โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

สื่อมวลชนกับกระบวนการสันติภาพ: ความย้อนแย้งที่มีทางออก

Posted: 20 Jun 2013 02:29 PM PDT

ทบทวนความจริงพื้นฐานเพื่อหาทางออกหรือข้อเสนอแนะของบทบาทสื่อในกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้

การจะเริ่มต้นวิเคราะห์วิจารณ์ถึงสถานการณ์ปัจจุบันของบทบาทสื่อในการรายงานข่าวเพื่อสันติภาพ เราน่าจะทบทวนกลับไปสู่ความจริงพื้นฐานที่น่าจะเป็นฐานของการร่วมกันคุยและหาทางออกหรือข้อเสนอแนะของบทบาทสื่อในกระบวนการสันติภาพได้บ้าง ความจริงพื้นฐานที่กล่าวนั้น ก็คือประเด็นของความย้อนแย้งระหว่างธรรมชาติของ "กระบวนการสันติภาพ" กับ "การทำงานของวิชาชีพสื่อ" ซึ่งพอจะสรุปได้หลัก ๆ ดังนี้
 
ประเด็นแรก กระบวนการสันติภาพนั้นซับซ้อน แต่การทำงานของสื่อยึดความกระชับเข้าใจง่าย
 
ประเด็นที่สอง กระบวนการสันติภาพนั้นใช้เวลายาวนาน ทั้งในการเริ่มต้นและพัฒนาไปสู่เป้าหมาย แต่การทำงานของสื่อนั้นเน้นความรวดเร็วและทันท่วงที
 
ประเด็นที่สาม กระบวนการสันติภาพนั้นเต็มไปด้วยข้อมูลที่ไม่ชัดเจนและน่าเบื่อหน่าย แต่การทำงานของสื่อนั้นต้องการความตื่นเต้นเร้าใจ ดึงดูดความสนใจผู้รับสาร
 
ประเด็นที่สี่ กระบวนการสันติภาพที่จะประสบความสำเร็จนั้น จะนำไปสู่การคลี่คลายความตึงเครียดและตื่นเต้นของเหตุการณ์ความขัดแย้งรุนแรง แต่การทำงานของสื่อต้องการขายความขัดแย้งรุนแรง
 
และประเด็นสุดท้าย เราพบว่าในหลาย ๆ ขั้นตอนของกระบวนการสันติภาพต้องดำเนินอยู่ในที่ลับและเป็นการถกเถียงของกลุ่มเฉพาะ แต่การทำงานของสื่อเน้นที่จะให้ได้มาซึ่งข้อมูลและช่วงชิงพื้นที่ในการเผยแพร่ให้เร็วที่สุด
 
จากประเด็นเรื่องของความย้อนแย้งที่เป็นความจริงพื้นฐานและธรรมชาติของสองสิ่งที่ว่านั้น เป็นที่มาของสถานการณ์ปัญหาของการรายงานข่าวกระบวนการสันติภาพในสื่ออยู่ ณ ขณะนี้ ไม่เพียงแต่สื่อไทย แต่เป็นสื่อทั่วโลก แม้ว่าในวงการสื่อเมืองไทยในขณะนี้มีการปรับตัวหันมาทบทวนบทบาทในประเด็นนี้กันบ้างแล้ว รวมทั้งในการรายงานข่าวบางชิ้น บางช่วงเวลา ของสื่อมวลชนบางกลุ่มบางคนก็เห็นความพยายามในการที่จะทลายเส้นแบ่งของความย้อนแย้งเหล่านั้นอยู่บ้าง แต่อาจจะเป็นความพยายามเฉพาะที่เป็นเรื่องของปัจเจก หรือจากกลุ่มพลังผลักดันภายนอกองค์กรสื่อ หรือกลุ่มองค์กรวิชาชีพทางเลือกมากกว่าที่จะเป็นพลังผลักดันภายในของกลุ่มองค์กรวิชาชีพสื่อกระแสหลัก เวทีในวันนี้ก็ดูเหมือนจะเป็นจุดเริ่มแบบนั้น
 
จากการศึกษาค้นคว้างานวิจัยและทบทวนบทเรียนจากการศึกษาบทบาทของสื่อในกระบวนการสันติภาพในที่ต่าง ๆ ระดับนานาชาติ สิ่งที่เกิดขึ้นก็สามารถนำมาอธิบายได้กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมสื่อของเมืองไทยได้ไม่แตกต่างกันเลย นั่นคือ จากความย้อนแย้งต่าง ๆ ดังกล่าวนั้น ได้ก่อให้เกิด 3 ปัญหาสำคัญในการทำงานของสื่อในกระบวนการสันติภาพ คือ
 
1. การเน้นย้ำไปที่ตัว "เหตุการณ์" มากกว่า "กระบวนการ" ดังที่กล่าวว่ากระบวนสันติภาพนั้นใช้เวลาในการพัฒนาการไปสู่แต่ละเป้าหมายหรือแต่ละข้อตกลง แต่การทำงานของสื่อนั้นรอไม่ได้หรือไม่ต้องการรอ สื่อต้องการข่าวทันทีจึงพยายามหยิบเหตุการณ์ย่อย ๆ มาเป็นข่าว ซึ่งบางเหตุการณ์ก็กลายเป็นปัญหาและอุปสรรคของกระบวนการสันติภาพ และอาจก่อให้สาธารณชนเกิดความรู้สึกและตีความไปต่าง ๆ นานา ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงเหตุการณ์เหล่านั้นมันอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา ยังไม่มีบทสรุปท้ายสุดหรืออาจมีการปรับเปลี่ยนไปเองเมื่อถึงช่วงการเจรจาจุดหนึ่ง คำถามแบบเน้นผลระยะสั้นที่ติดอยู่ในห้วงคิดของสื่อส่วนใหญ่ตลอดเวลาในการรายงานข่าวกระบวนการสันติภาพ ซึ่งสะท้อนผ่านชิ้นงานข่าวที่เผยแพร่ต่อสาธารณะก็คือ "เวทีครั้งนี้สำเร็จหรือล้มเหลว" หรือว่า "กระบวนพูดคุยครั้งนี้จะจบเป็นครั้งสุดท้ายหรือว่าจะมีต่อไปอีก"
 
2. การที่สื่อยังยึดติดอยู่กับคุณค่าของข่าวแบบดั้งเดิม คือต้องหาว่าจุดผิดปกติของกระบวนการอยู่ตรงไหน ความเร้าอารมณ์ของตัวบุคคล หรือข้อความ หรือการพยายามอธิบายตัวความขัดแย้งว่าใครดูไม่เต็มใจหรือเต็มใจ ประเด็นขัดแย้งทางการเมืองภายใน ระหว่างประเทศเป็นอย่างไร การตีคุณค่าของฝ่ายที่เกี่ยวข้องบางฝ่ายว่าเป็นผู้ก่อการร้าย จนเกิดคำถามสะท้อนจากสาธารณะว่าทำไมเราต้องไปให้ค่ากับโจรก่อการร้าย
 
3. การที่สื่อเป็นอุปสรรคในกระบวนการสันติภาพเสียเอง เพราะในความเป็นจริงของกระบวนการสันติภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขั้นตอนการเจรจาก็คือ มันควรเป็นกระบวนการที่เป็นความลับและดำเนินไปโดยที่ไม่มีปัจจัยภายนอกอื่น ๆ เข้ามาทำให้เสียกระบวน การนำเสนอข้อเรียกร้องข้อตกลงบางอย่างที่ยังไม่ถึงที่สุด ทำให้ภาพของการ "ยอมแพ้" ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งปรากฏต่อสาธารณะ ซึ่งเป็นอุปสรรคใหญ่หลวงต่อกระบวนการสันติภาพ ทำให้สาธารณชนต่อต้านกระบวนการสันติภาพ แทนที่ฝ่ายผู้แทนการพูดคุยจะใช้เวลาหรือหากลยุทธ์ในการไปถกเถียงกันเองก็กลับต้องมาชี้แจงและเจรจากับสาธารณชนแทน นี่เป็นผลกระทบทางลบที่เกิดจากสื่อหรือเราจะกล่าวว่ามันคือ spoiler effect
 
ท่ามกลางสภาพการณ์ความย้อนแย้ง และสภาพปัญหาสำคัญต่าง ๆ ของบทบาทสื่อที่เราพบนั้น น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่เราได้หลับไปทบทวนกันว่า เราควรจะหาทางออกอย่างไรเพื่อ เป็นข้อเสนอต่อสื่อในกระบวนการสันติภาพเพื่อให้สื่อได้ก้าวข้ามและเอาชนะกับความย้อนแย้งเหล่านั้น ในที่นี้ เป็นข้อเสนอในเชิงนโยบายมี 2 ประเด็นหลัก ดังนี้
 
1. บทบาทของสื่อเพื่อกระบวนการสันติภาพนั้น ควรจะเป็นบทบาทแห่งความร่วมมือ ทั้งความร่วมมือระหว่างองค์กรสื่อด้วยกัน องค์กรสื่อกับภาคองค์กรที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ และองค์กรสื่อกับภาคส่วนสาธารณะ ซึ่งอาจผ่านช่องทางของการเคลื่อนไหวของกลุ่มประชาสังคมกลุ่มต่าง ๆ
 
2. สื่อต้องมีกระบวนการออกแบบและจัดการเนื้อหาเกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพในทุกขั้นตอน เช่น ต้องมีเซกชั่นหรือโต๊ะเฉพาะกิจที่ดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ เพราะการจะสร้างสันติภาพนั้นไม่ง่ายดาย และไม่มีใครสามารถปฏิเสธได้ว่าสันติภาพไม่จำเป็น ดังนั้น หากสื่อมีเป้าหมายชัดว่าต้องการให้ "สันติภาพ" เป็น "ปลายทาง" ของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ทุก ๆ ขั้นตอนจึงต้องมีการออกแบบและจัดการที่ชัดเจนเป็นระบบ นี่เป็นบทบาทใหม่ของสื่อในการสร้างสันติภาพที่เราอาจเรียกว่าเป็น "Advocacy journalism" หรือวารสารศาสตร์เชิงหนุนเสริม นี่เป็นการท้าทายต่อการปฏิรูปบทบาทของสื่อครั้งสำคัญ เป็นบทบาทของของสื่อในกระบวนการสันติภาพที่ต้องแตกต่างไปจากบทบาทเดิม ๆ ที่เคยมี
 
ทั้งนี้ ในส่วนของรายละเอียดต่าง ๆ ที่เป็นแนวปฏิบัติการรายงานข่าวต่าง ๆ นั้น น่าจะเป็นประเด็นที่หลายท่านได้เคยนำเสนอกันมาแล้วในช่วงก่อนหน้านี้ ที่เรายังมุ่งเน้นไปที่บทบาทการรายงานข่าวความรุนแรง หรือความขัดแย้ง ซึ่งก็สามารถใช้หลักการเดียวกันได้ในการรายงานข่าวกระบวนการสันติภาพ เนื่องจากถ้าจะพิจารณาก็เป็นการทำบทบาทของความเป็นสื่อเพื่อสันติภาพ หรือ peace journalism เช่นเดียวกัน เพียงแต่เป็นบทบาทในแต่ละห้วงเวลาของกระบวนการเท่านั้นเอง นั้นคือ บทบาทก่อนกระบวนการสันติภาพ ซึ่งเป็นเรื่องของการเน้นไปที่การให้ไกด์ไลน์ว่าสื่อควรต้องนำเสนอความรุนแรงอย่างไร ให้คนเห็นภาพรวมของเหตุการณ์ เห็นแง่มุมอื่น ๆ เห็นความต้องการและการเรียกร้องที่ซ่อนอยู่ เห็นทางออก เห็นว่ามันมีแสงสว่างอยู่ที่ปลายอุโมงค์ ส่วนในขั้นตอนนี้ก็เป็นการตอกย้ำบทบาทของการมี "สันติภาพ" เป็นเป้าหมาย ทำอย่างไรให้สื่อเป็นกลไกหลักในการสร้างให้สาธารณะหนุนนำและอดทนกับกระบวนการสันติภาพที่มันใช้เนิ่นนาน ซับซ้อน และเข้าใจยากเช่นนี้ให้ได้
 
 
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ถกสังคมอีสาน ผ่าน ‘เพลงกุลา’ ในมุมมองคนรุ่นใหม่

Posted: 20 Jun 2013 01:00 PM PDT

คนรุ่นใหม่อีสานจัดงาน "Music Society มองสังคมผ่านเพลง" ใช้เพลงนำร่องในการสนทนา เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนในการมองบริบทสังคมอีสานในอดีต เชื่องโยงสู่สังคมปัจจุบัน และทำนายอนาคต

 
วันที่ 20 มิถุนายน 2556 กลุ่มแว่นขยาย ร่วมกับคนรุ่นใหม่ นักศึกษากิจกรรม และนักพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี จัดงาน "Music Society มองสังคมผ่านเพลง" ณ ลานหน้าฟรีดอมโซน อุบลราชธานี โดยนำผลงานเพลงกุลา ของศิลปินวงคาราวาน เป็นเพลงนำร่องในการสนทนา เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนในการมองบริบทสังคมอีสานในอดีต เชื่องโยงสู่สังคมปัจจุบัน และทำนายบริบทสังคมอีสานในอนาคตว่าจะเป็นไปอย่างไร
 
เริ่มต้นกิจกรรมโดยนายนิคม ศิริบูรณ์ ตัวแทนกลุ่มแว่นขยาย กล่าวต้อนรับผู้ที่เข้าร่วมและกล่าวถึงบริบทสังคมอีสานในอีตที่มีพื้นที่ซึ่งถูกเรียกว่าทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นพื้นที่ซึ่งมีความแห้งแล้ว การทำการเกษตรมีความลำบาก หลังจากนั้นนายเจนณรงค์ วงษ์จิตร ได้อ่านบทกวี อีศาน ของนายผี เป็นบทกวีที่สะท้อนความเป็นสังคมอีสานในอดีต
 
นายอมพร วาภพ ผู้เข้าร่วมกล่าวว่า เนื้อหาของเพลงกุลาเป็นบทเพลงที่ถูกเขียนขึ้นลักษณะกวี ฟังแล้วรู้สึกสะท้อนถึงสังคมในอดีที่ต้องทนรับความยากลำบากจากการอดอยาก การเขียนเพลงในยุคนั้นเป็นไปในลักษณะกิจกรรมที่ทำให้คนที่มีแนวคิดเหมือนกันได้มาพบปะแลกเปลี่ยนกัน ซึ่งเพลงลักษณะนี้คนรุ่นใหม่อาจฟังและใช้เป็นแรงบันดาลใจในการทำงานด้านการอาสาพัฒนา
 
"หากพูดถึงอีสานก็ไม่แน่ใจว่ามันเป็นการสร้างภาพของอีสานจนเป็นเชิงสัญลักษณ์ ที่ทำให้คนที่ไม่ใช่อีสานมองภาพอีสานว่าเป็นพื้นที่แห้งแล้ง เหล่านี้เป็นสิ่งที่จะนำมาซึ่งผลประโยชน์ทางการเมืองด้วยหรือไม่" นายอมพรตั้งคำถาม
 
นายวิทยากร โสวัตร ผู้เข้าร่วมกล่าวถึงวิถีชีวิตของคนในยุคนั้นว่า คนกุลาเป็นกลุ่มคนที่เดินทางย้ายถิ่นฐานเพื่อหาทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ถ้าถามว่าทุ่งกุลาอยู่พื้นที่ใดก็อาจตอบไม่ได้ หลายคนเข้าใจผิดว่าทุ่งกุลาเป็นพื้นที่แห้งแล้ง โดยความจริงแล้วบริเวณทุ่งกุลาเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ คนที่อาศัยบริเวณทุ่งกุลาไม่เคยได้อพยพถิ่นฐานเข้าในเมืองหลวง แต่ภายหลังทุ่งกุลาถูกตัดผ่านด้วยถนน 2 เส้นทำให้พื้นที่เริ่มแตกแยกส่วนออก ซึ่งไม่ทราบว่าโครงการในยุคนั้นหวังดีหรือหวังร้ายกับคนที่อาศัยอยู่บริเวณทุ่งกุลา
 
ส่วนนายยศพล เกิดวิบูลย์ ผู้เข้าร่วมกล่าวว่า บทเพลงดังกล่าวมีเนื้อหาที่พยายามสะท้อนถึงสังคมอีสานในอดีต เนื้อหาที่ต้องการสื่อให้เห็นภาพสังคมอีสานที่ทนทุกข์กับความยากลำบาก
 
"อยากเห็นบทเพลงสมัยนี้เชื่อมโยงสภาพวัฒนธรรมและความเป็นอยู่ในสังคมชนบท อยากเห็นศิลปินยุคใหม่เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมและกระทบกับชุมชน บทกวี ที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นสังคมนั้นจริงๆ เพราะจะทำให้คนรุ่นใหม่ได้มีโอกาสสัมผัสสภาพของสังคม" นายยศพลให้ความเห็น
 
