ประชาไท | Prachatai3.info |
- ผู้ต่อต้านนโยบายในสมัยแธชเชอร์ออกมาฉลองการเสียชีวิตของอดีตนายก
- หวั่นเลือกตั้งมาเลเซียวุ่น ไทยขอเลื่อนคุยสันติภาพชายแดนใต้ครั้งที่ 3
- สันติภาพในมุม 'นัจมุดดีน อูมา' เมื่อเจอเอ็ม 79 ถล่ม 2 คืนซ้อน
- วุฒิฯ คลอด 5 'ซุปเปอร์บอร์ด' ตรวจงาน 'กสทช.' แล้ว
- ครม.ยืดเวลาขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว ให้สิทธิค่าเช่าบ้านข้าราชการ อนุมัติซื้อรถเมล์ใหม่ 3 พันคัน
- ชาวบ้านแม่เมาะค้านเขตอุทยานถ้ำผาไททับที่ทำกิน
- 'เครือข่ายแรงงาน' ร้องวุฒิฯ ดันหลักการ กม.ประกันสังคมภาคคนงาน เข้าวาระ 3
- ปัดตกอุทธรณ์ ครก.112 เลขาฯ สภา ระบุเป็นเรื่องความมั่นคงของรัฐไม่ใช่สิทธิเสรีภาพ
- มุสลิมพม่าในไทยเรียกร้องรัฐบาลพม่ายุติความรุนแรงทางศาสนา
- ชุมนุมยื่นหนังสือผู้แทนอียู อย่าผิดสัญญาเดินหน้าเอฟทีเอกระทบสาธารณสุขไทย
- ทัพพม่าสั่ง SSA-เหนือ ถอนกำลังพ้นฝั่งสาละวิน เคลียร์พื้นที่ให้จีนสร้างเขื่อน
- “รัฐ” ไม่ได้เป็นเจ้าของ “สนง.ทรัพย์สินฯ” แต่เป็นแค่ “นอมินี” ของ “กษัตริย์” เท่านั้น
- เครือข่ายราษฎรอาสาปกป้อง 3 สถาบัน รวบรวมชื่อต้านแก้รัฐธรรมนูญ
- ประวัติศาสตร์กฎหมายหมิ่นกษัตริย์ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ การนิรโทษกรรม
- รสมาลิน ตั้งนพกุล: เมื่อฉันนึกถึงพวกเขา
ผู้ต่อต้านนโยบายในสมัยแธชเชอร์ออกมาฉลองการเสียชีวิตของอดีตนายก Posted: 09 Apr 2013 12:31 PM PDT
ชาวอังกฤษในหลายเมืองพากันชุมนุ เมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2013 สื่ออังกฤษรายงานกรณี อดีตนายกรัฐมนตรีมาร์กาเร็ต แธชเชอร์ เสียชีวิตเมื่อวันจันทร์ (8 เม.ย.) ที่ผ่านมา มีบางส่วนแสดงความเสียใจด้ ในเมืองบริสตอล มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ 6 นายได้รับบาดเจ็ ขณะที่ในย่านชานเมืองทางตอนใต้ นอกจากนี้ยังมีคนเขียนกราฟฟิตี้ มีผู้ประท้วงบางคนถือป้ายที่กล่ โฆษกตำรวจนครบาลอังกฤษกล่าวว่ ผู้ไม่พอใจนโยบาย นอกจากนี้ยังมีการชุมนุมเฉลิ สมาชิกจากองค์กรหลายองค์กรอย่ ทางด้านศิลปินเพลงมาร์ติน ชอมสกี นักร้องนำของวงชอมสกีออลสตาร์ ผู้เคยเขียนเพลง "ลาก่อนแธชเชอร์" ไว้เมื่อหลายปีที่แล้วก็ขึ้ "ผมอยากบอกว่า เป็นลัทธิแธชเชอร์นิยมมากกว่าที่ตายไปแล้ว เพราะเธอถูกกล่าวหาว่าเป็นต้ ขณะที่แองเจลา แมคคอร์มิค นักสังคมนิยมจากกลาสโกว แสดงความเห็นว่า เธอมาร่วมเฉลิมฉลองให้กับคนรุ่ "เธอ (แธชเชอร์) เริ่มจากการบอกว่า 'มันเป็นเรื่องของปัจเจกเท่านั้ เมื่อถามว่ามันเป็นเรื่ เรียบเรียงจาก Police injured and arrests made as hundreds 'celebrated' death of Margaret Thatcher, The Telegraph, 09-04-2013 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
หวั่นเลือกตั้งมาเลเซียวุ่น ไทยขอเลื่อนคุยสันติภาพชายแดนใต้ครั้งที่ 3 Posted: 09 Apr 2013 11:41 AM PDT
ไทยขอเลื่อนคุยสันติภาพระหว่าง สมช. - BRN ครั้งที่ 3 เนื่องจากตรงกับช่วงเลือกตั้งทั่วไปของมาเลเซีย เลขา ศอ.บต.ระบุ ไม่อยากให้กระบวนการพูดคุยเป็นเครื่องมือหาเสียงของพรรคการเมือง ว่าที่ร้อยตรีเลิศเกียรติ วงศ์โพธิพันธ์ รองเลขาศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอบต.) ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ คม ชัด ลึก ถ่ายทอดสดผ่านช่องโทรทัศน์ระบบดาวเทียมเนชั่นแชแนล เมื่อเวลา 20.00 น. วันที่ 8 เม.ย. ที่ผ่านมาว่า การพูดคุยสันติภาพครั้งที่ 3 ในวันที่ 29 เม.ย. นี้ ทางรัฐบาลไทยต้องขอเลื่อนไปก่อน เนื่องจากตรงกับช่วงการเลือกตั้งครั้งสำคัญของประเทศมาเลเซีย ซึ่งไม่ต้องการให้กระบวนการนี้ เป็นเครื่องมือทางการเมืองในประเทศมาเลเซีย ว่าที่ร้อยตรีเลิศเกียรติ ระบุเหตุผลในการขอเลื่อนครั้งนี้ ผ่านรายการซึ่งมี น.ส.จอมขวัญ หลาวเพ็ชร์ เป็นผู้ดำเนินรายการว่า เนื่องจากการประกาศยุบสภาของ นายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค ของประเทศมาเลเซียเมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2556 ที่ผ่านมา และประกาศว่าจะเตรียมประเทศสู่การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 13 ในอีก 2-3 สัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งเป็นช่วงที่ตรงกับการพูดคุยสันติภาพครั้งที่ 3 ระหว่างตัวแทนรัฐบาลไทยกับตัวแทนกลุ่มขบวนการ ในวันที่ 29 เม.ย. "ทางรัฐบาลไทยเกรงว่าจะเป็นกระแสสนับสนุนการเลือกตั้งให้พรรคการเมืองที่กำลังลงชิงตำแหน่งอยู่ในขณะนี้ ซึ่งอาจจะไม่สมควร ไม่อยากให้กระบวนการสันติภาพของประเทศไทยไปเป็นเครื่องมือทางการเมืองของประเทศที่ให้การสนับสนุนกระบวนการในครั้งนี้" ว่าที่ร้อยตรีเลิศเกียรติ ระบุด้วยว่า ทั้งนี้ ในการพูดคุยสันติภาพดังกล่าว นายนาจิบ ราซัค นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของมาเลเซีย ถือเป็นคนสำคัญในการช่วยอำนวยให้กระบวนการสันติภาพระหว่างตัวแทนรัฐบาลไทย ที่นำโดยพล.ท. ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กับตัวแทนฝั่งขบวนการต่อต้านรัฐ ที่นำโดยนายฮัซซัน ตอยยิบ หนึ่งในแกนนำองค์กรขบวนการปลดปล่อยปาตานี (BRN) ว่าที่ร้อยตรีเลิศเกียรติ กล่าวว่า โดยในการพูดคุยทั้งสองครั้งที่ผ่านมา รัฐบาลมาเลเซียมอบหมายให้ ดาโต๊ะ สรี อาห์มัด ซัมซามิน ฮาสฮิม อดีตผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองมาเลเซีย เป็นผู้อำนวยความสะดวกในครั้งนี้ หรือที่เรียกว่า Facilitator ว่าที่ร้อยตรีเลิศเกียรติ ระบุว่า ในช่วงของการพูดคุยครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2556 ที่ผ่านมา ซึ่งได้ตกลงวันในการพูดครั้งที่ 3 ว่าเป็นวันที่ 29 เมษายน 2556 นั้น ทางรัฐบาลมาเลเซีย ยังไม่ได้ประกาศยุบสภา แต่เมื่อประกาศยุบสภาแล้ว ทางรัฐบาลไทยมองว่า การดำเนินการพูดคุยสันติภาพในช่วงนี้ อาจจะทำให้เกิดการชุลมุนกับกระแสการเมืองภายในประเทศของมาเลเซียได้ แต่การเลื่อนในครั้งนี้ ยังไม่มีการประกาศว่าจะมีการพูดคุยอีกครั้งเมื่อไหร่ ซึ่งต้องรอให้สถานการณ์การเมืองในประเทศมาเลเซียนิ่งก่อน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
สันติภาพในมุม 'นัจมุดดีน อูมา' เมื่อเจอเอ็ม 79 ถล่ม 2 คืนซ้อน Posted: 09 Apr 2013 11:15 AM PDT สัมภาษณ์ 'นัจมุดดีน อูมา'หลังโดยถล่มด้วยระเบิด M79 ถึง 2 คืนซ้อน กับบทบาทในกระบวนการพูดคุยสันติภาพชายแดนใต้ ในฐานะนักการเมืองของพื้นที่และหนึ่งในตัวต่อสำคัญกับขบวนการ หลังจาก "นัจมุดดีน อูมา" อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) นราธิวาสหลายสมัย ถูกยิงระเบิดเอ็ม 79 ถล่มบ้านพักซ้ำ 2 คืนซ้อน สังคมพื้นที่ก็ตั้งคำถามขึ้นมาทันทีว่า เกิดอะไรขึ้นในเมื่อนัจมุดดีนคือในตัวต่อสำคัญที่มีส่วนทำให้เกิดกระบวนการพูดเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ขึ้นในช่วงที่ผ่านมา คืนแรกเกิดขึ้นในคืนวันที่ 7 เมษายน โดยคนร้ายยิงเอ็ม79 จำนวน 2 ลูก ไปโดนห้องประชุมที่กำลังก่อนสร้างใกล้เสร็จ ภายในบ้านพักริมถนนระแงะมรรคา หมู่ที่ 1 ต.ตันหยงมัส อ.ระแงะ จ.นราธิวาส และในคืนต่อมาคนร้ายยิง 1 ลูก แต่กระสุนพลาดเป้าไปถูกบ้านชาวบ้านจนมีคนบาดเจ็บ 1 คน หลังเกิดเหตุครั้งที่ 2 นายอภินันท์ ซื่อธานุวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส สั่งให้ตั้งด่านตรวจตลอดรัสมีการยิงลูกระเบิดเอ็ม79 เพื่อป้องกันเหตุร้ายที่อาจเกิดขึ้นอีก ซึ่งอันที่จริงนายนัจมุดดีนถูกยิ่งถล่มบ้านพักด้วยเอ็ม79มาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปีที่แล้ว นัจมุดดีน เชื่อว่า คนร้ายที่ก่อเหตุทั้ง 2 ครั้งเป็นกลุ่มเดียวกัน ส่วนจะเป็นกลุ่มไหนนั้น เขาบอกว่าไม่ทราบ เรื่องนี้เป็นหน้าที่ของตำรวจที่จะคลี่คลายคดีนี้ อย่างไรก็ตามเขายืนยันว่า ไม่ใช่เรื่องส่วนตัวและไม่ใช่เรื่องการเมืองแน่นอน แต่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ไม่สงบแน่นอน ส่วนจะมาจากกลุ่มไหนนั้น อัลลอฮ(พระเจ้าที่ชาวมุสลิมนับถือ)เท่านั้นคือผู้ที่รู้ดีที่สุด นัจมุดดีน ยังได้พูดถึงกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติดภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ด้วยว่า ประชาชนทั่วไปร้อยละ 80 เห็นด้วยในหลักการ เช่นเดียวกับประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็เห็นด้วย แต่วิธีการที่จะเดินไปข้างหน้ายังเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา นัจมุดดีน ระบุว่า เราพลาดตรงที่การพูดคุยเป็นที่เปิดเผยมากเกินไป ทำให้คนรู้ตั้งแต่ต้น ทั้งที่รัฐบาลยังไม่ควรจะเปิดเผย ต่างจากกระบวนการสันติภาพที่มินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ ที่สังคมรู้ตอนที่กระบวนการใกล้จะจบแล้ว หลังจากที่มีการคุยกันมาเป็นเวลาหลายปี "แต่ก็ไม่เป็นไร เพราะกระบวนการพูดคุยครั้งนี้ เดินมาถูกทางแล้ว เพราะจะหาทางออกทางอื่นนอกจากนี้ไม่มีอีกแล้ว หากลองศึกษาประวัติศาสตร์ความขัดแย้งของที่อื่นในโลกดู พบว่า ไม่มีวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่จบลงด้วยการใช้อาวุธ" เขาบอกว่า ปัญหาของคนจังหวัดปัตตานี ยะลาและนราธิวาส เป็นปัญหาทางการเมืองการปกครอง เพราะคนที่นี่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการเมืองการปกครอง หากแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมจากการเมืองและการปกครองได้ ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ก็จะแก้ได้ เขาบอกว่า ในส่วนของคนที่ยังไม่เห็นด้วยกับการพูดคุยเพื่อสันติภาพอีกร้อยละ 20 นั้น เป็นหน้าที่ฝ่ายรัฐจะต้องทำความเข้าใจกับคนกลุ่มนี้ให้ได้ เพื่อให้พวกเขาเข้าใจและเห็นด้วยในที่สุด แต่เมื่อย้อนถามว่า - เป็นไปได้หรือไม่ว่า เหตุยิ่งเอ็ม 79 ทั้ง 2 ครั้ง มาจากคนกลุ่มนี้ นัจมุดดีน บอกว่า เป็นไปได้ เพราะกลุ่มเคลื่อนไหวในพื้นที่มีหลายกลุ่ม "ที่จริงไม่ใช่พวกเขาไม่เห็นด้วยกับกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ แต่เรายังหาจุดไม่เจอว่าจะคุยกันอย่างไร ซึ่งก็ต้องพยายามต่อไป" ส่วนในฝ่ายรัฐ เขาเชื่อว่า ไม่มีคนที่ไม่เห็นด้วยกับการพูดคุยเพื่อสันติภาพ ในเมื่อมันเป็นนโยบายของรัฐบาลแล้ว ทุกฝ่ายก็ต้องทำตาม ยกเว้นว่าจะมีใครเล่นนอกกติกา
ที่ผ่านมามีบทบาทในกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพอย่างไร ผมมี 2 ฐานะ ฐานะแรก คือการเป็นนักการเมืองในพื้นที่ ผมเคยเป็น ส.ส. 4 สมัย แน่นอนว่าคนที่เป็น ส.ส.ก็ย่อมต้องมีมือไม้ในพื้นที่ ไม่ว่าจะอยู่พรรคไหนก็ตาม ต้องรู้จักคน ทั้งที่สนับสนุนและไม่สนับสนุน ฐานะที่ 2 คือ มีคนถามว่าที่โดนถล่มครั้งนี้เพราะการเป็นที่ปรึกษาของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงหรือไม่ ที่จริงที่ปรึกษาทั้งหมดมี 9 คน ถ้าบอกว่า ที่โดนผมเพราะเป็นที่ปรึกษา ถ้าเป็นอย่างนั้นก็ต้องโดนกันหมด แต่นี่ทำไมโดนผมคนเดียว แถมยังโดน 2 ครั้งติดต่อกัน เมื่อเช้า ร.ต.อ.เฉลิมก็โทรศัพท์มา เมื่อวานก็โทรศัพท์มา วันนี้โดนอีกก็โทรมาอีก ถามว่าเรื่องอะไร ผมบอกว่าไม่มีอะไร อาจเป็นเพราะมีคนที่ไม่เห็นด้วยกับความพยายามในการสร้างสันติภาพก็เป็นได้ ในฐานะที่เป็นอดีต ส.ส.ก็ต้องฟังประชาชน ส่วนในฐานะที่ปรึกษาก็ต้องทำหน้าที่ที่ปรึกษา
