โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2561

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

'ประจักษ์' ชวนคุยหนังสือ 'การเมืองไทยร่วมสมัย' ของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

Posted: 21 Mar 2018 01:22 PM PDT

ประจักษ์ ชี้ เป็นหนังสือที่ทันสมัยที่สุดที่เหมาะสำหรับผู้สนใจศึกษาการเมือง เริ่มตั้งแต่ก่อนรัฐสมัยใหม่ จนถึงปัจจุบัน เสนอไม่เพียงฝ่ายก้าวหน้าตั้งพรรค แต่ฝ่ายอนุรักษ์นิยมควรตั้งด้วย เตือนการรัฐประหารตัวเอง อาจเกิดขึ้นอีก

เมื่อวันที่ 14 มี.ค.ที่ผ่านมา อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ และสถาบันพระปกเกล้า จัดเปิดตัวหนังสือ 'การเมืองไทยร่วมสมัย' ของ ผศ.ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ โดยมี ผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ สาขาวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้นำเสนอและพูดคุย

สำหรับหนังสือ 'การเมืองไทยร่วมสมัย' นี้ สถาบันพระปกเกล้า ระบุว่า เป็ฯหนังสือที่อธิบายประวัติศาสตร์การเมืองไทยหลังการปฏิวัติ 24 มิ.ย. 2475 จนถึงปัจจุบันในฉบับย่อ เพื่อให้ผู้สนใจการเมืองไทยได้ทำความเข้าใจโดยใช้เวลาไม่นาน ทั้งนี้ เพื่อจะได้เห็นพัฒนาการใน ภาพรวม ตลอดจนประเด็นที่เป็นปมปัญหาการเมืองในช่วงกว่าแปดทศวรรษที่ผ่านมา ด้วยมี ความผันผวน และมีห้วงเวลาที่ความทรงจำบางส่วนถูกปรับเปลี่ยนไปตามเงื่อนไขของการเมือง ภายในแบ่งออกเป็น 6 บท ซึ่งกล่าวถึง การเมืองไทยในช่วงเวลาต่างๆ นับตั้งแต่ภูมิหลัง การเมืองไทยยุคก่อนรัตนโกสินทร์ ยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาจนถึงสมัยประชาธิปไตย การเมืองไทยในช่วงปฏิวัติสยาม คณะราษฎร กบฏในยุคนั้น และห้วงเวลาของการเมืองในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากนั้นเป็นช่วงการเมืองไทยในยุคต่างๆ นับตั้งแต่ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เรื่อยมาจนกระทั่งการเมืองไทยในยุคที่มีความขัดแย้งทางการเมือง 14 ตุลา 6 ตุลา พฤษภาทมิฬ ในปี 2535 การเมือง จวบจนถึงยุคประชาธิปไตย กระทั่งยุคหลังที่เป็นความขัดแย้งทางการเมือง ยุคปฏิรูปการเมือง เรื่อยมาจนถึงรัฐประหารใน พ.ศ. 2549 และ 2557 ตามลำดับ และการร่างรัฐธรรมนูญหลังปี 2557 เหมาะสำหรับผู้สนใจการเมืองไทยเบื้องต้น อย่างไรก็ดีผู้เขียนได้พยายามอธิบายภาพรวมของการเมืองไทยในพื้นที่อันจำกัดย่อมมีรายละเอียดทางประวัติศาสตร์จำนวนมากที่ถูกตัดทอนไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งผู้ได้รวบรวมบรรณานุกรมไว้ท้ายเล่ม เพื่อให้ผู้สนใจสามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้

ประจักษ์ แบ่งการพูดเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย 1. ส่วนชมเชย จุดดีของหนังสือ 2. สิ่งที่อยากจะเห็นหากจะปรับปรุงพิมพ์ครั้งต่อไป ของหนังสือเล่มนี้ และ 3. มีประเด็นอะไรที่ลองหยิบ คุยกับสถานการณ์การเมืองร่วมสมัยในปัจจุบัน

โดยประเด็นแรก ประจักษ์ กล่าวว่า หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ทันสมัยที่สุดที่เหมาะสำหรับผู้สนใจศึกษาการเมือง เริ่มตั้งแต่ก่อนรัฐสมัยใหม่ จนถึงปัจจุบัน เล่มนี้ตนอ่าน 2 วันจบเป็นหนังสือที่กระชับแต่ก็มีประเด็นบางอย่างที่ยังไม่จุใจ เข้าใจว่าความตั้งในให้เป็นตำราพื้นฐานก่อน แต่คนที่อยากลงลึกในบางประเด็นอาจรู้สึกว่าตรงนั้นหายไปและไม่ได้ลงลึก

ประจักษ์ ระบุว่า ในบทแรกๆ เน้นไปที่การต่อสู้ทางความคิด ซึ่งเป็นการเดินเรื่องช่วง ก่อนและหลัง 2475 เช่น การชี้ให้เห็นแนวคิดเรื่องระบบรัฐธรรมนูญ ที่เรียกทับศัพท์อังกฤษ เพื่อผลักออกไปจากความเป็นสังคมไทย นอกจากนี้แม้เป็นตำราค่อนข้างกระชับ แต่มีการโควทเอกสารชั้นต้นมาลงไว้ แต่ก็เสนอว่า อยากให้ใส่ประกาศคณะราษฏร ฉบับที่ 1 ลงไปด้วย 

สำหรับวาทกรรมแบบไทยๆ นั้น ประจักษ์ มองว่า เป็นวาทะกรรมที่เป็นกับดักที่สุดของสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นวาทกรรมประชาธิปไตยแบบไทยๆ มันอยู่กับที่คุณไปอยู่ที่ยุคไหน ที่เรียกว่าไทยนิยมนี้มันก็อยู่ที่ยุคไหน ดังนั้นเวลาที่เราจะย้อนกลับไปเป็นแบบไทย ก็ย้อนไปที่สมัยจอมพลสฤษดิ์เท่านั้น ซึ่งจริงๆ ก็เป็นการเอาโมเดลแบบฝรั่งเหมือนกันเรื่องการปกครองแบบเผด็จการทหาร

จุดที่เสียดายอีกประการที่ ประจักษ์ วิจารณ์หนังสือเล่มนี้ เนื่องจากผู้เขียนเดินเรื่องผ่านการถกเถียงทางความคิดไว้มากในช่วงแรก แต่มาช่วงหลังเป็นการอธิบายในทางรัฐศาสตร์เชิงสถาบันทางการเมือง แต่เรื่องการต่อสู้ในมิติทางความคิดหายไป จึงอยากเห็นเรื่องการต่อสู้ทางความคิดเข้ามาในช่วงหลังด้วย

ประจักษ์ ชี้ต่อว่า หนังสือเล่มนี้ มีการอัพเดทแนวคิดใหม่ๆ เช่น รัฐพันลึก หรือรัฐเร้นลึก (Deep State) หรือ Network Monarchy (เครือข่ายราชสำนัก) หรือการมองการเปลี่ยนแปลงในชนบท ที่มีการเกิดขึ้นของชนชั้นกลางใหม่ แต่ด้วยเนื้อที่มันจำกัด แนวคิดเหล่านี้ไม่ได้อธิบายเท่าที่ควร ดังนั้นจึงเสนอให้มีการนิยามคีย์เวิร์ดพวกนี้ด้วย

ประจักษ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังมีเรื่องเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่อยู่ในหนังสือ ผู้เขียนให้พื้นที่ของกบฎมาก ในเล่นนี้มีกบฎเยอะมาก มันสะท้อนว่าการเมืองไทยไม่มีใครผูกขาดอำนาจได้ยาวนาน แม้ในกองทัพหรือชนชั้นนำด้วยกันเองก็มีการก่อกบฎต่อต้าน

สิ่งที่อยากจะเห็น หากจะเขียน ฉบับที่ 2 นั้น ประจักษ์ เสนอว่า เหมือนหนังสือนี้มี 2 เล่ม ในเล่มเดียว ที่ช่วงแรกเป็นการพูดถึงการต่อสู้เชิงความคิดและอุดมการณ์ แต่ช่วงหลัง 14 ตุลา 16 ประเด็นการต่อสู้ตรงนี้ รวมทั้งการต่อสู้เชิงการเมืองเชิงวัฒนธรรมหายไป ถ้าใส่จะทำให้น่าสนใจ อ่านบทแรกๆ เหมืนบู้เลย มีประเด็นอัพเดทมาก เล่าเรื่องสนุกสนาน แต่เมื่อถึงบทที่ 5 ช่วงทศวรรษของความปั่นป่วนทางการเมือง 5 และ 6 เหมือนเป็นคนเขียนอีกคน เหมือนผู้เขียนเกรงทั้งที่เป็นช่วงที่วิกฤติ กำลังสู้เข้มขึ้น แต่ผู้เขียนกลับเข้าสู่การพรรณนา เล่าเหตุการณ์ว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น เป็นการเล่าที่อาจเห็นข้อเท็จจริงพื้นฐานดีมาก ไม่ใส่อคติข้อวิพากษ์ลงไป แต่มันควรจะมีบทวิเคราะห์หรือสรุปให้ความเห็นของผู้เขียนในต่ละช่วงในการเปลี่ยนผ่าน ไม่เช่นนั้นมันจะเหมือนประวัติศาสตร์แบบ ฟอร์เรสท์ กัมพ์ ที่เขาเป็นเพียงผู้สังเกตุการณ์ ไม่เห็นแง่มุมการวิเคราะห์ รวมทั้งช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลา 6 ตุลา นั้นน้อยไป น่าจะให้น้ำหนักมามากขึ้นได้อีก

อีกประเด็น ประจักษ์ วิจารณ์ว่า บทบาทของสามัญชน น้อยไป น่าจะชี้ให้เห็นวว่าในแต่ละยุคสามัญชนเข้ามาเสนอทางเลือความคิดแปลกๆ เข้ามาอย่างไร ใส่เข้ามาเพื่อให้เห็นภาพทั้ง 2 ด้าน ตั้งแต่ เทียนวรรณ ถวัติ ฤทธิเดช ฯลฯ

สำหรับประเด็นที่ 3 ที่หนังสือเล่มนี้ช่วยให้เราอ่านการเมืองไทยร่วมสมัยอย่างไรบ้างนั้น ประจักษ์ ชี้ว่า หนึ่ง การต่อสู้ทางความคิดอุดมการณ์ การเมืองไทยเดินทางมายาวนานมาก ถ้าจะเข้าใจคำว่าประชาธิปไตยไทยนิยม จะเห็นว่าเราต้องย้อนกลับไปไกลมาก เพื่อเข้าใจแนวคิดต่างๆ เช่น เรื่องความป็นชาติ เรื่องอะไรฝรั่งอะไรไทย เรื่องรูปแบบการปกครองที่เหมาะสมกับการเมืองไทย

สอง ประเด็นอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญมันกลับขึ้นมาใหม่ แนวคิดเรื่องอำนาจอธิปไตยของไทยที่มันไม่นิ่ง ที่สามารถอภิปรายได้อีกยาวไกล เมื่อมันไม่นิ่งทำให้ เกิดปรากฎการณ์ที่ สุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. เคยพูดถึงตัวเองเป็นองค์อธิปัตย์

สาม ตกลงรัฐไทยเป็นรัฐสมัยใหม่จริงหรือเปล่า มันมีอะไรบางอย่างที่มีเรื่องก่อนสมัยใหม่อยู่ในสังคมไทย ในมิติการสร้างรัฐที่ไม่สำเร็จ เรื่องชุมชนจินตนากรรมนี้มันสร้างไม่สำเร็จ

สี่ น้ำยาของรัฐราชการไทย ในยุคการเมืองมวลชน โลกาภิวัฒน์ คำถามคือ จะจัดการอย่างไร ปัญหารัฐราชการส่วนกลางที่ไม่ยืดหยุ่นและกระจายอำนาจ

ไม่เพียงฝ่ายก้าวหน้าตั้งพรรค แต่ฝ่ายอนุรักษ์นิยมควรตั้งด้วย

ประจักษ์ กล่าวถึงการมีพรรคของคนรุ่นใหม่ฝ่ายก้าวหน้าตั้งพรรคนั้น ว่า เป็นเรื่องดี แต่ไม่พอ คิดว่าพวกฝ่ายอนุรักษ์นิยมควรมาตั้งพรรคด้วย โดยที่มีชุดอุดมการณ์มาเสนอด้วย อนุรักษ์นิยมไม่ใช่อำนาจนิยมเสมอไป แต่เป็นเรื่องที่เชื่อการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป ยึดขนบ ตรงนี้เป็นสิ่งที่อยากเห็น แต่ว่าที่ผ่านมาพรรคแนวนี้ไม่ค่อยเห็น ที่ใกล้เคียงที่สุดคือพรรคประชาธิปัตย์ที่ตั้งมาต่อสู้กับพรรคคณะราษฏร แต่เมื่อหลัง 14 ตุลา พรรคถูกครอบโดยนักธุรกิจ นักการเมืองท้องถิ่น ทำให้เราไม่มีชุดความคิดที่เป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยม คิดว่าถ้ามีและไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารน่าจะมีตั้งพรรคการเมืองเข้ามาสู้ในระบบ

การรัฐประหารตัวเอง อาจเกิดขึ้นอีก

ประจักษ์ กล่าวด้วยว่า ส่วนพรรคทหารนั้นฝากความหวังไม่ได้ มีมาทุกยุคทุกสมัย ไม่ชนะการเลือกตั้ง เป็นพรรคขนาดเล็กมาก การที่พรรคทหารล้มเหลวในระบบเลือกตั้งทำให้ทหารเกิดการรัฐประหารตัวเองบ่อยๆ เช่นปี 2494 2501 2514 เพื่อกระชับอำนาจ เพราะกลับไปเลือกตั้งแล้วคุมอำนาจไม่ได้ จึงยกเลิกระบบรัฐสภา ทำไมถึงพูดเรื่องนี้เพราะมันอาจเกิดขึ้นอีก มันมีความรู้ที่สั่งสมกันมาสำหรับการรัฐประหาร

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

บก.ลายจุดยื่นจดตั้งพรรคการเมือง พร้อมถือพจนานุกรมอธิบายว่า "เกรียน" คืออะไร

Posted: 21 Mar 2018 10:05 AM PDT

สมบัติ บุญงามอนงค์ และทีมผู้ร่วมจดจัดตั้งพรรคเกรียน เสนอตัวเป็นผู้นำความบันเทิงสู่การเมืองไทย พร้อมถือพจนานุกรมเพื่ออธิบายว่า "เกรียน" คืออะไร ก่อนเข้ายื่นจดทะเบียนพรรคเจออดีต กกต.สมชัย จึงชวนร่วม สมชัยตอบยังไม่รีบ ขอคิดดูก่อน

ภาพจาก Banrasdr Photo

21 มี.ค. 2561 หลังจากประกาศว่าจะตั้งพรรคการเมืองที่ชื่อว่า "พรรคเกรียน" มาระยะหนึ่ง ถึงที่สุดสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด เอาจริง ก่อนหน้านี้ 20 มีนาคม 2561 เขาโพสต์เฟซบุ๊กว่าจะมาจดจัดตั้งพรรคการเมือง โดยมีรูปเอกสารจดทะเบียนพรรคที่มีชื่อของเขาเพียงคนเดียว และเขียนข้อความชวนขำขันว่า หากพรุ่งนี้ได้รายชื่อผู้ก่อตั้งพรรคการเมืองไม่ถึง 15 คน ก็จะแยกย้ายกลับบ้านใครบ้านมัน แต่ปรากฎว่าช่วงสายวันนี้เขาได้รายชื่อเพื่อนร่วมอดุมเกรียนมากกว่ายี่สิบคน เป็นอันว่าจำนวนผู้ยื่นจดจัดตั้งพรรคการเมืองไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป

โดยเมื่อเวลา 11.00 น. วันนี้ บก.ลายจุด และผู้ร่วมก่อตั้งพรรคเกรียนทั้งหมดได้เตรียมยื่นเอกสารจดจัดตั้งพรรคการเมืองแล้ว ขณะที่วรัญชัย โชคชนะ ได้เดินทางมาให้กำลังใจการยื่นจดจัดตั้งพรรคครั้งนี้ด้วย พร้อมบอกกับผู้สื่อข่าวว่าผมมาเป็นทึ่ปรึกษา พรรคไหนจะมาปรึกษาก็ให้คำปรึกษาได้หมด ขณะที่ผู้สื่อข่าวภาคสนามแซวว่า "พี่นี่ไปทุกพรรค รักทุกคนเลยนะ"

ภาพจาก Banrasdr Photo

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ขณะยื่นจดจัดตั้งพรรคการเมือง บก.ลายจุดได้อ่านพจนานุกรมให้เจ้าหน้าที่ กกต. ฟังด้วยว่า คำว่า "เกรียน" ไม่ขัดต่อกฎหมายแน่นอน เนื่องจากหมายถึง สั้น สะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งหากไม่สามารถจดทะเทียนพรรคได้ก็จะยื่นเรื่องให้ศาลปกครองพิจารณาต่อไป นอกจากนี้เขาให้สัมภาษณ์ด้วยว่าคำว่าสแกนของพรรรคคือ การเข้าไปเป็นผู้นำความบันเทิงสู่การเมืองไทย เพราะการเมืองไทยเครียดเกินไป ทั้งทางพรรคไม่เน้นการหาเสียง แต่เน้นการหาเรื่อง

ทั้งนี้ในช่วงเช้าก่อนหน้าที่จะเข้ายื่นจดทะเบียนพรรค บก.ลายจุดได้พบกับอดีต กกต. สมชัย ศรีสุทธิยากร โดย บก.ลายจุด ได้ออกมาต้อนรับพร้อมขอแปะมือทักทาย พร้อมได้ชวนสมชัยเข้าร่วมพรรค แต่สมชัยตอบว่ายังไม่รีบเข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดๆ ขอคิดดูอีกสักพักก่อน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ถึงเวลาถอดหน้ากาก คสช. สัมภาษณ์พิเศษอดีต กกต. สมชัย

Posted: 21 Mar 2018 08:32 AM PDT

เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องเหลืออยู่เพียง 4 คน จากอำนาจตามมาตรา 44 ประชาไทสัมภาษณ์พิเศษ สมชัย ศรีสุทธิยากร ผู้กลายอดีตกรรมการการเลือกตั้งได้หนึ่งวัน หลายคำตอบได้รับการปลดล็อค เรื่องที่ผ่านมา เรื่องที่เกิดขึ้น และเรื่องของอนาคต ถึงเวลาถอดหน้ากาก คสช.

