ประชาไท | Prachatai3.info |
- 10 ปี พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ มรดกรัฐประหาร 2549 ดอกผลที่ประชาชนจำใจจ่าย
- ปศุสัตว์ประกาศเขตระบาดชั่วคราว 22 จังหวัดรวม กทม.
- หมายเหตุประเพทไทย #200 NGO เพื่อ LGBT
- นักเศรษฐศาสตร์เตือนรีบกลับสู่ประชาธิปไตย เพื่อเจรจาการค้าเสรีกับสหรัฐฯ
- กลุ่มพุทธสายกลางศรีลังกาชุมนุมต่อต้านการก่อจลาจลของกลุ่มพุทธหัวรุนแรง
- ม.ค. 2561 ผู้ประกันตนว่างงาน 132,294 ราย
- พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์: ความเป็นสถาบันของพรรคการเมือง
- ท่าทีพระสงฆ์, ความขัดแย้ง และจำอวดทางการศึกษา
- กวีประชาไท: นาผืนน้อย
- โกงเงินโครงการรัฐลามถึง ศธ. ด้านโกงเงินคนไร้บ้านจ่อไต่สวนเพิ่มอีก 17 จว.
- ใบตองแห้ง: เสือดำดราม่า
- กวีประชาไท: วงจร เพลงหลอน บูชายัญ
- โพลชี้ประชาชนคาดหวังพรรคการเมืองใหม่มีคุณธรรม-ซื่อสัตย์
- สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 5-11 มี.ค. 2561
- 'ศรีสุวรรณ' นำเครือข่ายต้นไม้เมืองฟ้อง รฟม.-อิตาเลียนไทย ระงับตัดต้นไม้ทั่วกรุง
10 ปี พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ มรดกรัฐประหาร 2549 ดอกผลที่ประชาชนจำใจจ่าย Posted: 11 Mar 2018 01:29 PM PDT ส่อง พ.ร.บ.ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร มรดกรัฐประหารปี 2549 สถาปนา กอ.รมน. อย่างถาวร ทำงานในสถานการณ์ปกติอย่างกว้างขวาง จัดตั้งมวลชน รณรงค์ประชามติ ขับเคลือนโครงการไทยนิยม ส่วนงานในสถานการณ์พิเศษพบใช้จัดการม็อบ และควบคุมพื้นที่ 5 อำเภอสงขลา-ปัตตานี = ไม่ผิดนักหากจะบอกว่า พ.ร.บ.ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2551 ในช่วงรัฐบาลพลเอกสรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นมรดกชิ้นสำคัญของการทำรัฐประหารในปี 2549 และเมื่อดูจากเนื้อหาในกฎหมายฉบับดังกล่าวก็ปฏิเสธไม่ได้ว่านี่คือบทบัญญัติที่ว่าด้วย การสถาปนากองอำนวยการรักษาความมั่นภายในราชอาณาจักร(กอ.รมน.) ให้คงอยู่ต่อไปอย่างถาวร โดยปรับเปลี่ยนภารกิจหลักในยุคเริ่มต้นคือ การต้านต่อภัยคอมมิวนิสต์ มาสู่ความพยายามควบคุมสถานการณ์ด้านความมั่นคงภายในประเทศ ความหมายของภารกิจใหม่นี้อาจหมายถึง การรักษาอำนาจทางการเมืองของกองทัพเอาไว้ ทั้งยังรักษาการเมืองเอาไว้ให้อยู่กับกองทัพด้วย พวงทอง ภวัครพันธุ์: 10 ปี กม.ความมั่นคงภายใน ประชาธิปไตยคือภัยความมั่นคง ดูโครงการพระราชดำริที่เกี่ยวข้องกับ กอ.รมน. ซ่อนความมั่นคงในนามการพัฒนา สาระ+ภาพ: เทียบงบประมาณ 10 ปี กอ.รมน. (2552-2561) เน้นภาคใต้-ความมั่นคง มหากาพย์ป้อมมหากาฬ (3): กอ.รมน.มาจากไหน ทำไมถึงไปกางเต็นท์นอนในชุมชน พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ สถาปนาอะไรบ้าง กฎหมายดังกล่าวเกิดขึ้นมาจากเจตนารมณ์ที่ต้องการให้ กอ.รมน. กลายเป็นหน่วยงานพิเศษสำหรับงานด้านความมั่นคงในประเทศโดยมีอำนาจหน้าที่ทั้งในสถานการณ์ปกติ และสถานการณ์พิเศษ วางโครงสร้างไว้ให้นายกรัฐมนตรีเป็น ผอ.รมน. โดยมีผู้บัญชาการทหารบกเป็น รอง ผอ.รมน. ส่วนกลไกซึ่งเป็นเหมือนแขนขาของ กอ.รมน. ส่วนใหญ่เป็นกลไกเดียวกันกับกองทัพบก โดยในสถานการณ์ปกติ จะมีการทำงานตามมติของคณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร โดยคำเสนอแนะของ ผอ.รมน. ทั้งนี้คณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (ตามที่ได้มีการแก้ไขโดย คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 51/2560 โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ) ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นรองประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย อัยการสูงสุด เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้อํานวยการสํานักข่าวกรองแห่งชาติ ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เป็นกรรมการและเลขาธิการ กอ.รมน. เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้ผู้อํานวยการแต่งตั้งข้าราชการใน กอ.รมน. เป็นผู้ช่วยเลขานุการไม่เกินสองคน อย่างไรก็ตามอำนาจหน้าที่ของ กอ.รมน. ซึ่งได้มีการบัญญัติไว้ในมาตรา 7 ของ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ถูกวิจารณ์ว่า มีลักษณะกว้างครอบจักรวาล เช่น 1.การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินแนวโน้มของสถานการณ์ที่อาจก่อให้เกิดภัยคุกคามด้านความมั่นคงภายในฯ เพื่อรายงานให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาและดำเนินการต่อไป 2.ทำแผนและแนวทางการในการปฏิบัติงานด้านความมั่นคงภายในเอเสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ 3.เมื่อแผนและแนวทางในการปฏิบัติงานนั้นได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้วให้มีอำนาจในการอำนวยการ ประสานงานและส่งเสริมการปฏิบัติงานของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการตามแผนและแนวทางที่วางไว้ โดยคณะรัฐมนตรีสามารถมอบหมายให้ กอ.รมน. มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับการดำเนินงานของหน่วยงานรัฐได้ด้วย 4.มีหน้าที่เสริมสร้างให้ประชาชนตระหนักในหน้าที่ที่ต้องพิทักษ์ไว้ซึ่งชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ สร้างความรักความสามัคคีของคนในชาติ รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามี ส่วนร่วมในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่กระทบต่อความมั่นคงภายใน และความสงบเรียบร้อยของสังคม และ5.ดําเนินการอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติหรือตามที่คณะรัฐมนตรี สภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย โดยจะเห็นได้ว่า กอ.รมน. มีอำนาจหน้าที่ที่ระบุไว้เป็นเพียงหลักการกว้างได้ไม่ได้มีการระบุในลักษณะเฉพาะเจาะจง การออกแบบแผน และแนวทางในการปฏิบัติงานจึงขึ้นอยู่กับการตีความ และดุจพินิจของผู้วางนโยบายเป็นหลัก การงานที่สามารถเข้าถึงได้ในเว็บไชต์ของ กอ.รมน. ในปัจจุบันนี้มีทั้ง การอำนวยการขับเคลื่อนโครงการไทยนิยมยั่งยืนของรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา มีการอบรมเครือข่ายข่าวภาคประชาชน เพื่อการทำงานข่าวมีเป้าหมายเพื่อเฝ้าระวังสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง มีการรณงค์ปลุกจิตสำนึกรู้คุณแผ่นดิน เข้ายึดคืนพื้นที่ป่าสงวนจากชาวบ้านที่เข้าไปทำกิน มีส่วนร่วมในการจัดสรรที่ดินที่ทำกินให้กับเกษตรกร ปลูกป่า สร้างฝาย จัดตั้งชุมชนปรองดองสมานฉันท์ ฝึกอบรมหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง และที่สำคัญคือการทำแผนงานแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากนี้ยังมีงานด้านวัฒนธรรมเช่น จัดประกวดภาพยนตร์สั้น และเป็นผู้สนับสนุนหลักในงานคอนเสิร์ต ขณะที่งานด้านกิจการพลเรือนอย่างกับฝึกอบรมจัดตั้งมวลชนอย่าง ไทยอาสาป้องกันชาติ หมู่บ้านป้องกันตนเอง ฯลฯ ก็ยังคงมีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ชัดเจน กอ.รมน. พร้อมนำมวลชนหนุน กรธ.ทำความเข้าใจร่าง รธน. เวทีปรองดองต่างจังหวัดห้ามนำมือถือเข้า กอ.รมน.แจง ไม่ต้องการให้นำความเห็นไปขยายความ กอ.รมน. เตรียมเปิดเวทีฟังความเห็นประชาชนเรื่องปฏิรูปทั่วประเทศ กอ.รมน. แจ้งข่าวกลุ่มพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชน จัดสนทนาพาที 'โรงไฟฟ้ามา เทพาพัฒนาอย่างไร' ส่วนงานในสถานการณ์พิเศษของ กอ.รมน. จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเกิดกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่ามีผลกระทบต่อความมั่นคงแต่ยังไม่มีความจำเป็นต้องประกาศเป็นสถานการณ์ฉุกเฉิน และเห็นว่าเหตุการณ์ดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะมีอยู่ต่อไปเป็นเวลานาน โดยคณะรัฐมนตรีจะมีมติมอบหมายให้ กอ.รมน. เป็นผู้รับผิดชอบในการการป้องกัน ปราบปราม ระงับ ยับยั้ง และแก้ไขบรรเทาเหตุการณ์ที่กระทบต่อความั่นคงภายในราชอาณาจักร โดยอำนาจดังกล่าวของ กอ.รมน. จะสิ้นสุดลงก็ต่อเมื่อนายกรัฐมนตรีประกาศให้อำนาจของ กอ.รมน. ตามที่ได้รับมอบหมายจากมติ ครม. สิ้นสุดลง โดยอำนาจที่ กอ.รมน. มีในช่วงที่มีการประกาศสถานการณ์พิเศษนั้นในเชิงหลักกการคือ การป้องกัน ปราบปราม ระงับ ยับยั้งและแก้ไขบรรเทาเหตุการณ์ที่กระทบต่อความั่นคงภายในราชอาณาจักร โดยมีการจัดทำแผนการดำเนินงานให้คณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงให้ความเห็นชอบ ส่วนอำนาจที่บัญญัติในกฎหมายประกอบด้วย การสั่งให้เจ้าหน้าที่รัฐซึ่ง กอ.รมน. เห็นว่ามีพฤติกรรมที่จะเป็นภัยต่อความมั่นคง หรือเป็นอุปสรรคต่อการรักษาความมั่นคงออกจากพื้นที่, สามารถสั่งการให้เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องปฏิบัติการ หรืองดเง้นการปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง, ห้ามประชาชนเข้าออกจากบริเวณพื้นที่ อาคาร หรือสถานที่ที่กำหนดในห้วงเวลาที่ปฏิบัติการ เว้นแต่ได้รับอนุญาติจากเจ้าหน้าที่, ห้ามประชาชนออกนอกเคหสถานในเวลาที่กำหนด, ห้ามนำอาวุธออกนอกเคหสถาน, ห้ามประชาชนใช้เส้นทางคมนาคม หรือยานพาหนะ หรือกำหนดการใช้เส้นทางคมนาคม หรือการใช้ยานพาหนะ และให้ประชาชนปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งที่เกี่ยวกับเครื่องมืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อป้องกันอันตรายที่จะแก่ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของประชาชน โดยผู้ที่ฝ่าฝืนข้อกำหนดดังกล่าว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มีการประกาศสถานการณ์พิเศษตาม พ.ร.บ.ความมั่นคงมาทั้งหมด 36 ครั้ง ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมีการประกาศสถานการณ์พิเศษตาม พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ หรือประกาศพื้นที่ปรากฎเหตุการณ์อันกระทบต่อความั่นคงภายในราชอาณาจักรทั้งหมด 36 ครั้ง แบ่งได้ดังนี้ การประกาศในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะทั้งหมด 18 ครั้ง จำนวน 15 ครั้งเป็นการประกาศเพื่อควบคุมสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองของกลุ่ม นปช. จำนวน 3 ครั้ง เป็นการประกาศเพื่อควบคุมสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้และพื้นที่ใกล้เคียง การประกาศในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ชินวัตร 14 ครั้ง เป็นการประกาศเพื่อควบคุมสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองของกลุ่ม กปปส. จำนวน 8 ครั้ง เป็นการประกาศเพื่อควบคุมสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้และพื้นที่ใกล้เคียง 6 ครั้ง การประกาศในสมัยรัฐบาล คสช. 4 ครั้ง เป็นการประกาศควบคุมสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้และพื้นที่ใกล้เคียงทั้งสิ้น จากข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าการประกาศพื้นที่ปรากฎเหตุการณ์อันกระทบต่อความั่นคงภายในฯ ประกอบด้วยสองลักษณะหลักคือ เหตุอันเกิดจากการชุมนุมทางการเมือง หรือความขัดแย้งทางการเมือง และเหตุอันเกิดจากความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้และพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งมีการต่ออายุสถานการณ์พิเศษนี้ทุกๆ ปี มาตรา 21 เปิดแพคเกจ ผู้ต้องหาด้านความมั่นคงเข้าอบรมกับ กอ.รมน. 6 เดือนแทนการดำเนินคดี หาวิเคราะห์ที่ตัวบทของกฎหมายความมั่นคงภายในมาตราที่เรียกได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของกฎหมายฉบับนี้คือ มาตรา 21 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า "หากปรากฏว่าผู้ใดต้องหาว่าได้กระทำความผิดอันมีผลกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด แต่กลับใจเข้ามอบตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นกรณีที่พนักงานสอบสวนได้ดำเนินการสอบสวนแล้วปรากฏว่าผู้นั้นได้กระทำไปเพราะหลงผิดหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และการเปิดโอกาสให้ผู้นั้นกลับตัวจะเป็นประโยชน์ต่อการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ในการนี้ให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนการสอบสวนของผู้ต้องหานั้น พร้อมทั้งความเห็นของพนักงานสอบสวนไปให้ผู้อำนวยการ ในกรณีที่ผู้อำนวยการเห็นด้วยกับความเห็นของพนักงานสอบสวน ให้ส่งสำนวนพร้อมความเห็นของผู้อำนวยการให้พนักงานอัยการเพื่อยื่นคำร้องต่อศาล หากเห็นสมควร ศาลอาจสั่งให้ส่งผู้ต้องหานั้นให้ผู้อำนวยการเพื่อเข้ารับการอบรม ณ สถานที่ที่กำหนดเป็นเวลาไม่เกินหกเดือน และปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่นที่ศาลกำหนดด้วยก็ได้ การดำเนินการตามวรรคสอง ให้ศาลสั่งได้ต่อเมื่อผู้ต้องหานั้นยินยอมเข้ารับการอบรมและปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว เมื่อผู้ต้องหาได้เข้ารับการอบรมและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนดดังกล่าวแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องผู้ต้องหานั้นเป็นอันระงับไป" เมื่อมองผ่านๆ มาตราดังกล่าวอาจจะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ต้องหามีทางเลือกที่จะกลับตัวกลับใจ และมีโอกาสได้รับการลดหยอนโทษจากเดิมที่ต้องถูกดำเนินคดี เป็นเพียงการเข้าอบรมกับ กอ.รมน. 6 เดือนเท่านั้น แต่เอาเข้าจริงแล้วในเชิงหลักการทางกฎหมายมาตรานี้มีปัญหาอย่างมาก อับดุลเลาะห์ หะยีอาบู ทนายความมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม ได้เขียนบทความที่ชื่อว่า ผู้ต้องหากับมาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ.