โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

รายงาน: เปิดร่าง 'โรดแมปสันติภาพ' ฉบับประชาสังคมชายแดนใต้

Posted: 14 Jun 2013 11:36 AM PDT

การ พูดคุยและเจรจาสันติภาพเป็นกระบวนการที่อ่อนไหวและเปราะบาง เพราะคือขั้นตอนของการค่อยๆ เปลี่ยนผ่านความสัมพันธ์ของตัวแสดงในความขัดแย้งจากที่เคยใช้ความรุนแรงเป็น เครื่องมือต่อรองมาสู่วิธีการสนทนา ความท้าทายในระหว่างทางนั้นเป็นเรื่องที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฟากฝ่ายจำ ต้องประสบเป็นธรรมดา สิ่งที่จะเป็นหลักประกันประการหนึ่งของกระบวนการสันติภาพดังกล่าวคือการมี ทิศทางที่ชัดเจนและเข้าใจธรรมชาติของความขัดแย้งและกระบวนการที่แสดงหา ทางออกในแบบนี้ บทเรียนจากความขัดแย้งในที่อื่นๆ สอนเราว่าแผนที่เดินทางเพื่อสันติภาพ หรือ Peace Roadmap เป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่สนับสนุนให้การพูดคุยและเจรจาที่กำลังดำเนิน อยู่ในขณะนี้จะมีความหมายต่อผู้คนและมีความมั่นคงเพียงพอสำหรับทางออกซึ่งพอ จะเป็นที่ยอมรับได้ของทุกฝ่าย

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในห้วงเวลาของการริเริ่มพูดคุยสันติภาพที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าไร้ทิศ ทางและความพร้อม การมีทิศทางซึ่งเห็นชอบร่วมกันของคู่สนทนาหรือมีการผลักดันจากฝ่ายต่างๆ จึงเป็นเครื่องมือที่จะรั้งให้กระบวนการสันติภาพเดินหน้าต่อไปได้ ที่ผ่านมามีความพยายามจะเสนอแผนที่เดินทางอยู่บ้าง แต่การแสดงบทบาทของเครือข่ายประชาสังคมในพื้นที่เมื่อเร็วๆ นี้ก็ชี้ให้เห็นความพยายามผลักดันให้การพูดคุยที่กำลังดำเนินอยู่นั้นยึดโยง กับความกังวลและความคาดหวังของประชาชนในพื้นที่เป็นสำคัญด้วย สิ่งนี้จะสร้างความชอบธรรมให้กับกระบวนการและเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างหลัก ประกันว่าสันติภาพที่ (อาจ) จะก่อเกิดขึ้นในอนาคตนั้นมีฐานรองรับจากประชาชนมากพอ

ปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา สภาประชาสังคมชายแดนใต้และเครือข่ายองค์กรในภาคสังคมจำนวนหนึ่งได้ร่วมกัน จัดกระบวนการยกร่างแผนที่เดินทางสันติภาพ หรือ "โรดแมปสันติภาพ" ขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มจากการเชิญนักวิชาการด้านสันติภาพคนสำคัญมาให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยว กับความจำเป็นของการมี "โรดแมปสันติภาพ" ในกระบวนการพูดคุยและเจรจาสันติภาพ (คลิกอ่าน "ทำความเข้าใจ 'แผนที่เดินทางสู่สันติภาพ'และบทบาทของฝ่ายที่สาม") และจัดให้มีการระดมความคิดเห็นอย่างต่อเนื่องหลายครั้งเมื่อตอนต้นเดือน มิถุนายนที่ผ่านมา กระทั่งได้มาซึ่งร่างแผนที่เดินทางที่พร้อมจะเสนอต่อคู่สนทนา ทั้งฝ่ายทางการไทยและฝ่ายขบวนการบีอาร์เอ็น
 
แม้ว่าใจกลางของการจัดทำโรดแมปสันติภาพจะเน้นหนักไปที่ "กระบวนการ" ที่มีประชาชนหลายกลุ่มองค์กรและหลากหลายชาติพันธุ์ศาสนาเข้าร่วม แต่ "เนื้อหา" ของร่างโรดแมปดังกล่าวก็มีความหมายสำคัญที่คู่สนทนาและผู้คนในสังคมควรร่วม พิจารณาอย่างถี่ถ้วน
 
ดังที่นำมาแสดงให้เห็นในที่นี้
 
 
(ร่าง)
แผนที่เดินทางสันติภาพโดยภาคประชาสังคมชายแดนใต้/ปาตานี
ผลจากการระดมความเห็นเครือข่ายภาคประชาสังคมชายแดนใต้
ในวันที่ 4 , 8 และ 10 มิถุนายน 2556
 
1. ภาค ประชาสังคมมีการระดมความคิดเห็นจากบุคคลที่หลากหลายกลุ่มและอาชีพ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ มุ่งมั่นที่จะเห็นการแก้ปัญหาความขัดแย้งรุนแรงที่ยืดเยื้อเรื้อรังใน จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยสันติวิธี ภาคประชาสังคมและประชาชนในและนอกพื้นที่ตื่นตัว ตระหนัก และสร้างความหวัง รวมทั้งปรารถนาให้รัฐไทยกับขบวนการ BRN รวมทั้งกลุ่มอุดมการณ์ ผู้เห็นต่างจากรัฐกลุ่มอื่นๆ มีการพูดคุย/เจรจาสันติภาพเพื่อหาทางออกที่ดีงาม ถูกต้อง และบังเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในและนอกพื้นที่ชายแดนใต้ และประเทศชาติ
 
2. ภาคประชาสังคมเห็นว่า กระบวนการสันติภาพนี้ควรวางอยู่บนหลักการการแก้ปัญหาในแนวทางสันติวิธี 5 ข้อ:
 
(1) ทุกกระบวนการของการสร้างสันติภาพ ต้องเชื่อมโยงและให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ และสังคมสาธารณะ
 
(2) ทุกฝ่ายควรยอมรับสถานะของคู่เจรจาอย่างเท่าเทียมและเสมอภาค
 
(3) เปิดพื้นที่ปลอดภัยที่ทุกคนสามารถเสนอความคิดเห็นโดยไม่ต้องกังวลต่อความปลอดภัยและการดำเนินทางกฎหมายจากทั้งรัฐและ BRNในการสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมในกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ
 
(4) ภาคประชาสังคมจะเป็นฝ่ายประสานเชื่อมทุกฝ่าย ร่วมกันกำหนดพื้นที่/สร้างตัวชี้วัดในการ "ลดความรุนแรง" และสนับสนุนการสร้างความเป็นธรรมแก่ประชาชน เพื่อให้บรรลุข้อตกลงที่ทุกฝ่ายยอมรับและชอบธรรม
 
(5) สังคมต้องเรียนรู้ เข้าใจ อดทน อดกลั้น และยอมรับความจริงเพื่อหนุนเสริมให้กระบวนการพูดคุยและเจรจาบรรลุข้อตกลงของทุกฝ่าย
 
3. พันธะ สัญญา เพื่อให้การพูดคุยเดินหน้าจนบรรลุข้อตกลงร่วมกันโดยนำความสันติสุขแก่ ประชาชน ภาคประชาสังคมจะผนึกกำลังร่วมกันกับทุกฝ่าย แม้ว่าเวทีการพูดคุยจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่
 
ข้อเสนอต่อขบวนการ BRN:
 
(1) ต้องสื่อสารและเปิดพื้นที่ทำความเข้าใจให้รัฐและประชาชนในเรื่องความไม่เป็นธรรมที่กลุ่มเสนอให้เป็นรูปธรรม
 