นายกมล หอมกลิ่น ผู้เข้าร่วมกล่าวว่า บางครั้งการตั้งคำถามที่อยากกลับไปพัฒนาท้องถิ่นว่าจะทำอย่างไรอาจเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก เพราะถ้าไม่มีฐานะตำแหน่งทางสังคมก็ต้องเกิดคำถามกับคนในชุมชน ทำให้กลายเป็นการปะทะทางความคิด อย่างไรก็ตามในอนาคตคนรุ่นใหม่ที่มีความฝันอยากกลับไปพัฒนาบ้านเกิดก็สามารถทำได้ แต่ต้องมีความพร้อมก่อน เพราะอนาคตอีสานจะเป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่และมีความวุ่นวายมากขึ้น รวมทั้งสภาพของคนรุ่นใหม่ในอีสานที่มีการศึกษาระดับสูงขึ้น จะต้องมีระดับสามัญสำนึกที่สูงขึ้นด้วย เพราะหากไม่มีลูกหลานอีสานกลับบ้านเกิด ใช้ความรู้ที่ได้ศึกษาไปพัฒนาอนาคตอีสานก็จะลำบาก

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นายก อบจ.อุดรฯ พลิกลิ้น ร่วมบริษัทเหมืองจัดดูงานเหมืองโปแตชลาว

Posted: 20 Jun 2013 12:23 PM PDT

กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี ยื่นหนังสือนายอำเภอประจักษ์ศิลปาคม ร้องให้กำชับ อปท.-ผู้นำในพื้นที่วางตนเป็นกลาง เผย อบจ.อุดรธานี กระจายหนังสือเชิญดูงานเหมืองแร่โปแตช ในลาว โดยบริษัทเหมืองฯ หนุนงบ

 
วันนี้ (20 มิ.ย.56) เวลาประมาณ 09.30 น. ณ ที่ว่าการอำเภอประจักษ์ศิลปาคม จ.อุดรธานี ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี ประมาณ 100 คน ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ นายสมภพ ร่วมญาติ นายอำเภอประจักษ์ศิลปาคม จ.อุดรธานี เพื่อให้มีการกำชับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้นำในพื้นที่ ภายใต้การบังคับบัญชาให้วางตนเป็นกลางไม่กระทำการที่มีพฤติการณ์เป็นการสนับสนุนโครงการเหมืองแร่โปแตช อุดรธานี ซึ่งดำเนินการโดย บริษัท เอเชีย แปซิฟิค โปแตช คอร์ปอเรชั่น จำกัด
 
สืบเนื่องจาก องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี (อบจ.) ได้จัดทำโครงการจัดพาคณะผู้บริหารระดับจังหวัด ส่วนราชการ และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่โครงการเหมืองแร่โปแตชอุดรธานี ทั้งระดับอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน เพื่อเดินทางไปศึกษาดูงาน โครงการเหมืองแร่โปแตช ที่ประเทศลาว ในช่วงระหว่างวันที่ 11-12 กรกฎาคม 2556 โดยนายวิเชียร ขาวขำ นายก อบจ.อุดรธานี ได้ออกหนังสือเวียนให้ทางอำเภอประจักษ์ศิลปาคม และอำเภอเมืองอุดรธานี เชิญผู้นำ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เข้าร่วมด้วย
 
 
นางมณี บุญรอด แกนนำกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี กล่าวว่า กลุ่มอนุรักษ์ฯ เคยเข้าไปพูดคุยเรื่องการศึกษาดูงานเหมืองแร่โปแตชที่ประเทศลาว กับนายวิเชียร นายก อบจ.อุดรธานี ซึ่งนายวิเชียรก็ยืนยันว่า เป็นเรื่องของบริษัทจะจัดพาไปเอง อบจ. ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด แต่วันนี้ อบจ. อุดรธานี กลับมีโครงการที่จะพาไป พร้อมมีหนังสือเชิญชวนส่วนราชการ และผู้นำชุมชนให้เข้าร่วมด้วย โดยได้รับเงินจากบริษัท เอเชีย แปซิฟิค โปแตช คอร์ปอเรชั่น จำกัด (เอพีพีซี) จึงเป็นการตระบัดสัตย์ต่อประชาชน
 
"การศึกษาดูงานดังกล่าว ไม่มีความเป็นกลาง และไม่ได้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริงแก่ผู้เข้าร่วม เนื่องจากว่าบริษัทเอพีพีซี ซึ่งกำลังยื่นขอประทานบัตรทำเหมืองแร่โปแตชอุดรธานี เป็นผู้ให้งบประมาณทั้งหมด ขณะเดียวกันสถานการณ์ในพื้นที่ก็ยังคงมีปัญหาความขัดแย้งภายในชุมชนระหว่างชาวบ้านกับบริษัทเจ้าของโครงการฯ อยู่ตลอดเวลา" นางมณี กล่าว
 
ด้าน นายสมภพ ร่วมญาติ นายอำเภอประจักษ์ศิลปาคม กล่าวว่า ตนเองได้รับหนังสือมาจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ให้เชิญชวนผู้นำชุมชนเข้าร่วมศึกษาดูงาน โดยมีนายวิเชียร ขาวขำ นายก อบจ. อุดรธานี เป็นผู้เซ็นต์หนังสือ หลังจากนั้นตนก็ได้ทำการส่งหนังสือต่อไปยังผู้นำชุมชนต่างๆ ตามระเบียบเอกสารของทางราชการ โดยไม่ได้เป็นการบังคับผู้นำชุมชนให้เข้าร่วมโครงการ แต่อย่างใด
 
"ส่วนข้อกังวลของกลุ่มอนุรักษ์ฯ ผมจะทำหนังสือชี้แจงและให้ความเห็นไปยังผู้วาราชการจังหวัด และนายก อบจ. อุดรธานี ว่าการศึกษาดูงานในครั้งนี้จะเกิดปัญหาความขัดแย้งของคนในชุมชน พร้อมกันนี้ก็จะทำหนังสือถึงผู้นำชุมชนว่าให้วางตัวเป็นกลาง และให้นึกถึงพี่น้องประชาชนในชุมชนของตัวเองมากกว่าผลประโยชน์ใดๆ" นายสมภพกล่าว
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โครงการรับจำนำข้าวขาดทุน 2.6 แสนล้านบาทจริงหรือ?

Posted: 20 Jun 2013 11:31 AM PDT

 
มาตรการทางเศรษฐกิจของรัฐบาลพรรคเพื่อไทยอันเป็นที่ถกเถียงกันมากที่สุดก็คือ โครงการรับจำนำข้าว เพราะแม้แต่ที่ปรึกษา นักวิชาการ และสื่อมวลชนบางคนที่อยู่ฝ่ายประชาธิปไตย ก็ยังแสดงความกังวลต่อโครงการ
 
เนื่องจากนี่เป็นโครงการที่รัฐบาลช่วยเหลือชาวนาด้วยการรับจำนำข้าวในราคาที่สูงกว่าราคาตลาด แล้วนำมาระบายออกในราคาต่ำ จึงก่อให้เกิดการขาดทุน ซึ่งเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้สำหรับโครงการช่วยเหลือเกษตรกรในลักษณะนี้
 
ตัวเลขขาดทุนดังกล่าวจึงเป็นเป้าหมายที่พรรคฝ่ายค้าน นักวิชาการและสื่อกระแสหลักที่เกลียดชังรัฐบาลพรรคเพื่อไทยมุ่งบิดเบือน ไส่ไคล้ ปั้นตัวเลขเกินจริงตลอดมา
 
ล่าสุดคือ การปั้นแต่งตัวเลขให้โครงการรับจำนำข้าวขาดทุนสูงถึง 2.6 แสนล้านบาท ประกอบด้วยขาดทุนจากการรับจำนำข้าว 2 แสนล้านบาท และค่าบริการจัดการอีก 6 หมื่นล้านบาท เป็นตัวเลขไม่มีที่มาที่ไป ไม่มีแหล่งอ้างอิง แต่ขานรับกันเป็นทอดๆ กระพือโดยสื่อกระแสหลักให้เป็นกระแสโจมตีรัฐบาล
 
ที่แย่ไปกว่านั้นคือ ความไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาลในการชี้แจงรายละเอียดของโครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งจะแม้จะดำเนินโครงการรับจำนำข้าวไปได้ด้วยดี แต่กลับไร้ความสามารถในการทำความเข้าใจกับสาธารณชน ที่แย่ไปกว่านั้นคือ การให้สัมภาษณ์หรือการแถลงข่าวแต่ละครั้งของรัฐมนตรีเต็มไปด้วยความคลุมเคลือ สร้างความสงสัยเพิ่มมากขึ้นทุกทีในสาธารณชน
 
กรณีตัวอย่างคือ การแถลงโดยรัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน 2556 ซึ่งน่าอเน็จอนาถอย่างยิ่ง เป็นการแถลงที่ไม่มีความพร้อมในทางหลักเหตุผลและข้อมูล เอาแต่ตอกย้ำเป็นแผ่นเสียงตกร่อง ท่องเป็นนกแก้วนกขุนทองอยู่แค่ว่า "ตัวเลขขาดทุน 2.6 แสนล้านบาทนั้นไม่จริง ยังมีข้าวในสต๊อกที่ขายไม่หมด โครงการยังไม่จบ จึงสรุปไม่ได้" นอกนั้นแล้ว ก็ไม่สามารถตอบคำถามที่เต็มไปด้วยอคติของสื่อกระแสหลักที่ตั้งหน้าทิ่มแทงรัฐบาล
 
รัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยนั้นไร้เดียงสาเสียจนเชื่อว่า การปฏิเสธตัวเลขขาดทุน 2.6 แสนล้านบาทแบบห้วนๆ เช่นนี้ ผู้คนเขาก็จะเชื่อทันทีเลยหรือ? ถ้ารัฐมนตรีทั้งสองท่านจะแถลงเพียงแค่นี้ ก็อย่าออกหน้ามายังจะดีกว่า หรือที่จำต้องตากหน้าออกมาแถลงอย่างเสียไม่ได้ก็เพียงเพราะถูกนายกรัฐมนตรีสั่งแค่นั้น?
 
การแถลงในครั้งนี้จึงล้มเหลวโดยสิ้นเชิง และกลับยิ่งช่วยกระพือกระแสการโจมตีและความสงสัยในหมู่ประชาชนที่มีต่อโครงการรับจำนำข้าวให้หนักหน่วงยิ่งขึ้นไปอีก!
 
ตัวเลขขาดทุน 2.6 แสนล้านบาทมีที่มาสองแหล่ง ชุดแรกเป็นการเหมารวมยอดการจำนำข้าวนาปี 2554/55 นาปรัง 2555 และข้าวนาปี 2555/56 ทั้งสิ้นราว 2 แสนล้านบาท เอาโครงการคนละปีงบประมาณมาปะปนกัน ซึ่งถ้าเป็นตัวเลขขาดทุนจริงก็หมายความว่า ข้าวสารทุกเมล็ดกว่า 20 ล้านตันต้องเสียหายหมด ซึ่งเป็นไปไม่ได้
 
ส่วนตัวเลข 2.6 แสนล้านบาทชุดที่สองเป็นการปั้นแต่งตัวเลข ได้แก่ ค่าบริหารที่อ้างว่า สูงถึง 6 หมื่นล้านบาท ก็มาจากตัวเลขที่สองนักวิจัยคือ นิพนธ์ พัวพงศกรกับอัมมาร สยามวาลา ได้คำนวณไว้และนำมาโจมตีโครงการนี้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2555 ส่วนตัวเลขขาดทุนจากการขายข้าวนั้น เป็นการสมมติให้รัฐบาลขายข้าวสารปี 2554/55 จำนวน 7.65 ล้านตันในราคาตันละ 15,000 บาท ได้เป็นเงิน 1.1 แสนล้านบาท ขณะที่ต้นทุนการรับจำนำข้าวเปลือกเป็นเงินรวมกว่า 3 แสนล้านบาท ส่วนต่างจึงเป็นการขาดทุน 2 แสนล้านบาท
 
ตัวเลขที่แท้จริงคือ ในปีการผลิต 2554/55 (นาปีและนาปรัง) รัฐบาลรับจำนำข้าวเปลือกทั้งสิ้น 21.7 ล้านตัน เป็นเงินทั้งสิ้น 3.3 แสนล้านบาท มีค่าบริหาร 1.5 หมื่นล้านบาท รวมต้นทุนทั้งสิ้น 3.5 แสนล้านบาท รัฐบาลได้ระบายข้าวสารออกไปแล้วราว 3 ล้านตัน เป็นรายรับ 6 หมื่นล้านบาท ปัจจุบันเหลือเป็นข้าวสารในสต็อกอีกจำนวนราว 10 ล้านตัน หากตีราคาข้าวสารจำนวนนี้ในราคาตลาดปัจจุบันหักลบด้วยค่าใช้จ่ายจริงทั้งหมด ก็จะได้ตัวเลขขาดทุนทางบัญชี (เพราะยังไม่ได้ขายข้าวสารออกไปจริง) คำนวณโดยกระทรวงการคลัง ณ วันที่ 31 มกราคม 2556 คือ 1.4 แสนล้านบาท ซึ่งยังต่ำกว่าตัวเลขเท็จ 2.6 แสนล้านบาทเกือบครึ่ง!
 
กระทรวงพาณิชย์ได้ระบายข้าวปี 2554/55 ออกไปน้อยมาก สาเหตุส่วนหนึ่งเพราะราคาข้าวสารในตลาดโลกได้ตกต่ำลงอย่างมากเนื่องจากการทุ่มส่งออกของอินเดียที่ราคาเพียง 400-450 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ขณะที่ราคาข้าวขาว 5% ของไทยปัจจุบันอยู่ที่ 532 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตันและมีแนวโน้มลดต่ำลงเรื่อยๆ ซึ่งหากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้และรัฐบาลจำต้องระบายข้าวออกไปโดยเร็ว ตัวเลขขาดทุนจริงก็จะเกินกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ว่า อยู่ที่ 7-8 หมื่นล้านบาท
 
ปีการผลิต 2554/55 ชาวนาที่เข้าโครงการมีจำนวน 2.7 ล้านราย ยอดเงินรับจำนำ 3.3 แสนล้านบาท ปัจจุบันมีคดีทุจริตที่ตรวจพบ 1,800 คดี ตั้งแต่คดีละไม่กี่แสนบาทไปจนถึงคดีละนับสิบล้านบาท โดยรวมแล้ว จะมีเงินตกถึงมือชาวนาเฉลี่ยรายละประมาณ 120,000 บาท แน่นอนว่า ชาวนาจะได้รับจริงตามจำนวนผลผลิต ชาวนาที่เพาะปลูกพื้นที่มากก็จะได้มาก ชาวนาที่เพาะปลูกพื้นที่น้อยก็จะได้น้อยตามสัดส่วน แต่เม็ดเงินถึงมือชาวนาอย่างแน่นอนไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดินเองหรือเช่าที่ดิน เพราะเพียงมีเมล็ดข้าวมาจำนำจริง ก็จะได้เงิน
 
โครงการรับจำนำข้าวจึงมีข้อดีกว่าโครงการประกันรายได้ชาวนาของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งชดเชยรายได้ให้กับเจ้าของที่นาตามขนาดพื้นที่ ทำให้เจ้าของที่นาเท่านั้นที่ได้ประโยชน์ ขณะที่ชาวนาผู้เช่าไม่ได้อะไรเลย ยิ่งกว่านั้น จำนวนที่ดินทั้งหมดที่ลงทะเบียนในโครงการประกันรายได้ก็มากเกินจริง เพราะประเมินเป็นผลผลิตข้าวเปลือกได้มากถึง 41 ล้านตันทั้งที่ตัวเลขผลผลิตจริงอยู่ที่ปีละ 30-32 ล้านตันเท่านั้น และการที่รัฐบาลไม่ได้แทรกแซงตลาดข้าวโดยตรง ทำให้พ่อค้าสามารถกดราคารับซื้อได้ตามใจชอบ (เหลือแค่ตันละ 6,000 บาทในช่วงเก็บเกี่ยว) ตัวเลขความเสียหายจริงจากโครงการประกันรายได้อยู่ที่ปีละ 6-7 หมื่นล้านบาท โดยผู้ที่ได้ประโยชน์จริงคือ เจ้าของที่ดินทั้งที่ทำนำจริงและที่ไม่ได้ทำนาแต่อ้างเป็น "ชาวนา" และพ่อค้ารับซื้อข้าวนั่นเอง
 
