ประชาไท | Prachatai3.info |
- เครือข่ายสลัม 4 ภาค ร่วมชาวชุมชนพระราม 6 ร้อง ตร.ใช้ความรุนแรง ไล่รื้อชุมชน
- ศึกสองประธานาธิบดีในไอวอรี่โคสต์ ส่อแววยุติหลังฝรั่งเศสและยูเอ็นใช้กำลังเข้าแทรกแซง
- นักข่าวพลเมือง: ชาวบ้านหลั่งน้ำตา ราชการออกใบอนุญาต ทิ้งผลกระทบการสร้างโรงไฟฟ้าให้ ปชช.
- กฎหมาย "ป.ป.ช." ใหม่ อำนาจล้นฟ้า สั่งแสดงธุรกรรมการเงิน-หยุดนับอายุความ
- นักข่าวพลเมือง: อิตัลไทยฯ เปิดฉากปะทะกับชาวบ้าน รับเวทีเข็น ‘อีเอชไอเอ’ เหมืองโปแตชอุดรฯ
- เครือข่ายนักศึกษา จี้ล้ม “เวทีรับฟังความเห็น” โครงการเหมืองโปแตซอุดรฯ
- คนงานชี้ "ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม" ฉบับ 'หล่อไม่เสร็จ' กองทุนฯยังไม่อิสระจริง
- เรียนถามฟ้าหญิงจุฬาภรณ์: ตาย 91 เจ็บ 2 พัน ไม่น่าสะเทือนใจกว่าการ"เผาบ้านเผาเมือง"หรือครับ? และเหตุใดไม่ทรงวิจารณ์พันธมิตรครับ?
- รถโดยสารแรงงานพม่าถูกรถสิบล้อชนเสียชีวิต 9 ราย เจ็บอีกกว่า 50
- SPDC โอนทรัพย์สินของรัฐให้ตานฉ่วยและครอบครัว
- "จายหมอกคำ" รองประธานาธิบดีพม่ามอบเงินช่วยผู้ประสบเหตุแผ่นดินไหวในรัฐฉาน
- บันทึกทนายความ ฉบับที่ 1 : เสียงกระซิบจากแดนตาราง
เครือข่ายสลัม 4 ภาค ร่วมชาวชุมชนพระราม 6 ร้อง ตร.ใช้ความรุนแรง ไล่รื้อชุมชน Posted: 05 Apr 2011 02:37 PM PDT เครือข่ายสลัม 4 ภาค ประณาม ตร.ใช้กำลังไล่รื้อชุมชนพระราม 6 ชี้ชาวบ้านเรียกร้องสิทธิของชุมชน พร้อมจี้ ผบ.ตร.สอบสวนเหตุการณ์ ขณะที่การจัดหาพื้นที่ใหม่ให้ชาวชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากรถไฟฟ้าสายสีแดงยังไม่ได้ข้อสรุป ชาวบ้านโดนตัดขาดทั้งน้ำ-ไฟ วานนี้ (5 เม.ย.54) เมื่อเวลาประมาณ 15.30 น.ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เครือข่ายสลัม 4 ภาค พร้อมด้วยชาวชุมชนพระราม 6 กว่า 100 คน ได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนการทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ กรณีการนำกำลังเข้าไล่รื้อชุมชนพระราม 6 เมื่อวันที่ 30 มี.ค.ที่ผ่านมา ในที่ดินของ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เพื่อที่จะนำพื้นที่ดังกล่าวไปใช้ในการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง จนเกิดการปะทะกันระหว่างตำรวจคอมมานโดกับชาวชุมชน ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บหลายรายและชาวบ้านส่วนหนึ่งถูกจับกุมขุมขัง นายสุชิน เอี่ยมอินทร์ กรรมการบริหารเครือข่ายสลัม 4 ภาคกล่าวว่า การใช้กำลังไล่รื้อชุมชนควรหมดไปได้แล้วในสังคมไทย และการมายื่นหนังสือครั้งนี้เพื่อให้ทาง ผบ.ตร.สั่งการกับทุกหน่วยงานของกรมตำรวจ ไม่ให้ใช้กำลังเข้าดำเนินการกับชาวชุมชนอื่นๆ อีกในอนาคต ส่วนนายถวัลย์ บุญธรรม ตัวแทนสหพันธ์พัฒนาองค์กรชุมชนคนจนเมืองแห่งชาติ (สอช.) กล่าวว่า ที่ผ่านมาชาวบ้านชุมชนพระราม 6 ได้มีการเจรจากับร.ฟ.ท.มาตลอด จนได้ข้อยุติและทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันว่า ทาง ร.ฟ.ท.จะจัดหาพื้นที่ 5 ไร่ ให้ชาวบ้านเช่าอาศัยแทนพื้นที่เดิมที่จะมีการรื้อถอน แต่กลับยังไม่มีการทำสัญญาเช่าที่ และชาวบ้านไม่สามารถเข้าไปอยู่อาศัยในพื้นที่ดังกล่าวได้เพราะมีชาวชุมชนเดิมอาศัยก่อนอยู่ก่อนแล้ว ทำให้ชาวบ้านชุมชนพระราม 6 ยังไม่ย้ายออกจากพื้นที่ จนมีการยื่นฟ้องต่อศาลขับไล่ชาวบ้าน ซึ่งต่อมาศาลได้มีคำพิพากษาให้ชาวบ้านย้ายออกจากพื้นที่ และมีการบังคับคดี โดยมีการประสานให้ตำรวจเขามาดูแลการรื้อถอน นายถวัลย์ กล่าวด้วยว่า ชาวบ้านชุมชนพระราม 6 ถูกทางตำรวจนำกำลังเข้ามาไล่รื้อชุมชน ได้รับผลกระทบกว่า 372 ครัวเรือน ซึ่งไม่ใช่ผลกระทบเล็กๆ และสายรถไฟยาวตลอดสาย ซึ่งจะมีชุมชนอีกหลายชุมชนต้องรับผลกระทบ หากมีการกระทำเช่นเดียวกันนี้จากทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ขณะที่นางสิริพร สายเที่ยงแท้ อายุ 43 ปี ชาวชุมชนพระราม 6 ที่เดินทางมาร่วมพร้อมกับหลานสาววัย 4 ขวบ กล่าวให้ข้อมูลว่า หลังจากที่ได้มีการเดินเท้าไปที่พรรคประชาธิปัตย์เมื่อวันศุกร์ที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา ขณะนี้ชาวชุมชนยังประสบปัญหาเรื่องน้ำ ไฟ ที่โดนตัดไปแล้ว และรถสุขา โดยรถน้ำก็มาส่งน้ำให้หลังจากที่ได้เดินทางไปร้องเรียนแต่หลังจากนั้นก็ไม่มีใครเข้ามาให้ความช่วยเหลืออีก ถึงวันนี้เป็นเวลาเกือบสัปดาห์แล้วที่ชาวชุมชนกว่าร้อยคนในชุมชนต้องอาศัยหลับนอนในเต็นท์ที่ได้รับการช่วยเหลือจากชาวบ้านชุมชนใกล้เคียงโดยไม่มีใครยื่นมือมาให้ความช่วยเหลืออย่างจริงจัง ส่วนเรื่องที่พื้นที่ใหม่ที่ชาวชุมชนจะย้ายไปพักอาศัยนั้น นางสิริพรกล่าวว่าเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ตัวแทนของชุมชนได้เข้าร่วมพูดคุกับตัวแทนของ ร.ฟ.ท.และกระทรวงคมนาคม ได้ข้อสรุปให้ชาวชุมชนย้ายไปอาศัยในพื้นที่ชุมชนสีน้ำเงินซึ่งอยู่ตรงข้ามฝั่งคลอง ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของโรงไม้แต่ได้มีการรื้อถอนไปแล้วก่อนหน้านี้ แต่เมื่อชาวบ้านเข้าไปรังวัดที่เพื่อจัดสรรกลับมีปัญหาไม่ให้เข้าพื้นที่ เนื่องจากกรมโยธาจะทำการขุดลอกคลองและใช้พื้นที่ดังกล่าวทำแก้มลิง ในขณะที่กระทรวงคมนาคมก็บอกให้ชาวบ้านเข้าไปจัดสรรพื้นที่โดยระบุว่าไม่จำเป็นต้องทำสัญญาเพื่อเช่าที่ ทำให้ชาวชุมชนหวั่นเกรงว่าหากเขาไปตั้งบ้านเรือนแล้วในที่สุดก็จะถูกบังคับไล่รื้ออีก “ที่ผ่านมาเหมือนเราถูกปิดกั้นจากความรับรู้ของผู้คนภายนอก ไม่มีใครมองเห็นเรา ไม่มีใครรับรู้ถึงความเดือดร้อนของเรา” นางสิริพรกล่าว ด้าน พล.ต.ต.ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นตัวแทนรับเรื่อง กล่าวกับชาวชุมชนที่มาร้องเรียนว่า จะดูแลไม่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้ความรุนแรง อย่างไรก็ตามในกรณีนี้หากต่างฝ่ายต่างไม่ใช่ความรุนแรงก็จะไม่เกิดปัญหาการปะทะขึ้น ทั้งนี้ ส่วนตัวไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์จึงไม่สามารถบอกได้ว่าใครถูกผิด พร้อมให้ชาวชุมชนนำภาพเหตุการณ์มามอบให้เพื่อดูว่าการกระทำไหนของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกินเหตุ และมีการปฏิบัติการอย่างไร ทั้งนี้ เครือข่ายสลัม 4 ภาค ยังได้ออกแถลงการณ์ “หยุด! ใช้ความรุนแรงต่อการเรียกร้องสิทธิชุมชน” โดยระบุความเห็นต่อเหตุการณ์ดังกล่าวว่า เป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุ เนื่องจากการคัดค้านของชุมชนพระราม 6 เป็นการเรียกร้องเพื่อให้เกิดการเจรจาตามสิทธิชุมชนที่มีอยู่ และก่อนหน้านี้ได้ชาวบ้านมีข้อตกลงไว้เบื้องต้นที่จะย้ายออกจากที่อยู่อาศัยในวันที่ 3 เม.ย.54 แต่ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจกลับเข้าดำเนินการใช้ความรุนแรงในการรื้อที่อยู่อาศัยของชาวชุมชนมือเปล่า อีกทั้งยังมีการใช้แก๊สน้ำตาจัดการกับชาวชุมชนที่ขัดขวางด้วย แถลงการณ์ดังกล่าวประณามการกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งถือเป็นการละเมิดสิทธิในการเรียกร้องด้านที่อยู่อาศัยของผู้ไร้ที่อยู่อาศัย ซึ่งทางสหประชาชาติได้ประกาศให้เป็นประเด็นที่ต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหา อีกทั้งรัฐบาลเองได้มีนโยบายบ้านมั่นคงเพื่อแก้ปัญหาที่อยู่อาศัย ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะต้องใช้ความรุนแรงในการไล่รื้อชุมชน พร้อมเรียกร้องให้ พล.ต.อ.