(2) ร่วมกันเสนอแนวคิดการจัดให้มีช่องทางสื่อสารของบีอาร์เอ็นในการติดต่อประสานงานเพื่อการพูดคุยสันติภาพอย่างเป็นทางการ
 
(3) ให้แสดงความรับผิดชอบกับเหตุการณ์รุนแรงทั้งที่ตัวเองได้กระทำและปฏิเสธสิ่งที่ไม่ได้กระทำ
 
(4) ควรมีแผนที่สันติภาพ (โรดแมป) เพื่อแสดงเจตจำนงทางการเมืองร่วมกันหาทางออกจากความขัดแย้ง
 
(5) ละเว้นการทำร้ายผู้บริสุทธิ์
 
ข้อเสนอต่อรัฐไทย:
 
(1) ตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาวิเคราะห์ข้อเสนอของ BRN อย่างรอบคอบและสรุปผลเสนอต่อคณะพูดคุย
 
(2) สร้างบรรยากาศสันติภาพให้เป็นรูปธรรมทุกระดับในพื้นที่
 
(3) ให้แสดงความรับผิดชอบกับเหตุการณ์รุนแรงทั้งที่ตัวเองได้กระทำและปฏิเสธสิ่งที่ไม่ได้กระทำ
 
(4) กำหนดองค์กรให้ชัดในการทำหน้าที่รับฟังความเห็นจากภาคประชาชน และภาคประชาสังคม
 
(5) หากระบวนการที่ชอบธรรมเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการเจรจาสันติภาพให้ทำหน้าที่อย่างต่อเนื่อง ตามนโยบายของสภาความมั่นคงแห่งชาติ
 
(6) รัฐต้องมีหน่วยที่สามารถสื่อสารความก้าวหน้าการพูดคุย/เจรจาสันติภาพ
 
(7) ทบทวนกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ
 
ข้อเสนอต่อประชาชน
 
(1) ควรเรียนรู้ ติดตาม และตรวจสอบกระบวนการสันติภาพให้เท่าทัน ครอบคลุมทุกด้าน
 
(2) ต้องกระตือรือร้นในการเข้ามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางของการสร้างสันติภาพด้วยตัวของประชาชนเอง
 
(3) สร้างและเปิดพื้นที่การพูดคุยและเชื่อมโยงกับภาคประชาสังคมด้วยเครื่องมือที่สร้างสรรค์ (ทีม/กระบวนการ) เพื่อสันติภาพให้หลากหลายกลุ่มมากขึ้น
 
(4) ควรเตรียมความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร
 
ข้อเสนอต่อสื่อ
 
(1) สื่อ ต้องเรียนรู้ และมีองค์ความรู้ในกระบวนการสันติภาพ โดยเฉพาะเรื่องประวัติศาสตร์ และสังคมวัฒนธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อพัฒนาทักษะการรายงานข่าวสาร ให้ความรู้แก่สาธารณะในการหนุนเสริมกระบวนการพูดคุย/เจรจาให้บรรลุเป้าหมาย
 
(2) สื่อควรมีแนวปฏิบัติของการรายงานข่าวสารที่สอดรับกับบรรยากาศกระบวนการสันติภาพที่กำลังดำเนินการอยู่
 
(3) สื่อควรสร้างพื้นที่ของเครือข่ายการพูดคุย โดยใช้แหล่งข่าวหลากหลายกลุ่มได้สนทนาสันติภาพในพื้นที่สื่อด้วยเช่นกัน
 
ข้อเสนอต่อรัฐบาลมาเลเซีย
 
(1) ต้องเป็นกลาง ไม่มีผลประโยชน์ใดที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสันติภาพ
 
(2) ยกระดับจาก "ผู้อำนวยการพูดคุย" เป็น "คนกลางในการไกล่เกลี่ย" ร่วมกับประเทศอื่นๆ โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากทั้งสองฝ่าย
 
4. บทบาทของภาคประชาสังคมกับการสนับสนุน/หนุนเสริมกระบวนการสันติภาพ มีดังนี้
 
(1) เสริมสร้างและพัฒนาวัฒนธรรมสันติภาพและการเรียนรู้ให้กับองค์กรภาคประชาสังคมทุกเครือข่ายเป็นวัตถุประสงค์สำคัญขององค์กร
 
(2) เสริมสร้างและพัฒนาทักษะกับการทำงานหลักของแต่ละองค์กรให้เชื่อมโยงกับกระบวนการสันติภาพ
 
(3) สร้างกระบวนการทำงาน การติดตามประเมินผล 'โครงการสันติภาพ' ให้เข้มแข็งเป็นเครือข่ายให้ชัดเจนเป็นรูปธรรมมากขึ้น
 
(4) องค์กร/ภาคประชาสังคม ต้องกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัด ในการทำงานแต่ละประเด็นให้เป็นกระบวนการเพื่อสร้างโครงข่ายอย่างเป็นระบบ
 
(5) องค์กร/ภาคประชาสังคม ต้องสร้างความเชื่อมั่นแก่เครือข่าย ประชาชนในการสร้าง "สภาวะผู้นำ" ในกิจกรรมสร้างสันติภาพ
 
(6) องค์กร/ภาคประชาสังคม ต้องเชื่อมโยงกับองค์กรเครือข่ายเพื่อสื่อสารภายในและสังคมสาธารณะในผลของการขับเคลื่อนเรื่องสันติภาพอย่างเป็นระบบ สม่ำเสมอ และต่อเนื่อง
 
(7) ให้องค์กร/ภาคประชาสังคมปฏิบัติการ แถลงการณ์ รณรงค์ที่เป็นรูปธรรมชัดเจนมากขึ้น
 
(8) ให้องค์กรภาคประชาสังคมผลักดันข้อเสนอเป็นนโยบายสาธารณะและวาระแห่งชาติ
 
(9) ภาคประชาสังคมจะต้องผนึกกำลังและสร้างเครือข่ายในพื้นที่เพื่อขยายกระบวนการสันติภาพ
 
(10) องค์กร/ภาคประชาสังคม รวมทั้งสถาบันการศึกษา ควรสร้างกระบวนการทบทวนและปรับปรุงการทำงานให้หนุนเสริมกระบวนการสันติภาพ
 
5. องค์กร/ภาคประชาสังคมเสนอกรอบเวลา 3 ปี (นับจากกรกฎาคม 2556/2013 – พฤษภาคม 2559/2016) เพื่อให้การพูดคุย/เจรจา สันติภาพเป็นไปทั้งในทางลึกและกว้าง ด้วยการมีโครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคง โดยแบ่งระยะเวลาเป็นช่วงต่างๆ โดยมีการสร้างกระบวนการสื่อสารธารณะตลอดกระบวนการ ดังนี้ ระยะของกระบวนการพูดคุย ใช้ระยะเวลา 6 เดือน – 1 ปี
(กรกฎาคม 2556/2013 – มิถุนายน 2557/2014)
 
