โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

กลุ่มนักศึกษาเชียงใหม่-ลำปางเรียกร้อง คสช. ยุติดำเนินคดีคนอยากเลือกตั้ง

Posted: 20 Feb 2018 12:06 PM PST

กลุ่มนักศึกษาในเชียงใหม่และลำปาง ทั้งพรรคนักศึกษายุวธิปัตย์ ม.เชียงใหม่ กลุ่มนักศึกษาสาขาปรัชญา การเมืองและเศรษฐศาสตร์ และชมรมนกกระดาษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ต่างออกแถลงการณ์โดยเรียกร้องให้ยุติการแจ้งความดำเนินคดี 6 นักศึกษา-ปชช. ฐานขัดคำสั่งหัวหน้า คสช. 3/2558 พร้อมเรียกร้องให้ คสช. ยุติการละเมิดสิทธิพลเมือง ยุติการดำเนินคดีคนอยากเลือกตั้งทั้งหมด และคืนอำนาจอธิปไตยแก่ประชาชนโดยเร็ว

กรณีที่ พล.ต.สาธิต ศรีสุวรรณ ผบ.กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย จ.เชียงใหม่ มอบอำนาจให้อัยการผู้ช่วยศาลมณฑลทหารบกที่ 33 แจ้งความตำรวจ สภ.ภูพิงคราชนิเวศน์  ให้ดำเนินคดีนักศึกษา มช.-มธ.ศูนย์ลำปาง 4 ราย และชาวบ้าน 2 ราย ฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. 3/2558 เหตุชุมนุมเรียกร้องเลือกตั้งอยู่หน้า ม.เชียงใหม่เมื่อ 14 ก.พ. ที่ผ่านมานั้น (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

"รวมพลคนอยากเลือกตั้ง" เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561 ที่หน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (แฟ้มภาพ)

ล่าสุดเมื่อคืนวันที่ 20 ก.พ. มีกลุ่มนักศึกษาทั้งที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่ ชมรมนกกระดาษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง, คณะกรรมการนักศึกษา สาขาปรัชญาการเมืองและเศรษฐศาสตร์ วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง และพรรคนักศึกษายุวธิปัตย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ออกแถลงการณ์ประณามการกระทำของรัฐบาล คสช. รวมทั้งเรียกร้องให้ยุติการดำเนินคดีทั้งกรณีการจัดกิจกรรม "รวมพลคนอยากเลือกตั้ง" ที่เชียงใหม่และทั่วประเทศ โดยมีรายละเอียดดังนี้

ที่มา: นกกระดาษ - PPB

โดยชมรมนกกระดาศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ออกแถลงการณ์ เรื่อง "ประณามการกระทำของรัฐบาล คสช. ต่อพลเรือนและนักศึกษากลุ่มคนอยากเลือกตั้ง" มีรายละเอียดระบุว่า

"จากเหตุการณ์ในช่วงที่ผ่านมานี้ ทางชมรมนกกระดาษ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ได้จับตาดูการกระทำของ รัฐบาล คสช. มาโดยตลอดทั้งการออกหมายเรียกและหมายจับกลุ่มคนอยากเลือกตั้งทั้ง 39 คน (MBK39) บริเวณสกายวอร์ค หน้าห้างสรรพสินค้ามาบุญครอง และการออกหมายเรียกนักศึกษา และพลเรือน จำนวน 6 คน บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งทั้งสองเหตุการณ์เป็นการชุมนุมเรียกร้องของประชาชนซึ่งมีสิทธิชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิพลเมือง (ICCPR) ที่เรียกร้องต่อรัฐบาลให้คืนอำนาจอธิปไตยให้แก่ประชาชน คืนประชาธิปไตยสู่สังคม โดยการเลือกตั้งตามโร้ดแม้พของรัฐบาลคสช.ที่ได้วางเอาไว้ ด้วยเหตุนี้ทำให้ชมรมนกกระดาษฯไม่สามารถนิ่งนอนใจต่อสถานการณ์ที่ไม่ปกติและละเมิดสิทธิต่อประชาชนเช่นนี้ต่อไปได้จึงขอประณามการกระทำของรัฐบาลดังนี้"

"1. ขอประณามรัฐบาลคสช.ในการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือสืบถอดอำนาจของตนเองผ่านกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับปีพ.ศ.๒๕๖o มาตรา ๒๖๕ ประกอบกับมาตรา ๔๔ ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปีพ.ศ.๒๕๕๗ ในคำสั่งที่ ๓/๒๕๕๘ ซึ่งเป็นการใช้กฎหมายในทางที่ผิดและไม่ได้เป็นไปเพื่อความยุติธรรมแต่เพื่อความชอบธรรมของตนเอง

2.ขอประณามรัฐบาลคสช. ในการจับกุมกลุ่มคนอยากเลือกตั้งทั้ง 39 คน บริเวณสกายวอร์ค หน้าห้างสรรพสินค้ามาบุญครอง และการออกหมายเรียกนักศึกษา และพลเรือน จำนวน 6 คน บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นการชุมนุมโดยชอบธรรมและมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในการแสดงออกและแสดงความคิดเห็นตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิพลเมือง (ICCPR) ซึ่งการออกหมายเรียกและหมายจับโดยรัฐบาลคสช.นั้น เป็นการละเมิดสิทธิพลเมืองซึ่งเป็นสิทธิมนุษยชนอย่างชัดเจน

ทั้งนี้ ชมรมนกกระดาษ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง จึงได้ประณามการกระทำดังกล่าวและขอให้รัฐบาลคสช.ยุติการกระทำซึ่งเป็นการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือและละเมิดสิทธิพลเมืองซึ่งเป็นสิทธิมนุษยชนของประชาชนและยุติการดำเนินคดีต่อต่อพลเรือนและนักศึกษากลุ่มคนอยากเลือกตั้งทั้งหมดและคืนอำนาจอธิปไตยให้แก่ประชาชนโดยทันที

ชมรมนกกระดาษ

แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง
วันที่ 20 ก.พ. พ.ศ.2561"

ขณะเดียวกัน คณะกรรมการนักศึกษา สาขาปรัชญาการเมืองและเศรษฐศาสตร์ วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ได้ออกแถลงการณ์เรื่อง "การแสดงจุดยืนต่อคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 3/2558"

โดยตอนหนึ่งระบุว่า "ในนามคณะกรรมการนักศึกษา สาขาปรัชญา การเมืองและเศรษฐศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ขอแสดงความกังวลต่อคำสั่งหัวหน้า คสช. 3/2558 เรื่อง การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ จากการกระทำนี้ เป็นการแสดงเรียกร้องสิทธิควรพึงได้ในฐานะประชาชนชาวไทย ซึ่งกลุ่มประชาชนต้องการให้รัฐบาลจัดการเลือกตั้งให้โดยเร็วที่สุดตามระบอบประชาธิปไตย และหยุดการใช้อำนาจในทางมิชอบต่อประชาชน"
 
"ในการนี้ ทางคณะนักศึกษานั้น ขอเรียกร้องให้รัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติทบทวนการกระทำดังกล่าว ซึ่งเป็นการลดทอนสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงจุดยืนที่มีความเห็นต่างจากรัฐบาล อีกทั้งการใช้อำนาจรัฐต่อประชาชนนั้น เป็นการกระทำโดยมิชอบต่อข้อกฎหมาย ที่ประชาชนสามารถออกมาเรียกร้องและเคลื่อนไหวชุมนุมได้" โดยท้ายแถลงการณ์ลงว่า คณะกรรมการนักศึกษาสาขาปรัชญา การเมืองและเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง

นอกจากนี้ พรรคนักศึกษายุวธิปัตย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 21 ก.พ.  "เรียกร้องให้ยุติการแจ้งความดำเนินคดีกับนักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 3 คน นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง 1 คน และประชาชนอีก 2 คน" โดยมีรายละเอียดดังนี้

"เนื่องจากเหตุการณ์การจัดกิจกรรม "รวมพลคนอยากเลือกตั้ง" โดยกลุ่มนักศึกษาสมัชชาเสรีแห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อประชาธิปไตย ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561 ตั้งแต่เวลา 16.45 น. เพื่อแสดงพลังในการยืนยันข้อเสนอที่ว่าให้รัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ออกประกาศวันเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ และไร้การเลื่อนออกไปอีก เพื่อให้เกิดการเลือกตั้งตามวิถีประชาธิปไตยโดยเร็วที่สุด ตลอดจนพูดถึงปัญหาทุจริตคอรัปชั่นภายใต้รัฐบาลนี้ โดยมีผู้คนเข้าร่วมกิจกรรมมากกว่า 100 คน และเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย

ต่อมาในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 ผู้แทนของฝ่ายความมั่นคง ได้เดินทางมาแจ้งความให้ดำเนินคดี กับกลุ่มผู้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว จำนวน 6 คน ได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 3 คน นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง 1 คน และประชาชนอีก 2 คน ที่สถานีตำรวจภูธรภูพิงค์ราชนิเวศน์ โดยกล่าวอ้างว่ากระทำผิดตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 3/2558 เรื่อง การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ ซึ่งในการจัดกิจกรรมเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย ไม่มีเหตุการณ์ใด ๆ ที่แสดงถึงความรุนแรง และบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรไทย และเป็นการกระทำภายใต้เสรีภาพของพลเมือง ที่ต้องการแสดงความคิดเห็นถึงเรื่องราวความเป็นไปของรัฐตนเองอย่างอิสระ

ในฐานะเยาวชนของราชอาณาจักรไทย พวกเรารู้สึกถึงความอยุติธรรมในสังคมที่ปรากฎในเหตุการณ์นี้ เราเชื่อมั่นในการกระทำของประชาชนชาวไทย เพื่อนนักศึกษา และเยาวชน ว่ากระทำไปภายใต้ขอบเขตในสิทธิ และเสรีภาพในฐานะพลเมืองในรัฐ การออกหมายเรียกให้ไปรับทราบข้อกล่าวหา จึงเสมือนหนึ่งเป็นการคุกคามต่อการแสดงออกในสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของพลเมืองที่ตื่นตัวในรัฐต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ภายในรัฐ

พรรคนักศึกษายุวธิปัตย์ ในฐานะพรรคนักศึกษาที่เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มของนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และพร้อมปกป้องสิทธิ เสรีภาพของศึกษา จึงขอแสดงความกังวลต่อการล่วงละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมืองที่มีจุดยืน และความคิดเห็นแตกต่างจากรัฐบาล ตลอดจนกังวลถึงการที่รัฐมาบังคับใช้กฎหมายกับพลเมืองที่แสดงความคิดเห็นต่อการเลื่อนการเลือกตั้ง และความไม่โปร่งใสภายในรัฐบาลชุดนี้

ดังนั้นเราขอให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง พิจารณาการแจ้งข้อกล่าวหาอีกครั้งหนึ่ง ตลอดจนให้เกิดการยกเลิกข้อกล่าวหาแก่กลุ่มนักศึกษา และประชาชนผู้เข้าร่วมกิจกรรมด้วยความสงบเรียบร้อยในกิจกรรมดังกล่าว ตลอดจนไม่สมควรมีการแจ้งข้อกล่าวหาเช่นนี้อีกต่อไป

ท้ายที่สุด พรรคนักศึกษายุวธิปัตย์ขอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงทั้งหมด ทบทวนบทบาทของตน ที่ได้ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมือง จากการกระทำดังกล่าว และพึงระลึกถึงหลักสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมืองตามที่ปรากฎอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ตลอดจนปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ

"เชื่อมั่นในนักศึกษา ศรัทธาในผองชน"

พรรคนักศึกษายุวธิปัตย์ องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่

21 กุมภาพันธ์ 2561"

 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'นักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง' ฝากประยุทธ์ มหา'ลัยไม่ใช่ค่ายทหาร ปท.ไม่ใช่ค่ายกักกัน

Posted: 20 Feb 2018 11:11 AM PST

หลัง พล.อ.ประยุทธ์ เตือนอาจารย์อย่าหนุน นศ.เคลื่อนไหวการเมือง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง ส่งสารโต้กลับ ชี้มหาวิทยาลัยไม่ใช่ค่ายทหาร และประเทศไทยไม่ใช่ค่ายกักกัน

20 ก.พ. 2561 เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของนักวิชาการที่ยึดมั่นในหลักสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค รวมทั้งประชาธิปไตย ออกจดหมายเปิดผนึก ถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และนายกฯ  กรณีการเรียกร้องการเลือกตั้งของนักศึกษาและประชาชน โดยอ้างถึงตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ ได้แสดงความกังวลต่อการที่นักศึกษาและประชาชนออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการเลือกตั้งในช่วงที่ผ่านมา ว่าเป็นความต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศโดยยึดหลักการต่างประเทศซึ่งจะก่อให้เกิดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สิน พร้อมกับฝากมายังอาจารย์ให้ยุติการสนับสนุนการเคลื่อนไหวและการสั่งสอนนักศึกษาอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน นั้น

คนส. เห็นว่าความกังวลของท่านมีความคลาดเคลื่อนต่อการเรียนการสอนในสถาบันอุดมศึกษาและคำฝากของท่านวางอยู่บนความไม่เข้าใจในบทบาทหน้าที่ของนักวิชาการที่มีต่อทั้งนักศึกษาและสังคม กล่าวในส่วนของความกังวลต่อสถานการณ์ การแสดงออกของนักศึกษาและประชาชนเป็นไปตามครรลองของระบอบประชาธิปไตยและเป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ มิได้เป็นการยึดหลักการต่างประเทศที่ไม่มีรากฐานทางการเมืองและกฎหมาย ความสูญเสียจะเกิดขึ้นก็แต่เฉพาะผู้มีอำนาจรัฐหรือ คสช. ปฏิเสธว่าประเทศนี้ไม่ได้ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญเป็นเพียงกระดาษที่ไร้ความหมาย

ขณะเดียวกันการจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษามิได้เป็นเพียงการถ่ายทอดความรู้สำเร็จรูป หากแต่เป็นการกระตุ้นและสนับสนุนให้นักศึกษาได้ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองด้วยวิธีการที่หลากหลาย ซึ่งไม่ได้จำกัดเฉพาะในชั้นเรียน หากแต่ยังรวมถึงสภาพความเป็นจริงของชีวิตและสังคม ฝึกฝนให้พวกเขาตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์ และหาแนวทางคลี่คลายประเด็นปัญหาด้วยตนเอง ซึ่งไม่ได้มีแต่เรื่องส่วนตัวหรือความสำเร็จในอาชีพการงาน หากแต่หมายรวมถึงประโยชน์ของสังคมหรือประเทศอย่างสำคัญ การที่นักศึกษาจำนวนหนึ่งออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องในสิ่งที่ถูกต้อง เพื่ออนาคตของพวกเขาและคนร่วมสังคม จึงอยู่ในครรลองของการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาดังที่ว่านี้

นอกจากนี้ นักวิชาการมีพันธกรณีในการผลิตความรู้ความเข้าใจในประเด็นปัญหาต่างๆ ซึ่งความรู้ความเข้าใจแบบไหนจะเป็นเพียงแค่ความก้าวหน้าของสาขาวิชา มีศักยภาพในการแก้ไขปัญหา หรือว่าสามารถก่อให้เกิดผลกระทบหรือความเปลี่ยนแปลงได้ ก็ขึ้นอยู่กับว่าความรู้ความเข้าใจนั้นวางอยู่บนปัญหาและสภาพความจริงเพียงใด และได้รับการหยิบใช้ในการเผชิญปัญหาเพียงไหน การที่นักวิชาการชี้ให้เห็นว่าปัญหาที่สังคมไทยในปัจจุบันกำลังประสบอยู่คืออะไร ยึดโยงอยู่กับบริบท เงื่อนไข และปัจจัยไหน ทางออกที่ถูกที่ควรคืออะไร และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือไม่ปล่อยให้ความรู้ความเข้าใจอยู่นิ่งอย่างเฉื่อยชา หากแต่พาเข้าไปสู่สาธารณะหรือว่าใจกลางของปัญหา จึงเป็นการทำให้วิชาการมีความเกี่ยวพันกับการแก้ปัญหาสังคมยื่งขึ้น การที่นักวิชาการจำนวนหนึ่งสนับสนุนหรือออกมาเคลื่อนไหวร่วมกับนักศึกษาและประชาชนในการเรียกร้องความถูกต้องและประชาธิปไตยจึงเป็นการปฏิบัติตามพันธกรณีที่นักวิชาการมีต่อสังคมดังที่ว่านี้

คนส. เรียนกลับไปยังหัวหน้า คสช. ให้ทบทวนความเข้าใจที่ท่านมีต่อนักศึกษาและนักวิชาการเสียใหม่ เพื่อจะได้เข้าใจว่าสิ่งที่พวกเราดำเนินการมามิได้ผิดเพี้ยนไปจากปรัชญาและวัตถุประสงค์ของสถาบันอุดมศึกษาที่มีต่อสังคมแต่อย่างใด เพราะมหาวิทยาลัยไม่ใช่ค่ายทหาร และประเทศไทยไม่ใช่ค่ายกักกัน

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์: เหตุใดที่พลเอกประวิตรจึงคงทนอยู่ในเก้าอี้

Posted: 20 Feb 2018 09:17 AM PST


น่าจะมีคนมากมายสงสัยว่าเหตุใดพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ จึงคงทนอยู่ในเก้าอี้ของผู้บริหารประเทศแม้จะได้รับการโจมตีจากสังคมหลายฝ่ายต่อการครอบครองนาฬิการาคาแพงจำนวนมากว่าเข้าข่ายผิดกฎหมายและขาดความถูกต้องชอบธรรม จนถึงขั้นมีการลงชื่อหลายหมื่นคนในหลายเว็บไซต์เพื่อให้เขาลงจากตำแหน่งไป ผู้เขียนคิดว่ามีอยู่หลายสาเหตุซึ่งสามารถแบ่งเป็นปัจจัยภายในคือตัวของพลเอกประวิตรเองและภายนอกคือปัจจัยทางการเมืองและสังคม ทั้งหมดสามารถนำเสนอเป็นศัพท์ภาษาอังกฤษดังต่อไปนี้           


1.Obsessed with power  (คำคุณศัพท์)  - ฝักใฝ่อำนาจ

สาเหตุที่คนอายุมากๆ ฝักใฝ่ในอำนาจก็เพราะตระหนักดีถึงวันตายหรือวาระสุดท้ายของตนซึ่งอยู่ไม่ไกล พวกเขาจึงพยายามมีความสุขอยู่กับปัจจุบัน โดยการมีอำนาจอันช่วยให้พวกเขาได้รับการสรรเสริญ ยกย่องจากมวลชน และที่สำคัญสามารถดลบันดาลทุกสิ่งทุกอย่างได้ดังพระเจ้า ด้วยพระเจ้านั้นเป็นอมตะ พวกเขาจึงสามารถหลงคิดไปได้ว่าตัวเองไม่มีวันตาย การยอมลาออกของพลเอกประวิตรก็หมายถึงการการสูญสิ้นอำนาจ ไปสู่ความว่างเปล่า และการหมกมุ่นอยู่กับความตายที่อยู่ตรงหน้าท่ามกลางสังขารอันร่วงโรย อันเป็นสิ่งที่พลเอกประวิตรไม่น่าจะยอมเป็นอันขาด จึงทนอยู่ในเก้าอี้ต่อไปโดยการคาดหวังว่าเวลาจะทำให้สื่อมวลชนเงียบเสียงและคนไทยก็หลงลืมกันไป


2.Narcissistic (คำคุณศัพท์) -  หลงตัวเอง  

คนเช่นนี้มักคิดว่าตัวเองดีเลิศ ประเสริฐศรี มีความสามารถพิเศษไม่เหมือนคนอื่น แม้ว่าจะมีผู้โจมตีและวิจารณ์พลเอกประวิตรเกี่ยวกับเรื่องนาฬิกาหรูเป็นจำนวนมาก  แต่ความหลงตัวเองของเขาจะกลายเป็นตัวช่วยตีความให้เป็นไปตามที่ตัวเองปรารถนา เช่นเมื่อตัวเองทำประโยชน์ให้กับบ้านเมืองก็ควรได้รับสิทธิประโยชน์บางอย่างที่ไม่เหมือนใคร (แม้จะไม่ถูกกฎหมายก็ตาม แต่ก็อย่างว่า กฎหมายเป็นสิ่งที่ตัวเองและเพื่อนพ้องสามารถสร้างขึ้นมาเองได้อยู่แล้ว)  ส่วนคำด่าสามารถถูกตีความไปว่าเป็นพฤติกรรมของผู้ไม่ปรารถนาดีต่อบ้านเมืองหรือต้องการบ่อนทำลายคสช.  แน่นอนว่าลูกน้องซึ่งหวังความโปรดปรานจากเจ้านายย่อมมีบทบาทอย่างสูงในการกลั่นกรองและนำเสนอข้อมูลโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางอินเทอร์เน็ตซึ่งสอดคล้องกับความหลงตัวเองเช่นนี้ พลเอกประวิตรจึงมีกำลังใจอยู่ในตำแหน่งต่อไป


3.  Military Cronyism (คำนาม) - การเล่นพรรคเล่นพวกของกองทัพ

การเมืองไทยไม่สามารถเปรียบได้กับการเมืองอังกฤษซึ่งรัฐมนตรีขอลาออกเพียงแค่ไปทำงานสาย เพราะไทยเป็นประเทศโลกที่ 3  ที่ขาดภาวะนิติรัฐหรือโครงสร้างทางการเมืองแบบประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง การที่พลเอกประวิตรขึ้นมาเป็นใหญ่เป็นโตได้ก็ผ่านความสัมพันธ์ทางอำนาจในกองทัพที่ก่อรัฐประหารหรืออีกคำหนึ่งคือการเล่นพรรคเล่นพวกของกองทัพ  เขาจึงไม่มีทางลงจากอำนาจอย่างง่ายดายผ่านกระบวนการที่อิงอยู่บนคุณค่าแบบประชาธิปไตยดังประเทศโลกที่ 1 ซึ่งคสช.ไม่เคยมีความจริงใจในการสนับสนุน นอกจากเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับตัวเอง  ดังจะเห็นได้ว่าพลเอกประวิตรได้รับการสนับสนุนโดยนายกรัฐมนตรีที่ได้รับประโยชน์จากความสัมพันธ์ทางอำนาจเช่นนี้เหมือนกัน เช่นเดียวกับการช่วยเหลือจากองค์กรอิสระอย่างปปช.ที่พร้อมจะฟอกขาวให้กับพลเอกประวิตรเพราะความสัมพันธ์กับคสช.   


