ประชาไท | Prachatai3.info |
- บทสัมภาษณ์นิติม่อน (2): โลกทัศน์ของนิติม่อน
- นักข่าวพลเมือง: ชาวบ้านสุรินทร์แห่แจ้งจับ บ.เอกชนขุดลอกลำห้วยรุกที่นา
- เครือข่ายแพทย์ดีเด่นศิริราชฯ ออกแถลงการณ์ไล่ รมว.สธ. จวกทำระบบสาธารณสุขลงเหว
- อัยการฟ้องเพิ่ม 19 พันธมิตรฯ คดีปิดสนามบิน
- 7 ชนชั้นยุคใหม่ในอังกฤษ จากการสำรวจของนักสังคมศาสตร์และ BBC
- องค์กรรัฐสภาสากล ลงมติชี้ ตัดสิทธิ ส.ส. 'จตุพร' ขัดหลักสิทธิมนุษยชน
- เสวนา: การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคทีวีดิจิทัล – โอกาสหรืออุปสรรคในการปฏิรูปสื่อ ?
- นักข่าวพลเมือง: 'กสิกรไทย' แจงผู้ถือหุ้น มั่นใจ ‘เขื่อนไซยะบุรี’ อุบเงียบมูลค่าเงินกู้
- ยังไม่จบ กสท.ตั้งคณะทำงานสอบ 'ตอบโจทย์ฯ'
- แนะสื่อท้องถิ่นปรับตัวรับยุคดิจิตอล เน้นจุดแข็งเข้าถึงชุมชนได้ดีกว่าสื่อส่วนกลาง
- กรณีสัญญาบีเอฟเคทียังสางไม่จบ จับตามติ กทค.พรุ่งนี้
- ป.ป.ช.มีมติเอกฉันท์ ไม่รับคำร้อง 'ยิ่งลักษณ์' ปล่อยกู้ 30 ล้าน
- เร่งสำนักงาน กสทช. บังคับค่ายมือถือละเมิดพรีเพดจ่ายค่าปรับ
- เสวนา: เสียงคนใน ภาษามลายูกับสร้างสันติภาพชายแดนใต้
บทสัมภาษณ์นิติม่อน (2): โลกทัศน์ของนิติม่อน Posted: 04 Apr 2013 01:35 PM PDT ตอนก่อนหน้านี้เราทำความรู้จักกับตัวตนของนิติม่อน ผ่านการวิพากษ์ตัวเองของนิติม่อนในแบบที่แม้แต่นิติม่อนก็ยังอาจไม่เคยรู้จักตัวเองแบบนั้นมาบ้างแล้ว การสนทนายังคงดำเนินต่อไป จากนี้เราจะมาพิจารณากันว่านิติม่อนมองโลกยังไง มองปัญหาสังคมผ่านแวดวงศิลปิน วงการนักเคลื่อนไหว ฯลฯ อย่างไร ซึ่งน่าจะทำให้ภาพของนิติม่อนชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ -นิติม่อนคิดอย่างไรกับการเซ็นเซอร์และวัฒนธรรมเซ็นเซอร์ตัวเอง เราเล่นเรื่อง 112 แต่ไม่เคยเอาอะไรเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์มาเล่นเลย เราเล่นในมิติของวัฒนธรรมและเสรีภาพในชีวิตประจำวัน ด้วยท่าทีของเรา เราพยายามเป็นมิตรอยู่แล้วด้วยไง เอ่อ แต่มนุษย์ล่องหนเล่นนะ คนอื่นเล่น แต่เราต้องรับผิดชอบในฐานะ บก. บางทีเราก็ไม่เห็นด้วยกับรูปแบบและเนื้อหาที่มันไปโจมตีบุคคลใดบุคคลหนึ่ง -ศิลปินที่ทำงานแอ็คชั่นจะต้องเป็นผู้ชี้ทางสว่างให้สังคม หรือว่าเห็นว่ามีคนทำประเด็นอยู่แล้วค่อยเข้าไปซับพอร์ต -นิติม่อนมองแนวโน้มศิลปินปัจจุบันที่ไม่แตะประเด็นสังคมการเมืองอย่างไร หลังจากมีโซเชียลมีเดีย มีอินเทอร์เน็ต คนรับข้อมูลได้ง่ายได้เยอะขึ้น หลังปี 49 เห็นได้ชัดว่าคนใส่ใจเรื่องสิทธิเสรีภาพเยอะขึ้น มันน่าจะเกิดขึ้นในวงการศิลปะเหมือนกันไง ศิลปินกระแสหลักจะเข้าข้างคนชนะก่อนเสมอ ซึ่งตอนนี้ยังอยู่ในภาวะที่ไม่มีคนชนะที่ชัดเจน เขาก็เลยปิดตัวเอง หนีไปอยู่ในโลกของตัวเอง ส่วนศิลปินที่ไม่ได้มีภาวะการเมืองในการทำงาน แค่มีอย่างเดียวคือการโหนกระแส ฉกฉวย ไม่รู้จะเรียกว่าดีหรือไม่ดี จริงๆ มันเป็นเทรนด์ทั่วโลกเลยดีกว่า ที่ว่าเอาเรื่องการเมืองมาอยู่ในเรื่องศิลปะ เราไม่คิดว่ามันเกิดขึ้นแค่เมืองไทยหรอก คือกระแสความขัดแย้งแบบนี้มันเกิดขึ้นทั่วโลก คือต้องดูพัฒนาการของศิลปะโลกไง มันถึงจุดที่มันถกกันแล้วว่าศิลปะมีพลังทางสังคมยังไง ตั้งแต่ ร็องซิเยร์ (Jacques Rancière) เสนอเรื่อง political aesthetics ว่าสุนทรียศาสตร์เป็นเรื่องของการเมือง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการควบคุมทางสังคม หรือการปรับเปลี่ยนระดับของ paradigm (กระบวนทัศน์) สังคมอะไรก็ตาม ทำให้ทุกวันนี้ศิลปินทุกคนเลยต้องรู้หน้าที่ของศิลปะว่าศิลปะไม่ใช่แค่สิ่งที่ทำออกมาจากแรงบันดาลใจอย่างเดียว นั่นมันโลกตั้งแต่ยุค 70 ยุคดาลี (Salvador Dali) ซึ่งมันอยู่ในบรรยากาศของฟรอยด์ (Sigmund Freud) เข้ายุคของยุง (Carl Jung) เข้ายุคของนักคิดใหม่ๆ ขึ้นมาเรื่อยๆ แต่ละคนก็เริ่มเอาศาสตร์ต่างๆ มาบูรณาการเข้าหากัน มันทำให้ระบบความคิดของโลกมันเริ่มเดินแล้วเริ่มขยายความเป็นไปได้ใหม่ๆ ศิลปินก็เป็นแนวหน้าหนึ่งในการที่เข้าไปสู่จุดที่เป็นขอบเขตของความเป็นไปได้ใหม่ด้วย เลยทำให้ศิลปะเป็นเครื่องมือทางการเมืองโดยชัดเจน ซึ่งทั้งโลกเริ่มทำงานศิลปะในฐานะของการเมืองในชีวิตประจำวันในด้านต่างๆ แล้ว ส่วนเมืองไทยยังไม่ค่อยเห็น แต่จะมามากขึ้นไหม เราเชื่อว่ารุ่นใหม่ๆ จะมามากขึ้น แต่การเมืองเรื่องไหนในชีวิตนั่นก็อีกเรื่องหนึ่ง เอาแค่เรื่องรับน้องก็เป็นการเมือง คือการไม่พูดถึงการเมืองก็เป็นการเมืองไง ม่อนม่อนๆ -หนังฮอลลีวูดปัจจุบันแทบทุกเรื่องก็พยายามจะมาจับประเด็นการเมืองอย่างพวกซอมบี้ที่รัก อัพไซด์ดาวน์ ขนาดเป็นหนังโรแมนติก อย่างนั้นใช่ไหม -มองภาพรวมของกลุ่มกิจกรรมเคลื่อนไหวของบ้านเรายังไง เราเชื่อว่าความเคลื่อนไหวมีเกือบทุกที่ เพียงแต่มันอยู่ในความสนใจของสังคมหรือเปล่า ซึ่งความสนใจของสังคมมันสัมพันธ์กับเรื่องสื่อมวลชนด้วย แต่การเรียนการสอนด้านสื่อมวลชนไม่เคยสอนให้สนใจในสิ่งที่อยู่นอกความสนใจของมวลชน มองแค่พื้นที่การตลาดในการขายสื่อแค่กรุงเทพฯ ไม่เคยเชื่อว่าทั้งประเทศคือพื้นที่ของการขายสื่อไง เพราะงั้นเวลาทำข่าวก็ทำแต่ข่าวเฉพาะกรุงเทพฯ ผู้ว่ากรุงเทพฯ จึงเป็นประเด็นของทั้งประเทศ มันเลยไม่มีผู้ว่าของจังหวัดอื่น หรือไม่เห็นการเลือกตั้งท้องถิ่นของจังหวัดอื่นเป็นเรื่องสำคัญ ข่าวคอร์รัปชั่นในแต่ละพื้นที่ถึงได้เป็นข่าวเงียบๆ ที่รู้กันเองอยู่แค่ไม่กี่คน ม่อนม่อนๆ
คือเราก็เคารพความรู้สึกเจ็บปวดบางอย่างที่ผลักเขาออกมาทำนะ แต่ไม่รู้ว่าเขาประเมินกันบ้างหรือเปล่าว่าแต่ละครั้งที่ออกไปแอ็คชั่นนี่มันเหนื่อยเปล่าหรือเปล่า เราว่าแอ็คชั่นทุกวันนี้มันควรอยู่บนฐานคิดเรื่องการสร้างการเรียนรู้ แต่เพราะไม่มีสังคมของการวิจารณ์กันไง คือทำก็ทำได้ แต่มันต้องเกิดการตรวจสอบหรือการพูดคุยกันต่อไง อย่างแรกที่อยากให้กลุ่มแอคทิวิสต์ทำคือวิจารณ์กันเองให้ได้ก่อน แล้วที่สำคัญกว่าเรื่องการวิจารณ์คือการกล้าเรียนรู้สิ่งใหม่ ส่วนใหญ่เวลาแอคทิวิสต์ทำอะไรก็ตาม คนกลุ่มอื่นๆ ก็จะบอกว่าดีจังทำเลย ดีจัง แต่ไม่มีใครมาถกว่า เฮ้ย มันไม่เวิร์กตรงนั้นว่ะ ไอ้นี่มันไม่ดีว่ะ ทำให้ไม่เกิดการเกลาในสิ่งที่ทำไป ถ้ามันเกิดวัฒนธรรมตรงนี้มันก็ไม่จำเป็นว่าต้องมาจากฐานความรู้แบบอคาเดมิก เคยได้ยินคำนิยามคนไม่รู้หนังสือในศตวรรษที่ 21 ว่าคือคนที่ไม่สามารถลบความรู้เก่าแล้วเรียนรู้สิ่งใหม่ได้ อันนี้สำคัญกว่าในโลกข้อมูลข่าวสาร ม่อนม่อนๆ -มองอย่างไรกับงานภาพถ่ายสมยศ + Try Arm ที่ฮือฮามาช่วงก่อนหน้านี้
เรื่องแรกคือเหมือนกับหน้ากากสมยศที่ถูกเอาไปใช้แบบ .. ไปเรื่อยอ่ะ มันถูก generalize ประเด็นให้กลายเป็น freedom ไปหมด ไม่ว่าจะอะไรก็ freedom ไปหมด แต่ freedom จริงๆ แล้วมันมีความหมายจริงๆ เหรอ อิสรภาพคืออะไร จริงๆ แล้วเราต้องการอิสรภาพในเรื่องอะไร เราพูดให้ชัดๆ ได้ไหม แล้วเราจะพูดให้ชัดๆ ผ่านอะไร อันนี้มันต่อเป็นประเด็นที่สองคือเรื่องรูปแบบ เราสังเกตว่า แอคทิวิสต์ส่วนใหญ่ในบ้านเรามักจะทำงานแบบตามโมเดล มักจะไปเห็นการเคลื่อนไหวในเมืองนอก เห็นกิจกรรมของศิลปินเมืองนอกแล้วทำตามดื้อๆ คือเห็นอะไรที่ใครทำก็หยิบมาใช้บ้างเพราะคิดว่าน่าสนใจ แต่ไม่ได้คิดว่ามันมีเชิงความหมายของปรากฏการณ์ของบริบทว่ามันคืออะไร เหมือนที่ไปทำเป็นกราฟิตี้ ทำเป็นฝ่ามือ ถึงจะจุดติด แต่ความหมายของฝ่ามือมันคนละอย่าง ตอนที่อองซานใช้มันมีความซับซ้อนของการใช้ฝ่ามือ ฝ่ามือของอองซานมีความหมายเฉพาะอยู่เพราะอองซานเคยใช้ฝ่ามือในฐานะสัญลักษณ์ทางการต่อสู้มาก่อนหน้านั้นแล้ว เพราะงั้นพอถูกเขียนลงไปบนมือมันมีความหมายขึ้นมาทันที แล้วมันทำให้คนอื่นที่ทำตามเหมือนเป็นพลังเสริมให้กับสิ่งที่อองซานทำ แต่ฝ่ามือที่เมืองไทยทำคือแบบว่า อ๋อ.. อองซานทำก็เลยเขียนบ้าง แค่นั้นไง คือมันไม่มีความหมายเฉพาะเจาะจงอะไร ไม่มีต้นทุนมาก่อนว่ามันเกิดอะไรขึ้น เช่นเดียวกันคือต้นทุนของ Try Arm กับสมยศเป็นเรื่องเดียวกัน ในแง่ประวัติศาสตร์เขามีบางอย่างร่วมกันมา แต่เวลาเอาออกมาใช้ในฐานะสิ่งที่คนภายนอกอ่านเข้ามาอีกที เขาอาจจะไม่ได้รู้เรื่องนั้นด้วยก็ได้ เพราะงั้นเวลาคนใส่ชุดกางเกงในแล้วถ่ายรูปนี่มันมีความหมายยังไงในสังคมนี้ มันมีความหมายอื่นอีกที่เขาคุมไม่ได้ เราก็คิดเหมือนกันว่าถ้าเราเป็น Try Arm เราจะเล่นยังไง สมยศไอแพดเราเล่นกับ Try Arm แล้ว เสื้อที่นายแบบเราใส่เป็นของ Try Arm อันนี้ก็ไม่มีใครรู้เหมือนกัน ฮ่า ฮ่า บางทีเราลองคิดช็อตง่ายๆ ตรงโรงงาน Try Arm แต่งตัวธรรมดา พนักงานโรงงานใส่หน้ากากสมยศ ยืนอยู่ในโรงงาน มันก็ทำงานได้อีกแบบนึง make awareness (สร้างความตื่นตัว) มันเป็นคาถาติดปากของแอคทิวิสต์เมืองไทย ทำไงให้คนสนใจ ทำไงให้คนหันมามอง แล้วไงต่อ คือทำตัวเป็นไม้ขีดไฟ เผาแล้วไม่ได้อะไรตอบแทนด้วย คือถือว่าเราได้เปรียบระดับหนึ่งตรงที่พวกเรามีความรู้ทางด้าน visual culture (วัฒนธรรมทางสายตา) ระดับหนึ่งนะ แต่จริงๆ เราคิดว่ามันเกิดจากการสั่งสมได้ ถ้าเราดูงานคนอื่นเยอะๆ แล้วเรามองไปในระดับวิพากษ์ไม่ใช่แค่ว่าน่าสนใจน่ะ เหมือนงานของ Banksy (ศิลปินข้างถนนชาวอังกฤษที่มีผลงานติดตานักเคลื่อนไหว) ถ้าดูระดับวิพากษ์จะเห็นว่าถ้าเราแค่เอาหุ่นคนใส่ชุดสมยศไปตั้งที่ใดที่หนึ่งมันก็ไม่มีความหมายรุนแรงอะไรเลย เทียบกับเอาอนุสาวรีย์อากงไปวางในศาล มันมีความหมายเฉพาะแต่ละอันไม่เหมือนกัน แม้แต่การถูกถ่ายเป็นรูป ความหมายก็เปลี่ยนอีกนะ ก็เพิ่มขึ้นอีกชั้นนึงนะ เราพยายามที่คิดคอนเทนท์ก่อนไง ว่าควรจะต้องพูดอะไรบ้าง แล้วไอ้ที่จะพูดเนี่ยในสายตาคนปกติทั่วไปเขาพูดกันด้วยอะไร เราต้องประเมินออเดียนซ์ (audience = ผู้ชม) ของเราด้วย คิดจากฐานของออเดียนซ์กลับมาหาเรา ไม่ได้คิดจากที่ว่าเรามีอะไรที่เราจะต้องส่งให้คนอื่นเฉยๆ แอนิเมชั่นของเราถึงไม่เกิดไง เพราะเรามีออเดียนซ์แต่เราไม่มีปัญญาทำ เป็นการล้มเหลวที่สวยงาม ฮ่าฮ่า
