ประชาไท | Prachatai3.info |
- รอบโลกแรงงานพฤศจิกายน 2013
- 'ท่ามกลางความขัดแย้ง' นักศึกษา คณาจารย์และมหาวิทยาลัย ต้องมีบทบาทอย่างไร?
- ตั้งข้อหา 'ข่มขืนใจ' ส่งหมายเรียก 22 ชาวบ้าน เหตุปกป้องชุมชนจากเหมืองแร่
- ไทม์ไลน์ และความเข้าใจเรื่องการประท้วง Euromaidan ในยูเครน
- ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของ “นกหวีด”: จากแดนไกลสู่ไทยแลนด์
- ญาติชายสติไม่ดีแจ้งกองปราบหลัง ‘สุเทพ’ กักตัวกล่าวหาเป็นเขมรเผาม็อบ
- ใจ อึ๊งภากรณ์: ไว้อาลัย เนลสัน แมนเดลา
- สมคิด เลิศไพฑูรย์
Posted: 07 Dec 2013 05:53 AM PST กรุงจาการ์ตาของอินโดนีเซีย ประกาศขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำร้อยละ 11 ต่ำกว่าที่แรงงานผละงาน 2 วัน เรียกร้องให้ปรับขึ้นอีกร้อยละ 50 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
'ท่ามกลางความขัดแย้ง' นักศึกษา คณาจารย์และมหาวิทยาลัย ต้องมีบทบาทอย่างไร? Posted: 07 Dec 2013 04:13 AM PST การประกาศหยุดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยหลายแห่งในช่วงเวลาไล่เลี่ยกับการ นัดหยุดงานของแกนนำคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" หรือ กปปส. ที่มีสุเทพ เทือกสุบรรณเป็นเลขาธิการ ส่งผลให้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางของบทบาทของมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะต่อการแสดงท่าทีทางการเมืองท่ามกลางความขัดแย้งอย่างรุนแรงในขณะนี้ จริงๆ แล้วในท่ามกลางความขัดแย้งนั้น ในแวดวงอุดมศึกษา ทั้งตัวมหาวิทยาลัยเอง คณาจารย์และนักศึกษาควรจะมีบทบาทอย่างไร เพื่อหาทางออกให้กับปัญหานี้ ซึ่งต่อไปนี้เป็นมุมมองของนักวิชาการและนักศึกษาส่วนหนึ่ง ต่อบทบาทของมหาวิทยาลัย คณาจารย์และนักศึกษาท่ามกลางความขัดแย้ง "มหาวิทยาลัยต้องสร้างพื้นที่กลางแก้ไขความขัดแย้ง" อาจารย์วศิน สุวรรณรัตน์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (ม.อ.หาดใหญ่) บทบาทของมหาวิทยาลัยท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองนั้น ทั้งคณะอาจารย์หรือมหาวิทยาลัยเอง ควรสร้างพื้นที่กลางเพื่อให้ทุกคนทุกฝ่ายร่วมแสดงความคิดเห็น พื้นที่นี้ไม่ควรจะเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง คนที่อยู่ในพื้นที่กลางก็ต้องมีความเป็นกลางด้วย อย่างล่าสุดเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2556 ที่ผ่านมา คณะนิติศาสตร์ได้ จัดงาน นิติศาสตร์เสวนาเห็นต่างร่วมทางได้ ในหัวข้อประเทศไทยไปทางไหนดี ซึ่งได้เชิญนักวิชาการหลายคนมาร่วมเสนา รวมทั้งนักศึกษาที่สนับสนุนฝ่ายต่างๆมาร่วมเสวนาด้วย โดยเปิดโอกาสให้ร่วมแลกเปลี่ยนแสดงความคิดกันอย่างเสรี สำหรับผมเอง ในท่ามกลางความขัดแย้งนั้น ก็มีส่วนร่วมในการเสนอแนะวิธีคิด ให้ความรู้ท่ามกลางความวุ่นวายสับสนของการเมืองที่ไม่รู้จะจบเมื่อไหร่ แต่เป็นการให้ความคิด ซึ่งต้องอยู่ในกรอบของนักวิชาการ ส่วนใครจะฟังหรือไม่นั้น ก็ไม่สามารถบังคับใครได้ ส่วน บทบาทของนักศึกษานั้น มหาวิทยาลัยไม่ได้บังคับว่า นักศึกษาจะต้องเลือกอยู่ข้างใดข้างหนึ่ง มหาวิทยาลัยให้เสรีภาพทางความคิดแก่นักศึกษา "ต้องให้เสรีภาพแก่ทุกฝ่าย" เอกรินทร์ ต่วนศิริ คณะรัฐศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี "บทบาท ของมหาวิทยาลัยท่ามกลางความขัดแย้ง ควรเป็นพื้นที่กลางหรือเป็นพื้นที่สาธารณะ เพื่อให้ทุกฝ่ายเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และมหาวิทยาลัยไม่ควรมีท่าทีเลือกข้างและไม่ควรนำมหาวิทยาลัยนำไปสู่ความขัด แย้งเสียเอง ด้วยปณิธานของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์แห่งนี้ด้วยประโยคที่ว่า "ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง" การ ตื่นตัวทางการเมืองของมหาวิทยาลัยถือว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีไม่น้อยสำหรับ สังคมการเมืองที่อยู่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย ที่ต้องการการมีส่วนร่วมทางการเมืองจากทุกภาคส่วนของสังคม ต้อง ถือว่าเหตุการณ์ครั้งนี้ มหาวิทยาลัยได้ทำหน้าที่ตามหลักประชาธิปไตย แต่สิ่งที่ต้องระมัดระวังคือ มหาวิทยาลัยต้องไม่ต้องเป็นกองเชียร์ของฝ่ายการเมือง แต่ต้องทำหน้าที่ให้เสรีภาพทางความคิดแก่ทุกหมู่เหล่า ทุกเชื้อชาติ ศาสนา และความเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกัน ควรมีพื้นที่มากเพียงพอให้แก่คนที่เห็นต่าง ตราบเท่าที่เราใช้สติปัญญามาเป็นเครื่องมือในการถกเถียง โดยไม่ใช้ความรุนแรง สำหรับ การคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมสุดซอยครั้งนี้ มหาวิทยาลัยได้มีบทบาทเป็นแนวหน้าออกมาต่อต้านการกระทำของฝ่ายการเมืองที่ ไม่ได้ให้เกียรติแก่เจ้าของอำนาจก็คือประชาชน การ ลุกขึ้นมาเป็นปากเป็นเสียงให้แก่สังคมครั้งนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นและ มีความกล้าหาญยิ่ง แต่ประเด็นการคัดค้านยังวนกับวาทกรรมทางการเมือง ที่มหาวิทยาลัยติดกับและใช้ตรรกะเดียวกันของฝ่ายการเมืองฝ่ายค้าน เช่น ต่อต้านคนโกง ต่อต้านคอรัปชั่น ซึ่งก็นับว่าเป็นปัญหาใหญ่ถึงขั้นผู้คนยอมไม่ได้ ดังที่เราได้เห็นผู้คนจำนวนมากออกมาคัดค้านและต่อต้าน แต่ อีกด้านหนึ่งของกฎหมายฉบับนี้ที่ไม่ค่อยได้กล่าวถึงก็คือ กลุ่มประชาชนที่ตกอยู่ในคดีนักโทษการเมือง ดูเหมือนว่าพวกเขาถูกลืมไปจากการต่อต้านครั้งนี้ของมหาวิทยาลัย ประเด็นคนเล็กคนน้อยที่ต้องตกอยู่ในคุก ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนเสื้อแดง กลุ่มเสื้อเหลือง ที่ต้องการกฎหมายนิรโทษกรรมอย่างเร่งด่วน มากกว่านักการเมืองที่เล่นเกมการเมืองจนทำลายความชอบธรรมของตนเอง ขณะเดียวกัน การกระทำในนามของม.อ. ก็ถูกตั้งคำถามมากขึ้น จากนิสิตนักศึกษาของเราเอง แต่ก็ไม่มีคำตอบอะไรจากมหาวิทยาลัย"
