โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

รายการทีวีช่อง CCTV ถูกชาวแอฟริกันในจีนตั้งคำถามเรื่องเหยียดเชื้อชาติ

Posted: 27 Feb 2018 09:12 AM PST

ชาวแอฟริกันที่อาศัยอยู่ในจีนแสดงความเห็นต่อชุดการแสดงหนึ่งในช่อง CCTV ว่าล้อเลียนและสะท้อนภาพเหมารวมคนดำหรือไม่ ทั้งนี้แม้ชุดการแสดงดังกล่าวมุ่งเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จีน-แอฟริกา แต่การใช้นักแสดงจีนแต่งหน้าดำแทนการใช้นักแสดงชาวแอฟริกันนั้นสื่อให้เห็นการขาดความตระหนักรู้ทางวัฒนธรรมหรือไม่ รวมทั้งตั้งคำถามต่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานโดยจีนว่ามุ่งตอบสนองความทะเยอทะยานของจีน

ชุดการแสดง "ความหรรษาเดียวกัน ความสุขเดียวกัน" ออกอากาศในรายการฉลองตรุษจีนทาง CCTV โดยช่วงนี้เป็นช่วงที่ถูกวิจารณ์เนื่องจากตัวละครหญิงที่แต่งหน้าให้เหมือนชาวแอฟริกัน และการแสดงชุดนี้มีลักษณะการแสดงในเชิงล้อเลียนเหมารวมชาวแอฟริกัน

ชุดการแสดง "ความหรรษาเดียวกัน ความสุขเดียวกัน" ออกอากาศในรายการฉลองตรุษจีนทาง CCTV

ก่อนหน้านี้ในรายการโทรทัศน์เพื่อฉลองตรุษจีนทางช่อง CCTV ของจีน มีการแสดงชุดหนึ่งชื่อ  "ความหรรษาเดียวกัน ความสุขเดียวกัน" ความยาว 13 นาที ที่ต้องการฉลองการสร้างทางรถไฟสายมอมบาซา-ไนโรบี ในประเทศเคนยา ที่สร้างโดยจีน และฉลองความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับประเทศในทวีปแอฟริกา (ชมคลิป) มีนักแสดงหญิงชาวจีนแต่งหน้าและต่งกายเพื่อแสดงเป็นชาวแอฟริกัน นอกจากนี้ยังมีการแสดงในเชิงล้อเลียนภาพเหมารวมคนดำด้วย จนทำให้เกิดข้อโต้แย้งขึ้นและมีการอภิปรายเรื่องนี้กันทั่วโลกในเรื่องที่กล่าวหาว่ารายการนี้มีเหยียดและมีอคติทางเชื้อชาติสีผิว 

อย่างไรก็ตามก่อนทางรายการดังกล่าวเคยมีการคัดตัวนักแสดงโดยที่มีชาวไนจีเรียที่อาศัยอยู่ในจีนมานาน 9 ปี อย่างกลอเรีย บราวน์ เข้าร่วมคัดตัวด้วย แต่เธอกลับไม่ได้รับบทดังกล่าวถึงแม้ว่าเธอจะเป็นชาวแอฟริกันก็ตาม โดยที่บราวน์พูดถึงข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นว่าเพื่อนของเธอส่วนมากราวร้อยละ 90 ที่โพสต์วิจารณ์รายการนี้ ทั้งชาวแอฟริกัน ชาวอเมริกันและชาวจีน ต่างก็วิจารณ์รายการเหยียดเชื้อชาติของรายการนี้ มีคนจีนอยู่จำนวนเล็กน้อยเท่านั้นโต้ตอบในทำนองว่า "ถ้าชาวแอฟริกันไม่พอใจก็กลับประเทศของพวกคุณไป ไม่ต้องอยู่ที่นี่"

ช่วงในรายการที่กลายเป็นข้อถกเถียงดังกล่าว ซึ่งเป็นหนึ่งในรายการฉลองตรุษจีนที่มีความยาวรวม 4 ชั่วโมง สิ่งที่ทำให้ถูกวิจารณ์เรื่องเหยียดเชื้อชาติคือการให้นักแสดงชาวจีนทาหน้าสีดำ หรือที่ค่านิยมตะวันตกมองว่าเป็นการเย้ยหยันทางวัฒนธรรมที่เรียกว่า "แบล็กเฟซ" รวมถึงแต่งกายแบบล้อเลียนภาพเหมารวมคนผิวดำอื่นๆ

การล้อเลียนเช่นนี้ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์โต้ตอบกลับในระดับที่กระทรวงการต่างประเทศของจีนรู้สึกว่าต้องพูดอะไรบางอย่างเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยเจิ้งชวง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีนแถลงเมื่อ 22 ก.พ. ปฏิเสธข้อกล่าวหาว่าชุดการแสดงดังกล่าวเหยียดเชื้อชาติ และกล่าวว่า "ประเทศจีนต่อต้านการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบเสมอมา"

"ความพยายามใดๆ ก็ตามที่จะใช้สิ่งนี้ เพื่อเป็นข้ออ้างในการตื่นตระหนกและตอกลิ่มระหว่างจีนและประเทศในแอฟริกา นับเป็นเรื่องไร้ประโยชน์"

เขากล่าวด้วยว่าความสัมพันธ์ระหว่างจีนและประเทศในแอฟริกานั้นแข็งแกร่ง และทั้ง 2 ฝ่ายต่างได้รับผลโยชน์

กรณีของบราวน์ เป็นแค่หนึ่งในชาวแอฟริกันหลายๆ คนที่เข้าคัดตัวนักแสดง เธอใช้ชีวิตอยู่ในจีนมานาน 9 ปี แล้วและมีงานหลักๆ คือการขายเฟอร์นิเจอร์ทำจากจีนให้กับลูกค้าชาวแอฟริกัน เธอบอกว่าพอเห็นกระแสโต้ตอบกลับเช่นนี้แล้วเธอไม่เสียดายเลยที่ไม่ได้รับบทในการแสดง ถึงเธอจะบอกว่าไม่ได้รู้สึกถูกล่วงเกินในด้านสีผิวมากนักเพราะเข้าใจว่ามันเป็นรายการตลก แต่เธอก็บอกว่าถ้าเป็นเธอเองก็คงไม่อยากเล่นบทที่ทำให้คนอื่นรู้สึกต่ำต้อยด้อยค่า รู้สึกเสียดาย หรือรู้สึกว่ากำลังโดนดูถูก

ในแง่ของความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับแอฟริกาบราวน์มองว่าทั้งสองฝ่ายไม่ควรจะให้ใครมีอำนาจมากกว่ากันหรือครอบงำอีกฝ่ายหนึ่ง จากความคิดเห็นของชาวแอฟริกันในจีนแล้วถ้าหากบราวน์ได้รับบทของชาวแอฟริกันเองแทนที่จะให้คนจีนแสดงแทนคงจะไม่เกิดข้อโต้แย้งตามมาแบบนี้

มูฮัมหมัด ฮัมหมิด ชาวเซียร์ราลีโอนผู้อาศัยอยู่ในจีนตั้งแต่ปี 2558 กล่าวว่าเขารู้สึกตกตะลึงเมื่อเจอ "แบล็กเฟซ" ในรายการจีน และบอกว่าถึงแม้การแสดงจะดี มีธีมเกี่ยวกับมิตรไมตรี แต่คนดำน่าจะได้รับบทนี้มากกว่าการให้คนจีนแสดงแทนทำให้รู้สึกถูกกีดกันทางโอกาส

เรื่องนี้ชวนให้ตั้งคำถามว่าขณะที่จีนพยายามเข้าหาภูมิภาคแอฟริกันมากขึ้นสังคมจีนที่เป็นประเทศปิดมานานมีความเข้าใจเรื่องวัฒนธรรมอื่นๆ และมีความละเอียดอ่อนในเรื่องนี้บ้างหรือไม่ เพื่อนของบราวน์ชื่อ เอมิเลย บายวอเตอร์ บอกว่าตัวเธอเองไม่รู้สึกถูกล่วงเกินจากการแสดงนี้แต่ก็พูดถึงสังคมจีนโดยทั่วไป เธอเล่าว่าจากที่เคยอยู่ในสหรัฐฯ มาก่อนตั้งแต่ 40 ปีที่แล้ว ทัศนคติเรื่องการเหยียดเชื้อชาติสีผิวกำลังเปลี่ยนแปลงในตะวันตก แต่ในจีนเธอกลับเจออคติทางเชื้อชาติสีผิวในชีวิตประจำวันแทบทุกวัน

บายวอเตอร์เปิดเผยว่าขณะที่ตะวันตกเริ่มคำนึงถึงภาพลักษณ์ที่เปิดรับอัตลักษณ์หลากหลาย ในสังคมจีนยังมีอคติและความลำเอียงในแง่มุมอื่นๆ ทั้งเรื่องเพศที่ลำเอียงเข้าข้างชายมากกว่าหญิง หรือเรื่องเชื้อชาติอย่างในโรงเรียนนานาชาติที่จะอยากให้มีคนขาวอยู่ในตำแหน่งผู้บริหารในโรงเรียนมากกว่าคนดำ

แต่ในแง่ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจนั้นบายวอเตอร์ก็มองว่าจีนให้ความช่วยเหลือแอฟริกันจริงในแง่ทุนการศึกษาเมื่อเทียบกับสหรัฐฯ ที่พวกเธอไม่เคยได้รับทุนการศึกษาต่อเลย โดยกรณีทุนการศึกษาจากจีนที่เธอกล่าวถึงนั้นเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย "หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง" ที่จีนพยายามสร้างความร่วมมือกับแอฟริกันโดยการให้ทุนรัฐบาลแก่นักศึกษาแอฟริกัน 30,000 ราย เพื่อพยายามเข้าไปลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในประเทศเหล่านั้นตอบสนองความทะเยอทะยานของตัวเอง รายการตลกที่เป็นข้อถกเถียงเรื่องแบล็กเฟซก็ถึงขั้นมีการพูดถึงทางรถไฟ มอมบาซา-ไนโรบี ในเคนยาด้วย

อย่างไรก็ตาม แดเนียล อะเนียกัน นักศึกษาชาวไนจีเรียที่กำลังศึกษาด้านการแพทย์ในจีนก็มองว่าจีนไม่ได้เป็นพ่อพระ ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับแอฟริกาเป็นไปแบบสองทาง จีนคงต้องการอะไรสักอย่างจากแอฟริกาจึงเข้ามาลงทุน แต่ในด้านสังคมเอง อะเนียกันก็บอกว่ายังคงมีการเหยียดสีผิวอยู่ เช่น ผู้หญิงเห็นเขาบนถนนก็วิ่งหนีด้วยความกลัว พนักงานธนาคารแค่เห็นเขาเข้าไปก็คิดว่าเขาจะมาปล้น ในกรณีของแบล็กเฟซในทีวีอะเนียกันบอกว่าก็เป็นเรื่องเข้าใจได้ว่าทำไมคนถึงโกรธแม้แต่เพื่อนชาวจีนของเขาบางคนก็ไม่ชอบมัน

อะเนียกันบอกว่าถ้าหากจีนต้องการจะตกลงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจกับแอฟริกันก็ควรจะทำให้ผู้คนเข้าใจกันมากขึ้นด้วย ควรจะงดการนำเสนอภาพเย้ยหยันทางเชื้อชาติแบบในกรณีรายการของ CCTV ซึ่งแทนที่จะทำให้เกิดความสมัครสมานกลับทำให้เกิดการกีดกัน