การทำงานร่วมกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นอย่างไร ผมไม่มีตำแหน่งหน้าที่อะไรใน ศอ.บต. เพียงแต่รู้จักเป็นการส่วนตัวกับ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศอ.บต. เวลามีอะไรก็มักจะคุยโทรศัพท์ไปมาในเรื่องปัญหาต่างๆ อีกเรื่อง คือผมได้ไปพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคนที่อยู่ในมาเลเซียมาหลายปีแล้ว บอกว่าตอนนี้รัฐบาลได้เปิดโอกาสที่จะให้คนที่อยู่ต่างประเทศได้กลับบ้าน รวมทั้งได้มีการพูดคุยทำความเข้าใจก็เท่านั้น
การติดต่อกับคนในขบวนการต่อสู้เพื่อเอกราชของฟาฏอนีย์ คนเราก็ต้องมีคนที่รู้จักกันเป็นเรื่องปกติ ไม่ว่าจะเป็นคนในขบวนการหรือไม่ ต่างก็เป็นคนที่นี่เหมือนกัน คนที่อยู่ในขบวนการและมีคดีติดตัวก็พยายามช่วยเรื่องคดี ถ้าใครไม่อยากให้พบเราก็ไม่ไปพบ หรือใครที่อยากให้เจอเราก็ไปเจอ ไม่ใช่ไปหาคนทำผิดมาลงโทษ ไปเจอก็คุย ส่วนเขาจะเห็นด้วยหรือไม่ ก็เรื่องของเขา แต่เราก็คุยกัน
มองการพูดคุยสันติภาพครั้งนี้จะไปต่อข้างหน้าอย่างไร ต้องเดินหน้าต่อไป แต่จะให้ปัญหาจบลงในเวลา 3 – 4 วัน หรือ 5 เดือน คงเป็นไปไม่ได้ อย่างที่อาเจะห์ประเทศอินโดนีเซีย ก็ใช้เวลาถึง 7 – 8 ปี ส่วนที่มินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ก็ใช้เวลาถึง 10 ปีกว่าถึงจะสำเร็จ ส่วนของเราแค่ 3 เดือนเอง แล้วจะให้ปัญหาจบได้อย่างไร เพราะฉะนั้นก็ต้องเดินหน้าต่อไป ส่วนเหตุการณ์ในพื้นที่จะเป็นอย่างไร ก็ให้มันเป็นไป เพราะคนทะเลาะกันมาเป็นร้อยปี มาคุยแค่ 4 วันแล้วจะให้จบ เป็นไปไม่ได้
ระหว่างนี้จะต้องทำอะไรเพื่อหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพ ต้องทำความเข้าใจแก่ประชาชนในเรื่องการพูดคุยเพื่อสันติภาพ ต้องทำความเข้าใจแก่คนที่ยังไม่เข้าใจ รัฐต้องทำ เช่น ผมได้ให้ความเห็นแก่เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ว่า ควรแปลนโยบายความมั่นคงให้เป็นภาษามลายู ภาษาอังกฤษ รวมทั้งภาษาอาหรับ เพื่อต้องการให้โลกรู้ เช่นเดียวกับนโยบายของศอ.บต.ก็ต้องแปลให้เป็นภาษาเหล่านั้นด้วย นี่ก็คือการทำความเข้าใจอย่างหนึ่ง
นักการเมืองเองต้องทำอะไรบ้าง ทั้งในฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ที่เป็นปัญหาตอนนี้คือ ส.ส.ที่มีอยู่ในพื้นที่เป็นของพรรคประชาธิปัตย์ทั้งนั้น ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายค้าน นี่คือสิ่งที่คนในพื้นที่เสียเปรียบ เพราะพรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาล แต่ไม่มีส.ส.อยู่ในพื้นที่แม้แต่คนเดียว เพราะฉะนั้นต้องช่วยกันขอดูอา(ขอพร) ให้มากๆ เพื่อให้มีส.ส.และมีรัฐมนตรีเป็นคนมุสลิมในพื้นที่ ถึงจะมีความหวังในวันข้างหน้าได้ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องมีรัฐมนตรีเป็นคนในพื้นที่ การทำงานจึงจะสำเร็จ เช่นการตั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย การอนุญาตให้ผู้หญิงมุสลิมสามารถคลุมฮิญาบได้ ก็เกิดขึ้นในสมัยที่มีคนมุสลิมในพื้นที่เป็นรัฐมนตรี
ก่อนจะไปถึงจุดนั้น นักการเมืองควรทำอะไรบ้าง หัวใจสำคัญคือ ต้องหาช่องทางในการหยุดความรุนแรงให้เจอก่อน ถ้าแก้ปัญหาไม่สงบไม่ได้ การแก้ปัญหาอย่างอื่นที่ตามมาก็จะยาก
โดนมา 2 ครั้งติดต่อกันรู้สึกอย่างไร ปกติ งานที่ทำก็จะทำต่อไป ตามความเชื่อของคนมุสลิม ในเรื่องความตายนั้น พระเจ้ากำหนดไว้เรียบร้อยแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้น ยิ่งทำให้รู้สึกว่าต้องสู้ต่อไป ไม่มีปัญหาอะไร เรื่องแค่นี้เป็นเพียงการทดสอบ ยังไม่ใช่ภัยพิบัติ เป็นการทดสอบจิตใจว่าเราอดทนมากน้อยแค่ไหน
ส่วนบทบาทของกลุ่มวาดะห์ที่มารวมตัวกันอีกครั้งเป็นอย่างไรบ้าง เรามารวมตัวกันอีกครั้ง โดยในปีแรกนี้เราได้ขอความช่วยเหลือจากนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ให้กลับมาเป็นประธานกลุ่มวาดะห์อีกครั้ง เพื่อให้กลุ่มวาดะห์ได้รื้อฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง โดยนายเด่น โต๊ะมีนา นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ รวมทั้งผม และนายบูราฮานุดิง อุเซ็ง มาเป็นนักคิดให้กับกลุ่มเพื่อจะเดินต่อไปข้างหน้า โดยในวันที่ 21 เมษายน 2556 นี้ จะมีการประชุมอีกครั้งหนึ่ง ที่บ้านของนายวันมูหะมัดนอร์ ที่จังหวัดยะลา และจะเปิดกว้างให้คนเข้าร่วม จุดประสงค์คือ จะทำอย่างไรที่จะเอาชนะพรรคประชาธิปัตย์ให้ได้
ในเรื่องกระบวนการสันติภาพ กลุ่มวาดะห์ทำอะไรบ้าง กลุ่มวาดะห์สนับสนุนทุกฝ่ายที่มีส่วนร่วมในกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ ส่วนการทำงานในทางลับก็ต้องทำด้วยเพื่อสนับสนุนกระบวนการสันติภาพ เป็นเรื่องปกติดที่ทำอยู่แล้ว ซึ่งบ้างเรื่องไม่สามารถเปิดเผยต่อสาธารณะชนในวงกว้างได้ เพราะอาจเป็นอันตรายต่อกระบวนการที่เดินอยู่ได้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
วุฒิฯ คลอด 5 'ซุปเปอร์บอร์ด' ตรวจงาน 'กสทช.' แล้ว Posted: 09 Apr 2013 11:15 AM PDT (9 เม.ย.56) ในการประชุมวุฒิสภา มีการพิจารณาลงคะแนนรอบสุดท้ายเลือกผู้สมควรดำรงตำแหน่ง กรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) หรือ ซุปเปอร์บอร์ด ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 70 พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 โดยจะมีวาระดำรงตำแหน่ง 3 ปี มีการลงคะแนนแบบลับในคูหา สำหรับผู้ที่จะได้รับเลือกจะต้องเป็นผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดในแต่ละด้าน ซึ่งหากด้านใดมีคะแนนเสียงเท่ากันจะให้สมาชิกลงคะแนนใหม่ ผลปรากฎว่ามีผู้แสดงตนลงคะแนน 116 คน ด้านกิจการด้านกิจการกระจายเสียง ผู้ที่ได้รับเลือกคือ พล.อ.ธวัชชัย สมุทรสาคร ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก ซึ่งได้คะแนน 74 เสียงเหนือ น.ส.ลักษมี ศรีสมเพ็ชร กรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเชียงใหม่ หรือ กรอ.เชียงใหม่ที่ได้ 70 เสียง ด้านกิจการโทรทัศน์ นายพิชัย อุตมาพินันท์ ที่ปรึกษาคณะกรรมการกฎหมายสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้รับการคัดเลือกด้วยคะแนน 90 คะแนน เหนือ พล.อ.จิรเดช คชรัตน์ อดีตที่ปรึกษากรรมการบริษัทกิจการโทรทัศน์กองทัพบกที่ได้ 48 คะแนน ส่วนด้านกิจการโทรคมนาคม ผู้ที่ได้รับคัดเลือกคือ นายอมรเทพ จิรัฐิติเจริญ นักวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ได้เสียงสนับสนุน 81 เสียง ชนะนายอนันต์ วรธิติพงศ์ อดีต ส.ว.สรรหา ที่ได้ 63 เสียง ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค นายประเสริฐ อภิปุญญา รองเลขาธิการ กสทช. เลขานุการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ได้รับคะแนน 75 คะแนน เหนือ นายพันธ์ศักดิ์ จันทร์ปัญญา อดีตที่ปรึกษากิตติมศักดิ์คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ได้ 69 เสียง และด้านกิจการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน พล.อ.บุญยวัจน์ เครือหงส์ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกลาโหม ได้รับคัดเลือกด้วยคะแนน 82 คะแนน มากกว่านายจเด็จ อินสว่าง อดีตปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่ได้ 63 เสียง
มาตรา 70 เพื่อประโยชน์ในการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินการ และการบริหารงานของสำนักงาน กสช. และเลขาธิการ กสช. หรือสำนักงาน กทช. และเลขาธิการ กทช. แล้วแต่กรณี ให้มีคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของสำนักงาน กสช. หรือคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของสำนักงาน กทช. แล้วแต่กรณี ประกอบด้วยประธานกรรมการและกรรมการอื่นจำนวนไม่น้อยกว่าสองคนแต่ไม่เกินสี่คน ซึ่ง คณะกรรมการแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งมิใช่กรรมการ เลขาธิการ กสช. เลขาธิการ กทช. พนักงานหรือ ลูกจ้างของสำนักงาน กสช. หรือพนักงานหรือลูกจ้างของสำนักงาน กทช. แล้วแต่กรณี รวมทั้ง มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามระเบียบที่ กสช. หรือ กทช. แล้วแต่กรณี กำหนด มาตรา 71 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา 70 วรรคสอง กรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
ที่มา: มติชนออนไลน์, พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ 2553 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ครม.ยืดเวลาขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว ให้สิทธิค่าเช่าบ้านข้าราชการ อนุมัติซื้อรถเมล์ใหม่ 3 พันคัน Posted: 09 Apr 2013 10:45 AM PDT ครม.ขยายเวลาขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว 120 วัน ให้ข้าราชการที่ทำงานต่างท้องที่เบิกค่าเช่าบ้านได้ และอนุมัติ ขสมก.ซื้อรถเมล์ใหม่ 3,000 คัน 9 เม.ย.56 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ขยายเวลาแก่แรงงานสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ที่หลบหนีเข้าเมือง รวมถึงบุตรที่อายุไม่เกิน 15 ปี ได้รับหนังสือเดินทางชั่วคราวหรือเอกสารรับรองบุคคลจากประเทศต้นทาง เพื่อขอวีซ่าและรับอนุญาตให้ทำงานกับผู้จ้างเดิมอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยผ่อนผันต่อไปอีก 120 วัน นับตั้งแต่วันที่ 14 เม.ย.เป็นต้นไป ทั้งนี้ตามข้อเสนอของกระทรวงแรงงาน เนื่องจากมีคำร้องขอจากแรงงานต่างด้าวที่นายจ้างรวบรวมนำส่งมายังศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) จำนวนมากถึง 384,534 คำร้อง ทำให้ทางศูนย์ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ทัน นพ.ทศพร เสรีรักษ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ระหว่างที่ผ่อนผันให้กระทรวงมหาดไทยออกประกาศขยายระยะเวลา และให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว และประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลา 2 ปี กระทรวงสาธารณสุขให้รับตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพ กรมการจัดหางานให้เร่งนายจ้างพาแรงงานต่างด้าวมาดำเนินการให้เรียบร้อย สำนักงานประกันสังคมให้ดำเนินการให้แรงงานต่างด้าวเข้าสู่ระบบประกันสังคม ส่วนกระทรวงการคลังให้สนับสนุนด้านงบประมาณ นพ.