โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ยอดประมูลภาพวาด 'เจียม ณ ปารีส' โดยไข่แมวทะลุ 2.2 แสน เข้ากองทุนสู้คดีนักโทษการเมือง

Posted: 18 Feb 2018 08:16 AM PST

ผู้ชนะการประมูลภาพวาด 'สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล' โดยเพจไข่แมว ทะลุ 221,120 บาท เข้าบัญชี "เพื่อช่วยเหลือผู้ต้องหาทางการเมืองและความคิด"

18 ก.พ. 2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการประมูล ภาพวาด อาจารย์ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ที่ วาดโดยไข่แมว พร้อมลายเซ็นของแท้ เซ็นโดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ณ ปารีส ขนาดภาพ 6 X 8 นิ้ว ผ่านเพจ 'ขายหมดทุกสิ่งอย่างบนโลกและจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาล' ตั้งแต่ 14.00 น. ที่ผ่านมานั้น ได้ผู้ชนะแล้วยอด 221,120 บาท โดยเพจขายหมดทุกสิ่งอย่างฯ ระบุเมื่อเวลา 22.18 น. ที่ผ่านมาด้วยว่า ตอนนี้ผู้ชนะโอนแล้ว รอเช็คกับทางบัญชีพรุ่งนี้เช้า

สำหรับการประมูลครั้งนี้ ระบุด้วยว่า รายได้ทั้งหมดไม่หักค่าใช้จ่าย เข้าบัญชี  "เพื่อช่วยเหลือผู้ต้องหาทางการเมืองและความคิด"  บัญชีกสิกรไทย เลขที่บัญชี 006-8-98250-2 ดูแลบัญชีโดย อานนท์ นําภา , ไอดา อรุณวงศ์ ณ อยุธยา , วีรนันท์ ฮวดศรี

ภาพดังกล่าววาดโดยเฟสบุ๊คแฟนเพจ 'ไข่แมว' เพจการ์ตูนล้อเลียนสังคมการเมืองชื่อดัง ที่เพิ่งกลับมาโพสต์ในเพจเครือข่ายอีกครั้งที่ชื่อ 'ไข่แมวx' ภายหลังจากการหายไป ตั้งแต่ 18 ม.ค.ที่ผ่านมา โดยยังไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งก่อนหายไปนั้นมียอดกดถูกใจกว่า 4 แสนราย

ขณะที่ สมศักดิ์ เป็นอดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งปัจจุบันได้ลี้ภัยทางการเมืองอยู่ประเทศฝรั่งเศส ภายหลังการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เขาใช้เฟสบุ๊คโพสต์ความคิดเห็นและวิพากษ์สถานการณ์ทางการเมือง สถาบันพระมหากษัตริย์ ภาพยนตร์ แบบที่หาไม่ได้ในประเทศไทย ช่วงหลังเริ่มมีการนำแมวมาร่วมแจมด้วย นอกจากนี้สมศักดิ์ยังมีฉายาในโลกโซเชียลเน็ตเวิร์กด้วยว่า "บาโฟ" มาจากบอสของเกมส์ออนไลน์ ด้วยสไตล์การไล่ถกเถียงของสมศักดิ์ในโลกเฟสบุ๊คทำให้มีผู้เรียกว่าเป็นปรากฏการณ์  "บาโฟลง" เหมือนบอสมาลงในพื้นที่การถกเถียงดังกล่าว

สำหรับยอดผู้ติดตาม สมศักดิ์ ในเฟสบุ๊ค นั้นไม่สามารถระบุได้เนื่องจากถูกปิดการแสดงผล เพราะก่อนหน้านี้ หลังปรากฏการณ์ BBC Thai และไผ่ ดาวดิน มีรายงานข่าวว่าตำรวจเริ่มเรียกประชาชนธรรมดาผู้ใช้เฟซบุ๊กไป "ปรับทัศนคติ" บางกรณีบุกถึงบ้าน คุยกับครอบครัวโดยระบุชัดว่าเป็นเพราะกดไลก์ติดตามเฟสบุ๊ค สมศักดิ์ (รายละเอียดเพิ่มเติม) ทั้งนี้เมื่อวันที่ 8 ธ.ค.2559  ก่อน สมศักดิ์จะปิดการแสดงผลจำนวนผู้ติดตาม มีจำนวนผู้ติดตามอยู่ที่ 283,400 ราย

ภายหลังทราบผลการประมูล สมศักดิ์ ได้โพต์ภาพแมว 2 ตัวที่อยู่กับตัวเอง พร้อมขอบคุณผู้มีส่วนร่วมการประมูล และผู้ที่ชนุ โดยระบุว่า ได้มีส่วนช่วยเหลือบรรดาผู้ถูกกล่าวหาในคดีการเมืองในเมืองไทยอย่างมาก

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ตุลาการธิปไตย #3 ศาลกับการยอมรับความเป็นรัฏฐาธิปัตย์และการตรวจสอบการใช้อำนาจของ คสช.

Posted: 18 Feb 2018 07:20 AM PST

ประเด็น "ศาลกับการยอมรับความเป็นรัฏฐาธิปัตย์และการตรวจสอบการใช้อำนาจของ คสช." นิฐินี ทองแท้ เปิดการศึกษาทั้งก่อนการรัฐประหาร 2557 และหลังรัฐประหาร 2557 ผ่านคำพิพากษาคดีต่างๆ 

นิฐินี ทองแท้ อาจารย์ประจำสาขาวิชานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร 

18 ก.พ.2561 ในการเสวนาวิชาการ "ตุลาการธิปไตย ศาล และรัฐประหาร" จัดที่ห้องประชุมริมน้ำ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ช่วงเสนอบทความ "ศาลกับการยอมรับความเป็นรัฏฐาธิปัตย์และการตรวจสอบการใช้อำนาจของ คสช." โดย นิฐินี ทองแท้ อาจารย์ประจำสาขาวิชานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร 

ศึกษาการยอมรับความเป็นรัฏฐาธิปัตย์ของศาลยุติธรรมทั้งก่อนการรัฐประหาร 2557 และหลังรัฐประหาร 2557 ผ่านคำพิพากษาคดีต่างๆ โดยพบว่า

ก่อนการรัฐประหาร 2557 หลักเกณฑ์ที่ศาลจะยอมรับความเป็นรัฏฐาธิปัตย์ของคณะรัฐประหารนั้นจะต้องผ่านขั้นตอนเหล่านี้คือ 1.ยึดอำนาจสำเร็จ 2.มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง 3.มีการยกเลิกรัฐธรรมนูญและมีรัฐธรรมนูญชั่วคราวยกเว้นความผิดคณะรัฐประหาร โดยทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นไม่เกิน 1-2 วันภายหลังรัฐประหาร เวลามีคดีขึ้นศาลในการโต้แย้งความเป็นรัฏฐาธิปัตย์ ศาลก็พิพากษาวินิจฉัยว่าเป็นรัฏฐาธิปัตย์แล้ว

อย่างไรก็ตาม หลังรัฐประหาร 2557 หลักเกณฑ์เหล่านั้นเปลี่ยนแปลงไป ดูได้จาก คดีแรก คดีที่สมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด หรือ หนูหริ่ง โต้แย้งความเป็นรัฏฐาธิปัตย์ของ คสช. เนื่องจากมีช่องว่างบางประการ เพราะหลังการรัฐประหารยังไม่ได้มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งทันที ผ่านเวลาไปอีกหลายวัน จึงเป็นข้อโต้แย้งในคดีสมบัติว่าการรัฐประหารสำเร็จเรียบร้อยหรือยัง นอกจากนี้ยังไม่มีรัฐธรรมนูญมายกเว้นความผิดที่ทำรัฐประหารด้วย แต่ศาลเองกลับเป็นคนอธิบายเพิ่มเติมว่า ในเมื่อคณะรัฐประหารยึดอำนาจสำเร็จแล้ว คสช.ย่อมเป็นรัฏฐาธิปัตย์แล้ว เพราะไม่มีการต่อต้านจากประชาชน ส่วนพระบรมราชโองการนั้นไม่ได้เป็นกฎเกณฑ์แต่อย่างใด

ส่วนคดีที่กลุ่มนักกิจกรรมตรวจสอบโครงการราชภักดิ์ฟ้องโต้แย้งความเป็นรัฎฐานธิปัตย์ของ คสช. คดีนี้ศาลไม่ได้อธิบายเพิ่มเติมเป็นพิเศษ ศาลให้ความเห็นตามกรอบเดิมว่าเมื่อยึดอำนาจสำเร็จเรียบร้อยก็ถือเป็นรัฏฐาธิปัตย์

ดังนั้นในการตีความความเป็นรัฏฐาธิปัตย์ ศาลจะมองว่ายึดอำนาจการปกครองสำเร็จ ได้รับการยอมรับจากประชาชน แม้ไม่ใช่ประชาชนทั้งหมด ได้เท่านี้ก็มีอำนาจออกกฎหมายหรือทำอะไรต่างๆ แล้ว ถ้าเทียบกันก่อนหน้านั้นจะเห็นว่าต้องมีพระบรมราชโอกางแต่งตั้ง ยกเลิกและประกาศใช้รัฐธรรมนูญที่ยกเว้นความผิดให้รัฐประหาร

ประเด็นที่สอง แม้เมื่อเป็น คสช.เป็นรัฏฐาธิปัตย์ ศาลได้ทำหน้าที่ตรวจสอบความชอบของคำสั่งหรือการออกคำสั่งหรือไม่อย่างไร ดูจากคำพิพากษาของศาลปกครอง ศาลทหาร ศาลยุติธรรม ข้อสังเกตคือ ก่อนรัฐประหาร 2557 ตัวคณะรัฐประหารจะไม่ได้ออกคำสั่งหรือประกาศอะไรเยอะเท่าตอนนี้ แต่คสช.ออกประกาศคำสั่งเยอะมาก รวมถึงออกมาตรา 44

อันแรก ศาลปกครอง มีคดีตัวอย่างที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งคสช.ที่ 4/2559 และ 24/2558 เป็นเรื่องการยกเว้นการทำผังเมืองและประมงอวนรุน ทั้งสองคดีนี้อาศัยคำสั่งหัวหน้าคณะ คสช.ตามมาตรา 44 ผู้ฟ้องขอให้เพิกถอนเพราะไม่เข้าเงื่อนไขมาตรา 44 แต่ศาลปกครองวินิจฉัยว่า กฎพวกนี้อาศัยอำนาจจากมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ออกจากกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ จึงไม่ได้อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ศาลปกครองจึงไม่รับฟ้องทั้งสองคดี

อันที่สอง ศาลทหารในคดีราชภักดิ์ เป็นการตรวจสอบเรื่องเขตอำนาจศาล โดยโต้แย้งว่าคดีนี้ไม่ใช่คดีที่จะขึ้นสู่ศาลทหาร แต่ศาลทหารบอกว่ามาตรา 47 บอกว่าการกระทำของ คสช.ชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว เรียกได้ว่าศาลไม่ตรวจสอบเลยว่าคดีนี้ควรอยู่ในอำนาจศาลทหารจริงหรือเปล่า ใครฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ก็เหมือนกับฝ่าฝืนคำสั่ง คสช. จึงต้องขึ้นศาลทหาร

อีกตัวอย่างหนึ่งที่สู้กันเรื่องเขตอำนาจของศาล คดีสิรภพในความผิดตามมาตรา 112 จำเลยระบุว่าโพสต์ข้อความก่อนมีประกาศให้ความผิดนี้ขึ้นศาลทหาร แต่ศาลทหารมองว่าการกระทำความผิดเกิดขึ้นก่อนก็จริงแต่ข้อความยังอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์จนมีประกาศ อย่างไรก็ต้องขึ้นศาลทหาร

อันที่สาม ศาลยุติธรรม เป็นกรณีที่พลเมืองโต้กลับฟ้องหัวหน้า คสช.กับพวกในฐานะเป็นกบฏ ศาลเองไม่ได้ตรวจสอบว่า คสช.เป็นกบฏหรือเปล่า ศาลตอบเพียงว่า มาตรา 44 บัญญัติให้การกระทำของหัวหน้าคสช. และคสช.ไม่ว่าจะผิดกฎหมายอย่างไรก็พ้นจากความผิดโดยสิ้นเชิง

ทั้งสามศาลจะพบว่ามีแนวทางแบบเดียวกัน มีคำสั่ง มาตรา 44 ออกมาแล้วก็ยึดถือตามนั้น รัฐธรรมนูญยกเว้นความผิดไว้แล้วยังไงก็ไม่ผิด

ประเด็นสุดท้าย จะดูแนวคำพิพากษาของศาลในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับการฝ่าฝืนประกาศหรือคำสั่งคสช. ที่เรียกคนมารายงานตัวและคำสั่งที่ 3/58 (ห้ามชุมนุม) กับอีกส่วนหนึ่งคือคดี 112 เพื่อดูลักษณะของคำพิพากษาที่ออกมาว่าไปในทิศทางไหน

สรุปได้ว่า คดีขัดคำสั่งไม่รายงานตัวศาลมักจะลงโทษแต่ให้รอการลงโทษ ส่วนคดีฝ่าฝืนคำสั่ง 3/58 อาจจะปรับทัศนคติ เป็นการลงโทษทางการเมือง มุ่งผลในทางการเมืองเป็นหลัก ส่งผลต่อการคุกคามเสรีภาพของประชาชนในสังคมมากกว่าจะลงโทษแบบจำคุก ส่วนคดี 112 ส่วนใหญ่ลงโทษจำคุก

ศาลในฐานะที่เป็นองค์กรหนึ่งในการตรวจสอบการใช้อำนาจ เท่าที่ดูจากคดีที่ผ่านมาพบว่า ศาลยังไม่ได้ทำหน้าที่ตรวจสอบฝ่ายบริหารสักเท่าไร และมีแนวโน้มให้การรับรองคณะรัฐประหารตราบเท่าที่ยึดอำนาจสำเร็จ 

ตุลาการธิปไตย ศาลและรัฐประหาร

ทั้งนี้ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนร่วมกับเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) และคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดกิจกรรมทางวิชาการ "ตุลาการธิปไตย ศาลและรัฐประหาร" โดยเป็นส่วนหนึ่งในชุดการเสวนาวิชาการ "ประเทศไทยไม่ทำงาน" (Dysfunction Thailand) ของเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง จัดที่ห้องประชุมริมน้ำ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2560 สนับสนุนโดยสถานทูตอังกฤษ สถานทูตแคนาดา และมูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์ จากเยอรมนี 
 
เยาวลักษณ์ อนุพันธุ์ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ชี้แจงความเป็นมาว่า "ศูนย์ทนายฯ นอกจากเป็นองค์กรให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายแล้วยังรวบรวมบันทึกข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชนหลังรัฐประหาร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในยุคนี้ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง การปฏิรูป การแก้ไข การเยียวยา"
 
"จากการทำงานรวบรวมข้อเท็จจริงต่างๆ เรามีข้อมูลอยู่จำนวนหนึ่ง ที่ทำให้เห็นว่าครั้งนี้คสช.ไม่ได้ใช้อำนาจทหารเพียงลำพัง แต่มีการใช้กระบวนการทางกฎหมาย ทั้งประกาศคำสั่งหัวหน้า คสช. กฎหมายปกติ กระบวนการยุติธรรม และอำนาจตุลาการที่เข้ามารับรองการกระทำของเจ้าหน้าที่ทหารของคสช. ละเมิดและจำกัดสิทธิของประชาชน ทำให้สถานการณ์ขณะนี้ทั้งประชาชนธรรมดา นักข่าว นักวิชาการ ทนาย ก็สามารถตกเป็นผู้ต้องหาได้โดยไม่รู้ตัว"
 
นอกจากนั้นหลังรัฐประหารยังมีประกาศใช้ศาลทหารกับพลเรือน แม้ภายหลังคสช.จะยกเลิกการใช้ศาลทหารกับพลเรือนในวันที่ 12 กันยายน 2559 แต่ก็ยังมีคดีของประชาชนที่ยังดำเนินการที่ศาลทหารอยู่ เช่น คดีเลือกตั้งที่ (รัก) ลัก คดีประชามติ ในช่วงสิงหาคม 2559
 
"เราจึงเห็นว่าควรทำงานร่วมกับนักวิชาการ เพื่อเปิดมุมมองว่าเบื้องหลังข้อเท็จจริงและเหตุการณ์มันเกิดอะไรขึ้น โดยร่วมมือกับนักวิชาการสถาบันต่างๆ เป็นที่มาของการนำเสนอบทความ 5 บท และภาพรวมของรัฐประหาร และศาล"

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ตุลาการธิปไตย #2 กลไกการควบคุมเสรีภาพในการแสดงออกภายใต้ระบอบ คสช.

Posted: 18 Feb 2018 06:54 AM PST

ประเด็น "กลไกการควบคุมเสรีภาพในการแสดงออกภายใต้ระบอบ คสช." ของ สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ และธีรวัฒน์ ขวัญใจ จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พร้อมคำถามเราสอนนักกฎหมายกันแบบไหนที่ทำให้มองกฎเกณฑ์ของ คสช.เป็นกฎเกณฑ์ที่ไม่อาจโต้แย้งได้

ธีรวัฒน์ ขวัญใจ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

18 ก.พ.2561 ในการเสวนาวิชาการ "ตุลาการธิปไตย ศาล และรัฐประหาร" จัดที่ห้องประชุมริมน้ำ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ช่วงเสนอบทความ "กลไกการควบคุมเสรีภาพในการแสดงออกภายใต้ระบอบ คสช." ของ สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ และธีรวัฒน์ ขวัญใจ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่ง ธีรวัฒน์ เป็นตัวแทนนำเสนอ ดังนี้

ตอนนี้ คสช.เป็นผู้ทรงอำนาจที่เปลี่ยนความเชื่อของเราก่อนหน้านี้ไปโดยสิ้นเชิง ก่อนปี 2557 เราคงไม่เชื่อว่าประเทศไทยจะอยู่ในจุดอย่างทุกวันนี้ได้ คณะบุคคลครองอำนาจและใช้อำนาจอย่างเต็มที่มานานจนจะครบ 4 ปี อะไรที่ทำให้อำนาจของ คสช.แม้จะถูกต่อต้านแต่ยังดำรงอยู่มั่นคง มันคงไม่ใช่แค่ความกลัว แต่ต้องมีอะไรมากกว่านั้น คสช.นั้นอ้างอยู่เสมอว่า การดำเนินการของ คสช.เป็นไปตามกฎหมาย ประเด็นที่ "น่าจะ" สะกิดใจนักกฎหมายก็คือ มันเป็นกฎหมายอย่างไร เป็นกฎหมายของใคร และดำเนินการโดยกลไกใด ภาคส่วนใดสนับสนุน เราจึงศึกษาเพื่อหารูปแบบหรือตรรกะในการใช้กฎหมาย

"กฎหมายก็เป็นไปตามกฎหมาย กฎหมายละเว้นไม่ได้ จะปล่อยตัวได้อย่างไร ทุกอย่างมีขั้นตอนมีกระบวนการ" พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีพูดถึงกรณีจับนักกิจกรรมประชามติ เป็นการพูดกับนิสิตมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งที่ภาคอีสาน

ตัวหลักที่ใช้ในช่วงแรกหลังการรัฐประหารคือ ประกาศ คสช.ที่ 7/2557 ห้ามชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน โดยใช้ควบคู่กับกฎอัยการศึกที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัวได้ไม่เกิน 7 วันก่อนส่งพนักงานสอบสวน เมื่อยุติการประกาศใช้กฎอัยการศึกก็ใช้คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 แต่เราจะเห็นว่าคำสั่งทั้ง 2 ฉบับไม่ได้ถูกนำมาใช้กับการแสดงออกทุกกรณี หลายกรณีมีการเลือกเอากฎหมายในระบบปกติที่มีอยู่แล้ว เช่น พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ร.บ.ชุมนุม และมีการนำกฎหมายที่ไม่มีใครคิดมาก่อนว่าจะใช้คือ พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเรียบร้อยของบ้านเมือง และพ.ร.บ.ควบคุมการใช้เครื่องขยายเสียง

