โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

'เพจสุเทพ' แพร่ภาพเด็กนักเรียนแสดงความชื่นชอบและขอจับมือ

Posted: 20 Dec 2013 12:16 PM PST

เพจ 'สุเทพ เทือกสุบรรณ' โพสต์รูปเด็กๆ เข้ามาจับมือ ทักทาย และขอถ่ายรูประหว่างเคลื่อนขบวนรอบกรุงเป็นวันที่ 2 ผ่านสีลม-เยาวราช โดยปราศรัยในช่วงค่ำแสดงความมั่นใจ 22 ธ.ค. จะมีคนชุมนุมมากเป็นประวัติศาสตร์ และเตือนนายกรัฐมนตรีหากยืนยันจัดเลือกตั้ง เท่ากับท้าทายประชาชน และจะได้เห็นฤทธิ์ประชาชน

เพจสุเทพ เทือกสุบรรณ เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. มีการเผยแพร่ภาพเด็กนักเรียนจำนวนมากเข้ามาขอจับมือและระบุข้อความว่า "เด็กๆ กับลุงกำนัน" (ที่มาของภาพ: เพจ Suthep Thaugsuban (สุเทพ เทือกสุบรรณ))

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การเคลื่อนขบวนชุมนุมของสุเทพ เทือกสุบรรณ เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2556 ผ่านย่านสีลม เยาวราช (ที่มาของภาพ: เพจเวทีราชดำเนิน)

 

21 ธ.ค. 2556 - ภายหลังจากที่เมื่อวานนี้ (20 ธ.ค.) กปปส. นำโดยสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. นำผู้ชุมนุมเดินขบวนรอบกรุงเทพฯ เป็นวันที่สองผ่านย่านสีลม และเยาวราชเพื่อเชิญชวนประชาชนมาร่วมชุมนุมใหญ่ 22 ธ.ค. 56 เมื่อช่วงกลางวันนี้ โดยมีประชาชนออกมาให้การต้อนรับเป็นจำนวนมาก รวมทั้งในเพจสุเทพ เทือกสุบรรณ มีการเผยแพร่ภาพเด็กนักเรียนจำนวนมากเข้ามาขอจับมือและระบุข้อความว่า "เด็กๆ กับลุงกำนัน" นั้น

ล่าสุดหลังการเดินขบวน เมื่อเวลา 22.00 น. ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สุเทพได้ปราศรัยว่า เดิน 10 ชั่วโมงวันนี้ ไม่เหนื่อยเลย ไม่เมื่อยขาเลย แต่ปวดไหล่เพราะรับเงินมาก ที่ไม่เหนื่อยเพราะเห็นหัวใจของคนไทยทุกระดับชั้น พี่น้องมอเตอร์ไซค์ออกมาเชียร์เราอย่างเปิดเผยและยืนหยัดสู้กับพวกเรา ซึ่งไม่เคยคาดมาก่อน ร้านค้าขาย ห้องแถว เจ้าของร้าน ลูกจ้าง ออกมายืนนอกร้านหมด เป่านกหวีดกันใหญ่ คนแก่ก็ออกมาเป่านกหวีด ผ่านชุมชนไหนก็มีตัวแทน คณะกรรมการชุมชนออกมายืนให้กำลังใจเราทุกถนนที่เราผ่าน ผ่านร้านอาหาร รถเข็น คนขาย เจ้าของร้านออกมาขอจับไม้จับมือให้กำลังใจ อย่างนี้เหนื่อยไม่ได้ ต้องขอบคุณอย่างเดียว

ส่วนเงินที่บริจาคใส่ถุง เราก็ไม่นึกว่าจะมีคนให้เงินเรามาก ตอนแรกใส่กระเป๋า หนักเข้ากระเป๋าเต็ม ก็เปลี่ยนเอาถุงขยะใส่ เดินไปก็มีคนเอาถุงให้ เปลี่ยนไม่รู้กี่ถุง ในชีวิตไม่เคยมีใครให้เงินเยอะอย่างนี้มาก่อน นี่เป็นความดีของธาริต เพ็งดิษฐ์ ที่อายัดบัญชีของพวกเรา ประชาชนเขาก็กลัวคนที่ราชดำเนินจะอดข้าว คาดคร่าวๆ ว่าประมาณ 7 ล้านเศษ ผมเรียนจริงๆ ว่าไปเดินมาวันนี้ ผ่านสีลมไม่ได้มีใครทำงาน ลงมาอยู่บนถนนหมด เดินไม่ได้ ขยับไม่ได้เลย เดี๋ยวซ้ายเรียก เดี๋ยวขวาเรียก ได้ยินเสียงที่พี่น้องพูดใครก็ไม่เหนื่อย จริงจัง จริงใจ ทุกคนพูดเหมือนกันว่ากำนันสุเทพสู้เขา และเราจะร่วมต่อสู้ด้วย วันที่ 22 ธ.ค. นี้จะไปกันหมดทุกคน แล้วบอกเป็นคำมั่นเลยว่าจะร่วมต่อสู้กับมวลมหาประชาชนจนขจัดระบอบทักษิณหมดสิ้นจากแผ่นดินไทย

"พี่น้องกรุงเทพฯ ตื่นตัว แสดงออกถึงความรักชาติ รักแผ่นดิน มุ่งมั่น เปิดเผย ไม่มีใครถามผมเลยว่าเมื่อไหร่จะจบ บอกแต่ว่าให้สู้ให้ชนะ อย่ายอมแพ้ จำนวนมากบอกว่าพี่น้องประชาชนทุ่มเทใจให้กำนัน อย่าทำให้ประชาชนผิดหวัง อย่าถอย อย่าทิ้งประชาชน สู้ให้ถึงที่สุด ผมได้ยินได้ฟังแล้วก็ตั้งใจเลยว่าไม่ว่าจะเป็นจะตายอย่างไรเที่ยวนี้ต้องสู้ให้ถึงที่สุด ไม่ให้ผิดหวัง ไม่มีวันที่จะแยกทางจากพี่น้องประชาชนอีกแล้ว และขออนุญาตกราบขอบพระคุณพี่น้องทุกถนนที่เดินผ่านที่ออกมาเป็นกำลังใจ และขอบพระคุณเป็นพิเศษ พี่น้องที่สีลม และเยาวราชที่ต้อนรับด้วยความอบอุ่น ด้วยน้ำใจไมตรี จะไม่มีวันลืมเลยทั้งชาติ ขอกราบขอบพระคุณจริงๆ"

โดยสุเทพระบุด้วยว่ามั่นใจว่ายิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีจะไม่สามารถอยู่ประเทศไทยได้ เพราะไม่ว่าจะไปร้านอาหารไหนก็เห็นแต่นกหวีด

ส่วนกรณีที่นายกรัฐมนตรีแถลงข่าวไม่ลาออก และจะจัดเลือกตั้ง 2 ก.พ. นั้น สุเทพกล่าวว่าก็เชิญอยู่ต่อไป จนกระทั่งคนไทยลุกขึ้นไล่ทุกคน แล้วก็ออกมาพูดว่าเลื่อนเลือกตั้งไม่ได้ "ไม่ต้องเลื่อน เดี๋ยวจะจัดการเอง เชิญเลือกตั้งต่อไปแล้วจะเห็นฤทธิ์ประชาชน ถ้าอยากจะเดินทางนรกก็จะได้พบกับฤทธิ์เดชของประชาชนว่ามันขนาดไหน ผมเห็นเลยว่าเขาตั้งใจท้าทายประชาชนทั้งประเทศ ก็ขอให้ประชาชนทั้งประเทศรับคำท้าและจัดการให้เขารู้ จะได้รู้ฤทธิ์ประชาชนซะที ไม่อย่างนั้นก็จะอวดดีไม่สิ้นสุด และทำคราวนี้ทำเต็มที่จะได้ไม่มีทรราชรายไหนมาทำให้ช้ำใจกันได้อีกแล้ว ผมเชื่อแน่นอนว่าเราชนะอย่างเดียว ไม่มีเสมอด้วยซ้ำไป อย่าพูดถึงแพ้เลย"

"และเรียนกับพี่น้องว่าไม่มีการต่อรองกับระบอบทักษิณอีกต่อไป ไม่ขอร้อง ไม่ต้องไปบอกว่าออกเสียเถอะ อยากจะอยู่ก็อยู่ไป อยู่จนกว่าไม่มีแผ่นดินอยุ่นั่นแหละ และพี่น้องระวังให้ดีว่ามันจะมาใหม่ บอกว่าคนไทยจะปฏิรูปประเทศใช่ไหม เมื่อสิ้นหนทางจัดเลือกตั้งไม่ได้ ก็จะมาเสนอว่าให้เราตั้งสภาปฏิรูป ไม่ต้องมาตั้งให้พวกเรา เราตั้งของเราเอง ขอให้เราตั้งเข็มทิศให้แน่วแน่ว่าทิศทางการต่อสู้ของเราเป็นแนวนี้ตลอดไป จนกว่าจะชนะ ไม่มีเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น เชื่อว่าภาพการต่อสู้ของพลเมืองดีอย่างพวกเราจะทำให้พี่น้องประชาชนที่เขาอยู่เฉยๆ อยู่ ลังเลอยู่จะมีความเข้าใจในวิถีทางการต่อสู้ของเรามากขึ้นทุกวัน เชื่อว่าทุกครั้่งที่เราระดมเพื่อแสดงพลังครั้งใหญ่แต่ละครั้งจะมีคนเพิ่มขึ้นและเพิ่มขึ้นทุกครั้ง"

ทั้งนี้สุเทพกล่าวว่า ในการเดินขบวนวันนี้ มีพนักงานลูกจ้างร้านอาหาร พนักงานห้างร้าน ซึ่งเป็นคนต่างจังหวัดจากภาคต่างๆ มาต้อนรับคณะเดินขบวน และร่วมบริจาคค่าอาหาร และเชื่อว่าผู้ที่อยู่ต่างจังหวัดเหล่านี้จะโทรศัพท์ไปเล่าให้พ่อแม่พี่น้องที่อยู่ต่างจังหวัดฟัง และแม้แต่คนเสื้อแดงต่างจังหวัดก็จะได้รับการบอกเล่าจากลูกหลาน เชื่อว่าคนเสื้อแดงในต่างจังหวัดจะมาร่วมกับ กปปส. "เชื่อผมเถอะ เพราะผมเห็นสายตาด้วยตัวของผมเอง กราบเรียนไปถึงชาวต่างจังหวัดที่มาทำงานในกรุงเทพฯอย่ารอนาน รีบโทรศัพท์บอกพ่อแม่ที่ต่างจังหวัดว่าการต่อสู้ของมวลมหาประชาชนทำเพื่อทุกคนไม่แยกสี ไม่แยกฝ่าย"

สุเทพปราศรัยทิ้งท้ายว่าการชุมนุมวันที่ 22 ธ.ค. นี้จะมีประชาชนมาชุมนุมมากเป็นประวัติศาสตร์ และจะมากกว่าวันที่ 9 ธ.ค.

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ไทม์' ยกช่างภาพเอพีในเกาหลีเหนือ 'ช่างภาพอินสตาแกรมแห่งปี'

Posted: 20 Dec 2013 10:44 AM PST

21 ธ.ค.2556 นิตยสารไทม์ มอบตำแหน่งช่างภาพอินสตาแกรมแห่งปี ให้กับ เดวิด กัตเตนเฟลเดอร์ หัวหน้าช่างภาพประจำภูมิภาคเอเชียของสำนักข่าวเอพี ผู้ถ่ายทอดภาพจากเกาหลีเหนือ ลงในอินสตาแกรม dguttenfelder

อินสตาแกรมของกัตเตนเฟลเดอร์ มีภาพทั้งสิ้น 804 ภาพ มีผู้ติดตาม 244,489 ราย (สำรวจเมื่อ 21 ธ.ค.)

กัตเตนเฟลเดอร์ เป็นช่างภาพ-นักข่าว ซึ่งเคยได้รับรางวัลในการประกวดภาพถ่ายสื่อมวลชนโลก (World Press Photo Awards) มาแล้ว 7 ครั้ง เขาทำงานให้กับสำนักข่าวเอพี โดยเดินทางไปทำข่าวสงคราม การเลือกตั้งและภัยธรรมชาติกว่า 75 ประเทศทั่วโลก เขาเป็นหนึ่งในช่างภาพต่างชาติกลุ่มแรกที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในเกาหลีเหนือ ซึ่งไทม์บรรยายว่าเป็นประเทศปิด ที่มีภาพที่โดดเด่นที่คนจะนึกถึงเป็นการจัดแสดงแนวโฆษณาชวนเชื่อยิ่งใหญ่อลังการแบบสตาลินนิสต์ เช่น การแสดง Mass Games (การแสดงที่เน้นผู้แสดงจำนวนมากๆ มีทั้งการเต้นรำ แปรอักษรและยิมนาสติก) โดยภาพเหล่านี้สะท้อนถึงความเป็นชาติของผู้คนที่มีเลือดเนื้อน้อยกว่าภาพของระบอบเผด็จการที่เต็มไปด้วยตำนานและการบูชาตระกูลคิมผู้ปกครอง

ไทม์ระบุว่า ผู้ดูแลของรัฐบาลนั้นตามกัตเตนเฟลเดอร์ไปทุกที่ แต่การปรากฏตัวของเขาในเกาหลีเหนือเท่ากับเป็นการยอมให้มีมุมมองที่แตกต่างออกไป "ไม่มีใครรู้อะไรเกี่ยวกับเกาหลีเหนือ และไม่รู้ว่ามันเป็นอย่างไร" กัตเตนเฟลเดอร์ให้สัมภาษณ์นิตยสารไทม์ผ่านสไกป์จากโรงแรมในกรุงเปียงยาง "ผมรู้สึกเหมือนว่านี่เป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่และความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ด้วย"

อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่สิ่งที่เขาทำในเกาหลีเหนือส่วนใหญ่เกิดจากการแนะนำโดยไกด์ของรัฐ เขาแสดงความเห็นว่า ประเทศนี้ไม่ใช่ที่ที่จะช่างภาพ-นักข่าวจะผลิตสิ่งที่เรียกว่า "ภาพที่ดี" ได้ง่ายๆ ในทางกลับกัน เขามองว่า มันเหมือนเป็นผลรวมของส่วนต่างๆ

