โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพฤหัสบดีที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ประธาน สนช.ไม่รู้สาเหตุ สนช. ไม่เห็นชอบว่าที่ กกต.ชุดใหม่ สมชัย ย้ำไม่กระทบโรดแมปเลือกตั้ง

Posted: 22 Feb 2018 10:17 AM PST

ที่ประชุม สนช.มีมติไม่เห็นชอบบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่ง กกต) ทั้ง 7 คน ประธาน สนช. ยังไม่รู้สาเหตุ ยันไม่กระทบโรดแมปการเลือกตั้ง พร้อมเตรียมเริ่มดำเนินการสรรหาใหม่ให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน สมชัย ชี้ สนช.ควรมีคำอธิบาย

22 ก.พ.2561 รายงานข่าวระบุว่า การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วันนี้ (22 ก.พ.) ใช้เวลาในการประชุมลับ ประมาณ 2 ชั่วโมงเพื่อพิจารณาผู้ได้รับการสรรหาเป็น กกต.ทั้ง 7 คน โดยได้มีการซักถามรายละเอียดจากคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งมี พล.อ.อู๊ด เบื้องบน เป็นประธาน

จากนั้นที่ประชุมได้ลงคะแนนลับในคูหา ปรากฎว่าไม่มีผู้ใดได้รับคะแนนเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกที่มีอยู่ 248 คน คือ 124 คะแนน เท่ากับผู้ที่ได้รับการสรรหาทั้ง 7 คนไม่ได้รับการเลือกเป็น กกต. คือ 1. ฐากร ตัณฑสิทธิ์ ได้คะแนนเห็นชอบ 27  คะแนน ไม่เห็นชอบ 156 คะแนน งดออกเสียง 18 คะแนน  2. ประชา เตรัตน์ ได้คะแนนเห็นชอบ 57 คะแนน ไม่เห็นชอบ 125 คะแนน งดออกเสียง 19 คะแนน 3. เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ ได้คะแนนเห็นชอบ 10 คะแนน ไม่เห็นชอบ 175 คะแนน งดออกเสียง 15 คะแนน  4. ชมพรรณ์ พงษ์เจริญ สุธีรชาติ ได้คะแนนเห็นชอบ 16 คะแนน ไม่เห็นชอบ 168 คะแนน งดออกเสียง 17 คะแนน  5. อิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์ เห็นชอบ 30 คะแนน ไม่เห็นชอบ 149 คะแนน งดออกเสียง 22 คะแนน 6. ฉัตรไชย จันทร์พรายศรี ได้คะแนนเห็นชอบ 46 คะแนน ไม่เห็นชอบ 128 คะแนน งดออกสียง 27 คะแนน  และ 7. ปกรณ์ มหรรณพ ได้คะแนนเห็นชอบ 41 คะแนน ไม่เห็นชอบ 130 คะแนน งดออกเสียง 30 คะแนน

ประธาน สนช.ไม่รู้สาเหตุ สนช. มีมติไม่เห็นชอบว่าที่ กกต.ชุดใหม่ 

ขณะที่ พรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. แถลงภายหลังที่ประชุม สนช.มีมติไม่เห็นชอบบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่ง กกต) ทั้ง 7 คน ว่า เบื้องต้นยังไม่ทราบสาเหตุที่ สนช.ไม่เห็นชอบ ซึ่งการลงคะแนนเป็นเอกสิทธิ์ของสมาชิกแต่ละคน พร้อมยืนยันว่า จะไม่มีผลกระทบต่อโรดแมปการเลือกตั้งอย่างแน่นอน เพราะ กกต. ชุดปัจจุบัน ยังคงรักษาการสามารถทำหน้าที่ต่อได้ ทั้งนี้ไม่มีการส่งสัญญาณใด ๆ จากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต่อการลงมติดังกล่าว โดยหลังจากนี้ เลขาธิการวุฒิสภา จะทำหนังสือเชิญประธานศาลฎีกา มาดำเนินการสรรหาใหม่ให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน นับจากนี้ โดยใช้คณะกรรมการสรรหาชุดเดิม

ประธานสภา สนช. กล่าวด้วยว่า ในฐานะที่ตนเป็นหนึ่งในคณะกรรมการสรรหาฯ ยืนยันว่า ได้พิจารณาอย่างดีที่สุดภายใต้กรอบของบุคคลที่มีคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย อย่างไรก็ตามยอมรับว่า ยังรู้สึกหนักใจ เพราะอยากให้ผู้ที่มีจริยธรรมที่ดี มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดมาสมัครกันให้มาก ดังนั้นจึงอาจมีการเสนอต่อคณะกรรมการสรรหาที่จะทำการสรรหาใหม่ขยายระยะเวลาการรับสมัครให้มากขึ้น และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์คุณลักษณะที่เหมาะสมต่อการเป็น กกต.ให้ผู้สนใจอื่น ๆ ได้รับทราบ เพราะจากการสมัครที่ผ่านมาเห็นได้ว่า มีเพียงข้าราชการ และอดีตข้าราชการที่มาสมัครเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่เจอหลักเกณฑ์คุณสมบัติที่ค่อนข้างเข้มข้น อาทิ ต้องเป็นอธิบดี 5 ปีขึ้นไป หรือเป็นศาสตราจารย์ 5 ปีขึ้นไป ทำให้ผู้ที่มีคุณสมบัติหลักที่จะเข้ารับการสรรหาถูกตัดสิทธิ์ เพราะขาดคุณสมบัติดังกล่าวเป็นจำนวนมาก แต่รัฐธรรมนูญก็ได้เปิดโอกาสให้ผู้มีคุณสมบัติอื่นๆ อย่างผู้ประกอบวิชาชีพอิสระสามารถสมัครเข้าเป็น กกต.ได้ เพียงแต่ต้องมีการประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น จึงได้มอบนโยบายให้กับเลขาธิการวุฒิสภาไปดำเนินการเรื่องดังกล่าวเพิ่มเติม ต่อข้อถามว่าการรสรรหาครั้งหน้าคณะกรรมการสรรหาฯ จะใช้วิธีการเชิญบุคคลที่มีคุณสมบัติตามกฎหมายมาสมัครหรือไม่ ประธาน สนช.ยอมรับว่า ยังไม่กล้าดำเนินการเช่นนั้น แต่จะเน้นเป็นการเชิญชวนให้ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนมาเข้ารับสรรหามากกว่า และจะต้องปรับปรุงวิธีการสรรหาบุคคลที่ดีมาให้ได้ 

สมชัย ย้ำไม่มี กกต.ใหม่ ไม่กระทบโรดแมปเลือกตั้ง

สมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. (ชุดปัจจุบัน) กล่าวถึงมติ ดังกล่าวว่า สนช.ควรมีคำอธิบายว่าผู้สมัครทั้ง 7 คน มีปัญหาเรื่องใด จะได้เป็นประโยชน์ต่อคณะกรรมการสรรหาและที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาที่จะต้องดำเนินกระบวนการสรรหาใหม่ เพื่อที่จะได้รู้ว่ามีจุดอ่อนใด เพราะถ้าไม่มีเหตุผลเลย ก็จะเป็นปัญหาต่อกระบวรการสรรหาในครั้งหน้าได้ 

สมชัย กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม การสรรหาใหม่คงต้องใช้เวลา 5-6 เดือนกว่าจะมี กกต.ใหม่ แต่ก็ไม่ได้ก่อให้เกิดผลกระทบใดต่อโรดแมปการเลือกตั้ง เพราะ กกต.ชุดปัจจุบันยังคงทำหน้าที่ต่อไป ยกเว้นว่าจะมี กกต.ลาออก 2 คน ซึ่งจะทำให้เหลือองค์ประชุมแค่ 3 คน ซึ่งจะไม่สามารถพิจารณเรื่องสำคัญต่าง ๆ ได้ ประกอบกับในเดือนกรกฎาคมนี้ นายบุญส่ง น้อยโสภณ กกต.จะมีอายุครบ 70 ปี ซึ่งตามรัฐธรรมนูญจะต้องพ้นจากตำแหน่งทันที เว้นแต่มีคำสั่ง คสช.ให้อยู่ปฎิบัติหน้าที่ต่อไป เหมือนที่ คสช.มีคำสั่งให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดที่ครบวาระไปแล้ว อยู่ดำรงตำแหน่งต่อไปจนว่าจะมีชุดใหม่ ซึ่งก็ไม่รู้ว่า คสช.จะมีความเห็นอย่างไร และไม่สามาถยืนยันได้ว่าจะมี กกต.คนใดลาออกหรือไม่
 
"ถ้านับไป 6 เดือนจากนี้ ก็จะเป็นช่วงเดือนกรกฎาคม ซึ่งก็จะล้ำเข้าไปในโซนของการเลือกตั้งท้องถิ่น ถ้ามีจริงอย่างที่รัฐบาลตั้งใจจะให้มีขึ้น ซึ่งก็จะค่อนข้างมีปัญหา เพราะการรับมอบงานอาจไม่ราบรื่น ขณะเดียวกัน กกต.ชุดปัจจุบันก็อาจจะต้องคิดหนักว่าการที่ตัวเองต้องเข้าไปรับผิดชอบการเลือกตั้งท้องถิ่นจะเหมาะสมหรือไม่ เพราะไมได้เป็นตัวจริง แล้วถ้าพิจารณาเรื่องร้องเรียนไปจนเกิดเป็นปัญหาคดีความที่ต้องไปขึ้นศาลในฐานะส่วนบุคคล เมื่อพ้นจากตำแหน่ง จะรับไหวหรือไม่ เพราะไม่ใช่เรื่องสนุกของคนทำงาน ที่เมื่อออกจากงานแล้วต้องไปขึ้นศาลในนามของบุคคล" สมชัย กล่าว
 
สมชัย กล่าวอีกว่า งานของ กกต.ที่จะต้องดำเนินต่อไป แม้จะยังไม่มี กกต.ใหม่ ก็ต้องดำเนินการ ซึ่งมีจำนวนมาก เช่น ในเดือนมีนาคม ต้องมีการเตรียมการสำหรับการจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ เดือนเมษายนก็เป็นการดำเนินการของพรรคกาเรมืองเก่า และยังจะต้องเตรียมการเลือกตั้งท้องถิ่น ถ้าจะเกิดขึ้นจะต้องมีการแบ่งเขต
 
"จริง ๆ ไม่ได้คิดเลยว่าผลการลงมติจะเป็นเช่นนี้ ส่วนตัวผมอยากให้ได้ กกต.ใหม่เร็ว ๆ เพื่อที่จะได้มีเวลาในการเตรียมการต่าง ๆ ให้มากที่สุด เพราะอย่างไรเราก็ต้องไปอยู่แล้ว การที่เขามาช้า จะทำให้เขามีเวลาในการเตรียมการไม่มาก แล้วต้องมาจัดการเลือกตั้ง ซึ่งไม่เป็นผลดีจริง ๆ วันนี้จึงอยากให้ได้ กกต.ใหม่ เพราะงานของ กกต.ไม่ใช่เรื่อง่าย ๆ อย่างที่หลายคนคิดว่าให้สำนักงานทำงาน แล้ว กกต.เป็นเพียงผู้กำกับดูแล  ถ้า กกต.ไม่รอบคอบ ไม่รู้เรื่อง แล้วปล่อยให้สำนักงานทำ ก็จะเสียหายหลายเรื่อง ซึ่ง 4 ปีที่ผมอยู่ ไม่ใช่เข้ามาแล้วทำงานได้ทันที ผมยังต้องเข้ามาเรียนรู้อยู่หลายปี ถึงวันนี้เรียนมา 4 ปีก็ยังรู้ไม่หมดเลย" สมัชย กล่าว
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประธาน สนช.ไม่รู้สาเหตุ สนช. ไม่เห็นชอบว่าที่ กกต.ชุดใหม่ สมชัย ย้ำไม่กระทบโรดแมปเลือกตั้ง

Posted: 22 Feb 2018 10:17 AM PST

ที่ประชุม สนช.มีมติไม่เห็นชอบบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่ง กกต) ทั้ง 7 คน ประธาน สนช. ยังไม่รู้สาเหตุ ยันไม่กระทบโรดแมปการเลือกตั้ง พร้อมเตรียมเริ่มดำเนินการสรรหาใหม่ให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน สมชัย ชี้ สนช.ควรมีคำอธิบาย

22 ก.พ.2561 รายงานข่าวระบุว่า การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วันนี้ (22 ก.พ.) ใช้เวลาในการประชุมลับ ประมาณ 2 ชั่วโมงเพื่อพิจารณาผู้ได้รับการสรรหาเป็น กกต.ทั้ง 7 คน โดยได้มีการซักถามรายละเอียดจากคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งมี พล.อ.อู๊ด เบื้องบน เป็นประธาน

จากนั้นที่ประชุมได้ลงคะแนนลับในคูหา ปรากฎว่าไม่มีผู้ใดได้รับคะแนนเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกที่มีอยู่ 248 คน คือ 124 คะแนน เท่ากับผู้ที่ได้รับการสรรหาทั้ง 7 คนไม่ได้รับการเลือกเป็น กกต. คือ 1. ฐากร ตัณฑสิทธิ์ ได้คะแนนเห็นชอบ 27  คะแนน ไม่เห็นชอบ 156 คะแนน งดออกเสียง 18 คะแนน  2. ประชา เตรัตน์ ได้คะแนนเห็นชอบ 57 คะแนน ไม่เห็นชอบ 125 คะแนน งดออกเสียง 19 คะแนน 3. เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ ได้คะแนนเห็นชอบ 10 คะแนน ไม่เห็นชอบ 175 คะแนน งดออกเสียง 15 คะแนน  4. ชมพรรณ์ พงษ์เจริญ สุธีรชาติ ได้คะแนนเห็นชอบ 16 คะแนน ไม่เห็นชอบ 168 คะแนน งดออกเสียง 17 คะแนน  5. อิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์ เห็นชอบ 30 คะแนน ไม่เห็นชอบ 149 คะแนน งดออกเสียง 22 คะแนน 6. ฉัตรไชย จันทร์พรายศรี ได้คะแนนเห็นชอบ 46 คะแนน ไม่เห็นชอบ 128 คะแนน งดออกสียง 27 คะแนน  และ 7. ปกรณ์ มหรรณพ ได้คะแนนเห็นชอบ 41 คะแนน ไม่เห็นชอบ 130 คะแนน งดออกเสียง 30 คะแนน

ประธาน สนช.ไม่รู้สาเหตุ สนช. มีมติไม่เห็นชอบว่าที่ กกต.ชุดใหม่ 

ขณะที่ พรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. แถลงภายหลังที่ประชุม สนช.มีมติไม่เห็นชอบบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่ง กกต) ทั้ง 7 คน ว่า เบื้องต้นยังไม่ทราบสาเหตุที่ สนช.ไม่เห็นชอบ ซึ่งการลงคะแนนเป็นเอกสิทธิ์ของสมาชิกแต่ละคน พร้อมยืนยันว่า จะไม่มีผลกระทบต่อโรดแมปการเลือกตั้งอย่างแน่นอน เพราะ กกต. ชุดปัจจุบัน ยังคงรักษาการสามารถทำหน้าที่ต่อได้ ทั้งนี้ไม่มีการส่งสัญญาณใด ๆ จากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต่อการลงมติดังกล่าว โดยหลังจากนี้ เลขาธิการวุฒิสภา จะทำหนังสือเชิญประธานศาลฎีกา มาดำเนินการสรรหาใหม่ให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน นับจากนี้ โดยใช้คณะกรรมการสรรหาชุดเดิม

ประธานสภา สนช. กล่าวด้วยว่า ในฐานะที่ตนเป็นหนึ่งในคณะกรรมการสรรหาฯ ยืนยันว่า ได้พิจารณาอย่างดีที่สุดภายใต้กรอบของบุคคลที่มีคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย อย่างไรก็ตามยอมรับว่า ยังรู้สึกหนักใจ เพราะอยากให้ผู้ที่มีจริยธรรมที่ดี มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดมาสมัครกันให้มาก ดังนั้นจึงอาจมีการเสนอต่อคณะกรรมการสรรหาที่จะทำการสรรหาใหม่ขยายระยะเวลาการรับสมัครให้มากขึ้น และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์คุณลักษณะที่เหมาะสมต่อการเป็น กกต.ให้ผู้สนใจอื่น ๆ ได้รับทราบ เพราะจากการสมัครที่ผ่านมาเห็นได้ว่า มีเพียงข้าราชการ และอดีตข้าราชการที่มาสมัครเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่เจอหลักเกณฑ์คุณสมบัติที่ค่อนข้างเข้มข้น อาทิ ต้องเป็นอธิบดี 5 ปีขึ้นไป หรือเป็นศาสตราจารย์ 5 ปีขึ้นไป ทำให้ผู้ที่มีคุณสมบัติหลักที่จะเข้ารับการสรรหาถูกตัดสิทธิ์ เพราะขาดคุณสมบัติดังกล่าวเป็นจำนวนมาก แต่รัฐธรรมนูญก็ได้เปิดโอกาสให้ผู้มีคุณสมบัติอื่นๆ อย่างผู้ประกอบวิชาชีพอิสระสามารถสมัครเข้าเป็น กกต.ได้ เพียงแต่ต้องมีการประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น จึงได้มอบนโยบายให้กับเลขาธิการวุฒิสภาไปดำเนินการเรื่องดังกล่าวเพิ่มเติม ต่อข้อถามว่าการรสรรหาครั้งหน้าคณะกรรมการสรรหาฯ จะใช้วิธีการเชิญบุคคลที่มีคุณสมบัติตามกฎหมายมาสมัครหรือไม่ ประธาน สนช.ยอมรับว่า ยังไม่กล้าดำเนินการเช่นนั้น แต่จะเน้นเป็นการเชิญชวนให้ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนมาเข้ารับสรรหามากกว่า และจะต้องปรับปรุงวิธีการสรรหาบุคคลที่ดีมาให้ได้ 