ความมั่นคง มีผู้ที่มีบทบาทและได้รับผลกระทบมากที่สุด นั่นก็คือ ผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (2) "ผู้ต้องหา หมายความถึงบุคคลผู้ถูกกล่าวหาว่า ได้กระทำความผิดแต่ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล" การถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดนั้น ต้องเป็นการกล่าวหาต่อเจ้าพนักงานว่า ได้กระทำความผิดอาญาขึ้นโดยคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายหรือคำกล่าวโทษของบุคคลอื่น ซึ่งมิใช่ผู้เสียหาย ผู้ต้องหาตามมาตรา 21 นั้นต้องเป็นผู้ถูกล่าวหาว่า ได้กระทำความผิดที่คณะรัฐมนตรีกำหนดลักษณะความผิด อันมีผลกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ทั้งนี้การร้องทุกข์ของผู้เสียหายหรือการกล่าวโทษของบุคคลอื่นว่า ผู้ต้องหาได้กระทำความผิดอาญานั้น ต้องมีพยานหลักฐานเพียงพอในการที่จะร้องทุกข์หรือกล่าวหาด้วย บทความดังกล่าว ระบุด้วยว่า จากจำนวนคดีในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การร้องทุกข์ส่วนใหญ่แล้ว จะร้องทุกข์ในกรณีที่ไม่ทราบผู้กระทำความผิดเป็นส่วนใหญ่ โดยจะมีการกล่าวหาของเจ้าพนักงานมากกว่าการร้องทุกข์ของผู้เสียหาย โดยพยานหลักฐานหลักในการกล่าวหาของเจ้าพนักงานนั้น มักจะมีพยานหลักฐานเพียงคำให้การซัดทอดของผู้ที่ถูกควบคุมตัว ตามกฎอัยการศึกหรือตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เท่านั้น ที่ซัดทอดถึงขบวนการที่มีอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หลายกรณีปรากฏว่า ผู้ที่ให้การซัดทอดเอง ก็มิได้ถูกดำเนินคดีอาญาต่อศาลแต่อย่างใด หรือเจ้าพนักงานจะมีเพียงคำให้การรับสารภาพในชั้นควบคุมตัวตามกฎอัยการศึกหรือตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ของผู้ต้องหาเสียเอง ซึ่งหลักฐานดังกล่าวเป็นเพียงการอ้างขึ้นของบุคคลที่ถูกซักถามตามกฎหมายพิเศษ ช่วงเวลาการซักถามตามกฎหมายพิเศษนั้น ก็เป็นการซักถามของเจ้าหน้าที่ทหารหรือตำรวจที่ไม่ใช่พนักงานสอบสวนตามกฎหมายแต่อย่างใด ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ปศุสัตว์ประกาศเขตระบาดชั่วคราว 22 จังหวัดรวม กทม. Posted: 11 Mar 2018 09:57 AM PDT รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ชี้แจง กทม. ยังไม่ใช่พื้นที่ระบาดโรคพิษสุนัขบ้า แต่ต้องประกาศเป็นเขตระบาดชั่วคราว 30 วันตามมาตรฐานขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ เนื่องจากมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้าในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา โดยล่าสุดกรมปศุสัตว์ประกาศเขตระบาดชั่วคราว โรคพิษสุนัขบ้าแล้ว 22 จังหวัด นายสัตวแพทย์จีระศักดิ์ พิพัฒนพงศ์โสภณ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ รับมอบวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจำนวน 15,000 โดส จากองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก เมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2561 (ที่มา: แฟ้มภาพ/ธงชัย สาลี/ สำนักงานเลขานุการกรม กรมปศุสัตว์) 11 มี.ค. 61 สำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์ ประกาศเขตโรคระบาดชั่วคราว 30 วัน ชนิดโรคพิษสุนัขบ้า โดยประกาศไปแล้ว 22 จังหวัดได้แก่ สุรินทร์ ชลบุรี สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา น่าน บุรีรัมย์อุบลราชธานี เชียงราย ร้อยเอ็ด สงขลา ระยอง ตาก ศรีสะเกษ มหาสารคาม นครราชสีมา ตรัง ประจวบคีรีขันธ์ อำนาจเจริญ ยโสธร สมุทรสงคราม นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ล่าสุดในรายการเรื่องเล่าเช้านี้ ทางช่อง 3 นายสัตวแพทย์จีระศักดิ์ พิพัฒนพงศ์โสภณ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ ชี้แจงสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าว่ากรุงเทพมหานครยังไม่ใช่เขตพื้นที่โรคระบาดพิษสุนัขบ้าแม้แต่จุดเดียว แต่ข่าวที่ต้องประกาศเป็นพื้นที่โรคระบาดพิษสุนัขบ้าชั่วคราว 30 วัน เนื่องจากมีผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าภายใน 2 ปีที่ผ่านมา ยืนยันว่าปัจจุบันกรุงเทพฯ ไม่ได้มีสุนัขที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า แต่ต้องทำตามมาตรฐานขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ หรือ OIE ส่วน จ.นนทบุรี พบว่ามีการระบาดจริงแต่เป็นเพียงจุดเล็กๆ เท่านั้น ส่วนพื้นที่สีแดงสามารถควบคุมสถานการณ์ได้แล้ว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
หมายเหตุประเพทไทย #200 NGO เพื่อ LGBT Posted: 11 Mar 2018 05:54 AM PDT หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ คำ ผกา และชานันท์ ยอดหงษ์ พูดคุยกับแขกรับเชิญคือ เคท ครั้งพิบูลย์ ผู้ร่วมก่อตั้งเครือข่ายเพื่อนกะเทยไทย ในประเด็นขบวนการทางสังคม และองค์กรเอ็นจีโอที่ทำงานในประเด็นความหลากหลายทางเพศ ทั้งนี้แม้ในประเทศไทยดูเหมือนจะยอมรับ LGBT แต่อันที่จริงแล้วยังคงมีการเลือกปฏิบัติเกิดขึ้น นอกจากนี้ประเด็นที่เครือข่าย LGBT รณรงค์หลายเรื่องก็ยังไม่ได้รับการตอบสนองเช่นเรื่องการใช้คำนำหน้านาม การจดทะเบียนสมรส ฯลฯ ในส่วนของประเด็นการทำงานขององค์กร หรือมูลนิธิ ของกลุ่ม LGBT เองเริ่มแรกมาจากเรื่องการให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องเอชไอวี ประเด็นสุขภาพ นโยบายสาธารณสุข ก่อนขยับมาสู่ประเด็นสิทธิมนุษยชน เน้นสร้างเน้นสร้างความรู้ความเข้าใจในมิติทางเพศ ซึ่งยังคงเป็นเส้นทางต่อสู้อีกยาวไกลสำหรับขบวน LGBT ในประเทศไทย ติดตามรายการหมายเหตุประเพทไทยย้อนหลังที่ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
นักเศรษฐศาสตร์เตือนรีบกลับสู่ประชาธิปไตย เพื่อเจรจาการค้าเสรีกับสหรัฐฯ Posted: 11 Mar 2018 04:08 AM PDT คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม.รังสิต เตือนรีบกลับคืนสู่ประชาธิปไตยเพื่อสามารถเริ่มกระบวนการทำข้อตกลงการค้าเสรีไทยสหรัฐฯ ได้ คาดการณ์มาตรการกีดกันการค้าเพิ่มเติมภายใต้มาตรา 232 จากสหรัฐฯ จะส่งผลกระทบต่อภาคส่งออกและเศรษฐกิจไทย ส่วนการปรับเพิ่มภาษีนำเข้าเหล็กและอะลูมิเนียมยังมีผลกระทบต่อไทยไม่มาก ให้จับตาผลกระทบการเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรในอนาคต 11 มี.ค. 2561 ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่าประเทศไทยควรรีบกลับคืนสู่ประชาธิปไตยและจัดการเลือกตั้งโดยเร็วเพื่อลดการสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจการค้าและการลงทุน เพื่อสามารถเริ่มกระบวนการทำข้อตกลงการค้าเสรีไทยสหรัฐฯได้ เริ่มกระบวนการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีกับอียูได้ และอาจช่วยลดผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าทั้งการตั้งกำแพงภาษีและการกำหนดโควต้าภายใต้มาตรา 232 ตามกฎหมายการค้าสหรัฐฯว่าด้วยการปกป้องการนำเข้าสินค้าที่ก่อให้เกิดความไม่มั่นคงหรือเป็นภัยคุกคามต่อชาติ ซึ่งตนคาดการณ์ว่าจะมีการทะยอยประกาศมาตรการกีดกันการค้าเพิ่มเติมอีกเพื่อแก้ปัญหาการขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ คาดการณ์มาตรการกีดกันการค้าเพิ่มเติมจากสหรัฐฯจะส่งผลกระทบต่อภาคส่งออกและเศรษฐกิจไทยมากขึ้น ขอเตือนให้จับตาผลกระทบการเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรหรือมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้าเกษตรหรืออาหารบางตัว ส่วนการปรับเพิ่มภาษีนำเข้าเหล็กและอะลูมิเนียมยังมีผลกระทบต่อไทยไม่มาก เนื่องจากมูลค่าส่งออกของไทยไปสหรัฐฯอยู่ที่ประมาณ 10,000 ล้านบาท หรือ คิดเป็นปริมาณเหล็กประมาณ 380,000 ล้านต้นส่วนใหญ่เป็น ท่อเหล็กรีดเย็นและเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ส่วนผลกระทบทางอ้อมจะเกิดจากการตัดราคาเหล็กเพื่อทุ่มตลาดของผู้ผลิตส่งออกรายใหญ่ เนื่องจากมีการประเมินว่า หากนโยบายขึ้นภาษีมีการบังคับใช้ตามที่ประกาศเอาไว้อาจทำให้เหล็กล้นตลาดส่งออกไปสหรัฐฯไม่ได้ประมาณ 27 ล้านตัน ประเทศที่อาจตัดราคาขายเหล็กเพื่อทุ่มตลาดส่วนใหญ่อยู่ในเอเชีย ไม่ว่า จะเป็น จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน เวียดนาม และ อินเดีย และคาดว่า มาตรการขึ้นภาษีนี้จะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมเหล็กในวงกว้าง ขณะเดียวกัน ในระยะสั้น อุตสาหกรรมที่ใช้เหล็กเป็นวัตถุดิบจะได้ประโยชน์หากราคาเหล็กในตลาดโลกลดลง ดร.อนุสรณ์ กล่าวว่าหากไทยกลับคืนสู่ประชาธิปไตยและสามารถเริ่มกระบวนการเจรจา FTA ไทย-สหรัฐฯได้ก็จะสามารถลดและขจัดอุปสรรคทั้งภาษีและไม่ใช่ภาษีก็จะสร้างโอกาสทำให้การค้า การลงทุนระหว่างประเทศขยายตัวมากขึ้น เฉพาะในส่วนของภาคเกษตรกรรมนั้นจะทำให้ราคาสินค้าเกษตรไทยปรับตัวในทิศทางดีขึ้น และ การค้าสินค้าเกษตรระหว่างไทยกับสหรัฐฯนั้นเป็นการค้าแบบเกื้อกูลกัน ไทยผลิตสินค้าเกษตรเมืองร้อนได้ดี สหรัฐฯผลิตสินค้าเกษตรเมืองหนาวได้ดี ต่างจากการค้าไทยจีนที่มีลักษณะการแข่งขันกันมากกว่าเพราะมีการผลิตสินค้าคล้ายกันหลายประเภท กลุ่มผู้ผลิตสินค้าเกษตรที่ได้รับประโยชน์ FTA ไทยสหรัฐฯ ได้แก่ เกษตรกรปลูกข้าวจำนวน 3.7 ล้านครัวเรือน ชาวไร่อ้อย 0.2 ล้านครัวเรือน เกษตรกรปลูกยางพารา เกษตรกรที่เลี้ยงกุ้ง กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารทะเล เป็นต้น กลุ่มผู้ผลิตสินค้าเกษตรที่เสียประโยชน์ เช่น ถั่วเหลือง ข้าวโพด มันฝรั่ง วัวนม วัวเนื้อ เป็นต้น ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม.รังสิต กล่าวถึงภาระและต้นทุนของการดำเนินนโยบายขึ้นภาษีการนำเข้าเหล็กและอะลูมิเนียมจะต้องถูกแบกรับโดยผู้บริโภค อุตสาหกรรมอื่นๆที่ต้องใช้เหล็กและอะลูมิเนียมเป็นวัตถุดิบในการผลิตโดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์และก่อสร้างในสหรัฐฯซึ่งมีความต้องการใช้เหล็ก 26% และ 40% ของปริมาณอุปสงค์เหล็กในสหรัฐฯตามลำดับ มาตรการดังกล่าวจะกดดันให้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น แรงกดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นจะเป็นปัจจัยที่ทำให้การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯอาจปรับตัวสูงขึ้นและเร็วขึ้นกว่าที่คาด และจะส่งต่อความผันผวนของตลาดการเงินโลก ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
กลุ่มพุทธสายกลางศรีลังกาชุมนุมต่อต้านการก่อจลาจลของกลุ่มพุทธหัวรุนแรง Posted: 11 Mar 2018 12:09 AM PST หลังเกิดเหตุจลาจลที่กลุ่มชาวพุทธสายหัวรุนแรงบุกทำลายบ้านเรือนของชาวมุสลิมจนมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 2 ราย กลุ่มพระสงฆ์สายกลางและนักกิจกรรมบางส่วนร่วมกันเดินขบวนประณามการก่อจลาจลเหล่านี้ และมีพระจำนวนหนึ่งเดินทางไปร่วมพิธีกรรมช่วงวันศุกร์เพื่อแสดงความกลมเกลียวกับชาวมุสลิม 11 มี.ค. 2561 สื่ออัลจาซีรา รายงานว่ามีพระสงฆ์และนักกิจกรรมในศรีลังกาหลายร้อยคนร่วมกันเดินขบวนต่อต้านการก่อจลาจลทำร้ายและทำลายข้าวของชาวมุสลิมในเมืองแคนดีที่เกิดขึ้นเมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา เหตุการณ์จลาจลดังกล่าวทำให้มีคนเสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 2 ราย และมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน กลุ่มแนวร่วมภิกขุแห่งชาติศรีลังกาเปิดเผยว่าพวกเขาจัดการประท้วงเงียบเพื่อต่อต้านสิ่งที่พวกเขาเรียกว่าเป็น "การปะทะกันระหว่างชุมชนที่ทำลายความสามัคคีในชาติ" กลุ่มผู้นำพุทธสายกลางและนักกีฬาคริกเก็ตพากันประณามเหตุรุนแรงที่เกิดขึ้นในเมืองแคนดี อีกทั้งยังมีผู้ใช้โซเชียลมีเดียชาวศรีลังกาหลายคนโพสต์รูปภาพแสดงให้เห็นพระสงฆ์ไปเข้าร่วมพิธีทางศาสนาอิสลามในวันศุกร์ที่มัสยิดเพื่อแสดงความกลมเกลียวกับชาวมุสลิม ในช่วงที่มีการแสดงออกของกลุ่มที่ไม่ได้สุดโต่งเหล่านี้ เหตุความรุนแรงในย่านชาวมุสลิมของเมืองแคนดีก็สงบลงแล้วหลังจากที่มีการก่อจลาจลโดยชาวสิงหลมาตั้งแต่ช่วงวันที่ 5 มี.ค. ต้นเหตุความไม่พอใจของชาวสิงหลมาจากกรณีที่มีกลุ่มชาวมุสลิมทำร้ายชาวสิงหลคนหนึ่งจนบาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิตที่โรงพยาบาลในเวลาต่อมา มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าวามขัดแย้งที่ทำให้เกิดการทุบตีกันน่าจะมาจากความขัดแย้งเรื่องการจราจร ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องเชื้อชาติหรือศาสนา แต่ก็มีกลุ่มคนที่ยุยงปลุกปั่นให้เกิดความรุนแรงระหว่างคนต่างศาสนาจนทำให้มีเกิดม็อบของชาวสิงหลซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของศรีลังกาบุกเผามัสยิด บ้านเรือน ร้านค้า และยานพาหนะของชาวมุสลิม จนเมื่อพบผู้เสียชีวิตในซากอาคารที่ถูกไฟไหม้แห่งหนึ่งในวันที่ 6 มี.ค. ที่ผ่านมา ก็กังวลว่าสถานการณ์ความตีงเครียดจะยกระดับสูงขึ้น ทางตำรวจของศรีลังกาประกาศเมื่อวันที่ 8 มี.ค. ที่ผ่านมาว่าพวกเขาสามารถจับกุมตัวผู้ยุยงปลุกปั่นก่อเหตุจลาจลและคนอื่นๆ อีก 145 คน ได้แล้ว ผู้ยุยงปลุกปั่นชื่อว่า อมิธ วีระสิงห์ ชาวสิงหลที่ดำเนินกิจกรรมต่อต้านชาวมุสลิมและมักจะโพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดียกระตุ้นให้เกิดความเกลียดชังระหว่างกลุ่ม นอกจากการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและเคอร์ฟิวแล้ว ยังมีการตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ตทั่วแคนดีในช่วงที่เกิดจลาจลด้วยและเพิ่งให้กลับมาใช้งานได้ในช่วงวันที่ 9 มี.ค. ที่ผ่านมา แต่ก็ยังบล็อกเว็บโซเชียลมีเดียอย่างเฟซบุ๊กทั่วประเทศศรีลังกา นายกรัฐมนตรีรานิล วิกรัมสิงหะ ของศรีลังกากล่าวว่าเหตุจลาจลดังกล่าวส่งผลเสียต่อการท่องเที่ยวศรีลังกา โดยที่เจ้าหน้าที่การท่องเที่ยวต้องออกมาประกาศหลังเหตุรุนแรงเริ่มคลี่คลายลงว่านักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวแคนดีได้อย่างปลอดภัยอีกครั้ง ซึ่งเมืองแคนดีมีชื่อเสียงด้านไร่ชาและแหล่งพุทธศาสนา ในศรีลังกามีประชากรเป็นชาวสิงหลที่นับถือพุทธอยู่ร้อยละ 75 และมีชาวมุสลิมอยู่ร้อยละ 10 หลังจากที่สงครามจบลงในปี 2552 ก็มีความแตกแยกทางศาสนามากขึ้นจากที่กลุ่มชาตินิยมแนวพุทธกล่าวหาว่าชาวมุสลิมขโมยวัดเอาไปทำให้เสื่อมความศักดิสิทธิ์และบังคับให้คนเปลี่ยนศาสนาเป็นอิสลาม ก่อนหน้านี้ในปี 2557 ก็เคยมีเหตุการณ์ใช้ความรุนแรงต่อต้านชาวมุสลิมซึ่งกลุ่มพระสงฆ์ที่ต้องสงสัยว่ามีบทบาทในการยุยงปลุกปันให้เกิดความรุนแรงนสมัยนั้นกำลังถูกดำเนินคดีอยู่ในปัจจุบัน เรียบเรียงจาก Sri Lanka Buddhist monks denounce anti-Muslim riots, Aljazeera, 10-08-2018 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ม.ค. 2561 ผู้ประกันตนว่างงาน 132,294 ราย Posted: 10 Mar 2018 11:19 PM PST เดือน ม.ค. 2561 ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน 132,294 คน จากผู้ประกันตนทั้งหมด ม.33 ในระบบ 10,791,655 คน พบไตรมาส 4/2560 อัตราการเกิดข้อพิพาทแรงงานอยู่ที่ 17.20 ต่อสถานประกอบกิจการ 100,000 แห่ง เกิดข้อขัดแย้ง 9.90 ต่อสถานประกอบกิจการ 100,000 แห่ง
