ประชาไท | Prachatai3.info |
- คสช. เชื่อควบคุมสถานการณ์กลุ่มต่อต้านได้ แม้ยกระดับความเข้มข้น
- สันติภาพปาตานี ทำไมต้องประชาชน
- ชวนเล่น ‘เกมมือป้อม’ ผลงานศิลปะสื่อผสม จิกกัดสังคมการเมือง
- กลุ่มเสรีประชาธิปไตยแถลงฯ 4 ล้มเหลว 4 เลวร้าย ไล่ คสช.
- รอบโลกแรงงานกุมภาพันธ์ 2018
- รมว.ต่างประเทศ โชว์สิทธิมนุษยชนเป็นวาระแห่งชาติ กลางเวทียูเอ็น
- รวมจุดรวมพล ‘คนอยากเลือกตั้ง ค้าน คสช.สืบทอดอำนาจ’ รอบเดือนที่ผ่านมา
- ชงใช้เขตสุขภาพ ปชช.ขับเคลื่อนธรรมนูญสงฆ์ แนะพื้นที่บูรณาการงบ-กองทุนสุขภาพตำบล
- ศรีสุวรรณ อัด ภาคทัณฑ์ ตร.ทองผาภูมิ ปมคดีเปรมชัย สะท้อนความล้มเหลวของการปฏิรูปตำรวจ
- MY CHIANG MAI ราชการควรให้เกียรติต่อธรรมชาติ
- คนทำงาน มกราคม 2561
- ใบตองแห้ง: ปราบโกงจริงหรา?
- ความย้อนแย้งของคำสอนพุทธในวันมาฆบูชา
- แกนนำ กคป. เปิดตัว 'พรรคพลังธรรมใหม่' ถอดแบบพรรคอัมโน ยัน 'จำลอง' จะไม่ยุ่ง
- โวยกรมทรัพย์สินฯ แก้ กม.สิทธิบัตรทำไทยเสียประโยชน์ จี้แก้ไขตามข้อแนะนำภาคประชาสังคม
คสช. เชื่อควบคุมสถานการณ์กลุ่มต่อต้านได้ แม้ยกระดับความเข้มข้น Posted: 01 Mar 2018 09:03 AM PST โฆษก คสช. ย้ำ รบ.และ คสช. พยายามรักษาสภาพแวดล้อมบรรยากาศของบ้านเมืองให้เป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน เชื่อควบคุมสถานการณ์กลุ่มต่อต้านได้ แม้ยกระดับความเข้มข้น ไม่กังวลมีนักการเมืองเข้ามาร่วม พล.ต.ปิยพงศ์ กลิ่นพันธุ์ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 11 (ผบ.มทบ.11) และทีมโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) (แฟ้มภาพ จากสำนักข่าวไทย) 1 มี.ค. 2561 สำนักข่าวไทย รายงานว่า พล.ต.ปิยพงศ์ กลิ่นพันธุ์ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 11 (ผบ.มทบ.11) และทีมโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงสถานการณ์กลุ่มเคลื่อนไหวกดดันต่อต้านรัฐบาลว่า ที่ผ่านมาหัวหน้า คสช. และรัฐบาลได้พยายามที่จะรักษาสภาพแวดล้อมบรรยากาศของบ้านเมืองให้เป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย เพื่อตอบสนองความต้องการของพี่น้องประชาชน อย่างไรก็ตามปัญหาประการหนึ่งของประเทศก็คือด้านการเมือง ซึ่งขณะนี้ก็จะเห็นได้ว่า มีการชุมนุมเคลื่อนไหวตลอดระยะเวลา โดยย้ำสิ่งหนึ่งที่รัฐบาลและ คสช.ได้เรียนตามข้อเท็จจริงก็คือการสร้างการรับรู้ในสิ่งที่ถูกต้อง สร้างความเข้าใจ สร้างความเชื่อมั่นให้กับพี่น้องประชาชน ให้ภาพบรรยากาศของบ้านเมืองต้องอยู่ในความสงบเรียบร้อยและเป็นไปตามโรดแมปที่วางไว้คือการเปลี่ยนผ่านอำนาจสู่รัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง และได้กำหนดกรอบขอบเขตระยะเวลา เอาไว้แล้ว ตามที่นายกรัฐมนตรีมนตรีได้กล่าวย้ำไว้กับประชาชน ส่วนที่เริ่มมีกลุ่มเคลื่อนไหวออกมาร่วมชุมนุมกันทุกวันเสาร์อาทิตย์และยกระดับความเข้มข้น นั้น ทีมโฆษก คสช. ย้ำว่า ประเด็นนี้ต้องดูว่าใครเป็นผู้ที่เริ่มต้นกิจกรรม และจัดกิจกรรมในสถานที่ที่ได้รับการขออนุญาตหรือไม่ รวมทั้งความแตกต่างในสถานที่จัดงานอาจจัดในรั้วมหาวิทยาลัย ทางมหาวิทยาลัยก็จะมีคณะกรรมการที่คอยกำกับดูแล ประสานงานกับทาง คสช. แต่หากเป็นการจัดชุมนุมในพื้นที่สาธารณะ ทาง คสช.ได้แจ้งว่ากิจกรรมดังกล่าว ต้องไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่นและขัดกับคำสั่งของ คสช.โดยจะมีเจ้าหน้าที่ไปร่วมสังเกตการณ์และดูแลความเรียบร้อยเพื่อป้องกันมือที่สามที่อาจจะเข้ามาก่อเหตุความไม่สงบ หากการชุมนุมอยู่ในกรอบกติกาที่กำหนดจะไม่มีการใช้บังคับใช้กฎหมายใดๆ เชื่อควบคุมสถานการณ์ได้ พร้อมฝากสื่อมวลชนเป็นกระบอกเสียงช่วยสื่อสารประเด็นสร้างความเข้าใจไม่ให้สถานการณ์บานปลาย กระทบบรรยากาศบ้านเมืองที่กำลังเดินหน้าสู่การเลือกตั้ง มติชนออนไลน์ รายงานด้วยว่า พล.ต.ปิยพงศ์ กล่าวฝากถึงสถานศึกษาซึ่งเป็นสถานที่จัดงานว่า พิจารณาความเหมาะสมด้วย ส่วนพื้นที่สาธารณะ ต้องดูว่ามีการขออนุญาตถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ขณะเดียวกัน คสช.ไม่กังวล ว่าการเคลื่อนไหวจะมีนักการเมืองเข้ามาร่วมด้วย เช่น วัฒนา เมืองสุข แกนนำพรรคเพื่อไทย และเริ่มมีมวลชนมากขึ้นในแต่ละสัปดาห์ เพราะถือว่ายังไม่มีอะไรเป็นพิเศษ แต่ คสช.ก็มีการจับตา และขอความร่วมมือสื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับสังคม ไม่บิดเบือนเพื่อสร้างกระแส ทำนองเดียวกัน คสช.ขอปรามและตักเตือนกล่มผู้ชุมนุมให้พิจารณาถึงความเหมาะสมในการจัดกิจกรรมล้อเลียนผู้นำ "นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ใหญ่ของบ้านเมือง ไม่ควรที่จะคิดมโนเอาเอง ด้วยการนำการ์ตูนมาล้อเลียน เหมือนสัปดาห์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นจะมีการใช้มาตรการจากเบาไปหาหนัก เพราะที่ผ่านมา แม้จะมีมวลชนเข้ามาชุมนุมมากขึ้น แต่ทุกครั้งก็จบลงด้วยดี" พล.ต.ปิยพงศ์ กล่าว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สันติภาพปาตานี ทำไมต้องประชาชน Posted: 01 Mar 2018 08:57 AM PST
เมื่อวันที่ 28 ก.พ. 62 ที่ผ่านมา ผมได้เข้าร่วมการเสวนาสาธารณะเกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพที่จัดโดยองค์กร PerMas ณ ห้องประชุมในคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ก่อนอื่นผมขอชื่นชมผู้จัดเสวนาที่มีวิทยากรและผู้เข้าร่วมจากหลายฝ่าย และขอบคุณวิทยากรทุกท่านสำหรับอาหารสมองอันมีค่ามาก และเจ้าของสถานที่ที่อำนวยความสะดวกในการจัดเวทีครั้งนี้ สำหรับบทความชิ้นนี้ เนื่องจากมีนักข่าวหลายท่านเข้ามาร่วมงานและจะมีรายงานข่าวจากบรรดานักข่าวเหล่านี้ ผมขอนำเสนอความเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพที่ผมได้จากการเข้าร่วมฟังเวทีครั้งนี้ สำหรับท่านใดที่สนใจเนื้อหาการเสวนา กรุณาดูคลิปจากลิงค์ต่อไปนี้ ข่าวสามมิติ และการบันทึกเสวนาทั้งหมดโดยคุณ ฐปณีย์ เอียดศรีไชย 1. ณ ตอนนี้ กระบวนการสันติภาพอยู่ตรงไหน ประเด็นนี้คือประเด็นที่ต้องมีความกระจ่างให้มากขึ้น เพราะคำถามหลายคำถามเกิดจากความไม่ชัดเจนในเรื่องนี้ มีผู้เข้าร่วมท่านหนึ่งยื่นคำถามว่า การที่คณะพูดคุยจากทั้งสองฝ่ายเผยแพร่แผนการจัดตั้งพื้นที่ปลอดภัยเป็นการยั่วยุให้ฝ่ายขบวนการ B.R.N. ใช้ความรุนแรงมากขึ้นหรือเปล่า สำหรับคำถามนี้ เราก็ไม่สามารถให้คำตอบที่ชัดเจนได้ เนื่องจากฝ่ายขบวนการก็ไม่เคยแสดงความรับผิดชอบต่อการใช้ความรุนแรงแม้แต่ครั้งเดียว เรื่องนี้อาจจะเป็นหนึ่งในสาเหตุก็เป็นไปได้ แต่ในขณะเดียวกัน เราก็จำเป็นต้องมองภาพรวมในบริบทที่กว้างกว่านี้ โดยเฉพาะปฏิบัติการในพื้นที่ความขัดแย้งโดยฝ่ายความมั่นคงที่ใช้วิธีการเข้มงวด เช่น การปิดล้อม การควบคุมตัวคนจำนวนมากและการกดดันต่อนักปกป้องสิทธิ รวมไปถึงการดำเนินโครงการพาคนกลับบ้าน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ฝ่ายขบวนการเลือกที่จะใช้ความรุนแรงมากขึ้น และเปลี่ยนยุทธศาสตร์ในการใช้ความรุนแรงที่สร้างความเสียหายมากกว่า นอกเหนือจากนี้ ดังเช่น พล.ต. สิทธิ ตระกูลวงศ์ อธิบายในเสวนาว่า การใช้ความรุนแรงเกิดขึ้นในเมื่อมีการพูดคุยและไม่มีการพูดคุยด้วย ในตรงนี้ เราก็ควรทราบว่า การที่มีกระบวนการสันติภาพก็ไม่นำไปสู่การยุติใช้ความรุนแรงทันที แต่จากกรณีของกระบวนการสันติภาพในภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วโลก หลังจากมีกระบวนการสันติภาพแล้ว การใช้ความรุนแรงก็มีแนวโน้มที่จะมากขึ้น เพราะการแสดงอำนาจจะเกี่ยวข้องกับอำนาจต่อรองโดยตรง การลดการใช้ความรุนแรงหรือการหยุดยิงมักจะเกิดขึ้นหลังจากกระบวนการสันติภาพเข้ามาถึงระดับการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกัน มีวิทยากรท่านหนึ่งอธิบายว่า กระบวนการสันติภาพปัจจุบันนี้เป็นกระบวนการสันติภาพจอมปลอม สำหรับความเห็นนี้ ถ้าหากว่า กระบวนการสันติภาพอยู่ในระดับการเจรจาสันติภาพ ก็แน่นอนว่ามันเป็นกระบวนการจอมปลอม แต่ในความเป็นจริงนี่คือการะบวนการพูดคุยสันติภาพที่มีเป้าหมายหลักคือการสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน (mutual trust building) ซึ่งยังไม่ถึงระดับการเจรจา แต่เป็นการสร้างพื้นฐานสำหรับการเจรจาสันติภาพที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต (อันไกลหรือใกล้นั้นผมไม่ทราบ) กระบวนการสันติภาพเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาอันยาวนานพอสมควร ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการปลูกต้นไม้จากต้นกล้าและเลี้ยงต้นไม้นั้นจนถึงมันจะเติบโต ออกดอกและออกผล ต้นไม้ต้องเผชิญหน้ากับศัตรูพืช กระบวนการสันติภาพก็ต้องเจอกับพวกตัวป่วน ดังนั้น คำวิจารณ์ที่ว่า กระบวนการสันติภาพปาตานีไม่มีความหมายหรือไม่ได้ผลอะไรนั้นคือคำวิจารณ์ที่ไม่ค่อยตรงเป้าหมาย และจริง ๆ แล้วมีผลดีที่เกิดจากการที่มีกระบวนการสันติภาพด้วย ปฏิเสธไม่ได้ว่า ผลดีจากกระบวนการสันติภาพไม่ได้เกิดขึ้นบนโต๊ะพูดคุย แต่การที่มีกระบวนการพูดคุยก็ส่งผลต่อการเปิดพื้นที่สาธารณะ อย่างเช่นเสวนาครั้งนี้ก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่ได้รับประโยชน์จากการเปิดพื้นที่จากการพูดคุย มีบางประเด็นที่น่าสังเกต เช่น หัวข้อเสวนามีคำว่า "ปาตานี" ซึ่งฝ่ายทางการยังไม่ยอมรับ แต่ก็ยังมีวิทยากรจากคณะพูดคุยก็คือ เลขาธิการคณะพูดคุยสันติภาพฝ่ายรัฐบาลไทย (Party A) พล.ต.