โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

สมยศ ขึ้นเบิกความวันนี้-ผู้หญิงทั่วโลกกว่า 50 ประเทศ ชูป้าย “NO มาตรา 112″

Posted: 30 Apr 2012 11:02 AM PDT

 

1 พ.ค.55  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ศาลอาญา จะมีการสืบพยานจำเลยเป็นวันแรกในคดีของนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข โดยนายสมยศจะขึ้นให้การเป็นปากแรก  จากนั้นในวันพรุ่งนี้ (2 พ.ค.) จะเป็นปากของปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) และสุดสงวน สุธีสร อาจารย์คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มธ.

ขณะที่วานนี้ (30 เม.ย.) กลุ่มแอคชั่นเพื่อประชาธิปไตย นำโดยจรรยา ยิ้มประเสริฐ ได้เผยแพร่โปสเตอร์รณรงค์เป็นภาพผู้หญิงจากประเทศต่างๆ ถือป้าย No มาตรา 112 เพื่อเรียกร้องให้ไทยยอมรับเสรีภาพในการแสดงออก ในวาระที่มีการพิพากษาคดีของจีรนุช เปรมชัยพร ผอ.ประชาไทในวันดังกล่าว (ศาลเลื่อนเป็น 30 พ.ค.) และในวันที่ 30 เม.ย. เมื่อปี 2554 ยังเป็นวันที่นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ถูกจับกุมและคุมขังนับแต่นั้นมาโดยไม่ได้รับการประกันตัว ในความผิดตามมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา ในฐานะที่เป็น บก.นิตยสารที่นำเสนอบทความที่เข้าข่ายหมิ่นประมาทกษัตริย์

รายละเอียดมีดังนี้

 

 

เราเลือกที่จะเผยแพร่โปสเตอร์นี้ไนวันที่ 30 เมษายน ด้วยสองเหตุผล

ตั้งแต่การถูกจับครั้งแรกเมื่อเดือนมีนาคม 2552 และขออนุญาติประกันตัวหลายครั้ง ในวันที่ 30 เมษายนนี้ จีรนุช เปรมชัยพร เวบมาสเตอร์ของสำนักข่าวประชาไท ผู้ได้รับรางวัล “ผู้หญิงกล้าหาญประจำปี 2555″ จะต้องรับฟังคำตัดสินคดีเธอที่อัยการเป็นโจทก์ฟ้อง ภายใต้พระราชบัญญัติิว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (พ.ศ.2550) ซึ่งถูกเขียนขึ้นมาเพื่อควบคุมเสรีภาพทางอินเตอร์เนต และปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์

ภายใต้มาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญาของประเทศไทย เมื่อ 30 เมษายน 2554 สมยศ พฤกษาเกษมสุข นักแรงงานที่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ถูกจับกุมด้วยข้อกล่าวหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และถูกส่งเข้าเรือนจำโดยทันที เขาถูกกลั่นแกล้ง บีบบังคับโดยหลายฝ่ายเพื่อให้ยอมสารภาพผิด สมยศยืนยันจะสู้เพื่อความยุติธรรมจนถึงที่สุด ศาลปฏิเสธคำขอประกันตัวเขามาแล้วถึง  8 ครั้ง

ARTICLE 19 (อาร์ติเคิล 19 หรือ มาตรา 19) องค์กรที่ต่อสู้เพื่อเสรีภาพในการแสดงออกที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก ได้ให้คำอธิบายที่ชัดเจนที่สุดที่เคยมีมาจนถึงตอนนี้ว่าทำไมกฎหมายหมิ่นพระ บรมเดชานุภาพของไทยจึงละเมิดปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

ในความคิดเห็นเป็นลายลักษณ์อักษรขององค์กร ARTICLE 19 ที่มีความยาว 18 หน้า เกี่ยวกับคดีของสมยศ พฤกษาเกษมสุข อาร์ติเคิล 19 ได้สรุปว่า “–จากความคิดเห็นที่ได้กล่าวมาในเอกสารชิ้นนี้ ด้วยความเคารพ พวกเราขอนำเสนอความคิดเห็นว่า ศาลควรจะยุติทุกคดีฟ้องร้องต่อนายสมยศ และสั่งให้ปล่อยตัวเขาออกจากเรือนจำโดยปราศจากเงื่อนไข ในการกระทำเช่นนี้ ศาลควรจะทำความคิดเห็นออกมาด้วยว่า บทลงโทษกรณีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทุกคดี ควรจะได้มีการทบทวนโดยศาลรัฐธรรมนูญของไทย และดำเนินการเพิกถอนโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติของไทย”

ในเวทีผู้หญิงนานาชาติครั้งที่ 12 ที่จัดโดย AWID (สมาคมเพื่อการพัฒนาผู้หญิงนานาชาติ) ที่อีสตันบูล ประเทศตุรกี ระหว่างวันที่ 19-22 เมษายน 2555 มีผู้หญิง (และผู้ชายจำนวนหนึ่ง) ร่วม 2,500 คน จาก 154 ประเทศ เดินทางมาเข้าร่วมในเวทีนี้พร้อมด้วยความวิตกกังวลกับวิกฤติเศรษฐกิจของคน 99% มาพร้อมกับเรื่องราวมากมายของการถูกกดขี่และเอารัดเอาเปรียบ และวิตกห่วงใยเกี่ยวกับผลกระทบของวิกฤติโลกร้อน การเพิ่มขึ้นของความรุนแรงและแนวการเมืองแบบทหาร

เวทีการประชุมนานาชาตินี้ ได้เปิดพื้นที่ให้การการดูแลชีวิตที่ดีขึ้นของผู้หญิง และจะทำอย่างไร ผู้หญิงในฐานะประชากรครึ่งหนึ่งของโลกจะสามารถมีส่วนร่วมในการนำโลกไปสู่ สภาพที่ดีขึ้นกว่าเดิม พลังแห่งการสร้างสรรค์และการมีส่วนร่วมของคนรุ่นใหม่ และการเข้ารวมของผู้หญิงจากภาคตะวันออกกลางและอาฟริกาเหนือ (MENA) ในเวทีนี้เป็นที่ประทับใจของทุกคน

ภายใต้คำขวัญของ AWID “แปรเปลี่ยนอำนาจทางเศรษฐกิจ ด้วยการสร้างความก้าวหน้าทางเรื่องสิทธิและสังคมที่ยุติธรรมต่อผู้หญิง” เวที AWID ครั้งนี้ได้เปิดพื้นที่ให้ทั้ง LGBTQI และหญิงชายทั้งหลายได้พูด แลกเปลี่ยน แสดงนิทรรศการ และลงมือปฏิบัติการร่วมกัน วิทยากรหลายคนพูดย้ำกันมากเรื่อง “หยุดกลัว” กันได้แล้ว

ในวันสุดท้าย ผู้เขียนตัดสินใจทำป้าย ‘NO มาตรา 112′ และชาร์ตแบตกล้องจนเต็ม เพื่อเดินไปหาเพื่อนๆ และผู้เข้าร่วมประชุม ให้ถือป้ายนี้สำหรับถ่ายรูปเพื่อทำโปสเตอร์ เพื่อร่วมสนับสนุนการต่อสู้ที่เรียกร้องให้ยกเลิกมาตรา 112 ในประเทศไทย ผู้เขียนตื่นเต้นมากที่พบว่าหลายคนรู้เรื่องพิษภัยของมาตรา 112 มาบ้างแล้ว และบางคนยังได้ทักทายผู้เขียนด้วยคำ “สวัสดี” และ “ขอบคุณค่ะ/ครับ” บางคนทำงานองค์กรที่ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นทางการเมืองได้ ก็ยังขอมีส่วนร่วมด้วยการชูป้าย “NO มาตรา 112” ขึ้นบังหน้าเพื่อให้ถ่ายรูป

ผู้เขียนยินดีมากที่ได้พูดคุยกับคนเยอะมากช่วงถ่ายรูปเหล่านี้ ทั้งเพื่อนเก่่าเพื่อนแก่ที่รู้จักและเห็นหน้ากันมาหลายปี หรือไม่กี่ปีที่ผ่านมา รวมทั้งได้คุยกับคนรุ่นใหม่ที่พากันช่วยเพื่อนๆ มาถ่ายรูปด้วย จำได้ขึ้นใจต่อคำพูดของสาวน้อยคนสวยผู้หญิงที่ชูภาพด้วยความมั่นใจและถามว่า “นี่คือประเทศที่เหยียบธนบัตรก็ติดคุกได้ใช่ไหม?” และยังบอกว่า “ถ้ามีอะไรที่ฉันทำได้อีกบอกมาได้เลย”

ขอบคุณทั้ง 150 หญิงชาย ผู้เปิดหน้าและถือป้ายเพื่อยืนยันในเสรีภาพในการแสดงออก  ขอบคุณทุกคนด้วยหัวใจ

ในนามกลุ่มแอคชั่นเพื่อประชาธิปไตย

จรรยา ยิ้มประเสริฐ

* * * * * * * *

นอกจากโปสเตอร์แล้ว ทางผู้เขียนและองค์กร CCC ได้ทำแฟลชม๊อบ ‘Free Somyot‘ ในที่ประชุมแห่งนี้อีกด้วย 

ร่วมลงชื่อในข้อเรียกร้อง Petition: ข้อเรียกร้องให้ยกเลิกมาตรา 112 ปล่อยนักโทษการเมืองและนักโทษคดีหมิ่นฯ

* * * * * * * * *

เอกสารเพิ่มเติม:

เกี่ยวกับแอคชั่นเพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทย
มาตรา 112
The Librarian of Bangkok Prison
จีรนุช เปรมชัยพร and Prachatai:
การรณรงค์กรณีของจีรนุช Asian Human Right Commission has an appeal for Chiranuch
ARTICLE 19
Association of Women in Development (AWID)

This post is also available in: อังกฤษ

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กอ.รมน.ภาค 4 เดินหน้า ‘ทำดีมีอาชีพ’ หางบก้อนใหม่หนุนชาวบ้าน

Posted: 30 Apr 2012 10:52 AM PDT

กอ.รมน.ปลื้มโครงการทำดีมีอาชีพได้ผล หมดงบไทยเข้มแข็งจะยังเดินหน้าหาเงินทำโครงการต่อ เผย 3 ปี จัดตั้งกลุ่มอาชีพไปแล้วกว่า 700 กลุ่ม แม่บ้านโต๊ะแนปาสบช่อง ตั้งกลุ่มทำไอศกรีมขายหารายได้เสริม

 
พ.อ.ปราโมทย์ พรหมอินทร์ รองโฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) เปิดเผยว่า ขณะนี้โครงการทำดีมีอาชีพของรัฐบาลใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้การดำเนินการของ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2551 ได้จัดตั้งกลุ่มอาชีพไปแล้ว 741 กลุ่ม มีการตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ทุกตำบลใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของสงขลารวม 290 สหกรณ์ ทั้ง 290 ตำบล มีการตั้งฟาร์มประจำตำบล
 
สำหรับโครงการทำดีมีอาชีพ เดิมใช้งบประมาณตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ตั้งแต่ปี 2551 ระยะเวลาโครงการ 3 ปี นับตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา เป้าหมายคือการฝึกอาชีพให้เยาวชนที่อยู่นอกระบบการศึกษาใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ประมาณ 20,000 คน จนสามารถจัดตั้งกลุ่มอาชีพได้
 
ปัจจุบันโครงการทำดีมีอาชีพได้ใช้งบประมาณไทยเข้มแข็งหมดแล้ว ขณะที่โครงการบางส่วนยังต้องเดินหน้าต่อ เพื่อให้กลุ่มอาชีพต่างๆ มีความเข้มแข็ง สามารถยืนได้ด้วยลำแข้งของตัวเอง กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า จึงจัดงบประมาณมาสนับสนุนโครงการต่อไป และขยายโครงการให้ครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ เช่น สถานศึกษา เป็นต้น
 
พ.อ.ปราโมทย์ กล่าวด้วยว่า สำหรับกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็งมาก กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า จะไม่สนับสนุนงบประมาณอีกต่อไป เนื่องจากสามารถยืนอยู่ได้ด้วยตัวเอง แต่ยังมีอีกหลายกลุ่มที่ต้องช่วยประคับประคอง ส่วนกลุ่มที่ล้มเหลวก็ต้องล้มเลิกไป
 
ด้านนางสารีป๊ะ สาและ รองประธานกลุ่มสตรีทำไอศครีมหมู่บ้านโต๊ะแนปา หมู่ที่ 6 ต.สามัคคี อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส หนึ่งในกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการทำดีมีอาชีพ เปิดเผยว่า ทางกลุ่มได้รับการสนับสนุนจากโครงการผ่านหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส หรือฉก.30 เมื่อเดือนมีนาคม 2553 ได้รับงบประมาณดำเนินการ 40,000 บาท ขณะที่หมู่บ้านใกล้เคียงได้รับงบประมาณสนับสนุนให้ทำขนม แต่ตอนนี้เลิกโครงการไปแล้ว เพราะไม่มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการ
 
นางสารีป๊ะ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้มีในกลุ่มมีสมาชิกทั้งหมด 10 คน มีนางรอบีย๊ะ แยนา เป็นประธานกลุ่ม และนางสารีปะ สาและ เป็นรองประธานกลุ่ม โดยสตรีในหมู่บ้านอีก 8 คนทำหน้าที่ผลิตไอศกรีม
 
คนสั่งทำทุกวัน ทั้งนอกและในหมู่บ้าน ถ้าหมู่บ้านใกล้ๆ สั่งทำก็จะไปส่งถึงที่ แต่ถ้าไกลจะให้คนสั่งมารับเอง ถ้าให้ไปส่งจะคิดค่าส่งถังละ 300 บาท ทางกลุ่มไม่ขายปลีก ตอนนี้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรภาค 4 ส่วนหน้า ยังส่งเจ้าหน้าที่มาเยี่ยมเดือนละครั้ง
 
นางสารีป๊ะ กล่าวอีกว่า ช่วงที่มีคนสั่งทำมากที่สุดคือวันรายอ ซึ่งเป็นวันสำคัญทางศาสนาอิสลาม และวันแข่งกีฬาสีของโรงเรียนตาดีกา หรือช่วงแข่งขันกีฬาที่องค์การบริหารส่วนตำบลจัดขึ้น มีผู้สั่งทำ 8–9 ถัง แต่ต้องใช้เวลาทำ ตั้งแต่ 14.00 น. ถึง 02.00 น.
 
 
หมายเหตุ: โครงการค่ายอบรมข่าวนักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดำเนินการโดย โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSJ) สนับสนุนโดย โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย (STEP Projet)
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

May Day 2012: ปัญหาของคนงานในอุตสาหกรรมยาง

Posted: 30 Apr 2012 09:51 AM PDT

อุตสาหกรรมยางยานยนต์ อีกหนึ่งอุตสาหกรรมสำคัญของไทยที่ไม่ควรมองข้าม พบปัญหาทำงานหนัก มีปัญหาด้านสุขภาพความปลอดภัย นายจ้างทุนข้ามชาติไม่ปรึกษาหารือสหภาพแรงงาน และปัญหาแรงงานเหมาช่วงก็ยังเป็นปัญหาใหญ่ที่ท้าทายในอุตสาหกรรมนี้


การประท้วงล่าสุดของคนงานในอุตสาหกรรมยาง คือที่บริษัท บริดจสโตน ไทร์ แมนูแฟคเจอริ่ง ประเทศไทย จำกัด ภายในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร เฟส 7 ต.บ้านเก่า อ.พานทอง จ.ชลบุรี จำนวนกว่า 1,400 ตน รวมตัวประท้วงผู้บริหารชาวญี่ปุ่น ที่สั่งปิดโรงงานแบบกะทันหัน ตั้งแต่ปลายเดือนที่ผ่านมา (ที่มาภาพ: ASTV ผู้จัดการออนไลน์)

จากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเมื่อเดือน ก.พ. 2555 พบว่าผลผลิตกลุ่มยางรถ คิดเป็น 23.7% ของผลผลิตหมวดผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก

สำหรับโครงสร้างผู้ผลิตยางรถยนต์ในประเทศไทยนั้นมีประมาณ 20 ราย ผู้ผลิตแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1)  กลุ่มร่วมทุนกับต่างชาติและเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ คือ กลุ่มยางสยามหรือสยามมิชลิน กรุ๊ป (ไฟร์สโตน) มีผู้ผลิตในกลุ่มนี้ 3 ราย (สยามมิชลิน,ยางสยามอุตสาหกรรมและยางสยามพระประแดง) บริษัท กู๊ดเยียร์ (ประเทศไทย) จำกัด  และบริษัท ไทยบริดจ์สโตน จำกัด  2)  กลุ่มยางรถบรรทุกและรถโดยสาร เช่น บริษัท ดีสโตน จำกัด บริษัท โอตานิไทร์ จำกัด บริษัทสยามการยาง เป็นต้น  และ 3) กลุ่มผู้ผลิตที่ทำการหล่อดอกยางใหม่สำหรับยางใช้แล้วเพื่อป้อนตลาดยางทดแทน ซึ่งมีไม่ต่ำกว่า 80 ราย กระจายอยู่ทั่วประเทศ

สำหรับตลาดยางรถยนต์ แบ่งเป็น ตลาดภายในประเทศ 55% ตลาดนำเข้า 5% และตลาดส่งออก 40% จากมูลค่าตลาด รวม 18,000-20,000 ล้านบาท (จากการประเมินในปี 2542) และจากการคาดการณ์การขยายตัวของตลาดยางในปีนี้ แม้ว่าเมื่อปี 2554 ตลาดยางรถยนต์จะชะลอตัวลงจากปัญหาน้ำท่วม แต่เชื่อว่าปีนี้ตลาดจะกลับมาโตอีกครั้ง จะขยายตัว 10% รวม 10 ล้านเส้น

ถึงแม้จะเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างเม็ดเงินสูง แต่ทั้งนี้คนงานในอุตสาหกรรมนี้ก็ยังคงประสบปัญหาที่ไม่แตกต่างจากอุตสาหกรรมอื่นๆ มากนัก โดยในรายงานความก้าวหน้า การวิจัย “การจ้างงานเหมาช่วงเหมาค่าแรงในอุตสาหกรรมยางยานยนต์กรณีศึกษาบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย” ที่เสนอต่อ ICEM CAL Project โดย วรดุลย์ ตุลารักษ์ และวิทยากร บุญเรือ พบประเด็นพิจารณาที่น่าสนใจเกี่ยวกับคนงานในอุตสาหกรรมยางดังนี้ …

สหภาพแรงงานในอุตสาหกรรมยางยานยนต์

จากการสำรวจฐานข้อมูลที่มีอยู่พบว่า ในอุตสาหกรรมยางยานยนต์ในประเทศไทยมีสหภาพแรงงานอยู่ 10 แห่งมีสมาชิกรวมกันประมาณ 7,100 คน ส่วนใหญ่เป็นสหภาพแรงงานในบรรษัทข้ามชาติขนาดใหญ่จากสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และไต้หวัน ซึ่งมีการลงทุนแยกเป็นบริษัทลูกจำนวนหลายบริษัทและมีโรงงานตั้งอยู่ในหลายพื้นที่ ในจำนวนบริษัทข้ามชาติในอุตสาหกรรมยางรถยนต์ บางกลุ่มบริษัทมีบริษัทลูกมากกว่า 10 แห่ง ประกอบกิจการบริษัทผลิตยางยานพาหนะและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง ส่วนสภาพแรงงานทั้งหมดเป็นสหภาพแรงงานสถานประกอบการ ดังนั้นจึงพบว่า ในบริษัทข้ามชาติเดียวกันอาจมีสหภาพแรงงานมากกว่า 1 แห่ง หากบริษัทข้ามชาติแห่งนั้นลงทุนตั้งโรงงานในหลายพื้นที่

สถานการณ์แรงงานสัมพันธ์

ที่ผ่านมา สหภาพแรงงานแทบทุกแห่งในอุตสาหกรรมยางยายยนต์ประสบปัญหาข้อพิพาทกับนายจ้างครอบคลุมในหลายประเด็น นับตั้งแต่ ปัญหาค่าจ้างสวัสดิการ การหักเงินเดือนพนักงาน ปัญหาด้านสุขภาพความปลอดภัย ปัญหาการจ้างงานเหมาช่วงเหมาค่าแรง โดยสหภาพแรงงานแห่งต่างๆ ก็เคลื่อนไหวจนได้ข้อยุติ และได้รับการหนุนช่วยจากสหภาพแรงงานในอุตสาหกรรมเดียวกัน กรณีปัญหาความขัดแย้งโดยสังเขปได้แก่

กรณีสหภาพแรงงานมิชลินประเทศไทย

ในปี 2552 บริษัท สยามมิชลิน จำกัด หักเงินเดือนพนักงาน 13.04 % เมื่อเดือนมีนาคม-เมษายน 2552 และสามารถตกลงกันได้เมื่อ วันที่ 28 เมษายน 2552 บริษัทฯตกลงจะเรียกพนักงานทั้งหมดกลับเข้าทำงาน แต่เวลาผ่านมาเกือบ 1 ปี บริษัทฯยังเรียกกลับเข้าทำงานไม่หมด ที่ผ่านมาบริษัทฯจะเรียกเข้าเป็นชุดๆ ชุดแรกจะต้องเข้าอบรมที่วัดเป็นเวลา 1 วัน ชุดที่ 2 อบรมเป็นเวลา 3 วัน ชุดที่๓และชุดถัดๆมาอบรมเป็นเวลา 5 วัน ส่วนชุดสุดท้ายซึ่งเป็นชุดที่มีคณะกรรมการสหภาพฯ และ กรรมการลูกจ้าง รวมทั้งหมด 21 คน เข้าอบรมเป็นเวลา 10 วัน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2553 ถึงวันที่ 29 มกราคม 2553 ซึ่งบริษัทฯ (ผู้จัดการบุคคล)ให้สัญญาว่าหลังจากเข้าอบรมที่วัดเสร็จแล้วจะเรียกกลับเข้าทำงานทั้งหมด แต่บริษัทฯมิได้ปฏิบัติเช่นนั้น ผู้จัดการบุคคลได้เดินทางมาพบพนักงานและแจ้งให้ทราบว่าในวันที่ 1 และ 2 กุมภาพันธ์ 2553 ให้พนักงานเข้าพบเป็นรายบุคคลพร้อมทั้งมอบหมายหน้าที่ให้ปฏิบัติ โดยแยกผู้ที่ไม่มีคดีทั้งหมด 9 คน ให้ทำในบริษัทฯส่วนรองประธานสหภาพถูกย้ายไปปฏิบัติงานอยู่ที่โกดังส่งยาง NSC สำหรับผู้ที่มีคดีความอีก 12 คนซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานและเป็นกรรมการลูกจ้าง ยังคงไม่ให้กลับเข้าทำงานแต่มอบหมายงานให้ไปฝึกอบรมที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 3 ชลบุรี ในหลักสูตรช่างเชื่อม , ช่างกลึงโลหะและช่างอื่นๆ ระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 3 เดือน