11 มี.ค. 2561 จากข้อมูล รายงานข้อมูลแรงงานรายเดือน (31 ม.ค.2561) ของกองเศรษฐกิจการแรงงาน สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน กระทรวงแรงงาน ระบุว่าในเดือน ม.ค. 2561 ที่ผ่านมาผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน 132,294 คน ส่วนข้อมูลจากกรมการจัดหางานระบุว่าเดือน ม.ค. 2561 มีตำแหน่งงานว่าง 45,570 คน มีผู้ลงทะเบียนสมัครงาน 38,180 คน และมีผู้ได้รับการบรรจุงาน 24,998 คน ข้อมูล ณ เดือน ม.ค. 2561 มีสถานประกอบการณ์ที่มีลูกจ้าง 1 คน ขึ้นไป (ในระบบประกันสังคม) 446,370 แห่ง มีผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมทั้งหมด 14,627,409 คน เป็นผู้ประกันตน ม.33 10,791,655 คน ม.39 1,379,507 คน ม.40 2,456,247 คน ด้านสถานะการเงินปัจจุบันของกองทุนประกันสังคม (Q3/2560 ณ ก.ย. 2560) อยู่ที่ 1,809,225 ล้านบาท การจ่ายประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม 7 กรณี (เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตายสงเคราะห์ บุตร ชราภาพ และว่างงาน) (ณ เดือน ธ.ค. 2560) จำนวนเงินที่จ่ายประโยชน์ทดแทน 5,717.39 ล้านบาท จำนวนรับบริการ 5.48 ล้านราย สำหรับตัวชี้วัดภาวะแรงงานในไตรมาส 4/2560 พบอัตราการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ร้อยละ 22.16 อัตราการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมาย คุ้มครองแรงงานร้อยละ 8.10 อัตราการปฏิบัติไมถูกต้องเรื่องความปลอดภัยในการทำงานร้อยละ 25.67 อัตราการเกิดข้อพิพาทแรงงานอยู่ที่ 17.20 ต่อสถานประกอบกิจการ 100,000 แห่ง และอัตราการเกิดข้อขัดแย้งต่อสถานประกอบการอยู่ที่ 9.90 ต่อสถานประกอบกิจการ 100,000 แห่ง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์: ความเป็นสถาบันของพรรคการเมือง Posted: 10 Mar 2018 10:20 PM PST
พอบอกว่า ประชาธิปัตย์มี "ความเป็นสถาบัน" มากกว่า และไม่เป็น "พรรคเถ้าแก่" แบบเพื่อไทย ก็มีคนแย้งว่า ปชป.มีแต่เลวร้าย รับใช้เผด็จการ ไม่มีผลงาน มี "เถ้าแก่รายใหญ่รายเดียว" ฯลฯ ขณะที่ทักษิณเก่ง ผลงานเยอะ (แต่ไม่มีใครแย้งเรื่อง "ลักษณะภายใน" ของพรรคเพื่อไทยเลย) ย้ำว่า เรากำลังพูดถึงความต่อเนื่องยืนยงในระยะยาวของสองพรรค ไม่ได้พูดเรื่องพฤติกรรมดีเลว ผลงานมากน้อย ความเกลียดความชอบ กับการวิเคราะห์ต้องแยกออกจากกัน ปชป.นั้นจัดตั้งโดย "คณะเจ้า" ในยุค 2490 เกิดมาเป็น "ปีกรัฐสภา" ของพวกนั้น มีภารกิจล้างแค้นคณะราษฎรด้วยการป่วนในสภาจนนำไปสู่เผด็จการสฤษดิ์ ทุกคนที่สนใจประวัติศาสตร์ก็รู้ ภารกิจของ ปชป.วันนี้ก็เช่นกัน พลังสนับสนุนหลักยังคงเป็นพวกกษัตริย์นิยม แน่นอนว่า ปชป.ก็มีนายทุน "เถ้าแก่" พรรค แต่มีหลายกลุ่มทุน หลายกระเป๋าตังค์ ไม่มีกลุ่มใดผูกขาดพรรคได้ ที่ว่า ปชป.มี "ความเป็นสถาบัน" หมายถึงความสามารถในการสืบทอดโครงสร้าง แนวคิด กฎเกณฑ์ ประเพณีปฏิบัติ ฐานเงินทุน สันดาน ท่วงทำนอง จนถึงลีลา มีงานยุวชนและฐานมวลชนหนาแน่นซื่อสัตย์ ทั้งหมดนี้จากรุ่นเก่าสู่รุ่นใหม่ รุ่นเก่าตายไป รุ่นใหม่รับต่อ ไม่มีขาดตอน ตรงนี้ต่างหากที่ทำให้อยู่รอด อยู่ยาว ผลงานมากน้อยดีเลวเป็นประเด็นรอง ประชาธิปัตย์จึงเหมือน "แมลงสาบ" ไม่มีสูญพันธุ์ เหมือนตัว "กอลลัม" ในนิยาย Lord of the Rings มีบุคลิกเลวร้าย อายุยืนยาวเพียงเพื่อรับใช้ "แหวนแห่งอำนาจ" เท่านั้น แม้นายชวน อภิสิทธิ์และคณะไม่อยู่แล้ว ปชป.ก็จะยังมีชวน 2,3,4... อภิสิทธิ์ 2,3,4... และคนรุ่นใหม่มารับไม้ต่อได้โดยไม่ต้องมีนามสกุล "หลีกภัย" หรือ "เวชชาชีวะ" สืบทอดความเป็นพรรคต่อไป ขณะที่พรรคเพื่อไทยนั้นผูกขาดโดยทักษิณและตระกูลชินวัตร มีศูนย์อำนาจและกระเป๋าเงินที่จุดเดียว เวลาคนพูดถึงผลงาน ก็มักจะพูดถึงแต่ "ผลงานทักษิณ" โดยแทบไม่เอ่ยถึงพรรคด้วยซ้ำ! ทักษิณอายุใกล้ 70 แล้ว คนที่นิยมทั้งทักษิณและเพื่อไทยจริง (ไม่ใช่นิยมทักษิณอย่างเดียว) ควรตั้งคำถามตรงนี้ "ถ้าวันหน้า ไม่มีทักษิณแล้ว เพื่อไทยจะเป็นอย่างไร?" นำโดยยิ่งลักษณ์ โอ๊ค เอม อุ๊งอิ๊ง? ในกระเป๋าตังค์ตระกูลชินวัตรต่อไป? (อย่าบอกนะว่า ทักษิณจะอยู่ไปถึง "120 ปี"!)
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ท่าทีพระสงฆ์, ความขัดแย้ง และจำอวดทางการศึกษา Posted: 10 Mar 2018 10:11 PM PST
สถาบันระดับอุดมศึกษาถือเป็นแหล่งผลิตงานวิชาการที่สำคัญของชุมชนในระดับต่างๆ ทั้งในระดับภูมิภาคหรือระดับประเทศ กล่าวคือ เป็น think tank ของความรู้สำหรับชุมชนนั่นเอง ทว่าปัญหาที่เราเห็นกันมากซึ่งเกิดขึ้นกับสถาบันอุดมศึกษาของไทยก็คือ การวางตำแหน่งของสถาบันอุดมศึกษาเอง ไม่สอดคล้อง ไม่ตอบสนองต่อความต้องการหรือต่อกระแสที่เป็นอยู่ของชุมชนในเวลาและสถานที่นั้นๆ กล่าวคือ สถาบันเหล่านี้อยู่ผิดที่ผิดทาง แปลว่า นอกจากสถาบันอุดมศึกษาของไทยผลิตบัณฑิตที่ไม่ตอบสนองต่อทิศทางหรือกระแสความต้องการของชุมชนแล้ว มิหนำซ้ำความรู้ด้านวิชาการที่ผลิตกันในห้องเรียนไม่ได้ตอบโจทย์ปัญหาของชุมชนในขณะนั้นๆ เลย ทำให้นักวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาของไทยจำนวนไม่น้อย มีสภาพไม่ต่างจากผู้ทำงานบนหอหอยงาช้างที่ไม่ผสานสัมพันธ์กันข้อเท็จจริงทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพในสังคม ตัวอย่างเช่น เรามีหน่วยงานวิชาการด้านสันติศึกษาแปะไว้ตามสถาบันอุดมศึกษา (มหาวิทยาลัย) บางแห่ง แต่สถาบันการศึกษาเหล่านี้ มักไม่ค่อยลงพื้นที่จริงหรือร่วมกิจกรรมเพื่อทำการแสวงหาข้อเท็จจริง แต่กลับอาศัยข้อมูลชั้นรองลงไปซึ่งเป็นข้อมูลเชิงเอกสาร ไม่ได้ลงไปสัมผัสพื้นที่จริง ฉะนั้นเมื่อดูผลงานเชิงวิชาการหรืองานวิจัยที่ออกมาทำให้เกิดลักษณะการวิจัย "แบบนั่งเทียน" ขึ้นได้ แม้กระทำได้แบบเนียนๆ แต่มันเป็นงานวิจัยที่แทบไม่มีประโยชน์หรือมีคุณค่าสารัตถะอะไรต่อสังคมหรือชุมชนเอาเลย ตรงกันข้ามถ้านักวิชาการเหล่านี้ลงไปคลุกคลีในพื้นที่จริง เช่น 3 จังหวัดชายแดนใต้ที่กำลังมีปัญหาการเมืองและความขัดแย้ง หรือกิจกรรมการเรียกร้องของประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ก็อาจตระหนักและเข้าถึงอารมณ์ละข้อเท็จจริงของกลุ่มคนผู้เรียกร้องเหล่านี้ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น มากกว่าการคาดเดาแบบส่งเดชจากในห้องแอร์อย่างเช่น กรณีหลักสูตรสันติศึกษานั้น กรณีของ รศ.โคทม อารียา ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดลนั้น นับว่าน่าสนใจยิ่ง เจ้าตัวคือ อาจารย์โคทมเอง ได้ลงพื้นที่จริงเจอกับบุคคล (ชาวบ้าน) ที่มีปัญหาเดือดร้อนจริง ก่อนการนำเสนอปัญหาและแนวทางแก้ไข ซึ่งส่วนหนึ่งของแนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสังคมดังกล่าวนับว่าตอบโจทย์ปัญหาความขัดแย้งของสังคมไทยได้มาก ส่วนจะมีการนำแนวทางมาปฏิบัติใช้หรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งก็ชี้ให้เห็นว่าสถาบันสันติศึกษาของบางมหาวิทยาลัย จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นหน้าเป็นตาของมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่การทำงานจริงกลับล้มเหลวไม่เป็นท่า ทั้งถือว่าเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ หากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สอก.) เองไม่สายตาสั้น และนิ่งดูดายก็จะเห็นว่า สถาบันสันติศึกษานอกเหนือไปจากของมหิดลหรือ ม.สงขลานครินทร์ (มอ.) ไปแล้วนั้น เป็นสถาบันจำอวดเยี่ยงไรบ้าง ในกรณีสถาบันที่เปิดหลักสูตรสันติศึกษานั้น ใคร่จะตั้งข้อสังเกตว่า แปลกมากที่ไทยเป็นประเทศที่มีความขัดแย้งทางการเมืองมาตลอดในห้วงระยะเวลานานกว่า 10 ปี แต่สถาบันจำพวกนี้กลับทำงานได้ไม่คุ้มค่างบประมาณที่ได้รับในแต่ละปี ยิ่งสถาบันที่โยงยึดอยู่กับพระพุทธศาสนาด้วยแล้ว ยิ่งเห็นชัดว่า ไม่ได้ทำงานแบบตรงไปตรงมา ดังข้อครหาของชาวพุทธกลุ่มหนึ่งในประเทศไทยที่ว่า "ยิงกัน 99 ศพ กลับไม่เห็นมีพระผู้ใหญ่แม้แต่สักรูปเดียวออกมาพูดหรือเทศนาว่าการฆ่าประชาชนใจกลางเมืองหลวงในครั้งนั้นสัมพันธ์กับศีลข้อปาณาติบาตในศาสนาพุทธอย่างไรบ้าง"และบทบาทของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาควรเป็นอย่างไรในกรณีเช่นนี้ ควรแสดงท่าทีวางเฉยเพียงอย่างเดียวหรือไม่? จากตัวอย่างนี้ อย่างน้อยสำนักทางวิชาการพระพุทธศาสนาอย่างมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) ในส่วนของเจ้าสำนักฯ หรืออธิการบดีก็ควรมีท่าทีเกี่ยวกับเรื่องนี้บ้าง แต่ทุกฝ่ายทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาที่ว่าด้วยเรื่องศีลธรรมโดยตรงนั้น กลับเงียบสนิทไม่หือไม่อือกันมาตั้งแต่ต้นแล้วเห็นๆ ปรากฏการณ์นี้เป็นตัวอย่างหนึ่งของภาวการณ์สถิตอยู่บนหอหอยงาช้างทางวิชาการแบบไทยๆ ด้วยหรือไม่? ผมคิดว่าหลายฝ่ายคงรวมไปอยู่ในนี้ด้วยแล้ว นับเป็นความหดหู่ทางวิชาการแบบไทยๆ มากที่สุดประการหนึ่ง เพราะหากกลับไปดูประวัติศาสตร์ไทยที่ผ่านมาแล้วก็จะเห็นว่า ในอดีตนั้นพระเถระผู้ใหญ่ของไทยจำนวนหนึ่งที่พาตัวเองเข้าทำหน้าที่ทางศีลธรรมอย่างตรงไปตรงมา ตระหนักว่าชีวิตมนุษย์นั้นมีค่ามหาศาลเพียงใด พระเถระเหล่านี้ท่านได้ขอบิณฑบาตชีวิตมนุษย์ที่กำลังจะถูกพรากหรือถูกฆ่าจากผู้ปกครอง โดยไม่จำกัดว่าชีวิตเหล่านั้นจะดีหรือเลว เคยประพฤติถูกหรือผิดศีลธรรมมาก่อนหรือไม่ เช่น นักโทษประหาร เป็นต้น ซึ่งหากเทียบกับสถานการณ์ความเห็นต่างทางการเมืองของไทยแล้ว คนผู้เห็นต่างเหล่านี้ยังไม่สามารถเชื่อมโยงไปถึงการก่ออาชญากรรมได้เลยด้วยซ้ำ แต่กลับต้องมาสังเวยชีวิตจากความเห็นต่างทางการเมืองอย่างน่าเสียดาย นี่เป็นแค่ตัวอย่างเดียวครับ เพียงแต่ว่ามันเห็นได้อย่างชัดเจนมากที่สุดตัวอย่างหนึ่ง ไม่นับรวมการแข่งขันกันเปิดหลักสูตร เปิดสาขาแบบเพ้อเจ้อจำอวดกระจายออกไปยังส่วนภูมิภาคของไทย เพื่อแสวงหารายได้ ทั้งเพื่อส่วนตัวผู้สอนประจำหลักสูตรและเพื่อสถาบัน ผมเข้าใจว่า สกอ. กำลังไล่บี้มหาวิทยาลัยที่เป็นลักษณะเหล่านี้อยู่ แต่บางทีสกอ.เอง โดนกลยุทธ์ซ่อนรูปเข้าก็ตามไม่ทัน มันจึงเป็นยุคขาลงของสถาบันอุดมศึกษาของไทยจริงๆ ยิ่งในยุคที่ประเทศไร้ประชาธิปไตย กลไกใต้ดินกลบเกลื่อนความเป็นจริงยิ่งดำเนินไปแบบสะดวกโยธินมากขึ้น หากกลับไปดูว่า สถาบันทางวิชาการของไทยสัมพันธ์กับชีวิตจริงของคนไทยอย่างไรบ้าง ก็จะพบกับความมหัศจรรย์ที่ว่า มันแทบไม่มีความสัมพันธ์กันเลย วิชาการในสถาบันการศึกษาจำนวนหนึ่งเต็มไปด้วยความมุ่งมั่นเพ้อฝัน ไม่สัมผัสแตะต้องกับความเป็นจริง กอปรทั้งความขี้กลัวของนักวิชาการบางคน หลบตัวกินเงินเดือนกันไปเดือนแล้วเดือนเล่า ดีกว่าเปลืองตัวจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม โดยในยามปกติก็ไม่เคยมีเวทีโต้แย้งแสวงหาความจริงเชิงวิชาการกันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นในห้องเรียนหรือนอกห้องเรียนก็ตาม น่าเศร้าที่พบว่า มีพวกอีแอบวิชาการประเภทนี้อยู่มากในรั้วมหาวิทยาลัยไทย โดยไม่จำกัดว่าเป็นสถาบันของรัฐหรือเอกชนหรือแม้แต่มหาวิทยาลัยสงฆ์ที่ใช้งบประมาณของรัฐ รวมถึงใช้เงินบริจาคด้วยก็เช่นเดียวกัน และน่าเศร้าอีกที่ สกอ.และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ไม่เคยตรวจสอบว่า สถาบันที่อ้างตัวเป็นองค์กรแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยใช้วาทกรรม "สลายความขัดแย้ง"อันสวยหรูนั้นมีกระบวนการในการทำงานอย่างไร ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่เชิงวิชาการหรือไม่ ขนาดไหน? หรือสักแต่รับคนเข้าศึกษาตามหลักสูตร รับทรัพย์ค่าเทอมแล้วเป็นอันจบกัน มุ่งปีนบันไดชนชั้นขึ้นไปยังองค์กรอิสระที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทยบางองค์กร
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 10 Mar 2018 10:02 PM PST
คำว่า "เขลา" ก็เหงาหงอยรอยลำเค็ญ คนเคยเป็นทาสกันนับพันปี ผ่านยุคทาสสุดทุกข์ยากมามากแล้ว ยังไม่แคล่วคล่อง ยังคล้องโซ่โง่เง่างี่ โซ่ที่ปลดแล้วไม่ปล่อยยังคอยที ใครที่มีความเขลาขอเอาคล้อง
ในผองเราเขามือยาวสาวเอาครอง มือใครคล่องกว่าของใครส่วนใหญ่นั้น ตอบปัญหาทรัพยากรถอนหายใจ มากมายไปในแหล่งหล้าดังว่าสวรรค์ เหลือแต่การบริหารจัดการกัน ที่จะปันแบ่งไปให้ลงตัว ใครจะทำหน้าที่ไปชี้วัด ก็คือ "รัฐ" ไปจัดสรรกันถ้วนทั่ว แต่ถ้ารัฐจัดไม่เป็นเห็นมัว ๆ ประชาชั่วหรือรัฐชั่วยั่วให้คิด ลูกหลานประชาเหลือแต่นาผืนน้อย รัฐใดคอยรายได้ใดลิขิต เหลือแต่การท่องเที่ยวเยียวยาชีวิต ทุกสารทิศแห่มาเที่ยวเสียวเมืองไทย
ลูกหลานชาวนาชนดั้นด้นไป ทาสยุคใหม่ใช้กล้ำกลืนนาผืนน้อย ปฏิรูปก่อนเลือกตั้งยังไม่กล้า ปฏิรูปที่นาพาปลดปล่อย ปฏิรูปก่อนเลือกตั้งดังซ้ำรอย ปฏิรูปบ๊อยบ่อยยิ่งย่อยยับ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