จะเห็นได้ว่าในบรรดาคดีทั้งหมดที่ควบคุมเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน มีการนำกฎหมายมาใช้มากและหลากหลาย จนอาจจะหารูปแบบและตรรกะค่อนข้างยาก จึงเริ่มต้นจากการสำรวจคดีนับตั้งแต่ คสช.ยึดอำนาจจนประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560 ซึ่งมีคดีทั้งหมด 77  คดี นับกรณีที่มีกฎหมายบังคับใช้ส่วนการดำเนินการไม่จำเป็นต้องถึงชั้นศาล อาจจบที่ชั้นเจ้าหน้าที่ที่เปรียบเทียบปรับก็ได้ ตัวเลขอาจคลาดเคลื่อนไปบ้างเพราะตกหล่นและบางกรณียังใช้กฎหมายทับซ้อนกัน ในจำนวนนี้มี 44 กรณีที่บังคับควบคุมเสรีภาพในการชุมนุม มี 15 กรณีที่เป็นเรื่องประชามติ และเสรีภาพสื่อที่ถูกควบคุมโดยใช้คำสั่ง คสช.โดยตรงมี 6 กรณี แต่ที่ใช้อำนาจผ่าน กสทช.ยังมีอีกหลายกรณีที่ไม่ได้รวมเข้ามา ส่วนอีก 15 กรณีเป็นการควบคุมเสรีภาพในสื่อสังคมออนไลน์ และกรณีย่อยอื่นๆ อีก 15 กรณี

หากแยกเป็นหมวดจะพบว่ามีการจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมมากที่สุด แยกเป็นตามประกาศ 7/57 ทั้งหมด  17 กรณี หลังจากนั้นมีคำสั่ง 3/58 มี 16 กรณี อีก 8  กรณีเป็นการใช้ พ.ร.บ.ชุมนุม และมี 2 กรณีที่ใช้พ.ร.บ.ความสะอาด กับอีก 2 กรณีใช้กฎหมายเครื่องขยายเสียง

คดีส่วนใหญ่จะถูกกำหนดให้ต้องไปอยู่ในอำนาจของศาลทหาร คดีชุมนุมทั้งหมดไปศาลทหารยกเว้นคดีคุณอภิชาติและคุณวีรยุทธ (ประท้วง คสช.หน้าหอศิลป์วันที่ 23 พ.ค.2557)

ช่วงประชามติมีคดีเยอะ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกประชาชนที่ร่วมเปิดศูนย์ปราบโกงฯ ถูกบังคับตามคำสั่ง 3/58 มีหลายจังหวัดที่โดน และที่อิมพีเรียลเวิร์ลด์ แกนนำ นปช.ก็โดนด้วยโดยได้สิทธิย้อนเอาประกาศ 7/57 มาใช้ทั้งที่ถูกแทนด้วยคำสั่ง 3/58 แล้วเพราะโทษสูงกว่าหนึ่งเท่าตัว แล้วก็มีกลุ่มดาวดิน กลุ่มประชาธิปไตยใหม่

กรณีของการจำกัดเสรีภาพสื่อสังคมออนไลน์ มีทั้งหมด 15 กรณี อยู่ในอำนาจศาลทหาร 6 กรณี ศาลยุติธรรม 8 กรณี อีก 1 กรณีอยู่ในชั้นสอบสวน เหตุที่จำนวนหนึ่งขึ้นศาลทหารเพราะเป็นพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ + ม.116  

ภาพรวมทั้งหมด ในช่วงต้นจะมีการใช้คำสั่ง คสช.จำนวนมาก ใช้อำนาจพิเศษเยอะ แต่ช่วงหลังกลับปล่อยให้จัดกิจกรรมได้แล้วแจ้งความดำเนินคดีในภายหลัง

คำถามคือ ตัว คสช.มีอำนาจเต็ม ทำไมไม่ใช้อำนาจเต็มให้เจ้าหน้าที่ควบคุมตัว หลายกรณีกลับใช้กระบวนการยุติธรรมทั้งหมด อาจเป็นไปได้ว่าช่วงแรก คสช.อาจไม่มั่นใจก็เลยใช้กลไกพิเศษในการบังคับตามกฎอัยการศึก หลังจากนั้นพอเริ่มเห็นความเป็นไปในกระบวนการยุติธรรม เห็นคำพิพากษาในหลายคดี เข้าใจว่าน่าจะเกิดความไว้วางใจมากขึ้นว่า ใช้กระบวนการยุติธรรมปกติก็ควบคุมการแสดงออกได้ ไม่มีอะไรติดขัด ช่วงหลัง คสช.จึงใช้คำสั่งพิเศษเพียงกรณีที่สำคัญจริงๆ

ศาลทำอะไรบ้างในระหว่างนี้ หากไม่นับรวมคดี 112  จะเห็นว่าส่วนใหญ่จะขึ้นศาลทหารกับศาลยุติธรรม สถิติคดีศาลทหารมี 15 คดี เป็นการชุมนุม 11 คดี ทั้งหมดนี้พิพากษาลงโทษตามฟ้อง มีกรณีที่ยกฟ้องคือ กรณีของคุณชัชวาลย์นำเสนอข่าวการต่อต้านรัฐประหาร ศาลพิพากษาว่าไม่มีเจตนากระทำผิดตามฟ้อง ศาลพลเรือนมีกรณีหลากหลายมากกว่าศาลทหาร จะเห็นความแตกต่างนิดหนึ่งเพราะไม่ได้ลงโทษทั้งหมด โดยในกรณีที่ใช้กฎหมายปกติ เช่น พ.ร.บ.ชุมนุ หรือพ.ร.บ.ประชามติ ศาลยุติธรรมมีดุลยพินิจที่จะปรับใช้บทกฎหมายให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ตัวอย่างกรณีประชามติ "ลุงสามารถ" แจกใบปลิวที่เขียนว่า เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ ศาลเชียงใหม่ยกฟ้องบอกว่าข้อความไม่ได้สื่อถึงร่างร่างรัฐธรรมนูญโดยตรง หรือแม้สื่อถึงร่างรัฐธรรมนูญโดยตรง คนลงประชามติมีวุฒาภาวะพอที่จะเลือกออกเสียง แต่ขณะเดียวกันอีกด้านหนึ่งศาลจังหวัดอุบลราชธานีลงโทษ "คุณวิชาญ" ที่พูดว่าร่างรัฐธรรมนูญวิปริต เฮงซวย แม้คุณวิชาญบอกว่าเป็นการพูดกับพ่อค้าที่รู้จักกันแต่ศาลบอกว่าพูดเสียงดังในที่คนผ่านไปมา ถือว่าเชิญชวน แม้มีความแกว่งในการพิพากษาอยู่แต่อย่างน้อยก็มีช่องให้ผู้ต้องหาต่อสู้ป้องกันสิทธิตนเอง แต่กรณีชุมนุมที่ขัดคำสั่ง คสช.นั้นตัดสินว่ามีความผิดทั้งหมด มันจึงยากมากที่จะปลดเปลื้องหรือต่อสู้เพราะศาลไปยอมรับเสียแล้วว่าเป็นคำสั่งของรัฏฐาธิปัตย์ ยังไงก็มีผลบังคับใช้

บทบาทของศาลจะค่อนข้างแน่นอนว่า เรื่องการชุมนุมศาลจะบังคับให้ตามคำสั่งของ คสช. อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจำกัดที่คดีจำนวนมากยังค้างอยู่ทั้งสองศาล ทำให้ยังวิเคราะห์ไม่ได้แน่ชัดว่าทั้งสองศาลอยู่ในฐานะผู้พิทักษ์สิทธิหรือผู้บังคับใช้คำสั่งคสช.

เมื่อพิจารณาคำพิพากษาในหลายกรณี มุมมองของผู้พิพากษาคือ ความถูกต้องนั้นคือความถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ได้มองว่ามีความชอบธรรมอีกหลายประการที่จะกำกับความชอบธรรมของกฎหมาย กฎหมายไม่ใช่ความชอบธรรมอันเดียว และดำรงอยู่อย่างโดดเดี่ยวโดยไม่เกี่ยวพันกับความชอบธรรมอื่น ตัวอย่างเช่น ความชอบธรรมเชิงสังคม ความชอบธรรมในเชิงศีลธรรม เราสอนนักกฎหมายกันแบบไหนที่ทำให้ไปมองกฎเกณฑ์ของ คสช.ว่าเป็นกฎเกณฑ์ที่ไม่อาจโต้แย้งได้โดยสมบูรณ์ นี่น่าจะเป็นปัญหาร่วมของสังคม

ตุลาการธิปไตย ศาลและรัฐประหาร

ทั้งนี้ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนร่วมกับเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) และคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดกิจกรรมทางวิชาการ "ตุลาการธิปไตย ศาลและรัฐประหาร" โดยเป็นส่วนหนึ่งในชุดการเสวนาวิชาการ "ประเทศไทยไม่ทำงาน" (Dysfunction Thailand) ของเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง จัดที่ห้องประชุมริมน้ำ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2560 สนับสนุนโดยสถานทูตอังกฤษ สถานทูตแคนาดา และมูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์ จากเยอรมนี 

เยาวลักษณ์ อนุพันธุ์ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ชี้แจงความเป็นมาว่า "ศูนย์ทนายฯ นอกจากเป็นองค์กรให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายแล้วยังรวบรวมบันทึกข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชนหลังรัฐประหาร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในยุคนี้ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง การปฏิรูป การแก้ไข การเยียวยา"

"จากการทำงานรวบรวมข้อเท็จจริงต่างๆ เรามีข้อมูลอยู่จำนวนหนึ่ง ที่ทำให้เห็นว่าครั้งนี้คสช.ไม่ได้ใช้อำนาจทหารเพียงลำพัง แต่มีการใช้กระบวนการทางกฎหมาย ทั้งประกาศคำสั่งหัวหน้า คสช. กฎหมายปกติ กระบวนการยุติธรรม และอำนาจตุลาการที่เข้ามารับรองการกระทำของเจ้าหน้าที่ทหารของคสช. ละเมิดและจำกัดสิทธิของประชาชน ทำให้สถานการณ์ขณะนี้ทั้งประชาชนธรรมดา นักข่าว นักวิชาการ ทนาย ก็สามารถตกเป็นผู้ต้องหาได้โดยไม่รู้ตัว"

นอกจากนั้นหลังรัฐประหารยังมีประกาศใช้ศาลทหารกับพลเรือน แม้ภายหลังคสช.จะยกเลิกการใช้ศาลทหารกับพลเรือนในวันที่ 12 กันยายน 2559 แต่ก็ยังมีคดีของประชาชนที่ยังดำเนินการที่ศาลทหารอยู่ เช่น คดีเลือกตั้งที่ (รัก) ลัก คดีประชามติ ในช่วงสิงหาคม 2559

"เราจึงเห็นว่าควรทำงานร่วมกับนักวิชาการ เพื่อเปิดมุมมองว่าเบื้องหลังข้อเท็จจริงและเหตุการณ์มันเกิดอะไรขึ้น โดยร่วมมือกับนักวิชาการสถาบันต่างๆ เป็นที่มาของการนำเสนอบทความ 5 บท และภาพรวมของรัฐประหาร และศาล"

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หมายเหตุประเพทไทย #197 ล่า (2560) สัญญะและการเมือง

Posted: 18 Feb 2018 05:22 AM PST

หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ชานันท์ ยอดหงษ์ และประภาภูมิ เอี่ยมสม พูดถึงละครเรื่อง "ล่า" บทประพันธ์ของทมยันตี ที่มีการรีเมคและออกอากาศทางช่อง One31 ตั้งแต่ปลายปี 2560 จนมาถึงปี 2561 โดยเวอร์ชันล่าสุดนอกจากการปลอมตัวเพื่อแก้แค้นของ "มธุสร" จะเป็นไฮไลท์หนึ่งที่คนติดตามแล้ว บทละครโทรทัศน์เรื่อง "ล่า" ในแต่ละยุคก็ยังมีสัญญะและการเมืองของละครที่ปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย อย่างไรก็ตามยังน่าเสียดายที่บทละครโทรทัศน์เวอร์ชันล่าสุดไม่ได้เตรียมข้อมูลครบถ้วนพอที่จะสะท้อนกระบวนการยุติธรรมในคดีความผิดทางเพศ ที่มีการปรับปรุงกระบวนการไปหลายเรื่องต่างจากที่ปรากฏอยู่ในละคร

ติดตามรายการหมายเหตุประเพทไทยย้อนหลังที่

เฟสบุ๊ค https://www.facebook.com/maihetpraphetthai
หรือลงทะเบียนรับชมที่ https://youtube.com/prachatai

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักกิจกรรมรณรงค์เลือกตั้ง-แสดงพลังกดดันรัฐบาล คสช. ที่โคราช

Posted: 18 Feb 2018 04:49 AM PST

'สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์' พร้อมด้วยกลุ่มนักศึกษา รณรงค์เรียกร้องการเลือกตั้งที่ลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี เชิญชวนประชาชน จ.นครราชสีมา ออกมาแสดงพลังกดดันรัฐบาล คสช. ให้คืนอำนาจให้กับประชาชน 

 
 
 
18 ก.พ. 2561 มติชนออนไลน์ รายงานว่าเมื่อเวลา 17.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศการชุมนุมของกลุ่มเรียกร้องต้องการการเลือกตั้ง ที่บริเวณอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ภายในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือจ่านิว แกนนำกลุ่มนักศึกษาประชาธิปไตยศึกษาพร้อมด้วยกลุ่มนักศึกษา เรียกร้องต้องการการเลือกตั้ง ประมาณ 10 คน ได้เดินทางมาถึงบริเวณลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี เพื่อที่จะประกาศเชิญชวนประชาชนในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ให้ออกมาแสดงพลังกดดันรัฐบาล คสช. ให้คืนอำนาจให้กับประชาชน และจัดให้มีการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย โดยมีการแจกโปสเตอร์ข้อเรียกร้องและแนวทาง Road Map ของกลุ่ม ที่จะมีการเดินทางไปเชิญชวนประชาชนทั่วประเทศ
 
ซึ่งวันนี้เป็นวันแรกที่ออกมาเรียกร้องในพื้นที่ต่างจังหวัด โดยมีประชาชน มายืนฟังประมาณ 50 คน ท่ามกลางเจ้าหน้าที่ตำรวจของ สภ.เมืองนครราชสีมา ทั้งในและนอกเครื่องแบบ ที่ยืนอำนวยความสะดวกและรักษาความปลอดภัยอยู่ทั่วบริเวณลานอนุสาวรีย์จำนวนกว่า 150 นาย
 
นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือ จ่านิว แกนนำกลุ่มนักศึกษาประชาธิปไตยศึกษาเปิดเผยว่าในการเดินทางมาครั้งนี้ เป็นการออกมาจัดกิจกรรมต่างจังหวัดครั้งแรกของกลุ่ม โดยเลือกเดินทางมาที่จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นประตูสู่ภาคอีสาน เพื่อที่จะเชิญชวนประชาชนชาวจังหวัดนครราชสีมา ให้ออกมาแสดงพลังเรียกร้องให้รัฐบาล คสช.คืนอำนาจให้กับประชาชน และจัดให้มีการเลือกตั้งเร็วๆ หลังจากที่ก่อนหน้านี้รัฐบาล คสช.เคยมีโรดแมปการเลือกตั้งให้ประชาชนทราบ แต่ก็มีการเลื่อนไปตลอด ไม่มีความแน่นอน จึงทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่น ว่าจะมีการจัดเลือกตั้งขึ้นจริงหรือไม่ และเกรงว่ารัฐบาลจะมีการวางแผนสืบทอดอำนาจต่อไป
 
ดังนั้นทางกลุ่มจึงได้ออกมาเคลื่อนไหวให้ประชาชนออกมาแสดงพลัง ทวงคืนอำนาจของประชาชนจากรัฐบาล คสช. และให้มีการจัดเลือกตั้งภายในปี 2561 นี้ แม้ว่ารัฐบาลจะอ้างว่ามีโรดแมปจะจัดการเลือกตั้งในปี 2562 แต่ก็อาจจะมีการเลื่อนไปอีก ทั้งนี้ตนยืนยันว่าการเคลื่อนไหวในครั้งนี้ไม่มีกลุ่มคนเสื้อสีใดมาหนุนหลัง แต่มาในนามคนไทยที่ต้องการเรียกร้องสิทธิของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย และยินดีต้องรับคนทุกสีเสื้อเข้ามาเป็นกลุ่มเดียวกัน
 
"วันนี้ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาล คสช.จะให้ประชาชนกำหนดอนาคตของตนเอง โดยใช้สิทธิ เลือกตั้งให้มีรัฐบาลตามระบอบประชาธิปไตย โดยหลังจากวันนี้ กลุ่มเรียกร้องต้องการการเลือกตั้ง ก็จะออกเดินทางไปจัดกิจกรรมในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศต่อไป"
 
นายสิรวิชญ์ ให้สัมภาษณ์ว่า ครั้งนี้มีเวลาเตรียมตัวและประชาสัมพันธ์ล่าช้ากว่ากำหนด จึงทำให้มีประชาชนที่มีความคิดเห็นตรงกับเราออกมาร่วมน้อย แต่ก็ไม่รู้สึกเสียใจแต่อย่างใด ต้องปรับยุทธศาสตร์ส่งสัญญาณและเคลื่อนไหวไปพร้อมกัน ถือเป็นประชาชนที่มีความกล้าหาญ ส่วนใหญ่ขอพรย่าโมเพื่อสิริมงคลในชีวิต ตนขอพรย่าโมให้ดลบันบาลให้รัฐบาลจัดให้มีการเลือกตั้งคืนอำนาจให้ประชาชนโดยเร็ว
 
หลังจากนั้นในเวลา 18.10 น. ก็ได้สลายการชุมนุม เนื่องจากวันนี้ (18 ก.พ.) ทางเทศบาลนครนครราชสีมา จะมีการจัดงานเทศกาลวันตรุษจีน เป็นวันสุดท้าย ซึ่งจะมีกิจกรรมหลายอย่าง ทำให้เสียงดังรบกวนการชุมนุม อีกทั้งยังมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองนครราชสีมา เข้ามาเจรจาขอให้ยุติการชุมนุม เพื่อไม่ให้เกิดความวุ่นวายในพื้นที่จัดงานเทศกาลตรุษจีนด้วย
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘เล่นด้วยใจ’ พบ ‘นักฟุตบอลหญิง’ เกือบ 50% ไม่ได้รับค่าจ้าง

Posted: 18 Feb 2018 04:11 AM PST

FIFPro สหภาพแรงงานนักฟุตบอลระดับโลกเผยแพร่รายงานสำรวจสถานภาพและสภาพการจ้างนักฟุตบอลหญิง 3,600 คน พบร้อยละ 49.5 เล่นฟุตบอลโดยที่ไม่ได้รับค่าจ้าง และเกือบ 2 ใน 3 ได้รับค่าจ้างต่ำกว่า 600 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน (ประมาณ 18,700 บาท)

ที่มาภาพประกอบ: flickr.com/James Schaap (CC BY 2.0)

17 ก.พ. 2561 FIFPro สหภาพแรงงานนักฟุตบอลระดับโลกได้เผยแพร่รายงาน 2017 FIFPro Women Football Global Employment Report เมื่อปลายปี 2560 ที่ผ่านมา รายงานชิ้นนี้ได้ทำการสำรวจสถานภาพและสภาพการจ้างนักฟุตบอลหญิง 3,600 คน ที่เป็นสมาชิกของ FIFPro จากทวีปยุโรป อเมริกา แอฟริกา และเอเชีย ข้อค้นพบที่น่าสนใจของรายงานชิ้นนี้พบว่าร้อยละ 49.5 ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าพวกเธอเล่นฟุตบอลโดยที่ไม่ได้รับค่าจ้างจากสโมสร และประมาณร้อยละ 60 ได้รับค่าจ้างต่ำกว่า 600 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน (ประมาณ 18,700 บาท) ประมาณร้อยละ 30 ได้รับค่าจ้างระหว่าง 600-2,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน (ประมาณ 18,700-62,500 บาท) และมีเพียงจำนวนเล็กน้อย (ร้อยละ 1) เท่านั้นที่ได้รับค่าแรงมากกว่า 8,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน (ประมาณ 250,000 บาท)