ส่วนข้อโจมตีที่ว่า สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส ขู่จะลดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยเพราะโครงการรับจำนำข้าว ก็เป็นการขยายความเกินจริง เพราะในรายงานมูดี้ส์ฉบับนั้นเป็นเพียง Credit Outlook รายงานเหตุการณ์เศรษฐกิจการเงินในแต่ละประเทศที่อาจมีผลบวกและลบต่อสถานะของประเทศต่างๆ ซึ่งในกรณีโครงการรับจำนำข้าว มูดี้ส์อ้างตัวเลขขาดทุน 2 แสนล้านบาทที่ปรากฏในสื่อกระแสหลักไทยแค่นั้น โดยไม่ได้ตรวจสอบถึงที่มาที่ไป ในกรณีนี้ มูดี้ส์ ซึ่งเป็นสถาบันประเมินความน่าเชื่อถือของคนอื่นไปทั่วโลก แต่ตนเองกลับบกพร่องอย่างยิ่งที่รายงานตัวเลขเท็จที่เป็น "ข่าวปล่อย" ในสื่อไทยโดยไม่มีการสอบทาน
 
เหตุการณ์ทั้งหมดจึงเป็นบทเรียนสำคัญแก่พรรคเพื่อไทยว่า นโยบายดี บริหารดียังไม่พอ แต่การทำงานการเมืองที่ดี ก็สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน
 
 
หมายเหตุ: ตีพิมพ์ครั้งแรกใน "โลกวันนี้วันสุข"
ฉบับวันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน 2556
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โพลล์นักเศรษฐศาสตร์ แนะรัฐบาลปรับจำนำข้าว แก้คอรัปชั่น เฝ้าระวังฟองสบู่อสังหาฯ

Posted: 20 Jun 2013 10:20 AM PDT

กรุงเทพโพลล์ สำรวจความเห็น 63 นักเศรษฐศาสตร์ เรื่อง "8 ประเด็นปัญหาเศรษฐกิจกับการบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาลใน 2 ปีที่เหลือ" ร้อยละ 63.5 จี้เร่งแก้คอร์รัปชั่น ถัดมาดูปัญหาหนี้ภาคครัวเรือน หนี้สาธารณะ

 
20 มิ.ย.56 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เผยแพร่ผลการสำรวจความเห็น นักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 31 แห่ง จำนวน 63 คน เรื่อง "8 ประเด็นปัญหาเศรษฐกิจกับการบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาลใน 2 ปีที่เหลือ" โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 11 – 18 มิถุนายน 2556 ที่ผ่านมา พบว่า
 
นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 63.5 มองว่าปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นเป็นปัญหาที่มีความรุนแรงและควรเร่งแก้ไขโดยเร็วเพราะอาจนำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจได้ ถัดมาร้อยละ 69.9 และร้อยละ 63.5 ต้องการให้เฝ้าระวังเป็นพิเศษในปัญหาหนี้ภาคครัวเรือน และปัญหาหนี้สาธารณะตามลำดับ
 
ส่วนปัญหาที่นักเศรษฐศาสตร์ต้องการให้รัฐบาลเฝ้าระวังมีดังนี้ ปัญหาฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ (ร้อยละ 96.9) ปัญหาเศรษฐกิจโลกตกต่ำ (ร้อยละ 93.6) ปัญหาเงินบาทแข็งค่า (ร้อยละ 90.5) ภาวะเงินเฟ้อ/ข้าวของแพง (ร้อยละ 82.5) และปัญหาการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ (ร้อยละ 81.0)
 
สำหรับข้อเสนอแนะในการบริหารเศรษฐกิจในช่วง 2 ปีที่เหลือของรัฐบาลนายกฯ ยิ่งลักษณ์ มีดังนี้อันดับ 1 ขอให้เลิกและปรับเปลี่ยนการดำเนินโครงการประชานิยมต่างๆ โดยเฉพาะโครงการรับจำนำข้าว เช่น การกำหนดวงเงินที่ชัดเจนในแต่ละปีการผลิต และควรเป็นระบบที่อิงกับราคาตลาด มีการจัดทำโซนนิ่งพื้นที่การผลิตที่เข้าร่วมโครงการ รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไปพร้อมๆกัน
 
อันดับ 2 เร่งรัดการเบิกจ่ายเงินในโครงการลงทุนต่างๆ และใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่ากับการลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนในโครงการ Mega projects อันดับ 3 จริงจังกับการแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น ดำเนินโครงการต่างๆ ด้วยความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้
 
หมายเหตุ: รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้ เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด
 
1. ความรุนแรงของปัญหาทางด้านเศรษฐกิจของไทยในด้านต่างๆ ในระยะ 2 ปีข้างหน้า
 
ประเด็นปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ
ความรุนแรงของปัญหา
ไม่ตอบ/
ไม่ทราบ
ปกติ
ไม่เป็น
ปัญหา
เฝ้า
ระวัง
เฝ้าระวังเป็นพิเศษ
เร่งแก้ไขโดยเร็ว/อาจนำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจ
1. ภาวะเงินเฟ้อ / ข้าวของแพง
17.5
47.6
20.6
14.3
0.0
2. เงินบาทแข็งค่า
7.9
52.4
33.3
4.8
1.6
3. หนี้สินภาคครัวเรือน
3.2
23.8
52.4
17.5
3.1
4. หนี้สาธารณะ
1.6
34.9
34.9
28.6
0.0
5. การทุจริตคอร์รัปชั่น
1.6
6.3
25.4
63.5
3.2
6. เศรษฐกิจโลกตกต่ำ
4.8
54.0
33.3
6.3
1.6
7. ฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์
3.1
54.0
38.1
4.8
0.0
8. การปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ
15.9
41.3
30.2
9.5
3.1
9. อื่นๆ คือ (1) เศรษฐกิจในประเทศและเอเชีย (2) การผันผวนของค่าเงินบาท (3) การกระจายรายได้
    (4) การกู้เงินของรัฐบาลมาลงทุนในโครงการที่ไม่คุ้มค่า (5) การปรับตัวของ SMEs ในการเปิด AEC
     (6) โครงการรับจำนำข้าว (7) ความน่าเชื่อถือของรัฐบาล
 
 
2. ข้อเสนอแนะในการบริหารเศรษฐกิจในช่วง 2 ปีที่เหลือของรัฐบาลนายกฯ ยิ่งลักษณ์
 
อันดับ 1  ขอให้เลิกและปรับเปลี่ยนการดำเนินโครงการประชานิยมต่างๆ โดยเฉพาะโครงการรับจำนำข้าว เช่น การกำหนดวงเงินที่ชัดเจนในแต่ละปีการผลิต และควรเป็นระบบที่อิงกับราคาตลาด มีการจัดทำโซนนิ่งพื้นที่การผลิตที่เข้าร่วมโครงการ รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไปพร้อมๆกัน
อันดับ 2  เร่งรัดการเบิกจ่ายเงินในโครงการลงทุนต่างๆ และใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่ากับการลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนในโครงการ Mega projects
อันดับ 3  จริงจังกับการแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น ดำเนินโครงการต่างๆ ด้วยความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้
อันดับ 4  ให้ความสำคัญกับการดูแลและบริหารหนี้สาธารณะอย่างใกล้ชิด
อันดับ 5  อื่นๆ คือ รัฐมนตรีต้องเก่งมีความรู้มีความสามารถ/สร้างความแข็งแกร่งให้ภาคธุรกิจและภาคเกษตรกรรม/เตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าสู่ AEC/ ควรลดปัญหาและประเด็นทางการเมือง
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
 
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความรุนแรงของประเด็นปัญหาทางเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้น
2. เพื่อให้ข้อเสนอแนะในการบริหารเศรษฐกิจในช่วง 2 ปีข้างหน้า
 
กลุ่มตัวอย่าง
เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์ (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปีจนถึงปัจจุบัน) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 31 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI) มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารทหารไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารธนชาต บริษัทหลักทรัพย์ภัทร บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคิน บริษัทหลักทรัพย์ไอร่า บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสิน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนฟินันซ่า คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สำนักวิชาการจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง และคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
 
วิธีการรวบรวมข้อมูล
การสำรวจนี้เป็นการวิจัยโดยการเลือกตัวอย่างประชากรโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Non-probability sampling) แต่ละหน่วยตัวอย่างที่จะได้รับการเลือก จึงเป็นการเลือกตัวอย่างประชากรแบบเจาะจง (Purposive sampling) และดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลาที่กำหนด
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล           : 11 – 18 มิถุนายน 2556
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ    : 20 มิถุนายน 2556
 
ข้อมูลรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง
 
 
จำนวน
ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่
 
 
   หน่วยงานภาครัฐ
27
42.9
   หน่วยงานภาคเอกชน
22
34.9
   สถาบันการศึกษา
14
22.2
รวม
63
100.0
เพศ
 
 
   ชาย
31
49.2
   หญิง
32
50.8
รวม
63
100.0
อายุ
 
 
   26 ปี – 35 ปี
23
36.5
   36 ปี – 45 ปี
19
30.2
   46 ปีขึ้นไป
21
33.3
รวม
63
100.0
การศึกษา
 
 
    ปริญญาตรี
4
6.4
    ปริญญาโท
46
73.0
    ปริญญาเอก
13
20.6
รวม
63
100.0
ประสบการณ์ทำงานรวม
 
 
    1-5 ปี
10
15.9
    6-10 ปี
16
25.4
    11-15 ปี
10
15.9
    16-20 ปี
9
14.3
    ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป
18
28.5
รวม
63
100.0
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เอ็กซ์คูลซีฟ: ถอดบทสัมภาษณ์พิเศษ 'ฮัสซัน ตอยิบ' แกนนำ BRN (1)

Posted: 20 Jun 2013 08:18 AM PDT

 


บทสัมภาษณ์ชิ้นนี้เป็นการถอดคำให้สัมภาษณ์ของนายฮัสซัน ตอยิบ ตัวแทนขบวนการบีอาร์เอ็น (BRN) ที่เข้าร่วมการพูดคุยเพื่อสันติภาพกับตัวแทนรัฐบาลไทย ซึ่งมีการนำคลิปเสียงนี้มาออกอากาศผ่านรายการ "โลกวันนี้" ของสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกันสลาตัน (Media Selatan) เมื่อเวลาประมาณ 20.00 น. วันที่ 18 มิถุนายน 2556

สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกันสลาตัน เป็นสถานีวิทยุในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ออกอากาศด้วยภาคภาษามลายู โดยมีสถานีแม่ข่ายอยู่ที่จังหวัดปัตตานีคลื่นความถี่ FM 91.50 MHz และกระจายเสียงทางสถานีเครือข่ายในจังหวัดยะลาคลื่นความถี่ FM 96.25 MHz จังหวัดยะลา คลื่นความถี่ FM 101.75 MHz จังหวัดนราธิวาส และสามารถรับฟังออนไลน์ได้ที่ www.rdselatan.com

ส่วนการให้สัมภาษณ์ดังกล่าว มีขึ้นหลังจากการพูดคุยสันติภาพกับตัวแทนรัฐบาลไทยครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2556 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย มีเนื้อหาดังนี้
 

อะไรบ้างที่ท่านคิดว่าเป็นผลที่ได้รับจากการพูดคุยในครั้งนี้
จากบรรยากาศในการพูดคุยในครั้งนี้ เราได้ยกระดับขึ้นมาจากเดิมบ้างเล็กน้อย นอกเหนือจากที่เราได้ทำความรู้จักแลกเปลี่ยนทำความเข้าใจกันระหว่างคณะทางฝ่ายรัฐไทยกับทางฝ่ายบีอาร์เอ็นที่เริ่มมีความคุ้นเคยกว่าก่อนหน้านี้ เราเห็นว่าการพูดคุยในครั้งนี้มีท่าทีเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น ซึ่งผลจากการพูดคุยในครั้งนี้ เราได้รับสองอย่างด้วยกันคือ

ประการแรก ทางเราได้เรียกร้องไปยังรัฐไทยเพื่อให้ยอมรับเงื่อนไขทั้ง 5 ข้อที่เราได้เสนอไปก่อนหน้านี้ และเพื่อความละเอียดที่ดีกว่านี้ ทางเราได้ทำการเตรียมพร้อมอยู่บ้างแล้ว เพื่อให้การยื่นข้อเรียกร้องของเราต่อรัฐไทยมีน้ำหนักขึ้นกว่าเดิมภายหลังจากเดือนรอมฎอนนี้ ซึ่งเป็นเรื่องของการศึกษาถึงความเป็นไปได้ต่อข้อเรียกร้องดังกล่าว

ถึงแม้ว่าโดยหลักการ เราได้เสนอไปแล้วอย่างชัดเจน แต่ว่าทางฝ่ายไทยเองก็ขอร้องให้เราทำการศึกษาถึงข้อเรียกร้องด้วยเช่นกัน ว่าความหมายต่อความต้องการสิทธิความเป็นเจ้าของ (hakpertuanan)นั้นเป็นรูปแบบใด

และประการที่สองที่ได้รับจากการพูดคุยในครั้งที่ผ่านมา (13/06/2013) ระหว่างทางฝ่ายเราและทางฝ่ายไทยเอง ได้ร้องขอให้ลดความรุนแรงลงในเดือนรอมฎอน ซึ่งทางเราก็ได้ตอบรับในหลักการเพื่อที่จะให้ลดเหตุความรุนแรงลง แต่ต้องด้วยเงื่อนไขบางประการ ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวเราจะทำการส่งไปในอีกสิบวัน (หลังจากการพูดคุยในวันนั้น) ในเดือนนี้
 

ดูเหมือนว่าการพูดคุยในรอบนี้ค่อนข้างที่จะเสร็จสิ้นเร็วกว่าปกติ เพราะเหตุใด?
สาเหตุที่เราค่อนข้างที่ใช้เวลาไม่ค่อยนานคือ เราไม่มีประเด็นอะไรมาก ความจริงแล้วเราได้ใช้เวลาค่อนข้างนานไปกว่าครั้งที่แล้ว ต่อข้อเรียกร้องเงื่อนไขทั้ง 5 ข้อในเบื้องต้น ซึ่งไม่มีอะไรมากไปกว่านั้น และทางฝ่ายเราได้ให้ฝ่ายไทยทำการเร่ง เพื่อให้ศึกษาทำความเข้าใจถึงความต้องการที่ได้เสนอโดยบีอาร์เอ็นแทนชาวปาตานีทั้งหลาย
 

หมายความว่าการพูดคุยในครั้งนี้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น?
เราได้เห็นจากการพูดคุยในครั้งนี้ เราได้เห็นถึงพัฒนาการความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นระหว่างการพูดคุย ถึงแม้ว่าในบางช่วงอาจมีบ้างอากัปกิริยาที่แข็งกร้าวในทางความคิดก็ตาม แต่ว่าก็ยังสามารถอะลุ่มอล่วยทำความเข้าใจกันได้ สามารถร่วมกันเดินหน้าด้วยดี ซึ่งเราได้เห็นบรรยากาศเช่นนั้น ถึงแม้ว่าจะต้องใช้ระยะเวลาที่ยาวนานก็ตาม เพราะปัญหานี้เป็นปัญหาเรื้อรัง ปัญหาที่มีระยะเวลาร้อยปี

ในการนี้เราก็ขอขอบคุณต่อรัฐบาลไทยที่นำโดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตรด้วย เพราะว่าดูเหมือนทางฝ่ายไทยเองก็มีความจริงจังเป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็แล้วแต่ ก็ต้องรอดูต่อไปหลังจากนี้

แต่ ณ วันนี้เท่าที่เห็นก็คือทางฝ่ายไทยเองก็มีความหนักแน่นอย่างมาก นอกเสียแต่ว่าจะมีบางฝ่ายที่เป็นอุปสรรค ที่จะมาจากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยในเรื่องนี้ภายในของไทยเอง ซึ่งมันคงต้องมีอย่างแน่นอน แต่ถ้าหากว่า ได้รับการสนับสนุนที่ดีพออย่างจริงจังจากฝ่ายผู้มีอำนาจ ไม่ว่าจะเป็นจากฝ่ายกองทัพจากฝ่ายพระราชวังเอง แน่นอนปัญหาทางภาคใต้ของไทยที่ปาตานีจะสามารถแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว

ซึ่งสำหรับฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยนั้น ความจริงแล้วเป็นเรื่องเล็กน้อย อย่างมากก็จะมาจากฝ่ายค้าน ซึ่งหากว่าเรื่องนี้ได้รับแรงสนับสนุนที่ดีจากทางกองทัพและพระราชวัง จากผู้มีอำนาจหน้าที่ในบ้านเมือง ปัญหาคงจะสามารถแก้ไขได้อย่างราบรื่น รวดเร็วยิ่งขึ้น สิ่งนี้เองที่เรากำลังรอคอย

เราได้เรียกร้องไปยังฝ่ายทหารก็เพราะว่า ในกองทัพเองก็มีทั้งที่เห็นด้วย บางส่วนก็ไม่เห็นด้วย และบางส่วนก็ทำตัวนิ่งเฉย สิ่งเหล่านี้ยังมีอยู่ เราหวังว่า ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยนั้นจะได้หันมาสนับสนุนในเรื่องนี้