โกงเงินโครงการรัฐลามถึง ศธ. ด้านโกงเงินคนไร้บ้านจ่อไต่สวนเพิ่มอีก 17 จว. Posted: 10 Mar 2018 09:59 PM PST ปลัด ศธ. เผยพบข้าราชการซี 8 โกงเงินกองทุนเสมาพัฒนาชีวิต เพื่อช่วยเด็กหญิงภาคเหนือป้องกันถูกล่อลวง 10 ปี 88 ล้านบาท ตั้งคณะกรรมการสอบและเเจ้งความเเล้วลงดาบ ด้านกรณี 'โกงเงินคนไร้บ้าน' ปปท.พบทุจริตเพียบ จ่อไต่สวนฟันเพิ่มอีก 17 จังหวัด เมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2561 สำนักข่าวไทย รายงานว่านายการุณ สกุลประดิษฐ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการทุจริตเงินกองทุนเสมาพัฒนาชีวิต ซึ่งได้ตรวจพบหลังการตรวจสอบบัญชีงบประมาณประจำปี 2560 ของสำนักงานปลัด ศธ.เร็วนี้ว่า จากการตรวจสอบพบมีการทุจริตเงินจริง ลักษณะการโกงเงินคือมีการโอนเงินทุนการศึกษาของกองทุนเสมาพัฒนาชีวิตเข้าบัญชีของบุคคลอื่นที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ตั้งแต่ปี 2551-2561 ระยะเวลารวม 10 ปี เป็นจำนวนเงินรวมกว่า 88 ล้านบาท ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาว่าโกงเงินนั้นเป็นข้าราชการหญิงระดับ 8 ตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบายและแผน ชำนาญการพิเศษ ซึ่งได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในกองทุนดังกล่าว และได้ยอมรับว่าได้กระทำความผิดจริง โดยได้โอนเงินเข้าบัญชีญาติพี่น้องและคนรู้จักถึง 19 บัญชี ตั้งแต่ปี 2551 - 2561 รวมกว่า 88 ล้านบาท ขณะที่ในช่วงเวลาดังกล่าวมีการโอนเงินเข้าบัญชีหน่วยงานที่รับทุนรวมกว่า 77 ล้านบาท ซึ่งน้อยกว่าเงินที่ยักยอกไป โดยยอดล่าสุดในปี 2561 มีการโอนเข้าบัญชีบุคคลอื่นกว่า 3 ล้านบาท แต่ไม่มีการโอนเข้าบัญชีหน่วยงานหรือผู้ที่ได้รับทุนดังกล่าวเลย นายการุณ กล่าวต่อว่าได้รายงานเรื่องนี้ให้ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รับทราบแล้วและได้มีการสั่งการให้ดำเนินการขั้นเด็ดขาดกับผู้ที่กระทำทุจริต รวมทั้งให้ตรวจสอบกองทุนอื่น ๆให้เข้มข้นด้วย ขณะเดียวกันมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานปลัด ศธ. ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจนครบาลดุสิต เพื่อดำเนินคดีอาญาและให้ส่งต่อสำนักงานปราบปรามการทุจริตแห่งชาติแล้ว พร้อมทั้งได้ตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง และได้ย้ายบุคคลที่ตรวจสอบพบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องพ้นหน้าที่ไปแล้ว เพื่อให้คณะกรรมการสืบสวนทำงานได้สะดวก สำหรับกองทุนเสมาพัฒนาชีวิต เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2542 สมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย โดยเป็นกองทุนสำหรับสนับสนุนเด็ก โดยเฉพาะเด็กหญิงทางภาคเหนือที่อยู่ในสภาวะยากลำบากให้มีทุนการศึกษาต่อระดับวิชาชีพ เพื่อป้องกันการถูกล่อลวงไปในทางไม่เหมาะสมหรือที่เรียกว่าการ 'ตกเขียว' โดยใช้เงินจากการออกสลากกินแบ่งการกุศลงวดพิเศษ รวมทั้งเงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน เงินบริจาคและเงินดอกผลของกองทุน โดยการบริหารกองทุนจะมีคณะกรรมการกองทุนเสมาพัฒนาชีวิต ซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน 'โกงเงินคนไร้บ้าน' ปปท.พบทุจริตเพียบ จ่อไต่สวนฟันเพิ่มอีก 17 จังหวัด เว็บไซต์แนวหน้า รายงานเมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2561 พ.ต.ท.วันนพ สมจินตนากุล ผู้ช่วยเลขาธิการ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เปิดเผยความคืบหน้ากรณีการตรวจสอบทุจริตการเบิกจ่ายงบประมาณอุดหนุนประเภทเงินสงเคราะห์ครอบครัวผู้มีรายได้น้อย ผู้ยากไร้ และผู้ติดเชื้อเอดส์ ของศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ว่าในวันนี้ (11 มี.ค. 2561) ต่อเนื่องถึงสัปดาห์หน้า เจ้าหน้าที่ที่ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง จะเริ่มทยอยส่งรายงานความคืบหน้าของการตรวจสอบเบื้องต้นว่ามีจังหวัดไหนเข้าข่ายการมีพฤติกรรมที่ส่อไปในทางทุจริตบ้าง กลับมาที่ ป.ป.ท.ส่วนกลาง "มีการกำหนดการตรวจสอบเบื้องต้น 40 จังหวัด พบพฤติกรรมที่ส่อไปในทางทุจริตแล้ว 24 จังหวัด ซึ่งใน 24 จังหวัดนี้ มีการตั้งคณะอนุกรรมไต่สวนข้อเท็จจริงแล้ว 7 จังหวัด นั่นคือในวันนี้จะเป็นการรายงานว่าใน 17 จังหวัดที่เหลือ มีจังหวัดไหนมีมูลเข้าข่ายการทุจริต จากนั้นจะรวบรวมว่าจังหวัดไหนที่ตรวจสอบเบื้องต้นเสร็จก่อน ก็สามารถนำเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ท.ในสัปดาห์หน้า เพื่อขออนุมัติการตั้งคณะอนุกรรมไต่สวนข้อเท็จจริงต่อไป" พ.ต.ท.วันนพ กล่าว พ.ต.ท.วันนพ กล่าวอีกว่า จากการลงพื้นที่ตรวจสอบ เจ้าหน้าที่ได้เริ่มทยอยส่งข้อมูลการสอบสวนกลับมาบ้างแล้ว และพบว่ามีจังหวัดที่พบการทุจริตเพิ่มขึ้นอีกหลายจังหวัด จากเดิมที่พบแล้ว 24 จังหวัด ซึ่ง 1 ในนั้น คือ จ.นครพนม ที่มีชาวบ้านมอบหลักฐานเป็นคลิปวิดีโอ ขณะที่เจ้าหน้าที่กระทำการทุจริตชัดเจน ซึ่งข้อมูลการทุจริตที่ตรวจพบจะนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ท. เพื่อพิจารณาตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริง เพื่อดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต่อไป รายงานข่าวแจ้งว่ามีความเป็นไปได้ที่ ป.ป.ท.จะตั้งอนุกรรมการไต่สวนครบทั้ง 17 จังหวัดที่เหลือ เพราะพยานหลักฐานค่อนข้างชัดเจน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 10 Mar 2018 09:53 PM PST
แหม่ ยังกะย้อนรอยทุ่งใหญ่ ชนวนไล่เผด็จการ 14 ตุลา ใส่หน้ากากเสือดำซะดีมั้ย น่าจะได้ผลกว่าใส่หน้ากากพิน็อคคิโอเรียกร้องเลือกตั้ง มั่นใจได้เลย ถ้าศรีวราห์สรุปสำนวนเปรมชัยไม่เจตนาฆ่าเสือดำ ดารา เซเลบจะนำออเจ้าเหล่าประชาชนเป่านกหวีดไล่รัฐบาล โธ่ถัง ใครจะปล่อยให้เกิดเรื่องอย่างนั้นจนรัฐบาลพัง จินตนาการเว่อร์ไป ว่าประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย เปรมชัยมีเงินมีคอนเน็คชั่นแค่ไหน ก็ไม่สำคัญเท่าความอยู่รอดของรัฐบาล เพียงแต่ที่ผ่านมา กิริยาท่าทีที่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติต่อเปรมชัย ไม่ได้ดังใจกระแสสังคม ซึ่งหวาดระแวงอยู่แล้วว่าคนรวยมีเส้น เป็นอภิสิทธิ์ชน ยกตัวอย่าง ศรีวราห์รับไหว้เปรมชัยแบบแทบจะก้ม ก็กลายเป็น #เราไม่เอาศรีวราห์ แชร์สนั่นในโลกออนไลน์ ทั้งที่ ศรีวราห์อาจไม่ทันคิดอะไร โห มหาเศรษฐีใหญ่ อายุก็มากกว่า ยกมือไหว้ก่อน ก็ต้องรีบไหว้กลับ เออ ทีศรีวราห์ถูกวิพากษ์วิจารณ์ ว่าตั้งข้อหารุนแรงเกินเหตุกับนักเคลื่อนไหวประชาธิปไตย ไม่ยักมีใครติดใจ นี่ยังไปแจ้งจับ "เนเน่" ฐานแพร่ความเท็จ อ้างว่าศรีวราห์อ่านหนังสือปรัชญาแล้ว get แนะนำตำรวจ "หนังสือดีนะพวกมึงมี หรือยัง" ว่าตามเนื้อผ้า คดีเปรมชัยแม้ต้องระวังก็ยังไม่ผิดปกติ การให้สิทธิผู้ต้องหา ให้ประกัน เลื่อนพบพนักงานสอบสวน ฯลฯ ก็เป็นไปตามกฎหมาย เพียงแต่สังคมอาจรู้สึกว่าต่างกับคนจนที่ไม่มีเงินจ้างทนาย หรือความเป็นอภิสิทธิ์ชนทำให้ตำรวจระมัดระวัง เราจึงไม่เห็นอะไรที่ได้ดังใจ แบบเอาตัวมาสอบ 12 ชั่วโมงยันเช้า จะรับสารภาพมั้ย ว่าฆ่าเสือดำ คดีเปรมชัยสังคมพิพากษาไปแล้ว ตั้งแต่ตอนเช้ามืดที่มีภาพแชร์ว่อนออนไลน์ ที่เหลือจากนั้นคือรัฐต้องจัดการให้ได้ดังใจซึ่งโดยวิสัยราชการไทย ปกติก็หย่อนยานการบังคับใช้กฎหมาย บ่ายเบี่ยง มีข้ออ้างสารพัด แต่พอตกเป็นข่าว เป็น กระแส "ดราม่า" ขึ้นมาเมื่อไหร่ ผู้บังคับบัญชาก็จะสั่งการรัวๆ ให้ทำงานเร็วจี๋ กฎหมายมีกี่ข้อ งัดมาใช้ให้หมด (ปิด 5 ตลาดในพริบตาก็ยังได้) มีอำนาจอะไรใช้ให้เกินเข้าไว้ เพื่อเอาใจสังคม โดยบางทีก็ไม่ได้แก้ปัญหาอย่างรอบคอบ ยั่งยืน พอ กระแสซาก็กลับไปเฉื่อยใหม่ พูดง่ายๆ ว่าปกติทำขาด มีดราม่าแล้วจะทำเกิน คดีเปรมชัยก็มีด้านล้นเกิน เช่นจะเอาผิดหัวหน้าวิเชียร ฐานให้เปรมชัยเข้าป่าโดยไม่จ่ายค่าเข้า 110 บาท หัวหน้าด่านกักสัตว์ไปแจ้งความเอาผิดฐานทารุณสัตว์ ซึ่งเป็น ก.คนละฉบับ ไม่ใช้กับเสือดำที่มี กม.คุ้มครองอยู่แล้ว แต่พอยกข้อหา คนดีเด่นดังก็รุมด่า "อุ้มคนรวย" สุดท้ายความซวยไปตกที่ ร.ต.อ.โดนภาคทัณฑ์ รับแจ้งความทำไม (ปัดโธ่ คิดถึงหัวอกกันบ้างไหม ขืนไม่รับแจ้งความก็โดนขึงพืดในโลกออนไลน์ ลูกไปโรงเรียนเพื่อนล้อแย่เลย) ขณะเดียวกัน คดีเปรมชัยก็มีด้านที่ไม่ได้ดังใจสังคม เช่นไม่สามารถพิสูจน์ว่าปืนลูกซองใช่กระบอกที่ยิงเสือไหม คนก็โวยกันใหญ่ (ก็ปืนลูกซองนี่ครับ จะพิสูจน์ได้ไง) แต่ล่าสุดสามารถพิสูจน์ว่าเอาเสือมาปรุงอาหารแล้วไง เพียงเสียดาย "อึ" หลักฐานเด็ดของหน่วยพญาเสือ ไม่ยักได้ใช้ แต่คดีเปรมชัยก็มีผลข้างเคียงที่สมใจนะ เช่น ได้เอาผิดตระกูลกรรณสูตรุกป่าที่ จ.เลย (ถ้าไม่มีเสือดำก็ไม่เดือดร้อน อยู่กันไปยาวๆ ตระกูลอื่นล่ะ มีไหม) ได้เอาผิดเมียฐานครอบครองงาช้างแอฟริกา (ถ้าไม่มีเสือดำก็ไม่ได้พิสูจน์ DNA) ได้ปรับอิตาเลียนไทย ฐานตัดต้นไม้หน้า ก.เกษตรฯ เพื่อสร้างรถไฟฟ้า กระนั้นเหลียวมาอีกที สังคมดราม่าก็เศร้าใจ เมื่อตำรวจ ปทส.จับชาวบ้านชัยนาทเลี้ยงลิงแสมด้วยความปรานี เข้าใจตรงกันนะ กฎหมายต้องเป็นกฎหมาย เหมือน "ทวงคืนผืนป่า" เอาใจสังคม ก็ไล่คนจนพ้นที่ทำกินไปมากมาย "เสือดำดราม่า" บางคนบอกว่าทำให้เหลืองแดงรวมกันได้? จริงเหรอะ ทีมลุงจรูญกับทีมครูปรีชาก็ไม่มีสีเหมือนกัน เลขาธิการศาลยุติธรรมติงว่าลอตเตอรี่ 30 ล้านควรพิสูจน์สิทธิ์ทางแพ่ง มากกว่ายกอาญามากล่าวหากันจนส่งผลกระทบวงกว้าง ชาวบ้านก็ก่นขรม เพราะไม่ทันใจ สังคมไม่ไว้วางใจรัฐ จนเกิดดราม่า หย่อนยาน ล้นเกิน สลับไปมา นี่เรื่องใหญ่กว่าจะลงถนนมาไล่ใคร เราจะอยู่กันไปอย่างนี้จริงๆ นะ
ที่มา: www.khaosod.co.th
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
กวีประชาไท: วงจร เพลงหลอน บูชายัญ Posted: 10 Mar 2018 09:38 PM PST
วงจรอุบาทว์ อุบาทว์วงจร เรื่องใหม่ไม่มี ไม่มีอะไรใหม่ ไม่มีอะไรใหม่ เรื่องใหม่ไม่มี สมมติฐาน คาดเดาได้ง่าย ประหนึ่งฟันเฟืองขับเคลื่อนเสียเอง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
โพลชี้ประชาชนคาดหวังพรรคการเมืองใหม่มีคุณธรรม-ซื่อสัตย์ Posted: 10 Mar 2018 09:34 PM PST สวนดุสิตโพลสำรวจพบประชาชน 48.30% คาดหวังพรรคการเมืองใหม่มีคุณธรรม ซื่อสัตย์ ไม่คดโกง เป็นที่พึ่งประชาชนได้ 43.98% คาดหวังแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ ทำเพื่อส่วนรวม พัฒนาประเทศ 11 มี.ค. 2561 สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,083 คน ระหว่างวันที่ 6-10 มีนาคม 2561 เรื่อง "ประชาชนคาดหวังอะไร ? ต่อพรรคการเมืองใหม่" ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดให้กลุ่มการเมืองเข้ายื่นความจำนงขอจดแจ้งจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ เมื่อวันที่ 2 มีนาคมที่ผ่านมา โดยมีกลุ่มการเมืองตั้งขึ้นใหม่ถึง 42 พรรค ซึ่งมีความหลากหลายและแตกต่างกัน ทำให้ประชาชนมีทางเลือกมากขึ้นและมีความคาดหวังต่อพรรคการเมืองใหม่ว่าจะเข้ามาช่วยพัฒนาบ้านเมืองต่อไป โดยสิ่งที่ประชาชนคาดหวังต่อ "พรรคการเมืองใหม่" คือ พบว่า ประชาชนร้อยละ 48.30 คาดหวังพรรคการเมืองใหม่มีคุณธรรม ซื่อสัตย์ ไม่คดโกง ขณะที่ร้อยละ 43.98 คาดหวังแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ ทำเพื่อส่วนรวม พัฒนาประเทศ ร้อยละ 35.34 คาดหวังมีหัวหน้าพรรคและสมาชิกที่เป็นคนดี คนเก่ง มีคุณภาพ นอกจากนี้ร้อยละ 31.02 คาดหวังเป็นคนรุ่นใหม่ มีนโยบายที่ดี มีแนวคิดใหม่ และร้อยละ 28.14 คาดหวังไม่สร้างความขัดแย้ง สาดโคลนกันไปมา เมื่อถามว่าพรรคการเมืองใหม่จะเป็นที่พึ่งให้กับประชาชนได้มากน้อยเพียงใด พบว่า ประชาชนร้อยละ 51.78 ระบุว่าเป็นที่พึ่งได้ โดยให้เหตุผลว่า เป็นผู้แทนของประชาชน เป็นปากเสียง น่าจะมีศักยภาพ มีความสามารถในการทำงาน ขึ้นอยู่กับความตั้งใจและนโยบายในการทำงาน และร้อยละ 48.22 ระบุว่าเป็นที่พึ่งไม่ได้ โดยให้เหตุผลว่า เป็นคนหน้าเดิม กลุ่มเดิม เป็นนอมินี ปัญหาการเมืองไทยแก้ไขได้ยาก เน้นแต่ประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง เมื่อถามว่าทำอย่างไรพรรคการเมืองใหม่จึงจะเป็นที่พึ่งของประชาชนได้อย่างดี พบว่า ร้อยละ 35.22 ให้ความสำคัญกับประชาชนเป็นอย่างแรก รับฟังความเห็นความเดือดร้อน ร้อยละ 22.87 เข้าใจปัญหา แก้ปัญหาให้ตรงจุด ร้อยละ 21.86 มีผลงานให้เห็น ทำงานต่อเนื่องสม่ำเสมอ ร้อยละ 18.22 ดูแลเอาใจใส่ใกล้ชิด เข้าถึงประชาชน และร้อยละ 17.00 ทำงานโปร่งใส ตรวจสอบได้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 5-11 มี.ค. 2561 Posted: 10 Mar 2018 09:14 PM PST
ธุรกิจรถโดยสารทยอยเลิกกิจการ หลังประสบปัญหาขาดทุน ผู้ประกอบการขอให้รัฐบาลเร่งออกมาตรการช่วยเหลือลดต้นทุน นางเครือวัลย์ วงศ์รักมิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นครชัยแอร์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันผู้โดยสารมีทางเลือกในการเดินทางมากขึ้น ส่งผลให้รายได้รถโดยสารลดลง แต่เชื่อว่าปีนี้การแข่งขันจะไม่รุนแรงไปมากกว่าช่วงที่ผ่านมา จนกว่ารถไฟความเร็วสูงจะเปิดให้บริการ ซึ่งจะทำให้เกิดการแข่งขันด้านราคามากขึ้น ระหว่างสายการบินต้นทุนต่ำ รถโดยสาร และรถไฟความเร็วสูง โดยขณะนี้ อัตราค่าโดยสารยังไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง เนื่องจากราคาน้ำมันดีเซลที่ใช้เป็นเกณฑ์กำหนดค่าโดยสาร อยู่ที่ลิตรละ 20 บาท แต่ขณะนี้ราคาน้ำมันดีเซลอยู่ที่ลิตรละ 25 บาท ประกอบกับจะมีการปรับขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำ และผู้ประกอบการยังมีภาระด้านภาษีที่เกี่ยวกับการเดินรถ จึงขอให้รัฐบาลเร่งหามาตรการช่วยเหลือลดภาระต้นทุนของผู้ประกอบการ โดยไม่ต้องปรับขึ้นค่าโดยสาร ถ้าไม่มีมาตรการช่วยเหลือ คาดว่าจะมีผู้ประกอบการรถโดยสารจำนวนมากทยอยเลิกกิจการไปอีก นอกจากนี้ ขอให้รัฐบาลเร่งเปิดให้รถโดยสารเอกชน เข้าลงทุนเดินรถในเส้นทางเชื่อมต่อจากสนามบินไปยังสถานที่ท่องเที่ยวโดยตรง เช่น ที่จังหวัดบุรีรัมย์ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ และเชียงใหม่ สำหรับการเตรียมความพร้อมรองรับการเดินทางในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ ขณะนี้มียอดจองตั๋วโดยสารล่วงหน้าแล้ว 50% และคาดว่ากลางเดือนนี้จะมีผู้โดยสารจองตั๋วล่วงหน้าเพิ่มเป็น 70-80% โดยได้เตรียมรถโดยสารเพิ่มขึ้นจากปกติ 10% พร้อมกับเพิ่มรถโดยสารใหม่ขนาด 32 ที่นั่ง อัดฉีดตำรวจเต็มสูบ! ชงปรับเพิ่มเงินเดือนครั้งใหญ่แก้รีดไถ-รับส่วย นายมานิจ สุขสมจิตร คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม (ตำรวจ) เปิดเผยว่าในการประชุมคณะกรรมการที่มี พลเอกบุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ เป็นประธาน ได้พิจารณา ถึงประเด็นการเพิ่มค่าตอบแทนและสวัสดิการของข้าราชการตำรวจ ตามที่คณะอนุกรรมการด้านการบริหารบุคคลเสนอให้พิจารณา งานตำรวจเป็นงานที่มีความเสี่ยงมากกว่าข้าราชการพลเรือนสามัญอยู่ระหว่าง 13.56-22.57เท่า ซึ่งในต่างประเทศนั้นค่าตอบแทนของตำรวจชั้นประทวนกับค่าตอบแทนของข้าราชการพลเรือนสามัญมีสัดส่วน ความเสี่ยง 1.28 ต่อ 1 ส่วนระดับสัญญาบัตรมีสัดส่วน 1.74 ต่อ 1 นายมานิจ กล่าวว่าจากผลการวิจัยโดยมูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง เสนอว่าข้าราชการตำรวจในสายงานป้องกันปราบปรามซึ่งมีความเสี่ยงเฉพาะในการปฏิบัติหน้าที่มากกว่างานตำรวจในกลุ่มงานอำนวยการและกลุ่มงานสนับสนุนคิดเป็นค่าเฉลี่ย 2.66 ต่อ 2.97 จึงควรได้รับเงินเพิ่มในระดับชั้นประทวนเป็นเงิน 4,300-5,000 บาท ต่อเดือนและในระดับสัญญาบัตรเป็นเงิน 18,500-21,500บาทต่อเดือน จะมีผลทำให้ตำรวจในสายงานป้องกันปราบปรามตำแหน่ง ผบ.