ประชาไท | Prachatai3.info |
- 'มีเดียมอนิเตอร์' ศึกษาบริการสาธารณะในฟรีทีวี แนะปรับผัง-ทำหลักเกณฑ์ให้ชัด
- การเมืองว่าด้วย ‘พลังงานไทย’ (ตอนที่ 3): ผลประโยชน์จากสัมปทานปิโตรเลียม
- ‘แอมเนสตี้ฯ’ หารือ ‘ก.ยุติธรรม’ ยุติ ‘โทษประหารชีวิต’
- คดี 'อานดี้ ฮอลล์' ไม่คืบ รอโจทก์หาที่อยู่ในอังกฤษเพื่อส่งหมายเรียก
- ศาล รธน.รับคำร้อง ‘บวร’ กรณีแก้รธน.มาตรา 68 ไม่รับคำร้อง 'เรืองไกร' ยื่นยุบ ปชป.
- ‘ทีดีอาร์ไอ’ เสนอเพิ่มเงินช่วยผู้ประสบเหตุรถโดยสารสาธารณะ-ผู้ประกอบการร่วมรับผิดชอบ
- บราซิลแก้กฎหมายคนทำงานในบ้านมีสิทธิเท่าแรงงานในระบบ
- สพฉ.แนะเดินทางช่วงสงกรานต์ พกเบอร์ฉุกเฉิน-อุปกรณ์ปฐมพยาบาลติดรถ
- สุดา รังกุพันธุ์
- บาทแข็งรอบ16ปี นายกฯ สั่ง แบงก์ชาติ-กระทรวงการคลัง ติดตามสถานการณ์
- ชาวบ้านรอบสุวรรณภูมิฟ้อง 'ทอท.' รอบที่ 5 จี้หยุดบินกลางคืน-ค้านขยายเฟส 2
- กลุ่ม 29 มกราฯ เตรียมล่า 50,000 ชื่อเสนอร่างนิรโทษกรรมฉบับนิติราษฎร์-ยุบศาลรธน.
'มีเดียมอนิเตอร์' ศึกษาบริการสาธารณะในฟรีทีวี แนะปรับผัง-ทำหลักเกณฑ์ให้ชัด Posted: 11 Apr 2013 10:04 AM PDT มีเดียมอนิเตอร์เสนอ กสทช.กำหนดเกณฑ์สื่อเพื่อบริการสาธารณะให้ชัดเจน ทั้งแนะให้ช่อง 5 ลดบันเทิง และโฆษณาตรง-แฝง ช่อง 11 เน้นประโยชน์ประชาชนมากกว่าภาครัฐ ส่วนไทยพีบีเอสใช้เกณฑ์ขององค์การประกบของ กสทช. ภาพรวมสัดส่วนกลุ่มเนื้อหารายการของแต่ละสถานี 11 เม.ย.56 – โครงการเสริมสร้างสื่อมวลชนศึกษาเพื่อสุขภาวะ (มีเดียมอนิเตอร์) มูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา ศึกษาผังรายการของช่อง ททบ.5 ช่อง สทท.11 และไทยพีบีเอส ซึ่งออกอากาศระหว่างวันที่ 15-21 ม.ค.ที่ผ่านมา ในหัวข้อ "การศึกษาผังรายการเพื่อวิเคราะห์ทิศทางการประกอบกิจการบริการสาธารณะของฟรีทีวี" โดยวิเคราะห์ผังและเนื้อหารายการ เพื่อจำแนกสัดส่วนรายการประเภท ข่าวสาร สาระประโยชน์ สาระบันเทิง บันเทิง และอื่นๆ โดยอ้างอิงและเปรียบเทียบกับหลักเกณฑ์ของ กสทช. อีกทั้ง มีหลักเกณฑ์อื่นที่กำหนดในการศึกษาครั้งนี้ เช่น คำอธิบายลักษณะรายการสาระบันเทิง บันเทิง โฆษณาบริการธุรกิจ ที่มีเดียมอนิเตอร์เคยกำหนดในการศึกษาเรื่องผังรายการโทรทัศน์ และนโยบายด้านรายการและแผนการจัดทำรายการขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ซึ่งใช้เป็นเกณฑ์ในการวิเคราะห์เฉพาะช่องไทยพีบีเอส ผลการศึกษา พบว่า สำหรับสถานีที่ออกอากาศวันละ 24 ชั่วโมง มีเวลาออกอากาศในช่วงเวลาที่ศึกษา หรือใน 1 สัปดาห์ เป็นจำนวน 10,080 นาที/สถานี แต่ช่องไทยพีบีเอสซึ่งมีเวลาออกอากาศวันละ 21 ชั่วโมง มีเวลาออกอากาศในช่วงเวลาที่ศึกษา หรือใน 1 สัปดาห์ เป็นจำนวน 8,820 นาที ข้อสรุปผลการศึกษาและข้อเสนอ ต่อแนวทางการประกอบกิจการเพื่อบริการสาธารณะของ ช่องททบ. 5 สทท. 11 และ ไทยพีบีเอส โดยโครงการมีเดียมอนิเตอร์ มีดังนี้ ช่อง ททบ. 5สรุปผลการศึกษา 1.จากการศึกษาผังรายการช่องททบ.5 ระหว่างวันที่ 15-21 มกราคม พ.ศ.2556 รวมเป็นเวลาทั้งสิ้น 10,080 นาที พบว่า มีรายการประเภทบันเทิงมากที่สุด คือ 3,401 นาที/สัปดาห์ หรือร้อยละ 34 ตามด้วยรายการข่าวสาร คือ 3,030 นาที/สัปดาห์ หรือร้อยละ 30 สาระบันเทิง1,459 นาที/สัปดาห์ หรือร้อยละ 14 สาระประโยชน์1,410 นาที/สัปดาห์ หรือร้อยละ 14 รายการประเภทแนะนำ/ขายสินค้า 720 นาที/สัปดาห์ หรือร้อยละ 7 รายการอื่นๆ รวม 60 นาที/สัปดาห์ หรือร้อยละ 1 2.การที่ช่อง ททบ.5 มีรายการประเภทบันเทิงมากที่สุด คือร้อยละ 34 นับว่าไม่สอดคล้องกับนโยบายของช่อง ที่แถลงว่าจะปรับผังรายการปี 2556 โดยเพิ่มเวลาข่าวและรายการสาระความรู้เป็นร้อยละ 71 พร้อมกับลดกลุ่มรายการประเภทบันเทิงให้เหลือร้อยละ 29 (คำให้สัมภาษณ์ของพลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก พบใน ASTV ผู้จัดการออนไลน์ 2555 และไทยโพสต์ออนไลน์ 2556) 3.หากพิจารณาตามเกณฑ์ของ กสทช. ที่กำหนดให้กิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ประเภทบริการสาธารณะ ต้องมีรายการที่เป็นข่าวสารหรือสาระที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 แล้ว จะเห็นได้ว่า ช่องททบ.5 มีรายการประเภทข่าวสาร คิดเป็นร้อยละ 30 รายการสาระประโยชน์คิดเป็นร้อยละ14 เมื่อรวมเข้าด้วยกันเป็น ร้อยละ 44 ซึ่งไม่เป็นไปตามเกณฑ์ของสื่อเพื่อบริการสาธารณะ ตามที่ กสทช. กำหนด 4.ในภาพรวม ช่อง ททบ.5 มีเนื้อหารายการที่เกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ หรือความปลอดภัยสาธารณะ ในสัดส่วนที่น้อย ไม่ว่าจะอ้างอิงนิยามหรือคำอธิบาย "ความมั่นคงของรัฐ" "ความปลอดภัยสาธารณะ" จากแหล่งใด ทั้งพบว่าส่วนใหญ่เป็นการนำเสนอรายการประเภทข่าวสาร ข้อเท็จจริง และเหตุการณ์ทั่วไป โดยเน้นการนำเสนอข่าวกิจกรรมและนโยบายต่างๆ ของกองทัพบก และหน่วยงานภาครัฐ ในรายการข่าวภาคดึก ในขณะที่ในกลุ่มสาระที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ พบรายการสารคดีสั้นที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น รายการตะลุยป่า 5 นาที สำรวจธรรมชาติ ออน เดอะเวิร์ลด์ สารคดีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงรายการที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับแรงงาน ได้แก่ รายการสารคดีกระทรวงแรงงาน ซึ่งอาจมีเนื้อหาเข้าข่ายความมั่นคงของรัฐ หรือความปลอดภัยสาธารณะ ตามความหมายของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร และสภาความมั่นคงแห่งชาติ แต่ไม่พบรายการประเภทสาระประโยชน์ที่มีเนื้อหาหลักเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยสาธารณะ ที่ชัดเจน 5.จากการศึกษา พบว่า ในกลุ่มรายการสาระประโยชน์ มีหลายรายการที่เป็นการโฆษณาแฝงสินค้า/บริการ หรือเป็นรายการประชาสัมพันธ์กิจกรรมและภาพลักษณ์ของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน เช่น รายการสยามยลระยอง ที่เสนอเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของกลุ่มบริษัท ปตท.ควบคู่ไปกับการให้ความรู้เรื่องสุขภาพ และคุณภาพชีวิต รายการเกษตรอินทรีชี้ช่องรวย ที่มีการโฆษณาแฝงสินค้าปุ๋ยตราทีพีไอ ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนหลักของรายการ รายการกะตังกะตังเม ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์ วิธีการคิดโจทย์เลขในชีวิตประจำวัน ที่มีผู้สนับสนุนรายการเป็นสถาบันกวดวิชาคิงแมท รายการในหลวงในดวงใจ Mea Dee Mission ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของการไฟฟ้านครหลวง รวมถึงข่าวหรือสกู๊ปพิเศษในรายการรูปแบบวาไรตี้อื่นๆ เช่น ปล.รักเมืองไทย สเตชั่นไฟว์ หรือ รายการผู้หญิงดอทคอมแอทไฟว์ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการส่งเสริมความรู้ด้านอาชีพ ธุรกิจ สุขภาพ แต่เป็นการประชาสัมพันธ์และสร้างภาพลักษณ์ของหน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล บริษัท ขนส่ง จำกัด บริษัทเอไอเอส หรือ กลุ่ม ปตท. เป็นต้น ข้อเสนอ 1.แม้ พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2551 และหลักเกณฑ์ของ กสทช. จะระบุให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการสาธารณะประเภทที่สอง คือเพื่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยสาธารณะ สามารถหารายได้จากการโฆษณาได้เท่าที่เพียงพอต่อการประกอบกิจการ โดยไม่เน้นการแสวงหากําไร แต่ กสทช.ควรกำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนของการหารายได้ดังระบุข้างต้น เพื่อการปฏิบัติที่ถูกต้องและตรวจสอบได้ มิเช่นนั้น อาจทำให้ช่อง ททบ.5 มีรายการเพื่อการประชาสัมพันธ์องค์กร หรือ มีการโฆษณาตรงและแฝงในจำนวนที่มากขึ้น อันอาจส่งผลให้การนำเสนอเนื้อหาไม่เป็นไปเพื่อบริการสาธารณะ ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย และอาจเข้าข่ายการแข่งขันทางธุรกิจ ที่ไม่เป็นธรรม 2.เพื่อให้ช่อง 5 เป็นกิจการโทรทัศน์ ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยสาธารณะตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย กสทช.ควรกำหนดความหมาย และหลักเกณฑ์เนื้อหารายการข่าวสาร รายการสาระประโยชน์ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อความมั่นคงของรัฐและความปลอดภัยสาธารณะ เพื่อความชัดเจนในการปฏิบัติที่ตรวจสอบได้ 3.หากต้องการขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยสาธารณะ ช่อง ททบ. 5 ก็ต้องปรับผังและเนื้อหารายการให้เป็นไปตามเกณฑ์ของ กสทช. และความคาดหวังของสังคม ช่อง สทท.11สรุปผลการศึกษา 1.จากการวิเคราะห์ผังและเนื้อหารายการ พบว่า สัดส่วนรายการของช่องสทท.11 ในช่วง 1 สัปดาห์ที่ศึกษา มีสัดส่วนรายการที่เป็นข่าวสาร 5,055 นาที/สัปดาห์หรือร้อยละ 50 ขณะที่สัดส่วนรายการสาระที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ 4,100 นาที หรือร้อยละ 41 เมื่อรวมแล้วเป็น 9,155 นาที หรือ ร้อยละ 91 2. ช่องสทท. 