สิทธิ นั่งเอง และในเวทีครั้งนี้ และนอกจากคำว่า ปาตานี คำศัพท์ต่าง ๆ ที่มีความอ่อนไหวค่อนข้างสูงก็ปรากฏในวงเสวนา เช่น รัฐไทย (ซึ่งเมื่อผมใช้คำนี้ในเวทีอื่น ผมก็เคยได้รับการคัดค้านจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงไม่ต่ำกว่าสองครั้ง) ภาวะสงคราม สิทธิกำหนดชะตากรรมด้วยตนเอง (right to self-determination) และเอกราช ผมสงสัยว่า ถ้ามีการเสวนาลักษณะเช่นนี้ในพื้นที่อื่น น่าจะถูกฝ่ายความมั่นคงจับตา หรือไม่ก็อาจจะถูกสั่งปิดก็ได้ แต่ในพื้นที่แห่งนี้ ยังสามารถแลกเปลี่ยนความเห็นได้ โดยเฉพาะหลังจากมีการเปิดพื้นที่สาธารณะมากขึ้นตามกระบวนการสันติภาพ ถึงแม้ว่า ระดับการเปิดพื้นที่ยังไม่ได้อยู่ในระดับที่น่าพอใจสำหรับกลุ่มบางกลุ่ม แม้ว่าไม่มีความคืบหน้าที่สมกับความคาดหวังของสังคมทั่วไปในกระบวนการพูดคุยก็ตาม แต่ผมยังมองว่า กรอบการพูดคุยมีนัยยะสำคัญอย่างยิ่งในฐานะเป็นสัญลักษณ์ของเจตจำนงจากทั้งสองฝ่ายว่า ปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้หรือปาตานีต้องมาจากสันติวิธี ไม่ใช่มาจากยุทธวิธี แต่ในเมื่อโต๊ะพูดคุยที่ได้รับคำวิจารณ์หลากหลายประเภทถูกล้มแล้ว ก็หมายความว่า เจตจำนงดังกล่าวก็ถูกทอดทิ้ง และสถานการณ์ในพื้นที่ก็อาจจะแย่ลงกว่านี้อีก อย่างไรก็ตาม กลไกกระบวนการสันติภาพยังมีจุดอ่อนและข้อเสียหลายอย่าง และเพื่อนำไปสู่กระบวนการสันติภาพที่มีความสมบูรณ์แบบมากขึ้น จำเป็นต้องพยายามเพื่อแก้ไขจุดอ่อนหลายจุดเหล่านี้ สิ่งที่สำคัญคือ กระบวนการสันติภาพไม่มีรูปแบบอันตายตัว และไม่มี "คู่มือ (guidebook)" หรือ "คำแนะนำ (guidance)" ที่เป็นทางการจากองค์กรนานาชาติด้วย ไม่ว่าจะเป็นสหประชาชาติ สหภาพยุโรป อาเซียน หรือโอไอซีก็ตาม ดังนั้น รูปแบบของกลไกกระบวนการสันติภาพก็ขึ้นอยู่กับความเห็นชอบของคู่กรณีและฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงประชาชนในพื้นที่ด้วย การรักษากระบวนการสันติภาพไม่ได้หมายความว่า เราจำเป็นต้องยึดถือโครงสร้างกระบวนการสันติภาพปัจจุบันซึ่งมีกลุ่มมาราปาตานี (MARA Patani) เป็นตัวแทนกลุ่มผู้เห็นต่างและประเทศมาเลเซียเป็นผู้อำนวยความสะดวก กรอบนี้ก็สามารถเปลี่ยนได้ถ้าตามขั้นตอนที่จำเป็น ถึงแม้ว่ามีการลงนามอย่างเป็นทางการในฉันทามติทั่วไปว่าด้วยกระบวนการพูดคุยสันติภาพก็ตาม ความไม่พอใจต่อกลไกและกรอบกระบวนการพูดคุยสันติภาพปัจจุบันไม่ควรนำไปสู่การปฏิเสธกระบวนการสันติภาพโดยล้มโต๊ะพูดคุย 2. Party B ตั้งแต่กระบวนการสันติภาพรอบที่แล้วระหว่างคณะพูดคุยรัฐบาลที่นำกโดย พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร กับองค์กร BRN ที่นำโดย อุสตาซ ฮัสซัน ตอยิบ ไม่เคยขาดคำถามเกี่ยวกับความเป็นตัวจริงของฝ่ายขบวนการจนถึงบัดนี้ และมาราปาตานีก็เป็นเป้าหมายของข้อสงสัยลักษณะเดียวกัน โดยเฉพาะมีคำถามมากมายเกี่ยวกับบรรดา "สมาชิก" ของ BRN ที่อยู่ในมาราปาตานี บางคนบอกว่า คนเหล่านี้ไม่ใช่สมาชิกของ BRN ซึ่งความเป็นไปได้น้อยมาก เพราะถ้าพวกเขากระทำเช่นนี้ พวกเขาเองก็น่าจะไม่ปลอดภัย บางคนบอกว่า พวกเขาเป็นอดีตสมาชิก เพราะในฐานะเป็นองค์กรลับ BRN ไม่ยอมรับความเป็นสมาชิกของคนที่แสดงตัวต่อสาธารณะและคนเหล่านี้ก็หลุดจากความเป็นสมาชิกของ BRN ซึ่งน่าจะเป็นหนึ่งใน "ทฤษฎีคิดไปเอง" สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือ ณ ตอนนี้ มีส่วนหนึ่งของ BRN ที่เข้าร่วมมาราปาตานี (ซึ่งน่าจะเป็นส่วนน้อย) และอีกส่วนหนึ่ง (น่าจะเป็นส่วนใหญ่และฝ่ายที่มีความรับผิดชอบต่อการใช้ความรุนแรงในพื้นที่) ที่ไม่เข้าร่วม และฝ่ายนี้ก็ส่งสารต่าง ๆ ผ่านการสัมภาษณ์ให้แก่นักข่าวจากสำนักข่าวต่างประเทศ การปล่อยคลิป Youtube โดยมีนาย Abdulkarim Khalid เป็นโฆษก หรือการออกแถลงการณ์เป็นลายลักษณ์อักษร (ซึ่งบางส่วนก็เป็นของปลอมเช่นกัน) ถึงแม้ว่าในสารเหล่านี้ BRN ที่ไม่เข้าร่วมมาราปาตานีให้คำวิจารณ์อย่างแรงต่อกระบวนการสันติภาพ แต่ไม่เคยระบุชื่อของมาราปาตานี และไม่เคยปฏิเสธความเป็นสมาชิกของคน BRN ที่เข้าร่วมมาราปาตานีด้วย ด้วยเหตุนี้ ผมคิดว่า สมาชิก BRN ที่อยู่ในมาราปาตานีเป็นสมาชิก (ไม่ใช่อดีตสมาชิก) ขององค์กรจริง แต่เข้าร่วมมาราปาตานีในฐานะเป็นสมาชิกเท่านั้น โดยไม่ได้เป็นตัวแทนขององค์กรและไม่ได้นำนโยบายจากองค์กรด้วย ซึ่งเป็นความแตกต่างจากสมาชิกขององค์กรอื่นๆ ที่ได้เข้าร่วมมาราปาตานี อย่างไรก็ตาม สมาชิกของ BRN ในมาราปาตานีเหล่านี้ก็ยังสามารถสื่อสารกับกลุ่ม BRN ที่ (ยัง) ไม่เข้าร่วมมาราปาตานี และ BRN ก็ยังไม่เคยปฏิเสธความเป็นสมาชิกของคนเหล่านี้ จริง ๆ แล้วแนวคิดที่จะจัดตั้งมาราปาตานีก็มาจากฝ่าย BRN เองที่นำโดยอดีตเลขาธิการในขณะนั้น (ที่ถูกยิงตายก่อนการเปิดตัวของมาราปาตานี) และหลังจากมีข้อตกลงภายใน มีการชี้แจงต่อองค์กรอื่นๆ และองค์กรอื่นๆ ก็แสดงความเห็นชอบ และในสุดท้ายก็ได้มาราปาตานีที่มีอยู่ในรูปแบบปัจจุบันนี้ ถ้าหากว่า สมาชิก BRN ที่อยู่ในมาราปาตานีเป็นตัวปลอมทั้งนั้น องค์กรอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น BIPP, PULO (แรกๆ มีสามปีกที่เข้าร่วม แต่ภายหลังกลุ่ม PULO P4 ที่นำโดยนาย Samsudin Khan ถอนตัว) หรือ GMIP ก็ไม่น่าจะให้ความรวมมือตั้งแต่แรก ดังนั้น สมาชิก BRN ที่เข้าร่วมมาราปาตานีก็มีความเป็นตัวจริงในระดับหนึ่ง แต่สิ่งที่ไม่แน่ชัดก็คือ สมาชิกเหล่านี้สามารถควบคุมกองกำลังในพื้นที่มากน้อยแค่ไหน โจทย์ใหญ่สำหรับกระบวนการสันติภาพปาตานีคือ ทำอย่างไรให้ฝ่ายที่มีความรับผิดชอบต่อการใช้ความรุนแรงในพื้นที่มีส่วนร่วม 3. ความเป็นประชาธิปไตย หนึ่งในจุดอ่อนสำหรับกระบวนการสันติภาพปัจจุบันก็คือ ประชาชนในพื้นที่แทบจะไม่มีส่วนร่วมในกระบวนการ ณ ตอนนี้ ทั้งสองฝ่ายอ้างว่าเป็นตัวแทนของประชาชนในพื้นที่ ทั้งๆ ที่ยังไม่มีกลไกใดๆ ที่นำเสียงของประชาชนในพื้นที่ขึ้นมาบนโต๊ะพูดคุย ประเด็นนี้เป็นหนึ่งในประเด็นหลักของเสวนาครั้งนี้ และวิทยากรทุกท่านก็นำเสนอความเห็นที่น่าสนใจ วิทยากรท่านหนึ่งกลัวว่า ในพื้นที่แห่งนี้มีคนมลายูจำนวนหนึ่งที่ต้องการเอกราช แต่เลือกที่จะไม่ใช้ความรุนแรง ข้อเสนอจากวิทยากรอีกท่านหนึ่งก็คือ การที่พ่นสีและเขียนว่า "Patani Merdeka (ปาตานีเอกราช)" นั่นคือความเห็นของคนพ่นสี แต่อ้างว่าเป็นเสียงของประชาชนทั้งหมดไม่ได้ ถ้าหากว่า นี่คือความต้องการของคนในพื้นที่จริง ก็ต้องนำเสนอมาเป็นความเห็นของประชาชน ไม่ใช่ความเห็นของผู้พ่นสีคนเดียว (แต่ท่านก็กล่าวว่าวิธีการที่จะทำแบบนี้ต้องเป็นอย่างไรคือโจทย์ที่ต้องเป็นการบ้านต่อไป) ถ้าฝ่ายรัฐบาลต้องการจะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้หรือปาตานี ก็ต้องจริงจังในการส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยในโครงสร้างอำนาจและการปกครอง ถึงแม้ว่าประเทศไทยยังไม่เคยมีประชาธิปไตยเต็มใบ แต่กระบวนการประชาธิปไตย (ซึ่งไม่ใช่แค่การเลือกตั้งอย่างเดียว) เป็นวิธีการที่สามารถนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ดีกว่าการใช้อำนาจหรือแนวทางอำนาจนิยม ซึ่งสามารถกดดันผู้ที่มีความเห็นที่แตกต่างจากรัฐบาลในระยะเวลาหนึ่งอย่างเดียว การที่สามารถจัดเวทีเสวนาแบบนี้มีนัยยะที่ดี แต่การพูดคุยในพื้นที่ก็ยังถูกจำกัดในเรื่องสถานที่ (ส่วนมากจัดในเมือง) และผู้เข้าร่วม (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการ นักกิจกรรม นักเคลื่อนไหวและนักศึกษา) ณ ตอนนี้ ฝ่ายขบวนการยังใช้ยุทธวิธีในการต่อสู้ แต่ถ้าหากว่า ผู้ที่มีความเห็นที่แตกต่างไปจากรัฐมีโอกาสนำเสนอความเห็นของตนในเวทีสาธารณะโดยไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องความปลอดภัย อาจจะสามารถเปลี่ยนแนวคิดของคนเหล่านี้ได้ด้วย ดังนั้น การส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยเป็นหนึ่งในตัวกำหนดความสำเร็จของกระบวนการสันติภาพ และความเป็นประชาธิปไตยจำเป็นต้องมีในทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายรัฐบาลไทยและฝ่ายขบวนการ 4. การมีส่วนร่วมของสตรี ถึงแม้ว่าผมชื่นชมเวทีครั้งนี้ แต่มีเรื่องหนึ่งที่น่าผิดหวังตั้งแต่ผมเห็นโปสเตอร์โฆษณาของงานในโซเซียลมีเดีย คือ ไม่มีวิทยากรผู้หญิง ถึงแม้ว่าในพื้นที่แห่งนี้มีเวทีลักษณะนี้มีมากมาย แต่การที่เวทีเช่นนี้มีแต่วิทยากรผู้ชายกลายเป็นเรื่องปกติ ซึ่งในเวทีอื่น นักวิชาการท่านหนึ่งกล่าวว่า ความถี่ของการจัดเวทีไม่สมดุลกับคุณภาพของเวที และหนึ่งในสาเหตุก็คงจะเป็นการที่เวทีเหล่านี้ครอบงำโดยเพศชาย ถ้ามีวิทยากรผู้หญิงก็อาจมีแค่คนเดียว และเวทีที่มีวิทยากรทั้งหมดหรือส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงนั้นคือเวทีที่จัดโดยองค์กรผู้หญิงเท่านั้น เคยมีเวทีที่มีหัวข้อเกี่ยวกับผู้หญิงแต่วิทยากรเป็นผู้ชายหมด แม้ว่าสำหรับเวทีที่มีวิทยากรเป็นผู้หญิง เราก็ยังอาศัยวิธีคิดที่ไม่สมควร เช่น ถ้าอยากจัดเวทีเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ผู้จัดมักจะหาวิทยากรที่เป็นทนายความ นักกฎหมาย นักปกป้องสิทธิ (ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นผู้ชาย) และผู้หญิงสักคน แต่ถ้าเราต้องการจะส่งเสริมความมีส่วนร่วมชองผู้หญิง เราก็ต้องเปลี่ยนวิธีคิดแบบนี้ และต้องคิดว่า เราจะหาวิทยากรที่เป็นทนายความ (ที่อาจจะเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง) นักกฎหมาย (ที่อาจจะเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง) นักปกป้องสิทธิ (ที่อาจจะเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง) ฯลฯ แทนที่จะให้โควตาพิเศษกับผู้หญิง ในคณะพูดคุยก็เช่นเดียวกัน ณ ตอนนี้ คณะพูดคุยจากทั้งสองฝ่ายก็ยังมีแต่ผู้ชาย แต่ในเรื่องนี้ ฝ่ายรัฐบาลไทยมีความก้าวหน้ามากกว่ามาราปาตานีเพราะในทีมเทคนิคของฝ่ายรัฐบาลไทย มีข้าราชการที่เป็นผู้หญิงด้วย ส่วนฝ่ายมาราปาตานี เท่าที่ผมทราบ ยังไม่มีผู้หญิงที่มีบทบาทอย่างเป็นทางการในกลไก แม้ว่าบรรดาศรีภรรยาของสมาชิกมาราปาตานีอาจจะมีอำนาจเหนือกว่าสามีของพวกเธอในครอบครัวก็ตาม ดังนั้น เพื่อส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยของกระบวนการสันติภาพ แต่ละฝ่ายก็จำเป็นต้องพยายามจะให้พื้นที่กับครึ่งหนึ่งของประชากรโลก คือ ผู้หญิง สรุป กระบวนการสันติภาพปาตานียังมีจุดอ่อนต่าง ๆ และคู่กรณีทั้งสองฝ่ายก็ต้องรับฟังความเห็นจากทุกฝ่ายเพื่อแก้ไขจุดอ่อนเหล่านี้ แต่สังคมทั่วไป โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ก็ต้องเข้าใจถึงลักษณะของกระบวนการสันติภาพ ผมมองว่า กระบวนการสันติภาพในปัจจุบัน ถึงแม้ว่ายังไม่สามารถบรรลุสำเร็จผลใดๆ แต่ยังมีความสำคัญอย่างยิ่งในฐานะเป็นสัญลักษณ์แห่งเจตจำนงจากทั้งสองฝ่ายเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยสันติวิธี และสิ่งที่รับรองการเปิดพื้นที่สาธารณะในพื้นที่ด้วย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ชวนเล่น ‘เกมมือป้อม’ ผลงานศิลปะสื่อผสม จิกกัดสังคมการเมือง Posted: 01 Mar 2018 08:47 AM PST 'เกมมือป้อม' ผลงานศิลปะสื่อผสม โดย ป๋อง แท่งทอง หวังสื่อแนวคิดสังคมการเมือง ผ่านผลงานศิลปะรูปแบบใหม่ ให้คนทั่วไปได้มีส่วนร่วม เผยก่อนเปิดงานสันติบาลมาขอไม่ให้จัดแสดง 1 มี.