วิเชียร ตั้งคณะกรรมการสอบสวนเหตุการณ์ดังกล่าว และให้มีนโยบายว่าจะไม่ใช้ความรุนแรงต่อการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยต่อไปในอนาคต “เครือข่ายสลัม 4 ภาค จะขอติดตาม ตรวจสอบ ในการสอบสวนผู้สั่งการให้เกิดการกระทำในเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด” แถลงการณ์ระบุ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ศึกสองประธานาธิบดีในไอวอรี่โคสต์ ส่อแววยุติหลังฝรั่งเศสและยูเอ็นใช้กำลังเข้าแทรกแซง Posted: 05 Apr 2011 01:34 PM PDT ความรุนแรงทางการเมืองของไอวอรี่ โคสต์ซึ่งดำเนินมาเกือบปีอันเนื่องจากการอดีตประธานาธิบดีไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง และใช้กำลังกวาดล้างฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองเป็นเหตุให้ประชาชนเสียชีวิตไปหลายร้อยคนกำลังจะสิ้นสุดลง โดยฝ่ายอดีตประธานาธิบดีขอเจรจายอมแพ้หลังถูกฝรั่งเศสและกองกำลังรักษาสันติภาพโจมตีวานนี้ สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า เมื่อวันที่ 5 เม.ย. ที่ผ่านมา ทหารฝรั่งเศสร่วมกับกองกำลังรักษาสันติภาพแห่งสหประชาชาติได้ร่วมกันโจมตีฐานที่มั่นทางทหารของฝ่ายประธานาธิบดีบากโบ (Laurent Gbagbo) ขณะเดียวกัน กองกำลังฝ่ายของนายอลัสซาน อูอัตทารา ผู้นำซึ่งเป็นคู่ชิงตำแหน่งประธานาธิดีของนายบากโบก็เปิดฉากโจมตีกรุงอาบิดจัน เมืองหลวงขอไอวอรี่โคสต์อีกระลอกหนึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของฝรั่งเศส นายอแลง จูปเป้ กล่าวต่อสภาผู้แทนราษฎรของฝรั่งเศสว่า การเจรจาเพื่อให้นายบากโบลงจากอำนาจนั้นกำลังจะสำเร็จ ซึ่งเป็นการให้ข้อมูลที่สอดคล้องกับโฆษกส่วนตัวของนายบากโบที่ยอมรับว่ามีการเจรจาเกิดขึ้น โดยอยู่บนพื้นฐานของการยอมรับว่านายอูอัตทาราเป็นประธานธิบดี โฆษกส่วนตัวของนายบากโบกล่าวด้วยว่า ข้อต่อรองเพื่อแลกกับการยุติการใช้กำลังของฝ่ายอดีตประธานาธิบดีบากโบคือการรับประกันความปลอดภัยของตัวเขาและผู้เกี่ยวข้อง องค์การสหประชาชาติเผยว่าผู้บัญชาการทหาร ผู้บัญชาการตำรวจ และผู้บัญชาการหน่วยรักษาความปลอดภัยแห่งสาธารณรัฐได้ยอมเปิดการเจรจาแล้ว ทั้งนี้ นายบากโบเป็นอดีตประธานาธิบดีของสาธารณรัฐไอวอรี่ โคสต์ ซึ่งแพ้การเลือกตั้งให้กับนายอลัสซาน อูอัตทารา เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม อดีตประธานาธิบดีผู้นี้ปฏิเสธที่จะลงจากอำนาจและไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง พร้อมทั้งใช้กำลังทางทหารปราบปราบฝ่ายต่อต้านซึ่งสนับสนุนผลการเลือกตั้ง และสนับสนุนผู้นำคนใหม่คือนายอลัสซาน อูอัตทารา (Alassane Ouattara) อย่างรุนแรง องค์การสหประชาชาติระบุว่ามีผู้เสียชีวิตจากการปราบปรามโดยใช้กองกำลังทหารไปจำนวนมากกว่า 500 คน และประชาชนอีกราว 1 ล้านคนต้องละทิ้งบ้านเรือน ผู้สื่อข่าวบีบีซีตั้งข้อสังเกตว่าบรรยากาศภายในเมืองหลวงผ่อนคลายลงอย่างมากภายหลังข่าวการเจรจายุติการต่อสู้ อย่างไรก็ตาม ประชาชนกว่า 4 ล้านคนยังคงต้องหลบอยู่ภายในที่พักอาศัยและเผชิญกับภาวะขาดแคลนอาหาร น้ำ และไฟฟ้า อันเป็นผลมาจากการการปะทะกันตลอดวันที่ผ่านมา นายนิโคลัส ซาร์โกซี ประธานาธิบดีของฝรั่งเศสกล่าวว่า ฝรั่งเศสในฐานะอดีตเจ้าอาณานิคมจำเป็นต้องเข้าแทรกแซงสถานการณ์ในไอวอรี่ โคสต์ซึ่งกำลังเลวร้ายถึงขีดสุดเพื่อปกป้องชีวิตของพลเรือนผู้บริสุทธิ์และทำลายศักยภาพของกองกำลังฝ่ายที่สวามิภักดิ์ต่อบากโบให้หมดสิ้น เว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์รายงานว่า กระทรวงการต่างประเทศของไทยระบุว่ามีคนไทยอยู่ในไอวอรี่ โคสต์ 2 ราย และกำลังตรวจสอบว่าต้องการความช่วยเหลือจากรัฐบาลไทยหรือไม่ ไอวอรี่ โคสต์ เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของทวีปแอฟริกา มีพรมแดนทิศตะวันตกติดกับประเทศกินี และประเทศไลบีเรีย ทิศเหนือติดกับประเทศมาลี และประเทศบูร์กินาฟาโซ ทิศตะวันออกติดกับประเทศกานา ทิศใต้ติดกับอ่าวกินี และเคยตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสในระหว่างปี ค.ศ. 1889-1944 อดีตประธานาธิบดีบากโบ ปัจจุบันอายุ 65 ปี เข้าสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2543
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
นักข่าวพลเมือง: ชาวบ้านหลั่งน้ำตา ราชการออกใบอนุญาต ทิ้งผลกระทบการสร้างโรงไฟฟ้าให้ ปชช. Posted: 05 Apr 2011 11:17 AM PDT เครือข่ายอนุรักษ์วิถีเกษตรกรรมหนองแซง-ภาชี พ้อหน่วยราชการออกใบอนุญาตแล้วทิ้งประชาชนเผชิญชะตากรรม รับผลกระทบโครงการโรงไฟฟ้าในพื้นที่ จวกอุตสาหกรรมจังหวัดทำได้แค่รับเรื่อง บริษัทฯ ไม่ส่งคนเข้าร่วม สรุปนัดตัวแทนทุกหน่วยงานลงพื้นที่ 8 เม.ย.นี้ 1 เม.ย.54 เวลา 14.00 น.ห้องประชุมสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรี เจ้าหน้าที่ระดับสูงจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมกรุงเทพฯ นั่งเป็นประธาน เปิดการประชุม รับเรื่องร้องเรียนจากเครือข่ายอนุรักษ์วิถีเกษตรกรรมหนองแซง-ภาชี ที่ร้องเรียนว่า บริษัทเจ้าของโรงไฟฟ้าหนองแซง กำลังการผลิต 1600 เมกกะวัตต์ คือ บริษัทเพาเวอร์เจเนอเรชั่นซัพพลาย จำกัด ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท กัลฟ์ เจพี เอนพีเอส ได้ว่าจ้างผู้รับเหมา ทำการปรับถมที่ดินเพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้าหนองแซงตั้งแต่กลางเดือนมกราคม 2554 ตามที่ได้รับใบอนุญาตเมื่อปี 2553 จากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานตามการพิจารณาเบื้องต้นของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้สร้างผลกระทบต่อชาวบ้าน ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย เครือข่ายอนุรักษ์วิถีเกษตรกรรมนำโดยนายตี๋ ตรัยรัตนแสงมณี และนางปฐมมน กัณหา พร้อมชาวบ้านประมาณ 20 คน สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรี ตัวแทนจากกรมโรงงาน กรุงเทพฯ ตัวแทนจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ หรือ สผ.(ผู้อนุมัติ อีไอเอ) ผู้อำนวยการฝ่ายออกใบอนุญาตสำนักงานคณะกรรมกำกับกิจการพลังงาน และตัวแทนจากสำนักงานกำกับกิจการพลังงานเขตสระบุรี ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมครั้งนี้ไม่ใช่การประชุมตรวจการปฏิบัติตามอีไอเอ เพราะบริษัทผู้ปฏิบัติไม่มาร่วมประชุมด้วยจึงไม่สามารถตรวจการปฏิบัติตามอีไอเอได้ เพราะต้องฟังบริษัทชี้แจงด้วย ด้านอุตสาหกรรมจังหวัดระบุว่าการประชุมครั้งนี้สืบเนื่องจากการที่เจ้าหน้าที่ราชการทั้งหมดไปประชุมตรวจการปฏิบัติตาม อีไอเอ ของโรงฟ้า 2 โรงในเครือบริษัทกัลฟ์ฯ คือที่โรงไฟฟ้าแก่งคอย 2 อ.แก่งคอย มาเมื่อช่วงเช้าวันเดียวกันนี้ และได้ทำจดหมายเชิญตัวแทนชาวบ้านหนองแซงไปตรวจอีไอเอการก่อสร้างโรงไฟฟ้าหนองแซงซึ่งมีเจ้าของเดียวกัน ที่ห้องประชุมโรงไฟฟ้าแก่งคอย 2 แต่เครือข่ายชาวบ้านไม่ไป โดยให้เหตุผลว่าสถานที่ไม่เป็นกลาง และเกรงบริษัทถ่ายรูปชาวบ้านไปลงจุลสารของบริษัทเหมือนที่บริษัทเคยทำมาแล้วตอนที่ตุลาการศาลปกครองลงเผชิญสืบในพื้นที่เมื่อปีที่แล้ว เพื่อโฆษณาว่าบริษัทสามารถทำความเข้าใจกับกลุ่มคัดค้านได้แล้ว อุตสาหกรรมจังหวัดจึงยินยอมมาเปิดประชุมที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ชั่วโมงแรกของการประชุมเริ่มต้นด้วยการปรึกษาหารือกันเกี่ยวกับความรับผิดชอบของหน่วยงานต่างๆ อาทิ กรมโรงงานอุตสาหกรรม, สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมรวมทั้งเจ้าหน้าที่ทรัพยากรจังหวัด และสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน และตัวแทนจากกำกับกิจการพลังงานเขตสระบุรี ต่อข้อร้องเรียนของชาวบ้าน ในส่วนหนังสือของสำนักงานกำกับกิจการพลังงาน กทม.