"ให้ความรู้แล้วนักศึกษาตัดสินใจเอง" อับดุลการีม อัสมะแอ คณะอิสลามศึกษาและนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี (ชื่อใหม่ของมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา) มหา วิทยาลัยฟาฏอนีไม่ได้รับผลกระทบโดยจากการชุมชนทางการเมืองของคณะกรรมการ ประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์อันมีพระ มหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) คิด ว่ามหาวิทยาลัยควรเป็นสถาบันให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องวิชาการแก่นักศึกษา เช่น เรื่องการเมืองการปกครอง ซึ่งเมื่อนักศึกษามีความรู้และเข้าใจเรื่องนี้แล้วจะมีความคิดเห็นอย่างไรก็ เป็นเรื่องของนักศึกษา ส่วน นักวิชาการควรแสดงความคิดเห็นควรบนหลักฐานของความบริสุทธิ์ทางวิชาการและ ความคิดอิสระ เพราะองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับเรื่องการเมืองการปกครองกว้างมาก ส่วนใครจะสนับสนุนฝ่ายใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคน คิด ว่าการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยต้องมาจากประชาชนที่มีความรู้ในเรื่องการเมือง การปกครองในระดับหนึ่ง และเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ เป็นกลุ่มประชาชนที่มีส่วนสำคัญที่ให้พรรคการเมือง พรรคใดพรรคหนึ่ง ได้รับชัยชนะจากการเลือกทุกครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากถูกใจเรื่องของนโยบายของพรรคการเมืองนั้น ที่ผ่านมาการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยตั้งแต่ปี 2479 เป็น ต้นมา เป็นการเปลี่ยนแปลงอำนาจระหว่างชั้นชนนำของประเทศเท่านั้น ทำให้ที่ผ่านมามีการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองเฉพาะชนชั้นนำของประเทศเท่านั้น โดยไม่ได้มาจากประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งหลายประเทศมีการเปลี่ยนแปลงที่มาจากประชาชน เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย เป็นต้น ไม่ได้มาจากชนชั้นของประเทศ ส่วนข้อเสนอของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส.ที่ เสนอให้ตั้งสภาประชาชน คิดว่าไม่ได้แตกต่างกับสภาผู้แทนราษฎรเพราะผู้แทนราษฎรก็มาจากการเลือกตั้ง ของประชาชน แต่เห็นด้วยกับนักวิชาการหลายคนที่เสนอให้ตั้งสภาประชาชน แต่ต้องแก้รัฐธรรมนูญเสียก่อน
เสียงจากนักศึกษา ม.อ.ปัตตานี ส่วนในมุมมองของนักศึกษา ม.อ.วิทยาเขตปัตตานี ก็มีความเห็นที่หลากหลายเช่นกัน ดังนี้
"9ปีไฟใต้ มหาวิทยาลัยไม่เคยแสดงท่าทีใดๆ" อาร์ฟาน วัฒนะ คณะรัฐศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี ไม่ เห็นด้วยที่ผู้มีอำนาจของมหาวิทยาลัยใช้ชื่อมหาวิทยาลัยไปแสดงจุดยืนฝักฝ่าย ทางการเมือง เพราะเท่ากับเป็นการใช้อำนาจครอบงำทุกคนในมหาวิทยาลัย ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง ทุกคนไม่ได้มีความเห็นแบบเดียวกันทั้งหมด ย่อมมีคนที่คิดต่างออกไปบ้าง ผู้อำนาจสูงสุดของมหาวิทยาลัยควรมีความเป็นกลางในการแสดงออกทางการเมือง และควรเปิดพื้นที่ให้กับคนที่คิดต่างด้วย ไม่ใช่การปฏิบัติแบบเหมารวมเช่นนี้ ตลอดระยะเวลา 9 ปี ของความรุนแรงจากสถานการณ์ความขัดแย้งในพื้นที่ชายแดนใต้ ม.อ.ปัตตานี ไม่เคยแสดงท่าทีแบบนี้ แม้บางเหตุการณ์เกี่ยวข้องกับนักศึกษาของม.อ.ปัตตานีด้วยก็ตาม ตัวอย่างเช่น เมื่อปี 2555 ที่ผ่านมา มีนักศึกษาชั้นปี 1 คนหนึ่งถูกเจ้าหน้าที่จับตัวไปแทนพี่ชายของตัวเองที่หายตัวไปจากบ้าน ทางมหาวิทยาลัยก็ไม่ดำเนินการอะไรต่อกรณีนี้ เพราะ ฉะนั้นเห็นได้ชัดว่า การงดการเรียนการสอนครั้งนี้ไม่เพียงแค่ต้องการแสดงท่าทีต่อสถานการณ์ทางการ เมืองแล้ว แต่มีนัยยะการเมืองส่วนตัวแอบแฝงด้วย ส่วนอาจารย์บางคนก็ยังสอนตามปกติ เป็นการทวนคำสั่งของมหาวิทยาลัยซึ่งแสดงว่าภายในมหาวิทยาลัยไม่ได้มีเอกภาพ ทางความคิด
"ต้องให้สิทธิเสรีภาพทางความคิด ไม่บังคับ" อิบรอฮิม กีละ คณะวิทยาการสื่อสาร ม.อ.ปัตตานี "บทบาท ที่ผมควรทำ คือแสดงความคิดเห็นด้วยตรรกะของตัวเอง การไปร่วมประท้วงเพราะถูกอาจารย์บังคับนั้น ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล และอาจนำไปสู่ความขัดแย้งที่รุนแรงยิ่งขึ้นไปอีก เพราะฉะนั้นบทบาทอาจารย์ก็ควรเป็นผู้ให้ความรู้แก่นักศึกษา การบังคับนักศึกษาให้ไปร่วมประท้วง เป็นบทบาทที่ผิด ส่วน บทบาทของมหาวิทยาลัยนั้น ควรให้สิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของนักศึกษา ไม่ใช่จะปิดการเรียนการสอนก็ปิดเลยโดยที่นักศึกษาไม่ทันตั้งตัว และไม่เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่าควรจะปิดดีหรือไม่ดี ส่วน ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาความขัดแย้งนั้น มหาวิทยาลัยควรเปิดพื้นที่กว้างในการแสดงความคิดเห็นของนักศึกษา โดยไม่มีภาวะกดดัน อย่างตัวเช่น มีอาจารย์ท่านหนึ่งบังคับนักศึกษาพร้อมทั้งเช็คชื่อให้คะแนนคนที่ไปร่วม ประท้วงด้วยซึ่ง การกระทำเช่นนี้ ถือว่าเป็นการบังคับและกดดันนักศึกษา ทำให้นักศึกษาไม่สามารถที่จะแสดงความคิดเห็นที่แท้จริงของตัวเองได้ แต่ที่ไปร่วมประท้วงเพราะถูกอาจารย์บังคับ
"ต้องเข้าใจสถานการณ์และเป็นกลาง" นัสรี จะมะจี คณะรัฐศาสตร์ สมาชิกสภาแตออ ม.อ.ปัตตานี ท่าม กลางความขัดแย้งนักศึกษาควรมีจุดยืนเป็นของตนเอง ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง การจัดงานเสวนาต่างๆ ก็เพื่อให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์ได้ก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไรลงไปกับการมีส่วน ร่วมทางการเมือง เช่นปัจจุบันที่มีนักศึกษา ม.อ.หลากหลายกลุ่มเข้าร่วมต่อต้านพ.ร.บ.นิโทษกรรม แต่เมื่อถามถึงที่มาที่ไปและเหตุผลของการเข้าร่วมชุมนุมประท้วง กลับตอบตัวเองและคนอื่นไม่ได้เท่าที่ควร ดังนั้นก่อนที่จะมีส่วนร่วมทางการเมืองหรืออะไรก็แล้วควรศึกษาและทำความเข้า ใจก่อนตัดสินใจ ใน ส่วนของคณาจารย์ควรที่ยืนในที่ๆเป็นกลาง ไม่ควรเอนเอียงไปในด้านใดด้านหนึ่ง เพราะอาจเป็นการชักนำนักศึกษาให้เข้าข้างฝ่ายที่คณาจารย์เห็นด้วย ความคิดทางการเมืองควรเป็นความคิดของคนแต่ละคนที่จะต้องคิดได้เองว่า เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างไร ไม่ใช่มาจากบุคคลที่ 2 หรือ 3 ไม่เห็นด้วยกับการงดการเรียนการสอนของ ม.อ.ทั้ง 5 วิทยาเขต แต่ควรงดสอนเฉพาะบางวิทยาเขตที่เกิดการเรียกร้องของคนในมหาวิทยาลัย เช่นที่วิทยาเขตหาดใหญ่ เพราะนักศึกษาส่วนใหญ่ต้องการให้งดการเรียนการสอนเพื่อเข้าร่วมประท้วงหรือ มีส่วนร่วมทางการเมือง