ค. 2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 28 ก.พ.ที่ผ่านมา เวลา 18.30 น. ที่ ห้องจัดแสดงนิทรรศการผลงานศิลปะ ชั้น 2 หอศิลป์จามจุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีกิจกรรมเปิดตัวนิทรรศการจัดแสดงผลงานศิลปะสื่อผสมภายใต้โปรเจกต์ 'ลมหลง' ผลงานการสร้างสรรค์โดย ป๋อง แท่งทอง ศิลปินด้านการออกแบบสื่อผสม วิชัย สิทธิรัตน์ ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาประติมากรรม คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวเปิดงานว่า ความสำคัญของงานศิลปะเป็นสิ่งที่สร้างสันติสุขและหล่อหลอมจิตใจมนุษย์ให้เบิกบาน ทั้งอยากให้คนในสังคมสนับสนุนไม่ให้คนทำงานด้านศิลปะหายไป สำหรับ 'เกมมือป้อม' (Chubby Hand) นั้น มีจุดเด่นสำคัญที่เกมจะมีลูกเล่นเป็นรูปมือวิ่งเพื่อเก็บนาฬิกา และหลบหลีกสิ่งกีดขวางซึ่งมีทั้ง รถถัง เครื่องตรวจจับระเบิด GT200 และเรือดำน้ำ ทั้งยังมีเสียงประกอบเป็นเมโลดี้เพลง 'เราจะทำตามสัญญา' วิธีการเล่นนั้น ผู้เล่นจะต้องเป่าลมลงในไมโครโฟน เพื่อให้รูปมือวิ่งลอยขึ้น และควบคุมจังหวะในการหลบหลีกสิ่งกีดขวางในเกม หากเก็นาฬิกาครบ 25 เรือน ความเร็วก็จะเพิ่มขึ้น โดยตัวเกมได้รับความสนใจทั้งจากเด็กวัยรุ่น และผู้ใหญ่ ป๋อง แท่งทอง เจ้าของผลงาน กล่าวว่า เกมจับมือป้อม เป็นการผสมรูปแบบแนวคิดทางสังคมเข้าไป มีทั้งหยิกแกมหยอก ล้อเลียน ประชด ป๋อง สังเกตว่าทุกคนมีส่วนร่วมกับงานชิ้นนี้เป็นพิเศษ เรามีโอกาสที่เราจะเปลี่ยน จะบอกโลกได้ เราก็ต้องพูด ก็เลยออกมาเป็นผลงานเกมมือป้อม ป๋อง ยังกล่าวเกี่ยวกับการจัดแสดงผลงานเกมจับมือป้อมนี้ ว่าช่วงเช้าก่อนการจัดแสดง มีเจ้าหน้าที่ตำรวจสันติบาลเข้ามาพบเพื่อไม่ให้จัดแสดงผลงานดังกล่าว "เมื่อเช้าสันติบาลก็มา บอกว่าให้เก็บชิ้นนี้ ไม่ให้แสดง ผมก็บอกเขาว่าถ้าผมเลิก พี่เก็บงานผม ผมจะมองหน้าใครได้ แล้วผมทำมาไม่เคยใช้ชื่อปลอม ใช้ชื่อจริงตลอด ไม่เคยใช้นามแฝง ผมอยากจะบอกแบบนี้ ผมคิดแบบนี้ ถ้าผมไม่ทำงานแบบนี้ ผมก็ไม่ต้องเป็นศิลปิน สุดท้ายเขาก็ยอม บ่ายสองเขาก็มาใหม่ นายบอกให้เก็บ ผมก็บอกเขา ว่าถ้าพี่เก็บผมจะดังกว่านี้" ป๋อง กล่าว เกมมือป้อมนั้น ป๋อง กล่าวว่า ไม่ได้มีการทำออกมาเป็นแอพลิเคชั่นให้โหลดแต่อย่างใด แต่หากมีการทำออกมาก็ไม่ใช่ตนเป็นคนทำ ซึ่งมีเกมออกมาจริงๆ โดยคนอื่นก็อยากให้ลองแชร์กันเยอะๆ สำหรับนิทรรศการผลงานสื่อผสมของ ป๋อง แท่งทอง ยังมีผลงานชิ้นอื่นในรูปแบบของภาพวาด แนวคิดหลักของการจัดแสดงผลงานในครั้งนี้คือศิลปะกับการใช้เสียง ทั้งเกมมือป้อมเอง หรือศิลปะภาพวาดอื่นที่จัดแสดง สามารถใช้แอพลิเคชั่นเพื่อฟังเสียงภาพเหล่านั้นได้ ผ่านแอพ ป๋องแท่งทองลมหลง สามารถดาวน์โหลดได้สำหรับมือถือระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ สำหรับนิทรรศการมีการจัดแสดงและให้มีส่วนร่วม ไปจนถึงวันที่ 11 มี.ค. 61 (วันจันทร์ ถึง วันศุกร์) เวลา 10.00 - 18.00 น.
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
กลุ่มเสรีประชาธิปไตยแถลงฯ 4 ล้มเหลว 4 เลวร้าย ไล่ คสช. Posted: 01 Mar 2018 07:05 AM PST กลุ่มเสรีประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ ทำกิจกรรมชูป้ายคำพูดปิดหน้า ร่อนแถลงการณ์ชี้ความผิดพลาดล้มเหลวของ คสช.และขอพลังแห่งความดีขับไล่ความเลวร้าย ความสงบอันจอมปลอม, การปฏิรูปอย่างฉาบฉวย, การโกหกเพื่อสืบทอดอำนาจ, และการฉ้อฉลของเผด็จการ 1 มีนาคม 2561 ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชาได้มีการเผยแพร่แถลงการณ์พร้อมภาพถ่ายนักกิจกรรมทางการเมืองประมาณสิบคนได้ทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ที่สะพานเสรีประชาธิปไตย 2497 โดยได้มีการชูแผ่นกระดาษมีข้อความว่า "ซัง ซุม ขี่ตั๋ว เพื่อชาติ", "ขี่ตั๋ว เพื่อชาติ บ่?" "เหมิด เวลา ซุม ขี่ตั๋ว" พร้อมกับภาพของสมาชิกกลุ่มเสรีประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ ยืนบนสะพานหันหลังชูสามนิ้ว 0000
จากวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ซึ่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ทำการรัฐประหารยึดอำนาจไปจากประชาชน โดยอ้างเหตุผล 2 ประการคือ หนึ่ง เพื่อยุติความขัดแย้งนำไปสู่ความปรองดอง สอง เพื่อปฏิรูปโครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และอื่น ๆ บัดนี้ เป็นระยะเวลาเกือบ 4 ปีเต็มที่ประเทศไทยอยู่ภายใต้อำนาจของ คสช. ซึ่งบริหารงานผิดพลาดล้มเหลว 4 ประการ ดังนี้ 1. ใช้ทั้งอำนาจหรืออิทธิพล และกฎหมายที่ฝ่ายตนเป็นผู้เขียน เข้าข่มขู่คุกคามผู้เห็นต่างมิให้แสดงความคิดเห็นหรือเคลื่อนไหวใด ๆ เช่นกรณี MBK 39 มันจึงเป็นความสงบอันจอมปลอม มิได้นำไปสู่ความปรองดองอย่างแท้จริง 2. ใช้ข้ออ้างเรื่องการปฏิรูปเพื่อให้ตนเองมีกลไกในการสืบทอดอำนาจต่อไป อีกทั้งยังเอื้อผลประโยชน์ให้กับกลุ่มทุนในเครือข่ายของตนเองเท่านั้น มันจึงเป็นการปฏิรูปอย่างฉาบฉวย มิได้แก้ปัญหาในเชิงโครงสร้างอย่างจริงจัง 3. ใช้กลไกอำนาจทุกประการที่มีอยู่ เพื่อทำให้การเลือกตั้งต้องเลื่อนออกไปให้ยาวนานที่สุด เห็นได้จากกรณีแรกที่คว่ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ จนถึงกรณีเตะถ่วงเรื่องพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ เพื่อเลื่อนการเลือกตั้งจากเดือนพฤศจิกายน 2561 เป็นเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ทั้งที่นายกรัฐมนตรีได้ประกาศต่อชาวโลกไว้แล้ว มันจึงเป็นการโกหกเพื่อสืบทอดอำนาจของตนเองให้ยาวนานที่สุด 4. ใช้ข้ออ้างเรื่องการปราบคอร์รัปชัน มากำจัดหรือใส่ร้ายนักการเมืองและฝ่ายตรงข้าม แต่กลับเพิกเฉยไม่ตรวจสอบพรรคพวกหรือองค์กรของตนเอง เช่นกรณีอุทยานราชภักดิ์ และ "นาฬิกาเพื่อน" มันจึงเป็นการฉ้อฉลของฝ่ายเผด็จการที่ยากจะตรวจสอบ หรือว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง 1 มีนาคม 2561 ตรงกับวันมาฆบูชาซึ่งมีเหตุการณ์พิเศษดีงามเกิดขึ้น 4 ประการสำหรับชาวพุทธนั้น "กลุ่มเสรีประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ" ซึ่งก่อตั้งขึ้นในวันมาฆบูชานี้ จึงขอพลังแห่งความดีทั้งสี่ประการช่วยขับไล่ไสส่งความเลวร้ายทั้ง 4 ประการ อันได้แก่ ความสงบอันจอมปลอม, การปฏิรูปอย่างฉาบฉวย, การโกหกเพื่อสืบทอดอำนาจตนเอง, และการฉ้อฉลของฝ่ายเผด็จการ ให้พ้นไปจากสังคมไทยโดยเร็วที่สุด ท้ายที่สุด ประชาชนทุกคนคือพลังอำนาจอันแท้จริงในการลุกขึ้นมาเปล่งเสียงหรือแสดงตัวเพื่อขับไล่เผด็จการให้พ้นไปจากสังคมไทย
1 มีนาคม 2561
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 01 Mar 2018 06:10 AM PST
ช่วยคนงานติดในเหมืองทองแอฟริกาใต้ 955 คน บริษัทเหมืองทองคำ Sibanye-Stillwater ในแอฟริกาใต้ ได้แจ้งว่าเกิดเหตุไฟฟ้าดับทำให้คนงานติดอยู่ในเหมืองทองใต้ดินทั้งหมด 955 คน หลังจากนั้น 24 ชั่วโมงก็ได้รับการช่วยเหลือขึ้นมาจากเหมืองทั้งหมด โดยทุกคนปลอดภัยดี อนึ่งในปี 2017 ที่ผ่านมามีคนงานเหมืองในแอฟริกาใต้เสียชีวิตมากกว่า 80 คน พี่เลี้ยงเด็กชาวอินโดนีเซียในฮ่องกงถูกลงโทษฐานเผยแพร่ภาพเด็กเปลือยไลฟ์สดอาบน้ำให้ลูกนายจ้างชาว พี่เลี้ยงเด็กชาวอินโดนีเซียวัย 28 ปี ที่ไม่ถูกเปิดเผยชื่อ ถูกตำรวจฮ่องกงจับและตั้งข้อหาบันทึกและเผยแพร่ภาพเปลือยเด็ก หลังไลฟ์สดอาบน้ำให้ลูก 3 คนของนายจ้างรวมทั้งได้เซลฟี่หน้าตัวเองผ่านเฟสบุ๊คเมื่อเดือน ธ.ค. ปี 2017 ด้านสำนักงานแรงงานฮ่องกงระบุว่า พี่เลี้ยงเด็กอาจไม่รู้ว่ากำลังทำผิดกฎหมาย ที่ห้ามการถ่ายภาพหรือวิดีโอเด็ก ๆ ซึ่งตามกฎหมายนั้นแม่บ้านหรือพี่เลี้ยงเด็กในฮ่องกงต้องเข้ารับการอบรมก่อน ที่มา: thecoverage.my, 3/2/2018 ก๊าซรั่วโรงงานหล่อเหล็กในจีน เสียชีวิต 8 คน เกิดเหตุก๊าซรั่วไหลที่โรงงานหล่อเหล็ก Shaoguan ในมลฑลกวางตุ้ง ทางตอนใต้ของจีน ส่งผลให้คนงานเสียชีวิตทันที 8 คน และบาดเจ็บอีก 10 คน ตำรวจอังกฤษทลายฟาร์มดอกไม้ใช้แรงงานทาส 200 คน ตำรวจอังกฤษจับกุมตัวชาย 3 คน ต้องสงสัยใช้แรงงานทาสผู้อพยพ 200 คน ในฟาร์มดอกไม้ Bosahan โดยแรงงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานชายจากลิทัวเนีย, โรมาเนีย และบัลแกเรีย มีการระบุว่าเป็นการจับกุมครั้งนี้เป็นกวาดล้างการค้าทาสครั้งใหญ่สุดในยุคปัจจุบัน มีการประเมินว่ามีผู้คนอย่างน้อย 13,000 คน ตกเป็นเหยื่อถูกบังคับใช้แรงงานทาส การแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศ และการค้าทาสในอังกฤษ ที่มา: business-humanrights.org, 8/2/2018 'หุ่นยนต์รีเลย์' คู่ปรับใหม่ของแรงงานภาคบริการในสหรัฐฯ โรงแรม Renaissance Las Vegas ต้อนรับพนักงานหน้าใหม่ 2 ราย ที่สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้ที่เข้าพักในโรงแรมดังในนครลาส เวกัส อย่างมาก นั่นคือ หุ่นยนต์จากบริษัท Savioke ที่มีชื่อว่า เอลวิส และพริสซิลลา ตามชื่อของเอลวิสและพริสซิลลา เพรสลีย์ หุ่นยนต์ทั้ง 2 ทำหน้าที่ดูแลจัดหาสิ่งของสำหรับผู้เข้าพัก ที่อยากได้ของใช้เพิ่มเติม เช่น แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ผ้าเช็ดตัว หรือหนังสือพิมพ์ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เสิร์ฟอาหารและเครื่องดื่ม ตั้งแต่เที่ยงคืนถึง 6 โมงเช้า ในช่วงเวลาที่พนักงานไม่พอได้ด้วย คาร์ล ครูเกอร์ ผู้จัดการโรงแรม Renaissance Las Vegas บอกว่า ท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือดในอุตสาหกรรมโรงแรม ที่ต้องเจอคู่แข่งใหม่อย่าง AirBnB หรือแบรนด์ห้องพักคู่แข่งอื่นๆ การสร้างจุดขายที่ก้าวไปข้างหน้าคู่แข่ง 1 ก้าวนั้นเป็นสิ่งจำเป็น และเทคโนโลยีก็เข้ามาตอบโจทย์ธุรกิจนี้ได้ นอกเหนือจากหุ่นยนต์ในโรงแรมแล้ว ตอนนี้ที่ศูนย์ซ่อมบำรุงของ FedEx หุ่นยนต์ที่มีชื่อว่า Sam กำลังปฏิบัติหน้าที่ส่งโทรศัพท์มือถือไปให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายซ่อมบำรุงดูแล และหุ่นยนต์เหล่านี้ยังได้งานในโรงพยาบาล ในตำแหน่งฝ่ายขนส่งยาและเวชภัณฑ์ภายในโรงพยาบาลด้วย สตีฟ เคาซินส์ ซีอีโอของ Savioke เรียกหุ่นยนต์เหล่านี้ว่า Relay ซึ่งวางระบบแผนที่ภายในอาคารที่ใช้งาน ควบคุมการเดินทางตามจุดต่างๆด้วยแสงเลเซอร์ และกล้อง 3 มิติ ทำให้มีความคล่องตัวในการเคลื่อนย้ายตามจุดต่างๆ เช่น อาคารตึกสูง แผนกในโรงพยาบาล และฝ่ายซ่อมบำรุง ด้วยขนาดที่กะทัดรัดเหมาะกับทุกสถานการณ์ และสามารถเป็นหุ่นยนต์แนะนำเส้นทางภายในอาคารได้ด้วยในตัว ส่วนเรื่องความปลอดภัยในการใช้หุ่นยนต์นี้ เคาซินส์ บอกว่า หุ่นยนต์จะไม่บันทึกภาพผู้คน จะแต่โฟกัสแค่สิ่งที่อยู่ตรงหน้าและสิ่งกีดขวางเส้นทางขนส่งของมันเท่านั้น ตอนนี้แรงงานหุ่นยนต์ Relay ของบริษัท Savioke กระจายไปยังโรงแรมในแถบอเมริกาเหนือ ยุโรป ตะวันออกกลาง และตีตลาดเอเชียบางส่วนแล้ว ด้วยค่าแรงต่อการทำงานตลอด 24 ชั่วโมงแบบไม่ต้องพักรับประทานอาหาร อยู่ที่ราว 2 พันดอลลาร์ต่อเดือน จีนเตรียมสร้างตำแหน่งงานใหม่ถึง 9.7 ล้านตำแหน่ง คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน (NDRC) เปิดเผยว่าจีนเตรียมใช้โนยบายการะตุ้นการจ้างงานและสนับสนุนผู้ประกอบการในปีนี้ โดยจีนจำเป็นต้องสร้างงานเพิ่มอีก 9.7 ล้านตำแหน่ง เพื่อรองรับนักศึกษาจบใหม่ราว 8.2 ล้านคน รวมทั้งแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการปรับลดกำลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้อัตราว่างงานในเขตเมืองของจีนลดลงสู่ระดับ 3.9% ในปี 2017 ขณะที่ตลาดแรงงานของจีนยังคงมีเสถียรภาพ แม้เศรษฐกิจขยายตัวในอัตราที่ช้าลง และรัฐบาลยังคงเดินหน้ามาตรการปรับลดกำลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ฟิลิปปินส์จะใช้เทคโนโลยีของอาลีบาบาให้บริการกับแรงงานฟิลิปปินส์ในต่างประเทศ เว็บไซต์กระทรวงพาณิชย์จีนนำข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์ฟิลิปปินส์ สตาร์ (Philippine Star) ที่รายงานว่าเมื่อเร็ว ๆ นี้ กระทรวงการคลังของฟิลิปปินส์ประกาศแถลงการณ์ระบุว่า ฟิลิปปินส์จะใช้เทคโนโลยีของอาลีบาบา ให้บริการด้านการเงินแก่แรงงานฟิลิปปินส์ในต่างประเทศ เช่นการโอนเงินและบริหารเงิน โดยในวันที่ 31 ม.ค.-1 ก.พ. ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลฟิลิปปินส์ รวมถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เจ้าหน้าที่จัดการงบประมาณและการบริหาร ตลอดจนรองประธานธนาคารกลางของฟิลิปปินส์ได้เดินทางไปยังเมืองหางโจวเพื่อเข้าร่วมการประชุมเศรษฐกิจที่สำนักงานใหญ่ของบริษัทอาลีบาบา วิเคราะห์ปัญหาการใช้เทคโนโลยีอีคอมเมอร์ซของจีน เพื่อนำไปต่อยอดการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของฟิลิปปินส์ระบุว่า เทคโนโลยีการชำระเงินเคลื่อนที่ของอาลีบาบาต้นทุนต่ำ และสามารถให้บริการการเงินแก่วิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดเล็กและขนาดย่อมของจีนจำนวนมาก เชื่อว่าเทคโนโลยีนี้จะเหมาะสำหรับแรงงานฟิลิปปินส์ที่ทำงานในต่างประเทศอีกด้วย 'Amazon' เตรียมปรับลดพนักงานหลายร้อยตำแหน่ง อีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่จากซีแอตเติล 'Amazon' เผยแผนปรับลดพนักงานหลายร้อยตำแหน่ง หวังปรับโครงสร้างการบริหารครั้งใหญ่ เพื่อเปิดทางให้กับธุรกิจที่กำลังเติบโตของบริษัท Seattle Times รายงานว่าแผนการปรับลดพนักงานรอบนี้ จะกระทบฝ่ายธุรกิจค้าปลีก ในแผนกของเล่น หนังสือ และสินค้าเกี่ยวกับอาหาร โดยจะปรับลดฝ่ายบริหารที่ซับซ้อนของสำนักงานใหญ่ในซีแอตเติลและพนักงานในต่างประเทศบางส่วน และเปิดพื้นที่ให้กับธุรกิจที่กำลังเติบโต อย่างผู้ช่วยอัจฉริยะ Alexa ระบบแพลตฟอร์มประมวลผลแบบคลาวด์ Amazon Web Service และธุรกิจบันเทิงบนแพลตฟอร์มดิจิตัล ก่อนหน้านี้ มีกระแสข่าวการหยุดจ้างพนักงานใหม่ของ Amazon เมื่อเดือน ธ.ค. ปีที่แล้ว รวมทั้งมาได้จังหวะที่ Amazon อยู่ระหว่างการหาทำเลตั้งสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ ซึ่งเมืองที่ได้รับเลือก จะได้เงินลงทุนในพื้นที่ถึง 5,000 ล้านดอลลาร์ และสร้างงานให้พลเมืองอีก 50,000 ตำแหน่งด้วย อย่างไรก็ตาม การปรับลดพนักงานของ Amazon สวนทางกับการเติบโตของธุรกิจตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยเมื่อปีที่แล้ว Amazon สร้างงาน 130,000 ตำแหน่งทั่วโลก ไม่รวมกับการควบรวมห้าง Whole Foods ที่มีพนักงานอยู่แล้ว 90,000 ตำแหน่ง อีกทั้งตอนนี้ยังมีตำแหน่งงานว่างที่เปิดรับอยู่เกือบ 4,000 ตำแหน่งในซีแอตเติล และอีก 12,000 ตำแหน่งทั่วโลก แม่บ้านอินโดนีเซียเสียชีวิตในมาเลเซีย แม่บ้านชาวอินโดนีเซียซึ่งได้รับบาดเจ็บหนักตามร่างกายและถูกไล่ไปนอนกับสุนัขหน้าลานบ้านเสียชีวิตลงแล้วที่มาเลเซีย ทำให้นักสิทธิและสมาชิกสภาเรียกร้องปรับแก้กฎหมายคุ้มครองแรงงานต่างชาติให้มากขึ้น ทั้งนี้นายสตีเวน ซิม สมาชิกสภามาเลเซียกล่าวว่าสภาได้รับรายงานเกี่ยวกับกรณีนางอดีลินา ลิเซา ชาวอินโดนีเซียวัย 21 ปีถูกทำทารุณเมื่อวันเสาร์ (10 ก.พ.) และได้ดำเนินการสอบสวนตามข่าวแล้วแต่นายจ้างของเธอปฏิเสธให้ความร่วมมือ แต่ตำรวจได้ควบคุมตัวสองพี่น้องในข้อหาสงสัยว่าฆาตกรรมและต้องรอผลตรวจพิสูจน์ทางนิติเวชต่อไป ที่มา: thestar.com.my, 13/2/2018 GM จะปิดโรงงานในเกาหลีใต้หนึ่งแห่ง GM Korea ในเกาหลีใต้แจ้งว่าจะปิดโรงงาน 1 โรงจากที่มีอยู่ทั้งหมด 4 โรง เพื่อลดขนาดการผลิตในต่างประเทศที่ไม่ทำกำไรแล้วหันไปมุ่งตลาดสหรัฐและจีนแทน โดยจะปิดโรงงานในเมืองคุนซาน ริมฝั่งตะวันตกที่มีคนงานประมาณ 2,000 คนภายในสิ้นเดือน พ.ค. นี้ เพราะขาดทุน ปัจจุบันผลิตยวดยานเพียง 1 ใน 5 ของกำลังผลิตที่มีอยู่ โดยบริษัทระบุว่าจำเป็นต้องทำเพื่อปรับโครงสร้างการดำเนินงานในเกาหลีใต้ โรงงานที่เมืองคุนซานผลิตรถร้อยละ 7 ของที่ GM Korea ผลิตได้ทั้งหมด 520,000 คันเมื่อปีก่อน ทหารปลดเกษียณไต้หวันบุกสภาประท้วงตัดบำนาญ กลุ่มทหารเกษียณอายุราชการชาวไต้หวันกลุ่มหนึ่งปะทะกับตำรวจ ขณะพยายามบุกเข้าไปในรัฐสภาเพื่อประท้วงการตัดลดเงินบำนาญ และเรียกร้องให้รัฐบาลระงับกฎหมายตัดลดเงินบำนาญข้าราชการที่ผ่านความเห็นชอบไปแล้ว รวมทั้งเปิดเจรจาร่างกฎหมายตัดลดเงินบำนาญทหาร ที่มา: channelnewsasia.com, 27/2/2018 สหภาพแรงงานของ 2 ธนาคารยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นตัดสินใจไม่เรียกร้องให้เพิ่มค่าจ้าง สหภาพแรงงานของธนาคารยักษ์ใหญ่ 2 แห่งของญี่ปุ่นตัดสินใจที่จะไม่เรียกร้องให้เพิ่มฐานค่าจ้างในการเจรจาว่าด้วยค่าจ้างในปีนี้ เจ้าหน้าที่ของธนาคารแห่งโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจและมิซูโฮ ไฟแนนเชี่ยล กรุ๊ประบุว่าบรรยากาศทางธุรกิจน่าจะยังคงไม่สดใสต่อไป ตราบใดที่อัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ในระดับต่ำเกินไป ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 ติดต่อกันที่สหภาพแรงงานของธนาคารแห่งโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจและธนาคารมิซูโฮไม่เรียกร้องให้เพิ่มฐานค่าจ้าง เจ้าหน้าที่ของสหภาพแรงงานของธนาคาร ซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่นก็กำลังพิจารณาว่าอาจจะไม่เรียกร้องให้ขึ้นค่าจ้างในปีนี้ นโยบายการผ่อนปรนทางการเงินขนานใหญ่ของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นได้ทำให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ ซาอุฯ ประกาศรับทหารหญิงครั้งแรก ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในกองทัพซาอุดีอาระเบียอีกเรื่องหนึ่ง คือการประกาศเปิดรับสมัครทหารหญิงเข้าประจำการในกองทัพเป็นครั้งแรก โดยผู้สนใจที่มีภูมิลำเนาในจังหวัดที่ทางการกำหนด สามารถยื่นใบสมัครได้ภายในวันพฤหัสบดีที่ 1 มี.ค. นี้ แม้ตำแหน่งทหารหญิงที่กองทัพเปิดรับสมัคร จะไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสู้รบโดยตรง แต่ก็เป็นการเปิดโอกาสให้สตรีเข้าทำงานในด้านความมั่นคงของประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนส่งเสริมสิทธิสตรีและพัฒนาสังคมให้มีความทันสมัยขององค์มกุฎราชกุมารโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน ซึ่งก่อนหน้านี้มีการแก้ไขกฎหมายให้ผู้หญิงขับรถและเข้าไปภายในสนามกีฬาได้มาแล้ว ผู้สมัครตำแหน่งทหารหญิง จะต้องเป็นพลเมืองซาอุดีอาระเบีย มีอายุ 25-35 ปี และจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ตัวผู้สมัครและผู้ปกครองชายไม่ว่าจะเป็นบิดา ญาติ หรือสามี จะต้องมีภูมิลำเนาในเขตกรุงริยาด นครเมกกะ นครเมดินา และจังหวัดอัล-คาสซิม สำหรับความเคลื่อนไหวด้านการยกฐานะสตรีล่าสุดนั้น สมเด็จพระราชาธิบดีซัลมานยังมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งนางทามาดาร์ บินต์ ยูเซฟ อัล รามาห์ ให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและการพัฒนาสังคมอีกด้วย ซึ่งการแต่งตั้งผู้หญิงให้ดำรงตำแหน่งสูงในรัฐบาลนั้นมีขึ้นไม่บ่อยครั้งนัก
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
