ประชาไท | Prachatai3.info |
- เกิดระเบิดในการแข่งวิ่งมาราธอนที่บอสตัน
- ผู้นำฝ่ายค้านเวเนซุเอลลา เรียกร้องนับคะแนนเลือกตั้งใหม่
- สุรพศ ทวีศักดิ์: ศาสนากับเสรีภาพ ‘สหายร่วมต่อสู้’
- สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 9-15 เม.ย. 2556
- iLaw: ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับ สพธอ.2556: โทษคุกฐานก้อปปี้ไฟล์ เก็บภาพโป๊เด็ก
- ศาลโลกวันแรก กัมพูชาชี้ปัญหาเกิดจากการเมืองภายในของไทยเอง
เกิดระเบิดในการแข่งวิ่งมาราธอนที่บอสตัน Posted: 15 Apr 2013 02:01 PM PDT ล่าสุดมีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 2 ราย บาดเจ็บอีกราว 50 ราย การระเบิดดังกล่าวเกิดขึ้นติดต่อกันสองลูก โดยเกิดขึ้นหลังจากการแข่งวิ่งมาราธอนเริ่มราว 4 ชั่วโมง
16 เม.ย. 56 - ราวเวลา 15.00 น. ของวันจันทร์ที่ผ่านมา ตามเวลาท้องถิ่นเมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเสตต์ ประเทศสหรัฐอเมริกา มีรายงานว่าเกิดเหตุระเบิดสองครั้งติดกันใกล้บริเวณเส้นชัยของการแข่งขันวิ่งมาราธอนบอสตัน ล่าสุดนิวยอร์กไทมส์รายงานว่ามีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 2 คน และผู้บาดเจ็บอีกราว 50 คน หลังจากเหตุระเบิดดังกล่าวราว 1 ชม. มีผู้ได้ยินเสียงระเบิดเกิดขึ้นอีกเป็นครั้งที่สาม แต่ยังไม่มีรายงานที่ยืนยันตรงกันว่าตำรวจสามารถกู้วัตถุระเบิดชิ้นที่ 3 ได้หรือไม่ เหตุระเบิดดังกล่าวเกิดขึ้นหลังการแข่งขันวิ่งมาราธอนบอสตันเริ่มต้นแล้วราว 4 ชั่วโมง มีผู้เข้าแข่งขันบางส่วนวิ่งเข้าเส้นชัยไปแล้ว แต่ยังคงเหลือผู้วิ่งอีกหลายพันคนที่ยังคงวิ่งอยู่ในเส้นทาง ด้านเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านการก่อการร้าย กล่าวว่ายังคงเร็วไปที่จะพูดได้ว่าการระเบิดนี้เกี่ยวกับการก่อการร้าย ทั้งนี้ การแข่งขันวิ่งมาราธอนบอสตัน เป็นงานที่จัดขึ้นประจำปีในเมืองบอสตัน โดยมีผู้ชมเข้าร่วมกว่า 500,000 คน และมีผู้เข้าแข่งขันกว่า 20,000 คน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้นำฝ่ายค้านเวเนซุเอลลา เรียกร้องนับคะแนนเลือกตั้งใหม่ Posted: 15 Apr 2013 01:21 PM PDT
หลังการเลือกตั้งเลือกผู้นำล่ 15 เม.ย. 2013 - คณะกรรมการการเลือกตั้ เวเนซุเอลลาจัดให้มีการเลือกตั้ ประชาชนชาวเวเนซุเอลลาผู้สนั มาดูโรกล่าวปราศรัยต่อหน้ การเลือกตั้งในครั้งนี้มีผู้ The Independent ระบุว่า แม้ชาเวซจะมีนโยบายช่วยเหลื โฮเซ่ โรเมโร วิศวกรวัย 48 ปีผู้ที่ลงคะแนนให้คาปริเลส กล่าวว่า ประเทศเวเนซุเอลลาได้เรียนรู้ คาปริเลส เรียกร้องให้มีการนับคะแนนใหม่ อย่างไรก็ตาม หลังประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว หัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน เอนริเก คาปริเลส ไม่ยอมรับความพ่ายแพ้ และเรียกร้องให้มีการนั ระบบการลงคะแนนในเวเนซุเอลลาเป็ ทางด้านนิโกลาส มาดูโร บอกว่าเขายอมรับให้มี "พวกเราเรียกร้องให้มี ทางด้านคณะกรรมการการเลือกตั้ นิโกลาส มาดูโร จะต้องขึ้นสาบานตนในวันที่ 19 เม.ย. ที่จะถึงนี้ และหากได้รับตำแหน่งอย่างเป็ ผู้สื่อข่าว BBC ไอรีน แคสเซลี แสดงความเห็นว่าสิ่งที่ท้ เรียบเรียงจาก Hugo Chavez's successor Nicolas Maduro wins Venezuela election in highly contested result, The Independent, 15-04-2013 Venezuela poll: Maduro opponent Capriles demands recount, BBC, 15-04-2013 Venezuela's Capriles demands recount of votes, Aljazeera, 15-04-2013 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สุรพศ ทวีศักดิ์: ศาสนากับเสรีภาพ ‘สหายร่วมต่อสู้’ Posted: 15 Apr 2013 09:08 AM PDT อ่านงานวิจัย "บทวิพากษ์ธรรมวิทยาแห่งพลเมืองของประกาศกร่วมสมัย: เกษียร เตชะพีระ, ธงชัย วินิจจะกูล และสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล" (2555,น.30) ศุภมิตร ปิติพัฒน์ ผู้วิจัยอ้างข้อสังเกตของ Alexis de Tocqueville ถึงความสอดคล้องกลมกลืนในความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับเสรีภาพในสหรัฐอเมริกา ในประเทศนั้น "เสรีภาพ" มอง "ศาสนา" ว่าเป็น "สหายที่ร่วมกันต่อสู้..." แม้มีศาสนามากนิกาย แต่พระในนิกายต่างๆ ล้วนเทศนาสนับสนุน "เสรีภาพแห่งพลเมือง" ทำให้ผมนึกย้อนไปถึง "พลังการปลดปล่อย" ของศาสนา ตั้งแต่ยุคโบราณโมเสสใช้ศาสนาเป็นพลังต่อสู้ปลดปล่อยชาวยิวให้พ้นจากการตกเป็นทาสของอียิปต์ พระเยซูเดินเคียงข้างผู้ถูกกดขี่ มาถึงยุคสมัยใหม่มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ก็ยังใช้ศาสนาเป็นพลังความใฝ่ฝันต่อสู้เพื่อเสรีภาพ และสิทธิเท่าเทียมของคนผิวดำในสหรัฐอเมริกา แน่นอน ในบางยุคศาสนาก็ถูกใช้อย่างฉ้อฉล ครอบงำ กดขี่ (แต่ว่ามีระบบความเชื่อหรืออุดมการณ์ใดเล่าในโลกนี้ที่ไม่เคยถูกใช้อย่างฉ้อฉล กดขี่ ในนามของเสรีภาพและประชาธิปไตย ประเทศมหาอำนาจก็รุกรานประเทศอื่นๆ เพื่อผลประโยชน์ของตนเองมิใช่หรือ?) เช่น ศาสนจักรในยุโรปยุคกลางที่อ้างอำนาจศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้าครอบงำความคิดของผู้คนเป็นเวลาร่วมพันปี แต่ในที่สุดฝ่ายประชาธิปไตยก็เอาชนะอำนาจศาสนจักร (และระบบกษัตริย์) ลงได้ ส่วนหนึ่งเพราะเกิดนิกายโปรเตสแตนต์ขบถต่อศาสนจักรคาทอลิก ตีความศาสนาสนับสนุนเสรีภาพ ความเสมอภาค จนต่อมาศาสนามีบทบาทร่วมสถาปนาขนบธรรมเนียมที่ยกย่องเสรีภาพ ดังที่ Tocqueville เรียกว่า "อุปนิสัยใจคอ" หรือ "habits of the heart" ของพลเมืองที่มีจิตสำนึกรักและปกป้องเสรีภาพ นี่คือสิ่งที่เป็นไปได้ในโลกตะวันตก แม้โดยพื้นฐานแล้วศาสนาของพวกเขาจะเน้นศรัทธา หรือให้ "เชื่อฟัง" พระเจ้าก็ตาม ต่างจากพุทธศาสนาในบ้านเรา แม้โดยแก่นสารแล้วพุทธศาสนาไม่ได้เรียกร้องให้ "เชื่อฟัง" แต่เน้น "เสรีภาพ" ในการตัดสินใจของปัจเจกบุคคล หรือเน้นการพึ่งตนเองบนพื้นฐานของการใช้เสรีภาพในการเลือกการกระทำ และความรับผิดชอบต่อผลที่ตามมา ทว่าในบ้านเรากลับนิยมตีความพุทธศาสนาสนับสนุน "ราชาธิปไตย" หรือสมบูรณาญาสิทธิราชย์จนกลายเป็นว่าพุทธศาสนากับราชาธิปไตยคือ "เนื้อเดียวกัน" ดังการตีความของ ปรีชา ช้างขวัญยืน ในหนังสือ "ทรรศนะทางการเมืองของพระพุทธศาสนา" (2540, น.162) ว่า "...ระบบการเมืองของพระพุทธองค์ก็มิใช่ประชาธิปไตย แต่ค่อนไปทางสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เพียงแต่อยากจะหาผู้ปกครองที่ไม่ใช้อำนาจ แต่คำนึงถึงความสุขของประชาชนเป็นที่ตั้ง..." ผมเองเห็นต่างจากการตีความนี้ ดังที่เขียนแต่ตอน (1) แล้วว่า "เนื้อหาสาระแห่งคำสอนของพุทธะสนับสนุนประชาธิปไตยมากกว่าราชาธิปไตย" เหตุผลสำคัญคือ มีแนวคิด (Concepts) เรื่องการเกิดสังคมการเมือง เรื่องเสรีภาพ และความเสมอภาคในคำสอนของพุทธศาสนาที่ไปกันได้ดีกับสังคมประชาธิปไตยมากกว่า เช่น ถ้าเราอ่าน "อัคคัญญสูตร" (พระไตรปิฎกเล่ม 11) จะเห็นแนวคิดทางสังคมการเมืองของพุทธศาสนาที่คล้ายกับแนวคิด "สัญญาประชาคม" (Social Contract) ว่า "อำนาจของผู้ปกครองมาจากความยินยอมของประชาชน" พุทธะอธิบายว่า ชุมชนทางการเมืองตกลงเลือกผู้ปกครองขึ้นมาให้ทำหน้าที่ปกครองคือ "ตำหนิคนที่ควรตำหนิ ลงโทษคนที่ควรลงโทษ" ซึ่งเป็นหน้าที่ขั้นต่ำของรัฐ แล้วสมาชิกแห่งชุมชนทางการเมืองก็แบ่งข้าวสาลีให้เป็นค่าตอบแทน นี่เป็นมุมมองต่างจากศาสนาพราหมณ์ (และทฤษฎีเทวสิทธิ์ของตะวันตก) ที่ถือว่า สถานะ อำนาจของผู้ปกครองหรือกษัตริย์มาจากพระเจ้า กษัตริย์ได้รับสัมปทานอำนาจอาญาสิทธิ์ในการปกครองมาจากพระเจ้า ระบบชนชั้นหรือวรรณะสี่คือ "กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร" ถูกกำหนดเอาไว้แล้วอย่างตายตัวโดยพระเจ้าหรือพระพรหม แต่พุทธะอธิบายว่า ระบบวรรณะสี่เกิดจากการแบ่งงานกันทำ ศูทรคือคนที่ใช้แรงงาน เป็นทาส กรรมกร แพศย์คือพวกค้าขาย เกษตรกร พราหมณ์คือพวกสอนศาสนา ประกอบพิธีกรรม เป็นปุโรหิตของกษัตริย์ ส่วนกษัตริย์คือพวกนักปกครอง นักรบ พูดแบบคาร์ล มาร์กซ์คือ "รูปแบบการผลิตทำให้เกิดรูปแบบสังคม" ชาวชมพูทวีปสมัยโบราณมีรูปแบบการผลิตโดยแบ่งงานกันทำสี่ด้านหลักๆ จึงทำให้เกิดโครงสร้างสังคมที่มีชนชั้นสี่ชนชั้น แต่ศาสนาพราหมณ์ไป "เสก" ให้กลุ่มคนที่แบ่งงานกันทำกลายเป็น "ชนชั้นศักดิ์สิทธิ์" ขึ้นมา โดยอ้างว่าพระเจ้า หรือพระพรหมสร้างมนุษย์มาให้มีวรรณะสี่ตามชาติกำเนิดอย่างตายตัว ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยถือว่าชนชั้นสูงคือกษัตริย์และพราหมณ์เท่านั้นคือ "อารยชนผู้ประเสริฐ" พุทธะโต้แย้งทฤษฎีชนชั้นแบบพราหมณ์ว่า คนเราจะประเสริฐ ไม่ประเสริฐ หรือจะเป็นอารยชนหรือไม่นั้น ไม่ได้อยู่ที่ชาติกำเนิด หรืออำนาจกำหนดของพระพรหม แต่อยู่ที่ "ธรรม" กล่าวคือ ไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ หรือศูทรถ้าประพฤติ "กุศลธรรม" ก็ประเสริฐได้เช่นกัน แต่ถ้าประพฤติ "อกุศลธรรม" ก็ไม่ประเสริฐได้เช่นกัน พูดง่ายๆว่า กษัตริย์กับศูทรหากทำดีก็ดีเสมอกัน ทำชั่วก็ชั่วเสมอกัน