4.Mass mobilization (คำนาม) -การระดมมวลชน

การโจมตีพลเอกประวิตรมีได้ในโลกโซเชียลมีเดียเพียงประการเดียว เพราะกองทัพของไทยสามารถสะกัดการระดมมวลชนซึ่งมีความเห็นแตกต่างจากรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะเสื้อแดงถูกถอนรากถอนโคน ส่วนพวกคนดีเป่านกหวีดก็เสียงแตกกันและปราศจากผู้นำที่มีบารมี จึงไม่สามารถมีการระดมมวลชนอย่างทรงพลังขึ้นมากดดันให้รัฐบาลปลดพลเอกประวิตรได้ เพียงแค่การจัดประท้วงเพื่อเรียกร้องการเลือกตั้ง แกนนำก็โดนคสช.เล่นงานทางกฎหมายหลายกระทง ในทางกลับกัน หากกองทัพไม่ขึ้นตรงอยู่กับรัฐบาลแล้วและพลเอกประวิตรเป็นรัฐมนตรีสังกัดรัฐบาลของพรรคการเมืองเครือข่ายทักษิณ การระดมมวลชนเพื่อกดดันรัฐบาลย่อมประสบความสำเร็จในระยะเวลาอันรวดเร็ว


5. fan club (คำนาม) -กลุ่มผู้สนับสนุน

แม้ข้ออ้างของพลเอกประวิตรอย่างเช่นการยืมนาฬิกาของเพื่อนที่ตายไปแล้วจะดูไร้สาระสิ้นดี แต่ก็มีคนไทยอีกจำนวนไม่น้อยที่ยังคงสนับสนุนพลเอกประวิตรในโลกโซเชียลมีเดียโดยอิงอยู่บนหลักของเหตุและผลอีกชุดหนึ่งซึ่งปราศจากข้อมูลที่ถูกต้องอย่างเช่น "เพียงแค่ลุงป้อมมีนาฬิกาหรูก็ไม่ใช่การกระทำความผิดอะไร" (แต่ลืมไปว่าลุงไม่แจ้งในบัญชีทรัพย์สิน)  หรือบางคนก็อ้างว่าไม่ควรใช้กฎหมู่กับพลเอกประวิตรแต่ควรอิงอยู่กับกฎหมายเช่นรอการตรวจสอบของปปช.เสียก่อน (โดยไม่สนใจว่าปปช.นั้นขาดความโปร่งใสและถูกควบคุมโดยคสช.) หรือ การมีนาฬิกาหรูนั้นยังเลวร้ายน้อยกว่าจำนำข้าวที่ทำให้ประเทศสูญเสียผลประโยชน์ไปหลายแสนล้านบาท  (ดังข้ออ้างของรศ.ดร.สุวินัย ภรณวลัยซึ่งเพิกเฉยความจริงที่ว่าคสช.นั้นควรโปร่งใสที่สุดเพราะเป็นผู้มีอำนาจมากที่สุด)  หรือสื่อบางฉบับอย่างเช่นหนังสือพิมพ์ไทยรัฐก็ใช้การวิเคราะห์เหตุการณ์ทางการเมืองหน้า 3 ในการสนับสนุนคสช.  การสนับสนุนดังกล่าวย่อมช่วยให้ฉันทานุมัติในการโจมตีพลเอกประวิตรด้อยพลังลงไป


6. Militarism / Royalist Nationalism (คำนาม) -กองทัพนิยม/ลัทธิราชาชาตินิยม

แม้ว่าจะมีคนโจมตีทหารและกองทัพมากมายผ่านทางโลกโซเชียลมีเดีย แต่ผู้เขียนยังคิดว่าลัทธิดังกล่าวซึ่งมักเคียงคู่ไปกับลัทธิราชาชาตินิยมยังคงทรงอิทธิพลอยู่ไม่น้อยดังเช่นคำพูดที่ว่า " ทหารอย่างพลเอกประวิตรก็ยังดีกว่าพวกนักการเมืองชั่วๆ เสียอีก" หรือ การที่รัฐบาลและกลุ่มผู้สนับสนุน (อย่างน้อยก็หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ) สามารถแก้ต่างว่าการโจมตีพลเอกประวิตรเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นหนึ่งที่ต้องการโค่นล้มรัฐบาลโดยบุคคลที่อยู่ตรงกันข้ามกับกองทัพซึ่งปรารถนาดีต่อประเทศชาติและราชบัลลังก์ อย่างเช่น        กลุ่มเสื้อแดงและเครือข่ายของทักษิณก็ย่อมทำให้พลังในการโจมตีพลเอกประวิตรแผ่วเบาลงไปมาก


7.Nostalgia (คำนาม) -การฝักใฝ่ถึงอดีต

ปัจจัยดังกล่าวสะท้อนได้จากการจัดงานย้อนยุคที่ผู้เข้าร่วมงานโดยเฉพาะคณะรัฐมนตรีของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาแต่งกายในชุดโบราณอันสะท้อนถึงความฝักใฝ่ของรัฐถึงอดีตที่คนไม่เท่ากัน โดยครม.ได้แปลงโฉมให้กลายเป็นขุนนางที่ทรงอิทธิพลและเป็นอภิสิทธิชนในเชิงสัญลักษณ์ ซึ่งผู้เขียนคิดว่ามันสามารถสะท้อนถึงสำนึกของพลเอกประวิตร (ซึ่งออกงานแต่งชุดสีเขียว มีใบหน้าชื่นมื่น) คนรอบข้างหรือผู้สนับสนุนได้อย่างดีว่าการมีนาฬิกาหรูไม่ใช่เป็นเรื่องผิดร้ายแรงแต่ประการใด หากเป็นสัญลักษณ์ของผู้ทรงอำนาจในอดีตที่สามารถกอบโกยเอาทรัพยากรส่วนกลางมาเป็นของตัวเองโดยไม่ต้องสนใจคุณค่าของประชาธิปไตย ปรากฎการณ์เช่นนี้ล้วนถูกผลิตซ้ำโดยสื่อมวลชนไทยผ่านภาพยนตร์และละครมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน  อันเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คดีของพลเอกประวิตรอาจสูญหายไปกับห้วงมหาสมุทรแห่งกาลเวลา

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

การเมืองของความหวัง: การแผ้วทางให้คนอื่น

Posted: 20 Feb 2018 08:58 AM PST

การถกเถียงเพื่ออธิบายว่าคนที่ออกมาเรียกร้องให้เลือกตั้งทำถูกหรือไม่ ยุทธศาสตร์ยุทธวิถีผิดพลาดหรือไม่ จะนำพาเราไปสู่การเมืองแบบเดิมหรือเปล่า มันคุ้มไหม มันเสี่ยงไหม ซึ่งนั้นเป็นคำถามที่ถามได้

แต่สำหรับผมการเมือง ไม่ใช่การแข่งขันเพื่อครองอำนาจ เเพ้ชนะในวันเดียว แต่มันคือ การสะสม ถากถางหนทางหนทางให้คนอื่น ๆ ถ้าไม่มีการสะสมเราก็อาจไม่มีการเคลื่อนไหวเลย คนที่ออกมาคนแรกอาจเสี่ยง เจ็บแต่นั้นหมายถึงเขาได้ตัดสินใจแล้ว เพื่อเป็นบันไดแรก ๆ ให้คนอื่นได้สู้ต่อไป

"การเมืองจึงเป็นเรื่องของความหวัง" อยู่ที่ว่าจะเป็นหวัง/ฝันของคนกลุ่มเดียว หรือเป็นความหวังความฝันร่วมกันของหลายคน บางกลุ่มบางคนเช่นรัฐประหารของ "คน(ที่คิดว่า)ดี" ก็บอกว่าตนเองทำนั้นทำนี้ เพื่อให้ประเทศเดินหน้าโดยที่ละเลยว่าคนอื่นคิดอย่างไร แม้เกิดจากความปรารถนาดีหรือไม่ก็ตาม แต่คนทั่วไปเขาไม่ได้ฝันอย่างที่พวกตนมุ่งหวัง ความฝันนั้นจึงไม่อาจแทรกซึมสร้างแนวร่วมกับคนกลุ่มอื่นได้ ฝันนั้นจึงเป็นเเต่ฝันลม ๆ แล้ง ๆ ยิ่งได้/ใช้อำนาจแบบเผด็จการครอบงำ ปิดกั้นไม่ให้ความฝันอื่น ๆ มีที่ยืน ฝันนั้น ๆ ก็เป็นแต่เพียงฝันเปียกทางการเมืองเท่านั้น

ความฝันทางการเมืองจึงเป็นความฝันที่คนทุกคนฝันร่วมกัน ทุกคนมีพื้นที่ในฝันนั้น แม้ว่าความฝันนั้นอาจนำมาซึ่งความตาย หรือไม่โสภานักสำหรับอนาคตของปัจเจกบุคคล เช่น ความฝันในเรื่องประชาธิปไตย ความเท่าเทียมของนักศึกษาในช่วง 14 ต.ค. 16 /6 ต.ค. 19 ขบวนการชาวนาชาวไร่ การต่อสู้เพื่อเอกราชและเปลี่ยนแปลงสังคมของนักศึกษาอินโด ฯ 1945-1947 นักศึกษาประชาชนพม่า 8/8/88 การรบเพื่อเอกราชของเวียดมินห์ ล้วนแต่เป็นความฝันที่เหนือความเป็นปัจเจกบุคคล แต่เป็นความหวาดหวังที่จะให้ประเทศชาติ "ดีขึ้น" ในทางใดทางหนึ่ง ซึ่งล้วนให้เกิดการสะสมและการเคลื่อนไหวในอนาคตต่อมา

ความหวาดหวังใฝ่ฝันในท่วงทำนองนี้จึงเป็นความฝันร่วม ที่ต่างจากความฝันของเผด็จการที่หวังให้ทุกคน "ฝันเหมือนตน" โดยมิให้ความฝันของคนอื่นมีที่ยืนในฝันตน และมักคิดว่าสิ่งที่ตนทำคือความฝันร่วม ซึ่งเป็นไปไม่ได้หรอกครับ เพราะผมกับคุณอยู่บนผืนดินเดียวกัน แต่เราฝันถึงโลกคนละใบครับ

บางคนต้องการให้การเมืองมีเสถียรภาพ โดยไร้เสรีภาพ แต่หลายคน (รวมทั้งผม) ยอมให้การเมืองขาดเสถียรภาพ แต่มีเสรีภาพ ถ้าเราขาดเสรีภาพ เราก็ไม่อาจบอกว่าเราเป็น "คน" ได้

ท้ายที่สุด การเมืองเป็น 'กระบวนการ' เพราะปลายทางเราไม่รู้ว่าจะสำเร็จหรือไม่ แต่ถ้าระหว่างทางเราคำนึงถึงความชอบธรรม แนวร่วม การสร้างความเข้าใจ ฯลฯ แม้ท้ายที่สุดไม่บรรลุเป้าหมาย เราก็คิดว่าคุ้มแล้วที่ได้ทำ เพราะมันหมายถึงการถักทอ แผ้วทางให้คนอื่น ๆ ต่อไป จะเป็นการเมืองในชีวิตหรือการเมืองในกระบวนการเคลื่อนไหวก็ตาม

 

อ่านเพิ่มใน: Anderson, Benedict.  1972.  Java in a Time of Revolution: Occupation and Resistance, 1944-1946.   Ithaca and London: Cornell University Press.

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กวีประชาไท: ชาติของใคร?

Posted: 20 Feb 2018 08:48 AM PST



เป็นนิสิตนักศึกษาประชาชน
จงคลำหนทางก้าวอันหนาวหนัก
จงร่ำเรียนเขียนอ่านให้คึกคัก
เรื่องบ้านไม่ต้องตระหนักตระหนกใจ

มีปืนจี้คอยชี้ทิศไม่ผิดเพี้ยน
ประกายปืนเป็นแสงเทียนส่องโลกใหม่
เอาความดีเข้าตัวเสมอไป
ความชั่วช้าโยนให้คนอื่นอุ้ม

อย่าคิดเปลี่ยนแปลงชาติ* เลยลูกหลาน
หมั่นเขียนอ่านไปเถิดผู้สาวหนุ่ม
ผ้าลายพรางผืนนี้ที่แผ่คลุม
และกลุ่มคนบางกลุ่มจะนำทาง!

ชาติของเขา สังคมก็ของเขา
เด็กอย่างเราควรเจียมตัวเอาไว้บ้าง
ทหารหาญอย่างตู่ ป้อม จะล้อมบาง
ปล้นแสงเทียน ทาบเงากร่าง อย่างเต็มตีน!

 

หมายเหตุ: บางวรรคจากถ้อยคำผู้นำนาม "ประยุทธ์ จันทร์โอชา"

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

วงเสวนาถกประเพณีการปกครอง-พระราชวินิจฉัย ชี้ ทักษิณยุบสภาปี 49 ไม่ปรกติ

Posted: 20 Feb 2018 08:01 AM PST

วงเสวนาเปิดตัวหนังสือวิเคราะห์การใช้ประเพณีการปกครองตามมาตรา 5 มาตรา 7 อำนาจของกษัตริย์ยังคงจำเป็นเมื่อมีวิกฤตรุนแรง ทักษิณยุบสภา 24 ก.พ. 49 ต่างจากทุกครั้ง ถ้ายกเป็นประเพณีเท่ากับนายกฯ อำนาจเท่ากษัตริย์อังกฤษยุคกลาง ประชาธิปไตยที่ยังไม่เข้มแข็งควรใช้ประเพณีการปกครองเท่าที่จำเป็น

ซ้ายไปขวา: ณัฏฐา โกมลวาทิน นรนิติ เศรษฐบุตร ไชยันต์ ไชยพร สมบูรณ์ สุขสำราญ วุฒิสาร ตันไชย

20 ก.พ. 2561 ที่โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการฯ ถ.แจ้งวัฒนะ มีการจัดเวทีเสวนาเปิดตัวหนังสือ "ประเพณีการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข บทวิเคราะห์ มาตรา 7 จากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2540 ถึงรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน"  เป็นงานวิจัยที่เขียนโดย ศ.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยสถาบันพระปกเกล้า

ในงานเสวนา ได้มีการเชิญ ศ.ไชยันต์ ผู้เขียน ศ.(พิเศษ) นรนิติ เศรษฐบุตร อดีตเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ศ.วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ศ.สมบูรณ์ สุขสำราญ คณบดีสถาบันรัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยรัฐกิจ ม.รังสิต มาเป็นผู้ร่วมเสวนา และมีณัฏฐา โกมลวาทิน เป็นผู้ดำเนินรายการ

บทคัดย่องานวิจัยระบุว่า งานวิจัยเน้นศึกษาและตีความประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในสามกรณีที่เป็นปัญหา หนึ่ง กรณีการใช้มาตรา 7 เพื่อ "ขอนายกฯ พระราชทาน" สอง กรณีการยุบสภาที่เกี่ยวข้องกับประเพณีการปกครอง และสาม ใครคือผู้ตัดสินวินิจฉัยประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของไทย โดยงานวิจัยระบุว่า การยุบสภาของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อ 24 ก.พ. 2549 ต่างจากแบบแผนครรลองของการยุบสภาไทยก่อนหน้าทั้งหมด และแตกต่างจากการยุบสภาในประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  เพราะถ้านายฯ สามารถยุบสภาไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆ และเมื่อไรก็ได้ย่อมหมายความว่า นายกฯ สามารถใช้อำนาจฝ่ายบริหารยุบสภาหรือฝ่ายนิติบัญญัติได้อย่างกว้างขวางตามวินิจฉัยส่วนตัวหรือตามอำเภอใจ นำมาซึ่งการทำลายหลักการการปกครองแบบผสม ซึ่งเป็นหลักการและรากฐานของระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ และจะส่งผลให้เกิดสภาวะที่เรียกว่า "เผด็จการที่มาจากการเลือกตั้ง"

การศึกษาแสดงให้เห็นแล้วว่าวิกฤตมาตรา 7 กรณี "ขอนายกฯ พระราชทาน" ในปี 2549 ไม่ได้เป็นวิกฤตในตัวเอง แต่เป็นปัญหาสืบเนื่องจากการเลือกตั้งที่ไม่ชอบธรรมทั่วไป ซึ่งสืบเนื่องมาจากการยุบสภาในวันที่ 24 ก.พ. 2549 ทั้งนี้ ผู้วิจัยมีความเห็นว่า เงื่อนไขของประเทศที่ประชาธิปไตยยังไม่มั่นคงเข้มแข็ง การอ้างอิงประเพณีการปกครองในการร่างรัฐธรรมนูญในปัจจุบันถือเป็นเรื่องที่ขาดวิจารณญาณอย่างยิ่ง และควรที่จะบัญญัติเงื่อนไขกติกาต่างๆ ไว้ให้ชัดเจน เป็นลายลักษณ์อักษรในรัฐธรรมนูญไว้เท่าที่จะทำได้ และอาศัยประเพณีการปกครองตามมาตรา 5 [มาตรา 7 เดิมในรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550] เท่าที่จำเป็นจริงๆ หรืออาจจะไม่จำเป็นต้องมีมาตราในลักษณะนี้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับถาวรด้วยซ้ำ

ชวนดูกรอบประเพณีการปกครองของไทย 3 ชั้น วิเคราะห์การใช้ประเพณีการปกครองและพระราชวินิจฉัยของกษัตริย์ในกฎหมาย

ไชยันต์กล่าวว่า ตนสนใจมาตรา 7 เพราะว่าเป็นประเด็นที่เกิดข้อถกเถียง และเป็นส่วนหนึ่งของวิกฤตการเมืองไทยทั้งสองครั้ง ในปี 2549 ที่มีเรื่องการยกมาตรา 7 ขึ้นมา คือขอนายกฯ พระราชทาน ต่อมามาปลายปี 2556 ต่อ 2557 ก็มีการยกประเด็นมาตรา 7 ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ได้มีข้อถกเถียงจากทั้งฝ่ายหนุนและฝ่ายค้านที่บอกว่าต้องใช้ประเพณีการปกครองที่ทำให้การเมืองไทยเดินหน้าไปได้ ข้อถกเถียงเรื่องพระราชอำนาจก็เข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ อันนี้ก็ไม่รู้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการทำรัฐประหารหรือไม่ ในฐานะที่จะเป็นการไม่ให้ดึงสถาบันเข้ามาเป็นขั้วขัดแย้งของการเมือง จึงสงสัยว่าตกลงแล้วทั้งฝ่ายที่สนับสนุนและคัดค้านมาตรา 7 ตกลงแล้วมีคำตอบที่ผิดหรือถูกจริงๆ หรือไม่

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2540 มาตรา 7
 
"ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข"
oooooooooo
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 5
 
"...เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้กระทําการนั้นหรือวินิจฉัยกรณีนั้น
ไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข..."