"ต้องให้นักศึกษามีส่วนร่วมตัดสินใจ" ญาดา ช่วยชำแนก นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ เมื่อ เกิดความขัดแย้งใดๆ มหาวิทยาลัยในฐานะสถาบันการศึกษาต้องมีความเป็นกลางทางวิชาการ ควรให้ความรู้ต่างๆ ให้นักศึกษาสามารถคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นคืออะไร มหาวิทยาลัย ควรทำประชามติเพื่อรู้เสียงส่วนใหญ่ก่อนตัดสินใจแสดงจุดยืนทางการเมืองใน ชื่อมหาวิทยาลัย ที่จริงมีองค์การนักศึกษา มีสภานักศึกษา น่าจะเป็นช่องทางเพื่อถามถึงความคิดเห็นของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยได้ แต่มหาวิทยาลัยไม่ได้ถามนักศึกษาเลย เป็นมติของคณะผู้บริหารเท่านั้น ไม่ใช่มติของนักศึกษาด้วย อาจารย์ ผู้สอนไม่ควรใช้นักศึกษาเป็นเครื่องมือทางการเมือง ไม่ว่าจะมีความคิดเห็นทางการเมืองอย่างไรก็ไม่ควรให้นักศึกษาต้องเกี่ยวข้อง ด้วย ควรเปิดใจกว้างให้นักศึกษาสามารถแสดงความเห็นต่างได้
"ระวัง นักศึกษาอาจขยายความขัดแย้งเสียเอง" ดันย้าล อับดุลเลาะ ตะวันออกกลางศึกษา ม.อ.ปัตตานี มหาวิทยาลัย ไม่ควรงดการเรียนการสอนเพื่อแสดงท่าทีต่อความขัดแย้งทางการเมือง เพราะเป็นสถาบันการศึกษาไม่ใช่สถาบันการเมือง หากต้องการแสดงออกทางการเมืองก็ควรสู้ด้วยความรู้หลักวิชาการ เพื่อหาทางออกร่วมกันหรือมีการจัดกิจกรรมแทรกระหว่างการเรียน หาก อาจารย์ท่านใดต้องการแสดงออกทางการเมืองแบบฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ก็ควรแสดงออกอย่างเป็นกิจจะลักษณะ ไม่ควรใช้พื้นที่วิชาเรียนของนักศึกษา การปฏิบัติครั้งนี้ของคณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัยเท่ากับเป็นการพยายามควบคุมนักศึกษาให้เห็นกับการฝักฝ่ายทางการเมืองของตน นัก ศึกษาเองก็ควรเสพข่าวสารอย่างหลากหลายเพื่อให้รู้เท่าทัน และขอให้มีสติในการโพสต์ แชร์ และกดไลค์ข้อมูลในโซเชียลมีเดียด้วย เพื่อลดความขัดแย้งที่อาจขยายวงเพิ่มขึ้นได้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ตั้งข้อหา 'ข่มขืนใจ' ส่งหมายเรียก 22 ชาวบ้าน เหตุปกป้องชุมชนจากเหมืองแร่ Posted: 07 Dec 2013 03:59 AM PST 7 ธ.ค. 2556 - นักข่าวพลเมือง จ.เลย รายงานว่าเมื่อเวลา 13.00 น. ของวันที่ 6 ธันวาคม 2556 นายสมัย ภักดิ์มี ได้รับจดหมายจดหมายลงทะเบียนที่ RG 4703 6746 9 TH จาก สภ.วังสะพุง จ.เลย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ไทม์ไลน์ และความเข้าใจเรื่องการประท้วง Euromaidan ในยูเครน Posted: 07 Dec 2013 01:44 AM PST ช่วงเดียวกันนี้ เกิดการประท้วงในยูเครน โดยมีการเรียกร้องเกี่ยวกับข้อตกลงการเข้าร่วมสหภาพยุโรป ขณะที่พี่ใหญ่รัสเซียยังคงส่งอิทธิพลกดดัน การประท้วงบนท้องถนนก็เสี่ยงต่อความวุ่นวายและยังไม่หมดไปง่ายๆ 6 ธ.ค. 2556 ตั้งแต่ช่วงปลายเดือน พ.ย. มาจนถึงในตอนนี้ ที่ประเทศยูเครนมีกระแสการประท้วงอย่างต่อเนื่อง จากความต้องการของประชาชนบางส่วนที่เรียกร้องให้ผู้นำประเทศเซ็นสัญญาความร่วมมือกับสหภาพยุโรป รวมถึงเรียกร้องให้มีการถอดถอนประธานาธิบดี วิกเตอร์ ยานูโควิช หลังจากที่รัฐบาลยูเครนยกเลิกการเตรียมการเซ็นสัญญาดังกล่าวรวมถึงข้อตกลงการค้าเสรีอย่างลึกซึ้งและครอบคลุม (Deep and Comprehensive Free Trade Agreement) โดยในวันที่ 21 พ.ย. 2556 รัฐบาลยูเครนมีมติไม่ผ่านร่างกฎหมายที่จะให้มีการปล่อยตัวอดีตนายกรัฐมนตรียูเลีย ทิโมเชนโก ผู้นำฝ่ายค้านที่ถูกจำคุกอยู่ในขณะนี้ ทำให้ไม่ผ่านเงื่อนไขของการเข้าร่วมเป็นสมาชิกภาพของสหภาพยุโรปหรืออียู โดยฝ่ายรัฐบาลยูเครนให้เหตุผลว่าการผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวจะกระทบผลผลิตอุตสาหกรรมภายในประเทศและกระทบต่อความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (CIS) ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศอดีตสหภาพโซเวียตรวมถึงรัสเซีย การประท้วงในยูเครนเริ่มต้นขึ้นในช่วงวันที่ 21-22 พ.ย. ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่าเป็นขบวนการ ยูโรไมดาน (Euromaidan) เริ่มจากมีผู้ประท้วงราว 2,000 คนในกรุงเคียฟรวมตัวกันที่จัตุรัสไมดาน เนซาเลซนอสติ (Maidan Nezalezhnosti) หรือที่แปลว่า "จัตุรัสแห่งเอกราช" โดยชื่อจัตุรัสนี้ถูกเปลี่ยนอยู่หลายครั้งจนกระทั่งมีการเปลี่ยนเป็นชื่อดังกล่าวหลังได้รับเอกราชจากสหภาพโซเวียต ต่อมาการประท้วงมีการนำโดยฝ่ายค้านและพรรคการเมืองที่สนับสนุนสหภาพยุโรป จนต่อมาในวันที่ 24 พ.ย. ก็มีคนเข้าร่วมการชุมนุมราว 100,000 ถึง 200,000 คน ดูเหมือนว่าความขัดแย้งทางการเมืองในครั้งนี้ของยูเครนหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะพูดถึงรัสเซีย โดยช่วงต้นๆ ของการประท้วง อาเซนีย์ ยัตเซนยุค หัวหน้าพรรคฟาร์เธอร์แลนด์ในสังกัดกลุ่มการเมืองของยูเลีย ทิโมเชนโก (Yulia Timoshenko Bloc) กล่าวหาว่าประธานาธิบดียานูโควิช ได้รับเงิน 'ค่าต่อรอง' จากรัสเซียเพื่อไม่ให้ยูเครนทำข้อตกลงเข้าร่วมกับอียู ทางด้านนายกรัฐมนตรีมิโคล่า อาซารอฟ ของยูเครนได้แถลงเกี่ยวกับเรื่องข้อตกลงกับอียูเมื่อวันที่ 26 พ.ย. โดยยืนยันว่าจะยังคงมีการเจรจาหารือด้านสัญญาความร่วมมือต่อไปและพยายามผลักดันให้ประเทศมีมาตรฐานใกล้เคียงกับคุณสมบัติที่อียูกำหนดไว้ สำนักข่าวเคียฟโพสต์มองว่านี่เป็นความพยายามของทางการยูเครนในการแสดงตนว่าอยู่ข้างเดียวกับผู้ชุมนุม การชุมนุมดำเนินมาจนถึงวันที่ 30 พ.ย. ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจได้พยายามสลายการชุมนุมด้วยแก๊สน้ำตาและมีการใช้กระบองทุบตี ซึ่งต่อมาทางการแถลงว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บ 79 ราย ในจำนวนนี้มีทั้งนักศึกษา นักข่าว ตำรวจ และชาวต่างชาติรวมอยู่ด้วย อีกทั้งยังมีผู้ชุมนุมบางส่วนถูกจับกุมตัว และทางอียูก็ออกมาเรียกร้องให้เลิกใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุม
ในช่วงบ่ายของวันเดียวกันมีผู้ชุมนุมบางคนนำรถเกลี่ยดินมาที่หน้าทำเนียบประธานาธิบดี เพื่อพยายามพังแผงกั้นโดยรอบ รวมถึงมีปะทะกับเจ้าหน้าที่โดยฝ่ายผู้ชุมนุมได้ขว้างปาก้อนอิฐและระเบิดเพลิงใส่เจ้าหน้าที่ ขณะที่เจ้าหน้าที่ใช้แก๊สน้ำตาและระเบิดแสงเพื่อพยายามสลายการชุมนุม ในวันนั้นมีผู้ชุมนุมราว 100,000 ถึง 350,000 คน ในช่วงกลางคืนของวันที่ 1 ธ.ค. มีกลุ่มก่อความวุ่นวายส่วนหนึ่งได้บุกเข้าจู่โจมเจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจลาจลที่เฝ้ารูปปั้นของวลาดิเมียร์ เลนิน รวมถึงประชาชนที่เดินผ่านในละแวกนั้นรวมถึงมีการยึดรถประจำทาง ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ตอบโต้ด้วยแก๊สน้ำตา แต่ไม่นานนักก็ต้องล่าถอยออกจากพื้นที่ จากการโจมตีครั้งนี้มีเจ้าหน้าที่รายหนึ่งบาดเจ็บสาหัส โดยที่กระทรวงกิจการภายในของยูเครนได้ประณามการสร้างความวุ่นวายจากกลุ่มหัวรุนแรงที่เรียกตัวเองว่ากลุ่มภราดรภาพ ซึ่งมีสมาชิก 300 คน การประท้วงยังคงดำเนินต่อเนื่องมาจนถึงวันนี้ (6 ธ.ค.) โดยหลักๆ แล้วกลุ่มผู้ประท้วงในยูเครนมีข้อเรียกร้องต้องการให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อหารือกับประชาคมยุโรป มีการเรียกร้องให้ผู้นำยาคูโนวิชลงจากตำแหน่ง เนื่องจากไม่สามารถดำเนินแผนการยุทธศาสตร์ที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศไว้ได้
มีการพยายามเปรียบเทียบการประท้วงในครั้งนี้กับการปฏิวัติสีส้ม (Orange Revolution) เมื่อปี 2547 ซึ่งเป็นการประท้วงต่อต้านผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี โดยที่ วิกเตอร์ ยานูโควิช ถูกกล่าวหาว่าโกงการเลือกตั้ง การประท้วงในครั้งนั้นนำโดยวิกเตอร์ ยุชเชนโก คู่แข่งการเลือกตั้งที่มีคะแนนสูสีกับยานูโควิช และยูเลีย ทิโมเชนโก ต่อมาการเรียกร้องเป็นผลสำเร็จทำให้มีการเลือกตั้งใหม่และยุชเชนโกได้รับชัยชนะในสมัยนั้น ส่วนทิโมเชนโกก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี (ในยูเครน ประธานาธิบดีจะเป็นผู้แต่งตั้งนายกฯ) ปัจจัยที่ทำให้การปฏิวัติสีส้มประสบความสำเร็จส่วนหนึ่งมาจากการที่ประชาชนชาวยูเครนต้องการความเปลี่ยนแปลงด้านเศรฐกิจและการเมือง รวมถึงคนรุ่นใหม่ชื่นชอบแนวคิดของยุชเชนโกที่พยายามผลักดันให้ยูเครนออกห่างจากรัสเซีย แต่นักวิเคราะห์มองว่าการประท้วงครั้งล่าสุดในยูเครนต่างจากการปฏิวัติสีส้มเนื่องจากไม่มีผู้นำทางการเมืองคนใดที่สามารถสร้างอิทธิพลแก่ผู้ประท้วงได้มากเท่ายุคนั้น โดยผู้ประท้วงปัจจุบันถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ คือกลุ่มนักกิจกรรมคนรุ่นใหม่ที่ได้รับอิทธิพลจากขบวนการอ็อกคิวพาย (Occupy Movement) กับกลุ่มที่สองคือพรรคการเมืองซึ่งทำให้ดูเหมือนเป็นการประท้วงของฝ่ายค้านมากกว่าการประท้วงของสังคมโดยรวม
ขณะเดียวกันผู้นำยูเครนก็ต้องรับมือกับการประท้วงยืดเยื้อที่ยิ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจในประเทศ ทำให้ขาดสภาพคล่องทางการเงินและเกิดความกังวลต่อนักลงทุน ซึ่งเสี่ยงต่อการที่รัฐบาลยูเครนจะประสบปัญหาการนำเข้าและไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ทัน ซึ่งรวมถึงการจ่ายเงินเดือน เงินบำนาญ และสวัสดิการสังคมอื่นๆ เป็นการกดดันให้ผู้นำยูเครนต้องหาความช่วยเหลือด้านการเงินจากภายนอก และผู้ที่พึ่งพาได้ก็ยังคงเหลือแต่รัสเซีย ผู้เดียวกับที่กดดันไม่ให้พวกเขาเซ็นสัญญากับอียู ทิม แอช ผู้เชี่ยวชาญจากธนาคารสแตนดาร์ดในกรุงลอนดอนกล่าวว่า รัสเซียให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ยูเครนมาเป็นเวลา 20 ปีแล้ว โดยหวังว่าจะได้ทรัพยากรในเชิงยุทธศาสตร์อย่างการต่อท่อก๊าซ แต่ยูเครนก็ทำให้ไม่ได้มาก ทำให้รัสเซียหันมาตั้งเงื่อนไขในเรื่องการเข้าร่วมกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (CIS) แทน ซึ่งจุดนี้การประท้วงบนท้องถนนก็ยิ่งบีบให้ผู้นำยูเครนอยู่ในสภาพกลืนไม่เข้าคายไม่ออก
เรียบเรียงจาก Ukraine drops EU plans and looks to Russia, Aljazeera, 21-11-2013 Ukraine Opposition Protests Europe U-Turn, Moscow Times, 22-11-2013
http://en.wikipedia.org/wiki/Euromaidan ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของ “นกหวีด”: จากแดนไกลสู่ไทยแลนด์ Posted: 07 Dec 2013 12:35 AM PST
เรามักพบนกหวีดถูกใช้อยู่ในชีวิตประจำวันมากมายหลายโอกาส เช่น ใช้โดยกรรมการเพื่อส่งสัญญาณเตือนหรือตัดสินในการแข่งขันกีฬาต่าง ๆ ใช้โดยตำรวจจราจรในการให้สัญญาณแทนการพูด หรือเรียกให้หยุดรถเมื่อกระทำความผิดบนท้องถนน ใช้ในกองทัพเพื่อให้สัญญาณ ใช้ในการส่งสัญญาณแก่พาหนะที่ขนส่งทั้งทางบกและทางน้ำ เป็นต้น หากแต่ตลอดเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา "นกหวีด" ถูกใช้เป็นอุปกรณ์การขับไล่ "ระบอบทักษิณ" ซึ่งแพร่หลายในการชุมนุมของกลุ่มประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) อีกทั้งอุปกรณ์ดังกล่าวยังสร้างอัตลักษณ์ทางการเมืองจนมีผลทำให้กลุ่ม กปปส. ถูกเรียกได้ว่าเป็น "ม็อบนกหวีด" ในบางโอกาสเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม การใช้นกหวีดเพื่อประกอบการชุมนุมทางการเมืองนั้นมิได้มีเฉพาะเพียงแต่ในประเทศไทยเท่านั้น และนกหวีดยังถูกใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น ๆ นอกเหนือไปจากการให้สัญญาณดังที่เราพบเห็นในชีวิตประจำวัน หากแต่นกหวีดในบางวัฒนธรรมยังถูกใช้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งในชีวิตประจำวันของบางสังคมอีกด้วย ฉะนั้นบทความชิ้นนี้จึงต้องการสำรวจความหมายของนกหวีดในหลาย ๆ สังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้นกหวีดในสังคมชนเผ่า อีกทั้งยังศึกษาพัฒนาการและที่มาของการใช้นกหวีดจากพื้นที่ทางสังคมสู่พื้นที่ทางการเมือง เพื่อที่ว่า ในท้ายที่สุด เราอาจเข้าใจได้ว่าความหมายของนกหวีดของกลุ่มกปปส. เหมือนหรือแตกต่างจากความหมายในสังคมอื่น ๆ หรือไม่ อย่างไร
พัฒนาการทางความหมายอันหลากหลายของนกหวีดความเป็นมาของนกหวีดนั้น คาดการณ์กันว่ามีประวัติศาสตร์อันยาวนานมาตั้งแต่สมัยจีนโบราณ หรือแม้กระทั่งถูกใช้ในอารยธรรมอียิปต์โบราณ ในอดีต ยามรักษาการณ์ดินแดนในจีนมักเป่าที่ยอดลูกโอ๊คเพื่อส่งสัญญาณเตือนการบุกรุกจากศัตรู ทั้งนี้ คาดกันว่านกหวีดโบราณของจีนมีที่มาจากเครื่องดนตรีโบราณชนิดหนึ่งของจีนที่มีชื่อว่า "ซุน" (Xun) ที่มีลักษณะเหมือนลูกน้ำเต้ามีรูอยู่ด้านบนสำหรับเป่าให้เกิดเสียง (บ้างก็มีรูอยู่ทั่วลูกน้ำเต้าสำหรับใช้นิ้วกดปิดเพื่อทำให้เกิดระดับเสียงต่าง ๆ)
"ซุน" เครื่องดนตรีจีนโบราณ (Photo from chinaculture.org/)
