โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

ข่าวสารประชาชนรอบสัปดาห์ (10-17 เม.ย.54)

Posted: 17 Apr 2011 12:31 PM PDT

สุรินทร์ประกาศพื้นที่ประสบภัยแล้งแล้ว 17 อำเภอ
17 เม.ย.54 นายอำนวย จันทรัฐ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุรินทร์ เปิดเผยว่า เนื่องจากสภาพความแห้งแล้งและปริมาณฝนตกไม่เพียงพอ เป็นเหตุให้เกิดภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ โดยจังหวัดสุรินทร์ได้ประกาศพื้นที่ประสบภัยแล้งครอบคลุมทั้ง 17 อำเภอ 157 ตำบล 2,041 หมู่บ้าน หรือร้อยละ 96.27 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 625,419 คน จำนวน 222,614 ครัวเรือน หรือร้อยละ 68.80 ของครัวเรือนทั้งจังหวัด ส่วนใหญ่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำดื่มสะอาด ส่วนน้ำใช้ในครัวเรือนและน้ำเพื่อการเกษตรยังไม่ประสบความเดือดร้อนรุนแรงมากนัก
       
ทั้งนี้ จังหวัดสุรินทร์ มีเกษตรกรที่เพาะปลูกพืชหน้าแล้ง จำนวน 26,862 ราย รวมเนื้อที่เพาะปลูกทั้งหมด 167,741 ไร่ แยกเป็น ข้าวนาปรัง 141,571 ไร่ พืชไร่ 17,495 ไร่ พืชผัก 8,369 ไร่โดยมีพื้นที่การเกษตรที่ได้ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวนาปรัง 141,876 ไร่ มีพื้นที่ข้าวนาปรังประสบภัยแล้งแล้วประมาณ 11,350 ไร่ เกษตรกรเดือดร้อน 1,024 ราย ในพื้นที่อำเภอชุมพลบุรี ท่าตูมและรัตนบุรี ส่วนด้านปศุสัตว์และด้านประมงยังไม่มีเกษตรกรได้รับความเดือดร้อนจากภัยแล้ง
 
เครือข่ายองค์กรชุมชนระดมทุนช่วยน้ำท่วมใต้

17 เม.ย.54 นายพรมมา สุวรรณศรี ตัวแทนคณะประสานงานองค์กรชุมชนภาคกลางตอนบนและตะวันตกเปิดเผยว่า หลังจากที่เกิดอุทกภัยและดินถล่มในพื้นที่ภาคใต้เครือข่ายองค์กรชุมชนทั้งสี่ภาคได้ร่วมกันระดมทุนและจัดซื้อข้าวสารเบื้องต้นจำนวน 5 ตัน
น้ำดื่มเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มจัดส่งเพื่อบรรเทาทุกข์แก่พี่น้องผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดกระบี่และสุราษฏร์ธานีโดยใช้ชุดประสบการณ์จากชุมชนซึ่งประสบภัยพิบัติก่อนหน้านี้มาช่วยแก้ไขปัญหาและใช้สภาองค์กรชุมชนตำบลสร้างเครือข่ายในพื้นที่ประสบภัยให้เชื่อมโยงกับเครือข่ายองค์กรชุมชนทั่วประเทศเพื่อให้เกิดการจัดการแก้ไขปัญหาในพื้นที่โดยชุมชนท้องถิ่นเอง
 นายสยาม นนท์คำจันทร์ ผู้จัดการสำนักงานปฏิบัติการภาคกลางตอนบนและตะวันตกสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนหรือ พอช. กล่าวว่าการระดมความช่วยเหลือเพื่อพี่น้องผู้ประสบภัยภาคใต้เป็นการรวมน้ำใจในระยะเร่งด่วนซึ่งในระยะต่อไปเครือข่ายองค์กรชุมชนภาคกลางตอนบนและตะวันตกจะวางแผนร่วมกับช่างชุมชนตามโครงการบ้านมั่นคงในการร่วมแรงลงพื้นที่ภาคใต้เพื่อช่วยกันซ่อมสร้างที่อยู่อาศัยที่เสียหายซึ่งหลังเทศกาลสงกรานต์จะดำเนินการทันที
  
 เมืองพัทยาดัน “รถไฟฟ้ารางเดี่ยว” อีกรอบ มั่นใจมีข้อดีมากกว่าเสีย
17 เม.ย.54 เมืองพัทยายันนโยบายพัฒนาเมืองสู่ความเป็นอินเตอร์ ต้องมีรถไฟฟ้ารางเดี่ยว เตรียมนัดประชุมใหม่หารือแนวทางการดำเนินโครงการต้น มิ.ย. ชี้ข้อดีมากกว่าเสีย ส่วนที่ประชาชนคัดค้านเป็นเพราะไม่เข้าใจเนื้อหาของโครงการที่ชัดเจนเท่านั้น
       
จากกรณีที่เมืองพัทยาได้ริเริ่มแนวคิดในการจัดทำโครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว หรือ โมโนเรล ซึ่งถือเป็นโครงการที่นายอิทธิพล คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา ได้ทำสัญญาประชาคมและชี้แจงไว้แก่ประชาชนในช่วงของการหาเสียงเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ตามแผนงาน 1 ใน 14 นโยบายเร่งด่วนที่เมืองพัทยาจะจัดทำขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร พัฒนาระบบขนส่งมวลชน และสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น
       
ทั้งนี้ ได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บ.โชติจินดา มูเชล คอนซัลแตนท์ จำกัด และ บ.เทสโก้ จำ กัด เข้ามาศึกษา วิเคราะห์ปัญหาด้านการจราจรและระบบขนส่งมวลชนทั้งปัจจุบันและอนาคต เพื่อจัดทำแผนแม่บทระบบรถไฟฟ้ารอบเมืองพัทยาที่มีความยาวไม่น้อยกว่า 25 กิโลเมตร ซึ่งปัจจุบันได้มีการนำเสนอโครงการนำร่องที่มีระยะทางไม่น้อยกว่า 6 กิโลเมตร โดยมีเส้นทางหลักอยู่บนถนนพัทยาสาย 2 ทั้งนี้ จะไม่มีการเวนคืนที่ดิน และหากดำเนินการแล้วเสร็จก็คงจะทำให้การเดินทางสะดวกยิ่งขึ้น แต่พบว่าที่ผ่านมามีประชาชนบางส่วนคัดค้านเกี่ยวกับการดำเนินโครงการดังกล่าวนั้น
       
กรณีดังกล่าว ดร.พิษณุ พะลายานนท์ ประธานที่ปรึกษากลุ่มยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองท่องเที่ยวน่าอยู่เมืองพัทยา กลุ่มที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดดังกล่าวเปิดเผยว่าในวันที่ 3 มิ.ย. เมืองพัทยาจะเรียกประชุมคณะกรรมการในกลุ่มยุทธศาสตร์ ตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับโครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว หรือ โมโนเรล มาเข้าร่วมทำการหารือใหม่อีกครั้ง เพื่อกำหนดแนวทางและยุทธศาสตร์การจัดทำโครงการที่ชัดเจน
       
ขอยืนยันว่า โครงการดังกล่าวถือเป็นนโยบายสำคัญของเมืองพัทยาที่มีเจตนารมณ์ในการพัฒนาเมืองพัทยาไปสู่ความเป็นนานาชาติ รวมทั้งยังเป็นการแก้ไขปัญหาระบบขนส่งมวลชนและการจราจรในพื้นที่อีกด้วย
       
อย่างไรก็ตาม การจัดทำโครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว สิ่งสำคัญคือเรื่องของการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และความคิดเห็นของประชาชน ซึ่งได้ดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว ส่วนที่ก่อนหน้านี้ในการระดมความคิดเห็นจากประชาชน และที่มีการคัดค้านจากคนบางกลุ่ม เมืองพัทยาไม่ได้รู้สึกหนักใจอะไร เพราะทุกขั้นตอนทำเพื่อประโยชน์ในภาพรวม และที่คัดค้านก็คงเป็นเพราะประชาชนเหล่านั้นยังคงขาดความเข้าใจในภาพรวมของโครงการมากกว่า
       
โดยเฉพาะพื้นที่การจัดสร้างโครงการนั้นแต่เดิมมีแผนการลงทุนบริเวณตามแนวถนนสายชายหาด แต่พบว่าอาจมีปัญหาเรื่องของสิ่งแวดล้อมและการบดบังสภาพภูมิทัศน์ จึงเปลี่ยนย้ายโครงการมายังบริเวณถนนพัทยาสาย 2 ซึ่งไม่มีการกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่ และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งบดบังสภาพภูมิทัศน์แต่อย่างใด อีกทั้งพื้นที่ตามแนวถนนเส้นนี้ก็มีความเหมาะสมทั้งเป็นแหล่งการค้าการลงทุน และนักท่องเที่ยวจำนวนมากจึงน่าจะเหมาะสม
       
ที่มา: https://www.facebook.com/l.php?u=http%3A%2F%2Fwww.manager.co.th%2FLocal%2FViewNews.aspx%3FNewsID%3D9540000047128&h=260bb
 
พายุฤดูร้อนถล่ม 2 อำเภอเมืองน่านพังยับ-บ้านเรือน ปชช.เสียหายกว่า 50 หลัง
       
17
เม.ย.54 รายงานข่าวจากจังหวัดน่านแจ้งว่า ได้เกิดพายุฤดูร้อนพัดกระหน่ำอย่างรุนแรงในพื้นที่อำเภอเมือง และอำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน นานกว่า 1 ชั่วโมง เมื่อคืนที่ผ่านมา (16 เม.ย.) ซึ่งเบื้องต้นสำรวจพบว่าพายุได้สร้างความเสียหายที่บ้านดอนน้ำครก ,บ้านวุฒิมาราม,บ้านธงหลวง ตำบลกองควาย อำเภอเมือง ประมาณ 30 หลังคาเรือน และที่บ้านน้ำลัด ,บ้านสบแก่น ตำบลนาปรัง อำเภอภูเพียง กว่า 20 หลังคาเรือน
       
ความรุนแรงของพายุทำให้บ้านเรือน ยุ้งฉางข้าว ชาวบ้านเสียหาย แรงลมได้ปะทะกระจกหน้าต่างแตกเสียหาย ฝ้าเพดานหลุดออกจากที่ยึด หลังคาบ้านถูกพายุพัดปลิวหายไปทั้งแถบ บ้านหลายหลังถูกต้นไม้หักโค่นทับ นอกจากนี้แรงลมยังพัดต้นไม้ใหญ่หักโค่นพาดสายไฟฟ้า ส่งผลให้ไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้าง
       
 
อ่านต่อที่ http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9540000047054 
 
รัฐเมิน สอบฟันแปลงท่าเรือประมง ขู่เดินหน้าต่อ
17 เม.ย.54 ประมงขู่ลุยต่อไม่พอใจรัฐเมิน สอบฟันแปลงท่าเรือประมง-พืชผลเกษตร -ทำท่าค้าถ่านหิน-ก่อมลพิษ เผยครบ 1 เดือน - ป้ายต้านถ่านหินกระจายนับหมื่นแผ่น ทั่วตำบลริมฝั่ง ปูดพบเรือยังลอบล่องขนจำหน่าย
 
คืบหน้าปัญหาแตกแยกจากผลกระทบมลภาวะ ท่าเรือถ่านหินริมฝั่งน้ำ ระหว่างรัฐกับชุมชน หลังกรณี 8 กลุ่มองค์กรเกษตร ชาวบ้านริมฝั่งท่าจีน และสมาคมประมงสมุทรสาคร และชาวบ้านรวมตัวออกประท้วงขับไล่กลุ่มทุนประกอบการจำหน่ายถ่านหิน (ริมท่าจีน) เหตุทำลายธรรมชาติสิ่งแวดล้อม เย้ยกฎหมายทำแหล่งน้ำหลายสายมีปัญหาเสื่อมโทรม กระทั่ง ที่สุด นาย จุลภัทร แสงจันทร์ ผวจ.สมุทรสาคร สั่งคณะกรรมการให้ตรวจสอบเร่งด่วนรายงานผลใน15 วัน ประกอบด้วย 1.ท่าเรือบริษัทเสริมสิน ผลิตภัณฑ์ปลา จำกัด , ท่าเรือบริษัทรุ่งเจริญผล จำกัด , ท่าเรือขนส่งเซ็นจูรี่ ริมฝั่งท่าจีน บ.เทคนิคทีม จำกัด (มหาชน) และ บริษัทยูนิค ไมนิ่ง จก.(มหาชน) ซึ่งถูนำไปแปลงเป็นท่าเรือจำหน่ายถ่านหิน ทั้งนี้ผ่านมาครบ 1 เดือน (คำสั่ง 14 มี.ค.) ขณะนี้ยังไม่มีรายงานต่อชาวบ้านผู้เรียกร้อง ส่งผลให้ล่าสุดพบป้ายประกาศต่อต้านถ่านหินกระจายทั่วเมืองกว่าหมื่นชิ้น
 
นาย กำจร มงคลตรีลักษณ์ นายกสมาคมประมง จ.สมุทรสาคร ในฐานะเรียกหารือ (ที่สมาคมประมงสมุทรสาคร) ระหว่างแกนนำกลุ่มโดยมีนายศรัญย์ณัฐ ประมงทรัพย์ ที่ปรึกษาสมาคมฯ พร้อมสมาชิกเกษตรกรชายฝั่ง และชาวสวน หลังได้ร่วมประชุมหารือขอมติกระทั่ง ว่า จะได้ออกเดินหน้าติดตามเรื่องประท้วงร้องเรียนเรื่องดังกล่าว เนื่องจากไม่พอใจที่เห็นว่าทางเจ้าหน้าที่ไม่ให้ความสนใจและไขความกระจ่าง
 
นายศรัญย์ณัฐ กล่าวว่า ติดช่วงสงกรานต์เลยดูสถานการณ์ไปพักหนึ่ง ซึ่งจะออกขับเคลื่อน เรื่องร้องเรียนสอบท่าเรือ ปล่อยจำหน่ายถ่านหินริมฝั่ง อย่างไรก็ตามทราบว่า ยังมีเรือถ่ายหินแอบลักลอบล่องขนเข้ามาจากนอกประเทศอยู่ ขณะที่ผู้ประท้วงต่างวิตก จึงพากันลงขัน ก่อนผลิตป้าย และใบปลิวออกปักกระจายทั่วพื้นที่ตำบลริมชายฝั่ง ถนนหนทาง และบ้านเรือน ซึ่งปิดป้ายไปกว่า 20 , 000 แผ่นแล้ว อย่างไรก็ตามยืนยันว่าหลังเกิดปัญหาผลกระทบวิถีชีวิตชาวบ้าน จนหลายรวมตัวประท้วง เช่น น้ำเสียและมลภวาะเป็นพิษ แต่ดูเหมือนเจ้าหน้าที่จะเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มประกอบการดังกล่าว ซึ่งตรงกันข้ามกับตัวแทนได้เรียกร้อง ให้ยึดกฎเหล็กของนาย จุลภัทร แสงจันทร์ ผวจ.ที่เซ็นคำสั่ง ให้ตรวจสอบ เช่น ฐานกฎหมาย และประกาศกระทรวง รวมถึงระเบียบทางราชการของท่าเรือเคร่งครัด ทั้งที่จริงบางแห่งยังลักลอบขนถ่านหินกันอยู่
 
 
 
ชาวสวนปาล์มสุราษฎร์ประท้วงโรงงานไม่ซื้อปาล์มในราคาที่กำหนด
16 เม.ย.54 ชาวสวนปาล์มอำเภอพระแสงจังหวัดสุราษฎร์ธานีกว่า 300 คนประท้วงโรงงานไม่รับซื้อราคาผลผลิตปาล์มน้ำมันตามราคาที่ทางการกำหนดหลังจากใช้เวลากว่า 6 ชั่วโมงจึงตกลงกันได้ โดยทางโรงงานจะเริ่มรับซื้อในราคาที่กำหนดในวันจันทร์ที่ 18 นี้ หากไม่ทำตามชาวสวนกลับรวมตัวอีกครั้ง
       
นายบรรจง จันทร์ช่วง สจ.เขตพื้นที่อำเภอพระแสง พร้อมนายลือชา อุ่นยวง นายกสมาคมชาวสวนปาล์มจังหวัดสุราษฎร์ธานีและเกษตรกรชาวสวนปาล์มในพื้นที่อำเภอพระแสงกว่า 300 คน ได้รวมตัวปิดโรงงานรับซื้อผลผลิตปาล์มน้ำมันของบริษัทไทยทาโลว์ แอนด์ ออยส์ จำกัด เลขที่ 30 หมู่ที่ 4 ถนนพระแสง - ชัยบุรี ต.ไทรขึง อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี เนื่องจากไม่พอใจที่ทางบริษัทรับซื้อผลปาล์มสุกในราคากิโลกรัมละ 4.40 บาท โดยการรวมตัวปิดโรงงานดังกล่าวใช้เวลากว่า 6 ชั่วโมง ซึ่งตัวตัวแทนบริษัทและตัวแทนเกษตรกรได้ประชุมร่วมกันเพื่อหาทางออก
       
ผลจากการประชุมร่วมทางบริษัทยินยอมรับซื้อผลผลิตปาล์มน้ำมันตามมติคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติที่กำหนดให้บริษัทรับซื้อผลผลิตในราคากิโลกรัมละ 6 บาทตั้งแต่วันจันทร์ที่ 18 เมษายนนี้เป็นต้นไป ทางเกษตรกรชาวสวนปาล์มจึงได้ยินยอมสะลายตัวไป
       
โดยนายลือชา อุ่นยวง นายกสมาคมฯ กล่าวว่า ตามมติคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติที่กำหนดให้บริษัทรับซื้อผลผลิตในราคากิโลกรัมละ 6 บาทตั้งแต่วันที่ 10 เมษายนเป็นต้นมา แต่ทางบริษัทดื้อเพ่งไม่ยินยอมรับซื้อชาวสาวนปาล์มจึงไม่พอใจหากในวันที่ 18 นี้ทางโรงงานไม่รับซื้อในราคาที่กำหนด ชาวสวนพร้อมจะกลับประท้วงและปิดถนนเพื่อกดดันต่อไป พร้อมขอให้เกษตรกรชลอการเก็บเกี่ยวผลผลิตออกไปก่อน
 
แฉขยะท่วมอ่าวไทยสัตว์ทะเลกินตายอื้อดึงนักวิชาการเร่งแก้
 
15 เม.ย.54 ทส. ออกโรงแฉ "ติดเชื้อ-ขยะ" ต้นเหตุทำสัตว์ทะเลหายากในอ่าวไทยตายถี่ เล็งเรียกนักวิชาการร่วมถกหาบทสรุป ด้านกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ปัดคลื่นสำรวจปิโตรเลียมทำวาฬ-โลมา สิ้นชีพ แจงสั่งห้ามใช้คลื่นสำรวจ ตั้งแต่ เม.ย.ปีที่แล้ว ลั่นพร้อมสั่งถอนใบอนุญาตผู้ฝ่าฝืน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาอ่าวไทยตอนบน ที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมีนายนิพนธ์ บุญญภัทโร ผู้ช่วย รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยนายนิกร แซ่เอี๊ยบ เครือข่ายรักษ์อ่าวไทยตอนบน จ.สมุทรสาคร ได้นำเสนอข้อเรียกร้องต่อที่ประชุม เพื่อให้รัฐบาลระงับและหาข้อเท็จจริงต่อการสำรวจแหล่งปิโตรเลียมในพื้นที่อ่าวไทย เนื่องจากตั้งข้อสันนิษฐานว่า อาจเป็นสาเหตุให้วาฬและโลมาเสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง
 
นายนิกร กล่าวต่อว่า แม้จะมีหนังสือสั่งห้ามไม่ให้บริษัทสำรวจแหล่งปิโตรเลียมใช้คลื่นไหวสะเทือนในการสำรวจแหล่งปิโตรเลียมในพื้นที่อ่าวไทยตอนบนแล้ว แต่ชาวบ้านยังไม่ไว้วางใจ เพราะเมื่อเดือน ต.ค. 2553 ที่ผ่านมา มีชาวประมงพบเห็นเรือสำรวจกลางทะเลที่น่าสงสัยว่าอาจจะเป็นเรือที่ใช้สำรวจแหล่งปิโตรเลียมในอ่าวไทย ดังนั้นจึงอยากให้บริษัทขุดเจาะและผู้ให้สัมปทานแสดงความจริงใจต่อชาวบ้านว่ามีความเข้มงวด และตรวจสอบพฤติกรรมการลักลอบสำรวจมากเพียงใด
 
ด้าน นางบุญราศรี ทองเป็นใหญ่ รองอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กรมได้ให้สัมปทานแก่บริษัท เพิร์ลออย (อมตะ) จำกัด สำรวจแหล่งปิโตรเลียมในอ่าวไทย โดยวิธีใช้คลื่นเสียงสร้างความสั่นสะเทือน ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ได้การยอมรับในระดับมาตรฐานสากล และก่อนทำการยิงคลื่นสำรวจจะมีเรือสังเกตการณ์คอยสำรวจสิ่งกีดขวางและสัตว์ทะเลในระยะ 3 กิโลเมตร พร้อมทั้งปล่อยคลื่นเตือนสัตว์ทะเลให้ออกห่างจากพื้นที่ด้วย ที่สำคัญการปล่อยคลื่นดังกล่าวมีค่าสูงเพียง 0-80 เดซิเบลเท่านั้น ซึ่งทางวิชาการยืนยันว่าค่าระดับนี้จะไม่เป็นอันตรายสำหรับสิ่งมีชีวิตแน่นอน ทั้งทางกระทรวงฯ ได้สั่งให้เลิกใช้วิธีดังกล่าวมาตั้งแต่เดือน เม.ย. 2553 แล้ว
 
นางบุญราศรี กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่กังวลว่าจะมีการลักลอบสำรวจอีก แทบเป็นไปไม่ได้เลย เพราะเรือประเภทนี้มีเพียงไม่กี่ลำในประเทศไทย อีกทั้งยังมีขนาดใหญ่ ประกอบด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ที่กินรัศมีเป็นวงกว้าง ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกตรวจสอบสูง จึงคาดว่าเรือลำที่ชาวประมงเห็นน่าจะเป็นเรือสำรวจพื้นทะเลและหินโสโครกเท่านั้น แต่หากชาวบ้านพบเรือลักลอบสำรวจโดยใช้คลื่นไหวสะเทือนจริงให้รีบโทรฯ แจ้ง เพราะทางกรมฯจะเร่งดำเนินการยึดสัมปทานจากบริษัทที่ลักลอบตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ทันที
 
ในส่วนของ นายเกษมสันต์ จิณณวาโส อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวว่า ที่ผ่านมาการสำรวจปิโตรเลียมด้วยคลื่นเสียงเป็นเรื่องที่ต้องได้รับการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ก่อน แต่ต่อมากระทรวงพลังงาน ได้ขอให้ยกเลิกไม่ต้องทำอีไอเอ เพราะยืนยันว่าจะไม่มีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามตอนนี้ยังไม่มีข้อสรุปว่าคลื่นเสียงสำรวจแหล่งปิโตรเลียมจะส่งผลกระทบต่อการเสียชีวิตของสัตว์ทะเล เพราะจากการผ่าพิสูจน์ซากสัตว์หายากที่ตาย ปรากฏว่าเกิดจากสาเหตุการติดเชื้อและขยะที่กินเข้าไป ดังนั้นจึงต้องมีการเชิญนักวิชาการที่เกี่ยวข้องมาหารือกรณีนี้อีกครั้งต่อไป
 
ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
 
สำรวจชาวนา50จังหวัดแอบปลูกข้าวเกินกำหนด ธีระผวาปีนี้ภัยแล้งสาหัส-หวั่นน้ำไม่พอ
 
14 เม.ย.54 นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 12 เม.ย.ที่ผ่านมา นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ ได้รายงานผลการสำรวจพื้นที่การเกษตรทั่วประเทศหลังจากกระทรวงเกษตรฯ คาดการณ์ภัยแล้งปีนี้จะรุนแรง จึงมีการสั่งห้ามการทำนาและการเกษตรที่ใช้น้ำในปริมาณที่มากๆ แต่จากการสำรวจพบว่าขณะนี้มีจำนวน 50 จังหวัด ที่มีการปลูกพืชการเกษตรเกินกว่าที่ทางการกำหนด
โดยมีการจัดสรรน้ำและการปลูกพืชฤดูแล้งปี"53/54 ดังนี้คือ มีการจัดสรรน้ำแล้ว 17,906 ลบ.ม. คิดเป็น 89% ของแผนการปลูก หรือจำนวน 20,144 ลบ.ม. มีพื้นที่ปลูกแล้ว 18.074 ล้านไร่ คิดเป็น 118% ของแผนการจัดสรรน้ำ หรือจำนวน 15.29 ล้านไร่ แบ่งเป็นการปลูกข้าว 15.65 ล้านไร่ หรือคิดเป็น 124% พืชไร่-พืชผัก มีการปลูกไปแล้วจำนวน 2.425 ล้านไร่ หรือคิดเป็น 90% ของพื้นที่เป้าหมายทั้งหมด กระทรวงเกษตรฯ จึงห่วงสถานการณ์ภัยแล้งที่อาจจะรุนแรงขึ้นเนื่องจากเกษตรกรไม่ปฏิบัติตามประกาศการประหยัดน้ำของกระทรวง
 
นอกจากนี้นายธีระ ยังมีการรายงานด้านพิบัติ ดังนี้ ด้านภัยแล้ง สำรวจพบวมีภัยพิบัติจำนวน 47 จังหวัด ครอบ คลุม 416 อำเภอ 2,961 ตำบล 29,963 หมู่บ้าน และในจำนวนนั้นมีพื้นที่การเกษตรประสบภัยแล้ง จำนวน 3 จังหวัด 19 อำเภอ 49 ตำบล ได้แกพื้นที่ในเขต จ.เชียงราย แพร่ และประจวบคีรีขันธ์ ครอบคลุมพื้นที่เกษตร 521,629 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ ปลูกข้าว 24,614 ไร่ พืชไร่ 97,209 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 399,806 ไร่ เกษตรกรได้รับความเดือดร้อนจำนวน 50,839 ราย ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ ได้ดำเนินการช่วยเหลือด้านการเกษตรไปส่วนหนึ่งแล้ว
 
สำหรับผลกระทบจากอุทกภัยภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 23 มี.ค. ถึงปัจจุบันส่งผลกระทบด้านการเกษตรดังนี้ ด้านพืชเกษตรกร 189,649 รายพื้นที่เกษตรประสบน้ำท่วม 1.11 ล้านไร่ ด้านปศุสัตว์ เกษตรกรได้รับผลกระทบจำนวน 118,877 ราย มีสัตว์ได้รับผลกระทบ 5.78 ล้านตัว แปลงหญ้าได้รับผลกระทบ 5,304 ไร่ ด้านประมง เกษตรกรได้รับผลกระทบ 22,183 ราย พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์ประสบภัย 58,160 ไร่ เรือประมงประสบภัย 62 ลำ
 
ส่วนการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบอุทกภัยปี"53 มีการขออนุมัติเงินงวด 74 จังหวัด วงเงิน 18,518.39 ล้านบาท และมีการโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรแล้วจำนวน 73 จังหวัด จำนวนเกษตรกร 803,814 ราย วงเงิน 18,619.89 ล้านบาท และมีการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางแล้วจำนวน 10,781 ราย วงเงิน 187.05 ล้านบาท จากที่ขออนุมัติไปทั้งสิ้นจำนวน 61,722 ราย วงเงิน 791.93 ล้านบาท
 
 
 
เรกูเลเตอร์เร่งรื้อสูตรค่าไฟใหม่เล็งผลักภาคอุตสาหกรรมรับภาระแทนผู้ใช้ไฟฟ้าฟรี

13 เม.ย.54 บ้านอยู่อาศัยรอดตัว ไม่ต้องจ่ายค่าไฟฟ้าเพิ่มแทน มาตรการประชาวิวัฒน์ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยฟรี เรกูเลเตอร์ศึกษาโครงสร้างค่าไฟใหม่แล้ว ให้ภาคอุตสาหกรรมรับภาระไปแทนปีละ 15,000 ล้านบาทพร้อมด้วย 3 การไฟฟ้า ที่จะต้องลดผลตอบแทนการลงทุนเข้ามาช่วยเสริม คาดเริ่มใช้กลางปีนี้ ขณะที่ค่าเอฟทีพ.ค.-ส.ค.นี้มีแนวโน้มปรับเพิ่มอีก จากราคาค่าเชื้อเพลิงสูงขึ้น
 
แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(สกพ.)เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า ขณะนี้ทางสกพ.อยู่ระหว่างการจัดทำโครงสร้างค่าไฟฟ้าใหม่ซึ่งจะนำมาตรการประชาวิวัฒน์ของรัฐบาล ที่ให้ผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน90 หน่วย ได้ใช้ไฟฟ้าฟรีเข้าไปรวมอยู่ในโครงสร้างค่าไฟฟ้าด้วยโดยในวันที่19 เมษายนนี้ จะเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อกำหนดกรอบ วิธีการคำนวณ และหลักเกณฑ์ต่างๆของค่าไฟฟ้าเพื่อนำข้อคิดเห็นมาปรับปรุงและสรุปนำเสนอคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานหรือเรกูเลเตอร์พิจารณาอัตราค่าไฟฟ้าโดยคาดว่าจะนำมาใช้ได้ประมาณเดือนมิถุนายนหรือกรกฎาคม2554 นี้
 
สำหรับข้อกังวลของผู้ใช้ไฟฟ้าแต่ละประเภทจะต้องมารับภาระจากการอุดหนุนค่าไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน90หน่วยที่ตกประมาณ15,000ล้านบาทต่อปีนั้นผู้ที่ใช้ไฟฟ้าน้อยอย่างบ้านอยู่อาศัยจะไม่มีการจ่ายค่าไฟฟ้าเพิ่มจากที่ใช้อยู่แต่ผลกระทบจะตกอยู่กับผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่อย่างอาคารธุรกิจขนาดใหญ่โรงงานอุตสาหกรรมตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ ส่วนจะจ่ายในอัตราที่เท่าใดนั้นยังไม่มีการกำหนดที่ชัดเจน แต่จะดำเนินการในลักษณะขั้นบันไดผู้ที่ใช้มากก็จะจ่ายมาก
 
ส่วนที่ต้องเลือกผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ให้เข้ามารับภาระแทนนี้ เนื่องจากทางนายกรัฐมนตรีเห็นว่าต้องการให้กลุ่มอุตสาหกรรมหรือโรงงานหลีกเลี่ยงการใช้ไฟฟ้าในช่วงความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดหรือช่วงพีกเพื่อให้เกิดการประหยัดการใช้พลังงานอันจะเป็นการช่วยลดการลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการต้องเลือกระหว่างการทำงานในช่วงพีกซึ่งจะต้องจ่ายค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นแลกกับการจ่ายค่าแรงให้กับพนักงานนอกช่วงพีกอย่างไหนจะคุ้มค่ามากกว่ากัน
 
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่าแต่อย่างไรก็ตามเพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการภาคอาคารธุรกิจขนาดใหญ่และกลุ่มอุตสาหกรรมต้องแบกรับภาระค่าไฟฟ้ามากจนเกินไปในการคิดอัตราค่าไฟฟ้าใหม่นี้ ได้มีการนำผลตอบแทนด้านการลงทุนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)การไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เข้ามาพิจารณาด้วยโดยที่จะลดผลตอบแทนการลงทุนของทั้ง3การไฟฟ้าลงมาจากปัจจุบันกฟผ.มีผลตอบแทนการลงทุนอยู่ที่กว่า7.76%กฟน. 6.7% และกฟภ. 5.3% เนื่องจากทั้ง3การไฟฟ้าเป็นองค์กรขนาดใหญ่มีผลการดำเนินงานที่ดีเพื่อนำผลตอบแทนที่ลดลงนี้มาเป็นส่วนช่วยในการรับภาระแทน
 