ในฐานะที่ทำตัวเป็นคนไม่ค่อยรู้เรื่อง เราจะไม่รู้ว่าสมยศแล้วไงกับกางเกงในวะ ทำอย่างนี้มันก็จะสื่อสารกับคนที่รู้เรื่องอยู่แล้ว ก็คือคนกลุ่มเดิม แล้วมันไม่ชี้ชวนให้คนอื่นมาร่วมด้วย ถ้าจะชี้ชวนให้คนอื่นรู้สึกสนใจด้วยเนี่ย ควรถ่ายให้เซ็กซี่กว่านี้ -นักกิจกรรมควรจะออกมาปกป้องหรือตอบโต้กรณีที่มีคนโจมตีกิจกรรมของตัวเองหรือเปล่า ควรจะเข้าไปสู่การดีเบตเรื่องงานของตัวเองไหม ถ้าการดีเฟนด์เป็นการปกป้องความรู้เก่าในตัวเราอย่างเดียวก็เป็นเรื่องแย่ ต่อให้มีสิทธิก็ไม่ได้เป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ หรือกับตัวเอง แต่ถ้าเราสามารถดีเบตกับคนอื่นแล้วคนอื่นยิงเข้ามาในจุดที่เราพบว่าเดิมต้องการจะรักษาตรงนั้นไว้มันผิด มีเหตุมีผลที่ทำให้สิ่งที่เราเชื่อมันผิด เราต้องเปิดใจรับให้ได้ ตรงนั้นต่อให้มีสิทธิเราอาจจะไม่ต้องดีเฟนด์ ไม่ใช่การยึดมั่นถือมั่นในจุดยืน แต่ทำให้จุดยืนเราขยับพื้นที่ขยายไปสู่จุดอื่นที่มีประสิทธิผลมากกว่า พูดง่ายๆ คือมีสิทธิแต่ไม่ได้จำเป็นเสมอไป เหมือนคำ ผกาทำนมอากง ก็มีสิทธิดีเฟนด์ถ้าทำให้ประเด็นยังแข็งแรงอยู่ แต่ถ้าประเด็นเขาอ่อนจริงๆ เขาก็ต้องยอมรับตัวเอง
-รู้สึกอย่างไรกับนิติพงษ์ - อยากจะพูดอะไรอีกไหม
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
นักข่าวพลเมือง: ชาวบ้านสุรินทร์แห่แจ้งจับ บ.เอกชนขุดลอกลำห้วยรุกที่นา Posted: 04 Apr 2013 12:07 PM PDT ชาวบ้านเฉนียง ต.บะ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ ที่ได้รับความเดือดร้อนจากการขุดลอกห้วยระวี แจ้งความ ให้ตำรวจ ดำเนินคดีกับ หจก.สินเจริญสนม ในข้อหาทำให้เสียทรัพย์และบุกรุก จากกรณีราษฏรบ้านเฉนียง ต.บะ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ ได้รับความเดือดร้อนจากการขุดลอกห้วยระวี มีการขุดลอกรุกที่นาของชาวบ้านกว่า 30 ราย นอกจากนี้ยังมีราษฏร ต.หนองเมธี อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ ได้รับผลกระทบอีกเป็นจำนวนมาก จากการลงพื้นที่ พบว่า โครงการขุดลอกห้วยระวี ตลอดแนวลำห้วย จากบ้านเฉนียง ม.8 ยง ต.บะ อ.ท่าตูม ไปจนถึงเขตท้องที่ของอำเภอเมืองสุรินทร์ โดยมีกรมทรัพยากรน้ำเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ และมี หจก.สินเจริญสนม เป็นผู้รับจ้าง จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่ามีชาวบ้านได้รับผลกระทบและได้รับความเดือดร้อน เพราะมีการขยายลำห้วยระวีทับที่นาของราษฏรจริงเป็นเนื้อที่กว่า 300 ไร่นั้น ล่าสุด เมื่อวันที่ 3 เม.ย.56 ราษฏรบ้านเฉนียงจำนวนหนึ่งโดยการนำของนายเทพพนม นามลี ประธาน นปช.แดงสุรินทร์ที่ชาวบ้านไปร้องขอความช่วยเหลือ เข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อ ร.ต.ท.สุนทร เอกศิริ ร้อยเวร สภ.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ ให้ดำเนินคดีกับ หจก.สินเจริญสนม ที่มีนายอัมรินทร์ จุไรวรรณสุทธิ เป็นกรรมการผู้จัดการ ในข้อหาทำให้เสียทรัพย์และบุกรุก นายเสาร์ จำปาทอง อายุ 72 ปี ราษฏรบ้านเฉนียงกล่าวว่า มาแจ้งความที่โรงพัก เพื่อเอาผิดกับบริษัทเอกชนที่เข้ามาขุดลอกลำห้วยระวี แล้วรุกล้ำมาทับที่นาของพวกตนเป็นจำนวนมาก จึงอยากให้ หจก.สินเจริญสนม ได้ออกมาดูแลและให้การช่วยเหลือชาวบ้านด้วย ด้านนายเทพพนม นามลี กล่าวว่าต้องใช้อำนาจทางกฏหมาย เพื่อกดดันให้ หจก.สินเจริญสนม ออกมารับผิดชอบในการกระทำทางละเมิดบนผืนนาของชาวบ้าน ให้ออกมาชดเชยค่าเสียหายให้ชาวบ้านเฉนียงที่เดือดร้อน 28 รายและชาวบ้านหมู่บ้านอื่นๆ อีกหลายราย โดยจะดำเนินคดีให้ถึงที่สุดจนกว่าจะได้รับการชดเชย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เครือข่ายแพทย์ดีเด่นศิริราชฯ ออกแถลงการณ์ไล่ รมว.สธ. จวกทำระบบสาธารณสุขลงเหว Posted: 04 Apr 2013 11:44 AM PDT สืบเนื่องจากที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ออกระเบียบการจ่ายเงินค่าตอบแทนการทำงานสำหรับบุคลากรทางการแพทย์จากวิธีการเหมาจ่าย เป็นการจ่ายแบบผสมผสานระหว่างค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายตามพื้นที่และค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน หรือที่เรียกกันว่า พีฟอร์พี (Pay for performance: P4P) และมีการคัดค้านจากกลุ่มแพทย์ชนบท ซึ่งรวมตัวกันออกมาชุมนุมขับไล่ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) รวมถึงมีบุคลากรทางการแพทย์บางส่วนใส่ปลอกแขนดำ เพื่อแสดงสัญลักษณ์ไม่เห็นด้วยกับการจ่ายค่าตอบแทนแบบใหม่ดังกล่าว ล่าสุด (4 เม.ย.56) เครือข่ายแพทย์ดีเด่น ศิริราชพยาบาล ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 1 เรื่องระบบสาธารณสุขไทยจะตกเหว ถ้ามีหมอประดิษฐ เป็น รมว. มีรายละเอียดดังนี้ กระทรวงสาธารณสุขมีพัฒนาการและผลงานบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง จากการทุ่มเทแรงกายและใจของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ ในจังหวัดและในกระทรวง นำโดยผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ มีประสบการณ์ มีคุณธรรม และยึดเอาประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม และได้สร้างระบบบริการสุขภาพ สร้างระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และสร้างหน่วยงานหลากหลายเพื่อช่วยกันพัฒนา ปฏิรูประบบสุขภาพไทย รวมทั้งสร้างระบบเครือข่ายตรวจสอบป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบของผู้มีอำนาจ จนเป็นตัวอย่าง เป็นที่ยอมรับของหน่วยงานทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ แต่ขณะนี้ภายใต้การครอบงำของกลุ่มธุรกิจการเมือง มีหมอนักธุรกิจที่ไม่เป็นที่ยอมรับของหมอ ไม่เคยออกไปใช้ทุนยังต่างจังหวัด ไม่มีประสบการณ์ทางการเมืองและการบริหารภาครัฐ ไม่รู้จักปัญหาสาธารณสุขความทุกข์ของประชาชนในชนบท ไม่เคยเข้าพื้นที่จริงของสามจังหวัดภาคใต้ แต่ใช้ความใกล้ชิดจากที่เคยทำธุรกิจร่วมกับผู้นำรัฐบาล รับจ๊อบทางการเมืองเข้าแยกสลาย สร้างความแตกร้าวในแวดวงสาธารณสุข ด้วยการส่งนักการเมืองของพรรค นักวิชาการพวกพ้อง และนักธุรกิจเข้ายึดครองการแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักวิจัยระบบสาธารณสุข และหน่วยงานต่างๆ เพื่อออกนโยบายแยกสลายให้หน่วยงานต่างๆอ่อนแอลง วางแผนล้มระบบหลักประกันสุขภาพทำให้เป็นระบบอนาถาสงเคราะห์ผู้ยากไร้ แอบสั่ง รพ.ใหญ่ในเมืองให้จัดม๊อบ รพ.ละไม่น้อยกว่าหนึ่งคันรถบัสทิ้งผู้ป่วยเพื่อหนุนอำนาจของตนเอง และใช้ม๊อบของ รพ.ใหญ่ในเมืองชนการเคลื่อนไหวของ รพ.ในชนบท ปลุกพยาบาลให้ขัดแย้งกับแพทย์ ทันตแพทย์และเภสัชกรที่ทำงานในชนบท ทำให้ระบบบริการผู้ป่วยในพื้นที่ปั่นป่วนขัดแย้งอย่างรุนแรงไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ ผู้ป่วยใน รพ.ชุมชนไม่สามารถส่งต่อไปยัง รพ.ใหญ่ในเมืองได้ ออกระเบียบทางการเงินที่บีบบังคับให้แพทย์และบุคลากรอื่นทิ้ง รพ.ชุมชน เข้าเมืองเพื่อทดแทนกำลังคนของ รพ.ใหญ่ในเมืองที่จะขาดแคลนจากการย้ายไป รพ.เอกชนรองรับการเปิดตลาด Medical Hub ที่กลุ่มธุรกิจทางการแพทย์และการเมืองได้เข้ายึดกุมตลาดไว้ล่วงหน้าแล้ว และท้ายที่สุดอาศัยอำนาจรัฐมนตรี ปลุกกระแสสร้างความเสียหาย ให้ข่าวอันเป็นเท็จ ทำลายภาพพจน์ขององค์การเภสัชกรรมของรัฐให้อ่อนเปลี้ยไม่สามารถแข่งขันกับเอกชนได้ เปิดทางเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจยาข้ามชาติเข้ายึดครองตลาดยาไทยนับแสนล้านบาท ทั้งหมดนี้เพราะ รมว.หมอนักธุรกิจที่รับจ๊อบทางการเมืองมาทำลายองค์กร ทำลายระบบ และทำลายเครือข่ายตรวจสอบการทุจริตทั้งทางตรงและทุจริตเชิงนโยบายให้อ่อนแอลง เพื่อเปิดทางให้ออกนโยบายและจัดระบบที่เอื้อกับธุรกิจทางการเมืองและเอกชนได้ง่ายขึ้นในอนาคต นพ.อภิสิทธ์ ธำรงวรางกูล รพ.อุบลรัตน์ ขอนแก่น ปี 2538 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