"เมื่อคุณเติมชิ้นส่วนเพิ่มเข้าไป บางอย่างที่น่าสนใจก็บังเกิดขึ้น" เขากล่าวและว่าภาพที่ถ่ายนั้นเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ ของปริศนาซึ่งเขากำลังรวมมันเข้าด้วยกัน

 












เรียบเรียงจาก David Guttenfelder Is TIME's Pick for Instagram Photographer of the Year 
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

การใช้สิทธิชุมนุมประท้วงบริเวณสถานทูตสหรัฐอเมริกากับความคุ้มกันทางการทูต

Posted: 20 Dec 2013 09:08 AM PST

การที่มีผู้ชุมประท้วงได้กล่าวโจมตีเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยที่บริเวณสถานทูตสหรัฐอเมริกา ถนนวิทยุนั้น มีข้อสังเกตดังนี้

ประการแรก ในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยนั้น การแสดงความคิดเห็นทางการเมือง การชุมนุมสาธารณะหรือการเดินขบวนประท้วงเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพที่กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองและกฎหมายรัฐธรรมนูญรับรองไว้ สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุมประท้วงเป็นสิทธิเสรีภาพที่สำคัญของระบอบประชาธิปไตย อย่างไรก็ดี สิทธิเสรีภาพดังกล่าวเป็นสิทธิที่อาจถูกจำกัดได้ตามกฎหมาย กล่าวอีกนัยหนึ่งสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุมประท้วงไม่ใช่สิทธิเด็ดขาด (absolute right) ที่รัฐไม่อาจจำกัดได้เลย แต่เนื่องจากขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะ (รวมถึงการเดินประท้วง) มีเพียงบทบัญญัติกว้างๆในรัฐธรรมนูญที่รับรอง "เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ" เท่านั้น แต่ไม่มีกฎเกณฑ์รายละเอียดเกี่ยวกับกรอบกติกาของการชุมนุมเลย ที่ผ่านมาเราจึงเห็นผู้ชุมนุมเข้าไปใน "สนามบิน"  "สถานที่ทำการของหน่วยราชการ"  "สี่แยกต่างๆในกรุงเทพ" และล่าสุดคือ "บริเวณสถานทูต" คำถามมีว่า สังคมไทยจะปล่อยให้ผู้ชุมนุมอ้างคำว่า "ชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ" แล้วก็ "เข้าไป" สถานที่สำคัญต่างๆหรือแม้ไม่เข้าไปก็ชุมนุมบริเวณรอบๆสถานที่ทำการต่างๆ อันจะก่อให้เกิดการกีดขวางต่อการปฏิบัติหน้าที่หรือก่อความวุ่นวายต่อไปหรือ

ประการที่สอง แม้การชุมนุมปราศรัยของผู้ประท้วงจะยังมิได้ "เข้าไป" ในสถานทูตสหรัฐอเมริกาก็ตามแต่การชุมนุมปราสัยโจมตีบริเวณรอบๆสถานทูตผ่านลำโพงก็อาจเข้าข่ายเป็น "การรบกวนใดๆต่อความสงบสุขของคณะผู้แทน" ได้ โดยปกติแล้ว การประท้วงชุมนุมบริเวณสถานทูตเป็นเรื่องปกติที่สังคมประชาธิปไตยทำกัน ซึ่งมักจะอยู่ในรูปของการชูป้ายประท้วง การใช้โทรโข่งวิพากษ์วิจารณ์ ฯลฯ แต่การประชุมที่มีลักษณะเป็นการขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ หรือเป็นการรบกวน หรือการปราศรัยที่ใช้ถ้อยคำรุนแรงเป็นสิ่งต้องห้าม ประเทศไทยในฐานะรัฐผู้รับ (Receiving state) มีหน้าที่จะต้องให้ความคุ้มครองป้องกันมิให้มีการรบกวนใดๆอันเป็นการขัดต่อความสงบสุขหรือเป็นการทำให้เสื่อมเสียเกียรติของคณะผู้แทนอันเป็นการละเมิดข้อบทที่ 22 (2) ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ค.ศ. 1961 นอกจากนี้ กฎหมายภายในบางประเทศให้ความสำคัญกับการคุ้มครองสถานทูตเป็นพิเศษ กฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะของบางประเทศอย่าง ประเทศเนเธอร์แลนด์ ห้ามมิให้มีการชุมนุมบริเวณศาลโลก สถานทูต และสถานกงสุล อันมีลักษณะเป็นการขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่[1] ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ออก  Joint Resolution ในปี 1938 ห้ามมิให้มีการชุมนุมบริเวณสถานทูตต่างประเทศของรัฐผู้ส่งภายในรัศมี 500 ฟุต[2] ส่วนประเทศออสเตรเลียได้ออกกฎหมายชื่อว่า " The Public Order (Protection of Persons and Property) Act 1971 โดยในหมวดที่ 3 ของกฎหมายนี้ได้กำหนดกฎเกณฑ์รายละเอียดเกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะบริเวณสถานทูตและสถานกงสุลไว้อย่างละเอียดไมว่าจะเป็นเรื่องของการห้ามการชุมนุมบริเวณสถานทูตและสถานกงสุลอันอาจจะก่อให้เกิดความรุนแรงหรือความเสียหายได้ การบัญญัติความผิดทางอาญาเกี่ยวกับการทำร้าย การก่อกวน หรือการขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของคณะผู้แทนทางการทูตรวมทั้งการรับรองการสลายการชุมนุม (Dispersal of assemblies) ด้วย

ประการที่สาม การที่ผู้ชุมนุมปราศัยโจมตีเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย อย่างรุนแรงนั้น ประเทศไทยในฐานะรัฐผู้รับ (Receiving state) มีพันธกรณีที่จะต้องดำเนินการตามความเหมาะสมที่จะต้องปกป้องเกียรติของตัวแทนทางทูตตามข้อบทที่ 29 แห่งอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ค.ศ. 1961 ที่รับรองหลัก "ความละเมิดมิได้ในตัวบุคคล" (Personal Inviolability) โดยตามกฎหมายระหว่างประเทศ เอกอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มถือว่าเป็น "ตัวแทนของรัฐผู้ส่ง" และรัฐผู้รับจะต้องปฏิบัติต่อเอกอัครราชทูต (รวมทั้งคณะผู้แทนทางทูต) อย่างสมเกียรติด้วย นอกจากนี้ ประมวลกฎหมายอาญาของไทย ยังมีบทบัญญัติคุ้มครองเกียรติยศของผู้แทนของรัฐต่างประเทศเป็นการเฉพาะอีกด้วย โดยประมวลกฎหมายอาญา หมวด 4 ว่าด้วยความผิดต่อสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ มาตรา 134 บัญญัติว่า "ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายผู้แทนรัฐต่างประเทศซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มาสู่พระราชสำนัก ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปีหรือปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ"[3]

ประการสุดท้าย สำหรับประเด็นเรื่องการแทรกแซงกิจการภายในของรัฐผู้รับนั้น ตามอนุสัญญากรุงเวียนนาข้อบทที่ 41 บัญญัติว่าตัวแทนทางทูตมีหน้าที่ที่จะไม่แทรกแซงหรือยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของรัฐผู้รับ ประเด็นก็คือ อนุสัญญานี้ไม่ได้ให้คำนิยามว่า "กิจการภายใน" มีความหมายแคบกว้างเพียงใด  ตัวอย่างที่น่าสนใจในอดีตคือ กรณีที่รัฐบาลสิงคโปร์เคยขับเลขานุการเอก (First Secretary) ของประเทศสหรัฐอเมริกาประจำประเทศสิงคโปร์ออกจากประเทศ (ภาษาทางการทูตเรียกว่า การประกาศให้เป็นบุคคลที่ไม่พึงปรารถนา หรือ persona non grata) เมื่อช่วงเดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ. 1988 ซึ่งเป็นที่รู้จักในนามว่า "Hendrickson affair" โดยรัฐบาลสิงคโปร์เห็นว่า เลขานุการเอกท่านนี้เกี่ยวข้องกับการจัดตัวผู้รับสมัครเลือกตั้งของประเทศสิงคโปร์[4] แต่การแสดงความเห็นในเชิงสนับสนุนให้มีการเลือกตั้งตามวิถีทางระบอบประชาธิปไตยไม่ถือว่าเป็นการแทรกแซงกิจการภายในของรัฐผู้รับ

บทส่งท้าย

ประเทศไทยในฐานะ "รัฐผู้รับ" มีหน้าที่พิเศษที่จะต้องปกป้องคุ้มครอง "สถานทูตสหรัฐอเมริกา" (รวมถึงที่พักส่วนตัวของคณะผู้แทนทางทูต) และเกียรติยศของตัวแทนทางทูตของประเทศสหรัฐอเมริกาในฐานะรัฐผู้ส่ง (Sending State) มิให้มีการละเมิดได้ อันเป็นพันธกรณีที่ประเทศไทยในฐานะรัฐภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ค.ศ. 1961 จะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด




[1] PUBLIC ASSEMBLIES ACT 1988, Section 9

[2] Eileen Denza, Diplomatic Law, (USA: Clarendon Press, 1998), p. 115

[3] นอกจากนี้โปรดูฎีกาที่ 785/2501 ซึ่งศาลฎีกาได้ตัดสินความผิดฐานหมิ่นประมาทเอกอัครราชทูตต่างประเทศว่าเป็นความผิดตามาตรา 134 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

[4] ดู Eileen Denza, หน้า 377 Eileen Denza ได้อ้างนิตยสาร Time ลงวันที่  24 พฤษภาคม 1988

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์: เลี่ยงสงครามกลางเมืองด้วยการเลือกตั้ง

Posted: 20 Dec 2013 08:56 AM PST

การรุกครั้งล่าสุดของพวกเผด็จการที่กระทำต่อรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ดูจากภายนอกแล้ว ก็ยังคงดำเนินไปตาม "สูตรเดิม" คือ มีกองหน้าประกอบด้วยกลุ่มพันธมิตรเสื้อเหลือง ซึ่งคราวนี้ได้ผัดหน้าทาแป้งใหม่เป็น "คณะกรรมการประชาชนเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข" (กปปส.) และเปลี่ยนตัวผู้นำขบวนมาเป็นนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตแกนนำพรรคประชาธิปัตย์

ส่วนแนวรบในสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ได้สั่ง สส.ทั้งหมดของตนลาออกเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2556 เพี่อตัดหนทางมิให้พรรคเพื่อไทยสามารถใช้กลไกทางสภาได้ รวมทั้งเป็นการกดดันให้นายกรัฐมนตรียอมยุบสภา

ตระกูลชินวัตรและแกนนำพรรคเพื่อไทยยังคงเดินแนวทางประนีประนอมกับพวกจารีตนิยม แม้จะตระหนักดีว่า ศึกครั้งนี้ ฝ่ายจารีตนิยมหมายมุ่งถึงขั้นทำลายตระกูลชินวัตรและพรรคเพื่อไทย แต่เมื่อได้รับ "คำสัญญา" ว่า จะให้มีการเลือกตั้งอย่างแน่นอน นายกรัฐมนตรีก็ได้ยอมต่อแรงกดดัน ประกาศยุบสภา กลายเป็นรัฐบาลรักษาการที่ไม่มีรัฐสภาและไร้อำนาจบริหาร รอความหวังแต่เพียงว่า พวกจารีตนิยมจะรักษาคำมั่นสัญญา และหวังว่า แรงกดดันจากนานาชาติจะทำให้ฝ่ายเผด็จการยอมให้มีการเลือกตั้งในที่สุด

นาทีนี้ จึงเหลือแต่จังหวะเวลาที่ฝ่ายจารีตนิยมจะใช้ตุลาการ ปปช. และท้ายสุดคือ แรงกดดันจากกองทัพ เพื่อจัดการกับตระกูลชินวัตรและพรรคเพื่อไทยเป็นขั้นสุดท้ายเท่านั้น

การรุกครั้งล่าสุดของพวกจารีตนิยมแม้จะดำเนินตาม "สูตรเดิม" เหมือนปี 2549 ที่โค่นล้มรัฐบาลพรรคไทยรักไทย และปี 2551 ที่โค่นล้มรัฐบาลพรรคพลังประชาชน แต่ในครั้งนี้ ก็มีลักษณะพิเศษกว่าสองครั้งแรกอย่างเห็นได้ชัด

ประการแรก การรุกครั้งนี้มีลักษณะปฏิกิริยาถอยหลังอย่างชัดเจน มุ่งที่จะล้มเลิกการเมืองแบบเลือกตั้ง นี่เป็นการเปลี่ยนไปจากแนวทางเดิมที่พวกจารีตนิยมเคยใช้มาตั้งแต่รัฐประหาร 2549 ซึ่งในเวลานั้น พวกเขายังต้องการใช้เปลือกนอกของระบบรัฐสภาภายใต้รัฐธรรมนูญ 2550 มาเคลือบคลุมเนื้อในที่เป็นเผด็จการของตนไว้ แต่การเลือกตั้งทั่วไปปี 2550 และ 2554 พิสูจน์ว่า ทั้งรัฐธรรมนูญ 2550 และกลไกตุลาการอันบิดเบี้ยวที่พวกเขาบรรจงสร้างขึ้น ก็ยังไม่ช่วยให้สามารถเอาชนะพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรในสนามเลือกตั้ง แล้วจัดตั้งรัฐบาลที่เป็นหุ่นเชิดของพวกเขาได้ แต่กลับได้มาซึ่งรัฐบาลพรรคพลังประชาชนและรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ซึ่งสามารถฉวยใช้กลไกของรัฐธรรมนูญ 2550 มาแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อบ่อนเซาะอำนาจของพวกเขาอีกด้วย

นัยหนึ่ง รัฐธรรมนูญ 2550 ได้กลายเป็น "หอกทมิฬแทงทมิฬ" สำหรับพวกจารีตนิยมไปเสียแล้ว! การเคลื่อนไหวของเผด็จการในวันนี้จึงมีเป้าหมายที่อยู่นอกกรอบของรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่งก็คือ แทนที่สภาผู้แทนฯและรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งด้วยฝ่ายนิติบัญญัติและรัฐบาลที่แต่งตั้งโดยพวกจารีตนิยม!