ที่มา: http://www.thailabordatabase.org/th/file3.php?id=53030201

กรณีสหภาพแรงงาน แม็กซิส ประเทศไทย

ในเดือนพฤศจิกายนปี 2553 สหภาพแรงงาน แม็กซิส ประเทศไทย ได้ยื่นข้อเรียกเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง ด้านค่าแรงและโบนัส รวมทั้งความกดดันจากการที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานหลายอย่างด้วยกัน เช่น ห้องน้ำไม่เพียงพอ น้ำดื่มไม่สะอาด อุปกรณ์ความปลอดภัยไม่ได้มาตรฐาน และไม่จัดที่ทำงานให้พนักงานที่ตั้งครรภ์อย่างเหมาะสม ฯลฯ โดยในระหว่างการเจรจาผู้บริหารได้ยื่นข้อเรียกร้องตอบโต้มา เช่น เสนอขอฐานเงินเดือนเพิ่มจาก 6,000บาทเศษ เป็น 8,000 บาทเศษ กลับถูกผู้บริหารตัดค่าโอที และยกเลิกเบี้ยเลี้ยงการผลิต พร้อมกับให้เพิ่มเวลาการทำงานเป็น 3 กะ จึงทำให้ต้องขอปรับฐานเงินเดือนใหม่ เป็น 13,000 บาท ถึง 15,000 บาท กลับถูกผู้บริหาร สั่งปิดโรงงาน โดยอ้างว่าเครื่องจักรเสีย พร้อมกับมีการนำแรงงานต่างชาติกว่า 300 คนเข้ามาทำงานแทน ซึ่งการกระทำดังกล่าวอาจจะนำไปสู่การปล่อยลอยแพพนักงาน โดยนำพนักงานเหมาค่าแรงและแรงงานข้ามชาติชาวกัมพูชาเข้ามาทำงานแทน

ที่มา: บ.แม็กซิสฯ ประกาศเครื่องจักรเสียสั่งหยุดงาน 7 วันระหว่างเจรจา (voicelabour, 29-1-2553) / พนง.ผลิตยางรถยนต์ “บ.แม็กซิส” กว่า 500 คน รวมตัวเรียกร้องเพิ่มเงินโบนัส-สวัสดิการ (ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 12-1-2554)

กรณีสหภาพแรงงานบริดจสโตน ไทร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (อมตะนคร)

ในเดือนมีนาคม ปี 2555 สหภาพแรงงานของบริษัทฯ ได้เป็นตัวแทนพนักงานทั้งหมดยื่นหนังสือเรียกร้องขอให้ผู้บริหาร ยกเลิกระบบการคิดเงินเดือนในอัตราค่าจ้างใหม่ เพราะในช่วงปีที่ผ่านมา โรงงานได้นำระบบกระบอกเงินเดือนแบบโรงงานในประเทศญี่ปุ่นมาใช้ กล่าวคือ เป็นระบบเงินเดือนที่อายุงานยิ่งนาน เงินเดือนยิ่งน้อย และแรงงานที่ทำอยู่จะได้รับค่าจ้างต่ำกว่าที่เคยได้ ทางสหภาพจึงเรียกร้องขอให้บริษัทฯ กลับไปใช้ระบบกระบอกเงินเดือนแบบเดิม คือให้เงินค่าจ้างตามอายุงาน และประสิทธิภาพในการทำงาน เมื่อทางสหภาพฯ ได้ทำหนังสือเรียกร้อง และขอให้ไปเจรจากันที่สำนักงานแรงงานจังหวัดชลบุรี ก็ได้มีการเจรจากันถึง 4 ครั้ง กระทั่งในช่วงเที่ยงคืนของวันที่ 29 มีนาคม บริษัทได้สั่งปิดโรงงานแบบกะทันหัน โดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า พร้อมติดป้ายเปิดรับสมัครพนักงานฝ่ายผลิตใหม่ และประกาศให้เงินเดือนสูงกว่าเดิม ในราคาฝึกงาน 300 บาทต่อวัน และหากรับเข้าทำงานใหม่จะได้วันละ 335 บาท ไม่รวมสวัสดิการ ทำให้พนักงานเดิมกว่า 1,400 คน ต้องตกงาน

ที่มา: ปัญหาคนงานบริดจสโตน อมตะนคร ยังไม่ยุติ หลังสหภาพแจ้งความบริษัทปิดงานโดยมิชอบ (ประชาไท, 25-1-2555)

กรณีสหภาพแรงงานคนทำยางแห่งประเทศไทย

ในเดือนกรกฎาคม 2553 สหภาพแรงงานได้มีการยื่นข้อเรียกร้องจำนวน 15 ข้อ เพื่อขอปรับสภาพการจ้าง ต่อบริษัท โดยหลังจากการเจรจา 12 ครั้ง และพนักงานประนอมข้อพิพาทได้มีการไกล่เกลี่ยแล้ว 9 ครั้ง  นายจ้างได้ประกาศปิดงานพนักงานประมาณ 800 คน ให้พนักงานที่มาทำงานกะเช้าไม่ต้องเข้าโรงงาน โดยได้รับค่าจ้าง จึงทำให้คนงานทั้งหมดต้องชุมนุมชี้แจงกันอยู่หน้าบริเวณบริษัทฯ รอการเจรจากับทางนายจ้าง เพื่อหาข้อยุติ หลังจากนั้น สหภาพแรงงานได้ข้อยุติ อย่างไรก็ตาม ในประเด็นการจ้างงานระยะสั้น ได้มีการยกเลิกการจ้างงานสัญญาจ้างระยะสั้น 9 เดือนโดยใช้การจ้างงานผ่านบริษัทเหมาค่าแรงแทน

ที่มา: นายจ้างคนทำยางสั่งปิดงาน หลังเจรจาลูกจ้างไม่ยุติ (voicelabour, 19-11-2553)

 

ปัญหาของคนงานในบรรษัทข้ามชาติของอุตสาหกรรมยางยานยนต์

จากงานวิจัยพบว่าบริษัทข้ามชาติมีบทบาทสูงขึ้นในอุตสาหกรรมยางยานยนต์ในประเทศไทย โดยเฉพาะบริษัทจากประเทศญี่ปุ่น โดยงานวิจัยได้นำเสนอตัวอย่างการปัญหาของคนงานใน 3 บริษัทข้ามชาติจากญี่ปุ่น โดยพบปัญหาดังต่อไปนี้  

  • ระบบการจ้างงานที่หลากหลาย จากงานวิจัยพบบริษัทแห่งหนึ่งใช้การจ้างงานถึง 5 รูปแบบซึ่งแต่ละรูปแบบมีค่าจ้างและสวัสดิการไม่เท่ากัน กล่าวคือ: 1. การจ้างเหมาช่วง (outsourced workers) 2. การจ้างเหมาค่าแรง (agency workers) 3. การจ้างงานแบบประจำรายเดือน4. การจ้างรายวันโดยตรงโดยมีสัญญาจ้างระยะสั้น เช่น 1 ปี 5. การจ้างรายวันโดยตรงแต่ไม่มีระยะเวลาของสัญญาจ้าง
  • พบการจ้างแรงงานข้ามชาติเข้ามาใหม่ ในทำงานในหน้าที่ที่ทำงานหนัก เช่น ยกยาง โหลดยางในโกดัง
  • แรงงานประจำและแรงงาน sub-contract ได้รับสวัสดิการไม่เท่ากัน
  • พบปัญหาการบาดเจ็บของคนงาน เช่น คนงานชั่วคราวที่เป็นผู้หญิงซึ่งทำงานในประเภทยกของหนักเกิดขึ้นบ่อยครั้งยังไม่ได้รับการป้องกันหรือแก้ไข อย่างไรก็ตาม ปัญหาดังกล่าวก็เกิดขึ้นกับคนงานประจำและคนงานชายในลักษณะเดียวกันด้วย 
  • พบปัญหาความร้อนในโรงงานซึ่งบริษัทไม่ยอมลงทุนปรับปรุงให้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและดีขึ้น
  • พบปัญหาฝ่ายบริหารไม่เคยปรึกษาหารือกับสหภาพในกระบวนการการจ้างคนงานจ้างเหมาช่วง
  • พบปัญหาสุขภาพความปลอดภัยของคนงานชั่วคราวอยู่ในระดับที่สูงกว่าคนงานประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมอบหมายงานประเภทที่หนักและเสี่ยงอันตรายให้แก่คนงานชั่วคราวก่อน เช่น การโหลดยางในโกดังซึ่งเป็นงานที่หนักรวมทั้งงานที่ต้องสัมผัสหรือเกี่ยวข้องกับสารเคมีอันตราย

ข้อเสนอแนะจากสหภาพแรงงาน

จากการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดของสหภาพแรงงานในกลุ่มภาคตะวันออก (เดือนธันวาคม 2554) ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนสหภาพในอุตสาหกรรมยานยนต์ และยางรถยนต์ มีการร่วมกันหาแนวทางการรับมือกับการจ้างงานเหมาช่วงเหมาค่าแรงโดยมีแนวทางโดยสังเขปดังนี้

  • สนับสนุนคนงานเหมาช่วงเหมาค่าแรงที่ยังไม่ได้เข้าร่วมสหภาพแรงงานยื่นข้อเรียกร้องต่อนายจ้างพร้อมกันกับสหภาพแรงงานในนามของพนักงานเพื่อให้นายจ้างปรับปรุงสภาพการจ้างให้เท่าเทียมกับพนักงานประจำ
  • ให้สหภาพแรงงานแก้ไขข้อบังคับให้รับคนงานเหมาช่วงเหมาค่าแรงเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน
  • สหภาพแรงงานควรเข้าถึงคนงานเหมาช่วงเหมาค่าแรงมากขึ้นและอธิบายถึงปัญหาการจ้างงานที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย โดยให้คนงานที่ไม่ได้รับค่าจ้างและสวัสดิการเท่าเทียมกับคนงานประจำดำเนินการฟ้องร้องตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานมาตรา 11/1 ของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ที่สหภาพแรงงานตีความว่าคนงานต้องได้รับค่าจ้างและสวัสดิการเท่าเทียมกัน โดยอาจมีแนวทางที่พุ่งเป้าไปที่เจ้าหน้าที่รัฐก่อนกล่าวคือ ร้องเรียนให้แรงงานจังหวัดออกคำสั่งให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้ และ/หรือ หากแรงงานจังหวัดไม่มีคำสั่ง ก็ให้คนงานจ้างเหมาฟ้องศาลปกครองว่าเจ้าหน้าที่รัฐหรือแรงงานจังหวัดละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ไม่บังคับใช้กฎหมาย  

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

“สิทธิชุมชน” แค่นโยบาย หรือกฎหมายในกระดาษ?

Posted: 30 Apr 2012 08:39 AM PDT

 
หลังจากทราบข่าวคราวของพี่น้องเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัดเมื่อวันที่ 30 มี.ค.55 และเหตุการณ์รื้อถอนสะพานทางเข้าออกหมู่บ้านโดยเจ้าหน้าที่อุทยานเขาปู่-เขาย่าที่บุกทำลายสวนยางพาราของชาวบ้าน บ้านทับเขือ-ปลักหมู ต.ช่อง อ.นาโยง จ.ตรัง และ ต.บ้านนา อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง และเหตุการณ์อื่นๆ อีกหลายครั้ง ในที่ทำกินซึ่งเป็นพื้นที่ “โฉนดชุมชน” อันเกิดจากแรงผลักดันของประชาชนจนเข้าสู่นโยบายของภาครัฐ
 
ในพื้นที่ 8 ไร่ กับยางพาราอายุ 3 ปี จำนวน 800 ต้นที่ถูกโค่นทำลายไป อย่างไม่มีความหมาย และไร้ซึ่งความรู้สึกใดๆ ของผู้กระทำนั้นทำให้ผู้เขียนอดตั้งคำถามกับตัวเองไม่ได้ว่า แล้วกฎหมายมาตรา 66, 67 ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี 2540 ที่มีหลักการและเจตนารมณ์ที่มุ่งรับรองสิทธิของชาวบ้านที่รวมตัวเป็นชุมชน มีสิทธิบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมรวมทั้งประเพณีวัฒนธรรมของตนเอง แต่ในทางปฏิบัติกลับกลายเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐเองที่มุ่งทำลายฉีกกฎหมายนั้นทิ้งโดยอ้างนโยบายป้องกันการบุกรุกป่า พื้นที่ทับซ้อน เขตป่าอนุรักษ์สารพัดสารพันที่นำมากล่าวอ้างสร้างเงื่อนไขในการทำลาย       
 
เท่าที่ผู้เขียนทราบ ชุมชน “บ้านตระ” และชุมชน “บ้านทับเขือ–ปลักหมู” นั้นความจริงแล้วเป็นชุมชนที่มีชาวบ้านอยู่อาศัยมาแต่ดั้งเดิมก่อนปี พ.ศ.2500 เสียด้วยซ้ำ ปู่ย่า ตายาย เคยทำไร่ปลูกผลไม้ ปลูกยางพาราทำมาหากินมาจนสู่รุ่นลูกหลานสร้างสิทธิในการครอบครองให้ตัวเองและชุมชนตามวิถีชีวิต จนกระทั่งในปี พ.ศ.2510 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ในขณะที่พื้นที่เหล่านั้นยังคงเป็นที่ทำมาหากินของชาวบ้านอยู่ และกฎหมายเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องบังคับใช้กับคนจนหรือเกษตรกรรายย่อย แต่กลับเปิดโอกาสให้นายทุนคนไทยและต่างชาติเข้ามาขอเช่า หรือขออนุญาตใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อทำการเกษตรเชิงพาณิชย์ และสัมปทานป่าไม้ ได้ในราคาถูกๆ
 
ชาวบ้านและชุมชนที่อยู่กันมาแต่ดั้งเดิมเริ่มถูกละเมิดและคุกคามสิทธิโดยการบังคับใช้กฎหมายจากภาครัฐทำให้ผู้เขียนมีความสงสัยว่าชุมชนที่มีผู้คนอยู่อาศัยมายาวนาน คนเหล่านั้นใช้หยาดเหงื่อ และแรงกายมาหลายชั่วอายุคนทำมาหากิน ทำการผลิต สร้างรายได้เลี้ยงชีวิตตัวเองจากผลอาสินบนผืนดินที่ว่างเปล่า ยังไม่มีใครถือกรรมสิทธิ์จับจองเป็นเจ้าของ ย่อมถือว่าบุคคลเหล่านั้นได้แสดงสิทธิอันชอบธรรมในการเป็นเจ้าของแล้วโดยพฤตินัย ใช่หรือไม่?
 
คนและผืนดินมีมาก่อน แต่กฎหมายมาทีหลัง ผู้เขียนไม่ได้ดูหมิ่นหรือไม่ยอมรับกฎหมาย แต่มีความเห็นว่ามาตรการในการใช้กฎหมายต้องนำมาใช้ด้วยความเป็นธรรมและพิจารณาจากความเป็นจริง ไม่ควรอ้างกฎหมายมาข่ม และถ้ามองจากความเป็นจริงที่มีอยู่ก่อน การประกาศเป็นเขตป่าสงวนในพื้นที่แห่งนี้ก็ถือว่าเป็นการประกาศพื้นที่ทับซ้อนที่ทำกินของชาวบ้านและชุมชน
 
ผู้เขียนอยากตั้งคำถามเล่นๆ ว่า รัฐบุกรุกที่ทำกินชาวบ้าน หรือชาวบ้านบุกป่าสงวน มีแต่รัฐคุกคาม ข่มขู่ ฟ้องร้อง ขับไล่ชาวบ้าน แต่ชาวบ้านไม่มีสิทธิที่จะฟ้องร้อง ขับไล่รัฐ เพราะแม้แต่สิทธิที่ตัวเองสร้างขึ้นจากการใช้แรงงานก็ยังถูกปล้นโดยผู้ที่อ้างว่าถือกฎหมาย ไม่สามารถปกป้องสิทธิอันชอบธรรมของตัวเองเอาไว้ได้
 
หลังการประกาศเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ วิถีชีวิตที่เคยสุขสงบของชาวบ้านในชุมชนก็เริ่มถูกคุกคามโดยกฎหมาย ชาวบ้านต้องคอยหลบซ่อนเจ้าหน้าที่ในยามต้องออกไปทำไร่ทำสวน การทำมาหากินเริ่มมีความลำบากขึ้นตามลำดับจนกระทั่งมาในปี พ.ศ.2525 ความหายนะทางความรู้สึกก็เกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมได้ประกาศให้พื้นที่แห่งนี้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติกินพื้นที่ อ.ห้วยยอด และ อ.นาโยง ซึ่งการประกาศดังกล่าวนี้มาพร้อมกับบทลงโทษทางกฎหมายที่หนักหนากว่าเดิม ชาวบ้านถูกจับดำเนินคดีมากขึ้น ทั้งคดีบุกรุก ตัดไม้ทำลายป่าซึ่งเป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ของรัฐมีความถนัดในการใช้โอกาส และเหตุการณ์ในการยัดเยียดข้อกล่าวหาให้กับชาวบ้านจนๆ ที่ไม่รู้เรื่องกฎหมายดีพอ
 
คดีฟ้องร้องต่อชาวบ้าน ล่าสุดที่โด่งดังไปทั่วประเทศ คือคดี “โลกร้อน” นั่นยิ่งทำให้เห็นถึงความไม่มีมาตรฐานของกฎหมายไทยเป็นอย่างยิ่ง หากเปรียบเทียบปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศที่เกิดจากการเผาใบยางและกิ่งยางเล็กๆ ของยางพารากับการปล่อยสารพิษ สารเคมีในอากาศ ในน้ำของโรงงานอุตสาหกรรม นักวิชาการย่อมรู้ดีว่าอย่างไหนทำลายสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรมากกว่ากัน แต่กลับไม่เห็นว่ากฎหมายจะเอาผิดกับผู้ประกอบการเหล่านั้นได้ เพราะนายทุนและผู้มีเงินมีอำนาจสามารถทำให้กฎหมายเบี่ยงเบนได้
 
จากเหตุการณ์ดังที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น รวมถึงความรุนแรงล่าสุดที่เจ้าหน้าที่รัฐกระทำต่อชาวบ้านทับเขือ-ปลักหมู หรือแม้แต่ชุมชนบ้านตระในพื้นที่ของพี่น้องเครือข่ายเทือกเขาบรรทัด เราจะเห็นได้ว่ารัฐยังไม่หยุดใช้กฎหมายรังแกประชาชน และนับวันจะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น
 
ทั้งที่การใช้อำนาจรัฐ โดยองค์กรของรัฐ มีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แต่เหตุไฉนเจ้าหน้าที่ของรัฐกลับใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือมาทำลายสิทธิ และเสรีภาพที่มนุษย์พึงมี จากการใช้หยาดเหงื่อแรงงานของตัวเองสร้างสิทธิโดยการปลูกสร้าง แล้วอะไรที่เป็นหลักประกันความมั่นคงและเสรีภาพในการประกอบอาชีพกันเล่า
 
.... ดังนั้น เรื่องราวการต่อสู้ระหว่างรัฐกับชาวบ้าน ชาวบ้านกับทุน และทุนกับอิทธิพลที่ร่วมมือกันกระทำต่อชาวบ้าน ยังคงมีอยู่ตราบเท่าที่กระบวนการยุติธรรมและการบังคับใช้กฎหมายยังไม่มีความเป็นธรรม และรัฐยังมองเห็นความเดือดร้อนของประชาชนเป็นแค่เกมทางการเมือง
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

บทความแสงสำนึก: การลุกขึ้นประท้วงของกระฎุมพีเงินเดือน

Posted: 30 Apr 2012 08:32 AM PDT

 

“ความรุนแรงที่ระเบิดขึ้น
ไม่ใช่เพราะมันมี “ความบังเอิญ” (contingency) มากเกินไปในสังคม
แต่ระเบิดขึ้นเมื่อมีความพยายามจะทำลายความบังเอิญนั้นลงต่างหาก”

 

ในช่วงวิกฤตนั้น ผู้ที่ต้อง “รัดเข็มขัด” ก่อนใคร
ก็คือพวกที่อยู่ในระดับล่างของกระฎุมพีเงินเดือน

การประท้วงทางการเมือง
เป็นหนทางเดียวในการหลีกเลี่ยงไม่ให้ตนกลายเป็นชนชั้นกรรมาชีพ
และถึงแม้ว่าการประท้วงของพวกเขานั้น
โดยนามแล้วจะเป็นการต่อสู้กับตลาดอันเลวร้าย
แต่อันที่จริง
พวกเขาประท้วงเรื่องพื้นที่ทางเศรษฐกิจการเมืองแบบอภิสิทธิ์ของตัวเอง
ที่กำลังหดหายไปอย่างรวดเร็ว

 

การประท้วงปัจจุบันนี้ ไม่ใช่การประท้วงของชนชั้นกรรมาชีพ
แต่เป็นการต่อสู้ไม่ให้ตนเองกลายเป็นชนชั้นกรรมาชีพต่างหาก

 

0 0 0

บิล เกตส์ กลายเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในอเมริกาได้อย่างไร? ความมั่งคั่งของเขาไม่ได้เกี่ยวกับว่า บริษัทไมโครซอฟท์ผลิตซอฟท์แวร์ที่ดีในราคาต่ำกว่าคู่แข่ง หรือก็ไม่ได้เกี่ยวกับว่าบริษัท “ขูดรีด” คนงานของตัวเองเก่งกว่าหรอก (อันที่จริงไมโครซอฟท์จ่ายเงินเดือนให้แรงงานทางปัญญาค่อนข้างสูง) คนเป็นล้านซื้อซอฟท์แวร์ของไมโครซอฟท์ เพราะว่ามันทำให้ตัวเองกลายเป็นสิ่งที่เกือบจะทุกคนต้องใช้ ซึ่งเป็นการผูกขาดในทางปฏิบัติ ปรากฏการณ์นี้คือสิ่งที่มาร์กซ์เรียกว่า “ภูมิปัญญาทั่วไป” (general intellect) หมายความถึงองค์รวมความรู้ในทุกรูปแบบ ตั้งแต่วิทยาศาสตร์จนถึงฮาวทู  บิล เกตส์ทำให้ภูมิปัญญาทั่วไปนี้กลายเป็นทรัพย์สินของเอกชน และร่ำรวยด้วยการเก็บค่าเช่าที่ตามมา

