โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

กลุ่มนิรนามแฮกเว็บรัฐบาลบราซิล เปลี่ยนข้อความเป็นชวนร่วมประท้วงขึ้นค่าโดยสาร ขสมก.

Posted: 19 Jun 2013 12:20 PM PDT

 

19 มิ.ย. 2013  การประท้วงในเมืองเซา เปาโล ประเทศบราซิล เริ่มลุกลามกลายเป็นการจลาจล หลังจากเมื่อคืนที่ผ่านมาผู้ประท้วงได้พากันฉกชิงข้าวของในร้านค้า จุดไฟเผารถของสถานีโทรทัศน์ และพยายามบุกรุกเข้าไปในศาลากลางเมืองจนมีการปะทะกันกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ

มีประชาชนมากกว่า 50,000 คนรวมตัวประท้วงอยู่ที่หน้าโบสถ์ประจำเมือง และมีผู้ก่อจลาจลทำการขว้างปาก้อนหินใส่กระจกร้านค้า และเผาขยะกลางถนน สื่อโทรทัศน์ O Globo TV รายงานว่ามีอย่างน้อย 20 คนถูกจับกุมข้อหาชิงทรัพย์

เรื่องค่าใช้จ่ายในการจัดงานฟุตบอลโลกกลายเป็นประเด็นหลักในการประท้วง โดยมีคนโจมตีเว็บไซต์ฟุตบอลโลกที่สร้างขึ้นโดยรัฐบาล เหล่าแฮกเกอร์ของบราซิลที่อยู่ในกลุ่มนิรนาม (Anonymous) ยังได้โพสต์ลิงก์เว็บไซต์อื่นๆ ของรัฐบาลลงในทวิตเตอร์ ซึ่งเว็บไซต์รัฐบาลเหล่านั้นถูกแฮกเพื่อดัดแปลงเนื้อหาให้กลายเป็นการเชิญชวนประชาชนออกมาร่วมชุมนุม

รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมของบราซิลกล่าวว่าทางรัฐบาลจะเพิ่มกำลังรักษาความปลอดภัยในการแข่งขันฟุตบอลคอนเฟเดอเรชั่นคัพซึ่งจะเริ่มต้นขึ้นในวันเสาร์นี้ โดยสำนักข่าว BBC รายงานว่า รัฐบาลบราซิลจะจัดกำลังไป ประจำตาม 5 เมืองใหญ่ๆ เช่น ริโอ เดอ จาเนโร, มินัสเซไรส์, บาเยีย, เซร่า และเมืองหลวงบราซิลเลีย ซึ่งเป็นทั้ง 5 เมืองล้วนเป็นเมืองที่จัดแข่งฟุตบอลคอนเฟเดอเรชั่นคัพ ซึ่งเป็นการแข่งขันอุ่นเครื่องก่อนการแข่งฟุตบอลโลก 

สำนักข่าว The Independent กล่าวว่าแม้จะมีการปะทะกับเจ้าหน้าที่ส่วนหนึ่ง แต่ประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังคงประท้วงอย่างสันติ โดยในเซา เปาโล ผู้ชุมนุมได้พากันคล้องแขนล้อมรอบศาลากลางขณะที่ขานคำว่า "สันติภาพ" ในเวลาเดียวกับที่ผู้ประท้วงอีกส่วนหนึ่งใช้แท่งเหล็กพยายามพังหน้าต่างอาคาร

มีอย่างน้อย 4 เมืองในบราซิลที่ยอมปรับลดค่าโดยสารรถประจำทางลงเท่าเดิม เพื่อให้ประชาชนอยู่ในความสงบ หลังจากที่การปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตราค่าโดยสารกลายเป็นประเด็นที่จุดฉนวนให้เกิดการประท้วงเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

ขณะที่ เฟอนานโด ฮัดแดด นายกเทศมนตรีของเมือง เซา เปาโล กล่าวในการพบปะเจรจากับแกนนำผู้ชุมนุมเมื่อวันอังคาร (18 มิ.ย.) ที่ผ่านมาว่าเขาเองก็กำลังพิจารณาการปรับลดอัตราค่าโดยสาร แต่ขณะเดียวกันก็ต้องหาทางชดเชย

 

ปธน. ฝ่ายซ้ายกล่าวชื่นชมการชุมนุม

ทางด้านประธานาธิบดี ดิลมา รุสเซฟ ของบราซิลผู้เคยเป็นนักสู้ฝ่ายซ้ายในช่วงสมัยรัฐบาลเผด็จการปี 1964-1985 กล่าวปราศรัยผ่านทางโทรทัศน์หลังการประท้วงในวันจันทร์ (17 มิ.ย.) ว่า บราซิลเข้มแข็งขึ้นแล้ว

"จำนวนผู้คนในการประท้วงเมื่อวานนี้ (17 มิ.ย.) แสดงให้เห็นถึงพลังประชาธิปไตยของพวกเรา ความเข้มแข็งของผู้เปล่งเสียงตามท้องถนน และความมีอารยะของประชาชน"

"รัฐบาลของฉันได้ยินเสียงเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลง รัฐบาลของฉันจึงมีพันธกิจต่อการเปลี่ยนแปลงสังคม" รุสเซฟกล่าว "ผู้ที่ออกมาชุมนุมตามท้องถนนเมื่อวานนี้ได้แสดงให้สังคมทุกระดับได้เห็นอย่างชัดเจน นอกเหนือจากผู้นำทางการเมืองและคนในรัฐบาลทุกระดับแล้ว"

การชุมนุมในบราซิลเริ่มต้นจากความไม่พอใจหลังมีการปรับขึ้นอัตราค่าธรรมเนียมโดยสารรถประจำทางจาก 3 เรียล (ราว 42 บาท) เป็น 3.20 เรียล (ราว 45 บาท) รวมถึงการที่รัฐบาลประกาศใช้งบประมาณไปกับการปรับปรุงสายการบินและโครงการอื่นๆ เพื่อรองรับการจัดงานฟุตบอลโลกและโอลิมปิกเป็นจำนวนเงินหลายพันล้านดอลลาร์

 

 

 

เรียบเรียงจาก

Brazil protests see violence erupt in Sao Paulo as government websites are hit with cyber attacks, 19-06-2013

http://www.independent.co.uk/news/world/americas/brazil-protests-see-violence-erupt-in-sao-paulo-as-government-websites-are-hit-with-cyber-attacks-8664457.html

Brazil sends national security force to quell protests, BBC, 19-06-2013

http://www.bbc.co.uk/news/world-latin-america-22964785

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กลุ่มนิรนามแฮกเว็บรัฐบาลบราซิล เปลี่ยนข้อความเป็นชวนร่วมประท้วงขึ้นค่าโดยสาร ขสมก.

Posted: 19 Jun 2013 12:20 PM PDT

 

19 มิ.ย. 2013  การประท้วงในเมืองเซา เปาโล ประเทศบราซิล เริ่มลุกลามกลายเป็นการจลาจล หลังจากเมื่อคืนที่ผ่านมาผู้ประท้วงได้พากันฉกชิงข้าวของในร้านค้า จุดไฟเผารถของสถานีโทรทัศน์ และพยายามบุกรุกเข้าไปในศาลากลางเมืองจนมีการปะทะกันกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ

มีประชาชนมากกว่า 50,000 คนรวมตัวประท้วงอยู่ที่หน้าโบสถ์ประจำเมือง และมีผู้ก่อจลาจลทำการขว้างปาก้อนหินใส่กระจกร้านค้า และเผาขยะกลางถนน สื่อโทรทัศน์ O Globo TV รายงานว่ามีอย่างน้อย 20 คนถูกจับกุมข้อหาชิงทรัพย์

เรื่องค่าใช้จ่ายในการจัดงานฟุตบอลโลกกลายเป็นประเด็นหลักในการประท้วง โดยมีคนโจมตีเว็บไซต์ฟุตบอลโลกที่สร้างขึ้นโดยรัฐบาล เหล่าแฮกเกอร์ของบราซิลที่อยู่ในกลุ่มนิรนาม (Anonymous) ยังได้โพสต์ลิงก์เว็บไซต์อื่นๆ ของรัฐบาลลงในทวิตเตอร์ ซึ่งเว็บไซต์รัฐบาลเหล่านั้นถูกแฮกเพื่อดัดแปลงเนื้อหาให้กลายเป็นการเชิญชวนประชาชนออกมาร่วมชุมนุม

รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมของบราซิลกล่าวว่าทางรัฐบาลจะเพิ่มกำลังรักษาความปลอดภัยในการแข่งขันฟุตบอลคอนเฟเดอเรชั่นคัพซึ่งจะเริ่มต้นขึ้นในวันเสาร์นี้ โดยสำนักข่าว BBC รายงานว่า รัฐบาลบราซิลจะจัดกำลังไป ประจำตาม 5 เมืองใหญ่ๆ เช่น ริโอ เดอ จาเนโร, มินัสเซไรส์, บาเยีย, เซร่า และเมืองหลวงบราซิลเลีย ซึ่งเป็นทั้ง 5 เมืองล้วนเป็นเมืองที่จัดแข่งฟุตบอลคอนเฟเดอเรชั่นคัพ ซึ่งเป็นการแข่งขันอุ่นเครื่องก่อนการแข่งฟุตบอลโลก 

สำนักข่าว The Independent กล่าวว่าแม้จะมีการปะทะกับเจ้าหน้าที่ส่วนหนึ่ง แต่ประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังคงประท้วงอย่างสันติ โดยในเซา เปาโล ผู้ชุมนุมได้พากันคล้องแขนล้อมรอบศาลากลางขณะที่ขานคำว่า "สันติภาพ" ในเวลาเดียวกับที่ผู้ประท้วงอีกส่วนหนึ่งใช้แท่งเหล็กพยายามพังหน้าต่างอาคาร

มีอย่างน้อย 4 เมืองในบราซิลที่ยอมปรับลดค่าโดยสารรถประจำทางลงเท่าเดิม เพื่อให้ประชาชนอยู่ในความสงบ หลังจากที่การปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตราค่าโดยสารกลายเป็นประเด็นที่จุดฉนวนให้เกิดการประท้วงเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

ขณะที่ เฟอนานโด ฮัดแดด นายกเทศมนตรีของเมือง เซา เปาโล กล่าวในการพบปะเจรจากับแกนนำผู้ชุมนุมเมื่อวันอังคาร (18 มิ.ย.) ที่ผ่านมาว่าเขาเองก็กำลังพิจารณาการปรับลดอัตราค่าโดยสาร แต่ขณะเดียวกันก็ต้องหาทางชดเชย

 

ปธน. ฝ่ายซ้ายกล่าวชื่นชมการชุมนุม

ทางด้านประธานาธิบดี ดิลมา รุสเซฟ ของบราซิลผู้เคยเป็นนักสู้ฝ่ายซ้ายในช่วงสมัยรัฐบาลเผด็จการปี 1964-1985 กล่าวปราศรัยผ่านทางโทรทัศน์หลังการประท้วงในวันจันทร์ (17 มิ.ย.) ว่า บราซิลเข้มแข็งขึ้นแล้ว

"จำนวนผู้คนในการประท้วงเมื่อวานนี้ (17 มิ.ย.) แสดงให้เห็นถึงพลังประชาธิปไตยของพวกเรา ความเข้มแข็งของผู้เปล่งเสียงตามท้องถนน และความมีอารยะของประชาชน"

"รัฐบาลของฉันได้ยินเสียงเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลง รัฐบาลของฉันจึงมีพันธกิจต่อการเปลี่ยนแปลงสังคม" รุสเซฟกล่าว "ผู้ที่ออกมาชุมนุมตามท้องถนนเมื่อวานนี้ได้แสดงให้สังคมทุกระดับได้เห็นอย่างชัดเจน นอกเหนือจากผู้นำทางการเมืองและคนในรัฐบาลทุกระดับแล้ว"

การชุมนุมในบราซิลเริ่มต้นจากความไม่พอใจหลังมีการปรับขึ้นอัตราค่าธรรมเนียมโดยสารรถประจำทางจาก 3 เรียล (ราว 42 บาท) เป็น 3.20 เรียล (ราว 45 บาท) รวมถึงการที่รัฐบาลประกาศใช้งบประมาณไปกับการปรับปรุงสายการบินและโครงการอื่นๆ เพื่อรองรับการจัดงานฟุตบอลโลกและโอลิมปิกเป็นจำนวนเงินหลายพันล้านดอลลาร์

 

 

 

เรียบเรียงจาก

Brazil protests see violence erupt in Sao Paulo as government websites are hit with cyber attacks, 19-06-2013

http://www.independent.co.uk/news/world/americas/brazil-protests-see-violence-erupt-in-sao-paulo-as-government-websites-are-hit-with-cyber-attacks-8664457.html

Brazil sends national security force to quell protests, BBC, 19-06-2013

http://www.bbc.co.uk/news/world-latin-america-22964785

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพแถลงการณ์หนุน กก. พิจารณาค่าตอบแทน

Posted: 19 Jun 2013 12:09 PM PDT

19 มิ.ย.56  กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ โดยนางสาวสุรีรัตน์ ตรีมรรคา ผู้ประสานงานกลุ่มฯ ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 8 สนับสนุนการประชุมของชมรมแพทย์ชนบทในวันที่ 20 มิ.ย.นี้ และสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการชุดที่มี ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เป็นประธาน เรียกร้องขอให้มีการพิจารณาอย่างเป็นธรรมในเรื่องค่าตอบแทนรายเดือนที่เป็นแรงจูงใจให้บุคลากรทุกวิชาชีพมีกำลังใจในการทำงานในรพ.ชนบท โดยเฉพาะการปรับเพิ่มให้กับ พยาบาล เภสัชกร นักกายภาพบำบัด รวมถึงพนักงานในหน่วยสนับสนุนทุกหน่วย

นอกจากนั้นแถลงการณ์ยังเรียกร้องให้เร่งดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงในองค์การเภสัชกรรม(อภ.) กรณีการปลดนพ.วิทิต อรรถเวชกุล ออกจากตำแหน่งผอ.อภ. หลังจากยังไม่เห็นความก้าวหน้าในการดำเนินการ

วันเดียวกัน สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ อภ. โดยนายระวัย ภู่ผะกา ประธานสหภาพฯ ออกแถลงการณ์ให้เร่งรัดการจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงในองค์การเภสัชกรรม(อภ.) ด้วยเช่นกัน โดยระบุว่า ผ่านมากว่าสองสัปดาห์แล้วยังไม่เห็นความคืบหน้าในการดำเนินการ ทั้งยังระบุด้วยว่า มีความพยายามกีดกันตัวแทนของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรม (สร.อภ.) เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการตรวจสอบข้อมูลและข้อเท็จจริงฯ ทั้งๆ  ที่เป็นสัญญาประชาคมที่ นายสุรนันท์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นตัวแทนของนายกรัฐมนตรีรับปากไว้

 

000000000

 

แถลงการณ์ กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ

ฉบับที่ 8  วันที่ 19 มิถุนายน 2556

ติดตามผลการทำงานของ คณะกรรมการร่วมบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชนกับกระทรวงสาธารณสุข

ที่มี ดร.คณิศ แสงสุพรรณเป็นประธาน

 

เป็นเวลาสองสัปดาห์ นับจากวันที่ 6 มิ.ย.56 ที่มีการเจรจากันเรื่อง P4P ที่ทำเนียบรัฐบาล ข้อสรุปคือให้มีการดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันว่าด้วยเรื่องการจัดการเบี้ยเหมาจ่ายรายเดือนให้เกิดความเป็นธรรมกับบุคคลากรทุกวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน และการกำหนดแนวทางการใช้ P4P ให้สอดคล้องเหมาะสมกับพื้นที่ต่างๆ ให้เป็นไปด้วยความสมัครใจ โดยมอบหมายให้ ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เป็นประธานคณะกรรมการ ซึ่งได้มีการประชุมนัดแรกไปเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. ที่ผ่านมานั้น

ทางกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ ขอสนับสนุนให้มีการพิจารณาอย่างเป็นธรรมในเรื่องค่าตอบแทนรายเดือนที่เป็นแรงจูงใจให้บุคลากรทุกวิชาชีพมีกำลังใจในการทำงานในโรงพยาบาลในชนบท โดยเฉพาะการปรับเพิ่มให้กับ พยาบาล เภสัชกร นักกายภาพบำบัด ฯลฯ รวมถึงพนักงานในหน่วยสนับสนุนทุกส่วน และสามารถจัดทำประกาศฉบับใหม่ได้โดยเร็ว

สิ่งที่ยังไม่เห็นความก้าวหน้าคือการจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงในองค์การเภสัชกรรม เพื่อคืนความเป็นธรรมให้กับผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรมและเพื่อเยียวยาแก้ไขภาพลักษณ์ขององค์การที่ได้รับความเสียหายนั้น ขอให้ทางเลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายสุรนันท์ เวชชาชีวะ ได้เร่งดำเนินการในเรื่องนี้ โดยให้มีองค์ประกอบคณะกรรมการจากประชาชน และ สหภาพองค์การเภสัชกรรม เพื่อให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ยืนยันว่าจะให้ทุกภาคส่วนเข้าไปร่วมกันตรวจสอบ ซึ่งเป็นผลจากการเจรจากันเมื่อวันที่ 4 มิ.ย.56

กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพยืนยันในหลักการลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม ในระบบหลักประกันสุขภาพ มุ่งหวังให้มีบุคคลากรทุกสาขาวิชาชีพทางการแพทย์ การสาธารณสุข จำนวนมากที่ยังอยู่ในโรงพยาบาลในชนบท การดำรงรักษาไว้ซึ่งองค์การเภสัชกรรมให้เป็นหลักพึ่งพิงด้านยาให้กับประชาชนคนไทยทุกคน พร้อมจะเข้าร่วมติดตามผลการทำงานของคณะกรรมการทั้งสองชุดอย่างต่อเนื่องต่อไป ไม่ว่าจะรอฟังผลอยู่ในพื้นที่หรือการมาพร้อมเพรียงกันที่ ทำเนียบรัฐบาล ต่อไป

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไต่สวนการตาย 2 ศพ พ.ค.53 นายทหารระบุไม่พบชายชุดดำ แต่หน่วยโดน M79 เจ็บ

Posted: 19 Jun 2013 12:01 PM PDT

เบิกนายทหารชุดปฏิบัติการขณะเกิดเหตุ คดี 2 ศพ 16 พ.ค.56 ใต้ทางด่วนพระราม 4 ระบุหน่วยโดนระเบิด M79 เจ็บ ไม่เห็นชายชุดดำหรือผู้อื่นที่มีอาวุธปืนในที่เกิดเหตุ แต่เห็นชุดดำในคลิปทางอินเตอร์เน็ต ไต่สวนนัดต่อไป 8 ต.ค.นี้

17 มิ.ย.56 ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ฯ ศาลนัดไต่สวนคำร้องชันสูตรศพ คดีที่พนักงานอัยการ สำนักอัยการพิเศษ ฝ่ายคดีอาญาใต้ ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนชันสูตรสาเหตุการเสียชีวิตของนายเกียรติคุณ ฉัตร์วีระสกุล อายุ 25 ปี อาชีพขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง ผู้ตายที่ 1  และนายประจวบ ประจวบสุข ผู้ชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จ การแห่งชาติ (นปช.) ผู้ตายที่ 2 ถูกยิงเสียชีวิตบริเวณใต้ทางด่วน  ถ.พระราม 4 เมื่อวันที่ 16 พ.ค.53 ช่วงกระชับพื้นที่การชุมนุมของ นปช. โดย ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน(ศอฉ.) ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

โดยพนักงานอัยการนำพยานเข้าเบิกความ 1 ปาก เป็นนายทหารผู้ปฏิบัติหน้าที่ที่รักษาความสงบเรียบร้อยเหตุการณ์ชุมนุมของกลุ่ม นปช. ช่วงเกิดเหตุ บริเวณสวนลุมพินี

ทั้งนี้ก่อนศาลเริ่มทำการสืบพยานศาลได้มีการขอความร่วมมือผู้สื่อข่าวให้นำเสนอเพียงสรุปข้อเท็จจริงและขอให้มีการปกปิดชื่อของพยาน โดยให้เหตุผลว่าในการสืบพยานครั้งก่อนๆ สื่อมวลชนได้มีการบันทึกปากคำพยานไปลงข่าวอย่างละเอียดเกินไปและยังมีการลงชื่อ-นามสกุลของพยานในข่าว อาจจะทำให้พยานได้รับความเดือดร้อนหรือถูกคุกคาม จนไม่ยินดีให้ความร่วมมือในการเป็นพยาน จึงได้ขอความร่วมมือกับผู้สื่อข่าวเพื่อไม่ให้พยานได้รับความเดือดร้อนจากการเปิดเผยชื่อ-นามสกุลของพยาน

พยาน ในฐานผู้บังคับกองร้อย วันที่ 14 พ.ค.53 มาประจำอยู่ที่บริเวณสวนลุมพินีจนถึงวันที่ 22 พ.ค.53  โดยในวันที่ 14 นั้นช่วงที่อยู่ที่ศาลาแดงได้รับคำสั่งจากผู้บังคับกองพันให้ทำการกระชับพื้นที่คืน เนื่องจากมีผู้ชุมนุมอยู่ที่บริเวณสะพานไทย-เบลเยี่ยม โดยนอกจากหน่วยพยานแล้วยังมีอีกหลายหน่วยที่เข้าร่วมปฏิบัติการ  ในหน่วยมี โล่ กระบอง ปืนลูกซองยาว และปืนเล็กสั้น M653 โดยทหารชั้นประทวนส่วนหนึ่งจะมีโล่พลาสติก กระบองไม้หวาย อีกส่วนหนึ่งเป็น ปืนลูกซองแต่ไม่ทราบขนาดกระสุน ซึ่งจะบรรจุกระสุนยางเอาไว้เนื่องจากไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้กระสุนจริงและจะใช้เพื่อป้องกันตนเองและผู้อื่นเท่านั้น  ส่วนทหารระดับร้อยตรีถึงร้อยเอกจะเป็นปืน M653 ขนาดกระสุน 5.56 มม. ไม่มีการบรรจุกระสุนจริงเอาไว้  เพียงแต่ให้กำลังพลสะพายเอาไว้เท่านั้น ในส่วนของจำนวนอาวุธปืนที่เบิกมาใช้จะเป็นปืนเล็กสั้นประมาณ 40 กระบอก ปืนลูกซองประมาณ 20-30 กระบอก โดยอาวุธปืนส่วนหนึ่งจะเก็บเอาไว้ในตู้ที่กองบังคับการที่อยู่ใกล้กับกองกำลังโดยจะมีเจ้าหน้าที่ควบคุมการเบิกจ่ายด้วย