ส่วนค่าเอฟที ที่จะมีผลต่อค่าไฟฟ้าในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม2554 นั้น คาดว่าจะมีการปรับตัวสูงขึ้นอีกจากปัจจุบันจัดเก็บอยู่ที่86.88สตางค์ต่อหน่วยเนื่องจากราคาน้ำมันก๊าซธรรมชาติย้อนหลังไป 6 เดือนที่นำมาใช้ในการคำนวณต้นทุนค่าไฟฟ้าได้ปรับตัวสูงขึ้นประกอบกับการได้มีการนำราคาของก๊าซแอลพีจี ที่เริ่มมีการนำเข้ามาตั้งแต่เดือนเมษายนซึ่งมีราคาสูงกว่าก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยมาใช้ในการคำนวณค่าเอฟทีด้วย
 
ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 14 - 16 เม.ย. 2554

กอ.รมน.แปดริ้วจับมืออปท.จัดทำแผนแม่บทแก้ปัญหาน้ำกัดเซาะฝั่ง
 
13 เม.ย.54 ที่ศูนย์ฝึกอบรมบางปะกง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ต.ท่าข้าม อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา พ.อ.องอาจ ชวาลวิวัฒน์ รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดฉะเชิงเทรา พร้อมด้วยผู้แทนกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ศูนย์วิจัยปัญหาการกัดเซาะแนวชายตลิ่ง ชายฝั่งทะเล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านทรัพยากรชายฝั่งจากสถาบันการศึกษา และผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในพื้นที่ และโรงไฟฟ้าบางปะกง ได้เข้าร่วมรับฟังบรรยายสรุปปัญหาภัยคุกคามที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ และปัญหาแนวชายตลิ่ง ชายฝั่งอ่าวไทยบริเวณปากแม่น้ำบางปะกงถูกกัดเซาะพังทลายโดยคลื่นลม จากนั้นได้ออกสำรวจตรวจสอบพื้นที่ชายฝั่งที่ถูกน้ำและคลื่นลมพัดกัดเซาะแนวชายตลิ่ง ชายฝั่งทะเลในพื้นที่ที่มีปัญหาเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา
 
ทั้งนี้ ได้จัดทำเป็นแผนแม่บทแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนบริเวณแนวชายตลิ่ง ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตั้งแต่บริเวณปากแม่น้ำบางปะกงจนถึงสุดเขต จ.ฉะเชิงเทรา บริเวณคลองท่าถ่านถูกกัดเซาะพังทลายโดยคลื่นลม ส่งผลให้ป่าชายเลน และแนวของดินเลนในบริเวณดังกล่าวถูกทำลาย ทุกภาคส่วนต่างเพียรพยายามที่จะหาวิธีการเพื่อที่จะให้ป่าชายเลนในบริเวณดังกล่าวฟื้นฟูขึ้นมา เพื่อเป็นแนวกำบังธรรมชาติ ป้องกันการกัดเซาะพังทลายได้ รวมทั้งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การประมง การค้า ตลอดจนการดำรงชีวิตของคนในท้องถิ่น นอกจากนี้ ทรัพยากรเหล่านี้ยังมีส่วนช่วยในเรื่องของการปรับปรุงคุณภาพน้ำ การรักษาเสถียรภาพของแนวชายหาด อีกทั้งยังเป็นแหล่งอาหาร และแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ ซึ่งรวมถึงปลาชนิดต่าง ๆ ที่มีความสำคัญในเชิงพาณิชย์ด้วย
 
อย่างไรก็ดี สำหรับการขยายตัวของเมืองและการเติบโตของอุตสาหกรรมตามชายฝั่งทะเลในหลายทศวรรษที่ผ่านมาก็เป็นสาเหตุให้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของไทยถูกคุกคาม เนื่องจากการที่จำนวนประชากรซึ่งอาศัยอยู่ในจังหวัดชายฝั่งทะเลนั้นเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจด้านต่าง ๆ เช่น การท่องเที่ยว การขนส่งทางทะเล การประมงน้ำเค็ม และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน ผลที่ตามมา คือ ความสูญเสียหรือความเสื่อมโทรมของทรัพยากรที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะพื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งทะเล
 
ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
 
 
ชาวนาได้เฮรัฐดันตั้ง'กองทุนสวัสดิการ'
 
13 เม.ย.54 เมื่อเวลา 15.15 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมว่า ครม.อนุมัติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติกองทุนสวัสดิการชาวนา ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เสนอให้จัดตั้งกองทุนสวัสดิการชาวนาขึ้นใน กรมการข้าวมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดสวัสดิ การให้แก่ชาวนา ซึ่งชาวนาเป็นอาชีพหลักของประเทศและชาวนามีจำนวนมากถึง 3.7 ล้านครัวเรือน ที่ในปัจจุบันยังไม่มีสวัสดิการใด ๆ ที่ดูแลอาชีพนี้ซึ่งต่างจากแรงงานอื่นที่มีสวัสดิการหลายอย่างรองรับซึ่งได้รับการดูแลจากรัฐบาลและภาคเอกชน
 
โดยการจัดสวัสดิการให้กับชาวนาเป็นการส่งเสริมให้เกิดการออมในครัวเรือนเพื่อเป็นหลักประกันในวัยชราภาพและเสียชีวิต หรือเกิดทุพพลภาพ ซึ่งในที่ประชุม ครม. ได้มีข้อสังเกตว่ามีกองทุนในลักษณะเดียวกันที่ชาวนาเข้าไปเป็นสมาชิกได้ เช่น กองทุนเงินออม ของกระทรวงการคลัง แต่นายกรัฐมนตรีเห็นว่านโยบายของรัฐบาลส่งเสริมให้เกิดการออมในหลายรูปแบบและเป็นทางเลือกให้กับประชาชนสามารถใช้รูปแบบการออมเงินได้หลายทางเลือกมากขึ้น ซึ่งนายกรัฐมนตรีเห็นด้วยที่ให้มีกองทุนสวัสดิการชาวนาขึ้นมาโดยเฉพาะ เพื่อในอนาคตสามารถขยายการดูแลให้สวัสดิการกับเกษตรกรกลุ่มอื่น ๆ ด้วย โดยรัฐบาลต้องจ่ายเงินสมทบเพื่อเข้ากองทุนตามอัตราที่ ครม.กำหนดแต่ไม่น้อยกว่าเท่าครึ่งของจำนวนเงินสะสมที่สมาชิกได้จ่ายเข้ากองทุนไว้แล้ว.
 
 
ผู้แทนชุมชนมาบตาพุดยื่นหนังสือผู้ว่าฯจี้จัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม
 
12 เม.ย.54 นายไพโรจน์ สุวรรณวิจิตรประธานชุมชนหนองน้ำเย็น ตัวแทนชุมชนจาก 33 ชุมชนใน ต.มาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง เข้ายื่นหนังสือต่อนายธวัชชัย เทอดเผ่าไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง นายสาธิต ปิตุเตชะ และนายวิชัยล้ำสุทธิ 2 ส.ส.ชาวระยอง เพื่อให้มีการสั่งการจัดการเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด หลังเกิดปัญหาซ้ำซาก ส่งผลกระทบต่อชาวบ้านในพื้นที่
 
นายไพโรจน์ สุวรรณวิจิตร ประธานชุมชนหนองน้ำเย็น เปิดเผยว่า เนื่องจากเมื่อวันที่ 24 มี.ค.ที่ผ่านมา บริษัท บริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำกัด(มหาชน) หรือเจนโก้ที่อยู่ติดกับโรงพยาบาลมาบตาพุด เกิดเพลิงไหม้และมีชาวบ้านพบน้ำสีดำไหลออกจากรางระบายน้ำของ บ.เจนโก้ ลงสู่ลำรางสาธารณะ และไหลต่อลงสู่ทะเลมาบตาพุด เมื่อวันที่ 30 มี.ค.บ.เจนโก้ได้ทำการแก้ไขโดยดูดน้ำเสียเข้าไปในระบบและลอกลำราง
 
ในวันเดียวกัน ยังได้เกิดมีกลิ่นเหม็นในโรงไฟฟ้าโกลว์อีก ซึ่งจากการตรวจสาเหตุเกิดจากสารเคมีของ บ.ไบเออร์ไทย รั่วไหล ส่งผลให้ชาวบ้านชาวประมง ได้รับผลกระทบ จนชาวบ้านต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพจำนวนมาก นอกจากนี้ โรงงานใกล้เคียงยังต้องประกาศให้พนักงานหยุดงานในวันดังกล่าว รวมทั้งยังพบปลาในคลองตายเป็นจำนวนมากอีกด้วย
 
ประธานชุมชนหนองน้ำเย็น เปิดเผยด้วยว่าหลังจากนั้นยังเกิดเหตุการณ์ลักษณะเดียวกันนี้ขึ้นอีก โดยเมื่อวันที่ 8 เม.ย. ชาวบ้านพบรางระบายน้ำของ บ.เจนโก้ ปล่อยน้ำเสียเป็นคราบน้ำมันลงลำรางสาธารณะจำนวนมาก นอกจากนี้ยังพบว่าบ.เจนโก้ ไม่มีการจัดการที่เป็นระบบ โดยได้นำขยะสารพิษมาทิ้งข้างๆ ลำรางสาธารณะอีก
 
พวกตนชาวมาบตาพุดเห็นว่าหากไม่มีการจัดการที่เป็นระบบ คนที่รับเคราะห์ก็คงไม่พ้นคนมาบตาพุด จึงอยากให้ผู้ว่าราชการจังหวัดระยองสั่งดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วนด้วย
นายธวัชชัย เทอดเผ่าไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง รับปากจะเร่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตรวจสอบเพื่อหาแนวทางแก้ไขต่อไป
 
ที่มา: หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการรายวัน

 
ครม.ไฟเขียวยืดสัมปทานปิโตรเลียม10ปี

12 เม.ย.54 ครม.ไฟเขียวยืดสัมปทาน"ชิโน ยูเอส ปิโตรเลียมฯ"ผลิตปิโตรเลียมในจ.กำแพงเพชร-สุโขทัย อีก 10 ปี พลังงานยันรัฐได้สิทธิประโยชน์คุ้มค่า
นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ครม.มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอกระทรวงพลังงาน ในการต่ออายุสัมปทานการผลิตปิโตรเลียมของบริษัท ชิโน ยูเอส ปิโตรเลียม อิงค์ ออกไปอีก 10 ปี โดยพื้นที่สัมปทานดังกล่าว อยู่ในพื้นที่ จ.กำแพงเพชร และจ.สุโขทัย ซึ่งถือเป็นแหล่งน้ำมันขนาดเล็ก โดยกระทรวงพลังงาน แจ้งต่อที่ประชุมว่า ได้เจรจาเรื่องการเพิ่มเติมสิทธิประโยชน์จากบริษัทเอกชนจนรัฐ
เกิดความคุ้มค่าแล้ว
 
 
 
เอ็มอาร์ซี-รบ.ลาวตอบโต้กันหนัก กรณีเขื่อนไซยะบุรีกั้นแม่น้ำโขง
 
10 เม.ย.54 รัฐบาลลาวตอบโต้ กันหนัก กรณีสร้างเขื่อนไซยะบุรีกั้นแม่น้ำโขง หวั่นพันธุ์ปลา 100 ชนิดสูญพันธุ์เหตุปิดกั้นเส้นทางวางไข่ เตือนโครงสร้างไม่ได้มาตรฐานหวั่นไม่สามารถรองรับแผ่นดินไหวได้ รัฐบาลลาวแจงข้อกล่าวหาเกินจริง ระบุจำเป็นต้องสร้างต่อ
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้เกิดประเด็นความเห็นขัดแย้งและตอบโต้กันระหว่างคณะกรรมาธิการแม่ น้ำโขง(เอ็มอาร์ซี) และรัฐบาลลาว กรณีสร้างเขื่อนไซยะบุรี ซึ่งเป็นโครงการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงตอนล่างแห่งแรกที่แขวงไซยะ บุรี สาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว) ทั้งนี้ประเด็นปัญหาเรื่องขึ้นตั้งแต่เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ซึ่งเอ็มอาร์ซี ได้ออกรายงานผลการศึกษาข้อมูลโครงการเขื่อนไซยะบุรี โดยคณะผู้เชี่ยวชาญของเอ็มอาร์ซี ได้ระบุไว้เว็บไซต์ของเอ็มอาซี(www.mrcmekong.org)
 
ทั้งนี้เนื้อหาในรายงานของเอ็มอาร์ซีระบุว่า กระบวนการภายใต้ระเบียบปฏิบัติเรื่องการแจ้งให้ทราบ การปรึกษาหารือล่วงหน้า และการตกลง (PNPCA) ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง สำหรับโครงการเขื่อนไซยะบุรี เริ่มต้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2553 ใช้ระยะเวลา 6 เดือน และสิ้นสุดอย่างเป็นทางการในวันที่ 22 เมษายน 2554 แต่คณะกรรมการร่วม (เจซี) มีมติให้ประชุมเพื่อตัดสินใจกรณีโครงการไซยะบุรี ในวันที่ 19 เมษายน ซึ่งมีข้อค้นพบที่สำคัญดังนี้   
 
การทบทวนโครงการของเอ็มอาร์ซีได้ให้ความสำคัญประเด็น ต่างๆ ที่ยังไม่มีความแน่นอนและมีความจำเป็นที่ต้องมีข้อมูลเพิ่มเติม โดยเฉพาะผลกระทบข้ามพรมแดน และมาตรการบรรเทาผลกระทบ ตามที่รัฐบาลลาวและผู้พัฒนาโครงการ (ช.การช่าง) ระบุไว้ว่าจะใช้การปฏิบัติโครงการที่ดีตามหลักสากล 
 
โดยในประเด็นอุทกวิทยา จะมีความแตกต่างระหว่างกระแสน้ำที่ไหลเร็วและมีความหลากหลาย ของกระแสน้ำที่เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล แต่เขื่อนไซยะบุรีและอ่างเก็บน้ำจะทำให้กระแสน้ำไหลช้าลงและมีผล กระทบในทางลบ ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการประมงพบว่าเขื่อนไซยะบุรีและอ่างเก็บน้ำอาจกระทบ ต่อปลาแม่น้ำโขง 23-100 สายพันธุ์ ซึ่งรวมถึงพันธุ์ปลาใกล้สูญพันธุ์ตามบัญชีแดงของสหภาพสากลว่าด้วยการ อนุรักษ์ หรือ IUCN
 
ในรายงานของเอ็มอาร์ซีระบุว่า เขื่อนบนแม่น้ำโขงทางตอนล่าง 6 แห่ง จะปิดกั้นเส้นทางสู่แหล่งอาศัยและวางไข่ของปลาอพยพ 39% ซึ่งเป็นปลาที่อพยพจากทางตอนล่างของลุ่มน้ำเพื่อมาวาง ไข่ทางตอนบน และประมาณการว่าผลผลิตการประมงในลุ่มน้ำโขงตอนล่างสูงถึง 2.5 ล้านตันต่อปี เขื่อนแห่งแรกบนแม่น้ำโขงตอนล่าง (หมายถึงเขื่อนไซยะบุรี) จะส่งผลกระทบมากที่สุด
แม้เอกสารโครงการเขื่อนไซยะ บุรีจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับบันไดปลาโจน หรือทางปลาผ่าน แต่คณะผู้เชี่ยวชาญสรุปว่าการออกแบบบันไดปลาโจนสำหรับปลาขึ้นไปวาง ไข่ทางตอนบน และสำหรับพ่อแม่ปลาตลอดจนลูกปลาที่จะว่ายผ่านเขื่อนกลับลงมายังแม่ น้ำโขงทางตอนล่างนั้น “ไม่มีประสิทธิภาพ” ไม่สามารถบรรเทาผลกระทบได้ และส่งผลต่อการสูญเสียพันธุ์ปลาไปในที่สุด
มีความเป็นไปได้ว่าปลาที่ขนาด ยาวกว่า 150 ซม. จะว่ายผ่านเขื่อนไปทางตอนบนได้น้อยมาก มีความเป็นไปได้สูงที่ปลาบึกจะสูญพันธุ์
 
นอกจากนี้ยังขาดฐานความรู้เกี่ยวกับจำนวนพันธุ์ปลาอพยพ และความสามารถของปลาเหล่านั้นว่าจะว่ายผ่านเขื่อนไปได้อย่างไร ทำให้ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าผลกระทบต่อปลาจะมากขนาดไหน ตลอดจนผลกระทบต่อวิถีชีวิตและผลกระทบข้ามพรมแดน ทำให้เกิดคำถามสำคัญว่าได้พิจารณาผลกระทบอย่างรอบด้านแล้วหรือยัง และวางแผนบรรเทาผลกระทบเพียงพอแล้วหรือไม่
 
ในรายงานของเอ็มอาร์ซีระบุว่า การบรรเทาผลกระทบโดยเฉพาะด้านพันธุ์ปลาที่ออกแบบไว้ ยังไม่เคยนำมาปฏิบัติจริงกับแม่น้ำที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมาก เท่ากับแม่น้ำโขงมาก่อน ควรพิจารณาการเยียวยา และชดเชยความสูญเสียทางการประมงต่อวิถีชีวิตในระดับข้ามพรมแดน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านตะกอนสรุปว่าการออกแบบโครงการยังไม่ได้มาตรฐานของเอ็ม อาร์ซีในเรื่องการจัดการตะกอน คาดว่าหากการใช้งานเขื่อนตามที่ออกแบบไว้ ตะกอนที่ทับถมจะทำให้อ่างเก็บน้ำของเขื่อนไซยะบุรีลดประสิทธิภาพลง 60% ในระยะเวลา 30 ปี
 
สำหรับประเด็นระบบนิเวศทางน้ำ พบว่าการออกแบบและแผนบรรเทาผลกระทบของเขื่อนไซยะบุรียังไม่ได้ มาตรฐานของเอ็มอาร์ซีและมาตรฐานนานาชาติ  ซึ่งแผ่นดินไหวที่ลาวในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ชี้ให้เห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องทบทวนโครงการตามมาตรฐานความ ปลอดภัยสากล ต้องมีการทบทวน ภายใต้คณะทำงานความปลอดภัยของเขื่อนตามาตรฐานของเอ็มอาร์ซี จำเป็นต้องวิเคราะห์ความเสี่ยงและวิเคราะห์สถานการหากเขื่อนแตก อย่างเต็มรูปแบบรวมถึงเขื่อนทางตอนบนในจีน
 
ทั้งนี้เขื่อนไซยะบุรีและเขื่อนที่วางแผนจะก่อสร้างบนแม่ น้ำโขงเหนือเวียงจันทน์ 6 เขื่อนจะสร้างความสูญเสียต่อการ ประมง  วิถีชีวิตของประชาชนราว 450,000 คน จะต้องได้รับผลกระทบและความเสี่ยง ซึ่งกองเลขาเอ็มอาร์ซีเสนอแนะให้มีการอภิปรายเกี่ยวกับรายละเอียดที่ระบุไว้ ในรายงานฉบับนี้ และนำไปพิจารณาในข้อตกลงสัมปทานโครงการ และสัญญารับซื้อไฟฟ้า
ใน วันที่ 10 เมษายน เวบไซต์เอ็มอาร์ซี ได้นำเสนอข้อโต้แย้งจากรัฐบาลลาวโดยมีเนื้อหาระบุว่า การศึกษาเรื่องผลกระทบพันธุ์ปลานั้น ทางผู้พัฒนาโครงการ(ช.การช่าง)จะศึกษาเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามทางปลาผ่านแบบลำน้ำธรรมชาติที่คณะผู้เชี่ยวชาญของเอ็มอาร์ซีแนะ น้ำนั้นไม่สามารถปฎิบัติได้เพราะมีราคาแพงเกินไป และไม่สามารถใช้ได้ในช่วงฤดูน้ำหลากซึ่งแม่น้ำโขงมีระดับสูง โดยผลการศึกษาของเอ็มอาร์ซีที่ระบุก่อนหน้านี้นั้นเป็นการกล่าว เกินจริง เนื่องจากเขื่อนไซยะบุรีเป็นเพียงการสร้างเขื่อน 1 แห่งในโครงการสร้างเขื่อนอีกนับ 10 แห่งบนแม่น้ำโขง
ทางการลาวยังระบุด้วยว่า โครงการเขื่อนไซยะบุรีเป็นโครงการที่สร้างการพัฒนาให้กับประเทศและ ประชาชนลาว ซึ่งจำเป็นที่ต้องเดินหน้าต่อไป
 

แถลงการณ์
เครือข่ายภาคประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง
เรื่อง คัดค้านการสร้างเขื่อนไซยะบุรี
ตามที่เครือข่ายภาคประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขงอันประกอบด้วยจังหวัดเชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ได้จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั้ง 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง จำนวน 5 ครั้งเริ่มตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554 ที่ อ.เชียงคาน จ.เลย และสิ้นสุดที่จังหวัดอุบลราชธานีในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2554   เพื่อปรึกษาหารือและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดดังกล่าวที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากการสร้างเขื่อนไซยะบุรีในสปป.ลาว เนื่องจากที่ผ่านมาไม่ได้มีการเปิดเผยข้อมูลให้ประชาชนได้รับรู้เลยในขณะที่โครงการก่อสร้างเขื่อนนี้มีการดำเนินงานไปอย่างเร่งรีบ และคาดว่าจะมีการประชุมแสดงความเห็นชอบอนุมัติโครงการดังกล่าวในวันที่ 19 เมษายน นี้
เขื่อนไซยะบุรีกั้นแม่น้ำโขงที่แขวงไซยะบุรี สปป.ลาว เหนือขึ้นไปจาก อ.เชียงคาน จ.เลย เพียงประมาณ 200 กิโลเมตร ตัวเขื่อนมีความยาว 810 เมตร มูลค่าการลงทุนกว่า 100,000 ล้านบาท
ที่ผ่านมา 4 เขื่อนจีนที่กั้นแม่น้ำโขงแม้จะอยู่ไกลกว่าเขื่อนไซยะบุรี แต่ได้สร้างผลกระทบต่อคนลุ่มน้ำโขงตอนล่างอย่างชัดเจน   ถ้าสร้างเขื่อนไซยะบุรีสำเร็จจะเกิดผลกระทบกับพี่น้องชาวลาว กัมพูชา เวียดนาม และที่สำคัญคือประเทศไทยทั้ง 8 จังหวัดดังกล่าวรวมถึงคนริมฝั่งแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขง   ผลกระทบสำคัญที่จะเกิดขึ้นคือ การปิดกั้นเส้นทางอพยพของปลาโดยเฉพาะปลาบึก   การทำลายระบบนิเวศทั้งระบบของแม่น้ำโขง   การสูญเสียพื้นที่เกษตรกรรมริมฝั่งโขง   ผลกระทบทางเศรษกิจ สังคม วัฒนธรรม ฯลฯ อันเป็นการทำลายวิถีชีวิตของคนริมฝั่งโขงโดยตรง
สาเหตุสำคัญที่รัฐบาลไทยจะต้องรับผิดชอบต่อการทำลายแม่น้ำโขงครั้งนี้ก็เพราะว่าเป็นการสนับสนุนบริษัทช.การช่างของไทยไปสร้างเขื่อนนี้ ทุนที่สนับสนุนการสร้างเขื่อนก็คือ 4 ธนาคารของไทย และคนที่รับซื้อไฟฟ้าก็คือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งจะรับซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนนี้ถึงร้อยละ 95
จากการประชุมกับเครือข่ายดังกล่าวได้มีมติเห็นพ้องต้องกันที่จะแสดงเจตนารมณ์ว่า “พวกเราไม่ต้องการเขื่อนไซยะบุรีและเขื่อนใดๆในแม่น้ำโขง และพร้อมที่จะต่อสู้จนถึงที่สุด” มติของเครือข่ายฯ ได้มีข้อสรุปที่จะให้การดำเนินงานร่วมกัน คือ ประการแรก จะมีการล่ารายชื่อประชาชนที่ไม่เห็นด้วยเพื่อยื่นเสนอต่อนายกรัฐมนตรีของไทย และผู้เกี่ยวข้องรวมทั้งรัฐบาลของประเทศเขมร ลาว และเวียดนาม ในวันที่ 18 เมษายน นี้   ประการที่สอง รณรงค์ติดป้ายแสดงจุดยืนของประชาชน 90 ตำบลลุ่มน้ำโขง ว่าไม่เอาเขื่อนไซยะบุรีและพรรคการเมืองที่สนับสนุนการสร้างเขื่อนไซยะบุรี   ประการที่สาม จัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนการปกป้องแม่น้ำโขงของเครือข่ายดังกล่าว   ประการที่สี่ การจัดทำข้อมูลท้องถิ่นเกี่ยวกับระบบนิเวศและวัฒนธรรมของชุมชนทั้งหมดตลอดล้ำน้ำโขง รวมทั้งข้อมูลความเสียหายที่จะเกิดขึ้น เพื่อเตรียมฟ้องร้องผู้เกี่ยวข้องกับการสร้างเขื่อนต่อศาลปกครอง
ดังนั้น เครือข่ายภาคประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง จึงขอเรียกร้อง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้นำรัฐบาลและผู้กำกับดูแลรัฐมนตรีที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนการสร้างเขื่อนดังกล่าว ดังนี้
  1. ให้แสดงความไม่เห็นด้วยต่อการสร้างเขื่อนดังกล่าว เพื่อปกป้องประชาชนและผลประโยชน์ของประเทศ
  2. ให้ยกเลิกแผนการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการเขื่อนไซยะบุรี ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยปกป้องความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังได้ช่วยร่วมปกป้องทรัพยากรลุ่มแม่น้ำโขง และวัฒนธรรมของประชาชนในลุ่มแม่น้ำโขง ให้สามารถดำรงต่อไปได้อย่างยั่งยืน
  3. ให้เลื่อนการตัดสินใจการให้ความเห็นชอบต่อการสร้างเขื่อนดังกล่าวของตัวแทนแต่ละประเทศที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 19 เมษายน 2554 นี้ออกไป เพื่อให้มีการศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบด้านและชัดเจน พร้อมกับการเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชนที่เกี่ยวข้องอย่างทั่วถึง
เราคาดหวังว่ารัฐบาลไทย จะไม่คำนึงถึงผลประโยชน์เชิงธุรกิจของคนส่วนน้อย แต่ทำลายวิถีชีวิตของคนลุ่มน้ำโขงนับล้านคนให้ซ้ำหนักลงไปอีก เราคาดหวังว่า ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ จะเป็นนายกรัฐมนตรีที่สามารถบริหารประเทศด้วยความเที่ยงธรรม และรับฟังความเห็นของภาคประชาชนผู้ได้รับผลกระทบเป็นสำคัญมากกว่าผลประโยชน์ของคนไม่กี่คน
เครือข่ายภาคประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง
ณ จังหวัดอุบลราชธานี
8 เมษายน 2554
“หยุดทำร้ายแม่น้ำโขง หยุดกั้นเส้นทางปลาบึก  หยุดทำลายบั้งไฟพญานาค
หยุดสร้างเขื่อนไซยะบุรี !
 