11 มีสัดส่วนข่าวสารสูงกว่าสัดส่วนสาระที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ แต่เนื้อหาที่นำเสนอส่วนใหญ่เป็นข้อมูลของภาครัฐเป็นหลัก เช่น นโยบาย และกิจกรรมต่างๆ เป็นต้น ในขณะที่มีการนำเสนอข้อมูลและความคิดเห็นของภาคประชาชน รวมทั้งภาคส่วนอื่น ในสัดส่วนที่น้อยกว่า 3. ผังรายการและสัดส่วนรายการของช่องสทท.11 ในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา นับว่า มีเนื้อหาที่สะท้อนบริการสาธารณะประเภทที่สาม คือ "มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อกระจายข้อมูลข่าวสาร เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาลกับประชาชนและรัฐสภากับประชาชน การกระจายข้อมูลข่าวสารเพื่อการส่งเสริมสนับสนุนในการเผยแพร่และให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข บริการข้อมูลข่าวสารอันเป็นประโยชน์สาธารณะแก่คนพิการ คนด้อยโอกาส หรือกลุ่มความสนใจที่มีกิจกรรมเพื่อประโยชน์สาธารณะหรือบริการข้อมูลข่าวสารอันเป็นประโยชน์สาธารณะอื่น" ทั้งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจหลักของสถานีที่กำหนดว่า "เป็นสถานีหลักในด้านข่าวสารความรู้และการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสรับรู้ เกิดความรู้ความเข้าใจ สามารถนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิต" ทั้งนี้ จากการศึกษาพบว่า ในกลุ่มรายการสาระประโยชน์จำนวนรวม 4,100 นาที/สัปดาห์นั้น มีเนื้อหาเพื่อคุณภาพชีวิต จำนวน 691 นาที/สัปดาห์ ในขณะที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการส่งเสริมประชาธิปไตยเพียง 130 นาที/สัปดาห์ ซึ่งนับว่าเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างน้อย 4.จากการศึกษายังพบการโฆษณาสินค้าและบริการที่เป็นโฆษณาตรงในช่วงของรายการข่าวกีฬา ข่าวสิ่งแวดล้อม รายการเกษตร และรายการด้านเทคโนโลยี เช่น Thailand Mega Show, East Water, PTT Group, กะทิชาวเกาะ เป็นต้น และพบการโฆษณาแฝงของสินค้าและบริการในช่วงของรายการข่าว รายการเกษตรและรายการให้ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ เช่น APF (อำพลฟูดส์), FBT, ซาร่า เป็นต้น ทั้งยังพบรายการที่มีผู้สนับสนุนเป็นองค์กรต่างๆ เช่น บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ธนาคารออมสิน การไฟฟ้านครหลวง เป็นต้น โดยเนื้อหารายการ เป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กรที่สนับสนุน ข้อเสนอ 1.ช่อง สทท. 11 ควรปรับเนื้อหาจากการเน้นที่ภาครัฐเป็นหลัก ให้มีการเพิ่มสัดส่วนเนื้อหาจากภาคอื่นของสังคม เช่น ภาคประชาชน ภาควิชาการ เป็นต้น และหากช่องสทท.11 ต้องการเป็นสื่อสาธารณะประเภทที่สามซึ่งมีวัตถุประสงค์ดังระบุข้างต้น ก็ต้องเพิ่มเนื้อหาและสัดส่วนเวลากับจำนวนรายการเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมทั้งเพิ่มสัดส่วนรายการที่เป็นประโยชน์หรือตอบสนองต่อความต้องการของคนพิการ คนด้อยโอกาส หรือกลุ่มคนชายขอบ อีกทั้ง เนื้อหารายการโดยภาพรวม ควรให้ความสำคัญกับประโยชน์ที่ประชาชนผู้ชมจะได้รับ มากกว่าเพื่อตอบสนองประโยชน์ขององค์กร/หน่วยงานที่สนับสนุนรายการ ทั้งนี้เพื่อให้สทท. 11 เป็นสื่อสาธารณะเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง 2.ช่อง สทท. 11 ควรปฏิบัติตามกฎหมายและหลักเกณฑ์ของ กสทช. ที่กำหนดว่า "การประกอบกิจการบริการสาธารณะประเภทที่หนึ่งและประเภทที่สาม หารายได้จากการโฆษณาไม่ได้ เว้นแต่เป็นการหารายได้โดยการโฆษณาหรือเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับงานหรือกิจการของหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ สมาคม มูลนิธิ หรือนิติบุคคลอื่นที่มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยไม่แสวงหากำไรในทางธุรกิจ หรือ การเสนอภาพลักษณ์ขององค์กร บริษัท และกิจการ โดยมิได้มีการโฆษณาสรรพคุณ คุณประโยชน์ หรือคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม" 3.กสทช. ควรกำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนของลักษณะเนื้อหารายการที่ "ส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาลกับประชาชนและรัฐสภากับประชาชน" "การกระจายข้อมูลข่าวสารเพื่อการส่งเสริมสนับสนุนในการเผยแพร่และให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" ทั้งนี้ เพื่อผลในทางปฏิบัติด้านการผลิตรายการ และการตรวจสอบ การประกอบกิจการบริการสาธารณะ ประเภทที่สาม ช่องไทยพีบีเอสสรุปผลการศึกษา 1.จากการสำรวจผังรายการช่องไทยพีบีเอส ช่วงวันที่ 15-21 มกราคม 2556 รวมเวลาออกอากาศ 8,820 นาที และ หากจัดกลุ่มเนื้อหารายการตามเกณฑ์ของ กสทช. และเกณฑ์อื่นที่กำหนดแล้ว สัดส่วนรายการที่พบมากที่สุด คือ รายการข่าวสาร รวม 3,770 นาที/สัปดาห์ หรือร้อยละ 43 รองลงมาคือรายการสาระประโยชน์ รวม 3,016 นาที/สัปดาห์ หรือร้อยละ 34 ที่เหลือเป็นรายการสาระบันเทิง รวม 2,034 นาที/สัปดาห์ หรือ ร้อยละ 23 2.เมื่อพิจารณาตามหลักเกณฑ์ของ กสทช. ที่ระบุให้กิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ประเภทบริการสาธารณะ ต้องมีสัดส่วนรายการที่เป็นข่าวสาร หรือ สาระที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ผลการศึกษาพบว่า ช่องไทยพีบีเอส มีรายการข่าวสาร ร้อยละ 43 และ สาระประโยชน์ ร้อยละ 34 รวมแล้วเป็นร้อยละ 77 หากพิจารณาตามเกณฑ์ กสทช. พบว่า มีรายการที่ไม่สามารถจัดอยู่ในกลุ่มข่าวสารและสาระประโยชน์ เป็นจำนวนร้อยละ 23.06 แต่เมื่อพิจารณาจากหลักเกณฑ์ของ ส.ส.ท. พบว่าสามารถจัดอยู่ในประเภทรายการสาระบันเทิง ซึ่งเป็นกลุ่มเนื้อหาที่ กสทช.ไม่ได้ระบุถึง 3.จากการวิเคราะห์ผังและเนื้อหารายการตามเกณฑ์ ส.ส.ท. พบว่า ไทยพีบีเอสมีสัดส่วนรายการข่าวสาร ร้อยละ 43 สาระประโยชน์ ร้อยละ 31 และสาระบันเทิง ร้อยละ 26 4.โดยสรุป พบว่า เกณฑ์ของ ส.ส.ท.ให้คำนิยาม หรือกำหนดลักษณะรายการในประเภทสาระประโยชน์ได้ชัดเจนในรายละเอียดมากกว่าเกณฑ์ของ กสทช. อันมีผลให้จำนวนรายการสาระประโยชน์และรายการสาระบันเทิงตามเกณฑ์ กสทช. และเกณฑ์ ส.ส.ท. มีจำนวนไม่เท่ากัน โดยรายการสาระประโยชน์ตามเกณฑ์ กสทช.นั้นมีมากกว่า (กสทช. 50 รายการ ส.ส.ท. 45 รายการ) และบางรายการที่เป็นรายการสาระประโยชน์ตามเกณฑ์ กสทช. แต่เมื่อพิจารณาโดยใช้เกณฑ์ ส.ส.ท.ถูกจัดเป็นรายการสาระบันเทิง เช่น รายการสำแดงศิลป์ รายการ Food Work รายการหลงกรุง รายการจังหวะจะเดิน รายการชีวิตจริงยิ่งกว่าละคร เป็นต้น ขณะเดียวกัน มีบางรายการเช่น รายการคนกล้าฝัน ที่จัดเป็นรายการสาระประโยชน์ ทั้งตามเกณฑ์ กสทช. และ ส.ส.ท. แต่เกณฑ์ ส.ส.ท. มีการระบุเจาะจงมากขึ้นว่าเป็นรายการสาระประโยชน์ที่มีเนื้อหาสร้างแรงบันดาลใจ จึงทำให้ เมื่อใช้เกณฑ์ของ กสทช.ที่แบ่งประเภทเนื้อหาเป็นข่าวสาร และ สาระประโยชน์ ไทยพีบีเอสจะมีเนื้อหาของสื่อเพื่อบริการสาธารณะ ในสัดส่วนที่ต่ำกว่าความเป็นจริงของสื่อเพื่อบริการสาธารณะ 5. รายการต่างๆ ในกลุ่มสาระประโยชน์ของช่องไทยพีบีเอส เป็นรายการที่มุ่งส่งเสริมการเรียนรู้ และการศึกษาในสาขาต่างๆ แม้แต่รายการสาระบันเทิงที่เป็นการ์ตูน ละคร ซิทคอม หรือภาพยนตร์ ก็มีลักษณะเป็นรายการที่มีเนื้อหาสาระ ให้ความบันเทิง สอดแทรกความรู้ สร้างแรงบันดาลใจ ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกิจการโทรทัศน์เพื่อบริการสาธารณะ (ประเภทที่หนึ่ง) ตามที่ระบุไว้ในกฎหมาย ข้อเสนอ 1.กสทช.ควรปรับหลักเกณฑ์การกำหนดประเภทเนื้อหาของแต่ละประเภทการบริการสาธารณะ อย่างชัดเจนในรายละเอียด เช่นของไทยพีบีเอส เพื่อการตรวจสอบได้ว่า ผู้ประกอบการสื่อเพื่อบริการสาธารณะ มีการจัดทำเนื้อหาและผังรายการสอดคล้องกับความเป็นสื่อสาธารณะประเภทนั้น ๆ หรือไม่ 2.ส.ส.ท.ควรยืนยันที่จะกำหนดผังรายการและเนื้อหา ตามแนวนโยบายที่กำหนดตาม พ.ร.บ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ.2551 เพราะมีรายละเอียดมากกว่าเกณฑ์ของ กสทช. และหากไทยพีบีเอสจะใช้เกณฑ์ กสทช.ในการประเมินสัดส่วนประเภทรายการ ก็ควรมีการอธิบายเพิ่มเติม เพื่อการจำแนกสัดส่วนจะได้ไม่ถูกจำกัดด้วยเกณฑ์ของ กสทช.ที่ขาดรายละเอียด อย่างที่ควรจะเป็น
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
