โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพฤหัสบดีที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

รพ.พระพุทธบาทเดินหน้าโครงการใช้ยาสมเหตุสมผล ลดใช้ยาปฏิชีวนะกว่า 20 ล้านต่อปี

Posted: 01 Feb 2018 11:29 AM PST

คณะศึกษาดูงานประชุมวิชาการ "รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ปี 60" เยี่ยมชม รพ.พระพุทธบาท รุก "โครงการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล" ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ 3 กลุ่มโรค ไข้หวัด ท้องเสีย แผลเลือดออก เน้นความร่วมมือแพทย์ พยาบาล เภสัช เจ้าหน้าที่ และชุมชน ช่วย รพ.ลดใช้ยาปฏิชีวนะกว่า 20 ล้านบาทต่อปี

1 ก.พ.2561 รายงานข่าวแจ้งว่าเมื่อวันที่ 31 ม.ค.ที่ผ่านมา คณะศึกษาดูงานในการประชุมวิชาการรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2561 ได้ลงพื้นที่ศึกษาดูการดำเนิน "โครงการฉลาดใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อสนับสนุนการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลในโรงพยาบาลและชุมชน" ที่โรงพยาบาลพระพุทธบาทและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหลังเขา จ.สระบุรี   

นพ.นพพร พงษ์ปลื้มปิติชัย นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสระบุรี กล่าวว่า จากการใช้ยาปฏิชีวนะที่พบความต้านทานการใช้ยาปฏิชีวนะเพิ่มขึ้น เป็นสาเหตุหนึ่งที่สำคัญของการเสียชีวิตในการรักษาผู้ป่วย ที่ผ่านมากระทรวงสาธารณุสขได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำร่อง "โครงการฉลาดใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อสนับสนุนการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลในโรงพยาบาลและในชุมชน" ตั้งแต่ปี 2550 และได้รับการผลักดันให้เป็นแผนยุทธศาสตร์เพื่อบรรลุเป้าหมายแห่งชาติ มุ่งลดการใช้ยาปฏิชีวนะอยางพร่ำเพรื่อใน 3 โรคที่พบบอย ซึ่งกว่าร้อยละ 80 หายเองได้โดยไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ ได้แก่ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจสวนบน โดยเฉพาะโรคหวัดและเจ็บคอ โรคทองรวงเฉียบพลัน และแผลเลือดออก เน้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและทัศนคติในการใช้ยาปฏิชีวนะทั้งในโรงพยาบาลและชุมชน

นพ.ทศพร ศิริโสภิตกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระพุทธบาท กล่าวว่า รพ.พระพุทธบาท เป็นหนึ่งในหน่วยบริการที่เข้าร่วมโครงการฉลาดใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อสนับสนุนการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล ตั้งแต่ปี 2550 โดยเน้นความร่วมมือแพทย์ พยาบาล เภสัชกร และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล รวมถึงการทำงานร่วมกับชุมชน ในการจัดอบรมแนะนำและให้ความรู้การใช้ยาปฏิชีวนะที่ถูกต้อง นำไปสู่การลดค่าใช้จ่ายยาปฏิชีวนะในโรคที่ไม่จำเป็น ซึ่งในอดีตยาปฏิชีวนะเป็นกลุ่มยาที่มีสั่งจ่ายมากที่สุด แต่หลังจากที่ได้ดำเนินโครงการในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา รพ.พระพุทธบาท สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านยาได้ถึงร้อยละ 25 จากมูลค่ายา 90 ล้านบาทต่อปี ซึ่งหากมีการดำเนินการในระดับประเทศจะลดค่าใช้จ่ายด้านยาได้มหาศาล ขณะเดียวกันยังเป็นการป้องกันปัญหาเชื้อดื้อยาที่เป็นภัยคุกคามขณะนี้ ไม่แต่เฉพาะประเทศไทย ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดภาวะเชื้อดื้อยาเพิ่มขึ้น   

ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า สปสช.สนับสนุนการแก้ไขปัญหาเชื้อดื้อยา จับมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เน้นการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล สปสช.เป็นหนึ่งในองค์กรที่ได้ร่วมประกาศเจตนารมณ์ว่าด้วยการขับเคลื่อนงานเพื่อแก้ปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย ตามพันธกิจ"ประเทศไทยปักหมุด...หยุดเชื้อดื้อยา" ทั้งได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และโรงเรียนแพทย์ ในการจัดทำตัวชี้วัดเพื่อลดการสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะของโรงพยาบาลใน 2 กลุ่มโรค คือ กลุ่มโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน และกลุ่มโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบน ซึ่งผลการเปรียบเทียบก่อนและหลังใช้นโยบายนี้ ในปี 2555 และ 2557 โดยสำนักสนับสนุนระบบบริการยาและเวชภัณฑ์ สปสช. ได้ร่วมกับ ศูนย์วิจัยผลลัพธ์ทางสุขภาพและโอสถกรรมานุบาล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

พบว่า ภาพรวมการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มโรคอุจจาระเฉียบพลันลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะร้อยละ 48.57 เป็นร้อยละ 38.56 ของผู้ป่วยกลุ่มโรคอุจจาระเฉียบพลัน หรือลดลง ร้อยละ 10.01 ส่วนกลุ่มโรคติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบน ภาพรวมการสั่งใช้ยาปฏิชีวินะลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน จากร้อยละ 53.63 เป็นร้อยละ 44.82 ของผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน หรือลดลงร้อยละ 8.81 หลังการดำเนินนโยบาย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ยืนปิดปากร้องเพลงชาติ ประณาม คสช. ออกหมายเรียกผู้ชุมนุม 39 คน

Posted: 01 Feb 2018 08:47 AM PST

ณัฏฐา มหัทธนา ทำกิจกรรมยืนปิดปากร้องเพลงชาติ หน้าสยามพารากอน แสดงออกถึงความอึดอัดหลังจาก คสช. ออกหมายเรียกรับทราบข้อกล่าว 39 ผู้ชุมนุม Skywalk ปทุมวัน ระบุการอยู่ใต้อำนาจที่ไม่ชอบธรรม น่ากลัวกว่าการถูกดำเนินคดีหลายเท่า

1 ก.พ. 2561 เวลา 17.30 น. บริเวณลานหน้าสยามพารากอน ณัฏฐา มหัทธนา นักกิจกรรมทางการเมือง ซึ่งถูกตั้ง 3 ข้อกล่าวหา(ขัดคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558, กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ข้อหายุยงปลุกปั่น และฝ่าฝืนพ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ) หลังร่วมกิจกรรมรวมพลคนอยากเลือกตั้ง คัดค้านการสืบทอดอำนาจของ คสช. ที่ Skywalk ปทุมวัน เมื่อวันที่ 27 ม.ค.ได้มาทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ "เพลงชาติแห่งความเงียบ"โดยเป็นการยืนสงบนิ่ง ปิดปากร้องเพลงชาติ เป็นเวลาครึ่งชั่วโมง เพื่อแสดงออกถึงความอึดอัดจากกรณีที่ คสช. ได้ดำเนินการแจ้งความเอาผิดกับผู้ร่วมชุมนุมทั้ง 39 คน

ณัฏฐา ให้สัมภาษณ์ก่อนเริ่มกิจกรรมว่า ตั้งใจจะมายืนสงบนิ่ง เพียงคนเดียว ไม่ได้ชวนใครมาด้วย เพียงแค่โพสต์แจ้งในเฟซบุ๊กว่าจะมาทำกิจกรรมที่สยามพารากอนประมาณครึ่งชั่วโมงเท่านั้น สาเหตุที่เลือกมาที่นี่เพราะสะดวกในการเดินทาง และหลังจากเสร็จกิจกรรมก็จะเดินช๊อปปิ้งต่อ สำหรับกิจกรรมในวันนี้ต้องการแสดงออกถึงความอึดอัดที่เกิดขึ้นหลังจาก คสช. ออกหมายเรียกประชาชน 39 คนที่มาร่วมกิจกรรมเมื่อวันที่ 27 ม.ค. ให้ไปรายงานตัวรับทราบข้อกล่าวหา เนื่องจากเห็นว่าประชาชนได้ออกมาใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ แต่กลับถูกแจ้งความดำเนินคดีเพื่อปิดปาก เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่ามีความกังวลหรือไม่กับสถานการณ์ทางการเมืองในเวลานี้ ณัฏฐา ระบุว่า การอยู่ใต้อำนาจที่ไม่ชอบธรรมแบบที่เป็นอยู่นี้น่ากลัวกว่าการถูกดำเนินคดีหลายเท่า

ต่อมา 18.00 น. ณัฏฐา พร้อมด้วยผู้ที่ถูกหมายเรียกจากการชุมนุมที่ Skywalk ปทุมวันอีก 3 คน ได้นำเทปกาวมาปิดปาก และยืนสงบนิ่งเป็นเวลาครึ่งชั่วโมง ก่อนจะแยกย้ายไปในเวลา 18.30 น. อย่างไรก็ตามในช่วงที่ทำกิจกรรมนั้นได้มีเจ้าหน้าที่ของสยามพารากอนเข้ามาขอให้ออกจากพื้นที่ เนื่องจากเห็นว่ารบกวนความสะดวกในการสัญจรของลูกค้า 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'สภานักศึกษา มธ.' ร้องยุติดำเนินคดี 'คนต้าน คสช.สืบทอดอำนาจ' ยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/58

Posted: 01 Feb 2018 08:45 AM PST

สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ออกแถลงการณ์ ขอให้มีการยุติการตั้งข้อกล่าวหากับคนร่วมกิจกรรม  'ต้านสืบทอดอำนาจ คสช.' และขอ ประยุทธ์ ยกยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3 /2558 โดยเร็ว ชี้ขัด รธน.-กติการะหว่างประเทศ

 

โพสต์แถลงการณ์ในเพจ สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต 

1 ก.พ.2561 ภายหลังจากมีการแจ้งความดำเนินคดีประชาชน นักกิจกรรมและนักศึกษา 7 คน ข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 3 /2558 ห้ามชุมนุมเกิน 5 คน และกระทำการยุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 กลุ่มคนดังกล่าวออกมาเคลื่อนไหวกิจกรรม ประชาชนเหยียบเบรค ต้าน คสช. สืบทอดอำนาจ เลื่อนเลือกตั้ง ระหว่างวันที่ 25 ม.ค.และวันที่ 27 ม.ค.ที่ผ่านมา ที่บริเวณสกายวอล์ค แยกปทุมวัน และแจ้งความเพิ่ม 39 คน ในความผิดฐาน ร่วมกันชุมนุมในที่สาธารณะในรัศมี 150 เมตรจากเขตพระราชฐาน อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 นั้น

วันนี้ เมื่อเวลา 21.51 น. สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เผยแพร่แถลงการณ์ ผ่าน เฟสบุ๊คแฟนเพจ เรื่องการแสดงจุดยืนต่อคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3 /2558 โดยระบุว่า สภาฯ มีความกังวลใจเป็นอย่างยิ่งต่อคำสั่งดังกล่าวซึ่งมีเนื้อหาที่เป็นการขัดและส่งผลกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามมาตรา 34 และเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ ตามมาตรา 44 ซึ่งได้ถูกรับรองไว้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 อีกทั้งยังเป็นการละเมิดต่อกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง ข้อที่ 19 และ 20 ซึ่งประเทศไทยมีพันธะกรณีที่จะต้องปฏิบัติตาม จึงขอเรียกร้องต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. ให้ยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3 /2558 โดยเร็ว

สภาฯ ขอให้มีการยุติการตั้งข้อกล่าวหากับ นักกิจกรรมที่เข้าร่วมกิจกรรม "นัดรวมพลประชาชนอยากเลือกตั้ง แสดงพลังต้านสืบทอดอำนาจ คสช." ซึ่งเป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ได้รับรองไว้ซึ่งเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ อีกทั้งเป็นไปตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง

"รัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ต้องทบทวนบทบาทของตนเองจากการกระทำดังกล่าวและไม่ละเมิดต่อการใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 โดยเฉพาะเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธอันเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชนที่ได้รับการรับรอง ให้เป็นไปตามที่รัฐบาลกำหนดให้ " สิทธิมนุษยชน " เป็นวาระแห่งชาติ ตามคำประกาศวาระแห่งชาติ : สิทธิมนุษยชนร่วมขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน" แถลงการณ์ระบุตอนท้าย

สโมสรนิสิตคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ม.บูรพา ร้องยุติดำเนินคดี

สโมสรนิสิตคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ออกแถลงการณ์ เรื่อง การเรียกร้องให้ยกเลิกการดำเนินคดีกับผู้ใช้เสรีภาพในการแสดงออกในกิจกรรมดังกล่าวด้วยเช่นกัน
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เวียดนามลงโทษจำคุก 3 นักกิจกรรมเรียกร้องประชาธิปไตยโพสต์วิจารณ์รัฐบาล

Posted: 01 Feb 2018 06:38 AM PST

ศาลเวียดนามในกรุงฮานอยตัดสินให้นักกิจกรรมประชาธิปไตย 3 คนรับโทษจำคุก 4-8 ปีหลังจากที่พวกเขาวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยที่ไม่มีแม้กระทั่งการพิสูจน์หลักฐานโดยอ้างว่าไม่มีเครื่องเล่นวีดิโอ ถึงขนาดว่าจำเลยเสนอจะออกเงินซื้อเครื่องเล่นวิดีโอให้ศาลในการใช้พิจารณาหลักฐาน