เรียบเรียงจาก

African woman who auditioned for 'racist' Chinese TV gala show speaks out on blackface row, South China Morning Post, 26-02-2018

China 'opposes' racism but dismisses criticism of CCTV blackface skit, South China Morning Post, 22-02-2018

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อนุสรณ์ ชี้ประยุทธ์ยันจัดเลือกตั้งไม่เกิน ก.พ.62 ส่งผลบวกต่อภาคการลงทุน

Posted: 27 Feb 2018 08:19 AM PST

ระบุส่งผลดีต่อโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่รอดูความชัดเจนในการกลับคืนสู่ประชาธิปไตย แต่หากเลื่อนการเลือกตั้งอีก คาดผลลบต่อภาคการลงทุนจะรุนแรงมากกว่าก่อนหน้านี้ แนะ คสช.พิจารณายกเลิกคำสั่ง ที่จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนและพรรคการเมือง

อนุสรณ์ ธรรมใจ (กลาง) ที่มาแฟ้มภาพเพจ banrasdr photo 

27 ก.พ.2561 รายงานข่าวแจ้วว่า วันนี้ เมื่อเวลา 16.30 น. อนุสรณ์ ธรรมใจ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ และ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า การยืนยันจัดให้มีการเลือกตั้งไม่เกิน ก.พ. 2562 ของนายกรัฐมนตรีส่งผลบวกต่อภาคการลงทุนโดยเฉพาะตลาดหุ้น น่าจะมีแรงซื้อเข้ามามากในกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ ค่าเงินบาทอาจแข็งค่าได้อีก นอกจากนี้ยังจะส่งผลดีต่อโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่รอดูความชัดเจนในการกลับคืนสู่ประชาธิปไตย ความน่าสนใจของระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) จะเพิ่มขึ้น

คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวต่อว่า หาก คสช รักษาสัญญาที่ประกาศเอาไว้ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยปี พ.ศ. 2561 อาจจะปรับตัวสูงกว่าที่ตนคาดไว้เดิมซึ่งจะอยู่ที่ 4.1-4.7% อัตราการเติบโตของการลงทุนน่าจะเพิ่มขึ้นกว่าเดิม

อย่างไรก็ตาม หากหัวหน้า คสช ไม่สามารถทำได้ตามที่ประกาศเอาไว้หรือมีการเลื่อนการเลือกตั้งอีก คาดว่าผลกระทบทางลบต่อภาคการลงทุนจะรุนแรงมากกว่าก่อนหน้านี้ การให้สัญญาในวันนี้ก็จะเป็นเพียงเทคนิคในการลดแรงกดดันทางการเมืองภายในประเทศและแรงกดดันจากประชาคมโลก นอกจากนี้ ตนหวังว่าหลังเลือกตั้งจะไม่มีการสืบทอดอำนาจด้วยวิธีที่ขัดกับหลักการประชาธิปไตยหรือขัดกับเจตนารมณ์ของ ประชาชน หากมาตามครรลองของประชาธิปไตยและเสนอตัวต่อประชาชนผ่านการเสนอชื่อของพรรคการเมือง การเข้ามีบทบาทในการบริหารประเทศต่อด้วยวิธีการที่ถูกต้องจะช่วยไม่ให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงขึ้นมาอีก ปัจจัยเสี่ยงทางการเมืองจะลดลง เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม การลงทุนก็จะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ประเทศไทยจะเข้าสู่สภาวะปรกติอันเป็นจุดเริ่มต้นของทศวรรษแห่งความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและการลงทุนได้ ขอให้ ผู้มีอำนาจ ตัดสินใจหรือดำเนินการใดๆโดยยึดถือผลประโยชน์ของประเทศและประชาชนเป็นสำคัญ

อนุสรณ์ กล่าวว่า คสช ควรพิจารณายกเลิกคำสั่ง คสช ที่จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนและพรรคการเมือง รวมทั้ง หยุดการดำเนินคดีกับนักกิจกรรมทั้งหลายที่ได้ดำเนินการตามสิทธิเสรีภาพที่ได้รับความคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญ การกลับคืนสู่นิติรัฐและการเปิดกว้างให้เกิดการมีส่วนร่วมให้มากที่สุด การเปิดให้มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นด้วยสติปัญญาอย่างมีความรับผิดชอบ จะนำสังคมไทยไปสู่ความปรองดองสมานฉันท์และสันติธรรมเพิ่มขึ้น

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับวินิจฉัยคำสั่งหัวหน้า คสช. 3/58 ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่

Posted: 27 Feb 2018 08:04 AM PST

ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องจากผู้ได้รับผลกระทบจากคำสั่งหัวหน้า คสช. ฯลฯ ที่ขอให้วินิจฉัยว่าคำสั่งหัวหน้า คสช. 3/2558 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ 60 หรือไม่ โดยศาลระบุต้องใช้สิทธิทางศาลและผ่านผู้ตรวจการแผ่นดิน

เพจ iLaw รายงานว่าเมื่อวันที่ 26 ก.พ. ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยกไม่รับคำร้องไว้วินิจฉัย กรณีที่ภาคประชาชนสามกลุ่มได้ใช้สิทธิตามมาตรา 213 ของรัฐธรรมนูญ 2560 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2560 ยื่นคำร้องสามฉบับขอให้วินิจฉัยว่าคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 เรื่องการห้ามชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ขัดต่อเสรีภาพการชุมนุมตามรัฐธรรมนูญ

โดยทั้ง 3 คำร้องที่ถูกยก ศาลรัฐธรรมนูญให้เหตุผลว่าคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 มีสถานะใช้บังคับตามกฎหมาย คำร้องดังกล่าวจึงเป็นการขอให้ศาลตรวจสอบว่า คำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 ชอบตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญได้ระบุสิทธิในการตรวจสอบความชอบตามรัฐธรรมนูญไว้เป็นการเฉพาะแล้วโดยการใช้สิทธิทางศาลตามมาตรา 212 และช่องทางผู้ตรวจการแผ่นดินตามมาตรา 231(1) ผู้ร้องจึงไม่สามารถยื่นคำร้องผ่านช่องทางศาลรัฐธรรมนูญได้

ในส่วนของคำสั่งที่ 10/2561 เรื่อง กรณีอานนท์และพวกรวมสี่คน ขอให้พิจารณาว่า คำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 26,28 และ 44 หรือไม่ ศาลระบุว่า ช่วงที่ผู้ร้องถูกควบคุมตัวไว้ในสถานที่อื่นใดที่ไม่ใช่สถานีตำรวจ ที่คุมขัง ทัณฑสถาน หรือเรือนจำ ในวันที่ 7 ธันวาคม 2558 เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ ผู้ร้องจึงไม่สามารถยื่นคำร้องผ่านช่องทางมาตรา 213 ของรัฐธรรมนูญได้

ทั้งนี้กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน และตัวแทนผู้ได้รับผลกระทบจากคำสั่ง คสช. ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้ยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคมที่ผ่านมา

โดยคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ข้อ 6 ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ทหารเรียกตัวบุคคลมาสอบปากคำและควบคุมตัวไว้ได้นานสุดถึง 7 วันโดยไม่ต้องมีคำสั่งหรือหมายของศาล ส่วนข้อ 12 ได้กำหนดห้ามการชุมนุมทางการเมืองเป็นจำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ต้องระวางโทษจำคุกสูงสุด 6 เดือน ปรับสูงสุด 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ก่อนหน้านี้ในวันที่ 26 มกราคม 2561 ศาลรัฐธรรมนูญได้ยกคำร้องของนิมิตร์ เทียนอุดม และพวกรวมสามคนที่ขอให้พิจารณาว่า คำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 26 และ 44 หรือไม่ ซึ่งให้เหตุผลเหมือนกันกับคำร้องสามคำร้องนี้

iLaw ระบุว่า จากการสอบถามไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2561 พบว่านับตั้งแต่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560 จนถึงวันดังกล่าว มีการยื่นคำร้องตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญด้วยช่องทางตามมาตรา 213 อย่างน้อย 73 เรื่อง แบ่งเป็นในปี 2560 จำนวน 67 เรื่อง และในปี 2561 อีกจำนวนหกเรื่อง โดยข้อมูลจากเว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญพบว่าที่ผ่านศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งออกมาแล้วทั้งหมด 55 ฉบับ ซึ่งทุกฉบับศาลไม่รับพิจารณาคำร้อง โดยอาศัยเหตุผลสามประการ คือ

หนึ่ง ในรัฐธรรมนูญกำหนดกระบวนการในการให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไว้เป็นการเฉพาะแล้ว

สอง รัฐธรรมนูญได้กำหนดวิธีการยื่นคำร้องไว้เฉพาะแล้วให้ไปยื่นตามวิธีการดังกล่าว

สาม เป็นเรื่องที่ไม่มีการละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้ร้อง

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่าเลือกตั้งไม่เกินกุมภา 62 จะเอาอะไรกันอีก

Posted: 27 Feb 2018 07:10 AM PST

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวว่าหลังกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และที่มา ส.ว. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา จะเรียกแม่น้ำ 5 สายและพรรคการเมืองมากำหนดวันเลือกตั้งซึ่งจะมีขึ้นไม่เกินกุมภาพันธ์ 62 โดยเลื่อนมาจากโรดแมป 90 วันตามที่ พ.ร.ป. มีผลบังคับใช้ "ผมก็อยากให้เลือกตั้งได้นะ ผมไม่ได้หมายความว่าให้เลือกตั้งไม่ได้แล้วผมจะได้อยู่ต่อ ถ้าคิดแบบนี้ก็ไม่อยากคุยด้วย หึ"

นายกรัฐมนตรีแถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2561 (ที่มา: เว็บไซต์รัฐบาลไทย)

27 ก.พ. 2561 เมื่อเวลา 14.10 น. ที่ทำเนียบรัฐบาลภายหลังประชุม ครม. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช.ระบุว่า หลัง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส และที่มา สว. ผ่านความเห็นชอบและนำความขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อลงพระปรมาธิไธยและประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา จะอยู่ในราวเดือนมิถุนายนนี้ จากนั้นจะได้เรียกแม่น้ำ 5 สาย และพรรคการเมืองเพื่อหารือกำหนดวันเลือกตั้ง ซึ่งจะมีขึ้นไม่เกินเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ 

โดยในคลิปของ VoiceTV พล.อ.ประยุทธ์ ระบุว่า "เพราะว่ามันมีการเลื่อนไปจากเดิม 3 เดือน ใช่ไหม 90 วัน ตาม พ.ร.บ.ที่มีผลบังคับใช้ 90 วัน ก็แค่นั้นเอง ผมก็ตอบชัดเจนแล้วนะ การเลือกตั้งไม่เกินกุมภา 62 จะเอาอะไรกันอีกล่ะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นวันเวลาไหน ต้องอยู่ในห้วงเวลาดังกล่าวนั่นแหละ 150 วัน ใช่ไหม และใน 150 วันก็ต้องพิจารณาดูว่า เอ๊ะ สถานการณ์บ้านเมืองเป็นอย่างไร ผมไม่ได้ขู่นะ แต่ถ้าทุกคนยังออกมา เดี๋ยวก็ดูละกันพอปลดล็อกทางการเมืองอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง ผมก็หวังให้มันเกิดสิ่งดีๆ ขึ้นมานะ หาเสียงกันโดยสงบนะ ไม่ใส่ร้ายป้ายสี ไม่ยุยงปลุกปลั่นไปอะไรทำนองนี้ มันจะได้เลือกตั้งได้ ผมก็อยากให้เลือกตั้งได้นะ ผมไม่ได้หมายความว่าให้เลือกตั้งไม่ได้แล้วผมจะได้อยู่ต่อ ถ้าคิดแบบนี้ก็ไม่อยากคุยด้วย หึ" พลเอกประยุทธ์ กล่าว 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทหาร-ตร.พยายามเชิญชาวบ้านดอยเทวดาไปค่ายทหาร หลังจะไปยื่นหนังสือร้องเรียนที่ศูนย์ราชการฯ