ทั้งสองฝ่ายคู่เจรจาตกลงขั้นตอน / กระบวนการ / ประเด็นการเจรจาภายในสิ้นปี 2556
สร้างความเข้าใจ รณรงค์สาธารณะ/อธิบายการยอมรับการเจรจา
รัฐไทยตอบข้อคำถาม 5 ข้อของขบวนการ BRN
ขบวนการ BRNสร้างความมั่นใจกับรัฐไทย
ใช้การพูดคุยที่ไม่เป็นทางการเสริมการพูดคุยที่เป็นทางการ
ลดความกังวลแก่มวลชนทั้งสองฝ่าย
ขบวนการ BRN ต้องขยายความ "ความไม่เป็นธรรม" ให้ทั้งรัฐและประชาชนเข้าใจ
รัฐไทยและบีอาร์เอ็นต้องเปิดพื้นที่และสร้างบรรยากาศกระบวนสันติภาพให้เป็นรูปธรรม ทุกระดับในพื้นที่
ขยายพื้นที่พูดคุยกระบวนการสันติภาพ โดยสร้างเวทีพูดคุยสันติภาพให้ครอบคลุมทุกฝ่าย
เปิดเวทีให้ประชาชนนำเสนอความคิดเห็นและประเด็นต่อรัฐ
 
ระยะยกระดับสู่ "การเจรจา"
 
กำหนดกลไกคณะทำงานในกระบวนการเจรจา อาทิ ใช้การพูดคุยที่ไม่เป็นทางการเสริมการพูดคุยที่เป็นทางการ
มีกลไกที่ปรึกษาอย่างเป็นทางการกับ Track 1
ตั้งคณะที่ปรึกษาร่วมที่มาจากทั้งสองฝ่าย
หารือกรอบข้อตกลงการเจรจา / ประเด็น
ฝ่ายคู่ขัดแย้ง แต่งตั้งตัวแทนการเจรจา
 
ขั้นเจรจา ใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 2 ปี
(มิถุนายน 2557/2014 – พฤษภาคม 2559/2016)
 
มีคณะทำงานย่อยแต่ละประเด็นที่มีการเจรจา เพื่อนำไปสู่ข้อตกลงที่บรรลุได้ ได้แก่
            - การลดความรุนแรง
            - ข้อตกลงการหยุดยิง การสร้างพื้นที่ที่ปลอดภัย
            - การสร้างความเป็นธรรม
            - การปฏิรูปฝ่ายความมั่นคง
            - การปฏิรูปการเมือง และสิทธิทางการเมือง
            - แก้ไขรัฐธรรมนูญ
            - การศึกษา ภาษา อัตลักษณ์ ฯลฯ
ได้กรอบข้อตกลงสันติภาพที่ครอบคลุมทุกประเด็นสำคัญ
 
หลังมีกรอบข้อตกลงการเจรจา 1 ปี
 
ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการละเมิดกฎการเจรจา โดยมีตัวแทนของภาคประชาชนทุกภาคส่วน
การปฏิบัติ / ติดตามให้ข้อตกลงสันติภาพเป็นรูปธรรม
เกิดพื้นที่ปลอดภัยจากฝ่ายคู่ขัดแย้งทุกพื้นที่
ขยายความเข้าใจแก่สังคมสาธารณะ
 
บันทึกข้อถกเถียง
อนึ่ง มีการถกเถียงที่ยังไม่ลงตัวหลายประการ เช่น คำว่า "ประเทศชาติ" ในที่นี้หมายถึงประเทศใด สันติภาพ ก็ต้องมีนิยาม เพราะแต่ละฝ่ายนิยาม "สันติภาพ" ไม่เหมือนกัน เป็นต้น
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ฮัสซัน ตอยิบ แจงสื่อนอก การเจรจาต้องอดทน ใช้เวลานาน วอนทุกฝ่ายร่วมมือ

Posted: 14 Jun 2013 11:26 AM PDT

ฮัสซัน ตอยิบ แถลงข่าวต่อสื่อต่างประเทศหลังการเจรจารอบ 3 ที่กัวลาลัมเปอร์ ระบุสงครามไม่สามารถแก้ปัญหาทุกอย่างได้ การเจรจาเป็นหนทางเดียวที่มีแม้ต้องใช้เวลานาน ขอให้ทุกฝ่ายได้เข้าร่วม



เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2556 สำนักข่าว AFP ของฝรั่งเศสได้เผยแพร่ข่าวการแถลงต่อสื่อมวลชนต่างประเทศของนายฮัสซัน ตอยิบ ตัวแทนขบวนการ BRN หลังการเจรจาสันติภาพกับตัวแทนรัฐบาลไทยที่กัวลาลัมเปอร์ โดยกล่าวถึงผลของการเจรจาในครั้งนี้และความคาดหวังในอนาคต

โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ (DSJ) ได้แปลข่าวนี้ ซึ่งใช้พาดหัวภาษาอังกฤษว่า Thai rebels urge patience amid peace negotiations แปลว่า กลุ่มขบถไทยเรียกร้องขอให้อดทนในการเจรจาสันติภาพ โดยมีเนื้อหาแปลเป็นภาษาไทย ดังนี้

กัวลาลัมเปอร์ (AFP) กลุ่มขบถจากพื้นที่ความขัดแย้งในจังหวัดชายภาคใต้ของประเทศไทยกล่าวเมื่อวันศุกร์ว่า การเจรจาเพื่อยุติความรุนแรงต้องใช้เวลาหลายปี ซึ่งพวกเขากล่าวว่า "เป็นทางเดียว" ที่มั่นใจว่าจะเกิดสันติภาพได้

ทั้งนี้เหตุการณ์ความรุนแรงในสามจังหวัดที่มีเขตแดนติดต่อกับประเทศมาเลเซียและมีประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิมเกิดขึ้นมาเกือบหนึ่งทศวรรษและมีคนตายมากกว่า 5,500 คน

การพูดคุยระหว่างตัวแทนรัฐบาลไทยและตัวแทนองค์การปลดปล่อยแห่งชาติปาตานี (BRN) เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ แต่กลับล้มเหลวในการลดความรุนแรงรายวันที่เกิดขึ้น

นายฮัสซัน ตอยิบ ตัวแทน BRN กล่าวว่า การเจรจาต้องใช้เวลา "2 หรือ 3 ปี" หรือยาวนานกว่านั้น

"ไม่มีตัวชี้วัดว่าต้องใช้เวลายาวนานเท่าไร เราหวังว่าทุกฝ่ายจะมีความอดทน และต้องการเห็นการพูดคุยนี้ดำเนินต่อไป" นายฮัสซัน กล่าว

"การพูดคุยครั้งนี้นับเป็นผลงานที่ดีที่สุดของเรา สงครามไม่สามารถแก้ปัญหาทุกสิ่งทุกอย่างได้ ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้สามารถแก้ได้ด้วยการเจรจาเท่านั้น นี่เป็นหนทางเดียวที่มี แม้ว่าจะต้องใช้เวลานาน" นายฮัสซันกล่าว

ประเทศไทยและกลุ่มขบถเห็บชอบเมื่อวันพฤหัสบดีที่จะลดความรุนแรงในภาคใต้ในช่วงเดือนรอมฎอม อันเป็นเดือนแห่งการถือศีลอดอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มต้นวันที่ 9 กรกฎาคม ถึงวันที่ 7 สิงหาคม

พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงของประเทศไทย ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะเจรจาของรัฐบาลกล่าวกับผู้สื่อข่าวเมื่อวันอังคาร ก่อนการเจรจาครั้งนี้ว่าเขาต้องการ "ผลลัภย์ที่เป็นรูปธรรม" ในการลดความรุนแรง "ซึ่งผมสามารถตอบคำถามประชาชนได้"

สองสัปดาห์ที่แล้ว เจ้าหน้าที่ทหาร 5 คนเสียชีวิตจากการซุ่มยิงโจมตีและวางกับระเบิด ซึ่งฝ่ายรัฐบาลกล่าวอ้างว่าฝ่ายต่อต้านรัฐบาลต้องการทำลายกระบวนการสันติภาพที่เปราะบางดังกล่าว