1 ก.พ.2561 วานนี้ (31 ม.ค.) มีการตัดสินให้ โวควงตวน อายุ 51 ปี เหงียนวานเตียน อายุ 35 ปี และเจิ่นฮวงฟุก อายุ 23 ปี มีความผิดตามกฎหมายอาญาของเวียดนาม มาตรา 88 ข้อหา "แพร่กระจายโฆษณาชวนเชื่อต่อต้านรัฐ" โดยลงโทษจำคุก 8 ปี, 6 ปีครึ่ง และ 4 ปี ตามลำดับ นอกจากนี้ยังสั่งลงโทษให้กักขังพวกเขาภายในบ้านเพิ่มอีก 4-5 ปี หลังจากได้รับการปล่อยตัวแล้ว

จำเลยถูกจับกุมและดำเนินคดีหลังจากที่โพสต์วิดีโอคลิป 17 คลิป บนเฟสบุ๊คและยูทูบวิพากษ์วิจารณ์พรรคคอมมิวนิสต์และรัฐบาลเวียดนาม ทนายความของพวกเขากล่าวว่าการตัดสินเสร็จสิ้นภายในครึ่งวัน นอกจากนี้เมื่อทนายความเรียกร้องขอให้มีการนำวิดีโอมาเผยแพร่ในศาลพวกเขาก็ถูกปฏิเสธโดยอ้างว่าทางศาลไม่มีเครื่องมือในการฉายวิดีโอได้ ถึงแม้ว่าโวควงตวน หนึ่งในจำเลยจะเสนอตัวออกค่าใช้จ่ายซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์และจอฉายเพื่อให้ฉายหลักฐานคลิปดังกล่าวได้ก็ตาม

นอกจากนี้สื่อเรดิโอฟรีเอเชียยังระบุอีกว่า หลักฐานที่ให้กับศาลไม่มีการนำมาพิจารณาในคดีนี้เลย ผู้พิพากษาตัดสินโดยอาศัยข้อสรุปจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของเวียดนามเท่านั้น ซึ่งทนายความบอกว่าหลักฐานที่นำมาอ้างเอาผิดจำเลยในครั้งนี้ไม่มีความชอบธรรมตามกฎหมายเวียดนามเลย แต่พวกเขาก็ยังคงถูกลงโทษอยู่ดี ซึ่งถือว่าไม่เป็นธรรม

ศาลเวียดนามยังห้ามไม่ให้ญาติของจำเลยเข้ารับฟังการพิจารณาคดีด้วย โดยที่นักกิจกรรมบอกว่ามีกองกำลังรักษาความปลอดภัยและตำรวจในเครื่องแบบคอยเฝ้าที่บ้านของพวกเขาหลายวันก่อนหน้าการพิจารณาคดีเพื่อสกัดกั้นไม่ให้พวกเขาเดินทางไปแสดงการสนับสนุนจำเลยเหล่านี้

ส่วนพ่อของเหงียนวานเตียนผู้ที่เดินทางไปถึงศาลได้ก็บอกว่าเขาจำต้องนั่งอยู่บนถนนเพราะเขาไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในห้องพิจารณาคดี พ่อของเหงียนวานเตียนบอกอีกว่าโทษจำคุก 6 ปี กับอีก 6 เดือน ถือเป็นโทษที่หนักเกินไป

ทางการเวียดนามนำโดยพรรคการเมืองพรรคเดียวคือพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามที่ไม่ยอมให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ต่อต้าน และในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาก็มีการปราบปรามโดยวางเป้าหมายเป็นนักกิจกรรม นักเขียนและบล็อกเกอร์ ในเวียดนาม แอมเนสตีอินเตอร์เนชั่นแนล ระบุว่า เวียดนามมีการคุมขังนักโทษทางความคิดอยู่อย่างน้อย 84 รายในปัจจุบันซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่มากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เรียบเรียงจาก

Vietnam Jails Three Democracy Advocates Over Online Postings, Radio Free Asia, 31-01-2018
https://www.rfa.org/english/news/vietnam/postings-01312018165759.html

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ฝ่ายปกครอง อ.โนนสูง ห้ามเดินมิตรภาพนอนวัด แม้ศาลปกครองออกมาตราคุ้มครองแล้วก็ตาม

Posted: 01 Feb 2018 05:07 AM PST

ขบวนเดินมิตรภาพ ถูกฝ่ายปกครองห้ามนอนวัด 3 คืน อ้างมติที่ประชุมอนุญาตเพียง 1 คืน ระบุทางอำเภอ-จังหวัดไม่ค่อยสบายใจ ย้ำเจ้าอาวาสวัดตัดสินใจคนเดียวไม่ได้ ตัวแทนกลุ่มขอ หากจังหวัดไม่สบายใจให้มาคุยโดยตรง ไม่ใช่ให้ ขรก.ชั้นผู้น้อยมารับหน้าแทน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงเย็นของวันที่ 1 ก.พ. 2561 ขบวนเดินมิตรภาพ We walk ซึ่งเป็นกิจกรรมของกลุ่ม People Go Network ได้เดินทางมาถึงวัดโนนมะกอก ตำบลดอนหวาย อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ขณะที่ตัวแทนกลุ่มเข้าพบเจ้าอาวาสเพื่อนมัสการขอพักค้างคืนที่วัดเป็นเวลา 3 คืน ซึ่งทางเจ้าอาวาสได้อนุญาตให้ตามความต้องการ หลังจากนั้นได้มีบุคคลอ้างตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่ราชการฝ่ายปกครองประมาณ 10 คนเข้ามาชี้แจงว่า ต้องการอำนวยความสะดวกให้กับขบวนเดินมิตรภาพ พร้อมระบุว่าจากมติที่ได้มีการประชุมกันระหว่าง ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อำเภอ ตำรวจ และทหาร มีมติว่าอนุญาตขบวนเดินมิตรภาพหยุดพักค้างคืนที่วัดโนนมะกอกได้เพียงแค่ 1 คืนเท่านั้น ไม่สามารถให้อยู่ได้ถึง 3 คืน เนื่องจากทางอำเภอและจังหวัดไม่ค่อยสบายใจ พร้อมระบุว่าการจะอนุญาตให้คนนอกพื้นที่เข้าพักที่วัดไม่ได้เป็นการตัดสินใจของเจ้าอาวาสเพียงผู้เดียว แต่ขึ้นอยู่กับฝ่ายปกครองในพื้นที่ด้วย

"ผมก็ถามว่าที่กังวลใจกันน่ะ กังวลใจเรื่องอะไร ผมก็อธิบายให้ฟังว่าพวกเรามาทำอะไร ทำอะไรไปบ้าง ศาลปกครองก็ออกมาตราคุ้มครองชั่วคราวกิจกรรมของพวกเราแล้ว และพวกเราก็ทำอะไรโดยเปิดเผยไม่ได้มีการทำอะไรที่มันลับลมคมใน เขาก็บอกว่าทางอำเภอไม่สบายใจ" เอกชัย กล่าว

เอกชัย อิสระทะ เครือข่ายเกษตรกรทางเลือก แฟ้มภาพ

เอกชัย อิสระทะ เครือข่ายเกษตรกรทางเลือก หนึ่งในผู้ร่วมเดิน ให้ข้อมูลว่า หลังจากนั้นได้ประสานไปยังกำนันในเขตพื้นที่ เพื่อชี้แจงเหตุผลที่จำเป็นต้องพักที่วัดโนนมะกอก 3 คืนว่า เนื่องจากกิจกรรมเดินเพื่อมิตรถูกคุกคามมาตลอดเส้นทางจึงทำให้ตารางกิจกรรมที่วางไว้เดิมคลาดเคลื่อนไป ทางด้านกำนันได้อนุญาตให้พักค้างคืนได้ แต่ต้องติดต่อประสานกับปลัดอำเภอโนนสูงก่อน จากนั้นเอกชัยได้ประสานไปยังปลัดอำเภอ ซึ่งเวลานั้นได้เข้ามาที่วัดโนนมะกอกแล้ว อย่างไรก็ตามทางปลัดอำเภอยืนยันว่า อนุญาตให้พักค้างคืนได้เพียงวันเดียวเท่านั้น

จากนั้นทางขบวนเดินมิตรภาพจึงได้ตัดสินใจไม่เข้าพบที่วัดโดนมะกอก เนื่องจากเกรงว่าเจ้าอาวาสจะถูกกดดันจากฝ่ายปกครอง เอกชัย ระบุด้วยว่า หากฝ่ายปกครองรู้สึกไม่สบายใจ ก็ควรที่จะเปิดหน้ามาคุยกับขบวนเดินมิตรภาพโดยตรง ไม่ใช่มอบหมายให้ข้าราชการชั้นผู้น้อยมาแบกหน้าอยู่ฝ่ายเดียว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อังคณาแจงตรวจสอบรายงานฮิวแมนไรท์วอทช์ตาม รธน.ใหม่ ยันไม่มีใบสั่ง

Posted: 01 Feb 2018 03:49 AM PST

กรณีกรรมการสิทธิฯ จะตรวจสอบรายงานฮิวแมนไรท์วอทช์ อังคณาแจงไม่ได้มีใบสั่ง แต่ทำตาม รธน.ใหม่ ยันไม่ใช่โฆษกรัฐบาล เมื่อได้รับรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชน ก็ต้องตรวจสอบข้อเท็จจริง
1 ก.พ. 2561 อังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ให้สัมภาษณ์กรณี กสม. ตั้งคณะกรรมการสอบรายงานขององค์กรฮิวแมนไรท์วอทช์ 2 ฉบับ คือ 1. รายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนทั่วโลกประจำปี ค.ศ. 2018 และ 2. รายงานสถานการณ์ด้านแรงงานในภาคประมงไทย ว่า เรื่องนี้ระบุอยู่ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 247 (4) และ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) มาตรา 26 (4) และ มาตรา 44 ที่กำหนดให้ กสม. มีหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงของรายงานด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับประเทศไทย 
 
"กรรมการสิทธิจำเป็นต้องตรวจสอบรายงานทั้งสองฉบับตามที่บัญญัติไว้ตามกฎหมาย แต่กรรมการสิทธิไม่ใช่โฆษกรัฐบาลที่มีหน้าที่ชี้แจงแทนรัฐบาลในเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่เราจะตรวจสอบในฐานะที่เราเป็นองค์กรอิสระที่มีหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงเมื่อเราได้รับรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชน
 
"ส่วนในเรื่องที่ว่ายังมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่ และ กสม. ยังไม่ได้ตรวจสอบ เราก็พร้อมที่จะตรวจสอบให้ ถ้าเขาส่งข้อมูลของผู้โดนละเมิดสิทธิมาให้เรา โดย กสม. เองก็มีระเบียบว่าการตรวจสอบจะต้องทำภายในกรอบเวลาไม่เกิน 30 วัน แต่อาจจะขยายได้ถ้ายังไม่แล้วเสร็จ อย่างเช่นในรายงานเบื้องต้นของฮิวแมนไรท์วอชท์ ที่มีการพูดถึงแรงงานประมง ทาง กสม. ก็เคยมีการสัมภาษณ์ลูกเรือประมงที่ถูกละเมิดสิทธิเหมือนกัน ถ้าทางนักวิจัยรู้สึกว่า เขายังคงถูกละเมิดสิทธิอยู่ เราก็อยากให้เขาส่งข้อมูลเพิ่มเติมให้เราด้วย เพราะข้อมูลที่ปรากฏในตัวรายงาน ไม่ได้มีการระบุชื่อของแหล่งข่าว ทำให้เราไม่สามารถตรวจสอบได้ ทั้งนี้ต้องเน้นย้ำว่า กสม. ไม่ได้มีหน้าที่ออกมาชี้แจงแทนรัฐบาล แต่เราจะชี้แจงข้อเท็จจริงในกรณีที่เราตรวจสอบและมีข้อมูลที่ถูกต้องอยู่แล้ว"
 
ต่อคำถามว่าเหตุใดรายงานสองฉบับนี้ถึงเป็นกรณีแรกที่ กสม. ตั้งคณะกรรมการสอบ อังคณาระบุว่า เพราะก่อนหน้านี้ไม่มีกฎหมายบังคับ รายงานสองฉบับนี้เป็นกรณีแรกเลยหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560 และ พรป. กสม. ถ้ายังจำกันได้ เคยมีรายงานเรื่องการซ้อมทรมาน ของมูลนิธผสานวัฒนธรรม ที่มีผู้เขียนรายงานถูกดำเนินคดีไปสามคน แต่ตอนนั้นเรายังไม่มีกฎหมายประกาศใช้ให้ กสม. ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งทางข้าหลวงใหญ่แห่งสหประชาชาติเขาก็แสดงความกังวลและสอบถามมายัง กสม. เราก็ชี้แจงไปว่า ทาง กสม. เคยให้ความเห็นเรื่อง กฎหมายการซ้อมทรมานต่อรัฐบาลไปก่อนหน้านี้แล้ว และเราก็พร้อมที่จะตรวจสอบข้อเท็จจริงในรายงานฉบับดังกล่าวให้ แต่ในรายงานนั้นเขาไม่ได้ระบุชื่อผู้ให้ข้อมูล เราก็เลยตรวจสอบไม่ได้ ถ้าคนทำวิจัยส่งรายชื่อมาเราก็ยินดีตรวจสอบให้โดยปกปิดข้อมูลของแหล่งข่าวเป็นความลับ
 