ตอบการร้องเรียนของชาวบ้านว่า ให้อุตสาหกรรมจังหวัดเป็นผู้กำกับดูแลการปฏิบัติตาม อีไอเอ แต่เมื่อชาวบ้านสรุปปัญหาความเดือดร้อน และผลกระทบที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นตัวอย่างถึงรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้ถูกกำหนดไว้ให้ผู้ก่อสร้างปฏิบัติ แต่ไม่มีการติดตามตรวจสอบได้เพราะไม่มีใครมาตรวจและไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติตาม อีไอเอ ขณะที่อุตสาหกรรมจังหวัดบอกในที่ประชุมว่า ตัวเองไม่มีอำนาจในการตรวจสอบเรื่องที่บริษัททำรั้วปิดกั้นทางเดินคันคูน้ำสาธารณะและทางสาธารณะในที่ดินของโรงไฟฟ้า และแนะให้ชาวบ้านไปแจ้งความกับตำรวจและไปที่กรมที่ดิน หรือ อบต.ร้องเรียนเพราะเป็นหน่วยงานดูแลเรื่องที่ดินสาธารณะ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวบ้านได้ตั้งตำถามถึง สผ.ว่าหากไม่มีการทำการสำรวจเรื่องคูน้ำสาธารณะใน อีไอ เอ ถือว่า อีไอเอ เท็จหรือไม่ พร้อมกับท้าให้เจ้าหน้าที่ราชการทั้งหมดไปดูที่พื้นที่ในวันนี้เพื่อให้เห็นกับตาว่า บริษัทล้อมรั้วปิดกั้นทางสาธารณะจริง เจ้าหน้าที่ สผ.จึงได้แย้งชาวบ้านว่าที่ทางสาธารณะนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยยกกรณีนิคมอุสาหกรรมสมุทรสาครซึ่งเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมได้จ่ายเงินเพื่อเปลี่ยนทางเดินหรือลำน้ำสาธารณะโดยชาวบ้านยินยอมรับค่าชดเชย จากนั้น ในเวลาประมาณ 16.30 น.ประธานในที่ประชุมสรุปเรื่องร้องเรียน 8 เรื่อง และนัดให้หน่วยราชการที่มาประชุมในวันนี้มาลงดูพื้นที่ ในวันที่ 8 เมษายน 2554 โดยนัดพบชาวบ้านเวลา 10.00 ที่วัดธรรมสินธุ์โสภา ฝั่ง ต.หนองน้ำใส อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งอยู่ริคลองระพีพัฒน์ติดกับที่ดินที่บริษัทกำลังทำบ่อน้ำขนาดใหญ่ ก่อนปิดการประชุม นางปฐมมน กัณหา กล่าวทั้งน้ำตาว่าไม่นึกว่าชาวบ้านจะต้องมาอยู่ในสภาพถูกทอดทิ้งเช่นนี้ พวกชาวบ้านพยายามรักษาแผ่นดินของปู่ย่าตายายแต่ก็ต้องมาเผชิญกับการไม่ได้รับการคุ้มครองจากข้าราชการที่กินเงินเดือนจากภาษีของชาวบ้าน วันนี้แทนที่จะมีการแก้ไขปัญหา พวกหน่วยราชการกลับโยนความรับผิดชอบกันไปมา ไล่ชาวบ้านไปแจ้งความใหม่ “ขอให้พี่น้องพื้นที่อื่นๆ ทั่วประเทศอย่ายินยอมให้มีการออกใบอนุญาตก่อสร้างโรงฟ้าได้เป็นอันขาด เพราะหน่วยงานออกใบอนุญาตไม่มีความรับผิดชอบแม้แต่น้อย โยนให้หน่วยงานอื่น” นางปฐมมน กล่าวทิ้งท้าย สรุปเบื้องต้น 8 เรื่องที่ บริษัทก่อผลกระทบต่อชุมชน คือ 1.บริษัทรับเหมา ปรับพื้นที่ของบริษัทเพาเวอร์เจเนอเรชั่น ตัดต้นไม้ที่เป็นพื้นที่ป่าส่วนหนึ่งในที่ดินบริษัท ออกทั้งหมด ตั้งแต่เดือน มกราคม ต่อ กุมภาพันธ์ 2554 ผิดจากอีไอเอของบริษัทเองที่ระบุว่าจะตัดต้นไม้ใหญ่ที่เป็นที่ทำรังวางไข่ของนกปากห่างในช่วงหน้าแล้งคือตั้งแต่เมษายนไป การตัดต้นไม้ที่เป็นที่อยู่ของนกปากห่างตั้งแต่มกราคม ทำให้นกไม่มีที่ทำรังวางไข่ 2.บริษัทใช้รถแบคโฮหลายคัน และรถสิบล้อหลายคัน ทำงานตั้งแต่ ตี 4 ถึง 4 ทุ่ม สร้างความรบกวนทางเสียงและฝุ่นควันให้กับชาวบ้านที่อยู่โดยรอบ ซึ่งในอีไอเอ บริษัทเขียนไว้ว่า จะทำงานเฉพาะช่วงกลางวัน 3.รถบรรทุกดินของบริษัทที่บรรทุกดินเข้า-ออก จากพื้นที่ ไม่มีการปิดคลุมมิดชิด กันดินร่วงหล่นหรือฟุ้งกระจาย ผิดจากที่ในอีไอเอเขียนไว้ 4.การก่อสร้างบ่อน้ำขนาดใหญ่สำหรับสำรองน้ำไว้ใช้ในพื้นที่ฝั่งอำเภอภาชี มีการล้อมรั้วปิดกั้นทางเดินบนคันคูน้ำที่ชาวบ้านเรียกว่าร่องหนูสำหรับส่งน้ำเข้านาชาวบ้าน ปิดกั้นทางเดินสาธารณะที่ชาวบ้านใช้ร่วมกัน และยื่นขอเปลี่ยนทางเดินสาธารณะ และคลองร่องหนู โดยไม่สนใจสำรวจความคิดเห็นจากชาวบ้านที่ใช้ประโยชน์จริง 5.สูบน้ำจากบ่อในพื้นที่ของบริษัทฯ ออกมาใส่คลองชลประทานโดยไม่รู้ว่าเป็นน้ำกร่อย และไม่บอกชาวบ้าน ทำให้ชาวนาบางรายสูบน้ำจากคลองที่บริษัททิ้งน้ำใส่นาข้าวทำให้ข้าวตายเพราะโดนน้ำกร่อย 6.ในอีไอเอ ระบุว่า บริษัทรับเหมาจะควบคุมคนงานก่อสร้างไม่ให้ออกมา จับสัตว์น้ำ หรือขโมย ผัก ผลไม้ชาวบ้าน แต่มีการว่ายน้ำมาขโมยสายบัว, ขโมยมะม่วง, ตกปลาในคลองสาธารณะทุกวันซึ่งเป็นการแย่งใช้ทรัพยากรของชุมชนจากคนงาน (ในอีไอเอ ระบุว่าช่วงก่อสร้างจะมีคนงานสูงสุด 4000 คน) 7.คนงานก่อสร้างร้านค้าริมถนนบนคันคลองชลประทาน ทำให้ถนนแคบลง การสัญจรของชาวบ้านลำบากขึ้น 8.อบต.หนองกบ เจ้าของพื้นที่และเป็นศูนย์รับเรื่องร้องเรียน ตามที่บริษัทฯ ระบุไว้ใน อีไอเอ ชาวบ้านไม่ไว้วางใจเพราะคนในครอบครัว นายก อบต.เป็นคู่กรณีคดีทำร้ายร่างกายที่สมาชิกเครือข่ายอนุรักษ์ถูกกล่าวหาต้องขึ้นศาลอยู่ในขณะนี้ (คดีฟ้องพยายามฆ่า) และ อบต.หนองกบ ไม่เปิดเผยข้อมูลเอกสารที่ได้อนุญาตให้ บริษัทรับหมาขุดดินถมดินในพื้นที่ที่เครือข่ายอนุรักษ์ร้องขอ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
กฎหมาย "ป.ป.ช." ใหม่ อำนาจล้นฟ้า สั่งแสดงธุรกรรมการเงิน-หยุดนับอายุความ Posted: 05 Apr 2011 09:45 AM PDT เมื่อวันที่ 04 เมษายน พ.ศ. 2554 มติชนออนไลน์ เผยแพร่รายงานข่าวจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ว่า นายกรัฐมนตรีได้นำร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .. ที่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา ขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อลงพระปรมาภิไธยไปตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม ซึ่งตามปกติจะใช้เวลาราว 10 วัน ถึงจะมีการโปรดเกล้าฯ จึงคาดว่าน่าจะประกาศใช้ไม่เกินกลางเดือนเมษายนนี้ โดยร่างกฎหมาย ป.ป.ช.ฉบับใหม่ มีเนื้อหาหลายส่วนน่าสนใจ อาทิ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ตรวจสอบธุรกรรมการเงินผู้ถูกกล่าวหาได้ สั่งให้แสดงบัญชีทรัพย์สินในต่างประเทศและที่อยู่ในการครอบครองของผู้อื่น กำหนดให้การมีผลประโยชน์ทับซ้อนถือเป็นความผิดฐานทุจริต ให้หยุดนับอายุความในคดีที่ผู้ถูกกล่าวหาหลบหนี ฯลฯ มติชนออนไลน์ รายงานว่า เนื้อหาในร่างกฎหมาย ป.ป.ช.ฉบับใหม่ได้ปิดจุดอ่อนจากการปฏิบัติงานของ ป.ป.ช.ในอดีตทั้งกรณีคดีของ นายศักดาพินิจ ณรงค์ชาติโสภณ อดีตผู้ช่วยและรองกรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ที่ปล่อยให้เจ้าตัวหลบหนีจนคดีขาดอายุความ นอกจากนี้ ยังได้รับอิทธิพลจากคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ฐานร่ำรวยผิดปกติ รวมถึงคำพิพากษาคดีทุจริตจัดซื้อที่ดินรัชดาฯ จึงมีการเพิ่มอำนาจหน้าที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ไว้หลายประการ เริ่มตั้งแต่แก้ไขนิยามคำว่า ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้ครอบคลุมถึงผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) "มีการให้อำนาจคณะกรรมการ ป.ป.ช.ในการเอาผิดกับเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือข้าราชการในระดับต่ำกว่าที่ร่วมกระทำผิดกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (มาตรา 19) เข้าถึงข้อมูลทางการเงินของผู้ถูกกล่าวหา (มาตรา 25/1) ให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.