ประชาไท | Prachatai3.info |
- ชี้ปัญหาใหญ่ภาคธุรกิจมักฟ้องหมิ่นฯ ปิดปาก ขัดหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิฯ
- กสม.ชี้เลี้ยงหอยที่สาธารณะของเอกชน จ.ตรัง-สุราษฎร์ธานี ละเมิดสิทธิชุมชน
- 'ศูนย์การค้า MBK' ขอกลุ่มค้าน คสช.สืบทอดอำนาจ งดใช้ชื่อคล้ายเคลื่อนไหวการเมือง
- 3 องค์กรสิทธิฯ ขอ 'กอ.รมน.4' ถอนฟ้อง 'ผู้จัดการ' ปมรายงานข่าวชาวบ้านแฉถูกซ้อมทรมาน
- ปริญญ์ พานิชภักดิ์: การศึกษา กฎหมายสำคัญต่อการรับมือธุรกิจและเทคโนโลยีใหม่
- 'อีสานโพล' เผย 'เพื่อไทย' ยังมีคะแนนนิยมนำโด่งในเขตอีสาน
- มือชกเอกชัย สารภาพถูกปรับ 1 หมื่น รอลงอาญา 2 ปี
- พบรัฐบาลฟิลิปปินส์จ้างเกรียน 'ดูเตอร์ตาร์ด' โจมตีไซเบอร์ทำเว็บข่าวล่ม
- เยาวชนคนหนุ่มสาวกำลังกำหนดอนาคตของตัวเอง
- กวีประชาไท: ย่ำเท้าในโคลนเลน
- ‘We Walk’ และเสียงตะโกนจากรอยเท้า ‘เดินไปทำไม?’
- อดีตผู้แทนไทยในเวทีสิทธิอาเซียนระบุ กติกาภูมิภาคไม่ค่อยช่วยพัฒนาชีวิตคนงานข้ามชาติ
- ตร.ระบุพร้อมรับมือชุมนุมหยุด คสช.สืบทอดอำนาจพรุ่งนี้ - ศาลออกหมายจับ 4 สกายวอล์คแล้ว
- ชี้คดีพุ่ง ศูนย์ทนายสิทธิฯ เปิดรายงานหลัง 79 วันรัฐบาลชูสิทธิมนุษยชนเป็นวาระแห่งชาติ
- สื่อรอยเตอร์เผยรายงานสืบสวน: กองกำลังพม่าสังหารหมู่ชาวโรฮิงญาที่หมู่บ้านอินดิน
ชี้ปัญหาใหญ่ภาคธุรกิจมักฟ้องหมิ่นฯ ปิดปาก ขัดหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิฯ Posted: 09 Feb 2018 12:10 PM PST กสม. ร่วมจัดวงถกบเคลื่อนหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิฯ นักวิชาการกฎหมายชี้ปัญหาสำคัญในปัจจุบันภาคธุรกิจมักงัดกลยุทธ์ฟ้องหมิ่นประมาทเพื่อปิดปากในการมีส่วนร่วมในกิจการสาธารณะ 9 ก.พ. 2561 รายงานข่าวจาก สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (สนง.กสม.) แจ้งว่า สนง.กสม.และภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม เครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กประเทศไทย และผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN INTERGOVERNMENTAL COMMISSION ON HUMAN RIGHTS - AICHR) ร่วมจัดโครงการเสวนาวิชาการในหัวข้อ "การดำเนินการตามหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : กรณีศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการเยียวยาและระงับข้อพิพาทโดยภาคธุรกิจไทย" โดยมี วัส ติงสมิตร ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์ ฉัตรสุดา จันทร์ดียิ่ง กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) และ ภิรมย์ ศรีประเสริฐ เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เข้าร่วมงานสัมมนาดังกล่าว ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวเปิดงานสัมมนาว่า ปัจจุบัน ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนไม่ได้เกิดขึ้นจากหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเท่านั้น แต่อาจเกิดจากการประกอบธุรกิจของภาคเอกชนด้วยซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลกและทำให้เกิดกระแสเรียกร้องให้ภาคเอกชนมีการดำเนินธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น แม้ว่าที่ผ่านมา บริษัทต่าง ๆ ทั่วโลกได้ให้ความสำคัญกับแนวคิดเรื่องการบริหารจัดการที่ดี และความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม (CSR) แต่กรอบแนวคิดดังกล่าวยังไม่เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน จึงนำไปสู่การรับรองหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (The UN Guiding Principles on Business and Human Rights) ในปี ค.ศ. 2011 เพื่อส่งเสริมให้ภาคเอกชนประกอบธุรกิจโดยคำนึงถึงหลักการสำคัญคือ การคุ้มครอง เคารพ และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนจากการประกอบธุรกิจไว้ด้วย สำหรับประเทศไทย ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นภาคธุรกิจซึ่งมีการร้องเรียนมายัง กสม. ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับสิทธิแรงงาน สิทธิชุมชน สิทธิในที่อยู่อาศัย และสิทธิทางสุขภาพ โดยที่ผ่านมา กสม. ได้ขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการป้องกันปัญหาดังกล่าว โดยได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายผลักดัน "ปฏิญญาความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติในประเทศไทย" เมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2560 ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติฯ กรุงเทพฯ โดยมี พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นสักขีพยาน ปฏิญญาฯ ฉบับนี้จึงเป็นการแสดงเจตนารมณ์ที่สำคัญของภาคีเครือข่ายด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ในการขับเคลื่อนหลักการชี้แนะฯ ดังกล่าวให้เกิดผลในประเทศไทย การจัดโครงการเสวนาวิชาการในวันนี้ จึงเป็นโอกาสอันดีที่ทุกภาคส่วน จะได้มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการเยียวยาและการระงับข้อพิพาทด้านสิทธิมนุษยชนโดยภาคธุรกิจต่อไป ส. รัตนมณี พลกล้า ผู้ประสานงานมูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน ผู้แทนภาคประชาสังคม กล่าวว่า จากประสบการณ์การทำงานให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ชุมชนที่ถูกละเมิดสิทธิจากโครงการพัฒนาของรัฐและเอกชน พบว่า เมื่อพูดถึงการเยียวยาความเสียหาย เรามักนึกถึงการชดเชยค่าเสียหายรายบุคคลเท่านั้น แต่ยังละเลยประเด็นการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นความเสียหายร่วมกันของสาธารณะ ตัวอย่างเช่น กรณีน้ำมันรั่วไหลลงทะเลระยองเมื่อปี 2556 แม้ว่าบริษัทในเครือ ปตท. จะมีแนวปฏิบัติที่ดีในการเยียวยาความเสียหายให้แก่ประชาชนเบื้องต้นโดยการชดเชยค่าเสียหายทันทีก่อนที่จะมีการฟ้องร้องคดีกันศาล แต่ยังต้องให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูทรัพยากรทะเลในระยะยาวด้วย เนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าวไม่เพียงส่งผลกระทบต่อการสูญเสียรายได้ของชาวประมงแต่ยังทำให้ทรัพยากรธรรมชาติและสัตว์น้ำสูญหายซึ่งการฟื้นฟูในส่วนนี้ยังไม่ได้รับการแก้ไข นอกจากนี้ตนมองว่าประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายใดที่บังคับให้บริษัทผู้ประกอบการทำตามหลักธรรมมาภิบาล หรือ หลักความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ที่ได้ประกาศไว้อย่างมีประสิทธิภาพ หลายกิจกรรมที่จัดขึ้นจึงเป็นเพียงการโฆษณาชวนเชื่อเท่านั้น ต่างจากประเทศแถบยุโรปซึ่งมีการออกกฎหมายบังคับให้บริษัทเอกชนมีกลไกภายในเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดจากการดำเนินกิจการของตน รวมถึงมีกลไกในการเยียวยาความเสียหายก่อนเข้าสู่กระบวนการศาล นอกจากนี้ ยังมีตัวอย่างความก้าวหน้าของความร่วมมือระหว่างประเทศอันเป็นกลไกความรับผิดชอบในการลงทุนข้ามพรมแดน ซึ่งทุกบริษัทที่ไปลงทุนต่างประเทศจะต้องนำมาตรฐานธรรมาภิบาลที่ใช้ในประเทศตนไปใช้ในประเทศที่ไปดำเนินกิจการเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำด้วย จึงหวังว่าภาคธุรกิจไทยจะมีกลไกการเยียวยาโดยเฉพาะอย่างยิ่งการป้องกันมิให้เกิดปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ไปถึงจุดนั้นได้เช่นกัน เนติธร ประดิษฐ์สาร สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็ก ประเทศไทย กล่าวว่า เรื่องที่ทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบันสำหรับภาคธุรกิจ คือ เรื่องธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนซึ่งสหประชาชาติได้เผยแพร่หลักการชี้แนะไว้ให้ภาคธุรกิจทั่วโลกปฏิบัติ ในส่วนโกลบอลคอมแพ็ก ประเทศไทย ปัจจุบันประกอบด้วย 15 บริษัทเอกชนที่มีความตั้งใจร่วมกันในการทำธุรกิจที่ยั่งยืน โดยได้ร่วมกันตั้งเป้าหมายในการดำเนินการเรื่องดังกล่าว 5 ประการ ได้แก่ 1) การสร้างความตระหนักรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนให้แก่ภาคธุรกิจ 2) การร่วมกับภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมการศึกษาเรื่องการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน 3) การจัดทำรายละเอียดข้อมูลและแนวปฏิบัติจากหลักการชี้แนะฯ 4) การมีส่วนร่วมในการสนับสนุนนโยบายของประเทศ และ 5) การขยายสมาชิกเพื่อให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมกับโกลบอลคอมแพ็กมากขึ้น ปกป้อง ศรีสนิท รองคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ภาคธุรกิจย่อมมีเป้าหมายของการดำเนินงานคือผลกำไร ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ การดำเนินงานของภาคธุรกิจบางประการไปก่อให้เกิดความขัดแย้งกับหลักสิทธิมนุษยชน และไม่มุ่งไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งโจทย์สำคัญสำหรับประเด็นนี้จึงเป็นการสร้างความสมดุลที่จะทำอย่างไรให้ภาคธุรกิจได้ทั้งผลกำไรและมีการดำเนินกิจการที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และประชาชนไม่ถูกละเมิดสิทธิฯ ด้วย อย่างไรก็ดี ปัญหาสำคัญอีกประการที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน คือการดำเนินคดีหมิ่นประมาทเพื่อปิดปากในการมีส่วนร่วมในกิจการสาธารณะ (SLAPP) อันเป็นกลยุทธ์ที่ภาคธุรกิจมักใช้ปิดปากไม่ให้ผู้ได้รับความเสียหาย หรือ ผู้สื่อข่าวแสดงความคิดเห็นที่ทำให้ธุรกิจเสียหายโดยการฟ้องหมิ่นประมาท เป็นผลให้ความจริงจะไม่ปรากฏ เกิดความเสียหายกับสาธารณะ ซึ่งเป็นอีกโจทย์ที่ต้องคิดว่าเราจะจัดการกันอย่างไร ประกายรัตน์ ต้นธีรวงค์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า กลไกการเยียวยาหนึ่งที่มีประสิทธิผลและสามารถบรรเทาปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดจากภาคธุรกิจได้ คือ กลไกการไกล่เกลี่ย ซึ่งที่ผ่านมา กสม. ได้มีการจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยเรื่องร้องทุกข์และมีการออกระเบียบเพื่อนำกลไกดังกล่าวมาใช้ในการแก้ไขปัญหาด้วย โดยหลักการชี้แนะฯ ระบุให้การเจรจาไกล่เกลี่ยนั้นต้องอยู่บนพื้นฐานความต้องการของผู้ได้รับผลกระทบเป็นหลัก ซึ่งตนเห็นว่าภาคธุรกิจเอกชนควรนำกลไกไกล่เกลี่ยดังกล่าวมาใช้เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมต่อไป ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