อังคณา ระบุว่า โดยส่วนตัวก็ไม่ได้กลัวว่าจะต้องพ้นหน้าที่ถ้าเราไม่ตั้งคณะกรรมการสอบสวน เพราะยังไงเราก็ถูกเซ็ตซีโร่อยู่แล้ว เมื่อวานก็ได้คุยกันภายใน กสม. ว่าเราจะพิจารณาในระดับหลักการก่อนว่าจะตรวจสอบอย่างไร โดยเราจะตรวจสอบในฐานะที่เราเป็นองค์กรอิสระ ไม่ใช่การแก้ต่างให้กับรัฐบาล เรื่องนี้ไม่ได้มีใบสั่ง แต่กฎหมายเขียนไว้ ในส่วนของกรรมการสิทธิเองเราก็เคยส่งความเห็นไปให้ กมธ. ว่า เราไม่เห็นด้วยกับมาตรานี้ เพราะมันเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องชี้แจง ไม่ใช่ของ กสม. แต่ กรธ. เขาก็คงไว้เอง คือส่วนตัวก็ไม่เห็นด้วย แต่ในเมื่อมีกฎหมาย และเราเป็น กสม. เราก็ต้องทำ
 
อังคณา กล่าวต่อว่า กรณีของฮิวแมนไรท์วอชท์ นักวิจัยที่เขาทำรายงานฉบับนี้ก็เป็นคนไทย ถ้าเขาส่งเคส หรือข้อมูลการละเมิดสิทธิให้เราตรวจสอบเราก็ยินดี เพราะเราก็เข้าใจว่าแรงงานประมงเป็นแรงงานที่น่าเห็นใจและเสี่ยงต่อการโดนละเมิดสิทธิ กสม. เคยออกรายงานไปแล้วเรื่องแรงงานประมงและทำข้อเสนอแนะให้รัฐบาลไปแล้วในปี 54 และ 57 ซึ่งรัฐบาลก็ได้ดำเนินการปรับปรุงไปบ้างแล้วบางส่วน อันนี้เป็นส่วนที่เรามีข้อมูลข้อเท็จจริงอยู่แล้ว ส่วนที่เรายังไม่มีข้อมูล ก็คงจะต้องตรวจสอบกันต่อไป
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปาระเบิดเพลิงใส่บ้านอองซานซูจีที่ย่างกุ้ง-ส่วนเจ้าตัวอยู่เนปิดอว์

Posted: 01 Feb 2018 02:39 AM PST

เกิดเหตุปาระเบิดเพลิงใส่บ้านอองซานซูจีที่นครย่างกุ้ง ไม่มีรายงานผู้บาดเจ็บ-เสียชีวิต ตำรวจพม่าเชื่อมีผู้ร่วมก่อเหตุมากกว่า 3 คน ขณะที่เจ้าตัวไม่อยู่บ้าน ติดประชุมที่เนปิดอว์

ที่มาของภาพ: Yangon Police/Facebook

มีรายงานของตำรวจนครย่างกุ้งระบุว่า บ้านพักของอองซานซูจี ริมหนองอินยา ที่นครย่างกุ้ง ถูกปาระเบิดขวดเมื่อช่วงเช้าเวลา 06.00 น. ที่ผ่านมา ทั้งนี้ตำรวจนครย่างกุ้งได้เผยแพร่ภาพจากกล้องโทรทัศน์วงจรปิด เป็นภาพผู้ต้องสงสัยก่อเหตุ และภาพเศษวัตถุที่พบในที่เกิดเหตุด้วย

ตำรวจพบท่อน้ำไฟไหม้ใกล้กับป้อม รปภ. ขณะที่ในรายงานของอิระวดีโฆษกของซอว์ เท สำนักงานประธานาธิบดี ระบุว่าจากหลักฐานกล้องโทรทัศน์วงจรปิดมีผู้ร่วมก่อเหตุ 3 คน หรือมากกว่านั้น ขณะที่ตำรวจระบุว่าผู้ก่อเหตุต้องระวางโทษเนรเทศตลอดชีวิต หรือจำคุกสูงสุด 10 ปี จากฐานความผิดก่อกวนด้วยการวางเพลิงหรือวัตถุระเบิด รวมทั้งมีเจตนาทำลายทรัพย์สิน

ด้านอองซานซูจี ซึ่งมีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาแห่งรัฐของรัฐบาลพม่า ไม่ได้อยู่ในบ้านขณะเกิดเหตุโดยเข้าร่วมประชุมในรัฐสภาที่กรุงเนปิดอว์ ในตอนกลางของพม่า

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า อนึ่งนับตั้งแต่พรรคเอ็นแอลดีนำโดยประธานาธิบดีถิ่นจ่อ และอองซานซูจี ซึ่งดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาแห่งรัฐ บริหารประเทศนับตั้งแต่ปี 2559 อองซานซูจีก็ถูกวิจารณ์หนักในเรื่องเพิกเฉยต่อเหตุละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อชาวโรฮิงญาในรัฐยะไข่ จนเมื่อปี 2560 เกิดการอพยพของผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญากว่า 6 แสนคน โดยเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีก่อน สภาเมืองออกซฟอร์ดมีมติถอนรางวัลเสรีภาพแห่งเมืองออกซฟอร์ด ที่อองซานซูจีเคยได้รับเมื่อปี 2540 นอกจากนี้ยังถูกริบรางวัลเสรีภาพเมืองดับลิน ถูกปลดรูปและป้ายชื่อออกจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดด้วย

ขณะที่เมื่อต้นเดือนมกราคม คณะกรรมการข้อเท็จจริงของกระทรวงกลาโหมพม่า ออกมายอมรับว่ามีเจ้าหน้าที่กองกำลังรักษาความมั่นคงร่วมกับชาวบ้าน สังหารชาวโรฮิงญาที่ถูกควบคุมตัว 10 ราย และถูกฝังรวมกันในหลุมฝังศพขนาดใหญ่ที่หมู่บ้านอินดินในรัฐยะไข่ แต่ก็อ้างว่าผู้ถูกสังหารเป็นกลุ่มติดอาวุธและโจมตีเจ้าหน้าที่พม่า อย่างไรก็ตามกองกำลัง ARSA ออกมาปฏิเสธและยืนยันว่าศพที่พบเป็นพลเรือนที่ไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่ม (อ่านข่าวก่อนหน้านี้)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'วีระ' ขู่ รอง ผบ.ตร. หากไม่ดำเนินคดีกลุ่มเชียร์ พล.อ.ประวิตร จะฟ้อง 157

Posted: 01 Feb 2018 02:28 AM PST

วีระ สมความคิด ขู่ พล.ต.อ.ศรีวราห์ หากไม่ดำเนินคดีกลุ่มชุมนุมเชีวร์ พล.อ.ประวิตร หน้ากระทรวงกลาโหม จะฟ้องข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ขณะที่คดีตนเอง หลังร่วม 'เหยียบเบรค คสช. สืบทอดอำนาจ เลื่อนเลือกตั้ง' เลื่อนเข้ารับทราบข้อหาเป็น 3 ก.พ.นี้ ด้าน รอง ผบ.ตร.บอกต้องตรวจสอบก่อน

ภาพซ้าย กลุ่มผู้ชุมนุมให้กำลังใจ พล.อ.ประวิตร (ที่มา จากเฟสบุ๊ค 'Wassana Nanuam')

1 ก.พ. 2561 จากกรณีมีรายงานรายงานข่าวว่า ที่หน้ากระทรวงกลาโหม ตัวแทนชาวบ้านคลองลาดพร้าว กลุ่มชาวบ้านตลิ่งชัน กลุ่มพ่อค้า อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ชาวบ้าน จ.สมุทรปราการ ราว 40 คน เดินทางมาให้กำลังใจ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ก่อนหน้านี้ออกมากล่าวว่า หากประชาชนไม่ต้องการ ตนเองก็พร้อมจะออกจากตำแหน่ง นั้น

ต่อมา วีระ สมความคิด เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊คถึงกรณีดังกล่าวว่า หลักฐานการชุมนุมในที่สาธารณะเกิน 5 คน ห่างจากพระบรมมหาราชวังไม่เกิน 50 เมตร เป็นการชุมนุมทางการเมืองให้กำลังใจรองนายกฯ พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อย่าละเว้น ต้องดำเนินคดีด้วย

"หากไม่ดำเนินคดีกับคนกลุ่มนี้เหมือนที่ดำเนินคดีผม ผมจะดำเนินคดีกับคุณศรีวราห์ตามป.อาญา ม. 157"  วีระ โพสต์

สำหรับ วีระ เขาเป็นหนึ่งในผู้ที่เพิ่งถูกออกหมายเรียก ข้อหา ฝ่าฝืนคำสั่ง คสช.ที่ห้ามชุมนุมเกิน 5 คน และความผิดฐานร่วมกันชุมนุมในที่สาธารณะในรัศมี 150 เมตรจากเขตพระราชฐาน อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 หลังจากร่วมกิจกรรม เหยียบเบรค คสช. สืบทอดอำนาจ เลื่อนเลือกตั้ง ที่บริเวณสกายวอล์ค แยกปทุมวัน เมื่อวันที่ 27 ม.ค.ที่ผ่านมา

ในคดีดังกล่าว วีระ ระบุว่า หมายเรียกลงวันที่ 30 ม.ค. 2561 ให้ไปพบตำรวจในวันที่ 2 ก.พ. 2561 ภายใน 3 วัน นับจากออกหมายเรียก มันจะเร่งรีบร้อนรนเกินไปไหมคุณตำรวจ พรุ่งนี้ตนยังไม่สะดวกไปพบตำรวจตามหมายเรียก ซึ่งทนายความของตนได้แจ้งต่อ พ.ต.ท.สมัคร ปัญญาวงค์ รองผกก.(สอบสวน) หัวหน้างานสอบสวน สน.ปทุมวัน แล้ว ขอแจ้งให้ทราบโดยทั่วกัน ตนจะไปพบตำรวจ ในวันเสาร์ที่ 3 ก.พ. 2561 เวลา 13.30 น.

ข่าวสดออนไลน์ รายงานว่า พล.ต.อ.ศรีวราห์ กล่าวถึงกรณีมีมวลชนรวมตัวชูป้ายให้กำลังใจ พล.อ.ประวิตร ที่บริเวณหน้ากระทรวงกลาโหม ข้างพระบรมมหาราชวัง ว่า ก็ต้องพิจารณาก่อนว่าการรวมตัว มวลชนเข้าข่ายชุมนุมหรือไม่ หรือผิดกฎหมายตามพ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 ในประเด็นที่ชุมนุมใกล้เขตพระราชฐานหรือไม่ หากดูแล้วผิด เข้าข่ายการชุมนุมก็ต้องดำเนินคดี

สำหรับกลุ่มที่มาให้กำลังใจ พล.อ.ประวิตร ในวันนี้นั้น ข่าวสดออนไลน์ รายงานว่า มี พล.อ.รุ่งโรจน์ จำรัสโรมรัน ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นตัวแทนพล.อ.ประวิตรมา ต้อนรับ 

โดย พล.อ.รุ่งโรม กล่าวว่า ท่านรัฐมนตรีติดภารกิจ จึงมอบหมายให้ตนมาเป็นตัวแทน ซึ่งตนจะนำเรียนท่านประวิตร ว่ามีประชาชนหลายจังหวัดมาให้กำลังใจ และขอขอบคุณทุกกลุ่มที่มาในวันนี้

ขณะที่ประชาชนที่ให้กำลังใจ พูดเสียงเดียวว่า ที่มาวันนี้ไม่ได้นัดแนะมา หรือจัดตั้งกลุ่มมาให้กำลังใจ พร้อมทั้งเชื่อมั่นในตัวพล.อ.ประวิตร เพราะที่ผ่านมาท่านทำประโยชน์ให้มากมาย แต่ที่ผ่านมามองว่าเป็นเรื่องการเมือง และอยากให้ท่านสุขภาพแข็งแรง

สำหรับ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 บัญญํติไว้ว่า ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาทหรือ ทั้งจำทั้งปรับ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

มีชัยเผย ไม่ขัดเลื่อนบังคับใช้กฎหมาย ส.ส. 90 วัน หาก สนช. เห็นว่าเพียงพอแล้วก็ยอมรับ

Posted: 01 Feb 2018 02:14 AM PST

ประธาน กรธ.เผยได้รับร่างกฎหมายลูกว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. - และการได้มาซึ่ง ส.ว. แล้ว คาดตั้งกรรมาธิการร่วม 3 ฝ่ายหรือไม่ 9 ก.พ.นี้ ระบุชัดไม่ขัดแย้งปมเลื่อนเลือกตั้ง 90 วัน หาก สนช. คิดว่าเพียงพอต่อการเตรียมการเลือกตั้งก็ยอมรับ

แฟ้มภาพ เว็บไซต์วิทยุรัฐสภา

1 ก.พ. 2561 มีชัย ฤชุพันธ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ กรธ.ได้รับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.) และร่าง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา (พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว.) ที่ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แล้ว หลังจากนี้ กรธ.จะหารือกันเพื่อตั้งคณะทำงานพิจารณารายละเอียดของร่างกฎหมายลูกทั้ง 2 ฉบับ ที่มีการปรับแก้ไข คาดว่าจะได้ข้อสรุปว่าจะส่งความเห็นแย้งเพื่อตั้งกรรมาธิการร่วม 3 ฝ่ายหรือไม่ วันที่ 9 ก.พ. นี้