สมชัย ย้ำไม่มี กกต.ใหม่ ไม่กระทบโรดแมปเลือกตั้ง

สมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. (ชุดปัจจุบัน) กล่าวถึงมติ ดังกล่าวว่า สนช.ควรมีคำอธิบายว่าผู้สมัครทั้ง 7 คน มีปัญหาเรื่องใด จะได้เป็นประโยชน์ต่อคณะกรรมการสรรหาและที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาที่จะต้องดำเนินกระบวนการสรรหาใหม่ เพื่อที่จะได้รู้ว่ามีจุดอ่อนใด เพราะถ้าไม่มีเหตุผลเลย ก็จะเป็นปัญหาต่อกระบวรการสรรหาในครั้งหน้าได้ 

สมชัย กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม การสรรหาใหม่คงต้องใช้เวลา 5-6 เดือนกว่าจะมี กกต.ใหม่ แต่ก็ไม่ได้ก่อให้เกิดผลกระทบใดต่อโรดแมปการเลือกตั้ง เพราะ กกต.ชุดปัจจุบันยังคงทำหน้าที่ต่อไป ยกเว้นว่าจะมี กกต.ลาออก 2 คน ซึ่งจะทำให้เหลือองค์ประชุมแค่ 3 คน ซึ่งจะไม่สามารถพิจารณเรื่องสำคัญต่าง ๆ ได้ ประกอบกับในเดือนกรกฎาคมนี้ นายบุญส่ง น้อยโสภณ กกต.จะมีอายุครบ 70 ปี ซึ่งตามรัฐธรรมนูญจะต้องพ้นจากตำแหน่งทันที เว้นแต่มีคำสั่ง คสช.ให้อยู่ปฎิบัติหน้าที่ต่อไป เหมือนที่ คสช.มีคำสั่งให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดที่ครบวาระไปแล้ว อยู่ดำรงตำแหน่งต่อไปจนว่าจะมีชุดใหม่ ซึ่งก็ไม่รู้ว่า คสช.จะมีความเห็นอย่างไร และไม่สามาถยืนยันได้ว่าจะมี กกต.คนใดลาออกหรือไม่
 
"ถ้านับไป 6 เดือนจากนี้ ก็จะเป็นช่วงเดือนกรกฎาคม ซึ่งก็จะล้ำเข้าไปในโซนของการเลือกตั้งท้องถิ่น ถ้ามีจริงอย่างที่รัฐบาลตั้งใจจะให้มีขึ้น ซึ่งก็จะค่อนข้างมีปัญหา เพราะการรับมอบงานอาจไม่ราบรื่น ขณะเดียวกัน กกต.ชุดปัจจุบันก็อาจจะต้องคิดหนักว่าการที่ตัวเองต้องเข้าไปรับผิดชอบการเลือกตั้งท้องถิ่นจะเหมาะสมหรือไม่ เพราะไมได้เป็นตัวจริง แล้วถ้าพิจารณาเรื่องร้องเรียนไปจนเกิดเป็นปัญหาคดีความที่ต้องไปขึ้นศาลในฐานะส่วนบุคคล เมื่อพ้นจากตำแหน่ง จะรับไหวหรือไม่ เพราะไม่ใช่เรื่องสนุกของคนทำงาน ที่เมื่อออกจากงานแล้วต้องไปขึ้นศาลในนามของบุคคล" สมชัย กล่าว
 
สมชัย กล่าวอีกว่า งานของ กกต.ที่จะต้องดำเนินต่อไป แม้จะยังไม่มี กกต.ใหม่ ก็ต้องดำเนินการ ซึ่งมีจำนวนมาก เช่น ในเดือนมีนาคม ต้องมีการเตรียมการสำหรับการจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ เดือนเมษายนก็เป็นการดำเนินการของพรรคกาเรมืองเก่า และยังจะต้องเตรียมการเลือกตั้งท้องถิ่น ถ้าจะเกิดขึ้นจะต้องมีการแบ่งเขต
 
"จริง ๆ ไม่ได้คิดเลยว่าผลการลงมติจะเป็นเช่นนี้ ส่วนตัวผมอยากให้ได้ กกต.ใหม่เร็ว ๆ เพื่อที่จะได้มีเวลาในการเตรียมการต่าง ๆ ให้มากที่สุด เพราะอย่างไรเราก็ต้องไปอยู่แล้ว การที่เขามาช้า จะทำให้เขามีเวลาในการเตรียมการไม่มาก แล้วต้องมาจัดการเลือกตั้ง ซึ่งไม่เป็นผลดีจริง ๆ วันนี้จึงอยากให้ได้ กกต.ใหม่ เพราะงานของ กกต.ไม่ใช่เรื่อง่าย ๆ อย่างที่หลายคนคิดว่าให้สำนักงานทำงาน แล้ว กกต.เป็นเพียงผู้กำกับดูแล  ถ้า กกต.ไม่รอบคอบ ไม่รู้เรื่อง แล้วปล่อยให้สำนักงานทำ ก็จะเสียหายหลายเรื่อง ซึ่ง 4 ปีที่ผมอยู่ ไม่ใช่เข้ามาแล้วทำงานได้ทันที ผมยังต้องเข้ามาเรียนรู้อยู่หลายปี ถึงวันนี้เรียนมา 4 ปีก็ยังรู้ไม่หมดเลย" สมัชย กล่าว
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สปสช.แจงกรณีผู้ป่วยถูกเรียกเงินอยู่ระหว่างรอผลพิจารณาเข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤติหรือไม่

Posted: 22 Feb 2018 09:18 AM PST

ย้ำการใช้สิทธิเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ มีสิทธิทุกที่ ระบุเมื่อผู้ป่วยถูกส่งตัวด้วยอาการฉุกเฉินไปที่ รพ.นอกเครือข่าย ทาง รพ.จะทำการประเมินคัดแยกหากเข้าเกณฑ์ ก็ดำเนินการตามขั้นตอนและส่งเรื่องเบิกจ่ายมาที่ สปสช.

ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ ผู้ช่วยเลขาธิการและโฆษกสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) 

22 ก.พ.2561 รายงานข่าวแจ้งว่า ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ ผู้ช่วยเลขาธิการและโฆษกสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงกรณีโลกโซเชียลแชร์ข้อความการใช้สิทธิเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติของผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติรายหนึ่งที่ถูกประเมินว่าไม่เข้าเกณฑ์และต้องจ่ายค่ารักษา 7-8 แสนบาทเอง ซึ่งญาติไม่เห็นด้วยกับการผลการประเมินว่า การใช้สิทธิเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ มีสิทธิทุกที่ หรือ UCEP ของผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินั้น ตามระบบเมื่อผู้ป่วยถูกส่งตัวด้วยอาการฉุกเฉินไปที่ รพ.นอกเครือข่าย ทาง รพ.จะทำการประเมินคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินโดยแจ้งอาการไปที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ว่าอาการนี้เข้าเกณฑ์วิกฤติฉุกเฉินตามนโยบายนี้หรือไม่ หากผลประเมินว่าเข้าเกณฑ์ ก็ดำเนินการตามขั้นตอนและส่งเรื่องเบิกจ่ายมาที่ สปสช.โดย สปสช.จะดำเนินการเบิกจ่ายภายใน 30 วัน แต่หากผลประเมินอาการแล้ว ทาง สพฉ.ระบุว่าไม่เข้าเกณฑ์ก็ไม่สามารถใช้สิทธิเบิกจ่ายได้

"ในกรณีนี้เมื่อ สปสช.ได้รับเรื่องจากญาติผู้ป่วยผ่านสายด่วน สปสช. 1330 ทางเจ้าหน้าที่ได้รับเรื่องและดำเนินการตามระบบ พร้อมทั้งแจ้งให้ญาติผู้ป่วยส่งคำร้องอุทธรณ์ไปที่ UCEP Center ของ สพฉ.แล้ว ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของ สพฉ.ว่าจะเข้าเกณฑ์เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติหรือไม่ หากเข้าเกณฑ์ ก็ทำเรื่องเบิกจ่ายมาที่ สปสช.ตามกระบวนการได้เลย" ทพ.อรรถพร กล่าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ร้อง กก.อุดมศึกษา เปิดพื้นที่ มหา'ลัย ให้ ปชช. ได้จัดกิจกรรม-แสดงออก

Posted: 22 Feb 2018 05:39 AM PST

เครือข่ายผู้มีความห่วงใยในบทบาทของสถานศึกษาต่อสังคม ร้องคณะกรรมการการอุดมศึกษา เปิดพื้นที่มหาวิทยาลัยห้เป็นไปตามพันธกิจของการส่งเสริมประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน โดยการอำนวยความสะดวกและปกป้องประชาชนผู้แสดงออกซึ่งความคิดเห็นโดยสุจริต 
 
 
"รวมพลคนอยากเลือกตั้ง" หน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่เมื่อ 14 ก.พ.ที่ผ่านมา
 
จากรณีที่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ไม่อนุญาต ให้เครือข่าย People Go Network  ใช้พื้นที่ภายมหาวิทยาลัย เพื่อจัดกิจกรรมเสวนาวิชาการ ที่เกี่ยวกับการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 17 ก.พ. ที่ผ่านมานั้น 
 
ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจาก ผู้ประสานงาน เครือข่ายผู้มีความห่วงใยในบทบาทของสถานศึกษาต่อสังคม ว่า วันนี้ เมื่อเวลา 13.00 น. ที่ผ่านมา ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา  เขตราชเทวี กรุงเทพฯ เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช ตัวแทนเครือข่ายฯ ซึ่งประกอบด้วย คณาจารย์ บุคคลการมหาวิทยาลัย และนักศึกษา ร่วมเข้าชื่อกัน 92 คน เข้ายื่นจดหมายเปิดผนึกถึงประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, และประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย เรื่องขอให้กำกับ ดูแล และติดตามการทำหน้าที่ของมหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามเจตนารมณ์แห่ง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติโดยอำนวยความสะดวกและปกป้องประชาชนผู้แสดงความคิดเห็นโดยสุจริต โดยมี วันนี นนท์ศิริ ผอ.สำนักอำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นตัวแทนรับจดหมายดังกล่าว
 
จดหมายเปิดผนึกได้เรียกร้องให้ผู้ที่รับผิดชอบดำเนินการ กำกับ ดูแล และติดตามการทำหน้าที่ของมหาวิทยาลัย ให้เป็นไปตามพันธกิจของการส่งเสริมประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน โดยการอำนวยความสะดวกและปกป้องประชาชนผู้แสดงออกซึ่งความคิดเห็นโดยสุจริต ตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 มาตรา 7 ที่กำหนดให้กระบวนการเรียนรู้ต้อง "มุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์" และตามข้อเสนอวาระแห่งชาติ: สิทธิมนุษยชนร่วมขับเคลื่อน Thailand 4.0 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งครอบคลุมแนวทางขับเคลื่อนตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2557-2561) ที่กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศพร้อมให้ความร่วมมือ สนับสนุน และดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง (หนังสือกระทรวงศึกษาธิการ ด่วนที่สุด ที่ ศธ 0208/4864 ลงวันที่ 8 พ.ย. 2560) และโดยเฉพาะอย่างยิ่งตามรัฐธรรมนูญ 2560
 
สำหรับเหตุผลของการเข้ายื่นจดหมายเปิดผนึกครั้งนี้สืบเนื่องมาจากช่วงที่ผ่านมามีเหตุการณ์ที่ประชาชนขอใช้พื้นที่ภายในบางมหาวิทยาลัยเพื่อจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตย แต่ปรากฏว่าทางมหาวิทยาลัยไม่ได้เอื้ออำนวยให้ประชาชนได้ใช้พื้นที่เพื่อทำกิจกรรมดังกล่าวนั้น เช่น กรณีการจัดกิจกรรมเมื่อวันที่ 17 ก.พ.ที่ผ่านมา โดยชมรมนักศึกษาเพื่อการพัฒนา (ชนพ.) ร่วมกับเครือข่ายประชาชน People Go Network จัดกิจกรรม "เวทีวัฒนธรรมและวิชาการ ครั้งที่ 4: We Walk เดินมิตรภาพ - รัฐธรรมนูญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา" ณ เวทีกิจกรรมองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ถูกยกเลิกการใช้สถานที่อย่างกะทันหัน และกรณีวันที่ 14 ก.พ.ที่ผ่านมา ได้มีกลุ่มผู้จัดกิจกรรมบริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งแม้จะทำหนังสือแจ้งจัดชุมนุมสาธารณะตามกฎหมาย พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 มาตรา 10 แล้ว แต่ได้มีการแจ้งความแก่ผู้เข้าร่วมชุมนุมที่หน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในข้อหา "รวมตัวกันมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมืองที่มีจำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป เพื่อเรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ" ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 3/2558
 
เอกพันธุ์ เปิดเผยกับประชาไทเพิ่มเติม ว่าเนื่องจากช่วงหลังมีความไร้เหตุผลมากขึ้นในการยุติกิจกรรม จึงมีความเห็นว่าต้องเรียกร้องให้มีนโยบายให้มหาวิทยาลัยต่างๆ ทำตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติในเรื่องของสิทธิมนุษยชนและการเปิดพื้นที่ให้โอกาสประชาชนมาแสดงออกต่างๆ บนพื้นฐานของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิมนุษยชน
 
"กิจกรรมที่จะทำให้เห็นว่าประชาชนควรจะมีส่วนร่วมทางการเมืองจะต้องมีมากขึ้น เพราะว่าแน่นอน คสช. ก็คงไม่ได้อยู่จนชั่วกัลปาวสาน ก็กำลังจะเดินหน้าสู่การเลือกตั้ง เพราะฉะนั้นการรณรงค์การให้ความรู้หรืออะไรต่างๆ มันก็จะมีมากขึ้น มหาวิทยาลัยในประเทศไทยยังไม่เปลี่ยนทัศนคติ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยยังไม่เปลี่ยนทัศนคติที่จะไม่ยอมให้เกิดการจัดกิจกรรมขึ้น ปัญหามันก็จะมีขึ้นตลอดทางจนถึงการเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ มันจะทำให้บรรยากาศในการเปลี่ยนผ่านมันก็จะแย่ลงทุกวัน" เอกพันธ์ุ กล่าว
 
สำหรับกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ออกมากล่าวถึงนักวิชาการอาจารย์ที่ออกมาสนับสนุนการเคลื่อนไหวทางการเมืองของนักศึกษาให้ดูบทเรียนความรุนแรงในต่างประเทศนั้น  เอกพันธ์ุ ซึ่งเป็นนักวิชาการด้านสันติศึกษา กล่าวว่า การเปลี่ยนผ่านที่เป็นความรุนแรงนั้น จุดเริ่มต้นไม่ได้เกิดจากการเคลื่อนไหวของชุมชนหรือประชาชน แต่เกิดขึ้นจากผู้ที่ยึดครองอำนาจไม่ยอมปล่อยอำนาจออกไป และอยากจะยึดอำนาจในระยะยาว จึงเกิดการเปลี่ยนผ่านที่ไม่งาม 
 
"เมืองไทยถ้าเกิดการรัฐประหารและพยายามสานต่อ พยายามจะอยู่ยาว พยายามที่จะรวบอำนาจไว้หรืออะไรก็แล้วแต่อันนั้นแทบจะลงแย่ทุกครั้ง" เอกพันธ์ุ กล่าว 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กลุ่มนร.บัณฑิตศึกษา SOC-ANP เรียกร้องให้ยุติฟ้องคดีคนอยากเลือกตั้งที่เชียงใหม่

Posted: 22 Feb 2018 04:02 AM PST

กลุ่มนักเรียนสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรียกร้องเจ้าหน้าที่รัฐยุติการคุกคามเสรีภาพของนักศึกษาและประชาชน ยุติการฟ้องคดี "รวมพลคนอยากเลือกตั้ง" เพราะคำสั่งหัวหน้า คสช. 3/2558 ไม่ชอบธรรมมาตั้งแต่แรก

"รวมพลคนอยากเลือกตั้ง" หน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่เมื่อ 14 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

กลุ่มนักเรียนสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ออกแถลงการณ์ "หยุดใช้อำนาจในทางมิชอบ ยุติการดำเนินคดีความ หยุดคุกคามนักศึกษาและประชาชน" เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่รัฐหยุดคุกคามเสรีภาพของนักศึกษาและประชาชน

รวมทั้งหยุดกระบวนการดำเนินคดีความตามกฎหมายต่อบุคคลทั้ง 6 ราย ที่ร่วมกิจกรรม "รวมพลคนอยากเลือกตั้ง" เมื่อ 14 ก.พ. ที่เชียงใหม่ เพราะที่มาของคำสั่งหัวหน้า คสช. 3/2558 ไม่มีความถูกต้องชอบธรรมมาตั้งแต่แรก โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

แถลงการณ์ นักเรียนสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา 

ระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

หยุดใช้อำนาจในทางมิชอบ ยุติการดำเนินคดีความ หยุดคุกคามนักศึกษาและประชาชน

สืบเนื่องจาก การกล่าวโทษและความพยายามที่จะดำเนินคดีความกับ กลุ่มนักศึกษาและประชาชน ผู้ที่มีความใฝ่ฝันถึงประชาธิปไตย จำนวน 6 คน ซึ่งได้มาเข้าร่วมและดำเนินการจัดกิจกรรม "รวมพลคนอยากเลือกตั้ง" ณ หน้าประตูทางเข้า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ผ่านมา โดย กลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐ สังกัดหน่วยงานความมั่นคงจังหวัดเชียงใหม่ ได้ดำเนินการกล่าวโทษต่อนักศึกษาและประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ณ สถานีตำรวจภูธรภูพิงค์ราชนิเวศน์ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561  ด้วยข้อกล่าวหา ขัดคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) 3/2558 ว่าด้วยการชุมนุมเกิน 5 คนขึ้นไป ซึ่งผู้ถูกกล่าวหา มีรายชื่อดังต่อไปนี้

1. นายประสิทธิ์ ครุธาโรจน์  นักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2. นายสิทธิชัย คำมี  นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

