โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

‘พีมูฟ’ ประกาศชุมนุมใหญ่ 6 พ.ค.นี้

Posted: 26 Apr 2013 11:05 AM PDT

ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ) ยื่นหนังสือร้อง 'ยิ่งลักษณ์' จริงใจ เร่งแก้ไขปัญหา ทั้งจี้ 'เฉลิม' เปิดประชุม ปจช.เร่งสานต่อโฉนดชุมชน ประกาศใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ชุมนุมโดยสงบ 6 พ.ค.เป็นต้นไป เพื่อเร่งรัด

 
วันนี้ (26 เม.ย.56) บริเวณประตู 4 ทำเนียบรัฐบาล ชาวบ้านตัวแทนจากขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) หรือพีมูฟ (Pmove) เดินทางมายื่นหนังสือแจ้งถึงนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรียกร้องความจริงใจ เร่งแก้ไขปัญหาของพีมูฟ และจะมีการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ชุมนุมโดยสงบตั้งแต่วันที่ 6 พ.ค.56 เป็นต้นไป เพื่อเร่งรัดการแก้ปัญหา เนื่องจากการติดตามการแก้ไขปัญหามาอย่างต่อเนื่อง แต่จนถึงปัจจุบันปัญหากลับยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง
 
แถลงการณ์ พีมูฟ ฉบับที่ 18 'รัฐบาลรับปากแล้วไม่ทำ เจรจายุติแล้วแต่ไม่ดำเนินการ' ระบุว่า แม้ว่ารัฐบาลจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม โดยมีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการฯ จากนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ จนมาถึง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง และมีการแต่งตั้งอนุกรรมการขึ้นอีกจำนวน 10 คณะ เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหา แต่กลไกเหล่านั้นก็ไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้ในช่วงเวลากว่า 1 ปีที่ผ่านมา อีกทั้งยังต้องพบกับอุปสรรค ที่เกิดจากการไม่ให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาของรัฐบาล
 
กระทั่งเมื่อวันที่ 2 ต.ค.2555 พีมูฟเจรจากับนายกรัฐมนตรี มีข้อสรุปร่วมกันว่า นายกรัฐมนตรีจะเปิดการเจรจาอย่างเป็นทางการภายในเดือนพฤศจิกายน 2555 แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่การเจรจาอย่างเป็นทางการ ทำให้การแก้ไขปัญหาไม่มีความคืบหน้าเลย ขณะที่ในพื้นที่ยังมีการคุกคาม จับกุมชาวบ้านอยู่ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมาติดตาม เพื่อเร่งรัดให้รัฐบาลดำเนินตามข้อตกลง ที่ได้รับปากกับพวกเราไว้แล้ว ให้ถูกนำไปปฏิบัติอย่างเป็นรูป
ธรรม
 
นอกจากนั้น พีมูฟยังมีการยื่นหนังสืออีกฉับถึง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะเป็นประธานคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน (ปจช.) เรียกร้องเร่งเปิดประชุม ปจช.เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนโดยเร็ว โดยนำข้อเสนอ 6 ข้อ บรรจุไว้ในวาระการประชุมของ ปจช.ประกอบด้วย 1.เร่งรัด ติดตาม การดำเนินการแก้ไขกฎหมายและหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตส่งมอบการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ 2.การแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง (สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี) ให้มีภารกิจในการแก้ปัญหาที่ดินเพื่อให้มีอำนาจในการดำเนินการขออนุญาตใช้พื้นที่สำหรับนำมาจัดโฉนดชุมชนตามระเบียบสำนักนายกฯ ได้
 
3.เร่งจัดตั้งสำนักงานโฉนดชุมชนให้เป็นหน่วยงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย ภายใต้สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี 4.ให้คณะรัฐมนตรีมีมติให้มีการคุ้มครองชุมชนที่ผ่านการอนุมัติเห็นชอบจาก ปจช.ให้สามารถอยู่อาศัยและทำกิน ในระหว่างรอการส่งมอบพื้นที่ของหน่วยงาน และให้สามารถพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีพได้
ตามปกติ (ไฟฟ้า-ประปา)
 
5.เร่งรัดการดำเนินการแต่งตั้งอนุกรรมกรรมการ/คณะทำงาน เพื่อดำเนินการตรวจสอบพื้นที่ที่ยื่นขอต่อ ปจช.เพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขระยะเวลาตามประกาศหลักเกณฑ์ของ ปจช. 6.เร่งรัดประสานงานและติดตามผลการดำเนินงานส่งมอบพื้นที่ที่ ปจช.อนุมัติแล้ว เพื่อให้ชุมชนนำมาบริหารจัดการ
 
ทั้งนี้ ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม เกิดจากการรวตัวของเครือข่ายของเกษตรกรรายย่อยและคนจนที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาประเทศที่ผิดพลาดในอดีต ประกอบด้วย เครือข่ายสลัม 4 ภาค, สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.), เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.), สมัชชาคนจนกรณีเขื่อนปากมูล (สคจ.), เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.), เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด (คปบ.), สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.), เครือข่ายเกษตรพันธสัญญา, เครือข่ายสิทธิสถานะบุคคล และกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าชีวมวล

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: เบื่อเรื่องเขาพระวิหาร

Posted: 26 Apr 2013 07:55 AM PDT

สัปดาห์หลังสงกรานต์ที่ผ่านมา ทั้งข่าววิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ต่างก็พากันโหมประโหมข่าวเรื่องศาลโลกและเขาพระวิหาร แต่สำหรับผมขอบอกตามตรงว่า ข่าวเรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าเบื่อมาก ไม่มีสาระอะไร และไม่เป็นประโยชน์อะไรต่อประชาชนเลย ข่าวทั้งหมดที่มีการรายงานเป็นเพียงการเบี่ยงเบนประเด็น ทำเรื่องที่ง่ายที่สุด กลายเป็นเรื่องทางเทคนิกทางกฎหมายระหว่างประเทศอันสลับซับซ้อน เรื่องง่ายอันนี้มีอยู่แต่เพียงว่า ปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา แต่พวกคลั่งชาตินิยมในไทยไม่ยอมรับ อยากได้ปราสาทคืน หรือถ้าจะจำยอมต้องรับว่าปราสาทเป็นของเขมร ก็อยากได้ดินแดนที่เป็นพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม.ให้เป็นของไทย ซึงทั้งหมดนี้ถือเป็นเรื่องเหลวไหลของลัทธิชาตินิยม และไปไม่ได้เลยกับกระแสบูรณาการระหว่างชาติที่จะนำไปสู่ประชาคมอาเซียนในขณะนี้

ประเด็นปัญหาเรื่องเขาพระวิหารนี้ มีรากฐานมาจากในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ราชสำนักสยามตัดสินใจยกดินแดนมณฑลบูรพา อันประกอบด้วยเมืองพระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณให้กับฝรั่งเศส เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2449 ในขณะนั้น ฝรั่งเศสเป็นเจ้าอาณานิคมที่ครอบครองกัมพูชา การยกดินแดนครั้งนี้นำมาซึ่งการปักปันพรมแดนใหม่ระหว่างสยามกับฝรั่งเศส ซึ่งทำให้เขตเทือกเขาพนมดงรักกลายเป็นเส้นพรมแดน คณะกรรมการร่วมระหว่างไทยกับฝรั่งเศสได้จัดทำแผนที่ประกอบสนธิสัญญา ซึ่งในแผนที่นั้น ฝ่ายฝรั่งเศสได้ขีดให้เขาพระวิหารอยู่ในเขตของฝรั่งเศส โดยฝ่ายสยามก็ไม่ได้ทักท้วง สาเหตุที่ไม่ได้ทักท้วง เพราะขณะนั้นราชสำนักสยามไม่ได้เห็นความสำคัญของปราสาทหินอันหนึ่งในป่าเขาที่ห่างไกล ขณะที่ในประเทศสยามมีโบราณสถานตั้งมากมายจนดูแลรักษาไม่ไหว นอกจากนี้ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ลัทธิชาตินิยมก็ยังไม่เติบโต แนวคิดที่ว่าจะเสียดินแดนให้ประเทศอื่นไม่ได้แม้แต่ตารางนิ้วเดียวก็ยังไม่มี มิฉะนั้น ราชสำนักสยามคงไม่สามารถที่จะยกดินแดนบูรพาทั้งมณฑลให้ฝรั่งเศสไปได้ หรือถ้าจะอธิบายให้ชัดเจนในอีกด้านหนึ่ง ก็คือ ในเมื่อสามารถยกดินแดนทั้งมณฑลให้ฝรั่งเศสไปได้ จะมาสนใจอะไรกับปราสาทโบราณสักแห่งหนึ่งที่ชนชั้นนำในกรุงเทพฯไม่รู้จักเลย

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์เปลี่ยนแปลงหลังจาก พ.ศ.2475 เมื่อลัทธิชาตินิยมเฟื่องฟูในประเทศไทย เกิดการสร้างวาทกรรมเรื่องการเสียดินแดนเพื่อปลุกเร้าความรักชาติ เกิดความเสียดายในดินแดนที่เสียไป แต่เรื่องเขาพระวิหารก็ยังไม่เป็นประเด็น จนกระทั่ง พ.ศ.2483 รัฐบาลสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม อาศัยเงื่อนไขที่ฝรั่งเศสแพ้สงครามเยอรมนี ทำสงครามรุกเข้าไปในกัมพูชาเพื่อยึดดินแดนคืน กรณีนี้จะเรียกกันว่า สงครามอินโดจีน ซึ่งญี่ปุ่นจะเข้ามาไกล่เกลี่ยให้ทำสัญญาใหม่ โดยให้ฝ่ายไทยได้ดินแดนพระตะบอง ศรีโสภณ และเสียมราฐบางส่วนคืน ในสถานการณ์นี้เอง ที่ทำให้ฝ่ายไทยได้เข้ายึดเขาพระวิหารไว้

ต่อมาเมื่อสงครามโลกยุติลง ไทยอยู่ในสถานะแพ้สงคราม ต้องคืนดินแดนให้ฝรั่งเศส แต่ไทยถือโอกาสยึดเขาพระวิหารไว้ไม่คืน ฝรั่งเศสเมื่อกลับเข้ามาในอินโดจีนก็ถูกต่อต้านอย่างหนักจากขบวนการชาตินิยมทั้งในเวียดนาม และกัมพูชา จึงไม่ได้มีโอกาสในการทักท้วงฝ่ายไทย จนในที่สุด เมื่อกัมพูชาเป็นเอกราชสมบูรณ์แล้ว สมเด็จเจ้าสีหนุกษัตริย์กัมพูชาจึงได้รณรงค์ขอเขาพระวิหารคืนจากไทย เมื่อฝ่ายไทยไม่ยินยอมให้คืน กัมพูชาก็ยื่นฟ้องต่อศาลโลก อันนำมาซึ่งความสัมพันธ์อันร้าวฉานระหว่างสองประเทศ จนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ.2505 ศาลโลกก็ตัดสินให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา ไทยจึงต้องยอมถอนทหาร และคืนปราสาทเขาพระวิหารให้กับฝ่ายกัมพูชาไป

ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ทั้งในทางประวัติศาสตร์ และในทางกฎหมายระหว่างประเทศ ปราสาทเขาพระวิหารก็เป็นของกัมพูชา แต่ยังคงมีพื้นที่ 4.6 ตารางกม.บริเวณรอบปราสาทด้านไทย ที่ถือเป็นพื้นที่ทับซ้อน คือ ทั้งสองประเทศต่างก็อ้างสิทธิ ซึ่งต้องเข้าใจว่าประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกันจำนวนมากในโลก การมีพื้นที่ทับซ้อนเป็นเรื่องธรรมดา ไทยก็ยังมีพื้นที่ทับซ้อนกับเพื่อนบ้านประเทศอื่น ทั้งมาเลเซีย ลาว พม่า แต่ในทางการต่างประเทศ เป็นแบบแผนในการปฏิบัติในการรักษาความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนบ้านด้วยการตั้งกรรมการมาปักปันเขตแดนร่วมกัน และก็วางเฉยเสียกับพื้นที่ที่ตกลงกันไม่ได้ หรือหลายประเทศก็ใช้วิธีกำหนดเขตผลประโยชน์ร่วมกัน การทำสงครามเพื่อช่วงชิงดินแดนให้เด็ดขาดในระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศปัจจุบันถือเป็นเรื่องอันโง่เขลา ตัวอย่างก็มีมาแล้ว ในกรณีสงครามอิรัก-อิหร่าน ทำสงครามชิงดินแดนชัตอัลอาหรับราว 10 ตร.กม. รบกันตั้งแต่ พ.ศ.2523-2531 ประชากรเสียชีวิตในสงครามนับล้านคน บาดเจ็บอีกหลายล้าน ทรัพยากรสูญเสียไปมากมาย ในที่สุดต้องสงบศึกและเปิดการเจรจากัน

สำหรับไทยและกัมพูชา หลังจากที่หมางเมินกันมานาน ก็ได้ฟื้นฟูมิตรภาพและความสัมพันธ์อันดีต่อกัน โดยเฉพาะตั้งแต่สมัยรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นต้นมา การค้าระหว่างสองประเทศมูลค่าเพิ่มทวี พรมแดนระหว่างสองประเทศก็เปิดติดต่อกัน ปราสาทเขาพระวิหารก็เปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ทั้งกัมพูชาและไทยก็ได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน ภายใต้ความสัมพันธ์อันดีนี้เอง กัมพูชาก็ได้เสนอให้เขาพระวิหารขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เพื่อพัฒนาแหล่งโบราณสถาน ทางฝ่ายไทยก็ตกลงทำแถลงการณ์ร่วมเมื่อ พ.ศ.2551 ในหลักการที่จะได้รับผลประโยชน์ทั้งสองฝ่ายโดยไม่ขัดแย้งกัน

แต่ปรากฏว่า ฝ่ายพันธมิตรและพรรคประชาธิปัตย์ได้ถือโอกาสนำเรื่องนี้มาเป็นประเด็นทางการเมือง เพื่อล้มรัฐบาลพรรคพลังประชาชน โดยหยิบเอาเรื่องแถลงการณ์ร่วมมาโจมตี คุณนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีต่างประเทศ ว่าขายชาติและทำให้ไทยต้องเสียดินแดนให้กัมพูชา และประณามฝ่ายกัมพูชาในการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหาร กรณีนี้กลายเป็นปัญหาระหว่างประเทศทันที เพราะฝ่ายกัมพูชาปิดเขาพระวิหารทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวฝ่ายไทยเสียหายนับพันล้าน นอกจากนี้ ยังนำมาซึ่งความตึงเครียดตามพรมแดน และการประทะกัน สร้างความเดือดร้อนอย่างมากแก่ประชาชนในบริเวณพรมแดน แต่ฝ่ายพันธมิตรก็ไม่ได้สนใจ กลับนำเรื่องแถลงการณ์ร่วมไปฟ้องศาลปกครอง ในที่สุด ศาลปกครองก็เข้ามาแทรกแซงอำนาจบริหารการต่างประเทศโดยสั่งให้แถลงการณ์ร่วมเป็นโมฆะ เพื่อร่วมทำลายความชอบธรรมของรัฐบาลพลังประชาชน ทั้งที่แถลงการณ์ร่วมนั้น เป็นการดำเนินการมาช้านานโดยฝ่ายกระทรวงต่างประเทศและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ไม่ได้เป็นผลงานพิเศษของรัฐมนตรีต่างประเทศแต่อย่างใด คำตัดสินของศาลปกครองขณะนั้น จึงสร้างความเสียหายทางการเมือง และการต่างประเทศอย่างมาก และกรณีนี้เอง เป็นที่มาให้ฝ่ายกัมพูชายื่นเรื่องต่อศาลโลกให้ตีความดินแดน 4.6 ตร.กม. ที่เป็นประเด็นอยู่ในปัจจุบัน

ที่อธิบายมา จะเห็นได้ว่า การรื้อฟื้นเรื่องเขาพระวิหารจนกลายเป็นปัญหาทางการเมืองระหว่างประเทศเช่นนี้ เป็นการกระทำอันโง่เขลาของฝ่ายพันธมิตรและพรรคประชาธิปัตย์ ที่เอาประเด็นระหว่างประเทศมาเล่นการเมืองภายในจนมั่ว แล้วยังพยายามปลุกกระแสคลั่งชาติ ให้ไทยเป็นศัตรูกับเพื่อนบ้าน โดดเดี่ยวตนเองจากอาเซียน และมิตรประเทศตะวันตก เรารู้กันหรือไม่ว่า เรื่องเขาพระวิหารนี้ ไทยไม่มีผู้สนับสนุนในเวทีการเมืองโลกแม้แต่ประเทศเดียว สหรัฐกับจีนก็ไม่เคยแสดงท่าทีสนับสนุน ยิ่งกว่านั้น การพิพาทดินแดนเช่นนี้ ก็ไม่สอดคล้องกับการสร้างเอกภาพของภาคีอาเซียน

ดังนั้น ถ้าจะแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างเป็นจริงต้องเริ่มด้วยการยอมรับในสิทธิของกัมพูชา และในส่วนพื้นที่ทับซ้อนก็หาทางพัฒนาร่วมกันอย่างเป็นมิตร อย่าเอาความสัมพันธ์อันเป็นมิตรดีของประชาชนสองประเทศ และมูลค่าการค้าหลายพันล้านไปแลกกับพื้นที่ 4.6 ตร.กม. มิฉะนั้นแล้ว คนรุ่นหลังจะมากล่าวกันได้ว่า ทำไมคนรุ่นเราจึงทำอะไรที่โง่เขลากันเหลือเกิน

 

 

ที่มา: โลกวันนี้วันสุข ฉบับที่ 408  วันที่ 27 เมษายน 2556

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รู้จัก ‘Deep Peace’ในชายแดนใต้ บทบาทและความหมายเพื่อ‘สันติภาพ’

Posted: 26 Apr 2013 07:40 AM PDT

 

สมาคมสตรีจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสันติภาพ (Deep South Women Association for Peace) จากนักศึกษาสู่คนทำงานเพื่อสังคม ที่รู้จักในนาม 'Deep Peace' บทบาทเพื่อช่วยเหลือเด็กกำพร้า และความหมายเพื่อ'สร้างสันติภาพ' ผ่านบทสัมภาษณ์ 'นูรีซาน ดอเลาะ'

 

 

ในชายแดนใต้ มีไม่กี่องค์กรที่ทำงานด้านสตรีและเด็กกำพร้าอันเนื่องมาจากปัญหาความไม่สงบ หนึ่งในนั้นคือ สมาคมสตรีจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสันติภาพ (Deep South Women Association for Peace) หรือที่รู้จักในนาม 'Deep Peace'

ในห้วงแห่งความพยายามสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นในพื้นที่ องค์กรนี้มีมุมมองอย่างไร และในบทบาทที่มีจะมีส่วนสร้างกระบวนการสันติภาพอย่าง 'นูรีซาน ดอเลาะ' นายกสมาคมจะฉายภาพแห่งความหวังนี้ผ่านบทบาทหน้าที่ขององค์กร ดังนี้

.......................

"สมาคมสตรีจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสันติภาพ (Deep South Women Association For Peace) หรือ Deep Peace เกิดจากเหตุชุมชนหน้ามัสยิดกลางปัตตานีเมื่อปี 2551 โดยการเริ่มรวมตัวของลุ่มนักศึกษาที่มาจากกรุงเทพฯ จากนั้นเริ่มมีคนที่สนใจทำงานเรื่องนี้มากขึ้น

ปี 2551 เป็นปีที่มีความรุนแรงที่มากขึ้นตั้งแต่ปี 2547 มีผู้ได้รับผลกระทบจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าเด็ก ผู้หญิง แต่หน่วยงานที่จะมารองรับเรื่องนี้มีน้อย ตอนนั้น เราเป็นนักศึกษาอยู่ และคนที่เรียนจบใหม่ๆ ถือว่าเป็นคนหนึ่งในสังคม เราควรที่จะมีบทบาทอะไรบ้าง จึงอยากทำอะไรสักอย่างให้คนในพื้นที่

เริ่มจากการทำงานเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ต่างๆก่อน จึงเริ่มเห็นอะไรหลายๆอย่าง  เห็นมีเด็กกำพร้า เด็กที่ได้รับผลกระทบ และผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบจำนวนมาก จึงคิดตั้งเป็นสมาคมอย่างเป็นทางการ จากการที่มีเครือข่ายอยู่แล้ว

บทบาทหน้าที่หลักๆ ไม่ใช่แค่การเยียวยา แต่จะให้คนที่ได้รับผลกระทบสามารถลุกขึ้นมายืนยัดต่อสู้และยืนด้วยลำแข็งของตัวเองให้ได้ เราไม่อยากให้เป็นผู้รับอย่างเดียวตลอด อยากให้เขาเป็นผู้ให้ด้วย  จะให้เขาเป็นผู้นำในอนาคตได้ด้วย นี่คือเป้าหมายของ Deep Peace

ในการช่วยเหลือเด็กกำพร้า มีกิจกรรรมลงพื้นที่พบปะ การให้ทุนการศึกษาที่มีการติดตามผลด้วย

ตอนนี้เรามีโรงเรียนที่เปรียบเสมือนบ้านของเด็กกำพร้า ที่เข้าร่วมกิจกรรมของ Deep peace ทั้งหมด 5 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนดำรงวิทยา ต.บันนังสตา อ.บันนังสตา จ.ยะลา เป็นนักเรียนหญิง  12 คน โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา ต.บ้านแหร อ.ธารโต อ.ยะลา ชาย 8 คน โรงเรียนอนุรักษ์อิสลาม ต.ยี่งอ อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส หญิง      5 คน ชาย 7 คน โรงเรียนมูลนิธิชุมชนอิสลามศึกษา ต.ปุโละปุโย อ.หนองจิก จ.ปัตตานี หญิง  9 คน ชาย 7 คน และโรงเรียนทางธรรมวิทยามูลนิธิ อ.เทพา จ.สงขลา หญิง 2 คน ชาย 2 คน รวมทั้งหมด 52 คน โดยใช้ค่าใช้จ่ายรวมประมาณ 130,000 บาทต่อเดือน

วิธีการ คือ จะมีพี่เลี้ยงเป็นคนดูแลเด็กกำพร้า โดยเด็กกำพร้าเหล่านั้นจะต้องเรียนเหมือนเด็กทั่วไปแต่นอกเวลาเรียน ทางพี่เลี้ยงจะรับไปดูแลเสมือนเป็นผู้ปกครองที่ต้องดูแลเขาแทนพ่อแม่ เพราะเด็กเหล่านี้ไม่มีพ่อแต่มีแม่  หากให้แม่อยู่กับเขาด้วย เขาจะดูแลตัวเองได้อย่างไร กิจกรรมเหล่านี้ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงเรียนว่าจะทำอย่างไร

ส่วนพี่เลี้ยง ก็มาจากคนในพื้นที่ที่มีจิตอาสา เดิมพี่เลี้ยงคืออาจารย์หรืออุสตาซ(ครูสอนศาสนา) จากโรงเรียนนั้นๆ พี่เลี้ยงจะดูแลเด็กนอกเหนือเวลาเรียนเท่านั้น พี่เลี้ยงบางคนสามารถดูแลเด็กในช่วงเวลากลางคืนได้

โรงเรียนที่รับดูแลเด็กกำพร้า ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนปอเนาะ ทั้งเด็กและพี่เลี้ยงก็จะอยู่ประจำที่โรงเรียนนั้นเลย

เด็กส่วนใหญ่เป็นเด็กกำพร้าจากเหตุไม่สงบ มีเด็กที่ลำบากยากจนด้วย ทาง Deep Peace จะดูแลผ่านทางพี่เลี้ยง ทั้งค่าเทอมและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามงบสนับสนุนหรือเงินสมทบที่ได้รับในแต่ละปี Deep Peace ไม่มีแหล่งทุนสนับสนุน แต่มาจากคนทั่วไปบริจาค

Deep Peace จะพยายามไม่ให้ทุนเด็กซ้ำๆ จะปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมและทั่วถึง เด็กที่จะได้รับทุน ต้องมีเงื่อนไข เช่น ต้องได้เกรดในระดับดี หรือได้เกรดไม่ลดระดับลงจากที่เคยได้ เด็กบางคนอาจพิจารณาเรื่องการทำกิจกรรม แล้วแต่ความเหมาะสม

ตอนนี้เด็กที่อยู่ในการดูแลของ Deep Peace อยู่ที่ 48 คน เป้าหมายคือ 60 คน เนื่องจากงบประมาณน้อยและได้รับจากการบริจาคเท่านั้น แต่ถ้าปีไหนมีงบประมาณมาก ก็จะจัดค่ายกิจกรรมเด็ก โดยเชิญเด็กกำพร้าและแม่บ้านทั่วไปเข้าร่วม"

 

มหกรรมพื้นที่ 3 สีเพื่อสันติภาพ

"ทุกปี Deep Peace จะจัดกิจกรรมค่าย แต่ปีนี้เปลี่ยนเป็นการจัดมหกรรม คือ มหกรรมเด็กกำพร้าและสตรีจังหวัดชายแดนใต้ ตอน มหกรรมพื้นที่ 3 สีเพื่อสันติภาพ ในวันที่ 27 – 28 เมษายน 2556 ที่สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส ร่วมกับองค์กรภาคีร่วม 16 องค์กร มีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กกำพร้าและสตรีที่ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบเข้าร่วม

จุดประสงค์ เพื่อสร้างความตระหนักถึงปัญหาของเด็กกำพร้าและสตรีที่ได้รับผลกระทบมากจากเหตุไม่สงบตลอด 9 ปีที่ผ่านมา เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมความรับผิดชอบพร้อมกันในเรื่องนี้

ในวันนั้นจะมีเสียงของคนในพื้นที่ เพื่อให้ผู้คนที่ไม่ได้ประสบเหตุได้รับรู้และเข้าใจ จะให้ประชาชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็นปัญหาในพื้นที่และการหาทางออก เป็นพื้นที่ให้ประชาชนรากหญ้าได้แสดงความคิดเห็นอย่างปลอดภัย ตลอดจนให้ผู้ที่ต้องการช่วยเหลือได้เจอกับผู้ที่ต้องการรับความช่วยเหลือ

เพื่อให้ประชาชนตระหนักและความสามารถที่จะกำหนดชะตากรรมของตนเองได้ รวมทั้งสามารถขับเคลื่อนสังคมไปสู่สันติภาพที่แท้จริงได้ต่อไป

ส่วนสันติภาพในมุมมองของ Deep Peace คือมุมมองของอิสลาม ซึ่งอิสลามมีความหมายว่า สันติภาพอยู่แล้ว ดังนั้นเป้าหมายของศาสนาอิสลามจึงหมายถึงสันติภาพ

ดังนั้นการดูแลเด็กกำพร้าก็ถือว่าเป็นกระบวนการสันติภาพอย่างหนึ่ง เพราะเป็นการทำหน้าที่ตามที่ศาสนาอิสลามกำหนดเช่นกัน และยังมองอีกว่า หากการสร้างสันติภาพเกิดขึ้นด้วยความจริงใจและเข้าใจ ก็จะสามารถทำให้สันติภาพเกิดขึ้นได้"

 

............

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สมาคมต้านโลกร้อนโต้ รมต.พลังงาน ฟ้องเพิกถอนโรงไฟฟ้าถ่านหินมาบตาพุด

Posted: 26 Apr 2013 07:23 AM PDT

 

เหตุคณะกรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมให้ความเห็นไม่ควรอนุญาตแต่หน่วยงานรัฐกลับเห็นชอบชาวบ้านเลยสุดทนเพราะถือว่าเขตควบคุมมลพิษไม่มีความหมาย

ศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน เปิดเผยว่า วันนี้เวลา 11.00 น. สมาคมฯได้ร่วมมือกับเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออกและชาวบ้านในพื้นที่มาบตาพุด ได้ยื่นฟ้องคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ต่อศาลปกครองระยอง ฐานเป็นหน่วยงานของรัฐกระทำการโดยมิชอบด้วยกฎหมาย โดยการอนุมัติหรืออนุญาตให้โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนเก็คโค่-วัน ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดใหญ่ ในพื้นที่มาบตาพุด ได้สามารถประกอบกิจการต่อไปได้ ทั้ง ๆ ที่เป็นโครงการที่ชาวบ้านในพื้นที่ต่อต้านและไม่ต้องการ

นอกจากนั้นก่อนหน้านี้คณะกรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (กอสส.) ได้เคยมีความเห็นไปยังหน่วยงานที่ถูกฟ้องคดีแล้วว่า "ไม่เห็นชอบ" ด้วยที่จะอนุญาตให้มีโรงไฟฟ้าถ่านหินดังกล่าว เพราะจะกระทบต่อปัญหาสุขภาพอนามัยของประชาชน สิ่งแวดล้อม และก่อให้เกิดมลพิษเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะกระทบต่อพื้นที่ที่ถูกประกาศให้เป็นเขตควบคุมมลพิษแล้วตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2552 ที่ผ่านมา ดังนั้นเมื่อหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องไม่คำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะมีต่อประชาชน และเป็นการขัดต่อกฎหมายหลายประการ ชาวบ้านรอบนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จึงได้เดินทางมายื่นฟ้องต่อศาลปกครองระยอง เพื่อหาข้อยุติเป็นบรรทัดฐานในสังคมต่อไป อีกทั้งเป็นการตอบโต้ รมต.กระทรวงพลังงาน ที่พยายามจะส่งเสริมให้มีโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มมากขึ้น ในการปรับแก้ไขแผนพัฒนาไฟฟ้าหรือ PDP 2013 อีกด้วย ซึ่งสะท้อนให้รัฐบาลเห็นว่าประชาชนไม่ต้องการโรงไฟฟ้าถ่านหินอีกต่อไปแล้ว

ทั้งนี้ในคำขอท้ายคำฟ้องในครั้งนี้ คือ

1)ขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 และหรือ 4 เพิกถอนรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หรือ EHIA ของโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน ของบริษัท เก็คโค่-วัน จำกัด" ซึ่งตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด  เลขที่ 11 ถนนไอ-5 ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยองเสีย

2)ขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่  1  เพิกถอนใบอนุญาต รวมทั้งการระงับการดำเนินกิจกรรมใด ๆ สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน ของบริษัท เก็คโค่-วัน จำกัด" ซึ่งตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด  เลขที่ 11 ถนนไอ-5 ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยองเสีย

3)ขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่  2  เพิกถอนการอนุมัติ/อนุญาตการใช้พื้นที่ของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเพื่อใช้เป็นที่ตั้งของโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน ของบริษัท เก็คโค่-วัน จำกัด

4)ขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งหมด นำความเห็นของ"คณะกรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (กอสส.)" เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2554 ที่มีความเห็นต่อโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน ของบริษัท เก็คโค่-วัน จำกัด" ซึ่งตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด  เลขที่ 11 ถนนไอ-5 ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง นำไปปฏิบัติทั้งหมด

 

 

          

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สมาคมต้านโลกร้อนโต้ รมต.พลังงาน ฟ้องเพิกถอนโรงไฟฟ้าถ่านหินมาบตาพุด

Posted: 26 Apr 2013 07:23 AM PDT

 

เหตุคณะกรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมให้ความเห็นไม่ควรอนุญาตแต่หน่วยงานรัฐกลับเห็นชอบชาวบ้านเลยสุดทนเพราะถือว่าเขตควบคุมมลพิษไม่มีความหมาย

ศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน เปิดเผยว่า วันนี้เวลา 11.00 น. สมาคมฯได้ร่วมมือกับเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออกและชาวบ้านในพื้นที่มาบตาพุด ได้ยื่นฟ้องคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ต่อศาลปกครองระยอง ฐานเป็นหน่วยงานของรัฐกระทำการโดยมิชอบด้วยกฎหมาย โดยการอนุมัติหรืออนุญาตให้โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนเก็คโค่-วัน ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดใหญ่ ในพื้นที่มาบตาพุด ได้สามารถประกอบกิจการต่อไปได้ ทั้ง ๆ ที่เป็นโครงการที่ชาวบ้านในพื้นที่ต่อต้านและไม่ต้องการ

นอกจากนั้นก่อนหน้านี้คณะกรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (กอสส.) ได้เคยมีความเห็นไปยังหน่วยงานที่ถูกฟ้องคดีแล้วว่า "ไม่เห็นชอบ" ด้วยที่จะอนุญาตให้มีโรงไฟฟ้าถ่านหินดังกล่าว เพราะจะกระทบต่อปัญหาสุขภาพอนามัยของประชาชน สิ่งแวดล้อม และก่อให้เกิดมลพิษเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะกระทบต่อพื้นที่ที่ถูกประกาศให้เป็นเขตควบคุมมลพิษแล้วตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2552 ที่ผ่านมา ดังนั้นเมื่อหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องไม่คำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะมีต่อประชาชน และเป็นการขัดต่อกฎหมายหลายประการ ชาวบ้านรอบนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จึงได้เดินทางมายื่นฟ้องต่อศาลปกครองระยอง เพื่อหาข้อยุติเป็นบรรทัดฐานในสังคมต่อไป อีกทั้งเป็นการตอบโต้ รมต.กระทรวงพลังงาน ที่พยายามจะส่งเสริมให้มีโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มมากขึ้น ในการปรับแก้ไขแผนพัฒนาไฟฟ้าหรือ PDP 2013 อีกด้วย ซึ่งสะท้อนให้รัฐบาลเห็นว่าประชาชนไม่ต้องการโรงไฟฟ้าถ่านหินอีกต่อไปแล้ว

ทั้งนี้ในคำขอท้ายคำฟ้องในครั้งนี้ คือ

1)ขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 และหรือ 4 เพิกถอนรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หรือ EHIA ของโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน ของบริษัท เก็คโค่-วัน จำกัด" ซึ่งตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด  เลขที่ 11 ถนนไอ-5 ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยองเสีย

2)ขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่  1  เพิกถอนใบอนุญาต รวมทั้งการระงับการดำเนินกิจกรรมใด ๆ สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน ของบริษัท เก็คโค่-วัน จำกัด" ซึ่งตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด  เลขที่ 11 ถนนไอ-5 ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยองเสีย

3)ขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่  2  เพิกถอนการอนุมัติ/อนุญาตการใช้พื้นที่ของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเพื่อใช้เป็นที่ตั้งของโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน ของบริษัท เก็คโค่-วัน จำกัด

4)ขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งหมด นำความเห็นของ"คณะกรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (กอสส.)" เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2554 ที่มีความเห็นต่อโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน ของบริษัท เก็คโค่-วัน จำกัด" ซึ่งตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด  เลขที่ 11 ถนนไอ-5 ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง นำไปปฏิบัติทั้งหมด

 

 

          

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ใครว่าพวกเราอยู่อย่างสุขสบายในแดนประหาร

Posted: 26 Apr 2013 07:01 AM PDT

"ในบรรดาคนที่กล่าวว่า พวกเราอยู่อย่างสุขสบายในฐานะนักโทษประหาร ไม่มีใครเลยที่เคยต้องเผชิญสภาพนั้นด้วยตัวเอง"

 

เดมอน ทีโบดัวซ์ ใช้ชีวิตที่แขวนอยู่บนเส้นด้ายเพื่อรอการประหารชีวิตเป็นเวลานานกว่าหนึ่งทศวรรษ

ชายชาวอเมริกันวัย 38 ปีคนนี้ ถูกตัดสินว่ามีความผิดในข้อหาฆาตกรรมเด็กหญิงคริสตัล แชมเปญ วัย 14 ปี ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้อง และถูกตัดสินลงโทษประหารชีวิตเมื่อปี 2540 แต่เขายืนกรานเสมอว่าเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ และหลังจากที่ต้องใช้ชีวิตในคุกเป็นเวลา 15 ปี เขาก็ได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระจากเรือนจำของรัฐหลุยเซียน่า  ที่เมืองแองโกลา (หนึ่งในเรือนจำที่เลวร้ายที่สุดในประเทศ) นี่คือเรื่องราวของเขา


ในช่วงสี่ทศวรรษที่ผ่านมามีผู้ต้องโทษประหารชีวิตมากกว่า 140 คนในสหรัฐฯที่ต่อมาสามารถพิสูจน์ได้ว่าตนเองบริสุทธิ์และไม่ต้องรับโทษประหาร © Damon Thibodeaux

"คำสารภาพ"

คดีของทีโบดัวซ์นั้นมีความผิดปกติ ในสหรัฐอเมริกา ความผิดพลาดในกระบวนการยุติธรรมนับเป็นสิ่งที่ปรากฎเด่นชัดในการใช้โทษประหาร กรณีของธิโบโดเป็นหนึ่งในนั้น ในช่วงสี่ทศวรรษที่ผ่านมามีผู้ต้องโทษประหารชีวิตมากกว่า 140 คนที่ต่อมาสามารถพิสูจน์ได้ว่าพวกเขาบริสุทธิ์ และไม่ต้องรับโทษประหาร ซึ่งนั่นคือเหตุผลสำคัญที่แม้แต่ผู้ที่สนับสนุนโทษประหารชีวิตควรพิจารณาเพื่อระงับการสนับสนุนการใช้โทษดังกล่าว

เช้ามืดของวันที่ 21 กรกฎาคม 2539 ทีโบดัวซ์อยู่ภายใต้การควบคุมตัวของตำรวจ และถูกสอบปากคำเป็นเวลาต่อเนื่องยาวนานเกือบ 9 ชั่วโมง ในขณะนั้นเขาอายุ 19 ปี เขารับสารภาพว่าเป็นคนฆ่าลูกพี่ลูกน้องวัย 14 ปี ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้เขาได้ปฏิเสธมาโดยตลอดว่าเขาไม่มีส่วนรู้เห็นในการฆาตกรรมดังกล่าว  

สองสามชั่วโมงต่อมา เขาบอกกับทนายความอย่างเหนื่อยอ่อนว่า เขาแกล้งสารภาพเพื่อยุติการสอบปากคำของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

อย่างไรก็ตาม คำสารภาพนั้นเป็นเสมือนอาวุธร้าย ประกอบกับรายละเอียดของการฆาตกรรมที่ไม่ถูกต้อง ผลของการฟ้องร้องพบว่าเขามีความผิด และคณะลูกขุนลงมติเป็นเอกฉันท์ตัดสินโทษประหารชีวิต

หลังจากนั้น ทีโบดัวซ์กลายเป็นนักโทษประหารที่ถูกขังเดี่ยวในเรือนจำความมั่นคงสูงสุดของรัฐหลุยเซียนา ที่แองโกลาเป็นเวลานาน 15 ปี

"ในคุกแองโกลา คุณอยู่ในห้องขัง 23 ชั่วโมงต่อวัน คุณไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับใครทั้งสิ้น อาหารถูกนำมาให้ถึงที่ คุณได้ใช้เวลาในสนามวันละหนึ่งชั่วโมง สามครั้งต่อสัปดาห์ หรือคุณสามารถอยู่ข้างในใช้เวลาวันละหนึ่งชั่วโมงในห้องโถง ภายในหนึ่งชั่วโมงนั้น คุณต้องอาบน้ำ ใช้โทรศัพท์ ออกกำลังกาย หรือ ทำอะไรก็ได้" ทีโบดัวซ์เล่าให้แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลฟัง

"ในแดนประหาร อากาศร้อนแทบเป็นบ้าในหน้าร้อน ร้อนจนคุณต้องใส่แค่กางเกงในตัวเดียว เหงื่อท่วมตัว กลางคืนก็นอนไม่หลับ ใครที่พูดว่าพวกเราอยู่อย่างสุขสบายในแดนประหารนั้น แสดงว่าไม่เคยรู้เลยว่าสภาพในแดนประหารนั้นเป็นอย่างไร มันเป็นสถานที่ที่ไม่สะดวกสบายอย่างที่สุด"  

"ครอบครัวของผมเคยมาเยี่ยม 4 ครั้งในรอบ 15 ปีที่ผ่านมา สำหรับบางครอบครัวไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะเดินทางมาที่แองโกลา เพราะคุกนั้นตั้งอยู่ห่างไกลจากตัวเมืองมาก"

จุดสิ้นสุด

ทีโบดัวช์กล่าวว่า สิ่งที่เลวร้ายที่สุดเกี่ยวกับการเป็นนักโทษประหาร คือ การรับรู้ว่ารัฐมีความตั้งใจที่จะฆ่าคุณ

"โชคดีที่ผมไม่ต้องรอถึงวันประหารชีวิต ข้อเท็จจริงที่ว่า รัฐต้องการจะฆ่าคุณ เป็นสิ่งที่คุณต้องยอมรับและเผชิญหน้ากับมัน มันไม่ใช่สิ่งที่คนทุกคนจะรับมือในวิธีการที่เหมือนกัน"

วันนี้เขาเป็นอิสระ  ทีโบดัวช์กล่าวว่าเขาเชื่อเสมอว่าเขาจะได้รับการปล่อยตัวออกจากแองโกลา แต่ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่  ความผิดปกติในคดีของเขาประกอบกับหลักฐานว่ามีการลงโทษผิดพลาด สำนักงานอัยการเขตตกลงที่จะทำการสืบสวนคดีนี้ใหม่ร่วมกันกับทนายความของจำเลยในปี 2550

"ผมรู้ล่วงหน้าว่าผมจะพ้นข้อกล่าวหาประมาณ 2-3 ปี ก่อนที่จะได้รับการปล่อยตัว   อัยการเขตต้องการที่จะมั่นใจว่าไม่ได้ปล่อยตัวบุคคลที่เป็นอันตรายสู่สังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ มันไม่ง่ายที่จะปล่อยคนที่คุณได้ดำเนินคดีและพิพากษาให้ประหารชีวิต"

หลักฐานทางดีเอ็นเอ

ในระหว่างการสืบสวนคดีครั้งใหม่ อัยการเขตปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับคำรับสารภาพที่ขัดแย้งกันเอง และสรุปว่าคำรับสารภาพของทีโบดัวซ์นั้นยังไม่น่าเชื่อถือ อัยการเขตประกาศว่า "หลักฐานสำคัญในคดีนี้ คือ คำรับสารภาพนั้นไม่น่าเชื่อถือ ปราศจากคำรับสารภาพดังกล่าว ก็ไม่มีหลักฐานใดที่สามารถเอาผิดเขาได้ ดังนั้น ในนามของความยุติธรรมคดีนี้จึงต้องถือเป็นโมฆะ"

ในคำสั่งศาลลงวันที่ 27 กันยายน 2555 ผู้พิพากษาสั่งให้ปล่อยทีโบดัวซ์ออกจากคุก การทดสอบทางนิติเวชพบว่าไม่มีหลักฐานทางกายภาพที่เชื่อมโยงเขากับอาชญากรรม และการทดสอบดีเอ็นเอจากตัวอย่างของเลือดที่พบบนลวดที่ใช้ในการรัดคอเหยื่อ เผยให้เห็นว่าเป็นดีเอ็นเอของชายอื่นที่ไม่ใช่ทีโบดัวซ์

โครงการผู้บริสุทธิ์ (The Innocence Project) มีบทบาทในการสืบสวนคดีใหม่ให้นักโทษมากกว่า 300 คนทั่วประเทศพ้นข้อกล่าวหาในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา (ในจำนวนนั้นมี 18 คน ที่ถูกตัดสินลงโทษประหารชีวิต) หลักฐานทางดีเอ็นเอกลายเป็นส่วนสำคัญในการยืนยันความบริสุทธิ์ของพวกเขา อย่างไรก็ตาม คดีจำนวนมากไม่มีหลักฐานดีเอ็นเอที่สามารถทดสอบได้ ดังนั้นวิธีการนี้จึงไม่สามารถใช้พิสูจน์ได้สำหรับนักโทษจำนวนมากที่อ้างว่าตนเป็นผู้บริสุทธิ์

"แม้ว่าผมจะรู้ล่วงหน้า 2-3 ปีว่าจะได้รับการปลดปล่อย แต่มันไม่ใช่สิ่งที่คุณสามารถทำใจรับได้ เมื่อตอนที่ผมเดินผ่านประตูออกมา ผมรู้สึกเหมือนเป็นคนใหม่ มันเป็นประสบการณ์ที่เหลือเชื่อมาก คุณใช้เวลา 15 ปี อยู่ในห้องขัง คุณถูกขังไว้ 23 ชั่วโมงต่อวัน แล้วจู่ๆ คุณถูกปล่อยออกมา มันเป็นเรื่องที่น่ากลัวในเวลาเดียวกัน เพราะมีเหตุการณ์มากมายเกิดขึ้นในช่วงเวลา 15 ปี แต่ผมก็เดินออกมาได้อย่างสง่าผ่าเผย" ทีโบดัวซ์กล่าว

โลกใบใหม่

ตอนนี้ทีโบดัวซ์กำลังสร้างชีวิตใหม่ในรัฐมินนิโซตา ทำงานพาร์ทไทม์ และอาศัยอยู่ในแฟลต   เขาไม่เคยได้รับค่าชดเชยใด ๆ จากรัฐ และกำลังพยายามที่จะปรับตัวเข้ากับชีวิตใหม่ที่มีอิสรภาพในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอด 15 ปี ที่เขาใช้เวลาอยู่หลังลูกกรง นอกจากนั้นเขายังได้กลับมาติดต่อกับลูกชายวัย 21 ปี

ทีโบดัวซ์เล่าวว่า "เราได้ดูโทรทัศน์และอ่านหนังสือพิมพ์ในคุก ผมได้เห็นสิ่งต่าง ๆ ที่กำลังพัฒนาในยุคดิจิตอล แต่การที่จะต้องพยายามตามสิ่งเหล่านั้นให้ทัน แม้กระทั่งตอนนี้ มันเป็นเรื่องที่ท้าทายพอสมควร ผมต้องเรียนรู้ที่จะใช้งานสิ่งของบางอย่างที่ผมไม่รู้จัก เช่น ไอพอดหรือคอมพิวเตอร์ – ผมคงต้องโทรศัพท์ไปหาใครสักคนเพื่อถามเขา"

ทีโบดัวซ์เป็นนักโทษประหารคนที่ 141 ในสหรัฐฯ ที่ถูกปล่อยตัวนับตั้งแต่ปี 2516 เป็นต้นมาด้วยสาเหตุว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ นักโทษจำนวนมากถูกประหารชีวิต ทั้ง ๆ ที่มีข้อสงสัยมากมายในการตัดสินลงโทษพวกเขา

"คดีนี้เป็นเครื่องเตือนใจอย่างหนึ่งว่าโทษประหารชีวิตมีความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดพลาดที่ไม่อาจย้อนเอาชีวิตกลับคืนมาได้ เจ้าหน้าที่ทางการทั่วประเทศสหรัฐฯ ควรจะสะท้อนถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับเดมอน ทีโบดัวซ์และร่วมมือกันเพื่อยุติการลงโทษที่โหดร้ายนี้" ร็อบ เฟรียร์ นักวิจัยประจำประเทศสหรัฐฯ แอมแนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าว

แอมแนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลคัดค้านโทษประหารชีวิตในทุกกรณี ในทุกประเทศ โดยไม่มีข้อยกเว้น

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘ธนาคารทิสโก้’ แจงผู้ถือหุ้น ปล่อยกู้ ‘เขื่อนไซยะบุรี’ ไม่ผิดศีลธรรมอันดี

Posted: 26 Apr 2013 05:35 AM PDT

ผู้ถือหุ้นธนาคารทิสโก้หวั่นผลกระทบมหาศาลกับการปล่อยกู้ในโครงการเขื่อนไซยะบุรี ขณะทิสโก้แจงมีงานวิจัยที่ธนาคารผู้ให้กู้ร่วมกันทำขึ้นเอง แต่เป็นความลับ ยังเปิดเผยไม่ได้ ด้านชาวบ้านชี้ธนาคารลงทุนโดยไม่คำนึงถึงสังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างที่อ้าง

<--break->

 
25 เม.ย.56 การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของธนาคาร ทิสโก้ จำกัด (มหาชน) ในเครือบริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ณ อาคารทิสโก้ทาวเวอร์ ผู้ถือหุ้นรายย่อยตั้งคำถามต่อคณะกรรมการบริษัทเกี่ยวกับการลงทุนให้เงินกู้แก่โครงการเขื่อนไซยะบุรี ขนาดกำลังการผลิต 1,285 เมกะวัตต์ บนแม่น้ำโขงสายหลักตอนล่าง ซึ่งกำลังเป็นประเด็นความขัดแย้งในภูมิภาค เนื่องจากความวิตกเกี่ยวกับผลเสียหายต่อระบบนิเวศแม่น้ำโขงอย่างมหาศาล และส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชากรกว่า 60 ล้านคน ที่พึ่งพาอาศัยแม่น้ำสายนี้ในการดำรงชีวิต
 
ทั้งนี้ เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา การประชุมประจำปีผู้ถือหุ้นของธนาคาร เช่น  ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงไทย บทบาทของธนาคารที่ให้กู้แก่โครงการเขื่อนไซยะบุรี ต่างเป็นประเด็นร้อนที่ถูกตั้งคำถามจากผู้ถือหุ้น 
 
นางอรนุช อภิศักดิ์ศิริกุล ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มทิสโก้ ตอบคำถามผู้ถือหุ้นโดยยืนยันว่า ทิสโก้ได้ลงทุนสนับสนุนเงินกู้จริง เป็นจำนวนกว่า 3,000 ล้านบาท สัญญามีระยะเวลา 14 ปี ทั้งยังกล่าวว่าทิสโก้ได้ประเมินแล้วว่าโครงการนี้ไม่ใช่โครงการที่ผิดศีลธรรมอันดี แต่เป็นโครงการที่จัดหาพลังงานเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมและกระตุ้นเศรษฐกิจของไทย อีกทั้งโครงการก็มีความสามารถในการชำระหนี้ได้ครบถ้วนตามที่กำหนด
 
นางอรนุชได้อธิบายเพิ่มเติมว่า เขื่อนไซยะบุรีเป็นเขื่อนน้ำไหล ไม่มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ จึงไม่มีผลกระทบมากในเรื่องตะกอนแม่น้ำ และมีทางปลาผ่าน สำหรับประเด็นผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม โครงการนี้ได้ใช้บริษัทที่ปรึกษาโครงการทั้งสิ้น 6 แห่ง และมีงานศึกษาออกมาหลายฉบับ
 
"ทิสโก้ไม่ใช่ผู้ชำนาญ จึงรับฟังและพิจารณาจากงานศึกษาเหล่านั้น ซึ่งระบุว่าเขื่อนนี้จะส่งผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีนัยยะน้อยมากๆ และน้อยกว่าเขื่อนจีนในตอนต้นแม่น้ำโขง ทิสโก้จึงสบายใจที่จะเข้าร่วมลงทุน"
 
นางอรนุช ยังกล่าวว่า กลุ่มของธนาคารที่ให้กู้เองยังได้ว่าจ้างที่ปรึกษาให้ตรวจสอบและศึกษาผลกระทบจากโครงการนี้อีกครั้งหนึ่ง และผู้เชี่ยวชาญก็ยืนยันว่ารายงานผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมของโครงการนั้นเชื่อถือได้
 
 
ขณะที่ผู้ถือหุ้นรายย่อย ชี้แจงกรรมการและผู้ถือหุ้นอื่นว่า เขื่อนไซยะบุรีเป็นเขื่อนประเภท Run-of-River ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่ของไทย เพราะเขื่อนปากมูนก็คือเขื่อนประเภทเดียวกัน และที่ผ่านมาก็ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เขื่อนปากมูนได้ทำลายระบบนิเวศของแม่น้ำมูนตอนล่างทั้งระบบ รวมถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านที่พึ่งพาแม่น้ำมูนมาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งเขื่อนไซยะบุรีจะมีโครงการสร้างเขื่อนและทางปลาผ่านที่ไม่ต่างจากเขื่อนปากมูนมากนัก
 
ผู้ถือหุ้นกล่าวเพิ่มเติมในประเด็นเขื่อนจีนทางตอนต้นแม่น้ำโขงว่า ช่วงของแม่น้ำโขงที่มีผู้คนพึ่งพามากที่สุดนั้นไม่ใช่ตอนบน แต่เป็นตอนล่าง ที่แม่น้ำไหลผ่านประเทศลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม ซึ่งมีประชาชนพึ่งพามากกว่า 60 ล้านคน อีกทั้งปลาแม่น้ำโขงส่วนใหญ่เป็นปลาอพยพ
 
ประสบการณ์จากเขื่อนปากมูน และงานศึกษาวิชาการระดับชาติและนานาชาติหลายชิ้น ระบุชัดเจนว่าปลาน้ำโขงเกือบทั้งหมดไม่ใช่ปลาที่สามารถอพยพข้ามทางปลาผ่านได้ ทางปลาผ่านใช้ไม่ได้จริงในภูมิภาคนี้ และไม่เคยมีงานศึกษาใดเลยที่ชี้ว่าทางปลาผ่านของเขื่อนไซยะบุรีนั้นมีประสิทธิภาพเพียงพอ เห็นชัดว่าโครงการนี้กำลังจะใช้แม่น้ำโขงตอนล่างทั้งสายเป็นสนามทดสอบความมีประสิทธิภาพของทางปลาผ่านแบบใหม่
 
นอกจากนี้ งานศึกษาผลกระทบที่จัดทำโดยบริษัทสัญชาติฟินแลนด์ Pöyry Energy AG ซึ่งถูกว่าจ้างโดยรัฐบาลลาว และเชื่อว่าทิสโก้ได้ใช้รายงานฉบับนี้เป็นหลักในการพิจารณาลงทุนนั้น หากทิสโก้ค้นคว้าเพิ่มเติมจะพบว่า ขณะนี้งานศึกษาดังกล่าวถูกวิจารณ์อย่างหนักจากหลายองค์กรทั่วโลก ว่าเป็นรายงานที่ต่ำกว่าระดับมาตรฐาน และบริษัทนี้ก็กำลังถูกรัฐบาลฟินแลนด์ตั้งกรรมการตรวจสอบในเรื่องการละเมิดหลักความรับผิดชอบ และความไร้มาตรฐานในการดำเนินธุรกิจในกรณีเขื่อนไซยะบุรี
 
ท้ายที่สุด ผู้ถือหุ้นรายดังกล่าวเรียกร้องให้ธนาคารต้องพิจารณาการลงทุนในอนาคตให้ถี่ถ้วนมากกว่านี้ อีกทั้งต้องตระหนักถึงความเสี่ยง ผลกระทบ และผลเสียระยะยาวที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมและประชาชนทั่วไปอีกหลายชั่วอายุคน
 
ก่อนจบการประชุม มีผู้ถือหุ้นอีกรายหนึ่งขอให้ทิสโก้ชี้แจงและเปิดเผยงานวิจัยที่ทิสโก้อ้างว่าธนาคารต่างๆ ได้ร่วมกันว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญให้จัดทำขึ้นเอง ซึ่งนางอรนุชตอบว่า เรื่องนี้เป็นความลับของลูกค้า อาจจะต้องมีการหารือกันก่อนให้คำตอบในภายหลัง
 
ทั้งนี้ คำตอบของธนาคารทิสโก้มีความคล้ายคลึงเป็นอย่างมากกับคำตอบของธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งนายอานันท์ ปันยารชุน นายกกรรมการ และนายวิชิต สุรพงษ์ชัย และประธานกรรมการบริหารของธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นผู้ตอบคำถามหลักแก่ผู้ถือหุ้น เมื่อวันที่ 4 เม.ย.ที่ผ่านมา
 
นอกจากนั้น ธนาคารกรุงไทยยืนยันในที่ประชุมผู้ถือหุ้นว่าโครงการเขื่อนไซยะบุรีมีธนาคารทั้งหมด 6 แห่งเป็นผู้ให้กู้ คือ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ  ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารทิสโก้ และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK)
 
ด้าน นายแคล้ว มนตรีศรี เจ้าหน้าที่สภาองค์กรชุมชนตำบลลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน (คสข.) ประชาชนในพี้นที่ที่จะได้รับผลกระทบจากเขื่อนไซยะบุรี กล่าวว่า คำตอบของธนาคารทั้ง 4 ธนาคารในการประชุมประจำปีผู้ถือหุ้นที่ผ่านมา แสดงให้เห็นชัดเจนว่า ธนาคารคำนึงถึงแต่ผลกำไร ดีแต่พูดโฆษณากล่าวอ้างและแก้ตัว แต่ไม่เคยสนใจใยดีต่อความเสียหายของสิ่งแวดล้อม และความล่มสลายของสังคมเกษตรชนบทของประชาชนตามริมแม่น้ำโขงจำนวนหลายล้านคน  
 
"เขื่อนจะทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงทุกวัน ชาวบ้านจะพึ่งพาหากินได้ยากลำบากขึ้น ถือเป็นการทำลายรากฐานชีวิตและเบียดขับชาวบ้านออกจากถิ่นฐานบ้านเกิด เพื่อไปหางานทำในต่างเมือง  ความล่มสลายของระบบนิเวศและวิถีชีวิตของประชาชนที่เกิดขึ้นจากเขื่อนไซยะบุรีนี้ มีธนาคาร 6 ธนาคารเป็นตัวการสำคัญ" นายแคล้วระบุ 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'สุภิญญา' เตรียมเสนอบอร์ด กสท. ทบทวนเกณฑ์ให้ใบอนุญาตทีวีดิจิตอลสาธารณะ จันทร์นี้

Posted: 26 Apr 2013 04:06 AM PDT


สุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 25 เม.ย.ที่ผ่านมา ส่วนงานได้นำข้อสรุปที่ได้จากการจัดสัมมนาวิชาการร่วมกับจุฬาฯ เรื่อง "ทีวีดิจิตอล...จุดเปลี่ยนประเทศไทย" ตอน ทีวีดิจิตอลสาธารณะ เมื่อวันพุธที่ 24 เม.ย. ซึ่งมีข้อเสนอดังนี้
 
1. กสท. เร่งจัดทำประกาศ หลักเกณฑ์พิจารณาการคัดเลือกผู้ขอรับใบอนุญาตทีวีดิจิตอลประเภทกิจการบริการสาธารณะ ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ยื่นขอใบอนุญาตเข้าสู่การพิจารณาภายใต้เกณฑ์เดียวกัน โดยอย่างน้อยเกณฑ์ที่ กสท. ต้องคำนึงถึง ได้แก่ โครงสร้างกรรมการนโยบายหรือกรรมการบริหารที่ปลอดจากรัฐและทุน ความหลากหลายของความคิดเห็นในผังรายการ ความเป็นอิสระของกองบรรณาธิการ ความโปร่งใสด้านการเงิน ตลอดจนแนวทางการประเมินผลการดำเนินกิจการ เป็นต้น ทั้งนี้ การจัดทำประกาศดังกล่าวเป็นไปเพื่อให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมทั้งเปิดให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม โดย กสท.ต้องดำเนินการอย่างระมัดระวัง รอบคอบ และรัดกุม เนื่องจากการจัดสรรคลื่นซึ่งเป็นสมบัติของประเทศชาติ จึงไม่ควรให้การพิจารณาคัดเลือกเป็นเพียงการใช้ดุลพินิจของ กสท. ในการอนุญาตให้ประกอบกิจการ เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะถูกฟ้องร้องตามกระบวนการศาลปกครองจากผู้ที่เสียผลประโยชน์ หรือไม่ได้รับใบอนุญาตจาก กสท.
 