อัยการฟ้องเพิ่ม 19 พันธมิตรฯ คดีปิดสนามบิน Posted: 04 Apr 2013 10:57 AM PDT อัยการฝ่ายคดีอาญาเป็นโจทก์ ฟ้องเพิ่ม 19 พันธมิตรฯ หลังร่วมกันปิดล้อมสนามบิน เมื่อปี 2551 (4 เม.ย.56) ไทยรัฐออนไลน์รายงานว่า ที่ศาลอาญา เมื่อเวลา 10.00 น. อัยการฝ่ายคดีอาญา 9 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในคดีร่วมกับแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ปิดล้อมสนามบินดอนเมือง และสนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อปี 2551 เพิ่มอีก จำนวน 19 คน ประกอบด้วย ร.ต.แซมดิน เลิศบุศย์ นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ นายสมบูรณ์ สุพรรณฝ่าย นางแจ่มศรี สุกโชติรัตน์ นายวสันต์ วานิชย์ นายมนตรี ชูชื่น นายมนตรา ชูชื่น นายแมน ฤทธิคุปต์ นายสุนทร รักรงค์ นางสมพร วงค์ป้อ น.ส.ณัฐชา เพชรมั่นคงเจริญ นายยศ เหล่าอัน นางนุภารัก วงษ์เอก นายศักดิ์สิทธิ์ เชื้อกลาง นายระพินทร์ พุฒิชาติ นายแสงธรรมดา กิติเสถียรพร นายพงศธร ผลพยุง น.ส.เสน่ห์ หงส์ทอง และนายพินิจ สิทธโห ในความผิด ฐานร่วมกันก่อการร้ายเพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กำลังข่มขืนใจหรือใช้กำลังประทุษร้ายหรือเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน, มั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยอัยการฟ้องว่า เมื่อวันที่ 27 พ.ย.2551 จำเลยกับพวกรวม 114 คน ที่บางส่วนฟ้องไปแล้ว รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตพื้นที่ดอนเมือง ลาดกระบัง และ อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ โดยให้ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผบช.น.(ขณะนั้น) เป็นผู้รับผิดชอบแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยได้ออกประกาศวันที่ 29 พ.ย.2551 ห้ามมิให้มีการชุมนุมมั่วสุมกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป บริเวณเขตดอนเมืองและพื้นที่อื่นๆ และห้ามใช้เส้นทางคมนาคมบริเวณพื้นที่ชุมนุมทำเนียบรัฐบาลชั่วคราว (ดอนเมือง) ห้ามใช้อาคาร ห้ามใช้พื้นที่ท่าอากาศยานดอนเมือง และให้ประชาชนที่ชุมนุมบริเวณท่าอากาศยานดอนเมืองออกจากพื้นที่ทันที แต่จำเลยกับพวกขัดขืนคำสั่งเจ้าพนักงานและต่อสู้ขัดขวางการบิน การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ โดยใช้กำลัง ทั้งนี้แนวร่วมพันธมิตรฯ อีกพวกหนึ่งยังได้บุกเข้าไปในสถานที่ทำการติดตั้งเสาเรดาร์ของ บ.วิทยุการบินฯ แล้วเอาจานรับสัญญาณโทรทัศน์ของผู้ชุมนุมไปติดตั้งไว้ใกล้ๆ ทำให้สัญญาณเรดาร์ใช้การไม่ได้ การบินหยุดชะงัก และยังขู่เข็ญห้ามไม่ให้เครื่องบินขึ้น-ลงสนามบินดอนเมือง และพวกจำเลยได้ทำร้าย ขู่เข็ญเจ้าพนักงานหลายครั้ง ซึ่งเป็นความผิดต่างกรรม ต่างวาระ มีอัตราโทษสูง อันเป็นความผิดตามกฎหมาย จึงขอให้ศาลลงโทษจำเลยฐานร่วมกันทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใด อันไม่ใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ เพี่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อให้เกิดความปั่นป่วนจนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน, ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ศาลได้ประทับรับฟ้องไว้เป็นคดีดำ อ.1279./2556 และนัดสอบคำให้การจำเลยวันที่ 29 เม.ย. เวลา 09.00 น.
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
7 ชนชั้นยุคใหม่ในอังกฤษ จากการสำรวจของนักสังคมศาสตร์และ BBC Posted: 04 Apr 2013 10:08 AM PDT นักสังคมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยในอังกฤษร่วมกับสำนักข่าว BBC ทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างราว 160,000 คน ทำให้สามารถแบ่งกลุ่มชนชั้นในยุคสมัยใหม่ โดยอาศัยปัจจัย 'ทุน' สามด้าน คือทุนทางเศรษฐกิจ, ทุนทางสังคม และทุนทางวัฒนธรรม ทำให้เห็นความหลากหลายมากกว่าการแบ่งชนชั้นแบบดั้งเดิมที่วัดแค่ด้านทุนทางเศรษฐกิจ 3 เม.ย. 2013 - ไมค์ ซาเวจ จากวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์ลอนดอน และฟิโอน่า ดีไวน์ จากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ นำเสนอผลการวิจัย 'การสำรวจเรื่องชนชั้นของสหราชอาณาจักร' (The Great British Class Survey) พบว่าชนชั้นในอังกฤษมีโครงสร้างแบ่งได้เป็น 7 รูปแบบชนชั้น จากชนชั้นนำหรืออีลีท (Elite) ซึ่งอยูู่สูงสุด ไปจนถึงกลุ่มผู้ที่ขาดความมั่นคงในชีวิตหรือพรีคาเรียท (Precariat) ซึ่งอยู่ต่ำสุด งานวิจัยชิ้นนี้เริ่มเก็บข้อมูลเมื่อตั้งแต่เดือน ม.ค. ปี 2011 จากความช่วยเหลือของ BBC Lab ทำการเก็บข้อมูลโดยให้ผู้อ่าน BBC ทำแบบสอบถาม ซึ่งเป็นคำถามเกี่ยวกับเรื่องชนชั้นในหลายแง่มุม การสำรวจดังกล่าวเป็นการจัดลำดับชนชั้นแบบใหม่ซึ่งไม่ได้มาจากงานที่ทำ แต่มาจากความแตกต่างในด้านเศรษฐกิจ, วัฒนธรรม และทรัพยากรทางสังคม หรือ 'ทุน' ในด้านต่างๆ ที่คนนั้นๆ มีอยู่ แบบสำรวจดังกล่าวสอบถามเรื่องรายได้ ราคาบ้านและเงินออม ซึ่งจัดเป็น 'ทุนทางเศรษฐกิจ' เรื่องความสนใจและกิจกรรมทางวัฒนธรรมซึ่งถือเป็น 'ทุนทางวัฒนธรรม' เรื่องจำนวนและสถานะของผู้คนที่พวกเขารู้จักซึ่งจัดเป็น 'ทุนทางสังคม' BBC เปิดเผยว่ามีผู้ทำแบบสอบถามราว 160,000 คน ทำให้การสำรวจในครั้งนี้เป็นการสำรวจเรื่องชนชั้นที่มีกลุ่มตัวอย่างมากที่สุดในสหราชอาณาจักร
BBC ระบุว่า ผลสำรวจล่าสุดสามารถแบ่งแบบจำลองชนชั้นได้เป็น 7 แบบได้แก่ ชนชั้นนำ (Elite) ซึ่งเป็นชนชั้นที่มีสิทธิพิเศษสูงสุดจากการที่มี 'ทุน' จากทั้งสามด้านคือด้านเศรษฐกิจ, วัฒนธรรม และทางสังคม การมีทุนสูงในทั้งสามด้านนี้ ทำให้พวกเขาอยู่ห่างจากชนชั้นอื่นๆ ชนชั้นถัดมาคือ ชนชั้นกลางที่มีสถานะมั่นคง (Established Middle Class) ชนชั้นนี้มีทุนทั้งสามด้านในระดับสูง แต่ไม่สูงเท่ากลุ่มชนชั้นนำ เป็นกลุ่มชนชั้นที่ชอบอยู่เป็นกลุ่ม และมีการรวมกลุ่มทางวัฒนธรรม ขณะเดียวกันก็มีชนชั้นกลางเฉพาะด้าน (Technical Middle Class) เป็นชนชั้นใหม่ที่มีจำนวนไม่มาก มีทุนทางเศรษฐกิจสูง แต่มีการรวมกลุ่มทางวัฒนธรรมน้อยกว่า พวกเขามีเส้นสายทางสังคมอยู่ค่อนข้างน้อย จึงมีการเข้าร่วมทางสังคมน้อยกว่า ถัดมาคือชนชั้นแรงงานผู้มีทุนทรัพย์ (New Affluent Workers) คนกลุ่มนี้มีทุนทางเศรษฐกิจในระดับปานกลาง และมีทุนทางวัฒนธรรมและทุนทางสังคมสูงกว่า พวกเขาเป็นกลุ่มคนหนุ่มสาวที่มีความกระตือรือร้น ชนชั้นแรงงานบริการยุคใหม่ (Emergent Service Worker) เป็นกลุ่มที่มีทุนทางเศรษฐกิจต่ำ แต่มีทุนทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะ 'วัฒนธรรมยุคใหม่' และทุนทางสังคมสูง คนกลุ่มนี้มักจะเป็นคนหนุ่มสาว และมักจะอยู่ในเขตเมือง ชนชั้นแรงงานดั้งเดิม (Traditional Working Class) กลุ่มนี้มีคะแนนต่ำในเรื่องทุนทุกด้าน แต่ว่าก็ยังไม่ใช่กลุ่มที่จนที่สุด กลุ่มนี้มีอายุเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มอื่น และสุดท้ายคือ ชนชั้นที่ขาดความมั่นคงในชีวิต (Precariat) เป็นกลุ่มชนชั้นที่ยากจนที่สุด มีทุนด้านต่างๆ น้อยที่สุด มีชีวิตประจำวันที่ไม่มั่นคง ไม่มีความแน่นอน