ในปี 2549 วิษณุ เครืองามไม่ได้เห็นด้วยกับการใช้มาตรา แต่หลัง 22 พ.ค. 2557 วิษณุ ไปบรรยายและให้สัมภาษณ์ว่า วิกฤตการเมืองทั้งในปี 2549 และ 2557 เต็มไปด้วยคำถามที่ไม่รู้จะตอบอย่างไรว่าทำได้หรือไม่ได้ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ บางเรื่อง เช่น นายกฯ รักษาการณ์ลาออกได้ไหม ก็ไม่มีใครกล้าตอบ คิดว่าจะต้องตอบปัญหาเป็นร้อยๆ ข้อ ตน (ไชยันต์) จึงขอเป็นผู้อาสาตอบสักหนึ่งหรือสองข้อคือเรื่องการใช้ประเพณีการปกครอง ในการที่จะบอกว่าประเพณีการปกครองของไทยคืออะไรจะต้องวางกรอบไว้ก่อน ซึ่งได้กำหนดกรอบให้มี 3 ชั้น

ชั้นที่หนึ่ง ชั้นแนวคิดระบอบการปกครองผสมที่กำเนิดจากกรีกโบราณ ที่เป็นการผสมผสานการให้อำนาจสามรูปแบบ ได้แก่การให้อำนาจต่อบุคคลๆ เดียว (The one) กลุ่มบุคคล (The few) และมหาชน (The many) อยู่ในระบอบการปกครองเดียว 

ชั้นที่สอง ชั้นประเพณีของประเทศต้นแบบประชาธิปไตยสมัยใหม่ เมื่อรูปแบบการปกครองแบบผสมพัฒนามาเรื่อยๆ แล้วไปปรากฏตัวในดินแดนต่างๆ ที่ถูกนำมาใช้เป็นต้นแบบประชาธิปไตยในหลายประเทศในเวลาต่อมา เช่นในสหรัฐฯ ที่กลายเป็นระบอบประธานาธิบดีแบบอเมริกัน เมื่อมันไปโตที่อังกฤษ ที่ยังมีสถาบันกษัตริย์อยู่ แม้เมื่อหมดไปก็ถูกรื้อฟื้นขึ้นมา ก็กลายเป็นระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ และในกรณีฝรั่งเศสที่กว่าจะลงตัวได้ก็ปาไปศตวรรษที่ 20 ที่มีหน้าตาแบบกึ่งประธานาธิบดี กึ่งรัฐสภา ฉะนั้น ประเพณีการปกครองแบบผสมคือชั้นแรก ประเพณีของประเทศที่เป็นต้นแบบเป็นชั้นที่สอง ส่วนชั้นที่สามจะมีในประเทศที่รับเอาต้นแบบประชาธิปไตยมาใช้ เช่น ถ้าไทยไปรับแบบอังกฤษมา ประเพณีของไทยที่มีอยู่เดิม ชั้นผสม ชั้นอังกฤษ และชั้นรากฐานที่ดำรงอยู่ในประเทศเราอยู่แล้ว

มาตรา 7 มีเนื้อหาคร่าวๆ ว่า ถ้าไม่มีบทบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญก็ให้ใช้ประเพณีการปกครองมาพิจารณา เรื่องแต่งตั้งนายกฯ ต้องมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ แต่ถ้าไม่มีผู้รับสนองฯ เลยก็ใช้พระราชอำนาจได้ ซึ่งปรกติมาตรา 7 นี้ไม่เคยถูกบรรจุในรัฐธรรมนูญถาวร เพิ่งจะถูกบรรจุในรัฐธรรมนูญถาวรในฉบับ 2540 และฉบับ 2550 ทั้งนี้ มาตรา 7 ในฉบับ  2540 และ 2550 เขียนไว้ลอยๆ โดยไม่มีเจ้าภาพในการเป็นผู้ตัดสินวินิจฉัย คือไม่ระบุว่าใครจะรับเรื่อง ต้องทำอย่างไรบ้าง ในร่างรัฐธรรมนูญหลังรัฐประหาร 2557 ฉบับบวรศักดิ์ อุวรรโณ และร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านประชามติในปี 2559 ได้กำหนดให้คณะตัดสินวินิจฉัยประกอบด้วย ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา นายกรัฐมนตรี ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด และประธานองค์กรอิสระ ในแง่นี้ก็ดีที่มีคณะบุคคล มีเจ้าภาพชัดเจน คนที่เป็นคนสำคัญ หรือผู้นำในองค์กรสำคัญที่เป็นองค์กรทางการเมืองได้มาประชุมหารือกัน เมื่อคณะบุคคลได้ตัดสินแล้วก็เป็นความเห็นของคณะบุคคล ถ้ามีอะไรที่พระมหากษัตริย์ต้องลงพระปรมาภิไธยในสิ่งที่กลุ่มคณะดังกล่าวเห็นว่าต้องทำ ก็เท่ากับสถาบันไม่ได้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองโดยตรง ถ้าเกิดสาธารณะเกิดไม่ยอมรับ ไม่ศรัทธาคณะบุคคล ก็ต้องกลับไปที่พระราชอำนาจโดยตรงที่มีความชอบธรรมทางการเมืองมากกว่า ประเด็นก็คือ พระราชอำนาจโดยตรงนำไปสู่การข้องเกี่ยวกับการเมืองโดยตรง ในทางบวกก็คือ ในยามที่ประเทศมีความขัดแย้งยังมีพระมหากษัตริย์ที่เป็นศูนย์รวมใจ และสามารถนำพาประเทศฝ่าวิกฤตได้  

อย่างไรเสีย ในบทคัดย่อของงานวิจัยระบุว่า การให้มีคณะบุคคลวินิจฉัยตัดสินให้เพื่อปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์จากการไปพัวพันกับความยุ่งยากทางการเมืองเป็นการลดทอนพระราชวินิจฉัยในการตีความปรพเพณีการปกครองที่ต้องเกี่ยวข้องกับการใช้พระราชอำนาจของพระองค์ด้วย ในแง่หนึ่ง คำวินิจฉัยตัดสินชี้ขาดเกี่ยวกับมาตรา 5 ของคณะบุคคลดังกล่าวย่อมหมายถึงพระมหากษัตริย์ย่อมต้องทรงใช้พระราชอำนาจตามคำวินิจฉัยนั้น ซึ่งในแง่หนึ่งจะส่งผลให้ภาพของความเป็นระบอบการปกครอง "พระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) มีความชัดเจนและเป็นจริง

ทักษิณยุบสภา 24 ก.พ. 49 ต่างจากทุกครั้ง ถ้ายกเป็นประเพณีเท่ากับนายกฯ มีอำนาจเท่ากษัตริย์อังกฤษยุคกลาง

ไชยันต์กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเพณีการยุบสภาของอังกฤษนั้น แต่เดิมในยุคกลางกษัตริย์สามารถเปิด ปิดสภาได้ตามใจชอบ สภาแทบจะไม่มีตัวตนอยู่ด้วยตัวเอง สภาก็ต้องวางกติกาว่าต้องเปิดอย่างน้อยกี่ครั้ง ต่อมาการต่อสู้ระหว่างกษัตริย์กับสภา ก็มาลงตรงที่สภาสามารถเลือกคนที่จะเป็นฝ่ายบริหาร อำนาจการยุบสภาที่เดิมอยู่กับกษัตริย์ก็เคลื่อนตัวมาอยู่กับหมู่คณะที่ต่อยอดมาจากสภา ต่อมาอำนาจการยุบสภาเคลื่อนจาก ครม. มาอยู่ที่นายกฯ ในกรณีการยุบสภาของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรเมื่อ 24 ก.พ. 2549 ตนยืนยันว่าผิดประเพณียุบสภาของอังกฤษ และต่างจากการยุบสภาทุกครั้งก่อนหน้าในเมืองไทย ไม่ได้บอกว่าผิดหรือถูก เพราะหลายท่านก็บอกว่ายุบได้ การยุบสภาที่ไม่มีเหตุที่จะให้ยุบก็จะเกิดปัญหา แต่ถ้าจะถือว่า 24 ก.พ ทำได้ ต่อไปในกรณีที่นายกฯ หรือครอบครัวนายกฯ มีปัญหาหรือเจอคำกล่าวหาส่วนตัวเช่น การซื้อขายหุ้น แต่นายกฯ ใช้วิธีทุบสภาทิ้ง ถือเป็นการที่ the one ทุบ the few ที่มาจากการลงคะแนนเสียงของ the many เท่ากับว่าทักษิณมีอำนาจเท่ากษัตริย์ในยุคกลางของอังกฤษ จะเอาแบบนี้ให้เป็นประเพณีการปกครองไทยได้หรือไม่ ถ้ากลับไปดูที่อังกฤษ ปี 2559 เดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีอังกฤษขณะนั้น โดนเปิดโปงกรณีการซื้อหุ้นอย่างไม่เสียภาษีจากปานามา เปเปอร์เมื่อปี 2559 เรื่องการขายหุ้นแล้วไม่ชำระภาษี แต่คาเมรอนตัดสินใจเรียกประชุมสภาให้สมาชิกสภาที่เป็นตัวแทนประชาชนมาซักฟอกตนเอง แต่เมื่อซักฟอกแล้วคาเมรอนก็ยังอยู่ได้  เพราะเสียงข้างมากในสภาของคาเมรอนยังอยู่ ในบริบททักษิณตอนนั้นความนิยมก็กินไปสี่พรรคแล้ว ถ้าจะซักฟอกจะต้องกลัวอะไร แล้วถ้ายังซักฟอกอยู่แล้วมีการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็ต้องมาถามว่า ใครกันแน่ที่มีความชอบธรรม กรณีของไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยมา 86 ปีเท่านั้น ยังไม่ตกผลึก คิดว่าจะทำอะไรก็อย่าอ้างประเพณีเยอะ ใส่กติกาเอาไว้เยอะๆ ได้ก็ใส่ อาจจำเป็นต้องบัญญัติการยุบสภาของนายกฯ ว่าทำได้ในเงื่อนไขแบบใดบ้าง

ไชยันต์พูดถึงกรณีความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์กับประชาธิปไตยว่า น่าสนใจว่าในหลวง ร.9 จะเอาตัวแบบการพิจารณาจากที่ไหนได้ ในเมื่อพี่ชายท่าน (ในหลวง ร.8) ก็ยังทรงงานได้ไม่เต็มที่ รัชกาลที่ 7 ก็ทรงสละราชสมบัติอย่างรวดเร็ว รัชกาลก่อนหน้านั้นก็เป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ก็เป็นช่วงเวลาอันท้าทายและลำบากยิ่งสำหรับปฐมกษัตริย์ภายใต้ระบอบรัฐธรรมนูญไทยที่พยายามวางรากฐานว่าพระราชอำนาจทำได้แค่ไหน เท่าที่กษัตริย์ภายใต้ระบอบใหม่ทำได้ ทั้งภายใต้เงื่อนไขสงครามเย็น หลังสงครามเย็นก็มีปัญหาเรื่องทุนนิยมโลกาภิวัฒน์ แต่อย่างน้อยก็เป็นเรื่องดีที่เราเข้าสู่รัชกาลที่สองของระบอบใหม่ และยังต้องสร้างความมั่นคงลำดับต่อไปอีก ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ใครคนใดคนหนึ่งจะทำได้

พระราชอำนาจยังต้องมีไว้เผื่อกรณีวิกฤตรุนแรง อยากให้สังคมพูดถึงประเพณีการปกครองให้มากขึ้น

ไชยันต์กล่าวว่า ไม่ว่าจะเป็นในไทยหรืออังกฤษ การที่พระมหากษัตริย์จะใช้อำนาจแต่งตั้งบุคคลจะต้องมีผู้รับสนองฯ แต่ก็มีคำถามว่าถ้าไม่มีผู้รับสนองฯ จะสามารถทำได้ไหม ศ.เวอร์นอน บอกดาโน ผู้เชี่ยวชาญด้านสถาบันกษัตริย์อังกฤษบอกว่า ถ้าในเวลาวิกฤตขั้นรุนแรง ไม่มีผู้รับสนองฯ พระราชอำนาจยังคงอยู่เพื่อให้การเมืองเดินหน้าต่อไป ไม่ชะงักงัน

ถ้าศึกษาประเพณีการปกครองของอังกฤษจะพบว่ามีชีวิตชีวา มีการเคลื่อนไหว การที่มีพลวัตจะต้องมีความต่อเนื่องกับอดีต ถ้าขาดไปก็จะกลายเป็นการปฏิวัติใหญ่ ไม่เหลือต้นทุนใดๆ ทั้งสิ้น ตนอยากให้สังคมไทยมีการพูดเรื่องประเพณีการปกครองมากขึ้นในระดับสาธารณะ ประเด็นนี้ไม่ควรกระจุกตัวอยู่แค่นักวิชาการ หรือปรมาจารย์ด้านกฎหมาย ประเพณีที่คณะบุคคลตัดสินมาแล้วคนหมู่มากไม่ยอมรับก็ไม่มีความหมาย  

ต้องหาสมดุลการกระจายอำนาจแบบประชาธิปไตยให้เจอ คาด เลือกนายกฯ รอบหน้าอาจได้เปิดประเพณีการปกครอง

ต่อประเด็นการให้อำนาจของตัวแสดงทางการเมือง ไชยันต์กล่าวว่า ถ้าให้อำนาจบุคคลๆ หนึ่ง หรือคณะบุคคลมากเป็นพิเศษจนไม่เหลืออำนาจให้มหาชน มันก็ไม่เป็นประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญ 2560 ที่กำหนดให้การเลือกตั้งครั้งหน้าให้สิทธิประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เท่านั้น แต่ว่าสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) มาจากการแต่งตั้ง แสดงให้เห็นว่าประชาธิปไตยไทยแบบรัฐธรรมนูญปี 2560 มีการให้อำนาจกับคณะบุคคลมากขึ้น ทั้งยังเป็นคณะบุคคลที่ไม่ยึดโยงกับการเลือกตั้ง แต่อย่าลืมว่าผลพวงของรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่มี ส.ว. มาจากการเลือกตั้ง สุดท้ายก็ส่งผลให้มีสภาผัว - เมีย ภรรยาลง ส.ส. สามีลง ส.ว. ตนเคยถามชาวบ้านตอนลงพื้นที่ว่าทำไมเลือกตั้งทั้งสามีและภรรยา เขาก็บอกว่าให้ไปช่วยกันทำงาน ดังนั้น การไปทุ่มน้ำหนักกับการเลือกตั้งทั้ง ส.ส .กับ ส.ว. เลยต้องมีการปรับตัวเพื่อให้ส่วนผสมมันถ่วงดุลกันได้ ควรเลิกพูดเรื่องประชาธิปไตยอันสมบูรณ์ เพราะมันมีแต่ประชาธิปไตยแบบผสม ถ้าอยากได้ประชาธิปไตยสมบูรณ์ก็ต้องกลับไปเป็นแบบที่เกิดขึ้นในนครรัฐเอเธนส์ ไม่ต้องมีการเลือกตั้ง เพราะการเลือกตั้งมันสะท้อนว่าคุณกำลังเลือกคนที่เก่งกว่าคนอื่น ที่เอเธนส์เขาจับสลากเข้าไปนั่งในสภากัน

ต่อคำถามว่า ถ้าเลือกตั้งครั้งที่จะมาถึงนี้เสร็จแล้วปรากฏว่ามีปัญหาที่หาทางออกไม่ได้ จะยังเหลือทางเลือกให้ใช้มาตรา 5 ไหม ไชยันต์ตอบว่า ถ้าเรายังอยู่ในวังวนแบบนี้ การเกิดทางตันก็เป็นไปได้ เราจะมีการเลือกตั้งแน่นอนเพียงแต่ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ แล้วหลังเลือกตั้งถ้าทั้ง ส.ส. และ ส.ว. หานายกฯ คนในก็ไม่ได้ หานายกฯ คนนอกก็ไม่ได้ ผนวกกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ไม่ได้บัญญัติเอาไว้ว่าจะต้องจัดตั้งรัฐบาลหลังเปิดประชุมสภากี่วัน เมื่อนานไปหากยังไม่ได้นายกฯ เสียทีจนคนในสภาบอกว่าไม่ได้แล้ว ก็ต้องว่ากันตามประเพณีปกครอง ในกรณีอังกฤษ ถ้าจัดตั้งรัฐบาลไม่ได้ก็ต้องยุบสภา แล้วถ้าเช่นนั้นใครเป็นคนยุบ นายกฯ ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งอย่าง พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชาจะสามารถยุบสภาที่มาจากการเลือกตั้งได้ไหม หรือถ้าไม่ยุบสภา ก็ยังมีวิธีที่จะให้เสนอชื่อคนที่ได้คะแนนเสียงมากที่สุดในตอนซาวเสียงหานายกฯ เอาคนที่ได้คะแนนเสียงมากที่สุด ขึ้นทูลเกล้าฯ ก็จะได้นายกฯ เสียงข้างน้อย หมายความว่าถ้าจะเกิดปรากฏการณ์แบบนี้ก็ต้องอ้างมาตรา 5 ใช่หรือไม่ เรื่องนี้ต้องขึ้นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่ามีประเพณีการปกครองที่สอดคล้องหรือไม่ เพราะเป็นการทำในสิ่งที่ไม่ได้บัญญัติในรัฐธรรมนูญ

ทุกคนตีความประเพณีปกครองได้ แต่ต้องจบที่ศาลรัฐธรรมนูญ

นรนิติกล่าวว่า มาตรา 7 มีครั้งแรกในธรรมนูญการปกครอง พ.ศ. 2502 ซึ่งระบุว่าขอบเขตการพิจารณาประเพณีของประเทศไทยก็มีตั้งแต่ในฉบับนั้น เพียงแต่ฉบับ 2540 ของบวรศักดิ์ไปตัดออก ของปี 2550 ก็ลอกปี 2540 มา ที่ตอนนั้นเริ่มเขียนเพราะธรรมนูญการปกครองมีเพียง 20 มาตรา เนื่องจากการปกครองของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พยายามดึงการตีความมาให้แคบลง ไม่เช่นนั้นจะมีการเอาบริบทต่างชาติมาตีความเยอะแยะ

มาตรา ๒๐

ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ๆ ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย ในกรณีมีปัญหาเกี่ยวแก่การวินิจฉัยกรณีใดตามความในวรรคก่อนเกิดขึ้นในวงงานของสภา หรือเกิดขึ้นโดยคณะรัฐมนตรีขอให้สภาวินิจฉัย ให้สภาวินิจฉัยชี้ขาด

ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๐๒ (ที่มา:วิกิซอร์ซ)

นรนิติเห็นว่าทุกคนมีสิทธิ์ตีความเรื่องประเพณีการปกครอง แต่สุดท้ายต้องไปสุดที่ศาลรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญบอกว่า อะไรที่ขัดกับรัฐธรรมนูญต้องหาข้อยุติและกับศาลรัฐธรรมนูญ เข้าใจว่าผู้ที่ร่างการยุบสภาโดยสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นการใช้มาตรา 22 อาศัยประเพณีการปกครองมายุบสภา เพราะธรรมนูญปี 2515 ไม่ได้กล่าวถึงการยุบสภา แต่สภาไม่สามารถทำหน้าที่ได้แล้วเพราะถูกบีบ ถูกด่า จนเหลือสมาชิกน้อยจนประชุมไม่ได้ จนต้องมีสภาแห่งชาติ สภาสนามม้า เพราะฉะนั้นสัญญาก็ใช้อำนาจนายกฯ ในการยุบสภา คิดว่าการอาศัยประเพณีการปกครอง ไม่รู้ของไทยหรือไม่ไทย แต่ก่อนนี้ก็มีการยุบสภาในปี 2481 โดยพระยาพหลพลพยุหเสนา และในปี 2488 ในยุค ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมทย์ มาแล้ว พอมาถึงสัญญาแล้วทำไมต้องอ้างประเพณี การยุบสภาก็มีวิวัฒนาการ แต่สรุปว่าการยุบสภาจะเป็นของนายกฯ หรือเป็นของสภา ตอนแรกเข้าใจว่าเป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร เพราะฝ่ายบริหารยุบสภาที่มาจากการเลือกตั้งได้ก่อนกำหนด ฝ่ายบริหารก็ได้เปรียบ แต่ในทำนองเดียวกัน ฝ่ายสภาก็มีอำนาจเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ ถ้าเสียงเกินครึ่งเมื่อไหร่ก็เอาออกได้ ก็สมดุลกัน ก็คิดว่าการยุบสภาเป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร ซึ่งคิดว่าควรเป็นอำนาจของนายกฯ เพราะนายกฯ เป็นคนเลือกรัฐมนตรีเข้ามา และไล่รัฐมนตรีออกได้

ไทยยังขาดสถาบันกษัตริย์ไม่ได้ ในหลวง ร.9 ชี้ แต่งตั้งสัญญา ธรรมศักดิ์ ไม่ผิด

สมบูรณ์กล่าวว่า ประเพณีการปกครองมีความสำคัญอย่างยิ่งของกษัตริย์ในยุโรปในการตัดสินใจทำหรือไม่ทำอะไร ต้นทุนทางวัฒนธรรมทางการเมืองการปกครองจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง สืบเนื่องจากที่ไชยันต์พูดถึงว่าต้นทุนทางวัฒนธรรมของไทยก็ผูกพันอย่างยิ่งกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งต้องถามต่อว่าคนไทยมองสถาบันกษัตริย์อย่างไร