3. นายจตุพล คำมี  นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

4. นายมารุดดิน ทรงศิริ  นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง

5. นางสาวจิตต์ศจีฐ์ นามวงค์  ประชาชนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

6. นายอ๊อด แจ้งมูล  ประชาชนผู้เข้าร่วมกิจกรรม  

 พวกเราเห็นว่า การเข้าร่วมกิจกรรม "รวมพลคนอยากเลือกตั้ง"  เป็นการมารวมตัวกันด้วยเจตนารมณ์อันบริสุทธิ์ เพื่อเปล่งเสียงเรียกร้องให้สาธารณะชนได้รับรู้ว่า ประชาชนทุกคน มีความต้องการ "การเลือกตั้ง" ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย แต่ในทางกลับกัน กลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐกลับใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรม ด้วยการอ้างอิง คำสั่ง หัวหน้า คสช. 3/2558 มาใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินคดีกับบุคคลดังกล่าว ซึ่งเป็นการกระทำที่ขาดความกล้าหาญ และเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นพลเมือง 

พวกเรา ในนาม นักเรียนสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เห็นว่า การเรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง เป็นสิทธิอันชอบธรรม ที่พลเมืองทุกคนสามารถแสดงออกมาได้ 

พวกเราขอเรียกร้องให้ เจ้าหน้าที่รัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการดำเนินคดีดังกล่าว หยุดคุกคาม สิทธิ เสรีภาพของ นักศึกษาและประชาชน ขอให้พวกท่าน หยุดกระบวนการดำเนินคดีความตามกฎหมาย ต่อบุคคลดังกล่าว ทั้ง 6 คน เพราะที่มาของ คำสั่ง คสช. 3/2558 ที่พวกท่านอ้างถึงไม่มีความถูกต้องชอบธรรมมาตั้งแต่แรก 

นักเรียนสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

22 กุมภาพันธ์ 2561

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สิ่งแวดล้อมเป็นวาระแห่งชาติ คือหัวใจการต่อสู้ชาวกระบี่-เทพา สู่ชัยชนะหน้ายูเอ็น

Posted: 22 Feb 2018 03:42 AM PST

เมื่อได้รับชัยชนะเหนืองานวิจัย EHIA ชาวบ้านจากกระบี่-เทพาเชื่อว่า เบื้องหลังชัยชนะหน้าองค์การสหประชาชาติคือการยกเรื่องสิ่งแวดล้อมขึ้นเป็นวาระของประเทศไทย ทำให้ได้ใจคนกรุงเทพฯ พร้อมเดินหน้าสร้างมวลชนในพื้นที่ต่อเพื่อเป็นกำลังในการต่อสู้ครั้งต่อไป แกนนำระบุ โดนปัดขอร่วมแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย

ชาวเทพาใช้ชีวิตอยู่ได้ด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้พวกเขาต้องปกป้องพื้นที่เอาไว้

เป็นเวลา 9 วันนับตั้งแต่เครือข่ายปกป้องสองฝั่งทะเลกระบี่-เทพา ยุติโรงไฟฟ้าถ่านหิน เข้ามาชุมนุมหน้าองค์การสหประชาชาติ เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลยุติโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในทั้งสองพื้นที่ จนเมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2561 ทางเครือข่ายฯ ก็ได้รับชัยชนะที่คาดไม่ถึง เมื่อ รมว.พลังงานยอมออกมาเจรจาด้วย จนนำไปสู่การยกเลิกรายงานการประเมิน วิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ฉบับล่าสุด เครือข่ายฯ จึงยุติการชุมนุมและเดินทางกลับบ้านโดยสวัสดิภาพ

รมว.พลังงาน เซ็นสัญญาหยุดโรงไฟฟ้ากระบี่-เทพา ให้เวลาศึกษาความเหมาะสม 9 เดือน

กสม.ชมรัฐบาลฟังความคิดเห็น ปชช.หลังเซ็น MOU กลุ่มค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่-เทพา

ชาวกระบี่-เทพาเจรจายูเอ็น เชื่อโรงไฟฟ้าถ่านหินจะยุติ แม้ไร้ท่าทีจากรัฐบาล

วงเสวนาชี้ ขั้นตอน EIA มีปัญหา รณรงค์สิ่งแวดล้อม สิทธิชุมชนแยกการเมืองไม่ได้

"การมาครั้งนี้เราพูดถึงเรื่องทรัพยากรมาก เพราะมันเป็นเรื่องใหญ่และเป็นเรื่องของทุกคนในประเทศ"

มัธยม ชายเต็ม ชายชาวเทพา แกนนำกลุ่มเครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานี ไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน กล่าวกับผู้สื่อข่าว เมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2561 ชี้ให้เห็นว่าเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นวาระของคนทั้งชาติ เพราะการขึ้นมาชุมนุมครั้งนี้ทำให้ตนได้รับการสนับสนุนจากคนกรุงเทพฯ ที่มีใจรักสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคอาหารและสิ่งของ การเข้ามาพูดคุยให้กำลังใจ หรือแม้แต่การได้สร้างเครือข่ายกับสื่อมวลชนในกรุงเทพฯ ด้วย นอกจากนั้นยังได้รับเชิญให้เข้าไปพูดเรื่อง "ประชาธิปไตยกับพลังงาน" ณ องค์การสหประชาชาติ ที่มีผู้เข้าร่วมงานจากหลายประเทศ

มัธยม ชายเต็ม 

"ถ้าเกิดโรงไฟฟ้าถ่านหินขึ้นก็จะเกิดเป็นนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ขึ้นมา จะมีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ ภูเขา ทะเล แม่น้ำ จะกระทบหมดเลย เราเลยพยายามยกเรื่องนี้เป็นวาระของภาคใต้ หมายความว่าหลังจากนี้พอคนในภาคใต้เขาตามข่าวเรา เขาจะเห็นว่าภาคใต้ของเราอุดมสมบูรณ์นะ ไม่สมควรกลายไปเป็นโรงงาน เป็นนิคมอุตสาหกรรม เพราะว่าขึ้นมาสามปีเราก็พูดเรื่องนี้ตลอด" มัธยมกล่าว เชื่อมั่นว่าการยกประเด็นนี้ขึ้นมานำไปสู่การทำข้อตกลงระหว่างฝ่ายตนกับกระทรวงพลังงาน

สำหรับบันทึกข้อตกลงระหว่างกระทรวงพลังงาน กับเครือข่ายปกป้องสองฝั่งทะเลกระบี่-เทพา ยุติโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่หน้าสหประชาชาตินั้น มีสาระสำคัญ 4 ประเด็น ดังนี้

1. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ถอนรายงาน EHIA โรงไฟฟ้าทั้ง 2 โครงการ ออกจากการพิจารณาของสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) ภายใน 3 วัน และให้ กฟผ. ส่งหนังสือแจ้งรับทราบการขอถอนรายงานไปยังเครือข่าย

2. ให้กระทรวงพลังงานจัดทำรายงานผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ (SEA) เพื่อศึกษาว่าพื้นที่จังหวัดกระบี่ และอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา มีความเหมาะสมในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือไม่ โดยจะต้องจัดทำด้วยนักวิชาการทีมีความเป็นกลางที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับร่วมกัน และหากการศึกษาชี้การสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินว่าไม่เหมาะสม กฟผ. ต้องยุติการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งสองพื้นที่ โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 9 เดือน

3. หากผล SEA ชี้ว่าพื้นที่มีความเหมาะสมในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ในขั้นตอนการจัดทำ EHIA จะต้องจัดทำโดยคนกลางที่ยอมรับร่วมกัน

4. ให้คดีความระหว่าง กฟผ. และเครือข่ายเลิกแล้วต่อกัน

ทั้งนี้ มัธยมกล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า ที่จริงฝ่ายของตนขอทำข้อตกลงกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานทั้งหมดห้าข้อ แต่ข้อสุดท้ายว่าด้วยการขอมีส่วนร่วมในการจัดการแผนพลังงาน PDP (แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย) ไม่ได้รับการอนุมัติ               

"เรายื่นไปห้า อีกตัวที่หายไปคือ เราขอมีส่วนร่วมในการจัดการแผนพลังงาน PDP แต่เขาไม่ให้ คือเราจะเข้าไปดูตัวแผนพลังงานตั้งแต่โครงสร้าง  แผนพลังงานนี้เป็นเรื่องของไฟฟ้าเหลือหรือไม่เหลือ แล้วจะเกิดโรงไฟฟ้าตรงจุดไหนบ้าง คือนักวิชาการจากฝั่งเราก็อยากเข้าไปมีส่วนร่วมด้วย อยากเข้าไปดูข้อมูลว่าจริงๆ มันเป็นยังไงกันแน่ แต่ก็คงเป็นข้อมูลที่เขาต้องปิด" มัธยมกล่าว

ภาพระหว่างการชุมนุมหน้ายูเอ็น

ถึงแม้รายงาน EHIA ฉบับล่าสุดนี้จะถูกยกเลิกไปแล้ว แต่ก็ยังมีเรื่องน่าห่วงสำหรับมัธยม คือขั้นตอนการจัดทำรายงานผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ (SEA) ที่ถึงแม้จะมั่นใจว่าพื้นที่เทพาไม่เหมาะสมจะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเนื่องจากมีความอุดมสมบูรณ์ควรค่าแก่การอนุรักษ์ แต่หากรายงาน SEA ออกมาว่ามีความเหมาะสมจะทำอย่างไร เพราะถึงแม้จะอยากรักษาพื้นที่ส่วนนี้ไว้เพียงใดแต่ก็ต้องเปิดโอกาสให้กลุ่มทุนอื่นๆ เข้ามามีบทบาทในรายงานนี้ด้วยเพื่อความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย

"ถ้าศึกษาไปแล้วเหมาะสม ก็ต้องตั้งกรรมการกลางขึ้นมาให้มาศึกษา คือไปจ้างบริษัทที่เป็นกลางมาทำรายงาน EHIA เราก็เรียกร้องไปว่าตอนที่ศึกษา SEA เราขอใช้กรรมการที่ทั้งเราทั้งเขายอมรับกันได้ด้วย แต่ถ้าส่วนกลางบอกว่าเหมาะสมที่จะสร้าง จะต้องให้ กฟผ. ทำ EHIA ใหม่ ทีนี้การทำรายงานตัวนี้ก็ต้องกรรมการที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับเช่นเดียวกัน เพราะที่ผ่านมา กฟผ. ไปจ้างบริษัทของเขา พอมาสำรวจเขาก็ให้ผ่านหมด เป็นข้อที่เราถกกันมานาน พอถึงตอนนี้เราก็เลยตั้งหลักการว่าจะต้องเป็นบริษัทที่เป็นกลางเท่านั้น ต้องศึกษาอย่างตรงไปตรงมาว่ามีผลกระทบมากน้อยแค่ไหน" มัธยมอธิบาย

อีกหนึ่งสิ่งน่ากังวลสำหรับกลุ่มเครือข่ายฯ คือการเข้าพูดคุยกับประชาชนในพื้นที่ที่ทำได้ยากมาตลอด เห็นได้จากจำนวนประชาชนที่ขึ้นมาร่วมชุมนุมที่กรุงเทพฯ ที่เป็นเพียงกลุ่มเล็กๆ จากคำบอกเล่าของมัธยม มีประชาชนจากเทพาประมาณ 50 คนเท่านั้นในการชุมนุมครั้งนี้ ซึ่งนับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับระยะเวลาที่เข้าไปพุดคุยทำความเข้าใจกว่า 3 ปี โดยมัธยมเชื่อว่าที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากมีกลุ่มนายทุนหลักฝังตัวอยู่ในพื้นที่ และมีกลยุทธ์ในการสร้างมวลชนเช่นเดียวกัน ในประเด็นนี้กลุ่มเครือข่ายฯ ต้องการพูดคุยกับ รมว.พลังงาน เพื่อให้ถอนกลุ่มทุนออกจากชุมชน แต่ยังหาโอกาสเจรจากันไม่ได้

"มันสร้างความแตกแยก เราทำมวลชนยากมาก เป้าหมายของเราคือต้องการมวลชนในพื้นที่ สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน พอมีเขาอยู่เราทำยากมาก สมมติเราไปทำมวลชนช่วงเช้า ตอนเย็นเขาก็ลงต่อเลย แล้วก็ไปชี้แจงว่าพวกเราถูก NGO จ้างมา โกหกทั้งนั้น หรือถ้ามีเงินก็ซื้อ ให้ค่าตอบแทน ซื้อใจกันด้วยเงิน สามปีที่ผ่านมาเราทำมวลชนยากมากเพราะเขาอยู่ข้างใน ถ้าหลังจากนี้เขายังอยู่ข้างในอยู่เราจะเหนื่อยแน่" มัธยมเล่าอย่างกังวล

มัธยมเล่าต่อไปว่า กลุ่มทุนสามารถเข้าถึงคนในชุมชนได้มากพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา หรือชาวบ้านทั่วไปในชุมชนเอง การเข้าถึงคนในระดับผู้นำได้ทำให้ชาวบ้านไม่กล้าคิดต่อต้าน ไม่ทราบว่ามีผลกระทบต่อตนเองอย่างไร นำไปสู่การไม่ให้ความร่วมมือในการสร้างมวลชนของคนเทพาด้วยกันเอง ซึ่งยังไม่น่าพอใจเท่าไรสำหรับคนที่พยายามขับเคลื่อนเรื่องนี้มาตลอดสามปีอย่างมัธยม

"คือคนไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหินเยอะนะครับ แต่พอถึงเวลาคับขันเขาก็ไม่ได้ออกมาร้อยเปอร์เซ็นต์ เวลาจัดเวทีใหญ่ๆ แต่ละครั้งก็มากัน 300-400 คน เราหวังระดับพันคน ถ้ามีสักสามพันคนในพื้นที่ก็จะสร้างความมั่นใจให้เราได้มากกว่านี้ เวลามีกระบวนการอะไรที่ลงพื้นที่สามพันคนนี้จะได้เป็นกำลังหลักต้านได้"

แกนนำกลุ่มคัดค้านโรงไฟฟ้าเล่าว่า ในการเดินหน้าพัฒนาชนบท ภาครัฐมักใช้วาทกรรม "เอางานมาให้" เพื่อโน้มน้าวใจชาวบ้านให้ยอมโอนอ่อนตาม โดยเฉพาะการสร้างโรงงานหรือนิคมอุตสาหกรรมขึ้นมา มัธยมมองว่าในพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์อย่างเทพานั้น การทำประมงน้ำตื้นตามวิถีชีวิตดั้งเดิมย่อมดีกว่าการไปเป็นลูกจ้างในโรงงานเป็นไหนๆ เพราะตนเคยมีประสบการณ์การทำงานเป็นลูกจ้างมาก่อนเช่นกัน

"ผมออกทะเลหาปลา สัปดาห์หนึ่งก็มีเงินเก็บประมาณ 3,000-4,000 บาท นี่คือเก็บใส่กระปุกออมสินหลังจากเหลือจากใช้จ่ายแล้ว ก็อยู่กันแบบนี้แหละ เวลาออกทะเลเราก็ไปนอน ไม่ได้ทำงานตลอดเวลา เราแค่วางอวนแล้วนอนพัก พอถึงเวลาก็เก็บอวน ขายเสร็จก็พักผ่อนต่อ ไม่อยากพักก็ไปเที่ยว คือเวลาว่างเยอะ แต่งานเราน้อย ผมเคยทำงานลูกจ้างที่สะเดาได้เงินวันละ 250 บาท กินข้าวสามมื้อก็หมดไปแล้วหนึ่งร้อย ใช้ไปใช้มามันก็หมด ทำไป 4-5 ปี ไม่มีเงินเหลือเก็บเลย กลับมาก็อยู่บ้าน เมื่อก่อนเราอยู่บ้านเรารู้สึกว่าเท่านี้ยังไม่พอ ถ้าไปอยู่ในเมืองมันหรูหรา มันเหลือใช้ เลยลองไปอยู่แต่มันไม่ใช่ นี่ผมพูดในระดับคนไม่มีการศึกษานะ ตอนนั้นผมไม่เหลืออะไรเลย พอกลับบ้านมามันเหลือใช้"

"เด็กที่เรียนไม่เก่งเขาก็ไม่อยากเรียน จบ ม.6 ก็ออกทะเลกับพ่อ กำไรดีกว่าไปเป็นครูเป็นอาจารย์ซะอีก พอเขารู้อย่างนี้เขาก็ไม่เรียน เขาออกทะเลดีกว่า เพราะเขาเห็นชัดว่าพอออกทะเลแล้วมันได้กำไรกว่า ส่วนคนที่ชอบเรียนก็เรียนไป นี่คือความได้เปรียบถ้าเรายังมีทรัพยากรอยู่ ถ้าไม่มีทะเลก็ไม่มีกิน" มัธยมกล่าว

ฟังเสียงจากผู้สนับสนุนชาวกระบี่-เทพาในกรุงเทพฯ แคร์เรื่องสิ่งแวดล้อม กระบวนการมีส่วนร่วม

           

กลุ่มผู้ชุมนุมได้รับแรงสนับสนุนจากประชาชนกรุงเทพฯ เสมอมา (ภาพ: เมธาวจี สาระคุณ)

ผู้สื่อข่าวสัมภาษณ์ตัวแทนคนกรุงเทพฯ บางส่วนที่ไปร่วมให้กำลังใจผู้ชุมนุมหน้าสำนักงานองค์การสหประชาชาติ เพื่อเป็นการตอบข้อสงสัยว่าทำไมการชุมนุมถึงได้รับการสนับสนุนจากคนและเครือข่ายจากกรุงเทพฯ อย่างอบอุ่น