นอกจากนี้ร้อยละ 37 ระบุว่าพวกเธอได้รับการจ่ายค่าแรงที่ล่าช้าไม่ตรงต่อเวลา โดยร้อยละ 9 ได้รับค่าจ้างล่าช้ากว่า 3 เดือนเลยทีเดียว สำหรับผู้เล่นที่ติดทีมชาติพบว่ากว่าร้อยละ 35 ไม่ได้รับค่าตอบแทนจากการเล่นให้ทีมชาติ นอกจากนี้ยังมีข่าวคราวที่สมาคมฟุตบอลไม่จ่ายเงินรางวัลให้กับทีมชาติหญิงหลายครั้งด้วย

ข้อได้เปรียบอย่างเดียวของนักฟุตบอลหญิงเมื่อเทียบกับชาย คือนักฟุตบอลหญิงจะมีการศึกษาที่ดีกว่านักฟุตบอลชาย โดยร้อยละ 84 จบการศึกษาในระดับมัธยม และกว่าร้อยละ 30 จบการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ร้อยละ 46 ยังเล่นฟุตบอลควบคู่กับการเป็นนักศึกษาไปด้วย ส่วนในรายงาน 2016 FIFPro Global Employment Report ระบุว่าส่วนใหญ่นักฟุตบอลชายจบการศึกษาในระดับมัธยม ร้อยละ 72 และจบในระดับมหาวิทยาลัยแค่ร้อยละ 12 เท่านั้น

สถานะทางอาชีพ = ครึ่ง ๆ กลาง ๆ และไม่มั่นคงเป็นอย่างมาก

"ยังคงมีการเลือกปฏิบัติบางอย่างอยู่รอบกายนักฟุตบอลหญิง, ถ้าคุณบอกว่าคุณเล่นฟุตบอลในระดับอาชีพ บางคนจะหัวเราะใส่คุณ พวกเขาบอกว่าคุณไม่สามารถทำเงินได้, นั่นไม่ใช่สิ่งที่จับต้องได้"

เชีย กรูม นักฟุตบอลหญิงจากทีมแคนซัส ซิตี้

 

จากการสำรวจสถานภาพและสภาพการจ้างนักฟุตบอลหญิง 3,600 คน ของ FIFPro ครั้งนี้พบว่าส่วนใหญ่เป็นผู้เล่นในระดับสมัครเล่นร้อยละ 43.8 ตามมาด้วยผู้เล่นกึ่งอาชีพร้อยละ 32.1 และผู้เล่นอาชีพเพียงร้อยละ 24.1 ทั้งนี้ในระดับสมัครเล่นและระดับกึ่งอาชีพนั้นนักฟุตบอลหญิงถือว่ามีสถานะที่ 'คลุมเครือ' ผู้เล่นบางคนมีสัญญา บางคนไม่มีสัญญา และหลายคนไม่ทราบว่าตนเองมีหรือไม่มีสัญญา

และเมื่อพิจารณาสภาพการจ้างในภาพรวมพบว่ามีเพียงร้อยละ 47 เท่านั้นที่มีสัญญาจ้าง ร้อยละ 34 มีสัญญาจ้างแบบสมัครเล่น และผู้เล่นที่มีสัญญาจ้างระยะเวลาสัญญาส่วนใหญ่เฉลี่ยเพียง 12 เดือน เท่านั้น

นักฟุตบอลอาชีพหญิงในอังกฤษที่ไม่ระบุชื่อคนหนึ่งให้ข้อมูลกับ FIFPro ว่ามีทีมระดับชั้นนำในลีกเพียง 3 อันดับแรกเท่านั้นที่ได้รับการเอาใจใส่ที่ดี สำหรับเธอนั้นเธอฝึกซ้อม 4-5 วันต่อสัปดาห์ไม่ได้ทั้งเงินเดือนและค่าเดินทางมาซ้อม เธอต้องทำงานพาร์ทไทม์ (หรืองานหลักกันแน่?) ไปด้วยให้มีรายได้จุนเจือเพื่อที่เธอจะได้เล่นฟุตบอล

ยังไงก็เลิกเล่น

"ในรอบสองทศวรรษที่ผ่านมา ฉันเห็นสุดยอดนักฟุตบอลอาชีพ(หญิง) ทยอยหันหลังให้กับเกมกีฬานี้"

โฮป โซโล อดีตผู้รักษาประตูฟุตบอลหญิงทีมชาติสหรัฐอเมริกา

 

พบว่าอายุเฉลี่ยของนักฟุตบอลหญิงในรายงานชิ้นนี้ส่วนใหญ่ร้อยละ 69 อยู่ระหว่าง 18-23 ปี โดยผู้เล่นในระดับอาชีพต้องการที่จะเลิกเล่นฟุตบอลก่อนวัยอันสมควรร้อยละ 90.4 ส่วนในระดับสมัครเล่นอยู่ที่ร้อยละ 88.3

ผู้ที่ตอบแบบสอบถามของ FIFPro ที่ระบุว่าพวกเธอต้องการที่จะเลิกเล่นฟุตบอลก่อนวัยอันสมควร ให้เหตุผลว่าต้องการที่จะมีครอบครัวร้อยละ 47.4 ตามมาด้วยเหตุผลด้านการเงินร้อยละ 46.8 การไปหาโอกาสในหน้าที่การงานที่ดีกว่าร้อยละ 39.2 การหาจุดลงตัวไม่ได้ระหว่างชีวิตส่วนตัวและการเล่นฟุตบอร้อยละ 29.4 ไปศึกษาต่อร้อยละ 27.7 ให้เหตุผลว่าระบบโครงสร้างของกีฬาฟุตบอลหญิงไม่ค่อยดีนักร้อยละ 25.9 เลิกเล่นเพราะว่าเกิดความเครียดร้อยละ 13.1 และเลิกเล่นเพราะถูกเลือกปฏิบัติร้อยละ 5.9

ในประเด็นการเลือกปฏิบัติทางเพศนั้น ร้อยละ 17.5 ระบุว่ามีประสบการณ์การถูกเลือกปฏิบัติทางเพศ ร้อยละ 5.4 มีประสบการณ์การถูกกลัวและเกลียดชังทางเพศอย่างไม่มีเหตุผล (Homophobia) ร้อยละ 4.5 มีประสบการณ์การถูกเหยียดเชื้อชาติ และร้อยละ 3.5 มีประสบการณ์การถูกล่วงละเมิดทางเพศ (ทุกกรณีการทั้งจากแฟนบอลในวันแข่งขันและวันที่ไม่มีการแข่งขัน, ฝ่ายจัดการทีม, ผู้เล่นด้วยกัน และสต๊าฟโค้ช)

มีเพียงร้อยละ 2 เท่านั้นที่มีบุตร และอีกร้อยละ 47 ระบุว่าพวกเธอจะเลิกเล่นฟุตบอลเร็ว ๆ นี้เพื่อเริ่มต้นมีครอบครัว ข้อค้นพบที่น่าสนใจอีกประการในรายงานฉบับนี้ของ FIFPro ก็คือร้อยละ 5 ระบุว่าพวกเธอเคยถูกติดต่อให้เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการกำหนดผลการแข่งขันหรือการล้มบอล (match-fixing) ทั้งในระดับสมัครเล่นและอาชีพ โดยผู้ที่ถูกติดต่อให้ล้มบอลนั้นมักจะได้รับค่าจ้างต่ำ มีประสบการณ์การที่สโมสรจ่ายค่าจ้างล่าช้าและมีอายุอยู่ช่วงท้ายของการเล่นฟุตบอล

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ตุลาการธิปไตย #1 สมชาย ปรีชาศิลปกุล: ภาพรวมศาล-รัฐประหาร ปชช.ทำอะไรได้บ้าง

Posted: 18 Feb 2018 03:42 AM PST

อภิปรายภาพรวม "ศาลและรัฐประหาร" โดยสมชาย ปรีชาศิลปกุล เริ่มตั้งแต่การใช้อำนาจของ คสช. กลไกการทำงาน ผลกระทบ และชวนมองยาวๆ ถึงการเผชิญหน้ากับเศษซากของรัฐประหารในอนาคตข้างหน้า

คลิปการอภิปราย "ภาพรวมศาลและรัฐประหาร (Court and Coup)" โดย สมชาย ปรีชาศิลปกุล

ในการเสวนาวิชาการ "ตุลาการธิปไตย ศาล และรัฐประหาร" จัดที่ห้องประชุมริมน้ำ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยในช่วงสุดท้ายสมชาย ปรีชาศิลปกุล รองศาสตราจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อภิปรายหัวข้อ ภาพรวมศาลและรัฐประหาร (Court and Coup)

โดยแบ่งการนำเสนอเป็น 4 เรื่องใหญ่ 1. การใช้อำนาจ คสช. ใครคือกลุ่มเป้าหมาย 2. การใช้อำนาจของ คสช.ทำงานอย่างไร 3. ผลกระทบการใช้อำนาจของ คสช. 4. การเผชิญหน้ากับเศษซากของรัฐประหารในอนาคตข้างหน้า

สมชาย ปรีชาศิลปกุล

 

1.ใครคือกลุ่มเป้าหมาย

สมชายเริ่มอภิปรายว่า ถ้าเราดูประเด็นการใช้อำนาจของ คสช. เวลาพูดถึงเรื่องนี้มันจะปนๆ กันอยู่หลายเรื่อง อย่างน้อยมีมาตรา 44 ที่ตกค้างมาจากเดิม มีคำสั่ง คสช. และมี พ.ร.บ.ของรัฐสภาเผด็จการ เราจะเห็นสามอันนี้เวลาใช้อำนาจ พุ่งเป้าหลายเรื่อง สิทธิเสรีภาพประชาชน ป่าไม้ที่ดิน สิ่งแวดล้อม การแต่งตั้งโยกย้ายระงับลงโทษ ฯลฯ ซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ด้วยกัน คือ

1.1 การเมืองท้องถิ่น บนสมมติฐานความเชื่อว่า ทีแรก คสช.เข้ามาคิดว่าต้องจัดการการเมืองท้องถิ่นเพราะเป็นฐานของนักการเมืองระดับชาติ แต่เมื่อผ่านไปสักพักงานอจารย์ณัฐกร วิทิตานนท์ ทำให้เห็นว่า คสช.เริ่มเห็นว่าการแตะเรื่องท้องถิ่นเป็นเรื่องยาก ต้องสัมพันธ์กับนักการเมืองท้องถิ่นและข้าราชการจำนวนมาก ในแง่นี้จนถึงปัจจุบันการใช้อำนาจที่กระทบกับนักการเมืองท้องถิ่นในช่วงหลังจึงเบาบางลงมาก ตอนแรกที่จะควบรวม อบต.กับเทศบาล น่าจะไม่เกิด ฯลฯ ในแง่หนึ่งจะเห็นว่ากระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นมันปักหลักพอสมควรนับตั้งแต่ 2540 แต่ไม่ใช่ไม่กระทบเลยเพราะคสช.กำลังจะเพิ่มอำนาจให้ระบบราชการแบบเดิมผ่านกำนันผู้ใหญ่บ้านด้วย

1.2 นโยบายป่าไม้ที่ดิน กลุ่มชุมชนชาวบ้านที่โดน เรื่องน่าสนใจคือ รัฐประหารเมื่อไรนโยบายป่าไม้ที่ดินจะมาทันที ยุคสุจินดา คราประยูร ก็มี น่าจะเป็นไปเพื่อแสดงให้เห็นการหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ แต่เวลาทวงมักจะเจอตายายเก็บเห็ด เจอแต่ตัวเล็กๆ ตัวใหญ่ไม่เจอ นโยบายนี้ถ้าพูดให้เว่อร์สักหน่อย มันคือการหาเสียงกับคนเมือง ฉะนั้น มันจึงไม่ได้สำคัญว่าทวงคืนผืนป่าจริงหรือไม่

1.3 ฝ่ายต่อต้านการรัฐประหาร ซึ่งเราเห็นชัดเจนอยู่แล้ว

นี่เป็นงานสามกลุ่มหลักที่ทำงานในวันนี้ทำการศึกษาและนำเสนอ แต่ยังมีส่วนอื่นที่น่าศึกต่อไปหากแต่เราไม่มีกำลังพอ นั่นคือ การศึกษาให้เห็นการใช้อำนาจของ คสช.ในภาคธุรกิจเอกชน ไม่ว่านโยบายประชารัฐ เขตเศรษฐกิจพิเศษ หรือการศึกษาว่า คสช.ทำอย่างไรกับกลไกรัฐ เช่น การขึ้นเงินเดือนกับหน่วยงานรัฐที่สนับสนุนการรัฐประหาร ถ้าเราทำส่วนนี้ด้วยจะเห็นภาพชัดเจนมาก เพราะมันเป็นช่วงที่ "เอกชนผงาด ข้าราชการผยอง"

นี่เป็นการบังคับใช้กฎหมายแบบมุ่งเป้า พูดภาษาง่ายๆ คือ ใช้แบบสองมาตรฐาน ใช้กฎหมายไม่เป็นกลาง เลือกข้างไม่เป็นธรรม กับเป้าหมายจะใช้กฎหมายแบบเข้มข้น คุณต้องผิดอะไรสักอย่างแหละ (ผู้ฟังหัวเราะ) อ้าปากหัวเราะนี่ก็อาจจะผิดแล้ว แต่ถ้าเป็นเครือข่ายจะใช้แบบอลุ่มอหล่วยเพื่อความเป็นธรรม เพื่อสิทธิมนุษยชน กล่าวหาเรื่องนาฬิกาจะกล่าวหาได้อย่างไร ต้องรอการพิสูจน์ก่อน

ถ้าถามผม ข้อเสนอที่อ.สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ พูดว่า "การเมืองไม่ได้ขึ้นอยู่กับกฎหมาย ระบบกฎหมายขึ้นอยู่กับการเมือง" นี่คือหัวใจสำคัญ เราต้องตระหนักว่าช่วงเวลานี้ การถามหาระบบกฎหมายที่เป็นธรรมค่อนข้างจะยุ่งยาก หรืออาจจะไม่มีก็ได้

 

2.อำนาจ คสช.ทำงานอย่างไร

อำนาจ คสช.ทำงานได้อย่างสำคัญเพราะมีสถาบันตุลาการทำหน้าที่โอบอุ้มอยู่ การใช้อำนาจของ คสช.เป็นไปได้เพราะฝ่ายตุลาการเข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วม งานที่ศึกษาครั้งนี้มีศาลทหาร ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง แต่ประเทศนี้มีศาลรัฐธรรมนูญอยู่ด้วย เหตุที่ไม่ได้ศึกษาเพราะเอาเข้าจริงหลายปีที่ผ่านมาเขาก็ไม่ได้ตัดสินคดีเลย มันน้อยมากจนเราประเมินอะไรไม่ได้

ในระยะแรกหลังการรัฐประหาร ศาลทหารเป็นเครื่องมือสำคัญ คำสั่ง คสช.กำหนดให้คดีจำนวนมากขึ้นศาลทหาร ระยะต่อมาด้วยแรงกดดันอะไรก็ตามคดีจำนวนมากกลับไปขึ้นศาลยุติธรรม อันนี้น่าสนใจ ในบางประเทศแพทเทิร์นจะคล้ายแบบนี้ คณะรัฐประหารไม่ได้ตั้งศาลพิเศษ เมื่อเล็งเห็นได้ชัดแล้วว่าแนวทางที่ศาลยุติธรรมดำเนินการไม่แตกต่างไปจากการใช้อำนาจของผู้มีอำนาจ อันนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจ

การศึกษาครั้งนี้เน้นไปที่ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง แต่ต้องย้ำว่าเป็นงานศึกษาที่ศึกษาก่อนช่วง คสช.ขาลง สิ่งที่เราเห็นคือ ศาลยังไม่ได้ปฏิเสธอำนาจคณะรัฐประหาร และยังไม่ได้ตรวจสอบอย่างจริงจัง แต่พอขาลงก็เริ่มเห็นระยะห่างมากขึ้น แต่ก่อนหน้านั้นเป็นส่วนหนึ่งที่โอบอุ้มการใช้อำนาจรัฐประหาร รองรับความเป็นรัฏฐาธิปัตย์ และสร้างมาตรฐานใหม่ว่าไม่จำเป็นต้องมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งคณะผู้ปกครองชุดใหม่ อีกทั้งยังไม่เข้าไปตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งต่างๆ ของผู้มีอำนาจด้วย

บทบาทของศาลยุติธรรมกับศาลปกครองในช่วงหลังๆ ดูเหมือนศาลปกครองมีบทบาทอยู่มากที่วินิจฉัยให้ความสำคัญกับสิทธิเสรีภาพมากขึ้น เช่น การเดินไปขอนแก่น การชุมนุม แต่พึงตระหนักว่า เราไม่โต้แย้งคำสั่ง คสช. เราอ้างกฎหมายพ.ร.บ.ชุมนุม ดังนั้น การวินิจฉัยเรื่องคำสั่ง คสช.เรายังไม่เห็นว่าศาลใดๆ ได้เปลี่ยนทิศทาง

 

3. ผลกระทบของการใช้อำนาจ

การใช้อำนาจนั้นส่งผลกว้างขวางมาก ระบบกฎหมายตามสถานการณ์ปกติถูกทำลายแบบเละเทะ ก่อนหน้านี้ระบบกฎหมายไทยจำนวนมากอยู่ในวิสัยที่พอฝากความหวังได้ แต่การใช้อำนาจของคสช.มันปั่นป่วน เราไม่รู้เลยว่าเมื่อไรจะถูกการใช้อำนาจแบบไม่มีกฎเกณฑ์ การใช้อำนาจคสช.ผ่าเข้ามาในระบบกฎหมายปกติ ถ้าพ้นจากนี้ไปจะเป็นช่วง "การปฏิสังขรณ์" ไม่ใช่ "การปฏิรูป" มันกำลังทำให้สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้เกิดขึ้นได้ในคำสั่งคสช.