การแปรภูมิปัญญาทั่วไปให้กลายเป็นของเอกชนเป็นสิ่งที่มาร์กซ์มองไม่เห็นในงานเขียนเกี่ยวกับทุนนิยมของเขา (เหตุผลหลักก็เพราะเขามองข้ามมิติทางสังคมของมัน) แต่สำหรับในปัจจุบัน นี่คือแก่นใจกลางของการต่อสู้เรื่องทรัพย์สินทางปัญญา เนื่องด้วยบทบาทของภูมิปัญญาทั่วไป (ซึ่งเกิดจากการสั่งสมองค์ความรู้และความร่วมมือทางสังคม) ได้เพิ่มขึ้นในยุคทุนนิยมหลังอุตสาหกรรม ดังนั้นความมั่งคั่งจึงสะสมขึ้นจากแรงงานทั้งหมดที่ใช้ในขั้นตอนการผลิตภูมิปัญญาทั่วไป และ (ดังที่มาร์กซ์เองก็ดูเหมือนจะเห็น) ผลของมันไม่ใช่การสลายตัวลงของทุนนิยม แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของผลกำไร ที่เปลี่ยนจากการขูดรีดแรงงานไปสู่การขูดรีดค่าลิขสิทธิ์ความรู้แทน

เช่นเดียวกับเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ การทำลายทรัพยากรธรรมชาติเพื่อแสวงหาประโยชน์ เป็นแหล่งรายได้จำนวนมหาศาล สิ่งที่ตามมาก็คือการต่อสู้กันอย่างไม่จบสิ้นว่าใครจะเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ ประชาชนในโลกที่สามหรือบรรษัทข้ามชาติตะวันตก ดูเป็นเรื่องติดตลกที่ในการอธิบายความแตกต่างระหว่างแรงงาน (ซึ่งสร้างมูลค่าส่วนเกิน) และสินค้าอื่น (ซึ่งการใช้สินค้าคือการบริโภคมูลค่านั้น) มาร์กซ์จัดให้น้ำมันเป็นสินค้า “ทั่วไป” ความพยายามจะเชื่อมโยงความผันผวนของราคาน้ำมัน กับความผันผวนของต้นทุนการผลิตหรือมูลค่าของแรงงานที่ถูกขูดรีด คงเป็นความพยายามที่ไร้ความหมาย เพราะต้นทุนการผลิตถือว่าจิ๊บจ๊อยหากเทียบกับราคาที่เราต้องจ่ายเวลาเติมน้ำมัน ซึ่งเป็นราคาค่าเช่าที่เจ้าของทรัพยากรสามารถเรียกเท่าใดก็ได้ เพราะความจำกัดของอุปทานนั่นเอง

กำลังการผลิตที่สูงขึ้นนำมาซึ่งผลกระทบที่มากขึ้นขององค์ความรู้ ทำให้ “การว่างงาน” เปลี่ยนความหมายไป และนี่คือความสำเร็จของทุนนิยม (ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ผลผลิตเพิ่มขึ้น ฯลฯ) ที่ทำให้การว่างงานมีจำนวนมากขึ้น และทำให้คนงานไร้ประโยชน์ลงเรื่อยๆ จากสิ่งที่ควรจะเป็นเรื่องดีสำหรับพวกเขา เช่นการมีงานหนักน้อยลง ได้กลับกลายเป็นโชคร้ายแทน หรือถ้าจะพูดในอีกแบบหนึ่ง โอกาสที่จะถูกขูดรีดในงานประจำบัดนี้ดูจะกลายเป็นสิทธิพิเศษที่น่าปรารถนาไปเสีย ดังที่เฟรดริก เจมสันกล่าวว่าตลาดโลก “ที่ๆครั้งหนึ่งทุกคนเป็นแรงงานการผลิตกำลังสูง ในที่สุดความสามารถในการผลิตนี้ก็ตอบแทนตัวเองด้วยการอัปเปหิแรงงานออกจากระบบการผลิต” ในกระบวนการอันต่อเนื่องของทุนนิยมโลกาภิวัฒน์นั้น กลุ่มคนว่างงานไม่ได้ถูกจัดอยู่ใน “กองทัพแรงงานสำรอง” อย่างที่มาร์กซ์ได้จัดประเภทเอาไว้ หากแต่ดังที่เจมสันว่า คนว่างงานนั้น รวมถึง “ประชากรจำนวนมหาศาลทั่วโลกที่ “ตกหล่นจากประวัติศาสตร์” ถูกกีดกัดออกไปจากการพัฒนาสู่ความเป็นสมัยใหม่แบบประเทศโลกที่หนึ่ง และถูกตัดออกไปในฐานะผู้ที่ไร้ประโยชน์ หรือเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย” ตัวอย่างเช่นในที่ๆเรียกว่า “รัฐที่ล้มเหลว” (อย่างคองโกและโซมาเลีย) หรือเหยื่อของสภาวะความอดอยาก หรือประสบหายนะทางนิเวศวิทยา หรือผู้ที่ถูกกักขังอยู่ในวิธีคิดโบราณจอมปลอมเรื่อง “การเหยียดเชื้อชาติ” หรือผู้รับบริจาคและการช่วยเหลือจากเอ็นจีโอ หรือเป้าโจมตีของสงครามต่อสู้การก่อการร้าย คำจำกัดความของ “การว่างงาน” จึงขยายกว้างออกไปและรวมคนจำนวนมากมายเอาไว้ ตั้งแต่ว่างงานชั่วคราว คนที่อยู่ในชุมชนแออัด (คนเหล่านี้ที่มักถูกมองข้ามจากมาร์กซ์ว่าเป็น lumpen-proletarian) และสุดท้ายรวมไปถึงประชากรและรัฐที่ถูกกันออกจากกระบวนการของทุนนิยมโลก ลองนึกถึงพื้นที่ว่างเปล่าบนแผนที่โบราณเอาก็แล้วกัน

บางคนอาจพูดว่าทุนนิยมรูปแบบใหม่นี้ สร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆในการปลดปล่อย และนี่เป็นข้อเสนอหลักของงาน Multitude ของไมเคิล ฮาร์ดท์และอันโตนิโอ เนกรี (ผู้ซึ่งพยายามดึงมาร์กซิสต์ไปสุดขั้ว) ที่เชื่อว่าถ้าเราตัดหัวของทุนนิยมออกเสีย เราก็จะได้สังคมนิยม พวกเขามองว่ามาร์กซ์มีข้อจำกัดทางประวัติศาสตร์ และมองแรงงานอุตสาหกรรมในลักษณะรวมศูนย์ เป็นอัติโนมัติ และมีการจัดการอย่างเป็นลำดับชั้น มองภูมิปัญญาทั่วไปว่าเป็นอะไรบางอย่างที่ถูกวางแผนมาจากศูนย์กลาง ทั้งสองมองว่าการเกิดขึ้นของ “แรงงานที่ไม่ได้ผลิตวัตถุ” (immaterial labour) ในปัจจุบันเท่านั้น จึงจะทำให้การปฏิวัติกลายเป็นเรื่อง “เป็นไปได้ในทางภววิสัย” เหล่าแรงงานที่ไม่ได้ผลิตวัตถุนี้แบ่งเป็นสองพวกคือ แรงงงานทางปัญญา (intellectual labour - ผลิตความคิด ผลิตงานเขียน ออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ) ถึง “แรงงานบริการ” (affective labour – เช่น หมอ พี่เลี้ยงเด็ก หรือแอร์โฮสเตส) ในปัจจุบันนี้ แรงงานที่ไม่ได้ผลิตวัตถุมีอำนาจนำ แบบเดียวกับในอดีต ที่มาร์กซ์ประกาศว่าอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มีอำนาจนำในทุนนิยมของศตวรรษที่ 19  พลังของแรงงานที่ไม่ได้ผลิตวัตถุนี้ ไม่ใช่มาจากเรื่องจำนวน แต่โดยจากการเล่นบทบาทสำคัญทางสัญลักษณ์ในเชิงโครงสร้าง สิ่งที่เกิดขึ้นคือช่องทางใหม่ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า “สิ่งที่ทุกคนต้องใช้” (common) คือความรู้ที่ทุกคนต้องใช้กันทั่วไป และรูปแบบการสื่อสารร่วมมือใหม่ ผลผลิตของแรงงานเหล่านี้ไม่ได้เป็นสิ่งของ แต่เป็นความสัมพันธ์ทางสังคมแบบใหม่ ผลผลิตที่ไม่ใช่วัตถุเหล่านี้คือชีวิตการเมือง  เป็นการผลิตชีวิตทางสังคมเลยทีเดียว

ฮาร์ดและเนกรีอธิบายกระบวนการของทุนนิยม “หลังสมัยใหม่” ที่วันนี้มีผู้สนับสนุนเห็นดีเห็นงามด้วยมากมาย ว่าเป็นการเปลี่ยนจากการผลิตเชิงวัตถุ ไปสู่การผลิตเชิงสัญลักษณ์  เปลี่ยนจากตรรกะรวมศูนย์และมีลำดับชั้น ไปสู่การจัดการตัวเองและมีการร่วมมือจากหลายๆศูนย์ – ที่ต่างออกไปคือฮาร์ดท์และเนกรีศรัทธาในมาร์กซ์ พวกเขาพยายามพิสูจน์ว่ามาร์กซ์ถูก และการเกิดขึ้นของภูมิปัญญาทั่วไปนั้น ในระยะยาวจะไปกันไม่ได้กับทุนนิยม แต่ผู้สนับสนุนระบบทุนนิยมหลังสมัยใหม่กำลังอ้างสิ่งที่อยู่ตรงข้ามกันเลย พวกเขาพยายามเสนอว่าทฤษฎี (และปฏิบัติ) ของมาร์กซิสต์ ยังตกอยู่ในข้อจำกัดของตรรกะลำดับชั้น และการรวมศูนย์อำนาจ เพราะฉะนั้นจึงไม่สามารถใช้อธิบายผลกระทบของการปฏิวัติข้อมูลข่าวสารต่อสังคมได้ อันที่จริงมีเหตุผลเชิงประจักษ์ต่อข้อโจมตีนี้ด้วย นั่นคือ สิ่งที่ทำให้ระบอบคอมมิวนิสต์พังครืนลง ก็คือการที่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับตรรกะทางสังคมแบบใหม่ ที่วางอยู่บนฐานของการปฏิวัติข้อมูลข่าวสารได้ กลับกันพวกเขาไปมุ่งนำการปฏิวัติ ซึ่งก็เป็นแผนการรวมศูนย์ขนาดใหญ่ของรัฐอีกอันหนึ่งเท่านั้น ความจริงที่ย้อนแย้งคือ สิ่งที่ฮาร์ดท์และเนกรีเฉลิมฉลองในฐานะโอกาสครั้งสำคัญในการเอาชนะทุนนิยมนั้น ในขณะเดียวกันก็ถูกเฉลิมฉลองโดยเหล่าผู้สนับสนุนของการปฏิวัติข้อมูลข่าวสาร ว่าโลกทุนนิยมแบบ “ไร้ความขัดแย้ง” ได้เกิดขึ้นแล้ว

ข้อวิเคราะห์ของฮาร์ดท์และเนกรีมีจุดอ่อนบางอย่าง ซึ่งช่วยให้เราเข้าใจว่าทุนนิยมนั้น ได้เหลือรอดสิ่งที่ควรจะเป็น (ในคำดั้งเดิมของมาร์กซิสต์) “การจัดการการผลิตแบบใหม่” (a new organisation of production) ที่ทำให้ทุนนิยมเสื่อมลงได้อย่างไร  พวกเขาประเมินความสามารถทุนนิยมปัจจุบันต่ำเกินไป เพราะในวันนี้ ทุนนิยมประสบความสำเร็จในการแปรภูมิปัญญาทั่วไปให้กลายเป็นทรัพย์สินของเอกชน (อย่างน้อยในระยะสั้น) ทำให้แรงงานเองมีความจำเป็นน้อยลงเรื่อยๆ กลายเป็นว่าพวกเขาไม่แค่ว่างงานชั่วคราวเท่านั้น แต่ว่างงานในเชิงโครงสร้างเลยทีเดียว

ถ้าทุนนิยมแบบเก่าจะต้องมีนายทุน เป็นผู้ลงทุน (ด้วยเงินตัวเองหรือยืมมา) ในการผลิตที่เขาจัดการ ดำเนินการและขูดรีดเอากำไรด้วยตัวเองแล้วล่ะก็ ทุนนิยมแบบใหม่นี้ไม่ต้องมีนายทุนที่เป็นเจ้าของบริษัท แต่มีผู้บริหารมืออาชีพ (หรือบอร์ดบริหารที่นำโดยซีอีโอ) ซึ่งบริหารบริษัทที่ธนาคารเป็นเจ้าของ (ธนาคารเองก็บริหารโดยผู้จัดการ ซึ่งก็ไม่ใช่เจ้าของอีกเหมือนกัน) หรือนักลงทุนรายใหญ่อื่นๆ ในทุนนิยมแบบใหม่นี้ “กระฎุมพี” ในความหมายแบบเก่าได้เปลี่ยนไป กระฎุมพีกลายเป็นฝ่ายบริหารที่มีเงินเดือน ได้ค่าจ้างและร่วมเป็นเจ้าของด้วย ได้รับหุ้นเป็นผลตอบแทน (เหมือนเป็น “โบนัส” จาก “ความสำเร็จ”)

กระฎุมพีใหม่ยังขูดรีดเอามูลค่าส่วนเกินอยู่ แต่คราวนี้ซ่อนเร้นมาในรูปแบบของสิ่งที่เรียกว่า “ค่าจ้างส่วนเกิน” (surplus wage) พวกเขาได้รับเงินเดือนมากกว่า “ค่าจ้างขั้นต่ำ” ของชนชั้นกรรมาชีพอยู่บ้าง (ซึ่งเป็นมายาคติที่อ้างกันบ่อยครั้ง ตัวอย่างจริงๆในเศรษฐกิจโลกวันนี้ก็คงจะเป็นค่าจ้างของคนงานที่ต้องทำงานหนัก ในกิจการร้านขนาดเล็กและกลางที่จีนหรืออินโดนีเซียเท่านั้น) และนั่นเป็นสิ่งที่ทำให้ฐานะของพวกเขาต่างจากกรรมาชีพทั่วไป เพราะฉะนั้น “กระฎุมพี” ในความหมายคลาสสิกค่อยๆหายไป นายทุนใหม่ปรากฏขึ้นมาในฐานะส่วนหนึ่งของแรงงานมีเงินเดือน ในฐานะผู้จัดการ ที่มีคุณสมบัติควรจะได้เงินมากกว่า เพราะ “ความสามารถในการแข่งขัน” ของพวกเขา (นี่คือทำไม “การประเมินด้วยหลักวิทยาศาสตร์อันจอมปลอม” จึงจำเป็นอย่างยิ่งยวด เพราะมันให้ความชอบธรรมแก่ความเหลื่อมล้ำนี้) คนที่ได้รับค่าจ้างส่วนเกินไม่ได้มีเฉพาะตำแหน่งผู้จัดการเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญแขนงต่างๆด้วย ผู้บริหาร ข้าราชการ หมอ ทนาย นักหนังสือพิมพ์ ปัญญาชนและศิลปิน ค่าจ้างส่วนเกินมีสองด้าน ด้านหนึ่งคือเงินมากขึ้น (สำหรับผู้จัดการ เป็นต้น) แต่อีกด้านหนึ่งก็คืองานที่น้อยลง และเวลาว่างมากขึ้น (สำหรับปัญญาชนบางคน รวมทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ ฯลฯ) 

เกณฑ์ประเมินที่ใช้ในการพิจารณาว่า แรงงานคนไหนจะได้ค่าจ้างส่วนเกินนั้น เป็นกลไกอันพลการของอำนาจและอุดมการณ์ และไม่ได้มีจุดเชื่อมสำคัญใดๆถึงประสิทธิภาพการทำงานที่แท้จริงเลยแม้แต่น้อย ค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นนั้น ไม่ใช่ด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ แต่เป็นเหตุผลทางการเมือง นั่นคือการรักษา “ชนชั้นกลาง” เพื่อดำรงเสถียรภาพของสังคม สภาวะพลการของช่วงชั้นทางสังคมไม่ใช่ความผิดพลาดแต่เป็นความจำเป็น ความพลการของเกณฑ์การประเมินนั้นก็เหมือนกับความพลการของความสำเร็จทางการตลาด เพราะฉะนั้นความรุนแรงที่ระเบิดขึ้นไม่ใช่เพราะมันมี “ความบังเอิญ” (contingency) มากเกินไปในสังคม แต่ระเบิดขึ้นเมื่อมีความพยายามจะทำลายความบังเอิญนั้นลงต่างหาก ในงานเรื่อง La Marque du sacre 

[2] นั้นชอง ปิแอร์ ดูปุย อธิบายเรื่อง “ช่วงชั้น” ว่าเป็นหนึ่งในสี่ขั้นตอน (“เครื่องมือทางสัญลักษณ์” – “dispositifs symboliques”) ที่ทำให้ความสัมพันธ์ของผู้ที่เหนือกว่ากับผู้ที่ต่ำกว่ากลับกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดา ขั้นตอนเหล่านั้นคือ 1) ช่วงชั้น (ระบบระเบียบจากภายนอกที่ทำให้เราสามารถมีประสบการณ์ของชนชั้นล่างอย่างเป็นอิสระจากคุณค่าที่เรามีแต่กำเนิด 2) การทำให้ความจริงปรากฏ (demystification – ขั้นตอนทางอุดมการณ์ที่จะแสดงให้เห็นว่าสังคมนั้นไม่ได้เป็นสิ่งที่มีคุณธรรม (meritocracy) แต่เป็นผลผลิตของการต่อสู้แก่งแย่งชิงดีชิงเด่น ทำให้ฉันสามารถจะหลีกหนีความเจ็บปวดว่า ชีวิตที่ดีกว่าของคนอื่นคือผลจากคุณธรรมและความสามารถของเขา  3) ความบังเอิญ (contingency - เป็นกลไกแบบเดียวกัน ที่ทำให้เราเข้าใจว่า ตำแหน่งแห่งที่ของเราในสังคมก็เหมือนกับการเล่นหวย คนที่แทงถูกคือคนที่เกิดมามีสุขภาพแข็งแรงและร่ำรวย และ 4) ความซับซ้อน (complexity – พลังที่ควบคุมไม่ได้ส่งผลอันคาดเดาไม่ได้ ตัวอย่างเช่น “มือที่มองไม่เห็น” ของตลาดอาจนำไปสู่ความล้มเหลวของเราและความสำเร็จของเพื่อนบ้านก็ได้ ถึงแม้ว่าเราจะทำงานหนักกว่า และฉลาดกว่ามากก็ตาม) แม้ว่าจะเห็นได้ชัดเจน แต่ขั้นตอนทั้งสี่เหล่านี้ไม่ได้ขัดแย้งกับช่วงชั้นทางสังคม แต่มันทำให้ช่วงชั้นเป็นเรื่องรับได้ ดูปุยกล่าวว่า สิ่งที่ทำให้คนเกิดความไม่พอใจ อันมาจากความไม่เท่าเทียมในสังคมนั้น ไม่ใช่ความเชื่อที่ว่าคนอื่นไม่ควรได้รับโชคของตน แต่ตรงข้ามกันเลย มันคือความเชื่อที่ว่าคนอื่นควรจะได้รับโชคของตนต่างหาก เพราะเป็นความเชื่อเดียวที่พวกเขาจะแสดงออกได้อย่างเปิดเผย   ด้วยฐานคิดเช่นนี้ ดูปุยสรุปว่า หากคิดว่าสังคมที่เป็นธรรมและมองตัวเองว่าเป็นธรรมนั้น จะปราศจากคนไม่พอใจล่ะก็ ถือว่าเป็นความเข้าใจผิดใหญ่หลวงเลยทีเดียว ในสังคมแบบนี้แหละ คนที่อยู่ในช่วงชั้นต่ำกว่าจะหาทางระบายความไม่พอใจด้วยวิธีการที่รุนแรง

สิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศจีนทุกวันนี้เกี่ยวข้องกับเรื่องที่พูดมา คือในทางอุดมคตินั้น จุดประสงค์ของการปฏิรูปยุคเติ้งเสี่ยวผิง คือการพยายามสร้างระบบทุนนิยมที่ปราศจากกระฎุมพี (ที่จะกลายเป็นชั้นปกครองใหม่ได้) อย่างไรก็ตามในตอนนี้ ผู้ปกครองจีนค้นพบความจริงอันเจ็บปวดว่า ระบบทุนนิยมอันปราศจากช่วงชั้นที่ชัดเจน จะยิ่งไปทำให้เกิดความไร้เสถียรภาพเป็นการถาวร แล้วจีนจะไปทางไหนดีล่ะ ในวันนี้เราจะเห็นว่าประเทศคอมมิวนิสต์เก่ามักกลายมาเป็นผู้จัดการทุนนิยมที่มีประสิทธิภาพที่สุด ความเป็นปฏิปักษ์กับกระฎุมพีในประวัติศาสตร์ของประเทศเหล่านี้ ได้สวมเข้าพอดิบพอดีกับทิศทางของทุนนิยมในปัจจุบัน ซึ่งกลายมาเป็น “ทุนนิยมผู้จัดการ” (managerial capitalism) โดยไม่ต้องมีกระฎุมพี ซึ่งในทั้งสองกรณี อดีตและปัจจุบัน (ดังที่สตาลินกล่าวไว้นานแล้ว) “ผู้บริหารตัดสินใจทุกเรื่อง” (ความแตกต่างประการสำคัญระหว่างรัสเซียกับจีนในวันนี้คือ ในรัสเซีย อาจารย์มหาวิทยาลัยเงินเดือนห่วยแตก และพวกเขาก็เป็นส่วนหนึ่งของชนชั้นกรรมาชีพ ในขณะที่จีนนั้น อาจารย์มหาวิทยาลัยได้รับค่าจ้างส่วนเกิน เพื่อเป็นหลักประกันความ “เชื่อง” ของพวกเขา)

