ประชาไท | Prachatai3.info |
- LivingSocial ยอมรับว่าถูกแฮ็คข้อมูลส่วนตัวลูกค้ากว่า 50 ล้านราย
- LivingSocial ยอมรับว่าถูกแฮ็คข้อมูลส่วนตัวลูกค้ากว่า 50 ล้านราย
- ROHINGYA : ความหมายสิทธิมนุษยชนที่เปลี่ยนไป
- ศูนย์ข้อมูลสิทธิอีสานฯ อบรมกฎหมายชาวบ้านพื้นที่ปัญหาบ่อขยะ
- หนทางสู่กระบวนการสันติภาพที่แท้จริง
- คุณค่าทางกฎหมายของแผนที่กับคดีปราสาทพระวิหาร
- ความเห็นคณะทำงานประธานที่ปรึกษานโยบายนายกฯกรณีการจัดการกับการแข็งค่าของเงินบาท
- ประวัติศาสตร์คะฉิ่น: ยุคอาณานิคม จีน-อังกฤษ- พม่า กับสงครามอันยาวนาน
- กัมพูชาแถลงแผนที่ซึ่งใช้ในศาลโลกรอบนี้ เป็นฉบับเดียวกับเมื่อปี 2505
- ศาลรัฐธรรมนูญแจ้งความเอาผิดผู้ปราศรัยหมิ่นตุลาการ
- องค์กรแรงงานเผยผลสำรวจสิทธิคนงานก่อสร้างรถไฟฟ้าสีม่วงต่ำ ร้อง JICA หนุนมาตรฐานแรงงาน
- กวีประชาไท: ปรัมปรา (sweet capet inn)
LivingSocial ยอมรับว่าถูกแฮ็คข้อมูลส่วนตัวลูกค้ากว่า 50 ล้านราย Posted: 27 Apr 2013 07:52 AM PDT เว็บไซต์ thumbsup รายงานว่า LivingSocial เว็บไซต์ดีลรายวันรายใหญ่ ส่งอีเมลถึงลูกค้ายอมรับว่าถูกแฮ็คเกอร์ขโมยข้อมูลส่วนตัวของลูกค้ากว่า 50 ล้านราย โดยข้อมูลที่แฮกเกอร์ได้ไปประกอบด้วยชื่อ อีเมลแอดเดรส วันเกิด และรหัสผ่าน ข่าวดีคือผู้ใช้ในไทยยังปลอดภัย
LivingSocial กลายเป็นเป้าหมายล่าสุดของแฮกเกอร์ที่หวังเจาะระบบเพื่อขโมยข้อมูลผู้บริโภค โดยขณะนี้ LivingSocial กำลังถูกสื่อประนามว่าละเลยการปกป้องข้อมูลของลูกค้าจนทำให้เกิดช่องโหว่ที่นักแฮกสามารถเข้าไปดึงข้อมูลลูกค้ามากกว่า 50 ล้านราย ถือเป็นจำนวนเกินครึ่งเมื่อเทียบจากที่ LivingSocial เคยประกาศว่ามีผู้ใช้ทั่วโลก 70 ล้านราย ตามข้อมูลจากอีเมลที่ LivingSocial ส่งถึงพนักงานภายใน และอีเมลที่ส่งถึงลูกค้า LivingSocial โจรไฮเทคนั้นสามารถขโมยข้อมูลหลักที่ LivingSocial เรียกหาจากลูกค้าได้ทั้งหมด ทั้งชื่อ อีเมล วันเกิด และรหัสผ่านที่เข้ารหัสแล้ว มีเพียงข้อมูลการเงินและข้อมูลร้านค้าที่ไม่ถูกขโมย รวมถึงรายชื่อผู้ใช้บริการในเครือ LivingSocial ที่อยู่ในประเทศฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และประเทศไทยล้วนไม่ได้รับผลกระทบจากการแฮกครั้งนี้ ในอีเมล Tim O'Shaughnessy ซีอีโอของ LivingSocial ระบุว่าบริษัทกำลังดำเนินการตามกฏหมายเพื่อสอบสวนเหตุการถูกโจมตีทางคอมพิวเตอร์ครั้งนี้ โดยแนะนำให้ผู้ใช้เปลี่ยนรหัสผ่าน ซึ่งจุดนี้ยังไม่แน่ชัดว่า รหัสผ่านของผู้ใช้ทั้งหมดถูกตั้งค่าใหม่ (reset) หรือไม่ ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าระบบอาจตั้งค่ารหัสผ่านใหม่เฉพาะผู้ใช้ที่ได้รับผลกระทบเท่านั้น
มีการตั้งข้อสังเกตว่า อีเมลของ Tim O'Shaughnessy ที่ตอบพนักงาน LivingSocial เป็นการภายในนั้นไม่มีการระบุรูปแบบการโจมตี และไม่เปิดเผยข้อมูลวันเวลาว่า LivingSocial ถูกโจมตีมาแล้วนานเท่าใด ทั้งหมดนี้ตัวแทนของ LivingSocial ปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลกับสื่อสหรัฐฯ เนื่องจากอาจมีผลกระทบกับรูปคดี LivingSocial เป็นเว็บไซต์รายใหญ่ล่าสุดที่ออกมาเปิดเผยว่าถูกลักลอบเจาะระบบเพื่อขโมยข้อมูล โดยช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา บริการออนไลน์ทั้ง Evernote, Zappos รวมถึง LinkedIn ล้วนออกมาเปิดเผยว่าถูกลักลอบขโมยข้อมูลลูกค้าเช่นกัน LivingSocial เป็นบริษัทให้บริการดีลรายวันหรือ DailyDeal ที่ชาวออนไลน์จะสามารถชวนเพื่อนมาซื้อดีลส่วนลดของร้านค้าได้ตามเงื่อนไข นอกจากสำนักงานใหญ่ในวอชิงตัน ดี.ซี. LivingSocial ลงทุนซื้อบริการดีลรายวันในอาเซียนจนทำให้บริษัทมีฐานตลาดในฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และประเทศไทย (ผ่านบริการของ ensogo.com) ผลประกอบการล่าสุดที่ LivingSocial ประกาศออกมาคือขาดทุน 650 ล้านเหรียญสหรัฐ (ผลประกอบการปี 2012) แม้จะมีรายรับเพิ่มขึ้นเท่าตัวเป็น 536 ล้านเหรียญ
ที่มา: http://thumbsup.in.th ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
LivingSocial ยอมรับว่าถูกแฮ็คข้อมูลส่วนตัวลูกค้ากว่า 50 ล้านราย Posted: 27 Apr 2013 07:51 AM PDT เว็บไซต์ thumbsup รายงานว่า LivingSocial เว็บไซต์ดีลรายวันรายใหญ่ ส่งอีเมลถึงลูกค้ายอมรับว่าถูกแฮ็คเกอร์ขโมยข้อมูลส่วนตัวของลูกค้ากว่า 50 ล้านราย โดยข้อมูลที่แฮกเกอร์ได้ไปประกอบด้วยชื่อ อีเมลแอดเดรส วันเกิด และรหัสผ่าน ข่าวดีคือผู้ใช้ในไทยยังปลอดภัย
LivingSocial กลายเป็นเป้าหมายล่าสุดของแฮกเกอร์ที่หวังเจาะระบบเพื่อขโมยข้อมูลผู้บริโภค โดยขณะนี้ LivingSocial กำลังถูกสื่อประนามว่าละเลยการปกป้องข้อมูลของลูกค้าจนทำให้เกิดช่องโหว่ที่นักแฮกสามารถเข้าไปดึงข้อมูลลูกค้ามากกว่า 50 ล้านราย ถือเป็นจำนวนเกินครึ่งเมื่อเทียบจากที่ LivingSocial เคยประกาศว่ามีผู้ใช้ทั่วโลก 70 ล้านราย ตามข้อมูลจากอีเมลที่ LivingSocial ส่งถึงพนักงานภายใน และอีเมลที่ส่งถึงลูกค้า LivingSocial โจรไฮเทคนั้นสามารถขโมยข้อมูลหลักที่ LivingSocial เรียกหาจากลูกค้าได้ทั้งหมด ทั้งชื่อ อีเมล วันเกิด และรหัสผ่านที่เข้ารหัสแล้ว มีเพียงข้อมูลการเงินและข้อมูลร้านค้าที่ไม่ถูกขโมย รวมถึงรายชื่อผู้ใช้บริการในเครือ LivingSocial ที่อยู่ในประเทศฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และประเทศไทยล้วนไม่ได้รับผลกระทบจากการแฮกครั้งนี้ ในอีเมล Tim O'Shaughnessy ซีอีโอของ LivingSocial ระบุว่าบริษัทกำลังดำเนินการตามกฏหมายเพื่อสอบสวนเหตุการถูกโจมตีทางคอมพิวเตอร์ครั้งนี้ โดยแนะนำให้ผู้ใช้เปลี่ยนรหัสผ่าน ซึ่งจุดนี้ยังไม่แน่ชัดว่า รหัสผ่านของผู้ใช้ทั้งหมดถูกตั้งค่าใหม่ (reset) หรือไม่ ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าระบบอาจตั้งค่ารหัสผ่านใหม่เฉพาะผู้ใช้ที่ได้รับผลกระทบเท่านั้น
มีการตั้งข้อสังเกตว่า อีเมลของ Tim O'Shaughnessy ที่ตอบพนักงาน LivingSocial เป็นการภายในนั้นไม่มีการระบุรูปแบบการโจมตี และไม่เปิดเผยข้อมูลวันเวลาว่า LivingSocial ถูกโจมตีมาแล้วนานเท่าใด ทั้งหมดนี้ตัวแทนของ LivingSocial ปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลกับสื่อสหรัฐฯ เนื่องจากอาจมีผลกระทบกับรูปคดี LivingSocial เป็นเว็บไซต์รายใหญ่ล่าสุดที่ออกมาเปิดเผยว่าถูกลักลอบเจาะระบบเพื่อขโมยข้อมูล โดยช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา บริการออนไลน์ทั้ง Evernote, Zappos รวมถึง LinkedIn ล้วนออกมาเปิดเผยว่าถูกลักลอบขโมยข้อมูลลูกค้าเช่นกัน LivingSocial เป็นบริษัทให้บริการดีลรายวันหรือ DailyDeal ที่ชาวออนไลน์จะสามารถชวนเพื่อนมาซื้อดีลส่วนลดของร้านค้าได้ตามเงื่อนไข นอกจากสำนักงานใหญ่ในวอชิงตัน ดี.ซี. LivingSocial ลงทุนซื้อบริการดีลรายวันในอาเซียนจนทำให้บริษัทมีฐานตลาดในฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และประเทศไทย (ผ่านบริการของ ensogo.com) ผลประกอบการล่าสุดที่ LivingSocial ประกาศออกมาคือขาดทุน 650 ล้านเหรียญสหรัฐ (ผลประกอบการปี 2012) แม้จะมีรายรับเพิ่มขึ้นเท่าตัวเป็น 536 ล้านเหรียญ
ที่มา: http://thumbsup.in.th ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ROHINGYA : ความหมายสิทธิมนุษยชนที่เปลี่ยนไป Posted: 27 Apr 2013 06:33 AM PDT ตึกแถวขาวห้าชั้น 8 คูหาเรียงรายปรากฎอยู่ต้นถนนนวลจันทร์ ย่านบึงกุ่ม ชาญเมืองกรุงเทพมหานคร ผมมาถึงที่นี่หลังจากขับรถออกจากบ้านพักได้เพียง 5 นาที ตลอด 22 ปีที่ผมอาศัยอยู่บ้านพ่อแม่หลังนี้ ทุกครั้งที่ไม่ว่าจะไปไหนมาไหน ผมก็ต้องผ่านกลุ่มตึกแถวนี้เป็นประจำ จำได้ว่ามันเคยผ่านการถูกทุบ ดัดแปลง จากสิบกว่าคูหาหันหลังชนกัน ก็กลายเป็นคูหาแถวเดียว 8 คูหา เพื่อสอดรับกับการตัดถนนประดิษฐ์มนูกิจ หรือเกษตร-นวมินทร์ อันเป็นการเปลี่ยนแปลงการเพื่อความสะดวกสบายของชาวกรุง
เธอเล่าว่า ชาวโรฮิงญานั้นเป็นชนชาติพันธุ์มุสลิมดั้งเดิมที่อาศัยในพื้นที่ดังกล่าว ต่อมาเมื่อมีการยึดอำนาจของนายพลเนวิน(ผู้เขียน;และฉีกรัฐธรรมนูญอันระบุการรับรองสิทธิชนชาติพันธุ์ในการมีสิทธิขั้นพื้นฐาน และสิทธิการปกครองตนเองหรือสัญญาปางโหลง) ที่มีแนวความคิดชาตินิยมก็ได้เกิดการผลักดันปฏิเสธการมีอยู่ของชาวโรฮิงญา โดยมองว่าเป็นคนที่มีความแตกต่างทั้งรูปร่างหน้าตา เชื้อชาติ และศาสนา เนื่องจากชาวโรฮิงญานั้นนับถือศาสนาอิสลาม และมีรูปพรรณคล้ายคลึงกับชาวเอเชียใต้ จึงผิดแผกไปจากชาวพม่า หรือชาติพันธุ์อื่นๆ ซึ่งในกฎหมายพลเมืองปีคริสต์ศักราช 1984 ที่ระบุ 135 ชนชาติพันธุ์นั้น ไม่ปรากฏการมีอยู่ของชาติพันธุ์โรฮิงญาแต่อย่างใด ทำให้ชาวโรฮิงญาไร้สัญชาติ ไร้รัฐ และย่อมเข้าไม่ถึงสิทธิขั้นพื้นฐานจากบริการของรัฐอย่างมีคุณภาพ นอกจากนั้นยังเจอกับความรังเกียจเดียดฉันในฐานะผู้แตกต่างอีกด้วย สอดคล้องกับพี่ชลิดาที่ชี้ให้เห็นว่า ปัญหาของชาวโรฮิงญานั้น หากเราศึกษาประวัติศาสตร์ และพัฒนาการของความขัดแย้งมาตลอด ก็จะพบว่าเป็นปัญหาที่มีเชื้อไฟครุกกรุ่นมาก่อนแล้ว ชาวพม่ามีทัศนคติไม่ยอมรับชาวมุสลิมโรฮิงญา พอๆกับที่นโยบายของทหารพม่าได้ละเลยกับความละเอียดอ่อนของความแตกต่างตรงส่วนดังกล่าวไปเสียหมด และมีพยายามขับพวกเขาออกนอกประเทศมาโดยตลอด ไม่ต่างจากปัญหาภาคใต้ของไทย เพียงแต่ทัศนคติของพม่าต่อโรฮิงญานั้นรุนแรงกว่า นอกจากนั้นการรวมตัวต่อต้านของโรฮิงญาก็ไม่เกิดผลมากนัก เนื่องจากไม่มีความเข้มแข็งพอเหมือนกลุ่มก่อการในภาคใต้ และเป็นการก่อการจากโรฮิงญาพลัดถิ่นที่เคลื่อนไหวภายนอกเสียมากกว่า ดังนั้น ความเข้าใจสถานการณ์นั้นควรเริ่มจากการเข้าใจความเป็นมาของโรฮิงญาเสียก่อน ที่ไม่ใช่แค่เรื่องความขัดแย้งของชาวบ้าน หากหมายถึงการการเกลียดชังระหว่างเชื้อชาติ และศาสนา " มันเป็นเรื่องเชื้อชาติ และศาสนามานานแล้ว ทัศนคติของพม่าคือไม่เอาโรฮิงญา มองว่าเค้าไม่ใช่พม่า ทั้งๆที่โรฮิงญาอยู่ตรงนั้นมานานแล้ว ตามกฎหมายสากลระหว่างประเทศต้องรับเป็นพลเมืองแล้ว และคุณมีสิทธิอะไรมาไล่เค้าออกไป เพียงว่าเค้าแตกต่างนั้นหรือ ?" สอดคล้องกับกานัม ชายหนุ่มวัย 56 ผู้ประสานงานสมาคมชาวโรฮิงญาประจำประเทศไทย ที่ตามมาสมทบทีหลังให้ข้อมูลว่า สถานการณ์ปัจจุบันเป็นเพียงอุบายในการใช้ความขัดแย้งดังกล่าว