Posted: 27 Feb 2018 06:16 AM PST

ทหาร-ตร.พยายามเชิญชาวบ้านดอยเทวดาไปค่ายทหาร หลังจะไปยื่นหนังสือร้องเรียนที่ศูนย์ราชการฯ เพื่อขอให้ยุติการแจ้งความดำเนินคดีฝืนคำสั่ง หัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 จากการจัดกิจกรรมให้กำลังใจเดินมิตรภาพ

ภาพจากเฟสบุ๊คแฟนเพจ สกน สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ

27 ก.พ.2561 จากกรณีกลุ่มเกษตรกรบ้านดอยเทวดา ต.สบบง อ.ภูซาง จ.พะเยา และนักศึกษา รวม 14 คน จัดกิจรรมเดินมิตรภาพเพื่อสนับสนุนและให้กำลังใจกลุ่ม People Go Network เมื่อวันที่ 5 ก.พ.ที่ผ่านมา จนเป็นเหตุทำให้ถูกเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจเรียกตัวไปสอบสวนช่วงดึกของวันเดียวกัน ต่อมาเจ้าหน้าที่ทหารมีการแจ้งความดำเนินคดีต่อชาวบ้านและนักศึกษา รวมทั้งหมด 14 ราย ในข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 เรื่องการชุมนุมทางการเมือง ก่อนที่พนักงานสอบสวนจะมีการแจ้งข้อกล่าวหากับผู้ต้องหาจำนวน 11 ราย นั้น

วันนี้ (27 ก.พ.61) ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า เวลา 13.00 น. ที่ศูนย์ราชการจังหวัดพะเยา กลุ่มเกษตรกรบ้านดอยเทวดา อ.ภูซาง จ.พะเยา พร้อมกับนักศึกษา ที่ถูกเจ้าหน้าที่ทหารแจ้งความดำเนินคดีในข้อหาดังกล่าว ได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ขอให้ยุติการแจ้งความดำเนินคดีต่อกลุ่มเกษตรกรบ้านดอยเทวดา

แต่ก่อนหน้าที่จะได้ทำการยื่นหนังสือร้องเรียนดังกล่าว ได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ทหารทั้งในและนอกเครื่องแบบ เข้ามาเจรจาต่อรองไม่ให้ยื่นหนังสือดังกล่าว ทั้งยังมีการพยายามเชิญให้กลุ่มเกษตรกรบ้านดอยเทวดาและนักศึกษาไปพูดคุยที่มณฑลทหารบกที่ 34 ค่ายขุนเจืองธรรมิกราช โดยระบุว่าเป็นการไปพูดคุยหาทางออก แต่กลุ่มเกษตรกรบ้านดอยเทวดาและนักศึกษาปฏิเสธไม่ขอร่วมพูดคุยภายในค่ายทหาร เจ้าหน้าที่ทหารจึงทำการเจรจากับชาวบ้านที่โรงอาหารด้านหน้าศูนย์ราชการจังหวัดพะเยา ใช้เวลาพูดคุยกันเกือบ 3 ชั่วโมง ก่อนที่กลุ่มเกษตรกรบ้านดอยเทวดาและนักศึกษาจะแยกย้ายกันกลับ โดยยังไม่ได้ยื่นหนังสือใดๆ

ทั้งนี้ หนังสือร้องเรียนของชาวบ้านและสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) ระบุส่วนหนึ่งว่าปัญหาของบ้านดอยเทวดาได้อยู่ระหว่างการแก้ไขปัญหามาเป็นระยะเวลามากกว่า 5 ปี ทั้งปัญหาที่ดิน ปัญหาสาธารณูปโภค ทั้งน้ำประปา ไฟฟ้า ถนน แต่ก็ยังไม่รับการแก้ไข กิจกรรมการเดินรณรงค์เมื่อวันที่ 5 ก.พ.61 เป็นการสนับสนุนเรื่องการปฏิรูปที่ดินและการให้กำลังใจการเดินมิตรภาพ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นไปตามสิทธิภายใต้รัฐธรรมนูญปี 2560 ไม่ได้มีเจตนาสร้างความวุ่นวายหรือเป็นภัยต่อความมั่นคงแต่อย่างใด การที่เจ้าหน้าที่ทหารแจ้งความดำเนินคดีกับชาวบ้านจะเป็นการซ้ำเติมความเดือดร้อน อีกทั้งจะสร้างความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านกับผู้นำ ชาวบ้านกับหน่วยงานรัฐ

ภาพซ้าย : กลุ่มชาวบ้านดอยเทวดา ต.สบบง อ.ภูซาง จ.พะเยา ทำกิจกรรมหนุน "We walk เดินมิตรภาพ" เมื่อช่วงกลางวัน วันที่ 5 ก.พ. ก่อนถูกเรียกสอบช่วงค่ำที่ สภ.ภูซาง ภาพขวา : เจ้าหน้าที่ทหาร-ตำรวจเรียกกลุ่มชาวบ้านดอยเทวดา สอบกลางดึก (ที่มา: เพจสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ)

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 25 ก.พ.ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ทหารได้นัดประชุมพูดคุยกับตัวแทนชาวบ้านผู้ต้องหาในคดี We Walk บ้านดอยเทวดา โดยมีการยื่นข้อเสนอจะดำเนินคดีกับผู้ต้องหาเพียง 4 คน จากทั้งหมด 14 คนที่ถูกแจ้งความร้องทุกข์เอาไว้ ด้านผู้ต้องหาบ้านดอยเทวดาระบุยังไม่ให้คำตอบ ขอปรึกษาหารือกับชาวบ้านทั้งหมดก่อน 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สนง.อัยการสูงสุด วางแนวปฏิบัติคดี ม.112 ใหม่ ให้อัยการสูงสุดพิจารณาคนเดียว

Posted: 27 Feb 2018 05:50 AM PST

อิศราเผยอัยการสูงสุดวางแนวปฏิบัติการทำความเห็น-คำสั่งคดี ม.112 ใหม่ ให้อัยการสูงสุดพิจารณาเพียงผู้เดียว ระดับล่างไม่อาจทำความเห็นได้  ระบุชัดเพื่อความรอบคอบรัดกุม หลังรับเรื่องส่งสำนวนสอบสวนให้ทันที

 

27 ก.พ.2561 สำนักข่าวอิศรา รายงานวาาทาง สำนักข่าวอิศรา ตรวจสอบพบว่า เมื่อเร็วๆ นี้ พรศักดิ์ ศรีณรงค์ รองอัยการสูงสุด ปฏิบัติราชการแทนอัยการสูงสุด ได้ทำหนังสือถึงผู้บริหารระดับสูงในสำนักงานอัยการสูงสุดทุกระดับชั้นให้รับทราบแนวทางปฏิบัติในการดำเนินคดีอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ซึ่งมีสาระสำคัญอยู่ที่การให้ข้อหาประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จะถูกพิจารณาโดยอัยการสูงสุดเท่านั้น พนักงานอัยการระดับทั่วไปไม่อาจทำความเห็นได้ ขณะที่ระบบการจัดทำความเห็นในลำดับชั้นของอัยการภายในองค์กรอัยการก็ไม่มีสำหรับข้อหา ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

สำนักข่าวอิศรา ระบุรายละเอียดของหนังสือดังกล่าวว่า ด้วยการดำเนินคดีอาญาในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นคดีสำคัญที่ต้องป้องกันและปราบปรามเป็นพิเศษ เพื่อให้การดำเนินคดีประเภทดังกล่าวตามอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการเป็นไปด้วยความรอบคอบรัดกุม สำนักงานอัยการสูงสุดจึงวางแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการทำความเห็นและคำสั่งในคดีประเภทดังกล่าว และให้ถือปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน  ดังนี้ 
 
1. สำนักงานอัยการที่ได้รับสำนวนคดี ส.1 และส.2 ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ทำการรายงานคดีสำคัญตามแบบที่กำหนด พร้อมส่งสำเนารายงานการสอบสวนของพนักงานสอบสวน, สำเนาความเห็นคณะกรรมการพิจารณาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของตำรวจ (ถ้ามี), สำเนาคำให้การผู้ต้องหา และสำเนาประวัติอาชญากร และตำหนิรูปพรรณผู้กระทำผิดให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาทันที โดยยังไม่ต้องทำความเห็นใน อ.ก.4  หรือ อ.ก.2 
 
2. สำนวนคดีที่พนักงานสอบสวนไม่ได้ดำเนินคดีในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แต่พนักงานอัยการประจำศาลชั้นต้นได้รับสำนวนไว้เห็นว่าควรจะดำเนินคดีในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา 112 ด้วย เพิ่มเติมจากความเห็นของพนักงานสอบสวน ให้พนักงานอัยการประจำศาลชั้นต้นส่งสำนวนสอบสวนพร้อมบันทึกความเเห็นแยกต่างหากให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาทันที โดยยังไม่ต้องทำความเห็นใน อ.ก.4 หรือ อ.ก.2 
 
3. กรณีตามข้อ1. และ ข้อ2. หากมีการดำเนินคดีในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ในศาลชั้นต้น การดำเนินคดีของพนักงานอัยการผู้รับผิดชอบในชั้นศาลสูงให้ปฏิบัติเช่นเดียวกัน คือ ไม่ต้องมีความเห็นและคำสั่งใน อ.ก.14 แต่ให้ส่งสำเนาคำพิพากษาของศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ และกรณีที่ยังไม่ได้รับสำเนาคำพิพากษา ให้พนักงานอัยการผู้รับผิดชอบในชั้นศาลสูงส่งย่อคำพิพากษาของศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ตามแบบ อ.ก.14 แล้วแต่กรณีไปให้สำนักงานอัยการสูงสูดพิจารณาทันที  
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘ช่องว่างค่าแรงหลังการมีลูก’ ทำชายหญิงเหลื่อมล้ำกัน

Posted: 27 Feb 2018 01:25 AM PST

งานวิจัยในเดนมาร์กพบว่าค่าแรงของผู้หญิงจะลดลงเมื่อเทียบกับผู้ชายในลักษณะงานแบบเดียวกัน คิดเป็น 20% ของค่าแรงเมื่อผู้หญิงมีลูกคนแรก ในทางกลับกันค่าแรงของผู้ชายไม่ลดลงเลยเมื่อมีลูกคนแรก ซึ่งเป็นลักษณะของ 'ช่องว่างค่าแรงหลังการมีลูก'

ที่มาภาพประกอบ: flickr.com/Natalie Buzina (CC BY-NC-ND 2.0)

เรื่องช่องระหว่างค่าแรงของชายและหญิงที่ไม่เท่ากัน (Gender wage gap) เป็นที่พบได้ทั่วทุกมุมในโลก แม้แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้วก็ตาม อย่างญี่ปุ่นพบว่าร้อยละ 73 ผู้หญิงได้รับค่าแรงต่ำกว่าผู้ชายในตำแหน่งและลักษณะงานเดียวกัน [1] แม้แต่ในยุโรปจากการสำรวจในปี 2558 ในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป 28 ประเทศ พบว่าผู้หญิงได้ค่าแรงต่อชั่วโมง ต่ำกว่าชายร้อยละ 16.3 [2]