เรื่องค่าจ้างส่วนเกิน ทำให้เราเห็นการประท้วง “ต่อต้านนายทุน” ที่กำลังดำเนินไปอยู่เวลานี้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ในช่วงวิกฤตนั้น ผู้ที่ต้อง “รัดเข็มขัด” ก่อนใครก็คือพวกที่อยู่ในระดับล่างของกระฎุมพีเงินเดือน การประท้วงทางการเมืองเป็นหนทางเดียวในการหลีกเลี่ยงไม่ให้ตนกลายเป็นชนชั้นกรรมาชีพ และถึงแม้ว่าการประท้วงของพวกเขานั้น จะเป็นการต่อสู้ในนามของการสู้กับตลาดอันเลวร้าย แต่อันที่จริงแล้ว พวกเขากำลังประท้วงเรื่องพื้นที่ทางเศรษฐกิจการเมืองแบบอภิสิทธิ์ของตัวเอง ที่กำลังหดหายไปอย่างรวดเร็ว ไอน์ แรนด์แสดงความคิดเพ้อฝันเรื่องการประท้วงเหล่านายทุนผู้สร้างสรรค์ไว้ในงาน Atlas Shrugged [3] ความเพ้อเจ้อนี้ทำให้เห็นว่า การประท้วงในปัจจุบันเป็นเรื่องวิตถาร ผู้ประท้วงส่วนใหญ่เป็นกระฎุมพีเงินเดือนที่ประท้วงเพราะกลัวจะไม่ได้ค่าจ้างส่วนเกิน   นี่ไม่ใช่การประท้วงของชนชั้นกรรมาชีพ แต่เป็นการต่อสู้ไม่ให้ตนเองกลายเป็นชนชั้นกรรมาชีพต่างหาก ดังนั้นใครจะกล้าลุกขึ้นประท้วง เมื่อในสังคมวันนี้นั้น การมีงานมั่นคงถือได้ว่าเป็นอภิสิทธิ์ทีเดียว คนเหล่านี้ไม่ใช่คนงานค่าจ้างต่ำในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ฯลฯ หรอก แต่เป็นคนงานอภิสิทธิ์ที่มีงานมั่นคงแล้ว (ครู คนทำงานในภาคขนส่งสาธารณะ ตำรวจ) และนี่ก็ส่งผลไปถึงคลื่นนักศึกษาที่ลุกขึ้นมาประท้วงด้วย แรงจูงใจของพวกเขานั้นอาจจะเป็นความกลัวว่า การศึกษาจะไม่ให้หลักประกันค่าจ้างส่วนเกินแก่พวกเขาในอนาคต

ในขณะเดียวกันก็ชัดเจนว่า การลุกขึ้นประท้วงขนาดใหญ่ในปีที่ผ่านมา จากอาหรับ สปริงจนถึงในยุโรปตะวันตก จาก Occupy Wall Street จนถึงจีน จากสเปนถึงกรีซ ไม่ควรถูกมองเพียงแค่ว่า เป็นการลุกฮือของกระฎุมพีเงินเดือนเพียงอย่างเดียว เราต้องพิจารณาเป็นกรณีๆไป   ในประเทศอังกฤษ  การประท้วงของนักศึกษาเรื่องการปฏิรูปการศึกษา กับเหตุการณ์จลาจลในเดือนสิงหาคม [4]  นั้นต่างกันแน่ ในกรณีหลังนี้ดูจะเป็นเทศกาลทำลายล้างของผู้บริโภค เป็นแรงระเบิดต่อการถูกกีดกัน   ในกรณีการลุกฮือที่อียิปต์ เราอาจจะเสนอได้ว่า ส่วนหนึ่งเริ่มจากการประท้วงของกระฎุมพีเงินเดือน (และคนหนุ่มสาวที่มีการศึกษา ในเรื่องความไม่มั่นคงของอนาคต) แต่นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการต่อต้านระบอบที่กดขี่โดยรวมทั้งหมด แต่ขณะเดียวกัน ในกลุ่มผู้ประท้วงไม่ค่อยมีคนงานยากจนและชาวนา และชัยชนะการเลือกตั้งของพรรคอิสลามเร็วๆนี้ ก็ยิ่งแสดงให้เห็นว่าฐานสังคมของการเคลื่อนไหวนั้นเล็ก เป็นการประท้วงที่ไม่เกี่ยวกับศาสนา – แต่กรีซเป็นกรณีพิเศษ ในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา กระฎุมพีเงินเดือนใหม่ (โดยเฉพาะในสังคมที่อำนาจรัฐแผ่ขยายมากจนเกินไปอย่างกรีซ) ได้ถูกสร้างขึ้น ส่วนหนึ่งก็มาจากเงินช่วยเหลือของสหภาพยุโรป และการประท้วงเองก็มีแรงผลักอย่างมากจากความกลัวว่าเงินช่วยเหลือนี้จะหยุดลง

การกลายเป็นชนชั้นกรรมาชีพของกระฎุมพีเงินเดือนในระดับล่างๆนั้น เกิดไปพร้อมกับการให้โบนัสแก่พวกผู้บริหารระดับสูงและนักการธนาคารในจำนวนที่สูงอย่างไร้เหตุผล (ไร้เหตุผลเพราะว่าตามที่มีการสอบสวนนั้น สัดส่วนของโบนัสผกผันกับความสำเร็จของบริษัท) แทนที่เราจะมองทิศทางนี้ว่าเป็นการตกต่ำทางศีลธรรม เราควรจะมองว่ามันเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า ระบบทุนนิยมไม่สามารถดำรงเสถียรภาพได้อีก และกำลังจะไม่มีใครควบคุมมันได้อีกต่อไป

 

 



 

[1] จาก The Revolt of the Salaried Bourgeoisie ใน http://www.lrb.co.uk/v34/n02/slavoj-zizek/the-revolt-of-the-salaried-bourgeoisie

 

[2] http://www.carnetsnord.fr/titre/la-marque-du-sacre

 

[3] http://en.wikipedia.org/wiki/Atlas_Shrugged

 

[4] http://en.wikipedia.org/wiki/2011_England_riots

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

May Day สมยศ พฤกษาเกษมสุข และประชาธิปไตยที่แท้จริง

Posted: 30 Apr 2012 07:57 AM PDT

วันที่ 1  พฤษภาคมพ.ศ.2433  ผู้ใช้แรงงานทั่วโลกได้กำหนดให้ป็นวันกรรมกรสากล หรือ “วันเมย์เดย์” (May Day) มีจุดกำเนิดมาจากการต่อสู้ของชนชั้นกรรมาชีพในยุโรปและอเมริกา ในยุคของ “การปฏิวัติอุตสาหกรรม” จากสังคมเกษตรไปสู่สังคมอุตสาหกรรม  ที่ส่งผลให้ผู้คนอพยพจากการผลิตภาคเกษตรกรรมไปเป็นแรงงานภาคอุตสาหกรรม ซึ่งผู้ใช้แรงงานต้องประสพกับการถูกกดขี่ขูดรีดจากนายทุนโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ถูกบังคับให้ใช้แรงงานเยี่ยงทาส ต้องทำงานหนักถึงวันละ 14-16 ชั่วโมงโดยไม่มีวันหยุด รวมทั้งไม่มีสวัสดิการและมาตรฐานคุ้มครองความปลอดภัยในการทำงานแต่อย่างใด 

สภาพดังกล่าว เป็นสาเหตุทำให้ผู้ใช้แรงงานมีการเคลื่อนไหวเพื่อต่อสู้การกดค่าจ้างแรงงานและให้ลดชั่วโมงการทำงานลง ซึ่งแนวความคิดนี้ได้ขยายไปหลายประเทศทั้งในยุโรป อเมริกา ละตินอเมริกา ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย   เพื่อเรียกร้อง “ระบบสามแปด” คือ ทำงาน 8 ชั่วโมง พักผ่อน8ชั่วโมงและศึกษาหาความรู้ 8 ชั่วโมง   

“ระบบสามแปด” คือ ทำงาน 8 ชั่วโมง พักผ่อน 8 ชั่วโมงและศึกษาหาความรู้ 8 ชั่วโมง  ยังห่างไกลความเป็นจริงของชีวิตผู้ใช้แรงงานในสังคมไทยที่มีอยู่กว่า 40 ล้านคน ซึ่งต้องมีชีวิตอยู่รอดได้ก็ต้องทำงานหนักมากกว่า 8 ชั่วโมง ต้องทำงานล่วงเวลา และทำงานวันหยุดด้วย

อย่างไรก็ตาม   “วันกรรมกรสากล” ถูกชนชั้นปกครองอำมาตย์ไทย บิดเบือนให้กลายเป็น “วันแรงงานแห่งชาติ”  เพื่อให้ผู้ใช้แรงงาน ถูกครอบงำด้วยอุดมการ “พระเดชพระคุณ” เหนือกว่าว่า อุดมการ “ชนชั้น”   เพื่อบิดเบือนประวัติศาสตร์การต่อสู้ของผู้ใช้แรงงานทั่วโลก

และเพื่อให้ผู้ใช้แรงงานสยบยอมจำนนต่ออำนาจที่เหนือกว่า มากกว่าการตระหนักถึงการกดขี่ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่ถูกลดทอนให้เป็นเพียง “หุ่นยนต์” หรือ “สินค้า” ในระบบทุนนิยม 

0 0 0

สมยศ  พฤกษาเกษมสุข  ปัญญาชนของชนชั้นผู้ใช้แรงงาน ผู้มีบทบาทอันแข็งขันในการต่อสู้ของผู้ใช้แรงงาน  ทำหน้าที่ให้ความรู้  เรียนรู้จากผู้ใช้แรงงาน  มีความใฝ่ฝันให้ผู้ใช้แรงงานอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีสิทธิเสรีภาพ มีความเสมอภาคเท่าเทียมกับคนกลุ่มอื่นๆ

“สมยศ  พฤกษาเกษมสุข”  เป็นปัญญาชนของผู้ใช้แรงงาน ที่ต่างจากปัญญาชนในระบบทุนนิยมที่ทำหน้าที่สร้างความชอบธรรมให้กับนายจ้าง นายทุนต่างๆ  ในการแสวงหากำไร  ขูดรีดมูลค่าส่วนเกิน  เอารัดเอาเปรียบกดขี่ชนชั้นผู้ใช้แรงงาน   แต่ปัญญาชนผู้ใช้แรงงานนั้น กลับมีจุดยืนเคียงข้างผู้ใช้แรงงาน  ทำหน้าที่เปิดโปงด้านมืดของระบบทุนนิยม และแสวงหาทางออกให้กับผู้ใช้แรงงาน     

ช่วงชีวิตของเขา ได้เดินทางแลกเปลี่ยนกับปัญญาชนผู้ใช้แรงงานทั่วโลก  เขาจึงมีเพื่อนสหภาพแรงงาน นักวิชาการ  ปัญญาชนชนชั้นแรงงาน และฝ่ายประชาธิปไตยทั่วโลก  ปัญญาชนแบบเขายังต่างกับผู้นำขุนนางกรรมกร ที่นิยมระบอบอำมาตยาธิปไตย สนุบสนุนการรัฐประหาร  พวกผู้นำกรรมกรที่ฉวยโอกาส หาผลประโยชน์ส่วนตน   และบางส่วนก็อับจนทางปัญญาด้วยการชูธงลัทธิสหภาพแรงงานที่ปิดกั้นการต่อสู้ทางการเมืองของผู้ใช้แรงงาน

ในช่วงวิกฤตการเมืองไทย การต่อสู้ระหว่างฝ่ายประชาธิปไตยกับฝ่ายอำมาตยาธิปไตยเข้มข้นนั้น    “สมยศ  พฤกษาเกษมสุข”  มีบทบาทสำคัญในการก่อกำเนิด “กลุ่ม 24 มิถุนา ประชาธิปไตย”  เป็นบรรณาธิการหนังสือ Voice of Taksin กระบอกเสียงฝ่ายประชาธิปไตย  และถูกจับดำเนินคดีข้อหาหมิ่นฯ  ม.112  จากบทความในหนังสือที่เขาเป็นบรรณาธิการ  และถูกริดรอนสิทธิเสรีภาพโดยศาลไม่ให้ประกันตัว  กลายเป็น “คนที่ต่อสู้เพื่อเสรีภาพ กลับต้องเป็นผู้ถูกกดขี่เสรีภาพ” เสียเอง

“สมยศ พฤกษาเกษมสุข”   กลายเป็นสัญลักษณ์หนึ่งที่สำคัญของฝ่ายประชาธิปไตย ในการต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพ

……………

บริบทเงื่อนไขสภาพการดำรงอยู่ที่เป็นจริงปัจจุบัน  การต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค และประชาธิปไตยของผู้ใช้แรงงาน  ในภาวะที่ฝ่ายประชาธิปไตยเบียดขับฝ่ายอำมาตยาธิปไตย  นั้น

ผู้ใช้แรงงานไทยฝ่ายก้าวหน้า ฝ่ายประชาธิปไตย ต้องสนับสนุนนโยบาย 300 บาท และคัดค้านการต่อต้านนโยบายนี้ของกลุ่มทุนล้าหลังคับแคบที่หากินกับการกดค่าจ้างแรงงาน เช่น สภาหอการค้า  สภาอุตสาหกรรม  สมาคมนายธนาคาร  ฯลฯ   มิใช่เพียงเรียกร้องรัฐบาลให้ทำตามนโยบายเท่านั้น  

ทั้งยังต้องแก้ไข เสนอกฎหมายต่างๆ ที่เป็นผลประโยชน์กับผู้ใช้แรงงาน  เช่น พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์      พรบ.ประกันสังคม      พรบ.คุ้มครองความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ   การลงนามอนุสัญญา ILO มาตรา 87 และ 98  ฯลฯ  พร้อมๆ ขยายการต่อสู้เรื่องรัฐสวัสดิการ อันเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างความเสมอภาคเท่าเทียมกันในสังคม โดยมาตราการภาษีก้าวหน้า

ขณะที่ด้านการเมือง สนับสนุนการต่อสู้ให้มีการประกันตัว “สมยศ พฤกษาเกษมสุข” และคนอื่นๆที่โดนดำเนินคดีทำนองเดียวกัน    ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพแก้ไขมาตรา 112    ปล่อยนักโทษการเมือง   เอาคนสั่งฆ่าประชาชนเหตุการณ์เมษา –พฤษภาอำมหิต 53 มาลงโทษตามกฎหมาย

นอกจากนนี้แล้ว ต้องสนับสนุนให้มีแก้ไขรัฐธรรมนูญ 50 เพื่อสร้างประชาธิปไตยที่แท้จริงที่ไม่มีอำนาจนอกระบบครอบงำ และเสนอให้ผู้ใช้แรงงานเลือกตั้งในสถานประกอบได้ เพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยและอำนาจของผู้ใช้แรงงาน

สิ่งสำคัญยิ่ง  ขบวนการแรงงานฝ่ายประชาธิปไตยฝ่ายก้าวหน้า  ต้องขยายงานจัดตั้ง ยกระดับ สมาชิก มีการนำรวมหมู่  ประชาธิปไตยในองค์กร  สร้างผู้ปฎิบัติงาน  ขยายสมาชิก   แสวงหาแนวร่วมฝ่ายประชาธิปไตย

เพราะวัน May Day  มิใช่ “วันแรงงานแห่งชาติ”  แต่เป็นวันที่ผู้ใช้แรงงานทั่วโลกต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพ  ความเสมอภาค และประชาธิปไตย 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

แดงเชียงใหม่ยกธง 'Primary Vote' ยอม 'พรรคเพื่อไทย' คัดผู้สมัครเอง

Posted: 30 Apr 2012 07:36 AM PDT

เสื้อแดงเชียงใหม่ยกธง 'Primary Vote' หลังส่ง 4 ตัวแทนไปให้พรรคพิจารณา ยอม 'พรรคเพื่อไทย' คัดผู้สมัครเอง ส่งคนสนิท 'เยาวภา' ลงสมัครซ่อม ส.ส. เขต 3 'เพชรวรรต' ระบุเสื้อแดงต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เรียกร้องความยุติธรรม ไม่ใช่เสนอชื่อคนลง ส.ส. แล้วมีเงื่อนไขต่อรอง ท้า ปชป. ได้ห้าพันเสียงก็เก่งแล้ว
 
พท.ส่ง "เกษม นิมมลรัตน์" ลงเลือกตั้งซ่อม ส.ส.เชียงใหม่
 
เนชั่นทันข่าวรายงานว่าที่พรรคเพื่อไทย 30 เม.ย. 2555 เมื่อเวลา 16.00 น. พรรคเพื่อไทยมีการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย โดยมีนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย เป็นประธานในการประชุม โดยที่ประชุมมีการหารือถึงการพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อมส.ส.เชียงใหม่ เขต 3 แทนน.ส.ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ อดีตส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ซึ่งถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยให้พ้นสภาพความเป็นส.ส.กรณีแจ้งบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินอันเป็นเท็จ ทั้งนี้ ภายหลังการประชุม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย พร้อมทั้งนายยงยุทธ และนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ร่วมกันแถลงข่าวเปิดตัวผู้สมัครรับเลือกตั้งซ่อมส.ส.เชียงใหม่ เขต 3 ของพรรค 
 
โดยนายพร้อมพงศ์ กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทยมีมติเห็นชอบตามที่ที่ประชุมส.ส.ภาคเหนือเสนอชื่อนายเกษม นิมมลรัตน์ อดีตที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งซ่อมส.ส.เชียงใหม่ เขต 3 แทนน.ส.ชินณิชา
 
ขณะที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า รู้จักกับนายเกษมมานาน ซึ่งการลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อมเพื่อรับใช้ชาวเชียงใหม่นั้น นอกจากจะมีนโยบายของพรรคที่คอยตอบโจทย์แล้ว นายเกษมยังเป็นคนในพื้นที่ซึ่งอยู่กับประชาชนและเคียงบ่าเคียงไหล่กับพรรคมานาน ดังนั้นหวังว่าชาวเชียงใหม่จะให้โอกาสนายเกษมมาเป็นส่วนหนึ่งของพรรคเพื่อรับใช้ชาวเชียงใหม่
 
แดงเชียงใหม่ยกธง-ยอม "เจ๊แดง" ส่งคนสนิทลงสมัครซ่อม ส.ส. เขต 3
 
ด้านเว็บไซต์ข่าวสดรายงานว่า เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 30 เม.ย. ที่สำนักงานพรรคเพื่อไทย สาขา อ.สันกำแพง บ้านแม่ปูคา หมู่ 10 ต.ต้นเปา อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ได้มีกลุ่มบุคคลเสื้อแดง ใช้ชื่อว่า คนเสื้อแดงภาคประชาชน จำนวน 20 คนได้เดินทางมายังสำนักงานพรรคเพื่อไทย และยื่นหนังสือถึงผู้ดูแลสำนักงานผ่านไปยังคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย ว่า อยากจะให้ทางพรรคคัดเลือกบุคคลที่ประชาชนคนเสื้อแดงรู้จักเข้าลงสมัครซ่อม สส.เขต 3 ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ของพรรคเพื่อไทย ก็ได้แจ้งให้กับกลุ่มเสื้อแดงภาคประชาชน ที่เดินทางมาวันนี้ว่าทาง พรรคเพื่อไทยได้ประกาศไปแล้ว และได้ตรวจสอบคุณสมบัติของกลุ่มคนที่ถูกเสนอมาแล้วทั้งของ นางเยาวภา วงค์สวัสดิ์ เอง รวมทั้งของกลุ่มคนเสื้อแดงที่ยื่นเสนอชื่อมา 4 คน ซึ่งก็ได้คัดแล้ว ลงมาติเอานายเกษม นิมมลรัตน์ อดีตที่ปรึกษานายกอบจ.เชียงใหม่ ลงสมัคร  ซึ่งกลุ่มภาคประชาชนเมื่อรับทราบแล้ว ทุกคนก็เป็นที่เข้าใจและสลายตัวไปในที่สุด
 
ด.ต.พิชิต ตามูล แกนนำกลุ่มเสื้อแดง  นปช.กลาง เชียงใหม่ได้เปิดเผยว่า ทางกลุ่ม ตนได้เสนอชื่อบุคคลจำนวน 4 คนไปยังพรรคเพื่อไทยแล้วเพื่อให้พิจารณา แล้วซึ่งทางพรรคเพื่อไทย ก็ได้รับไปแล้วและพิจารณา แล้ว ซึ่งทางกลุ่มพวกตนก็แล้วแต่ทางพรรค เมื่อพรรคเพื่อไทย มีมติเอา นายเกษม แล้วทางกลุ่มของตนก็ไม่มีปัญหา ซึ่งเราก็ได้ยื่นรายชื่อไปตามที่กลุ่มต้องการ และทางพรรคเพื่อไทยเอง เขาก็ได้พิจารณาตรวจสอบแล้ว ทางกลุ่มเราก็ทำตามมติของพรรคเพื่อไทย  ไม่มีปัญหาอะไร 
 
ด้านนายเพชรวรรต วัฒนพงศ์ศิริกุล ที่ปรึกษาแกนนำกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 ได้เปิดเผยว่า กลุ่มคนเสื้อแดงไม่ว่าจะเป็นกลุ่มไหน ตนอยากให้รู้หน้าที่รู้บทบาท คนเสื้อแดงนั้นต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและเพื่อเรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้กลับบ้าน เรื่องที่จะไปเสนอชื่อบุคคลลงสมัครในนามพรรคเพื่อไทย ตนคิดว่า คนเสื้อแดงไม่ได้มีหน้าที่ในตรงนั้น เราต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เรียกร้องความยุติธรรม ไม่ใช่มาเสนอชื่อคนโน้นคนนี้ลงสมัคร มีเงื่อนไขต่อรอง ดูแล้วไม่ถูกต้องและไม่ใช่อุดมการณ์ของคนเสื้อแดงทั้งแผ่นดิน เรื่องการส่งคนงลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นเรื่องของคณะกรรมการพรรคเพื่อไทยเอง คนเสื้อแดงไม่ควรที่จะเข้าไปเสนอหรือไปมีเงื่อนไข  ไม่อย่างนั้นฝ่ายตรงข้ามจะมองดูพวกเราคนเสื้อแดงที่ไม่โปร่ง ใส ก็เหมือนกับพวกฝ่ายตรงข้ามกับคนเสื้อแดง ออกมาต่อสู้ขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ และประกาศจะไม่ยุ่งกับการเมือง ด่าการเมืองว่า สกปรก สุดท้ายก็พากันแห่ลงสมัคร สร้างพรรคขึ้นมา แล้วสุดท้ายก็ทะเลาะกันเองในที่สุด
 
นายเพชรวรรต ยังได้กล่าวต่อไปอีกว่า แล้วเรื่องที่นายอภิสิทธิ์ ประกาศกร้าว จะขึ้นเชียงใหม่เพื่อส่งผู้สมัครลงมาต่อสู้ชิงชัย สส.ในเขต 3 นั้น ตนอยากจะบอกกับนายอภิสิทธิ ว่าอย่าได้ช้า ให้รีบส่งคนมาสมัครลงได้เลย และหากได้คะแนน 5 พันคะแนน จะถือว่า ผู้สมัคร สส.พรรคประชาธิปัตย์ เก่งแล้ว สุดยอด ขอให้ส่งมาเถอะ และคนเสื้อแดง ก็จะไม่ไปขับไล่นายอภิสิทธิ เลยหากมาเชียงใหม่ แล้วลงพื้นที่ชว่ยลูกพรรคหาเสียง  มาเลย เพราะเป็นสงครามของการเมือง ไม่ใช่สงครามของการเข่นฆ่ากัน  หากนายอภิสิทธิ กลัวว่าจะไม่ปลอดภัย ก็ขอให้โทรศัพท์มาหาตน ได้ ตนพร้อมที่จะไปให้ความคุ้มครองดูแลให้ และยังจะช่วยสนับสนุนให้อีกด้วย มาเถอะ ได้ 5 พันคะแนนในจังหวัดเชียงใหม่เขต 3 ถือว่าเก่งแล้ว 
 