"มันเป็นทรัพยากรของโลกแล้ว ถ้าทำลายมันสร้างใหม่ไม่ได้นะ เพราะถ้าจะมาสร้าง (โรงไฟฟ้าถ่านหิน) ปริมาณที่จะต้องดูดน้ำจากทะเลไปเลี้ยงโรงงานถ่านหิน เพราะมันมีความร้อน มันต้องเลี้ยงให้ไม่ร้อน แล้วพอการผลิตมันเย็นลง ก็ปล่อยน้ำตรงนั้นลงทะเล แล้วชาวบ้านเขาจะทำอะไร อาหารที่เขาหา กุ้งหอยปูปลา เขาก็ส่งกรุงเทพฯ เพราะฉะนั้นอย่านึกว่าสร้างตรงนั้นแล้วกรุงเทพไม่กระทบ อย่าคิดสั้นๆ แบบนั้น มันกระทบทุกคน ทั้งประเทศและทั้งโลก" แม่บ้านวัย 57 ปี ชาวกรุงเทพฯ กล่าว แสดงความกังวลต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นหากมีโรงไฟฟ้าถ่านหิน เป็นเหตุผลสำคัญที่เธอออกมาร่วมให้กำลังใจชาวกระบี่-เทพา

ธนัชชา กิจสนาโยธิน อายุ 21 ปี มองว่าเรื่องสิ่งแวดล้อมควรเป็นเรื่องของทุกคนในประเทศ ไม่ใช่เพียงเรื่องของคนในพื้นที่เท่านั้น "เทใจให้เทพาเพราะการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินไม่ได้สร้างผลกระทบแค่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น แต่ทำลายสิ่งแวดล้อมและสร้างผลกระทบเป็นวงกว้าง มลพิษ จะฟุ้งอยู่ในอากาศ ปะปนกลายเป็นเมฆ และเมื่อฝนตก น้ำก็จะปนเปื้อน และเมื่อน้ำปนเปื้อน ไม่ใช่แค่คนในพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบเรื่องระบบทางเดินหายใจ แต่สิ่งแวดล้อมจะเสียหายหมด ท้องทะเลและชีวิตของคนและสัตว์ในพื้นที่ และสุดท้ายสัตว์ที่กลายมาเป็นอาหารทะเลก็จะถูกกระจายไปในอีกหลายพื้นที่ ส่งผลกระทบไปทั่ว"

สิรารมย์ เตชะศรีอมรรัตน์ อายุ 22 ปี เห็นว่า โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินนี้ไม่โปร่งใส และขาดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน " เรายังไม่ได้อ่าน EHIA ไม่รู้ว่ามันจริงหรือเท็จยังไง แต่จากหลักฐานเรื่องการประชุมเพื่อทำประชาพิจารณ์ก็รู้สึกว่า มันไม่ใสสะอาดอย่างที่ควรจะเป็น เราไม่รู้ว่าสิ่งแวดล้อมที่เทพายังมีอยู่น้อยเยอะแค่ไหน แต่ถ้าเอาจากใจ คือ คนเทพาก็เป็นพลเมืองไทย รัฐต้องออกมาพูดคุยกับประชาชน ถ้ามันบริสุทธิ์ไร้ผลกระทบจริง ก็ทำไป แต่นั่นแปลว่าต้องผ่านการทำความเข้าใจกับประชาชนแล้ว ไม่ใช่ปล่อยให้เขาเจ็บปวดและเรียกร้องโดยที่คุณนิ่งเฉย"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แอมเนสตี้ เผยเสรีภาพไทยปี 60 ย้ำแย่ ชี้สิทธิมนุษยชนยังไม่เป็นวาระแห่งชาติแท้จริง

Posted: 22 Feb 2018 03:34 AM PST

แอมเนสตี้เปิดรายงานประจำปีระบุประเทศไทยยังมีปัญหาสิทธิมนุษยชนหลายด้าน โดยเฉพาะเสรีภาพในการแสดงออกและผู้ลี้ภัย ระบุรัฐบาลยังไม่ให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนตามที่ประกาศเป็นวาระแห่งชาติและแผน Thailand 4.0

ปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย
 
22 ก.พ. 2561 เว็บไซต์แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล รายงานว่า แอมเนสตี้ เปิดตัวรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนประจำปี 2560/61 ซึ่งเป็นการรวบรวมและวิเคราะห์สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนใน 159 ประเทศทั่วโลกตลอดปี 2560 ที่ผ่านมา โดยพบว่าในหลายประเทศ ซึ่งรวมถึงประเทศไทย มีการพยายามคุกคามเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมอย่างสงบของประชาชนอย่างหนัก
 
แอมเนสตี้พบว่าในปี 2560 นักปกป้องสิทธิมนุษยชน นักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม นักศึกษา ชาวบ้านที่เรียกร้องสิทธิชุมชน ทนายความ สื่อมวลชน นักวิชาการ ไปจนถึงประชาชนทั่วไปในประเทศไทยต่างถูกภาครัฐและเอกชนละเมิดเสรีภาพในการแสดงออกอย่างต่อเนื่อง โดยข้อกฎหมายที่มักถูกนำมาอ้างใช้บ่อยครั้ง ได้แก่ มาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว มาตรา 116 ในประมวลกฎหมายอาญา พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และคำสั่ง คสช. ที่ 3/2558 ซึ่งต่างมีเนื้อหาหรือการตีความที่ขัดต่อมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีพันธกรณีต้องปฏิบัติตาม
 
ประเทศไทยยังคงส่งกลับผู้ลี้ภัยไปยังประเทศที่พวกเขาจะเสี่ยงอันตรายในปี 2560 ส่งผลให้ผู้ลี้ภัยเหล่านั้นถูกจับกุม คุมขัง เสี่ยงถูกทรมานและสังหาร หรืออาจไม่ได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม ซึ่งถือว่าผิดกฎหมายจารีตระหว่างประเทศว่าด้วยการไม่ส่งกลับ (non- refoulement) อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้จัดทำระบบคัดกรองผู้ลี้ภัยแล้ว ซึ่งหากปฏิบัติตามมาตรฐานสากลได้จริงในอนาคต ก็จะถือว่าเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญของประเทศ
 
นอกจากนี้ รายงานแอมเนสตี้ฉบับนี้ยังให้ความสำคัญกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยอีกหลายประเด็น เช่น ระบบยุติธรรม การลอยนวลพ้นผิด การอุ้มหาย การทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐ การสังหารนอกกระบวนการกฎหมาย และการค้ามนุษย์
 
ปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ตั้งข้อสังเกตว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนว่าทางการไทยยังไม่ได้ให้ความสำคัญต่อสิทธิมนุษยชนของประชาชนอย่างแท้จริง แม้ว่าเมื่อไม่นานมานี้จะมีการประกาศให้สิทธิมนุษยชนเป็นวาระแห่งชาติและเป็นหนึ่งปัจจัยขับเคลื่อนแผนพัฒนา Thailand 4.0
 
"แอมเนสตี้ยินดีที่รัฐบาลไทยประกาศให้สิทธิมนุษยชนเป็นวาระแห่งชาติ ตลอดจนระบุว่าจะใช้สิทธิมนุษยชนเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อน Thailand 4.0 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกลับตรงกันข้าม การละเมิดสิทธิมนุษยชนยังคงถูกปล่อยให้เกิดขึ้นเป็นประจำ เห็นได้จากการคุกคาม จับกุม และดำเนินคดีประชาชนจำนวนมากที่ออกมาแสดงความคิดเห็นอย่างสงบ ไปจนถึงปัญหาสิทธิมนุษยชนด้านอื่นๆ ที่ระบุในรายงานของเราและเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาประชาชนตลอดปีที่ผ่านมา" ปิยนุช กล่าว
 
นอกจากประเทศไทยแล้ว แอมเนสตี้ยังพบว่า มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในแทบทุกประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นประเทศพัฒนาแล้วหรือกำลังพัฒนา และไม่ว่าจะเป็นการปกครองรูปแบบใดก็ตาม ผู้คนหลายล้านคนทั่วโลกต้องอยู่ในภาวะยากจน อดอยาก หรือต้องลี้ภัย เพราะมาตรการทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรม สงคราม และภัยธรรมชาติ ขณะที่การกีดกันและการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุผลด้านเชื้อชาติ ศาสนา เพศ และความเชื่อทางการเมืองก็ยังคงส่งผลให้เกิดการสูญเสียชีวิตอยู่บ่อยครั้ง
 
ทั้งนี้ ปี 2561 เป็นการครบรอบ 70 ปีของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights–UDHR) ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติตั้งแต่ปี 2491 โดยประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ออกเสียงสนับสนุน แอมเนสตี้เชื่อว่าเป็นโอกาสดีที่ประเทศไทยและทั่วโลกจะได้ทบทวนปัญหาของสังคมและหาทางออกร่วมกัน
 
"ประเทศไทยให้การยอมรับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากลมาพร้อมๆ กับประเทศตะวันตกอีกมากมาย ในโอกาสครบรอบ 70 ปี UDHR จึงถือเป็นโอกาสดีที่เราจะได้ทบทวนตัวเองว่าที่ผ่านมาสิทธิมนุษยชนของเราก้าวหน้าหรือถอยหลังมากน้อยแค่ไหน เพื่อจะได้หาทางออกร่วมกันต่อไป นี่จึงเป็นที่มาของเสวนาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนศึกษาในวันนี้ด้วย ซึ่งเรามองว่าเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้สังคมไทยก้าวผ่านความอยุติธรรมและความไม่เท่าเทียมได้ในระยะยาว แอมเนสตี้ก็หวังว่าจะได้รับคามร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการผลักดันสิทธิมนุษยชนศึกษา ตลอดจนข้อเรียกร้องอื่นๆ เพื่อร่วมกันพัฒนาสิทธิมนุษยชนของเราให้ทัดเทียมสากลต่อไป" ปิยนุช กล่าว
 
แอมเนสตี้ขอเรียกร้องให้ทางการไทยยกเลิกคำสั่ง คสช. ที่3/2558 และกฎหมายอื่นๆ ที่ละเมิดเสรีภาพในการแสดงออกและการชุนุมอย่างสงบ ยุติการควบคุมตัวโดยพลการ ยุติการนำพลเรือนขึ้นศาลทหาร ผ่าน พ.ร.บ.ป้องกันการทรมานและการอุ้มหาย คุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนให้ทำงานได้อย่างปลอดภัย เคารพหลักการไม่ส่งกลับผู้ลี้ภัยไปยังประเทศอันตราย ไปจนถึงสานต่อการจัดตั้งระบบคัดกรองผู้ลี้ภัยให้ใช้งานได้จริงตามมาตรฐานสากล ซึ่งทางแอมเนสตี้ยินดีให้ความร่วมมือหากทางการไทยมีความจริงใจในการแก้ปัญหาและพัฒนาสังคมร่วมกัน
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่อยากเลือกตั้ง? บ้าไปแล้วหรือเปล่า (Election in regional perspective)

Posted: 22 Feb 2018 02:59 AM PST



เห็นมีคนต่อต้านการเลือกตั้งเกิดขึ้นในประเทศไทยแล้วให้มีความรู้สึกแปลกๆ ว่ากันตามตรงประชาชนทั่วไปน่าจะอยากเลือกตั้งเพราะอย่างน้อยที่สุดเขาได้มีส่วนร่วมทางการเมืองและคัดเลือกคนที่จะบริหารประเทศด้วยตัวเอง

อีกอย่างหนึ่งเอาเข้าจริงแล้วการเลือกตั้งนี่แหละเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองที่อยู่ในอำนาจปัจจุบันต้องการมากด้วย เพราะมันเป็นความชอบธรรมอย่างเดียวที่พอจะอ้างได้ว่า มาจากประชาชน ประเทศที่ปกครองด้วยอำนาจนิยมก็ต้องการเลือกตั้้ง คนที่ต่อต้านการเลือกตั้งดูเป็นสิ่งที่แปลกพิกล

ในภูมิภาคของเราหลายประเทศก็กำลังขมีขมันในการจัดการเลือกตั้ง เลยอยากจะร่วมเสนอมุมมองดูบ้าง ว่าจริงๆ แล้วการเลือกตั้งอาจจะนำไปสู่อะไรได้บ้าง ประชาธิปไตยหรืออำนาจนิยม ?


ภาพประกอบ: ญี่ปุ่นมอบหีบบัตรเลือกตั้งให้กัมพูชา

ฮุนเซนแห่งกัมพูชาและพลเอกประยุทธ์ของไทย ทำเหมือนๆกันคือ ออกแบบรัฐธรรมนูญและกฎหมายเพื่อรองรับการกลับมาหลังการเลือกตั้ง (หรืออีกนัยหนึ่งคือ สืบทอดอำนาจ)

กัมพูชากำหนดการเลือกตั้งในเดือนกรกฏาคม ฮุนเซนได้ใช้กฎหมายทุกชนิดที่มีอยู่ในมือหรือเขียนขึ้นมาใหม่ เพื่อกำจัด CNRP ซึ่งเป็นคู่แข่งทางการเมือง หัวหน้าพรรคคือ เข็ม สุขา ถูกจับกุมฐานกบฎในเดือนกันยายนปีที่แล้วและยุบพรรคในเดือนพฤศจิกายน หลังจากได้แก้กฎหมายพรรคการเมืองตอนเดือนกรกฏาคมปีที่แล้ว เพื่อระบุให้ การพบปะกันระหว่างสมาชิกพรรคกับอดีตผู้นำพรรคที่ต้องคดี (สม รังสี) นั้นเป็นสิ่งผิดกฎหมาย (คล้ายๆกับกรณีของไทยด้วยเช่นที่มีการขู่ยุบพรรคไทยรักไทยเพราะสมาชิกพรรคส่วนหนึ่งไปพบกับทักษิณ)

ปัจจุบันถือได้ว่าฮุนเซนและพรรคซีพีพีของกัมพูชานั้นไม่มีคู่แข่งเลย เพราะพรรคที่เคยเป็นคู่แข่งอย่างเช่น ฟุนซินเปกของเจ้ารณฤทธิ์นั้นอ่อนแอมากทั้งในแง่การจัดตั้ง การบริหารและ platform ทางการเมืองไม่มีทางที่พรรคการเมืองนี้จะเติบโตขึ้นมาได้ในระดับการเลือกตั้งปี 1993 อีกต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้

ประเทศไทยนั้นการเลือกตั้งอาจจะล่วงเลยไปถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2019 หรือนานกว่านั้น ซึ่งเป็นปีที่ไทยมีกำหนดจะเป็นประธานอาเซียนพอดี ถ้าเป็นไปได้คงอาจจะพอเป็นข้ออ้างให้อยู่ในอำนาจได้ต่อไปอีก 1 ปี

ในมาเลเซียนั้น แมนเดทของนาจิ๊ปจะหมดภายในกลางปีนี้ ตามกำหนดควรจะมีการเลือกตั้งภายในเดือนสิงหาคม แต่มีความเป็นไปได้ว่า พรรคอัมโนและแนวร่วม Barisan Nasional น่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งในเร็ววันนี้เพื่อชิงความได้เปรียบ

พรรคอัมโนนั้นปกครองมาเลเซียมานานกว่าครึ่งศตวรรษนับแต่ได้เอกราชจากอังกฤษในปี 1957 การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองนั้นเกิดขึ้นในระดับตัวบุคคลและกลุ่มต่างๆในพรรคอัมโนมากกว่า นาจิ๊บ ผู้นำคนปัจจุบันและเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ด้วย มีเรื่องอื้อฉาวมากมาย เช่น MBD1 แต่ดูเหมือนนักสังเกตุการณ์ในมาเลเซียส่วนใหญ่ให้ความเห็นตรงกันว่า ไม่ทำให้นาจิ๊ปมีความสะทกสะท้านอะไรมากนัก

การเมืองในมาเลเซียนั้นมีองค์ประกอบของเชื้อชาติและศาสนาอยู่มาก สิ่งที่พรรคอัมโนพยายามทำคือเอาชนะใจทั้งคนเชื้อสายมาเลย์ที่นับถือศาสนาอิสลามไม่ว่าพวกสายกลางหรือพวกที่ค่อนข้างเคร่ง และคนเชื้อชาติอื่นให้มาสนับสนุนพรรค การได้พรรคปาสซึ่งนิยมอิสลามเข้ามาอยู่ใน BN เมื่อเร็วๆนี้ อาจจะทำให้กลุ่มมุสลิมที่ค่อนข้างเคร่งครัดเทคะแนนให้พรรคพันธมิตรรัฐบาล แต่การที่สมาคมคนจีนแยกตัวออกไป และการเกิดขึ้นมาของพันธมิตรฝ่ายค้านใหม่อย่างมหาเธร์ โมฮัมหมัดอดีตนายกรัฐมนตรี ทำให้อัมโนและบีเอ็นต้องทำงานหนักขึ้นในหมู่คนจีนและมาเลย์ส่วนหนึ่งที่นิยมในตัวอดีตนายกและอดีตศิษย์ก้นกุฎิอันวาอิบราฮิมที่เคยห้ำหั่นกันมาตั้งปีปลายทศวรรษ 1990s หลังวิกฤตต้มยำกุ้ง นั้นอาจจะพอทำให้พันธมิตรฝ่ายค้านเข้มแข็งขึ้นมาบ้าง

แต่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ก็ยังลงความเห็นค่อนข้างตรงกันว่า โอกาสที่พันธมิตรฝ่ายค้านจะชนะเลือกตั้งพอจะจัดตั้งรัฐบาลได้คงมีไม่มากนัก แม้ว่าไม่ได้เป็นศูนย์เหมือนกับกัมพูชาเสียเลยทีเดียว

จากทั้งหมดที่กล่าวมา หลังการเลือกตั้ง อำนาจนิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีแนวโน้มที่จะแข็งแกร่งมากขึ้นในอนาคตอันใกล้ ไม่นับประเทศที่มีระดับความเป็นเผด็จการรวมศูนย์อยู่สูงเช่น ลาว หรือ เวียดนาม ซึ่งใช้อำนาจกับประชาชนหนักข้อขึ้นทุกวัน