กสม.ชี้เลี้ยงหอยที่สาธารณะของเอกชน จ.ตรัง-สุราษฎร์ธานี ละเมิดสิทธิชุมชน Posted: 09 Feb 2018 10:40 AM PST กสม. มีมติชี้กิจการเลี้ยงหอยในที่ 9 ก.พ. 2561 รายงานข่าวจาก สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (สนง.กสม.) แจ้งว่า เตือนใจ ดีเทศน์ กสม. เปิดเผยถึงความคืบหน้ การร้องเรียนในสองกรณีดังกล่ เตือนใจ กล่าวว่า กสม. ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงจากผู้เกี่ ซึ่งข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้ประกอบการเลี้ยงหอยในพื้นที่ ขณะที่ การร้องเรียนในกรณีคล้ายคลึงกั เตือนใจ กล่าวต่อว่า จากการตรวจสอบพบว่าทั้งสองกรณี 1. กรมประมง กรมเจ้าท่า และส่วนจังหวัด ควรสั่งการให้เจ้าหน้าที่ผู้มี 2. ควรมีการบูรณาการทำงานร่วมกั ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
'ศูนย์การค้า MBK' ขอกลุ่มค้าน คสช.สืบทอดอำนาจ งดใช้ชื่อคล้ายเคลื่อนไหวการเมือง Posted: 09 Feb 2018 09:31 AM PST คณะผู้บริหารศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ออกแถลงการณ์ขอให้กลุ่มผู้ชุมนุมงดเว้นการใช้ชื่อ 'MBK' ในการเคลื่อนไหวทางการเมือง หวันเข้าใจผิด 'ผู้ค้าราชประสงค์' ขออย่าสร้างความวุ่นวาย แนะคำนึงผลประโยชน์ชาติ 9 ก.พ.2561 โพสต์ทูเดย์รายงานว่า คณะผู้บริหารศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ออกแถลงการณ์ว่า ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มใดๆ ทั้งสิ้น และมีวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งและดำเนินธุรกิจอย่างชัดเจนในการประกอบกิจการค้าปลีก และให้บริการความสะดวกสบายที่หลากหลายสำหรับชาวไทยและต่างชาติ ดังนั้น เพื่อรักษาบรรยากาศของการจับจ่ายใช้สอยและการประกอบกิจการของผู้ค้ารายย่อย ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ จึงใคร่ขอให้กลุ่มผู้ชุมนุมคำนึงถึงส่วนร่วมและผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก รวมถึงงดเว้นการใช้ชื่อ 'เอ็ม บี เค' ในการเคลื่อนไหวทางการเมือง เนื่องจากส่งผลให้เกิดความสับสนและเข้าใจผิดว่า เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ สนับสนุนหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเมือง แถลงการณ์ดังกล่าวยังระบุด้วยว่า ขอย้ำว่าศูนย์การค้าฯ มีนโยบายความเป็นกลางทางการเมือง และไม่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองทุกรูปแบบ ผู้สื่อข่าวประชาไทรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับ กลุ่ม MBK39 เดิมทีกลุ่มดังกล่าวไม่ได้มีชื่อเรียก มีเพียงแต่กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย ที่เป็นผู้จัดกิจกรรม "รวมพลคนอยากเลือกตั้ง แสดงพลังต้านสืบทอดอำนาจ คสช." ที่สกายวอล์คบริเวณห้างสรรพสินค้ามาบุญครอง (MBK) เมื่อวันที่ 27 ม.ค. ต่อมา เมื่อมีการออกหมายเรียกกับผู้ร่วมกิจกรรม 39 คน จึงมีการเรียกกลุ่มดังกล่าวว่า MBK39 ล้อไปกับชื่อวงไอดอล BNK 48 โดยเมื่อวันที่ 2 ก.พ. ที่ผ่านมา แฮชแท็ก #MBK39 ถูกพูดถึงจำนวนมาก จนติดเทรนด์อันดับสามของทวิตเตอร์ ประเทศไทย ผู้ค้าราชประสงค์ขอผู้ชุมนุมอย่าสร้างความวุ่นวาย แนะคำนึงผลประโยชน์ชาติมติชนออนไลน์ รายงานด้วยว่า วานนี้ (8 ก.พ.61) สมาคมผู้ประกอบการวิสาหกิจในย่านราชประสงค์ ได้ออกแถลงการณ์มีเนื้อหาโดยสรุปว่า ขอวิงวอนให้กลุ่มผู้จัดการชุมนุมคำนึงผลประโยชน์ของชาติ อย่าปลุกระดมสร้างความวุ่นวายจนเกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ เนื่องจากราชประสงค์เป็นย่านสำคัญทางการค้า โดยมี ข้อความมีดังนี้ "สมาคมผู้ประกอบการวิสาหกิจในย่านราชประสงค์ใคร่ขอวิงวอนให้กลุ่มผู้จัดการชุมนุม ที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่ในขณะนี้ ได้คำนึงถึงส่วนรวมและผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก อย่าปลุกระดมสร้างความวุ่นวายจนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศ เพราะบริเวณพื้นที่ย่านราชประสงค์นี้ นับว่าเป็นศูนย์กลางของย่านเศรษฐกิจการค้าและแหล่งช้อปปิ้งที่สำคัญ ดังนั้น การรักษาภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศจึงเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน ที่จะร่วมกันดำรงไว้ซึ่งความเชื่อมั่นของนักลงทุน นักธุรกิจ และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีต่อประเทศไทย ในฐานะที่เป็นหนึ่งในประเทศที่น่าลงทุนที่สุดในโลก"
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
3 องค์กรสิทธิฯ ขอ 'กอ.รมน.4' ถอนฟ้อง 'ผู้จัดการ' ปมรายงานข่าวชาวบ้านแฉถูกซ้อมทรมาน Posted: 09 Feb 2018 07:17 AM PST มูลนิธิผสานวัฒนธรรม กลุ่มด้วยใจ และเครือข่ายสิทธิมนุษยชนปาตานี ออกแถลงการณ์ เรียกร้องให้ กอ.รมน. 4 และฉก.43 ถอนฟ้องผู้จั 9 ก.พ.2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม กลุ่มด้วยใจ และเครือข่ายสิทธิมนุษยชนปาตานี ออกแถลงการณ์ เรียกร้องให้ กองอำนวยการรั โดยมีรายละเอียดดังนี้ แถลงการณ์ การรายงานข่าวไม่ใช่อาชญกรรม ขอให้ถอนแจ้งความสำนักข่าวผู้จั |
ปริญญ์ พานิชภักดิ์: การศึกษา กฎหมายสำคัญต่อการรับมือธุรกิจและเทคโนโลยีใหม่ Posted: 09 Feb 2018 06:04 AM PST กรรมการผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์ ซี แอล เอส เอ จำกัด ระบุ การศึกษาต้องสอนการจัดการเทคโนโลยี ค้นหาข้อเท็จจริง ใช้ประโยชน์จากข้อมูลออนไลน์ให้ได้ กฎหมาย ข้อบังคับบางอย่างเป็นตัวขัดขวางนวัตกรรมเสียเอง ยกตัวอย่างบริษัทนอกจดทะเบียนไทยต้องขอใบอนุญาตถึง 4 ใบ ปริญญ์ พานิชภักดิ์ (ที่มา: Facebook:YALPI 2018) 8 ก.พ. 2561 ที่อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา โครงการ Young ASEAN Leaders Policy Initiative (YALPI) จัดเวทีอภิปรายของนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์นานาชาติภายใต้หัวข้อ "การสร้างเสริมความเป็นธรรมทางสังคมที่เข้มแข็งผ่านการจัดทำเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน" โดยมี ปริญญ์ พานิชภักดิ์ กรรมการผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์ ซี แอล เอส เอ จำกัด และกรรมการบริหารสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ กระทรวงพาณิชย์ มาเป็นวิทยากรในประเด็น"Tackling Disruptive Technology (การรับมือกับการขัดขวางที่เกิดจากเทคโนโลยี)" ปริญญ์กล่าวว่า เทคโนโลยีใหม่จุดประเด็นและวิสัยทัศน์ใหม่ๆ ให้กับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรม บริการด้านสุขภาพ การศึกษา ฯลฯ เช่นการเกิดขึ้นของระบบ World Wide Web (www.) ที่เชื่อมต่อทุกสิ่งทุกอย่างให้เร็วขึ้นบนแพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ต การใช้เทคโนโลยีเพื่อให้มนุษย์มีความสามารถมากขึ้น ฉลาดมากขึ้นเป็นสิ่งที่ระบบการศึกษาต้องปลูกฝัง จากเดิมที่เน้นการสร้างไอคิวและอีคิว ตอนนี้ระบบการศึกษาต้องสร้าง "ดีคิว" หรือความฉลาดด้านเทคโนโลยี คือการทำให้คนรุ่นใหม่สามารถค้นหาข้อเท็จจริงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีอยู่จำนวนมากที่อยู่บนโลกออนไลน์ได้ กรรมการผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์ ซี แอล เอส เอ จำกัดยังระบุว่า การขัดขวางนวัตกรรมและการเกิดธุรกิจใหม่ๆ ไม่ได้เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีอย่างเดียว กระบวนการทางกฎหมายเองก็เป็นตัวขัดขวางเอาเสียเอง ประเทศที่มีกฎหมายหรือใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับการเปิดธุรกิจมากมีแนวโน้มที่จะมีการคอร์รัปชันสูง และมีประสิทธิภาพต่ำ เช่น กรณีการขอจดทะเบียนเปิดบริษัทสินวัฒนะในประเทศไทย สินวัฒนะเป็นบริษัทให้บริการระดมทุนสาธารณะ (Crowdfunding) จากประเทศสิงคโปร์ซึ่งผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นชาวต่างชาติ การจดทะเบียนเพื่อดำเนินธุรกิจในไทยต้องขอใบอนุญาตถึง 4 ใบ เพราะว่าประเทศไทยยังมีกฎหมายห้ามไม่ให้ชาวต่างชาติถือหุ้นมากกว่าร้อยละ 51 ในธุรกิจฟินเทค (Financial Technology - FinTech) ซึ่งกินเวลานาน เทียบกับการเปิดธุรกิจฟินเทคในสหรัฐฯ ที่ไม่มีเขตแดนแบ่งกั้น แม้รัฐบาลพูดอยู่เสมอว่าจะเป็นไทยแลนด์ 4.0 แต่ข้อบังคับเช่นนี้ยังคงมีอยู่ อีกหนึ่งตัวอย่างหนึ่งที่ดูย้อนแย้งคือกรณีบริษัทโอมิเซะ ผู้ให้บริการระบบรับชำระเงินออนไลน์ ที่ได้รับรางวัลธุรกิจสตาร์ทอัพดีเด่นจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แต่ในเดือนถัดมาประยุทธ์ก็ออกมากล่าวว่าอย่าเชื่อมั่นในสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrencies) เพราะว่ามีแต่เรื่องการต้มตุ๋น แต่บริษัทโอมิเซะเองก็หาทุนทำบริษัทจากสกุลเงินดิจิทัล แต่ก็ยังเป็นเรื่องดีที่สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ มีความเข้าใจในเรื่องสกุลเงินดิจิทัลกับการใช้ระดมทุนในลักษณะการซื้อขายเหรียญในระยะเริ่มต้น (Initial Coin Offering: ICO) ปริญญ์กล่าวต่อว่า การศึกษาเป็นตัวแสดงสำคัญในการชี้นำว่าจะใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร หุ่นยนตร์จะไม่สามารถเข้ามาแทนที่การทำงานของมนุษย์ได้ในมิติการเข้าใจอารมณ์ ความรู้สึก การคิดนอกกรอบ ทักษะแบบพหุวัฒนธรรม เป็นหน้าที่ของการศึกษาที่จะสร้างทักษะเหล่านี้ให้กับมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์นำเทคโนโลยีไปใช้ในทางที่เกิดประโยชน์ เป้าหมายของการก้าวไปเป็น 4.0 ในอาเซียนจึงเป็นการใช้เทคโนโลยีเสริมสร้างจุดแข็งของคุณลักษณะ ประชากร และเครือข่ายของภูมิภาคเอง ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