ทศพร แถลงด้วยว่า ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติผ่อนปรนการดำเนินการตามสมควรแก่กรณีกับนายจ้างและแรงงานต่างด้าว เพื่อให้การดำเนินนโยบายบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และภายหลังสิ้นสุดการผ่อนผัน 120 วันแล้ว ให้ดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดในการปราบปราม จับกุมดำเนินคดีกับนายจ้างที่ลักลอบจ้างแรงงานต่างด้าว ผู้นำพา และผู้ให้ที่พักพิงแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย สำหรับแรงงานต่างด้าวให้ผลักดันส่งกลับไปยังประเทศต้นทาง เพื่อดำเนินการตามกระบวนการนำเข้าแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมายต่อไป นอกจากนี้ ครม.ยังมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ ...) พ.ศ.... เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ.2547 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่ชัดเจน ทำให้มีปัญหาการตีความและการวินิจฉัยสิทธิการได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการ โดยกำหนดให้ข้าราชการที่ได้รับคำสั่งให้ไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่และทางราชการได้จัดที่พักอาศัยให้แล้ว ไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน ส่วนข้าราชการที่เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านเท่าที่ต้องจ่ายจริงตามที่สมควรแก่สภาพบ้าน แต่ไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามบัญชีอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการ วันเดียวกันนี้ ครม.อนุมัติให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวีชุดใหม่โดยมีทั้งรถปรับอากาศและรถเมล์ธรรมดาจำนวน 3,000 คัน ในวงเงิน 13,000 ล้านบาท โดยนายกรัฐมนตรีกำชับให้ ขสมก.เปิดประมูลอย่างโปร่งใสและเน้นให้เอกชนในประเทศเข้าร่วมประมูล เพื่อส่งเสริมการจ้างงานและอุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ภายในประเทศ รวมทั้งกำชับให้หาแนวทางส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้บริการรถเมล์แทนรถยนต์ส่วนตัวในเขตที่มีจราจรติดขัดอย่างมากในช่วงจราจรเร่งด่วน เพื่อหวังให้มีผู้ใช้บริการรถเมล์เพิ่มจาก 1.7 ล้านคน เพิ่มเป็น 2.5 ล้านคน/วัน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ชาวบ้านแม่เมาะค้านเขตอุทยานถ้ำผาไททับที่ทำกิน Posted: 09 Apr 2013 07:57 AM PDT ลำปาง/ ชาว อ.แม่เมาะ จากสามหมู่บ้าน ค้านการประกาศแนวเขตอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไทระบุเงื่อนไขให้กันพื้นที่ทำกิน ที่อยู่อาศัย และพื้นที่ป่าชุมชนออกก่อน 8 เมษายน 56 เวลาประมาณ 10.00น. ชาวบ้านกลาง บ้านแม่ส้าน และบ้านห้วยตาด ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง 3 หมู่บ้าน จำนวนประมาณ 300 คน ได้มารวมตัวกันที่โบสถ์คริสต์บ้านกลาง ม.5 ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง เพื่อร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็นในเวทีประชุมร่วมกับหัวหน้าอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท โดยมีตัวแทนจากอนุกรรมการที่ดินป่าไม้ และผู้เชี่ยวชาญคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเข้าร่วมสังเกตการณ์ ในการหาข้อยุติร่วมกันกรณีการซ้อนทับระหว่างแนวเขตอุทยานและและแนวเขตของชุมชน ผู้สื่อข่าวรายงานว่าก่อนหน้านี้ชุมชนทั้ง 3 ชุมชนนี้ได้ยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกรณีที่ชุมชนถูกละเมิดสิทธิจากการประกาศอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไทซ้อนทับพื้นที่ของชุมชน และได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 56 ที่ผ่านมา ณ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว และข้อสรุปจากเวทีมอบหมายให้อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไทจัดเวทีในพื้นที่เพื่อหาข้อสรุปในการจัดทำแนวเขตร่วมกันกับชุมชน และรายงานสรุปต่อคณะกรรมการสิทธิฯ นายสมชาติ หละแหลม ผู้ใหญ่บ้านกลาง ม.5 นำเสนอข้อมูลและจำนวนพื้นที่ที่ชุมชนทั้ง 3 หมู่บ้าน ได้ขอกันออกจากแนวเขตอุทยานฯ เนื้อที่รวมทั้งหมด 51,303.86 ไร่ จำแนกเป็น พื้นที่ทำกิน ที่อยู่อาศัย และพื้นที่ป่าชุมชน คิดเป็นร้อยละ 6.76 ของเนื้อที่อุทยานฯ ทั้งหมด (758,750 ไร่ หรือ 1,214 ตารางกิโลเมตร) ภายหลังจากการที่ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูลข้อเท็จจริง และพบว่าแนวเขตอุทยานฯ ที่อยู่ในแผนที่แนบท้ายการประกาศนั้น ยังไม่มีการกันออกจากพื้นที่ทำกิน ที่อยู่อาศัย และป่าชุมชน ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ท้ายสุดของการประชุมมีข้อสรุปว่า หัวหน้าอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไทเห็นด้วยที่จะให้มีการสำรวจรังวัดที่ดินของชุมชนออกก่อนที่มีการประกาศแนวเขตฯ และให้ผู้นำชุมชนทั้ง 3 ชุมชนทำหนังสือไปยังอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไทเพื่อนัดหมายวัน เวลา ในการสำรวจรังวัดแนวเขตร่วมกัน เพื่อที่จะได้นำข้อมูลและข้อสรุปที่ได้รายงานต่อคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต่อไป อนึ่ง อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไทมีพื้นที่ครอบคลุมในท้องที่อำเภอเมือง อำเภอแม่เมาะ อำเภอแจ้ห่ม อำเภองาว จังหวัดลำปางมีเนื้อที่ประมาณ 758,750 ไร่ หรือ 1,214 ตารางกิโลเมตร โดยกรมป่าไม้ได้ดำเนินการสำรวจเพื่อขอจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อปี2532 และดำเนินการสำรวจเพิ่มเติม ในบริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ยาง-ป่าแม่งาว ป่าแม่ต๋า-ป่าแม่มาย ป่าแม่งาวฝั่งขวา และป่าแม่โป่ง ในท้องที่อำเภอเมือง อำเภอแม่เมาะ อำเภอแจ้ห่ม และอำเภองาว จังหวัดลำปาง เพื่อประกาศเป็นอุทยานได้ขออนุมัติใช้ชื่ออุทยานแห่งชาติตามหนังสืออุทยานแห่งชาติ ที่ กษ 0713(ผท)/20 ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2534 ว่า อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท ซึ่งนายไพโรจน์ สุวรรณกร อธิบดีกรมป่าไม้ อนุมัติให้ใช้ชื่อ "อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท" เมื่อวันที่ 4 มีนาคม2534 ปัจจุบันกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชกำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อพิจารณาการประกาศเพิ่มเติมในท้องที่ตำบลบ้านดง อำเภอแม่เมาะ แต่ได้รับการค้าค้านจากประชาชนในพื้นที่ จึงเป็นที่มาของการลงพื้นที่จัดประชุมในวันดังกล่าว ที่มา: ประชาธรรม สถานีข่าวประชาชน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
'เครือข่ายแรงงาน' ร้องวุฒิฯ ดันหลักการ กม.ประกันสังคมภาคคนงาน เข้าวาระ 3 Posted: 09 Apr 2013 06:24 AM PDT
ล่าสุด (9 เม.ย.56) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) นำโดยยงยุทธ เม่นตะเภา กรรมการอำนวย คสรท. และ วิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธาน คสรท. เดินทางยื่นหนังสือต่อ นิคม ไวยรัชพานิช ส.ว.ฉะเชิงเทรา ประธานวุฒิสภา และพลตำรวจตรี ขจร สัยวัตร์ ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคมวุฒิสภา เพื่อขอให้นำหลักการและเหตุผลของร่างที่เสนอชื่อโดยประชาชน 14,264 รายชื่อ เข้าไปพิจารณาในชั้นการประชุมของวุฒิสภา เนื่องจาก ส.ส.จงใจละเมิดสิทธิของประชาชน และปิดกั้นขัดขวางการใช้สิทธิทางการเมืองโดยตรงของประชาชนที่มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 163 และผู้ใช้แรงงานสิบกว่าล้านคน ไม่มีโอกาสเสนอหลักการและเหตุผลในการแก้ไขกฏหมายประกันสังคมทั้งที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญ และไม่ได้รับสิทธิเป็นกรรมาธิการวิสามัญ 1 ใน 3 ตามรัฐธรรมนูญบัญญัติ จากนั้นได้เดินทางไปยังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ยื่นหนังสือต่อ นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ประธานคณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองสิทธิทางการเมือง ขอให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง จากกรณีสภาผู้แทนราษฎรไม่รับหลักการร่างของประชาชนครั้งนี้ด้วย นพ.นิรันดร์ ให้สัมภาษณ์ว่า คณะอนุฯ จะต้องตรวจสอบว่าสาเหตุที่การไม่รับหลักการของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรนั้น มีข้อเท็จจริงที่มีเหตุผลอย่างไรบ้าง ทั้งนี้ ตามมาตรา 87 รัฐธรรมนูญ ระบุให้รัฐส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการกำหนดนโยบายต่างๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน การเสนอ ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับดังกล่าว ซึ่งเน้นความเป็นอิสระของคณะกรรมการกองทุนประกันสังคมนับว่าให้ประโยชน์ต่อแรงงานในระบบทั้งหมด นพ.นิรันดร์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ การที่คนงานเสนอกฎหมายด้วยตัวเอง สะท้อนถึงความตื่นตัวของภาคประชาชน ในการขยับเข้ามามีส่วนร่วมกำหนดนโยบายที่เป็นประโยชน์ ซึ่ง ส.ส. น่าจะเข้าใจ ยอมรับและนำร่างมาพิจารณาในชั้นกรรมาธิการ นพ.นิรันดร์ กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมา นอกจากร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับนี้แล้ว ยังมีการร้องเรียนเกี่ยวกับการที่กฎหมายที่เสนอโดยภาคประชาชนไม่ได้รับความเอาใจใส่ในการพิจารณาของรัฐสภาอีกหลายฉบับ อาทิ ร่าง พ.ร.บ.แร่ ร่าง พ.ร.บ.ประมงพื้นบ้าน ร่าง พ.ร.บ.การจัดการทะเลชายฝั่ง ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ จะตรวจสอบกระบวนการของรัฐสภาในการพิจารณารับหลักการกฎหมายต่างๆ รวมถึงร่วมกับคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ในการจัดทำข้อเสนอต่อการแก้ไขกฎหมายต่อไป