พยานเบิกความต่อว่าทุกหน่วยที่เข้าปฏิบัติการจะได้รับการฝึกปฏิบัติการรักษาความสงบทั้งหมด  โดยจะมีการฝึกใช้โล่ กระบอง การตั้งแนวผลักดัน จเรจาต่อรอง จะมีการฝึกมาตรการจากเบาไปหนัก คือ เจรจา แจ้งเตือน  ตั้งแถวแสดงกำลังที่จะผลักดันผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่ มีการใช้รถดับเพลิงฉีดน้ำ ใช้แก๊สน้ำตา

ช่วงเหตุการณ์วันที่ 14 ต่อว่าหน่วยของเขาเริ่มเคลื่อนจากซอยคอนแวนต์เข้าถนนสีลมใต้รถไฟฟ้าศาลาแดง เข้าถนนพระราม 4 ออกทางด้านข้างอาคารอื้อจื่อเหลียงในเวลาประมาณเที่ยง โดยหน่วยที่เข้าปฏิบัติการมีหลายหน่วยเนื่องจากมีผู้ชุมนุมราว 1000 คน อยู่บริเวณสี่แยกวิทยุ ตั้งเครื่องกีดขวางสูงประมาณเอวซึ่งมีทั้งกองยางและแท่นปูน ปิดถนนใต้สะพานเอาไว้ทั้งสองเลน ส่วนผู้ชุมนุมจะอยู่ทั้งบนถนนและบาทวิถี ส่วนหน่วยของพยานจะอยู่ข้างหลังหน่วยอื่นที่อยู่ใกล้ผู้ชุมนุมมากกว่า โดยหน่วยของเขานั้นจะอยู่จากผู้ชุมนุมราว 300 ม. ซึ่งตัวเขาเองนั้นเห็นว่ามีผู้ชุมนุมอยู่จุดใดแต่ไม่เห็นว่าผู้ชุมนุมทำอะไรอยู่ในขณะนั้นบ้าง

ราวบ่ายโมงมีหน่วยประชาสัมพันธ์ใช้รถติดเครื่องกระจายเสียงประกาศให้ผู้ชุมนุมคืนพื้นที่จราจรแต่ผู้ชุมนุมก็ไม่ยอมถอย ทางเจ้าหน้าที่ทหารจึงเพิ่มมาตรการโดยเดินแสดงกำลังโล่ กระบอง เป็นแถวหน้ากระดานจำนวน 20 แถว โดยหน่วยของเขาอยู่ประมาณแถวที่ 10   เดินเข้าหาผู้ชุมนุม  โดยเดินจากบริเวณหน้าอาคารอื้อจื่อเหลียงมุ่งหน้าไปทางคลองเตยเพื่อผลักดันผู้ชุมนุมที่อยู่ตรงบริเวณแยกวิทยุจนผู้ชุมนุมถอยไปถึงใต้ทางด่วนพระราม 4  ซึ่งหน่วยข้างหน้าจะเดินไปถึงหน้าสนามมวยลุมพินี ส่วนหน่วยของพยานจะอยู่ที่หน้าโรงเรียนเตรียมทหารเก่า

พยานเบิกความต่อว่าช่วงก่อนมืดราว 18.30 น. เมื่อทหารทำเครื่องกีดขวางเสร็จก็ได้นั่งพักอยู่แถวริมบาทวิถีโดยตัวพยานเองนั่งพักอยู่บริเวณหน้าโชว์รูมรถวอลโว ระหว่างที่กำลังนั่งพักอยู่นั้นมีเลเซอร์ส่องมาที่บริเวณที่นั่งอยู่จากนั้นก็มีระเบิด M79 มาตกลงที่ใกล้กับที่เขานั่งอยู่ห่างออกไปราว 3-4 ม. มีทิศทางมาจากด้านทางด่วนพระราม 4 ทราบเนื่องจากขณะนั้นนั่งหันหน้าไปทางด้านนั้นพอดี ทำให้มีทหารในหน่วยได้รับบาดเจ็บจากสะเก็ดระเบิดชื่อ จ.ส.อ.ทองเลื่อน ลิตา สะเก็ดโดนที่ข้อมือขวาทำให้เอ็นข้อมือเกือบขาด เมื่อเกิดเหตุดังกล่าวขึ้นจึงหลบเข้าไปในซอยบริเวณข้างโชว์รูมส่วนที่อยู่ฝั่งสนามมวยลุมพินีก็หลบเข้าไปในซอยฝั่งสนามมวย   จากนั้นก็มีเสียงระเบิดมาอีกเป็นระยะตลอดจนสว่าง หน่วยไม่มีการยิงตอบโต้กลับเพราะเมื่อมีระเบิดลงลูกแรกเจ้าหน้าที่ก็เสียขวัญและเหนื่อยล้าจากการปฏิบัติหน้าที่มาตลอดทั้งวัน และยังไม่ได้ให้ขึ้นไปบนอาคารสูงเรื่องตอนนั้นยังไม่ได้คิดที่ให้ขึ้นไปเพราะขณะนั้นฟ้ามืดแล้วและคิดว่าอยู่ในซอยดีที่สุด  ในวันนี้มีเพียง จ.ส.อ.ทองเลื่อน เท่านั้นที่ได้รับบาดเจ็บ

พยานเบิกความถึงเหตุการณ์เช้าวันที่ 15 พ.ค.ว่า เมื่อตรวจการณ์พบว่ามีแนวยางห่างจากแนวลวดหนามไปราว 90 ม. ตั้ง 3-4 แนว โดยแต่ละแนวห่างกัน 100 ม. แนวยางสุดท้ายอยู่ใต้ทางด่วนพระราม 4 ส่วนความสูงสูงท่วมหัว ไม่เห็นตอนวางเพราะถูกนำมาวางตอนกลางคืนจึงไม่ทราบว่าใคร เห็นแนวยางก็เป็นตอนเช้าแล้ว และยังมีระเบิดลงบนถนนอยู่อีกแต่ก็เบาบางลงแล้ว  ส่วนหลังแนวยางเหมือนมีการจุดระเบิดเล่นกันแต่ไม่รู้ว่าเป็นอะไรเสียงคล้ายประทัด รวมทั้งมีการจุดไฟเผายางด้วย

โดย 15 พ.ค.หน่วยเริ่มเสียขวัญแล้ว จึงอนุญาตให้ใช้กระสุนซ้อมรบได้เพื่อป้องปราม เนื่องจากกระสุนซ้อมรบมีเสียงดังคล้ายกระสุนจริงแต่ไม่มีหัวกระสุน ไม่สามารถทำอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ และยิงขึ้นฟ้าเพื่อทำการข่มขู่  และแจกเฉพาะกำลังพลที่ได้รับปืน M653 เป็นอาวุธประจำกายเท่านั้น  แม้ว่าจะมีระเบิด M79 แต่ก็ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้กระสุนจริง เป็นไปตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา 

จากนั้นก็มีเสียงระเบิดของประทัดยักษ์ที่หลังแนวยาง พอเริ่มค่ำก็มีเสียงระเบิด M79 มาลงตรงถนนบริเวณแนวทหาร แต่เนื่องจากมีเสียงระเบิดรอบทิศทางทำให้แยกไม่ได้ว่ายิงมาจากทางใด แต่ถ้าหากไม่มีเสียงมาจากทิศอื่นก็สามารถบอกได้ว่ายิงมาจากทางใดเพราะเมื่อมีการยิงจะมีเสียงระเบิดแตกกระจายจะทำให้ทราบทิศทางได้

สำหรับผู้ชุมนุมในวันที่ 15 พ.ค. นั้น พยานเบิกความว่าอยู่ตามแนวยางและจุดประทัดอยู่หลังแนวยางแต่ไม่มีการขว้างใส่ เพราะว่าแนวอย่างอยู่ห่างออกไปราว 100 ม. จึงไม่สามารถขว้างถึง เห็นผู้ชุมนุมอยู่หลังแนวยางแต่ไม่เห็นว่าผู้ชุมนุมทำอะไรบ้าง แต่ถ้าหากดูคลิปที่มีเผยแพร่อยู่ในอินเตอร์เน็ทจะเห็นมีการใช้ระเบิด มีคนแต่งชุดคล้ายทหารหรือชุดดำ ซึ่งจะแตกต่างจากผู้ชุมนุม ซึ่งคลิปดังกล่าวเป็นคลิปที่ถ่ายในบริเวณที่หน่วยพยานปฏิบัติหน้าที่อยู่ แต่ไม่ทราบว่าถ่ายวันไหน 

พยานเบิกความถึงวันที่วันที่ 16 พ.ค.53 ว่า ตอนเช้าเห็นผู้ชุมนุมเผายางรถที่ข้างแนวกองยางทำให้มองไม่เห็น และไฟเริ่มลุกลามอาคารทั้งสองฝั่งถนน  มีการเผายางทั้งวันมากกว่าในสองวันที่ผ่านมาทำให้มีควันพวยพุ่งจนทำให้ไม่สามารถตรวจการณ์ได้  ส่วนทางพยานยังคงอยู่ในที่กำบังเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ชุมนุมเข้ามาได้ ในวันนี้ไม่มีทหารได้รับบาดเจ็บส่วนจะมีผู้ชุมนุมได้รับบาดเจ็บหรือไม่เขาไม่ทราบ  ยังคงมีเสียงดังเหมือนวันที่ 14 และ 15 ซึ่งแยกไม่ออกว่าเป็นเสียงของอะไรและมาจากทางใดมีเสียงดังอยู่จนถึง 4-5 โมงเย็น

ในช่วงบ่ายของวันเห็นแนวยางที่อยู่ด้านหน้าพอจะเห็นไปไกลซักแนวยางชั้นที่ 2 แต่ไม่สามารถมองเห็นไปไกลถึงใต้ทางด่วนพระราม 4 ได้ เพราะความสูงของแนวยางที่สูง 2 ม. แต่เห็นว่าผู้ชุมนุมอยู่ใต้ทางด่วนแต่ไม่ทราบว่ามีจำนวนเท่าไหร่   ไม่มีการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมกับทหาร จากที่ได้รับคำสั่งและการฝึกมาหากมีการคุกคามจะไม่ทำการปะทะแต่จะหลีกเลี่ยงการปะทะเท่านั้น  และก็ไม่เห็นด้วยว่าผู้ชุมนุมทำอะไรเพราะมีแนวยางและควันไฟอยู่

พยานเบิกความว่าในวันที่ 16 พ.ค.53 ยังไม่ทราบว่ามีคนถูกยิง แต่ทราบในภายหลังจากคลิปที่ได้ดูตอนที่ถูก คอป. เรียกไปให้การ ซึ่งในคลิปมีผู้ชุมนุมถูกยิงใต้ทางด่วนพระราม 4  และได้ยินเสียงปืนอยู่ใกล้กับใต้ทางด่วนพระราม 4 พยานเบิกความต่อศาลโดยอาศัยจากประสบการณ์ว่า เสียงดังในคลิป(ซึ่งเป็นคลิปข่าวจาก AP(คลิกดู) ที่อัยการเปิดให้พยานดูในศาล)นั้นเป็นเสียงปืนแต่ไม่ทราบว่าเป็นเสียงของปืนชนิดใด เสียงปืนดังจากระยะใกล้จากทางซ้ายหรือขวาของผู้ชุมนุม ไม่ได้มาจากทางด้านหน้า(โดยในคลิปผู้ชุมนุมหันหน้าไปทางสะพานไทย-เบลเยี่ยม)  หากเป็นการยิงมาจากที่พยานอยู่เสียงปืนที่ดังจะต้องดังในจุดที่อยู่ ซึ่งอยู่ไกลจะไม่ดังใกล้ ซึ่งในวันนั้นพยานได้ยินเสียงแบบเดียวกันนี้กับเสียงระเบิดสลับกันไป

โดยปกติหากใช้อาวุธปืน M16 จะสามารถยิงไปถึงทางด่วนพระราม 4 ได้ แต่เนื่องจากว่าในตอนนั้นมีแนวยางขวางอยู่จึงไม่สามารถยิงไปถึงได้ ในวันที่ 16 พ.ค.ในจุดที่พยานอยู่นั้นนอกจากทหารและนักข่าวแล้วไม่มีใครกล้าเข้าไปอีก ส่วนที่นักข่าวเข้าไปได้นั้น พยานกล่าวว่ามาจากหลังแนวแต่ไม่ทราบว่านักข่าวเหล่านั้นได้รับอนุญาตให้เข้ามาหรือไม่ ส่วนชายชุดดำหรือผู้อื่นที่มีอาวุธปืนพยานไม่พบเห็น แต่ทราบจากการรายงานและคลิป  ในวันนี้ไม่มีคนในหน่วยได้รับบาดเจ็บ

ทนายญาติผู้ตายถามพยานถึงกำลังพลที่ได้รับปืน M653 เป็นอาวุธประจำกายได้กระสุนจำนวนนายละกี่นัด พยานตอบว่าไม่ทราบ พยานเบิกความด้วยว่า ปืน M653 เป็นปืน M16 ชนิดหนึ่ง แต่จะสั้นกว่าและพานท้ายยืดหดได้ ใช้กระสุนขนาดเดียวกับปืน M16  ซึ่งปืน M653 โดยใช้ในหน่วยทหารม้า เป็นอาวุธประจำกายของพลประจำรถถัง  และเบิกมาจาก พล.ม.5 รอ. จำนวน 40 กระบอก

จากนั้นทนายได้นำเอกสารซึ่งลงวันที่ 17 เม.ย. 53 ให้พยานดูพร้อมถามว่าทราบเรื่องการอนุญาตให้ใช้กระสุนจริงหรือไม่ พยานตอบว่าไม่เคยเห็นเอกสารฉบับนี้ แต่เคยได้รับคำสั่งว่าไม่ใช้กระสุนจริง และไม่ทราบเรื่องที่มีการอนุญาตให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้อาวุธปืนยิงกับผู้ที่ใช้อาวุธปืนยิงเจ้าหน้าที่  ทนายถามเพิ่มเกี่ยวกับเอกสารดังกล่าวอีกในเรื่องการให้มีหน่วยคุ้มกันหน่วยทหารราบอีกที และการให้พลซุ่มยิงขึ้นไปอยู่บนพื้นที่สูงข่มเพื่อคุ้มกันหน่วยของเขาซึ่งอยู่บนถนนด้วยหรือไม่ พยานตอบกลับว่าไม่ทราบทั้งสองคำถาม

ทนายได้นำภาพป้ายประกาศเขตพื้นที่ใช้กระสุนจริงให้พยานดู ซึ่งพยานตอบกลับว่าไม่เคยเห็นป้ายดังกล่าว

เนื่องจากช่วงปฏิบัติหน้าทีพยานระบุว่ามีหน่วยที่อยู่หน้าหน่วยของพยาน ทนายจึงถามถึงการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยที่อยู่ด้านหน้าว่าไปถึงไหนและทำอะไรบ้าง พยานตอบว่าทราบว่าหน่วยข้างหน้าไปถึงสนามมวยลุมพินี แต่ไม่ทราบว่าทำอะไรบ้างเนื่องจากเหตุการณ์ชุลมุน หน่วยของพยานก็เข้าไปในโรงเรียนเตรียมทหารเก่า

เมื่อจบการสืบพยานศาล อัยการ ทนายญาติผู้ตายได้หารือกันเพื่อนัดวันสืบพยานเพิ่มเนื่องจากยังเหลือพยานอีกราว 20 ปาก และได้ข้อสรุปว่าจะมีการสืบครั้งต่อไปในวันที่ 8-10, 15-16, 24, 29-31 ต.ค. นี้

แผนที่จุดเกิดเหตุใต้ทางด่วนพระราม 4 :


View Larger Map

 

เรียบเรียงจาก : บันทึกการไต่สวยการเสียชีวิตโดยศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม กรณี เม.ย.-พ.ค.53 (ศปช.)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

TDRI: ข้อเสนอกลไกยกระดับค่าจ้างแรงงานเพื่อคุณภาพชีวิตคนไทย

Posted: 19 Jun 2013 11:59 AM PDT

 

เจตนารมณ์ของการประกาศใช้ค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศไทยเป็นไปเพื่อคุ้มครองแรงงานให้มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพขั้นพื้นฐาน ซึ่งในช่วงกว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมาพบว่าแนวโน้มลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำมีสัดส่วนน้อยลง  และแม้ว่าการประกาศใช้ค่าจ้างขั้นต่ำจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองแรงงาน แต่การประกาศใช้ค่าจ้างขั้นต่ำก็นับเป็นการแทรกแซงกลไกตลาด ซึ่งผลกระทบของค่าจ้างขั้นต่ำมีทั้งผลดีและผลเสีย

การปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวันทั่วประเทศในต้นปี 2556 นี้แม้ว่าเป็นไปภายใต้นโยบายประชานิยมของรัฐบาลตามที่หาเสียงไว้ และดูเป็นธรรมกับลูกจ้างระดับหนึ่งเพราะทำให้ความเหลื่อมล้ำของค่าจ้างลดลง  อย่างไรก็ดี การที่ตลาดแรงงานของไทยเป็นตลาดที่เน้นใช้แรงงานราคาถูก ส่วนหนึ่งมาจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ต้องพึ่งพาการส่งออกเป็นตัวขับเคลื่อน จึงต้องพยายามรักษาขีดความสามารถของการแข่งขันของสินค้าไทย เน้นการลดต้นทุนการผลิตด้วยการกดค่าแรงให้ต่ำและมีนโยบายผ่อนปรนให้แรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศ ผู้ประกอบการจึงไม่มีแรงจูงใจที่จะปรับกลไกการผลิต

จากการศึกษาของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI) ภายใต้โครงการสำรวจความคิดเห็นและทัศนคติทางสังคมรายไตรมาส : การศึกษาคุณภาพชีวิตแรงงานไทย  เสนอต่อ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม  ผลการศึกษาระบุว่า  หนทางหนึ่งที่จะหลุดพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap) ที่เกิดจากการไม่สามารถสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าได้ และเป็นหนทางนำไปสู่การยกระดับค่าจ้างหรือรายได้ของแรงงานเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนในประเทศคือ การหันเหทิศทางการจ้างงานที่เน้นการแข่งขันเรื่องค่าจ้างไปสู่การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ การปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน พร้อมกับยกระดับรายได้แรงงานให้กินดีอยู่ดี จนหลุดพ้นการติดกับดักประเทศรายได้ปานกลาง โดยการสร้างระบบที่มีกลไกสร้างทั้งแรงจูงใจและแรงกดดัน นำไปสู่การใช้ปัจจัยการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงขึ้น และต้องการจ้างแรงงานที่มีฝีมือสูงขึ้น สร้างกลไกกดดันผ่านกลไกราคาปัจจัยการผลิตซึ่งในส่วนของแรงงานก็คือค่าจ้างที่สูงขึ้น เป็นการบังคับให้นายจ้างต้องดิ้นรนหาหนทางปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต กลไกดังกล่าวคือ 

1.การปฏิรูปโครงสร้างภาษี เช่น ลดหย่อนภาษีเครื่องจักรที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง เพื่อปรับเปลี่ยนราคาเปรียบเทียบ (relative prices) ของปัจจัยการผลิต ในการจูงใจ (incentive) และสร้างแรงกดดัน (pressure) บังคับให้ผู้ประกอบการปรับโครงสร้างการผลิตสู่ธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยี และผลิตสินค้ามูลค่าสูง ซึ่งการใช้เทคโนโลยีที่สูงขึ้น จะส่งผลต่อความต้องการแรงงานที่มีคุณภาพ และมีค่าตอบแทนสูง

2. การให้สิทธิพิเศษในการส่งเสริมการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) โดยเน้นการให้สิทธิพิเศษกรณีลงทุนด้านเทคโนโลยีในระยะเริ่มต้น และใช้เกณฑ์ด้าน performance based incentive ในการให้สิทธิดังกล่าวในระยะติดตามผล

3.การทยอยปรับความเข้มข้นในการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงานบางด้าน เพื่อทำให้ต้นทุนในการจ้างงานสูงขึ้น เช่น การตั้งเป้าหมายว่าจะบังคับกฎหมายโดยอาจเริ่มจากการตรวจแรงงานเพื่อให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างวันหยุดประจำสัปดาห์ ค่าจ้างวันหยุดประเพณีอย่างน้อยปีละ 5-7 วัน ส่วนลูกจ้างที่ทำงานในภาคบริการเกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน ต้องได้ค่าล่วงเวลา (OT) หรือค่ารถกลับบ้านดึก เป็นต้น กำหนดพื้นที่เป้าหมายว่าจะเริ่มในพื้นที่ไหน สาขาอะไร ค่อยๆ ทำให้กฎหมายตึงขึ้นทีละน้อย เพื่อไม่ให้เป็นช็อคต่อระบบการผลิตและเศรษฐกิจ และให้เวลานายจ้างปรับตัว นอกจากนี้ ควรสร้างกลไกในการให้แรงจูงใจ (incentive) แก่นายจ้างที่ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย เช่น ให้นายจ้างที่มีโครงสร้างการปรับค่าจ้างประจำปี มีการจัดสวัสดิการที่ดี สามารถนำหลักฐานมาประกอบเพื่อยื่นลดหย่อนภาษีได้ เป็นต้น