'อีสานโพล' เผย 'เพื่อไทย' ยังมีคะแนนนิยมนำโด่งในเขตอีสาน Posted: 09 Feb 2018 05:29 AM PST อีสานโพล เผยผลสำรวจ คนอีสานส่วนใหญ่เห็นว่าเลือกตั้ง ส.ส.ภายในปี 61 เหมาะสมที่สุด พรรคเพื่อไทยยังมีคะแนนนิยมนำโด่ง ขณะที่ 6.6% หนุนพรรคที่สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ 9 ก.พ.2561 รายงานข่าวระบุว่า วานนี้ (8 ก.พ.61) อีสานโพล (E-Saan Poll) ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เผยผลสำรวจเรื่อง "คนอีสานกับการ (จะได้) เลือกตั้ง" พบกลุ่มตัวอย่างคนอีสานส่วนใหญ่เห็นว่าเลือกตั้ง ส.ส.ภายในปี 2561 เหมาะสมที่สุด โดยมีแนวโน้มจะเลือกนักการเมืองประสบการณ์สูง และนักธุรกิจประสบการณ์สูง มากกว่ากลุ่มอื่นๆ และมีเสียงเห็นด้วยมากกว่าไม่เห็นด้วยกับการตั้งรัฐบาลผสมโดย 2 พรรคใหญ่ ขณะที่เสียงเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยยังไม่แตกต่างกันมากในประเด็นตั้งรัฐบาลแห่งชาติโดย เพื่อไทย ประชาธิปัตย์ และ คสช. ทั้งนี้พรรคเพื่อไทยยังมีคะแนนนิยมนำโด่งในเขตอีสาน ขณะที่ประมาณ 1 ใน 4 ยังรอพรรคทางเลือกอื่นๆ หรือยังไม่ตัดสินใจ โดยเมื่อสำรวจถึงแนวโน้มที่กลุ่มตัวอย่างจะสนับสนุนพรรคการเมืองในการเลือกตั้งครั้งหน้า พบว่า อันดับหนึ่ง ร้อยละ 39.7 สนับสนุนพรรคเพื่อไทย รองลงมา ร้อยละ 26.9 เป็นกลุ่มรอพรรคทางเลือกอื่นๆ หรือยังไม่ตัดสินใจ เลือกพรรคใด ตามมาด้วย ร้อยละ 10.4 สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 6.6 สนับสนุนพรรคที่สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ ร้อยละ 3.4 สนับสนุนพรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 0.9 สนับสนุนพรรคชาติไทยพัฒนา ร้อยละ 0.7 สนับสนุน พรรคชาติพัฒนา และร้อยละ 0.7 สนับสนุนพรรคพลังพลเมือง ขณะที่ ร้อยละ 10.7 จะไม่ไปเลือกตั้งหรือไม่เลือก พรรคใด ผศ.ดร.สุทิน เวียนวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการอีสานโพลเปิดเผยว่า การสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นคนอีสานกับการเลือกตั้ง สส. ครั้งหน้า" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 2-4 ก.พ.ที่ผ่านมา จากกลุ่มตัวอย่างอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 1,161 รายในเขตพื้นที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างว่า การจัดเลือกตั้ง สส. ช่วงใดเหมาะสมที่สุด พบว่า เกินครึ่งหรือร้อยละ 52.4 เห็นว่าควรจัดเลือกตั้ง ส.ส. ในช่วง พ.ค.-ส.ค. 61 รองลงมาร้อยละ 26.0 ควรจัดช่วง ก.ย.-ธ.ค. 61 ตามมาด้วย ร้อยละ 15.6 ควรจัดช่วง ม.ค.-เม.ย. 62 ร้อยละ 2.8 ควรจัดช่วง พ.ค.-ส.ค. 62 และร้อยละ 3.2 ควรจัดช่วงปลายปี 62 หรือนานกว่านั้น (มีรายละเอียดดั้งนี้) ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
มือชกเอกชัย สารภาพถูกปรับ 1 หมื่น รอลงอาญา 2 ปี Posted: 09 Feb 2018 04:14 AM PST เอกช ภาพ เอกช 9 ก.พ.2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (8 ก.พ.61) เอกช เอกช ผู้สื่อข่าวสอบถาม เอกช สำหรับโทษที่ ฤทธิไกร ได้รับนั้น เอกชัย กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ตัดเป็นว่าทำร้ายร่างกายอย่างเดียว แต่ตนเชื่อว่ามีคนอยู่เบื่องหลังฤทธิไกร ดังนั้นต้องเป็นการร่วมทำร้าย ไม่ใช่เพียงแค่ทำร้ายเท่านั้น ทั้งที่ตนยืนยันตั้งแต่แจ้งความว่าน่าจะมีคนที่อยู่เบื้องหลังฤทธิไกร เพราะไม่เช่นนั้นเขาจะไม่ทราบว่าตนจะลงรถเมล์ป้ายนี้ เวลาดังกล่าว ทั้งนี้ ฤทธิไกร เคยก่อเหตุกระชากที่แขนซ้ายของเอกชัย เมื่อวันที่ 19 ม.ค.ที่ผ่านมา ระหว่างที่เอกชัย จัดกิจกรรมยื่นนาฬิกาให้ พล.อ.ประวิตร ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล แต่ได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าทำการควบคุมตัวเอาไว้ และนำตัวไปยัง สน.ดุสิต และจากการตรวจค้นร่างกาย พบมีดพับ ความยาวประมาณ 3 นิ้ว จึงได้แจ้งข้อกล่าวหา พกพาอาวุธมีดไปในที่สาธารณะโดยไม่มีเหตุอันควร โดยเจ้าหน้าที่ส่งฟ้องในวันนั้น และมีโทษปรับ เพราะถูกข้อหาเพียงการปกพาอาวุธ สำหรับกิจกรรมการติดตามความคืบหน้ากรณีนาฬิกาหรูของ พล.อ.ประวิตร นั้น เอกชัย ยืนยันว่ายังคงเคลื่อนไหวต่อ วันอังคารหน้าจะไปที่หน้าทำเนียบอีก เนื่องจากมีการประชุม ครม. โดยเมื่อวานตนก็นำป้ายไวนิลนาฬิกาของ พล.อ.ประวิตร 25 เรือนไปมอบให้ ป.ป.ช. โดยมีเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. มารับ เนื่องจากทราบว่า พล.อ.ประวิตร จะต้องมาชี้แจงกับ ป.ป.ช.วานนี้ สำหรับคดีที่ เอกชัย ถูกฟ้องข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 3/2558 และตามประมวลกฎหมายอาญา ม.116 จากการร่วมกิจกรรมคัดค้านการเลื่อนการเลอกตั้งและการสืบทอดอำนาจของ คสช. บริเวณ สกาย วอล์ค เมื่อ 27 ม.ค.ที่ผ่านมานั้น เอกชัย กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ออกหมายเรียก 2 ครั้ง ครั้งแรกตนไม่ได้รับ แต่ได้ในครั้งที่ 2 ตนจึงแจ้งว่า แม้จะเป็นหมายเรียกครั้งที่ 2 แต่ตนได้ครั้งแรกจึงถือเป็นครั้งแรก รวมทั้งยื่นหมายเรียกมาอย่างกระชั่นชิดมาก จึงขอเลื่อน เมื่อวานจึงต้องให้ทนายความไปขอเลื่อน ปรากฎว่าตำรวจไม่ให้เลื่อนและจะออกหมายจับ ตนก็ยืนยันไปว่าอยากออกหมายจับก็ออกเลย เอกชัย กล่าวต่อว่า เมื่อวานกลุ่มผู้ชุมนุมเช่นเดียวกับตนที่ถูกดำเนินคดี ได้ประกันตัวหมดโดยไม่ต้องประกัน ตนจึงไม่แน่ใจว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อ แต่ยืนยันว่าวันพุธหน้า (14 ก.พ.61) จะไปรับทราบข้อกล่าวหาที่ สน.ปทุมวัน ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ต่อมามีรายงานข่าวว่า เอกชัย ถูกออกหมายจับแล้วนั้น เอกชัย โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊คว่า เนื่องจากวันเสาร์ อาทิตย์ ศาลอาญากรุงเทพใต้ปิดทำการ หากตนถูกจับกุมในวันพรุ่งนี้ นั่นหมายความว่า คืนวันเสาร์ อาทิตย์ ตนต้องนอนคืนที่ สน.ปทุมวัน รวมเวลา 2 คืน "หากตำรวจไม่จับกุมผมภายในคืนนี้ วันพรุ่งนี้ก็รอจับผมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยก็แล้วกัน" เอกชัย โพสต์หลังทราบข่าวว่าตนเองถูกออกหมายจับ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
พบรัฐบาลฟิลิปปินส์จ้างเกรียน 'ดูเตอร์ตาร์ด' โจมตีไซเบอร์ทำเว็บข่าวล่ม Posted: 09 Feb 2018 04:03 AM PST สื่อทางเลือกคาเดาโปรดักชันในฟิลิปปินส์ถูกโจมตีทางไซเบอร์ทำให้เข้าเว็บไซต์ไม่ได้มาตั้งแต่ต้นเดือนที่ผ่านมาจนถึงบัดนี้ ทางองค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนระบุว่าเป็นสิ่งสะท้อนการละเมิดเสรีภาพสื่อของรัฐบาลฟิลิปปินส์ที่เป็นอริกับผู้เห็นต่าง โดยมีการสำรวจของ ม.ออกซ์ฟอร์ดพบว่าผู้นำฟิลิปปินส์จ้างวานกลุ่มเกรียน "ดูเตอร์ตาร์ด" ก่อเหตุโจมตีทางไซเบอร์ 9 ก.พ. 2561 องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน (RSF) รายงานว่า สื่อทางเลือกคาเดาโปรดักชั่น (Kodao) ถูกโจมตีทางไซเบอร์จนทำให้ใช้งานไม่ได้เป็นเวลาหลายวันแล้ว ทำให้ทาง RSF กังวลว่านี่จะเป็นการโจมตีเสรีภาพสื่อในฟิลิปปินส์อีกกรณีหนึ่งหรือไม่ หลังจากที่รัฐบาลฟิลิปปินส์มีท่าทีเป็นอริกับสื่อที่วิพากษ์วิจารณ์พวกเขา รวมถึงสื่อวิทยุคริสเตียนคาทอลิกอื่นๆ ด้วย พวกเขาพบว่าเมื่อพยายามเข้าเว็บไซต์ของคาเดาจะพบแต่ข้อความแจ้งความผิดพลาดระบุว่า "เว็บไซต์ไม่สามารถใช้งานได้ในตอนนี้" เป็นผลมาจากการโจมตีทางไซเบอร์ด้วยวิธีการส่งโค้ดอันตรายเข้าสู่เว็บในช่วงเที่ยงคืนของวันที่ 1 ก.พ. ทำให้เว็บไซต์ไม่สามารถโพสต์ข่าวใหม่ได้และผู้อ่านไม่สามารถเข้าถึงเนื้อหาเก่าได้ การโจมตีในครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงที่มีความตึงเครียดจากความขัดแย้งระหว่างผู้เป็นพวกเดียวกับประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เต กับสื่อจากหลากหลายแนวคิดอุดมการณ์ที่มักจะพร้อมวิจารณ์นโยบายของดูเตอร์เต ว่ามีการออกนโยบายด้วยอารมณ์ร้อนขาดการพิจารณา นอกจากนี้ยังมีความเป็นห่วงเรื่องของการต่ออายุใบอนุญาตของเครือข่ายสื่อคาทอลิกหรือ 'คาทอลิกมีเดียเน็ตเวิร์ก' ของฟิลิปปินส์ที่ประกอบด้วยเครือข่ายวิทยุของนิกายคาทอลิก 54 นิกาย ซึ่งใบอนุญาตของพวกเขาหมดอายุเมื่อวันที่ 4 ส.ค. 2560 แต่เมื่อตอนที่พวกเขาขอต่ออายุสัญญาตั้งแต่เดือน ม.ค. 2560 กลับถูกสกัดกั้นการต่อสัญญาในการพิจารณาของรัฐสภา ทำให้เครือข่ายกังวลว่าสถานีวิทยุทั้ง 54 แห่งอาจจะถูกสั่งปิดเมื่อไหร่ก็ได้ แดเนียล บาสตาร์ด ประธาน RSF ฝ่ายเอเชีย-แปซิฟิก เรียกร้องให้รัฐสภาฟิลิปปินส์รับคำร้องขอต่อทะเบียนของเครือข่ายสื่อเพื่อให้พวกเขาต่อสัญญาได้ต่อไป ซึ่งกระบวนการต่อสัญญาไม่ใช่เรื่องยาก ขณะเดียวกันบาสตาร์ดก็พูดถึงกรณีของคาเดา โดยระบุว่าการเข้าถึงเว็บไซต์ของคาเดาไม่ได้ถือเป็นรูปแบบเด่นที่แสดงให้เห็นการทำลายเสรีภาพสื่อ RSF ระบุว่าการโจมตีทางไซเบอร์ต่อเว็บไซต์สื่อในครั้งนี้มาจากกลุ่มเกรียนที่เรียกตัวเองว่า "ดูเตอร์ตาร์ด" (ซึ่งอาจจะเป็นการเล่นคำล้อชื่อของประธานาธิบดี "ดูเตอร์เต" กับคำว่า "โง่เง่า") โดยที่ในงานวิจัยของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดที่ออกมาเมื่อไม่นานนี้ระบุว่าดูเตอร์เตใช้เงิน 200,000 ดอลลาร์ในการจ้างพวกเขา คาเดาโปรดักชันเป็นสื่อที่จัดตั้งขึ้นในปี 2543 เป็นที่รู้จักดีในฐานะการทำข่าวด้านสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม รวมถึงเรื่องเกี่ยวกับการเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลกับพรรคเหมาอิสต์ฝ่ายซ้าย และการรายงานเรื่องการสังหารประชาชนนอกกระบวนการกฎหมายจากนโยบาย "สงครามยาเสพติด" จากดูเตอร์เตที่มียอดผู้เสียชีวิตแล้วราว 4,000 ราย นอกจากกรณีคาเดาโปรดักชันแล้วเมื่อเดือน ม.ค. ที่ผ่านมายังมีกรณีที่หนึ่งในสื่อชั้นนำอย่าง Rappler ถูกถอนใบอนุญาต จนมีการพยายามอุทธรณ์ในเรื่องนี้ ทาง RSF ได้แจ้งเรื่องนี้ให้กับทางองค์การสหประชาชาติทราบ ทำให้อีก 10 วันหลังจากนั้นสหประชาชาติโต้ตอบในเรื่องนี้ว่าพวกเขาแสดงความเป็นห่วงอย่างมากต่อสถานการณ์การล่วงละเมิดเสรีภาพสื่อ ฝ่ายสหภาพผู้สื่อข่าวแห่งชาติของฟิลิปปินส์ก็กำลังจัดตั้งการประท้วง "วันศุกร์สีดำ" เพื่อแสดงการสนับสนุนสื่อที่ถูกโจมตีจากรัฐบาล ในดัชนีเสรีภาพสื่อโลกปี 2560 ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 127 จากทั้งหมด 180 ประเทศ เรียบเรียงจาก New threats to outspoken Philippine media outlets, 06-02-2018 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เยาวชนคนหนุ่มสาวกำลังกำหนดอนาคตของตัวเอง Posted: 09 Feb 2018 03:48 AM PST