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ปัดตกอุทธรณ์ ครก.112 เลขาฯ สภา ระบุเป็นเรื่องความมั่นคงของรัฐไม่ใช่สิทธิเสรีภาพ Posted: 09 Apr 2013 03:07 AM PDT พวงทอง ภวัครพันธุ์ ตัวแทน ครก. 112 วิพากษ์สภามองเรื่องสิทธิและเสรีภาพในแบบแคบและไม่ให้ความสำคัญกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน ปกป้องตนเองมากกว่าจะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์มีความมั่นคงในระยะยาว เมื่อวันที่ 29 มี.ค. ที่ผ่านมา นายสุวิจักขณ์ นาควัชระชัย เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ออกหนังสือยืนยันคำวินิจฉัยเดิมถึงนายชาญวิทย์ เกษตรศิริ ตัวแทนคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก. 112) ซึ่งอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งของประธานรัฐสภาที่วินิจฉัยจำหน่าย ร่างพ.ร.บ.แก้ไขมาตรา 112 โดยหนังสือยืนยันคำวินิจฉัยเดิมระบุด้วยว่าร่างดังกล่าวมีการแยกองค์ประกอบความผิด ลักษณะการกระทำความผิดที่ผ่อนคลายลงและอัตราโทษที่น้อยลง ย่อมจะทำให้การละเมิด กล่าวหา หมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายได้โดยง่ายขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อความมั่นคงของรัฐได้ จึงไม่ใช่เงื่อนไขในการเสนอแก้กฎหมายตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย และหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ดังนั้น จึงไม่อาจเสนอร่างฯ ฉบับดังกล่าวให้รัฐสภาพิจารณาตามรัฐธรรมนูญ ม.163 ได้ ด้าน พวงทอง ภวัครพันธุ์ นักวิชาการตัวแทนคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก.112) กล่าวถึงกรณีที่เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรยืนยันคำวินิจฉัยเดิมว่า กรณีนี้สะท้อนว่าสภามองเรื่องสิทธิและเสรีภาพในแบบแคบและไม่ให้ความสำคัญกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน เป็นการปกป้องตนเองมากกว่าทำเพื่อให้สถาบันพระมหากษัตริย์มีความมั่นคงในระยะยาว นักวิชาการตัวแทน ครก.112 ยังวิจารณ์คำวินิจฉัยที่ชี้ว่า ม.112 เป็นเรื่องความมั่นคงของรัฐไม่ใช่สิทธิเสรีภาพ ว่า "มันเป็นสิ่งที่แยกไม่ออก ในยุคปัจจุบัน เขาจะมองว่ามันเป็นเรื่องความมั่นคงของรัฐ แต่ว่าความมั่นคงของรัฐที่วางอยู่บนการละเมิดสิทธิเสรีภาพ ขัดกับระบอบประชาธิปไตย มันจะต้องถูกแก้ไข ในยุคปัจจุบันนี้คุณปฏิเสธไม่ได้สิทธิเสรีภาพเป็นหัวใจสำคัญของสังคม ดังนั้นความมั่นคงของรัฐมันจะไปละเมิดสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยของประชาชนไม่ได้" "เราพยายามที่จะแก้ไขเรื่องนี้อย่างเปิดเผยและถูกต้องตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมมากที่สุดในการแก้ไขปัญหานี้ แต่สภากลับปิดเส้นทางนี้ที่จะมีการแก้ไขอย่างเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมา เท่ากับผลักให้ประชาชนกลับใต้ดินกันต่อไป" พวงทอง กล่าว สำหรับการเคลื่อนไหวต่อจากนี้ ตัวแทน ครก.112 ยอมรับว่ามาถึงจุดที่ทำอะไรมากกว่านี้ไม่ได้ จึงยังไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรต่อไปเนื่องจากถูกปิดหนทางจากสภา ทั้งที่ทำโดยถูกต้องโดยกฎหมายถูกปิดโดยสภาเป็นเรื่องที่น่าเสียใจมาก ทั้งนี้ ครก.112 ยื่น ร่าง พรบ.แก้ไขมาตรา 112 โดยมีประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งร่วมลงรายมือชื่อ 30,383 คน ต่อประธานสภาไปเมื่อ29 พ.ค.55 แต่ถูกรัฐสภาจำหน่าย ร่างฯ ดังกล่าว ไปเมื่อ ก.ย.55
หนังสือยืนยันคำวินิจฉัยจาก เลขาธิการสภาฯ : ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
มุสลิมพม่าในไทยเรียกร้องรัฐบาลพม่ายุติความรุนแรงทางศาสนา Posted: 09 Apr 2013 02:36 AM PDT มุสลิมพม่าและโรฮิงยาชุมนุมหน้าสถานทูตพม่า เรียกร้องรัฐบาลพม่าปกป้องมุสลิมและโรฮิงยาจากความรุนแรงทางเชื้อชาติและศาสนา ตอนสายวันนี้ (9 เม.ย.56) ที่หน้าสถานทูตพม่า ถนนสาทร กรุงเทพฯ ชาวมุสลิมพม่าและชาวโรฮิงยาที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยราว 30 คน เดินทางมาชุมนุมที่หน้าสถานทูตพม่า เพื่อยื่นจดหมายเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าปกป้องชาวมุสลิมและชาวโรฮิงยาจากความรุนแรงทางเชื้อชาติและศาสนาที่เกิดขึ้นในรัฐอาระกันเมื่อปลายปีที่แล้ว และล่าสุดที่เมืองเมกติลาปลายเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา การยื่นจดหมายดังกล่าวปรากฏว่าไม่มีเจ้าหน้าที่จากสถานทูตพม่าออกมารับ ตัวแทนผู้ชุมนุมจึงอ่านข้อความในจดหมาย จากนั้นผู้ชุมนุมร่วมกันตะโกนข้อความให้ยุติการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และมีการจุดไฟเผาเสื้อยืดที่มีภาพของนางอองซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านพม่า โดยผู้ชุมนุมบางส่วนกล่าวว่า รู้สึกผิดหวังกับบทบาทการปกป้องสิทธิมนุษยชนของโรฮิงยาและมุสลิมในพม่าของนางซูจี ทั้งนี้ ข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมที่ระบุในจดหมายมี 5 ข้อ ได้แก่ หนึ่งให้รัฐบาลพม่ายุติการเข่นฆ่า การใช้ความรุนแรง และการข่มขู่คุกคามชาวมุสลิมในพม่าโดยทันที และรับรองเสรีภาพทางศาสนาอย่างเต็มที่โดยมีความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน และเกียรติยศ สอง ให้รัฐบาลพม่าหยุดการแผ่ขยายของการวางแผนฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวมุสลิมในพม่า โดยการนำของพระสงฆ์วิระธุ ผู้สนับสนุนกลุ่ม 969 สาม เรียกร้องต่อชาวโลกให้เข้าแทรกแซงเพื่อปกป้องชาวมุสลิมในพม่า ชาวโรฮิงยา และชนกลุ่มน้อยอื่นๆ และส่งเสริมสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการปฏิรูปการเมืองและประชาธิปไตยในพม่า สี่ เรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายพลเมืองพม่า ปี 1982 (Burma Citizenship Law 1982) ที่ร่างในสมัยของนายพลเนวิน อดีตผู้นำเผด็จการทหาร และแทนที่ด้วยกฎหมายใหม่ที่มีมาตรฐานเหมือนกับกฎหมายของนานาประเทศ และให้ชดเชยสิทธิและทรัพย์สินทั้งหลายของชาวมุสลิมที่สูญไป และห้า ต้องการให้ส่งกลับชาวมุสลิมและโรฮิงยาพลัดถิ่นคืนสู่บ้านเกิดอย่างเร่งด่วนและมีเกียรติ จากนั้น ผู้ชุมนุมได้เดินทางต่อไปยังสถานทูตสหรัฐอเมริกาและองค์การสหประชาชาติ เพื่อยื่นจดหมายขอความช่วยเหลือชาวมุสลิมและชาวโรฮิงยาในพม่าต่อไป
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ชุมนุมยื่นหนังสือผู้แทนอียู อย่าผิดสัญญาเดินหน้าเอฟทีเอกระทบสาธารณสุขไทย Posted: 09 Apr 2013 02:23 AM PDT
9 เม.ย. เวลาประมาณ 9.00 น. กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรี นายอภิวัฒน์ กวางแก้ว ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้ "เราสงสัยว่าสหภาพยุโรปได้รางวั ขณะที่ นายจักรชัย โฉมทองดี รองผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาข้ "ปีที่แล้ว สภายุโรปมีมติไม่รับข้อตกลงว่ ข้อมูลจากเอฟทีเอวอทช์ระบุว่า การชุมนุมครั้งนี้ยังเป็นส่ ระหว่างการชุมนุม เครือข่ายประชาชนได้รั
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ทัพพม่าสั่ง SSA-เหนือ ถอนกำลังพ้นฝั่งสาละวิน เคลียร์พื้นที่ให้จีนสร้างเขื่อน Posted: 09 Apr 2013 02:19 AM PDT นักวิจัยสิ่งแวดล้อมไทใหญ่ เผยแพร่รายงานล่าสุดที่ระบุว่าทหารพม่าได้สั่งให้ทหารกองทัพรัฐฉานเหนือ ถอนกำลังจากพื้นที่ด้านตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน เพื่อเคลียร์พื้นที่ให้จีนเข้ามาสร้างเขื่อน เมื่อเร็วๆ นี้ องค์กรสิ่งแวดล้อมไทใหญ่ (Shan Sapawa -ฉานสภาวะ) ได้ออกมาเปิดเผยรายงานล่าสุด ชี้กองทัพพม่าได้ออกคำสั่งให้ ทางองค์กรสิ่งแวดล้อมของไทใหญ่ สำหรับพื้นที่ดังกล่าว ทาง SSA -เหนือ ได้รับอนุญาตให้เป็นพื้นที่ นับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่ แม้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการเขื่ ทั้งนี้ ทางองค์กรสิ่งแวดล้อมไทใหญ่ ด้านจายเคือแสง โฆษกขององค์กรสิ่งแวดล้อมไทใหญ่
ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่ "คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
“รัฐ” ไม่ได้เป็นเจ้าของ “สนง.ทรัพย์สินฯ” แต่เป็นแค่ “นอมินี” ของ “กษัตริย์” เท่านั้น Posted: 09 Apr 2013 12:24 AM PDT (1) Royalist ท่านหนึ่งได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับ "สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" ในเฟซบุ๊กของเขา โดยได้เปรียบเทียบ "สนง.ทรัพย์สินฯ" ไว้อย่างน่าสนใจมาก เพียงแต่ว่า Royalist ท่านนี้ได้ละเลยข้อเท็จจริงที่สำคัญบางอย่างไป ทำให้ข้อสรุปที่ได้จึงกลายเป็นกลับหัวกลับหางกับความเป็นจริง ผมจึงจะยกการเปรียบเทียบดังกล่าวมาเล่าพร้อมกับจะพยายามชี้ให้เห็นข้อเท็จจริงที่ Royalist ท่านนั้นมองข้ามไปให้ผู้อ่านได้เห็น ซึ่งผมคิดว่าด้วยวีธีนี้น่าจะช่วยให้หลายๆคนสามารถทำความเข้าใจสถานะความเป็นเจ้าของของ สนง.ทรัพย์สินฯได้ง่ายขึ้น อย่างที่ผมได้กล่าวไปแล้ว การเปรียบเทียบนี้ได้ละเลยข้อเท็จจริงที่สำคัญบางอย่างไป กล่าวคือ ไม่มีประธานกิตติมศักดิ์บริษัทมหาชนที่ไหนมีอำนาจแต่งตั้งบอร์ดบริหารของบริษัทเกือบทั้งหมด (โดยทั่วไป อำนาจการตั้งบอร์ดเป็นของ "ผู้ถือหุ้น" ซึ่งก็คือคนที่เป็นเจ้าของบริษัทนั่นเอง) และไม่มีประธานกิตติมศักดิ์ของบริษัทไหนที่สามารถใช้สอยเงินกำไรของบริษัทแต่เพียงผู้เดียว (โดยทั่วไปกำไรของบริษัทนอกจากจะหักไว้เพื่อการลงทุนเพิ่มหรืออื่นๆแล้วก็ปันผลให้ "ผู้ถือหุ้น" ซึ่งก็คือคนที่เป็นเจ้าของบริษัท) สนง.ทรัพย์สินฯมีคณะกรรมการซึ่งมีอำนาจดูแลกิจการทั้งหมดของ สนง. โดยมี รมว.กระทรวงการคลังเป็นประธานโดยตำแหน่ง และมีกรรมการอื่นอีกไม่น้อยกว่า 4 คน ซึ่งแต่งตั้งโดยกษัตริย์ โดย 1 ในกรรมการที่กษัตริย์แต่งตั้งนั้นทำหน้าที่เป็น ผู้อำนวยการด้วย (ดู พรบ.ระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2479 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2491 ม.4 ตรี) อย่างไรก็ตามในปัจจุบันกรรมการที่กษัตริย์แต่งตั้งมีทั้งหมดถึง 6 คน (ดู http://www.crownproperty.or.th/about_us_02.php)
(3) เพื่อให้เข้าใจเรื่องนี้ได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นเราจำเป็นจำต้องพูดถึงตัวละครสำคัญในวงการธุรกิจตัวหนึ่ง นั่นก็คือคนที่ทำหน้าที่เป็น "นอมินี" คิดว่าหลายๆคนอาจจะพอทราบอยู่แล้วบ้างว่านอมินีคือคนที่ไม่ใช่เจ้าของตัวจริง ไม่มีอำนาจจริงในบริษัท กำไรไม่ได้เข้ากระเป๋านอมินีโดยตรง แต่อำนาจในการบริหารบริษัทจะอยู่ที่เจ้าของตัวจริง ผลกำไรที่ได้ก็เข้าประเป๋าเจ้าของตัวจริง คนที่เป็นนอมินีเป็นแค่คนที่สมอ้างเอาชื่อมาใส่ว่าเป็นเจ้าของแค่นั้นเอง กรณี สนง.ทรัพย์สินนี่ก็มี "นอมินี" เข้ามาเกี่ยวข้องเหมือนกัน เพราะว่ามีความต้องการอำพรางไม่ให้ประชาชนทราบว่าใครคือเจ้าของตัวจริง บางคนอาจจะใช้คนขับรถหรือคนใช้เป็นนอมินี แต่กรณี สนง.ทรัพย์สินฯ มี "รัฐ" เป็น "นอมินี" ส่วนคนที่เป็นเจ้าของตัวจริงก็คือ กษัตริย์ เพราะกษัตริย์มีอำนาจจริงในการแต่งตั้งบอร์ด และเป็นผู้เดียวที่มีสิทธิ์ใช้สอยเงินกำไรอย่างที่ได้อธิบายไปแล้ว ส่วนกรณีที่ รมว.คลัง มานั่งเป็นประธานบอร์ด ถ้าจะเปรียบเทียบ (อย่างที่ Royalist คนที่ผมพูดถึงตั้งต้นได้เปรียบเทียบไว้) ก็เหมือนกับไปเอาลูกหรือเมียของ "นอมินี" มาใส่ชื่อไว้ว่าเป็นประธานบอร์ด โดยที่บอร์ดที่เหลืออีก 80%/86% รวมถึงคนที่เป็น CEO มาจาก "เจ้าของตัวจริง" เพื่อจะบอกว่า "นี่ไง คนนี้เป็นเจ้าของจริงๆนะ ลูก/เมีย เขาถึงได้มานั่งเป็นประธานบอร์ดไง" ซึ่งก็อำพรางให้แนบเนียบขึ้น หลอกคนส่วนหนึ่งได้ง่ายขึ้นเท่านั้นเอง (ถามว่าในทางปฏิบัติถ้าเกิดความขัดแย้งขึ้นมาระหว่างบอร์ด 2 ประเภทนี้ ประธานบอร์ดคนเดียวจะไปสู้รบปรบมืออะไรกับบอร์ดเสียงข้างมาก 80%/86% ที่กษัตริย์/เจ้าของตัวจริงเลือกมากับมือได้หรือ?)