เพราะปัญหานี้เป็นปัญหาของประเทศชาติ ไม่ใช่ปัญหาส่วนบุคคล ไม่ใช่ปัญหาการฉวยโอกาสหากิน ไม่ใช่ปัญหาการหาผลประโยชน์ส่วนตัว อันนั้นขอให้ทิ้งเสียเถิด เราไปหางานอื่นทำจะดีกว่า

ที่สำคัญเราต้องแก้ไขปัญหาของชาติ เพราะว่าเรื่องประเทศชาติถือเป็นเรื่องใหญ่ ไม่ใช่เรื่องความร่ำรวย ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว ซึ่งเราก็หวังว่าทางฝ่ายกองทัพ ทางฝ่ายพลเรือน (ประชาชน) หรือทางพรรคฝ่ายค้านของไทยเอง เพื่อให้เข้าใจเสียทีเถิดว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องของประเทศชาติ เป็นปัญหาระหว่างประชาชนชาวไทยกับประชาชนชาวมลายูที่มีความเรื้อรังกันมานาน
 

จะเห็นได้ว่าเริ่มมีความหวังพอสมควรเพราะความจริงใจจากฝ่ายรัฐก็เริ่มมีให้เห็น ประกอบกับกระบวนการพูดคุยก็ดำเนินไปได้ด้วยดี
ใช่ หากว่าได้ดูความจริงใจที่เกิดขึ้น ความหวังในการพูดคุยอาจประสบความสำเร็จได้ ถึงแม้ว่าต้องอาศัยระยะเวลาอยู่พอสมควร
 

ประเด็นข้อเรียกร้องทั้ง 5 ข้อจนถึงตอนนี้ถูกตอบรับหรือไม่อย่างไร
เกี่ยวกับประเด็นถึงข้อเรียกร้องทั้ง 5 ข้อนั้น จะเห็นว่า ประการแรกนั้นที่เราได้เรียกร้องให้มีการยอมรับว่าขบวนการบีอาร์เอ็นนั้นเป็นองค์กรใหญ่ (ที่มีบทบาท) ในฐานะเป็นตัวแทนของกลุ่มอื่นๆ ในฐานะเป็นตัวแทนของพี่น้องประชาชน ซึ่งความจริงเราได้ยื่นข้อเสนอดังกล่าว เพื่อที่ว่าการพูดคุยต่อไปจะเป็นไปอย่างราบรื่น และจงอย่าได้มีความคลางแคลงอีกต่อไป อย่าได้กระวนกระวายอีกต่อไป อย่าได้หมดความเชื่อถือต่อประเทศมาเลเซีย

เพราะว่าทางฝ่ายบีอาร์เอ็นเองมีความจริงใจและหนักแน่นพร้อมเผชิญหน้า เพื่อแก้ไขปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นที่ปาตานี นั่นก็คือปัญหาระหว่างประชาชนปาตานีเชื้อชาติมลายูปาตานีกับทางผู้ปกครองที่เป็นชาวไทย และเขาก็มีความเป็นไทย และเราก็มีความเป็นมลายู มีวัฒนธรรมมลายู มีอัตลักษณ์มลายูเป็นของตนเอง เพื่อที่ว่าเขาจะได้เข้าใจเรา หากว่าไม่มีความเข้าใจตรงจุดนี้ก็คงยากที่จะยุติได้

และนอกจากนั้นในเรื่องของการยอมรับมาเลเซียในฐานะผู้ให้ความสะดวก (Facilitator) และคนกลาง (mediator) ซึ่งเราเองคิดว่าต้องค่อยๆ ดูสถานการณ์กันไปก่อน อย่างวันนี้มาเลเซียเองก็พอใจตามที่เขาเป็นอยู่ เพราะว่าสิ่งที่เขาทำหน้าที่ในการแก้ไขความขัดแย้งทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์ในระยะเวลา 15 ปี เขาก็มีบทบาทในฐานะผู้อำนวยการเท่านั้น ซึ่งก็สามารถแก้ไข สามารถยกระดับปัญหาที่ฟิลิปปินส์ได้เช่นกัน

เราเองคิดว่าที่ปาตานีก็เช่นกัน เขา (มาเลเซีย) สามารถกระทำได้ ด้วยบทบาทในฐานะผู้ให้ความสะดวก แต่ว่าทางเราต้องการที่จะยกระดับเพื่อการพูดคุยของเราจะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น สิ่งหนึ่งที่เราเรียกร้องก็คือต้องสนับสนุนเพื่อให้มาเลเซียนั้นมีบทบาทในฐานะคนกลางต่อไป

ต่อไปก็เป็นเรื่องของผู้สังเกตการณ์จากองค์กรภาคประชาสังคม จากสมาชิกอาเซียนและจากโอไอซี อันนี้เราเองก็ต้องดูโอกาสที่เหมาะสม เพราะว่าพวกเขาเหล่านั้นคือผู้ที่จะมาเป็นพยาน เราต้องพูดคุยในประเด็นหลักที่สำคัญเสียก่อน เมื่อโอกาสพร้อม เราอาจจะนำพวกเขามาร่วมด้วยเพื่อเป็นสักขีพยาน นั่นคือสิ่งที่เราต้องการ

ที่สี่ คือเรื่องความเป็นเจ้าของ (hakpertuanan) เพราะถือเป็นประเด็นหลัก ซึ่งสิ่งนี้เช่นกันที่ฝ่ายไทยต้องการให้เราให้ความกระจ่างที่ชัดเจนยิ่งขึ้น แต่เราก็ได้บอกไปแล้วอย่างคร่าวๆ ก็คือว่า สิทธิความเป็นเจ้าของก็คือสิทธิของปวงชนชาวปาตานี แต่ว่าทางฝ่ายไทยต้องการให้ลงในรายละเอียดให้ชัดเจนว่าเป็นเช่นไร จะเป็นแบบออโตนอมิหรือไม่? หรือเป็นแบบปกครองพิเศษ? อย่างไรก็ตามเราก็ยังไม่ได้ให้คำตอบในจุดนี้ แต่ที่สำคัญขอให้ทำการยอมรับในเรื่องนั้นไปก่อนถึงสิทธิความเป็นเจ้าของของประชาชนชาวมลายูปาตานี

และอีกเรื่องหนึ่งเราขอเวลาอีกสักระยะในการประสานไปยังระดับบนของบีอาร์เอ็น กับฝ่ายที่สามารถออกความเห็นต่อเรื่องสิทธิของความเป็นเจ้าของได้ เพราะว่าเราต้องการที่จะให้ออกมาดีที่สุดว่าความต้องการนั้นเป็นอย่างไร ดูว่าพร้อมเมื่อไร ซึ่งหลังจากรอมฎอนนี้เราจะแจ้งให้ทราบ

ส่วนเรื่องของการลดเหตุรุนแรงลงในเดือนรอมฎอนนั้น เราจะทำการส่งเงื่อนไขข้อเรียกร้องไป แต่ว่าจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขเท่านั้น ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวเรากำลังรอการชี้แจงจากคนในพื้นที่และสภาชูรออีกครั้ง เพื่อที่จะเสนอให้ทราบต่อไป และก็ขอร้องให้ฝ่ายที่อยู่ในพื้นที่และสภาชูรอได้ส่งเงื่อนไขดังกล่าวมาให้ทราบ เพื่อจะเป็นประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่ายทั้งไทยและบีอาร์เอ็น ในเรื่องนี้เราได้ขอเวลาสิบวันด้วยกัน (หลังจากวันที่ 13/06/2013)

ส่วนเรื่องสิทธิความเป็นเจ้าของนั้นไม่ได้กำหนดระยะเวลาที่แน่นนอน จนกว่าเราเสร็จสรรพเรียบร้อยแล้วเราจะนำเสนอต่อไป


แล้วเรื่องการยกเลิกหมายจับ
เราได้เรียกร้องให้เขาทำการยกเลิกหมายจับต่อผู้ที่ถูกออกหมายจับในคดีความมั่นคง (pejuang patani) ไม่ใช่คดีอาชญากรรมทั่วไป และรวมไปถึงกับผู้ที่ถูกคุมขังในเรือนจำ เราก็ได้เรียกร้องให้เขาทำการปล่อยตัว ส่วนจะปล่อยกันกี่คนนั้นแล้วแต่เขา จะกี่สิบหรือกี่ร้อย เรื่องนั้นเป็นหน้าที่ของเขา อย่างที่ฝ่ายที่อยู่ในพื้นที่ทำการเรียกร้องเช่นเดียวกันกับบีอาร์เอ็นและกลุ่มต่างๆ ต้องการ



อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
คลิปเสียง พล.ท.ภราดร สนทนาในรายการวิทยุร่วมด้วยช่วยกันสลาตัน
http://www.deepsouthwatch.org/dsj/4376

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คณะผู้บริหารนิติ จุฬาฯ ยอมขอโทษ-เปิดทางเลือกให้นิสิตกลับเข้าเรียน

Posted: 20 Jun 2013 07:30 AM PDT

เว็บไซต์มติชนออนไลน์ รายงานความคืบหน้ากรณีที่กลุ่มนิสิตคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  5 คน ถูกแจ้งย้อนหลังให้พ้นสถานภาพการเป็นนิสิต ในวิชาที่เรียนในระดับชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 วิชาหนึ่ง ซึ่งเป็นวิชาบังคับที่นิสิตทุกคนต้องเรียน  เพราะเหตุจากการที่อาจารย์ผู้สอนส่งผลคะแนนการศึกษาในวิชาดังกล่าวล่าช้ามากกว่า 2 ปี หรือกว่า 5 ภาคการศึกษา  โดยปัจจุบัน นิสิตกลุ่มดังกล่าวศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 4 แล้ว  ประเด็นดังกล่าวได้รับความสนใจอย่างมากทั้งในประชาคมจุฬาฯ รวมถึงก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ทั้งในแวดวงการศึกษา และโลกโซเชียลเน็ตเวิร์ก

โดยล่าสุด วันนี้ (20มิถุนายน) คณะผู้บริหารของคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ได้ประชุมกัน รวมถึงเรียกพบนิสิตคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯทั้ง 5 คน เพื่อชี้แจงและหาทางออก

ในที่ประชุม ผู้บริหารคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ยอมกล่าวขอโทษนิสิตทั้ง 5 คน ต่อกรณีความผิดพลาดที่เกิดขึ้น แต่มิได้ชี้เเจงเหตุผลหรือข้อผิดพลาด ซึ่งหลังจากการพูดคุยดังกล่าว ทางคณะกรรมการบริหารของคณะ ชี้แจงกับกลุ่มนิสิตดังกล่าวถึงมาตรการเยียวยา ครั้งที่ 2 ซึ่งมี 2 ข้อเสนอด้วยกันคือ

1)    เมื่อนิสิตได้เรียนจนจบชั้นปีที่ 3 แทนที่จะใช้ผลการเรียนเฉพาะปีที่ 1-2 มาคำนวณ ก็จะให้นำผลการศึกษาทั้งหมดที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันมาคำนวณ ถ้านิสิตได้พัฒนาตัวเองมาจนถึงจุดที่ผลการเรียนถึงเกณฑ์ที่สามารถเรียนต่อได้ มหาวิทยาลัยก็จะให้นิสิตสามารถเลือกที่จะเรียนต่อไปในภาคการศึกษานี้ได้ทันที
แต่ถ้าหากผลการเรียนเฉลี่ยรวมทั้งหมดที่ผ่านมาต่ำกว่าเกณฑ์ที่จะเรียนต่อไปได้มหาวิทยาลัยมีทางเลือกที่ 2 ให้กับนิสิตคือ

2)   รับนิสิตที่พ้นสภาพย้อนหลังครั้งนี้เข้ามาเป็นนิสิตปีหนึ่งใหม่เป็นกรณีพิเศษ โดยเริ่มตั้งแต่ภาคการศึกษานี้เป็นต้นไป ให้นิสิตมีเลขประจำตัวนิสิตใหม่ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้นิสิตได้แก้ตัวและตั้งใจเรียนเพื่อให้มีผลการเรียนที่ดีโดยคณะจะรับผิดชอบค่าเล่าเรียนของนิสิตทุกคนจนกว่าจะสิ้นสุดการศึกษา

ซึ่งสิทธิดังกล่าวนั้นนิสิตทั้ง 5 คนสามารถที่จะเลือกอย่างไรก็ได้ โดยผู้สื่อข่าวรายงานว่ามีจำนวน 2 คนที่เลือกข้อเสนอข้อหนึ่ง ส่วนนิสิตอีกสามคนที่เหลือ ขอกลับไปปรึกษาทางผู้ปกครองก่อน

ล่าสุด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทำหนังสือชี้แจงต่อสื่อมวลชน มีเนื้อหาดังนี้

แถลงการณ์จากจุฬาฯ กรณีนิสิตนิติศาสตร์ ถูกพ้นสภาพย้อนหลัง

วันที่ 20 มิถุนายน 2556 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ม.ร.ว.กัลยา ติงศภัทิย์ รองอธิการบดีจุฬาฯ และ ศาสตราจารย์ ดร.ศักดา ธนิตกุล คณบดีคณะนิติศาสตร์ ได้ร่วมกันแถลงข่าวที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเกี่ยวกับกรณีที่มีนิสิตนิติศาสตร์ จำนวนหนึ่ง ต้องพ้นสถานภาพย้อนหลังไปในปี 2554 ว่า ในเรื่องนี้คณะนิติศาสตร์ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้นำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการบริหารคณะ และมีมติเบื้องต้นเกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายรายละเอียดตามที่เป็นข่าว โดยอิงจากแนวคำพิพากษาศาลปกครองที่เคยมี หลังจากนั้นคณะได้นำเรื่องมาปรึกษามหาวิทยาลัย ซึ่งมหาวิทยาลัยกับคณะนิติศาสตร์ได้พิจารณาร่วมกันหาทางออกอื่นสำหรับนิสิตกลุ่มดังกล่าว โดยมีข้อสรุปเพิ่มเติม ดังนี้

1)    เมื่อนิสิตได้เรียนจนจบชั้นปีที่ 3 แทนที่จะใช้ผลการเรียนเฉพาะปีที่ 1-2 มาคำนวณ ก็จะให้นำผลการศึกษาทั้งหมดที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันมาคำนวณ ถ้านิสิตได้พัฒนาตัวเองมาจนถึงจุดที่ผลการเรียนถึงเกณฑ์ที่สามารถเรียนต่อได้ มหาวิทยาลัยก็จะให้นิสิตสามารถเลือกที่จะเรียนต่อไปในภาคการศึกษานี้ได้ทันที

แต่ถ้าหากผลการเรียนเฉลี่ยรวมทั้งหมดที่ผ่านมาต่ำกว่าเกณฑ์ที่จะเรียนต่อไปได้ มหาวิทยาลัยมีทางเลือกที่ 2 ให้กับนิสิตคือ

2)    รับนิสิตที่พ้นสภาพย้อนหลังครั้งนี้เข้ามาเป็นนิสิตปีหนึ่ง ใหม่เป็นกรณีพิเศษ โดยเริ่มตั้งแต่ภาคการศึกษานี้เป็นต้นไป ให้นิสิตมีเลขประจำตัวนิสิตใหม่ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้นิสิตได้แก้ตัวและตั้งใจเรียนเพื่อให้มีผลการเรียนที่ดีโดยคณะจะรับผิดชอบค่าเล่าเรียนของนิสิตทุกคนจนกว่าจะสิ้นสุดการศึกษา

แต่ทั้งนี้เป็นกรณีพิเศษเฉพาะนิสิตกลุ่มนี้เท่านั้นเพื่อเยียวยาที่ต้องเสียเวลาและเสียโอกาสอันเนื่องมาจากการพ้นสถานภาพย้อนหลังเป็นเวลาถึงสองปี

นอกจากนั้น คณะนิติศาสตร์ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด เพื่อรายงานต่อมหาวิทยาลัยพิจารณาว่าต้องมีการดำเนินการทางวินัยต่อไปอย่างไร รวมทั้งจะวางมาตรการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดกรณีเช่นนี้อีก

ทั้งหมดนี้เป็นทางเลือกที่มหาวิทยาลัยและคณะเห็นว่าน่าจะเป็นทางออกที่ดีสำหรับนิสิต รวมทั้งได้พบและแจ้งให้นิสิตที่เกี่ยวข้องทราบแล้ว โดยจะได้เชิญนิสิตและผู้ปกครองมาหารือร่วมกันถึงทางเลือกและข้อสรุปที่ดีที่สุดสำหรับทุกฝ่าย
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ภารกิจก่อนถึงปลายทางสันติภาพ ‘วิทยาลัยประชาชน’ มุ่งสร้างนักสร้างสันติภาพที่ฟาฏอนีย์

Posted: 20 Jun 2013 07:09 AM PDT

 

ท่ามกลางบรรยากาศการไขว่คว้าหาสันติภาพในชายแดนภาคใต้หรือดินแดนฟาฏอนีย์ขณะนี้ จะมีใครซักกี่คนที่รู้ว่าเส้นทางสันติภาพจะเดินไปอย่างไร ปลายทางจะอยู่ตรงไหน และระหว่างทางจะมีคนบาดเจ็บล้มตายจากความรุนแรงอีกเท่าไหร่