เพื่อให้เกิดการแตกหัก และเราเห็นได้แล้วว่า พม่าไม่เพียงไม่ต้องการโรฮิงญา แต่ยังละเมิดศักดิ์ศรีในการมีชีวิตอยู่อย่างปลอดภัย ทำให้ 5 ทศวรรษที่ผ่านมา ชาวโรฮิงญาเหลือในพื้นที่เพียง 8 แสนคนจาก 4 ล้านคน โดย 3 แสนคนนั้นหนีข้ามพรมแดนไปบังกลาเทศ อีก 2 หมื่นคนนั้นอาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภ้ยหรือเรฟูจี ส่วนที่เหลือนั้นเป็นโรฮิงญาพลัดถิ่นในประเทศที่สาม " เรือที่เข้าไปก็ลำบาก เพราะมันมีภูเขากั้น ส่วนเฮลิคอปเตอร์เวลาหย่อนอาหาร คนโรฮิงญาก็ไม่ได้หรอก เพราะพวกเขาหนีทหารไปอยู่ตามป่า เขา ก็เป็นคนยะไข่ที่ได้สะส่วนใหญ่ สภาพตอนนี้ลำบากมาก" คิดไปคิดมาก็น่าแปลกใจเหมือนกันนะครับ ปัญหาดังกล่าวนี้เรื้อรัง และออกดอกออกผลให้ประชาคมโลกได้เห็นกันมานัดต่อนัด แต่ใยเสียงของประชาคมโลก โดยเฉพาะประเทศเสรีประชาธิปไตยอย่างตะวันตกที่มักประกาศตัว และให้ค่ากับความหมายอันสูงส่งของ สิทธิมนุษยชน จึงดังน้อยกว่าเสียงเล็กๆของคนกลุ่มนี้ ฤาความหมายของ สิทธิมนุษยชน นั้นได้เปลี่ยนไปแล้ว "อย่างซูจี เราต้องเข้าใจว่า แต่ก่อนเค้ามีภาพต่อสู้เพื่อสิทธิ แต่ตอนนี้เค้ากลายเป็นนักการเมืองไปแล้ว นักการเมืองที่เดินสายไปแต่ละประเทศ" หรือแท้จริงแล้ว สิทธิมนุษยชน คำคำนี้ก็อาจไม่ใช่คำสูงส่งอะไรนัก มันเป็นคำที่เกิดขึ้นจากมนุษย์ที่ดิ้นรนมีอิสรภาพจากรัก โลภ โกรธ หลง เป็นคำที่พยายามตัดกิเลสทั้งปวงให้เกิดแต่สันติสุข แต่มนุษย์ก็ยังเป็นมนุษย์อยู่วันยังค่ำ เราจะหวังอะไรกับสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป หรือแม้กระทั่งซูจี และอดีตผู้นำกลุ่มนักศึกษา 888 หรือแม้แต่รัฐบาลไทย การได้แตะนิดแต่ะหน่อยแล้วบอกตนว่าเป็นนักสิทธิมนุษยชนก็ไม่ต่างอะไรกับการบริจาคเงินก้อนโตเข้าวัด แล้วก็บอกว่าตนเป็นศาสนิกที่ดีกว่าคนอื่นนั่นแหละ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ศูนย์ข้อมูลสิทธิอีสานฯ อบรมกฎหมายชาวบ้านพื้นที่ปัญหาบ่อขยะ Posted: 27 Apr 2013 06:06 AM PDT เมื่อวันที่ 26 เม.ย.56 เวลา 10.00 น. ที่ทำการกองทุนหมู่บ้าน หมู่ที่ 3 บ้านโพธิ์ศรี ต.สร้างนางขาว อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ (ศสส.) อีสาน จัดอบรมกฎหมายให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ.2550 กับชาวบ้านในพื้นที่ต.สร้างนางขาว ที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาการนำขยะมาทิ้งในบริเวณป่าโคกใหญ่เนื้อที่กว่า 600 ไร่ ของอบต.วัดหลวง อ.โพนพิสัย ซึ่งเป็นเขตติดต่อกัน กับตำบลสร้างนางขาว โดยมีผู้เข้าร่วมรับการอบรม จำนวนกว่า 60 คน นายสุวิทย์ กุหลาบวงษ์ ผู้ประสานงานศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ (ศสส.) อีสาน ได้กล่าวว่า ชาวบ้านมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญในหมวดสิทธิและเสรีภาพฯ เพื่อเรียกร้องให้หน่วยงานของรัฐ แก้ไขปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นในชุมชน เช่น การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมารับฟังปัญหาของชาวบ้านและนำไปสู่การแก้ไข แต่อย่างไรก็ดี การใช้สิทธิของเราก็ต้องไม่ไปละเมิดสิทธิของบุคคลอื่นด้วยเช่นกัน นอกจากนี้รัฐธรรมนูญยังกำหนดให้เราสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติร่วมกับรัฐได้ "ดังเช่นปัญหาบ่อขยะ ที่อยู่ใกล้ชุมชนแล้วได้รับความเดือดร้อน ชาวบ้านก็สามารถใช้สิทธิตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดในการร้องเรียนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ดำเนินการแก้ไขปัญหา รวมทั้งชาวบ้านยังมีสิทธิในการตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานรัฐ หรือแม้แต่ใช้กระบวนการทางศาลปกครองฟ้องร้องถ้าหากหน่วยงานนั้นไม่ดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายบัญญัติ" นายสุวิทย์กล่าว ด้านนายวิรัตน์ชัย โยธวงศ์ กำนันตำบลสร้างนางขาว กล่าวว่า ชาวบ้านได้เข้าใจในสิทธิของตนเองตามรัฐธรรมนูญ โดยรู้ว่าชาวบ้านมีสิทธิเรียกร้องต่อหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น อบต. สาธารณสุข สิ่งแวดล้อมภาค ไปจนถึงผู้ว่าราชการ ฯลฯ รวมทั้งได้รับทราบถึงแนวทางที่จะเข้าไปมีส่วนร่วม และติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับชุมชนอย่างมาก "อบต.วัดหลวง ได้นำขยะมาทิ้งในพื้นที่ป่าโคกใหญ่ ตั้งแต่ปี 2542 ซึ่งชาวบ้านได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก เช่น ส่งกลิ่นเหม็น มีฝุ่นควันจากการเผา เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค และขยะยังไหลลงสู่ล้ำห้วย จนชาวบ้านไม่สามารถหาอยู่หากินในบริเวณป่าโคกและลำห้วยได้เหมือนแต่ก่อน โดยชาวบ้านเคยร้องเรียนกับ อบต. ไปหลายครั้งแต่ก็ไม่ได้รับการแก้ไขปัญหา ดังนั้น การได้รับความรู้ด้านกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของประชาชน จึงทำให้พวกเราได้เข้าใจถึงสิทธิและแนวทางในการเรียกร้องเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาให้กับชุมชนของเรา" นายวิรัตน์ชัยกล่าว
เดชา คำเบ้าเมือง ศูนย์สื่อชุมชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ศสธ.) ตู้ปณ. 14 อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
หนทางสู่กระบวนการสันติภาพที่แท้จริง Posted: 27 Apr 2013 05:47 AM PDT
การพูดคุยครั้งแรกระหว่างรัฐไทย (ปาร์ตี้ เอ) กับตัวแทนกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในภาคใต้(ปาร์ตี้ บี) ได้มีขึ้น ณ สถานที่ปิดลับแห่งหนึ่งในกรุงกัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงของมาเลเซีย การกล่าวแสดงความยินดีได้เกิดต่อมาเลเซียอันเนื่องจากความสำเร็จของภารกิจสำคัญยิ่งนี้ การพูดคุยครั้งนี้นับเป็นก้าวแรกในการก่อเกิดกระบวนการสันติภาพในภาคใต้ของไทย ก่อนจะมีการพูดคุยในครั้งนี้ ได้เกิดกระแสข่าวสารจำนวนมาก ทั้งในสื่อภาษาไทย ภาษามลายู หรือสื่อภาษาอังกฤษ ประเด็นหนึ่งที่ได้รับความสนใจมากที่สุดคือตัวแทนการพูดคุยจากปาร์ตี้ บี นั้นเป็นตัวแทนที่ได้รับมอบอำนาจย่างแท้จริงหรือไม่ บ้างก็กล่าวกันการพูดคุยครั้งนี้ไม่มีความหมายแต่อย่างใด เป็นเพียงละครการเมืองฉากหนึ่งเท่านั้น ข่าวต่างประเทศในภาษาอังกฤษ (ไม่ใช้จากไทยและมาเลเซีย) ส่วนหนึ่งนำเสนออย่างขี้ระแวงและมองโลกในแง่ร้ายต่อกระบวนการพูดคุยครั้งนี้ ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่าได้ข้อมูลจากแห่ลงข่าวที่ไม่แน่นอน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีคำถามร้อยแปดพันเก้า แต่การพูดคุยก็ได้เกิดขึ้น โดยมีตัวแทนจาก ปาร์ตี้ บี จำนวน 6 คนที่เป็นตัวแทนอย่างเป็นทางการและการพูดคุยครั้งนี้ย่อมมีผลอย่างแน่นอน และกำหนดการเจรจาครั้งต่อไปได้กำหนดขึ้นในวันที่ 29 เมษายน 2556 โดยที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับกรอบข้อตกลงที่ได้พูดคุยไว้ เพื่อให้กระบวนการสันติภาพที่พึ่งจะเริ่มต้นนี้ประสบความสำเร็จ ทุกฝ่ายต่างให้คำมั่นอย่างจริงจังและต่างมีเจตนาที่บริสุทธิ์ซึ่ง ณ ที่นี้ผู้เขียนใคร่มีข้อเสนอบางประการที่หลายๆ ฝ่ายควรกระทำในวาระนี้ ประการแรก ฝ่ายรัฐไทยจะต้องรับฟังความคิดเห็นประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง แม้ว่าก่อนการพูดคุยที่กัวลาลัมเปอร์เมื่อวันที่ 24 มี.ค. ที่ผ่านมาได้มีการจัดการประชุมพบปะระหว่างสภาความมั่นคงแห่งชาติ ศูนย์อำนวยการบริการจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และตัวแทนประชาชนในพื้นที่ซึ่งไม่อาจปฏิเสธได้ว่าบุคคลที่มาร่วมงานดังกล่าวประกอบด้วยผู้รู้ ผู้นำชุมชน นักวิชาการ ผู้นำศาสนาและนักเคลื่อนไหวในพื้นที่ที่มีชื่อเสียงและเก่งกาจ แต่ถึงกระนั้น ความรูความสามารถและทัศนะของพวกเขาเหล่านั้นไม่เท่าเทียมกับเป้าประสงค์และความต้องการของประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง ที่สำคัญคือระดับชั้นและสภาพความเป็นอยู่ระหว่างคนเหล่านี้กับประชาชนทั่วไปพื้นแตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ฝ่ายรัฐจึงต้องพยายามในการเข้าถึง คลุกคลีกับประชาชนในพื้นที่ให้มากยิ่งขึ้น ภาระหน้าที่นี้ไม่สมควรที่จะมอบให้กับฝ่ายทหาร เพราะประชาชนในพื้นที่มีความรู้สึกหวาดระแวงและความรู้สึกกลัวต่อเจ้าหน้าที่ใส่ชุดฟอร์มครบชุดเช่นนั้น นับจากกระบวนการสันติภาพเริ่มขึ้น บทบาทพรรคฝ่ายค้านในประเทศไทยเองก็ถูกตั้งคำถาม ในทัศนะของผู้เขียน พวกเขามีพฤติกรรมที่จะชะลอกระบวนการสันติภาพหรือขัดขวางกระบวนการนี้ จนถึงขณะนี้ กว่า 5,300 คนเสียชีวิต และชีวิตประชาชนในพื้นที่ต่างแขวนอยู่กับความสำเร็จของกระบวนการสันติภาพในครั้งนี้ ดังนี้ขอให้พรรคฝ่ายค้านเอาผลประโยชน์ทางการเมืองไว้ข้างหลังก่อนและควรให้ความร่วมมือกับทุกฝ่ายเพื่อให้กระบวนการสันติภาพประสบผลสำเร็จ อย่าได้ทำอะไรตามความคิดที่คับแคบ เพราะสิ่งนั้นจะส่งผลร้ายต่อพวกเขาเอง ประการต่อมา คือฝ่ายทหาร เนื่องจากพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่ภายใต้กฎหมายพิเศษ 3 ฉบับ นั้นคือกฎอัยการศึก กฎหมายความมั่นคงภายในและ พรก. ฉุกเฉิน ดังนั้นอำนาจเบ็ดเสร็จได้อยู่ในมือทหาร รวมถึงอำนาจในการจับกุม สกัดกั้น ตรวจค้นและอื่นๆ ด้วยเหตุดังนั้น บางครั้งฝ่ายทหารมีการใช้อำนาจในทางที่ผิด และไม่มีฝ่ายใดที่จะตัดสินหรือพิพากษาฝ่ายทหารได้ ฝ่ายทหารจะต้องมีความรับผิดชอบที่สูงส่ง ซึ่งนี้คือแนวทางที่ผู้นำฝ่ายทหารย้ำแล้วย้ำอีกเสมอ ถึงกระนั้นก็ตาม ยังพบว่ามีเจ้าหน้าที่ทหารบางรายที่ยังคิดว่าตนเองอยู่เหนือกฎหมายทั้งหมด จึงเกิดกรณีการใช้อำนาจในทางที่ผิดในกรณีที่รุนแรงหลายๆ กรณี รวมถึงการเข้าตรวจค้นโดยไม่มีหลักฐาน การซ้อมทรมานระหว่างการสอบสวน การตรวจค้นขณะเจ้าของบ้านไม่อยู่ (และบางกรณีมีทรัพย์สินหายในระหว่างตรวจค้น) การลักพาตัว และอื่นๆ ในทำนองเดียวกัน ทำให้จำนวนคดีที่เกี่ยวเนื่องและถูกร้องเรียนไปยังศูนย์ทนายความมุสลิมนับเป็นตัวเลขที่ทำเป็นห่วง ผู้เขียนเคยสัมภาษณ์บุคคลที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้กฎหมายในทางที่ผิดของเจ้าหน้าที่ทหาร และด้านเจ้าหน้าที่ทหารเองไม่เคยยอมรับว่าเคยมีกรณีดังกล่าว นับตั้งแต่ความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เริ่มขึ้นในปี 2004 จนถึงทุกวันนี้ ยังไม่มีเจ้าหน้าที่ทหารสักรายเดียวที่ถูกพิพากษาหรือถูกลงโทษทางวินัยจากกรณีการใช้อำนาจในทางที่ผิด ตัวอย่างหนึ่งของการใช้อำนาจในทางที่ผิดของฝ่ายทหารคือ กรณีเลือดตากใบที่อย่างน้อยประชาชน 78 คนเสียชีวิต (และสูญหายจำนวนหนึ่ง) แต่กระทั่งทุกวันนี้ ยังไม่มีใครต้องรับผิดชอบต่อกรณีนี้ ในบรรดาเจ้าหน้าที่ทหารมีบ้างที่มีพฤติกรรมหยิ่งต่อชาวบ้าน เมื่อไม่นานมานี้ เจ้าหน้าที่ทหารคุกคามชาวบ้านที่หมู่บ้านดูกู อ.