ประการที่สอง การรุกของพวกต่อต้านประชาธิปไตยครั้งนี้ได้เผยธาตุแท้ที่เป็นเผด็จการล้าหลังออกมาจนหมดสิ้น สะท้อนออกมาเป็นการเคลื่อนไหวของ กปปส. ที่ชูธงนำทางความคิดว่าด้วย "สภาประชาชน" และ "นายกฯคนกลาง" ที่ถูกนำเสนอออกมาอย่างเป็นเอกภาพพร้อมกันถึง 4 กลุ่มคือ กปปส. กลุ่มอธิการบดีมหาวิทยาลัย กลุ่มนักวิชาการที่นิยมกษัตริย์และนิยมทหาร แล้วโหมกระพือให้เป็นกระแสสังคมคนชั้นกลางด้วยสื่อมวลชนกระแสหลักที่เลือกข้างเผด็จการ

ทั้งหมดนี้ได้รวบยอดขึ้นเป็นวาทกรรม "ปฏิรูปประเทศไทย" ปลุกปลั่นกระแสปฏิเสธการเลือกตั้ง เรียกร้องให้ "ปฏิรูปก่อน เลือกตั้งทีหลัง" ไม่เอาการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 โดยอ้างว่า ถ้าไม่ "ปฏิรูป" แล้วรีบเลือกตั้ง "ระบอบทักษิณ" ก็จะหวนกลับมาเถลิงอำนาจอีกอยู่ดี ฉะนั้น จึงต้อง "ปฏิรูปก่อน" ซึ่งก็คือ ฉีกรัฐธรรมนูญ 2550 ทำลายตระกูลชินวัตรและพรรคเพื่อไทย ปราบปรามประชาชนฝ่ายประชาธิปไตยให้หมดสิ้นก่อน แล้วปกครองด้วยเผด็จการอย่างเปิดเผยอยู่ระยะหนึ่ง ก่อนที่จะหวนคืนสู่ระบบการเมืองแบบเลือกตั้งอีกครั้ง

การโหมกระแส "ปฏิรูปก่อน เลือกตั้งทีหลัง" จึงเป็นยุทธวิธีที่มุ่งขัดขวางไม่ให้มีเลือกตั้ง และเปิดช่องให้ใช้วิธีการนอกรัฐธรรมนูญโดยผ่านตุลาการและทหาร เพื่อนำเอาระบอบเผด็จการเข้ามานั่นเอง

ประการที่สาม ในการรุกของพวกจารีตนิยมครั้งนี้ ดารานักร้องนักแสดง นักเคลื่อนไหวเอ็นจีโอ นักวิชาการ ผู้บริหารมหาวิทยาลัย ปัญญาชนทุกแขนง สื่อมวลชนกระแสหลัก ล้วนได้เผยระบบความคิดที่เป็นอุดมการศักดินานิยมออกมาอย่างหมดเปลือก ซึ่งก็คือ ความคิดพื้นฐานที่ว่า "คนเราเกิดมา ไม่เท่ากัน" มีชนชั้นศักดินาที่ "เหนือคน เหนือเทวดา" ผูกขาดทั้งอำนาจ โภคทรัพย์ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมชั้นสูง กับชนชั้นไพร่ที่ "ต่ำชั้นกว่า" ทั้งโภคทรัพย์ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม ความคิดนี้ยังคงฝังรากลึกอยู่ในหมู่ผู้ปกครองไทย และได้ถูกมอมเมา แพร่ระบาดไปยังชนชั้นกลางในเมืองที่เป็นหางเครื่องศักดินาในปัจจุบัน

ก่อนหน้านี้ ความคิดศักดินาดังกล่าวถูกแสดงออกโดยดารานักแสดงนักร้องตัวตลกที่ปราศจากสมองมนุษย์ ซึ่งผรุสวาทออกมาแล้วก็เป็นที่สมเพชของสังคม แต่ในการรุกครั้งล่าสุด ชนชั้นกลางในเมืองจำนวนหนึ่งได้ประสานเสียงร่วมกันแพร่ความคิดดังกล่าวออกมาอย่างเป็นระบบ ในรูป "คนชนบทนั้นโง่และไร้การศึกษา ไม่ควรมีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง คนเหนือ-อีสาน ลาวนั้นโง่ เลว ซื้อสิทธิ์ขายเสียง" ไปถึงขนาดผู้บริหารมหาวิทยาลัยและนักวิชาการใหญ่ที่นิยมกษัตริย์-นิยมทหารเอาความคิดดังกล่าวมาวิเคราะห์ ปั้นแต่งอุปโลกน์ให้เป็น "ข้อคิดทางวิชาการ" อภิปรายกันเป็นคุ้งเป็นแควบนเวทีเสวนาในหอประชุมอันทรงเกียรติ์

ผู้บริหารมหาวิทยาลัย นักวิชาการ และชนชั้นกลางในเมืองที่ช่วยกันสำแดงความคิดดังกล่าวออกมานั้น ลืมรากเหง้ากำพืดของตัวเองเสียสิ้นว่า ถ้าย้อนหลังเวลาไปสักร้อยหรือสองร้อยปี ต้นตระกูลของคนพวกนี้ ทั้งปู่ย่าตายายและพ่อแม่ ก็ล้วนเป็นไพร่เลกไร้ศึกษา ถูกสักข้อมือ ขูดรีดเกณฑ์แรงงานโดยพวกศักดินาด้วยกันทั้งสิ้น แม้แต่คนชั้นกลางกรุงเทพฯที่มีเชื้อสายจีนและมีการศึกษาสูงในวันนี้ ก็สืบมาจากไพร่ชาวนาที่ยากจนบนแผ่นดินจีน จากกรรมกรจับกังทำงานแบกหามตามโกดังและโรงสีริมแม่น้ำเจ้าพระยา หรือคนจีนอันต่ำต้อยที่ค้าขายเบ็ดเตล็ดอยู่ทั่วไปในกรุงเทพและหัวเมืองในอดีต เพียงแต่คนชั้นกลางรุ่นปัจจุบันที่เป็นลูกหลานได้รับการศึกษา อาชีพการงาน สถานะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น และการอุ้มชูโดยพวกศักดินา ก็ทำให้คนพวกนี้ลืมกำพืดเดิมของตัวเอง ยกตนเทียบชั้นเป็นศักดินาเสียเองในวันนี้! กระทั่งหลายคนยังลืมไปว่า บรรพบุรุษของตนก็มีเชื้อสายคนเหนือ อีสาน ลาว เขมร ปะปนกันมาทั้งสิ้น

การรุกของพวกเผด็จการที่มีคนชั้นกลางในเมืองเป็นหางเครื่องครั้งนี้จึงเป็นอันตรายที่คุกคามต่อฝ่ายประชาธิปไตยมากที่สุดนับแต่ปี 2549 เป็นต้นมา แต่ก็เป็นการรุกในสภาพที่มวลชนฝ่ายประชาธิปไตยได้เข้มแข็งเติบใหญ่ทั่วประเทศ และได้รับแรงสนับสนุนอย่างล้นหลามจากเพื่อนมิตรนานาประเทศทั่วโลก ซึ่งจะไม่ยอมให้พวกจารีตนิยมหมุนนาฬิกาย้อนกลับไปสู่เผด็จการเบ็ดเสร็จอีก หากพวกจารีตนิยมจะดันทุรังไม่ให้มีเลือกตั้ง ก็สุ่มเสี่ยงที่จะนำไปสู่ "สงครามกลางเมืองที่หลั่งเลือด" ในที่สุด

ฝ่ายประชาธิปไตยมีหนทางเดียวเท่านั้นที่จะหลีกเลี่ยงการปะทะนองเลือดได้ ซึ่งก็คือ เคลื่อนไหวมวลชนทั่วประเทศ ประสานกับเพื่อนมิตรนานาชาติ ก่อกระแสรณรงค์ให้มีการเลือกตั้งตามกำหนดให้จงได้ รวมทั้งปรามตุลาการและทหาร เพื่อสกัดแผนการของพวกเผด็จการที่จะอ้าง "การปฏิรูป" มาทำลายขบวนประชาธิปไตย

 

 

เผยแพร่ครั้งแรกใน "โลกวันนี้วันสุข"
ฉบับวันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม 2556

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เผยเบื้องหลังความสำเร็จ 'แคนดี้ครัช' เกมยุคสมาร์ทโฟนที่คนติดกันทั่วโลก

Posted: 20 Dec 2013 08:45 AM PST

เกมเรียงลูกกวาดสีสวย Candy Crush Saga เป็นเกมที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปี 2556 และมีคนจำนวนหนึ่งถึงขั้นยอมรับว่า 'ติด' เกมนี้ สื่อบีบีซีเจาะลึกเบื้องหลังความสำเร็จจากการจับกระแสผู้เล่นในยุคที่แท็บเล็ตและสมาร์ทโฟนกำลังเฟื่องฟู


20 ธ.ค. 2556 สำนักข่าวบีบีซีรายงานเรื่องเกมแอพพลิเคชั่น  แคนดี้ครัช ซาก้า (Candy Crush Saga) ซึ่งได้รับความนิยมมากที่สุดในปี 2556 โดยตั้งคำถามว่าอะไรที่เป็นสิ่งดึงดูดให้เกมนี้มีผู้เล่นมากถึง 500 ล้านคน

คริส สโตเคล-วอลเกอร์ นักข่าวประจำบีบีซีกล่าวในรายงานว่าเกมนี้มีผู้คนให้ความสนใจอย่างมากในหลายประเทศ โดยตามรถไฟฟ้าใต้ดินทั้งในเมืองนิวยอร์ก ปารีส ลอนดอน โตเกียว หรือเบอร์ลิน ต่างก็มีคนใจจดใจจ่อกับเกม แคนดี้ครัช ซาก้า  ซึ่งสามารถเล่นได้ทั้งในมือถือไอโฟนและไอแพด

เกม แคนดี้ครัช ซาก้า มีรูปแบบลักษณะการเล่นแบบเรียงวัตถุแบบเดียวกันให้ได้สามชิ้นในแถวเดียว (match-three) โดยวัตถุในเกมมีรูปลักษณ์เป็นลูกกวาดสีสันและรูปร่างต่างๆ เช่นเยลลี่รูปเมล็ดถั่วสีแดงหรือยาอมสีส้ม โดยเกมนี้ได้รับความนิยมมากผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์กเฟซบุ๊ก จนถึงขั้นมีการตั้งกลุ่มให้ความช่วยเหลือผู้ที่ยอมรับว่าตัวเองติดเกมนี้

จากข้อมูลของ Appdata เปิดเผยว่า แคนดี้ครัช ซาก้า สร้างรายได้จากผู้ใช้ทั่วโลกวันละราว 610,000 ปอนด์ (ราว 32 ล้านบาท) โดยมีลักษณะให้ดาวน์โหลดฟรี แต่มีการให้ผู้เล่นจ่ายเงินเพื่อรับสิทธิพิเศษต่างๆ ในเกม เช่น การผ่านด่านหรือการเพิ่มชีวิต ซึ่งเกมในรูปแบบนี้กำลังมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน

ถึงแม้ว่าจะมีคนวิจารณ์การจ่ายเงินเพื่อให้ได้ของภายในเกมแบบที่เรียกว่า microtransactions แต่บริษัทคิงแห่งประเทศอังกฤษผู้ผลิตเกมนี้เคยบอกว่าในกลุ่มผู้ที่สามารถผ่านไปถึงด่านสุดท้ายในเกมได้ มีอยู่เกินครึ่งที่ไม่ได้อาศัยวิธีการจ่ายเงินซื้อสิทธิพิเศษเลย ซึ่งการที่บริษัทสามารถสร้างรายได้จำนวนมากก็มีคนคาดการณ์ว่าทางบริษัทกำลังเล็งจะเปิดให้มีการขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไป (IPO) ในประเทศสหรัฐฯ

รายงานในบีบีซีกล่าวถึงการจับกลุ่มลูกค้าผู้เล่นเกมนี้โดยบอกว่าบริษัทคิงใช้กลยุทธ์ในช่วงที่แท็บเล็ตและสมาร์ทโฟน เข้ามาเปลี่ยนวิธีการเล่นเกมและทำให้เกิดกลุ่มผู้เล่นใหม่ ในขณะที่ก่อนหน้านี้กลุ่มคนเล่นเกมมักจะเป็นผู้ชายวัยหนุ่มที่เล่นผ่านเครื่องเกมคอนโซล แต่สำหรับ แคนดี้ครัช ซาก้า มีกลุ่มผู้เล่นส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงในช่วงอายุ 25-45 ปี

บีบีซีเปิดเผยว่ามีบางคนถึงขั้นใช้วิธีการปรับเวลาในสมาร์ทโฟนเพื่อให้ได้รับชีวิตเพิ่ม เนื่องจากปกติแล้วต้องรอเวลา

รายงานของบีบีซียังได้กล่าวถึงการที่คนนิยมเล่นเกมนี้ขณะโดยสารอยู่บนรถไฟ โดยในอังกฤษ 6 ใน 10 ของผู้เล่นทั้งหมดเล่นเกมนี้ในระหว่างเดินทางไปทำงาน ด้วยรูปแบบของเกมที่สามารถเข้าไปเล่นได้ในช่วงสั้นๆ หลายครั้งต่อวันมีผู้เล่นบางคนบอกว่ามันเป็นการคลายเครียดได้ดี แต่บางคนก็กลัวว่าตัวเองจะเล่นแล้วติดเกมนี้ มีเกมเมอร์บางรายที่คอยติดตามผลงานผู้ผลิตอย่างต่อเนื่องซึ่งตอนนี้มีด่านในเกมออกมามากกว่า 500 ด่านแล้ว