โดยให้รวมถึงทรัพย์สินและหนี้สินที่อยู่ในต่างประเทศ และมอบหมายให้อยู่ในความครอบครองหรือดูแลของบุคคลอื่นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม (มาตรา 32) ให้ตรวจสอบธุรกรรมทางการเงินหรือการได้มาซึ่งทรัพย์สินและหนี้สินที่ปรากฏพฤติการณ์ว่ามีการถือครองทรัพย์สินแทน (มาตรา 37/2) มีคำสั่งให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นผิดปกติไว้ชั่วคราวได้ (มาตรา 38) หยุดนับอายุความหากผู้ถูกกล่าวหาหลบหนีระหว่างถูกดำเนินคดี (มาตรา 74/1) ขยายเวลายื่นคำร้องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ตรวจสอบผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเจ้าหน้าที่รัฐร่ำรวยผิดปกติ จากเดิมพ้นจากตำแหน่งไม่เกิน 2 ปีเพิ่มเป็น 5 ปี (มาตรา 75) กำหนดให้การฝ่าฝืนบทบัญญัติในหมวด 9 การขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม เป็นความผิดฐานทุจริต (มาตรา 103/1) นอกจากนี้ ยังเพิ่มบทกำหนดโทษ กรณีเจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุก 1-10 ปี ปรับไม่เกิน 20,000-200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 123/1) แหล่งข่าวกล่าว แหล่งข่าวรายเดิมกล่าวต่อว่า ยังมีบทบัญญัติใหม่ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ไม่เคยมีมาก่อน อาทิ อำนาจในการออกมาตรการคุ้มครองผู้กล่าว ผู้เสียหาย ผู้ทำคำร้อง ผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษ ผู้ให้ถ้อยคำ หรือผู้แจ้งเบาะแส โดยให้บุคคลเหล่านั้นสามารถยื่นคำร้องเพื่อขอรับค่าตอบแทนเท่าที่จำเป็น (มาตรา 103/2) ให้สินบนแก่ผู้แจ้งเบาะแส (มาตรา 103/3) อำนาจในการกันบุคคลหรือผู้ถูกกล่าวหาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิด แต่ให้ถ้อยคำ แจ้งเบาะแสหรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัยชี้มูลคดีไว้เป็นพยานได้ (มาตรา 103/4) ซึ่งคล้ายกับอำนาจที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) มี นอกจากนี้ ยังเพิ่มหมวด 9/2 ว่าด้วยการแต่งตั้งกรรมการ ป.ป.ช.จังหวัด เพื่อมาช่วยงานกรรมการ ป.ป.ช.ส่วนกลางด้วย สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
นักข่าวพลเมือง: อิตัลไทยฯ เปิดฉากปะทะกับชาวบ้าน รับเวทีเข็น ‘อีเอชไอเอ’ เหมืองโปแตชอุดรฯ Posted: 05 Apr 2011 09:37 AM PDT รายงานสถานการณ์ เวทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ เหมืองโปแตชอุดรฯ เอา อพปร.กันชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานีไม่ให้เข้าร่วม จนเกิดปะทะทำชาวบ้านหมดสติ 1 ราย ก่อนย้ายเวทีจากหอประชุมไปกลางสวน วันนี้ (5 เม.ย.54) เวลาประมาณ 7.00 น.กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานีราว 30 คน ซึ่งเป็นกลุ่มประชาชนในพื้นที่โครงการเหมืองแร่โปแตซอุดรธานี และมีจุดยืนคัดค้านโครงการเหมืองแร่โปแตซอย่างต่อเนื่องมากว่า 10 ปี ได้เดินทางมาเพื่อเข้าร่วมเวทีจัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (Public Scoping) เพื่อกำหนดขอบเขตงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (อีเอชไอเอ) ที่บริษัทเอเชียแปซิฟิค โปแตช คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือบริษัท อิตตาเลี่ยนไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมกับบริษัททีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนต์ จำกัดจัดขึ้น ณ หอประชุมสำนักงานเทศบาลโนนสูง อ.เมือง จ.อุดรธานี แต่ถูกหน่วยอาสาสมัครรักษาความปลอดภัย (อพปร.) พร้อมด้วยกลุ่มชายฉกรรจ์กว่า 50 คนพร้อมโล่และกระบองตั้งแถวกันไม่ให้เข้าโดยอ้างว่าไม่ได้ลงทะเบียนเข้าร่วมไว้ล่วงหน้า ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้เกิดการยื้อยุดกัน โดยกลุ่มชาวบ้านพยายามที่จะเข้าร่วมเวทีดังกล่าวให้ได้ จนเกิดการปะทะกันรุนแรงมากขึ้น ในระหว่างชุลมุนได้มีชายฉกรรจ์คนหนึ่งซึ่งคาดว่าเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายมวลชนสัมพันธ์ของบริษัทอิตาเลียนไทย ใช้ไม้ยาวฟาดลงมาท่ามกลางกลุ่มชาวบ้านอย่างแรงโดนศีรษะของนางหนูพิณ อันสา อายุ 42 ปีชาวบ้านจากบ้านสังคม หมู่ 11 เข้าอย่างจังจนเป็นลมหมดสติ ต้องเรียกหน่วยกู้ภัยนำตัวส่งโรงพยาบาลกุมภวาปีอย่างเร่งด่วน เวลาต่อมาชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี ซึ่งสวมเสื้อเขียวเป็นส่วนใหญ่ได้ทยอยเดินทางมายังที่ประชุมอย่างต่อเนื่องจนสามารถรวมตัวกันได้กว่า 700 คนและเริ่มตั้งขบวนเพื่อต่อรองขอเข้าไปในที่ประชุมให้ได้จนเวลาประมาณ 08.30 ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ฯ ทยอยกันมาเพิ่มขึ้นจนสามารถผ่านด่านรักษาความปลอดภัยของ อปพร. และชายฉกรรจ์ดังกล่าวเข้าไปในห้องประชุมได้จนเต็มห้องประชุม ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งรุดมาควบคุมสถานการณ์เกรงว่าความขัดแย้งจะบานปลาย จนกระทั่งเมื่อเวลาประมาณ 10.00 น.กลุ่มอนุรักษ์ฯ เข้าไปนั่งในห้องประชุมจนล้นห้องประชุมออกมา เป็นเหตุบริษัทตัดสินใจเคลื่อนย้ายผู้เข้าร่วมประชุมจำนวนหนึ่งประมาณ 100 คน เข้าไปในสวนย่อมในเกาะที่มีสระน้ำล้อมรอบทั้งสามด้านมีถนนทางเข้าด้านเดียว และ ให้เจ้าหน้าที่ อปพร.กว่า 50 คนตั้งแถวกันไม่ให้กลุ่มคัดค้านเข้าไปได้ ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจอีกประมาณ 50 นายตั้งแถวป้องกันไว้ในแนวถนนอีกด้านหนึ่ง กลุ่มอนุรักษ์ฯ พยายามต่อรองเพื่อจะเข้าไปร่วม และเคลื่อนขบวนไปประจันหน้ากับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ระหว่างมีการเจรจาต่อรองขอเข้าร่วมของกลุ่มอนุรักษ์ บริเวณสวนหย่อมกลางน้ำ ดร.สิรินิมิตร บุญยืน กรรมการบริหารของบริษัททีมฯ ได้นำเสนอขั้นตอนและระยะเวลาในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพซึ่งจะใช้เวลาดำเนินการศึกษา 10 เดือนซึ่งได้มีการคัดกรองข้อมูลเบื้องต้นแล้ว อย่างไรก็ตามบรรยากาศการประชุมในสวนหย่อมกลางน้ำนั้นชาวบ้านที่เข้าร่วมนั่งพื้นที่ยืนและมีอาการละล้าละลังและทยอยกลับออกไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเวลาประมาณ 11.00 น.กลุ่มชาวบ้านที่อยู่รอบๆ ได้พยายามต่อรองกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อขอเข้าไปแต่ไม่เป็นผลสำเร็จจึงพยายามจะยื้อกันอีกครั้งแต่ไม่เกิดเหตุรุนแรงใดๆ ส่วนผู้เข้าร่วมประชุมภายในเกาะได้สลายตัวไปในที่สุดโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจพยายามกันไม่ให้ทั้งสองกลุ่มปะทะกันจึงไม่มีเหตุการณ์รุนแรงอีกแต่อย่างใด นางมณี บุญรอด รองประธานกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานีเปิดเผยว่า เวทีครั้งนี้เป็นเรื่องการสร้างภาพของบริษัทตามปกติซึ่งทำเช่นนี้มาตลอดสิบปีที่ผ่านมา และบริษัททีมฯ ซึ่งรับจ้างบริษัทอิตาเลียนไทยฯ ทำอีเอชไอเอ ครั้งนี้ก็เป็นบริษัทเดียวกันที่เคยทำรายงาน อีไอเอ ฉบับเก่าที่ผ่านความเห็นชอบของ คณะกรรมการชำนาญการด้านสิ่งแวดล้อม ของสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) ไปแล้วเมื่อปี 2543 ซึ่งต่อมาได้ รมต. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้แต่งตั้งกรรมการทบทวน รายงานดังกล่าวและพบว่ามีข้อบกพร่องจนไม่อาจจะยอมรับได้ 26 ประเด็น และทำให้เดือดร้อนขัดแย้งมาจนปัจจุบัน ใช่ว่าเวลาผ่านไปสิบปีแล้วชาวบ้านจะลืมถึงต้นเหตุของความรุนแรงทั้งหลายที่เกิดขึ้น วันนี้บริษัทก็เริ่มต้นอีเอชไอเอครั้งใหม่โดยการทำให้ชาวบ้านบาดเจ็บไปคนหนึ่ง และวันนี้ผู้เสียหายได้ไปแจ้งความดำเนินคดีที่ สภอ.