(4) ที่พูดมาทั้งหมดนี้ไม่ใช่เพราะผมจะเสนอว่าสำนักงานทรัพย์สนส่วนพระมหากษัตริย์ไม่ควรเป็นของรัฐ, ผมเห็นว่าทรัพย์สินส่วนนี้ควรเป็นของรัฐ และควรเป็นของรัฐอย่างแท้จริง (มีอำนาจบริหารองค์กร หักกำไรเข้ารัฐ ฯลฯ) ไม่ใช่แค่ในนามแบบนี้ แต่ที่พูดมาทั้งหมดนี้เพื่อจะชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนั่นเป็นอย่างไรเท่านั้นเอง
ทั้งหมดที่ผมเขียนมานี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับองค์กรนิติบุคคลที่มีชื่อว่า "สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" ซึ่งจัดตั้งขึ้นตาม พรบ.ระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ (รวมถึงสถานะ "เจ้าของที่แท้จริง" ของ สนง.ทรัพย์สินฯ และรายละเอียดอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับ สนง.นี้) ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ "ทรัพย์สินส่วนพระองค์" แต่อย่างใด (และผมทราบดีว่า "ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" กับ "ทรัพย์สินส่วนพระองค์" นั้นเป็นคนละส่วนกัน) ดังนั้นหากจะโต้แย้งอะไรก็โปรดเข้าประเด็น สนง.ทรัพย์สินฯ ไม่จำเป็นต้องวกไปถึง "ทรัพย์สินส่วนพระองค์" (เพราะไม่เกี่ยวกัน) และไม่จำเป็นต้องมาบอกซ้ำว่า 2 อย่างนี้เป็นคนละส่วนกัน (เพราะทราบอยู่แล้ว) ต้องขออนุญาตเขียน "ดัก" ไว้อย่างนี้ เพราะบ่อยครั้งที่พูดเรื่อง สนง.ทรัพย์สินฯทีไร จะต้องมีคนแถไปเรื่อง "ทรัพย์สินส่วนพระองค์" ทุกที
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
เครือข่ายราษฎรอาสาปกป้อง 3 สถาบัน รวบรวมชื่อต้านแก้รัฐธรรมนูญ Posted: 08 Apr 2013 10:40 PM PDT
6 เม.ย.54 หรือเมื่อวันจักรีที่ผ่านมา เครือข่ายราษฎรอาสาปกป้อง 3 สถาบัน นำโดยนายบวร ยสินทร ได้จัดงานเสวนา และรวบรวมรายชื่อผู้คัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญขึ้นที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ถนนราชดำเนินกลาง นายแพทย์ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำกลุ่มแนวร่วมกอบกู้ชาติได้ขึ้นเสวนาพร้อมนายบวร บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคักตลอดการเสวนา นายบวรกล่าวชี้แจงจุดประสงค์ของกิจกรรมว่ามีอยู่ 3 ประการนั่นคือ 1) คัดค้าน พ.ร.บ. เงินกู้ 2 ล้านล้าน 2) คัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 68, 190 รวมถึงเรื่องที่มาของ ส.ว. 3) เรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมือง โดยในวันอังคารที่ 9 เม.ย.นี้ ทางกลุ่มจะไปยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญในคัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญ และขอเรียกร้องให้ประชาชนไปร่วมแสดงพลังอีกครั้งในวันนั้น น.พ.ตุลย์ กล่าวว่าที่รัฐธรรมนูญยังแก้ไม่ได้ก็เพราะได้คุณบวรไปยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งนี่เป็นกระบวนการที่ถูกต้อง อย่าไปเชื่อพวก ส.ส. ที่บอกว่าตุลาการเข้าแทรกแซงนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ถ้าคิดแบบนี้ไม่ได้เรียกประชาธิปไตยแต่เรียกอนาธิปไตย (anarchy) อ้างเสียงข้างมากจนบ้านเมืองไม่มีขื่อมีแป แบบนี้ไม่ใช่นิติรัฐ ไหนจะเรื่องรถไฟฟ้าความเร็วสูง ปกติเราจะกู้เงินก็ต้องบอกก่อนว่าจะเอาไปทำอะไร แต่รัฐบาลนี้กลับไม่บอกรายละเอียดประชาชนเลย บอกว่าจะพัฒนาแต่เล่นพัฒนาด้านเดียวคือแค่รถไฟความเร็วสูงแบบนี้ประเทศจะพัฒนาได้อย่างไร "ประชาชนไม่ใช่ควายนะเว้ย" ระวังจะพาประเทศเป็นแบบประเทศ Greece แล้วงานนี้ประชาชนจะได้กรี๊ดสลบ ประเทศชาติตอนนี้เหมือนเรือ Titanic ที่เห็นภูเขาน้ำแข็งอยู่ตรงหน้า แต่ก็ยังดื้อด้านเร่งเครื่องวิ่งเข้าไปชน เราภาคประชาชนจึงต้องออกมาเรียกร้อง นายบวรกล่าวว่า กิจกรรมในวันนี้ในประเด็นแรกคือเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ จริงๆประเด็นเรื่อง ส.ว. เป็นแค่เรื่องเล็กๆ แต่ประเด็นใหญ่ที่เราคัดค้านจริงจังคือเรื่องการแก้มาตรา 68 เรื่องการตัดสิทธิประชาชนฟ้องศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง และมาตร 190 ที่หนังสือสัญญาที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจสังคมจะไม่ต้องผ่านการพิจารณาของรัฐสภา โดยตนไปยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญแล้วมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ จึงขอยกคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญว่า การกระทำของตนเป็นสิทธิของประชาชนทุกคน และชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เนื่องจากตนไปยื่นที่สำนักงานอัยการสูงสุดก่อนถึง 3 เดือนแต่เมื่อเห็นว่าไม่มีความคืบหน้าจึงไปยื่นที่ศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง ดังนั้น เรียกได้ว่าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยออกมาแล้วว่าชอบธรรม อีกทั้งอัยการสูงสุดมีเพียงแค่ 1 คนในขณะที่ตุลาการรัฐธรรมนูญมีถึง 5 คน ย่อมมีความรอบคอบกว่าอยู่แล้ว ที่สำคัญ การกระทำของตนยังสอดคล้องกับมาตรา 69 ที่ระบุว่าบุคคลสามารต่อต้านผู้ล้มล้างการปกครองได้โดยสันติ บวรกล่าวต่อว่า ส่วนมาตรา 190 การยกเลิกมาตรานี้เป็นการตัดสิทธิ์ของประชาชนในการตัดสินใจเรื่องใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การที่ต้องนำการตัดสินใจทำสนธิสัญญาใหญ่ๆ ของรัฐบาลเข้าสภาคือการกำหนดกรอบในการเจรจา เหมือนกับการไปประมูลก็ต้องมีกรอบว่าห้ามเกินเท่าไร ถ้าเกินกรอบก็ทำบันทึกช่วยจำ(MOU) แล้วเอากลับมาถกกันใหม่ซึ่งประเทศอื่นเขาก็ใช้วิธีนี้กัน เราจะรวบรวมรายชื่อเพื่อคัดค้านความพยายามในการแก้มาตรานี้ด้วย เรายังไม่ลงรายละเอียดในวันนี้ แต่ขอให้พี่น้องศรัทธาว่าเสานำบัตรประชาชนของพวกท่านได้ถูกนำไปใช้ในทางที่ดีแน่นอน เพียงแต่เราเห็นว่าไหนๆ ก็ขอแล้วก็ขอเผื่อไว้เลย พี่น้องจะได้ไม่ต้องมาหลายๆ ครั้ง บวรกล่าวต่อว่า ประเด็นต่อไปคือเรื่องเงินกู้ 2 ล้านล้าน พูดง่ายๆ คือเราไม่เชื่อว่ารัฐบาลจะใจซื่อมือสะอาด กลัวว่าจะเป็นเหมือนกับเงินกู้แก้ปัญหาน้ำท่วม 3.5 แสนล้าน ซึ่งเป็นที่เห็นได้ชัดเจนว่าไม่มีทางทำเสร็จภายในเวลา 5 ปีตามที่กำหนดไว้ เมื่อมาดูในรายละเอียดตาม พ.ร.บ. ที่เข้าสภาไป มันน่าเป็นห่วงตรงที่เป็นการใช้เงินก่อนแล้วค่อยออกระเบียบตามมา เหมือนไปตายเอาดาบหน้า ซึ่งเงินจำนวนขนาดนี้จะทำอย่างนั้นไม่ได้ เมื่อมาดูตัวโครงการก็ขัดต่อหลักการสร้างรถไฟความเร็วสูงที่ปกติแล้วต้องวิ่งยาว แต่นี่มันเป็นการต่อรถ กว่าจะขนผักขนเนื้อลงก็เน่าหมดพอดี ที่สำคัญราคาตั๋วก็ไม่ใช่ถูกๆ พวกที่หวังจะได้นั่งรถไฟความเร็วสูงฟรีลืมไปได้เลย เพราะฉะนั้นเราคัดค้านเรื่องนี้แน่ๆ แต่วิธีการเราขอสงวนไว้ก่อน เขากล่าวด้วยว่า เรื่องสุดท้ายคือเรื่องต้นตอของปัญหา ระบบการเมืองของเราล้มเหลวทำให้เลือกตั้งได้นักการเมือง "ง่อนๆ แง่นๆ" มาบริหารประเทศ หากเราดูอย่างประเทศอังกฤษที่เขาเป็นราชอาณาจักรเหมือนกับเรา เขามีสภาสูง หรือ house of lord ที่สมาชิกสภามาจากการคัดสรร 100 เปอร์เซ็นต์ ในกรุงเอเธนส์ที่เป็นต้นแบบประชาธิปไตยทางตรง เขามีสภาพลเมือง หรือ demos แต่ก็ไม่ได้เปิดโอกาสให้คนทุกคนเข้าไปต้องมีคุณสมบัติบางอย่างถึงจะเป็น demos ได้ เช่น ไม่มีหนี้ ไม่เป็นทาส เป็นเพศชาย เสียภาษีครบถ้วน มันทำให้ประชาธิปไตยของเขามีคุณภาพ demos จึงเป็นรากศัพท์ของคำว่า democracy หรือประชาธิปไตย อีกทั้งความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาพร้อมสิทธิเท่าเทียมกันก็เป็นแนวคิดของพวกยิว พุทธศาสนาเราเชื่อว่าทุกคนเกิดมาพร้อมกับหน้าที่ เช่นแม่ต้องเกิดมาพร้อมหน้าที่ในการอุ้มท้อง เลี้ยงลูก ไม่มีสิทธิเลือก แต่สิทธิเกิดขึ้นเมื่อเรามารวมกันเป็นสังคม นี่เป็นปัญหาของนักการเมืองไทย ที่อ้างสิทธิจนลืมหน้าที่ หน้าที่ที่จะต้องเป็นคนดีช่วยเหลือผู้อื่น อับบราฮัม ลินคอล์นเคยพูดว่า "ประชาธิปไตยเป็นของประชาชน เพื่อประชาชน โดยประชาชน" แต่ผมว่าไม่ใช่ ต้องเป็น "ประชาธิปไตยเป็นของประชาชนคุณภาพ เพื่อประชาชนส่วนใหญ่ และโดยประชาชนคุณภาพ" ไม่อย่างนั้นก็ซื้อสิทธิ์ขายเสียงกับแบบทุกวันนี้ เพื่อการปฏิรูประบบการเมืองผมจึงต้องขอสำเนาบัตรประชาชนจากพี่น้องไว้อีกหนึ่งฉบับ และเราจะมีการเคลื่อนไหวในเรื่องนี้ต่อไปในอนาคตเพื่อหาแนวร่วม บวรย้ำว่า แนวทางของกลุ่มเราว่าเรายังคงเน้นเรื่อง 3 สถาบัน ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ พวกเราอย่าไปหลงกลเล่นตามเกมของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เขาชอบสร้างตรรกะวิบัติ พูดเหมือนกับบ้านเมืองเรายังไม่มีระบอบการปกครอง ต้องมานั่งตกลงกันใหม่ว่าเราจะเอาสถาบันกษัตริย์หรือไม่? ต้องมีมาตรา 112 ไหม? ทั้งๆ ที่เราเลือกมาเป็นพันปีแล้วว่านี่คือระบอบที่ดีที่สุด อีกทั้งยังชอบถามคำถามแปลกๆ เช่น รู้ได้อย่างไรว่าในหลวงทำงานหนักจริง ถามแบบนี้เหมือนถามว่ารู้ได้ไงว่าปลาวาฬเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เขารู้กันทั้งบ้านทั้งเมือง "มีมึงคนเดียวแหละที่ไม่รู้" และที่อยากเตือนทุกคนคืออย่าลืมว่าเราต้องไม่เทิดทูนเพียงอย่างเดียว เราต้องเล็งเห็นบทบาทของพระองค์ว่าทรงปกครองประเทศ มิได้ทรงบริหารประเทศ พระองค์ทรงอยู่เหนือการเมือง เราอาจมีความเห็นขัดแย้งกันในเรื่องของนโยบายรัฐบาลได้ เพราะนั่นเป็นเรื่องในระดับการเมือง แต่เราจะเห็นต่างในระบบกษัตริย์ไม่ได้ การปกป้องสถาบันไม่ใช่แค่การเทิดทูน แต่ต้องเข้าใจบทบาทของพระองค์ว่ายังคงไว้ซึ่งพระราชบารมีทุกประการ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ประวัติศาสตร์กฎหมายหมิ่นกษัตริย์ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ การนิรโทษกรรม Posted: 08 Apr 2013 09:36 PM PDT
ความเป็นมาของประมวลกฎหมายอาญา ม.112
ในอดีตการปกครองเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ซึ่งอำนาจการปกครองทั้งหมดเป็นของกษัตริย์และพระราชทายาท สยามมีหนังสือพิมพ์ภาษาสยามฉบับแรกคือ หนังสือจดหมายเหตุ (The Bangkok Recorder) ซึ่งดำเนินการโดย แดน บีช แบรดลีย์ (หมอบรัดเลย์) ตั้งแต่ปี 2387 (สมัย ร.3) แม้จะเปิดๆปิดๆหลายครั้ง และส่วนใหญ่จะลงข่าวต่างประเทศมากกว่าข่าวในประเทศ แต่ก็ถือเป็นเป็นปฐมบทแรกของวงการสื่อมวลชนสยาม ในรัชสมัยของ ร.5 มีหนังสือพิมพ์เกิดขึ้นหลายฉบับ สื่อมวลชนเหล่านี้เริ่มมีการวิพากษ์วิจารณ์นโยบายต่างๆของรัฐบาลในหนังสือพิมพ์มากขึ้น 1 มิ.ย. 2451 ร.5 ทรงประกาศใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 โดยสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ที่เกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอยู่ใน 2 มาตราซึ่งระบุว่า "มาตรา 98 ผู้ใดทนงองอาจ แสดงความอาฆาฎมาดร้ายหรือหมิ่นประมาทต่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ดี สมเด็จพระมเหษีก็ดี มกุฎราชกุมารก็ดี ต่อผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในเวลารักษาราชการต่างพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ดี ท่านว่าโทษของมันถึงจำคุกไม่เกินกว่า 7 ปี แลให้ปรับไม่เกินกว่า 5,000 บาท ด้วยอีกโสตหนึ่ง มาตรา 100 ผู้ใดทนงองอาจ แสดงความอาฆาฎมาดร้ายหรือหมิ่นประมาทต่อพระราชโอรส พระราชธิดา ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ว่ารัชกาลหนึ่งรัชกาลใด ท่านว่าโทษของมันถึงจำคุกไม่เกินกว่า 3 ปี แลให้ปรับไม่เกินกว่า 2,000 บาทด้วยอีกโสตหนึ่ง" (ถอดความตามเอกสารต้นฉบับ) กฎหมาย 2 มาตรานี้ถือเป็นกฎหมายแรกที่มีบทลงโทษการกระทำที่เป็นการอาฆาต/หมิ่นประมาทต่อกษัตริย์, พระราชินี, มกุฎราชกุมาร, ผู้สำเร็จราชการ, พระราชทายาทตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นผู้ใดที่วิพากษ์วิจารณ์นโยบายการบริหารประเทศของกษัตริย์, พระราชินี, พระราชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการ ไม่ว่าจะในอดีตหรือปัจจุบันย่อมเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดกฎหมาย 2 มาตรานี้ กฎหมาย 2 มาตรานี้ไม่ได้ครอบคลุมถึง "การดูหมิ่น" และมีการแบ่งความคุ้มครองออกเป็น 2 ระดับคือ มาตรา 98 ให้ความคุ้มครองกษัตริย์, พระราชินี, มกุฎราชกุมาร และผู้สำเร็จราชการเฉพาะในปัจจุบัน ส่วนมาตรา 100 ให้ความคุ้มครองพระราชวงศ์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีมาตรา 10 ที่กำหนดให้ผู้ใดกระทำการละเมิดกฎหมาย 2 มาตรานี้ในต่างประเทศจะต้องได้รับโทษในสยามด้วย ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่า กฎหมาย 2 มาตรานี้มีทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ (ศาลต้องลงโทษทั้งจำคุกและปรับ) แต่ไม่มีโทษขั้นต่ำ โดยมีโทษปรับสูงสุด 5,000 บาทซึ่งถือเป็นโทษที่สูงมากในสมัยนั้น เมื่อเทียบกับค่าเงินสมัยปัจจุบันคงสูงเท่ากับเงินหลายแสนบาทเลยทีเดียว หากผู้ต้องหาไม่สามารถชำระค่าปรับได้ก็ต้องปรับใช้มาตรา 18 แทน ซึ่งมีสาระสำคัญระบุว่า "มาตรา 18 ผู้ใดต้องคำพิพากษาให้ปรับ แลมิใช้ค่าปรับภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดนั้น ให้ยึดทรัพย์สมบัติมันใช้ค่าปรับ หรือมิฉะนั้นให้เอาตัวมันจำคุกแทนค่าปรับ แลการจำคุกแทนค่าปรับเช่นนี้ ท่านกำหนดเปนอัตราไว้ว่า ให้จำวันหนึ่งแทนค่าปรับบาทหนึ่ง เปนประมาณ แต่ห้ามมิให้จำคุกด้วยโทษฐานนี้เกินกว่าปีหนึ่งขึ้นไป" (ถอดความตามเอกสารต้นฉบับ) ผู้เขียนเห็นว่า กฎหมาย 2 มาตรานี้แม้โทษจำคุกจะไม่สูงเท่ากับกฎหมายในปัจจุบัน แต่โทษปรับรุนแรงมาก ผู้ต้องหาหลายคนอาจถึงขั้นสิ้นเนื้อประดาตัวเลยทีเดียว และหากไม่มีเงินชำระค่าปรับหรือชำระค่าปรับไม่ครบยังต้องถูกจำคุกแทนค่าปรับอีกในอัตรา 1 วันต่อ 1 บาท แต่จำคุกสูงสุดไม่เกิน 1 ปีไม่ว่าจะค้างค่าปรับเท่าไร่ก็ตาม ดังนั้นผู้เขียนจึงเห็นว่า กฎหมาย 2 มาตรานี้น่ากลัวไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากฎหมายในปัจจุบัน ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุข อำนาจการปกครองส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ที่กษัตริย์อีกต่อไป แต่อยู่ในมือของคณะราษฎรแทน 13 พ.ย. 2499 รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ประกาศใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2499 และยกเลิกกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 โดยสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ที่เกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอยู่ในมาตรา 112 ซึ่งระบุว่า "ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี" กฎหมายมาตรานี้ต่างจากกฎหมายเดิม เนื่องจากมีการครอบคลุมถึง "การดูหมิ่น" ด้วย แต่กลับลดจำนวนผู้ถูกคุ้มครองให้เหลือเพียงกษัตริย์, พระราชินี, รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการ เฉพาะในปัจจุบันเท่านั้นจึงเท่ากับเป็นการยกเลิกกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 มาตรา 100 ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่า กฎหมายมาตรานี้มีการยกเลิกโทษปรับซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปกว่า 100 ปีค่าของเงินก็ลดลงจนทำให้โทษปรับ 5,000 บาทอาจไม่น่ากลัวเท่ากับในอดีตอีกต่อไป แต่ไม่มีการเพิ่มโทษจำคุกหรือกำหนดโทษขั้นต่ำแต่อย่างใด ดังนั้นกฎหมายนี้จึงถือเป็นการลดโทษ นับเป็นครั้งแรกที่ไม่มีโทษปรับสำหรับมาตรานี้ นอกจากนี้ยังมีมาตรา 7 ที่กำหนดให้ผู้ใดกระทำการละเมิดกฎหมายมาตรานี้ในต่างประเทศจะต้องได้รับโทษในไทยด้วย 6 ต.ค. 2519 นักศึกษา/ประชาชนใน ม.ธรรมศาสตร์ จำนวนมากถูกจับกุม ผู้ต้องหาบางคนถูกกล่าวหาละเมิดประมวลกฎหมายอาญา ม.112 จากการแสดงละครล้อเลียนการเสียชีวิตของพนักงานการไฟฟ้า จ.นครปฐม ต่อมาเกิดการรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในคืนเดียวกัน 21 ต.ค. 2519 คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินออกคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 41 ซึ่งสาระสำคัญในข้อ 1 กำหนดให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นดังนี้ "ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 15 ปี" คำสั่งฉบับนี้เป็นการเพิ่มโทษจำคุกจาก 7 ปีเป็น 3-15 ปี หรือเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าตัวเลยทีเดียว และมีการกำหนดโทษขั้นต่ำด้วย นับเป็นครั้งแรกที่มีการเพิ่มโทษและกำหนดโทษขั้นต่ำสำหรับมาตรานี้ ดังนั้นคำสั่งนี้จึงถือเป็นบทลงโทษที่รุนแรงที่สุดของกฎหมายนี้ หลังการรัฐประหาร 2549 มีผู้ต้องหาจำนวนมากถูกกล่าวหาว่าละเมิดประมวลกฎหมายอาญา ม.112 หลายฝ่ายมีความเคลื่อนไหวเพื่อให้มีการแก้ไข/ปรับปรุงมาตรานี้หรือเพิ่มมาตราใหม่ ในปี 2550 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีความพยายามที่จะนำเสนอร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่...) พ.ศ.... โดยสาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้อยู่ในมาตรา 3 ซึ่งระบุว่า "ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด 1/1 ความผิดต่อพระบรมราชวงศ์ องคมนตรี และผู้แทนพระองค์ มาตรา 112/1 และ มาตรา 112/2 แห่งประมวลกฎหมายอาญา หมวด 1/1 ผิดต่อพระบรมราชวงศ์ องคมนตรี และผู้แทนพระองค์ มาตรา 112/1 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระราชโอรส พระราชธิดา ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 7 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 112/2 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายประธานองคมนตรี องคมนตรี หรือผู้แทนพระองค์ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 10,000 บาทถึง 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" ร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้แก้ไข/ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา ม.112 แต่เพิ่ม ม.112 อีก 2 มาตรา เพื่อขยายขอบเขตการคุ้มครอง โดย 2 มาตรานี้มีทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ (ศาลสามารถเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้ง 2 อย่างก็ได้) ซึ่งโทษปรับนั้นถือว่าสูงพอสมควร แถมยังมีการกำหนดโทษขั้นต่ำอีกด้วย กฎหมาย 2 มาตรานี้เป็นการขยายขอบเขตในการคุ้มครอง โดยมาตรา 112/1 ให้ความคุ้มครองถึงพระราชทายาทในปัจจุบัน (ไม่รวมอดีต) คล้ายกับกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 มาตรา 100 ส่วนมาตรา 112/2 ให้ครอบคลุมถึงองคมนตรีและผู้แทนพระองค์ ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่า เป็นเรื่องแปลกที่มาตรา 112/2 ให้ความคุ้มครองประธานองคมนตรี, องคมนตรี หรือผู้แทนพระองค์ (ตำแหน่งเหล่านี้อาจเป็นบุคคลธรรมดา) เช่นเดียวกับกษัตริย์และพระราชทายาท หากผู้ต้องหาไม่สามารถชำระค่าปรับได้ก็ต้องปรับใช้มาตรา 30 หรือ 30/1 แทน ซึ่งมีสาระสำคัญระบุว่า "มาตรา 30 ในการกักขังแทนค่าปรับ ให้ถืออัตรา 200 บาทต่อหนึ่งวัน และไม่ว่าในกรณีความผิดกระทงเดียวหรือหลายกระทง ห้ามกักขังเกินกำหนด 1 ปี เว้นแต่ในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ปรับตั้งแต่ 80,000 บาทขึ้นไป ศาลจะสั่งให้กักขังแทนค่าปรับเป็นระยะเวลาเกินกว่า 1 ปีแต่ไม่เกิน 2 ปีก็ได้ มาตรา 30/1 ในกรณีที่ศาลพิพากษาปรับไม่เกิน 80,000 บาท ผู้ต้องโทษปรับซึ่งมิใช่นิติบุคคลและไม่มีเงินชำระค่าปรับอาจยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นที่พิพากษาคดีเพื่อขอทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ" จาก 2 มาตรานี้เห็นได้ว่า หากผู้ต้องหาถูกปรับต่ำกว่า 80,000 บาทและไม่สามารถจ่ายค่าปรับ/จ่ายค่าปรับไม่ครบ จะต้องถูกจำคุกแทนค่าปรับในอัตรา 1 วันต่อ 200 บาท แต่จำคุกสูงสุดไม่เกิน 1 ปีไม่ว่าจะค้างค่าปรับเท่าไร่ก็ตาม ส่วนโทษปรับที่สูงกว่า 80,000 บาทอาจถูกจำคุกสูงสุดไม่เกิน 2 ปีไม่ว่าจะค้างค่าปรับเท่าไร่ก็ตาม นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้ผู้ต้องหาที่ถูกปรับต่ำกว่า 80,000 บาทสามารถขอทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนได้ เนื่องจากมีผู้ต่อต้านร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นจำนวนมากทั้งจากในประเทศ-ต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีหลายคนมองว่า บางมาตราไม่เหมาะสมที่บุคคลธรรมดาจะได้รับการคุ้มครองเช่นเดียวกับพระบรมวงศานุวงศ์จนทำให้ สนช. ต้องยอมถอนร่างกฎหมายฉบับนี้ออกไปในที่สุด ปี 2551 รัฐบาล สมัคร สุนทรเวช มีความพยายามที่จะนำเสนอร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่...) พ.