คำสอนของพุทธะที่ว่าคนเราจะประเสริฐหรือไม่ประเสริฐขึ้นอยู่กับ "ธรรม" มีนัยสำคัญสองประการ คือ (1) บ่งว่ามนุษย์มี "เสรีภาพ" ที่จะเลือกด้วยตนเองว่า จะกระทำสิ่งที่ถูก (กุศลธรรม) หรือผิด (อกุศลธรรม) และ (2) บ่งว่ามนุษย์มี "ความเสมอภาค" ในทางศีลธรรม คือไม่ว่าจะเป็นใครต่างมีเสรีภาพที่จะเลือกทำสิ่งที่ถูกหรือสิ่งที่ผิดได้เสมอกัน และหากทำดีก็ดีเหมือนกัน ทำชั่วก็ชั่วเหมือนกัน ไม่มีข้อยกเว้นเพราะอ้างชาติกำเนิด เพศสภาพ หรือความเป็นอภิสิทธิชนใดๆ ข้อสังเกตคือ คำว่า "ธรรม" ที่ใช้กันในสมัยพุทธกาลนั้นมีความหมายซับซ้อน ในทรรศนะของพราหมณ์ธรรมหมายถึง "หน้าที่ที่ใช้เป็นเกณฑ์แบ่งชนชั้นสูง-ต่ำตามที่พระพรหมกำหนดมา" ฉะนั้น การที่คนในแต่ละชนชั้นทำหน้าที่ของตนๆให้ถูกต้อง ไม่ก้าวก่ายหน้าที่กัน ย่อมถือว่าเป็นความชอบธรรมหรือเป็น "ความยุติธรรม" ตามพระประสงค์ของพระเจ้า แต่ "ธรรม" ตามความหมายของพุทธศาสนาคือ "ระบบคุณค่า" ที่เป็นมาตรฐานตัดสินว่าคนเราจะประเสริฐ ไม่ประเสริฐอยู่ที่แต่ละคนจะใช้เสรีภาพในการเลือกกระทำสิ่งที่ถูกหรือผิดด้วยตนเอง เมื่อเลือกกระทำสิ่งเดียวกันย่อมได้รับผลเสมอภาคกัน ฉะนั้น โดยสาระสำคัญ "ธรรม" ในความหมายนี้ จึงหมายถึง "ระบบความยุติธรรม" ที่ปฏิเสธชนชั้นโดยเป็นระบบความยุติธรรมที่อยู่บนพื้นฐานของการยอมรับ "เสรีภาพ" และ "ความเสมอภาค" ในความเป็นมนุษย์ สรุปว่าแนวคิดทางสังคมการเมืองของพุทธศาสนายืนยันว่า อำนาจรัฐมาจากความยินยอมของประชาชน และยืนยันว่ามนุษย์มีเสรีภาพและความเสมอภาค จึงสนับสนุนประชาธิปไตยมากกว่าราชาธิปไตย ไม่ใช่ "ค่อนไปทางสมบูรณาญาสิทธิราชย์" อย่างที่นักวิชาการบางคนตีความ
หมายเหตุ: ชื่อบทความเดิม "พุทธศาสนากับประชาธิปไตย (3) : ศาสนากับเสรีภาพ สหายร่วมต่อสู้" เผยแพร่ในโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 8 (14) ฉบับที่ 407 (13 -19 เมษายน 2556)
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 9-15 เม.ย. 2556 Posted: 15 Apr 2013 05:28 AM PDT
ก.แรงงานเผย 3 เดือนเลิกจ้างกว่า 3 พันคน
จนท.กู้ชีพร้อง ไม่ได้รับเงินกว่า 2 เดือน ลั่นหยุดทำหน้าที่ช่วงสงกรานต์นี้
ทีดีอาร์ไอแนะทำ ระบบโครงสร้างบำนาญแห่งชาติ
เผยผลสำรวจความคิดเห็น ผลกระทบภาคอุตสาหกรรม 1 ไตรมาส หลังปรับค่าแรง 300 บาททั่วประเทศ
ทีดีอาร์ไอเสนอแก้ กม.ประกันสังคม ลดงบบริหารเหลือ 5% ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
iLaw: ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับ สพธอ.2556: โทษคุกฐานก้อปปี้ไฟล์ เก็บภาพโป๊เด็ก Posted: 15 Apr 2013 05:03 AM PDT ร่างพ.ร.บ.คอมฯ ใหม่ เพิ่มลักษณะความผิด เช่น การก้อปปี้ไฟล์ การครอบครองภาพโป๊เด็ก ฯลฯ ตีความครอบคลุมความผิดตามกฎหมายอื่นที่อาจใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อ เพิ่มรายละเอียดความรับผิดของผู้ให้บริการ เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2556 สำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) จัดงานเผยแพร่ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ) ฉบับใหม่ โดยมีกำหนดรับฟังความคิดเห็นต่อร่างดังกล่าวผ่านทางหน้าเว็บไซต์จนถึงวันที่ 15 เมษายนนี้ สพธอ.กล่าวถึงเจตนารมณ์ในการแก้ไขร่างกฎหมายฉบับนี้ว่า เนื่องจาก พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับปี 2550 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ยังไม่ครอบคลุมความผิดหลายอย่าง เช่น ปัญหาเรื่องอีเมลสแปม และมีการบังคับใช้ที่ผิด เช่น การนำพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ไปใช้ฟ้องคดีหมิ่นประมาทบุคคล เป็นต้น เมื่อพิเคราะห์ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับสพธอ.2556 (เผยแพร่วันที่ 3 เมษายน) ประเด็นสำคัญที่แก้ไขเพิ่มเติม มีดังนี้ 1. ความผิดฐานการก้อปปี้ข้อมูล หรือการทำซ้ำข้อมูลคอมพิวเตอร์
นับว่าเป็นประเด็นสำคัญที่เพิ่มขึ้นมาในร่างฉบับนี้ ที่กำหนดให้การ "ทำซ้ำ" ข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นเป็นความผิด คณะผู้ร่างให้เหตุผลของการเขียนมาตรานี้ว่า เพื่อป้องกันการขโมยข้อมูล เพราะก่อนหน้านี้มีคดีที่ศาลตัดสินว่า การก้อปปี้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ไม่ถือเป็นการลักทรัพย์ เพราะไม่ถือว่ามีทรัพย์อะไรถูกเอาไป แม้คณะผู้ร่างกฎหมายจะชี้แจงว่า เจตนารมณ์ของร่างมาตรานี้มุ่งคุ้มครองข้อมูลคอมพิวเตอร์ในส่วนที่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา แต่ยังมีข้อกังวลว่าร่างมาตรานี้อาจถูกใช้ซ้ำซ้อนกับกฎหมายลิขสิทธิ์ ซึ่งคณะผู้ร่างชี้แจงว่า การบังคับใช้กฎหมายในกรณีที่มีกฎหมายหลายฉบับบัญญัติฐานความผิดทับซ้อนกัน ให้ใช้หลักการกระทำ "กรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท" คือ ให้ลงโทษผู้กระทำความผิดตามบทกฎหมายที่มีอัตราโทษสูงสุด ในร่างนี้จึงอาจใช้อัตราโทษให้ "สอดรับ" กับกฎหมายลิขสิทธิ์ คำชี้แจงนี้ชี้ให้เห็นว่า แม้ผู้ร่างไม่ได้ตั้งใจจะให้ใช้ร่างมาตรานี้กับเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา แต่ก็เป็นไปได้ที่กฎหมายจะถูกนำมาใช้ในฐานะภาคต่อของกฎหมายลิขสิทธิ์ ซึ่งการเขียนเรื่องนี้เอาไว้ในพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เท่ากับเป็นการกำหนดว่าต่อไปนี้ การทำซ้ำเป็นอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ และเป็นไปได้ว่า จะมีการตีความกฎหมายแบบแข็งกระด้างเพื่อเอาผิดกับการก้อปปี้ข้อมูลโดยกลุ่มผู้บริโภคทั่วไป ทั้งที่กฎหมายลิขสิทธิ์มุ่งเอาผิดเฉพาะกรณีการละเมิดเพื่อการค้าหากำไรเท่านั้น 2. ความผิดฐานครอบครองภาพโป๊เด็ก