เมือง อุดรธานี เพื่อเอาผิดกับผู้ก่อเหตุให้ถึงที่สุด นางมณีกล่าว ด้านนายเลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ ผู้ประสานงานโครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่ (ประเทศไทย) กล่าวว่า เรื่องเหมืองโปแตซอุดรธานีนั้นมันแดงขึ้นมาจากการทำรายงานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ที่ทำโดยบริษัททีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนต์ จำกัด ที่ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการผู้ชำนาญการไปเมื่อปี 2543 แต่ต่อมาได้มีการแต่ตั้งคณะกรรมการทบทวนอีไอเอดังกล่าว ซึ่งพบว่ามีข้อบกพร่องจนต้องประกาศยกเลิกไป และมีการทำเพิ่มเติมหลายครั้งโดยหลายบริษัท รวมทั้งสถาบันวิชาการ นายเลิศศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ครั้งนี้เป็นความพยายามครั้งที่ 4 ในการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โดยบริษัทอิตาเลียนไทยฯ อ้างว่าเป็นการดำเนินการตาม รัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรค 2 แต่ในความเป็นจริงแล้วขณะนี้โครงการเหมืองแร่โปแตซอุดรธานี ไม่ได้จัดเป็นโครงการรุนแรงที่จะต้องทำการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ การทำอีเอชไอเอครั้งนี้จึงเป็นการยอมรับว่าโครงการนี้มีความรุนแรง และตนเห็นว่า บริษัทไม่ได้ยอมรับเช่นนั้นแต่ต้องการอาศัยหลักการรัฐธรรมนูญเพื่อสร้างความชอบธรรมในการจัดเวทีสาธารณะซึ่งบริษัทไม่เคยจัดได้ หรือได้รับการยอมรับตลอดเวลา 10 กว่าปีที่ผ่านมา “มันเหมือนวนอยู่ในวงเวียนของความขัดแย้ง การรังวัดที่ไม่ได้รับการยอมรับ ไม่กล้าจะปิดประกาศ ดังนั้นจึงยังไม่ใช่ขอบเขตเหมือง แต่จ้างบริษัทที่ปรึกษาทำอีเอชไอเอ ซึ่งทำโดยบริษัทเอกชนซึ่งมีกรณีขัดแย้งกับชาวบ้านมานาน” นายเลิศศักดิ์ กล่าว สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
เครือข่ายนักศึกษา จี้ล้ม “เวทีรับฟังความเห็น” โครงการเหมืองโปแตซอุดรฯ Posted: 05 Apr 2011 08:48 AM PDT เครือข่ายนักศึกษาติดตามและเฝ้าระวังผลกระทบจากเหมืองแร่ประเทศไทย ออกแถลงการณ์จวกรัฐร่วมทุนช่วงชิงทรัพยากรชุมชน บังคับใช้กฎหมายเสมือน “โจรปล้นแผ่นดินของประชาชน” ประกาศจุดยืนล้มเวทีรับฟังความคิดเห็นโครงการเหมือง วันนี้ (5 เม.ย.54) ที่เทศบาลตำบลโนนสูง จ.อุดรธานี เครือข่ายนักศึกษาเฝ้าระวังผลกระทบจากเหมืองแร่ประเทศไทย ออกแถลงการณ์ เรียกร้องให้ยุติการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นในการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพโดยสาธารณะ (Public Scoping) โครงการเหมืองแร่โปแตซ ของบริษัทเอเชียแปซิกฟิก โปแตช คอร์ปอเรชั่น จำกัด (เอพีพีซี) ร่วมกับบริษัททีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนต์ จำกัด ซึ่งมีขึ้นในวันเดียวกันนี้ พร้อมระบุให้หน่วยงานภาครัฐและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องหยุดการดำเนินงานใดๆ ในพื้นที่ จนกว่าจะกลับไปทบทวนถึงผลดีผลเสียของการสร้างเหมืองผ่านกระบวนของสิทธิชุมชนอย่างแท้จริง และให้หยุดการสร้างความแตกแย้งในชุมชนผ่านการใช้อำนาจเงิน นายวงศกร สารปรัง นักศึกษาในเครือข่ายนักศึกษาเฝ้าระวังผลกระทบจากเหมืองแร่ประเทศไทยกล่าวว่า เวทีครั้งนี้ไม่มีความชอบธรรม อีกทั้งกระบวนการยังไม่ชอบมาพากลตั้งแต่เริ่มต้น เนื่องจากเมื่อวันที่ 29 ต.ค.53 จ.อุดรธานี เคยมีการเวทีประชุมเรื่องการขออนุญาตประทานบัตรตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 และการอนุญาตประทานบัตรทำเหมืองแร่ภายใต้รัฐธรรมนูญฯ มาตรา 67 วรรค 2 เพื่อเป็นการชี้แจงการจัดทำรายงานศึกษาสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ (SEA) โครงการเหมืองแร่โปแตซในภาคอีสาน ตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ แต่ถัดจากเวทีนั้นก็มีการเร่งรีบทำการปักหมุดรังวัดขอบเขตเหมืองแร่ในพื้นที่ขอสัมปทานโครงการฯ นายวงศกรกล่าวต่อมาว่า ก่อนหน้านี้ชาวบ้านร่วมกับกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี ได้คัดค้านโครงการมาโดยตลอด โดยระบุว่าต้องมีการชี้แจงก่อนจะมีการดำเนินการใดๆ ในพื้นที่ ซึ่งทางบริษัทฯ กลับอ้างถึงเวทีเพื่อชี้แจงการจัดทำรายงานศึกษาสิ่งแวดล้อมฯ ว่าเป็นเวทีเพื่อปักหมุดรังวัดขอบเขตเหมืองแร่ในพื้นที่ขอสัมปทานโครงการฯ ดังนั้น จึงไม่ต้องการให้จัดเวทีที่ไม่ชอบธรรม และไม่มีการชี้แจงที่เป็นจริงเช่นนี้ นายวงศกร ให้ข้อมูลด้วยว่าโดยข้อเท็จจริงตามกฎหมายแร่ หรือตามประกาศโครงการหรือกิจการที่อาจมีผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ตามรัฐธรรมนูญในมาตรา 67 วรรค 2 ไม่จำเป็นต้องจัดเวทีรับฟังความเห็นในเรื่องการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เนื่องจากว่ากรณีเหมืองใต้ดินที่มีเสาค้ำยัน (โครงการเหมืองแร่โปแตซ) ไม่จัดอยู่ในโครงการรุนแรงตามประกาศของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจึงมองได้ว่าทางบริษัทฯ กำลังสอดแทรกการทำประชาคม โดยใช้วิธีให้ชาวบ้านไปร่วมรับฟัง และยกมือสนับสนุนเพื่ออ้างความชอบธรรม ต่อตัวโครงการฯ
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
คนงานชี้ "ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม" ฉบับ 'หล่อไม่เสร็จ' กองทุนฯยังไม่อิสระจริง Posted: 05 Apr 2011 08:06 AM PDT คนงานชำแหละ ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม เตรียมเข้าสภา 7 เม.ย.นี้ เป็นฉบับ "หล่อไม่เสร็จ" เพราะกองทุนประกันสังคมยังไม่เป็นอิสระอย่างแท้จริง แนะวางระบบรับแรงงานข้ามชาติอีกมากเข้าระบบประกันสังคม เสนอเร่งออกกฎกระทรวงให้ "คกก.ประกันสังคม" มาจากการเลือกตั้ง ชวนจับตา กม.แรงงาน 3 ฉบับเข้าสู่การพิจารณาก่อนยุบสภา (5 เม.ย.54) เวลา 10.30 น. ที่ห้องประชุมศุภชัย ศรีสติ มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย มักกะสัน คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน แถลงข่าวจุดยืนต่อร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. … ซึ่งจะมีการนำเข้าสู่การพิจารณาในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวาระ 2 ในวันที่ 7 เมษายนที่จะถึงนี้ โดยนางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย หนึ่งในกรรมาธิการวิสามัญร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม และรองประธาน คสรท. กล่าวว่า ประเด็นที่แรงงานเสนอไปและได้มาบางส่วน ได้แก่ โครงสร้างของคณะกรรมการประกันสังคมที่ต้องการให้ประธานและเลขาฯ มาจากการสรรหา เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาบริหารจัดการกองทุน ซึ่งปรากฎว่า ประธานยังคงมาจากการแต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานตามเดิม ขณะที่คณะกรรมการ 8 คนนั้นมาจากการเลือกตั้งโดยผู้ประกันตน 1 คน 1 เสียง และมีอำนาจสรรหาคณะกรรมการตรวจสอบ และผู้ทรงคุณวุฒิในการให้คำปรึกษาในการบริหารกองทุน ด้านสิทธิประโยชน์ ได้เงินทดแทนกรณีสูญเสียอวัยวะ เงินสงเคราะห์บุตร ขอปรับเพิ่มจาก 6 ปี เป็น 20 ปี ได้ที่ 15 ปี การรักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วย เรียกร้องให้ผู้ประกันตนสามารถรักษาได้ทุกโรงพยาบาลในเครือข่าย แต่ที่ได้มาคือ สปส.จะทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับโรงพยาบาลโดยเฉพาะโรงพยาบาลของรัฐ เพื่อให้ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลได้ ก่อนจะขยายการทำ MOU กับโรงพยาบาลเอกชนต่อไปในอนาคต มีการแก้ไขให้ผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์กรณีที่ฆ่าตัวตาย และแก้ไขให้นายจ้างและลูกจ้างไม่ต้องจ่ายสมทบ กรณีประสบภัยพิบัติ คราวละ 6 เดือนด้วย นางสาววิไลวรรณ กล่าวว่า แม้ว่าในอนาคตร่าง พ.ร.บ.นี้จะมีผลบังคับใช้แล้ว แต่แรงงานก็ยังไม่ได้ตามที่ต้องการ ยังคงต้องขับเคลื่อนในประเด็นสำคัญ นั่นคือ การทำให้สำนักงานประกันสังคมเป็นองค์กรอิสระต่อไป รวมถึงจะทำนโยบายเสนอต่อพรรคการเมืองด้วย