2.นโยบายการจัดสรรและกำหนดจำนวนช่องรายการสำหรับทีวีดิจิตอลสาธารณะ กสทช.ต้องคำนึงถึงหลักการทีวีบริการสาธารณะตามมาตรฐานสากลในมุมมองด้านนิเทศศาสตร์  (Public Service Broadcasting) กล่าวคือ การคำนึงถึงผู้ชมในฐานะที่เป็นพลเมือง ดังนั้น การนำเสนอเนื้อหาสาระต้องเป็นการเปิดพื้นที่สาธารณะให้แก่พลเมืองให้มีความเห็นที่หลากหลาย  ด้านการบริหารงานต้องมีความเป็นอิสระ มุ่งสร้างสังคมมากกว่าการหารายได้ และมีการทำงานที่โปร่งใสตรวจสอบได้  

อย่างไรก็ตาม ในแง่ของกฎหมายมหาชนเรื่อง "บริการสาธารณะ" หมายถึง กิจการที่อยู่ในการอำนวยการของฝ่ายปกครอง โดยรัฐอาจเป็นผู้ดำเนินการเองหรือมอบให้ผู้อื่นไปดำเนินการ ทั้งนี้มีหลักการสำคัญคือการยึดโยงกับรัฐ และต้องตอบสนองความต้องการของประชาชน  ดังนั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่ กสทช. ไม่มีความจำเป็นต้องเร่งรีบให้ใบอนุญาตครบทั้ง 12 ช่องรายการ ตามมติของ กสท. แต่ควรมีการศึกษาวิจัยเพื่อวิเคราะห์ความต้องการของประชาชน และวิเคราะห์ผลกระทบจากการกำกับดูแลในมาตรการสำคัญ โดยพิจารณาทางเลือกต่างๆ อย่างเหมาะสมรอบด้าน และเปิดให้ภาคส่วนต่างๆ ของสังคมมีส่วนร่วม ก่อนที่จะพิจารณาให้ใบอนุญาตในการประกอบกิจการทีวีดิจิตอลสาธารณะ
 
3. คำนึงถึงมุมมองทางด้านเศรษฐศาสตร์ในทีวีดิจิตอลสาธารณะ ได้แก่ ต้นทุนโครงข่ายที่เหมาะสม ศักยภาพผู้ขอรับใบอนุญาตในการผลิตรายการ ตลอดจนการจัดทำตัวชี้วัดเพื่อประเมินวัตถุประสงค์โดยรวมของการให้ใบอนุญาต เพื่อไม่ให้ทรัพยากรคลื่นความถี่ถูกนำไปใช้อย่างไม่คุ้มค่า

สุภิญญา กล่าวว่า ข้อมูลจากการสัมมนาดังกล่าวเป็นมุมมองทางวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพิจารณาให้ใบอนุญาตทีวีดิจิตอล สำหรับประเภทกิจการบริการสาธารณะของ กสท. และเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายในการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างครบถ้วน โปร่งใส จึงจะเสนอวาระนี้ในที่ประชุม กสท. เพื่อพิจารณาอีกครั้งวันจันทร์นี้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รายงานฮิวแมนไรท์ วอทช์ เผยรายละเอียด "การฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุ" ต่อชาวโรฮิงญา

Posted: 26 Apr 2013 03:48 AM PDT

"สิ่งที่คุณทำได้ คือการภาวนาให้รอดชีวิต" รายงานของฮิวแมนไรท์วอทช์เปิดเผยการ "ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์" ต่อชาวโรฮิงญา ในขณะที่ปธน. เต็งเส่งได้รับรางวัล 'สันติภาพดีเด่น' จากองค์กร ICG

 
ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในรัฐอาระกัน ทางตะวันตกของประเทศพม่าในเดือนมิถุนายนและตุลาคมเมื่อปีที่แล้ว นำมาซึ่งการเสียชีวิตของประชาชนชาวชาติพันธุ์ยะไข่และโรฮิงญาอย่างน้อย 180 คน นอกจากนี้ยังทำให้ชาวโรฮิงญากว่า 125,000 พลัดถิ่น บ้านเรือนเกิดความเสียหายและถูกเผาไหม้เป็นพื้นที่ราว 348 เอเคอร์ หรือราว 1.4 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นอาคารและบ้านเรือนจำนวนราว 4,862 แห่ง 
 
หลังจากเกิดเหตุจลาจลทางชาติพันธุ์และศาสนาดังกล่าว รัฐบาลพม่าได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนที่ประกอบด้วยภาคส่วนต่างๆ จำนวน 27 คน รวมถึงผู้นำฝ่ายค้าน อาทิ มิน โก นาย และซากานาร์ นักเคลื่อนไหวสมัยการลุกฮือของนักศึกษาปี 1988 เพื่อค้นหาข้อเท็จจริงและผลิตรายงานเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งก่อนหน้านี้ประธานาธิบดีเต็งเส่ง ได้กล่าวว่าความรุนแรงในพื้นที่เกิดขึ้นจากพรรคการเมือง พระสงฆ์บางกลุ่ม และคนบางกลุ่มที่กระพือสร้างความเกลียดชังระหว่างกลุ่มคนต่างศาสนา อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีมาตรการที่ชัดเจนในการลงโทษผู้กระทำผิด หรือการช่วยเหลือเยียวยาด้านอื่นๆ 
 
หลังจากเก็บข้อมูลและสัมภาษณ์คนในพื้นที่ราว 100 คนจากกลุ่มชาวโรฮิงญาและชาวอาระกัน ฮิวแมนไรท์วอทช์ ได้เผยแพร่รายงานที่ชื่อ "'All You Can Do is Pray': Crimes Against Humanity and Ethnic Cleansing of Rohingya Muslims in Burma's Arakan State" ซึ่งชี้ว่าการกระทำหลายด้านของรัฐบาลต่อเหตุการณ์จลาจลนับเป็น "การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์" ต่อชาวมุสลิมโรฮิงญา ไม่ว่าจะเป็นการปิดกั้นความช่วยเหลือจากองค์กรด้านมนุษยธรรมระหว่างประเทศ หรือการที่เจ้าหน้าที่ความมั่นคงของรัฐร่วมกับชาวอาระกันทำร้ายและทำลายที่อยู่อาศัยของชาวโรฮิงญา เป็นต้น 
 
"รัฐบาลพม่ามีส่วนในการดำเนินการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ต่อชาวโรฮิงญาที่ยังคงเกิดอยู่จนถึงวันนี้ ผ่านการปิดกั้นการให้ความช่วยเหลือและการจำกัดการเคลื่อนย้าย" ฟิล โรเบิร์ตสัน รองผู้อำนวยการฝ่ายเอเชียของฮิวแมนไรท์ วอทช์ กล่าว "รัฐบาลจำเป็นต้องยุติการละเมิดดังกล่าว และให้ผู้กระทำผิดรับผิดชอบ มิเช่นนั้น รัฐบาลจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบกับความรุนแรงต่อชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์และศาสนาที่เกิดขึ้นในประเทศ" 
 
ข้อมูลจากฮิวแมนไรท์ วอทช์เปิดเผยว่า หลังจากเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงระหว่างกลุ่มศาสนาระลอกแรกในเดือนมิถุนายน เจ้าหน้าที่รัฐได้เข้าทำลายมัสยิด บุกเข้าจับกุมชาวโรฮิงญาด้วยความรุนแรง และปิดกั้นความช่วยเหลือแก่ชาวโรฮิงญาที่พลัดถิ่นในประเทศ ต่อมาในเดือนตุลาคม ชาวอาระกันก็ได้กระพือความเกลียดชังด้วยการเผยแพร่เอกสารที่ส่งเสริมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ต่อชาวโรฮิงญา และเข้าทำลายชุมชนของชาวมุสลิม ใน 9 เขตของรัฐอาระกัน ในขณะที่เจ้าหน้าที่รักษาความมั่นคงของรัฐได้ยืนมองด้วยความเพิกเฉย และบางส่วนยังให้ความช่วยเหลือผู้เข้าทำร้ายอีกด้วย  
 
พบเจ้าหน้าที่รัฐสนับสนุนการฆ่าล้างชาวโรฮิงญา
 
รายงานระบุว่า เจ้าหน้าที่รัฐที่ประจำการอยู่ในรัฐอาระกัน ทั้งตำรวจท้องถิ่น ตำรวจปราบจลาจล กองกำลังควบคุมชายแดน รวมถึงทหารและนาวิกโยธิน ต่างล้มเหลวในการป้องกันความรุนแรงดังกล่าว หรือมีส่วนร่วมในการสร้างความรุนแรง นอกจากนี้ยังเปิดเผยว่า มีการทำลายศพด้วยวิธีการฝังในหลุมฝังศพขนาดใหญ่รวมกัน ทำให้ไม่สารถนำหลักฐานมาตรวจสอบเพื่อความโปร่งใสได้ 
 
ฮิวแมนไรท์ วอทช์ รายงานด้วยว่า พบหลุมศพขนาดใหญ่จำนวน 4 แห่งในรัฐอาระกัน โดยสามแห่งเกิดขึ้นในระหว่างเหตุความรุนแรงเดือนมิถุนายนถึงตุลาคมปีที่แล้ว แสดงให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่รัฐพยายามจะขัดขวางกระบวนการยุติธรรม และทำลายหลักฐานการก่ออาชญากรรมดังกล่าว ดังเช่นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 55 รถกระบะของรัฐได้ทิ้งศพชาวโรฮิงญา 18 คน บริเวณค่ายผู้พลัดถิ่นของขาวโรฮิงญานอกเมืองซิตเหว่ การกระทำเช่นนี้ นับเป็นการส่งข้อความออกไปว่า ชาวโรฮิงญาควรออกจากรัฐอาระกันอย่างถาวร 
 
เหตุการณ์รุนแรงที่สุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ซึ่งการจลาจลในหมู่บ้านยานเท เขตมรวกอู ส่งผลให้มีชาวโรฮิงญาราว 70 คนต้องเสียชีวิต โดยถึงแม้ว่ามีการประกาศล่วงหน้าแล้วว่าจะมีความรุนแรง แต่ตำรวจควบคุมการจลาจลและทหาร ก็มิได้ป้องกันความรุนแรง แต่กลับสนับสนุนการฆ่าโดยการปลดอาวุธและอุปกรณ์ป้องกันตนเองของชาวโรฮิงญา รายงานระบุว่า มีเด็กโรฮิงญา 28 คนถูกทุบตีจนเสียชีวิต
 
ที่มาของชื่อรายงานฮิวแมนไรท์ วอทช์ มาจากคำพูดของทหารคนหนึ่งที่บอกกับชาวมุสลิมในหมู่บ้าน ซึ่งกำลังขอความช่วยเหลือในขณะที่หมู่บ้านตนเองกำลังถูกเผาไหม้ว่า "สิ่งเดียวที่คุณทำได้คือการสวดมนต์เพื่อให้รอดชีวิต"
 
นักข่าวสเปนระบุเป็น "หายนะทางมนุษยธรรมจากฝีมือมนุษย์"
 
สอดคล้องกับนักข่าวสเปนคาร์ลอส ซาร์ดิน่า กาลาเช่ ที่ลงพื้นที่ดังกล่าวในช่วงเดือนตุลาคมปีที่แล้วเพื่อรายงานข่าว เขากล่าวว่า จากการได้สัมภาษณ์ชาวโรฮิงญาที่พลัดถิ่นในอาระกัน ชาวโรฮิงญาหลายคนให้สัมภาษณ์ตรงกันว่า กลุ่มคนที่เข้าทำร้ายและโจมตีพวกเขานั้นเป็นคนที่เขาไม่เคยเห็นหน้ามาก่อนในหมู่บ้านหรือชุมชน จึงทำให้เกิดข่าวลือสะพัดว่าเจ้าหน้าที่รัฐและทหารเป็นผู้สร้างความรุนแรง คาร์ลอสยังกล่าวด้วยว่า เขารู้ว่ามีกรณีหนึ่งที่ตำรวจฆ่าประชาชนอย่างน้อย 4 คน ในขณะที่พวกเขาพยายามดับไฟที่กำลังเผาไหม้มัสยิด
 
นักข่าวสเปนยังเล่าวว่า จากการพูดคุยกับทั้งชาวอาระกัน ต่างพูดเหมือนกันว่า ก่อนหน้านี้ชาวพุทธไม่เคยมีปัญหากับชาวมุสลิมในพื้นที่ และไม่เคยเกิดความรุนแรงเช่นนี้มาก่อน จนกระทั่งเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา จึงเริ่มเกิดความตึงเครียดขึ้น เขากล่าวว่า ในช่วงที่เขาไปลงพื้นที่นั้น เขตจักเพียวซึ่งอยู่ทาง ของรัฐยะไข่ แทบจะไม่เหลือชาวมุสลิมอยู่เลย เพราะเหมือนดังว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นได้ขับไล่พวกเขาออกไปอย่างหมดสิ้น
 
นอกจากนี้ ในแง่การให้ความช่วยเหลือด้านการรักษาพยาบาล อาหาร และที่พักอาศัยในค่ายผู้ลี้ภัย คาร์ลอส กล่าวถึงความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างสภาพของค่ายผู้ลี้ภัยของชาวโรฮิงญา และของชาวอาระกัน โดยในค่ายชาวอาระกันค่ายหนึ่ง มีคนราว 150 คน และมีหมอ 2 คน กับพยาบาลอีก 2 คน คอยอยู่ให้ความดูแล ในขณะที่ค่ายผู้ลี้ภัยของชาวโรฮิงญา มีคนราว 1,400 คน และมีหมอราว 7 คน เป็นอาสาสมัครที่ถูกส่งมาจากองค์กรมุสลิม
 
"สภาพเช่นนี้มันไม่เพียงพอและแย่มากๆ ผมเห็นเด็กคนหนึ่งอายุ 4 เดือน ซึ่งในตอนนี้อาจจะไม่รอดแล้วก็ได้ และก็เห็นเด็กอายุ 7 ขวบที่ผอมแห้งไม่ได้กินอาหาร เห็นแบบนี้เยอะมากในค่ายของชาวโรฮิงญา" คาร์ลอสกล่าว "พวกเขาบอกว่ามีหมอไปเยี่ยมพวกเขาเพียงอาทิตย์ละครั้งเท่านั้น" โดยเฉพาะในมาดรัสสา (โรงเรียนสอนศาสนา) เขาเล่าว่า มีคนอยู่กันอย่างแออัดมาก หลายคนอยู่ไปโดยไม่ได้กินอะไรเลยถึง 5 วัน และพวกเขาก็ต้องต่อคิวรอเพื่อรับยาหรือการรักษาที่ยาวมาก 
 
เขาเล่าต่อว่า เนื่องจากชาวโรฮิงญาถูกจำกัดพื้นที่ให้อยู่ในเต้นท์ขนาดเล็กราว 10*15 ตารางเมตร และไม่ได้รับอนุญาตให้ออกไปข้างนอก หรือทำงาน พวกเขาจึงไม่มีรายได้จากทางใดเพื่อจะมาพัฒนาสภาพทางเศรษฐกิจได้เลย "เท่าที่เห็นก็คือ พวกเขาอยู่ในค่ายกักกันมากกว่าเป็นค่ายผู้ลี้ภัย" คาร์ลอสกล่าว 
 
ต่อคำถามที่ว่า มองว่าเหตุการณ์ความรุนแรงในรัฐอาระกันเป็นเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หรือไม่ นักข่าวต่างประเทศผู้นี้ตอบว่า รัฐบาลพม่ากำลังปิดตาและไม่รับรู้ต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้น นอกเหนือไปจากความรุนแรงที่เกิดขึ้นแล้ว  สภาพในค่ายผู้ลี้ภัยขณะนี้ก็แย่และเลวร้ายมาก มีเด็กๆ เสียชีวิตมากมายโดยที่ไม่มีใครรับรู้หรือสามารถช่วยเหลือได้ 
 
"สภาพที่อาหารขาดแคลนสำหรับคนจำนวนมากเช่นนี้ เป็นเพราะการจัดการของรัฐบาล และผมก็จะเรียกมันว่าเป็นหายนะทางมนุษยธรรมที่เกิดจากฝีมือมนุษย์" เขากล่าว 
 
ความขัดแย้งที่รัฐบาลได้ประโยชน์
 
คาร์ลอสมองว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น คนที่ได้ประโยชน์มากที่สุด คือรัฐบาล เขาย้ำว่า ประเด็นนี้สำคัญและเป็นเรื่องที่สื่อต่างประเทศมักมองข้าม ว่าประชาชนในรัฐอาระกันเป็นกลุ่มที่ต้องการมีรัฐเป็นของตัวเอง ในขณะที่ขบวนการชาตินิยมในอาระกันนั้นถือว่าเข้มแข็งมาก และถึงแม้จะไม่ได้รุนแรงขนาดในรัฐคะฉิ่นหรือกะเหรี่ยง แต่การที่รัฐพยายามสร้างโครงการทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เช่นการสร้างท่อก๊าซที่เชื่อมอาระกันไปยูนนานในจีน ก็ทำให้เกิดขบวนการต่อต้านในหมู่ชาวอาระกันค่อนข้างมาก 
 
อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างชาวอาระกันกับชาวโรฮิงญาเกิดขึ้น ก็ทำให้การต่อต้านรัฐบาลลดลง และหันไปมุ่งกับการต่อต้านชาวโรฮิงญาแทนเนื่องจากเกิดความกลัวว่าโรฮิงญาจะเข้ามาสร้างรัฐอิสลามในรัฐอาระกัน รัฐบาลจึงได้ประโยชน์จากการหยุดประท้วงโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ คาร์ลอสให้ความคิดเห็น
 
ในประเด็นเรื่องจุดยืนของฝ่ายค้านสนับสนุนประชาธิปไตยของพม่า เขากล่าวว่า นางออง ซาน ซูจี และผู้นำจากพรรคเอ็นแอลดี ยังมิได้ออกมาพิทักษ์สิทธิของชาวโรฮิงญามากเท่าที่ควร เพราะการพูดเช่นนั้น เสมือนกับ "เป็นการฆ่าตัวตายทางการเมือง" ในพม่า เขามองว่า นางออง ซาน ซูจี ควรมีบทบาทที่กล้าพูดเพื่อปกป้องชาวโรฮิงญามากกว่านี้
 
"ไม่ว่าจะเรียกว่าเป็นความรุนแรงในเขตอาศัย หรือการปะทะกันทางชาติพันธ์ุ แต่ชาวโรฮิงญาก็ถูกกดขี่แบบทับซ้อน พวกเขาถูกกระทำโดยรัฐบาลและถูกมองว่าไม่ใช่พลเมือง ฉะนั้นพวกเขามีสิทธิน้อยกว่าประชาชนในพม่าทั่วไป" เขากล่าว "ชาวโรฮิงญายังถูกกระทำจากชาวอาระกันด้วย ฉะนั้นเรื่องนี้ไม่ใช่เกี่ยวกับการเลือกข้าง แต่เป็นการพิทักษ์สิทธิมนุษยชน" 
 