หมุู่ที่จบจากโรงเรียนนายสิบ ได้เงินเดือนแรกบรรจุเดือนละ 9,330 บาทบวกเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว 2,000 บาท และเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งอีก 4,300-5,000 บาท รวมรายได้เดือนละ 15,630-16,330 บาท ส่วนตำแหน่งรองสารวัตรที่จบจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจควรจะได้รับเงินเดือนๆแรกบรรจุ 15,290 บวกกับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่ง 18,500-21,500 บาทจะทำให้มีรายได้เดือนละ 33,790-36,790 บาท นายมานิจ กล่าวต่อว่านอกเหนือจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการปฏิรูปตำรวจยังเห็นชอบตามข้อเสนอของคณะอนุกรรมการด้านการบริหารงานบุคคลที่ให้ปรับอัตราการจ่ายเงินค่าตอบแทนการสอบสวนคดีอาญาหรือที่เรียกว่า "ค่าทำสำนวน" เพิ่มขึ้นอีก 100% เพราะอัตราที่ใช้อยู่ กำหนดไว้เมื่อ พ.ศ. 2534 และยังมิได้ปรับเพิ่มในขณะที่ค่าครองชีพและค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นอัตราที่เสนอใหม่จะเป็นดังนี้ (1) กรณีที่เกิดคดีอาญาขึ้นและไม่รู้ตัวผู้กระทำผิด เดิมไม่จ่าย ส่งผลให้พนักงานสอบสวนไม่อยากทำสำนวนหรือไม่รับคดีจึงเสนอให้จ่ายค่าตอบแทนการสอบสวนคดีอาญาประเภทที่ไม่รู้ตัวผู้กระทำความผิดไม่เกินคดีละ 500 บาท (2) ความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี เสนอให้จ่ายไม่เกินคดีละ 1,000 บาท (ขณะนี้จ่ายไม่เกินคดีละ 500 บาท) (3) ความผิดที่มีอัตราโทษจำคุก 3-10 ปีเสนอให้จ่ายไม่เกินคดีละ 2,000บาท (ขณะนี้จ่ายไม่เกินคดีละ 1,000 บาท) (4) ความผิดที่มีอัตราโทษจำคุก 10 ปีขึ้นไป เสนอให้จ่ายไม่กินคดีละ 3,000(ขณะนี้จ่ายไม่เกินคดีละ 1,500บาท) "เหตุผลในการเสนอขอปรับอัตราค่าตอบแทนการสอบสวนคดีอาญาดังกล่าว ก็เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด" นายมานิจ ระบุ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม(ตำรวจ) กล่าวด้วยว่าในการเสนอของคณะอนุกรรมการด้านการบริหารงานบุคคลนั้น ได้เสนออัตรารายได้ของตำรวจในสายงานป้องกันและปราบปราม ให้ต่ำกว่าอัตราที่เสนอโดยมูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง เพราะไม่อยากให้กระทบต่องบประมาณในภาพรวมของประเทศ แต่เมื่อได้มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวางรวมทั้งเหตุผลที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ว่าให้ "มีหลักประกันว่าข้าราชการตำรวจจะได้รับค่าตอบแทนที่้เหมาะสม" ซึ่งเป็นอาชีพเดียวที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ให้ได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม "แสดงว่าปัจจุบันนี้ ตำรวจได้รับค่าตอบแทนที่ยังไม่เหมาะสม จึงอ้างว่ารายได้ไม่เพียงพอต้องหารายได้พิเศษจากการรีดไถ และรับส่วย เมื่อเพิ่มรายได้ให้แล้วควรจะได้กวดขันตำรวจที่ทุจริตและประพฤติมิชอบต่อไป ที่ประชุมจึงเห็นสมควรให้ปรับค่าตอบแทนของข้าราชการตำรวจในสายงานป้องกันปราบปรามตามผลการศึกษาวิจัยของมูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง และควรมีการพิจารณาค่าตอบแทนดังกล่าวทุกห้าปีด้วย"คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม (ตำรวจ) ระบุ แรงงานไทยเสี่ยงตกงาน สศช.ชี้ถึงยุคเทคโนโลยีชั้นสูงทำงานแทนคน สศช.แถลงภาวะสังคมปี 2560 การจ้างงานลดลง เป็นผลจากส่งออกขยายตัวช้าในครึ่งปีแรก และการพลิกผันของเทคโนโลยีใหม่ เตือนให้เฝ้าระวังปี 2561 ตลาดแรงงานบางอาชีพเสี่ยงถูกทดแทนด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง 'สมคิด' เผยเมืองไทยไม่ต้องห่วงเพราะแรงงานส่วนใหญ่ อยู่ในภาคท่องเที่ยว และเกษตร นายปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยรายงานภาวะสังคมไทยไตรมาส 4 และภาพรวมปี 2560 ว่า ช่วงเวลาดังกล่าวภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น ส่งผลให้ภาวะสังคมดีขึ้น แต่ในไตรมาส 4/ 2560 และตลอดปีที่ผ่านมา การจ้างงานลดลงจากปี 2559 ที่ 0.6% เป็นการลดลงของการจ้างงานนอกภาคเกษตร 1% เนื่องจากภาพรวมการส่งออกที่ขยายตัวช้าในครึ่งแรกของปี และแม้ว่าช่วงครึ่งหลังของปี การส่งออกปรับตัวดีขึ้น แต่ยังไม่ส่งผลต่อการขยายการจ้างงาน ในสาขาการผลิตมากนัก ประกอบกับการปรับเปลี่ยนใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ใช้กำลังแรงงานลดลง และมีคนที่ปรับจากงานเก่ามางานใหม่ รวมทั้งหันไปทำงานอิสระมากขึ้น เช่น การรับจ้างส่งของแบบชั่วคราว ทำให้คนเหล่านี้ไม่อยู่ในระบบ ส่งผลตัวเลขจ้างงานลดลงเล็กน้อย ส่วนจำนวนผู้ว่างงานมี 450,000 คน เท่ากับ 1.2% ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 1% ในปี 2559 แต่เชื่อว่าปีนี้การว่างงานจะลดลง ตามภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น "ปีนี้จะมีการเก็บและสำรวจข้อมูลของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจากการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีมากขึ้น คนเริ่มไม่ทำงานประจำ และอยู่นอกระบบมากขึ้น ตามแนวคิดสังคมแบบ Sharing economy และ Gig economy เช่นในสหรัฐฯ มีการสำรวจพบว่า คนไปทำงานนอกระบบมากขึ้นถึง 40% ส่วนไทยยังไม่มีการจัดเก็บตัวเลข" ขณะที่เรื่องหนี้สินครัวเรือนก็เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัว สะท้อนจากยอดคงค้างสินเชื่อ เพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลของธนาคารพาณิชย์ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อซื้อหรือเช่าซื้อรถยนต์ที่ขยายตัวต่อเนื่อง โดยไตรมาส 3/2560 หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่าเท่ากับ 11.76 ล้านล้านบาท คิดเป็น 78.3 ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) และไตรมาส 4/2560 หนี้ครัวเรือนมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่ความสามารถในการชำระหนี้ดีขึ้น พิจารณาจากสัดส่วนหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวมที่ลดลง และการผิดนัดชำระหนี้เกิน 3 เดือนขึ้นไปของสินเชื่อส่วนบุคคล ภายใต้การกำกับและสินเชื่อบัตรเครดิตที่ลดลง "ประเด็นเฝ้าระวังและดำเนินการในปีนี้ คือต้องติดตามและเฝ้าระวังผลกระทบจากการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะการจ้างงานที่แนวโน้มตลาดแรงงาน ที่มีการปรับตัวใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ทดแทนในกระบวนการผลิตมากขึ้น หรืองานบริการที่มีกระบวนการทำงานซ้ำ เป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงต่อการถูกทดแทน ขณะที่มีรูปแบบการทำงานใหม่และหลากหลายอาชีพมากขึ้น โดยเฉพาะการทำอาชีพอิสระ การรับจ้างผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น อูเบอร์ ไลน์แมน จำเป็นต้องส่งเสริมให้มีการอบรมพัฒนาฝีมือทักษะแรงงาน และส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ฯลฯ" ขณะเดียวกัน กลุ่มแรงงานทักษะสูงจะเป็นที่ต้องการและมีบทบาทในโลกแห่งเทคโนโลยีในอนาคตมากขึ้น รวมทั้งควรมีการพัฒนาและจัดเก็บข้อมูลอาชีพที่หลากหลายมากขึ้น ตลอดจนมีกฎระเบียบที่รองรับงานลักษณะใหม่เพื่อให้ผู้ประกอบการ และลูกจ้างได้รับการคุ้มครอง นอกจากนี้ จะต้องหาทางคุ้มครองผู้บริโภคและป้องกัน การหลอกลวงหรือข้อพิพาทจากการซื้อสินค้าและบริการรูปแบบใหม่ เช่น การซื้อขายออนไลน์ การซื้อขายผ่าน QR code และการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนสร้างสกุลเงินดิจิทัล รวมทั้งการเฝ้าระวังการทำผิดกฎหมายผ่านทางเทคโนโลยี ที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้กว้างขวาง เช่น การพนันออนไลน์ สื่อลามก ยาเสพติด รวมทั้งต้องติดตามผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ที่ 308-330 บาท หรือเฉลี่ย 315 บาททั่วประเทศ ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.นี้ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่เป็นห่วงปัญหาแรงงานของไทยมากนัก เพราะประเทศไทยไม่ใช่ประเทศอุตสาหกรรม มีแรงงานอยู่ในภาคท่องเที่ยวและบริการ 60% ขณะที่ภาคการเกษตรของไทยก็มีขนาดใหญ่มาก ก.แรงงาน ผนึกกำลัง ปตท. ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในสถานประกอบการ ก.แรงงาน โดย สสปท. ผนึกกำลังลงนามความร่วมมือกับกลุ่ม ปตท.ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พัฒนาระบบมาตรฐานความปลอดภัยในสถานประกอบการทุกขนาด สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงาน ตามแนวทางประชารัฐ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ พัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานอย่างยั่งยืน พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีลงนามความร่วมมือโครงการส่งเสริมการจัดทำระบบมาตรฐานความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานสำหรับสถานประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก (Safety Standard for SMEs : SSS) ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว โดยกล่าวว่า โครงการ 3 S หรือ Safety Standard for SMEs : SSS เป็นสัญญาณที่ดีที่ทุกภาคส่วนได้ตระหนักถึงความสำคัญของความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ ทั้งสถานประกอบการขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ โดยสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (สสปท.) พร้อมให้คำปรึกษา จัดทำระบบมาตรฐานความปลอดภัย และนำองค์ความรู้ พร้อมเจ้าหน้าที่ในสังกัดเข้าตรวจสอบประเมินผลสภาพแวดล้อมในสถานประกอบกิจการอย่างเป็นระบบมากกว่า 70 แห่ง โดยมีภาครัฐ ภาคเอกชนจากบริษัทชั้นนำเข้าร่วมเป็นพันธมิตรให้การสนับสนุนและบูรณาการกิจรรม เพื่อร่วมกันปรับปรุงให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยตามที่ สสปท.กำหนด ซึ่งจะส่งผลดีต่อการพัฒนาประเทศสู่ไทยแลนด์ 4.0 ควบคู่ไปกับความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมที่ดี เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ตามนโยบายประชารัฐของรัฐบาล นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า PTTGC มีเป้าหมายยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัยให้กับลูกค้ากลุ่มพลาสติก ไปสู่การพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ ยังพร้อมให้การสนับสนุนโครงการเพื่อส่งเสริมการจัดทำระบบมาตรฐานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานให้กับสถานประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก หรือ SMEs ในประเภทกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกและเคมีภัณฑ์ให้มีระบบที่เป็นมาตรฐาน ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาแรงงานให้มีคุณภาพเทียบเท่าระดับสากล ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาคุณภาพสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กให้ได้มาตรฐาน นำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมภายในประเทศให้แข็งแกร่ง ที่มา: กระทรวงแรงงาน, 9/3/2561 ไทยจับมือ NGOs ร่วมจัดตั้งเครือข่ายแรงงานประมงทะเล เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2561 รัฐบาลได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ในกิจการประมงทะเล เพื่อขับเคลื่อนระบบแรงงานสัมพันธ์ในกิจการประมงทะเล และส่งเสริมการรวมตัวและการเจรจาต่อรองของลูกจ้าง โดยมี NGOs ของไทยและต่างประเทศ อาทิ องค์การมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน ศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเล ศรีราชา มูลนิธิ Environmental Justice Foundation องค์กร Human Rights Watch ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ตลอดจนคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ร่วมเป็นคณะทำงานเพื่อให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ด้วย คณะทำงานดังกล่าวมีหน้าที่จัดทำมาตรการในการส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ในกิจการประมงทะเลที่สอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศ อาทิ การสร้างเครือข่ายแรงงานประมงทะเล การให้คำแนะนำเกี่ยวกับสิทธิของแรงงานเพื่อส่งเสริมขีดความสามารถในการเจรจาต่อรอง และการจัดตั้งเวทีกลางสำหรับการเจรจาระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง เพื่อให้เสียงของแรงงานภาคประมงทะเลดังและเข้มแข็งมากขึ้นในการปกป้องสิทธิของตนเอง โดยให้นำเสนอแนวทางของมาตรการต่อคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย จากการประชุมของคณะทำงานฯ ครั้งแรก เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2561 ได้มีข้อเสนอให้จัดตั้งเครือข่ายแรงงานประมงทะเลจังหวัด ในพื้นที่ติดชายทะเล 22 จังหวัด อย่างน้อยจังหวัดละ 1 เครือข่าย ซึ่งเครือข่ายดังกล่าวจะเป็นองค์กรการรวมตัวของลูกจ้าง มีการเลือกตั้งผู้แทนลูกจ้างจากเรือแต่ละลำเป็นสมาชิกเครือข่าย โดยมีสมาคมประมงแห่งประเทศไทย หน่วยงานภาครัฐ และ NGOs เป็นที่ปรึกษา ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการยอมรับการรวมตัวของแรงงานและทั้งไทยและต่างด้าวในภาคประมง เพื่อให้แรงงานสามารถดูแลกันเองได้ เพิ่มน้ำหนักในการเจรจาต่อรองกับนายจ้าง ส่งเสริมให้มีการหารือร่วมเพื่อลดข้อขัดแย้ง และให้ลูกจ้างสามารถเรียกร้องสิทธิประโยชน์ สวัสดิการ หรือร้องทุกข์นอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดได้ โดยจะนำร่องใน 5 จังหวัดชายทะเลก่อน ได้แก่ ชลบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ และตรัง นอกจากนี้ ในอนาคตยังมีแผนจะส่งเสริมให้จัดตั้งเครือข่ายแรงงานประมงทะเลระดับประเทศ ซึ่งจะเป็นการรวมตัวของสมาชิกเครือข่ายแรงงานประมงทะเลจังหวัดต่อไป นอกจากนี้ ไทยอยู่ระหว่างการปรับปรุงพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .... และพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. .... เพื่อให้แรงงานต่างด้าวสามารถเป็นกรรมการสหภาพแรงงานได้ โดยจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน การดำเนินการทั้งหมดนี้ เป็นการเตรียมการเข้าสู่กระบวนการรับรองอนุสัญญาแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 98 ว่าด้วยการปฏิบัติตามหลักการแห่งสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรองภายในเดือนกันยายน 2561 ที่มา: กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เปิดติวคนครัวบนเรือ 20 แห่งทั่วประเทศเฉพาะ กทม. 6 รุ่น 6 เดือน เปิดรับสมัครแล้ว!! สนใจโทรสายด่วน 1506 กด 4 นายสุทธิ สุโกศล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากการที่พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้กำชับให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน จัดฝึกอบรมในหลักสูตรการจัดการด้านอาหารและโภชนาการบนเรือ (Food and Catering) ให้แก่คนครัวบนเรือ เพื่อให้ปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยแรงงานในกิจการทางทะเล ค.ศ.2006 ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และพระราชบัญญัติแรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558 ที่กำหนดให้คนครัวบนเรือต้องผ่านการฝึกอบรมจากหน่วยงานที่ได้รับการรับรองอยู่ "และสอดคล้องกับนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงแรงงานด้านการยกระดับทักษะฝีมือแรงงาน เพิ่มขีดความสามารถของแรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศ มีรายได้เลี้ยงดูตนเองและครอบครัว นำรายได้ส่งกลับประเทศนั้น"นายสุทธิ กล่าว นายสุทธิ กล่าวต่อไปว่ากพร. ได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน (สพร.) และสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงาน (สนพ.) 20 แห่ง ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศทั้งภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ ดำเนินการฝึกอบรมในพื้นที่ ซึ่งขณะนี้ในต่างจังหวัดได้กำหนดโปรแกรมการฝึกอบรมออกมาแล้ว "เช่น สพร. 6 ขอนแก่น เปิดฝึกอบรมระหว่าง 26 มีนาคม - 3 เมษายน 2561 สนพ.ตรัง ร่วมกับมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ตรัง เปิดฝึกอบรม 2 รุ่น ระหว่าง 23-28 เมษายน 2561 และ 30 เมษายน -5 พฤษภาคม 2561 สพร. 3 ชลบุรี เปิดฝึกอบรม 21-26 พฤษภาคม 2561 สพร. 11 สุราษฎร์ธานี เปิดฝึกอบรม 4-10 มิถุนายน 2561 และสพร. 7 อุบลราชธานี เปิดฝึกอบรมในช่วงเดือนกรกฎาคม2561นี้"อธิบดีกพร.ระบุ อธิบดีกพร. กล่าวอีกว่า สำหรับในกรุงเทพมหานคร เปิดฝึกอบรมเต็มอัตรา 6 รุ่น 6 เดือน ได้แก่ รุ่นที่ 1 19-24 มีนาคม 2561 รุ่นที่ 2 23-28 เมษายน 2561 รุ่นที่ 3 21-26 พฤษภาคม 2561 รุ่นที่ 4 18-23 มิถุนายน 2561 รุ่นที่ 5 23-28 กรกฎาคม 2561 และรุ่นที่ 6 20-25 สิงหาคม 2561 จะดำเนินการโดยสำนักงานวิทยาลัยการแรงงาน สพร. 13 กรุงเทพมหานคร โดยในช่วงเดือนมกราคม 2561 มีการฝึกอบรมเช่นกัน มีผู้ผ่านการฝึกอบรมจำนวน 19 คน "ใช้ระยะเวลาการฝึกอบรม 42 ชั่วโมง จะฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ภายใต้หัวข้อความปลอดภัยและสุขภาพในการปฏิบัติงาน สุขลักษณะส่วนบุคคลและอาหาร ทักษะการประกอบอาหาร การป้องกันโรคอาหารเป็นพิษ โภชนาการและสุขภาพ การจัดการและการควบคุมดูแลครัว การจัดการของเสียงในครัว มุมมองด้านศาสนาและวัฒนธรรม การวัดและประเมินผล เป็นต้น"อธิบดี กพร. กล่าว อธิบดีกพร. กล่าวด้วยว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ มีไม่ต่ำกว่า 18 ปี จบการศึกษาไม่ต่ำกว่า ม.3 หรือเทียบเท่า หรือมีประสบการณ์การทำงานบนเรือเดินทะเลไม่น้อยกว่า 6 เดือน ในช่วงเวลา 5 ปี ก่อนเข้ารับการฝึกอบรม หรือสำเร็จการศึกษาด้านคหกรรมศาสตร์ อาหารและโภชนาการ หรือวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ หรือมีประสบการณ์ฝึกอบรมการประกอบอาหารไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมง หรือมีประสบการณ์ทำงานเกี่ยวกับการประกอบอาหารไม่น้อยกว่า 1 ปี ทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัดรับสมัครรุ่นละ 20 คน สนใจเข้ารับการฝึกอบรม สามารถสอบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน 1506 กด 4 หรือสอบถามที่ กองสื่อสารองค์กร กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน 0 2245 4035" อธิบดีกพร.กล่าวในที่สุด ชี้อาชีพเสริมผู้มีรายได้น้อยยังจำกัด เกษตรกรผู้มีรายได้น้อย มองว่าอาชีพเสริมที่หน่วยงานรัฐเตรียมไว้ฝึกอาชีพยังมีจำกัด ส่วนคนที่ไม่มีโอกาสได้เข้าร่วมโครงกา อยากให้ ธ.ก.ส. เข้ามาช่วยหาช่องทางตลาดเพื่อให้เกษตรกรทุกรายได้ประโยชน์ด้วย ประชาชนที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ในอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม พากันไปลงทะเบียนในโครงการพัฒนาอาชีพผู้มีรายได้น้อย ที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธกส. จัดขึ้นเพื่อให้ผู้มีรายได้พัฒนาคุณภาพชีวิตและมีอาชีพเสริม ขณะเดียวกันถือเป็นการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของผู้ถือบัตรว่าต้องการให้พัฒนาอาชีพให้พวกเขาอย่างไร งานนี้ธ.ก.ส.เสนอ 4 อาชีพ ให้เกษตรกรเป็นทางเลือก เช่น ปลูกมะเขือเทศราชินี ซึ่งได้รับความสนใจมากที่สุด แปรรูปผลไม้สด ธุรกิจแฟรนไชส์หมูปิ้ง และแปรรูปสัตว์บก โดยหลักการธ.ก.ส.ต้องการให้พัฒนาจากอาชีพเดิม คือ อาชีพเกษตรกรรมก่อน ธ.ก.ส.จะรับหน้าที่ปล่อยสินเชื่อ โดยไม่ต้องมีหลักประกัน ให้กับเกษตรกรที่ผ่านการคัดเลือกเข้ารับโครงการพัฒนาอาชีพ เกษตรกรที่มาลงทะเบียนบางคน มองว่า อาชีพเสริมที่แนะนำยังไม่เหมาะกับพวกเขาและไม่คุ้มค่ากับการลงทุน สิ่งที่พวกเขาต้องการมากกว่า การพัฒนาคุณภาพชีวิต คือ การพัฒนาพื้นที่ เช่น ทำถนนลาดยาง โครงการกำจัดผักตบชวา เพื่อให้เส้นทางการขนถ่ายสินค้ามีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น อีกประเด็นที่เกษตรกรต้องการความช่วยเหลือ คือ ให้ช่วยหาตลาดที่เป็นช่องทางกระจายสินค้า เพราะนอกเหนือจากผู้ลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเกษตรกรในพื้นที่ ยังได้ประโยชน์ด้วยนายเฉลิม ปานสกุล เกษตรกรผู้เลี้ยงปลา มีพื้นที่หลายไร่ จึงไม่ผ่านเกณฑ์ในการสมัครโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ การเปิดโอกาสให้เกษตรกรในชุมชนได้รวมกลุ่ม และเสนอความต้องการด้านการตลาดออกไป น่าจะช่วยยกระดับให้ราคาปลาของเขาสูงขึ้น ธ.ก.ส. มองว่าต้องทำให้ครบทั้ง 4 มิติ คือ ส่งเสริมการมีงานทำ ทั้งภาคเกษตรกรรมและนอกภาคเกษตรกรรม ฝึกอบรมอาชีพและการศึกษา เพื่อให้เข้าสู่ตลาดแรงงาน ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบ และเข้าถึงสิ่งจำเป็นพื้นฐาน เช่น ที่อยู่อาศัย ที่ดินทำกินสุดท้าย คือให้ออมเพื่อการเกษียณอายุเพื่อให้หลุดพ้นจากเส้นความยากจนอย่างถาวร รณรงค์เสนอปัญหาและนโยบายสิทธิสตรีเนื่องในวันสตรีสากล (8 มี.ค.2561) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรีและภาคีเครือข่ายร่วมกิจกรรมขบวนรณรงค์เนื่องในวันสตรีสากล เดินขบวนจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ไปยังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เพื่อนำเสนอปัญหาและนโยบายสิทธิสตรี โดยในปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิดความมั่นคงของผู้หญิง คือความมั่นคงของชาติ สำหรับข้อเรียกของปีนี้ไม่แตกต่างจากปีที่ผ่านๆ มา คือเน้นการนำเสนอนโยบายสิทธิสตรีที่ยึดโยงกับการแก้ไขปัญหาขั้นพื้นฐานในชีวิตประจำวัน อย่างขบวนของกลุ่มผู้หญิงที่ใส่ชุดคลุมท้อง และมีหมวก 120 วัน คือการแสดงออกถึงข้อเรียกร้องขอให้รัฐให้ความสำคัญกับผู้หญิงในการดูแลบุตร ขยายวันลาคลอดจากที่กำหนดไว้ 90 วัน ซึ่งพวกเขาเห็นว่ายังไม่เพียงพอกับการดูแลเด็กเล็กที่เป็นวัยสำคัญต้องได้รับการดูแลเพื่อการพัฒนาอย่างสมบูรณ์และใกล้ชิดจากมารดา ให้ขยายเพิ่มมากขึ้นเป็น 120 วัน ซึ่งสอดคล้องกับการต้องรับรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 183 ว่าด้วยสิทธิการคุ้มครองความเป็นมารดา นอกจากนี้ รัฐต้องจัดให้มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนอย่างทั่วถึง มีคุณภาพและปรับเปลี่ยนเวลาเปิด - ปิดศูนย์ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตคนทำงาน, รัฐต้องกำหนดสัดส่วนผู้หญิงในการตัดสินใจของคณะกรรมการทุกมิติและทุกระดับอย่างน้อย 1 ใน 3, รัฐต้องให้เงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้า 0-6 ปี, รัฐต้องให้คนพิการเข้าถึงสิทธิและการบริการเท่าเทียมกับคนทั่วไป, รัฐต้องจัดให้มีพื้นที่ปลอดภัยให้กับผู้หญิงและเด็กใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และในพื้นที่สาธารณะ และรัฐต้องเคารพสิทธิการพัฒนาของประชาชนและผู้หญิงต้องมีส่วนร่วมในการจัดการฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม น.ส.นิไลมล มนตรีกานนท์ ประธานกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี เปิดเผยว่า แม้ข้อเรียกร้องบางส่วนจะถูกขับเคลื่อนแล้ว เช่น เงินอุดหนุนเลี้ยงดูเด็ก และศูนย์เด็กเล็กก่อนวัยเรียน แต่ยังผลักดันได้ไม่ทั่วถึง สาเหตุสำคัญเป็นเพราะขาดการมีส่วนร่วมของผู้หญิงในการเข้าไปเสนอปัญหาและแนวนโยบายในการแก้ไข ล่าสุด กลุ่มเครือข่ายสตรีได้เคลื่อนขบวนถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้ว โดยกลุ่มสตรีที่เข้าร่วมกิจกรรมจะนำเสนอปัญหาและแนวทางการแก้ไขของแต่ละภาคส่วนผ่านเวทีจำลอง "พรรคบูรณาการแรงงานสตรี" รวมถึงร่วมกันประกาศเจตนารมณ์ และข้อเรียกร้องวันสตรีสากลในปีนี้ ประกันสังคม ห่วงผู้ประกันตนเป็นโรคพิษสุนัขบ้า แนะใช้สิทธิประกันสังคมได้ ประกันสังคม ฝากผู้ประกันตนที่ถูกสุนัขหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกัด ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า เลขาธิการ สปส. แจงใช้สิทธิประกันสังคมได้ แนะให้เข้าโรงพยาบาลที่ผู้ประกันตนเลือกไว้ไม่เสียค่าใช้จ่าย หากไม่ได้เข้าโรงพยาบาลตามบัตรฯ ให้นำใบเสร็จรับเงินที่สำรองจ่ายไปพร้อมใบรับรองแพทย์มาเบิกคืนได้ที่สำนักงานประกันสังคม นายสุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (พื้นที่สีแดงตามประกาศกรมปศุสัตว์) ใน 13 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ ชลบุรี สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา น่าน บุรีรัมย์ อุบลราชธานี เชียงราย ร้อยเอ็ด สงขลา ระยอง ตาก และศรีสะเกษ และพื้นที่เฝ้าระวังโรคระบาดพิษสุนัขบ้าในอีก 42 จังหวัด ซึ่งขณะนี้อยู่ในความดูแลของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขแล้ว ว่าสำนักงานประกันสังคมในฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลสุขภาพของลูกจ้าง ผู้ประกันตน ในระบบประกันสังคม ได้ติดตามสถานการณ์การระบาดของโรคดังกล่าวอย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกันได้เตรียมความพร้อมโดยประสานให้สถานพยาบาลคู่สัญญาและเครือข่ายทั่วประเทศเตรียมรับผู้ประกันตน หากผู้ประกันตนประสบเหตุถูกสุนัขกัดในกรณีดังกล่าว อย่างไรก็ตามสำนักงานประกันสังคมขอแนะนำให้ผู้ประกันตนที่ถูกสุนัขหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกัด ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า โดยใช้สิทธิประกันสังคมได้ และผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ตนเองเลือกโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย หากไม่สามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลที่ตนเองเลือกได้ ควรรีบเข้ารับการรักษาพยาบาลโดยฉีดวัคซีนเข็มแรก ณ โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดก่อน แล้วนำใบเสร็จรับเงินที่สำรองจ่ายไปก่อน พร้อมใบรับรองแพทย์มาเบิกคืนได้ที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด/สาขาทุกแห่งที่สะดวก สำหรับผู้ประกันตนที่เข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลของรัฐ ประเภทผู้ป่วยนอกสามารถเบิกค่าบริการทางการแพทย์ได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น กรณีผู้ประกันตนเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลเอกชนประเภทผู้ป่วยนอก สามารถเบิกค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินครั้งละ 2,000 บาท และจ่ายเพิ่มตามรายการการรักษาที่กำหนดตามหลักเกณฑ์ หากผู้ประกันตนมีปัญหาข้อสงสัยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคม 1506 ให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง ไอแอลโอชี้ประมงไทยดีขึ้นแต่ก็ยังมีปัญหาอยู่ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) ระบุว่าสถานการณ์โดยรวมของอุตสาหกรรมประมงไทยเป็นไปในทางที่ดีขึ้น แต่แรงงานยังคงเสี่ยงถูกละเมิดอยู่ ไอแอลโอออกรายงานที่ได้จากการสอบถามแรงงานประมงในไทย 434 คน พบว่า นายจ้างพร้อมปฏิบัติตามระเบียบใหม่ ๆ เช่น การจ่ายค่าแรงตามค่าจ้างขั้นต่ำ การออกสัญญาจ้างงาน แต่ก็มีสิ่งบ่งชี้การบังคับใช้แรงงานหลายอย่างโดยเฉพาะกับแรงงานจากกัมพูชาและเมียนมา เช่น จ่ายค่าจ้างล่าช้าหลายเดือน ยึดเอกสารประจำตัวเพื่อไม่ให้ลาออก ไอแอลโอระบุว่า ผู้ซื้อรายใหญ่ต้องการให้อุตสาหกรรมประมงแข่งขันได้แต่ก็ต้องมีชื่อเสียงในทางที่ดี จึงต้องมีระเบียบที่เข้มงวดขึ้น การบังคับใช้ระเบียบเหล่านี้จะช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในเร็ว ๆ นี้ เรื่องนี้เป็นเดิมพันสูงมากของไทยเพราะอุตสาหกรรมประมงและอาหารทะเลสร้างรายได้ให้ไทยมากถึง 6,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 206,830 ล้านบาท) เมื่อปี 2557 จ้างงานคนไม่ต่ำกว่า 600,000 คนเมื่อปีก่อน ในจำนวนนี้ 302,000 คนเป็นแรงงานต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียนแล้ว รายงานของไอแอลโอแจกแจงตัวเลขจากการสำรวจว่า แรงงานประมงร้อยละ 24 ได้รับค่าจ้างล่าช้าหลายเดือน ร้อยละ 33 ถูกยึดเอกสารประจำตัว ขณะที่แรงงานในโรงงานแปรรูปอาหารทะเลได้รับการปฏิบัติดีกว่า มีเพียงร้อยละ 7 ที่ถูกยึดเอกสาร และทุกคนได้รับค่าจ้างตรงตามเวลา อธิบดี กสร.