การเมืองว่าด้วย ‘พลังงานไทย’ (ตอนที่ 3): ผลประโยชน์จากสัมปทานปิโตรเลียม Posted: 11 Apr 2013 09:21 AM PDT "กลุ่มทวงคืนพลังงานไทย" นอกจากจะแต่งนิทานเรื่อง ประเทศไทยเป็นเศรษฐีพลังงานแล้ว ยังตั้งข้อกล่าวหาที่สำคัญอีกข้อหนึ่งคือ "กลุ่มผลประโยชน์" ที่ครอบงำ ปตท.ไปอยู่เบื้องหลังบริษัทสำรวจและผลิตต่างชาติ ให้สัมปทานผลิตปิโตรเลียมในเงื่อนไขที่บริษัทต่างชาติได้ผลตอบแทนมหาศาล แต่แบ่งปันผลประโยชน์ให้กับรัฐไทยเป็นจำนวนน้อยนิด "กลุ่มทวงคืนพลังงานไทย" อ้างถึงค่าภาคหลวงที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ.2514 ว่า มีอัตราเพียงร้อยละ 12.5 ของมูลค่าปิโตรเลียมที่จำหน่าย กับภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียมที่อัตราร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิ ซึ่งคนพวกนี้อ้างว่า "ต่ำที่สุดในอาเซียน" และต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ที่มีทั้งค่าภาคหลวง ส่วนแบ่งผลประโยชน์จากกำไรก่อนหักภาษี แล้วยังมีภาษีเงินได้ปิโตรเลียมอีก รวมเป็นประโยชน์ให้รัฐสูงถึงร้อยละ 80-90 ข้อเสนอของคนพวกนี้มีตั้งแต่ให้แก้กฎหมายเพิ่มสัดส่วนผลประโยชน์ให้รัฐได้สูงขึ้นเป็นร้อยละ 80-90 ไปจนถึงยกเลิกสัมปทานบริษัทต่างชาติทั้งหมด แล้วให้บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.) สำรวจ ขุดเจาะและผลิตแต่เพียงรายเดียว ความจริงคือ ระบบสัมปทานปิโตรเลียมของประเทศไทยมีพัฒนาการมาสามขั้นตอน มีการแก้กฎหมายหลายครั้ง มีการปรับเปลี่ยนอัตราการแบ่งปันผลประโยชน์ไปตามยุคสมัยและประสบการณ์ของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ระบบ Thailand I เริ่มตั้งแต่ พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฉบับแรก พ.ศ.2514 กำหนดค่าภาคหลวงร้อยละ 12.5 ของมูลค่าปิโตรเลียมที่จำหน่าย และพ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมอีกร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิ โครงการระยะที่หนึ่งประสบความสำเร็จพอสมควร จนถึงปี 2524 มีการค้นพบแหล่งปิโตรเลียมจำนวนหนึ่ง ประกอบกับโลกกำลังประสบภาวะวิกฤตราคาน้ำมัน รัฐบาลไทยจึงได้ปรับเปลี่ยนการแบ่งปันผลประโยชน์เสียใหม่ แก้ไขกฎหมายให้ผู้รับสัมปทานแบ่งผลประโยชน์แก่รัฐเพิ่มขึ้น โดยเริ่มต้นปี 2525 กำหนดว่า นอกจากจะจ่ายค่าภาคหลวงร้อยละ 12.5 ของมูลค่าจำหน่ายแล้ว ให้ผู้รับสัมปทานหักค่าใช้จ่ายตามพ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของรายรับ (จากที่เคยหักค่าใช้จ่ายได้ตามจริง) และจ่ายโบนัสเพิ่มรายปีเป็นอัตราขั้นบันไดจากร้อยละ 27.5 ถึงร้อยละ 43.5 ของรายได้จากน้ำมันดิบที่ผลิตเฉลี่ยวันละตั้งแต่ 10,000 บาร์เรล ถึงเฉลี่ยวันละ 30,000 บาร์เรล ระบบใหม่นี้เรียกว่า Thailand II ปรากฏว่า จนถึงปี 2532 มีผู้รับสัมปทานไปเพียง 6 รายเท่านั้น แม้จะมีการสำรวจพบแหล่งปิโตรเลียมบนบกเพิ่มเติม แต่ไม่มีการลงทุนผลิตเชิงพาณิชย์เลย สาเหตุคือ แหล่งปิโตรเลียมบนบกมีขนาดเล็ก กระจัดกระจาย ทำให้มีทั้งความเสี่ยงและต้นทุนในการผลิตต่อบาร์เรลสูง ผู้รับสัมปทานต้องแบ่งผลประโยชน์ให้รัฐสูงจนไม่มีความคุ้มค่าทางธุรกิจ ผลก็คือ รัฐบาลไทยไม่สามารถจัดเก็บผลประโยชน์ปิโตรเลียมตามระบบ Thailand II ได้เลย ในปี 2532 จึงได้มีการแก้ไขกฎหมายอีกครั้งเป็นระบบ Thailand III ระบุผลประโยชน์แก่รัฐสามส่วน ส่วนแรกคือ ค่าภาคหลวงเป็นอัตราขั้นบันไดตั้งแต่ร้อยละ 5 ขึ้นไปถึงร้อยละ 15 ตามปริมาณจำหน่ายปิโตรเลียมต่ำสุดจากไม่เกิน 60,000 บาร์เรลต่อเดือน ไปจนถึงสูงกว่า 600,000 บาร์เรลต่อเดือน ส่วนที่สองคือภาษีเงินได้ปิโตรเลียมในอัตราร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิ ส่วนที่สามคือ ผลประโยชนตอบแทนพิเศษจากกำไรส่วนเกิน โดยจะจัดเก็บเมื่อยอดจำหน่ายปิโตรเลียมเพิ่มเกินกว่าระดับที่กำหนด ระบบ Thailand III จึงมีความยืดหยุ่นมาก ผู้รับสัมปทานที่ค้นพบแหล่งขนาดเล็กและมีต้นทุนต่อหน่วยสูง ผลิตได้น้อยก็สามารถพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้ ขณะที่ผู้ที่ค้นพบแหล่งขนาดใหญ่ ต้นทุนต่อหน่วยต่ำกว่าและผลิตได้มากก็ต้องแบ่งผลประโยชน์ให้รัฐเพิ่มขึ้นตามสัดส่วน จนถึงปี 2555 มีการสำรวจพบแหล่งปิโตรเลียมเพิ่มขึ้นอีกมากและสามารถผลิตเชิงพาณิชย์แล้ว 48 สัมปทาน นอกจากนี้ ผู้รับสัมปทานในระบบ Thailand II ก็ได้โอนมาเข้าระบบ Thailand III ด้วย ปัจจุบัน ประเทศไทยมีสัมปทานปิโตรเลียมทั้งสิ้น 63 สัมปทาน โดยมีผู้รับสัมปทานที่ยังอยู่ในระบบ Thailand Iเพียง 9 สัมปทานเท่านั้นและจะเริ่มหมดอายุลงตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไป นอกนั้นเป็นผู้รับสัมปทานในระบบ Thailand III แต่ "กลุ่มทวงคืนพลังงาน" ก็บิดเบือนว่า ผู้รับสัมปทานทั้งหมดยังคงแบ่งผลประโยชน์ให้รัฐตามสูตร Thailand I คือจ่ายค่าภาคหลวงเป็นอัตราคงที่ร้อยละ 12.5 ของยอดจำหน่ายและภาษีเงินได้ปิโตรเลียมร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิ เป็นความจริงที่ส่วนแบ่งผลประโยชน์ให้รัฐจาก Thailand I ไม่นับว่าสูงถ้ามองจากธุรกิจปิโตรเลียมในปัจจุบัน แต่ Thailand I มีกำเนิดในยุคสมัยแรกเริ่มที่แตกต่างจากปัจจุบันอย่างมาก ในเวลานั้น ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกอยู่ในระดับต่ำเพียงแค่สองดอลลาร์ต่อบาร์เรล อีกทั้งประเทศไทยก็มีการค้นพบแหล่งปิโตรเลียมที่อำเภอฝางเท่านั้นและมีขนาดเล็กจิ๋วมาก แค่วันละ 1,000 บาร์เรล การกำหนดให้แบ่งผลประโยชน์แก่รัฐที่ไม่สูงมากจึงมีเหตุผล ก็เพื่อจูงใจให้บริษัทต่างชาติกล้ารับความเสี่ยงเข้ามาสำรวจขุดเจาะในประเทศไทย เพราะถ้าขุดเจาะแล้วไม่พบอะไร ค่าใช้จ่ายก็สูญเปล่าทั้งหมด ตั้งแต่มีสัมปทานปิโตรเลียมจนถึงปัจจุบันกว่า 40 ปี รัฐไทยได้รับผลประโยชน์จากปิโตรเลียมรวมกันกว่าหนึ่งล้านล้านบาทแล้ว คิดเป็นสัดส่วนรายได้รัฐต่อรายได้สุทธิของเอกชน (ก่อนหักภาษี) เท่ากับร้อยละ 55:45 และถ้าคำนวณเฉพาะระบบ Thailand III ตั้งแต่ปี 2532 สัดส่วนของรัฐก็ยิ่งสูงคือ ร้อยละ 74:26 ซึ่งเป็นอัตราปานกลางค่อนไปทางสูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ "กลุ่มทวงคืนพลังงาน" อ้างว่า หลายประเทศที่เป็นเศรษฐีพลังงานจัดเก็บผลประโยชน์สูงถึงร้อยละ 80-90 ของรายได้สุทธิของผู้รับสัมปทาน แต่ข้อสังเกตคือ ประเทศเหล่านั้น (เช่น เยเมน บาห์เรน บรูไน พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย) ล้วนเป็นประเทศเศรษฐีพลังงานตัวจริงทั้งสิ้น มีแหล่งปิโตรเลียมขนาดใหญ่ ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำ ผู้รับสัมปทานสามารถจ่ายผลประโยชน์เข้ารัฐได้มาก ประเทศที่จัดเก็บผลประโยชน์สูงที่สุดในโลกคือ เวเนซูเอลา จัดเก็บสูงถึงร้อยละ 95 ผลก็คือ ปัจจุบัน อุตสาหกรรมปิโตรเลียมของเวเนซูลามีอัตราการสำรวจใหม่ที่ลดลงอย่างมากและถ้าไม่มีการแก้ไข อีกไม่นาน อัตราการผลิตก็จะลดลงด้วย ส่วนข้อเรียกร้องให้ยกเลิกสัมปทานต่างชาติทั้งหมด แล้วให้ ปตท.สผ.ผูกขาดการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแต่ผู้เดียวในประเทศไทย เมื่อผนวกกับข้อเรียกร้อง "ทวงคืนปตท." ที่ให้ปตท.กลับคืนเป็นรัฐวิสาหกิจเต็มรูปเหมือนเดิม ทั้งหมดนี้เป็นข้อเสนอที่อันตรายอย่างยิ่ง เพราะเป็นการสร้างการผูกขาดโดยรัฐแบบครบวงจรตั้งแต่การสำรวจผลิตก๊าซและน้ำมันดิบ ไปจนถึงการกลั่นน้ำมันสำเร็จรูปและขายปลีกที่สถานีจำหน่าย ทำให้ ปตท.และปตท.สผ.รวมกันเป็นแหล่งผลประโยชน์ขนาดมหาศาลในมือรัฐอย่างแท้จริง แล้วรัฐวิสาหกิจไทยแต่ไหนแต่ไรมา เป็นแหล่งผลประโยชน์ของใครบ้าง? มีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ รู้จักปรับปรุงคุณภาพของบริการ และเอาใจใส่ประชาชนผู้บริโภคสักแค่ไหนกัน? หมายเหตุ: ตีพิมพ์ครั้งแรกใน "โลกวันนี้วันสุข" ฉบับวันศุกร์ที่ 12 เมษายน 2556
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
‘แอมเนสตี้ฯ’ หารือ ‘ก.ยุติธรรม’ ยุติ ‘โทษประหารชีวิต’ Posted: 11 Apr 2013 07:26 AM PDT แอมเนสตี้ฯ ยื่นรายงานสถานการณ์โทษประหารชีวิตและการประหารชีวิตปี 2555 ก.ยุติธรรม ชี้ไทยเป็นประเทศส่วนน้อยในโลกที่ยังมีการใช้โทษประหาร พร้อมหารือข้อเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิก 'สุชน' แจงฝ่ายบริหารเสนอได้ แต่ต้องผ่านนิติบัญญัติ-ศาล เพื่อถ่วงดุลอำนาจ วันนี้ (11 เม.ย.56) น.ส.ปริญญา บุญฤทธิ์ฤทัยกุล ผู้อำนวยการองค์การแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม โดยระบุว่า แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยเรียกร้องให้รัฐบาลไทยรักษาพันธสัญญาและเห็นคุณค่าของทุกชีวิตอย่างเท่าเทียมกัน เพราะไม่มีหลักฐานใดที่แสดงว่าโทษประหารมีส่วนช่วยป้องกันอาชญากรรม "รัฐบาลไทยควรพิจารณาสนับสนุนแนวโน้มที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศในทางที่ยกเลิกโทษประหาร เนื่องจากประเทศไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในโลกที่ยังคงใช้โทษประหารชีวิต และโทษดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในการมีชีวิตตามหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติรวมทั้งงานวิจัยมากมายจากนานาประเทศได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าโทษประหารชีวิตไม่มีความเชื่อมโยงใดๆ กับการเพิ่มขึ้น หรือลดลงของอาชญากรรม" น.ส.ปริญญา กล่าว ทั้งนี้ ผู้แทนแอมเนสตี้ฯ เสนอรายงานสถานการณ์โทษประหารชีวิตในปี 2555 ต่อนายสุชน ชาลีเครือ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ซึ่งรับมอบแทนนายประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม โดยมีข้อเรียกร้องต่อกระทรวงยุติธรรมว่า รัฐบาลไทยควรพิจารณาสนับสนุนแนวโน้มที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศในทางที่ยกเลิกโทษประหาร ดังนี้ 1.ประกาศพักการประหารชีวิตในทางปฏิบัติอย่างเป็นทางการโดยทันที เพื่อให้สอดคล้องกับแผนแม่บทว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ฉบับที่ 2 โดยมีเจตจำนงที่จะออกกฎหมายให้ยกเลิกโทษประหารชีวิตในท้ายที่สุด 2.