ในระหว่างการเจรจาสันติภาพสองครั้งในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีเหตุการณ์ความรุนแรงเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดคำถามขึ้นว่า หัวหน้าฝ่ายขบวนการมีอำนาจขนาดไหนในการควบคุมกองกำลังติดอาวุธหัวรุนแรง

นายฮัสซัน กล่าวยอมรับว่า มีบางฝ่ายที่พยายามบ่อนทำลายการเจรจา และกล่าวว่า "ส่วนใหญ่เป็นปัจเจกบุคคลที่สนใจแต่ผลประโยชน์ของตัวเอง" ในขณะเดียวกันเขาหวังว่าผู้ที่ต้องการแก้ปัญหาจะเข้าร่วมการเจรจา "เราเพียงแค่เริ่มต้นการเจรจา เราปรารถนาที่จะให้ทุกฝ่ายเข้าร่วมและสามารถดำเนินการไปด้วยดี" นายฮัสซัน กล่าว

 

ที่มา :

http://www.straitstimes.com/breaking-news/se-asia/story/thai-rebels-urge-patience-amid-peace-negotiations-20130614
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘ธาริต’แถลง ส่งตัว'อภิสิทธิ์-สุเทพ'ให้อัยการ 26 มิ.ย.นี้-ไม่ฟ้องทหาร

Posted: 14 Jun 2013 10:46 AM PDT

อธิบดีดีเอสไอสั่งฟ้อง 'อภิสิทธิ์-สุเทพ' สั่งการฆ่าโดยเจตนาเล็งเห็นผล คดีชุมนุมทางการเมืองปี 53 นัดส่งตัวให้อัยการ 26 มิ.ย.นี้ แต่สั่งไม่ฟ้องทหารผู้ปฏิบัติการ ชี้ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาที่สั่งการโดยมิชอบ

14 มิ.ย.56  กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ รายงาน นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ แถลงสรุปสำนวนคดีการเสียชีวิตของประชาชนในเหตุชุมนุมทางการเมือง ปี 2553 ว่า ที่ประชุมประกอบด้วย อัยการคดีพิเศษ ตำรวจ และดีเอสไอ ทั้ง 3 ฝ่ายเห็นพ้องกันว่า การสอบสวนในคดีนี้ได้เสร็จสิ้นแล้ว ส่วนอีก 2 ความเห็น เป็นความเห็นของพนักงานสอบสวน คือตำรวจและดีเอสไอ เห็นว่า เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า การตายของนายพัน คำกอง ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ และการบาดเจ็บสาหัสของนายสมร ไหมทอง เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ทหารภายใต้คำสั่งของ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน(ศอฉ.) ซึ่งมีผู้ต้องหา คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นผู้กำหนดนโยบายและตัดสินใจในการออกคำสั่ง พฤติการณ์จึงเป็นการก่อให้เจ้าหน้าที่ภายใต้การบังคับบัญชาไปปฏิบัติหน้าที่ในลักษณะที่ผู้ต้องหาและบุคคลทั่วไปย่อมคาดหมายหรือเล็งเห็นได้อยู่แล้วว่า จะเกิดการเสียชีวิตและบาดเจ็บของผู้ชุมนุม เมื่อมีการตายเกิดขึ้น การกระทำของนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ จึงเข้าลักษณะเป็นความผิดอาญา ฐานร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าและพยายามฆ่าคนตาย โดยเจตนาเล็งเห็นผลโดยพยานหลักฐานที่ได้รวบรวมมา มีน้ำหนักพอฟ้อง เห็นสมควรสั่งฟ้อง

นายธาริต กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีเจ้าพนักงานทหาร ผู้ลงมือกระทำแม้ข้อเท็จจริง ฟังเป็นข้อยุติว่า สาเหตุการตาย เกิดจากเจ้าหน้าที่ทหารขณะปฏิบัติหน้าที่ แต่การสอบสวนยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า เป็นการกระทำของทหารรายใด เนื่องจากสภาพพื้นที่และข้อจำกัดขณะเกิดเหตุที่เกิดความไม่เรียบร้อยของบ้านเมือง อยู่ในขณะประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ทหารกำหนดเขตพื้นที่ห้ามเข้า พนักงานสอบสวนจึงไม่อาจเข้าไปเก็บพยานหลักฐาน ยึดอาวุธปืนของกลาง หรือตรวจหาพยานวัตถุต่างๆ อันจะสามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้อย่างกรณีปกติทั่วไป อีกทั้งพฤติการณ์ของเจ้าพนักงานเป็นการปฏิบัติตามคำสั่ง ศอฉ. อาจเข้าลักษณะเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่สั่งการโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเจ้าหน้าที่ทหารเชื่อไปโดยสุจริตใจว่าเป็นคำสั่งโดยชอบและมีหน้าที่ต้องปฏิบัติ เจ้าหน้าที่ทหารจึงได้รับการยกเว้นโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 70 ในชั้นนี้เห็นสมควรสั่งไม่ฟ้อง

นายธาริต กล่าวด้วยว่า ดีเอสไอ กำหนดวันเรียกนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ มาพบพนักงานสอบสวน เพื่อส่งตัวให้อัยการฝ่ายคดีพิเศษ ในวันที่ 26 มิ.ย.เวลา 10.00 น.

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘ธาริต’แถลง ส่งตัว'อภิสิทธิ์-สุเทพ'ให้อัยการ 26 มิ.ย.นี้-ไม่ฟ้องทหาร

Posted: 14 Jun 2013 10:46 AM PDT

อธิบดีดีเอสไอสั่งฟ้อง 'อภิสิทธิ์-สุเทพ' สั่งการฆ่าโดยเจตนาเล็งเห็นผล คดีชุมนุมทางการเมืองปี 53 นัดส่งตัวให้อัยการ 26 มิ.ย.นี้ แต่สั่งไม่ฟ้องทหารผู้ปฏิบัติการ ชี้ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาที่สั่งการโดยมิชอบ

14 มิ.ย.56  กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ รายงาน นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ แถลงสรุปสำนวนคดีการเสียชีวิตของประชาชนในเหตุชุมนุมทางการเมือง ปี 2553 ว่า ที่ประชุมประกอบด้วย อัยการคดีพิเศษ ตำรวจ และดีเอสไอ ทั้ง 3 ฝ่ายเห็นพ้องกันว่า การสอบสวนในคดีนี้ได้เสร็จสิ้นแล้ว ส่วนอีก 2 ความเห็น เป็นความเห็นของพนักงานสอบสวน คือตำรวจและดีเอสไอ เห็นว่า เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า การตายของนายพัน คำกอง ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ และการบาดเจ็บสาหัสของนายสมร ไหมทอง เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ทหารภายใต้คำสั่งของ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน(ศอฉ.) ซึ่งมีผู้ต้องหา คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นผู้กำหนดนโยบายและตัดสินใจในการออกคำสั่ง พฤติการณ์จึงเป็นการก่อให้เจ้าหน้าที่ภายใต้การบังคับบัญชาไปปฏิบัติหน้าที่ในลักษณะที่ผู้ต้องหาและบุคคลทั่วไปย่อมคาดหมายหรือเล็งเห็นได้อยู่แล้วว่า จะเกิดการเสียชีวิตและบาดเจ็บของผู้ชุมนุม เมื่อมีการตายเกิดขึ้น การกระทำของนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ จึงเข้าลักษณะเป็นความผิดอาญา ฐานร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าและพยายามฆ่าคนตาย โดยเจตนาเล็งเห็นผลโดยพยานหลักฐานที่ได้รวบรวมมา มีน้ำหนักพอฟ้อง เห็นสมควรสั่งฟ้อง