หากจะจำกัดเสรีภาพของประชาชนก็ต้องอาศัยกฎหมายที่บัญญัติขึ้นโดยกระบวนการที่ประชาชนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมและให้ความเห็นชอบ ไม่ใช่ใช้คำสั่งของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลผู้มีอำนาจ ที่พูดอะไรสั่งอะไรก็เป็นกฎหมายไปหมด การบังคับใช้กฎหมายก็ต้องใช้อย่างเป็นธรรม ไม่ใช่ตามอำเภอใจของผู้มีอำนาจ อยากจะบอกว่ากิจกรรมอะไรผิดกฎหมายก็ผิด บอกว่าไม่ผิดก็เป็นอันไม่ผิด การที่ประชาชนเรียกร้องให้ คสช.คืนอำนาจและให้มีการเลือกตั้งโดยเร็วก็ดี รณรงค์ เพื่อสิทธิประโยชน์ของพลเมืองก็ดี หรือเพื่อแก้ปัญหาปากท้องก็ดี เป็นสิ่งที่ได้รับการคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญ รัฐบาล คสช.ควรเลิกใช้การตั้งข้อหาร้ายแรงเกินกว่าเหตุและหาทางคุมขังประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเยาวชนคนหนุ่มสาวและผู้ที่ต่อสู้เรียกร้องด้วยสติปัญญาทั้งหลาย รัฐบาล คสช.ควรเลิกใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือคุกคามทำร้าย เพื่อขัดขวางการแสดงออกที่ชอบธรรมของพวกเขาได้แล้ว ในเมื่อคนส่วนใหญ่ของประเทศก็อยากให้ คสช.คืนอำนาจโดยเร็ว ใครๆ ก็บอกว่าอยู่กันไปอย่างนี้ เศรษฐกิจมีแต่จะแย่ลง ไม่ไหวแล้ว ยิ่งช่วงหลังมีเรื่องฉ้อฉลอื้อฉาวเกิดขึ้นไม่ได้หยุดไม่ได้หย่อนด้วย ก็ยิ่งไปกันใหญ่ เวลานี้ไม่ว่าโพลล์สำนักไหนไปถามประชาชน ก็ได้คำตอบเหมือนๆกัน แล้วการแสดงออกของประชาชนที่ต้องการให้ คสช.คืนอำนาจให้ประชาชนและจัดให้มีการเลือกตั้งโดยเร็วตามสัญญา จะกลายเป็นการชุมนุมมั่วสุมทางการเมืองที่จะทำให้เกิดความวุ่นวายและกระทบต่อความมั่นคงไปได้อย่างไร คนที่เดือดร้อนก็เห็นจะมีแค่ คสช.กับพวกเท่านั้น เป็นการดีแล้วที่เยาวชนคนหนุ่มสาวกำลังจะทำหน้าที่กำหนดอนาคตของชาติ ซึ่งก็คือ อนาคตของพวกเขาเอง จะให้เขาปล่อยให้อนาคตของพวกเขาถูกกำหนดล่วงหน้าและถูกกำกับต่อไปโดย คสช.ที่ไม่มีความรู้ประสบการณ์ในการบริหารบ้านเมืองไปอีกเป็น 10-20 ปีได้อย่างไร ถ้าการรับฟังความคิดเห็นเป็นเรื่องฝืนนิสัยของตนเองเกินไป อย่างน้อย คสช.ก็ควรรู้จักอยู่เฉยๆเสียบ้าง อย่าไปทำร้ายคนที่เขาหวังดีต่อชาติบ้านเมืองอย่างที่ทำมาตลอดอีกเลย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 09 Feb 2018 03:35 AM PST
เรื่องเสือสะเทือนใจกันไปทั่ว สละสามัญสำนึกไปได้หมด พจนานุกรมแปลความอย่างประกาศิต เรื่องเสือเรื่องคนล้วนสาบสาง อยู่บนอยู่สูงอยู่สนุก อนารยะที่ยิ่งใหญ่ไร้เทียมทาน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
‘We Walk’ และเสียงตะโกนจากรอยเท้า ‘เดินไปทำไม?’ Posted: 09 Feb 2018 02:38 AM PST 'We Walk' หรือ 'เดินมิตรภาพ' การเดินทางไกล 800,000 ก้าว 450 กิโลเมตร จากกรุงเทพฯ สู่ขอนแก่น เพื่อรณรงค์ใน 4 ประเด็นหลัก-หลักประกันสุขภาพที่จะสามารถดูแลทุกคนในประเทศ, นโยบายที่ไม่ทำลายความมั่นคงทางอาหารของเราเอง, กฎหมายที่จะไม่ลดทอนสิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชน ดูแลให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสม และนโยบายที่จะช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมของเรา และรัฐธรรมนูญ กฎหมายสูงสุดที่น่าจะเกิดจากการมีส่วนร่วมและรับฟังรอบด้านอย่างแท้จริง เข้าสู่ช่วงสัปดาห์สุดท้ายของการเดิน หากใครได้เดินร่วมทางหรือชะโงกหน้าออกมามองจากรั้วบ้านอย่างถูกจังหวะ อาจได้ยินเสียงตะโกนถาม-ตอบเป็นช่วงๆ ของคณะเดินว่า "พี่น้องเอ๊ย..." "เอ๊ย..." "เราเดินไปไหน?" "เดินไปขอนแก่น" "เดินไปทำไม?" "เดินมิตรภาพ" คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครองช่วยให้พวกเขาและเธอเดินได้สะดวกขึ้น แม้ว่าต้องเจออุปสรรคจากเจ้าหน้าที่บางฝ่ายบ้างระหว่างเส้นทาง แต่โดยรวมถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ยุ่งยากนัก เวลานี้รอยเท้าเหล่านี้เข้าสู่เขตจังหวัดขอนแก่นแล้ว อีกประมาณ 1 สัปดาห์จากนี้พวกเขาจะถึงจุดหมายปลายทาง ความคาดหวังและปัญหาที่พวกเธอและเขาแต่ละคนแบกสัมภาระติดไปด้วยระหว่างรอยก้าวอาจแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดล้วนพุ่งเป้าไปยังอำนาจรัฐที่เมินเฉยกับความทุกข์ร้อนที่พวกเขากำลังเผชิญ เมื่อเปล่งเสียงแล้วไม่ได้ยิน พวกเขาจึงพูดด้วยเท้าและการก้าวเดิน 00000"มาเดินหาอนาคตที่ดีกว่าปัจจุบัน หลายเรื่องในประเทศต้องการการพัฒนา เรื่องการรักษาพยาบาล สวัสดิการยามแก่เฒ่า ซึ่งรัฐต้องจัดหาให้เพราะเป็นสิทธิที่ประชาชนทุกคนต้องได้รับ" ธิติพร ดนตรีพงษ์ มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ "มาเดินหาเพื่อน เจอเพื่อนใหม่ แต่ประเทศยังมีปัญหาเก่า ปัญหาใหม่ที่ยังไม่ได้แก้ เดินให้เจ้าหน้าที่รัฐรู้ อย่างปัญหาที่เทศบาลกุดเชียงหมี คุกคามสิทธิที่ดินของเราโดยไม่ได้ขอใช้พื้นที่ตามขั้นตอน ที่ดินของประชาชนก็เอาโครงการไปลงในที่ทำกิน โดยไม่เคยไปดู ไปรับรู้ว่าชาวบ้านเดือดร้อนยังไง" อาทิตย์ สังขศรี เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.) "เราเรียกร้องสิทธิชุมชน ยุค คสช. (คณะรักษาความสงบแห่งชาติ) ยิ่งบีบรัด นโยบายทวงคืนผืนป่าโดนเราเต็มๆ บางพื้นที่เราอยู่มาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย ไล่เราออกแล้วเราจะไปอยู่ไหน พื้นที่บริษัทจิวกังจุ้ยหมดสัญญาปี 2543 พวกเราก็เข้าไปอยู่ แต่โดนนายทุนรื้อเผาทำลาย เราก็รวมกลุ่มเป็นสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้เรียกร้องให้ตรวจสอบตอนปี 2547 แล้ว ส.ป.ก. (สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม) ก็ฟ้องให้เราออกหาว่าเราเป็นบริวารของบริษัท แต่เราชนะ แต่นโยบายทวงคืนผืนป่าทำให้รัฐยึดพื้นที่คืนไป 500 ไร่ สิทธิชุมชนหายไป" ชูศรี โอฬารกิจ จากสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ "ประเด็นหลักคือทรัพยากรในพื้นที่ เหมืองถ่านหินลิกไนต์ได้สัมปทาน 1 แปลง โดยที่ฝั่งผู้คัดค้านไม่ได้มีส่วนร่วมเลย ทั้งที่เราคัดค้านมาตลอด 7 ปี เคยมีเวทีประชาพิจารณ์ เขาก็อธิบายเรื่องเหมือง เสร็จแล้วก็ถามชาวบ้านว่าเข้าใจหรือไม่ ถ้าเข้าใจให้ยกมือ ชาวบ้านเข้าใจก็ยกมือ แต่คนที่ยกมือเขาเอาไปนับเป็นคนที่เห็นด้วย แต่คนที่ยกมือ 90 เปอร์เซ็นต์ไม่ใช่คนที่คัดค้าน เพราะฝ่ายที่คัดค้านไม่ได้เข้าไป อยู่ข้างนอก สุดท้ายก็มีอีไอเอผ่านออกมาโดยที่ผู้คัดค้านไม่มีส่วนร่วมในอีไอเอเลย" ชุทิมา ชื่นหัวใจ กลุ่มรักษ์บ้านแหง ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
อดีตผู้แทนไทยในเวทีสิทธิอาเซียนระบุ กติกาภูมิภาคไม่ค่อยช่วยพัฒนาชีวิตคนงานข้ามชาติ Posted: 09 Feb 2018 02:07 AM PST 'ศรีประภา เพชรมีศรี' เล่าแนวโน้มการย้ายถิ่นเพื่อหางานของประชากรในอาเซียน สังคมสูงวัยจะต้องการแรงงานมากขึ้นแต่ยังขาดนโยบายรับมือการย้ายถิ่นระยะยาว แม้อาเซียนจะคุ้มครองสิทธิแรงงานย้ายถิ่นแต่คนตัดสินยังคงเป็นชาติสมาชิก หลักการใหญ่ของอาเซียนเป็นปัญหาต่อประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการดำเนินการ ศรีประภา เพชรมีศรี (ที่มา:Facebook/YALPI 2018) 8 ก.พ. 2561 ที่อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา โครงการ Young ASEAN Leaders Policy Initiative (YALPI) จัดเวทีอภิปรายของนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์นานาชาติภายใต้หัวข้อ "การสร้างเสริมความเป็นธรรมทางสังคมที่เข้มแข็งผ่านการจัดทำเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน" โดยมี ศรีประภา เพชรมีศรี อาจารย์ประจำศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (AICHR) คนแรก มาเป็นวิทยากรในประเด็น"Migration including statelessness and citizenship in ASEAN (การย้ายถิ่นรวมถึงสภาวะไรรัฐและสัญชาติในอาเซียน)" ศรีประภากล่าวว่า แนวโน้มประชากรในอาเซียนในอีกสองทศวรรษข้างหน้าคาดว่าจะยังคงมีการเติบโตขึ้น แต่จะต่ำกว่าค่าอัตราค่าเฉลี่ยของโลก ภายในปี ค.ศ.2030 (พ.