"พวกเขาสามารถเริ่มเล่นเกมได้ในช่วงทานอาหารเช้าระหว่างกำลังเช็คเฟซบุ๊กผ่านแล็ปท็อป พวกเขาสามารถเล่นผ่านโทรศัพท์ระหว่างนั่งรถไฟไปทำงาน และมาเล่นต่อบนไอแพดได้ บริษัทคิงเชื่อว่าการสามารถเล่นเกมต่อได้อย่างลื่นไหลเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้พวกเขาประสบความสำเร็จ" บีบีซีระบุในรายงาน

เกมแนวแคนดี้ครัชไม่ใช่แนวใหม่ แต่เป็นการพัฒนาแนวเกมพัซเซิลซึ่งมีมาก่อนหน้านี้แล้วเช่น เกม Tetris, Puzzle Bobble หรือ Bust-a-move ซึ่งเป็นที่นิยมในอดีต เกมแคนดี้ครัช มีการเล่นคล้ายคลึงกับเกม Bejeweled ที่พัฒนามาก่อนหน้านี้ 12 ปี และในปัจจุบันก็มีหลายเกมที่ทำออกมาคล้ายกับแคนดี้ครัช แต่มีการปรับปรุงเพิ่มเติมสิ่งใหม่ๆ เข้าไป

เซบาสเตียน คนุทซัน หัวหน้าแผนกครีเอทีฟและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทคิงกล่าวว่า ในช่วงที่ทีมงานของเขากำลังพัฒนาเกม แคนดี้ครัช ซาก้า ลงบนเว็บไซต์ของตนเอง ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่ามันจะประสบความสำเร็จ

คนุทซัน เองก็เป็นนักเล่นเกมตัวยง เขาชื่นชอบเกมตู้อาเขตช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 เป็นพิเศษ เนื่องจากมีสีสันสว่างสดใส คนุทซันเปิดเผยว่าพวกเขาเริ่มทำงานกับศิลปินและดีไซนเนอร์ในสตูดิโอเล็กๆ จนกระทั่งสามารถผลิตเกมแนวเรียงวัตถุสามชิ้น (match-three) ที่มีความโดดเด่นต่างจากเกมอื่น เขาบอกว่าเหตุผลที่เลือกขนมหวานมาเป็นวัตถุในเกมเพราะต้องการดึงดูดกลุ่มเป้าหมายหลักที่ต่างจากนักเล่นเกมทั้วไป

คนุทซันกล่าวว่าก่อนหน้านี้พวกเขาออกแบบเกมโดยเน้นสไตล์อาร์ดเดคโค (Art Deco) หรือ 'อลังการศิลป์' แบบฝรั่งเศส โดยมีเสียงภาษาฝรั่งเศสคอยแสดงความชื่นชมเวลาที่ผู้เล่นเล่นได้ดี แต่คนุทสันก็บอกว่ามันดูไม่เข้าท่าเท่าไหร่ คนไม่ชอบสำเนียงเสียงพากย์ในเกมคิดว่ามันดูตลกเกินไป จึงนำเสียงผู้ชายที่ดูนุ่มลึกมาใช้แทน

บีบีซีระบุอีกว่า ระบบชีวิต (lives) ที่มีจำกัดและเพิ่มเติมกลับมาตามเวลาก็ดึงดูดให้คนกลับเข้าไปเล่นได้เรื่อยๆ มีผู้เล่นบางคนมักจะกลับเข้าไปดูการนับเวลาถอยหลังในเกมรอจนกระทั่งได้ชีวิตเติมกลับมาเพื่อเล่นต่อ ซึ่งระบบนี้เป็นสิ่งที่ชวนให้ผู้เล่น 'ติดเกม'

เอมี โบลตัน นักศึกษาอายุ 21 ปี ผู้ชื่นชอบเกมนี้บอกว่า ถ้าหากเกมให้คุณมีชีวิตหรือด่านต่างๆ ไม่จำกัด มันจะไม่ท้าทายเท่านี้ โดยโบลตันบอกอีกว่าเธอมักจะเล่นแข่งขันเปรียบเทียบกับคู่แข่งของเธอ ขณะเดียวกันโบลตันก็เป็นคนที่ติดเกมนี้หนักมากถึงขั้นบอกว่าเธอเห็นภาพรูปทรงวัตถุของแคนดี้ครัชอยู่ในหัวขณะที่พยายามนอนหลับ

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าแคนดี้ครัชจะได้รับความนิยมและทำรายได้ให้กับบริษัทคิงจำนวนมาก แต่คนุทซันก็กล่าวว่าเขาไม่ต้องการให้บริษัทคิงมีชื่อแต่เฉพาะกับเกมนี้

ข้อมูลจาก Appdata ระบุว่า แคนดี้ครัชเปิดให้เล่นในเฟซบุ๊กเป็นครั้งแรกในเดือน เม.ย. 2555 ก่อนที่จะมีการปล่อยให้ดาวน์โหลดผ่านระบบไอโอเอส และแอนดรอยด์ ในช่วงปลายปี 2555 และกลายเป็นเกมที่ได้รับความนิยมสูงสุดในเฟซบุ๊กเมื่อเดือน ก.พ. 2556

ขณะเดียวกันข้อมูลจากการสำรวจของเว็บ Ask Your Target Market ระบุว่า มีร้อยละ 67 ของผู้ทำแบบสำรวจกล่าวว่าเกมนี้ส่งผลต่อชีวิตของพวกเขา ร้อยละ 30 ยอมรับว่าติดเกม ร้อยละ 25 ของผู้เล่นในกลุ่มสำรวจเคยใช้เงินซื้อของในเกมมาก่อน โดยบางคนใช้เงินเพียงไม่ถึง 1 ดอลลาร์ (ราว 30 บาท) ขณะที่ส่วนหนึ่งยอมรับว่าใช้เงินซื้อของในเกมมากกว่า 20 ดอลลาร์ (ราว 600 บาท)



เรียบเรียงจาก

What is the appeal of Candy Crush Saga?, BBC, 18-12-2013
http://www.bbc.co.uk/news/magazine-25334716

Candy Crush Survey: Nearly Half Have Played Popular Game, Aytm, 26-11-2013
http://aytm.com/blog/daily-survey-results/candy-crush-survey

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คุกตลอดชีวิตการ์ด นปช.ยิง M79 กู้ภัยอุตรดิตถ์ ครอบครัวไม่เชื่อหู ไม่มีประจักษ์พยาน

Posted: 20 Dec 2013 07:42 AM PST

วันนี้ (ศุกร์ที่ 20 ธันวาคม 2556) เวลาประมาณ 10 นาฬิกา ศาลจังหวัดอุตรดิตถ์นัดฟังคำพิพากษาคดีอาญาหมายเลขดำที่ 630/56 ซึ่งมีนายวัลลภ พิธีพรม อายุ 29 ปีตกเป็นจำเลยเพียงคนเดียว  ในข้อหาพกพาอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้ (อาวุธสงคราม) ไปในที่สาธารณะ  ทำให้เสียทรัพย์ และพยายามฆ่าผู้อื่น  จากกรณีเหตุลอบยิงอาวุธสงคราม M79 ใส่สำนักงานสมาคมกู้ภัยอุตรดิตถ์สงเคราะห์ บริเวณศาลหลวงปู่ไต้ฮงกง ต.ป่าเซ่า อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ เหตุเกิดเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2553  เป็นผลให้ประตูกระจก ผนังปูน และหลังคา รวมทั้งป้ายชื่อมูลนิธิแตกเสียหาย  แต่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด

ศาลพิพากษาว่านายวัลลภมีความผิดจริง  จึงลงโทษจำคุกตลอดชีวิตตามข้อหาหนักที่สุด

นายวัลลภเคยตกเป็นจำเลยในคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการยิง M79 ที่เชียงใหม่และศาลจังหวัดเชียงใหม่พิพากษายกฟ้องไปเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2555 ก่อนที่จะถูกอายัดตัวมาเป็นจำเลยในคดีของศาลจังหวัดอุตรดิตถ์นี้  แต่ได้รับสิทธิประกันตัวไปด้วยการวางหลักทรัพย์เป็นเงินสด 300,000 บาทหลังจากถูกขังระหว่างพิจารณามากว่า 2 ปี

แหล่งข่าวรายงานว่าขณะนี้กำลังดำเนินเรื่องขอประกันตัวระหว่างอุทธรณ์โดยใช้หลักทรัพย์เป็นเงินสดจำนวน 500,000 บาท มีมารดานายวัลลภเป็นนายประกัน  แต่ศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ได้ส่งเรื่องไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 เป็นผู้สั่งอีกทั้งวันนี้เป็นวันทำการวันสุดท้ายของสัปดาห์  นายวัลลภจึงต้องถูกควบคุมตัวเข้าสู่เรือนจำในทันที

ส่วนข้อต่อสู้ของนายวัลลภในคดีนี้ตั้งประเด็นหลักคือไม่ได้อยู่ที่สถานที่เกิดเหตุในเวลาที่เกิดเหตุ  และรถยนต์คันที่ใช้ก่อเหตุไม่ใช่ของจำเลยเนื่องจากได้เปลี่ยนสีรถไปก่อนหน้านั้นแล้ว  อีกทั้งคดีนี้ก็ไม่มีประจักษ์พยานยืนยัน  ไม่พบอาวุธของกลาง  อีกทั้งไม่พบรถยนต์ที่ใช้ก่อเหตุ  แต่เป็นการใช้ภาพจากเอกสารพิมพ์ออกจากกล้องโทรศัพท์มือถือ  โดยพยานโจทก์ในคดีนี้เป็นภรรยาเก่าของนายวัลลภขึ้นเบิกความว่าเคยซื้อรถยี่ห้อและสีเดียวกับรถต้องสงสัยที่ไม่มีการยืนยันป้ายทะเบียน

ภรรยาคนปัจจุบันของนายวัลลภ (ขอสงวนชื่อและนามสกุล) เปิดเผยว่า ทางครอบครัวไม่ได้เตรียมใจมาก่อนเพราะเชื่อว่าศาลจะยกฟ้องเนื่องจากไม่ได้เกี่ยวข้องในเหตุการณ์และไม่มีพยานหลักฐานอะไรเลย  แต่ที่ถูกดำเนินคดีน่าจะเนื่องจากมีกระแสเรื่องคนเสื้อแดง และนายวัลลภเป็นการ์ดนปช.  อาจเป็นเพราะว่าอาวุธที่ใช้ก่อเหตุเป็น M79 เหมือนกับคดีก่อนและมีบ้านเกิดอยู่อุตรดิตถ์  อีกทั้งยังเป็นอาสาสมัครกู้ภัยด้วย  นายวัลลภจึงต้องมาตกเป็นจำเลยในคดีนี้
นายวัลลภเพิ่งจะได้รับการปล่อยตัวมาสัมผัสอิสรภาพภายนอกมาเพียงปีเศษ  ทางทนายความเชื่อว่าน่าจะได้ประกันตัวเพราะจริงๆ แล้วเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับเสื้อแดงเลย  และกำลังเตรียมจะยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาต่อไป.

 

 


 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ดีเอสไอ ออกหมายเรียกแกนนำ กปปส. อีก 20 คน

Posted: 20 Dec 2013 07:14 AM PST

ดีเอสไอ ออกหมายเรียกแกนนำและนักวิชาการขึ้นเวทีชุมนุมที่ถูกกล่าวหากระทำผิดเกี่ยวเนื่องจากการชุมนุมเพิ่มเติมอีก 20 คน



20 ธ.ค. 2556 - สำนักข่าวแห่งชาติกรมประชาสัมพันธ์รายงานว่า นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ในฐานะหัวหน้าคณะพนักงานสอบสวนในคดีพิเศษประชุมคณะพนักงานสอบสวน กรณีที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ และพวกถูกกล่าวหาว่ากระทำผิด เกี่ยวเนื่องจากการชุมนุม ที่ประชุมได้มีมติให้ออกหมายเรียกผู้ต้องหาเพิ่มเติม (แกนนำแถวที่สอง) และแจ้งธนาคารให้ตรวจสอบบัญชีและอายัดบัญชีทั้งสิ้น 20 คน โดยมี นางสาวจิตต์ภัสร์ ภิรมย์ภักดี , นายสาธิต ปิตุเตชะ , นายสกลธี ภัททิยกุล , นายทศพล เพ็งส้ม , ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ , นายแก้วสรร อติโพธิ , ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง , ดร.เสรี วงษ์มณฑา , นายรัชต์ยุตม์ ศิรโยธินภักดี หรือนายอมร อมรรัตนานนท์ , ดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ , นายถนอม อ่อนเกตุพล , นายชาญวิทย์ วิภูศิริ , นายพิชิต ไชยมงคล , นายไพบูลย์ นิติตะวัน , พล.อ.ปฐมพงษ์ เกสรสุขี , นายสุริยะใส กตะสิลา , นายพิภพ ธงไชย , นายบุญยอด สุขถิ่นไทย , นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ และนายพิจารณ์ สุขภารังษี
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผบ.ทบ.ระบุเลือกตั้งต้องเป็นไปตามกระบวนการ กองทัพพร้อมสนับสนุนกำลังพล

Posted: 20 Dec 2013 06:01 AM PST

พล.อ.ประยุทธ์ หวังให้มีการลดความขัดแย้ง ในอนาคตอาจตั้งสภาประชาชนได้ แต่ไม่เกี่ยวกับสภาประชาชนแบบสุเทพ และไม่ออกความเห็นว่าควรปฏิรูปก่อนเลือกตั้งหรือไม่ โดยการเลือกตั้งต้องเป็นไปตามกระบวนการ และกองทัพพร่อมส่งกำลังสนับสนุน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา (แฟ้มภาพ/วิกิพีเดีย)