ในวันเดียวกันกับการเผยแพร่รายงานของฮิวแมนไรท์ วอทช์ (22 เม.ย. 56) องค์กรอินเตอร์เนชั่นแนล ไครซิส กรุ๊ป ได้จัดงานกาลาดินเนอร์ในนิวยอร์ก เพื่อมอบรางวัลสันติภาพ "In Pursuit of Peace" แก่ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ของพม่า และประธานาธิบดีลูอิส อีนาซีอู ลูลา ดา ซิลวา ของบราซิล ท่ามกลางข้อวิพากษ์วิจารณ์ขององค์กรสิทธิมนุษยชนอื่นๆ นอกจากนี้ สหภาพยุโรป ยังได้ยกเลิกการคว่ำบาตรที่มีมายาวนานกว่าศตวรรษ นำมาซึ่งข้อวิจารณ์ว่า อียูยกเลิกการคว่ำบาตรต่อพม่าเร็วเกินไป ทั้งๆ ที่ยังมีปัญหาอื่นๆ อีกมากในประเทศ เช่น เรื่องนักโทษการเมือง และความขัดแย้งกับกลุ่มชาติพันธุ์ เป็นต้น 
 
ฮิวแมนไรท์ วอทช์ เรียกร้องให้รัฐบาลพม่าแก้ไขกฎหมายปี 1982 ว่าด้วยเรื่องสัญชาติ เพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อชาวโรฮิงญา และเพื่อรับรองสิทธิพลเมืองของเด็กโรฮิงญาที่เกิดมาใหม่ในพม่า และไม่ต้องกลายเป็นบุคคลไร้รัฐ และให้รัฐบาลจัดตั้งคณะกรรมการค้นหาความจริงเพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรม 
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นภดล ชาติประเสริฐ: เกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้ คู่ขัดแย้งที่ตัดสัมพันธ์ไม่ขาด

Posted: 26 Apr 2013 02:21 AM PDT

เมื่อวันที่ 23 เม.ย. ที่ห้อง 202 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดเสวนาหัวข้อ "วิกฤตคาบสมุทรเกาหลีรอบใหม่: ความไม่มั่นคงในภูมิภาคและทางออก" มีวิทยากรประกอบด้วย รศ.ดร. จุลชีพ ชินวรรโณ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รศ.ดร. นภดล ชาติประเสริฐ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ผศ.ดร. กิตติ ประเสริฐสุข คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินรายการโดย อ.ดร. จันจิรา สมบัติพูนศิริ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ โดยประชาไทได้นำเสนอในส่วนของการนำเสนอโดย รศ.ดร.จุลชีพ ชินวรรโณ และ ผศ.ดร.กิตติ ประเสริฐสุข ไปแล้วนั้น

รศ.ดร.นภดล ชาติประเสริฐ ในการเสวนา "วิกฤตคาบสมุทรเกาหลีรอบใหม่: ความไม่มั่นคงในภูมิภาคและทางออก" เมื่อ 23 เม.ย. ที่ผ่านมา ที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

 

ต่อมาเป็นการอภิปรายโดย รศ.ดร.นภดล ชาติประเสริฐ โดยเริ่มอภิปรายว่า ในช่วงสงกรานต์มานี้ มีคนให้ความสนใจกรณีคาบสมุทรเกาหลีอย่างมาก โดยมีสื่อมวลชนแขนงต่างๆ มาขอความเห็น ถามว่าทำไมถึงเป็นช่วงกรานต์ เนื่องจากคนจะไปเที่ยวเกาหลีในช่วงสงกรานต์ ซึ่งช่วงนี้ตรงกับฤดูใบไม้ผลิพอดี กำลังสวยงาม และทัวร์แน่น แต่พอเจอวิกฤตคาบสมุทรเกาหลีตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม คนอลหม่านวุ่นวายไปหมด ว่าจะไปไม่ไปดี จะยกเลิกทัวร์หรือไม่ ก็ถามมาทางสื่อมากมาย สื่อก็เลยมาถามเราต่อ ผมก็บอกว่าไปเถอะ อย่าคืนตั๋วเลย ก็แคล้วคลาดผ่านสงกรานต์ไปได้ ก็ยินดีด้วยที่ไม่เปลี่ยนใจ

ความขัดแย้งครั้งนี้ขอตั้งสังเกตว่า คราวนี้เป็นการเผชิญหน้าระหว่างผู้นำที่เชื่อว่าน่าจะอายุน้อยที่สุดในโลก อายุประมาณ 29-30 ปี กับมหาอำนาจที่เข้มแข็งของโลก เพราะฉะนั้นสีสันย่อมฉูดฉาดไม่ธรรมดา วาทะ คำพูดที่ออกมาดุเดือนรุนแรงก็คาดหมายได้ เพราะเกาหลีเหนือก็ทำแบบนี้มานานแล้ว ใครที่เฝ้าติดตามเหตุการณ์ในคาบสมุทเกาหลี จะพบว่าเกาหลีเหนือมักจะมานิ่งๆ เนิบๆ เรียบๆ จืดๆ ไม่เป็น

บางท่านที่ติดตามวาทะของเกาหลีเหนือมาหลายสิบปี จะพบว่าเกาหลีเหนือพูดแบบนี้อยู่แล้ว เพียงแต่เปิด Volume ให้ดัง คือที่ผ่านมาถ้ามีสเกล 10 ก็จะเปิด Volume ประมาณ 5-6 แต่ตอนนี้เร่ง 10 เลย ทำให้ชาวโลกตื่นตะลึง ช็อก จะไม่ไปเที่ยวกัน ดังนั้นจึงเห็นว่าคนเกาหลีใต้ไม่ตื่นเต้น เพราะได้ยินแบบนี้มาตลอด เพียงแต่ที่ผ่านมาเปิด Volume เบาได้ยินไม่ถึงชาวโลก

ถ้าจะพูดถึงเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ในวิกฤตคราวนี้ ต้องมองในภาพใหญ่ในแง่ของดุลระหว่างเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ที่การตั้งประเทศเกิดขึ้นจากฐานความขัดแย้ง และก็เคยทำสงครามกันด้วย ดังนั้นหลังการเกิดขึ้นของประเทศซึ่งแตกต่างทางอุดมการณ์นั้น เขาก็แข่งขันกัน โดยที่ระหว่างสองประเทศในทางอำนาจ ทางเศรษฐกิจ และในทางเครือข่ายกับประชาคมโลกมันผันแปรไม่ได้หยุดนิ่ง

โดยเกาหลีเหนือนั้นภูมิประเทศเป็นภูเขา มีแร่ธาตุทรัพยากรเยอะ ทางใต้เป็นเขตเกษตรกรรม เป็นที่ราบเยอะกว่า เมื่อญี่ปุ่นปกครอง ได้ใช้เกาหลีเหนือเป็นฐานอุตสาหกรรม แล้วโรงไฟฟ้าอยู่ในเกาหลีเหนือหมดเลย ทางใต้เป็นแหล่งเกษตร เมื่อแบ่งออกเป็นสองประเทศ ก็ตัดสองส่วนออกจากกัน มันวุ่นเลย เกาหลีใต้อยู่ในสภาพขาดแคลน แร้นแค้น ทรัพยากรทรัพยากรโรงงาน แหล่งกำเนิดไฟฟ้า ขณะที่เกาหลีเหนือพร้อมกว่า โดยในช่วง 20 ปีแรกที่แยกประเทศ เศรษฐกิจเกาหลีเหนือเติบโตแข็งแกร่งกว่าเกาหลีใต้มาก เกาหลีใต้อยู่ในสภาพแร้นแค้น ต้องรอประธานาธิบดีปักจุงฮีมาปฏิรูป กว่าจะเข้าที่เข้าทางก็เลยยุค 1960

ในแง่เครือข่าย ระยะแรกเกาหลีเหนือก็ทำได้ดีกว่า ในแง่ประเทศต่อต้านจักรวรรดินิยม และประเทศเกิดใหม่ในแอฟริกา ประเทศเล็ก ประเทศน้อย ก็ล้วนต่อต้านจักรวรรดินิยม กลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด อะไรอย่างนี้ เพราะฉะนั้นเกาหลีเหนอจะจับมือกับประเทศเหล่านี้ได้เยอะ ขณะที่เกาหลีใต้ถูกมองว่าเป็นญาติสนิทอเมริกา ก็จะเปิดความสัมพันธ์ได้แต่เครือข่ายของสหรัฐอเมริกา ขณะที่ประเทศเกิดใหม่ซึ่งมีมากมาย ประเทศตามเกาะแก่งทั้งหลาย เกาหลีเหนือทำได้ดีกว่าเกาหลีใต้ นี่คือยุคประมาณ 20 กว่าปีแรก 

อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นเกมพลิก เกาหลีใต้เริ่มพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตมากขึ้น ขณะที่เศรษฐกิจแบบรวมศูนย์ของเกาหลีเหนือสักพักเริ่มอิ่มตัว และเร่งเศรษฐกิจไม่ได้ การกระจายสินค้าเริ่มมีปัญหา เหมือนที่โซเวียตเจอ ก็เริ่มเกิดความขาดแคลนขึ้น ขณะที่เกาหลีใต้เติบโตเร็วมาก ตั้งแต่สมัยปักจุงฮีก สักพักศักยภาพของเกาหลีใต้จะมีความสำคัญมากขึ้น คนเริ่มมาคบหาสมาคมมากขึ้น เกาหลีเหนือเริ่มทรงตัว สักพักพอถึงกลางๆ ทศวรรษ 1980 โซเวียตเริ่มปฏิรูป จีนเริ่มปฏิรูปตั้งแต่ปลาย 1970 ยิ่งสนใจเศรษฐกิจก็ยิ่งอยากคุยกับคนมั่งคั่ง เกาหลีเหนือซึ่งจนลงๆ ก็เริ่มมีบทบาทน้อยลงและไปอยู่ชายขอบ เกาหลีใต้ก็รู้อำนาจตรงนี้ ก็เร่งความสัมพันธ์ นอกจากความสัมพันธ์กับประเทศโลกที่ 3 แล้ว เกาหลีใต้ก็เอื้อมมือไปแตะกับจีนและโซเวียตได้ ที่สำคัญคือการที่เกาหลีใต้เป็นเจ้าภาพโอลิมปิกปี 1988 ซึ่งสามารถนำนักกีฬาจีนกับโซเวียตมาร่วมแข่งขันที่โซลได้ ประเทศยักษ์ใหญ่มาร่วมหมดเลย สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นมาอยู่แล้ว แต่สามารถนำนักกีฬาจีนกับโซเวียตมาร่วมด้วย ทั้งที่ยังไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการ โดยถือเป็นความคืบหน้าที่สำคัญมาก ขณะที่เกาหลีเหนือในช่วงนั้นเคยหารือกันว่าจะร่วมมือเป็นเจ้าภาพ จะร่วมจัดในบางส่วน เกาหลีเหนือจะขอจัดนิดหนึ่ง แต่ไม่สำเร็จ แผนที่คุยกันไว้พังหมด เกาหลีใต้จัดผู้เดียว ทุกวันนี้ที่เปียงยางยังมีสนามกีฬาใหญ่ไว้รองรับโอลิมปิกคราวนั้น สร้างไว้อย่างสมบูรณ์รองรับการแข่งขันกีฬาขนาดใหญ่ แต่ไม่ได้ใช้ ทุกวันนี้ก็ใช้ในงานประจำปีที่เราดูตามสื่อ 

ฉะนั้นจะเห็นว่าตั้งแต่ปลายปี 1988 เป็นต้นมา จะเห็นว่าดุลเปลี่ยนมาทางเกาหลีใต้ และเกาหลีใต้ต่อมาก็สามารถสถาปนาความสัมพันธ์กับจีน และรัสเซีย คือมหาอำนาจยักษ์ที่มีอิทธิพลในเอเชียตะวันออก เกาหลีใต้มีความสัมพันธ์หมดแล้วทั้งสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น รัสเซีย จีน มีความสัมพันธ์ด้านการค้าและการลงทุนที่เข้มข้น ขณะที่เกาหลีเหนือยังคงมีความสัมพันธ์กับรัสเซีย จีน ยังไม่สามารถเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นได้เลย

สหรัฐอเมริกา นี่เป็นประเด็นหลัก ทุกครั้งที่ทะเละเบาะแว้งมีเรื่องราว ก็บอกว่าอยากจะคุย อยากให้อเมริกาให้ความมั่นใจว่าจะไม่รุกราน จนกระทั่งสถาปนาความสัมพันธ์ได้ ส่วนญี่ปุ่นก็พูดคุยกันตลอดเวลา แต่มีประเด็นเล็กประเด็นน้อยทำให้ไปไม่ถึงไหน เช่นเรื่องลักพาตัว เพราะญี่ปุ่นใช้เป็นเงื่อนไขหลัก ว่าจะร่วมมือหรือเจรจาแค่ไหน ดังนั้นจะเห็นว่าดุลระหว่างเหนือใต้มันพลิก จากช่วงแบ่งแยกประเทศใหม่ๆ 20 ปีแรกที่เหมือนเกาหลีเหนือได้เปรียบ กับกลายเป็นเกาหลีใต้โดดเด่นมีพลัง และรวมถึงอำนาจทางทหารด้วย เพราะมีเงินซื้ออาวุธ ขณะที่เกาหลีเหนือไม่มีเงิน ดังนั้น Conventional Weapon ของเกาหลีใต้ก็ได้เปรียบกว่า นี่ก็เป็นเหตุผลด้านความมั่นคงว่า เกาหลีเหนือจึงพัฒนาอาวุธทำลายล้างสูง หรือนิวเคลียร์ เพราะเป็นทางออกเดียวที่จะสร้างดุล หรือป้องปรามอีกฝ่ายได้

นี่คือดุลของสองประเทศที่เปลี่ยนไปในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา ซึ่งนับวันช่องว่างจะห่างกันอีก โดยเกาหลีใต้ก็เติบโตเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสิบกว่าๆ

ส่วนในแง่ความสัมพันธ์อันเฉพาะของเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ก็มีลักษณะพิเศษของประเทศที่เข้ามาเกี่ยวข้อง อย่าง จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เข้ามาเกี่ยวข้องเพราะอยู่ใกล้กัน มีผลประโยชน์กระทบกระเทือนต่อกัน แต่ก็เป็นคนละเชื้อชาติ แต่เกาหลีใต้และเกาหลีเหนือเป็นคนชาติเดียวกัน มีประวัติศาสตร์ร่วมกันมา เพราะฉะนั้นความสัมพันธ์จึงซับซ้อน ลึกซึ้งมากกว่าประเทศอื่น และมีอะไรหลายอย่างร่วมกัน มีตัวหนังสือเหมือนกัน พูดภาษาเดียวกัน ไม่ได้มีอะไรแตกต่างกัน มีหลายอย่างร่วมกัน แม้จะมุมมองต่างกัน แต่พอถามเรื่องการยึดครองญี่ปุ่นกับคนเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ก็จะได้คำตอบแบบเดียวกัน ดังนั้นเขาก็ไม่ได้แตกต่างกันทุกมิติ ความชอกช้ำระกำใจ เกลียดชังญี่ปุ่นก็มีไม่ต่างกัน

เพราะฉะนั้น ในแง่ความสัมพันธ์ ผู้นำเกาหลีใต้ จึงไม่สามารถกำหนดจุดยืนได้แบบผู้นำสหรัฐอเมริกา ผู้นำจีน หรือผู้นำญี่ปุ่น ดังนั้นต้องหาดุลตรงนี้ให้ได้ อย่างประธานาธิบดีสุภาพสตรี ปัก กึน เฮ ก็มาจากพรรคสายอนุรักษ์ และจุดยืนต้องแสดงความเข้มแข็ง ถ้าจะร่วมมือกับเกาหลีเหนือต้องมี Give&Take ต้องมีการประพฤติที่ดี ต้องพัฒนาตัวเองด้วย ซึ่งนโยบายไม่เหมือนกับประธานาธิบดีที่มาจากพรรคเอียงซ้ายหน่อย อย่าง คิม แด จุง ที่ค่อนข้างอยากจับมือกับเกาหลีเหนือ มีการเดินทางไปเยือน โดยที่เกาหลีเหนือยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงบทบาทเท่าไหร่

ขณะเดียวกัน รัฐบาลเกาหลีใต้ต้องคำนึงถึงความรู้สึกของชาวเกาหลีจำนวนมาก ที่อยากให้สองเกาหลีญาติดีกัน พบเจอกัน แลกเปลี่ยนกันด้วย เพราะมีประเด็นที่ลึกซึ้ง คืออาจจะมากกว่าประเด็นลักพาตัว เพราะมีคนถูกลักพาตัว 10 กว่าคน 20 กว่าคน แต่ทุกวันนี้มีชาวเกาหลีทั้งสองฟากพรมแดน ซึ่งมีญาติที่ไม่ได้เจอกันหลายหมื่นคนหรือแสน ไปมาหาสู่กันไม่ได้ เขียนจดหมายถึงกันไม่ได้ บางทีเป็นพี่น้องกันจากกันตั้งแต่สงครามเกาหลี แม่อยู่ประเทศหนึ่ง พ่ออยู่ประเทศหนึ่ง พี่น้องอยู่คนละประเทศ ไม่ได้เจอกัน ยังจำความกันได้ และเฝ้ารอวันที่จะเจอกัน มีบางคน บิดาใกล้จะตาย ก็เขียนจดหมายแล้วสั่งเสียลูกว่าให้เอาจดหมายไปให้พี่ให้ได้ นี่เป็นเรื่องราวที่ฟังแล้วสะเทือนใจมาก

และในช่วงที่ความสัมพันธ์สองเกาหลีค่อนข้างจะดี อย่างสมัยประธานาธิบดี โน มู เฮียน ก็ให้ญาติมาเจอกันหลายครั้ง แม้จะเป็นระยะเวลา 3-5 วัน แต่ก็เป็นเวลาที่พิเศษสุด ที่ให้ญาติได้มาพูดคุยกัน แล้วก็จะได้เห็นวัฒนธรรมแบบเอเชีย ลูกไปคารวะแทบเท้าพ่อที่ไม่ได้เจอกันมา 50 ปี ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ผู้นำเกาหลีใต้มองข้ามไม่ได้ เพราะฉะนั้นท่าทีของปัก กึน เฮ และผู้นำเกาหลีใต้แม้จะขึงขังกับเกาหลีเหนือแค่ไหน ก็ทิ้งไม่ได้ เมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกา จีน หรือญี่ปุ่น

ท่าทีของเกาหลีใต้ ด้านหนึ่งจึงฮึกเหิม อยากตอบโต้ อีกด้านก็พยายามผ่อนๆ อยากพูดคุย เสนอให้เปิดนิคมอุตสาหกรรมแกซองต่อ อยากให้มีการแลกเปลี่ยน มีความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ให้มีการพบเจอของญาติมิตร เพราะที่ผ่านมายังจัดพบญาติไม่กี่ครั้ง และส่วนใหญ่ก็เฝ้ารอให้มีการจัดพบญาติอีก ซึ่งส่วนใหญ่ก็เริ่มอายุมากแล้ว  ใกล้จะถึงกาลสุดท้ายของชีวิต อายุ 70-80 แล้ว เวลาก็นับถอยหลังเรื่อยๆ ดังนั้นจึงเป็นอะไรที่กดดัน นี่เป็นมิติที่ไม่ค่อยพูดถึงกัน ซึ่งสะเทือนใจชาวเกาหลีส่วนใหญ่ที่แม้ไม่ได้เป็นญาติพี่น้องได้ก็ได้ทราบเรื่องเหล่านี้