อีกอันคือ การฟื้นคืนชีพของระบบราชการ ขณะเดียวกันก็เป็นการถอยหลังของอำนาจท้องถิ่นหรือชุมชน, องค์กรอิสระ กระบวนการยุติธรรมถูกตั้งข้อกังขามากขึ้น , รัฐธรรมนูญฉบับนี้ชื่อเล่นที่มีชัย ฤชุพันธุ์ ตั้งให้คือ "ปราบโกง" แต่ตอนนี้ไม่พูดถึงแล้ว และโพลล์ต่างๆ ที่เคยสนับสนุนก็บอกว่าแย่แล้วในเรื่องนี้

อีกด้านหนึ่งที่สำคัญ การสร้างมาตรฐานเสรีภาพที่ตกต่ำอย่างมีนัยสำคัญ นี่น่าจะเป็นช่วงเวลาที่เราไม่เคยเจอ และเราไม่คิดว่าจะได้เจอด้วย เสรีภาพตกต่ำเป็นอย่างมากและน่าเป็นห่วง

ทั้งหมดนี้ต้องการการปฏิสังขรณ์ เราต้องสร้างสังคมขึ้นใหม่จากซากปรักหักพัง นี่คือเรื่องที่เป็นเรื่องใหญ่ต่อไปข้างหน้า

 

4. การเผชิญหน้ากับเศษซากคณะรัฐประหาร

เราอาจมองโลกในแง่ดีว่า คสช.ขาลง แม้คสช.จะจากไปแต่สังคมไทยจะต้องอยู่กับรัฐธรรมนูญฉบับที่แก้ไม่ได้ เราต้องอยู่กับมาตรา 44 อยู่กับ พ.ร.บ.ของรัฐสภาเผด็จการ นี่ไม่ใช่เผด็จการรัฐสภาแบบที่เราชอบด่านักการเมือง นี่คือ รัฐสภาเผด็จการ คุณเอาอำนาจความชอบธรรมแบบไหน

 

แล้วเราจะทำอย่างไร

ข้อเสนอเฉพาะหน้า การจับกุมผู้คนที่แสดงออก เวลาเขาบอกว่าที่ต้องจับเป็นไปตามกฎหมาย เราต้องโต้แย้ง ไม่ใช่ นั่นเป็นไปตามคำสั่งคณะรัฐประหาร ถ้าใช้พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ ต้องบอกว่า ไม่ใช่ นั่นคือคำสั่งของเครือข่ายคณะรัฐประหาร ถ้าเมื่อไรพูดว่าต้องเป็นไปตามกฎหมาย ก็โยนอย่างของลื้อทิ้งสิ แล้วมาว่ากัน ก่อนหน้านี้การชุมนุมไม่ได้ผิดกฎหมาย

ข้อเสนอระยะยาว การต่อสู้กับอุดมการณ์ทางกฎหมายที่รับใช้ระบอบรัฐประหาร เราควรต้องโต้แย้ง สร้างอุดมการณ์ใหม่ที่สอดรับกับระบอบประชาธิปไตย

ขอนำเสนอวิวาทะของปัญญาชนสองคน แม้ไม่ได้เถียงกันจริงๆ แต่แนวคิดของเขามีนัยสำคัญ คนหนึ่งคือ วิษณุ เครืองาม คนหนึ่งคือ เสน่ห์ จามริก

เวลาบอกว่าคำสั่งคณะรัฐประหารคือกฎหมาย ศาลตัดสินไปแต่ในแง่หนึ่งคนผลิตคำอธิบายนี้อย่างสำคัญคือ วิษณุ เมื่อคนถามว่าศักดิ์ทางกฎหมายของคำสั่งรัฐประหารเป็นอย่างไร เขาอธิบายสรุปง่ายๆ ว่า ถ้าคำสั่งนั้นแก้รัฐธรรมนูญ มันก็มีศักดิ์เท่ารัฐธรรมนูญ ถ้าแก้กฎหมายอาญาก็ถือว่าเป็นพระราชบัญญัติ ถ้ายึดตามนี้ คำสั่งประกาศทั้งหมด 500 ฉบับเราแก้กันอย่างไรหมด ยกตัวอย่าง คำสั่งคณะปฏิวัติ (ปว.)ในอดีตคือ ปว. 337 เรื่องสัญชาติออกเมื่อปี 2515 กว่าจะแก้ไขได้ก็ปี 2551 นี่แค่ฉบับเดียว

ถ้าถามเสน่ห์ จามริก เขาจะตอบยังไง เขาเคยเสนอในงานปี 2529 ว่า เราต้องแยกระหว่างศักดิ์ทางกฎหมายของกระบวนการนิติบัญญัติและตุลาการในยามปกติ กับ ในสถานการณ์รัฐประหาร คำสั่งคณะรัฐประหารมีศักดิ์เป็นกฎหมายในช่วงรัฐประหาร แต่ต้องหมดสภาพความเป็นกฎหมายในทันทีเมื่อเข้าสู่กระบวนการนิติบัญญัติและตุลาการแบบปกติ

สองคนนี้เสนอแตกต่างกัน ผมคิดว่านี่เป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องคิดถึงในอนาคตข้างหน้า ถ้ายังเดินตามทางที่เคยเป็นมาของระบบกฎหมายไทย อยากแก้กฎหมายฉบับไหนต้องไล่แก้ทีละฉบับ และพิจารณาจากโครงสร้างรัฐธรรมนูญแล้วไม่เรื่องง่าย เราจะต้องอยู่กับเศษซากนี้ไปอีกยาวนาน

กฎหมายขึ้นอยู่กับระบอบการเมือง โลกตะวันตกพยายามทำให้การเมืองอยู่ภายใต้ระบบกฎหมาย คำอธิบายของวิษณุยึดถือกันกว้างขวางแต่มันเป็นหลักกฎหมายที่เพิ่งสร้าง นานาประเทศเขาไม่ได้ยึดถือหลักการแบบนี้ หลักการนี้ยึดถือในประเทศที่มีการทำรัฐประหารบ่อย แต่การเปลี่ยนแปลงตามแนวทางของเสน่ห์ต้องอาศัยแรงผลักดันอย่างสำคัญ ไม่ใช่เรื่องง่าย ทั้งหมดนี้การมีสังคมประชาธิปไตยเพื่อให้เราผลักดันอุดมการณ์แบบนี้ให้เกิดขึ้นได้

ในช่วงตอบคำถาม สมชายนำเสนอเพิ่มเติมถึงสิ่งที่พอจะเรียนรู้จากปี 2535 ว่า สิ่งหนึ่งที่เราไมได้ทำเลยและไม่ได้ให้ความสำคัญเลย คือ การปฏิรูปสถาบันบทบาทที่มีความสำคัญกับการเมือง คนส่วนใหญ่เกลียดทหารเราก็พอใจแค่นั้น แต่เราไม่ได้แตะโครงสร้างทางอำนาจว่าทหารควรต้องปรับแก้อย่างไร องค์กรตุลาการตอนนั้นยังไม่ออกมาแสดงบทบาทเท่าไร ยกเว้นการยกฟ้องที่ญาติผู้เสียชีวิตฟ้อง "สุ เต้ ตุ๋ย" สุดท้ายเราปล่อยให้เรื่องพวกนี้ผ่านไป ถ้าสมมติว่าเราผ่านสถานการณ์นี้ไปได้ แล้วสู่ยุคที่มีบทสนทนาและนำเสนออะไรได้ เราต้องคิดถึงคณะรัฐประหารไม่เฉพาะส่วนหัวหรือส่วนนำ แต่ต้องคิดถึงสถาบันโครงสร้างต่างๆ ที่มีส่วนช่วยให้ระบอบแบบนี้มันดำรงอยู่ได้

 

ตุลาการธิปไตย ศาลและรัฐประหาร

ทั้งนี้ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนร่วมกับเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) และคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดกิจกรรมทางวิชาการ "ตุลาการธิปไตย ศาลและรัฐประหาร" โดยเป็นส่วนหนึ่งในชุดการเสวนาวิชาการ "ประเทศไทยไม่ทำงาน" (Dysfunction Thailand) ของเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง จัดที่ห้องประชุมริมน้ำ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2560 สนับสนุนโดยสถานทูตอังกฤษ สถานทูตแคนาดา และมูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์ จากเยอรมนี 

เยาวลักษณ์ อนุพันธุ์ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ชี้แจงความเป็นมาว่า "ศูนย์ทนายฯ นอกจากเป็นองค์กรให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายแล้วยังรวบรวมบันทึกข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชนหลังรัฐประหาร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในยุคนี้ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง การปฏิรูป การแก้ไข การเยียวยา"

"จากการทำงานรวบรวมข้อเท็จจริงต่างๆ เรามีข้อมูลอยู่จำนวนหนึ่ง ที่ทำให้เห็นว่าครั้งนี้คสช.ไม่ได้ใช้อำนาจทหารเพียงลำพัง แต่มีการใช้กระบวนการทางกฎหมาย ทั้งประกาศคำสั่งหัวหน้า คสช. กฎหมายปกติ กระบวนการยุติธรรม และอำนาจตุลาการที่เข้ามารับรองการกระทำของเจ้าหน้าที่ทหารของคสช. ละเมิดและจำกัดสิทธิของประชาชน ทำให้สถานการณ์ขณะนี้ทั้งประชาชนธรรมดา นักข่าว นักวิชาการ ทนาย ก็สามารถตกเป็นผู้ต้องหาได้โดยไม่รู้ตัว"

นอกจากนั้นหลังรัฐประหารยังมีประกาศใช้ศาลทหารกับพลเรือน แม้ภายหลังคสช.จะยกเลิกการใช้ศาลทหารกับพลเรือนในวันที่ 12 กันยายน 2559 แต่ก็ยังมีคดีของประชาชนที่ยังดำเนินการที่ศาลทหารอยู่ เช่น คดีเลือกตั้งที่ (รัก) ลัก คดีประชามติ ในช่วงสิงหาคม 2559

"เราจึงเห็นว่าควรทำงานร่วมกับนักวิชาการ เพื่อเปิดมุมมองว่าเบื้องหลังข้อเท็จจริงและเหตุการณ์มันเกิดอะไรขึ้น โดยร่วมมือกับนักวิชาการสถาบันต่างๆ เป็นที่มาของการนำเสนอบทความ 5 บท และภาพรวมของรัฐประหาร และศาล"

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'กลุ่มสหายสังคมนิยม' เรียกร้องเลือกตั้งต้องอยู่ภายใต้กรอบ รธน. 2540

Posted: 18 Feb 2018 02:19 AM PST

แถลงการณ์กลุ่มสหายสังคมนิยม เรียกร้องให้การเลือกตั้งต้องเกิดขึ้นภายใต้กรอบบรรทัดฐานของรัฐธรรมนูญ 2540 อันเป็นรัฐธรรมนูญฉบับสุดท้ายที่ร่างขึ้นภายใต้บรรยากาศประชาธิปไตย และห้ามการมีนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งดำรงตำแหน่ง

 
 
18 ก.พ. 2561 กลุ่มสหายสังคมนิยมได้ออกแถลงการณ์ระบุว่าเนื่องด้วยวันที่ 10 ก.พ. 2561 ได้มีการชุมนุมของประชาชนบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเพื่อเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งโดยเร็วที่สุด หลังจาก รัฐบาล คสช.พยายามขยายกำหนดเวลาการเลือกตั้งอย่างปราศจากความชัดเจน การชุมนุมดังกล่าวมีประชาชนเข้าร่วมนับพันคน ซึ่งต่อมามีข้อมูลปรากฏต่อสื่อมวลชนว่ามีประชาชนถูกดำเนินคดีทั้งในฐานะแกนนำและผู้เข้าร่วมรวม 50 คน และมีชื่อสมาชิกของกลุ่มสหายสังคมนิยมรวมอยู่ด้วย
 
ทางกลุ่มสหายสังคมนิยมในฐานะกลุ่มทางการเมืองที่มีจุดประสงค์ในการรวมตัวประชาชนผู้ปรารถนาในการสร้างสังคมที่เป็นธรรม มีความเป็นประชาธิปไตยทางการเมือง ความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ และสร้างอำนาจการปกครองของชนชั้นล่างอันเป็นประชาชนส่วนใหญ่ในสังคม ขอแถลงการณ์ต่อเหตุการณ์ในวันที่ 10 ก.พ. 2561 ดังนี้
 
1.ทางกลุ่มสนับสนุนการรวมตัวทางการเมืองของประชาชนทุกรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเคลื่อนไหวเพื่อยุติอำนาจของ คสช. คณะทหารที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และใช้มาตรา 44 ในการบริหารประเทศมายาวนานเกือบ 4 ปี และมีแนวโน้มในการสืบทอดอำนาจอย่างไม่มีกำหนด
 
2.นอกจากการเลือกตั้งตามข้อเรียกร้องของผู้ชุมชุมข้างต้นแล้ว ทางกลุ่มสหายสังคมนิยมเรียกร้องมีการยกเลิก มาตรา 44 และการดำเนินคดีทางการเมืองต่างๆภายใต้โวหาร "ความมั่นคงแห่งชาติ" ซึ่งแท้จริงคือ เป้าประสงค์การสืบทอดอำนาจของ คสช.
 
3. การเลือกตั้งต้องเกิดขึ้นภายใต้กรอบบรรทัดฐานของรัฐธรรมนูญ 2540 อันเป็นรัฐธรรมนูญฉบับสุดท้ายที่ร่างขึ้นภายใต้บรรยากาศประชาธิปไตย และห้ามการมีนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งดำรงตำแหน่ง
 
4.กลุ่มสหายสังคมนิยมสนับสนุนประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ ผ่านการกระจายอำนาจทรัพยากรทางเศรษฐกิจ ซึ่งตลอด 4 ปีที่ผ่านมา ทาง คสช.ได้ขยายความสัมพันธ์กับกลุ่มทุนขนาดใหญ่ผูกขาดทรัพยากรทางเศรษฐกิจการเมือง และทิ้งให้ประชาชนส่วนมากอยู่กับความยากจนและไม่มีอำนาจในการเปลี่ยนแปลงใดๆ ภายใต้รัฐบาลเผด็จการ
 
5. กลุ่มสหายสังคมนิยมเรียกร้องให้ผู้ที่ไม่พอใจต่อการปกครองของ รัฐบาล คสช. รวมตัว ตั้งคำถามตามช่องทางต่างๆ และพิจารณาให้เห็นถึงต้นเหตุของการกดขี่ประชาชนคือการทำงานร่วมกันของทุนนิยมและเผด็จการทุกรูปแบบของชนชั้นนำ
 
ประชาชนผู้ถูกกดขี่ต้องสามัคคีกัน เราไม่มีอะไรต้องเสียนอกจากโซ่ตรวน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์: ทำไม ต้องประจวบฯ สมาร์ทซิตี้?

Posted: 18 Feb 2018 01:45 AM PST

 

ไม่ว่าจะเป็นความคิดใหม่หรือไม่? แต่จุดยุทธศาสตร์ อย่างประจวบคีรีขันธ์ ทางผ่านไปยังภาคใต้ของไทย ที่ผมเองเคยผ่าน ไป-มา มากกว่าร้อยครั้ง น่าจะเป็นจุดหนึ่งที่เกี่ยวโยงกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยเอามากๆ เสียด้วยซ้ำ จุดนี้อาจเรียกได้ว่า จุดเชื่อมอีสต์-เวสต์ คอริดอร์ ของไทยอย่างแท้จริง คือจากอ่าวไทยไปอันดามันหรือแม้แต่ทะเลเบงกอล อันเป็นแนวเชื่อมต่ออีกหลายประเทศในเอเชียใต้ อย่าง อินเดีย ศรีลังกาและบังคลาเทศ

ซึ่งก็แน่นอนว่าต้องผ่านพม่า ประเทศในกลุ่มอาเซียนดุจเดียวกับประเทศไทยไปก่อน

จากการมองว่าประจวบฯ เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญดังกล่าว  ตอนนี้เลยเกิดกลุ่มผู้มีความคิดขับเคลื่อนเมืองประจวบฯ ให้เป็นเมืองยุทธศาสตร์หลักในการพัฒนาพื้นที่เขตตะวันตกของประเทศไทย ด้วยความที่จังหวัดนี้มีพื้นที่เป็นแนวยาวติดกับชายแดนพม่า ที่สำคัญระยะทางจากฝั่งสู่ฝั่ง อ่าวพม่าและอ่าวไทยนั้นมีระยะใกล้กันไม่มาก

เหมาะสมสำหรับการเปิดตัวเขตเศรษฐกิจเชื่อมต่อระหว่างสองประเทศอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นด้านไหน อย่างเช่น การอุตสาหกรรม (ประมง ผลไม้ ฯลฯ)  การท่องเที่ยว เป็นต้น โดยเหตุที่ทั้งสองฝั่งมีความพร้อมเชิงทรัพยากรธรรมชาติหรือวัตถุดิบค่อนข้างมากหรือเกือบสมบูรณ์แล้ว พอที่จะทำให้เกิดเขตเศรษฐกิจใหม่ได้

แน่นอนว่า เราไม่อาจปฏิเสธความพร้อมเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนนหรือสาธารณูปโภคอื่นๆ ได้ แต่ว่าโดยส่วนตัวจากการไปสำรวจพื้นที่ประจวบฯ ของผมเองเมื่อไม่นานมานี้ พบว่าพื้นที่ฝั่งไทยมีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ยังแต่ฝั่งพม่าหรือเมืองมะริด ที่อาจด้อยกว่าไทยอยู่บ้าง แต่หากทั้งสองฝ่ายสองฝั่งหันมาหารือกำหนดยุทธศาสตร์ร่วมกันแล้ว ผมเชื่อว่าผลประโยชน์ก็คงตกอยู่กับประชาชนทั้งสองประเทศ

ผู้จุดชนวนความคิดของเรื่องนี้ หาใช่ใครอื่นใดไม่ เขาคือ อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) จังหวัดประจวบฯ ทิวา ศุภจรรยา หรืออดีตผู้ช่วยอาจารย์ ภาคธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เจ้าของหนังสือ "มรดกไทยจากภาพถ่ายดาวเทียม (Thai Heritage from Space)" ที่ตอนหลังถึงกับลงมือศึกษาการพัฒนาเมืองประจวบฯ ด้วยตัวของเขาเอง โดยมี ฉันทฤทธิ์ วิโรจน์ศิริ หรือ "อาจารย์จ้อบ"ผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมและผังเมืองจากสหรัฐอเมริกา เป็นที่ปรึกษาข้างกาย ทั้งคู่เห็นประโยชน์ที่ชุมชนชาวประจวบฯ และประเทศไทย จะได้รับจากการพัฒนาเมือง หรือนัยหนึ่งก็คือการเตรียมเมือง เพื่อรองรับโลกศตวรรษที่ 21

เพราะประจวบฯ เป็นทางผ่านลงไปสู่ภาคใต้และเป็นจังหวัดเชื่อมติดกับเมืองทะวายและมะริดของพม่า โดยพื้นที่ดังกล่าวนี้ หากในบริบทประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ประชาชนคนท้องถิ่นก็ใช่คนอื่นคนไกลที่ไหนกัน สามารถเชื่อม เป็นแผงการพัฒนาเศรษฐกิจได้ในหลากหลายรูปแบบ อีกทั้งค่อนข้างเป็นที่แน่ชัดแล้วว่าระบบการขนส่งแบบรางที่ทันสมัยจะลงจากกรุงเทพสู่จังหวัดประจวบฯในไม่ช้านี้แล้ว อาทิ รถไฟความเร็วสูง เป็นต้น

ชาวประจวบฯ ไล่ตั้งแต่ระดับบน ในส่วนราชการและเอกชน ตลอดถึงประชาชนในระดับล่าง จึงต้องเตรียมการเพื่อรองการขยายตัวของความเจริญแบบ 4.0 ที่จะเข้ามายังเมืองประจวบฯ อย่างรู้เท่าทันและทันท่วงทีตามลักษณะภูมิทัศน์ของการพัฒนาเมืองในยุคร่วมสมัย ซึ่งว่าไปแล้วเมืองประจวบฯเอง เป็นที่รู้จักของนักเดินทาง นักท่องเที่ยว เป็นอย่างดีมานานในชื่อหัวหิน

แต่อย่างที่ทราบกันดีครับว่า ศักยภาพของหัวหินในปัจจุบันนั้นถือว่า ล้นเกินกำลังของเมืองท่องเที่ยวแห่งนี้เสียแล้ว เมื่อความเจริญได้ขยายตัวลงไปยังด้านใต้ของหัวหิน อย่างเช่น ปราณบุรี เป็นต้น ขณะที่ส่วนอื่นๆ ของประจวบเองก็พลอยได้รับอานิสงส์ของการขยายตัวของธุรกิจท่องเที่ยวดังกล่าวไปด้วย

และเช่นเดียวกันกับอ่าวประจวบฯ ตลอดถึงคลองวาฬ ทับสะแก ที่นักท่องเที่ยวผู้หยั่งลึกกับทะเลไทยและสภาพแวดล้อมริมฝั่งประจวบฯทราบดีว่า  มันเหมาะที่พวกเขาจะเดินทางไปท่องเที่ยวหรืออยู่กับสภาพธรรมชาติที่แท้จริงอย่างไร มากกว่าเมืองฉาบฉวยอย่างหัวหิน หลักฐานเชิงประจักษ์ คือรีสอร์ท หรือชุมชนต่างด้าว ริมทะเลประจวบฯ จึงผุดพราวขึ้นมากมาย อย่างเช่น หมู่บ้านสแกนดิเนเวียน เป็นต้น แสดงให้เห็นถึงความหลงใหลในความสงบ ในรูปแบบธรรมชาติดั้งเดิมของทะเลไทย มากกว่าการไปอาศัยอยู่ท่ามกลางความอึกทึกของเสียงและผู้คนในย่านหัวหิน อันเป็นที่ลงของนักท่องเที่ยวที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในแถบนั้น