เสนอแก้ไขกฎหมายเพื่อลดจำนวนความผิดทางอาญาที่มีบทโทษประหารชีวิต ปัจจุบัน กฎหมายไทยบัญญัติความผิดทางอาญาไว้มากถึง 55 ประเภทที่มีบทลงโทษประหารชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งความผิดที่ไม่ถือเป็น "อาชญากรรมร้ายแรงที่สุด" เช่น ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และการลอบวางเพลิง เป็นต้น 3.บรรจุวาระการเปลี่ยนแปลงโทษประหารชีวิตเป็นโทษจำคุกไว้ในแผนแม่บทว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ฉบับที่ 3 4.ลงนามและให้สัตยาบันรับรองพิธีสารเลือกรับฉบับที่สองของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (Second Optional Protocol to the International Covenant on Civil and Political Rights) ที่มุ่งยกเลิกโทษประหารชีวิต นายสุชน ชาลีเครือ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยว่า รัฐบาลชุดนี้มีนโยบายสำคัญด้านกระบวนการยุติธรรมหลายเรื่อง เช่น การปฏิรูปกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมและแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ และเห็นว่ากฎหมายใดของไทยที่ขัดกับหลักการทางสากลก็ควรนำมาพิจารณาแก้ไข สำหรับประเด็นการประกาศพักใช้การประหารชีวิตนั้น ชี้แจ้งว่าแม้ฝ่ายบริหารจะเสนอในประเด็นนี้ได้ แต่ต้องผ่านการพิจารณาของฝ่ายนิติบัญญัติและศาลเพื่อเป็นการถ่วงดุลอำนาจกันอยู่ดี ด้าน พ.ต.อ.ดร.ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ชี้แจงเรื่องตัวชี้วัดกลยุทธ์ที่ 3.1 ที่ระบุว่าให้ยกเลิกโทษประหารชีวิตโดยให้เปลี่ยนเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิต ของแผนแม่บทสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2552-2556) ซึ่งรัฐบาลได้ประกาศอย่างเป็นทางการ และมีผลในทางปฏิบัติตั้งแต่ปี 2553 นั้น ระบุเพียงแค่ให้ศึกษาความเป็นไปได้ของแนวทางการยกเลิกโทษประหารชีวิตในประเทศไทย และขณะนี้ทางกรมคุ้มครองสิทธิฯ กำลังดำเนินการอยู่ พ.ต.อ.ดร.ณรัชต์ ยังแสดงความเห็นด้วยว่าโทษประหารชีวิตนั้นไม่ได้ป้องปรามอาชญากรรม และประเทศส่วนใหญ่กว่า 2 ใน 3 ทั่วโลก ได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตแล้ว แต่เห็นว่า การยกเลิกโทษประหารชีวิตในประเทศไทยคงไม่ได้รับการสนับสนุนจากเสียงประชาชน เพราะคนในสังคมบางส่วนยังเห็นการใช้ความรุนแรงเป็นทางออกในการแก้ไขปัญหา เห็นได้จากกรณีที่มีการสังหารนอกกฎหมายในช่วงการสงครามยาเสพติด จนทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 2,500 ราย แต่ก็ยังมีผู้สนับสนุนนโยบายนี้จำนวนมาก
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
คดี 'อานดี้ ฮอลล์' ไม่คืบ รอโจทก์หาที่อยู่ในอังกฤษเพื่อส่งหมายเรียก Posted: 11 Apr 2013 07:06 AM PDT คดีหมิ่นประมาทนักสิทธิแรงงานข้ามชาติชาวอังกฤษ ยังไม่คืบ ศาลรอที่อยู่ในอังกฤษเพื่อส่งหมายเรียก ด้านบริษัท 'เนเชอรัล ฟรุต' ยันหากมั่นใจให้เอาหลักฐานละเมิดสิทธิแรงงานพม่ามาชี้แจง 11 เม.ย. 56 เวลา 13.00 น. ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลนัดไต่สวนมูลฟ้อง เพื่อฟังผลการสืบหาตัวจำเลย ในคดีที่ บริษัท เนเชอรัล ฟรุต จำกัด บริษัทผลิตสับปะรดกระป๋องเป็นโจทก์ฟ้อง นายอานดี้ ฮอลล์ นักสิทธิมนุษยชนด้านแรงงานข้ามชาติ ฐานหมิ่นประมาททางอาญา ทำให้บริษัทเสื่อมเสียชื่ิอเสียง หลังอานดี้ ฮอลล์ เผยแพร่งานวิจัยเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนแรงงานข้ามชาติในกิจการผลิตสับปะรดกระป๋องและน้ำสับปะรดในประเทศไทย ในระหว่างวันที่ 15 ม.ค. 56 ถึงวันที่ 21 ม.ค. 56 โดยมีเนื้อหาว่า บริษัทจ้างแรงงานเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี มีการจ้างค่าจ้างต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด ไม่มีวันหยุดและโบนัสให้คนงานที่ถูกต้องตามกฎหมายและยึดหนังสือเดินทางของแรงงานอีกด้วย ศาลขึึ้นนั่งบัลลังก์เวลา 13.30 น. โจทก์และทนายโจทก์มาศาล แต่จำเลยไม่มา นายสมศักดิ์ โตรักษา ทนายโจทก์ชี้แจงว่า จะขออำนาจศาลเพื่อลงประกาศตามตัวนายฮอลล์ในหนังสือพิมพ์ เนื่องจากศาลมีหมายเรียกไปยังที่อยูในประเทศไทยของนายฮอลล์ครั้งหนึ่งแล้ว แต่ฮอลล์ ไม่มาตามหมายในวันนี้ ทั้งที่เมื่อวันที่ 10 เม.ย. 56 ฮอลล์ยังอยู่ในประเทศไทย นอกจากนี้ทนายโจทก์ได้นำพยานบุคคลและรูปถ่ายมายืนยันว่า พบเห็นฮอลล์จริง ศาลจึงพิจารณา แล้วเห็นว่า หลักฐานล่าสุดที่ศาลมีนั้น จำเลยได้เดินทางออกนอกประเทศไปตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 56 หากโจทก์ต้องการลงประกาศในหนังสือพิมพ์ ก็ต้องนำหลักฐานและพยานมาแสดงต่อศาลว่าจำเลยยังพำนักอยู่ในประเทศ แต่หากจำเลยไม่อยู่ประเทศไทยแล้ว ให้โจทก์แสดงที่อยู่ของจำเลยในต่างประเทศเพื่อให้ศาลมีหมายเรียกต่อไป โดยศาลกำหนดนัดไต่สวนมูลฟ้องอีกครั้งในวันที่ 7 พ.ค. 56 เวลา 9.00 น. นายวิรัช ปิยพรไพบูลย์ ประธานบริษัทเนเชอรัลฟรุต กล่าวว่า ต้องการให้อานดี้ออกมาแสดงตัวอย่างลูกผู้ชาย หากมีความบริสุทธิ์ใจจริง ส่วนตนนั้นเป็นผู้เสียหาย กำลังได้รับความเดือดร้อน หากฮอลล์มาแสดงตัว ทนายเสนอทางเลือกให้สองคือ ให้ลงประกาศขอโทษบนหน้าหนังสือพิมพ์เพื่อเป็นการกู้ชื่อเสียให้แก่บริษัท หรือให้มานำหลักฐานยืนยันว่าบริษัทได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนคนงานพม่าจริงในชั้นศาล อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 10 เม.ย. 56 องค์กรฮิวแมนไรท์ วอทช์ องค์กรสิทธิมนุษยชนที่มีสำนักงานใหญ่ที่กรุงนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ได้ออกแถลงการณ์ต่อกรณีการตั้งข้อหาหมิ่นประมาทนี้ว่า เป็นการจำกัดเสรีภาพการแสดงออก และสร้างบรรยากาศความหวาดกลัวต่อการสืบสวนกรณีการละเมิดสิทธิในบริษัทเอกชนอื่นๆ ในประเทศไทยด้วย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ศาล รธน.รับคำร้อง ‘บวร’ กรณีแก้รธน.มาตรา 68 ไม่รับคำร้อง 'เรืองไกร' ยื่นยุบ ปชป. Posted: 11 Apr 2013 05:27 AM PDT 10 เม.ย.56 ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเรื่องนายบวร ยสินทร กับคณะ ที่ขอให้ศาลฯ พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ ม.65 ว่า ประธานรัฐสภากับพะวก 312 คน กระทำการเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยการตัดสิทธิของบุคคลในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ศาลพิจารณาคำร้องแล้วมีคำสั่งโดยมติเสียงข้างมาก 5 ต่อ 3 รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย แต่ยกคำขอคุ้มครองชั่วคราว เนื่องจากไม่ปรากฏมูลกรณีอันเป็นเหตุฉุกเฉินหรือเหตุอันสมควรเพียงพอที่จะต้องใช้วิธีการชั่วคราว โดยศาลฯ ระบุว่าคำร้องนี้เป็นกรณีที่ผู้ร้องใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญโดยอ้างว่าผู้ถูกร้องที่ 2 ถึง 316 เป็นสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรร่วมกันเข้าชื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่…) พ.ศ.... ต่อประธานสภาผู้ถูกร้องที่ 1 โดยยกเลิกความในรัฐธรรมนูญ ม.68 แล้วเสนอเนื้อความใหม่ที่เป็นการยกเลิกสิทธิของชนชาวไทยในการที่จะใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญด้วยการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรงออกไป คงเหลือแต่เพียงให้บุคคลผู้ทราบการกระทำเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงเพียงประการเดียว และให้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญในกรณีที่บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยเท่านั้น ไม่อาจใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญให้พ้นจากการกระทำที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญในลักษณะอื่นนอกเหนือจากการใช้สิทธิและเสรีภาพอันเป็นการลิดรอนสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญของชนชาวไทย มีมูลกรณีที่ผู้ร้องจะใช้สิทธิยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบตาม ม. 68 วรรคสอง กรณีจึงต้องด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ ม. 68 วรรคสอง และข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ.2550 ข้อ 17 (2) ศาลรัฐธรรมนูญจึงให้รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย นอกจากนี้มีรายงานด้วยว่า ตุลาการเสียงข้างน้อย ได้แก่ นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ เห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญฯ นี้ ยังไม่ได้ข้อยุติเพราะยังมีโอกาสที่จะแก้ไขในวาระ 2 ได้อีก ข้อเท็จจริงตามคำร้องจึงเป็นเพียงการคาดการณ์ล่วงหน้า ไม่เข้าหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ ม.68 วรรคสอง นายบุญส่ง กุลบุปผา และนายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี เห็นว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ ม.291 เป็นการใช้อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติและยังไม่มีมูลกรณีที่จะเป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ ม.68 วรรคหนึ่ง ศาลฯ ได้ให้ผู้ร้องทำสำเนาคำร้องส่งต่อศาลจำนวน 312 ชุด เพื่อส่งให้ผู้ถูกร้องและให้ผู้ถูกร้องยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง และหากไม่ไม่ยื่นภายในกำหนดถือว่าไม่ติดใจ มติเอกฉันท์ไม่รับคำร้อง "เรืองไกร" ยื่นยุบ ปชป. วันเดียวกัน ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณา กรณีที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนา ร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ ม.68 ว่า นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ผู้ถูกร้องที่ 1 กับคณะ 11 คน และพรรคประชาธิปัตย์ ผู้ถูกร้องที่ 12 กระทำการร่วมกันใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญในญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มีการตัดสิทธิของบุคคลในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ โดยศาลเห็นว่าคำร้องไม่ปรากฏว่ามีการกระทำฝ่าฝืนหรือต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ ม.68 วรรคหนึ่ง ดังนั้นคำขอคุ้มครองชั่วคราวในกรณีฉุกเฉินย่อมตกไปด้วย ทั้งนี้เมื่อวันที่ 3 เม.