ทั้งนี้ นายชัยสิทธิ์ระบุว่า แรงงานยังมีข้อกังวลซึ่งได้ทำเป็นบันทึกท้ายรายงานการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว 8 ข้อได้แก่ 1.ผลกระทบในเชิงโครงสร้างที่จะเกิดขึ้น เพราะกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินั้นมีอัตราการเหมาจ่ายรายหัว ซึ่งจะครอบคลุมทุกมิติของประชากร เช่น การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค แต่ในส่วนของกองทุนประกันสังคมจะดูแลเฉพาะเรื่องการเจ็บป่วย ดังนั้นในเรื่องของการส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคควรจะมีแนวทางในการดำเนินการอย่างชัดเจน นอกจากนี้ หากจำนวนของผู้ประกันตนที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี จะทำให้มีจำนวนคู่สมรสและบุตรเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งกรณีนี้อาจจะส่งผลกระทบต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตามไปด้วย 2.กองทุนประกันสังคมควรมีแนวทางการบริหารจัดการกองทุนที่โปร่งใส และมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ประกันตน 3.ระบบการประกันสังคมเป็นเรื่องของการเยียวยาและการแก้ปัญหาด้านสุขภาพแก่ผู้ประกันตนในเบื้องต้น ซึ่งยังไม่ครอบคลุมถึงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ดังนั้น กองทุนประกันสังคมจึงควรคำนึงถึงหรือพิจารณาให้การสนับสนุนการส่งเสริมด้านสุขภาพและป้องกันโรคด้วย 4.กรณีที่สำนักงานประกันสังคมนำเงินในกองทุนไปลงทุนให้เกิดประโยชน์ เช่น นำไปลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์อันมีข้อจำกัดในข้อกฎหมายและการครอบครอง ดังนั้น เห็นควรให้มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้กองทุนสามารถบริหารจัดการเรื่องนี้ได้อย่างคล่องตัว 5.ให้สำนักงานประกันสังคมพิจารณาแนวทางให้ผู้รับงานไปทำที่บ้านเข้าสู่ระบบประกันสังคมตามมาตรา 33 โดยเร็ว 6.ในอนาคตสำนักงานประกันสังคมควรเป็นองค์กรที่เป็นอิสระที่สามารถกำหนดระเบียบ วิธีการ ในการบริหารจัดการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ได้เองเพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริงและผู้จ่ายเงินสมทบมีสิทธิกำหนดนโยบายการปฏิบัติ สิทธิประโยชน์ มีส่วนร่วมในการบริหารองค์กร ตรวจสอบ รับรู้ข้อมูลข่าวสารและการตัดสินใจ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ของผู้ประกันตนอย่างแท้จริง 7.สำนักงานประกันสังคมต้องจัดให้ผู้ประกันตนมีสิทธิไปรับบริการทางการแพทย์จากสถานพยาบาลของรัฐที่สำนักงานประกันสังคมประกาศรายชื่อทุกแห่งโดยเร็ว และให้หาทางขยายบริการลักษณะนี้ไปถึงโรงพยาบาลเอกชนด้วย และ 8.เพื่อให้การบริหารกองทุนมีการบริหารเป็นไปอย่างมีธรรมาภิบาล โปร่งใส คณะกรรมการตรวจสอบการบริหารกองทุน จึงควรตรวจสอบกองทุนทุกขั้นตอน
นอกจากนี้ นางสุจินยังได้วิจารณ์การจะใช้งบประมาณของกระทรวงแรงงานในการจัดประกวดเทพธิดาแรงงานด้วยว่า ควรนำเงินมาจัดการศึกษาให้กับแรงงานนอกระบบ เกี่ยวกับการเข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 จะดีกว่า แนะวางระบบรับแรงงานข้ามชาติอีกมากเข้าระบบประกันสังคม ทั้งนี้ นายบัณฑิต วิจารณ์ด้วยว่า แม้จะมีการร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ให้คณะกรรมการมาจากการเลือกตั้ง โปร่งใส ตรวจสอบได้ แต่ยังไม่มีความเป็นอิสระ ดังนั้น ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้จึงเป็น "ฉบับหล่อไม่เสร็จ"
โดย บุญยรัตน์ กาญจนดิษฐ์ นักกิจกรรมด้านแรงงาน ตั้งข้อสังเกตในเว็บไซต์ http://voicelabour.org ว่า แม้ว่าร่างกฎหมายทั้ง 3 ฉบับจะเกี่ยวข้องกับพี่น้องแรงงานที่มีกว่า 36 ล้านคนในประเทศไทย ทั้งแรงงานในระบบ นอกระบบ และข้ามชาติ แต่นั่นมิได้หมายความว่ากฎหมายดังกล่าวจะเอื้อหรือเป็นประโยชน์กับพี่น้องโดยทั้งหมด ยังมีอีกหลายประเด็นที่ไม่ปรากฏในร่างรายงานทั้ง 3 ฉบับ โดยหลายประเด็นที่ยังคลุมเครือเอาเข้าจริงแล้ว ควรที่จะปรากฏในแต่ละมาตราได้เลย มิจำเป็นต้องตั้งเป็นข้อสังเกตหรือแขวนไว้หรือรอแปรญัตติ
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
Posted: 05 Apr 2011 05:33 AM PDT
ดังที่ผมชี้ให้เห็นก่อนหน้านี้( https://www.facebook.com/note.php?note_id=189909174385653 ) การพระราชทานสัมภาษณ์ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ในรายการ "วู้ดดี้ เกิดมาคุย" เกิดขึ้นในปริบทที่ "ไม่ยุติธรรม" เพราะแม้พระองค์จะไม่ทรงอยู่ในความคุ้มครองของกฎหมาย "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" แต่ทรงพาดพิงถึงในหลวงและพระราชินี ซึ่งอยู่ในความคุ้มครองของกฎหมายนั้น และในทางปฏิบัติ สังคมไทยอยุ่ภายใต้ระบบการประชาสัมพันธ์และอบรมบ่มเพาะแบบด้านเดียว ในเรื่องที่เกี่ยวกับพระราชวงศ์ ทำให้การวิพากษ์วิจารณ์พระราชวงศ์ไม่ว่าพระองค์ใด ก็ทำได้ลำบากอย่างยิ่ง (ซึ่งไม่ยุติธรรมอย่างยิ่ง) แต่ข้อความบางตอนในคำสัมภาษณ์ที่เพิ่งเผยแพร่เมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (3 เมษายน 2554) ได้กล่าวถึงประเด็นที่มีความสำคัญเกี่ยวกับการเมืองไทยปัจจุบัน ในลักษณะที่ผมเห็นว่า ถ้าไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์โต้แย้ง ก็จะยิ่งเป็นการซ้ำเติมความไม่ยุติธรรมที่มีอยู่แล้วให้หนักขึ้นอีก ผมหมายถึงข้อความต่อไปนี้ ในคำให้สัมภาษณ์ (เริ่มจากนาทีที่ 3.23 เป็นต้นไป ในคลิป YouTube นี้ ขอบคุณ CiNNtv1 สำหรับการอัพโหลด http://www.youtube.com/watch?v=BBpqpjHrqk4 )
ก่อนอื่น จะเห็นว่า แม้จะทรง "ออกตัว" ว่า "ไม่ยุ่งเกี่ยวการเมือง" แต่คำสัมภาษณ์ตอนนี้ มีลักษณะการเมืองอย่างชัดเจนและมากด้วย (อันที่จริง ถ้าพูดถึง "การเมือง" ในความหมายกว้าง อย่างที่ยอมรับทั่วไปในวงการศึกษาวิชาการปัจจุบัน การสัมภาษณ์ทั้งหมดก็เป็นเรื่อง "การเมือง" ในตัวเองอยู่แล้ว) ผมขอย้ำว่า การที่ทรงพระราชทานสัมภาษณ์ หรือมีพระราชดำรัสทางการเมืองแบบนี้ ในสภาพแวดล้อมทางกฎหมายและสังคมปัจจุบัน เป็นเรื่อง "ไม่แฟร์" เลย มีหนังสือพิมพ์หรือทีวีใด จะกล้าแสดงความเห็นโต้แย้งด้วยตัวเองหรือเผยแพร่ความเห็นโต้แย้ง ไม่ว่า นสพ.หรือทีวีนั้น หรือคนอื่นๆ จะไม่เห็นด้วยอย่างไร หรือไม่ว่าคำสัมภาษณ์หรือพระราชดำรัสนั้นจะสามารถโต้แย้งได้เพียงใดก็ตาม ทั้งในแง่ข้อมูลหรือเหตุผล?
ประการต่อมา ฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ทรงอ้างอิงถึงพระสุขภาพกายและใจของทั้งในหลวงและพระราชินีว่าทรุดโทรมลงอย่างหนัก จากการที่มีการ "เผาบ้านเผาเมือง" เกิดขึ้นเมื่อปีกลาย
ในกรณีในหลวงนั้น เนื่องจากมีส่วนเกียวข้องกับพระพลานามัยในแง่ธรรมชาติ จึงยากจะประเมินว่า การที่ทรง "ทรุด" ถึงขั้น "นอนแบ่บ" นั้น เกิดจากที่ทรงเห็นการ "เผาบ้านเผาเมือง" หรือเกิดจากโรคาพยาธิอื่น ผมจึงขอละเว้นที่จะแสดงความเห็นต่อปัญหาพระพลานามัยของในหลวงโดยตรง และต้องถือว่าเรื่องที่ฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ทรงเล่าในส่วนนี้ เป็นการตีความเชิงการเมือง (political interpretation) หรือแสดงความเห็นทางการเมือง ของฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ พูดง่ายๆคือ ฟ้าหญิงจุฬาภรณ์เองทรงเห็นว่า การ "เผาบ้านเผาเมือง" ทำให้ในหลวง "ทรงทรุด" ถึงขั้น "เป็นไข้ต้องให้น้ำเกลือ นอนแบ่บเลย"