กำชับช่วยเหลือลูกจ้างเจนเนอรัล มอเตอร์ส นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยถึงกรณีที่ บจก.เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) เรียกลูกจ้างให้ไปรายงานตัวเพื่อกลับเข้าทำงานตามคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ หรือ ครส. โดยนัดรายงานตัวในวันนี้ ณ สนามกอล์ฟพัฒนา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี จึงได้สั่งการให้พนักงานตรวจแรงงานในพื้นที่ติดตามสถานการณ์การรายงานตัวของลูกจ้าง และดูแลสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายแรงงาน สำหรับประเด็นที่ลูกจ้างกังวลว่าเมื่อได้กลับเข้าทำงานแล้ว อาจจะถูกนายจ้างเลิกจ้างได้นั้น ตนได้กำชับให้พนักงานตรวจแรงงานติดตามการปฏิบัติงานของลูกจ้างกลุ่มนี้ รวมไปถึงเข้าไปส่งเสริมระบบแรงงานสัมพันธ์ให้กับนายจ้างลูกจ้างอย่างต่อเนื่อง แต่หากพบว่ามีการเลิกจ้างจริง จะเข้าไปดำเนินการให้ความช่วยเหลือโดยทันทีเพื่อให้ลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายต่อไป ก.แรงงานฝึกช่างดันอุตฯอาหารทะเลรับลูก ครม.สัญจร นายสุทธิ สุโกศล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร เพชรบุรี เพื่อเยี่ยมชมมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพแรงงาน ต.บางหญ้าแพรก และเยี่ยมชมบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ต.ท่าทราย เพื่อรับฟังบรรยายสรุปศูนย์กลางอาหารทะเล (Hub of Seafood) รวมถึงการรับฟังผลการดำเนินงานศูนย์บริการเบ็ดเสร็จเพื่อออกใบรับรองสินค้าประมง ของศูนย์วิจัยและตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมง พร้อมพบปะพนักงานและแรงงานของบริษัท นอกจากนี้ได้เยี่ยมชมองค์การสะพานปลาสมุทรสาคร ต.มหาชัย พร้อมรับฟังบรรยายสรุปภาพรวมการดำเนินงานขององค์การสะพานปลา และตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมงพาณิชย์ ชมการสาธิตระบบฐานข้อมูลการสแกนม่านตา และระบบระบุตำแหน่งเรือประมงไทย พร้อมพบปะแรงงานประมงและประชาชนในพื้นที่ ได้รับฟังข้อเสนอแนะ และการรายงานผลการดำเนินงานของสถานประกอบกิจการในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร และเพชรบุรี ทำให้ทราบถึงความต้องการแรงงานที่มีทักษะความรู้การควบคุมเครื่องจักรกลด้วยไฟฟ้า (Mechatronic) ขณะที่ปี 2561 กพร. มีเป้าหมายการฝึกอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ ระบบที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม จำนวน 9,809 คน ดำเนินการแล้ว 4,464 คน ทั้งนี้สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานสมุทรสาคร ได้ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาคร และ บริษัท มโนห์ราอุตสาหกรรมอาหาร จำกัด จัดฝึกอบรมสาขาแมคคาทรอนิกส์ ดำเนินการแล้วจำนวน 4 รุ่น รุ่นละ 20 คน ขณะนี้กำลังฝึกรุ่นที่ 5 เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการเขียนโปรแกรมควบคุมระบบอัตโนมัติ ที่เกี่ยวข้องกับวงจรการผลิตในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อาหาร ทั้งนี้เป็นไปตามนโยบายเร่งด่วนการยกระดับทักษะฝีมือแรงงาน เพิ่มศักยภาพแรงงานรองรับไทยแลนด์ 4.0 ของพลตำรวจเอกอดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน สหภาพแรงงานบินไทย ยื่นนายกฯ เรียกร้องบริษัทจ่ายเงินสมทบ-ผลประโยชน์ คืนแก่พนักงานตาม พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นายดำรงค์ ไวยคณี ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยนำพนักงานการบินไทยกว่า 50 คนเข้ายื่นหนังสือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ผ่านศูนย์บริการประชาชน ทำเนียบรัฐบาล เพื่อเรียกร้องให้บริษัทจ่ายเงินสมทบและผลประโยชน์ในกองทุนต่างๆคืนแก่พนักงานตาม พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530 ซึ่งตามที่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โดยนายจ้างและลูกจ้างจะจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนตามที่กำหนดในข้อบังคับ แต่เนื่องด้วยการบินไทยต้องลดค่าใช้จ่ายทุกด้าน ส่งผลกระทบกับพนักงาน จึงทำให้พนักงานจำนวนประมาณ 500 คน ตัดสินใจลาออกจากการเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อขอรับเงินสะสมในส่วนที่จ่ายเข้ากองทุน เพื่อแก้ปัญหาปากท้องของครอบครัว แต่ยังคงเป็นพนักงานบริษัทอยู่ ซึ่งตามข้อกำหนดของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้นกำหนดว่ากองทุนจะไม่จ่ายเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบให้แก่สมาชิกเมื่อสมาชิกลาออกจากกองทุนและให้บริษัทจัดการโอนเงินดังกล่าวกลับเข้าบริษัทเป็นรายได้ ทำให้พนักงานที่ตัดสินใจลาออกจากการเป็นสมาชิกกองทุนหมดสิทธิ์ได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบและต้องสูญเสียโอกาสที่จะได้รับเงินบำเหน็จหรือเงินตอบแทนจากบริษัทเมื่อพ้นสภาพการเป็นพนักงาน ซึ่งถือเป็นการตัดสิทธิ์ของลูกจ้างโดยปราศจากเหตุผลอันสมควรเนื่องจากไม่ได้ทำให้บริษัทเสียหายและไม่ได้ทำความผิดวินัยตามระเบียบบริษัท ที่มา: สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น, 6/3/2561 ครม.อนุมัติแก้ พ.ร.ก.แรงงานต่างด้าว ที่ประชุม ครม.อย่างเป็นทางการนอกสถานที่ จ.เพชรบุรี มีการอนุมัติโครงการพัฒนาพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่างหลายโครงการ รวมถึงการแก้ไข พ.ร.ก.การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวด้วย โดยเฉพาะใน 4 มาตรา คือ ที่ว่าด้วยบทลงโทษรุนแรงกับแรงงานต่างด้าวที่ผิด กฎหมาย และนายจ้าง จนกระทบต่อการจ้างงานในประเทศ ทั้งนี้แก้ไขใหม่เหลือเพียงโทษปรับ 10,000-100,000 บาท หากทำผิดซ้ำต้องจำคุก 1 ปี หรือปรับ 50,000–200,000 บาท ส่วนแรงงานต่างด้าวที่จะเปลี่ยนงานหรือเปลี่ยนพื้นที่ที่ทำงาน ต่อไปไม่ต้องขออนุญาตเหมือนในอดีต เพียงแค่แจ้งให้ทราบก็พอ รวมทั้งให้สามารถพักอาศัยนอกพื้นที่ที่ทำงานได้ด้วย ที่มา: ch3thailand.com, 6/3/2561 ครม. อนุมัติมาตรการภาษีหนุนการพัฒนาผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ คณะรัฐมนตรีไฟเขียวมาตรการภาษีสนับสนุนนายจ้างที่จ่ายแก่ลูกจ้างผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ให้นำรายจ่ายมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ 1.5 เท่าของรายจ่ายจริง คาดรัฐเสียรายได้ประมาณ 3,000 ล้านบาท แต่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนผู้มีรายได้น้อย
นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรหรือมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการพัฒนาผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยกำหนดให้นายจ้างที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถนำรายจ่ายค่าจ้างที่ได้จ่ายให้แก่ลูกจ้างผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นจำนวน 1.5 เท่า ของค่าจ้างที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เฉพาะในส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 10 ของจำนวนลูกจ้างในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ในรอบระยะเวลาบัญชีวันที่ 1 มกราคม 2561 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 นายณัฐพร คาดว่า มาตรการนี้จะทำให้ภาครัฐสูญเสียรายได้ ประมาณ 3,000 ล้านบาท แต่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดสวัสดิการสังคมและให้การช่วยเหลือของภาครัฐในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืน กรมการจัดหางานเร่งแก้เครื่องสแกนม่านตาไม่พอ พิสูจน์สัญชาติ นายอนุรักษ์ ทศรัตน์ อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า ขั้นตอนการสแกนม่านตา ใช้เพื่อพิสูจน์อัตลักษณ์แรงงานเพื่อนบ้าน ในกิจการประมง เช่น โรงงานแปรรูปอาหารทะเล แรงงานในเรือประมง ขณะนี้ มีเครื่องสแกนม่านตาที่ยืมมาจากกรมเจ้าท่า ที่ใช้ได้มี 26 เครื่อง และแบ่งไปตามจังหวัด ที่อยู่ในพื้นที่ชายฝั่งทะเล 22 จังหวัด แรงงานเพื่อนบ้านที่ต้องพิสูจน์อัตลักษณ์ มีจำนวนประมาณ 150,000 กว่าคน พิสูจน์อัตลักษณ์ไปแล้ว กว่า 93,000 คน โดยจังหวัดสมุทรสาคร มีแรงงานเพื่อนบ้านที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์อัตลักษณ์กว่า 50,000 คน รองลงมา คือ จังหวัดระนอง, ระยอง, สมุทรปราการ, ปัตตานี และประจวบคีรีขันธ์ ที่คงเหลือแรงงานเพื่อนบ้าน ที่ไม่ได้พิสูจน์อัตลักษณ์อีกมาก การแก้ปัญหาเบื้องต้น กรมการจัดหางาน นำเครื่องสแกนม่านตาจากจังหวัดที่ตรวจพิสูจน์อัตลักษณ์เสร็จแล้ว ส่งมาสมทบที่สมุทรสาคร รวมตอนนี้ มี 12 เครื่อง และจะเพิ่มเจ้าหน้าที่เร่งรัดการทำงาน ทั้งนี้ กรมการจัดหางาน ขอให้ผู้ประกอบการนำแรงงานเพื่อนบ้านมารับการตรวจสแกนม่านตา เพื่อให้ขั้นตอนการจัดเก็บอัตลักษณ์บุคคลเสร็จทันสิ้นเดือนนี้ สคร.ชี้โรงงานยาสูบมีกระแสเงินสดกว่า 9 พันล้าน-ไม่กระทบเงินเดือนพนักงาน ผอ.โรงงานยาสูบออกโรงชี้ผลกระทบโครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่ กระทบเงินเดือนพนักงานยาสูบ เตรียมหารือ สบน. ขอกู้สภาพคล่อง ประคองสถานการณ์เงินเดือนพนักงาน หลังรายได้ลด ค่าใช้จ่ายสูง ฟาก สคร.-กระทรวงคลังชี้ ปัญหายังไม่รุนแรง โรงงานยาสูบยังมีกระแสเงินสดกว่า 9,000 ล้านบาท หลังจากนางสาวดาวน้อย สุทธินิภาพันธ์ ผู้อำนวยการโรงงานยาสูบ ออกมาให้ข่าวกับสื่อมวลชนในช่วงต้นสัปดาห์นี้ ถึงประเด็นปัญหายอดขายบุหรี่ของโรงงานยาสูบลดลง หลังจากมีการประกาศใช้โครงสร้างอัตราภาษีสรรพสามิต ตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ที่เริ่มมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 16 ก.ย. 2560 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ราคาบุหรี่ โดยเฉพาะบุหรี่ที่ผลิตจากโรงงานยาสูบต้องปรับราคาขายปลีกสูงขึ้นตั้งแต่ 3-20 บาทต่อซอง ขณะที่บุหรี่ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ปรับราคาขายปลีกเพิ่มขึ้นเล็กน้อยและบางยี่ห้อปรับราคาขายลดลง ส่งผลให้ส่วนแบ่งการตลาดบุหรี่ของโรงงานยาสูบในเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา เหลือเพียง 55-56% จากเดิมส่วนแบ่งการตลาดอยู่สูงถึง 80% อีกทั้ง ในปีนี้กำลังการผลิตบุหรี่ของโรงงานยาสูบจะอยู่ที่ 18,000 ล้านมวนต่อปี จากกำลังการผลิตสูงสุดอยู่ที่ 65,000 ล้านมวนต่อปี หลังจากเปิดโรงงานยาสูบแห่งใหม่เรียบร้อยแล้ว แสดงให้เห็นว่าที่ผ่านมา กระทรวงการคลังและโรงงานยาสูบคาดการณ์ผิดพลาดไป โดยเฉพาะโรงงานยาสูบแห่งใหม่ ต้องจ่ายค่าเครื่องจักรเพียงอย่างเดียวมูลค่าถึง 16,000 ล้านบาท โดยโรงงานยาสูบนำกำไรแต่ละปี มาทยอยจ่ายเป็นค่าเครื่องจักร ซึ่งยังเหลือค้างจ่าย 7,000 ล้านบาท โดยในปี 2561 มีสัญญาผูกพันต้องจ่ายอีก 2,900 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เป็นต้นทุนหลัก 4 เรื่อง ได้แก่ 1) ค่าใช้จ่ายในการย้ายโรงงานจากถนนพระราม 4 ไปยังโรงงานใหม่โรจนะ จ.พระนครศรีอยุธยา 2) ค่าใช้จ่ายในการดูแลโรงพยาบาลยาสูบ 3) การสนับสนุนนโยบายรัฐด้วยการรับซื้อใบยาสูบสูงกว่าราคาตลาด 22 บาทต่อกิโลกรัม 4) ค่าก่อสร้างสวนเบญจกิติ รวมแล้วเป็นเงินอีก 1,500 ล้านบาท ด้วยเหตุนี้ จึงส่งผลให้โรงงานยาสูบต้องเตรียมแผนกู้เงินเพื่อนำมาเสริมสภาพคล่อง และนำเงินส่วนหนึ่งไปใช้ในซื้อเครื่องจักรโรงงานยาสูบแห่งใหม่ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือกับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ถึงกรอบวงเงินที่ต้องกู้ คาดว่าอยู่ในหลักหลายพันล้านบาท และประเมินว่าจะต้องเริ่มกู้ในช่วงเดือน พ.ค.นี้ "โรงงานยาสูบต้องมีเงินหมุนต่อเดือนประมาณ 4,000 ล้านบาท ล่าสุดมีเงินสด ที่เหลือในมือไม่ถึง 5,000 ล้านบาท ประกอบกับยอดขายยาสูบที่ลดลง ทำให้เกิดปัญหาสภาพคล่อง ดังนั้นจำเป็นต้องกู้มาเพื่อใช้จ่าย ทั้งในเรื่องการลงทุน และการนำมาจ่ายเงินเดือนให้พนักงาน โดยครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่โรงงานยาสูบต้องกู้เงินมาเสริมสภาพคล่อง" นางสาวดาวน้อยกล่าว พร้อมกับให้ข้อมูลว่า ปีนี้โรงงานยาสูบอาจจะขาดทุนไม่น้อยกว่า 1,500 ล้านบาท เพราะปัจจุบันขายบุหรี่แทบไม่มีกำไร แต่มีค่าใช้จ่ายประจำ เช่น เงินช่วยเกษตรกร ปีละ 500 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายใน โรงพยาบาลอีก 300-400 ล้านบาท ที่เหลือ เป็นการนำไปใช้ในโครงการต่อเนื่องกิจการเพื่อสังคม แม้ว่าในปีงบประมาณ 2560 ที่ผ่านมา (สิ้นสุด ก.ย. 2560) โรงงานยาสูบยังสามารถทำกำไรได้ 9,344 ล้านบาท เพราะยังไม่ได้รับผลกระทบจากภาษี และสามารถจ่ายโบนัสให้พนักงานเกือบ 7 เดือน แต่ของปี 2561 กำลังพิจารณาจะทำอย่างไรกับโบนัสพนักงาน หากยังอยู่ในภาวะขาดทุนเช่นนี้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติการยาสูบแห่งประเทศไทย ได้ผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในวาระ 3 แล้ว จึงมีความหวังว่า ด้วยกฎหมายใหม่ ที่จะทำให้โรงงานยาสูบมีสถานะเป็นนิติบุคคล และมีชื่อเรียกใหม่ว่า 'การยาสูบแห่งประเทศไทย' จะทำให้สามารถทำการตลาดและวางแผนธุรกิจในโครงสร้างใหม่ได้ ทั้งนี้ คาดว่ากฎหมายจะมีผลบังคับใช้ประมาณต้นเดือน พ.ค. 2561 ด้านนายชาญวิทย์ นาคบุรี โฆษกสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ ให้ความเห็นว่า หากดูที่งบดุลปีงบประมาณ 2560 ของโรงงานยาสูบในปัจจุบัน ซึ่งมีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดกับเงินลงทุนชั่วคราว (เงินฝาก) รวมกันอยู่ที่กว่า 9,136 ล้านบาท แล้ว ก็นับว่ายังมีจำนวนเงินที่สูงอยู่ ดังนั้น จึงคาดว่า กระแสเงินสดระดับนี้ น่าจะประคองสถานการณ์ของโรงงานยาสูบในช่วงเปลี่ยนผ่านของตลาดบุหรี่ไปสักระยะหนึ่ง หรือน่าจะยาวกว่าเดือน พ.ค. นี้ อีกด้านหนึ่ง หากร่าง พ.ร.บ.การยาสูบแห่งประเทศไทยมีผลบังคับใช้ทันเดือน พ.