อาจกล่าวได้ว่า ร่างมาตรานี้เป็นนวัตกรรมใหม่ของเรื่อง "ลามก" ใน "กฎหมายไทย" ร่างกฎหมายฉบับนี้กำหนดให้การครอบครองภาพลามกของเด็กหรือเยาวชนเป็นความผิด ขณะที่ประมวลกฎหมายอาญากำหนดคำว่าลามกอนาจารไว้อย่างกว้างๆ และไม่ได้ระบุชัดเจนว่ามุ่งเน้นคุ้มครองประชาชนกลุ่มใด คณะผู้ร่างเปิดช่องทางเลือกเอาไว้ว่า หากไม่เขียนเรื่องนี้เอาไว้ในกฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ก็อาจไปแก้ไขในประมวลกฎหมายอาญาก็ได้ อย่างไรก็ดี ความน่ากลัวของข้อเสนอนี้คือการกำหนดว่า เพียงแค่ "ครอบครอง" ก็ถือเป็นความผิดแล้ว ไม่ได้มีองค์ประกอบความผิดเหมือนความผิดอื่นๆ ที่ต้องมีการ "นำเข้า" หรือ "เผยแพร่ส่งต่อ" หรือ "มีไว้เพื่อประโยชน์ทางการค้า" นั่นคือ เพียงแค่มีไฟล์บางอย่างที่มีลักษณะลามกของเด็กและเยาวชน ก็นับว่าเป็นความผิดโดยทันที โดยไม่ได้จำกัดว่าจะ "ได้มา" อย่างไร? และ "มีไว้" เพื่อวัตถุประสงค์ใด ซึ่งมีข้อน่ากังวลว่าเพียงแค่การมีไฟล์อยู่ในเครื่องของตนจะเท่ากับว่ามีความผิดฐานเป็นผู้ "ครอบครอง" ไฟล์นั้นไปโดยทันทีได้หรือไม่ นอกจากนี้ ร่างมาตรานี้ยังกำหนดโทษจำคุกเอาไว้สูงถึงหกปี 3. ความผิดต่อเนื้อหา ความผิดที่กระทบต่อความมั่นคง
มาตรา 14 ในพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ปัจจุบัน เป็นมาตราที่ถูกใช้เอาผิดคนมากที่สุด ซึ่งเกี่ยวกับการกระทำความผิดในเชิงเนื้อหา เช่น การโพสต์ข้อมูลหมิ่นประมาทคนอื่น การหลอกลวงกันในอินเทอร์เน็ต หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ เป็นต้น ผู้ร่างกฎหมายชี้แจงว่า แท้จริงแล้วมาตรา 14 (1) ไม่ได้เขียนไว้เพื่อใช้กับกรณีหมิ่นประมาท เพราะการหมิ่นประมาทสามารถใช้ประมวลกฎหมายอาญาได้ แต่มาตรา 14 (1) ที่พูดถึงข้อมูลปลอมนั้นตั้งใจจะให้ใช้กับกรณีการฟิชชิ่ง (Phishing) แต่ตลอด 4-5 ปีที่ใช้กฎหมายมาปรากฏว่ามาตรานี้ถูกตีความผิดมากที่สุด และถูกนำไปใช้ฟ้องร้องกันแทนกฎหมายหมิ่นประมาท ดังนั้นเจตนารมณ์ของการแก้ไขครั้งนี้จึงพยายามปรับถ้อยคำให้ใช้กับกรณีฟิชชิ่งเท่านั้น ขณะเดียวกันก็ลดโทษลงจากโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี เหลือจำคุกไม่เกิน 1 ปี อย่างไรก็ดี มาตรา 14 (2) และ (3) เดิมที่เป็นเรื่องเนื้อหาที่กระทบต่อความมั่นคงนั้น ยังคงอยู่ในร่างฉบับใหม่ โดยอาจมีการเปลี่ยนแปลงอัตราโทษ มาใช้วิธีกำหนดโทษขั้นต่ำสุดแทนการกำหนดโทษขั้นสูงสุด โดยในเอกสารของสพธอ.เขียนกำกับไว้ว่า อาจเปลี่ยนมาใช้วิธีกำหนดโทษขั้นต่ำ เพื่อเปิดโอกาสให้ศาลได้ใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษหนักเบา ต่อประเด็นนี้ มีข้อสังเกตว่า ตามหลักการเขียนอัตราโทษในกฎหมาย เพื่อเปิดให้ศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาความหนักเบาแห่งการกระทำผิดได้นั้น ต้องใช้วิธีการกำหนดโทษขั้นสูงสุด (เช่น กำหนดโทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน xx ปี) ไม่ใช่การกำหนดโทษขั้นต่ำ (เช่น กำหนดโทษจำคุกตั้งแต่ x – xx ปี) เพราะการกำหนดโทษขั้นต่ำจะทำให้ศาลไม่สามารถพิจารณาลงโทษอย่างเบาที่สุดสำหรับกรณีที่เป็นเพียงเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ได้ 4. ภาระความรับผิดของผู้ให้บริการ
ปัญหาที่ชัดเจนที่สุดของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับปี 2550 ก็คือการกำหนดภาระความรับผิดของผู้ให้บริการ ว่าหาก "จงใจสนับสนุนหรือยินยอม" ให้มีการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นความผิด ต้องรับโทษเท่ากับผู้โพสต์ข้อความนั้น การเขียนกฎหมายลักษณะนี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเติบโตของวงการธุรกิจในโลกออนไลน์ เพราะทำให้ผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยหวาดผวาว่าตนเองอาจถูกลงโทษได้โดยไม่มีเจตนา และ มาตรานี้ก็ก่อให้เกิดระบบการเซ็นเซอร์ตัวเองอย่างกว้างขวางด้วย ในร่างฉบับใหม่นี้ แก้ไขถ้อยคำใหม่ โดยเปลี่ยนจากคำว่า ผู้ให้บริการที่ "จงใจสนับสนุนหรือยินยอม" มาเป็นคำว่า ผู้ให้บริการที่ "รู้หรือควรได้รู้" โดยมุ่งเฉพาะความผิดที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ คณะผู้ร่างทำข้อเสนอไว้สองลักษณะซึ่งไม่แตกต่างกันมากนัก แบบแรกกำหนดหน้าที่โดยอัตโนมัติของผู้ให้บริการว่า ต้อง "รู้ หรือ ควรได้รู้" ข้อเสนอนี้มาจากฐานคิดที่ว่า ผู้ให้บริการมีหน้าที่ควบคุมดูแลระบบคอมพิวเตอร์ จึงย่อมรู้หรือควรจะได้รู้ว่ามีข้อมูลที่มีลักษณะเป็นความผิดอยู่ แบบที่สอง ยังคงกำหนดหน้าที่โดยอัตโนมัติของผู้ให้บริการ แต่เขียนเพิ่มว่า ผู้ให้บริการที่ รู้ หรือ ควรได้รู้ "หรือ" ได้รับแจ้งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ให้แก้ไขหรือระงับการทำให้แพร่หลาย ซึ่งต้องดำเนินการภายในระยะเวลาที่เหมาะสม ทั้งนี้ ผู้ร่างเขียนเจตนารมณ์ของมาตรานี้เอาไว้ในเอกสารประกอบ( (http://ilaw.or.th/sites/default/files/pdf_6.pdf) ) ว่า มาตรานี้ไม่จำต้องกำหนดชัดเจนว่าจะถือว่าผู้ให้บริการรู้ต่อเมื่อได้รับแจ้งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย ว่ามีข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นความผิดอยู่ในระบบของตน เพราะถือว่า ผู้ให้บริการต้องมีมาตรการกำกับดูแลอยู่แล้ว หากกำหนดให้ถือว่า "รู้" ต่อเมื่อได้รับแจ้งจากพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วอาจเป็นช่องว่างให้ผู้ให้บริการหลีกเลี่ยงหรือละเลยมาตรการในการกำกับดูแลตนเองและละเลยการตรวจสอบข้อมูลที่ไม่เหมาะสม ข้อสังเกตที่มีต่อร่างมาตรานี้คือ การเปลี่ยนถ้อยคำจากคำว่า ผู้ให้บริการที่ "จงใจสนับสนุนหรือยินยอม" มาเป็นคำว่า "รู้หรือควรได้รู้" ไม่ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอะไร ความพยายามพูดถึงการปฏิบัติงานระหว่างพนักงานเจ้าหน้าที่กับผู้ให้บริการภายหลังที่ได้รับการแจ้งนั้น ก็ยังไม่ใช่มาตรการ Notice and Take down เพราะกฎหมายไม่ได้ให้ความสำคัญกับขั้นตอนและมาตรการการปฏิบัติหน้าที่ เท่ากับความรับผิดที่ผู้ให้บริการพึงมีโดยอัตโนมัติ 5. การเก็บข้อมูลการใช้งานคอมพิวเตอร์ (ล็อกไฟล์)
กฎหมายปัจจุบันกำหนดให้ผู้ให้บริการต้องเก็บข้อมูลการใช้งานคอมพิวเตอร์ หรือล็อกไฟล์เป็นเวลา 90 วัน และขยายเวลาได้ในกรณีพิเศษ แต่ขยายได้ไม่เกินหนึ่งปี ในร่างใหม่นี้แก้ไขให้ พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถร้องขอให้ผู้ให้บริการเก็บข้อมูลเอาไว้ได้สูงสุดสองปี และในกรณีที่จำเป็น รัฐมนตรีสามารถประกาศกำหนดให้เก็บข้อมูลนานกว่านั้นได้โดยไม่มีเพดานระยะเวลา ต่อร่างมาตรานี้ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานหลายฝ่ายยังมองว่า ระยะเวลาสองปีอาจจะสั้นเกินไป เพราะบางครั้งกว่าสำนวนคดีความจะไปถึงชั้นศาลก็ใช้เวลาเกินสองปี ขณะที่ผู้ให้บริการก็มองว่าการให้เก็บข้อมูลโดยไม่มีระยะเวลาขั้นสูงสุดนั้นเป็นภาระที่ผู้ให้บริการต้องแบกรับเกินความจำเป็น อย่างน้อยที่สุดกฎหมายควรต้องกำหนดเพดานเวลาขั้นสูงสุดเอาไว้ด้วย 6. เพิ่มเหตุผลในการบล็อกเว็บ
มาตราที่ว่าด้วยการบล็อคเว็บ ได้แก้ไขจากเดิมที่ให้บล็อคเว็บเฉพาะที่เป็นความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ (อันได้แก่ เรื่องลามก ความมั่นคง ข้อมูลปลอม) ร่างใหม่นี้ขยายประเด็นให้รวมถึงความผิดใน "กฎหมายอื่นๆ" ที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือได้ด้วย เช่น หากมีเจ้าหน้าที่ทรัพย์สินทางปัญญา เจ้าหน้าที่องค์การอาหารและยา พบเห็นการโพสต์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่จำหน่ายสินค้าผิดกฎหมาย ก็ร้องขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายนี้ระงับการเผยแพร่เว็บไซต์ดังกล่าวได้ กล่าวคือ ร่างกฎหมายนี้ครอบคลุมการกระทำความผิดทั้งที่เป็นการกระทำความผิดต่อระบบคอมพิวเตอร์โดยตรง และการกระทำความผิดโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ โดยไม่จำเป็นต้องกำหนดความผิดอันเป็นเหตุแห่งการบล็อคเว็บไว้ในกฎหมายฉบับนี้ทุกกรณี ทั้งนี้ ร่างมาตรานี้แก้ไขปัญหาการบล็อคเว็บตามกฎหมายปัจจุบัน ที่เมื่อมีการบล็อคเว็บแล้วคือบล็อคถาวร ไม่มีช่องทางให้เพิกถอนคำสั่งการบล็อคเว็บได้ ร่างฉบับนี้เพิ่มถ้อยคำว่า ให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ "จนกว่าพฤติการณ์จะเปลี่ยนแปลงไป" สำหรับปัญหาเรื่องกระบวนการขออำนาจศาลที่มีการวิจารณ์กันว่า กลไกของศาลไม่ได้ตรวจสอบการใช้อำนาจอย่างแท้จริง แต่เป็นเหมือนตรายางที่สร้างความชอบธรรมให้การใช้อำนาจมากกว่า ในร่างกฎหมายยังไม่มีการแก้ไขเรื่องนี้อย่างชัดเจน โดยระบุว่าเป็นรายละเอียดที่ต้องกำหนดเพิ่มเติมในภายหลัง อย่างไรก็ดี การบล็อคเว็บ คือการปิดกั้นเสรีภาพสื่ออย่างร้ายแรง หากกฎหมายเปิดช่องไว้กว้างเกินไปอาจทำให้สิทธิที่ได้รับการรับรองไว้ตามรัฐธรรมนูญไม่มีความหมาย คณะผู้ร่างควรตระหนักว่า ในโลกสมัยใหม่การปิดกั้นเว็บไซต์ไม่สามารถปิดกั้นการรับรู้ของประชาชนได้อย่างแท้จริง แทนที่จะให้อำนาจบล็อคเว็บอย่างกว้าง ควรกำหนดประเด็นที่จะยอมให้ปิดกั้นเว็บไซต์ได้ให้เฉพาะเจาะจงมากกว่า เช่น กรณีที่ข้อมูลนั้นละเมิดต่อสิทธิส่วนบุคคล เป็นต้น 7. ขยายขอบเขตเหตุเพิ่มโทษ เน้นเรื่องความมั่นคงมากขึ้น