บาเจาะ โดยให้ถอดถอนหินบนหลุมศพนักต่อสู้ที่ชาฮีด ด้วยเหตุผลที่ว่า การกระทำดังกล่าวอาจจะยุยงคนอื่นๆ แม้ว่าฝ่ายทหารจะยึดถือแนวทางตามพระราชดำรัสของในหลวงที่ว่าเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา แต่ก็มีบางส่วนที่ล้มเหลวตั้งแต่ต้น ถ้าหากฝ่ายทหารยอมรับผิดต่อกรณีการใช้อำนาจในทางที่ผิดที่เกิดขึ้นจากเจ้าหน้าที่บางส่วนที่ไม่มีความรับผิดชอบ แน่นอนว่าทัศนะคติของประชาชนในพื้นที่ต่อฝ่ายทหารจะเป็นไปในแง่ดีมากขึ้น แต่จนถึงวันนี้ สิ่งที่กระทำโดยเจ้าหน้าที่ทหารไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความรู้สึกของประชาชนในพื้นที่ ในทางตรงกันข้าม ฝ่ายทหารกระทำสารพัดโครงการพัฒนาไม่ว่าจะเป็นโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้านการสาธารสุข การเลี้ยงสัตว์ หรือการเพาะปลูก กล่าวได้ว่าโครงพัฒนาทั้งหมดที่ริเริ่มโดยฝ่ายทหารไม่เกิดผลแต่อย่างใด เหตุนี้ไม่เป็นที่สงสัยแต่อย่างใด เพราะเจ้าหน้าที่ทหารคือ กลุ่มคนที่มีความเชี่ยวชาญในการรบไม่ใช่ในด้านอื่น งานโครงการที่ไม่ประสบผลเหล่านี้เพราะไม่อาจเอาชนะใจประชาชนได้ สิ่งที่ต้องการคือความเข้าใจ ความบริสุทธิ์ใจ และการเปิดใจกว้างซึ่งพวกเขาจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเคารพต่อความรู้สึกของประชาชนในพื้นที่ กระนั้นก็ตาม ปาร์ตี้ บี หรือฝ่ายต่อต้านรัฐเองก็สามารถทำอะไรได้หลายอย่าง ในเบื้องต้น ขอให้ทุกองค์กรยืนยันสถานภาพของตัวเองต่อกระบวนการสันติภาพครั้งนี้ หรือย่างน้อยที่สุดต้องมีสักหนึ่งองค์กรที่จะเข้าร่วมกระบวนการนี้หรือไม่ จะผิดอะไรไหมหากเขาเหล่านั้นจะเปิดเผยตัวเองเพื่อที่ประชาชนในพื้นที่จะดีรับรู้สถานภาพ หลักการ กระทั่งอุดมการณ์ของกลุ่มต่างๆ ในขณะเดียวกัน พวกเขาได้ถูกร้องขอให้เปิดทางแก่ประชาชนในพื้นที่เพื่อพวกเขาจะสามารถถ่ายทอดความปรารถนาของพวกเขาได้อย่างเป็นทางการ ในการจัดการชุมนุมเสวนา Bicara Patani ครั้งที่ 2 ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ที่ผ่านมา ซึ่งมีประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมหลายพันคน เป็นที่แน่ชัดว่าประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่มีมีอุดมการณ์ของตนเองที่แตกต่างจากรัฐไทย (รัฐบาล) เช่นนี้แสดงให้เห็นว่ากลุ่มบุคคลที่เข้าร่วมการพูดคุยกับรัฐไทยที่กัวลาลัมเปอร์ไม่ใช่เพียงเป็นตัวแทนขององค์ที่ตนสังกัดเท่านั้น แต่เขาเหล่านั้นต่างเป็นตัวแทนของความปรารถนาและความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้คือ ประชาชนในพื้นที่ไม่มีช่องทางอย่างเป็นทางการสำหรับการสื่อสารจุดยืนและความปรารถนาของตนเอง ช่องทางการสื่อสารสามารถเกิดขึ้นได้ในหลายช่องทางไม่ว่าการเปิดพื้นที่สื่อสารทางสังคมเช่น Facebook การเปิดเว๊บไซท์ การเปิดตู้รับเรื่องร้องเรียนหรือเปิดสำนักงานถาวรที่มาเลเซีย ท้ายที่สุด ผู้เขียนใคร่ขอยืนยันว่า กลุ่มต่อต้านรัฐอย่าได้ใช้ประชาชนทั่วไปเพื่อไปเป็นเหยื่อในการต่อสู้ของพวกเขา สิ่งที่ดีที่สุดคือ ควรหยุดการก่อเหตุร้ายตลอดช่วงระยะเวลาที่มีการเจรจา และหากข้อเสนอนี้เป็นไปไม่ได้ ก็ขอให้มีการโจมตีเฉพาะฝ่ายที่ติดอาวุธ เพราะประชาชนทั่วไปไม่มีอาวุธสำหรับการปกป้องตนเองและไม่เคยได้รับการฝึกด้านการทหาร การโจมตีประชาชนทั่วไปจะได้รับเพียงผลกระทบด้านลบต่อกระบวนการสันติภาพเท่านั้นเอง ในกระบวนการสันติภาพที่แท้จริง ไม่ต้องการและไม่จำเป็นที่ภาคประชาสังคมหรือพลเรือนต้องเข้าไปมีส่วนร่วม ดังนั้นสังคมในพื้นที่เองจำเป็นต้องสร้างความเข้มแข็งเพื่อที่จะได้เป็นสังคมพลเรือนที่มั่นคง ดังนั้นจึงต้องมีการพูดคุยในสังคมให้มากขึ้น ฟอรัมและเวทีโดยนักศึกษาจะต้องมีขึ้นเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ได้รับข้อมูลข่าวสารและสามารถแสดงจุดยืนของตนเองได้ สื่อในท้องถิ่นหรือสื่อทางเลือกเองสามารถแสดงบทบาทที่สำคัญยิ่งในการกระตุ้นสังคมและประชาชนในพื้นที่ไปสู่แนวทางสังคมเข้มแข็ง เนื่องจากในชุมชนที่ยังล้าหลัง ประชาชนที่อยู่ในเขตนอกเมืองอีกจำนวนมากที่ยังไม่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตนั้น สื่อวิทยุยังคงเป็นสื่อที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับประชาชนในพื้นที่ ดังนั้นรายการที่เป็นการให้ข้อมูลข่าวสารที่แท้จริงและให้ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันจำเป็นต้อมีมากขึ้น และในสถานการณ์เช่นนี้ บรรดานักศึกษาในสถาบันการศึกษาระดับสูงสามารถเป็นนักเคลื่อนไหวที่สำคัญด้วยการให้ความรู้ต่างๆ และข้อมูลข่าวสารที่เร็วไว โดยสรุป แม้ว่าจะมีบางฝ่ายที่กล่าวหาว่ากระบวนการพูดคุยที่เกิดขึ้นนี้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากเป้าหมายทางการเมือง ในความเห็นของผู้เขียน ไม่ผิดแต่อย่างใดหากกระบวนการพูดคุยเกิดขึ้นจากการริเริ่มด้วยเป้าหมายทางการเมืองและสามารถให้ประโยชน์กับทุกฝ่าย อย่างไรก็ตาม ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการนี้ ไม่ว่าจะเป็นโดยตรงหรือไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงอย่าได้ใช้กระบวนการพูดคุยนี้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว ขอเพียงระลึกเสมอว่า แม้ว่าแรงจูงใจในการเข้าร่วมกระบวนการพูดคุยนี้จะต่างกัน แต่เป้าหมายของเราเหมือนกัน นั่นคือการนำสันติภาพคืนสู่แผ่นดินปาตานี อินชา อัลลอฮ์
แปลจาก: Ke Arah Proses Kedamain Yang Sejati
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
คุณค่าทางกฎหมายของแผนที่กับคดีปราสาทพระวิหาร Posted: 27 Apr 2013 05:22 AM PDT บทนำ การต่อสู้คดีเกี่ยวกับข้อพิพาททางเขตแดนทางบกหรือทางทะเล รัฐคู่ความมักจะเสนอพยานหลักฐานต่างๆมากมายไม่ว่าจะเป็นพยานหลักฐานทางเอกสาร หรือคำให้การของพยานผู้เชี่ยวชาญรวมถึงแผนที่ด้วย อย่างไรก็ดี พยานหลักฐานดังกล่าวจะมีน้ำหนักความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดนั้นก็เป็นดุลพินิจของผู้พิพากษาที่จะประเมินว่าพยานหลักฐานดังกล่าวมีน้ำหนักมากน้อยเพียงใด บทความนี้จะนำเสนอบทบาทความสำคัญของแผนที่ในฐานะที่เป็นพยานหลักฐานในข้อพิพาทเกี่ยวกับเขตแดนว่ามีบทบาทมากน้อยเพียงใดในสายตาของกฎหมายระหว่างประเทศ 1.คุณค่าของแผนที่ในฐานะหลักฐานตามกฎหมายระหว่างประเทศ (Legal Value of Map) ประเด็นหนึ่งที่มีความสำคัญมากตามกฎหมายระหว่างประเทศคือคุณค่าทางกฎหมายของแผนที่ (Legal value of map) ในฐานะพยานหลักฐาน (Evidence) มีมากน้อยเพียงใด ประเด็นนี้วงวิชาการบ้านเรายังไม่เคยหยิบมาพิจารณาอย่างจริงจังทั้งก่อนและหลังที่เกิดคดีปราสาทพระวิหาร หลายฝ่ายเข้าใจว่าแผนที่มีน้ำหนักมากเวลาพิจารณาเรื่องเขตแดน อย่างไรก็ดี ในประเด็นเรื่องคุณค่าทางกฎหมายของแผนที่ในทางระหว่างประเทศนั้น แต่ก่อนแต่ไรมาทั้งศาลโลกเก่าและศาลโลกใหม่ต่างลังเลที่ให้ความเชื่อถือหรือให้น้ำหนักเเก่แผนที่ในกรณีที่มีปัญหาข้อพิพาทเรื่องเขตแดนโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ "แผนที่" นั้นขัดแย้งกับเกณฑ์ที่ใช้ใน "สนธิสัญญา" หรือแผนที่นั้นเกิดจากการการทำแผนที่ฝ่ายเดียวมิได้เป็นผลงานของคณะกรรมการผสมปักปันเขตแดนหรือแผนที่นั้นมิได้เป็นแผนที่แนบท้ายสนธิสัญญา[1]
2. ทางปฎิบัติของศาลโลกเกี่ยวกับการยอมรับแผนที่ในฐานะที่เป็นหลักฐานของการใช้อำนาจอธิปไตย เพื่อสะดวกต่อการทำความเข้าใจ ผู้เขียนของเเบ่งออกเป็นสองช่วงเวลาโดยใช้คดีปราสาทพระวิหารเป็นจุดเเบ่ง เนื่องจากคดีปราสาทพระวิหารเป็นคดีที่ศาลโลกได้หันเหไป (departing from) จากเเนวปฎิบัติของ ภาพล้อเลียนการรุกรานโดยเเผนที่ ศาลโลกทั้งศาลโลกเก่าเเละศาลโลกใหม่รวมถึงอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศด้วยที่ไม่เคยให้น้ำหนักแก่แผนที่ I. ช่วงเเรก: ก่อนศาลโลกตัดสินคดีปราสาทพระวิหาร หากพิจารณาแนวคำพิพากษาของศาลโลกและอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศในอดีตจะพบว่า ศาลและอนุญาโตตุลาการให้น้ำหนักน้อยเกี่ยวกับคุณค่าทางกฎหมายของแผนที่เช่นคดี the Island of Palmas ปีค.ศ. 1928 โดยมี Max Huber เป็นอนุญาโตตุลาการได้กล่าว่า "….only with the greatest caution can account be taken of maps in deciding a question of sovereignty…If the Arbitrator is satisfied as to the existence of legally relevant facts which contradict the statements of cartographers whose sources of information are not know, he can attach no weight to the map, however numerous and generally appreciated they may be The first condition required of maps that are to serve as evidence on points of law is their geographical accuracy …a map afford only an indication-and that a very indirect one-and, except when annexed to a legal instrument, has not the value of such an instrument, involving recognition or abandonment of rights"[2] หรือคดี Delimitation of the Polish-Czechoslovak Frontier, (Question of Jaworzina) โดยคดีนี้ศาลโลกเก่ากล่าวว่า "…maps and their tables of explanatory signs cannot be regarded as conclusive proof, independently of the text of the treaties and decision."[3] นอกจากนั้นก็มีคดี Guatemala-Honduras Boundary Arbitration (1932) หรือคดี Labrador (1927) คดี the Monetary of Sanit-Naoum (1924) ยิ่งกว่านั้น นักกฎหมายระหว่างประเทศอย่าง Dr. Durward Sandifer ซึ่งเชี่ยวชาญเรื่องพยานหลักฐานได้เห็นว่า ในกรณีที่มีการพิจารณาคดีในศาลระหว่างประเทศ แผนที่มีสถานะเป็นเพียง "พยานบอกเล่า" (Hearsay) เท่านั้น[4] นอกจากนี้ ในคดี Minquiers and Ecrehos ปี ค.