หรือแม้แต่ในพม่า อองซานซูจี ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ไม่ได้เข้มแข็งไปกว่า Tatmadaw เลยแม้จะปรากฎว่ามี popular support มากเพียงใดก็ตาม ปรากฏว่าอองซานซูจีกลับติดกับดักอันนั้นเสียเอง เธอไม่กล้า address ปัญหาโรฮิงญาอย่างถึงรากถึงแก่นเพราะเกรงว่าจะเสียคะแนนนิยมจากชนส่วนใหญ่ที่เป็นชาวพุทธเชื้อสายพม่า การละเมิดสิทธิทางการเมือง สิทธิในการแสดงออก และสิทธิสื่อมวลชนยังคงเป็นไปอย่างกว้างขวางในพม่าใต้จมูกของอองซานซูจีเองหรือในหลายกรณีก็รู้เห็นเป็นใจ ให้ท้าย หรือละเลยไม่เอาใจใส่

ความเปลี่ยนแปลงในสหรัฐและยุโรป ทำให้ระบอบอำนาจนิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ล้อเล่นกับท่าทีของประเทศที่เคยเป็นเจ้าแห่งประชาธิปไตยและสิทธิมนุษย์ได้อย่างสะดวกสบาย นาจิ๊ปและประยุทธ์ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากทำเนียบขาวเมื่อปลายปีที่แล้ว ไม่นานหลังจากนั้น สหภาพยุโรปมีมติที่จะติดต่อกับประเทศไทยในทุกระดับ

ฮุนเซนเย้ยหยันทั้งสหรัฐและอียู ต่อท่าทีและการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการจัดการกับฝ่ายค้านของเขา เพราะมีจีนคอยให้ท้าย เขาไม่ยี่หระต่อความช่วยเหลืออันน้อยนิดของอียูในเมือจีนทุ่มเททรัพยากรและแรงอุดหนุนทางการเมืองให้เขาอย่างไม่เคยมีมาก่อนจากประเทศที่เคยส่งตัวแทนไปรบกันในป่ามาเป็นเวลาถึง 1 ทศวรรษ เมื่อจีนสมคบกับไทยสนับสนุนเขมรแดงบ่อนเซาะรัฐบาลในพนมเปญก่อนการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ในปี 1993 นี่ยังไม่นับญี่ปุ่นที่ต้องแข่งขันทางอำนาจกับจีนด้วย กลายเป็นว่าใครๆ ก็ต้องการ friendly dictatorship กันทั้งนั้น

กลุ่มพลังประชาธิปไตยในทางสากลนั้นเหลืออยู่แต่เพียงเอ็นจีโอและขบวนการประชาชนในแต่ละประเทศก็ค่อนข้างอ่อนแอ ในประเทศไทยนั้นคนที่ยืนอยู่แถวหน้าของประชาธิปไตยก็มีแต่ รังสิมัน โรม จ่านิว โบว์ ณัฎฐา และคณะเท่านั้น

ในขณะที่พรรคการเมืองและชนชั้นสูงสนุกสนานกับการเมืองแนวสัจจะนิยมที่ไร้อุดมการณ์ ไม่มีมิตรและศัตรูทางการเมืองที่ถาวร การเลือกตั้งที่มีคนเรียกร้องให้เกิดขึ้นเร็ววันกลับกลายเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจสำหรับพวกเขา ตราบเท่าที่การวางรากฐานกลับคืนสู่อำนาจยังไม่พร้อม การเลือกตั้งในสภาพที่เป็นอยู่ในหลายประเทศคงไม่นำไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย

อย่างไรก็ตาม dilemma สำหรับไทยคือว่า การรออยู่ต่อไป ก็ไม่มีประชาธิปไตยอีกเช่นกัน แต่ทว่าการเลือกตั้งก็อาจจะเป็นสิ่งที่พอเป็นไปได้ที่สุดสำหรับการจัดสรรอำนาจและผลประโยชน์ทางการเมืองอย่างสันติ



หมายเหตุ: ปรับปรุงจากคำอภิปราย การเมืองที่ (ไม่) เป็นประชาธิปไตย มหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์ 22 กุมภาพันธ์ 2018
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลแพ่งสั่งทบ. จ่าย 1.8 ล้าน กรณีสิบโทกิตติกร ถูกซ้อมตายในคุกทหาร (ก่อนหน้านี้ถูกอ้างว่านอนหนาวตาย)

Posted: 22 Feb 2018 02:55 AM PST

ศาลแพ่งสั่งกองทัพบกจ่ายเงินค่าเสียหายให้มารดา สิบโทกิตติกร ซึ่งถูกซ้อมจนตายในคุกทหาร 1.8 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ขณะที่คดีแพ่งเรียกร้องค่าเสียหายกรณี ร้อยตรีสนาน ซึ่งเสียชีวิตระหว่างฝึกหลักสูตรทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ เลื่อนการพิจารณาคดี เหตุประจักษ์พยานซึ่งเป็นนายทหารไม่มาศาล

22 ก.พ. 2561 เวลา 10.30 น. ห้องพิจารณา 410 ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก ศาลอ่านคำพิพากษาคดีที่ บุญเรือง สุธีรพันธุ์ อายุ 63 ปี มารดาของ ส.ท.กิตติกร สุธีรพันธุ์ บุตรชายที่เสียชีวิตขณะถูกคุมขังในเรือนจำทหาร เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง กองทัพบก จำเลย เรื่องละเมิด เรียกค่าเสียหายจำนวนทุนทรัพย์ 18 ล้านบาทเศษ ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้ว มีคำพิพากษาให้กองทัพบกชดใช้เงินจำนวน 1,870,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี แก่บุญเรือง สุธีรพันธุ์ ผู้เป็นมารดาต่อไป

กรณีของสิบโทกิตติกร สุธีพันธุ์ ทหารสังกัด กรมทหารที่ 23 กองพันทหารราบที่ 3 ค่ายวีรวัฒน์โยธิน มณฑลทหารบกที่ 25 จังหวัดสุรินทร์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2559 ระหว่างถูกควบคุมตัวอยู่ที่เรือนจำมณฑลทหารบก 25

ข้อมูลจากมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ระบุว่า ก่อนหน้านั้น สิบโทกิตติกร ถูกจับกุมตามหมายจับของศาลจังหวัดทหารบกสุรินทร์ ที่ 14/2558 ข้อหาให้ที่พำนัก ซ่อนเร้นหรือช่วยด้วยประการใดให้ผู้ที่หลบหนีจากการคุมขังตามอำนาจของศาลเพื่อไม่ให้ถูกจับกุมโดยตัวเขาเองถูกจับกุมตัวเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2559 โดยเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรเมืองสุรินทร์ และเมื่อทำการบันทึกการจับกุมเรียบร้อยก็ถูกส่งตัวไปไปควบคุมที่ เรือนจำมณฑลทหารบก 25 ค่ายวีรวัฒน์โยธินตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. 2559 ก่อนจะเสียชีวิตในวันที่ 21 ก.พ. ปีเดียวกัน

ภายหลังจากสิบโทกิตติกรเสียชีวิต เจ้าหน้าที่ทหารได้โทรแจ้งให้บุญเรือง สุธีรพันธ์ แม่ของผู้ตายทราบว่าลูกชายเสียชีวิตเพราะทนความหนาวไม่ไหว อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ญาติของผู้ตายได้พยายามขอประกันตัว และขอเข้าเยี่ยมลูกที่คุกทหาร แต่กลับถูกปฏิเสธ โดยบอกเห็นเหตุผลว่าผู้ใหญ่สั่งไม่ให้ประกัน และห้ามเข้าเยี่ยม

เมื่อแม่ผู้ตายได้เดินทางไปรับศพกลับพบว่ามีร่องรอยถูกทำร้ายตามรางกาย มีรอยฟกช้ำที่คอ ใบหน้าบวมอย่างเห็นได้ชัด และยังพบว่าเสื้อที่ใส่ในครั้งแรกของผู้เสียชีวิตจะมีชื่อและต้นสังกัด ร.23 แต่หลังเสียชีวิตกลับใส่เสื้ออีกตัวซึ่งมีชื่อของทหารอีกคนและสังกัดกองทัพบก เรื่องนี้ทางญาติมองว่าน่าจะเป็นการจัดฉาก เพราะเสื้อที่ใส่อยู่ก่อนตายคงมีคราบเลือดของผู้เสียชีวิตอยู่ ซึ่งขัดแย้งกับที่เจ้าหน้าที่ทหารที่โทรไปบอกว่านอนหนาวตาย

การชันสูตรพลิกศพ และไต่สวนการตายตามกระบวนการทางกฎหมาย ซึ่งพบว่าเหตุและพฤติการณ์ที่ตายคือ มีการบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรงร่วมกับกระเพาะอาหารแตก เนื่องจากถูกทำร้ายร่างกาย โดยพลอาสาสมัคร 4 นาย ร่วมกันทำร้ายจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย

เมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2560 แม่ของผู้ตายและทนายความจากมูลนิธิผสานวัฒนธรรมได้เดินทางไปยื่นฟ้องคดีละเมิดที่ศาลแพ่งรัชดา โดยแม่ของผู้ตายเป็นโจทก์ยื่นฟ้องแพ่งกองทัพบกเป็นจำเลยในข้อหาละเมิด เพื่อเรียกค่าเสียหาย ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 จากเหตุการณ์บุตรชายของตนเสียชีวิตระหว่างถูกควบคุมตัวภายในเรือนจำ

มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ระบุว่า โดยที่ผ่านมามีการสืบพยานโจทก์และจำเลยไปแล้ว เมื่อวันที่ 6 , 7 และ  8 ธ.ค.2560 ฝ่ายโจทก์นำพยานมาสืบต่อศาลรวม 4 ปาก ได้แก่ 1. รายงานและภาพถ่ายการชันสูตรพลิกศพในที่เกิดเหตุและขณะผ่าศพที่โรงพยาบาลสุรินทร์  พร้อมคำเบิกความในคดีไต่สวนการตาย ของแพทย์ผู้ทำการชันสูตรพลิกศพ 2.นายทหารซึ่งเป็นกรรมการสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเสียชีวิตของสิบโทกิตติกร 3.เจ้าหน้าที่จากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เขตพื้นที่ 3 และ 4. ตัวโจทก์ คือนางบุญเรืองฯ มารดาผู้ตาย  ฝ่ายจำเลยได้นำพยานเบิกความต่อศาลเพียง 1 ปาก ได้แก่ เจ้าหน้าที่ทหารซึ่งเป็นอัยการผู้ช่วย มทบ.25 ผู้รับมอบอำนาจจากกองทัพบก

ทั้งนี้ในคดีนี้ได้มีการไต่สวนการตายเป็นคดีหมายเลขดำที่ ช.1/2559 โดยศาลได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 26 ก.ค. 2559 ว่า "ผู้ตายคือ สิบโทกิตติกร สุธีรพันธุ์ ตายที่เรือนจำมณฑลทหารบกที่ 25 เมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2559 เหตุและพฤติการณ์ที่ตายคือ มีอาการบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรงร่วมกับกระเพาะอาหารแตก เนื่องจากถูกทำร้ายร่างกายโดยพลอาสาสมัครสี่นาย

ร่วมกันทำร้ายจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย" อีกทั้งปรากฎในรายงานการผ่าศพของแพทย์พบว่าภายในศีรษะมีเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง สมองบวม บริเวณทรวงอกภายในมีกระดูกซี่โครงหัก 2 ซี่  บริเวณปอดมีรอยฟกช้ำที่กลีบปอดซ้าย บริเวณท้องมีของเหลวสีน้ำตาลอยู่ภายในช่องท้องประมาณ 200 มิลลิลิตร กระเพาะอาหารแตก และมีรอยฟกช้ำเล็กน้อยที่บริเวณกลีบซ้ายของตับ  โดยรายงานการชันสูตรพลิกศพสรุปว่าสาเหตุการตายเกิดจาก มีการบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง ร่วมกับกระเพาะอาหารแตก เนื่องจากถูกทำร้ายร่างกาย โดยพลอาสาสมัครทั้งสี่นายได้การกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นเหตุให้สิบโทกิตติกรถึงแก่ความตาย อีกทั้งมีพลอาสาสมัครผู้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้คุมเรือนจำมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องรักษาความสงบเรียบร้อยภายในบริเวณเรือนจำที่ตนเป็นสิบเวรประจำวัน  มีหน้าที่รักษาความปลอดภัยต่อหน่วยงานและบุคคลผู้ต้องขัง แต่ได้จงใจสั่งการและร่วมกันกับพลทหารผู้ช่วย ทำร้ายสิบโทกิตติกร โดยทรมานและทารุณโหดร้าย และจงใจไม่แจ้งให้แพทย์ทราบถึงอาการบาดเจ็บของสิบโทกิตติกร และไม่ได้แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบ มีพฤติการณ์ข่มขู่ไม่ให้ผู้ต้องขังที่อยู่ภายในห้องขังเดียวกันช่วยเหลือสิบโทกิตติกร และได้สั่งผู้ต้องขังในห้องขังทำร้ายร่างกายสิบโทกิตติกร ที่นอนไม่ได้สติอยู่ที่พื้นห้องหลายครั้งจนกระทั่งสิบโทกิตติกรถึงแก่ความตาย

เลื่อนสืบพยานกรณีร้อยตรีสนาน เหตุประจักษ์พยานซึ่งเป็นนายทหารไม่มาศาล

ผู้สื่อข่าวประชาไท รายงานเพิ่มเติมว่า นอกจากคดีความในศาลแพ่งกรณีเรียกร้องค่าชดใช้จากกองทัพบกของสิบโทกิตติกร ยังมีคดีความในลักษณะเดียวกันอีก โดยเป็นคดีความที่ มารดาและภรรยาร้อยตรีสนาน ทองดีนอก ฟ้องกองทัพบก เรียกค่าเสียหายจากเหตุการณ์ร้อยตรีสนาน เสียชีวิตในระหว่างฝึกหลักสูตรทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ (UKBT) รุ่นที่ 11 ซึ่งเสียชีวิตเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 2558 โดยระหว่างการฝึกว่ายน้ำตามหลักสูตร ร.ต.สนาน ได้ถูกบังคับให้ว่ายน้ำเกินกำลังความสามารถที่ร่างกายจะทนได้ โดยว่ายน้ำไป-กลับภายในสระว่ายน้ำโดยไม่มีการหยุดพักหลายสิบรอบและเป็นเวลานาน  จนเป็นเหตุให้ ร.ต.สนานจมลงไปในก้นสระเป็นเวลานานจนขาดอากาศหายใจ

สำหรับกรณีดังกล่าว มูลนิธิผสานวัฒนธรรมแจ้งว่า เมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2561 ผู้พิพากษาศาลแพ่งออกนั่งพิจารณาคดี หมายเลขดำที่ พ.2580/2559 ในวันดังกล่าว ฝ่ายโจทก์ มีทนายของมารดาภรรยาร้อยตรีสนานฯ ส่วนทางฝ่ายจำเลยมีพนักงานอัยการ มาศาล ส่วนพยานที่ทางฝ่ายโจทก์ได้ขอหมายเรียกให้มาเบิกความต่อศาลในวันที่ 19 ก.พ. 2561 นั้นเป็นเจ้าหน้าที่ทหารสองนายซึ่งเป็นประจักษ์พยาน ปรากฏไม่มีพยานคนใดมาศาล ทนายโจทก์จึงได้แถลงต่อศาลว่าได้ดำเนินการส่งหมายเรียกพยาน และเจ้าหน้าที่ศาลได้ดำเนินการปิดหมายแล้วตามที่อยู่ในทะเบียนราษฎรซึ่งเป็นห้องพักของหน่วยงานทหาร แต่ปรากฏว่าห้องพักของพยานทั้งสองปากนั้นได้เปลี่ยนเป็นชื่อของเจ้าหน้าที่ทหารคนอื่นไปแล้ว แสดงว่าพยานทั้งสองได้ย้ายภูมิลำเนาจากที่พักเดิมไปแล้ว ทำให้ยังไม่สามารถติดตามพยานทั้งสองปากมาเบิกความต่อศาลตามวันนัดได้ จึงขอเลื่อนนัดสืบพยานโจทก์ในครั้งนี้เพื่อติดตามพยานทั้งสองมาเบิกความต่อศาลในนัดหน้า

ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ ผู้พิพากษาได้สอบถามพนักงานอัยการทนายจำเลยแล้ว ทนายจำเลยแถลงไม่คัดค้าน

ผู้พิพากษาได้พิเคราะห์แล้วเห็นว่า พยานทั้งสองปากเป็นประจักษ์พยานคนสำคัญในคดีและมีเหตุอันควรให้เลื่อนคดี เนื่องจากโจทก์ได้พยายามติดตามพยานแล้ว แต่ปรากฎพยานได้มีการย้ายภูมิลำเนาทำให้ไม่สามารถติดตามได้ จึงอนุญาตให้เลื่อนนัดสืบพยานโจทก์เป็นวันที่ 12 มิ.ย. 2561 เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป ณ ศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพมหานคร

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โลโก้ที่บอกเล่าความเป็นไป: โลโก้ใหม่ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

Posted: 22 Feb 2018 02:09 AM PST



ภาพประกอบ-โลโก้ศูนย์ทนาย

ผู้ที่ชื่นชมการทำงานของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน หรือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือจากพวกเขาอาจสังเกตอยู่บ้างว่ามีการเปลี่ยนโลโก้องค์กร ตัวอักษร TLHR สีส้ม (ซึ่งเป็นสีซิกเนเจอร์ของศูนย์ทนายฯ) ที่คมชัด โดยมีการเน้นที่ตัว H อันหมายถึง human (คน) ซึ่งออกแบบให้เป็นตำรากฎหมายด้วย

การออกแบบนี้จัดทำโดยนักออกแบบชาวอินเดีย 'ซันโตช กันกูตาร์' ร่วมกับองค์กร 'ดีไซน์แอนด์พีเพิล' (D&P) ซึ่งตั้งอยู่ที่รัฐเกรละ องค์กรนี้ก่อตั้งเมื่อปี 2546 มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำสิ่งที่พวกเขาเรียกว่า design activism ซึ่งจะช่วยออกแบบให้กับองค์กรที่ต้องการการออกแบบแต่ไม่มีเงินทุนจ้างนักออกแบบ