อย่างไรก็ตาม เกาหลีใต้กับสหรัฐอเมริกา ก็แยกจากกันไม่ออก ในแง่ความมั่นคงและผลประโยชน์ แง่หนึ่งเกาหลีใต้ยื่นมือไปแตะเกาหลีเหนือ ขณะเดียวกันมือหนึ่งก็แตะสหรัฐอเมริกา เหมือนเล่นบทสองหน้าตลอด ซึ่งทำให้เกาหลีเหนือหงุดหงิดเหมือนกัน อย่างเช่น การซ้อมรบที่กระทำอยู่นี้ จัดใหญ่ จัดหนัก ใช้ทหารร่วมสองแสน เท่ากับกองทัพไทยทั้งกองทัพ เป็นการซ้อมรบทุกมิติ บก เรือ อากาศ นอกจากมีการใช้เครื่องบิน B52 แล้ว ยังมีการใช้เครื่องบิน B2 ซึ่งหลบหลีกเรดาห์ได้ บินมาจากมิสซูรี 16,000 กิโลเมตร เติมน้ำมันกลางอากาศ ทิ้งระเบิดจำลอง 2 ลูก ใกล้ๆ พรมแดน แล้วบินกลับอีก 16,000 กิโลเมตร ซึ่งเครื่องบินที่หลบหลีกเรดาห์ได้ ก็สามารถทิ้งระเบิดในเกาหลีเหนือโดยที่เกาหลีเหนือตรวจจับไม่ได้ ซึ่งท่าทีแบบนี้ถ้ามองจากฝั่งเกาหลีเหนือ เราก็ต้องบอกว่า นี่คือการคุกคาม และคงปฏิเสธไม่ได้ว่า เกาหลีใต้ก็คงต้องรู้

ซึ่งจริงๆ ท่าทีแบบนี้ไม่ใช่ของใหม่ เวลาที่สหรัฐอเมริกาและเกาหลีใต้ซ้อมรบก็ทำอะไรอย่างนี้เป็นประจำ อย่างเช่นเครื่องบินรบ B52 บินขึ้นจากฐานทัพในเกาหลีใต้ มุ่งหน้าขึ้นเหนือ สปีดแบบพร้อมรบ ความเร็วสูงสุดบินเข้าหาพรมแดน พอถึงใกล้ๆ เส้นเขตปลอดทหารก็เลี้ยวซ้าย-ขวา เลี้ยวแบบหักมุม ท่าทีแบบนี้เกาหลีเหนือก็รู้สึกว่าถูกคุกคาม ดังนั้นทุกครั้งที่มีการซ้อมรบ เกาหลีเหนือก็จะอยู่ไม่สุข เพราะว่าในประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มีอยู่บ่อยครั้ง ที่มีการอาศัยการซ้อมรบบังหน้าเพื่อคุกคาม เช่น ตอนเกิดสงครามอาหรับ-อิสราเอลต้นทศวรรษที่ 1970 ฝ่ายอาหรับก็ใช้การซ้อมรบครั้งใหญ่

ในอีกมุมหนึ่งเกาหลีใต้ก็เล่นสองบทตลอดเวลา และเมื่อมองอีกมุมหนึ่งก็มีการสื่อสารสองฝ่ายด้วยการกระทำ เช่น พอเปลี่ยนผู้นำเกาหลีเหนือเมื่อปลายปี 2554 ในช่วงนั้น จะมีข่าวมาจากโลกตะวันตกว่าจะเป็นยุคสมัยใหม่ มีความหวังกับผู้นำท่านใหม่ที่ได้รับการศึกษาจากตะวันตก คงมีการพูดคุยที่เข้าท่ามากขึ้น และปาฐกถาสำคัญของประธานาธิบดีเกาหลีใต้ อี เมียง บัก ในวันปีใหม่ในปี 2555 ก็บอกว่าจะเป็นจุดเปลี่ยนประวัติศาสตร์โลกตะวันตกและเกาหลีใต้ ก็คือโลกตะวันตก และเกาหลีใต้บอกคุยกันไหม เปลี่ยนคนแล้ว เปลี่ยนเกมดีกว่า แต่ผ่านไปได้ 10 กว่าเดือน เกาหลีเหนือยิงขีปนาวุธระยะไกล ซึ่งเกาหลีเหนืออ้างว่าปล่อยดาวเทียม และเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาทดลองนิวเคลียร์ครั้งที่ 3 นี่คือสัญญาณว่าอยากจะเดินเกมนี้อยู่

เพราะฉะนั้นก็มองได้ว่า การซ้อมรบใหญ่ของเกาหลีใต้-สหรัฐอเมริกา คือการตอบโต้การทดลองขีปนาวุธ และนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ ซึ่งต้องมองว่าเกาหลีเหนือจะตอบโต้อย่างไร ซึ่งผมเห็นว่าสงครามนิวเคลียร์ไม่มีทางเกิดขึ้น เกาหลีเหนือไม่มีทางทำลายตัวเอง และขณะนี้เกาหลีเหนือยังไม่มีศักยภาพที่จะส่งหัวรบนิวเคลียร์ไปสู่เป้าหมายได้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ฟังสื่อกัมพูชาและสื่อไทยชายแดน ประเด็นน่ากังวลจากข่าวเขาพระวิหารคือสงคราม

Posted: 26 Apr 2013 01:42 AM PDT

ตัวแทนสื่อกัมพูชา เปิดใจประเด็นที่คนกัมพูชากังวลคือสงคราม พร้อมยอมรับคำตัดสินเพราะกัมพูชาเป็นฝ่ายยื่นคำร้องต่อศาลโลกเอง ขณะสื่อชายแดนไทย-กัมพูชาเรียกร้องความร่วมมือระหว่างประเทศ

 

ซก สุวรรณ ประธานกรรมการสื่อมวลชนกัมพูชา และรองเลขาธิการสหพันธ์สื่อมวลชนอาเซียน กล่าวในการเสวนาหัวข้อ "ไทย-กัมพูชา-ปราสาทพระวิหาร..รู้ทันข่าว รู้ทันสื่อ" ซึ่งจัดโดยมีเดีย อินไซด์เอาท์ ว่าคนกัมพูชารวมถึงนักข่าวจะติดตามข่าวถ่ายทอดสดจากช่อง 11 ของกัมพูชา และสิ่งที่กังวลคือสงครามมากกว่าเรื่องผลคำตัดสิน ทั้งนี้ฝั่งกัมพูชาเชื่อว่าชนะคดีเพราะกัมพูชาอ้างอิงแผนที่1:200,000 เตามคำตัดสินจากศาลโลก ซึ่งกัมพูชาชนะมา 50 ปีแล้ว

"นักการเมืองกัมพูชาพูดน้อยในเรื่องนี้ เพราะเขาเห็นว่าอยากตีความคำตัดสินใหม่ให้ชัดเจน ไม่อยากให้เป็นเรื่องซ้ำไปซ้ำมาเกี่ยวกับปราสาทเขาพระวิหารซึ่งต้องการการพัฒนา"

"แต่การนำเสนอไม่เหมือนไทย ผมเห็นว่าไทยออกข่าวทุกช่วงเวลาเลย ทั้งช่องสาม ช่อง 11 ผมดูทีวีของไทยสามช่อง" สำหรับประเด็นในศาลโลกนั้น สำหรับกัมพูชาเชื่อมั่นว่าต้องชนะนะ เพราะเรามีแผนที่ 1:200,000 เพราะเป็นตัดสินจากศาลโลก ซึ่งกัมพูชาชนะมา 50 ปีแล้ว

ส่วนความสนใจของประชาชนนั้น ซก สุวรรณกล่าวว่าประชาชนไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่ ข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องนี้ส่วนใหญ่ติดตามจากข่าวไทย ส่วนนักข่าวกัมพูชานั้นไปที่กรุงเฮกนั้นมีการรายงานประมาณ 2 ช่วงเท่านั้น คือ  11.00 น. และ 18.00 น.

"การติดตามข่าวสารของฝั่งกัมพูชา กลัวอย่างเดียวคือกลัวสงคราม ส่วนเรื่องคำตัดสินไม่มีความกังวล" ซก สุวรรณกล่าวและว่าประชาชนกัมพูชาผ่านความขัดแย้งมานานแล้วและไม่ชอบเรื่องความขัดแย้ง เมื่อมีความขัดแย้งทางกัมพูชาก็จะถือว่ารัฐบาลเป็นตัวแทนของเขา

ในส่วนการนำเสนอข่าวสาร เขากล่าวว่า กัมพูชามีเสรีภาพในการเขียน แต่ถ้าทำให้เกิดความเสียหาย อะไรที่ไม่แน่นอนก็ไม่เขียน ประเด็นความขัดแย้งจะเขียนค่อนข้างเบา และระมัดระวัง

เขาย้ำว่าผลการตัดสินนั้นกัมพูชาต้องยอมรับเพราะคนที่ร้องขอให้ศาลตีความคำตัดสินอีกครั้งเป็นฝ่ายกัมพูชาเอง

ประสิทธิ์ แสงรุ่งเรือง นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัญหาเรื่องเขาพระวิหาร คนภาคกลางหรือรัฐบาลอาจจะมองอย่างหนึ่ง แตกต่างจากคนกลุมหนึ่งที่อยู่ชายแดนมองต่างกัน สิ่งที่คนชายแดนเป็นห่วงคือความกระทบกระทั่ง คนชายแดนเคยเห็นผู้อพยพกัมพูชาอพยพมายังประทเศไทยเป็นล้าน เห็นคนเวียดนามไหลทะลักเข้ามา ล้มตายนับแสนคน ภาพเหล่านี้ยังประทับอยู่ในใจ

"อย่างที่คุณ ซก สุวรรณกล่าว คนชายแดนเป็นห่วงเรื่องสงครามจริงๆ ถ้าเกิดความขัดแย้งขึ้นมาเราเสียหาย ตลอดเวลาที่ผ่านมา เวลามีปัญหาด้านสงครามขึ้นมา ประชาชนได้รับความเดือดร้อนมาก ฉะนั้นเมื่อมาพูดถึงเรื่องปัญหาเขาพระวิหาร เรามีความเห็นว่าฝ่ายตุลาการนั้นควรปล่อยให้เขาดำเนินการ ส่วนจะออกเป็นรูปแบบใดก็ตาม เชื่อว่าทุกคนจะหาผลประโยชน์เพื่อตนเองและประเทศชาติ แต่ในฐานะที่พัมูชาเป็นประเทศข้างเคียงกับเรา มีอะไรก็น่าจะได้พูดคุยกันปรึกษาหารือกัน"

"ทางที่ดีที่สุดคือพยายามที่จะอย่าเสนอความคิดเห็นที่เป็นความขัดแย้งแต่ต้น ผมไม่อยากให้เป็นอย่างนั้นถึงแม้ว่าเขาจะพิพากษาว่าอย่างไรก็ตาม แต่ที่มองโดยเฉพาะอย่างยิ่งผมเป็นคนที่อยู่ที่นั่นและทำข่าวสู้รบชายแดนมานาน ผมเห็นว่าปัญหานี้น่าจะได้พูดคุยกันและตกลงกันให้ได้ แต่ถ้าตกลงเรื่องเส้นเขตแดนไม่ได้ก็น่าจะใช้พื้นที่นี้ร่วมกันไปเลย แต่เท่าที่มองถ้าหากว่าเราต่างฝ่ายต่างรักชาติ ต่างฝ่ายต่างระดมความคิดเห็น ในที่สุดเราจะไม่สารรถรอมชอมกันได้"

ประสิทธิ์กล่าวว่า ประเทศในภูมิภาคอาเซียนเป็นประเทศเล็กๆ ที่ร่ำรวยทางทรัพยากร ถ้าขัดแยน้งกันมาก ปัญหาในอดีตอาจจะกลับมาคือประเทศมหาอำนาจอาจจะกลับเข้ามาอีกครั้งหยนึ่ง ปัญหาที่เกิดขึ้นมาทั้งหมดนั้น เป็นเพราะประเทศอาเซียนสร้างขึ้นและไปเชื้อเชิญมหาอำนาจจากภายนอกเข้ามาเอง

เขาเท้าความถึงกรณีเผาสถานทูตไทยในกัมพูชาที่เกิดขึ้นเพราะปัญหาการสื่อสาร สื่อมวลชนชายแดนจึงตั้งสมาคมขึ้นมา และอยากให้เอาความจริงมาพูดและพยายามแก้ไขปัญหา รวมทั้งอยากให้กลุ่มประเทศอาเซียนอยู่ด้วยกันและมีความร่วมมือระหว่างกัน

สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี บรรณาธิการข่าวต่างประเทศ เดอะเนชั่น กล่าววา คนทั่วไปอาจจะอยากให้นักข่าวประเมิน หรือชั่งน้ำหนักว่าใครมีน้ำหนักมากกว่ากัน แต่เขาคิดว่านักข่าวไม่ควรตอบในเชิงสร้างความคาดหวังต่อประเด็นความขัดแย้งนี้
"ผมตอบว่า ประการแรกผมไม่มีความรู้ด้านกฎหมายระหว่างประเทศมากพอ และทำไมผมจึงไม่พยายามจะบอกอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะถ้าพูดโดยทั่วไป ผมคิดว่าผมไม่ควรจะตอบให้เกิดความคาดหวังใดๆ

"ผมทำข่าวเรื่องนี้ตื่นเต้นน้อยกว่าการทำข่าวเขาพระวิหารที่คณะกรรมการมรดกโลก เพราะประเด็นเป็นเรื่องทางการเมืองและหาประโยชน์จากความเพลี่ยงพล้ำ ในประเด็นนี้เขาเห็นว่าเมื่อคดีขึ้นสู่ศาล ความขัดแย้งให้อยู่ในศาล แต่รัฐบาลต่อรัฐบาลไม่เกลียดกัน ประชาชนต่อประชาชนไม่เกลียดกัน พื้นที่ต่อให้เสีย 4.6 ตารางกิโลเมตร หรือ 2875 ไร่ ถ้าเทียบกับทั้งหมดในไทยนั้นน้อยมาก เมื่อเทียบกับการใช้พื้นที่ฉบับเดียวกันแล้วไทยได้พื้นที่จากลาวจำนวนมากนั้น มากกว่า"

"ความลำบากในฐานะสื่อมวลชน คือการเอาตัวเองถอยออกมาจากเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นพลเมืองของชาติทั้งเป็นผู้ต้านหรือสนับสนุนรัฐบาลก็ตาม แต่ผมคิดว่าเราสามารถแยกแยะได้"

"เขาพระวิหารเป็นต้นไม้หนึ่งต้นในป่าทั้งป่าของความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา คนไทยรู้สึกกับมันมากเกินเหตุ ผมรู้สึกกับกรณีนี้ ต่างกับกรณีขึ้นทะเบียนมรดกโลก เพราะตอนนั้นคนไทย emotional เกินเหตุ" สุภลักษณ์กล่าวพร้อมตั้งคำถามว่าถ้าเราได้พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรแล้วเรายอมเสียความสัมพันธ์กับกัมพูชา เสียอะไรอีกหลายๆ อย่าง เราจะยอมเสียอย่างนั้นหรือ
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อัยการส่งฟ้องพันธมิตรฯ เพิ่ม สอบคำให้การจำเลย 29 เม.ย.

Posted: 26 Apr 2013 12:18 AM PDT


วันที่ 25 เม.ย.56 พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 9 นำตัว น.ส.ศิริลักษณ์ ผ่องโชค อดีตดารานักแสดงชื่อดัง และแนวร่วมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ส่งฟ้องต่อศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ในข้อหาร่วมกันก่อการร้าย จากกรณีชุมนุมปิดล้อมหน้าสนามบินดอนเมืองและสนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อปี 2551 โดยศาลได้ประทับรับฟ้องคดีดังกล่าวไว้ และนัดสอบคำให้การจำเลย วันที่ 29 เมษายนนี้ เวลา 09.00 น. พร้อมกับคดีที่อัยการได้ยื่นฟ้อง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ กับพวกไป 6 สำนวนแล้ว รวม 93 คน จากผู้ต้องหาทั้งสิ้น 114 คน ที่อัยการมีความเห็นสั่งให้ฟ้อง

ขณะที่ น.ส.สุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี ได้ใช้ตำแหน่งเป็นหลักทรัพย์ ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราว น.ส.ศิริลักษณ์ ซึ่งศาลพิจารณาให้ประกัน โดยตีราคาประกัน 600,000 บาท

ทั้งนี้ คดีดังกล่าวมีผู้ต้องหาทั้งหมด 114 ราย ที่อัยการมีความเห็นสั่งฟ้อง โดยมีผู้ต้องหาที่ระบุชื่อและตัวตนได้ทั้งหมด 99 คน ส่วนที่เหลือไม่สามารถระบุชื่อและตัวตนได้ ระบุได้เพียงรูปพรรณสัณฐานเท่านั้น

นอกจากนี้ วันที่ 26 เม.ย. พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 9 ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายบัณฑิต ปิ่นมงคลกุล อายุ 42 ปี อดีตผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี กับ น.ส. เมธาวดี เบญจราชจารุนันท์ อายุ 29 ปี อดีตผู้ประกาศข่าวเอเอสทีวี ปัจจุบันไปเรียนต่อปริญญาเอกต่างประเทศเป็นจำเลย ฐานมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง, ร่วมกันบุกรุกรบกวนการครอบครอง โดยมีอาวุธหรือประทุษร้าย, ร่วมกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป ทำให้เสียหายแก่การให้บริการของท่าอากาศยาน โดยใช้อาวุธ, ร่วมกันทำให้ทางสาธารณะอยู่ในลักษณะน่าจะเป็นอันตรายแก่การจราจร ร่วมกันทำให้การสื่อสารไปรษณีย์ขัดข้อง ซึ่งทั้งสองเป็นแนวร่วมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.)ที่ชุมนุมปิดล้อมสนามบินดอนเมือง และสนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อปี 2551 โดยชั้นสอบสวนทั้งสองให้การปฏิเสธ
       
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 25 พ.ค.2551 มีการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ เพื่อขับไล่รัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช จนศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้นายสมัคร พ้นจากตำแหน่งไปแล้ว จนวันที่ 3 ต.ค.2551 จำเลยทั้งสองกับพวก ร่วมกับจำเลยอื่นที่ถูกฟ้องไปแล้ว ปลุกระดมมวลชน เพื่อขับไล่รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และเมื่อนายสมชาย แถลงนโยบายรัฐบาล ก็มีกลุ่มพันธมิตรฯไปชุมนุมประท้วงที่ทำเนียบรัฐบาล จนวันที่24พ.ย.2551 มีการปิดล้อมสนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมือง แล้วปลุกระดมให้ประชาชนมาร่วมชุมนุม โดยมีการถ่ายทอดทางสถานีเอเอสทีวี ซึ่งกระทำดังกล่าวของจำเลยกับพวก มีการใช้กำลังประทุษร้าย โดยจำเลยคดีนี้กับพวกที่ถูกฟ้องไปแล้วร่วมกระทำผิดหลายกรรมจนศาลอาญาออกหมาย จับจำเลยทั้งสอง ขอให้ศาลลงโทษตามกฎหมาย
       
ศาลอาญาได้รับฟ้องไว้เป็นคดีดำที่ อ.1559/2556 และนัดสอบคำให้การจำเลย อีกครั้งวันที่ 29 เม.ย.เวลา 09.00 น.
       