ศ.2573) ประเทศอาเซียนที่จะมีประชากรมากกว่า 100 ล้านคนคืออินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และเวียดนาม อัตราการเกิดในเอเชียและอาเซียนที่ลดลงในอนาคตและพัฒนาการในด้านสาธารณสุขที่ทำให้คนมีอายุยืนขึ้นหมายถึงการกลายสภาพเป็นสังคมสูงวัย โดยคาดว่าไทยและสิงคโปร์จะเป็นประเทศที่มีอัตราผู้สูงวัยมากที่สุด ส่วนลาวและฟิลิปปินส์จะมีอัตราประชากรสูงวัยต่ำที่สุด ศรีประภากล่าวต่อว่า แนวโน้มอัตราส่วนประชากรบ่งชี้ว่าประเทศที่มีอัตราส่วนผู้สูงอายุน้อยจะเป็นประเทศที่ยังคงส่งออกแรงงานออกไปในตลาดแรงงานภูมิภาคและระดับโลก แต่ว่าเหตุผลที่เป็นปัจจัยในการตัดสินใจของแรงงานให้ออกนอกประเทศนั้นคงมีมากไปกว่าเรื่องอัตราส่วนประชากร ทางองค์การแรงงานระหว่างประเทศหรือ ILO รายงานว่า ปัจจัยเรื่องเศรษฐกิจและสังคมก็มีผลเช่น เหตุผลเรื่องความไม่เท่าเทียมกันของรายได้และโครงสร้างพื้นฐานในแต่ละประเทศ ประเทศอย่างบรูไน มาเลเซีย ไทย สิงคโปร์ กำลังพบเจอกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานจากคนในท้องถิ่น ไม่เพียงแต่อัตราส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น การเติบโตของเศรษฐกิจทำให้ความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้น และงานในบางภาคส่วนเช่น ประมง เกษตรกรรม สิ่งทอ ที่แรงงานในประเทศไม่ต้องการทำงานต่อไป ก็เป็นปัจจัยผนวกที่ทำให้แรงงานในประเทศที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจน้อยกว่าเลือกย้ายถิ่นเพื่อหางานทำ ตามรายงานพบว่า แรงงานมักเลือกเดินทางไปยังประเทศเพื่อนบ้านเพราะความใกล้เคียงทางภูมิศาสตร์ ชาติพันธุ์ วัฒนธรรม และการควบคุมเขตแดนอย่างไม่มีประสิทธิภาพของประเทศปลายทาง สืบเนื่องจากการย้ายถิ่นดังกล่าว ถ้าประเทศสมาชิกอาเซียนขาดนโยบายรับมือกับแรงงานข้ามชาติในระยะยาว แรงงานที่เข้ามาแบบไม่เป็นทางการ หรือเข้ามาอย่างผิดกฎหมายจะเจอปัญหาหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการส่งกลับ การเลือกปฏิบัติหรือการถูกกักตัว ทั้งนี้ แรงงานข้ามชาติจำนวนราวครึ่งหนึ่งนั้นทำงานอยู่ในภาคเศรษฐกิจที่ไม่เป็นทางการ จึงทำให้สถานการณ์ของแรงงานอยู่ในสภาวะเปราะบาง อาเซียนไม่ใช่ของเรา #1: รัฐแสดงนำ ภาคประชาชนที่ไม่มีส่วนร่วม และเอ็นจีโอปลอม อาเซียนไม่ใช่ของเรา#2: อธิปไตย กติกาภูมิภาคกับสิทธิมนุษยชนในฐานะเสือกระดาษหลับ อาจารย์จาก ม.มหิดล กล่าวว่า แม้การย้ายถิ่นไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่อาเซียนก็ไม่มีนโยบายที่แน่ชัดเพื่อพิทักษ์สิทธิของแรงงานข้ามชาติ หากพิจารณาตามเสาหลักของประชาคมอาเซียนทั้งสามเสาจะเห็นว่า เสาด้านการเมืองและความมั่นคงมีการติดตามการย้ายถิ่นของมนุษย์ แต่ก็ทำเพื่อป้องกันอาชญากรรมและการค้ามนุษย์ข้ามชาติ เสาด้านเศรษฐกิจอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายของแรงงานที่มีทักษะบางประเภท เสาสังคมและวัฒนธรรมให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ส่งเสริมให้มีสวัสดิการต่างๆ แต่สถานการณ์ของแรงงานในภาคส่วนเศรษฐกิจที่ไม่เป็นทางการ และแรงงานข้ามชาติที่ไม่จดทะเบียนยังคงพบเจอปัญหาเรื่องการกดขี่และตกเป็นเหยื่อของกลุ่มค้ามนุษย์ แม้กรอบข้อตกลงของอาเซียนได้ให้คำมั่นสัญญากับกรอบข้อตกลงด้านสิทธิมนุษยชนในระดับนานาชาติแล้ว แต่ข้อตกลงไม่มีข้อผูกพันให้ต้องปฏิบัติจริง สิทธิของแรงงานข้ามชาติยังคงผูกพันอยู่กับกฎหมายและข้อบังคับของแต่ละประเทศสมาชิกอยู่ ดังนั้น อาเซียนจึงต้องพยายามให้มากกว่านี้ เพื่อให้คำมั่นสัญญาที่ให้ไว้สัมฤทธิ์ผล ทั้งนี้ ปัญหาและข้อท้าทายเกี่ยวกับเรื่องแรงงานข้ามชาติจะไม่ได้รับการแก้ไข ถ้าทัศนคติของชาติสมาชิกยังคงมองว่าแรงงานข้ามชาติเป็นบุคคลไม่พึงประสงค์ ต่อคำถามที่ว่า หลักสำคัญของอาเซียนสามประการ (การไม่แทรกแซงกิจการชาติสมาชิกอื่น การปรึกษาและตัดสินใจด้วยฉันทามติ และหลักการร่วมมือแต่ไม่เผชิญหน้า) มีผลกับการที่อาเซียนประสบความล้มเหลวในการบังคับใช้ข้อตกลงระหว่างประเทศต่างๆ ที่ลงนามไว้หรือไม่ ศรีประภาตอบว่าหลักการทั้งสามเป็นปัญหาอย่างยิ่ง หลักการไม่แทรกแซงทำให้สิทธิของแรงงานข้ามชาติไปอยู่ในพื้นที่การพิจารณาตามกฎหมายของแต่ละชาติสมาชิก ไม่ใช่บนกรอบข้อตกลงระหว่างประเทศ อาเซียนเข้าไปแทรกแซงไม่ได้ หลักการเรื่องการตัดสินใจบนฐานของฉันทามติ ทำให้ชาติสมาชิกได้ข้อตกลงบนพื้นฐานที่ต่ำที่สุดที่ทุกคนเห็นด้วย ซึ่งออกมาในลักษณะที่ไม่ใช่ข้อบังคับทางกฎหมาย เป็นข้อบังคับทางศีลธรรม (Moral obligation) ภายใต้กลไกดังกล่าว อาเซียนใช้เวลา 10 ปี ในการตกลงเรื่องสิทธิของแรงงานข้ามชาติ และใช้เวลา 16 ปี ในการจัดตั้งคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (AICHR) และคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเด็กและสตรี (ACWC) หลักการไม่เผชิญหน้าก็เป็นเรื่องที่ตีความได้ เช่น ถ้าพม่าตั้งข้อสงสัยว่าแรงงานพม่าในไทยถูกละเมิดสิทธิไม่ว่าโดยรัฐหรือเอกชน ทางการไทยก็ตีความได้ว่าพม่ามีจุดยืนที่จะเผชิญหน้ากับไทย ด้วยเงื่อนไขเช่นนี้ทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนมักจะทำข้อตกลงแบบทวิภาคีมากกว่าอิงตามข้อตกลงระดับภูมิภาค จึงเห็นได้ว่ากลไกอาเซียนไม่ได้ทำให้สถานการณ์ด้านสิทธิของแรงงานข้ามชาติในภูมิภาคดีขึ้นมากเท่าไหร่ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ตร.ระบุพร้อมรับมือชุมนุมหยุด คสช.สืบทอดอำนาจพรุ่งนี้ - ศาลออกหมายจับ 4 สกายวอล์คแล้ว Posted: 09 Feb 2018 01:36 AM PST โรม ยันพรุ่งนี้เจอกัน ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แสดงพลัง หยุดยื้อเลือกตั้ง หยุดสืบทอดอำนาจ คสช. ด้าน บช.น.เผยพร้อมรับมือ แล้ว เบื้องต้นกลุ่มผู้ชุมนุมได้ทำหนังสือประสานมาแล้ว ขณะที่ศาลออกหมายจับ 4 สกายวอล์คที่ไม่ไปรับทราบข้อกล่าวหาแล้ว 9 ก.พ. 2561 สำนักข่าวไทย รายงานว่า พล.ต.ท.ชาญเทพ เสสะเวช และพล.ต.ต.ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา ผบช.น.และรองผบช.น. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชุมเตรียมพร้อมการรักษาความสงบเรียบร้อยและอำนวยความสะดวกการจราจร การจัดกิจกรรมของกลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย และกลุ่ม START UP PEOPLE ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย วันพรุ่งนี้(10 ก.พ.) พล.ต.ท.ชาญเทพ กล่าวว่า เบื้องต้นกลุ่มผู้ชุมนุมได้ทำหนังสือประสานมาว่าจะมีการชุมนุมบริเวณดังกล่าว ระหว่างเวลา 16.00-20.00 น.ซึ่งตำรวจได้แจ้งเงื่อนไขให้ทราบหากพบการชุมนุมไม่เป็นไปตามเงื่อนไขจะบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยเตรียมกำลังตำรวจ บก.น. 1 และ บก.น.6 ไว้ดูแลความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกการจราจร เชื่อสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ พล.ต.ท.ชาญเทพ ยังกล่าวถึงการดำเนินคดีกลุ่มผู้ชุมนุมบริเวณ สกาย วอล์ค เมื่อ 27 ม.ค.ที่ผ่านมาว่า ล่าสุดศาลอาญากรุงเทพใต้อนุมัติหมายจับแกนนำ 4 คน ประกอบด้วย รังสิมันต์ โรม, สิรวิชญ์ เสรีธิวัชร์ หรือ จ่านิว, อานนท์ นำภา และเอกชัย หงส์กังวาน ในข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 3/2558 และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ฐาน ยุยง ปลุกปั่น และผิด พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 หลังไม่ไปรับทราบข้อกล่าวหาที่ สน. ปทุมวัน ตามหมายเรียก พรุ่งนี้(10 ก.พ.) หากพบ 4 คนมาร่วมชุมนุมสามารถจับกุมได้ทันที ขณะที่วันเดียวกัน รังสิมันต์ โรม สมาชิกกลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย ส่งข้อความนัดหมายถึงสื่อมวลชนว่า หมดเวลา คสช. ถึงเวลาประชาชนแสดงพลัง หยุดยื้อเลือกตั้ง หยุดสืบทอดอำนาจ คสช. พยายามที่จะเลื่อนการเลือกตั้งอีกครั้ง และยังอาจเลื่อนอีกในอนาคต เพื่อต่อเวลาหาเสียงสืบทอดอำนาจ ตระบัดสัตย์ครั้งแล้วครั้งเล่า เพียงเพื่อสนองผลประโยชน์ของตัวเอง โดยไม่เห็นหัวประชาชน หากปล่อยให้ คสช. สืบทอดอำนาจต่อไป เราจะไม่มีวันเห็นประชาชนมีสิทธิมีเสียงได้อย่างแท้จริง ไม่มีวันเห็นทหารที่เข้ามามีอำนาจโดยมิชอบและกระทำการทุจริตคอร์รัปชันได้รับการลงทัณฑ์อย่างสาสม เราจะยอมให้มันเกิดขึ้นไม่ได้เด็ดขาด รังสิมันต์ ระบุต่อว่า เราจึงขอเชิญชวนประชาชนทุกท่านที่ไม่อยากทนเห็นการใช้อำนาจอย่างเห็นแก่ตัวของ คสช. อีกแล้ว มาร่วมกันแสดงเจตนารมณ์ว่าเราจะไม่ยอมให้ คสช. และพวกพ้องได้มีอำนาจวาสนาเป็นใหญ่ในแผ่นดินนี้ในอนาคต และจะต่อสู้อย่างถึงที่สุดเพื่อนำ คสช. ลงจากอำนาจและชดใช้ในสิ่งที่ตัวเองได้ก่อไว้ ในวันเสาร์ที่ 10 ก.พ. 2561 เวลา 16.00 น. ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แล้วพบกัน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ชี้คดีพุ่ง ศูนย์ทนายสิทธิฯ เปิดรายงานหลัง 79 วันรัฐบาลชูสิทธิมนุษยชนเป็นวาระแห่งชาติ Posted: 09 Feb 2018 12:17 AM PST ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เปิดรายงาน 79 วัน หลังรัฐบาลประกาศให้ สิทธิมนุษยชนเป็น วาระแห่งชาติ พบว่ามีประชาชนถูกดำเนินคดีจากการใช้เสรีภาพอย่างน้อย 74 คน เฉลี่ยทุกๆ วันจะมีคนถูกดำเนินคดีประมาณ 1 คน 9 ก.พ.2561 หลังจากเมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2560 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบและประกาศใช้วาระแห่งชาติ : สิทธิมนุษยชนร่วมขับเคลื่อน Thailand 4.0 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามที่กระทรวงยุติธรรม เสนอ โดยให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องนำวาระแห่งชาติฯ ไปสู่การปฏิบัติเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น นั้น ล่าสุดเมื่อวันที่ 7 ก.พ.