เฉพาะในอิินเดีย พวกเขาให้ความช่วยเหลือองค์กรและการรณรงค์จำนวนมาก รวมถึงองค์กรที่เป็นจุดเริ่มต้นของ D&P อย่างเฟรนด์ออฟทิเบต ซึ่งทำงานอย่างใกล้ชิดกับองค์ทาไลลามะ ในพันธกิจของพวกเขาระบุว่า "ปัจจุบัน ในยามที่เผด็จการออกมาขยี้ 'คนอื่น' เพื่อสถาปนาอำนาจสูงสุดให้ตัวเอง พวกเราที่ D&Pขออยู่ข้างผู้ที่ต่อสู้เพื่อพิทักษ์มนุษยชาติและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติของพวกเขา" "ปัจเจกที่สร้างสรรค์ได้ใช้พรสวรรค์ของพวกเขาเป็นเครื่องมือต่อต้าน เมื่อต้องเผชิญกับการกดขี่มาตั้งแต่กำเนิดมนุษยชาติ แนวทางดังกล่าวยังคงดำเนินต่อไปและจะไม่สิ้นสุด ตราบที่มนุษย์ยังเป็นสิ่งมีชีวิตที่ยังมี 'ความคิด' D&P ได้ยึดเอา 'พื้นที่แห่งการต่อต้านด้วยความคิดสร้างสรรค์' เพื่อแผ้วทางให้เกิดพื้นที่เปิดกว้างเพื่อการถกเถียงอย่างเสรี ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในระดับโลกในการที่จะมีมุมมองที่กว้างขึ้นต่อประเด็นของประชาชนในบริบทปัจจุบัน" ก่อนหน้านี้ คุณเสถุ ดัส หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง D&P มาเยือนเมืองไทยเมื่อปี 2560 โดยมีเป้าหมายหนึ่งเพื่อค้นคว้าเกี่ยวกับนักกิจกรรมในท้องถิ่นและสัมภาษณ์ อ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ซึ่งได้ร่วมงานกันมาอย่างยาวนานผ่านกิจกรรมเกี่ยวกับทิเบตและองค์ทะไลลามะ เขายังได้ไปเยือนศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน หลังจากได้ยินชื่อเสียงของพวกเขา ขณะที่เขาฟังสมาชิกองค์กรเล่าถึงกิจกรรมขององค์กร เขาก็สังเกตเห็นภาพสเก็ตช์ที่เจ้าหน้าที่องค์กรคนหนึ่งกำลังร่าง พวกเขาบอกเสถุว่าพวกเขาวางแผนจะทำโลโก้ใหม่ เสถุเสนอตัวทันที แล้วหลังจากนั้นความร่วมมือระหว่างนักกิจกรรมที่เป็นทนายและนักกิจกรรมที่เป็นดีไซเนอร์ก็เริ่มขึ้น

หลังกลับไปอินเดีย เขาประกาศเรื่องโปรเจ็กต์นี้ผ่านเครือข่ายดีไซเนอร์ที่แข็งแกร่งขององค์กรซึ่งมีอยู่ทั่วอินเดีย ทั้งหมดล้วนอาสาจะใช้ทักษะที่มีด้วยความสมัครใจ ในไม่ช้า งานออกแบบ 38 ชิ้นถูกส่งเข้ามา ต่อมามีการคัดเหลือ 3 ผู้เข้ารอบสุดท้าย และในที่สุด งานที่ออกแบบโดยคุณซันโตชก็ถูกเลือกโดยสมาชิกของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน จากนั้น D&P และศูนย์ทนายฯ ได้ถกเถียงในรายละเอียดเพื่อปรับแต่งมัน ผลลัพธ์ก็คือโลโก้ใหม่ของศูนย์ทนายฯ ที่เราได้เห็นกันตั้งแต่ 1 กันยายน ปีที่ผ่านมา

คุณซันโตชและ D&P อธิบายคอนเซปต์เบื้องหลังโลโก้ว่า "ตำรากฎหมาย ที่พื้นหลังของโลโก้เป็นสัญลักษณ์ของทนายความ เส้นโค้งสองเส้นสื่อถึงความใส่ใจ และยังคล้ายกับมีช้างซ่อนอยู่ด้วย ทนายความของศูนย์ทนายเป็นคนชาญฉลาดและมีความเข้มแข็งในการต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน" สมาชิกของศูนย์ทนายฯ ยังมองว่า ตัว H ที่เป็นหนังสือ เป็นเหมือนการเก็บข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นหนึ่งในงานหลักขององค์กรด้วย

คุณเสถุตอบคำถามของฉันที่ว่า เหตุใดจึงเชื่อว่าศูนย์ทนายฯ เป็นองค์กรที่ 'ใช่' ที่ D&P จะสนับสนุนและเขาคิดอย่างไรกับโลโก้ใหม่นี้ เขาตอบว่า

"ถึงแม้ว่าพวกเราจะไม่รู้จักกับการทำงานขององค์กรกฎหมายในประเทศไทยมากนัก ซึ่งรวมถึงศูนย์ทนายฯ ด้วย แต่เราก็ชื่นชมอย่างยิ่งต่อการทำงานที่กล้าหาญขององค์กรและสถาบันด้านสิทธิมนุษยชนและกฎหมายในประเทศไทย เราเรียกว่างานที่ 'กล้าหาญ' เพราะบทบาทของทนายความในไทยและอินเดียนั้นแตกต่างกันอย่างมาก เราขอแสดงความคารวะต่อจิตวิญญาณและความเชื่อมั่นของทนายความคนหนุ่มสาวของศูนย์ทนายฯ ในการปกป้องสิทธิของชนชั้นที่ถูกกดขี่ การไปเยือนสำนักงานศูนย์ทนายฯ ที่กรุงเทพฯ ทำให้ผมเข้าใจพันธกิจ การทำงาน รวมถึงความท้าทายต่างๆ ซึ่งมีรายละเอียดอีกมาก และในที่สุด เราก็หากันจนเจอ"

"โลโก้ที่พัฒนาโดย D&P นั้นเหมาะสม เข้ากันดีกับจริยธรรมในการทำงานของศูนย์ทนายฯ เรามองว่านี่คือรางวัลเล็กๆ สำหรับงานที่มีความหมายที่ศูนย์ทนายฯ กำลังทำในด้านสิทธิมนุษยชน"
 

คุณซันโตชยังตอบอีเมลคำถามของฉันที่ว่า เขาพัฒนาคอนเซปต์ของการออกแบบอย่างไร ว่า หลังจากอ่านวัตถุประสงค์โดยละเอียด รวมถึงไอเดียและความเชื่อของศูนย์ทนายฯ แล้ว สิ่งแรกที่แว่บเข้ามาในหัวคือคอนเซปต์จะต้องเน้นไปที่มนุษย์และสันติภาพ แรงบันดาลใจต่อมาเกิดขึ้นระหว่างได้แลกเปลี่ยนกับศูนย์ทนายฯ เขาบอกด้วยว่า เขารู้สึกดีมากๆ ที่โลโก้ที่เขาออกแบบได้ถูกใช้โดยองค์กรที่เขาชื่นชมในผลงานและการให้ความช่วยเหลือด้านสิทธิมนุษยชนของพวกเขา นอกจากนี้ เขายังอยากสนับสนุนองค์กรนี้ในอนาคตด้วย

คุณจุฑารัตน์ กุลตัณกิจจา หนึ่งในสมาชิกศูนย์ทนายฯ ระบุเหตุผลที่เลือกการออกแบบนี้ท่ามกลางงานอื่นๆ ว่า "ศูนย์ทนายฯ เลือกโลโก้ชิ้นนี้เพราะมันสะท้อนถึงงานของพวกเราได้มากที่สุด มันประกอบขึ้นด้วยสัญญะที่สื่อถึงการทำงานเกี่ยวกับกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมอย่างเป็นสากล และใช้ประโยชน์จากพื้นที่ว่าง (negative space) ได้ดี ขณะเดียวกันก็เรียบง่ายสื่อถึงตัวตนของพวกเราได้ดี ยิ่งไปกว่านั้น แนวคิดพื้นฐานของการออกแบบและสัญลักษณ์เหล่านี้ยังทำให้โลโก้นี้น่าจดจำ"

ความต่างที่น่าสนใจระหว่างงานออกแบบที่ส่งเข้ามา ทั้งของคุณซันโตชและไอเดียของศูนย์ทนายฯ คือ ขณะที่พวกเขาใช้เส้นโค้งเพื่อขับเน้นด้านที่อ่อนโยนของทนายความศูนย์ทนายฯ แต่ตัวทนายเองกลับชอบเอกลักษณ์แบบที่แสดงถึงความมั่นคงและยั่งยืนขององค์กรผ่านมุมและเส้นตรง และอีกเหตุผลหนึ่งที่พวกเขาเลือกดีไซน์สุดท้าย เป็นเพราะมันมีเส้นตรงมากกว่า อย่างไรก็ตาม อย่างที่กล่าวไปข้างต้นแล้วว่า เส้นโค้งที่ซ่อนอยู่นั้นสื่อถึงความใส่ใจซึ่งถูกซ่อนรวมอยู่ในเส้นตรง

สิ่งนี้ทำให้นึกถึงเรื่องว่าการออกแบบของอินเดียนั้นมีอิทธิพลต่อการออกแบบของไทยมาตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ ไม่ว่าศิลปะแบบพุทธในช่วงต้น รูปปั้นในท่าทางร่ายรำของพระศิวะ หรือภาพเขียนและศิลปะการแสดงรามเกียรติ์และมหาภารตะ ร่องรอยของอิทธิพลอินเดียยังแพร่หลาย เป็นที่นิยม และยังอยู่จนกระทั่งทุกวันนี้ การออกแบบของอินเดียมีอิทธิพลมากจนเราสงสัยว่าเหตุใดในยุคนี้ถึงไม่มีการแลกเปลี่ยนเช่นว่ามากกว่านี้ คุณเสถุตระหนักถึงจุดนี้เช่นกัน ในภาพที่ใหญ่กว่า เขาบอกว่า อินเดียได้มอบสองภาษาคือ บาลีและสันสกฤต สองศาสนาคือฮินดูและพุทธ แก่ประเทศไทย ในฐานะประชาชนอินเดีย เขามีความสุขที่ได้มีส่วนไม่ว่าทางใดก็ตามที่จะช่วยสนับสนุนการต่อสู้เพื่อเสถียรภาพทางการเมืองของไทย

และอีกเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับโลโก้ใหม่ของศูนย์ทนายฯ ก็คือนอกจากแง่มุมของด้านการออกแบบแล้ว ยังมีแง่มุมของการเคลื่อนไหวอยู่ในปูมหลังด้วย D&P เป็นหนึ่งในนักออกแบบที่ถูกเชิญให้เข้าร่วมซีรีส์งานนิทรรศการและเวิร์กช้อปเรื่องการออกแบบการเมืองระดับนานาชาติซึ่งจัดขึ้นที่กรุงโซล (เกาหลีใต้) บูดาเปสต์ (ฮังการี) กดัญสก์ (โปแลนด์) และสตุตการ์ต (เยอรมนี) ระหว่างปี 2554-2556 งานที่สตุตการ์ต ชื่อว่า "Re-Designing East: Political Design in Asia and Europe" ซึ่งมีงานออกแบบทางการเมืองต่างๆ เช่น งานโชว์เคสของกลุ่มนักออกแบบเกาหลีที่เป็นที่รู้จักอย่าง 'Activism of Graphic Imagination (AGI)' และการตีความโลโก้ 'โซลิดาริตี' ของโปแลนด์ใหม่ D&P ยังมีส่วนงานที่นำเสนอคอนเซปต์ 'สวราช' ในการออกแบบและการออกแบบที่ไม่มีลิขสิทธิ์อย่างงาน design activism นักออกแบบชาวไทยที่เข้าร่วมด้วยคือ คุณประชา สุวีรานนท์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักกิจกรรมการเมืองฮาร์ดคอร์ในไทย จากงานออกแบบทางการเมืองหลายชิ้น รวมถึงปกวารสารฟ้าเดียวกันและอ่าน และแคมเปญโหวตโนเมื่อปี 2550 งานของเขาในนิทรรศการพูดถึงกลยุทธ์ของการเป็นนักกิจกรรมด้านการออกแบบของเขา เช่น การใช้สิ่งที่คุณประชาเรียกว่าการออกแบบแบบ vernacular (ภาษาถิ่น) หรือแบบไทย-ไทย การออกแบบหนังสือเรียนเก่า การออกแบบตัวพิมพ์ ฯลฯ

นักออกแบบเหล่านี้ได้พิสูจน์ผ่านงานของพวกเขาแล้วว่า การออกแบบสามารถเป็นการเคลื่อนไหวได้ แม้ว่าพวกเขาจะถูกกระตุ้นด้วยความอยากจะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองผ่านการออกแบบ แต่กระบวนการ แนวทางและปรัชญาของพวกเขานั้นหลากหลาย ตัวอย่างเช่น แม้ว่า D&P และคุณประชาจะมีส่วนร่วมและแลกเปลี่ยนไอเดียในโปรเจ็กต์เดียวกัน แต่ทั้งคู่มีไอเดียที่ต่างกันบางส่วนในเรื่องโลโก้สำหรับองค์กรด้านการเมือง โดยขณะที่คุณประชาไม่เห็นด้วยกับการที่องค์กร กลุ่ม แคมเปญ หรือเอ็นจีโอทางการเมืองจะต้องมีโลโก้ที่เก๋ไก๋ เพื่อจะแข่งกับโลโก้เชิงพาณิชย์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อหัวข้อนั้นมีความอ่อนไหวเกินไป อย่างเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 ส่วนแนวทางของ D&P นั้นอยู่บนปรัชญาของการให้ความสำคัญกับเรื่องคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์น้อย แต่ให้ความสำคัญกับเรื่องที่ว่าโลโก้จะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรเท่าใด และดังนั้น โลโก้จึงเป็นรูปแบบหนึ่งของการจดจำงานที่องค์กรหรือกลุ่มทำมากกว่าแค่สัญลักษณ์ที่มองเห็นได้ด้วยตาแล้วดึงดูดให้จำได้ ฉันอยากตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อใดที่กลุ่มหรือองค์กรใดที่อยากจะมีโลโก้ เพียงเพราะต้องมีบ้างสักอัน เมื่อนั้น D&P ก็จะบอกว่าไม่จำเป็นต้องมีโลโก้เลย โดยสรุป ทั้งคุณประชาและ D&P คิดว่าการออกแบบและนักออกแบบที่จะทำงานเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมและการเมืองต้องออกมาจากระบบพาณิชย์เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง

เมื่อพูดถึงการเปลี่ยนแปลง ฉันอยากจะทิ้งท้ายบทความด้วยมุมเศร้าๆ เกี่ยวกับโลโก้หรือการถือกำเนิดของสิ่งนี้ขึ้น คำตอบต่อคำถามของฉันว่าทำไมศูนย์ทนายฯ ถึงต้องเปลี่ยนโลโก้ตอนนี้ พวกเขาบอกว่า

"เราตระหนักว่าเราต้องการโลโก้ที่ดูสะอาด และเนี้ยบมากขึ้น เพื่อระบุตัวตนของทีมเรา ตอนที่เราก่อตั้งศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เราคาดการณ์ว่ารัฐประหาร 2557 จะอยู่เพียงช่วงสั้นๆ เช่นเดียวกับรัฐประหารเมื่อปี 2549 และคาดว่าเราจะทำงานกันเพียงช่วงสั้นๆ ดังนั้น โลโก้เดิมก็จึงมีการออกแบบเพื่อใช้ชั่วคราวโดยไม่ได้คำนึงถึงอัตลักษณ์องค์กร แต่ปรากฏว่ารัฐบาลทหารยังคงอยู่ในอำนาจ และดูเหมือนว่าจะยังมีอิทธิพลต่อไปในอนาคตอันใกล้ เราเห็นว่าภารกิจของเรายังต้องดำเนินต่อไปอีกหลายปี ดังนั้น เราจึงตัดสินใจที่จะสถาปนาตัวตนของพวกเราเองด้วยโลโก้ใหม่ซึ่งสื่อสารถึงงานและความมุ่งมั่นของเราได้ดีกว่า เราหวังว่าดีไซน์ใหม่จะทันสมัยขึ้นและเป็นที่จดจำได้ในระยะยาว"

อีกนัยหนึ่งก็คือ หากรัฐบาลเผด็จการทหารไม่ได้อยู่นานขนาดนี้ โลโก้ใหม่ก็อาจจะไม่จำเป็น และคงไม่ต้องให้จดจำได้ "ในระยะยาว" นั่นเอง



เกี่ยวกับผู้เขียน: Keiko Sei (เคโกะ เซ) เป็นภัณฑารักษ์และนักเขียนชาวญี่ปุ่น ผู้ศึกษาประเด็นสื่อ-วัฒนธรรมศึกษา

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลยกคำร้องขอฝากขัง 4 คนปราศรัยไล่ คสช.

Posted: 22 Feb 2018 01:19 AM PST

ศาลอาญายกคำร้องฝากขัง 4 ผู้ปราศรัยไล่ คสช. เนื่องจากผู้ต้องหามาพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียก ไม่มีเหตุให้ต้องควบคุมตัวผู้ต้องหา ให้ปล่อยตัวโดยไม่มีเงื่อนไข

22 ก.พ. 2561 เวลา 13.15 น. ที่ สน.นางเลิ้ง 3 ผู้ปราศรัยไล่ คสช. ในการชุมนุมเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2561 บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ประกอบด้วยสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ (จ่านิว) กาณฑ์ พงษ์ประพันธ์ นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ และสุกฤษณ์ เพียรสุวรรณ ให้สัมภาษณ์หลังจากเข้ารายงานตัวกับพนักงานสอบสวนว่า วันนี้จะต้องเดินทางไปที่ศาลอาญารัชดาต่อ เนื่องจากพนักงานสอบสวนเห็นว่าเป็นคดีที่มีโทษสูงจำเป็นต้องขออำนาจศาลเพื่อฝากขังในเวลา 14.00 น.

