyper-royalists นั่นเองแหละที่เป็นผู้ทำให้ความรักและศรัทธาที่หลายๆ คนมีต่อสถาบันต้องลดน้อยลง กลุ่มคลั่งเจ้านี่แหละเป็นกลุ่มที่ทำร้ายสถาบันกษัตริย์ 

ผมขอนำเสนอปรัชญาใหม่ เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่ง หรืออาจจะเป็นทางเลือกเดียวในการดำรงอยู่ของสถาบันกษัตริย์ เพื่อจะยังคงได้รับการเคารพจากประชาชนทั่วไป เพื่อให้สถาบันกษัตริย์อยู่คู่ไปกับการพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศ โดยไม่กลายมาเป็นอุปสรรคต่อกระบวนการพัฒนาทางการเมือง ผมขอเรียกว่า หลักปรัญชา “เจ้านิยมแบบพอเพียง” 

กลุ่มรักเจ้าต้องหันกลับมาทบทวนบทบาทและจุดยืนของตนเองต่อสถาบันกษัตริย์ ที่ผ่านมา กลุ่มรักเจ้า/คลั่งเจ้า ได้ทำตัวเกินหน้าที่ ผมขอย้ำ ทำตัวเกินเจ้า ยิ่งกว่าเจ้า ความคิดเช่นนี้ส่งผลถึงพฤติกรรมแบบ over the top ในการปกป้องสถาบันกษัตริย์ รวมถึงการบีบบังคับให้หลายๆ คนที่อาจไม่เคยมีความเห็นเรื่องสถาบันมาก่อน กลับต้องการกลายมาเป็นกลุ่มต่อต้านสถาบันโดยปริยาย 

พฤติกรรมของกลุ่มคลั่งเจ้าแบบเกินงาม เกินความพอดี เกิดความพอเพียง อาทิ 

1. การใส่ร้ายป้ายสีผู้ต้องการเห็นการปฏิรูปมาตรา 112 ว่าเป็นพวกต้องการล้มเจ้า ไม่คำนึงว่า มาตรา 112 ในตัวเองนั้นมีปัญหาอยู่มากและเป็นเครื่องกีดขวางความก้าวหน้าด้านประชาธิปไตยของไทย 

2. การโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์แบบเลยเถิด อยู่นอกเหนือจากความเป็นจริง/กฏธรรมชาติ เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการสร้างตำนานหลายอย่างเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ และหากใครปฏิเสธตำนานที่กลุ่มคลั่งเจ้าเหล่านี้ได้สร้างขึ้น ก็มักจะถูกลงโทษตามมาตรา 112 (อย่างรุนแรง-ป่าเถื่อนในระยะหลัง) 

3. การปิดช่องว่างของการแสดงออกซึ่งความรู้สึกในสังคม อาทิ การบังคับให้ทุกคนชอบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เชื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งเหมือนกัน ผมได้เคยกล่าวไว้ว่า “ใครจะบังคับใจใครให้รักใครได้อย่างไร” ศิษย์อาจจะไม่ได้รักอาจารย์ ลูกบางคนอาจไม่ได้รักพ่อแม่ พนักงานบางคนอาจไม่รักนายจ้าง เราบังคับใจกันได้หรือ? ทำไมไม่เปิดโอกาสให้มีการถกเถียงกันว่า “ความไม่รัก” มันเกิดขึ้นได้อย่างไร และยอมเปิดใจกว้างกับความไม่รักนี้ 