รมว.ต่างประเทศ โชว์สิทธิมนุษยชนเป็นวาระแห่งชาติ กลางเวทียูเอ็น Posted: 01 Mar 2018 05:52 AM PST รมว.ต่างประเทศ ใน รบ.ทหารไทย ร่วมการประชุมระดับสูงของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ย้ำไทยส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะการประกาศวาระแห่งชาติ: สิทธิมนุษยชนร่วมขับเคลื่อน Thailand 4.0 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่มาภาพ เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ 1 ก.พ.2561 เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ รายงานว่า ดอน ปรมัตถ์วินัย รมว.ต่างประเทศ ได้เข้าร่วมการประชุมระดับสูงของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Human Rights Council - HRC) สมัยที่ 37 ณ สำนักงานสหประชาชาติ นครเจนีวา รมว.ต่างประเทศ กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุม HRC สมัยที่ 37 เกี่ยวกับพัฒนาการด้านสิทธิมนุษยชนของไทยและการทำงานของกลไกด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ รวมทั้งการครบรอบ 70 ปีของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ในด้านการดำเนินการของไทย ดอน ได้ย้ำความมุ่งมั่นในการอนุวัติวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืน ค.ศ. 2030 และการส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน บนพื้นฐานของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งได้แจ้งพัฒนาการเชิงบวกของไทย โดยเฉพาะการประกาศวาระแห่งชาติ: สิทธิมนุษยชนร่วมขับเคลื่อน Thailand 4.0 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และการริเริ่มมาตรการทางสังคมและการปฏิรูปกฎหมายต่าง ๆ รวมถึงการแก้ไขปัญหาบุคคลไร้รัฐ นอกจากนี้ รมว.ต่างประเทศ ยังได้แลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับการทำงานของกลไกด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การเสริมสร้างความตระหนักรู้ รวมถึงการปลูกฝังจิตสำนึกแก่เด็กและเยาวชน โดยเริ่มจากในครอบครัว การใช้สิทธิเสรีภาพที่ไม่ละเมิดสิทธิและผลประโยชน์ของผู้อื่นเพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคม เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ รายงานด้วยว่า รมว.ต่างประเทศ เข้าร่วมการประชุมฯ พบหารือกับ Filippo Grandi ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและความร่วมมือเกี่ยวกับสถานการณ์การโยกย้ายถิ่นฐานทั้งในไทยและภูมิภาค โดยได้หารือเกี่ยวกับสถานการณ์ในรัฐยะไข่และความร่วมมือในการส่งกลับผู้หนีภัยการสู้รบเมียนมาที่อาศัยอยู่ในไทย ทั้งนี้ ข้าหลวงใหญ่ฯ แสดงความชื่นชมไทยในการขจัดความไร้รัฐและขอให้ไทยคงการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่ผู้แสวงหาที่พักพิง นอกจากนี้ รัฐมนตรีกว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ติดตามและผลักดันความร่วมมือกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติในประเด็นต่าง ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของไทยในมิตินี้ต่อไป เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ ระบุด้วยว่า การเข้าร่วมประชุม HRC สมัยที่ 37 เป็นโอกาสที่สำคัญของไทยในการยืนยันความมุ่งมั่นในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและทำงานร่วมกับประชาคมระหว่างประเทศ รวมทั้งแจ้งพัฒนาการเชิงบวกของไทยและร่วมฉลองการครบรอบ 70 ปีของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งไทยเป็นหนึ่งใน 48 ประเทศแรกที่ร่วมรับรองปฏิญญาดังกล่าว ขณะที่เมื่อวันที่ 9 ก.พ.ที่ผ่านมา ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เผยแพร่รายงาน หลังประกาศวาระแห่งชาติดังกล่าว ขณะนี้ผ่านไป 79 วัน พบว่ามีประชาชนถูกดำเนินคดีจากการใช้เสรีภาพอย่างน้อย 74 คน เฉลี่ยทุกๆ วันจะมีคนถูกดำเนินคดีประมาณ 1 คน หากนับเป็นคดี จะมีอย่างน้อย 11 คดี หรือเฉลี่ยประมาณสัปดาห์ละ 1 คดี ศูนย์ทนายความฯ ยังชี้ด้วยว่า อาจจะมีจำนวนผู้ที่ถูกดำเนินคดีเพิ่มขึ้นอีก เช่น กรณีคดี "MBK39" ที่อาจจะมีตามมาอีก 66 คน หากเป็นตามที่ พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าว ถึงการชุมนุม ของกลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย (DRG) และกลุ่ม Start Up People ในกิจกรรม 'หยุดยื้อเลือกตั้ง หยุดสืบทอดอำนาจ' โดยมีการชุมนุมและปราศรัยที่สกายวอล์กปทุมวัน หน้าห้าง MBK เมื่อวันที่ 27 ม.ค.ที่ผ่านมา ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
รวมจุดรวมพล ‘คนอยากเลือกตั้ง ค้าน คสช.สืบทอดอำนาจ’ รอบเดือนที่ผ่านมา Posted: 01 Mar 2018 02:44 AM PST รวบรวมสถานการณ์ความเคลื่อนไหวผ่านจุดรวมพลหรือจุดแสดงตัวของ 'คนอยากเลือกตั้ง และคัดค้านการสืบทอดอำนาจของรัฐบาล คสช. เรียกร้องคืนอำนาจแก่ประชาชนจากทั่วประเทศ รอบเดือนที่ผ่านมา เริ่มตั้งแต่ การชุมนุม 'รวมพลคนอยากเลือกตั้ง' ที่สกายวอล์กปทุมวัน กรุงเทพเมื่อวันที่ 27 ม.ค. ที่ผ่านมา (อ่านรายละเอี่ยดเพิ่มเติม ประชาชนเหยียบเบรค ต้าน คสช. สืบทอดอำนาจ เลื่อนเลือกตั้ง) ต่อมามีเหตุการณ์ในที่ต่างๆ ดังนี้ 10 ก.พ. 2561 กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย และกลุ่ม START UP PEOPLE ได้มีการจัดชุมนุม 'หยุดยื้ออำนาจ หยุดยื้อเลือกตั้ง' บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถ.ราชดำเนิน โดยมี โรม รังสิมันต์, จ่านิว สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ และทนายอานนท์ นำภา ผลัดขึ้นปราศรัยประเด็นการสืบทอดอำนาจของรัฐบาล คสช. กรณีโร๊ดแม็ปที่ยืดเยื้อ และการแจ้งข้อหากลุ่ม MBK39 อีกทั้งมีการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ ทวงถามการสิทธิการเลือกตั้งจากรัฐบาล (ดู ประชาชนชุมนุมต้าน คสช. ยื้อเลือกตั้ง สืบทอดอำนาจ ตำรวจคุมพื้นที่เข้ม) 14 ก.พ. 2561 สมัชชาเสรีแห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อประชาธิปไตย จัด "รวมพลคนอยากเลือกตั้ง" หน้าป้ายมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง นักวิชาการ ประชาชน รวมทั้งแนวร่วม นปช. ในพื้นที่ให้กำลังการจัดกิจกรรมนักศึกษา (ดู ชูป้ายเรียกร้อง คสช.เร่งเลือกตั้ง-หยุดสืบทอดอำนาจที่เชียงใหม่) 15 ก.พ. 2561 เครือข่ายเยาวชนอิสระจังหวัดชายแดนใต้ จัดกิจกรรมรณรงค์ 'อยากเลือกตั้ง' บริเวณอาคารเรียนรวม 19 และโรงอาหารลานอิฐ, ลานประดู่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มีการให้อาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ร่วมลงคะแนนเสียงอยากเลือกตั้ง/ไม่อยากเลือกตั้ง พร้อมชูประเด็นสิทธิชุมชน 'เอาถ่านหิน เท่ากับ เอาเผด็จการ' (ดู คุยกับกลุ่มนักศึกษาชายแดนใต้ 'เมื่อคนปาตานีอยากเลือกตั้ง') 16 ก.พ. 2561 กลุ่มศิลปากรเสรีเพื่อประชาธิปไตย จัดกิจกรรม 'หนูไม่เคย หนูอยาก #เลือกตั้ง' (ดู เพจ ศิลปากรเสรีเพื่อประชาธิปไตย) 18 ก.พ. 2561 สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือจ่านิว แกนนำกลุ่มนักศึกษาประชาธิปไตยศึกษาพร้อมด้วยกลุ่มนักศึกษา ประมาณ 10 คน จัดกิจกรรม Start up People ชุมนุมเรียกร้องต้องการการเลือกตั้ง บริเวณลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี มีการเชิญชวนให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ให้ออกมาแสดงพลังกดดันรัฐบาล คสช. คืนอำนาจให้กับประชาชน และจัดให้มีการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย โดยมีการแจกโปสเตอร์ข้อเรียกร้องและแนวทาง Road Map ของกลุ่มที่จะมีการเดินทางไปเชิญชวนประชาชนทั่วประเทศ (ดู นักกิจกรรมรณรงค์เลือกตั้ง-แสดงพลังกดดันรัฐบาล คสช. ที่โคราช) 19 ก.พ. 2561 ประชาชน ประมาณ 40 คน รวมตัวกันหน้าองค์พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม แสดงจุดยืน 'คนนครปฐม ต้องการเลือกตั้ง' (ดู เฟสบุ๊ค โรเบิรต์ บ้านนอก) 24 ก.พ. 2561 ลานด้านหน้าหอประชุมศรีบูรพา-ด้านข้างหอประชุมใหญ่ เลียบรั้วริมถนนสนามหลวง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย (DRG) จัดงาน "ปากปราศรัย น้ำใจเชือดเผด็จการ: 3-2-1 ถึงเวลาเปลี่ยน" โดยมี พริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือเพนกวิ้น และจ่านิว ผลัดกันขึ้นปราศรัยพร้อมด้วยผู้สนับสนุมเข้าร่วมอีกจำนวนมาก มีการสวมหน้ากาก 'ยุทธ์น็อกคิโอ' ทวงสัญญารัฐบาล คสช.เลือกตั้งปีนี้ ( ดู สวมหน้ากาก 'ยุทธ์น็อกคิโอ' ทวง คสช. เลือกตั้งปีนี้) รวมแถลงการณ์หนุนข้อเรียกร้องนอกจากกิจกรรมการแสดงออกแล้ว ยังมีการเคลื่อนไหวผ่านการออกแถลงการณ์สนับสนุนข้อเรียกร้องด้วย ดังนี้ 1 ก.พ.61 พรรคร่างใหม่ มธ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ออกแถลงการณ์ เรียกร้องให้ คสช. ทบทวนการดำเนินคดีผู้เรียกร้องเลือกตั้ง พร้อมเรียกร้องให้มีการจัดการเลือกตั้งโดยเร็วตามสัญญาของ หัวหน้า คสช. (ที่มาเพจ ร่างใหม่ มธ.) 3 ก.พ.61 เครือข่ายนักกิจกรรมเพื่อประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ออกแถลงการณ์นอกจากยุติการดำเนินคดีกับประชาชน นักวิชาการ และนิสิตนักศึกษา ที่ออกมารวมตัวเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งแล้ว ยังเรียกร้องให้ คสช. คืนอำนาจกลับสู่ประชาชนโดยเร็ว และยุติการสืบทอดอำนาจของพวกพ้องตนเองอีกต่อไป ไม่ว่าจะก่อนหรือหลังการเลือกตั้ง และยืนยันเจตนารมณ์ที่จะไม่ต้องการให้ คสช. กลับมาเป็นรัฐบาลอีก (ที่มา เพจ เครือข่ายนักกิจกรรมเพื่อประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ) 7 ก.พ.61 สภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย (สศกท.) สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอการตัดเย็บเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์หนังแห่งประเทศไทย (สพท.) และกลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง (กสรก.) นอกจากออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ คสช. และรัฐบาลทหาร ยุติการดำเนินคคดีกับกลุ่มเดินมิตรภาพทั้งหมด รวมทั้งกลุ่มนักศึกษา ประชาชนที่เรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง 39 คน โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น แลัวยังเรียกร้องให้จัดการเลือกตั้งโดยเร็ว (เลือกตั้งปีนี้) เพื่อคืนอำนาจอธิปไตยให้กับปวงชนชาวไทย (ที่มา ประชาไท) 20 ก.