ประชาชนเขตเลือกตั้งซ่อมยันไม่ก้าวก่ายมติของพรรค พท. แนะควรส่งผู้สมัครที่อยู่ในพื้นที่
 
สำนักข่าวประชาธรรมได้ลงพื้นที่สัมภาษณ์ประชาชนในพื้นที่ โดยล่าสุดประชาชนในพื้นที่เขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภอสันกำแพง อำเภอแม่ออน อำเภอดอยสะเก็ด) ที่รวมตัวกันแบบไร้แกนนำได้ออกมาแถลงการณ์เพื่อแสดงเจตนารมณ์ว่า ไม่ได้มุ่งจะก้าวก่ายมติของพรรคเพื่อไทย แต่อยากให้ผู้สมัครที่พรรคส่งมา มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่เลือกตั้งเขต 3 พร้อมกับเสนอให้พรรคนำกติกาเกี่ยวกับกฎระเบียบที่กำหนดไว้ในตราสารของพรรคมาใช้อย่างเคร่ง เกี่ยวกับคุณสมบัติ ประสบการณ์ การทำงานการเมืองระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัด 
 
นอกจากนี้ยังระบุอีกว่า ไม่อยากเห็นการเมืองเป็นระบบครอบครัว ระบบขัดตาทัพ แต่อยากเห็นประเทศไทยเป็นของคนไทยทุกคน และทุกคนมีสิทธิ์เท่าเทียมกัน
 
นางวาณี อภิวงศ์ ชาวบ้านจากต.ร้องวัวแดง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า หลังจากแกนนำนปช.ถูกพรรคเรียกไปคุย ก็มาบอกว่า คนที่จะส่งลงเพียงแค่ขัดตาทัพไว้ ถ้าคนกลุ่มบ้านเลขที่ 111 กลับมาก็จะนำเข้ามาแทน จึงขอร้องไม่ให้เราเคลื่อนไหว  ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้พวกเราไม่ต้องการ เราอยากให้ชาวบ้านเลือกก่อน
 
"ที่สำคัญเราอยากได้คนในพื้นที่ ไม่ใช่ว่าเอาคนจากหมู่บ้านไหนตำบลไหนมายัดเยียดให้เรา เราไม่ได้เป็นวัวเป็นควาย เราอยากได้คนที่ลงพื้นที่ในเขต 3 อำเภอ คนที่เป็นที่รู้จัก"
 
ชาวบ้านจากอ.แม่ออน อายุประมาณ 60 ปี กล่าวว่า เราแค่ไปแถลงการณ์ว่าเราไม่ชอบแบบนี้ ไม่ได้แถลงในนามนปช.เชียงใหม่ แต่แถลงในนามประชาชนของเขต 3
 
"ที่ออกมาแถลงการณ์เพราะเรารักพรรคเพื่อไทย ให้เลือกพรรคอื่นเราก็คงไม่เลือก  พรรคเพื่อไทยต้องฟังเสียงประชาชนบ้าง อย่างที่นายกทักษิณเคยบอก อันนี้เหมือนกับว่าพรรคนำกฎเกณฑ์มาบีบประชาชนมากเกินไป ไม่ยอมให้ประชาชนตัดสินใจเองบ้าง" ชาวอำเภอแม่ออนกล่าว
 
นางวาณี กล่าวอีกว่า เรามายื่นเพราะเราต้องการประชาธิปไตย เราไม่ได้ต้องการระบบอำมาตย์ ตอนที่นส.ชินณิชาลงสมัคร เราก็เลือกตามหลักการของคนเสื้อแดงที่สนับสนุนพรรคเพื่อไทย แต่พอเลือกไปแล้วผลงานออกมาไม่ดี ไม่ได้ลงพื้นที่ ไม่ได้ลงมาพัฒนาบ้านเราให้เจริญรุ่งเรือง เราจึงอยากให้พรรครับรู้ว่าไม่ควรเอาระบบขัดตาทัพ ระบบครอบครัวมาใช้ 
 
"ประชาชนก็มีหัวใจ บอกตามตรง อยากได้คนในพื้นที่ เอาใครก็ได้ เราอยากสนับสนุนคนในพื้นที่ สมมุติถ้าส.ส.เป็นคนในเขตอ.ดอยสะเก็ด เรามีปัญหา เราไปหาเขาได้ ไม่ต้องไปหาที่พรรค แต่สามารถไปหาบ้านเขาได้"
 
ด้านนายมนูญ บูรณะพัฒนา ว่าที่ผอ.การการเลือกตั้ง เขต 3 ของพรรคเพื่อไทย ได้ออกมารับเรื่อง พร้อมเรียกตัวแทนชาวบ้านเข้าไปคุยแบบปิดลับ  หลังจากเจรจาเสร็จได้กล่าวว่า จะดำเนินการส่งข้อมูลไปที่พรรคเพื่อให้รับทราบว่าต่อไปควรดำเนินการอย่างไร แต่ ณ เวลานี้ไม่ทัน เวลากระชับมาก ต้องรีบโปรโมตผู้สมัคร ถ้ามีอะไรก็จะมาพูดกันหลังจากนี้ ความจริงการลงสมัครต้องลงพื้นที่เป็นปี แต่ ณ วันนี้สถานการณ์มันไม่เอื้อ จึงอยากให้ชาวบ้านสนับสนุนพรรคเพื่อไทยต่อไป.
 
อนึ่งก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 25 เม.ย. 55 ที่ผ่านมาศูนย์ประสานงานกลาง นปช.แดงเชียงใหม่และแกนนำประชาชนในพื้นที่ เชียงใหม่เขตเลือกตั้ง 3 (อำเภอสันกำแพง อำเภอแม่ออน อำเภอดอยสะเก็ด) จัดแถลงข่าว เรื่องส่งตัวแทนผู้สมัคร ส.ส.ให้พรรคเพื่อไทยส่งลงรับสมัครเลือกตั้งซ่อม ส.ส.เขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดเชียงใหม่ โดยให้ใช้ระบบ Primary Vote โดยให้ประชาชนในพื้นที่สรรหาตัวแทนผู้สมัค รส.ส. ให้พรรคพิจารณา ส่งลงรับสมัครเลือกตั้งซ่อมในครั้งนี้ เพื่อจะได้ ส.ส.เป็นคนในพื้นที่พบปะดูแลประชาชนตลอดเวลา
 
 
 
 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

องค์กรสิทธิชี้ การเลื่อนตัดสินคดี "จีรนุช"เป็นการยืด "บรรยากาศความกลัว"

Posted: 30 Apr 2012 07:01 AM PDT

องค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในภูมิภาค ร่วมแถลงข่าวหลังการเลื่อนการพิพากษา "จีรนุช" ระบุ พ.ร.บ. คอมฯ จำเป็นต้องแก้ไขเพื่อคุ้มครอง "ตัวกลาง" ในโลกไซเบอร์

 30 เม.ย. 55 - เมื่อเวลา 15.00 น. ภายหลังการเลื่อนการตัดสินคดีความผิดในมาตรา 14 และ 15 ตาม พ.ร.บ. คอม ของ จีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท องค์กรสิทธิและองค์กรเพื่อเสรีภาพสื่อระหว่างประเทศ อาทิ พันธมิตรเพื่อเสรีภาพสื่อในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAPA) ได้ร่วมกันแถลงข่าว  ณ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) โดยชี้ว่า การตัดสินใจของศาล เป็นการหล่อเลี้ยงบรรยากาศของความกลัวให้ยาวนานยิ่งขึ้นในวงการอินเทอร์เน็ตไทย พร้อมทั้งเรียกร้องให้มีการแก้ไขพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ เพื่อปกป้องสิทธิของ "ตัวกลาง" ในโลกอินเทอร์เน็ต

photo (2)

คดีตัวกลางที่เป็น "หมุดหมาย" ในวงการอินเทอร์เน็ตไทย

ศิลป์ฟ้า ตันศราวุธ ตัวแทนจากองค์กรรณรงค์เพื่อเสรีภาพสื่อในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Southeast Media Defense กล่าวว่า คดีที่เป็นหมุดหมายนี้ เมื่อถูกตัดสินแล้ว จะมีผลอันน่ากลัว (chilling effects) ต่อแวดวงผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไทย เนื่องจากหากตัดสินว่าผิดจริง จะหมายถึงว่า ต่อไปนี้ เพียงการปรากฏเนื้อหาที่ผิดกฎหมายในเว็บไซต์หนึ่งๆ ไม่ว่าจะด้วยระยะเวลานานเพียงใด ก็ถือว่าผู้ให้บริการเว็บไซต์นั้นมีเจตนาทำความผิดกฎหมายตามพ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์แล้ว 

"ถ้าผลการตัดสินออกมาว่าผิดจริง ผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ต ต้องเฝ้าเว็บไซต์ของตัวเองวินาทีต่อวินาที ไม่ใช่ต่อชั่วโมง ไม่ว่าข้อความนั้นจะขึ้นมากี่วินาทีหรือกี่นาที คุณก็จำเป็นต้องลบมันออกให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้" เขากล่าว 

ด้านตัวแทนจากเครือข่ายพลเมืองเน็ต อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ตั้งข้อสังเกตว่า การตีความกฎหมายตัวนี้ของศาลแตกต่างจากเจตนารมณ์เดิมที่กฎหมายถูกร่าง โดยเฉพาะมาตรา 14 ใน พ.ร.บ. คอมฯ ที่เดิมกำหนดไว้เพื่อเอาผิดกับข้อมูลคอมพิวเตอร์ในเชิงเทคนิค เช่น รหัสข้อมูลต่างๆ ที่อาจถูกนำไปใช้เพื่อโจมตีหน่วยงานรัฐหรือโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของโครงการกฎหมายอินเทอร์เน็ตเพื่อประชาชน (iLaw) ระบุว่า ในระยะสามปีแรกของการใช้กฎหมายดังกล่าว ส่วนใหญ่กลับถูกใช้ส่วนใหญ่ในคดีหมิ่นประมาทแทบทั้งสิ้น 

อาทิตย์ชี้ว่า นอกจากการใช้กฎหมายดังกล่าวจะเป็นไปอย่างไม่เหมาะสม เนื่องจากโทษจำคุกสูงสุดของพ.ร.บ. คอมฯ ที่มี 5 ปี ดูจะผิดสัดส่วน เมื่อเทียบกับกฎหมายหมิ่นประมาทธรรมดาที่มีโทษสูงสุด 1-2 ปีแล้ว การทำให้กฎหมายดังกล่าวมีลักษณะยอมความไม่ได้ ก็ทำให้เกิดความลักลั่นในการใช้ ประกอบกับกระบวนการจับกุมที่ไม่เป็นไปตามขั้นตอน ยิ่งชี้ให้เห็นว่า การแก้ไขตีความและแก้ไขกฎหมายตัวนี้ใหม่มีความจำเป็นอย่างมาก เพื่อพิทักษ์สิทธิของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 

การเลื่อนพิพากษา ยิ่งทำให้ "ความกลัว" ปกคลุมในสังคม

สุนัย ผาสุก นักวิจัยประเทศไทย จากองค์กรสิทธิมนุษยชน ฮิวแมนไรท์ วอทช์ กล่าวว่า ในระยะหนึ่งเดือนที่ศาลเลื่อนการอ่านคำพิพากษานี้ หวังว่าศาลไทยจะนำเอาข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการพิเศษสหประชาชาติมาพิจารณา ซึ่งเสนอไม่ให้รัฐไทยเอาผิดกับตัวกลางในอินเทอร์เน็ต เนื่องจากเป็นการเซ็นเซอร์ขึ้นในสังคม

"การดำเนินคดีของตัวกลางอย่างจีรนุช ไม่สมควรเกิดขึ้นตั้งแต่แรกแล้ว ไม่ว่าการตัดสินคดีจะถูกเลื่อนหรือไม่ก็ตาม ฉะนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้ ก็คือความพยายามของทางการไทยที่จะตีความการใช้กฎหมายเพื่อเอาผิดกับตัวกลางสำหรับความคิดเห็นอื่นที่ถูกโพสต์ออนไลน์ และผลที่ตามมาก็คือ มันสร้างบรรยากาศความกลัวในหมู่ผู้ดูแลเว็บไซต์และผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ต ที่จำเป็นต้องเซนเซอร์เนื้อหาต่างๆ ที่ผู้อื่นเป็นผู้โพสต์ เพราะเกรงว่าจะถูกดำเนินคดีแบบเดียวกัน" สุนัยกล่าว

"การเลื่อนคดีคำพิพากษาของจีรนุช จึงเป็นการทำให้บรรยากาศความไม่แน่นอนและความกลัวที่ปกคลุมยืดเยื้อมากยิ่งขึ้น" 

ด้านจีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไทและจำเลยในคดีพ.ร.บ. คอมฯ กล่าวว่า ถึงแม้เธอจะหวังว่าผลการพิพากษาจะออกมาดี แต่ก็ยอมรับว่ายังมีความไม่มั่นใจอยู่บ้าง เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวเป็นกฎหมายที่ค่อนข้างใหม่ และการตีความก็ยังไม่แน่นอน

จีรนุชตอบคำถามของผู้สื่อข่าวต่างประเทศด้วยว่า ถึงแม้การรณรงค์และแรงสนับสนุนจากนานาชาติจะเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากเป็นการช่วยประกันว่าการดำเนินคดีเป็นไปอย่างโปร่งใส แต่ในความคิดของทางการไทย อาจถูกมองว่าเป็นการแทรกแซงจากต่างชาติ และเป็นปัญหาที่อยู่ภายใต้ของอธิปไตยของไทย จึงอาจมีผลต่อคดีไม่ดีนัก อย่างไรก็ตาม เธอชี้ว่า ยังมีกรณีอื่นๆ ที่เกิดขึ้นอีกมาก ที่ยังต้องการความสนใจจากสาธารณะ และเสริมว่า การรณรงค์ไม่ควรมุ่งเน้นที่ตัวบุคคลมากเกินไป แต่ควรจะให้ความสำคัญกับประเด็นของปัญหามากกว่า  

ทั้งนี้ ตามกำหนดเดิม ศาลได้นัดฟังคำพิพากษาคดีของจีรนุชวันที่ 30 เม.ย. 55 แต่เมื่อเวลาราว 9.47 น. ของวันนี้ ผู้พิพากษาได้ขึ้นบัลลังก์เพื่อแจ้งว่า เนื่องจากเอกสารในคดีนี้มีจำนวนมาก จึงขอเลื่อนการอ่านคำพิพากษาไปเป็นวันที่ 30 พ.ค.55

 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

องค์กรแรงงานเรียกร้องปล่อย 'สมยศ' ฟื้นฟูสิทธิเสรีภาพของประชาชน

Posted: 30 Apr 2012 06:55 AM PDT

 
30 เม.ย. 55 - โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทยและเครือข่ายออกแถลงการณ์เนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ เรียกร้องให้ปล่อยตัว 'สมยศ พฤกษาเกษมสุข' เพื่อฟื้นฟูสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
แถลงการณ์เรียกร้องให้ปล่อยตัว สมยศ พฤกษาเกษมสุข ทันที
เพื่อฟื้นฟูสิทธิเสรีภาพของประชาชน
 
ในวาระโอกาสวันกรรมกรสากล (International Workers’ Day) 1 พฤษภาคม 2555  โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย (Thai Labour Campaign) องค์กรสาธารณะประโยชน์ รณรงค์ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชนผู้ใช้ พร้อมองค์กรสนับสนุนแนบท้ายแถลงการณ์ฉบับนี้   ขอเรียกร้องให้รัฐบาลที่นำโดยคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปล่อยตัวสมยศ พฤกษาเกษมสุข ผู้ถูกกล่าวหาว่าละเมิดกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยทันทีและไม่มีเงื่อนไข พร้อมกับนักโทษการเมืองคดีเดียวกันทั้งหมด และเร่งฟื้นฟูสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและประชาธิปไตยในประเทศ ด้วยการปรับปรุงกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งเป็นเครื่องมือของฝ่ายเผด็จการรัฐประหารปี 2549 ในการคุกคามสิทธิเสรีภาพและความมั่นคงของประชาชน
 
ก่อนอื่นเราขอเตือนความจำของท่านว่า คุณสมยศ พฤกษาเกษมสุข เป็นผู้ต่อต้านการทำรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ด้วยสันติวิธี  และยังเป็นนักกิจกรรมด้านแรงงานที่มีบทบาทอย่างมากในการรณรงค์สิทธิเสรีภาพของประชาชนและประชาธิปไตยที่ถูกลิดรอน และทำสื่อวิพากษ์วิจารณ์กฎหมายที่ปิดหู ปิดตา ปิดปากประชาชนที่เห็นต่างจากเผด็จการรัฐประหาร   ทว่าเขากลับถูกจับกุมคุมขังเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2554 ด้วยข้อหาข้างต้นและถูกปฏิเสธไม่ให้ได้รับการประกันตัวหลายครั้ง  ซึ่งเป็นสิทธิที่ระบุไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญและปฎิญญาสากลของสหประชาชาติ  ขณะนี้ศาลอาญา รัชดากำลังดำเนินการไต่สวนสืบพยานฝ่ายโจทก์และจำเลยในระหว่างวันที่ 18-20, 24-26 เมษายน 2555 และวันที่ 1-4 พฤษภาคม 2555 
 
นอกจากนี้คุณสมยศ พฤกษาเกษมสุข ยังเป็นที่รู้จักในขบวนการแรงงานไทย โดยเริ่มต้นทำงานในองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน จากนั้นได้เข้าสู่ขบวนการแรงงานโดยมีผลงานการเคลื่อนไหวที่เป็นรูปธรรม เช่น การเคลื่อนไหวเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับคนงานอ้อมน้อย เป็นที่ปรึกษาให้สหภาพแรงงานไทยเบลเยี่ยมและคนงานโรงงานทอผ้าพาร์การ์เม้นท์ ในการต่อสู้เรียกร้องค่าจ้างขั้นต่ำและการเลิกจ้างคนงานที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน การเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรมของคนงานย่านรังสิต ปทุมธานี การช่วยเหลือคนงานเนื่องจากไฟไหม้โรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ร่วมกับองค์กรแรงงานไทยและต่างประเทศ ก่อตั้งกลุ่มคนงานสตรีสู่เสรีภาพ เคลื่อนไหวเรียกร้องให้ลูกจ้างหญิงได้รับสิทธิการลาคลอด 
 
นอกจากนี้เขายังได้ก่อตั้งศูนย์บริการข้อมูลและฝึกอบรมแรงงาน ซึ่งเป็นศูนย์ให้คำปรึกษาและอบรมคนงานด้านสิทธิการจ้างงานและฝึกอบรมคนงานใน สายการผลิตต่างๆ เช่น โรงงานเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม รถยนต์และจักรยานยนต์ ตั้งแต่ปีพ.ศ.2525 จนถึง 2548 ต่อจากนั้นสมยศหันเหความสนใจมาสู่การทำหนังสือและเป็นคอลัมนิสต์  ทั้งหมดนี้คือการทำงานเพื่อสร้างมาตรฐานสิทธิแรงงาน และร่วมสร้างความเป็นพี่น้องระหว่างแรงงานในประเทศและต่างประเทศ
 
ด้วยความตระหนักถึงความเป็นพี่น้องและเสรีภาพของผู้ใช้แรงงานทั่วโลก ทำให้องค์กรแรงงานอื่นๆ ร่วมกันแสดงความกังวลต่อสถานการณ์การละเมิดสิทธิเสรีภาพในไทยและเรียกร้องให้ปล่อยตัวคุณสมยศ พฤกษาเกษมสุข รวมถึงนักโทษการเมืองคนอื่นๆ เช่น สภาแรงงานแห่งรัฐวิคตอเรีย (Victorian Trades Hall Council) ประเทศออสเตรเลียออกจดหมายเรียกร้องท่านและเจ้าหน้าที่รัฐไทยที่เกี่ยวข้องให้ปล่อยตัวสมยศ พฤกษาเกษมสุข โดยส่งผ่านสถานทูตไทยประจำประเทศออสเตรเลียเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2555 
 
เราขอย้ำหลักการและเหตุผลของการเรียกร้องท่านให้ปล่อยตัวสมยศ พฤกษาเกษมสุข และผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทุกคนทันที    5 ประการ 
 
1. นักต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยต้องได้รับการปกป้องจากเผด็จการทั้งปวง ตามปฎิญญาสากลของสหประชาชาติว่าด้วยนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน ได้ระบุว่า มนุษย์ไม่ว่าจะในฐานะปัจเจกบุคคลหรือในนามกลุ่มองค์การทางสังคม ต่างได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมให้ปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนสากลและหลักการแห่งเสรีภาพ ที่ผ่านการลงมติเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2541 ซึ่งปฏิญญานี้ยอมรับถึงสิทธิในการดำเนินกิจกรรมของนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน สิทธิในการรวมตัวและเรียกร้อง  เพื่อให้รัฐบาลสร้างหลักประกันว่า นักต่อสู้เพื่อสิทธิสามารถดำเนินกิจกรรมได้โดยไม่ต้องกลัวการถูกปราบปราม
 
2. เสรีภาพเป็นพื้นฐานของการสร้างประชาธิปไตย และสร้างอำนาจให้แก่ประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศ จะต้องยึดถือไว้เป็นหลักประกันสำหรับปกป้องสถาบันประชาธิปไตยและถ่วงดุลอำนาจกับเผด็จการในอนาคต
 