"จริงๆ แล้ว เขาอาจจะต้องการเอาผมออกคนเดียว แต่ยังไม่รู้จะเอาออกอย่างไร" ประโยคนี้ปรากฎในบทสัมภาษณ์ของสมชัย ศรีสุทธิยากร ในเว็บไซต์ the101.world โดยธิติ มีแต้ม แน่นอนว่านี่เป็นบทสัมภาษณ์ขนาดยาวชิ้นสุดท้ายของสมชัย ในฐานะคณะกรรมการการเลือกตั้ง

4 วันถัดมาหลังจากบทสัมภาษณ์ชิ้นนั้นได้เผยแพร่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ลงนามในคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 4/2561 เรื่องให้คณะกรรมการเลือกตั้งยุติการปฎิบัติหน้าที่ โดยสั่งให้ สมชัย ยุติการปฎิบัติหน้าที่ด้วยเหตุผลที่ว่ามีพฤติกรรมในการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนที่ไม่เหมาะสม และได้เข้ารับการสมัครเป็นเลขาธิการ กกต. โดยที่ยังไม่ได้ลาออกจากตำแหน่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 265 ในรัฐธรรมนูญ 2560 และมาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557

หลังจากคำสั่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ไม่นาน เราต่อสายถึงผู้กลายเป็นอดีตกรรมการการเลือกตั้ง เขาตอบกลับมาว่าพรุ่งนี้ผมจะเข้าไปเก็บของที่ออฟฟิศ คุณมาที่ศูนย์ราชการได้ไหม แล้วเดี๋ยวเราหาที่คุยกันยาวๆ

0000000

จากบทสัมภาษณ์ก่อนหน้านี้เหมือนจะรู้มาก่อนว่า ผู้มีอำนาจมีความพยายามต้องการให้คุณสมชัย ออกจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง จนท้ายสุดมีการประกาศใช้มาตรา 44 เพื่อสั่งให้ออก คุณสมชัยรู้ตัวมาก่อนหรือไม่ว่าจะมีการใช้มาตรานี้

ผมคงพูดเบื้องหลังต่างๆ มากไม่ได้ แต่เราอาจจะมองในภาพกว้างๆ ได้ว่า มีเจตนามาตั้งแต่เรื่องการเซตซีโร่ กกต. ซึ่งปัญหาสำคัญน่าจะอยู่ที่ตัวผม อาจจะประเมินได้ว่าในเมื่อท่านอื่นๆ ไม่ได้แสดงบทบาท ไม่ได้แสดงท่าทีใดๆ ออกมามากมายนัก ต่างกันกับผมซึ่งอาจจะถูกมองในสายตาผู้มีอำนาจว่า เป็นฝ่ายที่ไม่ยอมจำนนในการกระทำต่างๆ ที่ทำออกมาแล้วไม่ถูกต้อง อย่างเช่นการให้ความเห็นต่อรัฐธรรมนูญ หรือความเห็นต่อกฎหมายลูกต่างๆ หรือแม้กระทั้งแนวทางต่างๆ ที่จะมีการปรับเปลี่ยนการเลือกตั้ง ผมได้แสดงความเห็นเชิงที่ไม่เห็นด้วยในหลายๆ เรื่อง เช่นกรณีเลือกตั้งโดยมีบัตรใบเดียว กรณีที่จะให้มีหมายเลขผู้สมัครรับการเลือกตั้งไม่ตรงกันในแต่ละเขต

ฉะนั้นเหตุผลในการเซ็ตซีโร่ก่อนหน้านี้ คงไม่ได้มาจาก กกต. ท่านอื่น แต่น่าจะมาจากการที่เราเองเป็นฝ่ายที่กล้าแสดงความเห็นในเชิงที่แตกต่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงประชามติผมก็เป็น กกต. คนเดียวที่กล้าพูดว่า สิ่งที่ทาง คสช. ปราบปรามประชาชนในหลายต่อหลายเรื่องเป็นสิ่งที่ประชาชนมีสิทธิตามกฎหมายที่จะดำเนินการได้ เช่น การสวมเสื้อโหวตโนผมก็เห็นว่าทำได้ ไม่ขัดกฎหมาย การอภิปรายทางวิชาการก็สามารถทำได้ การแจกเอกสารของอาจารย์ที่มหิดลก็สามารถทำได้ แต่ในขณะเดียวกันผมก็บอกว่าอะไรที่ทำไม่ได้ เช่น เอกสารซึ่งมีข้อความที่เป็นเท็จ การโพสต์ข้อความหยาบคายก่อให้เกิดความแตกแยก หรือการปลุกระดม การที่ผมออกมาพูดในแต่ละเรื่องก็น่าจะเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่เขาอาจจะรู้สึกว่า ผมไม่ได้พูดตามเขาทั้งหมด ซึ่งหากเขาต้องการเอาผมออกตอนนั้นก็สามารถใช้ ม.44 ได้ทันที แต่เขายังไม่คิดที่จะใช้

ทางออกที่เขาเลือกใช้คือการให้อำนาจ สนช. คิดเองว่า องค์กรอิสระ องค์กรไหนควรอยู่ องค์กรไหนควรจะไป โดยมีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ซึ่งก่อให้เกิดความไร้มาตรฐาน และทำให้เกิดเสียงครหาว่า การลงมติของ สนช. ไม่เป็นแบบแผนเดียวกันในทุกองค์กรอิสระ

ความต้องการจะให้ผมออกก็มีมาตั้งแต่ตอนนั้น เพราะไม่มีช่องทางอื่นที่จะให้ผมไป  ย้อนกลับไปก่อนเซ็ตซีโร่ก็มีการกำหนดคุณสมบัติขั้นสูงแล้วเปิดให้คนที่มีคุณสมบัติครบอยู่ต่อไป โดยเชื่อว่าจะสามารถทำให้ผมออกไปได้ แต่ผมก็พิสูจน์แล้วว่า แม้ผมจะไม่ได้เป็นศาสตราจารย์ หรือไม่ได้อยู่ในส่วนราชการเกิน 5 ปี แต่ผมทำงานอยู่ในภาคประชาชนสังคมมาไม่น้อยกว่า 20 ปี ซึ่งผมมีหลักฐานยืนยัน ในเมื่อออกผมออกจากช่องทางนี้ไม่ได้ ก็เป็นที่มาของการเซ็ตชีโร่ กกต. ทั้งหมด

ในตัวคำสั่งของหัวหน้า คสช. พูดอยู่ 2 เรื่อง หนึ่งในนั้นคือ การระบุว่าคุณสมชัยมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ในการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน คำถามคือการเป็นองค์กรอิสระ นั้นก็ย่อมที่จะมีอิสระในการแสดงความคิดเห็น  แต่ดูเหมือนผู้มีอำนาจมองว่าความเป็นอิสระตรงนี้คือปัญหา คุณคิดอย่างไร

โดยหลักการของการแสดงความเห็นโดยสุจริตบนพื้นฐานของกฎหมาย และเป็นไปเพื่อประโยชน์ของบ้านเมืองเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ว่าจะเป็นองค์กรอิสระ หรือคนในหน่วยงานอื่นๆ สามารถที่จะทำได้ ส่วนผมก็พยายามจะจำกัดกรอบการแสดงความคิดเห็นของตัวเอง เลือกที่จะพูดเพียงประเด็นที่เกี่ยวกับกฎหมายเลือกตั้ง หรือสถานการณ์การเลือกตั้ง เพื่อให้สังคมได้มีโอกาสรู้ถึงข้อเท็จจริงว่า ตอนนี้เกิดอะไรขึ้น และจะเกิดอะไรต่อไป

ถ้าหากกลับไปดูสิ่งที่ต่างๆ ที่ผมเตือนไว้ทั้งหลายมันเป็นจริงทั้งหมด และมันทำให้กระบวนการที่ควรจะเดินหน้าได้มันติดขัดทั้งสิ้นยกตัวอย่างเช่น  การลงคะแนนคัดเลือกผู้ที่จะเข้ามาเป็น กกต. ชุดใหม่ ในฝั่งของที่ประชุมศาลฎีกา ผมก็พูดตลอดเวลาว่ากระบวนการดังกล่าวขัดกับกฎหมาย และเป็นการให้ความเห็นว่าอยากจะให้ศาลถอยกลับไปประมาณ 15 วันเพื่อลงมติกันใหม่ เพื่อที่จะไม่ให้เกิดการเสียเวลาในชั้นพิจารณาโดย สนช. สุดท้ายก็ไม่ฟัง ส่วน สนช. เองก็บอกว่าไม่มีหน้าที่ไปตรวจสอบศาล และพอไปถึงในขั้นตอนของการให้ความเห็นชอบก็มีความกังวลกันว่าจะเป็นการทูลเกล้าฯ สิ่งที่ไม่เหมาะสมขึ้นไปต่อในหลวงหรือไม่ ก็เป็นที่มาของการไม่รับรอง กกต. ทั้ง 7 คน ซึ่งนี่ก็เป็นสิ่งที่ผมได้เตือนไว้ก่อนหน้าแล้ว

ประเด็นที่เกี่ยวข้องกันอีกคือ เรื่องที่การพูดว่าถ้ามีการส่งกฎหมาย ส.ส. เพื่อไปให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ ผมก็เป็นคนแรกที่บอกว่าถ้าส่งโรดแมปของการเลือกตั้งจะช้าไปอีก 2 เดือน หรือถ้าส่งกฎหมายลูก ส.ว. โรดแมปเลือกตั้งอาจจะไม่ช้า เพราะการประกาศใช้กฎหมายลูก ส.ส. ได้ยึดเวลาออกไปแล้ว 90 วัน ถ้าศาลรัฐธรรมนูญสามารถพิจารณาได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วกรอบเวลาที่มีการขยายออกไปก็เพียงพอ หรืออาจจะช้าไปอีก 6 เดือนถ้าศาลรัฐธรรมนูญตีความว่า สิ่งที่ส่งเข้าไปเป็นการขัดแย้งในสาระสำคัญของกฎหมาย ซึ่งก็อาจจะมีโอกาสที่จะขัดแย้งกับสาระสำคัญของกฎหมาย เพราะกฎหมายฉบับนี้ชื่อว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว. สิ่งที่มีการส่งให้ศาลพิจารณาก็คือเรื่องของวิธีการคัดเลือก ซึ่งก็คือว่าวิธีการได้มา หากศาลเห็นว่า ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญก็มีความเป็นไปได้ที่จะต้องร่างกันใหม่ทั้งฉบับ หากเป็นอย่างนั้นผมประเมินไว้ว่ากระบวนการร่างที่เร็วที่สุดคือ 6 เดือน ร่างใหม่ 2 เดือน เข้าสู่การพิจารณาของ สนช. อีก 2 เดือน เข้าสู่ขั้นตอนของการขึ้นทูลเกล้าและขั้นธุรการอีกประมาณ 2 เดือน ซึ่งเวลาจะยื่นก็ต้องคิดในสองทางคือทางที่ดีที่สุด กับทางที่เลวร้ายที่สุด ไม่ใช่สรุปสุดท้ายจะมาบอกว่า คสช. ไม่เกี่ยว สนช. ไม่เกี่ยว กรธ. ไม่เกี่ยว แต่เป็นศาลท่านชี้

สิ่งต่างๆ เหล่านี้ก็เป็นการพูดภายใต้กรอบของกฎหมาย ภายใต้สิ่งที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ ภายใต้กรอบระยะเวลาที่เป็นไปได้จริง ผมจำได้ว่าก่อนหน้าที่ผมจะพูดเรื่องนี้ฝ่าย คสช. รองนายกรัฐมนตรี ก็พูดว่าไม่ว่าจะยื่นกฎหมาย ส.ส. หรือ กฎหมาย ส.ว. ก็จะไม่กระทบโรดแมป แต่พอผมพูดว่าการยื่นกฎหมาย ส.ส. จะกระทบจึงมาพูดตามกันภายหลังว่า การยื่นกฎหมาย ส.ส. จะกระทบโรดแมป

ผมไม่ได้รู้สึกว่าสิ่งที่ผมพูด หรือสิ่งที่ผมแถลงข้อเท็จจริงต่อสาธารณะนั้นเป็นความผิด มันเป็นการให้ข้อมูลที่เป็นที่เป็นข้อเท็จจริง ซึ่งอยู่บนพื้นฐานทางกฎหมาย ในฐานะที่เราดูแลตรงนี้อยู่คุ้นเคยกับกฎหมายเหล่านี้อยู่ เราก็ควรทำให้สังคมได้รับรู้ แต่ถ้าจะบอกว่าผมให้ข้อมูลต่อสังคมแล้วทำให้สับสนต่อกระบวนการ และกำหนดการการเลือกตั้ง ผมคิดว่ามันไม่ได้เป็นข้อมูลที่สับสนเลย ผมให้ข้อมูลที่เป็นจริง คนสับสนคือรัฐบาล คือคนที่อยู่ในอำนาจ ซึ่งพูดกลับไปกลับมามากกว่า

คิดว่าเลือกตั้งกุมภาพันธ์ปีหน้าจะเกิดขึ้นจริงๆ หรือไม่

ตรงนี้ผมไม่ทายแล้วกัน เพราะมันมีปัจจัยเสี่ยงอีกหลายปัจจัยที่ยังไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้างในอนาคตข้างหน้า แต่ผมก็อธิบายได้แต่ละช่วงว่า มันจะเกิดอะไรขึ้นซึ่งได้พูดไปหมดแล้ว และมันเป็นข้อเท็จจริงซึ่งถูกตั้งตามกฎหมาย

กกต. จากเดิมมีอยู่ 5 คน ตอนนี้เหลืออยู่ 4 คน จะส่งกระทบต่อโรดแมปการเลือกตั้งหรือไม่

ไม่กระทบครับ เหลืออยู่ 4 คนก็ต้องทำหน้าที่กันได้ ก็ต้องลงมติกัน 4 คน เวลาลงมติหากต้องการเสียงข้างมากก็เป็น 3 ต่อ 1 และหากผลออกมาเป็น 2 ต่อ 2 ประธาน กกต. ท่านก็มีสิทธิโหวตชี้ขาด

ก่อนหน้านี้คุณสมชัยก็สัมภาษณ์สื่อมาตลอด และก็มีหลายครั้งที่อาจจะไม่ถูกใจผู้มีอำนาจ แต่ทำไมถึงมีการใช้ มาตรา 44 สั่งให้ยุติการปฎิบัติหน้าที่ตอนนี้

ผมไม่มีความสามารถไปอธิบายในสิ่งที่เกิดขึ้นได้ แต่ยืนยันว่าสิ่งที่ผมทำก็ทำโดยสม่ำเสมอและทำโดยไม่เลือกว่าเป็นรัฐบาลไหน ในยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์คนก็เห็นว่าผมเป็นฝ่ายที่โต้แย้ง ให้ความเห็นในทางตรงข้ามในสิ่งที่รัฐบาลทำจนทำให้คนกลุ่มหนึ่งมองว่าผมเป็น กปปส. ซึ่งความจริงสิ่งที่ผมโต้แย้งก็คือหลักกฎหมายทั้งสิ้น เช่น รัฐบาลรักษาการณ์ขอให้ กกต. อนุมัติให้รัฐบาลกู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตร สองหมื่นล้านเพื่อไปจ่ายเงินค่าข้าวให้ชาวนาในโครงการจำนำข้าว ผมก็เปิดรัฐธรรมนูญดูว่า รัฐบาลรักษาการณ์ไม่สามารถก่อหนี้ผูกพันไปยังรัฐบาลถัดไปได้

ผมถามท่านกิตติรัตน์ ณ ระนอง ว่า หาก กกต. อนุมัติให้มีการกู้เงินจาก ธกส. จะคืนเงินในเวลาเท่าไหร่ ท่านก็บอกว่าขายข้าวได้เท่าไหร่ก็คืน เดือนหนึ่งขายได้ประมาณพันกว่าล้าน นั่นเท่ากับว่าใช้เวลาประมาณ 20 เดือน ผมก็ถามว่ารัฐบาลรักษาการณ์อยู่ถึง 20 เดือนไหม ท่านบอกประมาณ 2-3 เดือน ผมเห็นว่านี่คือการก่อหนี้ผูกพันเลยมีความเห็นว่า ไม่สามารถให้กู้ได้

ช่วงนั้นกลไกของรัฐก็ไม่ทำให้เกิดความเรียบร้อยในบ้านเมืองได้ ผมเองโดนข้อกล่าวว่า เป็น กกต. ที่ไม่ตั้งใจจัดการเลือกตั้ง จนทำให้เกิดปัญหาวุ่นวาย ผมก็ย้อนถามกลับไปว่า ณ วันนั้นกลไกของรัฐเป็นกลไกที่สามารถทำให้เกิดความสงบได้หรือไม่ หากคุณลงไปภาคใต้จะพบว่า ผู้ว่าราชการ 11 จังหวัดสามารถเข้าศาลากลางจังหวัดได้ ตำรวจทหารก็พยายามอยู่ในที่ตั้งให้มากที่สุดไม่ออกมายุ่งเกี่ยว

การขอความร่วมมือและขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ เราได้รับความร่วมมือน้อยมาก เอกชน วัดวาอาราม มูลนิธิ ที่เราเคยขอใช้สถานที่ในการจัดการเลือกตั้งปฏิเสธเราหมด เพราะไม่มีใครอยากจะชักศึกเข้าบ้าน เพราะหากมีการตั้งเต๊นท์เลือกตั้ง ก็จะมีการเข้าไปทำลายบุกรุก ฉะนั้นคนเหล่านี้เขาต้องการความปลอดภัยต่อตัวเขาเองเขาก็เลือกที่จะไม่ให้ความร่วมมือ

กกต. ไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะอำนวยการให้เกิดการเลือกตั้งได้ ผมก็สะท้อนข้อเท็จจริงให้กับรัฐบาล รัฐบาลก็พยายามให้ข้อมูลกับสาธารณะว่า กกต. ใหญ่สุด สั่งใครก็สั่งได้ ผมถามว่าคุณเป็นรัฐบาลคุณยังสั่งใครไม่ได้เลย แล้วจะให้ กกต. ซึ่งไม่มีอำนาจอะไรมากมายไปสั่งแล้วมันจะเกิดความสำเร็จได้อย่างไร แล้วก็ขอให้รัฐบาลชะลอการเลือกตั้งออกไปก่อน 2-3 เดือน เพื่อให้เหตุการณ์ความขัดแย้งต่างๆ มันคลี่คลายลง แต่รัฐบาลบอกว่าอย่างไรก็ต้องเดินหน้า แม้ว่าช่วงนั้นศาลรัฐธรรมนูญจะชี้ว่า ถ้าจะเลื่อนการเลือกตั้งก็สามารถเลื่อนได้ได้ แต่ต้องเห็นชอบทั้งสองฝั่งคือรัฐบาลกับ กกต. เมื่อรัฐบาลไม่เห็นชอบ กกต. ก็ต้องจัดการเลือกตั้ง นี่คือสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในยุคนั้น