พ. 61 ชมรมนกกระดาษ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ออกแถลงการณ์ประณามการดำเนินคดีกลุ่มคนออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง และขอให้รัฐบาลคสช.ยุติการกระทำซึ่งเป็นการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือและละเมิดสิทธิพลเมืองซึ่งเป็นสิทธิมนุษยชนของประชาชนและยุติการดำเนินคดีต่อต่อพลเรือนและนักศึกษากลุ่มคนอยากเลือกตั้งทั้งหมดและคืนอำนาจอธิปไตยให้แก่ประชาชนโดยทันที (ที่มา เพจ นกกระดาษ - PPB ) 21 ก.พ.61 ชมรมวรรณศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกแถลงการณ์ เรียกร้องให้รัฐบาล คสช. และเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง ทบทวนการแจ้งข้อกล่าวหาและการดำเนินคดีกับนักศึกษาและประชาชน เพื่อยกเลิกการแจ้งข้อกล่าวหาและการดำเนินคดีดังกล่าว ทั้งในกรณีนี้ และในกรณีอื่น ๆ และ ลด - ละ – เลิก การลิดรอนสิทธิและการคุกคามเสรีภาพของประชาชนและการใช้อำนาจโดยมิชอบ อีกทั้งขอกราบกรานเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาล คสช. คืนอำนาจอธิปไตยให้แก่ประชาชนโดยเร็วที่สุด ตามที่เคยสัญญาไว้ (ที่มา : เพจ ชมรมวรรณศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) 21 ก.พ.61 พลังใหม่ประชาธิปไตย ม.พะเยา โพสต์ภาพพร้อมข้อความ หยุดสืบทอดอำนาจ อยากเลือกตั้ง (ที่มา เพจ พลังใหม่ประชาธิปไตย ม.พะเยา ) นอกจากนี้ยังมีการโพสต์ภาพป้ายผ้า การชูป้าย ตามสถานที่ต่างๆ ทั่วประเทศ และเผยแพร่ทางโซเชียลเน็ตเวิคอีกด้วย
สำหรับ อัฐพล ปิริยะ ผู้รายงานชิ้นนี้ เป็นนักศึกษาฝึกงานกับประชาไท ประจำปีการศึกษา 2/2560 จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มีความสนใจด้าน One Piece, Star Wars, วรรณกรรม, การเมืองวัฒนธรรม และการศึกษา
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ชงใช้เขตสุขภาพ ปชช.ขับเคลื่อนธรรมนูญสงฆ์ แนะพื้นที่บูรณาการงบ-กองทุนสุขภาพตำบล Posted: 01 Mar 2018 01:48 AM PST ประธาน กขป.เขต 9 เสนอแนวเคลื่ นพ.สำเริง แหยงกระโทก ประธานกรรมการเขตสุขภาพเพื่ 1 มี.ค. 2561 รายงานข่าวแจ้งว่า นพ.สำเริง แหยงกระโทก ประธานกรรมการเขตสุขภาพเพื่ ประการที่สองคือในเมื่อองค์ สำหรับประการที่สามคื ประการสุดท้ายคือทำแผนปฏิบัติ "เมื่อเห็นปัญหาแล้วก็เขี นพ.สำเริง กล่าวอีกว่า หากดำเนินการได้ตามที่ระบุไว้ แน่นอนว่ารูปธรรมจากธรรมนูญสุ "ความสำเร็จนี้จะเกิดขึ้นได้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ศรีสุวรรณ อัด ภาคทัณฑ์ ตร.ทองผาภูมิ ปมคดีเปรมชัย สะท้อนความล้มเหลวของการปฏิรูปตำรวจ Posted: 01 Mar 2018 01:21 AM PST 'ผกก.ทองผาภูมิ' สั่งภาคทัณฑ์ พนักงานสอบสวน คดีเปรมชัย เหตุรับคำร้องทุกข์ ข้อหาทารุณกรรมสัตว์ โดยไม่ตรวจสอบข้อกฎหมาย ทำสังคมเข้าใจผิด ด้าน 'ศรีสุวรรณ' อัดการสั่งภาคทัณฑ์สะท้อนความล้มเหลวของการปฏิรูปตำรวจ 1 มี.ค. 2561 ความคืบหน้าคดีล่าสัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ฝั่งตะวันตก จ.กาญจนบุรี ของเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) และพวกนั้น ภายหลังจาก เมื่อวันรที่ 27 ก.พ.ที่ผ่านมา พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) ได้เรียกประชุมพนักงานสอบสวนชุดคลี่คลายคดีเพื่อเร่งรัดความคืบหน้าคดี โดยที่มีประเด็น รอง ผบ.ตร. สั่งการให้พนักงานสอบสวน พิจารณาเจตนารมณ์ของผู้ที่แจ้งความในข้อหาทารุณกรรมสัตว์ว่ามีเจตนากลั่นแกล้ง หรือมีจุดประสงค์อื่นไหม นั้น เมื่อวันที่ 28 ก.พ.ที่ผ่านมา พ.ต.อ.วุฒิพงษ์ เย็นจิตร ผกก.สภ.ทองผาภูมิ มีหนังสือคำสั่ง สภ. ทองผาภูมิที่ 37/2561 ลงวันที่ 28 ก.พ.61 เรื่องลงโทษภาคทัณฑ์ร้อยเวร โดยคำสั่งดังกล่าวระบุว่า ตามที่ณรงค์ชัย สังวรวงศา หัวหน้าด่านกักกันสัตว์กาญจนบุรี ได้มาแจ้งความร้องทุกข์เมื่อวันที่ 7 ก.พ.61 ให้ดำเนินคดี เปรมชัย และพวก ในความผิดฐานกระทำการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควร และได้รับคำร้องทุกข์ไว้ตามระเบียบแล้วนั้น แต่ต่อมาเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 61 ณรงค์ชัย ได้เดินทางมาพบ ร.ต.อ.สุมิตร บุญยะนิจ พนักงานสอบสวน พร้อมกับได้ให้ปากคำเพิ่มเติมว่า หลังจากตนได้มาแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษเมื่อวันที่ 7 ก.พ. 61 ปรากฏว่าได้ไปตรวจสอบกับคำนิยามของคำว่าสัตว์ตามมาตรา 3 ให้หมายความรวมถึงสัตว์ที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติตามที่รัฐมนตรีกำหนด และได้ตรวจสอบแล้วปรากฏว่ารัฐมนตรียังมิได้ประกาศกำหนดสัตว์ตามธรรมชาติว่าต้องเป็นสัตว์ชนิดใดจึงขอถอนคำร้องทุกข์ไปตามระเบียบนั้น หนังสือคำสั่ง สภ.ทองผาภูมิ ระบุด้วยว่า ด้วยเหตุนี้จึงถือว่าการกระทำของ ร.ต.อ. สุมิตร เป็นการบกพร่องต่อหน้าที่ เนื่องจากได้มีการรับคำร้องโดยไม่ตรวจสอบข้อกฎหมายให้แน่ชัดว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดตามกฎหมายหรือไม่ ฉะนั้นอาศัยอำนาจแห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พุทธศักราช 2547 มาตรา 87 ประกอบกับกฎ ก.ตร. ว่าด้วยอำนาจการลงโทษข้าราชการตำรวจอัตราและการลงโทษภาคทัณฑ์ ทัณฑกรรม เกาะพยามกักขังหรือตัดเงินเดือนพุทธศักราช 2547 จึงให้ลงโทษภาคทัณฑ์ ร.ต.อ.สุมิตร บุญยะนิจ ซึ่งผู้ที่ถูกลงโทษตามคำสั่งนี้มีสิทธิ์อุทธรณ์ต่อผู้บังคับบัญชา หรือ ก.ตร. และหากประสงค์จะฟ้องโต้แย้งคำสั่งหรือคำวินิจฉัยอุทธรณ์นี้ให้ทำคำฟ้องเป็นหนังสือยื่นต่อศาลปกครอง ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้ง หรือรับทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวระบุ" โดยมีรายงานว่า พ.ต.อ.วุฒิพงษ์ ได้รายงานเรื่องดังกล่าวให้ พล.ต.อ.ศรีวราห์ รอง ผบ.ตร. รับทราบแล้ว (ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์และสปริงนิวส์) ศรีสุวรรณ อัดสะท้อนความล้มเหลวของการปฏิรูปตำรวจล่าสุดวันนี้ (1 มี.ค.61) ศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ออกแถลงการณ์ ต่อกรณีดังกล่าวว่า การแจ้งความหรือถอนแจ้งความเป็ "กรณีการลงโทษภาคทัณฑ์ พนักงานสอบสวน สภ.ทองผาภูมิในครั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นการสะท้อนให้เห็
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
MY CHIANG MAI ราชการควรให้เกียรติต่อธรรมชาติ Posted: 01 Mar 2018 01:01 AM PST
นับตั้งแต่กลางปี พ.ศ.2559 จนล่าสุดจากการเผยแพร่เมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ที่ผ่านมา ภาพของโครงการก่อสร้างบ้านพักข้าราชการศาลอุทธรณ์ภาค 5 บริเวณพื้นที่เชิงดอยสุเทพ ในเขตห้วยตึงเฒ่า ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม ที่ใกล้จะแล้วเสร็จกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในสังคมออนไลน์ พร้อมไปกับการทำร้ายจิตใจคนเชียงใหม่ไม่น้อย ข้อแรก เป็นเพราะเมื่อมองจากภาพถ่ายทางอากาศ (เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อเดือนมิถุนายน 2559 โดยเฟซบุ๊คของนายแพทย์ รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ พร้อมตั้งคำถามถึงที่มาของโครงการ) จะเห็นว่าพื้นที่ก่อสร้างดังกล่าวได้ 'รุกล้ำ' ขึ้นไปบนผืนป่าของดอยสุเทพ พื้นที่อันเป็นทั้งแหล่งธรรมชาติและสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของคนเชียงใหม่อย่างเห็นได้ชัด ข้อสอง เมื่อมีการสอบถามถึงเบื้องหลังโครงการก่อสร้างดังกล่าวแล้วพบว่า พื้นที่ไม่ได้อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย หากเป็นพื้นที่ของกองทัพบกที่มอบให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 เพื่อจัดสร้างบ้านพัก ซึ่งกรมธนารักษ์ได้ดำเนินการเกี่ยวกับการอนุญาตให้แล้วตั้งแต่ปี 2549 มีพื้นที่ทั้งสิ้น 147 ไร่ 3 งาน 30 ตารางวา นั่นหมายความการก่อสร้างพื้นที่เชิงดอยสุเทพดังกล่าวไม่ได้ผิดกฎหมายหรือข้อบังคับของอุทยานแห่งชาติแต่อย่างใด ภาพเปรียบเทียบพื้นที่เชิงดอยสุเทพ ก่อนเริ่มโครงการจัดสร้างบ้านพักเมื่อสองปีก่อน กระนั้นคำถามสำคัญจึงย้อนกลับมาอยู่ในข้อแรก ทางราชการไม่มีที่ดินอื่นแล้วหรือ ถึงต้องขึ้นไปถางพื้นที่เนินเขาดังกล่าวเพื่อทำเป็น "บ้านพัก" ให้กับข้าราชการ จังหวัดเชียงใหม่ไม่มีที่ดินว่างเปล่ามากพอที่จะปลูกสร้างบ้านพักข้าราชการโดยไม่ไปเบียดเบียนพื้นที่ธรรมชาติแล้วหรือ? คำถามสำคัญจึงไม่ได้อยู่ที่ว่าโครงการก่อสร้างถูกต้องหรือไม่ หากเป็นว่าการใช้พื้นที่นี้เหมาะสมกับทรัพยากรธรรมชาติของเมืองที่สูญเสียไปหรือไม่ นอกจากทรัพยากรธรรมชาติ การรุกล้ำพื้นที่ทางธรรมชาติจากหน่วยราชการ (จะด้วยความตั้งใจหรือไม่ก็ตาม) ยังรวมไปถึงการทำลายทัศนียภาพของเมืองลงอย่างน่าเศร้า ซึ่งไม่เพียงพื้นที่ 147 ไร่ดังกล่าว หากเมื่อหลายปีก่อน คนเชียงใหม่คงจำกันได้ดีกับทางยกระดับบริเวณหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า เชียงใหม่แอร์พอร์ท ทางยกระดับที่ชาวเชียงใหม่รวมตัวกันคัดค้าน และเสนอทางเลือกที่ดีกว่า (เช่นอุโมงค์ลอด) มาอย่างยาวนาน หากสุดท้ายทางยกระดับทางนั้นก็ถูกสร้างขึ้น พร้อมทั้งบดบังทิวทัศน์ของดอยสุเทพไปอย่างน่าเสียดาย นอกจากนั้นทางยกระดับดังกล่าวก็ไม่ได้ระบายการจราจรใดๆ เลย เพราะแทนที่จะเชื่อมตัวเมืองเชียงใหม่เข้าสู่สนามบิน หรือเชื่อมถนนจากตัวเมืองออกนอกตัวเมือง กลับกลายเป็นการเชื่อมสนามบินสู่ถนนออกนอกตัวเมือง ปัจจุบันสี่แยกมหิดลบริเวณหน้าเซ็นทรัลจึงยังเป็นหนึ่งในสี่แยกที่รถติดสาหัสไม่น้อยไปกว่าสี่แยกรินคำ ฝ่ายราชการควรเป็นผู้นำในการพัฒนาและอนุรักษ์เมืองและทรัพยากรธรรมชาติของเมืองไปพร้อมกัน เพราะแม้จะบอกว่าที่ดินบริเวณเชิงดอยสุเทพที่เป็นปัญหาอยู่นั้นมีเอกสารสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย หากอย่าลืมว่าที่ดินเดียวกันนี้คือผืนป่าที่เป็นปอดของคนเชียงใหม่ คือมรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรมของลูกหลานชาวเชียงใหม่ทุกคน หรืออย่างน้อยที่สุด คุณไม่จำเป็นต้องฟังเสียงคนเชียงใหม่ก็ได้ (อันที่จริงก็ไม่เคยเกรงใจอยู่แล้ว) แต่ควรให้เกียรติกับธรรมชาติหน่อยก็ดี โครงการบ้านพักข้าราชการศาลอุทธรณ์ภาค 5... คุ้มแล้วหรือกับผืนป่าที่เสียไป