ต่อมา น.ส.พวงทิพย์ บุญสนอง ทนายความได้นำเงินจากกองทุนยุติธรรม จำนวน 6 แสนบาทยื่นประกัน นายบัณฑิต ปิ่นมงคลกุล ขณะที่ น.ส. เมธาวดี เบญจราชจารุนันท์ ได้ใช้ตำแหน่งของบิดา อาชีพ พนักงานรัฐวิสาหกิจ การบินไทย จำกัด (มหาชน) ยื่นประกันตัว ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาให้ประกัน
       
ในวันเดียวกัน นายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ซึ่งถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีก่อการร้ายชุดแรก และศาลประทับรับฟ้องไว้เป็นคดีดำ อ.973/2556 ได้มายื่นขอประกันตัวล่วงหน้า ก่อนวันนัดสอบคำให้การจำเลย ในวันที่ 29 เม.ย.นี้ โดยได้ใช้หลักทรัพย์เป็นเงินจากกองทุนยุติธรรม จำนวน 6 แสนบาท ขอประกันตัว ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล
       
นายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กล่าวว่า การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่สนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิ เมื่อปี 2551 นั้นเป็นการชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ และชุมนุมภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญ ซึ่งตนเองและกลุ่มพันธมิตรฯ พร้อมที่จะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ส่วนกรณีรัฐบาลผลักดัน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม หรือ พ.ร.บ.ปรองดอง นั้นประเด็นนี้ทางกลุ่มพันธมิตรฯยังไม่ได้หารือกัน ซึ่งคงจะต้องดูว่ารายละเอียดเป็นอย่างไร

 

เรียบเรียงจาก เว็บไซต์สำนักข่าวไทย, ASTV ผู้จัดการ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หรือกองทัพจะได้ประโยชน์จากความรุนแรงทางศาสนาในพม่า

Posted: 25 Apr 2013 08:30 PM PDT

ฟรานซิส เวด เขียนบทความลง "Foreign Policy" กล่าวถึงเหตุรุนแรงทางศาสนาในพม่า เรื่องต้นตอของขบวนการ 969 ซึ่งแม้จะเป็นกลุ่มต่อต้านมุสลิม แต่ก็มีความหลากหลายทางความคิด ขณะเดียวกันก็มีข้อสงสัยว่า กองทัพพม่าซึ่งมีอำนาจน้อยลงจากการปฏิรูปประเทศ กำลังใช้ความรุนแรงทางศาสนาเป็นเครื่องมือในการหาความชอบธรรมเพิ่มอำนาจให้ตนเอง

ตัวอย่างของสติ๊กเกอร์ที่พิมพ์ตัวเลข '969' ในพม่า (ที่มา: Muangzarni.com)

ที่สำนักงานวัดมะหะแหม่ง, "จ่อ ลินน์" เดินฝ่าดงถุงสัมภาระที่เต็มไปด้วยสติกเกอร์ 969 ตราสัญลักษณ์ที่กลายมาเป็นตัวแทนการต่อต้านมุสลิมในพม่า เมื่อหกเดือนก่อน หัวหน้าคณะสงฆ์ "อูวิมะละ" เป็นคนสั่งพิมพ์สติกเกอร์เหล่านี้จากโรงพิมพ์ ตอนนี้เราจะพบมันได้ทั่วทุกที่ ทั้งตามแท็กซี่ รถประจำทาง และตามร้านค้าต่างๆ ทั่วกรุงย่างกุ้ง รวมถึงเมืองใหญ่ๆ ผู้ตนต่างแสดงสัญลักษณ์นี้ซึ่งคนนอกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของชาวพุทธสุดโต่ง สัญลักษณ์ที่มองว่ากลุ่มชุมชนชาวมุสลิมว่าเป็นภัยต่อประเทศ และต่อศาสนาของคนส่วนใหญ่

ความรู้สึกแบบนี้เองที่ก่อให้เกิดเหตุความรุนแรงหลายครั้งในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เป็นเหตุทำให้มีคนเสียชีวิต 40 ราย และต้องกลายเป็นคนพลัดถิ่น 13,000 ราย เมื่อนับแต่เพียงเหตุการณ์ในปี 2013 วัดในเมืองมะละแหม่ง ทางตอนใต้ของพม่าถูกยกให้เป็นแหล่งกำเนิดของขบวนการ 969 การผลิตสติกเกอร์ 969 เริ่มขึ้นตามมาหลังจากเกิดเหตุจลาจลในพม่าเมื่อปีที่แล้ว ที่ชาวพุทธปะทะกับกับชาวมุสลิมโรฮิงยา ตัวเลข 969 เป็นเลขที่แสดงถึงจำนวนคำสอนของพระพุทธเจ้า และเป็นเลขศักดิสิทธิ์สำหรับชาวพุทธ

"พวกเราทำไปเพื่อปกป้องศาสนาพุทธ" อูวิมะละ กล่าว เขาบอกอีกว่าเหตุรุนแรงในรัฐอาระกันทำให้เห็นชัดว่าศาสนาพุทธในพม่ากำลังอยู่ในอันตราย เขาอ้างว่า "ในอินโดนีเซีย, บังกลาเทศ, ปากีสถาน, มาเลเซีย และที่อื่น เคยมีชาวพุทธมากกว่านี้ แต่ชาวมุสลิมก็เข้ามาไล่พวกเขาไป และในตอนนี้พวกนั้นก็กลายเป็นประเทศมุสลิม เมื่อพิจารณาจากประวัติศาสตร์แล้ว พม่าาก็อาจจะกลายเป็นเช่นนั้นด้วย"

มีประชาชนราวร้อยละ 4 ของพม่านับถือศาสนาอิสลาม "อูวิมะละ" บอกว่าปัญหาเริ่มมาจากการที่ทั้งสองศาสนานี้อยู่ร่วมกัน ที่ตลาดในร่มของเมืองมะละแหม่ง ซึ่งเต็มไปด้วยผู้คน แต่ร้านค้าของชาวมุสลิมดูเงียบเหงา จากที่มีสติกเกอร์ 969 ติดอยู่ตามร้านค้าโดยรอบมากขึ้นเรื่อยๆ โดยที่คนขับแท็กซี่และเจ้าของร้านชาวพุทธบอกว่าพวกเขาไม่มีปัญหาถ้าหากชาวมุสลิมจะใช้บริการของพวกเขา

แต่โชคร้ายที่ไม่ใช่ทุกคนที่คิดอย่างเดียวกัน เมื่อเดือนที่ผ่านมาก็เกิดเหตุการณ์เลวร้ายขึ้นอีกครั้ง เมื่อมีการชกต่อยกันระหว่างชาวพุทธกับชาวมุสลิมในร้านทองที่ใจกลางเมือง เมคติลลา ของพม่า จนเป็นเหตุให้เกิดความรุนแรงตามมาอีกสองวัน ผู้เห็นเหตุการณ์เล่าว่ากลุ่มม็อบชาวพุทธที่ก่อเหตุรุนแรงดูจัดตั้งกันมาดี และตำรวจก็คอยยืนมองการสังหารเกิดขึ้นกลางวันแสกๆ รายงานเรื่องดังกล่าวนี้ทำให้เกิดข้อกล่าวหาเรื่องการสมรู้ร่วมคิดต่อความรุนแรงของเจ้าหน้าที่ตามมา ข้อสงสัยนี้ถูกตอกย้ำโดยความเชื่อว่ามีส่วนหนึ่งในรัฐบาลหรือในกองทัพที่มองว่าเหตุการณ์วุ่นวายที่เกิดขึ้นเป็นสัญญาณสำหรับการทำให้กองทัพกลับมามีอำนาจอีกครั้ง ซึ่งในขณะนี้อำนาจของกองทัพลดลงจากการปฏิรูปประเทศ

รายงานขององค์กรฮิวแมนไรท์วอทช์กล่าวว่า กลุ่มผู้นำทางการเมืองและผู้นำศาสนาในรัฐอาระกันกำลังวางแผน, จัดตั้ง และยุยงให้เกิดการโจมตีกลุ่มโรฮิงยา และชาวมุสลิมกลุ่มอื่นๆ ช่วงปี ต.ค. ที่ผ่านมา (รายงานฉบับดังกล่าวเน้นพูดถึงเหตุการณ์นองเลือดในอาระกัน ซึ่งความรุนแรงดังกล่าวเป็นเหตุให้เกิดการพลัดถิ่นของชาวมุสลิมโรฮิงยา 125,000 คนจากบ้านเกิด)

แต่แม้ว่ารัฐบาลที่อยู่ใต้อิทธิพลของกองทัพ อาจมีส่วนช่วยส่งเสริมให้ความขัดแย้งในอาระกันและเมกติลลาประทุขึ้น แต่เชื้อเพลิงที่เป็นความรู้สึกต่อต้านชาวมุสลิมในหมู่ชาวพม่าถูกเก็บกักเอาไว้มานานหลายสิบปีแล้ว เริ่มตั้งแต่การโฆษณาชวนเชื่อในทศวรรษที่ 1960 ที่ทำให้มีการสังหารหมู่ชาวมุสลิมจากอินเดีย และต่อมาก็เป็นชาวโรฮิงยาในรัฐอาระกัน ปัจจัยอีกอย่างหนึ่งคือการหลอมรวมพุทธศาสนาเข้ากับลัทธิชาตินิยมพม่าในเชิงประวัติศาสตร์

การเคลื่อนไหวนี้กลับมามีอีกครั้งตั้งแต่เกิดเหตุการจลาจลในรัฐอาระกันเมื่อปีที่แล้ว ทำให้เกิดกระแสต่อต้านมุสลิมไปทั่วประเทศพม่า สถานการณ์ในเมคติลลาเพิ่มน้ำหนักให้กับผู้สังเกตการณ์บางส่วนที่มองว่าขบวนการกวาดล้างชนกลุ่มน้อยกำลังจะเกิดขึ้นในส่วนต่างๆ ของประเทศ ในตอนนี้กลุ่มประชากรชาวมุสลิมที่เคยมีอยู่จำนวนหนึ่งในเมืองถูกต้อนให้ไปอยู่ในค่ายผู้อพยพซึ่งสั่งห้ามไม่ให้นักข่าวเข้าไป คล้ายๆ กับการ "กวาดล้าง" ที่เกิดขึ้นในเมืองซิตตะเหว่ รัฐอาระกัน

การเล่าถึงเรื่องนี้ส่วนใหญ่จะแปะป้ายว่าขบวนการ 969 เป็นกลุ่มต่อต้านชาวมุสลิมที่ต้องการชำระล้างการมีอยู่ขอศาสนาอิสลามที่ถูกมองว่าเป็นภัยออกจากพม่า แม้ว่าจะมีการประท้วงต่อต้านความรุนแรงโดยการใช้ 969 เป็นสัญลักษณ์ในการชุมนุม แต่ก็มีความคิดเห็นต่างกันไปในหมู่คนที่ถือสัญลักษณ์นี้ และเป้นสิ่งที่ไม่อาจระบุเจาะจงได้ชัดเจน ในแง่หนึ่งมีคนมองว่ามันเป็นการแสดงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาวพุทธ เช่นเดียวกับที่ชาวคริสเตียนแสดงไม้กางเขน หลายคนใช้สัญลักษณ์ 969 เป็นเครื่องมือในการต่อต้านตัวเลข 786 ซึ่งเป้นตัวเลขที่มีความหมายต่อชาวมุสลิม ซึ่งเห็นได้ในร้านค้าบางร้าน "ในตอนนี้ประชาชนชาวพุทธกำลังพยายามทำให้แนวคิด 969 มีชีวิตขึ้นมา ซึ่งทำให้ผมเสียใจ" อูกัมบีระ กล่าว เขาเป็นอดีตพระสงฆ์ที่ถูกจับเข้าคุก 4 ปี จากการที่มีบทบาทนำในช่วงการปฏิวัติชายจีวร ในปี 2007 "พวกเขาแค่กำลังลอกเลียนในสิ่งที่พวกเขาเกลียด"

กลุ่มสุดโต่งพยายามสร้างความชอบธรรมให้กับแนวคิดปรัชญาที่น่าตำหนิ อย่างเช่นการอ้างเรื่อง "ความดี" ในเชิงจิตวิญญาณนิยม จากความหมายของ 969 คือ พุทธคุณ 9 ธรรมคุณ 6 และสังฆคุณ 9 ซึ่งสังฆะเองก็ถือเป็นสภาของสถาบันทางพระพุทธศาสนาในพม่า สิ่งนี้กลายเป็นการเคลื่อนไหวที่ดึงดูดกลุ่มชาวพุทธ และผู้นำศาสนาก็นำแนวคิดต่อต้านมุสลิมที่แฝงอยู่มาใช้ในการรวบรวมมวลชนได้ ทั้งโดยตั้งใจและโดยไม่ตั้งใจ

ผู้นำของขบวนการนี้คือพระวีระธุ หรือ "อู วีระธุ" เจ้าอาวาสวัดมะซอเหย่นในมัณฑะเลย์ เป็นที่รู้จักในอดีตในฐานะผู้จัดกิจกรรมต่อต้านเผด็จการทหาร ในตอนนี้วัดมะซอเหย่นกลายเป็นที่รู้จัก เนื่องจากการที่อูวีระธุ กล่าวเทศน์ต่อต้านมุสลิมอย่างเผ็ดร้อน แม้ว่าเขาจะรับรู้เรื่องความเป็นไปได้ที่ความรุนแรงที่เกิดขึ้นทางกองทัพอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้อง แต่เขาก็บอกว่าอิสลามเป็นภัยที่สำคัญกว่ากองทัพซึ่งก่อนหน้านี้เขาเคยต่อต้าน

วีระธุ เลือกที่จะให้สัมภาษณ์อยู่หน้ากำแพงที่มีรูปภาพแทนตัวเองอยู่จำนวนมาก ภาพฉากหลังทำให้เขาดูเหมือนเจ้าลัทธิมากกว่าพระสงฆ์ผู้สมถะ พระวีระธุอ้างว่าจากการสำรวจของเขาเอง ร้อยละร้อยของคดีข่มขืนในพม่าเป็นฝีมือของชาวมุสลิม ไม่ใช่ฝีมือชาวพุทธ "พวกนั้นใช้กำลังบังคับหญิงชาวพุทธให้กลายไปเป็นเมีย ถ้าหากภรรยายังคงปฏิบัติกิจของชาวพุทธอยู่พวกเขาจะทรมานพวกเธอทุกวัน"

วีระธุ เป็นบุคคลที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งในตัวเอง วิธีการหยุดยั้งความรุนแรงและความตึงเครียดทางศาสนาในพม่าคือการกำจัดสิ่งที่เขาเรียกว่า "มุสลิมเลวๆ" ออกไป แต่กลับไม่รับรู้ว่าข้อความเช่นนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความรุนแรง "ถ้าหากทุกคนในพม่าเป็นเหมือนผม จะต้องมีสันติภาพอย่างแน่นอน" เขาพูดต่อไป ก่อนที่จะนำหนังสือภาพที่หน้าปกเป็นรูปสิงโตแยกเขี้ยวใส่เด็ก เขาอธิบายว่าสิงโตคือมุสลิม เด็กคือชาวพุทธ

วีระธุ เคยถูกสั่งจำคุกในปี 2003 ข้อหายุยงให้เกิดการจลาจลต่อต้านชาวมุสลิม (แม้เขาจะปฏิเสธว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับความรุนแรงที่เกิดขึ้นในช่วงนี้) แต่การที่รัฐบาลไม่มีความตั้งใจในการดำเนินการในครั้งนี้ ยิ่งชวนให้รู้สึกว่า ส่วนหนึ่งในรัฐบาลหรือในกองทัพ อาจจะได้รับผลประโยชน์จากสิ่งที่ตามมาซึ่งอาจทำให้พม่าเกิดความแตกแยก

การรณรงค์ของชาวพุทธแพร่ขยายไปไกลกว่าในเขตที่มีชาวมุสลิมอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อเดือนที่ผ่านมาในเมืองน้ำคำ เมืองหนึ่งของรัฐฉาน มีโปสเตอร์ต่อต้านมุสลิมปรากฏอยู่ตามเสาไฟถนน แม้ว่าจะมีประชากรมุสลิมอาศัยอยู่ราวไม่กี่ร้อยคนจากประชากรทั้งหมดในเมือง 100,000 คน คนในท้องถิ่นของที่นั่นซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ต่อต้านท่อก๊าซและน้ำมันจากโครงการที่จีนหนุนหลัง ชวนให้ตั้งคำถามว่าถ้าหากเกิดการจลาจลทางศาสนาในเมืองที่สองศาสนาอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ มันจะถูกรัฐบาลนำมาใช้เป็นข้ออ้างในการปราบปรามนักกิจกรรมต่อต้านท่อก๊าซหรือไม่

ดังนั้นการรณรงค์เช่นนี้จึงกลายเป็นประโยชน์กับคนที่มีอำนาจสองกลุ่มในพม่า คือกลุ่มประชาชนชาตินิยมจัด และกลุ่มหัวแข็งในรัฐบาลและกองทัพ ถ้าหากสองกลุ่มนี้เข้มแข็งขึ้น มันจะส่งผลกระทบในเชิงลบอย่างมากต่อการพัฒนาประชาธิปไตยในพม่า

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชาวบ้านทุ่งลุยลาย นอนคุก 2 ราย แพ้คดีชั้นอุทธรณ์ รอศาลฎีกาพิจารณาให้ประกันตัว

Posted: 25 Apr 2013 12:14 PM PDT

ศาลจังหวัดภูเขียวอ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 คดีที่ดินสวนป่าโคกยาว ยืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น สั่งจำคุกชาวบ้านทุ่งลุยลายอีก 2 ราย 6 เดือน โดยไม่รอลงอาญา ต้องนอนรอคำสั่งศาลฎีกาพิจารณาให้ประกันตัวอยู่ในเรือนจำ ส่วนอีก 3 ราย ศาลยกฟ้อง

 
25  เม.ย.56 ที่ศาลจังหวัดภูเขียว อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 อ่านคำพิพากษาคดีบุกรุกสวนป่าโคกยาว เขตป่าสงวนแห่งชาติภูซำผักหนาม ยืนตามศาลชั้นต้น ให้นายเด่น คำแหล้ อายุ 60 ปี (จำเลยที่ 1) และนางสุภาพ คำแหล้ อายุ 57 ปี (จำเลยที่ 4) ชาวบ้าน ต.ทุ่งลุยลาย อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ สมาชิกเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.) มีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ในข้อหาร่วมกันบุกรุกเข้าไปยึดถือ ครอบครอง ทำประโยชน์ ก่นสร้าง แผ้วถาง หรือกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต
 
ส่วนจำเลยอีก 3 ราย ในคดีเดียวกัน คือนายบุญมี วิยาโรจน์ นางหนูพิศ วิยาโรจน์ (ภรรยา) และนางเตี้ย ย่ำสันเทียะ (เพื่อนบ้าน) ศาลยกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่า โจทก์เพียงตั้งข้อสงสัยว่าร่วมกันกระทำความผิดในพื้นที่ดังกล่าว
 
"แม้คราวนี้ศาลจะยกฟ้องตนและพวกรวม 3 คนอีกครั้ง แต่โดยส่วนตัวมองว่า ยังไม่มีความเป็นธรรมต่อชาวบ้าน โดยเหตุเพราะจำเลยที่ 1 และ 4 นั้นยอมรับในชั้นการสืบพยานโจทก์ว่า พื้นที่ทำกินนั้นได้รับการสืบทอดมรดกมาจากพ่อตา และแม่ยาย ที่ได้เข้าทำประโยชน์มาก่อนมีการประกาศเขตป่าสงวนฯ กลับถูกดำเนินคดีมีความผิด" นายบุญมี วิยาโรจน์ จำเลยที่ 2 ในคดีซึ่งได้รับการยกฟ้องกล่าว
 
นายบุญมี กล่าวด้วยว่า เมื่อวันที่ 28 ส.ค.55 ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลยทั้งสอง 6 เดือน นั้น ในวันดังกล่าวทางเครือข่ายฯ ได้ใช้หลักทรัพย์ของกองทุนยุติธรรมประกันตัวออกมาแล้ว แต่ในชั้นศาลอุทธรณ์กลับไม่ให้ประกันตัว ซึ่งต่างกับคดี ในชั้นอุทธรณ์ของนายทอง และนายสมปอง กุลหงส์
 
"อย่างนี้มีความเป็นธรรมหรือไม่ ถือเป็นการตัดสินโดยใช้ดุลยพินิจ 2 มาตรฐานหรืออย่างไร จึงเป็นเหตุให้จำเลย 2 ราย ต้องนอนรอคำสั่งศาลฎีกา สูญเสียอิสรภาพอยู่ในเรือนจำ โดยไม่ทราบว่าคำสั่งจะตกมาเมื่อไร" นายบุญมีตั้งคำถาม
 