มีข้อถกเถียงมากมายว่าทำใมช่องว่างค่าจ้างระหว่าชายและหญิงถึงยังดำรงอยู่ในสังคม บางคนเชื่อว่าเป็นการเลือกปฎิบัติแก่ผู้หญิง ในทางเศรษฐกิจบางคนอาจมองว่าผู้หญิงไม่มีทางมีประสิทธิภาพการทำงานได้เทียบเท่าผู้ชาย หรืออาจมองว่าการที่ผู้หญิงได้รับเลือกเข้าทำงานก็เพราะว่าค่าแรงที่ต่ำของพวกเธอนั้นเอง แต่มีศึกษาน่าสนใจที่ได้นำเสนออีกสมมติฐานว่าช่องว่างที่เกิดนั้นกรณีหนึ่งเกิดจากการที่ 'ผู้หญิงต้องมีลูก'

การมีลูกเกี่ยวอะไรกับช่องว่างค่าแรงระหว่างเพศ

งานศึกษาทางด้านเศรษฐศาสตร์ของเฮนริค เคลเวน จากมหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน ได้อธิบายมุมมองเกี่ยวกับช่องว่างค่าแรงระหว่างเพศ ว่าส่วนใหญ่มีสาเหตุสืบเนื่องมาจากการมีลูกของผู้หญิง โดยการศึกษาใช้ข้อมูลของเดนมาร์กหนึ่งในประเทศที่มีเครือข่ายความปลอดภัยทางสังคม (social safety nets) สูงที่สุดในโลกที่หนึ่ง เป็นประเทศที่จ่ายเงินระหว่างวันหยุดให้ (Paid leave) ให้แก่พ่อแม่มือใหม่ขณะที่ลาพักเพื่อไปเลี้ยงลูก ในช่วงระหว่างปีแรกหลังจากที่มีบุตร และยังมีระบบศูนย์รับเลี้ยงเด็กที่เป็นของรัฐบาลในค่าบริการที่ถูกเท่ากันทั้งประเทศ อยู่ที่ราว 737 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน (ประมาณ 23,000 บาท) [3]

แต่ในสหรัฐฯ ซึ่งไม่มีระบบการจ่ายเงินการันตีจากรัฐบาลในช่วงหลังคลอดลูก และสถานเลี้ยงดูเด็กเอกชนก็มีค่าใช้จ่ายไม่เท่ากันในแต่ละเขตรัฐ ซึ่งสูงมากเมื่อเทียบกับเดนมาร์ก แต่ช่องว่างของค่าแรงระหว่างเพศของทั้ง 2 ประเทศนี้อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน [4]

งานวิจัยชิ้นดังกล่าวพบว่าค่าแรงของผู้หญิงจะลดลงเมื่อเทียบกับผู้ชายในลักษณะงานแบบเดียวกัน คิดเป็นร้อยละ 20 ของค่าแรงเมื่อผู้หญิงมีลูกคนแรก ซึ่งในทางกลับกันค่าแรงของผู้ชายกลับไม่ลดลงเมื่อมีลูกคนแรก เป็นการบอกว่าแท้ที่จริงแล้วช่องว่าดังกล่าวเป็น 'ช่องว่างค่าแรงหลังการมีลูก' ระหว่างหญิงและชาย

ในช่วงที่ผู้หญิงไม่มีลูกนั้นพวกเธอได้รับค่าแรงค่อนข้างใกล้เคียงกับของผู้ชาย ในขณะที่การเป็นแม่นั้นส่งผลต่อค่าแรงอย่างมีนัยยะ ซึ่งคล้ายคลึงกับงานศึกษาอื่นๆในสหรัฐที่แสดงให้เห็นความแตกต่างของค่าแรงของทั้ง 2 เพศ นั้นเริ่มจะเห็นได้ชัดเมื่อมีลูก อย่างงานวิจัยของคลอเดีย โกดิน จากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด พบช่องว่างค่าแรงระหว่างเพศจะเห็นได้ชัดในช่วงอายุ 30 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยเจริญพันธ์คนส่วนมากมักจะมีลูกช่วงอายุเท่านี้ [5] เช่นเดียวกับงานศึกษาของมารีแอนน์ เบอร์ทรานด์ จากมหาวิทยาลัยชิคาโก ที่เผยว่าชายและหญิงที่เข้าทำงานพร้อมกัน จะเริ่มได้รับค่าแรงที่ต่างกันในช่วงปีที่ 9 หลังสำเร็จการศึกษา [6]

เมื่อผู้หญิงต้องเลี้ยงดูลูกเพียงลำพังทำลายโอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ

ปัจจุบันปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดช่องว่างของค่าแรงดังกล่าวได้ลดลงไปบ้าง เช่นเรื่องของการศึกษา ทัศนคติระหว่างเพศ แต่สิ่งที่ดำรงอยู่คือเรื่องผลกระทบของการมีบุตร เคลเวนกล่าวในการให้สัมภาษณ์กับ Vox นอกจากนั้นในงานศึกษาของเขายังได้เข้าไปค้นหาว่าเกิดอะไรขึ้นกับผู้หญิงหลังการมีลูก พบว่าหลังจากมีลูกผู้หญิงหลายคนจะออกไปหางานใหม่ ที่ชั่วโมงทำงานน้อยลงซึ่งมักได้ค่าแรงที่ต่ำกว่า ยังพบอีกว่า 10 ปีหลังจากมีลูก ผู้หญิงจะเข้าทำงานในหน่วยงานภาครัฐมากกว่าผู้ชายร้อยละ 10 ซึ่งเป็นงานที่มีชั่วโมงทำงานที่แน่นอน มีวันลาที่มากและเหมาะกับการทำหน้าที่แม่ ซึ่งจะส่งผลให้กับความก้าวหน้าในอาชีพ

เปรียบเทียบกับในส่วนของผู้ชาย ที่ส่วนใหญ่จะไม่มีการเปลี่ยนอาชีพและยังคงได้รับค่าแรงที่เท่ากันระหว่างคนที่มีลูกและไม่มีลูก

ถึงจะแม้โยบายที่ให้พ่อแม่พักงานในช่วงที่ลูกเกิดได้นั้น จะสามารถที่จะทำการยกเลิกแล้วกลับไปทำงานก่อนเวลากำหนดได้ แต่จากในทางปฏิบัติจริงแล้วผู้หญิงต้องใช้เวลาพักงานหลังให้กำเนิดลูกนานกว่าผู้ชาย การสำรวจพบว่าผู้หญิงในเดนมาร์กใช้เวลาพักงานยาวนานเฉลี่ย 297 วัน มากกว่าชายที่เฉลี่ยอยู่ที่เพียง 30 วัน น้อยที่สุดในกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย [7] ตรงนี้ทำให้ยิ่งเหมือนดึงผู้หญิงให้ออกจากการทำงานนานขึ้นนานกว่า นำไปสู่ช่องว่างค่าแรง

เคลเวนมองว่าแน่นอนการมีสิทธิ์พักงานของเดนมาร์กเป็นเรื่องที่ดี แต่สิทธิพักงานนี้ที่ไม่ได้แยกระหว่างพ่อและแม่นี้ทำให้เกิดการที่ผู้ชายไม่ใช้สิทธิ (ให้ผู้หญิงใช้แทน) ต่างจากหลายประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย ที่แบ่งสิทธิลาพักส่วนหนึ่งให้เพื่อสำหรับผู้ชายเท่านั้น เช่นในประเทศไอซ์แลนด์ที่สำรองสิทธินี้แก่ผู้ชายเท่านั้น จำนวน 13 สัปดาห์ทำให้มีพ่อลูกอ่อนใช้สิทธินี้จำนวนมากถึงร้อยละ 90

เคลเวนเองมองว่าไม่ได้มีทางแก้ปัญหาที่แน่นอนในตอนนี้ แต่สามารถอธิบายได้ว่าปัจจุบันกลายเป็นเหมือนเป็นเรื่องธรรมดาในสังคมที่มองว่าหน้าที่การเลี้ยงดูลูกต้องเป็นเรื่องของผู้หญิงเป็นหลัก และมองการทำงานระหว่างลูกยังเล็กเป็นเรื่องยาก ทำให้ผู้หญิงต้องพลาดโอกาสในอาชีพมากมาย เช่นไม่ได้รับคัดเลือกเข้ารับตำแหน่งที่เรียกร้องการเดินทางหรือระยะเวลาทำงานที่ติดต่อกันนานๆ

 

ที่มาเรียบเรียงจาก
A stunning chart shows the true cause of the gender wage gap (vox.com, 19/2/2018)

อ้างอิง
[1] Japan's gender wage gap persists despite progress Women earn 73% what men do (nikkei.com, 23/2/2017)
[2] Gender pay gap in unadjusted form (Eurostat, เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 26/2/2018)
[3] CHILDREN AND GENDER INEQUALITY: EVIDENCE FROM DENMARK (Henrik Kleven และคณะ, NATIONAL BUREAU OF ECONOMIC RESEARCH, January 2018)
[4] The cost of child care in Colorado (epi.org, เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 26/2/2018)
[5] A Grand Gender Convergence: Its Last Chapter (Claudia Goldin, American Economic Review 2014, 104(4): 1091–1119)
[6] Dynamics of the Gender Gap for Young Professionals in the Financial and Corporate Sectors (Marianne Bertrand และคณะ American Economic Journal: Applied Economics 2 (July 2010): 228–255)
[7] Danish fathers take far less paternity leave than Nordic brethren (cphpost.dk, 3/11/2017)


 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อุทธรณ์ยกฟ้อง 'สุเทพ' คดีหมิ่นประมาท แกนนำ นปช. เจ้าตัวปฏิเสธข่าว ตั้งพรรคลงเล่นการเมือง

Posted: 27 Feb 2018 01:00 AM PST

ศาลอุทธรณ์ ยืน ยกฟ้อง 'สุเทพ' คดีหมิ่นฯและจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งงดเว้นการลงคะแนนให้ 'จตุพร-ณัฐวุฒิ –เหวง' หลังกล่าวหาเผาบ้านเผาเมือง พร้อมปฏิเสธข่าว ตั้งพรรคลงเล่นการเมือง

แฟ้มภาพ เพจ Banrasdr Photo  

27 ก.พ.2561 รายงานข่าวระบุว่า วันนี้ สุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตเลขาธิการ กปปส. พร้อมทนายความเดินทางมาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ในคดีที่พนักงานอัยการคดีอาญา 10 เป็นโจทก์ฟ้อง สุเทพ ในความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณาและกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้แก่ตนเอง หรือผู้สมัครอื่น หรือพรรคการเมืองใด หรือให้งดเว้นการลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550

จากกรณีเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2554 สุเทพ จำเลย ให้สัมภาษณ์ที่โรงแรมแห่งหนึ่ง ย่านหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ในช่วงก่อนการเลือกตั้งปี 2554 พาดพิง จตุพร พรหมพันธุ์ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และ เหวง โตจิราการ สมาชิกพรรคเพื่อไทย เเละแกนนำ นปช. ผู้เสียหายทำนองว่า เป็นพวกเผาเมือง และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นเท็จ การกระทำดังกล่าวทำให้ทั้งสามเเละพรรคเพื่อไทยได้รับความเสียหาย เสื่อมเสียชื่อเสียงขอให้ลงโทษตามความผิดด้วย