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ชาวบ้าน 8 จังหวัดริมโขง เตรียมเดินสายค้านเขื่อนไซยะบุรี ก่อนตัดสินโครงการ 19 เม.ย.นี้

Posted: 17 Apr 2011 12:12 PM PDT

ชี้โครงการเขื่อนส่งผลกระทบใหญ่หลวงกับวิถีการดำรงชีวิตชุมชนและระบบนิเวศน์แม่น้ำโขง เตรียมเดินสายยื่นหนังสือ กก.สิทธิฯ อาเซียน-สถานทูตลาว-อภิสิทธิ์-ส.ว. หวังค้านโครงการก่อน MRC เปิดประชุม

 
วานนี้ (17 เม.ย.54) นายนิวัฒน์ ร้อยแก้ว ประธานกลุ่มรักษ์เชียงของ จ.เชียงราย เปิดเผยว่า ในวันที่ 18 เม.ย.นี้ ชาวบ้านประมาณ 100 คนจาก 8 จังหวัดภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำโขงจะเดินทางมากรุงเทพฯ เพื่อยื่นหนังสือคัดค้านโครงการสร้างเขื่อนไซยะบุรี แขวงไซยะบุรี สาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เนื่องจากชาวบ้านเชื่อว่า หากโครงการดังกล่าวเกิดขึ้นจะเกิดผลกระทบใหญ่หลวงกับวิถีการดำรงชีวิตของชุมชนและระบบนิเวศน์ของแม่น้ำโขง
 
สืบเนื่องจาก ในวันที่ 19 เม.ย.นี้ สำนักงานคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง หรือ เอ็มอาร์ซี (Mekong River Commission: MRC) จะจัดการประชุมวาระพิเศษของคณะกรรมการร่วม (Joint Committee Special Session) 4ประเทศ (กัมพูชา, ลาว, ไทย และเวียดนาม) ที่สำนักงานในนครหลวงเวียงจันทน์เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับการก่อสร้างโครงการดังกล่าว
 
นายนิวัฒน์กล่าวว่า ในช่วงเช้าวันที่ 18 ตั้งแต่เวลา 9.00 น.ชาวบ้านทั้งหมดจะร่วมแลกเปลี่ยนสถานการณ์กันที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) โดยมีนายประสาร มฤคพิทักษ์ และนางเตือนใจ ดีเทศน์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา นางสุนี ไชยรส ว่าที่กรรมการปฏิรูปกฎหมาย รวมทั้งนักวิชาการ มาร่วมให้กำลังใจ และในเวลา 10.00 น.จะมีการยื่นหนังสือต่อ ดร.ศรีประภา เพชรมีสี ผู้แทนไทยในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนอาเซียน
 
จากนั้นเวลา 12.00 น.ชาวบ้านทั้งหมดจะเดินทางไปยังสถานทูตลาวประจำประเทศไทยเพื่อยื่นจดหมายถึงรัฐบาลลาว ส่วนช่วงบ่ายจะเดินทางไปยื่นหนังสือต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล ก่อนที่จะเดินทางไปยื่นหนังสือต่อนายสุรจิต ชิรเวช ส.ว.สมุทรสงคราม และ น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นกรรมาธิการพิจารณากรณีการสร้างเขื่อนไซยะบุรี
 
นายนิวัฒน์กล่าวว่า ขณะนี้กระแสการต่อต้านการสร้างเขื่อนไซยะบุรีกำลังรุนแรงขึ้นทุกวัน โดยสื่อมวลชนของเวียดนามในหลายสำนักได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์การสร้างเขื่อนครั้งนี้ เนื่องจากเวียดนามเป็นประเทศท้ายน้ำซึ่งจะได้รับผลกระทบ และล่าสุดเมื่อวันที่ 14 เมษายนที่ผ่านมา นายจิม เว็บบ์ ประธานอนุกรรมาธิการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ของสหรัฐฯ ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้มีการชะลอสร้างเขื่อนนี้ เพราะอาจส่งผลกระทบกับประชาชน 60 ล้านคนที่พึ่งพาแม่น้ำโขง
 
นายนิวัฒน์กล่าวว่า ในส่วนของประเทศไทยนั้น ชาวบ้านริมแม่น้ำโขงต่างรู้สึกกังวลมาก เพราะหากมีการสร้างเขื่อนไซยะบุรีจริง จะทำให้ปลานับร้อยสายพันธุ์ต้องหายไป โดยเฉพาะปลาบึกซึ่งว่ายจากตอนใต้ของลาวไปวางไข่บริเวณเชียงของทุกปี ย่อมไม่สามารถว่ายผ่านเขื่อนไปได้อีก
 
“แต่ขณะนี้รัฐบาลไทยยังไม่ได้แสดงท่าทีใดๆ ออกมาชัดเจน ทั้งๆ ที่มีประชาชนจำนวนมากได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนครั้งนี้ ดังนั้นพวกเราจึงต้องเดินทางมาเรียกร้องให้ทุกฝ่ายช่วยกันทำหน้าที่ของตัวเองอย่างตรงไปตรงมา โดยมีผลประโยชน์ของประชาชนเป็นตัวตั้ง” นายนิวัฒน์ กล่าว
 
ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 3-8 เม.ย.ที่ผ่านมา เครือข่ายภาคประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขงได้จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นเพื่อปรึกษาหารือและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดดังกล่าวที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากการสร้างเขื่อนไซยะบุรีใน สปป.ลาว และสิ้นสุดที่จังหวัดอุบลราชธานีในวันที่ 8 เม.ย.54 โดยได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีไทยแสดงความไม่เห็นด้วยต่อการสร้างเขื่อนดังกล่าว และให้ยกเลิกแผนการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการเขื่อนไซยะบุรี รวมทั้งให้เลื่อนการตัดสินใจการให้ความเห็นชอบต่อการสร้างเขื่อนดังกล่าวของตัวแทนแต่ละประเทศที่จะมีขึ้นในวันที่ 19 เม.ย.นี้ออกไป เพื่อให้มีการศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบด้านและเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชนที่เกี่ยวข้องอย่างทั่วถึง
 
 
 
 
แถลงการณ์ 
เครือข่ายภาคประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง
เรื่อง คัดค้านการสร้างเขื่อนไซยะบุรี
 
ตามที่เครือข่ายภาคประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขงอันประกอบด้วยจังหวัดเชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ได้จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั้ง 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง จำนวน 5 ครั้ง เริ่มตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2554 ที่ อ.เชียงคาน จ.เลย และสิ้นสุดที่จังหวัดอุบลราชธานีในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2554 เพื่อปรึกษาหารือและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดดังกล่าวที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากการสร้างเขื่อนไซยะบุรีใน สปป.ลาว เนื่องจากที่ผ่านมาไม่ได้มีการเปิดเผยข้อมูลให้ประชาชนได้รับรู้เลยในขณะที่โครงการก่อสร้างเขื่อนนี้มีการดำเนินงานไปอย่างเร่งรีบ และคาดว่าจะมีการประชุมแสดงความเห็นชอบอนุมัติโครงการดังกล่าวในวันที่ 19 เมษายน นี้
เขื่อนไซยะบุรีกั้นแม่น้ำโขงที่แขวงไซยะบุรี สปป.ลาว เหนือขึ้นไปจาก อ.เชียงคาน จ.เลย เพียงประมาณ 200 กิโลเมตร ตัวเขื่อนมีความยาว 810 เมตร มูลค่าการลงทุนกว่า 100,000 ล้านบาท
 
ที่ผ่านมา 4 เขื่อนจีนที่กั้นแม่น้ำโขงแม้จะอยู่ไกลกว่าเขื่อนไซยะบุรี แต่ได้สร้างผลกระทบต่อคนลุ่มน้ำโขงตอนล่างอย่างชัดเจน ถ้าสร้างเขื่อนไซยะบุรีสำเร็จจะเกิดผลกระทบกับพี่น้องชาวลาว กัมพูชา เวียดนาม และที่สำคัญคือประเทศไทยทั้ง 8 จังหวัดดังกล่าวรวมถึงคนริมฝั่งแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขง ผลกระทบสำคัญที่จะเกิดขึ้นคือ การปิดกั้นเส้นทางอพยพของปลาโดยเฉพาะปลาบึก การทำลายระบบนิเวศทั้งระบบของแม่น้ำโขง การสูญเสียพื้นที่เกษตรกรรมริมฝั่งโขง ผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ฯลฯ อันเป็นการทำลายวิถีชีวิตของคนริมฝั่งโขงโดยตรง
 
สาเหตุสำคัญที่รัฐบาลไทยจะต้องรับผิดชอบต่อการทำลายแม่น้ำโขงครั้งนี้ก็เพราะว่าเป็นการสนับสนุนบริษัท ช.การช่างของไทยไปสร้างเขื่อนนี้ ทุนที่สนับสนุนการสร้างเขื่อนก็คือ 4 ธนาคารของไทย และคนที่รับซื้อไฟฟ้าก็คือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งจะรับซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนนี้ถึงร้อยละ 95 

จากการประชุมกับเครือข่ายดังกล่าวได้มีมติเห็นพ้องต้องกันที่จะแสดงเจตนารมณ์ว่า “พวกเราไม่ต้องการเขื่อนไซยะบุรีและเขื่อนใดๆในแม่น้ำโขง และพร้อมที่จะต่อสู้จนถึงที่สุด” มติของเครือข่ายฯ ได้มีข้อสรุปที่จะให้การดำเนินงานร่วมกัน คือ ประการแรก จะมีการล่ารายชื่อประชาชนที่ไม่เห็นด้วยเพื่อยื่นเสนอต่อนายกรัฐมนตรีของไทย และผู้เกี่ยวข้องรวมทั้งรัฐบาลของประเทศเขมร ลาว และเวียดนาม ในวันที่ 18 เมษายน นี้
 
ประการที่สอง รณรงค์ติดป้ายแสดงจุดยืนของประชาชน 90 ตำบลลุ่มน้ำโขง ว่าไม่เอาเขื่อนไซยะบุรีและพรรคการเมืองที่สนับสนุนการสร้างเขื่อนไซยะบุรี ประการที่สาม จัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนการปกป้องแม่น้ำโขงของเครือข่ายดังกล่าว ประการที่สี่ การจัดทำข้อมูลท้องถิ่นเกี่ยวกับระบบนิเวศและวัฒนธรรมของชุมชนทั้งหมดตลอดล้ำน้ำโขง รวมทั้งข้อมูลความเสียหายที่จะเกิดขึ้น เพื่อเตรียมฟ้องร้องผู้เกี่ยวข้องกับการสร้างเขื่อนต่อศาลปกครอง
 
ดังนั้น เครือข่ายภาคประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง จึงขอเรียกร้อง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้นำรัฐบาลและผู้กำกับดูแลรัฐมนตรีที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนการสร้างเขื่อนดังกล่าว ดังนี้
 
  1. ให้แสดงความไม่เห็นด้วยต่อการสร้างเขื่อนดังกล่าว เพื่อปกป้องประชาชนและผลประโยชน์ของประเทศ
  2. ให้ยกเลิกแผนการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการเขื่อนไซยะบุรี ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยปกป้องความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังได้ช่วยร่วมปกป้องทรัพยากรลุ่มแม่น้ำโขง และวัฒนธรรมของประชาชนในลุ่มแม่น้ำโขง ให้สามารถดำรงต่อไปได้อย่างยั่งยืน
  3. ให้เลื่อนการตัดสินใจการให้ความเห็นชอบต่อการสร้างเขื่อนดังกล่าวของตัวแทนแต่ละประเทศที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 19 เมษายน 2554 นี้ออกไป เพื่อให้มีการศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบด้านและชัดเจน พร้อมกับการเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชนที่เกี่ยวข้องอย่างทั่วถึง
 
เราคาดหวังว่ารัฐบาลไทย จะไม่คำนึงถึงผลประโยชน์เชิงธุรกิจของคนส่วนน้อย แต่ทำลายวิถีชีวิตของคนลุ่มน้ำโขงนับล้านคนให้ซ้ำหนักลงไปอีก เราคาดหวังว่า ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะเป็นนายกรัฐมนตรีที่สามารถบริหารประเทศด้วยความเที่ยงธรรม และรับฟังความเห็นของภาคประชาชนผู้ได้รับผลกระทบเป็นสำคัญมากกว่าผลประโยชน์ของคนไม่กี่คน
 
เครือข่ายภาคประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง 
ณ จังหวัดอุบลราชธานี 
8 เมษายน 2554
 
“หยุดทำร้ายแม่น้ำโขง หยุดกั้นเส้นทางปลาบึก หยุดทำลายบั้งไฟพญานาค
หยุดสร้างเขื่อนไซยะบุรี !
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ความเข้าใจ ‘ทุกข์’ คือรากฐานศีลธรรมของพุทธศาสนา

Posted: 17 Apr 2011 10:12 AM PDT

 
หากเรามองกรอบคิดของพุทธศาสนาจากความจริงที่พระพุทธเจ้าอธิบาย ที่เรียกว่า อริยสัจสี่ เราสามารถสรุปได้ว่า ความเข้าใจทุกข์คือรากฐานศีลธรรมของพุทธศาสนา
 
เพราะความเข้าใจทุกข์ทำให้เรามองเห็นเหตุผลว่า ทำไมเราจึงควรมีความรับผิดชอบทางศีลธรรมต่อตนเอง ต่อคนรอบข้าง ต่อสังคม ต่อโลก และสรรพสิ่ง
 
ในมุมมองของพุทธศาสนา ทุกข์ คือ ความขัดแย้ง และความขัดแย้งก็เป็นผลิตผลของธรรมชาติ เช่น ธรรมชาติสร้างภาวะชีวิตของเราให้เป็นอนัตตา คือภาวะชีวิตที่ไม่มีตัวตนของฉัน มีแต่ตัวชีวิตที่ประกอบขึ้นจากสิ่งในธรรมชาติและเป็นไปตามกฎธรรมชาติ แต่ธรรมชาติก็สร้างให้เรามีจิตสำนึก หรือมีความรู้สึกว่ามีตัวตนของฉัน และมีความรู้สึกยึดมั่นในตัวตนของฉัน
 
ความจริงตามภาวะธรรมชาติที่ไม่มีตัวตนของฉันกับความรู้สึกว่ามีตัวตนของฉัน คือทุกข์หรือความขัดแย้งในตัวเองของชีวิตที่เราต่างประจักษ์ได้
 
ขณะที่ชีวิตทางกายภาพต้องเปลี่ยนแปลงแตกดับไปตามวิถีทางของธรรมชาติ แต่จิตใจกลับไม่ยอมรับหรือขัดแย้งกับความเป็นไปนั้น ขณะที่ความเป็นไปของชีวิตขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของเหตุปัจจัยต่างๆ แต่ธรรมชาติกลับสร้างจิตใจขึ้นมาให้มีความปรารถนาให้ความเป็นไปของชีวิตขึ้นอยู่กับอารมณ์ความรู้สึก หรืออำนาจของของตัวฉัน
 
ฉะนั้น ทุกข์หรือภาวะขัดแย้งในตัวเองจึงเป็นความจริงพื้นฐานที่สุดของชีวิต ความจริงดังกล่าวนี้ไม่ได้มีความหมายในชิงบวกหรือลบ ไม่ได้มีความหมายในเชิงดีหรือชั่ว ทว่าเป็นความจริงตามที่มันเป็น หรือมันเป็นเช่นนั้นเอง (ตถตา)
 
แต่อย่างไรก็ตาม แม้ความจริงของชีวิตคือทุกข์หรือความขัดแย้งในตัวเอง แต่ชีวิตเป็นปรากฏการณ์ธรราชาติอย่างหนึ่งที่มีการหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยเหมือนปรากฏการณ์ธรรมชาติอื่นๆ เช่น ธรรมชาติแห่งฤดูกาลที่มีกลางวัน กลางคืน มีมืดมี สว่าง ชีวิตก็มีด้านที่เป็นทุกข์ และด้านไม่เป็นทุกข์หรือด้านที่จิตสำนึกของเราไม่ขัดแย้งกับวิถีทางของธรรมชาติ
 
ความทุกข์ซึ่งเป็นภาวะขัดแย้งระหว่างภาวะที่เป็นอยู่จริงกับความปรารถนาที่อยากให้เป็น คือประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตเราทุกคน ขณะเดียวกันทุกคนก็เคยมีประสบการณ์กับภาวะที่ความขัดแย้งนั้นหายไปเมื่อเมื่อจิตใจเรามองเห็นความจริงตามที่เป็น (ไม่ใช่ตามที่เราคิดว่าเป็น หรืออยากให้เป็น) และยอมรับมัน
 
พุทธศาสนาเชื่อว่าเมื่อสามารถพัฒนาความเข้าใจความจริงตามที่เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกข์หรือความขัดแย้งจะเกิดน้อยลงเรื่อยๆ จนกระทั่งเมื่อเรามีสติเฉียบคมต่อความจริงตามที่เป็นอย่างสมบูรณ์ ทุกข์หรือความขัดแย้งในชีวิตก็หมดไปได้
 
อย่างไรก็ตาม ทุกข์ในชีวิตเป็นภาวะขัดแย้งที่ซับซ้อน ความขัดแย้งระหว่างสิ่งที่เป็นกับความปรารถนาอยากให้เป็นคือแรงขับที่ทำให้เกิดการดิ้นรนทั้งภายในและภายนอก
 
ลึกลงไปภายในจิตใจ ดูเหมือนเราไม่เคยสมอยากเอาเสียเลย ไม่ว่าจะเป็นความอยากทางสังคม (เช่น อยากครอบครองทรัพย์สิน การยอมรับจากผู้อื่น ชื่อเสียง อำนาจ ฯลฯ) หรือความยากทางจิตวิญญาณ (เช่น ความสงบ ความสูงส่ง ฯลฯ) ความไม่สมอยากทำให้เราต้องดิ้นรนกระสนหาอยู่แทบจะตลอดเวลา
 
ส่วนความดิ้นรนในภายนอกที่แสดงออกเป็นการต่อสู้แข่งขันในหลากรูปแบบย่อมนำไปสู่ ทุกข์ทางสังคม หรือความขัดแย้งที่ซับซ้อนทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ฯลฯ
 
ฉะนั้น ในทัศนะของพุทธศาสนา ทุกข์หรือความขัดแย้งในชีวิตและความขัดแย้งทางสังคม จึงเป็นความจริงพื้นฐานที่เราต้องทำความเข้าใจ และความเข้าใจทุกข์ย่อมก่อให้เกิดจิตสำนึกรับผิดชอบทางศีลธรรมต่อตนเอง คนรอบข้าง และสังคม
 
พุทธศาสนาจึงโยงความสัมพันธ์ระหว่างทุกข์กับเมตตาหรือความรักและจิตสำนึกทางศีลธรรมในลักษณะที่เป็นเหตุเป็นผลแก่กัน คนที่เข้าใจชีวิตว่าเป็นทุกข์ย่อมรักตนเองอย่างลึกซึ้ง รักคนอื่นและสรรพชีวิตในฐานะ เพื่อนร่วมทุกข์
 
จิตสำนึกทางศีลธรรมต่อตนเองที่เกิดตามมาคือ จิตสำนึกในการพัฒนาปัญญาเพื่อเรียนรู้ที่จะอยู่กับความเป็นจริงของชีวิตอย่างเกิดทุกข์จากความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนของฉันน้อยลง หรือไม่เกิดทุกข์เลย
 
ส่วนจิตสำนึกทางศีลธรรมต่อคนอื่นๆ และสังคม คือจิตสำนึกที่จะไม่เบียดเบียนทำร้ายคนอื่นๆ ไม่สนับสนุนความไม่ถูกต้อง ความไม่เป็นธรรมทางสังคม หรือในทางบวกหมายถึงจิตสำนึกรับผิดชอบในการมีส่วนร่วมทำความเข้าใจทุกข์ของสังคม และมีส่วนร่วมสร้างสรรค์สังคมให้มีความเป็นธรรม เป็นสังคมที่น่าอยู่มากขึ้น
 
ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้าใจทุกข์กับความรักและจิตสำนึกทางศีลธรรมดังกล่าวนี้ ทำให้เราเห็นว่า การเป็นคนดีมีศีลธรรมตามทัศนะของพุทธศาสนาเรียกร้องทั้งปัญญา หัวใจ และความรับผิดชอบต่อตนเอง คนอื่น และสังคม
 
หากจิตสำนึกทางศีลธรรมเกิดจากความรักตนเอง คนอื่น และสังคมอย่างลึกซึ้ง ซึ่งเป็นความรักที่เกิดจากความเข้าใจทุกข์ในชีวิตและทุกข์ทางสังคมอย่างลึกซึ้ง ก็หมายความว่าความรับผิดชอบทางศีลธรรมต่อตนเอง คนอื่น และสังคม ไม่อาจมีได้ หากปราศจากการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจทุกข์ในชีวิตและทุกข์ทางสังคมอย่างลึกซึ้ง
 
(คนที่ไม่ใช่ชาวพุทธแต่เขามองเห็นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่ยึดโยงอยู่กับการมีสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค และความยุติธรรม คือคนที่เคารพตนเองและเพื่อนมนุษย์ ย่อมมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อศีลธรรมทางสังคมสูง และจิตสำนึกดังกล่าวคือแรงจูงใจให้เขาต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย คนพุทธที่ใส่ใจทุกข์ร่วมทางสังคมก็สามารถมีจิตสำนึกเช่นนี้ได้เช่นกัน)
 
แต่ปัญหาคือ พุทธศาสนาจารีตประเพณีในบ้านเราสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ทุกข์ในชีวิตและทุกข์ทางสังคม หรือสร้างวิถีการอยู่ร่วมกันในฐานะ เพื่อนร่วมทุกข์ หรือไม่ อย่างไร
 
สิ่งที่เราเห็นกันจนชินตาคือ ชาวพุทธบ้านเรามักมีท่าทีหนีทุกข์ มุ่งความสุขสบายส่วนตัวผ่านพิธีกรรมทางศาสนา การปฏิบัติธรรม การทำบุญกุศลต่างๆ ที่มีจุดหมายเพื่อ ความสุขส่วนตัว ในขณะเดียวกันก็มีท่าทีเพิกเฉยต่อ ทุกข์ทางสังคม
 
สังเกตหรือไม่ว่าเมื่อชาวพุทธบ้านเรานึกถึง การกุศล ตามกรอบประเพณีทางศาสนา เรามักนึกถึงการกุศลในความหมายของการบำเพ็ญบุญบารมี หรือ การสั่งสมบุญกุศลดลบันดาล ให้เกิดความสุขความเจริญส่วนตัว ขณะที่ การกุศล ในทัศนะของคนตะวันตกเขาหมายถึง ประโยชน์สาธารณะ ซึ่งเป็นทัศนะที่ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อศีลธรรมทางสังคม
 
เมื่อศาสนาไม่ได้มีบทบาทในการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้เพื่อให้เกิดความเข้าใจทุกข์ในชีวิตและทุกข์ทางสังคมในบริบทของโลกแห่งความเป็นจริง แต่กลับเน้นบทบาทสร้างวัฒนธรรมหลบหนี หรือเมินเฉยต่อทุกข์หรือปัญหาต่างๆ ของสังคม โดยถือว่า ทางธรรมกับทางโลกไม่เกี่ยวข้องกัน
 
ปรากฏการณ์ที่เป็นจริงคือ แม้สังคมของเราจะเต็มไปด้วยวัดวา พิธีกรรมทางศาสนา สำนักปฏิบัติธรรม และร้านหนังสือที่มีสัดส่วนของหนังสือธรรมะ (ฮาวทู) มากกว่าหนังสืออื่นๆ แต่สิ่งที่เราพบอยู่เสมอคือ หลังจากทำบุญตักบาตรเสร็จ ผู้มีอำนาจอาจสั่งการใช้กฎหมาย หรือใช้กำลังละเมิดเสรีภาพทางการเมืองของประชาชน หรือพวกเขาอาจไปขอ ฤกษ์ทำรัฐประหาร กับพระผู้ใหญ่บางรูป
 
หรือพระสงฆ์และผู้ปฏิบัติธรรมทั่วไปอาจมองว่า ความขัดแย้งทางการเมืองจนทำให้เกิดการบาดเจ็บล้มตายตามที่เป็นมาครั้งแล้วครั้งเล่านั้น เป็นเรื่อง กรรมของสัตว์โลก
 
นอกจากนี้ท่ามกลางวิกฤตการเมืองกว่า 5 ปีที่ผ่านมา เรายังได้เห็นบทบาทของพระสงฆ์จำนวนหนึ่งที่แสดงออกถึง สองมาตรฐานทางศีลธรรม อย่างชัดเจน ด้วยการเทศนา พูดออกทีวี และเขียนบทความตำหนิความเลวของนักการเมือง ตำหนิความโง่ของประชาชนที่ไม่รู้ประชาธิปไตย เป็นเครื่องมือนักการเมืองโกง ไม่รู้หลักการ ยึดตัวบุคคล ยึดฝ่ายใครฝ่ายมันเหนือหลักการ จนนำไปสู่ความเกลียดชังและความแตกแยกรุนแรง
 
แต่เมื่อ ผู้มีอำนาจ สั่งใช้กำลังปราบปรามประชาชนจนเกิดการบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก พระสงฆ์เหล่านั้นกลับเงียบกริบ ไม่เอาจริงเอาจังกับการเทศนาสั่งสอน ผู้มีอำนาจ เหมือนที่ขยันสั่งสอนนักการเมืองและประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตย
 
ฉะนั้น หากชาวพุทธต้องการให้พุทธศาสนามีความหมายต่อการคลี่คลายทุกข์ทางสังคม จำเป็นต้องกลับไปทบทวนกรอบคิดทางศีลธรรมของพุทธศาสนาตามหลักอริยสัจสี่ใหม่ และจำเป็นต้องสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ทุกข์ในชีวิตและทุกข์ทางสังคม และสร้างวัฒนธรรม เพื่อนร่วมทุกข์ ที่อยู่ร่วมกันด้วยปัญญา หัวใจ และสำนึกรับผิดชอบทางศีลธรรมต่อตนเอง คนรอบข้าง และสังคม
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

โกศล อนุสิม:ข้อคิดเห็นเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

Posted: 17 Apr 2011 09:57 AM PDT

บทนำ
กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ คือกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่บัญญัติว่า “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี” ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากผู้ไม่เห็นด้วย จนถึงขนาดมีการเรียกร้องให้ยกเลิก โดยให้เหตุผลว่าขัดต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

ตามความเป็นจริงนั้น สถาบันกษัตริย์เป็นหนึ่งเดียวกับความเป็นรัฐและเป็นชาติ ไม่ว่าจะชื่อ “สยาม” ในอดีตหรือชื่อ “ไทย” ในปัจจุบัน และไม่สามารถที่จะเปรียบเทียบในลักษณะเดียวกันกับสถาบันกษัตริย์ในประเทศต่างๆที่ยังคงอยู่ในปัจจุบันได้ เพราะสถาบันกษัตริย์ไทยนั้นมีลักษณะพิเศษที่ไม่มีในสถาบันกษัตริย์ของประเทศอื่น ในช่วงที่ผ่านมามีการวิพากษ์วิจารณ์กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพโดยกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วย ผู้เขียนจึงเขียนบทความนี้ขึ้น เพื่อทำความเข้าใจถึงความจำเป็นของการมีกฎหมายดังกล่าว

บทความนี้แบ่งเป็น 4 ตอน คือ

(1) สถาบันกษัตริย์กับประวัติศาสตร์สังคมไทย กล่าวถึงความเป็นมาของสถาบันกษัตริย์กับความเป็นรัฐชาติ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ที่ผู้เขียนได้กล่าวไว้ในย่อหน้าข้างต้นว่ามีความเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างแยกไม่ออกซึ่งนำไปสู่

(2) ลักษณะพิเศษของสถาบันกษัตริย์ไทย มีความแตกต่างจากสถาบันกษัตริย์ในประเทศต่างๆ อันทำให้สถาบันกษัตริย์ไทยได้รับการปกป้องอย่างเคร่งครัด ด้วยกฎหมายที่มีบทลงโทษเด็ดขาด จนถูกมองว่าเป็นกฎหมายที่ขัดต่อสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน ดังที่ฝ่ายต้องการให้ยกเลิกได้กล่าวอ้างกันอยู่ขณะนี้

(3) ปัญหาการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ วิเคราะห์ถึงการใช้เป็นเครื่องทางการเมืองของผู้ครองอำนาจรัฐก็ดี โดยผู้ที่ต้องการกำจัดฝ่ายตรงกันข้ามทางการเมืองก็ดี โดยผู้ที่แอบอ้างความจงรักภักดีก็ดี หรือผู้ที่มีความจงรักภักดีแบบสุดโต่งก็ดี ซึ่งกรณีทั้งหมดนี้ก่อให้เกิดผลในทางลบแก่สถาบันกษัตริย์ และเป็นจุดอ่อนของกฎหมายที่ฝ่ายไม่เห็นด้วยยกขึ้นมาโจมตี

(4) ข้อเสนอเพื่อการใช้กฎหมายให้เกิดความยุติธรรม โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อปกป้องสถาบันกษัตริย์ให้พ้นจากการที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาศัยช่องโหว่ของกฎหมายดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อประโยชน์ส่วนตน

ผู้เขียนขอย้ำในที่นี้ว่า บทความนี้เขียนในฐานะคนไทยคนหนึ่งที่เคารพในสถาบันกษัตริย์ โดยใช้สติปัญญา เหตุผล และอย่างเป็นกลางมากที่สุด ทั้งนี้ ก็เพื่อที่จะสร้างความเข้าใจแก่ผู้ที่ยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนหรือถูกทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อนในสถาบันกษัตริย์ และเพื่อมีส่วนร่วมในการธำรงรักษาไว้ซึ่งสถาบันอันสำคัญของชาติให้คงอยู่อย่างมั่นคง ดังรายละเอียดที่จะกล่าวต่อไปนี้

1.สถาบันกษัตริย์กับประวัติศาสตร์สังคมไทย

สถาบันกษัตริย์ในสังคมไทยนั้น มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับ “รัฐ” หรือ “ชาติ” ไม่ว่าจะเป็น “รัฐ” หรือ “ชาติ” ของชาวสยามในอดีต และ “รัฐ” หรือ “ชาติ” ของชาวไทยในปัจจุบัน เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ผู้เขียนจึงขออภิปรายโดยแบ่งเป็น ๓ ยุคดังนี้

(1) ยุคชนเผ่า นับตั้งแต่ผู้คนในดินแดนแถบถิ่นสุวรรณภูมิก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาเป็นกลุ่มก้อน เป็นชนเผ่า และพัฒนาเป็นอาณาจักรเล็กๆในเขตอิทธิพลของตน การปกครองมีลักษณะนครรัฐ มีอิสรภาพ บูรณภาพเหนือดินแดนของตน ต่อมาปรากฏเป็นอาณาจักรขึ้นอย่างชัดเจนในสมัยสุโขทัย ผู้ปกครองคือหัวหน้าชนเผ่าที่มีฐานะเป็นกษัตริย์ของประชาชนในปกครองของตน หากยึดถือข้อมูลประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัยก็เชื่อกันว่า ในสมัยนี้ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับราษฎรเป็นไปในลักษณะพ่อกับลูก ดังคำที่ใช้เรียกกษัตริย์ว่า “พ่อขุน” เช่น พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พ่อขุนบางกลางหาว พ่อขุนผาเมือง พ่อขุนเม็งราย พ่อขุนรามคำแหง เป็นต้น

ความสัมพันธ์ในลักษณะนี้ กษัตริย์ย่อมทำหน้าที่ปกครองดูแลราษฎร บำบัดทุกข์ บำรุงสุขของ ประชาชน เมื่อมีความขัดแย้งกับอาณาจักรอื่นๆ ถึงขั้นที่มีการทำสงครามกัน กษัตริย์คือผู้นำในการต่อสู้ เพื่อปกป้องดินแดนและผู้คนของตน

(2) ยุคอาณาจักร ยุคนี้ปรากฏเด่นชัดในสมัยสุโขทัยและพัฒนาเป็นอาณาจักรโดยสมบูรณ์ในสมัยอยุธยา ความสัมพันธ์ของกษัตริย์กับประชาชนนั้น พัฒนาจากความสัมพันธ์แบบพ่อกับลูกมาเป็นแบบผู้ปกครองกับผู้ถูกปกครอง โดยสถานะของกษัตริย์คือ เทวราชา หรือ สมมติเทพ ซึ่งนักประวัติศาสตร์เชื่อกันว่าได้รับอิทธิพลมาจากจากขอม มีอำนาจเด็ดขาด ใครจะล่วงละเมิดไม่ได้ กษัตริย์มีอำนาจในการปกครองอาณาจักรโดยสมบูรณ์ ลักษณะเช่นนี้สืบเนื่องยาวนานมาจนถึงสมัยกรุงธนบุรีและต้นรัตนโกสินทร์

.
แต่ถึงแม้สถานะของกษัตริย์ในยุคอาณาจักรจะเปลี่ยนไปเป็นสมมติเทพ ใครจะล่วงละเมิดมิได้ มีอำนาจสิทธิ์ขาดแต่เพียงผู้เดียว มีการตรากฎหมายขึ้นเพื่อปกป้องกษัตริย์มิให้ถูกละเมิดและป้องกันการแย่งชิงอำนาจที่มีบทลงโทษรุนแรง ประเภท “ประหารเจ็ดชั่วโคตร” หรือ “ฟันคอริบเรือน” เป็นต้น แต่กษัตริย์ก็ยังคงบำเพ็ญกรณียกิจในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขราษฎร ยังคงเป็นผู้นำในการต่อสู้เพื่อปกป้องดินแดน วางนโยบายในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของอาณาประชาราษฎร์ แม้จะมีเหตุการณ์แย่งชิงอำนาจโดยการรัฐประหารและกบฏในราชสำนักอยู่บ่อยๆ แต่เมื่อใดก็ตามที่กษัตริย์สามารถกุมอำนาจได้อย่างเด็ดขาด ไม่มีเหตุคุกคามทั้งจากภายในและจากภายนอกราชอาณาจักร กษัตริย์ก็จะทำหน้าที่ทำนุบำรุงอาณาประชาราษฎร์อย่างเต็มที่

ในยุคอาณาจักรนี้ แม้ได้รับอิทธิพลเรื่องเทวราชาจากขอม แต่ขณะเดียวกันก็ได้รับเอาพระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ราชสำนัก และพระพุทธศาสนาก็แผ่ขยายไปสู่ประชาชนจนหล่อหลอมเป็นขนบ ธรรมเนียม ประเพณีของผู้คนในสังคม ไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์หรือประชาชนล้วนแต่รับเอาพุทธศาสนาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต กษัตริย์ก็ได้รับเอาธรรมะในพระพุทธศาสนามาปรับใช้ในการปกครอง ดังเช่น หลักแห่งทศพิธราชธรรม อันเป็นข้อปฏิบัติในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขราษฎร10 ประการของพระราชา ซึ่งเป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นการใช้ธรรมเป็นอำนาจและการใช้อำนาจอย่างเป็นธรรม ที่มีอิทธิพลต่อกษัตริย์ในยุคอาณาจักรนี้เป็นอย่างมาก ทำให้ความสัมพันธ์ที่ห่างเหินแบบเทวราชา ได้รับการประสานช่องว่างให้แคบเข้าด้วยคำสอนจากพระพุทธศาสนา

(3) ยุครัฐชาติ ยุคนี้คือยุคที่มีการปฏิรูปสังคมตามอิทธิพลของประเทศตะวันตก ปรากฏขึ้นอย่างเด่นชัดในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 และเข้าสู่ยุคปฏิรูปเต็มที่ในสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รัชการที่ 5 โดยมีการจัดระบบการปกครองแบบตะวันตก พัฒนาประเทศให้ทันสมัย แม้สถานะของกษัตริย์จะยังอยู่ในฐานะเทวราชาและมีกฎหมายปกป้องจากการล่วงละเมิด แต่กษัตริย์ก็มิได้ใช้ฐานะที่อยู่เหนือคนทั้งหลายเพื่อประโยชน์แห่งตน ในทางตรงกันข้าม รัชการที่ 5 ในฐานะกษัตริย์ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจโดยยึดถือเอาผลประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่ ทรงยึดหลักแห่งทศพิธราชธรรมนำการปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆดังประจักษ์แจ้งในประวัติศาสตร์อยู่แล้ว