ที่มา: คอลัมน์ MY CHIANG MAI www.chiangmaiworldheritage.net
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 01 Mar 2018 12:45 AM PST |
Posted: 01 Mar 2018 12:41 AM PST
นิด้าโพลเผยประชาชนพอใจผลงานลุงตู่ ชูเด็ดขาด มีอุดมการณ์ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ฯลฯ อ้าว นี่เปลี่ยน ผอ.แล้วใช่ไหม จึงเผยแพร่โพลได้ โดยไม่ขัดแย้งกับอธิการบดี ควบ สนช. ไม่ยักเหมือนโพลหอการค้า ดันบอกว่าทุจริตคอร์รัปชันสูงขึ้น ทำนายกฯ ควันขึ้น จนเรียกไปถาม ทำโพลยังไง ใช้แต่ความรู้สึกไม่มีหลักฐาน เผยแพร่แล้วทำให้ประเทศชาติเสียหาย อ้าว แล้วทีสำนักข่าวนิกเคอิของญี่ปุ่น เอากรณีนาฬิกาเพื่อน ยืมเงินเพื่อน ล่าเสือดำ ไปยำใหญ่ ไม่ทำให้ประเทศเสียหายหรือ ทำไมยังตื๊ออยู่ได้ ว่าตามหลักวิชา โพลก็ใช้ความรู้สึกทั้งนั้น แม้แต่ดัชนีคอร์รัปชันขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (TI) ก็มาจากการถามความคิดเห็น อย่าว่างั้นว่างี้ ที่ท่านใช้ ม.44 ย้ายข้าราชการ ย้ายนักการเมืองท้องถิ่น ก็ใช้ความเห็นทั้งสิ้น เพราะถ้ามีหลักฐานก็สามารถตั้งกรรมการสอบแล้วสั่งย้ายได้ตามระเบียบกฎหมาย เรื่องทุจริตหรือไม่ มากน้อยแค่ไหน จึงอิงความรู้สึกสังคมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งก็ขึ้นกับข้อมูลข่าวสาร กระแสวิพากษ์วิจารณ์ ว่าปิดกั้นหรือเปิดกว้างเพียงไร รัฐบาลทหารยึดอำนาจ ท่ามกลางความเชื่อของสังคมว่านักการเมืองโกง สื่อส่วนใหญ่ องค์กรต้านทุจริต คนชั้นกลางในเมืองจึงสนับสนุนให้ใช้อำนาจเด็ดขาด ลัดกระบวนการยุติธรรม หรือใช้ความยุติธรรมสองมาตรฐาน รัฐบาลมีจุดแข็งที่ภาพลักษณ์ผู้นำ เด็ดขาด สัตย์ซื่อสอนศีลธรรม สมถะไม่เช่าเหมาลำ มีนาฬิกาแพงแต่ไม่ใส่ ภริยาไม่สร้างฝาย ลูกไม่ตั้งบริษัทรับเหมาในค่ายทหาร ฯลฯ ซึ่งสังคมไทยนิยมชมชอบ เพราะเชื่อตัวบุคคลมากกว่าระบอบ จนมองข้ามปัญหาหลายอย่าง เช่น ลืมไปว่าใครก็ตามที่เข้าสู่อำนาจ อยู่ในอำนาจ (และอยากสืบทอดอำนาจ) ต้องพึ่งผู้สนับสนุน พวกพ้อง พี่น้อง บริวาร ต้องสร้างฐานกำลังแม้ตัวเองไม่โกง ก็เลี่ยงไม่พ้นอุปถัมภ์ สมนาคุณ หรืออย่างน้อยก็ต้องลืมตาข้างหลับตาข้าง เปิดทางสะดวก ที่สำคัญยังลืมไปว่าอำนาจเด็ดขาดสามารถมุบมิบการจัดสรรผลประโยชน์หมื่นล้านแสนล้าน โถ โครงการยักษ์อย่างนั้น มีคู่แข่งไม่กี่ราย ถ้าแบ่งเค้กลงตัวไม่มีใครโวยวายก็ตรวจสอบไม่ได้ ขณะที่ในภูมิภาค ซึ่งจัดสรรงบจำนวนมาก ทั้งกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งช่วยประชาชน ก็อยู่ใต้อำนาจมหาดไทย ข้าราชการ ทหาร กอ.รมน. "รัฐราชการเป็นใหญ่" ใครมีปัญหา ใครว่าไม่โปร่งใส ก็ไล่ไปร้องศูนย์ดำรงธรรม ขอขำแป๊บ อย่างคดี "โกงเงินคนจน" นักศึกษาฝึกงานยื่นเรื่องร้องคสช. กับ ป.ป.ช.มาตั้งนาน ไม่มีความคืบหน้า จนต้องมาร้องสื่อ พอเป็นข่าวครึกโครมทุกฝ่ายก็มะรุมมะตุ้ม รัฐบาลก็สั่งย้ายปลัด รองปลัดพัฒนาสังคม (เก่งจัง ตัดไฟต้นลม รัฐบาลไม่เกี่ยว รัฐมนตรีอาโนเนะ โดนโกงใต้จมูก คล้ายๆ เงินทอนวัด) ประเทศมีเสรีเมื่อไหร่ ลองไปถามชาวบ้านดูนะ เงินช่วยเหลือต่างๆ ได้เต็มไหม โครงการต่างๆ ที่ลงไป มีไอติมเหลือแค่ไหน นักการเมืองไม่ได้ดีเด่หรอก แต่ระบอบการเมืองยังมีฝ่ายค้าน มีคู่แข่ง มีกลไกให้ตีแผ่เปิดโปงมากมาย รัฐบาลนี้อาจดูขึงขัง ในแง่เพิ่มกฎหมาย เพิ่มอำนาจ เพิ่มองค์กรปราบโกง แต่มุมกลับก็มีสองคม คือสร้างอำนาจที่น่าสะพรึงกลัว ถ้าเป็นเองก็ตรวจสอบยาก ถ้าบ้าจี้ก็บ่อนทำลายประสิทธิภาพ คนทำงานไม่กล้าตัดสินใจเพราะกลัวความผิด เรื่องทุจริตเป็นปมที่รัฐบาลรู้ดีว่าอันตราย แต่อย่างที่เตือนไว้แต่ต้น อารมณ์ความรู้สึกของสังคมเป็นเรื่องใหญ่ อารมณ์สังคมไม่ต้องการใบเสร็จ ไม่รอคำวินิจฉัยทางกฎหมาย ถ้ามีความรู้สึกไม่เชื่อมั่นไม่เชื่อใจเมื่อไหร่ ก็จะ "ขาลง" ไปเรื่อยๆ ฉะนั้น อย่าให้มีกรณีซ้ำเติมอีกก็แล้วกัน
ที่มา: www.kaohoon.com
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ความย้อนแย้งของคำสอนพุทธในวันมาฆบูชา Posted: 01 Mar 2018 12:27 AM PST ชาวพุทธผู้ศรัทธามั่นจะเชื่อว่า นับตั้งแต่วันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้กระทั่งวันปรินิพพาน พระองค์ไม่เคยตรัสอะไรที่ขัดแย้งกันเลย และธรรมของพระองค์ล้วนแจ่มแจ้ง เด่นชัด เหมือนพระจันทร์วันเพ็ญ อยากให้เรามาทบทวนโอวาทธรรมในวันมาฆบูชากันดูเพื่อพิสูจน์ความเชื่อดังกล่าวครับ ปกติเราจะคุ้นชินกับหลักการ 3 ข้อคือ ละชั่ว ทำดี และทำใจให้ผ่องใส แท้จริงเทศนามีความยาวกว่านี้ ผมจะยกมาอีก 2 ข้อเท่านั้นเพื่อใช้ในการถกเถียงในที่นี้
ความต่างระหว่างสองข้อนี้คือ ข้อแรกหมายเอาการฆ่าให้ตาย (ฆาต=kill, murder, destroy) ส่วนข้อหลังเป็นการเบียดเบียนทำร้าย ไม่ถึงขั้นทำลายชีวิต (วิเหฏ=harass, oppress, annoy) สิ่งที่อยากชวนให้ระลึกก่อนคือ พระภิกษุฆ่ามนุษย์ต้องปาราชิก คือ ขาดจากความเป็นพระ (ไม่ใช่บรรพชิต/สมณะ อีกต่อไป?) ในข้อที่สอง พระพุทธเจ้าตรัสว่า ผู้ที่เบียดเบียน (ทั้งทางกายและวาจา?) เพื่อให้ผู้อื่นลำบากเป็นทุกข์ ก็ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ นั่นคือ ต่อให้ไม่ฆ่าให้ตาย แต่แค่ทำร้ายร่างกายหรือด่าให้เจ็บใจ ก็เท่ากับปาราชิกหรือขาดจากความเป็นพระด้วยใช่หรือไม่? การตีความเช่นนี้ อาจทำให้มหายานและวัชรยานเห็นคุณค่าของการไม่เบียดเบียนและถนอมน้ำใจสัตว์/บุคคลอื่นมากกว่าเถรวาท เพื่อนนักบวชมหายานของผมมองว่า การด่าผู้อื่นให้เจ็บแสบเพื่อความสะใจหรือดูถูกผู้อื่นถือเป็นการขาดศีลขั้นรุนแรงหรือปาราชิก ซึ่งไม่จำเป็นต้องลงมือฆ่าในแบบที่เถรวาทตีความ เราอาจมองว่านี่เป็นพฤติกรรมที่สุดโต่ง แต่มันกลับสอดรับกับหลักโอวาทปาติโมกข์นะครับ พุทธศาสนาเถรวาทยอมรับเฉพาะข้อแรกว่าทำให้ขาดจากความเป็นพระ และมองว่า "ผู้อื่น" ในที่นี้หมายเอามนุษย์เท่านั้น เพื่อให้เข้ากับปาราชิกข้อที่สาม คือ การฆ่ามนุษย์ ในโอวาทปาติโมกข์นี้ การใช้ "ปรํ" ในภาษาบาลีมีความคลุมเครือ เพราะแปลว่า "อื่น" ขึ้นอยู่กับบริบทว่าผู้พูดหมายถึงสิ่งใด เช่น คนอื่น สัตว์อื่น วัตถุอื่น ที่อื่น หรือแม้กระทั่งโลกอื่น แต่ทั้งนี้ การนิยมแปลว่า สัตว์อื่น ก็ยิ่งคลุมเครือ เพราะในภาษาไทยมีการใช้แยกระหว่าง สัตว์เดรัจฉาน และ มนุษย์ ส่วนภาษาบาลี สตฺต หมายเอาสิ่งมีชีวิตที่มีลมปราณทุกอย่าง (beings) ได้แก่ สัตว์นรก เปรต สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา และพรหมฯลฯ แต่ไม่ว่าจะตีความอย่างไร สิ่งที่ชาวพุทธน่าจะยอมรับร่วมกันคือ บรรพชิตไม่ควรฆ่าสัตว์ (ทุกชนิด) เพราะพระพุทธเจ้าทรงย้ำว่า ผู้กระทำกรรมดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นบรรพชิต เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็เท่ากับว่า การมีเจตนาฆ่าสัตว์ก็ทำให้ขาดจากความเป็นพระด้วย นอกจากจะมาตกลงกันว่า ปรํ ในที่นี้ หมายถึงมนุษย์เท่านั้น แต่ก็ยังมีปัญหาตามมา เพราะข้อที่สองระบุว่า ต่อให้ไม่ฆ่าให้ตาย แค่ทำร้ายให้เจ็บปวดเป็นทุกข์ ก็ไม่ถือว่าเป็นสมณะ กล่าวโดยสรุปแบบหยาบๆ คือ หลักโอวาทปาติโมกข์ข้อนี้ขัดกับปาราชิกข้อที่สาม คือ ทรงกำหนดให้ขาดจากความเป็นพระก็เพราะฆ่ามนุษย์เท่านั้น มิใช่แค่การทำร้ายเบียดเบียนให้เจ็บปวด ทางรอดที่อาจดูเหมือนตีความเลี่ยงไปแบบน้ำขุ่นๆ คือต้องเสนอว่า "บรรพชิต" ต่างจาก "สมณะ" กล่าวคือ บรรพชิตมีสถานะสูงกว่าซึ่งผูกติดกับระบบชนชั้นของสังคม ส่วนสมณะเป็นคุณธรรมความสงบแบบสากลที่อยู่ในใจของแต่ละคน นั่นคือ การทำร้ายเบียดเบียนผู้อื่นจะทำลายแค่ความสงบในใจของตน (ความเป็นสมณะ) ส่วนการฆ่าให้เขาตายจะทำให้ขาดจากสถานะบรรพชิตในทางสังคมอีกด้วย การตีความอาจมีได้อีกร้อยนัย แต่ประเด็นที่อยากเสนอคือ ธรรมะที่พระพุทธเจ้าตรัสมิได้กระจ่างแจ้งหรือไม่ต้องอาศัยการตีความใดๆ เลยอย่างที่เราทึกทักเอา แต่ก็ไม่ควรมองว่า การเปิดโอกาสต่อการตีความเป็นข้อด้อย เพราะเท่ากับว่า พระองค์ให้เสรีภาพแก่สาวกในการรับเอาคำสอนไปปฏิบัติตามกำลังหรือสติปัญญาของแต่ละคน และเตือนใจให้สาวกรู้จักรับฟังการตีความของผู้เห็นต่าง สรุปจากการตั้งข้อสังเกตของ สามเณรหลอด 28 กุมภาพันธ์ 2561 (หนึ่งวันก่อนมาฆบูชา) ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
แกนนำ กคป. เปิดตัว 'พรรคพลังธรรมใหม่' ถอดแบบพรรคอัมโน ยัน 'จำลอง' จะไม่ยุ่ง Posted: 28 Feb 2018 11:58 PM PST นพ.ระวี อดีตแกนนำกองทัพประชาชนและเครือข่ายปฏิรูปพลังงานไทยและคณะแถลงเปิดตัวพรรคพลังธรรมใหม่ นำสังคมไทยสู่สังคมธรรมาธิปไตย ไม่ใช่ประชาธิปไตยแบบตะวันตก สู่การค้าเสรีที่เป็นธรรม 1 มี.ค.2561 เดลินิวส์ รายงานว่า ที่โรงแรมเอเชีย นพ.ระวี มาศฉมาดล อดีตแกนนำกองทัพประชาชนและเครือข่ายปฏิรูปพลังงานไทย (กคป.) และคณะแถลงเปิดตัวพรรคพลังธรรมใหม่ โดย นพ.ระวี กล่าวว่า พรรคพลังธรรมเดิมได้ถูกยุบมาประมาณ 10 กว่าปีแล้ว แต่เพราะสั่งคมไทยเกิดวิกฤตการรอบด้าน ก่อให้เกิดการขัดแย้งแตกแยก คอร์รัปชั่นโกงกิน ทุกรัฐบาล ประเทศตกต่ำ จนหลายประเทศในอาเซียนด้วยกันแซงหน้าประเทศไทยไป จากวิกฤตพวกนี้จึงก่อให้เกิดพรรคพลังธรรมใหม่ขึ้น เพื่อนำประเทศไทยให้หลุดพ้นจากวิกฤตทั่วด้าน โดยเจตนารมณ์ที่สำคัญที่สุดของพรรค คือ การสืบทอดเจตนารมณ์ของความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส ของพรรคพลังธรรมเดิมเป็นแนวทางหลักของพรรค พรรคจะสร้างระบบที่เข้มแข็ง จามหลัก"ระบบดีทำให้ผีกลายเป็นคน ระบบไม่ดี ทำให้คนดีๆ กลายเป็นผี" คลิปแถลงเปิดตัว นพ.ระวี กล่าวต่อว่า แนวทางของพรรคพลังธรรมใหม่ที่ตั้งไว้หลัก ๆ 4 ข้อคือ 1.พรรคจะนำสังคมไทยสู่สังคมธรรมาธิปไตย ที่มีระบบประชาธิปไตยที่เป็นธรรม ไม่ใช่ประชาธิปไตยแบบตะวันตก สู่การค้าเสรีที่เป็นธรรม ไม่ใช่ปลาใหญ่กินปลาเล็ก แต่ปลาทุกตัวต้องอยู่ร่วมกันได้ในสระน้ำเดียวกัน พรรคจะสร้างสังคมที่เป็นธรรม ลดการเลื่อมล้ำ 2.