ย.ที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 3 ต่อ 2 รับคำร้อง นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา กรณีขอให้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 64 ว่า "นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ กับคณะ กระทำการที่ส่อไปในทางกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการและส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญโดยการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยการตัดสิทธิบุคคลในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ หรือไม่"
เรียบเรียงจาก : ข่าวสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
‘ทีดีอาร์ไอ’ เสนอเพิ่มเงินช่วยผู้ประสบเหตุรถโดยสารสาธารณะ-ผู้ประกอบการร่วมรับผิดชอบ Posted: 11 Apr 2013 04:57 AM PDT ทีดีอาร์ไอชี้อุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะยังน่าห่วง เสนอแนวทางช่วยผู้ประสบเหตุ ให้เพิ่มวงเงินค่ารักษา ไม่ต้องรอพิสูจน์ถูกผิด แยก-เพิ่ม วงเงินชดเชยออกจากค่ารักษาพยาบาล ให้บริษัทประกันภัย-ผู้ประกอบการร่วมรับผิดชอบ ทุกครั้งที่มีเทศกาลวันหยุดยาวติดต่อกันหลายวัน มีการเดินทางของผู้คนจำนวนมาก พร้อมกับการเฝ้าติดตามรายงานสถิติอุบัติเหตุความสูญเสียที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องน่าเศร้า แต่ความจริงแล้วความสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนนเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ผู้ขับขี่ควรระมัดระวังป้องกัน โดยเฉพาะการเดินทางด้วยรถโดยสารสาธารณะซึ่งเมื่อเกิดอุบัติเหตุมักทำให้เกิดความสูญเสียจำนวนมาก โดยที่ผู้โดยสารซึ่งเป็นผู้สูญเสีย เสียหายและไม่ได้กระทำผิด การชดเชยเยียวยา ยังทำได้จำกัด ใช้เวลานาน และไม่เป็นธรรมกับความสูญเสียที่เกิดขึ้น นายสุเมธ องกิตติกุล นักวิชาการ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวว่าถึงการศึกษา 'โครงการอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะ: ผลกระทบ การประกันภัย และการชดเชยเยียวยา' ของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน ได้สัมภาษณ์ผู้ประสบเหตุทั้ง 142 ตัวอย่างจากรายชื่อกลุ่มผู้ประสบอุบัติเหตุที่ได้รับจากทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) และบริษัทขนส่ง จำกัด (บขส.) พบว่า ผู้ประสบเหตุต้องมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลทั้งในระหว่างและหลังออกจากโรงพยาบาล โดยผู้ประสบเหตุร้อยละ 54 ของทั้งหมดใช้ระยะเวลารักษาพยาบาลมากกว่า 1 เดือน จึงจะสามารถกลับมาทำงานได้ปกติ จำนวนเงินชดเชยที่ได้รับไม่เพียงพอต่อค่ารักษาพยาบาลจริง การเรียกร้องค่าเสียหายใช้ระยะเวลานานโดยเฉพาะกลุ่มผู้ประสบเหตุจาก มพบ.ซึ่งมักจะยุติคดีความจากการดำเนินการในชั้นศาล ขณะที่กลุ่มผู้ประสบเหตุจาก บขส.ส่วนใหญ่ยุติคดีความโดยไม่พึงศาล ในส่วนระยะเวลาการไกล่เกลี่ยและเรียกร้องค่าเสียนั้น มีระยะเวลาเฉลี่ย 18-19 เดือน ทั้งนี้ มพบ.มีปัญหาด้านความล่าช้าในการพิสูจน์ถูกผิด ในขณะที่ทาง บขส.พบปัญหาในเรื่องการขาดความเข้าใจในสิทธิคุ้มครองและการต้องการจบปัญหาโดยเร็ว แม้จะไม่ๆ ได้รับความเป็นธรรม ในส่วนของการชดเชยเยียวยาต่อผู้ประสบอุบัติเหตุจากระบบประกันภัยนั้นพบว่า วงเงินค่าเสียหายยังไม่มีความเหมาะสมเท่าที่ควร คือ วงเงินคุ้มครองกรณีบาดเจ็บเมื่อรวมค่าเสียหายเบื้องต้นแล้วไม่เกิน 50,000 บาท ส่วนกรณีทุพลภาพหรือเสียชีวิตนั้นจะได้รับค่ารักษาพยาบาลบวกเงินชดเชยไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่ชดเชยสำหรับผู้ประสบเหตุบาดเจ็บทั่วไปนั้นเหมาะสม แต่ไม่เหมาะสมในกรณีที่บาดเจ็บร้ายแรง เนื่องจากเมื่ออาการบาดเจ็บร้ายแรงยิ่งขึ้น ส่งผลให้ค่ารักษาพยาบาลเกินวงเงิน 50,000 บาท ทำให้ได้รับเงินชดเชยที่ไม่เพียงพอ ส่วนค่าสินไหมทดแทนจากการขาดรายได้นั้น พบว่า จำนวนเงินที่ได้รับมีความเหมาะสม เมื่อเปรียบเทียบกับค่าขาดรายได้ที่ผู้ประสบเหตุระบุและเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายครัวเรือนเฉลี่ยและระยะเวลาที่ขาดรายได้ กลุ่มผู้ประสบเหตุยังมีข้อเสนอแนะที่สำคัญ คือเรื่องคนขับรถโดยสารสาธารณะที่ควรมีการขับขี่รถโดยไม่ประมาท มีการตรวจสอบประวัติคนขับรถและมีบทลงโทษผู้ขับขี่ รองลงมาคือเรื่องข้อกฎหมายในการควบคุมความเร็วรถโดยสารสาธารณะ การคาดเข็มขัดนิรภัยและวงเงินคุ้มครองการประกันภัย นอกจากนี้ยังอยากให้มีบทลงโทษบริษัทรถโดยสารสาธารณะ เพื่อให้เกิดความรับผิดชอบร่วม รวมทั้งการตรวจสภาพรถโดยสาร ซึ่งเน้นด้านอายุการใช้งานและภาพรถก่อนใช้งาน ดร.สุเมธกล่าวว่า แนวทางที่เหมาะสมในเรื่องผลกระทบการเยียวยาผู้ประสบเหตุจากรถสาธารณะคือการปรับปรุงค่าเสียหายเบื้องต้น ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาลจ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 150,000 บาท ส่วนค่าชดเชยกรณีเสียชีวิต ทุพลภาพอย่างถาวร จะได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น 400,000 บาท หากสูญเสียอวัยวะหรือพิการ ที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต ได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น 240,000 บาท อีกทั้งยังยังต้องแก้ไขอุปสรรคปัญหาในการเรียกร้องค่าเสียหายของผู้ประสบเหตุ ได้แก่ ความล้าช้าในการพิสูจน์ และค่าใช้จ่ายในการเดินทางและการติดต่อประสานงานที่ไม่มีใบเสร็จทำให้ใช้เรียกร้องเป็นค่าเสียหายยาก ซึ่งเป็นปัญหาสำหรับผู้ประสบเหตุด้วย นอกจากนี้ยังพบปัญหาการขาดการเชื่อมโยงระหว่างบริษัทประกัน ผู้ประกอบการผู้ถือใบอนุญาต และผู้ประกอบการร่วมบริการ และบทบาทของบริษัทประกันมีอยู่น้อยในการสร้างระบบตรวจสอบและป้องกันจากการกำหนดเบี้ยประกัน โดยเสนอให้มีการกำกับดูแลผู้ประกอบการ ทั้งผู้ประกอบการที่ถือใบอนุญาตและผู้ประกอบการร่วมบริการอย่างเข้มงวด รวมถึงการให้ใบอนุญาตที่พิจารณาถึงประวัติด้านอุบัติเหตุด้วย นอกจากนี้ยังต้องสร้างกลไกของบริษัทประกันภัยในการกำหนดเบี้ยที่สะท้อนความเสี่ยงของผู้ประกอบการแต่ละราย ดร.สุเมธ กล่าวอีกว่า ที่ให้ความสำคัญกับผู้โดยสารรถสาธารณะเพราะผู้ใช้บริการรถสาธารณะถือว่าเป็นบุคคลที่ทำเพื่อสังคมส่วนรวมไม่ใช้รถส่วนตัว ดังนั้น จึงควรได้รับการคุ้มครองที่ดีกว่าปกติ แต่จากการศึกษาพบว่า ผู้ประเหตุจากรถโดยสารสาธารณะหลายราย ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือเยียวยาที่เหมาะสมเท่าที่ควร ทั้งยังขาดความรู้ในเรื่องสิทธิที่ตนพึงได้รับ ทำให้อาจถูกเอารัดเอาเปรียบในเรื่องการชดเชยเยียวยาจากผู้ประกอบหรือบริษัทประกันภัย ปัจจุบันระบบประกันภัยของไทยเป็นระบบที่มีฐานประกันหลักคือรถ ไม่ใช่ฐานของคนหรือผู้ขับขี่ ซึ่งหากมีการจัดเก็บฐานข้อมูลของผู้ขับรถอาจจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้กำกับดูแลหายด้าน ทั้งผู้ออกใบอนุญาตขับรถ กรมขนส่งทางบก หรือระบบประกันภัย ที่จะสามารถกำหนดกลไกในเชิงนโยบาย เช่น เบี้ยประกันที่สะท้อนความเสี่ยงแล้วมีการป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุในอนาคตมากขึ้น ทั้งนี้ อาจนำผลการศึกษานี้ไปเสนอแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งบริษัทประกันภัย ในการปรับปรุงระบบประกันภัยและการเพิ่มวงเงินประกัน อีกหนึ่งหน่วยงานคือ กรมขนส่งทางบก ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลรถโดยสารประจำทาง ที่จำเป็นต้องกำกับดูแล ควบคุมคุณภาพรถประจำทาง รวมถึงการกำหนดวงเงินชดเชยเยียวยาที่เหมาะสมสำหรับผู้โดยสารรถประจำทางเพิ่มเติม ซึ่งส่วนนี้อาจเป็นช่องทางที่มีความเป็นไปได้สูง โดยอาจกำหนดให้รถโดยสารประจำทางมีประกันภาคสมัครใจ หรือมีการเพิ่มวงเงินคุ้มครองเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ก็จะทำให้ผู้โดยสารรถประจำทางสาธารณะได้รับการคุ้มครองที่ทันท่วงทีและเหมาะสมมากขึ้น
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