นายบุญมี กล่าวต่อมาว่า โดยส่วนตัวมองว่าการตัดสินยังไม่มีความเป็นธรรมต่อชาวบ้าน โดยตั้งคำถามด้วยว่าเหตุใดศาลจึงไม่มีคำสั่งยกฟ้องจำเลยทั้ง 5 ราย ทั้งๆ ที่เป็นคดีเดียวกัน รวมทั้งจำเลยทั้ง 10 คน ที่แยกออกเป็น 4 คดี ต่างก็อยู่ในพื้นที่เดียวกัน อีกทั้งศาลมีคำสั่งให้ส่งคำร้องขอประกันตัวชั่วคราวให้ศาลฎีกาสั่ง โดยไม่สั่งการเอง เป็นเหตุให้จำเลยทั้ง 2 ราย ต้องนอนอยู่ในคุก
 
"แม้พวกตนจะยอมรับโดยการเคารพคำตัดสินของศาล แต่ต่างยืนยัน พร้อมใจจะไม่ออกจากพื้นที่ทำกินเดิมที่ได้ทำประโยชน์มาก่อน แม้ศาลจะพิพากษาให้พวกตนทั้ง 10 คน มีความผิดทั้งหมดก็ตาม" จำเลยที่ 2 กล่าว
 
 
ลำดับการอ่านคำพิพากษา ศาลจังหวัดภูเขียว อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ
 
กรณีสวนป่าโคกยาว ต.ทุ่งลุยลาย อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาชาวบ้าน (จำเลย) โดยแยกเป็น 4 คดี 10 ราย  โดยมีเจ้าหน้าที่ป้องรักษาป่าที่ ชย.4 คอนสาร เป็นโจทก์
 
คดีที่ 1 วันที่ 22 พ.ค.55 ศาลพิพากษานายคำบาง กองทุย อายุ 65 ปี และนางสำเนียง กองทุย อายุ 61 ปี (สามี-ภรรยา) จำคุก 4 เดือน ไม่รอลงอาญา
 
คดีที่ 2 วันที่ 13 มิ.ย.55 ศาลพิพากษานายทอง กุลหงส์ อายุ 72 ปี และนายสมปอง กุลหงส์ อายุ 48 ปี   (สองพ่อลูก) จำคุก 4 เดือน โดยคดีนี้ ศาลได้เพิ่มวงเงินประกันจากรายละ 100,000 บาท เป็นรายละ 200,000 บาท เป็นเหตุให้เงินที่เตรียมไว้ต้องถูกรวมมาประกันจำเลยเพียงรายเดียวคือนายสมปอง ด้วยนายทอง ยอมเสียสละนอนอยู่ในคุก เพื่อให้ลูกชายที่มีอาการพิการทางสมอง เป็นโรคประสาท ได้รับการประตัวออกมาก่อน ต่อมาวันที่ 28 มิ.ย.55 นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติแห่งชาติ ได้ใช้ตำแหน่งประกันตัวออกมาเมื่อวันที่ 28 พ.ค.55
 
คดีที่ 3 วันที่ 9 ส.ค.55 ศาลพิพากษานายสนาม จุลละนันท์  อายุ 59 ปี จำคุก 6 เดือน ไม่รอลงอาญา
 
คดีที่ 4 วันที่ 28 ส.ค.55 ศาลพิพากษานายเด่น คำแหล้ อายุ 60 ปี (จำเลยที่ 1) และนางสุภาพ คำแหล้ อายุ 57 ปี (จำเลยที่ 4) ตัดสินจำคุก 6 เดือน ไม่รอลงอาญา ส่วนจำเลย อีก 3 ราย คือนายบุญมี วิยาโรจน์ อายุ 51 จำเลยที่ 2, นางหนูพิศ วิยาโรจน์ อายุ 70 ปี (ภรรยานายบุญมี)จำเลยที่ 5 และนางเตี้ย ย่ำสันเทียะ อายุ 54 ปี  จำเลยทั้ง 3 รายนี้ ศาลยกฟ้อง
 
 
ลำดับการอ่านคำพิพากษาศาลชั้นอุทธรณ์ภาค 3
 
คดีที่ 2 วันที่ 6 มี.ค.56  ที่ศาลจังหวัดภูเขียวนัดอ่านฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3  ยืนตามศาลชั้นต้น ให้จำเลย คือนายทอง กุลหงส์ อายุ 72 ปี และนายสมปอง กุลหงส์ อายุ 48 ปี  (สองพ่อลูก) มีคำสั่งให้ จำคุก 4 เดือน โดยไม่รอลงอาญา
ต่อมาชาวบ้านในนามเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน ได้ประสานไปยังกองทุนยุติธรรม โดยทางกองทุนยุติธรรม ของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ซึ่งได้ทำเรื่องขอความช่วยเหลือแก่ชาวบ้านและได้ประกันตัวออกมาในวงเงิน คนละ 200,000 บาท เพื่อสู้คดีในชั้นฎีกาต่อไป
 
คดีที่ 4 วันที่ 25 เม.ย.56  ที่ศาลจังหวัดภูเขียวนัดอ่านฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3  ยืนตามศาลชั้นต้น ให้จำเลย คือ 1. นายเด่น คำแหล้  2.นางสุภาพ คำแหล้ จำคุก 6 เดือน
 
ส่วน นายบุญมี วิยาโรจน์ อายุ 51 ปี  นางหนูพิศ วิยาโรจน์ อายุ 70 ปี และนางเตี้ย ย่ำสันเทียะ อายุ 54 ปี  ทั้ง 3 รายนี้ ศาลยกฟ้อง
 
 
ที่มาของพื้นที่พิพาท
 
กรณีพื้นที่พิพาทดังกล่าว ถูกประกาศเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติภูซำผักหนาม เมื่อปี 2516 ครอบคลุมพื้นที่ ต.ทุ่งลุยลาย ต.ทุ่งพระ ต.ทุ่งนาเลา ต.ห้วยยาง ต.ดงกลาง อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ ประมาณกว่า 290,000 ไร่ ในส่วนพื้นที่ ต.ทุ่งลุยลาย ต่อมามีโครงการปลูกสวนป่าโคกยาว ทดแทนพื้นที่สัมปทาน ด้วยการนำไม้ยูคาลิปตัสมาปลูกในพื้นที่เมื่อปี 2528 ซึ่งขณะนั้นเจ้าหน้าที่ป่าไม้ และกองกำลังทหารพราน ได้อพยพชาวบ้านออกจากพื้นที่ทำกินเดิม โดยสัญญาว่าจะจัดสรรที่ดินแห่งใหม่ให้รายละ 15 ไร่
 
เมื่อชาวบ้านบางส่วนออกจากพื้นที่ เพื่อเตรียมการจะเข้ามาอยู่ตามพื้นที่จัดสรร กลับปรากฏว่าเป็นที่ดินผืนนั้นมีเจ้าของเป็นผู้ครอบครองอยู่แล้ว  ดังนั้นชาวบ้านจึงเสมือนตกอยู่ในสภาพถูกลอยแพ กลายเป็นคนไร้ที่ดิน
 
การเรียกร้องต่อสู้ของชาวบ้านจึงเริ่มแต่บัดนั้นเป็นต้นมา แต่ท้ายที่สุดกลับต้องตกเป็นจำเลยเป็นกรณีพิพาทที่ดินสวนป่าโคกยาว  ทั้งที่ก่อนหน้านี้ตามมติ ครม.ปี 2553 เห็นชอบให้ชาวบ้านสามารถเข้าทำประโยชน์ในสวนป่าได้โดยไม่มีการข่มขู่ กักขัง และดำเนินคดีในช่วงที่กำลังมีการแก้ไขปัญหา แต่ชาวบ้านในพื้นที่ยังคงประสบปัญหาถูกคุกคามและจับกุมอยู่สืบเนื่องเรื่อยมา
 
กระทั่งจากเช้ามืดของวันที่ 1 ก.ค.54 ราวตี 5 ครึ่ง เจ้าหน้าที่นำโดยนายอำเภอคอนสาร (นายประทีป ศิลปะเทศ) สนธิกำลังของป่าไม้ ฝ่ายปกครอง ตำรวจ ประมาณ 200 นาย นำกำลังเข้ามาในพื้นที่พิพาทที่ดินสวนป่าโคกยาว เขตป่าสงวนแห่งชาติภูซำผักหนาม ต.ทุ่งลุยลาย อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ และจับกุมชาวบ้านรวม 10 ราย โดยต่อมามีการฟ้องรองคดีกับชาวบ้านโดยเจ้าหน้าที่ป้องรักษาป่าที่ ชย.4 คอนสาร เป็นโจทก์

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

การเมืองว่าด้วย “พลังงานไทย” (4): ห้ามส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป?

Posted: 25 Apr 2013 10:11 AM PDT

 

 

 

"กลุ่มทวงคืนพลังงานไทย" สร้างนิทานเรื่อง "ประเทศไทยเป็นเศรษฐีพลังงาน" และเรื่อง "สัญญาสัมปทานขายชาติ" ก็เพื่อลากไปสู่ประเด็นโจมตีหลักคือ ราคาน้ำมันสำเร็จรูป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง น้ำมันเบนซิน ที่คนพวกนี้อ้างว่า มีราคาแพงในอันดับต้น ๆ ของโลก

ในปี 2555 ประเทศไทยกลั่นน้ำมันดิบนำเข้าและน้ำมันดิบ (รวมคอนเดนเสท) ที่ผลิตในประเทศ ออกมาเป็นน้ำมันสำเร็จรูป ประกอบด้วยผลผลิตหลัก เช่น ก๊าซแอลพีจี เบนซิน ดีเซล น้ำมันเตา น้ำมันเครื่องบิน เป็นต้น รวม 988,964 บาร์เรลต่อวัน แต่ในปีเดียวกัน ประเทศไทยบริโภคน้ำมันสำเร็จรูปเป็นจำนวน 767,612 บาร์เรลต่อวัน จึงมีเหลือส่งออกไปต่างประเทศจำนวน 199,304 บาร์เรลต่อวัน นัยหนึ่ง ประเทศไทยบริโภคน้ำมันสำเร็จรูปประมาณร้อยละ 80 ของปริมาณที่กลั่นได้ ที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 20 จึงต้องส่งออก

"กลุ่มทวงคืนพลังงานไทย" โจมตีอีกว่า โรงกลั่นน้ำมันได้กำไรมหาศาลจากการขายน้ำมันสำเร็จรูปในต่างประเทศ ดังจะเห็นได้ว่า มูลค่าการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปของไทยในปี 2555 สูงถึง 270,000 ล้านบาท สูงกว่ามูลค่าการส่งออกข้าวไทยที่ 140,000 ล้านบาทเสียอีก!

คนพวกนี้บิดเบือนด้วยการพูดถึงกำไรมหาศาล แต่กลับอ้างตัวเลขยอดขายรวมแทน!

น้ำมันสำเร็จรูปที่ส่งออกไม่ได้เกิดมาจากอากาศธาตุ แต่ต้องใช้น้ำมันดิบเป็นวัตถุดิบ เรามีสถิติทั้งมูลค่าและปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบตลอดปี 2555 สามารถคำนวณราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบนำเข้าต่อบาร์เรลได้เท่ากับ 114 ดอลลาร์สหรัฐฯ ข้อมูลเดียวกันสำหรับน้ำมันสำเร็จรูปส่งออกได้เท่ากับบาร์เรลละ 118 ดอลลาร์สหรัฐฯ คือมีส่วนต่างเพียง 4 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หรือลิตรละ 0.75 บาทเท่านั้น ทั้งที่ยังไม่ได้หักต้นทุนค่าใช้จ่ายของโรงกลั่นแต่อย่างใด

เหตุใดโรงกลั่นจึงผลิตน้ำมันสำเร็จรูปล้นเกินและส่งออกในส่วนต่างราคาอันน้อยนิดเช่นนี้? คำตอบคือ การกลั่นน้ำมันเป็นอุตสาหกรรมหนัก เช่นเดียวกับก๊าซธรรมชาติ เหล็กและเหล็กกล้า ไฟฟ้า เป็นต้น คือต้องเดินโรงงานและเครื่องจักรให้เต็มหรือใกล้เต็มสมรรถนะร้อยละ 80-100 เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงและได้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำ หากเดินเครื่องจักรต่ำกว่าสมรรถนะอย่างมาก ก็จะไม่มีประสิทธิภาพ สิ้นเปลืองพลังงาน และมีต้นทุนต่อหน่วยสูง

แต่ข้อวิจารณ์ที่ว่า น้ำมันสำเร็จรูปส่งออกไปขายในตลาดโลกมีราคาต่ำกว่าราคาน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่นในประเทศไทยนั้นมีส่วนจริง เพราะน้ำมันสำเร็จรูปเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ มีการซื้อขายในตลาดโลกเป็นปริมาณมหาศาล มีผู้ซื้อผู้ขายจำนวนมาก ผู้ที่ส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปชนิดใดก็ต้องขายในราคาเดียวกันในตลาดกลางของภูมิภาค ราคาหน้าโรงกลั่นในประเทศไทยยึดราคาอ้างอิงในตลาดกลางสิงคโปร์โดยมีส่วนต่างไม่เกินกว่าค่าขนส่ง ฉะนั้น โรงกลั่นจะส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปได้ ก็ต้องยอมขายต่ำกว่าราคาหน้าโรงกลั่น เพราะถ้าไม่กระทำเช่นนั้น ก็ต้องยอมจัดเก็บน้ำมันสำเร็จรูปส่วนเกินไว้ในคลังและจะมียอดเก็บกักสะสมเพิ่มทุกปี เป็นภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่คุ้มค่า

นัยหนึ่ง โรงกลั่นจะต้องเลือกระหว่างเดินเครื่องใกล้เต็มสมรรถนะให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ต้นทุนต่อหน่วยต่ำสุด แล้วมีผลผลิตส่วนเกินที่ต้องส่งออกในราคาต่ำกว่าราคาหน้าโรงกลั่น แต่ก็ยังได้ส่วนต่างราคาจากต้นทุนน้ำมันดิบอยู่บ้างดังตัวเลขข้างต้น หรือเดินเครื่องต่ำกว่าสมรรถนะ แล้วมีต้นทุนต่อหน่วยสูงขึ้น แต่มีผลผลิตส่วนเกินน้อยลง ไม่มีปัญหาต้องส่งออกหรือจัดเก็บจำนวนมาก ที่ผ่านมา โรงกลั่นไทยเลือกหนทางแรกเพราะมีความสมเหตุสมผลทางธุรกิจมากกว่า

จากการที่ประเทศไทยผลิตน้ำมันสำเร็จรูปล้นเกินจนต้องส่งออกไปต่างประเทศ ได้นำไปสู่ข้อเรียกร้องของ "กลุ่มทวงคืนพลังงานไทย" ให้ "งดส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปทั้งหมด เก็บไว้ในประเทศเพื่อให้คนไทยได้ใช้ในราคาถูก"

นี่เป็นข้อเสนออันตรายที่จะทำลายอุตสาหกรรมน้ำมันของไทยทั้งหมด เพราะจะงดส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปได้ รัฐบาลต้องออกกฎหมายห้ามส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปข้ามแดนเท่านั้น ปัจจุบัน อุตสาหกรรมน้ำมันเป็นอุตสาหกรรมเปิดเสรี หากรัฐบาลประกาศห้ามส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป แน่นอนว่า จะทำให้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศลดต่ำลงเพราะมีอุปทานล้นเกินในประเทศ ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดการลักลอบส่งออกน้ำมันข้ามแดนแล้ว ยังเป็นการทำลายธุรกิจโรงกลั่น เพราะหากรัฐบาลยังคงจัดเก็บภาษีน้ำมันในอัตราเดิม ราคาน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่นจะต้องลดลงอย่างมากด้วย

ถ้าประเทศไทยเป็นเศรษฐีพลังงาน มีน้ำมันดิบราคาถูกจำนวนมหาศาลอย่างที่ "พวกทวงคืนฯ" แอบอ้าง ด้วยต้นทุนน้ำมันดิบต่ำ โรงกลั่นก็อาจจะยังมีกำไรอยู่ได้ แต่ความจริงคือ ประเทศไทยไม่ใช่เศรษฐีน้ำมัน จึงยังต้องนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศจำนวนมากในราคาตลาดโลก และด้วยส่วนต่างราคาน้ำมันดิบนำเข้า-น้ำมันสำเร็จรูปส่งออกข้างต้นที่เพียงลิตรละ 0.75 บาท การกดราคาน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่นให้ต่ำลง จะทำให้โรงกลั่นประสบภาวะขาดทุนอย่างแน่นอน ซึ่งหากรัฐบาลดำเนินการดังกล่าวเป็นนโยบายถาวรจริง โรงกลั่นก็จะต้องเลิกกิจการไปในที่สุด

ยิ่งกว่านั้น การห้ามส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป นอกจากจะทำให้โรงกลั่นไม่มีแรงจูงใจขยายการผลิตแล้วยังจะลดการผลิตลงอีกด้วย ส่วนการบริโภคน้ำมันก็จะเพิ่มขึ้นเนื่องจากราคาที่ต่ำลง ในที่สุด การบริโภคจะเกินกว่าการผลิต ประเทศไทยที่เคยส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปก็จะกลับกลายเป็นประเทศนำเข้าทั้งน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูป ดังเช่นที่ประเทศไทยเคยเป็นในอดีต เมื่อถึงเวลานั้น คนไทยก็ต้องกลับมาบริโภคน้ำมันราคาแพงอีกอยู่ดี

การให้รัฐบาลเข้าแทรกแซงด้วยการห้ามส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป หมายความว่า ในแต่ละปี รัฐบาลจะต้องวางแผนล่วงหน้าว่า โรงกลั่นจะผลิตน้ำมันสำเร็จรูปเท่าใด ปริมาณบริโภคในประเทศเป็นเท่าใด และต้องนำเข้ามาให้พอเพียงอีกจำนวนเท่าใด หากรัฐบาลคาดการณ์ผิด อาจเกิดภาวะขาดแคลนน้ำมันสำเร็จรูป เป็นภาพรถยนต์เข้าคิวยาวเหยียดแย่งกันเติมน้ำมันที่สถานีจำหน่าย ซึ่งเป็นปัญหาเดียวกันกับสินค้าเกษตรหลายชนิด ที่รัฐบาลแทรกแซงด้วยการห้ามนำเข้า แต่ให้ส่งออกได้ เช่น น้ำตาล น้ำมันปาล์ม ซึ่งเมื่อรัฐบาลคาดการณ์ผิด ก็จะเกิดปัญหาขาดแคลน ผู้บริโภคหาซื้อในตลาดเปิดไม่ได้ ต้องไปซื้อในตลาดมืดในราคาสูง ดังที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว

นอกจากนั้น ธุรกิจน้ำมันของไทยเป็นธุรกิจเสรี มีนักลงทุนต่างชาติเข้ามามีบทบาทมาก ตั้งแต่สัมปทานสำรวจผลิต กลั่น ไปจนถึงการลงทุนในบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ไทย การเปลี่ยนนโยบายของรัฐบาลจากการเปิดเสรีมาเป็นการห้ามส่งออกจะกระทบกระเทือนต่อความน่าเชื่อถือของรัฐบาลไทยในสายตานักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติอย่างมาก

ข้อเรียกร้องที่ให้รัฐบาลห้ามส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปก็คือ ข้อเสนอให้ทำลายอุตสาหกรรมน้ำมันทั้งระบบนั่นเอง

 

 

ที่มา: เผยแพร่ครั้งแรกใน "โลกวันนี้วันสุข"ฉบับวันศุกร์ที่ 26 เมษายน 2556

 

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น