มีชัย กล่าวถึงกรณีที่ สนช. ปรับแก้ไขให้ที่มาของผู้สมัคร ส.ว. ลดลงเหลือ 10 กลุ่มอาชีพ จากเดิมที่ กรธ. ตั้งไว้ 20 กลุ่มอาชีพ ว่า ตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 นั้น กรธ.ต้องการเปลี่ยนจากสภาผู้ทรงคุณวุฒิให้เป็นสภาของประชาชน และเป็นช่องทางที่ประชาชนทุกสาขาอาชีพสามารถเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้ กรธ. ไม่ได้กำหนด 20 กลุ่มอาชีพขึ้นมาลอยๆ แต่ได้กำหนดไว้ตั้งแต่ช่วงที่ร่างรัฐธรรมนูญแล้ว และในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน กรธ.ได้ชี้แจงให้ประชาชนรับทราบว่าเหตุใดจึงแบ่งเป็น 20 กลุ่มอาชีพ หากแยกกลุ่มอาชีพมากขึ้นจะทำให้จำนวนผู้สมัครในแต่ละกลุ่มนั้นลดน้อยลง ทั้งในแต่ละอำเภอ จังหวัดก็จะลดลง และอาจทำให้การเลือกนั้นเกิดปัญหาได้ ส่วนเหตุผลที่ กรธ.ไม่จัดกลุ่มอาชีพให้น้อยกว่า 20 กลุ่ม นั้น เนื่องจากโอกาสที่จะทำให้ผู้ที่อยู่ในแต่ละกลุ่มนั้น อาจเป็นตัวแทนได้ยากขึ้น เช่น กลุ่มสตรี หากนำไปรวมกับกลุ่มอื่น จะทำให้หลักประกันที่จะได้ตัวแทนของกลุ่มสตรีเป็น ส.ว.นั้น ลดลง ซึ่งที่ผ่านมา สนช. อาจยังไม่เข้าใจเจตนารมณ์ในเรื่องนี้ ดังนั้น กรธ.จำเป็นต้องอธิบายให้ สนช. เข้าใจความมุ่งหมายดังกล่าวให้ได้ เพราะรัฐธรรมนูญได้ระบุว่าให้ทุกสาขาอาชีพเข้ามามีส่วนร่วมได้ หากมีจำนวนกลุ่มอาชีพมากขึ้นก็จะมีผู้สมัคร ส.ว.ที่มีความหลากหลายตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ

ต่อข้อถามถึงกรณีที่ สนช.ปรับแก้ไขให้ ส.ว.มาจากทั้งผู้สมัครอิสระและองค์กร อาจขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 กำหนดไว้ชัดเจนว่าให้ผู้สมัครแต่ละคนมีสิทธิสมัครได้ทั้งหมด โดยไม่ต้องผ่านการกลั่นกรองขององค์กรใด หากกำหนดให้องค์กรเป็นผู้ส่งผู้สมัคร ส.ว. ก็แสดงว่าองค์กรเป็นผู้คัดเลือก ดังนั้นจึงไม่สอดคล้องกับหลักการของรัฐธรรมนูญที่ต้องการให้ทุกคนมีความเสมอภาคกัน อย่างไรก็ตาม กรธ.ไม่สามารถระบุได้ว่ากรณีดังกล่าวขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะเป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัย ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่ยังไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ดังนั้น กรธ.ต้องพยายามอธิบายให้ สนช.เข้าใจให้ตรงกันอย่างสุดความสามารถ ส่วนประเด็นที่ สนช.ปรับแก้ไขยกเลิกระบบเลือกไขว้ผู้สมัคร ส.ว.แต่ละกลุ่มอาชีพ เนื่องจากเห็นว่าอาจทำให้เกิดการสมรู้ร่วมคิดกันได้ง่ายนั้น ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญต้องการให้มีการเลือกโดยสุจริตและเที่ยงธรรม หาก สนช. มีเหตุผลเพียงพอก็พร้อมยอมรับแนวทางดังกล่าว แต่หาก กรธ.มีเหตุผลที่ดีกว่าก็ขอให้ สนช.พิจารณาด้วย

สำหรับกรณีที่มีการแก้ไข พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีชียระบุว่า ที่ กรธ.สงวนความเห็นต่อประเด็นดังกล่าวนั้นเป็นเพราะต้องการให้กฎหมายมีผลบังคับใช้โดยเร็วที่สุด แต่หาก สนช.เห็นว่าควรขยายเวลาบังคับใช้ออกไป กรธ.ก็ไม่มีเหตุผลที่จะโต้แย้งเรื่องนี้

ส่วนเหตุผลที่ สนช. ระบุว่า กรอบเวลาที่กำหนดให้กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จัดการเลือกตั้งทั่วไปภายใน 150 วัน หลังกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ จะทำให้พรรคการเมืองต้องดำเนินการด้านทางธุรกรรมทางการเมือง และส่งผลให้ดำเนินการคัดเลือกผู้สมัครของพรรคในการเลือกตั้งขั้นต้น หรือทำไพรมารีโหวตไม่ทัน จึงจำเป็นต้องขยายเวลาการบังคับใช้กฎหมายออกไป มีชัย กล่าวว่า ขณะนี้กรอบเวลาในการจัดทำไพรมารีโหวตนั้นยังไม่มีความชัดเจน เพราะยังต้องรอ กกต.ออกประกาศขั้นตอนการทำไพรมารีโหวตก่อน ซึ่ง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 ก็ไม่ได้ระบุรายละเอียดไว้ อีกทั้งยังเป็นเรื่องใหม่ ซึ่งการขยายเวลาการบังคับใช้ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ออกไป 90 วัน ส่วนตัวเห็นว่าพรรคการเมืองได้รับเวลาที่เพิ่มขึ้นมา ซึ่งแต่ละพรรคต้องหาสมาชิกพรรคที่อยู่ในเขตเลือกตั้งแต่ละเขตให้ได้ก่อน จึงจะสอดคล้องกับบทเฉพาะกาลของกฎหมายที่กำหนดให้ดำเนินการจัดทำไพรมารีโหวตในเขตนั้น

มีชัย กล่าวถึงกรณีที่ พรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. ระบุว่า การขยายเวลาบังคับใช้ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ออกไป 90 วัน จะเพียงพอสำหรับการทำไพรมารีโหวตของพรรคการเมืองว่า หาก สนช. เห็นว่าเวลาดังกล่าวเพียงพอก็พร้อมยอมรับ ทั้งนี้ ส่วนตัวเห็นว่าหากไม่ขยายกรอบเวลาออกไปก็อาจเกิดปัญหาขึ้นได้ เพราะอาจมีเพียง 1-2 พรรคเท่านั้นที่สามารถทำไพรมารีโหวตส่งผู้สมัครได้ทัน และอาจส่งได้ไม่ครบทุกเขต อีกทั้งขณะนี้ยังไม่สามารถเรียกประชุมใหญ่ได้ เนื่องจากติดคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ยังไม่ปลดล็อคให้พรรคดำเนินกิจกรรมได้ และไม่ยังทราบแน่ชัดว่าแต่ละพรรคมีจำนวนสมาชิกพรรคเท่าใด ซึ่งก่อนหน้านี้ กรธ.เคยคัดค้านการทำไพรมารีโหวต เพราะกังวลว่าอาจทำให้การเลือกตั้งล่าช้าออกไป อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีอุปสรรคในข้อกฎหมาย แต่ส่วนตัวเชื่อว่าจะไม่มีการคว่ำร่างกฎหมายลูกอย่างแน่นอน

 

เรียบเรียงจาก: เว็บข่าวรัฐสภา 1, 2

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลปกครองสั่งตำรวจจ่ายค่าสินไหมสูงสุด 4 ล้าน แก่พันธมิตรฯ กรณีสลายชุมนุม 7 ต.ค.51

Posted: 01 Feb 2018 01:36 AM PST

ศาลปกครองพิพากษาให้ สตช.ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ กรณีสลายการชุมนุมหน้ารัฐสภา 7 ต.ค.51

 

เมื่อวันที่ 31 ม.ค.ที่ผ่านมา ศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษาให้สํานักงานตํารวจแห่งชาติ (สตช.) ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ได้รับความเสียหายจากการชุมนุมบริเวณหน้ารัฐสภาเมื่อปี พ.ศ. 2551 และยกฟ้องสำนักนายกรัฐมนตรี เนื่องจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1) มีอำนาจหน้าที่ยับยั้งการชุมนุมที่เป็นไปโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายโดยปิดล้อมบริเวณรัฐสภาเพื่อไม่ให้รัฐบาลแถลงนโยบายได้ แต่ไม่ว่าการชุมนุมจะเป็นไปโดยสงบที่จะได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ ผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ก็ต้องปฏิบัติต่อผู้ชุมนุมตามขั้นตอนและวิธีการที่เหมาะสม แต่การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีข้อบกพร่องในขั้นตอนการเตรียมการหารถดับเพลิงมาใช้ในการสลายการชุมนุมและวิธีการยิงแกสน้ำตา ประกอบกับแกสน้ำตาที่นำมาใช้ได้ซื้อมาเป็นเวลานานจึงมีประสิทธิภาพต่ำ ทำให้ต้องใช้แกสน้ำตาจำนวนมากเกินกว่าที่จะใช้โดยปกติทั่วไป ทำให้เกิดการปั่นป่วนชุลมุนและผู้ชุมนุมได้รับอันตรายเกิดความเสียหายแก่ชีวิตร่างกายและทรัพย์สินของผู้ชุมนุม
 
จึงเป็นการกระทำละเมิดที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัดของเจ้าหน้าที่ต้องรับผิดในความเสียหายดังกล่าว ส่วนสำนักนายกรัฐมนตรี (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2) ไม่ได้เป็นผู้กำหนดขั้นตอนและวิธีการในการสลายการชุมนุม จึงไม่ได้กระทำละเมิดที่จะต้องรับผิดต่อผู้ได้รับความเสียหาย
 
ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า กรณีสืบเนื่องมาจากการชุมนุมบางส่วนมีลักษณะที่ทำให้ผู้อื่นเกรงกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกายเสรีภาพและทรัพย์สินซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ี 1 ที่จะต้องระงับยับยั้งการกระทำดังกล่าว เมื่อพิจารณาถึงพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการกระทำละเมิดแล้วเห็นว่าค่าเสียหายที่ศาลปกครองชั้นต้นกำหนดสูงเกินส่วน จึงสมควร
ลดค่าเสียหายลดร้อยละ 20 ศาลปกครองสูงสุดจึงมีคำพิพากษาแก้คำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นเป็นให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ี 1 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ฟ้องคดีและผู้ร้องสอดแต่ละรายจำนวนตั้งแต่ 7,120 บาท ถึง 4,152,77.84 บาท พร้อมดอกเบี้ยยกฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีท่ี 2 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลยกฟ้องคดีระเบิด กปปส. แจ้งวัฒนะ เหตุไม่มีประจักษ์พยาน-เชื่อ จนท.จูงใจ 'แดงชินจัง' ให้สารภาพ

Posted: 01 Feb 2018 12:53 AM PST

ศาลอาญายกฟ้อง 4 จำเลย คดีระเบิดเวที กปปส. แจ้งวัฒนะ 3 ครั้งในช่วงต้นปี 57 เหตุไม่มีประจักษ์พยานและจุดยิงที่ตำรวจสันนิษฐานมีทั้งทหารประจำจุดและแนวรั้วยางของผู้ชุมนุมอยู่หากมีการยิงตามจุดเหล่านั้นเจ้าหน้าที่ก็ติดตามจับกุมได้ อีกทั้งศาลยังรับฟังพยานปากสำคัญ 'แดง ชินจัง' ว่าถูกเจ้าหน้าที่จูงใจให้สารภาพว่าร่วมก่อเหตุกับจำเลยคดีนี้แล้วจะไม่ดำเนินคดี

ภาพการชุมนุมของ กลุ่ม กปปส. แจ้งวัฒนะ เมื่อวันที่ 13 ก.พ.57 (ที่มาภาพ เพจ หลวงปู่พุทธะอิสระ (Buddha Isara)

1 ก.พ.2561 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า วันนี้ ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก พิพากษายกฟ้องคดีเหตุระเบิดที่ชุมนุม กปปส. ที่ถนนแจ้งวัฒนะ 3 ครั้ง ตอนต้นปี 2557 ได้แก่ 8 ก.พ., 10 มี.ค. และ 10 เม.ย. 57 ซึ่งมีจำเลย 4 คน ได้แก่ ชัชวาล ปราบบำรุง, สมศรี มาฤทธิ์, สุนทร ผิผ่วนนอกและ ทวีชัย วิชาคำ ถูกฟ้องในข้อหาร่วมกันพยายามฆ่าโดยเจตนา และครอบครองยุทธภัณฑ์ ตามพ.ร.บ.อาวุธปืนและเครื่องกระสุนฯ