ในขณะเดียวกัน "นกหวีด" ในฐานะอุปกรณ์ส่งสัญญาณของชาวอียิปต์นั้นก็คือ การนำเอาใบของต้นปาปิรุสมาใส่ไว้ในอุ้งมือหรือลูกปาล์มแล้วเป่าให้เกิดเสียง นอกจากจะใช้ในการส่งสัญญาณแล้ว นกหวีดถูกจัดอยู่ในเครื่องดนตรีประเภทหนึ่งด้วย โดยอยู่ในประเภทเครื่องเป่าลมไม้เช่นเดียวกับขลุ่ย ทั้งนี้ ในหลาย ๆ สังคม นกหวีดถูกใช้ประกอบการสังสรรค์และพิธีกรรมของชนเผ่า เช่น ชาวไมดุ (Maidu Indian) ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองในทางตอนเหนือของรัฐแคลิฟอร์เนียใช้นกหวีดที่จากกระดูกส่วนปีกของนกกระเรียนในฐานะเครื่องดนตรีประกอบการเต้นระบำในพิธีกรรมต่าง ๆ ทั้งนี้ นักร้อง/นักดนตรีจะใช้นกหวีด 2 อันที่มีความสั้นยาวแตกต่างกัน เป่าสลับกันไปมาเพื่อสร้างระดับเสียงที่แตกต่างกันจนกลายเป็นท่วงทำนองประกอบการเต้นระบำ ในบางโอกาสหากมีนักร้อง/นักดนตรีเป็นจำนวนมาก็จะทำให้เกิดเป็นทำนองเพลงขึ้นมา [1] ในขณะเดียวกัน ชาวอัสมัท (Asmat) ชนพื้นเมืองในอิเรียน จายา (Irian Jaya) ที่อาศัยอยู่ในบริเวณปาปัวตะวันตก ประเทศอินโดนีเซีย ใช้ขลุ่ยอัสมัท (Asmat Fue) ที่ทำจากไม้ไผ่แกะสลักด้วยฟันหนู ในการส่งสัญญาณระหว่างการทำศึก นอกจากนี้ ขลุ่ยอัสมัทยังถูกใช้หนุนหัวแทนหมอนอีกด้วยเพื่อส่งสัญญาณได้ทันท่วงทีหากเกิดเหตุอันตราย อีกทั้งยังใช้เป่าบนเรือแคนูระหว่างเดินทางกลับหมู่บ้าน และใช้ในการเฉลิมฉลองทั่วไป เช่นเดียวกับชนเผ่าเมารี (Maori) แห่งนิวซีแลนด์ที่ใช้หอยสังข์ที่เรียกว่า "ปูตาตารา" (Putatara) เป็นเครื่องเป่าเพื่อส่งสัญญาณและประกอบการเฉลิมฉลองทั่วไป ในขณะที่ ชาวแอสเท็ค (Aztec) ที่อาศัยอยู่ในบริเวณตอนกลางของเม็กซิโกก็ใช้หอยสังข์ในพิธีกรรมขอฝนด้วย "ดิดเจริดู" (Didgeridoo) ขลุ่ยไม้ขนาดใหญ่ที่ทำจากโพรงไม้ขนาดยาวของต้นยูคาลิปตัสหรือต้นบลัดวู้ดที่ถูกปลวกขาว เจาะเป็นโพรง ใช้ในพิธีกรรมขับกล่อมของชาวอะบอริจิน (Aborigine) และใช้เรียกชาวบ้านในชุมชนมารวมตัวกัน
"ดิดเจริดู" ขลุ่ยไม้ขนาดใหญ่ของชาวอะบอริจิน (Photo from telegraph.co.uk)
การใช้นกหวีด (และขลุ่ยบางชนิดที่ถูกจัดให้อยู่ในหมวดเครื่องดนตรีชนิดเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน) เพื่อประกอบพิธีกรรมต่างๆ ถือได้ว่าเป็นที่แพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ชนเผ่าที่อาศัยในบริเวณต่าง ๆ อาทิ หมู่เกาะมาเลย์, อนุภูมิภาคไมโครนีเซีย (บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก), อนุภูมิภาคโพลีนีเซีย (บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกใต้), และในหมู่ชนเผ่าอินเดียนในอเมริกาเหนือ เป็นต้น ไม่เฉพาะเพียงแต่การใช้เป็นเครื่องดนตรีประกอบการเฉลิมฉลองและประกอบพิธีกรรมทางศาสนา นกหวีดยังถูกใช้โดยหมอผีในหมู่บ้านเพื่อการรักษาอาการเจ็บไข้ได้ป่วยและขับไล่ภูติผีปิศาจ รวมทั้งเตือนเหตุอันตรายภัยพิบัติต่าง ๆ เช่น การใช้นกหวีดกระดูกอินทรีที่เป็นที่แพร่หลายในหมู่หมอผีในเอเชียและชนพื้นเมืองในอเมริกาทางตอนเหนือ นกหวีดชนิดนี้ใช้เพื่อเรียกภูติผีวิญญาณและเทพเจ้า อีกทั้งยังสามารถขับไล่ผีร้ายที่เป็นสาเหตุของโรคร้ายต่าง ๆ ได้ด้วย โชฟาร์ (Shofar) หรือแตรที่ทำจากเขาแกะตัวผู้ ใช้ในพิธีระลึกถึงความเสียสละของแกะที่ยอมถูกบูชายัญแทนไอแซ็ก บุตรแห่งอัมบราฮัม ในทางความเชื่อของฮีบรู (Hebrew) [2] การเป่าโชฟาร์นั้นแต่เดิมถือเป็นพิธีกรรมทางศาสนาในอารามทั่วไป บ้างก็ใช้ป่าวประกาศเรียกรวมพล และใช้เป็นเครื่องดนตรี หากแต่ในเวลาต่อมาก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมในโบสถ์ของชาวยิวในโอกาสสำคัญ เช่น ขึ้นปีใหม่ หรือวันถือศีลอด เป็นต้น
"โชฟาร์" แตรเขาแกะของชาวฮีบรู (Photo from theguardian.com)
นอกการจะใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาแล้ว โชฟาร์ยังเกี่ยวข้องกับความเชื่อเรื่องเวทมนตร์ด้วย เช่น ใช้ในการขอฝน ใช้ในการขับไล่ภัยพิบัติทางธรรมชาติ หากแต่ในปัจจุบัน การใช้โชฟาร์เป็นเรื่องเคร่งครัดและจำกัดอยู่แต่ในเพียงพื้นที่ทางศาสนาโดยผู้นำทางศาสนาเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีนกหวีดดินเผา [3] ซึ่งมีลักษณะคล้ายตุ๊กตาขนาดเล็ก มักปรากฏเป็นสร้อยคอติดตัวหมอผีชาวอินคาจำนวนมาก ใช้ในโอกาสที่หมอผีต้องการเชื่อมต่อโลกมนุษย์กับโลกวิญญาณ หรือเป่าเพื่อเตือนเหตุอันตรายที่หมอผีเห็นในภาพนิมิต อย่างไรก็ตาม เสียงที่เกิดจากนกหวีดในบางวัฒนธรรม อาจไม่ได้หมายถึงเสียงที่ดีเสมอไป หากแต่ในสังคมชาวนาวาโฮ (Navaho) ชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา และชาวซาร์ซี (Sarsi) ชนพื้นเมืองกลุ่มแรกในประเทศแคนาดา เสียงนกหวีดในเวลากลางคืนคือเสียงเรียกของวิญญาณหรือสิ่งชั่วร้าย ซึ่งแตกต่างไปจากความเชื่อของหลาย ๆ ชนเผ่า
การใช้นกหวีดจากพื้นที่ทางสังคมสู่พื้นที่ทางการเมืองความหมายของการใช้นกหวีดในอารยธรรมต่าง ๆ และในสังคมชนเผ่านั้นถือได้ว่าผูกติดกับพิธีกรรมทางศาสนาและความเชื่อของกลุ่มเป็นอย่างยิ่ง หากแต่ความหมายในแง่นี้กลับค่อย ๆ ก้าวข้ามพรมแดนจากพื้นที่ทางวัฒนธรรมของสังคมชนเผ่าในชนบท ผ่านพื้นที่ของการแข่งขันกีฬาชนิดต่าง ๆ มาสู่พื้นที่ทางการเมือง เมื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันหมายถึงตำรวจในทุก ๆ ประเทศ ต่างก็ใช้นกหวีดเป็นเครื่องมือที่แสดงให้เห็นถึงการใช้อำนาจรัฐผ่านตัวบุคคล ควบคู่ไปกับการใช้อำนาจของรัฐผ่านเครื่องแบบที่สวมใส่ จึงทำให้ตำรวจในฐานะ "ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์" นั้นมีอำนาจมากพอที่จะก่อให้เกิดผลลัพธ์ของการกระทำแบบหนึ่งแบบใดขึ้นแก่ประชาชน ทันทีที่มีการเป่านกหวีด เช่น สั่งให้หยุดรถ อนุญาตให้ผ่านทาง ส่งสัญญาณให้ไปต่อ เป็นต้น ถ้าหากชุดเครื่องแบบเป็นสัญญะทางอำนาจที่บ่งบอกความเป็นตำรวจหรือผู้ใช้อำนาจรัฐอันชอบธรรม นกหวีด (เช่นเดียวกับกุญแจมือและปืน) ก็ถือเป็นเครื่องมือสื่อสารส่งผ่านอำนาจรัฐที่เป็นนามธรรมมาสู่รูปธรรมหรือในทางปฏิบัตินั่นเอง ทั้งนี้ นอกเหนือไปจากการเป่านกหวีดโดยตำรวจจราจรในชีวิตประจำวันแล้ว การเป่านกหวีดในพื้นที่ทางการเมืองในประวัติศาสตร์นั้นนำมาซึ่งการนิยามความหมายของนกหวีดใหม่ เมื่อคำว่า "Whistle-blowing" ในภาษาอังกฤษ แปลว่า "ผู้เป่านกหวีด" อีกทั้งยังสามารถแปลได้ว่า "การกระทำที่กระทำโดยชายหรือหญิงผู้เชื่อว่าผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่อยู่เหนือผลประโยชน์ขององค์กรที่เขารับใช้ การเป่านกหวีดจึงเป็นการบ่งบอกว่าองค์กรกำลังดำเนินกิจกรรมที่ทุจริต ผิดกฎหมาย ฉ้อฉล และอันตราย" [4] คำกล่าวนี้เกิดขึ้นเมื่อปี 1971 เมื่อนายราล์ฟ แนเดอร์ (Ralph Nader) นักกฎหมาย นักเขียน และนักต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ของผู้บริโภคชาวอเมริกัน เป่านกหวีดในสภาเพื่อเป็นสัญญาณเตือนรัฐบาลที่เริ่มมีพฤติกรรมคอรัปชั่น จนทำให้วีรกรรมของเขาเป็นที่เลื่องลือและสืบต่อกันมา นอกจากนี้ยังมีหลายเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์โลกที่เกี่ยวข้องกับการเป่านกหวีด เช่น การก่อตั้งองค์กรที่มีชื่อว่า "ฟอลลิ่ง วิสเซิ่ลส์" (Falling Whistles) ในปี 2008 ซึ่งทำหน้าที่รณรงค์สร้างสันติภาพในประเทศคองโก โดยการขายนกหวีดเพื่อเป็นทุนด้านการศึกษา การต่อสู้เพื่อสิทธิและการบำบัดเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสงคราม และการเป่านกหวีดประท้วงเพื่อเรียกร้องให้ยุติสงครามและตระหนักถึงผลกระทบของสงคราม
องค์กร Falling Whistles ต่อสู้รณรงค์สร้างสันติภาพในประเทศคองโก (photo from fallingwhistles.com)
ในปี 2009 มีการเป่านกหวีดที่ใจกลางกรุงบูคาเรสต์ ประเทศโรมาเนีย โดยประชาชนจำนวนประมาณ 15,000 คน รวมตัวกันเป่านกหวีดเพื่อประท้วงรัฐบาลกรณีค่าจ้างแรงงานต่ำ และในปี 2012 ชาวอเมริกันจำนวนมากพร้อมใจกันพกพานกหวีดเพื่อใช้เป่าใส่ตำรวจในกรณีที่ถูกตำรวจเรียกค้นตัวอันเป็นการประท้วงนโยบาย "หยุดและค้น" (Stop-and-Frisk Policy) ของตำรวจนิวยอร์ก ซึ่งอนุญาตให้ตำรวจสามารถเข้าตรวจค้นประชาชนบนท้องถนนได้อย่างอิสระ [5]
นกหวีดในการเมืองไทยกับการขับไล่ระบอบทักษิณ(?)กรณีที่เด่นชัดมากที่สุดเกี่ยวกับการใช้นกหวีดประกอบการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เกิดขึ้นในปี 2013 คงหนีไม่พ้นการชุมนุมของกลุ่มประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) หรือ "ม็อบนกหวีด" ที่เริ่มต้นขึ้นจากต่อต้านคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับ "เหมาเข่ง" ที่รัฐบาลเสนอ จึงทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมเริ่มเคลื่อนไหวโดยการเคลื่อนขบวนจากเวทีสามเสนมารวมตัวกันที่ลานอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันจันทร์ที่ 4 พ.ย. จากนั้นก็เริ่มต้นการเป่านกหวีด 1 นาที เมื่อเวลา 12.34 น. ในขณะเดียวกัน ก็มีการชุมนุมคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่ถนนสีลม บริเวณหน้าสีลมคอมเพล็กซ์ โดยผู้ชุมนุมพร้อมใจกันเป่านกหวีด 1 นาที เมื่อเวลา 12.45 น. เช่นกัน โดยมี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรณ์ จาติกวณิช แกนนำพรรคประชาธิปัตย์ เข้าร่วมการชุมนุมพร้อมกับ นายประสาร มฤคพิทักษ์ แกนนำกลุ่ม 40 ส.ว. และ นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำกลุ่มเสื้อหลากสี การเป่านกหวีดยังคงเป็นภาพที่สามารถพบเห็นได้ตลอดการชุมนุมของกลุ่มกปปส. ตลอดเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ทั้งนี้อนุมานได้ว่าการใช้นกหวีดของกลุ่ม กปปส. ก็ยึดถือหลักการแบบเดียวกันกับการใช้นกหวีดของ นายราล์ฟ แนเดอร์ (Ralph Nader) เมื่อปี 1971 กล่าวคือ เป็นการเป่านกหวีดเพื่อต่อต้านคอรัปชั่น ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณใช้เป็นสารัตถะในการนิยามคำว่า "ระบอบทักษิณ" (แม้ว่าในความเป็นจริง นายสุเทพยังไม่เคยอธิบายอย่างเป็นรูปธรรมเลยว่าแท้จริงแล้ว "ระบอบทักษิณ" คืออะไร?) อีกทั้ง การเป่านกหวีด อันเป็นอุปกรณ์ที่เข้าใจกันได้ว่าเป็นของตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น อาจสามารถสะท้อนในมุมกลับได้ว่า เป็นการหยิบเอา "อาวุธ" ที่เป็นของตำรวจหรือผู้ใช้อำนาจรัฐ มาโต้ตอบผู้ใช้อำนาจรัฐนั้นเสียเอง ในอีกมิติหนึ่ง การเป่านกหวีดจึงสามารถตีความได้ว่าเป็นการท้าทายไปที่โครงสร้างอำนาจของรัฐสมัยใหม่เลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการใช้นกหวีดของกลุ่ม กปปส. จะมีความคล้ายคลึงกันกับความหมายของการใช้นกหวีดในปี 1971 ซึ่งถือเป็นปีที่นกหวีดเข้ามาสู่พื้นที่ทางการเมืองอย่างเป็นทางการ หากแต่ เมื่อมองให้ชัดเจนยิ่งขึ้นแล้ว การใช้นกหวีดของกลุ่ม กปปส. อาจหมายความได้ว่า เป็นทั้งการเป่าเพื่อ "หยุด!" อันหมายถึงการต่อต้านคอรัปชั่น และเป่าเพื่อเรียกร้องให้ "ประชาชน" (ซึ่งเสียงส่วนใหญ่ของประเทศ) "จงฟัง!" และหันมามองเห็น "มวลมหาประชาชน" (ซึ่งเป็นเสียงส่วนน้อยของประเทศ) ในเวลาเดียวกัน เสียงก้องกังวาลของนกหวีดจากกลุ่ม กปปส. จึงเป็นเสียงที่มาจากเสียงส่วนน้อยที่ผิดหวังจากระบบการเลือกตั้งในประเทศแต่ในขณะเดียวกันเสียงส่วนน้อยกลุ่มนี้ก็ไม่ต้องการที่จะสูญเสียสถานะหรือตำแหน่งเหนือกว่าของตน (อันหมายถึงการหลุดพ้นจากวงจร "โง่ จน เจ็บ" และรู้เท่าทันคนโกง จึงทำให้พวกตนเป็นคนดี ที่มีฐานะสูงส่งกว่าประชาชนทั่วไป เช่น กลุ่มคนเสื้อแดง กลุ่มผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทย หรือแม้กระทั่งกลุ่ม "ไทยเฉย" เป็นต้น [6]) การเป่านกหวีดของกลุ่ม กปปส. จึงเป็นการตอกย้ำสมาชิกภาพหรือการเป็นส่วนหนึ่งของ "มวลมหาประชาชน" ที่หมายความได้ว่า เป็นประชาที่ไม่ธรรมดา เนื่องด้วยนัยของคำว่า "มวล" และคำว่า "มหา" ซึ่งตีความได้ว่าเป็นประชาชนที่รวมตัวกันเป็นเนื้อเดียวกันและยึดแน่นเป็นมวลเดียวกันอย่างสมบูรณ์ อีกทั้งยังเป็นกลุ่มที่สูงส่ง เหนือกว่า และยิ่งใหญ่ มิใช่ประชาชนธรรมดา ๆ แต่อย่างใด จึงทำให้ "เสียงนกหวีด" ของ กลุ่มกปปส. มีความหมายที่แตกต่างไปจากความหมายดั้งเดิมในปี 1971 หรือความหมายดั้งเดิมที่ใช้ในอารยธรรมโบราณ และวัฒนธรรมชนเผ่า แม้ว่าเวลาจะผ่านมากว่า 1 เดือนแล้ว การชุมนุมของกลุ่ม กปปส. ก็ยังไม่มีทีท่าจะสิ้นเสียงนกหวีด การต่อสู้เพื่อล้มล้าง "ระบอบทักษิณ" ยังคงดำเนินต่อไปและยากที่จะคาดเดาถึงจุดสิ้นสุดได้ ผู้เขียนก็ได้แต่หวังว่า กว่าจะถึงวันนั้น "วันแห่งชัยชนะ" กลุ่มผู้ชุมนุมจะยังคงเป่านกหวีดสุดเสียงโดยไม่เจ็บไข้ได้ป่วยทางกายด้วยเสียงของนกหวีดที่ตนเป่า (เช่น หูอักเสบ) และจะไม่เจ็บไข้ได้ป่วยทางใจจากการเป่านกหวีดที่ยังไม่มีทางรู้ถึงจุดสิ้นสุดของเสียงที่เป่าออกไป... ปรี๊ดดดดดด...