ศ. 1953 ระหว่างประเทศฝรั่งเศสกับอังกฤษ ในขั้นตอนของการนำเสนอหลักฐานต่อศาลโลก ทั้งสองประเทศได้นำเสนอแผนที่มากมายต่อศาลโลก แต่ปรากฏว่าในคำพิพากษาของศาลรวมถึงความเห็นเอกเทศของผู้พิพากษา Basdevant ไม่มีการประเมินคุณค่าน้ำหนักของแผนที่แต่ประการใด[5] ยิ่งกว่านั้น ในความเห็นส่วนตัวของผู้พิพากษา Levi Carneiro ในคดีนี้ มิได้ให้น้ำหนักทางกฎหมายต่อแผนที่แต่อย่างใด โดยท่านกล่าวว่า "It is necessary to say something on the evidence supplied by maps. 1 know that such evidence is not always decisive in the settlement of legal questions relating to territorial sovereignty. It may however constitute proof of the fact that the occupation or exercise of sovereignty was well known. ….At any rate, maps do not constitute a sufficiently important contribution to enable a decision to be based on them. 1 shall not take the evidence of maps into consideration"[6] ในทำนองเดียวกัน ในคดี Concerning Sovereignty over Certain Frontier Land ระหว่างประเทศเบลเยี่ยมกับเนเธอร์เเลนด์ในปี ค.ศ. 1959 ผู้พิพากษา Armand-Ugon ได้ทำความเห็นเเย้งโดยกล่าวว่า "…the well-established and conclusive legal facts relied upon below are in complete disagreement with what is shown on the map in question. Such a circumstance deprives the map of any probative value….What is shown on the map cannot be regarded as having any effect with regard to sovereignty; nor can one attribute to it's the value of an act of sovereignty.[7] สังเกตว่าคดี Minquiers and Ecrehos และคดี Concerning Sovereignty over Certain Frontier Land เกิดขึ้นก่อนคดีปราสาทพระวิหารไม่กี่ปีเอง II. ช่วงที่สอง: หลังจากที่ศาลโลกตัดสินคดีปราสาทพระวิหาร 1) CASE CONCERNING the FRONTIER DISPUTE (BURKINA FASO/REPUBLIC OF MALI) Judgment of 22 December 1986 คดีที่ศาลโลกอธิบายสถานะทางกฎหมายของแผนที่ได้ชัดเจนที่สุดและได้เป็นที่อ้างอิงอย่างแพร่หลายคือคดี CASE CONCERNING the FRONTIER DISPUTE (BURKINA FASO/REPUBLIC OF MALI) Judgment of 22 December 1986 อันข้อพิพาททางเขตแดนระหว่างประเทศ Burkina Faso และ Republic of Mali ปี ค.ศ. 1986 โดยศาลโลกเห็นว่า แผนที่เป็นเพียงข้อมูลซึ่งความถูกต้องนั้นขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงในแต่ละคดีไป แผนที่โดยตัวมันเองโดยลำพังไม่อาจก่อให้เกิดสิทธิทางกฎมายเกี่ยวกับอาณาเขตได้ นอกจากนี้ แผนที่จะมีน้ำหนักต่อเมื่อเป็นแผนที่ที่ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญา หากเป็นแผนที่ที่มิได้เป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาแล้ว ความน่าเชื่อถือของแผนที่ย่อมลดลงและจะต้องพิจารณาความคู่ไปกับหลักฐานอื่นๆประกอบกัน[8] ทัศนะคติของศาลโลกที่ไม่ให้น้ำหนักเเก่เเผนที่มากเเสดงให้เห็นถึงท่าทีของศาลโลกได้กลับไปในสมัยยุคดั้งเดิมอีกครั้งหนึ่ง[9] 2) Case Concerning Kasikili/Sedudu Island (Botswana /Namibia) ต่อมาในคดี Case Concerning Kasikili/Sedudu Island ระหว่างประเทศ Botswana เเละประเทศ Namibia ปี ค.ศ. 1999 ศาลโลกมิได้ให้ความสำคัญกับแผนที่ เนื่องจากรัฐคู่พิพาทยังโต้เถียงกันเกี่ยวกับความถูกต้องของแผนที่ (accuracy) และความไม่ชัดเจน (uncertainty) และความไม่สอดคล้องต้องกัน (inconsistency) เกี่ยวกับข้อมูลในการเขียนแผนที่ (cartographic material)[10] 3) Case Concerning Sovereignty over Pulau Ligitan and Pulau Sipadan (Indonesia/Malaysia) ทำนองเดียวกัน ปีค.ศ. 2002 คดี Case Concerning Sovereignty over Pulau Ligitan and Pulau Sipadan ระหว่างประเทศอินโดนีเซียและมาเลย์เซีย โดยก่อนที่ศาลจะวินิจฉัยประเด็นเรื่องเเผนที่ศาลโลกได้อ้างคำพิพากษาคดีในคดี The Frontier Disputes (BURKINA FASO/REPUBLIC OF MALI) ในปีค.ศ. 1986 ด้วย โดยคดีนี้ ศาลโลกมิได้ให้นำหนักเกี่ยวกับแผนที่ซึ่งรัฐคู่พิพาทนำเสนอมากมายยกเว้นแผนที่แนบท้ายสนธิสัญญาเท่านั้น ส่วนแผนที่อื่นๆ ซึ่งเป็นแผนที่จัดทำฝ่ายเดียวก็ดีหรือเป็นแผนที่ที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะในเรื่องเรื่องหนึ่งก็ดี ล้วนแล้วไม่เป็นข้อพิสูจน์ที่แน่นอน (inconclusive) ทั้งสิ้น 4) Sovereignty over Pedra Branca/Pulau Batu Puteh, Middle Rocks and South Ledge (Malaysia/Singapore) ยิ่งกว่านั้นในคดีล่าสุดคือคดี Sovereignty over Pedra Branca/Pulau Batu Puteh, Middle Rocks and South Ledge ระหว่างประเทศ Malaysia/Singapore โดยศาลโลกได้มีคำพิพากษา วันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 ในคดีนี้รัฐคู่พิพาทต่างนำเสนอแผนที่เพื่อเป็นหลักฐานของการอ้างอำนาจอธิปไตยเหนือหมู่เกาะพิพาทเกือบ 100 ฉบับ แต่ศาลโลกกลับให้ความสำคัญเชื่อถือแผนที่เพียง 6 ฉบับซึ่งเป็นแผนที่ที่ประเทศมาเลย์เซียทำขึ้นเองและแผนที่นี้ได้แสดงว่าหมู่เกาะ Pedra Branca/Pulau Batu Puteh อยู่ในประเทศสิงค์โปร์ ศาลโลกได้พิจารณาข้อเท็จจริงอื่นๆประกอบด้วยไม่ใช่แผนที่อย่างเดียว ศาลโลกจึงวินิจฉัยว่า หมู่เกาะ Pedra Branca/Pulau Batu Puteh ตกอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของประเทศสิงค์โปร์ 5) Arbitration between the State of Eritrea and the Republic of Yemen (1998)[11] คดีนี้เเม้จะมิได้ขึ้นศาลโลกก็ตาม เเต่ก็เป็นข้อพิพาทที่อนุญาโตตุลาการ[12]ได้มีโอกาสประเมินคุณค่าหรือน้ำหนักของเเผนที่ในฐานะที่เป็นหลักฐาน ในคดีนี้รัฐคู่พิพาททั้งสองฝ่ายต่างเสนอเเผนที่ต่างกรรมต่างวาระเเละต่างวัตถุประสงค์[13] โดยทั้งคู่ต่างกล่าวหาถึงความน่าเชื่อถือของเเผนที่ของกันเเละกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางฝ่าย Eritrea เห็นว่าเเผนที่โดยทั่วไปนั้นมีขัดเเย้งในตัวเองเเละเชื่อถือไม่ได้ (contradictory and unreliable) เเละไม่สามารถถูกใช้เพื่อก่อให้เกิด legal positions ได้[14] ที่น่าสนใจคดีนี้ก็คือ เยเมนได้เสนอเเผนที่ของสหประชาชาติในปี ค.ศ. 1950 (United Nation Map) อย่างไรก็ดี Eritrea ได้หักล้างในประเด็นนี้ว่าโดยอ้างความไม่ถูกต้องของเเผนที่เเละไม่มีเเผนที่อย่างเป็นทางการที่ถูกรับเอา (adopted) โดยสหประชาชาติ ในประเด็นนี้อนุญาโตตุลาการเห็นว่า ทางปฎิบัติของสหประชาชาติการพิมพ์เผยเเพร่ เเผนที่ไม่สามารถก่อให้เกิดการรับรองอำนาจอธิปไตยเหนือดินเเดนโดยสหประชาชาติ[15] ในคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการคดีนี้ได้เเบ่งช่วงเวลาของการทำเเผนที่ออกเป็นระยะต่างๆ เเละมีการเเยกประเมินคุณค่าของเเผนที่ตามช่วงเวลา เเต่โดยภาพรวมเเล้ว อนุญาโตตุลาการเห็นว่าเเผนที่ยังมีความไม่ชัดเจนเเละขัดเเย้งกันอยู่ บทสรุปที่ได้จากการพิจารณาเเผนที่หลายฉบับในฐานะเป็น "หลักฐาน" ซึ่งทำขึ้นในช่วงเวลาต่างๆ นั้นอนุญาโตตุลาการได้กล่าวทิ้งท้ายอย่างถูกต้องว่า "The evidence is, as in all cases of maps, to be handled with great delicacy."[16] กล่าวโดยสรุปแล้ว หากเอาคดีปราสาทพระวิหารเป็นเกณฑ์แบ่ง เราอาจกล่าวได้ว่าก่อนคดีปราสาทพระวิหารแนวปฎิบัติของศาลโลกและอนุญาโตตุลาการไม่ได้ให้น้ำหนักหรือคุณค่าแก่แผนที่ และหลังจากคดีปราสาทพระวิหาร ศาลโลกก็ยังคงไม่ให้น้ำหนักแก่แผนที่มากเท่าที่ควร ศาลโลกอาจพิจารณาแผนที่ประกอบกับองค์ประกอบและสภาวะแวดล้อมอย่างอื่นแต่ไม่ใช่แผนที่อย่างเดียวที่ศาลจะนำมาตัดสินข้อพิพาททางเขตแดนระหว่างรัฐ 3. หากไทยยอมรับแผนที่ภาคผนวก 1 ไทยอาจไม่แพ้คดีก็ได้? ผู้อ่านคงสงสัยว่าทำไมผู้เขียนมาตั้งคำถามที่แปลกประหลาดเช่นนี้ เนื่องจากคนไทยก็รับรู้ว่าเป็นเพราะแผนที่เจ้าปัญหาทำให้ไทยต้องแพ้คดีนี้ แต่หากอ่านความเห็นของ Fitzmaurice ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้พิพากษาเสียงข้างมากที่โหวตให้ไทยแพ้ได้แสดงความเห็นน่าสนใจไว้ว่า ที่ไทยแพ้คดีนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการตั้งรูปคดีที่ผิดพลาดมาตั้งแต่ต้น ที่น่าแปลกก็คือท่านเห็นว่าประเทศไทยควรจะต่อสู้ว่าไทยยอมรับแผนที่เจ้าปัญหา (ทั้งๆที่มันผิดพลาดนั่นแหละซึ่งความผิดพลาดของแผนที่นี้ท่าน Fitzmaurice ก็ยอมรับเหมือนกัน) ไทยไม่ควรปฎิเสธแผนที่มาตั้งแต่ต้น และไทยควรต่อสู้ต่อไปว่า เมื่อมีความขัดแย้งระหว่างสนธิสัญญา ค.ศ. 1904 ที่ระบุให้ใช้สันปันน้ำ กับแผนที่ สนธิสัญญาย่อมมีค่าบังคับเหนือกว่าแผนที่ (Prevail) พูดง่ายๆก็คือ เมื่อสนธิสัญญากับแผนที่ขัดแย้งหรือไม่ลงรอยกัน สนธิสัญญาชนะแผนที่ และเมื่อตั้งรูปคดีแบบนี้ศาลโลกย่อมจะต้องพิจารณาข้อโต้สู้ของไทยในประเด็นนี้และบีบให้ศาลต้องวินิจฉัยในประเด็นนี้ด้วย นอกจากนี้ หลักที่ว่าสนธิสัญญามีค่าบังคับเหนือกว่าแผนที่นั้นเคยถูกรับรองไว้ในสนธิสัญญาแวร์ซาย ดังที่ผู้พิพากษากินตาน่าได้อ้างไว้ในสนธิสัญญาแวร์ซายมาตรา 29 บัญญัติว่า "In the case of any discrepancies between the text of the Treaty and this map or any other map which may be annexed, the text will be final." เสียดายที่ไม่มีไทม์แมชชีน! หากย้อนเวลากลับไปได้ไทยคงเปลี่ยนแนวทางต่อสู้คดีใหม่ คำถามน่าคิดก็คือ ทำไมไทยจึงไม่ตั้งรูปคดีอย่างความเห็นของ Fitzmaurice ผู้เขียนสันนิฐานว่า ทีมทนายต่างประเทศเวลานั้นมั่นใจมากว่า "แผนที่" ไม่มีน้ำหนักเป็นแค่ "พยานบอกเล่า" (hearsay) ดังที่แนวคำพิพากษาคดีก่อนหน้าพระวิหารศาลโลกและอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศก็ไม่ให้น้ำหนักแก่แผนที่เลย อีกทั้งศาสตราจารย์ Charles Cheney Hyde ซึ่งได้รับการยกย่องในเวลานั้นว่าเป็นนักกฎหมายระหว่างประเทศชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงมากได้เขียนตำรากฎหมายระหว่างประเทศชื่อว่า International Law–Chiefly as Interpreted and Applied by them United States (ค.