นายธาริต กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีเจ้าพนักงานทหาร ผู้ลงมือกระทำแม้ข้อเท็จจริง ฟังเป็นข้อยุติว่า สาเหตุการตาย เกิดจากเจ้าหน้าที่ทหารขณะปฏิบัติหน้าที่ แต่การสอบสวนยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า เป็นการกระทำของทหารรายใด เนื่องจากสภาพพื้นที่และข้อจำกัดขณะเกิดเหตุที่เกิดความไม่เรียบร้อยของบ้านเมือง อยู่ในขณะประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ทหารกำหนดเขตพื้นที่ห้ามเข้า พนักงานสอบสวนจึงไม่อาจเข้าไปเก็บพยานหลักฐาน ยึดอาวุธปืนของกลาง หรือตรวจหาพยานวัตถุต่างๆ อันจะสามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้อย่างกรณีปกติทั่วไป อีกทั้งพฤติการณ์ของเจ้าพนักงานเป็นการปฏิบัติตามคำสั่ง ศอฉ. อาจเข้าลักษณะเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่สั่งการโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเจ้าหน้าที่ทหารเชื่อไปโดยสุจริตใจว่าเป็นคำสั่งโดยชอบและมีหน้าที่ต้องปฏิบัติ เจ้าหน้าที่ทหารจึงได้รับการยกเว้นโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 70 ในชั้นนี้เห็นสมควรสั่งไม่ฟ้อง

นายธาริต กล่าวด้วยว่า ดีเอสไอ กำหนดวันเรียกนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ มาพบพนักงานสอบสวน เพื่อส่งตัวให้อัยการฝ่ายคดีพิเศษ ในวันที่ 26 มิ.ย.เวลา 10.00 น.

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อดีตเลขา สสปน. เผยรัฐบาลไม่ตอบรับทำชวดเข้ารอบเวิร์ดเอ็กซ์โป 2020

Posted: 14 Jun 2013 07:01 AM PDT

'อรรคพล สรสุชาติ' อดีตผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) โต้ รมว.ต่างประเทศ​ยันไทยถูกตัดสิทธิเจ้าภาพเวิลด์เอ็กซ์โป 2020 เพราะรัฐบาลไม่สนับสนุน​ 'ยิ่งลักษณ์' ชี้ไม่นิ่งเฉยแห้วเวิลด์เอ็กซ์โปแต่จะเดินหน้าต่อขอรอฟัง ก.ท่องเที่ยว ก่อน



14 มิ.ย. 56 - เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์รายงานว่านายอรรคพล สรสุชาติ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) กล่าวว่า  กรณีที่นายสุรพงษ์​​ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ ออกมาระบุถึงสาเหตุที่ทำให้ไทย​ถูกตัดสิทธิ์จากการแข่งขันเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงานเวิลด์เอ็กซโป 2020 เพราะ คณะทำงานฝ่ายไทยจัดเตรียมเอกสารรายงานการเตรียมความพร้อมที่ไม่มีคืบหน้านั้น ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง​ แต่สาเหตุที่ทำให้ไทยถูกตัดสิทธิ์เพราะไม่มีการยืนยันกลับจากรัฐบาลว่าจะสนับสนุนแผนการดำเนินการตามที่เสนอตัวขอเป็นเจ้าภาพ

ทั้งนี้มีเอกสารยืนยันเป็นรายงานของคณะกรรมการที่เดินทางมาสำรวจความพร้อมของพื้นที่ จ.อยุธยา เมื่อวันที่ 28 ม.ค. -1 ก.พ. ที่ผ่านมา และสรุปเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารของสำนักงานมหกรรมโลก (บีไออี) ยืนยันว่าว่าไทยผ่านคุณสมบัติในทุกด้าน แต่ที่ไม่่ผ่านคือไม่มีการยืนยันจากรัฐบาลว่าจะให้การสนับสนุนแผนการดำเนินการทั้งที่มีการสอบถามเป็นหนังสือกลับมายังรัฐบาลไทยเพื่อขอคำตอบแต่ก็ไม่มีการยืนยันทำให้ไทยต้องถูกตัดสิทธิ์ จาก 5 ประเทศ ที่เข้ารอบสุดท้ายในการประชุมของบีไออีเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. ที่ผ่านมาและ จะลงมติตัดสินในเดือน พ.ย.นี้

นายอรรคพล กล่าวว่า รัฐบาลต้องออกมาชี้แจงว่าเหตุใดถึงปล่อยให้ไทยถูกตัดสิทธิ์​ทั้งที่ก่อนหน้านี้ก็ยืนยันว่าจะเดินหน้าผลักดันเรื่องนี้ และถึงขั้นประกาศเป็นวาระแห่งชาติ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องหนังสือจากเลขาธิการบีไออี ลงวันที่ 19 มี.ค.ที่ผ่านมา ยื่นผ่านสถานทูตไทยประจำฝรั่งเศส เพื่อขอให้รัฐบาลยืนยันว่าจะสนับสนุนแผนการดำเนินการ และขอให้ตอบกลับภายในวันที่ 5 เม.ย. แต่รััฐบาลกลับไม่ตอบกลับ
 



หนังสือจากเลขาธิการบีไออี ลงวันที่ 19 มี.ค.ที่ผ่านมา ยื่นผ่านสถานทูตไทยประจำฝรั่งเศส
(ที่มาภาพ: แฟนเพจของ Korn Chatikavanij)

 

อย่างไรก็ตาม การที่รัฐบาลปล่อยให้ไทยถูกตัดสิทธิ์เช่นนี้ยังส่งผลเสียมากกว่าที่ไทยจะขอถอนตัวเองเสียอีก เหมือนนักมวยที่กำลังชกอยู่แล้วถูกไล่ลงจากเวที ทั้งที่ ผลการตรวจสอบคุณสมบัติผ่านทุกด้าน และบางด้านได้รับการประเมินว่าดีด้วยซ้ำรัฐบาลต้องชี้แจงให้ชัดเจนในเรื่องนี้ ว่ามีสิ่งใดที่ทำให้รัฐบาลต้องเอาผลประโยชน์ของประเทศไปแลกหรือไม่ เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าเวลานี้มีความเป็นไปได้สูงว่าเมืองดูไบจะได้รับการคัดเลือกเป็นเจ้าภาพ​​

'ยิ่งลักษณ์' ชี้รัฐบาลไม่เฉยแห้วเวิลด์เอ็กซ์โป จะเดินหน้าต่อขอรอฟัง ก.ท่องเที่ยว

วันเดียวกันนี้ (14 มิ.ย.) ASTV ผู้จัดการออนไลน์รายงานว่า ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 14.30 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่คณะกรรมการจัดงานเวิลด์เอ็กซ์โป (บีไออี) 2020 ได้ตัดสิทธิ์ประเทศไทย ออกจากการเป็นเมืองที่เข้าชิงการเป็นเจ้าภาพ โดยไทยจะยื่นขอเป็นเจ้าภาพอีกหรือไม่ว่า ต้องขออนุญาตถามความเห็นจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพราะกระทรวงยังไม่ได้รายงานมาอย่างเป็นทางการ ซึ่งจริงๆ แล้วเราทำอย่างเต็มที่ต้องอยู่ที่กระทรวงว่าผลจากที่เขาตัดสินมาเป็นอย่างไร แล้วเรามีการปรับปรุงได้หรือไม่
       