สมบูรณ์คิดว่า ตนยังมองไม่เห็นว่าถ้าไม่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่มีพระมหากษัตริย์ สังคมไทยจะดำรงอยู่กันได้อย่างไร ตนยังคิดว่าสถาบันกษัตริย์ที่ตัวเองเรียกว่ากษัตราประชาธิปไตย น่าจะยังคงอยู่อีกนาน เราได้ผ่านวิกฤตมาหลายครั้งโดยที่ไม่ต้องใช้มาตรา 7 เพราะบารมีของพระองค์ท่านและต้นทุนทางสังคมที่เรายึดถือมายาวนาน ตนเคยอยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัดมานานก็พบว่าในความเป็นจริง ความภักดีต่อสถาบันมีสูง สิ่งที่อยากจะให้ไชยันต์เขียนต่อคือ เราจะเปลี่ยนความภักดีต่อพระมหากษัตริย์ให้เป็นความภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ได้หรือไม่

วุฒิสารกล่าวว่าประเด็นมาตรา 7 ทีตอนนี้เป็นมาตรา 5 มีการพูดถึงมานาน สังคมตั้งคำถามทุกครั้งที่มีวิกฤต แล้วก็ไปอ้างอิงสิ่งที่เสมือนจะเป็นการใช้มาตรา 7 ในอดีต เช่น สมัยที่สัญญา ธรรมศักดิ์ ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ถ้าดูพระราชดำรัสในหลวง ร.9 เมื่อปี 2549 ท่านก็บอกว่าท่านทำตามกติกา เพราะวันนั้นมีทวี แรงขำเป็นผู้รับสนองฯ และก็ยังมีสภา พระองค์ไม่ได้ทำอะไรผิด ในกรณีมาตรา 5 ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันก็ได้ขยายไปอีกว่าการขอบเขตการพิจารณาจะต้องเป็นประเพณีการปกครองของไทย ไชยันต์ก็ตั้งคำถามอยู่สี่ประเด็นว่า หนึ่ง ประเพณีคืออะไร เอาอะไรเป็นหลัก สอง ตกลงแล้วประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยยึดหลักไหน สาม อะไรคือประเพณีการปกครองภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สี่ ประชาธิปไตยของไทยเป็นอย่างไร

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ตุลาการธิปไตย #4 นโยบายทวงคืนผืนป่าของ คสช. ผ่านกฎหมายเดิมที่อำนาจนิยมซึ่งใช้ได้ดีในยุคเผด็จการ

Posted: 20 Feb 2018 04:13 AM PST

สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ เสนอบทความ ""Rule by Law กับการบังคับการตามนโยบายทวงคืนผืนป่าของรัฐบาล คสช." ชี้แม้จะเป็นกฎหมายเดิม แต่มีลักษณะเป็นอำนาจนิยม จึงแสดงศักยภาพได้ดีในระบอบเผด็จการ ต่างจากรัฐบาลประชาธิปไตย ที่เปิดโอกาสภาคประชาชนเจราจาต่อรองมากกว่า แนะแก้ที่กฎหมายไม่เพียงพอ ต้องแก้ที่ระบอบการเมืองด้วย

คลิปการอภิปรายของสงกรานต์ ป้องบุญจันทร์

18 ก.พ.2561 ในการเสวนาวิชาการ "ตุลาการธิปไตย ศาล และรัฐประหาร" จัดที่ห้องประชุมริมน้ำ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ช่วงเสนอบทความ ""Rule by Law กับการบังคับการตามนโยบายทวงคืนผืนป่าของรัฐบาล คสช." โดย สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งศึกษาเรื่องนโยบายทวงคืนผืนป่าของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เกี่ยวกับผลกระทบและเครื่องมือในการปฏิบัตินโยบาย ที่ใช้กฎหมายเดิมเกี่ยวกับป่าไม้และที่ดินรวมกับประกาศคำสั่งคสช. แต่พบว่าเนื่องจากกฎหมายเดิมมีลักษณะเป็นอำนาจนิยม จึงแสดงศักยภาพได้ดีในระบอบเผด็จการ

สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผลกระทบจากนโยบายทวงคืนผืนป่าของคสช.

สงกรานต์ เริ่มจากการอธิบายข้อมูลจากกรมป่าไม้ปี 2543 มีครอบครัวในพื้นที่ป่าชุมชนซึ่งเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ประมาณ 450,000 ราย กินเนื้อที่ประมาณ 6.4 ล้านไร่ และมีครอบครัวในพื้นที่อุทยาน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ปา เขตห้ามาสัตว์ 186,000 ราย กินพื้นที่ 2.2 ล้านไร่ จำนวนสมาชิกครอบครัวไทยเฉลี่ยคือ 4 คน ก็จะมีคนประมาณ 2 ล้านคน ที่อาจได้รับผลกระทบจากนโยบายทวงคืนผืนป่า ซึ่งไม่ใช่จำนวนที่น้อย

ข้อมูลจากองค์กรพัฒนาเอกชน RECOFTC ปี 2557 พบว่ามีป่าชุมชนประมาณ 10,000 ป่าชุมชน มีการขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานรัฐ 8,800 หมู่บ้าน แต่จำนวนมากกว่าคือ 10726 หมู่บ้าน ไม่ขึ้นทะเบียน เพราะอยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์

จากข้อมูลนี้พบว่ากลุ่มคนที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดคือผู้ที่อยู่ในพื้นที่เขตป่าอนุรักษ์ซึ่งไม่สามารถขึ้นทะเบียนได้ ประมาณหมื่นกว่าหมู่บ้าน ถือเป็นจำนวนไม่น้อย

ข้อมูลจากคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ประเมินว่าถ้าถ้ามีนโยบายทวงคืนพื้นป่าจะมีหมู่บ้านได้รับผลกระทบอย่างน้อย 9,000 หมู่บ้าน แบ่งเป็นภาคเหนือ 5,000 หมู่บ้าน ภาคอีสาน 2,000 หมู่บ้าน ภาคใต้ 1,000 หมู่บ้าน และภาคกลาง 1,000 หมู่บ้าน เหล่านี้ชี้ให้เห็นว่ามีคนที่ถูกกล่าวหาว่าอยู่ในพื้นที่ป่าของรัฐจำนวนมหาศาล ถ้ามีการบังคับใช้จริงอาจมีปัญหาตามมาอย่างมาก

ช่วงยึดอำนาจแรกๆ ไม่ถึงหนึ่งเดือน วันที่ 20 มิ.ย. 2557 คสช. ออกคำสั่ง 64/2557 มุ่งปราบปรามและหยุดยั้งการทำลายทรัพยากรป่าไม้ ซึ่งเป็นนโยบายแรกๆ ที่คสช. ประกาศใช้ เป็นนโยบายที่คสช. มุ่งใช้เพื่อแก้ไขปัญหา

สงกรานต์ ตั้งคำถามไว้ 3 ประเด็น คือ คสช. 1. ใช้เครื่องมือใดบังคับนโยบายการทวงคืนผืนป่าไปสู่การปฏิบัติ 2. ผลกระทบที่เกิดขึ้นเหมือนหรือต่างจากรัฐบาลก่อนหน้านี้ 3. ถ้าเหมือนหรือต่าง มีเหตุผลอะไรในการอธิบายปรากฎการณ์นี้

โดยแนวคิดที่ใช้ในการศึกษาคือ นิติศึกษาแนววิพากษ์ ซึ่งเชื่อว่า กฎหมายคือการเมือง ไม่มีความเป็นกลาง เป็นเรื่องของอำนาจ กฎหมายหนึ่งๆ ขึ้นกับระบอบการเมือง ไม่ใช่ระบอบการเมืองขึ้นกับกฎหมาย กฎหมายอย่างเดียวกันมีลักษณะคล้ายกันแต่ถูกปรับไปใช้ในระบอบการเมืองที่แตกต่างกัน ผลลัพธ์จะแตกต่างกัน

ช่วงหลังการประกาศใช้นโยบายทวงคืนผืนป่า มีการเพิ่มขึ้นของคดีจำนวนมาก

ข้อมูลของกรมป่าไม้เกี่ยวกับสถิติการดำเนินคดีเกี่ยวกับป่าไม้และที่ดินก่อนและหลังการประกาศนโยบายทวงคืนป่า นั้น สงกรานต์ พบว่า หลังการประกาศนโยบายมีการเพิ่มขึ้นจำนวนมากของคดีที่กรมอุทยานและกรมป่าไม้ดำเนินการกับชาวบ้านอย่างมีนัยสำคัญ

จริงๆ แล้วการดำเนินคดีกับชาวบ้านเกี่ยวกับป่าไม้และที่ดินเกิดขึ้นมายาวนาน ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ที่เห็นความแตกต่างคือสถิติ ในปี 2552-2556  เฉพาะกรมป่าไม้ดำเนินคดีกับชาวบ้าน จำนวน 6656 คดี แต่ในช่วงปี 2557-2558 เพียงสองปีมีจำนวนคดี 9231 คดี เห็นได้ชัดว่าเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ

ส่วนกรมอุทยานมีแนวโน้มในทิศทางเดียวกัน ช่วงปี 2552-2556 ดำเนินคดีกับชาวบ้านในเขตอุทยาน เขตอนุรักษ์ ประมาณ 5,000 คดี ช่วงปี 2557-2559 มีประมาณ 6,000 คดี

สรุปได้ว่า สถิติการดำเนินคดีของกรมป้าไม้เพิ่มขึ้น 38 เปอร์เซ็นต์ และกรมอุทยานเพิ่มขึ้น 18 เปอร์เซ็นต์

อาจมีคนบอกว่าการดำเนินคดีอาจจะไม่กระทบกับชาวบ้านเพราะท้ายสุดศาลอาจยกฟ้องก็ได้ แต่ขอชี้แจงว่า ถ้าใครไปเป็นจำเลยคดีอาญา ผลกระทบเชิงลบและการจำกัดสิทธิเริ่มแต่วันที่ถูกแจ้งข้อกล่าวหา ผลสุดท้ายในทางคดีอาจไม่สำคัญเท่าผลระหว่างทาง ซึ่งเขาจะถูกกระทบสิทธิหลายแง่ ให้ออกจากพื้นที่ ภาระประกันตัว การจับกุม ต้องต่อสู้ดิ้นรนพยายามปกป้องตัวเอง สูญเสียทรัพยากรตัวเองในการต่อสู้คดี

เครื่องมือทางกฎหมายของคสช. คือกฎหมายเดิมที่มีอยู่แล้วและประกาศคำสั่งคสช.

สำหรับเครื่องมือทางกฎหมายของ คสช. ในการดำเนินการตามนโยบายนี้ สงกรานต์ ระบุว่า คือ พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484, พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504, พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507, พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 อันเป็นกฎหมายที่มีก่อนคสช. ยึดอำนาจ

แม้คสช. ใช้กฎหมายเดิมในการดำเนินคดีอาญากับชาวบ้าน แต่สิ่งที่ต่างคือประกาศสองฉบับ กับแผนหนึ่งแผนของรัฐบาล ทำให้การบังคับใช้กฎหมายมีความรุนแรงมากขึ้น

1. ประกาศคำสั่งคสช. เพิ่มหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย จากเดิมมีเพียงกรมป่าไม้ กรมอุทยาน เป็นหน่วยงานหลักในการบังคับใช้กฎหมายป่าไม้ เพิ่มเป็น ตำรวจ ทหาร กอ.รมน. ฝ่ายปกครอง

2. ประกาศคำสั่งคสช. คาดโทษเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินการไม่มีประสิทธิภาพหรือเข้าไปเกี่ยวข้องกับความผิดเรื่องป่าไม้ที่ดิน จะถูกดำเนินการทางวินัย ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่ารัฐบาลจากเลือกตั้ง เพราะเจ้าหน้าที่ไม่มีช่องทางในการปกป้องตัวเอง เช่น ช่องทางการอุทธรณ์ หรือการฟ้องคดีเพื่อโต้แย้งคำสั่งเหล่านี้ ขณะที่คสช. มีมาตรา 44 ในการคุมเรื่องนี้อยู่ ทำให้การคาดโทษมีประสิทธิภาพ

3. ตั้งหน่วยงานที่มีเจ้าภาพชัดเจนคือกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ติดตามและรายงานความคืบหน้าแก่คสช.

คสช. ได้ลดอำนาจการต่อรองของภาคประชาชน ปิดช่องทางเคลื่อนไหวทางการเมือง

สงกรานต์ สรุปมาตรการของ คสช. ในการผลักดันนโยบายนี้ 3 ข้อ ว่า

1. สร้างความหวาดกลัวในการใช้กฎหมาย จากการพูดคุยกับประชาชนที่ถูกบังคับให้ทำตามนโยบายทวงคืนผินป่าให้การว่า ช่วงแรกที่ปฏิบัตินโยบายนี้จะนำโดยทหารพร้อมอาวุธครบมือในการปฏิบัติการ ทำให้ประชาชนกลัว

2. ใช้สื่อโฆษณานโยบายการทวงคืนผืนป่าอย่างสม่ำเสมอ เช่น นำเสนอเรื่องการจับกุม ดำเนินคดี ทำให้สังคมเริ่มรู้สึกว่าตนเองก็อาจจะถูกกระทบสิทธิเช่นกัน

3. ห้ามเคลื่อนไหวทางการเมืองทั้งทางการและไม่เป็นทางการ เช่น ประกาศคำสั่งห้ามชุมนุมเกิน 5 คน หรือส่งเจ้าหน้าที่ไปคุยกับแกนนำ แง่นี้ก็คือการขู่โดยปริยาย ทำให้ภาคประชาชนที่เคยใช้การเคลื่อนไหวนทางการเมืองต่อรองเกี่ยวกับเรื่องที่ดิน จนนำไปสู่การเสนอเรื่องการจัดทำโฉนดชุมชน มีสำนักงานโฉนดชุมชนที่นายกรัฐมนตรีตั้งขึ้น เหล่านี้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในยุคคสช.

นำไปสู่เรื่องที่ว่าเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการซึ่งแต่ก่อนสามารถเจรจาต่อรองกับชาวบ้าน ให้มีการพิสูจน์ ใช้เอกสารต่างๆ แต่ตั้งแต่มีประกาศคำสั่งคสช. เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการไม่เจรจาทั้งสิ้น อ้างว่าทำตามคำสั่งคสช. ทำให้การบังคับใช้กฎหมายไม่มีความยืดหยุ่นเพียงพอ

"ข้อค้นพบของผมคือ สิ่งที่คสช. ทำ ถ้าเราดูเทียบกับงานที่ศึกษากฎหมายที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชนที่ทำโดย อ.จรัญ โฆษณานันท์ ในสมัยก่อนรูปแบบหลักๆ ของรัฐบาลเผด็จการในการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนคือการตรากฎหมายโดยตรง จำกัดเสรีภาพโดยตรง มีในคสช. เช่นกัน แต่เฉพาะกฎหมายทวงคืนผืนป่า ไม่ได้ตรากฎหมายสารบัญญัติขึ้นมาเพิ่มโทษ หรือกำหนดสิทธิหน้าที่เพิ่มเติม สิ่งที่ทำคือจัดโครงสร้างการบังคับใช้กฎหมายของหน่วยงานรัฐใหม่ เพิ่มอำนาจให้กับรัฐ และใช้กลไกและอำนาจที่มีอยู่ไปลดอำนาจประชาชน พอทำสองอันนี้ได้ ก็ทำให้การบังคับใช้กฎหมายเดิมที่มีอยู่แล้วส่งผลกระทบมากยิ่งขึ้น" สงกรานต์ กล่าว

กฎหมายลักษณะอำนาจนิยมแสดงศักยภาพได้มากขึ้นในรัฐบาลเผด็จการ

สงกรานต์ ย้ำว่า ปฏิบัติการของกฎหมายขึ้นกับระบอบการเมือง ตัวอย่างเช่น กรณีของกฎหมายการฟ้องคดีปกครองของประเทศจีน ซึ่งนำเข้ามาจากประเทศเสรีนิยมตะวันตก ที่มีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนตรวจสอบอำนาจรัฐ แต่เมื่อนำมาใช้ในจีน กฎหมายนี้กลับทำหน้าที่ควบคุมเจ้าหน้าที่ระดับล่าง และศาลในประเทศจีนไม่ได้เป็นอิสระจากรัฐบาล รัฐบาลสามารถควบคุมผลในคำพิพาษาได้ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าระบบกฎหมายคล้ายกันในระบอบการเมืองที่ต่างกัน จะได้ผลลัพธ์ที่ต่าง อันเป็นลักษณะเดียวกันกับการใช้กฎหมายในนโยบายการทวงคืนผืนป่า

เครื่องมือทางกฎหมายที่รัฐอ้างว่าใช้กฎหมายเดิม แต่สิ่งที่ต่างคือรัฐบาลเผด็จการใช้กลไกเดิมที่มีอยู่ให้มีศักยภาพมาขึ้น กฎหมายป่าไม้ทั้ง 4 ฉบับที่กล่าวมา โดยตัวมันเองมีอำนาจนิยมอยู่แล้ว เพราะเกิดขึ้นในยุคที่รัฐรวมศูนย์อำนาจไม่รับรองสิทธิชุมชน แต่ช่วงรัฐบาลปกติแสดงศักยภาพของมันได้ไม่เต็มที่ เพิ่งมาแสดงศักยภาพเต็มที่ในรัฐบาลที่มีแนวคิดเผด็จการ

แง่นี้รัฐบาลประชาธิปไตย เปิดพื้นที่ต่อสู้ต่อรอง ประชาชนยังมีพื้นที่ในการแสดงออก สื่อยังมีเสรีภาพในการแสดงออก เปิดโอกาสภาคประชาชนเจราจาต่อรอง จะเห็นว่าคดีป่าไม้และที่มีมาก่อน แต่ว่าขบวนการภาคประชาชนสามารถต่อสู้ต่อรองจนเกิดคณะกรรมการจำนวนมากที่จะมาแก้ไขปัญหาซึ่งรัฐบาลก็เห็นว่ามันมีความสลับซับซ้อน ไม่สามารถบังคับใช้ได้เช่นเดียวกับกฎหมายอาญาทั่วๆ ไป

"สิ่งที่ต้องคำนึงถึงและไม่สามารถปฏิเสธได้คือระบอบการเมือง ถ้าไม่พูดถึงจะอธิบายปรากฏการที่เกิดขึ้นไม่ได้ ในแง่นี้ถ้าเราต้องการผลลัพธ์ที่ต่างออกไป เราไม่สามารถแก้ได้เฉพาะกฎหมาย แต่ต้องพูดถึงระบอบการเมืองด้วย" สงกรานต์ กล่าวทิ้งท้าย

ตุลาการธิปไตย ศาลและรัฐประหาร

ทั้งนี้ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนร่วมกับเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) และคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดกิจกรรมทางวิชาการ "ตุลาการธิปไตย ศาลและรัฐประหาร" โดยเป็นส่วนหนึ่งในชุดการเสวนาวิชาการ "ประเทศไทยไม่ทำงาน" (Dysfunction Thailand) ของเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง จัดที่ห้องประชุมริมน้ำ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2560 สนับสนุนโดยสถานทูตอังกฤษ สถานทูตแคนาดา และมูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์ จากเยอรมนี 

เยาวลักษณ์ อนุพันธุ์ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ชี้แจงความเป็นมาว่า "ศูนย์ทนายฯ นอกจากเป็นองค์กรให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายแล้วยังรวบรวมบันทึกข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชนหลังรัฐประหาร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในยุคนี้ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง การปฏิรูป การแก้ไข การเยียวยา"

"จากการทำงานรวบรวมข้อเท็จจริงต่างๆ เรามีข้อมูลอยู่จำนวนหนึ่ง ที่ทำให้เห็นว่าครั้งนี้คสช.ไม่ได้ใช้อำนาจทหารเพียงลำพัง แต่มีการใช้กระบวนการทางกฎหมาย ทั้งประกาศคำสั่งหัวหน้า คสช. กฎหมายปกติ กระบวนการยุติธรรม และอำนาจตุลาการที่เข้ามารับรองการกระทำของเจ้าหน้าที่ทหารของคสช. ละเมิดและจำกัดสิทธิของประชาชน ทำให้สถานการณ์ขณะนี้ทั้งประชาชนธรรมดา นักข่าว นักวิชาการ ทนาย ก็สามารถตกเป็นผู้ต้องหาได้โดยไม่รู้ตัว"

นอกจากนั้นหลังรัฐประหารยังมีประกาศใช้ศาลทหารกับพลเรือน แม้ภายหลังคสช.จะยกเลิกการใช้ศาลทหารกับพลเรือนในวันที่ 12 กันยายน 2559 แต่ก็ยังมีคดีของประชาชนที่ยังดำเนินการที่ศาลทหารอยู่ เช่น คดีเลือกตั้งที่ (รัก) ลัก คดีประชามติ ในช่วงสิงหาคม 2559

"เราจึงเห็นว่าควรทำงานร่วมกับนักวิชาการ เพื่อเปิดมุมมองว่าเบื้องหลังข้อเท็จจริงและเหตุการณ์มันเกิดอะไรขึ้น โดยร่วมมือกับนักวิชาการสถาบันต่างๆ เป็นที่มาของการนำเสนอบทความ 5 บท และภาพรวมของรัฐประหาร และศาล"

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผู้บัญชาการ กกล.รส.เชียงใหม่ ฟ้อง 6 รายชุมนุมเรียกร้องเลือกตั้งที่หน้า มช.