ศ. 1945) ในหน้า 494-495 ก็ได้อธิบายว่าศาลและอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศไม่ได้ให้ความสำคัญแก่แผนที่ในการพิจารณาข้อพิพาททางเขตแดน ที่น่าสนใจยิ่งไปอีกก็คือ ศาสตราจารย์ Charles Cheney Hyde ยังได้เป็นบิดาของนาย James Nevins Hyde หนึ่งในทีมทนายความของไทยในคดีปราสาทพระวิหารด้วย แม้ว่า Hyde ผู้เป็นบิดาจะถึงแก่กรรมในปีค.ศ 1952 ก่อนที่กัมพูชาจะฟ้องไทย แต่ไม่ต้องเป็นที่สงสัยเลยว่า Hyde ผู้เป็นลูกย่อมต้องอ่านหนังสือของพ่อในประเด็นเกี่ยวกับสถานะของแผนที่อย่างแน่นอน และในเวลานั้น Hyde ผู้เป็นลูกได้ให้ผู้ช่วยของตนคือ Guenter Weissberg ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับแผนที่ในฐานะที่เป็นพยานหลักฐานว่าจะมีน้ำหนักมากน้อยเพียงใดในสายตาของกฎหมายระหว่างประเทศเพื่อจะนำมาใช้เป็นข้อมูลในคดีปราสาทพระวิหาร ซึ่งหลังจากที่ศาลโลกตัดสินคดีปราสาทพระวิหาร Weissberg ก็ได้นำข้อมูลในฐานะที่เป็นผู้ช่วยของ Hyde มาเขียนบทความชื่อว่า Maps as Evidence in International Boundary Disputes: A Reappraisal ลงในวารสาร American Journal of International Law ปีค.ศ. 1963 สังเกตชื่อบทความใช้คำว่า Reappraisal ซึ่งหมายถึง การประเมินใหม่อีกครั้ง แสดงให้เห็นว่าหลังจากคดีปราสาทพระวิหารแนวบรรทัดฐานของศาลโลกเกี่ยวกับการรับฟังแผนที่ในฐานะที่เป็นพยานหลักฐานได้เปลี่ยนไปจากแนวบรรทัดฐานที่ศาลโลกและอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศได้เคยยึดถือว่า นอกจากนี้ Hade ผู้เป็นลูกก็มีความสนิทสนมกับ Dr. Durward Sandifer ผู้ที่ได้รับการนับถือว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับพยานหลักฐานโดยได้แต่งหนังสือชื่อ Evidence before International Tribunals (พิมพ์ครั้งที่ ค.ศ. 1975) ในคำนำของหนังสือเล่มนี้ก็ได้กล่าวขอบคุณทั้ง Charles Cheney Hyde และ James Nevins Hyde ความน่าสนใจของหนังสือเล่มนี้อยู่ตรงที่ว่า ในความเห็นของ Sandifer แผนที่ไม่มีความสำคัญมากนักเป็นเพียงพยานหลักฐานชั้นรองหรือเป็น "พยานบอกเล่า" การรับฟังแผนที่ต้องกระทำด้วยความรอบคอบยิ่งและพิจารณาจากองค์ประกอบอื่นๆประกอบกัน สรุปความก็คือเป็นไปได้ที่ทีมทนายความของไทยในเวลานั้นค่อนข้างมั่นใจกับแนวคิดหรือหลักปฎิบัติของศาลโลกและอนุญาโตตุลาการว่าแผนที่ไม่มีน้ำหนักหรือความน่าเชื่อถือมากพอที่จะหักล้างกับสนธิสัญญา 4. การทำเอกสารแจ้งพิกัดรอบปราสาท ตามที่ผู้พิพากษาอับดุลคาวิ อะห์เม็ด ยูซูฟ ชาวโซมาเลีย ได้ให้ไทยและกัมพูชาเสนอแนวพิกัดนั้นทำให้ผู้เขียนนึกถึงความเห็นของท่านเวลลิงตัน คูที่เห็นว่า ปัญหาคดีปราสาทพระวิหารมิได้เป็นปัญหาเฉพาะข้อกฎหมายอย่างเดียวแต่มีปัญหาเชิงเทคนิคด้วย ท่านเห็นว่า ศาลโลกควรแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเพื่อไปสอบสวน (investigate) และจัดทำรายงานเกี่ยวกับการสังเกตการณ์และข้อเสนอแนะ แต่วิธีการนี้ศาลโลกก็ไม่ได้ใช้ซึ่งวิธีการนี้ศาลโลกเคยใช้มาแล้วในคดี Corfu ท่านยังเห็นอีกด้วยว่า วิธีการดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อศาลมากในการพิจารณาข้อเท็จจริง ผู้เขียนเห็นว่า หากศาลโลกใช้วิธีการนี้ในการยุติปัญหาข้อเท็จจริงเชิงเทคนิคในช่วงเวลานั้น ปัญหาคงไม่ยืดเยื้อเรื้อรังมาจนถึงทุกวันนี้ก็เป็นได้ อนึ่ง มีข้อสังเกตสังเกตว่า การส่งพยานผู้เชี่ยวชาญโดยศาลเพื่อไปตรวจสอบพื้นที่พิพาทจริงนั้นเป็นคนละกรณีกับที่ผู้พิพากษาไปดูพื้นที่พิพาทจริงด้วยตัวเองที่เรียกว่า visit to the place หรือในภาษาฝรั่งเศส descente sur les lieux[17] 5. ประเด็นของอาจารย์ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลต่อความเห็นของคุณอลินา มิรอง ความเห็นของ อาจารย์ ดร.สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล ที่ว่า การนำเสนอเรื่องแผนที่ของทนายความฝ่ายไทยคือคุณ อลินา มีรองไม่ได้หักล้างคำพิพากษาในปี ค.ศ. 1962 นั้นก็มีเหตุผล จริงๆเรื่องความผิดพลาดคลาดเคลื่อนของแผนที่ที่ไม่เป็นไปตามสันปันน้ำนั้น ศาลโลกได้ทราบเป็นอย่างดี แต่ศาลโลกเห็นว่า ฝ่ายไทยมีโอกาสประท้วงหลายครั้งแต่ไม่ประท้วง อีกทั้งศาลโลกเห็นว่า ในเรื่องเขตแดน จำต้องมีเสถียรภาพ (Stability) จึงต้องเป็นที่ยุติ ศาลโลกใช้คำว่า " to achieve frontier stability on a basis of certainty and finality" (หน้า 35) นอกจากนี้ การคัดค้านความไม่ถูกต้องของแผนที่ ทั้งสองฝ่ายต่างก็ได้เสนอผู้เชี่ยวชาญเรื่องแผนที่ซึ่งหากดูคุณสมบัติแล้ว พยานผู้เชี่ยวชาญของไทยมีความน่าเชื่อถือกว่ามากและฝ่ายไทยมีถึง 3 คนขณะที่กัมพูชามีเพียงคนเดียว ผู้พิพากษากินตาน่าก็ยังยอมรับว่า การนำเสนอของผู้เชี่ยวชาญของไทยทำได้ดีกว่าทั้งในเรื่องของความแม่นยำและความมีเหตุผล[18] บททิ้งท้าย บทสรุปที่ได้จากเรื่องนี้ก็คือ เเม้นักนิติศาสตร์บางท่านจะเห็นว่า ปัจจุบัน เเผนที่โดยเฉพาะเเผนที่อย่างเป็นทางการ (Official map) มีบทบาทสำคัญในฐานะเป็นหลักฐานในกรณีเกิดข้อพิพาทเกี่ยวกับเขตเเดนก็ตาม[19] เเต่จากแนวคำพิพากษาของศาลโลกที่ผ่านมา (ยกเว้นคดีปราสาทพระวิหาร) เเสดงให้เห็นว่า แผนที่โดยตัวมันเองมิใช่เป็นปัจจัยชี้ขาดหรือเป็นหลักฐานที่มีน้ำหนักมากที่สุดเกี่ยวกับการพิจารณาปัญหาเรื่องอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดน แต่ศาลโลกจะพิจารณาข้อเท็จจริงอื่นๆประกอบด้วยเสมอ เช่น การกระทำของรัฐคู่ภาคีในภายหลัง (Subsequent conduct) ที่สามารถบ่งชี้ได้ว่ามีการแสดงออกซึ่งอำนาจอธิปไตยอย่างแท้จริงหรือไม่ นักกฎหมายระหว่างประเทศต่างยอมรับว่าข้อบกพร่องที่สำคัญที่สุดของแผนที่ในฐานะที่เป็นพยานหลักฐานคือการแสดงความถูกต้องด้านสภาพภูมิศาสตร์ของสถานที่ต่างๆ[20] ดังที่ปรากฏในคดีปราสาทพระวิหาร การที่แผนที่ของฝรั่งเศสแสดงปราสาทพระวิหารอยู่ในดินเดนของกัมพูชาเนื่องจากว่า คณะสำรวจได้คำนวณหรือกำหนดตำแหน่งของแม่น้ำโอตาเซมผิดไปจากความจริง การไม่เชื่อถือต่อความถูกต้องของแผนที่ได้ถูกเน้นย้ำในความเห็นแย้งของท่านสเปนเดอร์ โดยท่านกล่าวว่า "ข้อผิดพลาดอันนี้มีผลทำให้การวางเส้นเขตแดนที่แสดงไว้ในภาคผนวก 1 ผิดออกไปนอกแนวของเส้นสันปันน้ำในอาณาบริเวณปราสาทพระวิหารอย่างสิ้นเชิง ผลก็คือทำให้พระวิหารอยู่ในดินแดนกัมพูชาทั้งหมด"[21] นอกจากนี้ ความมีน้ำหนักหรือความน่าเชื่อถือของแผนที่ยังขึ้นอยู่กับเงื่อนไขบางประการหรือลักษณะของแผนที่เองว่ามีการทำขึ้นในลักษณะใด เช่น แผนที่ที่จัดทำโดยเอกชนย่อมมีน้ำหนักน้อยกว่าแผนที่ของราชการ หรือหากเป็นแผนที่ที่แนบท้ายเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาย่อมมีน้ำหนัก แต่หากเป็นแผนที่จัดทำขึ้นเองฝ่ายเดียวโดยมิได้เป็นผลมาจากคณะกรรมการผสมปักปันเขตแดนแล้ว แผนที่แบบนี้ย่อมมีน้ำหนักน้อย หรือแผนที่ที่รัฐคู่พิพาทยังคงโต้แย้งถึงความไม่ถูกต้อง แผนที่นี้ย่อมไม่มีความน่าเชื่อถือ
[1] Guenter Weissberg, Maps as Evidence in International Boundary Disputes: A Reappraisal, The American Journal Of International Law, vol. 57, No.4 (1963), p. 781 [2] U.N., Reports of International Arbitral Awards, vol.II,pp.852-854 [3] Delimitation of the Polish-Czechoslovak Frontier, (Question of Jaworzina), December 6, 1923, P.C.I.J.., Series B, No.8 ,pp.32,33 [4] Sandifer, Evidence Before International Tribunals (1939), p. 157, 259 [5] Guenter Weissberg, supra note,, p. 787 [6] See Individual Opinion of Judge Levi Carneiro, para. 20 [7] Dissenting Opinion of Judge Armand-Ugon,p.246-247 [8]The Frontier Dispute, I.C.J. Reports, 1986,para.54 [9] K. Lee, Mapping the Law of Legalizing Maps: The Implications of the Emerging Rule on Map Evidence in International Law, 14 Pacific Rim Law and Policy Journal 159, 2005,p.171 [10] Case Concerning Kasikili/Sedudu Island (Botswana /Namibia), I.C.J. Reports,1999, para. 84-87 [11] Award of the Arbitral Tribunal in the First Stage of the Proceedings (Territorial Sovereignty and Scope of the Dispute) (1998) [12] อนุญาโตตุลาการประกอบด้วย Professor Sir Robert Jennings,(President), Judge Stephen Schwebel, Dr. Dhmed SadekEl-Kosheri, Mr.Keith Highet เเละ Judge Rosalyn Higgins [13] Id.,para.362 [14] Id.,para366,367 [15] Id., para 376,377 [16] Id.,para 388 [17] I.C.J Report Corfu Channel case, 1949, หน้า 51; Durward Sandifer, Evidence before International Tribunals,(USA: University Press of Virginia, 1975)หน้า 346 [18] ดูความเห็นแย้งของผู้พิพากษากินตาน่า หน้า 73 [19] Guenter Weissberg, supra note, pp.799, 803; Sakeus Akweeda, The Legal Significant of Maps in Boundary Questions: A Reappraisal with Particular Emphasis on Namibia, British Yearbook of International Law, 1989,p253;; Hyung K.Lee, supra note,pp.159,188; Keith Highet, supra note, p. 18 [20] Keith Highet, supra note,p. 19 [21] Dissenting Opinion of Judge Spender,p.122