สมาชิกพรรพลังธรรมใหม่ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นคนดีพร้อมทุกอย่าง แต่พรรคต้องการคนที่ตั้งใจจะมาทำความดีทุกอย่างตามรอยพ่อ 3.สมาชิกพรรคจะมาจากหลากหลายทุกวัน ทุกอาชีพ ทุกชนชั้น ทุกศาสนา และ 4.พรรคจะเป็นแกนกลางในการผนึกกำลังของประชาชนกลุ่มหรือองค์กรที่มีอุดมการณ์ใกล้เคียงกันมาร่วมผนึกกำลังเป็นหนึ่งเดียว ทั้งนี้พรรคพลังธรรมใหม่จะมีการตรวจสอบกันเองอย่างเข้มแข็ง โดยพรรคจะมีคณะธรรมาธิบาลของพรรคทำหน้าที่เหมือนศาล ตรวจสอบสมาชิกของพรรคทันทีที่เกิดปัญหาการทุจริต โดยหลังจากตรวจสอบเสร็จจะส่งผลการตัดสินเบื้องต้นมาให้กรรมการบริหารพรรค ถือว่าเป็นศาลตัดสินภายใน ไม่ต้องรอตั้งกรรมการเป็นเดือนๆ ถ้าตรวจสอบแล้วไม่ผิดก็จะคืนตำแหน่งให้ ถ้าตัดสินว่าผิดหน้าที่กรรมการบริหารพรรคคือสั่งปลด ต่อกรณีคำถามที่ว่าได้หารือ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง อดีตหัวหน้าพรรคพลังธรรมอย่างไร นั้น นพ.ระวี กล่าวว่า ได้คุยกันเมื่อวันที่ 28 ก.พ.ที่ผ่านมา ท่านตัดสินใจ รักษาสัจจะวาจาที่มีประกาศเอาไว้แล้ว ว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับพรรคการเมืองและพรรคพลังธรรมใหม่อย่างแน่นอน เนื่องจากอายุมากแล้ว ประสิทธิภาพเริ่มลดลง โดยท่านได้มอบหมายให้พลังธรรมรุ่น 2 เป็นผู้ดำเนินการพรรคต่อไป เมื่อถามถึงเงินทุนที่นำมาก่อตั้งพรรคการเมืองว่ามาจากที่ใด นพ.ระวี กล่าวว่า เมื่อมีประชาชน เมื่อมีคนเงินก็มา พรรคพลังธรรมใหม่นั่นทุกจังหวัดต้องพึ่งตัวเอง ส่วนกลางไม่มีเงินสักบาทเดียว บรรดาผู้ที่จะมาสมัครทางพรรคบอกแล้วว่าต้องพึ่งตัวเอง พรรคไม่มีเงินให้ ซึ่งก็แจ้งไว้ตั้งแต่ขั้นตอนสมัครแล้ว ถ้ารับได้ก็เข้ามาทำงานร่วมกัน และเมื่อใกล้การเลือกตั้งพรรคจะระดมเงินจากทุก ๆ ฝ่าย ถ้าได้มาก็แบ่งเฉลี่ยเท่ากันทุก ๆ เขต ซึ่งพรรคจะส่งผู้สมัครทั้ง 350 เขตทั่วประเทศแน่นอน ทั้งนี้ทางพรรคพลังธรรมใหม่จะเดินทางไปยัง กกต.ศูนย์ราชการ เพื่อยื่นขอแจ้งเตรียมการจัดตั้งพรรคการเมืองในวันพรุ่งนี้ 08.30 น. เดลินิวส์ รายงานด้วยว่า สมาชิกพรรคพลังธรรมใหม่ ประกอบด้วย อาทร พาทีพัฒนะ อดีตรองหัวหน้าพรรคพลังธรรม, อรุณ สุธาฎา ที่ปรึกษาคณะกรรมการภาคใต้ เจิดจ้า น้อยศิริ ผู้สมัคร ส.ส.แพร่ สามนต์ สังข์ทอง นายทะเบียนพรรคและสมาชิกสัมพันธ์ ว่าที่ร.ต. วันชัย วรรณสว่าง ว่าที่ผอ.พรรค สุทิน ช่วยธานี อดีตผู้สทัครส.ส.พรรคพลังธรรม จ.ตรัง วีรพจน์ ลือประสิทธิ์สกุล อดีตผู้สมัครส.ส.สัดส่วน พรรคพลังธรรม, อุทัย มหาวงศ์ อดีตฝ่ายการเมืองพรรคมหาช สมบูรณ์ ทองบุราน อดีต ส.ส.พรรคพลังธรรม สมบัติ เบญจศิริมงคล อดีตกรรมการพรรคพลังธรรม พ.อ.วินัย สมพงษ์ อดีตรมว.คมนาคม นพ.นิทัศน์ รายยวา อดีตรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น โดย นพ.ระวี ได้ให้สัมภาษณ์กับไทยพีบีเอส วานนี้ (28 ก.พ.61) ว่า อุดมการณ์ของพรรคต้องการนำคนดีในประเทศมารวมพลังสร้างสังคมธรรมาธิปไตย ทั้งด้านการค้าเสรี การเมือง ด้วยหลักบริหารที่มั่นใจว่ามีเป็นไม้เด็ดของพรรคและมีความสมบูรณ์ที่สุดที่หลักการ "อัคโน" ที่ถอดรูปแบบมาจากพรรคอัมโน ที่มหาธีร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซียเคยสังกัดอยู่พรรคจะเป็นเสาหลักแกนกลางเชื่อมโยงพรรคที่มีอุดมการณ์เดียวกันมารวมกันทำงานหรือการมืองทุกพรรคเป็นแนวร่วมไม่ใช่ศัตรู หยุดแบ่งแยกสีเสื้อทางการเมืองเพื่อยุติข้อขัดแย้งนำประเทศเข้าสู่การเป็นคนไทยด้วยกัน แกนนำพรรคพลังธรรมใหม่ เปิดเผยว่า บุคคลที่จะเสนอชื่อชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพรรค บุคคลซึ่งเป็นคนดีมีคุณธรรมมีความสามารถทันยุคทันสมัย แต่ยังไม่เปิดเผยรายชื่อตอนนี้ นพ.ระวี ยืนยันว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ไม่ใช่ 1 ใน 3 รายชื่อ การเสนอผู้ชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพรรคและหากว่าหลังการเลือกตั้งพรรคไม่สามารถจะเสนอรายชื่อนายกรัฐมนตรีจากคนในพรรคได้ จะตัดสินใจเลือกคนที่ดีที่สุดในขณะนั้นตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ นพ.ระวี กล่าวว่า ด้วยฐานคะแนนเสียงจากการเลือกตั้งในอดีตของพรรคพลังธรรมในพื้นที่กรุงเทพฯจะทำให้พรรคได้ที่นั่ง ส.ส.แบบจัดสรรปันส่วนไม่น้อยกว่า 5 คน และการดำเนินการของพรรคในอีก 3 สมัยข้างหน้าจะเป็นพรรคที่มีเสียงข้างมากในสภา แกนนำพรรคพลังธรรมใหม่ ยอมรับว่าสมาชิกพรรคจะมีชาวอโศกมาจากพรรคพลังธรรมเดิมเป็นหลัก แต่ในอนาคตคาดหวังว่า กลุ่มนี้จะเป็นเพียงร้อยละ 10 ของพรรค เพราะหลังจากนั้นอีกร้อยละ 90 จะมาจากองค์กรต่างๆเข้าร่วม ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
โวยกรมทรัพย์สินฯ แก้ กม.สิทธิบัตรทำไทยเสียประโยชน์ จี้แก้ไขตามข้อแนะนำภาคประชาสังคม Posted: 28 Feb 2018 11:18 PM PST ระบุกรมทรัพย์สินทางปัญญาแก้กฎหมายสิทธิบัตรถอยหลัง ทำประเทศเสียประโยชน์เพิ่ม เอื้อประโยชน์บริษัทยาข้ามชาติ และทำเกินไปกว่าข้อตกลงความตกลงทริปส์ แนะปรับแก้ร่างกฎหมายสิทธิบัตรให้ทันสมัยเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศ จี้เร่งแก้ไขทันที กรรณิการ์ กิจติเวชกุล นักวิจัยศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) 1 มี.ค. 2561 รายงานข่าวแจ้งว่า กรรณิการ์ กิจติเวชกุล นักวิจัยศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กพย. และองค์กรภาคีได้ส่งหนังสือถึงอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อแสดงความคิดเห็นต่อการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.สิทธิบัตร (ฉบับที่...) พ.ศ. ... ตามที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาประกาศเชิญชวน โดยพบว่าในการแก้ไขกฎหมายสิทธิบัตรครั้งนี้ กรมทรัพย์สินทางปัญญาไม่ได้นำข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการพิจารณาศึกษาการยอมรับพิธีสารแก้ไขความตกลงว่าด้วยความตกลงทริปส์ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ไปพิจารณาประกอบการแก้ไข โดยเฉพาะประเด็น "การยอมรับพิธีสารดังกล่าวจะต้องไม่นำไปสู่มาตรการทริปส์ผนวก (TRIPs-plus) ที่ก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการเข้าถึงยารักษาโรค" และยังไม่มีการนำข้อเสนอแนะในรายงานการเข้าถึงยาของคณะผู้ทรงคุณวุฒิระดับสูงแห่งองค์การสหประชาชาติ ในส่วนเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาและการเข้าถึงยาและธรรมาภิบาลและความโปร่งใส ซึ่งเคยระบุอยู่ในจดหมายที่มูลนิธิเข้าถึงเอดส์เคยส่งให้กรมฯ ไปพิจารณาประกอบ นักวิจัย กพย. กล่าวต่อว่า ที่สำคัญพบว่า การแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.สิทธิบัตร ครั้งนี้ กรมทรัพย์สินทางปัญญาสอดแทรกเนื้อหาซึ่งเกินไปกว่าความตกลงทริปส์ (TRIPs-plus) ที่ทำให้ประเทศไทยเสียผลประโยชน์ และเป็นการถอยหลังจากกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันดังนี้ 1.การใช้สิทธิ์ตามสิทธิบัตรโดยรัฐที่เปิดให้ผู้ทรงสิทธิ์สามารถฟ้องยกเลิกคำสั่งฯ ต่อศาล และให้ผู้ทรงสิทธิสามารถอุทธรณ์คำสั่งฯ ต่อศาลในเงื่อนไขหรือข้อจำกัดสิทธิ จากเดิมที่ให้อุทธรณ์ต่อกรมในประเด็น "จำนวนค่าตอบแทน" เท่านั้น 2.กรมทรัพย์สินทางปัญญายังตัดสิทธิ์หน่วยงานระดับทบวงและกรม ที่เดิมสามารถใช้สิทธิตามสิทธิบัตรโดยรัฐได้ แทนที่จะเพิ่มหน่วยงานรัฐอื่นๆ เข้าไป 3.ประเด็นค่าตอบแทนแก่ผู้ทรงสิทธิ ในทางสากลให้คำนึงถึงระดับเศรษฐสถานะของประเทศที่บังคับใช้สิทธิ์ แต่ทางกรมฯกลับเลือกใช้ค่าตอบแทนตามมูลค่าทางเศรษฐกิจของการอนุญาต ซึ่งเป็นไปตามข้อเรียกร้องของสหรัฐฯในการเจรจาเอฟทีเอ ก่อนหน้านี้ 4.การแก้ไขครั้งนี้ แม้กรมฯ จะปรับปรุงขั้นตอนการคัดค้านก่อนการออกสิทธิบัตรให้ชัดเจนมากขึ้น แต่ได้ตัดสิทธิ์อุทธรณ์ของผู้คัดค้านออกไป ซึ่งนี่ถือเป็นการถอยหลังจากกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน "หากกรมทรัพย์สินทางปัญญาต้องการแก้ไขกฎหมายสิทธิบัตรให้ทันสมัย สอดคล้องกับสถานการณ์ของโลก กพย.และองค์กรภาคีขอให้กรมฯ ตัดประเด็นดังกล่าวข้างต้นออกไปร่าง พ.ร.บ.สิทธิบัตรฉบับที่กำลังแก้ไขนี้ทันที เพื่อมิให้การแก้ไขกฎหมายสิทธิบัตรครั้งนี้ ส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงยาและคุณภาพชีวิตของประชาชน" กรรณิการ์ กล่าวและว่า นอกจากนี้ กพย.และองค์กรภาคีขอให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาพิจารณาเพิ่มเติมประเด็นดังต่อไปนี้ด้วย อาทิเช่น เพิ่มบทบัญญัติกรณีที่ไม่ถือว่าเป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น, เพิ่มกลไกการควบคุมราคายาสิทธิบัตร, เพิ่มนิยามคำว่า "สาระสำคัญ", เพิ่มความชัดเจนของการอ้างอิง Priority date และการนับอายุสิทธิบัตร, เพิ่มการเปิดเผยรายงานการตรวจสอบสิทธิบัตรต่อสาธารณะ และเพิ่มความชัดเจนในกระบวนการและระยะเวลาในการพิจารณาตามขั้นตอนต่างๆ เป็นต้น "ขอเรียกร้องให้กรมทรัพย์สินทางปัญญานไข้อคิดเห็นของภาคประชาสังคมไปพิจารณาในการแก้ไขกฎหมายสิทธิบัตรโดยทันที เพื่อไม่ให้เป็นที่เคลือบแคลงว่ากรมทรัพย์สินทางปัญญาไม่ฟังเสียงประชาชน และเพื่อให้การแก้ไขกฎหมายครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนในประเทศต่อไป" นักวิจัย กพย. กล่าว ทั้งนี้ องค์กรที่ร่วมทำความเห็นต่อการแก้ไข พรบ.สิทธิบัตรครั้งนี้ประกอบไปด้วย ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.), เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย, มูลนิธิเข้าถึงเอดส์, มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์, มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค, กลุ่มศึกษาปัญหายา, กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน, องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชนและ ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google, 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น