4.การเพิ่มผลิตภาพของแรงงาน (labour productivity) ซึ่งเป็นบทบาทของทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในการเร่งพัฒนาฝีมือแรงงานให้มีสมรรถนะสูงโดยจัดฝึกอบรมทักษะที่จำเป็น และสร้างวัฒนธรรมการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (best practice) ตั้ง "มาตรฐานฝีมือแรงงาน" ในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมว่าต้องการความสามารถเฉพาะทาง (competencies) เพียงใด เพื่อนำไปสู่กรอบการฝึกอบรมและทดสอบสมรรถนะที่สามารถควบคุมคุณภาพและรับประกันคุณภาพของแรงงาน เน้นพัฒนาคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ให้แก่บุคลากร รวมทั้งภาครัฐควรสนับสนุนการพัฒนาแรงงานในธุรกิจ SMEs ด้วย นอกจากนี้ เนื่องจากข้อจำกัดสำคัญของแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานในภาคอุตสาหกรรมคือต้องทำงานล่วงเวลา (OT) เพื่อให้ได้เงินเพิ่มขึ้นเพียงพอต่อการใช้จ่ายหรือดูแลครอบครัว จึงเหนื่อยล้าและไม่มีเวลาเพียงพอสำหรับการเรียนรู้ในการสะสมความรู้ความชำนาญ ดังนั้นการเพิ่มบทบาทขององค์กรลูกจ้าง/สหภาพแรงงานในฐานะที่มีความใกล้ชิด รู้จักและเข้าใจความต้องการของแรงงานได้ดี ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้ของแรงงาน เช่น การค้นคว้าข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น จึงเป็นเรื่องสำคัญ

5.การเปิดโอกาสให้องค์กรลูกจ้าง/สหภาพแรงงานเข้ามามีบทบาทเป็นกลไกในเกิดการมีโครงสร้างค่าจ้างในสถานประกอบการด้วยการเป็นองค์กรเพื่อการเจรจาต่อรองภายในสถานประกอบการ หากไม่สัมฤทธิ์ผล องค์กรลูกจ้างก็ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ภาครัฐให้ทำหน้าที่เข้ามาเจรจากับผู้ประกอบการเพื่อให้ดำเนินการปรับค่าจ้างตามโครงสร้างค่าจ้าง หากแต่ละองค์กร (นายจ้าง ลูกจ้าง รัฐ) สามารถประสานความร่วมมือและดำเนินการปรับค่าจ้างในระดับสถานประกอบการให้อยู่ในระดับยอมรับกันได้แล้ว ก็จะทำให้แรงงานไม่ต้องมาพึ่งองค์กรแรงงานระดับชาติในการเจรจาต่อรองเรื่องการค่าจ้างขั้นต่ำเหมือนที่ผ่านมา

6.การทบทวนนโยบายแรงงานต่างด้าว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานไร้ฝีมือ ในระยะสั้นควรพิจารณาว่าหากมีความจำเป็นต้องใช้แรงงานต่างด้าวแล้วจะดำเนินนโยบายหรือมีมาตรการอย่างไรให้ได้แรงงานต่างชาติระดับแรงงานฝีมือมากกว่าแรงงานกรรมกร เพราะนอกจากเหตุผลด้านประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานฝีมือที่สูงกว่าแล้ว ยังมีเหตุผลด้านอื่นๆ เช่น ภาระในการดูแลและปัญหาสังคม

7.การยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยสถาบันการศึกษาจัดการเรียนการสอนแบบ work-basedมีการประเมินการสอนแบบ competency based และเรียนพื้นฐานวิชาเพื่อให้สามารถปรับตัวเปลี่ยนงานได้เมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลง

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สปสช.เตรียมเพิ่มสิทธิประโยชน์เอชไอวีปี 57

Posted: 19 Jun 2013 11:48 AM PDT

 

19 มิ.ย.56 นายแพทย์วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) กล่าวว่า สิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้นครอบคลุมการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ แต่การที่จะให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้อย่างถ้วนหน้าและมีคุณภาพนั้น ต้องมีการจัดระบบบริการ การใช้ระบบการเงินการคลังที่เอื้อต่อโรงพยาบาลที่ให้บริการ และการออกแบบระบบร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขเพื่อทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการ ซึ่งผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์นั้นสามารถเข้าถึงการได้รับยาต้านไวรัสและยาอื่นๆ การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อติดตามการรักษา การให้คำปรึกษาและการตรวจเลือดแบบสมัครใจ การป้องกันการแพร่กระจายโรคจากผู้ป่วย และการส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้รับยาต้านอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการพัฒนาระบบบริการด้วย

ทั้งนี้ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีลงทะเบียนในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 280,469 คน (จากจำนวนผู้ติดเชื้อที่ลงทะเบียนทุกสิทธิ์ 352,956 คน คิดเป็นร้อยละ 79.5) ในจำนวนนี้รับยาต้านไวรัส 169,792 คน และมีจำนวนผู้ติดเชื้อรับยาต้านยังคงเสียชีวิตเฉลี่ยเดือนละ 400 ราย ซึ่งเป็นอัตราคงที่ ต่างจากอัตราการเสียชีวิตในกลุ่มที่ไม่ได้รับยาต้าน ซึ่งมีอัตราเสียชีวิตสูงและมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างชัดเจน โดยในปี 2555 กลุ่มที่ไม่ได้รับยาต้านเสียชีวิตร้อยละ 16.5 ขณะที่กลุ่มที่ได้รับยาต้านเสียชีวิตร้อยละ 2.4 ข้อมูลตรงนี้สะท้อนว่าการออกแบบระบบบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าโดยเน้นการคัดกรองผู้ติดเชื้อรายใหม่และให้ยาต้านไวรัส ช่วยลดการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้อย่างมีนัยสำคัญ

นอกจากนั้น จากการให้บริการยังพบว่าสถานการณ์เชื้อดื้อยายังน่าเป็นห่วงเนื่องจากมีอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ได้รับยาต้านไวรัสสูตรที่ 2 ซึ่งบ่งบอกว่าดื้อยาสูตรพื้นฐาน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.8 ในปี 2551 เป็นร้อยละ 11.5 ในปี 2555

เลขาธิการสปสช. กล่าวต่อว่า จะเห็นได้ว่า จากผลการทำงานที่ผ่านมา แม้จะมีจำนวนผู้ป่วยเข้าถึงบริการมากขึ้น แต่ยังมีประเด็นที่ท้าทายที่ยังต้องเดินหน้าต่อไป ทั้งเรื่องเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการคัดกรองผู้ติดเชื้อรายใหม่เข้าสู่ระบบรักษา การวินิจฉัยและการรักษาเบื้องต้น อัตราการขาดการรักษายังสูง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ติดเชื้อที่ยังไม่ถึงเกณฑ์รับยาต้าน สัดส่วนผู้ใช้ยาสูตร 2 เพิ่มสูงขึ้น ส่วนใหญ่เกิดจากการดื้อยา และอัตราการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ในประเทศไทยยังคงสูงในประชากรกลุ่มเสี่ยง

นายแพทย์วินัย กล่าวว่า ด้วยเหตุนี้ สปสช.ได้จัดทำเป้าหมายและทิศทางการดำเนินงานในปี 2557 ซึ่งจะเน้นการบูรณาการงานป้องกันและรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั้ง 3 กองทุนสุขภาพ โดยจะนำเสนอเข้าสู่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป ซึ่งจะมุ่งเน้นการรักษาแต่เนิ่นๆ (Early treatment) ยุทธศาสตร์การใช้ยาต้านไวรัสในประเทศไทย เน้นการรักษาและการป้องกัน (treatment as prevention) นอกจากนั้นจะมีการจัดทำมาตรฐานการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อฉบับปรับปรุงใหม่ปี 2557 การเพิ่มสิทธิประโยชน์การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การทราบผลตรวจในหนึ่งวัน การเพิ่มยาในระบบหลักประกันสุขภาพ ทั้งยาอะโทวาสแตติน (Atorvastatin) สำหรับรักษาไขมันในเลือดผิดปกติในกลุ่มผู้ได้รับยาต้าน ยาอะทาซนาเวียร์ (Atazanavir) สำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีไขมันในเลือดสูง และยาดารูนาเวียร์ (Darunavir) เป็นยาต้านไวรัสสูตร 3 สำหรับผู้ติดเชื้อที่ดื้อยา

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สปสช.เตรียมเพิ่มสิทธิประโยชน์เอชไอวีปี 57

Posted: 19 Jun 2013 11:48 AM PDT

 

19 มิ.ย.56 นายแพทย์วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) กล่าวว่า สิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้นครอบคลุมการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ แต่การที่จะให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้อย่างถ้วนหน้าและมีคุณภาพนั้น ต้องมีการจัดระบบบริการ การใช้ระบบการเงินการคลังที่เอื้อต่อโรงพยาบาลที่ให้บริการ และการออกแบบระบบร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขเพื่อทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการ ซึ่งผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์นั้นสามารถเข้าถึงการได้รับยาต้านไวรัสและยาอื่นๆ การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อติดตามการรักษา การให้คำปรึกษาและการตรวจเลือดแบบสมัครใจ การป้องกันการแพร่กระจายโรคจากผู้ป่วย และการส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้รับยาต้านอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการพัฒนาระบบบริการด้วย

ทั้งนี้ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีลงทะเบียนในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 280,469 คน (จากจำนวนผู้ติดเชื้อที่ลงทะเบียนทุกสิทธิ์ 352,956 คน คิดเป็นร้อยละ 79.5) ในจำนวนนี้รับยาต้านไวรัส 169,792 คน และมีจำนวนผู้ติดเชื้อรับยาต้านยังคงเสียชีวิตเฉลี่ยเดือนละ 400 ราย ซึ่งเป็นอัตราคงที่ ต่างจากอัตราการเสียชีวิตในกลุ่มที่ไม่ได้รับยาต้าน ซึ่งมีอัตราเสียชีวิตสูงและมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างชัดเจน โดยในปี 2555 กลุ่มที่ไม่ได้รับยาต้านเสียชีวิตร้อยละ 16.5 ขณะที่กลุ่มที่ได้รับยาต้านเสียชีวิตร้อยละ 2.4 ข้อมูลตรงนี้สะท้อนว่าการออกแบบระบบบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าโดยเน้นการคัดกรองผู้ติดเชื้อรายใหม่และให้ยาต้านไวรัส ช่วยลดการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้อย่างมีนัยสำคัญ

นอกจากนั้น จากการให้บริการยังพบว่าสถานการณ์เชื้อดื้อยายังน่าเป็นห่วงเนื่องจากมีอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ได้รับยาต้านไวรัสสูตรที่ 2 ซึ่งบ่งบอกว่าดื้อยาสูตรพื้นฐาน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.8 ในปี 2551 เป็นร้อยละ 11.5 ในปี 2555

เลขาธิการสปสช. กล่าวต่อว่า จะเห็นได้ว่า จากผลการทำงานที่ผ่านมา แม้จะมีจำนวนผู้ป่วยเข้าถึงบริการมากขึ้น แต่ยังมีประเด็นที่ท้าทายที่ยังต้องเดินหน้าต่อไป ทั้งเรื่องเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการคัดกรองผู้ติดเชื้อรายใหม่เข้าสู่ระบบรักษา การวินิจฉัยและการรักษาเบื้องต้น อัตราการขาดการรักษายังสูง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ติดเชื้อที่ยังไม่ถึงเกณฑ์รับยาต้าน สัดส่วนผู้ใช้ยาสูตร 2 เพิ่มสูงขึ้น ส่วนใหญ่เกิดจากการดื้อยา และอัตราการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ในประเทศไทยยังคงสูงในประชากรกลุ่มเสี่ยง

นายแพทย์วินัย กล่าวว่า ด้วยเหตุนี้ สปสช.ได้จัดทำเป้าหมายและทิศทางการดำเนินงานในปี 2557 ซึ่งจะเน้นการบูรณาการงานป้องกันและรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั้ง 3 กองทุนสุขภาพ โดยจะนำเสนอเข้าสู่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป ซึ่งจะมุ่งเน้นการรักษาแต่เนิ่นๆ (Early treatment) ยุทธศาสตร์การใช้ยาต้านไวรัสในประเทศไทย เน้นการรักษาและการป้องกัน (treatment as prevention) นอกจากนั้นจะมีการจัดทำมาตรฐานการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อฉบับปรับปรุงใหม่ปี 2557 การเพิ่มสิทธิประโยชน์การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การทราบผลตรวจในหนึ่งวัน การเพิ่มยาในระบบหลักประกันสุขภาพ ทั้งยาอะโทวาสแตติน (Atorvastatin) สำหรับรักษาไขมันในเลือดผิดปกติในกลุ่มผู้ได้รับยาต้าน ยาอะทาซนาเวียร์ (Atazanavir) สำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีไขมันในเลือดสูง และยาดารูนาเวียร์ (Darunavir) เป็นยาต้านไวรัสสูตร 3 สำหรับผู้ติดเชื้อที่ดื้อยา

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เมื่อหมูป่ากลับมา และความกังวลใจของชาวสวนยางชายแดนใต้

Posted: 19 Jun 2013 10:57 AM PDT

สองสามวันก่อนได้มีโอกาส skype คุยกับพ่อสารทุกข์สุขดิบกันตามประสาพ่อลูกที่อยู่ห่างไกลกัน พ่อเล่าให้ฟังว่า ตอนนี้กำลังไถ่ที่เพื่อเตรียมปลูกต้นยางอ่อนรอบใหม่ ในอำเภอรือเสาะออก จังหวัดนราธิวาส ที่ผ่านมาได้ทำไปแล้วรอบนึง เหลืออีกรอบนึงที่จะต้องลงใบจักรถี่ขึ้น เพื่อทำให้ดินร่วนซุย ระหว่างที่คุยกัน พ่อเล่าให้ฟังอย่างตื่นเต้นว่า มีเด็กๆ ที่อยู่แถวนั้นชี้ให้ดูรอยโคลนที่ติดอยู่กับต้นยางเก่า มีขนาดสูงเกือบเท่าตัวคน เด็กๆ บอกว่า เป็นรอยโคลนของหมูป่าที่มาหากินอยู่บริเวณแถวนี้ คนแถวนี้ไม่รู้ว่ามาจากไหน แต่รู้ว่าตัวใหญ่มาก และไม่เคยเห็นหมูป่าขนาดใหญ่แบบนี้มานานมากแล้ว

สิ่งที่พ่อกังวลคือ ตอนนี้กำลังลงต้นยางอ่อน ก็กลัวว่าหมูป่าจะมากินต้นยางอ่อน ต้องหาวิธีจัดการโดยเพิ่มตาข่ายกั้นรอบบริเวณ ทำให้ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม และก็ไม่รู้ว่าจะได้ผลหรือเปล่า

ฉันก็เลยคุยกับพ่อว่า ทำไมไม่ว่าจ้างคนไทยพุทธแถวนั้นให้มาช่วยจัดการ แต่ก็ลืมไปว่าตั้งแต่มีเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส เป็นพื้นที่ที่มีความรุนแรงอันดับสองรองจากตำบลบันนังสตา จ.ยะลา[1] และคนไทยพุทธหลายคนรู้สึกว่าตนเองเป็นเป้าของความรุนแรง และหลายคนก็เสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบ ได้อพยพครอบครัวไปอยู่ที่อื่นแล้วหลายครอบครัว ทำให้ความสัมพันธ์ของคนไทยพุทธและคนมุสลิมในช่วงเวลาที่ผ่านมาก็เริ่มห่างหายกันไปเรื่อยๆ พอๆ กับกลุ่มคนไทยพุทธที่ค่อยๆ หายไปจากพื้นที่

คุณอับดุลเลาะห์ ลออแมน[2] นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นชายแดนใต้ ตอนที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ เคยเล่าเรื่องราวความสัมพันธ์และความเอื้ออาทรระหว่างคนไทยพุทธกับคนมุสลิมว่า ส่วนใหญ่มุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้จะทำสวน เช่น สวนผักหรือสวนผลไม้ ส่วนคนไทยพุทธส่วนใหญ่ก็จะมาจากอีสาน มารับจ้างทำงานปลูกยาง ไถ่พรวน ในช่วงที่อีสานเข้าฤดูแล้ง หลายคนชอบความอุดมสมบูรณ์ก็ตั้งรกรากอยู่แถวนี้และก็กลายเป็นเพื่อนกัน ชาวสวนมุสลิมมักจะมีปัญหากับหมูป่า เพราะมักจะชอบเข้ามากินต้นยางอ่อนในอยู่เสมอ สร้างความลำบากให้กับชาวสวนมุสลิมมาก ชาวสวนมุสลิมก็จะไปเรียกให้เพื่อนชาวไทยพุทธมาช่วยจัดการ

นอกจากเพื่อนชาวไทยพุทธจะช่วยกำจัดหมูป่าแล้วก็ยังได้เนื้อหมูป่าไปทำแกงกินกับครอบครัว ส่วนชาวสวนยางมุสลิมก็สบายใจเพราะไม่ต้องไปแตะต้องกับหมู เพราะกฎข้อบังคับทางศาสนา และยังสามารถรักษาสวนยางเอาไว้ได้อีกด้วย

นี้คือความสัมพันธ์ของชาวไทยพุทธและชาวมุสลิมซึ่งเคยมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกันก่อนมีสถานการณ์ความไม่สงบช่วงปี 2547

หมูป่าขนาดใหญ่ใน อ.รือเสาะ เป็นตัวชี้วัดหนึ่ง ที่แสดงให้ปรากฎการณ์ทางสังคมหลายอย่าง ได้แก่ 1) ชาวไทยพุทธในพื้นที่ได้เริ่มหายไปจาก อ.รือเสาะ เพราะถ้ายังอยู่ ชาวไทยพุทธจะเข้าไปยิงหมูป่า เพื่อนำมาประกอบอาหารในชีวิตประจำวัน 2) ในกรณีที่ถ้ายังมีกลุ่มคนไทยพุทธอยู่ใน อ.รือเสาะ การที่มีหมูป่าขนาดใหญ่ แสดงให้เห็นว่า เหตุการณ์ความรุนแรงยังคงอยู่ และกลุ่มคนไทยพุทธยังมีความหวาดกลัวกับเหตุการณ์ความไม่สงบ จนไม่กล้าเข้าป่าเพื่อล่าสัตว์ อันเป็นวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมอีก

ชาวสวนที่พอมีสตางค์ อาจจะมีวิธีการจัดการโดยการเพิ่มตาข่าย กั้นอาณาบริเวณที่ปลูกต้นยางอ่อนไว้ทั้งหมด แต่ไม่ใช่ชาวสวนทุกคนที่มีสตางค์ สามารถลงทุนเพิ่มเติมในลักษณะเช่นเดียวกันแบบนี้ได้ เพราะการทำสวนยางต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ และการทำรั้วกั้นก็ต้องมีการลงทุนที่สูงขึ้น ในขณะเดียวกันเหตุการณ์ความไม่สงบก็ทำให้รายได้อื่นๆ นอกจากการทำสวนลดลง เช่น ลูกจ้างที่เป็นชาวไทยพุทธไม่กล้าเข้าไปเก็บผลไม้ในสวนผลไม้ ทำให้เจ้าของสวนผลไม้มุสลิมขาดรายได้ รายได้จากการขายสินค้าลดลงเพราะลูกค้าไม่กล้าเข้ามาในพื้นที่เพื่อซื้อของ

เมื่อก่อนสังคมชายแดนใต้เรามีต้นทุนร่วมกัน ก็คือ ทุนทางสังคม ที่คนต่างศาสนา ต่างวัฒนธรรม ต่างความเชื่อ เคยดำรงอยู่ร่วมกันและพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ดังตัวอย่างเรื่องหมูป่าที่กล่าวถึงในข้างต้น คนไทยพุทธไม่ได้มีข้อจำกัดทางศาสนาในเรื่องการรับประทานหมู ทำให้ชาวสวนมุสลิมที่เดือดร้อนจากการที่หมูป่ามาทำลายต้นยางอ่อน ต้องอาศัยเพื่อนชาวไทยพุทธมาช่วยกำจัดหมูป่า และต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ เพราะในขณะที่คนไทยพุทธได้เนื้อหมูป่าไปกิน ชาวสวนยางมุสลิมก็ไม่เสียต้นยางอ่อนจากการทำลายของหมูป่า ความสัมพันธ์ที่ต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์และพึ่งพาอาศัยกันนี้เอง ทำให้ถึงแม้ว่าจะต่างศาสนา ต่างชาติพันธุ์กัน สามารถจะมีปฏิสัมพันธ์กันได้ ซึ่งสามารถเรียกว่าสัมพันธ์ในลักษณะเช่นนี้โดยใช้คำสั้นๆ ว่า "เพื่อน"

แต่เมื่อเพื่อนชาวไทยพุทธหายไปเนื่องจากเหตุการณ์ความรุนแรง หมูป่าก็กลับมา ไม่เพียงแต่ชาวมุสลิมนอกจากความกังวลเรื่องหมูป่าที่จะเข้ามาทำลายสวนยางแล้ว แต่พวกเขายังรู้สึกเศร้าใจที่ต้องเสียเพื่อนไปจากเหตุการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้อีกด้วย

 

 

 

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ : สันติภาพบนหอคอย

Posted: 19 Jun 2013 10:49 AM PDT

David Krieger  ประธานองค์กร "สันติภาพยุคนิวเคลียร์"  (Nuclear Age Peace Foundation) เล่าเรื่องที่อดีตประธานาธิบดีของอเมริกันคนที่ 35 คือ จอห์น เอฟ เคนเนดี้ (John  F. Kennedy) เคยพูดเกี่ยวกับเรื่องสันติภาพในบทความชื่อ "John F. Kennedy Speaks of Peace" ไว้อย่างน่าฟัง

เคนเนดี้ได้ให้ความหมายของการสร้างสันติภาพที่แท้จริงไว้ว่า " หมายถึงการทำให้ชีวิตบนโลกมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในทุกด้าน  เช่น ด้านสิทธิและความเท่าเทียม รวมถึงในด้านเศรษฐกิจ (เขาใช้คำว่า worth living- ดูในhttp://www.wagingpeace.org/articles/db_article.php?article_id=169) ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างความเจริญเติบโต(พัฒนา)ให้เกิดขึ้นกับสังคมมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่หรือเป็นเด็ก เยาวชน และไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชายก็ตาม"