3. การก่อรัฐประหาร โค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แม้จะเป็นรัฐบาลที่ก่อปัญหามากมายและถูกประณามว่าทุจริตคอรัปชั่น จนทำให้เกิดความขัดแย้งในสังคมอย่างกว้างขวาง แต่การใช้กำลังทหารและอาวุธออกมายึดอำนาจรัฐ ไม่สามารถยอมรับได้ตามหลักการประชาธิปไตยสากล เพราะเป็นการทำลาย/ลิดรอนอำนาจของประชาชนอย่างสิ้นเชิง ทั้งยังใช้วิธีการรุนแรงหลากหลายรูปแบบ เช่น ข่มขู่ ปราบปราม กักขัง หน่วงเหนี่ยว สลายการชุมนุม มีการออกกฎหมายจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนมากขึ้น เช่น กฎหมายว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 กฎหมายรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร 2551 และมีการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงฉบับอื่นๆ มากขึ้น เช่น กฎอัยการศึก พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2548 กฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นต้น  ซึ่งไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาที่เป็นอยู่  แต่กลับสร้างปัญหาเพิ่มเติม และก่อให้เกิดความร้าวฉานในสังคมระหว่างสองขั้วคือ ผู้ก่อ/สนับสนุนการทำรัฐประหารกับผู้ที่คัดค้านการทำรัฐประหาร  รวมถึงการเสื่อมศรัทธาและการตั้งคำถามต่อองค์กร/สถาบันสำคัญ เช่น องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน ระบบยุติธรรมไทย  เพราะไม่สามารถเป็นเครื่องมือระงับความขัดแย้ง ความไม่เป็นธรรมต่างๆที่เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง
 
4. กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เปิดช่องให้มีการแจ้งความกล่าวหาโดยใครก็ได้  ซึ่งคลุมไปถึงให้มีการตีความเกินจริง  เหมารวมว่าประทุษร้ายต่อพระมหากษัตริย์ สร้างอคติ คับแคบ สุ่มเสี่ยงต่อการกลั่นแกล้ง ทำร้ายผู้ที่เห็นต่างจากรัฐโดยง่าย  ทั้งก่อให้เกิดการไต่สวนพิจารณาคดีที่เอนเอียง ไร้มาตรฐาน ลงโทษอย่างหนักเทียบเท่าหรือยิ่งกว่าอาชญากรฆ่าคน  และยังกักขังนักโทษการเมืองให้เกิดความทุกข์ทรมานทางร่างกายและจิตใจ ใส่ห่วง ล่ามโซ่ตรวนตลอดเวลา ซึ่งทำให้ผู้ต้องหากลายเป็นอมนุษย์ไปในที่สุด ซ้ำยังก่อให้ผลทางจิตวิทยา สร้างความหวาดกลัวให้แก่สาธารณชน
 
5. การต้องยกระดับสิทธิมนุษยชนในประเทศจะเป็นการสร้างความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมไทย  และทุกคนต้องได้รับการปฏิบัติต่อหน้ากฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
 
แถลงการณ์ฉบับนี้เป็นจุดยืนและเป็นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลและหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง  หากเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การแสดงออกทางการเมือง การจัดตั้ง รวมกลุ่มตามระบอบประชาธิปไตยถูกเพิกเฉย ละเลย ย่อมเท่ากับว่านักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนสิทธิแรงงาน ประชาชน จะไม่ได้รับการปกป้องใดๆ   เราจะยังคงยืนหยัดรณรงค์ปล่อยตัวสมยศ พฤกษาเกษมสุขและนักโทษคดีหมิ่นฯ ต่อไปเพื่อให้ชาวโลกได้รับรู้ว่าประชาชนไทยยังขาดเสรีภาพและความยุติธรรม
 
ด้วยความศรัทธาต่อเสรีภาพของประชาชน
 
รายนามองค์กรที่สนับสนุนแถลงการณ์ปล่อยตัวสมยศ พฤกษาเกษมสุข
 
1. สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ การตัดเย็บเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์เครื่องหนังประเทศไทย
2. สภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย (ประกอบด้วยสมาชิก 145 สหภาพแรงงาน)
3. สหภาพแรงงานกิจการปั่น-ทอแห่งประเทศไทย (พิพัฒนสัมพันธ์)
4. สหภาพแรงงานมอลลิเก้เฮลท์แคร์
5. กลุ่มสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมเบอร์ล่า
6. สหภาพแรงงานสหกิจวิศาล
7. สหภาพแรงงาน พี.ไอ.เอ็ม
8. องค์กรเลี้ยวซ้าย (องค์กรสังคมนิยม)
9. กลุ่มประชาธิปไตยเพื่อรัฐสวัสดิการ
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สภาศูนย์กลางแรงงานฯ ออกแถลงการณ์ “รัฐธรรมนูญต้องเป็นประชาธิปไตย สังคมไทยต้องเป็นรัฐสวัสดิการ”

Posted: 30 Apr 2012 06:42 AM PDT

เนื่องในวันแรงงานสากล (1 พ.ค. 55) สภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย, สหพันธ์แรงงานกระดาษและการพิมพ์แห่งประเทศไทย, สหพันธ์แรงงานอาหารและเครื่องดื่มแห่งประเทศไทย และสหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ การตัดเย็บเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์หนังแห่งประเทศไทย ได้ออกแถลงการณ์ ประกาศจุดยืน สร้างแนวร่วม เพิ่มพลังให้กรรมกรไทย “รัฐธรรมนูญต้องเป็นประชาธิปไตย สังคมไทยต้องเป็นรัฐสวัสดิการ” โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ..
 
ประกาศจุดยืน สร้างแนวร่วม เพิ่มพลังให้กรรมกรไทย
“รัฐธรรมนูญต้องเป็นประชาธิปไตย สังคมไทยต้องเป็นรัฐสวัสดิการ”
 
วันกรรมกรสากลหรือวันเมย์เดย์ (May Day) มีจุดกำเนิดมาจากการต่อสู้ของชนชั้นกรรมาชีพในยุโรปและอเมริกา ในยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมไปเป็นแรงงานภาคอุตสาหกรรม ซึ่งผู้ใช้แรงงานต้องประสพกับการถูกกดขี่ขูดรีดจากนายทุนโรงงานอุตสาหกรรมเช่นถูกบังคับให้ใช้แรงงานเยี่ยงทาส ต้องทำงานหนักถึงวันละ 14-16 ชั่วโมงโดยไม่มีวันหยุด รวมทั้งไม่มีสวัสดิการและมาตรฐานคุ้มครองความปลอดภัยในการทำงานแต่อย่างใด เป็นเหตุทำให้ผู้ใช้แรงงานมีการเคลื่อนไหวเพื่อต่อสู้การกดค่าจ้างแรงงานและให้ลดชั่วโมงการทำงานลง ซึ่งแนวความคิดนี้ได้ขยายไปหลายประเทศทั้งยุโรป อเมริกา ละตินอเมริกา ญี่ปุ่นและออสเตรเลีย ช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2429 คนงานแห่งเมืองชิคาโกประเทศอเมริกา ได้นัดหยุดงานครั้งใหญ่และจัดการชุมนุมเดินขบวนเพื่อเรียกร้องระบบสามแปดคือทำงาน 8 ชั่วโมง พักผ่อน 8 ชั่วโมงและศึกษาหาความรู้ 8 ชั่วโมง การต่อสู้ครั้งนั้นอำนาจรัฐ นายทุนได้ใช้กำลังเข้าปราบปรามอย่างรุนแรง
 
ต่อมาสหพันธ์คนงานแห่งอเมริกาได้ฟื้นการต่อสู้เรียกร้องระบบสามแปดอีกครั้งโดยมีมติให้เดินขบวนทั่วประเทศเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2433 ขณะเดียวกันในช่วงนั้นก็เริ่มมีแนวคิดที่จะประกาศวันที่ที่แน่นอนให้เป็นวันสามัคคีต่อสู้ของขบวนการกรรมกรทั่วโลก จนกระทั่งพ.ศ.2432 ที่ประชุมของสภาสังคมนิยมสากล ณ กรุงปารีส ฝรั่งเศสได้มีมติให้วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2433 เป็นวันเดินขบวนเรียกร้องให้ลดชั่วโมงทำงานตามที่สหพันธ์คนงานแห่งอเมริกาได้กำหนดไว้ และได้กำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปีเป็น “วันกรรมกรสากล” และเป็นวันเดินขบวนแสดงพลังของชนชั้นกรรมาชีพทั่วโลก
 
สำหรับประเทศไทยการจัดงานวันกรรมกรสากลในที่สาธารณะอย่างเปิดเผยครั้งแรกมีขึ้นในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2489 ที่สนามหน้าสำนักงานไตรจักร์ (สามล้อ) พระราชวังอุทยานสราญรมย์จัดโดยสมาคมกรรมกรสงเคราะห์กรุงเทพรวมกับสมาคมไตรจักร์ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประมาณสามพันคน ปีต่อมาการชุมนุมวันกรรมกรสากล พ.ศ.2490 มีขึ้นที่ท้องสนามหลวงภายใต้คำขวัญกรรมกรทั้งหลายจงสามัคคีกัน ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นการแสดงพลังความสามัคคีของชนชั้นกรรมกรไทยครั้งใหญ่ที่สุดเป็นประวัติการณ์เพื่อเฉลิมฉลองการจัดตั้งสหพันธ์กรรมกรระดับชาติแห่งแรกในประเทศไทยคือ สมาคมสหอาชีวะกรรมกรแห่งประเทศไทย วันกรรมกรสากลปีนั้นมีผู้เข้าร่วมกว่าแสนคน นับเป็นการจัดงานที่มาจากจิตสำนึกของกรรมกรโดยกรรมกรและเพื่อกรรมกรอย่างแท้จริง
 
แม้ความขัดแย้งหลักในสังคมทุนนิยมจะเป็นความขัดแย้งระหว่างทุนกับกรรมกรก็ตาม แต่เงื่อนไขประวัติศาสตร์ที่เป็นจริงและดำรงอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านสังคมไทย อิทธิพลความคิดอุดมการณ์ศักดินาครอบงำสังคมไทยภายใต้ทุนนิยมล้าหลัง และมีความขัดแย้งระหว่างทุนเสรีนิยมกับทุนสามานย์อำมาตย์ที่เติบโตสะสมทุนผ่านกลไกอำมาตย์แบบอภิสิทธิ์ชนมากกว่าการแข่งขันอย่างเสรีและโปร่งใสสถานการณ์ปัจจุบันความขัดแย้งรองระหว่างทุนเสรีนิยมกับทุนสามานย์เป็นสิ่งที่กรรมกรต้องเลือกว่าจะเป็นแนวร่วมหรือสนับสนุนฝ่ายใด ความขัดแย้งระหว่างระบอบประชาธิปไตยกับระบอบอำมาตยาธิปไตยเป็นสิ่งที่กรรมกรต้องเลือกว่าจะเป็นแนวร่วมหรือสนับสนุนฝ่ายใด ไม่มีความเป็นกลาง สองไม่หรือสองเอา?
 
บทเรียนในประวัติศาสตร์การเมืองไทยได้สอนให้กรรมกรรู้ว่า เมื่อใดก็ตามที่สังคมเป็นประชาธิปไตย นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้ง เมื่อนั้นกรรมกรย่อมมีเสรีภาพอย่างเต็มที่ในการรวมตัวเคลื่อนไหวเพื่อความเป็นธรรมในสังคมและเพื่อชีวิตที่ดีกว่า เมื่อใดก็ตามที่อำนาจเผด็จการอำมาตย์ ทหารครอบงำสังคมไทย เมื่อนั้นกรรมกรต้องถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพที่พึงมี เช่นภายหลังคณะรัฐประหารรสช.ยึดอำนาจ รัฐบาลอานันท์ ปันยารชุณได้ออกกฎหมายยกเลิกพรบ.รัฐวิสาหกิจเพื่อกีดกันมิให้บทบาทสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจในการหนุนช่วยแรงงานภาคเอกชน และภายหลังรัฐประหาร19 กันยายน 2549 รัฐบาลอำมาตย์ อภิสิทธ์ ผู้ใช้แรงงานจำนวนมากโดยเฉพาะลูกจ้างเหมาค่าแรงที่ถูกเลิกจ้างด้วยข้ออ้างวิกฤตเศรษฐกิจ อีกทั้งยังมีกรณีปล่อยให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้เครื่องกำเนิดเสียงทำลายโสตประสาทต่อผู้ชุมนุมเรียกร้องความเป็นธรรมจากการถูกเลิกจ้างของสหภาพแรงงานไทรอัมพ์
 
ประสบการณ์ของกรรมกรในชีวิตประจำวันนั้น มีกรรมกรจำนวนไม่น้อยได้ตระหนักในสิทธิและได้มีการต่อสู้อย่างต่อเนื่อง ไม่ได้ยอมจำนนแต่อย่างใด มีการรวมกลุ่มเพื่อต่อสู้ในรูปแบบสหภาพแรงงานเหมือนเฉกเช่นชนชั้นนายทุน พวกอำมาตย์ที่รวมตัวในนามสภาอุตสาหกรรม สมาคมนายจ้าง สมาคมธนาคาร สมาคมหอการค้า ฯลฯ
 
ดังนั้น การต่อสู้เรื่องประชาธิปไตยจึงมิใช่เรื่องไกลตัวจากชีวิตกรรมกรแต่อย่างใด เป็นภารกิจทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของกรรมกร มีเพียงสังคมที่เป็นประชาธิปไตยและเสรีภาพเท่านั้นที่เป็นเงื่อนไขสำคัญในการเติบโตของพลังชนชั้นกรรมกรได้อย่างกว้างใหญ่ไพศาลและเข้มแข็งได้ “กรรมกร” จึงต้องรัก ”ประชาธิปไตย” มิใช่สยบยอมเป็นทาสต่อ”อำมาตยาธิปไตย”
 
สถานการณ์ความขัดแย้งในประเทศไทยปัจจุบัน อยู่ในสภาพที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่าความแตกแยกระหว่างคนไทยด้วยกันเองจะรุนแรงและลุกลามได้ถึงเพียงนี้ ประชาชนแตกแยกเป็นเสื้อสีแดง สีเหลือง หรือหลากสี ไม่ต้องกล่าวถึงความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เราแทบจะมองไม่เห็นทางกลับคืนสู่ความเป็นชาติที่รักสงบเหมือนที่เคยเป็นมาในอดีต
 
แต่ใช่ว่าจะหมดสิ้นซึ่งทางออก โอกาสที่เราจะกลับคืนสู่ดินแดนแห่งความสงบ มีเอกภาพยังมีความเป็นไปได้ กรณีความมีเอกภาพในความหลากหลาย เป็นสังคมที่คนมีหัวใจแห่งเสรีภาพ เคารพให้เกียรติกัน ยอมรับในความแตกต่าง ทุกกลุ่มมีอิสระในการดำเนินชีวิตตามวิถีของตนโดยไม่ทำให้ใครเดือดร้อน ที่สำคัญคือทุกคนต่างร่วมกันใช้ส่วนที่ดีในความแตกต่างนั้นเป็นพลังขับเคลื่อน เพื่อพัฒนาประเทศอย่างเป็นเอกภาพโดยยึดหลักส่วนตัวขึ้นต่อส่วนรวม ส่วนรวมขึ้นต่อองค์กร
 
ประเทศไทยช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีการยึดอำนาจ ทำลายพรรคการเมือง นักการเมือง จับกุม เข่นฆ่าประชาชน ความขัดแย้งยังดำรงอยู่ ฉะนั้นเพื่อยุติปัญหาและนำพาประเทศเดินหน้าต่อไป ต้องเดินหน้าเข้าสู่การปรองดองด้วยการทำให้การปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยอำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎร และสังคมไทยต้องเป็นรัฐสวัสดิการ ดังนี้
 
1) ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ให้อำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎร โดยเลือกตั้งประมุขฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการโดยตรง
 
2) ล้มล้างผลพวงของรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549
 
3) กระบวนยุติธรรมกับผู้ต้องหา ให้สิทธิขั้นพื้นฐานในการประกันตัว และนำคนสั่งฆ่าประชาชนมาลงโทษ 
 
4) นิรโทษกรรมให้กับนักโทษการเมือง
 
5) จัดเก็บภาษีอัตราก้าวหน้า หลักประกันที่ดินทำกิน หลักประกันที่อยู่อาศัย เรียนฟรีทุกระดับ รพ.พยาบาลประกันสังคม รักษาฟรีทุกโรค และระบบค่าจ้างที่เป็นธรรม
 
เราไม่ได้คาดหวังกับรัฐบาลนี้หรือรัฐบาลไหนที่มาจากนายทุนหรือขุนศึกเพราะเขาเหล่านั้นไม่เข้าใจคำว่ากรรมกรหรือผู้ใช้แรงงานดีพอเท่า ๆ กับการเข้าใจความต้องการของพวกเขาเอง กรรมกรเท่านั้นที่เข้าใจกรรมกรด้วยกัน พร้อมทั้งเข้าใจจุดประสงค์และความต้องการของกรรมกรดี หากเรารวมพลังแรงงานโดยลดความขัดแย้ง ทำในสิ่งที่ดีร่วมกันได้ สงวนจุดต่าง สร้างจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ “ประเทศชาติ ประชาชน” ความสงบสุขย่อมกลับคืนสู่สังคมของเราอย่างแน่นอน
 
สภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย
สหพันธ์แรงงานกระดาษและการพิมพ์แห่งประเทศไทย
สหพันธ์แรงงานอาหารและเครื่องดื่มแห่งประเทศไทย
สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ การตัดเย็บเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์หนังแห่งประเทศไทย
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"หลากสี" แนะ "ประท้วงทักษิณออนไลน์" ชี้มีขบวนการแปลี่ยนแปลงการปกครอง

Posted: 30 Apr 2012 06:05 AM PDT

เสวนา"รวมพลังเพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์"  'เสรี วงษ์มณฑา' แนะใช้หลักการตลาด-อัพข้อมูลโซเชี่ยลมีเดียในการต่อสู้ทักษิณ 'สมชาย แสวงการ' ชี้ 'พรรคการเมือง-กลุ่มทุน-นิติราษฎร์' ผนึกกำลังเปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง

 

เมื่อวันที่วันที่ 29 เม.ย. 55 ที่ห้องประดิพัทธ์ตึกอำนวยการราชตฤณมัยสมาคม (สนามม้านางเลิ้ง) มีการจัดเสวนา"รวมพลังเพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์" โดยเครือข่ายพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน (เสื้อหลากสี)โดยมีวิทยากรร่วมเสวนา อาทิ นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำเสื้อหลากสี นายสมชาย แสวงการ สว.สรรหา นายเสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน เป็นต้น โดยมีผู้เข้าร่วมรับฟังประมาณ 300 คน
 
แจกสติ๊กเกอร์รูปทักษิณกินรธน.
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทั้งนี้ผู้เข้าฟังส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และสวมเสื้อสีชมพูมารับฟังระหว่างการเสวนามีการแจกโปสเตอร์รูป พ.ต.ท.ทักษิณชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กำลังจะกินรัฐธรรมนูญและมีข้อความว่า "รัฐธรรมนูญ รัฐไทยใหม่"และสติ๊กเกอร์ระบุข้อความว่า "แพงทั้งแผ่นดิน"ซึ่งก่อนหน้านี้นายวัชระ เพชรทอง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ เคยนำมาแถลงต่อสื่อมวลชนที่รัฐสภาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
เปิดโต๊ะล่าชื่อถอดถอนปู-399 สส.
 
นอกจากนี้ในงานเสวนามีการตั้งโต๊ะให้ผู้ร่วมรับฟังเสวนาเข้าชื่อถอดถอนคณะรัฐมนตรีทั้ง 36 คน ซึ่งมี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯและ สส.399 คน ออกจากตำแหน่ง เนื่องจากมีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายจากกรณีที่เสนอให้มีการตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญทำหน้าที่แก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้จะมีการเปิดรับการล่ารายชื่อถึงวันที่ 30 เม.ย.นี้
 
พร้อมผนึกพธม.ต้านกม.ปรองดอง
 
นพ.ตุลย์ กล่าวว่า วันนี้มีการนัดมารวมตัวกันสังสรรค์ เพื่อกำหนดท่าทีว่าภาคประชาชนจะเอาประเด็นไหนที่จะไปบอกกับรัฐบาลว่า ควรทำอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การปรองดองที่ไม่กดหัวประชาชน ซึ่งจะต้องปรองดองอย่างแท้จริงคนทำผิดต้องรับโทษ และหากมีการยื่นพ.ร.บ.ปรองดอง เข้าสภาเมื่อไหร่ ขอยืนยันว่ากลุ่มเสื้อหลากสีจะไปชุมนุมวันนั้นแน่นอนรวมถึงก่อนหน้านี้ทางกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(พธม.) นำโดย พล.ต.จำลองศรีเมือง แกนนำ พธม.ก็ออกมาประกาศจะออกมาเช่นกัน หากมีการออกพ.ร.บ.ปรองดองตรงนี้เป็นสัญญาณที่จะต้องออกมารวมพลังกันเพื่อต่อสู้อีกครั้ง
 
โหนวันแรงงานชุมนุมม็อบหลากสี
 
อย่างไรก็ตามในวันที่ 1 พ.ค.นี้ จะมีการรวมตัวของกลุ่มสมาพันธ์รัฐวิสาหกิจแห่งชาติ จัดกิจกรรมเนื่องในวันแรงงานที่หน้ารัฐสภา ซึ่งทางกลุ่มเสื้อหลากสีอยากจะเชิญชวนกลุ่มภาคประชาชนเข้ามาร่วมงานดังกล่าวโดยในกิจกรรมจะมีการเคลื่อนไหวไปเปิดการปราศรัยที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และจะปิดท้ายที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาฯ แยกคอกวัว
 
นพ.ตุลย์กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่กลุ่มนิติราษฎร์ ยืนยันการแก้ไขมาตรา 112 นั้น ทางกลุ่มก็จะคัดค้านอย่างถึงที่สุดเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ที่ผ่านมาได้ยื่นหนังสือคัดค้านการแก้ไขมาตรา 112 และรายชื่อประชาชน25,000 คน ส่งไปที่รัฐสภาแล้ว
 
ปูพบป๋าแค่การแสดงละคร
 
ผู้สื่อข่าวถามว่า มองอย่างไรที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เข้าพบขอพร พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ นพ.ตุลย์กล่าวว่าเป็นการแสดงละครบทหนึ่ง ไม่คิดว่าพรรคเพื่อไทย (พท.) และนายกฯ จริงใจกับพล.อ.เปรม เพราะดูจากเหตุการณ์ในอดีตมีการกล่าวหาว่า พล.อ.เปรมเป็นผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญและไม่มีการนำรัฐมนตรีที่เคยมาประท้วงหน้าบ้าน พล.อ.เปรมเข้าไปด้วย
 
"ผมคิดว่าเป็นการแสดงความไม่จริงใจอย่างรุนแรง อย่างไรก็ตามเรื่องนี้สังคมไทยคงรู้ทัน ส่วน พล.อ.เปรม ก็ต้อนรับในฐานะผู้ใหญ่ของบ้านเมืองเท่านั้น แต่คนอื่นจะจริงใจกับท่านกับบ้านเมืองหรือไม่ ตรงนี้ไม่สามารถตอบได้" นพ.ตุลย์ กล่าว
 