ที่ผ่านมา ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เผยแพร่รายงาน หลังประกาศวาระแห่งชาติดังกล่าว ขณะนี้ผ่านไป 79 วัน พบว่ามีประชาชนถูกดำเนินคดีจากการใช้เสรีภาพอย่างน้อย 74 คน เฉลี่ยทุกๆ วันจะมีคนถูกดำเนินคดีประมาณ 1 คน หากนับเป็นคดี จะมีอย่างน้อย 11 คดี หรือเฉลี่ยประมาณสัปดาห์ละ 1 คดี ศูนย์ทนายความฯ ยังชี้ด้วยว่า อาจจะมีจำนวนผู้ที่ถูกดำเนินคดีเพิ่มขึ้นอีก เช่น กรณีคดี "MBK39" ที่อาจจะมีตามมาอีก 66 คน หากเป็นตามที่ พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าว ถึงการชุมนุม ของกลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย (DRG) และกลุ่ม Start Up People ในกิจกรรม 'หยุดยื้อเลือกตั้ง หยุดสืบทอดอำนาจ' โดยมีการชุมนุมและปราศรัยที่สกายวอล์กปทุมวัน หน้าห้าง MBK เมื่อวันที่ 27 ม.ค.ที่ผ่านมา รายละเอียดรายงานของศูนย์ทนายความฯ มีดังนี้ : 112 คดีแรกของปี 2561 จากเหตุแชร์ข่าวพระราชประวัติ ร.10 จากบีบีซีหลังจากปลายปี 2559 ที่นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ "ไผ่ ดาวดิน" ถูกดำเนินคดีด้วยข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จากการแชร์รายงานข่าวพระราชประวัติรัชกาลที่ 10 จากบีบีซีภาคภาษาไทย เพียงรายเดียว แล้วก็ไม่พบว่ามีการดำเนินคดีกับคนที่ไปกดไลค์กดแชร์ข่าวดังกล่าวอีก เวลาผ่านมาราวปีเศษ วันที่ 28 ม.ค.61 ปรากฏข่าวการลี้ภัยออกนอกประเทศของ น.ส.ชนกนันท์ รวมทรัพย์ หรือ "การ์ตูน" นักกิจกรรมกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ (NDM) เพราะวันที่ 16 ม.ค. เธอเพิ่งได้รับหมายเรียกจาก สน.คันนายาว ให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาตามมาตรา 112 จากสาเหตุเดียวกับ "ไผ่" กรณีการ์ตูนจึงนับเป็นรายที่ 2 (อย่างน้อยที่ปรากฏเป็นข่าว) ที่ถูกดำเนินคดีจากการแชร์ข่าวพระราชประวัติรัชกาลที่ 10 การ์ตูนเล่าไว้ในเฟซบุ๊กส่วนตัวว่ามีเจ้าหน้าที่ทหารชื่อ "สมบัติ ด่างทา" (ไม่ทราบยศ) เข้าแจ้งความดำเนินคดีตั้งแต่เดือนธันวาคม 2559 แล้ว แต่ทางสถานีตำรวจในท้องที่ยังไม่มีการดำเนินการ เนื่องจากมีปัญหาภายในสถานี เรื่องของเธอจึงถูกชะลอไว้ ทั้งนี้หลังปรากฏเป็นข่าว ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ให้ข่าวว่าจะมีการดำเนินการตรวจสอบกับทางสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง หากมีการเดินทางออกนอกประเทศจริง ก็จะขออำนาจศาลให้ออกหมายจับ คสช. แจ้งความโฆษกพรรคเพื่อไทย พ.ร.บ.คอมฯ เพิ่มอีกคดี24 ม.ค.61 ร.ท.หญิงสุณิสา เลิศภควัต หรือ "หมวดเจี๊ยบ" อดีตรองโฆษกพรรคเพื่อไทย เข้ารับทราบข้อกล่าวหาที่ ปอท. อีกครั้ง หลังจาก พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ รับมอบอำนาจจาก คสช. นำสเตตัสเฟซบุ๊กและแฟนเพจของเธอ ที่วิพากษ์วิจารณ์การทุจริตและการบริหารประเทศของ คสช. เข้าแจ้งความที่ ปอท. เป็นครั้งที่ 3 ในข้อหายุยงปลุกปั่น ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 และนำข้อมูลเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่อาจสร้างความเสียหายต่อความมั่นคง ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 มาตรา 14 (2) หมวดเจี๊ยบให้สัมภาษณ์ว่าตนถูกดำเนินคดีไปแล้ว 2 คดี 9 กระทง มีจำนวนข้อความที่ถูกนำมาดำเนินคดีรวมทั้งหมด 13 ข้อความ จาก 3 คดี เนื่องจากเธอโพสต์ข้อความเดียวกันลงใน 2 เพจ จึงถูกนับแยกกันเป็น 2 ข้อความ นับว่าเธอถูก คสช. แจ้งความดำเนินคดีอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ทนายอานนท์ไม่ถึงเดือนโดน 3 คดีรวดในเวลาไม่ถึงเดือน นายอานนท์ นำภา ทนายความอาสาศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ถูกดำเนินคดีเพิ่มอีก 3 คดี ทั้งจากการแสดงออกในพื้นที่ออนไลน์และออฟไลน์ ทำให้ถึงปัจจุบันทนายอานนท์มีคดีรวมทั้งหมดตั้งแต่หลังรัฐประหาร 9 คดี แล้ว คดีแรก เหตุจากการที่ทนายอานนท์ถูกแจ้งความในความผิดฐานดูหมิ่นศาล ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 198 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (2) จากสเตตัสในเฟซบุ๊กที่วิพากษ์วิจารณ์คำพิพากษาของศาลจังหวัดขอนแก่นในคดีนักศึกษาละเมิดอำนาจศาล จำนวน 2 ข้อความ ทนายอานนท์รับว่าเป็นผู้โพสต์สเตตัสทั้งสองจริง แต่ปฏิเสธว่าการกระทำดังกล่าวไม่เป็นความผิดตามที่ถูกกล่าวหา คดีที่สองมาจากการที่ทนายอานนท์ถูกออกสองหมายเรียก จากการเข้าร่วมกิจกรรมคัดค้านการสืบทอดอำนาจของ คสช. และเรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง บนสกายวอล์คแยกปทุมวัน เมื่อวันที่ 27 ม.ค.61 เพียงครั้งเดียว โดยหมายแรก ทนายอานนท์และพวกอีก 6 คน ถูกออกหมายเรียกในข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/58 ข้อ 12 เรื่องชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปโดยไม่ได้รับอนุญาตฯ และข้อหายุยงปลุกปั่น ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 อีกไม่กี่วันต่อมาชื่อของทนายอานนท์ยังไปปรากฏอยู่ในข่าวที่ตำรวจ สน.ปทุมวัน ออกหมายเรียกบุคคลจำนวน 39 คน ให้เข้ารับทราบข้อหาจัดชุมนุมสาธารณะอยู่ในรัศมี 150 ม. จากเขตพระราชฐาน ตาม พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 มาตรา 7 ด้วย แต่หลังจากวันที่ 2 ก.พ. เขาถูกออกหมายเรียกครั้งที่ 2 รวมทั้งสามข้อหาอยู่ในหมายเดียว สำหรับคดีที่สองนี้ทนายอานนท์ได้ประกาศทางเฟซบุ๊กส่วนตัวว่าจะไม่เข้าร่วมกระบวนการใดๆ และยินดีให้เจ้าหน้าที่มาจับกุมตนเอง คดีที่สาม ทนายอานนท์เพิ่งได้รับหมายเรียก (7 ก.พ.) ให้เข้ารับทราบข้อกล่าวหาจาก ปอท.ในวันที่ 9 ก.พ.61 พ.ต.ท.สุภารัตน์ คำอินทร์เป็นผู้แจ้งความในข้อหาในความผิดฐานดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 198 ณ เวลานี้ยังไม่ทราบรายละเอียดเพิ่มเติม เอกชัยหวังดีจะมอบนาฬิกา ได้คดีโพสต์อนาจารตอบแทน ปลายเดือนไปชุมนุมยังถูกแจ้งความอีกคดีหลังจาก พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ถูกตรวจสอบทรัพย์สินหลังจากตกเป็นข่าวว่ามีนาฬิกาหรูกว่า 20 เรือน โดยที่ไม่มีอยู่ในบัญชีทรัพย์สินที่ชี้แจงต่อ ป.ป.ช. มาก่อน ทั้งยังระบุว่าเป็นนาฬิกาที่เพื่อนให้ยืมมาใส่ นายเอกชัย หงส์กังวาน นักกิจกรรมอิสระ ได้เดินทางไปรอพบตามสถานที่ต่างๆ เพื่อมอบนาฬิกาข้อมือของตนเองให้พล.อ.ประวิตร หลายครั้ง เขาอธิบายว่าไม่ต้องการให้ พล.อ.ประวิตรต้องไปยืมนาฬิกาของเพื่อนอีกแล้ว แต่ไม่มีครั้งไหนที่นายเอกชัยทำสำเร็จ เนื่องจากถูกเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของสถานที่ขัดขวางและควบคุมตัวไปก่อน จนกระทั่ง 16 ม.ค. 2561 มีเจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวน 4 นาย เดินทางไปที่บ้านของเอกชัย เพื่อส่งหมายเรียกให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาเรื่องนำข้อมูลที่มีลักษณะอันลามกเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (4) ที่ บก.ปอท. ทั้งนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าข้อความที่เจ้าหน้าที่ใช้ดำเนินคดีนี้เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร เนื่องจากเอกชัยยังไม่ได้เข้าไปรับทราบข้อกล่าวหา นอกจากคดีที่กล่าวไป เอกชัยยังถูกดำเนินคดีร่วมกับผู้ชุมนุมอีก 38 คน ที่สกายวอล์คแยกปทุมวัน เขาถูกแจ้งความดำเนินคดี 3 ข้อหา ได้แก่ ฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/58 ข้อ 12 เรื่องชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป, ข้อหายุยงปลุกปั่น ตามมาตรา 116 และมาตรา 7 ของ พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ เช่นเดียวกันกับกรณีของทนายอานนท์ด้วย ปอท. แจ้งความนักวิชาการ มาตรา 14 พ.ร.บ.คอมฯ เหตุแชร์โพสต์กรณีภรรยาของ พล.อ.ประยุทธ์ ใช้กระเป๋าแพงหลังจากนาฬิกาของ พล.อ.ประวิตร กรณีกระเป๋าถือของนางนราพร จันทร์โอชา ภรรยาของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ มีการแชร์ต่อกันในโลกโซเชียลมีเดีย โดยมีการสันนิษฐานยี่ห้อและราคาของกระเป๋า ภายหลังมีการชี้แจงว่าเป็นเพียงกระเป๋าจากโครงการ OTOP เท่านั้น หากเรื่องไม่จบเพียงเท่านั้น ในวันที่ 17 ม.ค. 2561 มีรายงานข่าวว่า พ.ต.อ.โอฬาร สุขเกษม ผกก.3 บก.ปอท. เข้าแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษ ศ.ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 มาตรา 14 (1) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา จากกรณีที่ชาญวิทย์แชร์โพสต์ของบัญชีเฟซบุ๊กชื่อ "Ploy Siripong" เมื่อ 11 ม.ค. 2561 และแสดงความคิดเห็นต่อภาพกระเป๋าถือของนางนราพร ก่อนที่ตำรวจจะออกหมายเรียกให้เข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามมา ชาญวิทย์เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 31 ม.ค. ที่ผ่านมา แต่ปรากฏว่าพนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหา พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 มาตรา 14 (2) นำเข้าข้อมูลเท็จที่อาจทำให้ประชาชนตื่นตระหนก เบื้องต้นชาญวิทย์ให้การปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมด แม้ศาลปกครองคุ้มครองกิจกรรมเดินมิตรภาพ แต่สมาชิกเครือข่าย 8 ราย ยังถูกดำเนินคดี20 ม.ค. 2561 เครือข่ายประชาชน People Go จัดกิจกรรม "We Walk เดินมิตรภาพ" เดินเท้าระยะทาง 450 กิโลเมตรจากกรุงเทพฯ ถึงจังหวัดขอนแก่น เพื่อยืนยันสิทธิของประชาชนใน 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ หลักประกันสุขภาพ, ความมั่นคงทางอาหาร, สิทธิชุมชน และรัฐธรรมนูญที่มีส่วนร่วมและรับฟังอย่างรอบด้าน โดยในวันที่ 19 ม.ค. มีกิจกรรมเสวนาและดนตรี รวมถึงการรวบรวมรายชื่อเพื่อเสนอยกเลิกประกาศและคำสั่งคสช. จำนวน 35 ฉบับ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ในวันดังกล่าว ผู้กำกับการ สภ.คลองหลวง ในฐานะเจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะ ได้แจ้งว่ากิจกรรมในการรวบรวมรายชื่อและขายเสื้อยืดรณรงค์นั้น อาจจะขัดต่อคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/58 ต่อมาวันที่ 20 ม.