ในกรณ๊พระราชินีนั้น แม้คงเชื่อได้ว่า ทรง "เสียพระทัย" และทรงมีรับสั่งเปรียบเทียบการ "เผาบ้านเผาเมือง" ปีกลาย กับการ "เสียกรุง" จริงดังที่ฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ทรงเล่า เพราะเรามีหลักฐานแวดล้อมอื่น ที่ทำให้ทราบว่า พระราชินีทรงสนับสนุนผู้ที่มีความเห็นวิจารณ์การชุมนุมของเสื้อแดง ดูภาพ พระราชหัตถเลขา ที่มีถึงคุณนภัส ณ ป้อมเพ็ชร์ ข้างล่าง (ในจดหมายคุณนภัส ถึง CNN มีข้อความโจมตีการชุมนุมของเสื้อแดงหลายตอน การแสดงความไม่พอใจ CNN ของคุณนภัส อยู่บนพื้นฐานของการแสดงความไม่พอใจการชุมนุมของเสื้อแดง ดูจดหมายคุณนภัส ที่นี่ http://202.183.165.22/view/48815/45 ) อย่างไรก็ตาม เนื่องจากพระราชินีทรงได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" และในเมื่อการอ้างพระราชดำรัสพระราชินีโดยฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ เป็นไปในลักษณะที่ทรงเห็นชอบด้วย (endorse) กับพระราชดำรัสดังกล่าวอยู่แล้ว ในที่นี้ ผมจึงแสดงความเห็นต่อ คำให้สัมภาษณ์ของฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ข้างต้นทั้งหมด ในฐานะที่เป็นความเห็นของฟ้าหญิงจุฬาภรณ์เอง
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ทรงแสดงทัศนะของพระองค์ต่อเหตุการณ์เดือนพฤษภาคมปีกลายในลักษณะนี้ เพียง 2 สัปดาห์เศษหลังการชุมนุมยุติลงจากการปราบปรามของรัฐบาล (วันที่ 6 มิถุนายน 2553) ทรงมีพระราชดำรัสต่อคนไทยในนิวยอร์คว่า (ดูรายงานข่าวที่นี่ http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9530000078685 ข้อความจากพระราชดำรัสข้างล่างนี้ ผมถอดจากคลิปประกอบรายงานข่าว เริ่มที่นาทีที่ 1.07)
จะเห็นว่าเนื้อหาของพระราชดำรัสที่นิวยอร์คกับพระราชดำรัสในรายการ "วู้ดดี้เกิดมาคุย" เป็นไปในทางเดียวกัน คือทรงวิจารณ์การชุมนุมของเสื้อแดง โดยเฉพาะในส่วนที่เกียวกับผลกระทบต่อ "ภาคธุรกิจ" แม้แต่เรื่องการ "เผาบ้านเผาเมือง" นั้น ความจริง ก็ดังที่รู้กันว่า ไม่ใช่ "บ้านเมือง" ของประชาชนธรรมดาจริงๆ ไม่ใช่แม้แต่ตลาดหรือร้านค้าบ้านช่องธรรมดา แต่คือ ศูนย์การค้าย่านธุรกิจระดับสูง แน่นอน เป็นสิทธิของฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ที่จะหยิบยกเอาประเด็นผลกระทบต่อ "ภาคธุรกิจ" หรือการเผาศูนย์การค้าย่านธุรกิจระดับสูงขึ้นมาวิจารณ์
แต่สิ่งแรกที่น่าจะสะดุดใจผู้ติดตามการเมืองในระยะไม่กี่ปีนี้ ก็คือ เหตุใดในระหว่างหรือหลังการ "ประท้วงนานๆ" (คำของฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ข้างต้น) ในกรณีของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในปี 2551 ซึ่งรวมถึงการยึดครองสถานที่ราชการสำคัญที่สุดคือทำเนียบรัฐบาล และสถานที่ที่เป็นหัวใจสำคัญอย่างยิ่งยวดของ "ภาคธุรกิจ" ของประเทศ (และมากยิ่งกว่าภาคธุรกิจ) คือสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ ฟ้าหญิงจุฬาภรณ์จึงไม่ได้ทรงมีพระราชดำรัสในลักษณะเดียวกัน? อันที่จริง เราทราบกันดีว่า ทรงโดยเสด็จพระราชินีในงานพระราชทานเพลิงศพของผู้ประท้วงชาวพันธมิตรคนหนึ่ง เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2551 ในระหว่างที่การชุมนุมของพันธมิตรยังไม่ยุติด้วย (และถ้าข้อมูลจากโทรเลขวิกิลีกส์ ฉบับวันที่ 6 พฤศจิกายน 2551 ถูกต้อง ฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ และนายแพทย์ชัยชน โลว์เจริญกุล เป็นผู้ขอให้พระราชินีเสด็จด้วยพระองค์เองด้วยซ้ำ)
ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือ ทั้งในพระราชดำรัสที่นิวยอร์คและการสัมภาษณ์ "วู้ดดี้เกิดมาคุย" เหตุใดจึงไม่ทรงเอ่ยถึงเลย ถึงการที่มีผู้เสียชีวิตจากการปราบปรามของรัฐบาลถึงเกือบ 100 คน และพิการบาดเจ็บอีกเกือบ 2 พันคน? ถ้าอะไรจะน่า "สะเทือนใจ" ที่สุดจากเหตุการณ์พฤษภาคมปีกลาย ก็ควรจะเป็นเรื่องนี้ไม่ใช่หรือ? ยิ่งกว่าเรื่องที่มีการเผาย่านธุรกิจระดับสูง (ซึ่งขณะนี้ก็ยังไม่ชัดเจนว่าฝีมือใคร แต่ต่อให้สมมุติว่าเป็นฝีมือของผู้ชุมนุมก็ตาม)?
การที่ฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ทรงแสดงออกซึ่งความสะเทือนใจกับการเสียชีวิตของผู้ชุมนุมพันธมิตร 1 คนในปี 2551 ถึงกับโดยเสด็จในงานพระราชทานเพลิงศพ เป็นเรื่องที่พอเข้าใจได้อยู่ (ผมเองก็สะเทือนใจ) แต่กับผู้เสียชีวิตเกือบ 100 คน ที่ไม่ทรงเอ่ยถึงเลย แต่กลับทรงเอ่ยเฉพาะเรื่องการเผาตึกราม ที่ไม่ใช่ "บ้านเรือน" ด้วยซ้ำ แต่เป็นศูนย์การค้าชั้นสูง ออกจะเป็นอะไรที่ผมเข้าใจยากอยู่สักหน่อย
ปล. ในระหว่างเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 สมเด็จพระเทพ ได้ทรงให้สัมภาษณ์ว่า "การฆ่าฟันหรือทำรุนแรงเป็นเรื่องไม่ดี การเสียทรัพย์สินไม่สำคัญเท่ากับชีวิตคน อยากให้เลิกฆ่าฟัน เลิกรุนแรงเพราะว่าเราเป็นคนไทยด้วยกัน" ในขณะที่บทบาทของสถาบันกษัตริย์ในส่วนที่เกี่ยวกับวิกฤติเดือนพฤษภาคม 2535 มีความซับซ้อนมากกว่าที่มักจะนำมาโฆษณาประชาสัมพันธ์กัน เฉพาะข้อความพระราชดำรัสของพระเทพที่ว่า "การเสียทรัพย์สินไม่สำคัญเท่ากับชีวิตคน" นี้ ต้องถือว่าถูกต้องและเหมาะสมกว่าการยกประเด็น "เผาบ้านเผาเมือง" ขึ้นมาไฮไลต์ แน่นอนในระหว่างเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม ที่เพิ่งผ่านมา ก็เป็นเรื่องน่าเสียดายว่า สมเด็จพระเทพเองก็ไม่ได้ทรงให้สัมภาษณ์ในลักษณะเดียวกันนี้อีก
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
รถโดยสารแรงงานพม่าถูกรถสิบล้อชนเสียชีวิต 9 ราย เจ็บอีกกว่า 50 Posted: 05 Apr 2011 05:11 AM PDT รถโดยสารรับส่งแรงงานพม่าที่สมุทรสาคร ถูกรถสิบล้อเสยลงข้างทาง จนมีผู้เสียชีวิต 9 ราย และบาดเจ็บมากกว่า 50 ราย ขณะที่คนขับรถสิบล้ออาศัยเหตุชุลมุนหนีไปได้ (4 เม.ย. 54) เกิดอุบัติเหตุรถ 10 ล้อ ชนเข้ากับรถ 6 ล้อรับส่งคนงานชาวพม่า ตรงทางหลวงหมายเลข 35 ต.ท่าทราย อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร เมื่อช่วงเช้าของวันจันทร์ (4 เม.ย. 54) ที่ผ่านมา เป็นเหตุให้แรงงานชาวพม่าจำนวน 6 คนเสียชีวิตคาที่ และไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาลอีก 1 คน ต่อมาได้เกิดอุบัติเหตุซ้ำซ้ ส่วนสาเหตุอุบัติเหตุครั้งนี้ ในอีกด้านหนึ่ง ได้เกิดกระแสข่าวลือในหมู่ (Irrawaddy / ข่าวสด 5 เมษายน 54)
แปลและเรียบเรียงโดย สาละวินโพสต์ "สื่อทางเลือกเพื่อแบ่งปั สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
SPDC โอนทรัพย์สินของรัฐให้ตานฉ่วยและครอบครัว Posted: 05 Apr 2011 05:05 AM PDT คณะรัฐบาลทหารพม่าทิ้งทวนถ่ายโอนทรัพย์สินของรัฐ ทั้งสวนยาง เหมืองแร่ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้างให้กับ พล.อ.อาวุโสตานฉ่วยและครอบครัวเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ก่อนที่ตานฉ่วยจะลงจากอำนาจ และมีประธานาธิบดี "เตงเส่ง" สาบานตนรับตำแหน่ง สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (State Peace and Development Council - SPDC) ได้ถ่ายโอนทรัพย์สินซึ่งเคยเป็ นักธุรกิจผู้ซึ่งมีความใกล้ชิ นอกจากนี้ ครอบครัวของตานฉ่วยยังได้รับที่ แปลและเรียบเรียงโดย สาละวินโพสต์ "สื่อทางเลือกเพื่อแบ่งปั สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