Posted: 20 Feb 2018 03:49 AM PST

ผบ.กกล.รส.เชียงใหม่ให้อัยการผู้ช่วยศาลมณฑลทหารบกที่ 33 แจ้งความตำรวจให้ดำเนินคดีนักศึกษา มช.-มธ.ศูนย์ลำปาง 4 ราย และชาวบ้าน 2 ราย ฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. 3/2558 เหตุชุมนุมเรียกร้องเลือกตั้งอยู่หน้า ม.เชียงใหม่เมื่อ 14 ก.พ. ที่ผ่านมา

มีรายงานว่า วันนี้ (20 ก.พ.) ร.ท.เอกพล แก้วศิริ อัยการผู้ช่วย ศาลมณฑลทหารบกที่ 33 ผู้รับมอบอำนาจจาก พล.ต.สาธิต ศรีสุวรรณ ผบ.กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย จังหวัดเชียงใหม่ (กกล.รส.จว.ช.ม.) มาร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน สภ.ภูพิงคราชนิเวศน์ให้ดำเนินคดีกับ บุคคล 6 ราย ข้อหาขัดคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป

โดยบุคคลทั้ง 6 รายได้แก่ 1.นายประสิทธิ์ ครุธาโรจน์ อายุ 23 ปี  2. นายสิทธิชัย คำมี อายุ 21 ปี 3. นายยามารุดดิน ทรงศิริ อายุ 21 ปี 4. นายจตุพล คำมี  อายุ 21 ปี 5. น.ส.จิตต์ศจีฐ์ นามวงค์ อายุ 56 ปี และนายอ๊อด แจ้งมูล อายุ 33 ปี

"รวมพลคนอยากเลือกตั้ง" หน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่เมื่อ 14 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

ในคำร้องทุกข์กล่าวโทษของทหาร ระบุว่า บุคคลดังกล่าว "รวมตัวกันมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมืองที่มีจำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป เพื่อเรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ โดยมั่วสุมชุมนุมกันที่บริเวณประตูหน้าป้าย ทางเข้า-ออก ของ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ติดกับถนนห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่" เหตุเกิดวันที่ 14 ก.พ. 2561 เวลา 16.45 น. โดยตำรวจ สภ.ภูพิงค์ฯ ได้รับคำร้องทุกข์ไว้และรวบรวมหลักฐานเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

อนึ่งก่อนหน้ากิจกรรม "รวมพลคนอยากเลือกตั้ง" เมื่อวันที่ 14 ก.พ. ที่ผ่านมา สมัชชาเสรีแห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อประชาธิปไตยได้ทำหนังสือแจ้งจัดชุมนุมสาธารณะ ซึ่งเป็นการดำเนินการตามกฎหมาย พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 มาตรา 10 โดยทำหนังสือแจ้งไปยัง สภ.ภูพิงค์ฯ  แต่ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า ไม่อนุญาตให้จัดกิจกรรม และให้เหตุผลว่าบริเวณที่จะมีการจัดกิจกรรมนั้นเป็นพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งผู้จัดจะต้องไปขออนุญาตใช้พื้นที่จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เอง (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) อย่างไรก็ตามหลังจัดกิจกรรมไปแล้ว ได้มี ผบ.กกล.รส.จว.ช.ม. ส่งอัยการผู้ช่วย ศาลมณฑลทหารบกที่ 33 มาแจ้งความที่ สภ.ภูพิงค์ฯ ดังกล่าว

สำหรับคำสั่งหัวหน้า คสช. 3/2558  เรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ ลงวันที่ 1 เม.ย. 2558 ข้อ 12 ระบุโทษของการชุมนุมทางการเมืองจำนวนห้าคนขึ้นไป โดยไม่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้า คสช. หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายว่าต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ผู้กระทําความผิดตามวรรคหนึ่งที่สมัครใจเข้ารับการอบรมจากเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยเป็นระยะเวลาไม่เกินเจ็ดวันและเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยเห็นสมควรปล่อยตัวโดยมีเงื่อนไข

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เปิดสถิติ 3 รัฐอเมริกันที่อาชญากรรมจากอาวุธปืนลดลงมาก มีกฎหมายควบคุมอาวุธต่างกันสุดขั้ว

Posted: 20 Feb 2018 02:08 AM PST

ข้อถกเถียงหลังเหตุกราดยิงล่าสุดในโรงเรียนที่สหรัฐฯ เรื่องกฎหมายคุมอาวุธปืนอีกครั้ง นักวิจัยด้านวัยรุ่นและกระบวนการยุติธรรมตั้งข้อสังเกตจากสถิติตัวเลขว่าในรัฐที่อัตราการสังหารด้วยปืนลดลงมาก อาจจะมาจากปัจจัยอื่นนอกเหนือจากกฎหมายควบคุม เพราะแม้แต่เท็กซัสที่กฎหมายควบคุมอาวุธปืนไม่เข้มงวดเหตุสังหารด้วยปืนก็ลดลง
 
 
 
19 ก.พ. 2561 กลายเป็นประเด็นที่พูดถึงตามหน้าสื่อต่างประเทศอีกครั้ง หลังจากที่สหรัฐฯ เกิดเหตุกราดยิงในโรงเรียนอีกครั้งเมื่อช่วงกลางสัปดาห์ที่แล้ว โดยมีการถกเถียงกันเกี่ยวกับเรื่องความรุนแรงจากอาวุธปืนและการหาทางป้องกันเหตุกราดยิง ซึ่งในครั้งล่าสุดนี้เกิดขึ้นในโรงเรียนไฮสคูลแห่งเมืองพาร์กแลนด์ รัฐฟลอริดา เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 17 ราย
 
มีการตั้งข้อสังเกตว่าหลังจากนั้นบรรยากาศแบบเดิมๆ หลังเหตุกราดยิงก็กลับมาเช่นการแสดงความหดหู่สิ้นหวัง ความโกรธในประเด็นเรื่องการครอบครองอาวุธปืนในสหรัฐฯ และประเด็นแวดล้อมอื่นๆ เกี่ยวกับเหตุกราดยิงในโรงเรียนเป็นปฏิกิริยาโต้ตอบแบบเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นมาหลายสิบครั้งแล้ว
 
ในระดับปฏิบัติการนักเรียนและนักการศึกษาในสหรัฐฯ เรียกร้องให้มีการเดินออกจากห้องเรียนเพื่อประท้วงพร้อมกันทั่วประเทศในวันที่ 20 เม.ย. ที่จะถึงนี้ ซึ่งเป็นการครบรอบ 19 ปี การกราดยิงที่โรงเรียนโคลัมไบน์ เพื่อเป็นการประท้วงที่ทางการสหรัฐฯ ตลอด 19 ปีที่ผ่านมาไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้เลย
 
ทั้งนี้ นักวิจัยอาวุโสจากศูนย์เพื่อวัยรุ่นและกระบวนการยุติธรรมในซานฟรานซิสโก ไมค์ มาเลส์ ระบุถึงประเด็นนี้ในเชิงข้อมูลตัวเลขว่ามีสถิติที่น่าสนใจเกี่ยวกับ 3 รัฐในสหรัฐฯ ที่มีจำนวนการฆาตกรรมจากอาวุธปืนลดลงมากทั้งที่มีกฎหมายเกี่ยวกับอาวุธปืนแตกต่างกันโดยสิ้งเชิงคือ นิวยอร์ก, แคลิฟอร์เนีย และเท็กซัส
 
มาเลส์ระบุว่าผู้คนถกเถียงกันในเรื่องความรุนแรงจากอาวุธปืนในสหรัฐฯ ด้วยอคติแบบเดิม ซึ่งถ้าหากไม่เป็นเรื่องข้ออ้างเกี่ยวกับ "คนดี" ควรถือปืนเพื่อต่อต้าน "คนไม่ดี" เช่นที่พวกฝ่ายขวาชอบใช้ ก็จะเป็นการกล่าวโทษวัยรุ่นหรือคนผิวสีในสหรัฐฯ ถึงแม้ว่าตามสถิติของเอฟบีไอบ่งชี้ว่าครึ่งหนึ่งของคนที่ก่อเหตุกราดยิงจะเป็นคนอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไปและส่วนใหญ่เป็นคนขาวก็ตาม
 
ส่วนข้อถกเถียงจากฝ่ายเสรีนิยมในสหรัฐฯ ที่สนับสนุนการเช็คประวัติและการควบคุมอาวุธปืนนั้น มาเลส์ระบุว่าเป็นวิธีที่ส่งผลดีทางด้านการลดการฆ่าตัวตายด้วยอาวุธปืนและการใช้ปืนก่ออาชญากรรมในครัวเรือนก็จริง แต่ไม่ได้ส่งผลกับการฆาตกรรมนอกบ้านหรือการก่อเหตุกราดยิงเลย
 
มาเลส์ ชวนมองเรื่องเหตุกราดยิงในโรงเรียนของสหรัฐฯ ในมุมใหม่ๆ ด้วยการพิจารณารัฐที่มีอัตราการเกิดเหตุฆาตกรรมจากอาวุธปืนลดลงมากที่สุด 3 รัฐ ในปี 2557-2559 คือ นิวยอร์กลดลงร้อยละ 80 แคลิฟอร์เนียลดลงร้อยละ 61 และเท็กซัสลดลงร้อยละ 60 เทียบกับรัฐอื่นๆ ที่ลดลงร้อยละ 25 ทั้งที่ก่อนหน้านี้รัฐที่มีเมืองใหญ่ๆ เหล่านี้มีอัตราการฆาตกรรมด้วยอาวุธปืนสูงมาก
 
จากสถิติในสหรัฐฯ ยังเผยให้เห็นอีกว่ามีอัตราการลดลงของเหตุฆาตกรรมด้วยอาวุธปืนในกลุ่มวัยรุ่นอายุ 15-24 ปี ในเมืองใหญ่ๆ ลดลงมากตั้งแต่ร้อยละ 74 ถึงร้อยละ 90 นอกจากนั้นแล้วในรัฐที่มีความรุนแรงลดลงเหล่านี้ยังมีการเติบโตด้านความหลากหลายทางเชื้อชาติโดยมีกลุ่มวัยรุ่นทั้งชาวลาติน ชาวเอเชีย และชาวแอฟริกัน
 
ในแง่ของความเข้มงวดด้านควบคุมอาวุธปืนนั้นขณะที่รับนิวยอร์กและแคลิฟอร์เนียมีกฎหมายควบคุมอาวุธปืนที่จริงจังและมีอัตราคนถือครองปืนต่ำ แต่ในเท็กซัสถือเป็นรัฐที่มีกฎหมายควบคุมอาวุธปืนอ่อนที่สุดในประเทศสหรัฐฯ แต่ก็มีจำนวนอาชญากรรมจากอาวุธปืนน้อยลง สำหรับมาเลส์เรื่องนี้ชวนให้พิจารณาว่าการจำกัดจำนวนอาชญากรรมจากอาวุธปืนควรจะมองไปให้ไกลกว่าเรื่องกฎหมายควบคุมอาวุธปืนหรือไม่ และเหตุใดคนรุ่นใหม่ๆ โดยเฉพาะในเท็กซัสถึงก่ออาชญากรรมจากอาวุธปืนน้อยลง มาเลส์บอกว่าน่าทำการศึกษาพลังที่ส่งผลถึงเรื่องนี้
 
 
เรียบเรียงจาก
 
Gun Violence Has Dropped Dramatically in 3 States With Very Different Gun Laws, Yes! Magazine, 16-02-2018
 
Because 'Nothing Has Changed Since Columbine,' Students, Teachers Call for Nationwide School Walkouts, Common Dreams, 17-02-2018
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'อักษรา' เผยได้ 'พื้นที่ปลอดภัย' นำร่องปี 61 พร้อมเซฟเฮาส์ประสานทุกฝ่ายดับไฟใต้แล้ว

Posted: 20 Feb 2018 01:41 AM PST

หัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขฯ เผยฝ่ายรัฐบาล-ฝ่ายผู้เห็นต่างจากรัฐ ได้ร่วมกันกำหนดอำเภอนำร่องพื้นที่ปลอดภัยในปี 61 แล้ว เหตุที่ยังไม่ประกาศต้องมีการหารือเตรียมพื้นที่ให้พร้อมก่อนคาดประมาณ 4-6 เดือน 

 
เมื่อวันที่ 19 ก.พ.ที่ผ่านมา ไทยรัฐออนไลน์ รายงานว่า พล.อ.อักษรา เกิดผล ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในฐานะ หัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่าปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นปัญหาภายในของประเทศไทย เพราะเราไม่ต้องการให้มีการแทรกแซงจากภายนอกประเทศ เพื่อตัดการสนับสนุนทั้งปวงต่อผู้ก่อเหตุรุนแรง และป้องกันไม่ให้ความขัดแย้งขยายวงกว้างออกไปเป็นสงครามตัวแทน แบบที่ตะวันออกกลางต้องเผชิญอยู่ในปัจจุบัน
 
หัวหน้าคณะพูดคุยฯ กล่าวด้วยว่า ดังนั้นจึงได้แบ่งกลุ่มงานในการแก้ปัญหาออกเป็น 7 กลุ่มงาน และกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบระดับกระทรวง โดยให้ความสำคัญอันดับแรก ต่อกลุ่มงานรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ที่มีกระทรวงกลาโหมเป็นเจ้าภาพ และมี กอ.รมน.เป็นหน่วยปฏิบัติหลัก จากสถานการณ์ความรุนแรงที่ยังเกิดขึ้นในพื้นที่แสดงว่า กลุ่มงานรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งมีทั้งกำลังพล ยุทโธปกรณ์ อำนาจตามกฎหมาย และมีงบประมาณยังทำได้ไม่สมบูรณ์ดีพอ ทั้งการควบคุมพื้นที่ การควบคุมทรัพยากร และการควบคุมประชาชนจึงสมควรปรับปรุงทั้งมาตรการเชิงรับ และมาตรการเชิงรุก เพื่อจำกัดเสรีและลดขีดความสามารถของกลุ่มผู้ก่อเหตุ ด้วยการปฏิบัติการทางทหาร และการบังคับใช้กฎหมาย ควบคู่ไปกับการปฏิบัติงานด้านมวลชนเเพื่อตัดการสนับสนุนทั้งปวงของผู้ก่อเหตุทั้งในและนอกพื้นที่
 
ในส่วนของกระบวนการพูดคุยฯ นั้น พล.อ.อักษรา ระบุว่า เป็นเพียงกลุ่มงานที่แสวงหาทางจากความขัดแย้งในแนวทางสันติวิธีด้วยการพูดคุยกับขบวนการผู้เห็นต่างฯ ทุกกลุ่ม ทุกพวก ทุกฝ่าย ให้ลดทอนความตั้งใจในการใช้ความรุนแรง และหันกลับมาร่วมมือสร้างพื้นที่ปลอดภัยเพื่อให้เกิดความสงบสุขปลอดภัยต่อประชาชนเป็นสำคัญ การพูดคุยฯ แม้ต้องใช้เวลาหลายปี แต่ก็จะเป็นหนทางให้ประเทศชาติสามารถออกจากความขัดแย้งได้อย่างยั่งยืนในที่สุด อย่างไรก็ดียังมีผู้ที่ติดยึดทฤษฎี และมีแนวคิดแบบเดิมๆ พยายามเชื่อมโยงเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่โดยกล่าวอ้างว่ามาจากผลการพูดคุยฯ จนตกเป็นแนวร่วมมุมกลับ เผลอไปสร้างความชอบธรรมและเป็นกระบอกเสียงให้กับกลุ่มผู้ก่อเหตุที่ใช้ความรุนแรง อ้างว่าเป็นตัวจริงยืนเงื่อนไขต่อรองรัฐบาล
 
หัวหน้าคณะพูดคุยฯ กล่าวอีกว่า ในปี 2561 คณะพูดคุยฯ สามารถบรรลุหลักการสำคัญร่วมกับผู้เห็นต่างฯ ในการจัดตั้งศูนย์ประสานงาน Safe House และคณะกรรมการบริหารพื้นที่ปลอดภัยที่มีทุกภาคส่วนเข้ามาร่วม กำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อกันไม่ให้เกิดเหตุความรุนแรง และเกิดความปลอดภัยต่อประชาชนทุกศาสนาและทุกกลุ่มอาชีพในพื้นที่ดังกล่าวอย่างแท้จริง เพราะคำตอบทั้งหมดของการแก้ปัญหา จชต.อยู่ที่ประชาชนในพื้นที่เป็นสำคัญ
 
โดยเมื่อวันที่ 15 ก.พ.ที่ผ่านมา มารียัม อัฮหมัด และมาตาฮารี อิสมาแอ รายงานผ่านเบนาร์นิวส์ ว่า พล.อ.อักษรา ได้แจงข้อมูลแก่ผู้สื่อข่าวโดยผ่านทางสำนักเลขานุการคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ในวันนี้ ภายหลังจากการรายงานผลการดำเนินงานของคณะพูดคุยฯ ให้นายกรัฐมนตรีได้รับทราบ ในขณะที่นายอาบู ฮาฟิซ โฆษกมาราปาตานี ได้แจ้งเรื่องนี้ผ่านบทความในเวบไซต์ของศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch)

"ล่าสุดจากการประชุมที่ประเทศมาเลเซีย สามารถได้ข้อยุติร่วมกันในการกำหนดพื้นที่ปลอดภัยนำร่อง 1 อำเภอ และได้เรียนให้นายกรัฐมนตรีรับทราบแล้ว โดยขั้นตอนต่อไปจะเป็นการจัดตั้ง safe house เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามาช่วยกันให้ข้อคิดเห็นในเรื่องการรักษาความปลอดภัย การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ safety zone" พล.อ.อักษรา กล่าว

เบนาร์นิวส์ รายงานด้วยว่าไม่สามารถติดต่อ พล.อ.อักษรา เกิดผล หัวหน้าคณะพูดคุย และพลตรีสิทธิ์ ตระกูลวงศ์ เพื่อขอทราบชื่ออำเภอและรายละเอียดเพิ่มเติม

พล.อ.อักษรา ได้กล่าวในใบแจ้งข่าวอีกว่า จากนี้ไปคณะพูดคุยฯ จะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน ในการขับเคลื่อน safety zone พร้อมไปกับการประเมินผลว่า สามารถดำเนินการได้ตามความตั้งใจของทุกฝ่าย ที่จะใช้สันติวิธีดูแลพื้นที่ให้มีสันติสุขได้หรือไม่ และหากสามารถบรรลุเป้าหมายก็อาจขยายไปยังพื้นที่อื่น ซึ่งก็ต้องขึ้นอยู่กับผลการพูดคุยในระยะต่อไปด้วย

พล.ต.สิทธิ์ ตระกูลวงศ์ เลขานุการคณะพูดคุย ได้กล่าวในก่อนหน้านี้ว่า จะใช้เวลาสามเดือนแรกในการดำเนินการเพื่อก่อตั้ง safe house และรณรงค์ให้ประชาชนได้รับทราบเรื่องพื้นที่ปลอดภัย พร้อมทั้งขอรับทราบความคิดเห็น หลังจากนั้น จะจัดตั้งพื้นที่ปลอดภัยให้เป็นรูปเป็นร่าง และทดลองประสิทธิผลเป็นเวลาอีกสามเดือน

ด้าน อาบู ฮาฟิซ โฆษกมาราปาตานี กล่าวว่า ทั้งสองฝ่ายได้มีการพูดคุยนอกรอบ เมื่อเดือนมกราคม ศกนี้ ซึ่งเป็นจุดที่สำคัญที่ทำให้ทั้งสองฝ่ายเจาะทะลุข้อขัดขวางออกไปได้ จนทุกฝ่ายสามารถตกลงในการดำเนินการพูดคุยเพื่อสันติภาพต่อไปได้

"ในการพูดคุยนอกรอบในกรุงกัวลาลัมเปอร์เมื่อเดือนมกราคม ทั้งสองฝ่ายตกลงกันได้ สามารถทะลุข้อขัดขวางออกไปได้ และตกลงจะพูดคุยกันต่อไป จากนั้นคณะกรรมการร่วมทางเทคนิคได้การรับทราบในวันที่ 7 ก.พ. 2018 ซึ่งทั้งสองทีมยังได้สรุปเนื้อหาเกี่ยวกับพื้นที่ปลอดภัยส่วนอื่นๆ  เป็นเพียงเรื่องเวลาที่สองฝ่ายยังต้องพูดคุยกันอีกสองสามครั้ง ก่อนที่จะสามารถเริ่มดำเนินการพื้นที่ปลอดภัยได้" อาบู กล่าวในบทความ The Peace Dialogue Third Year (2017)

อิศรา รายงานเพิ่มเติมว่าสุดวันนี้ (20 ก.พ.61) พล.อ.อักษรา บอกกับ "ทีมข่าวอิศรา" ว่า คณะพูดคุยฯทั้ง 2 ฝ่าย คือฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายผู้เห็นต่างจากรัฐ ได้ร่วมกันกำหนดอำเภอนำร่องพื้นที่ปลอดภัยในปี 61 แล้ว แต่สาเหตุที่ยังไม่ประกาศให้สังคมได้ทราบ ก็เนื่องจากต้องมีการหารือเตรียมพื้นที่ให้เกิดความพร้อมเสียก่อน ซึ่งจะต้องใช้เวลาประมาณ 4-6 เดือน 
 