เห็นได้ว่าในร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับสพธอ.2556 มีความพยายามขยายขอบเขตของ "บทฉกรรจ์" หรือว่าเหตุเพิ่มโทษในความผิดที่เกี่ยวกับการเข้าถึงระบบ/ข้อมูลโดยมิชอบ การรบกวนข้อมูล/ระบบ การทำสำเนาข้อมูล การดักรับ ที่จากเดิมกำหนดว่าจะมีเหตุเพิ่มโทษได้ต่อเมื่อเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงฯ ซึ่งยังเน้นการคุ้มครองอาชญากรรมที่กระทำต่อคอมพิวเตอร์ แต่ตามร่างใหม่นี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นความผิดที่กระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ เพียงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงฯ ก็เป็นเหตุเพิ่มโทษได้แล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความกังวลต่อภัยที่อาจกระทบต่อความมั่นคงของชาติ ความปลอดภัยสาธารณะ จนน่าเป็นห่วงว่าจะทำให้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์อาจมีลักษณะเป็นกฎหมายความมั่นคงมากกว่ากฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ 8. ให้อำนาจตำรวจทั่วไปเท่ากับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ
ปัญหาที่พบบ่อยในคดีคอมพิวเตอร์ฯ คือ ผู้เสียหายเดือดร้อนไปแจ้งความที่สถานีตำรวจแต่ตำรวจกลับไม่รับและปัดคดีออก เพราะตีความว่าตนเองไม่มีอำนาจแบบพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จึงไม่มีอำนาจทำคดีนั้นๆ ได้ ร่างฉบับสพธอ. เพิ่มเติมมาตราหนึ่งเข้ามา กำหนดให้เจ้าหน้าที่ตามกฎหมายอื่นๆ ซึ่งไม่ต้องเป็นเจ้าพนักงานตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ สามารถติดต่อผู้ให้บริการเพื่อสอบถามข้อมูลการใช้งานคอมพิวเตอร์ (ล็อกไฟล์) ได้ และหากจะทำมากกว่านั้น เช่น จะทำสำเนาข้อมูล ยึด อายัด ตรวจค้นข้อมูลในคอมพิวเตอร์ หรือเจาะเข้าระบบ ก็ให้เจ้าหน้าที่ตามกฎหมายอื่นๆ สามารถร้องขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ช่วยรวบรวมหลักฐานให้ได้ ร่างมาตรานี้อาจจะช่วยในแง่การบริการประชาชนให้ไม่ต้องเจอปัญหาตำรวจไม่รับแจ้งความ แต่ด้านผู้ให้บริการคงมีภาระเพิ่มขึ้น เพราะปัจจุบันผู้ให้บริการแต่ละรายอาจมีแนวปฏิบัติสำหรับประสานงานกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ เป็นการเฉพาะตัว เช่น การรับมือกับการขอความร่วมมือด้วยวาจาไม่มีเอกสารเป็นทางการ ซึ่งหากร่างมาตรานี้ถูกประกาศใช้ ผู้ให้บริการก็ต้องปรับตัวให้หาวิธีการทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายต่างๆ ทั่วประเทศให้ได้ 9. การเข้าถึงระบบ/ข้อมูลคอมพิวเตอร์
ร่างฉบับสพธอ.กำหนดว่า การเข้าถึงระบบ/ข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ไม่ว่าระบบ/ข้อมูลนั้นๆ จะมีมาตรการการป้องกันการเข้าถึงหรือไม่ก็ตาม ก็ล้วนเป็นความผิด เป็นการแก้ไขจากเดิมที่จะมีความผิดก็เฉพาะกรณีที่ระบบ/ข้อมูลนั้นๆ มีมาตรการป้องกันไว้แต่มีคนพยายามเข้าถึง โดยคณะผู้ร่างชี้แจงเหตุผล (http://ilaw.or.th/sites/default/files/pdf_6.pdf) ว่า เพื่อป้องกันการกลั่นแกล้งกันจึงแก้ให้มาตรานี้เป็นความผิดอันยอมความได้ อย่างไรก็ดี แม้คณะผู้ร่างจะเล็งเห็นแล้วว่ามาตรานี้อาจนำไปสู่การกลั่นแกล้งกันได้ จึงแก้ปัญหาโดยกำหนดโทษให้เบา และกำหนดให้เป็นความผิดอันยอมความได้ แต่การแก้ไขเช่นนี้ก็ยังไม่แน่ว่าจะป้องกันการกลั่นแกล้งกันได้ การป้องกันการกลั่นแกล้งกันควรมาจากการเขียนกฎหมายให้รัดกุมเพื่อไม่ให้เกิดการฟ้องกันตั้งแต่ต้น หากปล่อยให้เข้าสู่กระบวนการฟ้องร้องกันในศาลแล้ว ผู้ฟ้องย่อมมีข้อต่อรองที่เหนือกว่า และเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขในการไกล่เกลี่ยได้ การกำหนดให้เป็นความผิดอันยอมความได้จึงไม่แก้ปัญหาการกลั่นแกล้งกัน 10. สแปมเมล์
ปัญหาเรื่องการส่งสแปมเป็นปัญหาที่ใครๆ ก็เจอ ซึ่งแม้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับปัจจุบันนั้นจะกำหนดให้เป็นความผิด แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เพราะกำหนดไว้เพียงว่า การส่งเมลสแปมจะเป็นความผิดก็ต่อเมื่อไม่เปิดเผยชื่อผู้ส่ง ซึ่งการเขียนเช่นนี้ไม่ช่วยแก้ปัญหาสแปมได้เลย ในร่างฉบับใหม่จึงเขียนใหม่ว่า การส่งเมลที่ไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับแจ้งบอกเลิก ปฏิเสธการรับเมล ถือว่ามีความผิด มาตรานี้อาจจะจัดได้ว่าเป็นมาตราที่แก้ไขแล้วนำไปสู่ทิศทางที่ดีขึ้นของร่างฉบับนี้ 11. หลักดินแดน