ซึ่งคดีนี้ศาลชั้นต้น พิพากษายกฟ้อง โดยเห็นว่าการลงเลือกตั้ง ส.ส. พรรคเพื่อไทยก็จัดแกนนำ นปช. ว่าในกลุ่มรายชื่อลงสมัครเลือกตั้ง ส.ส. ลำดับต้น ๆ และได้รับเลือกตั้ง ส่วนที่สุเทพ กล่าวถึงเหตุการณ์ชุมนุมที่มีการเผาศาลากลางจังหวัด และห้างสรรพสินค้า เมื่อปี 2553 ก็เป็นไปตามรายงานการสอบสวนจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) โดยขณะที่ สุเทพ กล่าว ก็อยู่ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง รายงานสถานการณ์ให้ประชาชนทั่วไปรับทราบการกระทำของจำเลย จึงไม่เป็นการกล่าวข้อความอันเป็นเท็จ ไม่มีความผิดตามฟ้อง พิพากษายกฟ้อง

คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบไม่มีน้ำหนักเพียงพอ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน เป็นการแสดงความเห็นทางการเมืองโดยสุจริต ขณะที่นายสุเทพ ทำหน้าที่เป็นรองนายกรัฐมนตรี และ เป็นผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ผอ.ศอฉ.ในขณะนั้น จึงไม่มีความผิดตามฟ้องโจทก์ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษามานั้น ศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วย พิพากษายืนยกฟ้อง

อัยการโจทก์ยื่นอุทธรณ์ ขอให้ลงโทษ สุเทพ จำเลยด้วย ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือแล้วเห็นว่า ที่ศาลชั้นต้นพิพากษามานั้น คำเบิกความ และพยานหลักฐานจำเลยมีน้ำหนักมั่นคง แสดงความเห็นทางการเมืองโดยสุจริต ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องมานั้นชอบแล้ว อุทธรณ์โจทก์ฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน

ขณะที่ สุเทพ กล่าวภายหลังฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ถึงกระแสข่าวที่ระบุว่า เตรียมตั้งพรรคการเมือง ว่า ตนเองลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่ ปี 2556 โดยประกาศตัวเป็นผู้รับใช้ประชาชน และออกมา ชุมนุมต่อต้านระบอบทักษิณ และมีผลต่อเนื่องมาจนถึงตอนนี้ เป็นธรรมดา ที่ต้องมีคนคาดคิดว่า ตนเองจะทำแบบนั้นแบบนี้ ซึ่งตนเองให้ความเคารพทุกคนว่าจะพูดหรือคิดอย่างไรเป็นเรื่องของแต่ละคนที่เข้าใจ กันไปเอง ทั้งนี้ ยืนยันว่า ช่วงชีวิตที่เหลือ จะอุทิศเวลาในการรับใช้ สถาบันพระมหากษัตริย์ ,ศาสนา และประชาชน เท่าที่จะทำได้ และยืนยันว่า ไม่คิดหันไปเล่นการเมืองอีก ไม่ร่วมรัฐบาลกับใคร ไม่เป็นนักการเมือง ไม่เป็นลงสมัคร ส.ส. อย่างแน่นอน

สุเทพ กล่าวว่า วันนี้ตัวเองยังเชื่อมั่นในตัวพล.อ.ประยุทธ์ และในฐานะเลขา กปปส. ยืนยันว่าไม่ได้ยึดติดตัวบุคคล และต้องการให้เกิดการปฏิรูปประเทศ ไม่อยากให้เกิดวงจรเดิมๆ ที่ทำให้ประเทศชาติเสียหาย

ส่วนในอนาคตจะมีการจัดตั้งพรรคการเมืองหรือไม่นั้น สุเทพกล่าวว่า เป็นไปได้ทั้งนั้น ทุกอย่างขึ้นอยู่กับสถานการณ์บ้านเมือง และประชาชน

ที่มา : โพสต์ทูเดย์ และ ไทยพีบีเอส

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปี 60 บินไทยขาดทุน 2 พันล้าน เหตุน้ำมันพุ่ง-แข่งขันรุนแรง

Posted: 27 Feb 2018 12:27 AM PST

การบินไทย แถลงผลการดำเนินงานในปี 60 มีอัตราการขาดทุนสุทธิรวมทั้งสิ้น 2,072 ล้านบาท สาเหตุหลักมาจากราคาน้ำมันเครื่องบินที่ปรับตัวสูงขึ้นและสถานการณ์การแข่งขันที่รุนแรง
 
 
27 ก.พ.2561 สื่อหลายสำนักรายงานตรงกันว่า วานนี้ (26 ก.พ.61) ร.อ.กนก ทองเผือก รองกรรมการ ผู้อำนวยการใหญ่ สายบริหารงาน กฎหมายและบริหารทั่วไป ปฏิบัติงาน ในหน้าที่รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย เปิดเผยว่า การบินไทยและบริษัทย่อยมีผลการ ดำเนินงานในปี 2560 มีอัตราการขาดทุนสุทธิรวมทั้งสิ้น 2,072 ล้านบาท ขณะ ที่มีกำไรจากดำเนินงานธุรกิจการบิน (Operating Profit) 2,856 ล้านบาท ลดลง 29.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
 
ทั้งนี้ สาเหตุหลักมาจากราคาน้ำมันเครื่องบินที่ปรับตัวสูงขึ้นจากราคาน้ำมันเฉลี่ยที่สูงกว่าปีก่อน 24.2% ประกอบกับรายได้จากผู้โดยสารเฉลี่ยต่อหน่วยต่ำกว่าปีก่อน 7.7% จากสถานการณ์การแข่งขันที่รุนแรงและการปรับลดอัตราค่าธรรมเนียมชดเชยค่าน้ำมัน (Fuel Surcharge) ถึง แม้ว่าจะมีอัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสารสูงกว่าปีก่อนก็ตาม
 
สำหรับปีที่ผ่านมาการบินไทยมี รายได้รวมจำนวน 191,946 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11,389 ล้านบาท หรือคิดเป็น 6.3% โดยเพิ่มขึ้นทั้งจากรายได้ค่า โดยสารและค่าน้ำหนักส่วนเกิน รายได้จากค่าระวางขนส่งและไปรษณียภัณฑ์ และรายได้จากการบริการอื่นๆ มีค่าใช้จ่ายรวม 189,090 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12,604 ล้านบาท หรือ 7.1% เป็นผลจากค่า น้ำมันเครื่องบินเพิ่มขึ้น 4,879 ล้านบาท คิดเป็น 10.8%
 
ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานไม่รวมน้ำมันสูงขึ้น 8,313 ล้านบาท คิดเป็น 6.6% สาเหตุหลักเกิดจากปริมาณการผลิตและปริมาณการขนส่งที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับค่าซ่อมแซมและซ่อมบำรุงอากาศยานเพิ่มขึ้น
 
ร.อ.กนก กล่าวว่า สำหรับความ คืบหน้าแผนฟื้นฟูกิจการขององค์กรนั้น ปีที่ผ่านมาได้เข้าสู่ระยะที่ 3 ของแผน ฟื้นฟู ซึ่งมุ่งเน้นใน 6 ด้าน ได้แก่ 1.พัฒนาเครือข่ายการบินที่แข่งขันได้ ทำกำไร และลดความซับซ้อนของฝูงบิน 2.เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและ เสริมสร้างรายได้ 3.สร้างความเป็นเลิศ ในการให้บริการ 4.มีต้นทุนที่แข่งขันได้ และการดำเนินงานมีประสิทธิภาพ 5.สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่สนับสนุนความยั่งยืนและพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพดเยี่ยม 6.บริหารบริษัทในเครือและกลุ่มธุรกิจ
 

ที่มา : ข่าวสดออนไลน์, ไทยรัฐออนไลน์ โพสต์ทูเดย์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จำเลยที่ 2 ไม่มา ศาลทหารเลื่อนสืบพยานคดี112 สองอดีตแอดมินเพจล้อ พล.อ.ประยุทธ์

Posted: 26 Feb 2018 11:50 PM PST

ศาลทหารเลื่อนนัดพิจารณาคดี 112 'หฤษฎ์-ณัฏฐิกา' 2 อดีต แอดมินเพจ 'เรารัก พล.อ.ประยุทธ์' ออกไปอีกครั้ง เป็น วันที่ 1 มิ.ย. นี้ หลัง ณัฏฐิกา ไม่มาศาล

ภาพจากเฟสบุ๊ค วิญญัติ ชาติมนตรี

27 ก.พ. 2561 ความคืบหน้าคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่มี หฤษฎ์ มหาทน และ ณัฏฐิกา วรธันยวิชญ์ จำเลยที่ 1 และ 2

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลาประมาณ 12.00 ที่่ผ่านมา วิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความด้านสิทธิมนุษยชนและเลขาธิการสมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิและเสรีภาพ (สกสส.) โพสต์ข้อความรายงานผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัวว่า วันนี้ (27 ก.พ.61) เมื่อเวลา 8:30 น. ที่ ศาลทหารกรุงเทพ หฤษฎ์ จำเลยที่ 1 ในคดีดังกล่าว พร้อมด้วย ธำรงค์ หลักแดน และตน ทนายความจาก สกสส. นัดสืบพยานโจทก์ปาก พล.ต.วิจารณ์ จดแตง หัวหน้าส่วนปฏิบัติการคณะทำงานด้านกฎหมาย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในวันนี้

ศาลทหารได้เลื่อนนัดพิจารณาคดีออกไปอีกครั้ง โดย วิญญัติ ระบุว่า เนื่องจาก ณัฏฐิกา ซึ่งวันนี้ไม่ได้เดินทางมาศาล ทำให้กระบวนพิจารณาไม่อาจดำเนินการได้ จึงให้โอกาสแก่นายประกันและทนายจำเลยที่ 2 เพื่อให้ติดตามตัวจำเลยมาศาล ทั่งนี้ศาลได้ออกหมายเรียกจำเลยที่ 2 ให้มาศาลอีกครั้งในนัดสืบพยานครั้งต่อไปคือ วันที่ 1 มิ.ย. 2561 เวลา 8.30 น.