ค. เครือข่ายประชาชน People Go ประมาณ 120 คน ได้เริ่มเดินเท้าจากวิทยาลัยป๋วย อึ้งภาภรณ์ มาบริเวณประตูด้านหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พบว่ามีการปิดกั้นจากเจ้าหน้าที่ตำรวจประมาณ 200 นาย โดยเจ้าหน้าที่แจ้งว่าการชุมนุมดังกล่าวขัดต่อคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/58 และให้เจรจากับฝ่ายความมั่นคง แต่ไม่พบว่ามีฝ่ายความมั่นคงมาพบผู้ชุมนุมแต่อย่างใด จนผู้ชุมนุมบางส่วนต้องหาทางออกจากมหาวิทยาลัยในช่องทางอื่น และเริ่มเดินเท้าจากบริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยชุดละ 4 คน โดยมีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบติดตามบันทึกภาพตลอดเวลา 21 ม.ค. 2561 ก่อนออกเดินทางเป็นวันที่สอง เจ้าหน้าที่ตำรวจประมาณ 200 นาย ได้นำกำลังเข้ามายังบริเวณที่พักของผู้ชุมนุมบริเวณวัดลาดทราย ขอตรวจค้น บันทึกภาพบัตรประชาชนของทุกคน และได้กักรถคันสุดท้ายของขบวนซึ่งบรรทุกสัมภาระพร้อมเครือข่ายอีก 4 คน ไปสอบถามโดยไม่มีหมายค้น ไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหา และไม่อนุญาตให้ทนายความเข้าร่วมกระบวนการ จนกระทั่งปล่อยตัวในเวลา 10.30 น. ทาง People Go Network เห็นว่าการปิดกั้นประตูทางออกมหาวิทยาลัย การติดตามบันทึกภาพ การติดต่อไปยังวัดที่ผู้ชุมนุมขอเข้าพัก และการตรวจค้นนั้นละเมิดต่อเสรีภาพในการชุมนุม จึงได้มีการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้ศาลสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้การชุมนุมสามารถดำเนินต่อไปได้ ซึ่งศาลได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 26 ม.ค. ให้ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 และ 4 ทำหน้าที่ดูแลการชุมนุมสาธารณะ และห้ามปิดกั้น-ขัดขวางการชุมนุมจนเสร็จสิ้นกิจกรรมในวันที่ 17 ก.พ. 2561 อย่างไรก็ตาม แกนนำจำนวน 8 คน กลับได้รับหมายเรียกจาก สภ.คลองหลวง ก่อนที่วันที่ 31 ม.ค. ทั้งหมดได้เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาว่ากระทำความผิดชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/58 ข้อ 12 ซึ่งเป็นพฤติการณ์เรื่องการจำหน่ายเสื้อยืดและการชักชวนให้ลงชื่อยกเลิกประกาศและคำสั่ง คสช. และกรณีการกล่าวปราศรัยที่บริเวณประตูมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และต้องเดินทางไปพบพนักงานสอบสวนเพื่อส่งตัวให้อัยการในวันที่ 26 ก.พ. นี้ คดี "คนอยากเลือกตั้ง": ร้องเพลง "คุ้กกี้เสี่ยงคุก" ไปกับวง MBK39หลังจากมีสัญญาเรื่องการจัดการเลือกตั้งในช่วงปลายปีนี้ แต่สัญญาณดังกล่าวก็ดับหายไปอีกหลัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ออกมาให้ข่าวว่าตนไม่เคยรับปากว่าจะมีเลือกตั้งในปีนี้ อีกทั้งยังระบุว่ายังอยากขอเวลาอยู่ต่อเพื่อวางรากฐานก่อน แม้ว่าจะพูดกึ่งๆ ยอมรับว่ารัฐบาลอยู่ในช่วงขาลงก็ตาม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ยังผ่านร่างกฎหมายสภาผู้แทนราษฎร ที่ทำให้ต้องเลื่อนการเลือกตั้งออกไปเป็นปี 2562 จากการเลื่อนแล้วเลื่อนอีกนี้ทำให้ประชาชนที่หวังว่าประเทศไทยจะได้กลับมาสู่ภาวะปกติ (อย่างน้อยก็ปกติกว่ารัฐบาลทหาร) แสดงความไม่พอใจมากยิ่งขึ้น เย็นวันที่ 27 ม.ค. 2561 กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย (DRG) และกลุ่ม Start Up People จึงนัดจัดกิจกรรม 'หยุดยื้อเลือกตั้ง หยุดสืบทอดอำนาจ' โดยมีการชุมนุมและปราศรัยที่สกายวอล์กปทุมวัน หน้าห้าง MBK ในวันนั้นนอกจากจะมีข่าวว่าตำรวจจะไม่ใช้กำลังเข้าจับกุมแล้ว ยังมีการขอกับผู้เข้าร่วมให้ขยับจุดที่ยืนกันอยู่บนสกายวอล์คช่วงบริเวณทางเข้าห้างสรรพสินค้า MBK และหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ไปที่บริเวณลานกว้างกลางแยกสี่แยกปทุมวันแทน วันนั้นกิจกรรมดำเนินไปจนเสร็จสิ้นในเวลาประมาณ 20.00 น. พร้อมประกาศนัดชุมนุมครั้งต่อไปในวันที่ 10 ก.พ. ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จากนั้นเพียงไม่กี่วัน ก็มีข่าวระบุว่าตำรวจจะออกหมายเรียกผู้จัดการชุมนุมในข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/58 และยุยงปลุกปั่น ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 กับบุคคลรวม 7 คน และตามมาด้วยข่าวตำรวจออกหมายเรียกบุคคลจำนวน 39 คน เข้ารับทราบข้อกล่าวหาชุมนุมในรัศมี 150 เมตร จากเขตพระราชฐาน ตามมาตรา 7 ของ พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 ในหมายเรียกรอบหลังนี้ มี 7 คนแรกอยู่ในหมายเรียกคดีนี้ด้วย จึงกลายเป็นถูกดำเนินคดี 2 คดี นอกจากนั้นเจ้าหน้าที่ยังระบุว่ามีตรวจสอบบุคคลอีก 66 คนเพิ่มเติมอีกด้วย แต่ยังไม่ได้มีการดำเนินการใดๆ หลังจากมีข่าว บุคคลตามรายชื่อทยอยได้รับหมายเรียกให้เข้ารายงานตัวในวันที่ 2 ก.พ. และกลายเป็นที่มาของแฮชแท็ก "MBK 39" ที่หมายถึงผู้ชุมนุมทั้ง 39 คน ที่ร่วมชุมนุมบนสกายวอล์คหน้าห้าง MBK จนถูกดำเนินคดีครั้งนี้ 2 ก.พ. คนที่ได้รับหมายรอบหลังรวม 27 คน เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาที่ สน.ปทุมวัน แต่ทางพนักงานสอบสวนแจ้งว่าจะนำตัวทั้งหมดไปขออำนาจศาลแขวงปทุมวันเพื่อฝากขังทั้งหมด แต่พวกเขาไม่คิดว่าจะถูกฝากขัง ทำให้ไม่ได้เตรียมเงินมาใช้ประกันตัว จึงขอเลื่อนเข้ารับทราบข้อหาเป็นวันที่ 8 ก.พ. แทน พร้อมกับผู้ที่ถูกดำเนินคดีอีก 7 คน ที่ทำหนังสือขอเลื่อนไว้ก่อนแล้ว แต่พนักงานสอบสวนไม่อนุญาตให้เลื่อน หากจะออกหมายเรียกครั้งที่สองให้มารับทราบข้อหาในวันที่ 8 ก.พ.แทน วันเดียวกัน พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รอง ผบ.ตร. ยังให้ข่าวว่าเจ้าหน้าที่จะตั้งข้อหาตามมาตรา 116 เพิ่มอีก 1 ข้อหา กับนายสมบัติ บุญงามอนงค์ และนายวีระ สมความคิด ซึ่งเป็น 2 ใน 39 คน เพิ่มอีก เนื่องจากพบว่ามีการปราศรัยในการชุมนุมด้วย และยังปรากฏต่อมาว่าในหมายเรียกครั้งที่สองของทั้ง 39 คน มีการเพิ่มข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/58 ข้อ 12 เพิ่มเข้ามาอีก 1 ข้อหา และให้เข้ารับทราบข้อกล่าวหาภายในวันที่ 8 ก.พ. สรุปแล้ว ในขณะนี้ กรณี MBK39 มีบุคคลที่ถูกดำเนินคดี 3 ข้อหา คือ ฝ่าฝืนคำสั่ง คสช. ที่ 3/58 ข้อ 12, ข้อหาชุมนุมภายในรัศมี 150 เมตร จากเขตพระราชฐาน ตาม พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ และข้อหามาตรา 116 จำนวน 9 คน และถูกดำเนินคดี 2 ข้อหา คือฝ่าฝืนคำสั่ง คสช.ที่ 3/58 ข้อ 12 และชุมนุมภายในรัศมี 150 เมตร จากเขตพระราชฐาน ตาม พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ จำนวนทั้งหมด 30 คน ม็อบเชียร์ พล.อ.ประวิตร อยู่ต่อ ก็โดนคดีชุมนุม 2 ข้อหาพร้อมๆ กับการชุมนุมคัดค้านการสืบทอดอำนาจของ คสช. ยังปรากฏการชุมนุมของผู้สนับสนุน พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ ประมาณ 40 คน ที่หน้ากระทรวงกลาโหม เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2561 โดยมีการถือป้ายให้กำลังใจ และการมอบดอกไม้ให้เจ้าหน้าที่ที่กระทรวงกลาโหม หากปรากฏว่าต่อมา พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล ได้สั่งการให้มีการดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมกรณีนี้ด้วย จนวันที่ 5 ก.พ. 2561 จึงมีนายอดุลย์ ธรรมจิตต์ หนึ่งในผู้ชุมนุมที่ระบุว่าเป็นคนขับแท็กซี่ เข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวนที่ สน.พระราชวัง ก่อนจะถูกแจ้งข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวน้าคสช. ที่ 3/58 และข้อหาชุมนุมในเขตพื้นที่รัศมี 150 เมตร จากเขตพระราชฐาน ตามมาตรา 7 ของ พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ โดยนายอดุลย์ให้การรับสารภาพ แล้วพนักงานสอบสวนจึงได้นำตัวผู้ต้องหาไปส่งฟ้องต่อศาลแขวงดุสิต โดยข่าวระบุว่าศาลได้พิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง ลงโทษปรับ 6,000 บาท ให้การเป็นประโยชน์ลดกึ่งหนึ่งเหลือ 3,000 บาท จากนั้น วันที่ 6 ก.พ. ยังมีผู้ร่วมชุมนุมหน้ากระทรวงกลาโหม อีก 5 ราย จากจังหวัดสระแก้ว เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาที่ สน.พระราชวัง เช่นกัน และได้ถูกแจ้ง 2 ข้อหาเช่นเดียวกับชายคนแรก ทำให้รวมแล้วจนถึงขณะนี้ มีผู้ถูกดำเนินคดีแล้ว 6 ราย และเจ้าหน้าที่ตำรวจยังระบุว่าจะมีการติดตามผู้ชุมนุมคนอื่นๆ มาดำเนินการเช่นเดียวกันอีกด้วย จัดแสดงละครใบ้ "ตามใจป้อม" ก็โดนคุมตัว พร้อมโทษปรับในช่วงเดือนที่ผ่านมา กิจกรรมเกี่ยวกับ พล.อ.ประวิตร ยังเป็นไปอย่างคึกคัก อีกกิจกรรมหนึ่งของศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อสังคมนิยมประชาธิปไตย (YPD) ช่วงเย็นวันที่ 2 ก.พ. 2561 บริเวณสกายวอล์คอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เป็นกิจกรรมแสดงละครใบ้ชื่อ "ตามใจ 'ป้อม'" เล่าเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่นและข้อครหาต่างๆ ต่อ พล.อ.ประวิตร โดยไม่ได้มีการปราศรัยหรือกล่าวข้อความใดๆ โดยหลังแสดงละครเสร็จสิ้น ผู้แสดงจำนวน 4 ราย ได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมตัวไปที่ สน.พญาไท ต่อมา เจ้าหน้าที่มีการดำเนินคดีทั้ง 4 คน ในข้อหามาตรา 10 ของ พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ เรื่องการไม่แจ้งจัดการชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง มีรายงานว่าทั้งหมดถูกเจ้าหน้าที่ปรับในข้อหานี้ เป็นเงินรายละ 10,000 บาท ก่อนได้รับการปล่อยตัวจากสถานีตำรวจ ทหารแจ้งความชาวบ้านพะเยาหลังออกมาให้กำลังใจ We Walkกรณีล่าสุด คือกรณีของชาวบ้านกลุ่มเกษตรกรบ้านดอยเทวดา ต.สบบง อ.ภูซาง จ.พะเยา และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยในเชียงราย ได้ออกมาทำกิจกรรมเดินและถือป้ายสนับสนุนกิจกรรม "We Walk เดินมิตรภาพ" เมื่อวันที่ 5 ก.