ขั้นตอนหนึ่งของการเตรียมการ คือการเปิด "เซฟเฮาส์" หรือ "ศูนย์ประสานงาน" เพื่อให้ทุกฝ่ายได้ทำงานร่วมกัน โดย พล.อ.อักษรา ย้ำว่า การทำงานไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะการทำพื้นที่ให้ปลอดภัยเท่านั้น แต่ยังมีแผนพัฒนาร่วมกัน และการทำพื้นที่ให้ปลอดยาเสพติดด้วย ที่สำคัญไม่ได้แปลว่าเมื่อมีพื้นที่ปลอดภัยแล้วต้องถอนทหารออกไป เพราะทุกอย่างยังคงเหมือนเดิม แต่เพิ่มบทบาทของภาควิชาการและภาคประชาสังคมให้มากขึ้น
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รมว.พลังงาน เซ็นสัญญาหยุดโรงไฟฟ้ากระบี่-เทพา ให้เวลาศึกษาความเหมาะสม 9 เดือน

Posted: 20 Feb 2018 12:21 AM PST

รมว.พลังงาน และตัวแทนเครือข่ายโรงไฟฟ้าถ่านหิน กระบี่-เทพา ร่วมเซ็นสัญญา 4 ข้อหยุดโรงไฟฟ้า ให้เวลาศึกษาความเหมาะสมโดยนักวิชาการทีมีความเป็นกลางที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับร่วมกัน 9 เดือน ประกาศยุติการชุมนุมพร้อมเดินทางกลับบ้าน แกนนำยัน 9 เดือน ถ้ารัฐยังไม่ดำเนินตามข้อตกลงเราก็ต้องขึ้นมาใหม่

ภาพจาก เฟสบุ๊ค บัณฑิตา ฮาริ อย่างดี

20 ก.พ.2561 รายงานข่าวระบุว่า ช่วงเช้าที่ผ่านมา ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการ    กระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยตัวแทนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)หารือร่วมกับเครือข่ายปกป้องสองฝั่งทะเล กระบี่-เทพา นานกว่า 1 ชั่วโมง และในที่สุดได้ข้อสรุปด้วยการตั้งโต๊ะเซ็นสัญญาหยุดโครงการไฟฟ้าถ่านหิน หลังจากนั้นกลุ่มตัวแทน ประกาศยุติการชุมนุน ชาวบ้านที่มาชุมนุมก็ต่างเก็บของ และเริ่มทยอยกลับบ้าน โดยไม่เคลื่อนขบวนไปทำเนียบรัฐบาลตามกำหนดการเดิม

สำหรับบันทึกข้อตกลงระหว่าง กระทรวงพลังงาน กับเครือข่ายปกป้องสองฝั่งทะเลกระบี่-เทพา ยุติโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่หน้าสหประชาชาตินั้น มีสาระสำคัญ 4 ประเด็น ดังนี้

1. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ถอนรายงาน EHIA โรงไฟฟ้าทั้ง 2 โครงการ ออกจากการพิจารณาของสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) ภายใน 3 วัน และให้ กฟผ. ส่งหนังสือแจ้งรับทราบการขอถอนรายงานไปยังเครือข่าย

2. ให้กระทรวงพลังงานจัดทำรายงานผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ (SEA) เพื่อศึกษาว่าพื้นที่จังหวัดกระบี่ และอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา มีความเหมาะสมในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือไม่ โดยจะต้องจัดทำด้วยนักวิชาการทีมีความเป็นกลางที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับร่วมกัน และหากการศึกษาชี้การสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินว่าไม่เหมาะสม กฟผ. ต้องยุติการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งสองพื้นที่ โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 9 เดือน

3. หากผล SEA ชี้ว่าพื้นที่มีความเหมาะสมในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ในขั้นตอนการจัดทำ EHIA จะต้องจัดทำโดยคนกลางที่ยอมรับร่วมกัน

4. ให้คดีความระหว่าง กฟผ. และเครือข่ายเลิกแล้วต่อกัน

ด้าน รมว.พลังงาน กล่าวว่า หลังจากนี้จะดำเนินการตามกระบวนการที่ได้รับปากไว้กับชาวบ้าน โดยยอมรับว่าไม่กังวล การหาคณะกรรมการกลางที่เป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่ายมาทำหน้าที่ศึกษาความเหมาะสม ซึ่งทุกขั้นตอนจากนี้ไปในระยะเวลา 9 เดือน จะต้องทำอย่างเปิดเผย ตรงไปตรงมา 

สำหรับการเคลื่อนไหวครั้งนี้ เริ่มต้น 29 ม.ค. ที่ผ่านมา กลุ่มคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา เริ่มนั่งสงบที่หน้า สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ตรงข้ามทำเนียบรัฐบาล จากนั้นกลุ่มคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ เข้ามาสมทบ และ 12 ก.พ.ที่ผ่านมา เริ่มอดอาหารที่ด้านหน้าสำนักงานองค์การสหประชาชาติ จำนวน 68 คน พร้อมด้วยนักศึกษา 1 คนในจำนวนนั้น เป็นลม หามส่งโรงพยาบาล 10 คน จนกระทั่ง รมว.พลังงานลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วมดังกล่าวในวันนี้

(ที่มา : ไทยพีบีเอส, เพจหยุดถ่านหินกระบี่ และ เฟสบุ๊ค บัณฑิตา ฮาริ อย่างดี)

ผู้สื่อข่าวประชาไท สอบถาม มุสตาร์ซีดีน วาบา หรือ "แบมุส" แกนนำกลุ่มค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา และเป็น 1 ใน 17  คน ที่ถูกตั้งข้อขัดขวางการจับกุมของเจ้าหน้าที่รัฐ ทำร้ายร่างกายเจ้าหน้าที่่รัฐ พกพาอาวุธในที่สาธารณะ กีดขวางการจราจร และฝ่าฝืน พ.ร.บ. การชุมนุมในที่สาธารณะ จากกรณีเข้าร่วมกิจกรรม "เดิน...เทใจให้เทพาหยุดโรงไฟฟ้าถ่านหิน" เมื่อช่วงปลายเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา เพิ่มเติม ถึงข้อตกลงนี้ โดย มุสตาร์ซีดีน กล่าวว่า ต้องรอดูอีก 9 เดือนว่า เขาทำตามข้อตกลงอยู่ไหม อย่างที่พวกเราได้พูดไปตอนเช้าว่า ถ้า 9 เดือนนี้รัฐยังไม่ดำเนินตามข้อตกลงเราก็ต้องขึ้นมาใหม่

สำหรับข้อตกลงที่ระบุว่า ยกเลิกการดำเนินคดีกับชาวบ้าน นั้น มุสตาร์ซีดีน กล่าวว่า ไม่แน่ใจว่ารวมถึงคดี 17 ผู้ต้องหาที่ถูกจับต้องประท้วงหรือไม่ เพราะว่าคดีเข้าสู่ชั้นศาลแล้ว พวกเราก็น่าจะต้องไปศาลสงขลา 12 มี.ค.นี้ เป็นนัดพร้อม
 
มุสตาร์ซีดีน กล่าวย้ำถึงการทำ EHIA ใหม่ด้วยว่ามีข้อเท็จจริงอยู่ทนโท่ว่า เทพานี้อุดมสมบูรณ์มาก มีปลาหลายหลายชนิด มีป่าโกงกาง ไม่ได้เป็นป่าเสื่อมโทรม ป่าร้างอย่างที่ EHIA เขียน มาดูด้วยตาก็ได้ และยังมีงานศึกษาธรรมชาติที่นี่อีกมากมายที่พูดว่าทะเลที่เทพานั้นอุดมสมบูรณ์ พวกเราจึงไม่กลัว จะให้ทำ EHIA อีกกี่ครั้ง ถ้าทำอย่างซื่อสัตย์ จริง ผลก็จะออกมาว่าทะเลเทพานั้นอุดมสมบูรณ์ แต่รัฐจะไปทำ EHIA อีกที ตนว่าเป็นงานผลาญงบอยู่ 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เยอรมนีวางแผนระงับวีซาพิเศษของ ฮุนเซน-จนท.ระดับสูง กดดันกัมพูชาเลิกลิดรอนเสรีภาพ

Posted: 20 Feb 2018 12:01 AM PST

ผลจากการที่รัฐบาลกัมพูชาลิดรอนเสรีภาพประชาชนทำให้ทางการเยอรมนีวางแผนออกมาตรการเริ่มจากการระงับวีซาเดินทางส่วนตัวของ ฮุนเซน นายกฯ  และเจ้าหน้าที่ทหาร-ผู้พิพากษาระดับสูง และอาจจะมีการพิจารณามาตรการอื่นๆ ร่วมกับสหภาพยุโรปอีกหลังจากนี้
 
19 ก.พ. 2561 หลังจากที่มีการตั้งกระทู้ถามโดยรัฐสภา รัฐบาลเยอรมนีได้ออกมาตรการที่จะกดดันรัฐบาลกัมพูชาในกรณีที่รัฐบาลกัมพูชาทำการลิดรอนเสรีภาพสื่อ เอ็นจีโอ และผ่ายตรงข้ามทางการเมืองในช่วงที่ผ่านมา มาตรการดังกล่าวมีการพิจารณามาแล้วเป็นเวลาหลายเดือนก่อนหน้านี้และออกมาโดยไม่เปิดเผยต่อสาธารณชนอย่างเป็นทางการเมื่อช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ก็มีการเปิดเผยต่อสื่อในเรื่องนี้
 
พนมเปญโพสต์รายงานเมื่อวันที่ 19 ก.พ. ที่ผ่านมาว่า รัฐบาลกัมพูชามีแผนการระงับวีซาแบบพิเศษของสมาชิกรัฐบาลกัมพูชาที่ใช้ในการเดินทางส่วนตัว รวมถึงวีซาของนายกรัฐมนตรีฮุนเซน ครอบครัวของเขา เจ้าหน้าที่ทหารระดับสูง รวมถึงประธานศาลสูงสุดของกัมพูชา นอกจากนี้ทางการเยอรมนียังเสนอให้สมาชิกสหภาพยุโรปวางมาตรการแบบเดียวกันด้วย
 
ผู้ที่เสนอตั้งกระทู้ถามรัฐสภาเยอรมนีในเรื่องนี้คือ ฟริธจอฟ ชมิทธ์ ตัวแทนของนักการเมืองพรรคกรีนของเยอรมนี กระทู้ดังกล่าวต้องการยกประเด็นเรื่องที่เยอรมนีควรจะโต้ตอบ "การรื้อทำลายประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในกัมพูชา"
 
สก ไอศาน โฆษกพรรครัฐบาลของกัมพูชากล่าวว่าการถูกยกเลิกวีซาพิเศษของพวกเขา "ไม่ใช่เรื่องน่าอาย แต่เป็นการประหยัดเงิน" เพราะไม่ต้องจ่ายเงินไปเที่ยวในเยอรมนี โฆษกรัฐบาลบอกอีกว่าต่อให้มีคนเสนอให้เขาไปเที่ยวเขาก็จะไม่ไปเยอรมนี
 
นอกจากเรื่องวีซาแล้วเยอรมนียังเคยสั่งเลื่อนการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเกี่ยวกับ "การให้คำปรึกษาทางการเมืองตามปกติ" เพื่อเป็นการโต้ตอบกรณีที่รัฐบาลกัมพูชาจับกุมเข็ม โสกา หัวหน้าพรรคกู้ชาติกัมพูชา (CNRP) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน  และสั่งยุบพรรค อีกทั้งยังเรียกร้องให้รัฐบาลกัมพูชาอนุญาตให้ทางการเยอรมนีและยุโรปเข้าเยี่ยมเข็ม โสกา ด้วย
 
อีกมาตรการหนึ่งที่กระทรวงการต่างประเทศเยอรมนีใช้โต้ตอบการลิดรอนสิทธิฝ่ายตรงข้ามของกัมพูชาคือยกเลิกการให้ซาร์ เก็ง รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชาเข้าเยือนเยอรมนี โดยบอกว่าเยอรมนีมีจุดยืนสนับสนุนประชาธิปไตย
 
สื่อพนมเปญโพสต์ระบุว่าหลังการโต้ตอบดังกล่าวแล้วตัวแทนฝ่ายต่อต้านรัฐบาลจากกัมพูชาก้เข้าพบกับทางการเยอมนีหลายครั้ง หนึ่งในนั้นคือ มู โสเจือ รองหัวหน้าพรค CNRP ผู้ลี้ภัยหลังกรณีการปราบปรามหนักในช่วงปี 2560 ที่พบปะหารือเรื่องความช่วยเหลือด้านสิทธิมนุษยชน เรียกร้องการปล่อยตัวเข็ม โสกา และการคว่ำบาตรจากอียู นอกจากนี้ยังมีตัวแทนจากพรรค CNRP รายอื่นๆ กับลูกสาวของเข็ม โสกา เข้าพบฝ่ายการต่างประเทศของเยอรมนีด้วย
 
ท่าทีเช่นนี้ของเยอรมนียังมองได้ว่าทางการเยอรมนีกำลังพิจารณากลับมาสนับสนุนเงินทุนเพื่อโครงการเกี่ยวกับระบบธรรมาภิบาลในกัมพูชาอีกครั้ง ซึ่งถ้าหากเยอรมนีไม่สนับสนุนโครงการนี้ต่อก็จะเป็นการละเมิดข้อตกลงสันติภาพกรุงปารีสที่ให้ช่วยฟื้นฟูและพัฒนากัมพูชาหลังเกิดเหตุสังหารหมู่
 
ฝ่ายกระทรวงการต่างประเทศของกัมพูชาโต้ตอบในเรื่องนี้ด้วยการเผยแพร่เอกสารแสดงความคิดเห็นของตัวเองเป็นจำนวน 11 หน้า โดยอ้างว่ากัมพูชายังต้องการเวลา การเติบโตทางเศรษฐกิจ และเสถียรภาพในการไปถึงเป้าหมาย "ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในอุดมคติ" ซึ่ง "ชาติตะวันตกใช้เวลาสองถึงสามศตวรรษในการบรรลุเป้าหมาย"
 
"ประชาธิปไตยแบบรัฐในฝันนั้นยั้งไว้ก่อน!" ทางการกัมพูชาระบุถึงเรื่องนี้ในเอกสารแสดงความคิดเห็น พวกเขายังเรียกร้องให้ชาติตะวันตก "กลับมามีสติ" และไม่ทำการคว่ำบาตรพวกเขา
 
นอกจากเยอรมนีแล้วประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอมมานูเอล มาครง ก็เคยพูดถึงกัมพูชาไว้ว่ามีสถานการณ์น่าเป็นห่วงและเรียกร้องให้เคารพประชาธิปไตย ส่วนคณะกรรมาธิการยุโรปจะมีการประชุมกันในเรื่องนี้วันที่ 26 ก.พ. ที่จะถึงนี้เพื่อหาว่าจะมีปฏิบัติการอย่างไรเกี่ยวกับกัมพูชา
 
 
เรียบเรียงจาก
 
Germany puts pressure on Cambodia, ending preferential visa treatment for Hun family and high-ranking officials, The Phnom Penh Post, 19-02-2018
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประยุทธ์ ขอครูอาจารย์ที่หนุนนักศึกษาเคลื่อนไหว ให้ดูความสูญเสียจากต่างประเทศในอดีต

Posted: 19 Feb 2018 09:18 PM PST

พล.อ.ประยุทธ์ ฝากครูอาจารย์ที่สนับสนุนการเคลื่อนไหวของนักศึกษา ดูความสูญเสียของต่างประเทศในอดีต ย้ำ "เราสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในทางสงบ ไม่ขัดแย้ง ไม่เกิดความสูญเสีย" ขณะที่ DRG นัดคนอยากเลือกตั้ง ร่วมกิจกรรม 'ปากปราศรัย น้ำใจเชือดเผด็จการ' 24 ก.พ.นี้

ที่มาเว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล

20 ก.พ.2561 รายงานข่าวระบุว่า วันนี้ เวลา 08.30 น. ณ บริเวณโถงกลาง ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี วีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมนำคณะเจ้าหน้าที่จากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) ครูและนักเรียนเข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อประชาสัมพันธ์การจัดงานสัปดาห์เผยแผ่พระพุทธศาสนาเนื่องในเทศกาลวันมาฆบูชา ประจำปี 2561  ระหว่างวันที่ 25 ก.พ – 2 มี.ค.นี้

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวกับครูและเด็กนักเรียนที่ร่วมคณะพศ.ว่า เด็กเปรียบเสมือนผ้าขาว ที่โตขึ้นมาก็ควรจะบริสุทธิ์เช่นเดิม อยู่ที่การเอาใจใส่ของผู้ปกครองและครูอาจารย์ ดังนั้น ครูอาจารย์ต้องปูพื้นฐานให้เด็กอยู่ในกรอบศาสนาและศีลธรรม ที่สำคัญต้องไม่สอนเรื่องความขัดแย้ง เพราะไม่เช่นนั้นรากฐานจะไม่บริสุทธิ์ เนื่องจากเด็กยังมีพื้นฐานและหลักคิดไม่เพียงพอ หากนำหลักการจากต่างประเทศมาสอนยิ่งไปกันใหญ่ เพราะเด็กคือพลังสำคัญแห่งการขับเคลื่อนประเทศ แต่ต้องขับเคลื่อนในทางที่ดี หากขับเคลื่อนในทางที่ขัดแย้ง ก็จะเป็นคนละเรื่องกัน 

"ผมเป็นห่วงเรื่องนิสิตและนักศึกษาที่ออกมาเคลื่อนไหวในเวลานี้ อยากถามว่าไปเอาหลักการของต่างประเทศมาดูเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แต่อย่าลืมดูว่าตอนที่เขาเปลี่ยนขณะนั้นเกิดการบาดเจ็บสูญเสียไปเท่าไหร่ จะทำแบบนั้นหรือ เราสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในทางสงบ ไม่ขัดแย้ง ไม่เกิดความสูญเสีย จึงอยากฝากครูอาจารย์ที่สนับสนุนการเคลื่อนไหวของนักศึกษาเหล่านี้ว่าคนเหล่านี้สอนเด็กมาแบบนี้ตลอด ที่สำคัญบางคนไม่เคยทำงาน จบวิชาการมาแล้วก็สอน เพราะฉะนั้นสื่อฯอย่าไปขยายให้มากนัก และครูต้องสอนให้สังคมเกิดความสงบ ไม่ใช่ลอกเลียนแบบต่างประเทศ เพราะกว่าต่างประเทศจะเป็นมหาอำนาจก็บาดเจ็บล้มตายมามาก เพราะยังไม่พร้อม แต่ถ้าเราพร้อมควรเปลี่ยนแปลงในทางที่สงบเรียบร้อย จึงขออย่าฝ่าฝืนกฎหมาย เพราะรัฐบาลพยายามใช้ความอดทนอย่างสูง จึงขอสังคมช่วยกันดูแล ครม.ทุกคนห่วงใยเด็กและเยาวชน โดยจะทำหน้าที่เพื่อทุกคนในประเทศ แต่หากใครไม่รู้ค่าก็ช่างเขา" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวขอให้เยาวชนที่ร่วมรณรงค์กิจกรรมทุกคนเข้าถึงแก่น และสาระสำคัญของพระพุทธศาสนา คือการนำไปสู่การเป็นสังคมแห่งความปรองดอง สันติสุข ไม่ทะเลาะ ไม่ขัดแย้ง มีอะไรให้พูดจากัน วันนี้รัฐบาลทำเพื่อเยาวชนทุกคน ขอให้เป็นคนดีและคนเก่ง

(ที่มา : เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล และ สำนักข่าวไทย)

DRG นัดคนอยากเลือกตั้ง ร่วมกิจกรรม 'ปากปราศรัย น้ำใจเชือดเผด็จการ' 24 ก.พ.นี้

ขณะที่วานนี้ (19 ก.พ.61) เฟสบุ๊คแฟนเพจ 'กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย Democracy Restoration Group - DRG' เผยแพร่กำหนดการการจัดกิจกรรม "ปากปราศรัย น้ำใจเชือดเผด็จการ: 3-2-1 ถึงเวลาเปลี่ยน" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมตาม Roadmap คนอยากเลือกตั้ง โดยมีการนัดหมาย  24 ก.พ.นี้ เวลา 15.00 น. เป็นต้นไป (ตลาดเปิด 12.00 น. เป็นต้นไป) ณ ลานด้านหน้าหอประชุมศรีบูรพา-ด้านข้างหอประชุมใหญ่ เลียบรั้วริมถนนสนามหลวง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ภายในกิจกรรมมี การปราศรัยของคนรุ่นใหม่ รวมใจคนอยากเลือกตั้งทั้งประเทศ โดย รังสิมันต์ โรม, สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์, ปิยรัฐ จงเทพ และอานนท์ นำภา ตลาดนัด "ช้อป ช่วย ทาส" ผนึกกำลังช้อปกันให้เป็นไท และ Free Concert โดย วงสามัญชน, กงลี่, กันต์, Kalibut