20 ธ.ค. 2556 - สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ รายงานว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวว่า ได้ยืนยันกับนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมว่า ทหารยึดการทำหน้าที่ของทหาร และอยู่ภายใต้หลักการ ส่วนตัวมีความห่วงใยการปลุกระดมประชาชนของทุกกลุ่ม เพราะเกรงว่าจะนำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรง ควรต้องลดความขัดแย้ง โดยการทำความเข้าใจกับประชาชนก่อน และในอนาคตอาจจะตั้งเป็นสภาประชาชนที่มาจากประชาชนอย่างแท้จริง แต่อย่านำไปโยงกับแนวคิดสภาประชาชนของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำการชุมนุม เพราะความหมายต่างกัน ทั้งนี้ไม่ขอแสดงความเห็นว่า ควรจะปฏิรูปประเทศไทยก่อนการเลือกตั้งหรือไม่ แต่เห็นว่า หากเป็นเรื่องที่ดีและเป็นไปตามกรอบกติกาควรดำเนินการไปอย่างเหมาะสม โดยเสนอว่า หากจะมีการปฏิรูปควรพิจารณาหาบุคคลที่ทุกฝ่ายไว้วางใจมาเป็นผู้ขับเคลื่อน พร้อมร่วมกันกำหนดรูปแบบ วางกรอบที่เหมาะสม ส่วนหากจะเสนอพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ มาช่วยทำหน้าที่เป็นคนกลางผลักดันการปฏิรูปนั้น มองว่าพลเอกเปรม เป็นห่วงบ้านเมือง แต่สถานการณ์ขณะนี้มีความขัดแย้งมากเกินไป

ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวอีกว่า สำหรับการเลือกตั้งต้องเป็นไปตามกระบวนการ และเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ส่วนกองทัพพร้อมส่งกำลังพลสนับสนุน และดูแลความเรียบร้อย ซึ่งยืนยันว่ากองทัพสนับสนุนให้การดำเนินการแก้ปัญหาต่างๆ ยึดตามกติกาและกฎหมาย แต่ต้องอาศัยหลักรัฐศาสตร์และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ ประกอบด้วย พร้อมย้ำว่าทหารไม่มีความคิดในการทำรัฐประหาร

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

มีเดียมอนิเตอร์ระบุช่อง 11 เข้าข่ายสื่อรับใช้รัฐบาล TPBS เปิดพื้นที่สมดุล

Posted: 20 Dec 2013 05:19 AM PST

มีเดียมอนิเตอร์ศึกษาทีวีเพื่อสาธารณะในการรายงานสถานการณ์การชุมนุมพบช่อง 5 ยังทำหน้าที่สื่อสาธารณะไม่เต็มที่ ช่อง 11 อาจเข้าข่ายเป็นสื่อเพื่อรับใช้รัฐบาล ส่วน TPBS เปิดพื้นที่ให้แหล่งข่าวที่มีความสมดุล มีมุมมองในการรายงานที่รอบด้าน หลากหลาย



20 ธ.ค. 2556 - การชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมที่เริ่มจากช่วงต้นเดือน พฤศจิกายน 2556  ที่ต่อมายกระดับเป็นการชุมนุมใหญ่ที่เรียกว่า"การชุมนุมของมวลมหาประชาชน" ในวันที่ 25 พฤศจิกายน ตามด้วยครั้งที่ 2 ในวันที่ 9 ธันวาคม ปีเดียวกัน สิ่งที่น่าสนใจคือ มีการตั้งคำถามกับสื่อมวลชน โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์ ในเรื่องการให้พื้นที่กับวิธีการนำเสนอ รวมทั้งมีเหตุการณ์ที่ผู้ชุมนุมไปแสดงความเห็น ความต้องการต่อสื่อโทรทัศน์ โดยเฉพาะช่อง TPBS  ที่เป็นสื่อเพื่อสาธารณะ  ดังนั้น ในสองเหตุการณ์สำคัญของการชุมนุมใหญ่ องค์กรวิชาชีพสื่อจึงได้ออกแถลงการณ์ เพื่อขอให้สื่อมวลชนทุกแขนง ทำหน้าที่อย่างไม่มีการเซ็นเซอร์ตัวเอง (self - censorship) และขอให้ผู้ชุมนุมทุกกลุ่มให้สื่อได้ทำหน้าที่อย่างอิสระและไม่ทำให้สื่อถูกเข้าใจว่าเป็นฝ่ายเดียวกับผู้ชุมนุม

ด้วยเหตุนี้ มีเดียมอนิเตอร์จึงสนใจศึกษาการรายงานสถานการณ์การชุมนุมใหญ่ในวันที่ 25 พ.ย. และวันที่ 9 พ.ย. 2556  ระหว่างช่วงเวลา 00.00-24.00 น. ของฟรีทีวีประเภทบริการสาธารณะทั้ง 3 ช่อง ได้แก่ ช่อง ททบ. 5  สทท. 11 และ ช่อง TPBS  

โดยภาพรวม พบว่า ช่อง TPBS เป็นช่องที่ให้ความสำคัญกับการรายงานสถานการณ์การชุมนุมทางการเมือง โดยมีการเปิดพื้นที่ให้แหล่งข่าวที่มีความสมดุล มีมุมมองในการรายงานที่รอบด้าน หลากหลาย มุ่งเน้นการให้ความรู้ความเข้าใจ หาทางออก/แนวทางการคลี่คลายของสถานการณ์  ในขณะที่พบว่า ช่อง 11 มีสัดส่วนการรายงานสถานการณ์การชุมนุมใกล้เคียงกับช่อง TPBS แต่ขาดความสมดุล รอบด้าน ในการให้พื้นที่แหล่งข่าว ด้านมุมมองการรายงานข่าวก็เน้นแหล่งข่าวฝ่ายรัฐบาล สำหรับช่อง 5 พบว่า มีสัดส่วนการรายงานสถานการณ์การชุมนุมน้อยกว่าช่องอื่นๆ ทั้งยังเน้นการรายงานเหตุการณ์ตามสถานการณ์  ขาดการนำเสนอเหตุการณ์ในเชิงลึก  

เมื่อศึกษาในเชิงปริมาณเวลา พบว่า เวลาทั้งหมดที่ ช่อง  5, 11, และ TPBS  เสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการชุมนุม คือประมาณ 35 ชั่วโมง เมื่อวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ พบว่า  TPBS เป็นช่องที่มีการนำเสนอข่าวการชุมนุมทางการเมืองมากที่สุด  (16 ชั่วโมง 37 นาที  คิดเป็นร้อยละ 48 ของเวลารวมทั้งสามช่อง)  ตามด้วยช่อง  11 (14 ชั่วโมง 30 นาที  คิดเป็นร้อยละ  41 )  และช่อง 5 (3 ชั่วโมง 45 นาที  คิดเป็นร้อยละ  11)   และพบว่า มีการรายงานสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองในวันที่ 9 ธ.ค. 2556 ในสัดส่วนเวลาที่มากกว่าวันที่ 25 พ.ย. 2556 ในทุกช่อง  

เมื่อพิจารณาการทำหน้าที่สื่อสาธารณะของฟรีทีวีทั้ง 3 ช่อง พบว่า

ช่อง 5

เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนเวลาการรายงานสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองในการชุมนุมใหญ่  2 วัน พบว่า มีการรายงานสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองในวันที่ 9 ธ.ค. (2 ชั่วโมง 58 นาที) ในสัดส่วนเวลาที่มากกว่าวันที่ 25 พ.ย. 56 (46 นาที)   

ในส่วนรูปแบบรายการ พบว่า ช่อง 5 มีรายการพิเศษนอกผังรายการ ได้แก่ รายการฝ่าวิกฤติการณ์เมืองไทย 2556 และแถลงการณ์อื่นๆ (40 นาที)  

สำหรับรูปแบบการนำเสนอนั้น  ช่อง 5 เน้นการรายงานข่าวการชุมนุมตามสถานการณ์ เช่น บรรยากาศการชุมนุม เส้นทางการเคลื่อนขบวน มาตรการรักษาความปลอดภัย ฯลฯ (2 ชั่วโมง 15 นาที)  
ด้านแหล่งข่าว พบว่า แหล่งข่าวที่ช่อง 5 ให้พื้นที่มากที่สุด 3 อันดับแรก คือ 1) กลุ่มรัฐบาล (38 นาที)  2) กลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาล (37 นาที)  3) หน่วยงานด้านความมั่นคง (15 นาที) แต่ไม่พบแหล่งข่าวที่เป็นตัวแทนเครือข่ายภาคประชาชน  ประชาชนทั่วไป รวมทั้ง อดีตนักการเมือง
 
เมื่อพิจารณาการทำหน้าที่สื่อมวลชน พบว่าทั้งผู้ประกาศ พิธีกรรายการ และผู้สื่อข่าวภาคสนาม มีความระมัดระวังในการใช้ภาษา และการตั้งคำถาม แต่ส่วนใหญ่เป็นการเน้นตั้งคำถามเพื่อรายงานเหตุการณ์ตามสถานการณ์ เช่น บรรยากาศการชุมนุม มาตรการการรักษาความปลอดภัย  มีการตั้งประเด็นสัมภาษณ์แหล่งข่าว และการนำเสนอรายงานที่จำกัดกว่าช่องอื่นๆ  เพราะมีสัดส่วนการรายงานสถานการณ์การชุมนุมที่ค่อนข้างน้อย  

เมื่อพิจารณาการทำหน้าที่ของสื่อเพื่อสาธารณะ พบว่า ถึงแม้ช่อง 5 จะมีการนำเสนอข่าวการชุมนุมในประเด็นที่ค่อนข้างหลากหลาย แต่ขาดรายละเอียด และความลึกของเนื้อหา โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องแนวทางการแก้ไขปัญหา และ การหาทางออกของสถานการณ์ทางการเมือง ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจากสัดส่วนเวลาในการนำเสนอข่าวการชุมนุมทที่น้อยกว่าช่องอื่นๆ เน้นการเสนอข่าวในลักษณะการรายงานสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตามลำดับเหตุการณ์เป็นส่วนใหญ่ จึงอาจถูกตั้งคำถามได้ในเรื่องการเซ็นเซอร์ตัวเอง รวมทั้งการแสดงบทบาทสำคัญของทีวีสาธารณะเพื่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยสาธารณะ    

ช่อง 11

เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนเวลาการรายงานสถานการณ์การชุมนุมทางการเมือง พบว่า ในวันที่ 9 ธ.ค. 2556 ช่อง 11 ให้สัดส่วนเวลามากกว่าวันที่ 25 พ.ย. 2556   กล่าวคือ วันที่ 9 ธ.ค. (9 ชั่วโมง 59 นาที) วันที่ 25 พ.ย. (4 ชั่วโมง 31 นาที)   

ในส่วนรูปแบบรายการ พบว่า ช่อง 11 มีรายการพิเศษนอกผังรายการ ได้แก่ รายการทันสถานการณ์บ้านเมือง และแถลงการณ์อื่นๆ (8 ชั่วโมง 44 นาที)    

สำหรับรูปแบบการนำเสนอ พบว่าช่อง 11 เน้นการรายงานสถานการณ์การชุมนุมในรูปแบบการสนทนา/วิเคราะห์ (7 ชั่วโมง 37 นาที)   

สำหรับแหล่งข่าว ที่พบมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) กลุ่มนักวิชาการ (3 ชั่วโมง 55 นาที) 2) กลุ่มรัฐบาล (2 ชั่วโมง 33 นาที) 3) หน่วยงานด้านความมั่นคง (2 ชั่วโมง 15 นาที) แต่ ไม่พบแหล่งข่าวที่เป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ และตัวแทนเครือข่ายภาคประชาชน  แม้ว่าในภาพรวม ช่อง 11 จะมีสัดส่วนแหล่งข่าวที่เป็นนักวิชาการมากกว่าช่องอื่นๆ โดยเฉพาะในวันที่ 9 ธ.ค. 56 แต่นักวิชาการส่วนใหญ่นำเสนอมุมมองต่อสถานการณ์ทางการเมือง และทางออกของปัญหาไปในทิศทางเดียวกัน คือ มองว่าข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมกลุ่ม กปปส. เป็นเรื่องที่ไม่มีกฎหมายรองรับ

สำหรับ การทำหน้าที่สื่อมวลชน  พบว่า ทั้งผู้ประกาศ พิธีกรรายการ และผู้สื่อข่าวภาคสนาม ของช่อง 11 มีความระมัดระวังในการใช้ภาษาในการรายงานสถานการณ์ทั่วไป แต่พบว่ามีลักษณะการใช้ภาษาสอดแทรกความคิดเห็น / ชี้นำ ในรายงานพิเศษ เช่น ชื่อพาดหัวข่าว/รายงานพิเศษ (ตัวอย่างพบในวันที่ 25 พ.ย. 2556 เช่น "นักวิชาการห่วงม็อบคนดียิ่งทำสังคมแตกแยก"  "เศรษฐกิจเสียหายจากม็อบยืดเยื้อ")

เมื่อพิจารณาการทำหน้าที่ของสื่อสาธารณะในการรายงานสถานการณ์การชุมนุมอย่างรอบด้าน พบว่า   แม้ช่อง 11 จะมีสัดส่วนรายการแบบสนทนา/ วิเคราะห์มากที่สุด  โดยเฉพาะในวันที่ 9 ธ.ค. 2556   แต่เป็นการให้น้ำหนักจากมุมมองและทัศนะที่มาจากฝ่ายรัฐบาล นักวิชาการ หน่วยงานความมั่นคง ที่สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ การเน้นเรื่องความถูกต้องชอบธรรมของคณะรัฐมนตรีในการทำหน้าที่เป็นรัฐบาลรักษาการ การยุบสภาเพื่อจัดการเลือกตั้งใหม่ถือเป็นการคืนอำนาจให้ประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย และการจัดตั้งสภาประชาชนของกลุ่ม กปปส. เป็นเรื่องที่ไม่มีกฎหมายรองรับ ทั้งขัดรัฐธรรมนูญ รวมถึงการนำเสนอผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการชุมนุมทางการเมืองในด้านต่างๆ เช่น ปัญหาการจราจร ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว เป็นต้น  เมื่อประกอบกับสัดส่วนแหล่งข่าวของช่อง 11 ที่เน้นการให้พื้นที่แหล่งข่าวฝ่ายรัฐบาลมากกว่ากลุ่มผู้ชุมนุม และ ประเด็นในการสัมภาษณ์ /การรายงานแล้ว อาจทำให้ช่อง 11 ถูกตั้งคำถามจากสังคมมากกว่าช่องอื่นๆ ในแง่จริยธรรมและมาตรฐานความเป็นสื่อโดยเฉพาะสื่อเพื่อสาธารณะในการรายงานสถานการณ์ความขัดแย้ง