ในยุคของคุณยิ่งลักษณ์ ผมก็แสดงบทบาทที่ตรงไปตรงมาเพื่อบอกว่า อะไรจะเกิดขึ้น อะไรจะเป็นปัญหา ถ้าคุณเลือกตั้งต่อไปถ้ามีคนร้องศาลรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งจะเป็นโมฆะ สุดท้ายก็เป็นจริงและนี่ไม่ใช่ทฤษฎีสมคบคิด ผมพูดอนาคตให้ฟังแล้ว แล้วท่านไม่เชื่อ นี่ก็ชี้ให้เห็นว่าบทบาทของผมไม่ได้เป็นการไปต่อต้านรัฐบาล เพียงแต่ชี้ให้เห็นว่าอะไรจะเกิดขึ้น แต่คนก็เข้าใจผิดว่า ผมไปเรียกทหารเข้ามา ไม่ใช่หรอกครับผมทำเต็มที่แล้วแต่ทำไม่ได้จริงๆ เพราะสถานการณ์ในเวลานั้นมีการวางเฉยมีการไม่ให้ความร่วมมือ ยกเว้นตำรวจที่ให้ความร่วมมือเต็มที่ แต่หลายเรื่องก็จนปัญญา

ส่วนหลังจากมีการยึดอำนาจแล้ว มีรัฐบาลของ คสช. ก็สังเกตได้ว่า ทุกคนก็จะสงบเสงี่ยมอยู่ในภาวะที่ถูกผิดก็ทำไม่รู้ไม่ชี้ และพยายามที่จะทำให้ตัวเองปลอดภัยไว้ก่อน แต่ผมคิดว่าเมื่อตัวเองอยู่ในตำแหน่งตรงนี้อะไรที่มันผิดก็ต้องบอกว่าผิด อะไรที่ถูกก็ต้องบอกว่าถูก ยกตัวอย่างเช่น ล่าสุดมีพรรคการเมืองบอกว่าจะให้ท่านประยุทธ์เป็นที่ปรึกษาพรรค ผมก็บอกว่าเป็นได้ เป็นสมาชิกพรรคได้ หรือเป็นหัวหน้าพรรคก็ยังได้ เพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้ห้าม แต่ในข้อเท็จจริงก่อนหน้านี้ท่านถามประชาชนว่า คสช. จะสนับสนุนพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งได้หรือไม่ ผมตอบว่าถ้าเป็นบุคคลใน คสช. ในทางส่วนตัวทำได้ แต่ถ้าเป็น คสช. ในฐานะองค์กรที่มีอำนาจทางการเมือง มีอำนาจในการใช้ ม.44 การไปสนับสนุนพรรคการเมืองอาจจะไม่เหมาะสม จะทำให้เกิดความไม่เป็นกลางเกิดขึ้น สิ่งต่างๆ ที่ผมพูดไม่ได้พูดเพราะเจ็บแค้น ไม่ได้พูดเพราะถูกเซ็ตซีโร่ จะเซ็ตซีโร่หรือไม่เซ็ตซีโร่ผมก็ต้องพูด

การที่ถามว่า คสช. จะสนับสนุนพรรคการเมืองได้หรือไม่ คนร่างรัฐธรรมนูญเองรู้ดียังไม่กล้าพูดเลย อาจารย์กฎหมาย คณะนิติศาสตร์ทั้งประเทศรู้ดีทุกคนกล้าไม่กล้าพูด ทั้งที่มันเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่ามันไม่เหมาะสม คนร่างกฎหมายก็อ้อมแอ้มตอบเพียงครึ่งเดียว อาจารย์มีชัยก็พูดเพียงแค่ครึ่งเดียว คสช. ตัวบุคคลสนับสนุนพรรคการเมืองได้ แต่ทำไมไม่ตอบในฐานะที่ คสช. เป็นองค์กรทางการเมือง เรื่องแบบนี้ทำไมไม่ใครออกมาชี้ พอผมออกมาชี้ก็ใช่ว่าผมจะดังขึ้น กลับยิ่งสร้างความไม่พอให้ผู้มีอำนาจมากขึ้น แต่ผมคิดว่าสิ่งที่พูดมันเป็นหลักการที่ถูกต้องของบ้านเมือง อะไรที่เป็นหลักการที่ถูกต้องก็ต้องมีคนที่กล้าออกมาพูดว่าสิ่งที่ถูกต้องคืออะไร

กลับมาที่อีกเหตุผลหนึ่งที่คำสั่งหัวหน้า คสช. ระบุไว้คือเรื่องการขัดกันแห่งผลประโยชน์ จากการไม่ลาออกจาก กกต. ก่อนที่จะไปยื่นใบสมัครรับการคัดเลือกเป็นเลขาธิการ กกต.

การสมัครเป็นเลขาธิการ กกต. เป็นการลงมาในตำแหน่งที่ต่ำกว่า ไม่มีใครเขาอยากเป็น ไม่มีใครเขาอยู่ดีๆ อยากลงไปเป็นลูกน้อง ผมคิดว่านี่ไม่ใช่เรื่องของการเอื้อประโยชน์ แต่เป็นการอยากทำงานที่เป็นประโยชน์มากกว่า เพราะว่าเลขาธิการจะสามารถทำงานในเชิงธุรการได้มากกว่าเดิม มีหน้าที่กำกับดูแลข้าราชการ สามารถอำนวยการให้เกิดความสำเร็จในภาคปฏิบัติ เราเองมีประสบการณ์ และคิดว่าตัวเองน่าจะทำได้ดี ผมถึงลงมา

ส่วนเรื่องขัดกับผลประโยชน์ไหม คือกฎหมายไม่ได้ห้าม ไม่ได้ระบุว่าจะต้องลาออกจากตำแหน่ง ยกตัวอย่างตำแหน่ง กกต. คนที่มาสมัครแต่ละคนลาออกจากตำแหน่งก่อนมาสมัครหรือเปล่า ก็ไม่มีใครลาออกสักคน พอไม่ได้รับตำแหน่งเขาก็กลับไปทำงานที่เดิม ส่วนเรื่องของการสรรหาเลขาธิการ กกต. ผมเองก็ไม่ได้ส่วนในการลงมติ ผมแจ้งแล้วว่าขอถอดตัวแทนสรรหาในส่วนของผมออก 1 คน ซึ่งเขาจะตั้งใครผมก็ยังไม่รู้ ทุกครั้งที่มีการประชุมในเรื่องนี้ผมก็ไม่เข้าประชุม ทั้ง 4 ท่านก็เป็นคนตัดสินใจ แล้วผมก็บอกท่านว่า ท่านโหวตแล้วแต่ท่านนะ ถ้าท่านคิดว่าผมเยอะไม่ควรอยู่ทำงานต่อก็โหวตไม่เอาผม ผมไม่ได้เดือดร้อน โกรธแค้น หรือเสียหน้า ท่านก็ดูเองว่าอะไรคือสิ่งที่เหมาะสมเท่านั้นเอง

ฉะนั้นเรื่องนี้กฎหมายไม่ได้ห้าม เราจะมองว่าผิดได้อย่างไร ขณะเดียวกันหากมองว่าเป็นเรื่องทางจริยธรรม เราก็มีประมวลจริยธรรมซึ่งก็มีเขียนบอกไว้ชัดเจนว่าอะไรขัดกับจริยธรรมและก่อให้เกิดความเสียหาย ซึ่งก็มีขัดตอนในการดำเนินการถอดถอนได้ ทำไมไม่ทำในส่วนนี้

ถ้าถามว่า การทำให้ผมออกจากแหน่ง กกต. มีผลอย่างไร ผมคิดว่ามันเป็นสิ่งที่ทำให้เห็นว่า คสช. มีอำนาจเหนือองค์กรอิสระทุกองค์กร นั่นคือสามารถที่จะปลดใครก็ได้ ในเวลาใดก็ได้ หากคสช.เห็นว่าเหมาะสม ดังนั้นสิ่งที่ผมเป็นห่วงในอนาคตถ้า คสช. เข้าไปมีส่วนร่วมในการแข่งขัน หรือมีส่วนร่วมในการลงสมัครรับเลือกตั้ง หรือสนับสนุนพรรคใดพรรคหนึ่งความกล้าขององค์กรอิสระต่างๆ ที่จะกำกับดูแลความเป็นธรรมจะกล้าไหม และหากมีสิ่งที่เป็นการกระทำผิดโดย คสช. เองถามว่าคนที่เหลืออยู่จะกล้าในการตักเตือนหรือดำเนินการตรวจสอบแก้ไข หรือแม้กระทั่งดำเนินการลงโทษหรือไม่ ผมเชื่อว่าไม่กล้า เพราะ คสช. เป็นคนที่สามารถเอาคนเข้า เอาคนออกได้ ซึ่งนี่เป็นเรื่องที่น่าห่วง ดังนั้นภาพของการเลือกตั้งในอนาคตจึงเป็นภาพที่น่ากังวลพอสมควร

มีคำถามจากหลายคนที่สงสัยว่าคุณสมชัยถูกปลดจาก กกต. แต่อาจจะได้รับเข้าไปทำงานใหม่ในฐานะ เลขาธิการ กกต. หรือเปล่า

ผมเชื่อว่าการส่งสัญญาณไม่เอาผมเป็น กกต. เป็นสัญญาณที่แรงพอสมควรที่จะทำให้ กกต. ที่เหลือหรือกรรมการสรรหาไม่น่าจะให้ผมเข้าไปทำหน้าที่เป็นเลขาธิการได้ ฝ่ายผู้มีอำนาจเขาไม่ต้องการให้ผมอยู่ในองค์กรนี้ แล้วถ้าฝ่ายที่เป็น กกต. หรือกรรมการสรรหา เห็นต่างขึ้นมามันก็อาจจะส่งผลต่อบุคคลเหล่านั้นด้วย แต่ผมก็ยังไม่ทราบว่ามันจะเดินไปถึงขั้นไหน กระบวนการสรรหาก็ยังต้องดำเนินต่อไป ผมยังอยู่ในบัญชีรายชื่อผู้สมัคร กระบวนการต่อจากนี้ก็จะมีการประกาศคุณสมบัติ อาจจะไม่ผ่านตั้งแต่ขั้นนี้ก็ได้ ถ้าผ่านขั้นนี้ไปก็อาจจะไปแพ้ในขั้นตอนของการแสดงวิสัยทัศน์ ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่าท่านอื่นอาจมีวิสัยทัศน์ที่ดีกว่า อย่างเพิ่งไปกังวลว่าผมจะได้หรือไม่ได้ แต่ถ้าให้ผมทายโอกาสได้แทบจะไม่มีเลย

คุณสมชัยมองอนาคตของตัวเองต่อจากนี้อย่างไร เห็นคุณสมชัยบอกว่าอาจจะมา กกต. อีกครั้งช่วงที่มีการเรียกคุยพรรคการเมืองต่างๆ ในสถานะสมาชิกพรรค

ไม่สามารถทำได้หรอกครับ เพราะตอนนี้ผมไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคการเมือง และตอนนี้พรรคการเมืองยังไม่สามารถเปิดรับสมาชิกได้ ฉะนั้นผมเป็นสมาชิกคงไม่ได้ แต่ถ้าเขาให้ผมเป็นที่ปรึกษาผมไม่แน่ใจว่าจะเป็นได้หรือเปล่า แต่ผมคงไม่ได้มาหรอก ผมก็พูดไปอย่างนั้นเอง

ส่วนเรื่องที่ว่าจะทำอะไร ผมคิดว่า ถ้าจังหวะชีวิตอยากจะมีประมาณ 3 ช่วงจากนี้ไป ช่วงที่ 1 อาจจะเป็นช่วงของการทำงานในช่องทางที่เปิดโอกาสให้เราทำไห้ชั่วคราวก่อน เพราะการที่ผมได้รับเกียรติจากมาตรา 44 จากผู้มีอำนาจสูงสุดในบ้านให้พ้นจากตำแหน่งน่าจะเป็นของร้อน คำว่าเป็นของร้อนคือ ถ้าไปสมัครงานในช่องทางปกติต่างๆ มันก็จะนำไปสู่การถูกเพ่งเล็งเป็นพิเศษ ฉะนั้นผมคงไม่เอาตัวเองไปสร้างความเดือดร้อนให้กับใคร ฉะนั้นงานในช่วงแรกผมคงทำงานในกลุ่มองค์กรที่ไม่กังวลใจในเรื่องของการที่จะมีอิทธิพลของรัฐมาเกี่ยวข้องกับการทำงาน

ช่วงแรกที่สุดของการทำงานก็อาจจะเป็นสื่อมวลชน ในสื่อที่อาจจะไม่เกรงกลัวอำนาจรัฐมากนัก ต่อจากนี้หากคุณเห็นผมในสื่อใด สื่อหนึ่งในช่วงแรกอยากได้คิดว่าผมเป็นพวกเขา ผมคิดว่าจุดยืนในการนำเสนอของผมไม่ได้เอียงหรือเข้าข้างฝ่ายที่เป็นเจ้าของสื่อ ซึ่งผมจะเสนอข้อมูลข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมาโดยไม่ได้เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อย่าไปใส่ให้ผมเป็นสีเหลือง สีแดง สีฟ้า หรือสีเขียว ผมไม่เคยมีสีใดทั้งสิ้น

ช่วงที่สองหลังจากที่สถานการณ์ผ่อนคลายลง กระแสข่าวลดลง ของร้อนกลายเป็นของเย็นมากขึ้น ผมก็อาจจะไปประกอบอาชีพในวิชาชีพที่ผมเคยทำมาคือ เป็นนักวิชาการ หรืออาจจะบริหารงานวิชาการในมหาวิทยาลัยของรัฐหรือเอกชนที่ใดที่หนึ่ง ที่เขาสามารถที่จะรับเราเข้าไปทำงาน เพราะเรามีประสบการณ์ และคุณวุฒิในการบริหารงานมหาวิทยาลัยพอสมควร การเข้าไปทำงานในช่วงที่สองจะเป็นช่วงที่จริงจัง ทำงานในเชิงทำให้เกิดความก้าวหน้าให้กับองค์กรเขา ซึ่งผมเคยเข้าไปทำให้ในหลายๆ ที่แล้ว

ส่วนช่วงที่สาม เป็นเรื่องของการทำตัวให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม นั่นคือเราไม่มีปัญหาทางด้านรายได้ สามารถที่จะอยู่ได้พอสมควรแล้ว การคิดในการที่จะทำประโยชน์ให้สังคมก็ต้องมาดูว่าเราสามารถทำอะไรได้บ้าง อาจจะเป็นอาสาสมัคร หรือทำงานองค์กรเอกชน หรืออาจจะร่วมกิจกรรมในทางการเมือง ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อยคิดและตัดสินใจอีกทีหนึ่งว่าจะทำอะไรได้

กรณีที่เกิดขึ้นคุณสมชัยมีความต้องการยื่นฟ้องศาลหรือไม่

ไม่มี ผมพอใจที่ไม่ได้ทำงาน กกต. คือถ้าผมเป็นตัวจริงผมพร้อมจะทำงาน แต่ถ้าต้องทำงานเพื่อรอคนใหม่มา ผมพร้อมออกตั้งนานแล้ว ถ้าเป็นตัวจริงผมทำงานเต็มที่ แต่ถ้าเป็นคนที่อยู่ไปเรื่อยๆ มันไม่มีอนาคตเพราะเขาจะมาเมื่อไหร่ไม่รู้ ต้องเก็บของไม่รู้กี่รอบ สมัครงานใหม่ก็ไม่ได้ ไปสมัครเขาก็ถามว่าคุณจะมาเมื่อไหร่ คำตอบคือไม่รู้ แล้วใครเขาจะเก็บตำแหน่งไว้ให้คุณ

หรือถ้าอยู่ไปเรื่อยๆ จนถึงช่วงที่มีการเตรียมการเลือกตั้ง การสั่งการ การให้ความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมันน้อยกว่าปกติ คุณสั่ง 10 คุณได้ 5 มันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง การอยู่ตรงนี้แม้จะเป็นการอยู่เพื่อปฎิบัติหน้าที่มันไม่ได้เกิดประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองมากเท่าไหร่ และตอนนี้มีแนวโน้มว่าอาจจะหา กกต. ใหม่ไม่ทัน เท่ากับว่าก็ต้องอยู่ไปเรื่อยๆ อาจจะต้องจัดการเลือกตั้ง คำถามคือเราสบายใจต่อการจัดการเลือกตั้งในฐานะที่เป็นคนที่ไม่ใช่ตัวจริงไหม คำตอบคือเราไม่สบายใจ หากเราจัดแบบเอาหูไปนาเอาตาไปไร่จัดการเลือกตั้งให้มันเสร็จไปมันก็ทำได้ แต่ถ้าเราจะทำให้มันเกิดความยุติธรรมก็ต้องทำอย่างเต็มที่ ต้องปราบปรามการทุจริต ต้องให้ใบเหลือง ใบแดง ใครต่อใคร ถามว่าคดีความที่จะตามหลังจากเราพ้นตำแหน่งหน้าที่เรารับไหวไหม คำตอบคือเรารับไม่ไหว

สมมติว่าผมจัดเลือกตั้งเสร็จแล้วต้องพ้นตำแหน่งในเดือนถัดไป แล้วคดีความที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น หากผมต้องไปขึ้นศาลเชียงใหม่ ศาลนราธิวาส ต้องศาลยโสธร อะไรก็แล้วแต่ทั่วประเทศ เงินใครละครับ มันก็เงินเราไม่มีใครจะมาช่วยเราในเรื่องการออกค่าเดินทาง ค่าที่พัก และก็คงไม่มีบุคคลที่เป็นฝ่ายกฎหมายของคณะกรรมการ กกต. ที่จะมาช่วยร่างเอกสารต่างๆ เราก็ต้องทำเองหมด ก็อย่างที่บอกวันนี้ผมก็สบายใจที่ได้ออกมา ออกก็ออก

ก่อนหน้าที่คุณสมชัยให้สัมภาษณ์ว่า ถ้ายังอยู่ กกต. จะไม่มีใครสามารถสั่งได้ นั่นแปลว่ามีความพยายามที่จะสั่ง ?