สำหรับ หฤษฎ์, ณัฏริกา และเพื่อนร่วม 8 คน ถูกตั้งข้อหาเป็นแอดมินและจัดการเนื้อหาในเพจเฟซบุ๊กล้อเลียนหัวหน้า คสช. 'เรารัก พล.อ.ประยุทธ์' ถูกนำมาแถลงข่าวที่กองบังคับการปราบปราม ในวันที่ 28 เม.ย.59 และแจ้งข้อกล่าวหา มาตรา 116 ปลุกระดมปลุกปั่นให้ประชาชนกระด้างกระเดื่อง และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14(1),(2),(3) และถูกนำตัวไปฝากขังยังศาลทหาร ศาลอนุมัติและส่งเข้าเรือนจำ

 

และต่อมา 29 เม.ย.59 มีรายงานข่าวว่าศาลทหารได้อนุมัติหมายจับเพิ่มเติม คือ หฤษฎ์ และณัฏฐิกา ในข้อหามาตรา 112 โดยอ้างเหตุกรณีการพูดคุยส่วนตัวกันในแชตของเฟสบุ๊ค โดยที่ศาลไม่อนุมัติประกันตัว จนกระทั่งได้รับการประกันตัวในวันที่ 8 ก.ค.59

ขณะที่เมื่อ 23 ม.ค.ที่ผ่านมา ณัฏฐิกา ให้สัมภาษณ์ จอม เพชรประดับ ผ่านรายการ Thai Voice ทางยูทูบ เป็นเวลาเกือบ 1 ชั่วโมง บอกเล่าสาเหตุที่ตัดสินใจลี้ภัยไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ว (อ่านรายละเอียด)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พวงทอง ภวัครพันธุ์: 10 ปี กม.ความมั่นคงภายใน ประชาธิปไตยคือภัยความมั่นคง

Posted: 26 Feb 2018 11:22 PM PST

10 ปีของ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 มรดกสำคัญของรัฐประหารปี 2549 กอ.รมน. แปลงสภาพเป็นหน่วยงานถาวรที่คอยสร้างความชอบธรรมให้กองทัพด้วยสารพัดวิธี เริ่มเข้าไปพัวพันกับกระบวนการยุติธรรม ควบคุมพลเรือน และมองประชาธิปไตยคือภัยความมั่นคง

ในยุคสงครามเย็น กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน หรือ กอ.รมน. เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ ครั้นพรรคคอมมิวนิสต์ล่มสลาย สงครามเย็นยุติไปพร้อมกับการพังทลายของกำแพงเบอร์ลิน กอ.รมน. ก็ควรยุติบทบาทและยุบไปตามกาลเวลา ทว่า มันไม่เป็นเช่นนั้น

กอ.รมน. ยังคงอยู่และอยู่อย่างถาวรในฐานะหน่วยงานหนึ่งของรัฐนับตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2551 ที่พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 ถูกประกาศใช้ 10 ปีผ่านมา กอ.รมน. เป็นมือไม้ของกองทัพสยายปีก แทรกซึม จัดตั้ง และสร้างความชอบธรรมให้แก่กองทัพ

"พ.ร.บ.ความมั่นคงภายใน พ.ศ.2551 ถูกผลักดันในรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ดิฉันถือว่าเป็นมรดกที่สำคัญของรัฐบาลสุรยุทธ์" กล่าวโดยพวงทอง ภวัครพันธุ์ จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ทำการศึกษาประเด็นนี้

ผนวกกับคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 51/2560 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ที่ออกเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2560 อ่านในรายละเอียดจะพบว่ามีความพยายามเข้าไปพัวพันกับกระบวนการยุติธรรมอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

ถามว่าเหตุใดกองทัพจึงต้องสถาปนา กอ.รมน. ให้เป็นหน่วยงานถาวร ต้องใช้ออกคำสั่งแก้ไขกฎหมาย ทั้งที่อรเดิมอย่างคอมมิวนิสต์ไม่หลงเหลือ คำตอบของพวงทวงก็คือ กอ.รมน. ซึ่งนัยหนึ่งคือกองทัพบกมองว่าประชาธิปไตย รัฐสภา และประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เป็นปัญหาความมั่นคงของไทย สามสิ่งนี้คือภัยต่อความมั่งคงของประเทศได้อย่างไร บทสัมภาษณ์ชิ้นนี้จะให้คำตอบ

เหนืออื่นใด หากการปฏิรูปกองทัพคือโจทย์สำคัญของระบอบประชาธิปไตยไทย การยกเลิก พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 ย่อมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

มรดกจากยุคสงครามเย็น

เมื่อรัฐไทยในยุคสงครามเย็นเผชิญภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์และตระหนักว่าการสู้รบด้วยอาวุธเพียงอย่างเดียวมิใช่เส้นทางสู่ชัยชนะ ยุทธศาสตร์-ยุทธวิธีในการต่อสู้จึงได้รับการปรับเปลี่ยน จากมุมมองที่ว่าคอมมิวนิสต์คือภัยจากภายนอกที่ต้องการผลักให้ประเทศไทยเป็นโดมิโนตัวต่อไป สู่มุมมองว่าการก่อตัวของพรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศต่างๆ รากเหง้าก็มาจากปัญหาเศรษฐกิจ การเมือง ความอยุติธรรมในสังคม ซึ่งผลักให้ผู้คนต้องจับอาวุธขึ้นสู้รบ หากต้องการขจัดภัยคอมมิวนิสต์ให้สิ้นซาก ต้องขุดรากถอนโคนปัญหาเหล่านี้ เชิงอรรถไว้ตรงนี้ว่าการที่รัฐไทยเปลี่ยนมุมมอง ส่วนหนึ่งมาจากอิทธิพลของหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ หรือซีไอเอด้วย

"กอ.รมน. คือการทำให้พลเรือนอยู่ใต้ทหาร และยิ่งตอนนี้เรามีรัฐบาลทหาร ทั้งระดับประเทศ ระดับภาค ระดับจังหวัด รองผู้อำนวยการ กอ.รมน.จังหวัดก็เป็นทหาร ทุกศาลากลางจังหวัด จะมีออฟฟิศและเจ้าหน้าที่ กอ.รมน. นั่งอยู่เพื่อทำงานประสานกับมหาดไทย จะเห็นได้ว่าเขากุมทุกหน่วยงานทุกระดับ"

กอ.รมน. ถือกำเนิดขึ้นจากเหตุนี้ ดำเนินการควบคู่ไปกับการทหารที่ไม่ได้ลดความสำคัญลง เพียงแต่เพิ่มภารกิจเอาชนะใจประชาชนด้วยวิธีการทางเศรษฐกิจและการเมืองเข้าไปด้วย แปรเปลี่ยนเป็นโครงการพัฒนาทั้งหลาย ทั้งนี้ ในยุคสงครามเย็น โครงการในพระราชดำริก็มีเป้าหมายเอาชนะภัยคอมมิวนิสต์ด้วยเช่นกัน

"ทั้งสองส่วนเป็นแนวความคิดเดียวกัน เพียงแต่เวลาพูดถึงมักพูดแยกกันเสมอ หน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนโครงการพระราชดำริคือทหาร เพราะมีกำลังคนของตนในพื้นที่ทั่วประเทศ

"กอ.รมน. เป็นส่วนที่วางยุทธศาสตร์และแผนโดยใช้การเมืองและเศรษฐกิจในการต่อสู้ ข้อสำคัญคือโครงการพัฒนาเหล่านี้เริ่มต้นขึ้นในพื้นที่สีแดงหรือพื้นที่ที่คอมมิวนิสต์แทรกซึมเข้าไปมีอิทธิพลสูง หรือพื้นที่ที่กองกำลังคอมมิวนิสต์ยึดพื้นที่ได้ ดังนั้น พื้นที่เหล่านี้ต้องใช้กลไกกองทัพควบคู่กับการพัฒนา สิ่งที่เกิดขึ้นคือเมื่อกองทัพยึดพื้นที่จากคอมมิวนิสต์ได้ก็ตั้งหมู่บ้าน เอาประชาชนไปใส่ไว้ที่นั่น ซึ่งก็เป็นประชาชนจัดตั้งของ กอ.รมน. กลุ่มต่างๆ ให้ที่ดินกับประชาชนที่เข้าไปอยู่ ให้การอบรมศึกษาเกี่ยวกับความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ขณะเดียวกันประชาชนเหล่านี้ก็ช่วยเป็นหูเป็นตาว่า คอมมิวนิสต์เคลื่อนไหวอย่างไร ใครเป็นสายให้คอมมิวนิสต์"

นโยบาย 66/2523 และ 65/2525 เป็นอีกรูปธรรมหนึ่งที่กองทัพใช้ประนีประนอมทางการเมืองเพื่อจัดการความขัดแย้ง แปรเหล่าสหายเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย พวงทองอธิบายว่า นโยบาย 66/2523 ไม่ใช่จุดเริ่มต้นของการเมืองนำการทหาร เพราะจริงๆ ทหารไม่เคยละทิ้งแนวทางสงครามหรือการปราบปรามต่อประชาชนเลย แต่นโยบายทั้งสองเป็นผลจากการที่กองทัพคิดว่า การจะสามารถเอาชนะสงครามประชาชนได้อย่างยั่งยืน ต้องใช้แนวทางการเมืองควบคู่ไปด้วย เป็นจุดหมายของความสำเร็จและเป็นแนวทางที่ถูกต้อง แม้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) พ่ายแพ้แล้ว แต่ยุทธศาสตร์นี้ยังคงถูกใช้ต่อมา ทั้งที่ กอ.รมน. ควรหมดบทบาท

กองทัพไม่เคยชื่นชมประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

พวงทองอธิบายต่อว่า ช่วงปลายยุคประชาธิปไตยครึ่งใบของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เกิดกระแสเรียกร้องนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่ต้องการวุฒิสภาที่เลือกโดยนายกฯ ทั้งหมดและมีอำนาจเท่ากับสภาผู้แทนราษฎร ห้วงยามนั้นชนชั้นนำเริ่มมองเห็นแล้วว่ากระแสความต้องการของชนชั้นกลางในเมืองที่อยากได้ประชาธิปไตยเต็มใบแบบรัฐสภามีมากขึ้น

"หลังสงครามเย็นปัญหาที่ทำให้สังคมไทยไม่มั่นคงในทัศนะของทหารคือ นักการเมือง มีแต่นักการเมืองที่คอร์รัปชั่น ซื้อเสียง ชาวบ้านขายสิทธิ โง่ จน เจ็บ มันลามไปถึงชาวบ้านด้วยในตอนหลัง กองทัพมองนักการเมืองเป็นสาเหตุของความไม่มั่นคง ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา แบบที่ประชาชนมีสิทธิเลือก อยากได้ใครก็ได้ เป็นสิ่งที่กองทัพไม่ชอบ เพราะเขาไม่เชื่อการตัดสินใจของประชาชน"

พวงทองตั้งคำถามว่า แต่กองทัพจะยอมลงจากอำนาจและหมดบทบาททางการเมืองอย่างสิ้นเชิงหรือ?

"เมื่อมองกลับไปจะเห็นว่าเขาพยายามรักษาอำนาจของทหารไว้ในกลไกทางการเมืองผ่าน กอ.รมน. เช่น การจัดตั้งมวลชนที่ยังดำเนินต่อไปในหลายส่วน รวมถึงการขยายบทบาทของทหารในมิติอื่นที่ไม่ใช่มิติการสู้รบ ถ้าดูยุทธศาสตร์ของกองทัพบกและของ กอ.รมน. จะเห็นว่าภารกิจและการนิยามปัญหาความมั่นคงของไทยขยายออกไปสู่ปัญหายาเสพติด สิ่งแวดล้อม การค้ามนุษย์ การก่อการร้าย เรื่องการพัฒนาก็ยังอยู่ บทบาทไม่ได้ลดลงเลย โดยบอกว่าตัวเองสนับสนุนโครงการพระราชดำริ ซึ่งการพูดแบบนี้ไม่มีใครเถียงหรือคัดค้านได้"

ภายหลังพลเอกเปรมลงจากอำนาจ กองทัพยังมโนต่อไปว่าตนเองเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงความมั่นคงของชาติ โดยภัยที่เป็นภัยความมั่นคงของชาติในทัศนะกองทัพส่วนใหญ่เป็นภัยจากภายใน