บราซิลแก้กฎหมายคนทำงานในบ้านมีสิทธิเท่าแรงงานในระบบ Posted: 11 Apr 2013 03:50 AM PDT หลังจากการผลักดันมาอย่างยาวนานรัฐสภาบราซิลก็ได้มีมติแก้ไขกฎหมายให้คนทำงานในบ้าน อาทิ แม่บ้าน, พี่เลี้ยงเด็ก, คนดูแลผู้สูงอายุ และคนขับรถ มีสิทธิเท่าเทียมกับแรงงานในระบบ ทั้งนี้วัฒนธรรมการใช้ "คนรับใช้" ในบ้าน ยังคงเข้มแข็งในประเทศซึ่งเลิกทาสเป็นลำดับสุดท้ายของทวีป ที่มาภาพ: dunyanews.tv 11 เม.ย. 56 - หลังจากการผลักดันมาอย่างยาวนานรัฐสภาบราซิลก็ได้มีมติแก้ไขกฎหมายให้คนทำงานในบ้าน อาทิ แม่บ้าน, พี่เลี้ยงเด็ก, คนดูแลผู้สูงอายุ และคนขับรถ มีสิทธิเท่าเทียมกับแรงงานในระบบโดยทั่วไป โดยการแก้ไขกฎหมายนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ระบุว่าคนทำงานในบ้านสามารถทำงานได้มากที่สุด 44 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และต้องได้รับค่าทำงานล่วงเวลา และค่าจ้างพิเศษในการทำงานกะกลางคืน ตัวเลขทางการของบราซิลระบุว่าระบุว่า กฎหมายนี้จะมีผลครอบคลุมต่อคนทำงานในบ้านกว่า 6,500,000 คน ซึ่งเป็นผู้หญิงถึง 6,100,000 แต่ตัวแทนอุตสาหกรรมจัดหางานระบุว่าตัวเลขจริงๆ น่าจะอยู่ที่ประมาณ 7,700,000 คน โดยภาคอุตสาหกรรมแรงงานรับใช้ภายในบ้าน มีคนงานอยู่ในอุตสาหกรรมนี้สูงที่สุดเป็นอันดับสามของบราซิล ทั้งนี้กว่าครึ่งของประชากร 194 ล้านคน ของบราซิล มีเชื้อสายชาวแอฟริกัน บราซิลเป็นประเทศสุดท้ายในทวีปอเมริกาที่ล้มเลิกระบบทาสเมื่อปี ค.ศ.1888 และนักวิชาการถึงกับกล่าวว่าการใช้คนทำงานบ้านของครอบครัวชาวบราซิลนั้นฝังรากอยู่ในประวัติศาสตร์การใช้ทาสของประเทศ ก่อนหน้านี้ คนทำงานในบ้านไม่ได้มีสิทธิเท่าเทียมกับพนักงานซึ่งเป็นแรงงานในระบบทั่วไป ทั้งที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างแจ้งชื่อคนงาน เพื่อจะได้ใช้สิทธิประกันสุขภาพและผลประโยชน์หลังเกษียณ แต่ในความเป็นจริงแล้วคนงานกว่า 2 ใน 3 ไม่ได้ถูกแจ้งชื่อจากนายจ้าง Creuza Oliveira ประธานสมาพันธ์คนทำงานในบ้านแห่งบราซิล (National Federation of Domestic Workers) ระบุว่า ความเคลื่อนไหวนี้นี่ไม่ใช่แค่เรื่องสิทธิความเท่าเทียมกันของสิทธิ แต่ยังเป็นยกระดับทางสังคม และการชดเชยให้กับคนงานที่ทำงานในบ้านเกือบ 8 ล้านคน โดยประเด็นนี้ยังได้รับการถกเถียงอย่างมากในสื่อของบราซิล เพราะอาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ที่อาจจะทำให้ครอบครัวชนชั้นกลางในบราซิลต้องเลิกจ้างคนใช้ ที่มา: Brazilian maids get same rights as salaried workers (globalpost.com, 3-4-2013) http://www.globalpost.com/dispatch/news/afp/130403/brazilian-maids-get-same-rights-salaried-workers ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สพฉ.แนะเดินทางช่วงสงกรานต์ พกเบอร์ฉุกเฉิน-อุปกรณ์ปฐมพยาบาลติดรถ Posted: 11 Apr 2013 03:00 AM PDT เผยเตรียมพร้อมรับมือเต็มที่ ประสานศูนย์สั่งการ 1669 – ทีมกู้ชีพ เตรียมพร้อมรับมือ 24 ชั่วโมง ตั้งเป้าช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินภายใน 8 นาที วอนหากพบเห็นรถพยาบาลโปรดให้ทาง นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) เผยถึงการเตรียมความพร้อมรับมืออุบัติเหตุช่วงเทศกาลสงกรานต์ว่า ในปีนี้เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงวันหยุดยาว ซึ่งประชาชนจะเดินทางกลับภูมิลำเนามาก ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุฉุกเฉินมากขึ้น 3-4 เท่า และในปีที่ผ่านมาสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือระดับของความรุนแรงในการเกิดอุบัติเหตุ เพราะมีสถิติผู้เสียชีวิต ณ จุดเหตุเพิ่มมากขึ้น ซึ่ง สพฉ.ได้มีการเตรียมให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ โดยได้ประสานกับศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ 1669 และมีการตรวจเช็คคู่สายกว่า 500 สายทั่วประเทศให้พร้อมใช้งาน และกระจายทีมกู้ชีพทั้งในส่วนภาครัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นครอบคลุมในทุกพื้นที่ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของประชาชนเองก็ต้องมีความพร้อมด้วยเช่นกัน คือหากต้องเดินทางไกลจะต้องพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เด็ดขาดในระหว่างการเดินทาง ขับรถด้วยความเร็วที่กฎหมายกำหนด ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด คาดเข็มขัดนิรภัยและสวมหมวกนิรภัยทุกครั้งที่เดินทาง และหากต้องขับรถในระยะทางไกลเกินกว่า 200 กิโลเมตร ควรหยุดพักเป็นระยะ นอกจากนี้ควรตรวจสภาพเครื่องยนต์และอุปกรณ์ต่างๆ ในรถให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานด้วยเพื่อความปลอดภัย "สิ่งสำคัญหากเกิดอุบัติเหตุฉุกเฉินที่สำคัญจะต้องมีสติตลอดเวลา ต้องเตรียมพร้อมเรื่องการสื่อสาร การขอความช่วยเหลือ ซึ่งในรถแต่ละคันควรติดเบอร์โทรฉุกเฉินของหน่วยงานต่างๆ ไว้ เพราะบางช่วงเวลาหากตกใจ เราอาจลืมการขอความช่วยเหลือได้ง่ายๆ" นพ.อนุชากล่าว นอกจากนี้ควรมีอุปกรณ์ปฐมพยาบาลและยาที่จำเป็นไว้ อาทิ สำลี น้ำยาฆ่าเชื้อที่แผล ผ้าก๊อซปิดแผล ผ้าพันแผล พลาสเตอร์ปิดแผล ผ้ายืดพันแก้เคล็ดขัดยอก ถุงมือใช้แล้วทิ้ง ปากคีบหยิบสำลี กรรไกรตัด ยาแก้ปวดลดไข้ ยาแก้ท้องเสีย ยาแก้เมารถ เป็นต้น นอกจากนี้ควรเตรียมอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็นอาทิ ไฟฉาย ไฟฉุกเฉิน เชือก เพราะอุปกรณ์เหล่านี้อาจกลายเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยชีวิตได้ เลขาธิการ สพฉ.กล่าวต่อว่า สำหรับผู้ที่พบอุบัติเหตุหรือเป็นผู้ประสบเหตุเองและยังช่วยเหลือตนเองได้ควรตั้งสติ สงบสติอารมณ์และประเมินสถานการณ์ความรุนแรงของอุบัติเหตุและพิจารณาว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บกี่คน มีรถยนต์ที่ประสบเหตุกี่คัน รวมถึงระบุสถานที่เกิดเหตุให้ชัดเจน และควรรีบโทรแจ้งสายด่วน 1669 โดยอย่าพยายามเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่บาดเจ็บด้วยตนเอง เพราะอาจจะทำให้ผู้ป่วยฉุกเฉินบาดเจ็บมากยิ่งขึ้นได้ และควรปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน หากมีความจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุให้จอดรถในที่ปลอดภัย เปิดไฟฉุกเฉิน ซึ่งหากผู้ป่วยฉุกเฉินมีเลือดออกมากให้ทำการปฐมพยาบาลโดยการห้ามเลือด โดยใช้ผ้าปิดปากแผล แล้วใช้ส้นมือหรือฝ่ามือกดให้แน่นประมาณ 10-15 นาที จนเลือดหยุด แต่อย่ากดจนซีดเขียว สำหรับภาวะเลือดออกภายในการห้ามเลือดอาจทำได้ยากหรืออาจทำไม่ได้เลย แต่สามารถช่วยปฐมพยาบาลเพื่อลดความรุนแรงได้ คือให้ผู้ป่วยพักในท่าที่สบายที่สุด ปลอบใจให้ผู้ป่วยไม่ตื่นเต้นตกใจและสงบจะทำให้เลือดออกน้อยลง ห้ามให้อาหารและน้ำทางปาก จนกว่าแพทย์จะอนุญาต และหากไอเป็นเลือด ให้ผู้ป่วยพยายามไอเบาๆ จะทำให้เลือดออกน้อยลง นอกจากนี้ หากกระดูกหักและจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายจริงๆ ให้ดามกระดูกก่อน โดยอาจใช้อุปกรณ์ใกล้ตัวเช่นกระดาษแข็งหนาๆ หรือไม้นำมามัดดามไว้ด้วยเชือกหรือผ้าพันแผลบริเวณที่กระดูกหักเพื่อลดการขยับ "ในช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้ทีมกู้ชีพเราพร้อมทำงานช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง โดยเราตั้งเป้าการไปช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินให้ได้ภายใน 8 นาที เพราะจะทำให้ผู้ป่วยฉุกเฉินมีโอกาสรอดและปลอดภัยมากที่สุด ดังนั้นหากผู้ขับขี่พบเห็นรถพยาบาลโปรดหลีกทางให้ด้วย เพื่อให้การช่วยเหลือเป็นไปอย่างรวดเร็วและทันกาล โดยอยากให้คิดเสมอว่าคนในรถฉุกเฉินอาจเป็นญาติหรือคนที่คุณรักก็ได้" นพ.อนุชากล่าว
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 11 Apr 2013 12:50 AM PDT |
บาทแข็งรอบ16ปี นายกฯ สั่ง แบงก์ชาติ-กระทรวงการคลัง ติดตามสถานการณ์ Posted: 11 Apr 2013 12:39 AM PDT 10 เม.ย.56 ASTVผู้จัดการออนไลน์ รายงาน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สั่ง แบงก์ชาติ-กระทรวงการคลัง ติดตามสถานการณ์ค่าบาทแข็งค่าขึ้นลงรวดเร็วอย่างใกล้ชิด และช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบ ขณะที่แบงก์ชาติกังวลค่าเงินบาทที่มีการเคลื่อนไหวรวดเร็วแบบวันต่อวัน พร้อมย้ำไม่จำเป็นต้องออกมาตรการลดดอกเบี้ยนโยบายทางการเงิน ภายหลัง นายกรัฐมนตรี เรียกรัฐมนตรี และคณะทำงานกำกับการบริหารนโยบายเศรษฐกิจ คือ นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายนิวัฒน์ธำรงค์ บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายวรวิทย์ จำปีรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง นายพันศักดิ์ วิญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาด้านนโยบายของนายกรัฐมนตรี เพื่อหารือเรื่องสถานการณ์ค่าบาทแข็งค่าหลุด 29 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เมื่อวันที่ 9 เมษายนที่ผ่านมา อยู่ที่ 28.91-28.95 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ถือว่าแข็งค่าขึ้นในรอบ 16 ปี นับตั้งแต่ปี 2540 ธปท.