"จายหมอกคำ" รองประธานาธิบดีพม่ามอบเงินช่วยผู้ประสบเหตุแผ่นดินไหวในรัฐฉาน Posted: 05 Apr 2011 04:43 AM PDT นพ.จายหมอกคำ รองประธานาธิบดีคนที่ 2 รัฐบาลพม่า ตรวจพื้นที่เสียหายหลังแผ่นดิ (แฟ้มภาพ) นพ.จายหมอกคำ รองประธานาธิบดีคนที่ 2 ของรัฐบาลพม่าชุดใหม่ (ที่มา: S.H.A.N.) สำนักข่่าวฉาน รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวชายแดนซึ่งระบุว่า เมื่อวันที่ 2 เมษายน ที่ผ่านมา นพ.จายหมอกคำ รองประธานาธิบดีคนที่ 2 ของรัฐบาลทหารชุดใหม่พม่า ได้เดินทางมาจังหวัดท่าขี้เหล็ก ในภาคตะวันออกรัฐฉาน และลงพื้นที่ตรวจสภาพความเสี ชาวบ้านป่าแดง ในกิ่งอำเภอท่าเดื่อ จังหวัดท่าขี้เหล็ก รายหนึ่งเผยว่า หมู่บ้านป่าแดงมีบ้านเรือน 45 หลัง มีพังถล่มจากเหตุแผ่นดินไหว 10 หลัง ได้รับเงินช่วยเหลือจากนายแพทย์ จายหมอกคำ หลังละ 2 แสนจั๊ต (ราว 7,000 พันบาท) ส่วนบ้านที่เสียบางส่วนได้รั จากเหตุแผ่นดินไหว ในพื้นที่กิ่งอำเภอท่าเดื่อได้ ด้านหนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมี สำหรับ นพ.จายหมอกคำ ปัจจุบันอายุ 61 ปี เป็นชาวไทใหญ่ มีภูมิลำเนาอยู่เมืองหมู่แจ้ รัฐฉานภาคเหนือ จบการศึกษาด้านแพทย์ศาสตร์ จากเมืองมัณฑะเลย์ ระหว่างปีค.ศ.1978–1996 รับราชการและเป็ ก่อนการเลือกตั้งครั้งประวัติ
ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่ "คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
บันทึกทนายความ ฉบับที่ 1 : เสียงกระซิบจากแดนตาราง Posted: 04 Apr 2011 11:30 PM PDT ที่มา: http://rli.in.th/2011/04/05/บันทึกทนายความ-ฉบับที่-๑/ เดิมผมชั่งน้ำหนักการเขียนบันทึกในฐานะทนายความว่าควรเขียนดีหรือไม่ด้วยเหตุผลอยู่ 2-3 ประการ คือ บางทีอาจทำให้มองว่าเป็นการพรีเซนท์ตัวเอง หรืออาจถูกข้อหาอยากดังเป็นต้น แต่ภายหลังจากที่เข้าเยี่ยมจำเลยคดีหมิ่นล่าสุด(4 เมษายน 2554) ผมจึงตัดสินใจว่า งานของทนายความคงไม่สามารถจำกัดตัวเองอยู่เพียงให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย หรือคดีความเท่านั้น แต่ต้องเป็นกระบอกเสียงให้จำเลยที่กระซิบผ่านจากแดนตารางด้วย มันมีเรื่องหลายเรื่องที่อยากเล่าผ่านผู้อ่าน ซึ่งจริงๆแล้วผมได้ทยอยเขียนเป็นข้อความสั้นๆผ่านทางเฟซบุ๊ค ของผมแล้ว แต่นั่นอาจสื่อความหมายหรือข้อเท็จจริงไม่ครบถ้วน และบางครั้งก็กลับกลายเป็นปัญหาให้ตีความไปเสียหลายทาง ผมจึงขออนุญาตเขียนเป็นชิ้นงานขนาดกลางเพื่อเป็นการสื่อสารข้างต้น และในฉบับหลังๆ อาจขออนุญาตเล่าย้อนไปในเหตุการณ์ที่ประทับใจ หรือน่าสนใจในการทำงานช่วยเหลือทางกฎหมาย และแน่นอนว่ามันอาจไม่ได้เป็นงานเขียนระดับนักเขียนมืออาชีพ แต่น่าจะเป็นงานเขียนที่บอกเล่าสิ่งที่ผมในฐานะทนายความอยากเล่า และเป็นเสียงที่ผู้ต้องขังอยากบอกเช่นกัน… …ประตูบานใหญ่ทะมึนหลังลูกกรงค่อยๆเปิิดออก ถาพที่ผมเห็น คือชายสามคนที่พยุงกันอออกมาหาทนายความ และหนึ่งในสามคนนั้นเป็นชายแก่ที่เดินเองไม่สะดวกด้วยอาการเท้าชาไม่มีแรง ทั้งอาการมะเร็งยังกำเริบอีก เขาชื่ออำพล ตั้งนพกุลหรือที่ผมเรียกว่า “อากง” ส่วนชายวัยหนุ่มอีกสองคนที่ทำหน้าที่บุรุษพยาบาล(จำเป็น) ที่คอยพยุงร่างของอากงออกมาคือ คุณหมี สุริยันต์ กกเปือย และ คุณหนุ่ม ธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล ทั้งสามเป็นจำเลยคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และติดคุกมาร่วมปีแล้ว เรามีเพียงกระจกกั้นเราไว้เป็นสองโลก คือโลกแห่งความจริงที่มีผมเป็นทนายความ และโลกแห่งแดนตาราง ที่มีทั้งสามคนกำลังอาศัยอยู่ เจ้าหน้าที่เปิดแอร์เย็นฉ่ำในโลกของผม ส่วนอีกโลกเป็นพัดลมเพดานเล็กๆ ซึ่งคอยขับไล่เหงื่อของทั้งสามคนไม่ให้เปียกจนเกินไป อากงจะยกมือไหว้ผมและร้องไห้เสมอที่เจอหน้ากัน ด้วยอาการมะเร็งทำให้แกพูดไม่ค่อยชัดสักเท่าไหร่ แต่ที่จับใจความได้คือแกอยากให้ช่วยเรื่องประกันตัว ซึ่งทางทีมทนายความก็ได้ยื่นประกันตัวแล้วถึงสามครั้ง แต่ก็ได้รับการปฏิเสธจากศาลสถิตยุติธรรม ผมได้แต่ปลอบใจและให้กำลังใจว่าเราจะพยายามพาอากงกลับบ้านให้ได้ ซึ่งคดีของอากงจะสืบพยานอีกทีในเดือนกันยายนนี้ โดยมีทนายเมย์ และพี่ทนายธีรพันธุ์ เป็นทีมทนายความสู้คดี โดยหากคดีนี้ศาลรับฟังว่าจำเลยกระทำความผิดจริง อากงอาจถูกตัดสินให้จำคุกถึง 60 ปี ( ตามกฎหมายอนุญาตให้จำคุกได้ 20 ปี) ซึ่งนี่อาจทำให้เสรีภาพในบั้นปลายถูกปล้นไปจากชีวิตเลยทีเดียว ตอนเช้า ป้าอุ๊ ภรรยาอากงมาเยี่ยมและแจ้งว่า ลูกสาวของอากงต้องออกจากงานเพราะลามาทำเรื่องประกันอากงบ่อยไป และถูกนายจ้างบีบให้ออกในที่สุด (ความจริงผมทราบว่านายจ้างไม่ปลื้มที่ลูกน้องมีพ่อเป็นจำเลยคดีหมิ่นฯ๑๑๒ สักเท่าไหร่) ตอนนี้กำลังหางานทำอยู่ ส่วนป้าอุ๊ ก็ต้องดูแลหลานอีกสามคน ไม่สะดวกที่จะมาเยี่ยม แต่ด้วยความเห็นก่วง ป้าอุก็พยายามมาเยี่ยมให้ได้เดือนละ 2-3 ครั้ง และอากงแจ้งผมว่าให้ช่วยทำเรื่องขอให้หมอมารักษาด้วยเพราะแกมีอาการปวดและขากเสลดออกมาเป็นเลือดแล้ว… ส่วนพี่หมี สุริยันต์ กกเปือย รายนี้ไม่ค่อยมีปัญหามากนัก แกเป็นห่วงก็แต่พ่อกับแม่เท่านั้น ด้วยอาการโรคเบาหวานทำให้พ่อของพี่หมีไม่สามารถทำงานนานๆได้ ต้องพักอยู่บ่อยๆ ส่วนแม่ก็ต้องมาช่วยทำงาน ความลำบากของทั้งสองคนถูกสะกัดกั้นไม่ให้ผมบอกกับพี่หมีเพราะกลัวแกจะคิดมาก แต่ผมทราบว่าแกน่าจะรู้เพราะดูจากอาการที่ผมไปเยี่ยมทุกครั้งแแกจะฝากให้ไปเยี่ยมพ่อแม่แกด้วย… คดีของพี่หมีอยู่ในระหว่างการขอรับพระราชทานอภัยโทษ เพราะในคดี แกรับสารภาพว่าได้โทรศัพท์ไปกล่าวข้อความที่เป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพจริง ซึ่งศาลได้ตัดสินจำคุก 6 ปี กับ 30 วัน แต่เนื่องจากจำเลยรับสารภาพจึงได้รับการลดโทษลงกึ่งหนึ่ง คงต้องรอความเมตตาจากในหลวงเท่านั้นจึงจะทำให้พี่หมีได้กลับไปสู่อ้อมกอดของครอบครัวโดยเร็ว… ผมหอบสำเนาสำนวนคดีหมิ่นฯของพี่หนุ่มไปฝากให้แกช่วยดูด้วย เพราะคดีของแกอยู่ในระหว่างเขียนอุทธรณ์ ซึ่งจะครบกำหนดยื่นในวันที่ 15 เมษายนนี้ แต่ทราบว่าทางศาลยังพิมพ์คำพิพากษายังไม่เสร็จ คงต้องขอขยายระยะเวลายื่นออกไปอีกสักพัก เพราะคดีนี้มีรายละเอียดเยอะมาก แต่โชคดีที่ได้ทีมงาน iLaw มาช่วยคดี และแน่นอนว่าแม้ผลของคดีจะออกมาไม่เป็นไปตามที่เราคาดไว้ แต่พี่หนุ่มก็ฝากขอบคุณทีมทนายทุกคน และให้กำลังใจในการทำงานต่อสู้กับคดีเหล่านนี้ต่อไป แกบอกว่าอยากให้ใช้เคสแกรณรงค์ถึงความอยุติธรรมของกฎหมายหมิ่นฯ และอยากให้สังคมเราก้าวเข้าสู่ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง “วันที่ผมไปฟังคำพิพากษา พอเริ่มอ่านผมก็รู้แล้วว่าเขาลงโทษแน่ แต่ผมดีใจที่เพื่อนๆไปให้กำลังใจ โดยเฉพาะกลุ่มเรดนนท์ , ป้าอุษา, ทีมทนาย และเพื่อนๆของโลกไวเบอร์อีกหลายคนที่บางคนผมไม่เคยเห็นหน้าด้วยซ้ำ” ผมแจ้งเรื่องเงินช่วยเหลือน้องเวป ลูกชายวัย 10 ขวบของแกให้ทราบ แกร้องไห้และฝากขอบทุกคุณท่านที่ช่วยดูแลน้องเวปมาด้วย เจ้าหน้าที่ตะโกนบอกว่าอีก 5 นาทีหมดเวลาเยี่ยม เราร่ำลากันด้วยถ้อยคำอันคุ้นเคย ผมซื้อของฝากเข้าให้ทั้งสามคนโดยใช้เงินบริจาคจากบัญชีสำนักกฎหมายราษฎรประสงค์ ผมเดาเอาว่าท่านที่บริจาคด้วยยอด 1,112 บาท คงประสงค์เพื่อการนี้ และแน่นอนผมไม่รู้หรอกว่าทั้งสามอยากได้อะไรเพราะทั้งสามคนไม่เคยเรียกร้องอะไรจากทนายความเลย … ผมได้แต่คิดเอาเองว่าผมอยากกินอะไรก็ซื้ออันนั้น และไม่ลืมนมและเครื่องดื่มประเภทบำรุงรังนกสำหรับกำลังของอากง… ภาพที่พี่หนุ่มกับพี่หมี พยุงร่างอากงกลับเข้าสู่แดนตารางทำให้ผมคิดถึงใครบางคน… ใครบางคนที่ไม่อาจเห็นภาพเหล่านี้ได้ นี่คือความไม่เท่าเทียมกันของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน … ผมกลับออกจากเรือนจำตอนบ่ายสามโมง มารวมกับน้องทนายอีกสี่คนที่ไปเยี่ยมคดีเสื้อแดงและกำลังทำประสานเรื่องประกันตัวกับกรมคุ้มครองสิทธิ์อยู่ ทั้งสี่คนดูหัวยุ่งกันนิดหน่อย เราเดินคุยกันมาจนแว็ปเจอรถเข็ญขายส้มตำ และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของอาการจู๊ดๆ ในขณะกำลังเขียนบันทึกฉบับนี้ ! สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น