ผลสำรวจจาก BBC ระบุอีกว่า การแบ่งแยกชนชั้นกลางและชนชั้นแรงงานแบบเหมารวมในยุคศตวรรษที่ 20 เป็นเรื่องล้าสมัยไปแล้ว โดยมีเพียงร้อยละ 39 เท่านั้นที่อยู่ในหมวดชนชั้นกลางที่มีสถานะมั่นคง และชนชั้นแรงงานดั้งเดิม อีกทั้งชนชั้นแรงงานดั้งเดิมมีจำนวนน้อยลงกว่าในอดีต คนในยุคใหม่มักจะอยู่ในหมวดชนชั้นแรงงานผู้มีทุนทรัพย์ กับชนชั้นแรงงานบริการยุคใหม่ มากกว่า ผลสำรวจบอกอีกว่า ประชาชนยุคปัจจุบันมีการบริโภควัฒนธรรมในแบบที่ซับซ้อนกว่าเดิม โดยการที่ชนชั้นกลางเฉพาะด้าน มีการเข้าร่วมทางวัฒนธรรมน้อยกว่า ขณะที่ชนชั้นแรงงานบริการยุคใหม่ มีการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ อย่างหลากหลาย นอกจากนี้แล้วความต่างของชนชั้นบนสุดกับชนชั้นล่างสุดก็มีความสำคัญมาก จากการที่ชนชั้นนำกับชนชั้นต่ำสุดที่ขาดความมั่นคงในชีวิตมักจะถูกมองข้ามและมีการเน้นเรื่องชนชั้นกลางกับชนชั้นแรงงานมากกว่า BBC กล่าวว่า คนมักจะตัดสินเรื่องชนชั้นจากแง่มุมด้านอาชีพและรายได้ซึ่งถือเป็นการวัดจากในแง่ทุนทางเศรษฐกิจอย่างเดียว ขณะที่นักสังคมศาสตร์คิดว่าชนชั้นมีตัวชี้วัดด้านทุนทางวัฒนธรรมและทุนทางสังคมอยู่ด้วย การวิเคราะห์ผลการสำรวจดังกล่าวจึงมีการพิจารณาความสัมพันธ์ของทุนทั้งสามด้านคือ ทางเศรษฐกิจ, สังคม และวัฒนธรรม โดยกลุ่มตัวอย่างที่เข้ารับการสำรวจเป็นประชาชนสหราชอาณาจักร 161,458 คน มีร้อยละ 86 อาศัยอยู่ในอังกฤษ ร้อยละ 8 ในสก็อตแลนด์ ร้อยละ 3 ในแคว้นเวลส์ และร้อยละ 1 ในไอร์แลนด์เหนือ จากทั้งหมดที่ทำการสำรวจจนครบถ้วนพบว่าเป็นชายร้อยละ 56 (91,458 คน) เป็นหญิงร้อยละ 43 (69,902 คน) อายุเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างอยู่ที่ 35 ปี และร้อยละ 90 (145,521 คน) ระบุว่าตนเป็นคนผิวขาว BBC เปิดเผยอีกว่า กลุ่มตัวอย่างจำนวนมากทำให้สามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างทุนต่างชนิดกันโดยอาศัยเทคนิคการจำแนกแบบ Latent class analysis ได้ และมีข้อมูลที่ละเอียดกว่านี้นำมาเปิดเผยในภายหลัง งานวิจัยชิ้นนี้มีการตีพิมพ์ในวารสารสังคมศาสตร์ และมีการนำเสนอในที่ประชุมสมาคมสังคมศาสตร์อังกฤษ เรียบเรียงจาก The Great British class calculator, BBC, 03-04-2013 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
องค์กรรัฐสภาสากล ลงมติชี้ ตัดสิทธิ ส.ส. 'จตุพร' ขัดหลักสิทธิมนุษยชน Posted: 04 Apr 2013 10:03 AM PDT
3 เม.ย.56 เว็บไซต์ ประเทศไทย Robert Amsterdam รายงานความคืบหน้ามติขององค์กรรัฐสภาสากล (ไอพียู) เมื่อวันที่ 23 มี.ค.ที่ผ่านมา เกี่ยวกับกรณีของการตัดสิทธิ์นายจตุพร พรหมพันธุ์ จากการเป็นส.ส. ในมติที่ TH/183 ระบุว่า การที่นายจตุพรถูกตัดสิทธิ์ถือ "เป็นการละเมิดพันธกรณีของประเทศไทยที่มีต่อสิทธิมนุษยชนโดยตรง" ในขณะเดียวก็ย้ำถึงความกังวลเรื่องการจับกุมนายจตุพรซึ่งเกิดขึ้นภายใต้การใช้อำนาจฉุกเฉินอันมิชอบด้วยกฎหมายของรัฐบาลที่แล้ว รวมถึงข้อหาก่อการร้ายซึ่งมีเหตุจูงใจจากเรื่องทางการเมือง นอกจากนี้ยังระบุด้วยว่า ที่นั่งในรัฐสภาของนายจตุพรถูกเพิกถอนในเวลาที่ "มิได้มีการพิสูจน์ว่าเขากระทำความผิดใด" และรายละเอียดคำปราศรัยปรากฏว่า "เป็นการใช้สิทธิในเสรีภาพการแสดงออก" ซึ่งการยับยั้งสิทธิการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของบุคคลผู้ถูกกล่าวหาทางอาญาถือเป็น "ข้อจำกัดอันมิสมเหตุสมผล" โดยเฉพาะตามบทบัญญัติของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิการเมืองซึ่งรับรองสิทธิของบุคคลผู้ถูกกล่าวหาทางอาญาในการให้ถูกสันนิษฐานว่า เป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะได้รับการพิสูจน์เป็นอย่างอื่น ไอพียูกล่าวถึงความกังวลเกี่ยวกับหลักสำคัญทางกฎหมายและเหตุผลเบื้องหลัง การถอนประกันและคุมขังนายจตุพร โดยร้องขอสำเนารายละเอียดข้อหาของนายจตุพร ในขณะเดียวกันก็ร้องขอให้สำนักงานเลขาธิการใหญ่เดินทางไปเยือนประเทศไทยเพื่อหยิบยกประเด็นดังกล่าวต่อเจ้าหน้าที่รัฐสภา รัฐบาลและตุลาการผู้มีประสิทธิภาพ รวมถึงมองหาถึงความเป็นไปได้ที่จะให้ความช่วยเหลือในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ ไอพียู (Inter-Parliamentary Union) เป็นองค์กรที่มีสถานะเป็นผู้สังเกตการณ์ถาวรในยูเอ็น มีสมาชิกทั้ง 162 ประเทศ และรัฐสภาไทยเป็นสมาชิกในปี 2010 ในลำดับที่ 122 ====== คำแปลบางส่วนของมติไอพียู 1.ไอพียูขอขอบคุณสำนักงานเลขาธิการใหญ่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสำหรับจดหมายและความร่วมมือ 2.ไอพียูยืนยันว่าจดหมายดังกล่าวมิได้ทำให้ไอพียูคลายความกังวลใจกรณีที่นายจตุพรถูกตัดสิทธิ์ด้วยเหตุผลซึ่งขัดต่อพันธกรณีที่ประเทศไทยมีต่อมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากลโดยตรง 3.เมื่อพิจารณาว่า แม้ว่ารัฐธรรมนูญไทยจะบัญญัติไว้โดยเฉพาะถึงเรื่องการตัดสิทธิ์ทางการเมืองของบุคคลที่ "ถูกคุมขังโดยคำสั่งทางกฎหมาย" ในวันเลือกตั้ง โดยยับยั้งมิให้บุคคลผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดทางอาญาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ซึ่งขัดกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิการเมือง ในมาตรา 25 ที่รับรองสิทธิในการ "เข้าร่วมทำกิจกรรมสาธารณะ" รวมถึงการ "ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งและลงสมัครรับเลือกตั้ง" โดยปราศจากการ "ข้อจำกัดอันไม่สมเหตุสมผล" 4.เมื่อพิจารณาในแง่ดังกล่าว การปฏิเสธมิให้ ส.ส.ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวจากเรือนจำเพื่อไปใช้สิทธิลง คะแนนเสียงเลือกตั้งตั้งจึงเป็น "ข้อจำกัดอันไม่สมเหตุสมผล" โดยเฉพาะในบทบัญญัติของกติกาที่รับรองว่าบุคคลซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดทาง อาญาให้ถือเป็นผู้บริสุทธิ์ (มาตรา 14) และ ให้ได้รับ "การปฏิบัติที่แตกต่างจากบุคคลผู้ถูกตัดสินว่ามีความผิดแล้ว" (มาตรา 10 (2)(a) ); ไอพียูระบุว่าการตัดสิทธิ์ของนายจตุพรยังปรากฏว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญไทยมาตรา 102(4) ซึ่งบัญญัติว่าผู้ที่ถูกตัดสินว่าว่ากระทำความผิดทางอาญาเท่านั้น ที่จะสูญเสียสิทธิในการลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยไม่รวมผู้ถูกกล่าวหาทางอาญา 5.ไม่ต่างจากกรณีที่ความเป็นสมาชิกพรรคการเมืองของนายจตุพรถูกเพิก ถอนในเวลาที่ยังมิได้มีการระบุว่าเขากระทำความผิดใด และในกรณีของคำปราศรัยอันปรากฏว่าเป็นการใช้สิทธิในเสรีภาพการแสดงออก ได้ย้ำเตือนถึงความกังวลว่า ศาลสามารถตัดสินกรณีพิพาทเกี่ยวกับความเป็นสมาชิกพรรคการเมืองซึ่งเป็น เรื่องส่วนบุคคลระหว่างนายจตุพรและพรรคการเมืองนั้นโดยอันที่จริงก็มิได้มี ข้อพิพาทใดระหว่างนายจตุพรและพรรคการเมืองนั้นเลย 6.จากข้อเท็จจริงข้างบน ไอพียูจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เจ้าหน้าที่รัฐไทยจะทำทุกอย่างเท่าที่ทำได้เพื่อพิจารณาการตัดสิทธิของนายจตุพรอีกครั้งและรับรองว่าบทบัญญัติกฎหมายในปัจจุบันจะมีความสอดคล้องกับ มาตรฐานสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้อง ทางไอพียูประสงค์ที่จะได้รับแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับผลลัพธ์ของกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับกรณีนี้ 7.ทางไอพียูยังคงกังวลเกี่ยวกับข้อกล่าวหาทางกฎหมายและข้อเท็จจริงซึ่ง อ้างอิงอันเกี่ยวกับข้อหาของนายจตุพร และความเป็นไปได้ที่ศาลอาจสั่งถอนประกันนายจตุพร ดังนั้นไอพียูจึงประสงค์ที่จะขอสำเนาซึ่งเกี่ยวกับข้อกล่าวหาดังกล่าว และพิจารณาว่า ในกรณีนี้อาจเป็นเป็นประโยชน์ที่จะส่งผู้สังเกตการณ์เพื่อเข้าร่วมการ พิจารณาคดีในศาล และร้องขอให้เลขานุการใหญ่จัดการการนัดหมายที่จำเป็น 8.ความกังวลของไอพียูต่อกรณีที่นายจตุพรถูกสั่งฟ้อง ตัดสินและลงโทษในความผิดหมิ่นประมาท ในกรณีนี้ ความเห็นของผู้ตรวจการพิเศษขององค์การสหประชาชาติระบุว่า ความผิดหมิ่นประมาทมิควรที่จะเป็นความผิดทางอาญา ดังนั้น ไอพียูจึงประสงค์ที่จะเห็นเจ้าหน้าที่รัฐไทยพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้อง และประสงค์ที่จะได้รับสำเนาเกี่ยวกับการพิจารณาดังกล่าว รวมถึงได้รับแจ้งถึงขั้นตอนการอุทธรณ์ในคดีดังกล่าว 9.ทางไอพียูพิจารณาว่า คดีในปัจจุบันมีการแตกกิ่งการสาขานอกเหนือจากกรณีของนายจตุพร และยังเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ทางรัฐธรรมนูญและระบบระหว่างสภาผู้แทนราษฎร และศาล ทางไอพียูจึงร้องขอให้เลขาธิการใหญ่เดินทางไปเยือนประเทศไทยเพื่อหยิบยก ประเด็นดังกล่าวต่อเจ้าหน้าที่รัฐสภา รัฐบาลและตุลาการที่ทรงประสิทธิภาพ รวมถึงค้นหาถึงความเป็นไปได้ว่าทางไอพียูจะสามารถช่วยเหลืออะไรได้บ้างใน กรณีดังกล่าว 10.ทางไอพียูร้องขอให้เลขาธิการใหญ่ส่งมตินี้ไปยังเจ้าหน้าที่รัฐที่ทรงประสิทธิภาพและผู้ให้ข้อมูล 11.ทางไอพียูร้องขอให้คณะกรรมาธิการตรวจสอบคดีนี้อย่างต่อเนื่อง และรายงานให้ทางไอพียูทราบต่อไปในระยะเวลาที่เหมาะสม
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เสวนา: การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคทีวีดิจิทัล – โอกาสหรืออุปสรรคในการปฏิรูปสื่อ ? Posted: 04 Apr 2013 09:52 AM PDT