ช่อง TPBS

การให้พื้นที่เชิงปริมาณเวลา พบว่า TPBS เป็นช่องที่มีการรายงานสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองมากที่สุด (16 ชั่วโมง 37 นาที) โดยมีสัดส่วนการรายงานสถานการณ์การชุมนุมทางการเมือง ในวันที่ 9 ธ.ค. 2556 (10 ชั่วโมง 47 นาที) มากกว่าวันที่ 25 พ.ย. 2556 (5 ชั่วโมง 49 นาที)

สำหรับรูปแบบรายการ พบว่า ช่อง TPBS ให้ความสำคัญกับรายการพิเศษนอกผังรายการ  ได้แก่ รายการทางออกประเทศไทย และ แถลงการณ์อื่นๆ (6 ชั่วโมง 46 นาที)  

สำหรับรูปแบบการนำเสนอ  พบว่า ช่อง TPBS เน้นการรายงานสถานการณ์การชุมนุมในรูปแบบการรายงานสดจากผู้สื่อข่าวภาคสนาม  และการสนทนา/ การวิเคราะห์  ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน  (4 ชั่วโมง 49 นาที และ 4 ชั่วโมง ตามลำดับ) โดยรูปแบบการสนทนา/ การวิเคราะห์  มีการใช้แหล่งข่าวหลากหลายกลุ่ม เช่น นักวิชาการ เครือข่ายภาคประชาชน ผู้ชุมนุมจากคู่ขัดแย้งกลุ่มต่างๆ ฯลฯ ผ่านมุมมองที่หลากหลาย และรอบด้าน ทั้งฝ่ายที่สนับสนุนให้มีการเลือกตั้ง ฝ่ายที่สนับสนุนให้มีสภาประชาชน ฝ่ายที่มองว่าการตั้งสภาประชาชนเป็นเรื่องที่ทำได้ กับผ่ายที่เห็นว่าทำไม่ได้ รวมไปถึงการนำเสนอทางออกด้วยวิธีอื่นๆ ทั้งนี้ ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน

สำหรับแหล่งข่าว พบว่า ช่อง TPBS มีแหล่งข่าวทุกกลุ่ม โดยที่พบมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) กลุ่มนักวิชาการ (2 ชั่วโมง 9 นาที) 2) กลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาล (1 ชั่วโมง 46 นาที) 3) กลุ่มรัฐบาล (1 ชั่วโมง 10 นาที)   ที่พบน้อยที่สุดคือ กลุ่มสำนักโพล (38 วินาที) โดยมีการเปิดพื้นที่ให้แหล่งข่าวอย่างมีความสมดุล

ในส่วนการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน พบว่าทั้งผู้ประกาศ พิธีกรรายการ และผู้สื่อข่าวภาคสนาม มีความระมัดระวังในการใช้ภาษา  เช่น  การใช้คำว่า  "สิ่งที่ผู้ชุมนุมเรียกว่าระบอบทักษิณ"  แทนคำว่า "ระบอบทักษิณ" หรือ "กลุ่มผู้ชุมนุมที่เรียกตนเองว่า กลุ่ม กปปส." แทนการเรียกว่า "กลุ่ม กปปส." ซึ่ง แตกต่างจากการรายงานของช่องอื่นๆ

นอกจากนี้ยังพบว่า พิธีกรและผู้ประกาศ มีการตั้งคำถามสัมภาษณ์แหล่งข่าวที่ค่อนข้างรอบด้าน และมุ่งหาแนวทางในการลดความขัดแย้ง หรือทางออกของปัญหาความขัดแย้ง และการให้แต่ละฝ่ายได้

แสดงทัศนะและความคิดเห็นมากกว่าการเน้นตั้งคำถามเพื่อรายงานเหตุการณ์ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
ในส่วนบทบาทของสื่อสาธารณะ พบว่า ช่อง TPBS มีการนำเสนอประเด็นที่หลากหลาย รอบด้านจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะในประเด็นการจัดตั้งสภาประชาชน ที่มีการนำเสนอทั้งจากมุมมองของฝ่ายที่เห็นว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ และฝ่ายที่มองว่าเป็นเรื่องที่ขัดกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ  รวมถึงการให้ข้อเสนอแนะว่าการเจรจาร่วมกันของฝ่ายการเมืองคือทางออกของปัญหาที่สำคัญ  ทั้งมุ่งเน้นการให้ความรู้  ความเข้าใจ การหาทางออก/แนวทางการคลี่คลายสถานการณ์  

ข้อเสนอแนะ   

จากการศึกษาครั้งนี้ มีดียมอนิเตอร์ มีข้อเสนอต่อหน่วยงาน องค์กร รวมทั้งสื่อ และภาคส่วนต่าง ๆ ดังนี้

1. ข้อเสนอต่อทีวีสาธารณะ

ช่อง 5 ควรให้ความสำคัญกับการรายงานสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองให้มากขึ้นทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ เช่น การเพิ่มพื้นที่ข่าว และรายงานพิเศษ เพื่อรายงานข้อเท็จจริง นำเสนอความคิดเห็นที่หลากหลาย  รวมทั้งข้อเสนอทางออก หรือการคลี่คลายปัญหาให้กับสังคมอย่างรอบด้าน  ตามลักษณะสื่อสาธารณะประเภท 2 ที่มีบทบาทหน้าที่เพื่อความมั่นคงของรัฐ หรือความปลอดภัยสาธารณะ

ช่อง 11 ควรรายงานสถานการณ์การชุมนุมทางการเมือง หรือความขัดแย้งใดๆ ด้วยมุมมองที่หลากหลาย รอบด้าน ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด  ทั้งควรทำหน้าที่เป็นสื่อเพื่อสะท้อนความคิดเห็นและความต้องการที่หลากหลาย มากกว่าเป็นสื่อเพื่อรับใช้รัฐบาล ตามลักษณะสื่อสาธารณะประเภทที่ 3 ที่มีบทบาทหน้าที่เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาลกับประชาชนและรัฐสภากับประชาชน ส่งเสริมสนับสนุนการเผยแพร่และให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข บริการข้อมูลข่าวสารอันเป็นประโยชน์สาธารณะ    

2. ข้อเสนอต่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ  (กสทช.)

ควรกำหนดบทบาทหน้าที่ พร้อมกลไกการติดตาม กำกับดูแลการทำหน้าที่สื่อสาธารณะในแต่ละประเภทให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะข้อบังคับจริยธรรม และแนวทางปฏิบัติในการรายงานสถานการณ์การชุมนุมทางการเมือง

อนึ่ง ในสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองในครั้งนี้  พบว่า แต่ละกลุ่มขั้วความคิดทางการเมืองต่างมีสื่อวิทยุโทรทัศน์ของกลุ่มซึ่งเน้นการสื่อสารตามแนวคิดและปฏิบัติการของกลุ่ม  กสทช. จึงควรกำหนดกรอบเกณฑ์การกำกับดูแลสื่อประเภทนี้อย่างชัดเจน  โดยคำนึงถึงการใช้สื่ออย่างไม่สร้างความขัดแย้ง ความแตกแยก อันอาจนำไปสู่ความรุนแรง
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กองทัพเรือฟ้องคดีหมิ่นประมาท-พ.ร.บ.คอมพ์ นักข่าว phuketwan

Posted: 20 Dec 2013 04:31 AM PST

ฐานนักข่าวเว็บไซต์ phuketwan.com รายงานเรื่องการค้ามนุษย์ชาวโรฮิงญาที่จนท.ทหารเรือมีส่วนเกี่ยวข้อง โดยอ้างรายงานของสำนักข่าวรอยเตอร์ นักข่าวเตรียมให้ปากคำ 24 ธ.ค. นี้ 

 
20 ธ.ค. 2556 กองทัพเรือ ได้ฟ้องร้องนักข่าวเว็บไซต์ท้องถิ่นของภูเก็ต Phuketwan สองคน ด้วยข้อหาหมิ่นประมาท และพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ เนื่องจากได้รายงานเกี่ยวกับธุรกิจการค้ามนุษย์ในจังหวัดพังงา ซึ่งเจ้าหน้าที่ทหารเรือมีส่วนได้ประโยชน์ 
 
รายงานดังกล่าวของเว็บ Phuketwan.com ซึ่งตีพิมพ์เมื่อวันที่ 17 ก.ค. 56 เขียนโดย อลัน มอร์ริสัน และชุติมา สีดาเสถียร ซึ่งได้อ้างอิงรายงานพิเศษของสำนักข่าวรอยเตอร์เมื่อวันเดียวกัน โดยย่อหน้าที่กองทัพเรือระบุว่ามีปัญหา มีข้อความว่า ''The Thai naval forces usually earn about 2000 baht per Rohingya for spotting a boat or turning a blind eye, said the smuggler, who works in the southern Thai region of Phang Nga [north of Phuket] and deals directly with the navy and police.
 
ซึ่งแปลเป็นไทยว่า "ปกติแล้วเจ้าหน้าที่ทหารเรือไทย จะได้รับเงิน 2,000 บาทต่อโรฮิงญาหนึ่งคน หากว่าพบเห็นเรือ [ผู้อพยพ] หรือทำเป็นไม่รู้เรื่อง [ต่อการค้ามนุษย์] ผู้ลักลอบค้ามนุษย์คนหนึ่งกล่าว เขาทำงานในจังหวัดพังงาทางภาคใต้ และตกลงธุรกิจโดยตรงกับกองทัพเรือและตำรวจ" 
 
ทั้งนี้ Phuketwan.com เป็นเว็บไซต์ข่าวท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต และได้รับรางวัลด้านการรายงานสืบสวนสอบสวนด้านสิทธิมนุษยชนระดับนานาชาติแล้วหลายรางวัล
 
น.อ. พัลลภ โกมโลทก ผู้รับมอบอำนาจจากกองทัพเรือ ได้กล่าวหารายงานดังกล่าวว่า มีเนื้อหาไม่เป็นความจริง และเป็นการให้ร้ายต่อกองทัพเรือ ส่งผลให้เสื่อมเสียชื่อเสียงและเกิดความเสียหาย จึงได้ฟ้องร้องในข้อหาหมิ่นประมาทและพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ตามมาตรา 14 วรรค 1 ซึ่งระบุความผิดจากการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
 
หากผู้สื่อข่าวทั้งสองคนถูกตัดสินว่ามีความผิด อาจได้รับโทษสูงสุดคือจำคุก 5 ปี และ/หรือปรับเป็นเงินหนึ่งแสนบาท 
 
ในเบื้องต้น ผู้สื่อข่าว Phuketwan ทั้งสองคนได้เดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหาแล้วที่สภ.วิชิต จ.ภูเก็ต เมื่อวันพุธที่ผ่านมาและให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา และจะเดินทางไปให้ปากคำในวันที่ 24 ธ.ค. นี้
 
ชุติมากล่าวว่า ตนเองรู้สึกตกใจเป็นอย่างยิ่งที่ทางกองทัพเรือได้แจ้งข้อกล่าวหาหมิ่นประมาท เพราะไม่คิดว่ากองทัพเรือจะใช้วิธีการฟ้องร้องทางกฎหมายในการจัดการกับภาพลักษณ์ของกองทัพ แทนที่จะใช้วิธีแถลงข่าวชี้แจง หรือโทรมาสอบถามทางเว็บไซต์ Phuketwan ในรายละเอียด เพราะก่อนหน้านี้ เว็บไซต์ phuketwan ก็มีความสัมพันธ์ที่ดีกับทางกองทัพเรือโดยร่วมมือในการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ มาตลอด
 
เธอยังกล่าวว่า การรายงานข่าวของเว็บไซต์ phuketwan ได้อ้างรายงานข่าวจากสำนักข่าวซึ่งมีความน่าเชื่อถืออย่างรอยเตอร์ และไม่มีเจตนาให้ร้าย หรือดูหมิ่นกองทัพเรือ เพราะในรายงานไม่ได้ระบุถึงกองทัพเรือในฐานะหน่วยงาน เพียงแต่ใช้คำว่าเจ้าหน้าที่ทหารเรือ ซึ่งในบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา มีการแปลคำดังกล่าวคลาดเคลื่อน
 
"มันเป็นการคุกคามสื่อที่แรงมาก ไม่เข้าใจว่าทำไมบ้านเราถอยหลังลงคลองได้ขนาดนี้" ชุติมากล่าว "อยากเรียกร้องให้หน่วยงานภาครัฐ หรืองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ยุติการคุกคามสื่อในการปฏิบัติหน้าที่และการทำงาน"
 
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา องค์กรสิทธิมนุษยชนฮิวแมนไรท์วอทช์ ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้กองทัพเรือถอนข้อกล่าวหาทันที และให้รัฐบาลยกเลิกกฎหมายหมิ่นประมาท ซึ่งฮิวแมนไรท์วอทช์มองว่าเป็นข้อจำกัดต่อเสรีภาพการแสดงออกและเสรีภาพสื่อ
 
เช่นเดียวกับองค์กรพันธมิตรเพื่อสื่อในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Press Alliance - SEAPA) ก็ได้ประณามการกระทำของกองทัพเรือ และแสดงความกังวลต่อการใช้พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ที่มีการเอาผิดตัวกลาง รวมถึงเรียกร้องให้กองทัพเรือถอนฟ้องข้อกล่าวหาต่อนักข่าวทันที 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คงค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทถึงปี 58 เพิ่มค่าจ้างฝีมือแรงงาน 5 กลุ่มประกาศใช้ปี 57

Posted: 20 Dec 2013 03:34 AM PST

20 ธ.ค. 2557 - ที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง เห็นชอบอัตราค่าจ้างมาตรฐานฝีมือใน 5 กลุ่ม 13 สาขาอาชีพ โดยคาดว่าเริ่มประกาศใช้ได้ต้นปี 2557 ซึ่งประกอบด้วย

1. กลุ่มช่างอุตสาหการ คือ ช่างเชื่อมท่อพอลิเอทีลีนความหนาแน่นสูง อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 460 บาท ช่างประกอบท่อ 400 บาท ช่างทำแม่พิมพ์ฉีดโลหะ 480 บาท

2. กลุ่มช่างอุตสาหกรรมศิลป์ คือ ช่างสีเครื่องเรือน ฝีมือระดับ 1 ค่าจ้าง 350 บาท ฝีมือระดับ 2 ค่าจ้าง 450 บาท