.
รัชกาลต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ รัชการที่ 6 ก็ทรงวางรากฐานด้านต่างๆและพัฒนาประเทศต่อจากพระราชบิดาให้ก้าวหน้าและมั่นคงขึ้น แม้ในเรื่องการเมืองการปกครอง พระองค์ก็ทรงเปิดกว้างให้มีการเสนอแนวคิดเรื่องประชาธิปไตย ทั้งยังทรงจัดการให้มีการทดสอบทดลองระบบการเมืองการปกครองสมัยใหม่ผ่านการเลือกตั้ง ทั้งนี้เพื่อเตรียมการให้ประชาชนได้เรียนรู้ระบอบการเมืองการปกครองสมัยใหม่ที่เรียกกันว่าประชาธิปไตย อาจวิเคราะห์ได้ว่าเป็นการเตรียมความพร้อมให้ประชาชนนั่นเอง

ในสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเปล้าฯ รัชกาลที่ 7 เป็นยุคที่เกิดความปั่นป่วนวุ่นวายทางเศรษฐกิจโลก และความวุ่นวายนั้นได้ส่งผลถึงไทยด้วย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงพยายามแก้ไขปัญหาอย่างถึงที่สุด เมื่อคณะราษฎร์ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ที่เรียกกันว่า “ปฏิวัติ” ก็ดี หรือ “อภิวัฒน์” ก็ดี พระองค์ก็ทรงยินยอมสละอำนาจให้แก่คณะราษฎร์ ซึ่งปรากฏหลักฐานในประวัติศาสตร์ว่า พระองค์มิได้ทรงสละอำนาจให้แก่คณะใดคณะหนึ่ง แต่ทรงสละอำนาจให้ประชาชน ดังพระราชหัตถเลขาที่มีใจความตอนหนึ่งว่า “…ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเปนของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิม ให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และ โดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร…” นั่นย่อมหมายความว่าพระองค์ทรงยึดถือผลประโยชน์ของราษฎรเป็นใหญ่ มิใช่เรื่องอื่นใดเลย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 พระองค์ยังมิได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอย่างเต็มที่ก็ทรงสวรรคตเสียก่อน เมื่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากพระบรมเชษฐาธิราช ในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2493 พระองค์ทรงมีพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” อันเป็นพระราชปณิธานที่ทรงยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตลอดระยะเวลาที่ทรงครองราชย์กว่า 60 ปีจนถึงปัจจุบัน ประชาชนไม่ว่าจะเป็นเมื่อครั้งที่มีชื่อว่า “ชาวสยาม” ในกาลก่อน และ “ชาวไทย” ในกาลปัจจุบัน ก็ล้วนแต่ได้รับประโยชน์จากพระราชกรณียกิจที่ทรงปฏิบัติตามพระราชปณิธานนั้นโดยทั่วกัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงเป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญทุกฉบับไม่ได้บัญญัติให้พระองค์มีอำนาจในทางการเมือง แม้ว่าการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล การทำงานของรัฐสภา และการตัดสินคดีความของตุลาการ อันเป็นอำนาจสูงสุดทั้งสามจะกระทำภายใต้พระปรมาภิไธยก็ตาม แต่พระองค์ก็ไม่มีพระราชอำนาจใดที่จะทำให้ทรงสามารถแทรกแซงอำนาจขององค์กรทั้งสามได้ กล่าวตามหลักการแล้ว กษัตริย์ไม่ทรงมีพระราชอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินโดยตรงเลย นับแต่หลังการปฏิวัติของคณะราษฎร์เมื่อปี พ.ศ.2475 เป็นต้นมา

แม้พระองค์ไม่ทรงมีพระราชอำนาจที่จะทรงแทรกแซงการบริหารราชการแผ่นดินได้ แต่พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อประชาชน โดยเสด็จเยี่ยมเยือนราษฏรทุกหมู่เหล่า ทรงพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนผ่านโครงการส่วนพระองค์หลายพันโครงการกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาค นำไปสู่การพัฒนาตนเองของประชาชนจนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ทรงแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในส่วนที่ภาครัฐคือรัฐบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งไม่สามารถทำได้ เพราะติดขัดด้วยกระบวนการทางการเมือง ด้วยเหตุว่าการที่จะกระทำสิ่งใดย่อมคิดถึงผลในทางการเมืองเป็นที่ตั้ง จึงเกิดความล่าช้าและไม่เท่าเทียมกันขึ้นในสังคมภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลที่มาจากภาคการเมือง ต่างจากกษัตริย์ที่ทรงถือว่าประชาชนทุกคนล้วนเป็นประชาชนของพระองค์ ทรงกระทำทุกอย่างโดยไม่มีผลประโยชน์ส่วนพระองค์แอบแฝง

2. ลักษณะพิเศษของสถาบันกษัตริย์ไทย

จากที่ได้อภิปรายมาเมื่อตอนที่แล้วก็จะเห็นได้ว่า สถาบันกษัตริย์ในประวัติศาสตร์สังคมไทยและในปัจจุบันนั้น มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากสถาบันกษัตริย์ในประเทศอื่นๆ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน กล่าวคือ

(1) สถาบันกษัตริย์เป็นหนึ่งเดียวกับความเป็นรัฐหรือชาติในฐานะครอบครัว สถาบันกษัตริย์ของไทยมีความผูกพันโดยตรงกับประชาชนภายในรัฐในลักษณะพ่อกับลูกหรือครอบครัว แม้สังคมจะเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย แต่ความสัมพันธ์ดังกล่าวก็ยังคงดำรงอยู่ ดังปรากฏในพระราชกรณียกิจของกษัตริย์ในทุกรัชกาลที่ได้ยกมาข้างต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัชกาลปัจจุบัน ทรงแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของสถาบันกษัตริย์กับประชาชนว่าเป็นเสมือนครอบครัวเดียวกันอย่างชัดแจ้ง

(2) ความจงรักภักดีของประชาชนต่อสถาบันกษัตริย์ ความจงรักภักดีดังกล่าวมิได้เกิดขึ้นจากการบังคับ หรือการโฆษณาชวนเชื่อใดๆ หากแต่เกิดขึ้นมากจากความสัมพันธ์ของสถาบันกษัตริย์ ที่เป็นหนึ่งเดียวกับรัฐหรือชาติ และรัฐหรือชาตินั้นประกอบขึ้นด้วยประชาชนที่อยู่ภายใต้อาณาเขตของรัฐ ไม่ว่าจะเป็น “สยาม” ในอดีต หรือ “ไทย” ในปัจจุบัน โดยสถาบันกษัตริย์คือ “ผู้ปกครอง” ที่มีลักษณะเป็น “ผู้นำของครอบครัว” ทำหน้าที่ดูแลทุกข์สุขของประชาชนที่เป็นเสมือนสมาชิกในครอบครัว ภายใต้หลักการแห่ง “ทศพิธราชธรรม” ที่ยึดเอาประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่ ไม่ว่าในกรณีพระราชหัตถเลขาเรื่องสละพระราชอำนาจในรัชกาลที่ 7 หรือ กรณีพระปฐมบรมราชโองการในรัชกาลปัจจุบัน ก็ล้วนแต่มีเป้าหมายเพื่อสร้างความสุขแก่ประชาชนทั้งสิ้น

(3) พระราชอำนาจแห่งราชธรรม แม้ว่ากษัตริย์ทรงไร้พระราชอำนาจในทางการเมือง เพราะรัฐธรรมนูญทุกฉบับกำหนดให้พระองค์อยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมือง ไม่มีพระราชอำนาจที่จะทรงแทรกแซงกระบวนการบริหารราชการแผ่นดินได้ (แม้ว่าการบริหารราชการแผ่นดินนั้นจะกระทำในพระนามของพระองค์) แต่ด้วยลักษณะความสัมพันธ์ของสถาบันกษัตริย์กับรัฐชาติใน (1) และความจงรักภักดีของประชาชนใน (2) ทำให้พระองค์ทรงมีพระราชอำนาจพิเศษซึ่งขอเรียกในที่นี้ว่า “พระราชอำนาจแห่งราชธรรม” อันเกิดจากการที่พระองค์ทรงมี “ทศพิธราชธรรม” หรือธรรมแห่งพระราชา นั่นคือคนทั้งหลายต่างให้ความเคารพ มีความศรัทธา และพร้อมที่จะปฏิบัติตามคำแนะนำของพระองค์ ดังจะเห็นได้จากโครงการต่างๆที่พระองค์มีพระราชดำริ หรือทรงแนะนำ ทุกภาคส่วนในสังคมทั้งรัฐบาลที่มาจากภาคการเมือง และภาคประชาชนต่างพร้อมใจกันสนองพระราชดำริโดยพร้อมเพรียง นั่นเป็นเพราะทรงมีพระราชอำนาจแห่งธรรม จากการที่ทรงใช้ธรรมเป็นอำนาจและใช้อำนาจอย่างเป็นธรรม เพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยสมบูรณ์นั่นเอง ทุกคนจึงเคารพต่อ “พระราชอำนาจแห่งราชธรรม” นี้

จากการที่กษัตริย์ทรงไร้ซึ่งพระราชอำนาจทางการเมือง ย่อมหมายถึงทรงไร้พระราชอำนาจที่จะปกป้องพระองค์เองและสถาบันกษัตริย์ด้วย แต่อาศัยลักษณะพิเศษของสถาบันกษัตริย์ในสังคมไทยดังที่ได้อภิปรายมาแล้วข้างต้น จึงทำให้สังคมไทยต้องปกป้องสถาบันกษัตริย์ด้วยการตรากฎหมายเอาไว้ โดยรัฐธรรมนูญทุกฉบับแม้จะบัญญัติให้สถาบันกษัตริย์ไม่มีส่วนในการใช้อำนาจทางการเมืองแต่ก็บัญญัติไว้เสมอว่า สถาบันกษัตริย์อยู่ในสถานะที่ใครจะล่วงละเมิดมิได้ ดัง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 บัญญัติไว้ในมาตรา 8 ว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆมิได้” และประมวลกฎหมายอาญามาตรามาตรา 112 ได้บัญญัติฐานความผิดและบทลงโทษการล่วงละเมิดสถาบันกษัตริย์ไว้ว่า “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี”

ทั้งกฎหมายรัฐธรรมและกฎหมายอาญาที่ตราขึ้นเพื่อปกป้องสถาบันกษัตริย์นั้น หากพิจารณากันให้ถ่องแท้แล้วย่อมรู้ว่าตราไว้เพื่อป้องกันการล่วงละเมิดสถาบันกษัตริย์ ไม่ต่างจากการตรากฎหมายเพื่อป้องกันการล่วงละเมิดบุคคลธรรมดาที่ทราบกันในนามกฎหมายหมิ่นประมาท บทลงโทษก็คือจำคุกเช่นกัน ต่างแต่โทษตามกฎหมายอาญามาตรา 112 กำหนดโทษสูงสุดไว้มากกว่า ดังนั้น หากจะมีการบังคับใช้กฎหมายอาญามาตรา 112 ต่อบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลใด ในลักษณะใด ย่อมหาใช่ความผิดของกฎหมายไม่ หากแต่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมของคนทั้งสิ้น ทั้งคนที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดกฎหมาย และคนที่มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายซึ่งมิใช่กษัตริย์หรือสมาชิกในพระราชวงศ์แต่อย่างใด หากจะกล่าวอ้างว่ากฎหมายดังกล่าวขัดต่อหลักสิทธิเสรีภาพทางวิชาการก็ดี ขัดต่อหลักสิทธิเสรีภาพในการพูดและการแสงความคิดเห็นก็ดี รวมถึงขนาดที่มีการกล่าวว่าอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ จนมีการเคลื่อนไหวเพื่อให้ยกเลิกกฎหมายนี้ก็ดี ย่อมไม่เป็นการยุติธรรมต่อตัวบทกฎหมายและต่อสถาบันกษัตริย์เป็นอย่างยิ่ง

เพราะฉะนั้น หากจะหาทางยกเลิกกฎหมายอาญามาตรา 112 เพียงเพราะมีการกล่าวอ้างว่าขัดต่อหลักสิทธิเสรีภาพทางวิชาการ หรือหลักสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นนั้น เห็นทีจะต้องยกเลิกกฎหมายหมิ่นประมาทและกฎหมายอื่นๆในลักษณะเดียวกันด้วย เพราะการลงโทษด้วยการจับกุมคุมขังตามกฎหมายดังกล่าวก็จะสามารถกล่าวอ้างได้ว่า ละเมิดต่อหลักสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นได้ทั้งสิ้น

3.ปัญหาการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

กฎหมายอาญามาตรามาตรา 112 มีเจตนารมณ์ปกป้องสถาบันกษัตริย์มิให้ถูกละเมิดโดยการหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นให้เกิดความเสื่อมเสียจากผู้ไม่หวังดี ซึ่งเป็นการถูกต้องแล้วที่ได้ตรากฎหมายเพื่อปกป้องสิทธิของพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ตามลำดับชั้นที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ที่จะต้องไม่ถูกละเมิดด้วยการหมิ่นหมิ่นประมาท ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้าย อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์และสิทธิของความเป็นพลเมือง ที่จะต้องได้รับการปกป้องจากรัฐ

กฎหมายดังกล่าวจึงหาได้บัญญัติขึ้นเพื่อกีดกันหรือจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่ว่าทางวิชาการ หรือทางหนึ่งทางใดไม่ หากการแสดงความคิดเห็นนั้นเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ใจ อย่างสร้างสรรค์ และไม่ “หมิ่นประมาท ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้าย” อย่างหนึ่งอย่างใดหรือทั้งหมด ดังที่มีนักวิชาการจำนวนมากได้ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย เขียนตำรา หนังสือ บทความ เกี่ยวกับบทบาทของสถาบันกษัตริย์เป็นจำนวนมาก ก็มิได้มีปัญหาแต่อย่างใด

ปัญหาที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากกฎหมายอาญามาตรา112 ในอดีตจนถึงปัจจุบันนั้น มิได้เกิดจากตัวบทกฎหมายโดยตรง หากแต่เกิดจากการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม โดยใช้ไปในการกลั่นแกล้งทำลายกัน ทั้งจากผู้ใช้อำนาจรัฐ อันได้แก่ นักการเมืองผู้ครองอำนาจการบริหาร ข้าราชการและหน่วยงานของรัฐ รวมถึงบุคคลธรรมดา กลุ่มบุคคล ที่ต้องการทำร้ายและทำลายผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างในทางการเมือง

การใช้กฎหมายอาญามาตรา 112 เพื่อทำลายผู้ที่มีความคิดแตกต่างเกิดขึ้นอยู่เสมอ ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างโจ่งแจ้งเป็นที่รับรู้ของสังคมไทย และเป็นรอยด่างในประวัติศาสตร์การเมืองที่ไม่อาจจะลบเลือนไปได้ก็คือ เหตุการณ์ล้อมปราบนักศึกษาประชาชนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า มีการปลุกเร้าให้ประชาชนและกลุ่มคนที่ได้รับการจัดตั้งจากฝ่ายผู้กุมอำนาจในหน่วยงานรัฐ อันได้แก่ลูกเสือชาวบ้านเป็นหลัก ให้มีความเข้าใจผิดและเชื่อว่า นักศึกษาและประชาชนที่ชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือคอมมิวนิสต์ ผู้คิดร้ายต่อชาติและราชบัลลังก์ ทั้งๆที่นักศึกษาและประชาชนเหล่านั้น ล้วนแต่เป็นคนไทยที่รักชาติและรักประชาธิปไตย ไม่ได้คิดร้ายต่อราชบัลลังก์ ซึ่งความจริงนี้ได้ปรากฏชัดแจ้งในประวัติศาสตร์อยู่แล้ว

อีกตัวอย่างหนึ่งที่ชัดเจนก็คือ กรณีของนักวิชาการ นักคิด นักเขียน ปัญญาชนคนสำคัญของไทยในปัจจุบัน ที่มีบทบาทไม่เฉพาะแต่ในประเทศไทยเท่านั้น หากแต่เป็นที่รู้จักไปทั่วโลกก็คือ นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ ส.ศิวรักษ์ ที่แสดงตนอย่างเสมอต้นเสมอปลายว่า เป็นผู้นิยมในสถาบันกษัตริย์ มีความจงรักภักดีต่อสถาบันเป็นอย่างยิ่ง และผู้เขียนเชื่อว่า ส.ศิวรักษ์ คือผู้หนึ่งที่มีส่วนอย่างสำคัญในการเผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับบทบาทและความสำคัญของสถาบันกษัตริย์กับสังคมไทยให้ชาวโลกได้รับรู้และเข้าใจอย่างถ่องแท้ แต่ความจงรักภักดีของปัญญาชนผู้นี้ มีความแตกต่างจากผู้คนในสังคมส่วนมาก นั่นคือ มีการวิเคราะห์ วิจารณ์ บทบาทและสถานะของสถาบันกษัตริย์ในประติศาสตร์สังคมไทย ที่มักจะถูกตีความโดยผู้มีอำนาจในการบังคับใช้กฎหมายโดยเฉพาะตำรวจว่าเข้าข่ายผิดกฎหมายอาญามาตรา  112 จนนำไปสู่การจับกุมคุมขังและดำเนินคดีหลายครั้งหลายหนและเมื่อถึงที่สุดแล้วศาลได้พิพากษาว่า ส.ศิวรักษ์ไม่มีความผิด แต่ดูเหมือนว่าหน่วยงานตำรวจยังไม่ลดละที่จัดการกับ ส.ศิวรักษ์ โดยล่าสุดเมื่อปี 2550 ก็มีการยึดและอายัดหนังสือที่ ส.ศิวรักษ์เขียน โดยตำรวจสันติบาลออกคำสั่งลงวันที่ 28 ก.ย. 2550 ให้ยึดหนังสือชื่อ “ค่อนศตวรรษประชาธิปไตยไทยที่เต็มไปด้วยขวากหนาม” โดยให้เหตุผลว่าหนังสือเล่มนี้ “ลงข้อความอันอาจขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน” อ้างอำนาจตาม พ.ร.บ. การพิมพ์ พ.ศ.2484 และเมื่อ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2551 ตำรวจก็ได้จับกุมในข้อหาหมิ่นพระบรมราชานุภาพอีกครั้งหนึ่ง

ทั้งสองกรณีดังกล่าวนั้น เป็นตัวอย่างของการใช้กฎหมายที่เป็นไปในทางทำลาย ทำร้าย บุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกัน ย่อมเป็นการละเมิดหรือบิดเบือนเจตนารมณ์ของกฎหมาย ดังนั้น แม้กฎหมายจะบัญญัติไว้รัดกุมเพียงใดก็ตาม แต่หากคนที่มีอำนาจและหน้าที่รักษาและบังคับใช้กฎหมายใช้อำนาจในทางมิชอบ กฎหมายนั้นก็ย่อมตกเป็นแพะรับบาปไปโดยปริยาย ดังเช่น กฎหมายอาญามาตรา 112 ที่กลายเป็นแพะรับบาปอยู่ในตอนนี้

.
การบังคับใช้กฎหมายในลักษณะการกลั่นแกล้ง ทำร้าย และทำลายกันเช่นนี้ แทนที่จะเป็นการปกป้องสถาบันกษัตริย์แต่กลับส่งผลเสียอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อันเป็นมูลเหตุให้ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายนี้อาศัยเป็นช่องทางในการรณรงค์ให้ยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไข โดยอ้างหลักแห่งเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางวิชาการ

4. ข้อเสนอเพื่อการใช้กฎหมายให้เกิดความยุติธรรม

ผู้เขียนเชื่อว่า โดยเจตนารมณ์ของกฎหมายอาญามาตรา 112นั้น มีความสมบูรณ์และเหมาะสมแล้ว ไม่มีความจำเป็นที่จะยกเลิกหรือแก้ไขแต่อย่างใด ปัญหาที่จะต้องวิเคราะห์กันในที่นี้ก็คือ กระบวนการวิธีพิจารณาบังคับใช้กฎหมายมีช่องโหว่ใดให้เกิดการบังคับใช้โดยผิดเจตนารมณ์ของกฎหมายบ้าง

ในเรื่องนี้ ผู้เขียนมองเห็นช่องโหว่อย่างน้อย 2 ประการคือ

1.ใครก็สามารถแจ้งความกล่าวโทษคนอื่นว่ากระทำผิดกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพได้ และการพิจารณาว่าผู้ที่ถูกกล่าวโทษทำผิดหรือไม่นั้นก็เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานสอบสวนคือเจ้าหน้าที่ตำรวจ แม้ว่าอำนาจในการออกหมายจับจะเป็นอำนาจของศาล แต่ศาลก็พิจารณาตามพยานหลักฐานของเจ้าพนักงานสอบสวนซึ่งได้รวบรวมขึ้นเสนต่อศาล ข้อนี้ทำให้เกิดการกล่าวโทษกันอย่างพร่ำเพรื่อ อาศัยเป็นช่องทางในการกลั่นแกล้งทำร้ายกันได้โดยง่าย

.
ในข้อนี้ กรณีของนายสุลักษณ์ ศิวรักษ์หรือ ส.ศิวรักษ์ เป็นหลักฐานของการกล่าวทากันอย่างพร่ำเพรื่อโดยใครก็ได้ แม้จะศาลจะเคยพิจารณาว่าไม่มีความผิดในข้อหาเดียวกันมาก่อนแล้วหลายครั้ง แต่ก็ยังถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดในข้อหาเดิมตลอดมา

2.ไม่พิจารณาถึงเจตนาของผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิด ว่ามีเจตนาที่จะ “หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย” ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้จริงหรือไม่ กรณีเช่นนี้เกิดขึ้นอยู่เสมอที่ผู้พูดเพียงแต่ยกคำของคนอื่นมาเพื่อบอกเล่าหรืออ้างอิงให้คนอื่นได้รับรู้และเข้าใจว่า มีบุคคลที่คิดร้ายต่อสถาบันได้พูดเช่นนี้ โดยมีเจตนาที่จะให้ช่วยกันปกป้องรักษาสถาบันกษัตริย์ไว้ แต่กลายกลับเป็นว่ามีความผิดตามไปด้วย

ในข้อนี้ กรณีของ นายสนธิ ลิ้มทองกุล ถูกจับกุมในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2551 เพราะได้ยกคำพูดของนางดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ ดา ตอร์ปิโด มาบอกเล่าให้ผู้อื่นได้รับรู้โดยมีเจตนาเพื่อที่จะให้ผู้ฟังได้ร่วมกันหาหนทางในการปกป้องสถาบันกษัตริย์ ซึ่งเป็นที่รับรู้โดยทั่วไปอยู่แล้วว่า นายสนธิ ลิ้มทองกุลกับกลุ่มคนที่ร่วมฟังคือกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนั้น ประกาศตนเป็นฝ่ายที่จงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์อย่างชัดเจน และดำเนินกิจกรรมเพื่อปกป้องสถาบันตามวิธีการของกลุ่มตนอย่างชัดแจ้งตลอดมา

ช่องโหว่ของกฎหมายทั้งสองประการดังกล่าว ส่งผลในทางเสียหายแก่สถาบันกษัตริย์มากกว่าผลดี ดังนั้น หากจะแก้ไขก็ควรจะแก้ไขเรื่องวิธีการพิจารณากล่าวโทษผู้กระทำความผิดให้มีความรัดกุมขึ้น ให้มีการพิจารณากลั่นกรองอย่างละเอียดถี่ถ้วน โดยยึดถือเจตนารมณ์ของกฎหมายและเจตนาของผู้พูดหรือโฆษณาเป็นสำคัญ ซึ่งอาจกระทำได้ หลายวิธี อาทิ

(1) จัดตั้งหน่วยงานที่มีหน้าที่พิจารณาเรื่องคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยเฉพาะ หากใครจะกล่าวโทษใครก็ให้ร้องทุกข์ต่อหน่วยงานนี้ ซึ่งจะเป็นผู้พิจารณาว่าสมควรจะกล่าวโทษบุคคลที่ถูกร้องนั้นหรือไม่ หากพิจารณาว่าสมควรหน่วยงานดังกล่าวก็จะเป็นผู้เข้าแจ้งความต่อเจ้าพนักงานสอบสวนคือตำรวจเอง

(2) หากไม่มีหน่วยงานดังกล่าว ควรกำหนดให้เจ้าพนักงานสอบสวนต้องมีที่ปรึกษาในคดีนี้โดยเฉพาะ อาจเป็นสำนักพระราชวัง หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณากฎหมาย เช่น คณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นต้นร่วมพิจารณาและให้คำแนะนำในการดำเนินคดี เพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ยุติธรรมต่อผู้ถูกกล่าวโทษเป็นเบื้องต้น หากที่ปรึกษาในคดีมีความเห็นเช่นใด เจ้าพนักงานสอบสวนก็ต้องปฏิบัติตาม

(3) โอนอำนาจหน้าที่ให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ หรือ Department Of Special Investigation-DSI) รับผิดชอบเกี่ยวกับคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยมีที่ปรึกษาเช่นเดียวกับใน (2) เพราะหากจะพิจารณากันอย่างจริงจังแล้ว คดีที่เกิดขึ้นภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายอาญามาตรา 112 ก็แตกต่างจากคดีอาญาโดยทั่วไปอยู่แล้ว เพราะเกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์โดยเฉพาะ ดังนั้น หากให้ดีเอสไอรับผิดชอบตามเงื่อนไขที่กล่าวมาข้างต้น ก็น่าจะเชื่อได้ในระดับหนึ่งว่าจะรัดกุมยิ่งขึ้น

ทั้งสามแนวทางดังกล่าวนี้ ผู้เขียนขอเสนอให้สังคมไทยได้พิจารณาร่วมกัน เพื่อหาทางดำเนินการปกป้องสถาบันอันสูงสุดเอาไว้ โดยให้เกิดความบริสุทธิ์ยุติธรรมที่สุด ทั้งต่อผู้ถูกกล่าวโทษและต่อสถาบันเอง ซึ่งข้อเสนอทั้งสามประการนี้เป็นเพียงหนึ่งในวิธีการอันหลากหลาย ที่สังคมไทยจะต้องร่วมกันคิดค้นอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายที่ตราไว้อย่างเหมาะสมแล้วให้เกิดความยุติธรรมอย่างที่สุด มิใช่ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการทำร้าย ทำลาย กลั่นแกล้งกัน จนกฎหมายกลายเป็นแพะรับบาปเช่นในปัจจุบันนี้

บทสรุป

สถาบันกษัตริย์มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อสังคมไทย เป็นสถาบันหลักที่โน้มนำและหล่อหลอมผู้คนไม่ว่าจะเป็น “สยาม” ในอดีต หรือ เป็น “ไทย” ในปัจจุบัน ให้มีความเป็นรัฐและชาติ ไม่ว่าจะในช่วงเวลาที่สถาบันกษัตริย์มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือในปัจจุบัน สถาบันกษัตริย์ล้วนแต่มีบทบาทอันสำคัญยิ่งในการพัฒนาสังคมไทย สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ประเทศ สร้างความอยู่เย็นเป็นสุขแก่อาณาประชาราษฎร์ เป็นที่ประจักษ์โดยชัดแจ้งอยู่แล้ว

ผู้ที่ไม่เห็นความสำคัญของสถาบันกษัตริย์และผู้ที่ถูกทำให้เข้าใจความสำคัญของสถาบันกษัตริย์คลาดเคลื่อนไป จึงโปรดได้พิจารณาโดยใช้ปัญญาอย่างถ่องแท้ถึงบทบาทของสถาบันกษัตริย์กับสังคมไทย ดังที่ผู้เขียนได้ยกมาอภิปรายในบทความนี้ เพื่อท่านจะได้เข้าใจว่า สถาบันกษัตริย์ไทยนั้นมีความสำคัญเพียงใด และจะได้เข้าใจว่า เหตุใดผู้ที่มีความจงรักภักดีจึงมีปฏิกิริยาไม่พอใจต่อผู้ที่ตนเห็นว่าไม่จงรักภักดีต่อสถาบัน

สังคมไทยมีหน้าที่ที่จะต้องปกป้องรักษาสถาบันกษัตริย์เอาไว้ โดยใช้สติปัญญาและวิธีการที่ถูกต้องเหมาะสม และวิธีการที่ถูกต้องสมอย่างหนึ่งและเป็นวิธีการที่สำคัญก็คือ การบังคับใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างรอบคอบรัดกุม และโดยยุติธรรม จึงขอฝากให้ประชาชนผู้จงรักภักดีทั้งหลาย ได้ใช้สติปัญญาของท่านอย่างเต็มที่ ในการคิดค้นหาวิธีอันเหมาะสมเพื่อปกป้องสถาบันอันเป็นที่รักของท่าน และสำคัญต่อชาติบ้านเมือง คือสถาบันกษัตริย์ ให้คงอยู่อย่างสง่างามสืบไป.

................................................................................................................................................................