สาทิตย์ กล่าวว่า ผลขององค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ที่เกิดจากรัฐธรรมนูญปี 2540 ในปี 2543 และรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ให้กำเนิด กสทช. รวมกับการขับเคลื่อนของภาคประชาชน นักวิชาการ มีความเข้มแข็งและมีเสียงมากขึ้น มีพลังต่อรองมากขึ้น แต่ทว่าในเรื่องการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีนี้ยังมีจุดอ่อนที่ กสทช. เพราะด่วนตัดสินใจเกินไป โดยเฉพาะเรื่องการให้ช่องบริการสาธารณะ 12 ช่อง เพราะไทยยังไม่มีแผนการเปลี่ยนผ่าน จึงไม่มีการพูดถึงทิศทางการเปลี่ยนผ่าน ว่าทีวีดิจิทัลจะเป็นอย่างไร สัดส่วนรายการจะเป็นอย่างไร ในขณะที่อาเซียนประเทศอื่นๆ มีแล้ว ส่วนในกรณีการให้ใบอนุญาตนั้น ขจิตกล่าวว่า ก่อนจะให้ใบอนุญาต หากดูตามเงื่อนไข จะต้องตีความว่าเงื่อนไขนั้นจะอนุญาตให้สื่อมีเนื้อหาอย่างไร เช่นเมื่อพูดถึงความมั่นคง อะไรบ้างที่ถือว่าเป็นความมั่นคง และจะต้องนำเสนอออกไป ความมั่นคงขึ้นอยู่กับใคร คนเล็กๆ น้อยๆ ที่ถูกละเมิดสิทธิเป็นเรื่องความมั่นคงหรือไม่ นอกจากนี้การกำกับดูแล กสทช. ก็เป็นเรื่องสำคัญ เพื่อป้องกันการทุจริต ประชาชนต้องทำความเข้าใจการทำงานของ กสทช.ทั้งหมดซึ่งมีอำนาจสูงมากแต่ไม่มีกระบวนการตรวจสอบหรือยึดโยงกับประชาชนเลย ให้มาตระหนักรู้ถึงหน้าที่และการทำผิดกฎหมายต่างๆ ส่วนการกำหนดเนื้อหาทีวีในระบบดิจิทัลนั้น จีรนุชเห็นว่า หาก กสทช.กำหนดสัดส่วนการออกอากาศของ 12 ช่องก็น่าจะมีระบบที่ชัดเจนว่าสัดส่วนที่กำหนดขึ้นมานั้นตั้งอยู่บนฐานข้อมูลแบบไหน นอกจากนี้ จีรนุชยังกล่าวถึงการแข่งขันของสื่อภาคประชาชน ว่า เมื่อภาคประชาชนจะเข้าไปในพื้นที่สื่อย่อมเป็นเรื่องยากที่จะไปแข่งขันกับสื่อใหญ่ๆ ดังนั้นก็ไม่จำเป็นต้องตั้งเป้าว่าจะแข่งขันให้ได้ เพียงแต่ปล่อยให้การแข่งขันดำเนินไปอย่างเสรีตามความสามารถของผู้ผลิต ขอให้ได้เป็นเจ้าของ มีพื้นที่ และสู้ด้วยวิธีที่ตัวเองถนัด นอกจากนี้ สมบัติเห็นว่า ไม่อยากให้การดำเนินการเรื่องนี้ใช้เวลายืดเยื้อยาวนานนัก เพราะเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปเร็ว คนดูทีวีผ่านช่องทางอื่นก็มีมากขึ้น เช่น ดูผ่านแอปพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือก็ได้ จึงควรเร่งให้แล้วเสร็จในเวลาที่ทีวียังมีความสำคัญอยู่ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
นักข่าวพลเมือง: 'กสิกรไทย' แจงผู้ถือหุ้น มั่นใจ ‘เขื่อนไซยะบุรี’ อุบเงียบมูลค่าเงินกู้ Posted: 04 Apr 2013 08:51 AM PDT 3 เม.ย. 56 ประเด็นผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชนของ "เขื่อนไซยะบุรี" เป็นคำถามใหญ่ในการประชุมประจำปีผู้ถือหุ้นของธนาคารกสิกรไทย ผู้ปล่อยกู้ให้กับโครงการ นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ชี้แจงว่า "โครงการเขื่อนไซยะบุรีแทบจะไม่มีความเสี่ยงของการได้รับชำระหนี้ และทุกธนาคารของไทยต่างก็กระโจนเข้าสนับสนุน เพราะโครงการนี้ได้ผ่านกระบวนการตัดสินใจของคณะกรรมการระหว่างประเทศแล้ว อีกทั้งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ก็เป็นผู้รับซื้อไฟฟ้าทั้งหมดจากโครงการ และประเทศไทยก็ต้องการไฟฟ้าส่วนนี้ จึงไม่น่ากังวลในเรื่องการชำระหนี้ "แต่เนื่องจากเขื่อนไซยะบุรีเป็นโครงการขนาดใหญ่ จึงอาจมีผลกระทบชุมชนบ้าง เช่น การย้ายถิ่นฐานชาวบ้านจากพื้นที่ที่น้ำจะท่วมถึง เป็นเรื่องปกติสำหรับโครงการขนาดใหญ่ที่จะมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ซึ่งเป็นเรื่องของการชั่งน้ำหนักผลประโยชน์ที่จะได้รับและผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้น" หลังจากนั้น ผู้ถือหุ้นอีกคนลุกขึ้นอภิปรายว่า ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากเขื่อนนี้คิดเป็นสัดส่วนเล็กน้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณไฟฟ้าที่ไทยใช้ในแต่ละปี จึงไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใด แม้ปราศจากเขื่อนนี้ ไทยก็ยังมีไฟฟ้าเพียงพอ และต่อคำชี้แจงของธนาคารที่ระบุว่าโครงการนี้ผ่านกระบวนการพิจารณาของคณะกรรมการระหว่างประเทศแล้วนั้น ผู้ถือหุ้นได้โต้ว่าไม่เป็นความจริง "กระบวนการพิจารณาในแต่ละประเทศยังไม่เสร็จสิ้น และชาวบ้านริมน้ำโขงที่เดือดร้อนในหลายประเทศ ก็ไม่มีใครเห็นด้วย และไม่มีใครลงไปถามชาวบ้านเหล่านี้เลย แต่โครงการนี้จะกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างมหาศาล โครงสร้างเขื่อนขนาดใหญ่เช่นนี้ แม้จะมีทางปลาผ่านก็ไม่มีประโยชน์ เพราะมันไม่สามารถใช้การได้ และในอีกไม่นาน ปลาน้ำโขงก็จะสูญหายไปแน่นอน" ด้านนายบัณฑูรกล่าวย้ำอีกครั้งว่า โครงการขนาดใหญ่เช่นนี้ มีหลากหลายของความเห็น ไม่มีขาวไม่มีดำ ต้องชั่งน้ำหนักประโยชน์ด้านค่าไฟฟ้า และปริมาณไฟฟ้าที่ไทยจะได้รับ กับความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น ในวาระสุดท้ายก่อนปิดการประชุม ซึ่งเปิดกว้างให้ผู้ถือหุ้นแสดงความเห็น ผู้ถือหุ้นยังลุกขึ้นทวงถามให้เปิดเผยถึงจำนวนเงินกู้ของธนาคารกสิกรไทย และชี้แจงข้อมูลกับกรรมการและผู้ถือหุ้นอื่นๆ ในที่ประชุมว่า แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำที่มีประชาชนพึ่งพามากกว่า 60 ล้านคน ซึ่งถือว่ามากที่สุดสายหนึ่งในโลก และมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก เขื่อนไซยะบุรี ซึ่งกั้นแม่น้ำโขงในประเทศลาว กำลังผลิตขนาด 1,285 เมกะวัตต์ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 2 ของไฟฟ้าที่ไทยผลิตได้ในปัจจุบัน เท่านั้นเอง ผู้ถือหุ้นยังกล่าวอีกว่า กระบวนการพิจารณาของชาติสมาชิกลุ่มน้ำโขง ในคณะกรรมการแม่น้ำโขงนั้นยังไม่จบสิ้น แต่รัฐบาลลาวและรัฐบาลไทยไม่สนใจกระบวนการนี้ กลับเดินหน้าสร้างเขื่อนต่อไป ในส่วนของผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม เขื่อนนี้มีระบบทางลาดปลาผ่าน ซึ่งงานวิจัยระดับโลกหลายชิ้นระบุชัดว่าปลาส่วนใหญ่ในแม่น้ำโขง ไม่ใช่ปลากระโดด แต่เป็นปลาที่อพยพตามน้ำลึก อีกทั้งยังไม่เคยมีการพิสูจน์ว่าใช้ได้ผลเพียงใด นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำขึ้น-ลงในแม่น้ำโขงจากการเปิด-ปิดประตูเขื่อนก็จะทำให้ ระดับน้ำไม่เป็นไปตามธรรมชาติ ปลาไม่สามารถอพยพขึ้นตามลำน้ำเพื่อวางไข่ได้ ซึ่งย่อมจะกระทบต่อชีวิตผู้คนกว่า 60 ล้านคน ที่อาศัยแม่น้ำสายนี้ในการหาเลี้ยงชีพ ทั้งนี้ ผู้ถือหุ้นได้ยกกรณีตัวอย่างของธนาคาร HSBC ซึ่งให้เงินกู้แก่บริษัทอุตสาหกรรมตัดไม้ในประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นโครงการที่ทำลายสิ่งแวดล้อม กรณีดังกล่าวทำให้ธนาคาร HSBC ไม่สามารถชี้แจงกับสาธารณะได้ในฐานะผู้มีส่วนในการทำลายสิ่งแวดล้อม และทำให้ทางธนาคารต้องเสียชื่อเสียงเป็นอย่างมาก "ธนาคารกสิกรไทยในฐานะผู้ให้กู้ ย่อมต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายทางด้านสิ่งแวดล้อม และชีวิตผู้คนทั้งในประเทศไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ไม่ต่างจากบริษัท ช.การช่าง เจ้าของโครงการ ซึ่งความเสียหายในอนาคตอาจมากจนไม่สามารถประเมินได้ ธนาคารจะรับไหวหรือไม่ จะชดเชยความเสียหายนั้นอย่างไร และจะรับผิดชอบอย่างไรต่อผู้ถือหุ้นอย่างไร" ผู้ถือหุ้นทิ้งท้าย สุดท้ายผู้ถือหุ้นในที่ประชุมยังได้เสนอให้ธนาคารกสิกรไทยตระหนักและปฏิบัติตามหลักปฏิบัติมาตรฐานของ IFC (The International Finance Corporation [IFC] Performance Standards) และ Equator Principles ซึ่งวางหลักเกณฑ์ด้านการพิจารณาให้สินเชื่อแก่โครงการขนาดใหญ่ที่อาจมีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ซึ่งน่าจะนำมาใช้กับโครงการขนาดใหญ่เช่น โครงการไซยะบุรี ทั้งนี้ไม่ปรากฏว่านายบัณฑูรตอบคำถามเรื่องจำนวนเงินที่ธนาคารกสิกรไทยให้กู้แก่โครงการเขื่อนไซยะบุรี หรือแนวทางการแสดงความรับผิดชอบต่อความเสียหายของโครงการที่ธนาคารให้กู้แต่อย่างใด