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ความเห็นคณะทำงานประธานที่ปรึกษานโยบายนายกฯกรณีการจัดการกับการแข็งค่าของเงินบาท Posted: 27 Apr 2013 05:14 AM PDT หากมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินและกลยุทธ์ในการบริหารจัดการทุนสำรองระหว่างประเทศก็จำเป็นจะต้องมีจุดยืนชัดเจนว่ารัฐบาลต้องการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างและจะต้องสามารถอธิบายให้ประชาชนและนักลงทุนมั่นใจได้ว่าเป็นนโยบายและกลยุทธ์ที่เหมาะสมกว่าการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจอย่างรอบด้าน มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องยืนยันว่าธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) และรัฐบาลยังยืนยันถึงความสำคัญของการรักษาเสถียรภาพของราคาในระยะยาว(anchoring inflationary expectation) แต่มาตรการและกลยุทธ์ใหม่จะคำนึงถึงเสถียรภาพในมิติอื่นๆด้วยเช่น เสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ความจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนการดำเนินนโยบายทางการเงินเป็นผลมาจากความเปลี่ยนแปลงของนโยบายการเงินของประเทศพัฒนาแล้วที่มุ่งเน้นการพิมพ์เงินเพิ่มขึ้นอย่างไม่จำกัดขอบเขตและบิดเบือนดอกเบี้ยทั้งระยะสั้นและระยะยาวให้ตำ่ผิดปกติโดยสภาวการณ์ดังกล่าวน่าจะคงอยู่ต่อไปอีกอย่างน้อย 1-2 ปีหากไทยไม่ปรับตัวก็อาจส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการปรับตัวของภาคธุรกิจไทยได้ กระทรวงการคลังมีท่าทีชัดเจนแล้วว่า ควรมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้มากที่สุดก่อนและหากยังมีปัญหาก็อาจพิจารณาดำเนินมาตรการควบคุมการไหลเข้าของเงินทุนเพิ่มเติมแต่แนวทางดังกล่าวยังขาดความครบถ้วนเพราะหากมีการเปลี่ยนแปลงที่นักลงทุนมองเห็นว่ากระทรวงการคลังเป็นผู้ชี้นำนโยบายการเงินก็จะถูกตั้งคำถามว่า นโยบายการเงินของไทยได้เปลี่ยนแปลงไปมากน้อยเพียงไรและจะส่งผลกระทบในระยะสั้นและระยะยาวอย่างไรบ้าง นอกจากนั้นรัฐบาลเองก็ยังมีประเด็นอื่นๆที่ต้องการปรับปรุง เช่น 1. แก้กฎหมาย ธปท.ให้นโยบายการเงินต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์อื่นที่สำคัญต่อเศรษฐกิจไม่ตั้งเป้าเงินเฟ้อเพียงอย่างเดียว และสนับสนุนนโยบายของรัฐโดยคำนึงถึงเสถียรภาพของราคาในระยะยาว 2. การบริหารจัดการทุนสำรองรวมทั้งการจัดตั้ง Sovereign Wealth Fund 3. ความร่วมมือกันระหว่าง ธปท.กับกระทรวงการคลัง ในด้านนโยบายการเงิน 4. ความจำเป็นที่จะต้องออกมาตรการร่วมกันในเชิงปริมาณเพื่อควบคุมฟองสบู่ในสินทรัพย์บางประเภท เช่น อสังหาริมทรัพย์
ข้อเสนอในการบริหารค่าเงินบาท 1. ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อลดความน่าสนใจของพันธบัตรไทยแทนการออกมาตรการควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินที่เราไม่สามารถควบคุมได้ที่เกิดจากภายนอก 2. ให้ ธปท.ปล่อยสภาพคล่องดอลลาร์ระยะยาวแก่ธนาคารพาณิชย์ไทยโดยมีพันธบัตรรัฐบาลไทยหรือตั๋วเงิน ธปท.เป็นหลักประกันแทนที่จะให้ธนาคารพาณิชย์ไทยไปกู้ยืมจากตลาดต่างประเทศซึ่งจะช่วยเพิ่มเสถียรภาพของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย และลดผลการขาดทุนของ ธปท. 3. ให้ ธปท.ส่งเสริมโครงการลงทุนของรัฐบาล ผ่านการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลไทยที่ออกในต่างประเทศแทนการลงทุนในตราสารต่างประเทศทั้งที่เงินลงทุนเหล่านั้นมีผลตอบแทนตำ่มาก ตามนโยบายของประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งไม่ใช่อัตราตลาดปกติ 4. ให้ ธปท.ใช้อัตราการสำรองสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ (require reserve)เพื่อควบคุมสภาพคล่องแทนการออกตั๋วเงินเนื่องจากมาตรการดังกล่าวไม่ได้มีค่าใช้จ่ายสำหรับ ธปท.และเอื้อให้แทรกแซงให้ค่าเงินบาทไม่แข็งค่าเกินกรอบเป้าหมาย ในระยะที่สหรัฐอเมริกากลุ่มประเทศสหภาพยุโรป และญี่ปุ่นพิมพ์เงินเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกตำ่และลดค่าเงิน ทำให้นักลงทุนย้ายเงินมาลงทุนในภูมิภาคเอเชียรวมทั้งประเทศไทย อย่างผิดปกติจำเป็นที่ไทยต้องปรับนโยบายการเงินอย่างมีนัยสำคัญจากการป้องกันเงินเฟ้อ(inflation targeting) เป็นการรักษาระดับค่าเงินไม่ให้แข็งค่าเกินควรและป้องกันวิกฤตเศรษฐกิจล้มละลายซำ้สอง
ข้อเสนอแนะอื่นๆ 1. เนื่องจาก ธปท. มีสาขาในนครนิวยอร์คลอนดอน และปักกิ่งจึงน่าจะสามารถใช้สาขาดังกล่าวเป็นแหล่งสินเชื่อทางการค้าระหว่างประเทศให้กับภาคธุรกิจไทยผ่านระบบธนาคารพาณิชย์ไทยได้ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งกับภาคธุรกิจและธนาคารของไทยทำให้ไม่จำเป็นต้องกู้เงินจากต่างประเทศ และทำให้รายได้ของ ธปท. เพิ่มขึ้นด้วย 2. หากการลดดอกเบี้ยยังไม่สามารถชะลอการไหลเข้าของเงินทุนได้จนเป็นที่น่าพอใจก็อาจต้องมีมาตรการเสริม เช่น กำหนดให้พันธบัตรใหม่ทั้งหมดที่ออกโดยภาครัฐ(รวมทั้ง ธปท.) ให้ขายเฉพาะแก่ชาวไทยและไม่สามารถเปลี่ยนมือได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด 3. นำเอามาตรการบังคับตั้งสำรองเงินทุนไหลเข้าเพื่อซื้อพันธบัตร(URR) ของ ธปท. ที่เคยประกาศใช้เมื่อเดือนธันวาคม 2549 มาใช้อีกครั้งแต่ลดความเข้มข้นลง เช่น ตั้งสำรอง 10% ไม่ใช่ 30% จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมด คณะทำงานประธานที่ปรึกษาฯมีความเห็นว่า การบริหารเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะการบริหารค่าเงินบาทมีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างยิ่งและไม่สามารถใช้กระบวนทัศน์และความคิดทางการบริหารเศรษฐกิจในลักษณะ "ตลาดเสรี"ปกติได้เพราะความคิดดังกล่าวได้แสดงตัวอย่างชัดเจนว่าล้มเหลวในประเทศที่สำคัญๆทางเศรษฐกิจของโลกการบริหารเศรษฐกิจจะต้องอยู่บนพื้นฐานหลักการ "ตลาดและความเป็นจริง" (market andreality) ที่ต่างคนต่างรักษาตัวเองเป็นสำคัญ
ที่มา: พันศักดิ์ วิญญรัตน์ Fan Club (Notes)
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ประวัติศาสตร์คะฉิ่น: ยุคอาณานิคม จีน-อังกฤษ- พม่า กับสงครามอันยาวนาน Posted: 27 Apr 2013 05:12 AM PDT ชาวคะฉิ่นที่อยู่ในประเทศไทยมาชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลพม่ายุติสงครามในรัฐคะฉิ่น ที่หน้าสถานทูตพม่าประจำประเทศไทย ถ.สาธร เมื่อ 11 มกราคม 2556 ล่าสุด กองทัพคะฉิ่น KIA ยอมถอนกำลังออกมาจากป้อมบนยอดเขาใกล้เมืองไลซา ที่มั่นใหญ่ หลังพม่าโจมตีหนักมาหลายสัปดาห์ (ที่มา: แฟ้มภาพ/ประชาไท) ทหารกองทัพแห่งอิสรภาพคะฉิ่น KIA ที่แนวหน้า (ที่มา: Lachid-Kachin/แฟ้มภาพ)
ชาวคะฉิ่นในงานเต้นมะเนา (Manau) ที่บ้านใหม่สามัคคี ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2555 (ที่มา: องอาจ เดชา)
ทำไมคนคะฉิ่นถึงรักและหวงแหน ยอมเสียสละชีวิตเพื่อดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ของตน ทำไมในอดีตชาวคะฉิ่นต้องขัดแย้งกับจีน และต้องลุกขึ้นสู้กับอาณานิคมอังกฤษ และเหตุใดชนชาติคะฉิ่น ถึงไม่ยอมเป็นส่วนหนึ่งของประเทศพม่า จนทำให้สงครามยึดเยื้อเหมือนไม่มีวันสิ้นสุด ในหนังสือ กะฉิ่น: เมื่อวานและวันนี้ การเรียนรู้ของกลุ่มเยาวชนกะฉิ่น บ้านใหม่สามัคคี ของ มนตรี กาทู จัดพิมพ์โดย ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้บอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ของกะฉิ่น หรือที่คนไทยเรียกกันว่า คะฉิ่น เอาไว้อย่างน่าสนใจและทำให้เรารู้ลึกมากขึ้น คนคะฉิ่น จัดอยู่ในกลุ่มชน "ซย่งหนู" (Xiongnu หรือ Hsinungnu) มีการบันทึกเอาไว้ว่าเป็นชนป่าเถื่อนดุร้าย ซึ่งกลุ่มชนนี้ประกอบด้วยหลากหลายชนเผ่าได้แก่ชาวตาร์ตาร์ และเติร์กจากแถบมองโกเลีย รวมไปถึงชาวคะฉิ่นโบราณ (Proto Kachin)และ คัง (Hkang) ว่ากันว่า บรรพบุรุษของคะฉิ่นนั้นเดินทางมาจากดินแดนมะจ่อย ซิ่งหร่า (Majoi Shing-ra) ซึ่งเป็นดินแดนกำเนิดมนุษย์โลก ซิมสัน เจมส์ นักโบราณคดีชาวสก็อตแลนด์ที่กำลังศึกษาประวัติศาสตร์กลุ่มชนต่างๆ ชี้ว่า ชาวคะฉิ่นนั้นได้อพยพมายังถ้ำเสียงหลัง (Hsing Lung) เมื่อประมาณ 200 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งถ้ำแห่งนี้ปรากฏอยู่ในแผนที่โบราณของจีนด้วย เช่นเดียวกับ ดร.โอลา แฮนสัน หมอสอนศาสนา ผู้ซึ่งได้มอบพระคัมภีร์ภาษาคะฉิ่นให้แก่ชาวคะฉิ่นเป็นคนแรก ก็ได้เขียนบทความเอาไว้ใน Burma Research Society Journal ฉบับธันวาคม พ.ศ.2455 และได้เขียนถึงที่มาของชาวคะฉิ่นเอาไว้ว่า "...แน่นอนว่า เราจะต้องมองไกลขึ้นไปทางเหนือเพื่อค้นหาที่มาของบรรพบุรุษของพวกเขา ซึ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่า น่าจะเป็นแถบเทือกเขามองโกเลีย และพรมแดนระหว่างทิเบตตะวันออกกับเสฉวนตะวันตก นี่คือเปลที่ทารกแห่งเผ่าพันธุ์เติบโตขึ้น" ในขณะที่ เอ็ดมันท์ ลีช นักมานุษวิทยาชาวอังกฤษ ก็ได้ยืนยันคำกล่าวของ ดร.แฮนสัน ว่า ชาวคะฉิ่นเป็นชนชาติที่ดำรงชีพในทะเลทรายโกบีอันกว้างใหญ่อย่างยากลำบาก ชนเผ่านี้ยังชีพด้วยการเลี้ยงแพะเลี้ยงแกะ และสู้รบบนหลังม้ากับศัตรูเผ่าอื่น จนเรียกได้ว่าเป็นชนที่ดุร้าย มีความเชี่ยวชาญในการสู้รบบนหลังม้าและยิงธนูแม่นเป็นอย่างยิ่ง ถึงขนาดยิงเป้าห่างในระยะ 900 ฟุตได้อย่างแม่นยำ ข้อมูลเหล่านี้สอดคล้องกับเรื่องเล่าของผู้เฒ่าชาวคะฉิ่น ที่บอกว่า บรรพบุรุษนั้นเป็นชนเผ่าดุร้าย ที่ออกปล้นสะดมชาวเมืองปีละ 1-2 ครั้ง จนทำให้คนจีนโบราณต้องสร้างกำแพงล้อมรั้วบ้านไว้อย่างแน่นหนา ในหน้าประวัติศาสตร์จีน ชนกลุ่มซย่งหนู มีบทบาทต่อการเมืองจีนด้วยการเป็นคู่ศึกรบรากับอาณาจักรของกษัตริย์และจักรพรรดิต่างๆ มาโดยตลอด จนกระทั่งพ่ายแพ้แก่ทหารรับจ้างจากตะวันออกกลางและกระจายตัวไปในที่สุด มีบันทึกไว้ว่า เมื่อ 770 ปีก่อนคริสตกาล ชาวซย่งหนู ได้ขับไล่ราชวงศ์โจว ออกไป และมีบทบาทสนับสนุนราชวงศ์ฉู่ ให้ปกครองแผ่นดิน ความแข็งแกร่งและสามัคคีของชาวซย่งหนูเป็นที่หวาดหวั่นของอาณาจักรอื่นในประเทศจีนเป็นอย่างยิ่ง ดังเช่น ที่มีการบันทึกไว้ว่า การที่มีการสร้างกำแพงเมืองจีนยาว 3,000 กิโลเมตร ของจักรพรรดิจิ๋นซี เมื่อ 220 ปีก่อนคริสตกาลนั้น เพื่อป้องกันการรุกรานของคนกลุ่มดังกล่าว นอกจากนี้ จักรพรรดิจิ๋นซี ยังได้พยายามรวบรวมกำลังทหารถึง 300,000 นาย จาก 6 แคว้น เพื่อไปปราบปรามชาวซย่งหนู แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ จนกระทั่งมาถึงยุคจักรพรรดิหวูตี่ (Wu Ti) ของราชวงศ์ฮั่น ซึ่งไดมีการสร้างความสัมพันธ์กับชนเผ่าจากเอเชียกลางและตะวันออกกลาง จึงมีการว่าจ้างนักรบชนเผ่าจากตะวันออกกลางมาปราบปรามชาวซย่งหนู ว่ากันว่า นักรบจากตะวันออกกลางนั้นเชี่ยวชาญในการรบ และม้ามองโกเลียของชาวซย่งหนูนั้นตัวเล็กกว่าม้ารัสเซียของชนตะวันออกกลางมาก ชาวซย่งหนูจึงถูกขับไล่กลับขึ้นไปยังทะเลทรายตอนเหนือ โดยอีกส่วนหนึ่งยังคงตกค้างอยู่บริเวณตอนใต้ของอาณาจักรฮั่น เมื่อแผ่นดินซย่งหนู ถูกแบ่งออกเป็นตอนเหนือและใต้ กลุ่มคนทางใต้ซึ่งรวมถึงชนชาวคะฉิ่นและเผ่าต่างๆ ก็ได้ลงหลักปักฐานทำการเกษตรแทนการเร่ร่อน และใช้ชีวิตผสมกลมกลืนกับชาวจีนเผ่าพันธุ์อื่นในแถบมณฑลยูนนานเรื่อยลงมาถึงดินแดนตอนเหนือของประเทศพม่าในปัจจุบัน เมื่อศึกษาดูประวัติศาสตร์คะฉิ่นในยุคอาณานิคม ก็ยิ่งเห็นพื้นฐานในความเป็นมนุษย์ของชนพื้นเมืองคะฉิ่น ว่ามีความรักและหวงแหนแผ่นดินของตน และพร้อมที่จะเผชิญกับสงครามการแย่งชิงดินแดนจากนักล่าอาณานิคมจากแดนไกลอย่างเด็ดเดี่ยวและกล้าหาญ ว่ากันว่า ในยุคก่อนอาณานิคม ดินแดนคะฉิ่นในพื้นที่ซึ่งเป็นประเทศพม่าปัจจุบันนั้น แต่เดิมนั้นไม่มีชาวพม่าอาศัยอยู่เลย กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ล้วนปกครองตนเองตามจารีต เป็นกลุ่มๆ ในวงศ์เครือญาติและทำการค้าหยกกับชาวจีนหลายชาติพันธุ์ในมลฑลยูนนาน เรื่องราวของชาวคะฉิ่นได้รับการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและตะวันตกก็เมื่ออังกฤษเข้ายึดครองอาณาจักรพม่า เป็นอาณานิคมได้ในปี พ.