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาเมืองประจวบฯที่กำลังขยายจากหัวหินลงไปด้านใต้หรืออ่าวประจวบฯนั้น ไม่ง่ายนัก ในขณะที่ภาพแวดล้อมของเมืองถูกกลบทับเกลื่อนกล่นเต็มไปด้วยสถานที่ก่อสร้างที่เกิดจากวัตถุประสงค์การสร้างเมืองแบบเก่าที่มีมาแต่เดิมก่อนเป็นตัวจังหวัด จนถึงขณะนี้สถานที่ก่อสร้างเหล่านี้ ซึ่งเป็นของส่วนราชการบ้าง เอกชนบ้าง กลายเป็นโบราณสถานหรือโบราณวัตถุที่อยู่ผิดที่ผิดทาง ท่ามกลางนิเวศน์การท่องเที่ยวและภูมิทัศน์แบบใหม่ที่ต้องมุ่งตอบสนองต่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจหรือความรุ่งเรืองของเมือง หรือต่อภาคประชาสังคมอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย

อาคารสิ่งก่อสร้างเก่าๆ บางชิ้นบางอัน ริมอ่าวประจวบฯ จึงกลายเป็นส่วนเกิน ที่จำเป็นต้องปรับปรุงให้เหมาะกับภูมิทัศน์ของเมืองแบบใหม่ ที่สำคัญคือ มันต้องเอื้อประโยชน์ประโยชน์ต่อการพัฒนาเมืองอย่างเต็มที่ในเชิงก้าวหน้า

โดยสรุปก็คือ ประจวบฯ กำลังต้องการศูนย์ราชการแห่งใหม่ตามหลักการบริการงานราชการสมัยใหม่ คือ one stop service นั่นแหละ เสริมรับกับหลักการการใช้สถานที่หรือทรัพยากรของรัฐให้เกิดคุณค่าหรือประโยชน์สูงสุด 

นี่มิใช่การมุ่งในเชิงธุรกิจเป็นหลัก หากแต่เป็นการมุ่งแก้ปัญหาปากท้องของพี่น้องชุมชนประจวบฯ ที่มีอาชีพหลัก คือทำประมง จะเป็นเรื่องที่ดีกว่าหรือไม่? ที่จะสร้างทางเลือกในด้านอาชีพให้กับพี่น้องชุมชนริมอ่าวประจวบฯ บูรณาการอาชีพดั้งเดิมของพวกเขาเข้ากับธุรกิจท่องเที่ยวที่กำลังขยายตัวจากหัวหินลงไปด้านใต้

และนี่ยังไม่นับรวมการสร้างงานอีกนับเป็นหมื่นๆ ตำแหน่งในเขตเดียวกันดังกล่าวก็ในเมื่อหัวหินมาถึงทางตันแล้ว (เช่น ตันจากค่าครองชีพที่สูงเกินกำลัง ตันจากการเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์ที่ปราศจากการควบคุม เป็นต้น)

ภาพรวมของการพัฒนาเมืองประจวบจึงไม่ควรถูกจำกัดอยู่แต่เมืองหัวหินเท่านั้น หากแต่ควรขยายออกไปในส่วนอื่นๆ ของจังหวัดด้วย โดยไม่จำเป็นว่าต้องเป็นภาคการท่องเที่ยวอย่างเดียว หากต้องรวมภาคเกษตรหรือภาคอื่นๆเข้าไปด้วย รวมถึงการคำนึงถึงความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่าด้วย โดยอาศัยรูปแบบการพัฒนาสมัยใหม่ ที่มีเทคโนโลยีเป็นองค์ประกอบสำคัญ

ก็ถ้ารัฐบาลกำลังผลักดันอีอีซีในภาคตะวันออกได้ แล้วทำไมจะพัฒนาโซนตะวันตกอย่างเมืองประจวบฯ ไม่ได้ ทั้งๆ ที่ศักยภาพของเมืองนี้มีมาก โดยเฉพาะภาพรวมของเมืองนี้ ที่มีข้อดีอยู่ที่ เป็นเมืองที่ยังมีต้นทุนต่ำอยู่มาก อีกทั้งโครงสร้างพื้นฐานก็พร้อมอยู่แล้ว รวมถึงท่าเรือก็ด้วย...

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักเศรษฐศาสตร์เสนอ 3 แนวทาง 8 หลักการ แก้ปัญหาวิกฤตคอร์รัปชัน

Posted: 18 Feb 2018 01:33 AM PST

คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตให้ความเห็นกรณีปัญหาทุจริตคอร์รัปชันรุนแรงสุดในรอบ 3 ปี พร้อมข้อเสนอ 3 แนวทาง 8 หลักการเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตคอร์รัปชัน

 
 
ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ (กลาง) ที่มาแฟ้มภาพเพจ banrasdr photo
 
18 ก.พ. 2561 ผศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ และ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้แสดงความเห็นต่อกรณีคอร์รัปชันรุนแรงสุดในรอบ 3 ปีและเริ่มเห็นสัญญาณจ่ายเงินสินบนและใต้โต๊ะมากขึ้น ว่าเป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งและจะส่งผลกระทบอย่างมากในภาวะที่ประเทศกำลังเดินหน้าลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจจำนวนมากและมีการใช้จ่ายงบประมาณมหาศาล 3-4 ล้านล้านบาท แต่ไม่ได้รู้สึกแปลกใจแต่อย่างใดเนื่องจากขณะนี้เราอยู่ภายใต้รัฐบาลที่ไม่มีฝ่ายค้าน ระบบตรวจสอบถ่วงดุลอ่อนแอ สิทธิเสรีภาพทางวิชาการและสื่อมวลชนมีข้อจำกัด สถานการณ์คอร์รัปชันจะดีขึ้นหากการเมืองเป็นระบบเปิดมากขึ้น การมีส่วนร่วมของประชาชนมากขึ้น ระบบการตรวจสอบถ่วงดุลเข้มแข็งขึ้น การกลับคืนสู่ประชาธิปไตยและการเลือกตั้งที่มีการซื้อเสียงน้อยลง ระบบอุปถัมภ์ผ่อนคลายลง ย่อมทำให้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันลดลง อย่างไรก็ตาม หากสังคมไทยปล่อยให้สถานการณ์การทุจริตคอร์รัปชันย่ำแย่ลงอย่างต่อเนื่อง คาดว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปีนี้และในอนาคตจะลดลงจากความเสียหายที่เกิดขึ้นกับงบประมาณของประเทศไม่ต่ำกว่าปีละสองแสนล้านบาท อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยต่ำกว่า 4% ต่อปีจะทำให้ไทยไม่บรรลุเป้าหมายก้าวสู่ประเทศพัฒนาแล้วในปี พ.ศ. 2575 เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดปัญหาวิกฤติฐานะการคลังในอนาคต โดยคาดว่าหากปล่อยให้การทุจริตคอร์รัปชันอยู่ที่ระดับเดิมหรือเพิ่มขึ้นโดยไม่มีการแก้ไขให้ดีขึ้น ไม่เกิน 3-5 ปีข้างหน้า ประเทศจะต้องเจอกับปัญหาวิกฤตการณ์หนี้สาธารณะอย่างแน่นอน การทุจริตจะเพิ่มภาระและต้นทุนให้กับประชาชนและภาคธุรกิจรวมทั้งทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการลดลง ประเทศได้โครงสร้างพื้นฐานที่ไม่มีคุณภาพ ไม่ได้มาตรฐานด้วยงบประมาณที่สูงกว่าความเป็นจริง ประเทศมีต้นทุนค่าเสียโอกาสในการนำเม็ดเงินงบประมาณไปลงทุนระบบสวัสดิการสาธารณสุขและระบบการศึกษาให้กับประชาชน
 
ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม. รังสิต ได้เสนอ 3 แนวทางและหลักการ 8 ประการในการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันที่รุนแรงขึ้นในขณะนี้และมีสัญญาณเพิ่มขึ้นในอนาคตโดยเฉพาะการจัดซื้อจัดจ้างและการให้สัมปทานในโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ 
 
ดร.อนุสรณ์ เปิดเผยว่า 3 แนวทางประกอบไปด้วย แนวทางที่หนึ่ง กลับคืนสู่ประชาธิปไตยและระบบนิติรัฐ คืนสิทธิเสรีภาพ เพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน แนวทางที่สอง การปฏิรูประบบและกลไกในการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันและบริหารประเทศอย่างโปร่งใสและมีธรรมาภิบาล โดยเฉพาะ คณะกรรมการ ปปช จะต้องเป็นอิสระ เป็นกลางและเที่ยงธรรม แนวทางที่สาม พัฒนาดัชนีธรรมาภิบาลเพื่อใช้กำกับดูแลการบริหารจัดการประเทศในสามระดับ 1. ระดับพื้นที่ มีดัชนีธรรมาภิบาลระดับจังหวัด 2. ระดับหน่วยงาน 3. ระดับโครงการ โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ที่ดำเนินการอยู่ตอนนี้ 
 
ส่วนหลักการ 8 ประการที่สังคมโดยเฉพาะภาครัฐจะต้องผลักดันและยึดถือร่วมกันเพื่อต่อสู้กับวิกฤติทุจริตคอร์รัปชัน และ ทำให้ ระบอบประชาธิปไตยมีความความมั่นคงมากขึ้น ประกอบไปด้วย หลักการที่หนึ่ง การปฏิรูปโครงสร้างระบบการเมือง ระบบเศรษฐกิจ ระบบวัฒนธรรมและค่านิยมที่มีความยั่งยืน (Sustainability of Structural Reform) หลักการที่สอง การเปิดเสรีและการผ่อนคลายกฎระเบียบ (Liberalization and Deregulation) การเปิดเสรีทางการเมืองและเศรษฐกิจจะเพิ่มการแข่งขัน ลดการผูกขาดทางการเมืองและเศรษฐกิจ การผ่อนคลายกฎระเบียบจะลดการใช้อำนาจดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐ ปิดช่องทางการทำทุจริตเรียกรับผลประโยชน์และติดสินบน หลักการที่สาม การมีส่วนร่วม (Participation) ต้องมีการเปิดโอกาสให้ประชาชน ภาคธุรกิจและภาคประชาสังคม มีส่วนร่วมในนโยบายและโครงการต่างๆของภาครัฐ มีกระบวนการในการรับฟังความคิดเห็นอย่างแท้จริง หลักการที่สี่ หลักนิติธรรม (Rule of Law) กรอบกฎหมายต้องยุติธรรม พยากรณ์ได้ มีความต่อเนื่อง ไม่เลือกปฏิบัติ บังคับใช้อย่างเท่าเทียมโดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน หลักการที่ห้า ความโปร่งใส (Transparency) และ การเปิดเผยข้อมูล การเปิดเผยและความโปร่งใสในข้อมูลข่าวสารเป็นพื้นฐานจำเป็นเบื้องต้นในการป้องกันการทุจริต ความโปร่งใสการตัดสินใจและกระบวนการการตัดสินใจ การจัดสรรงบประมาณอย่างเปิดเผยตรวจสอบได้ หลักการที่หก ความเท่าเทียมและความเป็นธรรม (Equity) หลักการที่เจ็ด ภาระรับผิดชอบ (Accountability) หลักการที่แปด ประสิทธิผลและประสิทธิภาพ (Effectiveness and Efficiency) 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พลเมืองไทยที่พึงปรารถนาในยุค 0.4

Posted: 18 Feb 2018 01:06 AM PST


 
ในขณะนี้ถ้าจะเรียกประเทศไทยว่าเป็น "เผด็จการ" ก็คงสามารถเรียกได้อย่างไม่มีข้อแม้  หลายๆคนทำอะไรขณะนี้ มักอ้างว่า รัฐบาลเผด็จการ การทำอะไรในสังคมทุกอย่างเผด็จการก็คงไม่ผิด หาก คสช สืบทอดอำนาจต่อไป คนไทยคงลืมจริงๆ ว่าประชาธิปไตยคืออะไร สะกดอย่างไร

แม้ในอดีตกาลสังคมไทยเป็นสังคมแห่งการอุปถัมภ์ ไปเสียทุกสิ่ง ระบบราชการเสื่อมถอย ทุจริตโกงกินกันอย่างไม่สนใจใยดีสภาพสังคมที่ รวยกระจุก จนกระจาย ประชาชนหลายคนโหยหาความสะดวกสบายพยายามทำทุกวิธี แต่ผู้มีอิทธิพล ยังคงครอบครองสิ่งต่างๆ ของประเทศไว้ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า ภาพของระบบอุปถัมภ์มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น อาทิ ระบบการศึกษา

สถาบันการศึกษาสถานที่ จำลองของการใช้ชีวิต การเรียนรู้ สถานที่ผลิตปัญญาชนผู้มีความรู้ความสามารถ แต่การเรียนเพียงอย่างเดียวมิได้สร้างให้ คนในสังคมสามารถอยู่ในสังคมอย่างมีทักษะและใช้ความรู้ นำไปสู่การประสบความสำเร็จสูงสุด  ระบบการศึกษาไทยไม่ได้ฝึกฝนให้เด็กเรียนรู้เรื่องสังคมมากพอ ไม่ฝึกให้เด็กคิด มีค่านิยมผิดๆ เช่น เกรดดีคือเรียนเก่ง ห้องวิทย์-คณิต คือ ฉลาด มีศักยภาพ เลือกสถาบันการศึกษา ที่แพงที่สุด ค่านิยมดีที่สุดซึ่งแน่นอนว่าคุณภาพของโรงเรียนรัฐบาลกับโรงเรียนเอกชน คุณภาพการศึกษา แตกต่างกัน แต่ในฟินแลนด์ ทุกโรงเรียนเท่ากัน และผลการสอบออกมาคือ อันดับ 1 ทั้งนี้การศึกษาไทยมีกฎระเบียบที่มากเกินไป ทำให้เด็กบางคนไม่สามารถอยู่ในกรอบของกฎระเบียบบางอย่างได้ อาจเป็นเพราะว่ารับรู้จากต่างชาติและเกิดการเปรียบเทียบว่าบางสิ่งไม่เกี่ยวข้องกับการเรียน เช่น ทรงผม เครื่องแบบการแต่งกายเป็นต้น

หากมีการฝึกฝนให้เด็กรู้กาลเทศะว่า การแต่งตัวอย่างไรเหมาะสม ความประพฤติแบบไหนเป็นสิ่งที่ดีเด็กก็สามารถคิดได้โดยไม่ต้องพึ่ง กฎ ระเบียบ หรือมีกฎระเบียบแต่การฝ่าฝืนน้อยลงก็จะส่งผลต่อ การละเมิดกฎหมายของสังคมที่น้อยลงเช่นกัน

ซึ่งการเคารพกฎหมายเท่ากับเคารพตนเอง  จึงเป็นการสร้างฐานพลเมืองที่เข้มแข็ง นอกจากนี้พลเมืองไทยแห่งอนาคตที่พึงปรารถนา  ควรมีควรตระหนักต่อสิ่งดังต่อไปนี้

1.มั่นใจในตนเองอย่างมีเหตุผล โดยเฉพาะ เหล่าปัญญาชน ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าตนเอง  แต่ปัจจุบันเกิดการเข้าใจผิดในเสรีภาพจะทำอะไรตามใจชอบโดยไม่คำนึงว่าการกระทำนั้นจะเดือดร้อนใครหรือไม่ เช่น การสูบบุหรี่ ในที่สาธารณะ การสูบบุหรี่ส่งผลต่อคนข้างๆอย่างแน่นอนและเท่ากับว่ากำลังละเมิดสิทธิผู้อื่น

2.อุดมการณ์ในการดำรงชีวิต คือ เป้าหมายในทุกๆสิ่ง การมีเป้าหมายเป็นสิ่งที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในชีวิตได้ ต้องเข้าใจว่าอุดมการณ์เป็นสิ่งสำคัญมิใช่เพียงทางการเมือง แม้ว่าอุดมการณ์จะเกิดขึ้นยากเนื่องจากต้องใช้พลังมหาศาลแล้ว หากมันได้ก่อเกิดขึ้นและเกี่ยวข้องกับคุณประโยชน์ของสังคมจะนำมาซึ่งความภาคภูมิใจและเป็นที่ยกย่องในสังคม

3.รักษาผลประโยชน์ของชาติเท่ากับรักษาผลประโยชน์ของตนเอง ในกรณีประเทศไทยสภาพสังคมปัจจุบันที่หลายๆสิ่งแย่ลง การที่หลายคนลุกขึ้นมาทวงคืนสิทธิของคนทั้งชาติเท่ากับว่าเขาทวงคืนสิทธิ เสรีภาพของเขา ทั้งนี้ความเสื่อมถอยของสภาพสังคม ก็เท่ากับว่าชีวิตของเขาเสื่อมถอย การรักษาผลประโยชน์จึงเป็นสิ่งที่พลเมืองไทยในปัจจุบันพึงมี  ไม่ควรเกิดการขัดขวาง อย่างเช่นทุกวันนี้ที่ประชาชนหมดสิทธิ์ ไร้เสียง ถูกกลุ่มคนที่มีอำนาจในสังคมเข้าควบคุมปิดกั้นทางความคิด นิสิตนักศึกษา แนวคิดก้าวหน้าถูกขัดขวางทุกวิถีทางใช้กฏหมายรังแกคนบางคนตามใจชอบและเลือกปฏิบัติอย่างชัดเจนหลายกรณี

4.จิตวิญญาณของการเป็นนักสู้ สืบเนื่องจากข้อ 3 ชีวิตคือการต่อสู้ คนเราต่อสู้ตั้งแต่เกิดจนตาย แต่เมื่อใดที่มีคนลุกขึ้นสู้แล้วถูกกีดกัน เมื่อนั้นความเก็บกดก็จะบังเกิดขึ้นโดยที่รอวันปะทุขึ้นมา บางคนสู้จนเป็นที่ยอมรับในระดับโลก เช่น อองซาน ซูจี มหาตมะ คานธี วิลเลียม วอลเลซ  เป็นต้นบุคคลเหล่านี้เป็นนักสู้ที่อดทนอดกั้นต่อสภาพสังคมกันมามากพอสมควร ทั้ง3 ต่อสู้เพื่อสังคมมิใช่เพียงเพื่อตนเอง จึงทำให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในระดับโลก

5.ความสามัคคีของคนในชาติ เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุด แต่อย่างที่กล่าวมาข้างต้นว่าคนไทยบางส่วนเริ่มชินชากับสภาพสังคม เผด็จการ ปัจจุบันจนมีการนำวิธีเผด็จการมาใช้ อย่างชัดเจนมากกว่าที่ผ่านมา เช่น การไม่ยอมรับในความคิดเห็นของผู้อื่นคิดต่างคือศัตรู คิดต่างต้องแตกแยก แบ่งพรรคพวก สร้างชนชั้นทางสังคม ทำให้ความสามัคคี ลดลงในสังคม หากสังคมเป็นเช่นนี้ เมื่อกลับสู่การเลือกตั้งการประท้วงต้องเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เนื่องจากมีทั้งฝ่ายที่ชอบเผด็จการเรียกร้องทหารออกมา และฝ่ายประชาธิปไตยที่ต้องการสิทธิเสรีภาพ ต้องการใช้สิทธิ์อันพึงมีของตน

สิ่งที่พลเมืองไทยควรมี ควรตระหนักดั่งข้างต้น ไม่ว่าจะในปัจจุบัน หรือที่คาดว่าจะมีในอนาคตล้วนเป็นสิ่งที่คนไทยส่วนใหญ่สามารถกระทำได้  แต่ถ้าหากเกิดการขัดขวางหรือไม่ได้รับการฝึกฝนหรือมีมาตรการต้องห้ามออกมาแล้ว การเป็นพลเมืองก็จะเกิดขึ้นน้อยหรือแทบไม่เกิดขึ้นกับคนทั้งรุ่นปัจจุบันและรุ่นหลัง การพัฒนาคุณภาพของประชาชนก็จะเป็นสิ่งที่ยากแก่ความสำเร็จทั้งในระดับบุคคล สังคม และประเทศชาติ
 
        

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

บุญเลิศ วิเศษปรีชา: อย่าให้คำสั่ง คสช. ใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญ

Posted: 18 Feb 2018 12:56 AM PST



นับแต่ต้นปี 2561 รัฐบาล คสช. ต้องเผชิญกับแรงกดดันและเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง นับแต่ปมนาฬิกาหรูของพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่จนป่านนี้ยังไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจนจากพลเอกประวิตร จนถึงความไม่พอใจของประชาชนจากที่มีแนวโน้มว่าการเลือกตั้งจะถูกเลื่อนออกไปอีก 3 เดือน จากที่นายกรัฐมนตรีเคยประกาศว่าจะมีการเลือกตั้งภายในเดือนพฤศจิกายน 2561  

ท่ามกลางแรงกดดันดังกล่าว เครื่องมือหนึ่งที่ฝ่ายความมั่นคงของรัฐบาลนำมาใช้ก็คือ การแจ้งข้อหาคดีอาญากับผู้รณรงค์ "อยากเลือกตั้ง" ทั้งในการชุมนุมที่สกายวอล์คเมื่อวันที่ 27 มกราคม และที่ถนนราชดำเนินในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ฐานขัดคำสั่ง คสช.ที่ 3/2558

จึงเป็นการสมควรที่สังคมจะหันมาตั้งคำถามว่า บรรดาคำสั่ง คสช.ที่ออกมายังมีความชอบธรรมอยู่หรือไม่ ในเมื่อรัฐธรรมนูญก็ประกาศใช้ตั้งแต่ปี 2560 แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำสั่ง คสช.ที่ 3/2558 ซึ่งมีเนื้อหาขัดกับหลักการที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน

ก่อนอื่นคำสั่ง คสช.ที่ 3 /2558 นั้นมีรายละเอียดหลายข้อ แต่ข้อที่ถูกนำมาใช้บ่อยคือข้อ 12 ที่พูดภาษาให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ ห้ามชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน  ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุก 6 เดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ การออกคำสั่งนี้เป็นเรื่องที่เข้าใจไม่ยาก เพราะเมื่อคณะรัฐประหารเข้ามายึดอำนาจใหม่ๆ ก็ย่อมไม่ต้องการให้เกิดการชุมนุมต่อต้านการยึดอำนาจของตัว การต่อต้านจึงมีบ้างแต่ไม่กว้างขวาง อีกส่วนหนึ่งก็เพราะประชาชนคาดว่า คสช.คงเข้ามาใช้เวลาไม่นานในการจัดระเบียบการเมือง  ร่างรัฐธรรมนูญและคืนอำนาจให้ประชาชนโดยเร็ว

ดังนั้นเมื่อมีการลงประชามติผ่านร่างรัฐธรรมนูญในปี 2559 และประกาศใช้ในวันที่ 6 เมษายน 2560 ความคาดหวังเรื่องการเลือกตั้งย่อมสูงขึ้น  เมื่อมีแนวโน้มว่าการเลือกตั้งจะเลื่อนออกไปถึงปี 2562 ความไม่พอใจย่อมมีสูง การแสดงออกโดยใช้เสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญรับรอง จึงเกิดขึ้น โดยในรัฐธรรมนูญเขียนถึงเสรีภาพในการชุมนุมไว้ว่า

"มาตรา 44 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ที่ตราขึ้นเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยสาธารณะ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี"

ตามรัฐธรรมนูญข้างต้น การจำกัดเสรีภาพในการชุมนุม ทำได้เฉพาะการชุมนุมนั้นเป็นภัยต่อความมั่นคง ความปลอดภัย หรือศีลธรรม ดังนั้น คำสั่ง คสช. ที่ครอบจักรวาลห้ามการชุมนุมทุกชนิด เพราะเกรงว่าจะเป็นการต่อต้าน คสช. จึงเป็นคำสั่งที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ

คสช.อย่าเข้าใจผิดว่า ความมั่นคงของรัฐบาลหรือความมั่นคงของ คสช. เท่ากับความมั่นคงของรัฐ เหมือนกับที่พลเอกประวิตร เพิ่งพูดออกมาผิดๆ ว่า คสช. เป็นรัฏฐาธิปัตย์ เพราะรัฐบาลหรือ คสช. เป็นเพียงผู้ใช้อำนาจรัฐ เหมือนกับรัฐบาลอื่นๆ ซึ่งแม้จะเปลี่ยนรัฐบาลกี่ชุด ตัวรัฐไม่ได้ถูกทำลาย

ประชาชนที่ทวงสัญญาการเลือกตั้ง จึงเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ เพราะพวกเขาอยากให้มีรัฐบาลที่เข้าสู่อำนาจรัฐตามกระบวนการรัฐธรรมนูญ ตรงกันข้าม คำสั่ง คสช.ที่ 3/2558 ข้อ 12 ต่างหากที่กร่างและขัดรัฐธรรมนูญ 

และถ้าพิจารณาลงลึกต่อไปก็จะทราบได้ไม่ยากว่า ประชาชนที่แสดงตัวอยากให้มีการเลือกตั้งนั้น คือคนที่เคยรณรงค์โหวตโนเมื่อคราวลงประชามติ ปี 2559 เพราะเขาเห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย มีกลไกที่เอื้อกับการสืบทอดอำนาจของ คสช.อยู่หลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็น สว.จากการแต่งตั้ง การตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ แถมยังเป็นร่างรัฐธรรมนูญที่แก้ไขได้ยาก  แต่ครั้นเมื่อร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติ พวกเขาก็ยังต้องยอมรับ และอยากให้เลือกตั้งโดยเร็ว คสช.ที่ดูจะพอใจกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ไม่ควรที่จะยืดเวลาการเลือกตั้งออกไป

หากนายกรัฐมนตรีจะทำท่าจำไม่ได้ว่า ตัวเองเคยให้สัญญาว่าจะมีการเลือกตั้งวันไหนเวลาไหน มากี่ครั้งแล้ว ผู้เขียนไม่ขอทบทวนยาว แต่จะขอทบทวนความจำครั้งสุดท้ายที่นายกฯ พูดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคมปีที่แล้ว เมื่อมีการผ่านพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองว่า จะมีการประกาศวันเลือกตั้งในเดือนมิถุนายน 2561 และมีจะมีการเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายน 2561 ซึ่งสื่อมวลชนหลายแขนงต่างลงข่าวตรงกัน

มากกว่านั้น ในเดือนธันวาคม 2560 ที่สหภาพยุโรปหรืออียู (EU) ออกแถลงการณ์ฟื้นความสัมพันธ์ทางการเมืองกับรัฐบาลตามลำดับนั้น ในแถลงการณ์นั้นก็ยังอ้างถึงคำพูดของพลเอกประยุทธ์ ด้วยซ้ำว่า "คณะรัฐมนตรีฯ [แห่งสหภาพยุโรป] ยอบรับแถลงการณ์ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ซึ่งระบุว่าการเลือกตั้งทั่วไปจะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 คณะรัฐมนตรีฯ เรียกร้องให้มีการประกาศใช้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่เหลืออยู่อย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และให้เคารพกำหนดการการจัดการเลือกตั้งตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ" (ประชาชาติธุรกิจ 11 ธันวาคม 2560

ถ้าจะพูดภาษาชาวบ้าน แถลงการณ์ของอียู ก็คือ การนำคำพูดของพลเอกประยุทธ์มาผูกมัดให้พลเอกประยุทธ์ต้องทำตาม ดังนั้น เมื่อมีแนวโน้มว่าการเลือกตั้งจะถูกเลื่อนออกไปถึงปี 2562 จึงเป็นการเสียสัตย์ของผู้นำประเทศ ที่ทำให้ประเทศต้องเสียความน่าเชื่อถือในสายตาประชาคมระหว่างประเทศ

ดังนั้น การที่ประชาชน "อยากเลือกตั้ง" จะแสดงออกเพื่อทวงสัญญาการเลือกตั้ง จึงไม่ใช่เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ ตรงกันข้าม เขาอยากให้รัฐไทยมีความมั่นคงในสายตาของนานาประเทศ ในความหมายที่ว่า ยังมีความน่าเชื่อถือ ไม่ใช่รับปากใครแล้ว เชื่อไม่ได้

นอกจาก คสช. ควรยุติการตั้งข้อหากับประชาชนอย่างขาดหลักกฎหมายแล้ว อย่างใช้คำสั่ง คสช.ที่ 3/2558 ที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ การตั้งข้อหาแกนนำบางคนด้วยข้อหา ฝ่าฝืนประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 หรือที่มักพูดกันว่า ยุยงปลุกปั่นให้เกิดความกระด้างกระเดื่อง ก็ควรจะถูกยกเลิกด้วย

ป. อาญา มาตรา 116 นี้ หากอ่านตัวบทจริงๆ จะพบคำสำคัญที่เป็นมูลเหตุของความผิด เช่น  การกระทำที่ "ไม่ใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ"   "เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กำลังข่มขืนใจ หรือใช้กำลังประทุษร้าย"  "เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร"

วิญญูชนผู้มีเหตุผล คงตัดสินได้ไม่ยากว่า การรณรงค์อยากให้มีการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญเป็นการกระทำที่อยู่นอกรัฐธรรมนูญหรือไม่ การยืนชูป้ายอยากเลือกตั้งเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายหรือไม่ การเรียกร้องให้เลือกตั้ง จะเป็นการก่อความไม่สงบหรือไม่

เมื่อการเรียกร้องการเลือกตั้ง ไม่เข้าข่ายหรือใกล้เคียงที่จะเข้าข่ายกับความผิดมาตรา 116 ก็ไม่ควรจะมีการตั้งข้อหาตั้งแต่ต้น คงมีแต่ผู้ที่เคยชินกับการเข้ามามีอำนาจด้วยการใช้รถถังเท่านั้น ที่เมื่อได้ยินคำว่า "อยากเลือกตั้ง" แล้วบอกว่า เป็นการใช้กำลังข่มขืนใจ ประทุษร้าย

ผู้เขียนขอยืนยันอีกครั้งว่า การตั้งข้อหาต่างๆ ต่อผู้รณรงค์อยากเลือกตั้งนั้น เป็นการตั้งข้อหาที่ไม่มีมูลเหตุสมควรตั้งแต่ต้น สังคมไม่ควรยอมให้ คสช.เข้าใจผิดทึกทักว่า ความมั่นคงของรัฐบาล คสช. เท่ากับความมั่นคงของรัฐ

คำสั่ง คสช. ต้องไม่ใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญ. 


 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หนุ่มสาวปัตตานีจัดงานแสดงความหวังในสันติภาพ ผ่านดนตรีและศิลปะ

Posted: 17 Feb 2018 11:56 PM PST

หนุ่มสาวปัตตานีรวมตัวจัดกิจกรรมแสดงความหวังที่จะเห็นสามจังหวัดชายแดนภาคใต้สงบสุข ผ่านการแสดงดนตรี ศิลปะและงานทำมือ 

 

ผู้จัดงานแต่งกายในธีม indigo ธีมสีของงาน ภาพโดย Abdulghani Ismail  
 

 
จินา (ซ้าย) และ บูดูลิตเติ้ล ภาพโดย Abdulghani Ismail 
 


ภาพโดย Abdulghani Ismail 
 

ผลิตภัณฑ์ทำมือจาก Trash Hero Pattani ภาพโดย Abdulghani Ismail 
 

อันธิฌา แสงชัย แสดงกีตาร์และร้องเพลง 
 
เมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2561 คนรุ่นใหม่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในนามกลุ่มสายบุรีลุคเกอร์จัดงาน The Face of Hope ที่ร้านสะมิแล ใกล้ มอ.ปัตตานี ในงานมีการแสดงศิลปะ ดนตรี ฉายหนังสั้น มิวสิควิดิโอ และขายผลงานทำมือ โดยทั้งหมดเป็นผลงานของคนรุ่นใหม่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 
 
อานัส พงค์ประเสริฐ กลุ่มสายบุรีลุคเกอร์ บอกกับประชาไทว่า ทางกลุ่มหวังอยากให้งานนี้เป็นสัญลักษณ์ของความหวังของคนในพิ้นที่ โดยเฉพาะกลุ่มคนหนุ่มสาว โดยเป็นการแสดงออกถึงความหวังผ่านดนตรี เรื่องเล่า ศิลปะ และไลฟ์สไตล์ "เราเชื่อว่า คนที่อยู่ที่นี่เขายังมีความหวัง เราอยากให้กิจกรรมนี้เป็นพื้นที่ที่คนที่ยังมีความหวังได้มาพบปะ แลกเปลี่ยนความหวัง และวิสัยทัศน์ของพวกเขาต่อพื้นที่แห่งนี้ ที่จะทำให้เรามีกำลังใจ เชื่อว่าเราสามารถเดินหน้าสร้างความเปลี่ยนแปลงในพื้นที่นี้ได้" อานัสกล่าว "พื้นที่นี้ถูกมองว่าเป็นพื้นที่เต็มไปด้วยความรุนแรง ความโศกเศร้าสูญเสียมาอย่างยาวนาน แต่นั่นไม่ใช่ทั้งหมด เราอยากนำด้านที่เป็นความหวังของคนในพื้นที่ออกมาให้เห็น ผ่านกิจกรรมที่เราจัดในวันนี้" 
 
เขากล่าวต่อว่า งานนี้เป็นงานภาคต่อของงานเดอะเคราไนท์ ดนตรี กวี ศิลป์ ซึ่งจัดไปเมื่อเดือน มี.ค. 2559 ซึ่งเป็นงานแสดงดนตรีและศิลปะเพื่อส่งเสริมความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมของสามจึงหวัดชายแดนภาคใต้ และยังสอดแทรกเนื้อหาถึงความต้องการสันติภาพ (อ่านเพิ่มเติม: นักกิจกรรม 3 จว.ชายแดนใต้ 'รื้อ ถอน สร้าง' ความเข้าใจของชาวมลายูมุสลิม ต่อดนตรีและศิลปะ)
 
ในงาน The Face of Hope นี้ มีศิลปินที่มาแสดงหลักคือ บูดูลิตเติ้ล และจิน่า นักร้องนักแต่งเพลงชาวมลายูมสุลิม ที่สร้างสรรค์ผลงานเพลงภาษามลายูและภาษาอังกฤษ และเสริมด้วยนักดนตรีสมัครเล่นแต่เป็นคนที่มีบทบาทสำคัญในพื้นที่อย่าง อันธิฌา แสงชัย อาจารย์ด้านปรัชญา มอ. ปัตตานี นักกิจกรรมด้านสิทธิผู้หญิงและสิทธิผู้มีความหลากหลายทางเพศ และเจ้าของร้านหนังสือบูคู เป็นต้น
 
อานัสกล่าวเสริมว่า เขาจะนำกิจกรรมแบบเดียวกันไปจัดที่จังหวัดนราธิวาสในเร็วๆ นี้ 
 
"ถึงแม้เหตุการณ์จะรุนแรงขึ้นและเราก็เสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น แต่เราไม่เคยหมดหวัง เราก็ยังพยายามที่จะทำอะไรบางอย่างเพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ถึงจะมีระเบิดอีกกี่ครั้งก็ตาม เราก็จะลุกขึ้นมาทำตามความหวังของเรา" อานัสกล่าว 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กอ.รมน.บุกรวบผู้อ้างเป็น จนท. ยันไม่มีการออกบัตรประจำตัว ขรก.ให้ผู้ใด

Posted: 17 Feb 2018 10:32 PM PST

โฆษก กอ.รมน. ระบุร่วมกับ ตร. บุกรวบมิจฉาชีพอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ กอ.รมน. และกรรโชกทรัพย์ชาวบ้านนครนายก ย้ำ กอ.รมน. ไม่มีการออกบัตรประจำตัวข้าราชการ กอ.รมน. ให้กับผู้ใดทั้งสิ้น หากพบบุคคลที่อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของ กอ.รมน. โทรแจ้ง 1374

 
 
ไทยรัฐออนไลน์ รายงานเมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2561 ที่ผ่านมาว่า พล.ต.พีรวัชฌ์ แสงทอง โฆษก กอ.รมน. เผยว่าจากเหตุการณ์เมื่อวันศุกร์ที่ 16 ก.พ. 2561 เวลา 10.00 น. พ.อ.สุรินทร์ ปรียานุภาพ รอง ผอ.รมน.จังหวัดนครนายก และชุดรวบรวมตรวจสอบข่าวสาร (ชรต.) กอ.รมน.นครนายก ได้ร่วมกับ ผบก.ตร.ภ.จังหวัดนครนายก โดย สภอ.องครักษ์ได้ร่วมกันจับกุม กลุ่มผู้มีอิทธิพลจำนวน 5 คน ณ ต.โพธิ์แทน อ.องครักษ์ จ.นครนายก
 
ซึ่งกลุ่มคนดังกล่าวอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ กอ.รมน. และจะติดเครื่องหมายที่มีสัญลักษณ์ กอ.รมน.ทุกครั้งที่ออกทำงาน โดยมีพฤติกรรมขู่กรรโชกทรัพย์ กับประชาชนในนครนายก ซึ่งก่อนหน้านี้เมื่อเดือน พ.ย. 2560 ได้ขู่กรรโชกทรัพย์ที่ อ.บ้านนา โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจจะขยายผลเพื่อติดตามจับกุมพวกที่เหลือต่อไป
 
"กอ.รมน. ไม่มีการออกบัตรประจำตัวข้าราชการ กอ.รมน. ให้กับผู้ใดทั้งสิ้น ซึ่งหากผู้ใดพบเห็นบุคคลที่อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของ กอ.รมน. หรือพบว่ามีพฤติกรรมในทางที่ฉ้อฉล ข่มเหง การกระทำที่ผิดกฎหมาย ขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการจับกุมได้ทันที และสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ที่ โทรศัพท์หมายเลขด่วน 1374" พล.ต.พีรวัชฌ์ ระบุ
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 12-18 ก.พ. 2561

Posted: 17 Feb 2018 09:56 PM PST

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) ปล่อยกู้ให้ผู้ประกอบการเพื่อพัฒนาองค์กรแล้ว 25 ราย วงเงินกว่า 18 ล้านบาท

นายสุทธิ สุโกศล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน ปล่อยเงินกู้วงเงินสูงสุดไม่เกิน 1 ล้านบาท กระตุ้นให้ผู้ประกอบการเร่งฝึกอบรมให้กับพนักงาน ใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมทักษะฝีมือ การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ในปี 61 (ตค.2560 -มค.2561) คณะกรรมการส่งเสริมฯ อนุมัติให้สถานประกอบกิจการกู้แล้ว 18,340,050 บาท จำนวน 25 แห่ง นอกจากนี้ สถานประกอบกิจการที่มีการฝึกอบรมให้กับพนักงาน ยังสามารถนำค่าใช้จ่ายไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตามเชื่อว่า ทุกสถานประกอบกิจการมีการกู้เงินเพื่อการลงทุน แต่สิ่งสำคัญในการกู้เงิน จะต้องคำนึงถึงการพัฒนาองค์กรและพัฒนาองค์ความรู้ให้แก่บุคลากรเป็นสำคัญ ซึ่งขณะนี้อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0 สำหรับผู้ที่ทำสัญญากู้ยืมเงินกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 7 มิถุนายน 2561 หลังจากนี้ไปจะปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 3

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ, 18/2/2561

ธุรกิจโรงแรม "หาดใหญ่" ผวา…ท่องเที่ยวทรุด จ่อเออร์ลี่พนักงาน

นายกมล สุทธิวรรณโนภาส กรรมการผู้จัดการ โรงแรมไชน่าการ์เด้น อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา สมาชิกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้ธุรกิจการท่องเที่ยวในจังหวัดสงขลายังประสบกับภาวะซบเซาต่อเนื่องโดยเฉพาะในช่วงเวลาปกติ แต่ทุเลาลงในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว

โดยแนวโน้มในปี 2561 น่าจะส่งผลกระทบกว่าปี 2560 ซึ่งมีผลจากการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่บางประเด็น เช่น พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ห้ามรถที่จดทะเบียนในมาเลเซียวิ่งออกนอกเขต 5 จังหวัด ได้แก่ สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ซึ่งมีการจับรถบริการผู้โดยสารประเภทนักท่องเที่ยวจากประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ ตลอดจนถึง พ.ร.บ.ประกันภัยนักท่องเที่ยว จนส่งผลให้ธุรกิจการท่องเที่ยวเกิดภาวะซบเซา ตอนนี้โรงแรมจำนวนมากที่มีทุนระยะสั้น ต่างมีนโยบายเออร์ลี่พนักงานโรงแรมออกเป็นระลอก ส่วนโรงแรมของตนได้เออร์ลี่ไปก่อนแล้ว เมื่อปี 2560 ตอนนี้เหลือพนักงานประมาณ 10 คน