เคนเนดี้ กล่าวถึงเรื่องสันติภาพนี้ไว้  6 เดือนก่อนที่จะถูกฆาตกรรมในปี 1963 ซึ่งน่าจะเป็นความหมายของ "สันติภาพสากล" ไม่ใช่สันติภาพตามแบบฉบับท้องถิ่น(ประเทศ) ใดประเทศหนึ่ง ที่มักอ้างเรื่อง "อัตลักษณ์ของประเทศ" กันแบบเอาสีข้างเข้าถู  เหมือนผู้คนในบางประเทศ เช่นเดียวกับคำว่า "สิทธิมนุษยชน" ที่หมายถึงเรื่องสากล หรือเรื่องที่ทุกคนยอมรับว่า มีความสำคัญสำหรับมนุษยชาติทุกคน โดยไม่จำกัดว่าเป็นเผ่าพันธุ์ไหน นับถือลัทธิศาสนาอะไร หรือมีประเพณีวัฒนธรรมอย่างไร

และเรื่องของสันติภาพก็สมควรเกี่ยวพันกับเรื่องสิทธิมนุษยชนโดยตรง คือ หากสังคมไร้ซึ่งสิทธิมนุษยชนแล้ว สันติภาพก็ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้

เมื่อเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบ หรือความขัดแย้งระหว่างผู้คนกลุ่มต่างๆในสังคม ไม่วาจะเรื่องใดๆ ก็ตามเรามักมองหาสันติภาพ แต่ปัญหาคือ ความเข้าใจต่อกระบวนการด้านสันติภาพว่า ได้มองในแง่ของ "สันติภาพสากล"กันหรือไม่ เพราะหากไม่เช่นนี้แล้ว ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาสังคมให้เกิดสันติภาพได้ ทั้งการมองสันติภาพด้วยความคิดเห็นแคบดังกล่าว การสร้างสันติภาพ(สันติวิธี)ก็จะถูกใช้เป็นเครื่องมือของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งของคู่ขัดแย้งไปเท่านั้นเอง ไม่สามารถก่อให้เกิดสันติภาพตามที่ต้องการอย่างแท้จริง ซึ่งหมายถึงว่าสังคมนั้นก็ยังคงมีความขัดแย้งกันอยู่ต่อไป

แน่นอนว่า สันติภาพ เป็นคำสวยหรู และเป็นสิ่งที่ทุกสังคมคาดหวัง แต่สันติภาพจะเกิดขึ้นหรือไม่ขึ้นอยู่มูลเหตุปัจจัย ซึ่งมูลเหตุปัจจัยดังกล่าวเป็นสิ่งที่ต้องมองให้รอบด้านอย่างเข้าใจความหมายของ "องคาพยพสันติภาพ" สันติภาพ คงไม่ได้เกิดจากการใช้วาทกรรมที่สวยหรู แต่ย่อมเกิดจากการลงมือปฏิบัติอย่างเข้าใจถึงปัญหา โดยเฉพาะต้นตอ(สมุฏฐาน)ของปัญหาที่ก่อให้เกิดความไม่สันติขึ้นในสังคมนั้นๆ ซึ่งเรื่องนี้ "นักวางแผนสันติภาพ" ทั้งหลาย ต้องไตร่ตรองใคร่ครวญดูให้ดีๆ  มากกว่าการใช้เพียงวาทกรรมเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคม

กระนั้น ก็มีข้อสงสัยเกิดขึ้นมาเช่นกันว่า ในบรรดานักวางแผนสันติภาพนี้ น่าจะมีคนที่ทำการ(ด้านสันติภาพ)อยู่ 2 ส่วน คือ  กลุ่มคนที่ถือว่า สันติภาพเป็นงานและเงิน กับ กลุ่มคนที่ถือว่า สันติภาพ เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับสังคมโดยแท้จริง          

เรามักเห็นนักสร้างสันติภาพ ในกลุ่มแรก ได้ไม่ยากเย็นนัก แต่สำหรับนักสร้างสันติภาพในกลุ่มหลัง หาได้ไม่ง่าย เพราะต้องใช้เวลาในการบ่มเพาะและพิสูจน์กันนานพอสมควร

สิ่งที่นักสร้างสันติภาพในกลุ่มแรกโดยส่วนใหญ่ทำ ก็คือ  วาทกรรมที่เป็นทั้งคำพูดและลายลักษณ์อักษร ในเชิงหน้าที่การงานและผลตอบแทนด้านการเงิน(รวมถึงผลตอบแทนด้านชื่อเสียง) สิ่งที่พวกเขาทำเสมือนหนึ่งเป็นการคิดค้นหาแนวทางของการสร้างสันติภาพ(เช่น  การปรองดอง เป็นต้น)  หากแต่กระบวนสร้างการสันติภาพที่นำเสนอ เป็นการสนองต่อผลประโยชน์ของคนเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น เช่น การนำเสนอกระบวนการสร้างสันติภาพแล้วประเทศหรือกลุ่มผู้นำเสนอได้ประโยชน์หรือมีประโยชน์แอบแฝงอยู่เบื้องหลังไม่ว่าจะเป็นผลประโยชน์เรื่องใดก็ตาม ไม่รวมถึงผลตอบแทน (ค่าจ้าง) เพื่อ "แผนการสันติภาพ"ที่คนกลุ่มนี้จะได้รับ เช่น นักการเมือง  หรือนักวิชาการ บางกลุ่มที่ทำงานเรื่องนี้

เราจะเห็นว่า มีงานเชิงวาทกรรมที่เกี่ยวกับกระบวนการสร้างสันติภาพ(ปรองดองก็ใช่) ออกมาจำนวนมากมายในช่วงที่ผ่านมา และในงานจำนวนมากมายมหาศาลเหล่านี้ แทบไม่ต่างจากกองขยะอันมหึมา ,เราลงทุนไปไม่ใช่น้อยกับงานเหล่านี้ ที่ต่อมาแปรสภาพเป็นกองขยะสะสมพะเนินเทินทึก สะสม และใช้ประโยชน์อะไรแทบไม่ค่อยจะได้ นอกเหนือไปจากคำพูดอันสวยหรูเท่านั้น

ส่วนนักสร้างสันติภาพในกลุ่มที่สอง เป็นพวกที่อุทิศตัว อย่างที่เห็นและรู้จักกันกันดี เช่น มหาตมะคานธี(อินเดีย)  ,เนลสัน แมนเดลา(แอฟริกาใต้)  เป็นต้น ซึ่งกลายเป็นตำนานของนักสร้างสันติภาพ เป็นผู้ก่อให้เกิดแนวคิดสันติวิธี  ที่เป็นการค้นพบจากประสบการณ์จริงในชีวิตและยังคงสามารถนำวิธีการที่ท่านเหล่านี้เคยใช้ มาประยุกต์ใช้แม้กระทั่งกับสถานการณ์ในปัจจุบัน

เพียงแต่ในปัจจุบัน เราหานักสร้างสันติภาพแบบนี้ได้ยากเต็มที ขณะที่เราหาพวก "มีอาชีพสร้างสันติภาพ"ได้ไม่ยาก

ในแง่ของกระบวนการสร้างสันติภาพ มีวาทกรรมทำนอง "ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตก" คือ พูดอีกก็ถูกอีก อยู่มาก เช่น "เราต้องใช้ธรรมะในการสร้างสันติภาพ" , "เราต้องใช้การปรองดองสามัคคีสร้างสันติภาพ" , "จงชนะความโกรธ ด้วยความไม่โกรธ" เป็นต้น  ซึ่งคำพูดเหล่านี้ไม่ได้ผิดอะไร แต่ในเชิงวิธีการลึกๆในรายละเอียดของการสร้างสันติภาพแล้ว น่าจะมีอะไรก็ตามที่สามารถมองเห็นได้ว่า สันติภาพสามารถที่จะเกิดขึ้นได้ จากความสามารถเข้าถึงหัวอกหัวใจของคนในสังคมที่เป็นคู่ขัดแย้ง (เช่น ระหว่างรัฐบาล กับประชาชน , ระหว่างประชาชนกลุ่มต่างๆ  ระหว่างความคิดเชิงอุดมการณ์ต่างๆ)

พูดง่ายๆ ก็คือ ขอรายละเอียดด้านวิธีการสร้างสันติภาพให้มากกว่า "วิธีการ(เล่นคำ)ปรัชญาสันติภาพ"   

การพูดเชิงปรัชญา "ดวงอาทิตย์ขึ้นทางตะวันออก ตกทางตะวันตก" ไม่ใช่เรื่องผิดหรือเสียหาย แต่สันติภาพ ไม่เพียงไม่สามารถสร้างจากวาทกรรมเท่านั้นแล้ว สันติภาพที่เป็นสากลยังต้องสร้างด้วยการปฏิบัติในชีวิตจริงหรือปฏิบัติในชีวิตประจำวัน  ซึ่งหากนักสร้างสันติภาพไม่มีประสบการณ์ก็เกรงว่า จะเป็น "การอนุมานสันติภาพ" ที่ผิดพลาด

ถามว่า มีกี่ครั้งที่นักสันติวิธีเหล่านี้ ได้ลงไปในพื้นที่ขัดแย้ง ศึกษาด้วยการปฏิบัติตนให้ความช่วยเหลือและศึกษาข้อมูลในพื้นที่จริง จนกระทั่งรู้ถึงแก่นแท้ของปัญหา ก่อนนำมาสู่วิธีการสร้างสันติภาพในเชิงที่เป็นรูปธรรมรายละเอียด มากกว่าการหาข้อมูลจากสื่อข้างนอกและมัวสาละวนปั้นคำพูดสันติภาพอันไพเราะเพราะพริ้งให้คนนอกพื้นที่ขัดแย้งฟัง (หากพูดถึงเมืองไทย ขอให้ดูตัวอย่างพื้นที่ขัดแย้งเช่น  3 จังหวัดชายแดนใต้ เปรียบเทียบกับเมืองนอกพื้นที่ขัดแย้งอย่างกรุงเทพ)

ดังการลงพื้นที่จริงที่อินเดียค่อนชีวิตของแม่ชีเทเรซ่า (Mother Teresa of Calcutta) ซึ่งในที่สุดเธอก็ได้ความจริงเกี่ยวกับความหมายของสันติภาพแบบง่ายๆว่า คือการกลับไปบ้านของแต่ละคนและทำให้ครอบครัวมีความสุข หรือการรักครอบครัว("Go home and love your family"- http://en.wikipedia.org/wiki/Mother_Teresa) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า แม่ชีเทเรซ่า มองว่าครอบครัวเป็นแหล่งกำเนิดของสันติภาพโดยรวม การสร้างสันติภาพต้องมาจากครอบครัวที่เข้มแข็ง เธอไม่ได้ยกหลัก  ศาสนธรรมธรรมนำหน้ามาก่อนเสียด้วยซ้ำ เพราะเรื่องของครอบครัวเป็นเรื่องสากลของมนุษยชาติ ส่วนหลักศาสนธรรม ไม่ว่าจะเป็นศาสนาใดๆก็อยู่รวมในการปฏิบัติเพื่อความสุขของครอบครัวนั้นแล้ว ,คำพูดของแม่ชีเทเรซ่า จึงไม่อาจถือว่าเป็นวาทกรรมแค่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นผลจากปฏิบัติเพื่อสันติภาพอย่างเอาจริงเอาจังตลอดชีวิตของเธอ จนเป็นที่ยอมรับของผู้คนสากล

ที่เมืองไทย เรามักได้ยินคำเหล่านี้อยู่เสมอ เช่น คำพูดที่ว่า "สิทธิมนุษยชนแบบไทย" , "สันติภาพแบบไทย" เพื่อทำให้มองดูได้ว่า เราเป็นเอกเทศ(ที่ชอบอ้างกันเสมอ เช่น "อย่างน้อยก็ไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของใคร") เราเป็นประเทศที่มีอัตลักษณ์ของเรา ดังนั้นคนชาติอื่นจงอย่าได้มายุ่งกับประเทศของเรา  แต่เราลืมไปว่า ทั้งสิทธิมนุษยชนและสันติภาพเป็นเรื่องสากล เป็นที่ปรารถนาของมนุษย์ทั่วโลกทุกชาติศาสนา ผู้มีหัวอกหัวใจ มีความสุข มีความเจ็บปวด เหมือนกัน

 จึงไม่แปลกด้วยซ้ำ หากจะพูดถึงขนาดว่า สันติภาพจะเกิดมีได้หรือไม่นั้น ขึ้นกับเหตุปลาทูราคาแพง หรือราคาถูก , เพราะสันติภาพจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากประชาชนพลเมืองยังมีปัญหาด้านปากท้อง หรือมีปัญหาด้านเศรษฐกิจอยู่ ซึ่งก็เป็นไปตามที่อดีตประธานาธิบดีเคนเนดี้เคยกล่าวไว้

เพียงแต่ไม่ทราบว่า ท่านผู้มีอาชีพสร้างสันติภาพทั้งหลาย ที่สถิตอยู่บนหอคอยจะคำนึงถึงกันบ้างหรือไม่

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กับตัวตนใหม่ของชุมชนบนพื้นที่สูง

Posted: 19 Jun 2013 09:51 AM PDT

บทความชิ้นที่ 2 ของ พุฒิพงศ์ นวกิจบำรุง และ อัจฉรา รักยุติธรรมในชุดบทความ"ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์: ทางเลือกและทางรอดของเกษตรกรบนพื้นที่สูงภาคเหนือ" เป็นการศึกษาชาวบ้านที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูงในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อชี้ให้เห็นว่า ชาวบ้านหรือเกษตรกรบนพื้นที่สูง ไม่ได้เป็นมนุษย์ที่ด้อยค่าและเป็นฝ่ายถูกกระทำแต่เพียงฝ่ายเดียว การที่ชาวบ้านหันมาปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แทนการทำเกษตรในระบบไร่หมุนเวียน ไม่ได้หมายความว่าชาวบ้านตกเป็นเหยื่อของทุนนิยม หากแต่เป็น "ทางเลือก" ที่จะดำรงอยู่และใช้ประโยชน์จากกระแสทุนนิยม ท่ามกลางแรงกดดันรอบด้านและทางเลือกที่มีอยู่อย่างจำกัด ในการศึกษาชุดความรู้นี้ ทางประชาไทจะทยอยนำเสนอบทวิเคราะห์ที่มีความเชื่อมโยงกับประเด็นข้างต้นจำนวน 6ชิ้น

อนึ่ง ภายในไตรมาสที่สองของปี  2556 ประชาไท จะทยอยนำเสนอบทความที่จะพยายามทำความเข้าใจวิถีชีวิตและความสัมพันธ์การผลิตของชนบทไทยในปัจจุบัน 4ประเด็นคือเกษตรอินทรีย์, เกษตรพันธสัญญากรณีข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภาคเหนือ,พืชเศรษฐกิจในภาคอีสาน และการทำนาปรังในภาคกลางที่ท่านกำลังอ่านอยู่นี้

ในสนามการต่อสู้ต่อรองเพื่อแย่งชิงการจัดการทรัพยากรกับรัฐ เกษตรกรบนพื้นที่สูงถูกจำกัดให้มีฐานะเป็นได้แค่ผู้ปกป้องป่า แต่สนามการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อปากท้องการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เชิงพาณิชย์ได้เปิดโอกาสให้เกษตรกรบนพื้นที่สูงได้สร้างตัวตนแบบใหม่เพื่อที่จะทัดเทียมกับประชาชนกลุ่มอื่น ๆ ในสังคม

 


 
นำเสนอตัวตน

กลางเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 เป็นครั้งแรกที่พวกเราเข้าไปบ้านก่อวิละ (นามสมมติ) และมีโอกาสรู้จักกับ "พล" (นามสมมติ) ผู้นำชุมชนคนหนึ่ง พวกเราแนะนำตัวว่าเป็นนักศึกษาและอ้างถึงนักพัฒนาเอกชนที่เล่าให้พวกเรารู้จักหมู่บ้านนี้ การแนะนำตัวแบบนั้นทำให้พลเข้าใจเอาเองว่าพวกเราคิดแบบเดียวกันกับกลุ่มคนที่พวกเราอ้างถึง เขาจึงกล่าวว่า
 
"ไร่หมุนเวียนที่นี่ มีอะไรให้น่าศึกษาอีกเยอะ"
 
ความจริงแล้วพวกเรามาศึกษาเรื่องการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เชิงพาณิชย์ และเหตุที่เลือกหมู่บ้านนี้ก็เพราะทราบมาว่าทุกครัวเรือนที่นี่ปลูกข้าวโพดเชิงพาณิชย์เป็นหลักโดยแทบจะไม่มีครัวเรือนใดทำ "ไร่หมุนเวียน" ในแบบ "ดั้งเดิม" ตามที่เข้าใจกันทั่วไปอีกแล้ว
 
พวกเราตระหนักว่าชาวบ้านย่อมมีความระแวดระวังและพยายามกลั่นกรองเรื่องราวที่จะนำเสนอเพื่อสร้างความพอใจแก่ผู้ฟัง เช่นเดียวกันกับที่ผู้นำเสนอเรื่องราวผ่านสื่อสาธารณะหรือแม้แต่งานวิชาการก็ได้เลือกนำเสนอภาพแทนปาเกอะญอเฉพาะเพียงบางแง่มุม แต่ภาพแทนนั้นได้ส่งผลให้หลายคนติดอยู่กับภาพแทนแบบโรแมนติกจนไม่ได้ให้ความสำคัญกับความเป็นไปและเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจริง
 
ในพื้นที่การต่อสู้เพื่อแย่งชิงสิทธิเหนือทรัพยากรกับรัฐ ชาวบ้านบนพื้นที่สูงมักถูกผูกติดอยู่กับภาพลักษณ์ "คนอยู่กับป่า" ปาเกอะญอถูกนำเสนอเพียงแบบเดียว คือ การเป็นนักอนุรักษ์ แต่ในชีวิตประจำวันชาวบ้านซึ่งมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนมากหน้าหลายตาไม่ได้ยึดติดกับภาพแทนแบบใดแบบหนึ่ง พวกเขาเลือกนำเสนอตัวตนอย่างระมัดระวังและเลื่อนไหลผันแปรไปตามสถานการณ์ที่เผชิญอยู่ต่อหน้า
 
เปลี่ยนระบบการผลิต เปลี่ยนชุมชน
 
บ้านก่อวิละตั้งอยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่เกษตรส่วนใหญ่ที่เคยทำไร่หมุนเวียนถูกเปลี่ยนเป็น "ไร่ถาวร" ขนาดใหญ่เพื่อปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์  ความเปลี่ยนแปลงในชุมชนบนพื้นที่สูงมีเหตุปัจจัยและเงื่อนไขแวดล้อมมากมายนำพาให้แต่ละชุมชนเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่แตกต่างกัน
 
บ้านก่อวิละปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทุกครัวเรือน แต่ละปีใช้เมล็ดพันธุ์ 50-200 กิโลกรัมต่อครัวเรือน (คิดเป็นเนื้อที่ปลูก 10-40ไร่) เริ่มปลูกปลายเดือนพฤษภาคมและเก็บเกี่ยวในเดือนพฤศจิกายน นอกจากการทำไร่ข้าวโพดแล้ว ในช่วงฤดูฝนชาวบ้านยังคงปลูกข้าวนาและข้าวไร่เพื่อบริโภคในครัวเรือน ขณะที่ในฤดูแล้งมีการปลูกพืชเชิงพาณิชย์อื่น ๆ ในที่ดินที่ใกล้แหล่งน้ำหรือสามารถต่อท่อส่งน้ำไปยังแปลงเกษตรได้ โดยเฉพาะหอมแดง นอกจากนี้ชาวบ้านบางส่วนยังเลี้ยงวัว และมีหนึ่งครัวเรือนที่เลี้ยงแพะ
 
การขยายตัวของพืชเศรษฐกิจได้ยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจของชาวบ้าน ทำให้พวกเขามีกำลังซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค มากขึ้น ครัวเรือนที่ทำนามีรถไถเดินตามขนาดเล็ก และทั้งชุมชนมีสองครัวเรือนที่ซื้อรถโม่เอาไว้รับจ้างชาวบ้านในชุมชนโม่เมล็ดข้าวโพดออกจากฝักในฤดูเก็บเกี่ยว ไม่กี่ปีที่ผ่านมาในชุมชนมีรถมอเตอร์ไซค์และรถยนต์เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งยานพาหนะเหล่านี้เป็นอุปกรณ์การผลิตที่สำคัญในการขนส่งปัจจัยการผลิตและผลผลิตระหว่างชุมชนกับไร่นา และระหว่างชุมชนกับตัวอำเภอ
 
การปลูกพืชเศรษฐกิจกลายเป็นแรงผลักดันและเป็นเหตุผลที่ชาวบ้านใช้เรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับปรุงถนนเพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งผลผลิตการเกษตร ที่ผ่านมาการพัฒนาถนนจากตัวอำเภอมายังหมู่บ้านถูกจำกัดเพราะที่ดินทั้งหมดอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ หน่วยงานที่มีอำนาจเหนือพื้นที่จึงไม่อนุญาตให้มีพัฒนาถนนและสาธารณูปโภคต่าง ๆ มากเกินความจำเป็น เฉพาะบางช่วงของถนนในระยะทางทั้งหมด16 กิโลเมตรเท่านั้นที่ได้รับการปรับปรุงเป็นคอนกรีต ขณะที่ส่วนที่เป็นดินลูกรังยังคงทำให้การเดินทางในช่วงฤดูฝนเป็นไปด้วยความยากลำบาก โชคดีที่สภาพถนนดังกล่าวไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำเกษตรเชิงพาณิชย์มากนักเพราะชาวบ้านขนผลผลิตการเกษตร โดยเฉพาะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และหอมแดง ในช่วงฤดูแล้ง  
 