ศ.2428 และต้องการเข้ายึดครองแผ่นดินชนเผ่า ซึ่งรวมถึงแผ่นดินคะฉิ่นที่มั่งคั่งด้วยเหมืองหยกที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วย แม้อังกฤษจะสามารถครอบครองพื้นที่ประเทศพม่าทั้งหมดได้ การรุกรานของเจ้าอาณานิคมในขณะนั้นก็เผชิญกับการต่อต้านอย่างดุเดือดของชนพื้นเมืองในดินแดนคะฉิ่นจนต้องประสบความสูญเสียใหญ่หลวงอย่างที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน กองทัพอังกฤษเคยเชื่อว่าการต่อสู้กับชาวคะฉิ่น ผู้ไม่มีอาวุธทันสมัย และยังมีจำนวนน้อยนิดน่าจะเป็นเรื่องง่ายดาย ตรงกันข้าม พวกเขากลับได้พบชนพื้นเมืองผู้หวงแหนดินแดนของตน พร้อมจะลุกฮือขึ้นต่อสู้ครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างไม่กลัวตาย ซ้ำยังมีความคุ้นเคยกับภูมิประเทศป่าเขา และมีความเชี่ยวชาญในการรบแบบกองโจร รวมถึงแบบซุ่มโจมตีแบบล่าสัตว์ ความสูญเสียมากมายของทหารอังกฤษ นำมาซึ่งความคับแค้นใจของเหล่าทหารอังกฤษเป็นอย่างยิ่ง จนมีเรื่องเล่าว่า ทหารอังกฤษได้ปราบปรามชาวคะฉิ่นอย่างเหี้ยมโหด ไม่เว้นกระทั่งเด็ก ผู้หญิงและคนชรา อีกทั้งยังเผาหมู่บ้าน ข้าวสารและสัตว์เลี้ยงไปอีกมากมาย มีการบันทึกการสู้รบระหว่างคะฉิ่นกับอังกฤษ ในประวัติศาสตร์ตามเหตุการณ์ใหญ่ๆ ดังนี้
การต่อสู้ที่เมืองมานมอ (Manmaw) การต่อต้านของชาวคะฉิ่นที่ไม่ยอมจำนนนั้นเกิดขึ้นรอบๆ ตัวเมือง ผู้นำการต่อต้านชาวคะฉิ่น คือ ผู้นำปงกัน (Hpunggan Duwa) คำ เล็ง (Hkam Leng) และ ซอ ยัน นาย (Saw Yan Naing) ได้รวบรวมผู้คนจากป่าเขามาต่อสู้เพื่อยึดเมืองคืน การปะทะกับกองทหารอังกฤษ 50 นาย ที่ตำบลสียู่ ห่างจากตัวเมืองมานมอไป 20 ไมล็ เมื่อ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2432 ทำให้อังกฤษต้องสูญเสียกำลังพลไป 2 นาย บาดเจ็บอีก 2 นาย แม้เมื่อทหารอังกฤษมีการเสริมกำลังพลขึ้นมาอีก 210 นาย จนกระทั่งยึดตำบลสียูได้ กองกำลังคะฉิ่นซึ่งนำโดย ลอยเส็ง (Loiseng)และ ตุงฮง (Tunghung) ก็เข้าโจมตีพยายามยึดเมืองคืน ในเดือนมิถุนายนปีเดียวกัน จนกระทั่งอังกฤษต้องสูญเสียกำลังพลไปอีก 20 นาย ในที่สุด นายพลการ์เน็ท วูลซลีย์ ได้นำกองทัพที่ประกอบไปด้วยทหารอังกฤษ 250 นายทหารกุรข่า 100 นาย และทหารอื่นๆ อีก 250 นาย มาปิดล้อมฐานที่มั่นของผู้นำปงกัน เมื่อไม่พบก็เผาทำลายบ้าน 179 หลังคาเรือน และเผาข้าวสาร 50 กระสอบทิ้งเสีย แล้วเข้าปกครองเมืองมานมอได้อย่างเบ็ดเสร็จ ในขณะที่ผู้นำปงกันกับพรรคพวกได้หลบหนีไปได้ และกลายเป็นบุคคลที่กองทัพอังกฤษต้องการตัวมากที่สุด
การต่อสู้ที่เมืองโมก่อง (Mogaung) เดือนมกราคม พ.ศ.2431 กองทัพอังกฤษพร้อมกำลังพล 176 นาย พร้อมปืนใหญ่อีก 2 กระบอก เดินทัพเข้ายึดพื้นที่บ่อหยก เมืองโมก่อง ได้อย่างง่ายดาย นอกจากนั้นยังได้วางแผนจะแต่งตั้ง อู กะลา (U-kala) ซึ่งสยบยอมต่ออำนาจของอังกฤษให้เป็นเจ้าเมือง แต่ว่าชาวคะฉิ่นผู้ต่อต้านได้ชิงจับตัว อู กะลาไปสังหารเสีย แต่หลังจากนั้นไม่นาน ในเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน ลูกชายของ อู กะลา ที่ชื่อ โพซอ ก็นำชาวคะฉิ่น และชาวไทใหญ่ร่วม 400 คน ต่อสู้ยึดเมืองโมก่อง คืนกลับมาได้สำเร็จ เหตุการณ์นี้ ทำให้กองทัพอังกฤษหวาดหวั่นเป็นอย่างยิ่ง ในเดือนมกราคม ปีพ.ศ.2432 กัปตันโอ ดอนเนลล์ จึงได้นำทหารรวม 371 นาย พร้อมด้วยปืนใหญ่ 2 กระบอก เข้าปราบปรามชาวคะฉิ่นผู้ต่อต้านและเข้ายึดเมืองกามาย (Kamaiing) ได้เจ้าเมืองกะฉิ่น กุม เสงลี (Duwa Gum Seng Li) เป็นผู้นำการยืนหยัดต่อสู้กับอังกฤษอย่างกล้าหาญ แม้ท้ายสุดจะพ่ายแพ้ พวกเขาก็ทำให้อังกฤษต้องสูญเสียกำลังพลไปถึง 21 นาย
การต่อสู้ที่เขาซาดอน (Sadon) หลังจากยึดเมืองมานมอและสยบการต่อต้านในพื้นที่นั้นได้ อังกฤษก็นำกำลังเข้ายึดมยิตจินา เมืองหลวงของอาณาจักรคะฉิ่น ในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2434 เมื่อกองทัพอังกฤษที่กำลังเดินทางไปทราบข่าวว่ามีกองกำลังคะฉิ่นซุ่มรอโจมตีอยู่ที่เขาซาดอน จึงบุกไปที่เขาแห่งนั้นเสียก่อน ตลอดเส้นทาง พวกเขาต้องเผชิญกับการต่อต้านเป็นระยะๆ เมื่อมาถึง ผู้นำคะฉิ่น คือ ซาว ออง (Duwa Zau Awng) ก็ได้เตรียมกำลังคนกว่า 500 คน จากหลายหมู่บ้านรายรอบเข้าปิดล้อมเขาเซดอนไว้แล้ว การสู้รบระหว่างชาวคะฉิ่นกับอังกฤษดำเนินไปอย่างดุเดือดและยืดเยื้อ ถึงสิ้นเดือนมีนาคม พ.ศ.2435 จนกระทั่ง อังกฤษได้กำลังพลจากเมืองมยิตจินาเข้ามาเสริม กองกำลังคะฉิ่นจึงยอมล่าถอย อย่างไรก็ตาม กองทัพอังกฤษก็ได้สูญเสียทั้งกำลังทหาร รวมทั้งนายพันแฮริสัน ซึ่งเป็นผู้บัญชาการกองพัน ต่อมา พื้นที่ดังกล่าวจึงได้รับการขนานนามโดยรัฐบาลอาณานิคม เพื่อระลึกถึงการสู้รบครั้งนี้ว่า "ป้อมปราการแฮริสัน"
การต่อสู้ที่เขาซาม่า (Sama) หลังจากอังกฤษยึดเขาซาดอนได้ ก็ยกทัพต่อมาที่เขาซาม่า ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเขาซาดอน ชาวคะฉิ่นก็ได้รวบรวมกำลังคนไปต้านกองทัพของอังกฤษ โดยมีกัปตันบอยซ์ มอร์ตัน การสู้รบดำเนินอยู่ 9 วัน จนในที่สุด อังกฤษก็ยึดเขาซาม่าเอาไว้ได้ ในระหว่างการสู้รบนั้น ผู้นำซาม่า (Sama Duwa) ได้รวบรวมผู้คนบุกเข้าไปเผาบ้านและสังหารนายทหารอังกฤษในเมืองมยิตจินา เพื่อก่อความระส่ำระสาย จากนั้นชาวคะฉิ่นก็ได้เข้าโจมตีอังกฤษเพื่อจะยึดเขาซาม่ากลับคืน การสู้รบครั้งหลังนี้ ได้ทำให้อังกฤษต้องสูญเสียกัปตันบอยซ์ มอร์ตัน และทหาร รวม 105 ชีวิต แม้ว่าในที่สุด อังกฤษจะเป็นผู้ชนะในการต่อสู้ หลัง จากได้กำลังเสริมจากมยิตจินา 1,200 นายก็ตาม ต่อมา รัฐบาลอาณานิคมจึงเรียกพื้นที่เขาซาม่านั้นว่า "ป้อมปราการมอร์ตัน" เพื่อเป็นการระลึกถึงการสู้รบครั้งนั้น นั่นเป็นบันทึกเหตุการณ์การสู้รบครั้งประวัติศาสตร์ที่สำคัญระหว่างชาวคะฉิ่นกับอังกฤษ ซึ่งได้เข้ายึดครองพม่า และลงนามในสนธิสัญญาชายแดนระหว่างพม่ากับจีน ซึ่งหลังจากนั้น ได้มีการทำแผนที่รวมดินแดนคะฉิ่น ให้เป็นรัฐในอาณานิคมและประเทศพม่า แน่นอนว่า เมื่อพม่าได้รับอิสรภาพจากอังกฤษ กองทัพพม่าจึงได้พยายามเข้าควบคุมคะฉิ่น เพื่อต้องการผนวกรัฐคะฉิ่นให้เป็นส่วนหนึ่งของประเทศพม่า จนนำไปสู่การก่อตั้งกองทัพเพื่ออิสรภาพชาวคะฉิ่น(Kachin Independence Army – KIA) ขึ้นในปี พ.ศ.2494 การต่อต้านโดยใช้อาวุธดำเนินมาถึงปี พ.ศ.2537 กองกำลัง KIA จึงได้ทำสัญญาหยุดยิงกับกองทัพพม่า โดยขอตั้งเขตปกครองอิสระอยู่บริเวณตะเข็บชายแดนพม่า-จีน อย่างไรก็ตาม ในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2554 สงครามระหว่างกองกำลัง KIA ของคะฉิ่นกับรัฐบาลพม่าก็ได้ปะทุขึ้นมาอีก ซึ่งการต่อสู้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและยาวนานมาจนถึงเวลานี้ ก็ยังดูเหมือนว่าสงครามจะไม่มีวันสิ้นสุด ซึ่งหากวิเคราะห์ถึงเหตุการณ์สู้รบครั้งล่าสุด เมื่อช่วงต้นปี 2556 ที่ผ่านมา เมื่อกองกำลังทหารพม่า ได้เข้าถล่มโจมตีป้อมคะยาบุม (Hka Ya Bum) จุดยุทธศาสตร์สำคัญของคะฉิ่น ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขา ก็จะดูเหมือนว่ารัฐบาลพม่า ได้หันกลับมาทบทวนศึกษาและพยายามเลียนแบบวิธีการสู้รบของกองกำลังทหารอังกฤษในอดีต เนื่องจากพื้นที่ฐานที่มั่นของคะฉิ่นนั้น ตั้งอยู่ตามยอดเขา ดังนั้น วิธีเดียวที่จะสู้รบได้นั่นคือ การใช้ปืนใหญ่เข้าถล่มฐานที่มั่นของ KIA รวมไปถึงการใช้อาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ โดยใช้เครื่องบินขับไล่ เฮลิคอปเตอร์ อาวุธหนัก และทหารจำนวนมาก ในการโจมตีป้อมคะยาบุม จากเหตุการณ์ครั้งนี้ ได้ทำให้นานาชาติหันมามองว่ารัฐบาลพม่า ได้ใช้กำลังเกินกว่าเหตุหรือไม่ เนื่องจากมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเห็นได้ชัด เพราะการสู้รบครั้งนี้ ส่งผลทำให้ประชาชนชาวคะฉิ่นได้รับความสูญเสีย บาดเจ็บ ล้มตาย และจำต้องพากันหนีตายอพยพเข้าไปลี้ภัยในประเทศจีนนับแสนคน
ข้อมูลประกอบ 1.มนตรี กาทู และคณะ, หนังสือกะฉิ่น : เมื่อวานและวันนี้,ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดพิมพ์,พรสุข เกิดสว่าง บรรณาธิการ,กันยายน 2555 2.กองทัพคะฉิ่นเสียป้อมสำคัญ "ออง ซาน ซูจี" ออกวิทยุบีซีซีระบุชอบกองทัพพม่าเพราะพ่อตั้ง,ประชาไท,28 มกราคม 2556 3.องอาจ เดชา,ไปเต้นมะเนา กับสงครามซึ่งไม่มีที่สิ้นสุดของชาวคะฉิ่น,ประชาไท,13 มกราคม 2556 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
กัมพูชาแถลงแผนที่ซึ่งใช้ในศาลโลกรอบนี้ เป็นฉบับเดียวกับเมื่อปี 2505 Posted: 27 Apr 2013 04:35 AM PDT ชี้แจงคดีปราสาทพระวิหารปี 2505 ศาลโลกยึดแผนที่ภาคผนวก 1 ไม่ได้ยึดหลักสันปันน้ำ หรือเส้นเขตแดนที่ ครม.ไทยปี 2505 กำหนด ตามที่ "ฮีโรของชาวไทย" ยกในศาล และยังได้ประท้วงการกำหนดเส้นขอบเขตของฝ่ายไทยหลายครั้ง โดยการยื่นศาลโลกรอบนี้ ก็เพื่อหลีกเลี่ยงการกล่าวให้ร้ายกันและรักษาความสัมพันธ์อันดีของสองชาติ เมื่อวันที่ 26 เม.ย. นี้ สำนักข่าว AKP ของกัมพูชา ได้เผยแพร่แถลงการณ์ของ กระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศของกัมพูชา ใจความโดยสังเขประบุว่า ระหว่างที่มีการไต่สวนที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) ระหว่างวันที่ 15 ถึง 19 เมษายนนั้น ในเวลาใกล้เคียงกัน ได้มีนักการเมืองไทยและสื่อมวลชนจำนวนหนึ่งแสดงความเห็นที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริง ให้แก่ประชาชนไทย โดยกล่าวหากัมพูชาในหลายประเด็น เพื่อให้ความกระจ่างแก่สาธารณชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อประชาชนไทย กระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศของกัมพูชา ต้องการที่จะชี้แจงข้อมูลดังนี้