'เสรี'อัดแม้วใช้อำนาจย่ำยีชาติ
 
ด้านนายเสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน กล่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณใช้อำนาจย่ำยีประเทศไทย สิ่งที่ประจักษ์ชัด คือคนที่อยู่ข้างเขาได้อะไร อยู่ตรงข้ามแล้วเสียอะไรทำให้คนไทยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม 1.พวกไม่เห็นด้วยแต่แสดงออก 2.พวกไม่เห็นด้วยแต่อยู่เฉยๆ 3.พวกเห็นด้วยและช่วยเหลือ4.พวกเห็นด้วยเพื่อรอผลประโยชน์ โดยพวก2 กลุ่มหลังมีเป็นจำนวนมากในประเทศไทยพร้อมพายเรือให้โจรนั่ง ซึ่งมีแกนนำเสื้อแดงบางคน ที่ได้ขึ้นเป็นรัฐมนตรีช่วย บอกว่าถึงเวลาที่ประเทศไทยต้องพ้นจากอำมาตย์จะบริหารโดยฟังเสียงส่วนใหญ่ประชาชน ถ้าจะทำได้นั้น คนของเราต้องคิดเป็นไม่เห็นแก่ตัวแต่บ้านเมืองเรามีเสียงส่วนใหญ่ที่เห็นแก่ตัว
 
เตือนสื่อมวลชนกำลังถูกครอบงำ
 
นายเสรี กล่าวต่อว่า ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งที่น่าเสียดาย เนื่องจากเป็นคนเก่ง แต่ทำตัวเป็นคนตีนลอย ไร้จุดยืน กลัวเสียอำนาจ กลัวธุรกิจรับผลกระทบ จึงเลือกไปรับใช้นักโทษชาย ซึ่งเป็นอันตรายมาก โดยสถานการณ์ในขณะนี้ หากใครแสดงจุดยืนเป็นปรปักษ์กับรัฐบาล ชีวิตไม่ต้องได้อะไรแล้ว เพราะบรรดาสส.และสื่อมวลชนในประเทศไทย กำลังถูกครอบงำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และที่ผ่านมาถ้าสังเกตจากการทำงานของรัฐสภา ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีการอภิปรายให้เสียเวลาเนื่องจากมีการใช้เสียงข้างมากลากไป ไม่สนใจเสียงข้างน้อย โดยอาศัยช่องทางการโหวตเป็นการตัดสิน ตรงนี้ไม่แตกต่างอะไรกับคำว่าเผด็จการตัวจริง ที่พร้อมใช้เสียงประชาชน15 ล้านเสียงมาเป็นข้ออ้าง
 
เย้ยปูพัฒนาอย่างเดียวคือแต่งตัว
 
"นักโทษชายย่ำยีประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ออกจากประเทศ ไม่เคยทำตัวสงบเลย รวมถึงทำลายภาพลักษณ์ประเทศอย่างหนัก เพราะเขามีจิตใจที่อยากเอาชนะ โดยใช้เงินซื้อทุกสิ่งทุกอย่าง ก่อนหน้านี้มีคนเคยบอกว่า เมื่อไหร่จะก้าวข้ามทักษิณตรงนี้จะข้ามได้อย่างไร หากทักษิณยังเคลื่อนไหวทั้งการโฟนอินเวทีเสื้อแดง การให้สัมภาษณ์สื่อต่างประเทศ หรือกรณีไปประเทศกัมพูชาและลาว ตรงนี้หากอยากให้ก้าวข้ามให้พ้นทักษิณต้องสงบสักที นอกจากนี้ในฐานะพี่ชายคนโตต้องรู้ว่าน้องตัวเองไร้คุณภาพแค่ไหนไม่รู้หรือแต่อุตส่าห์จับมาเป็นหุ่นเชิดเป็นนายกฯ หากมองประเทศไทยศักดิ์สิทธิ์และมีคุณค่าย่อมไม่ทำ โดยเธอเป็นนายกฯมากว่า 7-8 เดือนพัฒนาได้อย่างเดียวคือเสื้อผ้าหน้าผมเหมือนตุ๊กตาบาร์บี้เท่านั้น" นายเสรี กล่าว
 
แฉแผนแยบยลทำลายสถาบัน
 
นายเสรี กล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้เรื่องการถวายฎีกาเพื่อขอพระราชทานอภัยโทษให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ไม่ได้ทำตามกระบวนการแต่เป็นการวางแผนอย่างแยบผลและสัปดนที่สุด โดยการล่ารายชื่อประชาชน ที่สร้างความเข้าใจผิดว่า พ.ต.ท.ทักษิณกลับบ้านไม่ได้เพราะไม่มีพระกรุณาฯ รวมถึงมีความพยายามเชื่อมโยงการกระทำในลักษณะนี้ ถึงวันสำคัญต่างๆ ที่จะมีขึ้นต่อไป อย่างในวันที่ 12 ส.ค.ตรงนี้เป็นการทำลายสถาบันอย่างรุนแรงทั้งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ กลับประเทศไทยวันนี้ก็กลับได้ แต่ พ.ต.ท.ทักษิณไม่อยากเข้าสู่กระบวนการตามกฎหมาย เนื่องจากกลัวติดคุก แต่กลับยังย่ำยีประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่องโดยพยายามที่แก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้เหลืออำนาจเพียง 2 ขา คือ ให้เหลือฝ่ายบริหารกับนิติบัญญัติ โดยตัดตุลาการออก เพื่อจะได้กลับบ้านอย่างเท่ๆ อย่างที่ ร.ต.อ.เฉลิมอยู่บำรุง รองนายกฯ เคยบอกว่า พ.ต.ท.ทักษิณจะกลับบ้านแบบไร้มลทิน ไม่ต้องติดคุก
 
ปลุกระดมก่อม็อบออนไลน์สู้แม้ว
 
"ส่วนในเรื่องความปรองดองที่รัฐบาลพยายามทำในขณะนี้ เปรียบเสมือนกับเสื้อคลุมเท่านั้น เพราะเมื่อถอดเสื้อคลุมปรองดองออกก็จะพบเนื้อแท้เรื่องการนิรโทษกรรม ที่สอดใส่อยู่ข้างในอย่างแยบยล" นายเสรี กล่าวพร้อมกับฝากให้ทุกคนกลับบ้านไปคุยกับคนอื่นๆอย่างน้อย 1 ต่อ 10 คน และบอกต่อกันไปเรื่อยใช้หลักการตลาด อัพข้อมูลเฟซบุ๊คส่งต่อ โดยใช้โซเชี่ยลมีเดียในการต่อสู้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ
 
ปูดขบวนการแปลี่ยนแปลงการปกครอง
 
ขณะที่นายสมชาย แสวงการ สว.สรรหา กล่าวว่า ที่ผ่านมาพบว่ามีกลุ่มหนึ่งที่ทำงานอยู่บนชั้น 26 บริเวณถนนวิภาวดีใกล้กับห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลลาดพร้าวพยายามวางแผนต่างๆ ก่อนหน้านี้เคยวางแผนเรื่องการขออภัยโทษ แต่กลับไม่สำเร็จ หลังจากนั้นจึงมีการเตรียมการเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญการออก พ.ร.บ.ปรองดอง รวมถึงความพยายามที่จะดึงคนเสื้อแดงให้สู้เพื่อพวกเขาอีกครั้ง โดยการจ่ายเงินเยียวยาจำนวน 7.5 ล้านบาท พร้อมกับการเคลื่อนไหวแบบคู่ขนานทั้งจากฝ่ายพรรคการเมือง กลุ่มทุน รวมถึงกลุ่มนิติราษฎร์ ผนึกกำลังกันเพื่อจะเปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง
 
จับตา'ดามาพงศ์'ต่อคิวนั่งนายกฯ
 
นายสมชายกล่าวต่อว่า ขณะนี้คนไทยมีนายกฯ ที่มีนามสกุลร่วมเครือญาติกัน 3 ราย คือ 1.ทักษิณ ชินวัตร 2.สมชายว งศ์สวัสดิ์ 3.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และคนที่เป็นแคนดิเดตนายกฯ คนต่อไป เป็นตำรวจนามสกุลดามาพงศ์ ที่ทาง พ.ต.ท.ทักษิณได้เตรียมการไว้แล้ว เพื่อใช้เครือญาติกินรวบประเทศไทย และอีกไม่นานจะมีเรื่องที่น่าหวั่นกลัว คือ ดร.วีรพงษ์ รามางกูร จะเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย จากนั้นจะมีการขึ้นภาษี (vat) 8.3 เปอร์เซ็นต์ มีการใช้เงินภาษีประชาชนไปจ่ายเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบ
 
ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญวันนี้จะเป็นการเขียนแบบพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน จากที่รัฐธรรมนูญมีอำนาจ 3 ฝ่าย ก็สามารถเขียนให้เหลือเพียงอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหารได้และอาจจะลามถึงการเขียนเปลี่ยนแปลงลงในหมวดที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ก็เป็นได้
 
ที่มาข่าว: หนังสือพิมพ์แนวหน้า
          
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักวิชาการหวั่น อีก 3 ปีเปิดอาเซียน แรงงานไทยรั้งท้าย จี้เร่งพัฒนาฝีมือ-ปฏิรูปกฎหมาย

Posted: 30 Apr 2012 05:14 AM PDT

 

เมื่อวันที่ 28 เม.ย.55 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ สถาบันทรัพยากรมนุษย์ มูลนิธินิคม จันทรวิทุร และมูลนิธิไพศาล ธวัชชัยนันท์ ได้ร่วมกันจัดโครงการสัมมนา เรื่อง “การปฏิรูปกฎหมายแรงงาน และสวัสดิการสังคมไทยสู่รัฐสวัสดิการอาเซียน” เพื่อชี้ให้เห็นถึงปัญหาของกฎหมายแรงงานไทยและผลที่จะเกิดหลังจากมีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียน (ASEAN Economics Community) หรือ AEC ในอีก 3 ปีข้างหน้า

อัฏพร คงสุภาพศิริ ผู้อำนวยการหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เสนอให้ผู้ใช้แรงงานซึ่งเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์โดยตรงเข้ามาบริหารกองทุนประกันสังคมแทนข้าราชการ โดยให้มีการคัดเลือกมาจากการเลือกตั้ง ทั้งนี้ อัฏพรกล่าวถึงระบบประกันสังคมของไทยที่ต่างจากประเทศอื่นๆ โดยเมื่อไปรักษาฟัน ก็ต้องแยกบิลเป็นสองใบ (เบิกได้ครั้งละ 500 บาท) ทั้งที่ตามความเป็นจริงแล้ว มีเงินอยู่เป็นแสนๆ ล้าน

“ผมถามเลขาธิการประกันสังคม ตอบคำถามผมได้ไหม ทำไมเวลาผู้ใช้แรงงานปวดฟันแล้วจะไปรักษา กลับบอกว่าไม่มีงบให้รักษา แต่อีกซีกหนึ่งบอกจะไปลงทุนต่างประเทศ แล้วเงินคุณมาจากใคร ใครเป็นเจ้าของเงิน ก็มาจากผู้ใช้แรงงาน” อัฏพรกล่าวและชี้ว่า ที่สุด คนที่ออกคำสั่งก็คือข้าราชการ ไม่ใช่แรงงาน

นอกจากนี้อัฏพรยังตั้งคำถามกับการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทว่าผู้ใช้แรงงานจะได้ใช้มูลค่าที่เพิ่มมาหรือไม่ เพราะในตอนนี้ค่าครองชีพก็กำลังสูงขึ้น มีการขึ้นค่าไฟ ค่าน้ำ ค่ารถเมล์ หรือแม้กระทั่งค่าอาหาร

ทางด้านไพสิฐ พานิชกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แนะถึงการปฏิรูปกฎหมายแรงงานว่าจะต้องให้ความสำคัญกับการจ้างแรงงานแบบยืดหยุ่น เพราะปัจจุบันทั่วโลกลดจำนวนของการจ้างแรงงานประจำลง แต่กลับจ้างแรงงานยืดหยุ่นหรือแรงงานนอกระบบขึ้น แรงงานในลักษณะนี้จะเป็นการจ้างงานแบบชั่วคราวหรือจ้างตามฤดูกาล ไพสิฐจึงได้ตั้งคำถามว่าจะให้มีการจัดระบบสวัสดิการของแรงงานเหล่านี้อย่างไร และจะให้ความสำคัญกับแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างไร หรือแรงงานของไทยที่จะส่งออกไปนอกประเทศ จะมีนโยบายที่ชัดเจนอย่างไร หรือจะจัดการระบบการศึกษาที่เอื้อต่อคนทำงานที่จะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อยกระดับตัวเองให้สามารถเข้าไปสู่การจ้างงานแรงงานแบบใหม่ๆ อย่างไรก็ตาม ไพสิฐชี้ว่าการที่จะปฏิรูปกฎหมายแรงงานจะต้องมองในเรื่องของความเป็นธรรมต่างๆ เหล่านี้ด้วย

ด้านโกวิท บุรพธานินทร์ กรรมการมูลนิธินิคม จันทรวิทุร กล่าวว่า เป้าหมายหลัก 4 ข้อของ AEC  ที่ว่า 1.ต้องการที่จะให้มีตลาดการผลิตเพียงหนึ่งเดียว 2.ต้องการให้มีการส่งเสริมให้สมาชิกในกลุ่มอาเซียนมีศักยภาพในการที่จะแข่งขันกันประเทศต่างๆได้ 3.พัฒนาประเทศในกลุ่มอาเซียนด้วยกัน โดยเฉพาะประเทศที่เข้ามาเป็นสมาชิกในภายหลังให้มีศักยภาพไม่แตกต่างกันนัก 4.การเชื่อมโยงเศรษฐกิจของอาเซียนให้สามารถเข้ากับเศรษฐกิจโลกได้ ว่าหลักการทั้ง 4 ข้อนี้เป็นหลักที่เอื้อประโยชน์ให้กับระบบทุนนิยม โดยจะทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่โดยเมื่อมีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียนเกิดขึ้นนั้น กลุ่มบุคคลที่จะได้รับประโยชน์มากที่สุดคือบุคคลที่สามารถเข้าถึงโอกาสได้มากที่สุด ได้แก่ 1.ผู้มีการศึกษาสูง 2.ผู้ที่ได้รับการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง 3.บุคคลกลุ่มเล็กซึ่งได้แก่เจ้าของกิจการ (เจ้าของทุน) ส่วนแรงงานรากหญ้าอีกส่วนใหญ่อีกกว่า 50 – 60% นั้นจะไม่ได้รับประโยชน์จากการรวมกลุ่มในส่วนนี้

โกวิทกล่าวว่า ภายใต้กลไกภาครัฐของประเทศไทยที่ยังมีปัญหาอย่างมากมายในปัจจุบันเช่น ปัญหาความไม่มั่นคงในชั่วโมงการทำงาน ค่าจ้าง ค่าชดเชย วันหยุด ลาคลอด และยังรวมไปถึงความไม่มั่นคงของชีวิตหลังการทำงาน และเมื่อเทียบกับ ประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย บรูไน และเวียดนามแล้วประเทศไทยยังไม่มีความพร้อมและประเทศไทยจะกลายเป็นประเทศอันดับหลังๆ พอๆ กับ ลาว กัมพูชา และพม่าด้วยซ้ำ

โกวิทกล่าวว่าและสิ่งที่จะตามมาเมื่อเกิดรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจกันเกิดขึ้นคือจะมีการเข้ามาลงทุนของบริษัทข้ามชาติ ประเทศไทยก็จะมีนักลงทุนมาตั้งบริษัทประเภทต่างๆ หรือแม้แต่บริษัทไทยที่ไปจะไปลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียน การลงทุนเหล่านี้จะส่งผลให้มีการเคลื่อนย้ายทุนและส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานทางด้านบริการระหว่างประเทศเป็นจำนวนมาก หากมีการเคลื่อนย้ายแรงงานเหล่านี้ บริษัทข้ามชาติต่างๆ ควรจะต้องปฏิบัติตามปฏิญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization) หรือ ILO โกวิทกล่าวว่าปฏิญญาของ ILO มีแนวทางอยู่ 4 เรื่องคือ 1.เรื่องของการจ้างแรงงาน 2.การฝึกอบรม 3.สภาพการทำงาน 4.แรงงานสัมพันธ์ เพราะฉะนั้นไม่ว่าประเทศต่างๆ ในกลุ่มอาเซียนจะมาตั้งบริษัทในประเทศไทย หรือประเทศไทยจะไปลงทุนในประเทศอื่นๆ นักลงทุนก็ควรจะมีน้ำใจใน 4 เรื่องดังกล่าว เช่น การเน้นการฝึกอบรมให้กับแรงงานท้องถิ่น นอกจากนี้ สิ่งที่รัฐบาลไทยควรเร่งแก้ไขก่อนจะมีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียน คือ การพัฒนาความสามารถของลูกจ้าง ให้มีทักษะที่จะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต พร้อมปรับเปลี่ยนและเรียนรู้ตามเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลง แต่ทว่าในปัจจุบันหน่วยงานหลายหน่วยงานยังไม่มีความพร้อมในเรื่องฝึกอบรม โดยการฝึกอบรมต่างๆ ของแรงงานยังไม่มีการพัฒนา หรือกำหนดมาตรฐานคุณสมบัติวิชาชีพแห่งชาติ

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

May Day 2012: เครือข่ายแรงงานข้ามชาติ จี้รื้อประกันสังคมใหม่ เผยจ่ายเงินแต่ไม่ได้รับการคุ้มครอง

Posted: 30 Apr 2012 04:57 AM PDT

 

เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2555 ณ สำนักกลางนักเรียนคริสเตียน กรุงเทพฯ เครือข่ายพัฒนารูปแบบและกลไกเพื่อการเข้าถึงหลักประกันทางสังคมสำหรับแรงงานข้ามชาติ ร่วมกับองค์กรด้านแรงงานกว่า 10 องค์กร ประกอบด้วย เครือข่ายปฏิบัติการเพื่อแรงงานข้ามชาติ (Action Network for Migrants-ANM) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (Thai Labour Solidarity Committee - TLSC), มูลนิธิเพื่อนหญิง , มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน, มูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน, มูลนิธิร่วมมิตรไทย – พม่า , ศูนย์ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนภาคอีสาน, โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย, กลุ่มเพื่อนประชาชน และศูนย์ข่าวข้ามพรมแดน จัดเวทีแถลงข่าวเนื่องในวันกรรมกรสากลปี 2555

บัณฑิต แป้นวิเศษ กรรมการเครือข่ายปฏิบัติการเพื่อแรงงานข้ามชาติ กล่าวว่า วันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปีเป็นวันกรรมกรสากล เป็นวันที่กรรมกรทั้งหลายได้ลุกขึ้นมาเรียกร้องทวงถามสิทธิความเป็นมนุษย์ของตน เรียกร้องให้รัฐและนายจ้างปฏิบัติต่อแรงงานในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างเศรษฐกิจและสังคม เป็นการต่อสู้เรียกร้องเพื่อให้ได้การทำงานที่มีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์มิใช่ถูกใช้แรงงานเยี่ยงเครื่องจักร โดยเรียกร้องให้แรงงานจะต้องได้รับชั่วโมงการทำงาน การพักผ่อน และการศึกษาหาความรู้อย่างละแปดชั่วโมงต่อวัน จนกระทั่งระบบนี้กลายเป็นมาตรฐานด้านสิทธิแรงงานที่ได้รับการยอมรับไปทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม แม้จะผ่านการต่อสู้เรียกร้องของกรรมกรทั่วโลกมาเนิ่นนาน แต่การละเมิดสิทธิแรงงานก็ยังเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยกลุ่มที่ยังเสี่ยงต่อการถูกละเมิดสิทธิคือ กลุ่มแรงงานข้ามชาติใน 3 สัญชาติ คือ พม่า ลาว และกัมพูชา เนื่องจากแรงงานข้ามชาติไม่สามารถที่จะเข้าถึงกลไกการคุ้มครองสิทธิที่มีอยู่ได้เนื่องมาจากปัจจัยสำคัญโดยเฉพาะในเรื่องการบังคับใช้กฎหมายแรงงาน การเข้าถึงสวัสดิการ สิทธิ และการช่วยเหลือแรงงานยังมีปัญหา โดยเฉพาะการทำงานของกลไกด้านกฎหมายคุ้มครองแรงงาน รวมทั้งยังพบในเรื่องของการบังคับใช้และการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ที่เหมาะสมกับแรงงานข้ามชาติ

สมพงษ์ สระแก้ว ผู้อำนวยการมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน กล่าวว่า นโยบายกระทรวงแรงงานโดยตรงก็ยังขาดความชัดเจนในด้านการจัดการนโยบายแรงงานข้ามชาติในระยะยาว มีแต่แผนระยะสั้นที่ฝ่ายการเมืองและความมั่นคงเป็นผู้กำหนดรายปี ทำให้ไม่มีความสอดคล้องกับความเป็นจริงในการดำเนินการในหลายเรื่อง เช่น การจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติ หรือการพิสูจน์สัญชาติ ที่เป็นนโยบายรายปีหรือเป็นเพียงนโยบายของพรรคการเมืองและนักการเมืองที่มีส่วนได้เสียของการลงทุนและผลประโยชน์เชิงการควบคุม และสร้างเงื่อนไข ระเบียบการจัดการที่ทำให้เกิดช่องว่างการแสวงหาประโยชน์ของเจ้าหน้าที่รัฐบางคน บางหน่วยงาน ซึ่งขัดกับหลักธรรมาภิบาลการบริหารจัดการด้านแรงงาน ทำให้ประเทศไทยขาดความมั่นคงยั่งยืนในการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติที่เป็นระบบและเชื่อมโยงกับลักษณะความเป็นประชากรย้ายถิ่นข้ามชาติ

อารีย์ ฮาซัน ตัวแทนแรงงานข้ามชาติจากชุมชนกทม. กล่าวว่า ทุกวันนี้ในชุมชนแรงงานข้ามชาติหลายชุมชน มีการแสวงหาประโยชน์ด้านแรงงานกับแรงงานข้ามชาติตั้งแต่ต้นทาง ทางผ่านและปลายทาง ส่งผลถึงปัญหาการค้ามนุษย์ การค้าแรงงานจำนวนมากขึ้น และรัฐขาดการตรวจสอบเจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติมิชอบด้วยกฎหมาย อาศัยดุลพินิจเกินเลยจนแรงงานข้ามชาติถูกคุกคามในชีวิตและทรัพย์สิน โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร ระนอง แม่สอด เป็นต้น