เสียงเรียกร้องให้ปรับปรุงถนนดังขึ้นเรื่อย ๆ ตามขนาดการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ขยายเพิ่มขึ้น ในที่สุดองค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่มาจากชุมชนที่ปลูกข้าวโพดทั้งบ้านก่อวิละและหมู่บ้านอื่น ๆ ทำโครงการปรับปรุงถนนโดยไม่รอการอนุมัติจากหน่วยงานที่มีอำนาจเหนือพื้นที่ (เชื่อกันว่าไม่ว่าอย่างไรหน่วยงานก็จะไม่อนุมัติให้ปรับปรุงถนน) แต่เนื่องจากงบประมาณของ อบต. มีจำกัดการปรับปรุงจึงค่อยเป็นค่อยไป นอกจากนี้ทาง อบต. ยังพยายามประสานสำนักเร่งรัดพัฒนาชนบทเพื่อขอช่วยปรับปรุงถนนเพิ่มเติม
 
 
เปลี่ยนระบบการผลิต เปลี่ยนตัวตน
 
การเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตทำให้รูปแบบการใช้ชีวิตของชาวบ้านเปลี่ยนไป จากที่ไม่ค่อยเร่งรีบกลายเป็นวิถีชีวิตที่คร่ำเคร่ง โหมทำงานหนัก ความตึงเครียดทางด้านเศรษฐกิจทำให้ชาวบ้านปรับตัวด้วยการสร้างความหลากหลายในระบบการผลิต เช่น การใช้ประโยชน์ที่ดิน การเลือกและหมุนเวียนพืชปลูก การจัดการน้ำ และการบริหารจัดการแรงงาน
 
วิถีการผลิตที่เข้มข้นขึ้นทำให้ในชุมชนต้องการแรงงานตลอดทั้งปี พลบอกว่าหนุ่มสาวในชุมชนนี้ไม่ค่อยออกไปเป็นแรงงานรับจ้างในเมืองเหมือนคนบนพื้นที่สูงอื่น ๆ  พลไม่ได้พูดถึงเรื่องนี้เชิงโรแมนติกทำนองที่ว่าคนหนุ่มสาว "รักถิ่นฐานบ้านเกิด" แต่เขาอธิบายว่าที่คนหนุ่มสาวอยู่ติดบ้านก็เพราะพวกเขามีงานทำและสามารถเลี้ยงตัวเองได้โดยไม่ต้องดิ้นรถออกไปรับจ้าง ในช่วงที่พวกเราอยู่ในหมู่บ้านสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนว่าในหมู่บ้านมีแรงงานวัยหนุ่มสาวอยู่เป็นจำนวนมาก หนุ่มสาวหลายคู่แต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย บางคู่แต่งกันขณะที่ฝ่ายชายมีอายุ 16 ปี ขณะที่ฝ่ายหญิงมีอายุเพียง 13 ปี นอกจากนั้นพวกเรายังทราบว่าหนุ่มสาวหลายคนเลือกที่จะไม่เรียนต่อในระดับมัธยมศึกษา
 
ในช่วงเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิต เป็นช่วงที่ต้องการแรงงานอย่างเข้มข้น ชาวบ้านใช้วิธีแลกเปลี่ยนแรงงานในกลุ่มเครือญาติและเพื่อนบ้าน แต่ถ้ายังไม่พออีกก็จะจ้างแรงงานจากนอกชุมชน บางกรณีต้องไปหาแรงงานรับจ้างมาจากอำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ผู้ว่าจ้างมีหน้าที่จัดหาที่พักและอาหารตลอดช่วงเวลาของการทำงานซึ่งนานเป็นสัปดาห์ไปจนถึงเป็นเดือน ค่าจ้างแรงงานในหมู่บ้านอยู่ที่วันละ 120 บาท แต่หากเป็นช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตซึ่งต้องการแรงงานอย่างมากค่าจ้างอาจสูงถึงวันละ 180 บาท ในช่วงเก็บข้าวโพดแรงงานที่นำมอเตอร์ไซค์มาลำเลียงผลผลิตออกจากแปลงไปยังจุดกองพักเพื่อรอโม่แยกเมล็ดได้ค่าจ้างวันละ 200 บาท
 
ในบ้านก่อวิละขนาด 70 กว่าหลังคาเรือน แทบทุกครัวเรือนมีมอเตอร์ไซค์และบางครัวเรือนมีหลายคัน พลบอกว่าใน พ.ศ.2551 ที่เขาซื้อรถปิกอัพมือสองทั้งหมู่บ้านมีรถยนต์ไม่เกินห้าคัน แต่ในช่วงต้นปี พ.ศ.2553 รถปิกอัพเพิ่มขึ้นเป็น 27 คัน ชาวบ้านซื้อรถยนต์ด้วยเงินจากการปลูกข้าวโพดและหอมแดงขาย บางส่วนกู้เงินจากสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธกส.เชียงใหม่ สาขาแม่แจ่ม (สกต.) ด้วยคำอธิบายว่ารถยนต์เป็นอุปกรณ์การเกษตรแบบหนึ่ง ในชุมชนมีหนี้สินกันทุกครัวเรือนแต่มี 16 ครัวเรือนที่มียอดหนี้สูง 130,000 บาท ขึ้นไป ครัวเรือนเหล่านี้ทั้งหมดมีรถยนต์ ส่วนใหญ่เป็นการซื้อรถมือสอง ในจำนวนนี้ มี 13 ครัวเรือนที่กู้เงินจาก สกต. โดยมียอดกู้ตั้งแต่ 1 แสนบาทจนถึง 2 แสนบาท
 
แน่นอนว่ารถมอเตอร์ไซค์และรถยนต์ถูกนำมาใช้ทำการเกษตร ขณะเดียวกันยานพาหนะเหล่านี้ก็เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทำให้การใช้ชีวิตของชาวบ้าน "สะดวกสบาย" มากขึ้น ในสายตาของหลายคนรถมอเตอร์ไซค์และรถยนต์เป็นปัจจัยชี้วัด "ความฟุ่มเฟือย" ของชาวชนบท แต่สำหรับชาวไร่ชาวนายานพาหนะพวกนี้อาจหมายถึง "การกินดีอยู่ดี" หรือคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 
 
ในช่วงที่พวกเราเข้า-ออกหมู่บ้านเป็นเวลาหลายเดือนพลมักชวนพวกเราติดรถยนต์ของเขาไป "เที่ยวป่า" หรือบางครั้งเขาตั้งใจพาพวกเรา "ไปเที่ยว" เป็นการเฉพาะ เขาขับรถยนต์ลัดเลาะไปตามสันดอยและแวะทักทายเยี่ยมเยียนผู้คนตามหมู่บ้านต่าง ๆ มีครั้งหนึ่งพวกเราใช้เวลาช่วงวันหยุดสงกรานต์เพื่อ "ทำงาน" เก็บข้อมูลในหมู่บ้าน ปรากฏว่าพลใช้วันสงกรานต์เพื่อ "ไปเที่ยว" การเดินทางไปต่างถิ่นเพื่อเยี่ยมเยียนญาติพี่น้อง หรือการไปเที่ยวป่าไม่ได้เป็นเรื่องแปลกใหม่ในวัฒนธรรมปาเกอะญอ แต่ที่น่าแปลกใจคือพลพาพวกเราไปเที่ยวที่ยอดดอยอินทนนท์ในบริเวณซึ่งเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวจากเชียงใหม่และที่อื่น ๆ ทั้ง ๆ ที่หมู่บ้านก่อวิละเองก็อยู่ในเทือกเขาถนนธงชัยอันเป็นที่ตั้งของดอยอินทนนท์ อยู่แล้ว พลขับรถปิกอัพขับเคลื่อนสี่ล้อของเขาบรรทุกญาติพี่น้องไปเต็มลำรถ เขาบอกว่าเป็นการ "เที่ยวพักผ่อนวันหยุด นานทีปีหน" ซึ่งพวกเราเห็นว่านั่นคือวิถีชีวิตแบบคนในเมืองซึ่งแลดูแปลกไปจากวิถีชีวิตของปาเกอะญอ "ดั้งเดิม" ที่ "เรียบง่าย" แบบที่พวกเราเคยเข้าใจ
 
 
เรามักเข้าใจกันว่าเกษตรกรรายย่อยเพลี่ยงพล้ำในระบบทุนนิยมจนสิ้นเนื้อประดาตัว  ซึ่งหากสำรวจตัวเลขเราอาจพบว่าการปลูกข้าวโพดและหอมแดงไม่ได้ทำให้ชาวบ้านก่อวิละ "ร่ำรวย" ขึ้นมา ตรงกันข้ามกลับยังมีหนี้สินมากขึ้น แต่ในข้อเท็จจริงอีกอย่างหนึ่งที่พวกเราพบก็คือการผลิตพืชเศรษฐกิจได้ช่วยให้ชาวบ้านก่อวิละมีเงินมาลงทุนพัฒนาระบบการผลิต มีทุนหมุนเวียน และมีรายได้มาจับจ่ายใช้สอยคล่องมือมากขึ้น นอกจากนั้นเรายังพบว่าชาวบ้านหลายคนสามารถสะสมทุนได้มากขึ้น ซึ่งทุนในที่นี้คือที่ดิน 
 
การสำรวจพบว่าชาวบ้าน 17 ครัวเรือน ซื้อที่ดินเพิ่มจากคนเมืองที่อยู่ชุมชนถัดลงไปรวมทั้งสิ้น 23 แปลง คิดเป็นเนื้อที่รวม 157 ไร่ เป็นจำนวนเงินรวม 1,121,800 บาท เจ้าของที่ดินเดิมโดยส่วนใหญ่ขายที่ดินเพราะไม่มีแรงงานทำเกษตรเนื่องจากลูกหลานในหมู่บ้านออกไปทำงานในเมืองกันหมด ชาวบ้านก่อวิละเริ่มซื้อที่ดินกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2530 ช่วงแรก ๆ ซื้อเฉพาะที่นาไว้ปลูกข้าว แต่เจ้าของที่ดินบางรายขายรวมทั้งที่นาและที่ไร่ จนกระทั้งปี พ.ศ. 2551 ชาวบ้านจึงเริ่มหันมาซื้อที่ไร่กันมากขึ้น
 
ในสภาวะที่ชาวบ้านก่อวิละไม่มีความมั่นคงในสิทธิเหนือที่ดิน การซื้อที่ดินจากคนเมืองไม่ได้ช่วยให้พวกเขามั่นคงมากขึ้น เพราะที่ดินที่ซื้อมาก็ไม่ได้มีเอกสารสิทธิใด ๆ แต่ผู้ซื้อที่ดินได้ขยายกำลังการผลิตของตนในที่ดินที่ซื้อมาอย่างเต็มกำลัง โดยหวังจะสร้างรายได้เพิ่ม และจะได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายมากขึ้น ทั้งยังสามารถที่จะสะสมทุนเพิ่มขึ้นไปอีก  อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องเน้นย้ำว่าไม่ใช่ชาวบ้านทั้งหมดที่สามารถสะสมทุนเช่นนี้ เพราะแต่ละครัวเรือนในบ้านก่อวิละมีความแตกต่างทางฐานะทางเศรษฐกิจและสถานภาพทางสังคมจึงทำให้โอกาสสะสมทุนของแต่ละครัวเรือนมีไม่เท่ากัน
 
ตัวตนแบบไหน
 
ผู้เขียนเชื่อว่าชาวบ้านก่อวิละโดยส่วนใหญ่รับรู้ว่าคนภายนอกอยากให้พวกเขาดำเนินชีวิตและนำเสนอตัวตนอย่างไร  แต่ระบบการผลิตและวิถีชีวิตที่พวกเราได้เรียนรู้ตลอดหลายเดือนที่เข้า-ออกหมู่บ้านเป็นตัวตนที่พวกเขาเลือกที่จะเป็นอยู่จริง อย่างน้อยก็ในช่วงเวลาขณะนั้น ท่ามกลางสภาวะและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่พวกเขาเผชิญ    
 
ตัวตนแบบที่ชาวบ้านก่อวิละเลือกอาจไม่ "เรียบง่าย" และ "เป็นมิตรกับธรรมชาติ" แบบที่หลายคนอยากเห็น แต่ตัวตนที่ไปไกลจากภาพ "ชาวเขา" ผู้ "ด้อยพัฒนา" ล้าหลัง คงเป็นตัวตนที่พึงน่าปรารถนาสำหรับชาวบ้านเอง และสิ่งที่มากไปกว่าภาพลักษณ์ที่ถูกสร้างขึ้นมาคือ พวกเขาเชื่อว่าวิถีชีวิตแบบนี้เป็นชีวิตที่ "ดีขึ้น" ในแบบที่พวกเขาต้องการ มีรายได้และเงินหมุนเวียนคล่องมือจนสามารถซื้อที่ดินทำการผลิตเพื่อสะสมทุนเพิ่มขึ้นได้ นอกจากนั้นยังทำให้พวกเขามีอำนาจและอาจทัดเทียมกับคนอื่นได้มากขึ้น เช่น สามารถผลักดันให้มีการปรับปรุงถนนหนทางเข้าหมู่บ้าน และได้เดินทางไปเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวของคนเมือง เป็นต้น
 
หากเราถกเถียงกันเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวบ้านบนพื้นที่สูงภายใต้โจทย์แบบเดิม ๆ ด้วยกรอบคิดที่จำกัดอยู่เพียงแต่เรื่อง "อนุรักษ์ธรรมชาติ" เพื่อผลประโยชน์ของ "ส่วนรวม" ชาวบ้านก่อวิละจะถูกตัดสินว่าไม่มีสิทธิและความชอบธรรมใดที่มีวิถีการผลิตและการดำเนินชีวิตแบบที่เป็นอยู่  แต่หากเรายอมรับว่ามนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่สูงหรือพื้นราบก็ควรจะมีสิทธินิยามและเลือก "ชีวิตที่ดี" แบบที่ตนเองต้องการ พวกเราก็ควรพยายามทำความเข้าใจกับตัวตนของชาวบ้านก่อวิละในแง่มุมนี้ด้วย
 
ผู้เขียนไม่กล้าตัดสินว่าวิถีชีวิตที่ชาวบ้านก่อวิละเลือกและแลกมานี้ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ ดีต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือเปล่า ยั่งยืนพอไหม เพราะพวกเราเห็นอยู่แล้วว่าในสังคมมีคนที่คอยบอกว่าคนอื่นควรหรือไม่ควรทำอะไรมากเกินพอแล้ว แต่พวกเราเห็นว่าสังคมยังขาดความเข้าใจที่เพียงพอว่าเหตุใดคนในแต่ละแห่งแต่ละที่จึงเลือกวิถีชีวิตแบบที่เขาเป็นอยู่ และเหตุใดพวกเขาจึงเห็นว่านั่นคือ "ชีวิตที่ดี"
 
ผู้เขียนมองว่า "ชีวิตที่ดี" มักเป็นนิยามจากการเปรียบเทียบ หากไม่มีถนนลาดยางคุณภาพดีแบบในเมือง ไม่มีรถยนต์ที่คนเมืองใช้กันเกร่อ ไม่มีแหล่งท่องเที่ยวที่คนเมืองชอบไปพักผ่อนในวันหยุด ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อมสรรพที่ทำให้ชีวิตคนในเมืองสะดวกสบายไปเสียทุกอย่าง คนบนพื้นที่สูงก็อาจไม่ดิ้นรนปรับเปลี่ยนระบบการผลิตเพื่อจะได้มีตัวตนแบบใหม่ที่มีความสะดวกสบายและมีศักดิ์ศรีทัดเทียมกับคนเมือง
 
ดังนั้น หากคนเมืองอยากกำหนดให้ตัวตนของคนบนพื้นที่สูงเป็น "นักอนุรักษ์" ที่มีวิถีชีวิตเรียบง่ายเป็นมิตรกับธรรมชาติแล้วละก็ คนเมืองอาจต้องเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของตนเองให้ไม่สุขสบายกว่า ไม่มีมากกว่า และไม่อยู่เหนือกว่าจนเป็นที่เปรียบเทียบของคนบนพื้นที่สูงเสียก่อน 
 
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'อภิสิทธิ์'ยันไม่เคยร้องลดราคาจำนำข้าว-เสนอประกันรายได้ให้ชาวนาได้เต็ม

Posted: 19 Jun 2013 08:50 AM PDT

หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ย้ำไม่เห็นด้วยและไม่เคยเรียกร้องให้รัฐบาลลดราคาจำนำข้าว ระบุจำนำข้าวเป็นวิธีการช่วยเกษตรกรที่ไม่คุ้มค่า เสนอประกันรายได้ ชี้หลักคือ เอาเงินไปให้ชาวนาเต็ม แต่ไม่ต้องยุ่งการซื้อขาย

เว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ รายงานว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ในรายการ 101 องศาข่าว ช่วง "ตรงไปตรงมากับอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" โดยตอนหนึ่งนายอภิสิทธิ์กล่าวแสดงความไม่เห็นด้วย กรณีที่รัฐบาลจะลดราคาการจำนำข้าวจาก 15,000 บาท เหลือ 12,000 บาท

"ไม่เห็นด้วยครับ ฟันธงง่ายๆ นะครับว่า ปัญหาของโครงการนี้ที่ทุกคนเขาทักท้วงกันมา ก็คือว่า เป็นโครงการที่มันสูญเงินไปแต่ละปีเป็นจำนวนมาก ซึ่งเอาละ ยังเถียงกัน รู้สึกทำตัวเลขกันไม่จบสักทีว่าขาดทุนเท่าไหร่ แต่เอาอย่างน้อยๆ ที่ผมเห็นว่าที่สรุปแล้วปีแรก 2 ฤดูกาลแรก จาก 3 ฤดูกาล มาลงอยู่ที่ประมาณ แสน 3 หมื่นล้าน แต่ตรงนี้ยังไม่ได้รวมงบประมาณที่จ่ายขาดอีกหลายหมื่น เอาว่า แสน 6 ก็ได้ แสน 6 แสน 7 ขณะเดียวกันในระยะเวลาเดียวกัน ตัวเลขทางการก็บอกว่า เกษตรกรได้ประโยชน์ไป 8 หมื่น 6 พันล้าน ซึ่งผมคิดว่าความจริงก็ยกประโยชน์ให้นะครับ ผมว่าตัวเลขที่ใช้คำนวณก็ไม่ค่อยเป็นจริงเท่าไหร่ ที่อ้างว่าทางพี่น้องประชาชนนั้นสามารถขายข้าวได้สูงกว่าราคาตลาดถึง 4,000 บาทต่อตัน ผมว่า ไปถามที่ผมตระเวนมาทั่วประเทศยังไม่เห็นมีใครได้ 14,000 – 15,000 เลย มี 10,400 นะครับ 14,000 ยังไม่เจอเลยเหมือนกัน

หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการจำนำข้าวอีกว่า "การใช้วิธีการนี้ในการช่วยเกษตรกรมันไม่คุ้มค่า เพราะว่าคุณช่วยเกษตรกร 80,000 แต่คุณใช้เงินตั้ง แสน 5 แสน 6 เพราะฉะนั้นข้อเรียกร้องก็คือว่า เรานั้นยินดีที่จะให้ช่วยเกษตรกร ก็ช่วยให้เท่าเดิมไม่ได้เหรอครับ 86,000 นี่ แต่อย่าให้มันเสียหายไปอีกแสน กลับกลายเป็นว่าทางออกของรัฐบาลก็คือว่า เสียเงินเยอะ ตอนนี้เลยมาลดในส่วนที่ไปถึงชาวนา ผมก็เทียบง่ายๆ สมมติว่าเราใช้เงิน 2 บาท ไปถึงชาวนา 1 บาท เราก็เรียกร้องบอก รัฐบาลไม่ได้นะ อย่างนี้มันสิ้นเปลืองมาก รัฐบาลแทนที่จะไปลด 1 บาท ที่มันไปที่อื่นที่ไม่ไปชาวนา รัฐบาลมาลดในส่วน 1 บาท ของชาวนา ส่วนอื่นนี่ผมไม่แน่ใจจะลดได้แค่ไหน เพราะว่าจะจำนำ 15,000 หรือ 12,000 ปริมาณสต็อคที่จะต้องเก็บต้องบริหาร ค่าเช่า ก็เท่ากัน อาจจะดอกเบี้ยถูกลงหน่อย อาจจะขาดทุนน้อยลง เพราะปริมาณน้อยลงหน่อย แต่น้อยลงไม่มากนะครับ"

นายอภิสิทธิ์กล่าวถึงการลดราคาจำนำข้าวครั้งนี้ด้วยว่า "เห็นมีกระบวนการพยายามที่จะมาโยนฝ่ายค้านว่าเป็นสาเหตุ ไม่นะครับ ฝ่ายค้านไม่เคยเรียกร้องให้ลดเหลือ 12,000 ครับ ฝ่ายค้านบอกว่า คุณไปบริหารโครงการยังไงก็ได้ อย่าให้ 100 บาท ไปถึงชาวนา 50 บาท อย่างที่เป็นมา"

"โครงการนี้มันขาดทุนมหาศาลนั้นมันจริง เพราะว่าถ้ามันไม่จริงก็ไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยน แต่ปัญหาที่ผมบอกก็คือว่า ที่ปรับเปลี่ยนนั้นมันไม่ตรงกับที่คนเขาเรียกร้อง เขาเรียกร้องให้ไปปรับเปลี่ยนในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับชาวนา แต่ว่าไปปรับตรงนั้น ก็เลยชาวนาเสียประโยชน์ไปเต็มๆ" นายอภิสิทธิ์ กล่าว