นายวิทยา แซ่ลิ่ม อดีตผู้ก่อตั้งสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพจังหวัดสงขลา และมัคคุเทศก์อาชีพจังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลตรุษจีนปีที่ผ่าน ๆ มา พื้นที่จังหวัดสงขลาจะมีนักท่องเที่ยวจากประเทศมาเลเซีย เข้ามาพักโรงแรมทั้งชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอกเป็นจำนวนมาก มีเงินสะพัดไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาทต่อเทศกาล แต่เทศกาลตรุษจีนปีนี้ยังประเมินไม่ได้ เนื่องจากตัวเลขการสั่งจองและยกเลิกห้องพักยังไม่นิ่ง โดยสภาพทางเศรษฐกิจขณะนี้น่าวิตก หากผลประกอบการช่วงกลางปี 2561 ผู้ประกอบการขาดทุน นักลงทุนอาจเทขายหุ้นกันขนานใหญ่

ส่วนแนวทางแก้ไขปัญหาธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดสงขลานั้น ขณะนี้มีการร่างแนวทางร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการ นักวิชาการ แล้วนำเสนอต่อจังหวัดสงขลา และทางกองทัพภาคที่ 4 โดยจะดำเนินการภายหลังจากการเลือกตั้งนายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา ปัจจุบันสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดสงขลายังไม่มีการเลือกตั้งนายกสมาคม และคณะกรรมการบริหาร ซึ่งหมดวาระการดำรงตำแหน่งมานาน ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการทำหนังสือถึงสมาชิกเพื่อหารือดำเนินการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จใน 6 เดือน

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจการท่องเที่ยวทางภาคใต้ตอนบน และฝั่งอันดามันยังมีทิศทางที่ดี เช่น จังหวัดกระบี่ จังหวัดภูเก็ต และเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเช่นเดียวกับจังหวัดตรัง บริเวณรอยต่อจังหวัดพัทลุง ยังไม่มีผลกระทบ

ด้านนางสุรีรัตน์ ลัคนานิตย์ ผู้อำนวยการอาวุโสธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ หรือ ธปท. เปิดเผยว่า ธุรกิจการท่องเที่ยวทางภาคใต้ มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ถึงร้อยละ 3.9 โดยเฉพาะการท่องเที่ยวทางฝั่งอันดามันและอ่าวไทย ได้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากประเทศจีน ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปราบปรามทัวร์ผิดกฎหมายเมื่อปลายปีก่อน ประกอบกับเที่ยวบินตรงจากจีนที่เพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันนักท่องเที่ยวจากประเทศรัสเซียก็ขยายตัวดีด้วยเช่นกัน แต่นักท่องเที่ยวมาเลเซียกลับหดตัวลง เป็นผลจากค่าเงินริงกิตอ่อนตัว โดยจะเริ่มเห็นการฟื้นตัวในช่วงปลายปีนี้

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ, 17/2/2561

รองนายกฯแจงเหตุไม่เลือกตั้งบอร์ด สปส. อ้างติดคำสั่ง คสช.

เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 16 ก.พ. 2561 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการประชุมร่วมกับตัวแทนกระทรวงแรงงานเพื่อหารือเกี่ยวกับการเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคม หรือบอร์ดประกันสังคม เมื่อวันที่ 15 ก.พ.ที่ผ่านมาว่าที่ประชุมเห็นว่าจะให้บอร์ดประกันสังคมชุดปัจจุบัน ยังทำหน้าที่ต่อไปโดยไม่ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ แม้ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมและคำสั่งมาตรา 44 จะกำหนดให้ต้องเลือกบอร์ดประกันสังคมภายใน 2 ปี โดยกรรมการทั้ง 14 คนจะต้องมาจากการเลือกตั้งตามระเบียบที่รัฐมนตรีเป็นผู้กำหนด โดยกระทรวงแรงงานไม่เคยเลือกบอร์ดประกันสังคม จึงนึกไม่ออกว่าจะเลือกอย่างไร และเมื่อมีการเลือกตั้งก็จะต้องมีการหาเสียงประกาศตัวผู้สมัครให้คนรู้จัก และจะเกิดปัญหาขัดคำสั่ง คสช.ที่ห้ามดำเนินกิจกรรมทางการเมือง ดังนั้นกระทรวงแรงงานจึงเห็นว่าควรจะใช้คำสั่ง ม.44 ให้บอร์ดชุดเดิมปฏิบัติหน้าที่ต่อไปสักระยะหนึ่ง เพื่อรอ พ.ร.บงประกันสังคมฉบับใหม่ ซึ่งมีการแก้ไขมาตราที่ว่าด้วยการเลือกตั้ง

"เขาบอกว่าถ้าเลือกไปเลยจะเสียเวลา เกิดความล่าช้า และใช้งบประมาณมากอาจจะสูงถึง 2 พันลานบาท แต่ผมบอกว่าเว่อร์ไปเพราะจะคิดเหมือนกับการเลือกผู้แทนราษฎรไม่ได้ เพราะ 2 พันล้านบาท คือเลือก ส.ส.ตั้ง 500 คน แต่บอร์ดประกันสังคมมีเพียง 14 คน ดังนั้น 100 ล้านบาทผมก็ไม่ให้ ด้วยเหตุนี้กระทรวงแรงงานจึงคิดไม่ออกว่าจะเลือกอย่างไรคนถึงจะยอมรับและมีปัญหาในเรื่องของการหาเสียง ดังนั้นจึงให้บอร์ดเดิมทำหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะตัดสินใจแน่ชัดแล้วว่าจะใช้วิธีการใด และในคำสั่ง คสช.ยังกำหนดให้สามารถเปลี่ยนบอร์ดได้ด้วย" นายวิษณุ กล่าว

นายวิษณุ กล่าวว่า การให้บอร์ดประกันสังคมชุดเดิมปฏิบัติหน้าที่ต่อไปไม่ได้มีปัญหาอะไร เพียงแต่ที่ผ่านมานายจ้าง ลูกจ้าง เห็นว่าเมื่อไม่ได้เลือกตั้งบอร์ดเข้ามาใหม่ก็ไม่ได้มีการสะท้อนถึงปัญหาของตัวเอง แต่การเลือกตั้งก็ไม่เหมาะสมในเวลานี้ โดย พ.ร.บ.ประสังคมฉบับใหม่จะเลือกบอร์ดโดยวิธีสรรหา แบ่งคนออกเป็นกลุ่ม โดยตนได้ให้แนวทางไปศึกษาการสรรหา ส.ว.ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน

ผู้สื่อข่าวถามว่าการไม่ให้มีการเลือกตั้งใหม่ ไม่ใช่เป็นพราะรัฐบาลหมกเม็ดใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวปฏิเสธว่า ไม่มีอะไรเลย เราให้อยู่ปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราวเท่าที่จำเป็นตามภารกิจโดยไม่มีระยะเวลา และไม่ใช่จะมาประชุมเล่นเพื่อเอาเบี้ยประชุมเพราะมีเรื่องต้องพิจารณาเพื่อประโยชน์ทั้งของนายจ้างและลูกจ้างอีกมาก

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ, 16/2/2561

สั่งดำเนินคดีโรงงานประมาท ปล่อยลูกจ้างทำงานจนแขนขาด

เมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2561 นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวถึงกรณีลูกจ้างโรงงานแห่งในนิคมอุตสาหกรรมบางปู ร้องขอความช่วยเหลือหลังเกิดอุบัติเหตุถูกเครื่องจักรตัดแขนขณะทำงานแต่ไม่ได้รับการเยียวยานั้น ว่า หลังทราบเรื่องได้ให้เจ้าหน้าที่ลงไปติดตามตรวจสอบทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง เบื้องต้น กสร.สมุทรปราการ แจ้งความดำเนินคดีนายจ้าง ฐานฝ่าฝืนไม่ได้ดำเนินการตามกฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน เนื่องจากไม่มีการแนะนำข้อกำหนดขั้นตอนการทำงานที่ปลอดภัยให้ลูกจ้างได้ศึกษา

ทั้งนี้ เบื้องต้นสถานประกอบการให้ลูกจ้างคนดังกล่าวพักงาน แต่ยังไม่มีการเลิกจ้างแต่อย่างใด และยังให้รับเงินเดือนตามปกติ แต่หากอนาคตบริษัทเลิกจ้างแรงงานคนดังกล่าว ก็ต้องรับผิดชอบจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

นายอนันต์ชัย กล่าวอีกว่า ส่วนการเยี่ยวช่วยเหลือของของกระทรวงแรงงาน ขณะนี้สำนักงานประกันสังคม ได้จ่ายเงินจากกองทุนทดแทนการขาดราย ตลอดช่วงระยะเวลา 2 เดือนที่ลูกจ้างคนดังกล่าวไม่ได้ทำงานเป็นเงิน 4,836 บาท ส่วนกรณีสูญเสียอวัยวะลูกจ้างมีสิทธิขอรับเงินช่วยเหลือ 114 เดือน เป็นจำนวนทั้งสิ้น 551,304 บาท และถ้าอนาคตลูกจ้างคนดังกล่าวออกจากก็งานสามาถติดต่อกระทรวงฯ ขออบรมฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางร่างกายจิตใจ และให้ช่วยหาอาชีพใหม่ให้ได้

อย่างไรก็ตามวานนี้ ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ ถาวร บุญมานัน ได้โพสต์ขอความช่วยเหลือหลังเกิดอุบัติเหตุถูกเครื่องจักรตัดแขนขณะทำงาน แต่เรื่องดังกล่าวผ่านมา 2 เดือนก็ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือเยียวยา

ที่มา: โพสต์ทูเดย์, 15/2/2561

ผู้ประกันตนกว่า 9 แสนคน เฮ! สนช.ผ่านร่าง กม.คืนสิทธิ ม.39

นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวถึงกรณีที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ผ่านวาระ 3 ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การกลับเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. … ซึ่งจะทำให้ผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่ขาดส่งเงินสมทบจนสิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนสามารถกลับคืนสู่ระบบประกันสังคม ว่า เป็นเรื่องน่ายินดีที่ผู้ประกันตนที่ขาดส่งเงินสมทบจนสิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนแล้วจะสามารถเข้ามาเป็นผู้ประกันตนได้อีกครั้ง ซึ่งปัจจุบันมีคนที่พ้นสภาพอยู่ประมาณ 9 แสนกว่าคน

นพ.สุรเดช กล่าวว่า หลังจากนี้ คนที่ต้องการกลับเข้ามาในระบบประกันสังคมสามารถยื่นเรื่องได้นับตั้งแต่วันที่ประกาศลงราชกิจจานุเบกษา จนถึงระยะเวลา 1 ปี หลังลงประกาศแล้ว โดยสามารถนำเอาบัตรประจำตัวประชนเพียงใบเดียวไปยื่นเรื่องที่สำนักงานประกันสังคมใกล้บ้านได้

"ในการพิจารณาใช้เวลาไม่นาน หากคนที่เพิ่งพ้นสภาพไปไม่นานการตรวจสอบและอนุมัติทำได้เร็วภายใน 1 วัน แต่คนที่ขาดไปนาน และมีข้อสงสัยอาจจะต้องใช้เวลาตรวจสอบสักระยะหนึ่ง แต่ไม่น่าจะเกิน 1 สัปดาห์ ยืนยันว่าขณะนี้ระบบประกันสังคมพร้อมแล้ว" นพ.สุรเดช กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า ต้องจ่ายเงินสมทบที่ค้างอยู่ก่อนนี้หรือไม่จึงจะได้รับสิทธิกลับเข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 นพ.สุรเดช กล่าวว่า การกลับเข้าระบบประกันสังคม ไม่มีการเรียกเงินย้อนหลัง ผู้ที่มีความประสงค์จะกลับเข้าประกันสังคมให้เริ่มต้นส่งใหม่ได้ทันที เงินที่สะสมอยู่ก็สะสมต่อไป เช่น ถ้าอายุยังไม่ถึง 55 ปี ก็ยังไม่ได้รับเงินนั้น แต่ใครที่รับไปแล้ว ก็จะเริ่มต้นนับการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ใหม่ ส่วนคนที่ขาดส่งไปในช่วงที่อายุยังไม่เกิน 60 ปี แต่ขณะนี้เกินแล้วอยากกลับเข้ามาก็กลับได้

"อันนี้ยังเป็นมาตรการแก้ปัญหาระยะสั้นที่ให้ผู้ประกันตนมาตรา 39 เริ่มทำเรื่องขอกลับเข้ามาอยู่ในระบบได้ตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา จนถึง 1 ปี แต่ขณะเดียวกัน ก็ต้องแก้ไข พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ เพื่อให้ผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่พ้นสภาพไปแล้ว สามารถกลับเข้ามาได้ตลอด" เลขาธิการ สปส.กล่าว

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ, 15/2/2561

บีโอไอออกมาตรการลดผลกระทบด้านแรงงาน

นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน บอกว่า ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บอร์ดบีโอไอ ที่มี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานได้เห็นชอบมาตรการเพื่อสนับสนุนการยกระดับความสามารถด้านดิจิทัลเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการลดผลกระทบจากการขาดแคลนแรงงานและค่าแรงที่ปรับสูงขึ้น โดยให้ปรับปรุงเพิ่มเติมมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตโดยขยายขอบข่ายให้ครอบคลุมถึงการนำเทคโนโลยีด้านดิจิทัลมาใช้

โดยกิจการจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจากโครงการที่ดำเนินการอยู่เดิม เป็นระยะเวลา 3 ปี ในวงเงิน 50% ของมูลค่าเงินลงทุนโดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน และให้ปรับปรุงมาตรการเพื่อความสามารถในการแข่งขันโดยการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล เช่น ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ชั้นสูง (Big Data Analysis, Internet of Things) เป็นต้น โดยจะให้ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม 200% ของเงินลงทุนหรือค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีขั้นสูงที่เกี่ยวข้องจูงใจผู้ประกอบการร่วมมือท้องถิ่น เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับภาคการเกษตรอย่างครบวงจร เพื่อสนับสนุนให้ท้องถิ่นสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเกษตรอย่างครบวงจร และช่วยยกระดับราคาสินค้าเกษตรในประเทศให้สูงขึ้น

เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน บอกด้วยว่า ว่าบอร์ด บีโอไอ ได้อนุมัติให้กำหนดกลุ่มประเภทกิจการเป้าหมาย เพื่อรองรับการประกาศ "เขตส่งเสริมเพื่อกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมาย" ของคณะกรรมการนโยบายอีอีซี ซึ่งจะทำให้ประเภทกิจการเป้าหมายสำหรับแต่ละเขตมีผลใช้บังคับทันทีที่คณะกรรมการนโยบายอีอีซีออกประกาศกำหนด "เขตส่งเสริมเพื่อกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมาย" ทั้งนี้ อุตสาหกรรมเป้าหมายประกอบด้วยอุตสาหกรรมเอสเคิร์ฟ(s-Surve) และกิจการสนับสนุนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้อนุมัติให้ส่งเสริมการลงทุนแก่กิจการผลิตเอทานอล 99.5% ของบริษัท อิมเพรส เอทานอล จำกัด เงินลงทุน 2,970 ล้านบาท เพื่อผลิตเอทานอลปีละประมาณ 109,500,000 ลิตร ซึ่งจะใช้วัตถุดิบในประเทศ ได้แก่ มันสำปะหลัง ปีละ 700,000 ตัน

ที่มา: moneychannel.co.th, 14/2/2561

แรงงานพม่า 300 คน ชุมนุมเรียกร้องไม่พอใจค่าแรง ที่ อ.แม่สอด จ.ตาก

วันที่ 14 ก.พ. 2561 แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ส่วนมากจะเป็นแรงงานหญิง ประมาณ 300 คน ของโรงงานโกลเด้น ผลิตอัญมณี ได้ชุมนุมประท้วงปิดถนนบริเวณหน้าโรงงาน ซึ่งเป็นถนนเชื่อมระหว่างบ้านท่าหาดกับบ้านวังตะเคียน หมู่ 2 ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัด ตาก ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากไม่พอใจนายจ้าง ที่ไม่จ่ายค่าแรงงานตามกฎหมายไทย หรือค่าแรงขั้นต่ำวันละ 310 บาท ในระหว่างการชุมนุมหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 14 อำเภอแม่สอด เจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่สวัสดิการแรงงาน จ.ตาก กับเจ้าหน้าที่จัดหางาน เดินทางไปที่เกิดเหตุ เพื่อเจรจากับแรงงานพม่าที่ชุมนุมปิดถนน ซึ่งทำให้รถไม่สามารถสัญจรไปมาได้ โดยเฉพาะรถขนส่งสินค้า และชาวบ้าน 2 หมู่บ้านไม่สามารถใช้ยานพาหนะไปมาได้

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ได้พยายามเจรจากับแกนนำแรงงานหญิงชาวพม่า เพื่อขอให้เปิดถนนตามปกติ เพราะทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน และผิดกฎหมายประเทศไทย โดยขอให้ไปชุมนุมภายในโรงงาน และเจรจากัน แต่แรงงานพม่าไม่ยอม เจ้าหน้าที่จึงติดต่อแกนนำที่แรงงานให้ความเชื่อถือไปเจรจาเป็นภาษาพม่าผ่านเครื่องขยายเสียง ทำให้แรงงานพม่าทั้งหมดยอมสลายตัวจากถนนย้ายไปชุมนุมภายในโรงงาน และมีการส่งตัวแทนเจรจากัน โดยมีฝ่ายนายจ้าง จัดหางาน สวัสดิการแรงงาน ฝ่ายทหาร และตำรวจ ร่วมด้วย

ที่มา: มติชนออนไลน์, 14/2/2561

ไฟเขียว! ครม.เห็นชอบ ปรับเพิ่มค่าจ้างแรงงานฝีมือ 16 สาขา อัตรา 340-600 บาท

พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ 7) ที่เสนอโดยกระทรวงแรงงาน ตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง องค์กรไตรภาคี เรื่องการปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือใน 4 กลุ่มอาชีพอุตสาหกรรม รวม 16 สาชาอาชีพ เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับเพิ่มค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำในที่ผ่านมา มีผลตั้งแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งอัตราค่าแรงในระดับแรงงานฝีมือหากใครต้องการค่าจ้างที่สูงขึ้น ต้องพัฒนาฝีมือของตัวเอง แล้วไปทดสอบกับกระทรวงแรงงานเพื่อให้ได้ค่าจ้างที่สูงในระดับแรงงานฝีมือตามที่กำหนดไว้

สำหรับการปรับเพิ่มค่าจ้าง ตามมาตรฐานฝีมือ มีดังนี้ 1. กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก แบ่งเป็นพนักงานหลอมเหล็กเตาอาร์กไฟฟ้า ระดับที่ 1 ค่าจ้าง 480 บาท/วัน ระดับที่ 2 ค่าจ้าง 580 บาท พนักงานปรุงแต่งน้ำเหล็กในเตาฯ ระดับที่ 1 ค่าจ้าง 500 บาท/วัน ระดับที่ 2 ค่าจ้าง 600 บาท/วัน, พนักงานหล่อเหล็ก ระดับที่ 1 ค่าจ้าง 460 บาท/วัน ระดับที่ 2 ค่าจ้าง 560 บาท/วัน และ พนักงานควบคุมอบเหล็ก ระดับที่ 1 ค่าจ้าง 440 บาท/วัน ระดับที่ 2 ค่าจ้าง 540 บาท/วัน