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า จะส่งผลให้เราสูญเสียโอกาสหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ไม่ใช่ว่าเสียโอกาส ขอเรียนว่าการเข้าไปเรียกว่าต้องมีการคัดเลือกจากคณะกรรมการเป็นชั้นๆ ซึ่งตรงนี้เราไม่สามารถตอบได้ว่าผลคืออะไร แต่เราก็ทำอย่างเต็มที่ ต้องเรียนอย่างนั้น เมื่อถามว่า ฝ่ายค้านมองว่าไทยไม่ได้เป็นเจ้าภาพ เพราะรัฐบาลเพิกเฉย น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวยืนยันว่า ไม่จริง ซึ่งรายละเอียดหลายๆ อย่าง เราที่ก็มีความพร้อม เราก็ทำอย่างเต็มที่อยู่แล้ว ซึ่งน่าจะขอดูข้อมูลได้ และทีมงานเขาก็พร้อมที่จะให้ข้อมูลและชี้แจงได้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เอ็นจีโอห่วงผลวิจัยประสิทธิภาพยาต้านไวรัสทิโนโฟเวียร์ ชี้นำนโยบายผิดทิศ

Posted: 14 Jun 2013 06:25 AM PDT

14 มิ.ย. 56 - เครือข่ายคนทำงานด้านการลดอันตรายจากการใช้สารเสพติด (12D) เปิดเผยว่าจากการที่โครงการ "Bangkok Tenofovir study" ได้ออกมาแถลงผลการศึกษาวิจัยประสิทธิภาพในการใช้ยาต้านไวรัสทิโนโฟเวียร์ (Tenofovir) ในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีการฉีด (Injection Drug User-IDU) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2556 ซึ่งโครงการนี้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2548 มีผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีฉีด ที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวีเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครในโครงการนี้ทั้งสิ้น 2,413 คน ติดเชื้อเอชไอวีระหว่างโครงการศึกษาวิจัย 50 คน ซึ่งผลการศึกษาพบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้เฉลี่ย 49% สำหรับผู้ที่กินยาอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้เกณฑ์การกินยาต่อหน้า (directly observed therapy) ติดต่อกันอย่างน้อย 71% ของวัน และขาดการกินยาไม่เกิน 2 วันติดต่อกัน และมียาตกค้างในร่างกายที่สามารถตรวจวัดได้ ประสิทธิผลการป้องกันเท่ากับ 74% นับเป็นอีกความก้าวหน้าหนึ่งของการพัฒนาหาทางเลือกในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีก่อนการสัมผัสเชื้อ หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า PrEP (เพรป) และนับเป็นข่าวดีเนื่องในเดือนที่จะมีวันต่อต้านยาเสพติดสากล คือวันที่ 26 มิถุนายน นี้ แต่ภาคประชาสังคมมีประเด็นห่วงกังวลหลายเรื่อง

คุณสุภัทรา นาคะผิว ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ และประธานคณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ กล่าวว่า "การลดอันตรายจากการใช้สารเสพติด (Harm Reduction) แบบรอบด้าน ควบคู่ไปกับการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เป็นเครื่องมือพื้นฐานสำคัญในการป้องกันเอชไอวีในกลุ่มผู้ใช้ยาด้วยวิธีการฉีด การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีก่อนสัมผัสเชื้อหรือ PrEP ในกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีฉีด (IDU) นี้เป็นเครื่องมือทางเลือกที่ต้องใช้ผสมผสานกับมาตรการลดอันตรายจากการใช้สารเสพติด (Harm Reduction) ไม่ใช่เอามาแทนเรื่องการแลกเปลี่ยนเข็มหรืออุปกรณ์สะอาด หรือไปทดแทนโปรแกรมการบำบัดด้วยสารทดแทน เพราะ PrEP เป็นวิธีการเฉพาะเจาะจงอุดช่องว่างหรือรอยต่อ (niche intervention) สำหรับผู้ใช้ยาบางคนที่ไม่สามารถใช้วิธีการอื่นได้ โดยเฉพาะวิธีการ Harm Reduction นอกจากนั้นแล้วผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีการฉีดก็ยังมีเพศสัมพันธ์เช่นกันจึงไม่สามารถแยกได้ว่าการติดเชื้อเอชไอวีนั้นมาจากเพศสัมพันธ์หรือจากการใช้ยาเสพติด ดังนั้นยุทธศาสตร์ PrEP ไม่สามารถนำมาใช้ทดแทนการแลกเปลี่ยนเข็มหรืออุปกรณ์สะอาด หรือโปรแกรมการบำบัดด้วยสารทดแทน

ส่วนคุณอภิวัฒน์ กวางแก้ว ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย เสนอให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการโครงการทดลองในสภาพความเป็นจริง เพื่อพิสูจน์ว่าหากเอา PrEP มาใช้กับผู้ใช้ยาแล้ว จะสามารถทำได้จริง (มิใช่อยู่ภายใต้ระบบบำบัดยาเสพติด) และแสดงถึงกลไกการเงิน/งบประมาณสำหรับจัดสรรยา เพื่อไม่ให้นำงบเกี่ยวกับการรักษามาใช้ในการป้องกัน และให้กระทรวงสาธารณสุขเร่งนำมาตรการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด(Harm Reduction) ที่รอบด้าน (ประกอบด้วยชุดบริการ 10 บริการ) ที่ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์มาดำเนินการให้เป็นจริงทันที เพื่อลดการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ และลดการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี และซี ในกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีการฉีด โดยให้มีส่วนร่วมของเครือข่ายผู้ใช้ยา และองค์กรพัฒนาเอกชนที่เกี่ยวข้อง

พวกเราเครือข่ายคนทำงานด้านการลดอันตรายจากการใช้สารเสพติด หรือ เครือข่าย 12D ขอขอบคุณอาสาสมัครในโครงการนี้ทุกคนที่มีส่วนสำคัญต่อผลการศึกษาวิจัยครั้งสำคัญนี้ อย่างไรก็ตามพวกเราขอย้ำและขอเรียกร้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องตระหนัก และดำเนินการเพื่อลดการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีการฉีดในประเทศไทยบนพื้นฐานของการศึกษาวิจัย ข้อมูลเชิงประจักษ์ ยุทธศาสตร์ PrEP เป็นส่วนหนึ่งของการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีอย่างรอบด้านรวมถึงวิธีการทางชีวเวชศาสตร์ (biomedical interventions) วิธีการทางพฤติกรรมศาสตร์ (behavioral interventions) และวิธีการที่เกี่ยวกับโครงสร้างและระบบ (structural interventions) ซึ่งหมายรวมถึงวิธีการเกี่ยวกับกฏหมาย/ระบบ/โครงสร้างและสภาพแวดล้อมที่เป็นอุปสรรค ตลอดจนทัศนคติทางลบต่อผู้ใช้ยาเสพติดของสังคมและผู้ให้บริการ
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

"รักเชียงใหม่ 51" ปะทะผู้ชุมนุมหน้ากากกายฟอว์กส์ที่เชียงใหม่

Posted: 14 Jun 2013 05:34 AM PDT

คนเสื้อแดงกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 นำโดย "ดีเจอ้วน" เผชิญหน้าและเกิดปะทะกับผู้ชุมนุมหน้ากากกายฟอว์กส์ที่ ถ.นิมมานเหมินทร์ มีการปาสิ่งของ รวมถึงเข้าปิดล้อมและปะทะบริเวณพื้นที่รวมตัวของกลุ่มหน้ากากกายฟอว์กส์ด้วย