ที่ผ่านมาไม่มีใครสั่งผมนะ เพราะเขารู้ดีว่าเขาสั่งผมไม่ได้ ส่วนเรื่องอื่นๆ ผมคิดว่า ก็ดูจะผิดมารยาทมาเกินไปถ้าไปพูดถึงเบื้องหลังการถ่ายทำต่างๆ สรุปง่ายๆ ว่าสั่งไม่ได้ก็แล้วกัน

คิดว่าการที่ คสช. ถอดคุณสมชัยออก ถือเป็นการสร้างรอยด่างให้กับการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นหรือไม่

อันนี้ผมไม่รู้ และผมก็ไม่ได้มีหน้าที่รับผิดชอบกับรอยด่างที่ว่านั่นแล้ว

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ใบตองแห้ง: ค่าโง่ทีวีดิจิทัล

Posted: 21 Mar 2018 08:01 AM PDT

<--break- />

 

ศาลปกครองพิพากษาให้ "เจ๊ติ๋ม ทีวีพูล" เลิกสัญญาทีวีดิจิทัลได้ โดยเห็นว่า กสทช.ทำผิดสัญญา เปลี่ยนผ่านระบบล่าช้า ไม่เป็นไปตามประกาศชี้ชวน แต่เจ๊ติ๋มเรียกค่าเสียหายไม่ได้ ที่จ่ายแล้ว 2 งวดก็แล้วไป อีก 4 งวดไม่ต้อง ให้คืนแบงก์การันตี

วันนั้นหุ้นทีวีดิจิทัลขึ้นกันใหญ่ ดีใจเร็วไปไหม เพราะยังต้องรอศาลสูงสุดอีกชั้น กสทช.อุทธรณ์ว่า ไม่ได้ผิดสัญญาให้บริการโครงข่าย ขณะที่ค่าใบอนุญาต อันที่จริงต้องจ่ายหมดแต่ต้น กสทช.เพียงใจดีให้ทยอยจ่าย จะชักกระบี่กลางคันไม่ได้

กระนั้นทีวีดิจิทัลยังมีลุ้น เพราะ กสทช.เสนอให้ใช้ ม.44 ช่วยอุ้ม พักชำระค่าใบอนุญาต 3 ปี และลดค่าเช่าโครงข่าย 50% อีก 2 ปี

แต่ก็มีหลายคนโต้แย้งว่า สมควรแล้วหรือที่รัฐจะอุ้ม ในเมื่อตอนประมูล พวกคุณกดแข่งกันมันมือ บางรายช่องเดียวไม่พอ ยังโลภขอ 2 ขอ 3 แข่งกันจนราคาพุ่งปรี๊ดหลายพันล้าน แต่พอเจ๊งย่อยยับ กลับมาโทษ กสทช.ทำบาปทำกรรม

มองตาม ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ณ TDRI เหตุที่ทีวีดิจิทัลเจ๊งวับ จนต้องขายเลหลัง หรือปลดพนักงานระนาว (จากที่แย่งซื้อตัวกันตอนต้น) มี 3 ข้อหลักคือ หนึ่ง มีทีวีเพิ่มขึ้นทันทีถึง 24 ช่องจากเดิม 6 ช่อง, สอง เทคโนโลยีเปลี่ยนเร็วมาก สมาร์ทโฟนฆ่าทั้งสิ่งพิมพ์ทีวี และสาม ความบกพร่องของ กสทช.ในการขยายโครงข่าย แจกคูปอง ฯลฯ ก็มีส่วนเช่นกัน

ข้อแรกใช่เลย ผู้ประกอบการต้องรับกรรม เพราะต่อให้เทคโนโลยีไม่เปลี่ยน ก็ควรคาดการณ์ได้ว่า เม็ดเงินโฆษณาเท่าเดิม คนดูใกล้เคียงเดิม แต่ 6 ช่องต้องแบ่งเค้กเป็น 24 ยังกระหยิ่มยิ้มย่อง ประมูลกระหน่ำ กลับมายังเปิดแชมเปญฉลองกัน แล้ววันนี้จะไม่ยอมจ่าย "ค่าโง่" เลยหรือไง

ข้อสองเป็นเรื่องเกินความคาดหมาย ดร.สมเกียรติเห็นว่าเป็นความเสี่ยงโดยปกติในโลกปัจจุบัน ต้องรับกรรมอีกเช่นกัน (แต่มองอย่างเห็นใจ ถ้ารัฐเข้าไปช่วยธุรกิจอื่นๆ ที่เจอวิกฤติจากความเปลี่ยนแปลง ทีวีดิจิทัลก็เรียกร้องได้เช่นกัน)

ข้อสาม คือ ประเด็นที่ศาลปกครองชี้ในคดีเจ๊ติ๋ม แต่จะมีผลกระทบเพียงไร ต้องรอศาลปกครองตัดสิน จะถึงขั้นเลิกสัญญาได้หรือไม่ หรือคืนความเสียหายบางส่วนฯลฯ รายละเอียดต้องว่ากันในศาล โดย ดร.สมเกียรติแนะนำให้รอคดีถึงที่สุด คสช.จึงค่อยช่วย ยังไม่ควรรีบร้อน อย่าช่วยไปไกลเกินขอบเขตที่เหมาะสม

ตรงนี้ขอแย้งนิด คือ เรื่อง กสทช.บกพร่องไหม เห็นด้วยต้องรอศาล แต่มาตรการช่วยเหลือของ คสช.น่าจะถือว่า "คืนความเป็นธรรม" เพราะความย่อยยับของทีวีดิจิทัล ยังมีสาเหตุข้อสี่ คือ รัฐประหารปิดกั้นเสรีภาพ เซ็นเซอร์ข่าวสาร จนการทำหน้าที่สื่อติดขัด ไม่สามารถสร้างสรรค์

ยกตัวอย่างที่เพิ่งสั่งแบนรายการ Tonight Thailand ของ Voice TV นี่ไง ซึ่งอย่ามองว่าเพราะ Voice เป็นขาประจำ แต่มีเหตุทีไรทุกช่องสะดุ้งกันหมด (อาจยกเว้นช่องที่เชลียร์กันสุดๆ)

ที่เห็นๆ กันคือตลอด 4 ปี ทีวี 24 ช่องต้องสละเวลาไพรม์ไทม์ ทั้งช่วงเย็นและคืนวันศุกร์ให้ คสช.จัดรายการอบรมประชาชน "ให้รู้เท่าทัน" โดยไม่ต้องจ่ายค่าเช่าเวลา นี่ยังไม่พูดถึงความเสียหายจากการที่ชาวบ้านเบื่อหน่าย หลับใหล ไม่อยากดูทีวี หนีไปดูข่าวสารความบันเทิงในโลกออนไลน์

เพราะฉะนั้น ถ้า คสช.จะออกมาตรการลดค่าเช่า พักชำระ ก็ไม่ถือว่าอุ้มเสียทีเดียว เพราะมีด้านที่คืนความเป็นธรรม แต่เพียงไหนเหมาะสม ค่อยถกกันอีกที

 

ที่มา: www.kaohoon.com/content/222830

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โกงเงินคนจน

Posted: 21 Mar 2018 07:49 AM PDT

 

ข่าวการทุจริตศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหรือการโกงเงินคนจนที่กำลังอื้อฉาว ทำให้เกิดคำถามมากมายเกี่ยวกับการป้องกันปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน ภายใต้การบริหารของรัฐบาลและ คสช. ที่อ้างว่า เข้ามาปราบโกง

แน่นอนว่า สังคมย่อมให้ความสนใจ อยากรู้ว่ายังมีการทุจริตในโครงการนี้อีกมากมายแค่ไหน แต่เรื่องน่าสนใจไม่น้อยกว่ากัน อาจเป็นปัญหาว่า เรื่องนี้กำลังสะท้อนอะไร กำลังบอกอะไรแก่เรา

คำถามแรก คือ ทำไมเจ้าหน้าท่ีจำนวนมาก จึงเข้าไปเกี่ยวข้องการทุจริตชนิดที่ไม่เกรงกลัวกฎหมายกันเลย หรือเขามีประสบการณ์ว่า มีการทุจริตอยู่มากมาย แต่ก็ไม่เห็นมีใครถูกลงโทษ ส่วนที่มีการลงโทษกันไป ส่วนใหญ่ทำโดยคำสั่ง คสช.นั้น ก็เกิดขึ้นโดยไม่มีการสอบสวนเสียก่อน

คนบริสุทธิ์จำนวนไม่น้อยถูกลงโทษไป ทั้งๆที่ไม่ได้ทำอะไรผิด ต่อมาบางคนที่ถูกสอบสวนพบว่า ไม่ได้ทำอะไรผิด แต่ก็เสียอนาคตไปแล้ว และก็ไม่ได้รับการเยียวยาใดๆ กลายเป็นว่า คนทำผิดไม่เห็นถูกลงโทษ แต่คนบริสุทธิ์กลับถูกลงโทษ หาหลักหาเกณฑ์อะไรไม่ได้

เรื่องทุจริตโกงเงินคนจนนี้ ที่ถูกเปิดโปงโดยนักศึกษาซึ่งไปพบปัญหาเข้า เมื่อพบปัญหาและเปิดเผยเรื่องนี้แล้ว นักศึกษาผู้นี้ต้องเผชิญกับอะไรบ้างก็เรื่องหนึ่ง แต่องค์กรที่ตรวจสอบเรื่องนี้ต่อและเปิดเผยว่า มีการทุจริตมากขึ้นๆ คือ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ปปท.)

ไม่มีใครรู้ว่า ถ้าไม่มีการโวยเรื่องนี้ขึ้นมา จนเป็นที่สนใจของสังคมแล้ว ปปท.จะตรวจสอบเรื่องนี้อย่างจริงจังหรือไม่ ตามข่าวก็จะพบว่า เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ระดับไม่สูง นายกรัฐมนตรีก็รีบฉวยโอกาสบอกว่า นี่ไม่ใชเรื่องทุจริตในระดับนโยบาย จะด้วยเหตุนี้หรือเปล่า เมื่อไม่ใช่เรื่องระดับนโยบาย จึงทำให้ ปปท.ยังแข็งขันต่อเรื่องนี้ หากเรื่องนี้เชื่อมโยงไปถึงนโยบายรัฐบาล ปปท.ยังจะแข็งขันต่อไปหรือไม่?

โยงไปสู่คำถามต่อไปว่า แล้วโครงการที่ส่งเงินหลายหมื่นล้านบาทลงไปในท้องที่ต่างๆแบบเร่งรีบ ประเภทคำสั่งไปถึงวันศุกร์ บอกให้เสนอโครงการวันจันทร์ จัดประชุมกันมีงบประมาณค่าอาหารค่าน้ำ แล้วก็ดำเนินการทันที โครงการจะรั่วไหลหรือสูญเปล่าอย่างไร? ไม่เป็นไร  ปปท.ตรวจสอบเรื่องเหล่านี้หรือไม่ ถ้ายังไม่ตรวจสอบ เป็นเพราะอะไร หรือเป็นเพราะโครงการประเภทนี้สามารถตรวจสอบความเชื่อมโยงได้ถึงผู้บริหารระดับสูงและเป็นเป็นเรื่องทางนโยบาย

ที่ตั้งคำถามอย่างนี้ ก็เพราะ ปปท.นี้เป็นองค์กรสังกัดฝ่ายบริหารของกระทรวงยุติธรรม และในยุค คสช.นี้ องค์กรแบบนี้ยังขึ้นต่อคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติและศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตฯ ซึ่งล้วนเป็นฝ่ายบริหาร ที่ คสช.มีอำนาจเหนือฝ่ายบริหารอีกต่อหนึ่ง เรื่องไหนที่จะโยงไปถึงฝ่ายนโยบายและผู้มีอำนาจ ย่อมมีคำถามได้ว่า ปปท.จะถูกสั่งให้ทำหรือไม่ทำหน้าที่ของตน ใช่หรือไม่?

ในแง่ของการถ่วงดุลในระบบแล้ว หากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องไปถึงผู้บริหารระดับสูงหรือเกี่ยวข้องโดยตรงกับนโยบายรัฐบาล ถ้า ปปท.ไม่เข้าไปตรวจสอบด้วยเหตุใดก็ตาม หน่วยงานอื่น โดยเฉพาะองค์กรอิสระอย่าง สตง.และ ปปช.ก็ต้องถือเป็นหน้าที่โดยตรง แต่ก็พบปัญหาการขาดความเป็นอิสระขององค์กรเหล่านี้อีก โดยเฉพาะ ปปช.ที่รัฐธรรมนูญกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างเข้มงวดเป็นพิเศษ แต่ถึงเวลาปฏิบัติจริงๆ ก็ได้รับการยกเว้นโดยกฎหมายไม่ต้องใช้คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญไปอีกหลายปี

ซ้ำร้ายบุคคลสำคัญในองค์กรนี้ ยังเป็นผู้ใกล้ชิดกับผู้มีอำนาจใน คสช.และรัฐบาลอีกด้วย ย่อมไม่มีหลักประกันอะไรเลยว่าทั้ง ปปท. และองค์กรอิสระเช่น ปปช.จะดูแลเรื่องต่างๆ อย่างตรงไปตรงมาตามเนื้อผ้า

ยิ่งมีข่าวว่า เกิดการทุจริตคอร์รัปชันขึ้นมากเท่าไร สังคมก็ยิ่งไม่อาจแน่ใจได้ว่ายังมีการทุจริตคอร์รัปชันเรื่องอื่นๆ ที่ยังไม่มีใครตรวจสอบอีกมากมายเพียงใด และตราบใดที่ระบบยังลักลั่นและลูบหน้าปะจมูกอยู่อย่างนี้ ก็คงไม่มีใครไว้ใจได้เลยว่า ประเทศจะไม่เสียหายไปกับการทุจริตคอร์รัปชันที่มากขึ้นทุกที

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ใจ อึ๊งภากรณ์: ธนาธร เผยจุดยืนนายทุนที่กดขี่สิทธิแรงงาน

Posted: 21 Mar 2018 07:37 AM PDT

ในรายการสดของ The Standard ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ พูดชัดเจนเลยว่าเขาเห็นด้วยกับ "สิทธิ" นายทุนในการกดขี่สิทธิแรงงาน มันเป็นครั้งแรกที่เราได้รับความชัดเจนตรงนี้

เขาเล่าว่าในอดีตเมื่อสหภาพแรงงานในโรงงานไทยซัมมิทเรียกร้องโบนัสเท่าเทียมกับสำนักงานใหญ่ ธนาธร และบริษัทซัมมิทตัดสินใจปิดโรงงานและไล่คนงานทุกคนออก เพื่อสกัดกั้นไม่ให้มีการนัดหยุดงาน พร้อมกันนั้น ธนาธร อ้างว่าได้ "ทำตามกฏหมายแรงงาน" และแก้ตัวว่าเขาปฏิบัติ "อย่างเป็นธรรม" ต่อสหภาพแรงงาน

นอกจากนี้เราทราบจากข่าว "ประชาไท" ว่าบริษัทไทยซัมมิทอีสเทิร์น ซีบอร์ด ออโต้พาร์ท อินดัสตรี ได้สั่งเลิกจ้างงานคนงาน 50 คนในวันที่ 26 ธันวาคม 2549 เพราะได้ไปสมัครเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานฟอร์ดและมาสด้า ประเทศไทย และทางบริษัทเกรงว่าจะทำให้ลูกจ้างมีอำนาจต่อรองกับบริษัทมากขึ้นหากมีสหภาพแรงงานแบบนี้

ส่วนปัญหาที่ผมเคยพูดว่าเกิดกับลูกจ้างบริษัท "ซัมมิท" ธนาธร อธิบายว่าไม่เกี่ยวกับบริษัท "ไทยซัมมิท" ของเขา

ในแวดวงนักสิทธิมนุษยชนและนักสหภาพแรงงานสากล การปิดโรงงานที่กำลังจะนัดหยุดงาน ไล่คนงานออกหมด แล้วรับคนกลับมาทำงานเฉพาะในส่วนที่ยอมจำนนต่อบริษัท หรือการเลิกจ้างคนงานด้วยเหตุที่ต้องการสร้างสหภาพแรงงานที่เข้มแข็งมากขึ้น ถือว่าเป็นพฤติกรรมหน้าเลือดของนายทุนที่ต่อต้านสิทธิแรงงานอย่างชัดเจน มันเป็นนโยบายของพรรคการเมืองฝ่ายขวาทั่วโลกที่จะให้ความชอบธรรมกับพฤติกรรมแบบนี้

การอ้างของ ธนาธร ว่าเขาให้ความเป็นธรรม เพราะทำตามกฏหมายแรงงานไทย เป็นเรื่องที่ฟังไม่ขึ้น เพราะกฏหมายแรงงานไทยในปัจจุบันมันละเมิดสิทธิแรงงานไปในตัว ไม่เคยให้เสรีภาพเต็มที่ในการเคลื่อนไหว ก่อตั้งสหภาพ หรือเสรีภาพเต็มที่ในการนัดหยุดงานเลย กฏหมายนี้เป็นมรดกตกทอดจากยุคเผด็จการไทยในหลายสิบปี ที่ผ่านมาตั้งแต่ยุค สฤษดิ์ ธนะรัชต์

ธนาธร คงอยากแช่แข็งกฏหมายแรงงานให้อยู่ต่อแบบนี้

การอ้างว่า "ต้องปิดโรงงาน" เพื่อปกป้องกำไรของบริษัทตนเอง แสดงว่า ธนาธร ยืนอยู่เคียงข้างผลประโยชน์นายทุนและตรงข้ามกับผลประโยชน์ของคนทำงานธรรมดา นี่คือเรื่องชนชั้นอย่างชัดเจน

คำพูดแก้ตัวและพฤติกรรมของ ธนาธร พิสูจน์อย่างชัดเจนว่า "พรรคอนาคตใหม่" คงไม่ต้องการสร้างอนาคตใหม่ให้กับกรรมาชีพผู้ทำงาน อนาคตใหม่ของพวกนักการเมืองหน้าใหม่แบบนี้ จะไม่รวมถึงการเพิ่มสิทธิเสรีภาพให้กับคนส่วนใหญ่ จะไม่รวมถึงการลบผลพวงของเผด็จการทหารออกไปจากระบบแรงงานสัมพันธ์ และจะไม่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการกำหนดอนาคตของตนเองของแรงงานจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นคนรุ่นใหม่อีกด้วย