ปกติ กฎหมายไทยย่อมมีอำนาจบังคับเพียงแค่ในประเทศไทยเท่านั้น ความผิดที่เกิดขึ้นในต่างประเทศจะมาฟ้องร้องกันตามกฎหมายไทยให้ลงโทษในไทยไม่ได้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในโลกออนไลน์เชื่อมถึงกันหมดทั่วโลก ไม่ว่าจะโพสข้อมูลจากที่ใดก็อาจส่งผลไม่ต่างกัน ดังนั้น ร่างฉบับ สพธอ.นี้จึงมุ่งเน้นขยายอำนาจบังคับของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ให้เอาผิดกับกรณีที่การกระทำบางส่วนทำในประเทศไทยบางส่วนทำนอกประเทศ และกรณีที่ผลของการกระทำเกิดในประเทศไทยหรือเล็งเห็นได้ว่าควรเกิดในประเทศไทยด้วย ตัวอย่างเช่น การเจาะระบบคอมพิวเตอร์ที่แฮกเกอร์อยู่ที่อเมริกา แต่เจาะระบบที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย หรือ หากแฮกเกอร์อยู่ที่อเมริกา และเซิร์ฟเวอร์ที่เก็บข้อมูลก็อยู่ที่อเมริกา แต่เมื่อเจาะระบบแล้วเกิดความเสียหายกับเจ้าของเว็บไซต์ที่ทำกิจการในประเทศไทย เช่นนี้ คือกรณีที่การกระทำเกิดนอกประเทศแต่ผลของการกระทำเกิดในประเทศ ซึ่งพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ปัจจุบันกำหนดว่า ต้องให้รัฐบาลไทยหรือผู้เสียหายร้องขอให้ลงโทษก่อน แต่ตามร่างฉบับ สพธอ. ให้ถือว่าการกระทำนี้เกิดขึ้นในประเทศไทย สามารถลงโทษตามกฎหมายไทยได้เลย และหากเป็นความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติไทยนั้น ร่างฉบับสพธอ.กำหนดว่า ไม่ต้องคำนึงถึงการร้องขอของผู้เสียหาย ไม่จำเป็นต้องคำนึงว่ามีการกระทำส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือผลของการกระทำจะเกิดขึ้นในประเทศไทยหรือไม่ ก็สามารถดำเนินคดีลงโทษในประเทศไทยได้
หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรกที่ iLaw
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai This posting includes an audio/video/photo media file: Download Now | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ศาลโลกวันแรก กัมพูชาชี้ปัญหาเกิดจากการเมืองภายในของไทยเอง Posted: 15 Apr 2013 04:38 AM PDT กัมพูชาแถลงด้วยวาจาวันแรก ชี้ ไทยทำให้เกิดความคลุมเครือในการอ้างแผนที่ ระบุปัญหาการเมืองภายในไทยเป็นเหตุความขัดแย้ง ด้านกลุ่ม 'กำลังแผ่นดิน' นัดระดมพลปักธงชาติไทยที่ผามออีแดงวันที่ 17 เม.ย. นี้ เวลา 15.00 น. ตามเวลาประเทศไทย ศาลโลก กรุงเฮก เริ่มการพิจารณาคดีปราสาทพระวิหาร ฝ่ายกัมพูชาได้เริ่มการแถลงด้วยวาจา โดยที่รัฐมนตรีต่างประเทศของไทย นายสุรพงศ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล และนายฮอร์ นัมฮง รัฐมนตรีต่างประเทศของกัมพูชาต่างเข้าร่วมในการพิจารณาวันแรก สำหรับคำร้องของกัมพูชานั้น กัมพูชาอ้างว่าค าพิพากษาเดิมไม่ชัดเจน และไทยยังไม่ได้ปฏิบัติตาม โดยยังมิได้ถอนกำลังทหารหรือตำรวจออกจากบริเวณใกล้เคียงปราสาท โดยกัมพูชาให้เหตุผลว่า วรรคปฏิบัติการที่ 2 ของคำพิพากษาเดิมไม่ระบุชัดเจนว่า "บริเวณใกล้เคียงปราสาท" ครอบคลุมพื้นที่แค่ไหน ดังนั้น กัมพูชาจึงขอให้ศาลฯ ตัดสินว่า ขอบเขตของ "บริเวณใกล้เคียงปราสาท" จะต้องเป็นไปตามเส้นเขตแดนที่ปรากฏบน "แผนที่ภาคผนวก 1" ซึ่งแนบท้ายคำฟ้องของกัมพูชาในคดีเดิม ตามที่กัมพูชาถ่ายทอดเส้นดังกล่าวในปัจจุบัน ซึ่งฝ่ายกัมพูชาเห็นว่าบริเวณดังกล่าว มีขนาด 4.6 ตารางกิโลเมตร โดยนายฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา ชี้แจงด้วยวาจาระบุถึงสาเหตุที่กัมพูชาต้องยื่นให้ศาลโลกตีความ คำพิพากษาเมื่อปี พ.ศ.2505 (ค.ศ. 1962) เนื่องจากกัมพูชาต้องการความชัดเจนในเรื่องของเขตแดน อธิปไตยและบูรณภาพ อีกทั้งเป็นที่ทราบกันดีว่า ศาลโลกตัดสินไปแล้วว่าปราสาทพระวิหารอยู่ในการครอบครองของกัมพูชา ทนายความของฝายกัมพูชา ระบุด้วยว่าปัญหาระลอกล่าสุดที่เกิดขึ้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายในของไทยเอง ซึ่งปี 2006 (พ.ศ. 2549) นั้น นายกรัฐมนตรีทักษิณ เป็นนายกนั้นไทยได้เห็นชอบกับการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก แต่ในเดือนกันยายนปี 2006 มีการรัฐประหาร ในวันที่ 17 พ.ค. 2007 (พ.ศ.2550) ประเทศไทยได้ส่งบันทึกช่วยจำมายังกัมพูชา มีการพูดถึงเขตพื้นที่ปราสาทพระวิหาร และอ้างเรื่องเขตแดนตามที่ได้กำหนดไว้ในแผนที่ L7017 ซึ่งเป็นแผนที่ที่ไทยจัดทำขึ้นมาฝ่ายเดียว และเป็นแผนที่ใหม่ที่เขียนว่า "ลับ" ไม่ได้เป็นแผนที่ที่อยูในเอ็มโอยู ปี 2000 (พ.ศ.2543) พอมาถึงปี 2008 (พ.ศ.2551)ไทยมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอีกครั้ง และผู้แทนสองรัฐบาลได้ลงนามในแถลงการร่วมปี 2008 โดยรัฐบาลไทยได้ให้ความสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารของทางกัมพูชา และ 7 ก.ค. ปี 2008 คณะกรรมการมรดกโลกได้เตรียมขึ้นทะเบียน แต่ ศาลปกครองของไทยได้ระบุให้ลงนาม MOU ระหว่างไทย-กัมพูชา ของรมต.