หมายเหตุผู้เขียน : กรณีนายสนธิ ลิ้มทองกุล และกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในปัจจุบันนี้ (เมษายน 2554) ถูกโจมตีและตั้งข้อสงสัยจากคนเป็นจำนวนมากว่า มีพฤติกรรมแอบอ้างเอาสถาบันฯ มาใช้โจมตีผู้อื่น เหมือนดึงฟ้าต่ำ ข้อนี้ก็แล้วแต่จะพิจารณาในพฤติกรรมปัจจุบัน แต่ในบทความนี้ ได้อ้างอิงการกระทำที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนและขณะเขียนบทความ (กุมภาพันธ์ 2552) ไม่เกี่ยวกับการกระทำที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

บทต่อไปของ ‘คนเสื้อแดง’: ชายผู้หนีหมายจับ “เสื้อแดงกำลังปฏิรูปโครงสร้าง”

Posted: 17 Apr 2011 08:42 AM PDT

ซีรีย์สัมภาษณ์ สำรวจสภาพและแนวคิดคนเสื้อแดงต่อสังคมการเมืองไทย ตอนที่ 1 เป็นเรื่องชายผู้หลบหนีหมายจับชุมนุมเกิน 5 คน เขาเคยเป็นอดีตชาวบ้านในสมัชชาคนจน และกระทั่งกระโดดเข้าร่วมเสื้อแดงเพราะเห็นว่าเป็นการปฏิรูปโครงสร้างสังคม เพิ่มอำนาจประชาชน แก้ปัญหาที่ต้นตอ
 
 
 
การชุมนุมประท้วงของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือกลุ่มคนเสื้อแดงในห้วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2553 เป็นหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ต้องบันทึกไว้ ทั้งในแง่จำนวน ความยาวนาน และ ‘การสูญเสีย’ จนกระทั่งพวกเขาที่ยังเหลือพากันแตกสานซ่านเซ็น หอบหิ้วสัมภาระกลับบ้านอย่างทุลักทุเลในวันที่ 20 พฤษภาคมปีที่แล้ว ผ่านมาแล้ว 1 ปี พวกเขาอยู่ที่ไหน ทำอะไร ยังสู้อยู่หรือไม่ และอย่างไร
 
ต่อไปนี้เป็นเรื่องราวของคนเล็กๆ ที่มีสีสันหลากหลาย เป็นบทสัมภาษณ์ที่มีจุดประสงค์เพื่อรวบรวมเป็นหนังสือขององค์กรแห่งหนึ่ง แต่ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ด้วยเหตุผลบางประการ “ประชาไท” จึงขอทยอยนำเสนอในโอกาสครบรอบ 1 ปี ของการชุมนุมเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 53
 
 
  
เลื่อน ศรีสุโพธิ์ วัย 46 ปี ผ่านร้อนผ่านหนาวมามากมาย เขาเข้าร่วมการต่อสู้เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมเรื่องปากท้องกับพี่น้องคนยากคนจนในอีสานมาตั้งแต่โครงการ คจก.ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในที่ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย จนมาถึงสมัชชาคนจน เมื่อคนเสื้อแดงประกาศเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยในปี 2553 “เลื่อน”ตัดสินใจเข้าร่วมอย่างไม่ลังเลในฐานะไพร่ซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ทั้งเข้าร่วมการชุมนุมในกรุงเทพฯ และจัดการชุมนุมย่อยๆ ร่วมกับพี่น้องเสื้อแดงในพื้นที่บ้านเกิด จนถูกออกหมายเรียกจนกระทั่งหมายจับด้วยข้อกล่าวหา ชุมนุมหรือมั่วสุมกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป อันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ในพื้นที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง โดยปิดกั้นทางหลวงและกีดขวางทางจราจร
 
ในวันที่“เลื่อน”ยังต้องหลบหนีหมายจับ เราได้มีโอกาสพูดคุยกับเขาถึงเรื่องราวต่างๆ “เลื่อน”ถ่ายทอดประสบการณ์ ในการเข้าร่วมชุมนุมกับคนเสื้อแดง “ผมเข้าร่วมชุมนุมกับ นปช.ที่กรุงเทพฯ 3 ครั้ง แต่ไม่เคยอยู่ตอนที่รัฐบาลสลายการชุมนุม แต่ละครั้งจะอยู่ 10 วัน โดยเดินทางโดยรถกระบะ ไปพร้อมกับพี่น้องในหมู่บ้าน พวกเราจัดทำผ้าป่าประชาธิปไตยในพื้นที่ ใช้รถกระจายเสียงประกาศขอรับจากพี่น้อง ใครมีมากให้มาก มีน้อยให้น้อย 5 บาท 10 บาทเราไม่ว่ากัน บางคนก็บริจาคเป็นข้าวสาร ใครมีอะไรก็ให้มา เป็นเรื่องธรรมชาติ เป็นหลักการธรรมดาของ นปช.ใครมีอะไรก็ให้ช่วยเหลือกัน ส่วนตัวเองตั้งแต่ร่วมต่อสู้กับพี่น้อง นปช.อย่างเข้มข้นมาตั้งแต่เดือนมีนาคม ผมขายวัวไป 2 ตัวแล้ว” 

เรื่องแรงจูงใจในการเข้าร่วม “เลื่อน”อธิบายว่า “แต่ก่อนเราก็เคลื่อนไหวปัญหาพื้นฐาน ป่าไม้-ที่ดิน แต่เราได้ข้อสรุปว่า ถ้าเราเคลื่อนไหวเฉพาะปัญหาพื้นฐาน มันไม่สามารถแก้ปัญหาได้ พอคนเสื้อแดงเคลื่อนไหวปัญหาในเชิงโครงสร้างเราก็คิดว่า มันน่าจะเป็นทางออกของการแก้ปัญหาในระยะยาว ก็เลยเข้าร่วม ก่อนหน้าการเคลื่อนไหวในปี 53 ผมก็เข้าร่วมกับเครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร อยู่ คัดค้านการร่างรัฐธรรมนูญ 50 แต่ก็ยังไม่ได้เข้าร่วมกับคนเสื้อแดง ช่วงนั้นที่เข้าร่วมไม่ใช่เพราะเราเป็นคนเสื้อแดง แต่เคยเคลื่อนไหวปัญหาทางสังคมแล้วเห็นว่าเรื่องนี้มันเป็นทางที่ไม่ถูกต้อง เรื่องรัฐประหาร แล้วก็ยังคิดว่า เราสู้ด้วยพลังบริสุทธิ์ ใช้พลังของมวลชนเข้าสู้ แต่ นปก.เป็นการต่อสู้ของฝ่ายการเมือง แต่พอหลังๆ มานี่ เรามาดูข้อเสนอของ นปช. คิดว่าเป็นข้อเสนอที่มันหลุดพ้นเรื่องการเมืองการเลือกตั้งไปแล้ว มันเป็นข้อเสนอเพื่อเปลี่ยนแปลงจากสังคมเก่าเป็นสังคมใหม่ ผมไม่ได้คัดค้านการเลือกตั้ง การเลือกตั้งมันต้องมีแต่นักเลือกตั้งต้องให้ความสำคัญกับประชาชนให้มากกว่าเดิม แทนที่จะมาขายความคิด แบบกรรมการบริหารพรรคคิดนโยบาย แล้วมาเสนอให้ชาวบ้าน ให้ประชาชนเลือก ต่อไปอาจจะต้องมาระดมความคิดเห็นจากมวลชนพื้นฐานว่าเขาต้องการอะไร แล้วนำไปทำเป็นนโยบาย”
 
มาถึงตรงนี้เราก็ตั้งคำถามว่าที่ผ่านมามีกระบวนการแบบนี้มั้ย “เลื่อน”ให้ข้อมูลว่า “ประสบการณ์ตรงที่เราได้เจอ วิธีการนี้เป็นวิธีการที่พรรคไทยรักไทยทำมา คือ ช่วงนั้น เราเคลื่อนไหวปัญหาพื้นฐาน คือปัญหาหนี้สิน ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ได้รับมอบหมายจากพรรคให้ลงมาระดมความคิดจากประชาชนในภาคอีสาน มีการจัดเวทีที่โคราช อุบล อุดร ขอนแก่น ระดมความคิดเห็นว่าประชาชนมีปัญหาอะไร ต้องการอะไร จากการระดมแบบนี้ทำให้มีนโยบายเรื่องกองทุนหมู่บ้าน เรื่องพักหนี้เกษตรกร ก็เห็นว่ามีพรรคไทยรักไทยนี่แหละที่มีการระดมจากข้างล่าง เพื่อกำหนดเป็นนโยบาย พอเขาได้รับเลือกตั้ง จะเห็นว่าส่วนใหญ่ก็ทำตามนโยบายที่หาเสียงไว้ได้”
 
จากประสบการณ์ที่เคยเคลื่อนไหวปัญหาพื้นฐาน เรื่องป่าไม้-ที่ดิน ทำให้“เลื่อน”เห็นว่าปัญหาความไม่เป็นธรรมหรือสองมาตรฐาน หรือความหมายเดียวกับการเลือกปฏิบัติมีคู่กับสังคมไทยมานานแล้ว “คนที่มีอำนาจวาสนา มีอันจะกินหน่อยทำเหมือนกันกับประชาชนคนธรรมดาเนี่ย ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะโดนโทษตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดมาก แต่คนที่อยู่ใกล้ๆ ศูนย์อำนาจก็จะไม่โดน แต่มันเห็นชัดมากช่วงนี้ คนเสื้อแดง คนเสื้อเหลือง เป็นคนเปิดให้เราเห็นความไม่เป็นธรรมในสังคม ทำในลักษณะเดียวกันนี่ กลุ่มหนึ่งผิด อีกกลุ่มไม่ผิด เยอะมาก แม้แต่นโยบายที่มีต่อประชาชนก็ยังเลือกปฏิบัติ อย่างเงินกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลนี้ เขาให้เดือนละ สองพันกับคนที่มีเงินเดือนไม่เกินหมื่นห้า พวกมีเงินเดือน พวกมีรายได้อยู่แล้วก็จะได้รับการช่วยเหลือจากรัฐ แต่คนที่ไม่มีรายได้อะไรเลยในภาคเกษตรก็ไม่ได้รับการดูแลอะไรจากรัฐเลย ถ้าไปเทียบดูกับรัฐบาลพรรคไทยรักไทยอย่างกรณีเรื่อง 30 บาทรักษาทุกโรคนี่ ก็ได้รับการรักษาด้วยกันหมด กองทุนหมู่บ้านอย่างเนี้ย ผมว่ามันค่อนข้างได้ทั่วถึง”
 
ดังนั้นการเข้าร่วมเคลื่อนไหวกับคนเสื้อแดงเพื่อยุติระบบอำมาตย์ อันเป็นที่มาของสองมาตรฐาน จึงเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นตอในความเห็นของ“เลื่อน” “ตอนนี้ผมมองว่าปัญหาเฉพาะหน้าพับไปก่อน เรามาแก้ไขปัญหาต้นตอในเชิงโครงสร้าง ผมคิดว่าถ้าโครงสร้างมันดี มันก็จะเอื้อต่อการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า พื้นที่ไหนที่ปัญหาเฉพาะหน้ายังรุมเร้าอยู่ พวกในพื้นที่ก็ยันกันไป แต่เราให้น้ำหนักการแก้ไขปัญหาในเชิงโครงสร้างมากขึ้น คือพยายามเชื่อมโยงปัญหาพื้นที่กับปัญหาโครงสร้างด้วย ภารกิจของเราก็ต้องทำให้พี่น้องเห็นว่าต้นตอของปัญหาจริงๆ มันเกิดจากอะไร เกิดจากระบบคิด เกิดจากวัฒนธรรม เกิดจากตัวกฎหมาย ตัวนโยบาย ที่คนกลุ่มน้อยเป็นคนกำหนดขึ้นมาเพื่อกลุ่มของเขาเอง แต่เขาไม่ได้คำนึงถึงคนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นพวกเรา ประสบการณ์การเคลื่อนไหวเรื่องที่ดิน เรื่องป่าไม้ 20 ปีที่ผ่านมานี่ พอไปแตะโครงสร้างส่วนบน แตะเรื่องกฎหมายเรื่องอะไรนี่ไม่ได้ เราสู้มาตั้งแต่สมัชชาชาวนาชาวไร่ สมัชชาเกษตรกรรายย่อย มาสมัชชาคนจน จนมาถึงเครือข่ายปฏิรูปที่ดิน ยังไม่มีกลุ่มไหนที่สู้แล้วสามารถยกเลิกกฎหมายอุทยานได้ คือกฎหมายพวกนี้เป็นกฎหมายที่มันยึดอำนาจจากประชาชนไปให้รัฐเป็นคนจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า พี่น้องอยากได้ที่ทำกินโดยถูกต้องตามกฎหมายนี่ไม่ได้ สมัชชาคนจนในช่วงปีทอง ช่วงการชุมนุม 99 วัน เราก็ได้เฉพาะปัญหาที่มันไม่กระทบกับโครงสร้าง ปัญหาแนวเขตอุทยานทับที่ทำกินของชาวบ้านไม่ได้รับการแก้ไขแม้แต่พื้นที่เดียว ทั้งภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้”
 
แล้วประชาธิปไตยระบบรัฐสภามันจะเปลี่ยนแปลงสังคม เปลี่ยนแปลงโครงสร้างได้อย่างที่ นปช.คิดหรือเปล่า “เลื่อน”ตอบคำถามนี้ว่า “ถ้าดูจากปรากฏการณ์ของคนเสื้อแดง เราเอาข้อมูล เอาเหตุผล เอาความจริงมาเสนอ เราใช้ในแนวทางสันติวิธี แต่ฝ่ายที่กุมอำนาจรัฐอยู่ มันก็ใช้ทุกวิถีทางในการที่จะรักษาอำนาจไว้ ใช้กลไกคุก ศาล ทหาร ตำรวจมาจัดการเรา ณ วันนี้ ผมว่าเขาใช้ครบแล้ว สลายการชุมนุม ก็สั่งทหารมายิงพี่น้องคนเสื้อแดง ยิงเสร็จก็ตามมาด้วยหมายเรียกหมายจับ หมายศาล ซึ่งถ้าเราจะเปลี่ยนแปลงสังคมจริงๆ นี่ ก็ต้องคิดถึงเรื่องระบบการป้องกันตัวเองให้ได้ ไม่ยังงั้นก็จะเกิดการสูญเสียอย่างที่ผ่านมา เราอาจไม่ต้องคิดถึงขั้นสร้างกองกำลังไปสู้กับกองทัพ แต่จะทำอย่างไรให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของคนส่วนใหญ่สามารถที่จะทำความเข้าใจกับกองทัพได้ ถ้าเมื่อไหร่ฝ่ายกุมอำนาจสั่งทหารให้มาเข่นฆ่าประชาชนที่ไม่เห็นด้วย ถ้าทหารไม่ยอมทำตาม พวกนั้นก็หมดทาง พรรคเพื่อไทยตั้งรัฐบาลพรรคเดียวเสียงข้างมาก แต่สุดท้ายก็โดนทหารมาแย่งอำนาจ โดนฝ่ายกุมอำนาจใช้อำนาจเก่าที่พวกเขามีอยู่มายึดอำนาจไป ซึ่งผมคิดว่า นอกจากคิดเรื่องการเมืองที่เป็นเอกภาพแล้วเนี่ย มันต้องคิดเรื่องว่าทำยังไงจะทำความเข้าใจกับฝ่ายกองทัพให้ได้ด้วย ไม่ให้กองทัพเห็นด้วยกับฝ่ายที่ชอบใช้ความรุนแรง”
 
เขาเห็นว่าการชุมนุมของคนเสื้อแดงในครั้งนี้ กองทัพมีนิมิตหมายที่ดีให้เห็น “ที่ผ่านมา จะเห็นว่าพอเกิดการปฏิวัติรัฐประหารก็จะมีทหารกลุ่มเดียวที่จะทำตามคำสั่งซึ่งคนที่อยู่เหนือกองทัพสั่งมาอีกที สั่งให้สลายการชุมนุม สั่งให้ฆ่าประชาชนที่ไม่เห็นด้วย แต่พอมาถึงช่วงการต่อสู้ของคนเสื้อแดงคราวนี้ มันจะมีทหารอยู่กลุ่มหนึ่งที่ไม่เห็นด้วย ซึ่งผมคิดว่าถ้าต่อไปเราให้น้ำหนักในการทำความเข้าใจกับกองทัพ มันมีความเป็นไปได้ที่กองทัพจะยืนข้างประชาชน สู้กับระบบอำมาตย์ แล้วเปลี่ยนแปลงประเทศให้เป็นประชาธิปไตย”
 
ในทัศนะของ”เลื่อน”ประชาชนเองก็มีภารกิจที่จะต้องเพิ่มความเข้มข้นให้มากขึ้นในอันที่จะสร้างสังคมประชาธิปไตยอย่างที่คาดหวัง “อันแรกคือ ต้องทำความเข้าใจกับชนชั้นนำ คนชั้นกลาง กองทัพ อันที่สอง ผมคิดว่า การกำกับดูแลนักการเมือง เราต้องยกระดับให้มันมีความเข้มข้นมากกว่านี้ คือถ้าเป็นไปได้ผมคิดว่า นโยบายของรัฐบาลมันน่าจะเกิดจากข้างล่างขึ้นไป คือการมาระดมความคิดเห็นจากประชาชนคนชั้นล่างขึ้นไปกำหนดนโยบาย แต่ถ้าคุณจะเปลี่ยนแปลงจุดยืน ก็ต้องได้รับความเห็นชอบจากประชาชนที่เลือกไป ไม่ใช่อยากจะทำอะไรก็ทำ อย่างเช่น นาย ก อยู่พรรคเพื่อไทย ได้รับเลือกตั้ง ถ้าคุณจะเปลี่ยนขั้วการเมืองไปอยู่ขั้วอื่น ก็ต้องได้รับความเห็นชอบจากคนที่เลือกคุณไปก่อน ไม่ใช่ว่าคุณอยากจะไปอยู่พรรคไหนคุณก็ไป”
 
ตามที่เขาคิด คณะกรรมการปฏิรูปการเมืองทั้งหลายไม่มีความหมายเลย “พวกนี้ไม่คิดเรื่องการปฏิรูป คือถ้าดูตัวคนนี่นะ บางคนก็สนับสนุนการกดขี่ สนับสนุนระบบเก่า ณ วันนี้ผมคิดว่า มันทำขัดแย้งกัน ปากก็ว่าปฏิรูป แต่ในขณะที่ พวกนี้ก็เห็นความไม่เป็นธรรมที่รัฐทำกับประชาชน คนกลุ่มที่คิดต่าง โดยใช้มาตรการทางกฎหมายบ้าง มาตรการเถื่อนบ้าง แต่พวกนี้ก็ไม่ทำอะไร ถ้าคิดจะปฏิรูป ถ้าคิดจะสมานฉันท์ คิดจะปรองดองนี่ ผมว่ามันก็ต้องดูเรื่องนี้ด้วย แต่ผมไม่เห็นว่าคณะกรรมการพวกนี้เรียกร้องให้รัฐหยุดกระทำการ ผมว่ามันเป็นแค่การสร้างองค์กรขึ้นมาเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการใช้อำนาจรัฐกระทำการกับคนที่เห็นต่าง”
 
การเข้าร่วมเคลื่อนไหวทางการเมืองของทะนงที่ผ่านมา ก่อให้เกิดผลในทางบวกก็คือ การที่ประชาชนมีพลัง มีอำนาจต่อรองมากขึ้น ได้รับการแก้ปัญหาในระดับหนึ่ง แต่ก็เป็นเพียงปัญหาเฉพาะหน้าที่รอวันที่จะปะทุขึ้นมาใหม่ แต่ผลลบที่เกิดขึ้นก็ย่อมมีตามมาอย่างแน่นอน “ในเมื่อเราไปแตะอำนาจรัฐ คัดค้านการใช้อำนาจรัฐ เขาก็ใช้อำนาจรัฐมาจัดการ การโดนข่มขู่คุกคาม การมีหมายเรียกหมายจับ ก็มีมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ข้อหายุยงส่งเสริมให้ชาวบ้านบุกรุกพื้นที่ป่า ข้อหาปิดถนน ข้อหาหมิ่นประมาท อะไรพวกนี้ มันก็เป็นกลไกที่รัฐใช้มากระทำกับคนที่ต่อต้านอำนาจรัฐ ชีวิตก็ไม่ปกติเหมือนคนที่ว่านอนสอนง่าย ทำตามที่รัฐสั่ง”
 
โดยเฉพาะการเข้าร่วมเคลื่อนไหวกับคนเสื้อแดง ทำให้”เลื่อน”ถูกออกหมายจับ แต่เขาก็เลือกที่จะหลบหนี ไม่ยอมเข้ามอบตัว “ผมคิดว่า เราต้องสู้ เราเห็นว่า ตัว พรก.ฉุกเฉิน ที่มันใช้เนี่ย เราไม่ยอมรับ เป็นกลไกที่รัฐใช้จัดการกับผู้เห็นต่าง ฉะนั้น เราก็ต้องไม่เข้าไปสู่กระบวนการ และไม่มีอะไรต้องร้องขอด้วย มีอย่างเดียวว่าเราต้องเสียสละ ต้องใช้ความอดทนมาก”
 
หลังถูกออกหมายจับ ชีวิตของ”เลื่อน”ต้องเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เขาต้องระเหเร่ร่อน ไม่สามารถกลับไปทำงานเกษตรที่เขารัก ไม่สามารถกลับไปอยู่พร้อมหน้ากับครอบครัว ไม่สามารถโอบกอดลูกๆ อันเป็นที่รักยิ่งทั้งสามได้ ภรรยาและลูกๆ เองก็ประสบกับความยากลำบาก ขาดเสาหลักของครอบครัว ก่อนจากกันในวันนั้น เราจึงถามเขาว่าเสียใจมั้ย ถ้าย้อนเวลากลับไปได้ เขายังจะเลือกเข้าร่วมต่อสู้กับคนเสื้อแดงหรือเปล่า คำตอบของเขาก็คือ “ณ วันนี้ ผมคิดว่าเราต้องเพิ่มความเข้มข้นขึ้นอีก มันต้องเรียกร้องกันว่า เราต้องเสียสละมากขึ้น คือถ้าเราศึกษาประวัติศาสตร์ในร้อยกว่าปีมานี่ ผมคิดว่า เรายังไม่ได้เศษเสี้ยวของนักเคลื่อนไหวที่เคลื่อนไหวเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม เรายังเสียสละน้อยกว่าคนที่เขาเคยทำมา ผมคิดว่าแนวทางที่เราเข้าร่วมเคลื่อนไหวเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมนี่เป็นแนวทางที่ถูกต้องแล้ว มีแต่เราต้องยกระดับการเคลื่อนไหวให้มันมีความเข้มข้นมากกว่านี้ เรียกร้องตัวเองว่า เราต้องเสียสละมากขึ้น”
 
 
 
 
สัมภาษณ์เมื่อเดือนตุลาคม 2553
 
 
 
 
 
 

  

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

iLaw ล่าชื่อ หยุดร่าง พ.ร.บ.คอมฯฉบับใหม่ ก่อนเข้า ครม.

Posted: 17 Apr 2011 08:24 AM PDT

โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ iLaw เผยแพร่จดหมายเปิดผนึกถึงประชาชนและผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เรียกร้องให้ร่วมกันแสดงออกเพื่อหยุดการนำร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี โดยขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน พร้อมทั้งชี้ให้เห็นว่า สาระสำคัญของร่างกฎหมายสร้างความหวาดกลัวให้แก่ผู้เล่นอินเทอร์เน็ตและผู้ให้บริการที่อาจได้รับผลกระทบจากกฎหมาย มีเนื้อหาที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพเกินความจำเป็น นอกจากจะไม่ได้แก้ไขปัญหาเดิมที่เคยเกิดขึ้นใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 แล้ว ยังเพิ่มสาระสำคัญที่ยิ่งสวนทางกับการแก้ปัญหาอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์อีกด้วย

อนึ่ง ผู้ที่ต้องการร่วมลงชื่อ สามารถแจ้งชื่อสกุลได้ที่เว็บไซต์ iLaw หรือทางเฟซบุ๊กที่  "หยุด" ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์  หรือส่งรายชื่อได้ที่ ilaw@ilaw.or.th

 


จดหมายเปิดผนึกถึงประชาชนและผู้ใช้อินเทอร์เน็ต

เรื่อง ขอให้ร่วมกันแสดงออกเพื่อ “หยุด” การนำร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี โดยขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน

 

วันที่ 18 เมษายน 2554

เรียน ประชาชนและผู้ใช้อินเทอร์เน็ต

สำเนาถึง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.กระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร

เรื่อง ขอให้ร่วมกันแสดงออกเพื่อร่วมกัน “หยุด” การนำร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี โดยไม่ฟังเสียงประชาชน

เนื่องด้วยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ กระทรวงไอซีที ได้จัดทำร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ขึ้นมาใหม่ โดยมีแนวโน้มว่าจะเสนอร่างกฎหมายนี้เข้าสู่วาระที่หนึ่ง ซึ่งเป็นการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีให้ทันก่อนยุบสภาสมัยนี้

ประเด็นสำคัญในร่างกฎหมายดังกล่าวถูกนำเสนอในสื่อมวลชนและเว็บไซต์ต่างๆ [ http://ilaw.or.th/node/857 ] พบว่าสาระสำคัญของร่างกฎหมายสร้างความหวาดกลัวให้แก่ผู้เล่นอินเทอร์เน็ตและผู้ให้บริการที่อาจได้รับผลกระทบจากกฎหมาย มีเนื้อหาที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพเกินความจำเป็น นอกจากจะไม่ได้แก้ไขปัญหาเดิมที่เคยเกิดขึ้นใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 แล้ว ยังเพิ่มสาระสำคัญที่ยิ่งสวนทางกับการแก้ปัญหาอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

ปัญหาที่เคยเกิดขึ้นใน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับปัจจุบัน ได้แก่ ความพยายามเอาผิดกับตัวกลางผู้ให้บริการ ซึ่งส่งเสริมวัฒนธรรมการจับแพะและการเซ็นเซอร์ตัวเอง เจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ไม่ต้องมีความรู้ความสามารถแต่มีอำนาจสูง และมีอำนาจควบคุมข่าวสารและการแสดงความคิดเห็นของประชาชน นอกจากนี้ยังมีหลายมาตราที่เขียนไม่ชัดเจน เปิดช่องให้ตีความได้กว้างขวาง

ร่างกฎหมายฉบับใหม่นั้น พบว่าไม่ได้แก้ปัญหาเดิม แต่กลับยิ่งเพิ่มเนื้อหาหลายมาตราอันจะส่งผลให้ผู้ดูแลระบบซึ่งเป็นตัวกลางมีความเสี่ยงต่อโทษอาญาสูงขึ้น โปรแกรมหลายชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและเข้าถึงข้อมูลอาจกลายเป็นโปรแกรมผิดกฎหมาย การสำเนาข้อมูลก็เสี่ยงต่อการถูกตีความว่าผิดกฎหมาย คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ก็ไม่มีสัดส่วนและที่มาที่เชื่อมโยงกับประชาชนเลยแม้แต่น้อย ตัวบทหลายมาตราไม่ชัดเจนเปิดช่องให้ตีความได้กว้างขวางตามดุลยพินิจของผู้บังคับใช้กฎหมายฝ่ายเดียว จนสามารถกล่าวได้ว่า ร่างกฎหมายนี้จะทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนมีโอกาสทำผิดกฎหมายโดยไม่รู้ตัว

กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นกฎหมายสำคัญที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชน ไม่ควรดำเนินการอย่างเร่งรีบ การไม่เปิดพื้นที่ให้เกิดการมีส่วนร่วมชวนให้ตั้งคำถามได้ว่า ผลประโยชน์ที่แท้จริงตกแก่ฝ่ายใด ซึ่งการสร้างความชอบธรรมในกฎหมายสามารถทำได้โดยเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมแก้ไขกฎหมายอย่างเต็มที่

แม้อาจกล่าวได้ว่า กว่ากฎหมายจะออกมาได้ต้องผ่านอีกหลายขั้นตอนที่อาจเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมได้ก็ตาม แต่เมื่อเข้าสู่กระบวนการแล้วก็ไม่สามารถแก้ไขในหลักการและสาระสำคัญได้ การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่วมเสนอแก้ไขกฎหมาย สามารถทำได้ตั้งแต่วันนี้ โดยไม่ต้องผัดวันประกันพรุ่งให้เป็นภาระของอนาคต

บุคคลและองค์กรซึ่งมีรายชื่อลงนามในท้ายจดหมายฉบับนี้ ขอเรียกร้องให้ยุติการเสนอร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พ.ศ....เข้าสู่กระบวนการ ทั้งนี้ ต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมเสนอข้อแก้ไขหรือทำประชาพิจารณ์

ร่วมลงชื่อเพื่อแสดงจุดยืนในฐานะผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
เพื่อ “หยุด” ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ

จอน อึ๊งภากรณ์ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw)
อรพิณ ยิ่งยงพัฒนา โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw)
ฐิตินบ โกมลนิมิ นักข่าวพลเมือง
พฤษภ์ บุญมา อ.ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ นักพัฒนาซอฟท์แวร์อิสระ
ประทับจิต นีละไพจิตร นิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สฤณี อาชวานันทกุล เครือข่ายพลเมืองเน็ต
จีรนุช เปรมชัยพร หนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท
สัณห์ชัย โชติรสเศรณี พลเมือง
ธัญ รัษฎานุกูล พลเมือง
อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ เว็บไซต์ Blognone
ธนกฤต เปี่ยมมงคล โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw)
จุลศักดิ์ แก้วกาญจน์ พลเมือง
คิม ไชยสุขประเสริฐ นักข่าวพลเมือง
เยาวลักษณ์ ศรณ์เศรษฐกุล นักพัฒนาเว็บไซต์
ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์ พลเมือง
อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล เครือข่ายพลเมืองเน็ต
จรรยา ยิ้มประเสริฐ Action for People's Democracy in Thailand
ดวงฤทัย เอสะนาชาตัง พลเมือง
ปิยศักดิ์ อู่ทรัพย์ พลเมือง
ธนพล พงศ์อธิโมกข์ นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อภิรัฐ เจะเหล่า พลเมือง
ณิชนันท์ ตัญธนาวิทย์ พลเมือง
วรจิตต์ โชติเสวตร พลเมือง
ศรีสมร กิจภู่สวัสดิ์ พลเมือง
เอกชัย ซ่อนกลิ่น พลเมือง
ภิรมย์ ภึ่งแย้ม พลเมือง
วีรุทัย อยู่เหลือสุข พลเมือง
ชัยธวัช ตุลาธน พลเมือง
อภิชน รัตนาภายน พลเมือง

(อัพเดทรายชื่อ เมื่อ 22.00น. วันที่ 17 เม.ย.54)

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

บรรจุมอเตอร์เวย์ในแผนชายแดนใต้ เล็งจัด ‘Expo Asian’ ที่ด่านไทย–มาเลย์

Posted: 17 Apr 2011 06:58 AM PDT

เมื่อเวลา 08.00 วันเสาร์ที่ 16 เมษายน 2554 นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย(มท.3) ออกอากาศรายการร่วมคิด ร่วมแก้ปัญหากับรัฐมนตรีถาวร ถ่ายทอดสดจากห้องส่งของสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยจังหวัดสงขลา(ช่อง11) กรมประชาสัมพันธ์ ออกอากาศครอบคลุมพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้

นายถาวร เปิดเผยในรายการว่า คณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้(กพต.) มีคำสั่งโดยนายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการฯ แต่งตั้งคณะทำงานส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่พิเศษ การค้า การลงทุน และการพัฒนาด่านชายแดนไทย-มาเลเซีย โดยมีตน เป็นประธานคณะทำงาน ร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เป็นคณะทำงาน และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นฝ่ายเลขานุการ

คณะทำงานชุดนี้ ทำหน้าที่จัดทำแผนปฏิบัติการ บูรณาการและจัดลำดับความสำคัญของแผนงาน โครงการ กำกับ เร่งรัด และติดตามผลการดำเนินงาน ตลอดจนแก้ไขปัญหา อุปสรรค ในด้านการส่งเสริมและพัฒนาการค้า การลงทุน และการพัฒนาด่านชายแดนไทย-มาเลเซีย ตลอดจนเสนอแนะการจัดตั้งและพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษและกรอบแนวทางการพัฒนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

สำหรับแผนการและนโยบายของคณะทำงานส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่พิเศษ การค้า การลงทุน และการพัฒนาด่านชายแดนไทย-มาเลเซีย จะดำเนินการในอนาคต ได้แก่

1.ตนวางแผนที่จะจัดงาน ‘Expo Asian’ โดยจะจัดงานที่ด่านชายแดนไทย – มาเลเซีย ด่านใดด่านหนึ่ง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจการลงทุน ค้าขาย สร้างบรรยากาศของการท่องเที่ยว

2.โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง(มอเตอร์เวย์) สายหาดใหญ่-สะเดา(ชายแดนมาเลเซีย) ได้บรรจุอยู่ในแผนแม่บท 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว 3.สนับสนุนให้จัดตั้งปั้มแก้ส NGV

4.ส่งเสริมการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ที่จังหวัดปัตตานี ให้มีประสิทธิภาพ 5.ส่งเสริมการบริการน้ำมันราคาถูกให้กับผู้ประกอบการเรือประมงพื้นบ้าน

6.อำนวยความสะดวก ประสานงานเพื่อให้ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้กับคนไทยที่จะทำงานในประเทศมาเลเซียลดลงจาก 15,000 บาท

7.ส่งเสริมการสร้างงานในพื้นที่ กรณีความคืบหน้าของ บริษัท เอส เอ็น ซี ฟอร์เมอร์ จำกัด (มหาชน) สนใจที่จะตั้งโรงงานผลิตแอร์ ที่จังหวัดปัตตานี เพื่อส่งขายต่างประเทศปีละจำนวนมาก

“แผนการและนโยบายเหล่านี้รอรัฐบาลใหม่มาสานงานต่อ หากรัฐบาลประชาธิปัตย์ได้กลับมาจัดตั้งรัฐบาลอีกครั้ง โครงการเหล่านี้จะได้รับการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง” นายถาวร กล่าว

นายถาวร เปิดเผยต่อไปว่า ที่ผ่านมาคณะทำงานส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่พิเศษฯ ได้ดำเนินการเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาการค้า การลงทุน และการพัฒนาด่านชายแดนไทย – มาเลเซีย โดยเฉพาะ 3 จังหวัดชายแดนใต้ คือ ปัตตานี ยะละ นราธิวาส และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ประกอบด้วย อำเภอเทพา สะบ้าย้อย จะนะ และนาทวี โดยมีสิทธิพิเศษและมาตรการเพื่อจูงใจนักลงทุนมาดำเนินการในพื้นที่