ศ.... โดยสาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้อยู่ในมาตรา 3 ซึ่งระบุว่า "ให้เพิ่มข้อความต่อไปนี้เป็นมาตรา 112/1 แห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112/1 ผู้ใดรู้ว่ามีการกระทำความผิดตามมาตรา 112 ไม่นำความเข้าแจ้งต่อพนักงานสอบสวน แต่กลับนำความไปกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายต่อหน้าธารกำนัลหรือประชาชนว่ามีการกระทำความผิดเช่นนั้นเกิดขึ้นเพื่อหวังผลทางการเมือง โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 112 นั้น" ร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้แก้ไข/ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา ม.112 แต่เพิ่ม ม.112 อีก 1 มาตรา เพื่อลงโทษผู้ที่ใช้ ม.112 กล่าวร้ายผู้อื่นเพื่อหวังผลทางการเมือง โดยใช้บทลงโทษเดียวกับ ม.112 แต่หลายฝ่ายมองว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้ทำให้ ม.112 เลวร้ายยิ่งขึ้นไปอีก ในที่สุดผู้นำเสนอร่างกฎหมายฉบับนี้ก็ยอมถอนร่างกฎหมายฉบับนี้ออกไปในที่สุด ปี 2554 คณะนิติราษฎรนำเสนอร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... โดยสาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้อยู่ใน 2 มาตราซึ่งระบุว่า "มาตรา 3 ให้ยกเลิกมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นลักษณะ ... ความผิดเกี่ยวกับพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และเกียรติยศของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ มาตรา... มาตรา...มาตรา... มาตรา... มาตรา... มาตรา... และมาตรา... แห่งประมวลกฎหมายอาญา ลักษณะ ... ความผิดเกี่ยวกับพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทและเกียรติยศของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ มาตรา ... ผู้ใดหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทตามวรรคหนึ่งได้กระทำโดยการโฆษณา ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ... ผู้ใดดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ... ผู้ใดหมิ่นประมาทพระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทตามวรรคหนึ่งได้กระทำโดยการโฆษณา ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ... ผู้ใดดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระราชินี รัชทายาท หรือผู้สาเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่ 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ... ผู้ใด ติชม แสดงความคิดเห็น หรือแสดงข้อความใดโดยสุจริต เพื่อรักษาไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ เพื่อธำรงไว้ซึ่งรัฐธรรมนูญ เพื่อประโยชน์ทางวิชาการ หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ หรือหมิ่นประมาทพระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ มาตรา ... ในกรณีความผิดฐานหมิ่นประมาทตามลักษณะ... ถ้าผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทาความผิดพิสูจน์ได้ว่าข้อความนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ ถ้าข้อที่กล่าวหาว่าเป็นความผิดนั้นเป็นเรื่องความเป็นอยู่ส่วนพระองค์หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวแล้วแต่กรณี และการพิสูจน์นั้นไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน ห้ามมิให้พิสูจน์ มาตรา ... ห้ามบุคคลทั่วไปกล่าวโทษว่ามีการกระทำความผิดเกี่ยวกับพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และเกียรติยศของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ให้สานักราชเลขาธิการเป็นผู้กล่าวโทษว่ามีการกระทำความผิดเกี่ยวกับพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และเกียรติยศของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์"
ร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นการนำเสนอให้ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา ม.112 และให้เพิ่มลักษณะใหม่คือ "ลักษณะความผิดเกี่ยวกับพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และเกียรติยศของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์" แทน ลักษณะนี้มี 7 มาตรา โดยแยกการหมิ่นประมาทและดูหมิ่น/อาฆาตมาดร้ายออกจากกัน แยกกษัตริย์และพระราชินี/รัชทายาท/ผู้สำเร็จราชการออกจากกัน นอกจากนี้ยังเพิ่มการกระทำโดยการโฆษณา รวมทั้งยังมีการกำหนดการกระทำที่ไม่เป็นความผิดและผู้ที่มีอำนาจในการกล่าวโทษอีกด้วย ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่า กฎหมาย 7 มาตรานี้เป็นลดโทษ ม.112 จากเดิมมากกว่าครึ่ง แต่เพิ่มโทษปรับเข้าไปแทน ซึ่งโทษปรับนั้นถือว่าสูงพอสมควร โดยไม่มีการกำหนดโทษขั้นต่ำของทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ 29 พ.ค. 2555 คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก 112) สามารถรวบรวมรายชื่อผู้สนับสนุนร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้กว่า 40,000 คนเพื่อยื่นต่อรัฐสภาได้สำเร็จ แต่รัฐสภาปฏิเสธการรับพิจารณา โดยอ้างว่า ม.112 อยู่ในหมวด 2 ซึ่งไม่ได้ให้อำนาจประชาชนในการแก้ไขได้ในเวลาต่อมา ปี 2555 สมยศ พฤกษาเกษมสุข (ผู้ต้องหาละเมิด ม.112 จากการเป็นบรรณาธิการนิตรสาร Voice of Taksin) และผู้เขียน (ผู้ต้องหาละเมิด ม.112 จากการเป็นผู้จำหน่ายวีดีทัศน์รายการ Foreign Correspondent และเอกสาร Wikileaks) ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอให้วินิจฉัยว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ขัดหรือแย้งต่อ รัฐธรรมนูญ หรือไม่ 10 ต.ค. 2555 ศาลรัฐธรรมนูญออกคำวินิจฉัยที่ 28-29/2555 (สมยศและผู้เขียนยื่นคำร้องแยกกัน แต่ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณารวมกัน) โดยวินิจฉัยว่า ม.112 ไม่ขัดแย้งต่อ รัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรคสอง (เป็นไปตามหลักนิติธรรม), มาตรา 8 (สอดคล้องกับการให้ความคุ้มครองกษัตริย์), มาตรา 29 (เป็นการกำหนดโทษเท่าที่จำเป็นและไม่ได้มุ่งหมายให้บังคับเป็นการเจาะจง) และมาตรา 45 วรรคหนึ่ง-สอง (ไม่กระทบต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น) แต่อย่างใด ดังนั้น ม.112 จึงยังมีผลบังคับใช้ต่อไป
พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550
พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 เป็นร่างกฎหมายที่นำเสนอในสมัยของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่เกิดการรัฐประหารขึ้นก่อน การพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้จึงต้องยุติลง ต่อมารัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ผลักดันร่างกฎหมายฉบับนี้ต่อใน สนช. จนมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 2550 โดยสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ที่เกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอยู่ใน 2 มาตราซึ่งระบุว่า "มาตรา 14 ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (2) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน (3) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา (5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4) มาตรา 15 ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา 14" พ.ร.บ. 2 มาตรานี้เป็นความพยายามของฝ่ายผู้ปกครองที่จะออกกฎหมายใหม่เพื่อควบคุมการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพซึ่งเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในอินเตอร์เน็ต โดยที่ ม.112 ไม่สามารถเอาผิดได้ นอกจากนี้ยังมีมาตรา 17 ที่กำหนดให้ผู้ใดกระทำการละเมิดกฎหมายมาตรานี้ในต่างประเทศจะต้องได้รับโทษในไทยด้วยเช่นเดียวกับ ม.112 ปี 2554 รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีความพยายามที่จะนำเสนอร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ....... เพื่อยกเลิก พ.ร.บ. ฉบับเดิม และใช้ พ.ร.บ. ฉบับใหม่แทน ทั้งที่ พ.ร.บ. ฉบับเดิมมีผลบังคับใช้เพียงไม่ถึง 4 ปี สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ที่เกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอยู่มาตรา 24 ซึ่งมีสาระสำคัญเช่นเดียวกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 ส่วนมาตรา 27 เป็นการแก้ไข พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 15 โดยกำหนดห้ามมิให้ลงโทษผู้ให้บริการหรือผู้ดูแลระบบจนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าผู้นั้นจงใจสนับสนุนหรือละเว้นไม่ดำเนินการแก้ไขซึ่งการเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 24 นอกจากนี้ยังมีมาตรา 29 ที่กำหนดให้ผู้ใดกระทำการละเมิดกฎหมายมาตรานี้ในต่างประเทศจะต้องได้รับโทษในไทยเช่นเดียวกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 17 ด้วย แม้ว่ามาตรา 27 ของร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ดูเหมือนจะดีกว่า พ.ร.บ. ฉบับเก่า แต่ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้กลับแฝงวาระซ่อนเร้นมากมาย เช่น พ.ร.บ. ฉบับเก่าสามารถเอาผิดเฉพาะผู้กระทำ, ผู้เผยแพร่ และผู้ดูแลระบบเท่านั้น แต่ ร่าง พ.ร.บ. ฉบับใหม่กลับครอบคลุมไปถึงผู้ครอบครองไฟล์เหล่านี้ไม่ว่าจะเจตนาหรือไม่ก็ตาม หากร่าง พ.ร.บ. ฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ ผู้เขียนเชื่อว่าจะต้องมีประชาชนจำนวนมากที่ได้รับความเดือดร้อน เพราะคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่เข้าข่ายกระทำความผิดเหล่านี้ ร่าง พ.ร.บ. ฉบับใหม่จึงถูกต่อต้านอย่างหนักจากทุกฝ่ายจนรัฐบาลต้องยอมถอนร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ออกไปในที่สุด ปี 2555 คธา (สงวนนามสกุล) (ผู้ต้องหาละเมิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (2) จากการโพสต์ข้อความในเว็บไซต์แห่งหนึ่ง) ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอให้วินิจฉัยว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (2) ขัดหรือแย้งต่อ รัฐธรรมนูญ หรือไม่ 13 ก.