ข้อเสนอของพรรคประชาธิปัตย์นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า "คือประกันรายได้เป็นตัวอย่างหนึ่งนะครับ ถ้าจะไปคิดโครงการในวิธีการอื่นก็ไม่ได้ยากนะครับ ก็คือว่า ถ้าเราบอกว่าชาวนาเขาขายข้าวได้ราคา หรือมีรายได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น เพราะว่าเราคำนวณต้นทุนเขาแล้ว เราเห็นว่าเขาควรจะมีรายได้ขั้นต่ำเท่าไหร่ หลักของมันก็คือ เอาเงินไปให้เขาให้มันเต็ม แต่ไม่ต้องไปยุ่งกับการซื้อขายข้าว แต่ถ้าห่วงว่าการซื้อขายข้าวจะทำให้พ่อค้าไปกดราคา ก็อาจจะมีโครงการที่เสริมเข้าไป ในเรื่องของการซื้อแข่ง หรือไปไล่ราคาขึ้น แต่ไม่ใช่ลักษณะของการที่จะไปรับซื้อเองทั้งหมด ประเด็นมีอยู่เท่านี้ครับ เพราะฉะนั้นอย่างที่ผมเคยพูดบอกว่า เอาสุดโต่งไปเลย อย่างตอนนี้ตีเสียว่า เงินไปถึงชาวนา 80,000 – 90,000 ล้าน เอาง่ายๆ เลยก็ได้ครับ คุณก็ไปจดทะเบียนว่าเกษตรกรเขาปลูกข้าวอยู่เท่าไหร่ แต่ละคน มีปริมาณเข้าเท่าไหร่ แล้วก็เอาเงินนี้หารไปเลยครับ แจกไปเลย ตันละเท่าไหร่ จบ

"เขาก็จะได้ประโยชน์เท่าเดิม เพียงแต่ต้องไปดูแลนิดนึงว่า ไม่มีการไปกดราคาอย่างที่ว่า ก็จะได้ประโยชน์เท่าเดิม แต่ไม่ต้องมีภาระที่จะต้องให้รัฐบาลไปซื้อข้าวด้วยตัวเอง ไปยึดธุรกิจข้าวมาอยู่ในมือของตัวเองทั้งหมด เกิดการผูกขาด เกิดการทุจริต จากเดิมเสียเงินแสน 6 แสน 7 ถึงชาวนา 86,000 ผมก็บอกเอา 86,000 นี่แจกชาวนา ที่เหลืออีกแสนนึงก็ไม่ต้องใช้เงิน คิดง่ายๆ อย่างนี้นะครับ" นายอภิสิทธิ์ กล่าว

นายอภิสิทธิ์กล่าวด้วยว่า "ถึงแม้จะมีมติลดลงมาเหลือ 12,000 ปัญหาที่ค้างอยู่ยังเหลือเยอะมากนะครับ ไม่ได้แปลว่าปัญหาหายไป ยังมีปัญหาภาระของงบประมาณที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อเนื่องต่อไป ก็ยังมีอยู่  เมื่อวานนี้ตัวเลขที่ทางสภาพัฒน์ฯ ทำเข้าไปว่ามันเป็นภาระทางการเงินการคลังอะไรเท่าไหร่ ก็ยังมีอยู่ ขีดความสามารถการแข่งขันข้าวไทยก็ยังมีปัญหาอยู่ ข้าวที่มันยังอยู่ในสต็อคอีก 17 ล้านตัน ก็ยังมีปัญหาอยู่ ข้าวที่เขาบอกว่าไปทำข้าวถุงแล้วหายไปล้านกว่า ก็ยังมีอยู่ แล้วก็ล่าสุดที่ถามผมเมื่อกี้บอกว่า ที่ตอนนี้อ้างว่า คุณภาพข้าว หรือว่ามีการฉีดสารอะไร พ่นอะไรเข้าไป ก็ยังมีอยู่ครับ เพราะฉะนั้นปัญหาก็ต้องแก้ต่อไปครับ แต่วันนี้ที่ งง ก็คือว่า การแก้ปัญหาเบื้องต้นก็คือ เอาเรื่องเงินก่อน แล้วก็บอกว่า งั้นชาวนารับน้อยลงไปก็แล้วกัน ซึ่งมันไม่น่าจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุดหรอกครับ"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พม่าเผย ILO ยุติการคว่ำบาตรทั้งหมดแล้ว

Posted: 19 Jun 2013 07:12 AM PDT

ทางการพม่าเผย ILO ยุติการค่ำบาตรทางด้านแรงงานทั้งหมดแก่พม่าแล้ว ชี้จะเป็นกระตุ้นการลงทุนจากต่างประเทศและจะเป็นโอกาสในการสร้างงานใหม่ๆ ให้กับประชาชนในประเทศ

 
19 ก.ย. 56 - สำนักข่าว Xinhua รายงานว่าทางการพม่าได้เปิดเผยว่าองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ได้ยุติการค่ำบาตรทางด้านแรงงานทั้งหมดแก่พม่าแล้ว ทั้งนี้จะเป็นกระตุ้นการลงทุนจากต่างประเทศ และจะเป็นโอกาสในการสร้างงานใหม่ๆ ให้กับแรงงานในพม่า
 
โดยทางการพม่าระบุว่าในการประชุมใหญ่ครั้งที่ 102 ของ ILO ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้มีมติเห็นชอบญัตติดังกล่าวเมื่อวันอังคาร (18 มิ.ย. 56) ที่ผ่านมา หลังจากได้ทบทวนสิ่งที่พม่าได้ดำเนินการเกี่ยวกับมาตรการในการยุติการบังคับใช้แรงงานในประเทศ
 
โดยคณะผู้แทนของพม่าประกอบไปด้วยตัวแทนของนายจ้าง ตัวแทนลูกจ้าง และตัวแทนจากกระทรวงแรงงานได้เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ที่เจนีวา
 
อนึ่ง ILO ได้ประกาศมาตรการคว่ำบาตรพม่าตั้งแต่ปี ค.ศ. 1999 และ 2000 แต่หลังจากต่อมาหลังจากที่นางออง ซาน ซู จี ผู้นำฝ่ายค้านพม่า ได้เยือนประเทศในยุโรปครั้งแรกตั้งแต่ถูกปล่อยตัวเมื่อปี ค.ศ.2012 ILO ก็ได้ประกาศยกเลิกการค่ำบาตรบางส่วนไปเมื่อการประชุมใหญ่ครั้งที่ 101 ในเดือนมิถุนายน ค.ศ.2012 ที่ผ่านมา
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

วิวาทะหน้ากากขาว‘กายฟอกส์’ สับสนแบบไทยๆ ล้มทักษิณ ล้มเจ้า หรือไม่มีความหมายเฉพาะ?

Posted: 19 Jun 2013 04:17 AM PDT

สำรวจคำอธิบายสัญลักษณ์หน้ากากขาว "กายฟอกซ์" ที่ใช้เคลื่อนไหวในสังคมไทยขณะนี้ ทั้งในพื้นที่โซเชียลมีเดียและตามท้องถนน โดยมีอย่างน้อย 3 กลุ่มคำอธิบายด้วยกัน

กลุ่มแรกเป็นกลุ่มที่สนับสนุนการเคลื่อนไหวของขบวนการหน้ากากขาว โดยมองว่าเป็นการเคลื่อนไหวทางสังคมในแนวใหม่และการสร้างพื้นที่ตัวเอง เป็นการรวมตัวกันของคนที่ "ไม่รู้หน้า แต่รู้ใจ" มีที่มาที่ไปในทางสากล ต่างชาติเข้าใจว่าสู้กับเผด็จการและความไม่เป็นธรรม มีความหมายในตัวของมันเอง เป็นการเคลื่อนไหวเพื่อให้กลไกต่างๆ ในสังคมมีประสิทธิภาพ ต่อสู้กับความไม่ถูกต้องในระบอบการเมือง โค่นล้มระบอบทักษิณ

กลุ่มที่ 2 มีลักษณะไปทางคัดค้านการเคลื่อนไหวของกลุ่มนี้ หรือแม้ไม่คัดค้านการเคลื่อนไหวแต่ก็ไม่เห็นด้วยกับการใช้หน้ากากกายฟอกส์เป็นสัญลักษณ์ในการเคลื่อนไหว โดยกลุ่มเหล่านี้มองไปยังที่มาทางประวัติศาสตร์ของหน้ากากดังกล่าวว่า เป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้านสถาบันกษัตริย์ รวมทั้งขัดวัฒนธรรมไทย ขัดแย้งกับพวก "กษัตริย์นิยม"

กลุ่มสุดท้าย เป็นมุมมองว่าหน้ากากกายฟอกส์ที่ใช้อยู่นี้ไม่ได้มีความหมายพิเศษเฉพาะอะไร

วงเสวนา "ปรากฏการณ์หน้ากากขาว กับยุทธการลงทัณฑ์ทางสังคม – การเมือง"

การเคลื่อนไหวทางสังคมในแนวใหม่และการสร้างพื้นที่ตัวเอง

ในงานเสวนาวิชาการ ครั้งที่ 2 หัวข้อ "ปรากฏการณ์หน้ากากขาว กับยุทธการลงทัณฑ์ทางสังคม – การเมือง" ที่จัดขึ้นที่วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต อาคารสาธรธานี ชั้น 7 ถนนสาธร กทม. โดยวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต ร่วมกับ กลุ่มกรีนการเมือง, สภาพัฒนาการเมือง, ชมรม สสร.50 และ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย(ครป.) เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.56 ที่ผ่านมา รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต เปรียบเทียบการเคลื่อนไหวของกลุ่มหน้ากากขาวว่าเป็นการเคลื่อนไหวทางสังคมในแนวใหม่(new social movement) เนื่องจากไม่ได้มีเป้าหมายที่จะยึดอำนาจรัฐอำนาจการปกครอง เหมือนขบวนการทางชนชั้นแบบเก่า พร้อมทั้งเป็นขบวนการที่ไม่มีแกนนำ ดังนั้นรัฐไม่ต้องไปหา คนที่มาเคลื่อนไหวเป็นผู้มีการศึกษาใช้การสื่อสารสมัยใหม่ ใช้สัญลักษณ์ ใช้คำขวัญ ใช้บทเพลง สติกเกอร์ เป็นต้น

"การแสดงออกของเขาที่ต้องใช้หน้ากาก ก็เพราะสะท้อนให้เป็นว่าสังคมไม่มีความปลอดภัย ถ้าสังคมปลอดภัยคนก็ไม่จำเป็นต้องใส่หน้ากาก เพราะฉะนั้นการใส่หน้ากากเป็นสัญลักษณ์ที่สะท้อนให้เป็นว่าการต่อสู้อย่างเปิดเผยอาจได้รับอันตรายได้ แล้วก็เป็นการแสดงถึงความไม่พอใจแต่พวกเขาไม่ต้องการใช้ความรุนแรง แล้วก็ไม่ต้องการเห็นความรุนแรง" รศ.ดร.สังศิต กล่าว

คนที่มาต่อสู้ไม่ใช่คนที่อดมื้อกินมื้อ แต่เป็นคนที่มีฐานะตามสมควร ได้ผ่านการเห็นปัญหาของสังคมมายาวนานพอจนกระทั่งเขาเห็นว่าการปกครองแบบนี้ขาดความเป็นประชาธิปไตย มีการใช้นโยบายที่ทำให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนของนักการเมือง

รศ.ดร.สังศิต อธิบายถึงจุดมุ่งหมายของการใช้สัญลักษณ์ของขบวนการหน้ากากขาวว่า "ประชาชนต้องมีพื้นที่ของตัวเอง ที่จะแสดงออก แล้วก็เป็นขบวนการที่ไม่ต้องการไปยื้อแย่ง ยึดอำนาจจากรัฐบาล การต่อสู้ครั้งนี้ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายที่จะยึดอำนาจรัฐบาล เพราะฉะนั้นรัฐบาลก็ไม่ควรปฏิบัติต่อคนที่ต่อสู้และต้องการแสดงออกอย่างสงบ การจัดองค์กรเป็นแนวนอน เป็นการพึ่งตัวเองและเป็นเครือข่ายของคนจำนวนไม่มากนัก แต่สามารถเรียกมาพบปะกันได้" 

คำนิยามหน้ากากขาวโดย รศ.ดร.สังศิต

คนที่สวมหน้ากาก "ไม่รู้หน้า แต่รู้ใจ"

ในงานเสวนาข้างต้นนอกจาก รศ.ดร.สังศิต แล้วยังมีวิทยากรคนอื่นเช่น สุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน ชัยวัฒน์ สุรวิชัย สถาบันพัฒนาการเมือง และ รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ รวมทั้ง สำราญ รอดเพชร พิธีกรโทรทัศน์ เป็นผู้ดำเนินการเสวนา และเขากล่าวว่าขบวนการหน้ากากขาวเกิดขึ้นเมื่อคือวันที่ 24 พ.ค.56 ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจคุณโอ๊ค พานทองแท้ เว็บทำเนียบ มีคนที่เข้าไปโพสต์และเปลี่ยนภาพโปรไฟล์ตัวเองเป็นหน้ากากขาวและเข้าไปยึดเพจเหล่านั้น "เหมือนเป็นการรัฐประหารในโซเชียลมีเดีย" และประกาศว่า "ขณะนี้กองทัพประชาชนได้ลุกขึ้นมาแล้ว ข้าขอประกาศว่า ข้าจะล้มล้างระบอบทักษิณให้หมดสิ้นจากแผ่นดินไทย"

สำราญ กล่าวต่อว่า หลังจากนั้นก็เกิดการขยายตัวเป็นเหมือนประกายไฟไหม้ลามทุ่งในโซเชียลมีเดีย เป็น V for Thailand เลียนแบบมาจาก V For Vendetta เป็นภาพยนตร์ สำราญ กล่าว และยกข้อความของ "P.khondee ( พี่คนดี กวีสมัครเล่น)" ในเฟซบุ๊กว่าคือการต่อสู้ของคนที่สวมหน้ากาก "ไม่รู้หน้าแต่รู้ใจ" รวมทั้งมีคำถามด้วยว่าจะเป็นปรากกฎการณ์ที่มาเร็วไปเร็วหรือไม่ เนื่องจากปรากฏการณ์ที่อยู่ในโลกออนไลน์มักจะเกิดขึ้นไม่นานก็หายไป แต่กรณีนี้คิดว่าจะไม่ใช่แค่ไฟไหม้ฟาง เคยสัมภาษณ์ Mr.V ที่เคลื่อนไหวโดยไม่เปิดเผยหน้าเขาก็ยืนยันว่าจะไม่เป็นไฟไหม้ฟาง

คำนิยามหน้ากากขาวจากเฟซบุ๊กแฟนเพจ  "P.khondee ( พี่คนดี กวีสมัครเล่น)"

มีที่มาที่ไปในทางสากล ต่างชาติเข้าใจว่าสู้กับเผด็จการและความไม่เป็นธรรม

สุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน กล่าวถึงปรากฏการณ์เสื้อหลากสีในปี 53 ว่าเป็นขบวนการที่ต่อยอดมาจากการต่อสู้ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ขณะนั้น พธม.ใช้ทั้งทีวีดาวเทียมเป็นหลักและใช้เว็บไซต์ "ผู้จัดการออนไลน์" มาช่วย เป็นช่องทางการสื่อสารของ พธม.ที่ทรงพลังมาก แต่ในขณะนั้นเฟซบุ๊กยังไม่มี มีเพียง Hi5 คนใช้อินเตอร์เน็ตก็ยังไม่มากในช่วงนั้น เมื่อปี 53 ขบวนการหลากสีต่อยอดจากการใช้ IT และการเข้าถึง IT ที่ง่ายขึ้นเกิดขบวนการของกลุ่มคนที่เรียกว่าหลากสี ที่ออกมาต่อต้านการชุมนุมที่ราชประสงค์ของเสื้อแดงและไม่เห็นด้วยกับการยุบสภาเพราะใช้ขบวนการนอกรัฐธรรมนูญมากดดัน มีการเกิดขึ้นของอีกหลายเว็บไซต์ หลายแฟนเพจในเฟซบุ๊ก และไม่มีใครเป็นแกนนำ ส่งผลให้รัฐบาลขณะนั้นสามารถที่จะต่อกรกับฝ่ายกดดันได้ในระดับที่รับมืออยู่ เพราะขบวนการหลากสีไม่ใช่ขบวนการที่จะจัดตั้งม็อบไปเผชิญหน้ากับอีกฝ่าย

สุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน

ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน อธิบายต่อด้วยว่า จากปรากฏการณ์ออคคิวพาย วอลล์สตรีท มาสู่กรณี "ไทยสปริง" ของ อ.แก้วสรร อติโพธิ คิดว่าที่มีพลังเนื่องจากไทยสปริงเกิดขึ้นเพื่อที่จะโต้สปีชของนายกยิ่งลักษณ์ ที่พูดที่มองโกเลีย ในเวทีสากลว่านายกไทยไปแฉว่าประเทศไทยไม่ได้เป็นประชาธิปไตยและกล่าวหาว่ามีขบวนการต่อต้านประชาธิปไตย ดังนั้นการเอาวาทะกรรมเรื่องสปริงขึ้นมาสื่อมวลชนค่อนข้างสนใจ คิดว่าเป็นความฉลาดของคนตั้ง "ไทยสปริง" ที่หยิบคำนี้

หน้ากากขาวก่อตัวหลังจากไทยสปริงไม่กี่สัปดาห์ เหตุที่หน้ากากขาวดูมีผลมากและสื่อมวลชนให้ความสนใจ รัฐบาลมีปฏิกิริยามาก มาจาก 2 ปัจจัย

  1. หน้ากากขาวนับ 1 ขั้นหลังจากที่นายกยิ่งลักษณ์ เดินสายต่างประเทศแล้วเปิดโปงประจานประเทศไทยว่าไม่เป็นประชาธิปไตย การดึงหน้ากากขาว หรือหน้ากากวีเข้ามาใช้ เป็นสัญลักษณ์คือความชาญฉลาดของคน เพราะหน้ากากขาวมีที่มาที่ไปในทางสากล ชาวต่างชาติเห็นไม่ต้องอธิบายว่าคืออะไร ซึ่งต่างจากหน้ากากแดงและตีนตบชาวต่างประเทศก็ไม่ทราบว่าคืออะไร แต่หน้ากากขาวนั้นสากลรู้ที่มาที่ไปว่าเป็นการต่อกรกับระบอบการเมืองที่เป็นเผด็จการและอำนาจทางการเมืองที่ไม่เป็นธรรม แต่อีกฝั่งใช้ "หน้ากากแดงสยิว" กลับไปกระตุ้นให้หน้ากากขาวขยายออกไปอีก กับปฏิกิริยาของคนในรัฐบาลที่ท้าทายเป็นทัศนะที่ดูถูกประชาชนทำให้เกิดการขยายตัว
  2. อีกส่วนคือหน้ากากขาวทะลุทะลวงถึงพลังเงียบทางการเมือง ที่เคยแอบเชียร์พันธมิตรหรือคนที่ต่อสู้กับระบอบทักษิณ แต่คนกลุ่มนี้ไม่พร้อมที่จะออกมาชุมนุม จะมีวิถีชีวิตผูกตัวเองอยู่กับโซเชียลเน็ตเวิร์ค แม้หน้าเฟซบุ๊กตัวเองจะไม่พูดเรื่องการเมือง แต่ก็มีการคลิกไลค์คอยติดตามเพจที่เกี่ยวกับการเมือง ดังนั้นหน้ากากขาวจึงไปโดนจริตของคนแบบนี้ คนที่ไม่พร้อมจะออกมาชุมนุมแต่มีใจช่วย แต่คลิกไลค์ในเฟซบุ๊คนั้นชอบแต่ไม่พร้อมลงถนน ดังนั้นหน้ากากขาวจึงโตในโซเชียลเน็ตเวิร์ค แต่อาจไม่มากเมื่อลงถนน

สุริยะใส กล่าวด้วยว่า หน้ากากขาวนี้ไม่ใช่แฟชั่นหรือแค่ปรากฏการณ์ แต่พัฒนาไปเป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่น่าจับตา เป็นขบวนการเคลื่อนไหวแบบใหม่ที่สามารถสร้างพื้นที่ทั้งในโลกเสมือนและโลกความเป็นจริงได้ และไม่ใช่แค่แฟชั่น และจะทรงพลังกว่าขบวนการหลากสีเพราะขบวนการหลากสีเป็นขบวนการที่เหมือนจะเป็นปกป้องรักษารัฐบาลอภิสิทธิ์ไม่ให้ยุบสภาและยืนหยัดจะจัดการกับการชุมนุมที่ผิดกฎหมายจึงถูกตีความว่าเป็นการออกแบบโดยรัฐ แต่หน้ากากขาวไม่ใช่แบบนั้นเพราะเป็นฝ่ายที่ตรงข้ามกับรัฐบาล ไม่สามารถหาแกนนำได้ จึงคิดว่ามันมาถึงจุดที่เรียกว่าขบวนการแล้ว และไม่คิดว่าจุดหมายเป็นแค่การขับไล่ระบอบทักษิณ ถ้าไปไกลกว่าเรื่องระบอบทักษิณ ไปพูดถึงเรื่องความไม่เป็นธรรมทางสังคม เรื่องพลังงาน เรื่องความไม่เท่าเทียมทางสังคม ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจ และขณะนี้ขบวนการหน้ากากขาวเป็นขบวนการที่กำหนดวาระทางการเมืองได้ เป็นช่องทางที่จะนำพาชนชั้นกลางและพลังเงียบในสังคมออกมาเข้าร่วมเคลื่อนทางการเมืองมากขึ้น ซึ่งก็ควรไปไกลกว่าการโค่นระบอบทักษิณ

มีความหมายในตัวของมันเอง สู้กับอำนาจทุนสามานย์ทักษิณ

ชัยวัฒน์ สุรวิชัย สถาบันพัฒนาการเมือง กล่าวว่า ยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไปหน้ากากกายฟอกส์มีความหมายในตัวของมันเอง พลังการเคลื่อนไหวของหน้ากากวีนั้นส่วนใหญ่มาจาการกระทำของรัฐบาลที่ไม่ฟังเสียงของประชาชนเท่าที่ควร รัฐบาลยิ่งใช้อำนาจจัดการกับประชาชนมากยิ่งปลุกประชาชนที่ทนไม่ไหวกับอำนาจทุนสามานย์ทักษิณขึ้นมาต่อสู้มากขึ้น อิทธิฤทธิ์ของหน้ากากขาวขับเคลื่อนเจตนารมณ์รักชาติรักประชาธิปไตย รักความเป็นธรรม ปฏิเสธเผด็จการ มีลักษณะที่เป็นอิสระมีสีสันตรงไปตรงมา เป็นเรื่องของความคิดก้าวข้ามผลประโยชน์ของตัวเอง จึงสามารถทะลุทะลวงไปได้ไกล คนที่ใส่หน้ากากวีนี้จะบอกเล่าความจริงปัญหาความทุกข์ของคนในแผ่นดิน