 

คลิปให้สัมภาษณ์ของ 3 ผู้ปราศรัยในการชุมนุมเมื่อ 10 ก.พ. 61 หลังตำรวจ สน.นางเลิ้ง ส่งศาลขอฝากขัง โดยศาลยกคำร้องในเวลาต่อมาเนื่องจากเห็นว่ามาพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียก

คดีดังกล่าว สืบเนื่องจากการจัดกิจกรรมชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มคนอย่างเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2561 ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยพันเอกบุริทร์ ทองประไพ นายทหารปฏิบัติการประจำกองบัญชาการกองทัพบก ปฏิบัติหน้าที่ คณะทำงานด้านกฎหมายส่วนงานการรักษาความสงบแห่งชาติ เข้าพบพนักงานสอบสวนสน.นางเลิ้ง เมื่อวันที่ 14 ก.พ. เพื่อแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษต่อ 1. รังสิมันต์ โรม ,2. สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ ,3. กาณฑ์ พงษ์ประพันธ์ ,4. อานนท์ นำภา, 5. ณัฏฐา มหัทธนา 6. สกฤษณ์ เพียรสุวรรณ และ 7.ชลธิชา แจ้งเร็ว

ในข้อหา ร่วมกันมั่วสุม หรือชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใดๆ ที่มีจำนวนคนตั้งแต่ 5 คน ขึ้นไป และร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชน ด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใด อันมิใช่เป็นการกระทำ ภายในความมุ่งหมาย แห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็น หรือติชมโดยสุจริต เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่อง ในหมู่ประชาชน ถึงขนาดจะก่อความไม่สงบ ขึ้นในราชอาณาจักร หรือเพื่อประชาชนล่วงละเมิดกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 และในข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ห้ามชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป

สำหรับวันนี้มีผู้มารายตัว 3 คน ขณะที่ก่อนหน้านี้ ณัฏฐา มหัทธนา ได้มารายงานตัวไปก่อนหน้าแล้ว โดยพนักงานสอบสวนได้ปล่อยตัวไม่ได้มีการขออำนาจศาลฝากขังแต่อย่างใด ส่วนรังสิมันต์ โรม และชลธิชา แจ้งเร็ว ได้ขอเลื่อนเข้ารายงานตัวกับพนักงานสอบสวนออกไปก่อน ส่วนอานนท์ นำภา กำลังเดินทางไปรายงานตัว

ต่อมาเวลา 16.15 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานเพิ่มเติ่มว่า อานนท์ นำภา ได้เข้ารายงานตัวกับพนักงานสอบสวนแล้ว และผู้ต้องหาทั้ง 4 คนได้เดินทางมายังศาลอาญารัชดา โดยเวลาประมาณ 15.00 น. พนักงานสอบสวน สน.นางเลิ้ง ได้มายื่นคำร้องต่อศาลอาญาเพื่อขอฝากขังผู้ต้องหาทั้ง 4 ระหว่างที่ตำรวจทำสำนวนการสอบสวน ทนายความผู้ต้องหาทั้งสี่คัดค้านการขอฝากขัง

โดยส่วนหนึ่งในบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาระบุว่า การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาเป็นการชุมนุมเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อโค่นล้มและขับไล่รัฐบาลปัจจุบันซึ่งไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ อีกทั้งเป็นการชุมนุมเพื่อต่อต้านรัฐบาล และ คสช. ในเรื่องการเลื่อนการเลือกตั้งออกไป การใช้อํานาจไม่ถูกต้องของรัฐบาลและ คสช. การทุจริตในการใช้เงินจากภาษีของประชาชน

ทั้งนี้ศาลอาญาสั่งยกคำร้องฝากขังของพนักงานสอบสวน เนื่องจากผู้ต้องหามาพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียก ไม่มีเหตุให้ต้องควบคุมตัวผู้ต้องหา จึงให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้งสี่โดยไม่มีเงื่อนไข

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หน่วยพิเศษฮอนดูรัสที่ได้รับการฝึกฝนโดยสหรัฐฯ บุกค้นบ้านผู้คนกลางดึกอย่างผิดกฎหมาย

Posted: 22 Feb 2018 12:47 AM PST

สื่อดิอินเตอร์เซปท์รายงานถึงสถานการณ์การปราบปรามผู้คนหลังเหตุประท้วงการโกงการเลือกตั้งในฮอนดูรัสเมื่อปีที่แล้วที่ทำให้ ฮวน ออร์ลันโอ เฮอร์นันเดซ ได้เป็นประธานาธิบดี โดยมีการบุกค้นบ้านคนยามวิกาล แม้จะขัดต่อกฎหมายของฮอนดูรัสเองก็ตาม นอกจากนี้ยังมีเรื่องที่หน่วยความมั่นคงพิเศษที่ก่อเหตุเช่นนี้เคยได้รับจากฝึกฝนจากสหรัฐฯ

เหตุเกิดกลางดึกคืนหนึ่งในเมืองพิเมียนตา ประเทศฮอนดูรัส ครอบครัวที่มีเด็กอายุ 3 กับ 6 ขวบ นอนหลับอยู่ในบ้านอยู่ดีๆ ก็มีเจ้าหน้าที่ตำรวจหน่วยพิเศษบุกพังบ้านของพวกเขา ไล่รื้อบ้านของพวกเขากระจัดกระจาย ฉีกกระชากแม้แต่หมอนและเตียงนอนโดยที่คนในครอบครัวได้แต่ยืนมอง เด็กๆ ร้องไห้จ้าด้วยความกลัว "พวกเขาทำเหมือนเราเป็นอาชญากร ชี้อาวุธมาที่เรา"

เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นผลต่อเนื่องมาจากความพยายามปราบปราม ลิดรอนเสรีภาพในการชุมนุมของประชาชนหลังการเลือกตั้งที่เกิดปัญหาในช่วงเดือน พ.ย. 2560 และถึงแม้ว่าตามกฎหมายฮอนดูรัสแล้วการค้นตามหมายค้นควรจะกระทำได้เฉพาะในช่วงเวลากลางวันคือระหว่าง 6 โมงเช้า ถึง 6 โมงเย็น เท่านั้น แต่หัวหน้าฝ่ายความมั่นคงฮอนดูรัสก็อ้างว่าการบุกรุกตรวจค้นและจับกุมตามอำเภอใจของพวกเขา "กระทำอย่างถูกกฎหมาย"

หน่วยความมั่นคงพิเศษที่ก่อการเช่นนี้มีชื่อเรียกจากทางการฮอนดูรัสว่า TIGRES พวกเขากระทำการบุกตรวจค้นยามวิกาลมา 10 ครั้งแล้ว และจับกุมชาวเมืองพิเมียนตา 11 ราย โดยอ้างข้อหาเกี่ยวกับการทำลายทรัพย์สินและทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจในการประท้วงต่อต้านการโกงการเลือกตั้งที่ทำให้ ฮวน ออร์ลันโอ เฮอร์นันเดซ จากพรรคอนุรักษ์นิยมได้รับชัยชนะ

ดิอินเตอร์เซฟท์นำเสนอว่า TIGRES เป็นหน่วยพิเศษที่กลายเป็นข้อวิพากษ์วิจารณ์มาตั้งแต่การจัดตั้งในปี 2556 แล้ว หน่วยพิเศษกลุ่มนี้ได้รับการฝึกฝนจากหน่วยกรีนเบเรต์สจากกองกำลังพิเศษที่ 7 (สังกัดกองทัพอากาศ) สหรัฐฯ อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ กองกำลังกลุ่มนี้มีประวัติเสียหายจากกรณีการโจรกรรมและทุจริตคอร์รัปชัน รวมถึงการลอบค้ายา นอกจากนี้ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการปราบปรามประชาชนในช่วงวิกฤตการเมืองฮอนดูรัส

นอกจากนี้รัฐบาลโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ยังแสดงการสนับสนุนเฮอร์นัสเดซ ผู้เป็นพันธมิตรของสหรัฐฯ ในภูมิภาคมาเป็นเวลานานด้วย

การปราบปรามผู้ต่อต้านยังเกิดขึ้นหนักมากเป็นพิเศษในพื้นที่ตะวันตกเฉียงเหนือของฮอนดูรัส ที่เป็นทั้งฐานของฝ่ายต่อต้านและเป็นฐานเศรษฐกิจสำคัญ โดยที่ผู้ประท้วงทำการต่อต้านด้วยการปิดถนนทางหลวงเป็นเวลานานหลายเดือน 

ฮัวคิน เมจิยา ทนายความที่ทำงานเป็นนักวิจัยด้านสิทธิมนุษยชนขององค์กที่ชื่อ ERIC กล่าวว่ากองทัพฮอนดูรัสทำเหมือนพื้นที่ของพวกเขาเป็นพื้นที่สงครามโดยมีการใช้อาวุธปืนยิงใส่ประชาชนที่ชุมนุมประท้วงโดยปราศจากอาวุธ นอกจากนี้ยังมีการยิงแก็สน้ำตาใส่ผู้คนโดยไม่แยกแยะรวมถึงยิงใส่บ้านเรือนประชาชน คนที่ถูกจับก็ได้รับการปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรม บางกรณีก็มีการบุกเข้าบ้านคนอื่นโดยไม่มีหมายค้น

ทางด้านข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติก็เคยออกแถลงการณ์ประณามรัฐบาลที่ใช้กำลังเกินกว่าเหตุกับผู้ชุมนุม รวมถึงโจมตีผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชนและคนทำงานสื่อ โดยมีหลักฐานจากหลายแหล่งที่แสดงให้เห็นว่ามีใช้อาวุธปืนและการบีบบังคับไล่ที่ผู้ชุมนุมเป็นเครื่องมือในการปราบปรามประชาชน

 

เรียบเรียงจาก

U.S.-TRAINED POLICE ARE HUNTING DOWN AND ARRESTING PROTESTERS AMID POST-ELECTION CRISIS IN HONDURAS, The Intercept, 20-02-2018

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ยกฟ้อง 2 จำเลย คดีแอบอ้างสมเด็จพระเทพฯ ม.112 เหตุพยานหลักฐานยังมีเหตุสงสัย

Posted: 22 Feb 2018 12:44 AM PST

ศาลจังหวัดกำแพงเพชรยกฟ้อง 2 จำเลยในคดี ม.112 'แอบอ้างสมเด็จพระเทพฯ' เหตุไม่มีพยานหลักฐานว่าจำเลยอ้างและแสดงตัวเป็นหม่อมหลวง รวมทั้งก็ยังมีเหตุสงสัยตามสมควรเช่นกัน ปล่อยตัวจากเรือนจำในช่วงเย็นวันนี้

22 ก.พ.2561 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า วันนี้ ศาลจังหวัดกำแพงเพชรนัดฟังคำพิพากษาในคดี "แอบอ้างสมเด็จพระเทพฯ" ซึ่งมีจำเลยที่ต่อสู้คดีสองราย ได้แก่ อัษฎาภรณ์ และนพฤทธิ์ (สงวนนามสกุล) ทั้งสองคนถูกกล่าวหาในสามข้อหา ได้แก่ ข้อหาตามมาตรา 112, ข้อหาร่วมกันปลอมและใช้เอกสารราชการ และข้อหาฉ้อโกงประชาชน

ศาลได้อ่านคำพิพากษาโดยสรุปว่า สำหรับจำเลยที่ 2 แม้พยานหลักฐานของโจทก์จะระบุว่าจำเลยที่ 2 ได้ไปร่วมทำบุญในวันที่ 26 เม.ย. 2558 และได้ไปร่วมจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย แต่ก็เป็นไปเพราะได้มีผู้จัดงานทำการเชิญและผายมือเชิญให้ขึ้นไป ไม่ปรากฏว่าได้มีการแสดงตัวว่าเป็นหม่อมหลวงแต่อย่างใด และแม้ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ไปร่วมงานพร้อมกับ กิตติภพและ วิเศษ ซึ่งให้การรับสารภาพในคดีก่อนหน้านี้ แต่ก็ไม่มีพยานหลักฐานว่าจำเลยที่ 2 ได้อ้างและแสดงตัวเป็นหม่อมหลวง สำหรับจำเลยที่ 1 ก็ยังมีเหตุสงสัยตามสมควรเช่นกัน ศาลมีคำพิพากษายกฟ้องเช่นกัน

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานด้วยว่า การอ่านคำพิพากษาเป็นไปอย่างรวดเร็วตั้งแต่ก่อนช่วงเวลา 9.00 น. ทำให้ทนายความและผู้สังเกตการณ์ในคดีไปไม่ทันรับฟัง โดยจำเลยทั้งสองคนจะได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำในช่วงเย็นวันนี้

สำหรับคดีนี้ ทั้งสองคนถูกกล่าวหาว่าได้ร่วมกันปลอมเอกสารหนังสือราชการของสำนักราชเลขานุการ กองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และได้นำไปอ้างแสดงต่อเจ้าอาวาสวัดไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร และยังมีการกล่าวอ้างว่าสามารถที่จะทูลเชิญสมเด็จพระเทพฯ มาร่วมในพิธีของวัดได้ โดยมีการกล่าวอ้างแสดงตนว่าเป็นหม่อมหลวง พร้อมเรียกเงินค่าใช้จ่ายต่างๆ จากผู้เสียหาย คดีมีการสืบพยานโจทก์และจำเลยระหว่างเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2560

คดีนี้ในตอนแรก อัยการมีการสั่งฟ้องจำเลยรวมทั้งสี่ราย เมื่อเดือนสิงหาคม 2558 โดยมีสองรายได้แก่ กิตติภพและวิเศษให้การรับสารภาพ ศาลได้พิพากษาลงโทษตามความผิดมาตรา 112 ให้จำคุก 4 ปี ความผิดข้อหาสวมเครื่องแบบของเจ้าพนักงานโดยไม่มีสิทธิ ให้ลงโทษจำคุก 4 เดือน และความผิดข้อหาร่วมกันปลอมและใช้เอกสารราชการ ให้ลงโทษจำคุก 3 ปี รวมโทษจำคุก 7 ปี 4 เดือน ให้การรับสารภาพ จึงลดโทษเหลือจำคุกคนละ 3 ปี 8 เดือน

ต่อมา อัยการโจทก์มีการฟ้องร้องในข้อหาฉ้อโกงประชาชนต่อทั้งสี่คนเข้ามาอีก โดยที่กิตติภพและวิเศษได้ให้การรับสารภาพ และศาลได้พิพากษาให้ยกฟ้องคดี เนื่องจากเห็นว่าเป็นความผิดจากการกระทำเดียวกันกับคดีมาตรา 112 ก่อนหน้านี้ และศาลได้พิพากษาลงโทษตามมาตรา 112 ที่มีโทษหนักที่สุดแก่จำเลยไปแล้ว จึงไม่ควรให้จำเลยต้องรับโทษอีก ต่อมาวิเศษได้รับการปล่อยตัวหลังได้รับการลดหย่อนโทษแล้ว เมื่อเดือนกันยายน 2560 ส่วนกิตติภพได้รับโทษในคดีอื่นต่อ

สำหรับนพฤทธิ์ ปัจจุบันอายุ 31 ปี เป็นคน จ.อุบลราชธานี เป็นอดีตนักมวยสากลและพนักงานขายของบริษัทใหญ่แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เขายืนยันตลอดมาว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกระทำตามที่ถูกกล่าวหาและไม่เคยได้รับผลประโยชน์ใดๆ เพียงแต่ถูกอดีตรุ่นพี่ในมหาวิทยาลัยชวนไปทำบุญที่จังหวัดกำแพงเพชรเพียงครั้งเดียว โดยตั้งแต่ถูกจับกุมและคุมขัง ญาติเคยยื่นขอประกันตัว 5 ครั้ง แต่ศาลไม่อนุญาต ทำให้เขาถูกคุมขังในเรือนจำมาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 2 ปี 6 เดือน

ข้อต่อสู้ของนพฤทธิ์ในชั้นศาล นอกจากยืนยันว่าไม่ได้ร่วมกระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหา โดยไม่ได้มีพยานหลักฐานฝ่ายโจทก์ยืนยันได้แล้ว ยังรวมถึงข้อต่อสู้ทางกฎหมาย เรื่องสมเด็จพระเทพฯ ไม่ใช่บุคคลตามองค์ประกอบความผิดของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และการฟ้องของโจทก์ในคดีนี้เป็นการฟ้องซ้อนกับคดีก่อนที่ได้ฟ้องในศาลจังหวัดกำแพงเพชรเช่นกัน

สำหรับประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 บัญญัติบุคคลที่ได้รับความคุ้มครองประกอบด้วยพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ความพยายามหลังฉากของเหล่านักการทูต กว่าจะทำให้เกาหลีเหนือเข้าร่วม 'โอลิมปิกฤดูหนาว'

Posted: 22 Feb 2018 12:34 AM PST

กีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวในครั้งนี้มีความสำคัญประการหนึ่งต่อการทูตและความมั่นคงของโลก คือเรื่องที่มันกลายเป็นการพยายามสานสัมพันธ์เชิงสันติภาพระหว่างประเทศเกาหลีใต้และเกาหลีเหนือ ทว่าหนทางของการโอลิมปิกในฐานะ "มหกรรมกีฬาแห่งสันติภาพ" ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย และมีการต่อสู้ทางการทูตมายาวนาน โดยเฉพาะจากฝ่ายเกาหลีใต้ที่ต้องแบ่งรับแบ่งสู้จากความขัดแย้งระหว่างเกาหลีเหนือกับสหรัฐฯ ในช่วงปี 2560 ที่ผ่านมา ขณะเดียวกันก็มีการประเมินว่าโอลิมปิกจะช่วยทำให้เกิดการเจรจาปลดอาวุธนิวเคลียร์ได้จริงหรือไม่

ธงรวมชาติเกาหลี (ที่มา: วิกิพีเดีย)