พ. ตกบ่ายมีทั้งตำรวจนอกเครื่องแบบและทหารในเครื่องแบบเข้าไปที่บ้านของคนที่เข้าร่วมกิจกรรม นอกจากนั้นในตอนค่ำผู้ใหญ่บ้านยังโทรศัพท์เรียกชาวบ้านที่เข้าร่วมกิจกรรมให้ไปพบที่ สภ.ภูซาง เมื่อชาวบ้านไปถึงก็พบว่ามีทหารในเครื่องแบบพร้อมอาวุธปืนยาวราว 20 นาย รออยู่แล้ว ชาวบ้านและนักศึกษาที่เดินทางเข้าพบเจ้าหน้าที่ถูกซักประวัติและถูกสอบถามข้อมูลกิจกรรมและความหมายของป้ายข้อความ จนกระทั่งประมาณเที่ยงคืน ทหารได้แจ้งความดำเนินคดีต่อชาวบ้านและนักศึกษา รวมทั้งหมด 14 ราย ในข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/58 เรื่องการชุมนุมทางการเมือง โดยหนึ่งในนั้นยังเป็นเยาวชนอายุ 16 ปี ที่มีอาการพิการทางสมอง ก่อนที่พนักงานสอบสวนจะมีการแจ้งข้อกล่าวหากับผู้ต้องหาซึ่งอยู่ที่สถานีตำรวจ จำนวน 11 ราย และสอบปากคำจนถึงรุ่งเช้า ก่อนจะนำตัวไปฝากขังที่ศาลจังหวัดเชียงคำ ในตอนสายวันต่อมา ก่อนทั้งหมดจะได้รับการประกันตัวด้วยหลักทรัพย์คนละ 5,000 บาท ส่วนผู้ต้องหาที่เป็นเยาวชนตำรวจไม่นำตัวไปขออำนาจศาลฝากขัง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สื่อรอยเตอร์เผยรายงานสืบสวน: กองกำลังพม่าสังหารหมู่ชาวโรฮิงญาที่หมู่บ้านอินดิน Posted: 08 Feb 2018 09:08 PM PST รายงานเชิงสืบสวนสอบสวนของรอยเตอร์ เผยว่าทหารพม่าและ อส. ร่วมกันสังหารหมู่ชาวบ้านโรฮิงญา 10 รายในขณะถูกควบคุมตัวที่หมู่บ้านอินดิน ห่างจากเมืองหลวงรัฐยะไข่ 50 กม. ทั้งยังเผยว่ากองทัพพม่ามีคำสั่ง "เคลียร์" หมู่บ้านชาวโรฮิงญาในรัฐยะไข่อย่างเป็นระบบ ขณะที่นักข่าวที่เปิดเผยเรื่องนี้กำลังถูกทางการพม่าดำเนินคดีข้อหาเผยแพร่ความลับราชการ ระวางโทษจำคุกสูงสุด 14 ปี
9 ก.พ. 2561 ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวรอยเตอร์คือวะลง, จ่อซออู, ไซมอน เลวิส และแอนโทนี สโลโควสกี โดย 2 คนแรกถูกตำรวจพม่าจับกุมดำเนินคดีในระหว่างรายงานข่าวเรื่องโรฮิงญา ล่าสุดเมื่อ 8 ก.พ. พวกเขาได้เผยแพร่รายงานสืบสวนสอบสวนกรณีสังหารหมู่พลเรือนโรฮิงญา 10 ราย ที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านอินดิน รัฐยะไข่ เหตุเกิดเมื่อเดือนกันยายนปีก่อน ทั้งนี้ชาวยะไข่พุทธ 2 ราย ที่เป็นผู้ขุดหลุมขนาดใหญ่เพื่อฝังศพชาวโรฮิงญา 10 ราย และได้เห็นการสังหารหมู่ด้วยตัวเอง เป็นผู้ให้ข้อมูลกับนักข่าวรอยเตอร์ระบุว่า มีชาวโรฮิงญา 2 รายถูกชาวบ้านยะไข่ฟันจนเสียชีวิต อีก 8 รายถูกทหารพม่ายิงเสียชีวิต โดยแต่ละคนถูกยิงไม่ต่ำกว่า 2-3 ครั้ง นอกจากนี้ผู้สื่อข่าวรอยเตอร์ยังได้ภาพถ่ายจากผู้อาวุโสรายหนึ่งในหมู่บ้าน 3 ภาพ เป็นภาพถ่ายชาวโรฮิงญาที่ถูกจับกุม ในช่วงเย็นวันที่ 1 ก.ย. 2560 ก่อนที่จะถูกสังหารทั้งหมดในวันที่ 2 ก.ย. หลังเวลา 10.00 น. ภาพที่ 2 เป็นภาพที่ถ่ายก่อนสังหารหมู่ ทั้งหมดถูกนำมานั่งคุกเข่าเรียงแถว และภาพสุดท้ายทั้งหมดกลายเป็นศพกองอยู่ในหลุมตื้น สำหรับผู้เสียชีวิตทั้ง 10 รายเป็นผู้ชายทั้งหมด อายุระหว่าง 17-40 ปี พวกเขามีอาชีพประมง เปิดร้านขายของชำ มีคนหนึ่งเป็นครูสอนศาสนา และในจำนวนนี้มีนักเรียนมัธยม 2 ราย ครอบครัวของผู้เสียชีวิตซึ่งขณะนี้ลี้ภัยไปอยู่บังกลาเทศได้ระบุตัวตนของผู้เสียชีวิตผ่านภาพถ่ายที่ส่งไปให้โดยสำนักข่าวรอยเตอร์ ข้อมูลที่รอยเตอร์ได้รับจากชาวยะไข่ ที่อยู่ในหมู่บ้านอินดินนับสิบรายยืนยันว่า ทหารพม่า ตำรวจกองหนุนหรือ อส. ที่จัดตั้งโดยชาวยะไข่ในหมู่บ้าน เป็นผู้จุดไฟเผาหมู่บ้านโรฮิงญา มีชาวชาวยะไข่พุทธ 11 ราย ให้ข้อมูลว่า มีชาวยะไข่พุทธในหมู่บ้านที่ก่อความรุนแรงรวมทั้งก่อเหตุฆ่าฟันด้วย นอกจากนี้ตำรวจกองหนุน 3 รายในพื้นที่ และเจ้าหน้าที่ตำรวจหน่วยสืบราชการลับที่ประจำอยู่ที่ซิตตะเหว่ เมืองหลวงรัฐยะไข่ เปิดเผยว่ามีคำสั่งจากกองทัพพม่าให้ "เคลียร์" บ้านของชาวโรฮิงญาในหมู่บ้านอินดิน และในช่วงปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่กองทัพพม่าได้สวมเครื่องแบบพลเรือนด้วยเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกจับได้ ทั้งนี้กองพันทหารราบเบาที่ 33 เป็นผู้ปฏิบัติการที่หมู่บ้านอินดิน และได้รับการสนับสนุนจากกองพันตำรวจกองหนุนที่ 8 โดยรายงานทั้งหมดสามารถอ่านได้ในเว็บไซต์ของสำนักข่าวรอยเตอร์ "How Myanmar forces burned, looted and killed in a remote village" (อ่านข่าว)
ผู้สื่อข่าวพม่าที่รายงานข่าวกำลังถูกดำเนินคดีข้อหาเผยแพร่ความลับราชการสำหรับผู้สื่อข่าวพม่า 2 คนที่ร่วมรายงานสืบสวนสอบสวนของรอยเตอร์คือ วะลง เขามีพื้นเพมาจากภาคมัณฑะเลย์ เคยทำงานให้กับเมียนมาร์ไทม์ช่วงเลือกตั้งทั่วไปของพม่าปี 2015 ส่วนจ่อซออูเป็นนักข่าวชาวยะไข่ ทั้ง 2 คนปัจจุบันสังกัดสำนักข่าวรอยเตอร์ และเมื่อวันที่ 12 ธันวาคมหลังจากที่พวกเขาเพิ่งลงพื้นที่เพื่อทำข่าวสถานการณ์รัฐยะไข่ ได้ถูกตำรวจพม่าจับกุมที่ชานเมืองย่างกุ้ง และถูกดำเนินคดีในข้อหาได้ข้อมูลมาโดยมิชอบด้วยกฎหมายและมีเจตนาส่งต่อให้กับสื่อมวลชนต่างชาติ โดยเป็นกฎหมายที่ใช้มาตั้งแต่ ค.ศ. 1923 หรือในสมัยอาณานิคม และพวกเขาต้องระวางโทษจำคุกสูงสุด 14 ปี หากศาลตัดสินว่าพวกเขาผิด นอกจากนี้สามวันหลังการจับกุมนักข่าวทั้ง 2 คน มีชาวยะไข่ 5 คน ที่อยู่ในหมู่บ้านอินดินถูกควบคุมตัวด้วย เพราะต้องสงสัยว่าเป็นคนให้ข้อมูลกับนักข่าวทั้งสอง
กองทัพพม่าเคยปฏิเสธเสียงแข็ง ออกรายงานแก้เกี้ยวว่าสังหารกลุ่มติดอาวุธส่วนกรณีสังหารหมู่ชาวโรฮิงญาที่หมู่บ้านอินดินนั้น ก่อนหน้านี้ หนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียนมาร์ของรัฐบาลพม่า รายงานเมื่อวันที่ 11 ม.ค. นี้ว่า คณะกรรมการข้อเท็จจริงของกระทรวงกลาโหมพม่าได้แถลงยอมรับเมื่อ 10 ม.ค. ว่าหลุมศพขนาดใหญ่ที่มีศพ 10 ร่าง ที่พบเมื่อ 18 ธ.ค. ที่หมู่บ้านอินดิน ห่างจากซิตตะเหว่ เมืองหลวงรัฐยะไข่ไปทางเหนือราว 50 กม. นั้นเป็นศพของกลุ่มมุสลิมติดอาวุธ โดยแถลงการณ์ของคณะกรรมการดังกล่าวยังระบุว่า ในช่วงก่อเหตุโจมตีระลอกใหม่ของกองกำลัง ARSA เมื่อ 25 ส.ค. ที่ผ่านมา กลุ่มติดอาวุธดังกล่าวถูกกล่าวหาว่าเป็นคนลงมือฆ่า "หม่องนี" ชาวบ้านในหมู่บ้านอินดิน นอกจากนี้ยังข่มขู่กลุ่มชาติพันธุ์อื่นที่ไม่ใช่มุสลิมในหมู่บ้าน โดยกลุ่มชาติพันธุ์ที่ไม่ใช่มุสลิมได้ย้ายไปรวมกันในวัดแห่งหนึ่งของหมู่บ้าน และเจ้าหน้าที่กองทัพพม่าถูกส่งเข้ามาในพื้นที่เพื่อรักษาความปลอดภัย ต่อมาเมื่อวันที่ 1 ก.ย. มีผู้ก่อเหตุราว 200 คน พยายามโจมตีกองกำลังของรัฐบาลพม่าที่เข้ามาในหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่จึงยิงปืนเตือนขึ้นฟ้าเพื่อให้กลุ่มผู้ก่อเหตุสลายตัว และจับชายที่มีอาวุธได้ 10 คน โดยชายเหล่านี้สารภาพว่าเกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ก่อการร้าย และถูกจัดตั้งมาโดยผู้นำศาสนาในพื้นที่ชื่อ "หม่อละวี" ที่มัสยิดในหมู่บ้าน คณะกรรมการของกระทรวงกลาโหมพม่า อ้างว่า ผู้ถูกควบคุมตัวทั้ง 10 คนต้องถูกส่งมอบตัวกับตำรวจ แต่ในรายงานอ้างว่า เนื่องจากรถยนต์ 2 คันของสถานีตำรวจอินดินถูกเผาทำลายโดยผู้ก่อการร้าย และมีเหตุโจมตีของผู้ก่อการร้ายเกิดขึ้นในเวลานั้น ทำให้ทหารพม่าร่วมกับชาวบ้านบางรายสังหารผู้ถูกควบคุมตัวทั้ง 10 ราย โดยรายงานของคณะกรรมการดังกล่าวระบุด้วยว่าการกระทำของเจ้าหน้าที่และชาวบ้านดังกล่าวเป็นการละเมิดกฎการปะทะ และจะมีการดำเนินการลงโทษต่อบุคคลเหล่านี้ นอกจากนี้จะลงโทษเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่ยอมรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับหน่วยงานบังคับบัญชาอีกด้วย ทั้งนี้ กองกำลัง ARSA ปฏิเสธข้อกล่าวหาของกระทรวงกลาโหมพม่าดังกล่าว และระบุว่า ศพชาวโรฮิงญา 10 ราย ที่พบดังกล่าวไม่ใช่สมาชิกกลุ่มติดอาวุธแต่เป็นพลเรือนชาวโรฮิงญาที่ไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับกองกำลัง ARSA สำหรับความรุนแรงระลอกใหม่ขึ้นในรัฐยะไข่ ทางตะวันตกของพม่า เกิดขึ้นเมื่อกองกำลัง ARSA ซึ่งระบุว่าเป็นกองกำลังติดอาวุธโรฮิงญาบุกโจมตีป้อมตำรวจที่ชายแดนพม่าเมื่อ 25 ส.ค. ปีก่อน ทำให้กองทัพพม่าใช้วิธีปราบปรามแบบไม่เลือกหน้าและมุ่งเป้ามาที่พลเรือน โดยใช้ทั้งวิธีสังหารและเผาทำลายหมู่บ้าน ขณะเดียวกันกลุ่มชาติพันธุ์อื่นในรัฐยะไข่ในพื้นที่ขัดแย้ง ก็อพยพเข้ามาอยู่ในพื้นที่ซึ่งรัฐบาลพม่าจัดให้ โดยระบุว่าถูกโจมตีจากกลุ่ม ARSA เช่นกัน โดยผลจากการกวาดล้างของกองทัพพม่า ทำให้เกิดการอพยพของชาวมุสลิมโรฮิงญาเข้าสู่ชายแดนบังกลาเทศแล้วกว่า 690,000 คน ด้านองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) กล่าวประณามกองทัพพม่าว่าเป็นการกวาดล้างชาติพันธุ์ แต่ทางการพม่าปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว และระบุว่าได้ดำเนินการตามกฎหมาย นอกจากนี้ทางการพม่ายังห้าม ยองฮีลี ผู้รายงานพิเศษจากองค์การสหประชาชาติ เดินทางเข้าประเทศ และประกาศระงับการให้ความร่วมมือกับผู้รายงานพิเศษจากองค์การสหประชาชาติด้วย ส่วนอองซานซูจี ซึ่งดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาแห่งรัฐ และได้ร่วมบริหารประเทศในรัฐบาลของประธานาธิบดีถิ่นจ่อนับตั้งแต่ปี 2559 นั้น ก็ถูกวิจารณ์หนักในเรื่องเพิกเฉยต่อเหตุละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อชาวโรฮิงญาในรัฐยะไข่ โดยเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีก่อน สภาเมืองออกซฟอร์ดมีมติถอนรางวัลเสรีภาพแห่งเมืองออกซฟอร์ด ที่อองซานซูจีเคยได้รับเมื่อปี 2540 นอกจากนี้ยังถูกริบรางวัลเสรีภาพเมืองดับลิน ถูกปลดรูปและป้ายชื่อออกจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดด้วย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google, 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น