ชัยวัฒน์ สุรวิชัย สถาบันพัฒนาการเมือง

เพื่อให้กลไกต่างๆในสังคมมีประสิทธิภาพ ต่อสู้กับความไม่ถูกต้องในระบอบการเมือง

รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กล่าวว่า การชุมนุมที่นำโดยเสธฯ อ้าย (พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์) เป็นการชุมนุมที่คาดหวังว่าจะมีประชาชนมาร่วมชุมนุมจำนวนมากแล้วหวังว่าจะมีทหารเข้ามายืนข้างประชาชนในการโค่นล้มรัฐบาล แต่ก็ไม่เป็นอย่างที่คิด

สำหรับหน้ากากขาวนั้นมีแบบแผนการชุมนุมที่ต่างกัน แต่เป็นการชุมนุมเพื่อให้กลไกต่างๆ ในสังคมมีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น เพราะหากอยู่ภายใต้ระบอบทักษิณในปัจจุบันหลายๆ กลไกมันไม่ทำงานหรือทำหน้าที่ไม่เต็มที่ ดังนั้นการชุมนุมขององค์กรภาคประชาชนจึงเป็นตัวเร่งให้กลไกต่างๆ ในสังคมเดินตามปกติมากขึ้น

รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต

รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต กล่าวด้วยว่า หน้ากากขาวนั้นการประกาศตัวออกมาช่วงแรกว่ามีเจตจำนงว่าจะโค่นล้มระบอบทักษิณนั้นเป็นเรื่องดี เพราะเป็นการโค่นล้มระบอบคิด วิถีปฏิบัติไม่ใช่เฉพาะตัวทักษิณ คือการใช้การผู้ขาดอำนาจในเครือญาติ ใช้อำนาจไม่เป็นธรรม ไร้ฝีมือในการบริหาร แต่การโค่นล้มสิ่งเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องโค่นล้มตัวรัฐบาลแต่เพียงอย่างเดียว เรามาสามารถที่จะปฏิบัติการทางการเมืองในหลายแนวรบ หลายมิติ และกลุ่มกากขาวเป็นกลุ่มที่มีความยืดหยุ่นเพียงพอเนื่องจากไม่มีแกนนำชัดเจน เพราะฉะนั้นเมื่อไหร่ที่จะแสดงตัวออกมาก็สามารถแสดงตัวออกมาได้ทันที โดยสรุปกลุ่มหน้ากากขาวเป็นการแสดงออกของกลุ่มคนไทยที่ต่อสู้กับความไม่ถูกต้องในระบอบการเมืองทั้งหมด

หน้ากากกายฟอกส์ ต่อต้านกษัตริย์ฯ-ขัดวัฒนธรรมไทย

ขณะที่กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการแคลื่อนไหวของกลุ่มหน้ากากขาว พยายามอธิบายความหมายของหน้ากากขาวหรือหน้ากากกายฟอกส์ผ่านที่มาทางประวัติศาสตร์ของมัน โดย อุลตร้าแดง แดงสยิว ซึ่งเป็นนามแฝงของแกนนำที่ใช้สัญลักษณ์เป็นหน้ากากแดง เพื่อรณรงค์คัดค้านการเคลื่อนไหวของกลุ่มหน้ากากขาวหรือหน้ากากกายฟอกซ์ทั้งในโซเชียลเน็ตเวิร์คและภายนอก มองการเคลื่อนไหวและการใช้สัญญาลักหน้ากากนี้ว่า "ถ้าเรียกร้องในทางการเมืองนั้นทุกคนมีสิทธิทำได้ แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานหลักประชาธิปไตยและกฎหมาย ผมไม่ได้มีปัญหากับการที่เขาออกมาเรียกร้องโวยวายอะไรทั้งสิ้น แต่มีปัญหากับแค่สัญลักษณ์ที่เขาใช้ เพราะมันเป็นสัญลักษณ์ของการล้มระบอบการปกครองในยุโรปซึ่งไม่เหมาะกับวัฒนธรรมไทย โดยชนชั้นกลางในเมืองไทยจะทราบว่าสัญลักษณ์นี้มันคืออะไร แต่ระดับรากหญ้าเขาอาจจะยังไม่เข้าใจ ดังนั้นจึงควรมีคนออกไปชี้กับสังคมว่าหน้ากากขาวอันนี้มันคืออะไร อยากให้เขาเลิกใช้สัญลักษณ์นี้ก็จบแล้ว"

"ต้องการให้หน้ากากขาวยุติการใช้หน้ากากกายฟอคซ์เป็นสัญลักษณ์ของการเคลื่อนไหว มันไม่เหมาะกับวัฒนธรรมไทย สัญลักษณ์อันนี้เขารู้กันทั่วโลกว่าล้มระบอบอะไร จะไปวางระเบิดรัฐสภาหรือลอบปลงพระชนม์ใครถึงใช้สัญลักษณ์แบบนี้" 

การชุมนุมของหน้ากากแดงเมื่อวันที่ 2 มิ.ย.ที่ผ่านมา

เช่นเดียวกันกับ พานทองแท้ ชินวัตร ที่โพสต์สถานะในแฟนเพจบนเฟซบุ๊กตัวเอง Oak Panthongtae Shinawatra  เมื่อ 17 มิ.ย. ที่ผ่านมาเกี่ยวกับกลุ่มหน้ากากขาวนี้ว่า "มาจากกลุ่มประชาชนผู้สับสนในชีวิต ชื่อเล่นว่าสลิ่มครับ มักอ้างตัวตลอดเวลาว่า ตนเองผูกขาดความจงรักภักดี แต่ดันใส่หน้ากากแสดงสัญลักษณ์ที่ตรงข้าม คือเป็นใบหน้าของผู้ที่ต่อต้านสถาบันฯ ถึงขั้นเตรียมการลอบปลงพระชนม์กษัตริย์ แต่แพ้ถูกจับได้และโดนประหารชีวิต ซึ่งคนที่จงรักภักดีจริง เขาไม่น่าที่จะนำความอัปมงคลมาสู้ชีวิต ด้วยการสวมหน้ากาก ที่เป็นใบหน้าของคนล้มเจ้า นำความอัปมงคลมาสู่ผืนแผ่นดินไทยแบบนี้"

โควทของ เทพมนตรี ลิมปพะยอม จากเฟซบุ๊กแฟนเพจ วิวาทะ

แม้แต่ผู้ที่เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มหน้ากากขาว แต่ไม่เห็นด้วยกับการใช้สัญลักษณ์นี้อย่าง เทพมนตรี ลิมปพะยอม นักประวัติศาสตร์และแกนนำกลุ่มเครือข่ายประชาชนหัวใจรักชาติ ได้โพสต์สถานะในเฟซบุ๊ก "Thepmontri Limpaphayom" เมื่อวันที่ 2 มิ.ย.ที่ผ่านมาว่าหน้ากากดังกล่าวขัดกับวัฒนธรรมไทยจึงทำให้ไม่ยั่งยืนหากต้องการล้มรัฐบาลนี้ต้องใช้ทหารรัฐประหารอย่างเดียว โดยเขากล่าวว่า

"ผมไม่สนใจและไม่เห็นด้วยกับหน้ากากฝรั่งตาน้ำขาว ก็จะมาบังคับไม่ให้ผมไปเที่ยวหรืออยู่เฉยๆ แปลกคน พวกคุณอยากจะทำอะไรก็ทำไปสิ ผมไม่เคยห้าม แต่ผมไม่เห็นด้วย ทำแล้วยังไง อะไรที่ฝืนและขัดต่อวัฒนธรรมไทยเห่อกันเป็นแฟชั่นตามกันไปมันก็ไม่ยั่งยืน

มันเป็นแค่อีเว้นท์ จะล้มรัฐบาลนี้ในเวลานี้ต้องทหารทำการปฏิวัติลูกเดียว ผมถามไปก็ไม่เห็นมีใครตอบได้ ผมจึงบอกให้ไปขอร้องสมาชิกฝ่ายค้านทั้งหมด ให้เขาถอดหน้ากากการเมืองแล้วมาสวมหน้ากากอย่างพวกคุณ ถ้าพวกเขามาแม่ยกพ่อยกของเขา(ที่มาอยู่แล้ว)ก็จะมีมามากขึ้น ให้สมาชิกของพรรคไปเกณฑ์คนมาเหมือนที่เคยทำไง ใส่หน้ากากอย่างที่คุณว่า อันนั้นนะง่ายกว่ามาชวนผม เพราะจุดประสงค์ของฝ่ายค้านเขาต้องการล้มรัฐบาลอยู่แล้ว เขาก็อยากเป็นรัฐบาล ดังนั้นการมาขอให้ผมออกไปร่วมนั้นนะคงทำไม่ได้ ไม่ชอบรัฐบาลนี้และไม่ชอบฝ่ายค้านด้วย ผมก็มีสิทธิเสรีภาพจริงไหม แต่ผมก็มีหน้าที่ ที่ไม่ใช่ออกไปทำอีเว้นท์อ่ะ เพราะต้องทำอย่างอื่นที่สำคัญกว่า ชัดแล้วนะ เข้าใจกันแล้วนะ ผมจะไม่ยุ่งกับพวกคุณและขอความกรุณาอย่ามายุ่งกับผม

อนึ่งผมก็ยังยืนยันเช่นเดิม แม้พวกคุณจะบิดเบือนประวัติศาสตร์ของพระเจ้าเจมส์ที่1อย่างไร คุณจะไปเอาหนังมาเป็นแบบอย่างขนาดไหน ตะแบงกันไปถึงโลกพระจันทร์ก็ทำเลย ผมเป็นนักประวัติศาสตร์ไม่ใช่นักเล่านิทาน หรือนักจัดอีเว้นท์"

กลุ่ม V For Thailand สวมหน้ากากขาวประท้วงอเมริกาและ UN หลังตัวแทนทั้ง 2 องค์กรออกมาวิจารณ์ ม.112

: ภาพจากเพจ V For Thailand

แม้จะยกมาจากหนัง แต่ก็ยังขัดแย้งกับพวก "กษัตริย์นิยม"

โชติศักดิ์ อ่อนสูง นักกิจกรรมทางการเมืองและสังคม โพสต์ในบันทึกบนเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 9 ก.พ.56  ซึ่งเวลานั้นมีการเคลื่อนไหวของกลุ่มนี้ที่เรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการกับเว็บไซต์ที่กลุ่มนี้อ้างว่าละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์และการประท้วงสถานทูตอเมริกาและยูเอ็น เมื่อกลาง ธ.ค.54 หลังตัวแทนทั้ง 2 องค์กรออกมาวิจารณ์กฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์ หรือ ม.112  โดยโชติศักดิ์ อธิบายว่า เวลาพวก "กษัตริย์นิยม" ชาวไทย ใส่หน้ากาก "กาย ฟอคซ์" (Guy Fawkes) ในการทำกิจกรรมทางการเมืองของพวกเขา แล้วพอมีคนแย้งว่า "นี่มันหน้ากากของคนที่คิดลอบฆ่ากษัตริย์นะ" พวกกษัตริย์นิยมเหล่านั้นก็จะบอกว่า "หนังมันพูดเรื่องการต่อสู้เพื่อเสรีภาพ เกี่ยวอะไรกับการลอบฆ่ากษัตริย์"

หลายคนก็คงรู้กันอยู่แล้วว่า "หนัง" ที่พวกเขา (พวกกษัตริย์นิยม) พูดถึงนั่นคือหนังเรื่อง "วี ฟอร์ เวนเดตตา" (V For Vendetta) ซึ่งพูดเรื่องการต่อสู้กับเผด็จการ/การต่อสู้เพื่อเสรีภาพจริงๆ

แต่สิ่งที่มากกว่าเนื้อหาในหนังก็คือ "หน้ากาก" ที่ V ตัวเอกในหนังสวมอยู่ตลอดทั้งเรื่องนั้นมันไม่ใช่หน้ากากที่อยู่ๆก็ถูกทำขึ้นมาแบบไม่มีที่มาที่ไปหรือสักแต่วาดขึ้นมามั่วๆ

แต่มันคือหน้ากากที่เลียนแบบใบหน้าของชายชาวอังกฤษคนหนึ่งที่ชื่อ Guy Fawkes  และ Guy Fawkes คนนี้คือคนที่วางแผนจะระเบิดอาคารรัฐสภาเพื่อลอบสังหารกษัตริย์อังกฤษ (กษัตริย์เจมส์ ที่ 1 - King James I) ในวันที่ 5 พ.ย. 1605 โดยมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างนิกายศาสนา (แต่แผนรั่วซะก่อน)

เหตุการณ์ครั้งนั้นถูกเรียกว่า "กบฏดินปืน", "แผนดินปืน"

ถ้าไม่เชื่อผมก็ลองเอาคำว่า "กาย ฟอคซ์" หรือ "Guy Fawkes" ไปเซิร์จใน google ดูสิครับ (คุณจะพบว่า ข้อมูลที่ขึ้นมานอกจากจะพูดถึงพฤติการณ์ของชายที่ชื่อ Guy Fawkes แล้ว จะยังเชื่อมไปถึงหนังเรื่อง V For Vendetta ด้วย)

ผมคิดว่าเหตุที่อลัน มัวร์ ผู้เขียน V For Vendetta (เรื่องนี้เป็นการ์ตูนมาก่อนที่จะเป็นหนัง) เลือกใบหน้าของ Guy Fawkes ทั้งที่เนื้อเรื่องของ V For Vendetta ออกแนวอนาธิปไตย (ซึ่งโดยปกติถือว่า "ซ้ายจัด") ในขณะที่ Guy Fawkes น่าจะเรียกได้ว่าเป็นพวก "ขวาจัดแนวศาสนา" ก็เพราะการลอบสังหารโดยวิธีระเบิดอาคารรัฐสภานี่แหละครับ

ดังนั้นเวลาผมเห็นพวก "กษัตริย์นิยม" ใส่หน้ากาก Guy Fawkes ทำกิจกรรมทางการเมืองผมจึงอดรู้สึกขำไม่ได้

เพราะหน้ากากนี้มันทั้งโยงไปได้ทั้งหนัง V For Vendetta และทั้งชายที่ชื่อ Guy Fawkes 

ซึ่งล้วนแต่มีแง่มุมที่ขัดแย้งกับพวก "กษัตริย์นิยม"

คือ ในขณะที่หนัง V For Vendetta เป็นแนวอนาธิปไตย พูดเรื่องเสรีภาพ แต่พวกกษัตริย์นิยมใช้หน้ากากนี้ในการเคลื่อนไหวเพื่อจำกัดเสรีภาพ

และในขณะที่พวกนี้บอกว่าเขารักนับถือกษัตริย์ แต่หน้ากากที่พวกเขาสวมใส่อยู่กลับเป็นรูปใบหน้าของ Guy Fawkes ซึ่งเป็นแกนนำขบวนการลอบสังหารกษัตริย์

แต่ที่ขำกว่าความย้อนแย้งที่ว่าไปข้างบนก็คือ เวลามีคนแย้งพวกเขาเรื่องหน้ากาก Guy Fawkes ว่าเป็นหน้ากากของพวกลอบสังหารกษัตริย์ นอกจากพวกที่ดูงงๆ แบบ "เกี่ยวอะไร" แล้ว บางคนยังกลับมาด่าคนที่แย้งอีกว่า "ดูหนังไม่เข้าใจ"

ที่การ์ตูน V for Vendetta (ก่อนที่จะพัฒนามาเป็นหนัง) มันใช้หน้ากาก Guy Fawkes นี่เพราะมันได้แรงบันดาลใจมาจากพวก anonymous มันประท้วงเรื่องเสรีภาพในอินเตอร์เนตน่ะครับ ซึ่งพวกนี้ต้องใส่หน้ากากไว้เพราะกลัวโดนบริษัทที่มันประท้วงฟ้อง จริงๆ มันก็ห่างจาก Guy Fawkes ต้นฉบับมาตั้งแต่ตอนนั้นแล้วนะ

ส่วนก่อนหน้านั้นหน้ากาก Guy Fawkes มันก็มีคนเอาไว้ใส่แฟนซีในงาน 5 of November อยู่แล้วด้วยน่ะครับ

วันที่ 5 พ.ย. นี่จะมีงานฉลองเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้นะครับ (ถ้าจำไม่ผิดเหมือนจะเคยอ่านเจอว่าเขาเรียกว่า "วัน Guy Fawkes" ตรงๆเลย) ซึ่งในงานจะมีการใส่หน้ากาก Guy Fawkes ครับ

ขบวนการ anonymous เอาหน้ากาก Guy Fawkes ซึ่งมีขายเป็นปกติอยู่แล้วมาใส่เพื่ออำพรางตัวไม่ให้ถูกฟ้อง แล้วก็เป็นแรงบันดาลใจให้อลัน มัวร์ เอามาเขียนเป็นการ์ตูน

มันไม่ได้มีความหมายพิเศษเฉพาะอะไร

อย่างไรก็ตามมีทัศนะที่มองว่าหน้ากากขาวหรือหน้ากากกายฟอกซ์นี้ไม่ได้มีความหมายพิเศษเฉพาะ โดยยกตัวอย่างว่าในหนังเรื่อง V for Vendetta ของ Alan Moore เป็นการพูดถึง V ผู้ที่สวมหน้ากากดังกล่าวเป็นตัวแทนของพวกอนาร์คิสต์ที่ต่างจากกายฟอกซ์ที่เป็นคนที่มีอยู่ในประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นพวกขวาคลั่งศาสนา พร้อมทั้งยกปรากกฎการณ์ที่มีผู้สวมหน้ากากกายฟอกซ์มาประท้วงกันเอง จึงมองว่าหน้ากากนี้ใครจะให้ความหมายยังไงกับมันก็ได้ ไม่มีใครเป็นเจ้าของความหมายเฉพาะ

โดยประชาไทได้สัมภาษณ์ นนทวุฒิ ราชกาวี นักศึกษาปริญญาโท ด้านประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเขาอธิบายความหมายของหน้ากากกายฟอกส์ไว้อย่างน่าสนใจว่าไม่ได้มีความหมายพิเศษอะไร โดยเขาเล่าถึงที่มาของการใช้หน้ากากนี้ว่า

การวิจารณ์ว่าพวกขวาไทยที่ใช้หน้ากากกาย ฟอกส์ ว่าไม่เข้าใจความหมายและที่มาว่ากาย ฟอกส์ เป็นพวกล้มเจ้านี่ผมคิดว่าคนพูดเองก็ไม่เข้าใจพอๆ กันแหละครับ เอาเข้าจริงไอ้หน้ากากกาย ฟอกส์เองก็ถูกหยิบออกมานอกบริบทความความเป็นตัวกาย ฟอกส์มาตั้งแต่ต้นแล้ว (ยังไม่นับว่ากาย ฟอกส์ ไม่ใช่พวกล้มเจ้า ในความหมายของการต้องการเปลี่ยนระบอบกษัตริย์ แต่กาย ฟอกส์เป็นเพียงแค่หนึ่งในคนที่อยู่ในขบวนการที่อยากได้กษัตริย์องค์ใหม่ที่จะให้เสรีภาพแก่พวกคาทอลิกมากขึ้น)

ตอนแรกหน้ากากกาย ฟอกส์ เป็นหน้ากากหน้าตาประหลาดที่ทำจากกระดาษแข็งราคาถูก ที่เด็กๆ เอามาใส่เล่นเพื่อขอเงินในงานคืนรอบกองไฟ (Bonfire Night) ช่วงจบศตวรรษที่ 18 ซึ่งแน่นอนว่าเด็กๆ อังกฤษคงไม่คิดสรรเสริญอุดมการณ์คลั่งศาสนาของกาย ฟอกส์หรืออยากจะไปวางระเบิดที่ไหนแน่ๆ เพราะงานนี้จัดขึ้นด้วยสำนึกต่อต้านพวกคาทอลิก และจัดในวันฉลองครบรอบวันที่จับตัวกาย ฟอว์กส์ได้ จนกระทั่งเข้าศตวรรษที่ 20 งานฉลองนี้ก็ไม่ได้มีนัยยะทางการเมืองอีกต่อไป แต่กลับเป็นงานฉลองเพื่อความสนุกสนานไปมากกว่า

ในขณะที่หน้ากากกาย ฟอกส์ปัจจุบันที่นำต้นแบบมาจากการ์ตูน V for Vendetta ของ Alan Moore ก็พูดถึง V ที่เป็นภาพตัวแทนของพวกอนาร์คิสต์ ซึ่งก็ห่างไกลกับขวาคลั่งศาสนาแบบกาย ฟอกส์ที่เป็นตัวคนจริงๆ ไปไกล จนกระทั่ง V For Vendetta ถูกนำมาสร้างเป็นหนัง Alan Moore ก็โจมตีว่ามันได้ละทิ้งประเด็นเรื่อง anarchist-fascist กลายเป็นประเด็นความขัดแย้งที่มีอเมริกันเป็นศูนย์กลายระหว่าง liberalism กับ neo-consevativism ซึ่งก่อนหน้านี้ Alan Moore กับ DC Comics ก็ดูจะแยกทางกันไม่ดีนัก

ตัวอย่างเหตุการณ์ประท้วงครั้งหนึ่งที่แสดงถึงความมั่วในความหมายของหน้ากากกาย ฟอกส์ คือในปี 2006 สองกลุ่มที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกันแต่สวมหน้ากากกาย ฟอกส์ เผชิญหน้ากันหน้าออฟฟิศของ DC Comics ฝ่ายหนึ่งเป็นพวกพวกอนาคิสต์ฝ่ายซ้ายฟรีแกน (freegan left-anarchist) มาประท้วงหนัง V For Vendetta โดยกล่าวหาว่าหนังเรื่องนี้บิดเบือนภาพของ anarcists ผู้ร่วมประท้วงคนหนึ่งกล่าวว่า "หนังและการ์ตูนยังรักษาแง่มุมเรื่องความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับ anarchyแต่ไม่มีอันไหนเป็นแง่บวกเลย" นับเป็นเรื่อง irony ที่ Alan Moore ก็กล่าวว่าตัวเองเป็น anarchist เหมือนกัน