สิทธิพิเศษและมาตรการดังกล่าว ได้แก่ 1.มาตรการลดภาษีเงินได้นิติบุคคล เหลือร้อยละ 3 ของกำไรสุทธิ/เดือน 2.มาตรการลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เหลือร้อยละ 0.1 ของกำไรสุทธิ/ยอดเงินที่พึงประเมิน/เดือน

3.มาตรการลดภาษีธุรกิจเฉพาะ อาทิ อสังหาริมทรัพย์ เหลือร้อยละ 0.1 ของกำไรสุทธิ/เดือน 4.มาตรการลดค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิ และนิติกรรม เหลือร้อยละ 0.1

5.มาตรการลดค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด, บริษัทจำกัด 6.มาตรการชดเชยส่วนต่างเบี้ยประกันภัยเพื่อคุ้มครองภัยอันเกิดจากการก่อการร้าย 7.มาตรการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปีโดยให้สิทธิประโยชน์แก่นักลงทุนในพื้นที่

8.มาตรการสินเชื่อผ่อนปรน โดยขอกู้เงินและเสียดอกเบี้ยแค่ร้อยละ 1.5/ปี โดยรัฐบาลรับภาระดอกเบี้ยส่วนต่าง ซึ่งตามปกติต้องจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 7/ปี ขณะนี้รัฐบาลมีงบประมาณอยู่ 350,000 ล้านบาท โดยได้ปล่อยกู้ไปจำนวนหนึ่งแล้ว

สำหรับนักลงทุนที่ต้องการทำธุรกิจ การค้า และลงทุน ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ คือ ปัตตานี ยะละ นราธิวาส และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ประกอบด้วย อำเภอเทพา สะบ้าย้อย จะนะ และนาทวี สามารถกู้เงินได้จากธนาคารพาณิชย์ ประกอบด้วย ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารนครหลวงไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารยูโอบี, ธนาคารทหารไทย และธนาคารธนชาต

9.มาตรการหลักประกันด้านแรงงาน เช่น การรับจดทะเบียนด้านแรงงาน, การผ่อนปรนด้านแรงงานต่างด้าว ฯลฯ

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สำรวจ 22 รายชื่อ มุสลิมกินแห้ว ส.ว.สรรหา

Posted: 17 Apr 2011 06:51 AM PDT

สำรวจรายชื่อมุสลิมที่ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหาเป็น ส.ว. จำนวน 22 คน ส่วนใหญ่มาจากชายแดนใต้ แต่ไม่ได้รับเลือกสักคน

น่าแปลกใจที่ผลการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) 73 คน ที่ออกมาเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2554 ที่ผ่านมา ไม่มีผู้ได้รับการสรรหาเป็น ส.ว.ที่เป็นชาวไทยมุสลิมเลย

ในขณะที่มีผู้ได้รับการสรรหาที่มาจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็มีเพียงคนเดียว คือ นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล อดีต ส.ว.สรรหา ทั้งที่ชาวมุสลิมมีจำนวนประชากรเป็นอันดับสองของประเทศ

ขณะเดียวกันจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีชาวมุสลิมอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่ ก็เป็นพื้นที่ปัญหาความมั่นคงที่รัฐได้ใช้งบประมาณแผ่นดินสูงถึงหนึ่งแสนกว่าล้านบาทมาใช้แก้ปัญหา

ในขณะที่การสรรหา ส.ว.ครั้งล่าสุดนี้ ใช่ว่าไม่มีชาวมุสลิมได้รับการเสนอชื่อเลยซักคน เพราะจากจำนวนผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหาเป็น ส.ว. ทั้ง 671 คน มีผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม 22 คน และส่วนใหญ่ก็มาจากจังหวัดชายแดนภาคใต้

สำหรับรายชื่อของผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหาเป็น ส.ว.ที่นับถือศาสนาอิสลามทั้ง 22 คน ประกอบด้วย องค์กรภาครัฐ 2 คน ภาควิชาชีพ 2 คน ภาควิชาการ 2 คน ภาคเอกชน 5 คน และภาคอื่น 11 คน ดังนี้

นายนิมุ มะกาเจ
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
องค์กรภาครัฐ
นายอุสมาน นูรุลอาดิล
องค์การบริหารส่วนตำบลเมาะมาวี
องค์กรภาครัฐ
นายมนัส วงศ์เสงี่ยม
สมาคมแพทย์มุสลิม
องค์กรภาควิชาชีพ
ดร.วิศรุต เลาะวิถี
สมาคมสื่อสารมวลชนมุสลิม
องค์กรภาควิชาชีพ
นายมูหะมัด เจะเอาะ
สมาคมพัฒนาสังคม
องค์กรภาควิชาการ
ศ.ดร.อิมรอน มะลูลีม
มูลนิธิอิสลามศรีอยุธยา
องค์กรภาควิชาการ
นายมนตรี มามะ
สมาคมกองทุนสวัสดิการ
เครือข่ายชมรมผู้สูงอายุจังหวัดนราธิวาส
องค์กรภาคเอกชน
นายวิภาส อุมา
โรงเรียนศาส์นพัฒนาวิทยา
องค์กรภาคเอกชน
นายสมชาย สาโรวาท
สมาคมไทยอเมริกัน
องค์กรภาคเอกชน
นายบุญญามินทร์ เจะเละ
สหกรณ์ออมทรัพย์อิสลามปัตตานี จำกัด
องค์กรภาคเอกชน
นายนิเดร์ วาบา
สมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม
จังหวัดชายแดนภาคใต้
องค์กรภาคเอกชน
นายปรีดา เชื้อผู้ดี
มูลนิธิมัจลิซุดดีนี
องค์กรภาคอื่น
นายอนุมัติ อาหมัด
 ผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม
เขต 3 จ.สงขลา
 องค์กรภาคอื่น
นายจิรภัฏ ฤกษ์มณีรัตน์
มูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามเพื่อการศึกษาและพัฒนา
องค์กรภาคอื่น
นายอิสมาแอ อาลี
สำนักงานคณะกรรมการกลาง
อิสลามแห่งประเทศไทย
องค์กรภาคอื่น
นายสิทธิชัย บือแนสะเตง
มูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้
องค์กรภาคอื่น
นายดำรง พุฒตาล
มูลนิธิเมาไม่ขับ
องค์กรภาคอื่น
นายอับดุลเราะแม เจะแซ
มูลนิธิมิซบาฮูลมูนีร
องค์กรภาคอื่น
นายแวดือราแม มะมิงจิ
มูลนิธิเพื่อการศึกษาโรงเรียนเตรียมศึกษาวิทยา
องค์กรภาคอื่น
นายกิตติ มหัตธีระ
สมาคมศิษย์เก่าสถานศึกษาในปากีสถาน
องค์กรภาคอื่น
นายปกรณ์ ปรียากร
มูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย
องค์กรภาคอื่น
นายรุสดี บินหะยีสะมะแอ
สหกรณ์การเกษตรตันหยงมัส จำกัด
องค์กรภาคอื่น

ข้อมูลจาก สำนักข่าวมุสลิมไทย

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ดร.ศรีสมภพ วิเคราะห์ ‘ส.ว.สรรหา’ทางตันดับไฟใต้

Posted: 17 Apr 2011 06:18 AM PDT

ในเมื่อการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ยังจำเป็นต้องพึ่งพาระบบรัฐสภาในการแก้ปัญหา ทั้งการเสนอกฎหมาย การเสนอนโยบาย รวมทั้งการพิจารณาแนวนโยบายของรัฐบาล วุฒิสภา จึงเป็นกลไกหลักในการร่วมพิจารณากลั่นกรองกฎหมาย อภิปรายแสดงความเห็น รวมทั้งการเสนอแนะ

แต่การพิจารณากลั่นกรองกฎหมายหรือให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวนโยบายการแก้ปัญหาชายแดนใต้ จะมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน หากขาดคนในพื้นที่เข้าไปเป็นสมาชิกส่วนหนึ่งของวุฒิสภา อย่างเช่นการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) ครั้งล่าสุด ที่เกือบไม่มีคนในพื้นที่ได้รับการสรรหา ที่สำคัญไม่มีมุสลิมซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในพื้นที่ได้รับการสรรหาแม้แต่คนเดียว

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ และศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ) วิทยาเขตปัตตานี นักวิชาการที่คลุกคลีอยู่กับปัญหาในพื้นที่มานาน วิเคราะห์ถึงผลการสรรหา ส.ว.ครั้งล่าสุดว่า จะมีผลต่อการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างไร ดังนี้

........................

“ผลการสรรหา ส.ว.ทั้ง 73 คนครั้งนี้ เห็นได้ชัดว่า เป็นการค้ำจุนอำนาจของทหารและอำนาจเก่า ซึ่งเห็นได้จากผู้ที่ได้รับการสรรหา ส่วนใหญ่เป็นทหารและเป็นอดีต ส.ว.สรรหา

ส.ว.สรรหากลุ่มนี้จะถูกควบคุมโดยอำนาจเก่าหรืออำนาจทหาร ซึ่งต่างจาก ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้ง ที่อำนาจเก่าหรือทหารเข้ามาควบคุมได้ยากกว่า

เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้แต่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์เองก็จะคุมส.ว.ชุดนี้ได้ยาก หากขัดกับความต้องการของทหารและอำนาจเก่า ดังนั้น การได้มาของ ส.ว.สรรหาชุดนี้ ยิ่งเป็นการเพิ่มความมั่นคงให้กับอำนาจเก่ามากขึ้น

จุดประสงค์หลักของการได้มาของ ส.ว.สรรหาชุดนี้ เพื่อต้องการกันหรือคานอำนาจกับพรรคเพื่อไทย หากพรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้ง ได้เข้ามาเป็นรัฐบาลได้

หรือหากพรรคประชาธิปัตย์ชนะเลือกตั้งได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล โดยอาจเป็นรัฐบาลผสมหลายพรรค ก็ไม่สามารถคุม ส.ว.สรรหาชุดนี้ได้ หากออกนอกกรอบความต้องการของทหารหรืออำนาจเก่า เช่น การกลั่นกรองกฎหมายที่ขัดกับความต้องการกับอำนาจเก่าและทหาร ซึ่งจะยิ่งทำให้ร่างกฎหมายฉบับนั้น ผ่านความเห็นชอบของ ส.ว.ชุดนี้ได้ยาก

ส่วนในเรื่องการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็จะยิ่งยากขึ้นไปอีก หากจะเสนอแก้ปัญหาในเชิงการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง เช่น การเสนอร่างกฎหมายเพื่อกำหนอรูปแบบการเมืองการปกครองใหม่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

ร่างกฎหมายฉบับนี้ จะถูกกลั่นกรองอย่างหนักจากส.ว.สรรหาชุดนี้ หากมีการนำเสนอร่างกฎหมายลักษณะนี้เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา

แม้ว่าที่ผ่านมา ผมเคยได้ยินพล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ แม่ทัพภาคที่ 4 เคยพูดว่า หากต้องการให้จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเขตปกครองพิเศษ ก็เสนอผ่านรัฐสภาได้ แต่ผมคิดว่าตอนนี้ แทบเป็นไปไม่ได้เลย เพราะจะไปติดที่วุฒิสภา

แม้ว่า นโยบายหรือร่างกฎหมายเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ถูกเสนอโดยพรรคการเมืองเองก็ตาม ซึ่งตอนนี้มีหลายพรรคการเมืองที่กำลังหาเสียงโดยเสนอนโยบายลักษณะนี้ แต่สุดท้ายจะติดอยู่ที่วุฒิสภาชุดนี้เช่นกัน

จึงคิดว่า นโยบายลักษณะนี้ ยังไม่อาจเป็นจริงได้

ทางออกของปัญหานี้ คือ ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในประเด็นการได้มาของส.ว. ซึ่งมี 2 ทางเลือก คือ หากยังเป็น ส.ว.สรรหา ก็ต้องระบุเงื่อนไขการสรรหาให้ชัดเจน โดยกำหนดจำนวนผู้ที่ได้รับการสรรหาตามภาคส่วนให้น้อยลง แล้วกระจายไปตามภาคส่วนอื่นๆ ให้มากขึ้น

อย่างกรณี ส.ว.สรรหาทั้ง 73 คน มาจากไม่กี่ภาคส่วน ซึ่งแต่ละภาคส่วนก็มีจำนวนมาก ทำให้รู้สึกว่า 73 คน เป็นจำนวนที่เยอะเกินไป และกระจุกอยู่ในกลุ่มคนไม่กี่ภาคส่วนเท่านั้น

การสรรหาหรือการแต่งตั้งตัวแทนในทางรัฐศาสตร์นั้น ต้องคำนึงถึงความเป็นตัวแทนของคนกลุ่มต่างๆ กระจายให้มากที่สุด เช่น ตัวแทนกลุ่มชาติพันธ์ ศาสนา เป็นต้น

ทางเลือกต่อมา คือ หากกำหนดให้ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ก็อาจมีสภาพเหมือนรัฐสภาสมัยรัฐธรรมนูญปี 2540 คือ สภาผัวเมีย หมายความว่า ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ว.คือญาติหรือคนใกล้ชิดสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) จะทำอย่างไรที่จะไม่ให้ตกอยู่ในสภาพเช่นนี้

ดังนั้น หากจะแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ต้องพิจารณาให้ชัดเจนว่าจะเลือกแนวทางอย่างไร จะให้ระบบสรรหามีอยู่ต่อไปหรือจะให้มีการเลือกตั้งอย่างเดียว หรือผสมกัน ซึ่งก็ต้องกำหนดเงื่อนไขให้ชัดเจน”

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ผอ.เขตบางรักแจ้งจับสาวโชว์สีลม

Posted: 17 Apr 2011 04:59 AM PDT

ผอ.เขตบางรักเข้าแจ้งความเอาผิดสาวเต้นโชว์เลือยอกสีลม ระบุเสียใจคนไม่กี่คนทำสงกรานต์เสื่อม เตรียมเสนอขอกทม.มอบเป็นเจ้าภาพจัดงานปีหน้าเพื่อวางมาตรการป้องกัน

17 เม.ย. 54 - นายสุรเกียรติ์ ลิ้มเจริญ ผอ.เขตบางรัก ซึ่งดูแลพื้นที่ถ.สีลมที่มีการจัดงานสงกรานต์ กล่าวว่า ขณะนี้ได้แจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ดำเนินคดีหญิงสาวที่ถอดเสื้อเปลือยอกเล่นสงกรานต์บริเวณดังกล่าวในข้อหากระทำอนาจารในที่สาธารณะ ตามมาตรา 388 เรียบร้อยแล้ว และยืนยันว่าจะดำเนินคดีจนถึงที่สุดในทุกคดีที่สามารถดำเนินการได้ รวมไปถึงผู้ที่เผยแพร่ภาพและคลิปดังกล่าวด้วย

"เรื่องนี้ผมซีเรียสมาก เสียใจมาก ถ้าผมอยู่ในเหตุการณ์ ผมจะขึ้นไปลากตัวลงมาส่งตำรวจเดี๋ยวนั้นจริงๆ คนไม่กี่คนทำความสุขและความดีงามของเทศกาลสงกรานต์ให้แปดเปื้อน เป็นความเสื่อม เป็นสิ่งที่น่าละอายมาก ทำให้คนเป็นหมื่นเป็นแสนที่มาเล่นฉลองสงกรานต์ด้วยความสุขต้องมาพบเจอสิ่งที่น่าละอาย"ผอ.เขตบางรักกล่าว

อย่างไรก็ตามเชื่อว่า กลุ่มหญิงสาวที่ก่อเหตุไม่ใช่คนสีลมและไม่ได้มาจากผู้ประกอบการย่านสีลม เพราะแยกนรารมย์ที่เกิดเหตุนั้นไม่ได้อยู่ในพื้นที่การเล่นน้ำสงกรานต์ ทำให้เชื่อได้ว่า เป็นกลุ่มที่มาจากนอกพื้นที่สีลม และมาถึงเมื่อดึกแล้ว ทำให้เข้าไม่ถึงพื้นที่เล่นน้ำจริงๆ

การเล่นน้ำสงกรานต์ที่สีลมในปีนี้ทางเขตไม่ได้เป็นเจ้าภาพจัดงาน เพียงแต่อำนวยความสะดวกให้ ไม่ว่าจะเป็นการเก็บขยะ การบริการรถสุขา การบริการน้ำ การดูแลความปลอดภัย แต่เมื่อเกิดเหตุขึ้นจึงเตรียมเสนอ กทม.ว่าปีหน้าขอให้เป็นเจ้าภาพจัดงานจริงๆ จะได้วางกรอบและมาตรการดูแลความเรียบร้อยเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก

ที่มาข่าว: โพสต์ทูเดย์
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สถิติอุบัติเหตุทางถนนในช่วงสงกรานต์ 6 วัน ลดลงจากปีที่แล้ว

Posted: 17 Apr 2011 04:54 AM PDT

17 เม.ย. 54 - ยอดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงรณรงค์สงกรานต์ปลอดภัยรวม 6 วัน 2,932 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 229 คน ผู้บาดเจ็บรวม 3,172 คน ซึ่งเป็นสถิติที่ลดลงจากปีที่แล้ว จ.นครสวรรค์ มีสถิติผู้เสียชีวิตสะสมมากที่สุด 13 คน โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุดคือเมาสุรา และรถจักรยานยนต์ยังเป็นยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดเช่นเดิม

นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เลขานุการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ประธานแถลงข่าวสถิติอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2554 เปิดเผยว่า ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2554 ได้รวบรวมสถิติอุบัติเหตุทางถนนประจำวันที่ 16 เมษายน 2554 ซึ่งเป็นวันที่ 6 ของการรณรงค์ “สงกรานต์ปลอดภัย สวมหมวกนิรภัย 100 เปอร์เซ็นต์” เกิดอุบัติเหตุ 348 ครั้ง เท่ากับวันเดียวกันของปี 2553 ผู้เสียชีวิต 41 คน เทียบกับวันเดียวกันของปี 2553 (45 คน) ลดลง 4 คน ร้อยละ 8.89 ผู้บาดเจ็บ 386 คน เทียบกับวันเดียวกันของปี 2553 (370 คน) เพิ่มขึ้น 16 คน ร้อยละ 4.32

สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เมาสุรา ร้อยละ 31.03 พฤติกรรมเสี่ยงของผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเกิดจากการไม่สวมหมวกนิรภัยมากที่สุด ร้อยละ 34.66  ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 78.87  ส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางตรง ร้อยละ 57.18  บนทางหลวงแผ่นดิน ร้อยละ 36.49 ผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน (อายุ 20 – 49 ปี) ร้อยละ 47.07 จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ นครสวรรค์ 19 ครั้ง ที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ นครสวรรค์  6 คน จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ นครสวรรค์  22 คน

สรุปอุบัติเหตุทางถนนสะสม 6 วัน (วันที่ 11 – 16 เม.ย. 54) เกิดอุบัติเหตุรวม 2,932 ครั้ง ลดลงจากปี 2553 (3,218 ครั้ง) 286 ครั้ง ร้อยละ 8.89 ผู้เสียชีวิตรวม 229 คน ลดลงจากปี 2553 (306 คน) 77 คน ร้อยละ 25.16 ผู้บาดเจ็บรวม 3,172 คน ลดลงจากปี 2553 (3,502 คน) 330 คน ร้อยละ 9.42 จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสูด ได้แก่ นครศรีธรรมราช 129 ครั้ง รองลงมา เชียงราย  นครสวรรค์ จังหวัดละ 107  ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ นครสวรรค์ 13 คน รองลงมา กรุงเทพฯ พระนครศรีอยุธยา  จังหวัดละ 11 คน จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ นครศรีธรรมราช 137 คน รองลงมา เชียงราย 114 คน

นายวิบูลย์ กล่าวต่อไปว่า ในวันนี้ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการรณรงค์ลดอุบัติเหตุทางถนน จากสถิติอุบัติเหตุทางถนนในช่วงวันสุดท้ายของการเดินทางมักมีสาเหตุจากการง่วงแล้วขับ จึงขอฝากเตือนผู้ขับขี่ให้นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอก่อนออกเดินทางอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมง หลีกเลี่ยงการขับรถติดต่อกันเป็นเวลานาน และได้เน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่เข้มงวดรถโดยสารสาธารณะที่เดินทางระยะไกลและใกล้ถึงจุดหมายเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันพนักงานขับรถมีอาการอ่อนล้าและอาจเกิดการหลับใน รวมถึงรถตู้โดยสารซึ่งผู้ขับขี่มักใช้ความเร็วสูง ตลอดจนรถกระบะที่บรรทุกผู้โดยสารจำนวนมาก และตอนท้ายไม่มีหลังคาหรือบรรทุกน้ำหนักเกินกำหนด มิให้ใช้ความเร็วสูง เพราะจะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมากขึ้น

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"เสื้อชมพู" รวมตัวปกป้องการแก้ "ม.112"

Posted: 17 Apr 2011 04:39 AM PDT

กลุ่มคนเสื้อสีชมพู "สหพันธ์คนไทยปกป้องสถาบัน" กว่า 300 คน รวมตัวลานคนเมือง เรียกร้องให้คนไทยปกป้อง "ม.112" ด้าน "จตุพร" นำทีมแจ้งความจับ "ผบ.ทบ." ฐานหมิ่นประมาท

เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 17 เม.ย. นายราเชน ตระกูลเวียง ประธานกลุ่มสหพันธ์คนไทยปกป้องสถาบัน (กลุ่มคนเสื้อสีชมพู) นำประชาชนกว่า 300 คน มารวมตัวอยู่ที่บริเวณลานคนเมือง หน้าศาลากลางกรุงเทพมหานคร เพื่อมาแสดงเจตนารมณ์ปกป้องสถาบัน ก่อนจะออกเดินเข้าถนนบำรุงเมืองมาหยุดปราศรัยที่หน้า สน.สำราญราษฎร์ ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องขอให้กลุ่มคนเสื้อแดงประมาณ 40 คน ที่มารอแกนนำอยู่ที่หน้า สน. ให้ถอยร่นไปรวมกลุ่มกันตรงแยกสำราญราษฎร์ เพื่อไม่ให้มีการปะทะกัน โดยมีการตะโกนต่อว่ากันเล็กน้อย ซึ่งสถานการณ์ทั่วไปอยู่ในความสงบเรียบร้อยไม่มีเหตุรุนแรงแต่อย่างใด จากนั้นกลุ่มคนเสื้อชมพูต่างร่วมกันร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี ก่อนจะแยกย้ายกันกลับ ซึ่งใช้เวลาในการทำกิจกรรม 40 นาที
   
โดย นายราเชน กล่าวบนรถเครื่องเสียงว่า ที่ทางเครือข่ายนัดมารวมตัวกันในครั้งนี้มีเหตุผล 5 ข้อด้วยกันคือ 1.ต้องการแสดงเจตนารมณ์ในการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่ให้ใครก็ตามพาดพิง ลบหลู่ ดึงฟ้าลงมาต่ำ 2.เพื่อปกป้องประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข 3.เพื่อปกป้องไม่ให้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมาแก้กฎหมายรัฐธรรมนูญตามมาตรา 112 4.เรียกร้องให้คนไทยที่เทิดทูนสถาบันร่วมออกมาปกป้องสถาบัน และ 5.เรียกร้องให้ประชาชนที่เห็นด้วยกับเรา รวมทั้งสื่อมวลชน ร่วมกันต่อต้านบุคคล ที่จาบจ้วง ล่วงละเมิดสถาบันเบื้องสูง
   
ต่อมาเวลา 13.30 น. นายจตุพร พรหมพันธ์ ส.ส.สัดส่วนพรรคเพื่อไทย นายวิเชียร ขาวขำ ส.ส.อุดรธานี นายสุพร อัตถาวงค์ และ นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำ นปช. ได้เดินทางมาที่ สน.สำราญราษฎร์ เพื่อแจ้งความกับ พ.ต.ท.โอภาส ขวัญสมคิด พงส.(สบ2) สน.สำราญราษฎร์ ให้ดำเนินคดีกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ในข้อหาหมิ่นประมาท ละเว้นการปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และแจ้งความเท็จ

จากกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ แจ้งความดำเนินคดีกับนายจตุพร ข้อหาหมิ่นสถาบัน ซี่งมี พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รอง ผบช.น. พล.ต.ต.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบก.น.6 และพ.ต.อ.จิรภัทร โพธิ์ชนะพันธุ์ ผกก.สน.สำราญราษฎร์ ร่วมรับแจ้งความ โดยกลุ่มคนเสื้อแดงประมาณ 1,000 คน เดินทางมารวมตัวที่หน้าสน.สำราญราษฎร์ เพื่อให้กำลังใจ โดยกระจัดกระจายอยู่ตั้งแต่เสาชิงช้า ยาวมาถึงแยกถนนสำราญราษฎร์ จนเจ้าหน้าที่ต้องปิดการจราจรบริเวณดังกล่าว ซึ่งหลังแจ้งความเสร็จสิ้นทั้งแกนนำและกลุ่มกองเชียร์ต่างแยกย้ายทยอยกันกลับ
   
ด้าน พล.ต.ต.อำนวย กล่าวว่า สำหรับคดีความนี้ ขอบอกเลยว่าไม่มีความหนักใจ หรือลำบากใจแต่อย่างใด แค่สอบสวนตรวจสอบย้อนหลังว่า นายจตุพร พูดหมิ่นเบื้องสูงจริงหรือไม่ ถ้าไม่ได้พูด เท่ากับทางกองทัพแจ้งความเท็จ แต่ถ้าพูดจริง ก็จะดำเนินคดีกับนายจตุพรตามกฎหมาย ซึ่งขอเวลาทำคดีนี้ประมาณ 1 สัปดาห์ คาดว่าน่าจะแล้วเสร็จ ยืนยันว่าจะเสื้อสีอะไร ตำรวจก็จะให้ความยุติธรรมแก่ทุกฝ่ายแน่นอน

ที่มาข่าว: เดลินิวส์
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สองเดือนกับความเงียบ...จากรัฐ ถึงชาลี ดีอยู่

Posted: 17 Apr 2011 04:26 AM PDT

แรงงานข้ามชาติที่ได้รับอุบัติเหตุจากการทำงาน เป็นเหยื่อระบบคุ้มครองเเรงงานที่ล้มเหลวของรัฐบาลไทย  ประสานกับเสียงเงียบยิ่งกว่าของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเเห่งชาติ  เเละกฎหมายคุ้มครองแรงงานไม่สามารถประกันการคุ้มครองสวัสดิภาพแรงงานขั้นต่ำ เเละการเลือกปฏิบัติกับแรงงานข้ามชาติ ตลอดจนเอาผิดกับนายจ้างตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้อง ทำให้แรงงานข้ามชาติ เป็นเหยื่อการละเมิดสิทธิ์ รีดไถ และความอยุติธรรม ซ้ำเเล้วซ้ำเล่า

นาย ชาลี ดีอยู่ อายุ 28 ปี เเรงงานข้ามชาติชาวมอญ จากเมืองเมาะลำไย เข้ามาทำงานในประเทศไทย เพื่อหลบหนีการความยากจนเเละโอกาสที่ริบหรี่ในประเทศเมียนมาร์ เข้ามาทำงานในประเทศไทยตั้งแต่อายุประมาณ 7 ปีจนปัจจุบัน โดยอาศัยกำลังกายทำงานก่อสร้างย่านปทุมธานีกับบริษัทรับเหมา เพือต่อเติมอาคาร บริษัท ซีพี ค้าปลีกและการตลาด จำกัด เมื่อวันที่ 9 มกราคม  2554 ระหว่างทำงานกำลังฉาบอยู่หล่นทับร่างนายชาลี  จนลำไส้เเตกทะลักออกมานอกช่องท้อง มีคนผู้คุมงานของบริษัทรับเหมาที่นายจ้างพานายชาลีไปทำงานด้วย นำตัวนายชาลีส่งโรงพยาบาลปทุมธานี เเพทย์ตรวจพบว่าลำไส้ใหญ่เเตกทะลักออกมานอกช่องท้อง ต้องทำการรักษาโดยด่วน  ซึ่งผู้คุมงานเหมาช่วง บอกว่าจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทุกอย่าง เช่นเดียวกับที่มีคำสัญญาปากเปล่ากับแรงงานข้ามชาติที่จดทะเบียนเเล้วอีกหลายคน เช่นนายชาลี

หลังการผ่าตัด เเพทย์โรงพยาบาลปทุมธานีได้ประเมินอาการว่าสามารถเดินทางกลับไปรักษาตัวที่บ้าน ก่อนจะเข้ารบการผ่าตัดลำไส้ครั้งต่อไป (ขณะที่แพทย์โรงพยาบาลตำรวจสั่งห้ามนายชาลีเดินมาเป็นเวลากว่า 2 เดือน) ทว่าตัวเเทนของนายจ้างทั้งนายจ้างของนายชาลี นายจ้างรับเหมา เเละเจ้าของอาคารที่กำลังก่อสร้าง  ต่างไม่เหลียวเเลนำค่ารักษาเเละเงินชดเชยมาให้นายชาลี เเละโรงพยาบาล ต่อมาเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลปทุมธานีที่แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจจากท้องที่ปทุมธานี มาควบคุมตัวไปจากโรงพยาบาลดังกล่าวเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2554 โดยอ้างว่าเป็นเเรงงานผิดกฎหมาย ทั้งที่นายชาลีจะได้แจ้งว่าตนได้ขึ้นทะเบียนเเรงงานข้ามชาติมีใบอนุญาตทำงาน ถูกต้องแล้วเเต่เมื่อประสบอุบัติเหตุเอกสารประจำตัวได้สูญหายทั้งหมด

นายชาลีได้ถูกส่งตัวไปควบคุมไว้ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) เพื่อรอการผลักดันกลับประเทศพม่า ขณะที่อาการบาดเจ็บยังต้องรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาจึงร้องขอให้ สตม. ส่งนายชาลีไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลเนื่องจากอาการยังน่าเป็นห่วง ขณะนั้น นายชาลีเป็นผู้ต้องกักในความควบคุม สตม. จึงนำส่งโรงพยาบาลตำรวจ  เมื่อเข้ารับการรักษาเเล้วเเพทย์เจ้าของไข้ที่โรงพยาบาลตำรวจตรวจพบเพิ่มเติมว่ากระดูกต้นขาหัก ต้องทำการรักษาทันที ทั้งๆ ที่นายชาลียัง เดินเเละช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เเต่ก็ถูกควบคุมตัวไว้ในห้องขังที่เเน่นหนาเยี่ยงอาชญากรร้ายแรง โดยการล่ามโซ่ขานายชาลีไว้กับเตียงคนไข้ เเละมีเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมอยู่ด้านนอกตลอดเวลา

ต่อมาองค์กรสิทธิมนุษยชนเรียกร้องต่อ สำนักงานตำรวจเเห่งชาติ (สตช.)  ให้ปลดโซ่เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2554   องค์กรสิทธิมนุษยชนยังเดินหน้าเรียกร้องให้ปล่อยตัวนายชาลีทันที เนื่องจากใบอนุญาตทำงานไม่หมดอายุ เเต่ไม่เป็นผล หลังจากนั้นสภาทนายความจึงยื่นมือให้ความ่วยเหลือทางกฎหมาย ร้องต่อศาลอาญาให้ สตม. ปล่อยตัวนายชาลีเเละเรียกร้องค่าเสียหายจากการถูกควบคุมตัวโดยมิชอบด้วยกฎหมาย    ทว่า สตม. อ้างว่า นายชาลีไม่มีนายจ้างมารับตัว จึงไม่สามารถปล่อยตัวไปได้  ทั้งๆ ที่นายชาลีถูกนายจ้างทอดทิ้ง

เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2554 ศาลมีคำสั่งให้ปล่อยตัวนายชาลี เเละจ่ายค่าเสียหายจำนวน 3,000 บาท บับเป็นกรณีเเรกๆ ที่ศาลสั่งจ่ายค่าเสียหาย เนื่องจาก สตม. ดำเนินการควบคุมตัวโดยมิชอบ เเละมิได้ใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบเอกสารก่อนการควบคุมตัวการปฏิบัติงานของ สตม. ยังไม่คำนึงถึงความปลอดภัยเเละศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  หากนายชาลีไม่ได้รับการช่วยเหลือ  อาจเสียชีวิตเนื่องจากความเจ็บป่วย หรือต้องไปเผชิญชะตากรรมโหดร้ายออกนอกประเทศ 

เวลาผ่านไปสอง เดือน นับจากนายชาลีพ้นโซ่ตรวน เเละกำลังจะออกจากโรงพยาบาล เเต่ทุกวันนี้ กระทรวงเเรงงานซึ่งดูแลสวัสดิการเเรงงานทุกคนในประเทศไทย ยังไม่ได้ทำหน้าที่เต็มที่ เพื่อให้ความช่วยเหลือเเละเยียวยาแรงงานข้ามชาติเหยื่ออุบัติเหตุ 

นายชาลีไม่ใช่ เหยื่ออุบัติเหตุรายแรก ที่กระทรวงแรงงาน  เเละ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พ.ม.) แทบจะไม่สนใจเเละปฏิเสธสิทธิที่จะได้รับการเยียวยา หากไม่มีการสร้างกระเเสสังคมจากสื่อมวลชนอย่างต่อเนื่อง

ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเพราะระบบสวัสดิการเเรงงานข้ามชาติ  ทั้งยามปกติเเละยามได้รับบาดเจ็บจากการทำงานไม่สอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริง   แรงงานข้ามชาติไม่ได้รับความคุ้มครองจากกองทุนเงินทดแทนการบาดเจ็บจากการทำงาน   แม้มีเสียงเรียกร้องจากองค์กรแรงงานทั้งไทยองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ   เเละผู้รายงานพิเศษจากองค์การสหประชาชาติอย่างต่อเนื่อง จนทำให้เกิดกรณีเช่นนี้ซ้ำเเล้วซ้ำเล่า  ในขณะที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนไทย ที่ควรเป็นปากเป็นเสียง เรียกร้องสิทธิมนุษยชนให้แรงงานข้ามชาติกลับเงียบสนิท

การเพิกเฉย เเละนโยบายคุ้มครองเเรงงานที่เลือกปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติ ได้สร้างความรับรู้ว่า แม้ไม่ปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติตามกฎหมาย หรือไร้มนุษยธรรม ก็ไม่มีการลงโทษ นายจ้างที่มีเเรงงานที่บาดเจ็บสาหัสจากการทำงานสามารถ  ทิ้งปฏิเสธการค่าชดเชยความบาดเจ็บ ความพิการ ปล่อยแรงงานให้เป็นภาระของโรงพยาบาลของรัฐ และมักมีการเเจ้งตำรวจจับเเรงงานข้ามชาติที่รับการรักษา

ชองโหว่ของกฎหมายเเละการเลือกปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติ ทำให้นายจ้างหลายรายพยายามลดต้นทุนการผลิต โดยการเก็บเเรงงานข้ามชาติไว้ในระบบ “ใต้ดิน” ทำให้แรงงานข้ามชาติไม่กล้าเรียกร้องสิทธิอันพึงได้ ต้องทำงานเยี่ยงทาส ไม่กล้าแจ้งการละเมิดสิทธิแรงงานและการละเมิดสิทธิมนุษยชน ไม่สามารถเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วยหรือได้รับอุบัติเหตุ  เมื่อใดที่นายจ้างไม่ตัองการ ก็รอวันถูกทิ้งเหมือนเครื่องจักรชำรุด  โดยไม่คำนึงถึงความรับผิดอบต่อชีวิตมนุษย์ ทั้งๆ ที่ภาคเอกชนหลายเเห่งสามารถทุ่มเทเงินกับ "ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ"  (CSR) จำนวนมหาศาล

รัฐบาล กระทรวงแรงงานก็มิได้พยายามแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพทั้งระบบ  ท้ายที่สุดก็ส่งผลกระทบกลับมายังแรงงานไทย   ที่นายจ้างหลายรายเริ่มปลดคนงานไทยออก เเละจ้างแรงงานข้ามชาติมาทำงานเเทน  เนื่องจากสวัสดิการเเละการคุ้มครองที่นายจ้างต้องให้เเก่แรงงานข้ามชาติ ต่ำกว่าแรงงานไทยมาก

ทั้งที่ภาคธุรกิจไทยหลายส่วนต่างตระหนักถึงความสำคัญของแรงงานข้ามชาติต่อความอยู่รอดและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจด้วยการเเข่งขันผลิตสินค้าราคาถูก  ทำให้ภาคเอกชนเรียกร้องให้รัฐเปิดช่องทางและจำนวนโควต้าเพื่อจ้างแรงงานข้ามชาติเพิ่มขึ้น แทบไม่ต่างจากการร้องขอนำเข้าเครื่องจักร แต่ต้องไม่ลืมว่า แรงงานข้ามชาติคือกำลังผลิตเสียงที่มีชีวิต มีความหวัง มีความรู้สึก เจ็บปวด เหนื่อยล้า ท้อแท้ เช่นเดียวกับมนุษย์ทั้งหลาย  เเละการเน้นการส่งออกสนค้าต้นทุนตำ่ ที่มาจากค่าแรงถูก ไม่ใช่เเนวทางที่จะเสริมสร้างเศรษฐกิจไทยในระยะยาว

ในอนาคตเมื่อมีการเปิดเสรีตลาดแรงงานอาเซียน หากไทยยังไม่สามารถรับประกันคุณภาพชีวิตแรงงานได้ พวกเขาอาจจะย้ายถิ่นอีกครั้งไปยังฐานการผลิตใหม่ เพื่อชีวิตที่ดีกว่า การเเข่งขันหาแรงงานราคาถูกเพียงอย่างเดียวคงมิใช่ทางออก ในขณะเดียวกัน ประซึ่งไม่ใช่เเนวทางที่จะเสริมสร้างเศรษฐกิจไทยในระยะยาวประชาคมอาเซียนเองก็ต้องคำนึงถึงการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติ บนพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนมากขึ้น  เเละประเทศต้นทางที่ส่งออกแรงงานข้ามชาติ เช่นสหภาพเมียนมาร์  ต้องเพิ่มบทบาทการคุ้มครองเเละส่งเสริมสิทธิของแรงงานข้ามชาติ ในประเทศปลายทางเพิ่มขึ้นด้วย

เกี่ยวกับผู้เขียน: อานดี้ ฮอลล์ เป็นผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เเละ ที่ปรึกษามูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนเเละการพัฒนา  จุฑิมาศ สุกใส เป็นนักวิจัยอิสระ

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไทยโพสต์แท็บลอยด์ สัมภาษณ์ ‘สมชาย หอมลออ’: ความผิดที่ไม่มีจำเลย

Posted: 17 Apr 2011 03:01 AM PDT

 
เรื่องนิติรัฐ เรื่องหลักสิทธิมนุษยชน สังคมไทยและเจ้าหน้าที่ หรือรัฐบาลอาจจะยังเข้าใจไม่ชัดเจน จริงๆ การเสียชีวิตจากใครก็แล้วแต่ ไม่ว่าจะเสียชีวิตจากโจรหรือเสียชีวิตจากเจ้าหน้าที่ ในกรณีนี้ไม่ว่าจะเสียชีวิตจากชายชุดดำ หรือเสียชีวิตจากเจ้าหน้าที่รัฐ มันก็เป็นหน้าที่ของรัฐอยู่ดีที่จะต้องทำการสืบสวนสอบสวน และก็เอาผู้ที่กระทำความผิดมาดำเนินการตามกฎหมาย ถ้าจะบอกว่าเจ้าหน้าที่ไม่ได้ทำ และก็ถือว่าไม่ต้องรับผิดชอบ อย่างนี้ก็ไม่ถูก เพราะว่ารัฐต้องมีหน้าที่ในการสืบสวนสอบสวน และดำเนินการลงโทษตามกฎหมาย...ความผิดพลาดทุกคนมองเห็นว่ามันมี มันเป็นความผิดพลาดในทางปฏิบัติ เป็นความผิดพลาดในเชิงนโยบาย แต่ต้องให้สังคมรู้ว่าความผิดพลาดมันมีที่มาอย่างไรและมีผลอย่างไร คือมันมีหัวมีปลาย ไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นลอยๆ 
 
กรณีนักข่าวญี่ปุ่น ทางดีเอสไอได้ข้อมูลจากประจักษ์พยานว่า น่าจะเกิดจากการกระทำของทหาร และก็ส่งเรื่องไปให้ตำรวจท้องที่เพื่อที่จะดำเนินการไต่สวนตามกระบวนการของศาล แต่ก็น่าเสียดายที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติกลับชะลอในเรื่องนี้ และก็ขอสอบสวนเพิ่มเติม...จริงๆ แล้วกระบวนการสอบสวนของศาล มันไม่ได้สอบสวนว่าใครผิดใครถูก และก็ไม่ได้มีใครเป็นจำเลยด้วย แต่เป็นการสอบให้รู้ว่าเหตุการณ์มันเกิดขึ้นอย่างไร ที่สำคัญคือเป็นการเปิดโอกาสให้ฝ่ายของผู้ตายนำเสนอพยานหลักฐานด้วย เท่ากับเป็นกระบวนการที่เปิดให้มีการรับฟังอีกฝ่าย เปิดเผยต่อสาธารณะถึงกระบวนการในการค้นหาความจริงของศาล ถึงแม้ผลอาจจะออกมาไม่ระบุว่าใคร แต่ผมคิดว่ามันเป็นกระบวนการที่ดี ที่ทำให้ทุกฝ่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวต่างประเทศ ครอบครัวของเขา ได้เห็นว่ากระบวนการของเรามันยังมีนะ ที่จะให้ความยุติธรรมได้
 
กว่า 2 เดือนของกระบวนการรับฟังข้อมูลข้อเท็จจริง (Hearing) ที่คณะอนุกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) เปิดพื้นที่ให้ประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อและทหารรับฟังเรื่องราวจากมุมของอีกฝ่าย ซึ่งนี่คือกระบวนการเรียนรู้ที่ทุกฝ่ายจะต้องมุ่งไปสู่ 'ความจริง' และยอมรับ 'ความผิดพลาด' ทั้งจาก 12 กรณีความรุนแรง โดยที่ สมชาย หอมลออ ประธานคณะอนุกรรมการฯ ระบุว่า มีหลายคดีที่ควรจะไปสู่ขั้นตอนการไต่สวนของศาลได้แล้ว เพราะนี่คือทางเดียวที่จะแสดงให้เห็นว่าเรายังมีกระบวนการยุติธรรมอยู่ 
 
ให้เห็นว่ายังมี process
"พอจบกระบวนการรับฟังแล้ว เราจะทำในลักษณะ genetic ไม่ใช่เป็นเรื่องแต่ละเหตุการณ์ แต่เป็นเรื่องภาพรวมที่จะต้องเชิญฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล เป็นเหมือนองค์ประกอบของเหตุการณ์ความรุนแรงครั้งนี้ เช่น เด็กหรือทำไมเด็กผู้หญิงจึงเข้าร่วมการชุมนุม การปฏิบัติการของทหารที่เป็นภาพรวม การปฏิบัติของคนเสื้อดำ เป็นภาพรวมของเหตุการณ์ต่างๆ ที่เราจะเอามาปะติดปะต่อกัน จะเป็นแนวขวาง ที่ผ่านมาเราทำในแนวตั้งแต่ละเรื่องๆ ตอนนี้เราก็จะทำเรื่อง cross cutting แนวขวาง นอกจากจะได้มุมมองในด้านนั้นแล้ว เราก็จะเอาคนที่เกี่ยวข้องมานั่งคุยกันด้วย และเขาจะได้ฟังว่าอีกฝ่ายคิดอย่างไร"
 
"การรับฟังมันดีในแง่ที่ทำให้คู่ขัดแย้งที่ไม่ใช่แค่ฝ่ายสองฝ่าย แต่เป็นหลายฝ่าย ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์หนึ่งๆ มาพูดถึงข้อเท็จจริง เหตุการณ์และก็มุมมอง จากฝ่ายของตัวเองเพื่อให้ฝ่ายอื่นๆ ได้รับทราบ ขณะเดียวกันก็ได้ฟังจากฝ่ายอื่นๆ ด้วย ซึ่งก็จะเห็นว่ามีข้อเท็จจริงและมีมุมมองที่ต่างกันอยู่ ซึ่งมันเป็นเรื่องจำเป็นที่อีกฝ่ายหนึ่งควรจะฟัง เพื่อจะได้ไม่คิดว่าสิ่งที่ตัวเองคิด สิ่งที่ตัวเองเห็นมันถูกต้องทั้งหมด เพราะมันมีมุมมองอื่น มันมีข้อเท็จจริงอื่นในเหตุการณ์เดียวกัน ซึ่งผมก็ดูแล้วนอกจากทำให้คณะกรรมการได้รับข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้น แน่นอนมันอาจจะไม่เป็นเรื่องรายละเอียดถึงขั้นของการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ แต่มันก็เป็นข้อเท็จจริงที่ได้จากประจักษ์พยาน ได้จากคนที่เกี่ยวข้อง มันได้สร้างบรรยากาศของการร่วมกันในการค้นหาความจริง"
 
"มีไม่มากก็น้อยที่หลายๆ เหตุการณ์ ทำให้คนที่มาให้ข้อมูลมีความเข้าใจฝ่ายอื่นมากขึ้น เช่น ทหารก็จะเข้าใจประเด็นมุมมองหรือความรู้สึกคนที่เป็นเหยื่อ หรือคนที่เป็นเหยื่อก็จะรู้ว่าทหารที่เขาไปทำงานในพื้นที่จริงๆ เขาคิดเขารู้สึกอย่างไร มันอาจจะไม่ได้เป็นเรื่องเลวร้ายเหมือนกับที่เขาเคยคิดว่า ทหารต้องมองเขาเป็นศัตรู หรือจงใจที่จะเข่นฆ่าคนที่มาชุมนุม ซึ่งทหารก็ตกอยู่ในภาวะที่ลำบาก ทั้งในแง่ของสถานการณ์ ทั้งในแง่ของระบบระเบียบการสั่งการ ที่มันมีความสับสนวุ่นวาย คือผมคิดว่ากระบวนการ Hearing มันทำให้คนเข้าใจกันมากขึ้น แม้แต่การที่เราได้เชิญคุณหมอพรทิพย์มา ซึ่งผู้ชุมนุมจำนวนไม่น้อยอาจจะมีทัศนะมองว่าคุณหมออยู่กับฝ่ายทหาร ดังนั้น สิ่งที่คุณหมอไปตรวจสอบก็ต้องเข้าข้างทหาร เพราะคุณหมอก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการ ศอฉ.ด้วย ในความเป็นจริงมันก็ไม่ค่อยถูกเท่าไหร่ที่รัฐบาลแต่งตั้ง แต่เมื่อรัฐบาลแต่งตั้งไปแล้ว ในฐานะที่เป็นข้าราชการก็ลำบาก คุณหมอก็ได้มาพูดถึงในสิ่งที่คุณหมอทำ ซึ่งไม่ใช่เป็นสิ่งที่คนอื่นได้ยินจากสื่อเท่านั้น แต่จากปากคำของคุณหมอเองว่ามันมีสภาพอย่างไร มันมีข้อจำกัดอย่างไร ผมคิดว่าได้ทำให้คนที่ฟัง แม้แต่เหยื่อของความรุนแรงได้มีความเข้าใจคุณหมอมากขึ้น"      
    
เรียกได้ว่าเกิดบรรยากาศของการให้อภัย
"เราต้องชมคนสองส่วน อันที่หนึ่ง-คนที่ปฏิบัติการในพื้นที่ แน่นอนเป็นระดับนายทหาร โดยทั่วไปคนเหล่านี้ก็มาด้วยท่าทีที่ค่อนข้างจะสำรวมถ่อมตัว และก็มักจะแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและความรุนแรงที่เกิดขึ้นเสมอ ผมคิดว่านี่เป็นเรื่องที่ดี และก็เหยื่อเองไม่ว่าจะเป็นคนที่ได้รับบาดเจ็บสาหัส ญาติของผู้ที่เสียชีวิต ขณะที่มาร่วมในกระบวนการ Hearing ดูแล้วก็จะมีความเข้าใจหรือลดอารมณ์ร้อนแรง เมื่อได้พบท่าทีหรือบรรยากาศที่มีลักษณะทุกฝ่ายต้องการค้นหาความจริง จริงๆ ว่าอะไรเกิดขึ้น และไม่ได้คิดว่าสิ่งที่ตัวเองเห็นเป็นสิ่งที่ถูกต้องทั้งหมด อันที่สอง-เป็นบรรยากาศที่ทุกคนต้องการทำความเข้าใจกัน มันได้ลดอุณหภูมิมากทีเดียว ที่จริงแล้วถ้ามีการจัดในลักษณะเช่นนี้บ่อยๆ ผมคิดว่ามันน่าจะสร้างความรู้สึกที่ดี"
 
"ความผิดพลาดทุกคนมองเห็นว่ามันมี ซึ่งแน่นอนว่ามันเป็นความผิดพลาดในทางปฏิบัติ เป็นความผิดพลาดในเชิงนโยบาย แต่มันต้องให้สังคมรู้ว่าความผิดพลาดมันมีที่มาอย่างไร และมันมีผลอย่างไร คือมันมีหัวมีปลาย ไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเฉยๆ ลอยๆ และมันก็อาจจะไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากเจตนาชั่วร้ายของใครคนใดคนหนึ่ง แต่มันเป็นตรรกะของสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งถ้าคนที่ปฏิบัติหรือคนที่ใช้นโยบาย คำว่าปฏิบัตินี่ หมายถึงทั้งสองส่วนที่เป็นคู่ขัดแย้งกัน ถ้าไม่มีความตระหนักและไม่ระมัดระวังแล้ว มันก็เกิดความเสียหายได้"  
 
ตั้งข้อสังเกตว่า กระบวนการรับฟังข้อเท็จจริงทอดระยะนานหลังเหตุการณ์ความรุนแรง เพื่อที่ว่าอารมณ์ความโกรธแค้นจะได้ลดระดับลง
"จริงๆ แล้วเราก็ไม่ได้ตั้งใจถึงขนาดนั้น แต่ว่าความเป็นจริงที่เกิดขึ้นมันก็เป็นอย่างนั้น ก็เนื่องจากว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ๆ ถ้าเราเชิญทั้งสองฝ่ายมา ก็คงไม่ใช่มาแล้วจะเกิดบรรยากาศถกเถียงกันอย่างเดียว แต่ว่าทั้งสองฝ่ายก็คงจะไม่ยอมมา ฉะนั้นการที่เขามานี่ แสดงว่ามันมีหลายสิ่งหลายอย่างที่ทำให้เขาอยากมา เช่น อารมณ์อาจจะร้อนแรงลดลง หรือเขาก็อาจจะเริ่มอยากจะดูว่า เออ-มันมีอะไรเกิดขึ้นจริงๆ อยากรู้ว่าอีกฝ่ายหนึ่งคิดอย่างไร แต่ว่าในแง่งานของเราก็คือว่า มันก็เป็นช่วงจังหวะหลังจากที่เราได้ตรวจสอบโดยตัวของเราเองในแต่ละเหตุการณ์แล้ว เราก็มีข้อมูลที่เป็นพื้นฐานพอสมควร คือเราไม่ได้ใช้ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่ได้จากสื่ออย่างเดียว แต่เราจะได้ข้อมูลที่ได้จากปากคำของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ สื่อมวลชนทั้งไทยและต่างประเทศ ผู้เดินขบวน เจ้าหน้าที่ ผู้ชุมนุม ผู้ที่เป็นเหยื่อความรุนแรง เรียกว่าเรามีข้อมูลพื้นฐานพอสมควรอยู่แล้ว รวมทั้งข้อมูลจากการตรวจชันสูตรต่างๆ เราก็พอมีอยู่บ้างที่เราได้รับจากหน่วยราชการ ซึ่งเราคิดว่าทั้งหมดนี้จะเป็นพื้นฐานที่จะทำให้ทุกฝ่ายมานั่งคุยกันได้"
 
"แน่นอนสิ่งที่ทุกคนบอกไม่ได้หมายความว่าจะถูกหมด แต่ต้องเอามาประกอบกันและทำให้เข้าใจ เพราะสิ่งที่เราทำมันต่างจากที่ดีเอสไอหรือพนักงานสอบสวนทำ ซึ่งเขามุ่งสอบเพื่อหาตัวผู้กระทำผิดตามระบบกล่าวหา แต่ของเรานี่เราต้องการรู้มากกว่านั้น ต้องการรู้ว่าบรรยากาศที่มันเกิดเหตุความรุนแรง มันเกิดขึ้นได้อย่างไร ทั้งในแง่การปฏิบัติการของฝ่ายต่างๆ รวมทั้งอารมณ์ความรู้สึกด้วย อารมณ์ความรู้สึกนี่ก็สำคัญ เช่น อาจจะมีไหมที่ทหารบางคนที่มีความรู้สึกว่าตัวเองเสียศักดิ์ศรี ต่ำต้อย จากการปฏิบัติการของ นปช.ที่สถานีดาวเทียมไทยคม ที่ทหารถูกปลดอาวุธ มีไหมทหารบางคนที่ต่อมามาประจำการหรือมาทำงานในวันที่ 10 เม.ย. และก็จะใช้อารมณ์ความรู้สึกนั้นออกไปในทางแก้แค้น ซึ่งจริงๆ ก็เป็นคนละหน่วยกันที่มาปฏิบัติการ"
 
"แต่ถึงกระนั้นก็เถอะ เป็นไปได้ไหมที่ทหารบางคนเห็นภาพของเพื่อนทหารในเหตุการณ์ที่สถานีดาวเทียมไทยคม แล้วเขามีความรู้สึกเช่นเดียวกัน ถึงแม้ตัวเองไม่ได้อยู่ร่วมในเหตุการณ์ เพราะว่าเท่าที่เราทราบ เมื่อทหารเขาเห็นภาพที่ออกทางทีวีที่ทหารถูกปลดอาวุธ แล้วต้องเดินอย่างหมดสภาพไปขึ้นรถเหมือนกับว่าถูกควบคุมโดยแกนนำ นปช. บางคนนั่งดูทีวีอยู่ก็ร้องไห้ มันเป็นความรู้สึกแบบนี้ไหม มันอาจจะมีบ้างหรือไม่ที่จะมีผลต่อมา ทำให้การปฏิบัติการของทหารบางคนไม่มีความเป็นมืออาชีพพอในเหตุการณ์วันที่ 10 เม.ย. นี่ยกตัวอย่าง หรือแม้กระทั่งที่สำคัญมากที่สุดก็คือ การที่มีนายทหารเสียชีวิตหลายคน และระดับนายพลก็ได้รับบาดเจ็บสาหัส มันได้เป็นตัวสำคัญอะไรไหมที่มีส่วนในการกำหนดยุทธศาสตร์ยุทธวิธีของทหาร ในการดำเนินการกับผู้ชุมนุมในระยะเวลาต่อๆ มา คือเราต้องการข้อมูลข้อเท็จจริงอันนี้ ซึ่งไม่ใช่เป็นมุมมองในเชิงการสืบสวนสอบสวนในคดีอาญา"
 
"หรืออย่างในกรณีวัดปทุมวนารามฯ เราก็ต้องสอบไปถึงขั้นที่ว่า เอ๊ะ-มันมีการปะทะกันก่อนหน้านี้ไหม หรือมีการยิงโต้ตอบกันไหม ถ้ายิงโต้ตอบกัน เป็นอาวุธชนิดไหน หรือเจ้าหน้าที่ได้รับการปลูกฝังได้รับข้อมูลข่าวสารมาตลอดหรือไม่ว่า ในวัดปทุมฯ เป็นที่ซ่องสุมของชายชุดดำ ฉะนั้นถ้าสมมติว่ามีพยานหลักฐานออกไปในทางว่าทหารใช้ความรุนแรง ทำให้มีผู้เสียชีวิตที่หน้าวัดปทุมวนารามฯ เราก็ต้องเข้าใจด้วยว่ามันมีสาเหตุหรือมูลเหตุมาจากอะไร เช่น มีการยิงต่อสู้กันหรือเปล่า หรือทหารได้รับข้อมูลอะไรมาที่ไม่ถูกต้องหรือเปล่า หรือการประสานงานมีความผิดพลาดไหม ระหว่างหน่วยที่อยู่บนรางรถไฟฟ้ากับภาคพื้นดิน ถ้าสมมติว่าเป็นการยิงมาจากรางรถไฟฟ้าจริง บนรางรถไฟฟ้า ได้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือเปล่า เพื่อที่เราจะได้หาสาเหตุจริงๆ เพื่อที่จะมีข้อเสนอแนะป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นอีก"

เหตุการณ์ที่วัดปทุมวนารามฯ เป็นข้อมูลที่มิได้มาจากทหาร-ผู้ชุมนุมเท่านั้น แต่ข้อมูลจากหน่วยกู้ชีพถือได้ว่ามีน้ำหนักทีเดียว 
"คือข้อมูลตรงกับของดีเอสไอ เขาบ่งชี้ไปในลักษณะที่ว่ามีการยิงจากทหารที่อยู่บนรางรถไฟฟ้าลงมาที่หน้าวัดปทุมฯ ที่เราต้องตั้งคำถามก็คือยิงทำไม ทำไมถึงยิง เช่นอย่างที่ผมบอกว่า มีการให้ข้อมูลจากทหารภาคพื้นดินขึ้นไปข้างบนนั้นอย่างไรจึงทำให้ยิงลงมา ยกตัวอย่างเช่น มีการให้ข้อมูลว่าปะทะกับชายชุดดำแล้ววิ่งไล่ชายชุดดำมาทางหน้าวัดปทุมฯ หรือไม่ นี่ยกตัวอย่างนะ และก็ขอให้ทางข้างบนนั้นยิงสกัดหรือไม่"
 
การค้นหาความจริงในลักษณะ genetic ยังลงลึกถึงชายชุดดำที่ยากจะเข้าถึงข้อเท็จจริงได้
"เราก็มีข้อมูลเท่าที่ ศอฉ.ให้เรา แต่แน่นอนว่าเราก็ต้องตรวจสอบเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากนักข่าวต่างประเทศหลายคน และก็จากรูป เท่าที่เราพบคือมีชายชุดดำที่มีอาวุธร้ายแรงปฏิบัติการแน่นอน นับตั้งแต่วันที่ 10 เม.ย.เป็นต้นมาจนถึงวันสุดท้าย เพียงแต่ว่าชายชุดดำเกี่ยวพันกับใคร แม้แต่การยิงเอ็ม 79 จากสวนลุมฯ เข้ามาที่หน้าสีลมคอมเพล็กซ์ ที่สี่แยกศาลาแดง มีคนตายหลายคน เพียงแต่ว่าเป็นใคร ก็ยังเป็นคำถามอยู่ และมันมีฝ่ายเดียวหรือเปล่า มีสไนเปอร์ไหม สไนเปอร์เป็นฝ่ายไหน"
 
สื่อมวลชนต่างประเทศที่มีส่วนสำคัญในการให้ข้อมูลมากที่สุดเห็นจะเป็น นิก นอสติทซ์ - นักข่าวอิสระชาวเยอรมัน      
"เขาใกล้ชิดกับพื้นที่ที่แกนนำของผู้ชุมนุมอยู่ เขาก็มีข้อมูลเยอะ และผมก็เชื่อว่ายังมีข้อมูลอีกมากที่เขายังไม่ได้เปิดเผย ผู้สื่อข่าวจะมีข้อมูลที่ตัวเองยังไม่ได้เปิดเผยเก็บอยู่ในกระเป๋าเสมอ แต่เราไม่ได้ฟังข้อมูลปากเดียว เราก็ต้องกรองสิ่งที่เขาให้มาว่าอันไหนเป็นข้อเท็จจริง อันไหนเป็นความรู้สึก บางคนที่เป็นเจ้าหน้าที่ด้านกู้ชีพและอาจจะเห็นใจผู้ชุมนุม ก็จะมีเยอะที่ให้ปากคำกับเรา 3-4 ครั้ง มันจะมีข้อมูลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่เป็นข้อมูลที่บางทีเขาก็อาจจะไม่รู้สึกเป็นข้อมูลที่เขาฟังมาแล้วคิดว่าเป็นข้อมูลที่เขาเห็นเอง เราก็สังเกตเห็น เพราะคุยกับเขาครั้งแรกเขาจะให้ข้อมูลแบบหนึ่ง พอมาคุยครั้งที่ 3 ที่ 4 เขาจะให้ข้อมูลเพิ่มขึ้น แต่เป็นการเพิ่มขึ้นที่บางส่วนมันขัดแย้งกับครั้งแรก เช่นครั้งแรกเขาบอกว่าเขาไม่เห็นแบบนี้ แต่พอมาครั้งที่ 4 เขาบอกว่าเขาเห็น คือมันเป็นเรื่องปกติสำหรับคนที่เขาอินมากๆ ข้อมูลมันเยอะแยะมากมาย ตอนหลังเขาก็จำไม่ได้ว่านี่เป็นข้อมูลที่เขาเห็นเอง หรือเป็นข้อมูลที่เขารับฟังรับรู้มาอีกที"
 
เท่าที่รู้คือกรณีบ่อนไก่ยังคงเป็นปัญหา เพราะมีข้อมูลน้อยมาก
"เราก็ส่งคนลงพื้นที่นะ แต่ยังได้ข้อมูลไม่มากนัก เราเข้าใจว่าคนที่อยู่ในพื้นที่ยังไม่อยู่ในบรรยากาศที่จะให้ข้อมูลได้อย่างเสรี ยังหวาดกลัวอะไรบางอย่าง ซึ่งไม่ใช่เป็นความหวาดกลัวที่เกิดจากเจ้าหน้าที่"
 
สมชายระบุว่า ความไม่คืบหน้าของกระบวนการยุติธรรมส่งผลกระทบต่อหลักนิติรัฐ  

"เรื่องนิติรัฐ เรื่องหลักสิทธิมนุษยชน ผมคิดว่าสังคมไทยและเจ้าหน้าที่ หรือรัฐบาลอาจจะยังเข้าใจไม่ชัดเจน จริงๆ การเสียชีวิตจากใครก็แล้วแต่ ไม่ว่าจะเสียชีวิตจากโจรหรือเสียชีวิตจากเจ้าหน้าที่ หรือในกรณีนี้ไม่ว่าจะเสียชีวิตจากชายชุดดำ หรือเสียชีวิตจากเจ้าหน้าที่รัฐบางคน มันก็เป็นหน้าที่ของรัฐอยู่ดีที่จะต้องทำการสืบสวนสอบสวน และก็เอาผู้ที่กระทำความผิดมาดำเนินการตามกฎหมาย ถ้าจะบอกว่าเจ้าหน้าที่ไม่ได้ทำ และก็ถือว่าไม่ต้องรับผิดชอบ อย่างนี้ก็ไม่ถูก เพราะว่ารัฐต้องมีหน้าที่ในการสืบสวนสอบสวน และดำเนินการลงโทษตามกฎหมาย" 