ศาลอาญายกฟ้องจำเลยทั้ง 4 คน โดยยกเหตุไม่มีประจักษ์พยานและจุดยิงที่ตำรวจสันนิษฐานมีทั้งทหารประจำจุดและแนวรั้วยางของผู้ชุมนุมอยู่หากมีการยิงตามจุดเหล่านั้นเจ้าหน้าที่ก็ติดตามจับกุมได้ อีกทั้งศาลยังรับฟังพยานปากสำคัญ คือ ยงยุทธ บุญดี หรือ "แดง ชินจัง" ว่าถูกเจ้าหน้าที่จูงใจให้สารภาพว่าร่วมก่อเหตุกับจำเลยคดีนี้แล้วจะไม่ดำเนินคดี

โดยศาลบรรยายว่าโจทก์มี พล.ต.วิจารณ์ จดแตง และตำรวจท้องที่สน.ทุ่งสองห้อง และพนักงานสอบสวนกองปราบฯ มาเบิกความสอดคล้องกันว่า จากเหตุทั้ง 3 ครั้ง จำเลยทั้ง 4 คนและ ยงยุทธ บุญดี ร่วมกันไปก่อเหตุยิง M79 ใส่ที่ชุมนุม กปปส. บนถนนแจ้งวัฒนะ ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ในวันที่ 8 ก.พ.และ 10 เม.ย. รวม 3 คน แต่พยานเจ้าหน้าที่กลุ่มนี้เป็นเพียงพยานบอกเล่าที่ไม่ได้เห็นเหตุที่เกิดขึ้นโดยตรง ส่วนพยานผู้บาดเจ็บทั้งสามคนก็เบิกความตรงกันว่าไม่เห็นตัวผู้ก่อเหตุ

นอกจากนี้คำเบิกความของพยานตำรวจในท้องที่และผลการตรวจสถานที่เกิดเหตุที่มีการสันนิษฐานถึงจุดยิง M79ในทั้งสามครั้งว่าเป็นสถานที่โล่งแจ้งเป็นทางสัญจรไปมา และยังมีจุดตรวจของทหารอยู่ไม่ห่างจากจุดที่สันนิษฐานไว้ว่าเป็นจุดยิง หากมีเสียงดังจากการยิง M79จากจุดที่สันนิษฐานไว้ทหารที่อยู่ในป้อมก็มีความเชี่ยวชาญในการใช้อาวุธก็สามารถติดตามจับกุมได้ทันท่วงที อีกทั้งยังผิดวิสัยของผู้กระทำความผิดที่จะต้องปกปิดการกระทำไม่ให้ผู้อื่นล่วงรู้

อีกทั้งยังมีแนวยางรถยนต์และด่านตรวจของผู้ชุมนุมที่หากใครจะผ่านเข้าออกจะต้องได้รับอนุญาตจากการ์ดผู้ชุมนุม กปปส. ก่อนแม้กระทั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ จุดยิงที่สันนิษฐานไว้จึงเป็นเพียงการคาดเดาของเจ้าหน้าที่โดยไม่มีผู้เกี่ยวข้องใดที่ยืนยันได้ว่ากระสุนถูกยิงมาจากจุดดังกล่าว

นอกจากนั้นยังมีผู้ตรวจวิถีการยิงจากกองพิสูจน์หลักฐานกลาง สตช. เบิกความว่าเครื่องยิง M79 ยิงได้ในระยะไม่เกิน 400 ม. จากทุกทิศทางและจากการตรวจวิถีการยิงไม่สามารถระบุได้ว่าใครเป็นผู้ยิง อีกทั้งในคดีนี้ก็ไม่พบของกลางที่เป็นเครื่องยิง M79 ที่ใช้ก่อเหตุ ในคดีนี้มีเพียงผลการตรวจสถานที่เกิดเหตุเท่านั้น นอกจากนั้นจากคำให้การพยานโจทก์ที่กล่าวว่าในเหตุการณ์วันที่ 8ก.พ.จำเลยใช้เส้นทางซอยแจ้งวัฒนะ 10 ในการหลบหนีก็ไม่หลักฐานยืนยันตามที่พยานโจทก์กล่าวอ้าง

อีกทั้งยงยุทธ บุญดี พยานโจทก์ปากสำคัญ ยังเบิกความว่าระหว่างอยู่ในการควบคุมตัวของทหารตามอำนาจของกฎอัยการศึกถูกทำร้ายและบังคับให้สารภาพว่าร่วมก่อเหตุทั้ง 3 ครั้ง และยงยุทธยังได้รับคำมั่นจากเจ้าหน้าที่ว่าหากให้การเช่นนั้นจะกันเป็นพยานไม่ดำเนินคดี อีกทั้งไม่มีทนายความหรือผู้ที่ไว้วางใจอยู่ในการสอบสวนด้วย นอกจากนั้นบันทึกคำให้การของยงยุทธในชั้นสอบสวน พนักงานสอบสวนก็ใช้พยานหลักฐานของชั้นเจ้าหน้าที่ทหารโดยคัดลอกรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งสามครั้งมา และยงยุทธก็ไม่ได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีนี้ด้วย จึงน่าเชื่อว่าเป็นคำให้การที่มาจากการให้คำมั่นสัญญาของเจ้าหน้าที่ คำให้การของยงยุทธจึงไม่น่าเชื่อถือไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง

สุดท้ายโจทก์ยังไม่มีพยานหลักฐานที่ยืนยันว่าเห็นจำเลยทั้ง 4 คนเป็นผู้ก่อเหตุยิง M79 ศาลจึงพิพากษายกฟ้องจำเลยทั้ง 4 คน

ก่อนหน้าทั้ง 4 คน จะถูกฟ้องในคดีนี้ ศาลอาญากรุงเทพใต้เคยพิพากษาจำเลยทั้ง 4 คน ในคดีที่ถูกฟ้องว่าได้ใช้เครื่องยิงกระสุนระเบิด M79 ลงที่หน้าห้าง Big C ราชดำริ เมื่อ 17.00 น. วันที่ 23 ก.พ. 2557 ในขณะที่มีการชุมนุมของ กปปส. แรงระเบิดส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ คดีนี้ศาลพิพากษาประหารชีวิต แต่ให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนลดโทษจำคุกตลอดชีวิต และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ขณะนี้คดีอยู่ระหว่างรอศาลฎีกาพิจารณา(อ่าน ที่นี่)

จำเลยทั้ง 4 คน ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2557 และถูกทหารนำตัวไปควบคุมตัวที่กองพันสารวัตรทหารที่ 11 โดยไม่มีโอกาสได้ติดต่อญาติหรือทนายความ และไม่ทราบแม้แต่ตนเองถูกควบคุมตัวอยู่ที่ใดเป็นเวลา8-9 วัน ซึ่งเกินระยะเวลาที่กฎอัยการศึก และไม่มีทนายความอยู่ด้วยระหว่างกระบวนการซักถามภายในค่ายทหาร จากนั้นจึงถูกนำตัวส่งพนักงานสอบสวน สน.ลุมพินี พวกเขารับสารภาพตั้งแต่ชั้นซักถามในค่ายทหารและชั้นสอบสวนของตำรวจ จำเลยทั้ง 4 คนถูกคุมขังระหว่างการพิจารณาคดีมาโดยตลอด จำเลยทั้ง 4 คน ได้ร้องเรียนต่อทนายความว่าถูกซ้อมทรมานระหว่างการควบคุมตัวภายในค่ายทหาร

265 นักวิชาการแนะ ประยุทธ์ควรทบทวนตัวเองว่าเข้ามาคืนความสุขจริงหรือไม่

Posted: 01 Feb 2018 12:37 AM PST

สืบเนื่องจากกรณีการดำเนินคดีกับ 8 ผู้จัดกิจรรมเดินมิตรภาพ เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมืองออกแถลงการณ์ ให้รัฐยุติการดำเนินคดีในทันที ย้ำหลักการตามรัฐธรรมนูญยิ่งใหญ่กว่าคำสั่ง คสช. แนะประยุทธ์ควรทบทวนตัวเองว่าเข้ามาคืนความสุขจริงหรือไม่

เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2561 ที่สภ.อ.คลองหลวง เครือข่าย People Go Network  ซึ่งถูกเจ้าหน้าที่ทหารดำเนินการแจ้งความ ฐานขัดคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 3/2558 ได้เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหากับพนักงานสอบสวน (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง '8 เดินมิตรภาพ' เข้ารับทราบพร้อมปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา หลังถูกฟ้องฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช.)

โดยก่อนหน้าที่ทั้ง 8 คนจะเข้ารับทราบข้อกล่าวหานั้น เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) ร่วมกับเครือข่ายภาคประสังคม ราว 20 คน ได้ทำกิจกรรมเดินส่งกำลังใจให้กับผู้ถูกแจ้งความดำเนินคดีทั้ง 8 คน โดยเป็นการเดินเท้าจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต มายังสภ.อ.คลวงหลวง รวมระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร

เมื่อเดินทางถึง สภ.อ. คลองหลวง เดชรัต สุขกำเนิด หัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้อ่านแถลงการณ์เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง เรื่อง ยุติการดำเนินคดีกับนักวิชาการและประชาชนในกิจกรรม We Walk เดินมิตรภาพ โดยขอให้รัฐบาลหยุดคุกคามการใช้สิทธิเสรภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนที่กำลังจัดกิจกรรม เดินมิตรภาพอยู่ในเวลานี้ และขอให้ถอนการแจ้งความดำเนินคดีกับเครือข่าย People Go Network ทั้ง 8 คน ในทันที ขอให้เคารพหลักการในรัฐธรรมนูญ โดยยุติการใช้อำนาจตามประกาศ หรือคำสั่งของ คสช. เพราะไม่ควรมีอำนาจใดเหนือกว่าอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พร้อมทั้งขอให้หัวหน้า คสช. ทบทวนบทบาทของตนเองว่าที่ผ่านมาได้ปฎิบัติหน้าที่ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนจริงหรือไม่

00000

แถลงการณ์เครือข่ายนักวิขาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.)

เรื่อง ยุติการดำเนินคดีกับนักวิชาการและประชาชนในกิจกรรม We Walk เดินมิตรภาพ

การที่เจ้าหน้าที่ทหารแจ้งความตัวแทนเครือข่าย People Go Network จำนวน 8 คน ได้แก่ นายเลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ นายอนุสรณ์ อุณโณ นายนิมิตร์ เทียนอุดม นายสมชาย กระจ่างแสง นางสาวแสงศิริ ตรีมรรคา นางนุชนารถ แท่นทอง นายอุบล อยู่หว้า และนายจำนงค์ หนูพันธ์ ในข้อหาขัดคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 ชุมนุม มัวสุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ มีลักษณะบิดเบือน ใช้คำสั่งของคณะรัฐประหารพร่ำเพรื่อ แสดงถึงการลุแกอำนาจ ปิดกั้นไม่ฟังเสียงความทุกข์ยากเดือดร้อนของประชาชน

คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้เข้ามาบริหารประเทศเป็นระยะเวลา 3 ปี 8 เดือน ได้เพิ่มปัญหาความทุกข์ยากให้กับพี่น้องประชาชน ปิดกั้นไม่ยอมรับฟังความคิดเห็น และมีนโยบายที่ซ้ำเติมความทุกข์ยากให้ทวีเข้มข้นรุนแรงยิ่งขึ้น เมื่อประชาชนและนักวิชาการร่วมจัดกิจกรรมเดินเพื่อบอกกล่าวถึงปัญหาต่างๆ เพื่อให้กำลังใจพี่น้องในชาติที่กำลังเผชิญชะตากรรม โดยสงบ สันติ ปราศจากอาวุธ อีกทั้งยังไม่ได้กีดขวางการจราจร หรือสร้างความเดือดร้อนวุ่นวายให้แก่ผู้ใด ทว่า คสช. และรัฐบาลไม่เพียงแต่ใช้กำลังตำรวจเข้าขัดขวาง หากแต่ยังคุกคาม สกัดกั้น และแจ้งความเอาผิดกับประชาชน พฤติกรรมดังกล่าวสะเทือนให้เห็นว่า คสช. มิได้เข้ามาทำหน้าที่สร้างความปรองดอง หรือคืนความสุขให้กับคนในชาติอย่างที่กล่าวอ้าง เพราะที่ผ่านมานอกจากยังไม่สามารถปฎิบัติหน้าที่ให้สำเร็จลุล่วง หัวหน้า คสช. ยังใช้คำดูหมิ่น ดูแคลน ดูถูกศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาชน คนยากจน เกษตรกร ชาวนา มีการใช้กำลังทหาร ตำรวจคุกคามเสรีภาพในการแสดงความเห็น รวมถึงริดรอนแย่งยื้อสิทธิในการเข้าถึงทรัพยากรของคนส่วนใหญ่ไปให้ภาคธุรกิจ

และในกรณีการจัดกิจกรรม We Walk เดินมิตรภาพ ก็มีการใช้กำลังเข้าสกัดกั้น คุกคามสิทธิในการเดินของประชาชนอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่เกิดมาโดยชอบจากการเกิดมาเป็นมนุษย์ ทั้งนี้ยังได้แสดงพฤติกรรมที่ต้องการจะสืบทอดอำนาจทางการเมือง เลื่อนการเลือกตั้ง 4 ครั้ง ไม่รักษาสัจจะวาจา การบริหารประเทศขาดความสง่างาม ไม่ได้รับความเคารพเชื่อถือจากสายตาของนานาชาติ

เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมืองขอย้ำเตือน คสช. และรัฐบาล ตลอดจนองค์กรที่เกิด และอำนาจมาจากการรัฐประหาร ให้ใคร่ควรถึงภารกิจของตน และพฤติกรรมการบริหารประเทศที่ผ่านมาว่าได้สร้างความสุข ความมั่นคง ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชนตามที่กล่าวอ้างหรือไม่ รัฐธรรมนูญฉบับปราบโกงที่ คสช. และรัฐบาลร่วมกันผลักดัน ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2560 สามารถสร้างความโปร่งใส มีผลในการปฎิบัติต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นได้จริงตามที่กล่าวอ้างไว้เพียงใด นอกจากนี้เมื่อใดก็ตามที่ผู้นำรัฐบาลทหารต้องการแสดงท่าทีการสืบทอดอำนาจ การเสียสัจจะวาจา และการมองเห็นประชาชนเป็นศัตรู เมื่อนั้น สถานการณ์มักจะจบลงด้วยความรุนแรง และในกรณีนั้นนายกรัฐมนตรีที่ผ่านมาก็มักต้องพ้นจากตำแหน่งไป ซึ่งไม่เพียงแต่จะเสื่อมเสียต่อเกียรติยศชื่อเสียงของตนและวงตระกูล หากแต่ยังเสื่อมเสียศักดิ์ศรีความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อกองทัพไปอีกยาวนานอีกด้วย

คนส. และผู้ที่มีรายชื่อแนบท้าย มีความห่วงใยในสถานการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่ ซึ่งอาจจะลุกลามไปสู่การลุกขึ้นมาทวงสิทธิเสรีภาพของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะนักศึกษา อาจารย์ และประชาชนผู้รักประชาธิปไตย เนื่องจากสถานการณ์ในครั้งนี้มีแนวโน้มใกล้เคียงกับสถานการณ์ความรุนแรงที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต เราจึงขอเสนอแนะต่อ คสช. และรัฐบาลดังต่อไปนี้

1.หยุดคุกคาม ขัดขวางกิจกรรม We Walk เดินมิตรภาพ ของประชาชน และขอให้เคารพในคำสั่งกำหนดมาตราการคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครอง และถอนการแจ้งความดำเนินคดีกับผู้แทนเครือข่าย People Go Network ทั้ง 8 คน ในทันที       

2.ขอให้เคารพในหลักการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้ว โดยหยุดการใช้อำนาจโดยมิชอบที่มักจะอ้างคำสั่ง ประกาศ คสช. และมาตรา 44 เพราะไม่ควรมีอำนาจใดใหญ่ยิ่งกว่าอำนาจตามรัฐธรรมนูญ

3.รัฐบาลควรส่งตัวแทนมารับฟังความคิดเห็นปัญหาความทุกข์ยากของประชาชน ที่ต้องการจะบอกเล่าร้องทุกข์ต่อรัฐบาล เพราะปัญหาเหล่านี้ล้วนเกิดคืนจากนโยบาย เกิดขึ้นจากมาตรา และการดำเนินการของรัฐบาล เจ้าหน้าที่รัฐทั้งสิ้น

4.หัวหน้า คสช. ควรทบทวนบทบาทของตนเองว่าที่ผ่านมาได้ปฎิบัติหน้าที่ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนจริงหรือไม่ ควรหยุดสร้างความสับสน ความเปลี่ยนแปลงทิศทางของประเทศจนหาจุดยืนไม่ได้ ควรหยุดใช้คำพูดในการดูหมิ่นประชาชน หรือสร้างความแตกแยกซึ่งจะบั่นทอนความน่าเชื่อถือของประเทศ โดยเฉพาะโฆษกรัฐบาลต้องหยุดใช้คำพูดยั่วยุ ผลักไสให้ประชาชนกลายเป็นผู้กระทำผิด และชวนให้เข้าใจว่าเป็นผู้สร้างสถานการณ์ให้เกิดความรุนแรง

คนส. ขอยืนยันในสิทธิเสรีภาพของในการเดิน การแสดงความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมนการตัดสินใจในความเป็นไปของบ้านเมืองซึ่งสิทธิอันชอบธรรมของคนไทยทุกคน และขอเน้นย้ำ คสช. อีกครั้งว่า การคืนความสุข และการสร้างความมั่งคั่ง ยั่งยืน จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยวิถีประชาธิปไตย และการเปิดกว้างให้ประชาชนทุกส่วนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ กำหนดความเป็นไปของบ้านเมืองเท่านั้น

เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง

31 ม.ค. 2561

รายชื่อผู้ลงนามแนบท้ายแถลงการณ์

1. กนกรัตน์ สถิตนิรามัย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. กนกวรรณ มะโนรมย์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
3. กรพนัช ตั้งเขื่อนขันธ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
4. กฤดิกร วงศ์สว่างพานิช นักศึกษาปริญญาเอก Kyoto University ประเทศญี่ปุ่น
5. กฤษณ์พชร โสมมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
6. กษมาพร แสงสุระธรรม นักวิชาการอิสระ
7. กรุงไท นพรัตน์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
8. กันต์ฌพัชญ์ อยู่อำไพ นักวิชาการอิสระ
9. กาญจนา เหล่าโชคชัยกุล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
10. กิ่งกาญจน์ สำนวนเย็น คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
11. กิตติ วิสารกาญจน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร 
12. กิตติกาญจน์ หาญกุล วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
13. กิตติมา จารีประสิทธิ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
14. กิติมา ขุนทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
15. กุลธีร์ บรรจุแก้ว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
16. กุลระวี สุขีโมกข์ นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
17. กุสุมา กูใหญ่ คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
18. กุสุมา จงวิศาล นักกิจกรรมอิสระ
19. เก่งกิจ กิติเรียงลาภ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
20. เกษม เพ็ญภินันท์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
21. เกียรติศักดิ์ บังเพลิง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
22. เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร นักวิชาการอิสระ
23. เกื้อ ฤทธิบูรณ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
24. ขจรศักดิ์ สิทธิ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
25. ขวัญชนก กิตติวาณิชย์ นักศึกษาปริญญาเอก University of Manchester สหราชอาณาจักร
26. คณิน เชื้อดวงผุย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
27. คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
28. คมลักษณ์ ไชยยะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราภัฏพระนครศรีอยุธยา
29. คอลิด มิดำ คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา
30. คารินา โชติรวี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
31. คำแหง วิสุทธางกูร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
32. เคท ครั้งพิบูลย์ นักวิชาการอิสระ
33. ฆัสรา ขมะวรรณ มุกดาวิจิตร นักวิชาการอิสระ
34. งามศุกร์ รัตนเสถียร สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
35. จักรกริช สังขมณี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
36. จันจิรา สมบัติพูนศิริ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
37. จันทรา ธนะวัฒนาวงศ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
38. จิราภรณ์ สมิธ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
39. เฉลิมพล โตสารเดช วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
40. ชนัญญ์ เมฆหมอก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
41. ชนิดา ชิตบัณฑิตย์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
42. ชยันต์ วรรธนะภูติ Regional Center for Social Science and Sustainable Development มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
43. ชยุตม์ ชำนาญเศรษฐ นักศึกษาปริญญาเอก University of Aberdeen สหราชอาณาจักร
44. ชลัท ศานติวรางคณา สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
45. ชลิตา บัณฑุวงศ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
46. ชัชวาล ปุญปัน ข้าราชการบำนาญ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
47. ชัยพงษ์ สำเนียง คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
48. ชัยพร สิงห์ดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี
49. ชาญณรงค์ บุญหนุน คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
50. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
51. ชาตรี ประกิตนนทการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
52. ชาติชาย มุกสง คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
53. ชานันท์ ยอดหงษ์ นักศึกษาปริญญาเอก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
54. ชุมาพร แต่งเกลี้ยว นักกิจกรรมด้านความหลากหลายทางเพศและพื้นที่ทางการเมือง
55. ชำนาญ จันทร์เรือง มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
56. เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
57. ไชยันต์ รัชชกูล คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยพะเยา
58. ซัมซู สาอุ วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
59. ญาดา ช่วยชำแนก นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
60. ฐิรวุฒิ เสนาคำ สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
61. ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
62. ณปรัชญ์ บุญวาศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
63. ณภัค เสรีรักษ์ นักวิชาการอิสระ
64. ณรงค์ อาจสมิติ มหาวิทยาลัยมหิดล
65. ณรุจน์ วศินปิยมงคล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
66. ณัฐกานต์ อัครพงศ์พิศักดิ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
67. ณัฐทิยา วัฒนศิริศาสตร์ สำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
68. ณีรนุช แมลงภู่ University of Wisconsin-Madison สหรัฐอเมริกา
69. ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
70. ดวงมน จิตร์จำนงค์ ข้าราชการบำนาญ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
71. ดวงยิหวา อุตรสินธุ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
72. เดชรัต สุขกำเนิด คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
73. โดม ไกรปกรณ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
74. ตะวัน วรรณรัตน์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
75. ทนุวงศ์ จักษุพา คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
76. ทสิตา สุพัฒนรังสรรค์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
77. ทับทิม ทับทิม นักวิชาการอิสระ
78. เทียมสูรย์ สิริศรีศักดิ์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
79. ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
80. ธนภาษ เดชพาวุฒิกุล นักศึกษาปริญญาเอก Waseda University ประเทศญี่ปุ่น
81. ธนศักดิ์ สายจำปา สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
82. ธนัย เกตวงกต สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
83. ธนาวิ โชติประดิษฐ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
84. ธร ปีติดล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
85. ธิกานต์ ศรีนารา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
86. ธิดารัตน์ ศักดิ์วีระกุล วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
87. ธีรวัฒน์ ขวัญใจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
88. ธีระพล อันมัย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
89. นงเยาว์ เนาวรัตน์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
90. นพพร ขุนค้า มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์
91. นพพล อัคฮาด คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
92. นภาพร อติวานิชยพงศ์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
93. นราสิทธิ์ วงษ์ประเสริฐ ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
94. นรุตม์ เจริญศรี คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
95. นฤมล กล้าทุกวัน สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
96. นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
97. นลินี ตันธุวนิตย์ ข้าราชการบำนาญ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
98. นัทมน คงเจริญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
99. นาตยา อยู่คง คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
100. นิติ ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
101. นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการอิสระ 
102. นิศารัตน์ จงวิศาล นักกิจกรรมอิสระ
103. นิสารัตน์ ขันธโภค นิสิตปริญญาโท คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
104. นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
105. เนรมิตร จิตรรักษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
106. บัณฑิต ไกรวิจิตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
107. บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
108. บาหยัน อิ่มสำราญ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
109. บุญเลิศ วิเศษปรีชา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
110. บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
111. บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
112. บูฆอรี ยีหมะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
113. เบญจมาศ บุญฤทธิ์ นักศึกษาปริญญาเอก University of Aberdeen สหราชอาณาจักร
114. เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
115. ปฐม ตาคะนานันท์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
116. ปฐวี โชติอนันต์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
117. ประภาส ปิ่นตบแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
118. ปรัชญเกียรติ ว่าโร๊ะ นักวิชาการอิสระ
119. ปราโมทย์ ระวิน มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
120. ปริลักษณ์ กลิ่นช้าง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
121. ปวลักขิ์ สุรัสวดี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
122. ปวินท์ ระมิงค์วงศ์ มหาวิทยาลัยพะเยา
123. ปาวดี สีหาราช นักวิชาการอิสระ
124. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
125. ปิยะ เกิดลาภ National University of Singapore ประเทศสิงคโปร์
126. ปิยชาติ สึงตี สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
127. ปิยวรรณ ปิยะกาญจน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
128. เปรมสิรี ศักดิ์สูง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
129. พงศธร นัทธีประทุม คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
130. พงษ์ศักดิ์ รัตนวงศ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
131. พนิดา อนันตนาคม คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
132. พรใจ ลี่ทองอิน นักวิชาการอิสระ
133. พรชัย นาคสีทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
134. พรไทย ศิริสาธิตกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
135. พรพันธ์ เขมคุณาศัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
136. พรรณราย โอสถาภิรัตน์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
137. พฤกษพรรณ บรรเทาทุกข์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
138. พลอยใจ ปิ่นตบแต่ง นักศึกษาปริญญาเอก University of Sussex สหราชอาณาจักร
139. พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
140. พศุตม์ ลาศุขะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
141. พักตร์วิไล สหุนาฬุ นักกิจกรรมเยาวชนศรีขรภูมิ
142. พัชราภา ตันตราจิน คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
143. พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
144. พันธุ์พิพิธ พิพิธพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
145. พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
146. พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
147. พิพัฒน์ สุยะ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
148. เพ็ญศรี พานิช สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
149. เพ็ญสุภา สุขคตะ นักวิชาการอิสระ
150. แพร จิตติพลังศรี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
151. ไพรินทร์ กะทิพรมราช คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
152. ฟิตรา เจ๊ะโวะ London School of Economics and Political Science สหราชอาณาจักร
153. ภาสกร อินทุมาร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
154. มนตรา พงษ์นิล มหาวิทยาลัยพะเยา
155. มานะ ขุนวีช่วย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
156. มูหำหมัด สาแลบิง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
157. มูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
158. เมธาวี โหละสุต คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
159. ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
160. ยุภาพร ต๊ะรังษี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
161. เยาวนิจ กิตติธรกุล สถาบันทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
162. รชฎ สาตราวุธ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
163. รชฏ นุเสน มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
164. รพีพรรณ เจริญวงศ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
165. รัตนา โตสกุล ข้าราชการบำนาญ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
166. ราม ประสานศักดิ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
167. รุ่งทิพย์ จันทร์ธนะกุล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร
168. รุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช นักวิชาการอิสระ
169. รวิวรรณ รักถิ่นกำเนิด นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
170. ลลิตา หาญวงษ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
171. ลลิล ก่อวุฒิกุลรังษี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
172. วรรณภา ลีระศิริ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
173. วรวิทย์ เจริญเลิศ อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
174. วริณาฐ พิทักษ์วงศ์วาน สาขาวิชาศิลปศาตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาริราช
175. วริตตา ศรีรัตนา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
176. วสันต์ เหลืองประภัสร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
177. วาสนา ละอองปลิว วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
178. วิชัย แสงดาวฉาย นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
179. วิทยา อาภรณ์ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
180. วินัย ผลเจริญ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
181. วิภาวี พงษ์ปิ่น คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
182. วิริยะ สว่างโชติ นักวิชาการอิสระ
183. วิโรจน์ อาลี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
184. วิศิษย์ ปิ่นทองวิชัยกุล มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
185. วีรบูรณ์ วิสารทสกุล วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
186. วีรวัฒน์ ภัทรศักดิ์กำจร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
187. เวียงรัฐ เนติโพธิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
188. ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
189. ศรัญญู เทพสงเคราะห์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
190. ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา นักวิชาการอิสระ
191. ศักรินทร์ ณ น่าน คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 
192. ศิโรนี โต๊ะสัน นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
193. ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
194. ศุภกาญจน์ พงศ์ยี่หล้า คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
195. ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
196. สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
197. สมเกียรติ สาธิตพิฐกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
198. สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
199. สมฤทธิ์ ลือชัย นักวิชาการอิสระ
200. สมัชชา นิลปัทม์ คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
201. สมิทธิรักษ์ จันทรักษ์ นักวิชาการอิสระ
202. สรวิชญ์ ฤทธิจรูญโรจน์ นักวิชาการอิสระ
203. สรัช สินธุประมา นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
204. สถิตย์ ลีลาถาวรชัย นักศึกษาปริญญาเอก University of Florida 
205. สร้อยมาศ รุ่งมณี วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
206. สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระ
207. สัณห์ธวัช ธัญวงษ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
208. สามชาย ศรีสันต์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
209. สามารถ ทองเฝือ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
210. สายชล สัตยานุรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
211. สิงห์ สุวรรณกิจ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
212. สิทธิพล เครือรัฐติกาล วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
213. สิปปีย์ ชยานุสาสนี จันทร์ดอน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
214. สิริกร ทองมาตร นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
215. สิรีธร ถาวรวงศา นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
216. สุกัญญา สมไพบูลย์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
217. สุชาดา จักรพิสุทธิ์ สื่ออิสระ
218. สุชาติ เศรษฐมาลินี มหาวิทยาลัยพายัพ
219. สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
220. สุทธิพร บุญมาก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
221. สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี สื่ออิสระ
222. สุภาพร คชารัตน์ มหาวิทยาลัยมหิดล
223. สุรัช คมพจน์ สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
224. สุรินทร์ อ้นพรม คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
225. สุไรนี สายนุ้ย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
226. เสาวณีย์ แก้วจุลกาญจน์ นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
227. เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเลกซานเดอร์ ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
228. หทยา อนันต์สุชาติกุล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
229. อดิศร เกิดมงคล นักวิชาการอิสระ
230. อดิศร ศักดิ์สูง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
231. อนุพงษ์ จันทะแจ่ม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
232. อนุสรณ์ ชัยอักษรเวช สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
233. อนุสรณ์ ติปยานนท์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
234. อนุสรณ์ ธรรมใจ มูลนิธิปรีดี พนมยงค์ 
235. อภิชาต สถิตนิรามัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
236. อภิษฐา ดวงมณี นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
237. อมต จันทรังษี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
238. อรชา รักดี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
239. อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
240. อรรถพล อนันตวรสกุล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
241. อรศรี งามวิทยาพงศ์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
242. อรอนงค์ ทิพย์พิมล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
243. อรดี อินทร์คง นักศึกษาปริญญาเอก Cornell University, USA
244. อรุณี สัณฐิติวณิชย์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
245. อลงกรณ์ อรรคแสง วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
246. อสมา มังกรชัย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
247. อังกูร หงษ์คณานุเคราะห์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
248. อันธิฌา แสงชัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
249. อับดุลอาซิส อับดุลวาฮับ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
250. อาจิณโจนาธาน อาจิณกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
251. อาจินต์ ทองอยู่คง คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
252. อาทิตย์ ศรีจันทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
253. อาทิตย์ ทองอิน
254. อาภา หวังเกียรติ วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
255. อานันท์ กาญจนพันธุ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
256. อิสระ ชูศรี สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
257. อุเชนทร์ เชียงเสน สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
258. เอกชัย ไชยนุวัติ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
259. เอกพลณัฐ ณัฐพัทธนันท์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
260. เอกรินทร์ ต่วนศิริ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
261. เอกฤทัย ฉัตรชัยเดช คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
262. เอกสิทธิ์ หนุนภักดี คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
263. เอนก รักเงิน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา
264. โอฬาร ถิ่นบางเตียว คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
265. Rosenun Chesof University of Malaya ประเทศมาเลเซีย