3. กลุ่มช่างก่อสร้าง คือ ช่างหินขัด 400 บาท ช่างฉาบยิมซัม 400 บาท ช่างมุงหลังคากระเบื้อง ฝีมือระดับ 1 ค่าจ้าง 400 บาท ฝีมือระดับ 2 ค่าจ้าง 510 บาท และฝีมือระดับ 3 อยู่ที่ 620 บาท

4. กลุ่มช่างเครื่องกล คือ ช่างบำรุงรักษาเครื่องยนต์ ฝีมือระดับ 1 ค่าจ้าง 340 บาท และฝีมือระดับ 2 อยู่ที่ 400 บาท ช่างซ่อมเครื่องยนต์ดีเซล ฝีมือระดับ 1 ค่าจ้าง 360 บาท ฝีมือระดับ 2 ค่าจ้าง 445 บาท และฝีมือระดับ 3 อยู่ที่ 530 บาท ช่างเครื่องปรับอากาศรถยนต์ขนาดเล็ก ฝีมือระดับ 1 ค่าจ้าง 360 บาท ฝีมือระดับ 2 ค่าจ้าง 445 บาท และฝีมือระดับ 3 อยู่ที่ 530 บาท

5. กลุ่มภาคบริการ คือ นักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมสปาตะวันตก (สุคนธบำบัด) ฝีมือระดับ 1 ค่าจ้าง 540 บาทและฝีมือระดับ 2 อยู่ที่ 715 บาท นักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมสปาตะวันตก (วารีบำบัด) ฝีมือระดับ 1 ค่าจ้าง 565 บาทและฝีมือระดับ 2 อยู่ที่ 750 บาท นักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมสปาตะวันตก (โภชนบำบัด) ฝีมือระดับ 1 ค่าจ้าง 615 บาทและฝีมือระดับ 2 อยู่ที่ 815 บาท

สำหรับค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาทนั้น บอร์ดค่าจ้างยืนยันมติบอร์ดค่าจ้างเดิมเมื่อเดือน ต.ค.ปี 2554 ที่จะให้คงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำไว้วันละ 300 บาทไปจนถึงปี พ.ศ.2558 ยกเว้นหากภาวะเศรษฐกิจผันผวนที่กระทบต่อการครองชีพของผู้ใช้แรงงาน อาจจะมีการเสนอให้พิจารณาทบทวนและปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งกระทรวงแรงงานก็ได้ติดตามภาวะเศรษฐกิจและผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างอย่างสม่ำเสมอ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หนุนร่าง พ.ร.บ.การบริหารจังหวัดปกครองตนเองปฏิรูปประเทศ

Posted: 20 Dec 2013 03:11 AM PST

เครือข่ายประชาชนเพื่อการขับเคลื่อนจังหวัดปกครองตนเอง (คปป.) ได้ออกคำแถลงการณ์สนับสนุนร่าง พรบ.การบริหารจังหวัดปกครองตนเอง ระบุเครือข่ายฯ จะขับเคลื่อนเรื่องการปฏิรูปประเทศไทยโดยใช้ "พื้นที่เป็นตัวตั้ง" ยกระดับ "การจัดการตนเองเพื่อการปกครองตนเอง" ให้เข้มข้นทุกพื้นที่



20 ธันวาคม 2556 -  เครือข่ายประชาชนเพื่อการขับเคลื่อนจังหวัดปกครองตนเอง (คปป.) ได้ออกคำแถลงการณ์สนับสนุนร่าง พ.ร.บ.การบริหารจังหวัดปกครองตนเอง  ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้


แถลงการณ์ สนับสนุนร่าง พ.ร.บ.การบริหารจังหวัดปกครองตนเอง


ประเทศไทยตกอยู่ภายใต้วังวนแห่งความขัดแย้ง การแบ่งฝักแบ่งฝ่าย เกิดการปะทะกันด้วยกำลังและอาวุธ อันนำไปสู่เหตุการณ์นองเลือดทำให้สูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินมานับครั้งไม่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลของพรรคการเมืองใดขึ้นมาบริหารประเทศ  ฝ่ายอันเป็นปฏิปักษ์จะก่อการเพื่อโค่นล้มขับไล่รัฐบาลนั้นๆ มาโดยตลอดตกอยู่ภายใต้วังวนไม่จบสิ้น  จนบางครั้งก็นำไปสู่การปฏิวัติรัฐประหารอันไม่พึงประสงค์

ปัญหาของประชาชนในพื้นที่ท้องถิ่น ไม่ได้รับการแก้ไข หรือการแก้ไขก็ไม่ตรงกับปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่-ท้องถิ่น เพราะรัฐบาลขาดความรอบรู้และละเลยในความเป็นอัตลักษณ์อันแตกต่างกันของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งความแตกต่างอันงดงามนี้ถือเป็นหัวใจของความเป็นท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ ดังนั้นอำนาจรัฐส่วนกลางยิ่งแก้ปัญหายิ่งกลับทำให้เกิดปัญหา เกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับประชาชนในพื้นที่ท้องถิ่นต่อเนื่องยาวนานสะสมมาเป็นลำดับ ส่งผลให้การพัฒนาประเทศหยุดชะงัก ในขณะที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่เวทีการแข่งขันทั้งระดับภูมิภาคและระดับโลกในอนาคต

นับตั้งแต่เกิดการรวมศูนย์อำนาจ โอนอำนาจการตัดสินใจเข้าสู่ส่วนกลางทั้งหมด ลดทอนอำนาจของประชาชน ลดทอนอำนาจของท้องถิ่น เพิ่มอำนาจของส่วนกลาง นับเป็นเวลาร้อยกว่าปีแล้ว  ปัญหาทั้งหลายทั้งมวลก็ก่อตัวและสั่งสมมาเป็นลำดับ กฎหมายทุกฉบับที่รัฐประกาศใช้ ยิ่งกลับสร้างปัญหาและเป็นเครื่องมือของการรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ส่วนกลางทั้งสิ้น   ชุมชนท้องถิ่นที่เมื่อก่อนมีความเป็นเจ้าของท้องถิ่นตนเอง เป็นเจ้าของปัญหา มีสำนึกร่วมกันในการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง แต่ถูกลดทอนบทบาทและอำนาจต่อเนื่องเสมอมา ในที่สุดท้องถิ่นตกอยู่ในสภาพผู้ร้องขอที่อ่อนแอ

การรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลางเสมือนหลุมดำที่เพิ่มขนาดจนมหึมา  ทำให้การเมืองเป็นแหล่งธุรกิจการเมืองมีการคอร์รัปชั่นมากมาย สุดท้ายก็ก่อวิกฤตทุกเรื่องราวและได้กลายเป็น "รัฐรวมศูนย์ที่ไร้ประสิทธิภาพ"และเป็น "รัฐเหตุแห่งความขัดแย้ง" ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง การทำให้รัฐใหญ่ขึ้น แต่สังคมชุมชนท้องถิ่นกลับเล็กลง จึงเป็นโครงสร้างอำนาจที่ผิดทิศทาง ขาดความสมดุลเป็นอย่างยิ่ง

ตลอดระยะเวลานับสิบปีที่ผ่านมาเครือข่ายประชาชนได้ขับเคลื่อนว่าด้วย การพึ่งตนเอง การจัดการตนเอง และการปกครองตนเองตามรัฐธรรมนูญมาโดยตลอด จนเกิดพื้นที่รูปธรรมหลายพื้นที่เช่น พรบ.เชียงใหม่มหานคร ภูเก็ตมหานคร อำนาจเจริญจัดการตนเอง เป็นต้น

สถานการณ์ปัจจุบันเครือข่ายประชาชนเพื่อการขับเคลื่อนจังหวัดปกครองตนเองจึงเห็นพ้องร่วมกันว่า  ถึงเวลาแล้วที่จะต้องปฏิรูปประเทศไทยอย่างแท้จริง   เราจึงขอประกาศว่า

1. พวกเราจะร่วมกันสานพลังทุกภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ในทุกพื้นที่ทุกภาคทุกจังหวัดเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศไทยเรื่องจังหวัดปกครองตนเอง

2. พวกเราจะร่วมกันสนับสนุนและผลักดัน(ร่าง)พรบ.การบริหารจังหวัดปกครองตนเอง (ตามรัฐธรรมนูญ)ที่ยกร่างโดยคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย(คปก.) และเครือข่ายฯ โดยมีสาระสำคัญให้จังหวัดบริหารจัดการตนเอง  มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการฯ จัดเก็บภาษีด้วยตนเอง วางแผนการพัฒนาบนความหลากหลายของพื้นที่ด้วยตนเองและมีสภาพลเมืองเป็นดุลอำนาจที่สำคัญ

3. ขอเรียกร้องให้นักการเมืองทุกฝ่ายดำเนินการปฏิรูปประเทศไทยอย่างจริงจัง ด้วยความจริงใจให้ทุกภาคส่วนเป็นเจ้าของกระบวนการร่วมกัน และอย่าได้นำประเด็นนี้ไปเป็นประเด็นทางการเมืองเพื่อตนเองและพวกพ้อง

นับแต่นี้ไปเครือข่ายประชาชนเพื่อการขับเคลื่อนจังหวัดปกครองตนเอง  จะขับเคลื่อนเรื่องการปฏิรูปประเทศไทยโดยใช้ "พื้นที่เป็นตัวตั้ง" ยกระดับ "การจัดการตนเองเพื่อการปกครองตนเอง" ให้เข้มข้นทุกพื้นที่ อันถือเป็นวาระสำคัญสืบเนื่องต่อไป
                        
เครือข่ายประชาชนเพื่อการขับเคลื่อนจังหวัดปกครองตนเอง (คปป.)
20 ธันวาคม 2556
กรุงเทพมหานคร

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พรรคประชาธิปัตย์ทำหนังสือชวนทุกพรรค "เลื่อนเลือกตั้ง"

Posted: 20 Dec 2013 02:35 AM PST

โฆษกประชาธิปัตย์สนับสนุนให้เลื่อนเลือกตั้ง 2 ก.พ. ออกไปก่อน เรียกร้องทุกพรรคการเมืองแสดงเจตนารมณ์ร่วมกัน เพื่อปลดเงื่อนเวลา แล้วหันมาหารือเรื่องการปฏิรูป ยันไม่ปฏิเสธเลือกตั้ง แต่บรรยากาศขณะนี้จัดเลือกตั้งเรียบร้อยไม่ได้

องอาจ คล้ามไพบูลย์และคณะ เป็นตัวแทนจากพรรคประชาธิปัตย์ ยื่นหนังสือเพื่อให้พรรคเพื่อไทย พรรคชาติไทยพัฒนา และพรรคชาติพัฒนา เลื่อนการเลือกตั้ง (ที่มา: พรรคประชาธิปัตย์)

 

สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ รายงานว่าวันนี้ (20 ธ.ค.) นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า พรรคต้องการหาคำตอบ เพื่อลดความขัดแย้งให้ประเทศ เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า การเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 อาจไม่ใช่กลไกบรรเทาความขัดแย้งให้ประเทศได้ ที่สำคัญ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้แสดงจุดยืนแล้วว่า การเลือกตั้งสามารถเลื่อนได้ แต่ต้องมีการแสดงเจตนารมณ์จากพรรคการเมือง ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้ง หากแสดงเจตนารมณ์ว่า การเลือกตั้งอาจเร็วเกินไป หรือเป็นวันที่ไม่สามารถเป็นทางออก หรือคำตอบให้ประเทศได้ และทุกฝ่ายมีเจตนารมณ์ร่วมกันว่า ขอให้มีการเลื่อนวันเลือกตั้ง ซึ่ง กกต.เสนอว่า สามารถพิจารณาข้อกฎหมายและระเบียบ เพื่อขยายวันเลือกตั้งให้ยาวออกไป

ทั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์ สนับสนุนให้มีการแสดงเจตนารมณ์เลื่อนการเลือกตั้ง วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ออกไปก่อน และขอเรียกร้องทุกพรรคการเมือง แสดงเจตนารมณ์ร่วมกัน เพื่อให้กระบวนการด้านอื่นของสังคม ปลดเงื่อนไขกรอบเวลา แล้วหันมาหารือเรื่องการปฏิรูปประเทศ โดยบ่ายวันนี้ นายจุติ ไกรฤกษ์ เลขาธิการพรรค นายจุฤทธิ ลักษณวิศิษฎ์ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ และตนเอง จะไปพรรคเพื่อไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนา และพรรคพลังชล ยื่นจดหมายถึงผู้บริหารพรรค เห็นประโยชน์ของส่วนรวม ประเทศชาติ ก่อนประโยชน์พรรคการเมืองและนักเลือกตั้ง และขอยืนยันว่า การดำเนินการครั้งนี้ ไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง ขอร้องให้ถอดความเป็นนักการเมืองออก เพื่อร่วมกันหาทางออกให้ประเทศและประชาชน เพราะไม่มีใครปฏิเสธการเลือกตั้ง แต่บรรยากาศขณะนี้ นำไปสู่การเลือกตั้งที่เรียบร้อยไม่ได้

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่าในวันที่ 21 ธ.ค. เวลา 15.00 น. พรรคประชาธิปัตย์จะนัดประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่และชุดเก่ารวมถึงอดีต ส.ส. เพื่อหารือสถานการณ์ทางการเมือง โดยให้สาขาพรรคทั่วประเทศประเมินสถานการณ์ในพื้นที่ เพื่อรับทราบสิ่งที่คนไทยอยากให้พรรคขับเคลื่อนต่อไป หลังจากได้รับข้อมูลวันพรุ่งนี้ จะประเมินตัดสินใจในวันที่ 21 ธ.ค. และยืนยันว่าการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 จะมีขึ้นหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับพรรคจะส่งผู้สมัครรับเลือกหรือไม่ แต่ขึ้นอยู่กับรัฐบาล ที่ไม่สนองข้อเรียกร้องของประชาชนที่มีช่องทางดำเนินการได้ตามกฎหมาย และพรรคอยากเห็นการเลือกตั้ง ที่เป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย หรือหากไม่มีการเลือกตั้ง ควรเกิดจากความเห็นที่สอดคล้องกัน