ธนาธร มองว่าการเรียกร้องโบนัสของสหภาพแรงงานในโรงงานไทยซัมมิทในครั้งนั้นมัน "มากเกินไป" แต่เขาไม่ตรวจสอบตนเองและตั้งคำถามว่าเงินเดือนสูงของเขาเองมาจากการทำงานของใคร และทำไมเขาจะมี "สิทธิ์" ที่จะรับเงินเดือนสูงกว่าคนธรรมดาทั่วประเทศ

มันชวนให้ตีความได้ว่าพรรคอนาคตใหม่จะไม่สนับสนุนการเพิ่มอัตราค่าแรงทั่วประเทศให้คนทำงานสามารถมีชีวิตที่ดีได้เท่ากับพวกชนชั้นกลาง เพราะทุกอย่างต้องขึ้นกับเงื่อนไขการเพิ่มกำไรของกลุ่มทุน มันชวนให้ตีความได้อีกว่าพรรคนี้คงจะไม่สนับสนุนการเก็บภาษีในอัตราสูงจากเศรษฐีและกลุ่มทุนใหญ่ เพื่อสร้างรัฐสวัสดิการอีกด้วย

สรุปแล้วสำหรับ พรรคอนาคตใหม่ ของธนาธร มันเป็นไปไม่ได้เลยว่าจะเป็นความหวังสำหรับคนส่วนใหญ่ที่เป็นกรรมาชีพผู้ทำงาน

 

ที่มา: https://turnleftthai.wordpress.com

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุรพศ ทวีศักดิ์: ศาสนาคือกลุ่มผลประโยชน์ที่มีอภิสิทธิ์

Posted: 21 Mar 2018 07:25 AM PDT

นานมาแล้วมิตรสหายท่านหนึ่งเคยแลกเปลี่ยนในเฟสบุ๊คว่า "ผมคิดว่าศาสนาคือกลุ่มผลประโยชน์ประเภทหนึ่งเท่านั้นเอง" ตอนนั้นผมยังไม่ได้คิดอะไรจริงจัง แต่ข้อความดังกล่าวยังอยู่ในความทรงจำของผม เมื่อวันเวลาผ่านไปผมกลับมาคิดทบทวนยิ่งพบว่ามุมมองของเขาตรงกับความเป็นจริงอยู่มาก

เพราะเมื่อเรามองศาสนาตามที่ปรากฏอยู่จริง หรือทำงานอยู่จริงในสังคมสมัยใหม่ที่เชื่อมโยงกลุ่มผลประโยชน์หลากหลายเข้าด้วยกัน จะพบว่าศาสนาคือกลุ่มผลประโยชน์ประเภทหนึ่ง เหมือนกลุ่มผลประโยชน์ประเภทอื่นๆ เช่นกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง กลุ่มนายจ้าง กลุ่มผู้ใช้แรงงาน และอื่นๆ

คำว่า "กลุ่มผลประโยชน์" ไม่ได้มีความหมายในแง่ลบ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง กลุ่มศาสนา หรือกลุ่มผลประโยชน์ใดๆ ก็เป็นเพียงกลุ่มผลประโยชน์ประเภทหนึ่งๆ ที่ไม่ได้มีความหมายเชิงลบ มันจะมีความหมายในแง่ลบก็ต่อเมื่อขึ้นอยู่กับเงื่อนไขอื่น เช่นเป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่มีอภิสิทธิ์หรือกดขี่ เอาเปรียบกลุ่มผลประโยชน์อื่นๆ ในสังคม

ที่ผ่านมาเราไม่ได้มองศาสนาว่าเป็นกลุ่มผลประโยชน์ เรามองศาสนาเป็นสิ่งสูงส่ง สะอาด เป็นอิสระจากกลุ่มผลประโยชน์ หรืออยู่เหนือกลุ่มผลประโยชน์ เรามองศาสนาในมิติเดียวว่าศาสนา "ดี" ไม่ "ชั่ว" หรือมองว่าศาสนามีแต่ด้านบวกไม่มีด้านมืด ดังที่เราพูดเสมอๆ เป็นสูตรสำเร็จว่า "ทุกศาสนาสอนให้คนเป็นคนดี" เราจึงมองศาสนาเป็นสถาบันทางศีลธรรมของสังคม หากไม่มีศาสนา ศีลธรรมทางสังคมอาจพังทลายลง

แต่นักปรัชญาตะวันตกยุคสว่างทางปัญญาและยุคสมัยใหม่กลับมองว่า ความเจริญทางปัญญาของมนุษย์สัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับ "จิตวิญญาณแห่งการวิจารณ์ศาสนา" (spirit of religious criticism) บางคนเน้นว่าไม่เพียงเราควรจะมีเสรีภาพในการวิจารณ์ศาสนาเท่านั้น แต่การวิจารณ์ศาสนายังถือเป็น "หน้าที่" (duty) ที่ต้องทำด้วย เพราะการวิจารณ์ศาสนานำมาซึ่งเสรีภาพทางความคิดความเชื่อของปัจเจกบุคคล และการวิจารณ์ศาสนาก็เป็นเรื่องเดียวกับการปกป้องเสรีภาพในการพูด (free speech) หรือเสรีภาพในการแสดงออกซึ่ง "อัตลักษณ์" (identity) ของปัจเจกบุคคลที่เชื่อและไม่เชื่อในศาสนาอย่างเท่าเทียมกัน

นักโลกวิสัย (secularist) บางคนวิจารณ์ศาสนาแรงๆ ว่า "ศาสนาชั่วมากกว่าดี เพราะมันเป็นศัตรูที่ร้ายกาจของความจริงและเหตุผล" (ริชาร์ด โรบิสัน) นักปรัชญาบางคนว่า "พระเจ้าตายแล้ว" (นิทเช่) บางคนว่า "ความเชื่อว่ามีพระผู้สร้างเป็นอันตรายอย่างสิ้นเชิงต่อเสรีภาพของมนุษย์" (ซาตร์) บางคนว่า "ศาสนาพรากเราจากชีวิตทางโลก" (มารกซ์)

ประเพณี (tradition) วิจารณ์ศาสนาในโลกตะวันตกไล่มาตั้งแต่โสเครตีสจนถึงนักปรัชญาสมัยใหม่ ถือเป็นประเพณีที่ปกป้องเสรีภาพของมนุษย์ แน่นอนว่า หลายคนที่วิจารณ์ศาสนามักประสบชะตากรรมที่ไม่ดีนัก แต่เพราะการวิจารณ์ของพวกเขา การกดขี่เสรีภาพในนามศาสนาที่เคยมีอย่างเข้มข้นจึงค่อยๆ ถูกทำลายลง

การวิจารณ์ศาสนาของบรรดานักคิดเสรี ไม่เพียงแต่ทำให้มนุษย์ในยุคสมัยใหม่มีเสรีภาพจากอำนาจศาสนา (อำนาจศาสนจักร, ผู้นำศาสนา, คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์, ระบบเผด็จการของกษัตริย์ที่ใช้อำนาจเทวสิทธิ์) เท่านั้น สิ่งที่สำคัญกว่า คือทำให้สังคมเป็นอิสระจาก "อำนาจศีลธรรมแบบศาสนา" เพราะเป็นการเปิด "โฉมหน้าที่แท้จริง" ของศีลธรรมศาสนาว่าหลายๆ เรื่องมัน "ไม่ใช่ศีลธรรม" เช่น ทุกศาสนาล้วนแต่ไม่ยอมรับความเท่าเทียมทางเพศ

แปลว่า "ศาสนากับศีลธรรมเป็นคนละเรื่องกัน" ศีลธรรมอาจจะมีในศาสนาหรือนอกศาสนาก็ได้ เช่นศาสนาอาจจะมีคำสอนศีลธรรมพื้นๆ อย่างห้ามทำชั่ว ทำดี ให้มีความรัก ให้อภัยและอื่นๆ แต่นี่เป็นศีลธรรมในความหมายเฉพาะหนึ่งๆ ที่พัฒนาขึ้นภายในตัวบุคคลผ่านการฝึกฝนของแต่ละคน ไม่ใช่ศีลธรรมที่สามารถถือเป็น "หลักการทั่วไป" ที่คนทุกศาสนาและคนไม่มีศาสนายึดถือปฏิบัติร่วมกันได้อย่างยุติธรรมบนฐานของการเคารพความเป็น "คนเท่ากัน" เช่นหลักสิทธิมนุษยชนสากล

บางคนอาจบอกว่า ศีลธรรมไม่ใช่เรื่องของหลักการทั่วไปแบบนั้น แต่เป็นเรื่องของ "จิตวิญญาณ" และจิตวิญญาณย่อมมาจากศาสนา แต่ประเด็นนี้มิเชล ฟูโกต์มองว่า จิตวิญญาณอาจมีในหรือนอกศาสนาก็ได้ เพราะจิตวิญญาณเป็นวิถีปฏิบัติที่ปฏิเสธสถานะผู้อยู่ใต้บงการของตนเอง   พูดง่ายๆ คือจิตวิญญาณเป็นเรื่องของการปลดปล่อยตนเองให้มีอิสรภาพ ซึ่งอาจมีในหรือนอกศาสนาก็ได้

ขณะเดียวกันศาสนาที่สร้างระบบชนชั้น ไม่เคารพความเท่าเทียมทางเพศ หรือสถาบันศาสนาต่างๆ ที่มีอำนาจรัฐ เป็นกลไกสนับสนุนอุดมการณ์รัฐ ก็อาจเป็นพันธนาการ เป็นอำนาจครอบงำทางจิตวิญญาณ หรือเป็นอุปสรรคต่อการมีเสรีภาพและความเสมอภาคของมนุษย์ ในแง่นี้ศาสนาจึงทั้งเป็นอำนาจครอบงำและทำลายศีลธรรมในความหมายของหลักการทั่วไปที่ปกป้องเสรีภาพและความเสมอภาคของมนุษย์เสียเอง

เมื่อนำกรอบคิด (concept) ศีลธรรมในความหมายของหลักการทั่วไปที่เคารพความเท่าเทียมของมนุษย์ และจิตวิญญาณในความหมายของการปลดปล่อยตนเองให้มีอิสรภาพจากการกดขี่ครอบงำทุกรูปแบบมาวิเคราะห์ศาสนาในบ้านเราในฐานะ "กลุ่มผลประโยชน์ประเภทหนึ่ง" จะเห็นว่า กลุ่มผลประโยชน์ทางศาสนาในบ้านเราล้วนสวม "เสื้อคลุมศีลธรรม" แต่กลับกลายเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการมีศีลธรรมบนฐานของการเคารพความเป็นคนเท่ากันเสียเอง ยิ่งกว่านั้นยังขาดมิติจิตวิญญาณอันเป็นวิถีปฏิบัติที่ปลดปล่อยตนเองให้มีอิสรภาพจากอำนาจครอบงำทุกรูปแบบอีกด้วย

หลายวันมานี้ ผมสังเกต "ปฏิกิริยา" ของชาวพุทธ-มุสลิมบางส่วนในโลกโซเชียลต่อข้อเสนอ "แยกศาสนากับรัฐ" ชัดเจนว่าพวกเขาไม่เอาด้วย

แท้จริงแล้ว การแยกศาสนาจากรัฐ ก็คือการสร้างความเป็นธรรม (fairness) โดยให้คนทุกศาสนา ทุกความเชื่อ และคนไม่เชื่อหรือไม่นับถือศาสนาอยู่ร่วมกันภายใต้กาติกาที่ฟรีและแฟร์ รัฐต้องไม่ให้ "อภิสิทธิ์" แก่ศาสนาหรือความเชื่อใดๆ ไม่ขัดขวางศาสนาหรือความเชื่อใดๆ ตราบที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของบุคคลอื่น

พูดในแง่ศีลธรรมทางสังคมก็คือ การแยกศาสนากับรัฐเรียกร้องให้ศาสนาต่างๆ เคารพ "ศีลธรรมทางสังคมขั้นต่ำสุด" ซึ่งเป็น "หลักการทั่วไป" ที่ยุติธรรมแก่คนทุกศาสนาและคนไม่มีศาสนานั่นเอง การปฏิเสธการแยกศาสนากับรัฐ ก็แปลว่าศาสนาไม่สามารถเคารพหลักการที่ยุติธรรมแก่ทุกคนบนกติกาที่ฟรีและแฟร์ เมื่อศาสนาไม่เคารพหลักการเช่นนี้ได้ ศาสนาจึงไม่มีความหมายต่อการส่งเสริมสังคมให้มีศีลธรรมดังที่โฆษณาชวนเชื่อกัน

แต่ทว่าบรรดานักบวช, ผู้นำศาสนา, กูรูทางศาสนาทั้งพระและฆราวาสล้วนแสดงออกต่อสังคมว่า พวกเขาคือผู้เสียสละอุทิศตนเผยแผ่ศาสนาตามรอยพระศาสดา และการเผยแผ่ศาสนาเช่นที่ทำกันนั้นก็เพื่อส่งเสริมให้สังคมมีศีลธรรม แต่ความจริงแล้ว พวกเขาคือ "กลุ่มผลประโยชน์" เพราะแทบจะไม่มีอะไร "ให้ฟรี" ในตลาดศาสนาในโลกสมัยใหม่

พูดให้ชัดคือ ธรรมะหรือพระวัจนะของพระเจ้าในโลกปัจจุบันไม่ใช่ "ของให้เปล่า" แบบในยุคพระศาสดา ทุกอย่างกลายเป็น "สินค้า" คุณบรรยายธรรมะ,พระวัจนะของพระเจ้า คุณก็รับค่าบรรยาย เขียนหนังสือธรรมะหรือหนังสือศาสนาขาย คุณก็ได้ค่าตอบแทน ยิ่งเป็นนักเผยแผ่ศาสนาชื่อดัง มีคิวงานข้ามปี ยิ่งค่าตัวแพง รวยไม่รู้เรื่อง และไม่ต้องเสียภาษี นี่ยังไม่นับตลาดวัตถุมงคลพาณิชย์ และตลาดศรัทธาในรูปแบบอื่นๆ ที่สร้างผลประโยชน์มหาศาล

นอกจากศาสนาจะเป็นเรื่องกลุ่มผลประโยชน์แล้ว ยังเป็นกลุ่มอำนาจทางการเมืองแบบหนึ่ง แต่ทำเนียนว่า "ไม่การเมือง" ความเป็นกลุ่มผลประโยชน์กับเป็นกลุ่มอำนาจทางการเมืองนั้นสัมพันธ์กัน ดังนั้น พวกเขาจึงพยายามต่อสู้ต่อรองเพื่อให้ศาสนาของตนมีสถานะ อำนาจสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นๆ จึงไม่มีกลุ่มศาสนากลุ่มใดอยากแยกจากรัฐเป็นเอกชน เพราะพวกเขาต้องการรักษาสถานะเดิม (status quo) ของพวกตนที่มี "อภิสิทธิ์" ต่างๆ

มองในแง่นี้ ศาสนาในฐานะกลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มอำนาจแบบหนึ่ง จึงไม่มีอะไรสะอาด สูงส่งกว่ากลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง กลุ่มนายทุน และกลุ่มอื่นๆ

แท้จริงแล้ว ภายใต้สภาพที่รัฐกับศาสนาไม่ได้แยกจากกัน ศาสนาในฐานะกลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มอำนาจแบบหนึ่งในสังคมนี้ ก็คือ "กลุ่มผลประโยชน์ที่มีอภิสิทธิ์" และยังพยายามต่อสู้ต่อรองเพื่อเรียกร้องอภิสิทธิ์ด้านต่างๆ จากรัฐมากขึ้นเรื่อยๆ

ในแง่นี้การดำรงอยู่และบทบาทต่างๆ ของศาสนาในฐานะกลุ่มผลประโยชน์ที่มีอภิสิทธิ์ จึงไม่ได้ช่วยให้สังคมมีศีลธรรม แต่เป็นการดำรงอยู่ที่ขัดกับหลักศีลธรรมทางสังคมอันเป็นหลักการทั่วไปที่เป็นธรรมกับคนทุกศาสนา ทุกความเชื่อและความไม่ไม่เชื่อหรือไม่นับถือศาสนา ซ้ำยังไม่ได้ส่งเสริมจิตวิญญาณปลดปล่อยเพื่ออิสรภาพดังกล่าวมาแล้วแต่อย่างใด

พูดตรงไปตรงมาคือ การที่กลุ่มศาสนาต่างๆ ซึ่งเป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่มีอภิสิทธิ์ ไม่ยอมรับ หรือต่อต้านการแยกศาสนากับรัฐ เพื่อสร้างกติกาที่ฟรีและแฟร์ในการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นธรรมของคนทุกศาสนา ทุกความเชื่อ และความไม่เชื่อหรือไม่นับถือศาสนา ก็เพราะพวกเขาต้องการปกป้องสถานะเดิมของพวกตนที่มีอภิสิทธิ์ อันเป็นการสะท้อนความเป็นจริงว่า พวกเขาทำให้ศาสนาของตนขัดกับการมีศีลธรรมบนฐานความเป็นคนเท่ากัน

  

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไทย-กัมพูชา เห็นร่วมช่วยติดตามคนหลบหนีคดี เพื่อไม่ให้เป็นฐานในการก่อความไม่สงบ-ขัดแย้งระหว่างกัน

Posted: 21 Mar 2018 06:48 AM PDT

เตีย บันห์ ถก พล.อ.ประยุทธ์ เห็นฟ้องสองฝ่ายมีความเห็นร่วมกันที่จะติดตามบุคคลที่กระทำกฎหมายและหลบหนีคดีเข้าไปอยู่ในทั้งสองประเทศ เพื่อไม่ให้กลุ่มบุคคลใดใช้เป็นฐานในการก่อความไม่สงบและทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกัน

 

ที่มาภาพ เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล

21 มี.ค.2561 รายงานข่าวว่า วันนี้ เวลา 13.30 น. ณ ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล สมเด็จพิชัยเสนา เตีย บันห์ (Somdech Pichey Sena Tea Banh ) รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกัมพูชา เข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในโอกาสเยือนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (General Border Committee - GBC) ไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 13 ระหว่างวันที่ 19 – 21 มี.ค. 2561 โดยสรุปสาระสำคัญดังนี้

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่มีโอกาสได้พบกับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกัมพูชาอีกครั้ง หลังจากที่เยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการและเข้าร่วมการประชุมร่วมนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอย่างไม่เป็นทางการ (JCR) ไทย – กัมพูชา ครั้งที่ 3 และกล่าวว่ารองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกัมพูชานับเป็นเพื่อนคนสำคัญและรู้จักกันมาอย่างยาวนาน พร้อมชื่นชมกับบทบาทของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกัมพูชาที่มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยและกัมพูชา ส่งผลให้ความสัมพันธ์ทวิภาคีและความร่วมมือระหว่างกันมีความใกล้ชิดแน่นแฟ้น
 