ที่สำคัญ ก่อนจะไปถึงจุดนั้น เราต้องเตรียมตัวอย่างไรเพื่อสร้างคนที่มีคุณภาพที่จะนำพาสังคมฟาฏอนีย์และพร้อมที่จะเผชิญปัญหาท้าทายอย่างคนที่มีความรู้ความสามารถต่อไปได้
 

ทำความรู้จักวิทยาลัยประชาชน
"วิทยาลัยประชาชน(People's College)" คือหนึ่งในองค์กรที่กำลังทำหน้าที่นี้อยู่ โดยเน้นการให้ความรู้ที่เกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพ แก่ผู้นำประชาชนจากชุมชนต่างๆ ในพื้นที่ที่เป็นคนรุนใหม่ ผ่าน "หลักสูตรผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงสู่สันติภาพ"

เป็นการเตรียมคนในพื้นที่ให้มีคุณภาพมากที่สุด แม้ว่าปลายทางสันติภาพจะเป็นอย่างไรก็ตาม
วิทยาลัยประชาชน เป็นหนึ่งในองค์กรพัฒนาเอกชนในพื้นที่ ได้เปิดตัวอย่างทางการไปแล้ว เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2556 ที่ผ่านมา

นายแวอิสมาแอ แนแซ หรืออาดำ หรือ ตูแวแอ ผู้อำนวยการวิทยาลัยประชาชน คือหนึ่งในผู้ก่อตั้งวิทยาลัยประชาชน ในอดีตเคยเป็นนักสิทธิมนุษยชนของมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ (Justice for Peace)
 


แวอิสมาแอ แนแซ
 

ก่อร่างสร้างสถาบันสันติภาพ
แวอิสมาแอ เล่าว่า วิทยาลัยประชาชนก่อตั้งขึ้นเมื่อ 2 ปีก่อน โดยนักสิทธิมนุษยชน นักกฎหมาย นักพัฒนาเอกชนที่หวังจะก่อให้เกิดสันติภาพในพื้นที่กลุ่มหนึ่ง เพื่อเป็นองค์กรให้ความรู้เรื่องสันติภาพแก่ผู้นำประชาชนในชุมชนต่างๆ ภายใต้แนวคิด Knowledge is Power ความรู้คืออำนาจ

โดยผู้นำชุมชนกลุ่มเป้าหมาย เช่น ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ผู้นำศาสนาหรือใครก็ตามที่คนในพื้นที่เคารพนับถือ เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชนระดับรากหญ้าต่อไป รวมทั้งให้ความรู้แก่องค์กรในเครือข่ายด้วย เพื่อให้เห็นว่าพวกเขาอยู่ส่วนใดของกระบวนการสร้างสันติภาพ และจะมีบทบาทอย่างไร
 

มุ่งสร้างคนด้วยองค์ความรู้
แวอิสมาแอ กล่าวว่า เหตุที่ต้องให้ความรู้เรื่องสันติภาพแก่ประชาชน เพื่อให้ประชาชนสามารถกำหนดชะตากรรมตัวเองในอนาคตได้อย่างอิสระ ปราศจากการบังคับจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยใช้ความรู้เป็นหลัก

"ที่สำคัญ เป็นการเตรียมความพร้อมผู้นำรุ่นใหม่ๆ ที่ต้องการเห็นอนาคตของพื้นที่แตกต่างจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน" แวอิสมาแอ กล่าว


ผู้นำชุมชนถือธงสันติภาพ
แวอิสมาแอ เล่าต่อไปว่า ได้รับแนวคิดในการก่อตั้งวิทยาลัยประชาชนมาจากการเข้าอบรมระยะสั้นเกี่ยวกับการสร้างสันติภาพจาก 2 สถาบัน ได้แก่

1.ที่สถาบันอบรมการทูต คณะนิติศาสตร์ University of New South Wales, Sydney, Australia ซึ่งก่อตั้งโดย Professor José Ramos-Horta อดีตประธานาธิบดีของติมอร์เลสเต

2.การเข้าร่วมเสวนาประจำปีเรื่องการสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชีย ของสถาบันอาศรม มหาตะมะคานธีร์ (The Gandhi Ashram)

"ทั้ง 2 สถาบันทำให้ผมเห็นว่า ต่างประเทศให้ความสำคัญกับผู้นำในชุมชนในการกระบวนการสร้างสันติภาพ เพราะใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด" แวอิสมาแอ กล่าว


ขยายแนวคิดสู่รากหญ้า
แวอิสมาแอ เปิดเผยด้วยว่า ที่ผ่านมา วิทยาลัยประชาชนได้เปิดสอนไปแล้ว 3 รุ่น แต่ละรุ่นมีนักศึกษา 50 คน รวมเป็น 150 คน ใช้เวลาเรียนรุ่นละ 6 เดือน โดยผู้เรียนที่เป็นคนหนุ่มสาว อายุประมาณ 20-30 ปี ที่เป็นอาสาสมัครสิทธิมนุษยชนตามชุมชนต่างๆ ในพื้นที่

เนื่องจากวิทยาลัยประชาชนมองว่า บุคคลเหล่านี้จะสร้างสันติภาพในระดับรากหญ้าได้ จึงนำเข้ามาศึกษาเรื่องสันติภาพ เพื่อให้รู้ว่าพวกเขาจะอยู่ส่วนใดของกระบวนการสร้างสันติภาพ

หลังเปิดสอนไปทั้ง 3 รุ่น ถือว่าประสบความสำเร็จพอสมควร เนื่องจากนักศึกษาบางคนนำองค์ความรู้เรื่องสันติภาพไปเผยแพร่ต่อแก่ประชาชน และมีการจัดเวทีเกี่ยวกับการสร้างสันติภาพในพื้นที่จำนวนมาก
 

เปิดโอกาสให้คนหลากหลาย
แวอิสมาแอ กล่าวว่า เหตุไม่สงบที่เกิดขึ้นมาเกือบ 1 ทศวรรษ ได้สร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินมากมาย ปัจจุบันนี้ประชาชนระดับรากหญ้าพูดถึงการสร้างสันติภาพมากขึ้น โดยเฉพาะตามร้านน้ำชา ไม่จำกัดเฉพาะในวงนักวิชาการหรือภาคประชาสังคมเท่านั้น

ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายในลักษณะที่เป็นสันติภาพมากขึ้นในการแก้ปัญหาในพื้นที่ ซึ่งทำให้เรื่องสันติภาพเปลี่ยนจากระดับพื้นที่เข้าสู่ระดับประเทศไปแล้ว


สันติภาพไม่ได้ผูกขาดที่ชนชั้นนำ
ดังนั้นเพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว วิทยาลัยประชาชนจึงเปิดโอกาสให้คนหลากหลายอาชีพเข้ามาเรียน โดยมีทั้งนักวิชาการ คนทำงานภาคประชาสังคม ข้าราชการ นักการเมืองท้องถิ่น คนไทยพุทธที่เข้ามาศึกษา เพื่อจะให้มีการรู้เรียนและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน

ส่วนผู้สอน ได้เลือกจากผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องหรือมีประสบการณ์เกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพ ซึ่งมีทั้งคนในประเทศ คนต่างประเทศและคนที่ทำงานให้กับองค์กรระหว่างประเทศ

สำหรับนักศึกษารุ่นที่ 4 นี้ ได้เริ่มเรียนตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม 2556
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เผย ILO ยกนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทของไทยสร้างสัมพันธ์ 3 ฝ่าย

Posted: 20 Jun 2013 06:59 AM PDT

ไอแอลโอชมนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทของไทย เป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐ นายจ้าง และลูกจ้างที่ดี ขณะที่ไทยชูแผนระดับชาติเรื่องงานที่มีคุณค่าเพื่อแก้ปัญหาค้ามนุษย์ และนโยบายการดูแลแรงงานนอกระบบ ในการประชุมใหญ่ไอแอลโอ ที่กรุงเจนีวา 

 
20 มิ.ย. 56 - สำนักข่าวไทยรายงานว่านายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน แถลงผลการประชุมใหญ่ประจำปีองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 5-20 มิ.ย. ที่ผ่านมาว่า ได้ชี้แจงต่อที่ประชุมว่าประเทศไทยได้ดูแลแรงงานให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยผ่านระบบประกันสังคม และมีประกันสังคม มาตรา 40 เพื่อดูแลแรงงานนอกระบบให้มีความมั่นคงของชีวิต และมีระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพ และหน่วยงานรัฐได้บูรณาการการทำงานเพื่อดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ เตรียมรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย
 
ขณะเดียวกันประเทศไทยยังได้จัดทำแผนระดับชาติเรื่องงานที่มีคุณค่า และยังเน้นการทำงานที่สามารถตรวจสอบได้ เพื่อให้หลุดพ้นจากการถูกกล่าวหาในเรื่องการค้ามนุษย์ ทั้งนี้ ได้ขอให้ไอแอลโอช่วยสนับสนุนด้านวิชาการ
 
การประชุมครั้งนี้ไอแอลโอได้ขอให้ประเทศสมาชิก 185 ประเทศ ปรับเปลี่ยนพันธสัญญาไตรภาคีของแต่ละประเทศ เพื่อก้าวสู่ศตวรรษใหม่ ซึ่งในส่วนของไทยได้รับคำชมเชยเรื่องนโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาททั่วประเทศ เนื่องจากเป็นความร่วมมือกันอย่างดีระหว่างฝ่ายภาครัฐ นายจ้าง และลูกจ้าง ถือเป็นตัวอย่างที่ดี
 
นอกจากนี้ในที่ประชุมยังได้หารือถึงระบบการพัฒนาฝีมือแรงงานและระบบคุ้มครองแรงงาน (Safety Net) เพื่อช่วยเหลือแรงงานที่ตกงาน หรือผู้ว่างงานให้ได้รับการดูแลในเรื่องสวัสดิการและสภาพแวดล้อมการทำงาน รวมถึงได้รับการดูแลด้านสุขภาพ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้ในช่วงที่ถูกเลิกจ้างหรือไม่มีงานทำ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เครือข่ายเพื่อความเป็นธรรมในระบบสุขภาพ ให้เวลา รบ.ถึงสิ้นเดือน แก้ปัญหา 'วงการสาธารณสุข'

Posted: 20 Jun 2013 06:50 AM PDT

เครือข่ายเพื่อความเป็นธรรมในระบบสุขภาพ ประกอบด้วยเครือข่ายโรงพยาบาลชุมชน เครือข่ายกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพและสหภาพแรงงานองค์การเภสัชกรรม ตามติดผลเจรจากับรัฐบาล ชี้ 3 ประเด็นสำคัญยังไม่คืบ ให้เวลารัฐบาลถึงสิ้นเดือน ต้องแก้ปัญหาให้เกิดรูปธรรม

(20 มิถุนายน 56) เครือข่ายเพื่อความเป็นธรรมในระบบสุขภาพ ประกอบด้วยเครือข่ายโรงพยาบาลชุมชน เครือข่ายกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพและสหภาพแรงงานองค์การเภสัชกรรม นัดชุมนุมที่ห้องประชุมใหญ่ของศูนย์ประชุมคอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ ในศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ เพื่อติดตามผลการเจรจากับรัฐบาลเมื่อวันที่ 4 และ 6 มิถุนายน 2556 ที่ผ่านมา โดยมีการออกแถลงการณ์ยืนยันเจตนารมณ์ว่า "แพทย์ชนบทและเครือข่ายโรงพยาบาลชุมชนไม่ได้สู้แค่เรื่องเหมาจ่าย แค่เรื่องไม่เอา P4P แต่เรากำลังสู้กับวิธีคิด กระบวนทัศน์ที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับภาคชนบท การกระจายทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรมมายาวนาน รวมทั้งเฝ้าระวังนโยบายที่ทำลายสุขภาพ นี่คือทิศใหญ่ที่แพทย์ชนบทและเครือข่ายโรงพยาบาลชุมชนเคลื่อนมาตลอดหลายสิบปี ไม่ใช่เพิ่งมาเคลื่อนเพราะเรื่อง P4P เท่านั้น"

แถลงการณ์ระบุว่า ประเด็นสำคัญจากผลการเจรจาที่ยังต้องมีการกดดันและติดตามอย่างใกล้ชิด คือ

1. ประเด็นการเอาเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายตามประกาศฉบับ 4,6 คืนมา การเยียวยาชดเชยส่วนที่วิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชนถูกรอนสิทธิ์ ซึ่งในขณะนี้แพทย์ชนบทและเครือข่ายโรงพยาบาลชุมชนได้ร่างประกาศฉบับที่ 10 เพื่อมาใช้แทนประกาศเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายฉบับ 8 ที่มีปัญหารวมทั้งการเยียวยาชดเชยโดยเร็ว แต่ก็ยังมีแรงต้านอย่างมากโดยเฉพาะปลัดกระทรวงสาธารณสุข อย่างไรก็ตามชมรมแพทย์ชนบทและโรงพยาบาลชุมชนได้กำหนดเป้าหมายที่จะผลักดันจนมีการประกาศใช้ระเบียบให้เสร็จสิ้นภายในสิ้นเดือนมิถุนายน 2556 ซึ่งหากรัฐบาลมีความจริงใจไม่ใช่หวังเจรจาเพื่อเตะถ่วงเวลาก็ต้องแสดงความแข็งขันในการแก้ปัญหากำจัดขวากหนามอย่างจริงจัง ก็สำเร็จได้อย่างแน่นอน

2. ในประเด็นการยกเลิกการใช้ P4P ในโรงพยาบาลชุมชนนั้น แพทย์ชนบทและโรงพยาบาลชุมชนยังมีจุดยืนเดิม คือ เบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายคือค่าตอบแทนจูงใจให้ไปอยู่ในที่ไกลกันดาร ยิ่งไกลยิ่งได้มาก ยิ่งอยู่นานยิ่งได้มาก และได้เสนอรูปแบบการเสริมแรงการทำงานด้วยแนวคิด PQO (pay for quality and outcome) แทน P4P (pay for performance) โดย PQO เป็นหลักการการให้ค่าตอบแทนตามผลลัพธ์ไม่ใช่เกิดแต้มวัดกิจกรรมแบบ P4P โดย PQO เป็นเสมือนโบนัสสำหรับทีมงานไม่ใช่บุคคล เพราะงานสุขภาพไม่มีใครทำคนเดียวให้สำเร็จได้ ทีมทำดีผลงานถึงก็จะได้มาก ไม่เกี่ยวใกล้ไกล ไม่เกี่ยวว่าอยู่นานหรือจบใหม่ ทั้งสองส่วนคือแรงจูงใจให้เราทุกคนทำงานหนักอย่างมีความสุข ทั้งสองเครื่องมือมีเป้าหมายที่ต่างกัน จึงไม่ควรเอามาปนกัน  โดยชมรมแพทย์ชนบทและเครือข่ายโรงพยาบาลชุมชนจะร่วมกันร่างอย่างรอบคอบ เพื่อนำมาประกาศใช้เป็นประกาศฉบับที่ 11 สำหรับใช้กับโรงพยาบาลชุมชน แทนการใช้ประกาศฉบับที่ 9 เรื่อง P4P แม้จะมีแรงต้านจากผู้บริหารในกระทรวงก็ตาม

3. ประเด็นสำคัญที่ยังไม่มีความคืบหน้าเลยคือ การตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อมูลและข้อเท็จจริงขององค์การเภสัชกรรม และกรณีการปลด นพ.วิทิต อรรถเวชกุล อย่างไม่เป็นธรรม ซึ่งให้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำรายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่อนายกรัฐมนตรี และเผยแพร่ข้อเท็จจริงสู่สาธารณะ โดยคณะกรรมการชุดดังกล่าวต้องมีอำนาจในการเรียกดูเอกสารที่เกี่ยวข้อง เรียกพยานบุคคลมาสอบถาม เพื่อให้ข้อเท็จจริงนั้นปรากฏ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามแต่งตั้ง และสหภาพแรงงานองค์การเภสัชกรรมต้องมีส่วนร่วมในคณะกรรมการดังกล่าวด้วย แต่ปรากฏว่ากลับไม่มีความคืบหน้าใดๆ ซึ่งมติการชุมนุมก็ขอให้มีการตั้งคณะกรรมการชุดนี้ภายใต้หลักการข้างต้นภายสิ้นเดือนมิถุนายนนี้เช่นกัน

"ชมรมแพทย์ชนบทและโรงพยาบาลชุมชน เห็นถึงความหวังและความพยายามในการแก้ปัญหาของรัฐบาลในระดับหนึ่ง แต่แรงต้านภายในกระทรวงสาธารณสุขก็ยังมีอยู่อีกมาก ชมรมแพทย์ชนบทจะให้เวลากับรัฐบาลอีก 10 วันจนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 2556 นี้ เพื่อให้ดำเนินการใน 3 ข้อเรียกร้องจากผลการเจรจาที่ยังไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร ให้มีความคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรม หากไม่มีความคืบหน้าใดๆ นั้นทางชมรมแพทย์ชนบทและเครือข่ายโรงพยาบาลชุมชนยังมีความพร้อมจะปฏิบัติการในหลากหลายรูปแบบต่อไป" แถลงการณ์ระบุ