ขณะที่เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. ที่ผ่านมา ข่าวสด รายงานว่า นายเชน เทือกสุบรรณ พร้อมด้วยนายธานี เทือกสุบรรณ นางโสภา กาญจนะ นายสินิตย์  เลิศไกร และนายธีรภัทร พริ้งศุลกะ อดีต ส.ส.สุราษฎร์ธานี ร่วมกันเเถลงมติจากการประชุมกรรมการสาขาพรรคประชาธิปัตย์ จ.สุราษฎร์ธานี ระบุว่าอดีต ส.ส.สุราษฎร์ธานี ทั้งหมดจะไม่ส่งผู้สมัครลงรับการเลือกตั้ง และจะแจ้งอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะหัวหน้าพรรคทราบ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทยแนะเดินหน้าสู่การเลือกตั้ง 2 ก.พ. 57

Posted: 20 Dec 2013 02:17 AM PST

20 ธ.ค. 2557 - โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย ออกแถลงการณ์ "ปกป้องประชาธิปไตย เดินหน้าสู่การเลือกตั้ง 2 ก.พ. 57" โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้


แถลงการณ์
ปกป้องประชาธิปไตย เดินหน้าสู่การเลือกตั้ง 2 ก.พ. 57
โดย โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย


จากสถานการณ์การเมืองที่กำลังขัดแย้งกันระหว่างสองฝ่ายคือ ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.) ที่มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ จากพรรคประชาธิปัตย์เป็นเลขาธิการ จนนำไปสู่การยุบสภานั้น โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย เห็นว่า ความขัดแย้งทางการเมืองนี้กำลังทำลายวิถีการเลือกตั้งที่ดำรงคู่กับระบอบประชาธิปไตยมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา พ.ศ.2475 โดยคณะราษฎร เนื่องด้วยจุดยืนของ กปปส.ไม่ยอมรับการเลือกตั้งแต่ใช้วิธีการเรียกหาการสนับสนุนจากทหารและอำนาจพิเศษที่ไม่ได้มาจากอำนาจของประชาชนเข้ามาแทรกแซงทางการเมือง และข้อเสนอสภาประชาชนมุ่งเอาชนะเครือข่ายทักษิณ ชินวัตร มากกว่าการปฏิรูปสังคม เพราะสภาดังกล่าวไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนที่มีความคิดแตกต่างหลากหลายอย่างแท้จริง จำกัดวงเฉพาะสาขาอาชีพ มีท่าทีดูถูกเหยียดหยามประชาชนคนเสื้อแดงที่เลือกพรรคเพื่อไทยและคัดค้านการทำรัฐประหารปี  49   ตัดตอนกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตย เบียดขับคนจำนวนมากออกไปจากการแก้ไขวิกฤตความขัดแย้งทางการเมือง โดยเรียกร้องเอานายกรัฐมนตรีที่มาจากการแต่งตั้ง

อีกทั้งข้อเสนอของกปปส.ยังทำลายเจตนารมย์ของวันรัฐธรรมนูญ 10 ธ.ค. ที่ต้องการให้สิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคระหว่างคนธรรมดากับอภิสิทธิชน ให้เท่ากัน 1 เสียง ที่ในอดีตคนจนไม่เคยมีอำนาจตัดสินใจทางการเมือง และไม่ได้รับความเป็นธรรมในหลายๆเรื่อง  แต่ปัจจุบันประชาชนทั่วไปมีสิทธิมีเสียงผ่านการตัดสินใจลงคะแนนเสียง ต่อรองอำนาจกับนักการเมือง ให้ความสำคัญกับนโยบายที่กลไกรัฐและรัฐบาลต้องมีหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของประชาชนมากขึ้น  ซึ่งนั่นคือ การที่ประชาชนเป็นเจ้าของอธิปไตย ใช้สิทธิพลเมืองอย่างเต็มที่  และประชาชนส่วนใหญ่นั้นคือผู้ใช้แรงงาน ชาวนา ผู้ผลิตรายเล็ก คนจนผู้ด้อยโอกาส

การปกป้องสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของผู้ใช้แรงงานจึงสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย องค์กรสาธารณะประโยชน์ เนื่องจากเสรีภาพของผู้ใช้แรงงานคือสิ่งที่จะประกันให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์และความชอบธรรมต่างๆ  พึงระลึกว่า ผู้ใช้แรงงานมีจำนวนถึง 39 ล้านคน แบ่งเป็นคนทำงานในสถานประกอบการ 14 ล้านคน นอกสถานประกอบการ 25 ล้านคน ทำงานวันละ 10 กว่าชั่วโมง สัปดาห์ละ 60 ช.ม.เหมือนกัน แต่รับสวัสดิการไม่เท่ากัน ทั้งเมื่อเทียบกับคนรวย นายจ้างของตัวเอง ก็ยังเหลื่อมล้ำอยู่มาก รายได้และสวัสดิการยังต่ำ การจ้างงานไม่มั่นคง เข้าไม่ถึงทรัพยากรต่างๆ ของรัฐ และยังถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพ อำนาจการต่อรองในสถานที่ทำงาน การรวมกลุ่มเป็นสหภาพแรงงาน  
ด้วยเหตุนี้ วิธีการหนึ่งที่จะได้มาซึ่งผลประโยชน์ของแรงงาน คือ การที่สมาชิกส่งตัวแทนไปเจรจากับนายจ้าง กับเจ้าหน้าที่รัฐ กับนักการเมืองทุกระดับผ่านระบบเลือกตั้ง หรือสร้างพรรคการเมืองของแรงงานขึ้นมาแข่งขันทางนโยบายกับพรรคที่มีอยู่ ดังนั้นการเลือกตั้งที่เปิดให้สมาชิกทุกคนเข้าร่วมอย่างเสมอหน้า จึงเป็นประชาธิปไตยของผู้ใช้แรงงาน โดยผู้ใช้แรงงานและเพื่อผู้ใช้แรงงาน

อีกประการหนึ่ง  หากไม่มีบรรยากาศของประชาธิปไตย การเคารพความเป็นมนุษย์ เคารพเสียงของประชาชน ปัญหาความไม่ยุติธรรมต่างๆ ก็ไม่สามารถแก้ไขได้เช่นกัน  เพราะนอกจากจะมีปัญหาปากท้อง ยังมีปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ได้แก่ การกักขังนักโทษในคดีการเมืองตั้งแต่หลังการทำรัฐประหาร 2549 การปราบปรามประชาชนผู้ชุมนุมปี 2553 ด้วยอาวุธของเจ้าหน้าที่รัฐ  การทำลายเสรีภาพในการแสดงความเห็นด้วยกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (ก.ม.อาญา มาตรา 112)  ที่โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทยและเครือข่ายแรงงานทั้งในและต่างประเทศร่วมกันรณรงค์มาก่อนหน้านี้ แต่อดีตรัฐบาลพรรคเพื่อไทยและศาลเพิกเฉยสิทธิมนุษยชน แม้แต่สิทธิการประกันตัวตามกฎหมายร.ธ.น. และเลือกปฏิบัติให้ต่างจากอีกฝ่ายที่สนับสนุนการทำรัฐประหาร 49

หากองค์กรด้านแรงงาน สหภาพแรงงานจะต่อรองทางการเมืองกับนักการเมือง ต้องไม่ขัดกับหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย 1 คน 1 เสียง ไม่ใช่ใช้ยุทธวิธี (tactics) ทางการเมือง เอาชนะเครือข่ายทักษิณ ชินวัตรที่คอรัปชั่น แล้วลิดรอนสิทธิของประชาชนที่สนับสนุนเครือข่ายทักษิณ  ที่ผ่านมารัฐบาลที่มาจากคณะผู้ก่อการรัฐประหารก็ไม่ได้ช่วยขจัดปัญหาคอรัปชั่นทุกวงการไปได้จริง แต่กลับมุ่งทำลายคนที่คิดต่าง ด้วยระบบเซ็นเซอร์ สอดส่อง จับกุมคุมขัง ใช้ความรุนแรงเพิ่มขึ้น  ดูถูกคนจนที่ต้องการประโยชน์จากนโยบายประชานิยม  ซึ่งเป็นการทำลายพลังการต่อรองของประชาชนเอง แล้วประชาชนจะเข้มแข็งทางความคิด ตรวจสอบพรรคการเมือง ระบบราชการ สถาบันการปกครองทุกสถาบันให้โปร่งใส่ได้อย่างไร

สิ่งที่น่าสงสัยคือ การที่คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ได้เข้าไปทำแนวร่วมกับกปปส. และพรรคประชาธิปัตย์ ที่นำโดยสุเทพ เทือกสุบรรณ หนึ่งในคณะบุคคลที่สั่งสลายการชุมนุมด้วยอาวุธสงครามปี 53 นั้นลิดรอนสิทธิของประชาชนผู้ใช้แรงงานคนอื่นๆ หรือไม่    เมื่อพิจารณาข้อเรียกร้องขององค์กรแรงงานสององค์กรนี้คือ  รัฐบาลต้องลงนามรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98 ให้แรงงานมีอำนาจในการเจรจาต่อรองร่วมกับนายจ้างและมีเสรีภาพในการรวมกลุ่มเป็นสหภาพแรงงานมากขึ้น  แต่ทว่าปฏิเสธการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น และปฏิเสธการแก้ไขรัฐธรรมนูญข้อที่สมาชิกวุฒิสภาทั้งหมดมาจากการเลือกตั้งของประชาชน  เช่นนี้แล้วผู้ใช้แรงงานจะมีอำนาจในการต่อรองเชิงนโยบายกับนักการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้อย่างไรหากเสียงลดลง   การแยกเสรีภาพในการเจรจา/รวมกลุ่มในที่ทำงานออกจากการเมืองระดับชาติเพื่อที่จะตัดสิทธิการเลือกตั้งของประชาชนนั้นทำได้ด้วยหรือ   การต่อสู้ แก้ไขกฎหมายประกันสังคมขยายประโยชน์สมาชิก โดยไม่คำนึงวิถีประชาธิปไตย ทำได้หรือไม่

จึงเป็นเรื่องน่าผิดหวัง ที่การเข้าร่วมชุมนุมกับกปปส. ขององค์กรแรงงานสององค์กรมุ่งเอาชนะพรรคเพื่อไทยมากกว่าการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ใช้แรงงาน    ทั้งไม่คัดค้านการนิรโทษกรรมคนสั่งฆ่าประชาชนปี 53 ที่ระบุไว้ในร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมเหมาเข่งตามที่องค์กรแรงงานดังกล่าวออกแถลงการณ์ไว้  แต่เลือกแสดงออกคัดค้านการนิรโทษกรรมทักษิณ ชินวัตร ปกป้องรัฐธรรมนูญปี 50  และสนับสนุนสภาประชาชนที่มีลักษณะเผด็จการ  ไม่ได้เสนอสิ่งที่เป็นทางออกที่ก้าวหน้ากว่าที่เป็นอยู่ ด้วยเหตุผลดังกล่าว  ผู้ใช้แรงงานจึงไม่ได้ประโยชน์จากการทำงานทางการเมืองขององค์กรแรงงานสององค์กรนี้  แต่กลับสูญเสียสิทธิเสรีภาพ และอำนาจไปให้แก่คนเพียงหยิบมือเดียว  

ดังนั้น โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทยจึงขอเรียกร้องรัฐเคารพกติกาประชาธิปไตยและสร้างความเป็นธรรม 5 ประการ  คือ

1. ยุติความขัดแย้งโดยสันติ ให้ประชาชนตัดสินใจทางการเมือง เดินหน้าสู่การเลือกตั้ง
2. ไม่เอาอำนาจพิเศษ การแทรกแซงของทหาร มาตัดสินปัญหาแทนประชาชน
3. ปล่อยนักโทษการเมืองทุกคนโดยไม่มีเงื่อนไข
4. ยกเลิกก.ม. อาญา มาตรา 112 ปฏิรูประบบยุติธรรม ให้เคารพสิทธิแห่งความเป็นมนุษย์
5. เจ้าหน้าที่รัฐและนักการเมืองที่เกี่ยวข้องต้องรับผิดชอบต่อการสลายการชุมนุมด้วยอาวุธเมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม ปี 53  คณะบุคคลเหล่านี้ต้องถูกนำมาขึ้นศาลและรับผิด

เพราะระบอบประชาธิปไตย คือระบอบที่ประชาชนมีวุฒิภาวะพอที่จะตัดสินใจกำหนด แก้ไข เปลี่ยนแปลงและปกครองตัวเองได้

แถลงการณ์ออก ณ วันที่ 20 ธ.ค. 56

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ThaiCERT เตือนเล่น LINE เวอร์ชั่นเก่าผ่านคอม เสี่ยงถูกดักฟัง

Posted: 20 Dec 2013 02:08 AM PST

20 ธ.ค.2556 วานนี้ ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย (ThaiCERT) ออกรายงานการวิเคราะห์การเข้ารหัสข้อความของแอพพลิเคชั่น LINE พบว่า ในการส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย 2G/3G นั้น LINE จะไม่เข้ารหัสดังที่เป็นข่าวไปก่อนหน้านี้ แต่ที่สำคัญคือบนเครือข่าย Wi-Fi นั้น LINE เวอร์ชั่นเดสก์ทอปทั้งวินโดวส์และแมคต่างก็ไม่มีการตรวจสอบใบรับรองทั้งคู่ ทำให้เสี่ยงต่อการถูกโจมตีแบบ man-in-the-middle

ทาง ThaiCERT ได้ติดต่อ NAVER หลังจากพบช่องโหว่นี้ และตอนนี้เวอร์ชั่น 3.2.1.93 บนวินโดวส์ ก็แก้ไขช่องโหว่นี้แล้ว พร้อมแนะนำว่าผู้ใช้งานควรอัพเดทแอพพลิเคชันของตนเองด้วย

อนึ่ง ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย (ThaiCERT) เป็นหน่วยงานของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ภายใต้สังกัดของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

 

ที่มา: Blognone 
ดูเพิ่มเติมที่ ThaiCERT

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น