ย. 2555 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งไม่รับคำร้องฉบับนี้ เนื่องจากบทบัญญัติมาตรา 14 (2) ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้นมุ่งคุ้มครองความมั่นคงประเทศและความสงบเรียบร้อยของประชาชนโดยส่วนรวมซึ่งเป็นไปตามหลักนิติธรรม และการกำหนดความผิดทางอาญาแก่บุคคลตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่ถูกต้องและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 40 (3) คำโต้แย้งของจำเลยจึงไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย การนิรโทษกรรมการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพผู้เขียนพิจารณาถึง กฎหมายนิรโทษกรรมในอดีตที่ผ่านมาพบว่า มี กฎหมายนิรโทษกรรม 3 ฉบับที่เข้าข่ายนิรโทษกรรมให้กับกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 มาตรา 98 และ 100 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แต่ไม่มีฉบับใดเป็นการนิรโทษกรรมให้กับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 24 มิ.ย. 2475 คณะราษฎรทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุข โดยเข้ายึดสถานที่สำคัญของทางราชการ และควบคุมตัวพระบรมวงศานุวงศ์, เจ้านายชั้นสูง และข้าราชการฝ่ายรัฐบาลไปอยู่ที่พระที่นั่งอนันตสมาคมเพื่อเป็นตัวประกัน ต่อมา พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา อ่านประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1 ซึ่งเป็นประกาศถึงจุดจบของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช และการสถาปนารัฐอันมีรัฐธรรมนูญขึ้นในสยาม การกระทำและประกาศคณะราษฎรฉบับนี้ถูกฝ่ายที่ผู้นิยมระบอบเดิมมองว่าเป็น "การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" ขณะนั้น ร.7 ทรงประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ หลังจากที่คณะราษฎร์ยึดอำนาจสำเร็จจึงมอบหมายให้ น.ต.หลวงศุภชลาศัย นำหนังสือกราบบังคมทูลให้ ร.7 เสด็จกลับสู่พระนครเพื่อกลับมาเป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญของคณะราษฎร 26 มิ.ย. 2475 คณะราษฎรนำโดย พ.ท.พระประศาสน์พิทยายุทธ, พ.ต.หลวงวีระโยธิน, หลวงประดิษฐ์มนูธรรม, ประยูร ภมรมนตรี, จรูญ ณ บางช้าง, สงวน ตุลารักษ์ และ พล.ร.ต.พระศรยุทธเสนี เข้าเฝ้า ร.7 การเจรจาเป็นไปอย่างเคร่งเครียด คณะราษฎรยื่นข้อเสนอให้ ร.7 ทรงยอมรับรัฐธรรมนูญของคณะราษฎร เพื่อที่ ร.7 จะได้ทรงเป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญต่อไป นอกจากนี้คณะราษฎรยังเจรจาขอให้ ร.7 ทรงพระราชทานอภัยโทษต่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะราษฎรในครั้งนี้ด้วย ร.7 ทรงยอมลงพระนามใน พ.ร.ก.นิรโทษกรรมในคราวเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน พ.ศ.2475 เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2475 โดยสาระสำคัญของ พ.ร.ก. ฉบับนี้อยู่ในมาตรา 3 ซึ่งระบุว่า "บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นเหล่านั้นไม่ว่าของบุคคลใดๆในคณะราษฎรนี้ หากว่าจะเป็นการละเมิดบทกฎหมายใดๆ ก็ดี ห้ามมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดกฎหมายเลย" จากสาระในมาตรานี้ชัดเจนว่า เป็นการนิรโทษกรรมให้กับคณะราษฎรในทุกข้อกล่าวหา รวมทั้งกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 มาตรา 98 และ 100 ด้วย พ.ร.ก. ฉบับนี้จึงเป็นกฎหมายฉบับแรกที่เป็นการนิรโทษกรรมให้กับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ปี 2519 บุญชาติ เสถียรธรรมมณี ผู้จัดการแสดงละครล้อเลียนการเสียชีวิตของพนักงานการไฟฟ้า จ.นครปฐม ถูกฟ้องในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและข้อหาอื่น (คดีหมายเลขดำที่ 4418/2520 ของศาลอาญา) เขาเลือกที่จะต่อสู้คดีนี้โดยไม่ได้รับการประกันตัว 15 ก.ย. 2521 รัฐบาล พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2519 โดยสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ที่เกี่ยวกับการนิร-โทษกรรมการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอยู่ในมาตรา 4 ซึ่งระบุว่า "มาตรา 4 ให้ศาลทหารกรุงเทพดำเนินการปล่อยตัวจำเลยทั้งหมดซึ่งถูกฟ้องในคดีหมายเลขดำที่ 253ก/2520 ของศาลทหารกรุงเทพ (ใช้กฎ 6 ต.ค. 19) และให้ศาลอาญาดำเนินการปล่อยตัวจำเลยทั้งหมดซึ่งถูกฟ้องในคดีหมายเลขดำที่ 4418/2520 ของศาลอาญา" จากสาระในมาตรานี้ชัดเจนว่า เป็นการนิรโทษกรรมให้กับคดีหมายเลขดำที่ 4418/2520 ของศาลอาญา ซึ่งเป็นคดีละเมิด ม.112 ส่งผลให้ศาลต้องจำหน่ายคดีออกจากศาลโดยไม่มีคำพิพากษาใดๆ บุญชาติ เสถียรธรรมมณี จึงได้รับการปล่อยตัวในที่สุด 24 ส.ค. 2532 รัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการอันเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญาและความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ.2532 โดยมีสาระสำคัญอยู่ในมาตรา 3 คือ "บรรดาการกระทำของบุคคลใด ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2531 หากการกระทำนั้นเป็นความผิดดังต่อไปนี้ (1) ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญา (2) ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ แม้ว่าสาระในมาตรานี้ (1) ดูเหมือนเป็นการนิรโทษกรรมให้กับการละเมิด ม.112 แต่ผู้เขียนไม่พบว่า มีผู้ใดได้รับการนิรโทษกรรมโดยตรงจาก พ.ร.บ. ฉบับนี้ 13 ก.ค. 2529 วีระ มุสิกพงศ์ กล่าวปราศรัยหาเสียงให้กับผู้สมัคร ส.ส.ประชาธิปัตย์ ที่ อ.สตึก และ อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ การปราศรัยของเขาถูกกล่าวหาละเมิด ม.112 ในเวลาต่อมา 22 ก.ค. 2531 ศาลพิพากษาจำคุก 4 ปีในข้อกล่าวหาละเมิด ม.112 แต่เขาได้รับการพระราชทานอภัยโทษหลังจากถูกจำคุกเพียงกว่า 1 เดือน พ.ร.บ. ฉบับนี้ไม่เป็นการนิรโทษกรรมโดยตรงให้กับเขา แต่เป็นการนิรโทษกรรมทางอ้อม เนื่องจาก พ.ร.บ. ฉบับนี้ระบุให้บุคคลที่เคยต้องโทษละเมิด ม.112 ถูกล้างโทษเสมือนไม่เคยต้องโทษมาก่อน ส่งผลให้เขาสามารถกลับเข้าสู่การเมืองได้อีกครั้ง นอกจากนี้ยังมีการนิรโทษกรรมผ่านทางการขอพระราชทานอภัยโทษ ทั้งการถวายฎีกาเป็นรายบุคคล (ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 259) เช่น สุวิชา ท่าค้อ (2553) และ เลอพงษ์ หรือ โจ กอร์ดอน (2555) และการตรา พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ (ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 261 ทวิ) เช่น สุริยันต์ และ สุชาติ นาคบางไทร (พ.ร.ก.พระราชทานอภัยโทษ 2555)
ร่างกฎหมายนิรโทษกรรม 2555-2556
กฎหมายนิรโทษกรรม ทั้ง 8 ฉบับที่นำเสนอจากหลายฝ่ายในช่วงเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา ไม่มีแม้แต่ฉบับเดียวที่ระบุถึงการนิรโทษกรรมการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือประมวลกฎหมายอาญา ม.112/พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ แต่อย่างใด แต่จะสรุปว่า กฎหมายนิรโทษกรรม เหล่านี้ไม่เป็นการนิรโทษกรรมให้กับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพก็อาจไม่ถูกต้องนัก ผู้เขียนพิจารณาร่าง กฎหมายนิรโทษกรรมทั้ง 8 ฉบับพบว่า มีร่างกฎหมาย 2 ฉบับที่น่าสนใจคือ ร่างแก้ไข รัฐธรรมนูญ เพื่อการนิรโทษกรรมและการขจัดความขัดแย้ง (นำเสนอโดยคณะนิติราษฎร์ปี 2556 มีกรอบระยะเวลา 19 ก.ย. 2549-9 พ.ค. 2554) และร่าง พ.ร.ก.นิรโทษกรรมให้แก่ผู้ที่ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาอันถึงที่สุด และผู้ที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีอาญาอันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมือง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2550 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2554 (นำเสนอโดย นปช. ปี 2556 มีกรอบระยะเวลา 1 ม.ค. 2550-31 ธ.ค. 2554) ร่างกฎหมายของคณะนิติราษฎร์ มาตรา 291/3 มีข้อความที่ระบุว่า "การกระทำนั้นมีมูลเหตุเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมือง" และร่างกฎหมายของ นปช. มาตรา 3 มีข้อความที่ระบุว่า "กระทำความผิดอาญาอันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมือง" เมื่อพิจารณาข้อความทั้ง 2 นี้ ผู้เขียนเชื่อมั่นว่า เป็นการนิรโทษกรรมให้กับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แต่ใช่ว่าทุกกรณีของการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพจะได้รับการนิรโทษกรรมจาก กฎหมายนิรโทษกรรม ทั้ง 2 ฉบับนี้ ปี 2552 คธา อดีตโบรกเกอร์บริษัทหลักทรัพย์แห่งหนึ่งถูกกล่าวหาละเมิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ด้วยการโพสต์ข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับพระอาการประชวรของพระเจ้าอยู่หัวในเว็บไซด์แห่งหนึ่ง ผู้เขียนเห็นว่า คดีของเขาถือเป็น "การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" และอยู่ในช่วงเวลาของ กฎหมายนิรโทษกรรม ทั้ง 2 ฉบับนี้ แต่คำให้การในคดีของเขาไม่ปรากฏว่า เขามีส่วนเกี่ยวข้องกับการชุมนุมหรือความขัดแย้งทางการเมืองใดๆ ดังนั้นเขาจึงอาจไม่ได้รับการนิรโทษกรรมจาก กฎหมายนิรโทษกรรม ทั้ง 2 ฉบับนี้ ปี 2546 บัณฑิต อานียา นามแฝงของนักแปลอิสระ ซึ่งปราศรัยในงาน "กฎหมายพรรคการเมือง: โอกาสและข้อจำกัดในการส่งเสริมและพัฒนาพรรคการเมือง" ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และนำเอกสาร 2 ฉบับแจกจ่ายให้กับผู้ร่วมงาน ต่อมาเขาถูกกล่าวหาว่า กระทำการละเมิด ม.112 ผู้เขียนเห็นว่า คดีของเขาถือเป็น "การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" แต่ไม่อยู่ในช่วงเวลาของ กฎหมายนิรโทษกรรม ทั้ง 2 ฉบับนี้ และไม่มีมูลเหตุมาจากการชุมนุมหรือความขัดแย้งทางการเมืองแต่อย่างใด ดังนั้นเขาจึงอาจไม่ได้รับการนิรโทษกรรมจาก กฎหมายนิรโทษกรรม ทั้ง 2 ฉบับนี้เช่นเดียวกัน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
รสมาลิน ตั้งนพกุล: เมื่อฉันนึกถึงพวกเขา Posted: 08 Apr 2013 09:11 PM PDT
เกาะลูกกรงทรงกายยืนฝืนยิ้มอยู่ริมปาก แม้ทุกข์ยากปากบอกว่าทนไหว ชูสองนิ้วว่ายังสู้ สู้สู้ไป เพราะก็ทำได้เพียงแค่นี้ แต่หัวใจนั้นทุกข์ถมตรมทวี ชีวิตนี้จะอยู่ให้สู้อีกแค่ไหน มีความหวังหนทางออกคงไม่ยาวไกล ขอเพียงนิรโทษให้คงได้สุขสันต์ เรายังร่วมปฐพีนี้รวมกัน ช่วยสานฝันนั้นให้เป็นจริง
รสมาลิน ตั้งนพกุล (ป้าอุ๊) 4 เม.ย.56 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น