รับบาทแข็งค่าเร็วเกินไป นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า นายกรัฐมนตรี มีความเป็นห่วงการเคลื่อนไหวของอัตราค่าเงินบาทที่มีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเร็ว หรือมีความผิดปกติของการเคลื่อนไหวหรือไม่ พร้อมสอบถามว่าจำเป็นที่รัฐบาลต้องออกมาตรการพิเศษช่วยเหลือหรือไม่ และมีผู้ประกอบการกลุ่มใดจะได้รับผลกระทบบ้าง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้รายงานว่า เงินบาทมีการแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วเกินไปจริง ธปท.จึงมีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อเนื่อง และได้ส่งหนังสือไปยังศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ฯ (คัสโตเดียน) เพื่อให้ธนาคารที่ดูแลการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติตรวจเช็กรายชื่อผู้ลงทุนในการติดตาม และพิจารณาประกอบว่าจำเป็นต้องออกมาตรการดูแลค่าเงินเพิ่มเติมหรือไม่ ชี้ผลดีกับผู้นำเข้าสินค้าในราคาถูกลง สำหรับค่าบาทแข็งจะเป็นผลดีกับผู้นำเข้าสินค้าในราคาถูกลง โดยเฉพาะวัตถุดิบที่นำเข้าจากต่างประเทศ แต่ตรงกันข้าม ผู้ส่งออกจะได้รับผลกระทบบ้าง เช่น ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดกลาง (เอสเอ็มอี) ซึ่งการดำเนินการของแบงก์ชาติที่ผ่านมา ได้ขอความร่วมมือธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการต่างๆ สามารถบริหารความเสี่ยงในรูปแบบต่างๆ ได้ เช่น การให้คำแนะนำในการประกันความเสี่ยง การให้วงเงินในการใช้ผลิตภัณฑ์บริหารความเสี่ยง และการรับฝากรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศให้คล่องตัวมากขึ้น นายกรัฐมนตรี จึงให้แบงก์ชาติ และกระทรวงการคลัง จับตาการเคลื่อนไหวของเงินบาทอย่างใกล้ชิด การไหลเข้าของเงินทุนต่างชาติ และการช่วยเหลือกลุ่มเอสเอ็มอีรายย่อยภาคอุตสาหกรรมใดได้รับผลกระทบบ้าง ซึ่งแบงก์ชาติมีการติดตามการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศอย่างใกล้ชิดต่อเนื่องอยู่แล้ว โดยเฉพาะการตรวจสอบว่าเงินทุนที่ไหลเข้าเป็นเงินทุนประเภทใด และมีการซื้อขายในลักษณะใด รวมถึงนักลงทุนต่างชาติใช้โอกาสค่าบาทแข็งเข้ามาลงทุนซื้อขายเพื่อหวังเก็งกำไรในตลาดทุนด้วย เผยมาตรการลดดอกเบี้ยนโยบายทางการเงินยังไม่จำเป็น ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยยอมรับว่า กังวลการเคลื่อนไหวค่าเงินบาทที่มีการแข็งค่าขึ้นลงอย่างรวดเร็วแบบวันต่อวัน แต่ยืนยันว่า ยังไม่จำเป็นต้องมีการออกมาตรการลดดอกเบี้ยนโยบายทางการเงิน แบงก์ชาติ ยังสามารถควบคุม และดูแลสถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทได้อยู่ คลังเผยยังมีโอกาสแข็งค่าขึ้นอีก นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ยอมรับว่า ยังมีโอกาสที่ค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นอีก อย่างไรก็ตาม ยังไม่จำเป็นต้องออกมาตรการลดดอกเบี้ยนโยบายการเงิน พร้อมแนะผู้ประกอบการกู้เงินในประเทศมากกว่าภายนอกประเทศ ส่วนโครงการในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาทนั้น จะกู้เงินในประเทศเป็นหลัก ธปท. เลือกใช้วิธีที่เป็นธรรมชาติในการจัดการก่อน กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ รายงานด้วยว่า สำหรับการดูแลค่าเงินบาทของ ธปท. นั้น นายประสาร กล่าวว่า ธปท.มีการดูแลเป็นปกติอยู่แล้ว เพียงแต่การดูแลไม่จำเป็นว่าจะต้องเข้าแทรกแซงในตลาดเงินเสมอไป เพราะว่า ธปท. เองก็มีเครื่องมือหลายชั้นในการดูแล โดยมีตั้งแต่การปล่อยให้เงินบาทเคลื่อนไหวตามกลไกตลาด ซึ่งถือเป็นเครื่องมือแรกๆ ของ ธปท. เครื่องมือถัดมา เช่น การสนับสนุนให้ผู้ประกอบการชาวไทยออกไปลงทุนต่างประเทศ เพื่อให้เกิดความสมดุลของเงินทุนที่ไหลเข้าและไหลออก ซึ่งล่าสุด ธปท.จะขายเพิ่มให้กับนักลงทุนรายใหญ่ที่สนใจออกไปลงทุนต่างประเทศได้อย่างไม่จำกัด ส่วนเครื่องมือที่สาม คือ การแทรกแซงในตลาดเงิน ถ้าธปท.เห็นว่าเงินบาทมีการเคลื่อนไหวที่ผิดไปจากสภาวะปกติ ก็สามารถเข้าไปแทรกแซงในตลาดเงินได้ ส่วนเครื่องมือที่สี่ คือ การกำกับดูแลการเคลื่อนย้ายของเงินทุนในรูปแบบต่างๆ ซึ่งขณะนี้ ธปท. อยู่ในสถานะที่เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด นายประสาร กล่าวด้วยว่า ทั้ง 4 เครื่องมือที่ ธปท. มีนั้น จะเห็นว่ามีเครื่องมือที่เป็นลักษณะของวิธีธรรมชาติ และที่ไม่ใช่วิธีธรรมชาติ ซึ่งทางธปท.เองจะเลือกใช้วิธีที่เป็นธรรมชาติก่อน เช่น ตอนนี้มีหน่วยงานภาครัฐหรือรัฐวิสาหกิจใด ที่มีหนี้ต่างประเทศ ธปท.ก็จะสนับสนุนให้ชำระหนี้เหล่านั้นก่อนกำหนด หรือหน่วยงานใดที่ต้องลงทุนด้วยการสั่งซื้อเครื่องจักรจากต่างประเทศ ทางธปท.ก็ให้การสนับสนุนเต็มที่ เพราะเห็นว่าเป็นจังหวะดี ที่จะมีการลงทุนเพิ่มในช่วงนี้ ในขณะที่วิธีที่ไม่ได้เป็นธรรมชาตินั้น จะใช้ในกรณีที่มีความจำเป็นจริงๆ เท่านั้น ปัดควบคุมเงินทุนหวั่นผลกระทบข้างเคียง "การควบคุมเงินทุนนั้น เป็นเรื่องที่ต้องคิดให้รอบคอบ อย่างประเทศบราซิลที่เขาใช้วิธีเก็บภาษีเงินที่เข้ามาลงทุน พอทำไปจริงๆ มันมีผลข้างเคียงอื่น เช่น เงินลงทุนจริงที่เขาอยากได้ พวกนี้ก็ได้รับผลกระทบพลอยหยุดชะงักไปด้วย จนกระทั่งหลังๆ เขาเองก็อยากจะปรับลดภาษีที่เรียกเก็บตรงนี้ลง ดังนั้นเวลาเราจะทำอะไรก็ต้องดูให้รอบคอบ ว่า จะมีผลข้างเคียงขึ้นบ้างหรือไม่"นายประสาร กล่าว สำหรับผลกระทบต่อเศรษฐกิจและภาคการส่งออก จากสถานการณ์เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นนั้น นายประสาร กล่าวว่า เวลานี้กำลังประเมินกันอยู่ แต่ถ้าดูกรณีของเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐนั้น จากการศึกษาของธปท.ช่วงที่ผ่านมา พบว่าการแข็งค่าของเงินบาทไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อภาคการส่งออกมากนัก หากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้ายังสามารถเติบโตได้ต่อเนื่อง ส่วนเงินบาทเทียบกับค่าเงินเยนนั้น พบว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะได้ประโยชน์จากการแข็งค่าของเงินบาท เพราะไทยไม่ได้เป็นประเทศคู่แข่งกับญี่ปุ่น แต่เป็นประเทศคู่ค้า โดยอุตสาหกรรมไทยมีการนำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่นค่อนข้างมาก เยนเทียบดอลล์อ่อนค่าทุบสถิติ รานงานภาวะตลาดปริวรรตเงินตราเอเชีย โดยเงินดอลลาร์แข็งสุดรอบ 47 เดือน ขณะที่เงินเยนร่วงลงแตะจุดต่ำสุดรอบหลายปี เมื่อเทียบกับดอลลาร์และยูโร โดยนักลงทุนเทขายเยนออกมา ขณะที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) กำลังดำเนินนโยบายต่อต้านภาวะเงินฝืดในช่วงนี้ โดยดอลลาร์ดีดตัวขึ้นไปแตะระดับ 99.67 เยนซึ่งเป็นจุดสูงสุด นับตั้งแต่เดือนพ.ค.2009 แต่ต่อมาคำสั่งขายทำกำไรได้กดดันดอลลาร์ให้ร่วงลงสู่ 99.25 เยน ขณะที่ยูโรขึ้นไปแตะ 129.935 เยน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ เดือนม.ค.2010 โดยในช่วงนี้ยูโรอยู่ที่ 129.59 เยน แข็งค่าขึ้น 0.3 % นับตั้งแต่บีโอเจเปิดเผยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในวันพฤหัสบดี ที่ 4 เม.ย. ดอลลาร์/เยนก็ได้พุ่งขึ้นมาแล้วราว 7 % สรท.ชี้ภาครัฐลอยแพผู้ส่งออก นายไพบูลย์ พลสุวรรณา ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า ในช่วง 3 เดือน แรกของปีนี้เงินบาทแข็งค่าขึ้นประมาณ 5 % และผู้ผลิตเพื่อการส่งออกมีมาร์จินระหว่าง 3-5% และเมื่อมาเจอปัญหาเงินบาทแข็งค่าเช่นนี้ มีโอกาสสูงที่กำไรจะหายไป รวมทั้งเงินเยนอ่อนค่าลงด้วยทำให้กระทบการส่งออกไปญี่ปุ่นด้วย "เราชี้แจงผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่า แต่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไม่ได้ตอบสนองอะไรมากนัก และกระทรวงพาณิชย์ก็ได้ยกเลิกนัดหารือผลกระทบกับภาคเอกชนในสัปดาห์นี้ ซึ่งเหมือนรัฐบาลก็ไม่ได้ดำเนินการอะไรช่วยเหลือผู้ส่งออก รวมทั้งยังบอกให้ผู้ส่งออกหาทางช่วยเหลือตัวเอง โดยแนะนำให้นำเข้าเครื่องจักรในช่วงเงินบาทแข็งค่า รวมทั้งให้ออกไปลงทุนในต่างประเทศและซื้อประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน แต่ภาครัฐไม่รู้ว่าแต่ละแนวทางมีข้อจำกัด ไม่สามารถดำเนินการได้ทุกราย" นายไพบูลย์ ระบุ ทั้งนี้ ปัจจุบันผู้ส่งออกต้องช่วยเหลือตัวเอง เพื่อบริหารภาวะขาดทุนที่อาจเกิดขึ้น โดยผู้ผลิตเพื่อส่งออกบางรายต้องบริหารเพื่อให้ขาดทุนน้อยที่สุด ซึ่งที่ผ่านมาหลายฝ่ายมองว่าผู้ส่งออกก็อยู่รอดมาตลอด เพราะในช่วงหลายปีที่ผ่านมาผู้ส่งออกเจอปัญหาเงินบาทแข็งค่าหลายครั้ง แต่ภาครัฐไม่รู้ว่าผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่าครั้งนี้ค่อนข้างสูง ซึ่งทำให้การส่งออกไตรมาส 2 ไม่ดีเหมือนไตรมาส 1 เพราะเจรจาคำสั่งซื้อช่วงเงินบาทแข็งค่า ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ชาวบ้านรอบสุวรรณภูมิฟ้อง 'ทอท.' รอบที่ 5 จี้หยุดบินกลางคืน-ค้านขยายเฟส 2 Posted: 10 Apr 2013 11:55 PM PDT ชาวบ้านรอบสนามบินสุวรรณภูมิสุดทน ฟังเสียงดังจากเครื่องบินขึ้นลงสนามบินสุวรรณภูมิไม่ไหว รวมพลยื่นฟ้องระงับการบินในเวลากลางคืนเป็นรอบที่ 5 พร้อมค้านการขยายสนามบินเฟส 2 11 เม.ย.56 - นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน เปิดเผยว่าเมื่อวันที่ 10 เม.ย.56 เวลา 10.00 น.ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากเสียงดังรอบสนามบินสุวรรณภูมิ ได้เดินทางไปยื่นฟ้อง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ต่อศาลปกครองกลางเป็นรอบที่ 5 เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หลังจากที่ชาวบ้านต้องทนทุกข์จากมลพิษทางเสียงมากว่า 6 ปี นับแต่เปิดใช้สนามบินเมื่อวันที่ 28 ก.ย.49 โดยไม่ได้รับการเหลียวแลอย่างจริงใจจาก ทอท. และรัฐบาล แต่กลับปล่อยให้มีสายการบินต่างๆ ทั่วโลกเข้ามาใช้สนามบินอย่างไม่หยุดยั้งจนเกินขีดความสามารถของสนามบินจะรองรับได้ และสร้างปัญหามลพิษทางเสียงและทางอากาศเพิ่มขึ้นทวีคูณ นายศรีสุวรรณให้ข้อมูลด้วยว่า ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอ ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเมื่อวันที่ 10 มี.ค.48 ระบุไว้ชัดเจนว่า ทอท.จะต้องเจรจาจ่ายค่าชดเชยและรับซื้อที่ดินบ้านเรือนของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากสนามบินให้แล้วเสร็จก่อนที่สนามบินจะเปิด 6 เดือน แต่ ณ วันนี้เวลาผ่านไปกว่า 6 ปีแล้ว ทอท. ยังดำเนินการไม่เสร็จสิ้น ชี้ให้เห็นชัดเจนว่าเป็นการจงใจละเมิดกฎหมายและเงื่อนไขของกฎหมายมาโดยตลอด นอกจากนั้น อีไอเอดังกล่าวยังระบุไว้ชัดเจนว่าสนามบินสุวรรณภูมิจะใช้รองรับจำนวนผู้โดยสารได้ไม่เกิน 45 ล้านคนต่อปีเท่านั้น แต่ ทอท.กลับปล่อยให้มีเที่ยวบินและผู้โดยสารมากถึง 52 ล้านคนต่อปีมาตั้งแต่ปี 2554 จนถึงปัจจุบัน อันเป็นการผิดกฎหมาย เพราะผิดเงื่อนไข ตามที่อีไอเอกำหนด แต่ ทอท. กระทรวงคมนาคม และรัฐบาลกลับนิ่งเฉย ไม่สนใจเลยว่าชาวบ้านโดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิจะเดือดร้อนและเสียหายจากการเพิ่มขึ้นของเที่ยวบินที่เข้ามาใช้สนามบินทั้งกลางวัน-กลางคืนจนทนฟังเสียงและได้รับมลพิษจากละอองไอเสียแทบจะทนอยู่ไม่ได้แล้ว นายศรีสุวรรณ กล่าวว่า ปัญหาดังกล่าวชาวบ้านได้เรียกร้องให้ ทอท. กระทรวงคมนาคม และรัฐบาลเร่งรีบเจรจารับซื้อที่ดินและจ่ายค่าชดเชย เพื่อโยกย้ายชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบออกไปจากพื้นที่โดยรอบสนามบินดังกล่าวมาโดยตลอด แม้กระทั่งตั้งคณะกรรมการไตรภาคีขึ้นมาหาข้อสรุป แต่ก็ไม่เป็นผล เพราะ ทอท.ไม่ยอมปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการไตรภาคี อาจเพราะเกรงว่าจะกระทบต่อราคาหุ้นของ ทอท.ที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ก็เป็นได้ จึงไม่เร่งรีบที่จะดำเนินการตามเงื่อนไขของกฎหมาย หรือตามมติของคณะกรรมการไตรภาคี เมื่อเป็นเช่นนั้น ชาวบ้านจำนวนมากจึงหาทางออกโดยการมาพึ่งศาลปกครอง เพื่อขอให้ศาลได้มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้ ทอท.ปฏิบัติตามเงื่อนไขในรายงานอีไอเอให้แล้วเสร็จโดยเร็ว รวมทั้งขอให้ศาลมีคำสั่งห้าม ทอท.หรือกระทรวงคมนาคมหรือรัฐบาลขยายสนามบินสุวรรณภูมิเฟส 2 โดยเด็ดขาด อนึ่ง ชาวบ้านโดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิได้เคยมายื่นฟ้องต่อศาลปกครองแล้วรวม 5 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1 จำนวน 1,075 คน ครั้งที่ 2 จำนวน 379 คน ครั้งที่ 3 จำนวน 406 คน ครั้งที่ 4 จำนวน 204 คน ครั้งที่ 5 จำนวน 239 คน รวมแล้วกว่า 2,303 คน ซึ่งคดีทั้งหมดยังอยู่ในการพิจารณาของศาลปกครองกลาง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
กลุ่ม 29 มกราฯ เตรียมล่า 50,000 ชื่อเสนอร่างนิรโทษกรรมฉบับนิติราษฎร์-ยุบศาลรธน. Posted: 10 Apr 2013 10:49 PM PDT
ภาพจากเฟซบุ๊ก องค์ชายแสนซน นักรบประชาธิปไตย
เมื่อวันที่ 10 เม.ย.56 เวลาประมาณ 9.00 น. เสื้อแดงกลุ่ม 'แนวร่วม 29 มกรา ปลดปล่อยนักโทษการเมือง' รวมตัวที่กำแพงประวัติศาสตร์ 6 ตุลา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ประมาณ 200 คน ก่อนเดินทางไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อทวงถามความคืบหน้าในการให้ความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยการนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง หลังจากที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ส่งข้อเสนอแนวทางการออกกฎหมายนิรโทษกรรมทั้งหมดให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาแล้วกว่า 2 เดือน โดย เมื่อวันที่ 29 ม.ค.ที่ผ่านมา กลุ่มดังกล่าวได้ยื่น 'ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญว่าด้วยเรื่องนิรโทษกรรมและขจัดความขัดแย้ง' ภายใต้แคมเปญ "29 มกรา หมื่นปลดปล่อย" ร่างนี้เสนอโดย คณะนิติราษฎร์ เมื่อวันที่ 13 ม.ค. ซึ่งเห็นว่าเป็นวิธีการนิรโทษกรรมนักโทษการเมืองได้ ครอบคลุมคนที่มีความเห็นแตกต่างทางการเมืองทุกฝ่าย รวดเร็วกว่าการเป็นออก พ.ร.บ. นอกจากร่างนี้แล้วยังมี พ.ร.ก.นิรโทษกรรมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมของคณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ(คอ.นธ.) ที่ถูกเสนอไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาเพื่อให้ความเห็นเกี่ยวกับข้อกฎหมาย โดยในการทวงถามความคืบหน้าของแนวร่วม 29 มกราครั้งนี้ มีผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นตัวแทนออกมารับหนังสือ ภาพจากเฟซบุ๊ก RedHard Dang สุดา รังกุพันธุ์ ตัวแทนแนวร่วม 29 มกรา ปลดปล่อยนักโทษการเมือง กล่าวถึงเหตุผลในทางถามความคืบหน้าต่อคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า ขณะนี้เป็นเวลา 2 เดือนแล้วที่ให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา รวมทั้งวันนี้เป็นวันครบรอบ 3 ปีของการสูญเสียในเหตุการณ์ 10 เม.ย.53 เราร่วมกันรำลึกความเสียหายที่เกิดขึ้น นักโทษการเมืองก็เป็นความเสียหายที่ยังตกค้างอยู่และรอรับการแก้ปัญหาโดยด่วน จึงได้มีการรวมตัวการทวงถามการทำงานของคณะกรรมการกฤษฎีกา ขอให้กฤษฎีกาเร่งรัดในการให้ความเห็นเพื่อส่งคืนยังรัฐบาล และทันต่อการประชุมสมัยสภาที่อาจจะสิ้นสุดในวันที่ 28 เม.ย.นี้ สุดากล่าวว่า ประชาชนที่เข้าร่วมครั้งนี้ส่วนมากเป็นผู้ที่อยู่ในจังหวัดที่มีนักโทษการเมือง เช่น จ.มุกดาหาร จ.เชียงใหม่ จ.มหาสารคาม ซึ่งเป็นผู้ที่รับรู้ปัญหาเป็นอย่างดีเนื่องจากอยู่ในพื้นที่ของการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ก็มีสัญญาณที่ดีคือกรณีที่กลุ่ม 40 ส.ส.ได้รวมตัวกันยื่น ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เข้าสู่สภา เพียงแต่ควรที่จะเลื่อนวาระการพิจารณาให้เร็วขึ้น แต่ปรากฏว่าไม่มีการประชุมสภาทำให้ไม่มีการพิจารณาเรื่องนี้ไปด้วยซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดาย สุดากล่าวอีกว่า ความแตกต่างที่ชัดเจนของร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยการนิรโทษกรรมของคณะนิติราษฎร์ก็คือมีการตั้ง 'คณะกรรมการขจัดความขัดแย้ง' ซึ่งคณะกรรมการนี้ก็จะทำให้สังคมมีโอกาสเข้าถึงความเป็นจริงเข้าถึงความยุติธรรมอย่างชัดเจน และสามารถที่จะใช้เวลาคลีคลายความขัดแย้งโดยไม่เร่งรัด แต่ในระหว่างที่คณะกรรมการทำงานก็ต้องมีการปล่อยตัวชั่วคราวประชาชนผู้ถูกจับกุมคุมขังโดยทันที เชื่อว่าเรื่องนี้จะเป็นทางออกของสังคมไทยที่มีความกังวลในมาตรฐานของกระบวนการยุติธรรม "กลุ่มที่เคลื่อนไหวการนิรโทษกรรมทุกกลุ่มไม่ได้ยึดติดกับรูปแบบที่ตัวเองเสนอ ขอเพียงเนื้อหาครอบคลุมผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมและถูกละเมิดสิทธิพลเมืองอย่างร้ายแรงจนเป็นนักโทษการเมือง" สุดากล่าว ทั้งนี้ ขณะนี้มีเสื้อแดงที่ถูกคุมขังในเรือนจำอยู่ 32 คน โดยมีผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิการประกันตัวทั้งหมด 22 คน ที่เรือนจำหลักสี่ 18 คน ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ 2 คน และที่ทัณฑสถานหญิง 1 คน และที่เรือนจำที่เป็นคุกทหารรายล่าสุดอีก 1 คน นอกนั้นเป็นส่วนที่คดีถึงที่สุดแล้ว สุดา รังกุพันธุ์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากสิ้นสุดการประชุมของแนวร่วม 29 มกราฯ สุดา เปิดเผยว่า เมื่อเย็นที่ผ่านมามีข่าวออกมาว่าจะมีการปิดประชุมสภาวันที่ 20 เม.ย. ดังนั้นโอกาสที่จะผ่านวาระที่ 1 ของ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ของกลุ่ม 40 ส.ส.จึงยาก ทางกลุ่มจึงตัดสินใจที่จะขับเคลื่อนกันต่อไป โดยจะใช้ช่องทางโดยตรงในการเข้าชื่อเสนอ ร่างกฎหมาย ไม่ต้องพึ่งพาหรือผลักดันให้ ครม.ดำเนินการแทน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญจึงต้องใช้จำนวน 50,000 รายชื่อ สุดากล่าวว่า ปัญหาของการแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะมีปัญหาเรื่องของศาลรัฐธรรมนูญด้วย แนวร่วม 29 มกราฯ จึงมีข้อเสนอยกเลิกศาลรัฐธรรมนูญควบคู่ไปด้วยกันเลย ตามข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ และตั้งคณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญแทน เพื่อเป็นการปรับกลไกใหม่ในการแก้ปัญหาการเมืองไทยที่เป็นผลจากรัฐธรรมนูญปี 2550 โดยจะมีการล่ารายชื่อในที่ชุมนุมรำลึกเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่ราชประสงค์วันที่ 19 พ.ค.นี้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น