2.กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก แบ่งเป็น ช่างเทคนิคเครื่องฉีดพลาสติก ค่าจ้างระดับที่ 1 ค่าจ้าง 380 บาท/วัน ระดับที่ 2 ค่าจ้าง 450 บาท/วัน, ช่างเทคนิคเครื่องเป่าถุงพลาสติก ค่าจ้างระดับที่ 1 ค่าจ้าง 380 บาท/วัน ระดับที่ 2 ค่าจ้าง 450 บาท/วัน, ช่างเทคนิคเครื่องเป่าภาชนะ ค่าจ้างระดับที่ 1 ค่าจ้าง 380 บาท/วัน ระดับที่ 2 ค่าจ้าง 450 บาท/วัน และ ช่างเทคนิคซ่อมเครื่องเป่า ค่าจ้างระดับที่ 1 ค่าจ้าง 410 บาท/วัน ระดับที่ 2 ค่าจ้าง 480 บาท/วัน

3.กลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ แบ่งเป็น พนักงานเตรียมวัตถุดิบ ค่าจ้างระดับที่ 1 ค่าจ้าง 340 บาท/วัน ระดับที่ 2 ค่าจ้าง 370 บาท/วัน, พนักงานผลิตชิ้นส่วน ค่าจ้างระดับที่ 1 ค่าจ้าง 380 บาท/วัน ระดับที่ 2 ค่าจ้าง 450 บาท/วัน, พนักงานประกอบเฟอร์นิเจอร์ ค่าจ้างระดับที่ 1 ค่าจ้าง 350 บาท/วัน ระดับที่ 2 ค่าจ้าง 400 บาท/วัน และ ช่างทำสีเฟอร์นิเจอร์ ค่าจ้างระดับที่ 1 ค่าจ้าง 360 บาท/วัน ระดับที่ 2 ค่าจ้าง 400 บาท/วัน

และ 4.กลุ่มอุตสาหกรรมรองเท้า แบ่งเป็นพนักงานตัดวัดรองเท้า ค่าจ้างระดับที่ 1 ค่าจ้าง 370 บาท/วัน ระดับที่ 2 ค่าจ้าง 405 บาท/วัน, พนักงานอัดพื้นรองเท้า ค่าจ้างระดับที่ 1 ค่าจ้าง 380 บาท/วัน ระดับที่ 2 ค่าจ้าง 420 บาท/, ช่างเย็บรองเท้า ค่าจ้างระดับที่ 1 ค่าจ้าง 380 บาท/วัน ระดับที่ 2 ค่าจ้าง 420 บาท/วันและพนักงานประกอบรองเท้า ค่าจ้างระดับที่ 1 ค่าจ้าง 36 บาท/วัน ระดับที่ 2 ค่าจ้าง 390 บาท/วัน

ทั้งนี้ อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือนี้มุ่งที่จะคุ้มครองลูกจ้างที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ แต่ละสาขาอาชีพและแต่ละระดับให้ได้รับค่าจ้างที่เหมาะสมและเป็นธรรม อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้ลูกจ้างมีการพัฒนาฝีมือแรงงานและมีผลิตภาพแรงงานเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการพัฒนาของประเทศและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมถึงเพิ่มศักยภาพแรงงานไทยให้เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ, 14/2/2561

ก.แรงงาน เตรียมออกกฎกระทรวงป้องกันลูกจ้างวัยรุ่นตั้งครรภ์ไม่พร้อม

นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และการดำเนินการของสถานประกอบกิจการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ของลูกจ้างซึ่งเป็นวัยรุ่น พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ เนื่องจาก มาตรา 4 และ มาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้ประกอบกิจการมีหน้าที่ในการให้ความรู้แก่วัยรุ่นที่เข้าสู่การทำงานในสถานประกอบกิจการซึ่งมีอายุระหว่าง 15 - 20 ปี และให้กระทรวงแรงงานมีหน้าที่ออกกฎกระทรวงเพื่อให้มีการปฏิบัติตามพ.ร.บ.นี้ สำหรับสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงดังกล่าวกำหนดให้สถานประกอบกิจการจะต้องจัดให้มีการให้ข้อมูลข่าวสารเรื่องการตั้งครรภ์ของวัยรุ่น โดยการจัดทำคู่มือ บอร์ดประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ความรู้แก่ลูกจ้างในเรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ การคุมกำเนิด การแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ การแท้ง ภาวะแทรกซ้อนอันเนื่องจากการแท้ง และโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อเอชไอวี

อธิบดีกสร. กล่าวต่อไปว่า กรณีสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 200 คนขึ้นไป ซึ่งกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ พ.ศ.2548 กำหนดให้ต้องจัดให้มีพยาบาลประจำในสถานประกอบกิจการ ดังนั้น นายจ้างจึงต้องมอบหมายให้พยาบาลมีหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ลูกจ้างวัยรุ่นในสถานประกอบกิจการ นอกจากนี้ หากลูกจ้างต้องการขอคำปรึกษาหรือขอรับบริการอนามัยเจริญพันธุ์ให้ถือเป็นหน้าที่ของนายจ้างต้องสนับสนุนให้ลูกจ้างเข้าถึงบริการจากสถานพยาบาล รวมไปถึงมีระบบการส่งต่อโดยการประสานงานช่วยเหลือเพื่อให้ลูกจ้างได้รับการจัดสวัสดิการสังคมด้วย ซึ่งขั้นตอนต่อไปจะนำไปสู่การพิจารณาเพื่อปรับปรุงแก้ไขของคณะกรรมการกฤษฎีกา ก่อนจะประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป

ที่มา: กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน, 14/2/2561

ส่งศพแรงงานผูกคอเสียชีวิตที่เกาหลีใต้ กลับไทย

13 ก.พ. 2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่นายวันสิน บุญกลาง และ น.ส.ออม วงศ์จันทร์ สองสามีภรรยา ชาว ต.ห้วยสำราญ อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ ได้เดินทางไปทำงานที่ประเทศเกาหลีโดยไม่ถูกต้อง เมื่อวัน 11 ธ.ค.2560 โดยวิธีทัวร์ท่องเที่ยวคนละ 20,000 บาท เมื่อไปถึงประเทศเกาหลีแล้วได้หนีทัวร์แอบไปทำงาน แต่กลับพบกับความยากลำบากทั้งถูกนายจ้างกดขี่ไม่จ่ายค่าแรงเพราะรู้ว่าเป็นแรงงานที่ลักลอบไปทำงานโดยผิดกฎหมายผ่านไป 1 สัปดาห์ นายวันสินเห็นใจภรรยาจึงตัดสินใจให้ซื้อตั๋วเดินทางให้ น.ส.ออม เดินทางกลับประเทศไทย ส่วนนายวันสินยังทำงานที่เกาหลีต่อ

กระทั่งเมื่อวันที่ 8 ก.พ.ที่ผ่านมา สถานทูตไทยในเกาหลีได้โทรศัพท์มาแจ้งภรรยา ว่านายวันสิน ได้ผูกคอเสียชีวิตที่ริมถนนที่ประเทศเกาหลีแล้ว สร้างความเสียใจให้กับคนในครอบครัวเป็นอย่างมาก ทั้งไม่มีเงินเป็นค่าใช้จ่ายที่จะส่งศพสามีกลับมาบำเพ็ญกุศลที่เมืองไทยได้

ทั้งนี้ หญิงไทยที่มีสามีอยู่ประเทศเกาหลี ได้อาสาเป็นธุระในการเปิดรับบริจาคและติดต่อประสานงาน ในการจัดส่งศพกลับมาที่ประเทศไทยได้แล้ว ซึ่งทราบว่าจะส่งศพมาถึงสนามบินสุวรรณภูมิเวลาประมาณ 02.00 น. วันพฤหัสบดีนี้ (15 ก.พ.) ซึ่งขณะนี้ น.ส.ออม ภรรยา ก็ได้เดินทางไปเฝ้ารอรับศพสามีที่กรุงเทพฯ แล้ว

ขณะที่นายประเทือง ปิยะรัมย์ นักวิชาการชำนาญการ สำนักงานจัดหางานจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า กรณีดังกล่าวเป็นการเดินทางไปทำงานโดยผิดกฎหมาย ตามระเบียบหลักเกณฑ์ไม่สามารถช่วยเหลือได้ แต่เบื้องต้นได้ประสานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ช่วยเหลือเงินสงเคราะห์ค่าจัดการศพ ส่วนจัดหางานจะช่วยจัดหางานให้ครอบครัวผู้เสียชีวิต พร้อมย้ำเตือนให้ผู้ต้องการไปทำงานต่างประเทศ ประสานผ่านกรมการจัดหางาน ป้องกันถูกหลอก

ที่มา: ThaiPBS, 13/2/2561

"บอร์ดประกันสังคม" นัดถกไร้ประเด็นสรรหากรรมการชุดใหม่ นักวิชาการทีดีอาร์ไอแนะ "กาบัตรดิจิทัล"

ความคืบหน้ากรณี พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ระบุว่าขณะนี้อยู่ระหว่างให้เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ไปศึกษาแนวทางที่เหมาะสมในการสรรหาคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ดประกันสังคม) ชุดใหม่ แทนชุดเก่าที่หมดวาระ เนื่องจากหากจะดำเนินการตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกันสังคม พ.ศ.2558 ที่กำหนดให้เลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม จะต้องมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการประมาณ 3,000 ล้านบาท โดยคาดว่าจะมีการเสนอแนวทางที่หลากหลายกลับมาให้พิจารณาภายในสัปดาห์นี้ ขณะเดียวกัน บอร์ด สปส.ชุดรักษาการที่มี นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธาน จะมีการประชุมหารือเรื่องดังกล่าวในวันที่ 13 กุมภาพันธ์นี้ นั้น

เมื่อวันที่ 13 ก.พ. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เวลา 9.00 น. นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานกรรมการประกันสังคม ได้เรียกประชุมบอร์ดประกันสังคม แต่ไม่ได้มีการหยิบยกเรื่องดังกล่าวมาหารือแต่อย่างใด มีเพียงการรายงานผลการร้องเรียนของผู้ประกันตนต่อที่ประชุมเท่านั้น ซึ่งใช้เวลาไม่นาน ขณะที่ นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการ สปส.ซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้ศึกษาแนวทางการสรรหาบอร์ดประกันสังคมชุดใหม่ ก็ไม่ได้เข้าประชุมเนื่องจากอยู่ระหว่างลาพักผ่อนที่ต่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับเรื่องนี้ น.ส.วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ ที่ปรึกษาด้านหลักประกันทางสังคม สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ได้แสดงความคิดเห็นว่า ในฐานะนักวิชาการสนับสนุนให้ดำเนินการตามกฎหมาย คือ จัดให้มีการเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม เพื่อให้ผู้ประกันตนได้ผู้แทนของตนเองเข้าไปบริหารกองทุนประกันสังคมอย่างแท้จริง แต่อย่างไรก็ตาม ในการเลือกตั้งนั้น หากยังใช้วิธีการหรือรูปแบบเดิมๆ ซึ่งประเมินว่าจะต้องมีค่าใช้จ่ายประมาณ 3,000 ล้านบาท หรือที่คณะกรรมการประกันสังคมคนทำงาน (คปค.) เสนอทางเลือกอื่นที่อาจใช้เงินเพียง 500 ล้านบาทนั้น ยังเห็นว่าเป็นตัวเลขที่สูง ดังนั้น จึงมีความเห็นว่าควรศึกษาแนวทางอื่นเพิ่มเติม เช่น ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยในการจัดการเลือกตั้ง

"เราอาจจะต้องศึกษาตัวอย่างการเลือกตั้งในต่างประเทศ ที่มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยในการจัดการเลือกตั้ง เราอาจไม่จำเป็นต้องไปลงคะแนนที่หน่วยเลือกตั้งให้เสียเวลา และเสียค่าใช้จ่าย แต่อาจจะใช้เลขบัตรประชาชน 13 หลัก และสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต เข้าไปลงคะแนน ซึ่งหากนำเทคโนโลยีนี้มาใช้กับการเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม เชื่้อว่าจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายลงได้มาก อาจจะใช้เงินจริงๆ ไม่ถึง 500 ล้านบาท ก็เป็นได้" น.ส.วรวรรณกล่าวและว่า ประเทศไทยมีคนเก่งจำนวนมาก หากจะใช้ช่วยคิดโปรแกรมที่ใช้ในการเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม ไม่น่าจะเกินความสามารถแน่นอน

ผู้สื่อข่าวถามว่า แต่แนวทางนี้จะยิ่งทำให้การสรรหาบอร์ดประกันสังคมล่าช้าออกไปอีกหรือไม่ เพราะต้องหาคนทำโปรแกรม น.ส.วรวรรณ กล่าวว่า ในระหว่างนี้ก็ยังมีบอร์ด สปส.ชุดรักษาการปฎิบัติหน้าที่ และยังทำงานต่อไปได้ โดยไม่กระทบกับสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนแต่อย่างใด

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ, 13/2/2561

อุทาหรณ์! แรงงานไทยไปเกาหลีไม่มีเงินกลับบ้านผูกคอตายข้างทาง

สองสามีภรรยาชาวบุรีรัมย์ กู้เงิน ธกส.ตีตั๋วเป็นนักท่องเที่ยว หนีทัวร์หวังขุดทองเกาหลี กลับตกอับทำงานไม่ได้เงิน ส่งเมียกลับก่อน สามีกะสู้แต่ยิ่งหนักไม่เงินซื้อตั๋วกลับ ไม่มีเงินกินข้าว ตัดสินใจผูกคอตายหนีปัญหา ฝากเตือนคนไทยอย่าคิดไม่ใช่เมืองในฝันแต่เหมือนนรก วอนช่วยเหลืออยากได้ศพกลับไทย แต่ไม่มีเงิน

12 ก.พ. 2561 ผู้สื่อข่าวได้รับการร้องทุกข์จากชาวบ้าน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ ว่ากำลังได้รับความเดือดร้อน ไม่มีเงินเดินทางไปดูศพสามีที่ประเทศเกาหลี หลังได้รับแจ้งจากสถานทูตเกาหลีว่าสามีผูกคอตายอยู่ริมทาง เมื่อไปถึงบ้านเลขที่ 138 หมู่ 6 ต.ห้วยสำราญ อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ พบชาวบ้านต่างมาให้กำลังใจ น.ส.ออม วงจันทร์ อายุ 40 ปี ที่สามีได้เสียชีวิตจากการผูกคอตายที่ประเทศเกาหลี เหตุเกิดเมื่อวันที่ 8 ก.พ.ที่ผ่านมา

จากการสอบถาม น.ส.ออม วงจันทร์ เล่าว่า อยู่กินกับสามีมีลูกด้วยกัน 3 คน อายุ 16,12 และอายุ 3 ปี เมื่อกลางปี 2560 ได้มีคนมาชวนไปทำงานที่ประเทศเกาหลี ด้วยการหนีทัวร์ท่องเที่ยวแล้วไปหางานทำ

จึงมีความคิดอยากจะไปหางานได้เงินมาสร้างบ้าน ตัดสินใจไปกู้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์(ธกส.)จำนวนเงิน 150,000 บาท จ่ายค่าแพคเกจท่องเที่ยว คนละ 20,000 บาทรวมจ่าย 40,000 บาท ส่วนเงินที่เหลือเอาไปใช้หนี้เงินกู้นอกระบบ ที่กู้มาวิ่งเต้นก่อนหน้านี้ โดยได้บินในนามนักท่องเที่ยวเมื่อวันที่ 11 ธ.ค.2560 แล้วหนีทัวร์ตามที่นายหน้าแนะนำ โดยมีเงินติดตัวไป 40,000 บาทเพื่อเอาไปเป็นค่าใช้จ่าย

อยู่ได้ประมาณ 7 วัน ก็รู้ว่าไม่เหมือนที่ตนเคยฝันไว้ ไม่มีงานทำ ค่าครองชีพสูง ต้องพักโรงแรม รวมถึงอาหารการกินไม่เหมือนเมืองไทย สามีตนเองสงสารจึงให้เดินทางกลับไทย โดยแบ่งเงินให้สามีไว้ใช้ประมาณ 15,000 บาท

หลังจากกลับมาแล้วก็ได้โทรศัพท์ถามสามีทุกวันถึงชีวิตความเป็นอยู่ และได้รับคำตอบว่า ทำงานได้แต่ไม่ได้เงิน เพราะนายจ้างทราบว่าเราหนีเข้าเมือง ต้องอดมื้อกินมื้อ เงินที่ให้มาก็ร่อยหรอ และอยากกลับบ้านแล้ว และเมื่อวันที่ 8 ก.พ.61 ได้รับโทรศัพท์จากสถานทูต ว่าสามีได้ผูกคอเสียชีวิตริมทางที่ประเทศเกาหลี ตนและครอบครัวตกใจมาก เพราะไม่คิดว่าจะเกิดเรื่องแบบนี้ได้ เพราะได้เตรียมจะกู้เงินส่งให้เป็นตั๋วเครื่องบินกลับไทยอยู่แล้ว

น.ส.ออม เล่าทั้งน้ำตาว่า ตอนนี้ครอบครัวหมดแล้วทุกสิ่ง ขาดหัวหน้าครอบครัว ทั้งมีหนี้สิน โดยเฉพาะตอนนี้อยากจะรีบเดินทางไปฌาปนกิจศพของสามี ที่ประเทศเกาหลี ถึงแม้มีความต้องการอยากจะเอาศพมาทำบุญที่เมืองไทย แต่คงหมดปัญญา เพราะไม่มีเงิน

จึงอยากจะฝากเตือนคนไทยที่คิดว่าจะไปทำงานต่างประเทศด้วยวิธีหนีทัวร์ ว่าฝันของท่านอาจจะไม่เป็นจริง จากที่คิดวาดฝันไว้สวยหรู สุดท้ายคือนรกดีๆ เพราะยังมีคนไทยในเกาหลีอีกเป็นจำนวนมาก ที่กำลังลำบากถูกนายจ้างกดขี่ข่มเหง ต้องอยู่เอาตัวรอดแม้คนไทยด้วยกันเองก็ยังไม่ไว้ใจแล้ว

ต้องการช่วยเหลือค่าเครื่องบิน โทร...093-0789190 หรือบริจาคเงินผ่านบัญชีธนาคารกรุงเทพ เลขบัญชี 408-0-91367-8 น.ส.ออม วงจันทร์

ที่มา: บ้านเมือง, 12/2/2561

แจง "ค่าตอบแทนผู้รับงานไปทำที่บ้าน" ต้องไม่ต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ

นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการค่าจ้างมีมติปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำระหว่าง 5 ถึง 22 บาทต่อวัน โดยทั่วประเทศมีอัตราค่าจ้างตั้งแต่ 308 ถึง 330 บาท ซึ่งจะมีผลบังคับตั้งแต่ 1 เมษายน 2561 ซึ่งการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจะมีผลต่อลูกจ้างทั้งระบบ รวมไปถึงผู้รับงานไปทำที่บ้านด้วย

ทั้งนี้ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองการรับงานไปทำที่บ้าน เรื่อง อัตราค่าตอบแทนในงานที่รับไปทำที่บ้าน ได้กำหนดให้อัตราค่าตอบแทนของผู้รับงานไปทำที่บ้านต้องไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนดไว้ โดยคำนวณได้จากอัตราค่าจ้างขั้นต่ำหารด้วยจำนวนชิ้นงานเฉลี่ยที่ลูกจ้างทำได้ภายใน 8 ชั่วโมงทำงาน

ดังนั้นเมื่ออัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่มีผลใช้บังคับ ผู้ว่าจ้างจะต้องจ่ายค่าตอบแทนให้กับผู้รับงานไปทำที่บ้านไม่น้อยกว่าอัตรากว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของจังหวัดนั้น ๆ ด้วย หากผู้ว่าจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว มีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท จำคุกไม่เกิน 3 เดือนหรือทั้งจำทั้งปรับ

อธิบดีกสร. กล่าวต่อไปว่า ได้สั่งการให้พนักงานตรวจแรงงาน เร่งประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจให้ผู้ว่าจ้าง ผู้รับงานไปทำที่บ้าน และผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ เพื่อจะได้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด

หากมีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองคุ้มครองแรงงานนอกระบบ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน โทรศัพท์ 0 2246 2707 หรือที่โทรศัพท์สายด่วน 1506 กด 3

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ, 12/2/2561

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น