4. เลิกมองไทยว่าเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล มีความเป็นเอกลักษณ์/อัตลักษณ์สูง เกินกว่าความเข้าใจของต่างประเทศ ทำให้ต่างประเทศต้องยอมรับในความแปลก ความเป็นเอกลักษณ์/อัตลักษณ์นี้ โดยเฉพาะในประเด็นการวิพากษ์วิจารณ์ของต่างชาติ/องค์กรระหว่างประเทศ เกี่ยวกับสภาพด้านสิทธิมนุษยชนของไทย เลิกพูดเสียทีว่าต่างชาติไม่มีวันเข้าใจไทย/ความเป็นไทย ตราบใดที่กลุ่มคลั่งเจ้ายังมีพฤติกรรมเช่นนี้อยู่ อย่าว่าแต่ต่างชาติเลย คนไทยหลายๆ คนก็ไม่เข้าใจในสิ่งที่พวกคุณกำลังทำอยู่ ถ้าต้องการอยู่อย่างเอกเทศ ไม่ต้องการคำวิจารณ์จากต่างชาติ ขอเสนอะแนะให้ไทยขุดคลอง/สร้างป้อมปราการรอบประเทศ สร้างประเทศให้เป็นเกาะ และยุติการติดต่อกับต่างประเทศ (ก็เอากันให้มันสุดๆ ไปเลย) 

เลิกเถอะครับ ความคิดคลั่งเจ้าเช่นนี้ หันมายึดหลักรักเจ้าแต่พอเพียง พอเพียงแบบเปิดพื้นที่ให้คนไม่เห็นด้วยได้แสดงความคิด/ใช้ชีวิตอยู่โดยไม่ถูกการลงโทษ และสังคมจะอยู่กันได้ เลิกทำตัวดราม่า (ดังที่ได้ประนามผู้อื่นว่าทำตัวดราม่าไว้) แล้วชี้หน้าด่าคนไทยด้วยกันว่าไม่มีความเป็นไทย ถ้าความเป็นไทยแบบนี้คือการคลั่งเจ้าแบบไม่ลืมหูลืมตา เอามาตรา 112 มาห่ำหั่นกัน ผมขอไม่มีความเป็นไทยนี้จะดีกว่า 

เจ้านิยมแบบพอเพียงจะเป็นหลักที่ทำให้สถาบันกษัตริย์อยู่รอดในทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร อย่าผลักดันหรือโดดเดี่ยวเพื่อนร่วมชาติโดยการใช้ความรักเจ้าแบบไร้ขอบเขตนี้ คำเตือนสุดท้าย หากท่านยังไม่เปลี่ยนความคิด ความรักเจ้าแบบล้นทะลักนั่นเองที่จะเป็นตัวทำลายสถาบันในที่สุด.....

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กวีประชาไท "ไม่ยินแว่วแล้วเพลงแดงเสรีชน"

Posted: 13 Dec 2011 06:58 PM PST

 
เลือกตัว แทนเรา เข้าสภา 
เสียงของ มหา ประชาราษฎร์
กลายเป็น ตัวแทน อำมาตย์ 
เหมือนมีด กรีดบาด หัวใจ
 
 
ไม่มีแล้ว เพลงแดง เสรีชน
เปลวไฟเคย ลุกโชน กลับมอดไหม้
เดินออกจาก เส้นทาง ประชาธิปไตย
ก็หมดความ อาลัย ใดต่อกัน
 
 
เจตจำนง เพื่อนเรา เขียนด้วยเลือด
ไม่เคยเหือด แห้งหาย จากใจฉัน
เหยียบกองศพ ขึ้นชูคอ รอวิมาน
แล้วก้มกราบ หมอบคลาน ในทันใด
 
 
แม้ดาบคม ที่สุด ของศัตรู 
มิเจ็บสู้ เพื่อนมิตร เปลี่ยนทิศหมาย
ปฏิปักษ์ หักหลัง ไม่ฝังใจ 
เท่าสหาย ทรยศ คดต่อกัน
 
 
ไม่ยินแว่ว แล้วเพลงแดง เสรีชน
ก้าวไม่พ้น ร่มเงา ให้เขาขัน
น้ำตาหยดเก่า เป็นของเรา นิรันดร์
โอ้...รัฐบาล เราเลือกเอง เราไล่เอง
 

********************

 
 
 
ป.ล.ขอส่งสัญญาณต่อต้านการกระทำอันเป็นการละเมิดและคุกคามสิทธิเสรีภาพประชาชนของรัฐบาล
       ที่ขึ้นสู่อำนาจด้วยคราบเลือดและน้ำตาของประชาชน  : เพียงคำ ประดับความ 

 

 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น