"กองทัพมีความคิดต่อระบอบประชาธิปไตยในแบบของเขา เขาไม่เคยชื่นชมประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ที่วางอยู่บนหลักการเสียงส่วนใหญ่ ไม่ไว้ใจนักการเมืองมาแต่ไหนแต่ไร ตั้งแต่สงครามเย็น พลเอกเปรมชัดเจนว่าไม่เคยไว้วางใจพรรคการเมืองเลย ตำแหน่งสำคัญในสมัยพลเอกเปรม ไม่ใช่ ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้ง แต่เป็นคนที่เขาเลือกมาเอง ซึ่งเป็นเทคโนแครตเป็นส่วนใหญ่ ฉะนั้น ความไม่ไว้วางใจนี้ก็นำมาสู่การวางโครงสร้างให้กองทัพเข้าไปมีบทบาทในเรื่องต่างๆ ได้ บทบาทเหล่านี้อาจไม่มีผลทางการเมืองอย่างชัดเจน แต่มีผลในการสร้างความชอบธรรม สร้างภาพลักษณ์ที่ดีของกองทัพในสายตาประชาชนที่ชี้ให้เห็นว่าทหารไทยทำอะไรหลายอย่างมาก น้ำท่วมก็มาช่วย น้ำแล้งก็ขนน้ำมาช่วย สร้างถนน ขุดคลอง

"แม้ในช่วงความนิยมของกองทัพตกต่ำที่สุดในช่วงหลังพฤษภาคม 2535 ทหารหันไปทำงานพัฒนากันมาก ด้านหนึ่งเพื่อบอกว่ากองทัพไม่ยุ่งกับการเมืองแล้ว แต่กองทัพก็ยังมีประโยชน์กับสังคมไทย มันอาจดูไม่เป็นการเมือง แต่สำหรับดิฉันมันเป็นการเมืองมาก"

มันทำให้กองทัพช่างดูไม่มีพิษมีภัย แต่เมื่อใดที่กองทัพเข้ามายุ่งเกี่ยวทางการเมืองโดยตรง กลไกที่มีอยู่จะถูกระดมมาใช้เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กองทัพหรือทำลายความชอบธรรมคนอื่น เช่น ช่วงประชามติที่มีการระดมมวลชนมาเพื่อสนับสนุนรัฐธรรมนูญ กรณีการประท้วงโรงไฟฟ้าถ่านหินที่เทพาที่ชาวบ้านประท้วงวันนี้ รุ่งขึ้นมีมวลชนที่มีสายสัมพันธ์กับ กอ.รมน.ออกมาต่อต้านชาวบ้านที่ไม่เอาถ่านหิน อ้างว่ามีถึง 67 กลุ่ม มีมวลชน 50,000 คนสนับสนุน  สามารถเข้าไปยื่นจดหมายในค่ายทหารได้อย่างสะดวกสบาย ซึ่งสะท้อนว่าต้องมีการจัดตั้งที่ดีมาก ถ้าไม่มีโครงสร้างพื้นฐานที่ทำอยู่แล้ว ไม่มีทางทำได้เร็วเพียงนี้

ยุคสงครามเย็น คอมมิวนิสต์คือศัตรูหลัก หลังยุคสงครามเย็น ใครหรืออะไรคือศัตรูที่ กอ.รมน. ต้องสู้รบปรมมือด้วย พวงทองตอบว่า

"หลังสงครามเย็นปัญหาที่ทำให้สังคมไทยไม่มั่นคงในทัศนะของทหารคือ นักการเมือง มีแต่นักการเมืองที่คอร์รัปชั่น ซื้อเสียง ชาวบ้านขายสิทธิ โง่ จน เจ็บ มันลามไปถึงชาวบ้านด้วยในตอนหลัง กองทัพมองนักการเมืองเป็นสาเหตุของความไม่มั่นคง ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา แบบที่ประชาชนมีสิทธิเลือก อยากได้ใครก็ได้ เป็นสิ่งที่กองทัพไม่ชอบ เพราะเขาไม่เชื่อการตัดสินใจของประชาชน กองทัพยังท่องอยู่นั่นแหละว่าประชาชนเลือกเพราะซื้อสิทธิขายเสียง หรือเลือกเพียงเพื่อแลกกับผลประโยชน์เล็กน้อยของตัวเอง แต่ประเทศชาติโดยรวมฉิบหาย ทั้งที่มีงานวิจัยออกมามากมายที่ยืนยันว่าชาวบ้านเลือกเพราะนโยบายของพรรคการเมืองมากขึ้น ซึ่งนี่เป็นเรื่องปกติในระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนจะเลือกพรรคการเมืองที่สามารถตอบสนองความต้องการ ทำให้ชีวิตประชาชนดีขึ้น แต่สังคมไทยทำให้หลายอย่างบิดเบี้ยวกลับหัวกลับหางไปหมด"

พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551

"พ.ร.บ.ความมั่นคงภายใน พ.ศ.2551 ถูกผลักดันในรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ดิฉันถือว่าเป็นมรดกที่สำคัญของรัฐบาลสุรยุทธ์ รัฐประหาร 2549 มีการสัญญาว่าจะมีการเลือกตั้งภายใน 1 ปี ตอนนั้นกองทัพอาจยังมองไม่เห็นพลังคนเสื้อแดงเพราะยังไม่มีกลุ่มเสื้อแดง ขณะเดียวกันการจะมีการเลือกตั้งภายใน 1 ปีก็ต้องมีการจัดระเบียบระบบที่จะทำให้อำนาจของกองทัพดำรงอยู่ในทางการเมือง ฉะนั้น พ.ร.บ.ความมั่นคง 2551 ซึ่งอันที่จริงแล้วสามารถเปลี่ยนชื่อเป็น พ.ร.บ.กอ.รมน. ก็ได้เพราะมีเนื้อหาว่าด้วย กอ.รมน. อย่างเดียว เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจ กอ.รมน. อยู่เหนือหน่วยงานพลเรือนทั้งหมด โดยเฉพาะในภาวะฉุกเฉินของประเทศ"

เดิมทีไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับ กอ.รมน. เป็นการเฉพาะมาก่อน กอ.รมน. เกิดขึ้นโดย พ.ร.บ.ป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ.2495 ซึ่งได้มีการยกเลิกไปในปี 2543 สมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย แต่ กอ.รมน. มิได้ยุติบทบาท กลับยังคงอยู่โดยอำนาจ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534  และคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 157/2542 ที่ออกสมัยรัฐบาลชวน ต่อมาก็คือคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 158/2545 ที่ออกสมัยรัฐบาลทักษิณ

"กองทัพมีความคิดต่อระบอบประชาธิปไตยในแบบของเขา เขาไม่เคยชื่นชมประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ที่วางอยู่บนหลักการเสียงส่วนใหญ่ ไม่ไว้ใจนักการเมืองมาแต่ไหนแต่ไร... ความไม่ไว้วางใจนี้ก็นำมาสู่การวางโครงสร้างให้กองทัพเข้าไปมีบทบาทในเรื่องต่างๆ ได้ บทบาทเหล่านี้อาจไม่มีผลทางการเมืองอย่างชัดเจน แต่มีผลในการสร้างความชอบธรรม สร้างภาพลักษณ์ที่ดีของกองทัพในสายตาประชาชน"

แต่ในยุคพลเอกสุรยุทธ์ได้ทำให้ กอ.รมน. กลายเป็นหน่วยงานถาวรและมีอำนาจมากยิ่งขึ้น แม้ไม่ได้ขึ้นกับกระทรวงกลาโหม แต่ขึ้นกับสำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีโครงสร้างเป็นทหารเกือบทั้งหมด หมายความว่าผู้ที่เสนอประเด็น กำหนดยุทธศาสตร์ย่อมต้องเป็นทหารและถูกครอบงำด้วยทหาร

"ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา กอ.รมน. ถูกเรียกใช้เยอะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลเอกสุรยุทธ์และพลเอกประยุทธ์จะใช้เยอะมาก ช่วงพลเอกประยุทธ์ทั้งคณะกรรมการปฏิรูป คณะกรรมการสมานฉันท์ ก็จะมอบหมายไปให้ กอ.รมน. เป็นผู้ดูแล ประสานงาน จัดทำร่าง"

จุดสำคัญหนึ่งของ พ.ร.บ.ความมั่นคง พ.ศ.2551 คือการแก้ประเด็นที่ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีเคยแก้ไขไว้ พวงทองกล่าวว่า รัฐบาลทักษิณช่วง 2 ปีหลังพยายามปฏิรูปกองทัพและ กอ.รมน. แต่ก็ทำได้อย่างจำกัด ส่วนหนึ่งเพราะสูญเสียความชอบธรรมจากการแต่งตั้งญาติตนเองเป็นผู้บัญชาการทหารบก ทำให้ถูกมองว่าการปฏิรูปกองทัพเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ โดยทักษิณพยายามทำคือการจัดโครงสร้างใหม่ให้ กอ.รมน.จังหวัด ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้อำนวยการ มาขึ้นตรงกับผู้อำนวยการ กอ.รมน.ส่วนกลาง ซึ่งก็คือนายกรัฐมนตรี จากเดิมที่อยู่ภายใต้ กอ.รมน.ภาค ที่มีแม่ทัพภาคเป็นผู้ดูแล

"กอ.รมน. คือการทำให้พลเรือนอยู่ใต้ทหาร และยิ่งตอนนี้เรามีรัฐบาลทหาร ทั้งระดับประเทศ ระดับภาค ระดับจังหวัด รองผู้อำนวยการ กอ.รมน.จังหวัดก็เป็นทหาร ทุกศาลากลางจังหวัด จะมีออฟฟิศและเจ้าหน้าที่ กอ.รมน. นั่งอยู่เพื่อทำงานประสานกับมหาดไทย จะเห็นได้ว่าเขากุมทุกหน่วยงานทุกระดับ พอมี พ.ร.บ.ความมั่นคง 2551 ก็กลับเอาทุกอย่างที่ทักษิณเปลี่ยนกลับไปเหมือนเดิม เอาผู้อำนวยการ กอ.รมน.ไปอยู่ใต้แม่ทัพภาคเหมือนเดิม"

และสิ่งที่เกิดขึ้นหลังรัฐประหาร 2549 คือทหารหวนกลับมาทุ่มเทกับการจัดตั้งมวลชนมากยิ่งขึ้น พวงทองอ้างอิงเอกสารของกองทัพที่ทำการศึกษา ซึ่งระบุว่า ตั้งแต่ปี 2549 มีคำสั่งให้ตรวจสอบจำนวนมวลชนกลุ่มต่างๆ ว่ามีเท่าไร ให้เรียกระดมขึ้นมาใหม่ และจัดกิจกรรมจำนวนมาก ซึ่งในอดีตกลุ่มองค์กรที่ กอ.รมน. จัดตั้งเหล่านี้อยู่ภายใต้กระทรวงมหาดไทยและอยู่ในเขตพื้นที่ที่มีคอมมิวนิสต์แทรกซึม แต่ในช่วง 10 ปีหลัง องค์กรที่ กอ.รมน. จัดตั้งมีในทุกจังหวัดทั่วประเทศ ทำให้เห็นได้ว่าการพยายามรักษาอำนาจของกองทัพโดยกฎหมายความมั่นคงภายในเริ่มมาตั้งแต่ 2549 และรัฐประหาร 2557 ก็ใช้กลไกนี้ต่อมาอย่างแข็งขันมากยิ่งขึ้น

กองทัพขยายอำนาจเข้าสู่กลไกตุลาการ?