 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เผยรายงานตรวจสอบองค์กรสิทธิฯ อาเซียน - ระบุบทบาทเหมือน "ตู้โชว์"

Posted: 20 Jun 2013 06:39 AM PDT

องค์กรประชาสังคมเผยแพร่รายงานตรวจสอบองค์กรสิทธิฯ อาเซียน "AICHR" ระบุมีบทบาทไม่ต่างจาก "ตู้โชว์" โดยการร่างปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียนก็ขาดการมีส่วนร่วม เน้นรัฐมากกว่าสิทธิ ด้านผู้วิจัยระบุด้วยว่า AICHR ตั้งมา 3 ปีแล้วแต่กลับเงียบเมื่อเกิดเหตุจับกุม-อุ้มหายนักกิจกรรมและนักสิทธิมนุษยชน ทั้งกรณีสมยศ พฤกษาเกษมสุข ถึง สมบัด สมพอน 

กรุงเทพมหานคร - วันนี้ (20 มิ.ย.) ฟอรัม เอเชีย และมูลนิธิศักยภาพชุมชนได้เผยแพร่รายงานตรวจสอบผลการดำเนินงานขององค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน หรือ AICHR โดยเป็นรายงานฉบับที่สาม หลังจากที่ก่อนหน้านี้เคยมีรายงานตรวจสอบประจำปี 2 ฉบับ นำเสนอโดยองค์กรประชาสังคมอื่น

โดยรายงานฉบับล่าสุดดังกล่าวใช้ชื่อว่า "Still Window-dressing" หรือ "ยังคงเหมือนตู้โชว์" โดยเป็นการรวบรวมผลการทำงาน และวิจารณ์ผลการดำเนินงานของ AICHR ระหว่างปี 2554 - 2555 โดย นางแอนิเก โนวา ซิกิโร (Atnike Nova Sigiro) ผู้อำนวยการด้านงานรณรงค์ประเด็นอาเซียนของฟอรัม เอเชีย กล่าวว่า

"ภายใต้การประเมินนี้ องค์กรภาคประชาสังคมจะสามารถสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียนหรือ AICHR และทำให้องค์กรสิทธิมนุษยชนดังกล่าวเป็นองค์กรที่อิสระ และมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นการปกป้อง และสร้างหลักประกันด้านสิทธิมนุษยชนในอาเซียน"

อย่างไรก็ตาม นางแอนิเก กล่าวว่างานของ AICHR ยังมีข้อจำกัดอยู่มาก เพราะฉะนั้นผลกระทบของ AICHR ที่จะมีต่อชีวิตของประชาชนในอาเซียนก็มีน้อยมาก "นี่จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมองค์กรประชาสังคมจึงพิจารณาการทำงานของ AICHR ที่มีภารกิจด้านสิทธิมนุษยชนในอาเซียนว่า "ยังคงเหมือนตู้โชว์""

นางชลิดา ทาเจริญศักดิ์ จากมูลนิธิศักยภาพชุมชน (PEF) กล่าวว่า องค์กรประชาสังคมในประเทศไทย และประเทศอื่นในอาเซียนได้มีบทบาทในการผลักดันเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมขนานใหญ่ โดยการประเมินอย่างวิพากวิจารณ์ AICHR ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่องค์กรประชาสังคมในอาเซียนปฏิบัติ นอกจากนี้ยังรวมถึงการให้ข้อมูลในหลากหลายด้านให้กับ AICHR ด้วย

ด้านชิเวย เย นักวิจัยของรายงานตรวจสอบผลการดำเนินงานของ AICHR กล่าวว่า รายงานฉบับดังกล่าวอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการทั้งจากสมาคมอาเซียน จาก AICHR และองค์กรประชาสังคม โดยข้อเสนอของรายงานได้เรียกร้องอย่างหนักแน่นให้องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียนหรือ AICHR มีความโปร่งใสมากขึ้น ทำงานอย่างครอบคลุม รวมถึงการเผยแพร่ข้อมูลทุกอย่างที่มีความเกี่ยวข้องอย่างเรื่องเอกสาร และวาระของกิจกรรม ให้อยู่ในเว็บไซต์ทางการของ AICHR ด้วย

โดยชิเวย เย ยังกล่าวถึงกรณีนักกิจกรรมที่ถูกดำเนินคดีและถูกคุกคามในรอบปีที่ผ่านมา เช่น ยอม โบปผา ซึ่งรณรงค์ต่อต้านการไล่รื้อที่ดินในกัมพูชา ซึ่งเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมาถูกรัฐบาลกัมพูชาจำคุก 3 ปี ทา ฝอง ตัน บล็อกเกอร์ชาวเวียดนามที่ถูกจำคุก 10 ปี จากการเขียนบล็อกวิจารณ์รัฐบาล โดยแม่ของเธอยังจุดไฟเผาตัวตายประท้วงคำตัดสินด้วย ทั้งนี้ทา ฟอง ตัน เป็นหนึ่งในบล็อกเกอร์ 32 รายที่ถูกรัฐบาลเวียดนามดำเนินคดี

ชิเวย เย ยังกล่าวถึงกรณีที่ สมยศ พฤกษาเกษมสุข นักกิจกรรมแรงงาน และบรรณาธิการนิตยสารที่ถูกควบคุมตัวในเรือนจำและถูกตัดสินจำคุก 10 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จากบทความที่ตีพิมพ์ในนิตยสาร โดยที่เขาไม่ได้เป็นผู้เขียน และล่าสุดคือกรณีของนายสมบัด สมพอน นักพัฒนาอาวุโสของ สปป.ลาว ที่หายตัวไปในเดือนธันวาคมปี 2555 หลังถูกตำรวจควบคุมตัว และขณะนี้ยังไม่พบตัว

ชิเวย เย กล่าวด้วยว่านี่เป็นหนึ่งในหลายตัวอย่างของบุคคลที่ต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนในอาเซียน และ AICHR ได้ก่อตั้งมาแล้ว 3 ปี แต่กลับเงียบงันต่อเรื่องนี้ และไม่มีการเคลื่อนไหวรูปธรรมอะไรเวลาที่เกิดกรณีละเมิดสิทธิเช่นนี้

ด้านยุวาล กินบา ที่ปรึกษาทางกฎหมายของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล แสดงความเห็นต่อบทบาทของ AICHR ในช่วงที่มีการร่างคำประกาศสิทธิมนุษยชนอาเซียนว่า "จากรายงานตรวจสอบผลการดำเนินงาน AICHR ฉบับนี้ได้แสดงให้เห็นว่ากระบวนการร่างคำประกาศสิทธิมนุษยชนอาเซียนดังกล่าวเป็นไปอย่างลึกลับ โดยที่องค์กรประชาสังคมจะเข้าไปมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดผลอย่างสำคัญ ก็ได้เข้าร่วมในช่วงที่ผ่านการร่างไปหลายขั้นตอนแล้ว นอกจากนี้การตัดสินใจของ AICHR ก็อยู่บนพื้นฐานของหลักการลงฉันทะมติ ที่ให้สิทธิผู้แทน AICHR สามารถวีโต้ได้ ผลก็คือได้คำประกาศสิทธิมนุษยชนอาเซียนที่ล้มเหลวอย่างมาก โดยเป็นคำประกาศที่เน้นให้ความสำคัญกับอำนาจของรัฐบาลมากกว่าหลักการสิทธิมนุษยชน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปฏิรูปศาสนา วาระแห่งชาติ เพื่อพลิกฟื้นคืนความสุขให้แก่คนไทย

Posted: 20 Jun 2013 06:06 AM PDT

ตามที่พวกเรามักจะเห็นข่าวเกี่ยวกับพฤติกรรมไม่เหมาะสมทางวินัยของพระสงฆ์  ตลอดจนการจัดมหรสพเพื่อหาเงินเข้าวัด  มีการเต้นระบำด้วยท่าทางและการแต่งกายล่อแหลมภายในวัด  แต่ก็ไม่มีผู้ใดที่เคร่งครัดเอาจริงเอาจังในการป้องกันไม่ให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น  ผมในฐานะพุทธศาสนิกชนคนหนึ่งมีความรู้สึกเป็นห่วงต่อสังคมไทยซึ่งคนด้วยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ  โดยส่วนตัวผมทำงานที่ต้องพบพูดคุยและให้คำปรึกษาผู้กระทำความผิดอาญาและนักโทษจำนวนมากซึ่งการกระทำผิดส่วนหนึ่งนั้นคือการทำผิดศีลห้าซึ่งถือเป็นหลักปฏิบัติหนึ่งในคำสอนของศาสนาพุทธ  ผมรู้สึกเฉลียวใจว่าความจริงแล้วคนไทยจำนวนมากมีชื่อทางทะเบียนว่านับถือศาสนาพุทธ  แต่คนเหล่านั้นกลับไม่ได้ปฏิบัติตนเป็นพุทธศาสนิกชนแต่อย่างใด  หากเปรียบเทียบกับบุคคลที่นับถือศาสนาอื่นๆ บางศาสนาก็จะพบว่าพวกเขามีการประพฤติปฏิบัติต่อคำสอนหรือความเชื่อของศาสนาและสังคมของตนได้ดีพอสมควร  หากศาสนาสอนไม่ให้ดื่มสุรา  พวกเขาก็จะไม่ดื่มสุรา  หากสังคมนั้นตั้งข้อรังเกียจการมีชู้ แต่สอนให้มีผัวเดียวเมียเดียว (หรือมีเมียได้  4  คน  โดยเปิดเผย  แต่ห้ามมีชู้)  พวกเขาก็จะปฏิบัติตาม  เป็นต้น  แต่หากผู้ใดไม่ปฏิบัติตามก็จะถูกสังคมนั้นเองตำหนิติเตียนหรืออาจได้รับโทษทัณฑ์  นอกจากคำสอนแล้วการร่วมพิธีกรรมทางศาสนานั้นๆ ก็ยังเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมและจรรโลงจิตใจจนนับได้ว่าซึมแทรกเข้ากับกิจวัตรประจำวันของพวกเขา  เช่นการเข้าโบสถ์วันอาทิตย์  การทำละหมาดวันละหลายๆ ครั้ง  ทุกๆ วัน

หากย้อนมาดูศาสนาพุทธก็จะพบว่ามีคำสอนหลักสำหหรับฆราวาสคือการให้ทาน  รักษาศีล  เจริญภาวนา  ประกอบกับกิจวัตรประจำวันคือการตักบาตร  สวดมนต์  เข้าวัดในวันพระ  อย่างไรก็ตามด้วยสังคมไทยพัฒนาด้านวัตถุมากขึ้น  คนไทยจำนวนมากจึงต้องใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบเพื่อทำการงาน  ดูแลตนเองและครอบครัว  จนไม่มีเวลาให้กับศาสนา  ผลที่เกิดขึ้นก็คือ  จะหาคนไทยที่สวดมนต์เพียงวันละครั้งก็ยากเต็มที  และจำนวนมากไม่รู้จักศีลห้าดีเพียงพอว่าสอนอะไรบ้าง  ท่องได้ไม่ครบ  ๕  ข้อ  และโดยส่วนใหญ่ทำผิดศีลครบทั้ง  5  ข้อ  ขอย้ำว่าคนไทยส่วนใหญ่ทำผิดศีลห้าเป็นประจำทุกวัน  ซึ่งหากจะเรียกได้ว่าคนเหล่านั้นไม่ใช่พุทธศาสนิกชนอีกต่อไปก็ไม่ผิดนัก  ข้อเท็จจริงเหล่านี้สามารถอ้างอิงข้อมูลได้จากสถิติทั่วโลกเกี่ยวกับเรื่องอาชญากรรม  การดื่มสุรา  การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร  การทุจริตคอรัปชั่น  ฯลฯ  ซึ่งประเทศไทยมักติดอันดับต้นๆ แทบจะไม่แพ้ชาติใดในโลก  ทั้งๆ ที่โลกนี้มีประเทศต่างๆ ทั้งสิ้นกว่า  120  ประเทศก็ตาม  เรื่องบางเรื่องเป็นสิ่งที่คนไทยเห็นกันจนชินตาตั้งแต่ภายในครอบครัวของตนเองจนกระทั่งระดับผู้นำประเทศ  ไม่ว่าจะเป็นการดื่มสุรา  เสพยาเสพติด  การนอกใจสามีหรือภรรยา  การพูดจาโกหกหลอกลวง  การโกงในทุกระดับ  ฯลฯ  และแน่นอนสิ่งต่างๆ เหล่านี้ท้ายที่สุดได้นำมาซึ่งปัญหาของสังคมและอาชญากรรม

สิ่งที่ผมจะสื่อมิได้ประสงค์ให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนไทยโดยฉับพลัน  แต่หากมีความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นแม้เพียงเล็กน้อยก็ถือว่าเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของประเทศ  การที่ผมต้องรับฟังปัญหาจากนักโทษจำนวนมากและประสบพบเห็นความเสื่อมทรามของสังคมแล้วจึงมั่นใจว่าปัญหาที่สำคัญนั้นเกิดจากคนไทยห่างไกลจากศาสนามากขึ้น  สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะคนไทยเบื่อหน่ายพระสงฆ์จำพวกที่มีความประพฤติไม่เหมาะสมกับวินัย  ใช้ชีวิตหรูหรายึดติดในวัตถุ  ทำคุณไสย  ปลุกเสกดินและหิน  หาได้ศึกษาพระธรรมวินัยแต่อย่างใดไม่  หากจะเดินเข้าวัดก็เห็นวัดจำนวนมากมีการดำเนินการเชิงพุทธพาณิชย์  ไม่มีความสมถะ  ไม่น่าเลื่อมใส  แต่สาเหตุที่สำคัญมากก็คือ  คนไทยสมัยใหม่แทบจะไม่เคยเข้าวัดเพื่อฟังธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเลย  พวกเขาเข้าวัดตามเทศกาลเพื่อจะได้ออกจากบ้านมาพบปะผู้คนเท่านั้น  บางส่วนเอาเงินมาทำบุญทำทาน  แต่ก็ไม่รู้ว่าผลบุญของการทำทานเป็นอย่างไร  มีผลมากน้อยเพียงใด  ส่วนใหญ่กลายเป็นสนับสนุนให้พระและวัดยึดติดกับการพัฒนาวัตถุ  มิใช่พัฒนาจิตใจคนแต่อย่างใด

ข้อเสนอของผมนั้นเรียบง่ายแต่หากผู้มีอำนาจนำไปใช้อย่างจริงจังก็จะเกิดผลดีแก่สังคมไทยอย่างทันตา  มีเพียง 2  ข้อ ได้แก่  1. จัดให้มี "วันฆราวาส" เป็นวันที่ครอบครัวอยู่พร้อมหน้าพร้อมตาและพากันไปเข้าวัดฟังธรรมทุกวันอาทิตย์ (เพราะวันพระไม่ตรงกับวันอาทิตย์  ยุคปัจจุบันนั้นไม่ใช่สมัยพุทธกาล  ฆราวาสจึงต้องทำงานหรือเรียนวันจันทร์ถึงวันศุกร์)  โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลศาสนามีการโฆษณาปลุกกระแสโดยใช้ดารานักแสดงเชิญชวนให้ทุกคนไปเข้าวัดเพื่อฟังธรรมทุกวันอาทิตย์  2. ยกเลิกกฎหมายที่อนุญาตให้วัดจัดงานมหรสพหรือจัดงานเรี่ยไร  (การทำบุญทำทานเป็นเรื่องการสมัครใจของฆราวาส  ไม่ใช่หน้าที่ของวัดที่จะมอบความบันเทิงเพื่อแลกเปลี่ยนกับเงิน  หากวัดใดไม่มีเงินสร้างโบสถ์  สร้างวิหาร  ก็ไม่ต้องสร้าง  หากไม่ครบองค์ประกอบก่อตั้งเป็นวัด  ก็ให้ยุบตัวลงเป็นเพียงสำนักสงฆ์หรือสำนักปฏิบัติธรรม)