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ผอ.ศูนย์วิจัยโรคเอดส์' หารือ สปสช. ชง 3 แนวทางพัฒนาการดูแลผู้ติดเชื้อ HIV

Posted: 19 Feb 2018 07:23 PM PST

ชง 3 แนวทาง พัฒนาสิทธิประโยชน์เอดส์ หนุนผู้ป่วยรับยาต้านไวรัสวันเดียวหลังผลตรวจยืนยัน พร้อมเพิ่มเอกซเรย์ปอด/ตรวจค่าการทำงานไตก่อนเริ่มการรักษาที่หน่วยบริการเข้ารับการตรวจได้ การให้ยาป้องกันติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มเสี่ยง พร้อมปรับหลักเกณฑ์ขึ้นทะเบียนหน่วยตรวจและให้ศูนย์บริการด้านเอดส์ภาคประชาสังคมเบิกจ่ายค่าตรวจได้      

เมื่อวันที่ 19 ก.พ.ที่ผ่านมา รายงานข่าวแจ้งว่า นพ.ประพันธ์ ภานุภาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า สัปดาห์ที่ผ่านมาได้เข้าพบผู้บริหาร สปสช.เพื่อหารือ 3 แนวทางในการพัฒนาระบบดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตามการณรงค์โครงการเอดส์สหประชาชาติ Getting to zero รวมถึงการป้องกันผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เป็นนโยบายสำคัญรัฐบาลในการยุติเอดส์ ไม่ให้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ (Zero new infection) ไม่มีผู้เสียชีวิตจากเอดส์ (Zero death) และไม่มีการตีตราแบ่งแยกผู้ติดเชื้ออีกต่อไป (Zero stigma and discrimination)

เรื่องแรกคือการให้ยาต้านไวรัสเอชไอวีกับผู้ติดเชื้อหลังจากที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยยืนยันแบบทราบผลในวันเดียว(same day result) เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาต้านไวรัสโดยเร็ว ซึ่งจะช่วยลดการเจ็บป่วย เพราะมีหลักฐานวิชาการยืนยันแล้วว่า ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เข้าถึงยาได้เร็วจะเสียชีวิตช้ากว่าผู้ที่ได้รับยาช้า ขณะเดียวกันยังลดโอกาสการแพร่กระจายเชื้อ สอดคล้องกับนโยบายชุดสิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าการให้ยาต้านไวรัสไม่จำกัดค่า CD4 ก่อนหน้านี้

ทั้งนี้การให้ยาต้านไวรัสผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่ได้รับการตรวจยืนยัน ควรจะได้รับการเอกซเรย์ปอดและตรวจค่าการทำงานของไตก่อนเพื่อไม่ให้เกิดผลต่อสุขภาพ รวมถึงดูว่าผู้ป่วยเป็นวัณโรคหรือไม่เพื่อให้การรักษาก่อน โดยกรณีผู้ติดเชื้อเข้ารับการตรวจที่ไม่ใช่หน่วยบริการที่ขึ้นทะเบียนสิทธิโดยตรง จะไม่ได้รับการเอกซเรย์และตรวจค่าทำงานของไตในวันเดียวกัน เนื่องจากติดการเบิกจ่ายค่าบริการซึ่งไม่ได้รวมอยู่ในงบกองทุนผู้ติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์ ทำให้ยังไม่สามารถเริ่มให้ยาต้านไวรัสในวันเดียวกันได้ แต่ในกรณีผู้ติดเชื้อที่เข้ารับการตรวจยังหน่วยบริการที่ขึ้นทะเบียนสิทธิโดยตรง จะได้รับการเอกซเรย์และตรวจค่าทำงานของไตพร้อมกับเริ่มให้ยาต้านไวรัสในวันเดียวกันได้ ซึ่งอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ โดยหน่วยบริการจะเบิกจ่ายจากงบเหมาจ่ายรายหัว

ดังนั้นจึงขอให้ สปสช.ปรับหลักเกณฑ์การเบิกจ่าย เพื่อทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้รับยาต้านไวรัสในวันเดียวกัน หลังรับผลตรวจยืนยันเชื้อเอชไอวี และขอให้เอกซเรย์ปอดและตรวจค่าการทำงานของไต ณ หน่วยบริการที่ให้บริการได้เลยโดยไม่ต้องกลับหน่วยบริการต้นสังกัด ซึ่งหน่วยบริการส่วนใหญ่มีความพร้อมอยู่แล้ว

"จากการนำร่องโครงการวิจัยที่คลินิกนิรนาม 6 เดือน ตรวจพบผู้ติดเชื้อ 900 คน ได้เอกซเรย์ปอด ตรวจค่าทำงานของไตและให้ยาต้านไวรัสในวันเดียวกัน ซึ่งได้ผลที่ดี ผู้ติดเชื้อเข้าสู่ระบบการรักษาทั้งหมดจึงได้เสนอ หาก สปสช.ให้ปลดล็อกเกณฑ์การเบิกจ่ายให้มีความหยืดหยุ่น นอกจากดูแลผู้ป่วยให้ได้รับยาโดยเร็วแล้ว ยังทำให้ผู้ติดเชื้อไม่หลุดหายออกไปจากระบบ" นพ.ประพันธ์ กล่าวและว่า ทั้งนี้คลินิกนิรนามปัจจุบันไม่ได้เป็นหน่วยบริการที่ขึ้นทะเบียนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทำให้ไม่สามารถเบิกจ่ายค่าเอกซเรย์และการตรวจค่าการทำงานของไต รวมทั้งจ่ายยาต้านไวรัสให้กับผู้ติดเชื้อ เบิกได้เฉพาะค่าตรวจเอชไอวีเท่านั้น

นพ.ประพันธ์  กล่าวว่า ส่วนเรื่องที่ 2 เป็นการเพิ่มสิทธิประโยชน์การให้ยาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี(PrEP: Pre-Exposure Prophylaxis) กับกลุ่มที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น กลุ่มชายรักชาย กลุ่มผู้ให้บริการ เป็นต้น เป็นมาตรการเสริมจากการป้องกันโดยใช้ถุงยางอนามัยให้มีเกราะป้องกันชั้นที่ 2 ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้เกือบ100% ขณะนี้ได้มีการนำร่องแล้วภายใต้โครงการการให้ยาต้านไวรัสเอดส์ก่อนการสัมผัสเชื้อ เพื่อความยั่งยืน จึงเสนอให้ สปสช.นำเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้หรือไม่ เพราะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในการลดการแพร่ระบาดของโรคเอดส์

เรื่องที่ 3 การสนับสนุนค่าตรวจเอชไอวีให้กับศูนย์บริการสุขภาพที่มีชุมชนเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนบริการสุขภาพ จากที่สภากาชาดไทยร่วมกับกรมควบคุมโรค จัดอบรมแกนนำชุมชน ให้เป็นที่ปรึกษาและคำแนะนำกับกลุ่มเสี่ยง ทั้งด้านการป้องกันและการเข้าสู่ระบบรักษาหากติดเชื้อเอชไอวี พร้อมการจัดบริการตรวจเชื้อเอชไอวีในศูนย์บริการ ซึ่งจากข้อมูลบริการการตรวจเชื้อเอชไอวีทั่วประเทศ พบว่า 1 ใน 3 เป็นการตรวจโดยศูนย์บริการเหล่านี้ ทั้งมีความแม่นยำเพราะจากการส่งผลการตรวจมายืนยันที่คลินิกนิรนาม มีความถูกต้อง 100% ซึ่งงบที่ใช้ในการตรวจปัจจุบันมาจากกองทุนโลก และเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง จึงอยากให้เบิกจ่ายจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้

นพ.ศักดิ์ชัย กล่าวว่า สปสช.ได้รับข้อเสนอทั้ง 3 แนวทาง จากการหารือร่วมกับศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทยไปพิจารณา เพื่อแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงบริการของผู้ติดเชื้อเอชไอวี ทั้งนี้เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยเอชไอวีในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้รับการดูแลและเข้าถึงการรักษาเพิ่มขึ้น เป็นไปตามนโยบายของโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ ซึ่งระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ดำเนินอย่างมีประสิทธิผลมาแล้วจนองค์การอนามัยโลกมอบเกียรติบัตรรับรองความสำเร็จของประเทศไทย ยุติเอชไอวีและซิฟิลิสจากแม่สู่ลูกขยายผลไปสู่การดูแลผู้มีสิทธิได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึงต่อเนื่อง ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากเสียงสะท้อนของผู้ที่เกี่ยวข้อง ภาคประชาสังคม กระทรวงสาธารณสุข และคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์นำไปสู่การปรับปรุงและพัฒนาระบบร่วมกัน   

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

การต่อสู้ของ ‘นพฤทธิ์’ อดีตนักมวยใน ‘สังเวียน’ คดี ม.112 ก่อนวันตัดสินที่กำแพงเพชร

Posted: 19 Feb 2018 06:57 PM PST


จำเลยผู้รับสารภาพในคดีนี้ ได้รับการปล่อยตัวไปแล้ว ขณะที่จำเลยผู้ต่อสู้คดี ยังถูกคุมขังรอคำพิพากษาอยู่ในเรือนจำ…

วันที่ 22 ก.พ.61 นี้ ศาลจังหวัดกำแพงเพชรนัดฟังคำพิพากษาในคดี "แอบอ้างสมเด็จพระเทพฯ" ซึ่งมีจำเลยที่ต่อสู้คดีสองราย ได้แก่ นางอัษฎาภรณ์ และนายนพฤทธิ์ (สงวนนามสกุล) ทั้งสองคนถูกกล่าวหาในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ข้อหาร่วมกันปลอมและใช้เอกสารราชการ และข้อหาฉ้อโกงประชาชน จากกรณีถูกกล่าวหาว่าได้ร่วมกันปลอมเอกสารหนังสือราชการของสำนักราชเลขานุการ กองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และได้นำไปอ้างแสดงต่อเจ้าอาวาสวัดไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร และยังมีการกล่าวอ้างว่าสามารถที่จะทูลเชิญสมเด็จพระเทพฯ มาร่วมในพิธีของวัดได้ โดยมีการกล่าวอ้างแสดงตนว่าเป็นหม่อมหลวง พร้อมเรียกเงินค่าใช้จ่ายต่างๆ จากผู้เสียหาย

วันเดียวกับที่ศาลนัดฟังคำพิพากษา เป็นวันครบรอบ 2 ปี 6 เดือน หรือ "สองปีครึ่ง" พอดิบพอดี ที่ "นพฤทธิ์" หนึ่งในจำเลยในคดีนี้ถูกคุมขังในเรือนจำมา เขายืนยันตลอดมาว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกระทำตามที่ถูกกล่าวหาและไม่เคยได้รับผลประโยชน์ใดๆ โดยที่เขาไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัวในระหว่างต่อสู้คดีมาจนถึงปัจจุบัน

เราเคยบอกเล่าเรื่องราวของเขาไว้ครั้งหนึ่งแล้วเมื่อเดือนกันยายน 2559 ตั้งแต่การสืบพยานในคดียังไม่เริ่มต้นขึ้น (ดูใน "ผมเพียงแต่ถูกชวนไปทำบุญ": เรื่องราวของ 'นพฤทธิ์' จำเลยมาตรา 112 คดีแอบอ้างสมเด็จพระเทพฯ) ผ่านไปปีเศษ การสืบพยานดำเนินไปจนเสร็จสิ้นลง โดยตัวเขายังคงอดทนต่อสู้คดีอันยืดเยื้อ จนถึงวันรอฟังคำพิพากษา

ต่อไปนี้ เป็นอีกส่วนหนึ่งของเรื่องราวการกัดฟันยืนหยัดใน "สังเวียน" นี้ของนพฤทธิ์ อดีตนักมวยสากลในวัยย่าง 31 ปี ผู้ยังไม่ยอมให้ตนถูก "น็อค" ล้มลง

ความหลังครั้งหัดเป็นนักมวย

อย่างที่พอรู้ จุดเริ่มต้นแห่งเรื่องราวในคดีนี้ในส่วนของนพฤทธิ์ เริ่มจากการเป็นนักมวยสากลในสมัยมหาวิทยาลัย และได้รู้จักรุ่นพี่นักมวยในชมรม  ย้อนกลับไปก่อนหน้านั้น ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง กีฬาหมัดมวยได้เสมือนกลายมาเป็นชีวิตจิตใจของ "เด็กบ้านนอก" คนหนึ่ง

จากเด็กที่วิ่งเล่นตามท้องไร่ท้องนาของครอบครัวเกษตรกรในอำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี หลังจบการศึกษาในชั้นประถมและมัธยมต้น เหมือนกับเด็กต่างจังหวัดหลายๆ คนที่พอมีความสามารถทางการศึกษา และครอบครัวอยากให้มีโอกาสในการเข้าถึง "ชีวิตที่ดีกว่า" เขาถูกส่งเข้ามาเรียนชั้นมัธยมปลายที่โรงเรียนวัดราชบพิธในกรุงเทพฯ และได้อาศัยวัดแห่งหนึ่งใจกลางเมืองหลวงเป็นที่คุ้มหัวนอน

นพฤทธิ์เล่าว่าเขาเริ่มชกมวยตั้งแต่ตอนเรียนอยู่ชั้นมัธยมปลายนี้เอง เนื่องจากมีเพื่อนคนหนึ่งที่บ้ากีฬามวยมาก จนถึงกับไปซ้อมชกจริงๆ ในค่ายมวยค่ายดัง อย่างค่ายนครหลวงโปรโมชั่น ค่ายซึ่งผลิตแชมป์โลกมวยสากลอาชีพมาแล้ว เขาจึงได้ลองติดตามไปด้วย และค่อยๆ พบกับความสนุกของการออกกำลังประเภทนี้ จนเริ่มไปซ้อมมวยทุกๆ วันหลังเลิกเรียน

"ตอนนั้นนอนที่วัด เป็นเด็กวัด อาศัยวัดเขาอยู่ หลวงพ่อก็ด่า เพราะซ้อมเสร็จก็สองทุ่มแล้ว กลับไปวัดดึก ตอนนั้นก็ยังต้องช่วยทำงานที่วัด ล้างจาน ล้างกุฏิต่างๆ ด้วย กว่าจะได้เข้านอนก็มืดค่ำ แล้วก็ตื่นไปโรงเรียน"

ท่ามกลางการฝึกซ้อมอย่างหนักในช่วงเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น เขากลายเป็นนักกีฬามวยสากลของโรงเรียน และเมื่อเรียนอยู่ชั้นมัธยมปีที่ 6 เขาได้ลงแข่งขันชกมวยสากลของกรมพลศึกษา และได้ตำแหน่งชนะเลิศในครั้งนั้น เขาบอกอย่างภาคภูมิใจถึงความสำเร็จว่าตัวเองเป็นคนแรกในรอบ 17 ปี ของโรงเรียนที่ได้เหรียญทองในกีฬานี้ และต่อมายังได้ขึ้นไปรับรางวัลจากผู้อำนวยการของโรงเรียน ต่อหน้านักเรียนคนอื่นๆ ที่หน้าเสาธง

การชกมวยยังทำให้นพฤทธิ์ได้โควตาช้างเผือกในการสมัครสอบเข้ามหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ระหว่างเรียน เขาได้เข้าชมรมมวยสากล และได้เป็นนักกีฬาของมหาวิทยาลัย โดยชกในรุ่นไลท์เวท น้ำหนักเกิน 57 กิโลกรัม แต่ไม่เกิน 60 กิโลกรัม

"ตอนนั้นชีวิตมหาวิทยาลัย ผมขึ้นต่อยทุกปี ตอนกลางวันเรียน ตอนหลังยังพยายามมาทำงานกลางคืนไปด้วย เพื่อหารายได้ ก็ทำให้เวลาซ้อมหายไปบ้าง เพราะพออยู่ปี 2 ก็ออกมาจากวัด ไปเช่าห้องอยู่เอง ทำให้ต้องดูแลตัวเอง อายุประมาณ 20 ปี ต้องจ่ายทุกอย่างเอง ทำงานหาเอง แต่ยังดีในส่วนค่าเทอม มีคุณอาช่วยส่ง"

นพฤทธิ์คะแนว่าตลอดชีวิตนักชกในช่วงมหาวิทยาลัย เขาขึ้นชกในไฟท์ที่เป็นทางการมากกว่า 10 ไฟท์ แต่ก็ไม่เคยได้แชมป์ในกีฬามหาวิทยาลัย เหมือนกับตอนได้แชมป์ตอนเป็นนักเรียน เขาบอกถึงแนวทางการชกของตัวเองว่าเป็นมวยขยัน ขยันฝึก ขยันต่อย แม้เทคนิคหรือแทคติกต่างๆ จะสู้คนอื่นไม่ค่อยได้

"สิ่งที่ได้จากการชกมวย คือมันช่วยฝึกสมาธิ ร่างกายแข็งแรงขึ้น และมันได้ฝึกความรู้สึกของตัวเอง คือผมรู้สึกว่า เวลาเรารู้สึกกลัว ก็มักจะแพ้ แต่ถ้าไม่กลัว ก็มักจะไม่แพ้ ตอนชกหลายครั้ง เวลารู้สึกกลัวเมื่อไร มักจะโดนน็อคทุกทีเลย"  นพฤทธิ์บอกถึงความรู้สึกที่เขามีต่อการชกมวยสากล

เมื่อเผชิญกับ "หมัดหนัก" ที่เรียกว่าคดีมาตรา 112

เช่นเดียวกับ "เด็กบ้านนอก" ผู้ดิ้นรนสร้างสถานะในชีวิต, นพฤทธิ์เริ่มหารายได้เลี้ยงตนเองตั้งแต่ยังอยู่ชั้นมหาวิทยาลัย โดยทำงานเป็นดีเจเปิดเพลงในร้านอาหาร เขาใช้เวลาเรียนเพียงสามปีครึ่งก็จบปริญญาตรี และได้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์ของสมเด็จพระเทพฯ ด้วย

ช่วงหลังเรียนจบจนถึงชีวิตการทำงาน นพฤทธิ์ได้ร้างลาจากสนามมวยไป และไม่มีวันคาดคิดว่า "สังเวียน" ใหม่ ที่เขาต้องขึ้นชกนั้น จะแตกต่างออกไปจากสังเวียนหมัดมวยที่เขาเคยชกโดยสิ้นเชิง

หลังจากเรียนจบ เขาก็ยังหารายได้จากงานเปิดเพลงมาอีกหลายปี ทั้งยังทำงานรับจ้างเป็นครูสอนสเก็ตน้ำแข็งให้กับเด็กๆ ในช่วงกลางวัน  ก่อนจะได้งานประจำเป็นพนักงานขายในบริษัทที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ตั้งแต่ช่วงปี 2556 ด้วยความสามารถภาษาอังกฤษที่ค่อนข้างดี ทำให้ได้อัตราเงินเดือนค่อนข้างสูง และเขายังทำงานเปิดเพลงในช่วงกลางคืนไปพร้อมกันด้วย

ในห้วงเวลานั้น นพฤทธิ์กลายเป็นความหวังและเสาหลักของครอบครัว เขาทำงานหนัก มีเงินส่งกลับบ้านให้พ่อและแม่ที่อุบลฯ ทุกๆ เดือน เขาวางแผนจะซื้อบ้านให้พ่อและแม่ใหม่ เขายังพบรักกับสาวชาวญี่ปุ่น ที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย อายุอ่อนกว่าตัวเอง 1 ปี หลังคบหาดูใจ ทั้งสองเลือกจะเริ่มต้นชีวิตคู่ด้วยกัน

ต้นเดือนมีนาคม 2558 เขาจัดงานแต่งงานกับภรรยาชาวญี่ปุ่น ในงานนั้นเอง รุ่นพี่จากชมรมมวยสากลนามว่า "วิเศษ" ได้เข้ามาแสดงความยินดีในงานมงคลสมรส และเกริ่นๆ ว่าจะชักชวนนพฤทธิ์ไปร่วมทำบุญ อันเป็นที่มาของเรื่องราวในคดีนี้

นพฤทธิ์เล่าถึงรุ่นพี่รายนี้ว่าเป็นรุ่นพี่ที่ "ซิ่ว" คือย้ายมาจากมหาวิทยาลัยอื่น และกลายมาเป็นคู่ฝึกซ้อมชกในชมรมมวยสากลของมหาวิทยาลัย โดยเขานับถือรุ่นพี่คนนี้ในฐานะที่ชกมวยเก่งกว่า เทคนิคดีกว่า แต่หลังจบการศึกษา ก็แทบไม่ได้พบกันอีก มีได้พบบ้างก็งานเลี้ยงรุ่นของชมรม แต่ก็นานๆ ที