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ยังไม่จบ กสท.ตั้งคณะทำงานสอบ 'ตอบโจทย์ฯ' Posted: 04 Apr 2013 04:38 AM PDT หลังผู้บริหารไทยพีบีเอสถูกฟ้อง ม.112 ยกยวงจากการออกอากาศตอบโจทย์ฯ ตอน "สถาบันพระมหากษัตริย์ ภายใต้รัฐธรรมนูญ" ล่าสุด กสท. ตั้งคณะทำงานพิจารณา "ตอบโจทย์ประเทศไทย" กรณีออกอากาศตอน "สถาบันพระมหากษัตริย์ ภายใต้รัฐธรรมนูญ" แล้ว ภายหลังจากที่ไทยพีบีเอสออกอากาศรายการตอบโจทย์ประเทศไทย ตอน "สถาบันพระมหากษัตริย์ ภายใต้รัฐธรรมนูญ" ในระหว่างวันที่ 11-15 มีนาคม 2556 เวลา 21.45-22.30 น. ซึ่งก่อให้เกิดการถกเถียงในวงกว้าง เมื่อวันที่ 1 เม.ย. ที่ผ่านมา คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) มีมติแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณารายการดังกล่าว โดยการเสนอของคณะอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหารายการที่มีพลโท ดร.พีระพงษ์ มานะกิจ เป็นประธาน คณะทำงานชุดดังกล่าวประกอบด้วย นายจาตุรงค์ ปัญญาดิลก อดีตปลัดสำนักงานนายกรัฐมนตรี นายณัฐจักร ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย นายอนุสรณ์ ศรีแก้ว นายวีระ อุไรรัตน์ ผู้แทนจากสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และนายเจษฎ์ โทณะวณิก คณะทำงานชุดดังกล่าวจะทำหน้าที่ในการพิจารณาความเหมาะสมของเนื้อหารายการที่ออกอากาศในบริบทของสังคมไทยทุกมิติ รวมทั้งพิจารณาเนื้อหาว่าขัดกฎหมายฉบับใดบ้าง อย่างไรก็ตามยังไม่มีการกำหนดระยะเวลาในการดำเนินงาน ทั้งนี้ โดยปกติการแต่งตั้งคณะทำงานแต่ละชุดจะมีระยะเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ครั้งละไม่เกินสามเดือน ก่อนหน้านี้ มีผู้แจ้งความดำเนินคดีกับผู้บริหารไทยพีบีเอส ผู้ดำเนินรายการและผู้ร่วมรายการ และนำภาพบันทึกประจำวันมาโพสต์ในโซเชียลเน็ตเวิร์ก โดยเนื้อหาระบุว่า เมื่อวันที่ 25 มี.ค. ที่ผ่านมา มีผู้แจ้งความร้องทุกข์ต่อ พนักงานสอบสวน สน.ดอนเมือง ให้ดำเนินคดีกับ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา สุลักษณ์ ศิวรักษ์ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล และสมชัย สุวรรณบรรณ ในบันทึกประจำวัน ระบุว่า ผู้แจ้งความให้ดำเนินคดีกับ ภิญโญ สุลักษณ์ และสมศักดิ์ ใน "ความผิดทางอาญาและเกี่ยวกับความมั่นคงของราชอาณาจักรตามมาตรา 37" และ สมชัย "ในความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ตามมาตรา 157" ทั้งนี้ จากการตรวจสอบโดย "ประชาไท" พบว่า มาตราที่ใกล้เคียง คือ มาตรา 37 ของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ที่ว่า มาตรา 37 "ห้ามมิให้ออกอากาศรายการที่มีเนื้อหาสาระที่ก่อให้เกิดการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีการกระทำซึ่งเข้าลักษณะลามกอนาจาร หรือมีผลกระทบต่อการให้เกิดความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง "ผู้รับใบอนุญาตมีหน้าที่ตรวจสอบและให้ระงับการออกอากาศรายการที่มีลักษณะตามวรรคหนึ่ง หากผู้รับใบอนุญาตไม่ดำเนินการ ให้กรรมการซึ่งคณะกรรมการมอบหมายมีอำนาจสั่งด้วยวาจา หรือเป็นหนังสือให้ระงับการออกอากาศรายการนั้นได้ทันที และให้คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าวโดยพลัน "ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนแล้วเห็นว่าการกระทำดังกล่าวเกิดจากการละเลยของผู้รับใบอนุญาตจริง ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งให้ผู้รับใบอนุญาตดำเนินการแก้ไขตามที่สมควร หรืออาจพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตก็ได้" ต่อมา เมื่อวันที่ 27 มี.ค. สำนักข่าว DNN รายงานว่า นายกิตติ นิลผาย อาชีพทนายความ แจ้งตำรวจ สน.ทุ่งสองห้อง ให้ดำเนินคดีกับคณะกรรมการบริหารองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย หรือ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส จำนวน 5 คน ประกอบด้วย สมชัย สุวรรณบรรณ ประธานกรรมการและผู้อำนวยการ วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ วุฒิ ลีลากุศลวงศ์ มงคล ลีลาธรรม และ พุทธิศักดิ์ งามเดช กรรมการ ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากการแพร่ภาพออกอากาศรายการ "ตอบโจทย์ประเทศไทย" ตอน "สถาบันพระมหากษัตริย์ ภายใต้รัฐธรรมนูญ" ในตอนที่ 4 และตอนที่ 5 โดยนำแผ่นซีดี ที่บันทึกภาพและเสียงรายการดังกล่าว และเอกสารจำนวนหนึ่ง มามอบไว้เป็นหลักฐาน โดยเบื้องต้นตำรวจได้รับเรื่องไว้พร้อมจะลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน และจะสั่งการให้พนักงานสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานเกี่ยวกับความผิดที่เกิดขึ้น ก่อนจะส่งให้ผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
แนะสื่อท้องถิ่นปรับตัวรับยุคดิจิตอล เน้นจุดแข็งเข้าถึงชุมชนได้ดีกว่าสื่อส่วนกลาง Posted: 04 Apr 2013 04:23 AM PDT เมื่อวันที่ 22 มี.ค.56 ที่ศูนย์อาหารชั้น G Citymall สุนีย์แกรนด์ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี สื่อสร้างสุขอุบลราชธานี โดยโครงการสะพานจากการสนับสนุนของ USAID จัดเวทีวิเคราะห์อนาคตสื่อท้องถิ่นในยุคดิจิตอล มีตัวแทนจากสมาคมสื่อมวลชนอุบลราชธานี นายชูวัส ฤกษ์ศิริสุข บรรณาธิการบริหารเว็บไซต์ประชาไท และ น.ส.อังคณา พรมรักษา อาจารย์ประจำสาขานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมแสดงทัศนะ โดยมีสื่อมวลชนท้องถิ่น นักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์และประชาชนสนใจเข้าร่วมรับฟังจำนวนมาก นายกมล หอมกลิ่น ผู้ดำเนินรายการเปิดประเด็นถามถึงสื่อในอดีต ปัจจุบัน อนาคตมีการบริหารจัดการแตกต่างกันอย่างไรและสื่อต้องมีการปรับตัวอย่างไรในยุคดิจิตอล นายชลธิษ จันทร์สิงห์ นายกสมาคมสื่อมวลชนอุบลราชธานี เล่าว่าสำหรับจังหวัดอุบลราชธานี ไม่มีเจ้าของหนังสือพิมพ์ฉบับใดเป็นเจ้าของโรงพิมพ์อย่างแท้จริง ต้องไปว่าจ้างพิมพ์กับโรงพิมพ์ทั่วไป และหลายโรงพิมพ์ก็ไม่อยากรับพิมพ์ เพราะมีความยุ่งยากในขั้นตอนการพิมพ์มากกว่างานพิมพ์อื่น รวมทั้งได้รับค่าจ้างพิมพ์ล่าช้ากว่างานทั่วไป "เจ้าของหนังสื่อพิมพ์ท้องถิ่น จึงทำด้วยใจรักจริงๆ บางหนังสือพิมพ์เป็นทั้งบรรณาธิการ ไปถึงคนส่งหนังสือพิมพ์ และถ้าหวังจะมีรายได้หรือร่ำรวยจากอาชีพนี้คงไม่ได้" สำหรับการปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคข่าวสารรวดเร็ว ต้องเริ่มต้นจากการจัดทำรูปแบบให้น่าจับขึ้นมาอ่าน เนื้อหาข่าวต้องมีความโดดเด่น เจ้าของต้องจัดอาร์ต ทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการจัดพิมพ์เป็น จึงสามารถอยู่รอดได้ในยุคนี้ ส่วนนายนายชูวัส ฤกษ์ศิริสุข บรรณาธิการบริหารเว็บไซต์ประชาไทให้ความเห็นในประเด็นเดียวกันว่า สื่อท้องถิ่นแตกต่างจากสื่อส่วนกลางในเรื่องทุน ซึ่งสื่อส่วนกลางมีมากกว่าสื่อท้องถิ่น แต่ในยุคดิจิตอลสื่อส่วนกลางต้องปรับตัวมากขึ้น เพื่อให้อยู่รอดเช่นเดียวกัน ขณะที่ต้นทุนระหว่างสื่อส่วนกลางกับสื่อท้องถิ่นไม่มีความแตกต่างกัน คือสื่อสิ่งพิมพ์ต้นทุนการผลิตมากกว่าราคาขาย ด้วยโครงสร้างนี้ สื่อต่างๆ จึงอยู่ไม่ได้จากยอดขาย ต้องอาศัยสปอนเซอร์ จึงทำให้สื่อเป็นอิสระยาก บางครั้งสินค้าบางอย่างมีปัญหา ก็ต้องบอกว่าดี เพื่อให้ได้โฆษณา และอำนาจที่แท้จริงไม่ได้อยู่กับคนทำสื่อ แต่อยู่กับผู้ว่าราชการจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด สำหรับสื่อหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ต้องบอกว่าไม่มีอนาคต เพราะคนไม่เสพข่าวจากการอ่านหนังสือพิมพ์เพียงฉบับเดียว แต่เลือกเสพข่าวจากหลายสื่อ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่นิยมดูจากสื่อออนไลน์ คลิป ฟังหรืออ่านผ่านอุปกรณ์สื่อสาร ซึ่งรวดเร็วเข้าถึงได้มากกว่าสื่ออื่น ขณะที่ น.ส.อังคณา พรมรักษา อาจารย์ประจำสาขานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีความเห็นว่า สื่อท้องถิ่นอุบลราชธานี มีความเข้มแข็ง เพราะมีการจับมือทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย และคนทำงานสื่อมาจากความรัก ความชอบ เห็นได้จากคนในอดีตไม่ได้เรียนจบมาทางนิเทศศาสตร์ เพราะมีคนทำสื่อก่อนที่จะมีหลักสูตรวิชานี้ขึ้นมาสอน สำหรับสื่อท้องถิ่นปัจจุบันต้องบอกว่า อยู่ด้วยใจ ไม่ได้คิดถึงเรื่องขาดทุนหรือกำไร เพราะหัวใจคนทำสื่อคือ ต้องการให้คนดู คนอ่าน คนฟัง" ก็ดีใจ ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว อนาคตของสื่อท้องถิ่นที่เป็นหนังสือพิมพ์ต้องปรับตัวเอง โดยคิดไปรวมกับการทำสื่ออื่นอย่างไร เพราะการทำสื่อสิงพิมพ์เป็นสื่อที่มีต้นทุนสูง ประกอบกับคนรุ่นใหม่นิยมรับสื่อที่รวดเร็ว สะดวกในการติดตามได้ทุกที่ ดังนั้นสื่อท้องถิ่นที่อดีตเคยต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างอยู่ ต้องมีการพูดคุยจะร่วมกันอย่างไรให้อยู่รอดในยุคที่โลกการสื่อสารเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว แต่สื่อท้องถิ่นยังมีจุดแข็งคือ เป็นสื่อที่เข้าถึงคนในชุมชนที่ตนอยู่ บางเรื่องบางประเด็นสื่อส่วนกลางไม่ให้ความสนใจ แต่สื่อท้องถิ่นสามารถนำมาเป็นประเด็นนำเสนอได้ จึงเป็นจุดแข็งและเป็นจุดขายที่ต่างกับสื่อส่วนกลาง ด้านนายสมศักดิ์ รัฐเสรี บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ปทุมมาลัย ซึ่งเป็นสื่อท้องถิ่นแสดงความเห็นว่า สื่อสิ่งพิมพ์ในจังหวัดมีมากเชิงปริมาณ แต่ที่ทำในเชิงคุณภาพมีน้อย เคยคิดจะชวนเพื่อนๆ ทำสื่อท้องถิ่นให้เหมือนสื่อส่วนกลางคือ ผลัดกันออกฉบับละวันให้เป็นเหมือนสื่อรายวัน แต่ยังเป็นไปไม่ได้ เพราะใช้ต้นทุนสูงและมีจุดอ่อนด้านการตลาด สำหรับเทปการวิเคราะห์อนาคตสื่อท้องถิ่นในยุคดิจิตอลสามารถรับชมย้อนหลังได้ที่สร้างสุขแชนแนล วีเคเบิ้ลทีวี sangsook.net โสภณเคเบิ้ลทีวี ทีวีดาวเทียม nextstep ช่องของดีประเทศไทย รายการวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน FM. 102.75Mhz Cleanradio 92.5 Mhz