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'เพื่อไทย' ชี้ คสช.-รัฐบาล หมดความชอบธรรม แนะคืนอำนาจให้แก่ประชาชนโดยเร็ว

Posted: 31 Jan 2018 10:19 PM PST

พรรคเพื่อไทย ออกแถลงการณ์ คสช.และรัฐบาล หมดความชอบธรรมที่จะเป็นรัฐบาลต่อไป พร้อมเรียกร้องให้คืนอำนาจให้แก่ประชาชนโดยเร็ว

1 ก.พ.2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ พรรคเพื่อไทย ออกแถลงการณ์เรื่อง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)และรัฐบาล หมดความชอบธรรมที่จะเป็นรัฐบาลต่อไป และเห็นว่า คสช. และรัฐบาล และแม่น้ำ 5 สาย เข้าข่ายสมคบคิดกัน เพื่อใช้กลไกทางอำนาจและกลไกตามรัฐธรรมนูญที่สร้างขึ้นเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันในการได้อยู่ในอำนาจต่อไป มีการโกงกฎหมายเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง และพวกพ้อง ผิดคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ต่อนานาชาติและประชาชน สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้ คสช. และรัฐบาลหมดความชอบธรรม และสี่ปีของการยึดอำนาจการปกครอง ได้พิสูจน์ให้คนไทยและสังคมโลกเห็นอีกครั้งแล้วว่า การรัฐประหารโดยล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย ไม่อาจแก้ไขปัญหาของประเทศได้ ในทางตรงกันข้ามกลับจะสร้างปัญหา และผลกระทบต่อประเทศในวงกว้าง 

"ทางออกที่ดีที่สุดของ คสช.ในขณะนี้ คือ การคืนอำนาจให้แก่ประชาชนโดยเร็ว" แถลงพรรคเพื่อไทย ระบุตอนท้าย

รายละเอียดคำแถลงมีดังนี้ : 

คำแถลงพรรคเพื่อไทย

เรื่อง คสช.และรัฐบาล หมดความชอบธรรมที่จะเป็นรัฐบาลต่อไป

ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศ ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และได้จัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศ แต่ คสช. และรัฐบาลไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาให้กับประเทศและประชาชนได้ แต่กลับสร้างปัญหาสำคัญที่จะเป็นวิกฤตของชาติในอนาคตต่อไป ซึ่งอาจสรุปได้ ดังนี้

1. ได้ใช้อำนาจของหัวหน้า คสช. ออกประกาศและคำสั่ง จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน สื่อมวลชน และนักวิชาการ แม้เมื่อมีรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ก็ยังคงคำสั่งและประกาศที่ละเมิดสิทธิ เสรีภาพของประชาชนอย่างต่อเนื่องตลอดมา ซึ่งนับเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง

2. มีการแต่งตั้งคนของตนเอง เพื่อทำหน้าที่ในองค์กรอิสระและองค์กรต่างๆ ซึ่งทำให้องค์กรต่างๆ ขาดความเป็นอิสระในการทำหน้าที่ และถูกชี้นำโดย คสช. และหัวหน้า คสช.ได้

3. ใช้กลไกที่ตนเองสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนการสืบทอดอำนาจ ไม่ว่าจะเป็นเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภามาเป็นฐานอำนาจแก่ตนเองในอนาคต, การเปลี่ยนระบบการเลือกตั้ง, การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี, การเขียน พ.ร.ป. พรรคการเมือง และใช้อำนาจตามมาตรา 44 เพื่อสร้างความอ่อนแอให้พรรคการเมืองเดิม และสร้างความได้เปรียบแก่พรรคการเมืองใหม่ (ซึ่งอาจมองได้ว่าเป็นพรรคที่จะสนับสนุนให้ตนเองได้สืบทอดอำนาจต่อไป)

4. ไม่เคารพและยึดมั่นในรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุด ด้วยการออกคำสั่งที่ไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของตน แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายพรรคการเมือง นอกจากนั้น ล่าสุดผู้นำ คสช. (พลเอกประวิตร) ได้ออกมาข่มขู่ผู้ที่จะออกมาเรียกร้องให้คืนสิทธิ เสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตย โดยอ้างว่าขณะนี้ตนเป็นรัฎฐาธิปัตย์ ซึ่งเป็นถ้อยคำที่แสดงให้เห็นว่าไม่ยอมรับในการมีรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดในขณะนี้

5. ไม่สามารถแก้ปัญหาสำคัญของประเทศไทย 

5.1 ล้มเหลวในการสร้างความสามัคคีปรองดอง เนื่องจาก คสช.ได้เข้ามาเป็นคู่ขัดแย้งเสียเอง และกระบวนการสร้างความปรองดองผิดพลาด นำแต่พวกพ้องและเครือข่ายของตนเข้ามาเป็นกรรมการ ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนและส่วนอื่นๆ

5.2 ไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมได้ ปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำยังคงเป็นอยู่อย่างต่อเนื่อง ประชาชนยังขาดกำลังซื้อ แม้จะทุ่มเทงบประมาณไปนับแสนล้านบาท / ปัญหาสังคม การค้ามนุษย์และยาเสพติด รวมถึงปัญหาอาชญากรรมยังคงอยู่อย่างต่อเนื่องและรุนแรงขึ้น

5.3 ไม่สามารถแก้ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นได้ ตั้งแต่เริ่มเข้ามาบริหารประเทศก็มีข่าวเกี่ยวข้องกับการทุจริตอย่างต่อเนื่อง ในฟากฝั่งคนในรัฐบาล ทั้งเรื่องการซื้อไมค์ราคาแพงใช้ในห้องประชุม ครม., อุทยานราชภักดิ์, การจัดซื้อเรือดำน้ำ, ข่าวการทุจริตในโครงการ 9101, การทุจริตใน อผศ., การอนุญาตให้เอกชนใช้พื้นป่าโดยผิดกฎหมาย เป็นต้น เรื่องต่างๆ ดังกล่าว รวมถึงมีกรณีแกนนำ คสช.บางส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่อง GT200 และ เรือเหาะ ก็ไม่มีการตรวจสอบอย่างจริงจัง บางเรื่องก็ทำให้จบไปแบบง่ายๆ ล่าสุด เรื่องการครอบครองนาฬิการาคาแพงของพลเอกประวิตร ฯ กว่า 25 เรือนที่พลเอกประยุทธ์ ฯ ก็บอกปัดว่าเป็นเรื่องส่วนตัว นอกจากนั้น ยังมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกันคือ ใช้อำนาจแทรกแซงการแต่งตั้งกรรมการในองค์กรอิสระบางองค์กร แม้ว่าจะมีปัญหาขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้าม โดยกรรมการบางคนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้นำ คสช. ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างกลไกปกป้องพวกพ้องและเครือข่ายของกลุ่มตน ทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจในหมู่ประชาชนอย่างกว้างขวาง

5.4 ปัญหาวิกฤตผู้นำ เห็นว่า หัวหน้า คสช. และนายกรัฐมนตรีมีปัญหาวิกฤตศรัทธาที่ไม่สามารถจะนำพาประเทศต่อไปได้ เนื่องจากเป็นผู้ไม่รักษาคำพูดในเรื่องต่างๆ ดังเช่น

(1)เริ่มตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2556 ก่อนเหตุการณ์รัฐประหาร พลเอกประยุทธ์ได้กล่าวยืนยันว่าทหารจะไม่ปฏิวัติ โดยกล่าวว่า ตนและกองทัพต้องอดทนแล้วหาทางออก หาข้อสรุปที่สงบ สันติ เพื่อยุติปัญหา หากทหารปฏิวัติอีกจะเป็นการแก้ปัญหาผิดทาง ปัญหาอื่นๆ จะเกิดขึ้นอีก แล้วประเทศไทยจะยืนอยู่ในสังคมโลกได้อย่างไร แต่พลเอกประยุทธ์ก็ทำการรัฐประหาร เมื่อ 22 พฤษภาคม 2557