อีกฝ่ายเป็นพวกเสรีนิยม (libertarian) ที่มาประท้วงพวกอนาร์คิสต์ และสนับสนุน DC Comics โดยได้รับการสนับสนุนจากพนักงาน Time Warner ฝ่ายหลังวิจารณ์ฝ่ายแรกว่า "ถ้าพวกเขาเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจ, ฉันคิดว่าพวกเขาอาจจะมองเป็นทุนนิยม, ฮอลลิวู้ด และหนังสือการ์ตูนเป็นกองกำลังปลดปล่อยมากกว่าจะเป็นศัตรู"

และครั้งแรกที่หน้ากากกาย ฟอกส์ถูกนำมาใช้ในการประท้วงอย่างจริงจังคือการที่กลุ่ม Anonymous ใส่หน้ากากนี้ประท้วงลัทธิ Scientology ที่ฟ้องเกรียนไซเบอร์คนหนึ่งที่เผยแผร่คลิปพิธีฉลองของลัทธิที่ทอม ครูซสวดมนต์อยู่ ในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ แต่กลัวจะถูกฟ้องเพราะพวก Scientology ชอบใช้วิธีฟ้องดำเนินคดีกับใครก็ตามที่อยู่ตรงข้ามกับลัทธิ พวก Anonymous เลยใส่หน้ากากปิดบังตัวเอง แต่พอรูปการประท้วงในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2008 เผยแพร่ออกไปหลายคนเห็นว่ามันเท่ดีและอยากมีส่วนร่วม ทำให้หน้ากากกาย ฟอล์กส์กลายเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มไป ซึ่งต่อมาก็มีการใส่ความหมายให้หน้ากากนี้เข้าไปอีกสารพัด และผมเข้าใจกว่าจากการประท้วงของพวก Anonymous นี่แหละที่ทำให้หน้ากากกาย ฟอว์กส์กลายเป็น vogue ขึ้นมา ลองคิดเล่นๆ ว่า ถ้าหากตอนนั้นกลุ่ม Anonymous เลือกใช้หน้ากากScream หรือหน้ากาก Halloween คงจะมีคำอธิบายที่สนุกไปอีกแบบ

เพราะฉะนั้นแล้วหน้ากากกาย ฟอกส์มันจึงเป็นสิ่งที่อยู่นอกบริบทของตัวตนกาย ฟอกส์ตัวจริงมาตั้งแต่ต้นแล้ว มันออกจะเป็น vogue ที่ไม่ได้มีความหมายพิเศษเฉพาะอะไรด้วยซ้ำ ใครจะให้ความหมายยังไงกับมันก็ได้ ไม่มีใครเป็นเจ้าของความหมายเฉพาะเมื่อตัวหน้ากากมันถูกเผยแพร่ออกไปแล้วแม้แต่ตัวกาย ฟอกส์ก็ไม่ใช่เจ้าของ และด้วยความที่ตอนนี้มันได้กลายเป็น gimmick ของการประท้วงสารพัดเรื่อง ตั้งแต่ประท้วงทุนนิยม ประท้วงเผด็จการ ประท้วง Arab Springไปจนถึงประท้วงนักการเมือง ไปแล้ว ผมว่าการพยายามผูกขาดความหมายเฉพาะกับหน้ากากกาย ฟอกส์ ซึ่งไม่รู้ว่ามันมีจริงๆ หรือเปล่า ก็เป็นเรื่องไร้สาระพอๆ กับการเอาหน้ากากกาย ฟอกส์มาเป็นสัญลักษณ์ในการประท้วงอะไรสักอย่างนั้นแหละครับ แต่ที่แน่ๆ ยิ่งประท้วงมากเท่าไหร่บรรษัทสื่อยักษ์ใหญ่อย่าง Time Warner ก็ยิ่งรวยครับ

มองปรากฏการการที่ฝ่ายคัดค้านใส่หน้ากากกายฟอร์กมาล้อเลียนว่าอย่างไร

สำหรับผมผมว่ามันเป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจอะไรนะครับ เมื่อ gimmick ที่ถูกผลิตในโลกออนไลน์พอถึงจุดหนึ่งมันจะมีคนเอา gimmick นั้นไปทำต่อในโลกจริง เพราะโลกออนไลน์กับโลกจริงมันก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กันอยู่แล้ว มวลชนที่ไปร่วมก็กลุ่มเดิมมาตั้งแต่พันธมิตรฯ จนถึงหลากสี ก็แค่เปลี่ยน gimmick ใหม่ให้ดูน่าตื่นเต้นขึ้นเท่านั้นเอง

ฝ่ายเสื้อแดงเองก็มีจำนวนมากที่พยายามช่วงชิงความหมายหน้ากากกาย ฟอว์กส์ กับพวกนี้ที่บอกว่าหน้ากากกาย ฟอว์กส์มาจากพวกล้มเจ้า พวกที่ใช้หน้ากากนี่ไม่เข้าใจความหมายหรืออะไรก็ว่าไปก็เล่นล้อเลียนให้การใส่หน้ากากกลายเป็นเรื่องตลกขบขันด้วยการใส่หน้ากากแดง

ผมว่ามันก็เป็นปฏิกิริยาที่ดูน่าสนุกดีนะครับ ทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ของความหมายทางการเมืองบางอย่างที่อีกฝ่ายพยายามสร้างกลายเป็นเรื่องขบขัน บางทีการต่อต้านด้วยการทำให้เป็นเรื่องขบขันอาจจะได้ผลยิ่งกว่าการปะทะโดยตรงเลยก็ได้

การพยายามแย่งชิงกันว่าสัญลักษณ์หนึ่งควรมีความหมายยังไง สู้กันให้ตายก็ยากครับ เพราะสัญลักษณ์ที่ถูกผลิตออกมาแล้วมันไม่มีเจ้าของ แม้แต่ผู้สร้างมันขึ้นมาเอง แต่การทำให้มันสูญเสียความหมายไปด้วยการทำให้เป็นเรื่องตลกนี่ไม่ว่าจะใส่ความหมายอะไรลงไปก็ถูกหัวเราะได้อยู่ดี

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ครม.ไฟเขียวหั่นราคาจำนำข้าวเหลือตันละ 12,000 จำกัดเพดาน 5 แสนต่อครัว

Posted: 19 Jun 2013 02:09 AM PDT

 

19 มิ.ย.56  ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ หรือ กขช. เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2556 ซึ่งเป็นเรื่องสืบเนื่องจากผลการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2556 ที่ได้ให้มีการนำข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติเกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกเข้าพิจารณาเพิ่มเติม โดยคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของเกษตรกร

ที่ประชุมกขช.เห็นว่าสถานการณ์เศรษฐกิจโลกโดยรวมมีความผันผวน ประกอบกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น จึงเห็นชอบให้ปรับราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้า 100% ของโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2555/56 ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 จากราคาตันละ 15,000 บาท เป็นราคาตันละ 12,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2556 เป็นต้นไป โดยราคาที่ปรับลงใกล้เคียงกับราคาเฉลี่ยของข้าวเปลือกเจ้านาปรัง บวกค่าตอบแทนเกษตรกรประมาณร้อยละ 40 ซึ่งเป็นเกณฑ์การช่วยเหลือที่สูงกว่ามาตรฐานการช่วยเหลือสินค้าเกษตรทั่วไป อย่างไรก็ตามที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นว่าจะสามารถปรับราคาและเงื่อนไข หากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น

ขณะเดียวกันที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ยังรับทราบผลการประชุม กขช. เรื่องการจำกัดวงเงินรับจำนำข้าวของเกษตรกรแต่ละครัวเรือน จากเดิมที่ไม่จำกัดวงเงิน เป็นไม่เกินครัวเรือนละ 500,000 บาทต่อปี โดยให้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2556 เป็นต้นไป

สำหรับกรอบวงเงินที่ใช้ในการรับจำนำข้าวเปลือกนั้น ยืนยันตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2556 ที่กำหนดวงเงินดำเนินการสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2556 จะต้องไม่เกิน 500,000 ล้านบาท แบ่งเป็นวงเงินจากกระทรวงการคลัง 410,000 ล้านบาท และเงินทุนหมุนเวียนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจำนวน 90,000 ล้านบาท

ส่วนข้อท้วงติงว่าการปรับเปลี่ยนโครงการรับจำนำข้าวเปลือก จะกระทบกับสิ่งที่รัฐบาลได้แถลงเป็นนโยบายหรือไม่นั้น นายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้ความเห็นว่าสามารถดำเนินการได้ เพราะรัฐบาลได้ดำเนินนโยบายเร่งด่วนตามที่ได้แถลงไว้ครบถ้วนแล้วแก่เกษตรกร ตั้งแต่ปีแรก จากนี้ไปจะเป็นการปรับโครงสร้างภาคการเกษตร ที่จะเน้นเพิ่มรายได้ให้ดีขึ้น พร้อมกับเพิ่มคุณภาพชีวิตเกษตรกรให้ดีอย่างยั่งยืน

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีกล่าวในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีด้วยว่า จากนี้ไปต้องให้ความสำคัญกับ 3 ประเด็นคือ 1.การทำเกษตรโซนนิ่ง โดยเน้นให้มีการปลูกพืชเกษตรในพื้นที่ที่เหมาะสม เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร 2.เร่งรัดให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องนำงานวิจัยที่เกี่ยวเนื่องกับการเพิ่ม มูลค่าและคุณภาพสินค้าเกษตรมาปรับใช้ เช่น การผลิตข้าวอินทรีย์ ที่เมื่อผลิตและส่งออกแล้วได้ราคาดี และ 3.ได้มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีกิตติรัตน์ ณ ระนอง หารือร่วมกับกระทรวงพลังงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม ยกระดับราคาสินค้าเกษตรที่สามารถนำมาใช้ในการผลิตเป็นพลังงานทดแทน

นอกจากนี้เพื่อความโปร่งใสในการดำเนินการโครงการรับจำนำข้าว ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงกระทรวงมหาดไทย เข้มงวดในการตรวจสอบโครงการรับจำนำข้าวทุกขั้นตอน ตั้งแต่ การจดทะเบียน การตรวจสภาพข้าว การเก็บรักษา และการระบายข้าว

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพบว่า โครงการรับจำนำข้าวที่ผ่านมา ทำให้กำลังซื้อและการบริโภคของประเทศเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2% ทำให้ GDP เพิ่มขึ้นประมาณ 0.69% ในปีแรกของโครงการ และเพิ่มขึ้น 0.62% ในปีที่สอง ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นกว่าอัตราปกติ ทั้งนี้ในปี 2555 ที่ผ่านมา การใช้จ่ายภาคครัวเรือนทั้งประเทศขยายตัวถึง 6.7% แต่หากไม่มีโครงการเพื่อเพิ่มรายได้และอำนาจซื้อของเกษตรกรในชนบท จะส่งผลทำให้การบริโภครวมของครัวเรือนขยายตัวเพียง 4.7% เท่านั้น

กฤษฎีกายัน ปรับราคาลงได้

ด้านนายอัช พร จารุจินดา เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวถึงกรณีรัฐบาลมีแนวคิดปรับลดราคารับจำนำข้าวลงจากตันละ 15,000 บาท เป็น 12,000 บาทต่อตัน ว่า สามารถทำได้เพราะรัฐบาลมีอำนาจจะปรับเปลี่ยนรายละเอียดของนโยบายได้ แต่ต้องเป็นไปอย่างรัดกุม รอบคอบ และจำเป็นต้องทบทวน หรือ พิจารณายกเลิกมติ ครม.เดิมที่ผูกพันหลายเรื่องเนื่องจากโครงการจำนำข้าวเป็นนโยบายที่แถลงไว้ ต่อรัฐสภา ดังนั้น ครม.ต้องรับทราบการปรับเปลี่ยนราคารับจำนำใหม่ที่จะเริ่ม 1 ก.ค.นี้

นายอัช พร กล่าวว่าได้เสนอให้รัฐบาลกำหนดมาตรการชดเชย หรือ หาแนวทางเสริมในส่วนการลดเงินที่ชาวนาจะได้จากโครงการรับจำนำ โดยต้องเพิ่มส่วนต่างอื่นๆ ที่ชาวนาจะได้รับให้มีมูลค่าเท่าเดิม เพื่อป้องกันการประท้วงของเกษตรกร 

ทั้งนี้ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 176 ระบุให้ คณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดินต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภา และเมื่อแถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้ว ต้องจัดทำแผนการบริหาร ราชการแผ่นดิน เพื่อกำหนดแนวทางการปฏิบัติราชการ โดยข้อที่ 11 ในคำแถลงนโยบายของรัฐบาล ระบุว่า จะยกระดับราคาสินค้าเกษตร และให้เกษตรกร เข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยดูแลราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพที่เหมาะสม คำนึงถึงกลไกราคาตลาดโลก โดยใช้วิธีบริหารจัดการทางการตลาดและกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งผลักดันให้เกษตรกรสามารถขายสินค้าเกษตรได้ในราคาสูงเพียงพอเมื่อ เทียบกับต้นทุน และนำระบบรับจำนำสินค้าเกษตรมาใช้ในการสร้างความมั่นคงด้านรายได้ให้แก่ เกษตรกร เริ่มต้นจากการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกหอมมะลิ ความชื้นไม่เกินร้อยละ 15 ที่ราคาเกวียนละ 15,000 บาท และ 20,000 บาทตามลำดับ

ชาวนาบางส่วนรับได้ บางส่วนเตรียมระดมค้าน

ด้านนายประสิทธิ์ บุญเฉย นายกสมาคมชาวนาข้าวไทย เปิดเผยวานนี้ว่า หากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติปรับลดวงเงินจำนำข้าวจาก 15,000 บาทต่อตัน เหลือ 11,000 - 13,000 บาทต่อตัน ทางสมาคมก็จะไม่ออกมาเคลื่อนไหว ขอเพียงแต่ให้รัฐบาล ออกมาให้เหตุผลกับชาวนา หรือเกษตรกร ด้วยข้อเท็จจริง มากกว่าการมาอ้างผลประโยชน์ของชาวนาเหมือนในปัจจุบัน และสำหรับตัวเลขผลการขาดทุนจำนำข้าวที่ทุกฝ่ายกำลังจับตามองนั้น ทางรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ก็ควรออกมาชี้แจงด้วยตนเอง และตัวเลขที่แท้จริง ซึ่งมองว่า ถ้าหาก กระทรวงพาณิชย์ ยอมออกมาเปิดเผยตัวเลขการขาดทุนตั้งแต่แรก ไม่ปากแข็ง กระแสการตกแต่งตัวเลขก็น่าจะไม่เกิดขึ้น และเชื่อว่าทุกฝ่ายรับได้ เพียงแต่ขอให้เป็นตัวเลขที่แท้จริง

ด้านนายพรม บุญมาช่วย ประธานสภาเกษตรกรสุพรรณบุรี กล่าวว่า กลุ่มตัวแทนชาวนาจากทั่วประเทศเตรียมจะเดิมทางไปประชุมร่วมกันที่จังหวัด นครนายกในระหว่างวันที่ 20-21 มิ.ย.เพื่อปรึกษาหารือทางออกร่วมกันตลอดทั้งแสดงพลังคัดค้านไม่เห็นด้วยกับ กรณีที่รัฐบาลมีการลดจำนำข้าวนาปรังปี 2556 เหลือ 12,000 ต่อตันซึ่งชาวนาส่วนใหญ่ไม่ค่อยพอใจเพราะไม่คุ้มกับการลงทุน
 
นายพรม กล่าวอีกว่า ถ้ารัฐบาลปรับลดราคารับจำนำข้าวจากตันละ 15,000 บาท เหลือ 13,000 หรือ 13,500 บาทก็พอจะรับได้เพราะราคาข้าวนั้นลดลงมากกว่าที่เกษตรกรคาดไว้ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาไม่ตรงจุดมาแก้ที่ปลายเหตุทั้งๆที่ทางรัฐบาลรู้อยู่แก่ใจ ว่าต้นเหตุคือการทุจริตการดำเนินการรับจำนำข้าวที่ไม่โปร่งใสในกระบวนการรับ จำนำข้าวที่ต้องตรวจสอบให้เข้มข้นขึ้นอีก และเตรียมเคลื่อนไหวแสดงพลังคัดค้านมติของรัฐบาล

มติ กขช. วานนี้

สำหรับรายละเอียดและเหตุผลของการปรับผลราคาจำนำนั้น ก่อนหน้านี้ในช่วงเย็นวันที่ 18 มิ.ย. มีการประชุมด่วนของคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ ซึ่งภายหลังการประชุมนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติให้ปรับปรุงรายละเอียดโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาลฤดู การผลิตนาปรังปี 56 ที่ดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ.-15 ก.ย.นี้ โดยให้ปรับลดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้า ความชื้น 15% ลงจากตันละ 15,000 บาท เหลือตันละ 12,000 บาท โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.นี้เป็นต้นไป และยังจำกัดวงเงินชาวนาในการนำข้าวเข้าสู่โครงการรับจำนำไม่เกินรายละ 500,000 บาท มีผลตั้งแต่วันที่ 20 มิ.ย.56 นอกจากนี้ ยังได้มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการคลัง ไปพิจารณาหาแนวทางและมาตรการช่วยเหลือในการลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกร

"การ ปรับลดรายละเอียดโครงการรับจำนำที่ให้เริ่มตั้งแต่นาปรังปี 56 นี้ ไม่ใช่เป็นเพราะรัฐบาลเงินไม่พอ แต่เรามีภาระที่ต้องรับผิดชอบต่องบประมาณในภาพรวม และต้องรักษาวินัยทางการเงินการคลัง เพื่อให้เป้าหมายการจัดทำงบประมาณสมดุลเกิดขึ้นในปี 60 ซึ่งได้ตั้งเป้าหมายว่า รัฐบาลจะจำกัดวงเงินภาระค่าใช้จ่ายและผลขาดทุนในโครงการรับจำนำไม่เกินปีละ 100,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า ราคาจำนำที่ปรับลดลงจะกระทบต่อราคาตลาดข้าวในประเทศบ้าง แต่ไม่กระทบกับราคาส่งออกข้าวไทย เพราะในสัญญาที่ขายไปแล้วก็ยังคงยึดตามราคาที่ตกลงกัน ส่วนที่กำลังจะทำสัญญาใหม่ก็ยึดราคาตลาดโลกเป็นเกณฑ์อยู่แล้ว" นายบุญทรง กล่าว

นายบุญทรง กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ราคารับจำนำที่ปรับลดลงนี้ จะใช้เฉพาะโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังปี 56 เท่านั้น ส่วนการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 56/57 จะต้องพิจารณาความเหมาะสมอีกครั้ง โดยราคารับจำนำที่ตันละ 12,000 บาทนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการคำนวณต้นทุนการผลิตของเกษตรกรอยู่ที่ตันละ 8,000 พันกว่าบาท ถือว่าเกษตรกรมีกำไรอยู่ประมาณ 40% และราคาดังกล่าวยังเหมาะสมกับราคาตลาดปัจจุบัน และราคาตลาดโลก ซึ่งจากการที่ได้มีการสอบถามผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเกษตรกร ก็ไม่ขัดข้อง ส่วนใหญ่เห็นด้วย และเห็นใจรัฐบาล

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า การปรับลดราคารับจำนำเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลยอมรับว่าดำเนินนโยบายรับจำนำข้าวผิดพลาดหรือไม่ นายบุญทรง กล่าวว่า ไม่ถือว่าเป็นนโยบายที่ผิดพลาด เพราะในการกำหนดนโยบายขณะนั้น ผู้ทำนโยบายต้องการหาวิธีที่จะให้ชาวนามีรายได้เพิ่มขึ้นเร็วที่สุด และใกล้เคียงกับรายได้ของแรงงานที่เพิ่มขึ้นเป็นวันละ 300 บาท ดังนั้น การรับจำนำข้าวราคาสูง จึงเป็นวิธีที่จะทำให้ชาวนามีรายได้เพิ่มขึ้นเร็วที่สุดได้ แต่เมื่อดำเนินโครงการมาระยะหนึ่ง ปัจจัยต่างๆ เปลี่ยนแปลงไป ทั้งสต๊อกข้าวของประเทศคู่แข่ง อย่างอินเดีย และเวียดนาม ที่เร่งเพาะปลูกจนผลผลิตล้นตลาด จึงต้องแข่งกันลดราคาขาย ส่งผลให้ข้าวไทยขายยาก เพราะราคาสูงกว่าคู่แข่งมาก อีกทั้งกระทรวงการคลังยังต้องการให้รักษาวินัยทางการเงินการคลัง จึงต้องจำกัดวงเงิน ภาระค่าใช้จ่าย และผลขาดทุนโครงการรับจำนำข้าวไม่เกินปีละ 100,000 ล้านบาทไว้

"รัฐบาล ไม่คิดว่าการรับจำนำข้าวเป็นนโยบายที่ผิดพลาด แต่กลับเป็นนโยบายที่ทำให้ชาวนามีรายได้เพิ่มขึ้นเร็วที่สุด เพราะตอนที่รัฐบาลนี้เข้าทำงาน ก็มีนโยบายช่วยเหลือประชาชนทุกกลุ่มอยู่แล้ว อีกทั้งยังเชื่อว่า การปรับลดราคารับจำนำนี้ไม่ทำให้รัฐบาลขาดความเชื่อมั่นอย่างแน่นอน เพราะเมื่อเกิดปัญหาด้านงบประมาณขึ้น เราก็แก้ไขในทันที ดีกว่าไม่ยอมรับฟังใคร และไม่แก้ไขอะไรเลย" นายบุญทรง กล่าว

 

 

เรียบเรียงจาก เว็บไซต์ไทยรัฐ, เว็บไซต์ไอเอ็นเอ็น, เว็บไซต์ครอบครัวข่าว3

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น