ชอยมุนซุน ผู้ว่าราชการจังหวัดคังวอน เกาหลีใต้ (ที่มา: 최광모/Wikipedia)

 

เมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2561 รายงานในเว็บไซต์นิวยอร์กไทม์ ชวนสำรวจเส้นทางการใช้กีฬาเป็นเครื่องมือทางการทูตในการจัดการปัญหาวิกฤตนิวเคลียร์เกาหลีเหนือ ทำให้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งล่าสุดทางการเกาหลีเหนือส่งตัวแทนเข้าร่วมด้วยทำให้มองว่าความสัมพันธ์อันแสนยะเยือกของเกาหลีเหนือกับประเทศโลกเสรี

นิวยอร์กไทม์ระบุถึงกรณีที่ชอยมุนซุน ผู้ว่าราชการจังหวัดคังวอน ซึ่งอำเภอพย็องชัง ที่ตั้งของสถานที่จัดงานโอลิมปิกฤดูหนาวอยู่ในจังหวัดนี้ เขาเคยเดินทางไปคุนหมิง ประเทศจีน พร้อมกับลูกทีมฟุตบอลเยาวชนอายุไม่เกิน 15 ปี ของเกาหลีใต้เพื่อขอสานสัมพันธ์ และหลังจากที่เขากลับสู่เกาหลีใต้แล้ว รัฐบาลเกาหลีใต้ก็ส่งสัญญาณในเชิงยื่นมือให้กับเกาหลีเหนือต่อด้วยการเลื่อนการซ้อมรบกับสหรัฐฯ ชั่วคราว จากที่ผู้นำเกาหลีเหนือประณามการซ้อมรบของพวกเขามานานแล้ว

ในช่วงต้นปีนี้ ความพยายามของเกาหลีใต้ก็เป็นผล คิมจองอึน ผู้นำเกาหลีเหนือประกาศว่าจะส่งนักกีฬาเข้าร่วมโอลิมปิกฤดูหนาวรวมถึงร่วมเดินขบวนในพิธีเปิดภายใต้ธงรวมชาติของเกาหลีเหนือ-ใต้ จนกลายเป็นช่วงเวลาประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของคาบสมุทรเกาหลีที่แบ่งแยกกันมานาน

ทว่าการโน้มน้าวให้เกาหลีเหนือเข้าร่วมก็ไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ แต่มาจากการดำเนินการทางการทูตหลังฉากที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลานานเกือบปี ในช่วงเวลานั้นเองก็มีเหตุการณ์ความขัดแย้งหน้าฉากที่ชวนให้สะเทือนความสัมพันธ์อย่างการทดลองยิงขีปนาวุธข้ามพรมแดนของเกาหลีเหนือจนทำให้ผู้นำสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ เคยประกาศว่าจะโต้ตอบเกาหลีเหนือด้วย "เปลวเพลิงและความเดือดดาล" 

แต่ท่ามกลางสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการยกระดับเป็นความรุนแรงเช่นนี้เองเกาหลีใต้และคณะกรรมการโอลิมปิกก็ยังพยายามกู้วิกฤตนิวเคลียร์ผ่านช่องทางการสื่อสารกับผู้นำเกาหลีเหนือที่มีอยู่น้อยนิด การวางสถานที่จัดโอลิมปิกเองก็พยายามขับเน้นนัยยะของ "กีฬาเพื่อสันติภาพ" ตามแนวคิดดั้งเดิมของกรีซโบราณ โดยยกให้เมืองพย็องชังที่อยู่ติดกับพรมแดนความขัดแย้งเป็น "จุดขาย"

อย่างไรก็ตามในอดีตมีหลายครั้งที่เกาหลีเหนือพยายามขัดขวางมหกรรมกีฬา ไม่ว่าจะเป็นการวางระเบิดสายการบินในช่วงโอลิมปิกฤดูร้อนในกรุงโซลปี 2531 ในการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2545 ที่เกาหลีใต้และญี่ปุ่นร่วมเป็นเจ้าภาพก็มีเหตุจมเรือลาดตระเวณของเกาหลีใต้ในเขตน่านน้ำที่เป็นข้อพิพาท

กระนั้น โทมัส บาค ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากลก็ยังคงพยายามเชื้อชวนเกาหลีเหนือให้เข้าร่วม มีการเข้าพบกับเจ้าหน้าที่เกาหลีเหนือมาตั้งแต่ปี 2559 ในช่วงโอลิมปิกฤดูร้อนที่ริโอเดอจาเนโร โดยวางแผนว่าจะให้ความช่วยเหลือทางการเงินและทางการขนส่งลำเลียงเพื่อให้นักกีฬาเกาหลีเหนือเดินทางไปพย็องชังได้โดยไม่ละเมิดการคว่ำบาตรของสหประชาชาติ รวมถึงในปีที่แล้วก็มีการเชิญเกาหลีเหนืออย่างเป็นทางการในการเสนอจ่ายค่าเดินทางการสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับนักกีฬา แต่เกาหลีเหนือก็ยังคงรั้งรอ

ต่อมาเกาหลีใต้ก็เกิดการชุมนุมต่อต้านผู้นำปาร์กกึนเฮ ในช่วงนั้นเองบาคก็พยายามเข้าหาผู้นำจีนสีจิ้นผิง แม้ว่าการเจรจาต่อรองผ่านมื้ออาหารค่ำจะทำให้สีจิ้นผิงรับฟังในเรื่องนี้ แต่ผู้นำจีนก็พูดถึงความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์กับเกาหลีเหนือที่แสดงให้เห็นว่าอิทธิพลต่อเกาหลีเหนือของพวกเขาก็เป็นไปอย่างจำกัดเช่นกัน ทำให้บาคพยายามหันไปหาประธานาธิบดีทรัมป์ของสหรัฐฯ แทน แต่ในช่วงที่พยายามโน้มน้าวในเรื่องนี้เองก็เกิดวิกฤตเกาหลีเหนือทดลองขีปนาวุธขึ้นในช่วงกลางปี 2560

ในช่วงที่เกาหลีใต้เปลี่ยนผ่านทางการเมืองแบบเป็นประชาธิปไตยทำให้ได้ผู้นำผ่านการเลือกตั้งคนใหม่เป็นพรรคหัวก้าวหน้าเอียงซ้ายนำโดยมุนแจอิน และผู้นำคนนี้ก็ชูแนวทางการทูตแบบเกลี้ยกล่อมเกาหลีเหนืออยู่เสมอแม้แต่ท่ามกลางวิกฤตที่เกาหลีเหนือทดลองขีปนาวุธในปีที่แล้ว เกาหลีใต้ยุคมุนแจอินร่วมมือกับคณะกรรมการโอลิมปิกในการโน้มน้าวในเกาหลีเหนือเข้าร่วมอย่างต่อเนื่อง ผ่านทางสุนทรพจน์ที่เบอร์ลิน ขณะที่กรรมการโอลิมปิกพยายามเข้าหาทางจีนอีกครั้ง แม้ว่าจะล้มเหลวเพราะจีนประกาศแสดงความไม่พอใจการทดลองอาวุธของเกาหลีเหนืออย่างชัดเจน

วิกฤติเริ่มส่อเค้าลางทะมึนมากขึ้นอีกเมื่อเกาหลีเหนือทดลองนิวเคลียรใต้ดินในช่วงเดือน ก.ย. ทำให้ชาติตะวันตกบางส่วนอย่างแคนาดา ฝรั่งเศส และออสเตรเลียกังวลในเรื่องความปลอดภัยและพิจารณาว่าอาจจะไม่ส่งตัวนักกีฬาไปเข้าร่วมถ้าหากไม่มีการการันตีความปลอดภัย แต่บาคก็ยังคงยืนยันจะไม่ย้ายสถานที่จัดการแข่งขันโดยบอกว่าถ้าเขาย้ายมันจะขัดกับแนวคิดเรื่อง "สันติภาพการการทูต" ของตัวเอง

ส่วนมุนแจอินก็เคยกล่าวเกี่ยวกับแผนการจัดโอลิมปิกที่พย็องชังในที่ประชุมสหประชาชาติไว้ว่า "หัวใจของผมจะเต็มไปด้วยความเปี่ยมปิติเมื่อผมได้จินตนาการเห็นนักกีฬาเกาหลีเหนือเดินขบวนเข้าสู่สนามแข่งในช่วงพิธีเปิด"

อย่างไรก็ตามปัญหาของมุนแจอินคือ เขาไม่มีช่องทางที่จะเข้าถึงการสื่อสารกับคิมจองอึนได้จากการที่เจ้าหน้าที่บางส่วนที่เกาหลีใต้เคยใช้ติดต่อกับเกาหลีเหนือถูกกวาดล้างโดนคิมจองอึนหรือไม่ก็เกษียณอายุและในช่วงสมัยปาร์กกึนเฮความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศก็แย่ลง การทดลองอาวุธอีกครั้งหนึ่งในช่วงเดือน พ.ย. 2560 ก็ทำให้ความหวังของโอลิมปิกเพื่อสันติภาพดูริบหรี่ลงไปอีก

ในช่วงนั้นเองมุนแจอินพยายามโน้มน้าวผู้นำสหรัฐฯ เพื่อความร่วมมือกับโอลิมปิกเพราะเกาหลีเหนือแสดงท่าทีอยากทำข้อตกลงกับสหรัฐฯ เท่านั้นในกรณีการเจรจาอาวุธนิวเคลียร์ ทรัมป์ให้คำมั่นกับมุนแจอินว่าเขาตกลงจะพยายามทำให้โอลิมปิกเป็นไปอย่างราบรื่น แต่ขณะเดียวกันความสัมพันธ์ระหว่างทรัมป์กับมุนแจอินก็ดูไม่ดีนัก ทรัมป์ยังเคยแสดงความไม่สบอารมณ์ในความนิยมของมุนแจอินถึงขั้นกล่าวหาว่าเขา "พะเน้าพะนอ"

อย่างไรก็ตามในเดือน ธ.ค. 2560 เจ้าหน้าที่ะดับสูงของสหประชาชาติ เจฟฟรีย์ เฟลด์แมน ก็ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลทรัมป์ในการเดินทางไปเปียงยาง เกาหลีเหนือ เพื่อพบปะกับทูตที่นั่น และหวังจะใช้โอลิมปิกเป็นสิ่งเชื่อมต่อเพื่อการเจรจาหารือกันได้ และต่อมารัฐบาลทรัมป์ก็ตกลงเลื่อนการซ้อมรบร่วมกับเกาหลีใต้ตามข้อเสนอของมุนแจอิน ที่แม้เจ้าหน้าที่บางส่วนจะมองว่าเป็นการยอมตามให้คิมจองอนมากเกินไป แต่หลังจากกระบวนการการทูตทั้งหลายฝ่ายสหรัฐฯ ก็เลื่อนการซ้อมรบขณะที่เกาหลีเหนือก็ประกาศจะส่งนักกีฬาเข้าร่วม

การออกมาประกาศข่มขู่จะ "ผลิตอาวุธนิวเคลียร์ทีละมากๆ" ของเกาหลีเหนือในช่วงปีใหม่ก็ไม่ได้ทำให้ประเทศโลกเสรีทั้งหลายย่อท้อต่อความพยายามในการทูตโอลิมปิก สหรัฐฯ เองยังปกป้องการเลื่อนซ้อมรบเพื่อให้เกาหลีใต้ได้เน้นการรักษาความปลอดภัยในโอลิมปิก และแรงเหวี่ยงของสถานการณ์ความสนใจก็หันมาอยู่ที่โอลิมปิกแทนการข่มขู่

สิ่งเหล่านี้ยังทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่สร้างความประหลาดใจให้ผู้คนอย่างการปรากฏตัวของคิมโยจอง น้องสาวของคิมจองอึนเข้าร่วมในพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว ถือเป็นครั้งแรกที่สมาชิกครอบครัวผู้นำรุ่นปัจจุบันของเกาหลีเหนือมาเยือนในเกาหลีใต้

ท่ามกลางแสงไฟที่ส่องไปยังโอลิมปิก นิวยอร์กไทม์ก็ระบุว่าการแก้ไขปัญหานิวเคลียร์คงไม่เกิดข้นง่ายๆ จากการที่รองประธานาธิบดีไมค์ เพนซ์ ของสหรัฐฯ พูดถึงเกาหลีเหนือในเชิงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักเมื่อไม่นานมานี้ นักวิเคราะห์บางส่วนก็มองว่าโอลิมปิกจะทำให้เกาหลีเหนือมีเวลาในการซ่อมแซมเพือประเมินผลการทดลองนิวเคลียร์ของตัวเอง

อย่างไรก็ตาม ซู มี เทอร์รี นักวิจัยอาวุโสที่ศูนย์เพื่อการศึกษาด้านยุทธศาสตร์และนานาชาติในสหรัฐฯ กล่าวว่า โอลิมปิกฤดูหนาวในครั้งนี้เป็นโอกาสที่ดีที่เกาหลีเหนือจะได้แสดงออกตัวเองในฐานะประเทศธรรมดาทั่วไปแทนที่จะเป็นประเทศนอกคอก

มุนแจอินเชื่อว่าการเข้าร่วมโอลิมปิกขของเกาหลีเหนืออาจจะทำให้เกิดการเจรจาปลดอาวุธนิวเคลียร์ในอนาคตได้ ขณะเดียวกันเขาก็ให้เครดิตกับโดนัลด์ ทรัมปฺ์ ที่ช่วยให้เรื่องนี้เกิดขึ้นซึ่งทรัมป์ก็รับหน้าและคุยโวเรื่องที่ว่าโอลิมปิกที่มีเกาหลีเหนือเข้าร่วมเกิดขึ้นได้เพราะตัวเอง

 

เรียบเรียงจาก

The Quiet Diplomacy to Save the Olympics in a Nuclear Standoff, The New York Times, 08-02-2018

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทุกข์คนทำงาน: ศาลอังกฤษให้เจ้าของจ่ายค่าชดใช้หลังสุนัขกัดพนักงานไปรษณีย์นิ้วขาด

Posted: 21 Feb 2018 11:41 PM PST

ศาลอังกฤษพิพากษาว่าเจ้าของสุนัขมีความผิดที่ปล่อยให้กัดพนักงานไปรษณีย์หญิงจนนิ้วขาดให้จ่ายค่าชดเชยและทำงานบำเพ็ญประโยชน์ ด้านสหภาพแรงงานคนทำงานภาคสื่อสารระบุถือเป็นข้อสรุปที่น่าพึงพอใจ หลังพนักงานไปรษณีย์ทั่วประเทศต้องทนทุกข์กับการถูกสุนัขทำร้ายบ่อยครั้ง

สหภาพแรงงานคนทำงานภาคสื่อสารของอังกฤษ ระบุพนักงานส่งไปรษณีย์ต้องทนทุกข์กับการทำร้ายจากสุนัข ที่มาภาพประกอบ: flickr.com/Jeppestown (CC BY-SA 2.0)

22 ก.พ.2561 สหภาพแรงงานคนทำงานภาคสื่อสารของอังกฤษ (CWU) รายงานว่าจากกรณีที่พนักงานไปรษณีย์หญิงซึ่งเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานที่เมืองสต็อคพอร์ท ถูกสุนัขกัดระหว่างปฏิบัติหน้าที่ส่งพัสดุไปรษณีย์เมื่อเดือน ก.ค. 2560 ศาลได้ตัดสินในเดือนนี้ (ก.พ. 2561) ว่าเจ้าของสุนัขมีความผิดต้องชดใช้ค่าสูญเสียอวัยวะให้เธอเป็นจำนวนเงิน 750 ปอนด์ (ประมาณ 33,000 บาท) รวมทั้งมีคำสั่งให้เจ้าของสุนัขทำงานบำเพ็ญประโยชน์แก่ชุมชนเป็นเวลา 160 ชั่วโมง

ทั้งนี้สหภาพแรงงาน CWU ระบุว่าการตัดสินของศาลครั้งนี้เป็นข้อสรุปที่น่าพอใจและเป็นข้อเตือนใจสำหรับเจ้าของสุนัข ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาพนักงานไปรษณีย์ทั่วประเทศมักถูกสุนัขทำร้าย เนื่องจากเจ้าของไม่สามารถควบคุมและมีการป้องกันที่ดี สหภาพแรงงานยังระบุว่าต้องยกเครดิตส่วนหนึ่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ทำการสืบสวนอย่างเป็นธรรมในคดีนี้ ซึ่งต้องการให้คดีนี้เป็นตัวอย่างแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่อื่น ๆ อีกด้วย

อนึ่งในต่างประเทศ ปัญหาพนักงานไปรษณีย์ถูกสุนัขทำร้ายมักจะมีการเก็บสถิติไว้ ตัวอย่างเช่นเมื่อปี 2560 ที่สหรัฐอเมริกาสำนักงานไปรษณีย์สหรัฐอเมริกา (U.S. Postal Service) เปิดเผยตัวเลขสถิติพนักงานไปรษณีย์ที่ถูกสุนัขทำร้ายเมื่อปี 2559 มีถึง 6,755 ครั้ง เพิ่มขึ้น 206 ครั้งจากปี 2558 ทั้งนี้ในแต่ละปีคนอเมริกันจะถูกสุนัขทำร้ายประมาณ 4.5 ล้านครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเด็ก และในปี 2559 ที่ผ่านมาสุนัขได้ทำร้ายผู้คนในสหรัฐเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 3  แม้ว่าค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อการเรียกร้องประกันกรณีถูกสุนัขทำร้ายจะลดลงในปีที่แล้วมากกว่าร้อยละ 10 แล้วก็ตาม โดยมีมูลค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 33,230 ดอลลาร์

ที่มาเรียบเรียงจาก

LTB 101/18 Stockport Postwoman – Serious Dog Attack, Finger Amputation 8.7.17 –‎ Guilty Dog Owner Sentenced at Stockport Magistrates Court 15.02.18: Summary Report (cwu.org, 15/2/2018)
Booming Online Retail Deliveries Mean More Dog Attacks on Postal Workers (fortune.com, 7/4/2017)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น