(2)เกี่ยวกับการเลือกตั้ง เห็นว่า คสช. และรัฐบาล ไม่มีความจริงใจที่จะคืนอำนาจให้กับประชาชนเพื่อจัดการเลือกตั้ง เริ่มจากจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ "ฉบับนายบวรศักดิ์" และถูกคว่ำโดย สปช. อันเป็นหนึ่งในแม่น้ำทั้ง 5 สาย / กำหนดเงื่อนไขและจัดทำพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ใช้เวลายกร่างยาวนาน แสดงให้เห็นเจตนาของการยืดเวลาเพื่ออยู่ในอำนาจชัดเจน

ที่สำคัญ หัวหน้า คสช. เอง ก็ได้ให้สัญญากับประชาชนและนานาชาติว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้ง แต่ก็ได้ผิดคำพูดมาโดยตลอด ล่าสุดให้สัญญาว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งภายในเดือนพฤศจิกายน 2561 แต่กลับมีการยืดเวลาบังคับใช้กฎหมายออกไปอีก 90 วัน ซึ่งเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า การเลือกตั้งจะเลื่อนไป และคงไม่เกิดขึ้นก่อนเดือนกุมภาพันธ์ 2562 หรืออาจจะไม่มีในปี 2562 ด้วยซ้ำ การที่มีการเลื่อนการเลือกตั้งไปเรื่อยๆ ก่อให้เกิดวิกฤตศรัทธาต่อหัวหน้า คสช. อย่างรุนแรง

(3)การจำนนต่อหลักฐานว่าตนเองเป็นนักการเมือง นับตั้งแต่รัฐประหารเป็นต้นมา พลเอกประยุทธ์ได้ปฏิเสธมาอย่างต่อเนื่องถึง 9 ครั้งว่า ตนไม่ได้เป็นนักการเมือง ขณะเดียวกันก็โจมตีใส่ร้ายนักการเมืองต่างๆ นานา แต่เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2561 กลับเพิ่งยอมรับว่าตนเองเป็นนักการเมือง และปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ เพื่อหวังกลับคืนสู่อำนาจอีกครั้ง

จากข้อเท็จจริงและพฤติกรรมตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น พรรคเพื่อไทย จึงเห็นว่า คสช. และรัฐบาล และแม่น้ำ 5 สาย เข้าข่ายสมคบคิดกัน เพื่อใช้กลไกทางอำนาจและกลไกตามรัฐธรรมนูญที่สร้างขึ้นเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันในการได้อยู่ในอำนาจต่อไป มีการโกงกฎหมายเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง และพวกพ้อง ผิดคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ต่อนานาชาติและประชาชน สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้ คสช. และรัฐบาลหมดความชอบธรรม และสี่ปีของการยึดอำนาจการปกครอง ได้พิสูจน์ให้คนไทยและสังคมโลกเห็นอีกครั้งแล้วว่า การรัฐประหารโดยล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย ไม่อาจแก้ไขปัญหาของประเทศได้ ในทางตรงกันข้ามกลับจะสร้างปัญหา และผลกระทบต่อประเทศในวงกว้าง ดังนั้น ทางออกที่ดีที่สุดของ คสช.ในขณะนี้ คือ การคืนอำนาจให้แก่ประชาชนโดยเร็ว

จึงแถลงมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน

พรรคเพื่อไทย

1 กุมภาพันธ์ 2561

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ช้าไปไม่ทัน ศาลกัมพูชาไม่ให้ประกันตัวคนทำหนังชาวออสเตรเลีย ก่อนไปถึงศาล

Posted: 31 Jan 2018 08:51 PM PST

เจมส์ ริคเก็ตสัน ถูกทางการกัมพูชาตั้งข้อหา 'จารกรรม' หลังจากที่เขาใช้โดรนบินถ่ายภาพการชุมนุมของพรรคฝ่ายค้าน โดยเขาถูกจับกุมและคุมขังตั้งแต่กลางปี 2560 ล่าสุดในขณะที่เขานั่งรถตู้จากเรือนจำจะไปฟังการพิจารณาว่าจะได้ประกันตัวหรือไม่ ปรากฏว่าศาลสูงสุดของกัมพูชาตัดสินไม่ให้ประกันตัว ทำให้เมื่อรถตู้ไปถึง ก็กลับรถออกจากศาลทันที

1 ก.พ. 2561 ศาลสูงสุดของกัมพูชาปฏิเสธไม่ให้เจมส์ ริคเก็ตสัน คนทำภาพยนตร์ชาวออสเตรเลียได้รับการประกันตัว ขณะที่เขารอถูกพิจารณาคดีจากข้อกล่าวหา "จารกรรม" โดยมีการตัดสินในเรื่องนี้ก่อนที่ริคเก็ตสันจะเดินทางมาถึงศาลเสียอีก ตามที่สื่อพนมเปญโพสต์รายงานว่าเมื่อรถตู้นำตัวริคเก็ตสันมาถึงศาล ก็วกรถกลับออกไปทันที

เพียงยกเฮียบ ทนายความของริคเก็ตสันกล่าวว่า สาเหตุที่ศาลสูงสุดของกัมพูชาปฏิเสธไม่ยอมให้ริคเก็ตสันได้ประกันตัวเพราะศาลชั้นต้นยังสืบสวนไม่เสร็จ ซึ่งรวมถึงการตรวจค้นอีเมลและกล้องของริคเก็ตสันด้วย

ริคเก็ตสันถูกจับกุมเมื่อเดือน มิ.ย. 2560 หลังจากที่เขาใช้โดรนถ่ายภาพบินอยู่เหนือการเดินขบวนของพรรคฝ่ายค้าน เขาถูกกล่าวหาว่าทำการเก็บข้อมูลในทางที่จะทำลายความมั่นคงของกัมพูชาโดยมีเจตนาส่งผ่านข้อมูลไปให้กับต่างชาติ ถ้าหากถูกตัดสินว่ามีความผิดเขาอาจจะต้องโทษจำคุกสูงสุด 10 ปี

อย่างไรก็ตามริคเก็ตสันก็ถูกคุมขังไปแล้วตลอดช่วง 7 เดือนที่ผ่านมาในเรือนจำเพรย์ซอร์ที่มีสภาพแออัดยัดเยียดจนครอบครัวของริคเก็ตสันเป็นห่วงเรื่องสุขภาพความเป็นอยู่ของเขา เจส ลูกชายของริคเก็ตสัน กล่าวว่าครอบครัวของพวกเขาผิดหวังอย่างมากกับการตัดสินในวันนี้ และจากการที่ริคเก็ตสันอายุเกือบจะ 70 ปี แล้วพวกเขาก็เป็นห่วงสุขภาพของเขาในช่วงฤดูร้อนที่กำลังจะมาถึงนี้

อเล็กซานดรา เคนเน็ต คู่รักของเจสไปอยู่ที่ศาลเช่นเดียวกัน เธอบอกว่าทางครอบครัวผิดหวังที่มีการปฏิเสธไม่ให้ประกันตัวโดยที่ไม่มีเจมส์อยู่ในศาลด้วย และหวังว่าการดำเนินคดีจะเป็นไปอย่างโปร่งใสมากกว่านี้ในอนาคต

ริคเก็ตสันและทนายความของเขาโต้แย้งว่า การกล่าวหาเขาเรื่องจารกรรมเป็นคดีที่มีแรงจูงใจทางการเมืองเนื่องจากมีการมองว่าเขามีส่วนเกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองฝ่ายค้าน นอกจากนี้ริคเก็ตสันยังมีความขัดแย้งกับเอ็นจีโอคุ้มครองเด็กที่กล่าวหาว่าริคเก็ตสันทำให้พวกเขาเสื่อมเสียชื่อเสียง

ริคเก็ตสันเป็นคนที่มีพื้นเพมาจากออสเตรเลีย เขาได้รับการสนับสนุนมากขึ้นหลังจากที่นักข่าวอัลจาซีรา ปีเตอร์ เกรสเต ผู้ที่เคยถูกคุมขังในอียิปต์ด้วยข้อกล่าวหาตีขลุมออกมาพูดถึงกรณีที่ริคเก็ตสันถูกจับกุม  ในการล่ารายชื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวเขา มีผู้ร่วมลงชื่อมากกว่า 66,000 ชื่อ

ในกัมพูชามีการพยายามดำเนินคดีกับพรรคฝ่ายค้านหนักขึ้นในช่วงปีที่แล้ว โดยที่ศาลสูงสุดของกัมพูชาสั่งยุบพรรคไปเมื่อเดือน พ.ย. 2560 โดยอ้างว่าพวกเขาจะปฏิวัติโดยมีการหนุนหลังจากต่างชาติ รวมถึงมีการจับกุมตัวเข็ม โสกา ผู้นำพรรคข้อหา "กบฏ" ในเดือน ก.ย.

เจสบอกว่าเจมส์เป็นคนที่จิตใจดีและซื่อสัตย์ อีกทั้งยังทำงานเป็นอาสาสมัครที่ลงทั้งเงินทั้งเวลาไปกับการช่วยเหลือครอบครัวที่ยากจนในกัมพูชาตลอดช่วง 22 ปีที่ผ่านมา รวมถึงเชื่อว่าเจมส์ไม่ได้ทำความผิดข้อหาจารกรรมหรือข้อหาอื่นใด

เรียบเรียงจาก

Updated: Jailed Australian filmmaker James Ricketson denied bail, The Phnom Penh Post, 30-01-2018
http://www.phnompenhpost.com/national/updated-jailed-australian-filmmaker-james-ricketson-denied-bail

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อานนท์แถลงการณ์: เชิญสุนัขรับใช้เผด็จการมาจับ

Posted: 31 Jan 2018 05:21 PM PST


ภาพ จิตร ภูมิศักดิ์ ที่อานนท์ นำภา ใช้เป็นภาพประจำตัวในเฟสบุ๊ค

แถลงการณ์ในนามส่วนตัวของผม

เดิม ก่อนที่จะมีข่าวตำรวจทหารไปแจ้งจับชาวบ้าน 39 คนตามที่ทราบกันวัน ในวันที่ 2 ผมติดว่าความที่ศาลทหาร ผมจะส่งทนายความไปขอเลื่อนการเข้ารับทราบข้อกล่าวหา กับ พนักงานสอบสวน ไปเป็นวันที่ผมไม่มีขึ้นศาลคือเดือนมีนาคม แต่จากสถานการณ์ตอนนี้เป็นที่เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่า บรรดาสุนัขรับใช้เผด็จการจงใจใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการสกัดกั้นการชุมนุมเพื่อยุติการสืบทอดอำนาจของเผด็จการทหารในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ที่จะถึง

การแจ้งความจับชาวบ้าน 39 คน จากการเรียกร้องการเลือกตั้ง คือการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมืออย่างต่ำทรามและผมไม่อาจยอมรับได้

ผมขอประกาศไม่ยอมรับและไม่ร่วมสังฆกรรมต่อกระบวนการอันอัปยศในครั้งนี้ ผมยืนยันว่าการชุมนุมและการแสดงออกทางการเมืองของผมและเพื่อนเป็นไปโดยสุจริต และมีเจตจำนงอันแน่วแน่ที่จะเรียกร้องให้ประเทศกลับมาปกครองในระบอบประชาธิปไตย

หากบรรดาสุนัขรับใช้เผด็จการจะจับผม เชิญมาจับผมได้ทุกเมื่อ ผมจะไม่หลบหนีไปไหน และจะทำหน้าที่ทนายความให้แก่ประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจนวินาทีสุดท้าย

เชิญมาจับผม

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ผมเป็นทนายความในคดีเดินเฉยๆ ของพ่อน้องเฌอ ที่ศาลทหารกรุงเทพ

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ ผมเป็นทนายความคดี บก.ลายจุด ม.116 ที่ศาลบทหารกรุงเทพ

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ ผมเป็นทนายในคดีโปรยใบปลิวต้านรัฐประหาร ที่ศาลทหารชลบุรี

วันที่ 7- 8 กุมภาพันธ์ ผมจะเข้าเยี่ยมเพื่อนนักโทษการเมืองที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ ผมเป็นทนายความคดีเดินเฉยๆ ของพ่อน้องเฌอ ที่ศาลศาลทหารกรุงเทพ

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ ผมจะไปร่วมชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน

วันที่ 12 - 28 กุมภาพันธ์ ผมเป็นทนายความให้ไผ่ ดาวดิน ที่ศาลจังหวัดภูเขียว

สุดท้าย ผมฝากขอโทษไปยังพี่ๆตุลาการทั้งศาลทหารและศาลยุติธรรม หากจะทำให้ท่านขัดข้องหมองใจในการทำหน้าที่ของผม ซึ่งผมไม่เคยมีแม้แต่ครั้งเดียวที่จะไปก้าวล่วงในการทำหน้าที่ หากแต่ผมทำไปเพื่อให้ "เรา" ในฐานะนักกฎหมายได้ตระหนักถึงสิทธิ และหน้าที่ของวิชาชีพ และเพื่อรักษาสิทธิตามกฎหมายของจำเลย

ฝากขอบคุณถึงเพื่อนที่ร่วมต่อสู้กันมาทุกคน ผมรู้สึกอบอุ่นทุกวันที่เราเป็นเพื่อนกัน

เชื่อมั่นและศรัทธา

อานนท์ นำภา
31 มกราคม 2561

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น