1. แผนที่ 1/200,000 หรือ แผนที่ภาคผนวก 1 เกิดขึ้นจากคณะกรรมการผสมฝรั่งเศส-สยาม ในปี ค.ศ. 1907 ซึ่งไม่ใช่แผนที่ซึ่งทำขึ้นเองโดยฝรั่งเศสเพียงฝ่ายเดียว อย่างที่ฝ่ายไทยกล่าว 2. ในปี ค.ศ. 1962 (พ.ศ. 2505) ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้ยึดถือแผนที่นี้ เพื่อใช้วินิจฉัย 3. ศาลไม่ได้ใช้หลักสันปันน้ำ หรือเส้นที่กำหนดโดยมติคณะรัฐมนตรีไทยในเดือนกรกฎาคม ปี ค.ศ. 1962 (หมายเหตุ - หลังคำวินิจฉัยศาลโลก 15 มิถุนายน ปี ค.ศ. 1962) ตามที่ผู้ซึ่งถูกขนานนามว่า "ฮีโร่ของชาวไทย" (หมายถึง อลินา มิรอง) ยกขึ้นระหว่างให้การ 4. ในเวลาที่มีการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้มีการตีความในเดือนเมษายนปี 2011 กัมพูชาได้ใช้แผนที่ภาคผนวก 1 ซึ่งได้มาจากสถานบันภูมิศาสตร์แห่งชาติ ของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นแผนที่ฉบับเดียวกับที่ศาลใช้ในปี ค.ศ. 1962 เพื่อวินิจัยคดี จึงไม่ใช่แผนที่คนละฉบับกับที่กัมพูชาเคยยื่น 5. ในทศวรรษที่ 1960 หลังจากที่คณะรัฐมนตรีไทยได้กำหนดแนวขอบเขตรอบปราสาทพระวิหารนั้น กัมพูชาได้ประท้วงโดยผู้นำระดับสูงสุดหลายครั้ง ดังนี้แสดงรายละเอียดไว้กับศาลโลก เช่น ที่สมเด็จนโรดมสีหนุ ในฐานะประมุขของรัฐ ได้ประท้วงในระหว่างกล่าวสุนทรพจน์ที่จอมกสานเมื่อ 4 มกราคม ปี ค.ศ. 1963 และระหว่างการแถลงข่าวที่พนมเปญเมื่อ 22 ตุลาคม ปี ค.ศ. 1967 ที่เจ้าชายนโรดม คันทล นายกรัฐมนตรีได้ประท้วงโดยยื่นจดหมายต่อเลขาธิการองค์การสหประชาชาติเมื่อ 23 เมษายน ค.ศ. 1966 ฮวด สัมบัติ ผู้แทนถาวรของราชอาณาจักรกัมพูชาที่สหประชาชาติได้ประท้วงเมื่อ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1966
ดังนั้น กัมพูชาไม่เคยยอมรับแนวขอบเขตรอบปราสาทพระวิหารที่ไทยประกาศฝ่ายเดียวในปี ค.ศ. 1962 ซึ่งตรงข้ามกับที่ไทยอ้างว่ากัมพูชายอมรับ เพราะฉะนั้น ที่บอกว่ากัมพูชาได้ยอมรับเส้นแสดงอาณาเขตที่กำหนดโดยคณะรัฐมนตรีไทยนั้นเป็นเรื่องโกหกทั้งเพ 6. สิ่งที่กัมพูชาได้ยื่นคำร้องไปยังศาลขณะนี้ ไม่ใช่การยื่นคำร้องในพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร หรือการอ้างเส้นเขตแดน แต่เป็นเพียงการยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศตีความในคำพิพากษาเมื่อปี ค.ศ. 1962 ที่ระบุว่า "ศาล...พบว่าปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในดินแดนที่อยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา; ดังนั้น ไทยอยู่ภายใต้ผลผูกมัดที่จะต้องถอนกำลังทหารและตำรวจ หรือยามรักษาการ หรือคนเฝ้า ซึ่งอยู่ที่ปราสาทหรือบริเวณอาณาเขตของดินแดนกัมพูชา" 7. นี่เป็นข้อเท็จจริงที่ว่า ประเทศไทยได้อ้างว่าครอบครองพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ตามที่ระบุในสิ่งพิมพ์ฉบับทางการ ของกระทรวงการต่างประเทศในปี ค.ศ. 2008 และ 2011 ไม่ใช่การอ้างของฝ่ายกัมพูชาอย่างที่ฝ่ายไทยโกหก 8. ในอดีต ตามหลักกฎหมายของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศที่ว่า ถ้าแบบจำลองตั้งอยู่บนเหตุผล ทั้งแบบจำลองและเหตุผลไม่อาจแบ่งแยกได้ นี่เป็นหลักสำหรับปฏิบัติของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศและในคดีปัจจุบันของปราสาทพระวิหาร สรุป กัมพูชาเชื่อว่าเป็นการดีกว่า ถ้าจะให้คดีนี้อยู่ภายใต้การตัดสินใจของศาลซึ่งมีความสุขุม แทนที่จะนำไปเผยแพร่ด้วยข้อมูลที่บิดเบือน หรือกล่าวให้ร้ายกัน ทั้งนี้เพื่อรักษาความสัมพันธ์อันดีและความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างสองประเทศ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ศาลรัฐธรรมนูญแจ้งความเอาผิดผู้ปราศรัยหมิ่นตุลาการ Posted: 27 Apr 2013 02:33 AM PDT แจ้งความแกนนำเสื้อแดงกลุ่มย่อย 4 ราย ที่มาปักหลักปราศรัยหน้าศาลรัฐธรรมนูญ ฐานพาดพิงการปฏิบัติหน้าที่ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และอาจทำให้ตุลาการเสียชื่อเสียง เมื่อวานนี้ (26 เม.ย.) สำนักข่าวไทย รายงานว่า นายภัทรพงษ์พันธ์ ศรีสะอาด เจ้าหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ 4 เป็นผู้รับมอบอํานาจจากนายปัญญา อุดชาชน รองเลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ รักษาราชการแทนเลขาธิการสํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ เข้าแจ้งความกับพนักงานสอบสวนกองกำกับการ 1 กองปราบปราม เพื่อดําเนินคดีกับนายพงษ์พิสิษฐ์ พงษ์เสนา หรือเล็ก บานดอน นายธนชัย สีหิน นายมงคล หนองบัวลําภู และนายศรรัก มาลัยทอง รวม 4 ราย ในความผิดฐานร่วมกันดูหมิ่นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 136 และ 198 พร้อมยื่นหลักฐานเป็นภาพถ่าย แผ่นซีดีบันทึกภาพและเสียงคําปราศรัยที่มีการใช้เครื่องขยายเสียง โดยพาดพิงถึงการปฏิบัติหน้าที่ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่อาจทำให้ตุลาการเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง จากกรณีที่มีมวลชนชุมนุมที่บริเวณหน้าศาลรัฐธรรมนูญตั้งแต่วันที่ 22 เมษายนที่ผ่านมา พนักงานสอบสวนได้รับเรื่องไว้ก่อนเสนอเรื่องต่อผู้บังคับบัญชาพิจารณาต่อไป ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
องค์กรแรงงานเผยผลสำรวจสิทธิคนงานก่อสร้างรถไฟฟ้าสีม่วงต่ำ ร้อง JICA หนุนมาตรฐานแรงงาน Posted: 26 Apr 2013 07:46 PM PDT (26 เม.ย.56) เครือข่ายแรงงานเอเชียเพื่อตรวจสอบเงินกู้จากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ/ประเทศไทย (ALNI) แถลงผลศึกษาสำรวจสิทธิแรงงานพื้นฐานของคนงานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง เส้นทางบางซื่อ-บางใหญ่ ซึ่งรัฐบาลไทยกู้เงินจากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) ชาลี ลอยสูง ประธาน ALNI ประเทศไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมา สถาบันการเงินระหว่างประเทศ เช่น IMF ADB ต่างก็ยอมรับมาตรฐานแรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) แต่ JICA ที่ให้โครงการขนาดใหญ่ของไทยกู้เงินหลายโครงการยังไม่ยอมรับมาตรฐานนี้ ANLI จึงจัดทำสำรวจคนงานในพื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ชาลี กล่าวว่า ในการทำสำรวจ ไม่ค่อยได้รับความร่วมมือจากบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้าง โดยส่วนใหญ่ปฏิเสธการขอเข้าไปทำแบบสอบถาม ขณะที่ในการเก็บข้อมูล มีหัวหน้าลงพื้นที่ด้วย ข้อมูลที่ได้อาจไม่สมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม พบว่า สภาพความเป็นอยู่มีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย สภาวะอากาศที่ร้อน พนักงานหญิงไม่มีที่พักเป็นสัดส่วน ทำให้เกิดปัญหาเรื่องสถาบันครอบครัว เด็กเล็กไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้อง เข้าถึงการศึกษาน้อยมาก ขณะที่คนงานมีความรู้เรื่องสิทธิการรวมตัวน้อยมาก แทบไม่รู้จักสหภาพแรงงาน การเจรจาต่อรองกับนายจ้าง สิทธิผลประโยชน์สวัสดิการต่างๆ ชาลี กล่าวต่อว่า ดังนั้น ALNI จึงเรียกร้องให้ JICA ประกาศรับรองมาตรฐานแรงงานหลักขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เพื่อให้เกิดสิทธิการรวมตัว สิทธิเจรจาต่อรอง และมีอิสระในการเดินทางของคนงาน พร้อมระบุด้วยว่า ในอนาคตจะมีโครงการพื้นฐานขนาดใหญ่อีกมาก ทั้งในโปรเจคน้ำท่วม รถไฟฟ้าความเร็วสูง ก็จะต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง โรเบิร์ต พาสกอฟสกี ผู้อำนวยการโซลิดาริตี้เซ็นเตอร์ ประเทศไทย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งองค์กรแรงงาน กล่าวว่า นี่เป็นโครงการขนาดใหญ่ แต่คนงานกลับมีสภาพการทำงานที่แย่มาก พร้อมตั้งคำถามว่า ถ้าบริษัทใหญ่ไม่สามารถให้ค่าจ้างและสวัสดิการที่ดีได้ จะหวังอะไรกับค่าจ้างของคนงานในสถานประกอบการขนาดเล็ก บัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ นักวิจัยด้านสิทธิแรงงาน มูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน เล่าถึงภาพรวมของแบบสอบถามที่สุ่มสัมภาษณ์คนงานก่อสร้างในโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงจำนวน 178 คน พบว่าส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย สัญชาติไทย และสมัครงานด้วยตนเอง หรือเพื่อน-เครือญาติชักชวนมา โดยมักทำงานล่วงเวลาเป็นประจำ เพื่อให้มีรายได้เพียงพอแก่การครองชีพของตนเองและครอบครัว โดยถูกจ้างเป็นรายวัน ซึ่งหมายถึงวันไหนไม่มาทำงานไม่ว่าเพราะเหตุใด ก็จะไม่ได้ค่าจ้าง โดยหากไม่สมัครใจทำงานล่วงเวลา ส่วนใหญ่ก็ไม่ถูกลงโทษ มีเพียงจำนวนน้อยที่ถูกหัวหน้างานตักเตือนหรือตัดโอกาสทำงานล่วงเวลาเป็นเวลานานหรือถูกหักค่าจ้างบ้าง พุทธิ เนติประวัติ นักจัดตั้ง สมาพันธ์แรงงานก่อสร้างและคนทำไม้สากล ยกตัวอย่างโครงการบูรณะนครวัด ในกัมพูชา ซึ่งกู้เงินจากฝรั่งเศสว่า ฝรั่งเศสมีข้อบังคับให้บริษัทที่กู้เงิน ต้องให้คนงานมีองค์กรเจรจาต่อรองกับนายจ้าง ซึ่งทำให้เห็นว่าเจ้าของเงินกู้สามารถเข้ามามีบทบาทในการปรับปรุงมาตรฐานแรงงานได้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
กวีประชาไท: ปรัมปรา (sweet capet inn) Posted: 26 Apr 2013 07:20 PM PDT
กรุงเทพดุจเทพสร้าง ทุก(ข์)สถาน ราษฎรหมอบคลาน เข่าเดี้ยง วิศวกรรมฐาน เฒ่าแก่ ซากปรักหักพังเกลี้ยง เกลื่อนพร้อมภยันตราย
งามสงบ งามเสงี่ยม ง้าม... งาม อะฮือ หะ! นี่เมืองหนังสือ- โลกหน้า ตักบาตรวัดไหน หรือ ? โยมพ่อ ฤๅสยามพระรากล้อนอ้า อกเอื้ออาทร
สร่างโศกเซ็นเซ่อร์สิ้น สงสัย โอ มหานครไสว- สว่างว้าว ฟ้าต่ำแผ่นดิน สมัย สมานเรท- ติ้งโอย เหนือเมฆ จะเหนือเจ้า- พ่อเจ้าแม่หรือ ?
เจ้า ป่า อุบาทว์ ร้าย อุบาทว์ แรง ผีป่า (เทวดาแปลง) ปากป้อง ช้างป่าหวาดระแวง สีตก ! พระเดชพระคุณจ้อง จับช้างเชลยสยาม
กรุง เทพ อวย เทพ อ้าง อินทร์-พรหม โลก จะชม มิชม ช่างแหม้ง บรรณาธิการ ระบม บริสุทธิ์ บริษัทกฎหมายกดแกล้ง หากกล้าสะกิดสวรรค์ ! วฒน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น