สุรีย์ ไชยกุมาร ตัวแทนแรงงานนอกระบบที่อยู่ในชุมชน กทม. กล่าวว่า ต่อไปเมื่อมีการเปิดเสรีอาเซียนในปี 2558 อยากให้รัฐบาลไทยให้ความสำคัญต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อแรงงานข้ามชาติ โดยเฉพาะความไม่มั่นคงในการจ้างงานในอาชีพต่างๆ ช่องว่างทางรายได้ และสวัสดิการระหว่างผู้ใช้แรงงานที่มีระดับฝีมือแตกต่างกัน และระหว่างแรงงานที่อยู่ในอุตสาหกรรมต่างประเภทกัน

ทั้งนี้ เครือข่ายด้านแรงงานข้ามชาติยังได้ชี้ให้เห็นตัวอย่างของการเข้าไม่ถึงสิทธิการคุ้มครองของแรงงานข้ามชาติ 2 กรณีสำคัญ คือ

หนึ่ง-การบังคับใช้พระราชบัญญัติประกันสังคมในเรื่องการส่งเงินสมทบในอัตราเท่ากับแรงงานไทย และการได้รับสิทธิประโยชน์ 7 กรณีตาม มาตรา 33 ซึ่งในความเป็นจริงนโยบายการให้สิทธิอยู่ทำงานตามมติคณะรัฐมนตรี การเข้ามาทำงานตามบันทึกข้อตกลง (MOU) หรือเข้ามาโดยผ่านการพิสูจน์สัญชาติ แรงงานข้ามชาติสามารถทำงานได้เพียง 4 ปี เท่านั้น หลังจากนั้นต้องเดินทางกลับสู่ประเทศต้นทาง 3 ปี จึงจะสามารถเข้ามาทำงานในประเทศไทยใหม่ได้ หรือกรณีการเก็บเงินสมทบลูกจ้างข้ามชาติไปแล้วนายจ้างบางรายไม่นำเงินไปส่ง เมื่อแรงงานเจ็บป่วยและไปใช้สิทธิการรักษาของประกันสังคมกลับถูกปฏิเสธว่าใช้สิทธิไม่ได้ นี้ไม่นับว่าสิทธิด้านเจ็บป่วยยังซ้ำซ้อนกับสิทธิประกันสุขภาพ สิทธิด้านทุพพลภาพ ชราภาพและเสียชีวิต ที่จะต้องจ่ายระยะยาวและจะประสบปัญหากับลูกจ้างที่กลับประเทศหรือต้องค้นหาทายาทเมื่อลูกจ้างเสียชีวิต

สอง-จากประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 6) ได้ระบุไว้ว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำฉบับนี้ไม่มีผลบังคับใช้กับราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ นายจ้างที่จ้างลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย นายจ้างซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานที่มิได้แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ นายจ้างที่จ้างลูกจ้างในงานประมงทะเล นายจ้างที่จ้างลูกจ้างในงานบรรทุกหรือขนถ่ายสินค้าเรือเดินทะเล นายจ้างที่ตกลงจ้างผู้รับงานไปทำที่บ้าน นายจ้างที่จ้างลูกจ้างในงานเกษตรกรรมซึ่งมิได้จ้างลูกจ้างทำงานตลอดปีหรือมิได้ให้ลูกจ้างทำงานในลักษณะที่เป็นงานอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากงานเกษตรกรรม ซึ่งงานที่ระบุมานี้กลุ่มแรงงานข้ามชาติกว่า 80 % เป็นกำลังแรงงานส่วนสำคัญ แต่รัฐบาลกลับหลบเลี่ยงที่จะให้การคุ้มครองเท่าเทียมกับแรงงานที่อยู่ในกิจการจ้างงานกลุ่มอื่นๆ

ดังนั้นจากสถานการณ์ที่กล่าวมา เครือข่ายด้านแรงงานข้ามชาติจึงมีข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลไทยเนื่องในวันกรรมกรสากล 1 พฤษภาคม 2555 ให้ตระหนักถึงบทบาทสำคัญของแรงงานข้ามชาติที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศ และมีความก้าวหน้าในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เรียกร้องให้รัฐบาลต้องมีการพัฒนาให้เกิดกลไกการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ที่เหมาะสมสำหรับแรงงานข้ามชาติ ตาม พรบ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 และ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ดังนี้

1.สิทธิในการรวมตัว ต่อรองของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยต้องได้รับการเคารพ ส่งเสริมและตระหนักถึงหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐาน ในเรื่องเสรีภาพในการรวมตัวและสมาคม โดยต้องดำเนินการแก้ไขพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ให้แรงงานข้ามชาติสามารถเป็นผู้ก่อตั้ง เป็นกรรมการสหภาพแรงงานได้ ทั้งนี้ขอให้มีการแก้ไขโดยตัดคำว่า สัญชาติไทยออก เพื่อให้มีความเป็นสากลมากขึ้น โดยไม่เลือกปฏิบัติด้วยเหตุผลด้านเชื้อชาติ และเป็นการส่งเสริมสิทธิในการรวมตัวและต่อรองของแรงงานทุกคนในประเทศไทย และรัฐบาลต้องลงนามรับรองอนุสัญญาฉบับที่ 87 และ98 ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ซึ่งรับรองสิทธิในการรวมกลุ่ม การจัดตั้งสหภาพแรงงาน และการเจรจาต่อรอง

2.รัฐบาลต้องลงนามรับรองอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติและสมาชิกในครอบครัว ค.ศ. 1990 (International Convention on the Protection of the Rights of All Migrant Workers and Member of their Families 1990) เพื่อเป็นบรรทัดฐานในการจัดการ และให้การปกป้องคุ้มครองแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย และแรงงานไทยที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศ

3.กระทรวงแรงงานต้องจัดตั้งกลไกการคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติและผู้ติดตาม ซึ่งกลไกดังกล่าวจะต้องเป็นกลไกที่แรงงานข้ามชาติและผู้ติดตามสามารถเข้าถึงได้ง่าย มีความเป็นมิตร รวมทั้งมีการทำงานเชิงรุกในการให้ความรู้สิทธิและความรับผิดชอบต่อแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย รวมทั้งการเปิดโอกาสให้ภาคประชาสังคมได้เข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการออกแบบกลไกต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายฉบับต่างๆ เพื่อให้เกิดความเหมาะสม ไม่ลักลั่น หรือเป็นนโยบายที่ทำให้แรงงานข้ามชาติไม่สามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์ได้อย่างแท้จริง ดังเช่นที่ปรากฏชัดเจนในเรื่องการเข้าไม่ถึงกองทุนประกันสังคม และกองทุนเงินทดแทนในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ

4. กระทรวงแรงงานต้องเปลี่ยนแปลงมาตรการในการบังคับใช้เรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่ครอบคลุมกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่ทำงานในกิจการที่ยังคงได้รับการยกเว้นอยู่ ตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้างเรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 6) เพื่อทำให้แรงงานข้ามชาติต้องได้รับค่าตอบแทนเท่ากับแรงงานไทย เพื่อทำให้เกิดการแข่งขันในการจ้างงานที่ไม่เอาเปรียบซึ่งกันและกันเหมือนในปัจจุบันนี้

5. กระทรวงแรงงานจะต้องออกกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานที่ทำงานรับใช้ในบ้าน ให้ได้รับสิทธิแรงงานในฐานะผู้ใช้แรงงานคนหนึ่งที่พึงได้รับตามสิทธิแรงงาน ทั้งในเรื่องค่าแรง วันหยุด เงินชดเชย สัญญาจ้างงาน และสิทธิอื่นๆ

6. การเปิดประชาคมอาเซียนในปี 2558 แม้เป็นไปเพื่อการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรี แต่ทั้งนี้แรงงานข้ามชาติจะต้องได้รับการปฏิบัติในการจ้างงาน สวัสดิการสังคม และประโยชน์ด้านอื่นที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองเพื่อให้เกิดสิทธิแรงงานที่เท่าเทียมกันกับประชากรชาตินั้นๆ

ทางเครือข่ายแรงงานข้ามชาติได้ร่วมกันยืนยันในหลักการที่ว่ากรรมกรทุกคนไม่ว่าจะทำงานอะไร เป็นใคร มีสถานะทางกฎหมาย หรือทางสังคมอย่างไร ก็คือ กรรมกรที่ต้องมีสิทธิและศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน วันนี้รัฐไม่มีข้ออ้างใดๆ ที่จะไม่คุ้มครองกรรมกรทุกคนต่อภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน สิ่งเดียวที่รัฐต้องตระหนักคือ กรรมกรมิใช่เพียงเครื่องจักรในการผลิตที่เมื่อมีปัญหาก็ทอดทิ้ง กรรมกรเป็นผู้มีศักดิ์ศรีที่ได้มาด้วยการต่อสู้เท่านั้น นับแต่วันนี้ไปกรรมกรต้องมาก่อน

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ขบวนที่ดินชนบทภาคอีสานจัดเวทีถกนโยบายจัดการที่ดิน

Posted: 30 Apr 2012 04:40 AM PDT

 
 
เพื่อเป็นการสรุปบทเรียน และนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาที่ดินและที่ทำกิน ต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงรัฐบาลในชุดปัจจุบัน ให้เป็นไปตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ จึงเป็นที่มาของการจัดงาน “เวทีขบวนที่ดินชนบทภาคอีสาน”
 
เมื่อวันที่ 26 – 27 เม.ย.55 เครือข่ายองค์กรชุมชนแก้ไขปัญหาที่ดินภาคอีสาน (คอป.อ.) จัดเวทีอภิปราย “นโยบายรัฐบาลกับแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดินภาคประชาชน” ณ ศาลาเอกนกประสงค์ (ข้างศูนย์เด็กเล็ก) บ้านท่านางแมว ต.ท่านางแมว อ.แวงน้อย จ.ขอนแก่น โดยมีองค์กรภาคประชาชนเข้าร่วม อาทิ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.) สถาบันองค์กรชุมชน – องค์การมหาชน (พอช.) เครือข่ายองค์กรประชาชนภาคอีสาน เครือข่ายผู้ไร้สิทธิ์สกลนคร และประชาชนผู้สนใจในพื้นที่ รวมทั้งจากจังหวัดอื่นๆ ทั่วภาคอีสาน กว่า 600 คน
 
นายนิวาส โคตรจันทึก ได้กล่าวถึงปัญหาที่ดินที่ไม่ได้รับการแก้ไขว่า หลักสำคัญคือตัวกฎหมาย และนโยบายต่างๆ ในการจัดการที่ดิน ไม่มีความเป็นธรรมต่อภาคเกษตรกร โดยหลักของกฎหมาย และนโยบายของรัฐบาลที่ออกมานั้น มักเอื้ออำนวยความสะดวก เปิดทางให้แต่ระบบนายทุน โดยการใช้เศรษฐกิจเป็นตัวกดทับชาวเกษตรกร ส่งผลกระทบให้เกษตรกรไม่สามารถรักษาที่ดินในการทำมาหากินได้ เนื่องจากต้องประสบปัญหาต้นทุนการทำเกษตรแพงขึ้น เช่น ปุ๋ย สารเคมี ฯลฯ ทำให้ประสบกับการขาดต้นทุน รายได้ไม่เพียงพอ ไม่สามารถมีทุนมากพอที่จะรักษาที่ดิน ทำให้เกิดการสูญเสียที่ดินไปในที่สุด
 
นอกจากนี้ประชาชนส่วนใหญ่ยังได้รับผลกระทบจากการประกาศเขตอุทยานต่างๆ ทับที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัย ทำให้เกิดปัญหา ในเรื่องการถือครองที่ดินทำกินอีกด้วย
 
“วัตถุประสงค์หลักการเปิดเวที ถือเป็นการมาสรุปบทเรียนร่วมกัน ในการที่จะช่วยกันแก้ไข ร่วมกันสร้างปัญญา ถือเป็นการติดอาวุธความคิดให้กับประชาชนทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดการรวมพลัง ให้มีความเอกภาพและร่วมกันจัดการปัญหาสังคม ให้เกิดความเป็นธรรม รวมทั้งผลักดันให้มีการจัดการที่ดินโดยชุมชนให้ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบการผลิต และการจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม อย่างถูกต้อง และยั่งยืน นั่นคือ หัวใจหลักในการจัดงานครั้งนี้” นายนิวาส กล่าว
 
ประยุทธ ชุ่มนาเสียว เครือข่ายประชาชนภาคอีสาน ให้สัมภาษณ์ก่อนเริ่มเปิดเวทีอภิปราย “นโยบายรัฐบาลกับแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดินภาคประชาชน” ว่า เครือข่ายองค์กรชุมชนแก้ไขปัญหาที่ดินภาคอีสาน เป็นองค์กรประสานงานกลางของกลุ่ม /องค์กร/เครือข่ายต่างๆ ที่ประสบปัญหาเรื่องที่ดิน และที่ดินทำกินในภาคอีสาน 20 จังหวัด เพื่อให้เกิดมีการจัดการแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดิน โดยชุมชนและภาคีในท้องถิ่น ก่อให้เกิดพลังการขับเคลื่อนชุมชนท้องถิ่นนำไปสู่พลังการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน และเพื่อเป็นการสร้างหลักประกันการถือครองที่ดิน การพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านอื่นๆ ที่ยั่งยืน มั่งคง ภายใต้เจตนารมณ์การพึ่งตนเอง
 
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า เวทีขบวนที่ดินชนบทภาคอีสาน มีแนวทางการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาเรื่องสิทธิที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัยโดยชุมชนและท้องถิ่น รวมทั้งการแสวงหาการจัดการที่ดินทางเลือกที่มีความมั่งคงยั่งยืน ให้เกิดเป็นรูปธรรม และมีการเชื่อมโยงภาคี/เครือข่ายองค์กรชุมชนในการแก้ไขปัญหาที่ดินให้เกิดความต่อเนื่อง รวมถึงนำไปสู่การพัฒนาพื้นที่ให้เป็นรูปธรรม ยกระดับเป็นศูนย์การเรียนรู้ เพื่อเป็นแนวทางในการขยายผล และร่วมกันผลักดันการแก้ไขปัญหาไปสู่นโยบายของรัฐ รวมทั้งให้มีการผลักดันตัวกฎหมายนโยบายเชิงโครงสร้างการจัดการที่ดินอย่างถูกต้องและเป็นธรรม
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

May Day 2012: แรงงานแตก 2 ขบวน หวั่นนำช้างเดินขบวนอาจตกมัน 'เผดิมชัย' วอนแรงงานเป็นหนึ่งเดียว

Posted: 30 Apr 2012 12:57 AM PDT

ก.แรงงานทุ่ม 5 ล้าน จัดวันแรงงานนำช้าง 9 เชือกเดินเทิดพระเกียรติ พร้อมยื่น 9 ข้อเรียกร้อง จี้รัฐตั้งกองทุนความเสี่ยงเลิกจ้าง ยกเว้นภาษีเงินได้จากค่าชดเชยและลดค่าครองชีพ ด้าน คสรท.แยกจัดอนุสรณ์สถาน 14 ตุลาแทน ค้านนำช้างเดินวันแรงงาน หวั่นอากาศร้อนทำตกมัน ด้าน 'เผดิมชัย' อยากให้องค์กรแรงงานเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
 
30 เม.ย. 55 - นายชัยพร จันทนา ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานอิสระแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ วันที่ 1 พ.ค. กล่าวว่า การจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ ปีนี้กระทรวงแรงงานได้สนับสนุนงบประมาณ 5.1 ล้านบาท ให้กับคณะกรรมการจัดงานที่มีสภาองค์การลูกจ้าง 13 แห่ง และกลุ่มรัฐวิสาหกิจ 2 แห่ง เพื่อนำมาจัดงานเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสพระชนมพรรษา84 พรรษา และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา โดยมีการนำช้างสัญลักษณ์ประจำชาติไทยมาร่วมเดินขบวนด้วย 
 
ทั้งนี้สำหรับกำหนดการจัดงานวันแรงงานวันที่ 1 พ.ค.นั้น ตั้งริ้วขบวนของสภาองค์การลูกจ้าง 13 แห่ง และกลุ่มรัฐวิสาหกิจ 2 แห่ง พร้อมขบวนช้างจากปางช้างอยุธยา แต่งองค์เทิดพระเกียรติในชุดช้างศึกสมเด็จพระนเรศวร 9 เชือก มารวมตัวที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ตั้งแต่เวลา 07.00 น. จากนั้นเวลา 09.00 น. จะเคลื่อนขบวนไปตามถนนราชดำเนินเข้าสู่เวทีกลางที่สนามหลวง ที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน  
 
นายชัยพร กล่าวอีกว่า ส่วนข้อเรียกร้องของผู้ใช้แรงงานที่จะยื่นกับนายกฯมีจำนวน 9 ข้อ ได้แก่ 
 
1.ให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98 ข้อ 
 
2.ให้รัฐบาลจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงให้กับลูกจ้างในกรณีที่สถานประกอบการปิดกิจการ เลิกจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงในการทำงาน 
 
3.ให้รัฐบาลยกเลิก พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 และยกเลิกการแปลงพ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 และยกเลิกการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจทุกกิจการ 
 
4.ให้รัฐบาลยกเว้นการเก็บภาษีเงินได้ของลูกจ้างและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ในกรณีเงินค่าชดเชย และเงินรายได้อื่นซึ่งเป็นเงินงวดสุดท้ายของลูกจ้าง 
 
5.ให้รัฐบาลประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้แรงงานทราบอย่างกว้างขวางและติดตามผลการดำเนินงาน เรื่องความปลอดภัยในวิชาชีพและกรอบสุขภาพในระดับชาติ เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
 
6.ให้รัฐบาลตราพระราชกฤษฎีกาบทบัญญัติว่าด้วยการจัดเก็บเงินสะสมและเงินสมทบเพื่อเป็นกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างในหมวด 13 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 (มาตรา 163) 
 
7.ให้รัฐบาลประกาศพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ทันตามกรอบเวลาและประกาศยกเลิกการนำเข้าแร่ใยหิน 8.ให้รัฐบาลแก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 11
 
8. ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งเลิกจ้างเป็น 2 เท่า จากเดิมที่บัญญัติไว้ 
 
9.ให้รัฐบาลออกกฎหมายจัดตั้งกองทุนสวัสดิการดูแลรักษาสุขภาพพนักงานรัฐวิสาหกิจหลังเกษียณอายุให้เทียบเท่ากับข้าราชการบำนญ หรือภาคเอกชน
 
คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยแยกตัวจัด 1 พ.ค. เอง ประกาศเจตนารมย์ 9 ข้อจี้รัฐปฎิรูประบบประกันสังคม
 
นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ระบุว่า หลังรัฐบาลปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท สถานการณ์แรงงานในปัจจุบันดีขึ้น หากไม่มีการปรับผู้ใช้แรงงานจะถูกกระทำดวยค่าครองชีพที่สูงขึ้น
 
สำหรับในวันพรุ่งนี้ (1พ.ค.) จะไม่ได้เข้าร่วมในงานวันแรงงานแห่งชาติกับสภาแรงงาน เพราะมีการจัดกิจกรรมเองที่จะสะท้อนปัญหาของกลุ่มโดยขบวนของกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยจะเริ่มที่บริเวณหน้ารัฐสภา ไปสิ้นสุดที่แยกคอกวัว เพื่อประกาศเจตนารมณ์หลัก 9 ข้อ และเจตนารมณ์เร่งด่วน 3 ข้อ เรื่องลดค่าครองชีพ เรื่องการปฏิรูประบบประกันสังคม ค่าจ้างที่เป็นธรรม ยกเลิกแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
 
ด้าน น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวถึงการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติที่เวทีท้องสนามหลวง โดยมีนายชัยพร เป็นประธานวันที่ 1 พ.ค.ว่า คสรท.และกลุ่มรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ นักศึกษาจะไม่ไปร่วมด้วย แต่จะแยกจัดกิจกรรมต่างหาก โดยตั้งขบวนที่หน้ารัฐสภาตั้งแต่เช้า จากนั้นเวลา 10.00 น. จะเคลื่อนขบวนไปยังอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ซึ่งจะมีเวทีเสวนาเกี่ยวกับปัญหาแรงงาน โดยพูดถึงความเดือดร้อนของคนงานและสินค้าราคาแพง
 
สำหรับข้อเรียกร้องของ คสรท.ที่สำคัญ ได้แก่
 
1.รัฐต้องมีมาตรการลดค่าครองชีพแก่ประชาชนและผู้ใช้แรงงานโดยเร่งด่วน โดยมีมาตรการควบคุมราคาสินค้า ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง รวมถึงค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าแก๊สหุงต้ม รถเมล์ รถไฟ เรือโดยสาร
 
2.รัฐต้องกำหนดค่าจ้างแรงงานที่เป็นธรรมให้ครอบคลุมผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน โดยโครงสร้างค่าจ้างของแรงงานให้มีการปรับค่าจ้างทุกปี
 
3.รัฐและรัฐสภาต้องปฏิรูประบบประกันสังคมเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทางสังคม ตรวจสอบได้ และจะต้องเร่งรัดนำ ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับ 14,264 รายชื่อเข้าสู่การพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎรโดยเร่งด่วน
 
"คสรท.ไม่เห็นด้วยที่กระทรวงแรงงานจะนำช้างจำนวน 9 เชือกมาร่วมเดินในขบวนวันแรงงาน เพราะที่ผ่านมาไม่เคยมีการนำสัตว์มาร่วมเดินขบวนในวันแรงงาน และขณะนี้สภาพอากาศร้อนจัด และในการจัดงานใช้เครื่องขยายเสียงดิฉันเป็นห่วงว่าช้างอาจจะทนไม่ไหวและตกมัน ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อประชาชนที่มาร่วมงานจำนวนมากได้" น.ส.วิไลวรรณ กล่าว
 
ด้านนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน กล่าวถึงกรณีองค์กรแรงงาน แยกจัดงานวันแรงงาน 2 เวทีเพราะความเห็นไม่ตรงกัน ว่าอยากให้องค์กรแรงงานเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เรื่องนี้เคยพูดกับนายชาลีลอยสูง ประธาน คสรท.แล้ว อยากเห็นผู้นำแรงงานมีความปรองดอง เพื่อให้ประเทศเดินหน้าได้ถ้าต่างฝ่ายต่างเดินคนละทางจะไม่เกิดพลังในการต่อสู้ โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้แก้ไขปัญหาของผู้ใช้แรงงานส่วนเรื่องการรับข้อเรียกร้องของผู้ใช้แรงงานไปแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมนั้น สิ่งที่สามารถดำเนินการได้ทันทีมี 3-4 ข้อ เช่น การจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงให้กับลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง สำหรับข้อเรียกร้องอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับกระทรวงแรงงานโดยตรงจะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือต่อไป
 
ที่มาเรียบเรียงจาก: ครอบครัวข่าว, โพสต์ทูเดย์, บ้านเมือง
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น