ตามที่วันนี้ (14 มิ.ย.) เพจ "V For Thailand" และเพจอื่นๆ ได้มีการนัดชุมนุมหน้ากากกายฟอว์กส์ "V for Thailand" ที่ จ.เชียงใหม่ เพื่อต่อต้านระบอบทักษิณ และรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตรนั้น ล่าสุด มีรายงานว่า เมื่อถึงเวลานัดหมายของกลุ่มหน้ากากกายฟอว์กส์นั้น นายอภิชาติ อินสอน หรือ "ดีเจอ้วน" ได้นำผู้สนับสนุนคนเสื้อแดงกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 ประมาณ 30 คน ไปประท้วงบริเวณ ถ.นิมมานเหมินทร์ บริเวณหน้าอาคารฮิลล์ไซด์คอนโดมีเนียม ตรงข้ามปากซอยของนิมมานเหมินทร์ซอย 11 และซอย 13 พื้นที่นัดหมายของผู้ชุมนุมหน้ากากกายฟอว์กส์ โดยเป็นการย้ายมาจากสถานที่เดิมคือสวนสุขภาพ บริเวณ ถ.นิมมานเหมินทร์ด้านทิศใต้ หลังจากทราบว่าคนเสื้อแดงกลุ่มของดีเจอ้วนจะเดินทางไปยังสวนสุขภาพ

ทั้งนี้กลุ่มรักเชียงใหม่ 51 มีการใช้รถปิคอัพติดเครื่องขยายเสียง 2 คัน เข้าไปขวางทางจราจรด้วย ทำให้เกิดการจราจรติดขัดบริเวณถนนนิมมานเหมินทร์ตลอดช่วงบ่าย

ด้าน คมชัดลึก รายงานว่ามีการปะทะกันด้วย โดยคนเสื้อแดงกลุ่มดังกล่าว "ได้ปาขยะใส่กลุ่มหน้ากากขาว และมีการดึงป้ายผ้าที่เขียนว่า "โค่นล้มระบอบทักษิณ" ทำให้เกิดการชุลมุมจนเกิดการชกต่อยระหว่างคน 2 กลุ่ม แม้ว่าจะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจประมาณ 20 คนเข้าห้ามปราบแต่ไม่สำเร็จ"

นอกจากนี้ยังมีผู้โพสต์รูประหว่างที่กลุ่มคนเสื้อแดงขณะปาสิ่งของใส่ผู้ชุมนุมหน้ากากกายฟอว์กส์ด้วย (ชมภาพ)  ขณะที่เพจ "V For Thailand" ได้เผยแพร่ภาพนายอภิชาต หรือดีเจอ้วน ใช้เท้าขวาเหยียบหน้ากากกายฟอว์กส์ พร้อมโพสต์ข้อความว่า "ขอประณาม เสื้อแดงเชียงใหม่ กับการกระทำอันป่าเถื่อน!" (ชมภาพ) โดยมีผู้เข้าไปแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก

ด้านนายเทอดศักดิ์ เจียมกิจวัฒนา แกนนำกลุ่ม "ทหารเสือพระราชา" และเจ้าของสถานีวิทยุชุมชน FM 89.00 MHz ซึ่งเป็นแนวร่วมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้เผยแพร่ วิดีโอ จากเหตุการณ์ดังกล่าวด้วย โดยในช่วงต้นของคลิปจะมีเสืยงแกนนำของผู้ชุมนุมกลุ่มดังกล่าวตะโกนว่า "กระชากมันออกมา กระชากมันออกมา" และมีภาพผู้ชุมนุมเสื้อแดง ฮือเข้าไปบริเวณฮิลล์ไซด์คอนโดมิเนียม ซึ่งมีผู้ชุมนุมหน้ากากกายฟอว์กส์รวมตัวอยู่ จนตำรวจต้องผลักดันออกมา

ด้านเอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์ รายงานด้วยว่า มีผู้ชุมนุมกลุ่มหน้ากากกายฟอว์กส์ ซึ่งเป็นสตรี 2 คน ซึ่งอยู่ที่สวนสุขภาพ บริเวณถนนนิมมานเหมินทร์ด้านทิศใต้ ใกล้กับ ถ.สุเทพ ได้ถูกกลุ่มเสื้อแดงรุมทุบตีและกระชากจนกางเกงจนขาด นอกจากนี้ผู้สื่อข่าวเอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์ระบุด้วยว่ามีผู้ชุมนุมหน้ากากกายฟอว์กส์บาดเจ็บมากกว่า 10 ราย

ก่อนหน้านี้ นายอภิชาต ดีเจอ้วน เคยถูกศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ. ในปี พ.ศ. 2553 ออกหมายจับ ในข้อหาก่อเหตุจลาจลและทำลายทรัพย์สินทางราชการที่ จ.เชียงใหม่ เมื่อคืนวันที่ 19 พ.ค. 2553 (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) และเมื่อวันที่ 20 ก.ค. 55 ได้นำผู้ชุมนุม นปช. "กลุ่มแดงอิสระ" ไปประท้วงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งเดินทางมาประชุมสาขาพรรค ที่ ร.ร.แกรนด์วิลล์ จ.เชียงใหม่ โดยผู้ชุมนุมได้ตะโกนด่านายอภิสิทธิ์ และถามว่าใครเป็นคนสั่งฆ่าคนเสื้อแดง นอกจากนี้มีการจุดประทัดไล่ที่หน้าโรงแรมซึ่งเป็นสถานที่ประชุม จนทำให้นายอภิสิทธิ์ยกเลิกกำหนดการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน และขึ้นรถกลับไปสนามบินทันที (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เล็ก บ้านดอน

Posted: 14 Jun 2013 03:14 AM PDT

"ในระบอบประชาธิปไตยที่ผ่านการเลือกตั้งจากประชาชน เราสามารถตรวจสอบได้ แต่การรัฐประหารเราไม่สามารถตรวจสอบได้เลย"

ประธานกลุ่มภาคีพลังประชาชน (ภปช.)

‘เล็ก บ้านดอน’ ออก กวป. ตั้งภาคีพลังประชาชนจัดเวที 'พิทักษ์รัฐบาล ต้านกบฏ' เย็นวันนี้

Posted: 14 Jun 2013 02:52 AM PDT

ตั้ง "ภาคีพลังประชาชน"  พิทักษ์รัฐบาล ต่อต้านกบฏ ชุมนุม 5 โมงเย็นวันนี้ที่อนุสาวรีย์ปราบกบฏ เล็ก บ้านดอน นั่งประธาน ยันออกจาก กวป. ระบุแนวทางไม่ตรงกัน แต่จุดยืนเดียวกัน ชี้หน้ากากขาวมีสิทธิชุมนุมได้ตามระบอบประชาธิปไตย ปมปัญหาใหญ่คือ รธน.50 ระดมพลังประชาชนหนุนสภาแก้

แถลงเปิดตัวกลุ่มภาคีพลังประชาชน ภาพโดย หนุ่ม เสลภูมิ

นายพงษ์พิสิษฐ์ คงเสนา หรือ เล็ก บ้านดอน อดีตประธานกลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) ในฐานะประธานกลุ่มภาคีพลังประชาชน (ภปช.) แถลงยืนยันลาออกจาก กลุ่ม กวป. และเปิดตั้วกลุ่มกลุ่มภาคีพลังประชาชน พร้อมด้วยแกนนำอีกกว่า 10 คน เมื่อวันที่ 11 มิ.ย.ที่ผ่านมา ณ ชั้น 6 ห้างสรรพสินค้าอิมพีเรียล ลาดพร้าว