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
กรณีสัญญาบีเอฟเคทียังสางไม่จบ จับตามติ กทค.พรุ่งนี้ Posted: 04 Apr 2013 02:39 AM PDT ผลตรวจการแก้ไขสัญญาบีเอฟเคทีล่าสุด พบ สิทธิควบคุมและบริหารจัดการโครงข่าย รวมถึงสิทธิการควบคุมเครื่องและอุปกรณ์ยังเป็นของบริษัทผู้เช่า และเรียลมูฟมีสิทธิใช้ความจุถึงร้อยละ 80 จึงยังไม่สามารถสางปมผิดกฎหมาย มาตรา 46 พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นฯ พ.ศ. 2553 ส่วนผลตรวจสอบสำนักงาน กสทช. ฟันธงชัด เข้าข่ายเป็นการประกอบกิจการโทรคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต ผิดตามมาตรา 67 พ.ร.บ. ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 จับตามติ กทค. พรุ่งนี้ (5 เม.ย.) ทั้งนี้ ตามรายงานล่าสุดของคณะทำงานยังคงยืนยันว่า การดำเนินกิจการของบริษัท บีเอฟเคที เข้าลักษณะเป็นการประกอบกิจการโทรคมนาคมแล้ว ตาม พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 และ พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 ดังนั้นบริษัทบีเอฟเคที จึงเข้าข่ายกระทำความผิดฐานประกอบกิจการโทรคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 67 (3) แห่ง พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคมฯ อันเป็นความผิดทางอาญา มีโทษทั้งจำและปรับ แต่นอกจากพิจารณาพฤติกรรมแล้ว คณะทำงานเสนอว่า กทค. ควรพิจารณาในส่วนของเจตนาประกอบด้วย หากไม่ครบทั้งองค์ประกอบภายนอกและองค์ประกอบภายใน ก็ไม่ควรร้องทุกข์กล่าวโทษ อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสนใจว่า ในส่วนการวิเคราะห์ผลกระทบกรณี กทค. เห็นด้วยกับข้อเสนอของคณะทำงานที่จะไม่ร้องทุกข์กล่าวโทษบริษัทบีเอฟเคที คณะทำงานก็ชี้เองว่าจะมีผล 3 ประการคือ 1) กทค. และสำนักงาน กสทช. อาจถูกกล่าวหามีความผิดฐานเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งมีโทษถึงจำคุก 2) กทค. และสำนักงาน กสทช. อาจถูกตรวจสอบจากหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบ เช่น วุฒิสภา ปปช. เป็นต้น และ 3) ผู้มีส่วนได้เสียในกรณีนี้อาจฟ้อง กทค. และสำนักงาน กสทช. นอกจากนี้ ในการประชุม กทค. เมื่อวันพุธที่ 3 เมษายนที่ผ่านมา ทางสำนักงาน กสทช. ยังได้นำเสนอเรื่องการแก้ไขสัญญาระหว่างบีเอฟเคทีกับ บมจ. กสท โทรคมนาคม ที่ กทค. มีมติสั่งให้แก้ไขเพื่อไม่ให้ขัดต่อมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 ซึ่ง กทค. มีมติตั้งแต่เมื่อกลางปี 2555 โดยให้ดำเนินการใน 30 วัน แต่ต่อมา บมจ. กสท ได้ขอขยายระยะเวลาหลายครั้ง และล่าสุดมีการแจ้งเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2555 ว่ายังไม่สามารถจัดทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมได้ แต่คู่สัญญาได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันแล้วและได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจเพื่อยืนยันถึงเจตนาที่จะแก้ไขสัญญาต่อไป ทั้งนี้ สำนักงาน กสทช. รายงานว่าได้พิจารณาทบทวนบันทึกความเข้าใจของคู่สัญญาแล้ว พบว่า แนวการแก้ไขสัญญาเช่าเครื่องและอุปกรณ์วิทยุคมนาคมที่คู่สัญญาตกลงกันยังไม่ชัดเจนว่า บมจ. กสท จะมีสิทธิในการควบคุมสิทธิการใช้งานเครื่องและอุปกรณ์ของบริษัทบีเอฟเคทีอย่างสมบูรณ์ผ่าน Network Operation Center (NOC) เนื่องจากร่างสัญญาแก้ไขยังคงให้สิทธิแก่บริษัทบีเอฟเคทีสามารถปฏิบัติงานกับเครื่องและอุปกรณ์ได้ ส่วนตามสัญญาบริการขายส่งบริการบนโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ HSPA คู่สัญญาได้ตกลงให้ข้อผูกพันการรับซื้อความจุสามารถรองรับผู้ใช้บริการจำลองของ บจ.เรียล มูฟ ได้ทั้งสิ้นกว่า 13.33 ล้านราย หรือใช้ความจุได้ถึงร้อยละ 80 ซึ่งทำให้การกำหนดความจุตามสัญญาดังกล่าวยังไม่เป็นไปตามกลไกตลาด ดังนั้นสำนักงาน กสทช. จึงเห็นว่าเงื่อนไขของข้อสัญญายังไม่ชัดเจนว่าสอดคล้องและเป็นไปตามมติ กทค.
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ป.ป.ช.มีมติเอกฉันท์ ไม่รับคำร้อง 'ยิ่งลักษณ์' ปล่อยกู้ 30 ล้าน Posted: 04 Apr 2013 01:21 AM PDT (4 เม.ย.56) นายกล้านรงค์ จันทิก คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แถลงว่าวันนี้ ป.ป.ช.มีมติเป็นเอกฉันท์ไม่รับพิจารณาคดี กรณีการปล่อยกู้เงิน 30 ล้านบาทของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้กับบริษัท แอ็ค อิน เด็กซ์ จำกัด ที่มีนายอนุสรณ์ อมรฉัตร คู่สมรส ถือหุ้นอยู่ โดยพบว่า เงินจำนวน 30 ล้านบาทดังกล่าวมีอยู่จริง แต่ไม่มีพฤติการณ์จงใจปกปิด หรือแสดงบัญชีทรัพย์สินหนี้สินเป็นเท็จ
ที่มา: มติชนออนไลน์ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เร่งสำนักงาน กสทช. บังคับค่ายมือถือละเมิดพรีเพดจ่ายค่าปรับ Posted: 03 Apr 2013 11:22 PM PDT ศาลปกครองกลางชี้อีกคดี กรณี กสทช. สั่งปรับผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเรียกเก็บค่าบริการล่วงหน้า (pre-paid) วันละ 100,000 บาท โดยศาลมีคำสั่งยกคำขอของ บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (AIS) ไม่ทุเลาการบังคับคำสั่งทางปกครองดังกล่าวของ กสทช. เช่นเดียวกับที่เคยตัดสินในคดีที่บริษัททรูมูฟเป็นผู้ฟ้อง กสทช.ประวิทย์ ชี้ถึงเวลาที่สำนักงาน กสทช. ต้องเร่งบังคับผู้ให้บริการมือถือทุกค่ายจ่ายเงินค่าปรับได้แล้ว ออกคำสั่งปรับมาเกือบปี แต่ยังไม่มีรายใดยอมจ่ายจริง นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน เปิดเผยถึงกรณีที่สำนักงาน กสทช. ได้มีคำสั่งปรับผู้ประกอบการที่ฝ่าฝืนข้อกำหนดการห้ามผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบเรียกเก็บค่าบริการล่วงหน้า (แบบ pre-paid) กำหนดการใช้บริการในลักษณะบังคับให้เร่งใช้บริการ ในอัตราวันละ 100,000 บาท ซึ่งปรากฏว่ามีผู้ให้บริการอย่างน้อย 2 ราย คือ บจ. ทรูมูฟ และ บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ AIS ฟ้องคดีต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว รวมทั้งขอทุเลาการบังคับตามคำสั่ง โดยล่าสุดศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งออกมาแล้วในคดีที่ AIS เป็นผู้ฟ้อง โดยศาลสั่งยกคำขอของ AIS และชี้ว่า มาตรการกำหนดค่าปรับทางปกครองของสำนักงาน กสทช. นั้นเป็นเครื่องมือในการบริหารบริการสาธารณะด้านโทรคมนาคม "คำสั่งนี้เป็นไปในทิศทางเดียวกับคำสั่งในคดีที่ทรูมูฟฟ้องร้อง ซึ่งศาลปกครองกลางได้ตัดสินตั้งแต่เมื่อช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน 2555 ว่า คำสั่งปรับของเลขาธิการ กสทช.