ค. ก็จะทำให้โรงงานยาสูบมีสถานะเป็นนิติบุคคลที่สามารถทำธุรกิจได้มากกว่าเดิม ขณะที่ นายยุทธนา หยิมการุณ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง ในฐานะกรรมการโรงงานยาสูบ เปิดเผยว่า ในปี 2561 โรงงานยาสูบจะไม่มีปัญหาขาดสภาพคล่อง เพราะมีการกันเงินค่าใช้จ่ายไว้หมดแล้ว แต่ปี 2562 ทางผู้อำนวยการโรงงานยาสูบอาจจะกลัวว่าจะมีปัญหาสภาพคล่อง เพราะส่วนแบ่งการตลาดลดลงและกำไรของบุหรี่ต่อซองเหลือน้อยมาก แต่ยืนยันว่าเรื่องเงินจ่ายเงินเดือนพนักงานยังมีเพียงพอไม่มีปัญหา ทั้งนี้ ปัจจุบันโรงงานยาสูบมีพนักงานรวมทั้งสิ้นกว่า 2,800 คน โดยในจำนวนนี้มีพนักงานส่วนกลางที่ยังคงปฎิบัติงานที่สำนักงานใหญ่ที่คลองเตยได้ต่อไปอีกราว 1,000 คน ที่เหลืออีกราว 1,800 คน ต้องย้ายไปทำงานที่โรงงานแห่งใหม่ที่เขตนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเบื้องต้นจากการสำรวจความต้องการของพนักงานทั้งหมด พบว่ามีคนสนใจจะเข้าโครงการเออร์ลี่รีไทร์ ประมาณ 500 คน ธนาคารซีไอเอ็มบี ย้ำไม่ปิดสาขา-รับพนักงานเพิ่มเต็มพิกัด นายกิตติพันธ์ อนุตรโสตถิ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยทิศทางการดำเนินธุรกิจและเป้าหมายว่า ในปี 2561-2562 นับเป็นก้าวแรกของโครงการ FAST FORWARD หรือการเดินหน้าสู่เป้าหมาย ขึ้นเป็นธนาคารระดับกลางที่แข็งแกร่งที่สุด ด้านอาเซียนในประเทศไทยและตั้งเป้าหมาย ว่าจะมีกำไรก่อนหักภาษี 12,000-15,000 ล้านบาท จากที่มีอยู่ 2,000 ล้านบาท "ในปีนี้ธุรกิจของธนาคารยังไม่มีอะไรที่หวือหวา แต่เราได้เน้นปรับฐานและปรับกระบวนการวิธีการทำงาน โดยจะเดินหน้าทำต่อเนื่อง จากปีก่อนรวมถึงเพิ่มอัตรากำลังในธุรกิจที่ธนาคารฯมีศักยภาพ โดยหากปีหน้าเศรษฐกิจกลับมาเติบโตดีขึ้น ธนาคารมีความพร้อมรุกธุรกิจอย่างเต็มที่" ทั้งนี้ ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ในภาพรวมจะเติบโตต่อเนื่องจากปีก่อน จะมาจากอานิสงส์ของเศรษฐกิจที่เมื่อพิจารณาจากตัวเลขสำคัญๆเป็นการเติบโตจากภาคการส่งออกในปีที่แล้วซึ่งเติบโตทั้งปี และเป็นการเติบโตในอุตสาหกรรมหลักๆแบบกระจายตัว ไม่ใช่เป็นเพียงการเติบโต ในอุตสาหกรรมดั้งเดิมแบบกระจุกตัว เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ "ขอยืนยันว่าธนาคารไม่มีนโยบายลดสาขาและพนักงาน จากปัจจุบันที่มีอยู่ 80 สาขาทั่วประเทศ ขณะเดียวกันก็เตรียมเพิ่มจำนวนพนักงาน เพื่อมารองรับหลายๆสายงานที่อาจจะเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยจะเน้นไปยังงานบริการอื่นๆมากขึ้น เช่น การพัฒนาบริการระบบ QR Payment และระบบสินเชื่อ เป็นต้น ขณะเดียวกันพร้อมรุกตลาดแบงก์กิ้ง เอเย่นต์ เพื่อให้บริการทางการเงินเหมือนสาขาธนาคาร เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้ามากขึ้น" กสร. เปิดรับสมัครประกวด สปก.ต้นแบบด้านความปลอดภัย นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า กสร.จัดประกวดสถานประกอบกิจการต้นแบบดีเด่นด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเปิดโอกาสให้นายจ้าง ลูกจ้างได้ร่วมมือกันพัฒนาและยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ และเพื่อให้สถานประกอบกิจการที่ได้รับการคัดเลือกสามารถเป็นต้นแบบในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของลูกจ้างด้านความปลอดภัยในการทำงานได้อย่างแท้จริง คณะอนุกรรมการการประกวดฯ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ให้สถานประกอบกิจการที่จะเสนอชื่อเข้ารับการคัดเลือกต้องไม่เคยถูกดำเนินคดีด้านความปลอดภัยในการทำงานในทุกกรณีในช่วงเวลา 2 ปี คือตั้งแต่ 1 ม.ค.59 ถึง 31 ธ.ค.60 ไม่มีลูกจ้างประสบอันตรายจากการทำงานถึงขั้นเสียชีวิต ทุพพลภาพ และสูญเสียอวัยวะบางส่วน รวมทั้ง อัตราการประสบอันตรายจากการทำงาน ถึงขั้นหยุดงานเกิน 3 วัน ต้องลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 โดยเปรียบเทียบจากปี 2560 กับปี 2559 นอกจากนี้ สถานประกอบกิจการจะต้องจัดตั้งชมรมจิตอาสาสร้างวินัยและวัฒนธรรมความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ จัดตั้งคลินิกความปลอดภัยฯ ด้วย อธิบดี กสร. กล่าวต่อไปว่า การประกวดสถานประกอบกิจการต้นแบบดีเด่นด้านความปลอดภัยฯ จะเริ่มเปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม ถึงวันที่ 12 เมษายน 2561 สถานประกอบกิจการสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติม ดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.oshthai.org เลือกหัวข้อ การคัดเลือกสถานประกอบกิจการต้นแบบดีเด่นด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ประจำปี 2561 หรือสอบถามข้อมูลได้ที่กองความปลอดภัยแรงงาน โทรศัพท์ 02-448-9128-39 ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ, 6/3/2561 นายกลงพื้นที่สมุทรสาคร ขอความร่วมมือ "เอ็นจีโอ" ช่วยแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าว เมื่อเวลา 07.00 น. วันที่ 5 มีนาคม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พร้อมคณะ ประกอบด้วย นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกฯ นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ลงพื้นที่ตรวจราชการ จ.สมุทรสาคร ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) ครั้งที่ 2/2561 ที่ จ.เพชรบุรี ในวันที่ 6 มีนาคม โดย พล.อ.ประยุทธ์ และคณะออกเดินทางจากสนามเฮลิคอปเตอร์ พล.ม. 2 รอ. เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร มายังจุดจอดเฮลิคอปเตอร์สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร ต.บางหญ้าแพรก อ.เมือง จ.สมุทรสาคร จากนั้นได้เยี่ยมชมมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพแรงงาน (LPN) ต.บางหญ้าแพรก ทั้งนี้ มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพแรงงาน เป็นองค์ที่ทำงานภาคประชาสังคมและเน้นการทำงานกับแรงงานข้ามชาติใน จ.สมุทรสาครเป็นหลัก เป็นศูนย์ให้คำปรึกษาและความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่แรงงานย้ายถิ่น ส่งเสริมการรับรู้และเข้าถึงสิทธิที่พึงจะได้รับ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวกับตัวแทนเอ็นจีโอตอนหนึ่งว่า เข้าใจการทำงานของเอ็นจีโอ ซึ่งโลกวันนี้เป็นแบบนี้ แต่เอ็นจีโอ ก็ต้องดูด้วยว่าผลประโยชน์ประเทศชาติอยู่ตรงไหน ไม่ได้หมายความว่าจะต้องปกปิดใคร ทุกอย่างต้องทำให้ถูกต้อง ยอมรับว่ามันยาก ซึ่งเรื่องของแรงงานเกี่ยวข้องทั้งผู้ประกอบการ เจ้าหน้าที่ และตัวแรงงาน โดยทั้ง 3 ส่วนนี้ต้องช่วยกัน อย่าให้ต่างคนต่างมีปัญหา รัฐบาลจะดูในภาพรวม เชื่อมโยงกับเอ็นจีโอ รัฐบาลจะไม่เอาเอ็นจีโอไปข้างนอก เราต้องทำงานร่วมกันให้ได้ เอาปัญหามาพูดกันแล้วหาทางแก้ แต่ถ้าจะโจมตีกันไปมา คนนั้นถูก คนนี้ผิด ก็จะทำให้แก้ปัญหาไม่ได้ ในเรื่องของกฎหมาย หากเจ้าหน้าที่ละเลยไม่เอาจริงเอาจัง เจ้าหน้าที่ก็จะต้องถูกลงโทษ ถ้ามีขอให้ส่งชื่อมาจะสอบสวนลงโทษให้ และถ้าผู้ประกอบการไหนไม่ให้ความร่วมมือ ตามกฎหมายก็จะต้องถูกลงโทษด้วย ทั้งนี้เจ้าหน้าที่จะทำผิดไม่ได้ "ถ้าไม่มีคนให้ความร่วมมือ ถ้าไม่มีคนเสนอก็จะไม่มีคนรับ ถ้ามีคนเรียกก็ต้องฟ้องกันไป ถ้ารักษากฎหมายได้เท่านี้ทุกอย่างก็จบหมด แต่ที่ผ่านมา มันมีสมยอมกัน แม้แต่เรื่องการจดทะเบียนแรงงานในวันนี้ยังค้างอีกเกือบแสน ซึ่งเจ้าหน้าที่นัดให้ไปขึ้นทะเบียนแรงงาน แต่ผู้ประกอบการก็ไม่นำแรงงานของตัวเองไปขึ้นทะเบียน ตรงนี้เอ็นจีโอจะต้องไปไล่ในส่วนของผู้ประกอบการ ที่ไม่มาตามนัดให้รัฐบาลด้วย ทั้งหมดนี้ เอ็นจีโอจะต้องช่วยกันแก้ปัญหาด้วย พร้อมกับการชี้แจงไปยังต่างประเทศ ไม่ใช่ปล่อยให้รัฐบาลชี้แจงแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยเฉพาะปัญหาไอยูยู การค้ามนุษย์ ซึ่งเกิดจากต่างประเทศทั้งนั้น และนับวันองค์กรเหล่านี้จะมีบทบาทสูงขึ้น เพราะกลุ่มประเทศเศรษฐกิจก็ต้องหามาตรการที่เกิดประโยชน์กับตัวเอง ถ้าเราไปเข้าข้างเขามากๆ ประเทศจะไม่เกิดประโยชน์อะไรแรงงานพวกเรานี่แหละจะลำบากไปด้วย ฉะนั้นบทบาทของ NGO จะต้องทำด้วยกัน 2 อย่าง คือดูแลแก้ปัญหาของตัวเองและช่วยรัฐบาลด้วย" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวกับแรงงานชาวเมียนมาว่า เมื่อมาอยู่แผ่นดินไทย ก็จะต้องรักทั้ง 2 ประเทศ เมืองไทยทำให้เรามีอาชีพและรายได้ ในวันข้างหน้าทุกคนก็คงต้องกลับประเทศ เพราะแต่ละประเทศมีการพัฒนา เชื่อว่าทุกคนอยากกลับบ้าน แต่ต้องยอมรับว่าวันนี้ รายได้ที่ประเทศไทยดีกว่า การดูแลก็ดีกว่า แต่ขอให้เชื่อว่าวันข้างหน้าประเทศของท่านก็จะต้องดีขึ้น ส่วนปัญหาการค้ามนุษย์ รัฐบาลไทยจะดูแลทั้งหมด โดยปฏิบัติตามกฎหมาย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้น พล.อ.ประยุทธ์ ได้ถามชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานทั้งชาวไทยและพม่า โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการประกอบอาชีพ เช่น นายสอนรัก จีนอิน ลูกเรือประมงชาวไทย ที่ประสบอุบัติเหตุแขนขาด โดยทางมูลนิธิฯได้ดูแลเยียวยา รวมถึงนายทูน ริน อดีตลูกเรือประมงชาวพม่า ซึ่งปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิฯ นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวกับครูที่สอนหนังสือให้กับบุตรของแรงงานในพื้นที่ว่า ให้สอนเรื่องจิตสำนึกและคุณธรรมด้วย รวมถึงการมีอุดมการณ์ เพื่อให้สังคมเกิดความสงบสุข มิเช่นนั้นจะเกิดความขัดแย้งเช่นนี้ เหมือนกับที่ขัดแย้งในเรื่องของกฎหมาย ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ, 5/3/2561 กสร.ย้ำนายจ้างมีลูกจ้าง 50 คนขึ้นไปต้องตั้งคณะกรรมการสวัสดิการ นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน(กสร.) เปิดเผยว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 กำหนดให้สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป นายจ้างต้องจัดให้มีคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนฝ่ายลูกจ้างที่มาจากการเลือกตั้งอย่างน้อย 5 คน ซึ่งเจตนารมณ์ของการจัดตั้งคณะกรรมการสวัสดิการฯ เป็นการส่งเสริมระบบทวิภาคีในสถานประกอบกิจการเพื่อเปิดโอกาสให้คณะกรรมการสวัสดิการฯ ได้มีส่วนร่วมกับนายจ้างในการบริหารจัดการสวัสดิการแรงงานในสถานประกอบกิจการได้สอดคล้องกับความต้องการของลูกจ้างอย่างแท้จริง รวมทั้งเปิดโอกาสนายจ้างและลูกจ้างได้ร่วมกันในการปรึกษาหารือให้ข้อเสนอแนะ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการจ้าง การทำงาน การพัฒนาคุณภาพชีวิตลูกจ้าง ช่วยให้ลูกจ้างมีขวัญกำลังใจในการทำงาน ซึ่งจะส่งผลต่อผลิตภาพแรงงานและความสำเร็จในการประกอบการของนายจ้างอีกทางหนึ่งด้วย อธิบดีกสร. กล่าวเพิ่มเติมว่า กรณีที่สถานประกอบกิจการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวจะมีโทษปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท จึงขอให้สถานประกอบกิจที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด หากมีข้อสงสัยสอบถามได้ที่ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 ถึง 10 สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด หรือหมายเลขโทรศัพท์สายด่วน 1506 ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ, 5/3/2561
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
'ศรีสุวรรณ' นำเครือข่ายต้นไม้เมืองฟ้อง รฟม.-อิตาเลียนไทย ระงับตัดต้นไม้ทั่วกรุง Posted: 10 Mar 2018 08:58 PM PST 'ศรีสุวรรณ จรรยา' นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน จะนำเครือข่ายต้นไม้ฯ ไปยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองกลางระงับการการตัดต้นไม้ในทุกสาย (11 สาย) ของรถไฟฟ้าทั่วกรุงเทพมหานคร 12 มี.ค. 2561 นี้ 11 มี.ค. 2561 นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน เปิดเผยว่าตามที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. โดยบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลอปเมนท์ จำกัด ในฐานะผู้รับเหมาโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า สายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ดำเนินการตัดต้นไม้ รวม 14 ต้น ริมทางเดินเท้าหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์โดยยังไม่ได้ขออนุญาตจาก กทม. จนทำให้เสียทัศนีภาพและอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ที่เดินผ่านไปมาเพราะมีสายไฟฟ้าห้อยระโยงรยางค์เป็นที่อันตรายต่อผู้สัญจรไปมาเป็นอย่างยิ่ง และถึงแม้ กทม.โดยสำนักงานเขตจตุจักร จะได้แจ้งความ และสั่งจำปรับผู้รับเหมาไปแล้ว 28,000 บาท รวมทั้งค่าเสียหายทางแพ่งอีกกว่า 170,000 บาทไปแล้วนั้น แต่กรณีดังกล่าวไม่ใช่ครั้งแรกที่ต้นไม้ในบริเวณเกาะกลางถนนและริมทางเท้าของ กทม. จะถูกตัดฟันโค่นทำลาย หรือล้อมบอนออกไปไว้ที่อื่น ทั้งๆ ที่การก่อสร้างรถไฟฟ้าทุกสายไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตัดฟันโค่นทำลายให้เสียหายทั้งหมดแต่อย่างใด อีกทั้งต้นไม้ที่มีการล้อมบอนออกไปนั้น ก็เสียหาย "ตาย" เสียเป็นจำนวนมาก ซึ่งชี้ให้เห็นว่า รฟม. และบริษัท อิตาเลียนไทย ไม่ได้ให้ความสำคัญกับอารอนุรักษ์ ดูแล รักษา ต้นไม้สาธารณะที่เป็นเสมือน "ปอด" ของคนกรุงเทพมหานครเลย การกระทำหรือใช้อำนาจของ รฟม.และบริษัท อิตาเลียนไทย จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย กระทำการโดยนอกเหนือจากอำนาจหน้าที่ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน และวิธีการตามที่กฎหมายกำหนด ตาม มาตรา 9(1) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ พ.ศ.2542 ประกอบ พรบ.สิ่งแวดล้อมฯ พ.ศ.2535 และ พ.ร.บ.รักษาความสะอาดฯ พ.ศ.2535 โดยชัดแจ้ง สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน และเครือข่ายต้นไม้ในเมือง กลุ่ม Big Tree กลุ่มจตุจักรโมเดล ชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มก. เพจกรุงเทพเดินสบาย และเพจเฮ้ยนี่มันฟุตบาทไทยแลนด์ จึงได้รวมตัวกันเพื่อเดินทางไปยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองกลาง เพื่อระงับการกระทำดังกล่าวในทุกสาย (11 สาย) ของรถไฟฟ้าทั่วกรุงเทพมหานครโดยทันที โดยสมาคมฯ และเครือข่ายฯ จะไปยื่นฟ้อง ในวันจันทร์ที่ 12 มี.ค. 2561 เวลา 10.30 น. ณ ศาลปกครองกลาง ศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะ หลักสี่ กทม. ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google, 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น