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกัมพูชากล่าวอวยพรวันเกิดนายกรัฐมนตรี ขอให้นายกรัฐมนตรีมีสุขภาพแข็งแรงและประสบความสำเร็จในภารกิจทุกประการ สำหรับการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 13 เป็นไปด้วยความราบรื่นและประสบผลสำเร็จ ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศนับว่าเป็นช่วงที่ไทยและกัมพูชาใกล้ชิดกันมากที่สุด ความร่วมมือระหว่างกันมีประสิทธิภาพและสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน
 
นอกจากนี้ ได้มีการหารือถึงความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้พะยูง ซึ่งปัจจุบันสถิติการลักลอบตัดไม้พะยูงบริเวณชายแดนไทย – กัมพูชาลดน้อยลง แต่ยังคงพบว่ามีการลักลอบตัดไม้พะยูงบริเวณชายแดนไทย – กัมพูชาอยู่  ทั้งสองประเทศจึงควรร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการสกัดกั้นการลักลอบกระทำผิด นอกจากนั้น ทั้งสองฝ่ายมีความเห็นร่วมกันที่จะติดตามบุคคลที่กระทำกฎหมายและหลบหนีคดีเข้าไปอยู่ในทั้งสองประเทศ เพื่อไม่ให้กลุ่มบุคคลใดใช้ประเทศไทยและกัมพูชาเป็นฐานในการก่อความไม่สงบและทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกัน
 
ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องกันว่า แม้ไทยและกัมพูชายังมีพื้นที่บริเวณชายแดนที่ทับซ้อนและยังหาข้อสรุปไม่ได้ ทั้งสองประเทศควรร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสค้าขายระหว่างกันอย่างสะดวก ตลอดจนพัฒนาพื้นที่ชายแดนให้มีความสงบสุขและมั่นคง นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายหวังว่าความเชื่อมโยงด้วยเส้นทางรถไฟในอนาคต จะทำให้ทั้งสองประเทศมีการติดต่ออย่างสะดวกและเพิ่มมูลค่าการค้าขายระหว่างกันให้มากยิ่งขึ้น
 
ทั้งสองฝ่ายยังแสดงความพร้อมที่จะสนับสนุนความร่วมมือระหว่างกันในทุกมิติ ทั้งทางด้านความมั่นคง การค้าและการลงทุน รวมถึงยินดีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในเรื่องสินค้าเกษตรระหว่างกัน ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องว่า ไทยและกัมพูชาควรจะดำรงความสัมพันธ์อันดี เพื่อมุ่งสร้างผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศในทุกระดับ ทั้งระดับรัฐบาลและ ประชาชน
 
ในช่วงท้าย พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ได้มีโอกาสพบปะกับนายกรัฐมนตรีกัมพูชาในระหว่างการประชุม ASEAN-Australia เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และหวังว่าจะได้พบปะกันอีกในระหว่างการประชุมสุดยอดลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ครั้งที่ 3 ซึ่งจะจัดขึ้นที่จังหวัดเสียมราฐของกัมพูชา ในต้นเดือนเมษายนนี้

ที่มา  เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แนะรัฐเร่งยกเลิกพาราควอต - กำจัดอาหารอาบสารพิษ - เคารพสิทธิสุขภาพ

Posted: 21 Mar 2018 02:11 AM PDT

วงถก 'พาราควอต' แนะรัฐเร่งยกเลิกพาราควอต - กำจัดอาหารอาบสารพิษ - เคารพสิทธิสุขภาพ ระบุปี 60 พบการใช้พาราควอตฆ่าตัวตาย 111 เหตุการณ์ และพบผู้ป่วยด้วยพาราควอต 33 คน ต่อแสนประชากร ส่วนมากอาชีพเกษตรกรและรับจ้าง

21 มี.ค.2561 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) รายงานว่า วันนี้ สช. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดเวที สช.เจาะประเด็น ครั้งที่ 1/2561 หัวข้อ "พาราควอต: 'ฆ่าหญ้า' VS 'คร่าสุขภาพ' คนไทย" ณ อาคารสุขภาพแห่งชาติ จ.นนทบุรี

อรพรรณ ศรีสุขวัฒนา รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ  กล่าวว่า การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพในเรื่องเกษตรและอาหารปลอดภัย ต้องอยู่บนฐานคิดสำคัญ 3 ประการ คือ 1.การเคารพสิทธิด้านสุขภาพของบุคคล อาหารปลอดภัยนับเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสุขภาพที่องค์การอนามัยโลกกำหนด 2.ใช้หลักการป้องกันไว้ก่อน (Precaution principle) หากมีข้อมูลที่พิสูจน์ผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากพาราควอตมากมายเช่นนี้ เหตุใดจึงยังปล่อยให้ประชาชนมีความเสี่ยงที่จะต้องบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัยต่อไป 3.ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันแก้ปัญหาการใช้พาราควอตซึ่งเป็นสารเคมีอันตรายอย่างยั่งยืน ตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 พ.ศ.2555 เรื่อง "ความปลอดภัยทางอาหาร : การแก้ไขปัญหาจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช" ซึ่งทำให้สังคมเกิดความตื่นตัว โดยล่าสุด คณะกรรมการขับเคลื่อนปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง ที่มี  ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธาน ได้ยืนยันมติที่จะเสนอให้ยกเลิกการนำเข้าและการใช้สาร "พาราควอต"ซึ่งเป็นสารกำจัดวัชพืชอันตรายร้ายแรง

"แผ่นดินไทยที่เคยเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของโลก ต้องไม่เป็นแผ่นดินอาบยาพิษที่ใช้สารกำจัดศัตรูพืชกันอย่างมากมายเช่นนี้ โดยเฉพาะพาราควอต เป็นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่อยู่ในบัญชีอันตราย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งพิจารณายกเลิกการต่ออายุใบอนุญาตนำเข้าและการใช้พาราควอตในประเทศ พร้อมไปกับการเร่งหาวิธีการกำจัดศัตรูพืชที่ไม่ต้องพึ่งพาสารเคมี ทุกฝ่ายต้องคำนึงถึงสุขภาพของประชาชนและผู้บริโภคทั้งในและนอกประเทศเป็นสำคัญ ผลิตภัณฑ์อาหารของไทยควรมีแบรนด์ของความปลอดภัยที่สร้างมูลค่าเพิ่มในตลาดโลก" อรพรรณ กล่าว

ศ.ดร.พรพิมล กองทิพย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ศ.ดร.พรพิมล กองทิพย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงความเสี่ยงต่อชีวิตและสุขภาพว่า สารพาราควอตหรือยาฆ่าหญ้าเป็นสารเคมีอันตรายที่มีพิษเฉียบพลันสูงและปัจจุบันยังไม่มียาถอนพิษ โดยมีประเทศที่ห้ามใช้แล้วประมาณ 53 ประเทศ และประเทศที่จำกัดการใช้อีก 15 ประเทศ เนื่องจากพบว่ามีความเสี่ยงต่อโรคพาร์กินสันและระบบประสาท จากการที่ภาครัฐยังคงให้จำหน่ายและใช้ในปัจจุบัน ทำให้ตรวจพบการปนเปื้อนในแหล่งน้ำใต้ดิน น้ำผิวดิน น้ำประปาในหลายจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดน่านซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำสำคัญของประเทศ นอกจากนี้ยังตรวจพบการตกค้างในดิน เช่น จังหวัดนครสวรรค์ พิษณุโลก

"มีการตรวจพบพาราควอตตกค้างในปัสสาวะหญิงตั้งครรภ์ใน 3 จังหวัดที่มีการศึกษา ได้แก่ นครสวรรค์ กาญจนบุรี และอำนาจเจริญ โดยตรวจพบพาราควอตตกค้างในซีรัมมารดาและซีรัมสายสะดือทารกขณะคลอดบุตร นอกจากนี้ ยังพบในขี้เทาทารกแรกเกิดด้วย ซึ่งอาจส่งผลต่อพัฒนาการของทารก" ศ.ดร.พรพิมล กล่าว

ข้อมูลจากศูนย์พิษวิทยาโรงพยาบาลรามาธิบดี ช่วงปี 2553–2559 พบอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยในประเทศที่ได้รับพิษถึง 10.2% และข้อมูลสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค สธ. ในปี 2560 พบการใช้พาราควอตฆ่าตัวตาย 111 เหตุการณ์ คิดเป็นอัตรา 0.17 ต่อแสนประชากร ขณะที่พบผู้ป่วยด้วยพาราควอต 33 คน หรือ 0.06 ต่อแสนประชากร ส่วนมากอาชีพเกษตรกรและรับจ้าง

รศ.ดร.พวงรัตน์ ขจิตวิชยานุกูล ผู้อำนวยการสถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการด้านวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า ประเทศไทยนำเข้าสารพาราควอตมาใช้เพื่อกำจัดวัชพืชในภาคเกษตรต่อเนื่องกว่า 30 ปี มีการฉีดพ่นในอัตราส่วนที่สูงกว่าค่ากำหนดไว้ในฉลาก ส่งผลให้สารถูกดูดซับไว้ในดิน เกิด "การคายซับ" หรือปลดปล่อยสารละลายไปกับน้ำที่ไหลผ่าน ถ้าแหล่งน้ำนั้นใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค จะมีโอกาสเข้าสู่ร่างกายและน้ำที่มีสารพาราควอตปนอยู่สามารถเคลื่อนเข้าสู่รากของพืชเช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ มีรายงานวิจัยพบสารพาราควอตจากดินในมาเลเซียและไทย รวมถึงตกค้างในพืชหลายชนิด เช่น พืชตระกูลถั่วที่ เยอรมัน บราซิล แคนาดา รวมถึงข้าวโพดในอังกฤษ สหรัฐอเมริกา แคนาดา เป็นต้น

รศ.ดร.พวงรัตน์ กล่าวอีกว่า สำหรับผลการศึกษาวิจัยของมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้เก็บตัวอย่างทางสิ่งแวดล้อมมาตรวจวิเคราะห์ พบสารพาราควอตปนเปื้อนในแหล่งน้ำและดินของจังหวัดน่านและหนองบัวลำภู รวมถึงพบการปนเปื้อนของสารชนิดนี้ในน้ำประปาหมู่บ้านและในผักท้องถิ่นที่ปลูกในพื้นที่ นอกจากนั้น ยังพบการตกค้างในผักที่สุ่มเก็บจากห้างสรรพสินค้าและร้านค้าหลายแห่งจากหลายจังหวัด

"การตรวจพบพาราควอตในน้ำและผัก เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้บริโภคต้องคำนึงถึงว่า การได้รับสารพาราควอตเข้าสู่ร่างกายไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะเกษตรกรผู้ใช้สารเคมีและผู้ที่อยู่ในพื้นที่การเกษตร แต่ผู้บริโภคคนเมืองก็ล้วนมีโอกาสได้รับสารพาราควอตผ่านการกินพืชผัก ไม่แตกต่างไปจากคนท้องถิ่นหรือเกษตรกร"

ดังนั้นภาครัฐควรมีนโยบายลด ละ เลิกการใช้สารเคมีทางการเกษตรและส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์ พร้อมให้ความรู้กับเกษตรกร มีสารทดแทนที่ปลอดภัย และหากยังจำเป็นต้องใช้ ควรคัดเลือกสารเคมีจากรายงานหรืองานวิจัยที่มีมาตรฐานสากล คำนึงถึงความปลอดภัยผู้ใช้งาน การตกค้างในสิ่งแวดล้อม การย่อยสลายในธรรมชาติ และผลกระทบสุขภาพ ตลอดจนให้ความสำคัญกับเครื่องมือตรวจวัดขององค์กรภาครัฐ เพื่อเฝ้าระวังการแพร่กระจายการตกค้างในน้ำและอาหาร

วิเชียร เจษฎากานต์ ประธานกรรมการอันดับ 2 เครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ระบุว่า ถ้านโยบายการแก้ปัญหาสารพาราควอตไม่เกิดผลเป็นรูปธรรม ต่อไปการจัดการสารเคมีอื่นๆ ที่อันตรายน้อยกว่าก็คงไม่มีทางประสบความสำเร็จ ทั้งๆ ที่ประเทศไทยผลิตอาหารที่ปลอดภัยเพื่อขายต่างชาติได้ แต่เวลาขายคนในประเทศไทยกลับไม่จำเป็นหรืออย่างไร ประชาชนทุกคนควรมีสิทธิพื้นฐานและเสมอภาคในการได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย

"เรามักจะคิดแค่การสูญเสียผลประโยชน์ทางธุรกิจ แต่ไม่ใส่ใจต่อการสูญเสียของทรัพยากรและระบบนิเวศน์ ไม่เคยตระหนักถึงงบประมาณแก้ปัญหาและดูแลผู้ได้รับผลกระทบ ดังนั้น จึงเชื่อว่านโยบายการใช้สารเคมีเกษตรขณะนี้ไม่คุ้มค่าและไม่ใช่ทางเลือกที่ยั่งยืน" วิเชียรกล่าว พร้อมระบุว่า  ถึงเวลาที่ภาครัฐต้องเปลี่ยนแปลงโดยใช้มาตรการทางกฎหมายให้ผู้ผลิตอาหารทั้งระบบมีส่วนรับผิดชอบและสามารถตรวจย้อนกลับไปสู่ผู้บกพร่องได้ เช่น เจ้าของตลาดหรือซุปเปอร์มาร์เก็ต พ่อค้าคนกลาง เกษตรกร ผู้ขายสารเคมี ฯลฯ พร้อมทำความร่วมมือภาคเอกชนสร้างข้อตกลง "สัญญาความปลอดภัยทางอาหาร" โดยองค์กรธุรกิจให้เงินและสนับสนุนการทำงานของภาครัฐและเอ็นจีโอในการตรวจสอบสินค้าและอำนวยความสะดวกในการตรวจสอบพร้อมเปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะ สร้างครัวและอาหารของโลกที่ปลอดภัย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักศึกษา ม.เชียงใหม่ สวมชุดนักโทษ-เดินชูสามนิ้ว ในมหา'ลัย ให้กำลังใจผู้ต้องหาคดีคนอยากเลือกตั้ง

Posted: 21 Mar 2018 01:50 AM PDT

นักศึกษามหา'ลัยเชียงใหม่ สวมชุดคล้ายนักโทษ เดินชูสามนิ้วในมหา'ลัยแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ให้กำลังใจผู้ต้องหาคดีคำสั่ง หัวหน้า คสช. 3/58 โดยในจำนวนนั้นเป็นนักศึกษาด้วย พร้อมเรียกร้องเพื่อนนักศึกษาตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก

 
21 มี.ค. 2561 ความคืบหน้ากรณี 6 ผู้ถูกออกหมายเรียก จากการจัดและเข้าร่วมกิจกรรมการชุมนุม "รวมพลคนอยากเลือกตั้ง" ใน "เทศกาลแห่งความหมดรัก" เมื่อวันที่ 14 ก.พ.ที่ผ่านมา หน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งจัดโดยนักศึกษากลุ่มสมัชชาเสรีแห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อประชาธิปไตย เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาที่ สภ.ภูพิงคราชนิเวศน์ จ.เชียงใหม่ ภายหลังถูกพนักงานสอบสวนออกหมายเรียกให้เข้ารับทราบข้อกล่าวหาโดยที่ ร.ท.เอกพล แก้วศิริ อัยการผู้ช่วยศาลมณฑลทหารบกที่ 33 รับมอบอำนาจจาก พล.ต.สาธิต ศรีสุวรรณ ผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย จ.เชียงใหม่ เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน สภ.ภูพิงคราชนิเวศน์ ให้ดำเนินคดีบุคคล 6 ราย ในข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 เรื่อง ห้ามมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ นอกจากผู้ต้องหาคดีดังกล่าว เดินทางมารับแจ้งข้อกล่าวหาที่ สภ.ภูพิงค์ แล้ว ภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) มีนักศึกษา 2 คน สวมชุดลายขาวดำคล้ายนักโทษ หน้าอกมีป้ายเป็นข้อความว่า "นักศึกษา" และ "3/2558" โดยแสดงออกด้วยวิธีเดินจากตึกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (อมช.) ไปจนถึงตึกเรียนรวม (อาร์บี) โรงอาหารคณะสังคมศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ระหว่างเดินมีการหยุดเป็นระยะเพื่อชูสามนิ้วแทนการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ ตลอดการเดินเป็นไปอย่างเงียบๆ

ตัวแทนนักศึกษาผู้ร่วมเดินกล่าวว่า กิจกรรมในวันนี้ทำไปเพื่อต้องการให้นักศึกษารับรู้สถานการณ์ถูกคุกคามของเพื่อนนักศึกษาที่ต้องเดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหา ฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ณ สภ.ภูพิงค์ บริเวณด้านหน้า มช. และให้นักศึกษาตระหนักว่าการปิดกั้นเสรีภาพการแสดงออกผ่านวิธีแจ้งข้อกล่าวหากลายเป็นภัยใกล้ตัวที่อาจเกิดขึ้นกับใครก็ได้ในยุคนี้

นักศึกษาผู้ร่วมเดินกล่าวเพิ่มเติมว่า ระหว่างการเดินมีผู้ให้ความสนใจจำนวนหนึ่ง ทั้งผู้ที่ทราบเรื่องการแจ้งข้อกล่าวหาวันนี้อยู่แล้ว และผู้ที่ไม่เข้าใจว่าตนกำลังทำอะไร บ้างเข้าใจว่าเลข 3/2558 บนอกเสื้อตนเป็นรหัสนักศึกษา เขาให้ความเห็นว่า นักศึกษาใน มช. ยังมีคนทราบข่าวสารเรื่องสิทธิเสรีภาพน้อย อาจเพราะตัวนักศึกษาไม่สนใจเองหรือมีผู้ไม่ต้องการให้ทราบ ทั้งที่มีการแจ้งข้อกล่าวหานักศึกษาเป็นครั้งที่สองแล้วนับตั้งแต่คดีไทยศึกษา ส่วนตัวคิดว่าสิทธิในการแสดงออกทางการเมืองเป็นสิ่งที่ทุกคนควรตระหนักรู้ ไม่ใช่สิ่งที่ต้องรอให้มหาวิทยาลัยหรือใครก็ตามมาสอนก่อน