ได้กระทำโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายโดยชอบแล้ว ดังนั้น ณ บัดนี้ผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือจึงไม่มีข้ออ้างใดๆ อีกแล้วที่จะยื้อเวลาการจ่ายค่าปรับออกไป ขณะเดียวกันสำนักงาน กสทช. ก็ควรต้องเร่งบังคับอย่างจริงจังให้ได้ค่าปรับที่เป็นตัวเงินจริงๆ มาเสียที ไม่ใช่แค่ปรับลม เพราะนับจากที่ได้แจ้งปรับไป เวลาก็ล่วงเลยมากว่า 10 เดือนแล้ว โดยยังไม่เคยมีการจ่ายค่าปรับกันจริงๆ แม้แต่บาทเดียว เมื่อศาลสั่งชัดเช่นนี้ ทุกฝ่ายจึงมีหน้าที่ต้องทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย" นายประวิทย์กล่าว สำหรับกรณีการออกคำสั่งปรับค่ายมือถือวันละ 100,000 บาทนี้ เกี่ยวเนื่องกับปัญหาเรื่องการกำหนดอายุของเงินเติมในระบบบริการโทรศัพท์แบบจ่ายเงินล่วงหน้า หรือพรีเพด ที่ยืดเยื้อมานาน โดยผู้บริโภคได้เรียกร้องมาตลอดระยะเวลาหลายปีให้ กสทช. บังคับผู้ให้บริการทำตามข้อ 11 ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 จนในที่สุดสำนักงาน กสทช. ต้องออกมาตรการสั่งปรับดังกล่าวนับตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2555 แต่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. ได้มีมติอนุญาตการกำหนดระยะเวลา 30 วันสำหรับการเติมเงินทุกมูลค่าให้แก่บริษัททรูมูฟ AIS และ DTAC ตามลำดับ ส่งผลให้มาตรการปรับดังกล่าวสิ้นผลลง อย่างไรก็ดี ในช่วงเวลานับแต่สำนักงาน กสทช. มีคำสั่งปรับจนถึงเวลาที่ กทค. มีมติ บริษัทมือถือที่ละเมิดประกาศของ กทช. ย่อมต้องจ่ายค่าปรับในอัตราวันละ 100,000 บาท ซึ่งคิดอย่างคร่าวๆ แต่ละบริษัทจะต้องจ่ายไม่น้อยกว่า 25 ล้านบาท โดยอัตรานี้ในมุมมองของนักคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคยังเห็นว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับผลประโยชน์ที่บริษัทได้รับจากการกำหนดระยะเวลาเร่งให้มีการใช้บริการโดยที่มีการริบเงินของผู้บริโภคไปด้วย หากไม่ได้เติมเงินในกำหนดเวลา อย่างไรก็ตาม จนถึงทุกวันนี้ทุกรายยังคงพร้อมใจกันดื้อแพ่งและไม่ยอมควักกระเป๋าจ่ายให้ กสทช. เรื่องนี้จึงเป็นอีกเรื่องที่ต้องรอดูการทำงานของเลขาธิการสำนักงาน กสทช. นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ ในฐานะผู้มีอำนาจในการบังคับคดี และตั้งท่าเงื้อดาบผ่านสื่อมาโดยตลอด อนึ่ง ในวันที่ 5 เมษายนนี้ ศาลยุติธรรมได้นัดสืบพยานในคดีที่ผู้ใช้บริการฟ้องบริษัท AIS เนื่องจากบริษัทกำหนดระยะเวลาใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบเติมเงิน ยกเลิกหมายเลขโทรศัพท์ รวมทั้งยึดเงินในระบบทั้งหมดของผู้ใช้บริการ โดยอ้างว่าผู้ใช้บริการไม่ได้เติมเงินภายในระยะเวลาที่กำหนด อันเป็นการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค และขัดต่อประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 โดยมีคำขอให้บริษัทคืนหมายเลขโทรศัพท์ที่ถูกยกเลิกบริการ เปิดสัญญาณโทรศัพท์ให้สามารถใช้ได้ตามปกติ และคืนเงินคงเหลือในระบบทั้งหมด รวมถึงขอให้ชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการยกเลิกสัญญาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เสวนา: เสียงคนใน ภาษามลายูกับสร้างสันติภาพชายแดนใต้ Posted: 03 Apr 2013 12:41 PM PDT
หลังจากการลงนามพูดคุยสันติภาพชายแดนใต้ระหว่างตัวแทนรัฐไทยกับขบวนการบีอาร์เอ็นเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ จนกระทั่งมีการเปิดวงคุยรอบที่ 2 เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2556 น่าจะทำให้คนในพื้นที่ความหวังในการสร้างความสงบสุขมากขึ้น เห็นได้จากความตื่นตัวของหลายองค์กรที่ได้ออกมาเคลื่อนเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วย เช่น การเปิดเวทีสนทนาถึงกระบวนการที่เกิดขึ้น ในส่วนของสื่อภาคภาษามลายูก็มีความตื่นตัวในเรื่องนี้เช่นกัน หนึ่งในความเคลื่อนไหวเรื่องนี้มีขึ้นในงานวันสื่อทางเลือกชายแดนใต้ครั้งที่ 3 ในหัวข้อ"สนามสันติภาพ : เครือข่ายการสื่อสารภาคประชาสังคม"เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2556 ที่ผ่านมา ที่ห้องประชุมเล็กมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา ซึ่งจัดโดยเครือข่ายสื่อภาคประชาสังคมชายแดนใต้ ที่มีหนึ่งในข้อเสวนาคือ "เสียงของคนใน : ภาษามลายูในโลกแห่งการสื่อสาร" ต่อไปนี้เป็นความเห็นส่วนหนึ่งของผู้ร่วมเสวนาในเวทีดังกล่าว โดยมีโจทย์สำคัญคือ ภาษามลายูจะมีส่วนในการสร้างสันติภาพได้อย่างไร โดยมีความเห็นที่หลากหลายดังนี้ เริ่มจากนายมูหามะสอและ วาเด็ง นักจัดรายการวิทยุภาษามลายูในจังหวัดยะลา ที่ระบุว่า ปัจจุบันประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้มีการติดตามสื่ออย่างมาก โดยเฉพาะโทรทัศน์และวิทยุ แต่ที่ผ่านมา ทั้งผู้ดำเนินการรายการวิทยุและโทรทัศน์ในพื้นที่กลับไม่มีความเป็นมืออาชีพ เนื่องจากไม่มีกระบวนการคัดกรองบุคคลที่จะเข้ามาเป็นผู้ดำเนินรายการ นายมูหามะสอและ กล่าวว่า ดังนั้น แนวทางแก้ปัญหาในอนาคต จะต้องดำเนินการ ดังนี้ 1.ต้องสร้างหน่วยงานควบคุมผู้ดำเนินรายการ 2.คนที่จะมาเป็นผู้ดำเนินรายการจะต้องผ่านกระบวนการฝึกอบรม 3.ผู้ดำเนินรายการจะต้องปรับตัวตามกระแสของการเปลี่ยนแปลงของโลก "ส่วนจะให้สื่อภาคภาษามลายูในพื้นที่มีบทบาทอย่างไรในการสื่อสารเพื่อให้เกิดสันติภาพนั้น ผมคิดว่า ต้องดำเนินการดังนี้ 1.ผู้ดำเนินรายการวิทยุและโทรทัศน์ ต้องมีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านภาษามลายู เพื่อไม่ให้เกิดการสื่อสารที่ผิดพลาด 2.ต้องมีเป้าหมายอย่างชัดเจนในเรื่องสื่อสาร 3.ผู้ดำเนินรายการต้องนำคำศัพท์ภาษามลายูใหม่ๆ มาใช้พร้อมๆ กับการอธิบายให้ประชาชนเข้าใจและคุ้นเคยกับคำศัพท์ใหม่ๆเหล่านั้น โดยเฉพาะคำศัพท์เกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพ เพื่อไม่ให้เกิดการเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง" นายมูหามะสอและ กล่าว นายมูหามะสอและ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมารัฐบาลเปิดกว้างเรื่องสื่อของคนประชาชนพื้นที่ ซึ่งสื่อที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือวิทยุ จึงคิดว่ารัฐบาลควรใช้โอกาสนี้นำเสนอสิ่งต่างๆแก่ประชาชนในพื้นที่ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน "ปัจจุบันมีวิทยุเกิดขึ้นจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่เป็นรายการในเชิงเผยแพร่ศาสนา ส่วนใหญ่นำเสนอในแง่มุมต่างๆ ของศาสนา ผมคิดว่าวิทยุควรเสนอเรื่องอื่นๆ ในลักษณะให้ความรู้แก่ประชาชนด้วย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ มากกว่าเสนอในลักษณะที่ทำให้เกิดความแตกแยกทางความคิดในเรื่องศาสนา" นางสาวรอฮานี ดาโอ๊ะ นักจัดรายการวิทยุเสียงผู้หญิงชายแดนใต้ กล่าวว่า เดิมจัดรายการด้วยภาษาไทย ต่อมาผู้ฟังเรียกร้องให้ใช้ภาษามลายูท้องถิ่นด้วย เพื่อให้คนในพื้นที่ได้เข้าใจ และคิดว่าถึงเวลาที่ต้องจัดรายการเป็นภาษามลายูแล้ว หลังจากใช้ภาษามลายูปรากฏว่ามีผู้ฟังเพิ่มขึ้น และมีการโทรศัพท์เข้ารายการมากขึ้น แต่ก็ใช้ภาษามลายูท้องถิ่นที่คนในพื้นที่เข้าใจได้ง่าย สิ่งที่อยากเห็นคือ อยากให้วิทยุและโทรทัศน์ในพื้นที่มีรายการที่หลากหลายมากกว่าปัจจุบัน เช่น มีรายการเกี่ยวกับเด็ก ผู้หญิงหรือครอบครัว เป็นต้น เพื่อให้พื้นที่กลางในสื่อสารเรื่องราว อีกทั้งเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาต่างๆด้วย "อยากให้มีสื่อที่เป็นของชุมชนในพื้นที่ เพื่อเป็นพื้นที่กลางการสื่อสารระหว่างคนมุสลิมกับคนไทยพุทธ เพื่อเป็นกระบอกเสียงในการสื่อสารต่อคนนอกพื้นที่ ถึงเรื่องการอยู่ร่วมกันคนไทยและมุสลิมในพื้นที่"นางสาวรอฮานี กล่าว อาจารย์การ์ตีนี วาโด อาจารย์ประจำหลักสูตรภาษามลายู มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา กล่าวว่า การใช้ภาษามลายูในสื่อ จำเป็นต้องใช้ภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานีควบคู่กับภาษามลายูกลาง เช่นใช้ภาษามลายูท้องถิ่น 30 เปอร์เซ็นต์ อีก 70 เปอร์เซ็นต์ใช้ภาษามลายูกลาง "การใช้ภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานีในสื่อ เพื่อการอนุรักษ์ไม่ให้ภาษานี้หายไป ส่วนการใช้ภาษามลายูกลางเพื่อเตรียมรับการเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 ซึ่งเป็นการสื่อสารกับคนที่ในกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งใช้ภาษามลายูประมาณ 300 ล้านคน" "ส่วนการใช้ภาษามลายูกลาง จะใช้แบบอินโดนีเซียหรือภาษามาเลเซียก็ไม่มีปัญหา ขึ้นอยู่กับพื้นฐานการศึกษาของผู้ดำเนินรายการ ถือว่าเป็นการเรียนรู้ภาษาของผู้ฟังและผู้ชม" "ส่วนเรื่องภาษาเขียน คิดว่าเราควรเขียนด้วยภาษามลายูอักษรยาวี(อักษรอาหรับ)ควบคู่กับภาษามลายูอักษรรูมี(อักษรโรมัน) เนื่องจากอักษรยาวีเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ ส่วนอักษรรูมีเป็นการสื่อสารกับคนในประชาคมอาเซียน 300 ล้านคน เพื่อให้พวกเขาเข้าใจในสิ่งที่เราต้องการนำเสนอ" อ.การ์ตีนี กล่าว นายตูแวดานียา มือรีงิง ผู้สื่อข่าวพิเศษสำนักข่าวอามาน กล่าวแสดงความคิดเห็นว่า ปัจจุบันรัฐบาลได้เปิดกว้างเรื่องสื่อแก่คนในพื้นที่ เพื่อให้มีพื้นที่ในการสื่อสารเรื่องราวต่างๆ ออกไป แต่ที่ผ่านมาคนทำสื่อในพื้นที่กลับเป็นคนที่ไม่ชำนาญภาษามลายู ส่วนคนที่ชำนาญภาษามลายูกลับไม่มาทำสื่อ แถมยังชอบวิจารณ์คนทำสื่อภาษามลายูด้วย ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่คนชำนาญภาษามลายูต้องออกมาทำสื่อด้วย เพื่ออนุรักษ์และขับเคลื่อนภาษามลายูบนพื้นฐานที่ถูกต้องตามหลักภาษา
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น