สำหรับพวงทอง จุดที่น่าจับตามองในคำสั่งที่ 51/2560 คือการจัดตั้งคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในระดับภาคที่ระบุชัดเจนนว่า ผู้อำนวยการ กอ.รมน.ภาค ซึ่งก็คือแม่ทัพภาค ทำหน้าที่เป็นประธานกรรมการ และมีอธิบดีอัยการภาคที่อยู่ในเขตพื้นที่ที่มีอาวุโสสูงสุดเข้ามาเป็นกรรมการของคณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาคด้วย หน่วยงานอื่นนอกจากนั้นล้วนเป็นกลไกที่ทำงานให้ กอ.รมน. มานานแล้ว

"ต้องจับตาดูว่าการร่วมมือระหว่างกองทัพกับอัยการภาคจะออกมารูปแบบไหน นี่น่าจะเป็นประเด็นที่สำคัญเพราะอัยการเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ฟ้องคดี ที่ผ่านมาจะเห็นว่ากองทัพฟ้องประชาชนที่ต่อต้านรัฐประหารเยอะมาก อาจเกิดความกังวลว่า วันหนึ่งถ้าหมดอำนาจ พวกเขาอาจจะเดือดร้อน อาจถูกฟ้อง การเอาหน่วยงานอัยการเข้ามาร่วมมือด้วยอาจเป็นการป้องกันตัวเอง นี่มองแบบดีที่สุด เบาที่สุดแล้ว ถ้าแบบร้ายที่สุด ก็อาจเข้าไปแทรกแซงกระบวนการในการดำเนินงานของอัยการ"

"กลไกใหม่คืออธิบดีอัยการภาค หมายความว่ากองทัพกำลังขยายอำนาจตัวเองเข้าไปสู่กลไกตุลาการหรือไม่"

พวงทองขยายความว่า พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจ กอ.รมน. อย่างมากในการเรียกใช้งานหน่วยงานอื่นๆ ตามยุทธศาสตร์ที่ กอ.รมน. วางไว้ รวมถึงหน่วยงานยุติธรรม แต่ที่ผ่านมาไม่เคยมีระบุไว้ชัดเจน คำสั่งนี้ย่อมทำให้ กอ.รมน. เกิดความสะดวกมากขึ้นที่จะเรียกใช้หน่วยงานรัฐให้ทำงานประสานกับตนเอง เพราะก่อนนี้ยังมีความเกรงใจกันอยู่ระหว่างกองทัพกับหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม

"ต้องจับตาดูว่าการร่วมมือระหว่างกองทัพกับอัยการภาคจะออกมารูปแบบไหน นี่น่าจะเป็นประเด็นที่สำคัญเพราะอัยการเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ฟ้องคดี ที่ผ่านมาจะเห็นว่ากองทัพฟ้องประชาชนที่ต่อต้านรัฐประหารเยอะมาก อาจเกิดความกังวลว่า วันหนึ่งถ้าหมดอำนาจ พวกเขาอาจจะเดือดร้อน อาจถูกฟ้อง การเอาหน่วยงานอัยการเข้ามาร่วมมือด้วยอาจเป็นการป้องกันตัวเอง นี่มองแบบดีที่สุด เบาที่สุดแล้ว ถ้าแบบร้ายที่สุด ก็อาจเข้าไปแทรกแซงกระบวนการในการดำเนินงานของอัยการ

"ที่ผ่านมา มีการพูดว่าศาลไทยมีปัญหาเรื่องสองมาตรฐาน ถูกอิทธิพลทางการเมืองเข้าแทรกแซง แต่ดิฉันคิดว่าของแบบนี้ไม่เคยสั่งกันได้ตรงๆ มันเป็นไปตามกระแสทางการเมือง จะมีกรณีไหนสั่งได้ตรงๆ ไหม ไม่เคยมีหลักฐาน เราไม่รู้ แต่เมื่อถูกดึงให้มาทำงานใกล้ชิดกันมากขึ้น อิทธิพลของกองทัพก็จะชัดเจนขึ้น"

กอ.รมน.ทำงานการเมืองให้กองทัพ

กอ.รมน.มีบทบาทสำคัญในการทำงานทางการเมืองให้กองทัพ รวมถึงการทำให้ผลทางการเมืองออกมาในแบบที่ คสช. ต้องการ เช่น การจัดตั้งกลุ่มมวลชนในท้องถิ่น การสกัดกั้นมวลชนฝ่ายตรงข้าม การประเมินความนิยมของ คสช. ในระดับท้องถิ่น เป็นต้น ขณะเดียวกัน กอ.รมน. ก็ทำงานร่วมกับกระทรวงมหาดไทย ทั้งระดับผู้ใหญ่บ้าน กำนัน นายอำเภอ จังหวัด ซึ่ง กอ.รมน. มีอำนาจสั่งการ ซึ่งนับจากอดีต หน่วยงานที่ขยันขันแข็งที่สุดคือกระทรวงมหาดไทย

แต่ในช่วง 3 ปีมานี้ กอ.รมน. เข้าไปใช้กระทรวงศึกษาธิการมากขึ้น กอ.รมน. เข้าไปฝึกอบรมครูตามโรงเรียน จัดรณรงค์ หรือกรณีของนักพูด เบสต์-อรพิมพ์ รักษาผล ที่ทำให้คนอีสานไม่พอใจ ซึ่งเป็นการพูดกับนักเรียน 3,000 กว่าคน ก็เป็นการเกณฑ์มาจาก 5 จังหวัดโดย กอ.รมน. นี่คือกลไกของกระทรวงศึกษาธิการที่ กอ.รมน. เข้าไปใช้อย่างสะดวก ดังนั้น การเลือกตั้งครั้งต่อไป กลไกเหล่านี้ก็จะถูกใช้อีกเช่นเดียวกับตอนทำประชามติ

"แต่การเลือกตั้งกับการทำประชามติต่างกัน ผลอาจไม่ออกมาสวยงามแบบประชามติ ตอนประชามติคนเข้าใจผิดเยอะว่ามีรัฐธรรมนูญแล้วจะมีการเลือกตั้งโดยเร็ว คนอาจไม่เข้าใจเนื้อหารัฐธรรมนูญ แต่กับการเลือกตั้งคนชัดเจนว่าแต่ละพรรคเป็นอย่างไร คุณไม่ต้องไปบอกให้เขาเลือก เขาก็มีตัวเลือกอยู่แล้ว เลือกตั้งจึงคุมยากกว่าประชามติ"

ยุบ กอ.รมน. คือความจำเป็นหากต้องการปฏิรูปกองทัพ

จากบทสนทนาทั้งหมด เราตั้งคำถามกับพวงทองว่า หากต้องการปฏิรูปกองทัพ ต้องการทำให้กองทัพอยู่ภายใต้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง การยกเลิก พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 และยุบ กอ.รมน. คือความจำเป็น?

"เราจะปฏิรูปกองทัพไม่ได้ ถ้ากองทัพไม่สูญเสียความชอบธรรมทางการเมือง ถ้าคนไทยกลุ่มหลักๆ โดยเฉพาะสื่อมวลชนกระแสหลักและชนชั้นกลางมองไม่เห็นปัญหาที่เกิดจากกองทัพ และมีฉันทามติว่าถึงเวลาที่จะต้องเอาทหารออกจากการเมือง คุณก็แตะต้องอะไรกองทัพไม่ได้ และถ้ามีโอกาสปฏิรูปกองทัพเมื่อใด ก็ต้องดำเนินการกับ กอ.รมน."

"ใช่ ต้องเอากิจการที่ไม่ใช่การรบ การปกป้องดินแดนออกจากมือกองทัพ รวมถึงประเด็นเรื่องความมั่นคงภายในก็ไม่ควรอยู่ในมือทหาร เพราะทหารมองว่าประชาชนเป็นปัญหาความมั่นคง และนี่เป็นสิ่งที่หลายประเทศทำ อินโดนีเซียทำหลังยุคซูฮาร์โต ต้องมีการบัญญัติกฎหมายว่าทหารจะต้องไม่เข้ามามีตำแหน่งทางการเมือง รัฐประหารเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ต้องเอากิจการพลเรือนที่อยู่ในมือกองทัพทั้งหมดออกไป

"จะยกเลิกกฎหมายได้ ต้องไปด้วยกันกับเจตจำนงที่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งต้องประกาศว่าถึงเวลาที่จะปฏิรูปกองทัพ ให้กองทัพอยู่ภายใต้อำนาจของพลเรือน ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าถ้าเกิดน้ำท่วม ภัยพิบัติขึ้นมาจะใช้กองทัพทำงานเหล่านี้ไม่ได้ ใช้ได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้คำสั่งของพลเรือนที่มาจากประชาชน ทหารออกมาเองไม่ได้ แต่ตอนนี้กองทัพมีอำนาจของตัวเอง ทำได้เองและยังสั่งพลเรือนทำด้วย มันกลับกัน"

พวงทองสรุปว่า ตราบเท่าที่กองทัพยังมีอำนาจหรือต่อให้ คสช. ไม่อยู่แล้ว แต่หากไม่มีความพยายามปฏิรูปกองทัพ ปีกอนุรักษ์นิยมที่ต่อต้านการเมืองแบบรัฐสภาที่ขึ้นมามีอำนาจก็จะยังใช้ กอ.รมน. เป็นมือไม้ในการต่อต้านการเมืองประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

"กรณีที่เกิดขึ้นกับชาวบ้านเทพาจะเกิดบ่อยขึ้น ทำให้ประชาชนเคลื่อนไหวลำบาก ตอนนี้เวลาประชาชนถูกคุกคามจากเจ้าหน้าที่ ภาพข่าวออกมา เจ้าหน้าที่เสียหาย แต่ถ้าคุณไปเดินแล้วมีประชาชนกลุ่มหนึ่งทำร้ายอีกกลุ่มหนึ่ง เจ้าหน้าที่จะบอกว่าก็ประชาชนทำกันเอง จะให้ทำอย่างไร เขาก็ไม่พอใจในสิ่งที่คุณทำ จะเห็นได้ว่า การมีมวลชนเป็นของตัวเองมันสำคัญ ทำให้เขาไม่ต้องพึ่งพิงพรรคประชาธิปัตย์ หรือ กปปส. (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) แบบเดิมในทุกงาน

"แน่นอนว่าหากเขาต้องการมวลชนจำนวนเป็นแสนเป็นล้านเขาต้องพึ่ง แต่เหตุการณ์จำนวนมากไม่ต้องการมวลชนขนาดนั้น แค่ 500 คน 1,000 คนออกมาต่อต้านกลุ่มที่ต่อต้านรัฐบาล แค่นี้ก็พอแล้ว ล่ารายชื่อ 50,000 คนเตรียมไว้ก็พอแล้ว จริงๆ แล้วกองทัพไม่ชอบ Social Movement เพราะเขามองว่านี่คือพวกที่ชอบสร้างอำนาจต่อรองกับภาครัฐ แต่ตัวเขาเองต่างหากที่ต้องการสร้างมวลชนตลอดมาตั้งแต่สมัยสงครามเย็น"

บทสนทนาสุดท้าย พวงทองย้ำความสำคัญของการปฏิรูปกองทัพและการยุติบทบาทของ กอ.รมน. ซึ่งเป็นสองสิ่งที่ต้องดำเนินไปควบคู่กันว่า

"เราจะปฏิรูปกองทัพไม่ได้ ถ้ากองทัพไม่สูญเสียความชอบธรรมทางการเมือง ถ้าคนไทยกลุ่มหลักๆ โดยเฉพาะสื่อมวลชนกระแสหลักและชนชั้นกลางมองไม่เห็นปัญหาที่เกิดจากกองทัพ และมีฉันทามติว่าถึงเวลาที่จะต้องเอาทหารออกจากการเมือง คุณก็แตะต้องอะไรกองทัพไม่ได้ และถ้ามีโอกาสปฏิรูปกองทัพเมื่อใด ก็ต้องดำเนินการกับ กอ.รมน."

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น