ผลที่เกิดขึ้นก็คือ  ครอบครัวจะมีความผูกพันกันมากขึ้น  มีคำสอนของศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจไม่ให้ทำชั่ว  (ปัจจุบันคนจำนวนมากมีเงินเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ  และทำชั่วด้วยการผิดศีลห้าเพื่อให้ได้เงินมา)  ส่วนพระสงฆ์และวัดเองก็จะไม่หลงผิดทาง  แต่จะรู้จุดประสงค์ของตนเองว่ามีหน้าที่อบรมธรรมะขัดเกลาจิตใจคนในสังคมตามแนวคำสอนของพระพุทธเจ้า  มิฉะนั้นแล้วคนดีๆ ในสังคมก็คงจะท้อแท้ใจพากันไม่ศรัทธาในศาสนา  แม้กระทั่งพระสงฆ์ดีๆ ก็อาจจะลาสิกขาออกไปดังที่เป็นข่าวไม่นานมานี้  ผมเห็นว่าปัจจุบันประชาชนจำนวนมากออกมาต่อสู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยเพื่อรักษาสถาบันชาติ  สถาบันพระมหากษัตริย์  แต่ถ้าไม่ออกมาพัฒนาสถาบันศาสนาแล้วธงชาติไทยจะมีสีขาวไว้เพื่ออะไร

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ม.อ.ส่อเดือด เตรียมประชาพิจารณ์ออกนอกระบบ นศ.เริ่มเคลื่อนค้าน

Posted: 20 Jun 2013 06:06 AM PDT

ม.อ.เตรียมประชาพิจารณ์ออกนอกระบบ แจงขึ้นค่าเทอมไม่เกี่ยวออกนอกระบบ นักศึกษาเริ่มเคลื่อนค้านออกนอกระบบ ขอที่นั่งให้นักศึกษาในสภามหาวิทยา มีสิทธิมีเสียงเท่าคณาจารย์ อธิการ ม.อ.ชี้เป็นสถาบันสุดท้าย แจงขึ้นค่าเทอม ไม่เกี่ยวออกนอกระบบ

ม.อ.เตรียมประชาพิจารณ์ออกนอกระบบ
ผศ.สมปอง ทองผ่อง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี เปิดเผยว่า ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2556 เป็นต้นไป ม.อ.จะจัดทำเวทีประชาพิจารณ์ เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งเป็นการออกกฎหมายที่กำหนดให้เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หรือการออกนอกระบบ

ผศ.สมปอง เปิดเผยต่อว่า การจัดทำเวทีประชาพิจารณ์ อาจจะใช้เวลา 1 ปี ขณะนี้ได้มีการร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว เป็นแนวทางไว้แล้ว โดยจะเชิญบุคลากร อาจารย์และนักศึกษาของทุกวิทยาเขตมาเข้าร่วม เพื่อรับฟังและเสนอประเด็นต่างๆ รวมทั้งมีการถามตอบในประเด็นต่างๆ ด้วย

ผศ.สมปอง เปิดเผยด้วยว่า เมื่อครบกำหนดเวลาในการทำประชาพิจารณ์แล้ว ทางมหาวิทยาลัยจะสรุปว่าเป็นอย่างไรบ้าง ถ้ามีความเห็นชอบก็จะนำผลการจัดทำประชาพิจารณ์เข้าไปในที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย เพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป

ผศ.สมปอง กล่าวด้วยว่า การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับ ที่ทุกคนมีความกังวล มีอยู่ 2 อย่าง คือ การขึ้นค่าธรรมเนียม และการบริหารงานที่ไม่โปร่งใส เพราะทุกคนเข้าใจว่า กฎหมายฉบับนี้จะเปิดช่องให้ผู้บริหารทุจริตได้นั้น ความเป็นจริงมันไม่ใช่ เพราะฉะนั้นต้องไปอ่านร่างกฎหมายให้ละเอียด และมาร่วมแสดงความเห็นในเวทีประชาพิจารณ์ด้วย
 

แจงขึ้นค่าเทอมไม่เกี่ยวออกนอกระบบ
ผศ.สมปอง กล่าวว่า กรณีการปรับขึ้นค่าธรรมเนียมการศึกษา ไม่เกี่ยวข้องกับการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เพราะทางมหาวิทยาลัยมีแผนที่จะขึ้นค่าธรรมเนียมมาก่อนแล้ว แต่ได้ชะลอไว้ก่อน เพราะไม่อยากสร้างความเดือนร้อนให้นักศึกษา จึงปรับเป็นการขึ้นค่าธรรมเนียมแบบขั้นบันไดตามชั้นปี

ผศ.สมปอง กล่าวว่า ในการขึ้นค่าธรรมเนียมนั้น เป็นการเปลี่ยนจากการจ่ายเป็นค่าหน่วยกิตมาเป็นแบบการเหมาจ่าย ซึ่งกำหนดเป้าหมายอยู่ที่คนละ 11,000 บาทจากเดิม 5,000 บาท โดยปีการศึกษานี้อยู่ที่ 7,000 บาท ปีหน้าจะขึ้นอีก 2,000 บาท จนกว่าจะครบ 11,000 บาท ซึ่งเป็นการค่าธรรมเนียมจากนักศึกษาใหม่ ยกเว้นบางสาขาวิชาที่มีค่าธรรมเนียม 11,000 บาทมาตั้งแต่ต้น เพราะเป็นสาขาที่เพิ่งเปิดใหม่

ผศ.สมปอง กล่าวว่า การขึ้นค่าธรรมเนียมดังกล่าว มีการชะลอหลายครั้ง จึงทำให้สามารถขึ้นค่าธรรมเนียมได้ทุกๆ 3 ปีหรือ 5 ปี ปัจจุบันขึ้นปีต่อปี จริงๆ แล้วทางมหาวิทยาลัยไม่อยากขึ้นค่าธรรมเนียม และไม่อยากสร้างความเดือนร้อนให้กับนักศึกษา แต่มีความจำเป็น เพราะเป็นการขึ้นค่าธรรมเนียมตามสภาพเงินเฟ้อ จึงต้องชี้แจงให้นักศึกษาทราบ

ผศ.สมปอง กล่าวด้วยว่า สำหรับเงินค่าธรรมเนียมที่เพื่อขึ้นนั้น เงินนั้นก็จะกลับไปที่คณะต่างๆ เพื่อใช้ในการทำกิจกรรมพัฒนาการเรียนการสอน การให้ทุนการศึกษา ไปทัศนศึกษายังต่างประเทศ เป็นต้น เพราะรัฐบาลจะไม่เงินอุดหนุนให้มหาวิทยาลัยบางส่วนอีกแล้ว ทำให้มหาวิทยาลัยต้องหารายได้บางส่วนมาเพิ่ม

ผศ.สมปอง กล่าวอีกว่า รัฐบาลถือว่า การศึกษาในระดับอุดมศึกษา เป็นการศึกษาทางเลือก ไม่ใช่ภาคบังคับ เพราะฉะนั้นคนที่จะศึกษาก็จะต้องมีการลงทุนด้วย เพราะถ้าเทียบกับมหาวิทยาลัยเอกชนแล้ว ถือว่ามีค่าธรรมเนียมที่ต่ำมาก

ผศ.สมปอง กล่าวว่า ส่วนการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐมีข้อดี คือ สามารถบริหารจัดการงบประมาณได้อย่างคล่องตัว แต่ก็เป็นไปตามที่ระเบียบกำหนดและสามารถตรวจสอบได้ โดยกฎระเบียบต่างๆ ทางสภามหาวิทยาลัยจะเป็นผู้กำหนด เพื่อให้ง่ายต่อการทำงาน โดยไม่จำเป็นต้องรอมติคณะรัฐมนตรี
 

นักศึกษาเริ่มเคลื่อนค้านออกนอกระบบ
ในขณะที่กลุ่มนักศึกษาที่ไม่เห็นด้วยกับการออกนอกระบบดังกล่าว โดยได้เริ่มทำกิจกรรมรณรงค์คัดค้าน โดยเฉพาะในวิทยาเขตปัตตานีที่เริ่มมีการแจกใบปลิวคัดค้านทั่วมหาวิทยาลัยตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน ที่ผ่านมา

นายอับดุลอาวัล บายา นักศึกษาชั้นปี 4 เอกการปกครองท้องถิ่น คณะรัฐศาสตร์ รองประธานสภานักศึกษา ม.อ.ปัตตานี กล่าวว่า เมื่อเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับก็จะทำให้นักศึกษาต้องเสียค่าเทอมสูงขึ้น ทำให้ไม่มีความคิดเสรีภาพ ด้านจิตอาสาก็จะหายไป ทั้งๆ ที่มหาวิทยาลัยและรัฐมีหน้าที่บริการประชาชน

นายอับดุลอาวัล กล่าวอีกว่า ผลกระทบระยะยาวคือ คนจนไม่สามารถเข้าศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยได้ และทำให้บางคนไม่สามารถเลือกเรียนตรงตามที่ตัวเองชอบเพราะค่าเทอมแพง ทำให้ไม่มีความคิดเป็นของตัวเอง
 

ขอที่นั่งให้นักศึกษาในสภามหาวิทยาลัย
นายอับดุลอาวัล กล่าวเพิ่มเติมว่า ตอนนี้นักศึกษายังไม่สามารถทำอะไรได้ นอกจากสร้างพื้นที่ต่อรอง โดยต้องการให้นักศึกษาสามารถเข้าไปเป็นกรรมการในสภามหาวิทยาลัย เพื่อให้ได้รับรู้เกี่ยวกับกระบวนการของมหาวิทยาลัยได้ ตอนนี้ที่ทำได้คือการสร้างกระแสความตื่นตัว เพื่อให้นักศึกษาทราบว่า กำลังจะมีการนำ ม.อ.ออกนอกระบบ

นายชยุตพงศ โสภีวรรณ นักศึกษาชั้นปี 4 เอกสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.อ.ปัตตานี ประธานกลุ่มกล้าคิด กล่าวว่า คิดว่าในระยะยาวมหาวิทยาลัยก็ต้องเป็นมหาวิทยาลัยนอกระบบราชการอยู่แล้ว แต่นักศึกษาต้องการให้นักศึกษาเป็นส่วนหนึ่งในสภามหาวิทยาลัย มีสิทธิมีเสียงเท่ากับกับคณาจารย์
 

ให้มีสิทธิมีเสียงเท่าคณาจารย์
นายชยุตพงศ กล่าวว่า หากคณาจารย์เห็นว่า นักศึกษายังไม่พร้อมที่จะไปนั่งในสภามหาวิทยาลัย ก็ขอให้คณาจารย์ลาออกเถอะ เพราะไม่เปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์อะไรได้ ไม่ให้นักศึกษาได้ใช้เหตุและผลในการพูดคุยปรึกษาหารือ หรือเพื่อต่อรองประโยชน์ของนักศึกษาด้วยกัน

"ถ้าสภามหาวิทยาลัยให้ความเป็นธรรมแก่คณาจารย์ได้ ก็ต้องให้นักศึกษาเข้าไปนั่งในสภามหาวิทยาลัยได้ เพื่อเป็นการให้ความเป็นธรรมกับนักศึกษาด้วย" นายชยุตพงศ กล่าว

นายชยุตพงศ กล่าวต่ออีกว่า หากเป็นมหาวิทยาลัยนอกระบบก็เท่ากับว่ากำลังปิดกั้นประชาชนที่อยู่ระดับล่างไม่ให้มีความรู้ เพราะมีการขึ้นค่าเทอมให้แพงขึ้น ทำให้การศึกษาจำกัดอยู่ที่คนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น

นายชยุตพงศ มีข้อเสนอด้วยว่า เมื่อออกนอกระบบแล้ว 1.ให้จัดสรรงบให้คนยากจนให้เข้าถึงการศึกษามากกว่านี้ 2.ให้ทุนกับชุมชนเพื่อส่งคนดีๆ เข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัยได้
 

อธิการ ม.อ.แจงเป็นสถาบันสุดท้าย
ด้านเว็บไซต์ของ ม.อ. เผยแพร่แถลงการณ์ของรศ.ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล อธิการบดี ฉบับที่ 3/2556 หัวข้อ "ม.อ. กับการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ" เนื้อหาส่วนหนึ่งระบุว่า ปัจจุบันมหาวิทยาลัยของรัฐเดิมที่มีสถานะเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐมี 12 แห่ง และยังคงสถานะเดิม 15 แห่ง

หากพิจารณาเฉพาะในส่วนของ 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ พบว่า เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับฯ ไปแล้ว 5 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ส่วนที่เหลืออีกจำนวน 4 แห่งยังคงสถานะเดิม

ในจำนวน 4 แห่งดังกล่าว มีการดำเนินการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับฯ อย่างชัดเจน 3 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ส่วนมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ส่งร่างพระราชบัญญัติฯ ให้สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) แล้ว เพื่อเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี ดังนั้น ยังคงมี ม.อ.แห่งเดียวเท่านั้น ที่ยังไม่กำหนดบทบาทให้ชัดเจนในการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
 

แจงขึ้นค่าเทอม ไม่เกี่ยวออกนอกระบบ
รศ.ชูศักดิ์ ระบุว่า การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับฯ จะมีการขึ้นค่าเทอมสูงขึ้นนั้น เป็นการเข้าใจผิด เพราะรัฐบาลยังสนับสนุนงบประมาณอยู่ ดังนั้นการขึ้นค่าเทอมไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับฯ หรือไม่ เพราะในปัจจุบันแม้จะเป็นมหาวิทยาลัยในระบบราชการก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องขึ้นค่าเทอมตามอัตราเงินเฟ้อ เช่น ในปี 2557 มหาวิทยาลัยมีแผนที่จะปรับค่าเทอม และจะปรับทุกๆ 3 ปีตามอัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น

รศ.ชูศักดิ์ ระบุด้วยว่า โดยสรุปมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์โดยมติที่ประชุมคณบดี ได้มีจุดยืนที่จะขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ทั้งนี้มีแผนการดำเนินการร่างพระราชบัญญัติฯ ฉบับใหม่รวมทั้งการรับฟังความคิดเห็นจากประชาคมให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี


 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ถนนแคบกับความใจแคบของนักผังเมืองไทย กรณีศึกษาโอซากา

Posted: 20 Jun 2013 06:02 AM PDT

 
ถนนแคบๆ แบบใจกลางเมืองเดิม ควรรักษาไว้และส่งเสริมให้เติบโตต่อเนื่อง แทนการขยายตัวของเมืองตามยถากรรม ที่อาจอนุมานได้นักผังเมืองกระแสหลักของไทยที่ไปศึกษามาจากประเทศตะวันตก ใจแคบและละทิ้งรากเหง้าของไทยแท้ๆ
 
ในระหว่างวันที่ 16-21 มิถุนายน 2556 ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ได้นำพาคณะผู้สนใจด้านอสังหาริมทรัพย์ ไปดูงานอสังหาริมทรัพย์ ณ นครโอซากา นารา โกเบ ประเทศญี่ปุ่น ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย เพื่อระดมทุนสนับสนุนกิจกรรมสาธารณประโยชน์ของมูลนิธิ ในระหว่างนั้นได้พบข้อคิดที่น่าสนใจเกี่ยวกับการวางแผนพัฒนาเมือง มาแลกเปลี่ยนกันในเรื่องถนนแคบๆ ในนครต่างๆ ของญี่ป่น
 
ท่านที่ไปเที่ยวญี่ปุ่น จะสังเกตได้ว่าถนนซอยส่วนใหญ่ในนครต่างๆ มีขนาดแคบๆ วิ่งรถได้แค่ช่องทางจราจรเดียวเป็นสำคัญ ซึ่งก็คล้ายๆ กับแถวพาหุรัด บางลำพู สำเพ็ง เยาวราช ฯลฯ ที่มีถนนตรอกซอกซอยแคบๆ เช่นกัน แต่ปรากฏว่าของไทย ขาดการพัฒนาใจกลางเมืองต่อเนื่อง เราทอดทิ้งศูนย์กลางเมืองเดิม ละทิ้งรากเหง้าของเราเอง แล้วหันไปสร้างศูนย์กลางเมืองต่อที่สีลม และขยายไปรัชดาภิเษก พระรามที่ 3 บางนา ศรีนครินทร์ ปิ่นเกล้า ฯลฯ
 
บางคนบอกเราไม่ควรให้อาคารสร้างชิดติดกันเพราะอาจเกิดปัญหาเพลิงไหม้ได้ แต่ที่ญี่ปุ่นทำไมเขาทำได้ เขายังมีท่อแก๊สลงใต้ดินอีกด้วย ดูน่ากลัวกว่าไทยด้วยซ้ำ แต่ในประเทศไทย เรากลับอ้างความไร้ประสิทธิภาพในระบบการดับเพลิง มากีดขวางการพัฒนาเมือง การพัฒนาประเทศ ประเทศไทยโดยเฉพาะมหานครใหญ่ๆ ควรยกระดับประสิทธิภาพการดับเพลิงด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ หน่วยเคลื่อนที่เร็ว หรือเฮลิคอปเตอร์-เครื่องบินดับเพลิง แทนที่จะอาศัยแต่ระบบดับเพลิงเดิมๆ ที่ใช้มาครึ่งศตวรรษ ผนวกกับการทำงานอาสาสมัครของเหล่ามูลนิธิต่าง ๆ
 