"ปัญหาเรื่องนี้เราก็เข้าใจความยากลำบากของเจ้าหน้าที่ที่ทำการสืบสวนอยู่นะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดีเอสไอ เนื่องจากว่ามันเป็นเหตุการณ์ใหญ่ ชุลมุนและก็มีความสลับซับซ้อน เราก็เชื่อว่าพยานบางคนอาจจะยังไม่กล้าที่จะเปิดตัวหรือให้ถ้อยคำกับพนักงานสอบสวน อาจจะด้วยสาเหตุหลายอย่าง หนึ่งก็อาจจะเกรงว่า ตัวเองจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องในคดีในฐานะใดฐานะหนึ่ง เช่น ในฐานะของพยานต้องไปเบิกความ ซึ่งอาจจะเสี่ยงต่อความปลอดภัยของตัวเองและครอบครัว หรือดีไม่ดีอาจจะกลายเป็นผู้ต้องหาไป รวมทั้งถ้าเป็นผู้ชุมนุมก็อาจจะไม่ไว้ใจดีเอสไอสักเท่าไหร่ แต่ว่าสำหรับเรา เราก็พยายามติดต่อและก็ได้รับการรับปากอยู่เหมือนกันว่า ถ้าไม่ต้องให้มาเจอที่สำนักงาน คอป.เขาก็ยินดีจะเจอ หลังสงกรานต์ก็คงจะต้องมาดำเนินการอีกที เราคิดว่าผู้ได้รับบาดเจ็บเป็นพยานที่ดีที่สุด เพราะเขาอยู่ในเหตุการณ์ จะรู้ไม่มากก็น้อยว่าการยิง ยิงมาจากไหน เขาอาจจะไม่เห็นชัดเจน ทิศทางไหน ใครเป็นคนยิง แต่บาดแผลเขาจะบอกลักษณะของอาวุธได้"

การเสียชีวิตของนักข่าวอิตาลีและญี่ปุ่นถือว่าเสียหายมากพออยู่แล้ว แต่ยิ่งไม่มีความชัดเจนของกระบวนการยุติธรรม ยิ่งทำให้หลักสิทธิมนุษยชนในไทยเป็นปัญหา    

"ที่ส่งผลกระทบต่อประเทศมาก ไม่ใช่ในฐานะที่เป็นคนญี่ปุ่นหรือเป็นคนอิตาเลียน แต่ว่าในฐานะที่เป็นนักข่าวด้วย มันเป็นความรู้สึกร่วมกันของบรรดานักข่าวทั้งไทยและต่างประเทศถึงความไม่คืบหน้า ยังไม่ถึงกับว่าล้มเหลวนะ แต่ความไม่คืบหน้าในการสืบสวนสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ถึงแม้กรณีนักข่าวญี่ปุ่น ทางดีเอสไอได้ข้อมูลมาอยู่บ้างจากประจักษ์พยาน ว่าน่าจะเกิดจากการกระทำของทหาร และก็ส่งเรื่องไปให้ตำรวจท้องที่เพื่อที่จะดำเนินการไต่สวนตามกระบวนการของศาล แต่ก็น่าเสียดายที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติกลับชะลอในเรื่องนี้ และก็ขอสอบสวนเพิ่มเติม"

"จริงๆ แล้วกระบวนการสอบสวนของศาล มันไม่ได้สอบสวนว่าใครผิดใครถูก และก็ไม่ได้มีใครเป็นจำเลยด้วย แต่เป็นการสอบให้รู้ว่าเหตุการณ์มันเกิดขึ้นอย่างไร ที่สำคัญคือ เป็นการเปิดโอกาสให้ฝ่ายของผู้ตายนำเสนอพยานหลักฐานด้วย ซึ่งผมคิดว่ากระบวนการอันนี้ เมื่อทำแล้วเท่ากับเป็นกระบวนการที่เปิดให้มีการรับฟังอีกฝ่าย เปิดเผยต่อสาธารณะถึงกระบวนการในการค้นหาความจริงของศาล ถึงแม้ผลมันอาจจะออกมาไม่ระบุว่าใคร แต่ผมคิดว่ามันเป็นกระบวนการที่ดี ที่ทำให้ทุกฝ่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวต่างประเทศ ครอบครัวของเขาได้เห็นว่า เออ-กระบวนการของเรามันมีนะที่จะให้ความยุติธรรมได้"

"ผมก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า ทำไมทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงไม่ดำเนินการ โดยไปตีความกฎหมายว่าจะต้องสอบถึงขั้นให้เห็นว่าใครเป็นคนยิง ถ้าถึงขั้นว่าใครเป็นคนยิงแล้วหละก็ดำเนินคดีได้แล้ว ซึ่งความจริงแล้วมันคนละเรื่องระหว่างการดำเนินคดีกับการไต่สวน เพราะฉะนั้นตราบใดถ้ามันมีข้อสงสัย หรือมีพยานอันสมควรว่าการกระทำนั้นเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ที่อ้างว่าปฏิบัติตามหน้าที่มันก็ต้องเข้ากระบวนการศาล ให้เกิดความโปร่งใส ถึงมันมีถึง 12 สำนวน แต่ตอนนี้ 2 เดือนผ่านไป หลังจากที่ดีเอสไอส่งให้กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติแล้ว มันก็ยังไม่ความคืบหน้า ผมก็ไม่รู้ว่าการทำอย่างนี้ทำให้คนมองว่า ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติอยู่ภายใต้การกดดันหรือดำเนินการของทหารหรือเปล่า"

ครอบครัวผู้เสียชีวิตหรือสถานทูต ก็อาจจะไม่ต้องการถึงขนาดว่าคนไหนเป็นคนยิง 
"คืออย่างน้อยขอให้ทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการ ให้เห็นว่ามันมี process มันก็มีกรณีคนตายเยอะแยะไปที่หาคนร้ายไม่ได้ อายุความตั้ง 20 ปี"

เมื่อยิ่งไม่ชัดเจนก็ยิ่งทำให้รัฐบาลถูกไล่บี้อยู่ทุกเวทีในระดับนานาชาติ ไม่เว้นกระทั่งเมื่อคุณกษิตไปประชุมเจบีซี ซึ่งรัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่นยังยกเอาประเด็นนี้มาซักถาม

"เราก็เห็นใจรัฐบาลญี่ปุ่น สถานทูตญี่ปุ่น เพราะเขาก็อธิบายประชาชนเขาไม่ได้ เพราะฉะนั้นในขณะที่การสอบสวนเพื่อจะเอาตัวผู้กระทำผิดไปลงโทษก็ดำเนินการไป การไต่สวนการตายเป็นคดีวิสามัญในศาลก็ควรต้องทำ อันนี้เราก็แนะนำทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติไป แต่เขาก็ยืนยันว่าจะขอเวลา 2 เดือนเพื่อตรวจสอบเพิ่มเติม และตอนนี้เห็นเขาดึงผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธปืนมาให้ข้อมูลว่า ในกรณีของนักข่าวญี่ปุ่นไม่น่าจะเกิดจากกระสุนปืนเอ็ม 16 คือผู้เชี่ยวชาญไม่ได้พูดอย่างนี้นะ แต่ว่าตีความได้ว่าลักษณะบาดแผลมันอธิบายไปในทางว่า เป็นปืนที่ใหญ่กว่าปืนเอ็ม 16 เช่น กระสุนปืนนาโต หรือกระสุนปืนอาก้าเป็นต้น การให้ข้อมูลอย่างนี้มันก็ทำให้คนสงสัยว่า มีความพยายามหรือเปล่าว่าจะบิดเบือนคดี ผมก็คิดว่าผู้เชี่ยวชาญคงจะพูดไปตามหลักวิชาการ เพียงแต่ว่าการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเรา มันเหมือนกับว่าไม่เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย คือเมื่อดีเอสไอเขาส่งเรื่อง เป็นสำนวนชันสูตรพลิกศพแล้ว ก็ควรจะต้องเชิญอัยการแล้วก็สอบสวนดำเนินคดีวิสามัญฆาตกรรมแล้วก็ส่งให้ศาล นี่คือความเห็นของผมนะในฐานะที่เป็นนักกฎหมาย"
 
 
ถอดบทเรียน-สร้างบรรทัดฐาน

รายงานสรุปบทเรียนโดยไม่ชี้ถูกชี้ผิดบนพื้นฐานสังคมไทย ที่ไม่ค่อยเก็บรับบทเรียนจากประสบการณ์ อาจจะเป็นการทำงานที่สูญเปล่า
"เราไม่ได้ชี้ถูกชี้ผิดในแง่มุมของอาชญากรรม หรือไม่ได้ชี้ถูกชี้ผิดในแง่มุมของประมวลกฎหมายอาญา อันนี้เป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่บ้านเมืองเขา ดีเอสไอหรือตำรวจ แต่แน่นอนว่ารายงานของเราจะพูดถึงความถูกความผิดในมุมอื่น ทั้งในมุมของประชาธิปไตย ในมุมของสิทธิมนุษยชน ในมุมของความเหมาะสมในการใช้กำลัง มุมของความเหมาะสมในการจัดชุมนุมเดินขบวนเราก็ต้องพูดด้วย เสรีภาพของการชุมนุมสาธารณะมีแค่ไหน การใช้อำนาจของรัฐในการจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมควรจะทำได้แค่ไหนและควรจะทำอย่างไร เพราะว่านี่มันจะเป็นบรรทัดฐานสำหรับทุกคน เพราะถึงอย่างไรก็ต้องมีการชุมนุม ซึ่งถ้าเราไม่มาตรวจสอบเราจะไม่รู้ เช่น เราพบว่าความรู้สึกของผู้ชุมนุมที่มีต่อกำลังที่เป็นเจ้าหน้าที่ทหารกับกำกลังที่เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ จะเป็นความรู้สึกที่ต่างกัน อันนี้มันเป็นประสบการณ์ของทั่วโลก ทำไมเราไม่เคยตระหนัก ที่ไหนก็แล้วแต่เอาทหารออกมาเป็นปัญหาทั้งนั้น สมมติว่าถ้าเป็นฝรั่งเศสจะเรื่องใหญ่กว่าเรามากถ้าเอาทหารออกมา ในอเมริกาที่บอกว่าเป็นประชาธิปไตย เอาทหารออกมานี่รับรองประธานาธิบดีอยู่ไม่ได้"

"ที่ผ่านมาเราอาจจะรู้สึกว่านั่นมันเป็นประเทศตะวันตก เขาแคร์เรื่องทหารที่เอามาใช้กับประชาชนมาก เพราะทหารเขาเอาไว้เพื่อป้องกันประเทศอย่างเดียว แต่ประเทศไทยทหารมีบทบาททุกอย่าง ทั้งในเรื่องปกป้องประเทศ ทั้งเรื่องการพัฒนา การทำจิตวิทยามวลชน แล้วทำไมเรื่องการชุมนุมจะเอามาใช้ไม่ได้ จริงๆ แล้วเราต้องยอมรับว่าความรับรู้และความเข้าใจ ความรู้สึกของคนที่มีต่อทหารมันเปลี่ยนไป เราเริ่มมีความรู้สึกว่าทหารมีไว้เพื่อป้องกันประเทศ ไม่ใช่เอามาจัดการกับผู้ชุมนุมมากขึ้นทุกที แสดงว่าเราเริ่มยอมรับกฎเกณฑ์บรรทัดฐานของประชาธิปไตย เป็นเรื่องที่เราได้รับจากบทเรียนของเราเอง ไม่ใช่เรียนรู้จากตะวันตกอย่างเดียว เราเรียนรู้ของเราเองตั้งแต่ 14 ตุลา, 6 ตุลา, พฤษภา คือเราก็ต้องมาทำประสบการณ์ของเราให้ออกไปในเชิงที่สร้างสรรค์"

"เรายังพบว่าถ้าเอาทหารออกมา แต่ไม่ได้เอารถหุ้มเกราะออกมาด้วย มันก็อาจจะเป็นอีกแบบหนึ่ง แต่พอเขาเห็นว่ามีอาวุธ ความรู้สึกมันต่างกันนะ ความรู้สึกของผู้เดินขบวนต่อทหารที่ถือโล่กระบอง แต่มีอาวุธอยู่ในรถไม่เอามาใช้ กับทหารที่มีปืนมันต่างกัน และเราก็ตั้งข้อสังเกตว่า จะมีมือที่สามมาใช้อาวุธกับทหารด้วยหรือเปล่า การไม่ดึงทหารมายุ่งเกี่ยวนั้นดีที่สุด แต่เราก็เข้าใจสถานการณ์ว่า บางทีตำรวจช่วงนั้นก็ใช้ไม่ได้ ซึ่งก็ต้องมีคำอธิบายด้วยว่าทำไมจึงใช้ไม่ได้ ทำไมคุณมีเวลาตั้งปีหนึ่ง ตั้งแต่สงกรานต์ปีก่อนโน้น ที่คุณอภิสิทธิ์เกือบจะเอาชีวิตไม่รอดที่มหาดไทย แสดงว่าคุณไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ใช่ไหม มันไม่ได้เป็น political agenda ใช่ไหม ไม่ได้เป็น political view ใช่ไหม เหมือนว่าไม่ตระหนักพอเรื่องผ่านไปก็ไม่สนใจแล้ว ไปแก้ปัญหาเฉพาะหน้าตอนมันเกิดขึ้นอีก ไม่ได้เอามาเป็นนโยบาย ไม่ได้ออกมาเป็นแผนป้องกันเลย ทหารไม่ควรจะเอามาใช้อีกแล้วกับพลเมืองของประเทศ"

ทหารเองก็ต้องไม่คิดว่าตัวเองเป็นคำตอบของทุกปัญหา ซึ่งพร้อมที่จะกระโดดเข้ามา
"อันนี้ก็เป็นปัญหา แต่สิ่งที่เราได้รับจากการ Hearing ทหารหลายคนพูดมาเลยว่าจะไม่เอาอีกแล้ว ระดับผู้บัญชาการระดับกลางนะ คือมันเป็นกระบวนการเรียนรู้ด้วยกัน คือถ้าสมมติว่าเราเห็นว่าทหารไม่ควรจะออกมา ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไร สิ่งเหล่านี้ไม่ควรจะเป็นบรรทัดฐานของสังคมอย่างเดียวแต่ต้องเป็นบรรทัดฐานของทหารด้วย ทหารต้องเข้าใจเรื่องนี้ด้วย ไม่อย่างนั้นมันก็เป็นไปไม่ได้"

บทเรียนที่จะสรุปน่าจะต้องวางทิศทางและบทบาทที่ควรจะเป็นของทุกสถาบัน ที่เป็นองค์ประกอบของระบอบประชาธิปไตย
"รวมทั้งรัฐสภาด้วย เราก็คงต้องมาพิจารณากันว่า ส.ส.ที่อยู่ในสภาฯ ควรจะต้องกระโจนลงมาบนเวทีชุมนุมหรือเปล่า อะไรอย่างนี้ สมมติว่าถ้าเรายอมรับอันนี้ เราก็ต้องอธิบายได้ว่าทำไม นี่ยกตัวอย่างนะ แม้เแต่การชุมนุมเองก็ต้องมีกรอบอยู่พอสมควรหรือไม่ ซึ่งอันนี้จะต้องเป็นบรรทัดฐานสำหรับทุกคนนะ ไม่ใช่เสื้อเหลืองอย่างหนึ่ง เสื้อแดงอย่างหนึ่ง ไม่ใช่ฝ่ายหนึ่งบอกว่าฉันทำได้ แต่อีกฝ่ายหนึ่งทำไม่ได้ มันต้องเป็นบรรทัดฐานที่ใช้ได้กับทุกๆ คน ซึ่งอันนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายหรอก มันต้องเป็นกระบวนการการเรียนรู้ และผมคิดว่าผู้ชุมนุมจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นเสื้อเหลือง เสื้อแดง หรือเสื้อหลากสี เขาเริ่มเรียนรู้ แน่นอนว่าในแต่ละส่วนมันมีพวกสุดโต่งอยู่แน่ แต่โดยทั่วไปเริ่มเรียนรู้ว่าการชุมนุมนั้นคนรับได้แค่ไหน

”สำหรับ นปช.เราก็สังเกตเห็นว่า ช่วงการชุมนุมช่วงนี้มีลักษณะตระหนัก และฟังเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากขึ้น ประกาศหลักเกณฑ์วันเวลาที่แน่นอน เน้นการชุมนุมที่เป็นเชิงสัญลักษณ์ วัตถุประสงค์อาจจะมีทั้งทวงถามความเป็นธรรม หรือกระทั่งต้องการที่จะรักษากระแสไว้ ก็เป็นสิทธิอันชอบธรรมที่จะทำได้ ผมเคยพูดเสมอว่า ทั้งเสื้อเหลือง เสื้อแดง เป็นพลังทางการเมืองที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาของสังคมประชาธิปไตย ผมว่ามันได้สร้างสิ่งที่เรียกว่า active citizen เยอะ เพียงแต่ว่าผู้นำจะต้องระมัดระวังเรื่องทิศทาง ว่าจะทำอย่างไรให้ได้รับการสนับสนุนจากสังคมมากยิ่งขึ้น เพราะการจะสร้างประชาธิปไตยจะทำไม่ได้ถ้าประชาชนไม่ร่วมขบวนไปกับเขา เราก็ไม่อยากให้ active citizen เซ็งไปก่อน”

วันแรกที่เห็นรายชื่อ คอป. สังคมไม่เชื่อมั่นว่าจะทำงานได้อย่างอิสระ แต่การทำงานที่ผ่านมาดูเหมือนจะเห็นใจคนเสื้อแดงอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะข้อเสนอให้รัฐบาลยอมให้ประกันตัวแกนนำ นปช.
“ตอนแรกไม่ได้รับความไว้วางจากทั้งสองฝ่ายด้วยซ้ำ แน่นอนเราไปตรวจสอบเขา แต่ว่าเราไม่ได้ตรวจสอบเพื่อเอาใครมาลงโทษ เป็นการดูว่าสาเหตุของปัญหามันเกิดจากอะไร จะป้องกันอย่างไรในอนาคต ต้องยกเครดิตให้ท่าน อ.คณิต แม้ว่าเราจะได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาล แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทหารในทางความรู้สึกว่าเขาจะต้องไว้ใจเราทุกคน แต่แน่นอนว่าตามหน้าที่ทางกฎหมาย เขาก็ต้องให้ความร่วมมือ เราทำงานไปเราก็มีความรู้สึกว่า ความไว้วางใจจากทุกฝ่ายเราก็ได้รับมากขึ้น”

ถือได้ว่า "สมชาย" เป็นหนึ่งในนักสิทธิมนุษยชนที่ถูกตั้งคำถามมากที่สุด เพราะเขาเคยวิพากษ์วิจารณ์นโยบายปรามปรามยาเสพติดยุคทักษิณ แต่กลับนิ่งเฉยต่อการตายของประชาชนในภารกิจกระชับพื้นที่ของทหาร

“ผมเองก็มีทรรศนะมีความเข้าใจส่วนตัว ผมว่าก็มีกันทุกคน คงห้ามกันไม่ได้ แต่เมื่อมาทำหน้าที่กรรมการ คอป. ก็ต้องว่ากันตามหลักเกณฑ์ที่เราตั้งไว้ เราต้องตรวจสอบทุกฝ่าย เราต้องพินิจพิเคราะห์พยานหลักฐานต่างๆ อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ กับคุณทักษิณผมไม่ได้อะไรในทางส่วนตัว เรื่องสงครามยาเสพติด ผมก็เป็นคนแรกๆ ที่ออกมาคัดค้าน เรื่องการใช้กำลังของรัฐในปีที่แล้ว ผมก็เห็นว่าไม่ถูกในแง่ที่ใช้ทหารออกมา แต่สถานการณ์ตอนนั้น มันในฐานะที่เป็นคนที่อยู่ในกรุงเทพฯ ก็อาจจะรู้สึกเหมือนคนกรุงเทพฯ อื่นๆ ที่รู้สึกอัดอัดต่อสถานการณ์ รู้สึกว่าให้มันมีอะไรสักอย่างที่ให้มันคลี่คลาย เช่น รัฐบาลควรจะลาออกอะไรอย่างนี้ วันที่ 18 ผมก็ได้สัมภาษณ์กับทางกลุ่ม อ.โคทม และกลุ่มวุฒิสมาชิก ว่ารัฐบาลควรจะเจรจาและกำหนดวันเลือกตั้งที่แน่นอน แต่ตอนนั้นทำไมผมไม่ออกมาประณามฝ่ายรัฐที่ทำให้มีคนตายจำนวนมาก-ทหาร มันก็มีปัญหาเรื่องข้อมูลอยู่นะ เช่นเดียวกับวันที่ 10 เม.ย.ที่คนตายมีทั้งผู้ชุมนุมและทหาร เรื่องนี้มันต้องตรวจสอบก่อนที่เรามีท่าทีออกไป ก็บังเอิญ อ.คณิตมาชวนให้มาทำงานตรวจสอบ”

คณะกรรมการ คอป.จะครบวาระกลางปีหน้า ซึ่งแม้หลังเลือกตั้งและอาจจะเปลี่ยนขั้วอำนาจ สมชายก็ย้ำว่าคณะกรรมการชุดนี้จะยังทำงานต่อ

”การทำงานของเราไม่ได้เกี่ยวกับรัฐบาลเลยนะ อ.คณิตก็ไม่ได้เจอนายกฯ เลย และก็เลี่ยงที่จะเจอ ถ้าตามระเบียบสำนักนายกฯ ที่ตั้งเราไม่ว่ารัฐบาลชุดไหนมา เราก็สามารถทำงานได้ เราก็จะทำต่อจนครบวาระ เพราะเราคิดว่ากระบวนการการตรวจสอบค้นหาความจริงและความปรองดอง คือผมก็มีความจริงของผมอันหนึ่ง แต่ละคนก็มีความจริง แต่ทำอย่างไรเราจะทำให้เป็นความจริงที่คนยอมรับได้มากขึ้น หลายฝ่ายยอมรับได้ หรือคนส่วนใหญ่ยอมรับได้ ซึ่งมันไม่ใช่เป็นปัญหา อยู่ที่ความจริงอย่างเดียว แต่มันอยู่ที่สถานการณ์ เวลา และความรู้สึกของสังคม”
 
 
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"ชาลี ดีอยู่" คนงานพม่าได้ออกจาก รพ.พรุ่งนี้ NGOสิทธิชี้ระบบเยียวยาแรงงานเหลว

Posted: 17 Apr 2011 01:12 AM PDT

มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาออกแถลงการณ์แจ้งความคืบหน้ากรณีนายชาลี ดีอยู่ แรงงานข้ามชาติ ซึ่งได้รับบาดเจ็บระหว่างการทำงาน และถูกควบคุมตัวโดยมิชอบที่โรงพยาบาลตำรวจ ก่อนหน้านี้ ล่าสุด คณะแพทย์ฯ อนุญาตให้นายชาลีออกจากโรงพยาบาลได้ในวันพรุ่งนี้ (18 เม.ย.)

ทั้งนี้ มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา ได้เรียกร้องให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องเข้ามาให้ความช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติให้ได้รับการรักษาพยาบาลตามที่กฎหมายกำหนด พร้อมระบุกรณีนายชาลีเป็นเพียงหนึ่งตัวอย่างของแรงงานข้ามชาติอีกจำนวนมากที่ได้รับบาดเจ็บ ทุพลภาพ หรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจากการทำงาน และมักตกเป็นเหยื่อการละเมิดสิทธิซ้ำซ้อน และเป็นบทสะท้อนที่ชัดเจนถึงการเลือกปฏิบัติและความไร้ประสิทธิภาพของระบบการเยียวยาลูกจ้างที่ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยจากการทำงาน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงความยุติธรรมสำหรับผู้ใช้แรงงาน ทั้งแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติ

เนื้อหาแถลงการณ์มีดังนี้ ...

เวลา 11.00 น. วันที่ 18 เมษายน 2554 คณะแพทย์โรงพยาบาลตำรวจอนุญาตให้นายชาลี ดีอยู่ แรงงานข้ามชาติเหยื่ออุบัติเหตุจากการทำงาน ได้รับบาดเจ็บสาหัสลำไส้ใหญ่แตกและกระดูกสะโพกซ้ายหัก ออกจากโรงพยาบาลได้ หลังต้องเข้ารับการรักษาตัวเป็นเวลากว่า 3 เดือน แม้อาการทั่วไปจะดีขึ้น แต่ลำไส้ใหญ่ของนายชาลียังอยู่นอกช่องท้อง โดยแพทย์ได้นัดกลับมารับการผ่าตัดเพื่อนำลำไส้ใหญ่กลับเข้าช่องท้องอีกในอีก 2 สัปดาห์

ก่อนหน้านี้ในวันที่ 9 มกราคม 2554 นายชาลี ถูกผนังปูนหล่นทับระหว่างทำงานให้กับผู้รับเหมาต่อเติมอาคารสำนักงานบริษัท ซีพี ค้าปลีกและการตลาด จำกัด ต่อมาถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลปทุมธานี จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2554 โรงพยาบาลแจ้งตำรวจให้เข้าควบคุมตัวนายชาลีด้วยข้อหาเข้าเมืองผิดกฎหมายและเกือบถูกส่งกลับประเทศพม่าทั้งที่ยังป่วยหนัก แต่โดยการเรียกร้องของมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาและเครือข่ายแรงงานข้ามชาติอื่นๆ ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 นายชาลีถูกส่งตัวมารักษาที่โรงพยาบาลตำรวจที่ซึ่งนายชาลีถูกล่ามโซ่ไว้กับเตียงในสถานะผู้ป่วยต้องกัก ต่อมาวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2554 ศาลอาญากรุงเทพใต้ ได้มีคำสั่งให้ปล่อยตัวนายชาลีเและให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองชดเชยค่าเสียหายจากการควบคุมตัวโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะใบอนุญาตทำงานของนายชาลียังไม่หมดอายุ

ตลอดระยะเวลาที่รับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรงจ แม้นายชาลีจะได้รับการปล่อยตัวและได้รับการดูแลเป็นอย่างดีจากโรงพยาบาลตำรวจ ตลอดจนสำนักงานประกันสังคมที่ได้มีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลและค่าชดเชยให้แก่นายชาลีเป็นเงิน 9,167 บาท ก็ตาม แต่นายชาลีก็ไม่สามารถเข้าถึงการเยียวยาของกองทุนเงินทดแทนได้ แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของระบบการเยียวยาแรงงานข้ามชาติที่ประสบอุบัติเหตุจากการทำงาน การเลือกปฏิบัติ หรือการใช้สองมาตรฐานต่อแรงงานข้ามชาติ และการขาดการประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐ ทั้งกระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสำนักงานประกันสังคม อันเป็นปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข โดยต่อประเด็นดังกล่าวนี้ มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนามีความเห็นและข้อเรียกร้องดังนี้

1. กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ควรเข้ามามีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูแรงงานที่เจ็บป่วยจากการทำงาน ดังเช่นกรณีนายชาลีซึ่งแม้แพทย์อนุญาตให้กลับไปพักรักษาตัวที่บ้านได้ แต่เนื่องจากนายชาลี ที่ไม่มีญาติพี่น้อง ไม่มีบ้าน ทั้งอาการบาดเจ็บที่ยังไม่หายดีและยังไม่สามารถทำงานได้ จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่นายชาลีจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เพียงลำพัง และจึงต้องได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

2. สำนักงานประกันสังคมต้องทบทวนแนวปฏิบัติตามหนังสือเวียนที่ รส. 0711/ว.751 ซึ่งกีดกันแรงงานข้ามชาติออกจากระบบกองทุนเงินทดแทนและทำให้สำนักงานประกันสังคมปฏิเสธไม่จ่ายค่ารักษาพยาบาลและเงินทดแทนกรณีประสบอุบัติเหตุจากการทำงานให้กับแรงงานข้ามชาติ ดังเช่นกรณีนายชาลี ซึ่งแทนที่จะให้กองทุนจ่ายเงินทดแทนและค่ารักษาพยาบาลต่อนายชาลีและลงโทษนายจ้างเช่นเดียวกับกรณีที่ลูกจ้างคนไทย กลับมีคำสั่งให้นายจ้างเป็นผู้จ่ายเสียเอง ซึ่งนอกจากจะเป็นการผลักภาระไปยังโรงพยาบาลที่ไม่สามารถปฏิเสธการรักษาจึงต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่นายจ้างอาจจ่ายล่าช้าหรือไม่มีเงินจ่าย ยังเป็นการผลักความเสี่ยงและภาระไปที่นายจ้าง ลูกจ้าง อันเป็นแนวปฏิบัติที่ขัดต่อพระราชบัญญัตเงินทดแทน พ.ศ.2537 และขัดกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนฯเพื่อเป็นหลักประกันสิทธิของลูกจ้างที่จะได้รับการเยียวยากรณีประสบอุบัตเหตุหรือเจ็บป่วยจากการทำงานโดยไม่เลือกปฏิบัติ และยังขัดต่ออนุสัญญาแรงงานระหว่างประเทศซึ่งห้ามเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับสิทธิในการได้รับการเยียวยาจากอุบัติเหตุการทำงานและอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติซึ่งประเทศไทยมีพันธรกรณีต้องปฏิบัติตามในฐานรัฐภาคี ซึ่งองค์การแรงงานระหว่างประเทศและผู้รายงานพิเศษว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของแรงงานย้ายถิ่นได้เคยมีความเห็นแนะนำให้รัฐบาลทบทวนแนวปฏิบัติดังกล่าวแล้ว

3. กระทรวงแรงงานควรเข้ามามีบทบาทและจัดให้มีระบบในการให้ความช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติที่ถูกเลิกจ้างอันเนื่องมาจากการประสบอุบัติเหตุจากการทำงาน เช่นเดียวกับกรณีนายชาลีที่ถูกเลิกจ้างและไม่สามารถกลับไปทำงานก่อสร้างอย่างเดิมได้เนื่องจากสภาพร่างกายที่อ่อนแอจากการบาดเจ็บ โดยที่นายชาลีเองก็ยังไม่ทราบอนาคตตนเองว่าจะสามารถหางานทำได้หรือไม่ และเนื่องจากกระทรวงแรงงานไม่มีระบบรองรับเพื่อให้ความช่วยเหลือเรื่องที่พักฟื้น การจัดหางานหรือต่อใบอนุญาตทำงานให้กับแรงงานข้ามชาติที่ประสบอุบัติเหตจากการทำงานและอยู่ระหว่างรอดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายเช่นในกรณีนี้ มูลนิธิฯจึงต้องรับภาระดำเนินการต่อใบอนุญาตทำงานให้นายชาลีและเข้าเป็นนายจ้างเสียเองรวมถึงค่าใช้จ่ายทั้งหมดด้วย เพื่อให้นายชาลีสามารถมีสิทธิอาศัยต่อในประเทศไทยเพื่อใช้สิทธิเรียกร้องการเยียวยาชดเชยตามกฎหมายได้

4. กระทรวงแรงงานและกระทรวงสาธารณสุขควรกำหนดแนวทางที่ชัดเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพและการต่อใบอนุญาตการทำงานสำหรับแรงงานข้ามชาติที่ประสบอุบัติเหตุจากการทำงานและอยู่ระหว่างการเรียกร้องสิทธิ ซึ่งแม้นายชาลีจะได้รับการต่อใบอนุญาตการทำงานแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถเข้าเป็นผู้ประกันตนตามหลักประกันสุขภาพของแรงงานข้ามชาติได้ เนื่องจากในช่วงที่เปิดให้มีการต่อใบอนุญาตการทำงานนั้น นายชาลีไม่สามารถเดินทางไปตรวจสุขภาพได้ ซึ่งมูลนิธิฯได้มีหนังสือไปยังกระทรวงสาธารณสุขเพื่อสอบถามแนวปฏิบัติต่อกรณีนี้แล้วแต่ยังไม่ได้รับการตอบรับแต่อย่างใด

กรณีนายชาลี เป็นเพียงหนึ่งตัวอย่างของแรงงานข้ามชาติอีกจำนวนมากที่ได้รับบาดเจ็บ ทุพลภาพ หรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจากการทำงาน และมักตกเป็นเหยื่อการละเมิดสิทธิซ้ำซ้อน และเป็นบทสะท้อนที่ชัดเจนถึงการเลือกปฏิบัติและความไร้ประสิทธิภาพของระบบการเยียวยาลูกจ้างที่ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยจากการทำงาน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงความยุติธรรมสำหรับผู้ใช้แรงงาน ทั้งแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติ

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น