โดยเล็ก บ้านดอน แถลงด้วยว่าเนื่องจากปัจจุบันระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทยถูกคุกคามจากหลายฝ่ายที่แสดงตัวเป็นผู้ต่อต้านหลักการประชาธิปไตย ทั้งภาคการเมือง ภาคประชาชนจัดตั้งและองค์กรต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ 50  ซึ่งเป็นปัญหาที่เป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตย พร้อมทั้งกลุ่มเครือขายที่แสดงท่าทีรับใช้ฝ่ายอำมาตยาธิปไตยยังขัดขวางถ่วงความเจริญของประเทศชาติอย่างต่อเนื่อง จึงตนเองและพวกจึงรวมตัวกันเพื่อตั้งกลุ่มภาคีพลังประชาชน เพื่อดำเนินการในการพิทักษ์ระบอบประชาธิปไตยและรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนเสียงข้างมาก เรียกร้องให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคมและประเทศ

ทั้งนี้จะมีการจัดชุมนุมและเวทีปราศรัย ชื่อ "ภาคีพลังประชาชน พิทักษ์รัฐบาล ต่อต้านกบฏ" ที่อนุสาวรีย์ปราบกบฏ (วงเวียนบางเขน) ในวันที่ 14 มิ.ย.เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป เพื่อป้องปรามกลุ่มที่มีความพยายามรัฐประหารล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มหน้ากากขาวที่มีการเรียกร้องให้ทหารและองค์กรอิสระตาม รัฐธรรมนูญ 50 ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลในขณะนี้ รวมทั้งเวทีนี้จะเป็นการนำข้อมูลมาเผยแพร่ให้กับประชาชนให้รับรู้และตื่นตัวต่ออันจะนำไปสู่การป้องกันไม่ให้เกิดการล้มรัฐบาลต่อไป

สำหรับการเคลื่อนไหวของกลุ่มหน้ากากขาวและกลุ่มคนไทยรักชาติรักแผ่นดินที่ชุมนุมที่สนามหลวงนั้น ประธานกลุ่มภาคีพลังประชาชน ยืนยันว่าไม่ว่ากลุ่มใดย่อมมีสิทธิในการชุมนุมตามระบอบประชาธิปไตย แต่ที่กลุ่มตนจะชุมนุมนี้ก็เพื่อป้องปรามความพยายามที่ทำลายระบอบประชาธิปไตย เรียกร้องให้ทหารหรือองค์กรอิสระที่ไม่มีการยึดโยงกับประชาชนมาล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน และเรียกร้องกลุ่มเหล่านั้นมาสู้กันในระบอบนี้ที่ประชาชนจะเป็นคนตัดสินดีกว่า

"ในระบอบประชาธิปไตยที่ผ่านการเลือกตั้งจากประชาชน เราสามารถตรวจสอบได้ แต่การรัฐประหารเราไม่สามารถตรวจสอบได้เลย" เล็ก บ้านดอน กล่าว

สำหรับเหตุผลที่แยกจาก กวป. นั้น เล็ก บ้านดอน กล่าวว่า เกิดจากแนวทางยุทธศาสตร์บางเรื่องที่ไม่ตรงกัน แต่จุดยืนยังคงตรงกัน คือต้องการให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย อำนาจเป็นของประชาชนโดยแท้เหมือนกัน ไม่ได้มีปัญหาอะไรกัน แต่เพื่อความสบายใจกันจึงได้แยกมาเคลื่อนในส่วนของกลุ่มที่มีแนวทางตรงกัน และยังคงมีการติดต่อกันกับ กวป. อยู่

เล็ก บ้านดอน กล่าวว่า กลุ่มภาคีพลังประชาชน ต้องการที่จะเห็นบ้านเมืองนี้เปลี่ยนแปลง จากต้นทางของปัญหาความขัดแย้งที่เกิดมาจากการรัฐประหารปี 49 คนกลุ่มหนึ่งก็ออกรัฐธรรมนูญ 50 เพื่อสถาปนาอำนาจกลุ่มตนเอง เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญต่างๆ และรัฐธรรมนูญ 50 ก็มีเงื่อนไขที่ถูกออกแบบไว้เพื่อป้องกันผลประโยชน์ของคนกลุ่มดังกล่าวไว้ ทำให้การบริหารประเทศของรัฐบาลชุดนี้ถูกแทรกแซงตลอด ทั้งที่บางกรณีก็ไม่มีความจำเป็น ดังนั้นทางกลุ่มจะเคลื่อนไหวตรวจสอบองค์กรอิสระทุกองค์กรที่ไม่ได้มีการยึดโยงกับอำนาจของประชาชน

ประธานกลุ่มภาคีพลังประชาชน มองว่าสิ่งที่ต้องแก้ไขที่สำคัญที่สุด คือรัฐธรรมนูญปี 50 หากแก้ตรงนี้ ทุกอย่างมันก็ไปโดยอัตโนมัติ โดยทางกลุ่มจะพยายามใช้พลังอำนาจของประชาชนในการผลักดันช่องทางของรัฐสภาเพื่อให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยใช้เหตุใช้ผลและชาติกับประชาชนเป็นหลัก

ล่าสุดช่วงบ่ายวันนี้ ภปช. นำโดยเล็ก บ้านดอนและแกนนำ ภปช.ร่วมกับ พันตรีพุทธินาถ พหลพลพยุหเสนา ลูกชายคนที่ 4 ของ พลเอกพระยาพหลฯ สักการะอัฐิของคณะราษฎร 2475 10 วันก่อน 81 ปี 2475 ที่ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร

เล็ก บ้านดอนและแกนนำ ภปช.ร่วมกับ พันตรีพุทธินาถ สักการะอัฐิของคณะราษฎร ภาพโดย @anuthee

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กวป.แจ้งความเอาผิด 9 ตุลาการ ม.112-ม.157

Posted: 14 Jun 2013 02:51 AM PDT

กลุ่ม กวป.นำหลักฐานแจ้งความอาผิดคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คน ผิดฐานดูหมิ่นสถาบัน ตามมาตรา 112 และปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

14 มิ.ย. 56 - สำนักข่าวไทยรายงานว่ากลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) นำหลักฐานแจ้งความอาผิดคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คน ฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กรณีรับคำร้องระงับการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 68 จากผู้ร้องเรียนไว้เองโดยไม่ส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง

นายศรรักษ์ มาลัยทอง โฆษกของกลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) พร้อมทีมทนายความ เข้าพบพนักงานสอบสวนกองปราบปราม แจ้งความดำเนินคดีกับคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทั้ง 9 คน ในความผิดฐานดูหมิ่นสถาบัน ตามมาตรา 112 และปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 โดยนำเอกสารคำร้องทุกข์กล่าวโทษมอบไว้เป็นหลักฐานประกอบการพิจารณาดำเนินคดี หลังเมื่อวานนี้ คณะตุลาการทั้ง 9 คน ได้ร่วมกันมีมติรับคำร้อง ระงับการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และพวก 6 คน รวมทั้งคำร้องของนายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์  โดยไม่เสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนนำเสนอศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อป้องกันการกลั่นแกล้งในคดีกบฏ อีกทั้งศาลรัฐธรรมนูญได้วางหลักปฏิบัติ ขั้นตอนให้ยื่นเรื่องต่ออัยการสูงสุดก่อน ซึ่งถือว่าการกระทำดังกล่าว เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เท่ากับเป็นการใช้อำนาจล้มล้างระบบปกครองระบอบประชาธิปไตย  ขณะที่พนักงานสอบสวนรับเรื่องไว้ตรวจสอบข้อเท็จจริง

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น