ต่างประเทศไทยขณะนั้น (นพดล ปัทมะ) เป็นโมฆะ กัมพูชาจึงต้องทำการประท้วงไปยังสมัชชาสหประชาชาติ ว่าแผนที่ใหม่ของไทยไม่สอดคล้องกับภาคผนวก และไม่สอดคล้องกับคำพิพากษาของศาล และสิ่งท่ำไทยกำลังทำตอนนี้คือการพยายามรื้อฟื้นการตีความคำพากษาของศาลโลก และนำมาสู่การร้องขอต่อศาลโลกให้ตีความคำพิพากษาศาลโลกอีกครั้ง กลุ่มกำลังแผ่นดิน เตรียมปักธงที่ผามออีแดง 17 เม.ย. สำหรับการเคลื่อนไหวในส่วนของประชาชนไทย เว็บไซต์มติชนออนไลน์รายงานว่า กลุ่มพลังจะรวมตัวกันในวันที่ 17 เม.ย. เพื่อรวมพลังนำ"ธงชาติไทย" ไปปักในพื้นที่เขาพระวิหาร โดยนายกิติศักดิ์ พ้นภัย หัวหน้ากลุ่มกำลังแผ่นดิน กล่าวว่า ขณะนี้ตนได้นัดหมายกับกลุ่มพลังมวลชนทวงคืนแผ่นดินเขาพระวิหารทุกกลุ่มทุกเครือข่าย โดยในวันที่ 17 เมษายนนี้ จะรวมพลังชาวไทยผู้รักชาติจำนวนประมาณ 10,000 คนนำเอาธงชาติไทย ความสูง 21 เมตรขึ้นไปปักที่บริเวณเขาพระวิหาร หรือบริเวณภูมะเขือให้ได้ ซึ่งจะเริ่มรวมพลังกันตั้งแต่เวลา 07.00 น. บริเวณศาลหลักเมืองกันทรลักษ์ จากนั้นจะเคลื่อนขบวนขึ้นไปบริเวณเขาพระวิหาร ซึ่งหากมีการสกัดกั้นของเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ จะทำไม้ง่ามประมาณ 50 อันเพื่อใช้สำหรับผลักดันลวดหนามหีบเพลงที่ขวางถนนให้พ้นทาง เพื่อนำขบวนขึ้นไปบริเวณผามออีแดงให้ได้ ลำดับเหตุการณ์ความขัดแย้งระลอกใหม่ไทย-กัมพูชา หลังจากศาลโลกเคยมีคำสั่งเมื่อปี 2505 ให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา เวลาผ่านไปกว่า 50 ปี ความขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชาว่าด้วยพื้นที่พิพาทบริเวณเขาพระวิหารก็ได้เกิดขึ้นระลอกใหม่ในปี 2551 โดยในวันที่ 26 มิถุนายน 2551 ศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 17 มิถุนายน 2551 ที่รับรองการออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาที่สนับสนุนให้กัมพูชาจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ขณะเดียวกันพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งได้ชุมนุมขับไล่รัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ในปี 2551 ก็นำประเด็นเรื่องปราสาทพระวิหารมาเป็นประเด็นหนึ่งในการขับไล่รัฐบาล และหลังจากที่ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2551 องค์การยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียนตามคำขอของกัมพูชาให้ตัวปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ก็นำมาซึ่งความตึงเครียดอีกครั้งทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ โดยรัฐบาลไทยและกัมพูชา ได้ต่างเพิ่มกำลังทหารที่บริเวณชายแดน กระทั่งหลังเปลี่ยนรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ความขัดแย้งที่ชายแดนได้ลุกลามเป็นการปะทะเป็นครั้งแรกในเดือนเมษายนปี 2552 และต่อมาการปะทะระหว่างกองกำลังไทยและกัมพูชาได้ทวีความรุนแรงขึ้นอีกครั้งในปี 2553 ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม ทำให้ต่อมารัฐบาลกัมพูชาต้องขอคำสั่งคุ้มครองจากศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งต่อมาได้ออกคำสั่งให้ทั้งสองประเทศต้องถอนกำลังทหารในวันที่ 18 กรกฎาคม 2554 กระทั่งล่าสุดเมื่อ 18 กรกฎาคม 2555 หรืออีก 1 ปีต่อมาทั้งฝ่ายไทยและกัมพูชามีการถอนทหารออกจากเขตปลอดทหารรอบปราสาทพระวิหารเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศถ่ายทอดสดการพิจารณาคดี ทั้งนี้กระทรวงการต่างประเทศของไทยระบุว่า รัฐบาลมีนโยบายให้ถ่ายทอดสดการให้การทางวาจา พร้อมแปลเป็นภาษาไทยทันทีคำต่อคำ โดยกระทรวงการต่างประเทศจะถ่ายทอดผ่านช่องทางต่างๆ ได้แก่ (๑) เว็บไซต์ที่กระทรวงฯ จัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ ทาง www.phraviharn.org (สามารถเลือกฟังเสียงภาษาที่ใช้จริง เสียงภาษาอังกฤษ และเสียงภาษาไทย) (๒) สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สถานีโทรทัศน์ช่อง ๑๑) (๓) สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM ๙๒.๕ และ AM ๘๙๑ และ (๔) สถานีวิทยุสราญรมย์ AM ๑๕๗๕ โดยวันนี้เป็นการแถลงด้วยวาจาของฝ่ายกัมพูชา ส่วนกำหนดการแถลงด้วยวาจาของทั้ง 2 ฝ่ายมีดังนี้ วันจันทร์ 15 เมษายน 2556 - โดยกัมพูชา เวลากรุงเฮก เวลากรุงเทพ 10.00 น. – 13.00 น. 15.00 น. – 18.00 น. 15.00 น. – 16.30 น. 20.00 น. – 21.30 น.
วันพุธ 17 เมษายน 2556 - โดยไทย เวลากรุงเฮก เวลากรุงเทพ 10.00 น. – 13.00 น. 15.00 น. – 18.00 น. 15.00 น. – 16.30 น. 20.00 น. – 21.30 น.
รอบสองของการให้การทางวาจา วันพฤหัสบดี 18 เมษายน 2556 - โดยกัมพูชา เวลากรุงเฮก เวลากรุงเทพ 15.00 น. – 17.00 น. 20.00 น. – 22.00 น.
วันศุกร์ 19 เมษายน 2556 - โดยไทย เวลากรุงเฮก เวลากรุงเทพ 15.00 น. – 17.00 น. 20.00 น. – 22.00 น
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น