ทั้งนี้ ในจำนวน 6 บุคคลที่ถูกหมายเรียก แยกเป็นนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 3 คน นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง 1 คน และประชาชนทั่วไปที่เข้าร่วมกิจกรรมอีก 2 คน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประธานาธิบดีพม่า "ถิ่นจ่อ" ลาออกหลังดำรงตำแหน่ง 2 ปี

Posted: 21 Mar 2018 01:14 AM PDT

ประธานาธิบดีพม่า "ถิ่นจ่อ" แจ้งลาออกแล้วหลังมีปัญหาสุขภาพ - อดีต ผบ.กองทัพภาคย่างกุ้ง "มิตส่วย" ทำหน้าที่รักษาการประธานาธิบดี โดยตามรัฐธรรมนูญพม่ากำหนดให้ตั้งประธานาธิบดีใหม่ภายใน 7 วันทำการ

ถิ่นจ่อ ประธานาธิบดีพม่ายุครัฐบาลอองซานซูจี และภาพเมื่อครั้งสาบานตนเป็นประธานาธิบดีเมื่อ 30 มีนาคม 2559 ล่าสุดแถลงลาออกแล้วเช้าวันนี้ (ที่มา: แฟ้มภาพ/MTRV)

เช้าวันนี้ (21 มี.ค.) ประธานาธิบดีพม่า ถิ่นจ่อ แจ้งลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีแล้ว โดยในประกาศที่แจ้งนั้นระบุสาเหตุว่า "ท่านประธานาธิบดีต้องการยุติการปฏิบัติภารกิจ" ทั้งนี้ตามรายงานของสำนักข่าวอิระวดี

อนึ่งตามรัฐธรรมนูญ 2551 ของพม่า ประธานาธิบดีคนใหม่จะได้รับการแต่งตั้งภายในเวลา 7 วันทำการ ส่วนรองประธานาธิบดีคนที่ 1 มิตส่วย อดีตผู้บัญชาการกองทัพภาคย่างกุ้ง แลมุขมนตรีภาคย่างกุ้งสมัยรัฐบาลเต็ง เส่ง จะทำหน้าที่รักษาการประธานาธิบดี

ถิ่นจ่อเป็นประมุขของรัฐบาลพม่า ที่ได้รับเลือกโดยรัฐสภา เมื่อเดือนมีนาคมปี 2559 หลังจากพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยที่นำโดยอองซานซูจีชนะการเลือกตั้งถล่มทลายเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2558

ทั้งนี้ถิ่นจ่อถูกมองว่าเป็นผู้ที่อองซานซูจี ผู้นำในทางปฏิบัติของรัฐบาลพม่าไว้วางใจ ขณะเดียวกันยังมีเสียงวิจารณ์ว่า ตำแหน่งประธานาธิบดีของเขาก็เหมือนเป็นหุ่นเชิด เนื่องจากอองซานซูจี ซึ่งมีตำแหน่งที่ปรึกษาแห่งรัฐ เคยแถลงต่อสื่อมวลชนก่อนวันเลือกตั้งว่า "จะอยู่เหนือประธานาธิบดี" โดยเมื่อผู้สื่อข่าวถามต่อว่า "จะทำอย่างไร" อองซานซูจีก็ตอบว่า "ดิฉันมีแผนก็แล้วกัน" โดยในเวลานั้นอองซานซูจีกล่าวด้วยว่า รัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติอะไรเกี่ยวกับเรื่อง "อยู่เหนือประธานาธิบดี" (อ่านข่าวก่อนหน้านี้)

แม้พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ เอ็นแอลดี จะชนะการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2558 ถล่มทลาย แต่เนื่องจากในรัฐธรรมนูญปี 2551 ของพม่า มีบทบัญญัติที่ทำให้ออง ซาน ซูจี ขาดคุณสมบัติไม่สามารถเป็นรองประธานาธิบดี และประธานาธิบดี เนื่องจากสมรสกับชาวต่างชาติ และมีบุตรเป็นชาวต่างชาติ ขณะเดียวกัน แม้ในขณะนี้พรรคเอ็นแอลดีจะมีที่นั่งในสภาเกินร้อยละ 66 หรือ 2 ใน 3 ของทั้ง 2 สภา แต่ก็ยังไม่พอที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ต้องใช้เสียงสนับสนุนเกินร้อยละ 75 หรือเกิน 3 ใน 4 ของสภา หรือต้องได้รับการสนับสนุนจากกองทัพที่มีที่นั่งอยู่ร้อยละ 25 ในสภา

อนึ่งสาธารณชนต่างรับรู้เรื่องปัญหาสุขภาพของประธานาธิบดีผู้มีอายุ 71 ปี เนื่องจากเขามักปรากฏตัวในสภาพที่ดูเจ็บป่วย นอกจากนี้ยังไม่ปรากฏตัวในงานรัฐพิธี นอกจากนี้เขายังเดินทางไปรับการรักษายังต่างประเทศด้วย

 

ประธานาธิบดี 'คนวงใน' อองซานซูจี

สำหรับถิ่นจ่อ ประธานาธิบดีพม่าคนที่ 9 นับตั้งแต่พม่าได้เอกราชเมื่อปี 25490 และเป็นประธานาธิบดีพลเรือนคนแรกในรอบ 54 ปีนั้น เกิดเมื่อ 20 กรกฎาคม 2489 ในครอบครัวชาวมอญ-พม่า ที่กุงจังกน ภาคย่างกุ้ง หลังจบสถาบันเศรษฐศาสตร์ย่างกุ้ง มหาวิทยาลัยย่างกุ้งเมื่อปี พ.ศ. 2505 ในปี 2511 ได้เรียนปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์ ที่สถาบันเดิมและสอนหนังสือด้วย จากนั้นไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยลอนดอนในปี 2514 ถึง 2515
 
ในปี 2523 - 2535 เป็นเจ้าหน้าที่กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศพม่า ในปี 2530 ได้เรียนด้านการบริหารที่ วิทยาลัยการบริหารศาสตร์ อาร์เธอร์ ดี ลิตเติล ที่รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา จากนั้นในปี 2535 ได้ลาออกจากตำแหน่งรองผู้อำนวยการ ของกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศถิ่นจ่อ ถือเป็นคนวงในของพรรคเอ็นแอลดี โดยบิดาของเขาคือ มิงตุ๊หวุ่น (Min Thu Wun) เป็นนักเขียนและนักกวีเชื้อสายมอญ-พม่าคนสำคัญ ในยุคเรียกร้องเอกราช เขาเข้าร่วมกลุ่มนักเขียนรุ่นใหม่ในนาม "Khit-San" หรือ "ทดลองยุคสมัย" และมีผลงานเขียนด้านวรรณกรรมทดลองหลายเรื่อง โดย มิงตุ๊หวุ่น ชนะการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2533 ซึ่งรัฐบาลทหารพม่าไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง ส่วนตัว ถิ่นจ่อ เองก็มีผลงานด้านวรรณกรรมเช่นกัน โดยเขาใช้นามปากกาว่า "ดะละบั่น" ซึ่งนำมาจากชื่อของนักรบมอญคนสำคัญในอดีต
 
ขณะที่พ่อภรรยาของถิ่นจ่อ คือ ละวิน เป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคเอ็นแอลดี และเคยมีตำแหน่งเป็นเลขานุการพรรคและเหรัญญิกพรรค โดยทั้งมิงตุ๊หวุ่น และละวิน เสียชีวิตแล้ว ส่วนภรรยาของถิ่นจ่อ คือ ซูซูละวิน เป็น ส.ส.พรรคเอ็นแอลดี ในการเลือกตั้งเขตตง-ควะ ภาคย่างกุ้ง ในการเลือกตั้งซ่อมเดือนเมษายน 2555 และได้รับการเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้ง 8 พฤศจิกายน 2558
 
สำหรับเส้นทางการทำงานการเมืองของถิ่น จ่อ นั้น หลังจากจบการศึกษาได้กลับมารับราชการที่พม่านั้น ต่อมาได้ลาออกจากราชการเพื่อเข้าร่วมพรรคเอ็นแอลดี
 
ในส่วนที่มีการนำเสนอข่าวว่าถิ่น จ่อ เป็นคนขับรถของออง ซาน ซูจี นั้น เนื่องจากเขาเคยขับรถให้ออง ซาน ซูจี ในวันที่ออง ซาน ซูจี ได้รับการปล่อยตัวออกจากบ้านพักเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2553 เท่านั้น
 
ทั้งนี้ถิ่น จ่อมีตำแหน่งเป็นผู้บริหารของมูลนิธิดอ ขิ่นจี ตั้งชื่อตามชื่อของมารดา ออง ซาน ซูจี เป็นมูลนิธิที่ทำงานด้านสาธารณสุขและการศึกษาในพม่าด้วย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พบแรงงานฝึกงานเวียดนามในญี่ปุ่นถูกให้ทำงานขจัดสิ่งปนเปื้อนกัมมันตรังสี

Posted: 20 Mar 2018 10:22 PM PDT

พบแรงงานฝึกงานเวียดนามในญี่ปุ่นเผยถูกให้ทำงานเกี่ยวกับสิ่งปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีในเขตที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ โดยที่ "ไม่มีความรู้-ไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้า-ผิดสัญญาจ้างที่ทำเอาไว้แต่แรก-ให้ค่าแรงต่ำกว่ากฎหมาย" สหภาพแรงงานชี้เป็นการใช้แรงงานต่างชาติที่ไม่ได้รับการฝึกฝนด้านนี้เป็นครั้งแรก

 

21 มี.ค. 2561 เครือข่ายสมานฉันท์แรงงานข้ามชาติญี่ปุ่นเปิดเผยว่าชายชาวเวียดนามคนหนึ่งที่เข้ามาไปยังประเทศญี่ปุ่นภายใต้โครงการฝึกงานด้านเทคนิค (IM) มีส่วนร่วมในการทำงานเกี่ยวกับการขจัดสิ่งปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีในเขตที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ โดยที่เขาไม่องค์ความรู้ในด้านนี้เลย

แรงงานชายอายุ 24 ปี ชาวเวียดนาม ให้ข้อมูลกับเครือข่ายสมานฉันท์แรงงานข้ามชาติว่าเขาเดินทางมาทำงานยังญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกตามโครงการฝึกงานด้านเทคนิคระหว่างรัฐบาลเวียดนามและญี่ปุ่น โดยมีบริษัทรับเหมาก่อสร้างแห่งหนึ่งในเมืองโมริโอกะ จ.อิวาตะ เป็นผู้ว่าจ้าง แต่ไม่ได้มีการบอกกล่าวเขาล่วงหน้าว่าเขาต้องทำงานขจัดการเปื้อนสารกัมมันตรังสี (การใช้กระบวนการทางเคมี ฟิสิกส์ หรือชีวภาพ เพื่อให้สารกัมมันตรังสีทั้งหมดหรือบางส่วน หลุดออกจากสิ่งที่เปื้อน) ที่เกิดจากภัยพิบัตินิวเคลียร์ที่โรงไฟฟ้าฟุกุชิมะไดอิจิ เมื่อปี 2554

ตามที่ให้ข้อมูลกับเครือข่ายสมานฉันท์แรงงานข้ามชาติ ชายชาวเวียดนามคนนี้ระบุว่าเขาเดินทางมายังญี่ปุ่นเมื่อเดือน ก.ย. 2558 และงานในสัญญาจ้างของเขาระบุว่าจะได้ทำงานที่เกี่ยวข้องกับ "เครื่องจักรก่อสร้าง งานรื้อ และงานวิศวกรรมโยธา" เท่านั้น แต่โดยที่ไม่มีคำอธิบายใด ๆ เกี่ยวกับการปนเปื้อนกัมมันตรังสี

เขาถูกให้ไปทำงานทำความสะอาดสิ่งปนเปื้อนด้วยนำดินออกจากพื้นผิวถนนและที่อยู่อาศัยในเขตโคริยามะ จ.ฟุกุชิมะ ระหว่างเดือน ต.ค. 2558- มี.ค. 2559 รวมทั้งเขายังมีส่วนในการรื้ออาคารในเมืองคาวามาตะ ระหว่างเดือน ก.ย.-ธ.ค. 2559 ก่อนที่จะมีคำสั่งอพยพออกจากพื้นที่ หลังมีความกังวัลเรื่องระดับรังสีในพื้นที่ จากนั้นเขาได้รับการช่วยเหลือจากสหภาพแรงงานเซ็นโทอิสุ ซึ่งเป็นองค์กรแรงงานที่ให้ความช่วยเหลือแรงงานต่างชาติในประเทศญี่ปุ่น

ในด้านสภาพการจ้างพบว่าเขาได้รับค่าจ้างเพียง 2,000 เยน (ประมาณ 580 บาท) ต่อวันในการทำงานขจัดสิ่งเปื้อนสารกัมมันตรังสี ซึ่งน้อยกว่าที่กฎหมายของกระทรวงสิ่งแวดล้อมระบุไว้สำหรับงานขจัดสิ่งเปื้อนสารกัมมันตรังสีถึง 3 เท่า นอกเหนือจากเงินเดือนของเขาตามโครงการฝึกงานด้านเทคนิคที่ได้รับเดือนละ 150,000 เยน (ประมาณ 44,000 บาท)

นอกจากนี้สหภาพแรงงานเซ็นโทอิสุยังระบุว่านี่คือกรณีแรกที่มีการใช้แรงงานต่างชาติที่ไม่ได้เชี่ยวชาญในด้านนี้ทำงานกับสิ่งปนเปื้อนกัมมันตรังสี

อนึ่งโปรแกรมการฝึกอบรมสำหรับแรงงานต่างชาติของญี่ปุ่นนั้นเริ่มในปี 2536 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายโอนทักษะในการพัฒนาประเทศแก่ประเทศกำลังพัฒนาต่าง ๆ แต่โครงการนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีการใช้แรงงานบังคับในภาคการเกษตรและการผลิตอื่น ๆ และเพื่อให้บริษัทต่าง ๆ ในญี่ปุ่นสามารถนำเข้าแรงงานราคาถูกได้

 

ที่มาเรียบเรียงจาก
Vietnamese trainee made to do decontamination work in Fukushima (KYODO NEWS, 15/3/2018)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักพัฒนาสังคมอาวุโส ย้ำงานของภาคประชาสังคมในอนาคตต้องทำอย่างเป็นมืออาชีพ

Posted: 20 Mar 2018 10:07 PM PDT

เดช พุ่มคชา ชี้การทำงานภาคประชาสังคมต้องปรับให้ทำงานแบบมืออาชีพมากขึ้นอย่างเป็นขบวน ชี้ภาพลักษณ์ของภาคประชาสังคมที่ถูกมองในเชิงลบก็ยังมีอยู่ไม่น้อยตามที่งานวิจัยได้ออกมา คนทำงานไม่ควรเพิกเฉยต่อประเด็นนี้
เดช พุ่มคชา นักพัฒนาสังคมอาวุโส กล่าวเปิดเวที
 
21 มี.ค.2561 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่า เมื่อวันที่ 15 มี.ค.ที่ผ่านมา สถาบันส่งเสริมภาคประชาสังคม (สสป.)  ร่วมกับ มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)  และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  ได้จัดเวทีสาธารณะ  "เสริมพลังภาคประชาสังคมเพื่อสังคมสุขภาวะ" ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ มีผู้เข้าร่วมกว่า 300 คน เพื่อสร้างความตระหนักถึงความหมาย คุณค่า และบทบาทของภาคประชาสังคมที่เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศจากอดีตจนถึงปัจจุบัน   และแลกเปลี่ยนบทเรียนการทำงานของภาคประชาสังคมในประเทศไทย 
 
เดช พุ่มคชา นักพัฒนาสังคมอาวุโส กล่าวเปิดเวทีว่าการทำงานของภาคประชาสังคมในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา พบว่าประเทศไทยเริ่มการพัฒนาตามทิศทางของธนาคารโลกตั้งแต่ปี 2504  ซึ่งประเทศไทยเติบโตเฉลี่ยปีละร้อยละ 6.1 เติบโตเป็นประเทศรายได้ระดับกลาง ตั้งแต่ปี 2553  มีขนาดเศรษฐกิจลำดับที่ 22 ของโลก รัฐบาลมีข้อจำกัดไม่สามารถบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้อย่างเป็นธรรมและทั่วถึงได้  ประเทศไทยจึงมีความทันสมัยแต่ไม่พัฒนา คนรวยกระจุก จนกระจาย ทรัพยากรที่หลากหลายเสื่อมโทรม  ครอบครัวไม่มั่นคง ชุมชนกว่า 88,000  หมู่บ้านได้รับผลกระทบจากการพัฒนา ดังนั้นช่วงของการพัฒนาที่ผ่านมาภาคประชาสังคมจึงเป็นกลไกหนึ่งที่ช่วยทำให้คนกลุ่มต่างๆ อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข 
 
"ผมมองว่าการทำงานของภาคประชาสังคมนับจากนี้จนถึงอนาคต ต้องปรับให้ทำงานแบบมืออาชีพมากขึ้น ต้องทำงานร่วมกันอย่างเป็นขบวน ทำงานด้วยความรู้และต้องใช้ศาสตร์และศิลป์เพื่อทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งภาครัฐ การมีเวทีวันนี้ผมเชื่อว่าทุกคนมีฝันร่วมกันว่าเครือข่ายประชาสังคมจะธำรงการกระทำสิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้นในสังคมไทยโดยส่งเสริมให้ทุกฝ่ายอยู่ร่วมกันอย่างสันติ พัฒนาดำรงกลุ่ม ชุมชนให้มีคุณค่า มีส่วนร่วม แบ่งปัน  สร้างความเป็นธรรมให้ทั่วถึง พัฒนาและดำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รักษาความสัมพันธ์ และความงอกงามของตนเองและผู้อื่นได้ แม้ว่าวันนี้ภาคประชาสังคมจะได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม (คสป.) จากรัฐบาล แต่ไม่ควรมองว่าเราเก่งหรือดีแล้ว  จนหยุดการพัฒนาตนเอง เพราะภาพลักษณ์ของภาคประชาสังคมที่ถูกมองในเชิงลบก็ยังมีอยู่ไม่น้อยตามที่งานวิจัยได้ออกมาแล้ว ดังนั้นคนทำงานในภาคประชาสังคมไม่ควรเพิกเฉยต่อประเด็นดังกล่าว" เดช กล่าว
 