เชิญอรรถ:
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ญาติชายสติไม่ดีแจ้งกองปราบหลัง ‘สุเทพ’ กักตัวกล่าวหาเป็นเขมรเผาม็อบ Posted: 07 Dec 2013 12:29 AM PST หลัง'สุเทพ'โพสต์จับกุม 5 ชาวกัมพูชาเตรียมเผาม็อบ 5 ธ.ค.ที่ผ่านมา ล่าสุดญาติชายในรูปเข้าแจ้งกองปราบ เลขากปปส.กักขังหน่วงเหนี่ยว ยืนยันเป็นคนไทย แต่สติไม่ดีชอบเร่ร่อน หาของกินฟรีตามงานและที่ชุมนุม ภาพญาตินายสมภพเข้าแจ้งความต่อกองปราบ (ภาพโดย สุดชาย บุญไชย ) 7 ธ.ค.2556 หลังจากที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ Suthep Thaugsuban (สุเทพ เทือกสุบรรณ) เมื่อวันที่ 5 ธ.ค.ที่ผ่านมาว่า "เวทีที่ราชดำเนินจับชาวกัมพูชาได้ 5 คน พร้อมแผนที่ชี้จุดตำแหน่งตรงราชดำเนินที่จะให้ก่อเหตุเผาก่อความวุ่นวายในงานวันที่ 5 ธันวาคม 2556 โดยทั้ง 5 คน บอกว่ามีผู้ใหญ่บ้าน ที่จังหวัดปทุมธานีจ้างให้มาเผาและก่อกวนเวทีที่ราชดำเนิน" ในแฟนเพจของนายสุเทพยังโพสต์ภาพผู้ถูกจับกุม 1 ใน 5 คน และมีผู้ใช้เฟซบุ๊ก(เมื่อเวลา 14.00 น. 7 ธ.ค.56) กดไลค์กว่า 80,000 ไลค์ และแชร์ไปกว่า 18,000 ครั้ง นอกจากนี้สื่อหลักอย่าง ไทยรัฐออนไลน์, ASTVผู้จัดการออนไลน์, โพสต์ทูเดย์ดอทคอม, แนวหน้า, Voice TV, Tnews, กระปุกดอทคอม และสนุกออนไลน์ ยังได้นำข้อควมดังกล่าวของนายสุเทพไปรายงานต่อด้วย สร้างกระแสชาตินิยมและวิพากษ์วิจารณ์ชาวเขมรผู้ถูกจับกุมอย่างรุนแรง ภาพที่นายสุเทพอ้างเป็นชาวกัมพูชา 5 คนเตรียมเผาที่ชุมนุมแต่ถูกการ์ด กปปส.จับได้ที่ราชดำเนิน โพสต์เมื่อวันที่ 5 ธ.ค.ที่ผ่านมา เพียงคนเดียวจากจำนวนที่อ้างทั้งหมด 5 คน (ที่มาเฟซบุ๊กแฟนเพจ Suthep Thaugsuban )
ล่าสุด ผู้สื่อข่าวประชาไทตรวจสอบพบผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ "สุดชาย บุญไชย" โพสต์ภาพและข้อความโต้แย้งสิ่งที่นายสุเทพและสื่อนำเสนอว่า ชายคนที่ปรากฏการณ์ในรูปนั้นไม่ใช่คนกัมพูชา แต่เป็นคนไทยชื่อ "สมภพ ขันทอง" มีหลักฐานทะเบียนบ้านชัดเจน เพียงแต่สติไม่สมประกอบ มีแหล่งพักพิงแถวท่าเรือบางกะเจ้า กับท่าเรือวัดคลองเตย นายสุดชาย ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมด้วยว่า เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาเขาพานางระพิน ขันทอง น้าสาวและผู้ปกครองนายสมภพ ขันทอง เข้าแจ้งความกับกองปรากล่าวหานายสุเทพ เลขา กปปส. ในข้อหากังขังหน่วงเหนี่ยว พร้อมระบุด้วยว่ากองปราบรับปากจะประสานกับศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) เพื่อดำเนินการนำตัวนายสมภพออกมาจากที่ชุมนุมของ กปปส. นายสุดชาย กล่าวว่า ทราบข่าวดังกว่าจากไทยรัฐออนไลน์และเฟซบุ๊กแฟนเพจของนายสุเทพ จึงตรวจสอบกับเพื่อนที่เป็นคนดูแลท่าเรือบางกระเจ้าซึ่งเคยพบเห็นชายที่ถูกระบุว่าเป็นชาวกัมพูชาในรูปจึงได้ทราบว่าเป็นคนไทย มีที่อยู่ที่ ต.บางกระเจ้า อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ซึ่งบริเวณนั้นเป็นท่าเรือข้ามฟากระหว่างบางกระเจ้ากับคลองเตย เมื่อทราบข้อมูลแล้วเขาจึงไปตรวจสอบกับครอบครัวของนายสมภพ หรือ "แอน" ตั้งแต่เมื่อวาน แต่เนื่องจากนางระพิน น้าสาวผู้ปกครองนายสมภพไม่อยู่ จึงได้นัดกันในวันนี้เพื่อไปแจ้งความกับกองปราบเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา นายสุดชาย กล่าวว่า การที่หน่วยรักษาความปลอดภัยของนายสุเทพจับนายสมภพไปแล้วอ้างว่าถูกว่าจ้างมาเพื่อวางเพลิง นั้นเป็นความเท็จ เพราะว่านายสมภพใช้เงินไม่เป็น ดังนั้นการอ้างว่าถูกว่างจ้างเพื่อไปวางเพลิงนั้นน่าจะเป็นการแต่งเรื่อง นายสุดชายยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เป็นการนำประเด็นความเป็นคนกัมพูชามาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง เป็นไปเพื่อสร้างกระแสชาตินิยมให้กับฝ่ายที่ต่อต้านรัฐบาลหรือไม่ เพราะประชาชนทั่วไปทราบว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์นี้มีความสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลกัมพูชา นางระพิน น้าสาวของนายสมภพ ให้สัมภาษณ์ว่า บิดาและมารดานายสมภพเสียชีวิตมา 20 กว่าปีแล้ว และนายนายสมภพเป็นคนสติไม่ดี เป็นมาตั้งแต่กำเนิด พูดจาไม่ค่อยรู้เรื่อง ส่วนมากจะใช้การพยักหน้าแทน เออๆ ออๆ ไปกับทุกคน และมักชอบเร่ร่อนไปตามสถานที่ต่างๆ รวมทั้งที่ชุมนุมต่างๆ เพื่อไปรับประทานอาหารฟรี และคาดว่าวันดังกล่าวมีการจัดกิจกรรมเฉลิมพระชนพรรษาที่สนามหลวงนายสมภพก็อาจไปที่นั่นและมาที่ราชดำเนินจนถูกจับกุม "เพื่อนบ้านเห็นในโทรทัศน์แล้ววิ่งมาเรียกว่านั่นไอ้แอนนี่หว่า ถึงตอนนี้ยังไม่ได้ตัวกลับมาเลย ไม่รู้ว่าจะมีคนให้ข้าวให้น้ำหรือเปล่า จะโดนอีกแค่ไหนไม่รู้ เพราะวันที่ออกข่าวทีวีก็เห็นหน้าบวม มันสติไม่สมประกอบ ถ้าถามมันว่าจะมาทำโน่นทำนี่ไหมมันก็พยักหน้าหมดแหละ" นางระพินกล่าว หมายเหตุ ประชาไทเพิ่มเติมเนื้อหาเวลา 18.20 น. ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ใจ อึ๊งภากรณ์: ไว้อาลัย เนลสัน แมนเดลา Posted: 06 Dec 2013 10:57 PM PST
แมนเดลา นำการจับอาวุธต่อสู้กับรัฐเผด็จการของคนผิวขาว และต้องทนทุกข์ทรมานในคุกเป็นเวลา 27 ปี ก่อนที่จะขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีคนแรกของแอฟริกาใต้ที่มาจากการเลือกตั้งในระบบประชาธิปไตย โดยที่คนผิวดำทุกคนได้สิทธิ์เลือกผู้นำของตนเองเป็นครั้งแรกในปี 1994 แมนเดลา เป็นหัวหน้าพรรค African National Congress (ANC) หรือ "พรรคสภาแห่งชาติอัฟริกา" และในปี 1955 พรรค ANC ได้ประกาศ "ธรรมนูญแห่งเสรีภาพ" (Freedom Charter) เพื่อเป็นแนวทางในการต่อสู้ นอกจากธรรมนูญนี้จะระบุว่าพลเมืองทุกคนทุกสีผิวจะต้องมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกันแล้ว ยังระบุว่าพลเมืองทุกคนมีสิทธิ์ในการได้รับการศึกษาฟรีถึงขั้นมัธยม มีสิทธิ์ที่จะมีงานทำและได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรม เกษตรกรต้องมีที่ดินทำกินโดยจะมีการแบ่งที่ดินใหม่อย่างเป็นธรรม เพื่อไม่ให้คนรวยผูกขาดที่ดินของประเทศ มีการระบุว่าทรัพยากรต่างๆ และบริษัทใหญ่จะต้องนำมาเป็นของส่วนรวม และทุกคนจะต้องมีสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพ แต่เกือบ 60 ปีหลังจากการประกาศ "ธรรมนูญแห่งเสรีภาพ" และ 20 ปีหลังจากที่ แมนเดลา ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดี สภาพความเป็นอยู่ของประชาชนส่วนใหญ่ ไม่ได้ตรงกับความหวังที่เคยมีในธรรมนูญดังกล่าว องค์กรสหประชาชาติรายงานว่าเด็ก 1.4 ล้านคนอาศัยในกระท่อมที่ไม่มีน้ำสะอาดดื่ม และ 1.7 เด็กล้านคนต้องอาศัยในบ้านที่ต่ำกว่าคุณภาพเพราะไม่มีที่นอน อุปกรณ์อาบน้ำ หรือเครื่องมือทำอาหาร นอกจากนี้ธนาคารโลกคาดว่าดัชนีจินี (Gini Coefficient) ของแอฟริกาใต้สูงถึง 0.7 ดัชชนีนี้วัดความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยกับคนจนภายในประเทศ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในโลกจะเห็นว่าแอฟริกาใต้อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำสูงที่สุดในโลก (เปรียบเทียบกับไทย 0.4, อินเดีย 0.37, สหรัฐ 0.47, ญี่ปุ่นและอังกฤษ 0.32 และฟินแลนด์ 0.27) ในปี 2009 เมื่อผมมีโอกาสไปเมืองโจฮันเนสเบอร์ก ซึ่งเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมเหมืองทองคำ ผมเห็นบ้านหรูของคนผิวขาวและคนรวยผิวดำที่ล้อมรอบด้วยลวดหนาม ตามรั้วมีป้ายเตือนขโมยว่ามียามติดอาวุธ ในขณะเดียวกันผมเห็นบ้านเล็กๆ จำนวนมาก เสมือนกล่องปูนซิเมน ของคนผิวดำ และที่แย่กว่าคือสลัมที่ไม่มีน้ำสะอาดหรือห้องน้ำ แอฟริกาใต้ถูกคนผิวขาวจากยุโรปบุกรุกและยึดครองมาตั้งแต่สมัยล่าอาณานิคม แต่พอถึงยุค 1880 มีการค้นพบเพชรกับทองคำ บริษัทใหญ่จึงต้องการแรงงานผิวดำราคาถูกเป็นจำนวนมาก สภาพการทำงานของคนงานเหล่านี้ในเหมือนแร่ป่าเถื่อนที่สุด พร้อมกันนั้นมีการใช้ความรุนแรงเพื่อขับไล่คนผิวดำในหมู่บ้านชนบทออกจากที่ดิน และนี่คือที่มาของการก่อตั้งขบวนการแรงงานคนผิวดำในแอฟริกาใต้ ซึ่งเป็นขบวนการทางสังคมที่มีพลัง ต่อมาในปี 1948 มีการออกกฏหมายเพื่อสร้างระบบ "apartheid" เป็นทางการ คนผิวดำถูกบังคับให้อาศัยในสลัมเพื่อมาทำงานให้คนผิวขาวและบริษัทยักษ์ใหญ่ และห้ามใช้บริการต่างๆ ที่คนผิวขาวใช้ สรุปแล้วระบบ "apartheid" ที่แบ่งแยกและกดขี่คนตามสีผิว เป็นส่วนหนึ่งและแยกไม่ออกจากระบบทุนนิยมของแอฟริกาใต้ บริษัทเพชร De Beers บริษัทเหมืองทองคำใหญ่ๆ เช่น Anglo-American รวมถึงบริษัทข้ามชาติอื่นๆ ของประเทศตะวันตก เช่น ICI, GEC, Shell, Pilkington, British Petroleum, Blue Circle and Cadbury Schweppes สามารถกอบโกยกำไรมหาศาลจากระบบนี้ ในขณะที่ผู้นำระดับโลกทุกวันนี้แห่กันไปชมและไว้อาลัย แมนเดลา เราไม่ควรลืมว่าตลอดเวลาที่ แมนเดลา ติดคุก ผู้นำประเทศตะวันตกเกลียดชังและด่าเขาว่าเป็นพวก "ก่อการร้าย" ในปี 1990 แมนเดลา ถูกปล่อยตัว และระบบ "apartheid" เริ่มล่มสลาย เหตุผลหลักมาจากการต่อสู้และการนัดหยุดงานเป็นระยะๆ ของขบวนการแรงงานตั้งแต่ปี 1974 และการต่อสู้ของชุมชนผิวดำ โดยเฉพาะเด็กนักเรียน เช่นในเมือง Soweto ในปี 1976 เพราะการลุกฮือเป็นประจำแบบนี้ทำให้นายทุนใหญ่และชนชั้นปกครองมองว่าต้องรื้อถอนระบบแบ่งแยกด้วยสีผิว เพื่อปกป้องฐานะและกำไรของเขาในระบบทุนนิยม ปัญหาของแนวทางในการต่อสู้ของพรรค ANC และพรรคแนวร่วมหลักคือ "พรรคคอมมิวนิสต์แห่งแอฟริกาใต้" (SACP) คือมีการเน้นการต่อสู้เพื่อปลดชาติจากการผูกขาดของคนผิวขาว ที่เรียกกันว่าการต่อสู้เพื่อ "ประชาชาติประชาธิปไตย" แทนที่จะมองว่าต้องต่อสู้กับระบบการกดขี่สีผิวพร้อมๆกับสู้กับระบบทุนนิยม (ที่ชาวมาร์คซิสต์เรียกว่า "แนวปฏิวัติถาวร") พูดง่ายๆ ANC และ SACP มองว่าการมีรัฐบาลของ แมนเดลา จะทำให้ทุนนิยมแอฟริกาใต้ "น่ารักมากขึ้น" รัฐบาล ANC สัญญามาตั้งแต่แรกว่าจะไม่แตะระบบทุนนิยมและกำไรของบริษัทยักษ์ใหญ่ และบทบาทสำคัญของ SACP คือการคุมขบวนการแรงงานเพื่อไม่ให้ออกมาต่อสู้และ "เรียกร้องอะไรมากเกินไป" จากรัฐบาล ANC มองดูแล้วอดไม่ได้ที่จะนึกถึงรัฐบาลเพื่อไทยและบทบาทแกนนำ นปช. อย่างไรก็ตามตรรกะของการยอมรับระบบทุนนิยม โดยไม่พยายามปะทะ หรือเปลี่ยนระบบ คือการหันไปยอมรับกลไกตลาดเสรี ในปีที่พรรค ANC ขึ้นมาเป็นรัฐบาลมีการตกลงกับองค์กร IMF เพื่อรับแนวทางตัดสวัสดิการและตัดงบประมาณรัฐ และต่อมามีการลดภาษีให้บริษัทใหญ่ และทั้งๆ ที่รัฐบาลตั้งใจจะสร้างบ้านใหม่ให้คนผิวดำจำนวนมาก ในความเป็นจริงโครงการนี้ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร และผลของนโยบายเสรีนิยม คือการที่มีการเพิ่มกำไรและรายได้ให้กับกลุ่มทุนและคนรวยในขณะที่คนส่วนใหญ่ยากจนเหมือนเดิม เพียงแต่ข้อแตกต่างจากยุค "apartheid" คือในหมู่นักธุรกิจและคนรวย มีคนผิวดำที่ใกล้ชิดกับรัฐบาลเข้าไปร่วมกินด้วย หนึ่งในนั้นที่เป็นเศรษฐีใหญ่คืออดีตผู้นำสหภาพแรงงานเหมืองแร่ Cyril Ramaphosa Ronnie Kasrils เพื่อนร่วมสมัยแมนเดลา และสมาชิกระดับสูงของพรรค ANC และพรรค SACP เขียนบทความใน นสพ The Guardian เมื่อปลายเดือนมิถุนายนปีนี้ โดยสารภาพว่าพรรคผิดพลาดมหาศาลที่ยอมถูกกดดันจากกลุ่มทุนใหญ่ จนทิ้งอุดมการณ์เดิมไปหมด เขามองว่ารัฐบาลในสมัยนั้นรวมถึงตัวเขาเอง กลัวคำขู่ของนายทุนมากเกินไป ท่ามกลางสภาพสังคมที่แย่ๆ แบบนี้ ขบวนการชุมชนที่ต่อต้านการแปรรูปสาธารณูปโภคให้เป็นเอกชน และสหภาพแรงงานต่างๆ ก็ไม่ได้นิ่งเฉย มีการต่อสู้กับรัฐบาลและนายทุนอย่างดุเดือด และมีความพยายามของฝ่ายซ้ายบางกลุ่มที่จะตั้งองค์กรที่อิสระจากพรรค ANC และพรรคคอมมิวนิสต์ ล่าสุดการลุกฮือของคนงานเหมืองแร่ที่ Marikana ซึ่งถูกตำรวจปราบแบบนองเลือด แสดงให้เห็นว่าคนงานพยายามจัดตั้งสหภาพแรงงานใหม่ที่ไม่ได้ถูกครอบงำโดยรัฐบาล นอกจากนี้ภาพตำรวจกราดยิงคนงานที่ไร้อาวุธ อย่างที่รัฐบาลเผด็จการของคนผิวขาวเคยทำ กระตุ้นให้คนจำนวนมากเริ่มมองว่าการล้ม "apartheid" ไม่ได้เปลี่ยนอะไรไปมากนัก และมวลชนยังมีภาระที่จะต่อสู้ต่อไป ผมจะไว้อาลัย เนลสัน แมนเดลา ทั้งๆ ที่แนวการต่อสู้ของเขาทำให้ความหวังของ "ธรรมนูญแห่งเสรีภาพ" ยังไม่เกิด เพราะอย่างน้อยเขาเป็นผู้นำที่เสียสละอดทนเพื่อสู้กับระบบ "apartheid" และเขาเป็นผู้นำที่ดุจเสมือน "พ่อ" ที่น่าเคารพจริงคนหนึ่งของโลกสำหรับฝ่ายซ้ายรุ่นผม พวกเราเคยร่วมรณรงค์ต่อต้าน"apartheid" ในระดับสากลมาหลายปี และตอนเด็กๆ ผมจำได้ว่าคุณแม่ก็ไม่ยอมซื้อสินค้าจากแอฟริกาใต้ แต่ผมจะไม่ลืมว่าการล้ม "apartheid" อาศัยการต่อสู้เสียสละของมวลชนคนงานและเด็กนักศึกษาจำนวนมาก และภาระในการต่อสู้ยังไม่จบ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 06 Dec 2013 10:35 PM PST |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น