นอกจากนี้ยังมีบางคนอ้าง (ส่งเดช) ว่าการอยู่อย่างหนาแน่นไม่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย แถม "ข่มขู่" ว่าเป็นเพราะไทยเป็นประเทศร้อนชื้น เชื้อรา (เชื้อโรค) มากมาย ทำให้เราต้องสร้างบ้านให้โล่งๆ กว้างๆ ไว้ ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิด ถ้าเมืองไทยโดยเฉพาะกรุงเทพมหานครไม่เคยมีพาหุรัด บางลำพู สำเพ็ง เยาวราช ฯลฯ ก็ว่าไปอย่าง แต่นี่เราเคยมีมาแล้ว แต่เรากลับทิ้งรากเหง้าเดิมเสีย เพียงเพราะการ "ตามก้น" ตะวันตก
 
ในญี่ปุ่น เขารักษาเขตใจกลางเมืองไว้อย่างเดิม ในย่านธุรกิจใจกลางเมือง เขาอนุญาตให้สร้างอาคารชิดติดกันได้ โดยไม่ต้องเว้นระยะ ไม่ต้องร่นหน้า ร่นหลัง เหมือนในกรณีกรุงเทพมหานคร ที่ดูเป็นการแกล้งไม่ให้เมืองมีการพัฒนาในแนวสูงๆ ไล่คนกรุงเทพมหานครให้ออกไปอยู่นอกเมือง มากกว่าที่จะพัฒนาใจกลางเมืองให้เจริญ แล้วเชื่อมต่อด้วยระบบรถไฟฟ้าใต้ดินหรือบนดิน เพื่อไม่ให้เมืองขยายตัวออกไปอย่างไร้การควบคุมทุกทิศทุกทาง
 
การที่เมืองขยายตัวออกไปตามยถากรรมนี้ ถือเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม ทำลายพื้นที่ชนบทรอบนอกของเมืองอย่างไม่อาจกลับคืนมาได้ เช่น ย่านบางนาที่ปลูกข้าวได้ดีที่สุดของไทย ย่านบางมดที่ปลูกส้มที่มีชื่อเสียง หรือในเขตจังหวัดนนทบุรีที่มีสวนทุเรียนขึ้นชื่อของประเทศ ล้วนถูกทำลายย่อยยับลงเพราะการขยายตัวของเมืองอย่างขาดการวางแผน ผมจึงสงสัยนักว่า นักผังเมืองกระแสหลักที่วางผังเมืองจนเกษียณอายุราชการไปหลายชั่วรุ่น ได้เกียรติยศชื่อเสียงไปมากมาย ไปทำอะไรกันอยู่ จึงปล่อยให้กรุงเทพมหานครและเมืองทั้งหลายประสบชะตากรรมเช่นนี้
 
โดยนัยนี้ เราต้องสร้างระบบรถไฟฟ้าใจกลางเมือง ให้สามารถประสานส่วนต่างๆ ของเมือง โดยเฉพาะในเขตใจกลางเมือง อนุญาตให้สร้างอาคารได้สูงๆ ที่มีความหนาแน่นมาก (High Density) แต่ไม่เกิดความแออัด (Over crowdedness) เพื่อประสิทธิภาพการใช้ที่ดินสูงสุด เพราะให้เมืองมีประสิทธิภาพในการทำการหน้าที่เพื่อประชาชนส่วนใหญ่
 
 
......
 
AREA แถลง ฉบับที่ 76/2556: พฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน 2556
 
ดร.โสภณ พรโชคชัย (sopon@area.co.th) ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA (www.area.co.th)

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โครงสร้างไม่เอื้อ แรงงานข้ามชาติเข้าไม่ถึงสิทธิประกันสังคม

Posted: 20 Jun 2013 04:41 AM PDT

แรงงานคือรากฐานสำคัญของระบบเศรษฐกิจ ต่อให้การค้าการผลิตเฟื่องฟูอย่างไร แต่หากแรงงานไม่เพียงพอ ก็ยากที่เศรษฐกิจจะเติบโตอย่างมั่นคง

ประเทศไทยเองอยู่ในภาวะขาดแคลนแรงงานมาหลายปี เนื่องด้วยโครงสร้างประชากรที่เกิดน้อยลงแต่ผู้สูงอายุมากขึ้น ส่งผลให้กำลังแรงงานที่เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจลดลงตามไปด้วย ภาวะดีมานด์โอเวอร์ซัพพลายเช่นนี้ ทำให้คนไทยมีทางเลือกมากขึ้น งานระดับล่าง งานกุลีแบกหามใช้แรงกาย งานโรงงาน งานสกปรก งานเสี่ยงอันตรายทั้งหลาย จึงขาดแคลนกำลังคนอย่างมาก

ปัจจุบัน ประเทศไทยมีอัตราการว่างงานอยู่ประมาณ 2-3 แสนคน/ปี หรือ ไม่ถึง 1% ของกำลังแรงงานทั้งหมด ไม่เพียงพอที่จะรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แนวทางการจัดการที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยคือต้องพัฒนาทักษะคนงานเพื่อเพิ่มผลิตภาพ และนำเข้าแรงงานข้ามชาติมาทำงานในอุตสาหกรรมประเภท Labour Intensive และงานระดับล่างอื่นๆ ที่ไม่จำเป็นต้องมีทักษะมาก ซึ่งแรงงานที่นิยมมากที่สุดหนีไม่พ้นแรงงานพม่า ลาวและกัมพูชา เพราะอยู่ติดประเทศไทย

ที่ผ่านมามีการนำเข้าแรงงานกลุ่มนี้มีทั้งแบบถูกและผิดกฎหมาย กลายเป็นต้นทางของปัญหาการค้ามนุษย์และปัญหาความมั่นคง โดยรัฐบาลไทยพยายามจัดระบบผลักดันแรงงานที่ลักลอบเข้าประเทศแบบผิดกฎหมายให้มาขึ้นทะเบียน และพัฒนาสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติเพื่อให้เป็นแรงงานถูกกฎหมายต่อไป

ข้อมูลจากกรมการจัดหางาน เดือน เม.ย. ระบุว่า มีแรงงานทั้ง 3 ประเทศที่พิสูจน์สัญชาติแล้ว 963,243 คน แบ่งเป็นสัญชาติพม่า 847,475 คน ลาว 30,939 คน และกัมพูชา 84,829 คน และยังมีแรงงานที่เข้าเมืองแบบผิดกฎหมายแต่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในประเทศและต้องเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติอีก 190,657 คน แบ่งเป็นพม่า 63,768 คน ลาว 39,704 คน กัมพูชา 64,409 คน และชนกลุ่มน้อยอีก 22,776 คน

ขณะที่ สำนักเศรษฐกิจการแรงงานยังให้ข้อมูลด้วยว่า อัตราการจ้างแรงงานข้ามชาติต่อจำนวนผู้มีงานทำทั้งหมดอยู่ที่ 2.90% หมายถึง ผู้มีงานทำทุกๆ 100 คน จะมีการจ้างแรงงานข้ามชาติ 3 - 4 คน และในจำนวน 2.90% นี้ เป็นแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่า ลาวและกัมพูชาถึง 2.55%

แรงงานข้ามชาติกลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการขับเคลื่อนประเทศ  และแนวโน้มนำเข้าแรงงานข้ามชาติจะยังมีต่ออีกเรื่อยๆ เพราะนอกจากการเติบโตตามปกติของธุรกิจแล้ว ระยะเวลาอันใกล้นี้รัฐมีโครงการบริหารจัดการระบบน้ำ 3.5 แสนล้านบาทระยะเวลา 5 ปี และแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอีก 2 ล้านล้านบาท ซึ่งจำเป็นต้องใช้แรงงานจำนวนมาก

ปริมาณแรงงานข้ามชาติที่มีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ไทยต้องจัดระบบบริการสุขภาพให้สอดคล้องกับการทำงานของคนกลุ่มนี้ ซึ่งตั้งแต่ปี 2553 แรงงานที่เข้าเมืองและได้ใบอนุญาตทำงานอย่างถูกกฎหมาย จะต้องเข้าสู่ระบบประกันสังคมมาตรา 33 ได้สิทธิสวัสดิการต่างๆ เทียบเท่าแรงงานไทย

แม้ในหลักการจะดี แต่ในทางปฏิบัติ แรงงานข้ามชาติยังคงมีข้อจำกัดในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลอีกมาก เฉพาะแรงงานข้ามชาติที่เข้าเมืองแบบผิดกฎหมายแต่ได้รับการผ่อนผันให้ทำงานต่อเพื่อรอพิสูจน์สัญชาติ ตลอดจนผู้ติดตามหรือครอบครัว คนกลุ่มนี้ไม่สามารถเข้าไปอยู่ในระบบประกันสังคมได้ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้จัดสวัสดิการในรูปของประกันสุขภาพแรงงานข้ามชาติ โดยให้ซื้อประกันในราคาปีละ 1,900 บาท เพื่อรับสิทธิในการเข้ารับบริการตรวจและรักษาสุขภาพ โดยปัจจุบันมีแรงงานข้ามชาติซื้อบัตรประกันสุขภาพรวมทั้งหมด 72,234 คน

รายงานของ บุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์ ฝ่ายวิชาการ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ระบุว่า บทเรียนจากการทำงานของเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนด้านประชากรข้ามชาติ และองค์กรที่รับทุนจากกองทุนโลก (Global Fund) พบว่า การให้บริการด้านสาธารณสุขสำหรับคนกลุ่มนี้ ยังมีปัญหาทั้งระดับผู้รับบริการ ผู้ให้บริการ และระดับนโยบาย

ปัญหาระดับผู้รับบริการ พบว่า 1.แรงงานข้ามชาติยังไปใช้บริการค่อนข้างต่ำ ซึ่งมาจากปัญหาอุปสรรคในการเข้ารับบริการ เช่น ความไม่สะดวกในการเดินทางเพราะต้องมีนายจ้างพาไป ต้องใช้เวลารอคอยนานทำให้ขาดรายได้ สื่อสารกับแพทย์และเจ้าหน้าที่ไม่ได้ และล่ามมีจำนวนจำกัด รวมถึงการถูกคุกคามและจับกุมจากเจ้าหน้าที่รัฐ

2.แรงงานข้ามชาติจำนวนมากมาโรงพยาบาลก็ต่อเมื่อป่วยหนักมากแล้ว ทำให้หน่วยบริการสุขภาพมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลค่อนข้างสูง

ขณะที่ ปัญหาจากผู้ให้บริการ พบว่าเป็นปัญหาด้านทัศนคติของผู้ให้บริการอันเนื่องมาจากความแตกต่างของเชื้อชาติ ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี และภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร

และปัญหาระดับนโยบาย พบว่า ระบบประกันสุขภาพนี้ยังไม่ครอบคลุมการรักษาโรคเอดส์ ทำให้แรงงานข้ามชาติไม่มีโอกาสได้รับยาต้านไวรัส และโรคติดต่อบางโรค รวมถึงยังไม่ครอบคลุมการรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายด้วยการล้างไตและการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง

นอกจากนี้แล้ว ในส่วนของแรงงานข้ามชาติที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติและเข้าระบบประกันสังคมมาตรา 33 ก็ยังมีปัญหาเช่นกัน เพราะโครงสร้างสวัสดิการประกันสังคมมาตรา 33 ถูกออกแบบมาสำหรับแรงงานที่ต้องได้รับการคุ้มครองในระหว่างการทำงานจนถึงวัยชราภาพหรือหลังเกษียณอายุ แต่กลุ่มแรงงานข้ามชาติอยู่อาศัยและทำงานได้เพียง 4 ปีแล้วต้องกลับไปประเทศต้นทาง ส่งผลให้เข้าไม่ถึงสิทธิหลายสิทธิ

บุษยรัตน์ ระบุว่า จากการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างแรงงานข้ามชาติที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติแล้วที่ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร อ.เมือง จ.เชียงใหม่ และ อ.ปลวกแดง จ.ระยอง พบปัญหาการรับสวัสดิการตามมาตรา 33 ถึง 4 เรื่อง ได้แก่ กรณีคลอดบุตร กรณีสงเคราะห์บุตร กรณีว่างงาน กรณีชราภาพ โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.สิทธิประโยชน์เรื่องคลอดบุตร สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ระบุไว้ว่า ผู้ประกันตนที่จะสามารถใช้สิทธินี้ได้ต้องมีเอกสารแสดงตนประเภทใดประเภทหนึ่งใน 3 ประเภทนี้ คือ ทะเบียนสมรสไทย หรือ หนังสือรับรองบุตร หรือใบคำสั่งศาล อย่างไรก็ตาม กลุ่มแรงงานข้ามชาติย่อมประสบปัญหาในการมีใบยืนยันดังกล่าวจากประเทศต้นทางอย่างแน่นอน

2.สิทธิประโยชน์การรับเงินสงเคราะห์บุตร สปส.กำหนดให้บุตรผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์จนถึงอายุ 6 ปี แต่แรงงานข้ามชาติอยู่ในประเทศไทยได้สูงสุดแค่ 4 ปีเท่านั้น เมื่อต้องกลับประเทศต้นทาง แรงงานข้ามชาติจะมีสิทธิรับเงินสงเคราะห์บุตรต่อเนื่องอีกได้หรือไม่?

3.สิทธิกรณีชราภาพ เนื่องจากแรงงานที่จะได้รับบำนาญชราภาพต้องประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบ คือ ส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 180 เดือนหรือ 15 ปี อายุขั้นต่ำ 55 ปีและออกจากงาน แต่เนื่องจากแรงงานข้ามชาติทำงานได้แค่ 4 ปี ทำให้ได้เพียงบำเหน็จชราภาพเท่านั้น

4.สิทธิการรับเงินชดเชยว่างงาน เพราะตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง 2522 ระบุว่า แรงงานข้ามชาติที่สิ้นสุดการเป็นลูกจ้างจะต้องถูกส่งกลับประเทศต้นทาง หรือมิฉะนั้นต้องหานายจ้างใหม่ให้ได้ภายใน 7 - 15 วัน ดังนั้นหากแรงงานไม่สามารถหานายจ้างใหม่ได้ใน 15 วัน และถูกส่งกลับแรงงานจะเข้าถึงเงินทดแทนการขาดรายได้อย่างไร? หรือเมื่อสิ้นสุดการจ้างงาน 4 ปีแล้วก็ต้องถูกส่งกลับประเทศต้นทาง ยิ่งไม่มีทางใช้สิทธิประโยชน์นี้เหมือนแรงงานไทยได้

นอกจากปัญหาโครงสร้างสิทธิประโยชน์แล้ว ยังมีปัญหาระดับนโยบาย เช่น แรงงานข้ามชาติมักจะทำงานอยู่ในกิจการจ้างงานที่มีความเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพสูง อาทิ ก่อสร้าง ประมงทะเล หรืออยู่ในอุตสาหกรรมที่ต้องสัมผัสสารเคมีสูง โอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงได้ตลอดเวลา แต่เกณฑ์ประกันสังคมนั้นแรงงานข้ามชาติต้องส่งเงินสมทบมาแล้วอย่างน้อย 3 เดือน จึงจะสามารถใช้สิทธิการรักษาพยาบาลได้ ระหว่าง 3 เดือนนี้ กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ต้องซื้อหลักประกันสุขภาพชั่วคราวคนละ 1,047 บาทแทน ถือได้ว่ายิ่งเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้กับแรงงานเพิ่มมากขึ้นไปอีก

ที่สำคัญ กฎหมายประกันสังคมไม่ได้บังคับรวมไปถึงลูกจ้างบางกลุ่ม เช่น คนทำงานบ้าน ซึ่งเป็นอาชีพที่แรงงานข้ามชาติอีกจำนวนมากทำงานอยู่ด้วย ทำให้คนกลุ่มนี้เข้าระบบประกันสังคมไม่ได้ ต้องไปซื้อประกันสุขภาพแรงงานข้ามชาติแทน

ข้อจำกัดข้างต้น ทำให้ตั้งแต่ปี 2553 ถึงเดือน ต.ค. ปี 2555 มีแรงงานข้ามชาติเข้าสู่ระบบประกันสังคมเพียง 217,972 คนเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม สปส.เอง ก็พยายามแก้ไขปัญหาเหล่านี้เช่นกัน โดยจากผลการศึกษาเรื่องแรงงานข้ามชาติกับการได้รับความคุ้มครองสิทธิประกันสังคม ของ นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน มีการเสนอให้ยกเว้นสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน สงเคราะห์บุตรและเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีคลอดบุตร และตั้งกองทุนประกันสังคมเฉพาะแรงงานข้ามชาติ ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่การศึกษารายละเอียด คาดว่าจะแล้วเสร็จปลายปีนี้และเสนอให้คณะกรรมการประกันสังคมพิจารณาต่อไป

ก็คงต้องจับตาดูว่ารูปแบบประกันสังคมสำหรับแรงงานข้ามชาติจะออกมาอย่างไร หากทำได้จริงก็จะเป็นอีกก้าวสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

 

 


หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกที่ http://www.healthfocus.in.th/content/2013/06/3522

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น