นอกจากนี้ สุนี ไชยรส  ผู้ประสานงานขบวนการผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย (วีมูฟ) และผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมความเสมอภาคและความเป็นธรรม  มหาวิทยาลัยรังสิต   ได้ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "บทบาทภาคประชาสังคมไทย : 5 ทศวรรษบนเส้นทางงานพัฒนา" กล่าวว่า นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510  ที่ ดร.ป๋วย  อึ้งภากรณ์ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย  ได้ร่วมกับเพื่อนก่อตั้งมูลนิธิชนบทแห่งประเทศไทยขึ้นมา  ที่จังหวัดชัยนาท  ด้วยแนวคิดว่า ไปหาชาวบ้าน ไปอยู่กับเขา  เรียนรู้จากเขาวางแผนกับเขา  ทำงานกับเขา  เริ่มจากสิ่งที่เขารู้  ซึ่งเป็นการเชื่อมร้อยที่อาจารย์ป๋วยพูดถึงสังคมไทยเรื่องจากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน  สิ่งนี้เป็นแนวทางการทำงานของภาคประชาสังคม  ที่ต้องทำเพื่อเอกราช สันติภาพ และประชาธิไตย
 
ตลอดการทำงานที่ผ่านมาพบว่าขบวนการประชาสังคมของไทยมีจุดแข็งหลายประการ  นับตั้งแต่เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519  เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ว่าการใช้ความรุนแรงไม่สามารถทำให้การทำงานของภาคประชาสังคมยุติลงได้  แต่เรายังคงยืนหยัดต่อเนื่อง เป็นเครือข่ายที่กว้างขวางจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าที่ผ่านมาภาพพจน์ของเอ็นจีโอ คือ กลุ่มคนที่ ขัดขวางการพัฒนา ก้าวร้าว รุนแรง ถูกสร้างภาพเป็นผู้ร้าย แต่ไม่สามารถปฏิเสธบทบาทภาคประชาสังคม ที่เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ประเทศไทยพัฒนามาได้จนถึงวันนี้ โดยไม่ได้ช่วงชิงอำนาจรัฐ  แต่ทำหน้าที่ตรวจสอบ ถ่วงดุล และทำงานในส่วนการเมืองภาคประชาชน รวมทั้งแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้กับประชาชน กรณีที่หน่วยงานภาครัฐไม่สามารถทำได้ และพบว่ามีการทำงานข้ามเครือข่าย ข้ามประเด็นแม้จะยังไม่เต็มที่เพื่อร่วมกันผลักดันสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานด้วย
 
"อย่างไรก็ตามการทำงานของภาคประชาสังคมยังมีความท้าทายหลายประการ ได้แก่ การที่ภาคประชาสังคมมีความเป็นอิสระ  ต้องไม่ถูกแทรกแซง  กล้าต่อรองกับรัฐ  แต่ขณะเดียวกันก็มีความจำเป็นที่ต้องร่วมมือกับภาครัฐ  เพื่อขับเคลื่อนงาน   แต่ละเครือข่ายจะสร้างให้เกิดจุดสมดุลในประเด็นดังกล่าวอย่างไร   การทำงานแก้ไขปัญหาเฉพาะประเด็นที่แต่ละองค์กรทำอยู่นั้นยังคงต้องทำต่อไป   แต่จะมีแนวทางที่จะยกระดับให้เป็นนโยบายอย่างไร  การทำงานในอนาคตจะเป็นเชิงรุกหรือเชิงรับ  งานภาคประชาสังคมแต่ละประเด็นจะส่วนในการผลักดันให้เกิดประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมอย่างไร  และจะมีแนวทางในการสร้างคนรุ่นใหม่ที่จะเข้าร่วมขบวนการภาคประชาสังคมได้อย่างไร" สุนีย์ กล่าวทิ้งท้าย
 
การขับเคลื่อนงานของสถาบันส่งเสริมภาคประชาสังคม หรือ สสป.เป็นผลจากการที่ประเทศไทยมีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ พ.ศ.2558 ที่ทำให้เกิดมีการทำงานของภาคประชาสังคม  โดยแต่งตั้งคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ ซึ่งที่ผ่านมาได้จัดทำ (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2561-2564) , การยกร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม พ.ศ.... , การสำรวจข้อมูลสถานการณ์การทำงานขององค์กรภาคประชาสังคมในภูมิภาคต่างๆ ฯลฯ  โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สปสช.ร่วมรณรงค์ 'วันดาวน์ซินโดรมโลก' สิทธิบัตรทองดูแล-ควบคุมกลุ่มดาวน์ในหญิงตั้งครรภ์

Posted: 20 Mar 2018 09:52 PM PDT

สปสช.ร่วมรณรงค์วันดาวน์ซินโดรมโลก หนุนดูแล 'เด็กดาวน์' สิทธิประโยชน์บัตรทองครอบคลุมการรักษา พร้อมส่งเสริมพัฒนาการให้ดีขึ้นเท่าที่เด็กทำได้ พร้อมจับมือกรมอนามัย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และคณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยต่างๆ รุกควบคุมกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมในหญิงตั้งครรภ์ทุกสิทธิอย่างเป็นระบบ หลังนำร่อง 5 จังหวัด มีหญิงตั้งครรภ์รับการคัดกรองแล้วกว่า 38,000 ราย เตรียมขยายผลทั่วประเทศ
 
21 มี.ค.2561 เนื่องในวัน "วันดาวน์ซินโดรมโลก" (World Down's syndrome Day) ตรงกับทุกวันที่ 21 มี.ค.ของทุกปี นพ.ชูชัย ศรชำนิ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า วันดาวน์ซินโดรมโลก จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2549 ณ ประเทศสิงคโปร์ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจถึงศักยภาพและความสำเร็จของบุคคลที่มีกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมทั่วโลก กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมเกิดจากยีนหรือสารพันธุกรรมบนโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินเป็น 3 แท่ง เป็นที่มาของวันที่ 21 เดือน 3 วันดาวน์ซินโดรมโลก โดยเด็กที่มีกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมจะมีรูปร่างหน้าตาคล้ายกันในลักษณะเฉพาะตัว และมีปัญหาสุขภาพรวมถึงพัฒนาการที่ล่าช้า จำเป็นต้องได้รับการดูแลสุขภาพ การสนับสนุนพัฒนาการต่อเนื่อง ก่อให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายจำนวนมากและกลายเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงบริการ
 
ด้วยระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีหลักการสำคัญ คือดูแลคนไทยผู้มีสิทธิให้เข้าถึงการรักษาและบริการสาธารณสุขอย่างครอบคลุมและทั่วถึง โดยไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลังตามเป้าหมายการพัฒนายั่งยืน (SDG3) รวมถึงผู้ที่มีกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม ส่งผลให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้เข้าถึงการรักษา บริการสาธารณสุข การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ตามสิทธิประโยชน์กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พร้อมกันนี้ยังได้สนับสนุนหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ สมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิด (ประเทศไทย) เพื่อส่งเสริมพัฒนาการให้ดีขึ้นเท่าที่เด็กสามารถจะทำได้
 
นพ.ชูชัย กล่าวว่า ขณะเดียวกัน สปสช.ยังสนับสนุนด้านการป้องกันและควบคุมกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม เพื่อลดอัตราการเกิดของเด็กกลุ่มดาวน์ซินโดรม โดยดำเนิน "โครงการป้องกันและควบคุมกลุ่มอาการดาวน์ในหญิงตั้งครรภ์" ร่วมกับ กรมอนามัย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และคณะแพทยศาสตร์ ในแต่ละมหาวิทยาลัย เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการการป้องกันและควบคุมกลุ่มอาการดาวน์ โดยในปี 2559 ได้เริ่มนำร่องพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน นครสวรรค์ ขอนแก่น สงขลา และยะลา เป็นการเตรียมความพร้อมด้านบริหารจัดการก่อนขยายไปทั่วประเทศ ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2559
 
ผลจากโครงการนี้ได้เกิดเครือข่ายบริการคัดกรองดาวน์ซินโดรม โดยคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นศูนย์กลางในการตรวจทางห้องปฏิบัติการและควบคุมคุณภาพการแปลผลการตรวจคัดกรอง สนับสนุนวิชาการ ให้คำปรึกษาแก่ทีมแพทย์ พยาบาล นักเทคนิคการแพทย์ ในหน่วยบริการเครือข่าย
 
"การตรวจคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมครอบคลุมหญิงตั้งครรภ์ทุกสิทธิ ทั้งหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประกันสังคมและสวัสดิการข้าราชการ เป็นต้น โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย จะเริ่มคัดกรองอายุครรภ์ 14-18 สัปดาห์ มีการตรวจเลือดก่อน แล้วจึงเป็นการตรวจโครโมโซมและเจาะน้ำคร่ำยืนยัน ไม่ว่าหญิงตั้งครรภ์มีความจำเป็นต้องได้รับบริการในขั้นตอนใดจะได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องโดยทีมบุคลากรทางการแพทย์ที่ผ่านการอบรม พร้อมกับการประเมินและติดตามเพื่อให้การดูแลเป็นไปอย่างมีคุณภาพ ตั้งแต่ปี 2559-2560 มีหญิงตั้งครรภ์ที่รับการคัดกรองกลุ่มดาวน์ซินโดรมแล้วกว่า 38,000 ราย" รองเลขาธิการ สปสช. กล่าว  
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จาก 'ลาบานูน' ถึง 'บิ๊กแอส' เมื่อถูกฟ้องฐานละเมิดลิขสิทธิ์เพลงของวงตัวเอง

Posted: 20 Mar 2018 07:39 PM PDT

เอากันอย่างนี้ใช่ไหม.. ศาลออกหมายจับ 'บิ๊กแอส' ทั้งวง ฐานละเมิดลิขสิทธิ์เพลงของวงตัวเอง หลังร้องเพลง 'ก่อนตาย' พร้อมย้อนดู 'มิวสิคบั๊กส์' ฟ้อง 'แกรมมี่-ลาบานูน' หลังใช้เพลงเก่า 7 อัลบั้มแสดงคอนเสิร์ต 

21 มี.ค.2561 Workpoint News - ข่าวเวิร์คพอยท์ รายงานว่า เมื่อวันที่ 20 มี.ค.ที่ผ่านมา ตัวแทนของลิขสิทธิ์ค่ายเพลง เพาเวอร์เทรเซอร์ จำกัด หรือ มิวสิคบั๊กส์ พร้อมด้วยตำรวจสน.ทองหล่อ นำหมายจับจากศาลจังหวัดระยอง มาที่บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เพื่อดำเนินคดีกับนักดนตรีวงบิ๊กแอส รวม 5 ราย ความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยการเผยแพร่ต่อสาธารณชนในงานดนตรีเพื่อการค้า ประกอบด้วย  1.เดชา โคนาโล (เจ๋ง) ร้องนำ 2. พูนศักดิ์ จตุระบุล (อ๊อฟ) กีตาร์นำ ร้องประสาน 3.อภิชาติ พรมรักษา (หมู) กีตาร์นำ ร้องประสาน  4. พงศ์พันธ์ พลสิทธิ์ (โอ๊ค) กีตาร์เบส 5. ขจรเดช พรมรักษา (แหลมหรือกบ) มือกลอง 

ภายหลังนำบทเพลง 'ก่อนตาย' ของวงบิ๊กแอสเอง โดยเป็นบทเพลงในอัลบั้ม เอ็กซ์แอล ซึ่งขณะนั้นเป็นชุดที่ 2 ของวงและยังอยู่ในสังกัดค่ายมิวสิคบั๊กส์ มาขับร้องในงานเทศกาลเที่ยวทะเลหาดบ้านเพ-เกาะเสม็ด เมื่อวันที่ 7 ธ.ค.60

'หนุ่ม กะลา'โดนหมายจับ ฐานละเมิดลิขสิทธิ์ หลังร้องเพลง 'ยาม' ในร้าน

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า การฟ้องลักษณะนี้ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้น เมื่อวันที่ 12 มี.ค.ที่ผ่านมา ข่าวสดออนไลน์ รายงานว่า บุญธรรม เพ็ชรนารถ ประธานกรรมการบริษัทจัดเก็บลิขสิทธิ์เพลง เพ็ชรเมโทร จำกัด พร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวน สน.ทองหล่อ ได้นำหมายศาลจังหวัดพัทยา ที่ จ. 99/2561 ลงวันที่ 8 มี.ค.61 เดินทางมาที่ตึกแกรมมี่ เพื่อจับกุมตัว นายณพสิน แสงสุวรรณ อายุ 36 ปี หรือ หนุ่ม กะลา ในความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าด่วยการเผยแพร่ภาพและเสียงต่อสาธารณะชน ซึ่งงานดนตรีกรรมหรือโสตทัศนวัสดุโดยไม่ได้รับอนุญาต

โดยระบุเมื่อวันที่ 23 พ.ย. 60 หนุ่ม กะลา ได้ไปเปิดแสดงคอนเสิร์ตที่ร้าน คลับ อินซอมเนีย ถนนวอล์คกิ้งสตรีท ต.หนองปรือ อ.เมืองพัทยา จ.ชลบุรี และนำเพลง "ยาม" ไปร้องในร้านและในสถานที่จัดแสดงคอนเสิร์ตต่างๆ อีกหลายครั้งหลายสถานที่ โดยไม่ได้มีการขออนุญาตกับทางเจ้าของลิขสิทธิ์แต่อย่างใด

โดยทางตัวแทนเจ้าของลิขสิทธิ์ได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์ ต่อ ร.ต.ท.(ญ) ชนิกานต์ เผื่อนพินิจ รอง สว.สส.สภ.เมืองพัทยา และได้ออกหมายเรียกให้มาตกลงกับทางเจ้าของลิขสิทธิ์หลายครั้งแต่ทางหนุ่ม กะลา ไม่ยอมมาพบและบ่ายเบี่ยงมาตลอด จึงต้องเดินทางมาที่บริษัทแกรมมี่ ด้วยตนเอง ซึ่งจนถึงขณะนี้ได้รับแจ้งจากทางแกรมมี่ ซึ่งเป็นต้นสังกัดว่า หนุ่ม กะลา ยังไม่เข้ามาที่บริษัทแกรมมี่ ซึ่งตนเองต้องการให้มาตกลงกันและในคดีดังกล่าวมีความผิดทางอาญามีโทษ จำคุก 4-6 ปี และปรับ 100,000 ถึง 800,000 บาท

'มิวสิคบั๊กส์' ฟ้อง 'แกรมมี่-ลาบานูน' หลังใช้เพลงเก่า 7 อัลบั้มแสดงคอนเสิร์ต 

เมื่อย้อนไปต้นปี 2559 อีกนึ่งวงดนตรีดังอย่าง ลาบานูน ก็เผชิญปัญหานี้ หลังใช้เพลงเก่า 7 อัลบั้มแสดงคอนเสิร์ต โดยกรุงเทพธุรกิจออนไลน์ รายงานว่า ชนินทร์ วรากุลนุเคราะห์ กรรมการบริษัท เพาเวอร์ เทรเซอร์ จำกัด ค่ายเพลงมิวสิคบั๊กส์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 9 ก.พ.59 ตนได้ยื่นฟ้องบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) รวมทั้งศิลปินวงลาบานูน กับพวก รวม 6 คน ต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง เรื่องละเมิดลิขสิทธิ์เพลงทั้ง 7 อัลบั้มของวงลาบานูนซึ่งเป็นสิทธิ์ของบริษัท เรียกค่าเสียหาย 50 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี และให้จำเลยทั้งหมด ระงับการนำพลงานเพลงลิขสิทธิ์โจทก์ ทั้ง 7 อัลบั้มไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้าในรูปแบบใดๆโดยเด็ดขาด

สำหรับจำเลยทั้งหก ที่ค่ายมิวสิคบั๊กส์ ยื่นฟ้อง ประกอบด้วย บริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค พับลิช ซิ่ง อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด โดย บุษา ดาวเรือง กก.ผจก. , กรรมการผู้จัดการสังกัดจีนี่ เรคคอร์ด , บริษัทจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)โดย สุวิมล จึงโชติกะพิสิฐ กก.ผจก. , ศิลปินวงลาบานูนทั้ง 3 คนซึ่งปัจจุบันย้ายค่ายสังกัดจีนี่ เรคคอร์ด เป็นจำเลยที่ 1-6

โดยคำฟ้อง บรรยายพฤติการณ์ระบุว่า บจก.เพาเวอร์ เทรเซอร์ ค่ายเพลงมิวสิคบั๊กส์ โจทก์ อนุญาตให้ บจก.จีเอ็มเอ็ม มิวสิคฯ จำเลยที่ 1 เป็นผู้เก็บค่าตอบแทน และค่าเผยแพร่ผลงานด้านดนตรี สิ่งบันทึกเสียง และโสตทัศน์วัสดุ ที่เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทโจทก์ จากสถานประกอบการร้านค้าหรือผู้ใช้งานเพลง โดยทำหนังสืออนุญาตให้จัดเก็บค่าเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์ต่อสาธารณะ รวม 3 ฉบับ ในปี 2545 , 2547 และ 2549 ซึ่งสัญญาฉบับที่ 3 จะสิ้นสุดในวันที่ 4 ก.ค.60 โดยเจตนารมณ์ของสัญญา คือการที่โจทก์ได้อนุญาตให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดเก็บค่าตอบแทนจากบุคคลภายนอกเท่านั้น

แต่เมื่อปลายเดือน ส.ค.58 ภายหลังวงลาบานูนที่ได้ย้ายค่ายสังกัดจีนี่ เรคคอร์ด ต้นเดือนต.ค.57 ได้ออกผลงานเพลงเชือกวิเศษ แล้วได้นำงานเพลงทั้ง 7 อัลบั้ม คือนมสด , 191 , คนตัวดำ , 24 ชั่วโมง , Clear , Keep Rocking  และสยามเซ็นเตอร์ ที่เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทโจทก์ไปใช้ประกอบการแสดงในแต่ละครั้งไม่น้อยกว่า 10 เพลงต่อรอบ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ ทั้งนี้นับตั้งแต่ปี 2557 จนถึงวันฟ้องวงลาบานูน ได้จัดการแสดงเพื่อประโยชน์การค้า ถึง 250 รอบ จึงเป็นการกระทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ได้รับความเสียหาย ก่อนฟ้องโจทก์ได้ให้ทนายความมีหนังสื่อแจ้งจำเลยทั้ง 6 ชดใช้ค่าเสียหายพร้อมให้ยุติการกระทำที่ละเมิดลิขสิทธิ์โจทก์แล้ว แต่จำเลยทั้ง 6 ยังเพิกเฉย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น