ปลายเดือนมีนาคมปีนั้น เขายังเดินทางไปจัดงานแต่งงานกับภรรยาที่ประเทศญี่ปุ่น ก่อนกลับมาในช่วงต้นเดือนเมษายน หลังจากนั้น วิเศษได้โทรศัพท์มาชวนไปร่วมทำบุญที่จังหวัดกำแพงเพชร ในวันที่ 26 เม.ย. ทั้งยังเดินทางมาชักชวนด้วยตัวเองที่ร้านที่เขาทำงานอยู่เมื่อใกล้ถึงวันอีกด้วย โดยบอกเขาว่าไม่มีเพื่อนไปร่วมทำบุญ อยากให้ได้ทำบุญในหลังมงคลสมรส จนนพฤทธิ์ใจอ่อน และยินยอมไปเป็นเพื่อนด้วย

ก่อนหน้านั้น เขาไม่เคยแม้แต่ไปจังหวัดกำแพงเพชรมาก่อน ไม่รู้ว่าวัดที่จะไปว่าชื่ออะไร ไม่รู้ว่าเป็นการทำบุญในโอกาสอะไรของวัด และไม่เคยทราบเรื่องการไปแอบอ้างว่าเขาเป็น "หม่อมหลวง" กับทางวัด ระหว่างการไปร่วมทำบุญวันนั้น ก็ยังไม่ได้มีปัญหาใดๆ เกิดขึ้น  แต่ต่อมา วันที่เขาไปร่วม "ทำบุญ" วันนั้น จะกลับกลายเป็นวัน "พลิกเปลี่ยนชีวิต" เขาไปอย่างแทบจะสิ้นเชิง (ย้อนดูเรื่องราวในวันนั้นในรายงานข้างต้น)

ผ่านไปสามสี่เดือน นพฤทธิ์ยังใช้ชีวิตไปตามปกติ จนวันที่ 20 สิงหาคม 2558 นพฤทธิ์กับภรรยาไปจดทะเบียนสมรสที่เขตบางรัก พร้อมกับมีเพื่อนคนหนึ่งที่ไปร่วมเป็นสักขีพยานด้วย

ถัดจากนั้นเพียงวันเดียว เขาถูกเจ้าหน้าที่นำหมายจับไปแสดง ณ ที่ทำงาน โดยไม่เคยทราบมาก่อนว่ามีคดีและมีหมายจับ เขาถูกพาตัวไปที่จังหวัดกำแพงเพชรเป็นครั้งที่สอง แต่คราวนี้ไม่ได้ไปทำบุญ แต่กลับถูกกล่าวหาดำเนินคดีด้วยข้อหาหนักหน่วง และถูกคุมขังในเรือนจำของจังหวัดมานับแต่นั้น…

'สังเวียนใหม่อันยืดยาว' ในห้องพิจารณาคดี

จากคนที่ไม่รู้เรื่อง ไม่เคยศึกษาเรื่องคดีมาตรา 112 ไม่เคยคิดฝันว่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องลักษณะนี้ ไม่เคยรู้จักกระบวนการยุติธรรมเท่าไรนัก ไม่เคยเกี่ยวข้องกับสถานการณ์และความเปลี่ยนแปลงทาง "การเมือง"…ถึงวันนี้เขาต้องทำความรู้จักสิ่งเหล่านี้ โดยแลกด้วยอิสรภาพของตนเอง

หลังถูกจับกุมดำเนินคดี ครอบครัวของนพฤทธิ์เคยพยายามยื่นประกันตัวมาแล้วทั้งหมด 5 ครั้ง แต่ศาลไม่อนุญาตตลอดมา จนทั้งนพฤทธิ์และครอบครัวถอดใจ และเลือกจะต่อสู้คดีไปให้ถึงที่สุดภายใต้การถูกของจำ เพื่อพยายามจะพิสูจน์ "ความบริสุทธิ์" ของตนให้ได้

คดีนี้มีจำเลย 4 ราย ถูกส่งฟ้องต่อศาลกำแพงเพชรเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2558 ในข้อหาตามมาตรา 112 และข้อหาร่วมกันปลอมเอกสารราชการ นพฤทธิ์เป็นจำเลยที่ 4 โดยตัวเขารู้จักเพียงวิเศษ เพื่อนรุ่นพี่ ที่ถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ 3 เพียงคนเดียว แต่จำเลยร่วมอีกสองคน เขาไม่เคยรู้จักมาก่อน

นพฤทธิ์เคยระบายถึงความรู้สึกของการไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัวในระหว่างต่อสู้คดีเอาไว้ว่า "ผมเองก็ยังเป็นแค่คนที่ถูกกล่าวหา แต่กลับถูกปฏิบัติราวกับเป็นนักโทษ เหมือนผมถูกพิจารณาตัดสินไปแล้ว ทั้งที่ศาลยังไม่ได้ตัดสินเลย แต่เรากลับถูกคุมขังไว้ เวลาก็ผ่านไปทุกวัน สิ่งที่เราคิดไว้ แผนการในชีวิตต่างๆ ที่เคยวางไว้ อายุเท่าไรจะทำอะไร ที่เคยมองเห็น มันก็หายไป มองไม่เห็นแล้ว"

"วิเศษ" รุ่นพี่ของนพฤทธิ์ และ "กิตติภพ" จำเลยอีกรายหนึ่ง ต่อมายินยอมรับสารภาพ และศาลได้พิพากษาลงโทษจำคุกรวม 7 ปี 4 เดือน แต่ลดโทษกึ่งหนึ่งเพราะให้การรับสารภาพ เหลือโทษจำคุก 3 ปี 8 เดือน

การมีจำเลยร่วมในคดีให้การรับสารภาพ ทำให้ในส่วนของจำเลยที่ยังต่อสู้คดี ต้องรอให้อัยการโจทก์แยกสั่งฟ้องเป็นคดีใหม่เข้ามา และเริ่มต้นกระบวนการถามคำให้การใหม่ ซึ่งกินระยะเวลาเพิ่มเข้าไปอีก 3-4 เดือน

ต่อมา ศาลนัดเริ่มสืบพยานในคดีของจำเลยสองรายที่ยังต่อสู้คดีอยู่ ในเดือนพฤศจิกายน 2559 เป็นต้นมา แต่พอถึงเวลา ก็ต้องเลื่อนนัดออกไปอีก เนื่องจากอัยการได้มีการยื่นฟ้องคดีในข้อหาฉ้อโกงประชาชน เพิ่มเติมก่อนหน้าการสืบพยานเพียงไม่กี่วัน โดยอ้างว่าพนักงานสอบสวนเคยมีการแจ้งข้อหานี้ต่อผู้ต้องหาทั้งสี่คนมาตั้งแต่ชั้นสอบสวน แต่การทำสำนวนในข้อหาดังกล่าวไม่เสร็จสิ้น พยานหลักฐานยังไม่เพียงพอให้ส่งฟ้องคดี แต่เมื่อได้มีการสอบพยานเพิ่มเติมแล้ว จึงได้มีการสั่งฟ้องเข้ามา และขอให้ศาลพิจารณาร่วมกับคดีที่ฟ้องมาเดิม

การฟ้องข้อหาใหม่เข้ามา ทำให้ศาลต้องกลับมาถามคำให้การในข้อหานี้ของจำเลยทั้งสี่คนใหม่ เมื่อ "วิเศษ" และ "กิตติภพ" ให้การรับสารภาพเช่นเดิม ศาลพิพากษาให้ยกฟ้องคดี เนื่องจากศาลเห็นว่าเป็นความผิดจากการกระทำเดียวกันกับคดีมาตรา 112 ก่อนหน้านี้ และศาลได้พิพากษาลงโทษตามมาตรา 112 ที่มีโทษหนักที่สุดแก่จำเลยไปแล้ว จึงไม่ควรให้จำเลยต้องรับโทษอีก

ในส่วนนพฤทธิ์และอัษฎาภรณ์ ที่ยังยืนยันจะต่อสู้คดีในข้อหาที่ถูกกล่าวหาทั้งหมด ทำให้อัยการต้องแยกฟ้องคดีเข้ามาใหม่อีก ต้องถามคำให้การ ตรวจพยานหลักฐาน และนัดสืบพยานกันใหม่หมด กระบวนการกลับมาวนซ้ำ และทำให้คดีต้องล่าช้าออกไปอีกราว 8 เดือน กว่าจะมีนัดเริ่มสืบพยานอีกครั้ง ก็เดือนกรกฎาคม 2560

หลังจากคดียืดเยื้อยาวออกไป พ่อและพี่น้องคนอื่นๆ ของนพฤทธิ์ ก็ไม่ค่อยได้เดินทางจากอุบลราชธานีมาที่กำแพงเพชรเท่าไรนัก เนื่องจากใช้ระยะเวลาเดินทางนาน ไหนจะต้องมีค่าใช้จ่ายเรื่องที่พักอาศัย ค่ากินอยู่อื่นๆ ทั้งพ่อและแม่เองก็ยังมีปัญหาเรื่องสุขภาพ โดยพ่อมีช่วงที่ต้องเข้าผ่าตัดไส้เลื่อน ส่วนแม่ก็ต้องผ่าตัดเข่า ทั้งแม่ยังทำใจยอมรับสภาพการถูกคุมขังของลูกชายไม่ได้เลย มีเพียง "อภิชาติ" พี่ชายคนโต ที่ทำงานอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น ที่พอจะสะดวกเดินทางมาที่จังหวัดกำแพงเพชรได้บ้างในบางนัดของคดี และต้องเป็นคนคอยตอบคำถามญาติพี่น้องว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นกับนพฤทธิ์

"พ่อแกก็กังวล ถามทำไมมันนาน ทำไมไม่เสร็จซักที ไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร ขั้นตอนอย่างไร สืบพยานคืออะไร ส่วนแม่ยิ่งไม่เข้าใจเลย เราก็ต้องพยายามอธิบายด้วยภาษาของเราเอง ก็เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง อย่างผมเองก็มาศาลครั้งแรกในชีวิต เพราะคดีของน้องเหมือนกัน" อภิชาติ พี่ชายของนพฤทธิ์ เล่าถึงสถานการณ์ในครอบครัว

ภาวะถูก "ชก" ต่อเนื่อง จนหลังติดเชือก

กรกฎาคม 2560 การสืบพยานนัดแรกเพิ่งได้เริ่มต้นขึ้น หลังจากนพฤทธิ์ถูกคุมขังมาจวนจะครบ 2 ปีพอดี และเนื่องจากเป็นคดีค่อนข้างใหญ่ มีพยานจำนวนมาก และคิวนัดคดีของศาลค่อนข้างแน่น ทำให้มีการกำหนดระยะเวลาการสืบพยาน 20 นัด สืบได้ราวเดือนละ 2-4 นัด กำหนดนัดสืบจึงใช้ระยะเวลายาวไปจนถึงเดือนธันวาคม

"มีผู้ต้องขังที่เข้าออกจากเรือนจำสามครั้งแล้ว ในคดีทำผิดเล็กๆ น้อยๆ กลับมาก็ยังเจอผมอยู่ในเรือนจำทุกครั้ง เขาก็ถามว่าผมยังอยู่อีกหรือเนี่ย" เรื่องเล่านี้กลายเป็น "โจ๊ก" ที่ขำไม่ค่อยออก ที่นพฤทธิ์เล่าให้ฟัง

ภาวะที่ประเดประดังกันเข้ามา ยังทำให้ความอดทนในการรอคอยการต่อสู้คดีมีลดน้อยลง จนดูเหมือนจะกลายเป็นการถูกคู่ต่อสู้ชกอยู่ฝ่ายเดียวซ้ำๆ จนหลังพิงเชือก โดยเฉพาะเรื่องของภรรยา ที่ไม่เข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นกับเขา ทั้งอุปสรรคในเรื่องของภาษา ความซับซ้อนของทั้งเรื่องราวและกระบวนการในคดีที่เกิดขึ้น หลังจากมาเยี่ยมและมาที่ศาลในช่วงไม่กี่เดือนแรกของคดีอยู่ช่วงหนึ่ง หล่อนก็ค่อยๆ เงียบหายไป นพฤทธิ์ได้แต่บอกตัวเองว่าต้อง "ทำใจ" โดยไม่ได้ถือโทษโกรธอีกฝ่ายหนึ่ง

ขณะเดียวกัน "วิเศษ" เพื่อนรุ่นพี่ ภายหลังการลดหย่อนโทษให้นักโทษคดีถึงที่สุดในโอกาสวันสำคัญแล้ว ทำให้ได้รับโทษจำคุกจริงไปเป็นระยะเวลา 2 ปี กับ 1 เดือน และได้รับการปล่อยตัวไปเมื่อเดือนกันยายน 2560 ก่อนที่คดีของนพฤทธิ์จะสืบพยานแล้วเสร็จด้วยซ้ำ

ถ้าไม่ใช่คนใกล้ชิดสนิทสนม คงจะมีคำถามต่อนพฤทธิ์ไปแล้วว่า ทำไมเขาถึงไม่ยินยอมรับสารภาพ เมื่อการเลือกรับสารภาพน่าจะหมายถึงการรีบรับโทษ และสามารถได้รับการปลดปล่อยได้รวดเร็วกว่า ดีกว่าติดคุกไปเรื่อยๆ โดยไม่รู้กำหนดโทษ ไม่สามารถได้รับโอกาสการขออภัยโทษได้ ทั้งคดีอย่างมาตรา 112 จะมีใคร "สู้" ชนะสักกี่ราย

"ในสองสามปีที่ผ่านมา มีแว่บขึ้นมาในหัวบ้างว่าอยากออกไป อยากกลับบ้าน แต่ในใจไม่เคยคิดอยากรับสารภาพเลย แต่เพราะความยาวนานของมัน ทำให้มีคิดขึ้นมาในบางแว่บ โดยเฉพาะช่วงที่รู้สึกท้อ เช่น ช่วงที่เรือนจำบังคับให้ทำนู้นทำนี่เยอะๆ ทำให้คิดว่าถ้าได้อยู่ข้างนอกเราได้ทำอย่างที่อยากทำมากกว่านี้ แต่เมื่อคิดว่ายังไงเราก็ไม่ได้ทำผิดแบบนั้น เราก็ไม่เคยคิดรับสารภาพเลย"

นพฤทธิ์เล่าว่าส่วนหนึ่งที่ช่วยหล่อเลี้ยงการต่อสู้ของเขา คือการได้อ่านหนังสือในเรือนจำ เนื่องจากมีเวลาว่างพอสมควร ทำให้แต่ละวันเขาเข้าไปหยิบจับหนังสือในห้องสมุดของเรือนจำ แม้ส่วนใหญ่จะเป็นหนังสือเก่าหน่อย และมากกว่าครึ่งเป็นหนังสือธรรมะ

"อ่านไปเรื่อยๆ แทบหมดห้องสมุด โดยเฉพาะหนังสือธรรมะ ตอนแรกก็ไม่อ่าน แต่ส่วนใหญ่ในห้องสมุดมันเป็นหนังสือพวกนี้ บางท่อนบางข้อความของหนังสือพวกนี้ มันก็ช่วยให้เรารู้สึกสบายใจขึ้น ช่วยให้กลับมาสังเกตตัวเอง ว่ามีอะไรเข้ามาในความคิด ได้จับสังเกตตัวเอง จิตเราคิดไปเองแล้วทำให้เกิดทุกข์ เกิดความเครียด ก็พยายามว่าอย่าไปคิด พยายามไม่เผลอไปคิด แค่แน่วแน่ว่าเราต้องการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของเรา"

ข้างในเรือนจำ ในช่วงระยะปีแรก นพฤทธิ์ต้องทำงานทำอิฐบล็อก โดยใช้แบบบล็อกมาอัดดิน ต่อมาได้ทำงานเป็นผู้ล้างอ่างล้างมือ ตกบ่ายพอมีเวลาให้ได้อ่านหนังสือเข้าห้องสมุด ส่วนวันเสาร์อาทิตย์ก็มีเวลาให้ได้ออกกำลังโดยการยกดัมเบล เขาค่อยๆ ผอมลงจากสภาพในเรือนจำ

"สิ่งที่เลวร้ายที่สุดในเรือนจำ คือการมีผ้าห่มสามผืนในฤดูหนาว คือผืนที่ใช้ปูพื้น หนุนหัวนอน และห่มอีกหนึ่งผืน ไม่มีหมอนให้ ถ้าหนาวก็ไม่ไหว เสื้อหนาวมีแจกให้เป็นรายปี แต่หลายคนก็ไม่ได้รับ ทำให้ดึกๆ นอนไม่หลับเลย"

เขายังเคยคิดจะลงเรียนปริญญาตรีหรือปริญญาโทอีกสักใบ เพื่อใช้เวลาที่ต้องอยู่ในเรือนจำให้เกิดประโยชน์ แต่ก็พบว่าเรือนจำมีกฎระเบียบที่ให้เฉพาะผู้ต้องหาที่คดีถึงที่สุดแล้วเท่านั้น ที่จะลงทะเบียนเรียนได้ ทำให้ตัวเขาเองไม่สามารถลงเรียนปริญญาใดๆ ได้ กลายเป็นว่าสิทธิของผู้ต้องขังที่ยังไม่ถูกพิจารณาพิพากษานั้น มีน้อยกว่าผู้ต้องขังที่คดีสิ้นสุดแล้วเสียอีก

ถ้าหากเราเชื่อนพฤทธิ์ว่าเขาไม่ได้กระทำความผิดจริงและเป็นผู้บริสุทธิ์ แล้วย้อนมามองกระบวนการที่เกิดขึ้น ผู้ยืนยันต่อสู้คดียังคงติดคุกยืดยาวออกไป แต่ผู้รับสารภาพว่ากระทำความผิดได้รับการปล่อยตัวออกไปแล้ว ไม่ต้องเป็นนักกฎหมายหรือผู้เชี่ยวชาญ ก็เกิดคำถามขึ้นได้เช่นเดียวกัน ว่ามันต้องมีความผิดเพี้ยนอะไรสักอย่างในสิ่งที่ถูกเรียกว่า "กระบวนการยุติธรรม" …

 

เสียงระฆังหมดยก กับการรอคอย "คำตัดสิน"

"ต่อยมวยชิงแชมป์ ยังไม่รู้สึกตื่นเต้นขนาดนี้เลย" นั่นเป็นความรู้สึกภายหลังการขึ้นเบิกความในศาลของนพฤทธิ์ ในฐานะที่อ้างตนเองเป็นพยาน เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2560 วันท้ายๆ ของการสืบพยาน

วันนั้นเขาได้เบิกความบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับคดี…ที่ตัวเองเฝ้ารออยากบอกต่อศาลมานานนับสองปี พร้อมยืนยันต่อศาลว่าตัวเองไม่ได้กระทำความผิดใดๆ ตามที่มีการกล่าวหา

นพฤทธิ์บอกด้วยความโล่งใจหลังเบิกความเสร็จว่าจากพยานหลักฐานและสิ่งที่ได้ต่อสู้คดีไป เขาหวังว่าศาลจะเห็นว่าตนไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิด จนถึงตอนนี้สองปีเศษ แม้จะพยายามทำใจ และยอมรับการต่อสู้ในกระบวนการนี้แล้ว แต่ก็ยังรู้สึกตลอดว่ามันเนิ่นนานอยู่ดี

เมื่อถามถึงอนาคตถ้าหลุดพ้นคดี นพฤทธิ์บอกว่ายังต้องรอดูว่าบริษัทเดิมของเขายังยินดีรับกลับเข้าไปทำงานต่อหรือไม่ ในช่วงที่ถูกจองจำ บริษัทไม่ได้ไล่เขาออกและยังไม่ได้ให้พ้นสภาพจากการเป็นพนักงาน เพียงแต่ไม่จ่ายเงินเดือนให้ในช่วงที่ขาดงาน โดยบริษัทมีระเบียบว่าถ้าไม่ได้กระทำความผิดจริง ก็ยังยินดีจะรับกลับเข้าทำงาน

"คงกลับไปทำงานเก็บเงิน ตอนอยู่ข้างในเรือนจำนี้ มีการนำเอาเรื่องเกษตรไอดอลมาให้ดู มีเกษตรกรปลูกผักเอง เลี้ยงสัตว์เอง แต่ทำตลาด และขายได้ เราก็เกิดความสนใจ ออกไป อาจจะจับธุรกิจสักอย่าง แต่เรื่องครอบครัวนั้น ผมก็ยังไม่รู้อนาคตเลยเหมือนกัน"

ถึงวันนี้ การสืบพยานเสร็จสิ้นไปแล้ว คล้ายกับเสียงระฆังหมดยกดังขึ้นไปแล้ว ไม่มีฝ่ายใดออก "หมัด" ได้อีก อดีตนักมวยผู้ตกเป็นจำเลยรอคอยและจดจ่อไปที่ "คำพิพากษา" ของ "กรรมการ" ที่กำลังจะมาถึง

เมื่อเราถามว่าถ้าคำพิพากษาไม่เป็นอย่างที่คาดหวัง เขาจะทำอย่างไร

"ก็คิดว่าจะสู้ไปให้สุด เพราะตัดสินใจมาขนาดนี้แล้วว่าจะสู้" อดีตนักมวยคนหนึ่งคิดไว้เช่นนั้น

 

เผยแพร่ครั้งแรกใน: www.tlhr2014.com

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น